Hear the wind sing

Page 1


Hear the Wind Sing สดั บ ลมขั บ ขาน Haruki Murakami นพดล เวชสวัสดิ์

เขียน แปล

ส�ำนักพิมพ์ กำ� มะหยี่ www.gammemagie.com


สดั บ ลมขั บ ขาน VLV

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2554 © ส�ำนักพิมพ์ก�ำมะหยี่ ลิขสิทธิ์ภาษาไทย © นพดล เวชสวัสดิ์ พ.ศ. 2554


Hear the Wind Sing สดั บ ลมขั บ ขาน Haruki Murakami นพดล เวชสวัสดิ์

เขียน แปล

บรรณาธิการ บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการจัดการ

จินตนา เวชสวัสดิ์ อธิชา มัญชุนากร กาบูล็อง ศรรวริศา เมฆไพบูลย์

ออกแบบปก ภาพวาดประกอบปก ภาพถ่ายปก รูปเล่ม พิสูจน์อักษร

นฆ ปักษนาวิน ศรัทธา แสงทอน ฟิลิปป์ กาบูล็อง ศุภรักษ์ ปฐมกสิวัฒนา ปันชิกา ลักษณ์อรุณ

KAZE NO UTA O KIKE by Haruki Murakami Copyright © 1979 Haruki Murakami All rights reserved. Originally published in Japan by KODANSHA LTD., Tokyo Thai translation rights arranged with Haruki Murakami through THE SAKAI AGENCY and SILKROAD AGENCY พิมพ์ครั้งที่ 1 (ส�ำนักพิมพ์ก�ำมะหยี่) : ธันวาคม 2554 การจัดพิมพ์ครัง้ ก่อนหน้า : สิงหาคม 2545 (ส�ำนักพิมพ์แม่ไก่ขยัน) ISBN 978-616-7591-06-3 ราคา 160 บาท


ส�ำนักพิมพ์ก�ำมะหยี่ 74/1 รังสิต-นครนายก 31 ธัญบุรี ปทุมธานี 12130 โทรศัพท์ : 084 146 1432 โทรสาร : 02 996 1514 Email : gammemagie@gammemagie.com Homepage : http://www.gammemagie.com Facebook : http://www.facebook.com/GammeMagieEditions พิมพ์ที่ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ภาพพิมพ์ 296 ซอยอรุณอมรินทร์ 30 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ : 02 433 0026-7, 02 433 8586 โทรสาร : 02 433 8587 Homepage : http://www.parbpim.com จัดจ�ำหน่ายทั่วประเทศโดย บริษัทอมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จ�ำกัด 108 หมู่ที่ 2 ถนนบางกรวย-จงถนอม ต�ำบลมหาสวัสดิ์ อ�ำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130 โทรศัพท์ : 02 423 9999 โทรสาร : 02 449 9222, 02 449 9500-6 Homepage : http://www.naiin.com


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ต�ำนานเสียงเล่ากล่าวไว้ว่า วันหนึ่ง บ่ายวันแดดจ้า ขณะจิบเบียร์ ดูเกมเบสบอล ฮารูกิ มูราคามิ ตัดสินใจ เริ่มงานเขียน โดยผลงานนิยายเล่มแรกของเขาคือ Hear the Wind Sing หรือ สดับลมขับขาน เล่มนี้ เกิดอะไรขึ้นในบ่ายวันนั้น แรงบันดาลใจจากไหนที่ พัดมาพร้อมกับแรงหวดไม้เบสบอล นอกจาก (หรือแม้แต่) ผู ้ ป ระสบด้ ว ยตั ว เอง คงไม่ มี ใ ครสามารถให้ ค� ำ ตอบ กระนั้น จุดก�ำเนิดของหนังสือเล่มแรก และผลงานที่ ออกมาอย่ า งสม�่ ำ เสมอหลั ง จากนั้ น แสดงให้ เ ห็ น ว่ า หามีความบังเอิญในโลกใบนี้ไม่ สิ่งที่คลับคล้ายล้วนเป็น สัญญาณบ่งชี้ การที่ส�ำนักพิมพ์เล็กๆ อย่างเราได้รับความไว้วางใจ ให้ โ อกาสจากนั ก เขี ย นใหญ่ ผู ้ ไ ด้ ชื่ อ ว่ า เป็ น หนึ่ ง ใน นักเขียนเอกที่ยังมีชีวิตอยู่ของโลกผู้นี้ให้จัดพิมพ์ผลงาน ในภาษาไทยตั้งแต่ส�ำนักพิมพ์เริ่มต้นก่อตั้ง และไม่เคย ขัดค�ำขอลิขสิทธิ์เล่มต่อๆ มา ซึ่งเป็นเรื่องที่หากจะกล่าว ตามตรง เป็นเรือ่ งทีเ่ ราไม่ได้ (หรือไม่กล้า) วาดฝันล่วงหน้า คงจะไม่ได้เป็นเรื่องบังเอิญเช่นกัน


เมื่อได้สัญญาณมาแล้ว การถามหาเหตุผลต้นตอจึง ไม่ใช่สาระ สิ่งที่ส�ำคัญตรงหน้าคือท�ำสิ่งที่ในตอนนี้เป็น ประหนึ่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย อันได้แก่การจัดพิมพ์ หนังสือที่เราเห็นว่าควรจะมี (หรือกลับมามี) ให้นักอ่าน ชาวไทยได้เสพ ตราบที่เรายังมีเรี่ยวแรงและก�ำลังใจอยู่ และ สดั บ ลมขั บ ขาน เล่ ม นี้ เป็ น หนึ่ ง ในหนั ง สื อ เหล่านั้น

ขอให้มีความสุขในการอ่าน ส�ำนักพิมพ์ก�ำมะหยี่ พฤศจิกายน 2554


ทศวรรษ 1960 อสัญกรรมของประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ขบวนการบุปผาชน สงครามเวียดนาม การเดินขบวนประท้วง และเสียงกู่ร้องเพรียกหา ความเสมอภาคและเสรีภาพ ผู้คนในยุคนั้น แทบไม่อยากข่มตาหลับใหลในยามค�่ำคืน เนื่องเพราะมีความรู้สึกว่า จะต้องเกิดอะไรขึ้นสักอย่าง หากจะเป็นยุคสับสนแสวงหา ก็มองได้อีกทางว่า เป็นยุคของนักคิด ถ้าคนกลุ่มหนึ่งพ่ายโลก หันไปหาแอลเอสดี หรือกัญชา คนอีกกลุ่มก็ครุ่นคิด เค้นหาความหมาย จากเรื่องเหลวไหลไร้สาระรอบกาย ฮารูกิ มูราคามิ เป็นคนยุคนั้น แนวคิดหลีกห่างจากกรอบความคิดอนุรักษนิยม เสนอมุมมองของตนเอง สดับลมขับขาน ปรับความเข้ม เพ่งมองในช่วงเวลา สิบแปดวันของเวลาว่างของการปิดภาคฤดูร้อน ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่า มูราคามิจุดบุหรี่สูบหกพันเก้าร้อย กับยี่สิบสองมวน กระดกเบียร์ดื่ม โปรดปราน สัตว์นานาชนิด และมักจะกลัดเพลงยุคหกศูนย์เข้ามา ในนิยายของตนเองเสมอ หากจะให้เดาด้วยส�ำเนียงของ มูราคามิ เขาก็คงอุทานค�ำตอบออกมาว่า “ห่ะ, เรื่องของปัจเจก” นพดล เวชสวัสดิ์


สดับลมขับขาน Hear the Wind Sing ผลงานสร้างชื่อเล่มแรก ของ Haruki Murakami VLV

รางวัล Gunzo Shinjin Sho VLV


1 “ไม่มีงานเขียนใดสมบูรณ์แบบ เฉกเช่นไม่มีความ ท้อแท้สิ้นหวังสัมบูรณ์” นักประพันธ์ที่ผมพบตอนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเล่า ให้ฟังเข้าหูหนหนึ่ง ผมต้องใช้เวลาอีกนานหลายปี ก่อน จะเข้าใจความหมายแท้จริงของค�ำกล่าวนั้น อย่างน้อย ที่สุด ก็พอจะหาความสบายใจในถ้อยนั้นได้ว่า ไม่มี งานเขียนใดที่ถือว่าสมบูรณ์แบบ แต่เมื่อถึงยามที่ต้องปั้นค�ำลงเป็นงานเขียน ความ ท้อแท้สิ้นหวังไหลท่วมตัวจนมิดหัวเสมอ ความสามารถ ของผมมีจ�ำกัด เช่น หากผมจะเขียนเรื่องช้าง ผมก็คง เขียนเรื่องควาญช้างไม่ได้อยู่ดี เรื่องราวในท�ำนองนี้เกิด เป็นนิจศีล แปดปีที่ผ่านมา ผมจมอยู่ในห้วงความท้อแท้สองฝั่ง หันไปทางไหนก็สิ้นไร้หนทาง และเวลาแปดปียาวนาน เหลือเกิน แน่ น อนที่ สุ ด เราพร�่ ำ และพล่ า มบอกตั ว เองว่ า เหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้น จะได้บทเรียนสอนใจมา ประดับตัวเสมอ การผ่านเวลาจนแก่เฒ่า ไม่ใช่เรื่อง ยากเย็ น แสนเข็ ญ เท่ า ใดนั ก หั ว ขบวนน� ำ ชุ ด ความคิ ด ด�ำเนินไปทิศทางนี้ นพดล เวชสวัสดิ์ แปล

9


เมื่ออายุข้ามเส้นยี่สิบปี ผมพยายามเหลือเกินที่จะ เกาะโหนปรัชญาชีวิตนี้ไว้สุดความสามารถ แต่ไพ่ที่ได้ รับแจก ก็เป็นแต่เพียงก�ำปั้นหนักให้เห็นดาวระยิบระยับ ถูกโกงบ่อยครั้ง ผู้คนเข้าใจผิดนับครั้งไม่ถ้วน และมักจะ หลุดเข้าไปในสถานการณ์ประหลาดทุกบ่อย ผู้คนหลาก หน้าตา นานาประเภท ผ่านเข้ามาในชีวิต บอกเล่า เรื่ อ งราวชี วิ ต ส่ ว นตั ว ให้ รั บ ทราบ เดิ น ผ่ า นย�่ ำ เหยี ย บ ประหนึ่งผมเป็นสะพานข้ามสายน�้ำ...ข้ามไปไม่เคยย้อน กลับมาซ�้ำรอยอีกเลย ตลอดห้วงเวลานี้ ผมหุบปากแน่น ไม่ปริปากพูดอะไรออกมา นี่คือวิธีที่ผมผ่านเวลาชีวิตมา จนถึงบั้นปลายช่วงวัยยี่สิบ 10

ถึ ง ตอนนี้ ผมคิ ด ว่ า ผมพร้ อ มจะเปิ ด ปากเล่ า เรื่ อ ง แล้วครับ แน่นอนอยู่แล้ว ผมไม่ได้ค้นพบค�ำตอบสุดวิเศษแม้ สักข้อ จะว่ากันไปแล้ว เมื่อเล่าเรื่องจนจบสิ้น ท�ำนอง ชีวติ ก็คงไม่มอี ะไรเปลีย่ นไปจากเดิม เพ่งพินจิ โดยละเอียด การเขียนบรรยายความในใจออกมา ก็ไม่อาจช่วยพัฒนา ตนเองได้ แค่จะถือเป็นเศษติ่งของการพัฒนาตนเองก็ยัง ไม่ได้ แต่ก็เป็นเรื่องล�ำบากยากเข็ญในการบอกเล่าเรื่องราว โดยสัตย์จริง ยิ่งพยายามพูดความจริงให้เฉียดเต็มความ สัตย์เท่าใด ถ้อยความที่เหมาะสม ลิ่วละลอยถอยเลื่อน หนีไกลไปที่สุดขอบฟ้า ผมไม่ประสงค์จะยกเหตุผลมาปลอบตนเองให้อุ่นใจ สดับลมขับขาน


แต่ก็คิดว่าผลงานเขียนเล่มนี้เป็นงานดีที่สุดแล้ว ไม่ต้อง สาธยายให้มากไปกว่านั้น บางคราว ก็มีความคิดผุดขึ้น ในใจว่า หากทุกอย่างด�ำเนินไปอย่างราบรื่น เลยไกล ไปข้างหน้า อาจจะอีกหลายปี นานนับทศวรรษนับจาก วั น นี้ ผมอาจจะได้ ค ้ น พบค� ำ ตอบงดงามพอจะปลอบ ประโลมวิญญาณตัวเองได้ และหากวันนัน้ มาถึง โขลงช้าง ก็คงเคลือ่ นขบวนหวนกลับมายังทุง่ ราบอีกครัง้ และผมจะ ได้ระบายภาพในใจด้วยถ้อยค�ำที่งดงามยิ่งกว่านี้ VLV

ผมเรี ย นรู ้ ก ลวิ ธี ง านประพั น ธ์ ไ ด้ ม ากมายจากดี เ ร็ ก ฮาร์ตฟีลด์ หรือเกือบทุกเรื่องก็ว่าได้ นับเป็นเรื่องน่าเศร้า ที่ฮาร์ตฟีลด์เป็นอัจฉริยะสูญเปล่า ลองอ่านดูเถิดครับ จะเห็นได้เอง สไตล์การเขียนเข้าใจยาก เรื่องพิลึก และ แก่นของเรื่องไร้เดียงสา ถึงจะเป็นเช่นนี้ เขาก็ยังเป็น นักเขียนจ�ำนวนหยิบมือเดียวที่ทะยานโดดเด่นมาอยู่ใน ระดับแนวหน้าในฐานะพรานอักษร ผู้หาญกล้าท้าทาย กลกลอนของถ้อยค�ำ ในมวลหมู่นักเขียนร่วมสมัย เช่น เฮมิงเวย์, ฟิตซ์เจอรัลด์ ในสายตาของผม ฮาร์ตฟีลด์ก็ ไม่ได้ดอ้ ยศักดิผ์ กู้ ล้ากว่าคนใดในกลุม่ แนวหน้า การด�ำเนิน ชีวิตจวบจนบั้นปลาย เขามองไม่ออกว่าควรจะชักธงรบ ต่อสู้ผู้ใด เหตุนี้เองที่ผมถือว่าเป็นการเขี่ยทิ้งอัจฉริยภาพ ดีเร็ก ฮาร์ตฟีลด์ : นักเขียนอเมริกัน ไม่มีตัวตนจริง เป็นแต่เพียงตัวละครหรือ การเล่นตลกที่ฮารูกิซังหยอกล้อผู้อ่าน นพดล เวชสวัสดิ์ แปล

11


ไปอย่างเปลืองเปล่า ฮาร์ตฟีลด์ดิ้นรนกระเสือกกระสนอยู่แปดปีกับสอง เดือน ก่อนจะจบชีวิตตนเอง ในเช้าสดใสของวันอาทิตย์ ในเดือนมิถุนายน ปี 1938 อ้อมแขนข้างขวากอดรูปภาพ ของฮิตเลอร์ มือซ้ายกางร่ม กระโดดลงมาจากยอดตึก เอ็มไพร์สเตต การสิน้ ชีวติ ไม่มผี ใู้ ดใส่ใจรับทราบ...ไม่ตา่ ง ไปจากตอนที่ยังมีชีวิตอยู่

12

ในช่วงปิดเทอมฤดูร้อนปีที่สามของโรงเรียนมัธยม ผม มีผื่นปวดแสบปวดร้อนบริเวณหัวหน่าว ต้องนอนแซ่วติด เตียง ช่วงเวลานีเ้ อง หนังสือของฮาร์ตฟีลด์ทไี่ ม่มกี ารพิมพ์ จ�ำหน่ายแล้ว หลุดเข้ามาในมือของผม ลุงคนทีถ่ อื หนังสือ มาให้เป็นมะเร็งล�ำไส้ ในอีกสามปีถัดมา เสียชีวิตด้วย ใบหน้าเหยเก ร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวด ล�ำไส้ ถูกตัดเป็นชิน้ เล็กชิน้ น้อย ท่อพลาสติกสอดเข้าออกร่างกาย ไม่ยั้ง และภาพท้ายสุดที่ผมได้เห็น ลุงเหี่ยวย่นแดงเถือก ทั้งตัว เหมือนลิงโบราณ VLV

รวมทั้งสิ้น ผมมีลุงสามคน หนึ่งในจ�ำนวนนี้เสียชีวิต ที่ชานเมืองเซี่ยงไฮ้ สองวันหลังการประกาศหยุดยิง ลุง เดินไปเหยียบกับระเบิดที่ตนเองเป็นผู้วางไว้เอง ลุงคน สุดท้ายที่ยังเหลือชีวิตอยู่ เป็นนักมายากลผู้เที่ยวตระเวน เปิดการแสดงในรีสอร์ตบ่อน�้ำพุร้อน ทุกหนทุกแห่งทั่ว สดับลมขับขาน


ประเทศญี่ปุ่น VLV

ฮาร์ ต ฟี ล ด์ ป ระกาศความเห็ น ต่ อ งานเขี ย นชั้ น ดี “ภารกิจของงานเขียนหนังสือ ล�ำดับแรกสุด จะต้องส�ำนึกรู้ ระยะห่างของตัวตนกับสรรพสิง่ รอบข้าง เครือ่ งมือวัดหาใช่ ความอ่ อ นไหวในวิ ญ ญาณไม่ . ..หากแต่ เ ป็ น ไม้ เ มตร” (ว็อต ’ส โซ แบด อะเบาต์ ฟีลลิง กู๊ด?, 1936) ส�ำหรับตัวผมแล้ว การปะทุเกิดขึน้ ในปีทปี่ ระธานาธิบดี เคนเนดีถ้ กู ลอบสังหาร ผมถือไม้เมตรกระชับมัน่ ในมือ วัด ระยะห่างของทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวด้วยความระวังระไว เรือ่ งนัน้ เกิดขึน้ เมือ่ สิบห้าปีทผี่ า่ นมาแล้ว และตลอดสิบห้า ปี ผมโยนหลากสิง่ ทิง้ ไปจากตัว เหมือนเครือ่ งบินโคลงเคลง เครื่องยนต์ขัดข้อง จะต้องโยนกระเป๋าทิ้งลดน�้ำหนัก จาก นัน้ ก็โยนทีน่ งั่ และท้ายทีส่ ดุ ก็คงต้องถีบพนักงานต้อนรับ ให้ตกจากเครื่อง ตลอดสิบห้าปีที่ผ่านมา ผมโยนหลาย อย่างทิ้งออกจากเครื่อง แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ข้อคิด อะไรจากกระบวนการนี้มาประดับตัว ผมไม่แน่ใจนักว่าวิธีนี้จะเป็นหนทางที่เหมาะควร แต่ ก็ท�ำให้น�้ำหนักกดทับผ่อนคลายไปได้บ้าง ผลระยะยาว น่าสะพรึงกลัวโดยแท้ เพราะหากมีชีวิตอยู่ยืนยาวไปจน แก่ชรา ผมจะมีอะไรในโลกหล้าเหลือติดตัวอยู่บ้างเล่า? หากต้องเผาซากสังขารทิง้ ไป แม้แต่กระดูก ก็ยงั ไม่มเี หลือ “ส�ำหรับวิญญาณอมทุกข์ จะน�ำมาก็แต่ความฝันอัน นพดล เวชสวัสดิ์ แปล

13


หดหู่ แต่ส�ำหรับวิญญาณอมโศกเศร้าสร้อย จะไม่มีแม้ ความฝัน” ย่าของผมมักจะพร�่ำสอนเสมอ VLV

ในค�่ำคืนที่ย่าเสียชีวิต สิ่งแรกสุดที่ผมท�ำก็คือ ยื่น ปลายนิ้วไปกดปิดเปลือกตาของย่า เมื่อดึงเปลือกตาของ เธอให้ปดิ ลง ความฝันตลอดระยะเวลาเจ็ดสิบเก้าปีของเธอ กระจายกระเจิงเหมือนฝนปรอยบนถนนย่านศูนย์การค้า... ไม่เหลือแม้แต่เค้าของการด�ำรงอยู่ VLV 14

เกร็ดการประพันธ์อีกข้อ ข้อนี้จะเป็นข้อสุดท้ายแล้ว ส�ำหรับผม งานเขียนเป็นงานหนักหนาสาหัส ใน บางคราว เวลาผ่านไปเกือบทั้งเดือน เขียนได้เพียงแค่ บรรทัดเดียว แต่ในบางคราว ผมเขียนสามวันสามคืน เพียงเพื่อจะพบว่า ผลงานนั้นผิดพลาดเหลวไหลไร้สาระ อย่ า งไรก็ ต าม งานเขี ย นถื อ เป็ น เรื่ อ งสนุ ก ถ้ า จะ เปรียบเทียบกับความล�ำบากแสนเข็ญของการมีชีวิตอยู่ กระบวนการการแปะความหมายให้กับชีวิต ถือได้ว่า สุขารมย์ แล่นฉิวเหมือนใบเรือกางอ้ารับลมจนโป่งพอง ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่ผมยังเป็นวัยรุ่น? น่าจะเป็นช่วง นั้น? ผมประหวั่นพรั่นกลัว สยดสยองจนไม่ได้ปริปากพูด อะไรออกมาแม้แต่คำ� เดียว เมือ่ ส�ำนึกรูใ้ นใจตลอดสัปดาห์ สดับลมขับขาน


เต็มๆ ว่า ถ้าผมเพ่งจ้องสนใจอะไรสักอย่าง โลกทั้งใบจะ แปลงโฉมให้สอดคล้องไปกับบัญชาของผม...รูส้ กึ ว่าจะต้อง เกิดเรื่องเช่นนั้นขึ้นจริงๆ คุณค่านานัปการที่ผู้คนยึดถือจะ เปลี่ยนไป แม้แต่ห้วงเวลา ก็จะบิดเบี้ยวผิดรูปทรง ส�ำนึกรู้เช่นนั้นจะต้องซ่อนเล่ห์ลวงอะไรไว้สักอย่าง โชคร้ า ยที่ ผ มมาตระหนั ก ในภายหลั ง เมื่ อ เวลาผ่ า นไป หลายปี แ ล้ ว ผมเปิ ด สมุ ด บั น ทึ ก ตี เ ส้ น แบ่ ง ครึ่ ง หน้ า กระดาษ จะเขียนสิ่งที่ได้รับทางฟากซ้ายมือ และสิ่งที่ สูญเสียไปทางซีกขวา สิ่งที่ผมบดขยี้ท�ำลาย สิ่งที่ผม ดีใจว่าหายไปเสียได้ก็ดี สิ่งที่ผมต้องยอมสละเซ่นสังเวย เรื่องราวที่ทรยศต่อใจตนเอง...รายการทางฟากขวาของ หน้ากระดาษ ยาวเหยียดเหมือนไม่มีวันจบสิ้น ร่องลึก รูโหว่ในชีวิต แบ่งแยกดินแดนของสิ่งที่เรา ประสงค์อยากรับรู้และเรื่องราวที่เราประจักษ์แก่ใจแล้ว ผมไม่สนใจว่าไม้เมตรของคุณจะยาวสักแค่ไหน คุณจะ ไม่มีทางวัดหยั่งความลึกไปจนถึงก้นเหวได้ สิ่งที่ผมจะ ปั ้ น ค� ำ วางเรี ย งรายบนหน้ า กระดาษ จะเป็ น แต่ เ พี ย ง แคตตาล็อกของรายการเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิต มิใช่ นวนิยาย ไม่ได้เฉียดใกล้งานวรรณกรรม ไม่มีทางเป็น ผลงานศิลปะได้ สมุดเล่มนี้เป็นแต่เพียงสมุดบันทึกที่มี เส้นตีแบ่งครึ่งหน้ากระดาษ อาจจะมีข้อคิดและบทเรียน ซ่อนอยู่ที่ไหนสักแห่ง หากคุณต้องการงานศิลปะหรืองานวรรณกรรม คุณก็ ต้องหางานของนักเขียนกรีกมาอ่าน หากต้องการผลงาน ศิลปะพิสทุ ธิ์ จะต้องก�ำกับไว้ดว้ ยการมีทาสอย่างเลีย่ งมิได้ นพดล เวชสวัสดิ์ แปล

15


เพราะนัน่ เป็นวิธที ชี่ าวกรีกโบราณรจนางานเขียน ในยามที่ ทาสอาบเหงื่อต่างน�้ำ เพาะปลูกในทุ่ง ตระเตรียมอาหาร หรือโหมแรงกรรเชียงเรือ ปราชญ์เสรีชนจะนอนเอกเขนก อาบแดดอุ่นของย่านเมดิเตอร์เรเนียน ประดิดประดอย ถ้อยค�ำ หรือเขียนสูตรคณิตศาสตร์ วิธนี นั้ จึงจะสรรค์สร้าง ผลงานศิลปะได้ ส�ำหรับสามัญคน ผูไ้ ปคุย้ หาอาหารมาประทังความหิว จากตู้เย็นตอนตีสาม ไม่อาจจะรังสรรค์งานเขียนงามงด เช่นนั้นได้ รวมผมอยู่ในกลุ่มนี้อีกคน

16

2 เรื่องนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 1970 และจบลงใน อีกสิบแปดวันถัดมา วันที่ 26 สิงหาคม ปีเดียวกัน

3 “คนรวยไปกินขี้เหอะ!” มุสิกหันหน้ามาหาผม ระเบิดเสียงระบายความเศร้า หดหู่ มือทั้งสองข้างวางกางนิ้วกดอยู่บนเคาน์เตอร์ อาจ สดับลมขับขาน


เป็นไปได้ว่าเขาตะคอกใส่เครื่องบดเม็ดกาแฟด้านหลัง ของผม มุสิกนั่งอยู่บนม้าสูงติดกันหน้าเคาน์เตอร์ เขาไม่ จ�ำเป็นต้องเบือนหน้ามาหา แต่เมือ่ เขาระบายความอึดอัด ในอกไปสิน้ แล้ว มุสกิ หันไปละเลียดเบียร์ดว้ ยใบหน้าอิม่ ใจ ผ่อนคลาย ผมไม่ต้องเหลียวหลังกลับไปมอง ไม่มีแม้สักคนจะ ใส่ใจรับฟังการระเบิดอารมณ์ฉุนเฉียว บาร์เหล้าร้านเล็ก จะมีใครไม่ตะโกนสุดเสียงแข่งกับคนอื่น? ในบาร์เหล้า แห่งนั้น เหมือนเรือโดยสารที่ก�ำลังจะจมดิ่งลงใต้ทะเล “หมัด...นั่นแหละตัวตนแท้จริงของพวกมัน” มุสิกส่าย หน้าไปมา ตาขุ่นขวาง “...กาฝาก สูบเลือดสูบเนื้อผู้คน โดยไม่ต้องออกแรง ข้ามองเห็นหน้าเลือดของพวกมันทีไร ขนลุกขยะแขยงทุกที” ผมแตะริมฝีปากเข้าที่ขอบแก้วเบียร์ ผงกหัวรับทราบ มุ สิ ก เปล่ ง ถ้ อ ยประกาศความในใจเสร็ จ สิ้ น แล้ ว ปาก เม้มแน่น สายตาเพ่งจ้องนิ้วเรียวยาวทั้งสิบที่วางกางบน เคาน์เตอร์ เพ่งพินิจพิเคราะห์ พลิกฝ่ามือกลับไปกลับมา ประหนึ่งย่างเรียวนิ้วบนเตาถ่าน ผมพักสายตาด้วยการ แหงนหงายมองเพดาน จะไม่มกี ารเริม่ ประกาศบทสนทนา ชุดใหม่จนกว่ามุสิกจะศึกษานิ้วมือเรียงไปทีละนิ้วจนครบ ทั้งสิบ เรื่องเกิดขึ้นเช่นนี้เสมอ เราดื่มเบียร์เหมือนผีเข้าสิง ตลอดช่วงปิดภาคฤดูร้อน เราคงดืม่ เบียร์มากพอจะเติมสระว่ายน�ำ้ ความยาวยีส่ บิ ห้า เมตรจนเต็ม และกินถั่วลิสงเป็นกับแกล้มมากพอจะมี นพดล เวชสวัสดิ์ แปล

17


18

เปลือกถั่วเกลี่ยทั่วร้านเหล้าของเจ สูงจากพื้นสักสองนิ้ว หากเราไม่มมุ านะดืม่ เบียร์อย่างใจจดใจจ่อ เราก็คงไม่รอด ผ่านฤดูร้อนน่าเบื่อไปได้ ภาพพิมพ์สเี หลืองซีดเหมือนคราบนิโคติน แขวนอยูบ่ น ผนังด้านหลังบาร์เทนเดอร์ ค�ำ่ คืนใดทีห่ วั แล่นเชือ่ งช้า ผม จะเพ่งจ้องภาพนีไ้ ด้นานหลายชัว่ โมง ภาพนัน้ เป็นลวดลาย เลอะเทอะ เหมือนแผ่นพับประทับหมึกของโรส์ชาก สิ่งที่ ผมมองเห็น คล้ายเป็นภาพลิงสีเขียวสองตัวหันหน้าเข้าหา กัน โยนลูกเทนนิสสองลูกไปในอากาศให้กัน ในยามที่บอกเล่าเรื่องนี้ต่อเจ, บาร์เทนเดอร์ เขาเพ่ง จ้อง อยู่นิ่งนาน แบ่งรับแบ่งสู้ไม่ใส่ใจ “...เออ, พอมอง ในแง่นี้ก็...” “แล้วคุณคิดว่าเป็นสัญลักษณ์แทนอะไร?” ผมถาม “ลิงตัวซ้ายมือคือคุณ ตัวขวาเป็นฉัน ฉันโยนเบียร์ให้ ขวด คุณก็โยนเงินกลับมาให้” ผมยกเบียร์ขึ้นดื่ม ประทับใจอย่างสุดซึ้ง “พวกมันท�ำให้ข้าขยะแขยง!” มุสิกเสร็จสิ้นการตรวจสอบนิ้วมือแล้ว เริ่มสานต่อ บทสนทนาอีกครั้ง การเยาะเย้ยโจมตีคนรวย ไม่ใช่เรื่อง ใหม่ส�ำหรับมุสิก แท้จริงแล้ว มุสิกเกลียดคนรวยเอาเป็น เอาตาย แม้ว่าครอบครัวของมุสิกจะรวยเอาการ มีบาง คราวที่ผมแย้งให้ทราบถึงเรื่องนี้ ค�ำตอบส�ำเร็จรูปจะสวน แฮร์มันน์ โรส์ชาก : จิตแพทย์และนักจิตวิเคราะห์สกุลฟรอยด์ คิดค้นแผ่นพับ ประทับหมึก วิเคราะห์ภาวะจิตของคนไข้ในปี 1921 สดับลมขับขาน


กลับมาในทันทีวา่ “ไม่ใช่ความผิดของข้านี่หว่า” ในบาง โอกาส (มักเป็นตอนทีผ่ มดืม่ เบียร์มากเกินไปแล้ว) ผมจะ กล่าวโทษมันไปว่า “แกผิดเต็มประตูอยู่แล้ว ห้ามเถียง” ในทุกคราวที่ผมหลุดปากออกไปเช่นนี้ ผมจะรู้สึกแย่มาก เพราะหากพิจารณาลึกซึง้ แล้ว มุสกิ ก็มเี หตุผลพอรับฟังได้ “เอ็งรู้ไหมว่าท�ำไมข้าทนพวกคนรวยไม่ได้?” คืนนั้น มุสิกไม่ยอมหยุดเพียงแค่การโหมโรง นับเป็น คราวแรกที่สาธยายให้กลายเป็นเรื่องยาว ผมสั่นศีรษะ “ฟังนะ, ข้าจะบอกอะไรให้เอ็งฟังสักอย่าง...” ค�ำ ติดปากของมุสิก ‘ข้าจะบอกอะไรให้เอ็งฟังสักอย่าง’ ถัด จากนั้น ต้องมีความเห็นน่าฟัง “...เพราะว่าพวกคนรวย ไม่เคยเสียเวลาใช้ความคิด ไม่ยอมคิดอะไรสักอย่าง พวก มันต้องใช้ไม้เมตรและไฟฉาย หากมันจะเการูทวารของ ตัวเอง” “โปรดไขขาน” “ไม่ผดิ , พวกคนรวยไม่มคี วามคิดเข้าท่าสักอย่างอยูใ่ น หัว พวกมันแค่แสร้งท�ำท่าครุน่ คิด แล้วเอ็งรูไ้ หมว่าท�ำไม?” “จนด้วยเกล้า” “เพราะพวกมันไม่มีความจ�ำเป็นต้องคิดอีกต่อไปแล้ว จริงอยู่, พวกมันใช้ความคิดสักหน่อยตอนที่สร้างเนื้อ สร้ า งตั ว ให้ ร�่ ำ รวย แต่ไม่ต้องใช้ความคิดในการด� ำ รง สถานะร�่ำรวย เปรียบไปก็ไม่ต่างไปจากดาวเทียม เมื่อ ส่งเข้ าวงทางโคจร ก็ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงขับเคลื่อนอีก นพดล เวชสวัสดิ์ แปล

19


20

ต่อไปแล้ว โคจรไปได้เรื่อยๆ ไม่เหมือนอย่างเอ็งอย่างข้า เราจะต้องเค้นคิดหาความคิดพิสดาร เพือ่ รักษาชีวติ ให้รอด อยูไ่ ด้ในแต่ละวัน เราจะต้องใช้สมองครุน่ คิด ไม่ว่าจะเป็น เรือ่ งลมฟ้าอากาศ หรือขนาดจุกยางทีจ่ ะเอามาอุดรูอา่ งน�ำ้ ข้าพูดถูก หรือข้าพูดไม่ผิด จริงไหม?” “เออ” “นั่นไง, เอ็งมองเห็นภาพแท้จริงที่เกิดขึ้นแล้ว” เมื่อมุสิกระบายความคิดในหัวให้ไหลพรูออกมาหมด สิน้ แล้ว มือล้วงเข้าไปในกระเป๋า ดึงกระดาษเช็ดหน้าออก มาสั่งน�้ำมูก ระบายความขัดข้องในโพรงจมูก มุสิกจะคิด จะเชื่อเรื่องนี้จริงจังแค่ไหน ผมไม่อาจหยั่งทราบได้ “แต่ว่า สักวัน คนเราก็ต้องตาย” ผมเสนอประเด็น ล่อเป้า “แล้วไง? ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรนี่ ทุกคนต้อง จบชีวิตในท้ายที่สุดอยู่แล้ว แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น ก็มี เวลาห้าสิบขวบปีเต็มๆ ทีจ่ ะใช้ชวี ติ ให้มคี า่ ข้าจะบอกอะไร ให้เอ็งฟังสักอย่างนะ การใช้ชีวิตห้าสิบปีเต็มๆ ใช้หัว ใช้ ความคิดในเรื่องหลากหลาย ดึงคุณค่าชีวิตออกมาให้ เจิดจรัสสดใส ยิง่ ไปกว่าการมีอายุยนื ยาวห้าพันปีโดยไม่มี ความคิดอะไรในหัว ข้าพูดถูกไหม?” ผมต้ อ งยกนิ้ ว ให้ มั น คราวนี้ มี แ ก่ น สาร น�้ ำ หนั ก เหมาะมือทีเดียว

สดับลมขับขาน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.