เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2552 © ส�ำนักพิมพ์ก�ำมะหยี่ ลิขสิทธิ์ภาษาไทย © นพดล เวชสวัสดิ์ พ.ศ. 2552
เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง WHAT I TALK ABOUT WHEN I TALK ABOUT RUNNING Haruki Murakami เขียน นพดล เวชสวัสดิ์ แปล
บรรณาธิการ บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการจัดการ
จินตนา เวชสวัสดิ์ อธิชา มัญชุนากร กาบูล็อง ศรรวริศา เมฆไพบูลย์
ออกแบบปก รูปเล่ม พิสูจน์อักษร
atelier en ศุภรักษ์ ปฐมกสิวัฒนา ปันชิกา ลักษณ์อรุณ
HASHIRU KOTO NI TSUITE KATARU TOKI NI BOKU NO KATARU KOTO by Haruki Murakami. Copyright © 2007 Haruki Murakami. All rights reserved. Originally published in Japan by Bungei Shunju Ltd, Japan. Thai translation rights arranged with Haruki Murakami through THE SAKAI AGENCY and SILKROAD AGENCY. Photography Copyright © -Masao Kageyama - Cover, Back Cover and Page I, II, VIII -Naonoti Kohira - page V -Eizo Matsumura - page III, IV, VI, VII, IX, X
พิมพ์ครั้งที่ 1 : ตุลาคม 2552 พิมพ์ครั้งที่ 2 : เมษายน 2555 ISBN ราคา 250 บาท
ส�ำนักพิมพ์ก�ำมะหยี่ 74/1 รังสิต-นครนายก 31 ธัญบุรี ปทุมธานี 12130 โทรศัพท์ : 084 146 1432 โทรสาร : 02 996 1514 Facebook : http://www.facebook.com/GammeMagieEditions Email : gammemagie@gammemagie.com Homepage : http://www.gammemagie.com
พิมพ์ที่ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ภาพพิมพ์ 296 ซอยอรุณอมรินทร์ 30 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ : 02 433 0026-7, 02 433 8586 โทรสาร : 02 433 8587 Homepage : http://www.parbpim.com จัดจ�ำหน่ายทั่วประเทศโดย บริษัทอมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จ�ำกัด 108 หมู่ที่ 2 ถนนบางกรวย-จงถนอม ต�ำบลมหาสวัสดิ์ อ�ำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130 โทรศัพท์ : 02 423 9999 โทรสาร : 02 449 9222, 02 449 9500-6 Homepage : http://www.naiin.com
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
(ในการพิมพ์ครั้งที่ ๑ และ ๒) จนถึงวันนี้ เชื่อว่านักอ่านตัวยงชาวไทยน้อยคนนักจะ ไม่รู้จักชื่อนักเขียนชาวญี่ปุ่นผู้นี้ “ฮารูกิ มูราคามิ” บ้างรู้จักเคยได้ยินชื่อ ได้ยินคนกล่าวขวัญถึงแล้ว หมัน่ ไส้ ตัดสินใจไม่หยิบอ่านเอาดือ้ ๆ บ้างได้ยนิ กิตติศพั ท์ ฟังเสียงลือเสียงเล่าอ้างแล้วหลงเชื่อ หากยังละล้าละลัง ตั้งใจอยู่แล้วเล่าว่าสักวันจะหยิบขึ้นมาอ่านสักหน และมีหลายคนที่อ่านแล้วหลงรัก อ่านแล้วคลั่งไคล้ อ่านแล้วกรี๊ดแปดตลบ เทิดทูนเป็นเทพเจ้า สอดส่าย สายตามองหาหนังสือเล่มต่อไปของเขาอย่างใจจดใจจ่อ หาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา รวมไปถึงเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยทีเ่ กีย่ วกับเขาจากทัว่ ทุกสารทิศ นอกจากติดตาม นิยายหนาๆ ทุกเล่ม รวมเรื่องสั้นทั้งผองแล้ว เวลาเจอ หนังสือที่ปะหน้าชื่อ “ฮารูกิ มูราคามิ” ปุ๊บ สมองหยุด ท�ำงาน ไม่สนใจว่าเป็นหนังสือทีเ่ ขาเขียน หรือเป็นหนังสือ ที่มีคนอื่นเขียนถึงเขา เอื้อมมือไปหยิบปั๊บ ด้วยหมายใจ จะได้รู้จักเขาให้มากขึ้น
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักอ่านจ�ำพวกไหน หนังสือที่อยู่ใน มือคุณเล่มนี้เหมาะกับคุณเป็นอย่างยิ่ง เมื่ออ่านจบแล้ว ความหมั่นไส้และอคติของคุณจะลดลงเมื่อได้รับทราบ ความมานะพยายามของเขา คุณจะรีบหยิบหนังสือที่ ผัดผ่อนแล้วเล่าออกมาอ่าน ด้วยอยากเห็นผลงานจากการ มีวินัยสูงขนาดนั้น คุณจะได้สัมผัสกับเนื้อแท้ รู้จักวิถีชีวิต วิถีความคิด จากถ้อยค�ำของ “ฮารูกิ มูราคามิ” ตัวจริงเสียงจริง ขอให้มีความสุขในการอ่าน
ส�ำนักพิมพ์ก�ำมะหยี่ ตุลาคม 2552 และ เมษายน 2555
เหมือนเช่นผูอ้ า่ นทุกคน ผมรูจ้ กั มูราคามิผา่ นตัวหนังสือ กล่าวให้ชัด ต้องอ่านและคิดตาม ‘ทุกตัวอักษร’ ตั้งแต่ หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย ไม่ว่าหนังสือเล่มนั้นจะสั้น หรือยาว หนึ่งเล่มหรือสิบกว่าเล่มที่ถ่ายทอดออกมาเป็น ภาษาไทยแล้ว มองการเลือกสรรถ้อยค�ำ ได้เห็นการสานอารมณ์ เนิบนาบน�ำไปสู่ความหม่นและภาวะติดขัดชะงักงันใน โลกที่หมุนไปรวดเร็ว การระบายโลกด้วยสีเทา แต้มความสดใสน้อยนิด พอให้ชุ่มชื่น นับเป็นงานบั่นทอนสุขภาพอย่างยิ่ง เพราะ ยากจะหลีกหลบความอึดอัดขัดข้องไม่ให้กระเซ็นเปื้อนตัว ในเล่มนี้ได้อ่านชีวิตของมูราคามิ และวิธีการเติมพลัง ให้แกร่งเพื่อจะท�ำงานที่ตนรัก-เขียนนิยายสืบไป มองในแง่หนึ่ง เรารู้จักท�ำนองชีวิตของยอดนักเขียน ผู้นี้ได้ดีขึ้น ชื่นชมการต่อสู้เงียบงันที่ไม่ได้ประกาศให้โลก ได้รับทราบ และในอีกแง่ ผู้อ่านก็สมควรลุกมาออกก�ำลังกาย เสริมความแกร่งให้ตนเองมากขึ้น...เพื่อจะได้ท�ำงานที่ ตนรัก-เสพอรรถรสจากตัวหนังสือต่อไปอีกยาวนาน นพดล เวชสวัสดิ์
บทน�ำ ทัณฑ์ทรมานเป็นทางเลือก
ค� ำ ปราชญ์ ก ล่ า วไว้ ว ่ า “สุ ภ าพบุ รุ ษ แท้ จ ริ ง ไม่ เ คยยก เรื่องอนงค์นางที่เลิกกันแล้ว หรือจ�ำนวนเงินที่จ่ายช�ำระ ภาษีเงินได้ประจ�ำปี มากล่าวถึง” แท้จริงแล้ว ค�ำกล่าว ที่ว่า โกหกทั้งเพ ผมเพิ่งดัดปั้นขึ้นมาเอง ขออภัยยิ่ง! เอาเถิดหากจะมีคำ� กล่าวเยีย่ งนัน้ ผมคิดว่าน่าจะมีเงือ่ นไข จ�ำกัดความเป็นสุภาพบุรุษไว้ว่า จะต้องเป็นชายชาตรีที่ ไม่เปรยเอ่ยปากว่าคุณควรท�ำอย่างไรในการรักษาสุขภาพ ให้ ส มบู ร ณ์ แ ข็ ง แรง สุ ภ าพบุ รุ ษ จั ก ต้ อ งไม่ พ ล่ า มพู ด ไม่ขาดปากว่าตนเองท�ำอะไรบ้างจึงแกร่งได้ถึงระดับนี้ อย่างน้อย ผมก็มองเห็นอย่างนั้น ทุกคนทราบกันดีว่าผมมิใช่สุภาพบุรุษ ดังนั้น ผมก็ ไม่น่าจะเป็นกังวลในเรื่องนี้ตั้งแต่แรกเริ่ม แต่กระนั้น ผม ก็ยังลังเลนิดๆ ที่จะเขียนหนังสือเล่มนี้ อาจฟังเหมือนการ นพดล เวชสวัสดิ์
9
10
เลีย่ งหลบ แต่หนังสือเล่มนีก้ พ็ ดู ถึงการวิง่ หาใช่สารนิพนธ์ ว่าด้วยการฝึกร่างกายให้แข็งแกร่ง ผมไม่พยายามจะ สอนสั่งว่า “ลุกขึ้นมาได้แล้ว ทุกคนเลย ออกไปวิ่งทุกเช้า เพื่อสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง” ไม่เลยครับ หนังสือเล่มนี้ รวบรวมเกร็ดความคิดของผมทีก่ ารวิง่ ให้ความหมายต่อผม ในฐานะมนุษย์คนหนึง่ เป็นแต่เพียงหนังสือทีผ่ มวิเคราะห์ ครุ่นคิดเรื่องที่อยู่ในหัว และคิดออกมาดังๆ ซอมเมอร์เซ็ต มอห์ม เขียนไว้ว่า การโกนหนวด แต่ละคราวแฝงปรัชญาล�้ำลึก ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่ว่า การกระท�ำนั้นจะจืดชืดสามัญแค่ไหน หากท�ำไปนานวัน จะกลายเป็นการครุ่นคิดพินิจพิเคราะห์ไปจนถึงขั้นการ ท�ำสมาธิ ในฐานะนักเขียนนิยาย และในฐานะนักวิ่ง ผม ไม่คิดว่างานเขียนและการตีพิมพ์หนังสือว่าด้วยความคิด ส่วนตัวที่มีต่อการวิ่งจะหลุดไปจากเส้นทางปกติที่เคยคุ้น ผมอาจจะเป็นมนุษย์ประเภทอึดและอดทน แต่แทบจะ เข้าใจเรื่องราวอะไรไม่ได้ เว้นแต่จะเขียนออกมาเป็น ตัวหนังสือ ดังนัน้ ผมเริม่ เดินเครือ่ ง เขียนเรือ่ งราว บรรยาย ออกมาด้วยค�ำพูด ไม่เช่นนั้นแล้ว ผมจะไม่มีวันเข้าใจว่า การวิ่งมีความหมายแท้จริงอย่างไรต่อตัวผม มีคราวหนึ่ง ผมนอนเอกเขนกในห้องพักในโรงแรมใน ปารีส อ่านหนังสือพิมพ์อินเตอร์เนชันแนล เฮรัลด์ ทรีบูน ผมอ่านพบบทความเรื่องมาราธอน มีการสัมภาษณ์นักวิ่ง มาราธอนมีชอื่ เสียงหลายคน ค�ำถามก็คอื มีมนต์วเิ ศษใด ทีเ่ สกเป่ากล่อมตัวเองให้สบื เท้าก้าววิง่ ไปตลอดทาง ค�ำถาม เข้าท่านี่ ผมคิดในใจ ผมประทับใจเรื่องราวหลากหลาย เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง
ทีผ่ า่ นวาบเข้ามาในห้วงความคิดของนักวิง่ ตลอดระยะทาง 42.195 กิโลเมตร นั่นเป็นการสรุปความทรมานยาวนาน ต่อเนือ่ งของการวิง่ มาราธอน หากไม่มมี นต์วเิ ศษพร�ำ่ บอก ตนเอง ไม่มีทางรอดไปได้ นักวิ่งผู้หนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า พี่ชายผู้เป็นนักวิ่งเช่นกัน เคยสอนมนต์วเิ ศษให้เขา : ความเจ็บปวดเป็นสิง่ หลีกเลีย่ ง ไม่ได้ ทัณฑ์ทรมานเป็นทางเลือก สมมติว่าคุณออกวิ่ง คุณเริม่ คิดแล้วว่า โอ๊ย เจ็บปวด ฉันทนต่อไปไม่ได้อกี แล้ว ความเจ็บปวดคือความเป็นจริงที่เลี่ยงหลบไม่ได้ แต่การ ทานรับความเจ็บปวดนั้น ขึ้นอยู่กับตัวนักวิ่งเอง ดูเหมือน ว่าค�ำกล่าวนี้จะสรุปเนื้อหาแท้จริงของการวิ่งมาราธอน เวลาผ่านไปสิบปีเต็มๆ ตั้งแต่ครั้งแรกที่ผมคิดจะเขียน หนังสือเรื่องการวิ่ง แต่ละปีที่ผ่านไป ผมลองวิธีนั้น วาด เค้าโครงวิธนี ี้ แต่ไม่เคยลงมือเขียน การวิง่ ดูเหมือนจะเป็น หัวข้อคลุมเครือ จะให้บรรยายโดยละเอียด จะเลือกสรร ค�ำพูดอย่างไร ผมไม่แน่ใจว่าจะท�ำได้ตลอดรอดฝั่ง เมือ่ ถึงจุดหนึง่ ผมตัดสินใจว่าจะรายงานเรือ่ งราวตาม สัตย์จริง เรือ่ งทีผ่ มคิด สิง่ ทีผ่ มรูส้ กึ ระหว่างก้าววิง่ ด้วยวิธี บรรยายของผมเอง ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นหนทางเดียวที่จะ เริ่มต้นได้ ผมลงมือเขียนหนังสือเล่มนี้ทีละตอนสองตอน เริ่มต้นในฤดูร้อนปี 2005 เขียนเสร็จสิ้นในฤดูใบไม้ร่วง ปี 2006 หากไม่นับเรื่องราวที่หยิบยืมจากงานเขียนอื่น ของผม เนื้อหาทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้บันทึกความคิด ความรูส้ กึ ทีเ่ กิดขึน้ ตามจริง เรือ่ งหนึง่ ทีผ่ มสังเกตเห็น การ เขียนโดยสัตย์จริงในเรื่องการวิ่งกับการเขียนโดยสัตย์จริง นพดล เวชสวัสดิ์
11
ในเรื่องราวชีวิตของตัวเองแทบจะกลายเป็นเรื่องเดียวกัน ดังนัน้ ผมเชือ่ ว่าจะอ่านเป็นหนังสือบันทึกความทรงจ�ำผ่าน การวิ่งก็ย่อมท�ำได้ แม้ว่าผมไม่อาจเรียกเรื่องราวพวกนี้ว่าปรัชญา แต่ หนังสือเล่มนีก้ ม็ เี นือ้ หาหลายตอนทีพ่ อจะเป็นบทเรียนการ ใช้ชีวิต อาจไม่มากนัก แต่ก็เป็นบทเรียนสอนใจเป็นการ ส่วนตัว เรื่องราวที่ผมเรียนรู้จากการพาร่างเคลื่อนออก จากที่ และค้นพบว่าทัณฑ์ทรมานคือทางเลือก อาจไม่ใช่ บทเรียนทีค่ ณ ุ น�ำไปใช้ประโยชน์ได้ เพราะเรือ่ งราวทัง้ หมด ที่น�ำเสนอเป็นเรื่องตัวผม มนุษย์ประเภทที่ผมเป็นอยู่ สิงหาคม 2007 ฮารูกิ มูราคามิ
12
เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง
ห นึ่ ง 5 สิงหาคม 2005
F
เกาะคาวายอิ รัฐฮาวาย
ใครจะกล้าหัวเราะเยาะมิก แจ็กเกอร์?
ผมอยู่บนเกาะคาวายอิ รัฐฮาวาย วันนี้ วันศุกร์ วันที่ 5 สิงหาคม 2005 สดใส แสงจ้า ฟ้าโปร่งอย่างไม่น่า เชื่อ ไม่มีแม้ริ้วน้อยปอยเมฆกลางฟ้า ประหนึ่งแนวคิดว่า ฟ้าควรมีเมฆไม่เคยด�ำรงอยู่ ผมเดินทางมาถึงที่นี่ตอน ปลายเดือนกรกฎาคม เราเช่าคอนโดเป็นที่พักเหมือนใน ทุกคราว ช่วงเช้า อากาศยังเย็นสบาย ผมนัง่ ทีโ่ ต๊ะท�ำงาน เขียนเรื่องราวนานาชนิด เหมือนในขณะนี้ ผมเขียนเรื่อง การวิ่ง ผมจะน�ำเสนออย่างไรก็ได้ตามใจตัวเองขนานแท้ ฤดูรอ้ น ก็เป็นธรรมดาอยูเ่ องทีอ่ ากาศจะร้อน ฮาวายได้ชอื่ ว่าเป็นเกาะแห่งฤดูร้อนชั่วนิรันดร์ แต่ในเมื่อเกาะสังกัด อยู่ในซีกโลกเหนือ ก็พอจะกล้อมแกล้มเถียงได้ว่าต้อง มี สี่ ฤ ดู ฤดู ร ้ อ น ก็ต้องร้อนกว่าฤดูหนาว ผมใช้ เ วลา ส่วนใหญ่ในเคมบริดจ์, แมสซาชูเซ็ตต์ส หากจะเปรียบ นพดล เวชสวัสดิ์
13
14
เทียบกับเคมบริดจ์ ร้อนและอบอ้าวเพราะก้อนอิฐและ คอนกรี ต รู ป แบบหนึ่ ง ของทั ณ ฑ์ ท รมาน...ฤดู ร ้ อ นใน ฮาวายถื อ ได้ ว ่ า เป็ น สรวงสวรรค์ ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งเปิ ด เครื่ อ งปรั บ อากาศที่นี่ เพียงแค่เปิดหน้าต่าง ลมเย็ น สดชื่ น ก็ จ ะโบกโบยพั ด ผ่ า นตั ว ผู ้ ค นในเคมบริ ด จ์ ประหลาดใจล้ น เหลื อ เมื่ อ ได้ ท ราบว่ า ผมพั ก ร้ อ นเดื อ น สิงหาคมในฮาวาย “ท�ำไมคุณอยากไปพักผ่อนหน้าร้อน ในที่แบบนั้น?” บางคนอดรนทนไม่ไหวหลุดปากถาม ออกมา แต่ก็ถามเพราะไม่รู้ ไม่รู้ว่าลมสินค้าพัดโบกโบย ตลอดเวลาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือ ท�ำให้ฤดูร้อน เย็นสบาย ไม่รู้ว่าชีวิตที่นั่นสุขสมชื่นมื่น จะเอกเขนก นอนสบาย อ่านหนังสือใต้ร่มอะโวกาโด หรือถ้าเกิด ความดาลใจพรวดพราด จะลุกเดินลงไปข้างล่าง แต่งตัว อย่างไรก็ได้ ลงไปนอนแช่น�้ำในเวิ้งอ่าวเล็กๆ นับแต่ผมเดินทางมาถึงฮาวาย ผมวิ่งวันละชั่วโมง หกวันต่อสัปดาห์ ผมหวนกลับไปหาวิถีชีวิตเดิมมานาน สองเดือนครึง่ แล้ว ถ้าไม่มอี ะไรติดขัด ผมจะวิง่ ทุกวัน วันนี้ ผมวิ่งหนึ่งชั่วโมงกับสิบนาที ฟังวอล์กแมนสองอัลบัมของ เลิฟวิน’ สปูนฟูล เดย์ดรีมกับฮัมส์ ออฟ เดอะ เลิฟวิน’ สปูนฟูล ซึ่งผมเลือกอัดลงมินิดิสก์ ขณะนี้ ผมตัง้ เป้าทีจ่ ะเพิม่ ระยะทาง ดังนัน้ ความเร็วจึง ไม่ใช่สาระส�ำคัญ ผมจะวิง่ ให้ได้ระยะทางระดับหนึง่ สนใจ เพียงแค่นนั้ บางคราว ผมวิง่ เร็วถ้ากระสันอยากท�ำ แต่ถา้ เร่งฝีเท้า ผมก็ตอ้ งจ�ำกัดเวลาให้นอ้ ยลง ประเด็นของเรื่อง จะอยู่ที่การเร่งเร้าความสนุกสนานที่บั้นปลายการวิ่งใน เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง
แต่ละครั้ง หลงเหลือตกค้างในใจเพื่อการวิ่งวันถัดไป มุข เดียวกันนี้ผมใช้ในงานเขียนนิยาย ผมจะหยุดทันทีเมื่อถึง จุดทีผ่ มรูส้ กึ ว่าผมจะเขียนได้อย่างไหลลืน่ หากท�ำเช่นนีไ้ ด้ งานเขียนวันถัดไปจะหลัง่ ไหลออกมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ ผมคิดว่าเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ ท�ำเช่นเดียวกัน ถ้าอยากท�ำ ต่อเนื่อง คุณจ�ำเป็นต้องก�ำหนดจังหวะขับเคลื่อน เรื่องนี้ ถือว่าส�ำคัญในโครงการกินเวลายาวนาน เมือ่ ใดทีก่ ำ� หนด จังหวะได้แล้ว ทีเ่ หลือจะตามมาเอง ปัญหาจะอยูท่ กี่ ารท�ำ ให้ลอ้ ช่วยแรง (มูเ่ ล่) หมุนให้ได้อตั ราเร็วทีต่ อ้ งการเสียก่อน จะไปถึงจุดนั้นได้ ต้องใช้สมาธิเข้มข้นและความอุตสาหะ มากที่สุดเท่าที่คุณจะทุ่มเทให้ได้ ฝนตกช่วงสั้นๆ ในระหว่างที่ผมวิ่ง แต่ก็เป็นฝนเย็น ให้ความสดชืน่ เมฆหนาพัดจากทะเลเข้าหาฝัง่ ส่งละอองน�ำ้ โปรยปรายเป็นม่าน แต่แล้วดูเหมือนว่าเมฆฝนจะนึกอะไร ขึน้ มาได้ “เฮ้ย, มีงานค้างอยูน่ นี่ า ยังท�ำไม่เสร็จ” สายฝน ถอนยวงหายไปหมดสิน้ ไม่มแี ม้การเหลียวหลังมามอง สิน้ ฝนไร้เมฆ แสงอาทิตย์ไร้ความปรานีกลับมาท�ำงานอีกครัง้ แผดเผาพื้นดินให้แห้งผาก ส่งไอร้อนเต้นระอุอีกครั้ง ง่าย เหลือเกินที่จะเข้าใจท�ำนองของลมฟ้าอากาศ ไม่มีความ เคลือบแคลง ไม่ลักลั่นย้อนแย้ง ไม่มีแม้เศษเสี้ยวของ อุปมานหรือสัญลักษณ์ให้ขบคิด ระหว่างเส้นทางการ วิ่ง ผมผ่านนักวิ่งหลายคน จ�ำนวนบุรุษสตรีเท่าเทียมกัน คนหนุ่มสาวจอมพลังพุ่งเฉียดหวีดหวิวแหวกอากาศไป ตามถนนเหมือนมีโจรร้ายวิ่งไล่หลัง อีกกลุ่ม น�้ำหนักเกิน เกณฑ์มาตรฐาน หอบหายใจหนักหน่วง ตาปรือ ไหล่ลู่ นพดล เวชสวัสดิ์
15
16
ห่อเหีย่ ว ออกวิง่ เหมือนเป็นเรือ่ งสุดท้ายในโลกนีท้ อี่ ยากท�ำ คนกลุ่มนี้อาจไปพบแพทย์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้รับค�ำ วินจิ ฉัยว่าเป็นเบาหวาน ได้รบั ค�ำเตือนว่าเริม่ ออกก�ำลังกาย ได้แล้ว ผมอยู่ในกลุ่มกลางระหว่างสองขั้วนี้ ผมชอบฟังเพลงของเลิฟวิน’ สปูนฟูล เพลงเนิบนาบ ผ่อนคลาย ไร้การเสแสร้ง ฟังเพลงกล่อมอารมณ์แบบนี้ ดึงความทรงจ�ำบรรยากาศของยุคหกศูนย์ให้หวนกลับมา แต่ก็ไม่มีอะไรพิเศษ ถ้าจะมีใครสักคนน�ำชีวิตของผมไป สร้างภาพยนตร์ (เพียงแค่คดิ ผมก็กลัวแล้ว) ความทรงจ�ำ พวกนัน้ น่าจะหว่านกระจายอยูใ่ นห้องตัดต่อ “เราพอจะหัน่ ฉากพวกนี้ทิ้งไปได้” ผู้ตัดต่อให้ค�ำอธิบาย “ที่จริงก็ไม่เลว แต่ก็ดาษดื่น ไม่โดนใจนัก” ความทรงจ�ำพวกนั้น เรื่อง สามัญดาษดืน่ ไร้ความเสแสร้ง แต่สำ� หรับผม เปีย่ มด้วย ความหมายและทรงค่ายิง่ ความจ�ำแต่ละฉากฉายวาบผ่าน ห้วงความคิด ผมอาจจะอมยิ้มหรือไม่ก็ขมวดคิ้วโดยไม่ รู้ตัว เรื่องราวอาจจะดาษดื่น แต่เมื่อรวมกันแล้วก็เป็นตัว ผม ผมอยูท่ นี่ ี่ ในเวลานี้ อยูบ่ นหาดเหนือของเกาะคาวายอิ ในบางคราวที่ผมนึกถึงชีวิต ผมรู้สึกเหมือนว่าตัวเองเป็น เศษไม้โดนคลื่นซัดมาเกยหาด ในระหว่างก้าววิง่ ลมสินค้าพัดมาจากทิศทีป่ ระภาคาร ตั้งอยู่ เขย่าใบยูคาลิปตัสเกรียวกราวเหนือหัว ผมย้ายมาใช้ชีวิตในเคมบริดจ์, แมสซาชูเซ็ตต์ส ปลาย เดือนพฤษภาคมปีนี้ การวิง่ เป็นเรือ่ งหลักประจ�ำวันของผม ตั้งแต่นั้นมา ผมเริ่มวิ่งเอาจริงเอาจังแล้ว ที่ว่าเอาจริง เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง
เอาจังหมายถึงการวิง่ 60 กม.ต่อสัปดาห์ กล่าวได้อกี อย่าง หนึ่ง วันละ 10 กม. หกวันต่อสัปดาห์ น่าจะดีกว่าถ้าผม วิ่งได้ทั้งเจ็ดวัน แต่ก็ต้องเผื่อวันฝนตกหรืองานยุ่งเกินไป กล่าวโดยสัตย์จริง บางวันผมรู้สึกเหนื่อยเกินกว่าจะวิ่ง เมือ่ รวมปัจจัยทัง้ หลายได้แล้ว ผมจัดให้หนึง่ วันเป็นวันหยุด ดั ง นั้ น การวิ่ ง 60 กม.ต่ อ สั ป ดาห์ หนึ่ ง เดื อ นก็ จ ะได้ 200 กม. ส�ำหรับผม ถือได้วา่ เป็นมาตรฐานการวิง่ เอาจริง เอาจังแล้ว ในเดือนมิถนุ ายน ผมด�ำเนินตามแผนนีอ้ ย่างเคร่งครัด วิ่ ง 260 กม.เต็ มพิกัด เดือนกรกฎาคม ผมเพิ่ม ระยะ เป็น 310 กม. โดยเกณฑ์เฉลี่ยแล้ว ผมจะวิ่งเฉลี่ยวันละ 10 กม.โดยไม่นับวันหยุด ผมไม่ได้วัดระยะทาง 10 กม. ตามจริง ถ้าวันหนึ่งผมวิ่ง 15 กม. วันถัดมาผมจะวิ่งแค่ 5 กม. (อัตราเร็ววิ่งเหยาะ ผมจะวิ่ง 10 กม.ได้ในหนึ่ง ชั่ ว โมง) ส� ำ หรั บ ผม นี่ เ ป็ น การรั ก ษามาตรฐานอย่ า ง เคร่งครัด ในตอนที่มาพักร้อนในฮาวาย ผมยังวิ่งตาม เกณฑ์นี้ นานเหลือเกินทีผ่ มไม่ได้วงิ่ ไกลขนาดนี้ และไม่ได้ มุ่งมั่นรักษาความคงเส้นคงวาแบบนี้ มีเหตุผลหลายอย่าง ที่จุดหนึ่งในชีวิต ผมหยุดวิ่ง เอาจริงเอาจัง ข้อแรกสุด ชีวิตของผมยุ่งกว่าเดิม เวลา พักผ่อนแทบจะไม่มี เมือ่ ครัง้ ทีอ่ ายุเยาว์กว่านี้ ดูเหมือนว่า ผมไม่ มี เ วลาว่ า งมากเท่ า ที่ ต ้ อ งการ แต่ อ ย่ า งน้ อ ยใน ตอนนั้นไม่มีเรื่องยุ่งวุ่นวายมากเหมือนตอนนี้ ผมไม่รู้นะ คนเรายิ่งแก่ตัว ก็ยิ่งมีเรื่องยุ่งเพิ่มมากขึ้น เหตุผลอีกข้อ ผมหันไปสนใจไตรกีฬาแทนการวิ่งมาราธอน ไตรกีฬา นพดล เวชสวัสดิ์
17
18
จะมีการว่ายน�้ำ ปั่นจักรยาน รวมเข้ากับการวิ่ง การวิ่ง ไม่เคยกวนใจผม แต่ถา้ จะรับมือกับอีกสองเรือ่ ง ผมจ�ำเป็น ต้องทุ่มเวลาให้กับการฝึกว่ายน�้ำและจักรยาน ผมต้อง เริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น เรียนรู้ท่าว่ายน�้ำถูกวิธี เรียนรู้เทคนิค การถีบจักรยาน และเล่นน�้ำหนักเพิ่มกล้ามเนื้อบางมัด เรื่องทั้งหมดนี้กินเวลาและความอุตสาหะ ผลก็คือ ผมมี เวลาน้อยเกินไปส�ำหรับการวิ่ง กลับมาหาเหตุผลแท้จริง เมื่อเล่นไปถึงจุดหนึ่ง ผม รูส้ กึ เบือ่ ขึน้ มาเสียเฉยๆ ผมเริม่ วิง่ จริงจังตัง้ แต่ฤดูใบไม้รว่ ง ปี 1982 วิ่งตั้งแต่นั้นต่อเนื่องมานาน 23 ปีจนถึงปัจจุบัน อย่างน้อย วิ่งเกือบทุกวัน ลงวิ่งมาราธอนอย่างน้อยปีละ ครั้ง...ไม่ต�่ำกว่ายี่สิบสามครั้งเข้าไปแล้ว และเข้าร่วมกับ การวิ่งระยะไกลรอบโลกมากเกินกว่าอยากจะนับ การวิ่ง ระยะไกลสอดคล้องกับบุคลิกภาพของผม ในบรรดานิสัย ทั้งหลายที่หามาประดับตัว ผมพอจะพูดได้ว่าการวิ่งช่วย ผมได้มาก และมีความหมายต่อผม การวิ่งโดยไม่เคย ทอดทิ้ง ต่อเนื่องกันสองทศวรรษ ช่วยให้ผมแข็งแรงขึ้น มากทั้งทางร่างกายและอารมณ์ เรื่องของเรื่องก็คือ ผมไม่โปรดนักกับการเล่นกีฬาเป็น ทีม ผมเป็นของผมอย่างนี้ ทุกคราวที่ผมลงเล่นฟุตบอล หรือเบสบอล นับตัง้ แต่เป็นหนุม่ ผมไม่เคยรูส้ กึ ผ่อนคลาย สบายตัว อาจเป็นเพราะผมไม่มีพี่น้อง ผมเลยไม่ชินกับ การเล่นกีฬาร่วมกับผู้อื่น ผมเล่นกีฬาแข่งขันหนึ่งต่อหนึ่ง เช่นเทนนิสได้ไม่ดีนัก ผมชอบเล่นสควอช แต่เมื่อใดที่มี การแข่งขัน ผมจะรู้สึกอึดอัดขึ้นมาทันที แล้วถ้าเป็นกีฬา เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง
การต่อสู้...อย่าได้นับผมรวมเข้าไปด้วย อย่าเข้าใจผมผิด ใช่วา่ ผมไม่โปรดการแข่งขัน เหตุผล มีเพียงแค่ว่าผมไม่ใส่ใจนักว่าผมจะเฆี่ยนผู้อื่นให้แพ้ หรือ เจ็บใจถ้าโดนบดขยี้ แนวคิดของผมไม่เปลี่ยนไปมากนัก ตัง้ แต่จำ� ความได้ ไม่วา่ จะเป็นเกมหรือกีฬาชนิดไหน เรือ่ ง การแข่งขันเอาชนะผู้อื่นไม่เคยอยู่ในหัวของผม ผมสนใจ เพี ย งแค่ ว ่ า ผมจะบรรลุ เ ป้ า หมายที่ ผ มตั้ ง ไว้ ไ ด้ ห รื อ ไม่ ดังนั้น การวิ่งระยะไกลดูเหมือนจะสอดรับพอเหมาะกับ กรอบความคิดแบบผม นักวิ่งมาราธอนเข้าใจเรื่องที่ผมพูด เราไม่แคร์ว่าจะ ชนะใคร นักวิ่งระดับโลกอาจตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องเอาชนะคู่ แข่งระดับเดียวกันให้จงได้ แต่สำ� หรับนักวิง่ รายวันคนอืน่ ๆ ไม่มคี วามคิดจะไปแข่งขันกับใคร ผมแน่ใจว่านักวิง่ บางคน อาจก�ำหนดตัวคู่แข่งไว้ เพื่อกระตุ้นตนเองให้ฝึกซ้อมให้ หนักยิ่งขึ้น แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคู่แข่งผู้นั้นเลิกวิ่ง? แรง บันดาลใจในการวิ่งอาจเหือดหายหรือซาลง น่าจะท�ำใจ ได้ยากถ้ารักจะเป็นนักวิ่งต่อไป นักวิ่งสามัญส่วนใหญ่ใช้เป้าหมายส่วนตัวเป็นแรง บันดาลใจ กล่าวให้ชดั เหนือสิง่ อืน่ ใด อยากเอาชนะเพียง เรื่องเดียวคือ เวลา ตราบเท่าที่เอาชนะเวลานั้นได้ เขา จะรู้สึกว่าท�ำส�ำเร็จตามเป้าที่ตั้งไว้ ถ้ายังเอาชนะไม่ได้ ก็ คงผิดหวังที่ไม่เข้าเป้า แม้ว่าจะท�ำลายสถิติส่วนตัวที่เขา วาดหวังไว้ไม่ได้ ตราบเท่าทีย่ งั อิม่ เอมใจว่าได้ทมุ่ เทดีทสี่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ (และได้การค้นพบตนเองครัง้ ใหญ่ในระหว่าง ก้าววิ่ง) เพียงแค่เรื่องนั้นก็ถือเป็นความส�ำเร็จ ความรู้สึก นพดล เวชสวัสดิ์
19
20
ชื่นมื่นที่เขาจะน�ำติดตัวลงวิ่งมาราธอนในคราวถัดไป ความคิดในท�ำนองเดียวกันนี้ น�ำมาปรับใช้ได้กบั อาชีพ ของผม ในอาชีพนักเขียน ในความเห็นของผม ไม่มีเรื่อง ชัยชนะหรือความพ่ายแพ้เข้ามาเกี่ยวด้วย อาจจะถือว่า จ�ำนวนเล่มที่พิมพ์ขาย รางวัลที่ได้รับ และค�ำชื่นชมจาก นักวิจารณ์วรรณกรรม นับเป็นมาตรฐานของความส�ำเร็จใน แวดวงนักเขียนที่ปรากฏต่อสายตาผู้อื่น แต่เรื่องเหล่านี้ ไม่ ใ ช่ ส าระส� ำ คั ญ แก่ น แท้ จ ะอยู ่ ที่ ว ่ า คุ ณ เขี ย นได้ ถึ ง มาตรฐานที่ คุ ณ ตั้ ง เป้ า ไว้ ห รื อ ไม่ การเขี ย นได้ ต�่ ำ กว่ า มาตรฐานไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะยกมาอธิบายได้ หาก เป็นผลงานของผู้อื่น คุณพอจะแยกแยะหาแง่มุมที่จะ มาอธิบาย แต่คุณหลอกตัวเองไม่ได้ มองในแง่นี้ การ วิ่งมาราธอนและงานเขียนแทบจะเป็นเรื่องเดียวกัน โดย พื้นฐานแล้ว นักเขียนจะมีแรงบันดาลใจเงียบงันภายใน ไม่ได้เสาะแสวงหาการเห็นพ้องยอมรับจากภายนอก ส� ำ หรั บ ผม การวิ่ ง เป็ น ทั้ ง การออกก� ำ ลั ง กายและ อุปมาน การวิง่ ทุกวัน ลงแข่งเพิม่ จ�ำนวนทีละครัง้ สองครัง้ ทีละน้อยทีละนิด ผมยกคานกั้นขึ้นสูง ทุกคราวที่กระโดด ผ่านคานกั้น ผมยกระดับตัวเอง นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าท�ำไม ผมจึงทุ่มกายทุ่มใจในการวิ่งวันแล้ววันเล่า...เพื่อยกระดับ ตนเอง ผมไม่ใช่ยอดนักวิง่ ไม่เฉียดไม่ใกล้ ผมเป็นแต่เพียง นักวิ่งจืดเจื่อนสุดสามัญ แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นของเรื่อง ประเด็นอยู่ที่ว่าผมท�ำได้ดีกว่าวันวานหรือไม่ ในการวิ่ง ระยะไกล ศัตรูหนึ่งเดียวคือ ตัวเอง คนเดิมเมื่อวานนี้ นับแต่อายุพ้นหลักสี่สิบ ระบบการประเมินตนเอง เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง
เปลี่ยนไปทีละน้อย กล่าวอย่างง่าย ผมไม่อาจแข่งกับ เวลาของตนเองได้อกี แล้ว ผมเดาเอาว่าเป็นเรือ่ งหลีกเลีย่ ง ไม่ได้ เมื่อถึงช่วงอายุระดับหนึ่ง คนเราบรรลุถึงจุดสูงสุด ของความแกร่งเชิงกายภาพ มนุษย์แต่ละคนแตกต่างกัน กล่าวโดยรวม นักว่ายน�ำ้ แกร่งสุดขีดในตอนต้นช่วงวัยยีส่ บิ นักมวยปลายยี่สิบ นักเบสบอลกลางช่วงวัยสามสิบ เรื่อง ธรรมดาที่เราทุกคนต้องเคลื่อนผ่าน มีคราวหนึ่ง ผมถาม จักษุแพทย์วา่ เคยมีใครสักคนไหมทีไ่ ม่มอี าการสายตายาว เมือ่ แก่ตวั เขาหัวเราะ ให้คำ� ตอบว่า “ยังไม่เคยพบสักคน” เรื่องท�ำนองเดียวกัน โชคดีเหลือเกินที่จุดสูงสุดของผู้ผลิต งานสร้างสรรค์แตกต่างห่างกัน ดอสโตเยฟสกีเขียนสุดยอด นิยายสองเล่ม เดอะ พอสเซสด์กับพี่น้องคารามาซอฟ ในช่วงไม่กี่ปีก่อนเสียชีวิตเมื่ออายุได้หกสิบ โดเมนิโก สการ์ลาตติ เขียนเปียโนโซนาตา 555 ชิ้นตลอดชั่วชีวิต ผลงานส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 57-62 ปี จุดสูงสุดในการวิ่งของผมอยู่ที่ปลายช่วงวัยสี่สิบ ก่อน หน้านั้น ผมตั้งเป้าไว้ว่าจะท�ำเวลาในการวิ่งมาราธอนให้ ต�ำ่ กว่าสามชัว่ โมงครึง่ อัตราการวิง่ หนึง่ กิโลเมตรในห้านาที หรือหนึ่งไมล์ในแปดนาที บางคราวผมท�ำเวลาได้ต�่ำกว่า สามชัว่ โมงครึง่ บางครัง้ ก็เกินขีดนัน้ (ส่วนใหญ่เกิน) ไม่วา่ จะเป็นทางไหน ผมพอจะวิ่งได้คงเส้นคงวาด้วยเวลานั้น แม้ในวันที่ผมคิดว่าพลาดเป้าไปแล้ว ผมก็ยังอยู่ในช่วง สามชั่วโมงสี่สิบนาที ถึงจะเป็นช่วงที่ผมไม่ได้ซ้อมหนัก หรือสภาพร่างกายไม่ได้สมบูรณ์เต็มที่ การท�ำเวลาเกิน สี่ชั่วโมงไม่ใช่เรื่องที่จะยอมรับได้ ดูเหมือนว่าภาวะนี้จะ นพดล เวชสวัสดิ์
21
22
ด�ำรงอยู่ได้นานโข และแล้วก็เปลี่ยนไป ผมฝึกซ้อมอย่าง หนัก แต่ก็ไม่อาจท�ำเวลาได้ต�่ำกว่าสามชั่วโมงสี่สิบ หนึ่ง กิโลเมตรผมต้องใช้เวลาห้านาทีครึง่ ผมค่อยๆ เลือ่ นไปหา หลักหมุดสี่ชั่วโมงเมื่อใกล้วิ่งถึงเส้นชัย กล่าวโดยสัตย์จริง ผมตื่นตระหนก เกิดอะไรขึ้นนี่? ผมไม่อยากคิดว่าเป็น เพราะผมแก่ตัว ทุกวันที่ตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ผมไม่รู้สึก ว่าร่างกายอ่อนแอกว่าเดิม แต่ทว่าไม่วา่ ผมจะเมินมองหรือ ปฏิเสธ ตัวเลขก็ยังเพิ่ม ทีละน้อยทีละนิด อีกเรือ่ งหนึง่ ดัง่ ทีก่ ล่าวไว้แล้ว ผมหันไปสนใจกีฬาอืน่ เช่นไตรกีฬาและสควอช ผมคิดนะว่า การวิ่งเพียงอย่าง เดียวไม่น่าจะเป็นผลดีต่อผม ควรจะเพิ่มเติมเรื่องอื่นให้ หลากหลาย ผมว่าจ้างโค้ชว่ายน�้ำส่วนตัว เริ่มตั้งแต่ท่า พื้นฐาน ผมเรียนรู้ที่จะว่ายน�้ำได้เร็วขึ้น เรียบลื่นกว่า เมื่อก่อน กล้ามเนื้อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมใหม่ รูปทรงเรือนร่างของผมเปลี่ยนไปจนเห็นได้ชัด แต่การ วิ่งมาราธอนก็เหมือนคลื่นลาหาด โรยราเชื่องช้าอย่าง ต่อเนื่อง ผมรู้สึกว่าผมไม่โปรดการวิ่งเหมือนเมื่อก่อน ความเหนื่อยล้าดูเหมือนจะโรยตัวเป็นม่านกั้น ระหว่าง ตัวผมกับการวิ่ง ความรู้สึกผิดหวังผุดเข้ามาในใจ เริ่ม ท้อเมื่อเห็นว่าการทุ่มเทฝึกหนักไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น เหมือนว่ามีบานประตูกางกั้น บานประตูที่เคยเปิดอ้า รับผมเสมอ บัดนี้ ฟาดปิดใส่หน้า ผมเรียกภาวะนี้ว่า ความซึมเศร้าของนักวิ่ง จะบรรยายเรื่องนี้โดยละเอียดใน ภายหลัง เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง