ค�ำน�ำ
หนังสือเล่มนี้ได้จากการสัมภาษณ์ 24 ครั้ง ในช่วงเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม ปี 1983 ในแคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี ในช่วงนัน้ ผมเพิง่ เขียนเรือ่ งราวตลอดช่วงยีส่ บิ ปีของดไวต์ ไอเซนฮาวเออร์ แล้วเสร็จ ผมตรวจตราเอกสารกว่าสองล้านฉบับ หนังสือเล่มถัดไปที่ผม จะเขียน น่าจะมีแหล่งข้อมูลที่ผิดแผกแตกต่างไป ผมชื่นชมผลงานของ นักประวัติศาสตร์ทหาร เอส. แอล. เอ. มาร์แชล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การน�ำสัมภาษณ์หลังสงครามมาสอบทานเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในสนามรบ ผมคิดนะว่า ท�ำไมไม่นำ� การสัมภาษณ์หลังการสูร้ บสีส่ บิ ปีมารวบรวม เป็นเล่ม? ยินยอมให้ความคลาดเคลือ่ นของความทรงจ�ำเล่นตลกกับเนือ้ หา ผมรู้สึกว่าผู้มีส่วนร่วมในวันดี-เดย์ ถือว่าวันนั้นเป็นวันยิ่งใหญ่ที่สุดใน ชีวิต ผมทราบว่าท่านประธานาธิบดีไอเซนฮาวเออร์ ผู้ครองต�ำแหน่งใน ท�ำเนียบขาวสองสมัย มองวันดี-เดย์ เป็นวันยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของท่าน และจดจ�ำรายละเอียดปลีกย่อยได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ ผมอยากลงจาก ระดับปลายยอดของผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรและประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา ลงมาหาระดับกองร้อย และทหารผู้สู้รบในสนามรบ ยิ่ง ไปกว่านั้น ผมอยากได้กองร้อยสุดพิเศษที่มีภารกิจสุดส� ำคัญ...สะพาน 2
เพกาซัสเป็นทางเลือกสะดุดตา ผมเริ่มท�ำงาน การสัมภาษณ์จอห์น โฮเวิร์ดกินเวลา 20 ชั่วโมง ในห้วงเวลาหลายสัปดาห์ ผมได้เทป 1 ชั่วโมงจากจิม วอลเวิร์ก และ การสัมภาษณ์สั้นที่สุด 2 ชั่วโมง การนั่งฟังทหารผ่านศึกพูดคุย นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจเหลือเกิน วันดี-เดย์ฝังรอยตราตรึงในใจท่านเหล่านั้น และทหารทุกนายโปรดปราน การเล่าขานเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันนั้นให้ผู้สนใจจะรับฟังอย่างไม่รู้เบื่อ ปัญหาใหญ่ของผม จะเป็นล�ำดับเหตุการณ์และช่วงเวลาที่เกิด เหตุการณ์นั้น ในบางคราว เหตุการณ์เดียว มีความเห็นแย้งหก แปด หรื อ สิ บ อย่ า ง ทหารผ่ า นศึ ก อาจบรรยายแตกต่ า งกั น เล็ ก น้ อ ยในราย ละเอียด แต่บอ่ ยครัง้ จะขัดแย้งกันว่าเหตุการณ์ใดเกิดก่อนหลัง หลังจากน�ำ บทสัมภาษณ์มาเปรียบเทียบกัน ตรวจทานซ�ำ้ กับแหล่งข้อมูล ผมเชือ่ ได้วา่ ผมเรียงล�ำดับเหตุการณ์ก่อนหลังได้ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เท่าที่มนุษย์เราจะท�ำได้...หลังจากเรื่องนั้นผ่านมาแล้วสี่สิบปี จุดส�ำคัญจะเป็นเวลาร่อนลงพื้นของเครื่องร่อนล�ำแรก ผมใช้เวลา 0016 ของวันดี-เดย์เป็นจุดเริ่มต้นของการบุกภาคพื้นยุโรป เวลาตาม นาฬิกาข้อมือของพันตรีจอห์น โฮเวิร์ด และนาฬิกาของพลทหารอีกนาย ที่หยุดเดินทั้งสองเรือน อาจเกิดจากแรงกระแทกของเครื่องร่อน ในยามที่ผมเริ่มเขียนหนังสือเล่มนี้ ผมตระหนักว่ายิ่งทหารพูดถึง ตนเองมากเท่าใด ก็ยิ่งดีเท่านั้น ผมยกวาทะยาวเหยียดของพวกเขามาใช้ ในหนังสือ และเพิง่ มองเห็นว่างานทีผ่ มท�ำเป็นแต่เพียงการน�ำรวบรวมเรือ่ ง ราวของทหารหาญกลุม่ นีม้ าเรียบเรียงให้เป็นเล่ม ผมแทบไม่ได้เขียนหนังสือ เล่มนี้เลย แท้จริงแล้ว หนังสือเขียนแล้วเสร็จโดยทหารผ่านศึก ผมยินดี ทีจ่ ะบอกว่าค่าลิขสิทธิใ์ นงานเขียนของหนังสือเล่มนี้ จะอุทศิ ให้กองทุนการ กุศลของรอยัลกรีนแจ๊กเก็ต(ทหารราบเบาออกซฟอร์ดและบักกิงแกมเชียร์ เปลี่ยนชื่อเป็นกองพันที่ 1 รอยัล กรีนแจ๊กเก็ต ปลายทศวรรษ 1950) 3
และกองทุนช่วยเหลือทหารพลร่ม ผูใ้ ห้สมั ภาษณ์เรียงตามล�ำดับการพูดคุยกัน : จิม วอลเวิรก์ , จอห์น โฮเวิรด์ , วอลลี พาร์, เดนนิส ฟ็อกซ์, ริชาร์ด ทอดด์, ไนเจล โพเอ็ตต์, ไนเจล เทย์เลอร์, เอ็ม. ธอร์นตัน, โอลิเวอร์ โบแลนด์, ซี. ฮูเปอร์, อี. แท็ปเป็นเด็น, เฮนรี ฮิกแมนและบิลลี เกรย์, เดวิด วูด, จอห์น วอห์น, อาร์. แอมโบรส, แจ็ก เบลลีย,์ จอย โฮเวิรด์ , อี. โอ'ดอนเนลล์, เตแรซา กงเดร และฮันส์ ฟอน ลัค
4
บทน�ำ ฤดูใบไม้ผลิปี 1944
ฤดูใบไม้ผลิปี 1944 ถือเป็นห้วงโดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ยุโรป สุดพิเศษเพราะคนยุโรปทุกคนมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ยิ่งใหญ่ เหตุการณ์ นั้นคือ การบุกภาคพื้นยุโรปของฝ่ายสัมพันธมิตร ทุกคนทราบดีว่าการ รบครั้งเดียวครั้งนี้ จะตัดสินชี้ขาดว่าภาคพื้นยุโรปจะตกอยู่ใต้เงามืดของ ระบอบนาซีต่อไปหรือไม่ เมือ่ ถึงเดือนพฤษภาคมปีนนั้ สงครามโลกครัง้ ที่ 2 เคลือ่ นมาถึงชุด ชี้ขาดแล้ว จุดที่การบุกยุโรปไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อีกแล้ว อังกฤษวางแผน จะบุกยุโรปตั้งแต่โดนตีตกทะเลที่ดังเคิร์กในปี 1940 รัสเซียเรียกร้องให้ เปิดแนวรบที่สองตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 1941 ยืนยันว่าแนวรบเดียวไม่ อาจปราบเยอรมนีให้ราบคาบได้ สหรัฐฯ เห็นพ้องกับแนวคิดของรัสเซีย ตัง้ แต่ประกาศเข้าร่วมรบ นายพลจอร์จ มาร์แชลขัดแย้งสุดขัว้ กับดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวเออร์เรื่องแนวรบที่สองในปี 1942 และ 1943 5
แม้จะมีการจับมือกันของสัมพันธมิตรใหญ่สามประเทศ แม้จะมี แรงกดดันจากสาธารณชน ยุทธการหนึ่งตามมาในเดือนพฤศจิกายน ฝ่าย สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกในแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศส ห่างไกลจากกอง ก�ำลังหลักเยอรมัน (ไม่นบั ว่าไกลจากมหานครใหญ่ของเยอรมนีแค่ไหน) ใน เดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่ซิซิลี สองเดือน ถัดมา ทางปลายใต้สดุ ของอิตาลี การยกพลขึน้ บกได้รบั การต้านทานอย่าง หนักจากกองก�ำลังเยอรมัน ปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ได้กดดัน ก�ำลังพลของศัตรู ไม่มีแม้การท�ำให้ก�ำลังการผลิตเพื่อการสงครามของ ศัตรูอ่อนแอลง ตรงกันข้าม โรงงานเยอรมันผลิตรถถังและปืนสูงสุดเป็น ประวัติการณ์ในฤดูใบไม้ผลิปี 1941 และปืนและรถถังเยอรมัน ถือได้ ว่าดีที่สุดในโลก ยิ่งไปกว่านั้น อาจเปิดช่องให้นาซีดึงทรัพยากรและความ เชี่ยวชาญระดับสุดยอดทั่วภาคพื้นยุโรปไปใช้งาน กล่าวโดยสรุป ปฏิบัติ การยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงปี 1942 และ 1943 มีนัยส�ำคัญเชิงการเมืองยิ่งไปกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการ ทหาร ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ก่อปัญหาใดให้ฮิตเลอร์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต ยุทโธปกรณ์หรือก�ำลังพล แต่ฮิตเลอร์มีความกังวลเรื่องหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิปี 1944 จุดเดียว เผยจุดอ่อนให้เห็น ทางเหนือทหารเยอรมันยึดครองนอรเวย์และเดนมาร์ก ไว้ได้แล้ว ทางใต้มีเทือกเขาแอลป์กั้นกลางระหว่างเยอรมนีกับทหารฝ่าย สัมพันธมิตรที่บุกมาถึงเพียงแค่กรุงโรม ฮิตเลอร์ไม่กังวลใจแนวรบทาง ตะวันออก กองทัพเยอรมันปักหลักที่ 600 กิโลเมตรทางตะวันออกของ วอร์ซอ ห่างจากกรุงมอสโกเพียง 300 กิโลเมตร ฮิตเลอร์สูญเสียยูเครน ในปี 1943 การสูญเสียครัง้ ใหญ่ทสี่ ดุ แต่ชดเชยด้วยการวางก�ำลังยึดครอง คาบสมุทรบอลข่าน และปิดล้อมเลนินกราด เหนือ ใต้ และตะวันออก มี แนวป้องกันระหว่างตัวเขากับศัตรู ข้อยกเว้นมีเพียงทิศเดียวคือ ทางตะวัน ตก 6
ฝ่ายสัมพันธมิตรเคลื่อนพลมาชุมนุมกันบนเกาะอังกฤษ ในขณะ นี้ 250,000 นายแล้ว ภัยคุกคามต่อโคโลญจ์และใจกลางศูนย์กลางผลิต ของเยอรมนี ไม่เพียงแค่อยูใ่ กล้ยงิ่ กว่ากองทัพแดง ฝ่ายสัมพันธมิตรยังออก ปฏิบัติการจากฐานที่เยอรมันยังเจาะท�ำลายไม่ได้ และเคลื่อนทัพได้คล่อง กว่าทัพเยอรมันและรัสเซีย แต่ก็แน่นอน ยังมีช่องแคบอังกฤษขวางกั้น และฮิตเลอร์ทราบดีแล้ว จากการศึกษา ปฏิบตั กิ าร ซี ไลอ้อน แผนการ บุกยึดเกาะอังกฤษของเยอรมันในปี 1940 การยกพลข้ามช่องแคบอังกฤษ เป็นไปด้วยความยากล�ำบาก ฮิตเลอร์ท�ำทุกอย่างเท่าที่จะท�ำได้ให้ฝ่ายสัมพันธมิตรท�ำงานได้ ล�ำบากยิง่ ขึน้ ในเวลาเดียวกับทีอ่ งั กฤษอยากยกพลกลับมาสูร้ บบนภาคพืน้ ยุโรปในทันทีทอี่ อกจากดังเคิรก์ ฮิตเลอร์ครุน่ คิดวางแผนการกวาดล้างการ ยกพลขึน้ บก แรกสุด เสริมความแกร่งของแนวป้องกันท่าเรือ โดยการติด ตั้งปืนใหญ่ในหน้าผาสูง สร้างป้อมปืนกลเรียงรายตามแนวชายหาด เสริม ด้วยสนามเพลาะ วางรั้วลวดหนาม และวางเครื่องกีดขวางใต้น�้ำทุกอย่าง ที่วิศวกรเยอรมันทราบกันดีแล้ว ทหารแคนาดารู้ซึ้งว่าแนวป้องกันของ เยอรมันทรงประสิทธิภาพเพียงใด ทหารแคนาดาชนก�ำแพงเหล็ก กระสุน โปรยปรายมาต้อนรับจากทุกทิศ (ปฏิบัติการจูบิลี ที่ดิเอปป์ ในเดือน สิงหาคมปี 1942 ใช้ทหารแคนาดาและหน่วยจู่โจมของอเมริกัน ทหาร ฝ่ายสัมพันธมิตรล้มตายกลาดเกลื่อน การสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุด) ในปี 1943 ทหารเยอรมันเสริมแนวป้องกันตลอดความยาวของชายฝั่งฝรั่งเศส ในเดือนมกราคม 1944 นายพลรอมเมลเดินทางมารับต�ำแหน่งผูบ้ ญ ั ชาการ กลุ่มกองทัพ B การเสริมแนวป้องกันด�ำเนินไปอย่างเข้มข้นฉับไว ทหาร เยอรมันทราบดีวา่ การเปิดแนวรบทีส่ องจะเกิดขึน้ ในฤดูใบไม้ผลิปนี นั้ และ การขับไล่ศัตรูให้ตกทะเลเป็นโอกาสดีที่สุดที่เยอรมนีจะชนะสงคราม ดังนั้น ฮิตเลอร์รวบรวมแรงงานทาสและวัสดุจากทั่วภาคพื้นยุโรป มาเสริมความแกร่งของ 'ก�ำแพงแอตแลนติก' ตลอดแนวชายฝั่งยุโรปและ 7
เบลเยียม โดยเฉพาะอย่างยิง่ ทีโ่ อสเต็นด์และแชร์บวร์ก ทหารเยอรมันสร้าง ป้อมปืนกล สนามเพลาะ จุดสังเกตการณ์ ฐานปืนใหญ่ ป้อมปราการ ดง กับระเบิด ปล่อยน�้ำท่วมทุ่งราบ วางเครื่องกีดขวางใต้น�้ำทุกประเภทเท่า ที่นึกขึ้นมาได้ และระบบเครือข่ายการสื่อสาร...นี่คือ แนวมายิโนต์ก็ว่าได้ เพียงแต่ยาวกว่า และเป็นปฏิบตั กิ ารขนาดมหึมาทีไ่ ม่เคยปรากฏมาก่อนใน ประวัตศิ าสตร์ของโลกตะวันตก หากเปรียบเทียบ ก็คงมีเพียงก�ำแพงเมือง จีนเท่านั้น แม้กองก�ำลังของไอเซนฮาวเออร์จะฝ่าก�ำแพงแอตแลนติกเข้าไปได้ ก็ ใช่วา่ จะได้รบั ชัยชนะอย่างแน่นอน แต่กอ็ ย่างน้อยก็ยงั พอจะมีหวัง ชัยชนะ ยังอยู่ในระดับ 'น่าจะเป็น' ...แต่ถ้าขึ้นฝั่งไม่ได้ โอกาสเหลือเพียงริบหรี่ ไอเซนฮาวเออร์บอกเล่าให้คณะเสนาธิการได้ทราบว่า "อุปสรรคทุกอย่าง ต้องก�ำจัดให้สิ้น ความไม่สะดวกทุกประการต้องแบกรับ และทุกความ เสี่ยง จะต้องประกันให้ได้ว่าการจู่โจมของเราต้องตัดสินชี้ขาดได้ เราไม่ อาจล้มเหลวได้อีกแล้ว" เพื่อรับมือกับปัญหาท้าทายขนาดใหญ่นี้ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และแคนาดา ทุม่ เทให้กบั ภารกิจการส่งก�ำลังไปจูโ่ จม และยึดหัวหาดให้ได้ การร่วมแรงร่วมใจกันได้รหัสว่า ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด ประชาชนทุกผู้ ทุกคนในสามประเทศ ร่วมมือกันเพื่อผลักดันให้ภารกิจนี้ส�ำเร็จ ปัญหาของไอเซนฮาวเออร์ไม่ได้อยู่ที่การขาดไร้ทรัพยากร เขามีรถ ถัง ปืน และรถบรรทุกเหลือเฟือ ปัญหาเดียวจะเป็นการขนส่งยุทธปัจจัย ข้ามช่องแคบเข้าสูส่ นามรบได้อย่างไร รถถังและปืนใหญ่ตอ้ งใช้เวลานานโข ก่อนจะขนถ่ายขึ้นฝั่งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันดี-เดย์ และอีกหลายวัน หลังจากนั้น ดังนั้น จุดเปราะบางของกองก�ำลังฝ่ายสัมพันธมิตรจะอยู่ที่ ระลอกแรกทีข่ นึ้ ฝัง่ ได้แล้วก่อนทีร่ ะลอกสองจะขึน้ ฝัง่ มาเสริมก�ำลังด้วยรถถัง และปืนใหญ่ ทหารระลอกแรกมีจ�ำนวนน้อยกว่าศัตรูหลายเท่า(อาจถึงสิบ ต่อหนึ่ง) แม้เวลาผ่านมาถึง 'ดีเดย์ บวก หนึ่งเดือน' สัดส่วนนั้นยังเป็น 8
ห้าต่อหนึ่ง แต่กองทัพเยอรมัน รวมทั้งสิ้น 55 กองพล กระจัดกระจาย อยู่ทั่วฝรั่งเศส หลายหน่วยตรึงติดที่ หลายหน่วยด้อยคุณภาพ ยิ่งไปกว่า นั้น ไอเซนฮาวเออร์ยังฝากความหวังไว้กับกองทัพอากาศ ที่จะยับยั้งการ เคลื่อนพลของกองทหารเยอรมัน อย่างน้อยในช่วงกลางวัน เขาเลือกจุด ขึ้นฝั่งทางตะวันตกของแม่น�้ำออรฺน เพื่อเลี่ยงหลบการชุมนุมพลหนาแน่น ของกองทัพเยอรมันในฝรั่งเศส ซึ่งจะอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของ ปากแม่น�้ำแซน ในบริเวณนั้น และรอบปาส เดอ กาเลส์ แนวป้องกัน เยอรมันแน่นหนาที่สุด และยิ่งไปกว่านั้น ยานเกราะเยอรมันส่วนใหญ่ ชุมนุมกันหนาแน่นในปาส เดอ กาเลส์ ในเมือ่ ยานเกราะเยอรมันอยูท่ างตะวันออก ถือเป็นอันตรายทีส่ ดุ ของ ปีกซ้ายของการยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตร อยู่ใกล้แนวการตีโต้จาก ยานเกราะเยอรมัน ไอเซนฮาวเออร์คาดไว้แล้วว่าจะเป็นการตีโต้ที่ดุเดือด ที่สุด และอันตรายที่สุด รอมเมลมีกองพลยานเกราะสองกองพลเพือ่ การตีโต้...SS แพนเซอร์ที่ 12 กับ แพนเซอร์ที่ 21 ตั้งฐานในเมืองกองและทางตะวันออกของกอง ความกลัวทีส่ ดุ ของไอเซนฮาวเออร์คอื รอมเมลส่งสองกองพลนัน้ ประสาน งานกัน เคลื่อนมาหาปีกซ้ายของหัวหาดซอร์ด ทางตะวันตกของปากแม่ น�้ำออรฺน เป็นไปได้มากว่ายานเกราะเยอรมันจะบดขยี้กองพลทหารราบ ที่ 3 ของอังกฤษจากหัวหาดซอร์ดให้ตกทะเล เป็นไปได้ยิ่งกว่านั้น วัน ดี-เดย์ บวกหนึ่งหรือบวกสอง จะมีกองพลแพนเซอร์อื่นเคลื่อนมาสมทบ ในนอร์มังดี เพื่อกวาดล้างหัวหาดที่เหลืออีกสี่แห่ง เริ่มต้นที่หัวหาดจูโน, โกลด์ และมาจบลงที่หัวหาดอเมริกันโอมาฮากับยูทาห์ หากมีการสู้รบกัน ที่ชายหาด การขนส่งอาวุธหนักขึ้นฝั่ง ก็ต้องหยุดชะงัก เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัตินี้ ไอเซนฮาวเออร์คาดว่าทัพอากาศ ซึ่งครอง ฟ้าได้แล้ว น่าจะหน่วงการเคลือ่ นทีข่ องยานเกราะเยอรมันเข้าสูน้ อร์มงั ดีให้ ล่าช้าไปอีกสักระยะ แต่ปัญหาก็คือ เครื่องบินไม่อาจปฏิบัติงานได้ในเวลา 9
กลางคืนหรือในช่วงฟ้าปิด เครือ่ งบินเพียงอย่างเดียวไม่อาจก�ำหนดสนามรบ เฉพาะแห่งได้ ไอเซนฮาวเออร์จ�ำเป็นต้องหาวิธอี นื่ มาเพิม่ เติม เพือ่ ปกป้อง หัวหาดซอร์ดและปีกซ้ายที่เสี่ยงต่อการโจมตีบดขยี้ เพื่อแก้ปัญหานี้ ไอเซนฮาวเออร์หันไปหาขุมก�ำลังที่การครองฟ้าเปิด ให้ใช้ นั่นก็คือ พลร่ม หน่วยรบระดับสุดยอดและขนส่งทางอากาศไปลง ยังจุดใดก็ได้ในสนามรบ ในช่วงปีแรก พลร่มและการขนส่งทางอากาศ ด้วยเครื่องร่อนของเยอรมันประสบความส�ำเร็จดียิ่งจนอังกฤษและสหรัฐฯ จ�ำเป็นต้องสร้างหน่วยพลร่มของตนเองขึ้นมา บัดนี้ ไอเซนฮาวเออร์มี พลร่มในมือสี่กองพล-กองพลร่มที่ 82 และ 101 กับกองพลร่มอังกฤษ ที่ 1 และ 6 เขาตัดสินใจใช้พลร่มคุมปีกทั้งสองข้าง ใช้ในเชิงรุกเพื่อให้ ความช่วยเหลือเชิงยุทธวิธี โดยการยึดสะพาน ทางแยกถนน และใช้ในเชิง รับ ก่อกวนให้ทหารเยอรมันวุน่ อยูก่ บั การสูร้ บชัว่ ระยะและสับสน กองพล พลร่มที่ 6 ลงสูพ่ นื้ ทางตะวันออกของหัวหาดซอร์ด จะวางแนวรับสกัดกัน้ ยานเกราะเยอรมันไม่ให้โจมตีปีกซ้าย แม้จะมีความเสี่ยงถึงขั้นวิกฤต แต่ยังไม่วิกฤตมากพอในสายตาของ จอร์จ ซี. มาร์แชล เสนาธิการทัพบกสหรัฐฯ เขามีความเห็นแย้ง และ ส่งรายงานดุดนั ไปต�ำหนิลกู ศิษย์ จดหมายเนือ้ หากราดเกรีย้ วทีส่ ดุ เท่าทีเ่ ขา เคยเขียน ข้อต�ำหนิของมาร์แชล และข้อกล่าวแก้ของไอเซนฮาวเออร์ น�ำ เอาผลดีผลเสียของการใช้พลร่มออกมาตีแผ่ให้เห็น มาร์แชลชี้ให้เห็นว่าบทบาทที่ก�ำหนดให้พลร่มเป็นเพียงการตั้งรับ เขาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ ไม่มีการออกไปปะทะศัตรู หรือก่อกวนจุด ยุทธศาสตร์ของศัตรู หรือใช้ขีดความสามารถในการตีโต้ มาร์แชลบอกไอ เซนฮาวเออร์ว่า เมื่อครั้งที่เขาสร้างกองพลพลร่มที่ 82 และ 101 ขึ้น มา เขาตั้งความหวังไว้สูงว่าพลร่มจะเป็นปัจจัยสุดส�ำคัญในสนามรบ แต่ก็ ขอสารภาพว่าความหวังของเขามลายหายไปสิน้ และแผนของไอเซนฮาวเอ อร์ทำ� ให้เขาหดหู่ ส่งกองพลพลร่มอเมริกนั สองกองพลไปปกป้องปีกขวาของ 10
หัวหาดยูทาห์ และส่งกองพลร่มอังกฤษหนึง่ กองพลไปปกป้องปีกซ้ายให้หวั หาดซอร์ด เขาประณามว่าแผนการนี้ 'ไร้จนิ ตนาการ' เกิดจากพวกคิดเล็ก คิดน้อย นายพลโอมาร์ แบรดลียย์ นื ยันว่าต้องการพลร่มช่วยเหลือปกป้อง ปีกขวา และนายพลเบอร์นาร์ด ลอว์ มอนต์โกเมอรียืนยันอีกเสียงว่าหัว หาดซอร์ดจ�ำเป็นต้องมีพลร่มช่วยเหลือ การแตกพลร่มให้กระจัดกระจายถือเป็นความผิดพลาด มาร์แชลบอก ไอเซนฮาวเออร์ไปอย่างนัน้ หากเขาเป็นผูด้ แู ลปฏิบตั กิ ารโอเวอร์ลอร์ด เขา จะทุ่มกองพลร่มทั้งหมดไปที่จุดเดียว "ถึงขั้นที่ว่า หากฝ่ายอังกฤษโต้แย้ง ฉันจะสานภารกิจต่อไปโดยใช้พลร่มอเมริกนั เพียงฝ่ายเดียว" เขาจะส่งพลร่ม ลงที่เอฟเวรฺอ ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ห่างเมืองกองไปอีกเจ็ดสิบห้าไมล์ มี สนามบินใกล้เอฟเวรฺอ ถึงสีแ่ ห่งทีพ่ ลร่มจะยึดได้อย่างง่ายดาย ได้สนามบิน การส่งก�ำลังบ�ำรุงเป็นไปได้ "แผนนีเ้ ข้าท่าทีส่ ดุ " มาร์แชลประกาศชัด "ฉัน รู้สึกว่านี่คือการบุกในแนวดิ่งจะเป็นภัยคุกคามทางยุทธวิธีของเยอรมันจน ต้องทบทวนแก้ไขแผนป้องกันของตัวเองเสียใหม่" ปีกซ้ายของมอนต์โกเม อรีและปีกขวาของแบรดลียด์ แู ลตัวเองได้ กล่าวโดยสรุป เพราะยานเกราะ เยอรมันจะวุ่นอยู่กับการโจมตีพลร่มที่เอฟเวรฺอ การทิ้งพลร่มมืดฟ้ามัวดิน จะท�ำให้เยอรมันประหลาดใจ คุกคามทัง้ ทางข้ามแม่น�้ำแซนและปารีส ทัง้ ยังต้องรับมือกับการลุกฮือของพลพรรคใต้ดินอีกทาง ข้อบกพร่องเดียวทีม่ าร์แชลมองเห็นในแผนของตน "เราไม่เคยท�ำเรือ่ ง แบบนี้มาก่อน และกล่าวโดยสัตย์จริง ปฏิกิริยาโต้แย้งท�ำให้ฉันเหนื่อยใจ" เสนาธิการสรุปโดยกล่าวว่าเขาไม่ตอ้ งการสร้างแรงกดดันให้ไอเซนฮาวเออร์ แต่อย่างน้อยที่สุด ขอให้ไอเซนฮาวเออร์พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะกล้า เสี่ยง ใช้พลร่มของเขาให้ได้ประสิทธิผลในเชิงยุทธ์ให้ถึงขีดสุด ค�ำตอบของไอเซนฮาวเออร์ยาวเหยียด และป้องกันตัวเอง เขาบอก ว่าในหนึง่ ปีทผี่ า่ นมา เรือ่ งทีเ่ ขาสนใจมากเป็นพิเศษจะเป็นการคิดหาเทคนิค วิธที จี่ ะใช้วธิ ลี ำ�้ หน้าศัตรูในการสูร้ บ และการใช้พลร่มในแผนยุทธการ เห็น 11
ได้ชัดในตัวอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม แนวคิดของมาร์แชลเป็นไปไม่ได้ ข้อ แรก ไอเซนฮาวเออร์ยืนยันว่าแบรดลีย์และมอนต์โกเมอรีเป็นฝ่ายถูก ปีก ของการยกพลขึ้นบนทั้งสองทิศ จักต้องได้รับการปกป้องไม่ให้ยานเกราะ เยอรมันเข้าตี ข้อสอง และที่ส�ำคัญยิ่งกว่านั้น กองพลพลร่มสามกองพล ลงไปในใจกลางแผ่นดิน ห่างออกไปเจ็ดสิบห้าไมล์ ไม่อาจต้านศัตรูได้ตาม ล�ำพัง ไม่มีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ ไม่มีอาวุธหนัก ดังนั้น จะถูก ท�ำลายย่อยยับ กองทัพเยอรมันแสดงให้เห็นหลายครั้งหลายคราแล้ว 'ไม่ กลัวภัยคุกคามจากการโอบล้อม' จากเครือข่ายถนนในฝรั่งเศส รอมเมล เลือกได้ว่าจะทุ่มก�ำลังไปบดขยี้กลุ่มแยกย่อยให้ราบคาบไปได้ทีละกลุ่ม ไอเซนฮาวเออร์ยกตัวอย่างประสบการณ์ฝา่ ยสัมพันธมิตรทีแ่ อนซิโอปี 1944 ยกพลขึน้ บกทีน่ นั่ เพือ่ จะแทรกผ่านแนวรับของเยอรมัน เพือ่ คุกคาม แนวหลังของทหารเยอรมันและกรุงโรม ไอเซนฮาวเออร์บอกมาร์แชล ว่า "นักการทหารทุกคนผู้วิเคราะห์สถานการณ์หลังจากเกิดเรื่องที่แอนซิ โอ อาจจะบอกว่าความหวังเดียวที่เยอรมันเหลืออยู่ จะเป็นการถอนทัพ ในทันที ถอยหนีรวดเร็ว" ตรงกันข้าม ทหารเยอรมันตีโต้อย่างหนัก ใน เมือ่ ฝ่ายยกพลขึน้ บกไม่มรี ถถังและรถบรรทุกทีจ่ ะสนับสนุนการยิงหนักหน่วง ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรแทบไม่เหลือรอด แต่ยงั อยูไ่ ด้เพราะฝ่ายสัมพันธมิตร ครองน่านน�ำ้ มีเรือลอยล�ำนอกฝัง่ ให้การยิงสนับสนุนและส่งก�ำลังบ�ำรุงจาก ทะเลขึ้นสู่หัวหาด แต่ถ้าเป็นพลร่มลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ จะไม่มีการ สนับสนุนใด เว้นแต่การส่งก�ำลังบ�ำรุงทางอากาศ ซึ่งไม่มีทางขนส่งรถถัง ปืนใหญ่ รถปราบดิน และเครื่องมืออื่นๆ ที่จะต้านยานเกราะเยอรมันได้ พลร่มทั้งสี่กองพลจะละลายไปสิ้น ไอเซนฮาวเออร์ไม่เต็มใจที่จะเสี่ยงตามแผนของมาร์แชล เขาเชื่อ ว่าการทิ้งพลร่มลงที่ เอฟเวรฺอ จะไม่ก่อภัยคุกคามเชิงยุทธวิธีต่อทหาร เยอรมัน เกิดผลเพียงแค่การใช้พลร่มเปลืองเปล่า ไม่ต่างกับการส่งพลร่ม ไปเป็นตัวประกัน เหมือนทีเ่ กิดขึน้ ทีแ่ อนซิโอ ไอเซนฮาวเออร์กล่าวว่า "ฉัน 12
ไม่ชนื่ ชอบการยืนยันวิถอี นุรกั ษนิยมให้เป็นปฏิปกั ษ์ตอ่ ค�ำท้าทายว่าต้องกล้า ตัดสินใจ" แต่เขาไม่เปลี่ยนแผน มาร์แชลไม่ยกเรื่องนี้มาอีกเลย ไม่เคยมีการใช้แผนตามแนวคิดของมาร์แชล ที่อาร์เน็ม เดือน กันยายน 1944 มีการใช้งานพลร่มสามกองพลแต่ลงพืน้ คนละจุด ห่างไกล กันหลายไมล์ ดังนัน้ เราไม่อาจทราบว่าใครเป็นฝ่ายถูก มาร์แชลหรือว่าไอ เซนฮาวเออร์ แต่ไอเซนฮาวเออร์เป็นผูบ้ ญ ั ชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร ดังนั้น จึงมีการน�ำแผนอนุรักษนิยม แทน 'การกล้าตัดสินใจ' ไปใช้งาน ด้วยเหตุนี้ กองพลพลร่มที่ 6 ของอังกฤษ ได้รับภารกิจส�ำคัญ ในวันดี-เดย์ ภารกิจนี้อยู่ในความรับผิดชอบของนายพลเกล ผู้บัญชาการ กองพลพลร่มที่ 6 นายพลเกลเลือกส่งกองพลของเขาไปทางตะวันออก ของแม่น�้ำออรฺน ราวห้าถึงเจ็ดไมล์ในแผ่นดินใหญ่ ในทุ่งราบระหว่างแม่ น�้ำออรฺนกับแม่น�้ำดีฟส์ จะรวมพลในบริเวณหมู่บ้านรองวิลล์ และป้องกัน สะพานข้ามคลองกอง และสะพานข้ามแม่นำ�้ ออรฺน กองร้อยทีฝ่ กึ มาอย่าง ดีจะยึดและท�ำลายสะพานทั้งสี่แห่งข้ามแม่น�้ำดีฟส์ และถอยกลับมาตั้งรับ ที่หมู่บ้านรองวิลล์ อีกส่วนหนึ่งจะเข้าตีฐานปืนใหญ่เยอรมันที่แมรฺวิลล์ แผนของนายพลเกล จะเป็นการยึดและป้องกันสะพานเหนือล�ำน�้ำ ออรฺน โดยกองพลพลร่มที่ 6 จะไม่มรี ถถัง ปืนใหญ่ หรือรถบรรทุก หรือ อาวุธใดๆ จากหัวหาดมาสนับสนุน จุดชี้เป็นชี้ตายว่าการยกพลขึ้นบกจะ ส�ำเร็จหรือล้มเหลว ปฏิบัติการยึดและปกป้องสะพานจ�ำเป็นต้องวางแผน ละเอียดถี่ถ้วน ต้องฝึกอย่างหนัก และต้องจู่โจมสุดห้าว ปฏิบัติการยึดสะพานเพกาซัสคือ เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้
13
ดี-เดย์: เวลา 0000-0015
สะพานเบนูวิลล์(ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นสะพานเพกาซัส) สะพาน เหล็ก และถังน�้ำ ทาสีเทา สะพานหก โครงเหล็กถ่วงน�้ำหนักยกสะพาน ขึ้นให้เรือแล่นผ่านได้ เวลา 0000 คืนวันที่ 5/6 มิถุนายน 1944 เมฆ หนาเคลื่อนแยกพอให้แสงจันทร์เกือบเต็มดวงส่องลงมาให้เห็นสะพานเพ กาซัส ทอดเงาด�ำเหนือผืนน�้ำระยิบระยับของคลองกอง(caen canal) บนสะพาน พลทหารเวิร์น บองค์ ทหารโปแลนด์อายุยี่สิบสองปี เกณฑ์เข้ามาสังกัดกองทัพเยอรมัน ตบเท้าขึงขังท�ำความเคารพพลทหารเฮ ลมุต โรเมอร์ ทหารเยอรมันอายุสบิ แปดคนเบอร์ลนิ โรเมอร์มาสับเปลีย่ น บองค์ หลังจากบองค์ออกเวร เขาไปสมทบกับทหารโปแลนด์อกี นาย เห็น พ้องต้องกันว่ายังไม่งว่ ง ชวนกันไปหาความสนุกระบายความเครียดในซ่อง ท้องถิ่นในหมู่บ้านเบนูวิลล์ ทั้งสองเดินเท้ามุ่งหน้าไปทางตะวันตกบนถนน ของสะพาน หักลงใต้(ซ้าย)ที่สามแยก เดินไปตามถนนเข้าเบนูวิลล์ เวลา 0005 ทหารทั้งสองไปถึงซ่อง ขาประจ�ำคุ้นหน้า อีกสองนาทีถัดมา ทั้ง สองดวดไวน์แดงฝรั่งเศสราคาถูกกับสองแม่นางประจ�ำซ่อง ข้างสะพานริมฝั่งตะวันตกของคลอง ทางทิศใต้ของถนน จอร์จกับ เตแรซา กงเดร และลูกสาวอีกสอง หลับใหลในคาเฟหลังเล็ก ทั้งสี่แยก 14
ห้องนอน ใช่วา่ จะเลือกเช่นนัน้ หากแต่เป็นความจ�ำเป็นต้องใช้งานทุกห้อง เพือ่ ป้องกันไม่ให้กองทัพเยอรมันส่งทหารเข้ามาร่วมพักอาศัยในบ้าน ค�ำ่ คืน นี้ เป็นคืนที่ 1,450 ที่เยอรมันมายึดครองเบนูวิลล์ เท่าที่ทหารเยอรมันทราบ ครอบครัวกงเดรเป็นแต่เพียงครอบครัว ชาวนานอร์มงั ดีไม่มนี �้ำยา ไม่ควรค่าแก่การเหลียวมอง ชาวบ้านทีไ่ ม่นา่ จะ มีพิษมีภัย เป็นเช่นนั้นจริง เพราะจอร์จขายเบียร์ กาแฟ อาหาร และ ขนมหวานที่มาดามท�ำจากผลไม้ใกล้เน่า ขายน�ำ้ ตาลเมาให้ทหารเยอรมัน ที่มาตั้งหน่วยรักษาสะพาน ทหารราว 50 นาย ชั้นประทวนและนาย ทหารล้วนเป็นเยอรมัน ทหารเกณฑ์ส่วนใหญ่มาจากยุโรปตะวันออก แต่ครอบครัวกงเดรไม่ใช่ชาวนาโง่เง่าอย่างที่แสร้งท�ำ มาดามมาจา กอัลซาซ พูดเยอรมันได้ เธอเก็บง�ำไม่ให้ทหารเยอรมันทราบ ก่อนจอร์จจะ มาซือ้ คาเฟแห่งนี้ เขาเคยเป็นเสมียนในธนาคารลอยด์ในปารีสนาน 12 ปี เข้าใจภาษาอังกฤษแตกฉาน ครอบครัวกงเดรเกลียดเยอรมันที่มาย�่ ำยี รุกรานฝรัง่ เศส เกลียดชีวติ ทีต่ กอยูใ่ ต้การยึดครอง กลัวอนาคตมืดมนทีจ่ ะ เกิดต่อลูกสาวทัง้ สอง ครอบครัวนีท้ ำ� ทุกวิถที างทีข่ บั ไล่การปกครองเยอรมัน ให้พน้ ไปจากทีน่ ี่ สิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ทีค่ รอบครัวนีจ้ ะมอบให้ฝา่ ยสัมพันธมิตรได้ จะเป็นข้อมูลสภาพของสะพานข้ามคลองแห่งนี้ เตแรซาได้ขอ้ มูลจากการรับ ฟังเรื่องที่ทหารเยอรมันชั้นประทวนพล่ามพูดกันในคาเฟ เธอส่งข้อมูลต่อ ให้จอร์จ และเขาส่งข้อมูลต่อไปยังมาดามวิยง ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาล ผดุงครรภ์ ผู้น�ำข้อมูลไปมอบให้พลพรรคใต้ดินที่เมืองกองในยามที่เธอเข้า เมืองไปรับเวชภัณฑ์ จากเมืองกอง จะส่งข้อมูลต่อไปยังอังกฤษโดยเครื่อง บินไลซานเดอร์ เครื่องบินขนาดเล็กที่ร่อนลงกลางทุ่งนาและบินกลับไป โดยไว เมื่อหลายวันก่อน วันที่ 2 กรกฎาคม จอร์จส่งข้อมูลที่ได้ทราบ จากเตแรซาไปตามช่องทางนี้ แจ้งให้ฝา่ ยสัมพันธมิตรทราบว่าปุม่ กดระเบิด สะพาน จะอยูใ่ นป้อมปืนกลคอนกรีตทางทิศใต้ของสะพาน อยูต่ รงข้ามกับ 15
ปืนต่อสูร้ ถถังอีกฟากหนึง่ ของคลอง เขาได้แต่หวังว่าข่าวนีค้ งส่งไปถึงปลาย ทาง ไม่อยากให้สะพานเบนูวิลล์ของเขาถูกระเบิดท�ำลาย ผู้ที่จะออกค�ำสั่งให้ระเบิดสะพานคือ ผู้บังคับการค่ายทหาร พันตรี ฮันส์ ชมิดต์ บังคับกองร้อยไม่เต็มก�ำลังพล สังกัดกรมทหารราบเกรนา เดียร์ที่ 736 กองพลทหารราบที่ 716 เวลา 0000 วันที่ 5/6 เขา อยู่ในรองวิลล์ หมู่บ้านเล็ก ห่างไปทางตะวันออกของแม่น�้ำออรฺน แม่น�้ำ ออรฺนแล่นขนานไปกับคลองกอง ในแนวเหนือใต้ จากสะพานเพกาซัสข้าม คลองกอง ไปทางตะวันออก จะเว้นระยะห่างราวสีร่ อ้ ยเมตร เป็นสะพาน ข้ามแม่น�้ำออรฺน(ได้ชื่อในภายหลังว่าสะพานฮอร์ซา) สะพานตรึงติดที่ มี ทหารยามเฝ้า แต่ไม่มีแท่นปืนหรือป้อมทหาร แม้ทหารเยอรมันคาดว่าการยกพลขึ้นบกบุกทวีปยุโรปที่รอมานาน จะเกิดในไม่ช้านี้แล้ว แม้พันตรีชมิดต์ได้รับค�ำบอกกล่าวว่าสะพานทั้งสอง แห่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สุดส�ำคัญในนอร์มังดี...เพราะเป็นเพียงจุดข้ามแม่ น�ำ้ ออรฺนเพียงแห่งเดียวตลอดแนวยาวของชายฝัง่ นอร์มงั ดี ผูพ้ นั ไม่ได้สงั่ ให้ ทหารเตรียมพร้อม เขาเองก็ไม่พร้อมรบ เดินทางไปติดต่อธุรกิจในหมูบ่ า้ น รองวิลล์ หากไม่นบั ทหารยามสองนาย ประจ�ำบนสะพานแต่ละแห่ง ทหาร ทีเ่ หลือนอนหลับในบังเกอร์ งีบโงกในร่องสนามเพลาะ หลับสบายในรังปืน กล หรือไม่ก็ออกไปหาความส�ำราญในซ่องในเบนูวิลล์ ผูพ้ นั ชมิดต์มเี พือ่ นหญิงในรองวิลล์ สุขสบายเอร็ดอร่อยไปกับอาหาร และเครื่องดื่มเลิศรสของนอร์มังดี เขามองตัวเองว่าเป็นนาซีขนานแท้ พร้อมจะมอบกายถวายชีวิตปฏิบัติภารกิจเพื่อฟือห์เรอร์ของเขา แต่ชมิดต์ ผูน้ ี้ ไม่เคยปล่อยให้งานในหน้าทีม่ าขัดขวางการหาความสุขใส่ตน เขาไม่มี กังวลในใจในคืนนี้ ความกังวลเรือ่ งเดียว เขากลัวว่าพลพรรคใต้ดนิ ฝรัง่ เศส จะวางระเบิดสะพานทั้งสองแห่ง ซึ่งก็ไม่น่าจะเป็นไปได้หากไม่มีความช่วย เหลือจากปฏิบตั กิ ารของพลร่ม ลมกระโชก พายุกราดเกรีย้ วในสองวันสอง คืนที่ผ่านมา ตัดการโดดร่มทิ้งไปได้เลย เขาได้รับค�ำสั่งให้ระเบิดสะพาน 16
ทิ้งหากเชื่อว่าศัตรูจะยึดสะพานนั้นไว้ได้แน่นอนแล้ว เขาเตรียมการระเบิด สะพานไว้แล้ว แต่ยังไม่วางระเบิดเข้าซอกร่องสะพาน เกรงว่าจะเกิด อุบัติเหตุ หรือพลพรรคใต้ดินฉวยโอกาสใช้ระเบิดนั้น ในเมื่อสะพานทั้ง สองแห่งอยู่ลึกเข้ามาในแผ่นดิน ห่างจากชายฝั่งกว่าห้าไมล์ เขาเชื่อว่าน่า จะมีเวลาเหลือเฟือ มีค�ำเตือนล่วงหน้าก่อนที่หน่วยทหารฝ่ายสัมพันธมิตร จะเดินทางมาถึง แม้จะเป็นพลร่มก็ตามที เพราะพลร่มได้ชื่อว่าเฟอะฟะ ลงพื้นกระจัดกระจาย ใช้เวลานานก่อนจะรวมพลได้ ผู้พันชมิดต์รินไวน์ ให้ตนเอง เพิ่มเป็นพิเศษสูงขึ้นอีกหยิบมือ ที่วิมงต์ ทางตะวันออกของกอง พันเอกฮันส์ เอ. ฟอน ลัค ผู้ บังคับการกรมแพนเซอร์เกรนาเดียร์ที่ 125, กองพลแพนเซอร์ที่ 21 นั่ง เขียนรายงานส่งไปยังกองบัญชาการ ภาพตัดกันของผู้พันชมิดต์กับผู้การ ฟอน ลัค เลยไกลไปกว่ากิจกรรมในค�่ำคืนนี้ ผู้พันชมิดต์เป็นนายทหาร ปวกเปียกจากงานยึดครองสุขสบายหลายปีทผี่ า่ นมา ผูก้ ารฟอน ลัค กร้าน ศึกและแกร่งจากสนามรบ ผู้การฟอน ลัคน�ำทัพเข้าโปแลนด์ในปี 1939 น�ำทัพกองพันลาดตระเวนให้นายพลรอมเมลทีด่ งั เคิรก์ ในปี 1940 เป็นหัว หอกบุกมอสโกในปี 1941 (ในเดือนธันวาคม เขาน�ำกองพันของเขาเข้าไป ทีช่ านกรุงมอสโก การเจาะลึกทีส่ ดุ ของยุทธิภมู คิ รัง้ นัน้ ) เขาติดตามนายพล รอมเมลไปในยุทธภูมิแอฟริกาเหนือ ระหว่างปี 1942-1943 เช่นกัน กองทหารทัง้ สอง ฉายภาพตัดกันสุดขัว้ ทหารราบที่ 716 เป็นกองทหารชั้นสอง อาวุธล้าสมัย กองทหารตรึงติดที่ ก�ำลังพลเป็น ทหารเกณฑ์จากดินแดนยึดครอง ทหารโปแลนด์ รัสเซีย ฝรัง่ เศส ในขณะ ที่กองพลแพนเซอร์ที่ 21 เป็นหน่วยสุดโปรดของนายพลรอมเมล กรม ของผู้การฟอน ลัค, ยานเกราะที่ 125 เป็นหนึ่งของหน่วยทหารที่ได้รับ อุปกรณ์ชั้นเลิศในกองทัพเยอรมัน กองพลแพนเซอร์ที่ 21 ละลายหาย ไปสิ้นในตูนิเซีย ในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 1943 แต่รอมเมลดึง 17
นายทหารส่วนใหญ่ออกจากกับดัก น�ำนายทหารกร้านศึกกลุม่ นีม้ าเป็นแกน กลางสร้างกองพลยานเกราะขึน้ มาใหม่ กองพลยานเกราะทีไ่ ด้ยทุ โธปกรณ์ ใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรถถังไทเกอร์ ยานอัตตาจรทุกประเภท และ ระบบสื่อสารวิทยุชั้นเลิศ ทหารล้วนแต่เป็นอาสาสมัคร คนเยอรมันหนุ่ม ที่เลี้ยงให้เติบใหญ่โดยพรรคนาซี ฝึกมาอย่างดี กระเหี้ยนกระหือรืออยาก ต่อกรกับข้าศึก คืนนั้นมีเครื่องบินหนาตา เครื่องบินทิ้งระเบิดอังกฤษและอเมริกัน บินมาทิ้งระเบิดเมือง กอง เหมือนปกติวิสัย ผู้พันชมิดต์ไม่ใส่ใจ ผู้การ ฟอน ลัคไม่คดิ ว่าเป็นเรือ่ งแปลก เขาเคยคุน้ กับภาพและเสียงของการสูร้ บ อยู่แล้ว แต่เขาสังเกตเห็นในสิ่งที่เสมียนมองข้ามไป เวลา 0010 เครื่อง บินครึง่ โหลบินต�ำ่ กว่าปกติ ราวห้าร้อยฟุตหรือน้อยกว่านัน้ นัน่ น่าจะหมาย ถึงการบินมาทิง้ ร่มน�ำสัมภาระให้ทงิ้ ให้พลพรรคใต้ดนิ ผูก้ ารฟอน ลัคคิดใน ใจ ออกค�ำสัง่ ให้ทหารไปค้นบริเวณนัน้ เผือ่ จะจับพวกใต้ดนิ ท้องถิน่ ได้บา้ ง ในระหว่างที่ออกมาเก็บสัมภาระกลางทุ่ง * * * ไฮน์ริช(เฮนรี) ไฮน์ซ ฮิกแมน สิบเอกสังกัดกรมพลร่ม(อิสระ)ที่ 6 นั่งมาในรถเปิดประทุน เดินทางออกจากอูวิสเตรออัม ชายฝั่งทะเล มุ่ง หน้ามายังเบนูวิลล์ ฮิกแมนอายุยี่สิบสี่ เคยผ่านศึกซิซิลีและอิตาลี กรม ของเขาเดินทางมายังนอร์มังดีเมื่อครึ่งเดือนที่ผ่านมา เวลา 2300 คืน วันที่ 5 มิถุนายน ผู้บังคับกองร้อยสั่งให้เขาไปรับพลทหารใหม่จากจุด สังเกตการณ์นอกอูวิสเตรออัม มาส่งที่กองบัญชาการใกล้เบรวิลล์ ทาง ตะวันออกของแม่น�้ำ ฮิกแมนเป็นพลร่ม เขาได้ยนิ เสียงเครือ่ งบินบินต�่ำ ได้ขอ้ สรุปเช่นเดียว กับผู้การฟอน ลัค น่าจะเป็นการทิ้งร่มส่งสัมภาระให้พลพรรคใต้ดิน ด้วย 18
เหตุผลเดียวกัน ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่มวี นั ส่งพลร่มมาลงทีน่ ดี่ ว้ ยเครือ่ งบินแค่ ครึ่งโหล เขานั่งรถต่อไป มุ่งหน้าไปหาสะพานพาดข้ามคลองกอง เหนือช่องแคบอังกฤษ เวลา 0000 เครื่องบินทิ้งระเบิดฮาลิแฟ็กซ์ สองกลุ่ม กลุ่มละสามล�ำ บินในระดับเจ็ดพันฟุต มุ่งหน้ามาหาเมืองกอง ในเมื่อเครื่องบินว่อนเต็มฟ้า ปืนต่อสู้อากาศยานและไฟส่อง ไม่ได้สังเกต เห็นว่าเครือ่ งบินทิง้ ระเบิดฮาลิแฟ็กซ์แต่ละล�ำ พ่วงเครือ่ งร่อนฮอร์ซามาด้วย เครื่องร่อนล�ำหน้า พลทหารวอลลีย์ พาร์, กองร้อย D, กองพันที่ 2 ทหารราบเบาออกซฟอร์ดเชียร์และบักกิงแกมเชียร์(อ็อกซ์แอนด์บั๊กส) ส่วนหนึ่งของกองพลน้อยส่งทางอากาศ, กองพลพลร่มที่ 6 ของอังกฤษ เป็นต้นเสียงน�ำเพื่อนทหารร้องเพลง เสียงทุ้มลึกทรงพลัง ส�ำเนียงค็อก นีย์ พาร์ขึ้นเพลง “แอบบี, แอบบี, มาย บอย” สิบโทบิลลี เกรย์ นั่ง แถวหลังถัดจากพาร์ แทบไม่ได้สง่ เสียยงร้องเพลง กังวลเพียงแค่กระเพาะ ปัสสาวะเต็มปรี่ อยากหาทางระบายน�้ำออกจากตัว สิบโทแจ๊ก เบลลีย์ เป็นกังวลเช่นกัน กังวลต่อร่มชูชีพที่เขาเป็นผู้ดูแล นักบินเครือ่ งร่อน จ่าสิบตรีจมิ วอลล์เวิรก์ อายุยสี่ บิ สีป่ ี กรมนักบิน เครือ่ งร่อน เตรียมพร้อมรับการตัดสายโยงในอีกไม่กวี่ นิ าทีขา้ งหน้า เพราะ เขามองเห็นคลื่นแตกยอดสีขาวกระทบหาดฝรั่งเศสเบื้องล่าง นักบินผู้ช่วย จ่าสิบตรีจอห์น เอนสเวิรธ์ นิว่ หน้ามองนาฬิกาจับเวลาในมือ ด้านหลังของ เอนสเวิรธ์ จะเป็นผูบ้ งั กองร้อย D, พันตรีจอห์น โฮเวิรด์ อายุสามสิบเอ็ด ปี อดีตจ่าประจ�ำกรมและอดีตต�ำรวจ หัวเราะร่วมกับคนอื่นๆ เมื่อเพลง จบลง พาร์ตะโกนส่งเสียงถาม “ผู้พันของเราวางกระโถนเรียบร้อยแล้ว ยัง?” โฮเวิรด์ เมาอากาศในการขึน้ เครือ่ งทุกเทีย่ ว อาเจียนราดพืน้ ทุกคราว ที่ฝึกบิน อย่างไรก็ตาม ในการบินเที่ยวนี้ ไม่มีอาการเมาอากาศ เหมือน ทหารทุกนายในเครื่องร่อนล�ำนี้ เขาไม่เคยลงสู่สนามรบมาก่อน แต่สิ่งที่ รอท่าอยู่ข้างหน้า ท�ำให้ใจของเขาสงบ แทนที่จะท�ำให้หวาดหวั่นตื่นกลัว 19
เมื่อพาร์ขึ้นเพลง “อิต’ส อะ ลอง เวย์ ทู ทิปเปอรารี” โฮเวิร์ด ล้วงปลายนิ้วไปแตะรองเท้าสีแดงเล็กจิ๋วในอกเสื้อ รองเท้าของเทอร์รี ลูกชายอายุสองขวบ ที่เขาน�ำติดตัวมาด้วยแทนเครื่องรางน�ำโชค เขานึก ถึงจอย, ภรรยา เทอร์รี และเพนนี, ลูกสาวตัวน้อย ครอบครัวของเขา อยู่ในออกซฟอร์ด อยูข่ า้ งโรงงาน เขาหวังว่าคืนนีจ้ ะไม่มฝี งู บินเยอรมันมา ทิ้งระเบิดที่นั่น ข้างกายของโฮเวิร์ด ร้อยโทเด็น บราเธอริดจ์ ผู้มีภรรยา ท้องแก่ จะคลอดวันใดก็ได้ (ทหารอีกห้านายในกองร้อย มีภรรยาตัง้ ครรภ์ ในอังกฤษ) โฮเวิร์ดหว่านล้อมชวนบราเธอริดจ์ให้เข้าร่วมอ็อกซ์แอนด์บั๊กส เลือกหมวดของบราเธอริดจ์มาร่วมเครื่องร่อน #1 เพราะคิดว่าบราเธอ ริดจ์กับหมวดของเขาดีที่สุดในกองร้อย หนึง่ นาทีขา้ งหลัง เครือ่ งร่อน #2 บรรทุกหมวดของร้อยโทเดวิด วูด อีกนาทีถดั มา เครือ่ งร่อนฮอร์ซา #3 จะเป็นหมวดของร้อยโทอาร์. ‘แซน ดี’ สมิธ เครื่องร่อนทั้งสามข้ามช่องแคบ ข้ามชายฝั่งใกล้กาบูรฺก ทาง ตะวันออกของปากแม่น�้ำออรฺน ขนานไปกับกลุม่ นี้ ไปทางตะวันตก อีกหลายนาทีขา้ งหลัง ร้อยเอก ไบรอัน ไพรเดย์นั่งร่วมกับหมวดของร้อยโทโทนี ฮูเปอร์ ตามหลังด้วย เครื่องร่อนของหมวดของร้อยโท เอช. เจ. ‘ทอดด์’ สวีนีย์ และเดนนิส ฟ็อกซ์ กลุ่มที่สองมุ่งหน้าตรงเข้าปากแม่น�้ำออรฺน ในหมวดฟ็อกซ์ สิบ เอกเอ็ม. ซี. ‘แว็กเกอร์’ ธอร์นตัน ร้องเพลง “คาว, คาว, บูกี” และ เหมือนคนอืน่ ๆ ในเครือ่ งร่อน ทหารทุกนายสูบบุหรีเ่ พลเยอร์มวนต่อมวน ในเครื่องร่อน #2 ของกลุ่มแรก นักบิน จ่าสิบตรีโอลิเวอร์ โบ แลนด์ เพิ่งอายุยี่สิบสามปีเมื่อครึ่งเดือนที่ผ่านมา รู้สึกในอกบอกว่าการ บินข้ามช่องแคบอังกฤษของเขาเป็น ‘หัวหอกของกองทหารใหญ่ทสี่ ดุ ทีเ่ คย รวมพลกันมา ผมรูส้ กึ ว่ายากจะท�ำใจให้เชือ่ ได้ เพราะผมรูส้ กึ ว่าผมต�่ำต้อย น้อยนิดเหลือเกิน” เวลา 0007 วอลเวิร์กตัดสายโยงเมื่อข้ามชายฝั่งเข้ามาแล้ว...วินาที 20
นั้น การบุกภาคพื้นยุโรปเริ่มขึ้นแล้ว ทหาร 156,000 นายเตรียมพร้อมทีจ่ ะยกพลขึน้ บก บุกเข้าฝรัง่ เศส ในวันนั้น ทั้งทางอากาศทางทะเล ทหารอังกฤษ แคนาดา และอเมริกัน แบ่งออกเป็น 12,000 กองร้อย...กองร้อย D น�ำขบวน ใช่เพียงแค่จะ เป็นหัวหอกของกองทัพมหึมา แต่กองร้อย D จะเป็นกองร้อยเดียวที่จะ บุกเข้าไปในฐานะหน่วยอิสระ โฮเวิร์ดไม่ต้องรายงานต่อใคร ไม่ต้องรับค�ำ สั่งจากใคร จนกว่าภารกิจของเขาจะลุล่วง เมื่อวอลเวิร์กตัดสายโยง...กอง ร้อย D โดดเดี่ยวแล้ว เมื่อสายโยงตัดทิ้งไป เครื่องร่อนไหวเยือก จากนั้น เป็นความเงียบ สงัด พาร์กับทหารปิดปากเงียบ เสียงเครื่องยนต์ของเครื่องบินทิ้งระเบิด เลือนหายไปแล้ว ความเงียบคลายไปบ้างเมื่อมีเสียงอากาศหวืดหวือไหล ข้ามปีกเครื่องร่อน เมฆเคลื่อนมาบังดวงจันทร์ เอนสเวิร์ธใช้ไฟฉายส่อง นาฬิกาจับเวลา ซึ่งกดปุ่มในทันทีที่สายโยงตัดขาดไป เมื่อสายโยงตัดไปแล้ว เครื่องบินทิ้งระเบิดฮาลิแฟ็กซ์มุ่งหน้าต่อไป ตรงไปหาเมืองกอง ทิ้งระเบิดลงในเมืองนั้น การทิ้งระเบิดท�ำลายโรงปูนซิ เมนต์ จะเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจมากกว่าจะเป็นการท�ำลายล้าง ใน ช่วงการทิ้งระเบิดถล่ม เมืองกองกลายเป็นซากปรักหักพังไปแล้ว แทบ ไม่มีปูนเหลือติดก้อนอิฐอีกแล้ว โรงงานเดียวที่ยังเหลือตระหง่านอยู่ จะ เป็นเพียงโรงปูนซิเมนต์ “พวกเขาเป็นนักบินลากจูงเครื่องร่อนชั้นยอด” วอลเวิร์กกล่าว “แต่ฝีมือทิ้งระเบิดไม่เอาอ่าว” ความคิดของโฮเวิร์ดหันไปจากจอย เพนนี และเทอร์รี ไปหา ‘อีก ครอบครัว’ กองร้อย D เขานึกถึงการผูกพันแนบแน่นกับผู้บังคับหมวด ทุกนาย สิบเอกสิบโท และพลทหาร ทหารกองร้อย D ฝึกมาร่วมกัน 21
ตั้งแต่เริ่มต้น ฝึกหนักมานานสองปี ทหารทุกนายในกองร้อย D ยอมท�ำ ตามทุกเรื่องที่เขาร้องขอ และท�ำมากกว่านั้น ให้ตายเถอะ! กองร้อย D เป็นกองร้อยดีที่สุดในกองทัพอังกฤษ! พวกเขาได้ภารกิจสุดพิเศษ ภารกิจ ที่พวกเขาสมควรได้รับ จอห์น โฮเวิร์ดภูมิใจในทหารทุกนาย ภูมิใจในตัว เอง เขารูส้ กึ ว่าพันธะผูกพันแนบแน่นไหลอาบท่วมตัว เขารักทหารทุกนาย ในกองร้อย D จากนั้น ห้วงความคิดของเขาหวนกลับมาหาภัยอันตรายที่รอท่าอยู่ ข้างหน้า...หลักไม้ต้านเครื่องร่อน ภาพถ่ายการลาดตระเวนทางอากาศ เมื่อสองสามวันก่อน มีรอยหลุมขุด เตรียมปักหลักไม้ต้านเครื่องร่อน(ฝ่าย สัมพันธมิตรเรียกว่า แอสพารากัสของรอมเมล) หลักไม้ปักเข้าที่แล้วหรือ ยัง? ทุกอย่างฝากไว้ในมือของนักบินเครื่องร่อน ก่อนถึงเวลาที่เครื่องร่อน จะแตะพืน้ โฮเวิรด์ เป็นเพียงแค่ผโู้ ดยสาร ถ้านักบินพาเครือ่ งร่อนลงไปใกล้ เป้าหมาย ไม่เกินสีร่ อ้ ยเมตร เขาเชือ่ มัน่ ว่าเขาจะปฏิบตั ภิ ารกิจแรกได้สำ� เร็จ แต่ถ้านักบินพาเครื่องลงพื้น ห่างออกไปสักหนึ่งกิโลเมตร น่าสงสัยว่าเขา จะท�ำงานได้หรือไม่ ถ้าไกลเกินกว่าหนึ่งกิโลเมตร ไม่มีหวังอีกแล้ว หรือ ว่าถ้าทหารเยอรมันมองเห็นเครื่องร่อน เล็งปืนกลเบายิง จะไม่มีทหารคน ไหนลงถึงพื้นดินโดยมีลมหายใจอยู่ หรือถ้านักบินชนต้นไม้ ชนตลิ่ง หรือ ว่าชนแอสพารากัสของรอมเมล ทหารทุกนายก็ตายพอกันแม้เท้าจะแตะ ผืนดินฝรั่งเศสแล้ว โฮเวิรด์ เป็นผูโ้ ดยสารชัน้ เลว เขาเป็นมนุษย์ประเภททีอ่ ยากขับเอง ใน ค�ำ่ คืนนี้ เขาส่งพลังจิตบังคับให้วอลล์เวิรก์ พาเครือ่ งตรงไปหาเป้าหมาย แต่ อย่างน้อย เขาก็มงี านอย่างอืน่ ให้ออกแรง ละความสนใจไปจากความกังวล ผู้หมวดบราเธอริดจ์เปิดประตูข้างล�ำตัวเครื่องร่อน ประตูติด โฮเวิร์ดต้อง ช่วยอีกแรง มองลงไปข้างล่าง ไม่เห็นอะไรนอกจากเมฆ แต่ผู้หมวดกับผู้ พันหันมาอมยิ้มให้กันก่อนจะทรุดตัวลงนั่งประจ�ำที่ ทั้งสองวางเดิมพันห้า สิบฟรังก์ว่าใครจะเป็นคนแรกที่วิ่งออกจากเครื่องร่อน 22
เมือ่ โฮเวิรด์ กลับมาทีน่ งั่ แล้ว เขาหวนนึกไปถึงค�ำสัง่ ทีไ่ ด้รบั มอบหมาย ค�ำสัง่ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม ค�ำสัง่ ทีไ่ ม่มอี ะไรเปลีย่ นไป ลงชือ่ โดยพลจัตวา ไนเจล โพเอ็ตต์ จัดระดับเอกสาร ‘บิก็อต’ (ระดับสูงกว่า ‘ลับสุดยอด’ มีไม่กี่คนที่ได้บัตรผ่านส�ำหรับเอกสาร ‘บิก็อต’...กลุ่มคนจ�ำพวกบิก็อตแปลกแยกดือ้ ดึง อยูแ่ ล้ว) ค�ำสัง่ นัน้ อ่านว่า “ภารกิจของคุณจะเป็นการยึด สะพานข้ามแม่นำ�้ ออรฺน และสะพานข้ามคลองกอง ในสภาพสมบูรณ์ครบ ถ้วน และรักษาสะพานนั้นจนกว่าจะมีก�ำลังมาสับเปลี่ยน...การยึดสะพาน จะกระท�ำโดยฉับพลันไม่ให้ข้าศึกรู้ตัว จู่โจมรวดเร็วไม่ให้ข้าศึกทันได้ตั้งตัว คุณน่าจะไม่มีปัญหาในการจัดการทหารข้าศึกเฝ้าสะพาน จ�ำนวนที่ทราบ แล้ว ความยากล�ำบากจะเป็นการรักษาสะพานจากการตีโต้ จนกว่าจะมี หน่วยอื่นมาสับเปลี่ยน” ก�ำลังพลที่จะมาสับเปลี่ยน รับช่วงดูแลสะพานต่อ จะเป็นทหาร พลร่ม กองพลพลร่มที่ 6 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองพันที่ 7 กองพลน้อย พลร่มที่ 5 จุดลงพื้นของพลร่มจะอยู่ในท้องทุ่งระหว่างแม่น�้ำออรฺนกับแม่ น�้ำดีฟส์ พลจัตวาโพเอ็ตต์ ผู้บัญชาการกองพลน้อยพลร่มที่ 5 บอกโฮ เวิรด์ ว่า จะรวบรวมพลเดินทางมาสับเปลีย่ นได้ในสองชัว่ โมงหลังจากลงพืน้ พลร่มจะเดินผ่านรองวิลล์ หมู่บ้านที่นายพลโพเอ็ตต์ตั้งใจจะใช้เป็นกอง บัญชาการป้องกันสะพานทั้งสองแห่ง นายพลโพเอ็ตต์ตามหลังโฮเวิร์ดราวสองหรือสามนาที เขาขึ้นเครื่อง ร่วมทางกับพลชี้เป้า ผู้จะวางจุดสังเกตให้เครื่องบินทิ้งพลร่มเกือบทั้งหมด ของกองพลน้อยที่ 5 มีเครื่องบินในกลุ่มของนายพลโพเอ็ตต์ รวมทั้งสิ้น 6 ล�ำ เครือ่ งบินระดับต�ำ่ ทีฮ่ กิ แมนและผูก้ ารฟอน ลัคได้ยนิ เสียง นายพล โพเอ็ตต์อยากเป็นคนแรกที่โดดร่มลงจากเครื่อง แต่เวลา 0008 ช่องเปิด ท้องเครื่องติดขัด เขากับพลร่มอีกสิบนายอัดกันอยู่ในเครื่องบินทิ้งระเบิด อัลเบอมาร์ล ซึ่งไม่เคยมีใครเคยเห็นมาก่อน พลร่มแต่ละนายบรรทุก 23
เครื่องหลัง จนต้อง ‘ดัน ดัน และดันเพื่อให้เข้าไปในเครื่องได้’ พลร่ม ต้องเบียดกันท�ำตัวลีบ พอจะปิดช่องใต้ท้องลงได้ และตอนนี้ เมื่อชายฝั่ง ฝรัง่ เศสปรากฏให้เห็น พลร่มไม่อาจดึงช่องให้เปิดได้ นายพลโพเอ็ตต์เกรง ว่าเขาอาจจะต้องนั่งเครื่องกลับบ้าน เดินคอตกลงจากเครื่อง เครื่องร่อน #3 ร้อยโทแซนดี สมิธ รู้สึกว่าท้องไส้ปั่นป่วน เหมือน ทุกคราวก่อนลงสนามในแมตช์ส�ำคัญ เขาอายุเพียงยี่สิบสองปี ค่อน ข้างโปรดปรานความเครียด เพราะเขาเชื่อเต็มหัวใจว่านั่นเป็นความรู้สึก เดียวก่อนลงสนามในฐานะดารารักบี้ของเคมบริดจ์ เขาย้อนนึก “เรา กระตือรือร้น เราแกร่งไปทั้งร่าง และเราไร้เดียงสายิ่ง ผมหมายความว่า ในห้วงความคิดของผม ทหารทุกนายจะห้าวหาญยิง่ กระโจนเข้าสูส่ นามรบ ในยามที่มีกลองตีระรัวและแบนโจให้เสียงสดใส ผมจะเป็นคนกล้าที่สุดใน หมู่คนกล้า ไม่มีความแคลงใจในใจของผมเลยว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น” ฟากตรงข้าม นพ. จอห์น วอห์น นั่งกระสับกระส่าย เค้าหน้า อมทุกข์เมือ่ แซนดีเปิดประตูเครือ่ ง หมอวอห์นเป็นพลร่ม เคยโดดร่มหลาย ครั้ง ฝากความเชื่อมั่นทั้งมวลไว้ในร่มชูชีพ เขาอาสามาร่วมรบครั้งนี้ ไม่รู้ ว่าเป็นภารกิจใด รูต้ วั อีกครัง้ ต้องมานัง่ จ่อมอยูใ่ นเครือ่ งร่อนไม้อดั ประตู อยู่ตรงหน้าก็เปิดกว้าง ความคิดซ�้ำซากพล่านในหัว “พระเจ้าเป็นพยาน เถอะ, ท�ำไมฉันไม่มีร่มชูชีพติดตัว?” ย้อนกลับไปในออกซฟอร์ด จอย โฮเวิร์ดหลับใหล เธอดูแลเพนนี กับเทอร์รมี าตลอดทัง้ วัน ท�ำงานบ้าน พาลูกเข้านอนหนึง่ ทุม่ และใช้เวลา สองสามชั่วโมงข้างวิทยุ จับจีบชุดเดรสของเพนนี การลาพักกลับบ้านครัง้ ทีผ่ า่ นมา จอห์นซ่อนเครือ่ งแบบเต็มยศไว้ใน ตูเ้ สือ้ ผ้าห้องพักแขก เขาแบ่งรองเท้าทารกสีแดงของเทอร์รไี ปข้างหนึง่ จูบ ลาลูกๆ พร้อมจะออกบ้าน แต่แล้วก็ยอ้ นกลับมาจูบลูกอีกครัง้ ก่อนเขาจะ 24
เดินออกจากบ้าน เขาบอกเธอว่า ถ้าเธอได้ยนิ เรือ่ งการบุกภาคพืน้ ยุโรปเริม่ ต้นแล้ว เธอเลิกกังวลใจได้ เพราะงานของเขาจะเสร็จสิ้น เธอพบเครื่อง แบบเต็มยศ และรองเท้าสีแดงเหลือข้างเดียว เธอรูว้ า่ การบุกภาคพืน้ ยุโรป น่าจะใกล้เกิดขึน้ เพราะการทิง้ เครือ่ งแบบเต็มยศ หมายความว่าเขาจะไม่ ไปดินเนอร์ในสโมสรนายทหารในอนาคตอันใกล้นี้ แต่นั่นเป็นสัปดาห์ที่ผ่านมา และยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น สองปีเต็มๆ ที่พูดกันหนาหูเรื่องการยกพลบุกภาคพื้นยุโรป แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น คืน วันที่ 5 มิถุนายน 1944 จอย โฮเวิร์ดไม่มีสังหรณ์พิเศษใดๆ เธอเก็บ เครื่องเย็บปักถักร้อย เข้านอน เธอได้ยินเสียงเครื่องบิน ส่วนใหญ่จะเป็น เครื่องบินทิ้งระเบิด ตั้งฐานทัพอยู่กลางประเทศ มุ่งหน้าลงใต้ แทนที่จะ เป็นตะวันออก เธอไม่คิดว่าจะเป็นการชุมนุมพลครั้งใหญ่ของมหากองบิน เธอไม่ใส่ใจเสียงคุ้นหู เธอเข้านอน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของลอนดอน ไอรีน พาร์ได้ยนิ และเห็นฝูงบิน มากมายนับไม่ถว้ น มุง่ หน้าไปยังนอร์มงั ดี เธอสรุปได้ทนั ควันว่าการบุกภาค พื้นยุโรปเริ่มต้นแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจ�ำนวนเครื่องบินเต็มฟ้า อีกส่วน หนึ่ง...จากการขยายความลับทางทหาร วิลลีบอกเธอว่ากองร้อย D จะ เป็นหัวหอกในการรุกรบครั้งใหญ่คราวนี้ เขาเดาเอาว่าน่าจะเป็นสัปดาห์ แรกของเดือนมิถนุ ายน เพราะจะเป็นช่ววงจันทร์เต็มดวง แน่อยูแ่ ล้ว เธอ ไม่รวู้ า่ เขาอยูท่ ไี่ หน แต่เธอแน่ใจว่าเขาตกอยูใ่ นภัยอันตรายใหญ่หลวง เธอ สวดมนต์เพื่อเขา เธอคงจะยินดี หากเธอได้ทราบว่าความคิดท้ายสุดของ วอลลี พาร์กอ่ นจะหลุดพ้นแผ่นดินอังกฤษ เขาคิดถึงเธอ และก่อนจะเดิน ขึ้นเครื่องร่อนของวอลล์เวิร์ก วอลลี พาร์หยิบชอล์กมาตั้งชื่อเครื่องร่อนฮ อร์ซาว่า ‘เลดี้ ไอรีน’ วอลล์เวิรก์ พาเครือ่ งร่อนข้ามชายฝัง่ ฝรัง่ เศส ทางตะวันออกของปาก แม่นำ�้ ออรฺน แม้เขาจะเป็นนักบินเครือ่ ง #1 โดยมีเครือ่ ง #2 และเครือ่ ง 25
#3 ตามหลัง เขาไม่ได้เป็นผูน้ ำ� ฝูง นักบินแต่ละคนบินเดีย่ วเดียวดาย มอง ไม่เห็นเครือ่ งร่อนเครือ่ งอืน่ โบแลนด์จดจ�ำความรูส้ กึ ได้วา่ “โดดเดีย่ วตาม ล�ำพัง เงียบสงัด บินข้ามชายฝั่งฝรั่งเศส และรู้แน่แก่ใจว่าไม่มีทางกลับ หลังหันได้” วอลล์เวิร์กมองไม่เห็นสะพาน ไม่เห็นแม่น�้ำ ไม่เห็นคลอง เขาบิน ตามค�ำสัง่ นาฬิกาจับเวลาของเอนสเวิรธ์ มองเข็มทิศ มองหน้าปัดความเร็ว อากาศ และหน้าปัดเครือ่ งวัดความสูง สามนาทีสสี่ บิ สองวินาที เอนสเวิรธ์ ส่งเสียง “เดี๋ยวนี้เลย!” วอลล์เวิร์กหักเลี้ยวขวาเต็มตัว เขามองออกไปนอนหน้าต่าง มองหาจุดสังเกตบนพื้น มองไม่เห็น อะไรเลย “ฉันมองไม่เห็น บัวส์ เดอ บาว็อง” เขากระซิบบอกเอนสเวิรธ์ ไม่อยากให้ผู้โดยสารตื่นตระหนก เอนสเวิร์ธแทบจะตวาดกลับ “ให้ตาย เหอะ, จิม จุดใหญ่เบ้อเฮิ่มที่สุดในนอร์มังดี สนใจหน่อย” “ไม่เห็น” จิมกัดฟันบอก “เหอะ, เราอยู่ในเส้นทางแล้ว” เอนสเวิร์ธตอบ แล้วเริ่มนับ “ห้า สี่ สาม สอง หนึ่ง บิงโก! เลี้ยวขวา เราเข้าเส้นทางแล้ว” วอลล์เวิร์ก หมุนพวงมาลัยไม้ พาเครื่องร่อนเลี้ยวขวาอีกครั้ง ขณะนี้ เขามุ่งหน้าขึ้น เหนือ ขนานริมฝัง่ ตะวันออกของคลอง เครือ่ งร่อนลดระดับความสูงรวดเร็ว ชายปีกหลังด้านในขนาดมหึมาเหมือนบานประตูโรงนา ลดระดับความสูง จากเจ็ดพันฟุตให้เหลือห้าร้อยฟุต ลดความเร็วอากาศจาก 160 ไมล์ต่อ ชั่วโมง เหลือ 110 ไมล์ต่อชั่วโมง เบื้องล่าง และอยู่ข้างหลัง เมืองกอง เจิดจ้าโชติช่วง จากกระสุน ส่องวิถยี งิ เครือ่ งบินทิง้ ระเบิด ไฟฉายส่องฟ้า และไฟไหม้ระเบิดจากเครือ่ ง บินทิ้งระเบิดบนฟ้า เบื้องหน้า เขามองไม่เห็นอะไร เขาได้แต่หวังว่าเอน สเวิร์ธเป็นฝ่ายถูก และเครื่องร่อนมุ่งหน้าไปหาเป้าหมาย เป้าหมายขนาดเล็ก ท้องทุ่งสามเหลี่ยม ฐานกว้างห้าร้อยเมตร อยู่ทางใต้ ปลายยอดใกล้ปลายตะวันออกเฉียงใต้ของสะพานข้ามคลอง 26
วอลล์เวิร์กมองไม่เห็นอะไร แต่เขาศึกษาภาพถ่ายทางอากาศ ศึกษาแบบ จ�ำลองบริเวณนี้มาจนขึ้นใจ จนวาดภาพในใจชัดเจนว่าเขามุ่งหน้าไปที่ไหน สะพานโครงเหล็ก ถังน�ำ้ สูงตระหง่านทางปลายตะวันออก จุดเด่น แหย่ยนื่ ขึน้ มาจากทุง่ ราบ มีรงั ปืนกลทางเหนือของสะพาน รังปืนกลทางใต้ ของสะพาน บนฝั่งตะวันออก จะวางปืนต่อสู้รถถัง ป้อมปืนกลคอนกรีต มีลวดหนามห้อมล้อม การประชุมครั้งท้ายสุดกับโฮเวิร์ด ผู้พันบอกเขาว่า อยากให้เสยจมูกเครื่องร่อนฮอร์ซาฝ่าแนวลวดหนาม วอลล์เวิร์กคิดในใจ ว่าไม่มีโอกาสแม้ในนรกที่เขาจะพาเครื่องร่อนอุ้ยอ้ายเทอะทะ บรรทุกน�้ำ หนักเต็มแปร้ ไม่มีเครื่องยนต์บังคับควบคุม เข้ากลางเป้านั้น ตอนเที่ยง คืน บนพื้นดินขรุขระที่ไม่เคยทดสอบมาก่อน ในความมืดมิดที่เขามองไม่ เห็นอะไรเลย แต่เขาก็ส่งเสียงตอบผู้พันไปว่า เขาจะพยายามท�ำให้ดีที่สุด เรื่องเดียวที่เขากับเอนสเวิร์ธคิดตรงกัน การหยุดกึกแบบนั้น “น่าจะได้ขา หักสักข้าง หรือหักทัง้ สองข้าง...ทัง้ สองคน” ทัง้ สองเห็นพ้องต้องกันว่า ถ้า ออกจากเครื่องร่อนด้วยขาหัก ถือได้ว่าเป็นโชคมหาโชคแล้ว นอกจากจะกังวลใจเรื่องต�ำแหน่งของเครื่องร่อน กังวลไปกับความ มืดสนิท และเมฆเต็มฟ้า เอนสเวิร์ธมีความกังวลใจเรื่องอื่น ความเร็วของ เครื่องจะอยู่ที่ 90-100 ไมล์ต่อชั่วโมงเมื่ออกไถพื้น หากเขาพาเครื่องชน ต้นไม้หรือแอสพารากัสของรอมเมล เขาจะเสียชีวิตในทันที ผู้โดยสาร บาดเจ็บสาหัสหรืองุนงงจนปฏิบัติภารกิจไม่ได้ ร่มชูชีพท�ำให้เขากังวลเช่น กัน ร่มชูชีพอยู่หลังเครื่อง กอดอยู่ในอกของสิบโทเบลลีย์ วอลล์เวิร์กน�ำ ร่มชูชีพขึ้นเครื่องในนาทีสุดท้าย เพราะว่าฮอร์ซาบรรทุกเกินพิกัด และผู้ พันโฮเวิร์ดไม่ยอมปลิดกระสุนแม้นัดเดียวออกจากตัว หากใช้ร่มชูชีพผ่อน ความเร็ว เครื่องร่อนก็น่าจะหยุดได้เร็วและปลอดภัย แต่ถ้าเบลลีย์โยน ร่มชูชีพออกไปก่อนเวลา เครื่องร่อนจะห้อยโตงเตงกลางฟ้า จมูกปักพื้น ไม่เป็นท่า กลไกปล่อยร่มชูชีพอยู่เหนือศีรษะของเอนสเวิร์ธ ในเสี้ยววินาที 27
เหมาะสม เขาจะกดสวิตช์ไฟฟ้า บานประตูหลังเครือ่ งจะเปิด ร่มชูชพี กาง ต้านลม ถ้าเขากดสวิตช์อีกอัน จะปลิดร่มชูชีพให้หลุดออกจากเครื่องร่อน วอลล์เวิร์กเข้าใจทฤษฎี แต่เขาหวังว่าจะไม่ต้องใช้ร่มชูชีพชะลอความเร็ว เวลา 0014 วอลล์เวิร์กบอกข้ามไหล่ให้ผู้พันโฮเวิร์ดเตรียมพร้อม โฮเวิร์ดกับทหารคล้องแขนกัน งอเข่ามาชิดอก ทุกคนแทบจะคิดไม่ต่าง กัน “ถอยกลับไม่ได้แล้ว...เอาก็เอา...นี่เลย” โฮเวิร์ดย้อนนึก “ผมเห็น สีหน้าของจิม มือจับพวงมาลัย ท่อนแขนเขม็งเกร็ง ผมไม่มีวันลืมสีหน้า ของเขา ผมเห็นเหงื่อขนาดเท่าลูกฟุตบอลผุดออกมากลางหน้าผาก และ ผุดทั่วใบหน้า” เครื่องร่อน #2 และเครื่องร่อน #3 อยู่ข้างหลังวอลล์เวิร์ก ทิ้ง ระยะห่างเครื่องละหนึ่งนาที ฮอร์ซาอีกกลุ่มแยกไปแล้ว เครื่องร่อน #4 ของไพรเดย์ แยกไปหาแม่น�้ำดีฟส์ แทนที่จะเป็นแม่น�้ำออรฺน เมื่อเห็น สะพานข้ามแม่น�้ำดีฟส์ ทางตะวันออก นักบินเตรียมพร้อมจะพาเครื่อง ลง ฮอร์ซาอีกสองล�ำ บนเส้นทางถูกต้อง มุ่งหน้าไปหาแม่น�้ำออรฺน ทุก เครือ่ งจะ ‘แพรงก์’ ศัพท์ของนักบินเครือ่ งร่อน เอาอกไถลงพืน้ จมูกชีไ้ ป ทางใต้ ในทีว่ า่ งฝัง่ ตะวันตกของแม่น�้ำ ทีโ่ ล่ง ผืนนาสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า ความ ยาวเกือบหนึ่งพันเมตร พลจัตวาโพเอ็ตต์เปิดช่องใต้ท้องได้แล้ว (ในเครื่องบินทิ้งระเบิดอัลเบ อมาร์ลอีกล�ำ นายทหารของโพเอ็ตต์หล่นลงไปในช่องแคบในตอนเปิดช่อง ใต้ทอ้ งเครือ่ งบิน) เขายืนคร่อมช่องเปิดใต้ทอ้ ง มองไม่เห็นอะไรเลย เครือ่ ง บินข้ามฐานปืนใหญ่แมรฺวิลล์ จุดยุทธศาสตร์อีกแห่งส�ำหรับพลร่มในคืนนี้ เวลากระดิกเคลื่อนไปอีกนาที เวลา 0016 นักบินเปิดไฟเขียว พลจัตวา โพเอ็ตต์รวบเท้าติดกัน ทิ้งร่างผ่านช่องเปิดลงไปในค�่ำคืนมืดมิด
28
บนสะพานข้ามคลอง พลทหารโรเมอร์กับทหารอีกนาย ใช้เวลาใน ยามค�่ำคืน เดินกลับไปกลับมาบนสะพาน การทิ้งระเบิดถล่มเมืองกอง เป็นเรือ่ งปกติชนิ ตา ไม่ใช่ความรับผิดชอบของเขา ไม่ควรค่าแก่การเหลือบ มอง พลปืนในรังปืนกลโงกหลับ ตามปกติวิสัย เช่นเดียวกันทหารในช่อง สนามเพลาะ ปืนต่อสู้รถถังไม่มีทหารประจ�ำการ ในรองวิลล์ พันตรีชมิดต์เปิดไวน์อกี ขวด ในเบนูวลิ ล์ พลทหารบอง ค์ดื่มไวน์หมดขวด หิ้วแม่นางขึ้นห้อง เขาปลดเข็มขัด แกะกระดุมกางเกง ในขณะที่เธอเปลื้องเสื้อผ้าให้หลุดออกจากร่าง บนถนนจากอูวิสเตรออัม สิบเอกฮิกแมนกับทหารในรถเปิดประทุน เร่งความเร็วมุ่งหน้าลงใต้ มุ่ง มาหาเบนูวิลล์ และสะพาน ในคาเฟ ครอบครัวกงเดร หลับใหล วอลล์เวิรก์ ลดระดับลงเหลือสองร้อยฟุต ความเร็วอากาศต�ำ่ กว่า 100 ไมล์ตอ่ ชัว่ โมง เวลา 0015 เขามาครึง่ ทางการร่อนลงพืน้ แล้ว ห่างจากเป้า หมายราวสองกิโลเมตร เมฆกระจายเผยให้เห็นดวงจันทร์ วอลล์เวิรก์ มอง เห็นแม่นำ�้ และคลอง...เหมือนริบบิน้ สีเงินวางเรียงเคียงกัน จากนัน้ สะพาน โครงเหล็กโผล่ทะมึนมาขวางหน้า จุดที่เขาคาดว่าจะได้เห็น “ได้เลย” เขาคิดในใจ “ฉันเห็นแกเต็มตาแล้ว!”
29