ASA ACADEMIC (ISSUE 02/2018)

Page 1



วารสารสถาปัตยกรรม ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ The Architectural Journal

of The Association of Siamese Architects Under Royal Patronage

ISSUE O2 / 2018

Design | Theory | History | Vernacular


วารสารสถาปัตยกรรม ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects Under Royal Patronage ISSN : 0857-3050

คณะกรรมการบริหารสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2559-2561 นายกสมาคม / President อุปนายก / Vice President

อัชชพล ดุสิตนานนท์ / Ajaphol Dusitnanond เมธี รัศมีวิจิตรไพศาล / Metee Rasameevijitpisal ผศ.ดร.ธนะ จีระพิวัฒน์ / Asst.Prof.Thana Chirapiwat, Ph.D. ผศ.สุดจิต สนั่นไหว / Asst.Prof.Sudjit Sananwai ผศ.กิจโชติ นันทนสิริวิกรม / Asst.Prof.Quijxote Nuntanasirivikrom ปรีชา นวประภากุล / Preecha Navaprapakul

เลขาธิการ / Secretary General นายทะเบียน / Honorary Registrar เหรัญญิก / Honorary Treasurer ปฏิคม / Social Event Director ประชาสัมพันธ์ / Public Relations Director กรรมการกลาง / Executive Committee

ชาติเฉลิม เกลียวปฏินนท์ / Chartchalerm Klieopatinon พ.ต.ท.สักรินทร์ เขียวเซ็น / Pol.Lt.Col.Sakarin Khiewsen ภิรวดี ชูประวัติ / Pirawadee Chuprawat ทรงพจน์ สายสืบ / Songpot Saisueb ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย / Asst.Prof.Surapong Lertsithichai, Ph.D. ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ / M.L.Varudh Varavarn ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ / Asst.Prof.Nattawut Usavagovitwong, Ph.D. ณคุณ กำ�นลมาศ / Nakhun Kumnolmas

ประธานกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา / Chairman of Northern Region (Lanna) ประธานกรรมาธิการสถาปนิกอีสาน / Chairman of Northeastern Region (Esan) ประธานกรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ / Chairman of Southern Region (Taksin)

ขวัญชัย สุธรรมซาว / Khwanchai Suthamsao ผศ.สุรศักดิ์ โล่ห์วนิชชัย / Asst.Prof.Surasak Lowanitchai วิวัฒน์ จิตนวล / Wiwat Chitnuan

ASA Journal Team Steering Committee Dr.Chalay Kunawong

Editor-in-Chief Asst.Prof.Dr.Supitcha Tovivich Editorial Team

Contributors

English Translators

Dr.Chamnarn Tirapas

Tanakanya Changchaitum

Dr.Chantanee Chiranthanut

Paphop Kerdsup

Jeerasak Kueasombut

Parima Amnuaywattana

Prof.Dr.Vira Inpuntung Dr.Weeraphan Shinawatra

Asst.Prof.Dr.Nopadon Thungsakul Asst.Prof.Dr.Waricha Wongphyat Dr.Winyu Ardrugsa Dr.Wonchai Mongkolpradit

Asst.Prof.Dr.Waricha Wongphyat Dr.Kreangkrai Kirdsiri

English Advisor Luke Yeung

Art Director / Graphic Designer Werapon Chiemvisudhi

Co-ordinators Isarachai Buranaut Kanlayaporn Chongphaisal


บทบรรณาธิการ / Editorial วารสารอาษากลับมาอีกครั้งในรูปแบบใหม่ที่เกิดจาก ความพยายามและความตัง้ ใจของกองบรรณาธิการทีอ่ ยากจะเริม่ เชือ่ มโลกวิชาการเข้ากับโลกวิชาชีพ เมือ่ สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้มอบหมายให้เป็น Editor-in-Chief ของวารสารอาษารูปแบบ ใหม่นี้ สิง่ หนึง่ ทีน่ กึ ได้กค็ อื บทความประเภทการอัพเดทความเป็น ไปต่างๆ ในแวดวง หรือบทความที่มีแต่ความคิดเห็นส่วนตัวของ ผูเ้ ขียนต่องานสถาปัตยกรรมสักชิน้ ...ไม่นา่ จะใช่คำ� ตอบทีเ่ หมาะ กับยุคสมัย เนื่องจากเป็นสิ่งที่หาอ่านได้ง่ายดายในโลกออนไลน์ อีกทัง้ ด้วยนโยบายของสมาคมฯ เองทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับการเผย แพร่องค์ความรู้เชิงวิชาการสถาปัตยกรรมไปในวงกว้าง จึงเป็น ทีม่ าของโครงการจัดท�ำวารสารอาษารูปแบบใหม่ทมี่ เี นือ้ หาสาระ เข้มขึ้น อัดแน่นด้วยเนื้อหาวิชาการ เพื่อสถาปนิกผู้ปฏิบัติการที่ อาจจะได้แรงบันดาลใจ และข้อมูลเชิงลึกต่างๆ เพือ่ น�ำไปปรับใช้ ในงานออกแบบของตนเอง บทความวิชาการในเล่มนี้ เปิดรับงาน เขียนวิชาการจากทัว่ ประเทศ ทัง้ จากสถาปนิกและนักวิชาการทุก สังกัด ผ่านกระบวนการคัดสรรอย่างเป็นขั้นตอนและมีระบบ ทั้ง การอ้างอิงทฤษฏี บทวิเคราะห์มุมมองความคิดเห็นของผู้เขียน รวมไปถึงการกลั่นกรองบทความตามหลักวิชาการ ในลักษณะ Blind Peer Review คือปกปิดรายชือ่ ผูป้ ระเมินและผูเ้ ขียนบทความ โดยส่งมอบให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ เป็นผู้ตรวจสอบ โดยปกติฐานข้อมูลของบทความเชิงวิชาการนั้นมักอยู่ ตามมหาวิทยาลัย หรือช่องทางออนไลน์ส�ำหรับสมาชิกเฉพาะ กลุ่มเท่านั้น นับเป็นโอกาสดีที่วารสารอาษารูปแบบใหม่นี้จะน�ำ เสนอข้อมูลเชิงวิชาการและเชิงลึกสูผ่ อู้ า่ นทีก่ ว้างขวางขึน้ วารสาร เล่มนี้อาจจะไม่ใช่ขนมหวานส�ำหรับคนที่ต้องการอ่านสนุกและ อ่านง่าย แต่อย่างน้อยแต่ละบทความมีคาแรกเตอร์ที่ “อ่านได้” และไม่ยากเกินความเข้าใจ ความยาวของบทความนัน้ จะสัน้ กว่า บทความวิชาการปกติ เนื้อหาพยายามมุ่งไปที่ประโยชน์ต่อการ ปฏิบตั วิ ชิ าชีพหรือการเรียนการสอนสถาปัตยกรรม เหมาะส�ำหรับ ผูท้ ตี่ อ้ งการทีจ่ ะเริม่ ศึกษาข้อมูลทีล่ กึ ซึง้ ในเบือ้ งต้น เป็นการเชือ่ ม โลกวิชาการกับโลกปฏิบตั กิ ารอีกทางหนึง่ แต่ละเล่มกองบรรณธิ การคัดสรรบทความ 7-8 เรือ่ งต่อเล่ม และมีกำ� หนดเผยแพร่ปลี ะ 2 เล่ม ส�ำหรับเล่มที่สองนี้มี Theme ร่วมกับเล่มที่หนึ่ง และ สอดคล้ อ งกั บ งานสถาปนิ ก ’61 คื อ “History-Theory-Design-Vernacular”

The return of ASA Journal comes not only with a new

design but the intention to connect the country’s architectural academia to the professional world. Having agreed to take on the responsibility as the Editor-in-Chief of the reinvented edition of ASA Journal, one thing that comes to my mind is that industry updates and articles featuring solely the authors’ point of view towards their architectural projects are not the only answers, at least not ones that are distinct and would resonate well with the current media landscape. These types of articles are now ubiquitously available online. So it is the Association’s intention to promote academic works in the field of architecture to reach a wider group of audience. The new ASA Journal will intensify academic content for architectural practitioners - not only as a source of inspiration - but also for information towards the creation and development of their own architectural works.

The academic articles featured in this issue of ASA Journal

are submitted from contributors across the country by academics and architects from different organizations. A systematic selection process has been created and the articles will be diverse, from theoretical references to critical analyses of the authors’ viewpoints. A blind peer review process is also incorporated. With the authors’ and assessors’ identities concealed, the selection process will be made objectively by experts of that particular field.

Typically, academic journals can only be accessed through

databases in universities or online systems in which the information is available to a specific group of members. It is a great opportunity for the new ASA Journal to serve as a platform where academic and in-depth information can be presented and be made accessible to a wide group of readers. It may not be for someone who is looking for an easy read, but each of the selected articles will possess a ‘readable’ characteristic that is not too hard to digest. The length of the articles will be shorter than that of most academic journals with the content aiming to contribute to architectural practice and teaching. These articles will serve as a primary source of information for those who wish to pursue more elaborate study. In a way, it will connect the academic world to the actual practice of the profession. 7 or 8 articles will be selected to feature in one issue of the ASA Journal, which will be released bi-annually. For the second issue, the theme “History | Theory | Design | Vernacular” corresponds with the first issue and the Architect Expo ’18.

For those who are interested in having your articles and ส�ำหรับผู้ท่ีสนใจส่งบทความเพือ่ พิจารณาตีพมิ พ์สามารถ สอบถามเรือ่ ง Theme ของเล่มหน้าและรายละเอียดอืน่ ๆ เพิม่ เติม writing published, do not hesitate to inquire about the themes and details of future issues via asa.journal.academic@gmail.com ได้ท ี่ asa.journal.academic@gmail.com

ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ Editor-in-Chief


่ งบ้านและงานออกแบบ เว็บเดียวครบ จบเรือ www.asa.or.th

ค้นหาสถาปนิก ทั่วประเทศ

ค้นหางาน ในวงการสถาปนิก

“ถ้าคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ www.asa.or.th จะเห็นว่ามี การเปลีย ่ นแปลงไปจากเดิม มีเมนูใหม่ๆ ซึง ่ เป็นไฮไลต์ เช่น ‘find an architect’ ซึง ่ สถาปนิกสามารถน�าผลงานของ บริษัท ทัง ิ โี อมาลงบนเว็บไซต์ ้ ผลงาน รูปภาพ แม้แต่วด เป็นการแนะน�าบริษท ั ส่วนบุคคลทัว่ ไปก็สามารถเข้ามาค้นหา สถาปนิ ก ได้ เป็ น การตอบโจทย์ ทั้ ง บริ ษั ท สถาปนิ ก และ ผู้บริโภคที่ต้องการสร้างบ้าน ขณะเดียวกันบุคคลหรือ บริษท ั ทัว่ ไปสามารถน�าโฆษณามาลงได้ โดยโฆษณาดังกล่าว จะแสดงผลต่อเมื่อผู้เข้าชมได้แสดงความสนใจในเนื้อหา ทีเ่ กีย ่ วเนือ ่ งกับผลิตภัณฑ์นน ้ั ๆ

ไม่พลาดทุกข่าวสาร และกิจกรรม ในแวดวงสถาปนิก

ติดตามสื่อทุกช่องทางของสมาคมสถาปนิกสยามฯ

ทั้งวารสาร ASA CREW / อาษา / จดหมายข่าว / ASA Youtube Channel / ASA แอปพลิเคชั่น / เฟซบุ๊กสมาคมฯ พร้อมสมัครสมาชิกสมาคมฯ ทางออนไลน์ได้ทันที

นอกจากนีเ้ ว็บไซต์ดง ั กล่าวยังเป็นแหล่งรวมสือ ่ ต่างๆ ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ เช่น จดหมายเหตุ วารสาร คลิปวิดโี อ รวมถึงเฟซบุก ๊ เพื่อให้เข้าชมง่ายขึน ้ อ่านง่ายขึน ้ บนทุกอุปกรณ์ และยังสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ สมาคมฯ ทางออนไลน์ผา่ นเว็บไซต์ได้อก ี ด้วย ่ ะได้ประโยชน์จากเว็บไซต์น ้ี กลุม กลุม ่ คนหลักๆ ทีจ ่ แรก คือ สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ สามารถน�าผลงานมา ลงบนเว็บไซต์ได้ทั้งในรูปแบบของสมาชิกที่เป็นรูปแบบ บริษท ั และรูปแบบบุคคล เพือ ่ ให้มค ี นเข้าถึงได้มากขึน ้ รวมถึง ประกาศหางานบนเว็บไซต์กไ็ ด้

4 - อสถาปนิกทีก ่ า� ลังหางาน กลุม ่ ต่อมาคือ นักศึก-ษาหรื สามารถเข้ามาหาโอกาสการท�างานกับบริษัททีเ่ ป็นสมาชิก ของสมาคมฯ และเชือ ่ ถือได้ JULY-AUG 2017 - ISSUE 05

กลุม ่ ต่อมาคือ บุคคลทัว่ ไป สามารถเข้าถึงฐานข้อมูล เพื่อค้นหาสถาปนิกตามประเภทงาน สถานทีแ ่ ละความถนัด รวมไปถึงติดตามข่าวสารทีน ่ า่ สนใจเกีย ่ วกับวงการสถาปนิก อยากขอเชิญชวนท่านสมาชิกสมาคมฯ อัปโหลดผลงาน ข้อมูลบริษัทและข้อมูลส่วนตัวของท่านขึน ้ บนระบบเว็บไซต์ ของสมาคมฯ และรับสิทธิป ์ ระกาศหางาน ส่วนบุคคลทัว่ ไป ลองเข้าชม อ่านบทความทีน ่ า่ สนใจ รับชมสือ่ ต่างๆ ของสมาคมฯ และลองใช้เมนูใหม่ ‘find an architect’ ดู รับรองว่า ได้ประโยชน์แน่นอนค่ะ” ศิริมาศ บิ๊กเลอร์

Senior Account Director Adelphi Digital Consulting Group ผู้พัฒนาเว็บไซต์ www.asa.or.th


สารนายกสมาคมฯ / Message from the ASA President สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เห็นความส�ำคัญของการมีพนื้ ทีใ่ ห้สมาชิกสมาคมฯ สถาปนิก นิสติ - นักศึกษา สถาปัตยกรรม นักวิชาการและผู้ปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมได้มีพนื้ ที่ในการเผยแพร่องค์ความรู้ แนวคิดในการออกแบบรวมถึง ผลงานค้นคว้าวิจยั ทางด้านสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามฯ จึงได้มอบหมายให้ฝา่ ยวิชาการ จัดท�ำวารสารอาษา (ASA Journal) เป็นวารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยในเล่มจะเป็นการรวมรวมบทความผลงานทางวิชาการ บทความผลงานวิจยั ทัง้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษทีอ่ ดั แน่นด้วยเนือ้ หาวิชาการ โดยได้มอบหมายให้ ผศ.ดร.สุพชิ ชา โตวิวชิ ญ์ เป็น บรรณาธิการ ซึง่ นับเป็นฉบับที ่ 2 ทีไ่ ด้มกี ารจัดท�ำวารสารอาษาในรูปแบบของการรวบรวมบทความวิชาการทัง้ ทางด้าน Design Theory History Vernacular เพือ่ ให้สถาปนิก นักวิชาการรวมถึงผูป้ ฏิบตั วิ ชิ าชีพทางด้านสถาปัตยกรรมและผูท้ สี่ นใจในศาสตร์ตา่ ง ๆ ทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง ได้เข้าถึงตามนโยบายของสมาคมฯ เองทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับการเผยแพร่องค์ความรูเ้ ชิงวิชาการสถาปัตยกรรมในวงกว้าง ทงั้ ยังสามารถ ใช้เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบและสามารถใช้ขอ้ มูลในเชิงลึกต่าง ๆ ในการอ้างอิงและปรับใช้ในการออกแบบของตนเอง นับเป็น โอกาสดีทวี่ ารสารอาษาได้เป็นช่องทางการศึกษาเพิม่ ขึน้ นอกเหนือจากต�ำราทัว่ ไปทีไ่ ด้มกี ารรวมรวมบทความเชิงลึกไว้มากมายให้ผอู้ า่ น ทีก่ ว้างขวางขึน้ และยังเปิดโอกาสให้สมาชิก นกั วิชาการและผูป้ ฏิบตั วิ ชิ าชีพสถาปัตยกรรมสามารถส่งบทความเพือ่ คัดเลือกและตีพมิ พ์ เผยแพร่องค์ความรูใ้ ห้เกิดประโยชน์แก่วงวิชาการ วิชาชีพสถาปนิกและน�ำไปสูก่ ารพัฒนาทีก่ ว้างขวางต่อไปในสังคม

Association of Siamese Architects under Royal Patronage acknowledges the importance of having a platform where members of

the association, architecture students, academics to architectural practitioners can publish and share their knowledge, ideas, projects including researches related to architecture. The association’s academic department has been assigned to oversee the making of ASA Journal, the association’s architectural journal that brings together resourceful and thoroughly executed academic researches, presented in both Thai and English language. With Assistant Professor Dr. Supitcha Tovivich as the editor, the redesigned ASA Journal has continued to its second issue and is still packed with brilliantly written academic works on Design, Theory, History and Vernacular as architectural academics and practitioner as well as interested individuals to have access to ASA’s expanding architectural database. Following the association’s policy, which prioritizes the promotion of architectural body of knowledge among a wider group of audience, ASA Journal is operated to bring readers in-depth knowledge and inspirations for academics, students and practitioners to benefit from academically and professionally. The knowledge that comes with the published works can be referenced and adapted to one’s approach to and understanding of architectural design. ASA Journal will also be able to serve as a resourceful channel that grants the public access to a vast number of comprehensive academic researches done within the realm of architecture. ASA Journal also offers a chance for members of ASA, architectural academics and practitioners to submit their written works, which will be carefully selected and published as a useful contribution to the architectural academia and industry, and hopefully to the greater development of the society.

อัชชพล ดุสิตนานนท์ / Ajaphol Dusitnanond นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ / President, The Association of Siamese Architects Under Royal Patronage


Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

วารสารของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

วารสารของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

- FRESH START -

ISSUE 05 JULY-AUG 2017

-SOCIAL ARCHITECT-

หลังเงาพระเมรุมาศ

-1-

NOV-DEC 2017 - ISSUE 07 The Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

วารสารของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

The Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

วารสารของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

The Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

วารสารของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

ติดตามวารสาร ย้อนหลังได้ทาง http://asa.or.th/asa-journal-th/ ISSUE 02 JANUARY 2017 ISSUE 03 MAR-APRIL 2017

- OPEN HOUSE -

ISSUE 07 NOV-DEC 2017

-HARIPHUNCHAI DIMENSIONISSUE 04 MAY-JUNE 2017

- CORE VALUE -


สารผูอำ้ �นวยการสำ�นักบริการวิชาการ / Message from the Academic Service Office เพือ่ ให้เป็นไปตามแนวนโยบายของนายกสมาคมฯและมติของคณะกรรมการบริหารฯวาระ 2559-61 ซึง่ เล็งเห็นความส�ำคัญของ การมีพื้นที่สนับสนุนให้เหล่าสมาชิกนักวิชาการและผู้ปฏิบัติวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรมได้มีโอกาสเผยแพร่แนวคิดในการออกแบบ และงานวิจยั ด้านสถาปัตยกรรมมากขึน้ นอกเหนือไปจากวารสารที่สถาบันการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมต่างๆ ได้จัดท�ำขึ้น ซึ่งยังมีอยู่ ในจ�ำนวนทีไ่ ม่มากนัก จึงมอบให้ ส�ำนักบริการวิชาการ สมาคมสถาปนิกสยามฯ จัดท�ำวารสารอาษาขึน้ โดยมีกำ� หนดออกปีละ 2 ฉบับ และเป็นสองภาษา ให้เป็นอีกช่องทางหนึง่ ในการสื่อสารแนวคิดและผลงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมและเกี่ยวเนื่องสู่สาธารณะ ทั้งใน และนอกประเทศผ่านสือ่ ออนไลน์ ดังนัน้ ในปี พ.ศ.2561นี้ สมาคมฯโดยส�ำนักบริการวิชาการ ได้มอบหมายให้ ผศ.ดร.สุพชิ ชา โตวิวชิ ญ์ เป็นบรรณาธิการเพือ่ จัดท�ำวารสารอาษา ฉบับที่ 1และ 2 ซึ่งจะว่าด้วยเรื่อง แนวคิดในการออกแบบ และ สถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ ทัง้ นี้ ฉบับนี้นับเป็นฉบับปฐมฤกษ์ ในช่วงระยะ 2 ปีถัดจากปี 2561เป็นต้นไป จึงขอเชิญชวนให้สมาชิกและนักวิชาการด้านสถาปัตยกรรม ทุกท่านติดตามประกาศของสมาคมฯ ในการเตรียมส่งบทความที่จะแจ้งให้ทราบต่อไป เพื่อคัดเลือกลงในวารสารอาษาของสมาคมฯ ในฉบับต่อๆ ไป

To follow the Association’s policy and the Board of Executive’s 2016-2018 agenda concerning the creation of a platform for fellow members in architectural academia and professional practitioners to promote and present design concepts and researches, the ‘new’ ASA Journal is conceived to expand academic resources and publications that up to now have been limited to architectural schools and institutes.

The Office of Academic Services of The Association of Siamese Architects (ASA) has been assigned to create this ‘ASA Journal’ and

it will be a bilingual (Thai and English) and biannual magazine. The new ASA Journal will become a platform where concepts and research related to architecture and other disciplines will be made accessible to both Thai and international readers. The year 2018 reintroduces ASA Journal on the new platform to be known as ASA Journal’. Assistant Professor Dr. Supitcha Tovivich, as the Editor-in-Chief, takes the responsibility in overseeing the creation of the first and second issues, with the content of the inaugural issue to feature design concepts and thinking and vernacular architecture.

From 2018 onwards, interested members and architectural academics can follow the latest updates from the Association about the

submission of articles that will be featured in the next issues of the ASA Journal.

ดร.วีระพันธุ์ ชินวัตร /

Weeraphan Shinawatra, Ph.D.

ผู้อำ�นวยการสำ�นักบริการวิชาการ / Director of Academic Service Office


สารบัญ / Contents หลักการออกแบบพืน้ ถิน่ บางประการ

จากกรณีศกึ ษาเรือนพืน้ ถิน่ ไทใหญ่

หน้า / Page

10 - 25

รองศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / rawiwan.o@cmu.ac.th

Some rules of Vernacular Design

from Case Study of Tai Yai Vernacular Houses Associate Professor Rawiwan Oranratmanee, Ph.d. Faculty of Architecture Chiang Mai University / rawiwan.o@cmu.ac.th

การออกแบบการบอกเล่าเรือ่ งราว สำ�หรับบุคคลทีม่ ค ี วามบกพร่องทางการมองเห็น

หน้า / Page

26 - 37

คำ�สำ�คัญ: บุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น คนตาบอด นิทรรศการ การบอกเล่าเรื่องราว

ชาริณี อรรถจินดา สถาปนิก ชำ�นาญการ กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร / charinim@gmail.com

Storytelling for the Blind Keywords: visually impaired, blind, blindness, exhibition, storytelling

Charinee Artachinda

Fine Arts Department, Ministry of Culture / charinim@gmail.com

ภาพฉายพัฒนาการรูปด้านหน้าห้องแถวการค้า เมืองท่าทะเลอันดามันและคาบสมุทรมลายู คำ�สำ�คัญ: รูปด้านหน้าห้องแถว เมืองท่า คาบสมุทรมลายู

ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์

นักศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / pa_patm@hotmail.com

ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ

อาจารย์ประจำ�ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / arch.su.kreangkrai@gmail.com

Reflections on the Shophouse Facades Development of the Andaman Sea - Malay Peninsula Port Towns Keywords: Shophouse Facade, Port town, Andaman Sea-Malay Peninsula

Pat Wongpradit, Ph.D. Candidate

Vernacular Architecture Programme, Faculty of Architecture, Silpakorn University, BKK, Thailand / pa_patm@hotmail.com

Thesis Advisor: Kreangkrai Kirdsiri, Ph.D.

Lecturer, Department of Architecture, Faculty of Architecture, Silpakorn University / arch.su.kreangkrai@gmail.com

หน้า / Page

38 - 57


ว่าด้วย “วัสดุ”

หน้า / Page

: แนวคิดทางสถาปัตยกรรมแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำ�สำ�คัญ: วัสดุ, วิโอเลต์-เลอ-ดุก, ก็อตฟรีด เซมเปอร์, จอห์น รัสกิน

58 - 75

ดร. พินัย สิริเกียรติกุล

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / p.sirikiatikul@gmail.com

On ‘Material’

: An Architectural Notion of the 19th Century Keywords: Material, Materiality, Viollet-le-Duc, Gottfried Semper, John Ruskin

Pinai Sirikiatikul, Ph.D.

Faculty of Architecture, Silpakorn University / p.sirikiatikul@gmail.com

การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารเก่าในประเทศไทย : จากการอนุรักษ์ สู่การปรับตัวทางสังคมเศรษฐกิจ และโจทย์ท้าทายในการ ออกแบบสถาปัตยกรรม

หน้า / Page

76 - 97

คำ�สำ�คัญ: การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอย, การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม, อาคารเก่า, การฟื้นฟู

ดร.สายทิวา รามสูต

ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / archstw@ku.ac.th

Adaptive Reuse of Old Buildings in Thailand

: From Conservation to Adaptation to Socio-Economic Situations and Architectural Design Challenges Keywords: Adaptive reuse, architectural conservation, old buildings, rehabilitation

Saithiwa Ramasoot, Ph.D

Department of Architecture, Faculty of Architecture, Kasetsart University / archstw@ku.ac.th

ต้นแบบการยืดอายุวสั ดุไม้ไผ่บา้ นพืน ้ ถิน ่ ประยุกต์ลก ั ษณะประเพณีหมูบ ่ า้ นกะหร่างปกาเกอะญอ โป่งลึก แก่งกระจาน เพชรบุรี

หน้า / Page

98 - 109

คำ�สำ�คัญ: กะหร่าง ปกากะญอ, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน, ไม้ไผ่, บ้าน, การยืดอายุวัสดุ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / terdsak@gmail.com

Bamboo Material Lifetime Extension Prototype in Applied Vernacular House in Paka-kyaw Karen Village, Pongluek Kaengkrahjarn, Petchaburi Keywords: Paka-kyaw Karen, Kaengkrahjarn National Park, bamboo, house, material, lifetime extension.

Asst. Prof. Terdsak Techakitkachorn, Ph.D.

Faculty of Architecture Chulalongkorn University / terdsak@gmail.com

Maritime Museum of Denmark:

หน้า / Page

Bjarke Ingels กับสถาปัตยกรรมใหม่บนพื้นที่เก่า คำ�สำ�คัญ: Bjarke Ingels Group, Maritime Museum, underground, Denmark, Scandinavia

นวันวัจน์ ยุธานหัส

/ nawanwaj.yudhanahas@gmail.com

Maritime Museum of Denmark:

Bjarke Ingels

Keywords: Bjarke Ingels Group, Maritime Museum, underground, Denmark, Scandinavia

Nawanwaj Yudhanahas

/ nawanwaj.yudhanahas@gmail.com

110 - 128


หลักการออกแบบพืน้ ถิน่ บางประการ จากกรณีศกึ ษาเรือนพืน้ ถิน่ ไทใหญ่ รองศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / rawiwan.o@cmu.ac.th

Associate Professor Rawiwan Oranratmanee, Ph.d. Faculty of Architecture Chiang Mai University

ภาพที่ 1 : กรอบแนวคิดเรื่องการออกแบบพื้นถิ่น

12

ที่มา : Rapoport, 2006

Image 1 : Conceptual Framework of Vernacular Architecture (Source: Rapoport, 2006)

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


บทนำ� สถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ เป็นสถาปัตยกรรมทีส่ ร้างโดยกลุม่ ชน เพือ่ ให้สอดคล้องกับบริบท ทัง้ บริบทของสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองและการปกครอง ภูมิปัญญาในงาน สถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ ถือได้วา่ เป็นองค์ความรูท้ สี่ งั่ สม ขัดเกลาอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป ผ่านสภาวะและเวลาทีเ่ ปลีย่ นแปลงอย่างต่อเนือ่ ง ข้อดีของความรู้พื้นถิ่น คือ ถูกทดลองมาแล้วปรับใช้ในบริบทชีวิต ประจ�ำวันโดยคนหลายรุ่นจนสั่งสมมาในหลากบริบทหลายสังคม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยการลงมือท�ำ (Hands-on learning) การลองผิดและลองถูก (Trial and error) จนได้รูปแบบและ เทคโนโลยีที่เหมาะสม ศาสตราจารย์พอล โอลิเวอร์ ผู้เชี่ยวชาญ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจากสหราชอาณาจักรได้กล่าวว่า บทเรียนที่ มี ค ่ า ของงานพื้ น ถิ่ น คื อ ความสามารถในการปรั บ ตั ว ของ สถาปัตยกรรมต่อบริบทแวดล้อมและความเปลีย่ นแปลง ธรรมชาติ ของความเปลีย่ นแปลงไม่ได้เป็นเส้นตรงไหลเรือ่ ยไป มันมีความวน เวียน หากเราเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงภูมิปัญญาพื้นถิ่นเข้ากับองค์ ความรู้ในระบบ เราจะสามารถสร้างองค์ความรู้เชิงบูรณาการเพื่อ แก้ไขปัญหาสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมโดยผ่านแนวคิดการ ออกแบบพื้นถิ่น (Vernacular design) ได้1 อามอส แรพอพอร์ท ศาสตราจารย์ด้านสภาพแวดล้อมศึกษาได้เคยชี้แนะเกี่ยวกับการ ออกแบบพืน้ ถิน่ ว่าหน้าทีข่ องนักวิชาการในแนวทางพืน้ ถิน่ คือ ต้อง ถอดออกมาว่าอะไรคือแก่นความรู้ที่ใช้ได้ และหน้าที่ของนัก ออกแบบ คือ ประยุกต์ใช้ความรูใ้ ห้เหมาะสมกับบริบทและยุคสมัย (Rapoport, 2006) ดังภาพที่ 1 รองศาสตราจารย์วิวัฒน์ เตมียพันธ์ (2529) ได้กล่าวว่า แนวทางการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีสองแบบ แบบแรกเป็น แนวทางของนักวิชาการที่มุ่งท�ำความเข้าใจสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพื่ อ เป็ น ความรู ้ พื้ น ฐาน ส่ ว นแบบที่ ส องเป็ น แนวทางของนั ก ออกแบบทีม่ งุ่ ค้นหาความรูห้ รือเกณฑ์สำ� คัญบางประการเพือ่ น�ำไป ประยุกต์ใช้ในการออกแบบตามแนวทางและปัญญาสร้างสรรค์ เฉพาะตน ศาสตราจารย์อรศิริ ปาณินท์ (2551) กล่าวว่า การศึกษา สถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ ต้องใช้ความรูพ้ นื้ ถิน่ จากภาคสนามเป็นข้อมูล หลั ก แต่ ป ั ญ หาส� ำ คั ญ คื อ ความรู ้ ห รื อ เกณฑ์ ก ารออกแบบ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมักเป็นความรู้ที่ซ่อนอยู่ฝังลึกในแต่ละสังคม (Tacit knowledge) ใช้การสืบทอดด้วยบอกเล่าด้วยวาจาประกอบ การลงมือท�ำร่วมกันหรือเรียนรูแ้ บบครูพกั ลักจ�ำ อีกทัง้ ยังมีสตู รและ วิธีคิดที่ไม่สอดคล้องกับระบบวิธีที่ใช้ในทางการศึกษาและวิชาชีพ ในปัจจุบันเสมอไป จึงเป็นข้อจ�ำกัดของนักออกแบบและสถาปนิก ในการเข้าถึงความรูพ้ นื้ ถิน่ ต้องใช้เวลาสืบค้นเสาะแสวงหาและใช้ ความอุตสาหะและความพากเพียรในการท�ำความเข้าใจ โดย เฉพาะการท�ำความเข้าใจกับวิธีคิดที่แตกต่างและเฉพาะตัวที่ซ่อน อยู่ในแต่ละสังคมวัฒนธรรม

1

บทสนทนาในชั้นเรียนหลักสูตร MA in International Studies in Vernacular Architecture ที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด บรูคส์ ในช่วงปี ค.ศ. 2005

13 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


กรณีศึกษา

บทความนี้น�ำเสนอบทสังเคราะห์จากผลจากการศึกษาภาคสนามในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไท ใหญ่ (ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณีและเชาวลิต สัยเจริญ, 2557; ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี, 2558) เหตุ ที่เลือกศึกษากลุ่มไทใหญ่เนื่องจากเป็นกลุ่มไทที่มีขนาดใหญ่ เก่าแก่และตั้งถิ่นฐานเป็นวงกว้าง มี ลักษณะสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายตรงไปตรงมาซึ่งสามารถเรียนรู้เพื่อการประยุกต์ใช้ได้ดี การศึกษา ของผู้เขียนในถิ่นฐานไทใหญ่ด�ำเนินมาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 จนปัจจุบัน มีงานภาคสนามในสามถิ่นฐาน ไทใหญ่นอกประเทศ คือ ถิ่นฐานไทใหญ่ในอินเดีย (ลุ่มน�้ำพรหมบุตรในอัสสัมและอรุณาจัลประเทศ) พม่า (รัฐฉาน) และจีน (เขตปกครองตนเองเต๋อหง) บทความนี้ได้ถอดเป็นบทเรียนบางประการจาก งานภาคสนามในอินเดียและพม่า เพื่อชี้ให้เห็นถึงหลักเกณฑ์ส�ำคัญบางประการที่สามารถปรับใช้ได้ กับการออกแบบสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน โดยเริ่มจากหลักการก�ำหนดทิศทาง องค์ประกอบ ขนาด สัดส่วน ระบบโครงสร้างและปลูกสร้าง 1. การกำ�หนดทิศทาง

คนไทใหญ่มีหลักก�ำหนดทิศทางจากการอ้างอิงสภาพแวดล้อมของถิ่นฐานในพื้นที่ราบลุ่มใน หุบเขาที่วางตัวตามแนวเหนือและใต้ ถือคติวางเรือนตามสัณฐานที่ตั้ง คือ ไม่วางแนวแปเรือนขวาง แปดอยและล�ำน�้ำ ค�ำว่า แปดอย หมายถึง สันของภูเขา ส่วนล�ำน�้ำ หมายถึง แนวของทางน�้ำ ด้วยเหตุ ทีส่ นั เขาและล�ำน�ำ้ ในถิน่ ฐานไทใหญ่ทางตอนเหนือของภูมภิ าคส่วนมากจะวางแนวเหนือและใต้ ท�ำให้ คนไทใหญ่กำ� หนดการวางแนวสันหลังคาเรือนตามแนวเหนือและใต้ให้สอดคล้องกับภูมปิ ระเทศ โดย ก�ำหนดให้ชานอยูท่ ศิ ใต้ (ทิศใต้ในภาษาไทใหญ่เรียกว่าหนชาน) ห้องนอนอยูท่ างทิศเหนือ (ทิศเหนือ ในภาษาไทใหญ่เรียกว่าหนห้อง)2 มีพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วย เสาผีหรืออาจเรียกต่างกันไป เช่น เสามงคล เสาขวัญ หิ้งพระและหันหัวนอนไปทางตะวันออก (วันออก) และมีครัวไฟอยู่ทางตะวันตก (วันตก) นอกจากนี้ยังถือคติการวางไม้พื้นเรือนว่า “กินที่เหง้า นอนที่ปลาย” คือ วางแนวไม้ให้เหง้า หรือโคนไม้อยู่ทางส่วนครัวและให้ปลายหรือส่วนยอดไม้ไปทางหัวนอน3 สูตรทิศทางนี้สามารถ สังเคราะห์ได้ดังภาพที่ 2

post

ภาพที่ 2 : หลักพื้นฐานของการจัดวางทิศทางของเรือนไทใหญ่ Image 2 : Basic rules of Tai Yai houses’ orientation.

2

3

การศึกษาของเรณู วิชาศิลป์ (2538) ทั้งจากเอกสารและการสืบค�ำไทใหญ่ในหลายถิ่นฐาน พบว่ามีการอ้างอิงทิศเรียกทิศเหนือว่า หนห้อง และทิศใต้ว่า หนชาน หลักคิดนี้มีปรากฏในงานเขียนเกี่ยวกับเรือนพื้นถิ่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Roxana Waterson ด้วย

14 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


2. องค์ประกอบพื้นฐานของกลุ่มเรือน

กลุ่มเรือนไทใหญ่มีองค์ประกอบตามวิถีชีวิตดังแสดงในผังบริเวณในภาพที่ 3 ของเรือนเดี่ยว บนที่ดินขนาดประมาณร้อยตารางวาถึงสองร้อยตารางวาเศษ เรือนนี้ตั้งอยู่ภายในรั้วไผ่หรือรั้วอิฐดิน ที่ล้อมแบบหลวมๆ การเข้าถึงเรือนเริ่มต้นจากหน้ารั้วสู่โข่งเฮิน หรือข่วงเรือน เป็นลานโล่งหน้าเรือน เพื่อแยกเรือนออกจากพื้นที่สาธารณะภายนอก ถัดจากข่วงเรือน คือ ตัวเรือนหลักเพื่อการอยู่อาศัย และมีเรือนประกอบภายนอก4 คือ ยุ้งข้าว โรงเก็บของ ตลอดจนคอกสัตว์ บ่อน�้ำ สวนครัว และทาง เชื่อมสู่เรือนพี่เรือนน้องที่อยู่ถัดไป

pen

ภาพที่ 3 : แสดงองค์ประกอบพื้นฐานของกลุ่มเรือน Image 3 : Compositions of Tai Yai house compound

3. องค์ประกอบของเรือนหลัก

เรือนหลักหรือเฮินโหลงถือเป็นเรือนประธานที่มีสูตรก�ำกับชัดเจน ช่างเรือนไทใหญ่เรียกสูตร การแบ่งส่วนของเรือนหลักว่า สูตรเรือนสามห้อง (ภาพที่ 4) ตามองค์ประกอบหลักสามส่วน คือ ส่วนนอก ส่วนกลาง และส่วนใน ที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตไท คือ กิน อยู่ หลับนอน หลักการจัดวางองค์ประกอบนี้ยัง ท�ำหน้าทีแ่ บ่งล�ำดับพืน้ ทีจ่ ากสาธารณะ สูพ่ นื้ ทีก่ งึ่ สาธารณะและพืน้ ทีส่ ว่ นตัว การแบ่งระหว่างส่วนมัก ใช้การท�ำระนาบพื้นให้ต่างระดับกันเล็กน้อย ประกอบกับการกั้นผนังระหว่างส่วน เพื่อสร้างการปิด ล้อมพื้นที่ส่วนตัว ป้องกันอันตรายและปกป้องทรัพย์สิน ระหว่างส่วนกลางกับส่วนในมักเป็นโถงโล่ง ทะลุถงึ กัน มีเพดานเฉียงตามระนาบหลังคาใช้อยูอ่ าศัยและรับรองพีน่ อ้ งทีม่ าพักค้าง ส่วนในเป็นส่วน นอนของครัวเรือน มักใช้มุ้งหรือม่านสีทึบกั้นแยกกันเป็นครัวเรือนละหนึ่งห้องเสาหรือช่วงเสา (Span) สูตรหนึง่ ครัวเรือนหนึง่ ช่วงเสานีถ้ อื เป็นความต้องการพืน้ ทีส่ ว่ นตัวทีพ่ อดีกบั การใช้งานเพือ่ การหลับนอน 4

ข่วงและลานท�ำหน้าที่เป็นพื้นที่เปลี่ยนผ่านจากสาธารณะสู่กึ่งส่วนตัวล�ำดับแรกของไท เช่น หน้าเมือง มีช่วงเมือง เป็นพื้นที่เปิดโล่งแบบอเนกประสงค์เพื่อพบปะทางสังคมวัฒนธรรมระดับเมือง เปิดตลาดในวันตลาด รวมพลในยามสงคราม ส่วนหน้าบ้าน มีข่วงบ้าน เป็นพื้นที่ที่ท�ำหน้าที่คล้ายกับข่วงเมือง แต่เป็นสังคมในระดับบ้าน ข่วงถือเป็นพื้นที่เป็นหน้าเป็นตาของชุมชน จึงต้องมีการดูแลรักษาและจัดภูมิทัศน์ให้สะอาดเรียบร้อยเสมอ

15 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


post

ภาพที่ 4 : แสดงองค์ประกอบพื้นที่ใช้สอยในเรือนหลัก Image 4 : Compositions of functional spaces of the main house

4. การกำ�หนดขนาดและสัดส่วน

เรือนไทใหญ่ก�ำหนดขนาดเรือนตามสัดส่วนคน มีหน่วยวัดพื้นฐาน คือ คืบ ศอก และวา โดย ก�ำหนดขนาดและสัดส่วนเรือนไว้ดงั แสดงในภาพที่ 5 ขนาดมาตรฐานทีพ่ บมาก คือ เรือนสามห้องและ ห้าห้อง มีสบิ สองเสาและสิบห้าเสา จากการวัดช่วงเสาพบว่าแต่ละช่วงเสามีระยะประมาณหนึง่ วาเศษ หรือประมาณสองเมตรกว่า5 ส่วนช่วงเสาด้านสกัดจะมีช่วงกว้างกว่าด้านยาวเล็กน้อย คือ ประมาณ วาครึง่ หรือราวเกือบสามเมตรเศษ เรือนมาตรฐานสามห้องจึงมีขนาดกว้างห้าเมตรเศษกว่าถึงหกเมตร เศษและยาวเจ็ดถึงแปดเมตรเศษ การขยับขยายเป็นเรือนสีห่ รือห้าห้อง ใช้การเพิม่ ช่วงเสาไปตามยาว ไปพร้อมกับการเพิ่มระยะช่วงเสาด้านสกัดตาม สูตรคุมสัดส่วนกว้างต่อยาวในภาพรวม คือ ไม่เกิน 1:2 โดยสัดส่วนที่พบมากคือ 1:1.5 เรือนขนาดมาตรฐานที่กล่าวนี้เป็นเรือนเดี่ยวแบบพื้นฐานของครอบครัวที่อยู่ร่วมกัน 2-3 รุ่น แบบครอบครัวขยายของไท กรณีเรือนที่ตั้งครอบครัวใหม่และยังไม่มีลูก มักสร้างเรือนขนาดสามห้อง มีแปดเสาด้วยไม้ไผ่หรือไม้จริงบางส่วนแล้วจึงขยับขยายตามการเติบโตต่อไป อย่างไรก็ตาม แบบ เรือนที่พบมากในปัจจุบัน คือ เรือนสองจั่ว ในลักษณะขยายตัวหรือสร้างพร้อมกันในคราวเดียว หลัก การพิจารณาเรือนหลักให้ดูจากเรือนที่มีเสามงคลก�ำกับและมักใช้เป็นที่นอนเจ้าเรือน ส่วนเรือนรอง มักสร้างให้เล็กกว่าเรือนหลักอยู่เล็กน้อย เรียกว่า เรือนอ่อนหรือเรือนเล็ก ใช้เป็นครัว และ/หรือ ส่วน นอนของลูกชายที่แต่งงานแล้ว การก�ำหนดความสูงในแนวตัง้ มีสตู รชัดเจนเช่นกัน ความสูงของการยกเรือนเป็นไปตามความ พร้อมของครัวเรือนเมื่อแรกตั้ง ซึ่งพบว่ามีระดับความสูงต่างกัน คือ เรือนต�่ำมักสูงเพียงสุนัขลอดได้ บางครั้งเรียกว่า เรือนหมานั่ง6 เป็นเรือนของครอบครัวใหม่ที่มีทรัพยากรน้อย หรือต้องการสร้างอย่าง ง่ายและรวดเร็ว เนือ่ งจากพึง่ อพยพใหม่ ใช้หลังคาแบบเพิง ขยับความสูงขึน้ มาอีกระดับเป็นเรือนยกพืน้ สูงไม่เกินเอวหรือราวหนึ่งเมตร เรียกว่า เรือนเพียงเอว ใช้ในกรณีที่เจ้าเรือนมีทรัพยากรน้อย จึงเลือก สร้างให้พออยูไ่ ด้ ส่วนเรือนแบบมาตรฐานมักยกพืน้ พอให้คนเดินลอดได้ เรียกว่า เรือนห้าง การก�ำหนด ความสูงแนวตั้งนิยมใช้หน่วยวัดเป็นศอกและบวกเพิ่มด้วยหน่วยคืบ โดยแบ่งสูตรความสูงเป็นสาม ช่วงเช่นกัน คือ ช่วงใต้เรือนประมาณ 4-5 ศอก ช่วงเหนือเรือนประมาณ 4-5 ศอก (มักให้สูงกว่าส่วน ใต้เรือนเล็กน้อย) และช่วงจอมเรือนหรือยอดเรือน 3-5 ศอก การก�ำหนดความชันหลังคา ใช้สูตรเทียบ ความสูงดั้งกับระยะกึ่งกลางขื่อ โดยให้มีความสูงดั้งน้อยกว่าระยะกลางขื่อเล็กน้อย เมื่อตรวจสอบ ความชันมาตรฐานพบว่ามีความชันประมาณ 35-40 องศา ความสูงเรือนจากพื้นดินถึงยอดหลังคา โดยรวม เท่ากับ ประมาณ 10-15 ศอก หรือประมาณ 5-8 เมตร 16 5

6

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ระยะนี้มีความเหมาะสมกั บขนาดเสื นอนและมุ ้งคลุมส�ำหรับหนึ่งครอบครัวที่ประกอบด้วยพ่อ แม่และลูกที่ยังเล็ก ในพระบรมราชู ปถัมภ์ ่อIssue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects เช่น กรณีภัยพิบัติหunder รือการอพยพฉั บพลัน ซึ่งพบได้บ่อยครั้งจากปัญหาภัยธรรมชาติหรือภัยสงคราม the Royal Patronage


ภาพที่ 5 : การกำ�หนดขนาดและสัดส่วนเรือน Image 5 : Specification of sizes and proportions of a Tai Yai house

5. โครงสร้าง

ระบบโครงสร้างประกอบด้วยโครงแนวตั้งและนอนเป็นส�ำคัญดังภาพที่ 6 ช่างพื้นถิ่นไทใหญ่ ได้กล่าวว่า ถ้าจะสร้างเรือนต้องเตรียมไม้เก้ากองไว้ให้พร้อมก่อน ไม้ทงั้ เก้ากองนีร้ วบรวมส่วนประกอบ โครงสร้างเรือนไม้ไว้ครบถ้วน ประกอบด้วย 1 เสา 2 คาน 3 ตง 4 ขื่อ 5 แป 6 กลอน 7 ฝา 8 ฟาก 9 คา การสะสมไม้เป็นหน้าที่ของพ่อและลูกชายที่ต้องช่วยกันสะสมทรัพยากรไว้สร้างหรือขยายเรือนเมื่อ ออกลูกชายออกเรือน ไม้กองทีส่ ำ� คัญและหายากทีส่ ดุ คือ เสา เพราะท�ำหน้าทีร่ บั น�ำ้ หนัก ยึดโยงเรือน สู่พื้นดินและเชื่อมโยงเรือนสู่ท้องฟ้า การจะหาไม้ที่มีล�ำต้นตรง สวยงาม ไม่มีต�ำหนิ และมีความยาว 10-15 ศอก จ�ำนวน 12-15 ต้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ฤดูกาลหนึ่งอาจสะสมไม้เสาได้เพียง 2-3 ต้นเท่านั้น ลูกผู้ชายกว่าจะมีภรรยาได้จึงต้องอดทนรอเวลาให้ได้ไม้พอ ส�ำหรับงานของผู้หญิงในการ เตรียมไม้ เก้ากองเป็นงานแบบย่อยมือย่อยตีนหรืองานละเอียด ได้แก่ การสานฟากท�ำพื้น ฝา และการเรียงคา ไว้มุงหลังคา ดังนั้น การแบ่งแรงงาน (Division of labour) คือ ผู้ชายท�ำโครงสร้าง ผู้หญิงท�ำเปลือก อาคาร ตลอดจนสนับสนุนเสบียงอาหารระหว่างการปลูกสร้าง 17 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


Post

ภาพที่ 6 : ภาพขยายเปิดหลังคาแสดงระบบโครงสร้างเรือน Image 6 : Illustration displaying a house’s structural components

6. การปลูกสร้าง

โลกทัศน์ไทใหญ่ถือว่าการปลูกสร้างเรือนถือเป็นกระบวนการสร้างเรือนทางกายภาพและจิต วิญญาณ7 เพื่อให้เรือนมีชีวิตผ่านการท�ำพิธี กระบวนการของการขึ้นเรือนเป็นไปตามหลักการของ โครงสร้างไม้ ดังภาพที่ 7 ประกอบด้วย การฝังเสาหรือวางเสาบนฐานหิน โดยตั้งเสาขวัญก่อน มักเป็น เสาทางตะวันออกเฉียงเหนือหรือต้นถัดจากนั้นในแนวตะวันออก หรืออาจเป็นต�ำแหน่งอื่นตามการ ท�ำนายดวงชะตาของเจ้าเรือนตามคติพราหมณ์ที่เข้ามามีอิทธิพลในภายหลัง เสามงคลมีพบแบบ เสาเดีย่ วเป็นส่วนใหญ่ กรณีมเี สาคูพ่ บว่ามักเป็นเสาคูร่ บั ขือ่ แรก เมือ่ ตัง้ เสาครบแล้วจึงยึดเสาเข้าด้วยกัน ด้วยคาน พาดตงบนคาน แล้วจึงขึ้นโครงหลังคา ประกอบด้วย ขื่อ แป กลอน แล้ววางตะแกรงสานถี่ เพือ่ รับคา จากนัน้ จึงตัง้ ฟากฝาและวางฟากพืน้ เป็นอันเสร็จการก่อสร้าง ระยะเวลาตลอดกระบวนการ ใช้วิธีเอาแรงกันเป็นเวลา 3-5 วันจึงแล้วเสร็จ

7

สะท้อนถึงความเชื่อว่าเรือนมีชีวิต เป็น Animated object ซึ่งพบทั่วไปในภูมิภาค

18 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 7 : กระบวนการปลูกสร้างเรือน

การถอดบทเรียนเพื่อการออกแบบร่วมสมัย

ข้อสังเกตบางประการทีน่ ำ� ไปสูห่ ลักเกณฑ์ทวั่ ไปในการออกแบบพืน้ ถิน่ จากกรณีศกึ ษาเรือนไทใหญ่ ได้แก่ • หลักการออกแบบตามสภาพแวดล้อม ได้แก่ การยกพื้นเรือนลอยเหนือดิน การใช้ระนาบตั้ง และนอนเพือ่ ถ่ายระดับ สร้างร่มเงาและการปิดล้อม การท�ำหลังคาชันระบายน�ำ้ ฝนและความร้อนจาก เรือน และการเลือกใช้มวลและเปลือกอาคารที่โปร่งเบาเพื่อระบายอากาศ • การก�ำหนดขนาดและสัดส่วนทีเ่ หมาะสมมีการใช้สตู รเลขสามในหลายมิติ เช่น เรือนสามห้อง ความสูงสามส่วน สูตรเลขสามนีม้ พี บมากทัว่ ภูมภิ าค สามารถปรับใช้เป็นเกณฑ์ทวั่ ไปทีส่ ามารถน�ำไป ทดลองปรับในการก�ำหนดสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยได้ 19

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


• การใช้สดั ส่วนผูอ้ ยูอ่ าศัยในการวัดและก�ำหนดระยะ หลักคิดนีเ้ ป็นเรือ่ งทีน่ า่ ทดลองส�ำหรับนัก ออกแบบในปัจจุบัน เราใช้ระบบอ้างอิงสัดส่วนมนุษย์ในระบบสากลมานานพอสมควร หากเราลอง อ้างอิงจากผู้อยู่อาศัยจริง ในการก�ำหนดช่วงเสาและระยะต่างๆ และการใส่เศษแบบงานพื้นถิ่นเพื่อ ปรับให้สดั ส่วนลงตัว เช่น การบวกคืบเป็นการใส่เศษเพิม่ 10-15 เซนติเมตร เป็นการมองหาความพอดี จากการเติมรายละเอียดทีละน้อยระหว่างกระบวนการไม่ตา่ งจากการปรุงอาหารหรืองานพืน้ บ้านแขนง อื่น • การก�ำหนดรูปทรงของอาคารหลักและการขยับขยายต่อเติมตามเวลา แนวคิดการก�ำหนดเรือน หลักของไทใหญ่มที มี่ าจากหน่วยพืน้ ฐานทีเ่ ล็กทีส่ ดุ ทีพ่ อเหมาะพอดี การขยับขยายต่อเติม มักเป็นการ เพิ่มตามการใช้งานหรือตามจ�ำนวนผู้ใช้ กลวิธีที่ใช้มีทั้งการยื่นพื้นและผนังออกไปในระยะต่างๆ ไป จนถึงการเพิ่มโครงสร้างเสาเพื่อขยายเรือนใหม่ขนานไปกับเรือนเดิม • การเปลี่ยนถ่ายของพื้นที่อย่างมีชั้นเชิง ทั้งด้วยกลวิธีการถ่ายระดับ การสร้างเขตหมายพื้นที่ การปิดล้อมเพียงบางส่วน เหล่านี้เป็นกลไกการออกแบบพื้นถิ่นในการสร้างระนาบเพื่อแบ่งส่วนและ ยกพื้นที่แทนการใช้เครื่องเรือนเพื่อนั่งและนอน ไปพร้อมกับการจัดล�ำดับที่ว่าง จัดวางแสงและเงา และไหลเวียนมวลอากาศและพลังงาน • ความเข้าใจในระบบโครงสร้างไม้แบบเสาและคาน โครงสร้างไม้ของไทมีก�ำหนดระนาบหลัก เพียงสองระนาบ คือ ระนาบตัง้ และนอน ระนาบตัง้ มีเสา ส่วนระนาบนอนมีคาน-ตง และขือ่ -แป ส�ำหรับ ระนาบเอียงหรือเฉียงเพื่อสร้างระนาบหลังคาที่มีความชันหรือขยายพื้นที่ฝาด้วยการผายฝาออก เป็นการปรับโครงสร้างแนวตั้งให้เอียงโดยถ่ายน�้ำหนักสูงระนาบหลักทั้งสอง คือ ตั้งและนอน • ความตระหนักในเรื่องของความต้องการทรัพยากรปลูกสร้าง การก�ำหนดชิ้นส่วนโครงสร้าง ชัดเจนเป็นไม้เก้ากองหรือธรรมเนียมการสะสมไม้หลายฤดูกาลก็ดี เป็นการสร้างความตระหนักรู้ใน ความต้องการใช้ทรัพยากร (Resource usage requirement) การออกแบบโครงสร้างที่ดี หมายรวม ถึง การรูแ้ ละเข้าใจระบบประกอบสร้างจากหลักคิดพืน้ ฐานของการรับแรง ตลอดจนการปรับแนวแกน หรือการบิดแกนที่เหมาะสมกับวัสดุทั้งที่เป็นไม้ และปรับเปลี่ยนไปเป็นวัสดุอื่น เช่น ปูน หรือเหล็ก

สรุป การออกแบบพื้ น ถิ่ น หรื อ Vernacular design เป็ น การออกแบบบนฐานคิ ด ของงาน สถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ จึงย่อมมีธรรมชาติคล้ายกับงานพืน้ ถิน่ ทีม่ กั ไม่ตายตัวเป็นแบบส�ำเร็จรูป หากแต่ ปรับเปลีย่ นไปตามบริบทและความต้องการของผูส้ ร้าง นักออกแบบพืน้ ถิน่ จึงไม่ใช่ผมู้ องหาสูตรส�ำเร็จ ของการออกแบบ แต่เป็นผู้ที่ปรับใช้หลักคิดจนได้รูปแบบที่ลงตัว ดังนั้น ผลลัพธ์ปลายทางย่อมอยู่ ที่ทางเลือกปรับใช้ในงานออกแบบนั้น ผู้ออกแบบอาจเลือกคงรูปแบบไว้จนอาจละม้ายคล้ายงาน ดัง้ เดิม หรืออาจดึงแนวคิดมาปรับสร้างรูปแบบทีต่ า่ งไปจากเดิมแต่คงกลิน่ อาย สัมผัส อารมณ์ในแบบ พืน้ ถิน่ งานออกแบบพืน้ ถิน่ เป็นแนวคิดทีแ่ ฝงคติการออกแบบเชิงนิเวศมนุษย์โดยมิได้มงุ่ เอาความงาม เป็นเป้าหมายแรก แต่เพือ่ ตอบสนองกับปัจจัยแวดล้อมและความต้องการของผูอ้ ยูอ่ าศัย ความส�ำเร็จ ของงานออกแบบพื้นถิ่นที่ส�ำคัญจึงสะท้อนออกมาจากความพอดีและลงตัวของสถาปัตยกรรมใน สภาพแวดล้อมและความสุขสบายผู้อยู่อาศัยเป็นส�ำคัญ

20 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


เอกสารอ้างอิง Oliver, P. (2005). Lectures given to students at Master of Arts in International Studies in Vernacular Architecture. Oxford: Oxford Brookes University. Rapoport, A. (2006). Vernacular Design as a Model System. In Asquith, L & Vellinga, M edited. Vernacular Architecture in the Twenty-First Century: Theory, education and Practice.179-198. Oxford: Taylor and Frncis. Waterson, R. (2009). The Living House: Anthropology of Architecture in Southeast Asia. Tokyo: Tuttle. ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี. (2556). รูปแบบบ้านเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์. เชียงใหม่: สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี. (2558). ถิ่นฐานบ้านเรือนไทใหญ่ในรัฐฉาน ความเชื่อมโยงทางสถาปัตยกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท. กรุงเทพฯ: สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี และเชาวลิต สัยเจริญ. (2557). แบบแผนบ้านเรือนไทใหญ่ในอินเดีย พลวัตทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไท ในพื้นที่พหุวัฒนธรรม. เชียงใหม่: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เรณู วิชาศิลป์. (2538). คำ�บอกทิศทางในภาษาไท. ใน Proceedings of the International Conferences in Tai Languages & Cultures: 116-126, Bangkok, December, 1995. วิวฒ ั น์ เตมียพันธ์. (2529). แนวทางการศึกษาสถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ . เผยแพร่ในการอบรม “แนวทางการศึกษาและวิจยั ทางศิลปกรรมไทย” ของคณะมัณฑนศิลป์ร่วมกับคณะอนุกรรมการการวิชาการโครงการจัดตั้งหอศิลป ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร. อรศิริ ปาณินท์. (2551). เรือนพื้นถิ่นไทย-ไท. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

21 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


Some rules of Vernacular Design

from Case Study of Tai Yai Vernacular Houses Associate Professor Rawiwan Oranratmanee, Ph.D.

Faculty of Architecture, Chiang Mai University / rawiwan.o@cmu.ac.th

Introduction

Vernacular Architecture is essentially a built structure designed and constructed to correspond with the surrounding

environmental, economic, social, cultural and political context. The know-how from vernacular architecture forms part of a body of vernacular wisdom that is gradually accumulated, polished and refined through the changing course of time and conditions. The intrinsic value of vernacular wisdom is the fact that it has been tried and applied in the everyday life context through generations. It evolves through varying contexts and social conditions, strengthened through hands-on learning and the process of trial and error, until the most suitable characteristic and technology are attained. Professor Paul Oliver, an expert on the World’s vernacular architecture said that a valuable lesson of vernacular architecture is its ability to adapt itself to different environmental contexts and changes. The nature of change is never been linear, but rather it circulates. If we are able to learn to connect and incorporate local wisdoms to the knowledge developed and provided by formal educational and professional institutions, we will be able to formulate an integrated body of knowledge to achieve new architectural and environmental solutions through vernacular design (Oliver, 2005). Amos Rapoport, Professor of Environmental Behavior Studies, once suggested that the role of academics in the vernacular approach to design is to extract the usable knowledge while the role of designers is to apply that knowledge to the contemporary context and time ((Rapoport, 2006). See Image 1.

Associate Professor Wiwat Taemeeyaphan (1986) proposed two approaches to vernacular architecture studies.

Case Study

The first one is put forward by the academics whose objective

is to attain greater understanding in vernacular architecture as

studies of Tai Yai Vernacular Architecture (Rawiwan Oranrat-

a fundamental knowledge. The second approach related to the

namee and Chaowalit Saicharoent, 2014: Rawiwan Oranrat-

architects’ pursuit of knowledge or standards that can be applied

manee, 2015). The studies focus on vernacular architectures of

to one’s individual design direction and creativity. Professor

Tai Yai, a large and long-existing ethnic group with an expansive

Onsiri Panin (2008) cited that the study of vernacular architec-

area of settlement in upper Southeast Asia, Southern China and

ture relies on the local wisdoms obtained through fieldwork

Northeastern India. The continuing studies have been conducted

as the main source of empirical knowledge. The significant

from 2011 to present with three fieldworks done outside of

problem, however, is that the local wisdoms related to vernacular

Thailand in Tai Yai’s settlement in India (the area around the

architecture are often in the form of tacit knowledge that has

basin of Brahmaputra river in Assam and Arunachal Pradesh),

been transmitted verbally in combination with the use of

Myanmar (Shan State) and China (Dehong Autonomous

techniques that have been passed on and observed through

Prefecture). The article features some of the lessons acquired

actual practices. In addition, there are concepts, rules and

from the fieldworks carried out in Myanmar and India from the

processes in the making of vernacular architecture in real-life

rules in orientation, composition, size, and scale including

context that are not consistent with the conventions and

structural and construction systems, which can be applied to

methodology provided by the modern educational system and

modern architectural design.

professional practice. Such differences become the limitation

This article presents the synthesis of the fieldwork

for designers and architects to access vernacular wisdoms and

1. Orientation

as a result requires them to study, research and explore with

great dedication and effort to understand specific, and

the environmental and climatic conditions of the settlement,

sometimes, different ways of thinking derived from and hidden

which is often a river valley that rests along the north-south

in a society or a culture.

axis. Tai people’s belief in the orientation of their domestic

22 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

The orientation of Tai Yai houses is done in reference to


environment follows the form of the land that they live in.

builders as well as inhabitants from the fieldworks explain the

To be more specific, the orientation of a Tai Yai house is in

spatial rule of this particular built structure as the “three-room

parallel with the mountain ridge and the river. With north-south

house” (Image 4), following three principal compositions: the

orientation of the ridges and rivers in most of Tai Yai’s settlements

front, the middle and the rear, corresponding with the inhab-

in the northern part of the region, the Tai Yai people design and

itants’ daily routine - eating, living and sleeping. The front part

build their homes to be in the corresponding direction. The

comprises of the veranda for the family’s daily activities and

veranda is situated towards the south direction (the south is

guest reception. The middle part, separated from the front part

referred to as hon chan) with the sleeping quarters located

by a wooden wall, is a main hall used for the family’s living

The sacred space is where the

area during nighttime and for overnight guests to sleep. It also

sacred pole (Phii pole or Mongkhol pole or Kwan pole) and the

accommodates the Buddha shrine and the hearth, if it is de-

Buddha shrine (keng phra) are situated. Inhabitants sleep with

signed to be incorporated inside the main house. The rear part

their head facing east (wan ok) while the kitchen is situated

is the most enclosed private space used for the family’s sleep-

towards west (wan tok). The wood flooring is also derived from

ing areas. The family members in different sub-families usu-

the concept of ‘eat at the tip, sleep at the root’, in which the

ally sleep in separated mosquito nets. One family simply oc-

placement of the wooden panels is done with top part used as

cupies one span between the two poles. Inside the rear part,

the sleeping quarter and the bottom part or the root as the house’s

or else, the middle part, we can find the sacred pole, as already

kitchen area. The orientation can be explained in the illustra-

mentioned.

towards the north (hon hong).

1

2

tion in Image 2.

4. Size and proportion 2. House composition : Clustered house of Tai Yai

Tai Yai’s clustered house consists of different domestic

‘wa’ as the fundamental scaling units as shown in Image 5. With

structures, each derived from the inhabitants’ daily way of life

the number of family members being the key indicator, the

as shown in the illustration of the house isometric projection

rooms are often constructed in odd numbers while the poles

(Image 3). The image illustrates a single house located on an

are conventionally in even numbers. The most common standard

approximately 200 square wa land plot, with a fence made of

sizes are the 3-room and 5-room program with 12 and 15 poles,

bamboo or clay bricks created to loosely indicate the boundary.

respectively. The measurement reveals that each span’s approx-

The house’s initial point of access is the fence, which is connected

imate range is a little over 2 meters.4 The span between the poles

to khong huen or khuang ruen. This particular area is an open

of the end side is longer with the approximate length of a little

3

space that separates the house from the outside public space.

over 3 meters. The width of the standard three-room house

Adjacent to khuang ruen is the main house where the inhabitants

ranges between 5 to 6 meters with the length that ranges between

live and other additional built structures such as a granary, a

6 and 8 meters. To expand the functional space to a 4-5 room

storage area, animal, a pond, kitchen and the walkway, which

house, additional spans are incorporated to the house’s length

connects to other houses within the same cluster.

with the range of the end side increased, following the overall

The specification of sizes and proportions of Tai Yai

houses corresponds with the human scale with ‘kueb’, ‘sok’ and

maximum width-length proportion of 1:2 while the most

3. Architectural compositions of the main house

common proportion is 1:1.5.

The main house or ‘hern long’ has its own specific

that accommodates an extended family with members from two

design and spatial rules. The compositions are identified

to three generations. Newly married members with no kids often

through spatial hierarchy from public to semi-public and

build a 3-room, 8-pole house using bamboo and timber before

private spaces. Such division is achieved with the difference

the size of the family expands in the future. Nonetheless, the

of activities, floor level, and some spatial marks. Local Tai Yai

most common structure is the double-gable house, which is

The standard house is a basic single residential structure

From the study done by Renoo Wichasin (1995), the existing documents and oral history regarding the use of Tai words in various settlements find the use of the term ‘hon hong’ and ‘hon chan’ to refer to the north and south directions, respectively. 2 The notion also appears in the writings about Southeast Asian vernacular architecture by Waterson (2009) and Oranratmanee (2013). 3 Kuang and court serve as a transition space from public to the private space. Similar convention can be found with the urban planning where a town often has ‘Khuang Mueng), which is basically an open, multifunctional space that accommodates cultural and social gathering in an urban scale. For a vernacular house and village, Khuang Ruen and Khuang Bann function similarly to Khuang Mueng but at a residential and communal scale. 4 This particular range is suitable with the size of the sleeping mat and mosquito net for one small family of parents and young children. 1


constructed as an annex or an extra living unit and built at the

the load of the house to the ground and functioning as a

same time as the main house. The main house, which is often

structure that offers vertical support. However, finding 12-15

used as the owner’s sleeping area, can be determined by the

straight, strong and beautiful trunks with usable height

presence of a sacred pole. The secondary house is traditionally

(10-15 sok) is not an easy task. Only 2-3 poles are usually found

smaller than the main house, known as hern Orn or Ruen Lek.

in a season or a year. For a son to get married and start a new

This particular area houses a kitchen and/or a sleeping area of

family, he has to wait until sufficient wood is procured. The

the married son.

role of female members in the household includes assistance in weaving the material such as ‘fak’ for the house’s floor and

The specification of the height follows a clear formula,

walls and assembling ‘ka’ for roofing. Essentially, the division

presumably reflecting the family’s financial ability. As a result,

of labor can be simply categorized with the male members

the heights of Tai Yai houses vary considerably. ‘hern ma nung’

5

responsible for the house’s structure whereas the female

(a sitting dog house) is a house with a lean-to roof and the floor

members handles the house’s shell as well as preparing meals

that is elevated to the height for only a dog to walk through.

for family members during the construction of the house.

This type of house is usually an alternative for families with limited resources or the need for a quick and simple shelter after a relocation or settlement on a new piece of land. The waist-high

6. Construction

house or (‘hern piang ew) is constructed with the floor elevated

approximately one meter from the ground, and is also an option

physical and social process. For a house to be lived in physi-

for families with limited resources. For a standard house, ‘hern

cally and spiritually, a ritual is performed with the process that

hang’, the floor is elevated high enough for human to walk

follows the modus operandi of Tai Yai’s house construction as

underneath. The specification of the house’s vertical height

shown in Image 7. The poles are cultivated to stone footings

often uses ‘sok’ or ‘elbow scale’ and ‘kueb’ or ‘hand scale’ as the

beginning with the sacred pole, which is usually the one

measurement unit. The height of a house is divided into three

situated towards the northeastern direction or the adjacent

different parts. The height of the elevated floor equals 4-5 sok,

pole located towards the east. The sacred pole can be cultivated

while the house body is usually a little bit higher. The height of

at any other locations as indicated by the calculation of the

‘jom hern’ or ‘yod ruen’ is between 2-3 sok. The indication of

owner’s birth date as a result of Brahma influence in Tai Yai

the roof ’s sloped angle is derived from the proportion between

culture. A house may contain one or two sacred poles, with

the angle of the inclined roof and the range to the center of the

the latter pole traditionally constructed to support the first

beam (the leaning angle is a little shorter than the range to

crossbeam. When all the poles are bolted, the beams are

center of the beam). The standard angle of the inclination

brought in to fasten the structure together. The joists are

ranges between 35-40 degrees while the height of a standard

placed on the beams before starting the construction of the

house (from the ground floor to the top of the roof) is between

roof structure, which comprises of crossbeams, purlins and

10-15 sok or approximately 5-8 meters.

rafters. The tightly woven meshes are placed as the base of the

5. Structure

Tai Yai’s belief regards home construction as both a

roof. Walls and floors are then installed as the final step. The construction process takes up to 3-5 days to complete.

The structural system comprises of vertical and hori-

zontal frames as shown in Image 6. Tai Yai builders explain that nine different piles of wood need to be prepared for the construction of a house. The nine piles include all the wood needed for the house’s structural construction and consist of

Some Lessons from Tai Yai House Case Study for Contemporary Vernacular Design

poles, beams, joists, crossbeams, purlins, rafters, walls, floors

and roofs. Father and sons take the responsibility of collecting

example of a simple timber building structure that is easy to

the wood and other resources for the construction of a house

follow, such as the way the floor is elevated above the ground,

of their own and the new house for a son’s new family. The

the use of vertical and horizontal plane to create transitioning

most important and most difficult resources to find are the

levels, the provision of shade and enclosure, the lean-to roof

poles that serve as the key weight bearing element, transferring

that enhances efficient rain water drainage and heat ventilation,

5

In terms of environmental design, Tai Yai house is an

For instance, during the time of disaster or sudden relocation, which often takes place after a strike of natural disaster or wartime.


and the use of light and airy mass and building shell to optimize

structure system lies in the basic rule of architectural planes,

natural ventilation.

comprising of the vertical and the horizontal. The vertical plane is comprised of poles whereas the horizontal plane is

The specification of sizes and proportions incorporates

made of beams-joists and crossbeams-purlin structure. The

the law of three to various dimensions of the architecture such

additional inclined plane is created for the roof structure and

as the 3-room program or 3-portion height of the house. The

extension of functional space through the expansion of walls,

use of the three-room house, which can be found throughout

in which the vertical structure is inclined with the structural

Southeast Asia, and can be applied to the general standard of

elements of the vertical and horizontal plane help to support

vernacular design and allocation of functional spaces of a

the transmitted weight.

standard house for a single family, while the extension of the house can be applied for extended spatial needs of a contem-

The realization in the demands for construction re-

porary house.

sources, the specification of structural parts such as the nine piles of wood and the collection of wood from different

The utilization of human scale in the design and con-

seasons emphasizes the architecture’s resource usage

struction of vernacular design should be further experimented

requirement. A good structural design refers to the knowledge

by contemporary architects and designers. There has been the

and understanding in the structural system, which is derived

use and reference of the human scale as a part of the universal

from the basic rules of weight bearing including the

system developed by the western system. By referencing the

adjustment of axes to suit different materials from wood to

experience of the actual users, the specification of span lengths

concrete and steel.

and ranges can help the architecture attain the more suitable scale. For instance, the addition of kueb, which equals 10-15 centimeters, to a span or a range can help achieve the most

Conclusion

suitable proportion. The details are gradually and minimally

Vernacular design is developed on the conceptual

added to the design along the construction process, which

basis of vernacular architecture, and as a result, contains sim-

similar to the method of cooking as well as the way other

ilar natures to vernacular structure for the great flexibility and

vernacular creations are made.

versatility of style. Vernacular design is varied by different contexts and each builder’s preferences. Designers applying

The specification of the form and program of the main

vernacular design, therefore, should learn to conceptualize the

building and future expansion all derive from the smallest

rules before applying their design works. The design output

fundamental unit. The expansion is usually driven by new

depends on the application, in which the designer is able to

functional demands and increased number of users. The

capture and choose to apply into their design works.

methods vary from the expanding of functional space through floor and wall extensions all the way to the construction of

Vernacular design is the concept that associates itself

additional structures in order for the annex to be built in

to human ecological design, whose primary objective is not

parallel with the main house.

to fulfill aesthetic purpose but to correspond to environmental factors and fulfill users’ demands. The success of vernacular

The well-calculated transition of spaces is executed

design is, therefore, reflected from the architecture’s abilities

through the variation of floor levels, the specification of the

to integrate local wisdom into actual context as well as the

spatial boundary, partial enclosure of space, are all the

comfort that is created for its users.

mechanisms of vernacular design utilized to create a series of planes for a house. Spaces are allocated and the floor is raised in different variations instead of the use of furniture for sitting and sleeping. Such spatial manipulation also encompasses the arrangement of spatial hierarchy, presence of light and shadow as well as air ventilation and energy circulation. The understanding in the timber structure based on post-and-beam

25 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


การออกแบบการบอกเล่าเรือ่ งราว

สำ�หรับบุคคลทีม่ ค ี วามบกพร่องทางการมองเห็น ชาริณี อรรถจินดา

สถาปนิก ชำ�นาญการ กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร / charinim@gmail.com

26 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


บทคัดย่อ บทความเรื่องการออกแบบการบอกเล่าเรื่องราวผ่านการ จัดนิทรรศการส�ำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ เป็ น ข้ อ มู ล ส� ำ หรั บ นั ก ออกแบบนิ ท รรศการ สถาปนิก และภัณฑารักษ์ ในการท�ำความเข้าใจเกีย่ วกับธรรมชาติ การรับรู้ของคนตาบอดในประเทศไทย เพื่อน�ำไปออกแบบและ เตรียมเนื้อหา รวมถึงสือที่สามารถเล่าเรื่องส�ำหรับบุคคลที่มีความ บกพร่ อ งทางการมองเห็ น ซึ่ ง เป็ น กลุ ่ ม เป้ า หมายได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิผล อธิบายปัจจัยทีแ่ ตกต่างกันทัง้ ทางกายภาพความพิการ ทางสายตา ประสบการณ์ที่เคยมองเห็นมาก่อนหรือตาบอดสนิท ตัง้ แต่แรกเกิด รวมถึงปัจจัยด้านสังคม ซึง่ ต้องการการออกแบบเป็น พิเศษโดยมีเงื่อนไขปัจจัยหลักและภาวะแวดล้อมเฉพาะ การ ท�ำความเข้าใจพื้นฐานท�ำให้นักออกแบบการบอกเล่าเรื่องราว สามารถออกแบบสื่อและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเล่าเรื่อง (narrative environments) ทีส่ อดคล้องกับกลุม่ เป้าหมาย บทความนีว้ เิ คราะห์ จากแหล่งข้อมูล 2 ประเภทได้แก่ ข้อมูลทางด้านความหมายและ ลักษณะการรับรูข้ องคนตาบอดในประเภทต่างๆ จากเอกสารอ้างอิง และข้ อ มู ล สะท้ อ นจากการปฏิ บั ติ ก ารจริ ง ในงานนิ ท รรศการ น� ำ สั ม ผั ส พระสุ เ มรุ : นิ ท รรศการสั ม ผั ส เพื่ อ ผู ้ พิ ก ารทางสายตา ในนิทรรศการงานพระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยใช้ วิธกี ารเฝ้าสังเกตุ ตัง้ สมมุตฐิ าน ทดลอง และการสัมภาษณ์กลุม่ เป้า หมาย มุ่งเน้นการศึกษาทางด้านสื่อเพื่อการเรียนรู้ พฤติกรรม ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ แยกอธิบายตาม 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ การใช้สื่อเพื่อการบอกเล่าเรื่องราวของวัตถุ การบอกเล่าเรื่องราว ของผัง การบอกเล่าเรือ่ งราวผ่านผิวสัมผัส สี และแสง การบอกเล่า เรื่องราวที่เป็นนามธรรม และ การจัดผังการจัดแสดง ความเข้าใจ ในทั้ง 5 หัวข้อนี้ ท�ำให้นักออกแบบสามารถน�ำไปเป็นข้อมูลเพื่อ ต่อยอด สร้างสรรค์การออกแบบการบอกเล่าเรือ่ งราวส�ำหรับบุคคล ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในประเทศไทยได้ต่อไป คำ�สำ�คัญ: บุคคลทีม่ คี วามบกพร่องทางการมองเห็น คนตาบอด นิทรรศการ การบอกเล่าเรื่องราว

27 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


บทนำ� พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้อิสระที่ทุกคนสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองว่า อยากจะรู้เรื่องใด ในความลึกระดับใด พืน้ ทีใ่ นพิพธิ ภัฑณ์จงึ เป็นแหล่งเรียนรูท้ มี่ คี วามส�ำคัญอย่างยิง่ ส�ำหรับผูท้ มี่ ีความ บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญาที่ต้องการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้ยัง ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาร่วมกันกับนักเรียนในโรงเรียนทั่วไป เนื้อหาที่ทางภัณฑารักษ์คัดมาเพื่อ บอกเล่าผ่านการจัดแสดงในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ส�ำคัญส�ำหรับการพัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ความสามารถในทางที่ตนเองสนใจ ความสมัครใจในการเรียนรู้นี้ จึงท�ำให้เกิดการเข้าชม อย่างตั้งใจและคาดหวัง ดังนั้นพิพิธภัณฑ์จ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการจัดแสดงเพื่อช่วย อ�ำนวยความสะดวกและสนับสนุนการเรียนรู้ แม้ว่าจะต้องเพิ่มงบประมาณในการจัดสร้างก็ตาม

ตอนที่ 1. ประเภทผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตา และลักษณะการเรียนรู้ การรับรูส้ ว่ นใหญ่เป็นการรับรูด้ ว้ ยสายตา คนเราพึง่ พาการมองเห็นมากทีส่ ดุ จึงไม่ได้ใช้ศกั ยภาพของ โสตอื่นซึ่งได้แก่ หูในการรับฟัง จมูกในการได้กลิ่น และร่างกายสัมผัส ซึ่งเป็นโสตที่คนตาบอด1 ใช้ใน การรับรู้และท�ำความเข้าใจสภาพแวดล้อม คนตาบอดสามารถจดจ�ำสถานที่ด้วยกลิ่น เสียง และมี ความจ�ำที่แม่นย�ำ ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตามีหลายประเภท มิใช่เฉพาะคนที่มองเห็นความมืด ด�ำเท่านั้น นิยามทางการแพทย์ของคนตาบอด2 หมายถึงผู้ที่มองไม่เห็น หรือ พอเห็นแสง เห็นเลือน ลาง โดยมีความสามารถในการมองเห็นได้ไม่ถงึ 1/10 ของคนปกติ หลังจากทีไ่ ด้รบั การรักษาและแก้ไข ทางการแพทย์ หรือมีลานสายตา (ระยะกว้างของการมองเห็น) กว้างไม่เกิน 30 องศา โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1.1.1 คนตาบอดสนิท หมายถึง คนที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรืออาจมองเห็นได้บ้างไม่ มากนัก ไม่สามารถใช้สายตา หรือไม่มีการใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ ในการเรียน การสอน หรือท�ำ กิจกรรมได้ ต้องใช้ประสาทสัมผัส อื่นแทนในการเรียนรู้ 1.1.2 คนตาบอดไม่สนิท หรือบอดเพียงบางส่วน สายตาเลือนราง หมายถึง มีความบกพร่อง ทางสายตา สามารถมองเห็นบ้าง แต่ไม่เท่าคนปกติ เช่น ต้องมองในระยะใกล้มากๆจึงจะเห็นวัตถุ เห็น แสงสว่างบ้าง เป็นต้น

คำ�ว่า “คนตาบอด” เป็นศัพท์เฉพาะทีใ่ ช้อย่างเป็นทางการสำ�หรับผูบ้ กพร่องทางสายตาทุกประเภท พระราชบัญญัตกิ ารฟืน้ ฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 มาตรา 4. 3 รายงานการศึกษาสภาพและความต้องการใช้สอ่ื การศึกษาของนักเรียนตาบอดระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเรียนร่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, วันทีส่ บื ค้น 10 พฤศภาคม 2561. แหล่งทีม่ า www.braille-cet.in.th/Braille-new/content-files/books/_res_full.doc 1 2


การรับรู้ที่ต่างกันของคนตาบอดทั้ง 2 ประเภท เป็นปัจจัยที่ต้องค�ำนึงถึงในการออกแบบรวม กับปัจจัยความแตกต่างของการรับรู้ผ่านประสบการณ์ในอดีตแยกเป็น 2 ประเภท3 ได้แก่ ผู้ที่ไม่เคย มีประสบการณ์การมองเห็นมาก่อนเลย ซึ่งแตกต่างจากผู้ที่มีประสบการณ์การรับรู้ผ่านการมองเห็น มาก่อน แยกอธิบายดังนี้ 1.2.1 คนตาบอดตั้งแต่แรกเกิด การรับรู้ของคนตาบอดประเภทนี้ จะใช้จินตาการจากการรับ รู้โดยโสตประสาทอื่นๆ ประมวลร่วมกับค�ำบอกเล่า ไม่สามารถเข้าใจสีได้ตรงกับความเป็นจริงแต่ สามารถจินตนาการสีสันได้เมื่อเทียบกับสิ่งที่รู้จัก เช่น น�้ำมีสีฟ้า ความรู้สึกเย็นและความสดชื่น จึง จดจ�ำความรู้สึกของสีฟ้าได้ คนตาบอดตั้งแต่แรกเกิด ไม่สามารถเข้าใจวัตถุ พื้นที่ และ space ที่อยู่ เลยระดับเอือ้ มถึง เช่น ฝ้าเพดาน หลังคา มักจะรับรูส้ ถาปัตยกรรมด้วยผนังหรือสิง่ บอกขอบเขตภายใน อาคาร ยากที่จะท�ำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภายนอกและภายใน ทั้งนี้ หากมีการเรียนรู้ ประกอบกับการมีประสบการณ์และเครื่องมือช่วยเหลือ คนตาบอดตั้งแต่แรกเกิด สามารถท�ำความ เข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ดี 1.2.2. คนตาบอดภายหลัง การรับรู้ของคนตาบอดประเภทนี้ มีความแตกต่างจากคนตาบอด ประเภทแรกเป็นอย่างมาก เพราะสามารถจินตนาการต่อจากประสบการณ์เดิมที่จดจ�ำได้เมื่อครั้งยัง มองเห็น สามารถเข้าใจถึงสีสันได้ดี สามารถเข้าใจถึงสิ่งที่อยู่เหนือศีรษะได้ จากการอธิบายทางการแพทย์และการวิเคราะห์เรื่องการรับรู้ที่แตกต่างกันดังกล่าว ท�ำให้นัก ออกแบบการบอกเล่าเรือ่ งราวผ่านการจัดนิทรรศการ สามารถเลือกใช้สอื่ ได้กว้างขวางกว่าการใช้วตั ถุ สัมผัสเพียงอย่างเดียว สิ่งส�ำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ควรค�ำนึงถึงคือ คนตาบอดไม่ได้มีการรับรู้แบบเด็ก การเตรียมสื่อเพื่อการเรียนรู้นั้น ไม่ได้มีรูปแบบหรือน�้ำเสียง (Tone of voice) แบบเดียวกับที่ใช้ในการ อธิบายเด็ก ตอนที่ 2. การใช้สื่อเพื่อการบอกเล่าเรื่องราวของวัตถุ “สิ่งนี้คืออะไร” เรื่องราวพื้นฐานในการท�ำความเข้าใจสิ่งหนึ่งว่าหน้าตารูปร่างเป็นอย่างไร ใช้ งานได้อย่างไร ในบางสิง่ ทีเ่ คยรูจ้ กั หรือเคยได้ยนิ มาแล้ว เช่น ช้าง คนตาบอดเคยได้ยนิ ว่าช้างเป็นสัตว์ รูปร่างใหญ่โต มีงวงและมีงา ซึง่ อาจจะเคยได้จบั ช้างมาแล้วบ้าง แต่เนือ่ งจากช้างมีขนาดใหญ่ จึงอาจ ไม่สามารถเข้าใจถึงช้างทั้งตัวได้ เมื่อสัมผัสแบบจ�ำลองช้าง สามารถจับสัมผัสช้างทั้งตัวด้วย 2 มือได้ ทั่ว คนตาบอดจึงสามารถเข้าใจถึงรูปร่างของช้างที่แท้จริง รับรู้ว่างวงและงาอยู่บริเวณหน้าของช้าง ดวงตาอยูด่ า้ นข้างซ้ายขวา ในกรณีศกึ ษานิทรรศการน�ำสัมผัสพระสุเมรุ คนตาบอดหลายคน ทีไ่ ด้เรียน รู้ประสบการณ์ใหม่ว่า สัตว์หลายชนิดมีตาอยู่ด้านข้าง มิใช่อยู่ด้านหน้าเหมือนอย่างมนุษย์เรา สิ่งนี้ เป็นตัวอย่างการผูกประสบการณ์ใหม่เข้ากับประสบการณ์เดิม ได้ผลเป็นจินตนาการต่อยอดในการ ท�ำให้เข้าใจสิ่งที่อยู่รอบตัวมากยิ่งขึ้น นัยยะหนึ่งที่ได้จากการเฝ้าสังเกตุและสัมภาษณ์คนตาบอดในนิทรรศการน�ำสัมผัสพระสุเมรุ การเรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย เช่น หน้าบันของงานสถาปัตยกรรมไทย คนตาบอดจะสัมผัสไป ทั่วๆวัตถุจัดแสดง และผูกจินตนาการเป็นรูปทรงง่ายๆ อ้างอิงตามสิ่งที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น “เป็น สามเหลี่ยม วัสดุเป็นไม้ มีลายนูนๆอะไรสักอย่างอยู่ตรงกลางสามเหลี่ยม ข้างๆเป็นแหลมๆเหมือน ฟัน” หากเพิม่ ค�ำอธิบายทีส่ ามารถผูกกับค�ำทีเ่ คยได้ยนิ เช่น ช่อฟ้า และน�ำสัมผัสบริเวณด้านบนทีเ่ ป็น ช่อฟ้า คนตาบอดจะสามารถผูกเรือ่ งขึน้ มาได้วา่ สิง่ ทีเ่ รียกว่าหน้าบันนี้ ท�ำจากไม้เป็นชิน้ ทรงสามเหลีย่ ม มีลวดลายตรงกลาง มีช่อฟ้าอยู่บริเวณด้านบนสุด สิ่งนี้อยู่บนหลังคาโบสถ์ตามวัดต่างๆ เป็นต้น วัตถุทใี่ ช้เป็นสือ่ มี 2 แบบคือวัตถุจริง และวัตถุทที่ ำ� เลียบแบบขึน้ เป็นหุน่ จ�ำลอง การสัมผัสวัตถุ โบราณจริงนัน้ นอกจากจะท�ำให้เข้าใจเรือ่ งราวของวัตถุแล้ว ยังให้ความตืน่ เต้น ความรูส้ กึ พิเศษ และ ท�ำให้เกิดการจดจ�ำได้ดี โดยต้องสวมถุงมือไร้กรด ป้องกันการเสียหายที่เกิดจากเหงื่อ ในทางกลับกัน การสวมถุงมือท�ำให้ไม่สามารถสัมผัสถึงวัสดุและพืน้ ผิวได้ ดังนัน้ อาจจะน�ำวัตถุชนิ้ เล็กทีใ่ ช้วสั ดุเดียวกัน ให้สัมผัสจับต้องด้วยมือเปล่า จากนั้นจึงให้ใส่ถุงมือและจับวัตถุจริง การเลื่อกวัตถุ ควรเป็นวัตถุที่มี ความแข็งแรง ติดตั้งอย่างแข็งแรงบนแท่นจัดแสดง มีขนาดพอที่จะจับได้ทั่วถึงและเดินได้รอบ 29 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


การสัมผัสหุ่นจ�ำลองที่ต้องการสื่อถึงเรื่องราวว่าสิ่งนี้หน้าตาอย่างไร ควรใช้วัสดุที่คงทนและ ไม่มีมุมแหลมคม เช่น หุ่นหล่อโลหะ ถึงจะได้รายละเอียดน้อยว่า แต่คงทน จับถนัดมือ ถ้าต้องการให้ มีสีสัน อาจใช้หุ่นเรซิ่น หุ่นปูนปลาสเตอร์ หรือหุ่นไม้ทาสี แต่ต้องแน่ใจว่าวัตถุและการจัดแสดงไม่มี อันตราย ไม่มีผงละออง เป็นอันตรายต่อคนตาบอดประเภททีส่ ามารถมองเห็นได้ในระยะใกล้ อาจสูด ดมฝุ่นละอองหรือสารเคมีเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้นหากต้องการสื่อความหมายด้วยกลิ่น ต้อง แยกสือ่ นัน้ ออกมาให้ชดั เจน คนตาบอดสามารถหยิบวัตถุนนั้ ขึน้ มาดมได้เอง ซึง่ การดมกลิน่ นัน้ เป็นการ สื่อเรื่องราวในด้านอารมณ์และจดจ�ำได้ลึกที่สุด สิ่งจ�ำเป็นคือ ความสะอาดของวัตถุจัดแสดง แท่น ราวจับ และเครื่องมือสื่ออื่นๆที่ใช้ใน นิทรรศการส�ำหรับคนตาบอด ต้องสามารถท�ำความสะอาดได้ด้วยแอลกอฮอล์ สามารถทนการเช็ดถู ไม่มีซอกมุมที่เช็ดไม่ถึง รวมถึงวัสดุที่ใช้ท�ำป้ายอักษรเบรลล์ ควรใช้โลหะแผ่นบาง print หรือดุนนูน โดยจะต้องเก็บขอบให้เรียบร้อย อาจใช้กรอบยางโค้งมนรัดรอบ การจับสัมผัสของคนตาบอด เป็นการสัมผัสทีน่ มุ่ นวล ไม่ได้จบั รุนแรง ไม่ได้มแี รงพุง่ เข้าไปเพือ่ จับวัตถุ ส่วนใหญ่จะเริ่มสัมผัสจากป้ายอักษรเบรลล์ แล้วเคลื่อนมือไล่มาตามพื้นแท่นจัดแสดง เริ่ม สัมผัสจากฐานขึ้นไปจนครบทั้งวัตถุ แล้วจึงลดมือมาจับตั้งแต่ด้านล่างใหม่ ดังนั้นการบอกเล่าเรื่อง ราว จึงเริ่มจากป้ายบอกว่าสิ่งนี้คืออะไร มีค�ำอธิบาย จากนั้นสามารถเล่าเรื่องจากล่างขึ้นบนได้ เช่น ต้องการอธิบายเรื่องหลังคาทรงจั่ว หลังจากอ่านป้ายว่า “หลังคาทรงจั่ว: หลังคาของสิ่งก่อสร้าง ที่มี ลักษณะเป็นสามเหลีย่ ม” เมือ่ คนตาบอดสัมผัสแบบจ�ำลองทัว่ แล้ว จึงเริม่ การอธิบาย อาจใช้แบบเสียง บรรยายหรือเจ้าหน้าทีช่ ว่ ยบรรยาย “บ้านนัน้ จะมีพนื้ บ้าน มีเสาตัง้ อยูท่ งั้ 4 มุม ถัดขึน้ มาจะเป็นหลังคา ทรงสามเหลียมเรียกว่า หลังคาทรงจั่ว” เป็นต้น

30 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ตอนที่ 3. การบอกเล่าเรื่องราวของผัง คนตาบอดสามารถรับรู้เรื่องผังได้ดี และสามารถจดจ�ำผังได้ดีอีกด้วย การอธิบายผังมักใช้สื่อ จ�ำลอง 2 มิตดิ ว้ ยเส้นนูน อาจเป็นการซ้อนชัน้ ของวัสดุแผ่นบาง หรือการดุน หรือการพิมพ์สามมิติ ต้อง ระมัดระวังเรื่องความคมของขอบ เพราะคนตาบอดจ�ำเป็นต้องใช้นิ้วรูดไปตามเส้นขอบ สามารถ ออกแบบให้ขอบเขตนูนเป็นเส้นบางๆก็ได้ (นูนเท่าอักษรเบรลล์) ใช้ความแตกต่างของพืน้ ผิววัสดุชว่ ย ในการสื่อความหมาย ประกอบกับป้ายอักษรเบรลล์ในผัง ที่ส�ำคัญคือ ต้องมีความกว้างไม่มากกว่า การใช้ 2 มือเอื้อมถึง การวางผังต้องวางถูกทิศกับอาคารที่เป็นอยู่จริง ในกรณีการอธิบายเรื่องราวของผัง เช่น แผนผังอาคารสิ่งก่อสร้างพระเมรุมาศ เริ่มจากการจับ สัมผัสขอบเขตของท้องสนามหลวงจนทั่วก่อน อ่านป้ายอักษรเบรลล์ที่บอกถึงอาคารแวดล้อมเพื่อให้ เข้าใจว่าทิศทางอยู่ทางไหน เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ด้านล่าง พระบรมหาราชวังอยู่ด้านขวา จากนั้นจึงสัมผัสตามค�ำบรรยายเข้ามาจากทางเข้าหลักซึ่งมีประสบการณ์เดินผ่านเข้ามาเมื่อสักครู่นี้ การใช้เสียงบรรยายจะอธิบายว่าเรายืนอยูต่ รงไหน ตรงหน้าคืออะไร ซ้ายและขวาคืออะไร เมือ่ เดินเข้า มาผ่านอะไร และเริ่มใช้การอธิบายตามโครงสร้างเดียวกันคือ ตรงหน้าคืออะไร ซ้ายขวาคืออะไรต่อ ไป ตัวอย่างเสียงบรรยายเรื่องราวของผังบริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในนิทรรศการน�ำสัมผัส พระสุเมรุ: นิทรรศการสัมผัสเพื่อผู้พิการทางสายตา4 บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ท้องสนามหลวงฝัง่ ทิศใต้ เป็นสถานทีก่ อ่ สร้างอาคารพระเมรุมาศและสิง่ ปลูกสร้างประกอบทีใ่ ช้ในพระ ราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ผังของบริเวณมณฑลพิธเี ป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า มีทางเข้าหลักอยูด่ า้ นทิศเหนือ มีถนนกว้างอยูด่ า้ นหน้า ใช้เป็นเส้นทางริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ เมื่อยืนอยู่บนถนนและหันหน้าเข้าสู่มณฑลพิธี ทางซ้ายมือเป็นที่ตั้งของพลับพลายกสนามหลวง เป็น อาคารโถงขนาดเล็ก ใช้ส�ำหรับ.... ฝั่งขวามือ จัดเป็นแปลงสาธิตโครงการพระราชด�ำริด้านการเกษตร อาทิ ..... เมื่อเดินตรงเข้ามาผ่านพลับพลายกสนามหลวงทางซ้ายมือและแปลงสาธิตทางขวามือแล้ว จะเข้าสู่ บริเวณมณฑลพิธีซึ่งถูกก�ำหนดด้วยแนวรั้วราชวัติและอาคารที่ตั้งอยู่บนแนวรั้วทั้งสี่ด้าน ได้แก่ ทับ เกษตร มีลักษณะเป็น... ถัดเข้ามาในมณฑลพิธี บริเวณกึง่ กลางของพืน้ ที่ คือพระเมรุมาศทรงบุษบกเก้ายอด เป็นอาคารประธาน ... บริเวณมณฑลพิธนี ี้ มีพนื้ ทีร่ วมทัง้ หมดกว่า 50 ไร่ หรือมีขนาดเป็นสองในสามของพืน้ ทีส่ นามหลวง ถือ เป็นการใช้พื้นที่มณฑลพิธีในงานพระเมรุมาศที่ใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนที่ 4. การบอกเล่าเรื่องราวผ่านผิวสัมผัส สี และแสง คนตาบอดทุกประเภทสนใจในเรือ่ งสีและวัสดุ ในขณะทีส่ มั ผัสวัตถุจดั แสดงมักถามว่า “สีอะไร” และ “ท�ำมาจากอะไร” ดังนัน้ การออกแบบเพือ่ สนับสนุนการสือ่ ความหมายผ่านสีสนั และวัสดุ อาจใช้ การออกแบบพืน้ ผิวทีต่ า่ งกัน ข้อสังเกตุทไี่ ด้จากนิทรรศการน�ำสัมผัสพระสุเมรุ คนตาบอดสามารถแยก สีเทาที่ใช้การพ่น และสีทองที่ใช้การทาของชิ้นส่วนงานสถาปัตยกรรมได้ และยังสามารถแยกความ แตกต่างระหว่างพื้นผิวสัมผัสของอคิลิคใสและอคิลิคพ่นสี รวมถึงความแตกต่างระหว่างเส้นใยของ เนื้อผ้าได้อีกด้วย การบอกเล่าผ่านแสงสี จ�ำเป็นต่อผู้พิการทางสายตาประเภทตาไม่บอดสนิท การให้ สีและแสงทีเ่ หมือนจริง สนับสนุนการเรียนรูข้ องคนตาบอดทีม่ องเห็นสีในระยะใกล้ การออกแบบแสง สีของสิ่งแวดล้อม เช่น การจ�ำลองร่มเงาของต้นไม้ การให้แสงสว่างเข้มอ่อน การกระพริบของแสงสี ร่วมกันกับสื่อเสียง ท�ำให้ผู้พิการทางสายตา สามารถได้รับเรื่องราวที่บอกเล่าได้มากขึ้น 4

กรมศิลปากร. (2560). ฐานข้อมูลพระเมรุมาศ และองค์ประกอบพระเมรุมาศ. วันทีส่ บื ค้น 10 พฤศภาคม 2561. แหล่งทีม่ า http://phramerumas.finearts.go.th/exhibition7.php


ตอนที่ 5. การบอกเล่าเรื่องราวที่เป็นนามธรรม นามธรรมอย่างเช่น ความยิง่ ใหญ่ ต้องใช้เครือ่ งมือการเล่าเรือ่ งแบบผสมสือ่ สิง่ แวดล้อม (narrative environments) เช่น การเล่าเรื่องด้วยวัตถุผสมกับทักษะการเปรียบเทียบ ในกรณีนิทรรศการ น�ำสัมผัสพระสุเมรุ ใช้ประติมากรรม ‘ครุฑ’ เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดเรื่องราวของความใหญ่โต ของพระเมรุมาศ คนตาบอดจะได้รบั ประสบการณ์เริม่ ต้น โดยการสัมผัสประติมากรรมครุฑชิน้ เล็กก่อน อธิบายว่าครุฑนั้นคือคนรวมกับพระยาอินทรีย์ คนตาบอดสามารถจับแบบจ�ำลองขนาดเล็กได้ทั่วทั้ง ตัว สัมผัสปีก จงอยปาก ล�ำตัวเป็นคน ขาและหางเป็นนก จึงได้เรียนรู้เรื่องครุฑคืออะไรเรียบร้อยแล้ว จากนัน้ น�ำสัมผัสประติมากรรมครุฑองค์จริงทีน่ ำ� มาจัดแสดงไว้ ความสูงใหญ่ของประติมากรรมท�ำให้ คนตาบอดเอื้อมจับได้ถึงขา เอวและปลายปีกเท่านั้น ท�ำให้เข้าใจถึงความใหญ่โตของประติมากรรม ทีใ่ ช้ประดับพระเมรุมาศ ร่วมกับค�ำอธิบายว่า ประติมากรรมใหญ่เช่นครุฑนี้ มีอกี หลายสิบตัว รายล้อม อยู่เพียงส่วนฐานของพระเมรุมาศเท่านั้นเอง เมื่อเข้าใจว่าครุฑคืออะไร มีความใหญ่โตขนาดเอื้อมไม่ ถึง และยังมีหลายตัวประดับไว้เพียงแค่ส่วนฐาน ประกอบกับประสบการณ์ที่สัมผัสแบบจ�ำลองพระ เมรุมาศไปแล้ว จึงจินตนาการออกว่า พระเมรุมาศนั้นมีความยิ่งใหญ่เพียงใด


ตอนที่ 6. ผังการจัดแสดง การวางวัตถุและสือ่ ทีห่ ลากหลายนัน้ สามารถวางได้ทงั้ แบบ linear และ non-linear narrative การจัดเตรียมผังการเดินสัมผัสส�ำหรับคนตาบอกทีม่ กั จะมาเป็นกลุม่ เช่น กลุม่ สมาคมคนตาบอดแห่ง ประเทศไทย หรือกลุ่มโรงเรียนสอนคนตาบอด ต้องเผื่อพื้นที่ส�ำหรับคนตาบอดหลายสิบคน รวมถึงผู้ ติดตามหนึ่งต่อหนึ่ง ดังนั้นการวางผังแบบทางเดียว (one direction) และเล่าเรื่องแบบ non-linear narrative จึงมีความเหมาะสม เพราะสามารถเริม่ จากจุดใดก็ได้ และเคลือ่ นทีเ่ ป็นวงจนครบรอบ ท�ำให้ ไม่ต้องรอเริ่มจากชิ้นแรก ควรมีสัญลักษณ์น�ำทาง โดยใช้การน�ำทางด้วยแผ่นผืนทางตั้ง (horizontal panel) เช่น ผนัง ซึ่งคนตาบอดมีความคุ้นเคย ท�ำให้คนตาบอดสามารถเดินตาม circulation ได้อย่าง มั่นใจมากกว่าการใช้สัญลักษณ์ที่พื้นเพียงอย่างเดียว อาจออกแบบราวจับที่ยาวไปตลอดนิทรรศการ มีสัญลักษณ์นูนบนราวจับรวมถึงพื้นที่ทั้งหมดในพิพิธภัณฑ์ต้องมีสัญลักษณ์บนพื้นและสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกตามมาตรฐานการออกแบบสิ่งแวดล้อมส�ำหรับคนพิการ ความคาดหวังและการจัดเตรียมพื้นที่ในพิพิธภัณฑ์ การจัดการพิพิธภัณฑ์ส�ำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น นอกจากจะเป็นแหล่ง เรียนรู้ทางเลือกแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนการเปิดพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้พิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากความคาดหวังในเรื่องเนื้อหาแล้ว พื้นที่ในพิพิธภัณฑ์ยังถูกคาดหวังเรื่องความปลอดภัย ดัง นัน้ การเตรียมพืน้ ที่ สือ่ สิแ่ วดล้อม (narrative environments) และวัตถุทเี่ หมาะสม ระบบการท�ำสะอาด การเตรียมสื่อน�ำทางในการชม สิ่งเล็กน้อยเหล่านี้สร้างความปลอดภัยและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้ เข้าชม นิทรรศการส�ำหรับผู้พิการทางสายตาอาจแยกส่วนเป็นพิเศษ ลดการรบกวนจากเสียงผู้เข้าชม นิทรรศการทัว่ ไป แต่อย่างไรก็ดพี พิ ธิ ภัณฑ์ควรเตรียมการออกแบบบอกเล่าส�ำหรับผูพ้ กิ ารทางสายตา และผูพ้ กิ ารประเภทอืน่ ปนไปกับนิทรรศการทัว่ ไปด้วย เพือ่ เริม่ เปิดโอกาสให้เกิดความคุน้ ชินในการอยู่ ร่วมกันในสังคม

เอกสารอ้างอิง กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 และระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐาน อุปกรณ์หรือสิ่งอำ�นวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ.2534 พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 มาตรา 4. กรมศิลปากร. (2560). ฐานข้อมูลพระเมรุมาศ และองค์ประกอบพระเมรุมาศ. (ออนไลน์). แหล่งทีม่ า http://phramerumas.finearts.go.th/ exhibition7.php วันที่สืบค้น 10 พฤศภาคม 2561. พรรษชล ศรีอิสราพร, พัลลภ เมาลานนท์ และเอกชัย เจริญชัยมงคล. ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ส่วนส่งเสริมการผลิตสื่อการศึกษา เพื่อคนพิการ สำ�นักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2548). รายงานการศึกษาสภาพและความต้องการใช้สื่อการศึกษาของนักเรียนตาบอดระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเรียนร่วมในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (ออนไลน์). แหล่งทีม่ า www.braille-cet.in.th/Braille-new/content-files/books/_res_full.doc วันที่สืบค้น 10 พฤศภาคม 2561. 33 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


Storytelling for the Blind Charinee Artachinda

Fine Arts Department, Ministry of Culture / charinim@gmail.com

Abstract

This article encompasses the design and storytelling of exhibition design for visually impaired persons. It aims to serve

as a source of information for narrative designers, architects and curators to obtain a better understanding regarding the nature of sensory abilities of the blind in Thailand. The content can contribute to the development of design as well as the use of contents and media for more effective storytelling of exhibitions whose targeted audiences are visually impaired persons. The article provides explanations of different physical conditions of vision loss, including experiences between people who were born blind and those whose visual impairments come later in life and with a number of social factors considered. This type of exhibition requires a special method of design for it has its own specific factors and environmental conditions. With a comprehensive basic understanding, narrative designers are able to design mediums and narrative environments that best resonate with the target audience’s expectations and behaviors. This article analyzes data from two different sources. The first involves the given definitions and the levels of visual impairment. The second source are referenced documents and data obtained from an observation of ‘Experience Phra Sumeru: Please Touch Exhibition for People with Visual Impairments’, held as a part of the Royal Funeral of King Bhumibol Adulyadej exhibition. Through observation, hypothesis, experimentation and interviews of the targeted audience, the article studies the utilization of media in the aspect of education, behavioral science and social science. The content is presented into 5 topics: Telling an object’s story through the use of media, Telling stories of a plan, storytelling through textures, colors and lighting, storytelling the abstract concepts, and exhibition plan design. The understanding in all the 5 topics will help designers achieve new developments of narrative design for visually impaired people in Thailand.

Keywords: visually impaired, blind, blindness, exhibition, storytelling Introduction

A museum is a learning resource where everyone can

Chapter 1: Types of Visually Impaired Persons and their Learning Abilities

freely pursue their interests in the desired extents and accord-

ing to their own preferences. The museum space is therefore

vision and they rely on visual information as the most important

a significant source of knowledge, especially for those who are

means of sensory perception, other physical senses such as

physically or intellectually impaired but are still motivated to

listening, smelling and touching, are not used to their fullest

learn because they have not been included as a part of the

potential. These physical senses1 are what visually impaired

compulsory education system that allows them to study in a

persons use to experience and comprehend the environment.

regular school. Contents in which curators select to be exhib-

The blind are able to remember a place from its smell, sounds

ited through various forms of media and presentation become

and memory. There are also several types of visual impairment

important learning resources for these individuals to develop

apart from complete visual loss. Medical definitions of blind-

themselves and pursue knowledge of their interest and achieve

ness2 encompass individuals who are not able to see or those

the intended level of skills. Such determination to learn caus-

who can see only refractions or partially blinded people who,

es their intention and expectation from the learning experience

after receiving medical treatments, see obscurely or with 1/10

to be rather high. As a result, despite the possible increase of

visual ability compared to normal people, including those with

cost, museums have to find ways to effectively incorporate

less than 30 degrees of visual field (the total area that a person

creative and environmentally conscious approaches to exhi-

is able to see when the eyes are fixed in one position). Persons

bition design in order to best facilitate and reinforce their

with visual impairment can be categorized as:

learning experience. 1 2

The term ‘visually impaired person’ is officially used to refer to individual of all types of visual impairments. The Rehabilitation of Disabled Persons Act, B.E. 2534. Section 4.

While most people perceive primarily through their


1. A person with total blindness refers to individuals who

With medical explanations and analyses regarding

are completely incapable of seeing anything, or with very lim-

different background experiences of blind persons, a narrative

ited sight including those who cannot use their vision to perform

is presented through the design of an exhibition that employs

tasks such as studying, teaching or participating in everyday life

a more diverse range of media in addition to the use of tactile

activities, consequentially forcing them to use other physical

physical objects. Another important factor that should be put

senses for learning.

into consideration is that the blind possess different perceptive

2. A person with partial blindness refers to visually im-

abilities from a child, which means the learning media does

paired individuals with limited vision compared to a normal

not have to contain the same tone of voice used for explaining

person, for instance, those who can see only within a very

information for kids.

limited distance, or those who are able to perceive only a certain amount of light.

Chapter 2: Telling an Object’s Story

The differences between the two types of blindness are

“What is this? How does it work?” are the basis of how

factors that need to be considered in exhibition design along

an object’s physical appearance is understood. For instance,

with different background experiences of the target audience,

some blind persons may have background knowledge of

which can be categorized into individuals who have past vi-

certain things or living creatures such as an elephant. They

sual experiences and those who do not. The explanations can

may be familiar with the animal as a massive creature with

be elaborated as follows:

tusks and a trunk while some have even personally touched a

3

real elephant. The fairly large body of the animal may be

1.2.1 Blindness from birth: The experience of individ-

problematic for the blind to imagine what an entire elephant

uals with this type of blindness is attained from imagination

looks like. As a result, by being able to touch a model of an

using other physical senses in combination with audio per-

elephant with their own two hands, the blind are able to have

ception. Persons with this kind of visual impairment are unable

a better comprehension about an elephant’s actual physique,

to understand the concept of colors but they can imagine the

including the positions of the trunk, tusks and their eyes. In

colors in comparison with the things they have the knowledge

the case study of ‘Experience Phra Sumeru: Please Touch

of. For instance, water is blue, cold and refreshing, and as a

Exhibition for People with Visual Impairments’, several

result, the concept of the color blue is memorized as feelings.

exhibition goers with visual loss are able to learn that several

People with visual impairment from birth are not able to

animals have eyes on the side of their faces and not in the front

understand objects, spaces including living spaces beyond

like a human being. It exemplifies the learning of new

their physical reach such as the ceiling and roof and often

experiences in addition to the original knowledge one already

experience architecture through the presence of walls and

possesses, allowing blind people to develop their imagination

other physical boundaries they can touch. It is also difficult

and understand more about the physical reality of the

for people with this type of blindness to comprehend the re-

surrounding environment.

lationship between interior and exterior. However, through learning and experiences accumulated with the help of assist-

ing tools, individuals who were born with total visual impair-

and interviews of blind people who attended the exhibition

ment are capable of understanding these things.

was how they learned new knowledge such as the gable roof

One of the implications obtained from the observation

in Thai architecture. The blind experienced the exhibition

1.2.2 People who lose their vision later in life possess

space by touching the displayed objects as they formulated

significantly different perceptive experiences for they are able

simple forms in their imagination, referencing them with

to further their imagination from the experiences they had

physical properties such as ‘triangular-shaped wood with

when they were still able to see, which allows them to have a

details of embossed pattern at the center and the tooth-like

good understanding of colors as well as objects and spaces that

sharp edges on the sides.” By adding audio descriptions related

are beyond their physical reach.

to the words they are familiar with such as the gable apex and

3

Report on the study on the conditions and demands for educational mediums of visually impaired students in secondary levels of participating schools in Bangkok and Vicinity. Retrieved 10 May 2018.

35 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


utilizing the physical texture of this particular architectural

element, visitors who are visually impaired are able to imagine

and attentively. There is no harsh force exerted on the objects.

the gable as a triangular shaped wood with a pattern at the

The viewing experience often begins with the braille text sign

center and a gable apex crowned at the top, including how this

before they gradually move their hands to the platform stands

particular architectural element is installed on the roof of an

where the objects are displayed. The touching process usually

ordination hall in a temple.

starts with the base and goes up to the entire object before it

Visually impaired persons touch and feel objects softly

moves down again to the bottom part. The storytelling can be

The exhibited objects can be categorized as actual

done from the braille text describing an object in bottom-up

objects or models. To be able to touch the actual object allows

order. For instance, the description of a gable roof, which reads,

the blind to understand the story behind it as well as the

‘gable roof: the triangle-shaped roof of a built structure.” Once

excitement that helps one remember the experience. Visitors

the viewers thoroughly touch the model, additional narration

are asked to wear acid-free gloves to protect the objects from

is brought in whether it is by recorded audio or by an exhibition

being damaged by human sweat. However, by wearing a glove,

staff, for example: “A house comprises of a floor with columns

they are unable to feel the actual texture of the object. Another

at 4 corners. The roof structure resting on the columns is

approach is the use of a smaller object with the same material

triangular-shaped gable roof.”

as the authentic object for exhibition goers to touch with their bare hands before touching the actual object while wearing gloves. The displayed objects should be strong and securely

Chapter 3: Telling Stories of a Plan

installed on the exhibition stand with the size that is big enough

The blind are completely capable of understanding the

for one to touch and feel the texture as well as for one to walk

rationale behind a floor plan and tend to be able to remember

around.

the details to a great extent. The presentation often uses a two-dimensional medium with embossed texture to render a

Models should be made of durable materials with no

more palpable touch, which can be achieved by superimposed

sharp edges, for instance, cast steel, which may contain fewer

layers of thin material sheets or embossed details of the design

details but is stronger and easier to hold and handle while

including 3D printing technology. Sharp edges must be elim-

resin, plaster concrete or painted wood may render more

inated for the blind’s viewing experience relies primarily on

colorful results. However, the models and exhibition are

touching. The design can be executed through the use of thin,

required to have a high level of safety with no dust or debris

embossed lines (with the lines bearing similar details as Braille

that can potentially harm visitors with nearsightedness who

letters). The difference in textures can help communicate the

may inhale toxic debris and chemicals. Alternatively, scent is

story, especially when presented in combination with the braille

a physical sense that can help a story to be communicated in

text description. Most importantly, the width of the model

the most emotional and deepest levels. If smells are used to

must not be wider than the reach of a human’s arm range and

help communicate a story, the medium should be displayed

the orientation must be in accordance with the actual plan of

separately in order for viewers with visual impairments to pick

the building.

up the objects and smell them at their own preference.

To explain the story using a plan such as the floor plan

What is mandatory is the hygiene of the exhibited

of the Royal Crematorium, the presentation begins with the

objects, including the exhibition stands, handles and other

perimeter of Sanam Luang where the structure is located in.

tools needed for an organization of an exhibition for visually

The braille text provides information about the surrounding

impaired audiences. Everything has to be sanitized using al-

structures to create an understanding of the overall direction,

cohol and is able to withstand constant cleaning with no in-

for instance, the location of Thammasat University at the

accessible corners. The material of the signs with embossed

bottom and Grand Palace on the right. The description in

braille text should be a thin steel plate while sharp corners

braille leads visitors to feel the plan, which starts off with the

must be made blunt or entirely covered with rubber.

main entrance (visitors had personally experienced the space

since they had just walked pass the actual main entrance). Voiceover is incorporated to help explain the current position

36 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


visitors are in the plan including the adjacent structures and other things they walk pass as they enter the exhibition ground.

Chapter 4: Telling Stories through Textures, Colors and Light

The explanation follows the same structure, which begins by describing the objects in the front, and then on the left and

right side.

in colors and materials. When a blind person touches a dis-

People with all types of visual impairments are interested

played object, one of the questions he or she often asks is ‘what

Following are excerpts from the audio descriptions

color is it?’ and ‘what is it made from?’. As a result, the exhi-

narrating stories and meanings behind the program and dif-

bition design that is able to accentuate the communicated

ferent structures inside the Ceremonial Ground at ‘Experience

meanings through colors and materials may also use different

Phra Sumeru: Please Touch Exhibition for People with Visual

textures to create a more diversified and comprehensive

Impairments’.

experience. An observation from the ‘Experience Phra Sumeru:

4

Please Touch Exhibition for People with Visual Impairments’ The Royal Crematorium at Sanam Luang

is the visually impaired visitors’ ability to differentiate the

The south of Sanam Luang is where the structure of the Royal

textures of transparent and painted acrylic sheets, including

Crematorium and other built structures of the Royal Cremation

the distinction between various types of fabric. The use of light

of His Majesty King Bhumibol Adulyadej are located in. The

and colors in storytelling is crucial for partially blinded visitors

plan of the Sanam Luang Ceremonial Ground is rectangle in

for the realistic use of colors and light can contribute to people’s

shape with the main entrance located to the north and the mul-

learning experience, especially for those who are able to see

tiple-lane roadway at the front used as the main road for the

colors within a short distance. The design of light and colors

processions of honour in the Royal Cremation Ceremony.

of the environment such as the simulated shades of trees, different levels of opacity, the flickering effects of light and

When standing on the road and facing the ceremonial ground,

colors, are utilized in combination with audio media, allowing

the left side is the “Royal Pavilions”, which is the place for the

the visually impaired to better receive the communicated

King and members of Thai Royal Family…

messages.

On the right side is the exhibition demonstrating the late King’s

Chapter 5: Telling Abstract Stories

Royal agricultural projects such as…

Abstract concepts such as ‘grandness’ require the use

When walking pass the Royal Pavilions and the exhibition

of a narrative environment as a key storytelling tool. For in-

ground demonstrating the late King’s Royal agricultural projects

stance, the storytelling approach that combines the use of an

on the left, one enters the ceremonial ground whose boundary

exhibited object to comparative narratives in ‘Experience Phra

is indicated by Ratchawat (Enclosure fences) and the structures

Sumeru: Please Touch Exhibition for People with Visual

locating along the fence lines on all four directions of the cere-

Impairments’ can be seen from the presentation of a ‘Garuda’

monial ground, such as Thab Kaset (Government Officials’

as a tool to communicate the ‘scale’ of the Royal Crematorium

Pavilions), which contains structural details of….

in the physical sense.

Further inside the ceremonial ground, at the center of the plan,

is the Royal Crematorium, which comprises nine spire-roofed

version of the Garuda sculpture as an audio description

pavilions…

explains the Garuda as the king of birds with the half bird-half

Visitors experience the exhibition by feeling the small

human body. The blind are able to touch the entire model of The Ceremonial Ground takes up the total space of 19.7 acres

the creature from the wings, mouth, feathered body, human

or two-thirds of Sanam Luang, which is considered to be the

legs and bird tail. After all the basic information about Garuda

largest ceremonial ground used for a Royal Funeral in the Rat-

is provided, visitors are led to feel the actual sculpture on

tanakosin Era.

display. Due to the massive size of the actual sculpture, visitors

4

Fine Arts Department. (2017). Database of the Royal Crematorium and accessories. Retrieved 10 May 2018. Source: http://phramerumas.finearts.go.th/exhibition7.php

37 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


are able to touch only the legs, waist and the tip of the wings

impaired audiences may be held in a separate section to reduce

of the Garuda as they learn about the scale of the sculpture

disturbing noises from viewers of the regular exhibition space.

created as an ornamental element of the Royal Crematorium.

Nevertheless, every museum should carefully prepare the

The experience is complemented with additional explanation

storytelling method for the blind audience and visitors with

that there are ten other sculptures used as the base of the

other types of handicaps to encourage awareness of and respect

Royal Crematorium. With the knowledge about the ‘Garuda’

for diversity among members of the society.

explained and the physical features experienced, combined with the previous experience of having touched the model of the Royal Crematorium, the visually impaired audiences are able to imagine and realize the spectacular scale of the crematorium’s actual structure.

Chapter 6: Exhibition Plan Design

The display of objects and mediums can be done in

linear and non-linear narratives. The circulation is designed for visually impaired visitors who usually come in groups such as field trips organized by the Thailand Association of the Blind or School for the Blind, which leads the exhibition space to accommodate tens of visitors at a time including a minimum of one chaperone for each group. The one directional circulation and non-linear narrative are two of the most suitable approaches for they allow visitors to experience the exhibition from any part of the circulation and to complete the cycle without the need to have only one specific starting point. Direction signs are pivotal such as the use of horizontal panels such as walls, in which most visually impaired persons are familiar with, allowing them to walk in the designed circulation with greater confidence instead of using solely floor symbols. The railing system can be designed to cover the entire exhibition with low-relief symbols on different parts of the railing and other exhibition spaces while the other facilities should follow the standard of environmental design for the handicapped.

An Exhibition Space: Expectations and Preparation

Museum management for visually impaired individu-

als serve not only as a resource of knowledge but also as a significant support in opening public spaces to be handicapped friendly and accessible and providing them the equal right to learn and attain a better quality of life. In addition to the contents, a museum space is expected to provide visitors not only the learning experience but also safety through creative and efficient preparation of space, narrative environments and appropriate use of exhibition objects including a suitable cleaning system and assisting tools. An exhibition for visually

38 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


Bibliography Ministerial Regulation No.4 (B.E. 2542) issued under The Rehabilitation of Disabled Persons Act, B.E. 2534. Section 4. and

the rules of the Commission of Rehabilitation of Disabled Persons regarding the standard of assisting tools and

facilities for disabled persons. B.E. 2534

The Rehabilitation of Disabled Persons Act, B.E. 2534. Section 4. Fine Arts Department. (2017). Database of the Royal Crematorium and accessories. Retrieved 10 May 2018. Source: http:// phramerumas.finearts.go.th/exhibition7.php Passachon Sriissaraporn, Pallop Maolanon and Ekachai Charoenchaimongkol. Center for Educational Technology. Production

of Educational Media for Disabled Person Promotion Unit. Office of the Permanent Secretary For Education (2005)

Report on the study on the conditions and demands for educational mediums of visually impaired students in secondary levels

of participating schools in Bangkok and Vicinity. (Online). Source: www.braille-cet.in.th/Braille-new/content-files/

books/_res_full.doc. Retrieved 10 May 2018.

39 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพฉายพัฒนาการรูปด้านหน้าห้องแถวการค้า เมืองท่าทะเลอันดามันและคาบสมุทรมลายู ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์

นักศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / pa_patm@hotmail.com

ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ

อาจารย์ประจำ�ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / arch.su.kreangkrai@gmail.com

40 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


บทคัดย่อ การศึกษาเรื่อง “ภาพฉายพัฒนาการรูปด้านหน้าห้องแถว การค้าเมืองท่าทะเลอันดามันและคาบสมุทรมลายู” เป็นการศึกษา ภายใต้กรอบความคิดเรือ่ ง “รูปแบบทางสถาปัตยกรรม (Typology)” วัตถุประสงค์ของบทความมุ่งเน้นศึกษารูปแบบขององค์ประกอบ ทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏบนรูปด้านหน้าห้องแถวเมืองท่าว่ามี พัฒนาการเป็นอย่างไร โดยขอบเขตพื้นที่ศึกษาในเมืองท่าทะเล อันดามันและคาบสมุทรมลายูประกอบด้วย เมืองกันตัง เมืองภูเก็ต เมืองตะกั่วป่า ประเทศไทย และเมืองจอร์ททาว์น ปีนัง ประเทศ มาเลเซีย งานวิจัยประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลเอกสารและลง ภาคสนามส�ำรวจรังวัด เพื่อศึกษาลักษณะกายภาพของพื้นที่และ รูปแบบ ร่วมกับข้อมูลจากการสังเกต ถ่ายภาพ และสัมภาษณ์ เพือ่ น�ำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าพัฒนาการรูป ด้านหน้าห้องแถวเมืองท่าแบ่งออกเป็น 7 ระยะคือ 1) The 1st localized style 2) The 2nd localized style 3) The 1st eclectic style 4) The 2nd eclectic style 5) The 3rd eclectic style 6) Art deco style 7) Early modern style คำ�สำ�คัญ : รูปด้านหน้าห้องแถว เมืองท่า คาบสมุทรมลายู

ภูมิหลัง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่รู้จักเนื่องด้วยเป็น ภูมิภาคบนเส้นทางการค้าทางทะเลจากอินเดียไปจีนมาช้านาน ผ่านการรับรูข้ องตะวันตกว่า “อินโดจีน” จากทะเลโคโลมันเดลของ อินเดียมายังทะเลอันดามันของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงช่องแคบมะละกาบริเวณคาบสมุทรมลายูทซี่ งึ่ เป็นจุดเปลีย่ น ของลมมรสุม ผลิตผลจากการจอดพักเรือเพื่อรอลมมรสุมนี้ท�ำให้ เกิดชุมชน ภายใต้ระบบการค้าในท้องถิ่น เริ่มต้นจากการแลก เปลี่ยนสินค้าซึ่งผลิตได้เองในท้องถิ่นกับสินค้าภายนอกเพื่อน�ำมา ใช้ในพิธกี รรมหรือเก็บสะสมเป็นสมบัตขิ องตระกูล ระบบการค้าใน ลักษณะนี้ก่อให้เกิดความเป็นศูนย์กลาง ซึ่งศูนย์กลางส�ำคัญ ประกอบด้ ว ยการเป็ น ผู ้ ผ ลิ ต ผู ้ ส ่ ง ออกและผู ้ ข ายอยู ่ ใ นตั ว เอง ศูนย์กลางบางแห่งอยู่ในท�ำเลที่ดีก็จะพัฒนาเป็นเมืองท่าการค้า (Entrepot หรือ Port town) และเป็นคลังสินค้า (Emporium) (ธิดา. 2011 : 462)1 โดยเมืองท่าส�ำคัญที่ถูกอ้างถึงบนพื้นที่คาบสมุทร ภาคใต้ของไทยและคาบสมุทรมลายู ได้แก่ เมืองมะละกา เมือง สิงคโปร์ เมืองปีนงั เมืองปัตตานี เมืองสงขลา เมืองกันตัง เมืองถลาง เมืองตะกัว่ ป่า เป็นต้น เมืองท่าเหล่านีผ้ กู โยงกันเป็นเครือข่ายติดต่อ ระหว่างกันผ่าน “เส้นทางเดินเรือคาบสมุทร” รวมถึงการเดินทาง โดยใช้ แพ เกวียน ม้า ช้าง และสัตว์พาหนะอื่น ๆ ดังที่ Wheatly Paul ประมวล 11 เส้นทางทีใ่ ช้กนั ในอดีตจนถึงปัจจุบนั ยกตัวอย่าง เช่น เส้นทางข้ามคอคอดกระ, เส้นทางแม่น�้ำตะกั่วป่า, เส้นทาง แม่น�้ำตรัง, เส้นทางเคดะห์-ปัตตานี, เส้นทางกลันตัน-มะละกา เป็นต้น (Wheatly. 1961)2 สะท้อนภาพการเติบโตของเมืองท่าบน คาบสมุทรทัง้ ตอนบนและตอนล่างอันสัมพันธ์กบั การติดต่อค้าขาย อย่างต่อเนื่อง 1 2

ธิดา สาระยา. (2554 ).“ประวัติมหาสมุทรอินเดีย” กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ, 462. Wheatley, Paul. (1961) “The Golden Khersonese : Studies in the Historical Geography of the Malay Peninsula before A.D. 1500.” Kuala Lumpur: University of Malaya Press.

41

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


นอกจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ก�ำหนดต�ำแหน่งการเกิดเมืองท่าแล้ว ความอุดมสมบูรณ์ของ ทรัพยากรยิ่งท�ำให้ชัยภูมิของคาบสมุทรภาคใต้และคาบสมุทรมลายูเป็นที่หมายปองของบรรดา ผูป้ ระกอบการค้าบนเส้นทางสายมหาสมุทร ทัง้ จีน สยาม และชาติตะวันตกนานาประเทศทีส่ บั เปลีย่ น หมุนเวียนเข้ามามีอิทธิพลเหนือพื้นที่ดังกล่าว นับตั้งแต่โปรตุเกส ฮอลันดา และท้ายสุด คือ อังกฤษ ซึง่ เป็นช่วงเวลาทีส่ บื ทอดวัฒนธรรม และประจักษ์หลักฐานทางวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ดงั กล่าว มาอยูจ่ นกระทัง่ ปัจจุบนั ดังภาพสะท้อนผ่าน “สถาปัตยกรรมประเภทห้องแถวการค้า” ในเมืองท่าต่างๆ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ในสารานุกรมสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโลก (Encyclopedia of Vernacular Architecture) โดย Paul Oliver เสนอว่า การก่อตัวของ “ห้องแถวการค้า (Shop House)” เกิดจากความต้องการเรื่อง ประโยชน์ใช้สอยเป็นส�ำคัญ3 (Paul Oliver, 1998: 21) สอดคล้องกับงานเขียนของ Julian Davison ทีใ่ ห้คำ� อธิบายสถาปัตยกรรมประเภทห้องแถวว่า ท�ำหน้าทีร่ องรับการพาณิชย์และพักอาศัยอยูภ่ ายใน อาคารหลังเดียวกัน โดยมากมักจะพบห้องแถวปลูกสร้างอยู่ริมถนนเพื่อสะดวกในการค้าขาย ทั้งนี้ เจ้าของบ้านจะท�ำการค้า หรือธุรกิจอยู่ในพื้นที่ชั้นล่างตัวอาคารด้านหน้า ในขณะที่ครอบครัวจะอยู่ อาศัยในตัวอาคารด้านหลัง และพื้นที่ชั้นสองของห้องแถว4 ประกอบกับเมือ่ พิจารณาในเรือ่ ง “รูปทรง (Form)” และ “รูปด้านหน้า (Facade)” ของห้องแถว ทั้ง Julian Davison และ Tan Yeow Wooi ให้ค�ำจ�ำกัดความไปในทิศทางเดียวกันว่า ลักษณะอาคาร สูง 2-3 ชั้น หน้าแคบแต่ลึกยาว ผนังด้านหน้าอาคารชั้นล่างถูกถอยล่นจากแนวถนน ในขณะที่แนว ผนังชัน้ บนอ้างอิงกับขอบถนนยืน่ คลุมพืน้ ทีเ่ ฉลียงด้านหน้าโดยถ่ายน�ำ้ หนักผนังชัน้ บนลงสูเ่ สา และใน หนึ่งช่วงแถว (Block) ผนังกั้นระหว่างคูหาจะถูกใช้ร่วมกัน (Shared party walls) ด้วยห้องแถวสร้าง ต่อเนื่องเรียงเป็นแนวยาวตลอดถนนจึงท�ำให้พื้นที่เฉลียงด้านหน้าของห้องแถวสามารถใช้เป็น “ทาง เดินในร่ม (Covered walkway)” หรือที่เรียกว่า “หง่อคากี่ (Five-foot way)” ซึ่งผู้บุคคลทั่วไปใช้สัญจร ไปมาหลบแดดและฝนได้ ส่วนโครงสร้างและวัสดุพื้นฐานที่ใช้ก่อสร้างห้องแถว คือ ไม้และอิฐ5 ทั้งนี้รูปแบบของห้องแถวอันเป็นเอกลักษณ์ถือก�ำเนิดขึ้นจากสัมภาระทางวัฒนธรรมของ คนจีนทีย่ า้ ยถิน่ จากประเทศจีนไปตัง้ ถิน่ ฐานนอกประเทศ ในสารานุกรมสถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ โลก (Paul Oliver. 1998: 657) ยงั ให้ขอ้ มูลว่าห้องแถว เกิดขึน้ ภายใต้อทิ ธิพลจีนโดยเริม่ สร้างขึน้ ในพืน้ ทีค่ าบสมุทร มลายู และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองท่าต่าง ๆ รุ่งเรืองขึ้น จากการถูกก�ำหนดให้เป็นสถานีการค้า แหล่งรวบรวมสินค้า แหล่งแลกเปลี่ยนสินค้า ตลอดจนแหล่ง รวมรวมเครื่องอุปโภค-บริโภคที่จ�ำเป็นส�ำหรับการเดินทาง6 โดยเฉพาะการเข้ามามีอิทธิพลภายใต้ เครือจักรภพอังกฤษ (บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ) ผ่านการสถาปนาดินแดนอาณานิคม ช่องแคบ (Strait Settlement) เมือ่ ปี พ.ศ.2329 ประกอบด้วย เมืองปีนงั เมืองสิงคโปร์ และเมืองมะละกา โดยมีสถานีการค้าใหญ่ตั้งอยู่ที่ “เมืองจอร์จทาวน์เกาะปีนัง” ท�ำให้เมืองท่าต่างๆ ในคาบสมุทรมลายู เติบโตมากยิ่งขึ้น และเริ่มต้นปลูกสร้างห้องแถวควบคู่กับการพัฒนาเมืองตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษ ที่ 18 เป็นต้นมา ในระยะเวลาเดียวกันนัน้ เมืองท่าคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยก็เติบโตและพัฒนาควบคู่ กัน สัมพันธ์ผา่ นการติดต่อค้าขายทางทะเล ดังจะเห็นได้จากห้องแถวทีป่ รากฏในเมืองท่าต่าง ๆ ได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองสงขลา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองกันตัง เมืองภูเก็ต และเมืองตะกั่วป่า ทั้งนี้พบ การศึกษาเรื่องห้องแถวในพื้นที่ดังกล่าวหลายชิ้น เช่น วสันต์ ชีวะสาธน์ เสนอในรายงานวิจัยว่า สถาปัตยกรรมประเภทตึกแถวในเมืองปัตตานีได้รับอิทธิพลจีน ในภาพรวมล�ำดับให้เห็นพัฒนาการ ของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมผ่านมุมมองทางประวัติศาสตร์7 (วสันต์.2529) เช่นเดียวกับการศึกษา ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีน-ปอร์ตุเกส ในเขตเมืองนครศรีธรรมราชของ อุดม หนูทองและมโน พิสทุ ธิรตั นานนท์ (อุดม, มโน.2543) เน้นการศึกษาสถาปัตยกรรมในเชิงประวัตศิ าสตร์พร้อมยกตัวอย่าง กรณีศกึ ษาในการวิเคราะห์8 สว่ นการทบทวนวรรณกรรมทีศ่ กึ ษาในย่านเมืองเก่าสงขลา พบการศึกษา เกีย่ วข้องกับประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ วัฒนธรรม กายภาพเมืองเป็นส่วนใหญ่ ในการศึกษารายละเอียดทาง สถาปัตยกรรมประเภทตึกแถว สุภาวดี เชือ้ พราหมณ์ ให้ขอ้ เสนอว่า ตึกแถวเมืองเก่าสงขลามีภาพลักษณ์ ของวัฒนธรรมจีนทีเ่ ด่นชัด ด้วยวิถชี วี ติ ของผูค้ นถ่ายทอดสูร่ ปู แบบสถาปัตยกรรม ซึง่ ยอมรับและผสมผสาน Paul Oliver. (1998). “Encyclopedia of Vernacular Architecture Volume 1”. Cambridge: Cambridge University. 21. Julian Davison. (2010). “Singapore Shophouse”. Singapore: Talisman Publishing. 14. 5 Tan Yeow Wooi. (2015). “Penang Shophouses”. Penang: Phoenix Press. 1. 6 Paul Oliver. (1998). “Encyclopedia of Vernacular Architecture Volume 1”. Cambridge: Cambridge University. 657. 7 วสันต์ ชีวะสาธน์.(2529). “รายงานการวิจัยสถาปัตยกรรมจีนในเมืองปัตตานี”. สงขลา: ทุนวิจัยจากมูลนิธิ เจมส์ ทอมป์สัน ประจำ�ปีการศึกษา 2528-2529, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 8 อุดม หนูทองและมโน พิสุทธิรัตนานนท์. (2543). “สถาปัตยกรรมแบบจีน-ปอร์ตุเกส ในเขตเมืองนครศรีธรรมราช” วารสารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 1 (มกราคม-เมษายน 2543). 85-114. 3 4


สือ่ แสดงผ่านพัฒนาการของตึกแถวทีพ่ บทัง้ จีนผสมไทย จีนผสมฝรัง่ และแบบสมัยใหม่9 (สุภาวดี. 2546) และการศึกษาที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงในภาพรวม ผ่านงานวิจัยของ ธนรัชต์ ถาวรโรจน์ เสนอว่าการก่อรูปของสถาปัตยกรรมตึกแถวในเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ ประเทศไทยว่า ปัจจัยส�ำคัญเกิดจากลักษณะเด่นทางภูมศิ าสตร์และการอพยพ (immigration) เข้ามา ของชาวจีนโดยพัฒนาการของตึกแถวเป็นแบบจีนดัง้ เดิม แบบจีนผสมพืน้ ถิน่ ภาคใต้ และแบบจีนผสม ตะวันตก10 (ธนรัชต์.2547) จากการทบทวนวรรณกรรมแสดงให้เห็นว่าการศึกษาเรือ่ งสถาปัตยกรรมประเภทห้องแถวการค้า ในเมืองท่าชายฝัง่ ทะเลตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ประเทศไทย มีการศึกษาวิจยั และได้องค์ความรู้ เพื่อสร้างค�ำอธิบายพัฒนาการของห้องแถวแล้ว แต่ทว่าหากพิจารณาองค์ความรู้เรื่องห้องแถวใน เมืองท่าชายฝัง่ ทะเลตะวันตกของคาบสมุทรภาคใต้ประเทศไทยพบว่ายังขาดการศึกษาและการสร้าง ค�ำอธิบาย คำ�ถามการวิจัย เพือ่ สร้างค�ำอธิบายและท�ำความเข้าใจถึงพัฒนาการของรูปด้านหน้าห้องแถวในเมืองท่าชายฝัง่ ทะเลตะวันตกของคาบสมุทรภาคใต้ประเทศไทยหรือทีร่ จู้ กั กันในชือ่ “ทะเลอันดามัน (Andaman sea)” จ�ำเป็นต้องศึกษาเทียบเคียงเชื่อมโยงกับเมืองปีนังอันเป็นสถานีการค้าหลักของดินแดนอาณานิคม ช่องแคบ (Strait Settlement) ซึ่งในอดีตเปรียบเสมือนแสงเทียนแห่งคาบสมุทรมลายู ส่องสว่างเชื้อ เชิญให้เหล่าบรรดาพ่อค้าทางทะเลเข้าไปร่วมประกอบธุรกิจด้วย ดังนัน้ การศึกษาเรือ่ ง “ภาพฉายพัฒนาการรูปด้านหน้าห้องแถวการค้าเมืองท่าทะเลอันดามัน และคาบสมุทรมลายู”11 มุง่ ศึกษาผ่านห้องแถวภูมทิ ศั น์ยา่ นประวัตศิ าสตร์เมืองท่าประกอบด้วย เมือง ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา, เมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต และเมืองกันตัง จังหวัดตรัง ฝั่งทะเลอันดามัน ประเทศไทย และเมืองจอร์ททาวน์ เกาะปีนัง ในคาบสมุทรมลายู โดยมีค�ำถามวิจัยว่า พัฒนาการของ รูปด้านหน้าห้องแถวการค้าในเมืองท่าฝั่งทะเลอันดามัน-คาบสมุทรมลายูเป็นอย่างไร?

ภาพที่ 1 : แสดงตำ�แหน่งเมืองท่าทะเลในอันดามันและคาบสมุทรมลายูอันเป็นพื้นที่ศึกษา Image 1 : Ilustration study area: positions of Four port towns in the Andaman Sea-Malay Peninsula

สุภาวดี เชื้อพราหมณ์. (2546). “ตึกแถว: ผลผลิตทางกายภาพและวัฒนธรรมในชุมชนเมืองเก่าจังหวัดสงขลา”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ธนรัชต์ ถาวรโรจน์. (2547). “การศึกษาตึกแถวบริเวณย่านการค้าเก่าในเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ ประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 11 This article is a part of the thesis. “Shop House in Indian Ocean’s Port Town in South East Asia” by Pat Wongpradit under funding “The Royal Golden Jubilee (RGJ) Ph.D. Programme 18th”. Thailand Research Fund (TRF) 9

10


ระเบียบวิธีวิจัย ระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลเอกสารและลงภาคสนามส�ำรวจรังวัด เพื่อ ศึกษาลักษณะกายภาพของพื้นที่และรูปแบบ ร่วมกับข้อมูลจากการสังเกต ถ่ายภาพ และสัมภาษณ์ เพื่อน�ำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในขัน้ ตอนการเก็บข้อมูลภาคสนาม เริม่ ต้นการจัดท�ำแผนทีจ่ ากภาพถ่ายดาวเทียมเพือ่ ด�ำเนิน การส�ำรวจอย่างเร็ว (Rapid Survey) ด้วยการถ่ายภาพและวิธกี ารสังเกต เพือ่ เก็บรวบรวมรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมของห้องแถวทั้งหมด จากนั้นน�ำมาคัดสรรห้องแถวที่มีรูปด้านหน้าของอาคาร (Front Façade) ที่แตกต่างกันเพื่อคัดสรรเป็นกรณีศึกษาส�ำหรับขั้นตอนการส�ำรวจรังวัดรูปด้านหน้าของ อาคาร และเมื่อได้ “ตัวแทน (Represent)” ของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมห้องแถวที่เป็น “ตัวแบบที่ หาได้ยาก (Rarity)” จึงวางแผนประสานงานกับเจ้าของห้องแถวที่เป็น “กรณีศึกษาคัดสรร (Selected Case studies)” เพื่อขอส�ำรวจรังวัดรูปด้านหน้าอาคาร รวมทั้งสัมภาษณ์ข้อมูล ผลการวิจัย จากการทบทวนวรรณกรรมในประเด็นการศึกษาเรือ่ งสถาปัตยกรรมประเภทห้องแถวในเมือง ท่าชายฝัง่ ทะเลอันดามันของไทย พบการศึกษาในเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต เรือ่ ง “โครงการศึกษาความ เป็ น ไปได้ ใ นการปรั บ ปรุงย่านเมือ งเก่าในถนนบางสายให้ มี สภาพแวดล้ อมที่ สวยงาม” (คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 2540.) ซึง่ มีขอ้ เสนอ ในการปรับปรุงย่านเมืองเก่ารวมถึงอธิบายมิติทางประวัติศาสตร์เมือง เช่น โครงสร้างพื้นฐาน สภาพ เศรษฐกิ จ และสั ง คม รวมทั้ ง การจั ด ท� ำ แบบอาคารบางหลั ง ในพื้ น ที่ นั บ เป็ น การศึ ก ษาในทาง สถาปัตยกรรมที่ศึกษาลงรายละเอียดมากที่สุดเท่าที่มีมา (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2540) น�ำเสนอพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมเพียง แบบจีน แบบนีโอคลาสสิก แบบอาร์คเดโค่ และแบบสมัยใหม่12 นอกจากนีย้ งั มีการศึกษาของยงธนิศร์ พิมลเสถียร (2552: 14) “เรียนรู้สถาปัตยกรรมในเมืองเก่าภูเก็ต” ได้จ�ำแนกรูปแบบห้องแถวออกเป็น 4 ยุค คือ 1) พ.ศ. 2411-2443 เป็นช่วงการเริ่มพัฒนาเมือง รูปแบบตึกแถวจึงเป็นไปตามวัฒนธรรม ของผู้อาศัยชาวจีนเป็นหลัก 2) พ.ศ. 2444-2474 เป็นช่วงที่การค้าขายแร่ดีบุกเฟื่องฟู ขณะเดียวกัน อังกฤษก็เข้ามาปกครองปีนงั และสิงคโปร์ และได้กอ่ สร้างสถาปัตยกรรมในรูปแบบทีเ่ ป็นทีน่ ยิ มซึง่ นับ ได้ว่าเป็นช่วงของการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมเอเชียกับยุโรป 3) พ.ศ. 2475-2499 เป็นช่วง หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเข้ามาของสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่หรือโม เดิรน์ รวมทัง้ การก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ห้องแถวได้เปลีย่ นรูปแบบหน้าต่างเป็นทรงเรขาคณิต และ 4) หลัง พ.ศ. 2499 เป็นต้นมา13 จะเห็นว่าได้ให้ภาพพัฒนาการของห้องแถวแบ่งเป็นช่วงเวลา ซึง่ สอดคล้องกับประวัตศิ าสตร์ แต่กเ็ ป็นเพียงข้อเสนอผ่านการศึกษาในเรือ่ งรูปด้านหน้าห้องแถว อันเป็น เค้าโครงต่อยอดให้กับการศึกษาของพัฒนพล สิทธิโชคและเกรียงไกร เกิดศิริ ซึ่งเป็น “คนใน”พื้นที่ ท�ำการศึกษาเรือ่ ง “ความหลากหลายของรูปด้านตึกแถวในภูมทิ ศั น์ยา่ นประวัตศิ าสตร์เมืองเก่าภูเก็ต” ข้อเสนอประกอบด้วยเนื้อหา 2 ส่วนว่าด้วยประวัติศาสตร์เมืองเก่าและแบบแผนทางสถาปัตยกรรม ในการศึกษานี้ เป็นการมองผ่านความเป็นพหุวัฒนธรรมของคนในท้องที่ผสานกับความหลากหลาย ที่ปรากฏบนรูปด้านหน้าห้องแถว โดยเสนอพัฒนาการรูปด้านหน้าห้องแถว (Shophouse Facade) แบ่งออกเป็น 6 รูปแบบ คือ “ห้องแถวแบบท้องถิน่ ระยะที่ 1 (Local Style Type I)”“ห้องแถวแบบท้องถิน่ ระยะที่ 2 (Local Style Type II)” “ห้องแถวแบบสรรค์ผสาน แบบที่ 1(Eclectic Style Type I)” “ห้องแถว แบบสรรค์ผสาน แบบที่ 2 (Eclectic Style Type II)” “ห้องแถวแบบสมัยใหม่ (Modern Style)” และ“ห้องแถวรูปแบบใหม่ (Contemporary Style)”14 จะเห็นว่าในการศึกษาดังกล่าวนีจ้ ำ� แนกรูปแบบ ห้องแถวไว้โดยละเอียด ดังนั้นในการศึกษาชิ้นนี้จะใช้ผลการศึกษาของพัฒนพลและเกรียงไกร เป็นแนวทาง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. (2540). “รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงย่านเมืองเก่าในถนนบางสายให้มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม”. กรุงเทพ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 13 ยงธนิศร์ พิมลเสถียร. (2552). “เรียนรู้สถาปัตยกรรมในเมืองเก่าภูเก็ต” ใน วารสารบ้านและเมืองเพื่อการพัฒนาบ้านและเมือง การเคหะแห่งชาติ 2, (เมษายน-มิถุนายน). 13-17. 14 พัฒนพล สิทธิโชคและเกรียงไกร เกิดศิริ. (2559). “ความหลากหลายของรูปด้านตึกแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์เมืองเก่าภูเก็ต” ในการประชุมวิชาการวิจัย-สร้างสรรค์: สรรพศาสตร์ทางสถาปัตยกรรม “ระดับชาติ”และ”ระดับ นานาชาติ”. สถาปัตย์ปาฐะประจำ�ปี พ.ศ.2559. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม. ณ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (เอกสารออนไลน์). 12


Local Style I

Local Style II

Eclectic Style I

Eclectic Style II

Early Western Style

ภาพที่ 2 : แสดงพัฒนาการรูปแบบตึกแถวเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต Image 2 : Ilustration the Thalong shophouse development in Phuket province.

[Local Style Type I]

[Local Style Type II] [Eclectic Style Type I] [Eclectic Style Type II] [Early Modern Style] [Modern Style]

ภาพที่ 3 : แสดงตำ�แหน่งตึกแถวรูปแบบต่าง ๆ ในเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต Image 3 : Ilustration the locations of Thalang shophouse typology in Phuket province.

45 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


“ย่านประวัตศิ าสตร์ทบั เทีย่ ง จังหวัดตรัง”15 (ปัทม์ 2557: 366-371) โดยศึกษาห้องแถวในบริบท ที่สัมพันธ์กับการ “ประเมินคุณค่า” จึงผูกโยงแนวคิดเข้ากับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของห้องแถว โดยให้ความหมายที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ความโดยจ�ำแนกพัฒนาการของห้องแถวออกเป็น 5 ระยะ คือ “ตึกแถวแบบจีนสมัยที่ 1” “ตึกแถวแบบจีนสมัยที่ 2” “ตึกแถวแบบจีนผสมตะวันตกอิทธิพล นีโอคลาสสิค” “ตึกแถวแบบตะวันตกร่วมสมัย” “ตึกแถวแบบตะวันตกสมัยใหม่” ทว่าเมือ่ มี การศึกษา สมบูรณ์ดังที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์16 ต่อเนื่องมาเป็นบทความ “บริบทแวดล้อมที่ส่งผลต่อการก่อตัว และการพัฒนาของตึกแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยง จังหวัดตรัง” (ปัทม์และเกรียงไกร. 2558: 205-222). ได้ปรับจ�ำแนกพัฒนาการของห้องแถวตามบริบททางประวัติศาสตร์สังคม และ วัฒนธรรมทีแ่ วดล้อมในช่วงเวลาทีห่ อ้ งแถวเหล่านัน้ ได้กอ่ ตัวขึน้ โดยเสนอพัฒนาการของรูปแบบห้องแถว ดังนี้ “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะที่ 1 (Localization Style Step 1)” “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะที่ 2 (Localization Style Step 2)” “ตึกแถวแบบสรรค์ผสาน (Eclectic Style)” “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะ ที่ 3 (Localization Style Step 3)” “ตึกแถวแบบอาร์ตเดคโค่ (Art Deco Style)” “ตึกแถวแบบสมัย ใหม่ระยะต้น (Early Modernism Style)” และ “ตึกแถวสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ (Modern and Post Modern)” การทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวเป็นประโยชน์กับการศึกษารูปแบบตึกแถวเมืองท่ากันตัง เนื่องจากความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกื้อกูลกันมาโดยตลอดระหว่างทับเที่ยงซึ่งเป็นศูนย์กลาง การปกครองจังหวัดตรังตั้งแต่ปี พ.ศ.2458-ปัจจุบัน ท�ำหน้าที่เมืองในแผ่นดิน (In land) เพื่อกระจาย สินค้าส่งต่อไปยังพืน้ ทีใ่ กล้เคียงและตามภูมภิ าคต่าง ๆ ซึง่ การรับเพือ่ ส่งต่อนัน้ ก็ตอ่ เนือ่ งมาจากเมืองท่า กันตังซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองเก่าก่อน (พ.ศ.2433-2458) นั่นเอง จากการเก็บข้อมูลภาคสนามและท�ำการวิเคราะห์รปู ด้านหน้าห้องแถวเมืองท่ากันตัง จังหวัดตรัง สามารถล�ำดับพัฒนาการของรูปด้านหน้าตึกแถว ได้ดังนี้

ภาพที่ 4 : แสดงพัฒนาการรูปแบบตึกแถวเมืองกันตัง จังหวัดตรัง Image 4 : Ilustration the Kantang shophouse development in Trang province.

ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์. (2557). “พัฒนาการรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของตึกแถวการค้าในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยง จังหวัดตรัง” ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ และนานาชาติอิโคโมสไทย 2557: ภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ และมรดกวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: อิโคโมสไทย. 366-371. 16 ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์. (2557). “การศึกษาพัฒนาการของรูปแบบตึกแถวจังหวัดตรัง”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 23. 15

46 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 5 : แสดงตำ�แหน่งตึกแถวรูปแบบต่าง ๆ ในเมืองกันตัง จังหวัดตรัง Image 5 : Ilustration the locations of Kantang shophouse typology in Trang province.

เมื่อทบทวนวรรณกรรมในเรื่องห้องแถวเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ไม่พบการศึกษาใน ประเด็นทางสถาปัตยกรรมเลย หากแต่มีการศึกษาถึงเมืองตะกั่วป่าในแง่มุมประวัติศาสตร์ ซึ่งพอจะ สะท้อนภาพของห้องแถวและเมืองได้อดีตได้บา้ ง ดังบันทึกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั เมื่อครั้งยังทรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อปี พ.ศ. 2452 ตอนหนึ่งว่า “..พ้นบ้านพระยาตะกั่วป่าไปถึงตลาด มีตึกแถวอย่างจีนอยู่สองข้างถนน ตึก เหล่านี้อยู่ข้างจะช�ำรุดทรุดโทรมมาก ต่อตลาดไปก็มีบ้านเรือนตลอดมา จนถึงเชิงเขาที่ตั้งพลับพลา... ที่ตลาดใหญ่นี้รู้สึกว่าเป็นเมืองมากกว่าที่เมืองใหม่ ซึ่งได้ขึ้นไปดูเมื่อคืนนี้ ที่นี่ตึกกว้านบ้านช่องก็มี มากกว่า ผู้คนก็ดูแน่นหนา ที่เมืองใหม่นั้นช่างสมชื่อตะกั่วป่าจริง ๆ คือมีตะกั่ว (ดีบุก) ทั่วไปทั้งเกาะ และส่วนป่าก็เห็นอยู่มากกว่าบ้าน..”17 (มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. 2506: 62-64) ดังจะเห็นได้ว่าตะกั่วป่า มีความเป็นเมืองและตึกแถวปลูกสร้างสองข้างฝั่งถนน รูปด้านหน้าตึกแถวเหมือนอย่างจีน (ได้รับ อิทธิพลจีน) ภาพตึกแถวที่ปรากฏในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 นี้แลดูค่อนข้างทรุดโทรม ซึ่งสอดคล้องกับ งานนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ (2533: 13) อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่าว่าในรัชกาล ที่ 5 เมืองตะกั่วป่าเป็น 1 ใน 4 เมืองที่ผูกภาษี อากรหัวเมืองฝ่ายตะวันตกเรียกว่า “ภาษีผลประโยชน์” แต่พระยาเสนานุชติ (นุช) ผูอ้ ภิบาลเมืองเป็นแต่ผดู้ มี ชี าติตระกูลเก่าไม่เชีย่ วชาญการค้าขาย ยังผลให้ เศรษฐกิจเมืองตะกั่วป่าไม่รุ่งเรืองเท่าที่ควรหากเทียบกับเมืองถลาง18 17 18

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2506). “จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.128 ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” กรุงเทพฯ: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์. 62-64. ดำ�รงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา. (2533). “อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่าและธรรมะ” อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพมหาอำ�มาตย์โทพระยาคงคาธราธิบดี (พลอย ณ นคร). 13.

47 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


จากการเก็บข้อมูลภาคสนามและท�ำการวิเคราะห์รูปด้านหน้าห้องแถวเมืองท่าตะกั่วป่า จังหวัดพังงาสามารถล�ำดับพัฒนาการของรูปด้านหน้าตึกแถว ได้ดังนี้

ภาพที่ 6 : แสดงพัฒนาการรูปแบบตึกแถวเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา Image 6 : Ilustration the Takuapa shophouse development in Pangnga province.

ภาพที่ 7 : แสดงตำ�แหน่งตึกแถวรูปแบบต่าง ๆ ในเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา Image 7 : Ilustration the locations of Takuapa shophouse typology in Pangnga province.

48 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


และเมือ่ ล�ำดับพัฒนาการของรูปด้านหน้าตึกแถวเมืองท่าทะเลอันดามันกับเมืองปีนงั คาบสมุทร มลายู ดังนี้

ภาพที่ 8 : แสดงพัฒนาการรูปแบบตึกแถวเมืองท่าทะเลอันดามันและคาบสมุทรมลายู image 8 : Ilustration the development of shophouse facades in the Andaman Sea-Malay Peninsula port towns

49 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 9 : แสดงตำ�แหน่งตึกแถวรูปแบบต่าง ๆ ในเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต Image 9 : Ilustration the locations of Thalang shophouse typology in Takuapa Pangnga province

จากล�ำดับพัฒนาการของรูปด้านหน้าห้องแถวตามภาพที่ 8 จะเห็นว่าสามารถแบ่งได้เป็น 3 สไตล์หลัก ประกอบด้วย Localized style, Eclectic style และ Modern style โดยในช่วง Localized style รูปด้านหน้าห้องแถวมีความหลากหลายมาก ห้องแถวในเมืองท่าแต่ละแห่งรูปร่างหน้าตาแตก ต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่สิ่งที่เป็นลักษณะร่วมคือ หลังคาทรงจั่ว โครงสร้างและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ (1) โครงสร้างหลัก (เสาและผนังรับน�้ำหนัก) เป็นโครงสร้างก่ออิฐถือปูน (2) โครงสร้างรองเป็นไม้ใช้ในส่วนผนังตกแต่ง โดยภาพรวมห้องแถวมิได้เน้นการประดับตกแต่งใด ๆ มากนัก ส่วนรูปแบบผนังด้านหน้าพบผนัง 3 รูปแบบ คือ (1) ผนังใต้หน้าต่างเป็นแถบยาวและเน้นเปิด ช่องหน้าต่างรวมถึงช่องลมระบายอากาศตลอดช่วงเสา โดยผนังบริเวณใต้หน้าต่างนี้บ้างท�ำด้วยไม้ บ้างก่ออิฐถือปูน (2) ผนังก่ออิฐถือปูน ไม่มีการประดับตกแต่ง (3) ผนังไม้ตีตามตั้งและตีตามนอน รูป แบบหน้าต่างและช่องลมพบ 3 รูปแบบ คือ (1) หน้าต่างไม้บานเปิดคู่เรียงต่อเนื่องกันยาวตลอดช่วง เสาและช่องลมเหนือหน้าต่างยาวขนานกันไป (2) หน้าต่างไม้บานเปิดคู่ (3) หน้าต่างไม้สูงยาวคล้าย บานประตู แต่แบ่งการบานเปิดบานเป็นสองช่วงบน-ล่างโดยด้านล่างกั้นด้วยราวลูกกรงไม้กันตก ลักษณะลูกฟักหน้าต่างทั้งหมดเป็นไม้ทึบส่วนช่องแสงเป็นเกล็ดไม้ติดตาย รูปแบบประตูและช่องลม พบ 3 รูปแบบ กล่าวคือ (1) ประตูไม้บานเฟี้ยมและช่องลมด้านบนเปิดยาวตลอดช่วงเสา (2) ประตูไม้ บานเปิดคู่กึ่งกลางขนาบสองข้างด้วยหน้าต่างไม้เป็นฝาถังโดยเหนือบานประตูและหน้าต่างพบเป็น ช่องลมด้านบนเปิดยาวตลอดช่วงเสา (3) ประตูไม้บานเปิดคู่ และหน้าต่างไม้บานเปิดคู่ ทางเดินใน ร่มพบ 2 ลักษณะ คือ หงอคากี่ หรือ Five foot-way และการยื่นหลังคากันสาด รับด้วยเสาหรือค�้ำยัน เพื่อเป็นทางเดินในร่ม

50 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


Eclectic Style แบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกันคือ ช่วงต้น (1 st Eclectic Style) ช่วงกลาง (2 nd Eclectic Style) และช่วงปลาย (3 rd Eclectic Style) ในเรื่องรูปแบบหลังคายังคงใช้หลังคาจั่วเป็น รูปแบบหลักเป็นลักษณะร่วมกัน ในช่วงกลางและช่วงปลาย Eclectic Style พบการตกแต่งบริเวณสัน จัว่ (Roof ridge) ด้วยกระเบือ้ งดินเผาและกระเบือ้ งปรุบา้ ง รวมถึงพบลักษณะการใช้ Parapet ในการ ตกแต่ง โครงสร้างในช่วงต้น Eclectic Style โครงสร้างหลักเป็นเสาและผนังรับน�้ำหนักก่ออิฐถือปูน ส่วนโครงสร้างรองเป็นโครงสร้างไม้ ต่อมาในช่วงกลาง Eclectic Style พบว่าโครงสร้างทั้งหมดเป็น เสาและผนังรับน�้ำหนัก และในช่วงปลาย Eclectic Style เริ่มพัฒนารูปแบบการก่อสร้างโดยใช้ โครงสร้างระบบเสา-คานคอนกรีตเสริมเหล็ก รูปแบบผนังด้านหน้าในช่วงต้น Eclectic Style นิยมผนัง ใต้หน้าต่างเป็นแถบยาวและเน้นเปิดช่องหน้าต่างรวมถึงช่องลมระบายอากาศตลอดช่วงเสา โดยผนัง บริเวณใต้หน้าต่างนีบ้ า้ งท�ำด้วยไม้ บ้างก่ออิฐถือปูน หากเป็นการก่ออิฐถือปูนก็มกั พบการตกแต่งด้วย กระเบื้องปรุและประดับเป็นลวดลายด้วยกระเบื้องเคลือบอย่างจีนบ้าง ส่วนในช่วงกลาง Eclectic Style มักเป็นผนังก่ออิฐถือปูนทาสีและในและช่วงปลาย Eclectic Style พบการประดับตกแต่งปูนปัน้ เป็นลวดลายต่าง ๆ บนผนัง รูปแบบหน้าต่างและช่องลมในช่วงต้น Eclectic Style นิยมเป็นหน้าต่าง ไม้บานเปิดคู่เรียงต่อเนื่องกันยาวตลอดช่วงเสาและเน้นเปิดช่องลมเหนือหน้าต่างยาวตลอดช่วงเสา เช่นกัน ลักษณะลูกฟักหน้าต่างและช่องแสงนิยมใช้เกล็ดไม้ ส่วนช่วงกลางและช่วงปลาย Eclectic Style ยังคงนิยมหน้าต่างไม้บานเปิดคู่ด้านบนเป็นช่องแสงกระจกโค้ง วางเรียงอย่างสมมาตรเป็น จังหวะห่างกันล้อมรอบด้วยซุม้ ปูนปัน้ อีกทัง้ ในช่วงนีย้ งั นิยมใช้หน้าต่างไม้สงู ยาวคล้ายบานประตู แต่ แบ่งการบานเปิดบานเป็นสองช่วงบน-ล่างโดยด้านล่างกั้นด้วยราวลูกกรงไม้กันตก ลักษณะลูกฟัก หน้าต่างและช่องแสงพบทั้งเกล็ดไม้และกระจก รูปแบบประตูและช่องลมของ Eclectic Style พบใน 2 รูปแบบ กล่าวคือ ประตูไม้บานเฟี้ยมและช่องลมด้านบนเปิดยาวตลอดช่วงเสา และประตูไม้บาน เปิดคูก่ งึ่ กลางขนาบสองข้างด้วยหน้าต่างไม้บานเปิดคูโ่ ดยเหนือบานประตูและหน้าต่างนีม้ กั พบช่องลม ระบายอากาศเป็นรูปทรงลักษณะแตกต่างกันไป ทางเดินในร่มของ Eclectic Style เป็นหงอคากี่ หรือ Five foot-way Modern Style แบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกันคือ ช่วงต้น (Art Deco Style) และช่วงปลาย (Early Modern Style) ในเรื่องรูปแบบหลังคาในระยะต้นยังคงใช้หลังคาจั่วและใช้ Parapet ปิดหลังคาด้าน หน้า ต่อมาจึงเริ่มใช้หลังคาแบน (Slab) เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างใช้ระบบเสา-คาน คอนกรีตเสริมเหล็กและก่อผนังด้วยอิฐมอญ รูปแบบผนังด้านหน้าปรากฎองค์ประกอบตกแต่งเป็น เส้นตัง้ และเส้นนอน รวมถึงการสร้างแผงบังแดด (Fin) เป็นเหมือน Skin อีกชัน้ เพือ่ ตกแต่งรูปด้านหน้า ซึง่ ไม่จำ� เป็นต้องสัมพันธ์กบั ช่องเปิด รูปแบบหน้าต่างและช่องลมพบทัง้ หน้าต่างไม้บานเปิดคู่ ลักษณะ ลูกฟักหน้าต่างเป็นไม้ทึบและช่องแสงกระจก และอีกรูปแบบเป็นหน้าต่างกระจก บางครั้งนิยมเป็น เกล็ดกระจกปรับมุม รูปแบบประตูและช่องลมยังคงนิยมใช้ประตูไม้บานเฟีย้ มและช่องลมด้านบนเปิด ยาวตลอดช่วงเสา ทางเดินในร่มยังพบการใช้หงอคากี่หรือ Five foot-way อยู่บ้าง แต่นิยมยื่นกันสาด คสล. ออกมาคลุมทางเดินมากกว่า สรุปผลการวิจัย

พัฒนาการรูปด้านหน้าห้องแถวเมืองท่าทะเลอันดามันและคาบสมุทรมลายูแบ่งออกเป็น 7 ระยะคือ 1) The 1 st localized style 2) The 2 nd localized style 3) The 1 st eclectic style 4) The 2 nd eclectic style 5) The 3 rd eclectic style 6) Art deco style 7) Early modern style

51 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


เอกสารอ้างอิง Julian Davison.(2010). “Singapore Shophouse”. Singapore: Talisman Publishing. Pat Wongpradit, Kreangkrai Kirdsiri, Ornsiri Panin. (2015). “Contexts Effecting Architectural Form of Shophouse and Its Development, Historic Urban Landscapes of Tub-Tiang, Trang Province” in Journal of Najua : Architecture, Design and Built Environment Vol.29. Bangkok : Silapakorn University. 205-222. Paul Oliver. (1998). “Encyclopedia of Vernacular Architecture Volume 1”. Cambridge: Cambridge University. Tan Yeow Wooi. (2015). “Penang Shophouses”. Penang: Phoenix Press. Wheatley, Paul. (1961). “The Golden Khersonese : Studies in the Historical Geography of the Malay Peninsula before A.D. 1500”. Kuala Lumpur: University of Malaya Press. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. (2540). “รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษา ความเป็นไปได้ในการปรับปรุงย่านเมืองเก่าในถนนบางสายให้มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม”. กรุงเทพ : สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. ดำ�รงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา. (2533). “อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่าและธรรมะ” อนุสรณ์ในงานพระราชทาน เพลิงศพมหาอำ�มาตย์โทพระยาคงคาธราธิบดี (พลอย ณ นคร). ธนรัชต์ ถาวรโรจน์. (2547). “การศึกษาตึกแถวบริเวณย่านการค้าเก่าในเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ ประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ธิดา สาระยา. (2554). “ประวัติมหาสมุทรอินเดีย”. กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ. นริศรานุวดั ติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา. (2540). “จดหมายเหตุระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ.121”. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์. (2557). “พัฒนาการรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของตึกแถวการค้าในภูมทิ ศั น์ยา่ นประวัตศิ าสตร์ทบั เทีย่ ง จังหวัดตรัง” ในการประชุมวิชาการระดับชาติ และนานาชาติอิโคโมสไทย 2557: ภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์และมรดกวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: อิโคโมสไทย. 356-374. ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์. (2557). “การศึกษาพัฒนาการของรูปแบบตึกแถวจังหวัดตรัง”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ , บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. พัฒนพล สิทธิโชคและเกรียงไกร เกิดศิริ. (2559). “ความหลากหลายของรูปด้านตึกแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์เมืองเก่าภูเก็ต” ในการประชุมวิชาการวิจัย-สร้างสรรค์: สรรพศาสตร์ทางสถาปัตยกรรม “ระดับชาติ”และ”ระดับนานาชาติ”. สถาปัตย์ปาฐะ ประจำ�ปี พ.ศ.2559. สถาปัตยกรรมพืน้ ถิน่ และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม. ณ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร. (เอกสารออนไลน์). มงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั , พระบาทสมเด็จพระ. (2506). “จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.128 ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว”. กรุงเทพฯ: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์.

52 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ยงธนิศร์ พิมลเสถียร. (2552). “เรียนรู้สถาปัตยกรรมในเมืองเก่าภูเก็ต” ใน วารสารบ้านและเมืองเพื่อการพัฒนาบ้านและเมือง การเคหะแห่งชาติ 2, (เมษายน-มิถุนายน). 13-17. วสันต์ ชีวะสาธน์.(2529). “รายงานการวิจัยสถาปัตยกรรมจีนในเมืองปัตตานี”. สงขลา: ทุนวิจัยจากมูลนิธิ เจมส์ ทอมป์สัน ประจำ�ปี การศึกษา 2528-2529, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สุภาวดี เชื้อพราหมณ์. (2546). “ตึกแถว: ผลผลิตทางกายภาพและวัฒนธรรมในชุมชนเมืองเก่าจังหวัดสงขลา”. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. สำ�นักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2548). “แผนที่มรดกทางวัฒนธรรมทับเที่ยง”. กรุงเทพฯ: สำ�นักนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. อุดม หนูทองและมโน พิสุทธิรัตนานนท์. (2543). “สถาปัตยกรรมแบบจีน-ปอร์ตุเกส ในเขตเมืองนครศรีธรรมราช” ในวารสาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 1 (มกราคม-เมษายน 2543). หน้า 85-114.

53 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


Reflections on the Shophouse Facades Development of the Andaman Sea - Malay Peninsula Port Towns Pat Wongpradit, Ph.D. Candidate

Vernacular Architecture Programme, Faculty of Architecture, Silpakorn University, BKK, Thailand / pa_patm@hotmail.com

Thesis Advisor: Kreangkrai Kirdsiri, Ph.D.

Lecturer, Department of Architecture, Faculty of Architecture, Silpakorn University / arch.su.kreangkrai@gmail.com

Abstract

This study investigates the shophouse facades development of various typologies from the 18th to the 20th century

focusing on 4 port towns on the Andaman Sea-Malay Peninsula: Kantan, Phuket and Takuapa in Thailand; and Penang in Malaysia. The study is carried out by researching documents along with site surveys and measurements in order to examine physical characteristics and styles of the areas. The findings indicate that the evolution of shophouse façades can be sequentially categorised into seven styles which are: 1) The 1st Localized Style; 2) The 2nd Localized Style; 3) The 1st Eclectic Style; 4) The 2nd Eclectic Style; 5) The 3rd Eclectic Style; 6) Art Deco Style; and 7) Early Modern Style.

Keywords: Shophouse Facade I Port town I Andaman Sea-Malay Peninsula Background

Southeast Asia is renowned as a location along the

maritime trade route from India to China for centuries. Western

reflect the development of seaports in both upper and lower parts of the peninsula related to successive trading.

countries perceive this region as “Indo China” spanning from the Coromandel Sea in India to the Andaman Sea in Southeast

Apart from geographical factors that influenced the

Asia and Strait of Malacca in the Malay Peninsula where it is

position of the port towns, abundant resources made the

a changing point of monsoon winds. This area is an anchorage

location of the southern peninsula and the Malay Peninsula a

point along the monsoon area and communities were estab-

fascinating destination for traders along the maritime route.

lished for local trading. The trading began from the interchange

Chinese, Siamese and Europeans such as Portuguese, Hollandic

of local goods with imports that were used for ceremonies or

and British continued to have influences on the area. This was

to be collected as family treasures. This trading system created

the period that cultures were inherited and cultural evidences

centrality which comprises of manufacturers, exporters and

were manifested. These relationships can be seen in “Shop-

sellers. Some areas that were in a good location developed as

house architecture” in several port towns. Consequently, in

an “Entrepot” or Port towns and Emporiums (Thida. 2011:

the study of shophouses, it is necessary to mention of two

432).

principal groups that are influential in the area of southern peninsula and the Malay Peninsula.

The significant port towns on the Southern Peninsula

of Thailand and Malay Peninsula are Malacca, Singapore, Penang, Pattani, Songkhla, Kelantan, Thalang, Takuapa and

Literature review

others. These seaports are connected through the “Peninsula

Shipping Route” along with other types of transportation in-

Architecture, it is considered that the creation of “Shophouse”

cluding rafts, horse carts, horses, elephants and other animals

was the result of in the need of functions (Paul Oliver, 1998:

used as vehicles. Wheatly Paul compiled 11 routes that were

21). It is in agreement with Julian Davison’s explanation stating

widely used from the past until present time such as the Kra

that the shophouse is a kind of architecture which accommodates

Isthmus, the Takuapa River, the Trang River, Kedah-Pattani,

both commercial and residential purposes in one building.

Kelanran-Melaka and others (Wheatly. 1961). These routes

Shophouses are generally found along streets as it is convenient

54 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

According to Paul Oliver’s Encyclopedia of Vernacular


for trading activities. The owners run a business on the ground

(Wasan, 1996). A study of Sino-Portuguese architecture in

floor and live in the back side and on the first floor of shop-

Nakorn Si Thammarat province written by Udom Nuthong

house.

and Mano Pisootrattananon (2000) focused on the architecture study through a historical point of view together with giving

Regarding the form and facade of shophouses, Julian

case studies for analyses. The existing literature on the old

Davison and Tan Yeow Wooi both have a general agreement

community of Songkhla Province focuses particularly on local

on the definition of the shophouse as a building that is two or

history, culture and urban physical characteristics. Regarding

three stories high. Shophouses also have narrow but long form.

shophouse study in architectural detail, Supawadee Chuapram

The ground floor façade is recessed from the street edge while

revealed that shophouses in Songkla old town has explicit

the façade on the upper floor projects out towards the road

images of Chinese culture from their lifestyle to the architec-

line and covers the pavement below. This upper wall transfers

ture. It is demonstrated through the evolution of shophouses

weight to the columns. In each block, there are shared party

which blended Chinese-Thai, Chinese-Western and modern

walls between shophouses and their neighbors on either side.

styles (Supawadee, 2003). The research conducted by Dhanaraj

Normally shophouses are built continuously along the road

Thavaroj explored ways in which shophouses were established

therefore the area in front of the buildings can be used as a

in the old commercial districts of Eastern seaports on Thai-

covered walkway or so called “Five-foot way” which provides

land’s Southern peninsula. The study highlighted that import-

pedestrians shade from the sun and rain. The structure and

ant factors of shophouse creation were geographic features

general materials in shophouse are mainly from timber and

and Chinese immigration. The development of the shophouse

masonry.

was represented in the Traditional Chinese style, the Chinese-Vernacular Thai style and Chinese-European style

The shophouse is a unique building type which was the

(Dhanaraj, 2004).

outcome of the culture of Chinese people who migrated from China. According to the Encyclopedia of Vernacular Archi-

Literature review clearly resulted in a large amount of available

tecture (Paul Oliver. 1998: 657), the shophouse was initially

literature on the architectural study of shophouses in Eastern

built under Chinese influence in the area of the Malay Penin-

port towns in Southern Peninsula of Thailand. Together these

sula and continuously developed in its identity. This was

studies provided important insights into the explanation of

particularly the case for the port towns that became prosper-

the shophouse development. However, there has been no re-

ous from settlement as commercial coast stations, trading

liable evidence of architectural knowledge of shophouse in

stations, and sources of consumer goods needed for travel.

Eastern port towns in Southern Peninsula of Thailand.

The role of the Commonwealth of England (British East India Company) in Southeast Asia had influences through the Straits Settlements in 1862 which consisted of Penang, Singapore and

Research questions

Malacca. The capital of the trading stations was George Town

in Penang. Consequently, prosperity increased in port towns

velopment in western port towns along the Andaman Sea, it

in the Malay Peninsula. The establishment of shophouses along

is crucial to study relationships between those port towns and

with urban development started since the 18th century.

Penang, where it is the main trading station in the Strait Set-

To explain and understand the shophouse facade de-

tlement for maritime merchants to run a business in the

In the meantime, port towns in the Southern Peninsu-

Malay Peninsula.

la of Thailand grew and developed concurrently and also connected through marine trading as can be seen from shop-

houses in port towns such as Pattani, Songkla, Nakhorn Si

Development of the Andaman Sea-Malay Peninsula Port

Thammarat, Kelantan Phuket and Takua Pa. A considerable

Towns” aims to study shophouses in the historic urban land-

amount of relevant literature has been published. Wasan

scape of port towns which are: Takua Pa (Phangnga province),

Cheewasat indicated that Chinese architecture had an influence

Thalang (Phuket province) and Kelantan (Trang province) in

on shophouses in Pattani. His holistic study revealed a devel-

the Andaman Sea of Thailand; and George Town (Penang) in

opment of architectural style through historical aspects

Malay Peninsula. The research question is: What is the devel-

Therefore, “Reflections on the Shophouse Facades

55 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


opment of Shophouse facades in the Andaman Sea-Malay

of Asian-European architecture style; 3)1932-1956 - after the

Peninsula port towns?

Siamese revolution along with the arrival of Modern architecture

Method

and reinforced concrete construction and geometric elements

applied to shophouses; and 4) after 1956.

This research is conducted based on literature review

and site surveys in order to gain insights into the physical

It can be seen that shophouse evolution was divided

characteristics and styles of the areas. The information is

by periods of time related to history. However this study

gathered by observation, photography and interview, and then

particularly focuses on the front facade of the shophouse. This

analyzed by qualitative methods.

research led to further study of Pattanapol Sittichoke and Kreangkrai Kirdsiri who are “insiders” in this area. Their study

The procedure of collecting survey data on site started

“Diversity of Shophouse Façade in Old Town Phuket” provided

with maps from satellite imagery to make a rapid survey by

2 major parts of content which are old town history and

photography and observation in order to gather architectural

architecture patterns. They studied through the diverse culture

characteristics of shophouses. The next process is selecting

of the local people together with a variety of shophouse front

shophouses with different front facades to be case studies and

facades. The research reported that shophouse facades can be

then followed by their measurement. Later on, shophouse that

categorised into 6 types: “Local Style Type I”; “Local Style Type

were representative of various architectural characteristics of

II”; “Eclectic Style Type I”; “Eclectic Style Type II”; Early

shophouses were chosen. Finally, appointments were made

Modern Style”; and “Modern Style”. Therefore, the study of

with the owners of the selected case studies to ask for permis-

Pattanapol and Kreangkrai will be used as a guide in some

sion to work on their measurement and interview.

parts of this paper.

Results

From literature reviews of the architectural study of

was found in the Tub Tieng or current Trang capital district.

shophouses in port towns in Thai Andaman Sea, it was found

Those studies are “Cultural Heritage Atlas of Tub-Tieng” by

that a previous research of Thalang (Phuket) entitled “Complete

Environment Resource Plan and Policy Center (2005) and

Report: Feasibility Study of Improving Old Town in Some

“The Study of Shophouse Development in Tubtieng Old Town,

Streets for Beautiful Environment” (Faculty of Architecture,

Trang Province” by Pat Wongpradit (2014, 366-371). It was

King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, 1997)

studied in the context related to “evaluation” which also related

was made. It proposed old town renovation and explained

to architectural styles of shophouses. In relation to historical

historical point of view such as the fundamental structure,

development, shophouse development can be classified into

socio-economic and environmental aspects. The study also

5 phases: “Chinese Style Type I”; “Chinese Style Type II”;

provided drawings of some buildings in the area which made

“Neo-classical Chinese-European”; “Contemporary European”;

it one of the most elaborate architectural studies (Faculty of

and “Modern European”. Nevertheless, there was a further

Architecture, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang,

study in the form of a completed thesis and then continuing

1997). However it presented only architectural development

in the paper titled “Contexts Affecting Architectural Form of

of Chinese style, Neo Classic style, Art Deco style and Modern

Shophouse and its Development, Historic Urban Landscapes

style.

of Tub Tiang, Trang Province” (Pat and Kreangkrai, 2015:205-

With regard to the architectural study of shophouses

in the Kantang district in Trang province, only similar research

Apart from this, in his study “Architecture in Old Town

222). The paper adopted a way to categorise the shophouse

Phuket”, Yongtanit Pimonsathean (2009:14) classified shop-

evolution according to the contexts of historical, social and

house characteristics into 4 main eras: 1) 1868-1900

cultural environment in each period of time. It argued that

- the beginning of urban development which the

shophouse styles are: “Localization Style Step 1”; “Localization

architecture style followed Chinese culture as Chinese population

Style Step 2”; “Eclectic Style”; “Localization Style Step 3”; “Art

came; 2)1901-1931

Deco Style”; “Early Modernism Style”; and “Modern and Post

Modern”.

- when the tin industry grew together with British

colonization of Penang and Singapore which led to popularization

56 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


As previously stated, literature review is beneficial for

As demonstrated in Figure 8, the evolution can be

the study of shophouse styles in Kantang district because it

categorised into three major styles which are: Localized style;

has historical significance with Tuntieng where it has been the

Eclectic style; and Modern style. Localized style consists of

capital of Trang from 1915 to the present time. It plays a role

having diversity of front facades. Shophouses in each port

as a hub where merchandise is distributed to nearby areas and

towns look different but they share a mutual appearance of

other regions. This distribution continued from Kantang port

gable roofs. Their structure and materials contain two parts:

which was the old central area from 1893 to 1915.

1) major construction (columns and bearing walls) using concrete and masonry; and 2) minor construction using tim-

With the process of collecting data on site along with

ber for wall decorative features. In general, little decoration

the analysis of front facades of shophouses in Kantan, shop-

was applied in shophouses. Upper façade patterns were found

house development can be summarized as follows: (See Figure : 6)

to be three types: 1) continuous wooden or brick wall under windows with air-vents above the span; 2) Masonry brick walls

For shophouses in Takuapa (Phangnga province), no

without decorative ornaments; and 3) vertical and horizontal

previous study has investigated their architectural aspects.

slat walls. Window and air-vents have three styles: 1) contin-

There was only a historical study on shophouses and urban

uous row of double timber paneled windows with parallel

conditions in the past. It is found in the memoir of King Va-

air-vents above the full width of span; 2) double-leaf wooden

jiravudh (King Rama VI) when he was a crown prince in 1909,

casement windows; and 3) full-length wooden paneled win-

when he stated that “…from Phraya Takua Pa residence to the

dows horizontally separated into two sections, with timber

market, there are Chinese shophouses along both sides of

railing at the bottom part and louvered wooden grill above.

street. These buildings are somewhat dilapidated. Passing

There are three types of doors and air-vents: 1) folding timber

through the market, there are houses along the way up to the

doors with air-vent above along the span; 2) one main dou-

hill where the pavilion was set ... this large market seems more

ble-leaf wooden door flanked by two wooden windows; and

like a old city than a new city where I had a look last night. In

3) double-leaf wooden door with double-leaf wooden window.

this place, there are more buildings and people. The new town’s

The covered walkway along the road has two kinds: 1) Five

characteristic is suitable with its name “Takua Pa” as it is full

foot-way; and 2) a slab jutting out over the pavement support-

of lead (tin) all over the island. And the forest can be seen

ed by pillars or bracing.

more than house.” (King Vajiravudh, 1963: 62-64). The statement showed that Takua Pa was a developed town and shop-

houses along the roads were built with Chinese influence as

into three phases: 1st Eclectic Style, 2nd Eclectic Style and 3rd

shown in their front facades. Furthermore, shophouses in the

Eclectic Style. The common characteristic of the roof style was

late period of King Chulalongkorn (King Rama V) were some-

mainly gable roof. In the 2nd Eclectic Style and 3rd Eclectic

what dilapidated. This information was found in the document

Style, decoration can be seen in the roof ridge made of baked

written by Prince Damrong Rajanubhab (1963:62-64) that

clay shingles and Chinese glazed tiles. Parapet walls can be

described Takua Pa as one of the four taxation districts in the

seen in the structure in the early age of Eclectic Style. Major

west. Yet Phraya Senanuchit (Nut), the governor of Takuapa

structure is constructed by columns and load bearing mason-

was a noble who was not proficient in trading. Consequently

ry walls whereas minor part is wooden structure. In the mid-

the economic development of Takua Pa was not as prosperous

dle period, the entire structure is made by columns and

as that of Thalang.

bearing walls. In the last period of the Eclectic Style, construc-

The second style is Eclectic Style which can be divided

tion technology was developed therefore the structure is made

The process of collecting data on sites along with the

of reinforced concrete. The upper facade in the beginning

analysis of the front facade of shophouses in Takuapa, shop-

consists of long wall below continuous windows and air-vents

house development can be organized as follows: (See Figure : 7)

above along the bay. The wall in the bottom part of the face is either timber or masonry wall decorated with Chinese glazed

The shophouse façade evolution in the Andaman

Sea-Malay Peninsula port towns: (See Figure : 8)

ceramic tiles. In the middle phase, the facade is usually painted masonry walls and later the wall is ornamented with decorative bas-reliefs towards the last stage of Eclectic Style.

57 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


Windows and air-vents in the initial age of Eclectic Style are

concrete beam and column together with masonry walls. The

usually continuous rows of double timber louvered windows

upper facade was designed with vertical or horizontal elements.

along the bay with continuous wooden grill above. In the

Fins were created as another layer of facade skin to decorate

middle and last periods of Eclectic Style, double leaf windows

the front elevation which did not necessarily relate to the

were still widespread as well as fanlights above which were

openings. Windows and air-vents were found to be double

embraced with moldings. Another widely used style is full

windows in two patterns. First are timber paneled windows

length windows separated into two sections with timber rail-

with glass fanlights above and another type are glass paneled

ing at the bottom part. Window panels and air-vents of this

windows which might be glass louvered shutters. Doors and

type are either wooden louvered shutters or glass. Door and

air-vents were popular and consisted of large double-leaf

air-vents can be two types: 1) wooden folding doors with long

wooden paneled doors and air vents along a bay. Covered

air-vent above; and 2) a middle double-leaf wooden door

walkways were partly Five foot-ways but mostly designed as

flanked by two wooden windows which have various shapes

cantilevered roofs to cover pedestrians.

of air-vents above. Only one type of covered sidewalk in Eclectic Style is a Five foot-way.

Research answer

The last style is Modern Style which can be divided into

The evolution of shophouse facades in port towns in the An-

two phases: 1) Art Deco Style and 2) Early Modern Style. In

daman Sea-Malay Peninsula can be divided into 7 styles as

the early style, the roof style consisted of gable roofs and parapet

follows: 1) The 1st Localized Style; 2) The 2nd Localized Style;

walls to cover the gable roof from the front view. Concrete flat

3) The 1st Eclectic Style; 4) The 2nd Eclectic Style; 5) The 3rd

slab roofs were introduced later. The structural system was

Eclectic Style; 6) Art Deco Style; and 7) Early Modern Style.

Bibliography Julian Davison.(2010). “Singapore Shophouse”. Singapore: Talisman Publishing. Pat Wongpradit, Kreangkrai Kirdsiri, Ornsiri Panin. (2015). “Contexts Effecting Architectural Form of Shophouse and Its

Development, Historic Urban Landscapes of Tub-Tiang, Trang Province” in Journal of Najua : Architecture, Design

and Built Environment Vol.29. Bangkok : Silapakorn University. 205-222.

Paul Oliver. (1998). “Encyclopedia of Vernacular Architecture Volume 1”. Cambridge: Cambridge University. Tan Yeow Wooi. (2015). “Penang Shophouses”. Penang: Phoenix Press. Wheatley, Paul. (1961). “The Golden Khersonese : Studies in the Historical Geography of the Malay Peninsula before A.D. 1500”.

Kuala Lumpur: University of Malaya Press.

Faculty of Architecture, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. (1997). “Complete Report: Feasibility Study of

Improving Old Town in Some Streets for beautiful environment”. Bangkok: King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.

Prince Damrong Rajanubhab. (1963). “Explanation of Takua Pa and Dhama”. Memorial to the cremation of Maha Ammarttho

Phrayakongkatarathipbodi (Ploy Na Nakhon).

Dhanaraj Thavaroj. (2004). “The study on shop-houses of the old commercial districts of Eastern seaports on Thailand’s

Southern peninsula”. Thesis. Master of Architecture. Silapakorn University.

Thida Saraya. (2011). “The History of Indian Ocean”. Bangkok: Muangboran Journal.

58 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


The Prince Narisara Nuwattiwong, son of Mongkut, King of Siam. (2007). “Memoir from official trip to Southern provinces

on the Malayu Peninsula Rattanakosin era 121 (1902)”. Bangkok: The Fine Arts Department.

Pat Wongpradit. (2014). “The study of shophouse development in Tubtieng Old Town, Trang Province”. In International and

National Conference ICOMOS THAILAND 2014: Historic Urban Landscape and Heritage. Bangkok: ICOMOS

Thai. Page 356-374.

Pat Wongpradit. (2014). “The study of shophouse development in Trang Province”. Thesis. Master of Arts Program in Vernacular

Architecture, Silpakorn University. Bangkok: Graduate School, Silpakorn University.

Pattanapol Sittichoke and Kreangkrai Kirdsiri (2016). “Diversity of shophouse façade in old town Phuket”. In National and

International Conference on Research and Design in Architecture and Related Fields 2016. Princess Maha Chakri

Sirindhorn Anthropology Centre. (Online).

Vajiravudh, King of Siam. (1963). “Memoir from official trip to Southern provinces Rattanakosin era 128 (1909) of the king

Vajiravudh”. Bangkok: Suksapanpanit.

Yongtanit Pimonsathean. (2009). “Architecture in old town Phuket”. In Bann lae muang journal for house and urban development,

National Housing Authority 2 (April-June). Page 13-17.

Wasan Cheewasat. (1996). “Chinese architecture in Pattani”. Songkla: Research report of James Thompson scholarship, academic

year 1995-1996. Prince of Songkla University.

Supawadee Chuapram. (2003). “Shophouse: Evolution of vernacular architecture from physical and culture in old community

of Songkhla Province”. Thesis. Master Architecture. Graduate School, Silpakorn University.

Environment Resource Plan and Policy Center. (2003). “Cultural Heritage Atals of Tub-Tieng”. Bangkok: Environment Re

source Plan and Policy Center.

Udom Nuthong and Mano Pisootrattananon (2000). “Sino-Protuguese architecture in Nakorn Si THammarat province”. In

Walailak Journal 1 (January-April 2000). Page 85-114.

59 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ว่าด้วย “วัสดุ”

: แนวคิดทางสถาปัตยกรรมแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดร. พินัย สิริเกียรติกุล

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / p.sirikiatikul@gmail.com

ภาพที่ 1 : โบสถ์ออลเซนต์ส สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1902 ออกแบบโดยวิลเลียม เลธาบี นักประวัติศาสตร์และสถาปนิกขบวนการศิลปหัตถกรรม คำ�กล่าวของเขาที่ว่า “ความงามนั้นไม่ใช่ประเด็นคำ�ถามทางด้านรูปทรงเท่านั้น แต่คือร่องรอยการใช้ปัญญา (mind) ที่มีต่อวัสดุอย่างเหมาะสม” (1913: 176) วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิ แสดงให้เห็นอิกสยาม ทธิพลทางความคิดของวิลเลียม มอร์ริสอย่างชัดเจน ที่มาภาพ : RIBA Collections (1902). All Saints, Brockhamption-by-Ross, Herefordshire. ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018

60

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

Image 4 : the Theravada Buddhist Cosmology12


บทคัดย่อ ท่ามกลางกระแสความสนใจต่อวัสดุในวงการสถาปัตยกรรมทุกวันนี้ บทความนีม้ งุ่ ศึกษาจุดก�ำเนิดและพัฒนาการยุคแรกของแนวความคิด ทางสถาปัตยกรรมเกีย่ วกับวัสดุ โดยพิจารณามุมมองต่อวัสดุทแี่ ตกต่าง ของ 3 นักเขียนทางสถาปัตยกรรมแห่งยุโรปในศตวรรษที่ 19 ได้แก่ วิโอเลต์-เลอ-ดุก, ก็อตฟรีด เซมเปอร์ และ จอห์น รัสกิน บทความ เสนอว่า ไม่เคยมีความเห็นพ้องต้องกันในเรือ่ งว่าวัสดุนนั้ ควรจะเป็น เช่นไรในทางสถาปัตยกรรม ซงึ่ ด้วยพืน้ ฐานเช่นนีน้ เี่ องทีจ่ ะปลดปล่อย เราจากการยึดติดกับแนวความคิดใดแนวความคิดหนึง่ และท�ำให้ สามารถยอมรับความหลากหลายในการตีความวัสดุทนี่ ำ� ไปสูผ่ ลลัพธ์ ทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่างได้ คำ�สำ�คัญ: วัสดุ, วิโอเลต์-เลอ-ดุก, ก็อตฟรีด เซมเปอร์, จอห์น รัสกิน

ไพท์: “หากกล่าวถึง ไมเคิลแองเจโล และ คริสโตเฟอร์ เรน, คนหนึ่งเริ่มต้นจากผลของคลาสสิค อีกคน [เริ่ม] จากศิลปะแบบอิตาเลียน เราควรเริ่มจากอะไรดี” เลธาบี: “วัสดุ”

บทสนทนาระหว่างเบเรสฟอร์ด ไพท์ (Beresford Pite) และวิลเลียม เลธาบี (William Lethaby) ในชั้นเรียน “ปัญหาของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่” ณ Architectural Association ลอนดอน ค.ศ. 1896 (‘An Architectural Symposium’, 1896: 307)

แน่นอนว่า “วัสดุ” เป็นส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งของสถาปัตยกรรม สถาปนิกในทุกยุคสมัยตัง้ แต่อดีตถึงปัจจุบนั ต้องรูจ้ กั คุน้ เคยกับวัสดุ อย่างไรก็ตามหากกล่าวในฐานะทฤษฎีสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ “วัสดุ” เพิ่งได้เข้ามามีบทบาทราว 2 ศตวรรษที่ผ่านมานี้เอง ผลจากการเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คมและการปฏิ วั ติ อุตสาหกรรมท�ำให้ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นดินแดนที่ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการก่อสร้างที่สุดเมื่อเทียบกับทวีปอื่น ๆ บรรดานั ก คิ ด และสถาปนิ ก แห่ ง สั ง คมยุ โ รปจึ ง ต้ อ งครุ ่ น คิ ด กั บ ประเด็นปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในวงการสถาปัตยกรรมและการ ก่อสร้างอยู่เสมอ ทฤษฎีเกี่ยวกับวัสดุเป็นส่วนหนึ่งของกระแสดัง กล่าว ดังบทสนทนาข้างต้นทีส่ ะท้อนภาวะสับสนในวงการสถาปนิก อั ง กฤษในช่ ว งปลายศตวรรษว่ า ควรเริ่ ม ต้ น การออกแบบ สถาปัตยกรรมด้วยรูปแบบของยุคใดดี ซึง่ นอกจากเลธาบีจะปฏิเสธ วิธีเริ่มต้นด้วย “รูปแบบ” อันเป็นความเชื่อที่ยึดถือกันมาอย่าง ยาวนานแล้ว ยังเสนอให้พิจารณา “วัสดุ” เป็นตัวตั้งต้นแทน แนวคิดของเลธาบีทใี่ ห้หนั มาให้ความส�ำคัญกับวัสดุ ส่วน หนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากปาฐกถา เรื่อง “The Influence of Building Materials upon Architecture” ของวิลเลียม มอร์ริส (William Morris, 1834-1896) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้น�ำทางความคิดและศิลปิน คนส�ำคัญของขบวนการศิลปหัตถกรรมของอังกฤษ (The Art and Crafts Movement) โดยมอร์รสิ เสนอว่า สารัตถะของสถาปัตยกรรมนัน้ 61 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


อยู่ที่การใช้วัสดุ “ชัดเจนว่าวัสดุนั้นถือเป็นรากฐานทางสถาปัตยกรรม ไม่ผิดเลยหากจะนิยาม สถาปัตยกรรมว่าเป็นศิลปะแห่งการก่อสร้างที่เหมาะสมด้วยวัสดุที่คู่ควร” (1902 : 391) แรงบันดาล ใจของมอร์ริสในปาฐกถาชิ้นนี้มาจาก คุณสมบัติบางประการของอาคารชนบทในอังกฤษที่ดู “เรียบ ๆ ไม่โอ้อวด และใช้การได้จริง” ดังที่เขากล่าวว่า “ทักษะที่ช่างก่ออิฐ หยิบ จับ เลือก วัสดุมาประกอบเข้า ด้วยกันอย่างมีจงั หวะจะโคน ผ่านการกะเก็งอย่างช�ำนาญนัน้ สร้างสรรค์งานได้ดที เี ดียว” (1902 : 394) [ภาพที่ 1] การหันเหความสนใจจาก “รูปแบบ” มาสู่ “วัสดุ” ในวงการสถาปนิกอังกฤษในปลายคริสต์ ศตวรรษที่ 19 ข้างต้นนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่สถาปนิกและนักการทูตชาวเยอรมัน เฮอร์มันน์ มุทธีซิอุส (Hermann Muthesius, 1861-1927) ถือว่าพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในอังกฤษ “นี่คือความส�ำเร็จของ ชาวอังกฤษทีย่ งั ได้รบั การชืน่ ชมน้อยไป พวกเขาคือพวกแรกทีก่ า้ วข้ามวิกฤตทางรูปแบบสถาปัตยกรรม ขณะที่ในยุโรปไม่มีความเคลื่อนไหวอะไรแบบนี้เลย” (2007, Vol.1 : 101) มุทธีซิอุสค้นพบกระแส ความสนใจในวัสดุในช่วงที่มาท�ำงานเป็นผู้ช่วยด้านวัฒนธรรมให้แก่สถานทูตเยอรมนีในประเทศ อังกฤษ อันเป็นต�ำแหน่งทีท่ ำ� ให้เขาได้มโี อกาสศึกษาบ้านพักอาศัยและวิถกี ารอยูอ่ าศัยของชาวอังกฤษ อย่างกว้างขวาง เวลากว่า 6 ปีที่เขาอุทิศให้กับการศึกษาดังกล่าวนี้ได้สรุปออกมาเป็นหนังสือ The English House จ�ำนวน 3 เล่ม ที่ตีพิมพ์ในปี 1904-1905 ซึ่งนอกจากจะเป็นหนึ่งในผลงานของเขาที่ รู้จักกันมากที่สุดแล้ว ยังเป็นผลงานที่ให้มุมมองเกี่ยวกับ “ความเป็นอังกฤษ” ผ่านสายตา “คนนอก” ที่น่าสนใจทีเดียว ใน The English House มุทธีซิอุสได้นิยามวิถีปฏิบัตินิยม (pragmatism) ของสถาปนิก ขบวนการศิลปหัตถกรรมในอังกฤษว่า “Materialism” (2007, Vol. I: 148-149) แม้คำ � ๆ นีจ้ ะมีรากศัพท์ มาจากภาษาเยอรมัน “Materialismus” อันเป็นค�ำทีป่ รากฏในทฤษฎีสถาปัตยกรรมในเยอรมนีมาก่อน เช่น ในงานเขียนของ ก็อตฟรีด เซมเปอร์ (Gottfried Semper) และ คาร์ล เชฟเฟอร์ (Karl Schafer) ซึ่งเป็นนักทฤษฎีที่มุทธีซิอุสติดตามผลงานอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามการใช้ค�ำนี้ของมุทธีซิอุสใน อังกฤษให้ความหมายที่แตกต่างไปจากรากศัพท์ภาษาเยอรมันอย่างค่อนข้างจะสิ้นเชิง เพราะเขาใช้ “Materialism” ในความหมายของวิธีคิดที่เน้นผลที่เกิดจากการลงมือท�ำ อันเป็นแนวคิดที่ตรงข้ามกับ ปรัชญาจิตนิยม (Idealist Philosophy) ซึ่งเป็นรากฐานของทฤษฎีแบบเซมเปอร์ ดังที่เขากล่าวว่า

สิ่งที่ต้องมีมาก่อนในบรรดาสรรพสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้นควรมาจากวัสดุ จุดประสงค์ และ การก่อสร้าง รูปแบบจึงควรเป็นผลทีต่ ามมาจากข้อก�ำหนดเบือ้ งต้นเหล่านี้ ไม่ใช่จากแนวคิด ประเภทอุปาทานที่เป็นอิสระ แต่เหนืออื่นใดแล้ว งานฝีมือควรจะต้องพิถีพิถันสมบูรณ์ เรียบร้อยทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะเป็นไปได้ นีจ่ งึ กลายเป็นสภาวะทีแ่ ยกจากกันไม่ได้ (2007, Vol.1 : 148)

ด้วยมุมมองเช่นนี้ หลังจากทีม่ ทุ ธีซอิ สุ กลับไปยังเยอรมนี เขาจึงได้ผลักดันให้เกิดกระแสความ สนใจใน ฝีมือช่าง การก่อสร้าง และวัสดุ เช่นที่เกิดขึ้นในอังกฤษ อย่างไรก็ตามในที่นี้ผู้เขียนไม่ได้ต้องการบอกว่า ขบวนการศิลปหัตถกรรมในอังกฤษเป็น จุดก�ำเนิดแบบจริงแท้แน่นอนของขบวนการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (อันเป็นประเด็นที่ นิโคลลัส เพฟเนอร์ เสนอใน Pioneers of Modern Design: From William Morris to Walter Gropius) เพราะแม้จะมี ส่วนจริงก็ตาม แต่ความก้าวหน้าทางวิชาการในปัจจุบนั ก็ได้ขยายมุมมองในการพิจารณาต้นก�ำเนิดของ ขบวนการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ไปทั้งกว้างและไกลกว่าที่เคยเข้าใจ สิง่ ทีผ่ เู้ ขียนเห็นว่าน่าสนใจกว่าคือ ประเด็นปัญหาเกีย่ วกับความเป็นมาของ “วัสดุ” หากวัสดุ เป็นส่วนส�ำคัญยิง่ ทางสถาปัตยกรรมอย่างปฏิเสธไม่ได้แล้ว เราน่าจะพิจารณาในทางประวัตศิ าสตร์วา่ วัสดุได้เคยเข้ามาเป็นส่วนหนึง่ ของข้อถกเถียงทางทฤษฎีทางสถาปัตยกรรมอย่างไร เพราะนับตัง้ แต่กลาง ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ที่วัสดุได้กลับมาเป็นที่พูดถึงกันในวงการสถาปัตยกรรมอีกครั้งหนึ่ง (Weston, 2003 : 186) จนเราแทบจะไม่เคยไม่ได้ยนิ การเอ่ยถึง “material” หรือ “materiality” ในระหว่าง

62 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


การบรรยายหรือดูงานทางสถาปัตยกรรม ไม่วา่ จะเป็น การโชว์เนือ้ แท้วสั ดุ การแสดงสัจจะวัสดุ หรือ การเค้นศักยภาพของวัสดุให้ออกมา ตลอดจนค�ำทับศัพท์แปลก ๆ อย่าง ดีแมทธีเรียลไลเซชั่น (dematerialisation) ฯลฯ การที่เราพูดถึงวัสดุได้อย่างหลากหลายมิติในทุกวันนี้ อาจท�ำให้เราลืมไปแล้ว ว่า สถาปนิกได้กา้ วมาไกลจากเมือ่ ครัง้ ทีค่ ณ ุ ค่าและความหมายของวัสดุยงั คงเป็นทีถ่ กเถียงกันในทาง ทฤษฎี การนิยามสถาปัตยกรรมว่าเป็น “ศิลปะแห่งวัสดุ” (the art of materials) นัน้ เกิดขึน้ เป็นครัง้ แรก ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แม้จะกล่าวได้ว่าสถาปนิกใช้วัสดุในการท�ำอาคารมานับแต่โบราณกาล แต่ ก่อนหน้าคริสต์ศตวรรษที่ 19 สถาปนิกยังไม่รจู้ กั การอธิบายความหมายของสถาปัตยกรรมด้วย “วัสดุ” นิยามเช่นนีม้ คี วามหมายทีแ่ ท้จริงอย่างไร เป็นนิยามทีเ่ กิดขึน้ เฉพาะเจาะลงในแต่ละเวลาสถานที่ หรือว่า แท้จริงแล้วมีลักษณะเป็นวาทศิลป์สากลอย่างที่เกิดขึ้นดาษดื่นในยุคแห่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ การส�ำรวจ 3 แนวความคิดหลัก ๆ เกี่ยวกับวัสดุในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดังที่จะได้กระท�ำต่อ ไปนี้ จะช่วยยืนยันว่า โดยแท้จริงแล้วไม่เคยมีความเห็นพ้องต้องกันถึงบทบาทและความหมายของ วัสดุในทางสถาปัตยกรรมเลย เพราะทันทีที่มีข้อเสนอว่าการใช้วัสดุควรจะเป็นเช่นนี้ ไม่เป็นเช่นนั้น เราก็จะพบตรรกะที่แตกต่างกันในเรื่องเดียวกันแทบจะทันที “ปล่อยให้อฐิ พูดภาษาอิฐ หิน...พูดภาษาหิน แต่ละวัสดุมสำี �เนียงของตัวเอง” : สำ�นัก เหตุผลนิยมฝรั่งเศส ในฝรั่งเศส บรรดานักเหตุผลนิยม (Rationalists) เชื่อว่า สถาปัตยกรรมนั้นเกิดมาจากระบบโครงสร้าง (structural system) ซึ่งก�ำหนดมาแล้วก่อนงานก่อสร้างจะเริ่มขึ้น ดังที่นักทฤษฎีและสถาปนิกชาว ฝรั่งเศส วิโอเลต์-เลอ-ดุก (Viollet-le-Duc, 1814-1879, ภาพที่ 2) กล่าวไว้ใน Discourses on Architecture พิมพ์ครั้งแรกในภาษาฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1889 ว่า “สถาปัตยกรรมทั้งหลายนั้นก่อรูปมาจาก โครงสร้าง” (1959 : 3) เป้าหมายทางสถาปัตยกรรมที่ส�ำคัญที่สุดในความเห็นของเขาคือ “การสร้าง รูปแบบภายนอกให้สอดคล้องสัมพันธ์กบั ระบบโครงสร้าง [ภายใน]” (1959 : 3) พูดอีกอย่างได้วา่ สิง่ ที่ ถูกสร้างขึ้นมานั้นต้องคล้อยตามระบบที่เป็นตัวก่อรูปมันขึ้นมา

ภาพที่ 2 : สถาปนิกและนักทฤษฎีชาวฝรั่งเศส วิโอเลต์-เลอ-ดุก ที่มาภาพ : Bonjour. (2015). A portrait of Viollet-le-Duc. Accessed November 11, 2017. Available from https://bonjourparis.com/wp-content/uploads/2015/11/Viollet-Duc.jpg Image 4 : the Theravada Buddhist Cosmology12

63 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ส�ำหรับวิโอเลต์-เลอ-ดุกแล้ว โครงสร้างไม่มรี ปู ธรรม แต่คอื ตัวระบบ ซึง่ ไม่อาจถูกลดทอน หากด�ำรงอยู่ อย่างถาวร เกินอายุขยั ของอาคารเสียอีก เพราะสิง่ ก่อสร้างนัน้ จะมีวนั ทรุดโทรมเสือ่ มสลาย แต่ระบบ โครงสร้างจะคงอยูช่ วั่ กาลและมิอาจท�ำลายได้ [ภาพที่ 3] ด้วยแนวคิดเช่นนี้ จึงเป็นไปได้ทส่ี ถาปนิกจะ ประยุกต์ระบบโครงสร้างอาคารในอดีตมาใช้ใหม่ ยกตัวอย่างเช่น สามารถน�ำระบบโครงสร้างหลังคาโค้ง (vaulting) ของโบสถ์โกธิคในศตวรรษที่ 13 มาใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมใหม่ได้

ภาพที่ 3 : Analytical Drawings ที่เป็นแบบฉบับของวิโอเลต์-เลอ-ดุก แสดงกายวิภาคของอาคารแบบตัดผ่าน จนดูราวกับว่า อาคารขาดเสถียรภาพทางโครงสร้าง แต่ทย ี่ งั อยูไ่ ด้ไม่พงั ทลายหรือร่วงลงมาเป็นชิน้ ๆ เพราะมี “โครงสร้าง” ทีม่ องไม่เห็นแต่รบ ั รูไ้ ด้ รองรับอยูI่ ที่มาภาพ: Viollet-le-Duc. (1875). Dictionnaire Raisonné de l’ Architecture Françoise, Vol. IV ‘Construction’. Paris: V.A. Morel et C., Editeurs: 84, 93.

อย่างไรก็ตามการน�ำระบบโครงสร้างเก่ามาท�ำให้เกิดรูปแบบใหม่ของส�ำนักเหตุผลนิยมนี้ ไม่ได้ รวมไปถึงวัสดุดว้ ย วิโอเลต์-เลอ-ดุกบอกกับเราว่า รูปแบบทางสถาปัตยกรรมนัน้ นอกจากเป็นผลทีต่ าม มาจากระบบโครงสร้างแล้ว ยังต้องสือ่ ถึงคุณลักษณะของวัสดุทตี่ วั มันเองถูกสร้างขึน้ มา เขากล่าวใน เรือ่ งนีอ้ ย่างชัดเจนว่า “เราพอใจกับการแทนทีอ่ าร์คโค้งทีท่ ำ� จากเหล็กด้วยอาร์คโค้งทีท่ ำ� ขึน้ มาจากหิน หรือ? เปล่าเลย เราอาจน�ำหลักการมาใช้ แต่หากวัสดุเปลีย่ น รูปแบบก็ตอ้ งเปลีย่ นตาม” (1959 : 54) ลักษณะการถามเองตอบเองท�ำนองนีม้ อี ยูใ่ น Discourses on Architecture แทบทัง้ เล่มก็วา่ ได้

64 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


แม้ไม่อาจกล่าวได้วา่ วิโอเลต์-เลอ-ดุกเป็นต้นคิดสกุลของส�ำนักเหตุผลนิยมฝรัง่ เศส แต่ดว้ ยผล งานของเขาทีเ่ ขียนขึน้ ได้อย่างน่าจูงใจนัน้ ท�ำให้ทฤษฎีเหตุผลนิยมทางโครงสร้าง (Structural Rationalism) เป็นทีย่ อมรับอย่างกว้างขวาง (Forty, 2000 : 277) พอ ๆ กับทีไ่ ด้สร้างข้อถกเถียงขึน้ ในวงการสถาปัตยกรรม ฝรัง่ เศสอย่างร้อนแรง สิง่ ทีว่ โิ อเลต์-เลอ-ดุกต่อต้านอย่างแข็งขันมาตลอดคือ การหยิบยืมรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมทีเ่ คยใช้กบั วัสดุอย่างหนึง่ มาใช้กบั วัสดุอกี ประเภทหนึง่ โดยไม่คำ� นึงถึงความแตกต่างทาง วัสดุ เขาได้วจิ ารณ์โบสถ์ St. Eugene ในปารีส [ภาพที่ 4] ทีอ่ อกแบบโดย หลุยส์-ออกุส บัวโล (Louis-Auguste Boileau) อย่างรุนแรง เนือ้ หาหลักของการบริภาษก็คอื การหยิบยืมรูปแบบสถาปัตยกรรมโกธิคแห่ง ยุคกลาง ซึง่ เดิมสร้างขึน้ จากวัสดุธรรมชาติอย่างหินและไม้ แล้วมาท�ำใหม่ใน ค.ศ. 1855 ด้วยวัสดุสมัย ใหม่อย่างเหล็กหล่อ วโิ อเลต์-เลอ-ดุก วิจารณ์วา่ “เราไม่ควรท�ำเหล็กหล่อให้มรี ปู แบบอย่างหิน เพราะการ เปลีย่ นแปลงใด ๆ ทางวัสดุตอ้ งน�ำไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลงรูปแบบ” (Viollet-le-Duc, 1855; อ้างถึงใน Legault, 1997 : 25) ส�ำหรับวิโอเลต์-เลอ-ดุกแล้ว รูปแบบรูปทรงทางสถาปัตยกรรมไม่ได้เกิดมาจากหลักการทาง โครงสร้างเท่านัน้ แต่ยงั ต้องเป็นไปตาม “ธรรมชาติ” ของวัสดุทใี่ ช้ในการก่อรูปทางสถาปัตยกรรมนัน้ ด้วย

ภาพที่ 4 : รูปตัดแสดงโครงสร้าง St. Eugene ปารีส ออกแบบโดย หลุยส์-ออกุส บัวโล การใช้วสั ดุสมัยใหม่อย่างเหล็กหล่อมาทดแทนวัสดุไม้และหิน เป็นวิธก ี ารทีข่ ด ั ต่อหลักการเหตุผลนิยมทางโครงสร้าง ที่มาภาพ: OPUS 5 architects. (2004). Eglise Saint-Eugène-Sainte-Cécile. Accessed November 11, 2017. Available from http://www.opus5.fr/PARIS-IX-Eglise-Saint-Eugene-Sainte-Cecile mage 4 : the Theravada Buddhist Cosmology12

65 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


หลักการของนักเหตุผลนิยมฝรัง่ เศสทีว่ า่ วัสดุแต่ละประเภทมีรปู แบบเฉพาะตัวอัน “แท้จริง” นี้ ในทีส่ ดุ แล้วได้นำ� ไปสูส่ มมติฐานว่า “วัสดุใหม่ยอ่ มน�ำไปสูร่ ปู ทรงใหม่ทางสถาปัตยกรรม” ซึง่ ได้กลายเป็น รากฐานทางทฤษฎีให้กบั สถาปนิกขบวนการสมัยใหม่แห่งปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ใน การพยายามเสาะแสวงหารูปแบบทางสถาปัตยกรรมอัน “แท้จริง” ของวัสดุสมัยใหม่อย่างเหล็กกล้าและ คอนกรีตเสริมเหล็ก ทีก่ ล่าวมานีค้ อื แนวคิดเกีย่ วกับวัสดุแห่งศตวรรษที่ 19 ทีพ่ ฒ ั นาขึน้ โดยส�ำนักเหตุผลโครงสร้าง นิยมฝรัง่ เศส ต่อไปจะได้กล่าวถึง แนวความคิดเกีย่ วกับวัสดุแบบที่ 2 ซึง่ สืบสายมาจากวัฒนธรรมการ ก่อสร้างของประเทศแถบทีใ่ ช้ภาษาเยอรมัน “จงลืมความเป็นวัสดุ” : ก็อตฟรีด เซมเปอร์ กับการสร้างระบบสัญลักษณ์ นักทฤษฎีและสถาปนิกชาวเยอรมัน ก็อตฟรีด เซมเปอร์ (1803-1879, ภาพที่ 5) เสนอใน Style in the Technical and Tectonic Arts, or, Practical Aesthetics ว่า เป้าหมายสูงสุดทางสถาปัตยกรรมไม่ใช่ โครงสร้าง แต่คอื การสร้างสัญลักษณ์ และแม้ระบบการแทนทีส่ งิ่ ต่าง ๆ ด้วยสัญลักษณ์นจี้ ะต้องกระท�ำ ผ่านองค์ประกอบอาคาร ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างหรือวัสดุก็ตาม แต่การที่สถาปัตยกรรมจะสามารถ สือ่ สารเชิงสัญลักษณ์ได้นนั้ ก่อนอืน่ จะต้องท�ำลายคุณสมบัตขิ องวัสดุให้หมดลงเสียก่อน เราจึงสามารถ มองเห็นสัญลักษณ์นั้นได้อย่างชัดเจน ดังที่เซมเปอร์กล่าวว่า “การท�ำลายความเป็นจริงเกี่ยวกับวัสดุ เป็นสิ่งจ�ำเป็นต่อการเกิดรูปแบบทางสัญลักษณ์ที่มีความหมาย เป็นงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่จะ ตั้งอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง” (2004 : 439)

ภาพที่ 5 : นักทฤษฎีและสถาปนิกชาวเยอรมัน ก็อตฟรีด เซมเปอร์ ที่มาภาพ : Alchetron. (2017). Gottfried Semper. Accessed November 11, 2017. Available from https://www.ethz.ch/en/news-and-events/eth-news/news/2014/06/ temple-to-science/_jcr_content/news_content/textimage_0/image.imageformat. lightbox.892553585.png Image 4 : the Theravada Buddhist Cosmology12

66 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


การปฏิเสธคุณสมบัตทิ างกายภาพของวัสดุเช่นนี้ อาจอธิบายให้เห็นภาพได้ชดั ขึน้ ด้วยค�ำกล่าว ของนักทฤษฎีชาวเยอรมันอีกท่านหนึ่ง คือ คาร์ล บอททิเชอร์ (Carl Bötticher) โดยเฉพาะตอนที ่ กล่าวถึง “หิน”

เจตจ�ำนงในที่นี้ ไม่ใช่การแสดงคุณลักษณะของหินว่าเป็นหินที่ตายแล้ว ตรงกันข้ามคือการ ท�ำให้แก่นสารของหินนัน้ มลายหายไป ทันทีทหี่ นิ ถูกรูปแบบทีอ่ ปุ มาเสมือนดัง่ แนวคิดของมัน เข้าครอบง�ำ (เช่น รูปแบบทางศิลปะ) มโนทัศน์เกี่ยวกับหินจะอันตรธารหายไป แล้วความคิด เชิงอุปมาก็เข้ามาแทน ( อ้างถึงใน Herrmann, 1984: 143)

ตัวอย่างผลงานในประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันดีคือวิหารกรีกที่สร้างขึ้นทั้งหมดด้วยหินอ่อน แต่อยู่ ในรูปแบบของอาคารโครงสร้างไม้ ทัง้ เซมเปอร์และบอททิเชอร์ให้ความส�ำคัญกับกระบวนการสร้างสัญลักษณ์ทางศิลปะไว้อย่าง สูง ซึ่งแตกต่างจากวิโอเลต์-เลอ-ดุก ที่ถือว่าการหยิบยืมรูปแบบที่เคยใช้กับวัสดุหนึ่งมาใช้กับอีกวัสดุ หนึ่งนั้นเป็นการกระท�ำที่ “หลอกลวง” ต่อ หลักการทางโครงสร้าง และ “ธรรมชาติ” ของวัสดุ แต่เซมเปอร์แย้งว่าสถาปัตยกรรมนั้นจริง ๆ แล้วมีวิวัฒนาการมาจากกระบวนการเปลี่ยนรูป แปรสภาพเชิงอุปมาอุปไมย หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Transmutation of the materials เช่น นี้ทั้งสิ้น เมื่อธรรมชาติของวัสดุถูก “แปลง” เท่านั้น ที่ความหมายทางสัญลักษณ์จะปรากฏขึ้นและเข้า ครอบง�ำแทนที ่ เซมเปอร์เชือ่ มัน่ เป็นอย่างยิง่ ว่า หากถ้อยค�ำความหมายทีพ่ ดู ขึน้ ในภาษาหนึง่ สามารถ แปลความในอีกภาษาหนึ่งได้ ฉันใดก็ฉันนั้น สัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมก็สามารถสื่อสารได้ด้วย สื่อ (วัสดุ) ต่างชนิดกัน [ภาพที่ 6] แนวคิดเชิงสัญลักษณ์แบบเซมเปอร์นเี้ ป็นระบบคิดทีส่ ลับซับซ้อน ต้องอาศัยการตีความจึงจะ เข้าใจความหมายจนสามารถน�ำไปรังสรรค์งานได้อย่างมีศลิ ปะ แต่หลายทศวรรษทีผ่ า่ นมาก็ได้พสิ จู น์ แล้วว่า นับวันทฤษฎีที่เขาเขียนทิ้งไว้ก็ยิ่งจะทวีความส�ำคัญขึ้น

67 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 6: กระท่อมดึกดำ�บรรพ์ โดย วิลเลียม แชมเบอร์; สำ�หรับแชมเบอร์และเซมเปอร์แล้ว การศึกษาจุดกำ�เนิดทางสถาปัตยกรรมเป็นไปเพื่อพิสูจน์ว่าสถาปัตยกรรมนั้นเป็นศิลปะแห่งการเลียนแบบทางวัสดุ ที่มาภาพ : William Chambers. (1759). A Treatise on the Decorative Part of Civil Architecture. London: Priestley and Weale, pl opposite p.1

68 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ปลุกให้ตนื่ จากภวังค์: รัสกินและไฮเดกเกอร์ แนวความคิดที่ 3 เกีย่ วกับวัสดุ เสนอโดยนักคิดนักวิจารณ์ชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 19 นามจอห์น รัสกิน (John Ruskin, 1819-1900, ภาพที่ 7) รัสกินกล่าวในหนังสือ The Seven Lamps of Architecture ว่า วัสดุนนั้ ไม่ได้มพี ลังสร้างสรรค์ในตัวเอง แต่มาจากมนุษย์ ซึง่ แม้เขาจะเห็นด้วยกับความคิดทีว่ า่ วัสดุตา่ ง กันย่อมมีคณ ุ สมบัตทิ างกายภาพทีไ่ ม่เหมือนกัน และไม่มวี สั ดุใดทีม่ คี ณ ุ สมบัตเิ หมือนกันทุกประการ แต่ สิง่ ทีไ่ ม่มใี นวัสดุ ทว่าจ�ำเป็นต่อการสร้างสรรค์เป็นอย่างยิง่ คือ มันสมองและแรงงาน ซึง่ รัสกินเชือ่ ว่าสอง องค์ประกอบนีต้ า่ งหากทีเ่ ป็นพลังสร้างสรรค์ทแี่ ท้จริง สามารถท�ำให้วสั ดุดาด ๆ ธรรมดากลับกลายเป็น มีคณ ุ ค่าขึน้ มาได้

ภาพที่ 7 : นักวิจารณ์สถาปัตยกรรมชาวอังกฤษจอห์น รัสกิน ทีม่ าภาพ : Pre Raphaelite Art. (2013). John Ruskin photographed by Frederick Hollyer, 1894. Accessed November 11, 2017. Available from http://preraphaelitepaintings. blogspot.com/2013/10/john-ruskin-photographed-by-frederick.html

หัวใจของ The Seven Lamps of Architecture อยูใ่ นบททีช่ อื่ ว่า “The Lamp of Life” ซึง่ รัสกิน กล่าวถึงสมรรถภาพของสถาปัตยกรรมในการปลุก “สิง่ ทีป่ ราศจากชีวติ ” ให้กลับมีชวี ติ ชีวาว่า เป็นข้อที่ ท�ำให้สถาปัตยกรรมแตกต่างไปจากงานสร้างสรรค์ประเภทอืน่ ๆ

สรรพสิง่ จะสูงส่งหรือต�ำ่ ตมนัน้ ขึน้ อยูก่ บั พลังสร้างสรรค์ทางสติปญ ั ญาทีท่ มุ่ เทลงไปกับมัน ทีน่ า่ ทึง่ และส�ำคัญทีส่ ดุ คือ สถาปัตยกรรมมีศกั ยภาพแห่งการสร้างสรรค์ในด้านนีม้ ากกว่าศาสตร์อนื่ ๆ […] สถาปัตยกรรมนัน้ ล้วนประกอบขึน้ มาจากวัสดุทไี่ ม่ได้มคี ณ ุ ค่าอะไรในตัวเอง ต่างไปจากดนตรี ทีป่ ระกอบด้วยโน้ตอันไพเราะ ภาพเขียนทีว่ าดขึน้ ด้วยสีสนั ทีส่ วยงาม แต่งานสถาปัตยกรรม ล้วนแต่สร้างขึน้ มาจากวัสดุพนื้ ๆ ไร้ชวี ติ สถาปัตยกรรมจะสง่างามและน่าอภิรมย์ได้นนั้ ขึน้ อยูก่ บั การแสดงออกทางปัญญาทีเ่ ราทุม่ ลงไปในการผลิต (1865 : 123)

รัสกินแสดงให้เห็นอย่างแจ่มชัดว่า ล�ำพังวัสดุนนั้ ไม่อาจสร้างสรรค์อะไรขึน้ มาได้ สิง่ ส�ำคัญอยูท่ ี่ “การลงมือปฏิบตั ”ิ ทีม่ นุษย์เรามีตอ่ วัสดุ [ภาพที่ 8] ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่เชือ่ ว่าจะสามารถเข้าใจวัสดุได้ ในทางทฤษฎี แต่จะเข้าถึงเมือ่ ใช้วสั ดุทำ� อะไรบางอย่าง ซึง่ การมุง่ เน้นใน “ปฏิบตั กิ าร” แทนทีจ่ ะเป็น “ทฤษฎี” เช่นนี้ เป็นหนึง่ ในความแตกต่างทีส่ ำ� คัญระหว่างทัศนะของรัสกิน กับส�ำนักเหตุผลนิยมฝรัง่ เศส และส�ำนักคิดแบบเซมเปอร์ ขณะเดียวกันก็เป็นทัศนะทีม่ พี นื้ ฐานใกล้เคียงกับปรัชญาสายปรากฏการณ์ ศาสตร์ (Phenomenon Philosophy ) โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่าง “ความคิด” และ “สิง่ ” แม้วา่ แนวคิดปรัชญาทัง้ สองจะมีทมี่ าทีแ่ ตกต่างกันก็ตาม 69 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 8 : ภาพสลักนูนต�ำ่ รูปสัตว์ประหลาดทีป ่ ระตูทศ ิ เหนือของ Cathedral of Rouen ทำ�ภาพพิมพ์ตามสเก็ตช์ของจอห์น รัสกิน สำ�หรับรัสกินนัน้ คุณสมบัตวิ สั ดุไม่สำ�คัญเท่ากับร่องรอยของหยาดเหงือ่ แรงงานและสติปญ ั ญาทีป ่ รากฏในงานศิลปะ ทีม่ าภาพ : John Ruskin. (1865). The Seven Lamps of Architecture. New York: John Wiley&Son, Plate XIV. Buddhist Cosmology12

นักปรัชญาชาวเยอรมัน มาร์ตนิ ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger, 1889-1976, ภาพที่ 9) ได้ วิจารณ์ปรัชญาแบบพลาโต (Platonism) อย่างถอนต้นก่นรากว่า ได้ปพู นื้ ฐานปรัชญาตะวันตกมาอย่าง ผิด ๆ ตัง้ แต่สมัยกรีก เรือ่ ยมาจนถึงครึง่ แรกศตวรรษที่ 20 ทีเดียว ทงั้ นีเ้ พราะพลาโตแบ่งแยก “ความคิด” (idea) และ “สิง่ ” (thing) ออกจากกัน โดยไฮเดกเกอร์แย้งว่า เราไม่ควรพิจารณา “ความคิด” (idea) และ “สิง่ ” (thing) แบบแยกขาดซึง่ กันและกัน เพราะ “ความคิด” ไม่ได้เป็น “สิง่ ” ทีม่ มี าก่อนอย่างทีเ่ ข้าใจกัน ผิด ๆ มาโดยตลอด แต่ดำ� รงอยูใ่ นการรับรูข้ องเราทีม่ ตี อ่ สิง่ ๆ นัน้ และอยูใ่ นสิง่ ๆ นัน้ เอง ความคิดในเรือ่ ง นีข้ องไฮเดกเกอร์อาจสรุปด้วยวลีของกวีชาวอเมริกนั วิลเลียม คาร์รอส วิลเลียมส์ (William Carlos Williams) ทีว่ า่ “ไม่มคี วามคิด [ในทีใ่ ดทัง้ นัน้ ] นอกจากในสิง่ นัน้ เอง” (“no idea but in things”) ในบทความ “The Origin of the Work of Art” ไฮเดกเกอร์ได้กล่าวว่า “การสร้างสรรค์ศลิ ปะคือ การท�ำให้บางสิง่ บางอย่างถือก�ำเนิดขึน้ อย่างเป็นรูปธรรม โดยทีส่ งิ่ นัน้ ถูกท�ำให้ผลิดอกออกผล” (1975 : 60) ส่วนประเด็นเกีย่ วกับ “วัสดุ” ไฮเดกเกอร์กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ (ซึง่ คล้ายกับรัสกิน) ว่า วัสดุนนั้ เป็น สิง่ พืน้ ๆ ด�ำรงอยูอ่ ย่างนัน้ เช่นนัน้ เสมอมา คือ ไม่มชี วี ติ แต่เมือ่ ถูก “ปลุก” ขึน้ มา และถูกท�ำให้เป็นตัวแทน ของสิง่ ทีม่ สี งิ่ ทีเ่ ป็น โมเมนต์นเี้ องทีม่ นั ได้ถอื ก�ำเนิดขึน้ เป็น “งาน” (work) ส�ำหรับไฮเดกเกอร์แล้วหัวใจ ของศิลปะทางสถาปัตยกรรม คือการเปิดเผยธาตุแท้ของวัสดุให้แสดงออกมา อย่างทีเ่ ขากล่าวว่า “ท�ำให้ มันเป็นอย่างทีม่ นั มีอยู”่ (1975 : 31)

ภาพที่ 9: นักปรัชญาชาวเยอรมันมาร์ติน ไฮเดกเกอร์

ที่มาภาพ : Los Angeles Review of Books. (2015). The Philosopher Martin Heidegger. Accessed November 11, 2017. Available from https:// lareviewofbooks.org/article/what-to-make-of-heidegger-in-2015/#!


ผลงานทีเ่ ข้าข่ายนิยามศิลปะทางสถาปัตยกรรมของรัสกินและไฮเดกเกอร์ชนิ้ หนึง่ ได้แก่ Kelling Place ในเมือง Norfolk ประเทศอังกฤษ ซึง่ เป็นคฤหาสน์ชนบท ออกแบบก่อสร้างระหว่าง ค.ศ. 19041906 โดยสถาปนิกแห่งขบวนการศิลปหัตถกรรมชือ่ เอ็ดเวิรด์ พายเออร์ (Edward Prior) น่าสนใจว่าใน การสร้างบ้านหลังนี้ พายเออร์ได้ประยุกต์แนวคิด “ปลุกให้ตนื่ ” อย่างถึงแก่นทีส่ ดุ ทีเดียว [ภาพที่ 10]

ภาพที่ 10 : Kelling Place ออกแบบโดย เอ็ดเวิร์ด พายเออร์ ระหว่าง ค.ศ. 1904-1906 แม้วัสดุส่วนใหญ่ของอาคารหลังนี้จะขุดขึ้นมาจากใต้ดิน แต่สิ่งที่ทำ�ให้วัสดุกลายเป็นงาน สถาปัตยกรรมขึ้นมาได้คือ สติปัญญาและแรงงาน สองอย่างนี้เท่านั้น ที่มาภาพ: โดยผู้เขียน เมื่อปี 2010 Image 4 : the Theravada Buddhist Cosmology12

เรือ่ งมีอยูว่ า่ ในระหว่างทีพ่ ายเออร์มาดูสถานทีท่ จี่ ะสร้างบ้านหลังนี้ เขาพบว่าใต้ผนื ดินแถบนีเ้ ต็ม ไปด้วยก้อนกรวดเม็ดโต ๆ (gravel) รวมถึงกรวดหินตะกอน (flint pebbles) และทราย เขาจึงหาวิธใี ช้ ของทีม่ อี ยูแ่ ล้วในพืน้ ที่ เป็นวัสดุในการก่อสร้างบ้านหลังนี้ กล่าวคือ ก้อนกรวดเม็ดโตถูกใช้เป็นส่วนผสม ของผนังโครงสร้างคอนกรีตอัดแน่น กรวดหินตะกอนเป็นวัสดุผวิ หน้าผนังเพือ่ ความสวยงาม และทราย เป็นส่วนผสมท�ำปูนสอ มีวสั ดุเพียงส่วนน้อยเท่านัน้ เช่น หินสีนำ�้ ตาล กระเบือ้ งมุงหลังคาแผ่นเรียบดินเผา ทีต่ อ้ งน�ำมาจากทีอ่ นื่ ทัง้ นีเ้ พือ่ ใช้ในการท�ำรายละเอียดผนัง ประดับเตาผิง และการตกแต่งอืน่ ๆ หากเราพิจารณาผนังโครงสร้างคอนกรีตอัดแน่นของบ้านหลังนี้ และเพ่งพินจิ ไปยังเม็ดกรวดแต่ละ ก้อน จะพบว่าโดยตัวมันเองแล้ว ไม่ได้แลดูมคี า่ อะไร และยิง่ หากเราจินตนาการว่าเอามือแคะก้อนหิน เหล่านัน้ ออกจากผนัง มันก็จะคงหลุดร่วงคืนสภาพกลายเป็นก้อนหินทีแ่ สนจะธรรมดาก้อนหนึง่ เหมือน สภาวะแรกเริม่ ทีถ่ กู ขุดมาจากพืน้ [ภาพที่ 11] “ความมีชวี ติ ชีวา” ทางสถาปัตยกรรมในทีน่ จี้ งึ ไม่ได้ดำ� รง อยูใ่ นธรรมชาติของหินแต่ละก้อน หากคือผลโดยรวมจากการใช้วสั ดุให้ได้สถาปัตยกรรมทีม่ หี ลายพืน้ ผิว หลากสัมผัส

71 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 11 : รายละเอียดผนังที่ Kelling Place ที่มาภาพ: โดยผู้เขียน เมื่อปี 2010 Image 4 : the Theravada Buddhist Cosmology12

แน่นอน เราอาจพิจารณาการใช้วสั ดุของพายเออร์ในทีน่ วี้ า่ เป็นการพยายามสร้างความกลมกลืน กับสภาพแวดล้อมท้องถิน่ กระทัง่ มองว่าเป็นวิธลี ดต้นทุนการก่อสร้างก็ได้ (Cruickshank, 1999 : 42) แต่ผลงานอันวิจติ รทีเ่ กิดขึน้ มาจากการใช้ “วัตถุดบิ ” ซึง่ ตามความจริงแล้วก็อยูใ่ นทีแ่ ห่งนีม้ าก่อน จะไม่มี ทางเกิดขึน้ ได้เลยหากปราศจากซึง่ ความตัง้ ใจอันแน่วแน่ของสถาปนิกและแรงงานทีร่ ว่ มมือกันสร้างบ้าน หลังนีข้ น้ึ มาอย่างพิถพี ถิ นั ในแง่นี้ สิง่ ทีท่ ำ� ให้ของไม่มชี วี ติ กลายเป็นมีชวี ติ ขึน้ มานัน้ อยูท่ ี่ “การลงมือปฏิบตั ”ิ ซึง่ เป็นปัจจัย แห่งการสร้างสรรค์ทไี่ ม่สามารถเกิดมาก่อนหรือเติมเข้ามาภายหลังได้ หากต้องเกิดขึน้ ระหว่างการก่อสร้าง จนท�ำให้สงิ่ ดิบ ๆ หยาบ ๆ อย่าง หิน ดิน ทราย กลายเป็นงานสร้างสรรค์ขนึ้ มาได้ ใครก็ตามทีไ่ ด้เคยอ่านงานของ 3 ส�ำนักคิดทีก่ ล่าวมานี้ จะพบว่าขณะทีพ่ ลิกหนังสือไปในแต่ละหน้า แต่ละ ส�ำนักล้วนพูด “ถูก” ตามตรรกะทีต่ นสร้างขึน้ มาทัง้ สิน้ “วัสดุ” คืออะไร มีบทบาทเช่นไร มีตำ� แหน่งแห่งที่ ในโลกนีแ้ ละสัมพันธ์กบั ปัจจัยสร้างสรรค์อนื่ ๆ อย่างไร จริงๆ แล้วล้วนเป็นค�ำถามทีถ่ กู จัดวางในทิศทาง ทีส่ อดรับกับทฤษฎีทดี่ ำ� รงอยูก่ อ่ นแล้ว ดังนัน้ เมือ่ เกิดประเด็นปัญหาใหม่ ๆ ขึน้ แต่ละส�ำนักจึงพยายาม หาทางอธิบาย “วัสดุ” ตามพืน้ ฐานทางปรัชญาของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ประเด็นค�ำถามเกีย่ วกับวัสดุจงึ ยัง คงเปิดกว้าง สามารถถกเถียงกันได้อกี หลายแง่มมุ ไม่รจู้ บ เพราะตราบใดทีว่ ฒ ั นธรรมการก่อสร้างในสังคม ยังมีการเคลือ่ นไหว แนวคิดเกีย่ วกับวัสดุของเราย่อมเปลีย่ นแปลง และแต่ละสังคมก็สามารถผลิตความ หมายของตนเอง ในลักษณะทีไ่ ม่จำ� เป็นต้องเหมือนกับทีเ่ กิดขึน้ ในทีอ่ นื่ ท่ามกลางกระแสความสนใจใน “Material” ทีไ่ ด้หวนคืนมาอีกครัง้ การทีส่ ถาปนิกในปัจจุบนั สามารถพูดถึง “วัสดุ” ได้อย่างเป็นคุง้ เป็นแคว เป็นสัญญาณบ่งชีว้ า่ ทฤษฎีวสั ดุแห่งศตวรรษที่ 19 ยังคง มีอิทธิพลต่อวงการสถาปัตยกรรมมากแค่ไหน แต่ถึงกระนั้นค�ำถามที่ยังคงอยู่ก็คือ คุณภาพทาง สถาปัตยกรรมนัน้ แท้จริงแล้ว ขึน้ อยูก่ บั วัสดุทสี่ ร้างขึน้ หรือจริง ๆ แล้ว ทัง้ สองเป็นอิสระจากกัน ค�ำถามนีจ้ ะยังคงอยูต่ อ่ ไป 72 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


On ‘Material’: An Architectural Notion of the 19th Century Pinai Sirikiatikul, Ph.D.

Faculty of Architecture, Silpakorn University / p.sirikiatikul@gmail.com

Abstract

‘Materiality’ has recently returned to architectural discussion. This paper looks at its origin and the early development of

‘material’ as a theory in 19th-century Europe. By examining and comparing the theoretical approaches to material of 3 different architectural writers - Viollet-le-Duc, Gottfried Semper and John Ruskin - the paper suggests that there is no consensus view on how material should be in architecture. It is on this basis that liberates us from an absolute definition of the term, leaving us open to a reinterpretation of the concept that it can lead to a plurality of solutions.

Keywords: Material, Materiality, Viollet-le-Duc, Gottfried Semper, John Ruskin

Pite: ‘in the case of Michelangelo and Wren, the one

architecture and perhaps one would not go very far wrong if

started with Classic results and the other with Italian:

one defined architecture as the art of building suitably with

what should we start with?’

suitable material’. (1902: 391) The source to which Morris

Lethaby: ‘With materials’.

turned was the certain qualities of ‘ordinary country buildings’ such as simplicity, unpretentiousness and practicality: ‘the skill

A conversation between Beresford Pite and William

with which the mason has picked out his longs and his shorts,

Lethaby at Architectural Association in 1896, in a talk

and put the thing together with really something, you must

to the members of the Class of Design on the subject of

say, like rhythm and measurement (his traditional skill that

‘The Problem of Modern Architecture’. (Anon, 1896: 307)

was), and with the best possible results’. (1902: 394) [fig 1]

Material is without question indispensable to architecture.

Architects in every period are familiar with materials; but as

styles was regarded by German architect Hermann Muthesius

a ‘theory’ of modern architecture, material has become im-

(1861-1927) as having been first advanced in English archi-

portant merely around two centuries ago. The situation

tecture: ‘It was English’s achievement – and it cannot be rated

changed in the 19th century as a result of the Industrial Rev-

highly enough – to have been the first to find an escape from

olution, with the advent of modern materials like iron and

this dilemma and to have done so at a time when nothing of

concrete, and demanded architects to deal with materials not

the kind was yet stirring on the continent’. (2007, Vol.1: 101)

just as a building medium but also as a concept. Lethaby’s

In his book The English House, Muthesius went on to describe

reply to Pite’s question, which rejected at once the pursuit of

the pragmatism of the old craftsmanship that he witnessed

architectural styles, is just one symptom of how essential

many Arts and Crafts architects turning to, and then charac-

materials were for architects in late-nineteenth-century Britain.

terised the British Arts and Crafts Movement as ‘Materialism’.

The notion of paying attention to materials rather than

(2007, Vol. I: 148-149) The term ‘Materialism’, or in the orig

Lethaby’s ideas about materials were in part derived

inal German terms ‘Materialismus’, which Muthesius used to

from William Morris’s lecture, ‘The influence of building

describe a certain quality he perceived in English architecture,

materials upon architecture’, given in 1891, in which Morris

had been present in the German architectural context before

had formed the idea of turning to materials in order to resist

- most evidently in the writings of Gottfried Semper and of

the imitation of style. The problem of architecture in Morris’

Karl Schäfer, both theorists of whom Muthesius was a close

time was its preoccupation with past styles, and he argued that

follower. Muthesius used the term ‘Materialism’ to character-

the essence of architecture lay instead in the use of the mate-

ise a non-idealistic way of thinking about architecture, in

rials and the ways in which they are handled in their execution.

opposition to the Idealist philosophy that was present in

He said, ‘the subject of Material is clearly the foundation of

Semper. In The English House, Muthesius wrote:

73 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


All the prerequisites for every man-made object should

same as the rhetoric of modernist architecture elsewhere?

lie in its material, purpose and construction, its form

A quick sketch of the 19th-century attitudes towards materials

should be consequent upon these prerequisites and not

in the following discussion will give an idea just how differing

upon an independent preconceived idea. But above all,

ideas about materials have been.

workmanship should be as sound as possible; this

became the indispensable condition […]. (2007, Vol. 1: 148)

After Muthesius returned to Germany, he was the one

who drove German architectural discussion forward by

‘Let brick to be brick, stone to be stone, every material speaks in its own language’: French Rationalist

turning to practical issues of craftsmanship, construction, and

In France, Rationalists held that architecture derives from a

materials that he found integral to British arts and crafts

determined system of structure. Viollet-le-Duc (1814-1879,

architecture.

fig 2) proposed that ‘all architecture proceeds from structure, and the first condition at which it should aim is to make the

However, this is not to say that Modernism was origi-

outward form accord with that structure’. (1959:3) In other

nated in Britain (as Nikolaus Pevsner does in Pioneers of

words, what is built takes second place to the system that was

Modern Design: From William Morris to Walter Gropius).

adopted to build it. Structure, for Viollet, is irreducible, perma-

Though his association between the Arts and Crafts Movement

nent, surpassing beyond the life of the building itself; though

and the development of modernism is in certain respects still

buildings decay, their structures endure, and it is possible to adopt

valid, recent studies have given a much more comprehensive

a structural system of old buildings. An example of this is the

view of the origins and development of modernism.

system of vaulting of the thirteenth-century Gothic cathedrals for a creation of new architecture. (fig 3)

What is more intriguing is about the material – for if

it is so indispensable to architecture, we should ask how it

became an issue in architectural discourse, historically. Since

lating into a new form does not, according to Rationalist

the mid-1980s onwards, the question about material has

principle, apply to materials. Viollet-le-Duc proposed that the

returned to an architectural discussion so frequently that in

form of architecture, apart from being the outcome of the

any talk on architecture or any building visit, it is almost

structure, needs to communicate the characteristic of the

impossible not to hear somebody talk about ‘material’ or

material of which it is made of. Viollet-le-Duc made this point

‘materiality’. Our possible discussions about architecture

clear when he put it as follows:

Such a manner of reworking something old and trans-

concerning material today such as ‘the true nature of the material’, ‘the truthful expression of the material’ or ‘to put the

Does it then follow that if we would make use of the

materials into limits’ as well as using the term like ‘demateri-

novel materials […], we should content ourselves with

alisation’, might lead one to take it for granted that they are a

substituting arches of cast or plate iron for arches of

part of an architect’s innate abilities, although this is far from

stone? No, we may adopt the principle, but while adopting

accurate.

it, since the material is changed, we should change the form. (1959: 54)

The definition of architecture as an art of material was

a 19th-century creation. Although architects used materials

to make buildings for centuries, before the 19th century it did

current convention when a reproduction of the past styles was

not occur to any architect to describe their work in terms of

common. What Viollet was against here is the mimicry of a

materials. The opportunity is taken here to look historically

form used in one material for another material. Criticising

at its basis and at the way in which it had been discussed in

Auguste Boileau’s church (fig 4), whose form is that of Gothic,

relation to architecture. What then, we may ask, does it means

but made out of cast iron, Viollet said ‘one should not give to

to say that architecture is the art of materials? Can we see the

cast iron the appearance of stone, for any change of

concern with materials as having a theoretical context specific

materials must bring about a change of forms.’ (Viollet-le-Duc,

to a particular place, in a particular time, or was it just the

1885; as quoted in Legault, 1997: 25) For Viollet, not only are

74 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

Viollet-le-Duc’s question was in opposition to the then


architectural forms generated by the structural principle, but

they also need to be in accordance with the nature of the

artistic symbolism. Unlike Viollet-le-Duc who regarded the

materials used to make them. It is this proposition of French

imitation of a form used in one material to another as ‘un-

Rationalists that each material brings out its own ‘truthful’

truthful’ to the nature of the materials, Semper argued that

form that helped to formulate one of the most well-known

the development of architecture derived from this very process

axioms of modernist architects that new material would lead

of metaphorical transformation; only as the nature of the

to a new form of architecture.

materials is ‘translated’ can symbolic meaning emerge. Just as

‘To forget the material’: Gottfried Semper and a process of symbolisation

Both Semper and Bötticher placed a higher value on

the meaning of the word spoken in one language can be translated into another language, so too a particular symbolic meaning in architecture is transferable between different media. (fig 6)

The second distinctive idea of materials that contributed to modernist discourse belongs to the building culture of the nineteenth-century German-speaking countries. In his theory

‘Bring forth the materials’: Ruskin and Heidegger

of style, Gottfried Semper (1803-1879, fig 5) proposed that the ultimate goal of architecture is to bring out symbolism. While

The next architectural idea of materials, we now consider, was

this impulse for the symbolic is to be realised in the actual

proposed by the nineteenth-century British architectural

physicality of the work, Semper, however, argued that it is

thinker John Ruskin (1819-1900, fig 7). In The Seven Lamps

crucial to forget about the properties natural to the materials

of Architecture, Ruskin’s view of materials was that the material

in order to reach a level of symbolic creation. ‘The destruction

on its own was not active in the creation of architecture. While

of reality, of the material’, Semper said, ‘is necessary if a form

Ruskin would have agreed that different materials possess

is to emerge as a meaningful symbol, as an autonomous human

different physical properties and that no material is quite the

creation’. (2004: 439) A little further he continued:

same as another, for him, what was lacking in raw materials were intellectual thought and human labour. For Ruskin, only

Only complete technical perfection, only the judicious

by these extrinsic elements employed in the fabrication process

and proper treatment of the material according to its

can unanimated materials be rendered into a sophisticated,

properties, and above all only the consideration of these

lively object of architecture, and it is in this capacity of turn-

properties in the act of shaping form can cause the

ing ‘inert substance’ into a ‘life’ that set architecture apart from

material to be forgotten, can liberate the artistic creation

other forms of production. In The Lamp of Life, Ruskin put his

from it, can elevate even a simple landscape painting

idea as follows:

to become a high work of art. […] the appear of a work

this is especially true of all objects which bear upon

of art should make us forget the means and the mate-

them the impress of the highest order of creative life,

rials by which and through which it appears and works

that is to say, of the mind man: they become noble or

and be sufficient to itself as form – to demonstrate this

ignoble in proportion to the amount of the energy of

is the most difficult task of a theory of style. (2004, 439)

that mind which has visibly been employed upon them. But most peculiarly and imperatively does the rule hold

Semper’s rejection of the physical properties of materials

with respect to the creations of Architecture, which

is perhaps best illustrated by another German theorist, Carl

being properly capable of no other life than this, and

Bötticher, when he gave an example of stone:

being not especially composed of things pleasant in

the intention here is not to characterize the stone as dead

themselves, – as music of sweet sounds, or painting of

stone but, on the contrary, to let the dead substance of

fair colors, but of inert substance, – depend, for their

the stone fade away […] As soon as the stone is covered by

dignity and pleasurableness in the utmost degree, upon

a form analogous to its idea (i.e., an art-form), the concept

the vivid expression of the intellectual life which has

of the stone has disappeared and that of the analogue

been concerned in their production. (1865: 123)

takes its place. (as quoted in Herrmann, 1984: 143)

75 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


For Ruskin, the interest of architecture came from the

forth? We come to know about this only when we ex-

action of working upon materials. (fig 8) The emphasis on

plore what comes to the fore and is customarily spoken

‘practice’ rather than on theories, as Ruskin suggested here,

of as the making or production of works. (1975: 45)

seems to be one aspect of a difference between the British

Any raw material – ‘something lying at the

concern with materials and that of French and Germanspeaking countries.

ground of thing, something always already there’ – for Heidegger, as for Ruskin, is inert; but once it is brought forth and

If the tendency not to separate doing from thinking

made to stand for the properties it self-evidently acquires, it

was specific to British concerns with materials in the nineteenth

will be turned to become the work that has a capacity to rep-

century, it has some affinities with the philosophy of phenom-

resent the thingness of the thing, of which the work is made.

enology concerning the close relationship between idea and

As Heidegger put it, ‘to let a being be as it is’ (1975: 31) or ‘The

things. In his essay ‘The Origin of the Work of Art’, the

work lets the earth to be an earth’ (1975: 46), and it is this

philosopher Martin Heidegger (1889-1976, fig 9) made a

revelation process of the matter that Heidegger regarded as

criticism against Platonism and the tendency to make a

the art of architecture.

distinction between ideas and things that underlay Western Philosophy up to the twentieth century. Heidegger argued that these two domains must not be treated separately: To keep at a distance all the preconceptions and assaults of the above modes of thought, to leave the thing to rest in its own self, for instance, in its thing-being. What seem easier than to let a being be just the being that it is? Or does this turn out to be the most difficult of tasks, particularly if such an intention – to let a being be as it is – represents the opposite of the indifference that simply turns its back upon the being itself in favor of an unexamined concept of being? We ought to turn toward the being, think about it in regard to its being, but by means of this thinking at the same time let it

A building that well illustrates Heidegger’s idea is

Kelling Place, Norfolk, the country house designed and built by the Arts and Crafts architect Edward Prior between 1904 and 1906. (fig 10) At Kelling Place, Prior took to the extreme Ruskin’s idea of turning something worthless into something of value. To the south of the site, an area of land was excavated to the depth of six feet where materials such as gravel, flint pebbles and sand were found. Prior managed to use them as building materials for the construction of the house; gravel was used as aggregate for mass-concrete wall construction; flint pebbles as facing materials; and sand as mortar. Only relatively small quantities of brownstone, flat tiles and pantiles were imported for walling details, chimneys and decorations.

rest upon itself in its very own being. (1975: 31)

On its own, each individual piece of material in the walls of

For Heidegger, the ideas of the thing lie not in some-

in the wall, it would be to reveal it as raw and natural as when

thing that preconceives it, but in our perception of the thing

it came out of the earth, but the overall effect of the materials

and in the thing itself. Furthermore, in relation to the creation

is a lively, relentless patterning of diverse textures and colours,

of a work, Heidegger stated: ‘to create is to cause something

transcending the natural state of the materials. (fig 11) Prior’s

to emerge as a thing that has been brought forth’. (1975: 60)

handling of local materials may be regarded as an affinity with

Earlier in the text, he talked about the creation of the work in

locality and the economy of materials (Cruickshank, 1999:

relation to the materials.

42), but what turned the ‘raw matter’ lying there into an

the house does not mean much, and to remove it from its place

When a work is created, brought forth out of this

extraordinary piece of architecture is a combination of

or that work-material – stone, wood, metal, color,

architects’ determination and human labour. In this respect,

language, tone – we say also that it is made, set forth

what turned inert matter into life was ‘practice’. It is precisely

out of it. But just as the work requires a setting up in

in this sense that Prior brought forth the matters lying there

the sense of a consecrating-praising erection, because

in the ground and made them stand forth so that one can see

the work’s work-being consists in the setting up a

Kelling Place as a demonstration of Heidegger’s essay. It is here

world, so a setting forth is needed because the

in practice – something that can neither be isolated before nor

work-being of the work itself has the character of

added after, but something that plays its part through the

setting forth. The work as work, in its presencing, is

process – that essentially turns inert matter into the work of

a setting forth, a making. But what does the work set

architecture.


This brief history of materials in the 19th century, as we have

building culture to define materials according to their under-

so far considered, draws attention to the existence of differing

standing and circumstances; that is to say, material can be

views amongst architects and theorists as to the nature of

valued in a way, not necessarily the same as elsewhere.

‘material’. Each proposition is ‘right’ in its own eyes for it is

Notwithstanding, one question remains: is quality of architec-

formulated according to its existing principles and philoso-

tural work dependent on material, or independent from it?

phies. It is this basis that leaves us wide open to the debate on

This is the problem that arises in dealing with material as an

materials. It can be discussed again and again as long as

architectural theory.

building culture is still active, and it is possible for every

References (1896). “An Architectural Symposium.” The Builder (Oct 17): 307-308. Dan Cruickshank. (1999). “Material Values: E.S. Prior’s Home Place, Norfolk” The Architect’s Journal 210, 19 (November 18) Adrian Forty. (2000) Words and Buildings. London: Thames & Hudson Ltd. Martin Heidegger. (1975). “The Origin of the Work of Art.” In Poetry, Language, Thought. Translated by Albert Hofstadter. New York; Toronto: Harper & Row; Fitzhenry & Whiteside Limited. Wolfgang Herrmann. (1984). Gottfried Semper: In Search of Architecture. Cambridge, MA: MIT Press. Heinrich Hübsch; Wolfgang Herrmann. (1992). In What Style Should We Build? : The German Debate on Architectural Style. Translated by Wolfgang Herrmann. Santa Monica, Calif: Getty Center for the History of Art and the Humanities. Réjean Legault. (1997) “L’appareil De L’architecture Moderne : New Materials and Architectural Modernity in France, 1889-1934.” PhD thesis, MIT. William Lethaby. (1913). “The Architectural Treatment of Reinforced Concrete.” The Builder (Feb 7): 174-176. William Morris. (1902). “The Influence of Building Materials Upon Architecture.” In Art, Industry and Wealth. London: Longmans, Green and Co. Hermann Muthesius. (2007). The English House: In Three Volumes (1st complete English ed.) Edited by Dennis Sharp. Translated by Janet Seligman and Stewart Spencer. London: Frances Lincoln. John Ruskin. (1865). The Seven Lamps of Architecture. New York: John Wiley&Son. Gottfried Semper. (2004). Style in the Technical and Tectonic Arts, or, Practical Aesthetics. Translated by Harry Francis Mallgrave and Michael Robinson. Los Angeles: Getty Research Institute. Eugene-Emmanuel Viollet-le-Duc. (1959). Discourses on Architecture. Translated by Benjamin Bucknall. 2 vols. London: George Allen & Unwin. ———. (1855) Encyclopedie d’ Architecture 5, 6 (June 1) Richard Weston. (2003). Materials, Form and Architecture. London: Laurence King Publishing Ltd.


การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารเก่า ในประเทศไทย: จากการอนุรักษ์ สู่การปรับตัวทางสังคม เศรษฐกิจ และโจทย์ท้าทายในการออกแบบสถาปัตยกรรม

ดร.สายทิวา รามสูต

ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / archstw@ku.ac.th

บทนำ� การปรับเปลีย่ นประโยชน์ใช้สอยของอาคารเป็นกระบวนการทีค่ นื ประโยชน์ใช้สอยให้กบั อาคาร ที่มีอยู่แล้ว โดยมีการปรับปรุงทางกายภาพควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยจากที่ออกแบบ ไว้เดิม การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารในประเทศไทยถูกปฏิบัติมาตั้งแต่อดีตและเป็นที่ นิ ย มอย่ า งแพร่ ห ลายในปั จ จุ บั น เพื่ อ อนุ รั ก ษ์ ม รดกทางวั ฒ นธรรมและคุ ณ ค่ า ด้ า นต่ า งๆ ของ สถาปัตยกรรมและเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากทรัพยากรที่มีอยู่ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปฏิบัติและพัฒนาการของกระบวนการปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารเก่า ในประเทศไทยซึง่ มีทมี่ าและวัตถุประสงค์ทแี่ ตกต่างกัน โดยทบทวนและจัดกลุม่ รูปแบบของการปฏิบตั ิ พร้อมกับรวบรวมประเด็น ปัจจัย ปรากฏการณ์หรือสถานการณ์น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการปรับใช้ อาคารเก่าในแต่ละรูปแบบ ผ่านการศึกษาจากการทบทวนวรรณกรรม การสังเกตและส�ำรวจจาก สถานการณ์และกรณีศึกษาโดยสังเขป การศึกษาพบว่ารูปแบบในการปรับใช้อาคารเก่าในอดีต มักสัมพันธ์กับปัจจัยทางวัฒนธรรมและสังคม แนวคิดการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมส่งผลให้การ ปรั บ ใช้ อ าคารที่ มี คุ ณ ค่าในอดีต มัก ค�ำนึงถึงฐานานุศัก ดิ์ ข องสถาปั ตยกรรมและประวั ติศาสตร์ การใช้สอยของอาคารเดิม แต่แนวทางการปรับใช้อาคารเก่าในปัจจุบนั เปิดกว้างและท้าทายความคิด สร้างสรรค์เพือ่ ให้เกิดการตีความทีห่ ลากหลายขึน้ ในดึงศักยภาพของอาคารเก่ามาใช้ ทัง้ ประเภทและ รูปแบบของอาคารเดิม ประโยชน์ใช้สอยทีป่ รับใหม่และการออกแบบปรับปรุงทางกายภาพทีเ่ กีย่ วข้อง เพื่อจุดประสงค์ที่ไม่จ�ำกัดเฉพาะการอนุรักษ์อาคารและฟื้นฟูย่าน แต่ยังเอื้อให้เกิดปรับตัวและตอบ สนองต่อสภาวะและปัจจัยอื่นๆ ในปัจจุบัน เช่น สังคม สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารเก่าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการรักษาสมดุล ระหว่างการอนุรักษ์และพัฒนา และสามารถรองรับความต้องการที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยด้วยความ ยืดหยุ่นและความหลากหลายของการปฏิบัติ คำ�สำ�คัญ: การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอย, การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม, อาคารเก่า, การฟื้นฟู

บทคัดย่อ การพัฒนาโครงการสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาคารเก่าที่ตั้งอยู่เดิมภายในบริบทที่ตั้ง โครงการพบได้บ่อยครั้งในการปฏิบัติวิชาชีพในปัจจุบัน การปรับปรุงทางกายภาพและปรับเปลี่ยน ประโยชน์ใช้สอยเป็นแนวทางหนึ่งของการจัดการกับอาคารเดิมซึ่งเมื่อแรกเริ่มถูกออกแบบและผ่าน การใช้สอยในรูปแบบอืน่ แต่ปจั จุบนั อาจไม่ได้ถกู ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ล้าสมัยหรือไม่สอดคล้อง กับความต้องการอีกต่อไป กระบวนการนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการอนุรักษ์มรดก สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าและศักยภาพในการใช้สอย เนื่องจากข้อดีในการเก็บรักษาและยืดอายุ อาคารเดิมไว้แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์และตีความใหม่ ๆ ตามสมควร แต่ถูกน�ำมาใช้กับ อาคารร่วมสมัยที่มีสภาพความสมบูรณ์ในระดับต่างๆ แต่ถูกใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ โดยสาเหตุและจุด ประสงค์แตกต่างกันไป เช่น เพื่อตอบสนองต่อศักยภาพของอาคารและที่ต้ัง การปรับตัวตามปัจจัย แวดล้อมต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ทรัพยากรเดิมและลดการใช้ทรัพยากร ใหม่เพื่อความยั่งยืนทางสภาพแวดล้อม (Charles Bloszies, 2012) บทความนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาการปฏิบัติและพัฒนาการของกระบวนการปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารเก่าใน ประเทศไทย ที่เกิดขึ้นด้วยเหตุและเป้าหมายต่างๆ โดยจัดกลุ่มรูปแบบของการปฏิบัติที่เกิดซ�้ำๆ และ ชี้ให้เห็นประเด็น ปัจจัย ปรากฏการณ์หรือสถานการณ์น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการปรับใช้อาคารเก่า โดยไม่ลงรายละเอียดการวิเคราะห์การออกแบบเพื่อปรับปรุงอาคาร โดยศึกษาผ่านการทบทวน วรรณกรรม78 และการสังเกตและส�ำรวจจากสถานการณ์และกรณีศึกษาโดยสังเขป วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 1 : บ้าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ก่อนและหลังการซ่อมแซมและปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ (ที่มาภาพก่อนการซ่อมแซม: บริษัทแชฟ้าจำ�กัด) Image 1 : M.R. Kukrit Pramoj’s residence, before and after restoration and conversion into a house museum (Source: Chaefa Co., Ltd.)

79

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


การปรับเปลีย่ นประโยชน์ใช้สอยของอาคาร (Adaptive Reuse หรือ Adaptive Use) หมายถึง กระบวนการปรับอาคารเพื่อการใช้สอยแบบอื่นที่ต่างไปจากสิ่งที่ตั้งใจออกแบบไว้เดิม โดยจะกระท�ำ ได้ก็ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงอาคารในด้านต่างๆ (William J. Murtagh, 1997: 116) เป็นการรักษา อาคารเก่าด้วยแนวทางทางเศรษฐศาสตร์โดยการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้ใช้กลุ่มใหม่ (James Marston Fitch, 1995: 47) นับเป็นระดับของการปฏิบัติการอนุรักษ์ที่เข้าไปเปลี่ยนแปลง อาคารเดิมมากขึ้น เมื่อเทียบกับการอนุรักษ์ (Conservation) การบูรณะ (Restoration) และการ คงสภาพอาคาร (Preservation) มีค�ำศัพท์อีกหลายค�ำที่เกี่ยวข้องและใช้กับการปรับปรุงและ เปลีย่ นแปลงอาคารเก่า อาทิ Renovation, Rehabilitation, Revitalization, Adaptation, Conversion และ Repurposing แต่ทั้งหมดล้วนสื่อถึงความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงบางส่วนของอาคารเก่า เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการแบบปัจจุบันได้และพยายามให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอาคาร น้อยที่สุด (ปิ่นรัษฎ์ กาญจนัษฐิติ, 2552: 86-87) นับเป็นแนวทางหนึ่งที่แสดงรูปแบบของการอนุรักษ์ อาคารเก่าให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีชีวิตหรือมีประโยชน์ (Living heritage) แทนที่จะเป็นเพียง ซากอารยธรรมในอดีต (Dead monument) ที่ขาดความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมปัจจุบัน นอกจากนี้ การปรับเปลีย่ นประโยชน์ใช้สอยยังเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กบั อาคารหรือย่านเก่า แม้วา่ การก่อสร้างอาคารใหม่ดว้ ยการปรับใช้อาคารเก่าอาจไม่ชว่ ยลดงบประมาณเสมอไปก็ตาม และความ ส�ำเร็จในการอนุรกั ษ์คณ ุ ค่าและความแท้ของอาคารก็ขนึ้ อยูก่ บั รูปแบบการปรับปรุงอาคารแต่ละกรณี การส่งต่อเรือนเก่าตามประเพณี การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารเก่าถูกปฏิบัติในสังคมไทยมาแต่อดีต ด้วย ประเพณีความเชือ่ และความตัง้ ใจทีจ่ ะใช้ประโยชน์ทรัพยากรทีม่ อี ยูเ่ ดิมไม่ให้สญ ู เสียไป รูปแบบอาคาร ทีถ่ กู ส่งต่อและน�ำกลับมาดัดแปลงใช้ประโยชน์อกี ครัง้ ทีเ่ ห็นได้ชดั และมีหลักฐานปรากฏคือเรือนไทย หรือบ้านทรงไทย ซึ่งเป็นรูปแบบที่อยู่อาศัยพื้นฐานที่มีคุณสมบัติที่สามารถถอดเรือนเพื่อรื้อถอนไป ประกอบใหม่ได้โดยไม่เกิดความเสียหายแก่วสั ดุ เนือ่ งจากการก่อสร้างเรือนเครือ่ งสับใช้การประกอบ ชิ้นส่วนส�ำเร็จรูปเข้าเดือยไม้เพื่อยึดชิ้นส่วนองค์ประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน การย้ายต�ำแหน่งเรือนเพื่อ โยกย้ายถิน่ ฐานหรือขยายครอบครัวโดยการต่อเติมเพิม่ จ�ำนวนเรือนจึงสามารถท�ำได้งา่ ย เมือ่ เจ้าของ บ้านเสียชีวิตและไม่มีผู้อยู่อาศัยในเรือนเดิมแล้ว ลูกหลานจึงนิยมรื้อถอนบ้านเพื่อถวายให้วัดได้ใช้ เป็นประโยชน์ ส่วนหนึง่ เพือ่ เป็นการท�ำบุญให้ผตู้ าย เนือ่ งจากมีความเชือ่ ถือไม่นยิ มส่งต่อเรือนเก่าของ ผู้ตายไปให้ผู้อื่นใช้งานต่อ เรือนเก่าเหล่านี้วัดมักน�ำไปปลูกประกอบใหม่และปรับใช้ประโยชน์ตามที่ เห็นเหมาะสมซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบของเรือน ส�ำหรับเรือนขนาดเล็กมักปรับใช้เป็นกุฏิสงฆ์ หากเป็นเรือนคหบดีทมี่ ขี นาดใหญ่และมีความประณีตในการก่อสร้างอาจปรับใช้เป็นโบสถ์ วิหารหรือ หอไตร ตัวอย่างที่ยังพบอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ศาลาการเปรียญ วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร จังหวัด เพชรบุรี ซึ่งเดิมเคยเป็นต�ำหนักของเจ้าฟ้าพระขวัญ สมัยอยุธยาตอนปลาย แล้วพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือได้รื้อมาถวายพระสังฆราชแตงโม ส่วนหอพระไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ซึ่งรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่าต�ำหนักจันทน์ มีลักษณะเป็นเรือนไทยแบบแฝดติดกัน 3 หลัง ดั้งเดิมเคยเป็นต�ำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ ทรงรับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงรับสั่งให้รื้อต�ำหนักมาปลูกถวายวัดบางหว้าใหญ่ ซึ่งต่อมา คือวัดระฆังฯ และเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ จึงมีพระราชประสงค์ให้ปฏิสังขรณ์และใช้เป็นหอ พระไตรปิฎกปลูกลงกลางสระที่ขุดขึ้นใหม่ วิหารวัดพันเตา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ อาคารในวัดที่เคยเป็นหอค�ำหรือคุ้มเจ้าหลวงที่ประทับของเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ ที่ 5 ซึ่งสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง การปรับเปลี่ยนการใช้สอยของเรือนไทยเก่ายังคงเห็นอยู่จนถึงใน ปัจจุบัน คุณสมบัติทางกายภาพดั้งเดิมของเรือนไทยซึ่งที่มีความยืดหยุ่นอยู่ในตัวช่วยเอื้อต่อการปรับ เปลี่ยนอาคารได้สะดวกขึ้น (Saithiwa Ramasoot, 2008) ความเชื่อในการส่งต่อเรือนไทยเก่าที่เคย ละเว้นในอดีตลดความเคร่งครัดลงไป เนื่องจากเรือนไทยเก่ามีราคาสูงขึ้นมาก จึงเกิดธุรกิจค้าขาย เรือนเก่าหรือส่วนประกอบของเรือนเก่าของชาวบ้านเพือ่ น�ำมาซ่อมแซม ปรับปรุงและปลูกใหม่ ทัง้ การ ปรับเปลี่ยนประโยชน์ส�ำหรับรองรับกิจกรรมอื่น และการที่ยังคงใช้งานเป็นที่อยู่อาศัยแต่ปรับเปลี่ยน รูปแบบเพื่อตอบรับวิถีชีวิตการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตัวอย่างการน�ำเรือนไทยเก่ามาปรับใช้ใหม่ เช่น ต�ำหนักปลายเนินและเรือนไทยของคุณลดา รัตกสิกร ส่วนบ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (ภาพที่ 1) เป็น กรณีศกึ ษาทีแ่ สดงการปรับปรุงและปรับเปลีย่ นการใช้สอยของอาคารหลายครัง้ ให้เหมาะสมกับปัจจัย เงื่อนไขและการใช้สอยใหม่ หมู่เรือนไทยนี้เกิดมาจากการประกอบกันของเรือนเก่าที่ค่อยๆ ซื้อหามา จากต่างสถานทีแ่ ละเวลา โดยมีการปรับแต่ละเรือนให้ตอบรับกับวิถชี วี ติ ปัจจุบนั เช่น การติดตัง้ ห้องน�ำ้ 80 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


สมัยใหม่และระบบปรับอากาศ การต่อเติมห้องใต้ถนุ บ้าน โดยเฉพาะการติดตัง้ ลิฟท์เพือ่ รองรับปัญหา สุขภาพของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ต่อมาเมือ่ ท่านเสียชีวติ ทายาทจึงปรับบ้านและสถานทีอ่ กี ครัง้ หนึง่ เพือ่ เป็น พิพิธภัณฑ์บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และเปิดให้เช่าพื้นที่เพื่อจัดงาน จากวังและบ้านพักเจ้านายสู่อาคารที่ทำ�การหน่วยงานและองค์กร อาคารราชการนับเป็นประเภทอาคารใหม่ทเี่ กิดขึน้ ใหม่ในสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ วัง หรือบ้านพักของเจ้านายในอดีตมีลกั ษณะการใช้ประโยชน์เป็นทัง้ ทีท่ ำ� งานและทีอ่ ยูอ่ าศัย หรือมีพนื้ ที่ ท�ำงานและพืน้ ทีพ่ กั อาศัยอยูใ่ นบริเวณเดียวกัน ในอดีตจึงไม่เห็นหลักฐานการปรับเปลีย่ นการใช้สอย ของอาคารอย่างชัดเจน จนกระทัง่ เมือ่ หน่วยงานราชการในประเทศเพือ่ รองรับการปกครองและบริการ สมัยใหม่เพิม่ จ�ำนวนขึน้ จึงมีความจ�ำเป็นต้องสร้างอาคารขึน้ รองรับการขยายตัว ตัง้ แต่ชว่ งรัชกาลที่ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาคารปูนขนาดใหญ่ในรูปแบบตะวันตก แต่การก่อสร้างลดจ�ำนวนลงมากเมื่อเกิด ความตกต�ำ่ ทางเศรษฐกิจในช่วงรัชกาลที่ 7 ประกอบกับรัชกาลที่ 7 ไม่มที ายาทจึงท�ำให้วงั จ�ำนวนมาก ว่างลง และเกิดการปรับใช้ประโยชน์ของวังและบ้านพักเจ้านายเหล่านัน้ ซึง่ ถือเป็นทรัพย์สนิ ของราชการ เพื่อสาธารณประโยชน์ ตัวอย่างเช่น วังสวนสุนันทาซึ่งเป็นเขตพระราชฐานของพระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่ายในได้ถกู ใช้เป็นโรงเรียน และเมือ่ หลังการเปลีย่ นแปลงการปกครองจึงถูกทิง้ ร้างก่อนทีอ่ าคารสถาน ทีจ่ ะถูกใช้เป็นทีต่ งั้ ของโรงเรียนสวนสุนนั ทาวิทยาลัยซึง่ กลายมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนนั ทา ตามล�ำดับ ในกรณีของวังบางขุนพรหม ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อตกเป็นของรัฐบาลหลังการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง หลายอาคารได้ถูกใช้เป็นกรมยุวชนทหารบก สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ และ เป็นทีท่ �ำการของธนาคารแห่งประเทศไทยตัง้ แต่ พ.ศ. 2488 จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระราชวังพญาไท ซึ่ง แรกเริ่มเป็นวังในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้รับการขยายเป็นพระราชวังในรัชกาลที่ 6 แต่ในรัชกาลต่อมา ได้โปรดให้ปรับปรุงเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งส�ำหรับชาวต่างประเทศและเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุกระจาย เสียงแห่งแรกของไทย จนเลิกกิจการโรงแรมวังพญาไทเมือ่ ปี พ.ศ. 2475 และรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทาน วังนี้ให้กลายโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในปัจจุบัน (ภาพที่ 2) นอกจากนี้ ยังพบกรณีของบ้านคหบดี หลายแห่งซึง่ ถูกขายหรือให้เช่าแก่รฐั บาลหรือองค์กรต่างๆเพือ่ ใช้เป็นทีท่ ำ� การหรือประโยชน์สาธารณะ เช่น บ้านมนังคศิลา ซึ่งดั้งเดิมเคยเป็นบ้านของพระยาอุดมราชภักดี แต่ต่อมาได้ถูกปรับใช้สอยใน หลายรูปแบบ ตัง้ แต่การใช้เป็นบ้านพักรับรองอาคันตุกะของรัฐบาล ทีป่ ระชุม ทีท่ ำ� การพรรคการเมือง และถูกใช้เป็นส�ำนักงานของสภาสตรีแห่งชาติจนถึงปัจจุบัน วังพระอาทิตย์หรือบ้านพระอาทิตย์ เคยเป็นบ้านของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวังในสมัยรัชกาลที่ 7 เคยถูกเช่าใช้เป็น ที่ท�ำการของสถาบันเกอเธ่ ต่อมาได้ขายให้กับเอกชนและใช้เป็นส�ำนักงานใหญ่ของหนังสือพิมพ์ ผูจ้ ดั การ บ้านนรสิงห์หรือตึกไทยคูฟ่ า้ ซึง่ ใช้เป็นท�ำเนียบรัฐบาลและสถานทีร่ บั รองแขกบ้านแขกเมืองนัน้

ภาพที่ 2 : วังพญาไทซึ่งปัจจุบันเป็นที่ต้ังของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า Image 2 : Phyathai Palace and present-day Phramongkutklao Hospital

81 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ดั้งเดิมเป็นบ้านพระราชทานแก่พลเอกเจ้าพระยารามราฆพก่อนที่จะขายให้แก่รัฐบาลไทย ส่วน ธนาคารไทยพาณิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) สาขาเพชรบุรี เดิมเป็นบ้านของมหาอ�ำมาตย์โทพระยามหินทร เดชานุวัตน์ก่อนที่ธนาคารจะขอซื้อมาใช้เป็นที่ท�ำการตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 พิพิธภัณฑ์ในอาคารโบราณสถาน การให้ความส�ำคัญกับฐานานุศกั ดิข์ องโบราณสถานมีผลต่อแนวทางและรูปแบบการอนุรกั ษ์ อาคารเก่าในประเทศไทย โบราณสถานส่วนใหญ่ทเี่ ป็นอาคารถาวรและยังหลงเหลืออยูม่ กั เป็นอาคาร ทางศาสนา พระราชวังหรืออาคารทีม่ ีความเกีย่ วข้องกับบุคคลส�ำคัญหรือประวัตศิ าสตร์ การปรับปรุง อาคารเพื่อประโยชน์ใช้สอยใหม่ไม่เป็นเพียงแค่การปฏิบัติการอนุรักษ์ทางกายภาพแต่มีแนวคิดโดย ทั่วไปว่าจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงความเหมาะสมด้านรูปลักษณ์และความหมายของอาคารเดิม (ปิ่นรัษฎ์ กาญจนัษฐิติ, 2552: 95) และแสดงความเคารพต่อศาสนา บุคคลหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ นัน้ ๆอย่างเหมาะสม ทัง้ ประโยชน์ใช้สอยใหม่และรูปแบบการปรับปรุงทางกายภาพ นอกจากนีโ้ บราณ สถานจ�ำนวนมากยังอยู่ในการครอบครองดูแลโดยหน่วยงานราชการหรือองค์กรท้องถิ่น เมื่อเกิด แนวคิดน�ำโบราณสถานกลับมาใช้ประโยชน์อกี ครัง้ จึงมักปรับใช้ในรูปแบบทีป่ ระนีประนอม ใกล้เคียง กั บ ประโยชน์ ใ ช้ ส อยเดิ ม หรื อ ปรั บ ใช้ เ ป็ น อาคารราชการหรื อ อาคารสาธารณะที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเป็นที่ท�ำการของหน่วยงานและเป็น พิพธิ ภัณฑ์ ไม่วา่ จะเป็นพิพธิ ภัณฑ์ทเี่ กีย่ วข้องกับบุคคลหรืออาคารเดิมโดยตรง หรือพิพธิ ภัณฑ์ทเี่ กีย่ ว กับที่ตั้งหรือหน่วยงานที่ครอบครอง จากการส�ำรวจพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จ�ำนวน 41 แห่ง ที่อยู่ใน ความดูแลของกรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2547 พบว่ามีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ปรับใช้โบราณสถาน ซึง่ อยูใ่ นความดูแลของกรมศิลปากรเป็นอาคารพิพธิ ภัณฑสถานจ�ำนวน 13 แห่ง ประกอบด้วยโบราณ สถานที่เป็นวัง ศาลากลางเก่าหรือที่ท�ำการ บ้านพักเจ้านายหรือจวนผู้ว่า โรงช้างและวัด ตัวอย่างเช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (เดิมเป็นอาคารโรงกษาปณ์สิทธิการ) และพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติ น่าน (เดิมเป็นหอค�ำซึง่ เป็นคุม้ ของเจ้าผูค้ รองนครน่านและเคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน) การ ปรับเปลีย่ นการใช้สอยของโบราณสถานในลักษณะนีต้ อ้ งมีการซ่อมแซมและปรับปรุงอาคารให้สมั พันธ์ กับการใช้สอยใหม่เป็นพิพธิ ภัณฑ์ แม้จะมีขอ้ ดีจากการประหยัดค่าก่อสร้าง ได้สงวนรักษาโบราณสถาน และได้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ก็มีข้อจ�ำกัดในการติดตั้ง อุปกรณ์และงานระบบอาคารทีจ่ ำ� เป็น ขนาดพืน้ ทีแ่ ละระบบการสัญจรอาจไม่สมั พันธ์กบั การจัดแสดง และมักมีปญ ั หาเกีย่ วกับความชืน้ น�ำ้ หนักบรรทุกของวัตถุจดั แสดงและผูช้ มจ�ำนวนมาก และหน้าต่าง เดิมที่อาจไม่สอดคล้องกับการจัดแสดง (กรมศิลปากร, 2547: 274-275)

ภาพที่ 3 : พิพิธภัณฑ์บางลำ�ภู Image 3 : Pipit Banglamphu Museum

82 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


การปรับปรุงอาคารเก่าเป็นพิพิธภัณฑ์และอาคารสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรม ยังคงมีการปฏิบัติอยู่ต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์อาคารเก่าที่มีคุณค่าและหลีกเลี่ยงการรื้อถอน อาคารเมือ่ ไม่เห็นความคุม้ ค่าหรือประโยชน์ในปัจจุบนั การปรับเปลีย่ นอาคารเป็นพิพธิ ภัณฑ์ ศูนย์การ เรียนรูห้ รืออาคารนิทรรศการทีเ่ กิดขึน้ ใหม่ในระยะหลังยังคงอยูภ่ ายใต้การดูแลของหน่วยงานราชการ เป็นส่วนใหญ่ แต่มักมีความร่วมสมัยมากขึ้นทั้งในรูปแบบของการปรับปรุงอาคารทางกายภาพ การ จัดแสดงนิทรรศการ และการด�ำเนินการก�ำหนดประโยชน์ใช้สอยหลักและกิจกรรมหมุนเวียนเพือ่ ดึงดูด กลุม่ เป้าหมายให้มาเยีย่ มชมซ�ำ ้ ตัวอย่างเช่น หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ (เดิมเป็นศาลาว่าการมณฑล พายัพ และศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่) มิวเซียมสยาม (เดิมเป็นอาคารกระทรวงพาณิชย์) พิพธิ ภัณฑ์ ศิริราชพิมุขสถาน (เดิมเป็นอาคารสถานีรถไฟธนบุรี) พิพิธบางล�ำพู (เดิมเป็นอาคารโรงพิมพ์คุรุสภา, ภาพที่ 3) พิพิธภัณฑ์เหรียญ (เดิมเป็นอาคารส�ำนักบริหารเงินตรา กรมธนารักษ์) พิพิธภัณฑ์ต�ำรวจ (ต�ำหนักจิตรลดา วังปารุสกวัน) พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (วังบางขุนพรหม) พิพิธภัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั (เดิมเป็นห้างและกรมโยธาธิการ) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC กรุงเทพฯ (ส่วนหนึ่งของอาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก, ภาพที่ 4) ศูนย์การเรียนรู้ธนาคาร แห่งประเทศไทย (เดิมเป็นโรงพิมพ์ธนบัตร, ภาพที่ 5) และการปรับใช้อาคารริมถนนราชด�ำเนินกลาง หลายอาคารเพื่ อ ตอบรั บ แผนพั ฒ นาพื้ น ที่ บ ริ เ วณถนนราชด� ำ เนิ น กลางและแผนอนุ รั ก ษ์ เ กาะ รัตนโกสินทร์ ได้แก่ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ หอศิลป์ร่วมสมัยราชด�ำเนิน และหอสมุดกรุงเทพมหานคร การปรับใช้อาคารอนุรกั ษ์เหล่านีน้ อกจากจะสร้างประโยชน์ใช้สอยในปัจจุบนั แก่อาคารเก่าแล้วยังเปิด โอกาสให้สาธารณะได้ชมสถาปัตยกรรมในระยะใกล้และได้เรียนรูค้ ณ ุ ค่าของอาคารอนุรกั ษ์ทเี่ ก็บรักษา ไว้อีกด้วย

ภาพที่ 4 : ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ TCDC

ภาพที่ 5 : ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย

Image 4 : TCDC Bangkok

Image 5 : Bank of Thailand Learning Center

ที่พักทางเลือกเพื่อรองรับธุรกิจการท่องเที่ยว ความรุ่งเรืองของกระแสการท่องเที่ยวทางเลือกที่พยายามฉีกตัวออกจากความจ�ำเจของ กระแสหลักด้วยการสร้างประสบการณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างออกไปแก่นักท่องเที่ยวช่วยกระตุ้น กระบวนการปรับเปลีย่ นประโยชน์ใช้สอยของอาคารเก่าเป็นอย่างมากในช่วง 10-15 ปีทผี่ า่ นมา อาคาร อนุรักษ์หรืออาคารโบราณที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ลดหลั่นกันไป และอาคาร ร่วมสมัยซึ่งผ่านการใช้งานแล้วแต่มีลักษณะทางกายภาพที่มีศักยภาพในการปรับเปลี่ยนให้รองรับ การใช้สอยใหม่ โดยเฉพาะอาคารพาณิชย์หรือตึกแถว ถูกปรับเปลี่ยนการใช้สอยและรูปแบบให้เป็น โรงแรมที่พักในระดับและลักษณะต่างๆกัน ตั้งแต่โรงแรมบูติค (Boutique Hotels) หลายระดับ เพื่อ รองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism) และที่พักแบบโฮสเทล (Hostels) เพื่อรองรับ การท่องเที่ยวแบบประหยัด (Low-cost Tourism) ที่พักทางเลือกเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ทีม่ จี ำ� นวนห้องพักไม่มากนัก เจ้าของหรือพนักงานจ�ำนวนจ�ำกัดสามารถบริการผูเ้ ข้าพักได้ใกล้ชดิ และ 83 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ดูแลอาคารสถานที่ได้อย่างสะดวก แม้จะมีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกบางอย่างไม่ครบครันเท่าโรงแรม ขนาดใหญ่กต็ าม การออกกฎกระทรวงกาํ หนดลักษณะอาคารประเภทอืน่ ทีใ่ ช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2559 ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2552 ชี้ให้เห็นถึงความแพร่หลายของการปรับ ใช้อาคารประเภทอื่นมาประกอบธุรกิจโรงแรม เพื่อให้สามารถขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารเพื่อ ประกอบธุรกิจโรงแรมได้อย่างถูกต้อง

ภาพที่ 6 : บ้านนพวงศ์ Image 6 : Baan Noppawong

ภาพที่ 7 : โรงแรมพระยาพาลาซโซ่ Image 7 : Praya Palazzo

84 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


การปรับเปลีย่ นการใช้สอยบ้านและอาคารเก่าขนาดเล็กทรงคุณค่าเป็นโรงแรมขนาดเล็กนับ เป็นแนวทางร่วมระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนาที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย การปรับเปลี่ยนเป็น โรงแรมช่วยต่อชีวิตอาคารให้ได้มีอายุยืนนานขึ้น ได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีและถูก กลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง สร้างโอกาสให้อาคารเหล่านั้นได้เปิดเผยตนเองออกสู่สาธารณะให้ได้รับ ความชื่นชมคุณค่าที่มากับอายุและคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละอาคาร รวมทั้งประวัติและรูปแบบ อาคาร และในขณะเดียวกันก็สร้างรายได้แก่ธุรกิจผ่านประโยชน์ใช้สอยนั้นด้วยศักยภาพและคุณค่า ของอาคารทีอ่ าจทดแทนไม่ได้ดว้ ยสิง่ ก่อสร้างใหม่ เพือ่ ใช้สว่ นหนึง่ เป็นทุนในการบูรณะและบ�ำรุงรักษา อาคารให้คงอยูส่ บื ต่อไปด้วย ทัง้ นี้ แม้รายได้ทมี่ าจากธุรกิจโรงแรมเพียงอย่างเดียวนัน้ ยากทีจ่ ะคืนทุน ที่ใช้ในการบูรณะและบ�ำรุงรักษาอาคารเก่าในกรณีที่สภาพอาคารเดิมทรุดโทรมมาก แต่การคืน ประโยชน์ใช้สอยให้กบั อาคารช่วยสร้างชีวติ ให้แก่สถานทีแ่ ละเป็นการชะลอการช�ำรุดเสือ่ มสภาพและ ปัญหาเพิ่มเติมของอาคารจากการทิ้งร้างเป็นระยะเวลานาน โรงแรมบูติคในอาคารเก่าเหล่านี้มีส่วน ในการถ่ายทอดประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแก่ผู้ใช้บริการ ผ่านลักษณะทางกายภาพ การสื่อสาร ข้อมูล การบริการและการออกแบบสือ่ ต่างๆทีเ่ กีย่ วข้อง (Saithiwa Ramasoot, 2014) โดยมักผ่านการ ปรับเปลีย่ นทางกายภาพของอาคาร ประกอบด้วยการบูรณะให้แข็งแรงและอยูใ่ นสภาพดี การต่อเติม และเปลี่ยนแปลงอาคารในระดับต่างๆ หรือการสร้างอาคารเพิ่ม นอกจากนี้ พบว่าการอนุรักษ์อาคาร เก่ามีความซับซ้อนขึ้นเมื่อต้องปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับแผนธุรกิจ รวมทั้งความสะดวกสบาย ปลอดภัย ความเป็นอาคารสาธารณะและมาตรฐานต่างๆของทีพ่ กั นักท่องเทีย่ ว ซึง่ อาจลดทอนคุณค่าของอาคาร เดิมในองค์รวมลงได้หากมีการออกแบบและจัดการอย่างไม่เหมาะสม ในขณะเดียวกันก็ถอื เป็นความ ท้าทายต่อความคิดสร้างสรรค์ของผู้ออกแบบเพื่อการอนุรักษ์อาคารที่จะรักษาความแท้ของอาคาร เดิมไว้ให้ได้มากที่สุด อาคารเก่าที่ถูกปรับเป็นที่พักขนาดเล็กส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่พบมีทั้งอาคารไม้ อาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ และอาคารก่ออิฐถือปูน ซึ่งมักมีรูปแบบหรือมีวัสดุและรายละเอียดอาคารที่ หาได้ยากหรือแตกต่างไปจากอาคารที่ก่อสร้างในปัจจุบัน ตัวอย่างโรงแรมที่เดิมเป็นบ้านพักอาศัย แบบบ้านเดี่ยว เช่น โรงแรมบ้านพระนนท์ บ้านดินสอโฮสเทล โรงแรมบ้านนพวงศ์ (ภาพที่ 6) โรงแรม พระยาพาลาซโซ่ (ภาพที่ 7) โรงแรมบ้าน ๒๔๕๙ และโรงแรมบ้านใน โรงแรมที่เดิมเป็นบ้านพักอาศัย แบบเรือนแถว เช่น เดอะภูธรเบดแอนด์เบรคฟาสต์ ดิอัษฎางค์เบดแอนด์เบรคฟาสต์ 1905 Heritage Corner และ Here Hostel เป็นต้น โดยท�ำเล อายุและลักษณะของอาคารโบราณมักมีผลต่อการก�ำหนด ระดับและรูปแบบของธุรกิจและการตั้งระดับราคาค่าห้องพัก ที่พักบางแห่งอาจมีที่ตั้งเข้าถึงได้ยาก หรือสภาพแวดล้อมไม่ดีนัก แม้จะอยู่ในย่านท�ำเลที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว แต่อาศัยคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์และเสน่ห์เฉพาะตัวของสถาปัตยกรรมเก่าช่วยดึงดูดและสร้างประสบการณ์เฉพาะตัว ให้แก่ผู้เข้าพัก การปรับเปลี่ยนการใช้สอยอย่างเหมาะสมจึงนับเป็นวิธีการเพิ่มโอกาสการอนุรักษ์ ให้แก่อาคารเก่าทีม่ ขี นาดและระดับความส�ำคัญลดหลัน่ ลงมาแต่มคี ณ ุ ค่าในตัวเองให้บคุ คลหรือเอกชน กลุม่ เล็กๆ ได้เข้ามาด�ำเนินการอนุรกั ษ์ได้เอง ในหลายกรณีการปรับเปลีย่ นอาคารเก่าในสภาพแวดล้อม ของชุมชนเดิมยังช่วยดึงนักท่องเทีย่ วเข้ามารูจ้ กั สถานทีแ่ ละสร้างรายได้ให้แก่ชมุ ชนด้วยกิจกรรมต่างๆ ตัวอย่างน่าสนใจคือ โรงแรมพระยาพาลาซโซ่ (สร้างในปี พ.ศ. 2466 เดิมเป็นบ้านคหบดีและเคยถูก ปรับใช้เป็นอาคารเรียน) ซึง่ ตัง้ อยูร่ มิ แม่นำ�้ เจ้าพระยาฝัง่ ธนบุรแี ละมีขอ้ จ�ำกัดในการเข้าถึงด้วยรถยนต์ แต่สามารถพลิกเอาข้อจ�ำกัดของการเข้าถึงโรงแรมด้วยเรือข้ามฟากเท่านั้นให้เป็นจุดเด่นเพื่อเน้น บรรยากาศเงียบสงบผ่อนคลายแตกต่างจากพื้นที่ย่านท่องเที่ยวข้างเคียงและสร้างประสบการณ์ การย้อนกลับสู่อดีตด้วยที่ตั้งและสถาปัตยกรรม การปรับเปลี่ยนอาคารเดิมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวอีกประเภทหนึ่งที่พบมากคือโฮสเทลที่ ปรับจากอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวสมัยใหม่ กรณีนอี้ าคารเดิมเป็นอาคารร่วมสมัยทีอ่ าจไม่ได้มคี ณ ุ ค่า ทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ แต่ยังคงมีศักยภาพทางเศรษฐกิจในตัวเองด้วยโครงสร้างและ ท�ำเลทีต่ งั้ ของอาคารซึง่ ท�ำให้ประหยัดการลงทุนไม่ตอ้ งสร้างอาคารใหม่และพัฒนาธุรกิจได้รวดเร็วขึน้ อาคารพาณิชย์มรี ปู แบบผังอาคารแคบลึกและโครงสร้างลักษณะตารางกริดเท่าๆกัน จึงมีความยืดหยุน่ ส�ำหรับการปรับเปลีย่ นพืน้ ทีแ่ ละใช้สอยให้เหมาะกับกิจกรรมต่างๆ อยูแ่ ล้ว โดยเฉพาะเมือ่ มีพนื้ ทีห่ ลาย คูหายาวต่อเนื่องกัน ช่วง 5 ปีที่ผ่านมานับเป็นยุครุ่งเรืองของโฮสเทลในตึกแถว มีการปรับอาคาร พาณิชย์เป็นที่พักนักท่องเที่ยวราคาประหยัดจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะตึกแถวในท�ำเลที่ตั้งที่สะดวกต่อ การคมนาคม ใกล้สถานีรถไฟฟ้าและสถานีรถไฟใต้ดนิ และย่านใกล้แหล่งท่องเทีย่ วหรือย่านเศรษฐกิจ เช่นเกาะรัตนโกสินทร์ การปรับเปลี่ยนอาคารพาณิชย์ท่ีมีรูปแบบเป็นมาตรฐานเป็นโจทย์ท้าทายการ ออกแบบที่จะสร้างเอกลักษณ์หรือจุดเด่นของโรงแรมด้วยการออกแบบปรับปรุงอาคารที่ไม่ซ�้ำกับ คู่แข่งที่มีแนวทางธุรกิจใกล้เคียงกัน โดยมักแสดงผ่านการออกแบบรูปด้านด้านหน้า (facade) พื้นที่ ส่วนกลาง ผังพืน้ และการตกแต่งห้องพักและห้องน�ำ ้ ทัง้ นี้ พบว่าบางกรณีศกึ ษาของโฮสเทลในอาคาร พาณิชย์กล้าที่จะท้าทายการออกแบบปรับปรุงอาคารเพื่อสร้าง space ที่โดดเด่นโดยไม่ยึดติดกับ 85

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ตารางกริดของผังและโครงสร้างเดิม ตัวอย่างกรณีศึกษาที่น่าสนใจคือ Thrive the Hostel และ Lub D บางกอก สีลม โฮสเทล นอกจากนีย้ งั มีกรณีศกึ ษาทีก่ ารปรับปรุงอาคารประเภทอืน่ เป็นโรงแรมขนาด เล็ก เช่น โรงแรม J No.14 ย่านเจริญนครซึ่งปรับมาจากอาคารโรงเจ และ Prince Theatre Heritage Hotel ย่านบางรักซึ่งปรับใช้โรงภาพยนตร์แบบเดี่ยว (Stand Alone) เป็นห้องพักและโถงกิจกรรม ศักยภาพของอาคารเก่าในย่านธุรกิจ เมื่อพื้นที่ที่เคยเป็นย่านพักอาศัยบริเวณชานเมืองในอดีตได้รับผลกระทบจากการขยายตัว ของเมืองและการพัฒนาเศรษฐกิจตามยุคสมัยจนศูนย์กลางของเมืองค่อยๆเบียดตัวเข้ามา จนย่าน พักอาศัยเปลี่ยนบทบาทไปกลายเป็นย่านธุรกิจการค้า อาคารบ้านเรือนเก่าที่ตั้งอยู่ในย่านเดิมจึงได้ รับผลกระทบไปด้วยทั้งทางบวกและลบเนื่องจากที่ดินมีมูลค่าพุ่งสูงขึ้นมากและเป็นที่ต้องการในการ พัฒนาธุรกิจ อาคารโบราณทรงคุณค่าทีม่ ตี น้ ทุนในการอนุรกั ษ์อาคารสูงจึงเสีย่ งต่อการถูกรือ้ ทิง้ ไปเมือ่ มีการซื้อขายเปลี่ยนมือของเจ้าของที่ดินเพื่อพัฒนาเป็นโครงการที่มีรูปแบบสอดคล้องกับการใช้ ประโยชน์ของบริบท โดยเฉพาะการพัฒนาเป็นอาคารสูงทีม่ ลี กั ษณะทันสมัยและมีความหนาแน่นของ การใช้ที่ดินสูงขึ้น อาคารหลายแห่งจึงปรับตัวตอบรับความนิยมและศักยภาพทางธุรกิจของย่าน โดย การปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์เพื่อตอบสนองธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อใช้โอกาสจากท�ำเลที่ตั้งและสร้าง รายได้ ทั้งที่ด�ำเนินการเองและให้เช่าสถานที่ เช่นการปรับเปลี่ยนเป็นร้านอาหาร สปาหรือส�ำนักงาน โดยมั ก ใช้ ป ระโยชน์ จ ากรูปแบบของสถาปัต ยกรรมที่มี เ อกลั กษณ์ ส่ ง เสริ มการประกอบกิ จ การ ปรากฏการณ์นี้เห็นได้มากในย่านสาธร สีลมและสุรวงศ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานทูตหลายแห่ง เคยเป็น ย่านบ้านพักอาศัยของชาวต่างประเทศและตระกูลเก่าแก่ โดยมากเป็นอาคารโคโลเนียลทีไ่ ด้รบั อิทธิพล ต่างชาติ โดยเฉพาะเรือนทีต่ กแต่งด้วยไม้ฉลุทเี่ รียกว่าเรือนขนมปังขิง ซึง่ ถือเป็นตัวอย่างของบ้านเรือน ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา น่าเสียดายที่บ้านเก่าทรงคุณค่าเหล่านี้ลดจ�ำนวนลงไปมากใน ปัจจุบนั เนือ่ งจากไม่อาจต้านทานต่อกระแสธุรกิจได้ แต่การปรับเปลีย่ นประโยชน์ใช้สอยก็ยงั สามารถ ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์หลายอาคารไว้ กรณีศึกษาที่ส�ำคัญคืออาคารโคโลเนียลริมถนนสาทรใต้ ซึ่ง ดัง้ เดิมเมือ่ แรกสร้างในปี พ.ศ. 2466 คือห้างสรรพสินค้าบอมเบย์ ใช้เป็นส�ำนักงานของหอการค้าไทยจีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 และเคยอยู่ในภาวะทรุดโทรมจนเกิดกระแสเรียกร้องให้เกิดการอนุรักษ์อาคาร ต่อต้านการรือ้ ถอนอาคารเพือ่ พัฒนาทีด่ นิ ด้านหน้าอาคารไทยซีซี จนกระทัง่ ปี พ.ศ. 2545 จึงได้เปิดใช้ งานอีกครั้งเป็นโรงเรียนสอนท�ำอาหารและร้านอาหารไทย Blue Elephant จนถึงปัจจุบัน (ภาพที่ 8)

ภาพที่ 8 :อาคารหอการค้าไทย-จีน ก่อนจะถูกปรับปรุงเป็นร้าน Blue Elephant (ที่มา: ภูวดล สุวรรณดี. (2539). “เก็บอาคารเก่าเข้าสุสาน บทพิสูจน์รสนิยมใหม่กับคุณค่ามรดกไทย” ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 มกราคม 2539, หน้า 85. Image 8 : The Thai Chine Building, before restoration and conversion into Blue Elephant restaurant (Source: Phuwadol Suwandee)

86 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ส่วนในกรณีของบ้านสาทรหรือบ้านหลวงสาทรราชายุกต์ ซึง่ สร้างขึน้ ราวปี พ.ศ. 2432-2433 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นโรงแรมรอแยลหรือโรงแรมไทยแลนด์ และใช้เป็นที่ท�ำการ สถานเอกอัครราชทูตสหภาพแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ระหว่างปี พ.ศ. 2491-2542 ปัจจุบัน บ้านสาทรถูกปรับปรุงเป็นร้านอาหารหรูและบาร์ในชื่อ The House on Sathorn ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ โรงแรมดับเบิลยู กรุงเทพ นอกจากนี้ การปรับใช้บ้านเก่าเพื่อการพาณิชย์ยังพบโดยทั่วไปตามย่านที่ อยูอ่ าศัยเดิมในพืน้ ทีส่ ว่ นอืน่ ๆ ของกรุงเทพมหานคร ซึง่ กลายเป็นย่านการค้าในปัจจุบนั เช่น ย่านซอย อารีย์ (พหลโยธิน) ย่านเพชรบุรีและย่านสุขุมวิท ทั้งบนถนนหลักและซอยย่อยต่างๆ โดยยังคงเป็น ธุรกิจขนาดเล็กทีร่ องรับจ�ำนวนผูใ้ ช้ตามขนาดของอาคารและขนาดทีด่ นิ ทีต่ อ้ งรองรับจ�ำนวนทีจ่ อดรถ อย่างเหมาะสมกับการใช้งาน ส่วนมากเป็นบ้านไม้ บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้หรือบ้านปูน 2 ชั้น ในรูปแบบ สากลหรือได้รับอิทธิพลจากตะวันตก โดยเฉพาะผลงานจากสถาปนิกไทยที่ได้รับการศึกษาจากยุโรป ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งอยู่ในช่วงปรับทดลองการสร้างสถาปัตยกรรมหลากหลาย รูปแบบทีเ่ หมาะสมกับประเทศไทยมากขึน้ มีลกั ษณะเฉพาะตัว การปรับเปลีย่ นการใช้สอยของอาคาร เพือ่ ใช้ประโยชน์ยนื ยาวขึน้ จึงถือเป็นการอนุรกั ษ์หลักฐานของพัฒนาการสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ไปด้วยในตัว การปรับตัวรองรับสภาพเศรษฐกิจ การปรับเปลีย่ นประโยชน์ใช้สอยถูกน�ำมาใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทยกับอาคารทัว่ ไป โดยไม่จำ� เป็นต้องมีจดุ ประสงค์ในการอนุรกั ษ์สถาปัตยกรรม แต่เป็นเหตุจากความจ�ำเป็นและการเล็ง เห็นคุณค่าทางเศรษฐกิจของอาคารเก่า เมื่อประเทศไทยประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 หลังการพุง่ สูงของเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษก่อนหน้านัน้ วงการสถาปัตยกรรมไทยได้รบั ผลกระ ทบโดยตรงท�ำให้โครงการก่อสร้างจ�ำนวนมากยุตกิ ารด�ำเนินงาน โครงการทีย่ งั ไม่ได้เริม่ ต้นการก่อสร้าง ถูกระงับและเกิดอาคารจ�ำนวนมากที่ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ จากการส�ำรวจของงานวิจัยสถาปัตยกรรม หลัง พ.ศ. 2540 (ศาสตราจารย์กิตติคุณ ผุสดี ทิพทัส และคณะ, 2553) พบว่าในช่วงวิกฤตการณ์และ ช่วงคาบเกีย่ วก่อนและหลังวิกฤตการณ์นนั้ มีงานประเภทปรับปรุงเปลีย่ นแปลงอาคารเดิมในปริมาณ เพิม่ ขึน้ จากการพิจารณาว่าทางออกทีป่ ระหยัดกว่าการก่อสร้างอาคารใหม่ โดยยังคงด�ำเนินการภาย ใต้งบประมาณที่จ�ำกัด มีทั้งการปรับรูปโฉมภายนอกและการปรับพื้นที่ภายในอาคารเพื่อบรรยากาศ และภาพลักษณ์ใหม่ของกิจการ ในจ�ำนวนนีม้ โี ครงการทีต่ อ้ งปรับเปลีย่ นรูปแบบและประโยชน์ใช้สอย ให้เข้ากับความต้องการทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมการบริโภคและลักษณะการใช้บริการทีเ่ ปลีย่ นไป เช่น กรณีของโรงภาพยนตร์เมเจอร์ รามค�ำแหง ทีเ่ ป็นการปรับเปลีย่ นประโยชน์ใช้สอยของโรงเล่นสเกตมา เป็นโรงภาพยนตร์มลั ติเพล็กซ์ตามความนิยมของยุคสมัย ซึง่ ครอบคลุมการปรับปรุงอาคารทัง้ ภายนอก และภายใน เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในช่วงถัดมา การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารจึงถูกน�ำ มาใช้เป็นแนวทางจัดการกับโครงสร้างอาคารร้าง ทั้งที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จและก่อสร้างองค์ประกอบ หลักเสร็จสมบูรณ์แล้วแต่ไม่ได้ถกู เข้าใช้งานเนือ่ งจากแผนธุรกิจเดิมถูกยุตถิ าวรหรือระงับขัว่ คราว การ เปลี่ยนแปลงทางธุรกิจในมือของเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารใหม่น�ำมาสู่การปรับรายละเอียด โครงการ (Programming) ของอาคารเดิมทีถ่ กู พิจารณาและตรวจสอบแก้ไขอีกครัง้ เพือ่ ปรับให้เหมาะ สมกับสภาพเศรษฐกิจ ตลาด พฤติกรรมการบริโภคและแนวคิดทางธุรกิจการลงทุนที่เปลี่ยนไป โดย เฉพาะมีการค�ำนึงถึงความสัมพันธ์กบั ทีต่ งั้ และความสอดคล้องกับรูปแบบของอาคารทีถ่ กู ด�ำเนินการ สร้างไปแล้วก่อนจะหยุดชะงัก ทัง้ การวางผังอาคาร โครงสร้างและงานระบบทีเ่ กีย่ วข้อง บางกรณีเกิด การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยข้ามประเภทอาคาร (Building Type) เช่นจากอาคารพักอาศัยรวม ไปเป็นอาคารส�ำนักงาน หรือจากบ้านพักอาศัยเป็นส�ำนักงานขนาดเล็ก ทัง้ นี้ การปรับเปลีย่ นประโยชน์ ใช้สอยของอาคารเดิมไม่เพียงแต่ต้องการการปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยภายในที่สอดคล้องกับการใช้งาน ใหม่ แต่ยงั ต้องการการปรับรูปโฉมภายนอกและภายในอาคารทีส่ อดคล้องกับรูปแบบการใช้สอย กลุม่ เป้าหมายและยุคสมัยอีกด้วย ในขณะเดียวกัน เมื่อธุรกิจฟื้นตัวและต้องการพื้นที่รองรับการด�ำเนิน ธุรกิจต่างๆเพิม่ ขึน้ การปรับใช้อาคารทีว่ า่ งอยูจ่ งึ เป็นทางเลือกทีน่ า่ สนใจทีแ่ สดงความเป็นไปได้ในการ พัฒนาโครงการธุรกิจที่ยังไม่มีที่ดินก�ำหนดไว้ เนื่องจากการลงทุนด้านการเงินและเวลาที่นับว่าน้อย กว่าการเริม่ ต้นการออกแบบและก่อสร้างอาคารใหม่ แม้จะจ�ำเป็นต้องเผชิญกับข้อจ�ำกัดทางโครงสร้าง พื้นที่ใช้สอยและกระบวนการด�ำเนินงานที่เพิ่มขั้นตอนและซับซ้อนขึ้น เช่น การค้นคว้ารวบรวมข้อมูล เกีย่ วกับอาคารเดิม และการส�ำรวจและวินจิ ฉัยสภาพอาคาร อย่างไรก็ตาม หลายโครงการใช้ประโยชน์ ทางอ้อมจากคุณสมบัตขิ องอาคารเก่าทีก่ อ่ สร้างในอดีต จึงสามารถหลีกเลีย่ งข้อจ�ำกัดในการก่อสร้าง 87 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


เนือ่ งจากบังคับหรือกฎหมายอาคารบางประการทีอ่ อกบังคับใช้หลังจากปีทกี่ อ่ สร้างอาคาร เช่น ขนาด อาคาร ระยะความสูงและระยะถอยร่นที่เข้มงวดขึ้น ทั้งนี้ การใช้สอยและรูปแบบของอาคารที่ถูก ปรับปรุงใหม่ยงั คงอยูภ่ ายใต้กฎหมายการก่อสร้างทีว่ า่ ด้วยการดัดแปลงและต่อเติมอาคาร โดยเฉพาะ อาคารที่อยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ ความท้าทายในการออกแบบปรับปรุงอาคารและการกำ�หนดประโยชน์ใช้สอยใหม่ การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยอาคารเก่าในต่างประเทศมีความหลากหลายท้าทายความ คิดสร้างสรรค์ขึ้นในระยะหลังทั้งการพัฒนารายละเอียดโครงการ (Programming) ที่เหมาะสมและ การออกแบบปรับปรุงอาคารที่ไม่ยึดติดกับกรอบ และเปิดกว้างต่อการตีความการออกแบบรอยต่อ ของความสัมพันธ์ระหว่างความเก่าและใหม่ในสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะมีจุดประสงค์หลักเพื่อการ อนุรกั ษ์ประวัตศิ าสตร์ของอาคารหรือเพือ่ ประโยชน์ทางอืน่ ๆ เช่น ผลทางเศรษฐกิจหรือความยัง่ ยืนของ ทรัพยากรก็ตาม โครงการจ�ำนวนมากเป็นผลงานของสถาปนิกชื่อดัง เช่น Tate Modern ในลอนดอน โดย Herzog & de Meuron, Punta della Dogana Museum ในเวนิซ โดย Tadao Ando, Contemporary Jewish Museum ในซานฟรานซิสโก โดย Daniel Libeskind และ Danish National Maritime Museum ในเดนมาร์ค โดย Bjarke Ingels Group (BIG) การปรับใช้อาคารเก่าด้วยการใช้สอยรูป แบบใหม่ในประเทศไทยเองก็แพร่หลายยิ่งขึ้นในระยะหลังอย่างเห็นได้ชัด จนกลายเป็นกระแสความ นิยมในการพัฒนาโครงการใหม่ๆ การเชือ่ มโยงประเด็นความเก่าแก่ของอาคารเก่ากับการใช้สอยทีส่ อื่ ถึงประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรมลดความเคร่งครัดลงไป แต่เริ่มมีตัวอย่างการปรับใช้อาคารเก่าที่น�ำ เสนอรูปแบบทีม่ อี สิ ระ ไม่จำ� เป็นต้องใช้เป็นพิพธิ ภัณฑ์หรือสิง่ ทีเ่ กีย่ วข้องสัมพันธ์กบั ประวัตอิ าคารหรือ การใช้สอยเดิมโดยตรงเสมอไป แม้จะยังไม่ปรากฏการปรับการใช้สอยทีอ่ าจเสีย่ งต่อการเกิดความขัด แย้งทางความเชือ่ โดยเฉพาะเมือ่ ใช้กบั อาคารทางศาสนา ดังทีเ่ ห็นตัวอย่างในต่างประเทศในการปรับ เปลีย่ นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ทไี่ ม่ได้ใช้งานให้เป็นบ้านพักอาศัย ส�ำนักงาน ร้านหนังสือ ลานสเก็ตหรือ สถานบันเทิง นอกเหนือจากการปรับอาคารเก่าเป็นโรงแรมเพื่อรองรับกระแสการท่องเที่ยวดังที่ได้ กล่าวมาแล้ว เราจึงได้เห็นความหลากหลายของการปรับเปลี่ยนอาคารเก่าเพื่อประโยชน์ใช้สอยใหม่ ทีห่ ลากหลายขึน้ มาก ทัง้ ประเภทหรือรูปแบบอาคารดัง้ เดิม ประโยชน์ใช้สอยทีถ่ กู ปรับเปลีย่ นใหม่ และ การตีความเกี่ยวกับการอนุรักษ์ผ่านแนวทางการออกแบบที่น�ำเสนอซึ่งมีความทันสมัยเป็นปัจจุบัน ตอบรับกับพฤติกรรมและกิจกรรมของคนรุ่นใหม่ยิ่งขึ้น เห็นได้ว่าโครงการจ�ำนวนมากมีเอกชนเป็น เจ้าของหรือผู้ด�ำเนินการ บ่งชี้ถึงการพัฒนาโครงการออกแบบเชิงอนุรักษ์ที่ขยายขอบเขตไปมากกว่า โครงการในรับผิดชอบของรัฐ และแสดงการเปิดกว้างของการท�ำงานออกแบบทีเ่ กีย่ วข้องกับการบูรณะ และปรับใช้อาคารเก่าจากที่เคยด�ำเนินการโดยสถาปนิกนักอนุรักษ์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็น หลักขยายไปสู่สถาปนิกนักออกแบบทั่วไป ในบางกรณีการปรับการใช้สอยอาคารเก่าเป็นส่วนส�ำคัญ ของการฟื้นฟูและพัฒนาย่านชุมชนเก่า เช่น ย่านซอยนานา เยาวราช ซึ่งต้องด�ำเนินการด้วยความ ระมัดระวังเพราะอาจเสี่ยงต่อผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยและเอกลักษณ์ของชุมชนเดิมหากมีระดับและ ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่ขาดสมดุลหรือความเหมาะสมไป การน�ำเอาอาคารประเภทอุตสาหกรรมเช่นโรงงานหรือโกดังเก่ามาปรับใช้เป็นอาคารสาธารณะ เชิงพาณิชย์เกิดขึน้ เป็นจ�ำนวนมากจนเริม่ กลายเป็นเทรนด์ในระยะ 5 ปีทผี่ า่ นมา เบิกทางโดยโครงการ Asiatique ซึ่งปรับจากโกดังเก่าริมแม่น�้ำเจ้าพระยาของบริษัทอีสต์เอเชียติกเป็นศูนย์การค้าแบบเปิด เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และโครงการ The Jam Factory (ภาพที่ 9) ซึ่งเดิมเป็นโรงงานถ่ายไฟฉาย และโรงงานน�ำ้ แข็งมาปรับใช้เป็นโครงการผสมผสานทีป่ ระกอบด้วยร้านอาหาร แกลเลอรี่ ร้านหนังสือ ร้านกาแฟ ร้านเฟอร์นิเจอร์และส�ำนักงานสถาปนิก โดยที่การปรับปรุงอาคารยังพยายามรักษา เอกลักษณ์ของรูปแบบโรงงานเดิม ตัวอย่างการปรับใช้อาคารอุตสาหกรรมแห่งอืน่ ๆ ได้แก่ ร้านอาหาร Vivarium (เดิมเป็นโรงเก็บรถแทรคเตอร์) และร้านกาแฟ The Plantation ในโครงการ The Pud Garden (เดิมเป็นอาคารโรงงานเย็บผ้า) กรณีศึกษาที่น่าสนใจอีกแห่งคือการปรับใช้พื้นที่อู่ต่อเรือของบริษัท อู่กรุงเทพ จ�ำกัด เพื่อเป็นสถานที่จัดงาน The Great Outdoor Market ในปี พ.ศ. 2557 และ 2558 (ภาพที่ 10) โดยใช้พื้นที่ทั้งบริเวณอาคารโกดังและบริเวณ Dry dock แม้จะเป็นโครงการ event ใน ลักษณะการออกร้านในบูธทีต่ ดิ ตัง้ ชัว่ คราวและการจัดกิจกรรมบันเทิงทีบ่ ริเวณโดยรอบ แต่นบั เป็นการ แสดงศักยภาพของสถานที่และเสนอความเป็นไปได้ในการปรับใช้ประโยชน์ของสิ่งก่อสร้างเดิม รวม ทัง้ เป็นการสร้างโอกาสให้คนทัว่ ไปได้เข้าชมสถานทีซ่ งึ่ อาจเข้าถึงยากในเวลาปกติ ในช่วงปี พ.ศ. 2560 มีโครงการสาธารณะทีป่ รับเปลีย่ นจากอาคารอุตสาหกรรมทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั เปิดด�ำเนินการหลายแห่ง แสดง ความนิยมของตลาดและความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการลักษณะเดียวกัน เป็นต้นว่า โครงการ Warehouse 30 ย่านเจริญกรุง ซึง่ ปรับเปลีย่ นโกดังเป็นร้านค้าและพืน้ ทีส่ ร้างสรรค์ตา่ งๆ และโครงการ Yelo House88ย่านปทุมวัน (ภาพที่ 11) ซึง่ เปลีย่ นโรงพิมพ์เก่าเป็นแกลเลอรีแ่ ละพืน้ ทีก่ จิ กรรมสร้างสรรค์ วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 9 : โครงการ The Jam Factory Image 9 : The Jam Factory

ภาพที่ 10 : การปรับใช้พื้นที่อู่ต่อเรือของบริษัทอู่กรุงเทพ จำ�กัด เพื่อเป็นสถานที่จัดงาน The Great Outdoor Market ในปี พ.ศ. 2557 และ 2558 Image 10 : The Great Outdoor Market @ Bangkok Dock 2015

สังเกตได้ว่าการปรับอาคารเหล่านี้พยายามรักษาและน�ำเสนอรูปแบบพื้นที่และโครงสร้างเหล็กของ อาคารอุตสาหกรรมไว้โดยไม่ปกปิดหรือแต่งเติมมาก นอกจากนี้ ยังมีโครงการล้ง 1919 ย่านคลองสาน (ภาพที่ 12) ซึ่ ง ในสมั ย รั ช กาลที่ 4 เคยเป็ น ท่ า เรื อ กลไฟและโกดั ง เก่ า ซึ่ ง นั บ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-จีน ปัจจุบันได้รับบูรณะและปรับเปลี่ยนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์แก่สาธารณะ ประกอบด้วย ร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่เอนกประสงค์และพื้นที่กิจกรรมเชิงศิลป วัฒนธรรม โครงการเหล่านี้ถือเป็นการคืนชีวิตอาคารในแง่ของประโยชน์ใช้สอย แต่หากจะพิจารณา ในแง่มุมของการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและมรดกทางวัฒนธรรม จ�ำเป็นต้องพิจารณาในรายละเอียด และในระยะยาวถึงความถูกต้องเหมาะสมของกระบวนการอนุรักษ์และผลส�ำเร็จที่ได้รับอย่างยั่งยืน ในแต่ละกรณี 89

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 11 : โครงการ Yelo House ย่านปทุมวัน Image 11 : YELO House

ภาพที่ 12 : โครงการล้ง 1919 ย่านคลองสาน Image 12 : Lhong 1919

การส่งเสริมและเผยแพร่เกี่ยวกับการปรับใช้อาคาร ความแพร่หลายและนิยมของการปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารเก่าถูกยืนยันด้วย องค์ประกอบต่างๆที่ถูกพัฒนามาส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงเพื่อใช้สอยอาคาร เก่าโดยตรงหรือสนับสนุนทางอ้อมในหลายลักษณะ น่าสังเกตว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 รางวัล สถาปัตยกรรมดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์เพิ่มประเภทรางวัลส�ำหรับ โครงการปรับปรุงอาคารเดิม ซึ่งไม่จ�ำกัดว่าอาคารที่ได้รับการเสนอชื่อต้องเป็นอาคารที่มีคุณค่าทาง ประวัตศิ าสตร์ โครงการได้รบั รางวัลทีผ่ า่ นมา ได้แก่ Thrive the Hostel (จากอาคารพาณิชย์เป็นโฮสเทล) The Jam Factory (จากโรงงานเป็นโครงการ mixed-use) บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี 90 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


(จากบ้านเป็นเรือนพักแรม) และ Siri House (จากอาคารพาณิชย์เป็นบ้านส�ำหรับครอบครัวขยายและ ส�ำนักงาน) ส่วนอาคารทีไ่ ด้รบั รางวัลอนุรกั ษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นของสมาคมฯ จ�ำนวนมากก็เป็นอาคาร ทีไ่ ด้รบั การปรับปรุงและปรับเปลีย่ นให้เกิดการใช้ประโยชน์ตอ่ เนือ่ งในปัจจุบนั ซึง่ น่าจะเป็นปัจจัยหนึง่ ที่บ่งชี้ความส�ำเร็จและความยั่งยืนของกระบวนการอนุรักษ์ การมอบรางวัล Thailand Boutique Awards 2010 แก่โรงแรมบูติกขนาดเล็กก็ได้จัดหมวดรางวัลประเภทการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง สถาปัตยกรรมทีม่ อี ยู่ (Renovation & Modification) แยกไว้ตา่ งหากจากธีมทัว่ ไป ส่วนการมอบรางวัล สถาปัตยกรรมนานาชาติบางสถาบัน เช่น AR New into Old awards โดยนิตยสาร The Architectural Review ก็มงุ่ สนับสนุนโครงการการปรับเปลีย่ นประโยชน์ใช้สอยอย่างสร้างสรรค์ (Creative Adaptive Reuse) โดยเฉพาะเช่นกัน นอกจากนี้ ยังน่าสนใจว่าสื่อหรือสังคมออนไลน์อาจมีส่วนช่วยสร้างความ คุน้ เคยและความนิยมในการปรับใช้อาคารเก่า การเขียนบทความรีววิ งานปรับปรุงอาคารเพือ่ รูปลักษณ์ และปรับใช้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่ผา่ น Webboard, บล็อก (Weblog) หรือ facebook ทัง้ กับโครงการ อาคารที่พักอาศัยและอาคารสาธารณะอาจมีส่วนเผยแพร่และกระตุ้นความสนใจของคนทั่วไปใน วงกว้างให้เห็นศักยภาพของอาคารเดิมที่ผ่านการใช้ประโยชน์มาแล้ว และเห็นข้อดีของการปรับใช้ อาคารเหล่านั้นในแง่ของการลงทุน การใช้สอยและการรักษาประวัติศาสตร์และคุณค่าด้านอื่นๆ ของอาคาร บทสรุป: จากอดีตสู่อนาคตของการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์อาคารเก่า การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคาร (Adaptive Reuse หรือ Adaptive Use) เป็น กระบวนการที่คืนประโยชน์ใช้สอยให้แก่อาคารเก่าในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่ออกแบบไว้แต่แรก เริ่มและได้รับการปรับปรุงทางกายภาพควบคู่กันไป นับว่าเป็นการฟื้นคืนชีวิตให้แก่อาคารเก่า ไม่ว่า จะใช้กับโบราณสถานหรืออาคารร่วมสมัยโดยทั่วไปที่ผ่านการใช้งานมาก่อนก็ตาม โดยมีจุดประสงค์ เพื่อใช้ประโยชน์ตามศักยภาพ ส่งเสริมและรักษาคุณค่าของอาคาร ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ สถาปัตยกรรม สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจและทรัพยากร การปรับเปลีย่ นประโยชน์ใช้สอยของอาคาร เก่าที่พบในประเทศไทยมีทั้งเพื่อเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและเพื่อประโยชน์ อาคารที่มีอยู่แล้วให้คุ้มค่า สะดวกหรือประหยัดเมื่อเทียบกับการออกแบบก่อสร้างอาคารใหม่ ส่วน หนึง่ เพือ่ สร้างรายได้และเป็นทุนในการบูรณะและบ�ำรุงรักษาอาคารด้วย การปรับใช้อาคารเก่าในอดีต พบได้ในกรณีของการบริจาคเรือนไทยที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยแล้วให้แก่วัดตามประเพณีหรือถอดรื้อเพื่อไป ประกอบใหม่ในที่ตั้งอื่น การเปลี่ยนการใช้สอยของวังและบ้านเจ้านายมาเป็นสถานที่ราชการหรือ ทีท่ ำ� การองค์กร แนวคิดการอนุรกั ษ์โดยการปรับเปลีย่ นการใช้สอยในอดีตมักค�ำนึงถึงฐานานุศกั ดิข์ อง สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์และการใช้สอยเดิมของอาคาร จึงมักปรับใช้โบราณสถานเป็น พิพิธภัณฑ์หรือหน่วยงานราชการเป็นหลัก แต่แนวคิดการอนุรักษ์และวิถีชีวิตสมัยใหม่เปิดกว้างการ ตีความมากขึ้น จึงได้เห็นการปรับใช้อาคารเก่าเพื่อเป็นอาคารสาธารณะและอาคารเชิงพาณิชย์ ในลักษณะต่างๆ และจ�ำนวนมากเป็นการด�ำเนินการโดยเอกชน เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม กิจการ ขนาดเล็ก หลายกรณีเกิดจากสาเหตุของการปรับตัวตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม แต่ในระยะหลัง การปรับใช้อาคารเก่ามีความหลากหลายขึ้น โดยเฉพาะการปรับใช้อาคารอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน และโกดังที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว เพื่อรองรับกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและรสนิยมของคนร่วมสมัย แม้วา่ โครงการปรับเปลีย่ นการใช้สอยของอาคารเก่านัน้ จะด�ำเนินการเพือ่ ปิดบังซากของความล้มเหลว ที่ผ่านมาหรือเพื่อเก็บรักษามรดกทางวัฒนธรรมและระลึกถึงความรุ่งเรืองในอดีตก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ ว่าเป็นทางออกที่น่าสนใจเพื่อส่งเสริมหรือแก้ปัญหาของโครงการและรองรับความต้องการที่เปลี่ยน ไปตามยุคสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง และถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายผู้ครอบครองอาคารและ สถาปนิกในการพัฒนาโครงการและออกแบบปรับปรุงอย่างเหมาะสมเพือ่ ให้สามารถแสดงคุณค่าและ ศักยภาพของสถาปัตยกรรมได้สงู ทีส่ ดุ และยังสามารถรักษาความสมดุลระหว่างการอนุรกั ษ์และพัฒนา

91 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


Adaptive Reuse of Old Buildings in Thailand: From Conservation to Adaptation to Socio-Economic Situations and Architectural Design Challenges Saithiwa Ramasoot, Ph.D

Department of Architecture, Faculty of Architecture, Kasetsart University / archstw@ku.ac.th

Abstract

Adaptive reuse is a process of returning an active use to an existing building, which usually involves varying physical

modifications along with an introduction of new functions different from its original design. Thailand has seen the practice long before recent extensive implementations as an approach to preserve cultural heritage and architectural values as well as to generate economic benefits from available resources. This article aims to study development of adaptive reuse of old buildings in Thailand with diverse causes and objectives. It reviews and analyzes patterns of the practices over time, while identifying issues, factors, phenomena and situations related to building conversions through literature review, observation and survey of situations and case studies. The study points out that functional adaptation in the past usually involved cultural and social factors. Architectural hierarchy related to social ranking, history, building owners and original uses was often considered in conservative adaptations of historical artifacts. However, more recent approaches tend to open for creative challenges and welcome design interpretations to promote contemporary potential of old buildings. The broad and diverse implementations include varying types and characteristics of buildings to convert, new uses to introduce, and related physical interventions. Conversion purposes no longer limit to architectural conservation and urban regeneration, but extend to adapt and respond to present conditions including social, environmental, economic and tourism issues. Adaptive reuse is then considered an interesting approach to retain a good balance between conservation and development, while responding to changing needs and contexts due to the flexibility and diversity of the implementations. Keywords: Adaptive reuse, architectural conservation, old buildings, rehabilitation

Introduction

The development of architectural projects that involve

literature review, and observation and survey of situations and case studies.

old or existing buildings within site contexts is common in

today’s practice. Functional conversion with physical improve-

converting a building to another use different from its original

ment is among interventions introduced to old buildings that are

design, which often requires varying alterations in the conver-

originally designed and used for other purposes but may no

sion process. (William J. Murtagh, 1997: 116) It is an economic

longer fully meet present needs and tastes. Such intervention

approach to save the buildings through adaptations for new

preserves architectural heritage with values and functional

users (James Marston Fitch, 1995: 47) sometimes involving

potential by prolonging its life through interpretation and

radical interventions when compared to conservation, restoration

physical changes. It is also applied to contemporary buildings

and preservation. Apart from adaptive reuse, several other terms

in various conditions in order to serve building and site poten-

are widely used when it comes to modifications to improve old

tials, respond to specific issues and express creativity in utilizing

structures, including Renovation, Rehabilitation, Revitalization,

existing resources and reducing consumption of new resources

Adaptation, Conversion and Repurposing. All of which refer to

for environmental sustainability. (Charles Bloszies, 2012) This

attempts to change parts of old buildings to support present-day

article thus aims to study development of adaptive reuse of old

needs with minimal physical changes to the buildings. (Pinraj

buildings in Thailand that is diversely implemented with

Khanjanusthiti, 2009: 86-87) Such process is another approach

different causes and objectives. It analyzes patterns of adaptive

to safeguard old buildings as a useful living heritage rather than

reuse practices over time and points out issues, factors, phenomena

the so-called dead monument of the past that lacks linkage to

or interesting situations related to building conversions through

contemporary cultures. The change of use provides economic

92 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

Adaptive Reuse or Adaptive Use refers to the process of


conversion does not necessarily reduce construction cost. Also,

From Royal Palaces and Noble Residences to Governmental Offices

the success of preservation of value and authenticity of the old

artifacts may differ depending on actual implementations in

type in the Thai society during the Rattanakosin Period. Since

each case.

palaces in the past acted as both residence and work place for

opportunities for old structures or districts, although the

A governmental office was considered a new building

royalties and high-ranking officials, there was no apparent

Transfers of Old Houses by Tradition

evidence of functional and spatial conversions. Not until the

Functional conversion of old buildings have long been

reign of King Rama IV did a number of new governmental

practiced in Thailand due to tradition, belief and purpose to

buildings emerge to accommodate newly-established offices

make use of existing resources. A common building type that

and sectors for updated administrative systems and services.

transfers and adapts to a new use is the traditional Thai house,

Most of which were built in large western-style concrete struc-

as confirmed by various existing examples. The Thai house is

tures. The constructions then slowed down again during the

a basic dwelling type that can be dismantled and reassembled

reign of King Rama VII owing to the economic regression and

without any damage due to the prefabricated structure and

the political change. The ownership of a number of palaces

wood joinery techniques. Therefore, house relocation and

was transferred to the Government due to a lack of successors

family expansion that require changes and addition of house

or by confiscation. The vacant palaces and royal residences

units can be accommodated. In the past, when the original

were then repurposed for public uses. For example, Suan

house owner passed away and his successors refused to take

Sunandha Palace which was a residential compound and a

over the house, the house may be dissembled and donated to

part of King Rama V’s Dusit Palace was reused after the

a temple as merit making for the deceased. The temple would

political revolution for educational purposes as Suan Sunandha

then rebuild and adapt the structure as it is deemed appropri-

Widhyalai School, Suan Sunandha Teachers College and Suan

ate, depending on its size and qualities. Small houses were

Sunandha Rajabhat University consecutively. In the case of

often reused as monks’ dwelling units while larger or more

Bang Khun Phrom Palace, the former western-style royal

elegant houses were sometimes converted into ordination halls,

residence served as the site of several governmental offices

Vihara or scripture halls. Existing examples are the Sermon

after the 1932 revolution such as Department of Military Youth

Hall at Wat Yai Suwannaram in Petchaburi, the Scripture Hall

and National Council of Cultural Affairs. Since 1945, Bang

at Wat Rakhang Kositaram in Bangkok, and the Vihara of Wat

Khun Phrom Palace has become the headquarters of the Bank

Pantao in Chiangmai. The adaptive reuse of the traditional

of Thailand. Originally the Royal Palace in the reign of King

Thai house is still in practice today while the traditional beliefs

Rama V and VI, Phyathai Palace was converted into an inter-

regarding house transfer in the past are not as strict as before.

national hotel by the order of King Rama VII and was also the

Adaptable physical characteristics of the traditional Thai house

site of the first Thai radio broadcast station. To utilize the

architecture greatly facilitate its adaptation. (Saithiwa

property for public purposes, King Rama VII changed it again

Ramasoot, 2008) The value of old Thai houses has increased

as a clinic for the Royal Thai Army which later became

with the rising trend to reuse the structure and the emergence

Phramongkutklao Hospital. Apart from royal palaces, a number

of specialized businesses that restore, customize and resell

of noble residences in the past were sold or rented by the

previously-used Thai houses for contemporary uses, whether

Government and organizations as offices and public facilities.

or not for residential purposes. Distinct examples of traditional

For example, the western-influenced Ban Manangasila, once

Thai houses adapted for contemporary domestic lifestyles

a residence of Phraya Udomratchapakdi, had been converted

include Plainern Palace and Lada Ratkasikorn’s residence. In

to serve different purposes over time, including a guesthouse

the case of M.R. Kukrit Pramoj’s residence, each house units

for VIPs and official visitors of the Government, a meeting

in the compound had individual acquisition stories from

space, a political party office and presently the Office of the

different places and times. Not only is the house notable for

National Council of Women of Thailand. Chao Phraya Wora-

modern modifications to achieve comfort and convenience

pongpipat’s residence, now Ban Phra Arthit, had been rented

such as the installations of an elevator, a modern bathroom

as a office of Goethe Institute before it was sold and used as

and air-conditioning system, but also for its second major

the headquarter of The Manager Newspaper. The Italian-

conservation and conversion into a house museum and rental

designed Royal Thai Government House Office, widely known

event space after M.R. Kukrit’s death.

as Thai-Khu-Fah Building, is another adaptive reuse case study


which was formerly Ban Norasingha, a family residence of

design, as well as main and temporary programming to attract

Chao Phraya Ramrakop before being purchased by the

repeated visits. Notable examples are Chiang Mai City Arts

Government since 1941. The Petchburi Branch Office of Siam

and Cultural Center (formerly Chiang Mai City Hall), Museum

Commercial Bank also demonstrates an attempt to save a

Siam (formerly the Ministry of Commerce), Siraraj Bimuksthan

historic noble residence by introducing a new active purpose

Museum (formerly Thonburi Railway Station), Pipit Banglamphu

accessible by the public.

Museum (formerly Khuru Sapha Printing House, figure 3), Coin Museum (formerly Treasury Department office), Police

Museums in Historic Buildings

Museum (Parutsakawan Palace), Bank of Thailand Museum

The hierarchical importance of historic buildings has

(Bangkhunphrom Palace), King Prajadhipok Museum (pre-

an effect on selecting the right conservation approaches to

viously a store and the Public Works Department), Thailand

implement. Most existing buildings with historical values are

Creative & Design Center (a part of Grand Postal Office, figure

permanent religious buildings, palaces or architecture direct-

4), Bank of Thailand Learning Center (formerly Note Printing

ly related to important figures and history. Transformation for

Works, figure 5), and the adaptations of buildings along

new uses is then not only for physical conservation but also it

Ratchadamnoen Klang Road following conservation policies

is necessary to consider appropriate protection of the original

and master plan of Rattanakosin Island including Rattanakosin

characteristics and meanings. (Pinraj Khanjanusthiti, 2009:

Exhibition Hall, Ratchadamnoen Cultural Arts Center, and

95) Accordingly, the interventions should respect religious

Bangkok City Library. Such adaptive reuse projects not only

beliefs, historical persons or events through appropriate uses

revive old structures through contemporary uses but also allow

and physical alterations. As most historic monuments are

the public to experience and learn about the historic buildings

under supervision of governmental sectors or local adminis-

from a closer distance.

trations, bringing back functional purposes of such properties original uses. A common pattern is to repurpose historic

Alternative Accommodations for Tourism Business

buildings as public facilities related to history, art or culture,

especially as museums directly involving important figures,

tourists with unique experiences different from the mainstream

buildings, sites or the property owners. A 2004 research survey

tourism business contributed to the restoration and adaptive

on 41 national museums under the supervision of Fine Arts

reuse of historic buildings in the past 10-15 years. Old buildings

Department pointed out that 13 museums have been adapted

with a range of historic and architectural values as well as

from historic buildings, including palaces, city halls, residences

previously-occupied contemporary buildings with remaining

of high-ranking officials, elephant hospitals and temples. Such

functional potentials, especially shop houses, have been con-

conversions require building restoration and renovation to

verted into tourist accommodations in a variety of levels of

serve a new function as a museum. Regardless of benefits from

comfort, luxury and characteristics. Such alternative accom-

reduced construction cost, protection of monuments and

modations, including boutique hotels to support cultural

historic ambience, the interventions must deal with limitations

tourism and hostels to support low-cost tourism, are frequently

from installation of necessary equipment and building systems,

small-scale businesses with a limited number of guest rooms.

humidity, additional load from display and visitors, as well as

While supporting facilities may not be as fulfilling as standard

size, circulation and original openings that may not be com-

hotels, the model enables owners to foster closer relationships

patible with the displays. (The Fine Arts Department, 2004:

and specialized services to guests. The enactment of ministe-

274-275)

rial regulations concerning the use of other building types for

tends to adopt compromising approaches compatible with

The growth of alternative tourism that wishes to offer

hotel business in 2016 points out the expanded implementation

Conversions of old buildings into museums and public

facilities related to art and culture are widely implemented in

of building adaptation for hotel businesses in order to apply for the legal permission for the practice.

order to preserve old artifacts and prevent possible demolition due to a lack of present economic roles. Most of the recent

The adaptive use of houses and small-scale buildings

adaptive reuse projects such as museums, learning centers and

with value as small hotels shows an integrated approach

exhibitions are under governmental sectors, but usually

between conservation and development with mutual benefits.

become more up to date in terms of physical alterations, display

The conversion into accommodations prolongs the life of old


buildings through restoration and repurpose, giving oppor-

tunities to express themselves to the public to admire values

accommodations is contemporary shop houses turned into

that come with age and particular qualities, including history

hostels. Regardless of a lack of historical and architectural

and physical characteristics. At the same time, the new use

value, the economic potential of the existing structure and

generates business income through the old artifacts’ potentials

location helps reduce construction cost and speeds up both

and values irreplaceable by new structures, partly to support

construction and business procedures. The typical long and

conservation and maintenance expenses for their sustenance.

narrow grid structure of shop houses provide flexibility for

Even though income from hotel business alone may not be

spatial and functional adaptation, especially when joining

enough to cover the high cost of restorations and maintenance

multiple units together. The past 5 years have been a booming

in some complicated cases, returning active functional roles

period for shop house hostels for budget travelers, in particular

to the buildings somehow slows down deterioration and

those in convenient locations easily accessible from mass

additional problems from long-term abandonment. Boutique

transit or close to tourist or commercial districts. To create an

hotels in old buildings encourage transfers of history and

identity distinct from business competitors, hostel adaptations

culture to visitors through physical characteristics, commu-

usually pay attention to facade design, shared spaces, and plan

nications, service and related media designs. (Saithiwa Ramasoot,

and decoration of rooms and shared restrooms. Some case

2014) Most projects involve different levels of treatments from

studies challenge adaptation design with spaces that run free

conservation and restoration, to additions, multi-level

from the grid structure of typical shop houses, such as Thrive

physical transformations and infill. It is found that conservation

the Hostel and Lub D Bangkok Silom Hostel. Apart from shop

of old buildings become more complicated in order to support

houses, there are small tourist accommodations converted

business plan, comfort and convenience, security, and standards

from other building types, for example J No.14 Lodge (for-

for public buildings and tourist accommodations. The require-

merly vegetarian cafeteria) and Prince Theatre Heritage Hotel

ments may risk compromising the original value of the artifacts

(formerly a stand-alone movie theatre).

if not handled appropriately, but also challenge design creativity

Another familiar pattern of adaptive reuse as tourist

to preserve authenticity of the historic fabric. Case studies

Potential of Old Building in Business Districts

show small-scale old buildings in different types adapted as

tourist accommodations. Examples of converted single houses

economic potential of several old residential areas in the city

are Baan Pranond, Baan Dinso Hostel, Baan Noppawong

and gradually cause their transformation as a response to

(Figure 6), Praya Palazzo, Baan 2459 and Baannai the Reminiscence

commercial purposes. Existing buildings in old districts receive

Hotel. Examples of converted row houses or shop houses are

both positive and negative impacts from increasing land value.

the Bhuthorn Bed and Breakfast, the Assadang Bed and

Historic buildings with a high cost of conservation and main-

Breakfast, 1905 Heritage Corner and Here Hostel. Location,

tenance are at risk for demolition when it comes to changes

age and qualities of the historic buildings play an important

of land ownership and strong needs for property development

part on the hotel business approach as well as type, level and

to meet commercial value of the context, especially tall

room rate of the accommodations. In many cases, historical

buildings with updated images and higher density of use.

value and special architectural characteristics may compensate

However, several property owners were able to foresee emerg-

for limited facilities, difficult access and undesirable context

ing opportunities and chose to adapt to new trends and busi-

to create unique experiences for visitors. Appropriate adaptation

ness potentials of the locations in order to gain benefits and

thus provides conservation opportunities for old structures

income via building conversion to be businesses in which

with ranging sizes and importance to be protected by individuals

operation is done by themselves or through space rental by a

and private parties. Adaptive reuse projects in old communities

third party. Common adaptation patterns are small businesses

may also attract tourists to come and learn about less known

like restaurants, spas and offices that usually make use of

locations and generate income through local activities. Praya

special architectural qualities to support images and uniqueness

Palazzo Boutique Hotel (built in 1923 as noble residence and

of the new uses. A number of examples can be seen in Sathorn,

previously used as a school)is a unique case study that turns

Silom and Surawong Road areas that were locations for

limited access by boat across the Chaophraya River to a dis-

embassies and residential area for diplomats, foreigners and

tinctive feature with a quiet ambience and nostalgic experience

old families. Most converted buildings are western-influenced

through both architectural heritage and settings.

colonial residences, especially houses with delicately carved

Urbanization and economic development increase the


wooden ornaments also known as Ginger Bread Houses.

consumption behavior and service needs. For example, the

Although such conversions encourage building conservation

Major Cineplex Ramkhamhaeng was a result of building

and have revived active functional roles of a number of heritage

conversion from an indoor skate park which covered inclusive

buildings, many have lost the economic battle resulted in

physical alterations.

demolition for new constructions. For example, the Thai Chine Building on Sathorn Road, originally built in 1903 the Bombay

Department Store and later the headquarters of Thai Chinese

was widely implemented again as an approach to deal with

Chamber of Commerce since 1930, survived the risk for

abandoned structures, unfinished and finished yet unoccupied

demolition and reopened as the Blue Elephant Cooking School

constructions due to change of the business plan or project

and Restaurant since 2002 after extensive restoration. (Figure

suspension. Business transfer to new owners and proprietors

8) The House on Sathorn, originally a residence of Luang

frequently led to the adjustment or revision of building pro-

Sathorn Racha Yutka, experienced several transformations

gramming in harmony with current economic conditions,

including a conversion into the Hotel Royal, the Embassy of

market, consumption behavior and trends of business and

the Soviet Union, and later the Russian Federation. After an

investments. The new uses tended to consider the relationship

extensive renovation, it was reinvented as an upscale restaurant

of the locations and conformation with original building

owned and operated by the adjacent W Bangkok. Adaptations

qualities, including planning, structure and related building

of old houses for commercial uses are widely seen in several

systems. Many cases showed adaptive uses from one building

residential turned commercial areas in Bangkok along both

type to another, for example, from housing to office buildings,

main roads and substreets (Sois), for example Soi Aree (Pha-

or from houses to small offices. Not only did such adaptive

honyothin), Petchburi and Sukhumvit areas. The size and type

reuse projects require interior spaces to fit new functions, but

of functional changes usually depend on property size that

also exterior and interior appearances in accordance with new

must support occupancy and required parking spaces. The

programming, targets and period. When businesses restarted

cases are mostly wood or masonry houses in modern or

following the economic recovery, reuse of existing vacant

western-influenced designs, in particular houses by the first

buildings was considered an interesting alternative for space

generation of Thai architects after their graduation from

demands without prior fixed locations. Lower financial and

Europe to explore designs appropriate for the Thai context.

time investment were major advantages when compared to

The adaptive reuse projects thus encouraged the prolonged

designing and constructing a new building from the start,

use of such residential buildings that also act as important

regardless of structural and spatial limitations as well as more

empirical evidence of the architectural development in Thailand.

complicated procedures, including research on the old building,

Adaptation for Economic Conditions

When the economy started to recover, adaptive reuse

and structural survey and evaluation. Several projects also indirectly benefited from reuse of existing structures to avoid

Adaptive reuse has also been adopted in a wider range

certain newer building regulations and laws enforced after

of buildings in Thailand without restriction to conservation

original construction, for example, building size, height and

projects but rather as a result of necessity and remaining eco-

setback dimensions. However, use and qualities of renovated

nomic value of previously-occupied buildings. When Thailand

buildings must still comply with building laws on modifications

encountered the economic breakdown in 1997, the Thai

and additions, especially buildings within conservation and

architectural profession and construction businesses were

restricted zones.

directly impacted which resulted in the suspension or cancelon architecture after 1997 (Pussadee Tiptus and others, 2010)

Challenges in Building Adaptation Design and New Programming

found that during the crisis and in the transition periods before

and after the crisis, renovation projects increased in number

have recently demonstrated creative variations in both pro-

as a more economical solution compared to the construction

grammatic development and building adaptation designs.

of new buildings. The budget-controlled projects often involved

Many projects went beyond the boundaries and opened up

exterior and interior modifications for a new atmosphere and

the interpretation of the relationship and threshold between

business image. Some projects also included physical and

old and new in architecture, despite their main objectives for

functional changes in response to economic requirements,

conservation, economy or sustainability. Recent years have

lation of construction and design projects. A research survey

Extensive adaptive reuse projects in foreign countries


witnessed adaptive reuse projects designed by well-known

temporary adaptation of Bangkok Dock Company’s warehouse

architects, for example, Tate Modern in London by Herzog &

and dry dock for the Great Outdoor Market event in 2014 and

de Meuron, Punta della Dogana Museum in Venice by Tadao

2015 which demonstrated the possibility of alternative reuse

Ando, Contemporary Jewish Museum in San Francisco by

and allowed for a rare case of public access to a restricted site

Daniel Libeskind, and Danish National Maritime Museum in

(Figure 10). In 2017, a number of industrial buildings turned

Denmark by Bjarke Ingels Group (BIG). Adaptive reuse of old

public facilities were launched, suggesting the market trend

buildings also has become popular in Thailand in the recent

and development potential of similar projects, for example,

years. The representative linkage between age and use of old

Warehouse 30 on Charoenkrung Road as retail stores and

buildings and historical or cultural meanings usually seen in

creative spaces, and Yelo House which was formerly a printing

past projects has been less strict. Design interpretations of new

equipment warehouse turned into an art gallery and rental

functions are generally open and no longer are limited to

creative spaces. Most adaptation designs attempt to preserve

museums or functions directly related to building history and

and present the original industrial building character and

original uses. However, new uses that risk controversy are often

features of steel structures without many new elements to

avoided, especially when it comes to religious structures,

cover up or decorate over. In the case of Lhong 1919, the

unlike several western examples of church conversions into

former old warehouses with Chinese-Thai history dating back

non-religious uses. Apart from building adaptations to tourist

to the reign of King Rama IV were extensively restored and

accommodations as discussed earlier, there have been

modified as a destination for historic and cultural tourism,

variations of building modifications for new uses in terms of

featuring creative product retails, eateries, as well as multi-

original building types, new functions and proposed design

purpose and cultural activity spaces. These adaptations return

interpretations for conservation that correspond with

active functional roles to the old buildings, but to evaluate the

updated behaviors and activities of new generations. A number

projects in terms of architectural conservation, one must look

of adaptive reuse projects that are owned or run by private

more closely into processes and details of interventions and

sectors point out the development of conservation-oriented

reinterpretations to consider how much the projects comply

design projects that expands beyond the responsibility of the

with rehabilitation standards to protect authenticity and value

governmental organizations. Also, design projects related to

of the built heritage.

conservation issues that were usually carried out by trained conservation architects and specialists are now executed by

The Promotion of Adaptive Reuse

general architects and designers. In many cases, adaptive reuse

of old buildings is an important part of rehabilitation and

buildings has been confirmed by several components and

development of old communities, for example, in Soi Nana

activities developed to promote and support knowledge on

near China Town. Such processes must be implemented with

building conversion either directly or indirectly. In addition

care in order to avoid gentrification and negative impacts to

to the existing annual ASA Architectural Conservation Awards,

local residents and the community identity if not handled with

building renovation has been one of the categories in the ASA

balance when it comes to change.

Architectural Design Awards from the Association of Siamese

Popularity of adaptive reuse of previously-occupied

Architects under Royal Patronage since 2014, presented to

The extensive adaptation of underused industrial

distinguished renovation projects that do not necessarily

buildings such as abandoned factories and warehouses for

possess officially historical values. Building renovation awards

public purposes have become an architectural development

recipients include Thrive the Hostel (from shop houses to

trend lately. Among the early successful projects are Asiatique

hostel), the Jam Factory (from factory to mixed-use complex),

the Riverfront, originally river docks and warehouses of the

Baan Luang Rajamaitri Historic Inn (from residence to tour-

East Asiatique company converted into an open air mall for

ist accommodation) and Siri House (from shop house to ex-

tourists, and the Jam Factory, originally a battery factory and

tended family house and office). A number of the ASA Archi-

an ice factory converted into a mixed-use complex with

tectural Conservation Awards recipients are also historic

restaurants, gallery, bookshop, cafe, decoration store and an

buildings that have undergone renovation and adaptation for

architectural office. (Figure 9) Other interesting case studies

active uses, which is possibly a significant part to underline

include Vivarium by Chefs restaurant (formerly a tractor

success and sustainability of their conservation process. The

garage), Plantation Cafe (formerly a sewing factory), and the

Thailand Boutique Awards 2010 that was given to small


boutique accommodations also had a category on the topic of

private sectors, for example, retail, restaurants, tourist accom-

Renovation & Modification in addition to other themes.

modations and small businesses. Many projects were developed

Likewise, international architectural design awards such as

as a result of economic and social conditions. Recently, the

AR New into Old awards by the Architectural Review magazine

practice of adaptive reuse shows a wider variation, especially

particularly addresses creative adaptive reuse projects. It is

its application on industrial structures such as underused

also notable that social media today plays a part in increasing

factories and warehouses, to support activities fitting with

familiarity of adaptive reuse of old buildings for the public.

lifestyles and tastes of today’s generations. Regardless of

Online articles via web board, web logs or Facebook posts to

principal objectives and reasons of building adaptations either

review building renovation projects concerning both physical

to hide failures or to preserve cultural heritage and glory of

characteristics and renewed functions promote such

the past, it is undeniably an interesting and efficient solution

practices, while encouraging the public to see the potential of

to address and respond to changing needs. Functional con-

previously-occupied buildings and their benefits in terms of

version has been considered a challenging condition for both

investment, function and conservation of their history and

proprietors and architects to develop the project and propose

values.

appropriate designs in order to protect values and present potentials of the architecture, while carefully retaining a good

Conclusion: from the Past to the Future of Adaptive Reuse

Adaptive Reuse or Adaptive Use is a process of return-

ing to the active use of an old building in an approach other than that for which it was designed for and requiring varying levels of physical modification to the building. It is considered a useful way to return to the active life to an old structure, be it a historic artifact or a previously-occupied contemporary building, to achieve its functional potential, promote and protect its integrative values in terms of history, art, architecture, culture, economy and resources. Adaptive reuse projects in Thailand are developed to achieve varying causes and objectives, from being a tool to safeguarding cultural heritage and as an approach to utilize existing structures. Such implementations are considered more convenient and economical in many cases when compared to constructing a new building, while the process also generates income to at least partly cover the structure’s restoration and maintenance costs. Building conversion in the past can be found in the tradition of donating old Thai houses to Buddhist temples or to dismantle and reassemble it in another location. A number of vacant palaces and noble residences have been converted into governmental or institutional offices when there were no longer in use. Adaptive reuse in the past as a conservation approach usually concerned architectural hierarchy related to social ranking, history and original uses, resulted in rather conservative adaptations of the historical artifacts into museums and governmental offices. As conservation methods and modern ways of life have become increasingly more open for interpretations, we have seen more adaptive reuse case studies for public and commercial uses, many of which are operated by

98 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

balance between conservation and development. qualities, including planning, structure and related building


เอกสารอ้างอิง / Bibliography กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (2547). โครงการวิจัยเรื่องการจัดการด้านการออกแบบพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำ�กัด. ปิ่นรัษฎ์ กาญจนัษฐิติ. (2552). การอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมและชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ผุสดี ทิพทัส และคณะ. (2553). สถาปัตยกรรมหลัง พ.ศ. 2540: วิกฤตการณ์และทางเลือกของสถาปนิกไทย. กรุงเทพฯ: สมาคม สถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. ภูวดล สุวรรณดี. (2539). “เก็บอาคารเก่าเข้าสุสาน บทพิสูจน์รสนิยมใหม่กับคุณค่ามรดกไทย.” ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 17(3) มกราคม: หน้า 85-90. Charles Bloszies. (2012). Old Buildings, New Designs: Architectural Transformation. New York: Princeton Architectural Press. James Marston Fitch. (1995). Historic Preservation: Curatorial Management of the Built World. Charlottesville: University Press of Virginia. Saithiwa Ramasoot. (2008). Dismantle, Reassemble, and Modify: An Adaptive Reuse of the Traditional Thai House. Ph.D. Dissertation. University of Pennsylvania. Saithiwa Ramasoot. (2014). Tradition as Represented in Tourism: Adaptive Reuse of Old Houses as Boutique Hotels in Bangkok. Traditional Dwellings and Settlements Working Paper Series. Vol. 269. William J. Murtagh. (1997). Keeping Time: The History and Theory of Preservation in America. New York: John Wiley & Sons, Inc.

99 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ต้นแบบการยืดอายุวสั ดุไม้ไผ่บา้ นพืน้ ถิน่ ประยุกต์ลกั ษณะประเพณีหมูบ่ า้ นกะหร่างปกาเกอะญอ โป่งลึก แก่งกระจาน เพชรบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / terdsak@gmail.com

100 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018

ภาพที่ 1 : ระหว่างการก่อสร้างบ้านแบบดั่งเดิมหลังที่ 1 ร่วมกับช่างกะหร่าง Image 1 : The construction of traditional Paka-kyaw Karen house no.1 with the local artisans.

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


บทคัดย่อ ความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบบ้านกะหร่างปกาเกอะญอ แห่งโป่งลึกในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานซึ่งเกิดจากปัจจัย ภายในและภายนอก ส่งผลให้คุณค่าทางอัตลักษณ์ของหมู่บ้าน ดั้งเดิมที่เคยกลมกลืนไปกับธรรมชาติผืนป่าเริ่มเลือนลางไป การ ประยุกต์องค์ความรู้สถาปัตยกรรมไม้ไผ่ของชาวกะหร่างปกา เกอะญอกับความรู้ในการใช้งานไม้ไผ่ทางสถาปัตยกรรมปัจจุบัน เป็นการเปิดโอกาสในการรือ้ ฟืน้ อัตลักษณ์ดงั้ เดิมให้กลับมา พร้อม ไปกับการตอบโจทย์ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านการ ทดลองก่อสร้างต้นแบบบ้านกะหร่างปกาเกอะญอด้วยวิธีการ ประยุกต์ โดยผสานภูมิปัญญาเข้ากับศาสตร์ในปัจจุบัน ท�ำให้พบ ศักยภาพของวิธกี ารต่าง ๆ ทีส่ ามารถใช้งานได้ในพืน้ ทีซ่ งึ่ มีขอ้ จ�ำกัด ในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรและข้อจ�ำกัดด้านงบประมาณและ การท� ำ งานในพื้ น ที่ ได้ แ ก่ การยื ด อายุ ฐ านรากเสาไม้ ไ ผ่ ด ้ ว ย ปูนซีเมนต์ การใช้น้�ำส้มควันไม้ในการป้องกันมอดด้วยการกรอก น�้ ำ ยาในพื้ น ที่ การใช้ ส ลั ก ลิ่ ม ไม้ ไ ผ่ เป็ น ต้ น อย่ า งไรก็ ต าม ประสิทธิภาพการยืดอายุการใช้งานไม้ไผ่นั้น ยังมีหลากประเด็นที่ ควรต้องศึกษาเพื่อปรับปรุงต่อไป ได้แก่ การประยุกต์ในส่วนวัสดุ มุงหลังคา รวมถึงการสร้างวงจรการปลูกไม้ไผ่ทดแทน หรือ ธนาคาร วัสดุไม้ไผ่ ลักษณะทางกายภาพที่แสดงออกผ่านรูปแบบที่หลาก หลายของเรือนพักอาศัยพืน้ ถิน่ ภาคอีสานในปัจจุบนั ท�ำให้คนทัว่ ไป ได้รบั รูถ้ งึ การเปลีย่ นแปลงของเรือนพืน้ ถิน่ ทีเ่ ป็นไปอย่างรวดเร็ว เริม่ จากการลดจ�ำนวนลงของเรือนมีใต้ถนุ สูงทีป่ ลูกสร้างด้วยไม้ทงั้ หลัง เป็นการเพิม่ ขึน้ ของอาคารพักอาศัยทีส่ ร้างด้วยโครงสร้างคอนกรีต และมีรปู ร่างภายนอกไม่แตกต่างจากบ้านจัดสรรในพืน้ ทีย่ า่ นชาน เมืองใหญ่ๆ จนท�ำให้เป็นที่เข้าใจทั่วไปว่า แบบแผนที่อยู่อาศัยใน ท้องถิน่ ในทีส่ ดุ จะถูกกระแสแห่งความเป็นเมืองครอบง�ำจนหมดสิน้ คำ�สำ�คัญ: กะหร่าง ปกากะญอ, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน, ไม้ไผ่, บ้าน, การยืดอายุวัสดุ

ที่มา แก่งกระจานเป็นนอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากที่สุดใน ประเทศไทย ครอบคลุมพืน้ ทีถ่ งึ 3 จังหวัด และมีความอุดมสมบูรณ์ ทางธรรมชาติ จึงเป็นผืนป่าทีม่ คี วามส�ำคัญแห่งหนึง่ ในประเทศไทย คณะกรรมการมรดกโลกขององค์การยูเนสโก (UNESCO) เริ่ม พิจารณาการขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2558 นอกเหนือจากความสมบูรณ์ทางธรรมชาติแล้วนัน้ บนพื้นที่อุทยานแห่งนี้ยังประกอบไปด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรม ดั้งเดิมของชาวกะหร่างปกาเกอะญอที่พึ่งพาอาศัยผืนป่าแห่งนี้ ได้อย่างกลมกลืน พื้นที่โป่งลึก และ บางกลอย เป็นอีกแหล่งชุมชน ชาวกะหร่างปกาเกอะญอ ทีต่ งั้ ถิน่ ฐานเป็นหลักแหล่งจากวิถชี วี ติ เดิม ทีน่ ยิ มย้ายถิน่ ฐาน ประกอบด้วยวัฒนธรรมภูมปิ ญ ั ญาทีโ่ ดดเด่น ทัง้ รูปแบบบ้านเรือน และประเพณีกิจกรรมต่างๆ การเปลี่ยนวิถีการ ด�ำเนินชีวิตจากการท�ำไร่หมุนเวียนมาเป็นการท�ำเกษตรในพื้นที่ ที่ถูกจัดสรร ส่งผลให้เกิดความต้องการของทรัพยากรที่มากขึ้น ทั้ง ปัจจัยส�ำหรับอุปโภค และบริโภค ตามการขยายตัวของชุมชน 101 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รายวิชา Basin Architecture Morphology และ Environmental and Architectural Conservation โดยภาควิชา สถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยจึงน�ำนิสิตลงพื้นที่เพื่อส�ำรวจ พัฒนาชุมชน โดยความร่วมมือของช่างชาวกระหร่างปกา เกอะญอ และหน่วยงานต่างๆ ในงานก่อสร้างบ้านกะหร่างปกาเกอะญอดั้งเดิมจ�ำนวน 2 หลังเพื่อ ศึกษาและถอดความรู้ วิธีการท�ำงานจากช่างพื้นถิ่นโดยตรง พร้อมกับแนวคิดการสร้างวงจรของวัสดุ การก่อสร้างบ้านเรือนที่ยั่งยืน ผลจากการส�ำรวจเบือ้ งต้น พบปัญหาสืบเนือ่ งจากการเปลีย่ นแปลงวิถกี ารด�ำเนินชีวติ โดยชาว บ้านมีความต้องการบ้านเรือนทีม่ คี วามแข็งแรงทางโครงสร้าง ด้วยวัสดุและองค์ประกอบต่างๆทีแ่ ตก ต่างไปจากในอดีต ที่เป็นเพียงเรือนเครื่องผูกจากไม้ไผ่ หวาย หรือไม้จริง เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้น�ำ ครอบครัวไม่สามารถจัดสรรเวลาในกามรซ่อมแซมปรับปรุงบ้าน และการหาทรัพยากรธรรมชาติมา ก่อสร้างบ้านเรือนนั้นเป็นไปได้ยากมากขึ้น ทั้งด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติในบริเวณหมู่บ้านที่ลดลง และข้อจ�ำกัดในการหาของในป่าเขตอุทยานแห่งชาติ ท�ำให้ชาวบ้านหันมาใช้วัสดุก่อสร้างเชิง อุตสาหกรรม ซึ่งไม่เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของหมู่บ้าน ดังนั้น การตอบโจทย์ปัญหาด้านวัสดุก่อสร้าง จึงเป็นประเด็นส�ำคัญที่จะต้องตระหนัก เพื่อให้ชาวกะหร่างปกาเกอะญอสามารถอาศัยอยู่ร่วมกับ ธรรมชาติในป่าอุทยานแห่งชาติได้อย่างยัง่ ยืน ทัง้ นีก้ ารลงพืน้ ทีแ่ ละการก่อสร้างบ้านนัน้ เปรียบเสมือน พื้นที่ทดลองเพื่อเรียนรู้ที่ยังต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในการหาค�ำตอบของการปรับสมดุลทั้ง การใช้วัสดุธรรมชาติ ภูมิปัญญาดั่งเดิม เทคโนโลยีการก่อสร้าง และวัสดุในปัจจุบันให้กลมกลืนกัน อย่างสมบูรณ์ โดยมุ่งเน้นการสร้างความเป็นอยู่ที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติโดยรอบชุมชนและเป็น แนวทางในการพัฒนาอาคารขนาดเล็กที่มีความยั่งยืนต่อไป 2. ประเด็นสำ�คัญจากการทดลอง 2.1 กระบวนการดำ�เนินงาน

การด�ำเนินงาน แบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ (1) ช่วงแรก: การเรียนรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมและการทดลองน�้ำยาป้องกันมอดไม้ไผ่ เป็นการเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านการก่อสร้างบ้านเรือนดั้งเดิมของชาวกะหร่างปกาเกอะญอในพื้นที่โป่ง ลึก โดยขั้นต้นท�ำการส�ำรวจภาคสนามสังเกตและสอบถามจากชาวบ้าน จากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ไป พร้อมกับช่างพื้นถิ่นผ่านกระบวนการก่อสร้างจริงโดยมีช่างชาวกะหร่างเป็นผู้ออกแบบและน�ำการ ก่อสร้างบ้าน และมีคณาจารย์นิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมในลักษณะผู้ช่วย เพื่อถอด องค์ความรู้ที่เกิดจากการลงมือท�ำจริง พร้อมเตรียมน�ำไปประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีทางการก่อสร้าง สมัยใหม่ ในขณะเดียวกัน ก็เริ่มทดลองใช้น�้ำยาป้องกันมอดไม้ไผ่เพื่อยืดอายุไม้ไผ่ ได้แก่ การผสมน�้ำ ปูนใส น�้ำส้มควันไม้ และการหาวิธีกรอกน�้ำยาเข้าไปในบางส่วนของไม้ไผ่ที่ใช้สร้างบ้าน

(2) ช่วงสอง: การทดลองสร้างบ้านประยุกต์ไม้ไผ่ยิดอายุใช้งาน

เป็นการน�ำเสนอแบบบ้านใหม่โดยคณาจารย์นิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้แนวคิดการ วางผั ง บ้ านชาวกระหร่างปกาเกอะญอแบบดั้งเดิม ที่เริ่ มต้ นโครงผั ง หลั กด้ วยแนวเสาทรงจั ตุรั ศ3คูณ3ต้น แล้วจึงขยายส่วนระเบียงออกไปทางด้านต่างๆตามลักษณะการใช้งานหรือสภาพพื้นที่ โดยการจัดผังบ้านแนวใหม่นี้ ได้รบั ค�ำปรึกษาจากช่างปกาเกอะญออย่างใกล้ชดิ และมีการปรับเปลีย่ น ขนาดตามความถนัดของช่าง จากนัน้ จึงด�ำเนินการก่อสร้างด้วยวัสดุไม้ไผ่ในทุกองค์ประกอบหลักของ บ้านบนพืน้ ฐานการเตรียมยืดอายุไม้ไผ่ดว้ ยน�ำ้ ปูนใสผสมน�ำ้ ส้มควันไม้ เพือ่ ลดการใช้ไม้เนือ้ แข็งสร้าง บ้ า นโดยมี ตั ว เลื อ กไม้ ไ ผ่ ซึ่ ง สามารถปลู ก ทดแทนได้ เ ร็ ว กว่ า และหากวางแผนจั ด การอย่ า งมี ประสิทธิภาพ ย่อมสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนไม้เนื้อแข็งได้ 2.2 ขอบเขตและข้อจำ�กัดทางการศึกษา 2.2.1 ขอบเขตทางการศึกษา

การศึกษานี้ก�ำหนดขอบเขตทางพื้นที่ ในหมู่บ้านโป่งลึก ต�ำบลห้วยแม่เพรียง อ�ำเภอแก่ง กระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึง่ อยูใ่ นเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ในระยะเวลา 1.5เดือน 2ช่วง ระหว่าง เดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2558 และ เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2559 ขอบเขตทางการศึกษา มุ่งเน้น 102 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


การมองภาพรวมกระบวนการก่อสร้างบ้านต้นแบบ ซึ่งท�ำคู่ขนานกันไป ตั้งแต่การวิเคราะห์รูปแบบ การก่อสร้าง การทดลองน�ำ้ ยาแช่กนั มอด และการวางแผนก่อสร้างร่วมกับชาวกระหร่างปกาเกอะญอ

2.2.2 ข้อจำ�กัดทางการศึกษา

การท�ำงานในพืน้ ทีอ่ ทุ ยานแห่งชาติแก่งกระจาน สร้างข้อจ�ำกัดหลายประการ ตัง้ แต่ การจัดเตรียม จัดหาวัสดุไม้ไผ่ และวัสดุกอ่ สร้างประกอบต่างๆ การจัดหาเครือ่ งมือด�ำเนินงานก่อสร้างแบบไม่ใช้ไฟฟ้า ข้อจ�ำกัดด้านเวลาด�ำเนินงานเนือ่ งจากไม่สามารถพักอาศัยในพืน้ ทีไ่ ด้อย่างต่อเนือ่ งเป็นระยะเวลานาน ข้อจ�ำกัดด้านพื้นที่จัดวางวัสดุและพื้นที่ท�ำงาน ซึ่งต้องด�ำเนินการแก้ไขเฉพาะหน้างานตลอดเวลา 2.3 ผลการทดลองและการประเมิน

2.3.1 การยืดอายุวัสดุไม้ไผ่ด้วยกรรมวิธีทางธรรมชาติแบบต้นทุนต�่ำ

ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลักในการสร้างบ้านแบบดั้งเดิมของชาวกระหร่างปกาเกอะญอ เพราะเป็นสิ่ง ทีห่ าได้งา่ ยและสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้งานได้แทบทุกส่วนในการก่อสร้าง ชาวกระหร่างปกาเกอะญ อมีความรู้ในการหาและเตรียมไม้ไผ่เพื่อให้สามารถเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้เป็นอย่างดี เช่น การ เลือกฤดูกาลและช่วงเวลาในการตัด การดูลักษณะไม้ไผ่ที่เหมาะสม เป็นต้น แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่ สามารถยืดอายุการใช้งานเกินไปกว่า4-5ปี ด้วยจุดอ่อนตามธรรมชาติ คือ มอดไม้ไผ่ ซึ่งคอยกัดกิน เนื้อไม้ไผ่จนท�ำให้หมดคุณสมบัติทางโครงสร้าง ดังนั้นคณะท�ำงานจึงท�ำการทดลองค้นหาแนวทาง ใหม่ในการป้องกันมอดไม้ไผ่เพื่อยืดอายุการใช้งานโดยศึกษาจากแนวทางที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ การแช่ น�ำ้ 2-3เดือนให้ไม้ไผ่เน่า การทดลองทางอุตสาหกรรมโดยแช่ไม้ไผ่ในสารละลายต่างๆ เช่น Borax หรือ น�้ำปูนใส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันมอดไม้ไผ่ โดยค�ำนึงถึงการน�ำมาต่อยอดประยุกต์ กระบวนการทีช่ าวบ้านสามารถท�ำได้จริง จนสรุปได้วา่ การน�ำน�ำ้ ปูนใสผสมน�ำ้ ส้มควันไม้มาเป็นน�ำ้ ยา แช่ คือตัวเลือกที่น่าสนใจมากที่สุด ด้วยคุณสมบัติในการป้องกันมอดไม้ไผ่ที่ดีกว่าและไม่เป็นพิษต่อ ธรรมชาติ (การทดลองด�ำเนินการโดยใช้ชนิ้ ไม้ไผ่สดแช่สารละลายต่างๆและน�ำเข้าไปในภาชนะบรรจุ มอดไม้ไผ่) นอกไปจากนัน้ เพือ่ ให้การน�ำน�ำ้ ปูนใสผสมน�ำ้ ส้มควันไม้ไปใช้งานได้งา่ ยโดยแรงงานระดับ ครัวเรือนซึง่ ยังไม่มที นุ ในการท�ำบ่อแช่นำ�้ ยา คณะท�ำงานจึงปรับเปลีย่ นกระบวนการแช่ไม้ไผ่ในบ่อแช่ เป็นการกรอกน�ำ้ ปูนสผสมน�ำ้ ส้มควันไม้ลงในปล้องไม้ไผ่แทน ทัง้ การใช้สว่านเจาะปล้องไม้ไผ่และฉีด น�้ำยาเข้าไปโดยตรง และ การกระทุ้งเจาะรูระหว่างปล้องไม้ไผ่และกรอกน�้ำยาเข้าไป ด้วยวิธีการนี้ ไม้ไผ่จะดูดซึมน�้ำยาจากเนื้อไม้ภายใน โดยสามารถใข้งานได้ทั้งในการท�ำองค์ประกอบเสา คาน ตง จันทัน และ ฟากพื้นผนัง

ภาพที่ 2 (ซ้ายบน) : การทดลองการแช่ไม้ไผ่กับสารต่างๆ เพื่อทดสอบการป้องกันมอดไม้ไผ่ Image 2 (upper left) : Bamboo wood being is soaked in different types of solution to ภาพที่ 3 (ซ้ายล่าง) : การทดสอบการป้องกันมอดไม้ไผ่ Image 3 (Lower left) : Testing the bamboo resistance to bamboo borers. ภาพที่ 4 (ขวา) : การฉีดนำ�ปูนใสเข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันมอดไม้ไผ่ Image 4 (Right) : Slake lime is injected into a bamboo stem to optimize the wood’s resistance to bamboo borers.

103 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 5 และภาพที่ 6 : การใช้เสาไม้ไผ่เป็นโครงสร้างหลัก Image 5 and 6 : The use of bamboo columns as the house’s main structural element.

2.3.2 การใช้ไม้ไผ่แทนไม้จริงในส่วนโครงสร้างหลัก

บ้านชาวกะหร่างปกาเกอะญอใช้เสาไม้เนื้อแข็งในการปลูกสร้าง เนื่องจากความแข็งแรงและ อายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีข้อจ�ำกัดหลายประการในการให้ได้มาซึ่งไม้ จริง โดยเฉพาะในพืน้ ทีอ่ ทุ ยานแห่งชาติ คณะท�ำงานจึงเสนอให้ประยุกต์ใช้ไม้ไผ่เพือ่ แทนส่วนโครงสร้าง เสาทัง้ หมด โดยมีการปรับปรุงในส่วนฐานราก ซึง่ ในการก่อสร้างแบบดัง้ เดิมนัน้ ชาวบ้านจะท�ำการขุด หลุมและปักเสาไม้เนื้อแข็งลงไปในดินโดยตรงซึ่งท�ำให้เสาไม้ได้รับความชื้นจากดิน และอายุการใช้ งานสัน้ เนือ่ งจากขาดคอเสา เมือ่ คณะท�ำงานเสนอเปลีย่ นวัสดุเสาบ้านมาเป็นการใช้เสาไม้ไผ่ซงึ่ ไม่ใช่ ไม้เนือ้ แข็งแล้วนัน้ เพือ่ เสริมสร้างความแข็งแรงให้กบั เสาไม้ไผ่ในช่วงฐานราก จึงได้กรอกซีเมนต์เข้าไป ในล�ำไม้ไผ่ ประมาณความยาวจ�ำนวน 4-5 ปล้องและ เสริมภายในด้วยซีกไม้ไผ่เหลาให้มีขนาดหน้า ตัดประมาณ 1-2 ซม.ยาวประมาณ 45 ซม.

ภาพที่ 7 : เสาไม้ไผ่เสริมความแข็งแรงด้วยไม้ไผ่ซีกและคอนกรีต Image 7 : A bamboo column reinforced with concrete and a strip of bamboo wood.

2.3.3 การใช้ลิ่มไม้ไผ่ เพื่อลดการใช้หวาย

คณะท�ำงานส�ำรวจพบว่าบริเวณจุดเชื่อมต่อโครงสร้างต่างๆของบ้านกระกร่างปกาเกอะญอ นัน้ มีการใช้หวายเป็นวัสดุหลักเพือ่ ยึดส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันทัง้ ส่วนโครงสร้างพืน้ และหลังคา อย่างไร ก็ตามในปัจจุบัน หวายถือเป็นวัสดุที่หายากและขาดแคลน ต้องเดินป่าเข้าไปลึกถึงพอหาได้ คณะ ท�ำงานจึงเสนอกระบวนการตอกยึดองค์ประกอบไม้ไผ่ด้วยการเจาะรูล�ำไผ่และใช้ลิ่มไม้ไผ่ตอกสลัก เสริมการยึดส่วนต่างๆแทนหวายทัง้ หมด ซึง่ กระบวนการดังกล่าวมีใช้งานในการก่อสร้างสถาปัตยกรรม ไม้ไผ่สมัยใหม่ และจากการปรึกษากับช่างปกาเกอะญอ ได้คน้ พบวิธตี อกสลักลิม่ ไม้ไผ่แบบพลิกแพลง 104 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ที่ท�ำให้การยึดมั่นคงแข็งแรงขึ้น กล่าวคือ การบากปลายของลิ่มที่ถูกตอกเข้าไปและใช้ลิ่มขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายใบมีดตอกย้อนกลับเข้าไปท�ำให้ลิ่มเกิดการขยายตัวจนเบียดรูบนล�ำไผ่ให้แน่นยิ่งขึ้น

ภาพที่ 8 (ซ้ายบน) และภาพที่ 9 (ซ้ายล่าง) : การใช้หวายในการเชื่อมโครงสร้าง Image 8 (Upper Left) and 9 (Lower Left) : The use of rattan to secure structural members together. ภาพที่ 10 (ขวา) : การใช้ลิ่มในการเชื่อมโครงสร้างแทนหวาย Image 10 (Right) : Wooden wedges are employed to replace the use of rattan for structural joinery.

3. สรุปและข้อเสนอแนะ

3.1 สรุป

3.2 ประโยชน์ในเชิงสังคม นิเวศน์ธรรมชาติและวัฒนธรรม

ในการทดลองสร้างต้นแบบทดลองบ้านกะหร่างปกาเกอะญอบนพื้นที่โป่งลึกนั้น เป็นการ ทดลองประสานแนวความคิดของภูมิปัญญาพื้นถิ่นทั้งด้านวัสดุและการก่อสร้างและความรู้แนวทาง การยืดอายุการใช้งานไม้ไผ่ในปัจจุบันเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ จนถึงการออกแบบ ทั้งการทดลองยืดอายุวัสดุ โดยการใช้สารอินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษกับธรรมชาติ การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง อาคารให้เกิดการใช้สอยทีม่ ปี ระสิทธภาพมากขึน้ เช่น การพัฒนาเสาฐานรากของบ้าน การใช้ลมิ่ ไม้ไผ่ ด้วยวิธีประยุกต์ขึ้นใหม่ร่วมกับช่างปกาเกอะญอ สามารถน�ำไปใช้อ้างอิงและพัฒนารูปแบบการ ก่อสร้างบ้านพื้นถิ่น ในเขตพื้นที่ซึ่งมีข้อจ�ำกัดในการเข้าถึงวัสดุอุปกรณ์ (1) ไม้ไผ่ เป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่คุ้มค่า การใช้ทรัพยากรป่าชุมชนเป็นรูปแบบของการใช้ ทรัพยากรหมุนเวียนในตัวเองชาวบ้านสามารถปลูกป่าเพื่อสร้างบ้านเองได้โดยไม่ที่ไม่ต้องพึ่งพาวัสดุ จากภายนอก การใช้วสั ดุทเี่ ป็นทรัพยากรหมุนเวียนท�ำให้ไม่เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาของผืน ป่าใหญ่ เมื่อไม่มีการขนส่งก็มีค่า Carbon Footprint เท่ากับศูนย์ (2) บ้านกะหร่างปกาเกอะญอใช้วัสดุพื้นถื่นที่มีอายุการใช้งานสั้น4-5ปี จ�ำเป็นต้องซ่อมแซม บ่อย การประยุกต์องค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยืดอายุการใช้งานที่ยาวขึ้น5-10ปี ช่วยลดปัญหาการไม่มี เวลามาซ่อมแซมด้วยวิถีด�ำเนินชีวิตเปลี่ยนไป นอกจากนี้การซ่อมแซมบ้านจะเกิดการถ่ายทอด ภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น (3) เกิดการผสมผสานระหว่างองค์ความรู้พื้นถิ่นและสมัยใหม่ ที่เหมาะสมกับบริบท เกิดเป็น การบูรณาการที่ได้ผลและเหมาะกับโลกยุคปัจจุบันอย่างประนีประนอมกัน 3.3 ข้อเสนอแนะ ตลอดกระบวนการก่อน ระหว่างและหลังการก่อสร้างบ้านกระหร่างปกาเกอะญอ พบว่ายังมี ประเด็นที่ควรพิจารณาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ต่อไป ดังนี้ (1) เนื่องจากการแผนงานก่อสร้างบ้านมีข้อจ�ำกัดด้านเวลาเพียง 3เดือน และมุ่งเป้าเพื่อการ ก่อสร้างบ้านต้นแบบโดยฝีมอื ช่างชาวกระหร่างปกาเกอะญอให้สมบูรณ์เป็นหลัก จึงท�ำให้การทดลอง เพือ่ การยืดอายุวสั ดุไม้ไผ่คอ่ นข้างจ�ำกัดในหลายประเด็น เช่น การขาดงานทดลองทางคีตวิทยาในห้อง ทดลอง แต่ใช้การทดลองด้วยชุดจ�ำลองแบบจ�ำกัด ซึ่งถึงจะมีผลการทดลองเบื้องต้นพบว่า น�้ำส้ม 105 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ควันไม้คือตัวเลือกที่อาจจะเหมาะสม แต่ก็ยังไม่สามารถระบุความเข้มข้นของน�้ำส้มควันไม้ สัดส่วน การผสมน�ำ้ ส้มควันไม้กบั น�ำ ้ และ ระยะเวลาแช่หรือกรอกน�ำ้ ส้มควันไม้ เป็นต้น ด้วยเหตุดงั กล่าว หาก มีการศึกษาต่อไป ควรจัดแผนการทดลองเพื่อประเมินให้ครบทุกด้านโดยเฉพาะการพิสูจน์ความ สามารถทนต่อการท�ำลายเนื้อไม้ไผ่โดยมอด (2) ในการสร้างบ้านกระกร่างปกาเกอะญอ วัสดุมงุ หลังคายังเป็นโจทย์สำ� คัญทีย่ งั ไม่ได้รบั การ ตอบที่ชัดเจน เนื่องจากการยืดอายุใช้งานวัสดุดั้งเดิมที่เป็น ใบตะคร้อ หรือ การหาวัสดุทดแทน ให้ สามารถคงทนต่อแดดและฝนไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องใช้การทดลองอีกรูปแบบหนึ่ง (3) การพัฒนาแนวคิดให้ชาวกระกร่างปกาเกอะญอ ร่วมกับอุทยานแห่งชาติ สร้างวงจรปลูก ไม้ไผ่ทดแทนในพื้นที่ที่เหมาะสม และ การพัฒนาสู่ธนาคารวัสดุก่อสร้างจากธรรมชาติอื่นๆเมื่อผ่าน กระบวนการยืดอายุการใช้งานแล้ว จะเป็นการตอบโจทย์ปญ ั หาเชิงพืน้ ทีไ่ ด้อย่างครบวงจร และยัง่ ยืน ซึง่ ต้องการความร่วมมือขับเคลือ่ นเชิงนโยบายในระดับพหุภาคี ทัง้ หน่วยงานในพืน้ ที่ องค์กรไม่แสวงหา ผลประโยชน์ และ สถาบันการศึกษา กิตติกรรมประกาศ ในการศึกษา และก่อสร้างต้นแบบบ้านกะหร่างปกากะญอด้วยการยืดอายุการใช้งานโครงสร้าง และวัสดุจากไม้ไผ่นนั้ จะส�ำเร็จลุลว่ งไปไม่ได้หากขาดความร่วมมือจากกลุม่ ช่างพืน้ ถิน่ ปกากะญอ และ การสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ มูลนิธิปิดทองหลังพระ มูลนิธิสร้างฐานถิ่น สถาบันพัฒนา องค์กรชุมชน อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการสนับสนุนข้อมูลด้าน ต่าง ๆ ในการท�ำงาน ตลอดจนความเสียสละร่วมแรงร่วมใจของนิสิตรายวิชา Basin Architecture Morphology และ Environmental and Architectural Conservation ปี พ.ศ.2557 2558 2559

ภาพที่ 11 : ผังพื้นบ้านต้นแบบ Image 11 : Floor plan of the prototype house.

ภาพที่ 12 : ผังพื้นบ้านต้นแบบ Image 12 : Floor plan of the prototype house.

ภาพที่ 13 : ผังโครงสร้างพื้นบ้านต้นแบบ Image 13 : Structural plan of the prototype house’s floor.

ภาพที่ 14 : รูปด้าน 1 บ้านต้นแบบ Image 14 : Elevation of the prototype house 1.

106 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 15 : รูปด้าน 2 บ้านต้นแบบ Image 15 : Elevation of the prototype house 2.

ภาพที่ 16 : รูปด้าน 3 บ้านต้นแบบ Image 16 : Elevation of the prototype house 3.

ภาพที่ 17 : รูปตัด 1 บ้านต้นแบบ Image 17 : Section A. of the prototype house.

ภาพที่ 18 : รูปตัด 2 บ้านต้นแบบ Image 18 : Section B. of the prototype house.

เอกสารอ้างอิง อัครพงศ์ อนุพันธ์พงศ์. (2550). บ้านเรือนชาวเขากะเหรี่ยงปกาเกอะญอ : ความยั่งยืนและการปรับตัวภายใต้นิเวศวัฒนธรรมไร่ หมุนเวียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี. (2560). พลวัตสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ กรณีศึกษากลุ่มไทใหญ่ในอ�ำเภอขุนยวม จังหวัด แม่ฮอ่ งสอนและกลุม่ กะเหรีย่ งในพืน้ ทีพ่ กั พิงชัว่ คราวแม่หละ จังหวัดตาก. วารสารสิง่ แวดล้อมสรรค์สร้างวินจิ ฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อุฬาร ปัญจะเรือง และระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี. (2558). รูปแบบและการก่อรูปของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นกะเหรี่ยงปกาเกอญอใน พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ อ�ำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก. วารสารวิขาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม สรพงษ์ วิชัยดิษฐ. (2547). กระบวนการก่อรูปอัตลักษณ์ของผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง: ศึกษากรณีกะเหรี่ยงในพื้นที่พักพิงชั่วคราว บ้าน แม่หละ อ�ำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญามานุษยวิทยามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การใช้ประโยชน์ไม้ขั้นพื้นฐาน. (2547). ส�ำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้. สัมภาษณ์ อาจารย์ ธนา อุทัยภัตรากูร. (พฤษภาคม 2558) สัมภาษณ์ อาจารย์ เดชา เตียงเกตุ. (มิถุนายน 2558) 107 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


Bamboo Material Lifetime Extension Prototype in Applied Vernacular House in Paka-kyaw Karen Village, Pongluek Kaengkrahjarn, Petchaburi Asst. Prof. Terdsak Techakitkachorn, Ph.D.

Faculty of Architecture Chulalongkorn University / terdsak@gmail.com

Abstract

The evolution of architectural elements of vernacular houses of the Paka-kyaw Karen in the Pongluek district of Kaengkrahjarn

National Park has been the result of both interior and exterior factors. Change has diminished characteristics of the Karen village’s vernacular identity that were once closely derived from and related to the forest. The integrative application of Paka-kyaw Karen’s wisdom in bamboo architecture and the use of bamboo in contemporary architecture allow the local identity to be restored and at the same time provide some new social and environmental solutions through the experimental construction of a Paka-kyaw Karen vernacular house prototype. By utilizing an applied method that combines local wisdom to modern science of contemporary architecture, several potential methods have been discovered and can be employed to home construction in areas where natural and financial resources, construction tools and labor are limited. The method ranges from prolonging the lifespan of bamboo columns through the use of cement, prevention of wood-boring beetles or bamboo borers (Dinoderus minutus) with wood vinegar, to the functionality of bamboo wedges that contributes to the house’s structural integrity. Nevertheless, extending the life time of bamboo comes with several other issues that need to be put into consideration in order for the improvement to be fully successful. Such considerations include the development of the roofing material’s longevity and the formation of a sustainable cycle of reforestation such as the establishment of a bamboo wood bank.

Keywords: Paka-kyaw Karen, Kaengkrahjarn National Park, bamboo, house, material, lifetime extension.

1. Background

Kaeng Krachan National Park is Thailand’s largest

Chulalongkorn University, a fieldwork study was conducted to

national park with an area covering three different provinces.

survey and develop the local community within the area through

The land contains incredibly rich nature, making it one of the

the collaboration with Paka-kyaw Karen people and a number

most important forests in Thailand. Since 2014, Kaeng Krachan

of local agencies. Through the construction of two traditional

National Park has been nominated for UNESCO’s World

Paka-kyaw Karen’s vernacular houses, students are able to learn

Heritage committee’s consideration to register the land as a

the construction methods and vernacular wisdoms directly from

natural and environmental world heritage. In addition to the

the local artisans as they develop different concepts and approaches

land’s pristine nature, Kaeng Krachan is also home to the Paka-kyaw

that help form a sustainable building material cycle. The initial

Karen tribe and their culture, which with great humbleness and

survey reveals a number of ongoing problems that are the results

harmony, have long existed as part of this ancient forest. Pongluek

of the change in Karen people’s way of living. The locals prefer

and Banggloi districts are among the areas that the Paka-kyaw

houses with stronger structural durability with materials and

Karen people permanently settle in (the Paka-kyaw Karen

compositions that are different from the past where pieces of

people often relocate as their way of life), and they bring dis-

bamboo, rattan, or real wood were joined by simple tying tech-

tinctive local wisdoms, architecture, traditions and rituals. The

niques. With breadwinners of households being unable to make

transition from a cyclic agriculture to a settled agriculture in a

time to construct and maintain a proper improvement of their

designated piece of land results in increasing demands for

houses and the procurement of building materials becoming

resources due to the growing consumption by the expanding

harder due to dwindling natural resources in the area and

community. In light of the current situation, initiated as a part

regulations that restrict the locals’ access to the forest in the

of the coursework of Basin Architecture Morphology and

National Park land, Karen people turn to industrial construction

Environmental and Architectural Conservation subject by

materials, causing the new built structures to deviate from the

the Department of Architecture, the Faculty of Architecture,

community’s cultural identity. As a result, finding a proper

108 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


solution to this problem is one of the main concerns and will allow Paka-kyaw Karen people to achieve a sustainable way of life and coexistence with nature.

The article is written under the notion that physical study

of architecture can identify behavioral and societal dimensions of people living in these Esan houses, with the belief that changes brought about by external factors cannot ultimately and entirely change the pre-existing local characteristics. This article is a review of previous literature that focuses on vernacular houses in the Esan region. It presents the changes of “Huan Esan” through the study of the author’s own fieldwork research conducted between the year 2000 and present, which explored and collected data encompassing different types of Esan houses, from authentically traditional houses to newer residential structures with more contemporary functions and esthetics. Environmental information concerning the dwellers’ quality of living is also obtained and used to examine its relationship with diverse physical characteristics of the houses. The three parts of this article include: (1) traditional Esan houses known as ‘Huan Esan’; (2) Esan houses in the present time (contemporary Huan Esan; and (3) the change in residential trends in the Esan region.

The fieldwork and construction of vernacular homes

serve as an experimental learning ground that needs further study and development in order to attain the most suitable solutions and balance in which the use of natural materials, local wisdoms and modern construction technologies and materials can be effectively integrated. The study focuses on maintaining a sustainable coexistence between the local community’s way of life and nature, and proposes potential approaches that can be applied to future developments of smallscale buildings.

2. Significant Issues from the Research Experiment 2.1 Work Process

The work process of this study consists of two phases: (1) The First Phase: The Learning of Local Wisdoms and Experimentation of Wood-Boring Beetle Prevention Using Natural Pesticide This particular phase involves the learning of local construction wisdoms of Paka-kyaw Karen people in Pongluek district. The initial survey was carried out through a fieldwork study and interviews of the locals during which the researchers and local workmen learn through the actual process. The design and construction process led by Paka-kyaw Karen workmen are observed and participated by a group of professors and students from Chulalongkorn University. Through observation

and assistance, the professors and students acquire the knowledge through actual practice, which will later be applied to contemporary construction technology. At the same time, the use of natural pesticide is experimented on for possible extension of the wood’s lifespan. Using the natural pesticide (a mixture of Calcium hydroxide (traditionally called ‘slaked lime’) and wood vinegar), the team attempts to come up with the most effective way to pour the solution into the bamboo parts used for the construction. (2) The Second Phase: House Construction Using Bamboo Parts with Lifespan Extension Process The group of professors and students of Chulalongkorn University proposes a new vernacular house prototype developed from the floor plan of an original Paka-kyaw Karen’s home. The floor plan is defined by 3x3 rows of square columns. The veranda is extended in different directions following the required functionalities or the land’s physical conditions. The new floor plan is a result of a close collaboration between the research team and Paka-kyaw Karen workmen with size and proportion adjusted to suit the craftsmen’s construction skills. The process continues with the use of the bamboo parts that has gone through the lifespan extension process using the wood insect treatment (mix of slaked lime and wood vinegar) as the house’s main structural compositions. The objective of the experiment is to replace the use of hard wood with bamboo for it is locally abundant and self-regenerating. Under efficient management, such approach can be a sustainable solution to the shortage of hardwood.

2.2 Results and Assessment

Bamboo has been the principal material in the construction of Paka-kyaw Karen homes for it is easy to find and can be utilized in almost every part of the construction. Paka-kyaw Karen people have long possessed the know-how in the search and preparation of bamboo wood to optimize its efficiency and functionality as a construction material such as the most suitable season to harvest the wood and features of the wood that can be used for home construction. Nevertheless, bamboo cannot exceed a 4-5 year lifespan due to wood-boring beetles, which are considered to be one of the major threats of the bamboo’s life expectancy. The insects bore into the texture of the wood and eventually damage its structural integrity. The group experiments a new preventive approach to prevent wood-boring beetles and prolong bamboo’s lifespan by developing the locals’ existing methods such as soaking the bamboo in water for 2-3 months, in which the wood is left to decay. The more industrial approach is introduced to the experiment carried out by soaking the wood in a different kind of solution such as borax to maximize the insect-repellent ability. The experiment is developed into a method, in which the locals can apply and utilize. The conclusion is made that the use of the slaked lime and wood vinegar 109 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


solution to soak the wood is the most interesting alternative. The solution manifests the ability to effectively prevent wood-boring beetles and its environmentally friendly quality (the experimental process takes place with fresh bamboo wood being soaked in the solution before they are placed in the container with the wood- boring beetles inside). Because certain local households may not have sufficient funds to build their own well to soak the wood, the working group alters the process by proposing the method in which the solution is poured into the hollow stems of the bamboo. The wood is drilled with the solution being directly injected into its texture including the joints, allowing the wood to thoroughly absorb the solution before it is used as the house’s structural compositions (columns, beams, joists, rafters and strips of bamboo used for the construction of a house’s floor and walls). 2.2.2 Bamboo as a Substitute Structural Material

While Paka-kyaw Karen homes were constructed using predominantly hardwood due to its strength and long lifespan, with the current situation where the procurement of hardwood is restricted, particularly in the national parks’ areas, the working group proposes the use of bamboo columns as the house’s main structural member. The house’s foundation is improved from the original construction method where holes are dug for hardwood columns to be erected in. Such method causes the columns to be directly affected by the humidity from the soil and ultimately deteriorate the columns’ lifespan. After the idea of replacing the hardwood columns with bamboo is proposed, to strengthen the durability and solidity of the foundation columns, cement is poured into the hallow stem of the bamboo (with the length equivalent to 4-5 sections of a bamboo’s internode). Inserted inside of the cement-filled internodes is a bamboo part, which is cut into a 45-centimeter long piece with 1-2 cm. section. 2.2.3 Use of Bamboo Wedges to Substitute Rattan

The working group finds that rattan is used as the material that helps fasten the joineries of different structural members (roof, floor) of a Paka-kyaw Karen house together. With rattan becoming scarcer and growing far deeper into the forest, the working group proposes the idea of joining the bamboo parts by drilling holes on the wood with wedges employed to reinforce the joineries to replace the use of rattan (this particular process is utilized in the construction of modern bamboo architecture). After several consultations with the Paka-kyaw Karen artisans, bamboo wedges are applied to help strengthen the joineries. A dowel is hammered into a drilled hole before another smaller and sharper dowel is driven into the previous dowel, causing it to expand and better fit the drilled hole on the bamboo’s stem. 110 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

3. Conclusion and Suggestions 3.1 Conclusion

The construction of the prototype of Paka-kyaw Karen house

at Pongluek area is an experiment on the combined elements between Paka-kyaw Karen people’s local wisdoms in materials and construction methods and the more contemporary process of bamboo wood’s lifespan extension. The experiment encompasses the material preparation, design and lifespan extension process using natural, environmentally friendly pesticide. The adjustment of the building’s structure creates more efficient functional space such as the development of the house’s foundation, the use of bamboo wedges, which are achieved through collaboration with Paka-kyaw Karen artisans. The methods can be referenced and applied to develop the construction methods of vernacular homes in the area where construction tools and resources are limited.

3.2 Social, Ecological and Cultural Benefits

(1) Bamboo is a sustainable and substitutable natural material. The role of the community forest can generate a sustainable cycle of self-regenerating resources, which allows locals to grow the wood that will be used for the construction of their own homes without the need to rely on outsourced materials. Such approach to material use prevents any negative effects on the ecological system of the forest while the absence of transportation can potentially minimize the carbon footprint to zero. (2) Paka-kyaw Karen houses use locally available materials, which offer only a limited lifespan of only 4-5 years and require constant maintenance. The application of modern-day body of knowledge to extend the material’s life expectancy to 5-10 years can significantly reduce the burden over maintenance issues, which fits better with locals’ changing way of life. It offers a more practical alternative to maintain traditional construction and restoration methods, which will be passed on to the later generations. (3) The integration of local know-how and modern knowledge resonates with the changing context of Paka-kyaw Karen community as it proposes a more practical and compromising solution that better corresponds with the contemporary world. 3.3 Suggestions

Throughout the construction process of Paka-kyaw Karen homes, there are certain issues that can be pointed out for future improvements.


(1) A collaboration between Paka-kyaw Karen people and local authorities such as the National Park should be carried out to find a practical solution for bamboo reforestation program to take place in a suitable and properly operated land. The development of a natural material bank should be done to handle other natural materials after they have gone through the lifespan extension process. (2) No substantial study and solution has been provided on the lifespan extension of the traditional roofing material (Ta Kror leaves) of Paka-kyaw Karen homes. There has not been any experiment done on a substitute material that can withstand the sun and rain, which can be a more challenging and timeconsuming process.

Acknowledgements The study and construction of the prototype of Paka-kyaw Karen house cannot be achieved without the help and invaluable knowledge of the Paka-kyaw Karen artisans, and support from the Pidthong Lungpra Foundation, Local Formation Foundation Community Organizations Development Institute, Kaengkrachan National Park, and Chulalongkorn University, which have been significant resources of information throughout the entire process of the project, including the dedication and contribution from the students from the 2014 and 2015 Basin Architecture Morphology and Environmental and Architectural Conservation class.

Bibliography Anupanphong, Akaraphong. (2007). Paka-kyaw Karen homes: Sustainability and Adjustment under Eco-Culture culture of

Cyclic agriculture. Masters Thesis of Master of Arts Program). Silpakorn University.

Olarnratmanee, Raweewan. (2017). Dynamics of Vernacular Architecture of Ethic Groups: A Case Study of Tai Yai Ethic Group

in Khun Yuam, Mae Hongson Province and Karen Community in Mae Lha Temporary Shelter in Tak Province.

Built Environment Inquiry Journal. Faculty of Architecture. Khon Kaen University.

Pancharueng, Ularn and Olarnratmanee, Raweewan. (2015. Patterns and Formations of Paka-kyaw Karen Architecture in

Mae Lha Temporary Shelter in Tak Province. Environmental Design Academic Journal.

Wichaidit, Soraphong. (2004). Formation of Identity of Karen Migrants: A Case Study of Mae Lha Temporary Shelter in

Tak Province. Masters Thesis of Master of Arts Program in Anthropology. Chulalongkorn University.

111 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


Maritime Museum of Denmark:

Bjarke Ingels กับสถาปัตยกรรมใหม่บนพืน้ ทีเ่ ก่า นวันวัจน์ ยุธานหัส

/

nawanwaj.yudhanahas@gmail.com

Nawanwaj Yudhanahas

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | wchant@kku.ac.th

ภาพที่ 1 : Maritime Museum of Denmark

112 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

Image 1 : Maritime Museum of Denmark


บทคัดย่อ Maritime Museum of Denmark ในเมืองเฮลซิงกอร์ (Helsingør) ประเทศเดนมาร์ก เป็นพิพธิ ภัณฑ์การเดินเรือออกแบบ โดย Bjarke Ingels Group (BIG) ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2013 การออกแบบมีความท้าทายจากทีต่ งั้ (site) ทีเ่ ป็นอูต่ อ่ เรือเก่า และการทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์แห่งนีต้ งั้ อยูต่ ดิ กับแหล่งมรดกโลก (UNESCO World Heritage Site) บทความนี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ จ ะศึ ก ษาการออกแบบ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โดยอาศัยการส�ำรวจอาคารร่วมกับการทบทวน วรรณกรรมจากข้ อ เขี ย นต่ า งๆ เพื่ อ วิ เ คราะห์ ถึ ง แนวทางของ สถาปนิกในการออกแบบการอยูร่ ว่ มกันระหว่างสถาปัตยกรรมเก่า และใหม่ การออกแบบภายใต้ข้อจ�ำกัดของที่ตั้ง การเล่าเรื่องราว ผ่านสถาปัตยกรรม และการน�ำเสนออัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรม พื้นถิ่นสแกนดิเนเวียในการออกแบบพิพิธภัณฑ์ของประเทศ คำ�สำ�คัญ: Bjarke Ingels Group, Maritime Museum, underground, Denmark, Scandinavia

บทนำ� Bjarke Ingels Group หรือ BIG เป็นหนึง่ ในสถาปนิกระดับ แนวหน้าของเดนมาร์กในปัจจุบนั สถาปัตยกรรมของ BIG ไม่วา่ จะ เป็น 8 House, Mountain Dwellings หรือ Danish Pavilion ในงาน Shanghai Expo เมื่อปี ค.ศ. 2010 เป็นที่จดจ�ำจากรูปทรง (form) ที่โดดเด่น สอดแทรกไปด้วยความสนุกสนานและอารมณ์ขัน และ การสื่ อ สารแนวคิ ด ในการออกแบบผ่ า นไดอะแกรมที่ เ ป็ น เอกลักษณ์ สถาปัตยกรรมของ BIG ทีพ่ บเห็นได้ในหลายจุดในเมือง หลวงโคเปนเฮเกน ไม่ใช่อาคารประเภททีห่ ลบซ่อน หรือพรางตัวไป กับสภาพแวดล้อมรอบตัว แต่เพียงแค่ 45 นาทีโดยรถไฟจาก โคเปนเฮเกน ที่พิพิธภัณฑ์การเดินเรือแห่งเดนมาร์ก (Maritime Museum of Denmark) ในเมืองเฮลซิงกอร์ ผลงานของ BIG ซ่อน ตัวอยู่อย่างเงียบๆ เฮลซิงกอร์ (Helsingør) ตั้งอยู่ตอนเหนือของโคเปนเฮเกน ในจุดทีพ่ รมแดนของประเทศเดนมาร์กและสวีเดนห่างกันเพียงแค่ การเดินเรือข้ามทะเลเพียง 20 นาที แลนด์มาร์คของเฮลซิงกอร์คือ Kronborg Castle หรือที่รู้จักในนามปราสาทของ Hamlet จากบท ละครของวิลเลียม เชคสเปียร์ แต่นอกจากปราสาทยุค Renaissance ทีไ่ ด้รบั การขึน้ ทะเบียนโดยองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก แล้ว เฮลซิงกอร์ยังเป็นเมืองที่ในอดีตเลื่องชื่อด้านอุตสาหกรรมต่อ เรือ แต่เมื่อยุคสมัยและฐานการผลิตเปลี่ยนไป เฮลซิงกอร์ไม่ใช่ เมืองแห่งการต่อเรืออีกต่อไป โครงการพัฒนาเฮลซิงกอร์ให้กลาย เป็นเมืองวัฒนธรรม (Cultural City) จึงเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการ บูรณะ Kronborg Castle ครั้งใหญ่ การสร้าง Culture Yard ศูนย์ การเรียนรู้ที่ประกอบไปด้วยห้องสมุด โรงละคร พื้นที่นิทรรศการ และร้านกาแฟภายในโกดังเก่า และการย้ายพิพธิ ภัณฑ์การเดินเรือ แห่งเดนมาร์กออกจากที่ตั้งเดิมภายใน Kronborg Castle

113 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 2 : ผลงานของ BIG ซ่อนตัวอยู่ใต้ระดับพื้นดิน ติดกับอาณาเขตของ Kronborg Castle ที่มา : Mora, 2013. Image 2 : BIG’s architecture hides itself under ground level, adjacent to the perimeter of Kronborg Castle. Image Source: Mora, 2013.

ภาพที่ 3 : ผังที่ตั้ง

ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d.

Image 3 : The site’s floor plan

114 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d.


ระหว่างเก่ากับใหม่ ระหว่างโดดเด่นกับซ่อนตัว “We decided to turn the dock inside out, to embrace it with the museum as a radical act of preservation.”

- Bjarke Ingels Group in Hot to cold: an odyssey of architectural adaptation

ต�ำแหน่งที่ตั้งใหม่ของ Maritime Museum of Denmark ในอดีตเป็นอู่ต่อเรือ (dry dock) มีลักษณะเป็นพื้นที่ว่าง (void) รูปเรือในพื้นดิน ยาว 150 เมตร กว้าง 25 เมตร ลึก 8 เมตร ตั้งอยู่ใน เขตอนุรักษ์ นอกรั้วปราสาทสมัยศตวรรษที่ 16 เพียงไม่กี่ร้อยเมตร ข้อก�ำหนดของการประกวดแบบ คือการสร้างอาคารที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ระดับพื้นดิน เติมลงไปในพื้นที่ว่างเพื่อที่จะได้ไม่บดบังทัศนียภาพ ของ Kronborg Castle แต่ BIG ได้เสนอแนวทางแก้ปญ ั หาใหม่ โดยให้อาคารพืน้ ทีก่ ว่า 6,000 ตารางเมตร ล้อมรอบพื้นที่ว่างรูปทรงเรือแทน

ภาพที่ 4 : BIG เสนอให้สร้างอาคารรอบอู่ต่อเรือ

ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d.

Image 4 : BIG proposing the idea of constructing the buidling around the old dry dock Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d.

ภาพที่ 5 : สะพานเชื่อมที่สร้างเพิ่มลงไปในพื้นที่ว่างของอู่ต่อเรือ

ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d.

Image 5 : The bridges constructed as an annex in the void of the old dry dock Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d.

115 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 6 : ผังพื้นชั้น-1

ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d.

Image 3 : Floor plan of Floor-1

ภาพที่ 7 : ผังพื้นชั้น-2

Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d.

ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d.

Image 7 : Floor plan of Floor-2

ภาพที่ 8 : รูปตัด

Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d.

ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d.

Image 8 : Sections of the design

116 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d.


ผลลัพธ์ของการออกแบบมีเพียงราวกันตกกระจกทีส่ งู ขึน้ มาเหนือระดับพืน้ ดิน พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ ของอู่ต่อเรือถูกทิ้งไว้ให้ว่างเปล่า ส่วนที่เพิ่มเติมมาคือ ‘สะพาน’ ที่เชื่อมผนังคอนกรีตของอู่ต่อเรือด้าน หนึ่งเข้ากับอีกด้านหนึ่ง สะพานแรกท�ำหน้าที่เป็นทางเชื่อมจากตัวเมืองเฮลซิงกอร์ ผ่านด้านนอก พิพิธภัณฑ์ และตรงเข้าสู่ Kronborg Castle ในขณะที่อีกสองสะพาน คือทางลาด (ramp) ที่น�ำผู้ชม เข้าสู่พิพิธภัณฑ์ ภายใต้สะพานทั้งสามนี้ คือพื้นที่ห้องประชุม (auditorium) และพื้นที่นิทรรศการ หมุนเวียนที่มองเห็นได้จากภายนอก ส่วนพื้นที่นิทรรศการถาวรถูกซ่อนอยู่หลังผนังคอนกรีตเดิมของ อู่ต่อเรือทั้งหมด บางช่วงของผนังคอนกรีตเดิมถูกเจาะเพื่อเปิดมุมมองและรับแสงธรรมชาติให้กับร้านกาแฟ และส�ำนักงาน นอกจากนีย้ งั มีบนั ไดทีเ่ ชือ่ มระดับพืน้ ดินภายนอกกับพืน้ คอนกรีตด้านล่างของอูต่ อ่ เรือ ที่ต�่ำลงไป 8 เมตร เพื่อเป็นทางลัดเข้าสู่ร้านกาแฟและลานจัดกิจกรรมกลางแจ้งอีกด้วย แนวทางการออกแบบของ BIG นั้น คงเป็นข้อคิดที่น่าสนใจให้แก่นักออกแบบได้ในหลาย ประเด็น ถึงแม้อู่ต่อเรือเก่าจะไม่ใช่พระเอกของเมืองหรือเก่าแก่ได้เท่า Kronborg Castle แต่ก็มีเรื่อง ราวประวัตศิ าสตร์ทคี่ วรค่าแก่การอนุรกั ษ์เช่นกัน การที่ BIG พลิกโจทย์เป็นการเก็บอูต่ อ่ เรือเดิมไว้ และ สร้างพื้นที่ใหม่ให้ซ่อนตัวอยู่โดยรอบแทนการเติมอาคารลงไปในช่องว่าง ก็คงช่วยให้ประวัติศาสตร์ การเป็นเมืองต่อเรือของเฮลซิงกอร์ได้ถูกเล่าผ่านอู่ต่อเรือของจริง นอกเหนือจากการเล่าเรื่องผ่านวัตถุ หรือภาพถ่ายในนิทรรศการ แนวทางการออกแบบของ BIG ยังเป็นกรณีศึกษาถึงการออกแบบการอยู่ร่วมกันระหว่างของ เก่าและของใหม่ เมื่อเมืองไม่ได้มีรายได้จากการต่อเรืออีกต่อไป หน้าที่ของอู่ต่อเรือจึงต้องถูกปรับ เปลี่ยน แต่ความท้าทายของนักออกแบบคือการหาจุดสมดุลระหว่างเก่าและใหม่ การเลือกของเก่าที่ จะเก็บไว้ รูปแบบ ปริมาณ หรือขนาดของสิ่งใหม่ที่จะเติม และการหาจุดสมดุลระหว่างการพรางตัว ไปกับบริบทเก่า แต่ก็ยังโดดเด่นในตัวเอง หรืออย่างที่ BIG กล่าวถึงโครงการนี้ว่าเป็นการสร้างอาคาร ที่ต้องมองไม่เห็น แต่ก็ต้องเด่นพอที่จะเป็นสถาปัตยกรรมเอก (masterpiece) ที่ดึงดูดให้คนมาเยือน (Ingels, 2010) และการออกแบบของ BIG คงส�ำเร็จไม่ได้ ถ้าไม่ใช่การเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ของนักออกแบบ การที่ BIG เปรียบเทียบโครงการนี้ ว่าเป็นการผสมระหว่างโบราณคดีและการออกแบบยานอวกาศ (Maritime Museum of Denmark, n.d.) ก็คงไม่ใช่การเปรียบเทียบทีเ่ กินจริง เพราะมีทงั้ ความท้าทาย ด้านวิศวกรรมการก่อสร้างในทีน่ ำ�้ ทะเลเข้าถึง และการจินตนาการถึงพืน้ ทีท่ ยี่ งั ไม่เกิดขึน้ แต่จะเกิดขึน้ ได้จากการขุดดินโดยรอบและเจาะผนังเดิมบางส่วนเพือ่ สร้างอาคารใต้ดนิ รอบผนังเดิมทีห่ นาถึง 1.5 เมตร

ภาพที่ 9 : ภาพระหว่างการก่อสร้าง

ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d. 2011.

Image 9 : During the construction

Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d.

117 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 10 : อาคารใหม่ของ BIG กับผนังคอนกรีตเดิมที่เต็มไปด้วยเรื่องราวของอู่ต่อเรือเก่า ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d.

Image 10 : BIG’s new built structure and the historic concrete walls of the old dry dock Image Source : Bjarke Ingels Group, n.d.

เรื่องราวของการเดินเรือในองค์ประกอบของอาคาร Thorbjøn Thaarup ภัณฑารักษ์ของพิพธิ ภัณฑ์ กล่าวว่า เรือ่ งราวทีเ่ กีย่ วข้องกับประวัตศิ าสตร์ การเดินเรือมีมากกว่าทีค่ นทัว่ ไปนึกถึง ไม่วา่ จะเป็นความรัก การลาจาก ความกล้าหาญ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (Maritime Museum of Denmark, n.d.) นี่คงเป็นเหตุที่นิทรรศการภายในจัดแสดงวัตถุหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับเรือ เมืองท่า และวิถี ชีวติ ของผูค้ น ทัง้ จากเดนมาร์กเองและประเทศอืน่ ตัง้ แต่โมเดลท่าเรือ โมเดลเรือเดินสมุทร เครือ่ งยนต์ อุปกรณ์การเดินเรือ จดหมายทีพ่ บั เป็นรูปดอกไม้จากลูกชายถึงแม่กอ่ นการเดินทางไปกับเรือเดินสมุทร และไม่ได้กลับมาอีก แฟชั่นของกะลาสีเรือ เรือขนส่งที่แช่เย็นกล้วยจากอเมริกาใต้มายุโรป ไปจนถึง ปลาหน้าตาประหลาดที่พบในกัวเตมาลา และภาพถ่ายโสเภณีในอัมสเตอร์ดัม การเดินชมพืน้ ทีน่ ทิ รรศการถาวรทัง้ 8 โซน คือการเดินรอบอูต่ อ่ เรือเก่า โดยมีจดุ เริม่ ต้นและจบ ที่จุดขายบัตรเข้าชมและร้านขายของที่ระลึก พื้นของห้องนิทรรศการถาวรลาดเอียงลงในอัตราส่วน 1:50 จนผูช้ มไม่รสู้ กึ ถึงความลาดเอียง ระหว่างทางผูช้ มเดินผ่านพืน้ ทีแ่ คบทีเ่ ดินสวนกันไม่ได้บา้ ง พืน้ ที่ ห้องโล่งกว้างบ้าง โดยมีห้องประชุมและพื้นที่นิทรรศการหมุนเวียนบนพื้นลาดเอียงของ ‘สะพาน’ ท�ำ หน้าที่เหมือนเป็นทางลัดที่ตัดผ่านล�ำดับการดูนิทรรศการถาวรจากการเดินตามเส้นรอบวงของอู่ต่อ เรือ เป็นการเดินตัดจากด้านหนึ่ง ไปยังอีกด้านหนึ่ง เป็นทีน่ า่ สังเกตว่า ตลอดทางเนือ้ หาของการเดินเรือถูกน�ำเสนอผ่านการจัดนิทรรศการ ผ่านตัว อูต่ อ่ เรือเอง และยังถูกสอดแทรกอยูใ่ นองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมในหลากหลายขนาด (scales) และหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปทรง (form) โครงสร้าง (structure) ทัศนียภาพรอบนอก (landscape) รอยต่อระหว่างวัสดุ (joint details) ความรู้สึกและการอุปมาอุปไมย (metaphor)

118 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 11 : นิทรรศการถาวร

ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d.

Image 11 : The permanent exhibiion

Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d.

ในระดับทัศนียภาพรอบนอก ม้านั่งหินที่ระดับพื้นดิน มีขนาดเล็ก - ใหญ่ และวางตัวชิด - ห่าง เพื่อสะกดชื่อของพิพิธภัณฑ์เป็นรหัสมอร์ส และขอบพื้นทางลาดที่น�ำผู้ชมเข้าสู่พิพิธภัณฑ์ถูกพับขึ้น เป็นราวกันตกท�ำให้รูปตัดของทางเดินมีลักษณะเหมือนเรือ ในประเด็นของความรูส้ กึ และการอุปมาอุปไมย การเดินลงทางลาดไปยังพิพธิ ภัณฑ์อาจเปรียบ ได้เหมือนการลงไปสู่ห้วงทะเลลึก (Maritime Museum of Denmark, n.d.) ภายในพื้นที่นิทรรศการ ถาวรไม่มีการเปิดมุมมองให้เห็นอู่ต่อเรือเก่าด้านนอก แสงธรรมชาติจากภายนอกและมุมมองออกไป ยังอู่ต่อเรือเก่าจะผ่านเข้ามาในจุดที่นิทรรศการหมุนเวียน ห้องประชุมและร้านกาแฟตัดผ่านเข้ามา คาบเกีย่ วกับทางสัญจรของนิทรรศการถาวรเท่านัน้ พืน้ ทีน่ ทิ รรศการถาวรทีแ่ สงธรรมชาติสอ่ งไม่ถงึ ก็ คงเปรียบเสมือนห้วงทะเลลึกนั่นเอง 119 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ในระดับโครงสร้าง โซ่ขนาดใหญ่ที่พื้นที่นิทรรศการหมุนเวียน ชวนให้นึกถึงโซ่ที่ใช้ในเรือเดิน สมุทร ซึ่งสถาปนิกเองระบุว่า ไม่ได้เป็นแค่วัสดุตกแต่ง แต่ท�ำหน้าที่เป็นตัวรับน�้ำหนักของพื้นที่ นิ ท รรศการหมุ น เวี ย นที่ แ ขวนลงมาจากโครงสร้ า งรั บ ทางลาดเข้ า สู ่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ด ้ า นบนอี ก ด้ ว ย (Pritchard, 2014) ในระดับองค์ประกอบของอาคาร บันไดเชื่อมระหว่างนิทรรศการห้องสุดท้ายไปร้านขายของที่ ระลึก มีลักษณะโค้งที่ชวนให้นึกถึงกระดูกงูเรือ และชั้นวางของในร้านขายของที่ระลึกก็ถูกออกแบบ ให้ห้อยลงมาจากฝ้า และส่ายไปมาเมื่อสัมผัส เหมือนจะสื่อลักษณะการเคลื่อนไหวของวัตถุบนเรือ และในระดับเล็กลงมาอีก คือระดับรอยต่อของวัสดุ หมุดทองเหลืองยึดเก้าอีไ้ ม้ในห้องประชุมก็ชวนให้ นึกถึงวิธีการต่อไม้ในหุ่นจ�ำลองเรือเดินสมุทร หรือกระดุมเสื้อแจ็คเก็ตของกัปตันเรือ

ภาพที่ 12 : พื้นที่นิทรรศการหมุนเวียน หนึ่งใน ‘สะพาน’ ที่เชื่อมระหว่างผนังสองด้านของอู่ต่อเรือ ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d.

Image 12 : A segment of the temporary exhibition space, one of the bridges that connect the two opposite walls of the dock. Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d.

ภาพที่ 13 : รูปตัดสะพาน ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d. Image 13 : Section of the bridges Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d

120 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 14 : บันไดโค้ง ม้านั่งภายนอก และเก้าอี้ห้องประชุมบางส่วนของลูกเล่นสนุกสนานในอาคาร ที่ชวนให้นึกถึงการเดินเรือ ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d. Image 14 : The arched stairway, outdoor benches and chairs inside the auditorium, parts of the gimmicks of the building reminiscent of the maritime journey. Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d.

อาคารใหม่กับอัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสแกนดิเนเวีย ถึงข้อจ�ำกัดด้านกฎหมาย จะท�ำให้พพิ ธิ ภัณฑ์นไี้ ม่ได้มรี ปู ทรงทีเ่ ด่นชัดเหมือนผลงานชิน้ อืน่ ของ BIG แต่ก็แฝงไปด้วยเอกลักษณ์อื่นที่พบในผลงานของ BIG เช่น การที่ระบบ circulation และการ เคลื่อนที่ของผู้ใช้งานเป็นหนึ่งในแนวคิดหลักของการออกแบบ ไม่ว่าการเคลื่อนที่ในอาคารจะมาใน ลักษณะของการเดิน การขี่จักรยาน (8 House และ Danish Pavilion ในงาน Shanghai Expo 2010) หรือการเล่นสกี (Amager Bakke Waste-To-Energy Plant) อีกหนึง่ เอกลักษณ์อาจเป็นลักษณะการพาดผ่าน - ซ้อนทับกันของพืน้ ที่ เช่น พืน้ ของห้องประชุม และพื้นที่นิทรรศการที่ท�ำมุมเฉียงซึ่งกันและกัน เกิดมุมมองที่น่าสนใจระหว่างห้องประชุมที่มีพื้นลาด เอียงและพื้นที่นิทรรศการด้านบนและด้านล่าง พื้นไม้จากห้องประชุมยังขยายออกไปใต้พื้นห้อง นิทรรศการด้านบน เกิดเป็นพื้นที่ที่มีฝ้าเพดานต�่ำลงมา ใช้เป็นห้องประชุมส�ำหรับเด็ก เป็นความ สนุกสนานที่แฝงอยู่ในสถาปัตยกรรมของ BIG อีกด้วย 121

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 15 : ห้องประชุมและพื้นที่นิทรรศการ Image 15 : Audiroroum and exhibitoin space

ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d. Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d.

ภาพที่ 16 : ห้องประชุมหรือห้องเรียน (Classroom) สำ�หรับเด็ก Image 16 : Auditorium or Classroom for children visitors

122 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage

ที่มา : Hjortshoj, 2013.

Image Source: Hjortshøj, 2013.


Jonathan Glancey นักวิจารณ์งานสถาปัตยกรรมชาวอังกฤษได้พูดถึง Maritime Museum of Denmark ในวารสาร The Architectural Review ว่าถึงแม้จะเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความพิเศษ แต่ทางลาดขึ้น - ลง ห้องนิทรรศการที่ค่อนข้างมืด และอัดแน่นไปด้วยชิ้นงานที่น�ำมาจัดแสดงและลูก เล่นมากมาย ในบางช่วงก็มากเกินไปและชวนให้เวียนหัว Glancey ได้ยกตัวอย่างพิพิธภัณฑ์เรือไวกิ้งที่เมือง Roskilde ประเทศเดนมาร์ก ออกแบบโดย Erik Christian Sørensen สถาปนิกชาวเดนมาร์ก ในปี ค.ศ. 1969 และพิพิธภัณฑ์เรือไวกิ้ง Bygdøy เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ออกแบบโดย Arnstein Arneberg สถาปนิกชาวนอร์เวย์ ในปี ค.ศ. 1926 ถึงลักษณะพืน้ ทีท่ สี่ ว่างด้วยแสงธรรมชาติ มีความสงบเงียบและถ่อมตัว และการทีอ่ าคารได้ปล่อยให้ วัตถุที่จัดแสดงเป็นตัวเด่น แทนที่สถาปัตยกรรมจะดึงความสนใจไป (Glancey, 2014) พิพิธภัณฑ์ทั้งสองที่เรียบง่าย สงบ ถ่อมตัว และใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ อาจเรียกได้ว่า เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมในกลุม่ ประเทศสแกนดิเนเวียก็วา่ ได้ อย่างที่ Professor Henry Plummer ได้ให้ข้อสังเกตถึงการสร้างอัตลักษณ์ให้สถาปัตยกรรมสแกนดิเนเวียที่เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1920-1930 โดยสถาปนิกอย่าง Alvar Aalto (ชาวฟินแลนด์), Sigurd Lewerentz (ชาวสวีเดน), และ Arne Jacobsen (ชาวเดนมาร์ก) ปรับลดความเป็นระเบียบ (formality) และแข็งขันของเครื่องจักรใน สถาปัตยกรรมยุคโมเดิรน์ (Modernism) โดยใช้ลกั ษณะของแสงธรรมชาติทมี่ เี อกลักษณ์ของพืน้ ทีแ่ ถบ สแกนดิเนเวีย (แสงแดดอ่อน และพระอาทิตย์ที่ท�ำมุมต�่ำ) เป็นแรงบันดาลใจและสร้างอัตลักษณ์ให้ กับสถาปัตยกรรม ผ่านการสร้างรูปทรงของอาคารและการเลือกใช้วสั ดุทไี่ ม่ดดู ซับแสงเพือ่ ทีจ่ ะดึงแสง ธรรมชาติเข้ามาในอาคารให้มากทีส่ ดุ ผลลัพธ์คอื การเลือกใช้วสั ดุอย่างพืน้ ผิวคอนกรีตสีเงิน ไม้สอี อ่ น ผนังฉาบปูนสีขาว และรูปทรงที่เรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ (Plummer, 2012) ถึงแม้ตัวอย่างที่ Glancey กล่าวถึง จะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ลักษณะของวัตถุที่จัดแสดงและจุด ประสงค์อาจจะแตกต่างจากพิพธิ ภัณฑ์ทเี่ ฮลซิงกอร์ สถาปัตยกรรมจึงต้องตอบโจทย์และความต้องการ ที่แตกต่างกัน แต่ความเห็นของ Glancey และลักษณะของสถาปัตยกรรมอย่างที่ Plummer ตั้งข้อ สังเกต ก็คงชวนให้เรามองถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ของประเทศกับการออกแบบพิพธิ ภัณฑ์ ‘Maritime Museum of Denmark’ ขึน้ ชือ่ ว่าเป็นพิพธิ ภัณฑ์ ‘แห่งชาติ’ แล้ว อาคารจะต้องสือ่ อัตลักษณ์ ของสถาปัตยกรรมเดนมาร์กทีเ่ รียบง่าย นิง่ สงบ ใช้วสั ดุสซี ดี หรือมีรปู ทรงทีค่ วบคุมแสงธรรมชาติ มาก หรือน้อยอย่างไร ถึงพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จะไม่ใช่สถาปัตยกรรมที่ถ่อมตัว หรือท�ำตัวเป็นเพียงกรอบหรือฉากหลัง ให้วัตถุจัดแสดงอย่างพิพิธภัณฑ์เรือไวกิ้งที่ Roskilde และ Bygdøy นัก แต่พิพิธภัณฑ์ของ BIG ก็ ประสบความส�ำเร็จในการสร้างอาคารทีม่ ลี กู เล่นน่าสนใจ ไม่บดบังทัศนียภาพของ Kronborg Castle และอยู่ร่วมกับพื้นที่ของอู่ต่อเรือเก่าได้ดี ส�ำหรับด้านอัตลักษณ์ของความเป็นสแกนดิเนเวียนั้น จิต วิญญาณของสแกนดิเนเวียในยุคปัจจุบันก็คงแสดงให้เราเห็นอยู่ในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น การค�ำนึง ถึงพื้นที่สาธารณะและความนิยมวิถีชีวิตกลางแจ้ง (outdoor) ของชาวสแกนดิเนเวีย จากการปล่อย พื้นของอู่ต่อเรือเป็นที่ว่างให้เกิดกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การแสดงดนตรี หรือการให้ความส�ำคัญกับ ประชากรเด็ก จากห้องประชุมส�ำหรับเด็ก ทีม่ คี วามสูงห้อง วัสดุและสีสนั ต่างจากห้องประชุมหลัก หรือ หุน่ จ�ำลองของพิพธิ ภัณฑ์ทเี่ ด็กสามารถเอาศีรษะมุดเข้าไปได้ หรือพืน้ ทีน่ ทิ รรศการหมุนเวียนและร้าน กาแฟทีร่ บั แสงธรรมชาติทมี่ าจากมุมต�ำ่ ของพระอาทิตย์ และ material palette จากวัสดุสอี อ่ นจ�ำนวน ไม่กี่ชนิด (อลูมิเนียม กระจกใส พื้นไม้โอ๊ค) ที่อยู่ร่วมกับผิวคอนกรีตของอู่ต่อเรือเดิมได้อย่างลงตัว

123 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


ภาพที่ 17 : อู่ต่อเรือเดิมกลายเป็นพื้นที่กิจกรรม ที่มา : Boddi, 2013. Image 17 : The old dry dock turned an activity ground Image Source : Boddi, 2013.

ภาพที่ 18 : ร้านกาแฟ และผนังคอนกรีตเดิมของอู่ต่อเรือ ที่มา : Boddi, 2013.

Image 18 : Cafe and the dock’s original concrete walls. Image Source: Boddi, 2013.

124 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


บทส่งท้าย ในปี ค.ศ. 2015 Bjarke Ingels กล่าวว่า สถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นท�ำให้สถาปัตยกรรมทั่วโลกมีรูป แบบเหมือนกัน เขาต้องการจะสร้าง “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 2.0” (Vernacular Architecture 2.0) ซึ่ง เป็นสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเฉพาะท้องที่ แต่ไม่ใช่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเดิม และใช้เทคโนโลยีใน การออกแบบให้อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์หรือเครื่องจักรมากเกินไป (Winston, 2015) Maritime Museum of Denmark ให้ข้อคิดแก่นักออกแบบได้ในหลายประเด็น วิธีแก้ปัญหา ของสถาปนิกที่ตีความข้อก�ำหนดเดิมใหม่ การใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่อาจจะไม่ใช่เทคนิคทาง วิศวกรรมทีค่ นุ้ เคย การให้ความส�ำคัญกับการอนุรกั ษ์สถาปัตยกรรมรองทีอ่ าจไม่ใช่จดุ สนใจหลักของ เมืองแต่กม็ เี รือ่ งราวทีม่ คี ณ ุ ค่าอย่างอูต่ อ่ เรือเก่า และการออกแบบการอยูร่ ว่ มกันระหว่างของใหม่ - ของ เก่า โดยผลลัพธ์ที่ BIG น�ำเสนอนั้น ของเก่าไม่ได้ถูกเก็บไว้ในสภาพเดิมทั้งหมด ผนังเดิมถูกเจาะหรือ บดบังด้วยวัตถุใหม่บ้างเพื่อตอบสนองต่อหน้าที่ใหม่ของมัน แต่ก็ยังถูกรักษาไว้มากพอให้เราเข้าใจ เรื่องราวและคุณค่าในอดีต ภายในอาคาร มีการออกแบบที่มีลูกเล่นน่าสนใจ เช่น การที่พื้นที่นิทรรศการเชื่อมกันจนเป็น พื้นที่เดียว แต่แบ่งแยกกันด้วยความแคบ – กว้างของทางเดินหรือทางลาดขึ้น – ลง ขอบเขตของห้อง ประชุมเมื่อเกิดกิจกรรมถูกก�ำหนดด้วยผ้าม่าน และหลายองค์ประกอบของอาคารได้ถูกออกแบบให้ เกี่ยวข้องกับมิติต่างๆ ของการเดินเรือ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง โครงสร้าง หรือความรู้สึกของพื้นที่ สุดท้ายนี้ ถึงอาคารจะซ่อนตัวอยู่ใต้ระดับพื้นดิน ไม่โดดเด่นเกินรอบข้าง แต่ก็ไม่ธรรมดาจน ถูกมองข้ามไป มันอาจจะเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่ไม่ได้สงบเรียบง่ายเหมือนสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ของเดนมาร์กนัก แต่ยังคงจิตวิญญาณของความเป็นเดนมาร์กในหลายแง่มุม – ก็คงเหมือนที่ BIG เรียกว่า Vernacular Architecture 2.0

125 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


Maritime Museum of Denmark: Bjarke Ingels Nawanwaj Yudhanahas / nawanwaj.yudhanahas@gmail.com

Abstract

The Maritime Museum of Denmark in the town of Helsingør, Denmark, is the work of Bjarke Ingels Group (BIG)

completed in 2013. The project is conceived with the site - an old dock situating right next to a UNESCO World Heritage Site - being one of the major challenges.

The article aims to study the design of the museum through an exploration of the architectural structure and program

along with the presentation of reviewed literature to put forward an analysis of the architect’s approach, which successfully allows the old and new built structure to coexist. The study also encompasses the materialization of the design under the limitations of the site with the storytelling executed through the presence of architecture including the presentation of Scandinavian vernacular architecture’s identity in the design of the country’s museum building. Keywords:

Bjarke Ingels Group, Maritime Museum, underground, Denmark, Scandinavia

Introduction

Bjarke Ingels Group or BIG is one of Denmark’s leading

Between the Old and the New

architecture firms. Their works include projects such as the 8 House, Mountain Dwellings, the Danish Pavilion at Shanghai

“We decided to turn the dock inside out,

Expo in 2010 and others that are known for their distinctive

to embrace it with the museum – as a radical act of preservation.”

form and humor with concepts expressed from uniquely designed diagrams. There are a number of BIG’s works at

- Bjarke Ingels Group in Hot to Cold: An Odyssey of Architec-

different parts of Copenhagen with many that stand out from

tural Adaptation

the surrounding urban environment. Nevertheless, at 45 minutes by train from Denmark’s capital city, in the city of Helsingør,

the Maritime Museum of Denmark possesses a humble presence

an old dry dock with the spatial characteristics of a void that

and is tucked away as a part of its historic surroundings.

measures 150 by 25 by 8 meters in size. The site is located in the

The new home of the Maritime Museum of Denmark is

town’s conservation district, a few hundreds meter away from Helsingør is situated to the north of Copenhagen near the bor-

the famous 16th century castle. The criteria set out for the

der and is a 20-minute ferry ride away from Sweden. The town’s

design competition included the construction of a new building

landmark is Kronborg Castle, or more widely known as Hamlet’s

that had to be hidden in the underground level. The new

Castle from William Shakespeare’s classic play. In addition to

program was expected to fill the massive void and in no way

the Renaissance castle that is registered by UNESCO as a world’s

obstruct the presence of the Kronborg Castle from being visually

heritage site, Helsingør is a historical town with a prolific ship-

accessible from the site. BIG proposed a new solution by

building industry. However, that production base has now

locating the 6,000 square meter functional space of the annex

changed and Helsingør is no longer a town of that builds ships.

around the ship-shaped void.

The initiative to develop Helsingør into a cultural city began with the major renovation of Kronborg Castle and the construc-

tion of Culture Yard, a learning center that houses a public library,

railing system installed above ground level. The majority of the

theater, exhibition spaces and museum cafe inside old warehouse

space of the dry dock is left unoccupied while the addition

buildings, including the relocation of Maritime Museum of

appears in the form of ‘bridges’ that connect one side of the

Denmark from its original site inside Kronborg Castle.

dock’s concrete walls to the opposite one. The first bridge serves

The design outcome includes the presence of a glass

as a passageway that connects the city of Helsingør to the outdoor

126 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


space of the museum, and directly further into Kronborg Cas-

design team’s imagination and visualization of the non-existent

tle while the other two bridges function as ramps that lead

place, which would later be made tangible through a massive

visitors into the museum’s space. Underneath these three bridg-

dig around the site, included the drilling of parts of the original

es lie an auditorium and a circulating exhibition space that can

walls to create an underground structure surrounding the

be seen from the outside whereas the permanent exhibition

1.5-meter thick existing walls.

space is hidden behind the original concrete walls of the old dry dock.

Maritime Narrative as an Architectural Composition Parts of the original concrete walls are drilled to broad-

Thorbjøn Thaarup, the museum’s curator, explains that

en visual access to the surrounding landscape and incorporate

the narratives surrounding maritime history are larger than

natural light into the space of the café and office. A set of stairs

what most people imagine. These narratives stretch across the

connects the outdoor ground level to the concrete floor of the

aspect of love, departure, courage, all the way to science and

old dry dock 8 meters down below, leading visitors into the cafe

technology. (Maritime Museum of Denmark, n.d.)

and outdoor activity ground.

This is probably one of the reasons that the exhibition

While the old dock is not as much of a protagonist in

is curated to display an eclectic array of objects, with each

the city’s history in the way Kronborg Castle has been, the site

possessing a connection with ships, port cities and the people’s

possesses its own story that makes it equally worth conserving.

way of life both inside and outside of Denmark. The exhibited

The fact that BIG executed the brief with the decision to conserve

objects range from models of docks and ocean liners, engines

the old dock with a new program emerging around instead of

and tools, to letters folded in the shape of a flower sent to a

inside the void allowed the city’s history as a shipbuilding town

mother from a son before the departure on an ocean liner that

to be told through an actual dock, in addition to the displayed

he never returned from, to the sailors’ evolving fashions, a

objects and photographs of the exhibition.

cargo ship that transported bananas from South America to Europe all the way to bizarre-looking fish found in Guatemala

BIG’s architectural approach is also a case study of design

and photographs of prostitutes in Amsterdam.

that facilitates the coexistence between the old and the new. With the city’s main income no longer coming from the once

prosperous shipbuilding industry, the shipyard has been given

space is done by walking around the old shipyard beginning at

a new role. But the challenge for designers and architects is to

the area where the ticketing counter and museum shop are

find the point of equilibrium between the old and the new. To

located which form the start and end points of the exhibition.

successfully conserve the history, the characteristics, volume

The floor of the permanent exhibition room is designed to incline

and scale of the new program is carefully integrated under great

in the 1:50 slope, resulting in an unnoticeable transition.

balance, allowing the addition to be unified as a part of the

Through the course of the circulation, viewers walk along the

existing context while still being able to express its own identi-

passageway, with some segments so narrow that only one person

ty. In BIG’s own explanation, the project is about creating an

can get across at a time, while others are spacious open spaces.

almost invisible architectural structure that at the same time

The auditorium and circulating exhibition space on the inclined

stands out enough to be a masterpiece to attract prospective

floor of the ‘bridges’ serve as a detour route that cuts across the

visitors. (Ingels, 2010)

curated circulation of the permanent exhibition, which goes

Browsing through the 8 zones of the permanent exhibition

around the old dry dock’s circumference, leading visitors from

BIG’s design would not have been accomplished if it were

one side of the exhibition space to the other.

not for the design team’s embrace of new technologies. The fact that BIG compares the project as a mixture of archaeology and

spaceship design (Maritime Museum of Denmark, n.d.) is not

in the form of the permanent exhibition within the physical

by all means an overstatement considering the challenges in the

space of the old dry dock, but integrated as a part of architectural

realm of civil engineering alone where the architect was forced

elements of various scales from the form, structure, landscape,

to work with the site that seawater can physically access. The

joint details and metaphorical expression.

Interestingly, the grand narrative is not only presented

127 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


The outdoor landscape houses a cluster of small and

large stone benches, designed to spell the name of the museum

(8 House and Danish Pavilion at Shanghai Expo 2010) or even skiing (Amager Bakke Waste to Energy Plant).

in Morse code. The edges of the ramp that leads visitors to the museum are folded into the detail of the railing, resulting in the

Among the unique elements are the intersected/over-

section of the walkway bearing resemblance to a ship.

lapped spaces such as the floor plates of the auditorium and exhibition space that are interconnected in sharp corners and

The metaphorical representation of the place is visualized

creates an interesting perspective between the auditorium’s

through the curated circulation that leads visitors down to the

inclined walls and the top and lower floor of the exhibition space.

museum’s space and resembling the descent into the deep ocean.

The wooden floor of the auditorium extends underneath the

(Maritime Museum of Denmark, n.d.) Natural light and visual

upper exhibition room, forming a space with low ceilings where

access to the old dock are made visible at the circulating exhi-

the children auditorium is located, expressing the fun element

bition space, auditorium and cafe, which cross paths with the

often found in BIG’s architecture.

curated route of the permanent exhibition. The permanent exhibition space, however, does not have access to the outside

In his article published in the Architectural Review,

view and the absence of natural light is possibly the metaphor-

Jonathan Glancey, the British architectural critic, discusses the

ical interpretation of the deep sea.

Maritime Museum of Denmark with an interesting observation that despite the work being an extraordinary piece of architec-

Structurally, the large iron chain at the circulating exhi-

ture, the dimly lit ramps that lead visitors into the museum’s

bition space is arguably reminiscent of the chains used in ocean

exhibition spaces, which are packed with displayed objects and

liners. The architects explain that the thick iron chain is not

gimmicks, can be too overwhelming and confusing for one to

there only as a decorative element but suspending from the

enjoy.

bridges with lead visitors into the museum above, the chain also functions to support the weight of the circulating exhibition

Glancey mentions the Viking Ship Museum at Roskilde,

space. (Pritchard, 2014)

Denmark designed by Danish architect, Erik Christian Sørensen back in 1969 and Bygdøy Viking Ship Museum in Oslo, Norway,

On the compositional scale, the stairway that connects

by Norwegian architect Arnstein Arneberg in 1926 as examples

the last exhibition room to the souvenir shop is designed to have

of naturally lit spaces created under serene and humble struc-

curvy details that remind one of the structural keels of a ship.

tures and creates designs that allow the displayed objects to shine

The shelves inside the museum shop are hung from the ceiling

instead of being overshadowed by imposing architecture.

and move when touched, presumably conveying the movement

(Glancey, 2014)

of objects on a ship.

The two museums are simple, peaceful, unassuming and

On a smaller scale of the joint details, the brass pins

make excellent use of natural light, which are outstanding char-

fastening the wood chairs inside the auditorium are possibly

acteristics of Scandinavian architecture. Professor Henry Plum-

inspired by wood joinery of ship models and buttons of captains’

mer explains that the characterization of Scandinavian archi-

uniform jackets.

tecture takes place between 1920 and 1930 when architects like

A New Architecture: Living Traits of Scandinavian Architecture

Alvar Aalto (Finnish), Sigurd Lewerentz (Swedish) and Arne Jacobsen (Danish) started to loosen the formality and Modernism’s affinity for mechanical elements through the incorporation

While legal regulations forced the museum’s design to be

of unique characteristics in the Scandinavian region (such as

fairly humble compared to other works in BIG’s architectural

soft light and sun path from the low solar altitude) as inspiration

portfolio, the new built structure does contain other architec-

and composition of its architectural identity. Such attempt can

tural traits found in other works of the architecture firm such

be seen through the formation of architectural form and use of

as the circulation or user movement, which are an integral part

materials that are less absorbent to sunlight to maximize the

of the firm’s architectural characteristic. Such mobility comes

presence of natural light. The result is the use of materials such

in the form of users’ access to buildings through walking, cycling

as concrete with silvery surfaces, wood with pale colors, white

128 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


concrete, and minimalistic shapes that blend with the natural

allow architecture to exist as a part of the environment without

surrounding. (Plummer, 2012)

too much reliance on modern tools or machines. (Winston, 2015)

While the examples given by Glancey are museums

whose exhibited objects and purposes may be different from

The Maritime Museum of Denmark has brought about

the one of Helsingor and therefore contribute to different re-

several interesting issues from the solution that reinterprets and

quirements that each work of architecture is expected to fulfill,

defies the given rules, the use of unorthodox construction and

Glancey’s views and the architectural characteristics observed

engineering technologies, the intent to conserve architecture

by Plummer inevitably call for one to contemplate the connec-

that may be lesser known but possess its own valuable story

tion between the identity of a country and evolving designs of

such as the old dry dock to the design that allows the old and

its museums.

the new to coexist. BIG did not propose a final outcome that kept the entire original structure untouched. The walls were

As a national museum, to what extent does the Maritime

partially drilled or covered with new materials to serve new

Museum of Denmark required to express the identity of Danish

functions, but at the same time, preserved enough for one to

architecture that is simple and calm with the use of materials of

understand the story and value of the past.

pale, natural colors including the shape and form that effectively controls the amount of natural light.

The interior space houses a vast array of design gimmicks

such as the unified exhibition space separated by the varying

While the museum is not the most humble piece of ar-

sizes of the passageway or the ascending and descending ramps.

chitecture nor does it serve as a backdrop or a frame of the

The boundary of the auditorium is determined by the curtain

exhibited objects the way Roskilde and Bygdøy do, BIG’s mu-

when used while several elements of the building are conceived

seum is successful is the sense of an edifice with interesting

to be relatable to different dimensions of maritime expedition

gimmicks, and as a design that manages to maintain the visual

such as the form, structure and the way the space is experienced.

access to the majestic Kronborg Castle and coexist with the history of the site. Scandinavia’s contemporary spirit is portrayed

Ultimately, despite the building being tucked away under

in several dimensions whether it is the design’s consideration

the ground level and distinctive yet humble to its surrounding

in public space and the Scandinavian love for outdoor lifestyle

environment, one cannot overlook its radically materialized

seen in the form of an unoccupied void that is now being used

program. It might not be a national museum with the most

as an outdoor activity ground for music performances. It is also

humble architectural expression of Denmark’s vernacular ar-

reflected in the way the work prioritizes children with the in-

chitecture, but many aspects of its spirit are the quintessential

clusion of the children’s auditorium in the program with its

reflection the Danish identity, just like the Vernacular Archi-

lowered ceiling, to the use of materials and colors that are dif-

tecture 2.0 that BIG has defined.

ferent from the main auditorium, and the museum’s model created for kids. Other tangible portrayals of the spirit of Scandinavian architecture are the circulating exhibition space and museum cafe that are opened to natural light and the monochromic colors of aluminum, transparent glass, oak wood floor of the material palette, which fittingly coexist with the concrete surface of the old dock.

Conclusion

In 2015, Bjarke Ingels discussed the homogenization of

architecture as a result of the Modernist movement and how he wants to create Vernacular Architecture 2.0, which is essentially locally derived but not entirely original vernacular architectural creations adapted with the use of design technology to

129 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


Bibliography Glancey, Jonathan. (2014). Danish National Maritime Museum in Helsingør, Denmark by Bjarke Ingels Group. [online]

The Architectural Review. Available at: https://www.architectural-review.com/today/danish-national-maritime-

museum-in-helsingr-denmark-by-bjarke-ingels-group/8660485.article [Accessed 11 Jun. 2018].

Ingels, Bjarke. (2015). Hot to cold : an odyssey of architectural adaptation. Köln: Taschen, pp. 336-357. Ingels, Bjarke. (2010). Yes is More: An Archicomic on Architectural Evolution. Köln: EVERGREEN GmbH, pp. 224-235. Macdonald, Fiona. (2014). The eight greatest new museums. [online] BBC – Culture. Available at: http://www.bbc.com/

culture/story/20141017-the-eight-greatest-new-museums [Accessed 16 Jun. 2018].

Maritime Museum of Denmark. (n.d.). M/S Maritime Museum of Denmark – award-winning architecture and exhibitions.

[online] Available at: http://mfs.dk/en/ [Accessed 11 Jun. 2018].

Mark, Laura. (2013). BIG completes Danish maritime museum. [online] The Architects’ Journal. Available at: https://www.

architectsjournal.co.uk/news/big-completes-danish-maritime-museum/8654485.article [Accessed 16 Jun. 2018].

Plummer, Henry. (2012). Nordic light: modern Scandinavian architecture. London: Thames & Hudson. pp. 6-13. Pritchard, Owen. (2014). Bjarke Ingels: Danish Maritime Museum. [online] Icon Magazine. Available at: https://www.iconeye.com/

architecture/features/item/10835-bjarke-ingels-danish-maritime-museum [Accessed 15 Jun. 2018].

Sherwood, Seth. (2015). Elsinore in Denmark, Hamlet’s ‘Home,’ Is Having a Renaissance. [online] The New York Times.

Available at: https://www.nytimes.com/2015/08/02/travel/denmark-elsinore-hamlet-shakespeare-hometown.html

[Accessed 16 Jun. 2018].

Winston, Anna. (2015). BIG wants to create new styles of vernacular architecture, says Bjarke Ingels. [online] Dezeen. Available

at: https://www.dezeen.com/2015/05/26/bjarke-ingels-in-our-time-lecture-metropolitan-museum-new-york-new-

vernacular-architecture/ [Accessed 19 Jun. 2018].

130 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 Academic Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


เปิดรับพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ใน วารสารอาษา (ASA Journal) ฉบับประจำ�ปีพ.ศ.2562 ที่มาและความสำ�คัญ สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญของการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมสังคม และเพื่อเป็นการ ผลักดันให้ผลงานทางวิชาการและนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรมเป็นทีร่ จู้ กั มากขึน้ ทัง้ ในและนอกประเทศ ในการนี้ สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้จัดท�ำ “วารสารอาษา (ASA Journal)” เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานและนวัตกรรมทาง สถาปัตยกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้ และความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง โดยเนื้อหาความรู้ที่เผยแพร่สู่ สาธารณชนมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการ และนักปฏิบัติวิชาชีพสาขาสถาปัตยกรรม รวมถึง สาขาวิชาชีพอื่นๆ และประชาชนทั่วไปที่สนใจได้รับรู้ความก้าวหน้าและสาระทางวิชาการทางสถาปัตยกรรม เพื่อสามารถน�ำไปพัฒนา หรือประยุกต์ใช้องค์ความรูเ้ ข้ากับการปฏิบตั วิ ชิ าชีพและด�ำเนินชีวติ ทัง้ ส่วนบุคคลและส่วนชุมชนโดยรวมต่อไป อนั จะเป็นการเสริมความ เข้มแข็งแก่วงวิชาการ และวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ต่อไป สมาคมสถาปนิกสยามฯ ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ เผยแพร่ใน “วารสารอาษา (ASA Journal)” โดยเปิดรับพิจารณาบทความ (Full Paper) ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2561

หลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอาษา

๐ วารสารอาษา (ASA Journal) รับพิจารณาบทความวิจยั บทความวิชาการ บทความปริทศั น์ บทความวิจารณ์หนังสือ-บทความ บทความแปล บทความสรุปผลงานการสร้างสรรค์ และบทความสรุปผลการบริการวิชาการรับใช้สังคม ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ แขนงต่างๆ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ตามหมวดหมู่ดังต่อไปนี้ คือ - ทฤษฎีทางสถาปัตยกรรม และการออกแบบสถาปัตยกรรม - ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ศิลปสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย - สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม - เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรม - การบริหารจัดการ และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม - การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการผังเมือง - การพัฒนาที่อยู่อาศัย - การเรียนการสอนทางสถาปัตยกรรม ๐ ต้นฉบับบทความ ความยาวเฉพาะข้อความ (ไม่รวมรูป) ไม่เกิน 2,500 ค�ำ พร้อมบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อม ค�ำส�ำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในรูปแบบของไฟล์ MS-Word ๐ ในกรณีที่บทความมีรูปภาพประกอบ ให้แทรกรูปลงในเนื้อหาบทความตรงตําแหน่งที่ต้องการอธิบาย พร้อมใส่คําอธิบายว่า ภาพที่ หมายเลขรูปภาพ: เนื้อหาที่ต้องการอธิบาย ตัวอย่าง ภาพที่ 1: แสดงแผนผังพื้นที่ใช้สอยภายใน

131 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


๐ การเตรียมไฟล์รูปภาพประกอบ ต้องบันทึกไฟล์รูปภาพในแฟ้ม (Folder) ตั้งชื่อภาพประกอบ และตั้งชื่อไฟล์รูปภาพโดยใช้ชื่อ ภาษาอังกฤษของผู้เขียน_หมายเลขรูปที่สัมพันกับเนื้อหา ทั้งนี้ไฟล์รูปภาพต้องมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi ในรูปแบบของล์ นามสกุลใด ก็ได้ดังต่อไปนี้ .JPG .PSD .PNG .TIF .BMP ตัวอย่าง Isarachai_01

๐ รูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง แบบสถาปัตยกรรม แผนที่ แผนภาพ ที่น�ำมาใช้ประกอบบทความต้องไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์

๐ บทความที่เป็นงานแปลหรือเรียบเรียงต้องอ้างอิงที่มาโดยละเอียด และต้องได้รับอนุญาตจากต้นฉบับ

การประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ

กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกด�ำเนินการส่งบทความเพื่อรับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่มีความ เชี่ยวชาญจ�ำนวน 2 ท่าน และหากผลประเมินไม่เป็นเอกฉันท์จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิท่านที่ 3 ร่วมพิจารณา ทั้งนี้ การประเมินบทความ จะด�ำเนินการในลักษณะ Double Blind โดยกองบรรณาธิการจะด�ำเนินการส่งผลการประเมินกลับไปให้ทางผู้เขียนผ่านช่องทางอีเมล ภายใน 10 วันหลังจากได้รบั ผลการประเมินจากผูท้ รงคุณวุฒคิ รบถ้วน หลังจากทีไ่ ด้รบั การแจ้งผลจากกองบรรณาธิการ ขอให้ผเู้ ขียนด�ำเนินการ ปรับแก้ไขบทความตามค�ำแนะน�ำของผู้ประเมิน และส่งไฟล์ท่ีแก้ไขกลับมายังกองบรรณาธิการทางอีเมล asa.journal.academic@ gmail.com ภายในระยะเวลา 15 วัน

ค่าตอบแทนผู้ตีพิมพ์บทความ

บทความภาษาไทย บทความ 2 ภาษา(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

เป็นเงิน 4,000 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท

เปิดรับการพิจารณาบทความ (Full Paper) ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2561

ส่งบทความ (Full Paper)

หรือติดต่อสอบถามได้ที่ asa.journal.academic@gmail.com หรือโทร 02-319-6555

ที่อยู่

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (วารสารอาษา) 248/1 พระรามgซอย 17 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

132 วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / 2018 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage


วารสารสถาปัตยกรรม ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects Under Royal Patronage ISSN : 0857-3050



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.