14 GREEN CITIES (TH)

Page 1

- 14 เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน -

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



สารบัญ 14 เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน นโยบาย แผน และเป้าหมาย ในการส่งเสริมเมืองสิง่ แวดล้อมยัง่ ยืน 5 ของประเทศไทย กระบวนการขับเคลือ่ น เมืองสิง่ แวดล้อมยัง่ ยืน

9

ภาคเหนือ เทศบาลนครเชียงราย จ.เชียงราย เทศบาลต�ำบลเชียงเคี่ยน จ.เชียงราย เทศบาลต�ำบลเวียงเทิง จ.เชียงราย เทศบาลต�ำบลเกาะคา จ.ล�ำปาง เทศบาลต�ำบลบ้านสาง จ.พะเยา

13 18 21 26 31

ภาคกลาง เทศบาลเมืองตาคลี จ.นครสวรรค์ เทศบาลเมืองพิจิตร จ.พิจิตร

36 42

ภาคตะวันออก เทศบาลเมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี เทศบาลต�ำบลฉมัน จ.จันทบุรี

48 53

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เทศบาลนครอุดรธานี จ.อุดรธานี เทศบาลเรณูนคร จ.นครพนม เทศบาลต�ำบลหนองเต็ง จ.บุรีรัมย์

59 65 69

ภาคใต้ เทศบาลนครภูเก็ต จ.ภูเก็ต เทศบาลเมืองกระบี่ จ.กระบี่

74 78

-3-


บทน�ำ ประเทศไทยได้ให้ความส�ำคัญเรื่องการพัฒนาเมืองที่มีการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่ดีและ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตามแนวคิดของ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งเป็นกระแสหลักของ ประชาคมโลกที่มุ่งสร้างสมดุลของการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และขานรับ เป็นอย่างดีเมือ่ ประชาคมอาเซียนได้นำ� แนวคิดดังกล่าวมาขับเคลือ่ นให้เกิดการด�ำเนินงานทีเ่ ป็นรูปธรรม ในประเทศสมาชิก โดยก�ำหนดให้ “เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน” เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักด้านความ ยัง่ ยืนแผนงานประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ภายใต้วสิ ยั ทัศน์ของประชาชนอาเซียน 2025 และได้ ริเริ่ม “โครงการเมืองต้นแบบสิ่งแวดล้อมยั่งยืนอาเซียน” (ASEAN Environmentally Sustainable Cities; ASEAN ESC) โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มอบหมายให้กรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานประสานหลักในการด�ำเนินการดังกล่าวของประเทศไทย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีภารกิจในการแปลงแนวทางตามที่ก�ำหนดไว้ในวาระการ พัฒนาที่ยั่งยืนและกรอบวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนดังกล่าว มาสู่การปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม ในระดับชุมชน ท้องถิน่ และประเทศ ภายใต้ “โครงการเมืองสิง่ แวดล้อมยัง่ ยืน” โดยการส่งเสริมให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิน่ มีศกั ยภาพและพึง่ พาตนเองได้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม เมืองตามบริบทของพื้นที่ และให้ความส�ำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ภายใต้การสนับสนุน งบประมาณร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยและ Japan-ASEAN Integration Fund, ASEAN Secretariat และ Institute for Global Environment al Strategies (IGES) หนังสือ “14 เมืองสิง่ แวดล้อมยัง่ ยืน” เล่มนีไ้ ด้รวบรวมแนวคิด ตลอดจนแบบอย่างทีด่ ดี า้ นการ จัดการสิ่งแวดล้อมยั่งยืนของเมืองที่เข้าร่วมโครงการเมืองต้นแบบสิ่งแวดล้อมยั่งยืนอาเซียนในระยะ ทีผ่ า่ นมา รวมทัง้ เมืองทีเ่ ป็น “ดาวรุง่ ” เมืองสิง่ แวดล้อมยัง่ ยืนของประเทศไทยทีก่ ำ� ลังจะก้าวไปสู่ “เมืองต้นแบบ สิง่ แวดล้อมยัง่ ยืนอาเซียน” โดยหวังว่าเรือ่ งราวของเมืองต้นแบบเหล่านีจ้ ะจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับเมืองอื่นๆ ในการพัฒนาตนเองก้าวสู่ “เมืองต้นแบบสิ่งแวดล้อมยั่งยืน” เพื่อโลกที่น่าอยู่อย่าง ยั่งยืนต่อไป

-4-


นโยบาย แผน และเป้าหมาย ในการส่งเสริม เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนของประเทศไทย

“ประเทศไทยได้มีการก�ำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศที่มีเนื้อหาสอดรับกับเป้าหมาย การพัฒนา ที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติทั้ง 17 เป้าหมาย” ประเทศไทยได้ให้ความส�ำคัญต่อ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นวาระการ พัฒนาในระดับโลกที่ส�ำคัญที่สุด โดยเมื่อปี พ.ศ. 2556 ได้เริ่มแต่งตั้ง “คณะกรรมการเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน” โดยปัจจุบันมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ และมีส�ำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ ได้มอบหมายหน่วยงาน รับผิดชอบและหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาไปสู่ทั้ง 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) แต่ละเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน รวมทัง้ ยังได้มมี ติในการจัดล�ำดับความส�ำคัญ ของเป้าประสงค์ที่ประเทศไทยควรด�ำเนินการก่อน จ�ำนวน 30 เป้าประสงค์อีกด้วย เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้ มีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางการพัฒนาในทุก ภาคส่วนของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เมืองหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” เนื่องจากเป็น หน่วยงานภาครัฐที่มีความใกล้ชิดกับภาคประชาชนมากที่สุด รัฐบาลไทยจึงได้ให้ความส�ำคัญต่อการ ก�ำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ทเี่ กีย่ วข้อง ในการพัฒนาสิง่ แวดล้อมเมืองไว้อย่างชัดเจน ทีส่ ำ� คัญได้แก่

-5-


ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) เน้นหลักการกระจายอำ�นาจให้กับท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ให้ความสำ�คัญกับการเติบโตของเมืองและชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยระบุไว้ในยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

-6-


นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579) กำ�หนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศไทยมีฐานทรัพยากรธรรมชาติที่สมดุลและยั่งยืน และเป็นสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

ยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ได้กำ�หนดวิสัยทัศน์การจัดการมลพิษ 20 ปี คือ “ประชา-รัฐร่วมจัดการมลพิษ เพื่อปกป้องคุณภาพสิ่งแวดล้อม” มีเป้าหมายคือ “คุณภาพสิ่งแวดล้อมของทุกภาคส่วนเป็นไปตามมาตรฐานที่กำ�หนด”

-7-


เป้าหมายการพัฒนาเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ของประเทศไทย เมือ่ กลุม่ ประเทศอาเซียนได้รว่ มกันก�ำหนดกรอบวิสยั ทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 และแผนงาน ประชาคมอาเซียน 2016-2025 ที่ได้ให้ความส�ำคัญมากขึ้นกับประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยมีข้อตกลงที่จะ ร่วมมือกันพัฒนาสิง่ แวดล้อมใน 11 ประเด็น ซึง่ หนึง่ ในนัน้ คือ การส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการด�ำรงชีวติ ในเขตเมือง ส่งผลให้ประเด็น “สิง่ แวดล้อมเมือง” ได้ถกู หยิบยกมาขับเคลือ่ นอย่างจริงจังในทุกประเทศ สมาชิกอาเซียน โดยริเริม่ โครงการทีส่ ง่ เสริมการพัฒนาเมืองไปในทิศทางทีย่ งั่ ยืนและเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม คือ “เมืองต้นแบบสิ่งแวดล้อมยั่งยืนอาเซียน” และได้พัฒนา “เกณฑ์ชี้วัดการจัดการสิ่งแวดล้อม เมืองยั่งยืนอาเซียน” ขึ้นมาใช้ประเมินเมืองอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ รัฐบาลชุดปัจจุบันของประเทศไทยได้ให้ความส�ำคัญเรื่องการพัฒนาเมืองที่มีการเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีได้มมี ติเห็นชอบหลักการและแนวทางการขับเคลือ่ นเมืองสิง่ แวดล้อมยัง่ ยืน และมอบหมาย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาก�ำหนดกรอบแนวทาง การขับเคลื่อนเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมาย “1 จังหวัด 1 เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ครอบคลุมพื้นที่ 76 จังหวัด ภายในปี พ.ศ. 2563”

เป้าหมาย การพัฒนา ที่ยั่งยืน (SDGs)

-8-


กระบวนการขับเคลือ่ นเมืองสิง่ แวดล้อมยัง่ ยืน “เมืองที่มีการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมสู่การเติบโตทีเ่ ป็นมิตร กับสิง่ แวดล้อม ประชาชนมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ”ี

1 สร้างการมีส่วนร่วมและพลังภาคี

ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และเสริมพลังภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ให้เกิดกระบวนการจัดการ สิ่งแวดล้อมตามลักษณะเมือง โดยให้แผนปฏิบัติการท้องถิ่น เป็นเครื่องมือ

ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ให้ อปท. ด�ำเนินกิจกรรม ตามเกณฑ์ชี้วัด เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

-9-

สรุปบทเรียน พัฒนารูปแบบ องค์ความรู้

ขยายเครือข่าย การด�ำเนินงาน


2 พัฒนาเครื่องมือและกลไก การพัฒนาเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

Sustainable Indicator

พัฒนาเกณฑ์ชี้วัดเพื่อใช้เป็นเครื่องมือและแนวทาง ในการพัฒนา ประเมิน และวิเคราะห์สถานการณ์ท้องถิ่น ส�ำหรับการพัฒนาและยกระดับสู่มาตรฐาน

สร้างกลไกและส่งเสริมให้เกิด การขับเคลื่อนเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนในจังหวัด

3 ยกระดับเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนสู่อาเซียน

พัฒนาและยกระดับการด�ำเนินงาน ต่อยอดกิจกรรม ให้เป็นเมืองต้นแบบที่มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมเทียบเท่า มาตรฐานสากล

พัฒนาความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ระหว่างประเทศ

- 10 -


- 14 เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน -


- 14 เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน -

ภาคเหนือ

เทศบาลนครเชียงราย จ.เชียงราย เทศบาลต�ำบลเชียงเคี่ยน จ.เชียงราย เทศบาลต�ำบลเวียงเทิง จ.เชียงราย เทศบาลต�ำบลเกาะคา จ.ล�ำปาง เทศบาลต�ำบลบ้านสาง จ.พะเยา


เทศบาล นครเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย

วิสัยทัศน์: เชียงรายน่าอยู่ นครแห่งความสุข ประชากร: 76,887 คน (ปี 2561) ชุมชนในเขตเทศบาล: 64 ชุมชน ขนาดพื้นที่: 60.85 ตารางกิโลเมตร

ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบกับท�ำเลที่ตั้งซึง่ เชือ่ มโยงเส้นทางคมนาคมไปยัง ประเทศเพือ่ นบ้านได้สะดวก นครเชียงรายจึงเป็นเสมือน ประตูสต่ ู ลาดการค้า การลงทุน และเป็นเส้นทางการท่องเทีย่ ว ส�ำคัญที่สามารถเชื่อมต่อไปยังหลายประเทศในภูมภิ าค อินโดจีน ท�ำให้เมืองทีเ่ คยมีวถิ เี นิบช้าก้าวสูก่ ารเป็นเมือง ทีเ่ ติบโตอย่างก้าวกระโดด การสร้างสมดุลระหว่างความ เป็นเมืองกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมจึงเป็นโจทย์ใหญ่ของ เชียงราย เพือ่ ให้ทนี่ ยี่ งั คงเป็นเมืองทีม่ เี สน่ห์ ผูค้ นอยูแ่ ล้ว มีความสุข


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ปัจจัย ความส�ำเร็จ

เริ่มต้นจากการคิด วางแผน และเดินหน้ายุทธศาสตร์ ที่วางไว้บนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ยึดหลักท�ำทุกอย่างเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ และวางแผนการด�ำเนินงานภายในองค์กร เพื่อให้สามารถขับเคลื่อน การด�ำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการให้ความรู้กับประชาชน

รวมใจจัดการขยะ

ก่อนหน้านีเ้ ขตพืน้ ทีเ่ ทศบาลนครเชียงรายมีปริมาณ ขยะในแต่ละวันกว่า 100 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 80 ตันต่อวัน เมือ่ 4 ปีทแี่ ล้ว ท�ำให้เสียงบประมาณในการก�ำจัดขยะค่อนข้าง สูง สิ่งที่เทศบาลได้ด�ำเนินการคือขับเคลื่อนเรื่องของ การจัดการขยะด้วยแนวคิด 3Rs และการใช้ทรัพยากร ให้เกิดประโยชน์และคุม้ ค่ามากทีส่ ดุ โดยเน้นการมีสว่ นร่วม ของประชาชน สร้างองค์ความรู้ สร้างจิตส�ำนึกในเด็ก และเยาวชน เสริมทักษะและองค์ความรูเ้ รือ่ งการคัดแยกขยะ ให้คนในชุมชน พร้อมทัง้ หาแนวทางข้อตกลงร่วมกันในเรือ่ ง ของวันและเวลาในการจัดเก็บขยะ

- 14 -


ดอยสะเก็น ป่าในเมือง ดอยสะเก็นเป็นป่าธรรมชาติกลางใจเมืองทีห่ ลงเหลือ อยูเ่ พียงแห่งเดียวในเชียงราย ท�ำหน้าทีเ่ สมือนปอดของ คนเมืองเชียงรายกว่า 70,000 คน ป่าแห่งนี้เต็มไปด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพ ทัง้ พืชและสัตว์ตา่ งๆ มากมาย ในปี 2553 เทศบาลได้รเิ ริม่ โครงการส่งเสริมการอนุรกั ษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพในเมือง โดยชุมชนและเด็กๆ ช่วยกันส�ำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของดอยสะเก็น แล้วน�ำข้อมูลที่ได้มารวมกันเป็นข้อมูลฐานในการหา แนวทางอนุรกั ษ์ปา่ และความหลากหลายทางชีวภาพของ ป่าผืนนีไ้ ว้ ก่อนขยายการอนุรกั ษ์ความหลากหลายทาง ชีวภาพไปยังระบบนิเวศอืน่ ๆ ในเขตเทศบาลไม่เว้นแม้แต่ สวนสาธารณะทุกแห่ง รวมทัง้ ให้โรงเรียนในสังกัดสอดแทรก หัวข้อนีส้ กู่ ารเรียนรูใ้ นระบบโรงเรียน


อนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ เพิ่มพื้นที่สีเขียว เอกลักษณ์ในเขตเทศบาลนครเชียงรายมิใช่ตึกสูง เหมือนเมืองใหญ่อื่นๆ แต่เป็นต้นจามจุรีหรือต้นฉ�ำฉา ขนาดใหญ่หลายสิบต้นที่ยืนเรียงรายสร้างความร่มรื่น ให้บริเวณสองข้างถนน บางต้นมีอายุนับร้อยๆ ปี ต้นไม้ เหล่านี้เทศบาลอนุรักษ์ไว้ เพื่อเพิ่มความน่าอยู่ให้กับ เมือง โดยสร้างการมีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์พนื้ ทีส่ เี ขียว ในรูปแบบต่างๆ ร่วมกับภาคีเครือข่ายมากมาย ทัง้ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และเป็นหนึง่ ในยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนนครเชียงรายให้เป็นเมืองแห่งต้นไม้


แหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่ 1

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม แหล่งเรียนรูศ้ ลิ ปวัฒนธรรมทีแ่ สดงถึงวิวฒ ั นาการของสายน�ำ้ แห่งวัฒนธรรม “แม่น�้ำกก” ที่ไหลผ่านเมืองเชียงรายจากอดีต จนถึงปัจจุบนั รวมทัง้ พัฒนาการของเมือง ความผูกพันระหว่าง คนกับสายน�ำ้ รวมถึงการน�ำวัฒนธรรมมาเป็นเครือ่ งมือในการ ฟื้นฟูแม่น�้ำกกน้อยสายใน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

แหล่งเรียนรู้ที่ 2

พื้นที่เกษตรเขตเมือง จากพื้นที่รกร้างว่างเปล่าขนาด 9 ไร่ ชาวบ้านป่างิ้วได้ชวนกันมา ปลูกพืชผักสวนครัวตัง้ แต่ปี 2538 จนกลายเป็นสวนผักปลอด สารพิษของชุมชนป่างิ้ว ซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบความมั่นคงทาง ด้านอาหารปลอดภัย โดยการท�ำเกษตรอินทรีย์เป็นวิถีชุมชน ที่นี่มีพืชผักตามฤดูกาลสับเปลี่ยนหมุนเวียนให้ลูกค้าได้บริโภค ทัง้ ปี ปัจจุบนั กลายเป็นแหล่งเรียนรูว้ ถิ เี กษตรแบบพอเพียง โดย เกษตรกรและชุมชนเป็นผู้สอน รวมทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรกรรมในเส้นทางปั่นจักรยานท่องเที่ยว

แหล่งเรียนรู้ที่ 3

ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน�้ำ หนองปึ๋งเป็นหนองน�้ำธรรมชาติขนาด 90 ไร่ ที่ท�ำหน้าที่คล้าย แก้มลิง เป็นแหล่งกักเก็บน�้ำขนาดใหญ่ไว้ใช้ในฤดูแล้ง และช่วย ชะลอไม่ให้นำ�้ ไหลบ่าอย่างรวดเร็วเข้าท่วมตัวเมืองเชียงรายในฤดู น�ำ้ หลาก มีชมุ ชนร่วมกับเทศบาลช่วยกันบริหารจัดการและดูแล รักษาพืน้ ทีใ่ ห้สะอาดสวยงาม โดยรอบหนองปึง๋ มีตน้ ไม้ใหญ่ทขี่ นึ้ เอง ตามธรรมชาติ มีการปลูกป่านิเวศแบบ “มิยาวากิ” ซึ่งเป็น ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ให้นกั เรียนเข้ามาศึกษาเรียนรู้ โดยทุกคน ในประเทศไทยสามารถร่ ว มดู แ ลรั ก ษาต้ น ไม้ ใ นโครงการกั บ - 17 นั-กเรียนได้ ซึ่งจะท�ำหน้าที่วัดการเจริญเติบโตของต้นไม้


เทศบาล ต�ำบลเชียงเคีย่ น อ.เทิง จ.เชียงราย

วิสยั ทัศน์: เมืองเชียงเคีย่ นน่าอยู่ เคียงคูว่ ฒ ั นธรรม น�ำสู่ต้นแบบสิ่งแวดล้อมอาเซียน ประชากร: 4,344 คน (ปี 2561) ชุมชนในเขตเทศบาล: 12 ชุมชน ขนาดพื้นที่: 76.3 ตารางกิโลเมตร

“เชียงเคี่ยนเป็นเมืองสะอาด ประชาชนมีสุขภาวะดี สืบสานภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพี ย งและการมี ส ่ ว นร่ ว มในการบริ ห ารจั ด การ สิ่งแวดล้อมสู่ต้นแบบอาเซียน” คือ เป้าหมายของการ จัดการเมืองเล็กๆ แห่งนี้ เกิดเป็นกิจกรรมเชิงพัฒนามากมาย ทัง้ ในด้านการอนุรกั ษ์ศลิ ปวัฒนธรรม ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการจัดการสิง่ แวดล้อม ซึง่ เทศบาลต�ำบลเชียงเคีย่ น มีนโยบายในการขอขึน้ ทะเบียนป่าชุมชนให้ครบทุกหมูบ่ า้ น และสร้างกฎกติกาการเข้ามาใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน เพื่อให้ระบบนิเวศมีความสมดุลคงอยู่อย่างยั่งยืน


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ดึงปัญหามาเป็นนโยบาย ช่วยกันคิดและช่วยกันขับเคลือ่ นไปสูเ่ ป้าหมายเดียวกัน

ปัจจัย ความส�ำเร็จ

สร้างต้นแบบความส�ำเร็จแล้วจึงขยายวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศไปสู่พื้นที่อื่นๆ โดยยึดหลักความพร้อมและค�ำนึงถึงบริบทของชุมชน ให้ความส�ำคัญกับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ

ป่าอุดมคือฐานทรัพยากรที่ยั่งยืน ผืนป่าภูเขาแก้วในชุมชนบ้านภูเขาแก้วของเทศบาล ต�ำบลเชียงเคีย่ น เป็นป่าทีเ่ คยอุดมสมบูรณ์ทชี่ าวบ้านเคย พึง่ พาอาศัยมาตัง้ แต่อดีต จนมีการให้สมั ปทานท�ำไม้กบั บริษัทเอกชน ท�ำให้พื้นที่ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว กระทั่ง ปี 2538 ผู้น�ำชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้านเล็งเห็น ถึงความส�ำคัญของทรัพยากรป่าไม้ จึงได้หารือกับคน ในชุมชนเพือ่ หามาตรการป้องกันการรุกล�ำ้ พืน้ ทีป่ า่ และ ช่ ว ยกันจั ดท� ำแนวขอบเขตพื้ นที่ ป่าให้ มีค วามชั ดเจน จนเมือ่ ปี 2557 กรมป่าไม้ได้รบั รองพืน้ ทีป่ า่ จ�ำนวน 793 ไร่ 32 ตารางวาให้เป็นป่าชุมชน ปัจจุบนั อยูใ่ นระหว่างด�ำเนินการ ขอเพิ่มพื้นที่เป็นจ�ำนวน 800 ไร่ โดยมีการจัดตั้งคณะ กรรมการป่าชุมชนภูเขาแก้วขึน้ เพือ่ ร่วมกันก�ำหนดกฎ กติกาการใช้ประโยชน์และกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ป่า เพือ่ รักษาป่าชุมชนแห่งนีใ้ ห้มคี วามสมบูรณ์ ทัง้ กิจกรรม ปลูกป่าเพิม่ การบวชป่า การส�ำรวจ และการจัดท�ำฐานข้อมูล พันธุ์ไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ยัง ใช้ประโยชน์เป็นห้องเรียนธรรมชาติของนักเรียนในการ เรียนรูเ้ รือ่ งระบบนิเวศและสิง่ แวดล้อมในท้องถิน่ อีกด้วย

- 19 -


ลดขยะ ลดโรค จากปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกเมือ่ หลาย ปีก่อน เนือ่ งจากเทศบาลต�ำบลเชียงเคีย่ นเป็นเทศบาล ขนาดเล็ก ไม่มรี ถเก็บขนขยะจึงไม่มบี ริการจัดเก็บและน�ำ ขยะไปก�ำจัด จึงให้ความส�ำคัญกับการจัดการขยะต้นทาง โดยชุมชน ด้วยการส่งเสริมการคัดแยกขยะตัง้ แต่ตน้ ทาง กลางทาง และปลายทาง โดยทุกครัวเรือนต้องคัดแยกขยะ ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ ขยะทัว่ ไป และขยะอันตราย ต่อยอดไปจนถึงการจัดตัง้ เป็นกองทุน ธนาคารขยะ เพือ่ น�ำเงินไปใช้ในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ต่อไป


เทศบาล ต�ำบลเวียงเทิง อ.เทิง จ.เชียงราย

วิสยั ทัศน์: เทศบาลเวียงเทิงเป็นเมืองน่าอยู่ คนมีความสุข มีการเรียนรูแ้ ละพัฒนา บริหารจัดการก้าวหน้า รักษาสิง่ แวดล้อมยัง่ ยืน ประชากร: 5,121 คน (ปี 2561) ชุมชนในเขตเทศบาล: 5 ชุมชน ขนาดพื้นที่: 12.50 ตารางกิโลเมตร

เวี ย งเทิ ง เป็ น เมื อ งเก่ า ที่ มี ค วามส� ำ คั ญ ทางการ ปกครองมาตัง้ แต่อดีต ร่องรอยของความรุง่ เรืองยังคง มีให้เห็นอยูท่ วั่ ไปในปัจจุบนั ตลอดล�ำน�ำ้ อิง เช่น ซากวัดวา อาราม เศษภาชนะดินเผา ชิ้นส่วนพระพุทธรูป และ คูเมืองเก่า เดิมทีพนื้ ทีใ่ นเขตเทศบาลมีลกั ษณะเป็นทีอ่ ยู่ อาศัยสลับกับพืน้ ทีเ่ กษตรกรรม แต่ปจั จุบนั พืน้ ทีเ่ กษตร ลดลง ท�ำให้ในเขตเทศบาลต�ำบลเวียงเทิงกลายเป็นทีอ่ ยู่ อาศัยและแหล่งชุมชน แม้วา่ พืน้ ทีใ่ นเขตเทศบาลจะมีขนาด ไม่ใหญ่โตมากนัก แต่ก็ต้องรองรับประชากรจ�ำนวนมาก ทัง้ ประชากรตามทะเบียนราษฎร์และประชากรแฝง รวมแล้ว ไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบริหารทั้ง เมืองและคนให้สมดุล ความท้าทายของเวียงเทิงจึงอยู่ที่ จะจัดการเมืองบนความหลากหลายของคนในพืน้ ทีอ่ ย่างไร


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ปัจจัย ความส�ำเร็จ

ร่วมคิด ร่วมท�ำ และปรับวิธกี ารให้สอดคล้องกับสภาพพืน้ ที่ และความต้องการของชุมชนให้มากทีส่ ดุ สร้างการมีสว่ นร่วมของประชาชนในพืน้ ที่ การมีสว่ นร่วมภายในองค์กร และภาคีเครือข่าย ผ่านการร่วมคิด ร่วมท�ำ และแลกเปลีย่ นเรียนรู้ เพือ่ พัฒนาเมืองไปสูค่ วามยัง่ ยืน

จัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง เทศบาลต� ำ บลเวี ย งเทิ ง ได้ รั บ การยกย่ อ งให้ เ ป็ น ต้นแบบในการจัดการขยะทีย่ งั่ ยืน จากเดิมมีปริมาณขยะ ในปี 2563 ลดลงจาก 3.3 ตันต่อวัน เหลือ 1.4 ตันต่อวัน ปัจจุบนั ลดเหลือวันละ 800 กิโลกรัม ทีน่ ใี่ ช้หลักการ 3 Rs มาช่วยในการบริหารจัดการขยะ โดยเริ่มจากให้ชุมชน เรียนรู้จัดการขยะตั้งแต่ต้นทางจากครัวเรือน โดยการ คัดแยกขยะของเทศบาลต�ำบลเวียงเทิงแตกต่างจากที่ อืน่ ตรงทีค่ ดั แยกขยะออกเป็น 6 ประเภท คือ ขยะอินทรีย์ ขยะทัว่ ไป ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะติดเชือ้ และขยะอืน่ ๆ ส่วนกลางทางแยกรถเก็บขยะแต่ละประเภทเข้าจัดเก็บ และปลายทางมี ก ารแยกวิ ธี ก ารก� ำ จั ด ตามประเภท ท�ำให้ค่าใช้จ่ายในการก�ำจัดขยะลดลง เทศบาลสามารถ น�ำงบประมาณไปใช้ในการพัฒนาด้านอื่นๆ ได้

- 22 -


สันคือสวย...ช่วยน�้ำอิงใส คูเมืองเวียงเทิงถือเป็นโบราณสถานส�ำคัญคู่บ้าน คู่เมืองของเทศบาลต�ำบลเวียงเทิง แต่เมื่อไม่นานมานี้ ด้วยความหนาแน่นของชุมชนทีเ่ พิม่ ขึน้ ท�ำให้เกิดปัญหา น�ำ้ เสีย เพราะสันคือหรือคูเมืองเป็นแหล่งรับน�ำ้ จากครัวเรือน ทีไ่ หลมารวมกัน ท�ำให้นำ�้ เกิดการเน่าเสียและส่งกลิน่ เหม็น จากปัญหาดังกล่าวน�ำมาสูภ่ ารกิจการสร้างเมือง โดยยึด หลักการท�ำงานร่วมกันระหว่างเทศบาลกับชาวบ้าน เพือ่ พัฒนาสันคือให้กลับมาสวยงาม ด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การใช้นำ�้ ดีไล่นำ�้ เสีย การสร้างบึงประดิษฐ์ การใช้ผกั ตบชวา

ต้นแบบเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

- 23 -


แหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่ 1

โรงเรียนพอเพียงกับการจัดการขยะ โรงเรียนเทศบาลต�ำบลเวียงเทิงเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ “ข่วง เวี ย งเทิ ง สร้ า งสุ ข ” โซนการศึ ก ษาตลอดชี วิ ต จั ด การศึ ก ษา บู ร ณาการงานและกิ จ กรรมด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มและปรั ช ญา เศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับหลักสูตรของสถานศึกษา ปลูกฝัง เยาวชน เป็นแหล่งเรียนรูโ้ รงเรียนพอเพียง (Local Sufficiency School: LSS)

แหล่งเรียนรู้ที่ 2

คูเมืองสวยช่วยน�้ำอิงใส เป็นความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในชุมชนอ�ำเภอเทิงในการ น�ำโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ วิธบี ำ� บัดทางธรรมชาติ มาใช้เป็นแนวคิดริเริ่มเพื่อแก้ไขปัญหาน�้ำเสียบริเวณคูเมือง เวียงเทิงทีเ่ รือ้ รังต่อเนือ่ งยาวนาน ไม่ให้เกิดขึน้ ซ�ำ้ อีก ให้ความส�ำคัญ กับการมีสว่ นร่วมของประชาชนในการด�ำเนินการและบริหารจัดการ ชุมชนพึ่งตนเองทุกขั้นตอน

- 24 -


แหล่งเรียนรู้ที่ 3

บ้านเวียงจอมจ้อ หมู่บ้านคัดแยกขยะ 100% บ้านเวียงจอมจ้อเป็นหมู่บ้านจัดการตนเองในทุกด้านและเป็น แหล่งเรียนรูใ้ ห้กบั หน่วยงานท้องถิน่ อืน่ ๆ โดยเฉพาะการบริหาร จัดการขยะแบบครบวงจรภายในหมูบ่ า้ น ซึง่ มีกระบวนการจัดตัง้ คณะท�ำงานในระดับหมูบ่ า้ น เพือ่ ก�ำหนดแนวทางการจัดการขยะ ต้นทางของหมู่บ้าน การจัดท�ำ “ธรรมนูญพลเมือง” เรื่องการ บริหารจัดการขยะ เป็นข้อตกลงภายในหมู่บ้านและเทศบาล ทุกครัวเรือนผ่านการอบรมให้ความรูเ้ รือ่ งการคัดแยกขยะด้วย วิธี 3Rs ก�ำหนดรูปแบบการจัดการขยะ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ส่งผลให้บ้านเวียงจอมจ้อหมู่ที่ 20 เป็นหมู่บ้าน คัดแยกขยะ 100%

แหล่งเรียนรู้ที่ 4

กาดน้อยฮีมอิง ตลาดสด 3 ข “3 ข” คือแนวคิดของการจัดการกาดน้อยฮีมอิงทีเ่ น้นเรือ่ งสินค้า และอาหารปลอดภัย ไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม และสร้างรายได้ให้ คนในชุมชน มี “ธรรมนูญแม่ค้า” เป็นปัจจัยในการขับเคลื่อน ให้ประชาชนได้จดั การตนเองและมีสว่ นร่วมในการบริหารจัดการ ทุกขั้นตอน ภายใต้กระบวนการ “ตลาดสด 3 ข” คือ ข เขียว สิ่งแวดล้อม ข แข็งเศรษฐกิจ และ ข เข้มสุขภาพ

- 25 -


เทศบาล ต�ำบลเกาะคา อ.เกาะคา จ.ล�ำปาง

วิสัยทัศน์: “เกาะคาเมืองน่าอยู่” คุณภาพชีวิตและ เศรษฐกิจดี การคมนาคมสะดวก การบริหารการเมือง โปร่งใส ใส่ใจสิง่ แวดล้อม พร้อมสูส่ งั คมแห่งการเรียนรู้ สังคมเอื้ออาทร และชุมชนเข้มแข็ง ประชากร: 4,517 คน (ปี 2563) ชุมชนในเขตเทศบาล: 7 ชุมชน ขนาดพื้นที่: 4.74 ตารางกิโลเมตร

ใครจะเชื่อว่าเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ชุมชนเล็กๆ อย่าง เกาะคาทีแ่ วดล้อมด้วยบรรยากาศของท้องไร่ทอ้ งนาและ สวนผลไม้ เคยประสบกับปัญหาสิง่ แวดล้อม จากปริมาณ ขยะทีเ่ พิม่ ขึน้ ตามจ�ำนวนประชากรและการขยายตัวของเมือง รวมทั้งข้อจ�ำกัดของงบประมาณที่ไม่สามารถสนับสนุน ให้ด�ำเนินการจัดการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลได้ ซึ่งประเมินว่าถ้าไม่มีการจัดการใดๆ เลย อีกไม่เกิน 11 ปี บ่อขยะจะไม่สามารถรองรับขยะจ�ำนวนมหาศาลได้อีก ต่อไป ไม่เพียงเท่านั้นยังมีปัญหาการใช้สารเคมีทาง การเกษตร เทศบาลต�ำบลเกาะคาจึงใช้แนวทางแก้ปญ ั หา โดยการกระตุน้ ให้ประชาชนเกิดจิตส�ำนึกสาธารณะ และเกิด ความรู้สึกเป็นเจ้าของท้องถิ่นร่วมกัน


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ปัจจัย ความส�ำเร็จ “เวทีข่วงผญ๋า” หรือลานแห่งปัญหาที่รวบรวมความคิดเห็น ของคนในสังคม เป็นกลไกที่น�ำไปสู่ความส�ำเร็จในการพัฒนาเมือง เพราะเปิด โอกาสให้ทุกคนในชุมชนได้แสดงความคิดเห็น สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ที่ต้องช่วยกันดูแลท้องถิ่นของตนเอง และน�ำไปสู่การมีส่วนร่วม ในการจัดการชุมชนเมืองด้วยจิตสาธารณะ

จัดการขยะต้นทาง

ย้อนไปในปี 2549 ในแต่ละวันปริมาณขยะในเทศบาล ขนาดเล็กอย่างต�ำบลเกาะคามีมากถึง 10 ตันต่อวัน จนมาถึงปัจจุบันลดลงจนเหลือ 2.86 ตันต่อวัน โดยใช้ หลักการ 3Rs การลดปริมาณขยะจากต้นทาง กลางทาง สู่ปลายทางให้น้อยที่สุด ด้วยการคัดแยกขยะ การน�ำ กลับมาใช้ใหม่และการเพิ่มมูลค่าขยะให้กลับเป็นเงิน โดย ขยะอินทรีย์น�ำไปท�ำปุ๋ย เลี้ยงไส้เดือน ไบโอแก๊ส ขยะ รีไซเคิลน�ำไปขายให้กับร้านค้าแต่ไม่ขาย ทอดผ้าป่าขยะ ประดิษฐ์เพื่อเพิ่มมูลค่า ขยะจ�ำพวกโฟม ถุงพลาสติก คัดแยกเป็นขยะ RDF (Refuse Derived Fuel หรือ พลังงานทดแทนเชือ้ เพลิง) ขยะทัว่ ไปส่งก�ำจัดอย่างถูกวิธี ขยะติดเชือ้ หน่วยงานสาธารณสุขเป็นผูด้ ำ� เนินการก�ำจัด ส่วนของเสียอันตรายและขยะอันตราย ก�ำหนดจุดนัดหมาย การจัดเก็บทุกวันพุธ เพือ่ น�ำไปก�ำจัดทีศ่ นู ย์บริหารจัดการ ขยะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดล�ำปาง

- 27 -


ต่อยอดสู่ความมั่นคงทางอาหาร จากการจัดการขยะต้นทาง เชือ่ มโยงไปสูม่ ติ ขิ องพืน้ ที่ สีเขียวเพือ่ ความมัน่ คงทางอาหารทีม่ ขี ยะเป็นจุดเริม่ และ เชือ่ มโยงไปสูเ่ รือ่ งของอาหารปลอดภัยและการมีสขุ ภาพ ที่ดีของคนในชุมชน ภายใต้แนวคิดในการส่งเสริมให้ ประชาชนผลิตอาหารเอง ผ่านแนวคิด “ตูเ้ ย็นในสวน...ตูเ้ ย็น พอเพียง” เพือ่ ให้ทกุ ครัวเรือนในชุมชน มีอาหารทีป่ ลอดภัย บริโภค โดยเทศบาลต�ำบลเกาะคาได้ประกาศปฏิญญา สุขภาพ ทีม่ งุ่ ส่งเสริมให้ทกุ ครัวเรือนร่วมกันปลูกพืชผัก สวนครัวโดยไม่ใช้สารเคมีไว้กิน ไว้แลกเปลี่ยน และหาก มีเหลือก็นำ� ไปขายสร้างรายได้ ลดค่าใช้จา่ ยในการซือ้ ผัก บริโภค


แหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่ 1 ไส้เดือนรักษ์โลก

แหล่งเรียนรู้การน�ำไส้เดือนมาใช้ในการก�ำจัดขยะอินทรีย์ โดย คนในชุมชนรวมกลุม่ กันเลีย้ งไส้เดือน ผลผลิตทีไ่ ด้นอกจากการ ใช้ไส้เดือนทีช่ ว่ ยแก้ปญ ั หาขยะเปียกในชุมชน อีกส่วนหนึง่ คือปุย๋ มูลอินทรียท์ เี่ ต็มเปีย่ มไปด้วยอินทรียวัตถุและธาตุอาหารทีเ่ หมาะ ส�ำหรับใช้ในการปลูกพืช มีการแจกจ่ายผลผลิตส่วนหนึ่งให้ สมาชิกน�ำไปใช้เพื่อส่งเสริมการท�ำเกษตรปลอดสารพิษ ซึ่ง ปลอดภัยต่อสุขภาพ ที่เหลือน�ำไปขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับ สมาชิกกลุ่ม และแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งให้กับสวัสดิการชุมชน

แหล่งเรียนรู้ที่ 2 ร้านค้าแต่ไม่ขาย

เพือ่ ส่งเสริมให้ชมุ ชนรูจ้ กั คัดแยกขยะแล้วน�ำมาขายให้กบั ร้านค้า แต่ไม่ขาย ซึ่งเป็นร้านที่สามารถน�ำขยะรีไซเคิลมาใช้แทนเงินสด เพื่อแลกซื้อสินค้าในร้านได้ โดยชุมชนคัดแยกขยะรีไซเคิล น�ำมา ชัง่ น�ำ้ หนัก เพือ่ ค�ำนวณปริมาณขยะให้เป็นมูลค่าเงินสด เกิดจาก แนวคิดที่ต้องการปลูกฝังให้ชุมชนมองเห็นมูลค่าของขยะ หรือ สิ่งของที่ไม่ใช้แล้วแต่สามารถน�ำกลับมารีไซเคิลได้

แหล่งเรียนรู้ที่ 3

ครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ ครัวเรือนต้นแบบที่มีการคัดแยกขยะต้นทางครบทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะขายได้ และขยะอันตราย จน สามารถเป็นตัวอย่างทีม่ คี นในชุมชนเข้ามาเรียนรู้ และน�ำไปสูก่ าร บริหารจัดการขยะที่ดีและง่าย และใช้ต้นทุนต�่ำ ตั้งแต่ต้นทางเลย ทีเดียว

- 29 -


แหล่งเรียนรู้ที่ 4 บ้านพอเพียงและตู้เย็นในสวน รณรงค์ปลูกผักผลไม้ตามฤดูกาล พึ่งพาธรรมชาติ งดการใช้ สารเคมี ปลอดภัยต่อสุขภาพ ไว้กินเองในครัวเรือนอย่างน้อย ครัวเรือนละ 7 ชนิด หากมีเหลือก็แบ่งปันกันในชุมชนหรือน�ำ ออกจ�ำหน่าย มุง่ สูต่ ำ� บลสุขภาวะ เพือ่ ส่งเสริมการสร้างวิถชี มุ ชน เกษตรพอเพียงตามรอยพ่อหลวง เพื่อการพึ่งพาตนเอง ใช้ ชีวิตแบบพอเพียง ปัจจุบันได้ขับเคลื่อนเป็นนโยบายสาธารณะ เรื่องการสร้างปฏิญญาสุขภาพในทุกชุมชน

แหล่งเรียนรู้ที่ 5

บ้านน่าอยู่ หน้าบ้านน่ามอง รณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันปรับภูมิทัศน์ทั้งในบริเวณชุมชน และครัวเรือนให้มค ี วามน่าอยูน่ า่ อาศัย ถูกหลักสุขาภิบาล โดย บูรณาการงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเป็นเกณฑ์ใน การประเมินครัวเรือน ซึ่งชุมชนเป็นผู้คิด ท�ำ ติดตามและ ประเมินผลด้วยตัวเอง ซึง่ ส่งผลให้เกิดการแก้ไขปัญหาขยะล้น ชุมชนอย่างเป็นระบบ และร่วมกันหาทางการแก้ไขปัญหาด้วย ตนเองในชุมชน

แหล่งเรียนรู้ที่ 6

ป่าชุมชน ไม้ผลกินได้ บริหารจัดการพืน้ ทีส่ าธารณะ ซึง่ เป็นทีง่ อกริมแม่นำ�้ โดยชุมชน เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และ “ธนาคารอาหารชุมชน” ซึ่งชุมชน ทีอ่ ยูบ่ ริเวณโดยรอบพืน้ ทีจ่ ะร่วมกันหาต้นไม้ยนื ต้น ไม้สมุนไพร ไม้ผล พันธุ์หายากใกล้สูญพันธ์มาปลูกและมอบหมายให้มี ผูร้ บั ผิดชอบดูแลต้นไม้ผลัดเปลีย่ นหมุนเวียนกันอย่างต่อเนือ่ ง โดยมีกิจกรรมทอดผ้าป่าต้นไม้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการ รวบรวมพันธุไ์ ม้จากคนในชุมชน และหากใครทีม่ พ ี นั ธุไ์ ม้หายาก หรือก�ำลังจะสูญพันธุก์ ใ็ ห้แจ้งเทศบาล เพือ่ รวบรวมและน�ำมา อนุรักษ์ และเพาะพันธุ์ให้เพิ่มขึ้น ก่อนน�ำไปขยายพันธุ์สู่ชุมชน ต่อไป

- 30 -


เทศบาล ต�ำบลบ้านสาง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา

วิสยั ทัศน์: สิง่ แวดล้อมดี ประชาชนมีคณ ุ ภาพ ยึดหลักธรรมาภิบาล สูบ่ า้ นสางน่าอยูอ่ ย่างยัง่ ยืน ประชากร: 4,224 คน (ปี 2561) ชุมชนในเขตเทศบาล: 9 หมู่บ้าน ขนาดพื้นที่: 23.80 ตารางกิโลเมตร

ด้วยต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทัง้ ผืนนา ผืนน�ำ้ และผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ ท�ำให้ผู้คนในเทศบาลต�ำบล บ้านสางมีอาชีพทีห่ ลากหลาย ตัง้ แต่เกษตรกรรมไปจนถึง งานหัตถกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน ส่วนใหญ่แล้ว จะมีพน้ื ฐานจากต้นทุนด้านทรัพยากรในท้องถิน่ เป็นหลัก แม้วา่ ในปัจจุบนั จะต้องพึง่ พาทรัพยากรธรรมชาติภายนอก บ้างก็ตาม เช่น การท�ำครกหินบ้านงิว้ การท�ำปลาส้ม และ ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ซึ่งเป็นสินค้าพื้นเมืองขึ้นชื่อ ของทีน่ ี่ ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้กบั คนในชุมชนเป็น อย่างมาก


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ปัจจัย ความส�ำเร็จ

การน้อมน�ำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ในการด�ำเนินชีวติ เข้าใจ เข้าถึง ร่วมกันพัฒนาต่อยอด โดยยึดหลักการมีสว่ นร่วมของคนในชุมชน ร่วมคิด ร่วมท�ำ ร่วมกันรับผลประโยชน์ ปรับให้เข้ากับวิถชี วี ติ และวัฒนธรรม ของคนในชุมชน โดยไม่ทำ� ลายทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม

รักษาป่าชุมชนบ้านม่อนแก้ว บ้านม่อนแก้วเป็นหมู่บ้านต้นน�้ำและแหล่งน�้ำประปา ภูเขาของชุมชนบ้านสาง แต่เดิมเป็นป่าเสือ่ มโทรม เพราะ ประสบปัญหาการลักลอบตัดไม้ท�ำลายป่า ชาวบ้านจึง รวมตัวกันอนุรกั ษ์ผนื ป่าแห่งนีอ้ ย่างจริงจัง จนได้รบั การ ขึน้ ทะเบียนเป็นป่าชุมชน ครอบคลุมพืน้ ที่ 807 ไร่ และมี การปลูกป่าเพิม่ มีการจัดท�ำเส้นทางลาดตระเวนป้องกัน การรักษาป่า ในแต่ละปีมกี ารจัดกิจกรรมอนุรกั ษ์ปา่ ต่างๆ มากมาย เช่น กิจกรรมบวชป่า ปลูกป่าทดแทน มีการ ส�ำรวจพันธุไ์ ม้ทอ้ งถิน่ เพือ่ น�ำมาอนุรกั ษ์ กิจกรรมท�ำแนว กันไฟ โดยมีการวางแปลงพื้นที่ป่าชุมชน เพื่อหาความ หนาแน่นของต้นไม้และพันธุ์ไม้พื้นถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ รวมทั้งจัดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศเพื่อต่อยอด ไปยังการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกของเมือง

- 32 -


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน น�้ำสะอาดเพื่อชุมชน ชุมชนบ้านม่อนแก้วเคยประสบปัญหาการขาดแคลน น�้ำสะอาดส�ำหรับอุปโภคบริโภค เนื่องจากสภาพของ พืน้ ทีเ่ ป็นเนินจึงไม่สามารถขุดบ่อน�ำ้ ตืน้ ได้ ผูน้ ำ� ชุมชนจึง ได้เสนอแนวคิดในการน�ำน�้ำจากล�ำห้วยแม่พาดมาใช้ใน ชุมชน ชวนชาวบ้านมาลงแรงท�ำฝาย และช่วยกันขุดและ วางท่อน�ำ้ จากล�ำห้วย โดยใช้หลักการไหลของน�ำ้ จากทีส่ งู ลงสูท่ ตี่ ำ�่ กลายเป็นน�ำ้ ประปาภูเขาทีน่ ำ� น�ำ้ มาใช้ในหมูบ่ า้ น ปัจจุบนั มีการเปลีย่ นท่อประปาภูเขาจากท่อพีวซี เี ป็นท่อเหล็ก ขนาด 4 นิว้ โดยใช้แรงงานจากชุมชนและประชาชนในต�ำบล บ้านสางร่วมมือกัน ส่งผลให้ประชาชนในต�ำบลบ้านสาง ทัง้ 9 หมูบ่ า้ นมีนำ�้ ใช้ตลอดทัง้ ปี อีกทัง้ ยังสามารถส่งน�ำ้ ให้แก่ประชาชนในต�ำบลข้างเคียงได้อีกด้วย

ประกาศสงครามขยะ ต�ำบลบ้านสางไม่มีรถเก็บขนขยะ ไม่มีสถานที่ก�ำจัด มูลฝอย เพราะตอนบนของพืน้ ทีเ่ ป็นป่าต้นน�ำ้ ตรงกลาง เป็นที่ท�ำกินของชาวบ้าน ด้านล่างติดกับกว๊านพะเยา เทศบาลจึงให้ความส�ำคัญกับการจัดการขยะในระดับ ครัวเรือน โดยท�ำความเข้าใจกับชาวบ้านให้รจู้ กั จัดการขยะ ตัง้ แต่ตน้ ทาง 4 ประเภท ได้แก่ ขยะอินทรีย์ ขยะทัว่ ไป ขยะ รีไซเคิล และขยะอันตราย ด้วยการส่งเสริมให้ชาวบ้าน ท�ำเสวียนรอบต้นไม้ โดยน�ำไม้ไผ่รวกซึง่ เป็นไม้ทหี่ าได้งา่ ย และมีจำ� นวนมากในท้องถิน่ มาสานเป็นเสวียนเพือ่ รองรับ ขยะเปียก เมื่อย่อยสลายจะได้ปุ๋ยบ�ำรุงดินและต้นไม้ นอกจากนี้ ยังมี สายตรวจขยะชุมชนที่คอยสอดส่ อ ง ผู้ลักลอบทิ้งขยะในที่สาธารณะ โดยผู้ฝ่าฝืนต้องเสีย ค่าปรับ 2,000-5,000 บาท

- 33 -


แหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่ 1

ชุมชนบ้านม่อนแก้ว หมู่ที่ 9 ที่นี่เป็นหมู่บ้านต้นแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมสู่เมือง สีเขียวน่าอยูอ่ ย่างยัง่ ยืน มีฐานการเรียนรูด้ า้ นการบริการจัดการ สิง่ แวดล้อมจ�ำนวน 5 ฐานการเรียนรู้ 1. ฐานการบริหารจัดการน�ำ้ 2. ฐานการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร 3. ฐานการจัดการ พลังงาน 4. ฐานการจักสานไม้ไผ่ และ 5. ฐานการศึกษาเส้นทาง ธรรมชาติเชิงนิเวศ สามารถเป็นแหล่งเรียนรูแ้ ละศึกษาดูงานได้ โดยอาศัยวิถชี วี ติ ทีพ ่ อเพียงมาปรับใช้ในการด�ำเนินชีวติ ให้เข้ากับ สถานการณ์ในปัจจุบัน โดยค�ำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี ของชุ ม ชน คงความเป็ น อั ต ลั ก ษณ์ แ ละภู มิ ป ั ญ ญาพื้ น บ้ า น นอกจากนี้ยังมีเส้นทางธรรมชาติเชิงนิเวศและมีน�้ำตกที่สวย สะอาด ใส เย็น ให้นักท่องเที่ยวได้ชม

แหล่งเรียนรู้ที่ 2

โครงการบ�ำบัดน�้ำเสียตามแนวพระราชด�ำริ จากกระบวนการผลิตปลาส้ม หมู่ที่ 3 ในกระบวนการผลิตปลาส้ม ของดีขึ้นชื่อเมืองพะเยา ก่อให้เกิด น�้ำเสียที่มีทั้งปริมาณและความเข้มข้นของสารอินทรีย์สูง แต่ สามารถบ� ำ บั ด ได้ ด ้ ว ยเทคโนโลยี ก ารบ� ำ บั ด น�้ ำ เสี ย ตามแนว พระราชด�ำริที่อาศัยกลไกธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ประกอบ ด้วยตะแกรงกรองหยาบและละเอียด ถังดักไขมัน ถังบ�ำบัดแบบ ไร้ออกซิเจน บ่อผึง่ และระบบพืน้ ทีช่ ม่ ุ น�ำ้ เทียม ทีถ่ กู ออกแบบให้เข้ากับ สมบัตขิ องน�ำ้ เสียและภูมสิ งั คม นอกจากนีย้ งั สามารถน�ำของเสีย ทีเ่ กิดขึน้ ไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ไขมันจากถังดักไขมันสามารถน�ำไปท�ำ ถ่านหรือขีไ้ ต้อดั แท่ง และน�ำน�ำ้ เสียทีผ่ า่ นการบ�ำบัด มาปลูกพืชผัก สวนครัว เป็นต้น

แหล่งเรียนรู้ที่ 3

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสันบัวบก หมู่ที่ 8

- 34 -

เป็นการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมและการใช้วชั พืช (ผักตบชวา) ทีม่ อี ยูใ่ น กว๊านพะเยา มาผลิตเป็นผลงานทางด้านหัตถกรรมทีม่ เี อกลักษณ์ ผสมผสานกับภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ บวกกับความประณีต สวยงาม มีลวดลายเฉพาะตัว คงความเป็นเอกลักษณ์ของภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ได้อย่างลงตัว ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาสามารถผลิตได้หลายอย่าง เช่น กระเป๋า กระจาด ตะกร้า รองเท้า เป็นต้น การบริหารจัดตัง้ กลุม่ เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มีรูปแบบการบริหารโดย คณะกรรมการกลุม่ ในปัจจุบนั มียอดการสัง่ ซือ้ ผลิตภัณฑ์อย่าง สม�ำ่ เสมอ และมียอดสัง่ ซือ้ เพิม่ ขึน้ ทัง้ ภายในประเทศและต่างประเทศ


- 14 เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน -

ภาคกลาง

เทศบาลเมืองตาคลี จ.นครสวรรค์ เทศบาลเมืองพิจิตร จ.พิจิตร


เทศบาล เมืองตาคลี

อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

วิสัยทัศน์: ตาคลีเมืองแห่งความสุข ประชากร: 23,843 คน (ปี 2561) ชุมชนในเขตเทศบาล: 22 ชุมชน ขนาดพื้นที่: 16 ตารางกิโลเมตร

ในอดีตตาคลีเป็นเมืองชุมทางรถไฟสายเหนือ และ ค่อยๆ เติบโตกลายเป็นชุมชนเมืองที่มีผู้คนเข้ามาอาศัย หนาแน่น สองข้างทางบนถนนสายหลักเต็มไปด้วยห้อง แถวและอาคารพาณิชย์ แต่นอกเขตชุมชนเมืองออกไป จะเป็นพืน้ ทีเ่ กษตรกรรม คนตาคลีในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพค้าขายและท�ำการเกษตร ปัจจุบันตาคลี มุ่งพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ภายใต้ วิสัยทัศน์ “ตาคลีเมืองแห่งความสุข”


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน นโยบายของผูบ้ ริหารทีม่ แี นวคิดชัดเจนทีจ่ ะบริหารท้องถิน่ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เพือ่ ตอบสนองปัญหาและความต้องการของประชาชน รวมถึงสร้างความเข้มแข็ง ของประชาชนด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และใช้กระบวนการมีสว่ นร่วม ของประชาชนเป็นกลยุทธ์ในการท�ำงาน

ปัจจัย ความส�ำเร็จ

มีการบูรณาการการท�ำงานร่วมกันระหว่างส่วนราชการในฝ่ายต่างๆ ของ เทศบาลจนเกิดผลสัมฤทธิ์ เช่น การบูรณาการการท�ำงานของกองการประปา กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และกองคลัง ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม การจัดการขยะมูลฝอยร่วมกับค่าน�้ำประปา การมีส่วนร่วมโดยต้องมีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งราชการและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมและความร่วมมือ ของประชาชน

กระบวนการจัดการขยะ แบบครบวงจร การจัดการขยะต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดย การรณรงค์ใช้หลัก 3Rs ส่งเสริมให้ประชาชนมีสว่ นร่วม ในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง รวมทั้งส่งเสริมให้มี กิจกรรมเพือ่ น�ำขยะทีค่ ดั แยกไปจ�ำหน่าย หรือแลกเปลีย่ น เป็นเงิน สิ่งของ และส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเครือข่าย อาสาสมัครท้องถิน่ รักษ์โลก (อถล.) กลางทาง มีการจัดหา ภาชนะรองรับขยะมูลฝอยส�ำหรับแยกประเภทขยะใน ชุมชนและที่สาธารณะ จัดตั้งจุดรวบรวมขยะอันตราย ทุกชุมชน และมีระบบเก็บขนขยะมูลฝอย ส่วนปลายทาง เทศบาลได้รบั การคัดเลือกจากจังหวัดนครสวรรค์ให้เป็น เทศบาลต้นแบบในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และ


ด�ำเนินการจัดการขยะตกค้าง พร้อมทัง้ จัดเก็บและรวบรวม ขยะอันตรายส่งไปก�ำจัดต่อไป นวัตกรรมของการบริหารจัดการขยะของเทศบาล เมืองตาคลี คือ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบริหาร จัดการขยะมูลฝอยรวมกับค่าบริการน�ำ้ ประปาในใบเสร็จ เดียวกัน โดยออกเป็นเทศบัญญัตกิ ารจัดการสิง่ ปฏิกลู และมูลฝอย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการ สิง่ ปฏิกลู และมูลฝอยของเทศบาล และเข้าประชุมรายงาน ความก้าวหน้าแนวทางปฏิบตั ริ ว่ มกับจังหวัดอย่างต่อเนือ่ ง โดยมีการวางระบบจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางอย่างเป็นระบบ

ยกระดับการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้ แนวคิด “บวร” บ้าน (ชุมชน) วัด และโรงเรียน ชุมชน ชุมชนศรีสวัสดิ์ คนในชุมชนได้ร่วมกันคัด แยกขยะในครัวเรือนเพือ่ ลดปริมาณขยะสูส่ ถานทีก่ ำ� จัด มูลฝอย โดยการเก็บเศษอาหารทีเ่ หลือไว้เป็นอาหารหมู และน�ำมูลหมูมาท�ำปุย๋ หมักชีวภาพ ส่วนมูลวัวน�ำมาผลิต เป็นปุ๋ยอินทรีย์ใส่นาข้าวเพื่อปรับสภาพดิน และแปรรูป เป็นปุย๋ เพือ่ จ�ำหน่ายสร้างรายได้ภายในครัวเรือน รวมทัง้ งดการใช้สารเคมีในการเกษตร พร้อมทั้งต่อยอดเป็น แหล่งเรียนรู้ชุมชนการท�ำปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์ และ ขยายไปยังชุมชนอืน่ ส่วนชุมชนบ้านใหม่โพนทอง มีการท�ำ คอนโดเลีย้ งไส้เดือนดินก�ำจัดขยะอินทรีย์ เพือ่ ใช้มลู ไส้เดือน ทดแทนปุย๋ เคมีในการท�ำเกษตร ท�ำให้เป็นแหล่งเกษตรทีม่ ี อาหารปลอดภัย และสามารถสร้างรายได้ภายในครัวเรือน

- 38 -


วัด ส่งเสริมให้มกี ารคัดแยกขยะ รีไซเคิลขยะอินทรีย์ เพื่อท�ำปุ๋ยหมัก และประชาสัมพันธ์ผ่านการเทศน์เพื่อ สร้างจิตส�ำนึกและความตระหนักแก่ประชาชนในการร่วม มือคัดแยก ลดและใช้ประโยชน์จากขยะ โรงเรี ย น มี แ นวทางในการน� ำ ขยะทั่ ว ไปภายใน โรงเรียนมาประดิษฐ์เป็นของใช้ในชีวิตประจ�ำวัน โดยน�ำ หลอดน�้ำ แก้วกระดาษ ถุงนม ประดิษฐ์เป็นกระเป๋าหิ้วใส่ ของ ผ้ากันเปือ้ น แผ่นปูโต๊ะอาหารในโรงอาหาร และทีเ่ พาะช�ำ ต้นไม้ โดยให้เด็กนักเรียนน�ำไปดูแลทีบ่ า้ น เพือ่ ฝึกให้เด็ก ดูการเจริญเติบโตของต้นไม้ รวมทั้งมุ่งเน้นผู้ปกครอง ให้ความร่วมมือ และมีสว่ นร่วมกับนักเรียนในการจัดการขยะ

เปลี่ยนขี้หมูเป็นก๊าซหุงต้ม เทศบาลเมืองตาคลีมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหามลพิษ กลิ่ น เหม็ น ของมู ล สุ ก รและน�้ ำ เสี ย จากฟาร์ ม สุ ก รใน เชิงรุก โดยการส่งเสริมความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์อย่าง ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล รวมทั้งอบรมให้ความรู้กับ ชุมชนและเกษตรกรผูเ้ ลีย้ งหมูให้รจู้ กั น�ำขีห้ มูไปผลิตเป็น ก๊าซชีวภาพ ซึง่ เป็นกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากสิง่ ปฏิกลู เปลีย่ นเป็นพลังงาน เพือ่ ช่วยลดค่าใช้จา่ ย และลดความ ขัดแย้ง เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนรอบข้าง โดยกองทุนสิ่งแวดล้อมได้สนับสนุนงบ ประมาณการ ผลิตก๊าซชีวภาพ จนเป็นแหล่งเรียนรูน้ ำ� ร่องการจัดการ ก๊าซชีวภาพในครัวเรือนของชุมชนรจนา


แหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่ 1

ศูนย์ผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ชุมชนรจนา เทศบาลเมืองตาคลีร่วมกับผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรในชุมชน รจนา เริม่ ด�ำเนินการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร ตัง้ แต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบนั นอกจากจะแก้ปญ ั หากลิน่ เหม็นและน�ำ้ เสียจากการ เลี้ยงสุกรแล้ว ยังสามารถน�ำก๊าซชีวภาพที่ได้ใช้ประโยชน์ในการ หุ ง ต้ ม ในครั ว เรื อ น อี ก ทั้ ง ผลพลอยได้ คื อ น�้ ำ หมั ก ที่ ไ ด้ จ าก กระบวนการท�ำก๊าซชีวภาพน�ำมารดพืชผักสวนครัว รวมทัง้ ใช้เป็น บ่อเลี้ยงปลาอีกด้วย

แหล่งเรียนรู้ที่ 2

ศูนย์การจัดการขยะ วัดหัวเขาตาคลี ชุมชนสารภี วัดหัวเขาตาคลีได้รับการจัดตั้งให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ในการคัดแยกขยะ ภายในวัดมีการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี มีการคัดแยกขยะ รีไซเคิล การท�ำปุย๋ หมักชีวภาพ มีการเทศน์เกีย่ วกับสิง่ แวดล้อม ทุกวันพระ และให้พุทธศาสนิกชนที่มาท�ำบุญใช้ปิ่นโตแทนการใช้ โฟมและถุงพลาสติก

- 40 -


แหล่งเรียนรู้ที่ 3

ศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจร เทศบาลเมืองตาคลี เปิดด�ำเนินการเมื่อปี 2546 เป็นการฝังกลบอย่างถูกหลัก สุขาภิบาล (Sanitary landfill) อย่างเดียว จนถึงปี 2557-2558 ได้รับงบประมาณอุดหนุนเพื่อเป็นศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยแบบ ครบวงจร ด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การคัดแยกขยะรีไซเคิล การหมักปุ๋ยชีวภาพจากขยะอินทรีย์ และการฝังกลบขยะทั่วไป ที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ซึ่งเทศบาลเมืองตาคลีได้ถูกก�ำหนดให้เป็น ศูนย์กลางรับก�ำจัดขยะ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทีน่ ำ� ขยะ มาก�ำจัดร่วม 14 แห่ง โดยมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมก�ำจัดขยะ ในอั ต รา 600 บาทต่ อตั น ปั จจุ บันปริ มาณขยะเข้ามาก�ำจัด ประมาณ 44-45 ตันต่อวัน

แหล่งเรียนรู้ที่ 4

สวนสาธารณะสระทะเล ตั้งอยู่ในชุมชนตาคลีใหญ่ เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ภายใน บริเวณพื้นที่ประมาณ 47 ไร่ มีต้นไม้ร่มรื่น มีบ่อน�้ำ สระน�้ำ รอบเกาะ ท�ำให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และออกก�ำลังกาย นอกจากนี้เทศบาลยังได้มีการจัดกิจกรรม อนุรักษ์ประเพณีไทย เช่น การท�ำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมและเป็นการประชาสัมพันธ์ สระทะเลให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี โดยได้รับการ คัดเลือกเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 10

- 41 -


เทศบาล เมืองพิจิตร อ.เมือง จ.พิจิตร

วิสัยทัศน์: เมืองพิจิตรน่าอยู่ บริหารจัดการ มีประสิทธิภาพ บริการมีประสิทธิผล ประชาชนพอใจ ประชากร: 21,645 คน (ปี 2561) ชุมชนในเขตเทศบาล: 25 ชุมชน ขนาดพื้นที่: 12.014 ตารางกิโลเมตร

แม้ จ ะเป็ น ชุ ม ชนเมื อ งแต่ พิ จิ ต รก็ ไ ม่ พ ลุ ก พล่ า น ตรงกันข้ามกลับเป็นเมืองที่เติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป การพัฒนาที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่บนความพอดิบพอดีของ เมือง แต่ก็ครบถ้วนด้วยสาธารณูปโภคที่คอยอ�ำนวย ความสะดวกในชีวติ ประจ�ำวัน และยังมีตน้ ทุนทางธรรมชาติ อย่างบึงสีไฟ บึงน�้ำขนาดใหญ่กว่า 5,000 ไร่ และสวน สาธารณะขนาดใหญ่กลางใจเมือง ที่มาช่วยเติมเต็ม คุ ณ ภาพชี วิ ต ของคนเมื อ งพิ จิ ต รให้ ส มบู ร ณ์ พ ร้ อ ม ความพิเศษของเมืองแห่งนีอ้ ยูต่ รงที่ “คนมีสขุ ” ด้วยเหตุนี้ พิจิตรจึงกลายเป็นเมืองในฝันที่หลายคนอยากจะมา ลงหลักปักฐานในช่วงบั้นปลายชีวิต


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน เริม่ ต้นการจัดการเมืองโดยมีเป้าหมายทีช่ ดั เจน และสามารถตีโจทย์ การพัฒนาเมือง โดยดึงประเด็นใกล้ตวั ทีช่ มุ ชนสนใจมาเป็นจุดร่วม เพือ่ เชือ่ มโยง ไปสูป่ ระเด็นการพัฒนาเมืองในเรือ่ งอืน่ ๆ เช่น เปิดประเด็นด้วยเรือ่ งของสุขภาพ จากนัน้ จึงเชือ่ มโยงไปยังเรือ่ งสิง่ แวดล้อม

ปัจจัย ความส�ำเร็จ

มีกิจกรรมเชิงพัฒนาร่วมกับชุมชนอย่างสม�่ำเสมอ ท�ำให้ชุมชนเกิดความ กระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอย่างต่อเนื่อง รู้จักค้นหาพันธมิตรในการท�ำงาน และสร้างเป็นเครือข่ายความร่วมมือ รวมถึงแสวงหาความรู้ และนวัตกรรมมาช่วยในการพัฒนาเมืองอยูต่ ลอดเวลา

ขยะคือเรื่องของทุกคน ก่ อ นหน้ า นี้ ป ระชาชนในเขตเทศบาลเมื อ งพิ จิ ต ร เข้าใจว่า “ขยะเป็นหน้าทีข่ องเทศบาล” เทศบาลเมืองพิจติ ร ต้องใช้เวลากว่า 15 ปีในการแก้ปญ ั หาดังกล่าว จนน�ำไปสู่ การจัดการขยะได้อย่างยัง่ ยืน และปรับเปลีย่ นทัศนคติของ คนในชุมชน เพือ่ ช่วยดูแลความสะอาดชุมชนของตนเอง เบือ้ งต้นเทศบาลได้จดั กิจกรรมให้ความรูก้ ารจัดการ สิง่ แวดล้อมเมืองยัง่ ยืนแก่แกนน�ำชุมชน โดยให้แกนน�ำชุมชน น�ำไปขยายผลต่อในครัวเรือนของแต่ละชุมชน จากนัน้ ให้ แต่ละชุมชนจัดประชุมรับฟังความเห็นต่อแนวทางการ พัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ ของชุมชนตนเอง รวมทัง้ ส�ำรวจและจัดท�ำข้อมูลพืน้ ฐาน ที่ จ� ำ เป็ น ในแต่ ล ะชุ ม ชน เพื่ อ น� ำ ไปจั ด ท� ำ แผนที่ ชุ ม ชน

- 43 -


เทศบาลได้สนับสนุนให้แต่ละชุมชนท�ำกิจกรรมพัฒนา สิง่ แวดล้อมในชุมชนร่วมกัน โดยใช้โอกาสในวันส�ำคัญและ เทศกาลต่างๆ ในเรื่องของการจัดการขยะ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของ ทุกชุมชนนั้น เทศบาลใช้วิธีการสร้างการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ระดับครัวเรือนโดยมีแกนน�ำชุมชนไปส่งเสริมให้ ทุ ก ครั ว เรื อ นมี ก ารคั ด แยกขยะ ควบคู ่ ไ ปกั บ การที่ เทศบาลเข้าไปส่งเสริมอาชีพแปรรูปวัสดุเหลือใช้เป็น ผลิตภัณฑ์ใหม่ เพือ่ เพิม่ มูลค่าและการแปรรูปขยะอินทรีย์ ท�ำปุ๋ยหมัก ฯลฯ ทุ ก วั น นี้ ทุ ก ชุ ม ชนในเขตเทศบาลไม่ มี ป ั ญ หาขยะ ตกค้าง และยังสามารถจัดเก็บขยะและน�ำไปก�ำจัดได้ ทั้ ง หมด นอกจากนี้ ป ระชาชนในชุ ม ชนต่ า งๆ ยั ง มี กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เช่น ร่วมกันส�ำรวจอนุรกั ษ์ตน้ ไม้ใหญ่ในชุมชนและปลูกไม้ผล เพือ่ ความมัน่ คงของอาหารในเมือง ส่งผลให้คนในชุมชน เกิดความรักความสามัคคี ยิ่งไปกว่านั้น ยังก่อให้เกิด “งานสีเขียว” (Green Jobs) ขึ้นในชุมชน เป็นการสร้าง รายได้ควบคูไ่ ปกับการรักษาสิง่ แวดล้อม เช่น หลายชุมชน รวมกลุ่มผลิตปุ๋ยน�้ำอินทรีย์จ�ำหน่ายเสริมรายได้


แหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่ 1 ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสิ่งแวดล้อม อาคารน�้ำตก บึงสีไฟ อาคารน�้ำตกจ�ำลองโดยระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้เป็น แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ชาวพิจิตร รวมทั้งการ อนุรกั ษ์และการบริหารจัดการสิง่ แวดล้อมและพลังงานของเมือง พิจิตร ผ่านสื่อวีดิทัศน์ การสาธิตและนิทรรศการมีชีวิต มีการ จัดแสดงชาติพนั ธุช์ าวพิจติ ร มีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์จากวัสดุ รีไซเคิล การสาธิตการใช้พลังงานทดแทนในชีวิตประจ�ำวัน

แหล่งเรียนรู้ที่ 2

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้รูปแบบและวิธีการจัดการมูลฝอยในภาพรวมของ เทศบาลเมืองพิจติ ร และผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะเป็นของใช้ และเครือ่ งประดับตกแต่งบ้าน ปัจจุบนั ได้พฒ ั นาสูก่ ารสร้างอาชีพ ของชุมชนจากการแปรรูปขยะ ซึง่ มีการส่งจ�ำหน่ายทัง้ ในประเทศ และต่างประเทศ

- 45 -


แหล่งเรียนรู้ที่ 3

ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสิ่งแวดล้อม โรงเรียนเทศบาลบ้านท่าหลวง โรงเรียนต้นแบบการน�ำแนวคิดการจัดการสิง่ แวดล้อมบนพืน้ ฐาน หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนการ สอนในโรงเรียนตัง้ แต่ระดับชัน้ อนุบาลถึงมัธยมศึกษา เช่น มีการ ฝึ ก นั ก เรี ย นให้ รู ้ จั ก การแยกขยะ การฝึ ก วิ นั ย การออมภาค เยาวชน การเรียนรู้การบริโภคอย่างยั่งยืน พร้อมการฝึกทักษะ การปลูกผักสวนครัว การสร้างสื่อการเรียนการสอนจากวัสดุ รีไซเคิล ฯลฯ

แหล่งเรียนรู้ที่ 4

25 ชุมชนต้นแบบการจัดการสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนของภาคประชาชน ในรูปแบบวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานหลัก เศรษฐกิจพอเพียง เช่น การใช้จกั รยานในชีวติ ประจ�ำวัน คัดแยก ขยะจากครัวเรือน การปลูกผักอินทรีย์ และกิจกรรมการน�ำขยะ มาใช้ประโยชน์และแปรรูปเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้ง เครื่องใช้ ของประดับตกแต่งบ้าน ซึ่งกิจกรรมของแต่ละชุมชน มีความแตกต่างกันไป เช่น การน�ำวัสดุเหลือใช้มาเป็นภาชนะปลูกผัก ศูนย์เรียนรู้การแปรรูปขยะรีไซเคิล ชุมชนประชาอุทิศน�ำริบบิ้น และเชือกมาถักเป็นสินค้า

- 46 -


- 14 เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน -

ภาคตะวันออก

เทศบาลเมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี เทศบาลต�ำบลฉมัน จ.จันทบุรี


เทศบาล เมืองพนัสนิคม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

วิสัยทัศน์: พัฒนาเมืองพนัสนิคมเป็นเมืองน่าอยู่ อย่างยัง่ ยืน ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง และกระบวนการ มีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ด้วยความ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ประชากร: 10,230 คน (ปี 2563) ชุมชนในเขตเทศบาล: 12 ชุมชน ขนาดพื้นที่: 2.76 ตารางกิโลเมตร

พนัสนิคมเป็นเมืองอยูอ่ าศัยขนาดเล็กทีไ่ ม่พลุกพล่าน มีพนื้ ทีเ่ พียงแค่ 2.76 ตารางกิโลเมตร แต่มคี วามน่าสนใจ หลายด้าน ทั้งประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม และ งานศิลปหัตถกรรมที่ขึ้นชื่อ เทศบาลเมืองพนัสนิคม มีนโยบายในการบริหารจัดการท้องถิน่ โดยให้ความส�ำคัญ ในด้านการอนุรกั ษ์ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม บนวิถชี วี ติ ความพอเพียงไปสู่ดิน น�้ำ ป่า โดยการรักษาระบบนิเวศ ของเมือง จนปัจจุบนั พนัสนิคมได้กา้ วขึน้ มาเป็นเทศบาล น่าอยู่อันดับต้นๆ ของประเทศ


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ปัจจัย ความส�ำเร็จ

สร้างเมืองด้วยการจัดกระบวนการส่งเสริมการมีสว่ นร่วมของประชาชน ตัง้ แต่รว่ มคิด ร่วมท�ำ ร่วมรับผลทีเ่ กิดขึน้ และติดตามประเมินผลร่วมกัน

เมืองแห่งต้นไม้ มุ่งสู่เมืองคาร์บอนต�่ำ พนัสนิคมมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต�่ำจึงให้ความส�ำคัญ กับการอนุรักษ์แหล่งกักเก็บคาร์บอน (Carbon sink) ในเมือง โดยการพยายามอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่และเพิ่ม พืน้ ทีส่ เี ขียวในเมือง ระยะแรกมีการส�ำรวจต้นไม้ใหญ่ทกุ ต้น ในพืน้ ทีเ่ ขตเทศบาล เพือ่ น�ำมาจัดท�ำทะเบียนต้นไม้ รวมทัง้ จัดท�ำแผนทีต่ น้ ไม้ทงั้ หมด เพือ่ ง่ายต่อการดูแลบ�ำรุงรักษา ในปี 2554 ทีเ่ ทศบาลเมืองพนัสนิคมเริม่ ส�ำรวจต้นไม้ใน พืน้ ที่ มีทงั้ หมด 969 ต้น คิดเป็นปริมาณคาร์บอนทีต่ น้ ไม้ ได้กกั เก็บเท่ากับ 85.49 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ และมีการ ส�ำรวจใหม่ทกุ ปี ปัจจุบนั มีตน้ ไม้ทขี่ นึ้ ทะเบียนถึง 4,050 ต้น คิดเป็น 8 ตารางเมตรต่อคน แต่เทศบาลยังคงมุง่ มัน่ โดยมี เป้าหมายพืน้ ทีส่ เี ขียวที่ 12 ตารางเมตรต่อหัวประชากรให้ได้

- 49 -


การจัดการขยะอย่างยั่งยืน จากจุดเริ่มต้นของปัญหาขยะปริมาณ 20 กว่าตัน ต่อวัน ทั้งที่เทศบาลเมืองพนัสนิคมเป็นเมืองขนาดเล็ก มีพนื้ ทีเ่ พียง 2.76 ตารางกิโลเมตร เทศบาลจึงตัง้ เป้าหมาย ลดขยะให้เหลือประมาณ 14 ตันต่อวัน โดยมีการประชาคม เรือ่ งขยะ เพือ่ ให้เป็นถนนปลอดถังขยะ มีการส่งเสริมให้ ประชาชนมีการคัดแยกก่อนทิง้ ผลจากการด�ำเนินการท�ำให้ ปัจจุบนั มีปริมาณขยะเหลือเพียงวันละ 14 ตันตามเป้าหมาย ขยะอินทรีย์ เช่น เศษผัก ผลไม้ จากตลาดสดทีน่ อกเหนือ จากการทีม่ ผี นู้ ำ� ไปใช้ประโยชน์ ทางเทศบาลได้จดั รถส�ำหรับ จัดเก็บทุกวัน เพื่อน�ำไปท�ำปุ๋ยหมักวันละประมาณ 400 กิโลกรัม ส่วนใบไม้ในสวนสาธารณะของเขตเทศบาล มีหลายแห่งได้น�ำใบไม้ไปใส่ในคอกเพื่อท�ำปุ๋ยหมักต่อไป นอกจากนีป้ ระชาชนยังร่วมกันลดการใช้โฟมและพลาสติก ส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือกับเทศบาล แต่ก็ยังมีแม่ค้า รายเก่าและรายใหม่บางคนที่แอบใช้อยู่บ้าง


ขึ้นทะเบียนต้นไม้ พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองมีผลต่อความเป็นอยู่และ คุณภาพชีวติ ของผูค้ น เทศบาลเมืองพนัสนิคมให้ความ ส�ำคัญกับการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยเริ่มส�ำรวจพื้นที่สี เขียวและขึ้นทะเบียนต้นไม้ที่มีขนาดเส้นรอบวงตั้งแต่ 14 เซนติเมตรขึน้ ไป และจัดท�ำทะเบียนต้นไม้ทกุ ต้นทีอ่ ยูใ่ น เขตเทศบาล โดยร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม เก็บข้อมูลพืน้ ทีส่ เี ขียว และปริมาณขยะ ซึง่ เป็นการเก็บข้อมูล ผ่านระบบออนไลน์ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกดึงเข้าไปในระบบ (SAR: Self-Assessment Report) และสามารถเชื่อมโยง กับการเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกที่ทางเทศบาลก�ำลัง ด�ำเนินการอยู่

โรงเรียนปลอดขยะ เทศบาลเน้นให้โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเข้าร่วม โครงการ Eco-School ซึ่ ง เป็ น หลั ก สู ต รเกี่ ย วกั บ สิ่งแวดล้อมศึกษา และต่อยอดเป็นโรงเรียนปลอดขยะ โดยภายในโรงเรียนจะให้นักเรียนเตรียมบรรจุภัณฑ์ (ปิน่ โต กล่องข้าว แก้วน�ำ้ ) และแม่คา้ ในโรงเรียนจะเตรียม กระทงใบตอง แต่อาจจะไม่พอต่อความต้องการของ นั ก เรี ย น ถ้ า นั ก เรี ย นไม่ ไ ด้ เ ตรี ย มบรรจุ ภัณ ฑ์ ม าเอง ก็จะไม่ได้กนิ อาหารในมือ้ นัน้ ๆ รวมทัง้ กิจกรรมการปลูกผัก ปลอดสารพิษ สวนสมุนไพรพืน้ บ้าน การท�ำปุย๋ หมักและ น�้ำหมักชีวภาพ และผลิตภัณฑ์จากวัสดุรีไซเคิลเหลือใช้ ซึง่ เป็นสิง่ ทีอ่ าจจะมีความเปลีย่ นแปลงก็คอื มีการปลูกฝัง แล้วก็ตอ่ ยอดตัง้ แต่โรงเรียนจนถึงวิถชี วี ติ ปัจจุบนั


แหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่ 1 สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพนัสนิคม ตัวอย่างของการแปลงแนวคิดการสร้างเมืองสีเขียวสูก่ ารปฏิบตั จิ ริง โดยปลูกต้นไม้ยนื ต้นเพือ่ เพิม่ พืน้ ทีส่ เี ขียวให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ขององค์การอนามัยโลก 9 ตารางเมตรต่อคน พร้อมทัง้ การส�ำรวจ เพือ่ ขึน้ ทะเบียนต้นไม้ใหญ่ในเมือง เป็นการเสริมสร้างภูมทิ ศั น์ให้ เอือ้ อ�ำนวยต่อการพักผ่อนหย่อนใจและสภาพแวดล้อมของเมือง

แหล่งเรียนรู้ที่ 2

โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีกิตติวรรณนุสรณ์ โรงเรี ย นแห่ ง นี้ เ ป็ น ต้ น แบบการจั ด การสิ่ ง แวดล้ อ มภายใน โรงเรียนและชุมชนที่เอื้อต่อการลดการปล่อยคาร์บอน ผ่าน กิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ สวนสมุนไพรพืน้ บ้าน การท�ำ ปุ๋ยหมักและน�้ำหมักชีวภาพ ผลิตภัณฑ์จากขยะ เป็นการปลูก จิ ต ส� ำ นึ ก สร้ า งความตระหนั ก ต่ อ ปั ญ หาและกระตุ ้ น ให้ เ กิ ด การมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหาร โรงเรียน คณะครูนกั เรียน ในการลดการปล่อยคาร์บอน จนปัจจุบนั มุง่ เน้นการลดภาชนะโดยการรณรงค์ให้นกั เรียนน�ำภาชนะมาเอง ไม่ให้ผปู้ ระกอบการจัดหา ยกเว้นภาชนะทีย่ อ่ ยสลายได้ เช่น ใบตอง

แหล่งเรียนรู้ที่ 3

ศูนย์การเรียนรู้เมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ เทศบาลเมืองพนัสนิคม มีการน�ำขยะอินทรียแ์ ละภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ด้านสมุนไพรพืน้ บ้าน มาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่ า นกระบวนการเทคโนโลยี ก ลุ ่ ม สร้ า งสรรค์ จุ ลิ น ทรี ย ์ ที่ มี ประสิทธิภาพ (EM) เพือ่ ส่งเสริมให้ประชาชนมีสว่ นร่วมในการบ�ำบัด และปรับปรุงคุณภาพน�้ำเสียจากครัวเรือนและชุมชนให้ดีขึ้น


เทศบาล ต�ำบลฉมัน อ.มะขาม จ.จันทบุรี

วิสัยทัศน์: มุ่งสู่สังคมคุณธรรม น�ำการศึกษา ก้าวไกล ใส่ใจสิง่ แวดล้อม พร้อมร่วมใจพัฒนา พาสังคม สันติสุข ขจัดทุกข์ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ประชากร: 4,379 คน (พฤษภาคม 2563) ชุมชนในเขตเทศบาล: 9 หมู่บ้าน ขนาดพื้นที่: 86.5 ตารางกิโลเมตร

เทศบาลต� ำ บลฉมั น เป็ น พื้ น ที่ ต ้ น น�้ ำ ของจั ง หวั ด จันทบุรี และมีพื้นที่ทั้งหมด 86.5 ตารางกิโลเมตร ที่นี่ ถูกก�ำหนดให้เป็นพื้นที่สีเขียวและพื้นที่เกษตรกรรม ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพท�ำสวนผลไม้มาตั้งแต่ รุ่นปู่รุ่นย่า ที่ต�ำบลแห่งนี้ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อ ให้เกิดมลพิษ แต่เป็นท้องถิน่ เล็กๆ ทีเ่ ต็มไปด้วยธรรมชาติ สงบเงียบ และน่าอยู่ นอกจากนี้ในเขตเทศบาลยังเป็น ที่ อ ยู ่ ข องชาวของ ซึ่ ง เป็ น ชนพื้ น เมื อ งดั้ ง เดิ ม ในเขต จันทบุรี ซึ่งมีประเพณีและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ที่ยังคงสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ปัจจัย ความส�ำเร็จ

ไม่ปล่อยให้ขอ้ จ�ำกัดมาเป็นอุปสรรคของการพัฒนาเมือง แต่ตอ้ ง ท�ำความเข้าใจกับข้อจ�ำกัดของตนเองและหาแนวทางพัฒนาทีเ่ หมาะสม บนพืน้ ฐานของการสร้างความเข้าใจและการมีสว่ นร่วมของชุมชน เน้นการสร้างชุมชนต้นแบบ เริม่ ต้นจากจุดเล็กๆ แล้วจึงขยายออกไป เพือ่ ให้เกิดความมัน่ คงและยัง่ ยืน

โฮมสเตย์รักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยศักยภาพด้านการท่องเทีย่ วจึงเกิดกิจการโฮมสเตย์ กว่า 20 แห่งในเขตเทศบาล แล้วปัญหาขยะและสิง่ แวดล้อม ก็เกิดตามมา เทศบาลจึงได้ลงพืน้ ทีส่ ำ� รวจโฮมสเตย์ทกุ แห่ง พร้อมรวบรวมเป็นข้อมูลและประชุมหารือกับผูป้ ระกอบการ โฮมสเตย์ในการก�ำหนดแนวทางการแก้ปัญหา รวมทั้ง ให้ความรูเ้ กีย่ วกับการบริหารจัดการขยะและน�ำ้ เสีย โดย ออกข้อบังคับในการจัดการขยะให้ทุกโฮมสเตย์มีการ คัดแยกขยะ มีศนู ย์เรียนรูก้ ารจัดการขยะ และมีการบ�ำบัด น�้ำเสียขั้นต้นจากครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันมีการรวมตัวกัน เป็นกลุ่มในนาม “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุ่งเพลโฮมสเตย์” ทีเ่ ข้มแข็งและมีการบริหารจัดการทีด่ จี ากการสนับสนุนจาก เทศบาล โดยมีการหักเงินรายได้ของผูป้ ระกอบการส่วนหนึง่ มาเป็นกองทุนเพือ่ ช่วยเหลือสังคมและการดูแลสิง่ แวดล้อม

- 54 -


ระบบจัดการขยะในชุมชน เนือ่ งจากเทศบาลต�ำบลฉมันไม่ใช่เขตเมือง เป็นพืน้ ที่ ชนบทเกษตรกรรมท�ำสวนผลไม้ ซึ่งบ้านแต่ละหลังอยู่ ห่างกัน ประกอบกับงบประมาณของเทศบาลมีจำ� กัด จึงไม่มี รถเก็บขยะและไม่มสี ถานทีก่ ำ� จัดขยะมูลฝอยของเทศบาลเอง เทศบาลต�ำบลฉมันเลือกใช้วิธีสร้างการมีส่วนร่วมของ ชาวบ้านในการจัดการขยะตัง้ แต่ตน้ ทางอย่างถูกวิธี โดย สร้างระบบจัดการขยะในชุมชน เช่น ส่งเสริมให้แต่ละครัว เรือนคัดแยกขยะ จัดตัง้ ธนาคารขยะในชุมชน กิจกรรม ขยะแลกของและตลาดนัดขยะ รณรงค์สร้างจิตส�ำนึก ให้ประชาชนช่วยกันรักษาความสะอาดในชุมชนของตนเอง เช่น การเก็บขยะสองข้างทาง และการประกวดบ้านน่ามอง


แหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่ 1 ป่าชุมชนบ้านวังตัก ป่าชุมชนบ้านวังตักมีพนื้ ทีป่ ระมาณ 26 ไร่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วย พันธุไ์ ม้และพืชสมุนไพรประจ�ำถิน่ หลากหลายชนิด มีตน้ ไม้ทอี่ ายุ เก่าแก่กว่าร้อยปี ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษาเรียนรู้ เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ เทศบาลต�ำบลฉมันจึงร่วมกับเครือข่าย ต่างๆ ในชุมชน ในการส�ำรวจพื้นที่ เก็บข้อมูลชนิดพันธุ์ไม้ที่พบ รวมทั้งสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ และรวบรวมเป็นฐานข้อมูล พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อถ่ายทอดให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา

แหล่งเรียนรู้ที่ 2

ธนาคารขยะบ้านทุ่งเพล ธนาคารขยะแห่งนี้บริหารจัดการโดยชุมชนและเพื่อชุมชน เพื่อ ส่งเสริมการคัดแยกทีต่ น้ ทางและก�ำจัดขยะแต่ละประเภทให้ถกู ต้อง ตามหลักวิชาการ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน

- 56 -


แหล่งเรียนรู้ที่ 3 บ้านต้นแบบคัดแยกขยะที่ต้นทาง (บ้านน่ามอง) เทศบาลต�ำบลฉมันได้ดำ� เนินโครงการบ้านน่ามอง เพือ่ ส่งเสริม ให้ประชาชนดูแลรักษาความสะอาดบ้านเรือนให้น่าอยู่ ปลูกพืช สวนครัว และสมุนไพร เพือ่ บริโภคในครัวเรือน จัดอบรมให้ความรู้ แก่ประชาชนในการคัดแยกและจัดการขยะให้ถกู สุขลักษณะ รวมถึง การน�ำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ให้คมุ้ ค่า โดยมีการคัดเลือกครัวเรือน ทีไ่ ด้รบั รางวัลในโครงการดังกล่าวเป็นบ้านต้นแบบแหล่งเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ที่ 4

เปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นของดีช่วยดูดกลิ่น กลุม่ ผูผ้ ลิตมังคุดคุณภาพต�ำบลฉมันได้ดำ� เนินการแปรรูปเศษ เปลือกมังคุดที่เป็นขยะอินทรีย์ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ให้น�ำกลับมาใช้ ประโยชน์ได้อย่างคุม้ ค่า และเพิม่ มูลค่าเป็น “ถ่านมังคุดดูดกลิน่ ” ส�ำหรับดูดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ เช่น ในรถยนต์ ตู้เสื้อผ้า หรือห้องต่างๆ ซึ่งมีการคิดค้นรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ จนปัจจุบันเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการ ของตลาด

- 57 -


- 14 เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน -

ภาค

ตะวันออก เฉียงเหนือ

เทศบาลนครอุดรธานี จ.อุดรธานี เทศบาลเรณูนคร จ.นครพนม เทศบาลต�ำบลหนองเต็ง จ.บุรีรัมย์


เทศบาล นครอุดรธานี อ.เมือง จ.อุดรธานี

วิสัยทัศน์: นครอุดรธานีน่าอยู่ ร่วมใจพัฒนา ศูนย์การค้าการลงทุน บริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล สืบสานวัฒนธรรม น้อมน�ำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชากร: 130,572 คน (ปี 2563) ชุมชนในเขตเทศบาล: 105 ชุมชน ขนาดพื้นที่: 47.70 ตารางกิโลเมตร

เป็นเทศบาลขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อไปยังจังหวัดต่างๆ ได้ และยังอยู่ไม่ไกลจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ท�ำให้ กลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางไปยังภูมิภาคอินโดจีน อีกทัง้ ยังมีสนามบินทีใ่ นอนาคตพร้อมเปิดรับสายการบิน จากต่างประเทศ ทั้งหมดนี้จึงท�ำให้ที่นี่กลายเป็นเมือง ขนาดใหญ่ ที่ มี ค วามพร้ อ มในด้ า นเศรษฐกิ จ และการ ลงทุน ในเขตเทศบาลยังเป็นแหล่งการค้าการลงทุน ทีส่ ำ� คัญของจังหวัด จึงเป็นเมืองทีม่ ปี ระชาชนเข้ามาอาศัย ท�ำมาหากินเป็นจ�ำนวนมาก


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ปัจจัย ความส�ำเร็จ

ค้นหาศักยภาพของเมืองให้พบ ทั้งทุนภายในและโอกาสจากปัจจัยภายนอก จากนั้นจึงต่อยอดจากสิ่งที่มี ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพให้ดีขึ้น เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีกว่าเดิม

การจัดการขยะชุมชน ตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบันเทศบาลนครอุดรธานี ได้ด�ำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการขยะต้นทาง เพื่ อ เมื อ งสะอาด และโครงการประกวดชุ ม ชนน่ า อยู ่ ปลอดขยะในเขตเทศบาลนครอุดรธานี เพือ่ ให้ประชาชน เข้ามามีสว่ นร่วมในการจัดการขยะตัง้ แต่ตน้ ทาง ซึง่ ท�ำให้ ประชาชนเกิดความตระหนักเรือ่ งการจัดการขยะมากขึน้ โดยแต่ละชุมชนจะมีการจัดการแตกต่างกันออกไป มีการ คัดแยกขยะเพื่อน�ำไปขายเป็นรายได้ด้วย

- 60 -


การจัดการขยะในโรงเรียน โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานีมี 12 แห่ง ซึง่ เทศบาลได้สนับสนุนให้โรงเรียนทีม่ คี วามพร้อม 6 แห่ง เป็นโรงเรียนน�ำร่องเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการจัดการ ขยะต้นทางประเภทต่างๆ และน�ำมาท�ำสิง่ ประดิษฐ์สร้างการ เรียนรู้ให้แก่นักเรียนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการ จัดการขยะและสิง่ แวดล้อมในสถานศึกษา ท�ำให้ลดปริมาณ ขยะทีจ่ ะส่งให้เทศบาลน�ำไปก�ำจัด โดยโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่าได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะรีไซเคิล โดยนักเรียนแต่ละห้องเรียนน�ำขยะมาขายสร้างรายได้ เพื่อใช้ในการท�ำกิจกรรมของแต่ละห้องเรียน

วิธีการจัดการขยะของเทศบาล เทศบาลนครอุดรธานีมีการจัดการขยะ 4 ประเภท หลัก ได้แก่ ขยะอินทรีย์ น�ำไปเลีย้ งไส้เดือนดิน ท�ำน�ำ้ หมักชีวภาพ ท�ำปุ๋ยหมักจากเศษวัชพืช ขยะรีไซเคิล มีการท�ำกิจกรรมร้านค้า 0 บาท ตลาดนัด 0 บาท เครื่องซักผ้าศูนย์บาท จัดตั้งกองทุนขยะรีไซเคิล และกิจกรรมโครงการส่งเสริมการจัดการขยะต้นทาง เพื่อเมืองสะอาด ในช่วงเดือนธันวาคมมีกิจกรรมให้ ประชาชนเอาขยะรีไซเคิลมาแลกสินค้าอุปโภคบริโภคและ ได้รับคูปองจับฉลากของขวัญปีใหม่ ขยะอันตราย มีการรณรงค์ให้ความรูแ้ ละคัดแยกของเสีย อันตรายในชุมชน ตั้งวางจุดรองรับของเสียอันตราย ในชุมชนเทศบาล จัดเก็บและรวบรวมของเสียอันตราย ในชุมชน ขยะทั่วไป นวัตกรรม/ผลิตภัณฑ์จากของเหลือใช้ คัดแยกและรีไซเคิลถุงพลาสติก ส่วนขยะทัว่ ไปทีเ่ หลือให้ บริษัทเอกชนด�ำเนินการ


แหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่ 1 ฐานเรียนรู้การจัดการขยะต้นทาง แหล่งเรียนรู้การจัดการขยะต้นทางประกอบด้วย 7 ฐานเรียนรู้ ในชุมชนต่างๆ ได้แก่ 1. ชุมชนโนนอุทมุ พร ชุมชนต้นแบบการจัดการขยะครบวงจร ทัง้ กิจกรรมขยะรีไซเคิล กิจกรรมการจัดการขยะอินทรีย์ โดยด�ำเนิน กิจกรรมเลีย้ งไส้เดือนดิน/น�ำ้ หมักชีวภาพ/ปุย๋ หมักจากเศษวัชพืช จัดตั้งจุดพักขยะอันตรายเพื่อรวบรวมและส่งให้เทศบาลก�ำจัด และขยะทั่วไป นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรม/ผลิตภัณฑ์จากของ เหลือใช้ที่หลากหลาย เช่น อิฐมวลเบาจากโฟม ไม้กวาดจากขวด น�้ำอัดลม กระถางต้นไม้ประหยัดน�้ำ เป็นต้น 2. ชุมชนคลองเจริญ 2 อยู่บริเวณคลองชลประทานเก่า จึงขอใช้พื้นที่เพื่อน�ำมาท�ำแปลงเกษตรอินทรีย์ของชุมชน ส่วน ขยะรีไซเคิลน�ำมาใช้แทนเงินสดในกิจกรรมเครือ่ งซักผ้าศูนย์บาท และขยะแลกน�้ำดื่ม ขยะอินทรีย์มีกิจกรรมน�้ำหมักชีวภาพจาก ยาสูบสูตรไล่แมลงและท�ำปุ๋ยหมักอินทรีย์ แล้วน�ำมาใช้ในแปลง เกษตรของชุมชน ส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม 3. ชุมชนศรีชมชื่น 2 เป็นฐานเรียนรู้ขยะรีไซเคิล มีกิจกรรม ขยะรีไซเคิลแลกปลาสวยงาม ส่วนขยะอินทรีย์น�ำไปท�ำน�้ำหมัก ชีวภาพภูมปิ ญ ั ญาชาวบ้านและปุย๋ หมักอินทรีย์ และมีการน�ำเศษ กระดาษมาท�ำภาพนูนต�่ำอีกด้วย 4. ชุมชนดอนอุดม 3 เป็นฐานเรียนรู้ขยะรีไซเคิล มีการจัด กิจกรรมตลาดนัด 0 บาท และท�ำสิ่งประดิษฐ์จากของเหลือใช้ เช่น ตะกร้าจากกระป๋องอลูมิเนียม เป็นต้น 5. ชุมชนพิชัยรักษ์ เป็นฐานเรียนรู้ขยะทั่วไป โดยเฉพาะ ถุงพลาสติกมีร้านรับซื้อและรีไซเคิลถุงพลาสติกในชุมชน 6. ชุมชนเก่าจาน 8 เป็นศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะ รีไซเคิลของกลุม่ เยาวชน 3D ในชุมชนในลักษณะชุมชนบ้านมัน่ คง เป็นชุมชนเข้มแข็งทุกครัวเรือน มีส่วนร่วมจัดการขยะต้นทาง


7. ชุมชนค่ายประจักษ์ศิลปาคม 3 เป็นฐานการเรียนรู้ การจัดการขยะอินทรีย์โดยน�ำไปเลี้ยงไส้เดือนดิน ได้ผลิตภัณฑ์ จากการเลี้ยงไส้เดือน ได้แก่ น�้ำหมักมูลไส้เดือนและปุ๋ยหมักมูล ไส้เดือน น�ำไปจ�ำหน่ายและใช้ประโยชน์ดา้ นการเกษตร นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ เช่น ผ้ากันเปื้อนจากถุงน�้ำยา ปรับผ้านุ่มใช้ในครัวเรือน

แหล่งเรียนรู้ที่ 2

พัฒนาพื้นที่คลองเจริญเชิงนิเวศน์ตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ชุมชนคลองเจริญ) การพัฒนาพื้นที่ริมคลองชลประทานที่อยู่ในเขตเทศบาลนคร อุดรธานี ด้วยการส่งเสริมกลุ่มผู้ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ โดยเทศบาลนครอุดรธานีสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ สนับสนุนปัจจัยการผลิตวัสดุอปุ กรณ์การเกษตร ซึง่ ครอบคลุม พื้นที่ของชุมชนคลองเจริญ 1 ชุมชนคลองเจริญ 2 ชุมชนโพธิ สมภรณ์ และชุมชนโพธิ์สว่าง 2 เพื่อให้ประชาชนสามารถน�ำ ทรัพยากรทีส่ ำ� คัญในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สงู สุด ส่งเสริม ชุมชนด้านการเกษตรวิถชี มุ ชนเมืองอย่างสมบูรณ์แบบ เพือ่ การ สร้างรายได้และสร้างความสมัครสมานสามัคคี โดยมุ่งเน้น การรวมกลุ่มต่างๆ ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ครัวเรือนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

แหล่งเรียนรู้ที่ 3 สวนป่าเทศบาล 8 ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติกลางใจเมือง โดยเทศบาล อุดรธานีได้ด�ำเนินการย่อป่าเพื่อการศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ นอกห้ อ งเรี ย น สามารถให้ ผู ้ ที่ ส นใจเข้ า ไปใช้ พื้ น ที่ แ ห่ ง นี้ ไ ด้ เพื่อศึกษาหาข้อมูล ด้วยการขึ้นทะเบียนข้อมูลต้นไม้ จัดท�ำ รายละเอียดต้นไม้ไว้เป็นแหล่งความรู้ของชุมชน พร้อมทั้งปลูก พื ชสมุ นไพรไว้ เป็ นหมวดหมู ่ แ ละจั ด ท� ำ ทะเบี ยนพืชสมุนไพร ซึง่ พืชสมุนไพรในสวนป่าแห่งนีส้ ามารถน�ำไปใช้สำ� หรับการบ�ำบัด โรคให้แก่ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 8

- 63 -


ฐานการเรียนรู้ สวนป่า ท.8 ประกอบด้วย 1. ฐานการเรียนรูน้ วดแผนไทย นักเรียน ท.8 ทีเ่ ป็นมัคคุเทศก์นอ้ ย อธิบายประโยชน์ของพืชสมุนไพรจากสวนป่า เอาไปใช้ในการอบ ประคบ ทา ในการนวดแผนไทย 2. ฐานการเรียนรู้เรือนเพาะช�ำ ชุมชนศรีชมชื่น 1 ชุมชนศรี ชมชื่น 2 และชุมชนศรีชมชื่น 3 น�ำต้นไม้มาเพาะช�ำและท�ำเป็น ธนาคารต้นไม้ของชุมชน มีการแลกเปลี่ยนพันธุ์ไม้มอบให้แก่ ผู้ที่มาเยี่ยมสวนป่า ท.8 3. ฐานการเรียนรู้ปุ๋ยอินทรีย์ การท�ำปุ๋ยหมักอินทรีย์จาก เศษวัชพืชในสวนป่า ท.8 เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ฯลฯ น�ำไปใช้ในการ บ�ำรุงต้นไม้ในสวนป่าและต้นไม้ในโรงเรียนเทศบาล 8 4. ฐานการเรียนรูค้ วิ อาร์โค้ดต้นไม้ นักเรียนมัคคุเทศก์นอ้ ย อธิบายขั้นตอนการค้นคว้าข้อมูลต้นไม้แต่ละชนิดในสวนป่า โดยการสแกนคิวอาร์โค้ดก็จะได้ข้อมูลที่ครบถ้วน 5. ฐานการเรียนรู้ศาลารวมใจรักษ์ป่าในเมือง โดยท�ำเป็น ความรู้ทุกอย่างไว้ที่ศาลารวมใจ เป็นฐานความรู้ชุดสุดท้าย ที่ผู้ชมมารับฟังบรรยายสรุปและตอบแบบสอบถาม *กรณีที่ผู้มาเยี่ยมชมเป็นชาวต่างชาติจะมีครูภาษาต่างประเทศ เป็นมัคคุเทศก์

- 64 -


เทศบาล เรณูนคร

อ.เรณูนคร จ.นครพนม

วิสัยทัศน์: เมืองไร้มลพิษ ทุกชีวติ มีสขุ คูว่ ฒ ั นธรรม ประชากร: 4,675 คน (ปี 2561) ชุมชนในเขตเทศบาล: 9 ชุมชน ขนาดพื้นที่: 2.40 ตารางกิโลเมตร

จุดแข็งของเรณูนครคือทุนทางวัฒนธรรมทีเ่ ข้มแข็ง และโดดเด่น จากการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน บนวิถชี วี ติ ทีเ่ รียบง่ายกลมกลืน กับธรรมชาติ วัฒนธรรมได้หลอมรวมความรูส้ กึ เป็นกลุม่ เป็นก้อนและความเป็นพีเ่ ป็นน้องให้เกิดขึน้ ท�ำให้เรณูนคร กลายเป็นสังคมแห่งการเอือ้ อาทร สิง่ เหล่านีเ้ องทีช่ ว่ ยให้ การจัดการเมืองบนกระบวนการมีสว่ นร่วมของทุกภาคส่วน ท�ำได้ง่ายขึ้น แนวคิดในการจัดการเมืองเรณูนครไปสู่ การเป็นเมืองยัง่ ยืนจึงใช้การมีสว่ นร่วมและความเข้มแข็ง ของประชาชนและภาคีทนี่ ำ� ไปสูค่ วามเจริญอย่างยัง่ ยืน ที่ ค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความสุขของคนในชุมชน แต่ก็ ไม่ลืมที่จะรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรมอันเป็นรากเหง้า ที่ช่วยยืดโยงความเป็นชุมชนของตนเองเอาไว้ด้วย


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ปัจจัย ความส�ำเร็จ

ใช้ความเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน และความรู้สึกเป็นพี่เป็นน้องของคนในชุมชน เป็นตัวเชื่อมประสานให้เกิดความร่วมไม้ร่วมมือในการพัฒนา ขณะเดียวกัน ก็ใช้ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่มีอยู่เป็นทุนในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นให้ยั่งยืน

การจัดการขยะ เทศบาลต�ำบลเรณูนคร แม้ว่าเทศบาลต�ำบลเรณูนครจะเป็นเทศบาลขนาดเล็ก แต่ทุกๆ วันจะมีขยะที่ทางเทศบาลต้องน�ำไปก�ำจัดเป็น จ�ำนวนมาก ในปี 2553 เทศบาลต�ำบลเรณูนครมีปริมาณ ขยะ 6 ตันต่อวัน ซึง่ มีปริมาณมากจนท�ำให้สถานทีก่ ำ� จัดขยะ เหลือพืน้ ทีน่ อ้ ย เกิดปัญหาขยะตกค้างจ�ำนวนมาก เทศบาล จึงต้องมีการแก้ไขปัญหานี้ ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในเมือง เช่น การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดให้ มีถังคัดแยกขยะในที่สาธารณะ การอบรมการประดิษฐ์ สิ่งของจากเศษวัสดุเหลือใช้ นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งเป็น “กองทุ น ฌาปนกิ จ สงเคราะห์ จ ากขยะรี ไ ซเคิ ล ” โดย เทศบาลมีจดุ รับซือ้ ขยะในชุมชนเดือนละ 1 ครัง้ แล้วน�ำมา คัดแยกประเภทอย่างละเอียดเพือ่ รอน�ำไปจ�ำหน่าย จากการ ด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้ปริมาณขยะลดลงจนเหลือ เพียง 3.5 ตันต่อวัน

- 66 -


แหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่ 1 การอนุรักษ์ต้นไม้ในเมือง ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปลูกต้นไม้ เพือ่ เพิม่ พืน้ ทีส่ เี ขียวในเมือง สร้างความตืน่ ตัวในการปลูกต้นไม้ และปลูกจิตส�ำนึกรักต้นไม้ ให้มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการ แก้ปญ ั หาโลกร้อนร่วมกัน โดยเน้นการมีสว่ นร่วมของทุกภาคส่วน มีการจัดกิจกรรมปลูกพันธุ์ไม้ยืนต้นขึ้นในพื้นที่ต่างๆ เช่น โรงเรียนในพื้นที่เขตเทศบาล สวนสาธารณะ พื้นที่ว่างในชุมชน 9 ชุมชน ในวาระโอกาสวันส�ำคัญต่างๆ

แหล่งเรียนรู้ที่ 2 การจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล โดยกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ได้ ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรพืน้ บ้าน เพือ่ การอนุรกั ษ์สง่ เสริม และน�ำเอาสมุนไพรพื้นบ้านที่มีอยู่มารักษาโรค ได้แก่ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม อ้อยป่า ไพล ย่านางแดง ต้นเป้า ต้นสาปเสือ และ อีกนานาชนิด และมีต้นไม้ป่าที่ท�ำการอนุรักษ์อีกมากมาย และ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ท�ำการต่อยอด โดยได้มกี ารน�ำสมุนไพรพืน้ บ้านมาท�ำลูกประคบสมุนไพร เพือ่ ให้ ผู้เรียนน�ำมาใช้ในการนวดประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย ของผู้ปกครองนักเรียนเองและเวลาว่างวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ นักเรียนกลุ่มจิตอาสาโรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูลก็มานวด ประคบบริการให้กับนักท่องเที่ยวที่มานมัสการพระธาตุเรณู เพื่อคลายความปวดเมื่อยจากการเดินทางไกล

- 67 -


แหล่งเรียนรู้ที่ 3 การจัดการขยะในโรงเรียน โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกลู ฝึกให้นกั เรียนมีวนิ ยั ในการจัดการ ขยะของตนเองด้วยตนเอง จัดระบบการคัดแยกขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ และขยะทั่วไปในโรงเรียน เพื่อปลูกฝังจิตส�ำนึกและ สร้างวินัยที่ดีในการทิ้งขยะและการน�ำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ นอกจากนั้น ยังมีการจัดระเบียบให้ร้านค้า ผู้ประกอบการที่มี การประกอบอาหารล้างภาชนะภายในโรงอาหาร รวมถึงให้มกี ารน�ำ ขยะและเศษอาหารทีเ่ หลือไปจัดการเองภายนอกโรงเรียนทัง้ หมด ซึ่งนอกจากจะเป็นการดูแลสุขาภิบาลที่ดี ยังช่วยป้องกันและลด มลภาวะน�้ำเน่าเสียภายในโรงเรียนได้อีกด้วย

แหล่งเรียนรู้ที่ 4 การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยการ มีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนต้นแบบการจัดการสิง่ แวดล้อม ถนนปลอดถังและรณรงค์ ให้ทกุ ครัวเรือนคัดแยกขยะตัง้ แต่ตน้ ทาง และส่งเสริมให้ประชาชน น�ำรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลมาเข้ากองทุนสงเคราะห์กรณี สมาชิกในครัวเรือนเสียชีวิต โดยเจ้าหน้าที่เทศบาลจะออกรับซือ้ ขยะรีไซเคิลกับผูท้ เี่ ข้าร่วมโครงการกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ จากขยะรีไซเคิล โดยจัดสรรเงินออกเป็น 2 ส่วน คือ เป็นรายได้ ให้กับครัวเรือน และน�ำเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นเงินสวัสดิการ สงเคราะห์ ใ นกรณี ที่ ส มาชิ ก ในครั ว เรื อ นเสี ย ชี วิ ต ส่ ว นขยะ อินทรีย์น�ำมาท�ำปุ๋ยหมักและน�้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ในการปลูก ผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน และมีการรวมกลุม่ เกษตร อินทรีย์ แบ่งปันที่ดินท�ำกินส่วนบุคคลเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยมีการจัดสรรแบ่งแปลงปลูกให้กับผู้ที่สนใจสามารถเข้ามา ปลูกพืชสร้างรายได้ให้กบั ตนเอง และมีการแลกเปลีย่ นพืชผักกัน บริโภคอีกด้วย

- 68 -


เทศบาล ต�ำบลหนองเต็ง อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์

วิสัยทัศน์: หนองเต็งน่าอยู่ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน ประชากร: 12,380 คน (ปี 2561) ชุมชนในเขตเทศบาล: 18 หมู่บ้าน 24 ชุมชน ขนาดพื้นที่: 71.17 ตารางกิโลเมตร

เทศบาลต�ำบลหนองเต็งได้ชื่อว่าเป็นท้องถิ่นเพียง ไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่สามารถน�ำแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพี ย งของพระบาทสมเด็ จ พระบรมชนกาธิ เ บศร มหาภูมพ ิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปต่อยอด และเชือ่ มโยงไปยังประเด็นการพัฒนาท้องถิน่ ในมิตติ า่ งๆ ได้อย่างกว้างขวาง จากเรื่องการเกษตรสู่การส่งเสริม อาชีพ ขยายต่อไปถึงเรื่องของสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และ คุณภาพชีวิตของประชาชน ไม่เพียงเท่านั้น ที่นี่ยังเป็น ท้องถิน่ ทีส่ ร้างสรรค์นวัตกรรมเพือ่ การจัดการสิง่ แวดล้อม จ�ำนวนมากที่สามารถน�ำไปถ่ายทอดให้กับชุมชนได้ใช้ ประโยชน์กันอย่างจริงจัง


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ปัจจัย ความส�ำเร็จ

ค่อยๆ สร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชนโดยใช้รูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การศึกษาดูงาน การประชุมสัมมนา เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการถอด บทเรียน รวมถึงใช้ศูนย์เรียนรู้ฯ เป็นโรงเรียนในการถ่ายทอดองค์ความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับชุมชน สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ให้เป็นต้นแบบส�ำหรับชุมชน จะได้น�ำไปต่อยอดในชุมชนของตนเอง รู้จักค้นหาพันธมิตรในการท�ำงาน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ รวมถึงแสวงหาความรู้ และนวัตกรรม มาช่วยในการพัฒนาเมืองอยู่ตลอดเวลา

จัดการสิ่งแวดล้อม สู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เทศบาลต�ำบลหนองเต็งเป็นเทศบาลขนาดเล็ก ไม่มี สถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ด้วย เหตุนี้จึงส่งผลให้ไม่มีระบบการเก็บขนรวบรวมขยะใน ชุมชนด้วย ดังนั้น ต้องพึ่งพาตนเองในการจัดการขยะ มูลฝอยและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โดยการให้ ความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติ จนใน ที่สุดสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างรายได้ ให้กับชุมชน ประกอบกับการพัฒนาศักยภาพและสร้าง เครือข่ายการท�ำงานสิง่ แวดล้อม บูรณาการงานสิง่ แวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ยังมีการ พัฒนาชุมชนต้นแบบให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และส่งเสริม กิจกรรมโครงการด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ อาทิ การให้ ความรู้การจัดการขยะและการคัดแยกขยะในครัวเรือน การด�ำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตเหล่านี้ ถื อ เป็ น การพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น เพราะส่ ง ผลดี ทั้ ง ด้ า น เศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อม ท�ำให้ชมุ ชนมีความน่าอยู่ ชุมชนรู้จักการคัดแยกขยะและก�ำจัดขยะแต่ละประเภท อย่างถูกต้อง ท�ำให้ขยะทุกประเภทได้รับการจัดการ


แหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่ 1 ศูนย์เรียนรู้โครงการภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน ขยายผลสู่ปวงชนชาวไทย เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการบูรณาการการเกษตร พลังงาน และ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ชุมชนสามารถน�ำไป ด�ำเนินการเองได้ ตามแนวคิดอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร รวมทัง้ มีนวัตกรรมสนับสนุนงานด้าน การเกษตรและการจัดการสิง่ แวดล้อมท้องถิน่ จากวัสดุทเี่ หลือใช้ เพือ่ ช่วยลดต้นทุนในการประกอบอาชีพและการจัดการสิง่ แวดล้อม ของเทศบาล

แหล่งเรียนรู้ที่ 2 ป่าชุมชนบ้านจาน ป่าธรรมชาติรมิ ฝัง่ ล�ำน�ำ้ ชีทมี่ คี วามอุดมสมบูรณ์และความหลาก หลายทางชีวภาพ ให้ประโยชน์ต่อการด�ำรงชีพกับชุมชน เช่น เป็นแหล่งอาหาร แหล่งเรียนรูศ้ กึ ษาวิจยั แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นเสมือนก�ำแพงกั้นน�้ำไม่ให้ล�ำน�้ำชีไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ เกษตร ซึง่ อนุรกั ษ์และบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ โดยคณะท�ำงาน ของชุมชน

แหล่งเรียนรู้ที่ 3 ธนาคารขยะรีไซเคิล เป็นแหล่งเรียนรูว้ ถิ ชี มุ ชนในการจัดการขยะรีไซเคิล เพือ่ ส่งเสริม การคัดแยกขยะในครัวเรือน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและ การสร้างแรงจูงใจด้วยรูปแบบการด�ำเนินงานในเชิงธุรกิจ ซึ่ง บริหารจัดการด้วยชุมชนเอง


แหล่งเรียนรู้ที่ 4 กลุม่ เลีย้ งไส้เดือนก�ำจัดขยะ บ้านหนองตะครอง เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชุมชนในการจัดการขยะอินทรีย์ ด้วยการ น�ำมาเลีย้ งไส้เดือน และน�ำผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้จากไส้เดือน ได้แก่ น�ำ้ หมัก มูลไส้เดือน และปุย๋ หมักไส้เดือนมาใช้ในการเกษตร เพือ่ ลดต้นทุน และลดการใช้สารเคมี

แหล่งเรียนรู้ที่ 5 ระบบประชาชุมชน บ้านหนองเต็งใหญ่ หมู่ที่ 17 ระบบประปาชุ ม ชนด้ ว ยการใช้ พ ลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ ท ดแทน พลังงานไฟฟ้าในการสูบน�ำ้ ในช่วงเวลากลางวัน ซึง่ สามารถผลิต น�ำ้ ประปาได้เพียงพอต่อความต้องการของคนในชุมชน รวมทัง้ บริหารจัดการโดยชุมชนเอง

แหล่งเรียนรู้ที่ 6 ศูนย์เรียนรู้ลดภาวะโลกร้อน ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านจาน หมู่ที่ 6 เกิดจาก การร่วมด�ำเนินงานตามโครงการชุมชนรวมพลัง สร้างเมืองน่าอยู่ สู่วิถีพอเพียง และลดภาวะโลกร้อน ซึ่งศูนย์เรียนรู้แห่งนี้จะเป็น สือ่ กลางในการสร้างความรูค้ วามเข้าใจให้กบั ประชาชน ชุมชน เด็ก และเยาวชน รวมถึงผู้ที่สนใจด้านภาวะโลกร้อน โดยการน�ำเสนอ ข้อมูล วิถกี ารลดภาวะโลกร้อนได้ดว้ ยตนเองในวิถชี วี ติ ประจ�ำวัน และแนวทางการบริหารจัดการสิง่ แวดล้อมของเมือง เพือ่ รองรับ การปรับตัวกับภาวะโลกร้อน

- 72 -


- 14 เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน -

ภาคใต้

เทศบาลนครภูเก็ต จ.ภูเก็ต เทศบาลเมืองกระบี่ จ.กระบี่


เทศบาล นครภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต

วิสัยทัศน์: นครภูเก็ตเป็นนครแห่งการสร้างสรรค์ และน่าอยู่อย่างยั่งยืน ประชากร: 79,590 คน (ปี 2562) ชุมชนในเขตเทศบาล: 22 ชุมชน ขนาดพื้นที่: 12.562 ตารางกิโลเมตร

ในอดีตภูเก็ตเป็นเกาะทีม่ ชี อื่ เสียงในฐานะทีเ่ ป็นดินแดน แห่งแร่ดีบุก มีชาวจีนและชาวตะวันตกอพยพเข้ามา ค้าขายและท�ำเหมืองแร่เป็นจ�ำนวนมาก กลายเป็นรูปแบบ ทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งแสดงออกให้เห็น ผ่านทางอาหารการกิน โดย UNESCO ยกย่องให้เป็น เมืองสร้างสรรค์ดา้ นวิทยาการอาหาร (Phuket: City of Gastronomy in UNESCO Creative Cities Network) แห่งแรกของประเทศไทยและอาเซียน และสถาปัตยกรรม แบบชิโนโปรตุกีส ซึ่งเป็นการผสมผสานศิลปะตะวันตก และตะวันออกเข้าไว้ดว้ ยกันอย่างกลมกลืน จนกลายเป็น ลักษณะเฉพาะทีโ่ ดดเด่นของเมืองภูเก็ต ด้วยต้นทุนทาง ธรรมชาติบวกกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ปัจจุบัน ภูเก็ตจึงกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวติดอันดับโลก


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ปัจจัย ความส�ำเร็จ

พัฒนาอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของเมือง และน�ำมาต่อยอด เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวน�ำ ความส�ำเร็จของเมืองเกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งเครือข่ายภาครัฐและภาคประชาชน ผนวกกับการรู้จัก น�ำเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาเมือง

นวัตกรรมจัดการขยะมูลฝอย ปี 2548 ภูเก็ตประสบปัญหาขยะล้นเมืองจากการเป็น เมืองท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือน และมีคน ต่างถิน่ ทีเ่ ป็นประชากรแฝงเข้ามาท�ำงานเลีย้ งชีพทีภ่ เู ก็ต เป็นจ�ำนวนมาก ทางจังหวัดจึงได้มอบหมายให้เทศบาล นครภูเก็ตเป็นหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบก�ำจัดขยะมูลฝอย ชุมชนของจังหวัดภูเก็ตทัง้ หมด เทศบาลจึงให้หน่วยงาน เอกชนเข้ามาลงทุนสร้าง“โรงเผาขยะมูลฝอยเพื่อผลิต พลังงานไฟฟ้า” เพือ่ ใช้กบั ระบบภายในและจ�ำหน่ายให้การ ไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค โดยใช้ระบบเตาเผาเป็นระบบก�ำจัดขยะ เป็นหลัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบเตาเผา จึงจ�ำเป็น ต้องมีการจัดการขยะแบบผสมผสานทั้งลดและคัดแยก ขยะตัง้ แต่ตน้ ทางด้วยวิธกี ารทีถ่ กู ต้องและเหมาะสม โดย ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมท�ำ และร่วม ตัดสินใจ

- 75 -


เทศบาลได้ ร ณรงค์ แ ละสนั บ สนุ น ให้ ชุ ม ชนและ ผู้ประกอบการลดปริมาณขยะที่แหล่งก�ำเนิด ตั้งแต่การ ลดใช้ คัดแยกขยะ และน�ำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ รวมทัง้ จัดการคัดแยกขยะอินทรีย์ หรือขยะเปียกที่มีสัดส่วน มากถึง 60% ของน�้ำหนักขยะทั้งหมด เพื่อน�ำไปเป็น อาหารสัตว์และท�ำปุ๋ยชีวภาพ สร้างรายได้ให้ครัวเรือน จากการขายขยะรีไซเคิล ส่วนขยะอันตรายได้ถกู คัดแยก เพื่อน�ำไปก�ำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป รวมถึงจัดระบบการ เก็บขนขยะที่สอดคล้องกับการคัดแยก โดยการจัดรถ ขนขยะแยกประเภท และก�ำหนดวันเก็บขยะอย่างชัดเจน ซึ่งหากมีการด�ำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมต่อเนื่องและ ยั่งยืนแล้ว ขยะก็จะกลายเป็นทรัพยากรที่สามารถน�ำ กลับมาใช้ประโยชน์ได้ต่อไป


ปรับปรุงภูมิทัศน์ และเพิ่มพื้นที่สีเขียว มีการพัฒนาสวนสาธารณะสะพานหินให้กลายเป็น แหล่งนันทนาการและห้องเรียนธรรมชาติ มีการเพิ่ม พื้นที่สีเขียว ด้วยการปลูกต้นไม้บนพื้นที่ว่างบริเวณ วงเวียนและเกาะกลางถนน มีการน�ำสายไฟฟ้าและสาย สัญญาณต่างๆ บริเวณย่านเมืองเก่าลงดิน ช่วยสร้าง ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่บดบังความสวยงามของ อาคารชิโนโปรตุกีส ท�ำให้ภูมิทัศน์เมืองสวยงามขึ้น และ ปรับปรุงทางเดินเท้าในเขตเมืองเก่าให้สอดรับกับรูปแบบ สถาปัตยกรรมดัง้ เดิม โดยเน้นการออกแบบเพือ่ รองรับ การใช้ประโยชน์ของคนทุกเพศทุกวัย


เทศบาล เมืองกระบี่ อ.เมือง จ.กระบี่

วิสัยทัศน์: กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก ศูนย์กลาง การให้การบริการ เป็นประตูสกู่ ารท่องเทีย่ วเชิงอนุรกั ษ์ ประวัตศิ าสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมก้าวสูเ่ มือง คุณภาพ (Q-City) ในปี พ.ศ. 2569 ประชากร: 32,673 คน (กรกฎาคม 2563) ชุมชนในเขตเทศบาล: 14 ชุมชน ขนาดพื้นที่: 19.0 ตารางกิโลเมตร

แม้วา่ เมืองกระบีจ่ ะมีประวัตศิ าสตร์ยาวนานนับร้อยปี แต่ความเจริญของเมืองแห่งนี้เพิ่งเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อไม่กี่ สิบปีที่ผ่านมา ในช่วงแรกความเจริญที่เข้ามาในจังหวัด กระบี่จะกระจุกตัวอยู่ในอ�ำเภอรอบนอก ซึ่งเป็นแหล่ง ท่องเทีย่ วทางทะเลทีส่ ำ� คัญเท่านัน้ แต่นกั ท่องเทีย่ วทีจ่ ะแวะ เข้ามาในเมืองกระบีม่ นี อ้ ยมาก ทางจังหวัดจึงได้จดั ระเบียบ ผังเมืองและปรับปรุงภูมทิ ศั น์ของเมืองให้สวยงาม มีการ วางระบบการจัดการสิง่ แวดล้อม เพือ่ รองรับการเติบโต ของเมือง เพื่อให้เมืองกระบี่กลายเป็นห้องรับแขกของ จังหวัดสมดังที่ตั้งใจ


ต้นแบบ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นต้นทุน ของเมืองเอาไว้ได้อย่างดี และน�ำมาต่อยอดในการพัฒนาเมืองให้ยั่งยืน

ปัจจัย ความส�ำเร็จ

เริ่มต้นสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการยกระดับคุณภาพวิถีชีวิตของชุมชน ควบคู่ไปกับการรักษาสมดุล ของระบบนิเวศ ท�ำให้ชาวบ้านเห็นว่าเมื่อเขาช่วยกันอนุรักษ์แล้ว ธรรมชาติจะส่งคืนอาชีพมั่นคง และความสุขที่ยั่งยืนกลับคืนมา ดึงความร่วมมือจากองค์กรภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้ามาช่วยสนับสนุนการพัฒนาเมืองไปสู่ความยั่งยืน

ท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน สูก่ ารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เทศบาลเมื อ งกระบี่ มี แ หล่ ง ทรั พ ยากรธรรมชาติ มากมายที่สามารถน�ำมาพัฒนาให้เป็นจุดขายด้านการ ท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้เข้าสู่เมืองและชุมชน แต่ที่ ผ่านมาสถานที่ต่างๆ เหล่านั้นยังไม่ได้รับการพัฒนาและ บริ ห ารจั ด การที่ ดี พ อ ท� ำ ให้ พ บปั ญ หาที่ ส ่ ง ผลต่ อ คุณภาพสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการจับสัตว์น�้ำที่โต ไม่ได้ขนาด การบุกรุกป่าชายเลน การกัดเซาะชายฝัง่ ของ น�้ำทะเล ร่องน�้ำตื้น ส่งผลกระทบต่อวิถีการท�ำมาหากิน และคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยตรง เทศบาลเมืองกระบี่จึงได้จัดให้มีการประชาคมทั้งใน ระดับเมืองและระดับชุมชนตามแนวชายฝั่งแม่น�้ำกระบี่ เกิดเป็นโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน สู่การจัดการทรัพยากรในเมืองกระบี่อย่างยั่งยืน โดยมี


การจั ด ท� ำ เส้ น ทางการท่ อ งเที่ ย วที่ เ ชื่ อ มโยงแหล่ ง วัฒนธรรมและศิลปกรรม รวมทั้งพัฒนากิจกรรมใน แต่ละแหล่งให้มคี วามน่าสนใจ เช่น การพัฒนาทางเดินชม ป่ า ชายเลน การส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด ธนาคารปู ใ นชุ ม ชน หน้าเมืองที่เป็นจุดเพาะเลี้ยงปู จากการด�ำเนินงานโดยยึดการมีสว่ นร่วมของชุมชน ท�ำให้เกิดอาชีพใหม่ๆ ที่สามารถช่วยกระจายรายได้ให้ ชุมชนและอนุรักษ์ทรัพยากร เช่น การเลี้ยงปูโดยวิธี ธรรมชาติ ผลจากการทีช่ มุ ชนรวมกลุม่ กันประกอบการ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท�ำให้กว่า 42 ครัวเรือนมีรายได้ ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 2,000 บาท ต่อเดือน สามารถสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการ ดูแลเฝ้าระวัง จึงไม่พบการท�ำประมงพืน้ บ้านผิดกฎหมาย ในพื้นที่อีกเลย


แหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่ 1 ศูนย์บริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน จ.กระบี่ แหล่งเรียนรูค้ วบคูก่ ารอนุรกั ษ์พนื้ ทีส่ เี ขียว ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของ ปอดเมืองกระบี่ เป็นห้องเรียนวิถธี รรมชาติระบบนิเวศป่าชายเลน ทีค่ รบวงจรตัง้ แต่การศึกษาพันธุไ์ ม้ปา่ ชายเลน วัฏจักรการด�ำรง ชีวติ และการเติบโตของนานาสัตว์ทะเล คุณภาพดิน และคุณภาพ อากาศ

แหล่งเรียนรู้ที่ 2 ชุมชนคู่เมือง แหล่งเรียนรู้วิถีชมุ ชนในการเพาะพันธุ์อนุบาลและเลี้ยงปูด�ำโดย วิธธี รรมชาติ ซึง่ ต้องท�ำควบคูก่ บั การอนุรกั ษ์ระบบนิเวศป่าชายเลน เพือ่ รักษามาตรฐานของดินให้คงความสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหาร ของสัตว์ทะเล ส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชน นอกจากนั้นยังเป็น แหล่ ง ศึ ก ษาธรรมชาติ ป ่ า ชายเลนและพั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจของ ประชาชนทั่วไปอีกด้วย ซึ่งชุมชนคู่เมืองเป็นผู้ดูแลรักษาและ อนุรักษ์พื้นที่แนวป่าชายเลน

แหล่งเรียนรู้ที่ 3 ตลาดหินขวาง จากการปรับภูมทิ ศั น์แนวป่าชายเลนริมแม่นำ้� กระบีค่ วบคูก่ บั การ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการพักผ่อน ออกก�ำลัง กาย และเชื่อมโยงกับบริเวณท่าเรือหินขวาง ซึง่ เป็นแหล่งเรียนรู้ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น และได้พัฒนาต่อยอดใน รูปแบบการท่องเทีย่ ววิถชี มุ ชนทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับการผลิต และ การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม



ข้อมูลเพิม่ เติม ส�ำนักส่งเสริมการมีสว่ นร่วมของประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม 49 พระราม 6 ซอย 30 พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 02 278 8400-19 อีเมล info@deqp.mail.go.th www.deqp.go.th, www.environment.in.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.