JADC Vol.3 (September - December 2019)

Page 1

Vol.1 No.3 : September - December 2019 ISSN (Print Edition): 2673-0332

ISSN (Online Edition): 2673-0340



Vol.1 No.3 September - December 2019 ISSN (Print Edition): 2673-0332 ISSN (Online Edition): 2673-0340


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

Journal of Architecture, Design and Construction ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2562 Vol.1 No.3 September - December 2019 ISSN (Print Edition) : 2673-0332 ISSN (Online Edition) : 2673-0340

เจ้าของ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปแบบของผลงานวิชาการและบทความวิจัย ที่มีคุณภาพด้านทางด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง เพือ่ เป็นการรวบรวม และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ ผลงานวิชาการ ผลงานวิจยั องค์ความรู้ ของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา สถาปนิก วิศวกร นักออกแบบและบุคลากรทั้งภายในและภายนอก มหาวิทยาลัยที่มีความสนใจ จุดมุ่งหมายและขอบเขต วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง รับพิจารณาตีพมิ พ์ผลงานทางวิชาการประเภทบทความวิชาการ และ บทความวิจยั ทางด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง ทัง้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยวารสารมีขอบเขต เนือ้ หาทางวิชาการที่สนใจใน 9 สาขา ดังต่อไปนี้ 1. สถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture) 2. สถาปัตยกรรมไทย (Thai Architecture) 3. สถาปัตยกรรมผังเมืองและการผังเมือง (Urban Architecture & Urban Planning) 4. สถาปัตยกรรมภายใน (Interior Architecture) 5. ภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape Architecture) 6. การออกแบบสร้างสรรค์ และนฤมิตศิลป์ (Creative Design & Creative Arts) 7. การออกแบบนิเทศศิลป์ และการออกแบบอุตสาหกรรม(Communication Design& Industrial design) 8. การจัดการงานก่อสร้าง (Construction Management) 9. สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คณะที่ปรึกษากองบรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเดช เชาวรัตน์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บรรณาธิการ อาจารย์ ดร.ธนายุทธ ไชยธงรัตน์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กองบรรณาธิการภายนอกมหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์เอื้อมพร วีสมหมาย รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต นิตยะ รองศาสตราจารย์จันทนี เพชรานนท์ รองศาสตราจารย์ ดร. นิรัช สุดสังข์ รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ เหลืองบุตรนาค รองศาสตราจารย์ ดร.กอปร ศรีนาวิน รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์ คุณุรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล ตั้งสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพร มูรพันธุ์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


กองบรรณาธิการภายในมหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชนาถ ทิวะสิงห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดิฐา แสงวัฒนะชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพัทธา หรรนภา อาจารย์ ดร.วีรพล เจียมวิสุทธิ์ อาจารย์ฐิติรัตน์ นิมิตบรรณสาร อาจารย์อ�ำภา บัวระภา

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ออกแบบปกและจัดรูปเล่ม อาจารย์ ดร.วีรพล เจียมวิสุทธิ์ อาจารย์ฐิติรัตน์ นิมิตรบรรณสาร

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้ช่วยบรรณาธิการ นางสาวนิกานต์ดา ทองน้อย นายวรารินทร์ ปัญญาวงศ์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ก�ำหนดออกวารสาร วารสารฯ จัดพิมพ์เป็นประจ�ำทุกปี ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 (เดือน มกราคม – เมษายน) ฉบับที่ 2 (เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม) และฉบับที่ 3 (เดือน กันยายน – ธันวาคม) โดยบทความมีการตรวจสอบและ พิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer-Review) จ�ำนวน 2 ท่านต่อ 1 บทความ เป็นแบบ Double blinded บทความทุกเรื่อง จะถูกพิจารณากลั่นกรองโดยกองบรรณาธิการ ลักษณะบทความ 1. ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อนหรือไม่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณา เพื่อเผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ 2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขาวิชา (Peer Review) อย่างน้อย 2 ท่าน 3. บทความทีต่ พี มิ พ์ในวารสารทุกบทความเป็นของผูเ้ ขียนแต่ละท่าน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของกอง บรรณาธิการวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4. บทความทุกบทความทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์เป็นลิขสิทธิข์ องวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง มหาวิทยาลัย มหาสารคาม การเผยแพร่ต่อไปต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ ส่งบทความทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/index ส�ำนักงานกองบรรณาธิการ ส�ำนักงานวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต�ำบลขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 โทรศัพท์ (043) 754381 โทรสาร (043) 754382 โทรศัพท์มือถือ (086) 4555990 E-mail: Jadcarch@msu.ac.th website: https://www.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/index Facebook: วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง พิมพ์เมื่อ ธันวาคม 2562 พิมพ์ที่ หจก.อภิชาติการพิมพ์ (เสริมไทยเก่า) 50 ถนนผังเมืองบรรชา ต�ำบลตลาด อ�ำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000


บทบรรณาธิการ วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับนีเ้ ป็นวารสารปีที่ 1 ฉบับ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2562 ได้รบั เกียรติจากผูเ้ ขียนบทความวิชาการและบทความวิจยั ทัง้ ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ส่งบทความเพือ่ ตีพมิ พ์ เผยแพร่ จ�ำนวน 6 บทความ แบ่งเป็นบทความวิชาการ 1 บทความ และบทความวิจยั 5 บทความ โดยสรุปเนือ้ หาภายในเล่ม ดังนี้ บทความวิชาการ เรือ่ ง การวิเคราะห์คา่ ความปลอดภัยส�ำหรับไม้ไผ่ใช้ในงานก่อสร้าง โดยผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์สรุ พงษ์ ดาราม สาระส�ำคัญ ของบทความ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ เรือ่ ง ลักษณะและคุณสมบัตทิ างกลของไม้ไผ่แต่ละชนิดและพันธ์ ทัง้ ภายในประเทศและ ต่างประเทศ และสภาพไม้ไผ่ทใี่ ช้ทดสอบเพือ่ น�ำไปใช้ในการออกแบบด้านไม้ไผ่ บทความวิจยั ที่ 1 เรือ่ ง การคิดเชิงออกแบบเพือ่ พัฒนาศาลาไผ่ขนาดเล็ก โดยผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ รัชนูพรรณ ค�ำสิงห์ศรี ผูว้ จิ ยั โดยศึกษากระบวนการออกแบบและพัฒนารูปทรงศาลาไผ่ น�ำไปสูก่ ารก่อสร้างศาลาไผ่ โดยใช้กระบวนคิดเชิงออกแบบในขัน้ ตอนทัง้ หมด และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาแบบและการลงพื้นที่ก่อสร้างร่วมกับช่างท้องถิ่น เพื่อค้นหาต้นแบบที่พัฒนาจาก ศาลาเดิม บนพืน้ ฐานการก่อสร้าง โดยผลการศึกษาของบทความวิจยั เรือ่ งนีไ้ ด้นำ� เสนอ 2 ประเด็น คือ แนวความคิดในการออกแบบและ การพัฒนารูปทรงทีเ่ ป็นไปได้ของไม้ไผ่ บทความวิจยั ที่ 2 เรือ่ ง การก่อสร้างและค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุอาคารผนังดินอัด โดยผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ยุทธนา เกาะกิง่ ผูว้ จิ ยั ได้ศกึ ษาการทดสอบคุณสมบัตขิ องดิน โดยการทดลองใช้ดนิ 2 ชนิด คือ ดินเหนียวและดินลูกรัง ทีผ่ สมแกลบและฟาง และจัดท�ำ ตารางเพือ่ ช่วยออกแบบผนังดินอัดก่อสร้างเพือ่ สรุปขัน้ ตอนและเทคนิค ทัง้ ค�ำนวณการถ่ายเทความร้อนจากกรอบอาคาร และหาค่า พลังงานสะสมเปรียบเทียบกับวัสดุผนังอืน่ ๆ โดยผลการศึกษาพบว่า ผลการวิจยั พบว่า ค่าก�ำลังแรงอัดของดินเหนียวจะสูงกว่าดินลูกรัง แรงอัดของดินเหนียวทีม่ อี ายุ 28 วัน คือ 15.02 กก./ตร.ซม. ขณะดินลูกรัง คือ 3.71 กก./ตร.ซม. บทความวิจยั ที่ 3 เรือ่ ง การศึกษาเปรียบเทียบสัมฤทธิผลของการรับนิสติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยพัชรินทร์ เชือ้ ภักดี กิง่ กาญจน์ มุลทาเย็น และธนายุทธ ไชยธงรัตน์ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียน ในระดับหลักสูตรทีเ่ ข้าศึกษาด้วยวิธกี ารรับเข้าแบบต่างๆ เพือ่ วิเคราะห์ผลการเรียนระหว่างการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและ ผลการเรียนในระดับอุดมศึกษาของนิสติ ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ เพือ่ วิเคราะห์ผลิตภาพ (Productivity) ในการผลิตบัณฑิต, เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนต่อวิธีการรับเข้าศึกษาแบบต่างๆ วิเคราะห์ผลการเรียนระหว่างการเรียนในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายและผลการเรียนในระดับอุดมศึกษาของนิสติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ เพือ่ น�ำผลจาก การวิจยั ไปใช้ปรับปรุง แก้ไข หาแนวทางทีเ่ หมาะสมในการรับเข้าศึกษาในแต่ละหลักสูตรทีเ่ ปิดสอนของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ ให้มคี ณ ุ ภาพและประสิทธิภาพยิง่ ขึน้ บทความวิจยั ที่ 4 เรือ่ ง สภาพกายภาพของโรงพยาบาลศูนย์กลางในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยไชยะลาด ลาชาวะดี และศาสตราจารย์ ไตรวัฒน์ วิรยศิริ ผูว้ จิ ยั ได้ศกึ ษาโรงพยาบาลระดับศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว เพือ่ ท�ำความเข้าใจถึงสภาพทาง กายภาพของโรงพยาบาล 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ โรงพยาบาลเชษฐาธิราช โรงพยาบาลแม่และเด็ก และ โรงพยาบาลเด็ก ผลการวิจยั พบว่า สภาพกายภาพโรงพยาบาลระดับศูนย์กลางใน ส ป ป. ลาว ขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่โรงพยาบาลมี โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ โรงพยาบาลเชษฐาธิราช อยูร่ ะหว่างการพัฒนาก่อสร้างอาคาร ทีท่ นั สมัยมากขึน้ ส่วนโรงพยาบาล ขนาดเล็ก 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลแม่และเด็ก และโรงพยาบาลเด็ก ยังมีสภาพทีต่ อบสนองบริการได้ ส่วนบทความปิดท้ายฉบับนี้เป็นบทความวิจัยที่ 5 เรื่อง การศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดตลาดนัด กรณีศึกษาตลาดนัดชุมชน วัดชัยจุมพล ชุมชนบ้านขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชยั จังหวัดมหาสารคาม โดยผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดิฐา แสงวัฒนะชัย ผูว้ จิ ยั ได้ศกึ ษาเพือ่ ค้นหาปัจจัยอันพึงมีในมิตติ า่ ง ๆ ทีก่ อ่ ให้เกิดขึน้ และคงอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ งของตลาดนัดกับชุมชน ซึง่ ผลจากการศึกษาท�ำให้ทราบถึงปัจจัย ในมิตติ า่ ง ๆ ทัง้ มิตดิ า้ นภูมศิ าสตร์ และมิตดิ า้ นความสัมพันธ์ ข้อสรุปสามารถเป็นส่วนหนึง่ ในการวางแผนการจัดการได้อย่างเหมาะสมต่อไป ส�ำหรับรายละเอียดบทความทั้งหมดนี้ สามารถเรียนรู้ได้จากบทความดังกล่าวในวารสารฉบับนี้ และพบกันอีกในวารสาร สถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2563 ทัง้ นีก้ องบรรณาธิการขอขอบพระคุณทัง้ ผูท้ รง คุณวุฒิ นักวิชาการ รวมถึงคณะผูบ้ ริหารของคณะฯ และสถาบันฯ ทีส่ นับสนุนการจัดท�ำวารสารวิชาการฉบับนี้ หากมีขอ้ บกพร่องประการใด กองบรรณาธิการขอน้อมรับเพือ่ จักได้นำ� ไปปรับปรุงต่อไป อาจารย์ ดร.ธนายุทธ ไชยธงรัตน์ บรรณาธิการ tanayut.c@msu.ac.th 20 ธันวาคม 2562


สารบัญ หน้า บทความวิชาการ …………………………………………………………………………………………………………................... การวิเคราะห์ค่าความปลอดภัยส�ำหรับไม้ ไผ่ใช้ ในงานก่อสร้าง The Analysis of Safety Factor for Bamboo used in Construction สุรพงษ์ ดาราม (Surapong Daram)

8

บทความวิจัย ……………………………………………………………………………………………………………….................. การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาศาลาไผ่ขนาดเล็ก Design Thinking for Developing Small-Bamboo hut รัชนูพรรณ ค�ำสิงห์ศรี (Rutchanoophan Kumsingsree)

26

การก่อสร้างและค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุอาคารผนังดินอัด Construction and Embodied Energy Rammed Building ยุทธนา เกาะกิ่ง (Yutthana Korking)

44

การศึกษาเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ผลของการรับนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Comparative Study on the Student Admission Systems for Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts Mahasarakham University พัชรินทร์ เชื้อภักดี กิ่งกาญจน์ มุลทาเย็น และธนายุทธ ไชยธงรัตน์ (Patcharin Chuaphakdee Kingkan Moontayen and Tanayut chaithongrat)

58

สภาพกายภาพของโรงพยาบาลศูนย์กลางในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว Physical Environment of Central Hospital in LAOS ไชยะลาด ลาชาวะดี และไตรวัฒน์ วิรยศิริ (Xayalath laxavady and Traiwat Viryasiri)

70

การศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดตลาดนัด: 86 กรณีศึกษาตลาดนัดชุมชนวัดชัยจุมพล ชุมชนบ้านขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม Study of Factors creating Flea Market: A Case study of Wat Chai Chumphon Community Market, Ban Kham Riang, Kantharawichai District, Maha Sarakham Province ดิฐา แสงวัฒนะชัย (Dita Sangvatanachai)



บทความวิชาการ - Academic Article -


การวิเคราะห์ค่าความปลอดภัยส�ำหรับ ไม้ ไผ่ใช้ ในงานก่อสร้าง The Analysis of Safety Factor for Bamboo used in Construction

Received : November 9, 2019 Revised : December 16, 2019 Accepted : December 27, 2019

สุรพงษ์ ดาราม

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ภาควิชาการออกแบบและบริหารงานก่อสร้าง คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุร ี จังหวัดปราจีนบุรี

Surapong Daram

Assistant Professor, Department of Construction Design and Management, Faculty of Technology and Industrial Management, King Mongkut's University of Technology North Bangkok, Prachinburi Campus, Prachin Buri Province, Thailand Email: surapong.d@fitm.kmutnb.ac.th


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

บทคัดย่อ ลักษณะและคุณสมบัตทิ างกลของไม้ไผ่ใช้ในงานก่อสร้างขึน้ อยูก่ บั ชนิดพันธุแ์ ละสภาพไม้ไผ่ทใี่ ช้ทดสอบ จากผลการ ทดสอบค่าก�ำลังดัดสามารถจัดให้ไม้ไผ่สำ� หรับงานก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นชนิดไม้เนือ้ แข็งปานกลาง ไม้ไผ่สำ� หรับส่วนประกอบ ของอาคารควรผ่านขั้นตอนการถนอมไม้ไผ่ ค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ของไม้ไผ่ตามชนิดไม้เนื้อแข็งปานกลางเหมาะส�ำหรับใช้ ในการออกแบบ โดยมีคา่ ความปลอดภัยเฉลีย่ ต�ำ่ ทีส่ ดุ เท่ากับ 7.9 การปรับปรุงค่าอัตราส่วนเพือ่ ค�ำนวณหาค่าหน่วยแรงระยะ ยาวส�ำหรับไม้ไผ่ทั่วไปตามมาตรฐาน BNBC ท�ำให้มีค่าความปลอดภัยเฉลี่ยต�่ำที่สุดเท่ากับ 7.8 ค�ำส�ำคัญ: ไม้ไผ่, ค่าหน่วยแรงที่ยอมให้, ค่าความปลอดภัย

ABSTRACT The characteristics and mechanical properties of bamboo used in construction depend on the species and condition of bamboo. From the results of bending strength test, most bamboo can classified as medium hardwood. Bamboo for building components should be treated by the bamboo preservation process. The allowable strength of bamboo according to type of medium hardwood is suitable for use for design with the lowest average safety value of 7.9. The adjustment of ratio using to calculate long-term stress for general bamboo according to BNBC, results the lowest average safety value of 7.8. Keywords: Bamboo, Allowable Stress, Safety Factor

1. บทน�ำ ไผ่เป็นพืชยืนต้นตระกูลหญ้าพบได้ทวั่ ไปโดยเฉพาะในภูมภิ าคเขตร้อน ภาพที่ 1 ส่วนสีเขียวแสดงพืน้ ทีท่ สี่ ามารถพบ ต้นไผ่ ลักษณะทั่วไปของไม้ไผ่มีล�ำต้นกลมและกลวงตรงกลาง มีข้อกระจายอยู่ทั่วไป เส้นใยของล�ำไม้ไผ่จะประสานกันแน่น มีความเหนียวและมีแรงหยุน่ ตัว ท�ำให้สามารถโค้งงอหรือดัดได้ตามต้องการ เปลือกหรือผิวของล�ำไม้ไผ่จะแข็งและเรียบเป็น มัน ไม้ไผ่ถกู ใช้ในการก่อสร้างอาคารชัว่ คราวและอาคารขนาดเล็กเนือ่ งจากไม้ไผ่มรี าคาถูกเมือ่ เทียบกับวัสดุกอ่ สร้างแบบอืน่ ในปัจจุบันงานสถาปัตยกรรมที่ใช้ไม้ไผ่มาเป็นส่วนประกอบหลักของอาคารได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น (ทศพล เมืองพรม, 2559; ธนา อุทยั ภัตรากูร, 2559) เนือ่ งจากอาคารสร้างจากไม้ไผ่ให้ความเป็นธรรมชาติ อีกทัง้ ไม้ไผ่เป็นพืชทีโ่ ตไวและมีความ แข็งแรงที่เพียงพอกับการใช้งานหลายรูปแบบ ท�ำให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมส�ำหรับการก่อสร้างแบบยั่งยืน (Escamilla E. Zea, 2015; Rashmi et al, 2019) จากการเปรียบเทียบข้อมูลของประเทศไทยกับต่างประเทศ งานวิจัยเกี่ยวกับไม้ไผ่เพื่อ งานก่อสร้างก็มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ งานวิจัยเกี่ยวกับวัสดุไม้ไผ่เพื่องานก่อสร้าง ของประเทศไทยได้มกี ารด�ำเนินการในหลายมหาวิทยาลัย ข้อมูลในประเทศทีเ่ กีย่ วกับข้อก�ำหนดและมาตรฐานการก่อสร้าง อาคารไม้ไผ่โดยเฉพาะยังไม่มีการก�ำหนดขึ้น ท�ำให้การพัฒนาไม้ไผ่ให้ใช้ในงานก่อสร้างที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นยังไม่มีข้อมูลที่ เพียงพอส�ำหรับวิศวกรผูอ้ อกแบบโครงสร้าง บทความฉบับนีเ้ ป็นการรวบรวมข้อมูลบางส่วนเกีย่ วกับลักษณะและคุณสมบัติ ทางกลของไม้ไผ่สำ� หรับงานก่อสร้าง เพือ่ ใช้ในการวิเคราะห์คา่ ความปลอดภัยของหน่วยแรงส�ำหรับการออกแบบอาคารไม้ไผ่ เป้าหมายของบทความเพื่อให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่จ�ำเป็นที่จะใช้ในการเลือกใช้ไม้ไผ่ในงานก่อสร้างและสามารถออกแบบ โครงสร้างไม้ไผ่ให้เหมาะสมและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

9


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ภาพที่ 1 การกระจายตัวของไม้ไผ่ทั่วโลก ที่มา: Escamilla E. Zea, (2015)

2. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและการวิเคราะห์ผล

2.1 พันธุ์ไม้ ไผ่ที่เหมาะสมกับการก่อสร้าง

ชนิดของไม้ไผ่ทเี่ หมาะสมกับการก่อสร้างตามเอกสารของหน่วยงาน INBAR (International Network for Bamboo and Rattan) ได้รายงานไว้มีจ�ำนวน 65 ชนิด (Jayanetti D. L. and Follet P. R., 1998) ไม้ไผ่ที่ใช้ในการก่อสร้างของ ประเทศไทยส่วนใหญ่จะมาจากการปลูก โดยอาจจะเป็นการปลูกเพื่อตัดหน่อหรือเพื่อตัดใช้ล�ำไม้ไผ่อย่างเดียว การเลือกใช้ ไม้ไผ่ที่สามารถจัดหาได้เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาในล�ำดับต้นๆ ของการก่อสร้างด้วยไม้ไผ่ งานวิจัยของธนา (ธนา อุทัยภัตรา กูร, 2559) ได้แนะน�ำพันธุ์ไผ่ที่สามารถจัดหาได้เพื่องานก่อสร้าง 7 ชนิดประกอบด้วย ไผ่ตง ไผ่สีสุก ไผ่ซางนวล ไผ่ซาง ไผ่ รวก ไผ่รวก ไผ่รวกด�ำ และไผ่เลี้ยง จากข้อมูลไม้ไผ่ในป่าของประเทศไทยแสดงไว้ในตารางที่ 1 พบว่า สกุลไผ่ที่เหมาะสมใน การก่อสร้างของประเทศไทยมี 5 สกุลคือ สกุลไผ่ตง (Dendrocalamus) สกุลไผ่ไร่ (Gigantochloa) สกุลไผ่รวก (Thyrsostachys) สกุลไผ่ป่า (Bambusa) สกุลไผ่สีทอง (Schizostachyum) โดยสกุลที่มีชนิดพันธุ์ที่เหมาะสมมากที่สุดคือ สกุล ไผ่ตงและสกุลไผ่ปา่ ชนิดพันธุไ์ ม้ไผ่ทมี่ ปี ริมาณสูงสุด 5 อันดับแรกประกอบด้วยไผ่ซางนวล ไผ่ไร่ ไผ่รวก ไผ่บงและไผ่ขา้ วหลาม ตามล�ำดับ พันธุ์ไม้ไผ่ที่เหมาะสมกับการก่อสร้างส่วนใหญ่จะพบได้ในภาคเหนือ ตารางที่ 1 ร้อยละของปริมาณไผ่ส�ำหรับงานก่อสร้างที่พบในป่าของประเทศไทย ลำ�ดับที่

10

พันธุ์ไม้ไผ่

ชื่อวิทยาศาสตร์

ปริมาณแยกตามภาค (ร้อยละ) N

NE

C&W

E

S

รวม (ร้อยละ)

1

ไผ่ซางนวล

D. Membranaceus

18.86

2.05

7.14

0.05

0.08

28.18

2

ไผ่ไร่

G. Albociliata

15.47

3.23

0.33

0.23

0.00

19.27

3

ไผ่รวก

T. Siamensis

3.43

5.22

8.14

0.07

0.00

16.85

4

ไผ่บง

B. Nutans

7.32

0.47

0.61

0.50

0.00

8.89

5

ไผ่ข้าวหลาม

S. Pergracile

4.76

0.12

0.00

0.08

0.00

4.96

6

ไผ่ป่า

B. Bambos

1.35

0.83

0.82

0.63

0.04

3.67

7

ไผ่หก

D. Hamiltonii

1.63

0.04

0.45

0.00

0.00

2.12

8

ไผ่หอม

B. Polymorpha

0.72

0.02

0.00

0.00

0.00

0.74


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

9

ไผ่บงดำ�

B. Tulda

0.41

0.00

0.07

0.00

0.00

0.48

10

ไผ่เมี่ยงไฟ

S. Zollingeri

0.47

0.00

0.00

0.00

0.00

0.47

11

ไผ่เลี้ยง

B. Multiplex

0.02

0.04

0.19

0.18

0.00

0.43

12

ไผ่ตง

D. Asper

0.12

0.01

0.06

0.01

0.00

0.19

13

ไผ่หกลำ�

G. Macrostachya

0.18

0.00

0.00

0.00

0.00

0.18

14

ไผ่ลำ�มะลอก

D. Longispathus

0.15

0.00

0.00

0.00

0.00

0.15

15

ไผ่เป๊าะ

D. Giganteus

0.10

0.00

0.00

0.00

0.00

0.10

16

ไผ่บงใหญ่

D. Brandsii

0.01

0.00

0.00

0.03

0.00

0.04

17

ไผ่ซางคำ�

D. Latiflous

0.00

0.01

0.00

0.00

0.00

0.01

หมายเหตุ: N คือ ภาคเหนือ NE คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ C&W คือ ภาคกลางและภาคตะวันตก E คือ ภาคตะวันออก S คือ ภาคใต้ ที่มา: Jayanetti D. L. and Follet P. R. (1998), ส�ำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ (2555)

2.2 ลักษณะไม้ ไผ่ที่เหมาะสมกับการก่อสร้าง

ไม้ไผ่แต่ละชนิดมีลกั ษณะภายนอกแตกต่างกันไป ไม้ไผ่ชนิดเดียวกันขึน้ อยูใ่ นทีท่ มี่ สี ภาพทางภูมศิ าสตร์และปริมาณ น�ำ้ ฝนแตกต่างกัน อาจจะมีลกั ษณะแตกต่างกันไป การน�ำไม้ไผ่มาเป็นวัสดุในการก่อสร้างหรือส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างต้อง มีการพิจารณาลักษณะทางกายภาพของไผ่ได้แก่ ความยาวของล�ำขนาดของล�ำต้น ขนาดความหนาของปล้องและความยาว ของข้อ รายละเอียดของลักษณะทางกายภาพของไม้ไผ่สำ� หรับงานก่อสร้างแสดงไว้ในตารางที่ 2 โดยข้อมูลในตารางจะเรียง ตามชนิดสกุลไผ่ประกอบด้วย สกุลไผ่ปา่ (Bambusa) สกุลไผ่ตง (Dendrocalamus) สกุลไผ่ไร่ (Gigantochloa) สกุลไผ่รวก (Thyrsostachys) สกุลไผ่สีทอง (Schizostachyum) ตามล�ำดับ ตารางที่ 2 ข้อมูลลักษณะทั่วไปของไม้ไผ่ส�ำหรับงานก่อสร้าง พันธุ์ไม้ไผ่

ชื่อวิทยาศาสตร์

ความสูง

ขนาดเส้น

ขนาดความ

ความยาว

ผ่าศูนย์กลาง

ระหว่างข้อ (mm.)

(m.)

(mm.)

หนาปล้อง (mm.)

ไผ่ป่า

B. Bambos

10-25

50-180

6-50

150-450

ไผ่สีสุก

B. Blumeana

9-18

50-150

6-30

400-600

ไผ่หวาน

B. Burmanica

5-8

30-100

20-30

250-350

ไผ่เลี้ยง

B. Multiplex

7-12

30-60

5-30

150-400

ไผ่บง

B. Nutans

5-17

40-80

10-30

350-600

ไผ่หอม

B. Polymorpha

15-24

75-150

12-20

400-600

ไผ่บงดำ�

B. Tulda

6-21

50-100

10-50

200-300

ไผ่ตง

D. Asper

20-30

70-200

7-35

200-500

ไผ่บงใหญ่

D. Brandsii

15-30

100-200

10-30

300-600

ไผ่เป๊าะ

D. Giganteus

24-40

100-300

10-30

250-550

ไผ่หก

D. Hamiltonii

15-25

90-225

6-35

300-650

ไผ่ซางคำ�

D. Latiflorus

10-16

40-120

10-20

200-700

11


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ไผ่ลำ�มะลอก

D. Longispathus

10-12

40-100

8-20

250-500

ไผ่ซางนวล

D. Membranaceus

10-25

50-120

6-15

200-450

ไผ่ซาง

D. Strictus

7-10

30-120

5-8

250-400

ไผ่ไร่

G. Albociliata

7-10

15-40

5-10

150-400

ไผ่หกลำ�

G. Macrostachya

9-16

65-100

10-30

400-800

ไผ่ข้าวหลาม

S. Pergracile

9-12

50-75

3-10

300-500

ไผ่เมี่ยงไฟ

S. Zollingeri

15

20-100

3-5

200-700

ไผ่รวกดำ�

T. Oliveri

10-18

45-100

10-40

300-600

ไผ่รวก

T. Siamensis

3-10

20-75

8-30

100-300

ตารางที่ 2 ข้อมูลลักษณะทั่วไปของไม้ไผ่ส�ำหรับงานก่อสร้าง

ทีม่ า: รวบรวมจาก Jayanetti D. L. and Follet P. R. (1998), รุง่ นภา และคณะ (2544), บุญส่ง และคณะ (2556) สุทศั น์ และคณะ (2557), ทศพล เมืองพรม (2559)

ไม้ไผ่ที่เหมาะสมส�ำหรับใช้ก่อสร้างบ้านไม้ไผ่ควรจะมีลักษณะ ดังนี้ อายุของต้นไผ่อยู่ในช่วง 3-6 ปี ขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลางของล�ำไม้ไผ่ที่เหมาะกับการใช้เป็นโครงสร้างหลักของอาคารเช่นเสาและงานหลังคาควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่นอ้ ยกว่า 70 มม. ความยาวระหว่างข้ออยูใ่ นช่วง 300 -600 มม. และความหนาของปล้องอย่างน้อย 8 มม. ลักษณะรูปทรง และผิวภายนอกทีค่ วรตรวจสอบ คือ ความเรียวของล�ำไม้ไผ่ (Taper) ไม่เกินร้อยละ 0.58 ความโค้ง (Curvature) ไม่ควรเกิน 75 มม. ต่อความยาวล�ำไผ่ 6 เมตร สภาพผิวภายนอกที่เสียหาย รูแมลง ควรมีความลึกจากผิวนอกไม่เกิน 3 มม. (Janssen J.A. Jules, 2000; BNBC, 2012; INBC, 2016) การใช้ประโยชน์ของพันธุ์ไม้ไผ่ในงานก่อสร้างอาคารแสดงได้ดังตารางที่ 3

X

ไผ่สีสุก

B. Blumeana

X

X

ไผ่หวาน

B. Burmanica

X

X

X

ไผ่เลี้ยง

B. Multiplex

X

X

ไผ่บง

B. Nutans

X

X

ไผ่หอม

B. Polymorpha

X

X

ไผ่บงดำ�

B. Tulda

X

X

ไผ่ตง

D. Asper

X

X

ไผ่บงใหญ่

D. Brandsii

X

ไผ่เป๊าะ

D. Giganteus

X

ไผ่หก

D. Hamiltonii

ไผ่ซางคำ�

D. Latiflorus

12

X

X

X

นั่งร้าน

X

ค้ำ�ยัน

B. Bambos

ชื่อวิทยาศาสตร์

หลังคา

ไผ่ป่า

พันธุ์ไม้ไผ่

วัสดุปูพื้น

กำ�แพงแบบครึ่งและ ทั้งลำ� X

ฝ้าเพดาน

X

โครงอาคาร

กำ�แพงแบบสาน

ตารางที่ 3 ลักษณะการใช้ประโยชน์ไม้ไผ่ในงานก่อสร้างอาคาร

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

กำ�แพงแบบสาน

กำ�แพงแบบครึ่ง และทั้งลำ�

X

X

X

X

X

ไผ่ซางนวล

D. Membranaceus

X

X

X

X

X

X

ไผ่ซาง

D. Strictus

X

X

ไผ่ไร่

G. Albociliata

X

ไผ่หกลำ�

G. Macrostachya

ไผ่ข้าวหลาม

S. Pergracile

X

X

ไผ่เมี่ยงไฟ

S. Zollingeri

X

X

ไผ่รวกดำ�

T. Oliveri

ไผ่รวก

T. Siamensis

X

X

X

X

X

นั่งร้าน

หลังคา

D. Longispathus

ชื่อวิทยาศาสตร์

ค้ำ�ยัน

ฝ้าเพดาน

ไผ่ลำ�มะลอก

พันธุ์ไม้ไผ่

วัสดุปูพื้น

โครงอาคาร

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

X

ที่มา: ปรับปรุงจาก McClure F.A. (1953)

2.3 การถนอมไม้ ไผ่

ไม้ไผ่ทจี่ ะใช้งานได้ยาวนานต้องมีสภาพความชืน้ ทีเ่ หมาะสมและผ่านขัน้ ตอนการเพิม่ ความทนทาน การเลือกช่วงเวลา ตัดไผ่มผี ลต่อความทนทาน โดยช่วงทีเ่ หมาะสมส�ำหรับการตัดไผ่คอื ช่วงฤดูหนาว เนือ่ งจากในฤดูหนาวมีแมลงท�ำลายไม้นอ้ ย และเป็นช่วงทีป่ ริมาณแป้งในล�ำไผ่มนี อ้ ยทีส่ ดุ การลดความชืน้ ในล�ำไผ่ให้แห้งด้วยวิธธี รรมชาติ ท�ำได้โดยหลังการตัดล�ำไผ่ไม่ ต้องริดกิง่ และใบ วิธกี ารนีจ้ ะช่วยเร่งการระเหยน�ำ้ ในล�ำไผ่ให้แห้งเร็วขึน้ และท�ำให้ปริมาณแป้งในล�ำไผ่ลดลง จากนัน้ จึงริดกิง่ และน�ำไปผึง่ ให้แห้งในทีร่ ม่ อากาศปลอดโปร่งถ่ายเทได้ดปี ระมาณ 3–4 เดือน ส่วนการถนอมไม้ไผ่(Preservation) เพือ่ เพิม่ ความทนทานและยืดอายุการใช้งานไม้ไผ่ หลักการคือลดปริมาณแป้งในล�ำไม้ไผ่ ลดความชื้นและการใช้สารเคมีที่มีพิษต่อ แมลงถูกดูดซึมเข้าไปในเนื้อไม้ จากข้อมูลของกรมป่าไม้ (กลุ่มงานแมลงและจุลชีววิทยาป่าไม้, 2562) แสดงรายละเอียดได้ ดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 วิธีการถนอมไม้ไผ่ วิธีการ

รายละเอียด

การแช่ในน�้ำ

การแช่ล�ำไผ่ในน�้ำเป็นเวลา 2 เดือน ท�ำให้ปริมาณแป้งในไผ่ลดลง เนื่องจากถูกน�้ำชะล้างออกไปและ แบคทีเรียสลายแป้ง การแช่ในน�้ำไหลจะช่วยท�ำให้ไม้ไผ่ไม่เน่า วิธีนี้เหมาะส�ำหรับทั้งไม้ไผ่สดและแห้ง

การต้ม

การต้มล�ำไผ่ ควรใช้เวลาต้มนานประมาณ 4-6 ชม. ถ้าผสมโซดาไฟ (โซเดียมไฮดรอกไซด์) ร้อยละ 0.5-1 จะใช้เวลาการต้ม 30 นาที วิธีนี้เหมาะส�ำหรับทั้งไม้ไผ่สดและไม้ไผ่แห้ง

การย่างด้วยไฟ

การย่างล�ำไผ่ด้วยไฟที่อุณหภูมิ 120°C – 130°C ประมาณ 20 นาที วิธีนี้เหมาะกับไม้ไผ่ล�ำเล็กตันหรือ ไม้ไผ่เนื้อหนา การย่างด้วยไฟอาจท�ำให้ล�ำไผ่มีสีด�ำเป็นรอยไหม้ได้ วิธีนี้เหมาะส�ำหรับไม้ไผ่สด

การอบหรือรม ด้วยควันไฟ โดยใช้ ความร้อนต�่ำ

ล�ำไม้ไผ่ก่อนอบควรผึ่งให้เหลือความชื้นน้อยกว่าร้อยละ 50 จากนั้นจึงน�ำไปอบจนความชื้นของไม้ไผ่ เหลืออยู่ในช่วงร้อยละ 12-15 โดยใช้เวลาอบประมาณ 12-20 วัน วิธีนี้เหมาะส�ำหรับไม้ไผ่แห้ง

สารประกอบโบรอน ความเข้มข้น ร้อยละ 10

ใช้รว่ มกับวิธกี ารแช่ในแนวตัง้ โดยแช่ให้โคนล�ำไผ่ในน�ำ้ ยาเคมีอย่างน้อย 30 ซม. ระยะเวลา 10 วัน วิธีนี้ เหมาะส�ำหรับไม้ไผ่สด

สารเคมีคอปเปอร์โครมโบรอน ความเข้มข้นร้อยละ 8

ใช้รว่ มกับวิธกี ารแทนทีน่ ำ�้ เลีย้ ง โดยใช้ความดัน 1-1.5 บาร์ในการอัดน�ำ้ ยาเคมีเข้าไปในล�ำไผ่เป็นระยะ เวลา 30-60 นาที วิธนี เี้ หมาะส�ำหรับไม้ไผ่สด และเป็นวิธที มี่ คี วามปลอดภัยต่อผูใ้ ช้และ สิง่ แวดล้อม เพราะน�้ำยาจะอยู่ภายในล�ำไผ่เท่านั้น

13


วิธีการ

รายละเอียด

สารเคมีคอปเปอร์โครมโบรอน ความเข้มข้นร้อยละ 10

วิธนี จี้ ะท�ำการแช่ลำ� ไม้ไผ่ในสารน�ำ้ ยาเคมีเป็นระยะเวลา 10 วัน วิธนี เี้ หมาะส�ำหรับไม้ไผ่แห้ง ความชืน้ ของไม้ไผ่ประมาณร้อยละ 20 ไม้ที่แห้งจะดูดซึมน�้ำยาเคมีได้ดีกว่าไม้สด

ที่มา: กลุ่มงานแมลงและจุลชีววิทยาป่าไม้ (2562),ประทักษ์ คูณทอง, (2562)

2.4 คุณสมบัติทางกลของไม้ ไผ่

จากการรวบรวมข้อมูลการทดสอบคุณสมบัติทางกลไม้ไผ่ในประเทศไทยพบว่า มีงานวิจัยที่แสดงผลการทดสอบ คุณสมบัตทิ างกลของไม้ไผ่อยูพ่ อสมควร ตารางที่ 5 เป็นรายละเอียดผลการทดสอบคุณสมบัตทิ างกลทีเ่ ลือกมาเฉพาะไม้ไผ่ที่ เหมาะสมกับการใช้ในการก่อสร้าง ผลการทดสอบทีแ่ สดงเป็นการรวบรวมโดยไม่จำ� แนกมาตรฐานการทดสอบและสภาพของ ไม้ไผ่ที่ใช้ในการทดสอบ จากตารางจะพบว่า ไม้ไผ่มีค่าก�ำลังดึงและก�ำลังดัดที่สูง ไม้ไผ่หลายสายพันธุ์มีก�ำลังดึงใกล้เคียงกับ เหล็กเส้น โดยทัว่ ไปไม้ไผ่ทม่ี คี วามหนาแน่นสูงขึน้ จะมีคณ ุ สมบัตทิ างกลทีเ่ พิม่ มากขึน้ ข้อมูลจากตารางที่ 5 นีส้ ามารถใช้ในการ เลือกใช้พนั ธุไ์ ม้ไผ่ทมี่ คี า่ ก�ำลังทีเ่ หมาะสมกับงานในเบือ้ งต้น โดยอาจจะใช้คา่ เฉลีย่ ของค่าทีแ่ สดงไว้ ส�ำหรับงานทีส่ ำ� คัญควรมีการ สุม่ เก็บตัวอย่างและท�ำการทดสอบตัวอย่างไม้ไผ่ทจี่ ะใช้ ซึง่ ขัน้ ตอนทัง้ 2 นีจ้ ะช่วยให้วศิ วกรผูอ้ อกแบบได้คา่ คุณสมบัตทิ างกลที่ แม่นย�ำมากขึน้ โดยมาตรฐานการทดสอบการทดสอบไม้ไผ่อาจจะอ้างอิงตาม ISO 22157-2 (ISO, 2004) ซึง่ นิยมใช้อา้ งอิงใน งานวิจยั เกีย่ วกับคุณสมบัตทิ างกลของไม้ไผ่ในประเทศไทย (บุญส่ง และคณะ, 2556; สุทธิชา บรรจงรัตน์ และสุปรีดี ฤทธิรงค์, 2556; ธนา อุทยั ภัตรากูร, 2559) ตารางที่ 5 ข้อมูลผลการทดสอบคุณสมบัติทางกลของไม้ไผ่ส�ำหรับงานก่อสร้างของประเทศไทย กำ�ลังอัด

กำ�ลังดึง

กำ�ลังเฉือน

ขนานเสี้ยน

ขนานเสี้ยน

ขนานเสี้ยน

(MPa)

(MPa)

(MPa)

(MPa)

(102.MPa)

710-856

156-175

39-57

98-196

8-10

19-370

ไผ่สีสุก

630-935

79-200

31-85

91-421

11-14

54-878

ไผ่หวาน

-

81

68

127

13

23

ไผ่เลี้ยง

670-848

71-265

38-92

104-271

11-14

122-257

ไผ่บง

-

181

35

103

-

147-300

ไผ่ตง

586-779

13-191

10-73

9-385

1-14

60-702

520

69

35

-

20

66

ไผ่เป๊าะ

-

152

38

-

-

69

ไผ่หก

560-961

100-125

31-61

76-96

5-9

86-223

560

100

53

-

24

91

ไผ่ลำ�มะลอก

790-935

117

50-58

-

4-7

190

ไผ่ซางนวล

727-796

152-189

58-63

244-261

12-15

292-650

ไผ่ซาง

572-843

81-239

55-87

107-394

12-15

112-191

ไผ่ไร่

620-750

108-130

41-53

164-438

8-11

31-381

ไผ่รวกดำ�

768-944

135-159

50-71

150-213

8-10

314-580

ไผ่รวก

472-845

106-208

41-83

118

5-11

78-177

พันธุ์ไม้ไผ่

ความหนาแน่น

กำ�ลังดัด

(kg/m3) ไผ่ป่า

ไผ่บงใหญ่

ไผ่ซางคำ�

ทีม่ า: รวบรวมจาก นิคม แหลมสัก และอัจฉริยะ โชติขนั ธ์ (2550), สุทธิชา บรรจงรัตน์ และสุปรีดี ฤทธิรงค์ (2556), บุญส่ง และคณะ (2556), บุญส่ง และคณะ (2558), ธนา อุทัยภัตรากูร (2559), ธวัชชัย และคณะ (2560)

โมดูลัสยืดหยุ่น


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

จากการสืบค้นข้อมูลมาตรฐานเกีย่ วกับไม้ไผ่ในต่างประเทศพบว่า มีเพียง 2 ประเทศคือประเทศบังคลาเทศ (BNBC, 2012) และประเทศอินเดีย (INBC, 2016) ที่มีข้อมูลการก�ำหนดคุณสมบัติทางกลของพันธุ์ไผ่ไว้ในมาตรฐานเพื่อให้ใช้ค่า ส�ำหรับการออกแบบในกรณีทไี่ ม่มกี ารทดสอบไม้ไผ่ รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 6 จากการศึกษาข้อมูลคุณสมบัตขิ องไม้ไผ่ ของทัง้ สองมาตรฐานพบว่าส�ำหรับพันธุไ์ ม้ไผ่ทเี่ หมือนกัน ค่าตัวเลขของทัง้ ประเทศจะใช้คา่ ตัวเลขตรงกัน โดยมาตรฐานของ ประเทศบังคลาเทศจะมีจำ� นวนพันธุไ์ ม้ไผ่ทมี่ ากกว่า ค่าคุณสมบัตขิ องไม้ไผ่ของทัง้ 2 ประเทศประกอบด้วยค่าความหนาแน่น ค่าก�ำลังดัดหรือโมดูลัสแตกร้าว ค่าก�ำลังอัดและค่าโมดูลัสยืดหยุ่นค่าทดสอบ โดยมีค่าคุณสมบัติในสภาพสด (Green Condition) และสภาพแห้งด้วยอากาศ (Air Dry Condition) โดยข้อมูลทีแ่ สดงในตารางที่ 6 จะเลือกมาเฉพาะพันธุไ์ ม้ไผ่สำ� หรับ งานก่อสร้างที่พบในประเทศไทยตามตารางที่ 2 จากการสังเกตค่าคุณสมบัติทางกลของไม้ไผ่ในตารางที่ 6 พบว่า ส่วนใหญ่ ค่าคุณสมบัตขิ องไม้ไผ่ทสี่ ภาพแห้งด้วยอากาศจะมีคา่ ทีส่ งู กว่าค่าของไม้ไผ่สภาพสด ยกเว้นไผ่บงและไผ่หอมทีม่ คี า่ บางค่าไม่ แตกต่างกัน ไผ่บางพันธุ์มีค่าก�ำลังอัดสูงกว่าค่าก�ำลังดัด เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในตารางที่ 6 กับค่าคุณสมบัติไม้ไผ่ของ ประเทศไทยในตารางที่ 5 พบว่า ไผ่บางสายพันธุย์ งั ไม่ได้มกี ารทดสอบคุณสมบัตทิ างกลในประเทศไทย เช่น ไผ่หอม ไผ่บงด�ำ และไผ่ขา้ วหลาม ค่าคุณสมบัตทิ างกลจากการทดสอบของประเทศไทยมีคา่ ทีส่ งู กว่าของต่างประเทศทีก่ ำ� หนดไว้ ค่าทีต่ ำ�่ กว่า ของต่างประเทศอาจจะเป็นผลจากการพิจารณาถึงความปลอดภัย ตารางที่ 6 นี้สามารถใช้ในการอ้างอิงร่วมกับตารางที่ 5 โดยเฉพาะพันธุ์ไผ่ที่ยังไม่มีผลการทดสอบของประเทศไทย ตารางที่ 6 คุณสมบัติของไม้ไผ่ตามมาตรฐาน BNBC และ INBC พันธุ์ไม้ไผ่

ความหนาแน่น

กำ�ลังดัด

กำ�ลังอัด

โมดูลัสยืดหยุ่น

(kg/m3)

(MPa)

(MPa)

(MPa)

G

D

G

D

G

D

G

D

ไผ่ป่า

559

663

58.3

80.1

35.3

53.4

59.5

86.6

ไผ่หวาน

570

672

59.7

105.0

39.9

65.2

110.1

178.1

ไผ่บง

603

673

52.9

52.4

45.6

47.9

66.2

107.2

ไผ่หอม

610

840

36.6

40.6

31.4

-

60.0

58.9

ไผ่บงดำ�

610

830

53.2

65.8

39.5

68.0

103.3

111.8

ไผ่เป๊าะ

597

-

17.2

-

35.2

-

6.1

-

ไผ่หก

515

-

40.0

-

43.4

-

24.9

-

ไผ่ลำ�มะลอก

711

684

33.1

47.8

42.1

61.1

55.1

60.3

ไผ่ซางนวล

551

664

26.3

37.8

40.5

-

24.4

37.7

ไผ่ซาง

631

728

73.4

119.1

35.9

69.1

119.8

150.0

ไผ่ข้าวหลาม

601

640

52.6

71.3

36.7

49.4

111.6

192.2

ไผ่รวกดำ�

733

758

61.9

90.0

46.9

58.0

97.2

121.5

หมายเหตุ: G คือค่าจากสภาพสด D คือค่าจากสภาพแห้งด้วยอากาศ ที่มา: BNBC (2012), INBC (2016)

2.5 การก�ำหนดชนิดไม้จากคุณสมบัติของไม้ ไผ่

การแบ่งชนิดของไม้มปี ระโยชน์ในการเลือกใช้ไม้ทมี่ คี วามแข็งแรงและความทนทานให้ตรงกับลักษณะงานทีต่ อ้ งการ ชนิดไม้ตามมาตรฐาน มยผ. 1104-2552 (กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2552) แบ่งออกได้ 3 ชนิดคือไม้เนื้อแข็ง ไม้เนื้อแข็ง ปานกลางและไม้เนื้ออ่อน คุณสมบัติที่ใช้ในการแบ่งชนิดไม้ประกอบด้วยค่าก�ำลังดัดและค่าความทนทานตามธรรมชาติ รายละเอียดของแต่ละชนิดไม้แสดงในตารางที่ 7 เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลการแบ่งชนิดไม้กับข้อมูลค่าก�ำลังดัดของไม้ไผ่จาก

15


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ตารางที่ 3 พบว่า ไม้ไผ่ส่วนใหญ่มีค่าก�ำลังดัดอยู่ในชนิดไม้เนื้อแข็งปานกลางถึงไม้เนื้อแข็ง ส่วนความทนทานตามธรรมชาติ ของไม้ไผ่จะมีค่าอยู่ในช่วงชนิดไม้เนื้ออ่อนถึงไม้เนื้อแข็งปานกลางเท่านั้น โดยไม้ไผ่ที่ใช้งานในสภาพเปิดและสัมผัสดินจะ มีอายุการใช้งาน 1-3 ปี ส่วนไม้ไผ่ที่ใช้งานในที่ร่มและไม่สัมผัสดินจะมีอายุการใช้งาน 4-6 ปี ส่วนไม้ไผ่ที่มีการดูแลอย่างดี จะสามารถอยูไ่ ด้ 10-15 ปี (Janssen J.A. Jules, 2000) การถนอมไม้ไผ่เพือ่ เพิม่ ความทนทานจะท�ำให้ไม้ไผ่มอี ายุการใช้งาน มากกว่า 15 ปี (Satish et al, 1994) จากข้อมูลเหล่านีอ้ าจจะสรุปได้วา่ กรณีพจิ ารณาจากค่าก�ำลังดัด พันธุไ์ ม้ไผ่ทแี่ สดงผล ในตารางที่ 3 ส่วนใหญ่สามารถจัดอยูใ่ นชนิดไม้เนือ้ แข็งปานกลางขึน้ ไป ส่วนการพิจารณาจากข้อก�ำหนดทางด้านความทนทาน จะก�ำหนดได้ว่า ในกรณีที่ไม้ไผ่ที่ไม่ผ่านขั้นตอนการถนอมไม้ไผ่ ไม้ไผ่ที่ใช้งานในสภาพเปิดควรจัดให้อยู่ในชนิดไม้เนื้ออ่อน ส่วนไม้ไผ่ทใี่ ช้งานภายในทีร่ ม่ ควรจัดอยูใ่ นชนิดไม้เนือ้ แข็งปานกลาง กรณีไม้ไผ่ทผี่ า่ นขัน้ ตอนการถนอมไม้ไผ่อาจจะสามารถ จัดอยู่ในชนิดไม้เนื้อแข็ง โดยควรพิจารณาร่วมกับค่าผลการทดสอบก�ำลังดัดของไม้ไผ่ด้วย ตารางที่ 7 การจ�ำแนกประเภทของไม้ตามมาตรฐาน มยผ. 1104-2552 ประเภทไม้ ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็งปานกลาง ไม้เนื้อแข็ง

ก�ำลังดัด (MPa)

ความทนทานตามธรรมชาติ (ปี)

น้อยกว่า 59

น้อยกว่า 2

59 – 98

2–6

มากกว่า 98

มากกว่า 6

ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง (2552)

2.6 การก�ำหนดหน่วยแรงที่ยอมให้ส�ำหรับไม้ ไผ่

ประเทศไทยยังไม่มีการก�ำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับไม้ไผ่โดยเฉพาะ ดังนั้น การออกแบบโครงสร้างไม้ไผ่ยังต้อง พิจารณาใช้ค่าหน่วยแรงเหมือนกับวัสดุไม้อื่นๆ ซึ่งกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (กระทรวงมหาดไทย, 2527) ได้ก�ำหนดค่าหน่วย แรงที่ยอมให้ของแต่ละชนิดไม้แสดงดังตารางที่ 8 ค่าที่แสดงในตารางใช้ส�ำหรับในกรณีที่ไม่มีการทดสอบคุณสมบัติของไม้ โดยในกรณีที่มีผลการทดสอบของไม้ให้สามารถใช้ส่วนปลอดภัยโดยใช้ก�ำลังไม่เกิน 1 ใน 8 ของหน่วยแรงดัดประลัย หรือ ไม่เกิน 1 ใน 6 ของหน่วยแรงที่ขีดปฏิภาคแล้วแต่ค่าใดจะน้อยกว่า จากข้อมูลมาตรฐานของประเทศบังคลาเทศและประเทศอินเดีย (BNBC, 2012; INBC, 2016) พบว่า มาตรฐาน ของทัง้ 2 ประเทศมีการก�ำหนดค่าหน่วยแรงทีย่ อมให้ได้ของแต่ละพันธุไ์ ม้ไผ่ไว้ โดยค�ำนวณจากค่าคุณสมบัตทิ างกลของไม้ไผ่ ในสภาพสดแสดงในตารางที่ 6 หารด้วยค่าความปลอดภัย ซึ่งค่าความปลอดภัยที่ใช้ในการค�ำนวณส�ำหรับค่าก�ำลังดัด ค่า ก�ำลังอัด ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นจะมีค่าเท่ากับ 4, 3.5 และ 4.5 ตามล�ำดับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงผลของการก�ำหนดชนิดไม้ ตามตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 การเปรียบเทียบค่าหน่วยแรงทีย่ อมให้ของไม้ไผ่ของประเทศไทยเทียบกับค่าหน่วยแรงทีย่ อม ให้ของประเทศบังคลาเทศแสดงได้ดังตารางที่ 9 โดยค่าของประเทศไทยจะก�ำหนดให้ไม้ไผ่อยู่ในชนิดไม้เนื้อแข็งปานกลาง เนือ่ งจากไม้ไผ่สว่ นใหญ่มคี า่ ก�ำลังดัดทีส่ งู ผ่านเกณฑ์คา่ ก�ำลังดัดและการใช้งานไม้ไผ่สำ� หรับงานอาคารส่วนใหญ่เป็นการใช้งาน ในร่ม ดังรายละเอียดที่อภิปรายในหัวข้อ 2.5 ตารางที่ 8 หน่วยแรงที่ยอมให้ของอาคารที่ประกอบด้วยไม้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ชนิดไม้ ไม้เนื้ออ่อน

16

หน่วยแรงดัด และแรงดึง MPa (kg/cm2)

หน่วยแรงอัด ขนานเสี้ยน MPa (kg/cm2)

หน่วยแรงอัด ขวางเสี้ยน MPa (kg/cm2)

หน่วยแรงเฉือน ขนานเสี้ยน MPa (kg/cm2)

8 (80)

6 (60)

1.6 (16)

0.8 (8)


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ตารางที่ 8 (ต่อ) หน่วยแรงที่ยอมให้ของอาคารที่ประกอบด้วยไม้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 หน่วยแรงดัด และแรงดึง MPa (kg/cm2)

หน่วยแรงอัด ขนานเสี้ยน MPa (kg/cm2)

หน่วยแรงอัด ขวางเสี้ยน MPa (kg/cm2)

หน่วยแรงเฉือน ขนานเสี้ยน MPa (kg/cm2)

ไม้เนื้อแข็งปานกลาง

10 (100)

7.5 (75)

2.2 (22)

1 (10)

ไม้เนื้อแข็ง

12 (120)

9 (90)

3 (30)

1.2 (12)

ชนิดไม้

ที่มา: กระทรวงมหาดไทย (2527)

ตารางที่ 9 การเปรียบเทียบค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ หน่วยแรงดัด (MPa)

หน่วยแรงอัด (MPa)

T

B

T

B

T

B

ไผ่ป่า

10

14.6

7.5

10.1

-

13.2

ไผ่หวาน

10

14.9

7.5

11.4

-

24.5

ไผ่บง

10

13.2

7.5

13.0

-

14.7

ไผ่หอม

10

9.2

7.5

9.0

-

13.3

ไผ่บงดำ�

10

13.3

7.5

11.6

-

17.7

ไผ่ข้าวหลาม

10

13.2

7.5

10.5

-

24.8

ไผ่หก

10

10.0

7.5

12.4

-

5.5

ไผ่ลำ�มะลอก

10

8.3

7.5

12.0

-

12.2

ไผ่ซางนวล

10

6.6

7.5

11.6

-

5.4

ไผ่ซาง

10

18.4

7.5

10.3

-

26.6

ไผ่เป๊าะ

10

4.3

7.5

10.1

-

1.4

ไผ่รวกดำ�

10

15.5

7.5

13.4

-

21.6

พันธุ์ไม้ไผ่

โมดูลัสยืดหยุ่น (MPa)

หมายเหตุ: T คือค่าหน่วยแรงของชนิดไม้เนื้อแข็งปานกลาง B คือค่าหน่วยแรงตามมาตรฐาน BNBC ที่มา: BNBC (2012), กระทรวงมหาดไทย (2527)

จากการเปรียบเทียบในตารางที่ 9 พบว่า ค่าหน่วยแรงที่ยอมให้จากการก�ำหนดด้วยชนิดไม้เนื้อแข็งปานกลาง มีคา่ ทีต่ ำ�่ กว่าค่าหน่วยแรงทีย่ อมให้ของประเทศบังคลาเทศ ยกเว้นไผ่หอม ไผ่ลำ� มะลอก ไผ่ซางนวลและไผ่เป๊าะ ทีม่ คี า่ หน่วย แรงดัดที่ต�่ำกว่า ซึ่งจากข้อมูลในตารางที่ 6 พบว่า ไผ่ทั้ง 4 สายพันธุ์นี้มีค่าผลการทดสอบที่ต�่ำกว่า 40 MPa เมื่อเปรียบเทียบ กับข้อมูลในตารางที่ 5 จะพบว่าผลการทดสอบไผ่ล�ำมะลอก ไผ่ซางนวลและไผ่เป๊าะของประเทศไทยมีค่าที่สูงกว่า 40 MPa ดังนั้นถ้าใช้ค่าความปลอดภัยของก�ำลังดัดตามมาตรฐานของประเทศบังคลาเทศ (BNBC, 2012) ที่มีค่าเท่ากับ 4 ก็จะท�ำให้ ได้ค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ที่มีค่ามากกว่า 10 MPa ผลจากการเปรียบเทียบนี้ท�ำให้เกิดความมั่นใจได้ยิ่งขึ้นว่า การจัดไม้ไผ่ให้ อยู่ในชนิดไม้เนื้อแข็งปานกลาง มีผลท�ำให้ได้ค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ที่มีค่าความปลอดภัยที่สูงกว่ามาตรฐานของต่างประเทศ

17


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

2.7 หน่วยแรงระยะยาวที่ยอมให้ส�ำหรับไม้ ไผ่ทั่วไป

มาตรฐานของประเทศบังคลาเทศ (BNBC, 2012) ยังได้ก�ำหนดค่าหน่วยแรงระยะยาวส�ำหรับไม้ไผ่ที่ไม่มีการ ทดสอบคุณสมบัตทิ างกลและใช้สำ� หรับพันธุไ์ ม้ไผ่ทวั่ ไปทีไ่ ม่ได้กำ� หนดไว้ในมาตรฐาน โดยในมาตรฐานได้กำ� หนดให้คา่ หน่วย ทีย่ อมให้แรงนีข้ นึ้ อยูก่ บั ความหนาแน่นของไม้ไผ่และสภาพของไม้ไผ่ทใี่ ช้งาน ค่าหน่วยแรงทีค่ ำ� นวณด้วยวิธนี เี้ ป็นวิธที สี่ ะดวก ไม่จำ� เป็นต้องทดสอบในห้องปฏิบตั กิ าร ซึง่ จะยุง่ ยากส�ำหรับงานขนาดเล็ก การจ�ำแนกสายพันธุไ์ ผ่ในทางปฏิบตั ติ อ้ งใช้บคุ คล ทีม่ คี วามรูเ้ ฉพาะ การเรียกชือ่ พันธุไ์ ม้ไผ่ตามชือ่ ท้องถิน่ อาจจะท�ำให้สบั สนในการอ้างอิงถึงชนิดพันธุท์ ถี่ กู ต้อง การวัดค่าความ หนาแน่นของล�ำไม้ไผ่สามารถท�ำได้โดยใช้เครื่องมือวัดที่หาได้ทั่วไป ท�ำให้วิธีการนี้สะดวกส�ำหรับการควบคุมคุณภาพของ ไม้ไผ่ในการท�ำงานจริง รายละเอียดค่าอัตราส่วนหน่วยแรงที่ยอมให้ในระยะยาวต่อความหนาแน่นแสดงไว้ในตารางที่ 10 ข้อที่ (1) และ (2) ซึ่งการเลือกสภาพของไม้ไผ่ในการค�ำนวณมี 2 สภาพคือ สภาพสด จะใช้ในกรณีที่ใช้ไม่ไผ่ที่ตัดมาใหม่ๆ ในงานระยะสัน้ เช่น งานค�ำ้ ยัน ส่วนสภาพแห้งด้วยอากาศเหมาะส�ำหรับงานระยะยาวเช่นการใช้ไม้ไผ่กอ่ สร้างเป็นบ้านไม้ไผ่ รายละเอียดของผลการค�ำนวณค่าหน่วยแรงที่ยอมให้จากการคูณค่าอัตราส่วนในสภาพแห้งด้วยอากาศด้วยความหนาแน่น ในช่วง 400-1,000 kg/m3 แสดงได้ดังตารางที่ 11 จากการสังเกตจะพบว่า ถ้าใช้ค่าอัตราส่วนในสภาพแห้งด้วยอากาศตามตารางที่ 10 ข้อที่ (2) ค่าหน่วยแรงเฉือน ทีย่ อมให้จะมีคา่ สูงกว่าค่าตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ส่วนค่าหน่วยแรงดัดและค่าหน่วยแรงอัดจะมีคา่ ทีย่ อมให้สงู กว่าค่าตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 6 ที่ตั้งแต่ 600 kg/m3 และ 700 kg/m3 ตามล�ำดับ จากข้อมูลนี้สามารถสรุปได้ว่า การใช้ค่าหน่วยแรง ที่ยอมให้ในระยะยาวค�ำนวณจากค่าอัตราส่วนในสภาพแห้งด้วยอากาศ ตามตารางที่ 10 ข้อที่ (2) ไม่เหมาะสมส�ำหรับการ ก�ำหนดค่าหน่วยแรงส�ำหรับอาคารควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพื่อปรับปรุงค่าอัตราส่วนของ ไม้ไผ่สภาพแห้งด้วยอากาศให้สอดคล้องกับค่าหน่วยแรงตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ค่าการปรับปรุงค่าอัตราส่วนหน่วยแรง ที่ยอมให้ในระยะยาวต่อความหนาแน่นแสดงไว้ในตารางที่ 10 ข้อที่ (3) ซึ่งผลการปรับปรุงแสดงในตารางที่ 11 ในส่วนของ ก�ำลังเฉือนเมื่อปรับลดค่าอัตราส่วนส�ำหรับแรงเฉือนลงจาก 0.003 เป็น 0.0013 จะท�ำให้มีค่าที่ยอมให้ส�ำหรับหน่วย แรงเฉือนผ่านตามข้อก�ำหนดของกฎกระทรวงฉบับที่ 6 จนถึงความหนาแน่นที่ 900 kg/m3 ตามล�ำดับ ซึ่งเพื่อให้เกิดความ เข้าใจในภาพรวมมากยิง่ ขึน้ ในหัวข้อถัดไปจะท�ำการวิเคราะห์ทางด้านความปลอดภัยจากค่าหน่วยแรงเหล่านี้ โดยเปรียบเทียบ จากผลการทดสอบไม้ไผ่ ตารางที่ 10 ค่าอัตราส่วนหน่วยแรงที่ยอมให้ในระยะยาวต่อความหนาแน่น สภาพ

กำ�ลังอัดตามแกน

กำ�ลังดัด

กำ�ลังเฉือน

(ไม่มีการโก่งเดาะ)

(1) สภาพสด

0.015

0.011

-

(2) สภาพแห้งด้วยอากาศ

0.020

0.013

0.003

(3) สภาพแห้งด้วยอากาศ*

0.0135

0.010

0.0013

หมายเหตุ: * ค่าตัวเลขที่ปรับปรุง ที่มา: BNBC (2012)

ตารางที่ 11 ค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ในระยะยาวที่ความหนาแน่นของไม้ไผ่ช่วง 400-1,000 kg/m3 ความหนาแน่น

18

หน่วยแรงดัด (MPa)

หน่วยแรงอัด (MPa)

หน่วยแรงเฉือน (MPa)

(kg/m3)

0.020

0.0135*

0.013

0.010*

0.003

0.0013*

400

8.0

5.4

5.2

4.0

1.2

0.5


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

500

10.0

6.8

6.5

5.0

1.5

0.7

600

12.0

8.1

7.8

6.0

1.8

0.8

700

14.0

9.5

9.1

7.0

2.1

0.9

800

16.0

10.8

10.4

8.0

2.4

1.0

900

18.0

12.2

11.7

9.0

2.7

1.2

1,000

20.0

13.5

13.0

10.0

3.0

1.3

หมายเหตุ: * ค่าตัวเลขที่ปรับปรุง ที่มา: BNBC (2012)

2.8 การวิเคราะห์ค่าความปลอดภัยจากผลการทดสอบของไม้ ไผ่

หัวข้อนี้เป็นการวิเคราะห์ค่าความปลอดภัย ซึ่งจะเปรียบเทียบระหว่างค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ก�ำหนดด้วยชนิดไม้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 และค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ก�ำหนดด้วยความหนาแน่นส�ำหรับไม้ไผ่ทั่วไปตามตารางที่ 10 ผลการ ทดสอบคุณสมบัติทางกลของไม้ไผ่ 2 งานวิจัย (สุทธิชา บรรจงรัตน์ และสุปรีดี ฤทธิรงค์, 2556; บุญส่ง และคณะ, 2556) ได้ถูกเลือกมาเพื่อใช้ในการค�ำนวณหาค่าความปลอดภัย พันธุ์ไผ่ที่อยู่ในทั้ง 2 งานวิจัยมีอยู่ 10 สายพันธุ์ประกอบด้วยไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ตง ไผ่หก ไผ่ซาง ไผ่ล�ำมะลอก ไผ่ไร่ ไผ่รวกด�ำ และไผ่รวก รายละเอียดของช่วงข้อมูลคุณสมบัติทางกล ของแต่ละพันธุไ์ ผ่แสดงไว้ในตารางที่ 12 การวิเคราะห์คา่ ความปลอดภัยจะค�ำนวณจากค่าก�ำลังทีไ่ ด้จากการทดสอบหารด้วย ค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ โดยค่าหน่วยแรงแรงที่ยอมให้ที่จะท�ำการวิเคราะห์ประกอบด้วย ค่าหน่วยแรงตามกฎกระทรวงฉบับ ที่ 6 โดยจะใช้ค่าตามชนิดไม้ทั้ง 3 ชนิด ค่าหน่วยแรงส�ำหรับไม้ไผ่ทั่วไปจะใช้ค่าอัตราส่วนจากตารางที่ 10 สภาพแห้งด้วย อากาศ ข้อที่ (2) และ (3) รายละเอียดผลการค�ำนวณค่าความปลอดภัยจะแสดงไว้ในตารางที่ 13 ลักษณะความสัมพันธ์ ระหว่างค่าคุณสมบัตทิ างกลกับค่าความหนาแน่นของไม้ไผ่สามารถพิจารณาได้จากภาพที่ 1 ถึง 3 ซึง่ จากภาพทัง้ 3 จะพบว่า ค่าก�ำลังดัดและค่าก�ำลังเฉือนมีความสัมพันธ์กับค่าความหนาแน่นของไม้ไผ่ที่ไม่ชัดเจน ส่วนค่าก�ำลังอัดมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ตามค่าความหนาแน่นของไม้ไผ่ ภาพทั้ง 3 ยังแสดงค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ในระยะยาวตามมาตรฐาน BNBC ที่ปรับปรุงให้ สอดคล้องกับค่าหน่วยแรงตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ซึง่ ค่าหน่วยแรงทีย่ อมให้ทแี่ สดงนีจ้ ะเป็นเส้นฐานเพือ่ ช่วยท�ำให้เข้าใจ ถึงช่วงค่าความปลอดภัยตามตารางที่ 13 ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตารางที่ 12 ช่วงข้อมูลคุณสมบัติทางกลของพันธุ์ไม้ไผ่ส�ำหรับการวิเคราะห์ค่าความปลอดภัย กำ�ลังอัด

กำ�ลังเฉือน

ขนานเสี้ยน

ขนานเสี้ยน

(MPa)

(MPa)

(MPa)

799-856

156-175

49-57

8-10

ไผ่สีสุก

686-935

79-195

52-69

11-14

ไผ่เลี้ยง

744-848

71-184

41-75

10-14

ไผ่ตง

748-779

59-175

40-73

8-14

ไผ่หก

608-961

100-113

31-58

6-9

ไผ่ซาง

806-843

81-198

55-87

12-15

935

117

58

7

697-750

108-130

41-53

9-10

พันธุ์ไม้ไผ่

ความหนาแน่น

กำ�ลังดัด

(kg/m ) ไผ่ป่า

3

ไผ่ลำ�มะลอก ไผ่ไร่

19


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ไผ่รวกดำ� ไผ่รวก

944

120

57

4

523-845

106-131

41-54

5-11

ที่มา: สุทธิชา บรรจงรัตน์ และสุปรีดี ฤทธิรงค์ (2556), บุญส่ง และคณะ (2556)

ผลการค�ำนวณค่าความปลอดภัยในตารางที่ 13 พบว่าการใช้ค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ก�ำหนดด้วยชนิดไม้ตามกฎ กระทรวงฉบับที่ 6 จะมีค่าความปลอดภัยต�่ำที่สุดอยู่ที่ค่าก�ำลังอัด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.9 7.9 และ 6.6 ส�ำหรับไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็งปานกลางและไม้เนื้อแข็งตามล�ำดับ ในกรณีก�ำลังดัดการใช้ค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ของชนิดไม้เนื้ออ่อนมีค่าความ ปลอดภัยที่ต�่ำสุด 7.4 ใกล้เคียงกับค่าเท่ากับ 8 ที่ก�ำหนดให้เป็นส่วนปลอดภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 โดยภาพรวมค่า หน่วยแรงทีย่ อมให้กำ� หนดด้วยความหนาแน่นของไม้ไผ่ทวั่ ไปตามมาตรฐาน BNBC มีคา่ ความปลอดภัยใกล้เคียงกับค่าความ ปลอดภัยของชนิดไม้เนือ้ แข็ง โดยมีคา่ ต�ำ่ สุดอยูท่ คี่ า่ ก�ำลังเฉือนเท่ากับ 1.5 ค่าความปลอดภัยเฉลีย่ ต�ำ่ ทีส่ ดุ เท่ากับ 4.7 การใช้ ตัวเลขค่าอัตราส่วนที่ปรับปรุงพบว่า ท�ำให้มีค่าความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น โดยมีค่าปลอดภัยต�่ำสุดที่ค่าก�ำลังเฉือนเท่ากับ 3.5 และค่าเฉลีย่ ต�ำ่ สุดเท่ากับ 7.8 ซึง่ ใกล้เคียงกับค่าความปลอดภัยทีก่ ำ� หนดด้วยชนิดไม้เนือ้ แข็งปานกลาง เมือ่ พิจารณาเฉพาะ ค่าความปลอดภัยเฉลีย่ ของค่าก�ำลังดัดและก�ำลังอัดจากตารางที่ 13 จะพบว่า ค่าความปลอดภัยทีค่ ำ� นวณจากวิธกี ำ� หนดด้วย ชนิดไม้และวิธีที่ก�ำหนดด้วยความหนาแน่นของไม้ไผ่มีค่าความปลอดภัยที่สูงกว่าค่าที่ก�ำหนดไว้ตามมาตรฐาน INBC และ BNBC มาก ค่าความปลอดภัยที่สูงเกินไปมีผลท�ำให้ไม่ประหยัด การเลือกล�ำไม้ไผ่มาใช้งานก็จะมีข้อจ�ำกัดที่มากขึ้น ข้อเสนอแนะน�ำส�ำหรับการใช้คา่ หน่วยแรงทีย่ อมให้ในการออกแบบโครงสร้างไม้ไผ่ ผูอ้ อกแบบสามารถใช้คา่ หน่วย แรงตามชนิดไม้เนือ้ แข็งปานกลาง โดยไม้ไผ่ควรผ่านขัน้ ตอนการถนอมไม้ไผ่ตามมาตรฐานของกรมป่าไม้ ส�ำหรับการควบคุม คุณภาพไม้ไผ่ทจี่ ะน�ำมาใช้งานสามารถท�ำได้โดยการตรวจสอบจากค่าความหนาแน่นของไม้ไผ่ทจี่ ะใช้ ค่าหน่วยแรงทีย่ อมให้ สามารถค�ำนวณจากค่าอัตราส่วนที่มีการปรับปรุงแสดงในตารางที่ 10 ข้อ (3) เพื่อให้การใช้งานไม้ไผ่ส�ำหรับงานอาคารเป็น ไปได้มากยิ่งขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการก�ำหนดมาตรฐานของประเทศไทยควรมีการทดสอบเพื่อก�ำหนดค่ามาตรฐาน ส�ำหรับคุณสมบัติทางกลของไม้ไผ่ โดยอาจจะใช้มาตรฐานของประเทศอินเดียและบังคลาเทศ ดังที่อภิปรายไว้เป็นข้อมูล อ้างอิง ตารางที่ 13 ค่าความปลอดภัยค�ำนวณจากผลการทดสอบ ค่าความปลอดภัย ที่มา

กำ�ลังดัด

กำ�ลังอัด

กำ�ลังเฉือน

ช่วง

ค่าเฉลี่ย

ช่วง

ค่าเฉลี่ย

ช่วง

ค่าเฉลี่ย

ไม้เนื้ออ่อน

7.4-24.8

15.9

5.2-14.4

9.9

5.4-18.9

13.3

ไม้เนื้อแข็งปานกลาง

5.9-19.8

12.7

4.1-11.6

7.9

4.3-15.1

10.6

ไม้เนื้อแข็ง

4.9-16.5

10.6

3.5-9.6

6.6

3.6-12.6

8.8

ไม้ไผ่ทั่วไป ตาม BNBC

3.8-13.2

8.5

3.9-9.7

6.0

1.5-7.5

4.7

ไม้ไผ่ทั่วไป ตาม BNBC**

8.4-26.4

16.9

5.1-12.6

7.8

3.5-17.2

10.8

ค่าตาม BNBC, INBC

4.5

3.5

หมายเหตุ: ** ค�ำนวณจากค่าตัวเลขที่ปรับปรุง ที่มา: BNBC (2012), INBC (2016), สุทธิชา บรรจงรัตน์ และสุปรีดี ฤทธิรงค์ (2556), บุญส่ง และคณะ (2556)

20

-


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ภาพที่ 1 ผลการทดสอบค่าก�ำลังดัดและค่าหน่วยแรงดัดที่ยอมให้ปรับปรุงจาก BNBC ที่มา: BNBC (2012), บุญส่ง และคณะ (2556), สุทธิชา บรรจงรัตน์ และสุปรีดี ฤทธิรงค์ (2556)

ภาพที่ 2 ผลการทดสอบค่าก�ำลังอัดและค่าหน่วยแรงอัดที่ยอมให้ปรับปรุงจาก BNBC

ที่มา: BNBC (2012), บุญส่ง และคณะ (2556), สุทธิชา บรรจงรัตน์ และสุปรีดี ฤทธิรงค์ (2556)

21


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ภาพที่ 3 ผลการทดสอบค่าก�ำลังเฉือนและค่าหน่วยแรงเฉือนที่ยอมให้ปรับปรุงจาก BNBC ที่มา: BNBC (2012), บุญส่ง และคณะ (2556), สุทธิชา บรรจงรัตน์ และสุปรีดี ฤทธิรงค์ (2556)

1. สรุป จากการรวบรวมข้อมูล อภิปรายและวิเคราะห์ผลในหัวข้อที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ ดังนี้ 3.1 ลักษณะและคุณสมบัติทางกลของไม้ไผ่ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ สภาพไม้ไผ่ที่ใช้ทดสอบ จากผลการทดสอบค่าก�ำลังดัดสามารถจัดให้ไม้ไผ่ส�ำหรับงาน ก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นชนิดไม้เนื้อแข็งปานกลาง ไม้ไผ่ไม่มีความทนทานตามธรรมชาติ ดังนั้นไม้ไผ่ที่จะใช้เป็นส่วนประกอบของอาคารควรผ่านการถนอม ไม้ไผ่ 3.2 ค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ของไม้ไผ่ตามชนิดไม้เนื้อแข็งปานกลางเหมาะส�ำหรับใช้ในการออกแบบ โดยมีค่าความปลอดภัยที่สูงกว่าเมื่อเทียบมาตรฐานของ ประเทศ ซึ่งเมื่อเทียบกับผลการทดลองจะมีค่าความปลอดภัยต�่ำที่สุดเท่ากับ 4.1 ค่าความปลอดภัยเฉลี่ยต�่ำที่สุดเท่ากับ 7.9 3.3 การปรับปรุงค่าอัตราส่วนเพื่อค�ำนวณหาค่าหน่วยแรงระยะยาวส�ำหรับไม้ไผ่ทั่วไปตามมาตรฐาน BNBC จะท�ำให้ได้ค่าความปลอดภัยต�่ำที่สุดเท่ากับ 3.5 ค่าความปลอดภัยเฉลี่ยต�่ำที่สุดเท่ากับ 7.8 ค่าหน่วยแรงที่ได้จากวิธีการนี้เหมาะส�ำหรับใช้ในการควบคุมคุณภาพไม้ไผ่ในการท�ำงาน

2. กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผู้ให้ทุนวิจัย คณบดี รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ คณะ เทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี ที่ให้คอยความช่วยเหลือและสนับสนุน โครงการวิจัยมาโดยตลอด

3. เอกสารอ้างอิง กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2552). มาตรฐานงานไม้ - มยผ.1104-52. กระทรวงมหาดไทย. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://subsites.dpt.go.th/ edocument/images/pdf/sd_work /1101_0.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2562]. กระทรวงมหาดไทย. (2527). กฎกระทรวงฉบับที่ 6 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522. [ออนไลน์]. ได้จาก: https:// download.asa.or.th/03media/04law/ cba/mr27-06.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2562]. กลุ่มงานแมลงและจุลชีววิทยาป่าไม้. (2562). การป้องกัน...แมลงศัตรูท�ำลายไม้ไผ่. ส�ำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้. กรมป่าไม้. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://

22


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

forprod.forest.go.th/ forprod/nana/PDF/Bamboo.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2562]. ทศพล เมืองพรม. (2559). ศูนย์ศึกษานวัตกรรมโครงสร้างไม้ไผ่. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีประทุม. ธนา อุทัยภัตรากูร. (2559). โครงการออกแบบและก่อสร้างหอศิลป์ไม้ไผ่. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันอาศรมศิลป์. ธวัชชัย อุนใจจม นฤมล มณีอินตา วรวัฒน์ ปัญญาค�ำ. (2060). สมบัติเชิงกลของไมไผ 5 ชนิด ที่ผ่านการอบแหง. วารสารวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม พ.ศ.2560 นิคม แหลมสัก และอัจฉริยะ โชติขันธ์. (2550). สมบัติของล�ำไผ่บางชนิดซึ่งปลูกที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://frc.forest.ku.ac. th/frcdatabase/bulletin/ fforjournal/v26_special_8.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2562]. บุญส่ง สมเพาะ เชาวลิตร วงศ์ศรีแกว นพดล สมศรี ภัทรสินี วงศ์ศรีแกว เทพประสิทธิ์ เทียวประสงค์ วรศิลป์ แอ๊วสกุลทอง และอรรถสิทธิ์ บุญรอด. (2558). คุณสมบัติและลักษณะโครงสร้างไมไผบางชนิด. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://forprod.forest.go.th/forprod/ Project_research58/รายงานการวิจัยปีงบประมาณ 2558/10. คุณสมบัติและลักษณะโครงสร้างไม้ไผ่บางชนิด.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2562]. บุญส่ง สมเพาะ วัลยุทธ เฟื่องวิวัฒน์ ปิยะวดี บัวจงกล และวรัญญู ราษฎร์เจริญ. (2556). คุณสมบัติของไม้ไผ่บางชนิดเพื่อการก่อสร้าง. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://forprod.forest.go.th/ forprod/techtransfer/document/คลังความรู้/2. ไม้เศรษฐกิจในประเทศไทย/1. ไผ่/5.คุณสมบัติของ ไม้ไผ่ (Thai).pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2562]. ประทักษ์ คูณทอง. (2562). พัฒนาชุดอุปกรณ์ ต่อ-ประกอบไม้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ส�ำหรับฝึกปฏิบัติการงานไม้. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบ และการก่อสร้าง, 1(1).38-47 รุ่งนภา พัฒนวิบูลย์ บุญฤทธิ ภูริยากร และวลัยพร สถิตวิบูรณ์. (2544). ไม้ไผ่ในประเทศไทย. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://app.dnp.go.th/opac/ multimedia/ebook/48_995/ 48_995.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2562]. ส�ำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ. (2555). การส�ำรวจไม้ไผ่ ของประเทศไทย Bamboo Inventory in Thailand พ.ศ. 2552. กลุ่มส�ำรวจทรัพยากรป่า ไม้. สวนส�ำรวจและวิเคราะห์ทรัพยากรป่าไม้.กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.dnp.go.th/ inventory/download/รายงานไผ่ทั่วประเทศ.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2562]. สุทธิชา บรรจงรัตน์ และสุปรีดี ฤทธิรงค์. (2556). การศึกษาคุณสมบัติ ทางกลของพันธุ์ไผ่ไทยในงานโครงสร้างเรียบง่าย. Built Environment Research Associates Conference - BERAC 4. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.berac.tds.tu.ac.th/BERAC/BERAC 4/01 Building Tech 1. pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2562]. สุทัศน์ เล้าสกุล สภลท์ บุญเสริมสุข และสราวุธ สังข์แก้ว. (2557). ไผ่...ในสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ฯ. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://forprod.forest. go.th/forprod/techtransfer/ document/คลังความรู้/2. ไม้เศรษฐกิจในประเทศไทย/1. ไผ่/3.ป่าเล็กในเมืองใหญ่.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2562]. INBC. (2005). Part 6: Structural design, Section 3: Timber and Bamboo: 3B Bamboo. National Building Code of India. Bureau of Indian standards - BIS, New Delhi, India. ISO. (2004). Bamboo – Determination of Physical and Mechanical Properties – Part 2: ISO 22157-2: (E). Laboratory Manual. Geneva. Switzerland. BIS. (2006). Preservation of bamboo for structural purposes – code of practice (IS 9096:2006). Bureau of Indian standards – BIS. New Delhi. India. BNBC (2012). Part 6 Structural design, Chapter 4 Bamboo. Bangladesh National Building Code (BNBC). [Online]. Retrieved from: https://law.resource.org/pub/ bd/bnbc.2012/gov.bd.bnbc.2012.06.04.pdf [accessed 30 October 2019]. Community Architects Network. (2013). Bamboo Construction Source Book. [Online]. Retrieved from: http://www.communityarchitectsnetwork.info/upload/ opensources/public/file_14062013022345.pdf [accessed 30 October 2019]. Escamilla E. Zea. (2015). Development of Simplified Life Cycle Assessment Methodology for Construction Materials and Buildings outside of the European Context Through the Use of Geographic Information Systems. Doctor of Sciences Thesis. ETH. Zurich.

23


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

Jayanetti D. L. and Follet P. R. (1998). Bamboo in Construction: An introduction. INBAR Technical Report No. 15. TRADA and INBAR for DFID. [Online]. Retrieved from: http://naturalhomes.org/img/bamboo-in-construction.pdf [accessed 30 October 2019]. Janssen J.A. Jules. (2000). Designing and Building with Bamboo. INBAR Technical Report No. 20. INBAR. [Online]. Retrieved from: https://resource.inbar.int/ upload/file/1489455979.pdf [accessed 30 October 2019]. McClure, F.A. (1953). Bamboo as a Building Material. USDA. [Online]. Retrieved from: http://library.uniteddiversity.coop/ Ecological_Building/Bamboo_as_a_Building_Material.pdf [accessed 30 October 2019]. Rashmi Manandhar, Jin-Hee Kim and Jun-Tae Kim. (2019). Environmental, social and economic sustainability of bamboo and bamboo-based construction materials in buildings. Journal of Asian Architecture and Building Engineering. Satish Kumar; K.S. Shukla; Tndra Dev; P.B. Dobriyal. (1994). Bamboo Preservation Techniques: A Review. INBAR Technical Report No. 3. INBAR. [Online]. Retrieved from: https://resource.inbar.int/upload/file/1489457614.pdf [accessed 30 October 2019].

24


บทความวิจัย

- Research Article -


การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนา ศาลาไผ่ขนาดเล็ก Design Thinking for Developing Small-Bamboo hut

Received : August 9, 2019 Revised : August 28, 2019 Accepted : September 2, 2019

รัชนูพรรณ ค�ำสิงห์ศรี

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

Rutchanoophan Kumsingsree

Assistant Professor, Faculty of Architecture Urban Design and Creative Arts, Mahasarakham University, Maha Sarakham, Thailand 44150 Email: rutchanoophan.k@msu.ac.th


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

บทคัดย่อ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “การออกแบบและก่อสร้างศาลาไผ่ โดยการใช้เราเตอร์และข้อต่อแบบ สอดประกอบ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบและพัฒนารูปทรงศาลาไผ่ น�ำไปสู่การก่อสร้างศาลาไผ่ โดย ใช้กระบวนคิดเชิงออกแบบในขัน้ ตอนทัง้ หมด และใช้ระเบียบวิธวี จิ ยั เชิงปฏิบตั กิ ารในการพัฒนาแบบและการลงพืน้ ทีก่ อ่ สร้าง ร่วมกับช่างท้องถิ่น เพื่อค้นหาต้นแบบที่พัฒนาจากศาลาเดิม บนพื้นฐานการก่อสร้างโดยการใช้เราเตอร์และข้อต่อแบบ สอดประกอบซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งในการเชื่อมต่อล�ำไผ่แบบประเพณีหรือแบบพื้นถิ่นเข้าด้วยกัน วิจัยนี้แบ่งเครื่องมือในการวิจัยออกเป็น 2 ส่วนคือ (1) เครื่องมือส�ำหรับการออกแบบ ใช้วิธีการขึ้นรูปสามมิติ ด้วยโปรแกรม SketchUp ร่วมกับการจัดท�ำหุ่นจ�ำลอง (2) เครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนาม ใช้แบบสังเกตการณ์การ แบบมีสว่ นร่วม ร่วมกับแบบสัมภาษณ์ชนิดกึง่ มีโครงสร้างส�ำหรับบันทึกข้อมูลในระหว่างการพัฒนาแบบร่วมกับช่าง จ�ำนวน 3 ครั้ง ซึ่งแบบศาลาขั้นสุดท้ายก่อนน�ำไปก่อสร้างมีขนาดอยู่ที่ 1.20×1.80×2.85 เมตร สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ประเด็นที่ 1 “แนวความคิดในการออกแบบ” เกิดจากการใช้โครงสร้างแบบเฟรมในระนาบสองทิศทาง ร่วมกับ โครงสร้างสามเหลี่ยมที่มีเสถียรภาพของชิงช้าไผ่ โดยเลือกระบบโครงสร้างที่เหมาะสมกับขนาดของศาลา คือ โครงสร้าง แบบเฟรม ซึ่งพบได้ในสถาปัตยกรรมไผ่ขนาดเล็กแบบเสาและคาน ประเด็นที่ 2 “การพัฒนารูปทรงที่เป็นไปได้” เกิดจากการทบทวนวรรณกรรม พบว่าสถาปัตยกรรมไผ่ขนาดเล็ก ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มลี กั ษณะโครงสร้างพืน้ ฐานมาจากรูปสามเหลีย่ ม รูปแบบโครงสร้างมีความสมมาตรและ เป็นอาคารที่เกิดจากกรอบโครงสร้างที่ซ�้ำกัน โดยซ�้ำกัน 2 ลักษณะ คือ ซ�้ำกันในแนวราบ และซ�้ำกันในแนวรัศมีวงกลม โดยค�ำนึงถึง 1) มุมองศาที่ล�ำไผ่เอียงออกจากกัน 2) สัดส่วนของชิ้นส่วนโครงสร้าง โดยผู้วิจัยได้พัฒนาแบบศาลาให้มีมุม องศาของเสาหลักและเสารองเอียงออกจากกัน 30 องศา และมีสดั ส่วนของชิน้ ส่วนโครงสร้างระหว่างความสูงเสาหลักเท่ากับ “h” และความสูงเสารองเท่ากับ “2/3h” โดยทั้งสองประเด็นนั้นมีปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการออกแบบและพัฒนารูปทรงคือ 1) ระยะส�ำหรับการขนส่ง และบรรทุกศาลาโดยรถกระบะ 2) แรงลมที่กระท�ำกับสัดส่วนของศาลา 3) ความหลากหลายของขนาดหน้าตัดล�ำไผ่ ท�ำให้ เกิดเทคนิคการสอดไผ่ขนาดเล็กเข้าไปประกอบกับไผ่ที่มีขนาดหน้าตัดใหญ่กว่าหรือที่เรียกว่า ข้อต่อแบบสอดประกอบ (Positive Fitting Joint) ส่งผลต่อการท�ำมุมหรือองศาระหว่างล�ำไผ่ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของรอยต่อที่มีการ ถ่ายแรงแบบไม่รวมศูนย์ (Eccentricities of load transfer) เนือ่ งจากไม่สามารถออกแบบการเชือ่ มต่อไผ่หลายล�ำในจุดเดียวได้ ค�ำส�ำคัญ: การคิดเชิงออกแบบ, การก่อสร้างด้วยไผ่, ข้อต่อแบบสอดประกอบ, เราเตอร์, ศาลาไผ่

ABSTRACT This article is a part of the research “Bamboo Hut Design and Construction using Router and Positive Fitting Joint”. The purpose of this research is to study design process and design development of a bamboo hut. This research is conducted in “Design Thinking” process in all step and apply the “Action Research” method on design development. Onsite survey has been collaborated with local technicians in order to discover the prototype of original bamboo hut on fundamental construction using Router and positive fitting joint which is one of vernacular or traditional bamboo joint techniques.

27


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

This is an experimental research. This research is devided two parts. (1) creating a 3d model of bamboo hut using SketchUp (2) observing and interviewing participants regarding collaborative work with a local technicians. The result of a case study revealed that the final design size of our proposed bamboo hut is 1.20 m × 1.80 m × 2.85m. This research can be concluded as the followings. 1) “Developing Conceptual Design” use of two-way plane frame structure with the stable triangular structure that local technicians build for bamboo swings. The skeleton frame structure is chosen because it is a proper structure for our proposed bamboo hut and size. Colum and beam is a skeleton frame structure that mostly use to construct bamboo hut. 2) “Mass Development” based on the previous research, it is found that a basic of small size bamboo architecture in Southeast Asia based on triangle structure.Two types of such duplication consist of horizontal duplication and circle-radius duplication. The following issues are concerned in the design process. 1) The angle which bamboo tilted apart from each other 2) Proportion of two main columns were designed by tilting 30 degrees apart each other. The primary column height is “h” and the secondary column height is “2 / 3h”. As mentioned above, there are two factors that affect the process and the design development as follows 1) transporting and loading distance between construction site of bamboo hut and truck 2) the wind load strikes on the figure of bamboo hut so the total height of the structure should not over 3 m. 3) the varieties of bamboo diameter create technique for inserting a smaller bamboo pole into a larger one, also known as positive fitting joint. This joint is affects the angle between the bamboo poles which is the eccentricities of load transfer. Keywords: Design Thinking, Bamboo Construction, Positive Fitting Joint, Router, Bamboo Hut

1. บทน�ำ ในประเทศไทยไผ่จัดเป็นพืชที่มีความส�ำคัญต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ โดยใช้เป็นวัสดุใน ทางสถาปัตยกรรมและอุตสาหกรรมเพื่อทนแทนการใช้ไม้ ลดการน�ำเข้าไม้ และมีมูลค่าการส่งออกไม่ต�่ำกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท(ภัทฐิตา พงศ์ธนา, 2557) จากคุณสมบัติทางกายภาพของความเป็นข้อ ปล้อง และท่อกลวงของไผ่ พบการน�ำไผ่ ไปใช้งานในโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม 2 รูปแบบคือ 1)Skeleton Structure 2) Surface Structure และจากคุณสมบัติ ดังกล่าวมีการน�ำไผ่ไปใช้รับแรงในโครงสร้างทั้งแบบเต็มล�ำ(Bamboo Pole) และแบบผ่าซีก(Bamboo Split) ซึ่งสามารถ พบได้ในการก่อสร้างไผ่แบบประเพณีหรือแบบพื้นถิ่น (Vernacular or Traditional Bamboo Construction) และการ ก่อสร้างโดยมีฐานทางวิศวกรรม (Engineered Conventional or Modernized Bamboo Construction) (Andry, 2012) การพัฒนาสถาปัตยกรรมไผ่ในอาคารสาธารณะของไทยที่ผ่านมา ถูกพัฒนาและมีทิศทางที่ชัดเจน ส่วนหนึ่งเกิด จากความร่วมมือทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ระหว่างผู้ผลิต สถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมา และช่าง ปัจจุบันการออกแบบ และก่อสร้างสถาปัตยกรรมไผ่ได้รับการการยอมรับจากสาธารณะมากขึ้น โดยเฉพาะกับสถาปนิกเอง เมื่อมีการเผยแพร่ โครงการที่ประสบความส�ำเร็จ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงมุมมองและยกระดับไผ่ในฐานะที่ไผ่สามารถใช้เป็นวัสดุหลักในการ

28


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ก่อสร้างอาคารได้ ในกระบวนการออกแบบและก่อสร้างสถาปัตยกรรมไผ่นั้นควรมีการค้นหาวิธีการอื่นๆที่จะเป็นการแลก เปลีย่ นและถ่ายทอดองค์ความรูใ้ นเรือ่ งของเทคนิคและการก่อสร้างสถาปัตยกรรมไผ่ให้คงอยูใ่ นพืน้ ที่ โดยเฉพาะกับช่างท้อง ถิ่น (Anastasia, 2014) เนื่องจากงานก่อสร้างด้วยไผ่นั้นถือเป็นงานเชิงทดลอง จึงต้องมีการค้นหาและบันทึกองค์ความรู้ ที่มาจากช่างทั้งแบบที่เห็นได้ชัดเจน (Explicit Knowledge) และแบบที่ซ่อนเร้นไม่เปิดเผย(Tacit Knowledge) อันเป็น องค์ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวตนซึ่งเกิดจากการสั่งสมทักษะ (Skills) เป็นเวลายาวนาน (ธนา อุทัยภัตรากูร, 2559; ประทักษ์ คูณทอง, 2562) ในขณะทีไ่ ผ่เป็นวัสดุทหี่ าได้งา่ ยในท้องถิน่ แต่ยงั ขาดการออกแบบและพัฒนาในระดับท้องถิน่ โดยเฉพาะในภูมภิ าค ที่มีไผ่เป็นพืชท้องถิ่น จากงานวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบศาลา พันธุ์ไผ่ และวัสดุประกอบในการก่อสร้าง ศาลาไผ่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ของผู้วิจัยในปี 2559 นั้น พบเทคนิคที่ช่างท้องถิ่นใช้ในการก่อสร้างสองลักษณะคือ (1) ข้อต่อแบบสอดประกอบ (Positive Fitting Joint) เป็นการสอดล�ำไผ่ที่มีขนาดหน้าตัดเล็กกว่า เข้าไปในล�ำไผ่ที่มีขนาด หน้าตัดใหญ่กว่า (2) วัสดุประกอบส�ำหรับยึดล�ำไผ่เข้าด้วยกัน ได้แก่ ตะปูตอกไม้ ตะปูลมหรือลูกแม็กลม และลวด ซึ่งเป็น เทคนิคทีถ่ กู พัฒนามาจากความเชีย่ วชาญของช่าง ในการใช้เครือ่ งมือทีเ่ รียกว่า เราเตอร์ (Router) ซึง่ เป็นเครือ่ งมือเซาะร่อง ส�ำหรับงานไม้ มีลักษณะคล้ายสว่านไฟฟ้า สามารถเปลี่ยนดอกเราเตอร์ที่ใช้ส�ำหรับเจาะรูวงกลมขนาดต่างๆได้ ท�ำให้การ ก่อสร้างศาลาไผ่สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังพบรูปแบบของศาลาที่เรียกว่า ทรงเถียงนา หรือทรงกระท่อม ซึง่ มีขนาดมาตรฐานอยูท่ ี่ 2.00X2.00เมตร อันเป็นผลมาจากปัจจัยทางการขนส่งและรูปทรงทีร่ บั แรงลมได้เท่ากันทุกทิศทาง มีการปรับขนาดให้เหมาะสมกับการน�ำไปใช้งาน ความต้องการของลูกค้า และราคาทีเ่ หมาะสม ซึง่ ขนาดและรูปทรงดังกล่าวนัน้ มีลกั ษณะทีเ่ หมือนกันทุกร้าน ท�ำให้ขาดความแตกต่างและหลากหลาย แม้วา่ ช่างจะมีความช�ำนาญและทักษะในการใช้เครือ่ งมือ แต่ยังขาดทักษะในการออกแบบและก่อสร้างศาลาให้มีรูปทรงที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น จากการสัมภาษณ์ช่างท้องถิ่นพบว่าช่างมีความพร้อมและสนใจในการพัฒนาศาลาในรูปทรงอื่นๆที่แตกต่างกัน ออกไป หากแต่ขาดทักษะทางด้านการออกแบบ เนื่องจากช่างเองไม่มีเวลาเพียงพอที่จะท�ำการออกแบบและทดลองการ ก่อสร้างศาลาในรูปทรงใหม่ จึงเกิดการผลิตและท�ำซ�้ำแบบเดิมตามความช�ำนาญและองค์ความรู้ที่มีอยู่ ดังนั้นวิจัยนี้จึงเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบและพัฒนารูปทรงศาลาไผ่ (ซึ่งจะกล่าว ถึงในบทความนี้) บนพื้นฐานความเชี่ยวชาญของช่างที่ใช้เครื่องมือที่มีอยู่เดิม คือ เราเตอร์ (Router) ร่วมกับเทคนิคการ สอดประกอบ (Positive Fitting Joint) เพื่อเป็นการสร้างความหลากหลายให้กับกลุ่มร้านเฟอร์นิเจอร์ไผ่ รวมถึงเป็นการ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการก่อสร้างศาลาไผ่ในระดับท้องถิ่นต่อไป

2. วิธีการศึกษาและเครื่องมือในการศึกษา 1) ขั้นตอนการศึกษาข้อมูล ท�ำการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยการทบทวนวรรณกรรมใน 3 เรื่องคือ (1) แนวคิดและทฤษฎี การคิดเชิงออกแบบ (2) การออกแบบและก่อสร้างสถาปัตยกรรมไผ่ (3) งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และบทความ ส่วนการศึกษา ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการสองเรื่องคือ (1) การสัมมนาโครงการจัดการภัยพิบัติโดย วัสดุธรรมชาติ (ไผ่) โดยหน่วยนวัตกรรมเพือ่ การออกแบบสถาปัตยกรรมจากไผ่และวัสดุทอ้ งถิน่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2) จากการเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร Bamboo of your life โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ จากการศึกษาทั้งสองส่วนนี้น�ำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) ในล�ำดับถัดไป

2) ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ

29


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) และงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action research) ซึง่ เป็นกระบวนการวิจยั ประเภทหนึง่ ของการวิจยั เชิงคุณภาพ โดยขัน้ ตอนการวิจยั ทัง้ หมดใช้กระบวนการการคิดเชิงออกแบบ ดังภาพที่ 2 เพื่อพัฒนาแบบและท�ำงานร่วมกับช่างในการค้นหาต้นแบบ (Prototype) ของศาลาไผ่ดังภาพที่ 1 ส่วนช่วงการ พัฒนาแบบใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (เป็นการสร้างโจทย์ –ออกแบบ-ประเมินผล) แบ่งเครื่องมือในการวิจัยออก เป็น 2 ส่วนคือ (1) เครื่องมือส�ำหรับการออกแบบ (Design Tools) ใช้วิธีการขึ้นรูปสามมิติด้วยโปรแกรม Sketch Up ร่วม กับการจัดท�ำหุ่นจ�ำลอง (2) เครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนาม (Research Tools) ใช้แบบสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ร่วมกับแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งมีโครงสร้างส�ำหรับบันทึกข้อมูลในระหว่างการพัฒนาแบบร่วมกับช่าง จ�ำนวน 3 ครั้ง 3) ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล น�ำข้อมูลจากขั้นตอนการศึกษาข้อมูลร่วมกับขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและผลการออกแบบ มาวิเคราะห์ กระบวนการออกแบบศาลาไผ่ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 4) ขั้นตอนการสรุปผล เป็นการสรุปผลการออกแบบและพัฒนาแบบทั้งสามครั้ง ในสองประเด็นคือ (1) แนวความคิดในการออกแบบ (2) การพัฒนารูปทรงที่เป็นไปได้ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการออกแบบ

5) ขั้นตอนการเสนอแนะ สรุปข้อค้นพบและเสนอแนะแนวทางส�ำหรับการพัฒนากระบวนการออกแบบศาลาไผ่

ภาพที่ 1: ขั้นตอนท�ำงานร่วมกับช่างท้องถิ่นเพื่อค้นหาต้นแบบศาลาไผ่ (Prototype) ที่มา : รัชนูพรรณ ค�ำสิงห์ศรี (2561)

3. การทบทวนวรรณกรรม

การคิดเชิงออกแบบ หรือ Design thinking เป็นการน�ำกระบวนการคิดทีให้ความส�ำคัญกับบุคคล ประกอบกับ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่เหมาะสม ในการแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ โดยไม่จ�ำเป็นต้องใช้ส�ำหรับการ ออกแบบผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเท่านั้น แต่ปัญหาต่าง ๆ ที่เผชิญอยู่ สามารถน�ำหลักการนี้มาปรับใช้ในการแก้ปัญหาได้ โดย แนวคิดที่เป็นที่นิยมน�ำมาใช้งานและถูกอ้างอิงอยู่เสมอคือ แนวคิดของ Standford D.School ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน (พสุ เดชะรินทร์, 2557) ดังนี้

30


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

1) Empathize คือ การท�ำความเข้าใจต่อกลุม่ เป้าหมายให้มากทีส่ ดุ เนือ่ งจากการแก้ไขปัญหาหรือการสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ มักจะเกิดขึ้นเพื่อบุคคลอื่นเสมอ ดังนั้นก่อนที่จะแก้ไขปัญหาหรือสร้างสรรค์สิ่งใดก็ตามจึงต้องท�ำความเข้าใจกลุ่ม เป้าหมายให้ถ่องแท้ ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสังเกต หรือ การจ�ำลองตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์นั้นๆเพื่อ ให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้อง

2) Define คือ การวิเคราะห์และก�ำหนดปัญหา เพื่อที่จะเลือกและสรุปแนวทางให้ชัดเจน

3) Ideate คือ การระดมความคิดใหม่ๆ หรือการสร้างความคิดต่างๆให้เกิดขึน้ โดยเน้นการหาแนวคิดและแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาให้มากที่สุด หลากหลายที่สุด โดยความคิดและแนวทางต่างๆที่คิดขึ้นมานั้นก็เพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่เกิด ขึ้นในขั้น Define 4) Prototype การสร้างแบบจ�ำลอง หรือการสร้างต้นแบบขึน้ มา เพือ่ ให้ผใู้ ช้สามารถทดสอบและตอบค�ำถามหรือ กระตุ้นให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อจะได้เข้าใจสิ่งที่อยากรู้มากยิ่งขึ้น 5) Test หรือการทดสอบ โดยเราน�ำแบบจ�ำลองที่สร้างขึ้นมาทดสอบกับผู้ใช้ หรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสังเกต ประสิทธิภาพการใช้งาน โดยน�ำผลตอบรับ ข้อเสนอแนะต่างๆ ตลอดจนค�ำแนะน�ำมาใช้ในการพัฒนา และปรับปรุงต่อไป

จากแนวคิดของ Standford D.School นั้น สามารถสรุปเป็นกระบวนการสั้นๆได้ 3 กระบวนการ คือ

1) Understand (การเข้าใจปัญหาให้ถูกต้อง) คือ การใช้เวลาท�ำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง

2) Brainstorm (การคิดแบบไม่มีกรอบ) คือ การแยกกระบวนการสร้างสรรค์ไอเดีย (Idea Generation) ออก จากการประเมิน (Idea evaluation) 3) Prototype (การเรียนรู้ผ่านการลงมือท�ำ) คือ การเปลี่ยนไอเดีย ให้เกิดเป็นรูปร่าง ด้วยการสร้างต้นแบบหรือ แบบจ�ำลองง่ายๆเพื่อสื่อสารแนวคิด การสร้างต้นแบบคือการลงมือท�ำที่ท�ำให้เกิดการเรียนรู้ ท�ำให้เราเห็นชัดเจนขึ้นว่าไอ เดียที่เราคิดนั้นจะตอบโจทย์ที่ตั้งไว้หรือไม่

ภาพที่ 2: สรุปขั้นตอนและกระบวนการของ Design thinking สู่กระบวนการออกแบบและก่อสร้างศาลาไม้ไผ่

31


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

4. สรุปประเด็นเพื่อสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย

กรอบการวิจยั เกิดจากการทบทวนวรรณกรรมทีเ่ กีย่ วข้องร่วมกับการเข้าร่วมอบรมปฏิบตั กิ ารตามทีก่ ล่าวมาแล้วนัน้ น�ำมาสู่การสรุปประเด็นในการออกแบบกรอบแนวคิดการวิจัย (Research framework ) ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3: กรอบแนวคิดในการวิจัย (Research framework) ที่มา : รัชนูพรรณ ค�ำสิงห์ศรี (2561)

5. กระบวนการออกแบบและพัฒนารูปทรงศาลาไผ่

ขั้นตอนในการออกแบบและพัฒนารูปทรงศาลาไผ่นั้นท�ำร่วมกับช่าง เนื่องจากช่างมีทักษะความช�ำนาญและ ประสบการณ์ในการท�ำงานไผ่ สามารถพัฒนาแบบให้ไปสู่การก่อสร้างได้ โดยค�ำนึงคุณสมบัติทางกายภาพของไผ่เป็นหลัก และพัฒนาแบบให้สอดคล้องกับคุณสมบัติดังกล่าว บนปัจจัยต่างๆที่มาก�ำหนดการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านการ ขนส่งโดยรถกระบะ ปัจจัยทางด้านสัดส่วนที่เหมาะสมกับแรงลม ปัจจัยการใช้เราเตอร์ที่ต้องเจาะรูเพื่อเชื่อมต่อล�ำไผ่ที่ท�ำ มุมเอียง ปัจจัยทางด้านกายภาพของไผ่ที่มีความเป็นข้อหรือปล้องตลอดล�ำไผ่ เป็นต้น สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) แนวความคิดในการออกแบบ (Conceptual design) ในเบื้องต้นผู้วิจัยได้ศึกษาแนวความคิดในการออกแบบบนพื้นฐานของความเข้าใจเรื่องข้อต่อแบบสอดประกอบ (Positive

32


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

Fitting Joint) ซึง่ เป็นรอยต่อทีช่ า่ งท้องถิน่ นิยมใช้ในการต่อไผ่เข้าด้วยกัน (ภาพที4่ ) ช่างจึงมีความช�ำนาญและมีประสบการณ์ ในการใช้เครื่องมือเซาะผิวไผ่ ที่เรียกว่า เราเตอร์ ในงานวิจัยนี้เป็นการใช้เครื่องมือเดิมในการก่อสร้าง ส่วนแนวคิดหลักทีใ่ ช้คอื รอยต่อแบบสอดประกอบนี้ สามารถใช้งานได้กบั การออกแบบและก่อสร้างชิงช้าขนาดใหญ่ ดังได้อธิบายไว้แล้วนัน้ ท�ำให้ผวู้ จิ ยั น�ำเทคนิคในการต่อไม้และรูปทรงของชิงช้าทีช่ า่ งท�ำการก่อสร้างอยูแ่ ล้วมาพัฒนาต่อ บน พื้นฐานปัจจัยการพัฒนาระบบการก่อสร้างอาคารด้วยไผ่ (Integrated bamboo building) โดยค�ำนึงถึงปัจจัยสามส่วน ดังนี้ (1) การค�ำนึงถึงองค์ความรู้เดิม (Bamboo knowledge base) การก่อสร้างอาคารไผ่ ควรมีการพัฒนาและปรับปรุง อันเกิดจากการพัฒนาขององค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งเทคนิคการก่อสร้างสามารถติดตั้งได้ง่ายโดยช่างทั่วไปในชนบท (2) การ พัฒนาอันเกิดจากความต้องการของผูอ้ ยูอ่ าศัย (User Requirements) ซึง่ เปลีย่ นไปตามความเป็นอยูแ่ ละความต้องการใน ปัจจุบนั (3) การน�ำปัญหาและความต้องการในปัจจุบนั มาท�ำการพัฒนาและออกแบบ โดยอยูบ่ นพืน้ ฐานขององค์ความรูเ้ ดิม ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย และช่างท้องถิ่นสามารถก่อสร้างได้ (Design decision support system) (สุทธิชา บรรจงรัตน์, 2557 อ้างถึง วิวัฒน์ เตมียพันธ์, 2541)

ภาพที่ 4: การพัฒนารูปแบบและข้อต่อของโครงสร้างชิงช้าไผ่

2) การพัฒนารูปทรงที่เป็นไปได้ (Mass Development) การพัฒนารูปทรงที่เป็นไปได้ของศาลาไผ่นี้ เกิดจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบรูปทรง ของสถาปัตยกรรมไผ่ โดยสุภิญญาลักษณ์ จันทรวงศ์ (2557) ได้สรุปว่า สถาปัตยกรรมไผ่ขนาดเล็กในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้มีลักษณะโครงสร้างพื้นฐานมาจากรูปสามเหลี่ยม เกิดการสานกันของโครงสร้าง รูปแบบโครงสร้างมีความ สมมาตรและเป็นอาคารที่เกิดจากกรอบโครงสร้างที่ซ�้ำกัน ประกอบเป็นโครงสร้างของอาคาร โดยมีลักษณะการซ�้ำกันของ โครงสร้าง 2 ลักษณะ คือ ซ�ำ้ กันในแนวราบ และซ�ำ้ กันในแนวรัศมีวงกลม จากงานวิจยั ดังกล่าว นักวิจยั ได้สรุปกรอบโครงสร้าง ที่จะใช้ในการการจ�ำลองอาคารไผ่และประเมินความแข็งแรงของของโครงอาคารไว้ 3 รูปแบบ (ภาพที่ 5)

33


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ภาพที่ 5: การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสถาปัตยกรรมไผ่ขนาดเล็ก ที่มา : ผู้วิจัยปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจาก สุภิญญาลักษณ์ จันทรวงศ์ (2557)

34


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

จากแนวความคิดในการออกแบบและการพัฒนารูปทรงที่เป็นไปได้นั้น น�ำไปสู่กระบวนการพัฒนาแบบโดยผ่าน การใช้เครื่อวำรสำรสถำปั งมือในการออกแบบคื อ (1)การขึ้นรูปสามมิติด้วยโปรแกรม SketchUp (2) การตัดหุ่นจ�ำลอง โดยมี11รายละเอียด ตยกรรม กำรออกแบบและกำรก่อสร้ำง ในการพัฒปีนาแบบแต่ ละครั้งรวมถึงการวิเคราะห์ผลการพัฒนาแบบดังตารางที่ 1 ที่ 1 ฉบับที่ 3 เดือนกันยำยน – ธันวำคม พ.ศ. 2562

่ 1: กำรวิ เครำะห์ผลกำรออกแบบและพั ฒนำแบบในแต่ ตารางที่ 1:ตารางที การวิเคราะห์ ผลการออกแบบและพั ฒนาแบบในแต่ ละครั้ง ละครั้ง วิเคราะห์ผลการออกแบบครั้งที่ 1 ในกำรออกแบบครั้ ง ที่ 1 เป็ น กำรร่ ำ ง แบบตำมแนวควำมคิดและกำรทบทวน วรรณกรรมที่ ศึ ก ษำมำ กำรท ำควำม เข้ำใจแบบและกำรออกแบบนั้นยังไม่ดี พอ เนื่องจำกเมื่อนำแบบไปปรึกษำกับ ช่ ำ งท้ อ งถิ่ น พบว่ ำ แบบมี ข นำดที่ใหญ่ เกินไป เมื่อรวมระยะยื่นของชำยคำแล้ว นั้น ทำให้มีขนำดที่มีระยะด้ำนสกัดเกิน กว่ำ ขนำดของรถกระบะ ประกอบกับ กำรเอียงเสำที่มีระยะห่ำงของไม้คอเสำ บนด้ำนสกัดที่น้อยเกินไป (เสำหลักเอียง ประชิดกัน)ส่งผลให้ระยะห่ำงที่เสำกำง ออกจำกกั น มี ร ะยะที่ ม ำกตำมไปด้ ว ย ช่ำงแนะนำให้แยกชุดโครงสร้ำงหลังคำ กับโครงสร้ำงเสำศำลำออกจำกกัน ทั้งนี้ เป็นผลมำจำกเรื่องไผ่สีสุก เนื่องจำกเป็น ไผ่ที่ช่ำงเคยซื้อไว้แบบเหมำคันรถ แต่ยัง ใช้ไม่หมดจึงยังไม่ได้สั่งไผ่ใหม่ ไผ่ที่เหลือ จึงค่อนข้ำงคดงอ น้อยลำที่จะตรงจนมี ระยะ 3.00 เมตร ตลอดทั้งลำ ผู้วิจัยกับ ช่ำ งจึ งตัดสินใจพัฒนำแบบโดยกำรลด ควำมสูงของเสำไผ่สีสุกลง แม้ว่ำเสำไผ่ สี สุ ก ที่ มี นั้ น จะมี ค วำมคดงออย่ ำ งมำก ช่ำงได้แจ้งว่ำ เมื่อก่อสร้ำงหน้ำงำนแล้ว จะต้องคัดเลือกไผ่ที่มีควำมตรงใกล้เคียง กัน หรือคดงอน้อยที่สุดเท่ำที่จะเป็นไป ได้

วิเคราะห์ผลการออกแบบครั้งที่ 2 เมื่อพัฒนำแบบร่ำงครั้งที่ 2 พบว่ำแม้จะ ปรับลดควำมสูงของเสำไผ่สีสุกลงแล้ว ยัง พบปั ญ หำเรื่ อ งสั ด ส่ ว นที่ ส่ ง ผลต่ อ กำร ต้ำนทำนแรงลมอีกด้วย ช่ำงได้อธิบำยว่ำ เดิ ม ที ศ ำลำไผ่ นี้ มี ข นำดมำตรฐำนอยู่ ที่ 2.00X2.00 เมตร อั น เป็ น สั ด ส่ ว นที่ สมมำตร เนื่องจำกกำรใช้งำนศำลำไผ่ส่วน ใหญ่ มัก ใช้งำนบริเวณกลำงแจ้ ง ลมแรง แดดแรง สัดส่วนนี้เกิดจำกกำรต้ำนทำน แรงลมในทุกทิศทำงที่เท่ำๆกัน เมื่อทำกำร ปรับ ลดควำมกว้ำ ง X ยำว ของศำลำไผ่ แล้ว ต้องปรับลดควำมสูงของศำลำไผ่ด้วย ป้ อ งกั น ควำมสู ง ที่ ช ะสู ด จนเกิ น ไป เมื่ อ ขนส่งหรือใช้งำนกลำงแจ้งจะไม่เกินกำร พลิกคว่ำ (Overturning Collapse) นอกจำกนี้กำรพัฒนำแบบครั้งที่ 2 ยั ง ต้ อ งค ำนึ ง ถึ ง สั ด ส่ ว นกำรใช้ ง ำนที่ เหมำะสมกับ มนุษ ย์มำกยิ่งขึ้ น จำกกำร ออกแบบที่ให้ศำลำไผ่ใช้สำหรับนั่ง หรือ นอนได้นั้น ระยะนั่งต้อ งไม่สูงจนเกินไป เมื่ อ ปรั บ ลดระยะนั่ ง ลงมำจำกเดิ ม 20 เซนติเมตร ทำให้เกิดที่ว่ำงภำยในศำลำที่ สำมำรถลุกขึ้นยืนโดยที่หัวไม่ชนกับอกไก่ เพื่อป้องกันกำรเกิดอุบัติเหตุขณะ ลุก ยืน นั่ง นอน

วิเคราะห์ผลการออกแบบครั้งที่ 3 กำรพัฒนำแบบครั้งสุดท้ำยเป็นกำรปรับ ระยะต่ำงๆให้เข้ำที่ เพื่อที่จะให้สำมำรถ น ำไปก่ อ สร้ ำ งได้ ส่ ว นรู ป ทรงนั้ น ได้ ถู ก พัฒนำตำมระยะเวลำและควำมเป็นไปได้ ในด้ำนต่ำงๆประกอบกัน ในครั้ งนี้ช่ำงได้ ให้ ค ำแนะน ำว่ำ กำรท ำแบบที่ ส มบู รณ์ ไม่ได้หมำยควำมว่ำจะก่อสร้ำงได้สมบูรณ์ ตำมแบบที่ทำมำทั้งหมด เนื่องจำกปัจจัย ทำงกำยภำพของไผ่ ที่มีธรรมชำติควำม เป็นข้อหรือปล้องตลอดทั้งลำ ดังนั้นแม้ว่ำ แบบจะมีระยะกำรเชื่อมต่อ หรือตำแหน่ง กำรเจำะรูต่ำงๆที่ลงตัวมำแล้ว แต่เมื่อถึง กำรก่อสร้ำงหน้ำจริง บำงตำแหน่งอำจจะ เจำะรูไม่ได้ ต้องมีกำรปรับระยะต่ำงๆที่ หน้ำงำนจริงด้วย

35


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ภาพที่ 6: การออกแบบและการพัฒนาแบบทั้ง 3 ครั้ง ที่มา : รัชนูพรรณ ค�ำสิงห์ศรี (2561)

36


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

6. สรุปกระบวนการออกแบบและพัฒนารูปทรงศาลาไผ่

1) แนวความคิดในการออกแบบ (Conceptual design) รูปแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมไผ่ทนี่ ยิ มในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามการทบทวนวรรณกรรมนัน้ พบว่า มี 2 รูปแบบ สามารถแบ่งตามประเภทโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม คือ (1) โครงสร้างแบบแบบแผ่นผืน (Surface Structure) (2) โครงสร้างแบบเสาและคาน (Skeleton Structure) ซึ่งผู้วิจัยได้ท�ำการพัฒนารูปทรงศาลาไผ่บนพื้นฐานคุณลักษณะ ความสามารถในการรับแรงและน�ำ้ หนักบรรทุกแบบโครงเฟรม (Skeleton Structure) ขึน้ มาจากรูปทรงของชิงช้าไผ่ซงึ่ เป็น โครงเฟรมสามเหลี่ยมที่มีความเสถียรภาพ การทบทวนวรรณกรรมจากกรณีศึกษา รวมถึงรูปทรงเดิมของศาลาไผ่ที่เรียกว่า ทรงกระท่อม หรือทรงถียงนา โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) ในขัน้ ตอนทัง้ หมด และใช้กระบวนการ วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ในการพัฒนาแบบร่าง เพื่อสะท้อนผลการออกแบบร่วมกับช่างท้องถิ่น ซึ่งทั้งสอง กระบวนการน�ำไปสู่การค้นหาต้นแบบ (Prototype) ศาลาไผ่

2) การพัฒนารูปทรงที่เป็นไปได้ (Mass Development) การพัฒนารูปทรงทีเ่ ป็นไปได้เพือ่ น�ำไปสูก่ ารก่อสร้างนัน้ เกิดจากการออกแบบและพัฒนาแบบร่วมกับช่าง บนพืน้ ฐาน การศึกษาและการออกแบบแนวความคิดดังทีก่ ล่าวมาเบือ้ งต้น ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมการออกแบบสถาปัตยกรรม ไผ่ จากนั้นใช้เครื่องมือในการออกแบบ (Design Tools) เพื่อเป็นสื่อกลางในสร้างความเข้าใจให้ตรงกับช่าง คือ

2.1) การขึ้นรูปสามมิติ โดยการใช้โปรแกรม SketchUp เพื่อน�ำเสนอแบบในแต่ละครั้ง

2.2) การสร้างหุ่นจ�ำลอง (Mass study) เพื่อใช้ดูระยะต่างๆที่จะเป็นไปได้ บนปัจจัยทางด้านการขนส่ง โดยรถกระบะ ซึ่งศาลาต้องมีขนาดความกว้างด้านสกัดไม่เกิด 2.10 เมตร ยาวไม่เกิน 3.00 เมตร และสูงไม่เกิน 5.00 เมตร โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ส�ำหรับท�ำหุ่นจ�ำลองได้แก่ ไม้ลูกชิ้น กาวร้อน เชือก กระดาษชานอ้อย ซึ่งเทคนิคการสร้างหุ่นจ�ำลองใน การสื่อสารร่วมกับช่างนี้ เป็นสิ่งส�ำคัญมากในกระบวนการออกแบบและก่อสร้างศาลาไผ่ เนื่องจากช่างจะมีความสามารถ ในการท�ำความเข้าใจจากหุน่ จ�ำลองได้ดกี ว่าแบบสามมิตจิ ากโปรแกรม SketchUp ประกอบกับคุณสมบัตทิ างกายภาพและ เชิงกลของไผ่ที่มีลักษณะไม่คงที่ตลอดทั้งล�ำ ท�ำให้ช่างเห็นภาพรวมและสามารถเปรียบเทียบกับล�ำไผ่จริงได้ดีกว่า (ธนา อุทัยภัตรากูล,2559) จากการออกแบบและพัฒนาแบบร่วมกับช่าง 3 ครัง้ จนสามารถปรับระยะต่างๆทีเ่ หมาะกับการน�ำไปก่อสร้างจริง ช่างให้ค�ำนิยามศาลาที่ออกแบบใหม่นี้ว่า ศาลาทรงกระโจม โดยลักษณะของรูปทรงความเป็นกระโจมนี้แตกต่างจากความ เป็นทรงกระท่อมคือ 1)สัดส่วนความกว้างXยาว Xสูง 2)การยื่นชายคาที่ยาวขึ้น 3)การใช้เสาเอียง 4)การใช้งานที่เหมาะกับ พฤติกรรม ส่วนการออกแบบสถาปัตยกรรมไผ่สิ่งที่ผู้ออกแบบควรทราบเพื่อการออกแบบโครงสร้างไผ่ที่เหมาะสมและเกิด ประสิทธิภาพมีดังนี้ 1) ไผ่ไม่สามารถทนต่อแสงแดดและฝนได้ เนือ่ งจากแดดและฝนในปริมาณทีม่ ากเกินไปจะไปท�ำลายเนือ้ ไผ่ ส่งผล ต่อความแข็งแรงของไผ่ ดังนั้นในการออกแบบควรให้โครงสร้างสัมผัสกับแดดน้อยที่สุด และมีโครงสร้างหลังคาที่ปกคลุม โครงสร้างทั้งหมดเอาไว้ เพื่อป้องกันฝน 2) ไม่ควรให้เสาหรือชิน้ ส่วนโครงสร้างไผ่สมั ผัสกับดินโดยตรง เพือ่ ป้องกันแมลงทีจ่ ะมาท�ำลายไผ่ โดยควรมีตอม่อ วางสัมผัสกับพื้นดิน เพื่อยืดอายุการใช้งานของโครงสร้าง 3) ควรใช้ไผ่ที่ผ่านกรรมวิธีถนอมไผ่ เพราะการถนอมไผ่จะช่วยป้องกันแมลงมาท�ำลายเนื้อไผ่ 4) ไผ่มีความสามารถในการรับแรงดึง (Tension) หรือแรงที่กระท�ำในลักษณะของการดึงไผ่ออกจากกันได้ดีกว่า แรงอัด (Compression) หรือแรงในแนวดิ่งที่กระท�ำลงบนไผ่ (สุปรีดี ฤทธิรงค์,2554)

37


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

จากข้อสรุปดังกล่าว ผู้วิจัยได้พัฒนารูปทรงศาลาไผ่ให้มีชายคาที่ยื่นยาวออกมาครอบคลุมโครงสร้างทั้งหมดของ ศาลา เพื่อป้องกันแสงแดดและฝนอันเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานศาลาไผ่ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้พัฒนาประโยชน์ ใช้สอยร่วมกับความต้องการของผู้ใช้งาน(User Requirements) โดยการเพิ่มชั้นวางของที่อยู่ในระดับการใช้งานที่มีความ เหมาะสมกับสัดส่วนมนุษย์ (Human Scale) ซึ่งสามารถใช้อ่านหนังสือ นั่งท�ำงาน หรือวางคอมพิวเตอร์ได้ ดังภาพที่ 9 3) ปัจจัยที่ส่งผลในระหว่างกระบวนการออกแบบและพัฒนารูปทรงศาลาไผ่ 3.1) การออกแบบและพัฒนารูปทรงนัน้ เป็นไปตามการทบทวนวรรณกรรมบนพืน้ ฐานปัจจัยการพัฒนา ระบบการก่อสร้างอาคารด้วยไผ่ (Integrated bamboo building) (สุทธิชา บรรจงรัตน์,2557 อ้างถึง วิวัฒน์ เตมียพันธ์, 2541) ท�ำให้ต้องศึกษาพื้นฐานการออกแบบและก่อสร้างจากช่างมาก่อน ก่อนที่จะน�ำมาออกแบบใหม่ ท�ำให้ผู้วิจัยใช้เวลา นานในการพัฒนาแบบแต่ละครั้ง เนื่องจากต้องใช้การขึ้นรูปสามมิติด้วยโปรแกรม SketchUp และการสร้างหุ่นจ�ำลอง ไป พร้อมๆกัน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ ถือเป็นเครื่องมือหลักในการแสดงแบบเพื่อใช้สื่อสารกับช่างได้เป็นอย่างดี ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้อง ใช้เวลาลงมือท�ำทั้งแบบและหุ่นจ�ำลองเพื่อการสื่อสารกับช่างอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน 3.2) กระบวนการพัฒนาแบบแต่ละครัง้ นัน้ ผูว้ จิ ยั ท�ำหน้าทีเ่ ป็นผูอ้ อกแบบ (Designer) โดยมีชา่ งท้องถิน่ เป็นผู้ให้ค�ำปรึกษา ตั้งแต่รูปทรงที่ออกแบบในครั้งแรกว่าจะน�ำไปสู่การก่อสร้างได้อย่างไร โดยมีปัจจัยที่ต้องค�ำนึงถึงดังนี้ 3.2.1) พันธุ์ไผ่ ขนาดหน้าตัด เส้นผ่านศูนย์กลาง และความยาวของไผ่ ส่งผลให้เสาหลักมี ความสูงอยูท่ ี่ 2.00 เมตร(ก�ำหนดค่าเท่ากับ h ตามการทบทวนวรรณกรรม) และมีเสารองทีท่ ำ� หน้าทีร่ บั ชายคาอยูท่ ี่ 1.33 เมตร โดยมาจากระยะ 2/3 ของเสาหลัก (2/3h) ซึ่งเป็นความสูงที่ลดลงจากแบบครั้งที่ 1 เนื่องจากแบบร่างครั้งที่ 1 นั้นใช้เสาไผ่ ที่สูงถึง 3.00 เมตร (h) ตั้งเอียงขึ้นไปเป็นโครงสร้างหลังคา มีเสารองอยู่ที่ 2.00 เมตร (2/3h ) ช่างให้ข้อเสนอแนะว่า หาก ท�ำใช้เสาไผ่สีสุกขนาด 3.00 เมตร ขึ้นไปเป็นโครงสร้างหลังคาเป็นชุดเดียวกันจะส่งผลให้ศาลามีน�้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ประกอบ กับไผ่สีสุกที่ช่างมี ณ เวลานั้น มีจ�ำนวนล�ำที่มีขนาดตรงตลอดล�ำไปถึง 3.00 เมตร เพียงล�ำเดียว ดังนั้นจึงตัดสินใจลดขนาด ความสูงของเสาไผ่สีสุกลงตามค�ำแนะน�ำ และได้แยกชุดโครงสร้างหลังคาออกจากโครงสร้างศาลา 3.2.2) สัดส่วนทีเ่ หมาะสมกับการต้านทานแรงลม ปัจจัยข้อนีถ้ อื เป็นปัจจัยทีส่ ำ� คัญอีกประเด็นหนึง่ จากการสัมภาษณ์ช่างได้อธิบายว่าค�ำว่ามาตรฐานศาลาขนาด 2.00X2.00 เมตร หรือสี่เหลี่ยมด้านเท่านี้ เกิดขึ้นจากการใช้ งานของศาลาไผ่ดั้งเดิมชองชาวเลและชาวนาเกลือ ที่น�ำศาลาไปใช้งานบริเวณที่มีลมทะเลแรง ส่งผลให้ผังพื้นหรือรูปทรงที่ เป็นสีเ่ หลีย่ มด้านเท่า สามารถรับแรงลมได้เท่ากันทุกๆด้าน ลดความเสีย่ งต่อการน�ำไปใช้งานในทีโ่ ล่งแจ้งทีอ่ าจเกิดการพลิก คว�ำ่ ของศาลาอันเนือ่ งมาจากแรงลมได้ ดังนัน้ หากศาลามีความสูงมาก และมีขนาดความกว้างคูณยาวทีเ่ ล็กและแคบเกินไป จะส่งผลต่อการต้านทานแรงลม เนื่องจากการใช้งานศาลาส่วนใหญ่ถูกน�ำไปตั้งไว้ที่โล่ง มีลมตลอดทั้งปี อาจท�ำให้ศาลาเกิด การพลิกคว�่ำ(Overturning collapse) ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องปรับลดขนาดของศาลาลงเพื่อให้เกิดสมดุลและสัดส่วนที่เหมาะ สมต่อปัจจัยดังกล่าวด้วย โดยท�ำการปรับลดขนาดความกว้างคูณยาวและความสูงของศาลาดังนี้ -แบบร่างครั้งที่ 1 ศาลามีขนาด 1.80 X 2.00 เมตร สูง 3.00 เมตร -แบบร่างครั้งที่ 2 ศาลามีขนาด 1.20 X 2.00 เมตร สูง 3.00 เมตร -แบบร่างครั้งที่ 3 ศาลามีขนาด 1.20 X 1.80 เมตร สูง 2.85 เมตร 3.2.3) องศาระหว่างเสาหลัก (ไผ่สสี กุ )กับเสารอง (ไผ่สร้างไพร) เกิดจากการทบทวนวรรณกรรม ดังที่กล่าวมาในแบบร่างครั้งที่ 1 นั้นองศาระหว่างเสาหลักกับเสารองอยู่ที่ 60 องศา พบว่า การที่องศายิ่งมากยิ่งส่งผลต่อ ระยะความกว้างของศาลาในด้านสกัดซึ่งต้องมีความกว้างด้านสกัดไม่เกิน 2.10 เมตร ดังนั้นจึงต้องท�ำการปรับองศา ดังนี้ -แบบร่างครัง้ ที่ 1 องศาระหว่างเสาหลักกับเสารอง 60 องศา ระยะด้านสกัด 3.40 เมตร -แบบร่างครัง้ ที่ 2 องศาระหว่างเสาหลักกับเสารอง 30 องศา ระยะด้านสกัด 2.40 เมตร -แบบร่างครัง้ ที่ 3 องศาระหว่างเสาหลักกับเสารอง 30 องศา ระยะด้านสกัด 2.10 เมตร

38


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ภาพที่ 7: ผลการออกแบบและพัฒนารูปทรงศาลาไผ่จนน�ำไปสู่การก่อสร้างจริง ที่มา : รัชนูพรรณ ค�ำสิงห์ศรี (2561)

ภาพที่ 8: กระบวนการท�ำงานร่วมกับช่างท้องถิ่น ที่มา : รัชนูพรรณ ค�ำสิงห์ศรี (2561)

39


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ภาพที่ 9: สรุปแนวความคิดในการออกแบบและการพัฒนารูปทรงศาลาไผ่

40


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

41


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

7. ข้อค้นพบ

8.ข้อเสนอแนะ

ในกระบวนการออกแบบและพัฒนาแบบนั้น การออกแบบระยะต่างๆ ที่สมบูรณ์ครบถ้วนแล้วบางครั้งอาจจะไม่ สามารถก่อสร้างได้ เนื่องจากปัจจัยทางกายภาพของไผ่ที่มีธรรมชาติของความเป็นข้อหรือปล้องตลอดทั้งล�ำ ดังนั้นแม้ว่า แบบจะมีระยะการเจาะรู หรือต�ำแหน่งการเชื่อมต่อต่างๆที่ถูกออกแบบอย่างลงตัวมาแล้ว แต่เมื่อถึงการก่อสร้างหน้างาน บางต�ำแหน่งอาจจะไม่สามารถเชือ่ มต่อล�ำไผ่เข้าด้วยกันได้ ดังนัน้ ในกระบวนการออกแบบและพัฒนาแบบสิง่ ทีค่ วรค�ำนึงถึง คือ คุณสมบัติทางกายภาพของพันธุ์ไผ่ที่เลือกใช้ในแต่ละองค์ประกอบของศาลาไผ่ ในกระบวนการออกแบบและพัฒนาแบบที่เกี่ยวข้องกับระยะการท�ำมุมเอียงระหว่างไผ่สองล�ำ ควรมีการทดลอง ท�ำชิน้ ส่วนจริงขึน้ มาก่อน (Mock-up) ก่อนทีจ่ ะพัฒนาไปสูก่ ารก่อสร้างหน้างาน เพือ่ ดูความเป็นไปได้ของระยะการเชือ่ มต่อ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้หากต้องเอียงองศาระหว่างไผ่สองล�ำ ควรมีการตัดปลายล�ำที่น�ำมาสอดประกอบให้ได้องศาที่ต้องการ ก่อนจะน�ำมาสอดประกอบกับเสาหลัก เพื่อลดขนาดความกว้างของรูที่เสาหลักถูกเจาะลง

9. กิตติกรรมประกาศ

งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจ�ำปีงบประมาณ 2561

10. เอกสารอ้างอิง

กานต์ ค�ำแก้ว. (2546). ไผ่กับสถาปัตยกรรมที่เลือนหาย : การออกแบบศาลาประชาคม. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร. ไชยภพ เกตุเพ็ชร. (2557). การศึกษาปัจจัยการเลือกใช้ระบบการก่อสร้างอาคารไผ่ : กรณีศึกษาอาคารศาลาไผ่ 4 หลัง ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ธนา อุทัยภัตรากูร. (2559). โครงการออกแบบและก่อสร้างหอศิลป์ไม้ไผ่. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา สถาปัตยกรรม สถาบันอาศรมศิลป์. ประทักษ์ ทองคูณ. (2561). การพัฒนาชุดอุปกรณ์ ต่อ-ประกอบไม้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ส�ำหรับฝึกปฏิบัติการงานไม้. วารสารสถาปัตยกรรมการออกแบบ และการก่อสร้าง.1(1),38-47. พสุ เดชะรินทร์. (2557). Design Thinking. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561, จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/591915 ภัทฐิตา พงศ์ธนา. (2557). การศึกษาความสามารถการรับน�้ำหนักของโครงสร้างไผ่ โดยวิธีการรวบล�ำเพื่อเป็นแนวทาง ในการออกแบบสถาปัตยกรรม. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ รุ่งพรรษา น้อยจันทร์. (2557). การพัฒนาข้อต่อโครงถักไผ่ส�ำหรับโครงสร้างสถาปัตยกรรม. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สุ ท ธิ ช า บรรจงรั ต น์ . (2557). การศึ ก ษาคุ ณ สมบั ติ ท างกลของพั น ธุ ์ ไ ผ่ ไ ทยในงานโครงสร้ า งเรี ย บง่ า ย. ปริ ญ ญา สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สุปรีดี ฤทธิรงค์. (2554). Thai Bamboo: Material Explored (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: G7 Publication.

42


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

สุภิญญาลักษณ์ จันทรวงศ์. (2557). การศึกษาคุณสมบัติของไผ่ตงเพื่อสร้างค่ามาตรฐานกลางของวัสดุและการประยุกต์ ใช้งานโครงสร้างส�ำหรับอาคารสาธารณะ. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Anastasia Maurina. (2014). International Conferences on 15th SENVAR (Sustainable Environmental Architecture) and 2nd AVAN (Asian Vernacular Architecture Network), Promoting Sustainable Living through Contemporary Bamboo Architecture.(1-8). Makassar, Indonesia. Andry Widyowijatnoko. (2012).Conventional vs. Substitutive Bamboo Construction: The classification of Bamboo Construction. (phd thesis). Faculty of Architecture RWTH Aachen, Germany.

43


การก่อสร้างและค่าพลังงานสะสมรวม วัสดุอาคารผนังดินอัด Construction and Embodied Energy Rammed Building

Received : December 16, 2019 Revised : December 23, 2019 Accepted : December 30, 2019

ยุทธนา เกาะกิ่ง

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ภาควิชาการออกแบบและบริหารงานก่อสร้าง คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25000

Yutthana Korking

Assistant Professor, Department of Construction Design and Management Faculty of Industrial Technology and Management, Prachin Buri Province, Thailand, 25000 Email: yutthana.k@fitm.kmutnb.ac.th


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือการทดสอบคุณสมบัติของดิน โดยการทดลองใช้ดิน 2 ชนิด คือ ดินเหนียวและดิน ลูกรัง ที่ผสมแกลบและฟาง และจัดท�ำตารางเพื่อช่วยออกแบบผนังดินอัดก่อสร้างเพื่อสรุปขั้นตอนและเทคนิค ทั้งค�ำนวณ การถ่ายเทความร้อนจากกรอบอาคาร และหาค่าพลังงานสะสมเปรียบเทียบกับวัสดุผนังอื่น ๆ ผลการวิจยั พบว่า ค่าก�ำลังแรงอัดของดินเหนียวจะสูงกว่าดินลูกรัง แรงอัดของดินเหนียวทีม่ อี ายุ 28 วัน คือ 15.02 กก./ตร.ซม. ขณะดินลูกรัง คือ 3.71 กก./ตร.ซม. เครื่องมือที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นตารางที่สามารถออกแบบอาคารได้สองชั้น ความหนาของผนัง 40-60 ซม. และ ความสูง 2.50-3.50 ม. ขนาดห้อง 3.00-4.50 ม. ดินลูกรัง เป็นดินที่ถูกน�ำไปสร้าง อาคารผนังดินอัด เพราะที่อยู่ใกล้สถานที่ก่อสร้าง ก�ำลังแรงอัดที่ใช้ในการออกแบบคือ 1.39 กก./ตร.ซม. อาคารผนังดินอัด ทีไ่ ด้กอ่ สร้างมีพนื้ ทีใ่ ช้สอย 171.00 ตร.ม. ส�ำหรับการก่อสร้างดินอัดใช้แรงงานมากกว่าการก่อสร้างทัว่ ไป ค่าการถ่ายเทความ ร้อนรวมของ OTTV อยู่ที่ 22.01 วัตต์/ชั่วโมง การหาค่าพลังงานสะสมวัสดุรวมอาคารผนังดินอัด คือ 11,285.07 กิโลวัตต์ ซึ่งน้อยกว่าผนังอิฐและผนังบล็อกซีเมนต์ ค�ำส�ำคัญ: ผนังดินอัด การถ่ายเทความร้อนรวมของกรอบอาคาร ค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุ

ABSTRACT Research Objectives are soil properties testing by experiment was performed using two types of soil: clay and red soil that mixed with husk and straw. And Making the table to help design the Rammed Earth wall. That to Construction and summarize procedures and techniques. Calculation the heat transfers from the building. Compare with other wall materials. The research found the compressive strength of clay is higher than that of clay soils. The compressive strength days of clay 28th clay soil is 15.02 ksc, whereas red soil is 3.71 ksc. The Tool was developed is tables that can design a building is two-story, wall thickness are 40-60 cm. And height of 2.5-3.50 meters. The room size is 3.00-4.50 meters. Red soil is used to build the rammed earth building, because of that near the construction site. The compressive strength used in the design was 1.39 ksc. The building had two types walls with area of 171.00 square meters. For Rammed construction use labors than general construction, because of use that labors for compaction a wall, but use less skill labor. The total heat transfer of OTTV is 22.01 Watt/hour. The cumulative energy value of wall in the rammed building is 11,285.07 kw, which is less than the brick wall and cement block wall. Keywords: Rammed House, Overall Thermal Transfer Value, Embodied Energy

45


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

1. บทน�ำ Ciancio, Daniela & Beckett, Christopher. (2013) กล่าวไว้วา่ การใช้วสั ดุกอ่ สร้างประเภทต่างๆ จะมีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลถึงภาวะโลกร้อน แนวคิดการประหยัดพลังงานในอาคาร ไม่ใช่ค�ำนึงถึงทิศทางแดด ลม การใช้ระบบ ปรับอากาศ การใช้ฉนวนกันความร้อนเท่านัน้ ต้องพิจารณาถึงการใช้พลังงานทัง้ ระบบของวัสดุในวัฏจักร (Life-Cycle) ได้แก่ ขัน้ ตอนการได้มาของวัสดุ การผลิตของวัสดุ การใช้งานอาคาร การรือ้ ถอนอาคาร การน�ำกลับมาใช้ใหม่ ดังนัน้ จึงได้มแี นวคิด ในการพัฒนาการออกแบบและการก่อสร้างบ้านผนังดินอัดที่ใช้วัสดุในท้องถิ่น กระบวนการก่อสร้างไม่ซับซ้อน จะสามารถ ลดปัญหาทั้งด้านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงานในวัฏจักรของวัสดุ พร้อมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่อยู่ อาศัยได้จริง โดยหากเผยแพร่แก่ นักออกแบบ ผู้ประกอบการ ผู้รับเหมาก่อสร้าง วิศวกร และประชาชนโดยทั่วไป จะเป็น ทางเลือกในการปลูกสร้าง จะช่วยลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และยังลดสภาวะโลกร้อนให้น้อยลง

2. วัตถุประสงค์การวิจัย

2.1 เพื่อทดสอบวัสดุและพัฒนาวิธีการการออกแบบอาคารผนังดินอัด 2 ชั้น 2.2 เพือ่ ก่อสร้างอาคารผนังดินอัด 2 ชั้น ให้สร้างได้จริง 2.3 เพือ่ หาค่าการถ่ายเทความร้อนและพลังงานสะสมวัสดุของอาคารผนังดินอัด

3. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

3.1 การก่อสร้างด้วยเทคนิคดินอัด (Rammed Earth)

Bui, Q.B., Morel, J.C., Venkatarama Reddy, B.v. and Ghayad, (2009) และ McHenry, Paul Graham. (1984) ได้กล่าวไว้ว่า เป็นวิธีการก่อสร้างที่ใช้ผนังรับแรง โดยการอัดดินที่ผสมกับน�้ำท�ำให้เกิดความชื้นเพื่อการบดอัด โดย การกระทุ้งด้วยอุปกรณ์ภายในแบบหล่อที่สร้างขึ้นที่มีช่องในการบดอัดเท่ากับความกว้างของผนัง เมื่อแห้งแล้วก็ถอดแบบ ออกค่อย ๆ ท�ำสูงขึ้นไปเรื่อย ๆเหมือนการหล่อผนังคอนกรีต Richard Burt (2005) ซึ่งอยู่ในคณะวิจัยของ Texas A & M University ได้ท�ำการก่อสร้างบ้านดินอัดตามภาพที่ 1 โดยแสดงการคัดเลือกดิน การออกแบบและก่อสร้างบ้านดินอัดและ สรุปขั้นตอนไว้ Matthew Hall and Youcef Djerbib, (2004). ได้ระบุไว้ว่า ซึ่งวิธีดังกล่าวท�ำให้ผนังแข็งแรงมาก สามารถ ก่อสร้างได้มากกว่า 2 ชั้น

ภาพที่ 1 วิธีการสร้างอาคารด้วยเทคนิคดินอัด Richard Burt (2005)

3.2 ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมผนังอาคาร (Overall Thermal Transfer Value, OTTV)

ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมผนังอาคาร (Overall Thermal Transfer Value, OTTV) หมายถึง ดัชนีในการแสดง ปริมาณความร้อนเฉลีย่ ทีเ่ ข้าสูท่ มี่ กี ารปรับอากาศ เพือ่ ใช้ประเมินสมรรถนะของกรอบอาคารต่อการถ่ายเทความร้อน ในการ

46


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ค�ำนวณหาค่าการถ่ายเทความร้อนรวมผนังอาคารจะเริ่มต้นโดยการค�ำนวณหาค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังแต่ละ ด้าน (OTTVi) ก่อน จากนัน้ จึงน�ำค่าทีไ่ ด้ของผนังแต่ละด้านมาค�ำนวณหาค่าเฉลีย่ ถ่วงน�ำ้ หนักตามขนาดพืน้ ทีข่ องผนังแต่ละ ด้านรวมกันเพื่อให้ได้ค่า OTTV

3.3 พลังงานสะสมรวมวัสดุ (Embodied Energy)

การหาค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุ คือการหาปริมาณพลังงานทีใ่ ช้กบั วัสดุตงั้ แต่ขนั้ ตอนการได้มาของวัสดุ การผลิต การขนส่ง การก่อสร้าง และรื้อถอนอาคาร สะสมรวมทุกขั้นตอน การวิเคราะห์ หาค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุจะต้องอาศัย ข้อมูลพื้นฐาน ค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุของหน่วยย่อยวัสดุ ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้น�ำค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุจากการศึกษา ของ Richard Burt. (2005) ได้ศกึ ษา ค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุในการก่อสร้างมาศึกษา และน�ำค่าต่าง ๆ มาพัฒนาต่อเพือ่ ใช้ ค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุในงานวิจัยนี้

ภาพที่ 2 แสดงพลังงานสะสมวัสดุที่ได้จากขั้นตอนต่าง ๆ

4. วิธีวิจัย

โดยมีขั้นตอนตามหัวข้อ และรายละเอียดดังต่อไปนี้

4.1 การออกแบบสัดส่วนผสมดิน ผู้วิจัยท�ำการทดลองน�ำดิน 2 กลุ่ม ได้แก่ ดินเหนียวและดินลูกรัง ใช้ในการทดลอง โดยน�ำวัสดุเหลือทิ้งทางการ เกษตรจ�ำพวกแกลบและฟางข้าวมาผสมร่วมกับดิน แบ่งเป็นอัตราส่วนผสมต่าง ๆ ดังแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 อัตราส่วนผสมทดลอง ลำ�ดับ

ส่วนผสม

อัตราส่วนโดยปริมาตร ดิน : แกลบ : ฟางข้าว 

1

ดินเหนียว

2

ดินเหนียวผสมแกลบ

4 : 1.5

3

ดินเหนียวผสมฟางข้าว

4 : 1.5

47


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ลำ�ดับ

ส่วนผสม

อัตราส่วนโดยปริมาตร ดิน : แกลบ : ฟางข้าว 

5

ดินลูกรังล้วน

6

ดินลูกรังผสมแกลบ

4 : 1.5

7

ดินลูกรังผสมฟางข้าว

4: 1.5

8

ดินลูกรังผสมแกลบและฟางข้าว

4 : 1.0 : 1.0

4.2 การทดสอบก�ำลังอัดของก้อนดิน

การทดสอบก�ำลังอัดของก้อนดิน จากที่ Jayasinghe, c. and Kamaladasa,N. (2007) ได้กล่าวไว้ในเรื่องการ เก็บตัวอย่างดินเพื่อการทดสอบตามมาตรฐาน ที่แสดงการทดสอบก�ำลังอัดของดินตัวอย่าง โดยใช้แบบลูกบาศก์ขนาด 10x10x10 ซม. เพือ่ หาค่าการรับค่าหน่วยแรงอัดสูงสุด ในระยะเวลาที่ 7, 14 และ 28 วัน โดยการน�ำก้อนตัวอย่างมาทดสอบ หาค่าหน่วยแรงอัด และเปรียบเทียบการรับค่าหน่วยแรงอัด ซึง่ การทดสอบในขัน้ ตอนนี้ ได้นำ� ดินใส่แบบลูกบาศก์ ใส่จำ� นวน 3 ชั้น แล้วต�ำเป็นชั้น ๆ ละ 25 ครั้ง น�ำดินมาตากแดดแล้วเก็บไว้ในที่ร่ม เพื่อจะน�ำมาทดสอบก�ำลังอัด (Compression Test) ด้วยเครื่องทดสอบ Universal Testing โดยท�ำการทดสอบทั้งหมด 72 ตัวอย่าง จาก 8 ส่วนผสมที่กล่าวไว้ก่อนหน้า

ภาพที่ 3 การทดสอบค่าก�ำลังอัดของดินด้วยเครื่องทดสอบ Universal Testing

4.3 การออกแบบผนังดินอัด Gerald W.May (1983) ได้แสดงค่าหน่วยแรงอัดและอัตราชลูดทีย่ อมได้ของดิน โดยก�ำหนดเป็นค่าแรงอัดของดิน ที่ใช้ในการออกแบบ หมายถึง ดินจะมีหน้าที่รับแรงอัดจากน�้ำหนักของโครงสร้างและน�้ำหนักจร เพื่อความปลอดภัย ผู้วิจัย จะน�ำวิธีลดค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตมาประยุกต์ใช้กับดินอัด จากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ก�ำหนด ค่าหน่วยแรงอัดแรงอัดคอนกรีตใช้งานออกแบบ (fc) ไม่เกินร้อยละ 37.50 ของค่าหน่วยแรงอัดประลัยคอนกรีต (fc’) หรือ fc = 0.375fc’ แต่ต้องไม่เกิน 65 กก./ตร.ซม. ซึ่งงานวิจัยนี้จะเรียกว่า ค่าหน่วยแรงอัดดินใช้งานออกแบบ (fc) มาจัดท�ำ ตารางค่าหน่วยแรงอัดเพื่อการออกแบบผนังดินอัด จากการทดลอง หาค่าหน่วยแรงอัดของดินที่ท�ำการทดลองดิน 8 ชนิด ดังตารางที่ 2

48


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ตารางที่ 2 หาค่าหน่วยแรงอัดดินอัดเพื่อการออกแบบ fc’(ที่ 28 วัน)

ค่าหน่วยแรงอัดเพื่อการออกแบบผนังดินอัด(fc)

กก./ตร.ซม.

0.375fc’(กก./ตร.ซม.)

ดินเหนียว

15.02

5.63

2

ดินเหนียว + แกลบ

12.71

4.77

3

ดินเหนียว + ฟางข้าว

10.88

4.08

4

ดินเหนียว+แกลบ

9.61

3.60

5

ดินลูกรัง

3.71

1.39

6

ดินลูกรัง + แกลบ

2.14

0.80

7

ดินลูกรัง + ฟางข้าว

2.74

1.03

8

ดินลูกรัง+แกลบ+ฟางข้าว

2.44

0.92

2

ดินเหนียว + แกลบ

12.71

4.77

ลำ�ดับ

ประเภทดิน

1

ภาพที่ 4 แปลนอาคาร

ภาพที่ 5 รูปตัดอาคาร

49


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

4.4 การก่อสร้างอาคารดินอัด

ในงานวิจัยนี้ได้ทดลองน�ำดินลูกรัง ซึ่งเป็นดินที่มที ั่วไปในพื้นที่วิจัย น�ำมาก่อสร้างอาคารผนัง ดินอัด โดยเป็นผนัง ลักษณะดินลูกรังอัดโดยไม่มกี ารฉาบผิว การก่อสร้างจะใช้วธิ กี ารกระทุง้ ดินให้แน่นโดยตุม้ น�ำ้ หนัก ขนาด 7 กก. ท�ำการอัดขึน้ ทีละชั้นๆ ละประมาณ 10 ซม. ให้ได้ความสูงของผนังที่ออกแบบ ในการเคลือบผิวใช้แป้งเปียกผสมน�้ำมันพืช และใช้ไม้ไผ่ ช่วยในการเสริมแทนเหล็กเสริม และช่องประตูและหน้าต่าง ส�ำหรับงานโครงสร้างอืน่ ๆ เช่น หลังคา พืน้ จะเป็นการใช้โครงสร้าง ที่ใช้อยู่ทั่วไปได้ แสดงตามภาพที่ 6

ภาพที่ 6 ขั้นตอนการก่อสร้าง

4.5 ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของกรอบอาคาร (Overall Thermal Transfer Value ; OTTV)

กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (2554) ได้ก�ำหนดวิธีการค�ำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของกรอบอาคาร โดยค่า OTTV คือ ค่าการถ่ายเทความร้อนด้านนอกของผนังด้านทีพ่ จิ ารณา โดยมีหน่วยเป็น วัตต์/ตร.ม. ประเทศไทยไดมเี กณฑ์ ใหอ าคารเพือ่ การอนุรกั ษ์พลังงานตองมีคา OTTV เช่น อาคารส�ำนักงาน ต้องมีคา่ OTTV เท่ากับหรือน้อยกว่า 50 วัตต์/ตร.ม. แต่ข้อบังคับดังกล่าว ไม่ถูกบังคับใช้กับบ้านพักอาศัย ผู้วิจัยจะใช้วิธีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยนี้ โดยต้องท�ำการหา

50


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ขนาดพื้นที่ของผนัง ตามตารางที่ 3 ที่ได้จากอาคารที่ออกแบบไว้ตามทิศต่าง ๆ เพราะแต่ละทิศจะมีวิธีหาค่าถ่ายเทความ ร้อนแตกต่างกันเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการหาค่า OTTV ตารางที่ 3 สรุปค่าพื้นที่ผนังและพื้นที่หน้าต่าง ทิศของผนัง

พื้นที่ผนัง(ตารางเมตร)

พื้นที่หน้าต่าง(ตารางเมตร)

ทิศเหนือ

58.76

5.28

ทิศใต้

50.31

5.04

ทิศตะวันออก

52.40

6.20

ทิศตะวันตก

56.00

4.40

ส�ำหรับค่าความร้อนที่สูญเสียต่อตารางเมตร หรือ U-Value ของวัสดุที่สัมพันธ์กับความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่าง ภายในและภายนอก ผู้วิจัยได้น�ำงานศึกษาของ McHenry, Paul Graham (1984) ที่ได้ศึกษาส�ำหรับ U-Value ของผนัง ดินอัด พบว่า มีการศึกษาทีค่ วามหนา 110 มม. 220 มม. และ 330 มม. ซึง่ ผนังทีจ่ ะสร้างมีขนาดทีแ่ ตกต่างกัน คือ 400 มม. และ 600 มม. ดังนั้นผู้วิจัยจึงท�ำการพัฒนากราฟส�ำหรับหาค่า U-Value ของผนังดินอัดในความหนาอื่น ๆ ตามภาพที่ 7 จากรูปพบว่า หากผนังดินอัดหนา 400 มม. ค่า U-Value จะมีค่า 2.22 W/m2K. ผนังดินอัดหนา 500 มม. ค่า U-Value จะมีค่า 1.98 W/m2K. และผนังดินอัดหนา 600 มม. ค่า U-Value จะมีค่า 1.81 W/m2K.

ภาพที่ 7 กราฟหาค่า U-Value ของผนังดินอัดความหนาต่าง ๆ

4.6 การหาค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุ (embodied energy)

การหาค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุ คือ การหาปริมาณพลังงานทีใ่ ช้กบั วัสดุตงั้ แต่ขนั้ ตอนการได้มาของวัสดุ การผลิต การขนส่ง การก่อสร้าง และรื้อถอนอาคาร สะสมรวมทุกขั้นตอน โดยเป็นการหาค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุของผนังดินอัด และเปรียบเทียบกับพลังงานสะสมรวมวัสดุของวัสดุ ผนังก่ออิฐฉาบปูน และผนังอิฐบล็อกฉาบปูน จะต้องอาศัยข้อมูลพืน้ ฐาน ค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุของหน่วยย่อยวัสดุ ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้น�ำค่าพลังงานสะสมวัสดุจากการศึกษาของ Richard Burt. (2005) และ Miloslave Bagona,Dusan Katunsky. (2010) ทีไ่ ด้ศกึ ษาค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุในการก่อสร้าง และรวมถึง ผนังดินอัดไว้ดังตารางที่ 4 ค่าพลังงานจะท�ำการหาออกมาเป็นปริมาณพลังงานความร้อน โดยพลังงานความร้อนคือ BTU ซึ่ง 1 BTU มีค่าเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ 3.414442595 กิโลวัตต์ (kw) ในงานวิจัยนี้จะหาค่าพลังงานออกมาเป็นกิโลวัตต์

51


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ตารางที่ 4 ค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุ รายการ

จำ�นวน

หน่วย

ค่าพลังงานสะสม(BTU)

ปูนทราย

8

กก./ตร.ม.

71,603.20

อิฐมอญ 21/2”x31/2”x71/2” นิ้ว

0.38

กก./ก้อน

13,570.00

อิฐบล็อก 39x19 ซม. หนา 3 นิ้ว

7.60

กก./ก้อน

29,018.00

อิฐมวลเบา 20x60 ซม. หนา 7.5 ซม.

5.56

กก./ก้อน

19,040.00

ก้อนดินขนาด 20x10x40 ซม.

13.67

กก./ก้อน

2,500.00

ที่มา: Richard Burt. (2005) และ Miloslave Bagona,Dusan Katunsky. (2010)

5. ผลการวิจัย 5.1 ผลการทดสอบก�ำลังอัดของดินแต่ละชนิด จากผลการทดสอบการรับก�ำลังอัดของดินตัวอย่างในแบบลูกบาศก์ขนาด 10x10x10 ซม. ตามภาพที่ 8 พบว่า ดินเหนียวที่มีค่าการรับก�ำลังมากที่สุดอยู่ที่ 14 วัน 14.29 กก./ตร.ซม. ดินเหนียวที่มีส่วนผสมแกลบที่มีค่าการรับก�ำลังมาก ที่สุดอยู่ที่ 28 วัน มีค่า 12.71 กก./ตร.ซม. ดินลูกรังที่มีค่าการรับก�ำลังมากที่สุดอยู่ที่ 14 วัน มีค่า 4.34 กก./ตร.ซม. ดิน ลูกรังที่มีส่วนผสมฟางข้าวที่มีค่าการรับก�ำลังมากที่สุด อยู่ที่ 7 วัน มีค่า 5.53 กก./ตร.ซม. โดยสังเกตได้ว่า กลุ่มดินเหนียว โดยเฉลี่ยจะสามารถรับก�ำลังได้ดีกว่ากลุ่มดินลูกรัง

5.2 การสร้างตารางการออกแบบผนังดินอัด ผูว้ จิ ยั ได้พฒ ั นาตารางเพือ่ การเลือกขนาดความหนาผนังและความสูงของผนัง โดยสามารถในการออกแบบอาคาร ดินอัดอาคารไม่เกิน 2 ชั้น จ�ำนวนทั้งหมด 41 ตาราง ใช้ในการออกแบบโครงสร้างชนิดผนังรับน�้ำหนัก (Wall Bearing Structure) ส�ำหรับพื้นส�ำเร็จรูปซึ่งเป็นการถ่ายน�้ำหนักพื้นแบบ 2 ทาง โดยก�ำหนดไว้ 4 ช่วง คือ ช่วงพาด 3.00 3.50 4.00 และ 4.50 ม. เพื่อน�ำไปเลือกขนาดผนังจากตารางที่ได้พัฒนาขึ้น โดยสามารถน�ำไปใช้ได้กับดินทุกประเภท การออกแบบ จะใช้คา่ หน่วยแรงอัดของดินเป็นหลัก ดังนัน้ จึงไม่จำ� เป็นต้องแยกตารางของดินแต่ละประเภทอีก เพือ่ ความปลอดภัยในงาน วิจัยนี้ ได้น�ำพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งก�ำหนดน�้ำหนักบรรทุก เพื่อใช้ในการออกแบบโครงสร้างอาคาร ดังนั้น จึงท�ำการก�ำหนดค่าน�้ำหนักทั้งค่าน�้ำหนักบรรทุกคงที่ (Dead Load) ทั้งค่าน�้ำหนักบรรทุกจร (Live Load) ซึ่งตาราง ที่ใช้ในการออกแบบในงานวิจัยนี้ แสดงตามตารางที่ 5

ภาพที่ 8 ค่าพลังงานสะสมวัสดุผนังแต่ละประเภท (kw)

52


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ตารางที่ 5 ตารางส�ำหรับใช้หาขนาดผนังดินอัดตามความสูงผนัง น้ำ�หนักบรรทุก(ก.ก.)/ความหนาผนัง(ซ.ม.)และ น้ำ�หนักกระทำ�ต่อตารางเซนติเมตร (ksc)

ความสูงผนัง

(ม.)

40

ksc

45

ksc

50

ksc

55

ksc

60

ksc

6.00

9,292.07

2.32

9,827.81

2.18

10,363.55

2.07

11,435.03

2.08

10,899.29

1.82

5.80

9,077.78

2.27

9,586.73

2.13

10,095.68

2.02

11,113.59

2.02

10,604.63

1.77

5.50

8,863.48

2.22

9,345.65

2.08

9,827.81

1.97

10,792.14

1.96

10,309.98

1.72

5.00

8,649.19

2.16

9,104.56

2.02

9,559.94

1.91

10,470.70

1.90

10,015.32

1.67

4.80

8,434.89

2.11

8,863.48

1.97

9,292.07

1.86

10,149.26

1.85

9,720.66

1.62

4.50

8,220.59

2.06

8,622.40

1.92

9,024.20

1.80

9,827.81

1.79

9,426.01

1.57

4.25

8,006.30

2.00

8,381.32

1.86

8,756.33

1.75

9,506.37

1.73

9,131.35

1.52

4.00

7,792.00

1.95

8,140.23

1.81

8,488.46

1.70

9,184.92

1.67

8,836.69

1.47

3.50

7,577.71

1.89

7,899.15

1.76

8,220.59

1.64

8,863.48

1.61

8,542.04

1.42

3.25

7,309.84

1.83

7,658.07

1.70

7,952.73

1.59

8,542.04

1.55

8,247.38

1.37

3.00

7,149.12

1.79

7,416.99

1.65

7,684.86

1.54

8,220.59

1.49

7,952.73

1.33

2.80

6,934.82

1.73

7,175.90

1.59

7,416.99

1.48

7,899.15

1.44

7,658.07

1.28

2.50

6,720.53

1.68

6,934.82

1.54

7,149.12

1.43

7,577.71

1.38

7,363.41

1.23

5.3 การค�ำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังอาคาร

ค่า OTTV รวมของอาคาร ผนังคอนกรีตมวลเบา คือ 21.27 วัตต์/ตร.ม ซึ่งมีค่าต�่ำสุดใกล้เคียงกับผนังดินอัดที่ 22.01 วัตต์/ตร.ม OTTV ของซีเมนต์บล็อก คือ 37.61 วัตต์/ตร.ม และ OTTV รวมของบ้านผนังอิฐมอญ คือ 38.52 วัตต์/ ตร.ม พบว่า ผนังดินอัดจะมีคา่ การถ่ายเทความร้อนจากวัสดุผนังต�ำ่ โดยใช้ความหนาของผนังละวัสดุดนิ ทีม่ คี วามเป็นฉนวน ในวัสดุ นั่นแสดงถึง อาคารดินอัดจะลดการเปิดเครื่องท�ำความเย็นลงไปได้

ภาพที่ 9 ค่าการถ่ายเทความร้อนของผนังต่อตารางเมตร (OTTV) ระหว่างวัสดุ (วัตต์/ตร.ม)

53


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

5.4 การหาค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุ (embodied energy)

ค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุสะสมรวมทุกขั้นตอน ของอาคารที่สร้างขึ้นจากดินอัดในงานวิจัยนี้ เปรียบเทียบกับ อาคารทีส่ มมุตวิ า่ สร้างจากวัสดุผนังทีถ่ กู เลือกมาเปรียบเทียบในขนาดอาคารทีเ่ ท่ากัน โดยการเปรียบเทียบการหาค่าพลังงาน สะสมรวมวัสดุเฉพาะส่วนของผนังทัง้ อาคาร พบว่า อาคารทีส่ ร้างจากผนังดินในงานวิจยั นีใ้ ช้พลังงาน 11,285.07 กิโลวัตต์ หาก สร้างอาคารทีส่ ร้างจากผนังซีเมนต์บล็อกจะใช้พลังงาน 73,831.39 กิโลวัตต์ และหากสร้างอาคารทีส่ ร้างจากผนังอิฐมวลเบา จะใช้พลังงาน 58,838.49 กิโลวัตต์ สุดท้าย หากสร้างอาคารที่สร้างจากผนังอิฐมอญมีค่าสูงสุด จะใช้พลังงาน 344,320.56 กิโลวัตต์ ซึ่งแสดงตามภาพที่ 10

ภาพที่ 10 ค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุทั้งอาคาร (kw)

หากท�ำการเปรียบเทียบผนังทั้ง 3 ประเภท ต่อพื้นที่ผนัง 1 ตร.ม เพื่อน�ำไปใช้ประโยชน์ในการน�ำไปคิดพลังงาน สะสมวัสดุตอ่ ผนังทัง้ อาคารได้สะดวก ท�ำการแยกความหนาของผนังดินอัด 3 ความหนา ได้แก่ ผนังดินอัดหนา 40.00 50.00 และ 60.00 ซม. พบว่า มีคา่ ใกล้เคียงกันอยูร่ ะหว่าง 36.63-54.95 กิโลวัตต์ ขณะทีผ่ นังซีเมนต์บล็อกและผนังอิฐมวลเบา พบว่า มีค่าใกล้เคียงกันคือ 289.92 และ 231.05 กิโลวัตต์ ส�ำหรับผนังอิฐมอญมีค่าสูงสุดและสูงแตกต่างจากผนังชนิดอื่นมาก คือ 1,352.08 กิโลวัตต์ ซึ่งแสดงตามภาพที่ 11

ภาพที่ 11 ค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุต่อตารางเมตร (kw)

54


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

6. สรุป

ในงานวิจยั นี้ ต้องการหาทางวิธกี ารก่อสร้างอาคารทีส่ ามารถลดการใช้พลังงานสะสมรวมของวัสดุ โดยท�ำการทดสอบ วัสดุและพัฒนาวิธกี ารการออกแบบทีใ่ ช้วสั ดุดนิ ในพืน้ ที่ และท�ำการก่อสร้างอาคารผนังดินอัด พร้อมหาค่าการถ่ายเทความร้อน และพลังงานสะสมวัสดุของอาคารผนังดินอัด พบว่า ดินเหนียวมีคุณสมบัติด้านก�ำลังดีกว่าดินลูกรัง ผู้วิจัยได้พัฒนาตารางที่ สามารถใช้ในการออกแบบอาคารดินอัดอาคารไม่เกิน 2 ชั้น โดยใช้ได้ทั้งดินเหนียวหรือดินลูกรัง ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ โดย ผู้วิจัยใช้ค่าก�ำลังอัดอยู่ที่ 1.39 กก./ตร.ซม. เพื่อเป็นค่าความปลอดภัย ในตารางในการน�ำไปใช้งาน ค่า OTTV ผนังดินอัดที่ 22.01 วัตต์/ตร.ม แต่สงู กว่าคอนกรีตมวลเบา สูงสุดคือผนังอิฐมอญ คือ 38.52 วัตต์/ตร.ม ค่าพลังงานสะสมรวมวัสดุทกุ ขัน้ ตอน ของอาคารที่สร้างขึ้นจากดินอัด ในงานวิจัยนี้ใช้พลังงาน 11,285.07 กิโลวัตต์ ซึ่งต�่ำกว่าผนังชนิดอื่น โดยเฉพาะหากสร้าง อาคารจากผนังอิฐมอญซึง่ มีคา่ สูงสุดจะใช้พลังงาน 344,320.56 กิโลวัตต์ ซึง่ ใช้วตั ถุดบิ จากดินเหมือนกัน แต่อฐิ มอญ ซึง่ ความ แตกต่างดังกล่าวน่าจะมาจากอิฐมอญมีกระบวนการผลิตที่ใช้การเผา และมีการขนส่งจากแหล่งผลิต จึงส่งผลให้มีค่าสูงกว่า อย่างเห็นได้ชัด จากผลการวิจยั สรุปได้วา่ อาคารผนังดินอัดสามารถสร้างและน�ำมาอาศัยได้จริง รวมถึง สามารถลดการใช้พลังงาน ลงได้ โดยเลือกวัตถุดิบที่มีในพื้นที่เพื่อลดพลังงานในการขนส่งและไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปเหมือนวัสดุผนังประเภทอื่น แต่ยงั มีขอ้ จ�ำกัดในด้านเทคนิคและการยอมรับจากผูค้ นโดยทัว่ ไปทีไ่ ม่คนุ้ เคยในการอยูอ่ าศัยในบ้านลักษณะดังกล่าว ตลอดจน การดูแลและซ่อมแซม รวมถึง บางภูมปิ ระเทศทีอ่ าจสร้างบ้านลักษณะดังกล่าวไม่ได้ คือบริเวณทีน่ ำ�้ ท่วมถึงเพราะจะส่งผลต่อ ความแข็งแรงต่อผนังโดยตรง

7.กิตติกรรมประกาศ

ผูว้ จิ ยั ขอขอบพระคุณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทีม่ อบทุนวิจยั ในครัง้ นี้ และ คณะเทคโนโลยี และการจัดการอุตสาหกรรม ทีใ่ ห้เวลาในการท�ำงานวิจยั ขอขอบพระคุณ นางเพียงใจ แสงวิจติ ร ผูอ้ ำ� นวยการทัณฑสถานเปิดบ้าน เนินสูง ทีใ่ ห้ความกรุณามอบพืน้ ทีเ่ พือ่ การก่อสร้างอาคารผนังดินอัด และข้าราชการเจ้าหน้าทีท่ ณ ั ฑสถานเปิดบ้านเนินสูงทุกท่าน ที่อ�ำนวยความสะดวกในการเข้าออกทัณฑสถาน สุดท้าย ขอบคุณครอบครัว ที่ให้ก�ำลังใจในการท�ำวิจัยในครั้งนี้

8. เอกสารอ้างอิง

กาญจน์กรอง สุองั คะ. (2557). รายงานวิจยั การประเมินด้านการประหยัดพลังงานของการออกแบบและการใช้วสั ดุกอ่ สร้าง เพื่อการประหยัดพลังงานของบ้านพักอาศัย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิง่ แวดล้อม. (2557). รายงานพลังงานของประเทศไทย ปี 2542. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.dedp.go.th, [สืบค้นเมื่อ วันที่ 5 พฤษภาคม 2559]. กรมโยธาและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย. กฎหมายด้านโยธาและผังเมือง. พระราชบัญญัตคิ วบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. [ออนไลน์]. ได้จาก: http:// https://www.dpt.go.th/th, [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2560]. พิมลมาศ วรรณคนาพล. (2544). ดัชนีพลังงานสะสมรวมของอาคารและวัสดุก่อสรางอาคารในช่วงก่อสร้างและรื้อถอน. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อภิเชษฐ์ตีคลี. (2561). คุณสมบัติดินมูลกระบือ บ้านหนองโนใต้ ต�ำบลนาดูน อ�ำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสาร สถาปัตยกรรมการออกแบบ และการก่อสร้าง, 1(1),22-37. Bui, Trung, Quoc-Bao, Maximilien. (2014). Failure of rammed earth walls: From observations to quantifications. Construction and Building Materials, Vol. 51, Issue 15, (pp. 295-302).

55


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

Bui, Q.B., Morel, J.C., Venkatarama Reddy, B.v. and Ghayad. (2009). Durability of rammed earth walls exposed for 20 years to natural weathering. Building and Environment, Vol. 44, Issue 5, (pp. 912-919). Ciancio, Daniela & Beckett, Christopher. (2013). Rammed earth: An overview of a sustainable construction material. Sustainable Construction Materials and Technologies: Proceedings of the 3rd International conference, (pp. 193-198). West Sussex, UK: IMP. Gerald W. May. (1984). Structural Engineering for Earth Buildings, Adobe and Rammed Earth Buildings: Design and Construction. Tucson: University of Arizona Press, 984. London, Routledge. Hall M & Djerbib Y. (2004). Rammed Earth Sample Production. Construction and Building Material, Vol. 18, Issue 4, (pp. 281-286). Jayasinghe, c. and Kamaladasa, N. (2007). Compressive strength characteristics of cement stabilized rammed earth walls. Construction and Building Materials, Vol. 21, Issue 11, (pp. 1971-1976). Matthew Hall and Youcef Djerbib. (2004). Rammed earth sample production: context, recommendations and consistency. Construction and Building Materials, Vol. 18, Issue 4, (pp. 281-286). Malhotra, Mini. (2018). EARTHSHACK Showcasing Rammed Earth Construction.Rammed Earth Solar Home. [Online]. Retrieved from http://www.rammedearthhomes.com/technical.html. [accessed 30 May 2015]. McHenry, Paul Graham. (1984). Adobe and Rammed Earth Buildings: Design And Construction. Tucson: University of Arizona. Miloslave Bagona, Dusan Katunsky. (2010). Embodied Energy of Stabilized Rammed Earth. Energy and Buildings, Vol. 42, Issue 3, (pp. 380-385). Odum, Howard T., Brown Mark T. and Brandt-Williams, Sherry. (2001). Handbook of Emergy Evaluation. A compendium of Data for Emergy Center for Environmental Policy Environmental Engineering Sciences, University of Florida. Richard Burt. (2005). Showcasing Rammed Earth Construction. USA. Texas A&M University.

56


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

57


การศึกษาเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ผลของ การรับนิสต ิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม Comparative Study on the Student Admission Systems for Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts Mahasarakham University Received : August 31, 2019 Revised : August 24, 2019 Accepted : November 29, 2019

พัชรินทร์ เชือ้ ภักดี1* กิ่งกาญจน์ มุลทาเย็น2 และธนายุทธ ไชยธงรัตน์3 1

นักวิชาการศึกษา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ�ำเภอกันทรวิชยั จังหวัดมหาสารคาม 44150 นักวิชาการศึกษา องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านพริก อ�ำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก 3 อาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ�ำเภอกันทรวิชยั จังหวัดมหาสารคาม 44150 2

Patcharin Chuaphakdee1* Kingkan Moontayen2 and Tanayut chaithongrat3 1

Faculty of Medicine University, Maha Sarakham University, Kantarawichai District, Maha Sarakham, Thailand, 44150 2 Educator, Banprik Subdistrict Administrative Organization, Nakhon Nayok 3 Lecturer, Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts, Maha Sarakham University, Kantarawichai District, Maha Sarakham, Thailand, 44150 Email: patcharin.chu@gmail.com


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

บทคัดย่อ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือได้วา่ เป็นหน่วยงานระดับคณะ ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งที่มีการเปิดสอนในระดับปริญญาตรี หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม ศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต โดยหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต มีการเปิดสอนทั้งหมด 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สาชาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง และสาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน ทัง้ 3 สาขาวิชา เป็นหลักสูตร 5 ปี ในด้านหลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 5 ปี และหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต มีการเปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ แบ่งเป็น 3 วิชาเอก ได้แก่ วิชาเอกออกแบบนิเทศศิลป์ วิชาเอก ออกแบบหัตถอุตสาหกรรม และวิชาเอกออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ หลักสูตร 4 ปี จากการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ในระบบทะเบียนนิสติ ในแต่ละหลักสูตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในช่วง ปีการศึกษา พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2560 และน�ำข้อมูลมาวิเคราะห์คา่ ร้อยละ ค่าเฉลีย่ และค่าส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน ทดสอบ ค่าที และไคสแควร์ เพือ่ เปรียบเทียบผลการเรียนในระดับหลักสูตรทีเ่ ข้าศึกษาด้วยวิธกี ารรับเข้าแบบต่างๆ เพือ่ วิเคราะห์ผล การเรี ย นระหว่ า งการเรี ย นในระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลายและผลการเรี ย นในระดั บ อุ ด มศึ ก ษาของนิ สิ ต ในคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ เพื่อวิเคราะห์ผลิตภาพ (Productivity) ในการผลิตบัณฑิต, เพื่อเปรียบเทียบ ผลการเรียนต่อวิธกี ารรับเข้าศึกษาแบบต่างๆ วิเคราะห์ผลการเรียนระหว่างการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและผล การเรียนในระดับอุดมศึกษาของนิสติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ เพือ่ น�ำผลจากการวิจยั ไปใช้ปรับปรุง แก้ไข หาแนวทางที่เหมาะสมในการรับเข้าศึกษาในแต่ละหลักสูตรที่เปิดสอนของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและ นฤมิตศิลป์ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตอบสนองความต้องการของแต่ละหลักสูตร รองรับการพัฒนาทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และตลาดแรงงาน พร้อมทั้งสามารถน�ำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการรับบุคคลเข้าศึกษาในรายหลักสูตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามต่อไป ค�ำส�ำคัญ: ผลิตภาพ, วิเคราะห์ผลการเรียน, วิธีการรับเข้า

ABSTRACT Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts, Mahasarakham University is regarded as one of the famous faculty which offers Bachelor's Degrees in Bachelor of Architecture (B. Arch), Bachelor of Landscape Architecture (B.L.A), and Bachelor of Fine and Applied Arts (B.F.A) The curricula in Bachelor of Architecture, consists of 3 offered courses, which are Architecture, Urban Architecture, and Interior Architecture. All 3 subjects are 5 year-term courses. For the Bachelor of Landscape Architecture Program, there is 1 program, which is the 5-year program in Landscape Architecture. The Bachelor of Fine and Applied Arts offers 1 program which is Creative Arts. This consists of 3 majors which are Communication Art and Design, Industrial Crafts Design, and Fashion and Textile Design. Each is 4 year-term program. The collected data from the Office of Registration in each bachelor program of Faculty of Architecture, Urban Design, and Creative Arts, Mahasarakham University, during the academic year 2011 to 2017, the data was used to analyze for percentage, mean, standard deviation, T-test, and Chi-square in order to compare the academic results of the learners within the programs, who were recruited by the different methods of admissions, and to analyze academic performances of the learners between senior high

59


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

school education and undergraduate of the Faculty of Architecture, Urban Design, and Creative Arts, for the productivity of the graduates and comparing the results of the studies on different admission methods and grades between senior high school studies and undergraduate of the learners. The result of the research was used in order to improve and find suitable methods for the admission in each course offered by the Faculty of Architecture, Urban Design, and Creative Arts for better quality and efficiency, to fulfill the needs of each course, support economic development, social, and labor market as well as to be able to use the information to plan for the next admission for each program which offers by the Faculty of Architecture, Urban Design, and Creative Arts, Mahasarakham University. Keywords: Productivity, Analyze grades, Admission

1. ที่มาของปัญหาและความส�ำคัญ เนือ่ งด้วยแนวโน้มการเปลีย่ นแปลงทางด้านธุรกิจปัจจุบนั นีม้ อี ตั ราการแข่งขันสูงขึน้ ส่งผลต่อการให้การศึกษาและ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้รับความส�ำคัญ เพราะถือได้ว่าทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เป็นปัจจัยส�ำคัญในการพัฒนา ธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ว่าด้วยก�ำลัง แรงงานมีแนวโน้มลดลง และแรงงานกว่าร้อยละ 30 เป็นประชากรขณะที่ผลิตภาพแรงงานยังเพิ่มขึ้นช้า ซึ่งจะเป็นข้อจ�ำกัด ต่อการพัฒนาประเทศ ในช่วงปี 2555-2557 ก�ำลังแรงงานของไทยมีจ�ำนวน 38.9 ล้านคนและเริ่มลดลงร้อยละ 0.1 ในปี 2556 และร้อยละ 0.2 ในปี 2557 (ภาพที่ 1) ขณะที่ผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2548 – 2557) ทั้งนี้ความต้องการแรงงานที่มากขึ้นจะมีส่วนเอื้อหรือท�ำให้จ�ำเป็นต้องมีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาใน พื้นที่เพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการที่มีจ�ำนวนมาก (สศช., 2558)

ภาพที่ 1 การเปลี่ยนแปลงประชากรวัยแรงงาน ปี 2553-2583 ที่มา : การคาดประมาณประชากรไทยปี 2553-2583, สศช.

การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งในการผลิตและพัฒนาบุคลากรของชาติให้มีความรู้ และทักษะที่คาดว่าจะเหมาะสมกับการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า และสร้างเสริมความมั่นคงให้แก่ประเทศ โดยการรับ

60


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

บุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของประเทศไทยได้มีพัฒนาการมาเป็นล�ำดับ เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมามหาวิทยาได้ใช้ ระบบการสอบคัดเลือกมาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ด้วยเหตุระดับอุดมศึกษามีไม่เพียงพอแก่ ความต้องการของผู้ส�ำเร็จการ ศึกษาชัน้ มัธยมศึกษาตอนปลายทีป่ ระสงค์จะศึกษาต่อ (มณีรตั น์ กรุงแสนเมือง, 2549) แต่ปจั จุบนั แนวทางการรับเข้าศึกษา มีระบบทีห่ ลากหลาย โดยทีป่ ระชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยได้กำ� หนดการรับเข้าศึกษาในระบบกลาง TCAS (ปีการศึกษา 2561) 5 วิธี ดังนี้ การรับด้วย Portfolio การรับแบบโควตา การรับตรงร่วมกัน การรับแบบ Admission และการรับตรงอิสระ (ทปอ., 2560) ฐานะและรูปแบบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับ การจัดตั้ง เมือ่ ปี พ.ศ. 2539 ภายใต้ชอื่ “โครงการจัดตัง้ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์” โดยสถานทีต่ งั้ ในระยะแรก นั้น มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมือขอยืมอาคารเรียนเดิมของวิทยาลัยเทคโนโลยีคณาสวัสดิ์ ประกอบด้วยอาคาร 2 ชั้น 1 อาคาร, อาคารชั้นเดียวและหอประชุม เพื่อใช้เป็นห้อง ปฏิบัติการออกแบบโดยเปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรม หลักสูตร สถาปัตยกรรมเมืองและชุมชน และหลักสูตรนฤมิตศิลป์ จนเมื่อปี พ.ศ. 2542 คณะฯ ได้ย้ายการเรียนการสอนมายังอาคาร เรียนรวมศิลปกรรม ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ม.ใหม่) ต�ำบลขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ต่อมาปี พ.ศ.2543 ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยให้จัดตั้งเป็น “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์” เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2543 โดยปัจจุบันเปิดสอนระดับปริญญาตรี จ�ำนวน 5 หลักสูตร คือ สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมผังเมือง สถาปัตยกรรมภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม และนฤมิตศิลป์ (ข้อมูลจาก www.arch.msu.ac.th เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ได้เล็งเห็นความส�ำคัญของผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนิสิต ทีร่ บั เข้าศึกษา เนือ่ งจากทีผ่ า่ นมานิสติ ทีค่ ณะฯ รับเข้าศึกษาลดต�ำ่ ลง เห็นได้จากคะแนนสอบเข้าจากเดิม ส่วนใหญ่มคี ะแนน สูงกว่าร้อยละ 50 เป็นส่วนใหญ่มีคะแนนต�่ำกว่าร้อยละ 50 ทั้งนี้ คณะฯ พยายามปรับปรุงและแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ไม่ ประสบผลส�ำเร็จเท่าทีค่ วร เนือ่ งจากนักเรียนทีม่ ผี ลการเรียนดีจากโรงเรียนทีม่ มี าตรฐาน มีโอกาสและมีทางเลือกอย่างกว้างขวาง ในการเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันต่างๆ พร้อมทั้งจ�ำนวนนักเรียนที่เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาลดลง ด้วยสภาวะจ�ำนวน การเกิดของประชากรลดลง (ภาพที่ 2) และการแข่งขันของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการรับเข้าของนิสิต

ภาพที่ 2 การเปลี่ยนแปลงของอัตราเจริญพันธุ์รวมและโครงสร้างประชากรไทย ปี 2553-2583 ที่มา : การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583, สศช.

ดังนัน้ การวิจยั นีจ้ งึ เกิดขึน้ เพือ่ ศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ในผลการเรียนระดับหลักสูตรทีเ่ ข้าศึกษาด้วยวิธกี ารรับเข้า แบบต่างๆ ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามและสามารถน�ำข้อมูลไปใช้ในการ วางแผนการรับบุคคลเข้าศึกษาในรายหลักสูตรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามต่อไป

61


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

2. ค�ำถามในการวิจัย 2.1 วิธีการรับเข้าศึกษาในแต่ละหลักสูตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนมากน้อยเพียงใด 2.2 วิธีการรับเข้าศึกษาในแต่ละหลักสูตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มีผลต่อการจบการ ศึกษาตามเกณฑ์ที่ก�ำหนดหรือไม่

3. วัตถุประสงค์

3.1 เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนในระดับหลักสูตรที่เข้าศึกษาด้วยวิธีการรับเข้าแบบต่าง ๆ

3.2 เพือ่ วิเคราะห์ผลการเรียนระหว่างการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและผลการเรียนในระดับอุดมศึกษา ของนิสิตในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์

3.3 เพือ่ วิเคราะห์ผลิตภาพ (Productivity) ในการผลิตบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์

3.4 เพือ่ หาแนวทางทีเ่ หมาะสมในการรับเข้าศึกษาในแต่ละหลักสูตรทีเ่ ปิดสอน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์

4. ขอบเขตการวิจัย 4.1 การศึกษาครั้งเป็นการศึกษาหลักสูตรที่มีการเปิดการเรียนการสอนใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4.2 ข้อมูลในการศึกษา คือ ข้อมูลนิสิตที่ผ่านการรับเข้าศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในปีการศึกษา 2555 ถึง ปีการศึกษา 2560

4.3 ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ใช้ระยะเวลาในการวิจัย 10 เดือน

4.4 ตัวแปรทีใ่ ช้ในการศึกษา ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านประเภทการรับเข้าศึกษาปีการศึกษา การรับเข้าศึกษา สาขาวิชาทีร่ บั เข้าศึกษา ค่าเฉลีย่ ผลการเรียนภาคการศึกษา ค่าเฉลีย่ ผลการเรียนตลอดหลักสูตร และสถานภาพทางการศึกษา 4.5 การวิเคราะห์ผลิตภาพ (Productivity) ในการผลิตบัณฑิต ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ด้วยดัชนี ดังนี้ (1) อัตรา การตกออกเพราะผลการเรียน (2) อัตราการออกกลางคันเพราะเหตุอื่น และ (3) อัตราการส�ำเร็จการศึกษา

5. วิธีด�ำเนินการวิจัย การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษา เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนในระดับหลักสูตรที่เข้าศึกษาด้วยวิธีการรับเข้าแบบต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ผลการเรียนระหว่างการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและผลการเรียนในระดับอุดมศึกษาของนิสิตใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ เพื่อวิเคราะห์ผลิตภาพ (Productivity) ในการผลิตบัณฑิต คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ และ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการรับเข้าศึกษาในแต่ละหลักสูตรที่ เปิดสอน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์

62

5.1 หน่วยที่ใช้ในการวิเคราะห์


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

การวิจัยในครั้งนี้ มีหน่วยในการวิเคราะห์ ระดับปัจเจก คือ นิสิตที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

5.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรทีใ่ ช้ในการวิจยั ครัง้ นี้ คือ แหล่งข้อมูลในระบบทะเบียนนิสติ ในแต่ละหลักสูตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในช่วงปีการศึกษา พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2560

5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

การวิจยั นีใ้ ช้ฐานข้อมูลทุตยิ ภูมิ คือ ข้อมูลนิสติ จากทะเบียนนิสติ โดยการรวบรวมด้วยแบบบันทึกข้อมูล ทีป่ ระกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านประเภทการรับเข้าศึกษา ปีการศึกษาการรับเข้าศึกษา สาขาวิชาทีร่ บั เข้าศึกษา ค่าเฉลีย่ ผลการเรียน ภาคการศึกษา ค่าเฉลี่ยผลการเรียนตลอดหลักสูตร และสถานภาพทางการศึกษา โดยผู้วิจัยสร้างแบบฟอร์มในการรวบรวม ข้อมูล

ภาพที่ 3 แบบฟอร์มที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

5.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยท�ำหนังสือขออนุญาตใช้ฐานข้อมูลทุติยภูมิของนิสิตในระบบทะเบียนนิสิตในแต่ละหลักสูตร หลักสูตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในช่วงปีการศึกษา พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2560 และบันทึกข้อมูลลงแบบทึกข้อมูลผ่านโปรแกรม Microsoft excel

5.5 การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลด�ำเนินการ ด้วยการวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และไคสแควร์ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมส�ำเร็จรูปในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ SPSS For

63


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

Windows ซึ่งจ�ำแนกการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ระดับ คือ การวิเคราะห์ระดับตัวแปรเดียว (Univariate Analysis) ได้แก่ สถิติ ที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อแสดงการกระจายของข้อมูลและเพื่อทราบลักษณะ พื้นฐานทั่วไปของข้อมูลกลุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์ระดับสองตัวแปร (Bivariate Analysis) ใช้สถิติศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระต่าง ๆ กับการประเมินผลปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ

6. ผลการศึกษา

6.1 วิเคราะห์ผลการเรียนระหว่างมัธยมศึกษาตอนปลายและผลการเรียนในระดับอุดมศึกษา

ผลการเรียนระหว่างมัธยมศึกษาตอนปลายและผลการเรียนในระดับอุดมศึกษาของนิสติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ พบว่า การรับเข้ารอบโควตา ส่วนใหญ่นิสิตมีผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษา เกรดเฉลี่ยมากกว่า 3.00 จ�ำนวน 695 คน รองลงมามีเกรดเฉลี่ยระหว่าง 2.51-3.00 จ�ำนวน 362 คน ส่วนระดับอุดมศึกษานิสิตกลุ่มที่เข้ารอบ โคตามีเกรดเฉลี่ยมากสุด คือ เกรดเฉลี่ยระหว่าง 2.51-3.00 จ�ำนวน 341 คน รองลงมามีเกรดเฉลี่ยต�่ำกว่า 2.00 มากถึง 400 คน รอบการรับตรงทัว่ ประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่มเี กรดเฉลีย่ 2.51-3.00 จ�ำนวน 152 คน รองลงมามีเกรดเฉลีย่ มากกว่า 3.00 จ�ำนวน 132 คน ส่วนระดับอุดมศึกษานิสติ กลุม่ ทีเ่ ข้ารอบโคตามีเกรดเฉลีย่ ต�ำ่ กว่า 2.00 มากทีส่ ดุ คิดเป็นจ�ำนวน 134 คน รองลงมามีเกรดเฉลี่ยระหว่าง 2.51-3.00 จ�ำนวน 90 คน ตามล�ำดับ รอบ Admission พบว่า ส่วนใหญ่มีเกรดเฉลี่ยมากกว่า 3.00 จ�ำนวน 238 คน รองลงมามีเกรดเฉลี่ย ระหว่าง 2.00-2.50 จ�ำนวน 228 คน ส่วนระดับอุดมศึกษานิสิตกลุ่มที่เข้า รอบ Admission มีเกรดเฉลี่ยระหว่าง 2.51-3.00 มากที่สุด คิดเป็นจ�ำนวน 176 คน รองลงมามีเกรดเฉลี่ยมากกว่า 3.00 จ�ำนวน 173 คน ตามล�ำดับ และโครงการที่คณะ ด�ำเนินการฯ พบว่า ส่วนใหญ่มเี กรดเฉลีย่ 2.51-3.00 จ�ำนวน 22 คน รองลงมามีเกรดเฉลีย่ ระหว่าง 2.00-2.50 จ�ำนวน 20 คน ส่วนระดับอุดมศึกษานิสิตกลุ่มที่เข้ารอบโครงการที่คณะด�ำเนินการฯ มีเกรดเฉลี่ยต�่ำกว่า 2.00 มากที่สุด จ�ำนวน 22 คน มากสุด รองลงมามีเกรดเฉลี่ย 2.00-2.50 จ�ำนวน 10 คน ตารางที่ 1 จ�ำนวนนิสิตต่อผลการเรียนระหว่างมัธยมศึกษาตอนปลายและผลการเรียนในระดับอุดมศึกษาของนิสิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ผลการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา

วิธีการรับเข้าศึกษา

64

ระดับอุดมศึกษา

<2.00

2.00-2.50

2.51-3.00

>3.00

<2.00

2.00-2.50 2.51-3.00

>3.00

โควตา

9

168

362

695

400

157

341

284

รับตรงทั่วประเทศ

14

95

152

132

134

64

90

57

Admission

17

105

228

238

92

83

176

173

โครงการ ที่คณะดำ�เนินการฯ

7

20

22

13

22

13

10

9

รวม

47

388

765

1078

648

318

617

523


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

6.2 อัตราการคงอยู่

ผลการวิเคราะห์นิสิตเข้าศึกษารายภาคต่อวิธีการรับเข้าศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่นิสิตภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเข้าศึกษาในระหว่างปีการศึกษา พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2560 จ�ำนวน 2027 คน และมีสถานะภาพคงอยู่ จ�ำนวน 787 คน (ร้อยละ 1.05) และพบว่าอัตราการคงอยู่ต�่ำสุด คือรอบโควตา คิดเป็นส่วนต่างถึง คิดเป็นร้อยละร้อยละ -3.19 รองลงมา รอบโครงการที่คณะด�ำเนินการเอง คิดเป็นร้อยละ 0.06 นิสติ ภูมภิ าคกลาง โดยเข้าศึกษาในระหว่างปีการศึกษา พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2560 จ�ำนวน 180 คน และมีสถานะภาพ คงอยู่ จ�ำนวน 60 คน และนิสติ ภูมภิ าคเหนือ โดยเข้าศึกษาในระหว่างปีการศึกษา พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2560 จ�ำนวน 25 คน และมีสถานะภาพคงอยู่ จ�ำนวน 13 คน ตารางที่ 2 จ�ำนวนและร้อยละของนิสิตเข้าศึกษาและการคงอยู่ของนิสิตต่อวิธีการรับเข้าศึกษา

วิธีการรับเข้าการศึกษา

การเข้าศึกษาต่อ

การคงอยู่นิสิต

ส่วนต่าง

จำ�นวน

ร้อยละ

จำ�นวน

ร้อยละ

(ร้อยละ)

โควตา

1234

54.19

1182

56.15

-52 (1.96)

รับตรงทั่วประเทศ

393

17.26

345

16.39

Admission

588

25.82

524

24.89

-64 (0.93)

โครงการที่คณะดำ�เนินการเองฯ

62

2.72

54

2.57

-8 (0.15)

รวม

2277

100

2105

100

-172

-48 (0.87)

6.3 การส�ำเร็จการศึกษา

อัตราการส�ำเร็จการศึกษาของนิสิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาค การศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นภาคการศึกษาที่นิสิตรุ่นนี้ได้ศึกษามาครบ ตามหลักสูตร ปรากฏว่ามีผู้ส�ำเร็จ การศึกษาทัง้ สิน้ จ�ำนวน 179 คน เมือ่ จ�ำแนกตามประเภทการรับเข้า พบว่า รอบรับตรงทัว่ ประเทศ มีจำ� นวนนิสติ ทีจ่ บการศึกษา มากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 44.7 รองลงมารอบ Admission จ�ำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 35.8 และรอบโควตา จ�ำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 19.6 ปีการศึกษา พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นภาคการศึกษาที่นิสิตรุ่นนี้ได้ศึกษามาครบ ตามหลักสูตร ปรากฏว่ามีผู้ส�ำเร็จการ ศึกษาทัง้ สิน้ จ�ำนวน 219 คน เมือ่ จ�ำแนกตามประเภทการรับเข้า พบว่า รอบรับตรงทัว่ ประเทศ มีจำ� นวนนิสติ ทีจ่ บการศึกษา มากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 46.6 รองลงมารอบ Admission จ�ำนวน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 36.1 และรอบโควตา จ�ำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 17.4 ปีการศึกษา พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นภาคการศึกษาที่นิสิตรุ่นนี้ได้ศึกษามาครบ ตามหลักสูตร ปรากฏว่ามีผู้ส�ำเร็จการ ศึกษาทัง้ สิน้ จ�ำนวน 201 คน เมือ่ จ�ำแนกตามประเภทการรับเข้า พบว่า รอบรับตรงทัว่ ประเทศ มีจำ� นวนนิสติ ทีจ่ บการศึกษา มากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 54.2 รองลงมารอบ Admission จ�ำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 28.1 และรอบโควตา จ�ำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 13.0

65


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ตารางที่ 3 อัตราการส�ำเร็จการศึกษาของนิสติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ เมือ่ สิน้ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา พ.ศ. 2554-2557 ปี 2554

ปี 2555

ปี 2556

ปี 2557

รวม

ประเภทการเข้า ศึกษา

จำ�นวน

ร้อยละ

จำ�นวน

ร้อยละ

จำ�นวน

ร้อยละ

จำ�นวน

ร้อยละ

(ร้อยละ)

โควตา

35

19.6

38

17.4

25

13.0

0

0.0

98(100)

รับตรงทั่วประเทศ

80

44.7

102

46.6

104

54.2

7

33.3

293(100)

Admission

64

35.8

79

36.1

54

28.1

11

52.4

208(100)

โครงการ ที่คณะดำ�เนินการฯ

0

0

0

0

9

4.7

3

14.3

98(100)

รวม

179 (100)

219 (100)

201 (100)

30 (100)

697

7. สรุปผลการวิจัย

7.1 เปรียบเทียบผลการเรียนต่อวิธีการรับเข้าศึกษาแบบต่าง ๆ

พบว่า ผลการเรียนต่อวิธีการรับเข้าศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม นิสติ ทีร่ บั เข้าในรอบโควตามีผลการเรียนทีด่ กี ว่านิสติ ทีเ่ ข้าด้วยรอบการรับเข้าอืน่ ๆ รองลงมานิสติ ทีเ่ ข้าในรอบ Admission มีผลการเรียนอยู่ระหว่าง 2.51-3.00 และนิสิตที่เข้าในรอบการรับตรงทั่วประเทศ ถือว่ามีระดับผลการเรียนที่ ต�่ำกว่าวิธีการรับเข้าอื่น ๆ

7.2 ผลการเรียนระหว่างการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและผลการเรียนใน ระดับอุดมศึกษาของนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์

พบว่าภาพรวมของระดับผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและผลการเรียนในระดับอุดมศึกษาของนิสิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ แปรผกผัน (Inverse variation) ทุกวิธกี ารรับเข้าอย่างเห็นได้ชดั โดยเฉพาะ วิธีการรับเข้าแบบรับตรงทั่วประเทศ และโครงการที่คณะด�ำเนินการเอง

7.3 ผลิตภาพ (Productivity) ในการผลิตบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ

พบว่าผลิตภาพ (Productivity) ในการผลิตบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ อยู่ใน ระดับทีส่ งู คิดเป็นร้อยละ 82.9 โดยเฉพาะวิธกี ารรับเข้าโครงการทีค่ ณะด�ำเนินการเอง มีคา่ ผลิตภาพการผลิตบัณฑิตทีส่ งู ถึง ร้อยละ 95.5 ซึ่งมีผลมาจากนิสิตที่เข้าในรอบนี้มีจ�ำนวนไม่มาก และส่วนใหญ่เป็นนิสิตที่ย้ายคณะ ย้ายสาขา จึงมีความตั้งใจ ให้จบการศึกษาตามเกณฑ์ที่ก�ำหนด ถึงแม้ผลการเรียนของนิสิตที่เข้าในรอบนี้จะต�่ำก็ตาม เมือ่ พิจารณาผลิตภาพการผลิตบัณฑิตของนิสติ ทีเ่ ข้ารอบรับตรงทัว่ ประเทศ (ร้อยละ 73.3) มีระดับทีต่ ำ�่ กว่าทุกรอบ การเข้าศึกษาและสอดคล้องกับระดับผลการเรียนที่ต�่ำกว่านิสิตในรอบการรับเข้าด้วยวิธีอื่น ๆ

7.4 แนวทางที่เหมาะสมในการรับเข้าศึกษาแต่ละหลักสูตรที่เปิดสอนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ

พบว่าการรับเข้าในแต่ละหลักสูตรต้องพิจารณา 3 ประเด็น คือ

66


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ผู้สมัครที่ไม่มารายงานตัว นิสิตที่ออกกลางคัน และการตกออกเพราะผลการเรียน รายละเอียดดังนี้

7.4.1 ผู้สมัครที่ไม่มารายงานตัว ในรอบปีการศึกษา พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2560 พบว่า สาขาที่มีจ�ำนวน ผู้สมัครที่ไม่มารายงานตัวมากที่สุด คือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จ�ำนวนมากถึง 226 คน รองลงมาสาขาวิชา สถาปัตยกรรมภายใน สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาวิชานฤมิตศิลป์ และสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม จ�ำนวน 211, 149, 127 และ 101 ตามล�ำดับ 7.4.2 นิสิตออกกลางคัน ในรอบปีการศึกษา พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2560 พบว่า สาขาที่มีนิสิตที่ออก กลางคันมากที่สุด คือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน จ�ำนวน 111 คน รองลงมาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาวิชา สถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ และสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ จ�ำนวน 93, 77, 74 และ 53 คน ตาม ล�ำดับ 7.4.3 การตกออกเพราะผลการเรียน ในรอบปีการศึกษา พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2560 พบว่า สาขาที่มี นิสติ ทีอ่ อกกลางคันมากทีส่ ดุ คือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมืองและสาขาวิชานฤมิตศิลป์ จ�ำนวน 43 คน เท่าๆ กัน รองลงมา สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ จ�ำนวน 42, 28 และ 24 ตามล�ำดับ

8. ข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาวิจัย คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย เพื่อน�ำไปใช้ในวางแผนต่อการรับนิสิต คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 8.1 การรับนิสิตเข้าศึกษาต่อในคณะฯ ต้องค�ำนึงถึงจ�ำนวนและสัดส่วนของการรับเข้าในแต่ละวิธี โดยเฉพาะรอบ การรับตรงทั่วประเทศ ที่ผู้สมัครเข้าศึกษาจะมีผลการเรียนที่สูงแต่เมื่อเข้ามาศึกษาแล้วระดับผลการเรียนต�่ำกว่าวิธีการรับ เข้าอื่น ๆ 8.2 ระดั บ ผลการเรี ย นระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลายและผลการเรี ย นในระดั บ อุ ด มศึ ก ษาของนิ สิ ต คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์มีระดับ แปรผกผัน (Inverse variation) ทุกวิธีการรับเข้าศึกษา ดังนั้นการ พิจารณาการรับเข้าให้ทุกสาขาใช้เกณฑ์อื่นร่วมด้วยในการพิจารณาการรับเข้า 8.3 เมื่อพิจารณาผลิตภาพการผลิตบัณฑิตของนิสิตที่เข้ารอบรับตรงทั่วประเทศ มีระดับที่ต�่ำกว่าทุกวิธีการ เข้าศึกษา ดังนั้นทุกสาขาวิชาควรให้น�้ำหนักและสัดส่วนการรับนิสิตในวิธีหรือรอบการรับเข้าอื่น ๆ

8.4 ข้อเสนอแนะในการท�ำวิจัยครั้งต่อไป

การศึกษาในครั้งนี้ ถือว่าการวิจัยน�ำร่อง (Research pilot) เพื่อติดตามประเมินเชิงวิชาการด้านการรับเข้าของ นิสติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ และอัตราการคงอยู่ โดยการศึกษาครัง้ ต่อไปพิจารณาตามประเภท การรับเข้าของ TCAS ทั้ง 5 รอบ

67


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

9. บรรณานุกรม กองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2560 : ระเบียบการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับ ปริญญาตรีระบบรับตรง มหาวิทยาลัยมหาสารคามประจ�ำปีการศึกษา 2560, 12-15 กาญจนา แย้มเสาธง. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร บั ณ ฑิ ต คณะสถาปัต ยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลั ย นเรศวร. วารสารวิ ช าการ ศิ ล ปะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 3(2), 123-129. การรับบุคลเข้าศึกษาในประเทศไทย ได้จาก: URL https://th.wikipedia.org/wiki [สืบค้นเมือ่ วันที่ 15 กรกฎาคม 2562]. พัชสุดา กัลป์ยาณวุฒ.ิ (2552). ปัจจัยทีส่ ง่ ผลกระทบต่อผลสัมฤทธิท์ างการศึกษาของนักศึกษาระดับ ปวช. และ ระดับปวส. ของวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพ และบริหารธุรกิจ [ออนไลน์] ได้จาก:URLhttp://www.payaptechno.ac.th/ app/images/payap/ research /research1/st005.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 กรกฎาคม 2562]. ราตรี ธรรมค�ำ. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนของนักศึกษาที่สอบคัดเลือกระบบมหิดลรับตรง และระบบกลาง กรณีศกึ ษา คณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจ�ำ สู่งานวิจัย 4(4), 9-17. ววิลาวัลย์ กองสะดี (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา รหัส 52 คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัย ราชพฤกษ์ ปีการศึกษา 2552 [ออนไลน์] ได้จาก: URL http://www.rpu.ac.th/Library_web/doc/RC_RR /2552_Market_wirawan.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 กรกฎาคม 2562].

68


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

69


สภาพกายภาพของโรงพยาบาลศูนย์กลาง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว Physical Environment of Central Hospital in LAOS Received : October 21, 2019 Revised : November 29, 2019 Accepted : December 23, 2019

ไชยะลาด ลาชาวะดี1* และไตรวัฒน์ วิรยศิริ2 1

นักศึกษาปริญญาโท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 2

Xayalath laxavady1* and Traiwat Viryasiri, RTN.2 1

Student, Faculty of Architecture, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand Professor, Department of Architecture, Faculty of Architecture, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand

2

Email: laxavady@gmail.com


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาโรงพยาบาลระดับศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว เพื่อท�ำความเข้าใจถึงสภาพทางกายภาพของโรง พยาบาล 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ โรงพยาบาลเชษฐาธิราช โรงพยาบาลแม่และเด็ก และโรง พยาบาลเด็ก โดยมีกระบวนการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลในผังสถาปัตยกรรม และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่กรณีศึกษา ส�ำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้พื้นที่ เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการศึกษาและ อภิปราย ผลการศึกษาพบว่า พ.ศ. 2561 โรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ และโรง พยาบาลเชษฐาธิราช มีสภาพอาคารส่วนใหญ่กอ่ สร้างมานานประมาณ 19 ปีขนึ้ ไป มีการออกแบบให้เหมาะสมกับเทคโนโลยี อาคารในยุคนั้น ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการใช้งานตามสภาพมาเป็นระยะ ๆ และอยู่ในระหว่างการวางแผนก่อสร้าง อาคารหลังใหม่ ในพื้นที่โรงพยาบาลเดิม เพื่อรองรับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ส่วนโรงพยาบาลแม่และเด็ก และ โรงพยาบาลเด็ก อาคารที่ใช้งานอยู่ก่อสร้างมาได้ประมาณ 10 ปี มีการออกแบบอาคารโดยใช้เทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ยังไม่มี การปรับปรุงอาคารครั้งใหญ่ และยังไม่มีแผนก่อสร้างอาคารหลังใหม่ จึงสรุปได้วา่ สภาพกายภาพโรงพยาบาลระดับศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว ขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ โรงพยาบาลเชษฐาธิราช อยูร่ ะหว่างการพัฒนาก่อสร้างอาคารทีท่ นั สมัยมากขึน้ ส่วนโรงพยาบาลขนาดเล็ก 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลแม่และเด็ก และโรงพยาบาลเด็ก ยังมีสภาพที่ตอบสนองบริการได้ ค�ำส�ำคัญ: โรงพยาบาลศูนย์กลาง,สภาพทางกายภาพ

ABSTRACT This research aims to study certain crucial hospitals in Laos in order to get advance understanding about the facility properties of 5 hospitals, including Mahosot hospital, Mittaphab hospital, Setthathirath hospital, Mother and child hospital and children hospital. with a research process by studying information in the architectural plan and other related documents field trip and users interview, case studies survey and observations, collect data, process and analyze data, summary of study results and discussion of results. The research result of three hospital facilit in 2561 BE showed that the most of buildings which were made over 20 years ago displayed suitable design for technology at that period. These hospitals with adaptive function for contemporary period get the plan of renovation to replace those existing building for supporting new high-tech medical equipment. Meanwhile, two latter hospitals, including Mom and Newborn Hospital and Child’s Hospital, were built over ten years ago with suitable design for current high-technology medical equipment, which makes it unnecessary to plan for changing the facility of building. Therefore, the summarized data indicated the facility properties of 3 central hospitals on Lao’s People Democratic Republic including Mahosot Hospital, Mittaphab Hospital and setthathirath Hospital requires development for more decent construction whereas 2 other hospitals consisting of mother and child Hospital and Children Hospital remain available for service. Keywords: central hospital, built environment,

71


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

1. บทน�ำ โรงพยาบาลเป็นสถานที่ส�ำหรับให้บริการด้านสุขภาพให้กับประชาชนทั่วไปโดยมุ่งเน้นส่งเสริมป้องกันรักษาและ ฟื้นฟูภาวะความเจ็บป่วยหรือโรคต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ใน พ.ศ.2561 ส ป ป. ลาว แบ่งประเภทโรงพยาบาล ตามการดูแลควบคุมบริการได้แก่ ถุงยาประจ�ำบ้านเทียบเท่าสถานีอนามัยหมู่บ้าน สุกสาลาเทียบเท่าสถานีอนามัยต�ำบล โฮงหมอเมืองเทียบเท่าโรงพยาบาลอ�ำเภอ โฮงหมอแขวงเทียบเท่าโรงพยาบาลจังหวัด และโฮงหมอขัน้ ศูนย์กลางเทียบเท่ากับ โรงพยาบาลทุติยภูมิ (โรงพยาบาลศูนย์กลางแพทย์)

ภาพที่ 1 ประเภทโรงพยาบาลใน สปป.ลาว

โรงพยาบาลขัน้ ศูนย์กลางใน สปป.ลาว เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ทมี่ ผี เู้ ข้ารับบริการเป็นจ�ำนวนมากในแต่ละวัน หลายโรงพยาบาลได้เปิดให้บริการมานาน และมีการใช้งานอาคารบางส่วนที่ยังไม่ตอบสนองการให้บริการทางการแพทย์ที่ ทันสมัยได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้อาคารและมีภาพลักษณ์โรงพยาบาลที่ต่างจากมาตรฐานบริการสาธารณสุขสากล จึงเห็นว่าควรมีการศึกษาสภาพกายภาพของโรงพยาบาลขัน้ ศูนย์กลางในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยศึกษา ทัง้ 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถ (โฮงหมอมะโหสด) โรงพยาบาลมิตรภาพ (โฮงหมอมิคตะพาบ) โรงพยาบาลเชษฐาธิราช (โฮงหมอเชดถาทิลาด) โรงพยาบาลแม่และเด็ก (โฮงหมอแม่และเด็ก) และโรงพยาบาลเด็ก (โฮงหมอเด็ก)

2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา

เพื่อศึกษาสภาพกายภาพโรงพยาบาลขั้นศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว

3. ข้อตกลงเบื้องต้น 3.1 เนือ่ งจากงานวิจยั ครัง้ นีไ้ ด้ศกึ ษาสภาพกายภาพโรงพยาบาลขัน้ ศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว มีบางค�ำเป็นค�ำศัพท์ เฉพาะของ ส ป ป.ลาว โดยค�ำดังกล่าวผู้วิจัยจะใส่พยัญชนะไทยสะกดตามแบบภาษาลาวก�ำกับไว้ในครั้งแรกที่กล่าวถึงด้วย

72

3.2 การวิจัยนี้เกี่ยวกับสภาพกายภาพอาคารสถานที่ ไม่เป็นการวิจัยในบริการการแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ที่มารับบริการ มีข้อจ�ำกัดในการถ่ายภาพภายในโรงพยาบาล ตามมาตรฐานสากล 3.3 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ใช้เกณฑ์การแบ่งพื้นที่การใช้งานอาคารโรงพยาบาลตามต�ำราการออกแบบ โรงพยาบาลของ อวยชัย วุฒิโฆษิต ที่แบ่งพื้นที่การใช้ใช้งานออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ 1) ฝ่ายรักษาและบ�ำบัด 2) ฝ่ายสนับสนุนทางคลินิก 3) ฝ่ายรักษาพิเศษ 4) หอผู้ป่วยใน 5) ฝ่ายบริหารและธุรการ 6) ฝ่ายบริการ

4. ระเบียบวิธีวิจัย 4.1 ศึกษาข้อมูล ศึกษาข้อมูลเบือ้ งต้นของโรงพยาบาลขัน้ ศูนย์กลาง โดยการศึกษาข้อมูลในผังสถาปัตยกรรม เอกสารอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ลงพื้นที่กรณีศึกษา ส�ำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ 4.2 ก�ำหนดกรอบการศึกษา 1) ก�ำหนดขอบเขตของการศึกษาสภาพกายภาพอาคารสถานที่ในส่วนท�ำงานของแพทย์พยาบาล และ บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลขั้นศูนย์กลางทั้ง 5 แห่ง ในประเด็นต่อไปนี้

ก) จ�ำนวนอาคาร

ข) ขนาดที่ดินที่ใช้เป็นโรงพยาบาล

ค) ปีที่ก่อสร้างของอาคารแต่ละหลัง

ง) ความสูงจ�ำนวนชั้น

จ) พื้นที่อาคารโดยรวม

ฉ) สภาพการใช้งานทั่วไป

2) ก�ำหนดขอบเขตของการสัมภาษณ์ผเู้ กีย่ วข้องและท�ำงานเกีย่ วกับระบบบริการสาธารณสุขโดยผูว้ จิ ยั ได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ก�ำหนดนโยบาย และกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่แพทย์และพยาบาล 4.3 น�ำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และข้อมูลจากกรณีศึกษา ผู้วิจัยน�ำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และท�ำการ ประเมินและอภิปรายสรุปข้อมูลเชิงบรรยาย

5. ผลการศึกษา

ในการศึกษาได้ศึกษาโรงพยาบาลทั้งหมด 5 แห่ง ตามที่กล่าวมาข้างต้นดังนี้

5.1 ข้อมูลเบื้องต้นของโรงพยาบาลที่ศึกษา

5.1.1 โรงพยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมโหสถ ตัง้ อยูท่ บี่ า้ นสีสะเกด เมืองสีสตั ตะนาก นครหลวงเวียงจันทน์เป็นโรงพยาบาลระดับ

73


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ศูนย์กลางและเป็นโรงพยาบาลทีใ่ ช้ฝกึ หัดนักศึกษาแพทย์ ในปี พ.ศ. 2561 ในโรงพยาบาลมีทดี่ นิ ประมาณ 301 ไร่ มีจำ� นวนเตียง ทีพ่ ร้อมให้บริการ 450 เตียง มีจำ� นวนบุคลากรทัง้ หมด 887 คน แบ่งเป็น แพทย์ 239 คน พยาบาล 429 คน เภสัชกร 48 คน ทันตแพทย์ 20 คน และบุคลากรอื่น ๆ อีก 151 คน โรงพยาบาลมีความเชี่ยวชาญ ด้านการศัลยกรรมช่องท้อง การรักษา ระบบขับถ่ายปัสสาวะ และการรักษาหลอดเลือดหัวใจ มีอาคารอยู่ทั้งหมด 26 หลัง โดยเป็นอาคารทางการแพทย์ 18 หลัง โดยแบ่งอาคารแต่ละหลังตามแผนกภายในโรงพยาบาล ตารางที 1 รายระเอียดของอาคารในโรงพยาบาลมโหสถ ตำ�แหน่ง

ชื่ออาคาร

ความสูง พื้นที่คุ่มดิน พื้นที่การใช้สอย (ชั้น) (ตารางเมตร) (ตารางเมตร)

อายุอาคาร (ปี)

เข้าถึงข้อมูล ละเอียดได้

E

อาคารบริหาร

2

687.41

1308.41

99

K

อาคารจุลินทรีย์

1

282.08

414.65

109

A

อาคารตา คอ จมูก

2

397.92

N/A

99

N/A

G

อาคารอาคารสูตินรีเวช

2

3,341.15

6420.49

59

B

อาคารฉุกเฉิน

3

614.1

1685.55

41

C

อาคารห้องตรวจผู้ป่วยนอก

2

505.51

686.21

27

L

อาคารจิตเวช

2

101.39

205.03

40

N

อาคารโรงเรียนอานุบาล

2

162.27

331.964

20

Q

อาคารแผนกปอด

2

800.

N/A

41

N/A

D

อาคารศูนย์หัวใจ

2

1,180

2107.05

15

F

อาคารประชุม

2

260.08

497.6

19

H

อาคารสนับสนุนทางคลินิกและรักษาพิเศษ

3

873.29

3431.56

10

I

อาคารหอผู้ป่วยใน

3

948.52

2921.19

7

O

อาคารทันตกรรม

2

222

N/A

9

N/A

R

อาคารคลินิกสากล

2

777.92

410.06

19

J

อาคารเวชศาสตร์เขตร้อน

2

586.44

1154.03

11

M

อาคารจุลินทรีย์

2

175

153,2

7

P

ห้องตรวจผู้ป่วยติดเชื้อ

1

234.93

N/A

6

N/A

หมายเหตุ: N/A คือ ไม่สามารถเข้าเก็บข้อมูลได้ และ เครื่องหมาย √ คือ สามารถเข้าถึงรายละเอียดข้อมูล

5.1.2 โรงพยาบาลมิตรภาพ

โรงพยาบาลมิตรภาพตัง้ อยูท่ ี่ บ้านโพนต้องจอมะนี เมืองจันทบุรี นครหลวงเวียงจันทน์ เป็นโรงพยาบาล ระดับศูนย์กลางและเป็นโรงพยาบาลที่ใช้ฝึกหัดนักศึกษาแพทย์ สร้างในปี พ.ศ.2522 ในความช่วยเหลือของอดีตสหภาพ โซเวียต ใน พ.ศ.2561 มีทดี่ นิ ประมาณ 60 ไร่ ผูว้ จิ ยั ขนาด 300 เตียง มีบคุ ลากรทัง้ หมด 648 คน โดยเป็นแพทย์ 157 คน พยาบาล 286 คน และบุคลากรอื่น ๆ อีก 205 คน เป็นโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญในด้านในด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ ศัลยกรรมสมอง ไตเทียมและการฟอกเลือด และการรักษามะเร็ง[2] อาคารทั้งหมดมี 12 หลัง ใน พ.ศ.2550 ได้ก่อสร้าง

74


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

อาคาร 1 หลัง ได้แก่ อาคารหอผู้ป่วยพระสงฆ์สามเณร ใน พ.ศ.2560 ได้ก่อสร้างอาคาร 1 หลัง ได้แก่ อาคารรักษามะเร็ง และใน พ.ศ. 2561 มีอาคารโรงพยาบาลหลังใหม่ออกแบบให้มีความจุ 300 เตียง สร้างด้วยโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ อยู่ระหว่างรอส่งมอบเข้าใช้งาน ตารางที่ 2 รายละเอียดของอาคารในโรงพยาบาลมิตรภาพ ตำ�แหน่ง

ชื่ออาคาร

ความสูง (ชั้น)

พื้นที่คุ่มดิน (ตารางเมตร)

พื้นที่การใช้สอย (ตารางเมตร)

อายุอาคาร (ปี.)

การเข้าถึง ข้อมูล

A

อาคารบริหาร

3

2392..31

4037.19

40

C

อาคารรักษา

6

3036.23

15,034.58

40

D

หอผู้ป่วยในพิเศษ

1

1415.17

1415.17

40

F

หอพักพนักงาน

3

837.34

N/A

40

N/A

G

หอพักพนักงาน

3

837.34

N/A

40

N/A

I

หอพักพนักงาน

1

2714.94

N/A

40

N/A

E

หอผู้ป่วยสงค์

2

636.11

N/A

12

N/A

J

อาคารรักษามะเร็ง

1

430.34

N/A

12

N/A

B

อาคารฉุกเฉิน

2

1,589.83

2,785.19

16

H

โรงอาหาร

2

1340.61

N/A

8

N/A

L

ศูนย์มะเร็ง

1

1368

N/A

3

N/A

M

โรงพะยาลหลังใหม่

4

10244

N/A

0

N/A

หมายเหตุ: N/A คือ ไม่สามารถเข้าเก็บข้อมูลได้ และ เครื่องหมาย √ คือ สามารถเข้าถึงรายละเอียดข้อมูล

5.1.3 โรงพยาบาลเชษฐาธิราช

โรงพยาบาลเชษฐาธิราช ตั้งอยู่ที่ บ้านดอนกอย เมืองไชถานี นครหลวงเวียงจันทน์ เป็นโรงพยาบาล ระดับศูนย์กลาง และเป็นโรงพยาบาลทีใ่ ช้ฝกึ หัดนักศึกษาแพทย์ เปิดใช้งานอาคารใน พ.ศ.2544 ใน พ.ศ.2561 มีทดี่ นิ ประมาณ 10 ไร่ ขนาด 175 เตียง มีบุคลากรทั้งหมด 462 คน โดยเป็นแพทย์ 106 คน พยาบาล 164 คนและอื่น ๆ อีก 192 คน เป็น โรงพยาบาลเชี่ยวชาญในเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อ ผู้ป่วยมะเร็ง และผู้ป่วยระบบทางเดินอาหาร และก�ำลังด�ำเนินการ เข้าใช้อาคารระบบต่อมไร้ท่อ (ต่อมขับย่อย) และมีแผนที่จะสร้างอาคารฉุกเฉิน (สุกเสีน) หลังใหม่โดยการช่วยเหลือจาก รัฐบาลญี่ปุ่น มีจ�ำนวนอาคาร 9 หลัง

75


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ตารางที่ 3 รายละเอียดของอาคารในโรงพยาบาลเชษฐาธิราช ตำ�แหน่ง

ชื่ออาคาร

ความสูง (ชั้น)

พื้นที่คุ่ม(ดิน)

พื้นที่การใช้สอย (ตารางเมตร)

อายุอาคาร(ปี)

การเข้าถึง ข้อมู้ล

A

อาคารส่วนรักษาหลัก

2

2,750.33

5524.11

19

G

หอผู้แผกอายุรกรรมป่วยใน

1

200.44

N/A

19

N/A

H

หอผู้แผกอายุรกรรมป่วยใน

1

121.41

N/A

19

N/A

B

อาคารclinical learning Center

1

427.33

N/A

9

N/A

D

อาคารคลังยา

1

267.98

N/A

7

N/A

E

อาคารกายบำ�บัด

1

274.6

N/A

9

N/A

C

หอผู้ป่วยใน

3

928.1

N/A

4

N/A

F

อาคารหอผู้ป่วยวันณะโรค

3

521.62

N/A

4

N/A

I

อาคารตอมขับย่อย

3

1043.95

N/A

1

N/A

หมายเหตุ: N/A คือ ไม่สามารถเข้าเก็บข้อมูลได้ และ เครื่องหมาย √ คือ สามารถเข้าถึงรายละเอียดข้อมูล

5.1.4 โรงพยาบาลแม่และเด็ก ใน พ.ศ. 2557 ได้มีการก่อสร้างอาคารด้วยการสมทบทุนระหว่างของรัฐบาลลาวและมูลนิธินิรันดา ประเทศญีป่ นุ่ และได้เปีดใช้งานใน พ.ศ.2558 ตัง้ ทีบ่ า้ นหนองพะยา เมืองไชถานี นครหลวงเวียงจันทน์เป็นโรงพยาบาลระดับ ศูนย์กลางและเป็นโรงพยาบาลที่ใช้ฝึกหัดนักศึกษาแพทย์ ใน พ.ศ. 2561 มีที่ดินประมาน 28 ไร่ผู้วิจัย ขนาด 150 เตียง จ�ำนวนเจ้าหน้าที่ 237 คน โดยเป็นแพทย์ 60 คน พยาบาล 111คน และบุคลากรอืน่ ๆ อีก 66 คน เป็นโรงพยาบาลเชีย่ วชาญ ในด้านการผ่าตัดส่องกล้อง โรคทางนรีเวชวิทยา มะเร็งนรีเวช อนามัยเจริญพันธุ์ การผสมเทียม ระบบต่อมไร้ทอ่ ระบบทางเดิน อาหาร โรคทรวงอกสตรี การดูแลเด็กแรกเกิดและการดูแลพัฒนาการของเด็ก มีอาคารทั้งหมด 5 หลัง ตารางที่ 4 รายละเอียดของอาคารในโรงพยาบาลแม่และเด็ก พื้นที่การใช้สอย (ตารางเมตร)

อายุอาคาร

(ชั้น)

พื้นที่คุ่มดิน (ตารางเมตร)

อาคารบริหาร

2

461.44

230.72

4

B

อาคารส่วนรักษา

2

8143.72

4071.86

4

C

อาคารชักรีด

1

127.56

N/A

4

N/A

D

อาคารเก็บศพ

1

36.25

N/A

4

N/A

E

อาคารวัณโรค

1

82.18

N/A

4

N/A

ตำ�แหน่ง

ชื่ออาคาร

A

ความสูง

หมายเหตุ: N/A คือ ไม่สามารถเข้าเก็บข้อมูลได้ และ เครื่องหมาย √ คือ สามารถเข้าถึงรายละเอียดข้อมูล

76

(ปี)

การเข้าถึงข้อมูล


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

5.1.5 โรงพยาบาลเด็ก

โรงพยาบาลเด็ก ตั้งอยู่บ้านโพนต้องจอมมะนี เมืองจันทะบูลี นครหลวงเวียงจันทน์เปิดใช้งานอาคาร พ.ศ. 2544 เป็นโรงพยาบาลระดับศูนย์กลางและเป็นโรงพยาบาลที่ใช้ฝึกหัดนักศึกษาแพทย์ ใน พ.ศ. 2561 มีที่ดินขนาด 5.6 ไร่ ขนาด 70 เตียง จ�ำนวนเจ้าหน้าที่ 126 คน โดยเป็นแพทย์ 34 คน พยาบาล 36 และ บุคลากรอื่น ๆ อีก 56 คน เป็น โรงพยาบาลเชีย่ วชาญในด้านกุมารเวช โรงพยาบาลนีต้ งั้ อยูบ่ ริเวณด้านหน้าของโรงพยาบาลมิตรภาพ มีจำ� นวนอาคาร 5 หลัง ตารางที่ 5 รายละเอียดของอาคารในโรงพยาบาลเด็ก ตำ�แหน่ง

ชื่ออาคาร

ความสูง (ชั้น)

พื้นที่คุ่มดิน พื้นที่การใช้สอย อายุอาคาร การเข้าถึง (ตารางเมตร) (ตารางเมตร) (ปี) ข้อมูล

A

อาคารส่วนรักษา

2

3284.47

6795

8

B

อาคารหอพักญาติผู้ป่วยและคลังยา

2

151.89

N//A

6

N/A

C

อาคารหอพักญาติผู้ป่วยและคลังยา

2

215.59

N//A

5

N/A

D

อาคารสนับสนุน

2

134.51

N//A

5

N/A

E

อาคารบริหาร

3

1142.23

N//A

2

N/A

หมายเหตุ: N/A คือ ไม่สามารถเข้าเก็บข้อมูลได้ และ เครื่องหมาย √ คือ สามารถเข้าถึงรายละเอียดข้อมูล

6. ผลจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการส�ำรวจโรงพยาบาลเพียง 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมโหสถเป็นเพราะว่าเป็นโรงที่ก่อสร้างมานาน มีการ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพตามการใช้งานเป็นระยะ และมีแผ่นปรับปรุงในอานาคดอันใกล้ และโรงพยาบาลแม่และเด็ก เพราะว่าเป็นโรงพยาบาลทีก่ อ่ สร้างไม่นาน ยังไม่มกี ารกรับปรุงเปลีย่ นแปลงการใชงาน และไม่มแี ผ่นพัฒนาในอานาคดอันใกล้ (ทัง้ สองโรงพยาบาลมีความแตกต่างทางด้านปีทกี่ อ่ สร้างอาคารและแผ่นพัฒนา ดังนัน้ จึงข้อยก 2โรงพยาบาลมาเป็นตัวอย่าง

6.1 ประวัติการสร้างอาคารในโรงพยาบาลมโหสถ

โรงพยาบาลมโหสถ สร้างขึน้ ใน พ.ศ. 2446 โดยความช่วยเหลือของมิชชันนารีชาวฝรัง่ เศสในสมัยสงครามอินโดจีน พ.ศ. 2561 มีอาคารที่ยังคงใช้งานอยู่ (ภาพที่ 2 ประกอบ) ได้แก่ ต�ำแหน่ง E เป็นอาคาร บริหาร กับต�ำแหน่ง K เป็นอาคาร วิเคราะห์จลุ นิ ทรีย์ ในเวลาต่อมาได้มหี ลายประเทศเข้ามาช่วยเหลือพัฒนาปรับปรุงโรงพยาบาล เช่น ประมาณ ปี พ.ศ. 2513 สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาช่วยเหลือ สนับสนุนเพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุขในลาวได้สร้างอาคาร 1 หลัง โดยปัจจุบันยังมีการ ใช้งานอาคารได้แก่ ต�ำแหน่ง G เป็นอาคารอาคารสูตินรีเวช และกุมารเวช (แม่และเด็ก) ประมาณ ปี พ.ศ.2523 รัฐบาลลาว ได้สร้างอาคาร 3 หลัง ได้แก่ ต�ำแหน่ง A เป็นอาคารแผนกหูคอตาจมูก (หูคอตาดัง) ต�ำแหน่ง B เป็นอาคารแผนกฉุกเฉิน (สุกเสีน) และหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก (ห้องปิ่นปัวคนเจ็บหนักสุกเสีน) และต�ำแหน่ง L เป็นอาคารแผนกจิตเวช ต่อมาใน พ.ศ 2543 ได้มีการร่วมมือกับประเทศลักเซมเบิร์กและสร้างอาคารเพิ่มอีกโดยได้แก่ต�ำแหน่ง D เป็นอาคารศูนย์หัวใจ พ.ศ. 2546 ได้รับการช่วยเหลือจากธนาคารโลกในการสร้างอาคารได้แก่ต�ำแหน่ง I เป็นอาคารหอผู้ป่วยใน และ ใน พ.ศ. 2551 ได้รบั ความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดในการในการสร้างอาคารเพีม่ ได้แก่ตำ� แหน่ง J เป็นอาคารเวชศาสตร์เขตร้อน (อาคารสูนพะยาดชึ้มเชื้อ)

77


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ภาพที่ 2 แผนผังโรงพยาบาลมโหสถ พ.ศ.2561

6.1.1 ผลการส�ำรวจพื้นที่ใช้สอย

โรงพยาบาลมโหสถ ใน พ.ศ. 2561 มีอาคารทางการแพทย์ที่ใช้บริการทั้งหมด 18 หลัง ในการส�ำรวจ พืน้ ทีใ่ ช้สอยโรงพยาบาล (จากตารางที่ 6 ) มีอาคารทีใ่ ช้งานเป็นฝ่ายรักษาทัง้ หมด 12 อาคาร ฝ่ายสนับสนุนทางคลินกิ ทัง้ หมด 8 อาคาร ฝ่ายรักษาพิเศษทั้งหมด 7 อาคาร หอผู้ป่วยในทั้งหมด 11 อาคาร ฝ่ายบริหารและธุรการทั้งหมด 3 อาคาร ฝ่าย บริการทั้งหมด 2 อาคาร สามารถสรุปได้ดั่งนี้ว่าโรงพยาบาลมีการกระจายตัวของลักษณะกิจกรรมที่หลากหลาย ลักษณะ การจัดวางของกลุ่มกิจกรรมยังปะปนกัน ส่วนพื้นที่รักษาพยาบาล มีลักษณะแผ่ตามแนวราบกระจายไปแต่ละอาคาร ท�ำให้ การใช้งานในส่วนการรักษาพยาบาล กระจายตัวไปตามอาคารรักษาพยาบาลต่าง ๆ ตารางที่ 6 การใช้อาคารทางการแพทย์โรงพยาบาลมโหสถ การใช้อาคารทางการแพทย์โรงพยาบาลมโหสถ ตำ�แหน่ง

ชื่ออาคาร

ฝ่ายรักษา และบำ�บัด

78

ฝ่าย สนับสนุน ทางคลินิก

ฝ่ายรักษา พิเศษ

หอผู้ป่วยใน

ฝ่ายบริหาร และธุรการ

ฝ่ายบริการ

E

อาคารบริหาร

K

อาคารจุลินทรีย์

A

อาคารตา คอ จมูก

G

อาคารอาคารสูตินรีเวช

B

อาคารฉุกเฉิน

C

อาคารห้องตรวจผู้ป่วยนอก


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

การใช้อาคารทางการแพทย์โรงพยาบาลมโหสถ ตำ�แหน่ง

ชื่ออาคาร

ฝ่ายรักษา และบำ�บัด

ฝ่าย สนับสนุน ทางคลินิก

ฝ่ายรักษา พิเศษ

หอผู้ป่วยใน

ฝ่ายบริหาร และธุรการ

ฝ่ายบริการ

L

อาคารจิตเวช

N

อาคารโรงเรียนอานุบาล

Q

อาคารแผนกปลอด

D

อาคารศูนย์หัวใจ

F

อาคารประชุม

H

อาคารสนับสนุนทางคลินิก และรักษาพิเศษ

I

อาคารหอผู้ป่วยใน

O

อาคารทันตกรรม

R

อาคารคลินิกสากล

J

อาคารเวชศาสตร์เขตร้อน

M

อาคารจุลินทรีย์

P

ห้องตรวจผู้ป่วยติดเชื้อ

12

8

7

11

3

2

รวมอาคารที่กระจาย ตารางที่ 6 (ต่อ)

ภาพที่ 3 การใช้งานทางการแพทย์โรงพยาบาลมโหสถ

79


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

6.1.2 วิเคราะห์พื้นที่ใช้สอยอาคาร

ในการวิเคราะห์พนื้ ทีใ่ ช้สอยโรงพยาบาลโหสถมีอาคารทีใ่ ช้ในการรักษาพยาบาลทัง้ หมด 18 หลัง รวมกัน ประมาน 24,567.7 ตร.ม. พื้นที่ที่สามารถเก็บข้อมูลได้ระเอียดตามประโยชน์ใช้สอยได้ 14 อาคารมีเนื้อที่ 22,203.3 ตร.ม. อีก 4 อาคารมีเนื้อที่ทังหมด 2,364,358,10 ตร.ม.

1) สีแดง แสดงถึงแผนกวินิจฉัยและบ�ำบัดรักษา 1,919.23 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 8 ของพื้นที่ทั้งหมด

สีเหลือง แสดงถึงแผนกฝายสนับสนุนทางคลินิก 2,322.4 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 9 ของพื้นที่ทั้งหมด สีฟ้าแสดงถึงแผนกรักษาพิเศษ 3,091.6 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 13 ของพื้นที่ทั้งหมด สีเขียว แสดงถึงแผนกฝ่ายหอผู้ป่วยใน 6,344.9 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 26 ของพื้นที่ทั้งหมด สีสม แสดงถึงแผนกฝ่ายบริหารธุรการ 1,312.9 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 5 ของพื้นที่ทั้งหมด สีมว่ ง แสดงถึงฝ่ายบริการ 974,9 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 4 คิดเป็นร้อยละ ของพืน้ ทีท่ งั้ หมด(ฝ่ายบริการ มีแผนกจ่ายกลางปราศจากเชือ้ แผนกโภชนาการ แผนกซักรีด แผนกไฟฟ้า สุขาภิบาล และเครือ่ งกล แผนกซ่อมบ�ำรุง แผนก แม่บ้าน แผนกวัสดุภัณฑ์ แผนกรักษาความปลอดภัย ส่วนจอดรถ ส่วน เก็บศพ) (อวยชัย วุฒิโฆษิต, 2551)

พื้นที่ทั้งหมด

2) ทางสัญจร 6237.29 ตร.ม. คิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด

3) อาคาร 4 หลัง ที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลละเอียด มีเนื้อที่ทัง 21,865.7 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 10 ของ

ภาพที่ 4 พื้นที่ของอาคารแต่ละส่วนโรงพยาบาลมโหสถ

80


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

6.1.3 ประเด็นที่พบระหว่างการส�ำรวจและสัมภาษณ์

1) โรงพยาบาลอยูใ่ นระหว่างการปรับปรุง กล่าวคือ พ.ศ. 2561 เดิมโรงพยาบาลมีอาคารทัง้ หมด 26 หลัง เป็นอาคารรักษาพยาบาล 18 หลัง อีก 9 หลังเป็นหอพักและอาคารเก็บของโดยมีอาคารที่แผนจะรื้อถอน 11 หลัง ได้แก่ อาคาร I เป็นอาคารหอผู้ป่วยใน อาคาร G เป็นแผนกอาคารสูตินรีเวชและกุมารเวช อาคาร K เป็นอาคารแผนกจุลินทรีย์ หลังเก่า อาคาร L เป็นอาคารแผนกจิตเวช อาคาร O เป็นอาคารแผนกทันตแพทย์ อาคาร P เป็นอาคารคลินิกโรคติดเชื้อ อาคาร Q เป็นอาคารแผนกอายุรกรรมปอด อาคาร R เป็นอาคารคลินกิ สากล อาคาร M เป็นอาคารแผนกจุลนิ ทรียห์ ลังใหม่ และอาคาร N เป็นอาคารโรงเรียนอนุบาล อาคาร G ซึ่งเป็นอาคารสูตินรีเวชและกุมารเวชจะรื้อครึ่งหนึ่ง โดย พ.ศ. 2562 ได้รื้อถอนไปแล้ว 3 หลัง ได้แก่ อาคาร O แผนกทันตกรรม อาคาร Q แผนกอายุรกรรมปอด และอาคาร R คลินิกสากล เหลืออาคารรักษาพยาบาล 15 หลัง

2) การขาดพื้นที่ใช้งาน

ด้วยระบบโรงพยาบาลของ ส ป ป.ลาว ไม่มบี ริการอาหารส�ำหรับผูป้ ว่ ย ญาติจงึ เป็นคนจัดเตรียมอาหาร ให้ผู้ป่วยเอง จึงขาดพื้นที่ส�ำหรับญาติในการจัดเตรียมอาหารให้ผู้ป่วย (แสงสะเด็ด อาดสะหนาไช, 2561)

3) การปรับใช้อาคารจากการออกแบบเดิม

โรงพยาบาลมโหสถ มีการปรับใช้ระบบปรับอากาศในอาคาร และการปรับประโยชน์ใช้สอยจากการ ออกแบบเดิมให้เหมาะสมกับการบริการทางการแพทย์ในปัจจุบัน เช่น อาคารแผนกสูตินรีเวช และอาคารกุมารเวช แต่เดิม พืน้ ทีส่ ว่ นหนึง่ เคยใช้เป็นโถงพักคอยผูป้ ว่ ย และใช้วธิ กี ารระบายอากาศแบบธรรมชาติ ในเวลาต่อมา ได้มกี ารเปลีย่ นเป็นห้อง ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ติดตั้งระบบปรับอากาศ นอกจากนี้ยังมีหลายอาคารที่ได้มีการออกแบบการระบายอากาศแบบ ธรรมชาติ ซึ่งในภายหลังได้มีการปรับปรุงห้องเพื่อติดตั้งระบบปรับอากาศภายในอาคาร เช่น อาคารบริหารผู้ป่วย (แสง สะเด็ด อาดสะหนาไช, 2561)

6.1.4 โครงการในอนาคต

ท่าน บุนกอง สีหาวง รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลมโหสถหลังใหม่ เป็นโรงพยาบาลขนาด 600 เตียง สูง 8 ชั้น ที่ดินสร้าง 19.3 ไร่ พื้นที่อาคาร 54,000 ตารางเมตร รวมมูลค่าการก่อสร้าง ทั้งหมด 600 ล้านหยวน หรือประมาณ 736 พันล้านกีบ (ประมาณ 2,714 ล้านบาท) โดยการช่วยเหลือ คาดว่าจะก่อสร้าง ส�ำเร็จในปี พ.ศ. 2563 โรงพยาบาลมโหสถหลังใหม่มแี ผนทีจ่ ะก่อสร้างในทีต่ งั้ เดิมคาดว่าหลังจากเปิดใช้งานแล้วโรงพยาบาล มโหสถจะมีจ�ำนวนเตียงรวมได้ 1000 เตียง

มีอาคารดังต่อไปนี้

1) อาคารฉุกเฉินสูง 4 ชั้น ชั้นที่ 5 เป็นที่จอดเฮลิคอปเตอร์

2) อาคารห้องตรวจ สูง 5 ชั้น

3) อาคารส่วนรักษาพิเศษและสนับสนุนทางคลินิก (เต็กนิกบ็อก) สูง 5 ชั้น

4) อาคารสวนผู้ป่วยใน สูง 8 ชั้น เปิดให้การบริการใน พ.ศ. 2566 มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์สามารถรับการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินได้

81


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

6.2 โรงพยาบาลแม่และเด็ก

6.2.1 ประวัติการสร้างอาคารในโรงพยาบาลโดยสังเขป

ภาพที่ 5 แผนผังโรงพยาบาลแม่และเด็ก พ.ศ.2561

สร้างช่วงปี พ.ศ.2533 ให้บริการแรกเริ่มมีอาคาร 1 หลัง มีความสูง 2 ชั้น ตั้งอยู่ใกล้กับโรงพยาบาลมโหสถ ใน พ.ศ.2557 ได้มีการสร้างโรงพยาบาลหลังใหม่ ด้วยการสมทบทุนระหว่างของรัฐบาลลาว และมูลนิธินิรันดาประเทศญี่ปุ่น 6.2.2 ผลการส�ำรวจพื้นที่ใช้สอย 1) โรงพยาบาลแม่และเด็ก ใน พ.ศ.2561 มีอาคารทางการแพทย์ที่ใช้บริการทั้งหมด 5 หลัง ในการส�ำรวจ พื้นที่ใช้สอยโรงพยาบาล (จากตารางที่ 6) มีอาคารที่ใช้งานเป็นฝ่ายรักษาทั้งหมด 1 อาคาร ฝ่ายสนับสนุนทางคลินิกทั้งหมด 1 อาคาร ฝ่ายรักษาพิเศษทั้งหมด 1 อาคาร หอผู้ป่วยในทั้งหมด 1 อาคาร ฝ่ายบริหารและธุรการทั้งหมด 2 อาคาร ฝ่าย บริการทัง้ หมด 3 อาคาร สามารถสรุปได้วา่ โรงพยาบาลแม่และเด็กมีการรวมตัวของลักษณะกิจกรรมส่วนพืน้ ทีร่ กั ษาพยาบาล มีลักษณะรวมตัวกันในอาคารหลังเดียวท�ำให้การใช้งานในส่วนการรักษาพยาบาลรวมตัวกันในอาคารเดียว 2) อาคารมีการออกแบบอาคารโดยใช้เทคโนโลยีทที่ นั สมัย และบางส่วนมีระบบปรับอากาศโรงพยาบาล ออกแบบให้สว่ นพักคอยใช้การระบายอากาศแบบธรรมชาติ ส่วนห้องตรวจและห้องพักแพทย์มรี ะบบปรับอากาศ นอกจากนี้ หอผู้ป่วยใน ได้มีการออกแบบติดตั้งระบบปรับอากาศแบบแยกส่วนในแต่ละห้องผู้ป่วยตั้งแต่แรกเริ่มการก่อสร้าง ตารางที่ 7 การใช้อาคารทางการแพทย์ การใช้อาคารทางการแพทย์ ตำ�แหน่ง A

82

ชื่ออาคาร อาคารบริหาร

ฝ่ายรักษา

ฝ่ายสนับสนุน

และบำ�บัด

ทางคลินิก

ฝ่ายรักษา พิเศษ

หอผู้ป่วยใน

ฝ่ายบริหาร และธุรการ

ฝ่ายบริการ


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

การใช้อาคารทางการแพทย์ ตำ�แหน่ง

ชื่ออาคาร

ฝ่ายรักษา

ฝ่ายสนับสนุน

และบำ�บัด

ทางคลินิก

ฝ่ายรักษา พิเศษ

หอผู้ป่วยใน

ฝ่ายบริหาร และธุรการ

ฝ่ายบริการ

B

อาคารส่วนรักษา

C

อาคารชักรีด

D

อาคารเก็บศพ

E

อาคารวัณโรค

รวมอาคารที่กระจาย

1

1

1

1

3

3

ตารางที่ 7 (ต่อ)

ภาพที่ 6 การใช้งานทางการแพทย์โรงพยาบาลแม่และเด็ก

6.2.3 วิเคราะห์พื้นที่ใช้สอยอาคาร

โรงพยาบาลแม่และเด็ก มีพื้นที่ใช้สอยทุกอาคารรวมกันประมาน 8,851.15 ตร.ม. แบ่งพื้นที่ตาม ประโยชน์ใช้สอยได้ดังต่อไปนี้

1) แผนกวินิจฉัยและบ�ำบัดรักษา 1,919.23 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 9 ของพื้นที่ทั้งหมด

2) แผนกฝายสนับสนุนทางคลินิก 2,322.43 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด

3) แผนกรักษาพิเศษ 3,091.67 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 14 ของพื้นที่ทั้งหมด

4) แผนกฝ่ายหอผู้ป่วยใน 6,344.9 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 29 ของพื้นที่ทั้งหมด

5) แผนกฝ่ายบริหารธุรการ 1,312.91 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 6 ของพื้นที่ทั้งหมด

6) ฝ่ายบริการ 974.906 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 4 ของพื้นที่ทั้งหมด

7) ทางสัณจอน 6,237.29 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 28 ของพื้นที่ทั้งหมด

83


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ภาพที่ 7 พื้นที่ของอาคารแต่ละส่วนโรงพยาบาลแม่และเด็ก

ประเภทอื่น

6.2.4 ประเด็นที่พบระหว่างการลงส�ำรวจและสัมภาษณ์ 1) อาคารยังอยูใ่ นสภาพทีร่ องรับผูป้ ว่ ยได้ เพราะผูป้ ว่ ยในมีการสับเปลีย่ นหมุนเวียนได้เร็วกว่าโรงพยาบาล 2) การค�ำนึงถึงการพัฒนาปรับปรุงในอนาคต

7. สรุป ผลการศึกษาพบว่า ใน พ.ศ. 2561 โรงพยาบาลระดับศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว สามารถรองรับผู้ป่วยได้รวมทุก โรงพยาบาล 1,145 เตียง โรงพยาบาลระดับศูนย์กลาง 3 แห่ง มีการก่อสร้างอาคารมาเป็นเวลานาน มีสภาพการออกแบบ ตามมาตรฐานของผู้ให้ทุนช่วยเหลือ โดยมีการใช้งานตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จและมีการปรับเปลี่ยนบางส่วนของอาคารให้ เหมาะสมกับการใช้งานตามช่วงเวลา พบข้อมูลว่าโรงพยาบาลมีแผนปรับปรุงในอนาคตกล่าว คือ โรงพยาบาลมโหสถได้มี การร่วมมือกับรัฐบาลจีนเตรียมก่อสร้างโรงพยาบาลหลังใหม่ ขนาด 600 เตียง อยู่ระหว่างเตรียมด�ำเนินการรื้อถอนอาคาร เพื่อเริ่มการก่อสร้าง โรงพยาบาลมิตรภาพอยู่ระหว่างด�ำเนินการวางแผนเข้าใช้งานโรงพยาบาลหลังใหม่ ที่ก่อสร้างด้วย โครงการเงินกู้ ซึ่งรองรับผู้ป่วยได้ 300 เตียง และโรงพยาบาลเซษฐิราชมีแผนการเข้าใช้อาคารระบบต่อม (ต่อมขับย่อย) และมีแผนทีจ่ ะสร้างอาคารฉุกเฉินหลังใหม่ในพืน้ ทีโ่ รงพยาบาลเดิมโดยการช่วยเหลือของรัฐบาลญีป่ นุ่ ส่วนโรงพยาบาลระดับ ศูนย์กลาง 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลแม่และเด็ก และโรงพยาบาลเด็ก มีการก่อสร้างอาคารมีการออกแบบอาคารให้ใช้ เทคโนโลยีการแพทย์ทที่ นั สมัยใหม่กว่า โรงพยาบาล 3 แห่งแรก แต่มีการปรับให้เข้ากับการใช้งานอาคารแบบระบายอากาศ ธรรมชาติ ในพื้นที่ทางสัญจรกับพื้นที่ส่วนกลาง และยังไม่มีแผนพัฒนาปรับปรุงกายภาพช่วงนี้ จึงสรุปได้ว่า สภาพกายภาพโรงพยาบาลระดับศูนย์กลางใน ส ป ป.ลาว ขนาดใหญ่ 3 ได้แก่โรงพยาบาลมีโรง พยาบาลมโหสถ โรงพยาบาลมิตรภาพ โรงพยาบาลเซษฐิราชอยู่ระหว่างการเตรียมก่อสร้างอาคาร และพัฒนาเทคโนโลยี

84


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

การแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้น ส่วนโรงพยาบาลขนาดเล็ก 2โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลแม่และเด็ก และโรงพยาบาลเด็ก ยังมีสภาพที่ตอบสนองบริการได้

8. กิตติกรรมประกาศ ขอขอบพระคุณที่ปรึกษาโครงการงานวิจัย ได้แก่ ศาสตราจารย์นาวาโท ไตรวัฒน์ วิรยศิริ ที่ให้ข้อเสนอแนะและ ให้คำ� ปรึกษาในการวิจยั ครัง้ นี้ ขอขอบพระคุณคณะแพทย์ผบู้ ริหารโรงพยาบาลหัวหน้าพยาบาลผูป้ ระสานงานในโรงพยาบาล กรณีศึกษาทุกแห่งที่อ�ำนวยความสะดวกในการเข้าพื้นที่ศึกษาและให้ข้อมูลน�ำมาในการวิจัยครั้งนี้

9. เอกสารอ้างอิง กระทรวงสาธารณสุข. (2548). สั่งรวมย่อสาธารณสุข 25 ปี 1975-2000. พิมพ์ครั้งที่ 1 .เวียงจันทน์:โรงพิมแห่งรัฐ. พาขวัญ รูปแก้ว, ไตรวัฒน์ วิรยศิริ. (2562).ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ให้บริการตรวจรักษาและส่วนเกี่ยวเนื่องแผนก ผูป้ ว่ ยนอก : กรณีศกึ ษาแผนกสูตนิ รีเวชและแผนกกุมารเวช. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง. 1(2). หน้า 24-37. มะโนใส อินสีเชียงใหม่. (2562). แผนกจัดตัง้ โรงพยาบาลแม่และเด็ก.สัมภาษณ์โดย ไชยะลาด ลาชาวะดี. นครหลวงเวียงจันทน์. แสงสะเด็ด อาดสะหนาไช. (2561). แผนกบริหารแผ่นการโรงพยาบาลมโหสถ.สัมภาษณ์โดย ไชยะลาด ลาชาวะดี.นครหลวง เวียงจันทน์ อวยชัย วุฒิโฆษิต. (2551). การออกแบบโรงพยายาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เอเชียแปซิฟิกปริ้นติ้ง จ�ำกัด.

85


การศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดตลาดนัด: กรณีศกึ ษาตลาดนัดชุมชนวัดชัยจุมพล ชุมชนบ้านขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชยั จังหวัดมหาสารคาม Study of Factors creating Flea Market: A Case study of Wat Chai Chumphon Community Market, Ban Kham Riang, Kantharawichai District, Maha Sarakham Province Received : March 11, 2019 Revised : April 26, 2019 Accepted : November 20, 2019

ดิฐา แสงวัฒนะชัย

อาจารย์ประจ�ำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ�ำเภอกันทรวิชยั จังหวัดมหาสารคาม 44150

Dita Sangvatanachai Assistant Professor, Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts, Maha Sarakham University, Kantarawichai District, Maha Sarakham, Thailand, 44150 Email: dita.s@msu.ac.th


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

บทคัดย่อ ตลาดนัดถือเป็นการค้าชัว่ คราวรูปแบบหนึง่ แสดงออกถึงวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ในสังคมทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงรูปแบบ ไปตามยุคสมัย ระบบเศรษฐกิจแบบไม่เป็นทางการดังกล่าว เป็นเครือ่ งหล่อเลีย้ งชีวติ ของผูค้ น จึงถือเป็นกิจกรรมทีม่ คี วามส�ำคัญ เป็นอย่างยิง่ ทัง้ ในทางเศรษฐกิจสังคม บทความนีเ้ ป็นเนือ้ หาส่วนหนึง่ ของวิจยั เกีย่ วกับการศึกษาตลาดนัดชุมชน ในโครงการ ออกแบบสภาพแวดล้อมของชุมชนผ่านกระบวนการมีสว่ นร่วม กรณีศกึ ษา การออกแบบองค์ประกอบของตลาดนัดวัดชัยจุมพล และพืน้ ทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง ชุมชนบ้านขามเรียง ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชยั จ.มหาสารคาม ในขัน้ ตอนการศึกษาเกีย่ วกับรูปแบบการค้า ชุมชน เพือ่ ค้นหาปัจจัยอันพึงมีในมิตติ า่ งๆ ทีก่ อ่ ให้เกิดขึน้ และคงอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ งของตลาดนัดกับชุมชน ซึง่ ผลจากการศึกษา ท�ำให้ทราบถึงปัจจัยในมิตติ า่ งๆ ทัง้ มิตดิ า้ นภูมศิ าสตร์ และมิตดิ า้ นความสัมพันธ์ ข้อสรุปสามารถเป็นส่วนหนึง่ ในการวางแผน การจัดการได้อย่างเหมาะสมต่อไป ค�ำส�ำคัญ: ตลาดนัด, ตลาดนัดชุมชน, การค้าชั่วคราว, เศรษฐกิจแบบไม่เป็นทางการ, ความใกล้เชิงภูมิศาสตร์, ความใกล้ เชิงความสัมพันธ์

ABSTRACT The flea market is considered a form of temporary trade, which expresses a new culture in society that has changed its style according to time. This informal economy is considered to nourish people's lives. It is therefore considered a very important activity, both in the economic and social aspects. This article is part of a research on the study of community markets in the Project to Design the environment of the Community Space through the Participation Process, a Case Study of the Design of the Elements of Wat Chai Chumphon Market, Ban Kham Riang, Kantharawichai District, Maha Sarakham Province. The scope of this article is in the process of studying about the community trade model in order to find the necessary factors that creates and maintains the ongoing activities of the flea market with the community. The results of the study revealed factors in both geographically and relational dimensions. Keywords: local market, flea market, community market, temporary trade, Informal economy, geo- graphical proximity, relational proximity

1. บทน�ำ ตลาดนัดหรือกิจกรรมการค้าชั่วคราว หรือมีผู้เรียกว่าเป็นรูปแบบการค้าระยะใกล้ (eng. local trade/ fr. le commerce de proximité) รูปแบบหนึ่ง มีนิยามหมายถึง การค้าที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมการขายปลีก ซึ่งผู้บริโภคเดิน ทางมาเป็นประจ�ำ หรือทุก ๆ วัน หมายรวมถึง การค้าซึ่งอยู่บนถนน หรือในย่านการค้าต่าง ๆ ของเมืองหรือชุมชน ที่ผู้คน ในย่านหนึ่งๆ สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ประกอบไปด้วยสินค้าจ�ำเป็นที่ตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐาน ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงการค้าระยะใกล้ในรูปแบบประจ�ำ ได้แก่ การค้าระดับย่าน และรูปแบบชั่วคราว ได้แก่ ตลาดนัดชุมชน ซึง่ เกิดขึน้ เพือ่ คนในชุมชนละแวกบ้านทีอ่ ยูไ่ ม่ไกลกัน การเข้าถึงยังการค้าระยะใกล้ทงั้ สองรูปแบบควรอยูใ่ นระยะรัศมีการเดินเท้า และการใช้จักรยาน ในระยะ 400-600 เมตร ถือเป็นกิจกรรมทางการค้าที่หากมีการก�ำหนดแนวทางที่เหมาะสมในด้านการ ควบคุมชนิดและปริมาณของการค้ารูปแบบดังกล่าวจะน�ำไปสู่การแก้ปัญหาเมืองได้ในหลายระดับ ทั้งการลดปัญหาจราจร

87


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ตลาดจนช่วยให้เกิดผลดีทั้งในแง่เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน อาจกล่าวได้วา่ ความส�ำคัญของกิจกรรมดังกล่าวไม่เพียงแต่แสดงออกถึงความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันและความมี ชีวิตชีวาของสังคมเมือง ยังก่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางการค้า การท่องเที่ยว และการรวมกลุ่มของผู้คนในสังคม (Ondes Moyennes, 2006) ก่อให้เกิดเป็นสถานที่ที่ไม่ได้มีประโยชน์เพียงเชิงพาณิชย์ แต่ยังแสดงถึงวิถีชีวิต การเรียนรู้ การค้นพบ การพักผ่อน รอยยิ้ม และสีสัน แก่พื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของเมือง ก่อให้เกิดเป็นพื้นที่สาธารณะ (Public Space) ขึ้นในศูนย์กลาง ของชุมชนขนาดเล็กภายในเมือง (Borras, 2001) รูปแบบของกิจกรรมการค้าระยะใกล้ จะเป็นแหล่งการค้าที่รวมกลุ่มของร้านค้าในชีวิตประจ�ำวันเอาไว้ด้วยกัน เพื่อที่จะตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเพียงพอ จะต้องประกอบไปด้วยกิจกรรมการค้าขายที่สม�่ำเสมอ โดยปกติจะตัง้ อยูใ่ นบริเวณทีใ่ กล้กบั ประชากรกลุม่ ลูกค้า อาจเกิดขึน้ บริเวณใจกลางของย่านต่างๆ โดยมากมักมีขนาดเล็กๆ ประกอบไปด้วยร้านค้าในชีวติ ประจ�ำวันทีโ่ ดยมากเป็นร้านขายอาหาร ไม่เกิน 10 ร้าน และมีกลุม่ ลูกค้าอยูใ่ นรัศมี 500 เมตร โดยรอบที่ตั้งนั้น สามารถใช้เวลาเข้าถึงศูนย์กลางการค้าดังกล่าวไม่เกิน 3 นาที โดยอาจประกอบไปด้วยร้านค้าชนิดต่างๆ ที่ ส�ำคัญหรือประกอบไปด้วยสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความต้องการในชีวิตประจ�ำวัน รวมไปถึงบริการต่างๆ เช่น ไปรษณีย์ หรือ ธนาคารสาขาย่อย ที่มีไว้เพื่อเติมเต็มหรือก่อให้เกิดความหลากหลายทางการค้าภายในพื้นที่มากยิ่งขึ้น (Institut National de la Statistique et des Etudes Economiques, 2010) การศึกษาปัจจัยทีก่ อ่ ให้เกิดตลาดนัด กรณีศกึ ษาตลาดนัดชุมชนวัดชัยจุมพล ชุมชนบ้านขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชยั จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดขึ้นและคงอยู่ของตลาดนัดกับชุมชน โดย ท�ำการศึกษาถึงคุณลักษณะของตลาดนัดแห่งนี้ผ่านแนวคิดของการค้าระยะใกล้ ซึ่งหากจะกล่าวถึงความใกล้นั้น จัดเป็น คุณลักษณะของตลาดนัดทีส่ ะท้อนออกมาในมิตติ า่ งๆ ได้หลากหลายมิติ ในทีน่ ผี้ วู้ จิ ยั ได้รวบรวมแนวความคิดทางการศึกษา ด้านของความใกล้ ทีม่ ผี กู้ ล่าวถึงไว้เกีย่ วกับการค้ารูปแบบนี้ ได้ใน 2 มิตใิ หญ่ๆ อันได้แก่ มิตดิ า้ นความใกล้เชิงภูมศิ าสตร์ และ มิติด้านความใกล้เชิงความสัมพันธ์ ในมิติด้านความใกล้เชิงภูมิศาสตร์ Talbot และ Korat (2005) ได้กล่าวถึงมิตินี้ ในการอธิบายถึงความใกล้ในการ เข้าถึงพื้นที่ตั้งของตลาดนัดหรือย่านการค้าระยะใกล้ โดยที่ตั้งมักเกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ขนาดเล็กๆ ตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่ ท�ำงานหรือชุมชนพักอาศัยซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้า สินค้าที่ขายมักจะเป็นสินค้าที่เหมาะสมกับการขายในพื้นที่นั้นๆ ส่วนในมิตดิ า้ นความใกล้เชิงความสัมพันธ์ ซึง่ หมายความถึงความใกล้ทไี่ ม่เกีย่ วกับเชิงพืน้ ที่ ซึง่ เป็นเรือ่ งของความสัมพันธ์เชิง สังคมที่มีความใกล้ชิด Bergadaa และ Del Bucchia (2009) ได้อธิบายถึงความใกล้ที่ไม่เกี่ยวกับเชิงพื้นที่ไว้ 4 มิติของย่าน การค้าระยะใกล้ ได้แก่ ความใกล้เชิงหน้าที่ ความใกล้เชิงความสัมพันธ์ ความใกล้เชิงอัตลักษณ์ และความใกล้ของกระบวนการ ความใกล้ทั้ง 4 มิติดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการรับรู้ของผู้บริโภค ซึ่งในบางครั้งอาจมีการเพิ่มเติมมิติทางด้านความใกล้ระหว่าง องค์กร ซึ่งเกี่ยวข้องกับสายขององค์กรในการกระจายสินค้าในชีวิตประจ�ำวันไปสู่จ�ำนวนของผู้บริโภคอย่างทั่วถึง ซึ่งเกิดขึ้น จากความรู้สึก ประสบการณ์และการรับรู้ของลูกค้า อาจเป็นความรู้สึกส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับร้านค้าหนึ่งๆ เกิดจากการติดต่อสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคล ซึ่งจัดเป็นระดับของความสัมพันธ์เชิงความรู้สึก (ดุษฎี บุญ ฤกษ์,ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ, 2562) ในต่างประเทศ ดังเช่น ประเทศฝรั่งเศส ค�ำว่า “ความใกล้” ถูกใช้น�ำมาอธิบายและมุ่งเน้นการสร้างสรรค์ให้ย่าน การค้าหนึ่งๆ เกิดความสัมพันธ์ทั้งสองมิติดังกล่าวไปพร้อมๆ กัน คือทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และความสัมพันธ์ซึ่งหมายถึงระยะ ทางและความสัมพันธ์ระหว่างผูซ้ อื้ และผูข้ ายในระยะใกล้ดว้ ย จนกลายเป็นกลยุทธ์หลักทางการค้า ทีเ่ กิดจากกลุม่ ของผูข้ าย ที่มุ่งเน้นถึงคุณภาพและการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า (Laut. J.L., 1998) โดยนัยแล้ว ความใกล้จึงเป็นแนวความคิด ทีย่ ากต่อการท�ำความเข้าใจ เนือ่ งจากมีความเป็นทัง้ รูปธรรมและนามธรรมอยูใ่ นความหมายเชิงการรับรู้ ซึง่ หากมีการศึกษา อย่างลึกซึ้งแล้วจะสามารถน�ำไปสู่การท�ำความเข้าใจได้ถึงผลของการค้าระยะใกล้ที่มีบทบาทต่อสังคมในยุคใหม่และชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คนได้ แนวคิดดังกล่าว อาจเรียกว่า ทฤษฎีตลาดแบบมัลติ (fr. multi-marché) ที่อาศัยการสร้างความ

88


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ใกล้ที่เกิดจากการรวมกลุ่มกันของบริษัทห้างร้านต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากความจ�ำเป็นในการแบ่งปันโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน ระหว่างหน่วยการค้าต่างๆ เป็นการช่วยลดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจให้กับกลุ่มผู้ขายและลดความยากล�ำบากในการ เดินทางมาจับจ่ายสินค้าของผู้ซื้อด้วย (Weber, 1912) และยังเป็นการช่วยสร้างรายได้ที่สูงขึ้นให้แก่กลุ่มผู้ขายและลดค่าใช้ จ่ายในการเดินทางให้แก่ผซู้ อื้ รวมทัง้ ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรม ทีเ่ ป็นผลพลอยได้ตามมาได้อกี มากมาย เช่น ช่วยให้ ผู้คนใช้เวลาอยู่ในย่านการค้านั้นได้นานยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการจับจ่ายที่มากขึ้น ก่อให้เกิดผลดีต่อร้านค้าเล็กๆ ที่ไม่น่าสนใจใน พืน้ ทีน่ นั้ ให้ได้โอกาสในการขายทีม่ ากขึน้ แนวคิดใหม่ของการค้าระยะใกล้นี้ หมายรวมถึงแนวคิดของการสร้างความสะดวก สบายแก่ประชาชนด้วยการสร้างบริการของบริษัทห้างร้านต่างๆ ขึ้นในใจกลางเมืองหรือตามศูนย์กลางของชุมชนต่างๆ ซึ่ง รวมไปถึงรูปแบบของแฟรนไชส์และสาขาย่อยของร้านค้าขนาดใหญ่ต่างๆ ที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์ถึงต�ำแหน่ง รูปแบบ การกระจายตัวของร้านค้า ชนิดของสินค้า และช่วงเวลาปิดเปิดให้บริการ การจ�ำกัดขนาดของร้านค้า เพื่อให้เหมาะสมกับ รูปแบบของการซือ้ ขายในระยะใกล้ ซึง่ สามารถมีการปรับเปลีย่ นรูปแบบไปตามลักษณะของกลุม่ ลูกค้าและพืน้ ทีต่ งั้ จึงอาจ มีทั้งรูปแบบประจ�ำและไม่ประจ�ำปรากฏให้เห็น ซึ่งหากเป็นการค้ารูปแบบไม่ประจ�ำจะมีหลายลักษณะ ทั้งหาบเร่แผงลอย งานออกร้านหรืองานแสดงสินค้า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมต่อกิจกรรมการค้าแบบประจ�ำที่มีอยู่ได้โดยต้องมีการ ควบคุมรูปแบบของกิจกรรมด้วย ในประเทศไทยการก่อตัวของร้านค้าปลีกมีเพิ่มขึ้นโดยขาดวิธีการควบคุมที่เป็นระบบชัดเจน ทั้งในเรื่องของการ ก�ำหนดชนิดและปริมาณของร้านค้าและบริการเชิงพาณิชย์ชนิดต่างๆ ที่ควรมีอยู่ในย่านหรือชุมชนในขอบเขตหรือบริเวณ หนึง่ ๆ เช่น การเกิดขึน้ ของ ร้านกาแฟ ร้านขายยา ร้านถ่ายเอกสาร ร้านขายอาหาร ฯลฯ และโดยเฉพาะอย่างยิง่ ร้านสะดวก ซื้อ และตลาดนัดชั่วคราว ที่มากมายและเกิดขึ้นอย่างอิสระ ซึ่งบางครั้งมีมากเกินความจ�ำเป็น หรือเกินความต้องการของ ผู้บริโภคในย่านนั้นๆ การด�ำรงอยู่ของกิจกรรมเกิดจากการเคลื่อนที่เข้ามาของกลุ่มคนจากนอกพื้นที่ ท�ำให้นอกจากจะส่ง ผลต่อประสิทธิภาพที่เหมาะสมของการใช้พื้นที่แล้ว ยังเกิดผลกระทบต่อคนในชุมชนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดขึน้ ของ ปัญหามลภาวะ และความไม่พอเพียงของโครงสร้างพื้นฐานที่จะมารองรับต่อกิจกรรม การค้าระยะใกล้ในประเทศไทยจึง ควรจะพัฒนาให้เหมาะสมต่อไป (วัชรินทร์ ขวัญไฝ,ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย, 2562) การศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดตลาดนัด กรณีศึกษาวัดชัยจุมพล ชุมชนบ้านขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของการศึกษาโครงการออกแบบสภาพแวดล้อมของชุมชนผ่าน กระบวนการมีส่วนร่วม กรณีศึกษา การออกแบบองค์ประกอบของตลาดนัดวัดชัยจุมพล และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ชุมชนบ้าน ขามเรียง ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ซึ่งมีส่วนหนึ่งของกระบวนการที่เป็นการศึกษาการค้าระยะใกล้ ใน 2 มิ ติใหญ่ๆ อันได้แก่ มิตดิ า้ นความใกล้เชิงภูมศิ าสตร์ และมิตดิ า้ นความใกล้เชิงความสัมพันธ์ ทัง้ นีเ้ พือ่ น�ำไปสูก่ ารท�ำความเข้าใจ กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นและคงอยู่ของตลาดแห่งนี้อย่างครอบคลุม ก่อนเข้าสู่กระบวนการอื่นๆ ของโครงการที่ ไม่ได้กล่าวถึงในขอบเขตของการน�ำเสนอบทความนี้ โดยสาเหตุที่เลือกตลาดนัดแห่งนี้มาเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากตลาด ชุมชนดังกล่าวจัดเป็นพืน้ ทีท่ มี่ คี วามน่าสนใจเพราะเป็นตลาดทีเ่ ติบโตมาจากชุมชนซึง่ เดิมเป็นชุมชนเล็กๆ ทีม่ กี ารเจริญเติบโต อย่างต่อเนื่องตั้งแต่มหาวิทยาลัยมหาสารคามก่อตั้ง ท�ำให้เกิดประชากรแฝง และธุรกิจห้างร้านต่างๆ ที่รุกล�้ำเข้ามาในเขต ชุมชน ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อเอกลักษณ์ส�ำคัญต่างๆ ของชุมชน พื้นที่ตั้งของตลาดนัดวัดชัยจุมพลยังเป็นพื้นที่ส�ำหรับท�ำ กิจกรรมส�ำคัญอื่นๆ ของชาวชุมชนด้วย ด้วยความที่พื้นที่ของชุมชนไม่ใหญ่มาก ลานวัดและศาลาวัดจึงถือเป็นพื้นที่ส่วน กลางทีม่ ขี นาดกว้างขวางทีส่ ดุ ในชุมชน ทีใ่ ช้ทงั้ ในการประชุม แลกเปลีย่ น ระหว่างคนในชุมชนและนอกชุมชน ใช้เป็นจัดงาน ประเพณีต่างๆ รวมทั้งยังใช้ในการตากข้าวในฤดูเก็บเกี่ยวอีกด้วย พื้นที่ของตลาดนัดชุมชนวัดชัยจุมพล จึงถือเป็นพื้นที่ของ กิจกรรมชั่วคราวที่มีการปรับเปลี่ยนไปได้ตามโอกาส โดยมีตลาดนัดชุมชนเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้น

2. วัตถุประสงค์การศึกษา

การศึกษาปัจจัยทีก่ อ่ ให้เกิดตลาดนัด กรณีศกึ ษาตลาดนัดชุมชนวัดชัยจุมพล ชุมชนบ้านขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชยั

89


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ท�ำให้เกิดตลาดนัดและการคงอยู่ของตลาดนัดวัดชัยจุมพล ในมิติด้านความใกล้เชิงภูมิศาสตร์ (Geographical Proximity) (2) ศึกษาปัจจัยทีท่ ำ� ให้เกิดตลาดนัดและการคงอยูข่ องตลาดนัดวัดชัยจุมพล ในมิตดิ า้ นความใกล้เชิงความสัมพันธ์ (Relational Proximity)

โดยวัตถุประสงค์ทงั้ สองนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ในกระบวนการระยะต้นน�ำ้ ในโครงการออกแบบสภาพแวดล้อมของชุมชน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม กรณีศึกษา การออกแบบองค์ประกอบของตลาดนัดวัดชัยจุมพล และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ชุมชน บ้านขามเรียง ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ที่ผู้วิจัยได้ศึกษาท�ำความเข้าใจปัญหาและเก็บข้อมูลเชิงลึกในชุมชน เพือ่ ให้ได้มาซึง่ ข้อสรุปของปัจจัย และน�ำไปสูข่ นั้ ตอนของการวิจยั ในกระบวนการอืน่ ๆ ได้แก่ การออกแบบ และสร้างกิจกรรม กับชุมชนในกระบวนการอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากขอบเขตของเนื้อหาในบทความนี้ต่อไป

3. วิธีการศึกษา การวิจัยได้แบ่งขั้นตอนออกเป็น 3 กระบวนการ โดยการศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดตลาดนัด กรณีศึกษาตลาดนัด ชุมชนวัดชัยจุมพล ชุมชนบ้านขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม นั้น อยู่ในกระบวนการระยะต้นน�้ำ ซึ่งในขั้น ตอนนี้ ผู้วิจัยร่วมกับนิสิตได้ร่วมกันท�ำการส�ำรวจเก็บข้อมูล โดยวิธีการศึกษาสามารถแบ่งการอธิบายออกตามวัตถุประสงค์ คือ (1) การศึกษามิติด้านความใกล้เชิงภูมิศาสตร์ (Geographical Proximity) โดยใช้วิธีการสังเกต และสัมภาษณ์ รวมถึงแบบส�ำรวจต�ำแหน่งที่ตั้งของย่านการค้ากับชุมชนโดยรอบ และโดยวิธีการจดบันทึกและถ่ายภาพ ระบุต�ำแหน่งร้าน ค้าและลักษณะของตลาด เส้นทางในการเข้าถึงและการใช้งานของตลาดของชาวชุมชน เพื่อให้ทราบถึงรัศมีการให้บริการ ของตลาดนัดชุมชนแห่งนี้ ตลอดจนรูปแบบสินค้าและบริการที่เสนอขายในตลาด (2) การศึกษามิติด้านความใกล้เชิงความสัมพันธ์ (Relational Proximity) เป็นการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่ไม่ เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ และเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ อันได้แก่ ความใกล้เชิงหน้าที่ ความใกล้เชิงอัตลักษณ์ และความใกล้เชิง กระบวนการ/องค์กร โดยใช้วธิ กี ารสัมภาษณ์ผคู้ า้ และผูซ้ อื้ ในตลาด การสัมภาษณ์เชิงลึกผูน้ ำ� ชุมชน และโดยการสังเกตสภาพ ทั่วไปของชุมชนและตลาด และการจดบันทึก โดยการด�ำเนินการในสองขั้นตอนดังกล่าว จะน�ำไปสู่กระบวนการอื่นๆ ของการศึกษาที่ไม่อยู่ในขอบเขตของ บทความนี้ ได้แก่ ในกระบวนการระยะกลางน�ำ้ และกระบวนการระยะปลายน�ำ้ ซึง่ เป็นการสร้างแนวคิด การค้นหาแนวทาง แก้ไขปัญหาที่พบ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน และการสร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อน�ำเสนอแก่ชุมชนต่อไป

4. ผลการศึกษาตลาดนัดชุมชนในมิติต่าง ๆ

4.1 การศึกษามิติด้านความใกล้เชิงภูมิศาสตร์

ด้วยความทีต่ ลาดนัดชุมชนแห่งนี้ เติบโตมาจากชุมชนเดิม จึงจัดเป็นตลาดทีต่ อบสนองต่อความต้องกันของชุมชน ในระดับละแวกบ้าน รวมไปถึงชุมชนข้างเคียงรวมทัง้ มหาวิทยาลัยมหาสารคามซึง่ อยูใ่ นรัศมีโดยรอบไม่ไกลจากตลาดแห่งนี้ มากนัก ท�ำเลที่ตั้งของตลาดยังอยู่ในบริเวณที่เข้าถึงสะดวกของ ตั้งอยู่ภายในพื้นที่วัดชัยจุมพลซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชน แห่งนี้ พื้นที่ลานวัดยังถูกใช้งานเป็นพื้นที่ส�ำหรับท�ำกิจกรรมอื่นๆ เวลาที่ไม่ได้จัดตลาด ทั้งกิจกรรมของชาวชุมชนเองและ คนนอกชุมชน

90


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ภาพที่ 1 ต�ำแหน่งที่ตั้งของตลาดนัดชุมชนบ้านขามเรียง ที่มา : การวิเคราะห์พื้นที่ของนิสิตชั้นปีที่ 5 สาขาสถาปัตยกรรม (2557)

ภาพที่ 2 ต�ำแหน่งที่ตั้งของตลาดนัดชุมชนบ้านขามเรียง ที่มา: การวิเคราะห์พื้นที่ของนิสิตชั้นปีที่ 5 สาขาสถาปัตยกรรม (2557)

91


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

4.2 การศึกษามิติด้านความใกล้เชิงความสัมพันธ์

4.2.1 ความใกล้เชิงหน้าที่

จากการสัมภาษณ์ทงั้ ผูซ้ อื้ และผูข้ ายในตลาดนัดชุมชนบ้านขามเรียง และทัศนคติของชุมชนต่อตลาดนัด ชุมชนแห่งนี้ พบว่าชาวบ้านมีความพึงพอใจต่อการมีอยูข่ องตลาดนัดชุมชนแห่งนี้ โดยให้ขอ้ มูลว่าส่วนใหญ่แล้วผูข้ ายของใน ตลาดจะเป็นชาวชุมชนและชุมชนข้างเคียงทีไ่ ม่ไกลกันนักมารวมกลุม่ กันขายสินค้า โดยมักน�ำสินค้าทีผ่ ลิตเองเช่น อาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงส�ำเร็จ เครื่องดื่ม ผัก ผลไม้ที่ปลูกเอง และยังมีกลุ่มที่ไปรับมาขายด้วยเช่นกัน เป็นการส่งเสริมให้เกิด รายได้หมุนเวียนในชุมชน ส่วนผู้ซื้อที่พบจะมีทั้งชาวชุมชน รวมทั้งบุคลากรและนิสิต ซึ่งนิยมมาซื้อสินค้าที่ตลาดแห่งนี้ เนือ่ งจากอยูใ่ กล้ๆ เดินทางสะดวก ราคาสินค้าถูกกว่าตามท้องตลาด ดังนัน้ ผูซ้ อื้ และผูข้ ายจึงมักจะรูจ้ กั และคุน้ เคยกันอยูแ่ ล้ว จึงมีบรรยากาศในการซือ้ ขายทีเ่ ป็นกันเอง มีการพูดคุยทักทายหรือสนทนากันในเรือ่ งต่างๆ มีเสียงเพลงพืน้ ถิน่ มีเสียงตามสาย มีเครื่องเล่นของเด็กที่มาตั้งให้บริการ พื้นที่ตลาดนัดแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยความเป็นกันเอง ความสนุกสนานของผู้คนทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งกล่าวได้ว่า ตลาดนัดแห่งนี้มีบทบาทด้านความใกล้เชิงหน้าที่ที่เป็นตลาดนัดศูนย์กลางชุมชน ที่ไม่เพียงเสนอสินค้า ทีจ่ ำ� เป็นต่อชุมชน ยังมีบริการทีต่ อบสนองต่อความพึงพอใจของชุมชนทัง้ ด้านการพักผ่อนหย่อนใจ และก่อให้เกิดประโยชน์ ทางเศรษฐกิจที่ตอบกลับมาสู่คนในชุมชนอีกด้วย

ภาพที่ 3 การสัมภาษณ์ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดนัดรวมทั้งชาวบ้านในชุมชนขามเรียง ที่มา : ณัฐพงษ์ สรรเสริญ และสายเพชร แสงไสว ผู้ช่วยวิจัย (2557)

4.2.2 ความใกล้เชิงอัตลักษณ์ ตลาดนัดชุมชนขามเรียง ตัง้ อยูใ่ นบริเวณลานวัดชัยจุมพล ซึง่ ถือพืน้ ทีท่ อี่ ยูบ่ ริเวณกึง่ กลางระหว่างชุมชน ละแวกบ้าน ได้แก่ ชุมชนบ้านขามเรียงหมู่ 1 หมู่ 15 และหมู่ 20 ทีอ่ ยูใ่ นรัศมีการเดินทางประมาณไม่เกิน 1 กิโลเมตร ถือเป็น กิจกรรมหนึง่ สร้างความรูส้ กึ เป็นเจ้าของให้แก่ชมุ ชนทัง้ 3 หมูบ่ า้ น รวมไปถึงชุมชนข้างเคียงทีอ่ ยูไ่ ม่ไกลได้เดินทางมาทัง้ ขาย และซื้อสินค้า อีกทั้งการศึกษานี้ จะน�ำไปสู่ผลลัพธ์ของการวิจัย ซึ่งมีแนวคิดในด้านของการส่งเสริมความใกล้เชิงอัตลักษณ์ ของตลาดนัดชุมชนแห่งนี้ ให้เด่นชัด และสอดคล้องกับพืน้ ทีท่ เี่ ป็นทีต่ งั้ ของกิจกรรมทีเ่ มือ่ ปรับเปลียนไปอยูใ่ นบริบทอืน่ ๆ จะ ไม่ก่อให้เกิดการท�ำลายความส�ำคัญและคุณค่าของพื้นที่ทางศาสนา ซึ่งชาวชุมชนได้เล็งเห็นประโยชน์ในแง่นี้ร่วมกันและได้ น�ำไปสูโ่ ครงการดังกล่าว ซึง่ การส่งเสริมให้เกิดการควบคุมรูปแบบของตลาดอย่างเหมาะสม จะก่อให้เกิดการไม่ทำ� ลายอัตลักษณ์ ดั้งเดิมของท้องถิ่น และพื้นที่ลานวัดของชุมชน ซึ่งมีการใช้ประโยชน์ในการตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านวัฒนธรรม และประเพณีดั้งเดิม และกิจกรรมของชาวชุมชนอย่างแท้จริง

92


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ภาพที่ 4 ตลาดนัดชุมชนบ้านขามเรียงในมิติความใกล้เชิงอัตลักษณ์ที่สัมพันธ์กับวัดและชุมชน

4.2.3 ความใกล้เชิงกระบวนการและองค์กร

กิจกรรมตลาดนัดชุมชนแห่งนี้ เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของชาวชุมชน ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตในท้องถิ่น โดยมีผนู้ ำ� หลักส�ำคัญได้แก่ ผูใ้ หญ่บา้ นหมู่ 1 หมู่ 15 และหมู่ 20 ซึง่ ร่วมมือร่วมใจกันในการจัดการในด้านรูปแบบของตลาดนัด มีการควบคุมด้านการจัดหาสินค้าซึง่ เน้นการขายผักปลอดสารพิษ และอาหารสดอาหารแห้งทีม่ าจากชุมชน และชุมชนข้างเคียง ช่วยให้เกิดการเสริมสร้างรายได้และการหมุนเวียนเศรษฐกิจในชุมชน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากท่านเจ้าอาวาสวัดชัยจุมพล ในด้านสถานทีต่ งั้ ของตลาดชุมชน โดยรายได้ทเี่ รียกเก็บจากค่าเช่าแผงได้นำ� มาเป็นค่าท�ำนุบำ� รุงแก่วดั ซึง่ จะเห็นได้ถงึ ความ ร่วมมือระหว่างองค์กรทั้งผู้น�ำชุมชน และองค์กรทางศาสนา ถือเป็นมิติของความใกล้ที่มีความชัดเจนและเป็นข้อได้เปรียบ ของตลาดนัดชุมชนแห่งนีท้ สี่ ามารถผลักดันหรือส่งเสริมให้เกิดความยัง่ ยืนต่อไป และยังเป็นแบบอย่างให้กบั การจัดการตลาดนัด ชุมชนในพื้นที่อื่นๆ ได้อีกด้วย

ภาพที่ 5 การสัมภาษณ์ท่านเจ้าอาวาสวัดชัยจุมพลและผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 หมู่ 15 และหมู่ 20 ที่มา : ณัฐพงษ์ สรรเสริญ และสายเพชร แสงไสว ผู้ช่วยวิจัย (2557)

93


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

แนวคิดทีส่ ำ� คัญอีกประการหนึง่ ของชุมชนซึง่ ประกอบไปด้วยผูน้ ำ� ชุมชนทัง้ 3 หมูแ่ ละชาวชุมชนนัน้ คือ ความพยายามด้านการควบคุมคุณภาพสินค้า และรูปแบบของการบริการ ซึง่ หมายถึงเน้นหนักทีผ่ กั และผลไม้ปลอดสารพิษ ที่ชาวชุมชนปลูกขายเอง และมีการควบคุมทั้งชนิดและประเภทของสินค้าอื่นๆ ที่จะเข้ามาขายโดยเฉพาะอย่างยิ่งจ�ำกัด ปริมาณของผูข้ ายทีม่ าจากทีอ่ นื่ ๆ ป้องกันไม่ให้มกี ลุม่ นายทุนทีเ่ ข้ามาแสวงหาประโยชน์จากพืน้ ทีแ่ ห่งนีไ้ ด้โดยง่าย ซึง่ จะช่วย ให้ตลาดนี้เป็นพื้นที่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงอย่างแท้จริง ทั้งนี้ได้มีการจัดการด้านที่ตั้งของ แผงค้ากันเอง ด้วยการจัดโซนของพืน้ ทีค่ อ่ นข้างจะจ�ำแนกประเภทของสินค้า โดยแบ่งออกเป็น แผงผักเก่าทีเ่ ป็นผักปลอดสาร 23 แผง แผงผักที่รับมาจากที่อื่นเพียง 3 แผง แผงอาหารว่าง 22 แผง แผงอาหารส�ำเร็จ 9 แผง แผงเนื้อสัตว์ 17 แผง แผง ผลไม้ 3 แผง แผงขายสินค้าเบ็ดเตล็ด 13 แผง แผงเสื้อผ้า 13 แผง และเครื่องเล่นเด็ก 1 เครื่อง อย่างไรก็ตามในมิติด้าน ความใกล้ของกระบวนการส�ำหรับตลาดนัดชุมชนแห่งนี้ ยังขาดความชัดเจนในด้านกลุม่ ตัวแทนทีท่ ำ� หน้าทีใ่ นด้านการวางแผน ด้านการจัดการสินค้า เช่น การจัดหาสินค้า การกระจายสินค้า และรวมไปถึงการวางแผนด้านการแข่งขัน

ภาพที่ 6 สัดส่วนของแผงค้าตลาดนัดชุมชนบ้านขามเรียง ที่มา : ณัฐพงษ์ สรรเสริญ และสายเพชร แสงไสว ผู้ช่วยวิจัย (2557)

ภาพที่ 7 ผังการจัดวางของแผงค้าตลาดนัดชุมชนบ้านขามเรียง ที่มา : ณัฐพงษ์ สรรเสริญ และสายเพชร แสงไสว ผู้ช่วยวิจัย (2557)

94


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

5. สรุปและเสนอแนะ การศึกษาปัจจัยทีก่ อ่ ให้เกิดตลาดนัด กรณีศกึ ษาตลาดนัดชุมชนวัดชัยจุมพล ชุมชนบ้านขามเรียง อ�ำเภอ กันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ช่วยให้เข้าใจถึงปัจจัยในมิติต่างๆ ที่มีความส�ำคัญ ของการค้าระยะใกล้ ซึ่งจะน�ำไปสู่การ ก�ำหนดแนวทางทีเ่ หมาะสมส�ำหรับรูปแบบทีค่ วรจะค�ำนึงถึง และก่อให้เกิดขึน้ และคงอยูอ่ ย่างยัง่ ยืนของตลาดนัดชุมชน หรือ ย่านการค้าระยะใกล้ของชุมชน ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบมิติต่าง ๆ ของการค้าระยะใกล้ ที่ได้จากการศึกษาผ่านกรณีศึกษาและการก�ำหนดแนวทาง ปัจจัย

รูปแบบที่ได้จากการศึกษา

ข้อเสนอเพื่อการก�ำหนดแนวทางที่เหมาะสม

- จัดเป็นตลาดนัดที่รองรับประชาชนใน ละแวกบ้านเป็นหลัก แต่ก็มีชุมชนข้างเคียง มาใช้บริการเนื่องจากความสะดวกของการ เดินทางเข้าถึง

- เพิ่มความสะดวกของการเดินทางด้วยรูป แบบอื่นๆ เช่น ทางเท้า ทางจักรยาน และ ขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ

- ความใกล้เชิงหน้าที่

- ผู้ซื้อและผู้ขายเป็นคนในชุมชนและชุมชน ข้างเคียง ซึ่งมักจะรู้จักและคุ้นเคยกันอยู่แล้ว ตลาดนัดชุมชนแห่งนี้จึงมีบรรยากาศในการ ซื้อขายที่เป็นกันเอง

- ควรสร้างบรรยากาศที่ก่อให้เกิดทัศนคติที่ ดีระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ ด้วยการเน้นให้เป็น กิจกรรมของคนในชุมชน กล่าวคือ ผู้ซื้อและ ผูข้ ายทีส่ ว่ นใหญ่เป็นคนในชุมชนเองเป็นหลัก

- ความใกล้เชิงอัตลักษณ์

- เป็นกิจกรรมหนึ่งสร้างความรู้สึกเป็น เจ้าของให้แก่ชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้าน รวมไปถึง ชุมชนข้างเคียงที่อยู่ไม่ไกลได้เดินทางมาทั้ง ขายและซื้อสินค้า - ชาวชุมชนได้เล็งเห็นประโยชน์ในการ ออกแบบองค์ประกอบของพื้นที่ที่ส่งเสริมให้ เกิดความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ที่สัมพันธ์ กับวัดและชุมชน

- ควรการสร้างย่านการค้าที่มีอัตลักษณ์ มี คุณค่าต่อชุมชนและท้องถิ่น สร้างความรู้สึก ของการเป็นเจ้าของให้แก่ชุมชน - ควรก�ำหนดขอบเขตของพื้นที่ที่นักลงทุน ภาคเอกชนสามารถเข้าถึงได้และไม่สามารถ แตะต้องได้ หรือก�ำหนดกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อป้องกันความสูญเสียอัตลักษณ์ของ ชุมชนโดยรอบย่านการค้าระยะใกล้

- ความใกล้เชิงกระบวนการและองค์กร

- ตลาดนัดชุมชนแห่งนี้ เกิดจากความร่วม มือร่วมใจของชาวชุมชน ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตใน ท้องถิ่น โดยมีผู้น�ำได้แก่ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 3 หมู่ ซึ่งมีวิสัยทัศน์ มีการสร้างความร่วมมือร่วมใจ กันในการจัดการด้านรูปแบบของตลาดนัด ที่สามารถผลักดันหรือส่งเสริมให้เกิดความ ยั่งยืนต่อไป

- เน้นให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้มีบทบาทในด้าน การสร้างสรรค์และการฟื้นฟูทางการค้า โดย ก�ำหนดแนวทางการพัฒนาเพื่อให้เกิดความ สมดุลในพื้นที่ของตนเอง ก�ำหนดแนวทาง การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตในท้อง ถิ่นด้วยกัน ความร่วมมือระหว่างกิจกรรม เช่น การจัดหาสินค้า การจัดส่งสินค้า ใน ย่านการค้าชุมชน -มีการก�ำหนดความรับผิดชอบหน่วยงาน ภาครัฐที่สามารถให้การสนับสนุนในด้านการ ค้า ระยะใกล้ เช่น การให้ทุนสนับสนุนท้อง ถิ่น การตั้งกองทุน การส่งเสริมฝีมือแรงงาน และการให้ค�ำปรึกษาด้านแนวทางการสร้าง ความร่วมมือ แหล่งสินค้า เป็นต้น -สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กร ต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

1.ความใกล้ทางภูมิศาสตร์

2.ความใกล้เชิงความสัมพันธ์

95


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ปัจจัย

รูปแบบที่ได้จากการศึกษา

ข้อเสนอเพื่อการก�ำหนดแนวทางที่เหมาะสม

2.ความใกล้เชิงความสัมพันธ์ (ต่อ) - ความใกล้เชิงกระบวนการและองค์กร (ต่อ) - ตลาดนัดชุมชนแห่งนี้ มุง่ เน้นความพยายาม ด้านการควบคุมคุณภาพสินค้า และรูปแบบ ของการบริการ ซึ่งหมายถึงเน้นหนักที่ผัก และผลไม้ปลอดสารพิษที่ชาวชุมชนปลูกขาย เอง และมีการควบคุมทั้งชนิดและประเภท ของสินค้าอื่นๆ ที่จะเข้ามาขายโดยเฉพาะ อย่างยิ่งจ�ำกัดปริมาณของผู้ขายที่มาจากที่ อื่นๆ ป้องกันไม่ให้มีกลุ่มนายทุนที่เข้ามา แสวงหาประโยชน์จากพื้นที่แห่งนี้ได้โดยง่าย - ขาดความชัดเจนในด้านกลุ่มตัวแทนที่ท�ำ หน้าที่ในด้านการวางแผนด้านการจัดการ สินค้า เช่น การจัดหาสินค้า การกระจาย สินค้า และรวมไปถึงการวางแผนด้านการ แข่งขัน

- มีการสร้างระบบและใช้มาตรฐานในการ ควบคุมคุณภาพของสินค้า ความสดใหม่ของ สินค้า การรับประกันสินค้า การตรวจสอบ สินค้า รูปแบบของการให้บริการทั้งระบบ การค้าระยะใกล้ เพื่อเป็นหลักประกันให้ ประชาชนท้องถิ่นให้สามารถสร้างผลผลิตที่ มีมาตรฐาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี - มีมาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ส�ำหรับการค้าระยะใกล้ ซึง่ ก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมต่าง ๆ น้อยที่สุด - ควรมีการจัดตั้งตัวแทนที่รับผิดชอบในด้าน การจัดการเกี่ยวกับการตลาด โดยมีแผนงาน ที่ชัดเจน

6. เอกสารอ้างอิง กองสวัสดิการสังคม. (2555). ข้อมูลชุมชนเขตเทศบาลนครขอนแก่น. เทศบาลนครขอนแก่น. Retrieved February 16, 2015, from http://center.kkmuni.go.th. ระบบบริการแผนทีช่ มุ ชน. (2553). เทศบาลนครขอนแก่น. Retrieved February 16, 2015, from http://122.154.129.219/ kkmuni_map/. เซนทรัลขอนแก่น. (2015). เส้นทางเดินรถสองแถว จังหวัดขอนแก่น. Retrieved February 16, 2015, from http:// www.khonkaencenter.com/maps/KK_Bus_routes.htm. บุษยา พุทธอินทร์. (2562). รูปแบบการเกิดอาชญากรรมคดีลกั ทรัพย์ในพืน้ ทีส่ าธารณะ ย่านเยาวราช-ส�ำเพ็ง กรุงเทพมหานคร. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง. 1(2). หน้า 38-51. วัชรินทร์ ขวัญไฝ. (2562). ความสัมพันธ์ของการใช้ประโยชน์อาคารและความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่กับปริมาณผู้ใช้ รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร กรณีศกึ ษา รถไฟฟ้าสายสุขมุ วิทและสายสีลม. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบ และการก่อสร้าง. 1(2). หน้า 52-67. สนอง รัตนภักดี. (2557). ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านขามเรียง. (สัมภาษณ์) วันที่ 2 สิงหาคม 2557. Borras, Gérard. (2001). Président de la CCI de Monpellier, nov 2001, Les Halles et Marchés : Notre Art de vivre, Chambre de commerce et d’industrie de Monpellier. CHANUT, O. et CAPO, C. (2012). Business model et positionnements voulus des nouveaux concepts de proximité en France : une grille d’analyse appliquée à la branche proximité de Casino, Colloque Etienne Thil, Lille, 29-30 novembre.

96


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

Conseil National des Centres Commerciaux, (2003). Quel avenir pour le commerce de proximité dans les Quartiers ? Retrieved February 16, 2015, from http://www.cdcf.com/ressources/DOCUMENTS/ Etude_Commerce-dans-les-quartiers.pdf. FUBicy. (2015). Fédération française des Usagers de la Bicyclette), Commerce de centre-ville et de proximité et modes non motorisés, Rapport final Publication ADEME no4841. Retrieved February 16, 2015, from http://www.fubicy.org/IMG/pdf/VeloCommerce03RapFin.pdf. Institut national de la statistique et des études économiques. (2010). Note AFRESCO no 543. LE COMMERCE DE PROXIMITE, Un concept élargi. Retrieved February 16, 2015, from http://afresco.net/files/ notes/afresco543.pdf. Laut. J.L. (1998). « Proximité et commerce : pour l'éclairage du concept ». In : Communication et langages. N°116, 2ème trimestre. P. 92-107. LEHU, J.M. (2004). L’encyclopédie du marketing. Editions d’organisation. Eyrolles. Marchalot, E. (2010). Distribution et centre-ville : vers un retour du commerce de proximité ? (Master 2 professionnel en Sciences du Management - Spécialité Logistique). Mémoire de fin d’études. Université Paris 1 Panthéon – Sorbonne. Ondes moyennes. (2006). La lettre d’information de la Fédération des Maires des Villes Moyennes, Vente au déballage : Une circulaire rappelle les règles., numéro 325 du 19 avril 2006. Weber. (1912). cited by Marchalot, E. (2010). Distribution et centre-ville : vers un retour du commerce de proximité ? (Master 2 professionnel en Sciences du Management - Spécialité Logistique). Mémoire de fin d’études. Université Paris 1 Panthéon – Sorbonne.

97



คณะกรรมการ กลั่นกรองบทความ - Peer Review -


ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความภายนอกมหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.ชุมพร มูรพันธุ์ รองศาสตราจารย์ จันทนี เพชรานนท์ รองศาสตราจารย์ ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล รองศาสตราจารย์ ดร.ชูพงษ์ ทองค�ำสมุทร รองศาสตราจารย์ ดร.วารุณี หวัง รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ เหลืองบุตรนาค รองศาสตราจารย์ ดร.กอปร ศรีนาวิน รองศาสตราจารย์ วีรวรรณ ศีติสาร รองศาสตราจารย์ อาวิน อินทรังษี รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต นิตยะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทิรา พรมพันธุ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงยศ วีระทวีมาศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล ตั้งสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรกานต์ รวยสูงเนิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนสิทธิ์ จันทะรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีร์นิธิ อักษร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชัญญา โปษยะนันทน์ ดร.จักรกฤษณ์ เหลืองเจริญรัตน์ อาจารย์ ดร.ธีย์ โคตรถา อาจารย์ ดร.สุรางคนา ตรังคานนท์ อาจารย์ ดร.วัชรพงศ์ ดีวงษ์ อาจารย์ ดร.พัศพันธน์ ชาญวสุนันท์ อาจารย์ ดร.จักรสิน น้อยไร่ภูมิ อาจารย์ ดร.สินีนาถ ศุกลรัตนเมธี อาจารย์ ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ อาจารย์ ดร.ยอดขวัญ สวัสดี อาจารย์ ดร.ขาม จาตุรงค์กุล อาจารย์ ดร.จันทนีย์ จิรัณธนัฐ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความภายในมหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ เรืองธรรม รองศาสตราจารย์ ดร.กฤต โง้วธนสุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเดช เชาวรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธราวุฒิ บุญเหลือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สักรินทร์ แซ่ภู่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดิฐา แสงวัฒนะชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชนาถ ทิวะสิงห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพัทธา หรรนภา ผู้ช่วยศาสตราจารย์อมฤต หมวดทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยนันท์ พรหมเพ็ญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บริรักษ์ อินทรกุลไชย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จารุณีย์ นิมิตศิริวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรีพรรณ์ สุพรรณสมบูรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัชนูพรรณ ค�ำสิงห์ศรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สกลชัย บุญปัญจา ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุวัฒน์ การถัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์เมธี พิริยการนนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชาภรณ์ ช�ำนิก�ำจร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัญญา ทองสวัสดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิกรม วงษ์สุวรรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสิทธิ์ ตันสุขี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดาราลัย ไซมะเริง อาจารย์ ดร.วรากุล ตันทนะเทวินทร์ อาจารย์ ดร.ธนายุทธ ไชยธงรัตน์ อาจารย์ ดร.วรวรรณ เนตรพระ อาจารย์ ดร.นิลปัทม์ ศรีโสภาพ อาจารย์ ดร.วีรพล เจียมวิสุทธิ์

สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาการจัดการงานก่อสร้าง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาการจัดการงานก่อสร้าง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ คณะสถาปัตย์ฯ

101



ค�ำแนะน�ำ

ส�ำหรับผูเ้ ขียนบทความลงตีพิมพ์


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียนบทความลงตีพิมพ์

วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 ช่วงเดือน มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 ช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม โดยมี วัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นการรวบรวมผลงานทางวิชาการและงานวิจัยทางด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบและการ ก่อสร้าง ซึ่งบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ทุกบทความจะผ่านความการพิจารณาและความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขา ที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พุทธศักราช 2521 และเผยแพร่ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ThaiJO การเตรียมบทความ 1. เป็นบทความวิจัย หรือบทความวิชาการ ที่มีความยาวไม่ควรน้อยกว่า 1 หน้า และไม่ควรเกิน 15 หน้า กระดาษ A4 ตามแบบฟอร์ม JADC03-Template (26.5x18.5) ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/ Jadc/index 2. เป็นบทความทีไ่ ม่ได้อยูร่ ะหว่างการพิจารณาตีพมิ พ์ของสือ่ สิง่ พิมพ์อนื่ ๆ และไม่เคยได้รบั การตีพมิ พ์ใน วารสารใด ๆ มาก่อน 3. ต้องไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ไม่มีการลอกเลียน หรือตัดทอนผลงานวิจัยของผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับ อนุญาตและ มีการอ้างอิงที่เหมาะสม 4. ชนิดและขนาดตัวอักษร ทัง้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตวั อักษร TH Sarabun PSK ซึง่ ขนาดตัวอักษร มีรายละเอียด ดังนี้ 4.1 ชื่อบทความ ใช้ตัวอักษรขนาด 18 pt. ตัวหนา 4.2 ชื่อ-สกุลผู้เขียนบทความ ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวปกติ 4.3 หัวข้อหลัก ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา 4.4 หัวข้อรอง ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวเอียง 4.5) เนื้อเรื่องในหัวข้อหลักและหัวข้อรอง ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ 4.6) เนื้อเรื่องในตาราง ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ รูปแบบการเขียนบทความ ควรมีหัวข้อเรื่องเรียงตามล�ำดับ ดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีข้อความที่กระชับ ได้ใจความ และบ่งบอกบทความได้อย่างชัดเจน ชื่อผู้เขียน (Author) ให้ระบุชื่อ นามสกุล ต�ำแหน่ง หน่วยงานและที่อยู่ของผู้เขียนทุกคน บทคัดย่อ (Abstract) บทคัดย่อต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ค�ำส�ำคัญ (Keyword) ค�ำสืบค้นที่เกี่ยวข้องกับบทความ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทน�ำ (Introduction) กล่าวถึงความส�ำคัญของปัญหาและภูมิหลังของการวิจัย รวมไปถึงวัตถุประสงค์ของงานวิจัย วิธีการศึกษา (Research methods, Materials and Methods) อธิบายถึงอุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอน การศึกษา เครื่องมือ การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และ/หรือ สถิติที่ใช้ในการศึกษา โดยสามารถแตกออกเป็น หลายหัวข้อได้ ผลการศึกษาและวิจารณ์ (Results and Discussion) บรรยายผล และวิจารณ์ผล สามารถแตกออกเป็นหลายหัวข้อได้ สรุป (Conclusion) บรรยายถึงบทสรุปของงานศึกษา

104


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ข้อเสนอแนะ (Recommendation) เสนอแนะต่อหน่วยงานทีน่ ำ� ผลไปใช้ และเสนอต่อแนวทางการศึกษาในครัง้ ต่อไป (ถ้ามี) กิตติกรรมประกาศ ขอบคุณทุนสนับสนุน หรือบุคคล (ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงในบทความให้ใช้ระบบการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ แบบ นาม-ปี และหน้า (ชื่อ-นามสกุลผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์) ตรงต�ำแหน่งท้ายประโยคที่ต้องการอ้างอิง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกสามารถใช้โปรแกรม Endnote หรือใช้บริการจัดรูปแบบเอกสารอ้างอิงออนไลน์ Homepage & Submit paper: https://www.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/index ขั้นตอนการส่งบทความ เนื่องด้วยวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง ก�ำาลังรับการปรับปรุงให้เป็นวารสารออนไลน์ จึงขอให้ ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1. เตรียมไฟล์ต้นฉบับตามค�ำแนะน�ำการเตรียมต้นฉบับ 2. ผู้เขียนส่งบทความฉบับสมบูรณ์ และไฟล์ภาพที่ใช้ในบทความทางอีเมล Jadcarch@msu.ac.thเพื่อให้กองบรรณาธิ การตรวจสอบเบื้องต้น 3. ลงทะเบียนสมาชิก เข้าเว็บไซต์ https://www.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/index ท�ำตามค�ำแนะน�ำส�ำหรับ การใช้งานเบื้องต้นของระบบ ThaiJO2 (ส�ำาหรับผู้แต่ง Author) ซึ่งมีรายละเอียดตามหัวข้อดังนี้ 3.1 การสมัครสมาชิกวารสาร (Author Register) (ผู้ใช้ยังไม่มี Username, Password ในระบบ ThaiJO 3.2 การส่งบทความ (Submission) 3.3 รอตรวจสอบสถานะ การตอบรับ/ปฏิเสธ ทาง E-mail การพิจารณาคุณภาพของบทความ 1. บทความวิจัยและบทความวิชาการ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้นในด้านคุณภาพของบทความ และการพิมพ์ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ด�ำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณา แล้วเหมาะสม มีคณ ุ ภาพ จะส่งผูท้ รงคุณวุฒภิ ายนอกตามความเชีย่ วชาญของสาขาวิชา พิจารณากลัน่ กรอง (Peer review) อย่างน้อย 2 ท่าน 2. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ 3. ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลา การแก้ไขไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์ เกณฑ์การพิจารณาบทความ 1. บทความวิจัยและบทความวิชาการ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้น ในด้านคุณภาพของบทความ และการพิมพ์ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ด�ำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณา แล้วเหมาะสม มีคณ ุ ภาพ จะส่งผูท้ รงคุณวุฒภิ ายนอกตามความเชีย่ วชาญของสาขาวิชา พิจารณากลัน่ กรอง (Peer review) อย่างน้อย 2 ท่าน 2. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ 3. ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลา การแก้ไขไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์

105


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2562

ข้อมูลติดต่อบรรณาธิการ ส�ำนักงานวารสารสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต�ำบลขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 Email: Jadcarch@msu.ac.th, website: http://www.tci-thaijo.org/index.php/JADC โทรศัพท์: (043) 754-381, โทรสาร: (043) 754-382, มือถือ (086) 455-5990 (จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.00 น.) การส่งบทความ : ส่งบทความฉบับสมบูรณ์ ถึง อาจารย์ ดร.ธนายุทธ ไชยธงรัตน์ ส�ำนักงานวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต�ำบลขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 หรือส่งมาที่ Jadcarch@msu.ac.th อ่านและสืบค้นวารสารฉบับย้อนหลังได้ที่ http://www.tci-thaijo.org/index.php/JADC

106



วารสารสถาป ตยกรรม การออกแบบและการก อสร าง

Journal of Architecture, Design and Construction คณะสถาป ตยกรรมศาสตร ผังเมืองและนฤมิตศิลป มหาว�ทยาลัยมหาสารคาม ป ท่ี 1 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2562 Vol.1 No.3 September - December 2019 ISSN (Print Edition): 2673-0332 ISSN (Online Edition): 2673-0340

บทความว�ชาการ

……………………………………………………………………………………………… การว�เคราะห ค าความปลอดภัยสำหรับไม ไผ ใช ในงานก อสร าง The Analysis of Safety Factor for Bamboo used in Construction สุรพงษ ดาราม (Surapong Daram)

หน า 8

บทความว�จัย

………………………………………………………………………………………………. การคิดเชิงออกแบบเพ�่อพัฒนาศาลาไผ ขนาดเล็ก Design Thinking for Developing Small-Bamboo hut รัชนูพรรณ คำสิงห ศร� (Rutchanoophan Kumsingsree)

26

การก อสร างและค าพลังงานสะสมรวมวัสดุอาคารผนังดินอัด Construction and Embodied Energy Rammed Building ยุทธนา เกาะกิง� (Yutthana Korking)

44

การศึกษาเปร�ยบเทียบสัมฤทธ�์ผลของการรับนิสิตคณะสถาป ตยกรรมศาสตร ผังเมืองและนฤมิตศิลป มหาว�ทยาลัยมหาสารคาม Comparative Study on the Student Admission Systems for Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts Mahasarakham University พัชร�นทร เชือ้ ภักดี กิง� กาญจน มุลทาเย็น และธนายุทธ ไชยธงรัตน (Patcharin Chuaphakdee Kingkan Moontayen and Tanayut chaithongrat)

58

สภาพกายภาพของโรงพยาบาลศูนย กลางในสาธารณรัฐประชาธ�ปไตยประชาชนลาว Physical Environment of Central Hospital in LAOS ไชยะลาด ลาชาวะดี และไตรวัฒน ว�รยศิร� (Xayalath laxavady and Traiwat Viryasiri)

70

การศึกษาป จจัยที่ก อให เกิดตลาดนัด กรณีศึกษาตลาดนัดชุมชนวัดชัยจุมพล 86 ชุมชนบ านขามเร�ยง อำเภอกันทรว�ชัย จังหวัดมหาสารคาม Study of Factors creating Flea Market: A Case study of Wat Chai Chumphon Community Market, Ban Kham Riang, Kantharawichai District, Maha Sarakham Province ดิฐา แสงวัฒนะชัย (Dita Sangvatanachai)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.