JADC Vol.5 (MAY-AUGUST 2020)

Page 1



Vol.2 No.2 May - August 2020 ISSN (Print Edition): 2673-0332 ISSN (Online Edition): 2673-0340


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

Journal of Architecture, Design and Construction ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2563 Vol.2 No.2 May - August 2020 ISSN: 2673-0340 (Online)

ISSN: 2673-0332 (Print)

เจ้าของ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปแบบของผลงานวิชาการและบทความวิจัย ที่มีคุณภาพด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบ และการก่อสร้าง เพื่อเป็นการรวบรวม และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย องค์ความรู้ของ คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา สถาปนิก วิศวกร นักออกแบบและบุคลากรทั้งภายในและภายนอก มหาวิทยาลัยที่มีความสนใจ ด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง และเพื่อการพัฒนาวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index (TCI) จุดมุ่งหมายและขอบเขต วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง รับพิจารณาตีพมิ พ์ผลงานทางวิชาการประเภทบทความวิชาการ และ บทความวิจยั ทางด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง ทัง้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยวารสารมีขอบเขต เนือ้ หาทางวิชาการที่สนใจใน 9 สาขา ดังต่อไปนี้ 1. สถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture) 2. สถาปัตยกรรมไทย (Thai Architecture) 3. สถาปัตยกรรมผังเมืองและการผังเมือง (Urban Architecture & Urban Planning) 4. สถาปัตยกรรมภายใน (Interior Architecture) 5. ภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape Architecture) 6. การออกแบบสร้างสรรค์ และนฤมิตศิลป์ (Creative Design & Creative Arts) 7. การออกแบบนิเทศศิลป์ และการออกแบบอุตสาหกรรม (Communication Design & Industrial design) 8. การจัดการงานก่อสร้าง (Construction Management) 9. สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คณะที่ปรึกษากองบรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเดช เชาวรัตน์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนายุทธ ไชยธงรัตน์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กองบรรณาธิการภายนอกมหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์เอื้อมพร วีสมหมาย รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต นิตยะ รองศาสตราจารย์ ดร. นิรัช สุดสังข์ รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ เหลืองบุตรนาค รองศาสตราจารย์ ดร.กอปร ศรีนาวิน รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์ คุณุรัตน์ รองศาสตราจารย์จันทนี เพชรานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพร มูรพันธุ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล ตั้งสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันต์ จันทร์สมศักดิ์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร


กองบรรณาธิการภายในมหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชนาถ ทิวะสิงห์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดิฐา แสงวัฒนะชัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพัทธา หรรนภา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรากุล ตันทนะเทวินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อ�ำภา บัวระภา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์ ดร.วีรพล เจียมวิสุทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์ ดร.วรวรรณ เนตรพระ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์ฐิติรัตน์ นิมิตบรรณสาร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ออกแบบกราฟิกเล่มและจัดพิมพ์โดย นางสาวนิกานต์ดา ทองน้อย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาพหน้าปก อาจารย์ ดร.วีรพล เจียมวิสุทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์ฐิติรัตน์ นิมิตรบรรณสาร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ช่วยบรรณาธิการ นางสาวนิกานต์ดา ทองน้อย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายวรารินทร์ ปัญญาวงศ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก�ำหนดออกวารสาร ปีละ วารสารฯ จัดพิมพ์เป็นประจ�ำทุกปี ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 (เดือนมกราคม – เมษายน) ฉบับที่ 2 (เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม) และฉบับที่ 3 (เดือนกันยายน – ธันวาคม) โดยบทความมีการตรวจสอบและพิจารณา จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer-Review) จ�ำนวน 2 ท่านต่อ 1 บทความ เป็นแบบ Double blinded และ บทความทุกเรื่องจะถูก พิจารณากลั่นกรองโดยกองบรรณาธิการ ลักษณะบทความ 1. ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อนหรือไม่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณา เพื่อเผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ 2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขาวิชา (Peer Review) อย่างน้อย 2 ท่าน 3. บทความทีต่ พี มิ พ์ในวารสารทุกบทความเป็นของผูเ้ ขียนแต่ละท่าน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของกอง บรรณาธิการวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4. บทความทุกบทความทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์เป็นลิขสิทธิข์ องวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง มหาวิทยาลัย มหาสารคาม การเผยแพร่ต่อไปต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ ส่งบทความทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/index ส�ำนักงานกองบรรณาธิการ ส�ำนักงานวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต�ำบลขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 โทรศัพท์ (043) 754381 โทรสาร (043) 754382 โทรศัพท์มือถือ (086) 4555990 E-mail: Jadcarch@msu.ac.th website: https://www.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/index Facebook: วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง พิมพ์เมื่อ สิงหาคม 2563 พิมพ์ที่ หจก. อภิชาตการพิมพ์ จ�ำกัด 50 ถนน ผังเมืองบัญชา ซอย 2 ต�ำบลตลาด อ�ำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000


บทบรรณาธิการ วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับนี้เป็นวารสาร ปีที่ 2 ฉบับ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2563 มีผู้เขียนบทความวิชาการและบทความวิจัย ทั้งภายในและ ภายนอกมหาวิทยาลัย ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ จ�ำนวน 7 บทความ แบ่งเป็นบทความวิชาการ 2 บทความ และบทความวิจัย 5 บทความ โดยสรุปเนื้อหาภายในเล่ม ดังนี้ บทความวิชาการที่ 1 เรื่อง “การท่องเที่ยวในเขตเมืองและการพัฒนา:กรุงเทพมหานคร” โดย ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี ผูเ้ ขียนกล่าวถึง กรุงเทพมีองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบ รองทีด ่ เี ป็นจุดแข็งดึงดูดนักท่องเทีย่ ว โดยเฉพาะวัฒนธรรม ธรรมชาติ ร้านอาหาร การช้อปปิง้ ความหลาก หลายมีชีวิตชีวา มีความแตกต่างจากเมืองสิงคโปร์ซึ่งมีความหลากหลายบนพื้นที่ที่จ�ำกัด โดยสามารถอ่าน ได้รายละเอียดในบทความ บทความวิชาการที่ 2 เรื่อง “การทบทวนวรรณกรรม ส�ำหรับความหนาแน่นของสภาพแวดล้อมที่ ส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กและเยาวชน” โดย ดร.ปิยะวรรค์ ปิ่นแก้ว และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิพัทธา หรรนภา ซึ่งบทความนี้แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของอิทธิพลทางสภาพแวดล้อมด้านความหนาแน่นที่มี ผลต่อเด็กและเยาวชนทัง้ ทีม่ คี วามปกติ และเด็กทีม่ คี วามต้องการพิเศษ ในระดับอายุและเพศทีแ่ ตกต่างกัน เพื่อให้เห็นความส�ำคัญของการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม บทความวิจัยที่ 1 เรื่อง “การออกแบบพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อความยั่งยืน อ�ำเภอวาปีปทุม จังหวัด มหาสารคาม” โดยอาจารย์ทรงภพ เมฆพรรณโอภาส1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำ� ภา บัวระภา และนายธีรดา นามไห ร่วมกันศึกษาและออกแบบพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ตามแนวนิเวศวิทยาภูมิทัศน์ นิเวศ เกษตรกรรม และการออกแบบอย่างยั่งยืน จากการศึกษาพบว่า การฟื้นฟูระบบนิเวศเกษตรกรรมควบคูก่ ับ ระบบนิเวศป่าไม้เดิม และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน�ำ้ และดินเสือ่ มคุณภาพ ปรับเปลีย่ นพืชในระบบเกษตร ให้มีความหลากหลายตามหลัก “วนเกษตร” ทั้งไม้เศรษฐกิจ ไม้ผล พืชไร่ พืชสวน พืชผัก และพืชสมุนไพร สร้างความซับซ้อนและความยั่งยืนให้พื้นที่เกษตรกรรม และสร้างรายได้ให้เกษตรกรทั้งในระยะสั้นและระยะ ยาว บทความวิจยั ที่ 2 เรื่อง “กระบวนการท�ำเกลือสินเธาว์กบั การก่อเกิดภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมแหล่งเกลือ สินเธาว์บ่อกฐิน ต�ำบลเมืองเพีย อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น” โดยอาจารย์โกวิทย์ วาปีศิลป์ ผู้วิจัยให้ ความส�ำคัญศักยภาพและโอกาสในด้านการอนุรกั ษ์และพัฒนา 3 ประการ ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียน รู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาการท�ำเกลือสินเธาว์ด้วยวิธีพื้นบ้าน 2) อนุรกั ษ์องค์ประกอบภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมทีส่ ำ� คัญบางองค์ประกอบ เพื่อยังให้คงเอกลักษณ์ไม่ให้ถกู ท�ำลาย หายไปและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และ3) บรรจุเรื่องราวทางประวัตศิ าสตร์และกระบวนการท�ำเกลือสินเธาว์ เป็นบทเรียนในหลักสูตรท้องถิ่นหรือในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง บทความวิจัยที่ 3 เรื่อง “กระบวนการท�ำงานเพื่อชุมชนในการออกแบบวิหารพระอุปคุต ณ สวน สาธารณะหนองแวง จั ง หวั ด มหาสารคาม” โดยผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ ดร. วรากุ ล ตั น ทนะเทวิน ทร์ อาจารย์วิวัฒน์ วอทอง อาจารย์ธเนศ ฉัตรจุฑามณี และนางสายลม โกษาเฉวียง ซึ่งบทความวิจัยนี้ชี้ให้เห็น กระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบที่จัดเจนระหว่างนักวิชาการ ชาวบ้าน และผู้เชี่ยวชาญในการร่วม ออกแบบสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมประเภทศาสนสถานและงานภูมิทัศน์ นอกจากนี้ผลการศึกษานี้


บทบรรณาธิการ พบว่าความต้องการของชุมชนเป็นข้อมูลทีส่ ำ� คัญทีส่ ด ุ ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ในขัน้ ตอนการออกแบบ และความรูค้ วามเข้าใจในทิศทางเดียวกันของคนในชุมชนนัน้ เป็นปัจจัยส�ำคัญในการขับเคลือ่ นการท�ำงานให้ ส�ำเร็จ บทความวิจยั ที่ 4 เรื่อง “การออกแบบกราฟิกเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมปิ ญ ั ญาท้องถิ่นประเภท เครื่องปั้นดินเผากรณีศึกษากลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อจังหวัดมหาสารคาม” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิชนาถ ทิวะสิงห์ และ Dr. Lin Hightower การศึกษานี้สร้างภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์กลุ่ม เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ ต�ำบลเขวา อ�ำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีการสืบทอดภูมิปัญญาการปั้น เครื่องปัน้ ดินเผาตัง้ แต่ยคุ บรรพบุรษุ จนถึงปัจจุบนั เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 200 ปี โดยสามารถอ่านได้ราย ละเอียดในบทความ ส่วนบทความปิดท้ายฉบับนีเ้ ป็นบทความวิจยั ที่ 5 เรื่อง “การประยุกต์ใช้แบบจ�ำลองกฎการพยากรณ์ ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลต่ อ การส� ำ เร็จ การศึ ก ษาของนิ สิ ต คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ ผั ง เมื อ งและนฤมิ ต ศิ ล ป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการท�ำเหมืองข้อมูล” โดยนายวรารินทร์ ปัญญาวงษ์ ผู้วิจัยสร้างแบบจ�ำลอง ในการพยากรณ์การส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และแบบจ�ำลองสามารถพยากรณ์ได้ ร้อยละ 91 ซึ่ง น� ำ ไปใช้ ใ นการพั ฒ นาระบบหรือ โปรแกรมการพยากรณ์ ก ารส� ำ เร็จ การศึ ก ษาระดั บ ปริญ ญาตรีข อง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ ส�ำหรับรายละเอียดบทความทั้งหมดนี้ สามารถอ่านได้ในวารสารฉบับนี้ และพบกันอีกในวารสาร สถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2563 ทั้งนี้กอง บรรณาธิการขอขอบพระคุณทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ รวมถึงคณะผู้บริหารของคณะฯ และสถาบันฯ ที่สนับสนุนการจัดท�ำวารสารวิชาการฉบับนี้ หากมีข้อบกพร่องประการใด กองบรรณาธิการขอน้อมรับ เพื่อจักได้น�ำไปปรับปรุงต่อไป

ผู้ช่วยศาสตราศาสตร์ ดร.ธนายุทธ ไชยธงรัตน์ บรรณาธิการ tanayut.c@msu.ac.th 20 สิงหาคม 2563



สารบัญ หน้า บทความวิชาการ …………………………………………………………………………………………………………................... การท่องเที่ยวในเขตเมืองและการพัฒนา: กรุงเทพมหานคร Urban Tourism and Development: Bangkok เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี (Pechladda Pechpakdee)

13

การทบทวนวรรณกรรมส�ำหรับความหนาแน่นของสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและเยาวชน Environmental Density and Its Impacts on Children and Teenagers’ Behaviours: A Systematic Review ปิยะวรรค์ ปิ่นแก้วและนิพัทธา หรรนภา (Piyawan Pinkaew and Niphattha Hannapha)

29

บทความวิจัย ……………………………………………………………………………………………………………….................. การออกแบบพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อความยั่งยืน อ�ำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม Designing Agricultural Landscapes for Sustainable Wapi Pathum District Maha Sarakham province ทรงภพ เมฆพรรณโอภาส,อ�ำภา บัวระภา และธีรดา นามไห (songbhop mekkapan-opas, Umpa Buarapa and Theerada Namhai)

41

กระบวนการท�ำเกลือสินเธาว์กับการก่อเกิดภูมิทัศน์วัฒนธรรม แหล่งเกลือสินเธาว์บ่อกฐิน ต�ำบลเมืองเพีย อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น Cultural Landscape Elements of a Rock Salt Mine at Boh Kathin, Mueang Phia Sub-district, Ban Phai District, Khon Kaen Province โกวิทย์ วาปีศิลป์ (Kowit Wapeesilp)

55

กระบวนการท�ำงานเพื่อชุมชนในการออกแบบวิหารพระอุปคุต ณ สวนสาธารณะหนองแวง จังหวัดมหาสารคาม Work Process for the Community to Design the Vihara Phra Upakut at Nong Waeng public park, Maha Sarakham Province วรากุล ตันทนะเทวินทร์, วิวัฒน์ วอทอง, ธเนศ ฉัตรจุฑามณี และสายลม โกษาเฉวียง (Warakul Tantanatewin, Wiwat Wotong, Thanet Chatjutamanee and Sailom Kosachaviang)

75

การออกแบบกราฟิกเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทเครื่องปั้นดินเผา กรณีศึกษากลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อจังหวัดมหาสารคาม Graphic Design for Traditional Pottery Product Development: A Case study of Ban Mo, Maha Sarakham Provience วิชนาถ ทิวะสิงห์ และ Lin Hightower (Wichanat Tiwasing and Lin Hightower)

93

การประยุกต์ใช้แบบจ�ำลองกฎการพยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อการส�ำเร็จการศึกษาของนิสิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการท�ำเหมืองข้อมูล Utilization of Rule-based Predicting Models Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts Students at Mahasarakham University by Data Mining วรารินทร์ ปัญญาวงษ์ (Wararin Panyawong)

109



บทความวิชาการ - Academic Article -



วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

การท่องเที่ยวในเขตเมืองและการพัฒนา: กรุงเทพมหานคร Urban Tourism and Development: Bangkok เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

Pechladda Pechpakdee Assistant Professor, Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts, Maha Sarakham University, Kantarawichai District, Maha Sarakham, Thailand, 44150 *Email: petchladda.p@msu.ac.th

บทคัดย่อ การท่องเที่ยวในเขตเมือง เป็นประเด็นใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีการศึกษามากนักในการท�ำความเข้าใจกับมิติกายภาพที่ เกีย่ วข้อง องค์ประกอบของการท่องเทีย่ วแบบเมือง กับการวางแผนการพัฒนาเมืองเพือ่ การท่องเทีย่ วในเขตเมือง บทความ ฉบับนี้ ได้ศึกษาการท่องเที่ยวแบบเมืองของกรุงเทพมหานครในเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ การท่องเทีย่ วแบบของเมืองของกรุงเทพมหานคร โดยเน้นมิตดิ า้ นกายภาพเป็นหลัก ตลอดจนเพือ่ เข้าใจถึงสถานการณ์และ ความสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวแบบเมืองและการพัฒนาเมืองของกรุงเทพมหานคร ในองค์ประกอบหลัก (Primary Elements) องค์ประกอบรอง (Secondary Elements) และ องค์ประกอบส่วนเพิม่ (Additional Elements) วิธกี ารศึกษา ศึกษานิยาม ทฤษฎี แนวความคิดที่เกี่ยวข้องของการท่องเที่ยวแบบเมือง องค์ประกอบการท่องเที่ยวแบบเมือง ศึกษานัก ท่องเที่ยวรูปแบบต่าง ๆ และภาคีที่เกี่ยวข้อง โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการท�ำความเข้าใจกับการท่องเที่ยวในเขตเมืองกับ ความสัมพันธ์และความส�ำคัญของการพัฒนาเมือง ผลการศึกษา กรุงเทพมีองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรองที่ดีเป็น จุดแข็งดึงดูดนักท่องเทีย่ วเนือ่ งจาก มีทงั้ แหล่งท่องเทีย่ วทางวัฒนธรรม ธรรมชาติ ร้านอาหาร การช้อปปิง้ ความหลากหลาย มีชวี ติ ชีวา อย่างไรก็ตาม แม้กรุงเทพและสิงคโปร์จะเป็นเมืองท่องเทีย่ วชัน้ น�ำในภูมภิ าค แต่ทงั้ สองเมืองก็มคี วามแตกต่างใน บริบท กล่าวคือ สิงคโปร์กำ� ลังพยายามสร้างความหลากหลายบนพืน้ ทีท่ จี่ ำ� กัด กรุงเทพยังคงต้องการส่งเสริมด้านการอ�ำนวย ความสะดวกในด้านองค์ประกอบส่วนเพิ่มคือ สิ่งอ�ำนวยความสะด้วยแก่นักท่องเที่ยวในการเดินทาง ซึ่งยังคงเป็นจุดอ่อน ส�ำคัญของการท่องเที่ยวในเขตเมืองของกรุงเทพเนื่องจากแนวโน้มการท่องเที่ยวจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวโซโลโม (So Lo Mo) และนักท่องเที่ยวที่เที่ยวด้วยตนเองแบบอิสระ (FIT- Foreign Independent Tourism) มากขึ้น ค�ำส�ำคัญ: การท่องเที่ยวในเขตเมือง, การพัฒนาเมือง, องค์ประกอบหลัก, องค์ประกอบรอง, องค์ประกอบส่วนเพิ่ม

13


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

Abstract Urban tourism is a new issue. There is a few research studies for understanding of physical things, urban tourism elements, and urban development. This paper explores the qualitative data of urban tourism issues in Bangkok through the definitions, theories, concepts of urban tourism, urban tourism elements, tourist types, and agencies. Objectives: The objectives of this paper are to lay the knowledge foundation of urban tourism in Bangkok by focusing physical elements and to understand the situations and the problems of urban tourism in Bangkok with the primary elements, the secondary elements, and the additional elements. Methodology: To Study the definitions of related theories and concepts of urban tourism, urban tourism elements and to explore the various forms of tourists and related parties for understanding urban tourism and the relationships and importance of urban development. Results: Bangkok has good primary and secondary elements as a strength to attract tourists because of cultural attractions, nature, restaurants, shopping, and lively variety. Although Singapore and Bangkok are the leading cities of urban tourism in this region. Singapore is attempting to create the varieties based on limited land. Bangkok still needs to promote the convenience of additional components which is the travel facilities for tourists. This is a major weakness of tourism in Bangkok since the tendency of Solo tourists (So Lo Mo) and tourists who travel independently (FIT- Foreign Independent Tourism) will be increased. Keywords: Urban Tourism, Urban Development, Primary Elements, Secondary Elements, Additional Received: May 14, 2020; Revised: June 10, 2020; Accepted: June 25, 2020

1. บทน�ำ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความส�ำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก ซึ่งจัดเป็นยุทธศาสตร์ส�ำคัญหนึ่งของ ประเทศไทยในการสร้างโอกาสในการกระจายรายได้สู่เมือง ชุมชน ตลอดจนการจ้างงานในประเทศ โดยประเทศไทยได้มี การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องจนประสบผลส�ำเร็จด้านจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ จากรายงานผลส�ำรวจ “สุดยอดจุดหมายปลายทางโลก ประจ�ำปี 2559” (Mastercard Global Destination Cities Index) ทีจ่ ดั ท�ำโดยมาสเตอร์การ์ดติดต่อกันเป็นปีที่ 6 พบว่า กรุงเทพมหานคร คว้าแชมป์อนั ดับหนึง่ เมืองทีม่ ผี เู้ ดินทางมาเยือนมาก ทีส่ ดุ ในโลก ด้วยจ�ำนวน 21.47 ล้านคน และจากข้อมูลของบริษทั วิจยั Euromonitor International ทางฝัง่ ประเทศอังกฤษ เปิดเผยรายงานการศึกษาประจ�ำปี 2017 ชื่อ Top 100 City Destinations Ranking ซึ่งเป็นการจัดอันดับจ�ำนวนนักท่อง เที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปเมืองส�ำคัญๆ ทั่วโลก 100 เมือง ในปี 2015 โดยกรุงเทพฯ ภูเก็ต และพัทยา ติดอันดับอยู่ใน 20 เมืองปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ โดย กรุงเทพฯ มาเป็นอันดับ 2 โดยมีนักท่องเที่ยวทั้งหมด 18.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 10% จากการรวบรวมตัวเลขในปี 2015 พบว่าจ�ำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกยังคง เพิ่มขึ้น น่าสนใจว่าEuromonitor ตั้งข้อสังเกตว่า ในอนาคตเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการแข่งขันกัน ระหว่างเมืองมากขึ้น มีการติดต่อท�ำธุรกิจอย่างเข้มข้นขึ้น ส่งผลต่อการเดินทางของผู้คนระหว่างเมืองต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้น ในอนาคต จากฐานะทางเศรษฐกิจทีใ่ หญ่โตของเมือง ท�ำให้ประเทศต่าง ๆ ทัว่ โลกให้ความส�ำคัญในเรือ่ งการเดินทางระหว่าง เมืองและภายในเมือง หากพิจารณาถึงปัจจัยหลักทีเ่ ป็นจุดแข็งส�ำคัญทีท่ ำ� ให้นกั ท่องเทีย่ วต่างประเทศนิยมเดินทางมากรุงเทพ ในเบื้องต้นสามารถพิจารณาได้ว่าปัจจัยหลัก ประกอบด้วย 1. ท�ำเลที่ตั้งของกรุงเทพฯ เป็นจุดศูนย์กลางที่เชื่อมต่อการเดิน ทางจากทั่วโลก 2. มีการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบคมนาคม 3. ค่าครองชีพไม่สูง เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ของ โลก 4. ความหลากหลาย ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว ตั้งแต่ระดับไฮเอนด์ (High End) ไปจนถึงระดับมวลชนทั่วไป (Mass) 5. เป็นเมืองทีม่ เี อกลักษณ์โดดเด่น และมีสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วมากมาย ด้วยจุดแข็งเหล่านี้ ท�ำให้นกั ท่องเทีย่ วต่างประเทศได้รบั

14


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ได้มีการประเมินอนาคตของกรุงเทพมหานครว่า เมื่อโครงการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองแล้วเสร็จจะ ท�ำให้ศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานของไทยทัดเทียมกับนานาประเทศ เช่น สัดส่วนความยาวเส้นทางรถไฟฟ้าต่อประชากรใน กรุงเทพฯ จะเพิ่มเป็น 23 กิโลเมตร/ล้านคนซึ่งใกล้เคียงกับเมืองใหญ่อย่างโตเกียว อีกทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทาง อากาศทีก่ รุงเทพได้ปรับปรุงอยู่ จะช่วยเพิม่ ศักยภาพอุตสาหกรรมการบินของประเทศและส่งเสริมธุรกิจทีเ่ กีย่ วข้อง อย่างไร ก็ตาม กรุงเทพมหานครก็มีจุดอ่อนและความท้าทาย ที่ยังต้องเผชิญทั้งจากบริบทปัจจุบันและอนาคต ทั้งจากปัจจัยภายใน ของตัวกรุงเทพมหานครและทั้งจากปัจจัยภายนอกจากการพัฒนาอย่างไม่หยุดของเมืองอื่น ๆ เป็นเหตุให้กรุงเทพต้องมี พัฒนาปรับปรุงต่อเนื่อง คือ การพัฒนาเมืองและระบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่ต้องมีการยกระดับให้ดีขึ้น เนื่องจากว่า แม้ว่า กรุงเทพมหานครจะได้รับการโหวตจากบรรดานักท่องเที่ยวให้เป็นเมืองน่าเที่ยว แต่เมื่อ The Economist Intelligence Unit (EIU) จัดอันดับเมืองน่าอยู่ กลับได้อันดับ 102 จาก 140 ประเทศ โดยกรุงเทพมหานครได้คะแนนโดยรวมเพียง 62.5 คะแนน ซึ่ง เป็นรองเมืองสิงคโปร์ และเมืองกัวลาลัมเปอร์ของประเทศมาเลเซียที่ได้คะแนน 88.7 และ 75.2 ตามล�ำดับ โดย กรุงเทพมหานครมีปญ ั หาหลักด้านความปลอดภัยอย่างเห็นได้ชดั โดยได้คะแนนเพียง 40 คะแนนเท่านัน้ ซึง่ มีเพียง 10 เมือง จาก 140 เมือง โดยจากผลการส�ำรวจที่เทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่ง EIU ได้ส�ำรวจมา 8 เมือง 7 ประเทศ ความ ปลอดภัยกรุงเทพมหานครของไทยรั้งอยู่อันดับสุดท้าย น้อยกว่าเมืองพนมเปญของกัมพูชาที่ได้คะแนนความปลอดภัย 60 คะแนน เมืองฮานอยและเมืองโฮจิมินห์ซิตี้ของประเทศเวียดนามที่ได้ 55 คะแนนเท่ากัน, เมืองจาการ์ตาของอินโดนีเซียที่ ได้ 50 คะแนน เมืองมะนิลาของฟิลปิ ปินส์ทไี่ ด้ 60 คะแนน เมืองสิงคโปร์ทไี่ ด้ 95 คะแนน และกัวลาลัมเปอร์ทไี่ ด้ 80 คะแนน ขณะที่ขณะด้านอื่น ๆ กรุงเทพมหานครได้คะแนนในเกณฑ์ระดับปานกลาง 60-70 คะแนน ได้แก่ ด้านสาธารณสุข ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และด้านโครงสร้างพื้นฐาน บทความนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของการท่องเที่ยวในเขตเมืองและการพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานคร รวมทัง้ ปัญหาและผลกระทบของการท่องเทีย่ วทีม่ ตี อ่ เมืองโดยมีกรอบพิจารณาจากการจ�ำแนกทรัยพยากรการท่องเทีย่ วใน เขตเมืองซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบรอง และองค์ประกอบส่วนเพิ่ม (Law, 2002) เพื่อวิเคราะห์ความท้าทายในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบเมืองของกรุงเทพมหานครที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต เพื่อ น�ำไปสู่การแตกยอดความคิดในการพัฒนาเมืองเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบเมือง ของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นเมืองท่อง เทียวชั้นน�ำอย่างยั่งยืน

2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อท�ำความเข้าใจกับการท่องเที่ยวแบบเมืองในกรุงเทพมหานคร 2.2 เพื่อชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาเมืองมีความส�ำคัญและความสัมพันธ์กับการท่องเที่ยวแบบเมืองจากองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบรองและองค์ประกอบส่วนเพิ่ม

3. ขอบเขต 3.1 ขอบเขตเชิงพื้นที่ พื้นที่ในเขตผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร

15


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ภาพที่ 1 แผนผังก�ำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ที่มา: ส�ำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร (2556)

3.2 ขอบเขตเชิงเนื้อหา นิยามของการท่องเทีย่ วแบบเมือง การท่องเทีย่ วในเขตเมืองกรุงเทพมหานคร โดยพิจารณาในประเด็น องค์ประกอบ หลัก องค์ประกอบรองและองค์ประกอบส่วนเพิ่ม และความแตกต่างการท่องเที่ยวในเขตเมืองของกรุงเทพมหานครและ นครรัฐสิงคโปร์

4. นิยามการท่องเที่ยวในเขตเมือง (Urban Tourism) แนวคิดที่เกี่ยวข้อง และการท่องเที่ยวในเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร ในส่วนนี้เป็นการท�ำความเข้าใจกับนิยามและที่มาของการท่องเที่ยวในเขตเมือง (Urban Tourism) เพื่อจะได้ ทราบถึงบริบทการท่องเทีย่ วในเขตเมืองพืน้ ทีก่ รุงเทพมหานคร ซึง่ มีบทบาทเป็นเมืองหลวงของประเทศและมีการท่องเทีย่ ว หลากหลายรูปแบบ โดยปัจจุบันนั้น การท่องเที่ยวแบบเมืองหรือการท่องเที่ยวในเขตเมือง (Urban Tourism) ของกรุงเทพ มีความโดดเด่นมากขึน้ เนือ่ งจากการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ หน่วยราชการ และการเติบโตด้านการค้า บริการและการ ท่องเทีย่ ว จึงท�ำให้ตวั เมืองเองเป็นแหล่งท่องเทีย่ วทีน่ า่ สนใจ ในการพัฒนาการท่องเทีย่ วในพืน้ ทีก่ รุงเทพมหานครนัน้ จ�ำเป็น จะต้องทราบถึงพืน้ ฐานของการท่องเทีย่ วว่ามีองค์ประกอบใดบ้างทีต่ อ้ งค�ำนึงถึง โดยพิจารณาจากนิยาม แนวคิดทีเ่ กีย่ วข้อง กับการพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตเมืองให้ยั่งยืน 4.1 นิยาม ปัจจัย ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและนักท่องเที่ยวในเขตเมือง The European Commission (EC) ได้ให้ค�ำนิยามของการท่องเที่ยวในเขตเมือง คือ “ทรัพยากรและ กิจกรรมการท่องเทีย่ วทีม่ อี ยูใ่ นเมืองทีน่ ำ� เสนอให้กบั ผูเ้ ยีย่ มเยือนทีม่ าจากทีอ่ นื่ ” นอกเหนือจากนี้ (Verbeke, 1996) อธิบาย ว่าการท่องเทีย่ วในเขตเมือง หมายถึง การท่องเทีย่ วในเขตตัวเมืองโดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ เยีย่ มชมตึก อาคารทีม่ ลี กั ษณะทาง สถาปัตยกรรมเก่าแก่หรือสถานที่ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ หอศิลปะ โรงละคร การชมการแข่งขันกีฬา การเข้า ร่วมเทศกาลและการชื่นชมทัศนียภาพและภูมิสถาปัตย์ของเมือง

16


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

อย่างไรก็ดี (Uysal, 2015) ได้เสนอว่าการนิยามการท่องเที่ยวในเขตเมืองโดยการเน้นที่ค�ำว่า “เมือง” เพียงอย่าง เดียวอาจจะไม่เพียงพอ เนือ่ งจากกิจกรรมและทรัพยากรการท่องเทีย่ วทีผ่ เู้ ยีย่ มเยือนสามารถท�ำได้นนั้ ไม่ได้จำ� กัดอยูแ่ ค่เพียง สิ่งที่เป็นเมืองเท่านั้น กล่าวคือ นอกจากจะสามารถเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองได้แล้ว ผู้เยี่ยมเยือนหรือนักท่องเที่ยวยังสามารถท�ำกิจกรรมอื่น เช่น บริการด้านสุขภาพซึ่งไม่จ�ำเป็นต้องพบได้ในเมืองเพียงเท่านั้น ดังนั้น Gilbert และ Clarke จึงสรุปว่า “การศึกษาการท่องเที่ยวในเขตเมืองคือการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการท่อง เที่ยวในทุกรูปแบบกับสภาพแวดล้อมของเมือง” (Gilbert and Clarke,1997) การท่องเที่ยวในเขตเมืองเกิดขึ้นได้ด้วยสองปัจจัยหลัก ปัจจัยที่หนึ่ง คือ โลกาภิวัตน์ (Globalization) การเปลี่ยน จากยุคอุตสาหกรรม (Deindustrialization) และการพัฒนาเข้าสูส่ งั คมเมือง (Urbanization) ซึง่ ดึงดูดนักธุรกิจและนักท่อง เที่ยวให้เข้ามามากขึ้น และเมืองก็เริ่มพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมและนิทรรศการ ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า และมีการจัด กิจกรรมอย่างยิ่งใหญ่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลที่ได้คือนักท่องเที่ยวที่เข้ามามากขึ้นและเป็น วัฏจักรของการพัฒนาสืบ เนื่องต่อไป นอกจากนี้ การสร้างความร่วมมือหรือการรวมกลุ่มกันระหว่างประเทศ ภายในภูมิภาค และภายนอกภูมิภาค เช่น สนธิสัญญาความร่วมมือ Schengen Area ในทวีปยุโรป หรือ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ท�ำให้นัก ท่องเที่ยวและผู้คนสามารถเดินทางระหว่างชายแดนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น สายการบินต้นทุนต�่ำหรือเรือส�ำราญจึงสามารถ ด�ำเนินการได้สะดวกมากยิง่ ขึน้ ส่งผลให้การท่องเทีย่ วเพิม่ สูงขึน้ (สถาบันบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551) ปัจจัยที่สอง คือ การเปลี่ยนแปลงจากยุคอุตสาหกรรมมาสู่ภาคการบริการมากขึ้นน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ของการ จ้างงาน การลงทุน วิถชี วี ติ ของคนเมือง ตลอดจนสภาพทางกายภาพเดิมของการเป็นพืน้ ทีอ่ ตุ สาหกรรมบางแห่งสามารถถูก น�ำเอามาพัฒนาเปลีย่ นแปลงเป็นจุดท่องเทีย่ วและจุดวัฒนธรรมใหม่ๆ เช่น ถูกเปลีย่ นเป็นทีอ่ ยูอ่ าศัย ศูนย์การค้า และสถาน บันเทิง ซึ่งเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวในเขตเมืองในปัจจุบัน เช่น Asiatique The Riverfront เป็นศูนย์การค้าแนวราบ ริมแม่นำ�้ ขนาดใหญ่ ซึง่ เดิมเคยเป็นทีต่ งั้ ของท่าเรือและบริษทั อีสต์เอเชียติก บริษทั เดินเรือสัญชาติเดนมาร์กทีม่ าเปิดกิจการ ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสร้างเป็นโกดัง โรงเลื่อย หรือ โครงการอุตสาหกรรม B&W Hallerne บนเกาะ Refshaleøen ใน เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ได้ถกู เปลีย่ นเป็นทีจ่ ดั การแข่งขันประกวดเพลงระดับนานาชาติประจ�ำปีของทวีปยุโรป ที่มีชื่อว่า Eurovision Song Contest (เรื่องเดียวกัน.) ซึ่งจะเห็นได้ว่า แหล่งท่องเที่ยวในเขตเมืองนั้นมีความเป็นพลวัตตาม บริบทของสังคมเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยที่เมืองเป็นแหล่งรวมกิจกรรมที่หลากหลาย เมืองจึงเป็นพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์ กับการรวมตัวผูค้ นทีเ่ ข้ามาในเมือง ทัง้ เพือ่ กิจกรรมการอยูอ่ าศัย การแสวงหาโอกาสในการท�ำงาน กิจกรรมบันเทิงนันทนาการ และการท่องเที่ยว ในปัจจุบันการพัฒนาเข้าสู่สังคมเมืองส่งผลสนับสนุนการท่องเที่ยวในเขตเมืองมากขึ้น มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร และการบริโภค ซึ่งล้วนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยวส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจเข้ามาท่องเที่ยวในตัว เมือง Fainstein และ Judd (1999) ได้อธิบายว่า การท่องเที่ยวในเขตเมืองมีผู้เล่นที่ส�ำคัญอยู่ 3 กลุ่ม คือ นักท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และเมือง โดยอธิบายว่าทั้ง 3 กลุ่มมีความเชื่อมโยงกันโดยร่วมกันสร้างระบบนิเวศที่ซับซ้อนขึ้น มา คือ ความต้องการและรสนิยมของนักท่องเที่ยวเป็นตัวก�ำหนดวิถีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของเมือง และน�ำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเมืองเพื่อให้ตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ibid., 1999) ซึ่งได้มีการอธิบายว่าความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นเมืองกับการท่องเที่ยวว่า มี 2 ความเป็นไปได้ที่แนว ความคิด “การท่องเที่ยว” และ “เมือง” มารวมกัน คือ (1) ลักษณะเฉพาะของเมืองในฐานะแหล่งชุมชนมีส่วนในการสร้าง การท่องเที่ยวและการพักผ่อน และน�ำไปสู่การท่องเที่ยวในเขตเมือง หรือในทางกลับกัน (2) การท่องเที่ยวในเขตเมืองส่งผล ให้เมืองพัฒนาไปในรูปแบบที่ตอบสนองต่อการท่องเที่ยว (Ashworth, 2011) ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่าการท่องเที่ยวในเขตเมือง (Urban Tourism) คือ ปรากฏการณ์การท่องเที่ยวที่ไม่ได้ หมายถึงเพียงแต่จุดหมายปลายทางที่เป็นเมือง แต่หมายรวมถึงกิจกรรมการท่องเที่ยวที่รวมถึงการเยี่ยมชมเมืองและย่าน ชุมชนทีม่ คี ณ ุ ค่าทางประวัตศิ าสตร์หรือสถาปัตยกรรม เข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมหรือศิลปกรรม และการประชุม ตลอด จนเข้าร่วมวิถชี วี ติ ของผูค้ นทีถ่ อื ว่าเป็นเมือง ตัวอย่างการท่องเทีย่ วในเขตเมือง เช่น กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เป็นเมืองได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในการท่องเที่ยวในเขตเมือง (Urban Tourism) ในแต่ละวันนักท่องเที่ยวที่เดินทางมา ลอนดอนมักจะเดินทางไปเยี่ยมชมหอนาฬิกาบิ๊กเบน (Big Ben) อาคารรัฐสภา จตุรัสทราฟัลการ์ ในส่วนกรุงปารีส ซึ่งเป็น นครหลวงของประเทศฝรั่งเศส ก็เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยี่ยมชมสถานที่สำ� คัญต่าง ๆ เช่น หอไอเฟล

17


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

พระราชวังแวร์ซายส์ ห้างร้านต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับในเมืองใหญ่ ๆ ในเอเชีย ซึง่ ในล�ำดับต่อไปจะเป็นการจ�ำแนกองค์ประกอบ การท่องเที่ยวในเขตเมืองเพื่อง่ายต่อการท�ำความเข้าใจการท่องเที่ยวในเขตเมืองที่มีความหลากหลายซับซ้อน สัมพันธ์กัน 4.2 องค์ประกอบการท่องเที่ยวในเขตเมือง การท่องเที่ยวในเขตเมืองนั้นมีองค์ประกอบที่หลากหลาย โดย Christopher Law ได้ท�ำการจ�ำแนกทรัพยากร การท่องเที่ยวในเขตเมืองออกเป็น 3 ส่วน คือ องค์ประกอบหลัก (Primary elements) องค์ประกอบรอง (Secondary elements) และองค์ประกอบส่วนเพิ่ม (Additional elements) โดยองค์ประกอบหลัก จะเป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยว เดินทางมาที่จุดหมายปลายทางนั้น ๆ ส่วนองค์ประกอบรอง ซึ่งรวมถึง ที่พัก แหล่งช้อปปิ้ง และการคมนาคมขนส่ง หรือ การให้ข้อมูลนักท่องเที่ยว และองค์ประกอบส่วนเพิ่มที่เป็นเครื่องอ�ำนวยความสะดวกล้วนก็เป็นส่วนส�ำคัญในการก�ำหนด ความส�ำเร็จของการท่องเที่ยวในเขตเมืองดังกล่าวเช่นเดียวกัน ตัวอย่างขององค์ประกอบที่สามารถท�ำให้การท่องเที่ยวใน เขตเมืองประสบความส�ำเร็จ เช่นเขตประวัติศาสตร์ บริเวณริมน�้ำ ศูนย์การประชุมและจัดนิทรรศการ เขตท่องเที่ยวพิเศษ บุคลากรและผู้คนท้องถิ่นซึ่งเปรียบเสมือนเจ้าภาพ และร้านค้าและร้านอาหาร เป็นต้น (Law, 2002) ตารางที่ 1 สรุปองค์ประกอบของการท่องเที่ยวในเขตเมือง องค์ประกอบหลัก (Primary Elements) แหล่งกิจกรรม (Activity Place) ลักษณะของพื้นที่ท่องเที่ยว (Leisure Setting) สถานที่ทางวัฒนธรรม (Cultural Facilities) ลักษณะทางกายภาพ (Physical Characteristics) - พิพิธภัณฑ์ - เขตเมืองเก่า - โรงละครและภาพยนตร์ - อาคารที่น่าสนใจ - สถานที่จัดการแสดงคอนเสิร์ต - อนุสาวรีย์และรูปปั้น - ศูนย์ประชุม - สวนและพื้นที่สีเขียว - อื่นๆ - พื้นที่บริเวณริมน้ำ� ลักษณะทางสังคม (Socio-cultural - ศูนย์กีฬาในร่มและกลางแจ้ง สถานบันเทิง (Amusefeatures) ment Facilities) - ความมีชีวิตชีวาของชุมชน - ไนต์คลับ - ภาษา - คาสิโน - ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเครื่องแต่งกาย - มรดกทางวัฒนธรรม - ความเป็นมิตรของผู้คนท้องถิ่น - ความปลอดภัย องค์ประกอบรอง (Secondary elements) องค์ประกอบส่วนเพิ่ม (Additional elements) - ที่พัก - การเข้าถึงสำ�หรับคนพิการ - ร้านอาหาร - คมนาคมขนส่ง - ร้านค้าและแหล่งชอปปิ้ง - ที่จอดรถ - ตลาด - ข้อมูลนักท่องเที่ยว เช่น ป้ายบอกทาง แผนที่

18


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ในการทราบถึงการจ�ำแนกองค์ประกอบของการท่องเที่ยวแบบเมืองนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์องค์ ประกอบหลัก (primary elements) องค์ประกอบรอง (secondary elements) และองค์ประกอบส่วนเพิ่ม (additional elements) ของแหล่งท่องเทีย่ วและองค์ประกอบในกรุงเทพมหานคร เพือ่ เข้าใจถึงลักษณะ ปัญหา และศักยภาพของแต่ละ องค์ ป ระกอบของแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วที่ มี ใ นกรุ ง เทพ แล้ ว น� ำ ไปสู ่ ก ารอภิ ป รายถึ ง การพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วในเขตเมื อ ง ดังวัตถุประสงค์ของบทความนี้

5. ข้ออภิปราย 5.1 การท่องเที่ยวในเขตเมืองในประเทศที่ก�ำลังพัฒนา ด้วยความเจริญทางเศรษฐกิจ ประเทศที่ก�ำลังพัฒนาโดยเฉพาะในทวีปเอเชียมีการท่องเที่ยวมากขึ้น โดยส่วนหนึ่ง ของการท่องเทีย่ วคือการท่องเทีย่ วในเขตเมือง อย่างไรก็ดี การศึกษาการท่องเทีย่ วในเขตเมืองหรือการท่องเทีย่ วในภาพรวม ของประเทศทีก่ ำ� ลังพัฒนายังมีอยูอ่ ย่างจ�ำกัด เนือ่ งจากนักวิจยั ทางการท่องเทีย่ วได้ให้ความสนใจต่อการท่องเทีย่ วในประเทศ ตะวันตกมากกว่า ในส่วนของการท่องเทีย่ วในประเทศก�ำลังพัฒนานัน้ Opperman และ Chon (1997) อธิบายว่าในประเทศ ที่ก�ำลังพัฒนา นักท่องเที่ยวจะให้ความสนใจกับที่พักริมชายหาดมากกว่าเที่ยวอยู่ในเมือง อย่างไรก็ดี ในระยะหลังนักวิจัย ด้านการท่องเที่ยวเกี่ยวกับเมือง และด้านภูมิศาสตร์บางกลุ่มได้เริ่มหันมาให้ความสนใจมากขึ้น (Oppermann & Chon, 1997) โดยเฉพาะการศึกษาในเรื่องของวิธีที่การท่องเที่ยวในเขตเมืองสามารถน�ำมาใช้ได้ในประเทศที่ก�ำลังพัฒนา และ การวิวัฒนาการของการท่องเที่ยวในเขตเมืองในประเทศที่ก�ำลังพัฒนา Mullins (1999) กล่าวว่าเมืองที่มีขนาดใหญ่เกือบ ทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มหันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเป็นโอกาสในการขยาย ตัวด้านบริโภค (Expand Consumption Opportunities) ซึง่ สนับสนุนความเจริญทางเศรษฐกิจ ดังนัน้ ลักษณะทีม่ อี ทิ ธิพล ต่อการท่องเทีย่ วในเขตเมืองในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ การทีน่ กั ท่องเทีย่ วมีความ ต้องการผลิตภัณฑ์ทางการท่องเทีย่ ว ผูป้ ระกอบการทีเ่ ป็นผูจ้ ดั หาการท่องเทีย่ ว และตลาดทีม่ กี ารซือ้ ขายบริการและผลิตภัณฑ์ ทางการท่องเที่ยวที่ประกอบไปด้วยทั้งผู้ประกอบการต่างชาติและผู้ประกอบการท้องถิ่น (Mullins, 1999) กล่าวได้ว่า นักท่องเทีย่ วต่างชาติเป็นตัวการส�ำคัญในการพัฒนาการท่องเทีย่ วในภูมภิ าคนี้ โดยเฉพาะส�ำหรับประเทศทีเ่ ป็นประเทศหลัก ของการท่องเที่ยว เช่น ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย Mullinsมีความเห็นว่า ส�ำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “ประเทศที่เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงแบบพลวัต (Dynamic) และเป็นทุนนิยมมากเท่าไร ประเทศก็จะมีการพัฒนาเป็น รูปแบบเมืองมากขึ้น ซึ่งจะน�ำไปสู่ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอ�ำนวยความสะดวกในการรองรับการท่องเที่ยว จากต่างชาติได้ดีข้ึน” (ibid.) ซึ่งการอธิบายของมูลลิน (Mullins)ได้สะท้อนถึงความเป็นเมืองท่องเที่ยวในที่โดดเด่นของ กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นประเทศก�ำลังพัฒนาที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวจนติดอันดับต้นๆของโลกมาในระยะหลังๆ เนื่องจากความเป็นเมืองศูนย์กลางหลายๆด้าน มีกิจกรรมที่หลากหลาย มีเศรษฐกิจที่เป็นพลวัต และศูนย์กลางในการเชื่อม ต่อกับแหล่งท่องเที่ยวทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ โดยในส่วนต่อไปนี้จะเป็นการจ�ำแนก องค์ประกอบหลัก (primary elements) องค์ประกอบรอง (secondary elements) และองค์ประกอบส่วนเพิ่ม (Additional elements) ของกรุงเทพมหานคร เพื่อท�ำความเข้าใจถึง ความโดดเด่น ศักยภาพและปัญหาของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยว ในเขตเมืองที่หลากหลาย ตามแนวคิดของคริสโตเฟอร์ ลอว์ (Christopher Law) ดังนี้ 5.2 องค์ประกอบของการท่องเที่ยวในเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร 5.2.1 องค์ประกอบหลัก (Primary) 1) ประกอบด้วยแหล่งกิจกรรมสถานที่ทางวัฒนธรรม (Cultural Facilities) เขตประวัติศาสตร์ (Historic Districts) ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน อาคาร และสิ่งปลูกสร้างในท้อง ถิ่น สามารถสร้างคุณลักษณะที่แตกต่างให้แก่พื้นที่ ซึ่งมีคุณค่าอย่างมากทั้งทางด้านข้อมูลความเป็นมาที่น่าสนใจและการ สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ในเชิงการท่องเที่ยว ซึ่งมักจะต้องมีการพัฒนาให้สามารถเดินเที่ยวได้ง่าย โดยตัวอย่างพื้นที่ ที่ต้นทุนทาง ประวัติศาสตร์สูงในเขตพื้นที่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยาและแม่น�้ำสาขา เช่น เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน บริเวณถนน ราชด�ำเนินนอก ผัง่ ธนบุรี ในกรุงเทพมหานคร เป็นต้น โดยกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีแผนจะจัดระเบียบอาคารและสิง่ ปลูก สร้าง และการใช้ประโยชน์ทดี่ นิ บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ เพือ่ ให้สอดรับกับแผนพัฒนา กทม.ระยะ 20 ปี ทีก่ ำ� หนดวิสยั ทัศน์ กรุงเทพฯ 2575 ให้ กทม.เป็นมหานครแห่งเอเชีย เป็นเมืองชัน้ น�ำด้านเศรษฐกิจภาคบริการ ปลอดภัย สะดวกสบาย สวยงาม น่าอยู่ เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม และมีเอกลักษณ์เฉพาะ และเป็นไปตามแผนผังแม่บทการอนุรกั ษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์

19


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

(ประชาชาติธุรกิจ, 2561) อย่างไรก็ตามแนวความคิดดังกล่าวนี้ เป็นประเด็นที่มีทั้งผู้สนับสนุนและผู้ไม่เห็นด้วย โดยฝ่ายที่ ไม่เห็นด้วยอย่าง ชาตรี ประกิตนนทการ ให้ความเห็นว่า ฐานคิดนีเ้ ป็นโมเดลเมืองของคนบางกลุม่ คือนักท่องเทีย่ ว ของชนชัน้ กลางระดับบน และของรัฐ แต่ได้ละทิ้งคนเป็นจ�ำนวนมาก คนชั้นล่าง คนจนเมือง คนที่สร้างเมืองแห่งนี้ แต่ถูกผลักให้เขา ออกจากเมืองซึ่งเกรงว่าจะเป็นการพัฒนาเมืองเพื่อการท่องเที่ยว ที่ขาดวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แท้จริง (ประชาไท, 2561) ศูนย์การประชุมและจัดนิทรรศการ (Convention Centers and Exhibitions) การจัดประชุมและ นิทรรศการ ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยวในเขตเมือง ในบางพื้นที่ นักท่องเที่ยวกว่าร้อยละ 40 มาจาก นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประชุมหรือเข้าชมนิทรรศการ อุตสาหกรรมการจัดประชุม และนิทรรศการนับเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ มีการเติบโตเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้เยี่ยมเยือนมักมีการใช้จ่ายอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย และมีความสม�่ำเสมอตลอดทั้งปี จาก รายงาน ของ International Congress and Convention Association หรือ ICCA และรายงานของ the Global Association of the Exhibition Industry หรือ UFI ในปีพ.ศ. 2560 พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 5 ของเอเชีย ด้านการจัดประชุมนานาชาติ และอันดับที่ 7 ของเอเชียด้านการแสดงสินค้านานาชาติ โดยเป็นทีห่ นึง่ ของอาเซียนทัง้ ในด้าน การประชุมและการแสดงสินค้า (กรุงเทพธุรกิจ, 2562) โดยกรุงเทพมีศูนย์การประชุมขนาดใหญ่ ได้แก่ ศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิตติ์ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค และศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี ซึ่งอยู่ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี เขตท่องเที่ยวพิเศษ (Special Visitor Districts) เขตท่องเที่ยวพิเศษเป็นพื้นที่ที่ประกอบด้วยแหล่งท่อง เทีย่ ว และจุดสนใจหลายแห่งตัง้ รวมกัน ไม่วา่ จะเป็น แหล่งท่องเทีย่ วทางวัฒนธรรม กีฬา หรือความบันเทิง เขตดังกล่าวช่วย ให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งได้ง่ายขึ้น เช่น เขตช้อปปิ้งราชประสงค์ สยาม หรือ The EM District (ย่านพร้อมพงษ์) ที่ประกอบด้วยศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงหนังและอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งตั้งอยู่ เป็นกลุ่มในพื้นที่ย่านธุรกิจ (Central Business District - CBD) ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งย่านราชประสงค์เป็นท�ำเลที่ สามารถเชื่อมต่อด้านคมนาคมขนส่งที่ครบวงจรที่สุด ซึ่งท�ำให้เกิดการขับเคลื่อนทางธุรกิจ กิจกรรมไลฟ์สไตล์ และการท่อง เที่ยว และเป็นท�ำเลที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนมากที่สุด โดยคุณชาย ศรีวิกรม์ได้ให้ความเห็นว่า โมเดลการพัฒนา เมืองของมหานครใหญ่ ๆ ของโลก จะเน้นพัฒนาพื้นที่รองรับคนเดิน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า walkable district หรือ ย่านเพื่อคนเดิน การลงทุนสร้าง Ratchaprasong walk หรือ R-walk ที่เชื่อมต่อการเดินทางใจกลางเมืองอย่างสมบูรณ์ แบบ เชื่อมต่ออาคารถึง 18 อาคาร จึงนับเป็นส่วนใน การพัฒนากรุงเทพฯ ให้ก้าวสู่มหานครระดับโลก (ประชาชาติธุรกิจ, 2561) 2) ลักษณะทางกายภาพ (Physical Characteristics) บริเวณริมน�้ำ (Waterfronts) การพัฒนาพื้นที่บริเวณริมแม่น�้ำ และล�ำน�้ำ นั้นสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ ทั้งจากการใช้ประโยชน์ ทั่วไปและการพักผ่อนหย่อนใจ ในช่วงที่ผ่านมา พื้นที่ริมน�้ำได้รับความสนใจมากขึ้นจากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีตัวอย่างโครงการที่ส�ำคัญ เช่น Asiatique The Riverfront ซึ่งตั้ง อยู่ริมแม่น�้ำ โครงการล้ง 1919 โครงการไอคอนสยาม ซึ่งล้วนตั้งอยู่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยา เป็นต้น เป็นที่น่าสนใจว่ารัฐบาลใน ความดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เมื่อปี พ.ศ.2558 มีมติจะใช้โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยามา พัฒนาความเป็นอยู่ และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้น ในแผนแม่บทของโครงการเมกะโปรเจ คนี้ ได้ให้ความส�ำคัญกับการฟืน้ ฟูทรัพยากรและพัฒนาพืน้ ทีส่ าธารณะริมฝัง่ แม่นำ�้ ส�ำหรับประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อคุณภาพชีวิต เสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยรัฐใช้ชื่อว่า “Chao Phraya For All” หรือ “เจ้าพระยาเพื่อทุกคน” (ไทยโพสต์, 2561) อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวนี้ ก็มีกลุ่มผู้ที่สนับสนุนและกลุ่มผู้ไม่เห็น ด้วยอย่างกว้างขวาง โดยกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยให้ความเห็นว่า กระบวนการคิดและกระบวนการรับฟังความคิดเห็นยังไม่รอบ ด้าน เนื่องจากมีแบบก่อสร้างออกมาก่อนจัดแผนแม่บท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาครัฐมีค�ำตอบก่อนที่จะศึกษาโครงการทาง เลียบแม่นำ�้ เจ้าพระยา อีกทัง้ ไม่คำ� นึงถึงระบบนิเวศน์แม่นำ�้ เจ้าพระยามีระบบน�ำ้ ขึน้ น�ำ้ ลง พืน้ ทีร่ มิ ฝัง่ มีคณ ุ ค่า มีชมุ ชน อาชีพ ที่ผูกพันกับแม่น�้ำ หากเดินหน้าโครงการจะสูญเสียสิ่งเหล่านี้ไป (ibid.)

20


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

3) ลักษณะทางสังคม (Socio-cultural features) ประกอบด้วย ความมีชีวิตชีวา ความเป็นมิตร ความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ส�ำคัญนอกเหนือไปจาก ลักษณะการท่องเทีย่ วข้างต้น ความเป็นมิตรของผูค้ นถือเป็นหนึง่ ในปัจจัยด้านสังคมทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ในการสนับสนุนท่องเทีย่ ว ในท้องถิ่น ความเป็นมืออาชีพ และบริการที่มีคุณภาพเริ่มต้นจากความเป็นมิตรของบุคลากรที่อยู่ในห่วงโซ่มูลค่า ปัจจัย ส�ำคัญในการกลับมาเทีย่ วซ�ำ้ ของนักท่องเทีย่ วคือผูค้ นทีเ่ ป็นมิตรและโอบอ้อมอารี ทีส่ ำ� คัญ ซึง่ เป็นจุดแข็งทีท่ ำ� ให้ประเทศไทย ยังคงเป็นทีน่ า่ ดึงดูดส�ำหรับการท่องเทีย่ ว (Netherlands Embassy in Bangkok, 2017) นอกจากนี้ ความเป็นมิตรดังกล่าว มิได้จำ� กัดเฉพาะบุคลากรในอุตสาหกรรมเท่านัน้ ผูค้ นท้องถิน่ ทีอ่ าศัยและท�ำงานอยูใ่ นเมืองดังกล่าว ยังสามารถช่วยกันท�ำให้ เมืองนั้น ๆ เป็นจุดหมายปลายทางที่น่าจดจ�ำได้ทุกคน 5.2.2 องค์ประกอบรอง (Secondary Elements) ร้านค้าและร้านอาหาร (Retail and Catering Facilities) ทั้งสองสิ่งนี้มี ความส�ำคัญมากต่อระบบเศรษฐกิจ การท่องเทีย่ ว เนือ่ งจากนักท่องเทีย่ วมักจะใช้จา่ ยเงินจานวนมากรวมทัง้ ใช้เวลา ไปกับการช้อปปิง้ และการรับประทานอาหาร อย่างเช่น ย่านถนนสุขมุ วิท ทองหล่อ ถนนข้าวสาร ตลาดจตุจกั ร นอกจากนี้ กรุงเทพ ได้รบั การจัดอันดับจาก ส�ำนักข่าวCNN แห่งสหรัฐ โดยให้กรุงเทพเป็นเมืองทีม่ อี าหารริมทางทีด่ ที สี่ ดุ ในโลก เอาชนะกรุงโตเกียวของญีป่ นุ่ และฮอนโนลูลขู องสหรัฐฯ CNN ให้ความเห็นว่า ร้านอาหารริมทางในกรุงเทพฯ นั้นมีความหลากหลาย แปลกใหม่และหารับประทานได้ตลอดเวลา (CNN Travel, 2018) อย่างไรก็ตามการจัดการร้านอาหารริมทางยังคงเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปถึงความเหมาะสม เนื่องจากบางส่วนเห็นว่า ขาดการควบคุมความสะอาดของอาหารและ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตเมือง 2) องค์ประกอบส่วนเพิ่ม (Additional elements) ซึ่งได้แก่สิ่งอ�ำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในการเดินทาง ได้แก่ การคมนาคมขนส่ง ป้ายบอกทางต่าง ๆ การให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งใน World Economic Forum ได้จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่อง เที่ยวของประเทศ ในปี2560 โดยพบว่าประเทศไทย ติดอยู่ที่อันดับ 34 ของโลก ปี 2560 เป็นอันดับที่ 8 ของ เอเชีย โดย ปัญหาส�ำคัญหนึง่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการท่องเทีย่ วในเขตเมืองคือ โครงสร้างพืน้ ฐานด้านการเดินทางพิจารณาจากคุณภาพถนน, จ�ำนวน/ความถี่ของถนนในบริเวณต่าง ๆ คุณภาพของเส้นทางรถไฟ และสิ่งอ�ำนวยความสะดวก, คุณภาพของสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกท่าเรือ, ประสิทธิภาพของการขนส่งภายในประเทศ (ฐานเศรษฐกิจ, 2560) ถึงแม้ว่ากรุงเทพมหานครจะมีจุด แข็งทีเ่ ป็นสาเหตุให้นกั ท่องเทีย่ วนิยมเข้ามาเป็นอย่างมากก็ตาม แต่ปญ ั หาส�ำคัญทีเ่ ป็นจุดอ่อนอย่างยิง่ ของกรุงเทพมหานคร คือปัญหาการจราจร ซึ่งส่งผลให้นักท่องเที่ยวเสียเวลาทั้งการเดินทางระหว่างสนามบินกับที่พัก การเดินทางระหว่างที่พัก กับจุดท่องเที่ยว การเดินทางระหว่างจุดท่องเที่ยวแต่ละจุด ที่ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนทั้ง เช้าและเย็น เกีย่ วกับปัญหาจราจรนัน้ กล่าวได้วา่ รายงานดัชนีการจราจรทีส่ ำ� รวจโดยบริษทั ทอมทอม ผูใ้ ห้บริการแผนทีจ่ าก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในรายงานประจ�ำปี พ.ศ.2559 ชี้ให้เห็นว่า กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่มีรถติดเป็นอันดับ 2 จาก 174 เมืองทีส่ ำ� รวจมา ซึง่ ปัญหาขององค์ประกอบส่วนเพิม่ ของการท่องเทีย่ วในเขตเมืองนี้ ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของ ทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล และโดยเฉพาะต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่ยังไม่คุ้นเคยกับเส้นทาง และการเลือกใช้ยานพาหนะ ซึ่งต้องเสียเวลาในการท่องเที่ยวไปกับการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครมากขึ้นไปอีก (สันติ พจน์ กลับดี, 2559) กล่าวโดยสรุป คือ ในการพัฒนาทั้ง 3 องค์ประกอบดังกล่าวนี้ กรุงเทพมีองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบ รองที่ดีมากเป็นจุดแข็งดึงดูดนักท่องเที่ยวเนื่องจาก มีทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ธรรมชาติ ร้านอาหาร การช้อปปิ้ง ความหลากหลาย ความมีชวี ติ ชีวา การเมืองทีไ่ ด้รบั การส่งเสริมการท่องเทีย่ วแบบ MICE และเป็นพืน้ ทีศ่ นู ย์กลางในการเดิน ทางต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม กรุงเทพยังต้องมีการส่งเสริมด้านการอ�ำนวยความ สะดวกในด้านการจัดประชุม นิทรรศการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบส่วนเพิ่มคือ สิ่งอ�ำนวยความสะด้วยแก่ นักท่องเที่ยวในการเดินทาง ซึ่งยังคงเป็นจุดอ่อนส�ำคัญของการท่องเที่ยวในเขตเมืองของกรุงเทพ

21


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

5.3 การท่องเที่ยวในเขตเมืองของเมืองยอดนิยมในอาเซียน: ระหว่างเมืองกรุงเทพและเมืองสิงคโปร์ จากข้ออภิปรายในองค์ประกอบการท่องเที่ยวในเขตเมืองของกรุงเทพมหานครข้างต้นนั้น จะเห็นว่า การก�ำหนด ทิศทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตเมืองของกรุงเทพเป็นไปในรูปแบบที่อิสระตามยถากรรม (laissez-faire) หาก พิจารณาถึงประเทศข้างเคียงที่มีอันดับการท่องเที่ยวในเมืองระดับต้นเช่นกัน อย่างสิงคโปร์จะพบว่า แม้ว่าเมื่อเทียบกับ กรุงเทพแล้ว สิงคโปร์จะไม่ได้มีความหลากหลาย และความน่าสนใจของทั้งองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรองแบบ กรุงเทพมหานคร แต่องค์ประกอบส่วนเพิ่มของเมืองสิงคโปร์นั้นเป็นจุดแข็งส�ำคัญคือ ท�ำให้นักท่องเที่ยวมีความสะดวก ปลอดภัย และสามารถจัดการเวลาได้ ในขณะที่สิงคโปร์นั้นมีจุดแข็งที่โดดเด่นเรื่ององค์ประกอบส่วนเพิ่ม จากด้านปัจจัย การอ�ำนวยความสะดวก เช่น การเดินทาง และความปลอดภัยในการท่องเที่ยว แต่สิงคโปร์ก็ยังคงด�ำเนินการเสริมจุดแข็ง ทัง้ องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรองให้มคี วามแข็งแกร่งขึน้ เรือ่ ย ๆ เพือ่ ดึงดูดนักท่องเทีย่ วอย่างต่อเนือ่ ง ภายใต้แบรนด์ Passion Made Possible: ทุกความชอบที่ใช่ เป็นไปได้ที่สิงคโปร์ โดยการท่องเที่ยวสิงคโปร์ (Singapore Tourism Board – STB) และ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ (Singapore Economic Development Board – EDB) ได้เริ่ม ด�ำเนินการส�ำรวจ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพกับกลุ่มตัวอย่างถึงความหมายของสิงคโปร์ โดยกลุ่มตัวอย่างมาจากทั้ง ประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และในประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ การท่องเที่ยวสิงคโปร์ยัง ได้เปิดตัวประเภทนักท่องเที่ยวตามสไตล์ความชอบ (Passion Tribes) โดยจัดประเภทนักท่องเที่ยวในเขตเมืองตามสไตล์ ความชอบ (Passion Tribes)’ ทั้งหมด 7 ประเภท เช่น ผู้ชื่นชอบอาหาร (Foodies), ผู้เสวงหากิจกรรมตื่นเต้น ท้าทาย (Action Seekers), ผู้หลงใหลวัฒนธรรม (Culture Shapers) เป็นต้น นอกจากนี้คณะกรรมการทบทวนเศรษฐกิจ (Economic Review Committee: ERC) ได้เสนอแนะให้สิงคโปร์เป็นเมืองเศรษฐกิจระดับโลก เป็นหนึ่งในศูนย์กลางหลักของ โครงข่ายธุรกิจส�ำคัญในโลก โดยแผนการเหล่านี้จะได้รับการด�ำเนินการต่อไปโดย หน่วยงานพัฒนาเมืองใหม่ (Urban Redevelopment Authority: URA) จะจัดท�ำแผนการพัฒนาขึ้นมาในระดับย่านเพื่อจะฟื้นฟูย่านศูนย์กลางเมืองขึ้นใหม่เพื่อ สอดคล้องกับความ ต้องการของภาคธุรกิจ การขยายตัวของนักท่องเที่ยว ศูนย์กลางพาณิชย กรรมใหม่ โดยยกเครื่องถนนออชาร์ด (Orchard Road) ให้ถนนชั้นน�ำแห่งการจับจ่าย (Shopping) เดิมที่ถนนออชาร์ดทอดตัวยาวไปกับแนวเนินสองข้างและขนานไปกับ คลองสแตมฟอร์ด (Stamford Canal) ซึง่ เกิดน�ำ้ ท่วมฉับพลันเพราะระบายน�ำ้ ไม่ทนั บ่อยครัง้ จึงได้มคี วามพยายามอย่างต่อ เนื่องในแก้ปัญหาและ พัฒนาถนนสายส�ำคัญเส้นนี้ โดยภายใต้แผนการท่องเที่ยว 21 (Tourism 21 Plan) ถนนออชาร์ดจะ เป็นพืน้ ทีแ่ ห่งโอกาสไปสูม่ ารีนา่ สแควร์ (Marina Square) โดยขยายตัวผ่านย่านเชือ้ ชาติ ต่าง ๆ โดยมีหน่วยงานต่าง ๆท�ำงาน ร่วมกันเช่น หน่วยงาน การขนส่งทางบก (Land Transportation Authority: LTA) ในการควบคุมอ�ำนวยความสะดวกการ จราจร บริเวณถนนออชาร์ด (เพชรลัดดา เพ็ชรภักดีและคณะ, 2560) คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ (NParks) ทีด่ แู ลสภาพ แวดล้อมทางธรรมชาติ ความเขียว ของสวนและต้นไม้ตามแนวถนนออชาร์ดอย่างต้นประดู่ที่ปลูกมากตั้งแต่ช่วงปี 1970 ที่ ให้ร่มเงาคนเดินถนน และคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวสิงคโปร์ (STB) โดยท�ำงานร่วมกับหน่วยวางแผนต่าง ๆ ทั้ง สมาคม ผู้ประกอบการบนถนนออชาร์ด (Orchard Road Business Association: ORBA) โดยจะมีการออกแบบ จัดแบ่ง ย่านทีแ่ ตกต่างเพือ่ จับกลุม่ เป้าหมายลูกค้าทีแ่ ตกต่าง ซึง่ จะต้องอาศัยหน่วยงานพัฒนาเมืองเป็น ผูอ้ อกแบบ ก�ำหนดรูปแบบ ลักษณะแผนการพัฒนา และการน�ำแผนไปสู่การปฏิบัติจริง (The Centre For Liveable Cities, 2015) ซึ่ง การท่องเที่ยว และกิจกรรม เหล่านี้มีความสัมพันธ์กันที่วางแผนร่วมกันได้ โดยสิงคโปร์จะต้องไม่เพียงแค่จัดการด้านความสะอาด ความมี ประสิทธิภาพและความปลอดภัย แต่สิ่งที่ต้องการคือ ความสนุกสนานและมีชีวิตชีวาเช่นกัน ประการส�ำคัญคือ การพัฒนา องค์ประกอบส่วนเพิ่ม อย่างโครงสร้างพื้นฐานที่ดีในเมืองเป็นการสนับสนุนภาคธุรกิจการท่องเที่ยวในทางหนึ่งด้วย หน่วย งาน การโยธา (The Public Work Department: PWD) ได้สร้างโครงข่ายทางเดินเท้าที่น่าเดิน โดยใช้ค�ำว่า “ทางเดิน ส�ำหรับจับจ่าย” (Pedestrian Malls) เชื่อมกับถนน ออชาร์ด(Orchard Road) ไปจนถึงสวนพฤกษศาสตร์ (Botanic Gardens) เพื่อจะสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้ถนนออชาร์ด มีความดึงดูดต่อการจับจ่ายและปลอดภัยส�ำหรับคนเดินเท้า ในขณะทีก่ ารท่องเทีย่ วในเขตเมือง กรุงเทพก็ได้มกี ารพัฒนาถนนชอปปิง้ ย่านราชประสงค์เช่นกัน สมาคมผูป้ ระกอบ วิสาหกิจในย่านราชประสงค์ (RSTA) ได้มีแนวเปิดประสบการณ์ Walkable District – ย่านนี้เพื่อคนเดินด้วย “ราชประ สงค์วอล์ก – Ratchaprasong Walk (R-Walk)” โครงข่ายเส้นทางเดินลอยฟ้า เข้าถึง 18 อาคารทั่วย่าน สร้างเพื่อ เชื่อม ต่อการคมนาคมที่ครบครันและเข้าถึงสถานที่จับจ่ายซื้อสินค้า ทานอาหาร โรงแรมที่พัก ที่ท�ำงาน และสักการะองค์เทพใน

22


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

บริเวณนั้น ทั้งนี้ราชประสงค์ได้วางเป้าหมายในอนาคตสู่การเป็นเลิศ 3 ด้าน ได้แก่ การเป็นจุดหมายปลายทางที่ดีที่สุดของ กรุงเทพมหานคร (Must Visit the Best of Bangkok) การเป็นย่านที่มีคุณภาพในการใช้ชีวิต (Smart District) และ การเป็นคอมมิวนิตี้แห่งความสุข (Happy Community) ภายใต้การใช้ชีวิตการท�ำงานและไลฟ์สไตล์ที่สะดวก ปลอดภัย โดยพัฒนาการของย่านราชประสงค์ รวมถึง R-Walk นั้นเกิดจากความร่วมมือในการท�ำงานของ ภาครัฐ เอกชน และชุมชน ร่วมกัน ของพันธมิตรทุกฝ่าย ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ และ สมาชิกภายในย่านราชประสงค์ ให้คนสามารถเดินทางได้ไกลและเข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ ในย่านได้มากขึ้น น�ำไปสู่การขยาย ตลาดในวงกว้าง ซึ่งโครงข่ายทางเดินลอยฟ้านี้ท�ำให้เกิดการหมุนเวียนและการสัญจรภายในย่าน นับเป็นยุทธศาสตร์ส�ำคัญ ในการขับเคลือ่ นชีวติ เศรษฐกิจ ให้เกิดขึน้ ควบคูไ่ ปกับสไตล์ นอกจากนัน้ ย่าน ราชประสงค์ยงั รุดหน้าเชือ่ มต่อทางเทคโนโลยี และพัฒนาหลายๆ โครงการให้ย่านนี้เป็น Smart District ย่านแรกในประเทศไทย” (สยามธุรกิจ, 2561) หากเปรียบเทียบถึงแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเมืองระหว่างเมืองยอดนิยมในอาเซียนระหว่าง กรุงเทพมหานครกับนครรัฐ (city state) อย่างสิงคโปร์แล้วนั้น จะพบว่า การวางแผนและการก�ำหนดทิศทางการท่องเที่ยว ในเขตเมืองของสิงคโปร์นั้น มีความชัดเจนและไม่มีความซับซ้อนด้านขนาดและพื้นที่ซึ่งแตกต่างจาก กรุงเทพที่มีทรัพยากร แหล่งท่องเที่ยวมากมาย แต่ประสบกับปัญหาการเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่ยังคงเป็นอุปสรรคในการเดินทาง ท่องเที่ยวในเขตเมือง ส�ำหรับเงื่อนไขของสิงคโปร์คือ การท�ำให้ทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีอยู่จ�ำนวนไม่มากนัก มีความหลาก หลายและน่าสนใจแต่ก็มีองค์ประกอบส่วนเพิ่มที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีมาก จึงกล่าวได้ว่า ปัญหาการท่องเที่ยวใน เขตเมืองของทั้งสิงคโปร์และกรุงเทพนั้นมีความความแตกต่างแต่ก็อยู่บนโจทย์ที่ยากทั้งสองเมือง ในบทความนี้จึงได้ยก ตัวอย่างในการจัดการพืน้ ทีเ่ พือ่ ส่งเสริมการท่องเทีย่ วในเขตเมืองของกรุงเทพคือ ถนนราชประสงค์ และของสิงคโปร์คอื ถนน ออชาร์ด ซึ่งต่างก็เป็นถนนในการจับจ่ายใช้สอยที่มีชื่อเสียง หากพิจารณาในระดับการก�ำหนดวิสัยทัศน์และนโยบายใน การส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเมือง ในระดับประเทศแล้ว สิงคโปร์มีความชัดเจนกว่าเนื่องจาก ความเป็นนครรัฐ (city state) คือ เมืองที่มีความเป็นประเทศด้วย ทั้งเมืองของสิงคโปร์จึงเป็นพื้นที่เมืองเกือบหมดทั้งสิ้นท�ำให้การก�ำหนดทิศทาง ในการพัฒนาการท่องเทีย่ วมีความชัดเจนกว่า ว่าจะต้องเน้นความหลากหลายของประสบการณ์และกิจกรรมทีแ่ ตกต่างของ นักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในเขตเมือง เมื่อน�ำแผนนโยบายในระดับมหภาคลงมาสู่พื้นที่ถนนออชาร์ด แผนจึงมีความ ชัดเจนยิง่ ขึน้ ในการยกระดับถนนเพือ่ การช้อปปิง้ ชัน้ น�ำของเมือง ไปสูก่ ารชอปปิง้ ทีม่ คี วามแตกต่างหลากหลายบนถนนเส้น หนึ่งที่จะให้ครบทุกประสบการณ์ซึ่งสอดรับกับแบรนด์ Passion Made Possible: ทุกความชอบที่ใช่ เป็นไปได้ที่สิงคโปร์ ในขณะทีก่ ารก�ำหนดวิสยั ทัศน์และนโยบายของการท่องเทีย่ วในประเทศไทยทีม่ คี วามแตกต่างในด้านความเป็นเมือง ระหว่างกรุงเทพและต่างจังหวัดนั้นแตกต่างกันมาก ในปี พ.ศ.2561 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงได้ส่งเสริม ความหลากหลายของทรัพยากรการท่องเทีย่ วทีห่ ลากหลายพร้อมกับกิจกรรมการท่องเทีย่ วทีห่ ลากหลายทัว่ ประเทศทัง้ เมือง หลักและเมืองรอง ในขณะทีก่ รุงเทพนัน้ เป็นเมืองหลักในระดับต้นๆของโลกทีม่ จี ำ� นวนนักท่องเทีย่ วมากทีส่ ดุ แต่กลับประสบ ปัญหาเรือ่ งการเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเทีย่ วทีส่ ะดวกสบาย จึงได้กำ� หนดหน่วยพืน้ ทีท่ สี่ ามารถจัดการได้เป็นถนนสายชอปปิง้ หลักของกรุงเทพอย่างถนนราชประสงค์ ซึง่ เป็นเขตท่องเทีย่ วพิเศษ โดยการเน้นการเชือ่ มต่อระหว่างทางเดินเท้าลอยฟ้าเข้า สูอ่ าคารต่าง ๆ เนือ่ งจากบาทวิถมี คี วามหนาแน่นและมีกจิ กรรมการค้าขายริมทางตลอดจนมลพิษทางอากาศจากความหนา แน่นการจราจร การเน้นการอ�ำนวยความสะดวกการเดินทางโดยเท้าของนักท่องเทีย่ วให้ไหลเวียนในย่านเข้าสูอ่ าคารต่าง ๆ จึงส�ำคัญต่อการกระตุน้ เศรษฐกิจในพืน้ ทีม่ าก อาจกล่าวได้วา่ องค์ประกอบหลักของกรุงเทพทัง้ ทางด้านวัฒนธรรม ลักษณะ ทางกายภาพและลักษณะทางสังคมตลอดจนองค์ประกอบรองของกรุงเทพนั้น มีศักยภาพมากอยู่แล้วซึ่งแตกต่างจากเมือง สิงคโปร์ แต่องค์ประกอบส่วนเพิ่มอย่างการอ�ำนวยความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ ทั้งการเดินเท้า การคมนาคมขนส่งนั้น เป็นสิง่ ส�ำคัญอย่างยิง่ ต่อการท่องเทีย่ วในเขตเมืองต่อไปในอนาคต เนือ่ งจากแนวโน้มการท่องเทีย่ วจะเป็นกลุม่ นักท่องเทีย่ ว โซโลโม (So Lo Mo) ซึง่ มาจากค�ำว่า Social Localหรือ Location และ Mobile ทีใ่ ช้เทคโนโลยีในการท่องเทีย่ วด้วยตนเอง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศจัดการวางแผนด้วยตัวเองแบบอิสระ (DIT- Domestic Independent Tourism) และนักท่องเทีย่ วชาวต่างชาติกลุม่ ทีม่ าเทีย่ วด้วยตนเองแบบอิสระ (FIT- Foreign Independent Tourism) มีการจัดการวางแผนด้วยเองทุกอย่าง (สุประภา สมนักพงษ์, 2560) ดังนัน้ การเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งมวลชน และการอ�ำนวยความสะดวกการเดินทางซึง่ เป็นองค์ประกอบส่วนเพิม่ (additional elements) แก่นกั ท่องเทีย่ วในเขตเมือง จึงเป็นเรื่องส�ำคัญมากในการจัดการกับปัญหาที่ต้องแก้ไข ได้แก่ ปัญหาการจราจร ปัญหาความต่อเนื่องของทางเท้า สิ่ง

23


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

อ�ำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินเท้า การอ�ำนวยความสะดวก ปลอดภัยในการใช้ขนส่งสาธารณะ โดย ปัญหาเหล่านี้นั้น ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยยกให้เป็นภาระของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งในการ ปรับปรุงและพัฒนาการเข้าถึง องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบรองและองค์ประกอบส่วนเพิ่ม เป็นปัญหาที่ต้องมองในเชิงโครงสร้าง โดยเป็นการพัฒนา เมืองในมิติทางกายภาพซึ่งมีทั้งความสัมพันธ์และความส�ำคัญต่อการท่องเที่ยวในเขตเมือง อย่างไรก็ตามการบูรณาการ การท�ำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการก�ำหนดแผนและการน�ำแผนไปปฏิบัติในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ในเขตเมืองและการพัฒนาเมือง ยังมีช่องว่าง ตั้งแต่ระดับการก�ำหนดวิสัยทัศน์ และแบรนด์ของการท่องเที่ยวในเขตเมือง กรุงเทพ โดยแม้ว่า ปัจจุบันมีการตั้งคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) ตามพระราชบัญญัตินโยบาย การท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2551 เพื่อก�ำหนดนโยบายการท่องเที่ยวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและไม่สามารถเชื่อมโยง นโยบายให้ไปสู่แผนและการปฏิบัติ (คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ, 2558) โดยเฉพาะในระดับพื้นที่ได้และการจัดการแหล่งท่องเที่ยวขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวของกรุงเทพ มีความหลากหลายและอยูภ่ ายใต้การก�ำกับดูแลของหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ท�ำให้การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวมีความซับ ซ้อนในการจัดการ โดยทีป่ ญ ั หาการก�ำหนดภารกิจตลอดจนอ�ำนาจหน้าทีข่ องหน่วยงานด้านการท่องเทีย่ วยังมีความไม่ชดั เจน และมีลักษณะที่ทับซ้อนกัน ท�ำให้ผู้ที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกิดความสับสน จากปัญหาดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่าบริบทและปัจจัยของการท่องเที่ยวในเขตมืองของกรุงเทพและสิงคโปร์ แตกต่าง กันอย่างเห็นได้ชัดสองประเด็น ได้แก่ หนึ่งประเด็นความหลากหลายและความซับซ้อนขององค์ประกอบหลักและองค์ ประกอบรอง ซึ่งสิงคโปร์มีความยากกว่าในการจัดการองค์ประกอบหลักที่น้อยให้มีความหลากหลาย สอง ประเด็นการ จัดการองค์ประเสริมซึ่งในขณะที่สิงค์โปร์มีการบูรณาการทุกภาคส่วน แต่กรุงเทพนั้น เป็นการท�ำงานที่แยกส่วนจากหน่วย งานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการพัฒนาเมือง จึงเกิดเป็นค�ำถามว่า หากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขในเวลาอัน ใกล้แล้ว กรุงเทพมหานครจะสามารถรักษาอันดับต�ำแหน่งเมืองท่องเทีย่ วอันดับต้นๆของโลกได้หรือไม่ และหากในอนาคต กรุงเทพได้รับการจัดอันดับโดยลดชั้นให้เป็นอันดับรอง ๆ ต่อจากเมืองอื่น ๆ ในโลกก็จะเป็นที่น่าเสียดายต่อมูลค่าทาง เศรษฐกิจที่ต้องสูญเสียไปทั้งที่มีศักยภาพดีอยู่แล้วแต่ไม่สามารถจัดการต่อจุดอ่อนขององค์ประกอบส่วนเพิ่มได้

6. สรุป วัตถุประสงค์บทความฉบับนี้ เพื่อท�ำความเข้าใจการท่องเที่ยวในเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร โดยศึกษานิยาม ทฤษฎี แนวความคิดและเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของการท่องเที่ยวแบบเมือง องค์ประกอบการท่องเที่ยวแบบเมือง เส้นทางสัญจรและ ศึกษานักท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ และภาคีที่เกี่ยวข้อง โดยThe European Commission (EC) ได้ให้ค�ำนิยามของการท่อง เทีย่ วในเขตเมือง คือ ทรัพยากรและกิจกรรมการท่องเทีย่ วทีม่ อี ยูใ่ นเมืองทีน่ ำ� เสนอให้กบั ผูเ้ ยีย่ มเยือนทีม่ าจากทีอ่ นื่ และการ ศึกษาการท่องเที่ยวในเขตเมืองคือการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวในทุกรูปแบบกับสภาพแวดล้อมของเมือง ในปัจจุบันนั้น การท่องเที่ยวแบบเมืองหรือการท่องเที่ยวในเขตเมือง (Urban Tourism) ของกรุงเทพมีความโดดเด่น มากขึ้น เนื่องจากการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ หน่วยราชการ และการเติบโตด้านการค้า บริการและการท่องเที่ยว จึง ท�ำให้ตวั เมืองเองเป็นแหล่งท่องเทีย่ วทีน่ า่ สนใจ โดยประกอบด้วยองค์ประกอบสามประการ คือ ประการทีห่ นึง่ องค์ประกอบ หลัก(Primary Elements) องค์ประกอบรอง(Secondary Elements) และ องค์ประกอบส่วนเพิม่ (Additional Elements) โดยประการทีห่ นึง่ องค์ประกอบหลักนัน้ ประกอบด้วย แหล่งกิจกรรมสถานทีท่ างวัฒนธรรม (cultural facilities) ลักษณะ ทางกายภาพ (physical characteristics) ลักษณะทางสังคม (social characteristics) โดยแหล่งกิจกรรมสถานที่ทาง วัฒนธรรม (cultural facilities) ได้แก่ 1) เขตประวัตศิ าสตร์ (Historic Districts) เช่น กรุงรัตนโกสินทร์ชนั้ ใน ย่านเยาวราช ฝั่งธนบุรี เป็นต้น 2) ศูนย์การประชุมและจัดนิทรรศการ (Convention Centers and Exhibitions) โดยกรุงเทพมีศูนย์ การประชุมขนาดใหญ่ ได้แก่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค และศูนย์แสดงสินค้า และการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี 3) เขตท่องเที่ยวพิเศษ (Special Visitor Districts) เช่น เขตช้อปปิ้งราชประสงค์ สยาม และ The EM District (ย่านพร้อมพงษ์) ที่มีความหลากหลายของกิจกรรม ประการที่ สอง องค์ประกอบรอง (Secondary Elements) ได้แก่ ห้างร้าน ร้านอาหาร โรงแรม ซึ่งกรุงเทพมีองค์ประกอบรองที่มีความ หลากหลายตัง้ แต่ระดับชัน้ ในการให้บริการทัง้ อาหาร ร้านค้า ทีพ่ กั และระดับราคาทีห่ ลากหลายเช่นกัน ประการทีส่ าม องค์ ประกอบส่วนเพิ่ม (additional elements) คือ สิ่งอ�ำนวยความสะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยว เช่น การขนส่ง

24


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

สาธารณะ ป้ายบอกทาง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (universal design) โดยเมื่อพิจารณาจาก 3 องค์ประกอบดังกล่าว นี้ กรุงเทพมีองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรองทีด่ มี ากเป็นจุดแข็งดึงดูดนักท่องเทีย่ วเนือ่ งจาก มีทงั้ แหล่งท่องเทีย่ วทาง วัฒนธรรม ธรรมชาติ ร้านอาหาร การช้อปปิง้ ความหลากหลาย ความมีชวี ติ ชีวา อย่างไรก็ตาม กรุงเทพยังต้องมีการส่งเสริม ด้านการอ�ำนวยความสะดวกในด้านการจัดประชุม นิทรรศการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบส่วนเพิ่มคือ สิ่งอ�ำนวย ความสะด้วยแก่นักท่องเที่ยวในการเดินทาง ซึ่งยังคงเป็นจุดอ่อนส�ำคัญของการท่องเที่ยวในเขตเมืองของกรุงเทพเนื่องจาก แนวโน้มการท่องเที่ยวจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวโซโลโม (So Lo Mo) และนักท่องเที่ยวที่เที่ยวด้วยตนเองแบบอิสระ (FITForeign Independent Tourism) มีการจัดการวางแผนด้วยเอง ดังนั้นการเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งมวลชน และการ อ�ำนวยความสะดวกการเดินทางซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนเพิ่ม (additional elements) จึงเป็นเรื่องส�ำคัญ ในบทความนี้ เพื่อให้เข้าใจถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเมืองอันดับต้นของโลกที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ใน ข้ออภิปรายจึงได้เปรียบเทียบการก�ำหนดวิสยั ทัศน์และการท�ำงานเพือ่ ส่งเสริมการท่องเทีย่ วในเขตพิเศษระหว่างเมืองสิงคโปร์ อย่างถนนออชาร์ดและกรุงเทพอย่างถนนราชประสงค์ โดยมีบริบทและปัจจัยของการท่องเที่ยวในเขตเมืองของกรุงเทพ แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชดั สองประเด็น ได้แก่ หนึง่ ประเด็นความหลากหลายและความซับซ้อนขององค์ประกอบหลักและ องค์ประกอบรอง ซึ่งสิงคโปร์มีความยากกว่าในการจัดการองค์ประกอบหลักที่น้อยให้มีความหลากหลาย สอง ประเด็นการ จัดการองค์ประเสริมซึง่ ในขณะทีส่ ิงค์โปร์มีการบูรณาการทุกภาคส่วน แต่กรุงเทพนั้นมีการท�ำงานที่แยกส่วนจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการพัฒนาเมือง จึงกล่าวได้ว่า ปัญหาการท่องเที่ยวในเขตเมืองของทั้งสิงคโปร์และกรุงเทพนั้นมีความความแตกต่าง โดยสิ่งที่ กรุงเทพมหานครจะต้องพัฒนาต่อนั้นคือ ด้านองค์ประกอบส่วนเพิ่ม (additional elements) และการบรูณาการท�ำงาน ระหว่างหน่วยงานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว เจ้าภาพแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ และที่ส�ำคัญคือ หน่วยงานอย่างศาลาว่าการ กรุงเทพมหานครในการก�ำหนดทิศทางแบรนด์ การท่องเทีย่ วในเขตเมืองตลอดจนการพัฒนาด้านการกายภาพเมือง ในการ อ�ำนวยความสะดวกการเดินทางแก่นักท่องเที่ยวในเขตเมือง โดยเพิ่มการบริการขนส่งมวลชนที่ครอบคลุม ส่งเสริมการเดิน เท้าที่สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างปลอดภัย และมีความสะดวกสบายโดยใช้แนวทางการออกแบบแก่คนทั้งมวล (universal design) เพื่อรักษาต�ำแหน่งการจัดอันดับให้เป็นเมืองท่องเที่ยวระดับต้นของโลกต่อไป

7. กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในการสนับสนุนทุนวิจัย ปีงบประมาณ 2561

8. เอกสารอ้างอิง กรุงเทพธุรกิจ. (2562). กรุงเทพฯคว้าอันดับ 2 เอเชีย พัฒนาไมซ์อย่างยั่งยืน. [ออนไลน์] ได้จาก http://www.bang kokbiznews.com/news/detail/822917 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 31 มกราคม 2562] คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ. (2558). รายงานวาระพัฒนา การ พัฒนาด้านการท่องเที่ยว. กรุงเทพ: สภาปฎิรูปแห่งชาติ. ฉัตรชัย พงศ์ประยูร. (2540). แนวความคิดเกี่ยวกับภูมิภาคและการพัฒนาพื้นที่. กรุงเทพ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ฐานเศรษฐกิจ. (2560). ขีดความสามารถการแข่งขันด้านการท่องเทีย่ วของไทยในปี 2560 อยูอ่ นั ดับ 34 ของโลก. [ออนไลน์] ได้จาก http://www.thansettakij.com/content/142412 [สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2562]. ฐานเศรษฐกิจ: ไทยโพสต์. (2561). โครงการ "ทางเลียบเจ้าพระยา" บททดสอบปฏิรูปประเทศ-โจทย์ที่รัฐยังตีไม่แตก. [ออนไลน์] ได้จาก www.thaipost.net/main/detail/22192 [สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2562].

25


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ประชาชาติธรุ กิจ. (2561). ย้ายเรียบกระทรวงใหญ่ คุมผังอาคารเกาะรัตนโกสินทร์. [ออนไลน์]. ได้จาก www.prachachat. net/tourism/news-210247 [สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม]. ประชาชาติธุรกิจ. (2561). ราชประสงค์ ดิสทริกต์ จุดหมายท่องเที่ยวระดับโลก. [ออนไลน์]. ได้จาก https://www.prach achat.net/tourism/news-182931 [สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563] ประชาไท. (30 สิงหาคม 2561). แผนพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์ฉบับใหม่ หรือจะเปลี่ยนเมืองเป็นพิพิธภัณฑ์ไร้ชีวิต?. [ออนไลน์]. ได้จาก https://prachatai.com/journal/2018/08/78500 [สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2562] เพชรลัดดา เพ็ชรภักดีและคณะ. (2560). การพัฒนาประเทศสิงคโปร์: กระบวนการ การเปลี่ยนผ่าน และความท้าทาย. กรุงเทพ: ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งประเทศไทย. สถาบันบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). ก�ำหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร และ หมู่เกาะทะเลใต้ (เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า). กรุงเทพ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สยามธุรกิจ. (2561). “ราชประสงค์” โชว์ “R-Walk” เผยแผนสู่ Smart District ย�้ำต้นแบบธุรกิจไลฟ์สไตล์. [ออนไลน์]. ได้จาก https://siamturakij.com/news [สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2562]. สันติพจน์ กลับดี. (2559). กรุงเทพมหานคร จุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. ได้จาก http:// www.aseanthai.net/mobile_detail.php?cid=4&nid=6375 [สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2562]. สุประภา สมนักพงษ์. (2560). แนวโน้มและตลาดการท่องเที่ยว 4.0 ประเทศไทย. Veridian E-Journal, 10(3), 2055-2063. อนันต์ เกตุวงศ์. (2541). หลักและเทคนิคการวางแผน. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อนิวัช แก้วจ�ำนงค์. (2556). หลักการจัดการ. สงขลา: น�ำศิลป์โฆษณา. Certo, C. (2000). Modern management : diversity, quality, ethics, & the global environment. N.J.: Prentice Hall. CNN Travel. (ม 2018). Best 23 cities for street food from Miami to Tokyo. [Online]. Retrieved from https:// edition.cnn.com/travel/article/best-cities-street-food/index.html [accessed 28 January 2562]. Couch., C. (1990). Urban Renewal: Theory and Practice. London: Macmillan Education. Dennemann, C. & Annekatrin, C. (2000). Urban regeneration and. Cities, 17(2), 137–147. Judd, R.& Fainstein, S. (1999). The Tourist City. New Heaven, CT.: Yale University Press. Law, C. (2002). Urban Tourism: The Visitor Economy and the Growth of Large Cities. London: Continuum. Lui, Z. (2003). Sustainable tourism development: a critique. Journal of Sustainable Tourism, 11(6), 459475. Mullins., P. (1999). International tourism and the cities of Southeast Asia. ใน D.R. Judd, และ S.S. Fainstein, The tourist city. New Heaven: Yale University Press. Netherlands Embassy in Bangkok. (March 2017). Tourism industry in Thailand. . [Online]. Retrieved from www.rvo.nl/sites/default/files/2017/06/factsheet-toerisme-in-thailand.pdf. [accessed 30 January 2562]. M. & Chon., S. (1997). Convention participation decision-making process. Annals of Tourism Research, 24(1), 178-191. Page, J. & Ashworth, G. (2011). Urban tourism research: Recent progress and current. Tourism Manage ment, 1-15. The Centre For Liveable Cities. (2015). Urban System Study/ Planning for Tourism: Creating A. Singapore: The Centre For Liveable Cities. U. E. Uysal. (2015). Urban tourism in Istanbul: Urban regeneration, mega-events and city. Helsinki: Uni versity of Helsinki. Verbeke, J. (1996). Scanning museum visitors: Urban tourism marketing. Annals of Tourism, 231-253.

26


บทความวิชาการ - Academic Article -



วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

การทบทวนวรรณกรรม ส�ำหรับความหนาแน่นของสภาพ แวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กและเยาวชน Environmental Density and Its Impacts on Children and Tteenagers’ Behaviours: A Systematic Review ปิยะวรรค์ ปิ่นแก้ว1* และนิพัทธา หรรนภา2 1

อาจารย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

Piyawan Pinkaew1* and Niphattha Hannapha2 1

Lecturer, Faculty of Industrial Technology Building, 1 U-tongnok Dusit Bangkok 10300 2 Assistant Professor, Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts Mahasarakham University Kantarawichai District, Maha Sarakham, Thailand, 44150 *Email: piyawanpin@npru.ac.th

บทคัดย่อ ความหนาแน่นของสภาพแวดล้อม เป็นบริบททางสังคมเชิงกายภาพทีม่ ผี ลต่อการด�ำรงชีวติ ของมนุษย์ทกุ ช่วงวัย และมีอิทธิพลต่อชีวิตในหลากหลายด้าน เด็กและเยาวชนเป็นผู้ที่มีความส�ำคัญต่อสังคมในอนาคต การส่งเสริมให้เด็กและ เยาวชนมีคณ ุ ภาพได้นนั้ สภาพแวดล้อมทางกายภาพทีเ่ หมาะสมเป็นสิง่ ส�ำคัญอย่างยิง่ ต่อการพัฒนา บทความวิชาการนีเ้ ป็น การทบทวนวรรณกรรม จุดประสงค์เพือ่ แสดงให้เห็นความเชือ่ มโยงของอิทธิพลทางสภาพแวดล้อมด้านความหนาแน่นทีม่ ผี ล ต่อเด็กและเยาวชนทัง้ ทีม่ คี วามปกติ และเด็กทีม่ คี วามต้องการพิเศษ ในระดับอายุและเพศทีแ่ ตกต่างกันเพือ่ ให้เห็นความส�ำคัญ ของการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยบทความกล่าวถึงความหนาแน่นในสภาพแวดล้อมทั้งในระดับ ชุมชน ความหนาแน่นของสภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายในสิง่ ปลูกสร้างต่าง ๆ โดยมุง่ เน้นถึงสภาพแวดล้อมภายใน ทีอ่ ยูอ่ าศัยและสถานศึกษาเพือ่ ให้ผสู้ นใจศึกษาด้านอิทธิพลทางสภาพแวดล้อมทีม่ ตี อ่ เด็กและเยาวชน ได้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญ ของปัจจัยทางสภาพแวดล้อมด้านความหนาแน่นได้ชดั เจนมากยิง่ ขึน้ ซึง่ จากการค้นคว้าข้อมูลท�ำให้ทราบได้วา่ อิทธิพลความ หนาแน่นทางสภาพแวดล้อมนัน้ สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนทัง้ ทางตรงและทางอ้อม เช่น การรับรูค้ วาม หนาแน่นทีแ่ ตกต่างกันกับการหลีกหนีทางสังคม การปฏิสมั พันธ์กบั บุคคลอืน่ การเกิดแรงจูงใจ การให้ความร่วมมือ โดยมี ประเด็นด้านความแตกต่างทางเพศ และอายุของเด็กและยาวชน มาเป็นปัจจัยร่วมด้วย ซึง่ หากได้ทำ� ความเข้าใจถึงอิทธิพล ความหนาแน่นทางสภาพแวดล้อมทีส่ ร้างผลกระทบดังกล่าว จะท�ำให้ผทู้ มี่ หี น้าทีเ่ กีย่ วข้อกับการจัดเตรียมสภาพแวดล้อม และ ผูท้ มี่ คี วามสนใจ สามารถน�ำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในบริบทของแต่ละสภาพแวดล้อม เนือ่ งด้วยในการทบทวนบทความนีม้ คี วาม

29


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

หลากหลายทางสภาพแวดล้อม และแตกต่างจากบริบทของประเทศไทย ทัง้ นีเ้ พือ่ การน�ำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผูท้ สี่ นใจควรค�ำนึงถึงบริบททางสภาพแวดล้อมของแต่ละพืน้ ทีแ่ ละปรับใช้ขอ้ มูล เพือ่ หาแนวทางในการจัดการสภาพแวดล้อม ได้อย่างเหมาะสมต่อไป ค�ำส�ำคัญ: ความหนาแน่น, สภาพแวดล้อม, พฤติกรรม, เด็ก, เยาวชน

Abstract Environmental density is a social and physical context which influences human living conditions at a diverse range of ages and aspects of life. Since children and teenagers are important human resources for the future generation, it is necessary to promote development and life quality for them by providing a suitable physical environment. This paper is a review of literature aiming to demonstrate the correlations between the physical environmental density and its impacts on the normal children/ teenagers and those with special needs. Regarding their different ages and genders, this study examines the significance of preparing the suitable physical environment for the children. The author discusses the environmental density in various aspects including the community physical environment, and the internal and the external elements of buildings and grounds, particularly in the residential area and the educational institutions. According to previous research, the environmental density has both direct and indirect impacts on children/teenagers’ behaviours. For example, it influences their perception of the environmental density and its impact on social isolation. Moreover, the environmental density also affects their social interactions, motivation, and collaboration with others. There are also additional factors including gender differences and age gap which constitute their behaviours. Thus, understanding that crucial factor can help stakeholders and enthusiasts employ the information to serve their contexts. Because this review was conducted, based on various environmental contexts which are different from Thailand, it can help solve the problem of the environmental density and seek suitable guidelines for the efficient management.Keywords: Design Thinking, Bamboo Construction, Positive Fitting Joint, Router, Bamboo Hut Keyword: Density, Environmental, Behavior, Children, Teenager Received: March 27, 2020; Revised: March 30, 2020; Accepted; April 13, 2020

30


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

1. บทน�ำ สภาพแวดล้อมทางกายภาพมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กในหลากหลายด้าน รวมถึงอิทธิพลต่อพฤติกรรม ระดับของ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อเด็กนั้น มีหลายระดับตั้งแต่ระดับชุมชน สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอาคาร ที่เด็กได้ สัมผัสใกล้ชิดเริ่มตั้งแต่สภาพแวดล้อมภายในที่พักอาศัย สถานศึกษา เช่น โรงเรียน หรือศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ขึ้นอยู่กับระดับ อายุของเด็กแต่ละวัย ซึ่งลักษณะทางสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลนั้น มีหลากหลายลักษณะเช่น ขนาดของสภาพแวดล้อม ปริมาณช่องเปิด แสงสว่าง อุณภูมิ เป็นต้น และปัจจัยทางสภาพแวดล้อมสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กในลักษณะที่ แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเด็กในแต่ละลักษณะด้วย เช่น เด็กที่มีความปกติ เด็กทีมีความต้องการพิเศษ ซึ่ง อิทธิพลทางสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันมีผลต่อเด็กแต่ละลักษณะแตกต่างกันไปด้วย ดังตัวอย่างการศึกษาเรื่องอิทธิพลรูป แบบที่นั่งต่อการเรียนรู้ของเด็กเรียนรู้ล่าช้า แสดงให้เห็นว่า ลักษณะการนั่งเรียนในห้องเรียนที่มี 4 รูปแบบ มีผลท�ำให้เกิด สมาธิในเด็กเรียนรู้ล่าช้าที่แตกต่างกัน คือ ควรให้เด็กนั่งในต�ำแหน่งที่มองเห็นทางสัญจรได้น้อยที่สุดเพื่อท�ำให้เกิดการต่อ เนื่องของการเรียนเป็นต้น (นิพัทธา หรรนภา, 2561) และ การศึกษาของ Ole Johan Sando (2019) ได้กล่าวถึง ความ ส�ำคัญของสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนที่เหมาะสมต่อตัวเด็ก ดังนี้ สภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในโรงเรียนควรเปิด โอกาสให้เด็ก ๆ ได้เล่น เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและใจ ซึ่งสภาพแวดล้อมในโรงเรียนมีอิทธิพลต่อความเป็นส่วนตัว ความ รู้สึกที่ดี เมื่อได้อยู่ในสภาพแวดล้อมนั้น และรวมถึงการช่วยพัฒนาทางร่างกายของเด็กดีขึ้นขณะท�ำกิจกรรมภายในอาคาร จากการยกตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้วา่ ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทีม่ ปี ระเด็นต่าง ๆ นัน้ มีอทิ ธิพลต่อตัวเด็กได้หลากหลาย ลักษณะ แต่ในบทความฉบับนี้จะกล่าวถึงประเด็นการค้นคว้าข้อมูลวรรณกรรมด้านความหนาแน่นที่เป็นผลกระทบทาง สังคมเกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมการแสดงออกในเด็กและเยาวชนเป็นหลัก ที่มาของการรวบรวมข้อมูลอิทธิพลทางสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมเด็กและเยาวชน เกิดจากการทบทวน วรรณกรรมที่ผู้รวบรวมมีความสนใจในการศึกษาวิจัยทางสภาพแวดล้อมอันเกี่ยวเนื่องกับเด็ก และได้เห็นชุดความรู้ ด้าน สภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการต่อยอดแนวความคิดเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัยได้ต่อไปใน อนาคต จึงได้ตงั้ จุดประสงค์ในการเรียบเรียงบทความวิชาการครัง้ นีข้ นึ้ เพือ่ เป็นประโยชน์ตอ่ การชีป้ ระเด็นข้อมูลด้านอิทธิพล สภาพแวดล้อมที่มีต่อตัวเด็กและเยาวชน ให้ผู้ที่สนใจ ได้เห็นความชัดเจนของอิทธิพลทางสภาพแวดล้อม โดยมุ่งเน้นไปใน เรือ่ งของความหนาแน่นทางสภาพแวดล้อมภายในทีพ่ กั อาศัยและสถานศึกษาเป็นหลัก เนือ่ งจากประเด็นนีย้ งั มีการกล่าวถึง และมีการศึกษาน้อยในประเทศไทย จากการค้นคว้าเอกสาร พบความหมายของความหนาแน่น คือ ความหนาแน่นเป็นจ�ำนวนคนต่อหน่วยพื้นที่ซึ่ง ความหนาแน่นสูงอาจท�ำให้เกิดความแออัดได้ในบางกรณี ความหนาแน่น เป็นการวัดจ�ำนวนคนต่อหน่วยพื้นที่ เช่น 30 คน ต่อตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นเปลี่ยนแปลงตามมาตรวัดทางภูมิศาสตร์เป็นอัตราส่วนทางกายภาพ อีกทั้งยังมีความ หมายของความหนาแน่นตามการรับรู้ หมายถึง การคาดคะเนของบุคคลเกี่ยวกับความหนาแน่นแต่ละสถานที่ อาจถูกต้อง หรือไม่ก็ได้ เพราะไม่ใช่อัตราส่วนที่เป็นจริงของจ�ำนวนบุคคลต่อหน่วยพื้นที่ ความหนาแน่นทางสังคม กับความหนาแน่นทางพื้นที่ (Social Density Versus Spatial Density) แม้ความหนาแน่น จะเป็นอัตราส่วนของจ�ำนวนคนต่อหน่วยพื้นที่ แต่ยังสามารถแยกได้ 2 ประเภท คือ ความหนาแน่นทางสังคม (Social Density) ซึง่ หมายถึง ความแออัดทีเ่ กิดจากจ�ำนวนคนทีเ่ พิม่ มากขึน้ ในขนาดพืน้ ทีเ่ ท่าเดิม เช่น ความหนาแน่นของห้องเรียน ที่เกิดจากจ�ำนวนนักเรียนที่เพิ่มจาก 30 คน ตามปกติเป็น 60 คน แต่ขนาดของพื้นที่ห้องยังเท่าเดิม ส่วนความหนาแน่นทาง พื้นที่ (Spatial Density) หมายถึง ความแออัดที่เกิดจากการลดขนาดพื้นที่ โดยคงจ�ำนวนคนไว้ เช่น จ�ำนวนนักเรียน ยังเป็น 30 คนเท่าเดิม แต่ละขนาดของพื้นที่ห้องลงเหลือครึ่งหนึ่งของขนาดห้องเดิม ผลคือสองสถานการณ์นี้เกิดความหนา แน่นเท่ากัน แต่ผลทางจิตวิทยาต่างกัน วิธีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความแออัด พบว่านักวิชาการใช้หลากหลายวิธี แต่ที่ส�ำคัญคือการศึกษาภาคสนาม การศึกษา ในห้องปฏิบตั กิ ารและการศึกษาความสัมพันธ์ การศึกษาภาคสนามเป็นการศึกษาความแออัดในสภาพธรรมชาติ เช่น หอพัก นักศึกษา ซึ่งมีนักศึกษาพักร่วมกัน 3 คน ในห้องที่ควรพัก 2 คน สามารถศึกษากึ่งการทดลองได้ด้วย ซึ่งสามารถระบุสาเหตุ ของพฤติกรรมได้ นอกจากนั้นการศึกษาภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์ ยังท�ำให้ได้ข้อมูลด้านประสบการณ์ของความแออัด ตลอดจนผลของสังคมและความหนาแน่นด้านพื้นที่ ที่มีต่อความแออัดด้วย

31


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ด้วย การศึกษาในห้องปฏิบัติการ เป็นวิธีที่สามารถระบุสาเหตุของพฤติกรรมได้ เพราะผู้วิจัยสามารถควบคุมตัวแปรต่าง ๆ รวมทั้งสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามความต้องการได้ ข้อเสียของการศึกษาในห้องปฏิบัติการ คือ การใช้เวลาในการศึกษาระยะสั้น เช่น ให้กลุ่มตัวอย่างผเชิญกับความแออัดประมาณ 1 ชั่วโมง แต่มีข้อดีคือสามารถสังเกตุกระบวนการต่าง ๆ ตามที่ต้องการ ได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสรีระ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ภาษาท่าทาง และพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เกิดเพียงชั่วขณะ หรือ ยากแก่การวัด การศึกษาด้านความสัมพันธ์ใช้วิธีการส�ำรวจประชากรในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น การส�ำรวจภายในอาคาร ศึกษา จ�ำนวนคนต่อขนาดพืน้ ทีห่ อ้ ง เพือ่ หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความหนาแน่นและผลทีเ่ กิดขึน้ โดยส่วนใหญ่พบปัญหา ต่าง ๆ ทางสังคม และโรคต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถระบุหาสาเหตุที่แท้จริงได้ สามารถศึกษาในภาพรวมกว้าง ๆ เกี่ยวกับ ความหนาแน่นที่สะสมไว้ และส่งผลต่อการด�ำเนินชีวิตของบุคคล นักจิตวิทยาสามารถศึกษาได้ว่าอิทธิพลทางกายภาพของสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นห้อง เพื่อนบ้าน หรือเมือง มีผลต่อ ความรู้สึกแออัด เช่น ความหนาแน่น ระยะห่างของทางเท้าสวนสาธารณะ และลักษณะทางจิตวิทยาอื่น ๆ เช่น เจตคติต่อ เมือง ความเป็นส่วนตัว สภาพการจราจร การเปรียบเทียบระหว่างเมืองต่าง ๆ ผลงานวิจัยบางชิ้น พบว่า ความแออัดใน มาตราส่วนขนาดเล็ก สามารถท�ำนายได้จากทั้งปัจจัยทางกายภาพและทางจิตวิทยา แต่ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ปัจจัยทาง จิตวิทยาสามารถท�ำนายความแออัดได้ดีกว่า หมายความว่า ถ้าเป็นความแออัดในห้องพักอาจเกิดจากขนาดของห้องและ อารมณ์ความรู้สึกของผู้อาศัย แต่ถ้าเป็นสวนสาธารณะหรือเมือง ความแออัดเกิดจากความรู้สึกของบุคคล แต่แนวความคิดเกี่ยวกับบริบททางนิเวศวิทยาในการพัฒนาของมนุษย์ได้มุ่งเน้นไปที่ลักษณะทางจิตสังคมของสภาพ แวดล้อมของเด็ก (Bronfenbrenner U, ed. 2005) โดยไม่สนใจบริบททางกายภาพของการพัฒนามนุษย์ แม้วา่ กระบวนการ พื้นฐานหลายอย่างที่เชื่อมต่อบริบทกับการพัฒนานั้นคล้ายคลึงกับปัจจัยสภาพแวดล้อมทางจิตสังคม (Wachs TD, 2003) ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกในเด็ก สามารถยกตัวอย่าง เพื่ออธิบายความเกี่ยวเนื่องของสภาพ แวดล้อม ด้านความหนาแน่นผ่านลักษณะวิถชี วี ติ ของเด็กในพืน้ ทีช่ มุ ชนหนาแน่น ได้ดงั นี้ ความหนาแน่นด้านสภาพแวดล้อม ต่อเด็กในชุมชนหนาแน่น ส่งผลต่อปัญหาการกระท�ำผิดของเด็กสูงสุดในประเทศ เพราะเด็กส่วนหนึ่งไม่ได้อยู่กับครอบครัว หรือผูป้ กครองเร่งรีบ และให้ความส�ำคัญกับประกอบอาชีพเป็นหลัก ส่งผลให้เด็กกลุม่ นีไ้ ม่มคี วามอบอุน่ มีปญ ั หาด้านอารมณ์ ไม่มั่นคง ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อสิ่งเร้า เพราะฉะนั้น เด็กในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น จึงเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวและเปราะบาง (ชวิตรา ตันติมาลา, 2561) ความหนาแน่นระดับชุมชนจัดเป็นความหนาแน่นภายนอก ซึ่งในความเป็นจริง ความหนาแน่น ภายในกับความหนาแน่นภายนอกนั้นอาจมีความแตกต่างกันอย่างมาก เช่น ที่ฮ่องกง เมื่อเทียบกับกรุงเทพฯ พบว่า ความ หนาแน่นของจ�ำนวนคนต่อหน่วยพื้นที่(ความหนาแน่นภายนอก) มักมีความหนาแน่นสูง แต่เมื่อพิจารณาความหนาแน่น ภายในอาคารแล้ว ไม่จำ� เป็นต้องมีความหนาแน่นสูงเสมอไป ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นภายในและภายนอก อาจ แยกได้เป็น 4 ลักษณะ คือ 1) ความหนาแน่นภายในและภายนอกต�่ำ เช่น บ้านแถบชานเมือง 2) ความหนาแน่นภายในและ ภายนอกสูง เช่น เขตชุมชนแออัด ที่มีจ�ำนวนครัวเรือนหนาแน่น มีสมาชิกในครอบครัวจ�ำนวนมากอยู่รวมกันในบ้านขนาด เล็ก 3) ความหนาแน่นภายในต�่ำ แต่ภายนอกสูง เช่น อพาร์ตเม้นหรือคอนโดมิเนียมราคาแพงในกรุงเทพฯ และ 4) ความหนาแน่นภายในสูง แต่ภายนอกต�่ำ เช่น บ้านของชาวไร่ ชาวนาในชนบท ภายในบ้านมีจ�ำนวนสมาชิกหลายคน แต่ละครัวเรือนถือครองทีน่ าหลายไร่ทำ� ให้บา้ นแต่ละหลังอยูห่ า่ งกัน ดังนัน้ ความหนาแน่นภายในอาคารหมายถึง อัตราส่วน ของจ�ำนวนคนต่อพืน้ ทีภ่ ายในอาคาร ส่วนความหนาแน่นภายนอกอาคาร หมายถึงอัตราส่วนของจ�ำนวนคนต่อพืน้ ทีภ่ ายนอก อาคาร หรือพื้นที่ของชุมชน ทั้งสองลักษณะมีผลต่อพฤติกรรมและประสบการณ์ของบุคคลแตกต่างกัน โดยความหนาแน่น ภายในมักเกี่ยวเนื่องกับความเครียด ส�ำหรับเด็ก ความหนาแน่นภายในสูงจะส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนที่ลดลง มีปัญหา ด้านวินัย และปัญหาทางสังคมอื่น ๆ

2. อิทธิพลของความหนาแน่นทางสภาพแวดล้อม พฤติกรรมของบุคคลอาจได้รบั อิทธิพลจากการรับรูค้ วามหนาแน่นของเขา มากกว่าจากความหนาแน่นตามจริง ซึง่ ความ หนาแน่นสูงส่งผลต่อพฤติกรรมหลายอย่าง ทั้งสุขภาพ พฤติกรรมการท�ำงาน การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการรับมือกับ ปัญหาต่าง ๆ

32


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ในบทความนีจ้ ะกล่าวถึงความหนาแน่นทีม่ ผี ลต่อพฤติกรรม ด้านการหลีกหนีทางสังคม พฤติกรรมการปฏิสมั พันธ์ ระหว่างเด็กกับบุคคลอื่น การเกิดแรงจูงใจ และอิทธิพลของความหนาแน่นที่มีผลต่อพฤติกรรมในการให้ความร่วมมือของ เด็ก ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1) ความหนาแน่นของสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน กับการหลีกหนีทางสังคม ความหนาแน่นกับพฤติกรรมส่วนบุคคลชี้วัดด้วยจ�ำนวนคนต่อห้อง เป็นตัวชี้วัดที่ส�ำคัญในเรื่องความหนาแน่นที่ เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ (Evans GW, 2001) การศึกษาดังต่อไปนี้ กล่าวถึงการหลีกหนีทางสังคมในหมู่เด็ก ก่อนวัยเรียนเมือ่ มีการปฏิสมั พันธ์ภายใต้สภาพทีห่ นาแน่นมาก การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าเด็กรับรูต้ อ่ ระดับความหนาแน่น ทีแ่ ตกต่างกัน (Liddell C, Kruger P, 1987) การสังเกตุเด็กคนเดียวกันภายใต้เงือ่ นไขความหนาแน่นทีแ่ ตกต่างกัน (Liddell C, Kruger P, 1989) พบว่าความหนาแน่นภายในบ้านมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับการหลีกหนีทางสังคมของเด็กในวัย อนุบาล โดยตั้งข้อสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นและการหลีกหนีทางสังคมของเด็กออทิสติก อายุ 3-8 ปี ทีอ่ าศัยอยูท่ บี่ า้ น มีความชัดเจนมากขึน้ เรือ่ ย ๆ เมือ่ มีอายุระหว่าง 10-12 ปี การหลีกหนีคอื กลวิธกี ารแก้ปญ ั หาประสบการณ์ ทีส่ มั พันธ์กบั ความหนาแน่นซึง่ ท�ำให้เด็กศูนย์เสียความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมตามทีต่ อ้ งการได้ คือ มีความพยายาม ทีจ่ ะควบคุมสิง่ แวดล้อมได้อกี ครัง้ โดยการหลีกเลีย่ งการปฏิสมั พันธ์ หลีหนีออกจากสถานการณ์การเผชิญหน้า เพือ่ ลดความ แออัด และประเมินผลด้วยตนเองอีกครั้งว่าประสบความส�ำเร็จหรือไม่ หากไม่ได้ จะมีผลลัพธ์ทางพฤติกรรมอื่น ๆ ต่อไปได้ ในระยะยาว เช่นความเจ็บป่วย ปัญหาทางอารมณ์ ความก้าวร้าว และการเรียนรู้ความสิ้นหวัง 2) ความหนาแน่นของสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน กับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลอื่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลอื่นภายในบ้านที่หนาแน่น พบว่าผู้ปกครองไม่ปฏิสัมพันธ์กับเด็กเล็ก ซึ่ง ความสัมพันธ์เหล่านีเ้ กิดขึน้ กับเด็กอายุตำ่� กว่า 12 เดือน (Bradley RH, Whiteside, 1994), (Evans GW, Gonnella, 2005) จากการส�ำรวจพฤติกรรมผู้ปกครองที่ลดการปฏิสัมพันธ์กับเด็กลง ภายในบ้านที่มีความหนาแน่นสูง การหลีกหนีทางสังคม อาจสะท้อนให้เห็นถึงการรับมือกับการปฏิสมั พันธ์ทางสังคมทีไ่ ม่พงึ ประสงค์ ทีม่ มี ากเกินไป (Gove WR, Hughes M, 1983) เด็กและผู้ปกครองมีความเครียดมากขึ้น และมีปฏิสัมพันธ์เชิงลบกับครอบครัว เพราะอยู่ภายในบ้านที่มีความ หนาแน่นสูง (Bartlett S, 1998) and (Youssef RM, Attia MS-E-D, Kamel MI, 1998) การทารุณกรรมเด็กที่มากขึ้นพบ ว่าเกิดในบ้านที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น (Martin MJ, Walters J, 1982) เด็กอายุ 8-10 ปีที่ถูกเลี้ยงดูโดยผู้ปกครองที่มีการ ท�ำโทษ มีลักษณะการอยู่อาศัยในบ้านที่มีความหนาแน่น (Evans GW, Saegert S, 2000) สัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และเด็ก ในบ้านที่หนาแน่นยังมีส่วนท�ำให้เกิดความเครียดทางสังคมและจิตใจและส่งผลต่อสรีรวิทยาในเด็กอายุ 10-12 ปี (Evans GW, Lepore S, Shejwal BR, Palsane MN, 1998) ความก้าวร้าวและความขัดแย้งที่มีมากขึ้น และรวมถึงการให้ความ ร่วมมือที่ลดลง เกิดขึ้นในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนที่มีความเป็นอยู่หนาแน่น (Liddell C, Kruger P, 1987) อีกปัจจัยหนึ่งที่ ท�ำให้เกิดความหนาแน่นและความก้าวร้าวในหมู่เด็กก็คือจ�ำนวนของ ของเล่น หรืออุปกรณ์การเล่น แม้ว่าไม่พบความเชื่อม โยงระหว่างความหนาแน่นกับพฤติกรรมก้าวร้าว ภายในโรงเรียนอนุบาล แต่ความพร้อมใช้งานของทรัพยากรมีผลกระทบ อย่างมาก เมือ่ ความหนาแน่นอยูใ่ นระดับสูงและมีทรัพยากรเพียงพอ เกิดผลกระทบเล็กน้อยต่อความก้าวร้าวในเด็กก่อนวัย เรียน อย่างไรก็ตามหากความหนาแน่นสูงรวมกับการมีทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ ความก้าวร้าวก็จะเพิ่มขึ้น อัตราส่วนที่สูงขึ้น ของจ�ำนวนเด็กก่อนวัยเรียนต่อขนาดพื้นที่ ที่ท�ำกิจกรรม น�ำไปสู่พฤติกรรมนอกเหนือความต้องการมากขึ้น และการเล่นที่ สร้างสรรค์จะลดลงเล็กน้อย (Kantrowitz EJ, Evans GW, 2004) นั่นก�ำลังอธิบายว่า ความก้าวร้าวและความขัดแย้งใน การปฏิสัมพันธ์ของเด็กจะมากน้อย ปัจจัยหลักคือความหนาแน่น และจะผันแปรเล็กน้อยหากมีปัจจัยเสริม เช่น ทรัพยากร สนับสนุนอืน่ ๆ ในสภาพแวดล้อมทีเ่ ด็กอยูน่ นั้ มีอยูอ่ ย่างเหมาะสมนัน่ เอง พฤติกรรมทีไ่ ม่เหมาะสมอันเกิดจากความหนาแน่น ปรากฏในลักษณะของความก้าวร้าว ความขัดแย้ง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ อีกทั้งความหนาแน่นยังส่งผลถึง การลดพฤติกรรมพึงประสงค์ลงได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น การเล่นที่สร้างสรรค์ของเด็ก

33


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

3) ความหนาแน่นของสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน กับการเกิดแรงจูงใจ อิทธิพลความหนาแน่นทางสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อแรงจูงใจ เห็นได้จากการทดสอบเรื่องความหนาแน่นกับแรง จูงใจพบว่า พืน้ ทีท่ หี่ นาแน่นจะเพิม่ ความเสีย่ งต่อการจูงใจในการแก้ไขปัญหาในการท�ำงาน ท�ำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการ ท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนักเรียนมัธยม ขาดความอดทนในการท�ำงานให้ส�ำเร็จ เมื่อเด็กอายุระหว่าง 6 ถึง 12 ปี รับรู้ถึงความหนาแน่น จะท�ำให้การสร้างแรงจูงใจนั้นถูกจ�ำกัด รวมถึงการขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้วย(Evans GW, Lepore S, Shejwal BR, Palsane MN, 1998), (Evans GW, 2001) Evans และคณะ (2001) (Evans GW, Lercher P, Meis M, Ising H, Kofler W, 2001) ยังได้แสดงข้อมูลที่สนับสนุนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของปริมาณการตอบสนอง ระหว่างความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยและการท�ำหน้าที่ ที่เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพด้วย 4) ด้านการรับรู้ ความหนาแน่นทีม่ ผี ลต่อกระบวนการ การรับรู้ และความร่วมมือของเด็ก เมือ่ พิจารณาถึงลักษณะของความหนา แน่น ขัดขวางกิจกรรมที่ก�ำลังด�ำเนินอยู่ เช่น การเรียน รวมถึงกิจกรรมการส�ำรวจและเล่น ผู้วิจัยหลายคนได้ท�ำการส�ำรวจ ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่น กับการรับรู้ ดังนี้ ความสัมพันธ์เรื่องความหนาแน่นของที่อยู่อาศัย มีผลต่อการการ พัฒนาจิตใจ ในเด็กกลุ่มอายุ 12 เดือน 18 และ 24 เดือน (Gottfried AW, Gottfried AE, 1984) นักวิจัยยังแสดงความ สัมพันธ์เชิงลบระหว่างความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยในเด็ก 30, 36 และ 42 เดือน กับความสามารถในการพูด การรับรู้และ พัฒนาการด้านภาษา คะแนน IQ ของเด็กอายุ 30 เดือน และยังมีความสัมพันธ์ในทางลบกับการอยู่อาศัยแบบเบียดเสียด ด้วย เด็กก่อนวัยเรียนทีอ่ าศัยอยูใ่ นบ้านทีม่ ผี คู้ นหนาแน่นต้องเผชิญกับการขาดความรูค้ วามเข้าใจในความสามารถทางภาษา และคณิตศาสตร์ (Evans GW, Lepore S, Shejwal BR, Palsane MN, 1998) ทารกโดยเฉพาะเพศชายอาศัยอยู่ในบ้าน ที่มีผู้คนหนาแน่น ประสบกับการขาดสมดุลในด้านความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของวัตถุและความเข้าใจในเหตุและผล เด็กในวัย หัดเดิน แสดงความจ�ำด้านความหมายได้ไม่ดีเมื่ออาศัยอยู่ในบ้านที่มีผู้คนหนาแน่น (Gottfried AW, Gottfried AE, 1984) เด็กอนุบาลที่มาจากบ้านที่มีความหนาแน่นสูงจะแสดงให้เห็นการรับรู้ทางภาพได้ไม่ดี (Heft H, 1979) การศึกษาในห้อง ปฏิบัติการบ่งบอกว่า ความหนาแน่นนั้นมีความส�ำคัญ และเชื่อมโยงบางอย่างระหว่างความหนาแน่นและการพัฒนาทาง ปัญญา ซึ่งอาจเกิดจากตัวแปรการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก ตัวอย่างเช่นผู้ปกครองที่อยู่ภายในบ้านที่หนาแน่น จะ มีพฤติกรรมพูดคุยกับทารกน้อยลง (Wachs TD, Camli O, 1991) และเด็กที่อาศัยในบ้านที่มีความหนาแน่น ที่มีอายุตั้งแต่ วัยทารกจนถึงสองและครึ่งปี มีการใช้ค�ำพูดที่มีความซับซ้อนน้อย (Evans GW, Maxwell L, Hart B, 1999) ข้อมูลทั้งหมด นี้ให้แสดงให้เห็นถึงประเด็นความสัมพันธ์ของความหนาแน่น ในสภาพแวดล้อมของที่พักอาศัยที่มีผลกระทบต่อเด็กในเรื่อง ของพัฒนาการการเรียนรู้ทางวิชาการ ทักษะการสื่อสาร การเข้าใจในเหตุและผล การจดจ�ำความหมายและสัญลักษณ์ ของ เด็กอายุประมาณ 1-4 ขวบ ซึ่งทั้งหมดนี้มีผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานส่งผลต่อการเรียนรู้ในอนาคตของเด็ก 5) ความหนาแน่นของสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน กับการให้ความร่วมมือ ในการศึกษาการให้ความร่วมมือ ที่เกี่ยวเนื่องกับความหนาแน่นในพื้นที่ ยังมีข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงการจัดการ พืน้ ทีเ่ พือ่ ลดความหนาแน่น และสร้างความร่วมมือให้กลับมาดีได้ ดังเช่น การศึกษาข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกา มีโรงเรียน หลายแห่งประสบปัญหาเรือ่ งความหนาแน่น ยัดเยียดกันอย่างรุนแรง (Campaign Fiscal Equal, 1999) ในข้อมูลการศึกษา วิจัยภายในศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ได้แสดงความสัมพันธ์ของการขาดความตั้งใจของเด็ก ๆ เมื่อห้องเรียนอนุบาลหนาแน่นขึ้นซึ่ง เด็ก ๆ มีพฤติกรรมที่ผละหนีออกจากสิ่งที่ต้องท�ำ มากกว่าตอนที่ความหนาแน่นของห้องเรียนลดน้อยลง ในความหนาแน่น นัน้ สามารถจัดการได้โดยจัดพืน้ ทีก่ ารใช้งานให้มกี ารปรับเปลีย่ นได้ตลอดเวลา ซึง่ สามารถใช้ลกั ษณะการปรับเปลีย่ นการใช้ งานนี้ได้ในพื้นที่ที่มีขนาดเท่าเดิม (Maxwell L, 1996) 6) เสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมที่มีความหนาแน่น กับความสนใจ การศึกษาด้านความหนาแน่นทางสภาพแวดล้อมยังกล่าวถึงสิง่ ทีม่ ผี ลตามมาจากความหนาแน่นนัน้ คือ เรือ่ งของ เสียงรบกวน การตอบสนองทางอารมณ์ หรือพฤติกรรมที่มีต่อเสียง มีผลชัดเจนมากกับระดับความสนใจของเด็ก ๆ การ ศึกษาบางอย่างเกี่ยวกับเด็ก เช่น ทางด้านสุขภาพจิต เกิดผลลัพธ์ที่หลากหลาย ทีมวิจัยค้นพบหลักฐานที่คาดว่าจะเกิดผลก ระทบทางลบจากเสียงทีเ่ กิดจากเสียง ยกตัวอย่างเช่น เสียงจากสนามบินทีไ่ ด้ยนิ มาอย่างยาวนานมีผลต่อความสุขทางใจของ เด็กนักเรียนระดับประถม เป็นต้น ในการศึกษาการท�ำกิจกรรมภายใต้เสียงดัง ทีห่ ลีกเลีย่ งไม่ได้ พบว่ากลุม่ ตัวอย่างทีท่ ำ� งาน ภายใต้เสียงรบกวน มีโอกาสน้อยที่จะปฏิบัติภารกิจส�ำเร็จ เช่น นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4

34


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ทีไ่ ด้รบั เสียงความถีส่ งู รบกวน และมีการตอบสนองลักษณะคล้ายกัน ในเด็กทีอ่ ายุนอ้ ยกว่า 4 ขวบ ได้เสียงรบกวน ที่ได้รับมาอย่างยาวนาน และเด็กผู้ชายอายุ 1 ขวบ อยู่ในบ้านที่มีเสียงดัง จะแสดงออกให้เห็นถึงความสามารถในการเล่น ของเล่น ได้น้อยลง (Evans GW, Gonnella C, Marcynyszyn LA, Gentile L, Salpekar N, 2005), (] Maxwell L, Evans GW, 2000), (Moch-Sibony A, 1984) จากการศึกษาวิจยั ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า สภาพความหนาแน่นและความหนาแน่นในสภาพแวดล้อมทีเ่ ด็กอาศัยอยู่ มีผลต่อ พฤติกรรมส่วนบุคคล แรงจูงใจ กระบวนการให้ความร่วมมือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางจิตที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมและการด�ำรงชีวติ อย่างมีคณ ุ ภาพหรือด้อยคุณภาพได้ ซึง่ ปัจจัยนีส้ ง่ ผลสืบเนือ่ งต่อการพัฒนาการในระยะยาวของ เด็กได้ นอกเหนือจากประเด็นความหนาแน่น ทีส่ ง่ ผลต่อเด็กโดยตรงแล้วนัน้ ภายในสภาพแวดล้อมทีม่ กี ารปฏิสมั พันธ์ ของ เด็กกับบุคคลอื่นความหนาแน่นยังสามารถส่งผลต่อเด็กทางอ้อมโดยส่งผ่านจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ครูผู้สอนที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมห้องเรียนที่หนาแน่น ส่งผลต่อความเครียดของครูผู้สอน รวมทัง้ ต้องใช้เสียงทีด่ งั มากกว่าปกติ และปัญหาความจุหอ้ งเรียนเกินขนาด ยังท�ำให้ครูจำ� นวนมากจดจ่อกับความมีวนิ ยั ของ นักเรียนและห้องเรียนเกินความจ�ำเป็น (ซึ่งอาจใช้เวลามากกว่าการสอนหนังสือ) ยังไม่รวมการที่ครูไม่สามารถเดินเข้าหา นักเรียนได้หากจัดวางโต๊ะหนาแน่น (เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์, 2559)

3. ปัจจัยด้านความแตกต่างทางเพศที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน จากการศึกษาวิจัยเรื่องควาหนาแน่นยังได้มีการกล่าวถึง ประเด็นด้านเพศของเด็ก ว่ามีการตอบสนองต่อสภาพ แวดล้อมที่หนาแน่น ที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน ดังเช่น Loo และ Kennelly (1978) ได้ค้นพบว่าเด็กผู้ชาย ตอบสนองเชิงลบ ต่อสภาพที่หนาแน่นมากกว่าเด็กผู้หญิง(Loo CM, Kennelly D, 1978) การศึกษาประเด็นด้านเพศในรูปแบบเดียวกันนี้ถูก ค้นพบว่าเพศชายตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่หนาแน่นได้ไม่ดีเท่าเพศหญิงเช่นกัน แต่เป็นการระบุลงไปว่าเป็นข้อค้นพบ จากการศึกษาในเด็กอายุ 9-17 ปี (Aiello JR, Nicosia G, Thompson DE, 1979)

4. ปัจจัยด้านความแตกต่างระหว่างอายุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน นอกจากเรือ่ งเพศแล้ว การศึกษาในแต่ละช่วงอายุของเด็ก ก็มผี ลในการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมทีห่ นาแน่นแตก ต่างกันด้วย ( Loo CM, 1978) เด็กอายุ 5 ปี มีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสภาพแวดล้อมที่หนาแน่น รุนแรงกว่าเด็กอายุ 10 ปี ที่ อยูใ่ นสภาพแวดล้อมทีม่ คี วามหนาแน่นใกล้เคียงกัน (Booth A, Johnson DR, 1975) เด็กทีม่ คี วามต้องการพิเศษมีปฏิกริ ยิ า ตอบสนองต่อภาวะที่หนาแน่นมากกว่าเด็กที่มีความปกติ เช่น เด็กออทิสติก จะมีการแสดงออกถึงการหลีกหนีที่ชัดเจนมาก ในสภาพแวดล้อมทีห่ นาแน่นมากเมือ่ เทียบกับเด็กปกติระดับประถมศึกษาทีอ่ าศัยอยูใ่ นบ้านทีห่ นาแน่นมาก ข้อมูลชีใ้ ห้เห็น ถึงการเพิ่มขึ้นของจ�ำนวนโรคทางประสาทในเด็ก และการเกิดความทุกข์ทางจิตใจ (Evans GW, Gonnella), (Martin MJ, Walters J, 1982) และเกิดปัญหาการปรับตัวทีโ่ รงเรียน และความสามารถทางสังคมและความรูค้ วามเข้าใจทีล่ ดลง (Booth A, Johnson DR, 1975), (Evans GW, Lercher P, Kofler WW, 2002) การค้นพบบางอย่างบ่งชีว้ า่ ความหนาแน่นมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตในเด็ก ซึง่ พบว่าผลจากความหนาแน่นของศูนย์ รับเลี้ยงเด็ก ท�ำให้เกิดการรบกวนทางพฤติกรรมต่อเด็กก่อนวัยเรียนใน มากกว่าความหนาแน่นในครอบครัว (Maxwell L. 1996) Bradley และคณะ (1994) ได้แสดงให้เห็นว่าที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นน้อยมีส่วนช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นใน การพัฒนาทางสังคมและความรู้ความเข้าใจในทารก สอดคล้องกับการค้นพบนี้ความทุกข์ทางจิตใจที่สูงขึ้นของเด็กอายุ 8-10 ปี จะรุนแรงขึ้นหากมีความวุ่นวายในครอบครัว (] Evans GW, Saegert S, 2000) และเกิดภาวะการได้รับสารอาหาร ไม่เพียงพอ ในช่วงต้นของชีวติ มักมีความเกีย่ วข้องกับทารกทีไ่ ม่ได้รบั ความสนใจและตอบสนองจากครอบครัว (Rahmanifar A, Kirksey A, Wachs TD, McCabe GP, Bishry Z, et al, 1993) Rahmanifar et al. (1993) พบว่าผลกระทบดังกล่าว เกิดในบ้านทีห่ นาแน่นมาก และในทีส่ ดุ เกิดผลกระทบเชิงลบ จากความหนาแน่นซึง่ มีผลต่อการรบกวนทางพฤติกรรมในเด็ก อายุ 5 ขวบ คืออาการสมาธิสั้นหรือวิตกกังวลมากเกินไป (Loo CM, 1978)

35


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ภาพที่ 1 ผังแนวคิดในการทบทวนวรรณกรรม

5. ข้อสรุป การน�ำไปใช้ และข้อเสนอแนะ จากข้อมูลทัง้ หมดข้างต้นสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมประเด็นด้านความหนาแน่นกับผล กระทบ ทางพฤติกรรมในเด็กและเยาวชน โดยสภาพแวดล้อมทางกายภาพมีอทิ ธิพลต่อการพัฒนาเด็กโดยตรง และอิทธิพลทางอ้อม โดยผ่านผู้ดูแลที่เป็นผู้ใหญ่ ซึ่งอิทธิพลที่เกิดผลกระทบต่อตัวเด็กและเยาวชนนั้นส่งผลในหลายรูปแบบ เช่น กับการหลีกหนี ทางสังคม การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ด้านแรงจูงใจ ด้านความสนใจที่เกิดจากเสียงรบกวนในสภาพแวดล้อมที่มีความหนา แน่น และการให้ความร่วมมือเป็นต้น ทั้งนี้นอกเหนือจากสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนแล้ว ยังได้ พบว่าการรับรู้ความหนาแน่นที่แตกต่างกันนั้นเกิดได้จาก ความแตกต่างทางเพศ และแตกต่างระหว่างอายุของเด็กและ เยาวชนด้วย บทความฉบับนีไ้ ด้มีการทบทวนวรรณกรรม รวบรวมข้อมูล เรียบเรียง เพือ่ เพิ่มความเข้าใจ และตระหนักถึงความส�ำคัญ ในเรือ่ งของความหนาแน่นทางสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมทีม่ ผี ลต่อพฤติกรรม เพือ่ ท�ำให้เห็นภาพความ สัมพันธ์ของอิทธิพลทางสภาพแวดล้อมได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากได้ท�ำความเข้าใจถึงอิทธิพลความหนาแน่นทางสภาพ แวดล้อมที่สร้างผลกระทบดังกล่าว จะท�ำให้ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อกับการจัดเตรียมสภาพแวดล้อม และผู้ที่มีความสนใจศึกษา ด้านสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชน สามารถน�ำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในบริบทของแต่ละสภาพแวดล้อม เนื่อง ด้วยในการทบทวนบทความนี้มีความหลากหลายทางสภาพแวดล้อม และมีแตกต่างจากบริบทของประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อ การน�ำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่สนใจควรค�ำนึงถึงบริบททางสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่และปรับใช้ ข้อมูล เพื่อหาแนวทางในการจัดการสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมต่อไป นอกเหนือจากการศึกษาวิจยั ด้านลักษณะของความหนาแน่นในสภาพแวดล้อม ทีม่ ผี ลกระทบทางพฤติกรรมในเด็กและ เยาวชนแล้วนัน้ ประเด็นด้านสภาพแวดล้อมในลักษณะอืน่ ๆ ซึง่ จัดเป็นอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชน ยังมีในส่วนของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส�ำคัญ ได้แก่ คุณภาพของสภาพแวดล้อมด้านอุณหภูมิ เสียงรบกวน ลักษณะ พื้นที่แบบเปิดและแบบปิด ลักษณะช่องเปิดของกรอบอาคาร และอื่น ๆ อีกมากที่มีความน่าสนใจต่อการศึกษา ดังจะกล่าว ถึงในบทความถัดไปในอนาคต

36


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

4. เอกสารอ้างอิง ชวิตรา ตันติมาลา. (2561). วิถีชีวิตและการใช้เวลาว่างของเยาวชนในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น: กรณีศึกษาชุมชน พหลโยธิน 32 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารรมยสาร, 16(3), 185-207. นิพัทธา หรรนภา. (2561). อิทธิพลรูปแบบที่นั่งห้องเรียนต่อการเรียนรู้ของเด็กเรียนรู้ช้า. วารสารวิชาการคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. 26(1), 189-199. เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์. (2559). ปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นประชาธิปไตย. Relearn ห้องเรียน เดินได้ (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: โครงการสานพลังการศึกษาบนฐานชุมชน. Aiello JR, Nicosia G, Thompson DE. (1979). Physiological, social, and behavioral consequences of crowding on children and adolescents. Child Dev. (50), 195–202. Bartlett S. (1998). Does inadequate housing perpetuate children's poverty? Childhood 5(4), 403–420. Booth A, Johnson DR. (1975). The effect of crowding on child health and development. Am. Behav. Sci. (18), 736–749. Bradley RH, Whiteside L, Mundfrom DJ, Casey PH, Kelleher K, et al. (1994) Early indications of resilience and their relation to experiences in the home environments of low birthweight, premature children living in poverty. Child Dev. (65), 346–360 Bronfenbrenner U, ed. (2005). Making Human Beings Human. Los Angeles: Sage. Campaign Fiscal Equal. (1999). Facilities: Conditions in New York. New York: Campaign Fiscal Equal. Evans GW. (2001). Environmental stress and health. In Handbook of Health Psychology, ed. ABT Revenson, 365–385. Hillsdale, NJ: Erlbaum. Evans GW, Gonnella C, Marcynyszyn LA, Gentile L, Salpekar N. (2005). The role of chaos in poverty and children's socioemotional adjustment. Psychol. Sci. In press Evans GW, Lercher P, Kofler WW.(2002). Crowding and children's mental health: the role of house type. J. Environ. Psychol. (22), 221–231 Evans GW, Lercher P, Meis M, Ising H, Kofler W. (2001). Community noise exposure and stress in children. J. Acoust. Soc. Am. (109), 1023–1027 Evans GW, Lepore S, Shejwal BR, Palsane MN. (1998). Chronic residential crowding and children's well being: an ecological perspective. Child Dev. (69), 1514–1523. Evans GW, Maxwell L, Hart B. (1999). Parental language and verbal responsiveness to children in crowded homes. Dev. Psychol. (35), 1020–1023. Evans GW, Saegert S. (2000). Residential crowding in the context of inner city poverty. In Theoretical Perspectives in Environment-Behavior Research, ed. SE Wapner, JE Demick, TE Yamamoto, HE Mina mi, 247–268. New York: Plenum. Gottfried AW, Gottfried AE. (1984). Home environment and cognitive development in young children of middle-socioeconomic-status families. In Home Environment and Cognitive Development, ed. AW Gottfried, 57–115. New York: Academic Gove WR, Hughes M. (1983). Overcrowding in the Household. New York: Academic

37


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

Heft H. (1979). Background and focal environmental conditions of the home and attention in young children. J. Appl. Soc. Psychol. 9(1), 47–69. Kantrowitz EJ, Evans GW. (2004). The relation between the ratio of children per actual area and off-task behavior and type of play in day care centers. Environ. Behav. 36(4), 541–557. Liddell C, Kruger P. (1989). Activity and social behavior in a crowded South African township nursery: a follow-up study on the effects of crowding at home. MerrillPalmer Q. 35 (2), 209–226 Liddell C, Kruger P. (1987). Activity and social behavior in a South African township nursery: some effects of crowding. Merrill-Palmer Q. 33 (2),195–211. Loo CM, Kennelly D. (1978.) Social density. Environ. Psychol. Nonverbal Behav. (2), 226–49 Loo CM. (1978). Issues of crowding research: vulnerable participants, assessing perceptions and developmental differences. J. Popul. 1(4),336–348. Maxwell L. (1996). Multiple effects of home and day care crowding. Environ. Behav. 28 (4), 494–511. Maxwell L, Evans GW. (2000). The effects of noise on preschool children's prereading skills. J. Environ. Psychol. 20(1), 91–97. Martin MJ, Walters J. (1982). Familial correlates of selected types of child abuse and neglect. J. Marriage Fam. 44(2), 267–276. Moch-Sibony A. (1984). Study of the effects of noise on the personality and certain intellectual and psychomotor aspects of children. Comparison between a soundproofed and a non-soundproofed school. Le Travail Humain 44(2), 170–177. Ole Johan Sando. (2019). The physical indoor environment in ECEC settings: children’s well-being and physical activity. European Early Childhood Education Research Journal, 27(4), 506–519. Rahmanifar A, Kirksey A, Wachs TD, McCabe GP, Bishry Z, et al. (1993). Diet during lactation associated with infant behavior and caregiver-infant interaction in a semirural Egyptian village. J. Nutr. 123 (2), 164–75. Wachs TD. (2003). Expanding our view of context: the bio-ecological environment and development. Adv. Child Dev. 31, 363–409. Wachs TD, Camli O. (1991). Do ecological or individual characteristics mediate the influence of the physical environment on maternal behavior? J. Environ. Psychol. 11(3), 249–264. Youssef RM, Attia MS-E-D, Kamel MI. (1998). Children experiencing violence: I. Parental use of corporal punishment. Child Abuse Negl. 22(10), 959–973.

38


บทความวิจัย

- Research Article -



วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

การออกแบบพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อความยั่งยืน อำ�เภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม Designing Agricultural Landscapes for Sustainable Wapi Pathum District Maha Sarakham Province ทรงภพ เมฆพรรณโอภาส1* อ�ำภา บัวระภา2 และ ธีรดา นามไห3 1

อาจารย์ประจ�ำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสาคาม อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสาคาม อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 3 นายกสมาคมไทบ้าน อ�ำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 44120

songbhop mekkapan-opas 1* Umpa Buarapa2 and Theerada Namhai3 1

Lecturer, Faculty of Architecture, Urban design and Creative Arts, Maha Sarakham University Kantarawichai District, Maha Sarakham, Thailand, 44150 2 Assistant Professor, Faculty of Architecture, Urban design and Creative Arts, Maha Sarakham University Kantarawichai District, Maha Sarakham, Thailand, 44150 3 Head of Bann pla boo association, Wapi Pathum, Maha Sarakham 44120 *

Email: songbhop.m@msu.ac.th

บทคัดย่อ การออกแบบพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมเพือ่ ความยัง่ ยืน อ�ำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษาทฤษฎี และแนวความคิด นิเวศวิทยาภูมทิ ศั น์ นิเวศเกษตรกรรม การออกแบบอย่างยัง่ ยืนเพือ่ การออกแบบพัฒนาพืน้ ทีเ่ กษตรกรรม อย่างยัง่ ยืน ส่งเสริมคุณค่าด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิง่ แวดล้อม โดยศึกษาเอกสารงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง ร่วมกับการท�ำงานแบบ มีส่วนร่วมของชุมชนและการบูรณาการเรียนการสอน การส�ำรวจพื้นที่เพื่อการเก็บข้อมูลด้านกายภาพ ข้อมูลชุมชน การ สัมภาษณ์เชิงลึก จากการศึกษาพบว่า การท�ำเกษตรกรรมในอดีตเป็นแบบพึง่ พาธรรมชาติ ต่อมามุง่ เน้นเพือ่ จ�ำหน่ายมากขึน้ จึงมีการขยายพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมลุกล�ำ้ ป่าไม้เดิม การท�ำเกษตรลดความหลากหลายของพืชพรรณและสัตว์ ลดความซับซ้อนของ ระบบนิเวศท�ำให้ระบบนิเวศขาดเสถียรภาพ ขาดความยัง่ ยืน ในพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมพบปัญหาการขาดแคลนน�ำ้ ดินเค็ม ดินขาด สารอาหาร ผลผลิตมีคณ ุ ภาพต�ำ่ เกษตรกรใช้ปยุ๋ และสารเคมีเพือ่ เร่งการผลิต ท�ำให้สารเคมีปนเปือ้ นในดิน ดินเสือ่ มคุณภาพ แนวคิดการออกแบบคือการฟืน้ ฟูระบบนิเวศเกษตรกรรมควบคูก่ บั ระบบนิเวศป่าไม้เดิม และ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน�ำ้ และดินเสือ่ มคุณภาพ ปรับเปลีย่ นพืชในระบบเกษตรให้มคี วามหลากหลายตามหลัก “วนเกษตร” ทัง้ ไม้เศรษฐกิจ ไม้ผล พืช ไร่ พืชสวน พืชผัก และพืชสมุนไพร สร้างความซับซ้อนและความยัง่ ยืนให้พนื้ ทีเ่ กษตรกรรม และสร้างรายได้ให้เกษตรกรทัง้ ใน ระยะสัน้ และระยะยาว ค�ำส�ำคัญ: นิเวศวิทยาภูมิทัศน์, นิเวศเกษตรกรรม, การออกแบบอย่างยั่งยืน

41


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

Abstract This project examines designing sustainable agricultural landscapes for the Wapi Pathum District, Maha Sarakham Province. By studying conceptual theories, landscape ecology, aggro-ecology, and sustainable design, strategies in agricultural development can be developed to stimulate the economic, social, and environmental conditions in the Wapi Pathum District. Study-related documents and research is combined with community participation, forming an integrated process of teaching and learning. These studies survey physical data, community data, and in-depth interviews. The studies found that agricultural development in the past depended greatly on nature. As agricultural developments expanded into forested areas, the bio-diversity of plants and animals were damaged, causing unsustainable ecosystems. In agricultural areas with poor water supply, and poor soil quality, farmers turned to fertilizer and chemicals to accelerate the process. These methods have contaminated the soil, leading to further deterioration. The integration of research-based studies and active community involvement can identify the relevant factors In order to develop strategies for sustainability. These include conceptual designs to restore agricultural ecology and forest ecosystems. Problems of soil quality and abundance can be improved with agro-forestry designs (forest economy, fruit trees, field crops, horticulture, vegetables, and herbs.). An integrated approach to the problems can yield sustainable solutions benefiting farmers, consumers, and the natural environment in both the short & long term. Keywords: landscape ecology, agro-ecology systems, sustainable design Received: July 1, 2020; Revised: February 28, 2020; Accepted: August 6, 2020

1. บทน�ำ ประเทศไทยมีเนื้อที่ทางการเกษตรทั้งหมด 149,253,718 ประกอบไปด้วย นาข้าว 68,728,283 ไร่ พืชไร่ 30,734,030 ไร่ สวนผลไม้ ไม้ยืนต้น 36,932,127 ไร่ สวนผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ 1,400,999 ไร่ และอื่น ๆ 11,458,279 ไร่ ภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือมีพื้นที่เกษตรกรรมมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศคือ 63,858,129 ไร่ รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ (ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และส�ำนักสถิติแห่งชาติ, 2563) จังหวัดมหาสา คามมีพนื้ ทีท่ งั้ หมด 3,307,302 ไร่ มีเนือ้ ทีป่ า่ ไม้เพียง 121,750 ไร่ คิดเป็น 3.67% แต่มพี นื้ ทีท่ เี่ กษตรกรรมมากถึง 2,830,155 ไร่ คิดเป็น 85.57% ของพื้นที่ทั้งหมด ถึงแม้ปี 2556 จะมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น 145,900 ไร่ ทั้งที่ในอดีตมีป่าไม้มากกว่า 60% ปัจจุบันเหลือพื้นที่ป่าเพียง 51,250 ไร่ คิดเป็น 1.55 % ของพื้นที่ทั้งหมด (ส�ำนักงานทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดมหาสารคาม, 2552) การลดลงของป่าไม้และถูกแทนที่ด้วยพื้นที่เกษตรกรรมท�ำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง

42


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

พื้นที่ป่าไม้ปีพ.ศ. 2506 และ ปีพ.ศ. 2562

ภาพที่ 1 การขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2562 ที่มา: อ�ำภา บัวระภา, 2563

อ�ำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม เป็นชุมชนเกษตรกรรม ประกอบอาชีพท�ำนาเป็นหลัก เป็นการท�ำนาปี (การปลูก ข้าวตามฤดูกาล) มีพื้นที่ปลูกข้าวจ้าว 74,515 ไร่ และข้าวเหนียว 144,203 ไร่ ซึ่งผลิตข้าวเหนียวได้เพียง 15,250 ตัน เมื่อ เปรียบเทียบกับอ�ำเภอที่มีพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวใกล้เคียงกันซึ่งให้ผลผลิตสูงถึง 76,471 ตัน สาเหตุเกิดการขาดแคลนแหล่ง น�ำ้ ซึง่ เป็นปัญหารุนแรงระดับจังหวัดมากทีส่ ดุ ถึงร้อยละ 62.8 (ส�ำนักงานจังหวัดมหาสารคาม กลุม่ งานยุทธศาสตร์และข้อมูล เพื่อการพัฒนาจังหวัด, 2559) เพราะยังมีความเลื่อมล�้ำในการเข้าถึงแหล่งน�้ำสาธารณะ ชาวบ้านจึงขุดบ่อน�้ำไว้ใช้เอง ด้านลักษณะดินของจังหวัดมหาสารคามเป็นกลุ่มดินที่มีอินทรีวัตุ และธาตุอาหารจ�ำพวกฟอสฟอรัส โพแทสเซียมต�่ำ ความ สมบูรณ์ของดินต�ำ่ ดินมีความลาดชันเพยง 1-5% การระบายปานกลาง น�ำ้ ซึมผ่านเร็วจึงไม่สมารถกักเก็บน�ำ้ ได้ (ส�ำนักส�ำรวจ และวิจัยทรัพยากรดิน, มปป) การขยายพื้นที่เกษตรกรรมบุกรุกและท�ำลายป่าไม้เดิม ท�ำให้ระบบนิเวศป่าธรรมชาติในพื้นที่ ลดลง ประกอบกับการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต การเผาวัชพืชท�ำให้เกิดการสะสมสารพิษในดิน น�้ำและอากาศ ผลก ระทบกระจายตัวในวงกว้างทั้งในพื้นที่เกษตรกรรม ชุมชนเกษตรกรรมและเมืองที่อยู่โดยรอบ จากปัญหาความเสือ่ มโทรมของสภาพแวดล้อมจากการท�ำการเกษตร ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของเกษตรกร ปัญหาด้าน ภาระหนี้สินและการลงทุน สมาคมไทยบ้านจึงมีการสนับสนุนการท�ำเกษตรอินทรีย์เพื่อแก้ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น และมีความต้องการพัฒนาพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม ในปัจจุบนั การท�ำการเกษตรในประเทศไทยมีการท�ำ ตามรูปแบบเกษตรทฤษฎีใหม่เน้นเรือ่ งการจัดการพืน้ ทีด่ นิ ในการท�ำการเกษตร (มูลนิธชิ ยั พัฒนา, มปป) กันอย่างกว้างขวาง ตลอดจนแนวคิด “วนเกษตร” คือการแก้ไขปัญหาป่าไม้เสื่อมโทรมโดยเน้นความหลากหลายของพืชพรรณตามระบบนิเวศ ป่าไม้ธรรมชาติ (ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ และคณะ, มปป) ผสานกับการแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดแคลนน�้ำตามหลักการ “โคก หนอง นา โมเดล” เพื่อพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรม สร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Wenche Dramstad, James D. Olson, and Richard T.T. Forman. 1996) การสร้างพื้นที่เกษตรกรรมให้มีการพึ่งพาอาศัยกัน ของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ลดการใช้พลังงาน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน (Claudia Dinep and Kristin Schwab. 2010) โดย การศึกษาวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาทฤษฎีแนวความคิด นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ นิเวศเกษตรกรรม และการออกแบบอย่างยั่งยืนที่ส่งเสริมด้านคุณค่า ด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม 2) ศึกษาลักษณะกายภาพของพื้นที่เกษตรกรรม ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น และผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 3) แนวทางการแก้ ไขปั ญ หาและการพั ฒ นาพื้ น ที่ เ กษตรกรรมของกลุ ่ ม เกษตรกรตั ว อย่ า งในอ� ำ เภอวาปี ป ทุ ม จังหวัดมหาสารคาม

43


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

2. วิธีด�ำเนินการศึกษา งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ (1) การศึกษาทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ นิเวศเกษตรกรรม การออกแบบอย่างยั่งยืน เพื่อวิเคราะห์รูปแบบหลักการที่เกี่ยวข้องและน�ำมาใช้ใน การวางแผนการด�ำเนินงาน (2) การส�ำรวจลักษณะทางกายภาพ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ เกษตรกรรม วิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสียผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เกษตรกรรม ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบนั (3) การวิเคราะห์ศกั ยภาพและข้อจ�ำกัด เพือ่ หาแนวทางออกแบบพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมรูปแบบใหม่เพือ่ แก้ปญ ั หา และสร้างความยั่งยืน โดยการศึกษาวิจัยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและการบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชา นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ (Landscape ecology) วิชาหนึ่งหลักสูตร หนึ่งชุมชน (one program one community) ของนิสิต ชั้นปีที่ 2 และ 3 หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อให้นิสิตได้มีส่วนร่วมในการลงพื้นที่ การส�ำรวจ การสัมภาษณ์ชุมชนและการใช้ความรู้ความสามารถด้านการออกแบบ พัฒนาพื้นที่เกษตรกรรม โดยการออกแบบพื้นที่หลากหลายขนาด เพื่อให้เกษตรกรสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของ ตนเองได้

3. แนวคิดที่น�ำมาใช้ ในการออกแบบและพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรม

“แนวคิดนิเวศวิยาภูมทิ ศั น์” เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิง่ แวดล้อมต่อสิง่ แวดล้อม หรือ สิง่ มีชวี ติ ต่อสิง่ ไม่มชี วี ติ การศึกษาความสัมพันธ์ที่ไม่ได้จ�ำกัดเฉพาะความสัมพันธ์ของสิ่งหนึ่งต่อสิ่งหนึ่ง แต่เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งต่าง ๆ ภายในกลุ่มเดียวกัน กลุ่มที่อยู่ใกล้เคียงและมีความเชื่อมโยงกัน ทั้งกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ และกลุ่มย่อย การศึกษา ความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ความสัมพันธ์ที่ส่งผลด้านบวกและด้านลบ ตลอดจนการศึกษาองค์ประกอบส�ำคัญ ของระบบนิเวศ ได้แก่ Patch Edges Corridor Mosaic (Wenche Dramstad, James D. Olson, and Richard T.T. Forman. 1996) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของระบบนิเวศและพื้นที่ศึกษา นอกจากนั้นยังศึกษาเรื่อง “แนวคิด ระบบนิเวศเกษตร” ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของระบบนิเวศทีม่ นุษย์เข้าไปจัดการ ปรับปรุงเปลีย่ นแปลงพืน้ ที่ ตัง้ แต่การปรับเปลีย่ น บางส่วนหรือการปรับเปลี่ยนทั้งหมด ทั้งด้านคุณสมบัติ องค์ประกอบเดิมของระบบนิเวศ ทั้งทางด้านกายภาพและชีวภาพ เพื่อให้เป็นแหล่งที่สามารถด�ำเนินการผลิตผลผลิตทางการเกษตร หรือ อาหารอื่น ๆ ตามที่มนุษย์ต้องการ (ทศพร วัชรางกูร และ คณะ, 2556) และระบบนิเวศเกษตรกรรมจะถูกประยุกต์ใช้ในพื้นที่ที่มีความแตกต่างด้านกายภาพ ซึ่งจะสามารถบ่ง บอกลักษณะเฉพาะของระบบนิเวศเกษตรกรรมในพื้นที่ได้ “แนวคิดการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม” เป็นการศึกษาเพื่อการออกแบบเชิงพื้นที่เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการ การใช้งานของทัง้ มนุษย์และต้องอยูบ่ นพืน้ ฐานของการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการด�ำรงชีวติ ของสิง่ มีชวี ติ ที่เกี่ยวข้องทั้งคนสัตว์และพืช ซึ่งต้องมีการศึกษากระบวนการทางธรรมชาติ กระบวนการทางสังคม ค่านิยม วิธีการการ ออกแบบ และการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (ศิริชัย หงศ์วิทยากร, มปป) เป็นการออกแบบเพื่อให้เกิดการใช้งานทั้งใน ปัจจุบันและนาคต สอดคล้องกับ “แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน” เพราะเป็นการออกแบบโดยยึดหลักการพื้นฐานของ ธรรมชาติ ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพของพืน้ ที่ การออกแบบและสร้างสรรค์พนื้ ทีใ่ ห้เกิดประโยชน์ การบูรณาการ ร่วมกับการจัดการระบบนิเวศ การศึกษาระบบนิเวศเพือ่ น�ำมาประยุกต์ใช้ และการส่งเสริมระบบนิเวศ มีการค�ำนึงถึงปัจจุบนั อนาคต โดยค�ำนึงถึงความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม (Claudia Dined and Kristin Schwab, 2010) “แนวคิดรูปแบบการท�ำการเกษตรกรรมทีช่ ว่ ยรักษาสภาพแวดล้อม” เป็นแนวคิดส�ำคัญทีเ่ กษตรกรเริม่ การเกษตรทีช่ ว่ ย ฟื้นฟูระบบนิเวศธรรมชาติให้สมบูรณ์ขึ้นเช่น “วนเกษตร” และการท�ำ “โคก หนอง นา” นอกจากนั้นยังมีแนวคิดเกษตร อินทรีย์ เกษตรแบบธรรมชาติ หรือเกษตรปลอดสารพิษ ซึง่ สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะพืน้ ทีแ่ ละความ ต้องการของเกษตรกรได้

44


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ตารางที่ 1 รูปแบบเกษตรกรรมที่ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม แนวคิด

รูปแบบและการจัดการพื้นที่ วนเกษตร เป็นระบบการใช้พื้นที่ทำ�เกษตรเลียนแบบ ระบบนิเวศป่าไม้ เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ปลูก พืชพรรณที่หลากหลาย ไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจ พืชสวน พืชผักสวนครัวและพืชสมุนไพร เน้นการจัดการด้วยระบบ ตามธรรมชาติ เน้นการพึ่งพาอาศัยของพืชและสัตว์ พืช และมนุษย์ในระบบวนเกษตร พึ่งพาอาศัยปัจจัยนำ�เข้าจาก ภายนอกน้อย ลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมี โคกหนองนาโมเดล คือการปรับเปลี่ยนลักษณะกายภาพ เพื่อกักเก็บน้ำ� แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ� การขุดคลอง ขนาดเล็กเพื่อกระจายความชุ่มชื้น เน้นการปลูกพืชที่ หลากหลาย ผสมผสานระหว่างพืชเศรษฐกิจและไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารและสภาพ แวดล้อม เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นรูปแบบการจัดสรรการใช้ประโยชน์ ที่ดินโดยให้มีการจัดสร้างแหล่งน้ำ�สำ�หรับการทำ�การ เกษตรแบบผสมผสาน เน้นการจัดการพื้นที่ให้มีความ หลากหลาย เกิดการหมุนเวียนในระบบนิเวศเกษตรกรรม เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ สร้างรายได้ ไม่หวัง ผลกำ�ไร มีอาหารบริโภคตลอดปี อยู่แบบพอเพียง

45


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

4. ผลการศึกษา 4.1 รูปแบบการท�ำการเกษตร จากการลงพื้นที่ส�ำรวจ พบว่า พื้นที่เกษตรกรรมเดิมเป็นป่าเบญจพรรณมาก่อน มีพืชพรรณหลากหลายชนิด ทั้งไม้ เต็ง ไม้รัง และพืชสมุนไพร หลังจากการขยายพื้นที่เกษตรกรรม ท�ำให้พื้นที่ป่าลดลง โดยการท�ำเกษตรกรรมในอ�ำเภอ วาปีปทุมจะเป็นพื้นที่ปลูกข้าว โดยนิยมปลูกข้าวเหนียวมากกว่าข้าวเจ้า และปลูกมานานมากกว่า 50 ปี ท�ำให้ขาดความ ยั่งยืนในระบบเกษตร ขาดความสมดุลของโครงสร้างตามธรรมชาติ ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต นิเวศเกษตรขาดเสถียรภาพ เมื่อเกิดภัยแล้งหรือการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช พืชจะตายพร้อมกัน เพราะไม่มีป่าไม้หรือกลุ่มไม้ใหญ่คอยดูดซับ ความชื้นในดิน สร้างแร่ธาตุสะสมอาหาร ขาดแหล่งผลิตอาหารและพลังงานให้กับแมลง เช่น ตัวห�้ำ ตัวเบียน ผึ้ง นก ซึ่งมี ส่วนส�ำคัญในการควบคุมแมลงศัตรูพืช ภาพรวมของลักษณะทางกายภาพมีความเปลี่ยนแปลงไปมากเพราะป่าไม้ลดลง ท�ำให้พื้นที่มีอากาศร้อนอบอ้าวตลอดปี แดดจัด เกิดภัยแล้งบ่อยครั้ง อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน มีลมพายุรุนแรงเพราะ เป็นพื้นที่ราบ และไม่มีแนวไม้ใหญ่ป้องกันวาตภัย ปริมาณน�้ำฝนน้อย แต่หากมีฝนตกติดต่อกันก็ท�ำให้เกิดปัญหาน�้ำท่วมได้ เพราะไม่มีทางน�้ำ ไม่มีร่องน�้ำ และดินมีการอัดแน่นท�ำให้น�้ำซึมลงดินได้ยาก นอกจากนั้นยังพบ พบปัญหาด้านแหล่งน�้ำ ปัญหาดินเค็ม ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ กระบวนการท�ำนายังส่งผลต่อสภาพแวดล้อม เช่น ปล่อยทิ้งร้างหลังจากฤดูท�ำนา หรือท�ำนาปรังต่อเนื่องและเร่ง การผลิตไม่พักหน้าดินหรือบ�ำรุงดิน ท�ำให้ดินไม่มีการสะสมธาตุอาหารตามธรรมชาติ ดินขาดความสมบูรณ์ต้องเติมสาร อาหารและใส่ปยุ๋ เคมีอย่างต่อเนือ่ ง ท�ำให้ดนิ เสือ่ มคุณภาพมากขึน้ ส่งผลต่อการท�ำการเกษตรในระยะยาว อีกทัง้ การเผาเศษ วัชพืช ตอซังข้าว หลังการเก็บเกี่ยว ท�ำลายหน้าดินท�ำให้หน้าดินแข็ง ใส้เดือน หอย และจุลินทรีย์ในดินตาย การเผาหลัง ฤดูเก็บเกี่ยวยังท�ำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดฝุ่น PM2.5 ซึ่งไม่ได้สร้างความเสียหายแก่พื้นที่ เกษตรกรรมเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อพื้นที่อยู่อาศัยในชุมชนและในเขตเมืองด้วย กลุม่ เกษตรกรจึงเริม่ หันมาสนใจการท�ำเกษตรอินทรียแ์ ต่ยงั มีนอ้ ยเพราะมีขอ้ จ�ำกัดด้านความรูแ้ ละการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารต้องมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ท�ำให้เกษตรกรรุ่นเก่าไม่สามารถปรับตัวได้ มีเพียงเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้าใจกระบวนการ ท�ำงานและพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ปัจจัยด้านการเงินเป็นอีกเหตุผลส�ำคัญ เพราะจากการสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกรท�ำให้ทราบ ว่าการปลูกข้าวอินทรีย์จะให้ผลผลิตน้อยกว่าการเกษตรแบบใช้สารเคมี 20-30% และต้องใช้เวลา 3-5 ปี จึงจะได้ผลผลิต เท่าเดิม ท�ำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ล้มเลิกการท�ำเกษตรอินทรีย์ อีกทั้งยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐที่ท�ำให้เกษตรกรส่วน ใหญ่ต้องพึ่งพาอาศัยตนเอง จึงเลือกท�ำการเกษตรแบบเดิมแทนการท�ำการเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างยังเป็น การปลูกพืชเชิงเดี่ยวซึ่งไม่มีความหลากหลายของพืชพรรณ 4.2 ผลกระทบของการท�ำการเกษตร 4.2.1 การท�ำการเกษตรกรรมในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม รูปแบบการท�ำการเกษตรมีการปรับเปลีย่ นลักษณะป่าเดิมโดยการใช้เครือ่ งจักรในการไถพรวน ปรับแต่งหน้า ดิน มีการถมพืน้ ทีล่ มุ่ พืน้ ทีน่ ำ�้ ท่วมขัง หรือบ่อน�ำ้ เดิมเพือ่ เพิม่ พืน้ ทีเ่ พาะปลูก ส่งผลต่อการเปลีย่ นแปลงลักษณะทางกายภาพ ท�ำให้แหล่งกักเก็บน�้ำลดลง ไม่มีเนินดินเดิม ไม่มีทางน�้ำ ไม่มีพื้นที่รับน�้ำ ในฤดูฝนท�ำให้เกิดน�้ำท่วมขัง น�้ำไหลบ่าชะล้างหน้า ดินได้รับความเสียหาย พื้นที่ขาดความชุ่มชื้น การปรับเปลี่ยนลักษณะกายภาพท�ำให้ระบบนิเวศขาดความสมดุล นกและแมลงต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยควบคุม แมลงศัตรูพืชตามธรรมชาติลดลง เกษตรกรเร่งการผลิตจึงเริ่มใช้การใช้ปุ๋ยเคมีเร่งการเจริญเติบโต เร่งใบให้เขียว เร่งการตั้ง ท้อง เร่งแป้ง เร่งให้เมล็ด เพิ่มน�้ำหนัก การใช้สารเคมีเพื่อก�ำจัดแมลงมากขึ้น เพิ่มสารพิษในดิน เกิดสารตกค้างในผลผลิต ท�ำลายให้สัตว์ในดินตาย การใช้พลังงานจากไฟฟ้าเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด หรือการใช้เครื่องจักร น�้ำมันเชื้อ เพลงในการเกษตร ก่อมลพิษทั้งต่อเกษตรกรเองและสภาพแวดล้อมในพื้นที่เกษตรกรรม การเพิ่มเติมวัสดุอุปกรณ์และ พลังงานจากภายนอกเข้าไปในระบบนิเวศเกินความจ�ำเป็น และท�ำให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น

46


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

4.2.2 การท�ำการเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวลดความหลากหลายของพืชและสัตว์ การเกษตรส่วนใหญ่เป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันส�ำปะหลัง โดยเฉพาะการปลูกข้าว ติดต่อกันมายาวนานมากกว่า 50 ปี ท�ำให้ความหลากหลายในระบบนิเวศเกษตรกรรมลดลง ระบบนิเวศไม่สามารถพึ่งพา อาศัยหรือด�ำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง ความซับซ้อนของระบบนิเวศค่อย ๆ ลดลง ความหลากหลายของพืชพรรณและสัตว์ลดลง การท�ำการเกษตรก�ำลังเดินสวนทางกับการสร้างความยั่งยืน เพราะระบบนิเวศมีหลากหลาย มีความซับซ้อนมาก ยิ่งท�ำให้ เกิดความยั่งยืนได้มากเท่านั้น

ภาพที่ 2 การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เกษตรกรรมในอ�ำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ที่มา: อ�ำภา บัวระภา, 2563

47


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

5. แนวทางการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมในอ�ำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 5.1 แนวคิดในการประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบพื้นที่เกษตรกรรม การออกแบบพื้นที่เกษตรกรรมให้เกิดความยั่งยืนโดยใช้แนวคิดนิเวศวิยาภูมิทัศน์ แนวคิดการออกแบบภูมิ สถาปัตยกรรม และแนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน โดยค�ำนึงถึงองค์ประกอบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เน้น การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ดั้งเดิมของชุมชน ค�ำนึงถึงการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและความสมดุลของธรรมชาติ การรักษาความหลากหลายของพืชพรรณทางการเกษตรที่ไม่ขัดแย้งกับระบบนิเวศเดิม การรักษาระบบระบายน�้ำ หรือการสร้างทางน�้ำใหม่การออกแบบพื้นที่กักเก็บน�้ำเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน�้ำการออกแบบระบบระบายน�้ำเลียน แบบธรรมชาติ เพื่อช่วยการชะลอการไหลของน�้ำ การดักตะกอน และช่วยให้น�้ำซึมลงในดินไม่ไหลออกนอกพื้นที่ รักษา ความสมดุลของระดับน�ำ้ ใต้ดนิ ท�ำให้ดนิ มีความชุม่ ชืน้ รักษาระบบนิเวศของดิน การส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ ในพื้นที่เกษตรกรรมสร้างความเป็นถิ่นที่ โดยการใช้ไม้พื้นถิ่น พืชสมุนไพร หรือไม้หายากของชุมชนมาปลูกเสริมสร้างความ เป็นเอกลักษณ์และเพิ่มความน่าสนใจผสานกับหลักการของนิเวศวิทยาเกษตรกรรม ซึ่งต้องค�ำนึงถึงระบบเกษตรกรรม กระบวนการท�ำการเกษตร และรายได้จากการจ�ำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร 5.2 ขั้นตอนการออกแบบพื้นที่การเกษตรเพื่อความยั่งยืน 5.2.1 การปรับเปลี่ยนพื้นที่ตามแนวคิด “โคก หนอง นา โมเดล” โคก หนอง นา โมเดล เป็นแก้ปัญหาการขาดแคลนแหล่งน�้ำ โดยออกแบบแหล่งกักเก็บน�้ำให้เพียงพอต่อ การท�ำการเกษตรตลอดทั้งปี การขุดบ่อเลียนแบบบ่อน�้ำธรรมชาติ สร้างระดับความลึกไม่เท่ากัน และสร้างขอบบ่อเป็นขั้น บันได ปลูกพืชริมน�ำ้ พืชชายน�ำ้ เพือ่ เพิม่ ความหลากหลายของระบบนิเวศริมน�ำ้ สร้างทีอ่ ยูอ่ าศัยของสัตว์นำ�้ สัตว์ครึง่ บกครึง่ น�้ำ การขุดคลองรอบพื้นที่เพื่อกักเก็บน�้ำและเชื่อมไปยังบ่อน�้ำหลักเพื่อกักเก็บน�้ำในฤดูฝน การปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดเกาะ หน้าดิน ดักตะกอนที่มีธาตุอาหารและอินทรีย์วัตถุ รากหญ้าแฝกจะช่วยลดการอัดแน่นของดิน ท�ำให้ดินมีอากาศและท�ำให้ น�้ำสามารถซึมลงใต้ดิน เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดิน และฟื้นฟูสภาพดินโดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสงเพื่อคลุม ดินและเพิ่มไนโตรเจนในดิน การเติมปุ๋ยขี้วัว เพื่อการบ�ำรุงดินและการเตรียมพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก 5.2.2 การเพิ่มความหลากหลายของพืชพรรณตามหลัก “วนเกษตร” การใช้พืชในระบบวนเกษตรเป็นการสร้างความหลากหลายของพืชพรรณ ผสานกับหลักการของระบบนิเวศ เกษตรกรรมเดิม การเลือกใช้พชื ทนเค็ม ทนแล้ง เพือ่ ให้เหมาะกับสภาพภูมอิ ากาศและสภาพดิน การเลือกใช้พชื พรรณทีท่ น ต่อสภาพดินหรือไม้พื้นถิ่นจะท�ำให้ดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องบ�ำรุงรักษามาก มีอัตราการรอดชีวิต และให้ผลผลิตได้ดี ใช้น�้ำน้อย ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี เกษตรกรมีแหล่งอาหารปลอดสารพิษ มีรายได้จากการจ�ำหน่ายพืชผลทางการเกษตรที่หลากหลายตลอด ทั้งปี สร้างรายได้และความมั่นคงให้ครอบครัวเกษตรกร และสร้างความหลากหลายให้ระบบนิเวศให้มีความซับซ้อนท�ำให้ พื้นที่เกษตรกรรมสามารถรักษาความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และสร้างความยั่งยืน 5.2.3 การใช้พืชพรรณกับการออกแบบ พืชส�ำคัญในระบบวนเกษตร ได้แก่ (1) พืชพี่เลี้ยง คือ กล้วย จะช่วยให้พืชต้นเล็กมีร่มเงา เมื่อพืชหลักมีความ แข็งแรงสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพพื้นที่ สามารถหาอาหารและด�ำรงชีวิตเอง กล้วยสามารถน�ำไปรับประทานเป็นผัก จิม้ น�ำ้ พริก ท�ำส้มต�ำกล้วย ผลสุกใช้รบั ประทาน จ�ำหน่าย แปรรูป ใบกล้วยน�ำไปใช้ในงานบุญงานประเพณี ใช้เป็นบรรจุภณ ั ฑ์ (2) พืชระดับบน ได้แก่ มะพร้าว อยู่คู่กับสวนมานาน สามารถน�ำมาประกอบอาหารคาวและหวาน เช่น แกงเผ็ด แกงกะทิ กล้วยบวชชี (3) ปลูกไม้ทรงพุ่ม เช่น ขนุน มะขาม มะม่วง เพราะเป็นกลไกหลักในการหมุนเวียนธาตุอาหาร (4) ไม้ทรงพุ่ม เตีย้ เช่น มะนาว มะเฟือง มะไฟ มะปราง (5) พืชผัก เป็นพืชทีส่ ามารถสร้างรายได้ให้กบั เกษตรกรเพราะมีอายุสนั้ สามารถ ปลูกและเก็บผลผลิตจ�ำหน่ายได้ตลอดทั้งปี ในระยะ 3-4 ปีแรกของการท�ำวนเกษตร (6) พืชไร่ สามารถปลูกพืชไร่ร่วมกับ การท�ำวนเกษตรได้ทั้งมันส�ำปะหลัง ข้าวโพด ข้าวไร่ โดยปลูกแทรกลงไปในแปลง (7) พืชพื้นบ้านชั้นล่าง ได้แก่ ขิง ข่า กระชาย ตะไคร้ กลอย กระบุก พืชเหล่านี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิถีชุมชน คือเป็นอาหาร เครื่องเทศ และสมุนไพร (8) พืช สมุนไพร ตามธรรมชาติของสมุนไพรจะเจริญเติบโตได้ดใี นพืน้ ทีป่ า่ ทีม่ คี วามร่มรืน่ จึงไม่ตอ้ งดูแลรักษามาก (9) ไม้กนั ลม เป็น ไม้ที่มีความสูง กิ่งเหนียว ลู่ลม ไม่หักง่าย ได้แก่ ไม้ประดู่ สะเดา กระถินณรงค์ กระถินเทพา ไผ่ จะช่วยกันลมป้องกัน ความเสียหายต่อพืชผลในแปลง เกษตรกรสามารถปลูกพืชทัง้ 9 ระดับ ตามขนาดและศักยภาพขนาดพืน้ ที่ และปรับเปลีย่ น ชนิดพืชให้เหมาะสม สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และพืชทุกชนิดห่างปลูกอย่างเหมาะสม

48


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนก แมลง และสัตว์ชนิดอื่น ๆ สร้างความหลากหลายให้กับ พื้นที่เกษตรกรรม 5.2.4 เกษตรอินทรีย์กับการผสมผสานกระบวนการท�ำการเกษตร การเกษตรอินทรีย์เป็นจุดแข็งของของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ศึกษา เป็นการท�ำเกษตรอินทรีย์ซึ่งไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ยาก�ำจัดศัตรูพชื และวัชพืช เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ การท�ำเกษตรอินทรียถ์ อื เป็นจุดแข็งของเกษตรกรใน พื้นที่ศึกษา ซึ่งสามารถน�ำมาต่อยอดการท�ำการเกษตรรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีความ รู้ความเข้าใจในการท�ำเกษตรอินทรีย์ สามารถน�ำไปต่อยอดการท�ำการเกษตรรูปแบใหม่และการท�ำเกษตรแบบผสมผสาน โดยการะประยุกต์จากการปลูกข้าวเพียงอย่างเดี่ยวเป็นการปลูกพืชอินทรีย์ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

ภาพที่ 4 ตัวอย่างผลงานการออกแบบของนิสิตชั้นปีที่ 3 ในรายวิชา Landscape ecology ที่มา: ผลงานของนิสิตชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 สาขาภูมิสถาปัตยกรรม

49


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

6. สรุป การออกแบบพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมเพือ่ ความยัง่ ยืน มีแนวคิดหลักในการออกแบบ คือ นิเวศวิทยาภูมทิ ศั น์ นิเวศเกษตรกรรม และการออกแบบอย่างยั่งยืน เพราะเป็นส่วนส�ำคัญในการส่งเสริมด้านคุณค่าด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม พื้นที่เกษตรกรรมของอ�ำเภอวาปีปทุมมีการปลูกข้าวในพื้นที่เดิมมามากกว่า 50 ปี การเกษตรในอดีตพึ่งพาธรรมชาติ ต่อมา มีการท�ำเกษตรที่มุ่งเน้นการผลิตให้ได้ปริมาณมาก การตัดต้นไม้ ท�ำให้ป่าลดลง ความชุ่มชื้นในดินน้อยลง สารอาหารในดิน ลดลง ดินเสื่อมสภาพ ปริมาณน�้ำฝนน้อยลงท�ำให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี สารก�ำจัดแมลงมากยิ่งขึ้นเพื่อรักษา ปริมาณของผลผลิตให้ได้ดังเดิม ท�ำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในดินและแหล่งน�้ำ ผลกระทบจากการท�ำเกษตรกรรม คือ ปรับเปลี่ยนพื้นที่ ปรับหน้าดิน ถมพื้นที่ลุ่ม ไม่มีเนิน ไม่มีทางน�้ำ ไม่มีพื้นที่รับน�้ำ เกิดชะล้างหน้าดิน ดินแห้งและเค็ม เกษตรกรใช้ปยุ๋ เคมีเร่งการเจริญเติบโต เร่งใบให้เขียว เร่งการตัง้ ท้อง เร่งแป้ง เร่งให้เมล็ด เพิ่มน�้ำหนักผลผลิต ดินขาดความชุ่มชื้น ดินเค็ม และมีการปนเปื้อนสารพิษ การปลูกข้าวติดต่อกันมานาน ลดความหลาก หลายของพืชและสัตว์ ความซับซ้อนของระบบนิเวศลดลง การเกษตรก�ำลังเดินสวนทางกับการสร้างความยั่งยืน การท�ำ การเกษตรกรรมในปัจจุบันท�ำให้เสถียรภาพของระบบนิเวศเกษตรอยู่ในระดับต�่ำ ขาดความยั่งยืนในระบบเกษตรกรรม แนวทางการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมอย่างยั่งยืน คือ การปรับพื้นที่เพื่อรักษาระบบน�้ำผิวดินในพื้นที่ การบ�ำรุงรักษาดิน และแหล่งน�้ำ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน�้ำ ดินเสื่อมโทรม มีการปนเปื้อนของสารเคมี ด้วยการสร้างพื้นที่เก็บน�้ำที่เหมาะ สม และปลูกพืชคลุมดิน พืชบ�ำบัด และใช้หลักการสร้างความหลากหลายของพืชพรรณแบบแนวคิด “วนเกษตร” เพือ่ รักษา เอกลักษณ์เดิมของพื้นที่ เน้นการใช้พืชเกษตรที่หลากหลายทั้งไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจ พืชไร่ พืชสวน พืชผัก และพืชสมุนไพร สร้างความซับซ้อน สร้างความยั่งยืนให้กับระบบเกษตรกรรม รักษาความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมเกษตรกรให้เข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองและเป็นที่พึ่งให้คนอื่นได้ และสิ่งส�ำคัญคือ การสร้างสรรค์รูปแบบ เกษตรกรรมที่สามารถเดินทางไปควบคู่กับการรักษาสภาพแวดล้อม

6. ข้อเสนอแนะ การออกแบบพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อความยั่งยืน สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความเข้าใจเป็นพืน้ ฐานเดิม และมีความตัง้ ใจปรับเปลีย่ นพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมเพือ่ ให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว การพัฒนาต้อง ท�ำควบคูไ่ ปกับการพูดคุย การติดตามผลอย่างใกล้ชดิ และควรมีหน่วยงานราชการเข้าร่วมให้ความเชือ่ มัน่ ทีใ่ ห้การสนับสนุน ดูแลอย่างจริงจัง จะท�ำให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่นในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตรกรรมของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เกษตรกรกลุ่มที่มีข้อจ�ำกัดด้านการเงิน และหากมีการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อความยั่งยืนให้มากขึ้นจะท�ำให้อาชีพ เกษตรกรรมสามารถยังคงเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรที่สามารถสร้างพื้นที่สีเขียวรูปแบบใหม่ทดแทนพื้นที่ป่าเดิมและ น�ำระบบนิเวศที่สมบูรณ์กลับมาอีกครั้ง

7. กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยในครั้งนี้ได้รับการสนับรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจ�ำปีงบประมาณ 2563 การท�ำงานในครั้งนี้ต้องขอขอบคุณเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างใน อ�ำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล ขอบคุณสมาคมไทบ้าน บ้านปลาบู่ ในการเอื้อเฟื้อ สถานที่และการประสานงาน ขอบคุณนิสิตชั้นปีที่ 2 และปีที่ 3 สาขาภูมิสถาปัตยกรรมที่ให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่ การ ส�ำรวจ การเก็บข้อมูล และการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบพื้นที่เกษตรกรรมให้กับชุมชน

50


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

8. เอกสารอ้างอิง กลุ่มเกษตรกร. (2563). สัมภาษณ์. รูปแบบเกษตรกรรม ปัญหา ผลกระทบ. สถานที่ : สมาคมไทบ้าน ต�ำบลหนองแสง อ�ำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563. ทศพร วัชรางกูร และ คณะ. (2556). รูปแบบการปลูกไม้ป่าโดยระบบวนเกษตร. งานวิจัยการปลูก สร้างสวนป่า กลุ่มงานวนวัฒนวิจัย ส�ำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้. พิมพ์ที่อักษรสยามการพิมพ์ นายกสมาคมไทบ้าน. (2563). สัมภาษณ์. การท�ำเกษตรเกษตรอินทรีย.์ สถานที่ : สมาคมไทบ้าน ต�ำบลหนองแสง อ�ำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563. ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ และคณะ. (มปป). วนเกษตร เกษตรกรรมยั่งยืนในภาคอีสาน คู่มือการท�ำวน เกษตร. รุ่งศิลป์การพิมพ์. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ คณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีสานในคณะกรรมการประสานงานองค์กร พัฒนาชนบทภาคอีสาน. มูลนิธิชัยพัฒนา. (มปป.). เกษตรทฤษฎีใหม่. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.chaipat.or.th/2010-0603-06-17-29.html. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563]. ศิริชัย หงศ์วิทยากร. (มปป). เอกสารประกอบการสอน ภูมิสถาปัตยกรรมเบื้องต้น. ภาควิชาภูมิทัศน์ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. คณะผลิตกรรมการเกษตร. สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้. ส�ำนักงานจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคามพ.ศ. 2561 – 2564. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.mahasarakham. go.th/mkweb/images/yut/1.2561-2564.pdf. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563]. ส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม. (2552). การใช้ประโยชน์ที่ดินทาง การเกษตร. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.moac-info.net/MahaSarakham/index.php? option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=165. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 29 มกราคม 2563]. ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และส�ำนักสถิติแห่งชาติ. (2563). ข้อมูล การใช้ที่ดิน.[ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/socio/ LandUtilization2562.pdf. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 21 มกราคม 2563]. ส�ำนักส�ำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (มปป.). ชุดดินมหาสารคาม. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://oss101.ldd.go.th/thaisoils_museum/pf_ desc/northeast/Msk.htm. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563]. Claudia D.and Kristin S. (2010). Sustainable site design. Published by John Wiley & Son, Inc, New Jersey. Wenche D., James D. Olson, and Richard T.T. Forman. (1996). Landscape Ecology Principles In Landscape Architecture And Land-Use Planning. Published by Harvard University Graduate school design.

51



บทความวิจัย

- Research Article -



วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

กระบวนการท�ำเกลือสินเธาว์กบั การก่อเกิดภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรม แหล่งเกลือสินเธาว์บอ่ กฐิน ต�ำบลเมืองเพีย อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น Cultural Landscape Elements of a Rock Salt Mine at Boh Kathin, Mueang Phia Sub-district, Ban Phai District, Khon Kaen Province โกวิทย์ วาปีศิลป์ อาจารย์ประจ�ำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

Kowit Wapeesilp Lecturer, Faculty of Architecture Urban Design and Creative Arts, Mahasarakham University Kantarawichai District, Maha Sarakham, Thailand, 44150 *Email: bfour_mla53@hotmail.com

บทคัดย่อ การวิจยั นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษา 1) กระบวนการท�ำเกลือสินเธาว์แหล่งท�ำเกลือบ่อกฐิน ต�ำบลเมืองเพีย อ�ำเภอ บ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาและสรุปองค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมจากการท�ำเกลือสินเธาว์ของแหล่งท�ำเกลือ บ่อกฐิน ต�ำบลเมืองเพีย อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น 3) เสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์องค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรม การท�ำเกลือสินเธาว์แหล่งท�ำเกลือบ่อกฐิน และพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรูภ้ มู ปิ ญ ั ญาวัฒนธรรมการท�ำเกลือสินเธาว์ ผลการวิจยั พบว่า แหล่งท�ำเกลือสินเธาว์บ่อกฐิน ต�ำบลเมืองเพีย อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น มีกระบวนการท�ำเกลือสินเธาว์โดยวิธี พื้นบ้าน 7 ขั้นตอน คือ 1) การเลี้ยงบ่อ 2) การเลือกท�ำเล 3) การเตรียมบ่อ 4) การหาดินและเตรียมดิน 5) การท�ำน�้ำเกลือ 6) การต้มเกลือ 7) การเก็บเกลือ และมีองค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมแหล่งท�ำเกลือสินเธาว์บ่อกฐิน ซึ่งเกิดขึ้นจาก กระบวนการท�ำเกลือสินเธาว์สรุปได้ 11 องค์ประกอบ คือ 1) โนนเจ้าปู่ฟ้าระงึม 2) ดอนปู่ตาบ้านบ่อกฐิน 3) แหล่งน�้ำ ธรรมชาติ 4) ป่าละเมาะ 5) หลุมหรือบ่อน�้ำ 6) กองฟืน 7) เพิงพักและเพิงต้มเกลือ 8) ฮางเกลือ 9) กองดินเอียด 10) กอง ขี้บ่อ 11) เข่งตากเกลือ โดยผู้วิจัยเล็งเห็นศักยภาพและโอกาสในด้านการอนุรักษ์และพัฒนา 3 ประการ ได้แก่ 1) ส่งเสริม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาการท�ำเกลือสินเธาว์ด้วยวิธีพื้นบ้าน 2) อนุรกั ษ์องค์ประกอบภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมทีส่ ำ� คัญบางองค์ประกอบ เพือ่ ยังให้คงเอกลักษณ์ไม่ให้ถกู ท�ำลายหายไปและส่งผลก ระทบต่อระบบนิเวศ 3) บรรจุเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และกระบวนการท�ำเกลือสินเธาว์เป็นบทเรียนในหลักสูตรท้องถิ่น หรือในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ค�ำส�ำคัญ: องค์ประกอบภูมิทัศน์, ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, เกลือสินเธาว์, อีสาน

55


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

Abstract The objectives of this research were 1) to study the process of rock salt making, salt making area at Boh Kathin, Mueang Phia Sub-district, Ban Phai District, Khon Kaen Province, 2) to study and summarize the elements of the cultural landscape from rock salt making of salt making area at Boh Kathin, Mueang Phia Sub-district, Ban Phai District, Khon Kaen Province, 3) to put forward the conservation way of the elements of the cultural landscape of rock salt making of salt making area at Boh Kathin and develop into a learning center for the intellect and culture of rock salt making. The research results showed that rock salt making area at Boh Kathin, Mueang Phia Sub-district, Ban Phai District, Khon Kaen Province, had a process for making rock salt by a traditional method of 7 steps: 1) pit culture 2) location selection 3) pit preparation 4) soil finding and soil preparation 5) saline making 6) salt boiling 7) salt storage, and had 11 elements of the cultural landscape of rock salt making area at Bo Kathin which arising from the process of making rock salt: 1) Non Chaopu Fa Ra-ngum, 2) Don Pu Ta Ban Boh Kathin, 3) natural water source, 4) grove wood, 5) hole or pool, 6) firewood pile, 7) shed and salt boiling shed, 8) salt groove, 9) alkaline soil pile, 10) pit scraps pile, 11) salt drying basket. The researcher foresees 3 potentials and opportunities in conservation and development: 1) promoting to be a local historical and cultural learning center related to local rock salt making intellect, 2) conserving some important elements of cultural landscape in order to maintain the identity from not being destroyed and affecting the ecosystem, 3) putting historical stories and process of rock salt making as a lesson in the local curriculum or in relevant courses. Keywords: elements of landscape, cultural landscape, rock salt, Isan Received: Julyr 2, 2020; Revised: August 10, 2020; Accepted: August 21, 2020

1. บทน�ำ เกลือในอดีตเป็นสิ่งล�้ำค่า เป็นปัจจัยพื้นฐานในการด�ำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์ มนุษย์รู้จักและน�ำมาใช้ ประโยชน์ ไ ด้ ม ากมายหลายอย่ า ง ทั้ ง ในการบริ โ ภค ถนอมอาหาร และเป็ น ยารั ก ษาโรค นอกจากนี้ เ กลื อ ยั ง เป็ น ทรัพยากรธรรมชาติที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนในท้องถิ่นอีกด้วย (รติสมัย พิมัยสถาน, 2546 : 22) การท�ำเกลือ สินเธาว์ในภาคอีสานเป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดมายาวนานและแพร่หลายในท้องถิ่นชนบท อันเนื่องมาจาก เหตุปัจจัยทางด้านธรณีวิทยาและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เอื้อให้เกิดการท�ำเกลือสินเธาว์นั่นเอง ดินแดนภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในอดีตกาลสภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นทะเลมา ก่อน ก่อนจะเกิดการเปลีย่ นแปลงทางธรณีวทิ ยาครัง้ ส�ำคัญอีกครัง้ ท�ำให้ผนื แผ่นดินยกตัวสูงขึน้ และเกิดแนวเทือกเขาปิดกัน้ กาลเวลาผ่านไปส่งผลให้น�้ำทะเลเหือดแห้งจนกลายเป็นเกลือหินหรือเกลือสินเธาว์แทรกกตัวอยู่ในชั้นดินในที่สุด (อมฤต หมวดทอง, 2558 : 165) จากข้อมูลทางโบราณคดีของการผลิตเกลือสินเธาว์ในอดีตพบว่า เกลือสินเธาว์นั้นมีกระบวนการ ผลิตจากความเค็มหรือคราบเกลือที่ปนอยู่บนเนื้อดิน โดยใช้น�้ำเป็นตัวท�ำละลายแยกความเค็มหรือเกลือออกจากดินกลาย เป็นน�ำ้ เกลือ น�ำมาใส่ในภาชนะพักให้ตกตะกอนแล้วจึงน�ำน�ำ้ เค็มทีไ่ ด้มาต้มในภาชนะหม้อดินเผาจนได้เกลือ แล้วจึงน�ำเกลือ ไปใช้เพื่อการประกอบอาหารและใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ (บ�ำเพ็ญ ไชยรักษ์, 2554 : 85) การผลิตเกลือสินเธาว์ในภาค อีสานนั้นมีการผลิตอยู่ 2 ลักษณะ คือ (1) การสูบน�้ำเกลือขึ้นมาต้มหรือตาก ซึ่งในปัจจุบันวิธีการนี้มักจะเป็นการผลิตในเชิง เพื่อการค้าอุตสาหกรรมเป็นหลัก เนื่องจากมีปริมาณการผลิตที่มาก และมีการใช้พื้นที่ขนาใหญ่ในการผลิต (2) การการขูด หน้าดินมาละลายเพื่อกรองเอาน�้ำเค็มมาต้มจนงวดจนเกิดผลึกเกลือสีขาว จากความหมายและความส�ำคัญของภูมิทัศน์วัฒนธรรม หรือ Cultural Landscape ที่หมายถึง สภาพแวดล้อมที่อยู่ รอบตัวมนุษย์ เป็นสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ซึ่งการก่อรูปขึ้นของสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมนั้น เป็นผลมาจาก การด�ำเนินชีวิตของมนุษย์ในสภาพแวดล้อมนั้น ภูมิทัศน์วัฒนธรรมจึงมีความส�ำคัญต่อผู้คนในท้องถิ่นในแง่ของการพัฒนา

56


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

เพื่อความยั่งยืนและสมดุลย์ (เกรียงไกร เกิดศิริ 2551 : 97) เป็นตัวจุดประกายและแรงผลักดันให้ผู้วิจัยท�ำการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับวัฒนธรรมการท�ำเกลือสินเธาว์ เพื่อค้นหาและสรุปองค์ประกอบของภูมิทัศน์วัฒนธรรมแหล่งท�ำเกลือสินเธาว์บ่อ กฐิน และเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์องค์ประกอบด้านภูมิทัศน์ รวมไปถึงการสร้างโอกาสในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ ภูมปิ ญ ั ญาวัฒนธรรมการท�ำเกลือสินเธาว์แก่นกั เรียน นิสติ นักศึกษา และผูท้ สี่ นใจในอนาคต โดยมีพนื้ ทีศ่ กึ ษาอยูท่ แี่ หล่งท�ำ เกลือสินเธาว์บ่อกฐิน ต�ำบลเมืองเพีย อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นแหล่งท�ำเกลือสินเธาว์ที่มีความส�ำคัญแห่งหนึ่ง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และยังคงสืบทอดวัฒนธรรมการท�ำเกลือสินเธาว์มาถึงปัจจุบัน

2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อศึกษากระบวนการท�ำเกลือสินเธาว์แหล่งท�ำเกลือบ่อกฐิน ต�ำบลเมืองเพีย อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น 2.2 เพื่อศึกษาและสรุปองค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมจากการท�ำเกลือสินเธาว์ของแหล่งท�ำเกลือบ่อกฐิน ต�ำบลเมือง เพีย อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น 2.3 เพื่อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์องค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมการท�ำเกลือสินเธาว์แหล่งท�ำเกลือบ่อกฐิน และ พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมการท�ำเกลือสินเธาว์

3. วิธีการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Study) โดยใช้การศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วมในลักษณะ การจัดการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus Group Discussion) และการจัดท�ำแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) เพือ่ ศึกษาประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ความรูใ้ นด้านภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ในการผลิตเกลือสินเธาว์ และได้กำ� หนดวิธกี าร ด�ำเนินงานมีรายละเอียดดังนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.1.1 ประชากร 1) กลุ่มผู้รู้ ประกอบด้วย นักวิชาการ ผู้น�ำทางความเชื่อ ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (องค์การบริหาร ส่วนต�ำบลเมืองเพีย) เลือกแบบเจาะจง จ�ำนวน 5 ราย 2) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพ ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกอบอาชีพท�ำเกลือสินเธาว์ในแหล่งท�ำเกลือบ่อกฐิน ต�ำบลเมืองเพีย อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เลือกแบบเจาะจง จ�ำนวน 5 ราย 3) กลุ่มผู้ใช้ ประกอบด้วย พ่อค้าคนกลาง ที่มารับซื้อเกลือสินเธาว์จากบ่อกฐินไปขาย ประชาชนทั่วไปที่มา ซื้อเกลือจากแหล่งท�ำเกลือบ่กฐินไปบริโภคในครัวเรือน เลือกจากความบังเอิญ จ�ำนวน 10 ราย (เนื่องจากพื้นที่บ่อกฐินเป็น แหล่งท�ำเกลือที่เข้าถึงล�ำบาก ไม่มีลกั ษณะเป็นทางผ่าน จึงมีจำ� นวนและความถี่ของกลุม่ ประชากรกลุม่ นี้เข้ามายังพืน้ ทีค่ ่อย ข้างน้อย) 3.1.2 กลุ่มตัวอย่าง การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้มีการก�ำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยท�ำการสัมภาษณ์ โดยมีการเลือกจาก 2 วิธี คือ แบบ เจาะจง (Purposive Random Sampling) และจากความบังเอิญ (Accidental Random Sampling) โดยมีรายละเอียด ในการก�ำหนดกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มประชากร ดังนี้ 3.2 เครื่องมือที่ใช้วิจัย ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีการก�ำหนดเครื่องมือเพื่อใช้ในการวิจัย ดังนี้ 1) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 2) แบบสอบถาม

57


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

3) แบบบันทึก 4) แผนที่ภูมิประเทศ 3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในขั้นตอนต่าง ดังนี้ 3.1.1 การศึกษา รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร 3.1.2 การลงพื้นที่ส�ำรวจภาคสนาม โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) การส�ำรวจพื้นที่โครงการด้วยแผนที่ภูมิประเทศ เพื่อบันทึกข้อมูลต�ำแหน่งภูมิประเทศที่ส�ำคัญ โครงสร้างของ พื้นที่โครงการ (Site Structure) ที่เอื้อให้เกิดการท�ำเกลือ และการก�ำหนดขอบเขตข้อมูลทางกายภาพที่ส�ำรวจพบ 2) การสัมภาษณ์ ใช้ในการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มผู้รู้ และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ โดยใช้ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 3) การสอบถาม ใช้ในการสอบถามกลุ่มผู้ใช้ที่เข้ามายังพื้นที่โครงการ ซึ่งมีเวลาในการอยู่ในพื้นที่น้อย โดยเลือก ท�ำการสอบถามจากความบังเอิญเมื่อพบกับกลุ่มผู้ใช้ 4) การสนทนากลุ่มย่อย ใช้ในการสนทนาของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ เพื่อเก็บข้อมูลในกระบวนการผลิตเกลือ สินเธาว์แหล่งท�ำเกลือบ่อกฐิน 5) การบันทึกภาพ ใช้ในการบันทึกสภาพภูมิประเทศ สภาพทางกายภาพ ต�ำแหน่ง การเทียบขนาด และ กระบวนการการผลิตเกลือสินเธาว์ 6) การสเกตซ์ภาพ ใช้ในการวาดบันทึกแผนผังของแหล่งท�ำเกลือบ่อกฐิน ผังบริเวณบริเวณที่ท�ำการต้มเกลือ และ องค์ประกอบทางภูมิทัศน์จากการส�ำรวจและสนทนากลุ่มย่อย

4. การวิเคราะห์ข้อมูล น�ำข้อมูลจากการศึกษาด้านเอกสารและข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ส�ำรวจภาคสนาม มาท�ำการวิเคราะห์และสรุปองค์ ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมแหล่งท�ำเกลือสินเธาว์บ่อกฐิน ต�ำบลเมืองเพีย อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

5. การน�ำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล การน�ำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษา รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการลงส�ำรวจพื้นที่ ใช้รูปแบบ การพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Description) ตามล�ำดับของเนื้อหาในวัตถุประสงค์การวิจัย

6. ผลการศึกษา 6.1 กายภาพและบริบทแหล่งท�ำเกลือบ่อกฐิน บ่อกฐินเป็นแหล่งน�ำ้ ธรรมชาติขนาดใหญ่ ชาวบ้านในพืน้ ทีเ่ รียกแหล่งน�ำ้ แห่งนีว้ า่ บ่อกฐิน ตามลักษณะการเรียกขาน ของแหล่งท�ำเกลือในภาคอีสาน ซึ่งต่างจากลักษณะทางกายภาพที่เป็นหนองน�้ำ บ่อกฐินตั้งอยู่ในเขตต�ำบลเมืองเพีย อ�ำเภอ บ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ประมาณ 0.69 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 432 ไร่ ความลึกเฉลี่ยทั้งบ่อ วัดจากก้นบ่อ ถึงขอบคันดินลึกประมาณ 3.00 เมตร พืน้ ทีโ่ ดยรอบมีลกั ษณะเป็นพืน้ ทีร่ าบลุม่ สลับทีด่ อนขนาดเล็ก มีการใช้ประโยชน์ทดี่ นิ มากที่สุดได้แก่ ประเภทเกษตรกรรม (นาข้าว) ป่าละเมาะ ชุมชน และวัดตามล�ำดับ บ่อกฐินเป็นพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพแตกต่างกันไปในแต่ละฤดูกาลอย่างชัดเจน โดยจะสังเกตเห็นได้ชัดที่สุดในช่วงระหว่างฤดูฝน – ถึงกลางฤดู หนาว ซึง่ ในช่วงฤดูฝนในบ่อกฐินจะมีนำ�้ กักเก็บอยูเ่ ต็มความจุ แต่พอถึงช่วงฤดูหนาวปริมาณน�ำ้ ในบ่อกฐินจะค่อยๆ ลดลงจน

58


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

เหลือเพียงเล็กน้อยบริเวณขอบของหนองน�้ำด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงต้น-กลางฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร และระดับน�้ำในบ่อกฐินเริ่มแห้งขอด จะเป็นช่วงเวลาที่ความเค็มของเกลือที่อยูใต้ดินบริเวณนี้แพร่กระจายขึ้นมาบนหน้าดินลักษณะเป็นคราบสีขาวติดอยู่บนผิว ดิน คนในท้องถิ่นจะเรียกดินชนิดนี้ว่าส่าเกลือหรือดินเอียด เป็นดินที่มีความร่วนและเปราะ ซึ่งดินเอียดนี้นับเป็นสารตั้งต้น ของการท�ำเกลือสินเธาว์ด้วยวิธีพื้นบ้าน โดยชาวบ้านจะน�ำคราดหรือจอบ มาขูดหรือถากหน้าดินมากองไว้ ก่อนจะน�ำไป ละลายน�้ำในฮางหรือรางที่เตรียมไว้ เพื่อแยกเอาน�้ำเค็มไปต้มเป็นเกลือต่อไป

ภาพที่ 1 สภาพโดยทั่วไปของบ่อกฐินในช่วงกลางฤดูหนาว ที่มา: ผู้วิจัย, 2560

6.2 กระบวนการผลิตเกลือสินเธาว์ กระบวนการผลิตเกลือสินเธาว์ด้วยวิธีขูดหน้าดินของแหล่งท�ำเกลือบ่อกฐิน มีขั้นตอนตั้งแต่แรกเริ่มจนสิ้นสุด กระบวนการของการท�ำเกลือในรอบปี สรุปได้อยู่ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 6.2.1 การเลี้ยงบ่อ การเลี้ยงบ่อเป็นพิธีกรรมความเชื่อในการไหว้บอกกล่าวผีหรือสิ่งศักดิ์ที่ชาวบ้านเชื่อว่าใหญ่ที่สุดที่ท�ำการปก ปักรักษาพืน้ ทีแ่ ห่งนัน้ ๆ ประจ�ำอยู่ การเลีย้ งบ่อนีเ้ ป็นพิธที ชี่ าวบ้านทุกคนจะต้องท�ำก่อนการท�ำเกลือสินเธาว์บอ่ กฐินในแต่ละ ปี โดยการเตรียม (หรือแต่งในภาษาอีสาน) ขันธ์ 5 กระทงอาหารคาว-หวาน เหล้าขาว และเงินจ�ำนวนหนึ่ง โดยในพื้นทีบ่ ้าน บ่อกฐินจะใช้พนื้ ทีโ่ นนเจ้าปูฟ่ า้ ระงึม ปัจจุบนั คือ วัดป่าฟ้าระงึม เป็นสถานทีท่ ำ� พิธี หรือใช้สถานทีบ่ ริเวณป่าดอนปูต่ าบริเวณ ท้ายหมู่บ้านบ่อกฐินเป็นสถานที่ท�ำพิธีเลี้ยงบ่ออีกแห่งตามความสะดวกในปัจจุบัน

59


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ภาพที่ 2 ดอนปู่ตา บริเวณทุ่งนาท้ายหมู่บ้านบ่อกฐิน หนึ่งในสถานที่ประกอบพิธีกรรมเลี้ยงบ่อ ที่มา: ผู้วิจัย, 2560

โนนเจ้าปูฟ่ า้ ระงึมหรือวัดป่าฟ้าระงึมในปัจจุบนั มีสณ ั ฐานเป็นเนินขนาดใหญ่ มีความสูงกว่าบริเวณโดยรอบ บนเนิน ดินมีใบเสมาหินทรายเก่าแก่จ�ำนวนหนึ่งปักอยู่บนเนิน สภาพทางกายภาพในอดีตของสถานที่แห่งนี้มีต้นไม้ใหญ่และวัชพืช ขึ้นปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น ปัจจุบันเกิดการพัฒนาและก่อตั้งเป็นวัดป่าจึงส่งผลให้กายภาพของพื้นที่เปลี่ยนไปเป็นโล่ง เตียนมากขึ้น

ภาพที่ 3 ลักษณะกายภาพบริเวณโนนเจ้าปู่ฟ้าระงึมในปัจจุบัน ที่มา : ผู้วิจัย, 2560

60


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

6.2.2 การเลือกท�ำเล การเลือกท�ำเลเป็นกระบวนการแรกเริม่ ทีม่ คี วามส�ำคัญ เนือ่ งจากมีความเกีย่ วข้องกับการเข้าถึงการใช้วตั ถุดบิ หรือทรัพยากรในการผลิตเกลือทั้งสิ้น กล่าวคือ การเลือกท�ำเลที่ตั้งจะอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน�้ำมากนัก หรืออยู่ใกล้กับบริเวณ ดินเปียกหรือชื้น เพื่อที่จะขุดเอาดินเปียกมาปั้นเตา และฮางเกลือ รวมทั้งขุดหลุมเพื่อหาน�้ำไว้ใช้ในกระบวนการท�ำน�้ำเกลือ เนื่องจากจะต้องใช้น�้ำเป็นตัวท�ำละลายเกลือในดินเป็นน�้ำเค็มหรือน�้ำเกลือ ก่อนจะน�ำไปต้มให้กลายเป็นเกลือ และใน การเลือกท�ำเลนี้จะอยู่ไม่ห่างจากป่าละเมาะ เนื่องจากจะมีต้นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลางซึ่งจะต้องใช้ไม้จากล�ำต้น กิ่งก้าน ต้นไม้ขนาดล็กเหล่านี้ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน มาเตรียมท�ำเพิงพักและเพิงส�ำหรับต้มเกลือหรือบางแห่งเรียกซุ้มเกลือเพื่อบังแดด ลม รวมทั้งหาฟืนเพื่อเตรียมเป็นเชื้อเพลิงในขั้นตอนการต้มเกลืออีกด้วย

ภาพที่ 4 การเลือกท�ำเลเพื่อตั้งเพิงพักและเพิงต้มเกลือจะอยู่ไม่ไกลจากป่าละเมาะและแหล่งน�้ำ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงฟืนและน�้ำ ที่มา : ผู้วิจัย, 2560

6.2.3 การเตรียมบ่อ การเตรียมบ่อจะเริม่ จากการท�ำเพิง เพือ่ ใช้ในการพักผ่อน โดยจะใช้ไม้จากป่าละเมาะจ�ำพวกสะแกนา กระถิน ซึง่ พบได้มากในบริเวณแหล่งท�ำเกลือนีม้ าท�ำเป็นโครงสร้างง่ายๆ มุงด้วยใบไม้และกิง่ ไม้ ล้อมด้วยสแลนกรองแสงสีเขียวหรือ ด�ำที่นิยมใช้ในการท�ำเรือนเพาะช�ำเพื่อบังกระแสลมที่จะพัดมายังเตาต้มเกลือ ก่อนจะท�ำการขุดเอาดินเปียกในระดับที่ลึก ลงไปจากหน้าดินในบริเวณใกล้เคียง หรือน�ำดินเปียกจากหลุมที่ขุดไว้เพื่อหาน�้ำในขั้นตอนเลือกท�ำเล มาปั้นเป็นเตาส�ำหรับ การต้มเกลือ ลักษณะเตาเป็นรูปตัวเอ็ม (M) โดยท�ำการปั้นเป็นคันดินขนาดกว้าง 0.30-0.40 เมตร ยาว 1.60 เมตร สูง 0.40 เมตร เว้นช่องว่างระหว่างคันดิน 0.40 เมตร เพือ่ ใช้เป็นช่องส�ำหรับใส่ฟนื ซึง่ เตารูปแบบนีจ้ ะสามารถวางถาดโลหะ ต้มเพื่อต้มเกลือได้พร้อมกันสองถาด

61


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ภาพที่ 5 การตั้งเพิงพักและเพิงต้มเกลือหรือซุ้มเกลือเพื่อเตรียมท�ำเกลือสินเธาว์ในบ่อกฐิน ที่มา: ผู้วิจัย, 2560

ภาพที่ 6 การใช้ดินเปียกจากบ่อที่ขุดมาปั้นเป็นเตาส�ำหรับต้มเกลือ ที่มา : ผู้วิจัย, 2560

62


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ในขั้นตอนการเตรียมบ่อนั้น นอกจากการน�ำดินเปียกมาปั้นเตาแล้วนั้น ยังมีการใช้ดินเปียกมาปั้นเป็นขอบ ฮาง (ราง) ส�ำหรับกระบวนการท�ำน�้ำเกลืออีกด้วย โดยการท�ำฮางหรือรางส�ำหรับใส่ดินเอียดและน�้ำ เพื่อละลายเอาเกลือที่ ปนอยู่ในเนื้อดินเอียดออกมาเป็นน�้ำเค็มหรือน�้ำเกลือนั้น จะใช้วิธีใช้จอบและเสียมท�ำหลุมตื้น ขนาดประมาณ 0.40x3.00 เมตร ลึกประมาณ 0.30-0.40 เมตร บริเวณท้องฮางมีการปรับระดับให้มีความลาดเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้นำ�้ ไหล ออก ซึ่งส่วนใหญ่ทิศทางของการลาดเอียงของท้องฮางจะมีทิศทางเข้าพุ่งเข้าสู่เพิงต้มเกลือ

ภาพที่ 7 การขุดและแต่งขอบฮางเกลือ (รางเกลือ) ที่มา: ผู้วิจัย, 2560

ภาพที่ 8 ฮางเกลือ (รางเกลือ) ที่ท�ำจากการขุดดิน ใช้ในการละลายดินเอียดเพื่อท�ำน�้ำเกลือ และเตรียมต่อท่อเข้าสู่บ่อหรือภาชนะรองรับในเพิงต้มเกลือ ที่มา: ผู้วิจัย, 2560

63


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

6.3.4 การหาดินและเตรียมดิน พื้นที่เกือบทั้งหมดในบ่อกฐิน ในช่วงกลางฤดูหนาวต่อเนื่องจนถึงฤดูร้อน (ก่อนถึงช่วงจะเกิดฤดูร้อน) จะมี คราบเกลือขึน้ มาติดบนผิวดินชัน้ บน ซึง่ คนในพืน้ ทีเ่ รียก ดินเอียด ขีท้ า หรือส่าเกลือ (เรียกได้หลายชือ่ ตามท้องถิน่ ทีท่ ำ� เกลือ) ด้วยลักษณทางธรณีวิทยาที่มีชั้นของโดมเกลือหินหรือ Rock Salt Dome แทรกตัวอยู่ในดินชั้นล่างระดับตื้น ส่งผลให้ใน ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน (พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) ที่ปริมาณน�้ำในบ่อกฐินเหือดแห้งไป ไม่มีน�้ำและความชื้นที่ไป ชะลอและยับยั้งการแพร่ของเกลือหินขึ้นสู่พื้นดินด้านบนจนท�ำให้ผิวดินของบ่อกฐินมีความเค็มจัด และหากการแพร่ของ เกลือหินใต้ดินขึ้นมายังผิวดินในปริมาณมากจะเกิดคราบเกลือสีขาวขึ้นทั่วบริเวณคล้ายหิมะตกลงบนพื้นดิน ดินเอียดหรืออาจเรียกได้วา่ เป็นสารตัง้ ต้นของการผลิตเกลือสินเธาว์ เป็นดินแห้งมีลกั ษณะของเนือ้ ดินสีนำ�้ ตาล อ่อนเปราะแตกและร่วนง่าย เมื่อถูกแรงกระท�ำจากวัตถุต่าง ๆ โดยชาวบ้านจะน�ำคราดที่ท�ำจากแผ่นไม้บาง ๆ เช่น ไม้จริง หรือไม้อัด ขนาด 0.20x0.60 เมตร ต่อด้วยด้ามไม้ไผ่ หรือไม้กระถินที่หาได้จากป่าละเมาะบริเวณใกล้เคียง มาท�ำการขูด หน้าดินรวมกันไว้เป็นกองขนาดเล็กรูปกรวยคว�่ำหลายๆ กอง แต่ละกองขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.60 เมตร สูง 0.30 เมตร หรือในบางครั้งอาจใช้จอบในการขูดหรือถากหน้าดิน ในกรณีที่หน้าดินยังมีความชื้นอยู่บ้าง เพื่อเตรียมขนย้าย ไปยังเพิงต้มเกลือรอเข้าสู่กระบวนการท�ำน�้ำเกลือต่อไป

ภาพที่ 9 การใช้คราดขูดหน้าดินหรือขูดดินเอียดไว้เป็นกอง เพื่อเตรียมน�ำไปละลายน�้ำและกรองเพื่อท�ำเป็นน�้ำเกลือ ที่มา: ผู้วิจัย, 2560

64


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

6.3.5 การท�ำน�้ำเกลือ ก่อนการท�ำน�ำ้ เกลือจะมีการน�ำฟางข้าวมามัดรวมกัน ความยาวประมาณ 0.40-0.70 เมตร แล้วน�ำมาขดเป็น วงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.20 เมตร น�ำไปวางไว้บริเวณท้ายฮางบริเวณช่องที่น�้ำไหลออก ท�ำหน้าที่เป็นตัวดักและ กรองดินที่อาจจะไหลปนลงสู่ท่อน�้ำเกลือไปยังพาชนะรองรับด้านล่าง หลังจากนั้นจะเทแกลบที่เตรียมมาลงสู่ก้นฮาง หนา ประมาณ 0.05 เมตร เพื่อช่วยให้ดินตะกอนและดักจับตะกอนดินให้น�้ำเกลือมีความใสและลอยขึ้นด้านบน ภายหลังจากวางมัดฟางข้าวที่ท้ายฮางและเทแกลบที่ก้นฮางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงเข้าสู่กระบวนการท�ำน�้ำ เกลือ โดยการน�ำดินเอียดที่ขูดเตรียมไว้ มาเทใส่ฮางเกลือที่ท�ำไว้จนเกือบเต็มฮาง หลังจากนั้นจะน�ำน�้ำจากบ่อที่ขุดไว้หรือ น�ำ้ จากแหล่งใกล้เคียงมาเทใส่ดนิ เอียดจนท่วมระดับดินเอียดในฮาง หลังจากนัน้ จะใช้เท้าเหยียบให้ดนิ และน�ำ้ ผสมจนเข้ากัน ในขัน้ ตอนนีอ้ าจมีการใช้เครือ่ งมืออืน่ ๆ เช่น จอบ พลัว่ หรือท่อนไม้จากต้นไม้บริเวณใกล้เคียงทีต่ ดั มาเตรียมไว้ เช่น ต้นสะแก นา ต้นกระถิน เป็นต้น มาช่วยในการคลุกเคล้าดินและน�ำ้ ให้เข้ากัน หลังจากนัน้ รอให้นำ�้ ค่อยๆ ซึมไหลผ่านสายยางลงสูห่ ลุม ดินหรือภาชนะรองรับอื่น ๆ เช่น ถังพลาสติก หรือท่อคอนกรีต เป็นต้น รอให้ได้ปริมาณเพียงพอที่จะน�ำไปต้มในแต่ละครั้ง

ภาพที่ 10 การใช้คราดขูดหน้าดินหรือขูดดินเอียดไว้เป็นกอง เพื่อเตรียมน�ำไปละลายน�้ำและกรองเพื่อท�ำเป็นน�้ำเกลือ ที่มา: ผู้วิจัย, 2560

ภาพที่ 11 การเทแกลบใส่ฮางเกลือเพื่อช่วยให้ดินตะกอนและดักจับตะกอนดินให้น�้ำเกลือใส ที่มา: ผู้วิจัย, 2560

ดินเอียดภายหลังจากกระบวนการละลายด้วยน�้ำเพื่อท�ำน�้ำเกลือแล้วนั้น จะกลายเป็นดินจืด หรือชาวบ้านเรียก ว่าขี้บ่อ จะถูกตักใส่ถังและน�ำไปทิ้งนอกพื้นที่เพิงต้มเกลือไม่ไกลนักเพื่อความสะดวกในการขนย้าย ดินขี้บ่อที่ขนออกมาทิ้ง หากมีจ�ำนวนมากตามรอบของการท�ำน�้ำเกลือที่มากขึ้นในแต่ละวัน จะมีขนาดและความสูงของกองดินขี้บ่อที่มีขนาดใหญ่ ขึ้นเรื่อย ๆ ตามจ�ำนวนดินที่น�ำมาทิ้ง ซึ่งปรากฎให้เห็นกระจายอยู่ทั่วไปในบ่อกฐิน จากข้อมูลการสอบถามเกี่ยวสถานที่ทิ้ง ดินขีบ้ อ่ พบว่ามีทงั้ การทิง้ ในพืน้ ทีเ่ ดียวกันในกรณีทเี่ พิงต้มเกลืออยูใ่ กล้กนั และทิง้ ใครทิง้ มันในกรณีทเี่ พิงต้มเกลือนัน้ อยูใ่ กล หรือห่างกัน

65


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

โดยก่อนจะน�ำน�้ำเกลือไปต้มนั้น จะมีกระบวนการวัดค่าความเค็มของน�้ำเกลือโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งชาว บ้านที่ท�ำเกลือในบ่อกฐินนี้จะใช้กิ่งไม้สดของต้นสะแกนา ความยาวประมาณ 0.03-.0.06 เมตร ทิ้งลงในน�้ำเกลือ หากกิ่งไม้ จมแสดงว่าค่าความเค็มยังไม่เหมาะทีจ่ ะใช้ตม้ ต้องน�ำดินเอียดมาท�ำการผสมน�ำ้ เพิม่ เติม แต่ถา้ หากกิง่ ไม้ลอยเหนือน�ำ้ แสดง ว่าน�้ำเกลือนั้น มีความเค็มเข้มข้นเหมาะที่จะน�ำไปต้มให้เกิดเป็นผลึกเกลือต่อไป ซึ่งกรรมวิธีในการวัดค่าความเค็มของน�้ำ เกลือในแต่ละท้องถิน่ นัน้ ก็มวี ธิ ที แี่ ตกต่างกันออกไป เช่น ในท้องถิน่ แถบจังหวัดนครราชสีมาจะใช้ลกู ดิง่ ทีท่ ำ� มาจากยางของ ต้นไม้ หรือในภาษาถิ่นเรียกว่าคั่ง ผสมกับข้าวสารแห้งน�ำมาปั้นเป็นก้อนทรงกลมแล้วน�ำไปตากให้แห้ง ก่อนจะน�ำมาทิ้งใน น�้ำเกลือเพื่อวัดค่าความเค็ม (เนตรนภา รัตนโพธานันท์, 2558 : 16)

ภาพที่ 12 กองดินขี้บ่อที่ตักออกจากฮางเกลือแล้วน�ำมาเททิ้งไว้ภายนอกเพิงต้มเกลือ ที่มา: ผู้วิจัย, 2560

6.3.6 การต้มเกลือ กระบวนการต้มเกลือนั้นจะน�ำน�้ำที่ได้จากการกรอง ทิ้งไว้ให้ตกตะกอนจนใสและวัดค่าความเค็มแล้วเตรียม ตักมาใส่ภาชนะที่ใช้ส�ำหรับต้ม ซึ่งในอดีตจะใช้หม้อดินเผา แต่ในปัจจุบันจากการสังเกตและสอบถามพบว่าชาวบ้านหันมา ใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เช่น ถาดสังกะสี ขนาด 0.60x1.20x0.10 ม. เนื่องจากมีความทนทานต่อการแตกหัก ต้มได้ปริมาณ มากในครัง้ เดียว น�ำ้ หนักเบา และเก็บรักษาง่าย แทนการใช้หม้อดินเผา โดยภายหลังจากการน�ำน�ำ้ เกลือมาเทใส่ถาดสังกะสี ที่วางรอบนเตาแล้ว ก็ท�ำการจุดไฟใส่ฟืนที่หามาเตรียมไว้แล้วจากป่าละเมาะบริเวณใกล้เคียง ต้มต่อไป 2 -3 ชั่วโมง เติมฟืน เป็นระยะให้ไฟแรงอยู่เสมอ ในระหว่างทีต่ ม้ จะมีฟองของน�ำ้ ลอยขึน้ มาเป็นระยะ ชาวบ้านจะใช้ไม้พายขนาดเล็กทีท่ ำ� ขึน้ มาง่าย ๆ จากวัสดุ เหลือใช้ในครัวเรือนคอยตักออกจากผิวหน้าน�้ำในถาดสังกะสี จนน�้ำแห้งเริ่มเห็นเป็นผลึกเกลือสีขาวอยู่ก้นถาดจึงท�ำการลด จ�ำนวนฟืนลง เพื่อเบาเปลวไฟ ใช้ไม้พาเขี่ยเกลือไปมาทั่วทั้งถาดสังกะสีให้เกลือร่วนไม่ติดกันเป็นก้อน หลังจากนั้นจึงน�ำฟืน ออกจากเตาให้หมด แล้วใช้พลั่วขนาดเล็กตักเกลือในถาดสังกะสีมาใส่ภาชนะที่มีรูพรุน ระบายน�้ำได้ จากการสังเกตุพบว่า ชาวบ้านจะใช้ตะกร้าหรือเข่งพลาสติกในการใส่เกลือทีต่ ม้ ได้ ก่อนจะน�ำไปวางให้สะเด็ดน�ำ้ ผึง่ ลมและผึง่ แดดทิง้ ไว้ เพือ่ ท�ำให้

66


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

เกลือแห้งและมีความชืน้ น้อยทีส่ ดุ ก่อนจะน�ำใส่กระสอบปุย๋ ตัง้ รวมกันไว้ภายนอกเพิงต้มเกลือเพือ่ รอการขนไปเก็บทีบ่ า้ นใน คราวเดียวเพื่อเตรียมเก็บไว้บริโภคและแบ่งขายต่อไป

ภาพที่ 13 การต้มเกลือ โดยใช้น�้ำเค็มที่ละลายและกรองได้จากดินเอียด น�ำมาใส่ถาดสังกะสี ต้มให้น�้ำระเหยไปจนหมดกลายเป็นผลึกเกลือ ที่มา: ผู้วิจัย, 2560

ภาพที่ 14 ผลึกเกลือสินเธาว์ที่ต้มได้ ถูกตักน�ำมาใส่เข่งพลาสติกและน�ำมาตั้งไว้บนคอนให้สะเด็ดน�้ำ ที่มา: ผู้วิจัย, 2560

67


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ภาพที่ 15 กระสอบปุ๋ยบรรจุเกลือ ถูกตั้งรวบรวมไว้บนคอนไม้เพื่อป้องกันความชื้นจากดิน และรอขนไปเก็บไว้ที่บ้านในช่วงค�่ำของแต่ละวัน ที่มา: ผู้วิจัย, 2560

6.3 การเก็บเกลือ ภายหลังจากกระบวนการต้มเกลือ จนได้เกลือสินเธาว์ผลึกสีขาวหรือขาวปนน�้ำตาลอ่อนและท�ำการผึ่งแดด ผึ่งลม ให้เกลือแห้งดีแล้วนั้น ในอดีตชาวบ้านชาวบ้านนิยมเก็บเกลือโดยภาชนะดินเผา เช่น ไห หรือหม้อดินผา ปิดด้วยใบไม้ขัด ด้วยตอก นอกจากนี้ยังมีการใช้ใบไม้ที่หาได้ในท้องถิ่นหรือในแหล่งท�ำเกลือนั้นๆ เช่น ใบต้นกุง (พลวง) ซาด (ยางเหียง) หรือ สะแบง (ยางกราด) ร่วมกับตอกมาสานท�ำภาชนะทรงกระบอก ขนาดกว้างประมาณ 0.15-0.20 เมตร สูง 0.30 เมตร ใน การใส่เกลือไปขาย เรียกว่า “กะทอ” หรือ “กะทอเกลือ” อีกด้วย ปัจจุบันความนิยมในการใช้ภาชนะดินเผาในการเก็บเกลือหรือบรรจุเกลือไปขายนั้นได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย จาก ราคาภาชนะดินเผาที่สูงขึ้น หายากขึ้น มีน�้ำหนักมาเมื่อใส่เกลือ รวมถึงแตกหักง่ายเมื่อถูกกระทบกระเทือนรุ่นแรง ล้วนเป็น สาเหตุที่ท�ำให้ความนิยมในการน�ำมาใช้นั้นลดลงไปด้วย ประกอบกับมีวัสดุชนิดใหม่เข้ามาให้เลือกใช้โดยเฉพาะชาวบ้านใน แหล่งท�ำเกลือบ่อกฐิน ปัจจุบนั นิยมใช้กระสอบปุย๋ และถุงพลาสติกสีขาวขุน่ และขาวใสขนาดต่างๆ มาใช้บรรจุเกลือเพือ่ เก็บ หรือแบ่งขาย

7. สรุปผล เมือ่ พิจารณากระบวนการผลิตเกลือสินเธาว์ดว้ ยวิธขี ดู หน้าดินของแหล่งท�ำเกลือบ่อกฐินทัง้ 7 ขัน้ ตอน พบว่ากระบวนการ ผลิตเกลือสินเธาว์ตั้งแต่เริ่มต้นนั้นมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่เกื้อกูลกัน สะท้อนถึงความเข้าใจต่อพื้นที่ของมนุษย์ในการปรับใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับฤดูกาล สร้างโอกาสให้ธรรมชาติกลับมาฟื้นตัวภายหลังจากการใช้งานพื้นที่ได้อีกครั้ง และกลับมาใช้ได้อีกครั้งในวงรอบปีถัดไป ส่ง ผลให้เกิดเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมแหล่งท�ำเกลือสินเธาว์บ่อกฐินที่มีลักษณะเฉพาะชัดเจน

68


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ผู้วิจัยได้ท�ำการสรุปองค์ประกอบทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมแหล่งท�ำเกลือสินเธาว์บ่อกฐินที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของ กระบวนการท�ำเกลือสินเธาว์ ได้ดังนี้ 1) การเลี้ยงบ่อ เป็นขั้นตอนในการแสดงความเคารพและบอกกล่าวผีหรือสิ่งศักดิ์ที่ปกปักรักษาพื้นที่อยู่ให้รับรู้ว่าจะมี การเริม่ ท�ำเกลือสินเธาว์ ขอให้การท�ำเกลือมีความราบรืน่ ไม่มอี บุ ตั เิ หตุและผลิตเกลือได้จำ� นวนมาก เป็นต้น มีองค์ประกอบ ทางภูมิทัศน์ ได้แก่ 1.1) โนนเจ้าปู่ฟ้าระงึม ลักษณะกายภาพและสัณฐานเป็นโนนดินขนาดใหญ่ เป็นโนนศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเชื่อกันว่า มีผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ล�ำดับใหญ่ที่สุดในพื้นที่นี้อาศัยหรือประจ�ำอยู่ 1.2) ดอนปู่ตาบ้านบ่อกฐิน เป็นพื้นที่โล่งตั้งศาลเพียงตาและมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ 2) การเลือกท�ำเล มีความเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงการใช้วัตถุดิบหรือทรัพยากรในการผลิตเกลือ มีองค์ประกอบทางภูมิ ทัศน์ ได้แก่ 2.1) แหล่งน�้ำธรรมชาติ อาจเป็นล�ำห้วย หนองน�้ำที่ยังไม่แห้งขอดมีน�้ำเหลืออยู่เพียงพอต่อการน�ำมาใช้ เพื่อเตรียม น�้ำส�ำหรับมาละลายดินเอียดเพื่อท�ำน�้ำเกลือ 2.2) ป่าละเมาะ หาไม้มาท�ำเพิงต้มเกลือและวัสดุที่ใช้ในขั้นตอนต่างๆ เช่น ด้ามไม้พายหรือไม้เขี่ยเกลือ และหาฟืน มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการต้มเกลือ 2.3) หลุมหรือบ่อน�้ำ ที่ขุดขึ้นมาใหม่เพื่อหาน�้ำในกรณีที่แหล่งน�้ำธรรมชาติมีปริมาณน�้ำเหลือน้อยไม่เพียงพอต่อ การน�ำมาใช้ หรือในกรณีการเลือกท�ำเลท�ำเกลือสินเธาว์อยูถ่ ดั ออกมาจากแหล่งน�ำ้ ไกลพอสมควร และดินชัน้ ล่างยังมีความชืน้ หรือน�้ำใต้ดินระดับตื้นอยู่มาก 2.4) กองฟืน ส�ำหรับใช้ในกระบวนการต้มเกลือ จ�ำพวกล�ำต้นของต้นไม้ขนาดเล็กที่ตายแล้ว กิ่งไม้แห้ง เป็นต้น ซึ่ง หาได้จากป่าละเมาะใกล้เคียง แล้วน�ำมากองเตรียมไว้บริเวณด้านนอกและส่วนหนึ่งน�ำมาไว้ด้านในเพิงต้มเกลือด้านในเพื่อ ง่ายต่อการหยิบใช้ 3) การเตรียมบ่อ เป็นขั้นตอนของการเตรียมเพิงที่พักและเพิงต้มเกลือ มีองค์ประกอบทางภูมิทัศน์ ได้แก่ 3.1) เพิงพักและเพิงต้มเกลือหรือซุ้มเกลือ ลักษณะเป็นที่พักชั่วคราวที่ใช้ในช่วงท�ำเกลือสินเธาว์ (หลังฤดูเก็บเกี่ยว พ.ย.-ก.พ. ของทุกปี) ท�ำจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในละแวกใกล้เคียง เช่น ล�ำต้น กิ่ง ใบ จากป่าละเมาะ โครงสร้างท�ำขึ้น อย่างง่ายโดยใช้ตอกหรือเชือกผูก รวมถึงการใช้วสั ดุสมัยใหม่รว่ มด้วย เช่น ตะปูและลวดขนาดเล็กในการตอกหรือมัดโครงสร้าง 3.2) ฮางเกลือ มีลักษณะเป็นฮางขุดหลุมดินยาว ใช้เป็นภาชนะส�ำหรับการละลายดินเอียดเพื่อท�ำน�้ำเกลือหรือน�้ำ เค็มในขั้นตอนการท�ำน�้ำเกลือ โดยการเทดินเอียดลงในฮางและเทน�้ำผสมเพื่อละลายเกลือที่ปนอยู่ในเนื้อดินให้ละลายออก มากับน�้ำกลายเป็นน�้ำเกลือ 4) การหาดินและเตรียมดิน เป็นขั้นตอนของการรวบรวมหน้าดินที่มีเกลือผสมอยู่หรือรียกว่าดินเอียด ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น สารตั้งต้นของการผลิตเกลือสินเธาว์ มีองค์ประกอบทางภูมิทัศน์ ได้แก่ กองดินเอียด อยู่ภายนอกห่างจากเพิงต้มเกลือพอ สมควร เป็นพื้นที่ที่ดินแห้งไม่มีความชื้นอยู่บริเวณหน้าดิน ลักษณะเป็นกองดินรูปกรวยคว�่ำขนาดเล็กหลาย ๆ กอง ก่อนจะ ตักใส่ถังน�้ำไปเพื่อเตรียมน�ำไปท�ำเป็นน�้ำเกลือ 5) การท�ำน�ำ้ เกลือ เป็นขัน้ ตอนการผลิตน�ำ้ เกลือจากการละลายดินเพือ่ กรองเอาเฉพาะน�ำ้ เกลือทีม่ คี วามเค็มสูงมาต้มให้ เป็นผลึกเกลือ โดยในกระบวนการนี้จะมีการเกิดเป็นองค์ประกอบภูมิทัศน์ที่ส�ำคัญ ได้แก่ กองขี้บ่อ ขี้บ่อหรือดินจืด คือดิน ทีผ่ า่ นกระบวนการละลายเอาเกลือทีป่ นอยูใ่ นเนือ้ ดินออกมาเป็นน�ำ้ เกลือแล้วคงเหลือไว้เพียงเนือ้ ดินเท่านัน้ โดยชาวบ้านจะ ตักออกจากฮางเกลือใส่ถังน�้ำออกไปทิ้งภายนอกจากเพิงต้มเกลือที่ไม่ไกลมากนัก หากมีการผลิตหรือต้มเกลือมากกองขี้บ่อ ก็จะมีขนาดที่ใหญ่ตาม อันเนื่องมาจากดินขี้บ่อที่ถูกน�ำมาทิ้งนั่นเอง 6) การต้มเกลือ เป็นขั้นตอนการน�ำน�้ำเค็มมาต้มในภาชนะโดยให้เกิดกระบวนการระเหยและตกผลึกเป็นเกลือสินเธาว์ ก่อนจะตักใส่ภาชนะรองรับเพือ่ ท�ำให้แห้ง ก่อนจะบรรจุในภาชนะอืน่ ๆ เพือ่ การเก็บไว้บริโภคและขายเป็นล�ำดับต่อไป มีองค์ ประกอบทางภูมิทัศน์ คือ

69


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

เข่งตากเกลือ ใช้ส�ำหรับบรรจุเกลือที่ได้จากการต้นเสร็จใหม่ๆ ยกออกมาวางเพื่อผึ่งแดด-ผึ่งลมนอกเพิงต้มเกลือ ในอดีตท�ำ จากไม้ไผ่สานแต่ในปัจจุบันนิยมใช้เข่งพลาสติกเนื่องจากหาซื้อง่าย ในการใส่เกลือที่ต้มได้น�ำไปวางบนคอนไม้ (ราวไม้พาด เตีย้ ๆ) เพือ่ ให้สะเด็ดน�ำ้ ก่อนจะน�ำไปผึง่ ลมและผึง่ แดดภายนอกเพิงต้มเกลือ แล้วจึงค่อยตักใส่กระสอบปุย๋ ตัง้ พักไว้เพือ่ จะน�ำ ไปเก็บไว้ที่บ้านต่อไป 7) การเก็บเกลือ เป็นกระบวนการที่น�ำเกลือที่ได้จัดเก็บในภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์รูปแบบอื่นๆ เพื่อเก็บไว้บริโภคหรือ เพื่อขาย โดยกระบวนการเก็บเกลือของชาวบ้านในแหล่งท�ำเกลือบ่อกฐินนั้นจะนิยมเก็บโดยใช้กระสอบปุ๋ยจากบริเวณที่ต้ม เกลือแล้วน�ำไปเก็บไว้ที่บ้านของตนเอง ก่อนจะน�ำไปแบ่งใส่ถุงพลาสติกสีขาวขุ่นและขาวใส เพื่อแบ่งขายให้พ่อค้าคนกลาง น�ำไปน�ำไปขายต่อหรือขายให้กับชาวบ้านทั่วไป จกระบวนการนี้จึงไม่มีมีองค์ประกอบทางภูมิทัศน์จากกระบวนการผลิต เกลือที่ปรากฎเป็นกายภาพให้เห็นชัดเจนดังเช่นกระบวนการอื่น ๆ ข้างต้น ผลการศึกษาองค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมแหล่งท�ำเกลือสินเธาว์บ่อกฐิน ต�ำบลเมืองเพีย อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัด ขอนแก่น สามารถสรุปได้ 11 องค์ประกอบ คือ 1) โนนเจ้าปู่ฟ้าระงึม 2) ดอนปู่ตาบ้านบ่อกฐิน 3) แหล่งน�้ำธรรมชาติ 4) ป่า ละเมาะ 5) หลุมหรือบ่อน�้ำ 6) กองฟืน 7) เพิงพักและเพิงต้มเกลือ 8) ฮางเกลือ 9) กองดินเอียด 10) กองขี้บ่อ 11) เข่งตาก เกลือ

8. ข้อเสนอแนะ แหล่งท�ำเกลือสินเธาว์บ้านบ่อกฐิน ต�ำบลเมืองเพีย อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น นับเป็นแหล่งท�ำเกลือชุมชนโบราณ (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2546 : 73) และมีความส�ำคัญ 1 ใน 5 แห่งของภาคอีสานที่ยังหลงเหลือการท�ำเกลือสินเธาว์ด้วยวิธีพื้น บ้านอยูใ่ นปัจจุบนั (อมฤต หมวดทอง, 2558 : 168) มีองค์ประกอบของภูมทิ ศั น์ทเี่ กิดขึน้ จากกระบวนการท�ำเกลือทีป่ ระกอบ รวมกันเป็นภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมแหล่งท�ำเกลือสินเธาว์บอ่ กฐินทีม่ เี อกลักษณ์และมีความชัดเจน สะท้อนประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ และพัฒนาการการปรับตัวของมนุษย์เพื่อเข้าใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมได้อย่างเข้าใจ สมดุลและยั่งยืน ปัจจุบันยังคงเหลือการท�ำเกลือสินเธาว์ด้วยวิธีพ้ืนบ้านหรือการขูดหน้าดินอยู่ไม่มากนัก อันเกิดมาจากหลายปัจจัยที่ ส�ำคัญ เช่น ราคาเกลือที่ตกต�่ำลง จากการผลิตเกลือในรูปแบบอุตสาหกรรมทั้งในเขตภาคอีสานที่อ�ำเภอบ้านดุง อุดรธานี โดยการสูบน�ำ้ เค็มขึน้ มาตาก และเกลือสมุทรแถบจังหวัดสมุทรสาครทีม่ กี ารผลิตเกลือได้คราวละมากๆ ท�ำให้การผลิตเกลือ สินเธาว์ด้วยวิธีพื้นบ้านในแต่ละครั้งนั้นดูไม่คุ้มค่ากับการลงมือลงแรงและเวลาที่ใช้ไป รวมถึงค่านิยมของคนรุ่นใหม่ในรุ่น ลูก-หลานทีไ่ ม่คอ่ ยให้ความสนใจจะเข้ามาสืบทอดกระบวนการท�ำเกลือสินเธาว์จากรุน่ พ่อ-แม่มากนัก จึงส่งผลให้มแี นวโน้ม ของการท�ำเกลือสินเธาว์ด้วยวิธีพื้นบ้านนั้นลดน้อยลงตามล�ำดับ จากผลการศึกษาผู้วิจัยเล็งเห็นศักยภาพและโอกาสในด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และบริหารจัดการสถานที่แห่งนี้ โดย เสนอแนะขอบเขตพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ครอบคลุมบ่อกฐินและองค์ภมู ทิ ศั น์วฒ ั นธรรมแหล่งท�ำเกลือสินเธาว์ทเี่ กีย่ วเนือ่ งในพืน้ ทีโ่ ดย รอบที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน มีเนื้อที่ประมาณ 726 ไร่ 1 งาน 33 ตารางวา (ภาพที่ 16) และมีข้อเสนอแนะ 3 ประการ ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาการท�ำเกลือสินเธาว์ด้วยวิธี พื้นบ้าน (วิธีการขูดหน้าดิน) โดยหน่วยงานท้องถิ่นในระดับต่างๆ เป็นผู้บริหารจัดการพื้นที่ 2) เสนอแนะการอนุรักษ์องค์ ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่ส�ำคัญบางองค์ประกอบ เพื่อยังให้คงเอกลักษณ์ไม่ให้ถูกท�ำลายหายไปและส่งผลกระทบต่อ ระบบนิเวศในบางฤดูกาล เช่น โนนขี้บ่อ ป่าละเมาะ ดอนปู่ตาและโดนเจ้าปู่ฟ้าระงึม 3) บรรจุเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และกระบวนการท�ำเกลือสินเธาว์เป็นบทเรียนในหลักสูตรท้องถิ่นหรือในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นและถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังต่อไป

70


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ภาพที่ 16 แนวเขตเสนอแนะพื้นที่อนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมการท�ำเกลือสินเธาว์บ้านบ่อกฐิน ที่มา: ผู้วิจัย, 2560

9. กิตติกรรมประกาศ บทความวิจยั นีไ้ ด้รบั การสนับสนุนโดยการให้ขอ้ มูล สอบถาม สัมภาษณ์และน�ำส�ำรวจพืน้ ที่ จากชาวบ้านและผูป้ ระกอบ อาชีพท�ำเกลือสินเธาว์ในแหล่งท�ำเกลือบ่อกฐิน ต�ำบลเมืองเพีย อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ขอบคุณผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.อมฤต หมวดทอง ที่ได้ให้สัมภาษณ์และค�ำปรึกษาในด้านกระบวนการและแหล่งท�ำเกลือสินเธาว์ในอีสาน และงานวิจัย ชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2560

10. เอกสารอ้างอิง เกรียงไกร เกิดศิริ. (2551). ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์อุษาเนย์. ศรีศักร วัลลิโภดม. (2546). ทุ่งกุลา อาณาจักรเกลือ 2500 ปี จากยุคแรกเริ่มล้าหลัง ถึงยุคมั่งคั่งข้าว หอม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มติชน. อมฤต หมวดทอง. (2558). เกลือ และประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชุมชนในอีสาน. หน้าจั่ว, (ฉบับที่ 29), 165-168. เนตรนภา รัตนโพธานันท์. (2558). ภูมิปัญญาการผลิตเกลือในแอ่งดินโคราช. ชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา, 9(1), 16. รติสมัย พิมัยสถาน. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการผลิตเกลือสินเธาว์กรณีศึกษาบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. บ�ำเพ็ญ ไชยรักษ์. (2554). บทบาทของเกลือที่มีต่อนิเวศวัฒนธรรมและสุขภาวะของชุมชนในลุ่มน�้ำสงคราม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร. อมฤต หมวดทอง. (2563). สถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมเกลืออีสาน : อุทยานธรณีที่ซ่อนกายและความหมายทางมรดก วัฒนธรรม. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://asacrew.asa.or.th/salt-arch/ [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563].

71



บทความวิจัย

- Research Article -



วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

กระบวนการทำ�งานเพื่อชุมชนในการออกแบบวิหาร พระอุปคุต ณ สวนสาธารณะหนองแวง จังหวัดมหาสารคาม Work Process for the Community to Design the Vihara Phra Upakut at Nong Waeng Public Park, Maha Sarakham Province วรากุล ตันทนะเทวินทร์1* วิวัฒน์ วอทอง2 ธเนศ ฉัตรจุฑามณี3 4 และ สายลม โกษาเฉวียง 1

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 2-3 อาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 4 ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 ต�ำบลโคกพระ อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

Warakul Tantanatewin1*, Wiwat Wotong2, Thanet Chatjutamanee3 and Sailom Kosachaviang4 1

Assistant Professor, Faculty of Architecture Urban Design and Creative Arts, Mahasarakham University, Maha Sarakham Province, Thailand 44150 2-3 Lecturer, Faculty of Architecture Urban Design and Creative Arts, Mahasarakham University, Maha Sarakham Province, Thailand 44150 4 Village Headman, Moo 4, Kok Phra Sub-district, Kantarawichai District, Maha Sarakham Province, Thailand 44150 *Email: warakul.t@msu.ac.th

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มุ่งใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนในศึกษาเพื่อการออกแบบวิหารพระอุปคุตและภูมิทัศน์โดยรอบ ณ สวนสาธารณะหนองแวง อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ส�ำหรับกิจกรรมงานบุญประเพณีและกิจกรรมชุมชน ซึ่ง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การส�ำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก การ ประชุมกลุ่มย่อย และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการพัฒนางานออกแบบร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่องในแต่ละ ขัน้ ตอน ตัง้ แต่การศึกษาวิเคราะห์และสรุปความต้องการของชุมชน การวางแผน การด�ำเนินการออกแบบและก่อสร้าง การ เสนอแนะงานออกแบบ การประเมินผลงานและสรุปผล เพือ่ น�ำไปออกแบบวิหารส�ำหรับประดิษฐานพระอุปคุตตามทีช่ มุ ชน ต้องการ ผลลัพธ์จากการด�ำเนินงาน คือ วิหารที่มีลักษณะรูปทรง การประดับตกแต่ง และโครงสร้างอาคารที่เรียบง่าย แต่ คงแสดงลักษณะศิลปะสถาปัตยกรรมทีช่ มุ ชนคุน้ เคยในรูปแบบไทย-ล้านช้าง (ไทยอีสาน) และการใช้พชื พรรณพืน้ ถิน่ ในงาน ภูมิทัศน์ ภายใต้ข้อจ�ำกัดในด้านงบประมาณและบริบทชุมชน

75


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

นอกจากนั้นในแต่ละขั้นตอนของการออกแบบ เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ออกแบบและชุมชนในการ สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมประเภทศาสนสถานและงานภูมิทัศน์ โดยพบว่าความต้องการของชุมชนเป็นข้อมูลที่ส�ำคัญ ทีส่ ดุ ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ในขัน้ ตอนการออกแบบ ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ในการวางแผนถือเป็นพืน้ ฐานส�ำคัญทีส่ ดุ ทัง้ นี้ ความตั้งใจในการท�ำงานของผู้น�ำชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และความรู้ความเข้าใจในทิศทางเดียวกันของคนในชุมชนนั้น เป็นปัจจัยส�ำคัญในการขับเคลื่อนการท�ำงานให้ส�ำเร็จอย่างยิ่ง ค�ำส�ำคัญ: การมีส่วนร่วมของชุมชน, กระบวนการออกแบบ, วิหาร, ภูมิทัศน์

Abstract This research aimed to use community participation in the study for the design of vihara Phra Upakut and surrounding landscape at Nong Waeng public park in Kantharawichai District, Maha Sarakham Province for merit-making events and community activities. That was a Participatory Action Research (PAR). The methods were used to collect data including field survey, in-depth interview, small focused group meeting and organizing a forum to exchange opinions. The design development with the community continuously at each step including study, analyze and summarize community’s requirement, planning, design and construction process, suggestions for designs, evaluation and summary of overall working. To summarize the design guidelines for vihara Phra Upakut according to the community requires. Results from working process was vihara Phra Upakut which simple shape, decoration and building structure. While it was also showed the familiar art and architecture in Thai-Lan Chang style (Thai-Isan) and used of local plants in landscape design under limited cost and context. Moreover, in each part of the design process that exchange of knowledges between designers and community in the creation of religious architecture and landscape. The needs of community are the most important data to analyze and synthesis in the design phase. In addition, the work intention of community leader and stakeholders, additionally knowledge and understanding in the same direction of the people in the community is an important factor in driving the work to great success. Keywords: community participation, design process, vihara, landscape Received: July 13, 2020; Revised: August 3, 2020; Accepted: August 25, 2020

76


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

1. บทน�ำ เนือ่ งด้วยชาวชุมชนโคกพระและญาติโยมวัดป่าศรัทธาธรรมวิทยา ต�ำบลโคกพระ อ�ำเภอกันทรวิชยั จังหวัดมหาสารคาม มีความต้องการพัฒนาพื้นที่ในบริเวณสวนสาธารณะหนองแวง ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตรงข้ามถนนหน้าวัดป่าศรัทธาธรรมวิทยา โดยมีแนวคิดเบื้องต้นในการพัฒนาพื้นที่ คือ การจัดสร้างวิหารกลางน�้ำ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระอุปคุต และสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พี่น้องประชาชนชาวชุมชนโคกพระเคารพบูชา เพื่อการใช้ประโยชน์ทางพระพุทธศาสนาและกิจกรรม สาธารณะประโยชน์อื่นในพื้นที่อ�ำเภอกันทรวิชัยและใกล้เคียง สวนสาธารณะแห่งนี้เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งที่เชื่อมต่อกับวัดป่า ศรัทธาธรรมวิทยาทางด้านหน้า ประชาชนในพืน้ ทีแ่ ละบริเวณใกล้เคียงเข้ามาใช้ประโยชน์ในการท�ำกิจกรรมงานบุญประเพณี และกิจกรรมชุมชนอยู่เสมอ จึงน�ำมาสู่ความต้องการในการจัดสร้างวิหารกลางน�้ำส�ำหรับประดิษฐานพระอุปคุตในรูปแบบ สถาปัตยกรรมไทยอีสานร่วมสมัย และพัฒนาพื้นที่โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์ ณ สวนสาธารณะหนองแวงให้มีทัศนียภาพที่ดี การวิจัยครั้งนี้ได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งมี 4 กระบวนการ ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติ ตามแผน การประเมินผล และการสะท้อนผล (Kemmis, S and R. McTaggart, 1988) ในการวางแผนและการปฏิบัติตาม แผนนัน้ ได้มงุ่ สร้างความตืน่ ตัวให้คนในชุมชนโคกพระเข้ามาร่วมในการด�ำเนินการพัฒนาชุมชนนี้ เนือ่ งจากการพัฒนาในด้าน ต่าง ๆ จะประสบความส�ำเร็จนั้นมักขึ้นอยู่กับคนในชุมชนทั้งสิ้น โดยผู้ท�ำหน้าที่สนับสนุนทางวิชาการและให้ค�ำปรึกษาใน ด้านการออกแบบ คือ ผู้ออกแบบ (ผู้วิจัย) ซึ่งการกระตุ้นให้ประชาชนได้รู้และเข้าใจถึงแนวคิด หลักการวิเคราะห์ ปัญหา ของชุมชน และท�ำให้ตระหนักว่าเป็นสิง่ ทีท่ กุ คนต้องคิดวางแผนร่วมกัน (ทนงศักดิ์ คุม้ ไข่นำ�้ , 2536) ทัง้ นีย้ งั มีเครือข่ายชุมชน คือ ญาติโยมและคณะกรรมการวัดป่าศรัทธาธรรมวิทยา เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นผู้ด�ำเนินการในการประสานงานแต่ละ ฝ่าย รวมถึง การขออนุญาตก่อสร้างและก�ำกับติดตามการก่อสร้างต่อไป การกระท�ำในลักษณะนี้จะท�ำให้คนในชุมชนเกิด ความรูส้ กึ ว่าตนเองได้มสี ว่ นร่วมในการอภิปราย ถกเถียง พิจารณาปัญหา และคิดวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาในชุมชนของ ตนเอง จนเกิดความรู้สึกร่วมรับผิดชอบในการด�ำเนินกาเหมือนเป็นปัญหาของตน อย่างไรก็ตามการพัฒนาชุมชนไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้วยกิจกรรมใด ควรสนับสนุนให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ หากเกินกว่าความสามารถของชุมชน อาทิ ความรู้ทางด้านวิชาการ เทคโนโลยีและวัสดุที่จ�ำเป็น หน่วยงาน/ภาครัฐจ�ำเป็น ต้องเข้าช่วยเหลือเพื่อให้การด�ำเนินการบรรลุผล โดยวิธีการท�ำงานกับประชาชน (Work with people) เป็นการร่วมคิด ร่วมปรึกษา และร่วมกันท�ำงาน ไม่ใช่ท�ำให้ประชาชน (Work for people) ฝ่ายเดียว (จิตจ�ำนงค์ กิติกีรติ, 2525) ดังนั้น กระบวนการท�ำงานนี้ผู้ออกแบบจึงมุ่งการท�ำงานกับชุมชนเพื่อชุมชน เพื่อให้ผลงานออกแบบวิหารพระอุปคุตกลางน�้ำและ งานภูมิทัศน์นี้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน 1.1 หลักการพัฒนาชุมชน การพัฒนาชุมชนเป็นการร่วมด�ำเนินการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้เป็นปึกแผ่นไปใน แนวทางที่ชุมชนต้องการ ในขั้นแรกต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชน โดยร่วมมือกันด�ำเนินการท�ำงาน และ มักจะได้รับความช่วยเหลือด้านวิชาการจากหน่วยงานภายนอก (Dunham, 1958) ซึ่งเป็นกระบวนการที่มุ่งส่งเสริม ความเป็นอยูข่ องคนในชุมชนให้ดขี นึ้ โดยความร่วมมืออย่างจริงจังของชุมชนทีค่ ดิ ริเริม่ เอง หรือหากชุมชนไม่ได้รเิ ริม่ ก็สามารถ ใช้เทคนิคกระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มขึ้น เพื่อให้กระบวนการนี้ได้รับการตอบสนองจากชุมชนด้วยความกระตือรือร้น โดย โกวิทย์ พวงงาม (2553) ให้ความหมายของการพัฒนาชุมชนว่า เป็นการเปลีย่ นแปลง สร้างสรรค์ปรับปรุงอย่างมีกระบวนการ (Process) และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีโครงสร้างและแบบแผน (Planed and Structured Change) หรือมีการก�ำหนด ทิศทางของเป้าหมายชัดเจน เพือ่ ยกระดับคุณภาพชีวติ ด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สุขภาพอนามัย วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ในขณะที่รักษาทุนทางสังคมไว้ เช่น ภูมิปัญญา ระบบนิเวศ ความเชื่อ ค่านิยม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและชาติพันธุ์ เป็นต้น การพัฒนาชุมชนจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สะท้อนความก้าวหน้าในทิศทางที่ดีขึ้น ถือเป็นกระบวนการ เปลีย่ นแปลงในระดับกลุม่ ทางสังคมทีอ่ ยูอ่ าศัยร่วมกัน เช่น ครอบครัว ละแวกบ้าน หมูบ่ า้ นและต�ำบลทีเ่ กีย่ วข้องสัมพันธ์กนั ติดต่อสือ่ สารและเรียนรูร้ ว่ มกันหรือผูกพันกัน ภายใต้วฒ ั นธรรม ความร่วมมือและการพึง่ พากัน เพือ่ บรรลุวตั ถุประสงค์รว่ ม กัน (ปรีชา กลิ่นรัตน์, 2536) การพัฒนาชุมชนมีเป้าหมายส�ำคัญ คือ 1) เปลี่ยนแปลงหรือสร้างทัศนคติที่ดีต่องานพัฒนา ชุมชน 2) สร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในชุมชนให้มีความคิดเห็นต่อการร่วมพัฒนา 3) ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความคิดริเริ่มใน การพัฒนา 4) ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อสานประโยชน์แก่ชุมชน และ 5) พัฒนาให้ชุมชนมีความรู้ในการช่วยเหลือ ตนเองเพิ่มขึ้น

77


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

การด�ำเนินงานพัฒนาชุมชนมีหลักส�ำคัญ 3 ประการ คือ ความคิดริเริ่มมาจากประชาชน การให้ประชาชนมีส่วนร่วม และการช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งการช่วยเหลือตนเองได้เป็นหลักการส�ำคัญที่สุดและเป็นเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนาชุมชน อย่างไรก็ตามยังมีปจั จัยแวดล้อมทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการพัฒนาชุมชนอันประกอบด้วย ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางการเมือง สภาพแวดล้อมทางสังคม สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่ควรจะเป็น ซึ่ง ต้องพิจารณาในกระบวนการท�ำงานด้วย การพัฒนาชุมชนแตกต่างจากการพัฒนาอื่น เนื่องจากเป็นการพัฒนาที่คนให้มี ความพร้อมรองรับกิจกรรมการพัฒนาได้ (สนธยา พลศรี, 2547) โดยมีองค์ประกอบที่ส�ำคัญ 10 ส่วน ได้แก่ 1) คนในชุมชน 2) ทุนของชุมชน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม 3) วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา 4) ยุทธศาสตร์หรือวิธี การพัฒนา 5) กระบวนการพัฒนาชุมชน เป็นลักษณะขั้นตอนในด�ำเนินงาน 6) การสนับสนุนช่วยเหลือจากรัฐบาล/ภาค เอกชน 7) การบริหารและจัดการที่ดี 8) นักพัฒนาชุมชน 9) การประสานงานระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ไปในทิศทาง เดียวกัน และ 10) ผลของการพัฒนา โดยคนในชุมชนนัน้ เป็นองค์ประกอบส�ำคัญทีส่ ดุ ไม่วา่ จะเป็นผูน้ ำ� หรือสมาชิกในชุมชน ก็ตาม 1.2 กระบวนการพัฒนาชุมชนที่ชุมชนมีส่วนร่วม กระบวนการคิดและการปฏิบตั ทิ ผี่ มู้ สี ว่ นเกีย่ วข้องทุกฝ่ายเข้ามาเรียนรู/้ ท�ำงานร่วมกัน เป็นกระบวนทีต่ อ้ งอาศัย ความร่วมมือเพือ่ สร้างความเข้มแข็ง การคิดและเรียนรูก้ นั อย่างมีปฏิสมั พันธ์ทดี่ ตี อ่ กันและลงมือปฏิบตั อิ ย่างจริงจัง ซึง่ ค�ำนึง ถึงส่วนรวมเป็นที่ตั้ง โดยมีการความร่วมมือของคนในชุมชน (ตั้งแต่การวางแผนการพัฒนาของตนเอง) ที่สอดคล้องกับ กระบวนทัศน์ในการพัฒนาชุมชน (เฉลียว บุรีภักดี และคณะ, 2545) มีชุมชนเป็นหลักในการก�ำหนดความต้องการในการ พัฒนา ด�ำเนินการให้เกิดการพัฒนา และรับผลลัพธ์จากการพัฒนานั้น การศึกษาเรียนรู้ของชุมชนจะเป็นกลไกและ กระบวนการส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เกิดการพัฒนาทีเ่ หมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการปรับปรุง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมี 2 ลักษณะ คือ การมีส่วนร่วมในลักษณะที่เป็นกระบวนการพัฒนาที่ให้คนในชุมชนมีส่วนใน กระบวนการพัฒนา ตั้งแต่เริ่มต้นที่ร่วมกันค้นหาปัญหา การวางแผน การตัดสินใจ การระดมทรัพยากรและเทคโนโลยี ท้องถิ่น การบริหารจัดการ การติดตาม ประเมินผล รวมทั้งการรับประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการ ที่มีความสอดคล้องกับ วิถชี วี ติ และวัฒนธรรมของชุมชน และลักษณะการมีสว่ นร่วมทางการเมือง ในการส่งเสริมสิทธิและพลังอานของพลเมืองโดย ประชาชนหรือชุมชน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม (ปาริชาติ วลัยเสถียร, 2542) การมีส่วนร่วมในการพัฒนามี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับการตัดสินใจ ระดับการร่วมมือ และระดับการใช้ประโยชน์ โดยระดับของการมีสว่ นร่วมเป็นมิตเิ ชิงคุณภาพตามแนวคิดของอาร์น สไตน์ ทีใ่ ห้ความส�ำคัญต่ออ�ำนาจการตัดสินใจ (ระดับ การตัดสินใจ) การเปลี่ยนแปลงที่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบและขั้นตอน ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมการพัฒนา มีขั้นตอนเริ่ม ต้นจากการท�ำการศึกษาและส�ำรวจสภาพของชุมชน การวิเคราะห์ขีดความสามารถของชุมชน การร่วมกับชุมชนในการจัด ล�ำดับของปัญหา/ความต้องการ การวางแผนการปฏิบัติงานโดยใช้ข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาประกอบการวางแผน การด�ำเนินงานตามแผน และการติดตามประเมินผลต่าง ๆ ที่ด�ำเนินการ ส�ำหรับการมีส่วน ร่วม (Participatory) ขั้นตอนในการพัฒนาแบ่งเป็น 5 ขั้น เริ่มที่ขั้นที่ 1 ริเริ่มการพัฒนาคนในชุมชนเข้ามาร่วม ค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาภายในชุมชน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ก�ำหนดความต้องการและจัดล�ำดับ ความส�ำคัญของความต้องการ ขัน้ ที่ 2 วางแผนในการพัฒนา คนในชุมชนมีสว่ นร่วมก�ำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ ก�ำหนด วิธีการและแนวทางการด�ำเนินการ ขั้นที่ 3 ร่วมพัฒนา/สร้างประโยชน์โดยสนับสนุนทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์และแรงงาน หรือ เข้าร่วมบริหาร/ประสานงาน/ขอความช่วยเหลือจากภายนอก ขั้นที่ 4 ร่วมในการรับผลประโยชน์ที่พึงได้จากการพัฒนาทั้ง ด้านวัตถุและจิตใจ และขั้นที่ 5 ร่วมประเมินการพัฒนาที่ได้กระท�ำไปนั้นส�ำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างไร การประเมิน อาจเป็นรูปแบบการประเมินผลย่อยหรือความก้าวหน้าเป็นระยะหรือผลรวมสรุปสุดยอด (ทศพล กฤตยพิสฐิ , 2537; เฉลียว บุรีภักดี และคณะ, 2545)

78


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

1.3 กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและงานภูมิทัศน์ การออกแบบทางสถาปัตยกรรมสามารถจ�ำแนกตามประเภทของงานออกแบบ เช่น งานสถาปัตยกรรม (Architecture) งานภูมิสถาปัตยกรรม การจัดภูมิทัศน์และวางผังบริเวณ (Landscape Architecture) งานออกแบบตกแต่ง ภายในหรืองานมัณฑนศิลป์ (Interior Design) เป็นต้น การท�ำงานในการวิจัยนี้เป็นส่วนของงานออกแบบก่อสร้างทาง สถาปัตยกรรม ที่เป็นศาสนสถานในชุมชน และงานภูมิสถาปัตยกรรมในลักษณะของการวางผังบริเวณและเลือกพืชพรรณ ที่ส่งเสริมภูมิทัศน์ โดยมีขั้นตอนและรายละเอียดในการท�ำงานออกแบบ ดังนี้ การออกแบบส่วนงานสถาปัตยกรรมมีขั้นตอนโดยสังเขป ได้แก่ 1) ศึกษารายละเอียดข้อมูลโครงการ ความต้องการของ โครงการ และงบประมาณ 2) ส�ำรวจที่ตั้ง พื้นที่ในการออกแบบก่อสร้างและสภาพแวดล้อมต่างโดยรอบ ทั้งอาคารข้างเคียง และงานระบบต่าง ๆ ทั้งระบบไฟฟ้า สุขาภิบาลและระบบอื่น 3) ศึกษาข้อมูลเฉพาะเพิ่มเติมเพื่อออกแบบตามประเภทของ อาคาร 4) วิเคราะห์ปัญหาที่ส่งผลต่องานออกแบบสถาปัตยกรรม 5) ก�ำหนดโครงร่างแบบทางด้านวิศวกรรมและประสาน กับวิศวกรทุกระบบทีเ่ กีย่ วข้อง 6) ก�ำหนดแนวคิดในการออกแบบและพัฒนางานออกแบบจากแบบทางเลือก 7) จัดท�ำแบบ ก่อสร้างและรายละเอียดรายการประกอบแบบ และ 8) ตรวจสอบครัง้ สุดท้าย น�ำเสนอแบบและส่งพิจารณาเห็นชอบ/อนุมตั ิ (ส�ำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม กรมชลประทาน, ม.ป.ป.; รังสิทธิ์ ตันสุขี และคณะ, 2561) การออกแบบส่วนงานภูมิทัศน์มีขั้นตอนโดยสังเขป ได้แก่ 1) ศึกษารายละเอียดข้อมูลโครงการ ความต้องการ ของโครงการ และงบประมาณ 2) ส�ำรวจที่ตั้ง สภาพทางกายภาพของพื้นที่และพืชพรรณในบริเวณที่ออกแบบก่อสร้าง 3) วิเคราะห์ปญ ั หาและน�ำมาออกแบบวางผังบริเวณและจัดภูมทิ ศั น์ 4) ก�ำหนดโครงร่างแบบทางด้านวิศวกรรมและประสาน กับวิศวกรทุกระบบที่เกี่ยวข้อง 5) จัดท�ำแบบก่อสร้างและรายละเอียดรายการประกอบแบบ และ 6) ตรวจสอบครั้งสุดท้าย น�ำเสนอแบบและส่งพิจารณาเห็นชอบ/อนุมัติ (ส�ำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม กรมชลประทาน, ม.ป.ป) ใน การออกแบบงานภูมิทัศน์นั้นต้องมีความรู้ความเข้าใจคุณลักษณะและคุณสมบัติพืชพรรณ รวมทั้งการใช้ ประโยชน์จากพรรณไม้แต่ละประเภท เช่น ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน เป็นต้น (จามรี อาระยานิมิตสกุล, 2558) โดยต้อง ค�ำนึงถึงขนาดและสัดส่วนทีเ่ หมาะสมในการจัดภูมทิ ศั น์ ความรูด้ า้ นสุนทรียศาสตร์ (องค์ประกอบศิลป์) ส�ำหรับการใช้ทวี่ า่ ง และกิจกรรม รวมทั้งความเข้าใจในงานปรับปรุงระดับพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์และสะดวกสบายในการใช้พื้นที่ รวมถึง การสร้างทัศนียภาพให้สวยงาม (ศศิยา ศิริพานิช, 2558) อีกทั้งยังมีบทบาทเป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ เพื่อใช้ประโยชน์ ด้านศาสนาของชุมชน โดยการออกแบบสภาพแวดล้อมเพือ่ เอือ้ ให้เกิดพืน้ ทีฝ่ กึ ปฏิบตั กิ จิ กรรมเกีย่ วข้องกับสมาธิ ศีล ปัญญา สอดคล้องกับหลักพุทธศาสนา ในการใช้ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนา (เดวิด คินส์ลีย์, 2551) ความต้องการพัฒนาพื้นที่ ณ สวนสาธารณะหนองแวง เพื่อรองรับกับกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนเป็นโจทย์หลัก ในการท�ำงานนี้ ซึ่งผลงานออกแบบก่อสร้างวิหารพระอุปคุตกลางน�้ำและการปรับปรุงภูมิทัศน์เป็นผลลัพธ์ที่ชุมชนต้องการ น�ำไปใช้ กระบวนการท�ำงานนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อการออกแบบและจัดท�ำแบบร่างขั้นสุดท้าย โดยใช้กระบวนการออกแบบร่วม กับชุมชน มีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านในการออกแบบก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมและงานภูมิทัศน์กับบริบทของชุมชน ระหว่างผูอ้ อกแบบและเครือข่ายชุมชน เพือ่ ให้การด�ำเนินการเป็นไปตามแผนงาน กระบวนการมีสว่ นร่วมของชุมชนในแต่ละ ขั้นตอนมีวัตถุประสงค์ให้ชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจและความสามัคคีในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนการท�ำงานให้ส�ำเร็จ ตลอด จนเกิดความร่วมมือร่วมใจกันด�ำเนินงานในขั้นตอนก่อสร้างในอนาคต ดังนั้นการด�ำเนินการศึกษาเพื่อการออกแบบนี้ จึงเน้นที่คนในชุมชนผู้เป็นเจ้าของพื้นที่เป็นส�ำคัญ เพื่อให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตรงกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชนและมี ความเหมาะสมกับบริบทของชุมชน โดยมีกรอบกระบวนการท�ำงาน (ภาพที่ 1) และรายละเอียดส�ำคัญในแต่ละประเด็น ดัง ต่อไปนี้

79


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ภาพที่ 1 ขอบเขตในการท�ำงานและกรอบกระบวนการท�ำงานระหว่างชุมชนและผู้ออกแบบ ที่มา: ผู้วิจัย

2. วัตถุประสงค์ เป้าหมายในกระบวนการท�ำงานนี้ คือ ผลงานการออกแบบและจัดท�ำแบบร่างวิหารกลางน�้ำในลักษณะเปิดโล่งแบบ ศาลาและภูมทิ ศั น์โดยรอบ ซึง่ เป็นตามความต้องการหลักของชุมชนโคกพระ อ�ำเภอกันทรวิชยั จังหวัดมหาสารคาม ผูเ้ ป็น เจ้าของพื้นที่ จึงมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังนี้ 2.1 เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป สภาพแวดล้อมแต่ละด้าน และกิจกรรมงานบุญประเพณีของชุมชน 2.2 เพือ่ เสนอแนวทางในการออกแบบวิหารพระอุปคุตกลางน�ำ้ และการปรับปรุงภูมทิ ศั น์ ทีส่ อดคล้องกับความต้องการ ของชุมชนโคกพระ

3. วิธีการด�ำเนินการ กระบวนการศึกษาเพื่อการออกแบบนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research; PAR) กลุ่มเป้าหมายในการด�ำเนินการ คือ ชุมชน เครือข่ายชุมชนในพื้นที่ต�ำบลโคกพระ อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม การศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพ ทีม่ รี ะเบียบวิธใี นการค้นคว้า หาข้อเท็จจริงและแก้ปัญหาส�ำหรับการออกแบบก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมและงานภูมิทัศน์ อันเป็นการพัฒนาชุมชนใน ระดับท้องถิ่นด้วยการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนร่วมค้นคว้าหาข้อมูล ร่วมให้ข้อมูล ร่วมเสนอแนวทางการพัฒนาที่เหมาะ สม และร่วมกันขับเคลื่อนสมาชิกของชุมชนเข้าด้วยกัน โดยมีรายละเอียดส�ำคัญ ดังนี้ 3.1 ขอบเขตพื้นที่ศึกษา พืน้ ทีด่ ำ� เนินการศึกษา คือ สวนสาธารณะหนองแวง ทางฝัง่ ด้านหน้าวัดป่าศรัทธาธรรมวิทยา ต�ำบลโคกพระ อ�ำเภอ กันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และชุมชนในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง คือ ชุมชนโคกพระที่อยู่โดยรอบสวนสาธารณะหนอง แวงและวัดป่าศรัทธาธรรมวิทยา โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยนี้ ได้แก่ ชุมชนบ้านโคกพระ และ คณะกรรมการวัดป่าศรัทธาธรรมวิทยา

80


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

3.2 ขั้นตอนในการด�ำเนินการ จากขอบเขตในการท�ำงานและกรอบกระบวนการท�ำงานระหว่างชุมชนและผู้ออกแบบ ที่มีแนวคิดการมีส่วน ร่วมของชุมชนในการพัฒนา ตั้งแต่การตัดสินใจ การร่วมมือและการใช้ประโยชน์ จึงประยุกต์ขั้นตอนในการด�ำเนินการจาก ชนิธิกาญจน์ จีนใจตรง และคณะ (2561) และ รังสิทธิ์ ตันสุขี และคณะ (2561) ที่น�ำเสนอและประชุมรับฟังข้อเสนอแนะ จากชุมชนอย่างน้อยสองครั้ง แบ่งกระบวนการท�ำงานออกแบบเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ (ขั้นที่ 1-2) และระยะ ด�ำเนินการ (ขั้นที่ 3-5) ซึ่งวางแผนการด�ำเนินการในกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและงานภูมิทัศน์โดยผสาน กระบวนการพัฒนาชุมชนที่ชุมชนมีส่วนร่วมเข้ามาในการท�ำงานครั้งนี้ (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 2 กระบวนการท�ำงานออกแบบที่ชุมชนมีส่วนร่วม ที่มา: ผู้วิจัย

ในระยะเตรียมการมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อก�ำหนดกรอบแนวคิดเบื้องต้นของ กระบวนการท�ำงาน ในเรื่องหลักการพัฒนาชุมชน กระบวนการพัฒนาชุมชนที่ชุมชนมีส่วนร่วม กระบวนการออกแบบทาง สถาปัตยกรรมและงานภูมิทัศน์ 2) รวบรวมข้อมูลข้อมูลทั่วไป ลักษณะทางกายภาพ บริบทที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ลักษณะ ศิลปสถาปัตยกรรม สังคม วัฒนธรรมและลักษณะกิจกรรมงานบุญประเพณีของชุมชน 3) ประสานงานกับภาคี ผู้น�ำชุมชน คณะกรรมการฯ และฝ่ายสงฆ์วัดป่าศรัทธาธรรมวิทยา เพื่อชี้แจงรายละเอียด 4) สร้างสัมพันธภาพกับชุมชน ความคุ้นเคย โดยพบปะ พูดคุย และปรึกษาหารืออย่างไม่เป็นทางการ 5) ประสานงานกับภาคี เพื่อเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ ชี้แจง วัตถุประสงค์ และท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับการด�ำเนินการ และ 6) วางแผนการด�ำเนินงาน ส่วนในระยะด�ำเนินการมี 5 ขั้น ตอน ได้แก่ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพการณ์ปัจจุบัน เป็นการศึกษาวิเคราะห์สภาพการณ์ต่างๆ ที่ด�ำรงอยู่ก่อนแล้วก่อนที่จะ เริ่มด�ำเนินการปรับปรุงแก้ไขปัญหาหรือด�ำเนินการพัฒนา 2) วางแผนด�ำเนินการจัดประชุมการวางแผนแบบมีส่วนร่วม 3) ด�ำเนินการปฏิบตั ติ ามแผนงานตามทีก่ ำ� หนดไว้ 4) พัฒนาผลงานออกแบบ และ 5) ประชุมรับฟังความคิดเห็น และประเมิน ผลสรุป เมื่อครบก�ำหนดเวลาในการด�ำเนินการ หลังจากร่วมกันพัฒนาผลงานออกแบบวิหารกลางน�้ำและงานภูมิทัศน์มาสู่ แบบร่างขั้นสุดท้าย เพื่อให้สรุปผลและทราบผลการด�ำเนินงานที่เกิดขึ้น และหารือถึงการแผนการด�ำเนินการก่อสร้างเบื้อง ต้น การท�ำงานครัง้ นีช้ มุ ชนและผูอ้ อกแบบได้รว่ มกันด�ำเนินการอย่างต่อเนือ่ ง ตัง้ แต่ระยะเตรียมการและระยะด�ำเนิน การจนถึงการปสรุปแบบร่างขั้นสุดท้าย (ภาพที่ 3) ซึ่งใช้เวลาในการด�ำเนินการรวม 10 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2562

81


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ภาพที่ 3 การด�ำเนินการในระยะเตรียมการ (บน) และระยะด�ำเนินการพัฒนางานออกแบบ (ล่าง) ที่ชุมชนมีส่วนร่วมกับผู้ออกแบบ ที่มา: ผู้วิจัย (2562)

3.3 การเก็บรวมรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล การด�ำเนินการนี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและสัมภาษณ์ คนในชุมชน ในเรื่องประวัติชุมชนและที่ตั้ง ลักษณะทั่วไปของชุมชนโคกพระ และงานบุญประเพณีของชุมชน ความส�ำคัญ ของพระอุปคุต พุทธศาสนสถานแบบไทย-ล้านช้าง การออกแบบภูมิทัศน์ และความต้องการพัฒนาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวม ทั้งยังได้ท�ำการส�ำรวจ สนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เจาะลึก และสังเกตพฤติกรรม เพื่อใช้ในการก�ำหนดทิศทางในการออกแบบ วิหารกลางน�้ำและภูมิทัศน์โดยรอบที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ข้อมูลที่รวบรวมมานั้นน�ำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ส�ำหรับรายละเอียดของพื้นที่ในด้านกายภาพ เพื่อการออกแบบ วิหารพระอุปคุตกลางน�้ำและแนวทางในการปรับปรุงภูมิทัศน์ที่เหมาะสมกับสภาพที่ตั้ง และประเมินความเป็นไปได้ภายใต้ งบประมาณในการก่อสร้างที่ก�ำหนด ตลอดจนการมีส่วนร่วมตามขั้นตอนในการพัฒนาและระดับของการมีส่วนร่วมของ คนในชุมชนอีกด้วย

4. ผลการด�ำเนินการ 4.1 ลักษณะทั่วไปของชุมชนโคกพระ ในอตีดกลุม่ คนชาวโคราชกลุม่ หนึง่ ได้เดินทางมาตัง้ หมูบ่ า้ นขึน้ ทีบ่ า้ นโคกพระ (หมูท่ ี่ 2 ในปัจจุบนั ) อ�ำเภอกันทรวิชยั จังหวัดมหาสารคาม (ภาพที่ 4) และได้ขนานนามตนเองว่าหมู่บ้านไท ซึ่งมีอาชีพปั้นหม้อดินขาย ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน ไทเป็น "บ้านโคกพระ" (ชุมชนโคกพระ) จนกระทั่งปัจจุบัน ที่ผู้น�ำมาแล้วจ�ำนวน 10 คน และผู้น�ำคนปัจจุบัน คือ นายบร รหาญ สายเมือง (ก�ำนันต�ำบลโคกพระ) บ้านโคกพระเป็นชุมชนขนาดเล็กล้อมรอบในบริเวณที่ตั้งของวัดป่าศรัทธาธรรม วิทยา ซึง่ เชือ่ มต่อกับสวนสาธารณะหนองแวง อันเป็นทีต่ งั้ ของวิหารพระอุปคุตกลางน�ำ้ โดยห่างจากตัวจังหวัดมหาสารคาม ประมาณ 16 กิโลเมตร มีการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้น มา

82


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

สภาพทั่วไปเป็นพื้นราบ ตั้งอยู่บนที่เนินทราย ที่เรียกว่าโคกพระ ลาดเทลงสู่ทิศใต้และทิศตะวันออกสู่แอ่งอ่างเก็บ น�้ำหนองบัวและพื้นที่ใต้อ่าง ซึ่งบริเวณที่สร้างหมู่บ้านเป็นที่ราบสูงเล็กน้อย มีการตั้งบ้านเรือนเป็นหย่อมและมีที่นาอยู่ล้อม รอบหมู่บ้าน อาชีพหลัก คือ การท�ำนา ส่วนอาชีพเสริม จักสาน เลี้ยงสัตว์ เพาะเห็ดบด/เห็ดฟางและรับจ้าง บริเวณหนองบัวเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape) ของชุมชน อันเป็นแหล่งที่มาของวัฒนธรรม เป็น พืน้ ทีร่ บั น�ำ้ ลดความเสีย่ งจากอุทกภัย เป็นแหล่งน�ำ้ เพือ่ การใช้ประโยชน์ในการใช้นำ�้ อุปโภคบริโภคของชุมชน และเป็นแหล่ง ที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ เนื่องจากมีดินตะกอนที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ตลอดจนเป็นสถานที่ส�ำคัญในการสนับสนุน กิจกรรมงานประเพณี นอกจากนั้นยังมีการใช้วัตถุดิบและทรัพยากรจากหนองบัว เช่น ใบตอง ต้นกล้วย และสมุนไพร ต่าง ๆ ที่หาได้โดยรอบ งานบุญประเพณีที่ส�ำคัญของชุมชน ได้แก่ งานสงกรานต์ของหมู่บ้าน งานสรงน�้ำพระ งานลอยกระทง และงานบุญ ผะเหวด นอกจากนัน้ ยังรองรับกิจกรรมอืน่ ได้แก่ การพักผ่อนทีเ่ สมือนสวนหย่อมในหมูบ่ า้ น การออกก�ำลังกาย (การวิง่ และ เต้นแอโรบิค) การให้อาหารปลา การปล่อยปลา การท�ำบุญ และการเป็นแหล่งปลูกพืชริมตลิ่ง จ�ำพวกสมุนไพรและพืชสวน ครัว โดยมีทัศนียภาพแสดงในภาพที่ 4 ปัจจุบันชุมชนโดยรอบกลายเป็นเมือง มีการสร้างที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากขึ้นและเพิ่มระบบโครงสร้างพื้นฐาน ทั้ง ถนน ไฟฟ้าและประปา ส่งผลให้พฤติกรรมการอยู่อาศัย อาชีพและกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต และหนองบัวนี้มี การเรียกชือ่ เป็น สวนสาธารณะหนองแวง ซึง่ มีพนื้ ทีต่ อ่ เนือ่ งกับวัดป่าศรัทธาธรรมวิทยา ท�ำให้มบี ทบาทด้านศาสนาต่อชุมชน และส่งผลต่อความเชื่อด้านศาสนา ที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์ในแง่การอนุรักษ์ เช่น การเป็นเขตอภัยทาน และห้ามจับสัตว์ น�้ำ และเป็นกรอบแนวคิดส�ำคัญในการพัฒนาพื้นที่ ให้คงสภาพที่ยังใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมดั้งเดิม

ภาพที่ 4 ผังบริเวณบ้านโคกพระ (บน) บริบทและทัศนียภาพที่ตั้งวิหารพระอุปคุตกลางน�้ำ (ล่าง) ที่มา: ผู้วิจัย (2562)

83


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

4.2 แนวคิดในการออกแบบและพัฒนาพื้นที่ จากการสัมภาษณ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น เพือ่ เสนอแนวทางในการออกแบบวิหารกลางน�ำ้ ส�ำหรับประดิษฐาน องค์พระอุปคุต ณ สวนสาธารณะหนองแวง และแนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์ ที่มีกรอบการพัฒนาการออกแบบร่วมกัน ระหว่างชุมชนและผู้ออกแบบอย่างต่อเนื่องนั้น ผลงานออกแบบวิหารและงานภูมิทัศน์ที่เกิดขึ้น เป็นรูปแบบของวิหารที่ ชุมชนต้องการ โดยมีลักษณะที่เรียบง่าย ทั้งรูปทรง การประดับตกแต่ง และโครงสร้างของอาคาร แต่ยังคงมีลักษณะของ ศิลปะสถาปัตยกรรมรูปแบบไทย-ล้านช้าง และการใช้พืชพื้นถิ่นในงานภูมิทัศน์ ซึ่งมีความสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ใน งานบุญประเพณีและงานกิจกรรมชุมชนทีเ่ กิดขึน้ ได้แก่ งานสงกรานต์ งานสรงน�ำ้ พระ งานลอยกระทง และงานบุญผะเหวด ที่จัดขึ้นตามเทศกาลในแต่ละช่วงเดือน ในขณะที่ยังต้องรองรับกิจกรรมอื่น อันได้แก่ การพักผ่อนที่ การออกก�ำลังกาย การให้อาหารปลา การปล่อยปลา การท�ำบุญ และการเป็นแหล่งปลูกพืชริมตลิ่งจ�ำพวกสมุนไพรและพืชสวนครัว อย่างไร ก็ตามงานออกแบบความต้องการของโครงการจะอยู่ภายใต้งบประมาณที่เครือข่ายชุมชน ญาติโยมและคณะกรรมการวัดฯ ได้ก�ำหนดไว้ 4.3 การออกแบบวิหารพระอุปคุตกลางน�้ำและการปรับปรุงภูมิทัศน์ การบรรลุผลลัพธ์ในด้านการน�ำเสนอแนวทางในการออกแบบวิหารกลางน�้ำและงานภูมิทัศน์ให้สอดคล้องกับ ความต้องการของชุมชนและบริบทชุมชน มีการพัฒนาแบบจากข้อเสนอแนะและความต้องการของชุมชนและคณะกรรม การวัดฯ จากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในแต่ละครั้งและการสัมภาษณ์คนในชุมชน สามารถจัดกลุ่มประเด็นความ ต้องการของโครงการ โดยมีข้อพิจารณาลักษณะวิหารในเรื่องรูปแบบ ขนาดพื้นที่ และโครงสร้างอาคาร ที่ได้น�ำมาปรับปรุง ผลงานออกแบบแบบ และน�ำเสนอรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนอย่างต่อเนื่อง ดังรายละเอียดในผลการด�ำเนินกิจกรรม ทั้งนี้องค์พระอุปคุตมีต�ำนานอภินิหารเกี่ยวข้องกับน�้ำ ผู้ออกแบบจึงเสนอให้ที่ตั้งวิหารพระอุปคุตไว้กลางน�้ำและมี สะพานเชื่อมระหว่างตลิ่งกับวิหาร ในการออกแบบวิหารและการปรับปรุงภูมิทัศน์ มีรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของ วิหาร คือ วิหารกลางน�้ำนี้เป็นอาคารศาลาเปิดโล่งแปดเหลี่ยมชั้นเดียว ที่ประดิษฐานองค์ประอุปคุตเป็นประธานอยู่กลาง ศาลา พืน้ ทีภ่ ายในวิหารนีอ้ อกแบบไว้เพือ่ ให้สกั การะบูชาองค์พระอุปคุตและพระบรมสารีรกิ ธาตุ นัง่ สมาธิหรือนัง่ ผ่อนคลาย เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความสงบใจ อาคารมีลักษณะเรียบง่ายทั้งการวางผังและการประดับตกแต่ง ผู้ออกแบบได้ปรับตามข้อเสนอ แนะของชุมชนในเรื่องการตกแต่งด้วยพญานาค และปรับโครงสร้างศาลาให้เรียบง่ายและประหยัดยิ่งขึ้น โดยมีลักษณะ สถาปัตยกรรมแบบอีสานร่วมสมัย ใช้โครงสร้างและวัสดุกอ่ สร้างทีส่ ามารถหาและติดตัง้ ได้โดยช่างท้องถิน่ โครงสร้างหลังคา ซ้อนชัน้ มีชอ่ งแสงโดยรอบเพือ่ ใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติเข้าสูต่ วั วิหาร ส่งเสริมการประดิษฐานพระอุปคุตบริเวณกึง่ กลาง บริเวณทางเดินโดยรอบและด้านในของวิหารมีระดับแสงธรรมชาติที่แตกต่างกัน และทางเดินเข้าสู่วิหารมีความกว้างเพื่อ รองรับการท�ำกิจกรรมในพิธีกรรมส�ำคัญ (ภาพที่ 5) ส่วนแนวทางการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณสวนสาธารณะหนองแวง (ภาพที่ 6) ได้วางผังบริเวณโดยจัดพื้นที่ให้ เป็นสัดส่วน สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ในงานบุญประเพณีและกิจกรรมของชุมชน ได้แก่ ลานอเนกประสงค์ ทางเดินริม น�ำ้ สะพานทางเข้าวิหารพระอุปคุตกลางน�ำ้ ทีจ่ อดรถ สุขา สวนหย่อมและอืน่ ๆ ตลอดจนการเลือกพืชพรรณในงานภูมทิ ศั น์ โดยผู้ออกแบบได้ปรับตามข้อเสนอแนะของชุมชน ที่เพิ่มพื้นที่กิจกรรมการออกก�ำลังกายและสักการะพระพุทธรูป รวมทั้ง การปรับปรุงศาลาริมน�ำ้ เดิมให้ใช้ประโยชน์ได้เอนกประสงค์มากขึน้ การใช้ประโยชน์ดา้ นภูมทิ ศั น์ ผูอ้ อกแบบวิเคราะห์ตน้ ทุน สภาพแวดล้อมอันเป็นต้นทุนด้านองค์ประกอบที่เด่นชัดในเรื่องมุมมองจากทัศนียภาพระดับสายตา ได้แก่ มุมมองจากทาง เข้าหลัก หนองน�้ำ เปรียบเสมือน ระนาบพื้นที่ท�ำหน้าที่โอบล้อม (Enclosed space) ไปพร้อมกับเส้นน�ำสายตา ต้นไม้ท้อง ถิน่ บริเวณตลิง่ และทางเดินเปรียบเสมือนกรอบมุมมองท�ำหน้าทีป่ ดิ ล้อมระนาบผนัง ท�ำหน้าทีเ่ ป็นเส้นน�ำสายตาไปเป็นฉาก หลังให้วิหาร พร้อมการเปิดกรอบวงกลมของท้องฟ้า ดังนั้นระนาบมุมมองจึงเป็นต้นทุนภูมิทัศน์เป็นอย่างดี อีกทั้งปัจจัยอื่น เช่น แสงสะท้อนผิวน�้ำที่เพิ่มแสงสว่างภายในวิหาร ความชื้นของน�้ำช่วยท�ำให้อุณหภูมิโดยรอบวิหารเย็นและพัดพาด้วย กระแสลม ส่งผลต่อเนื่องไปยังต้นไม้ท้องถิ่นที่ส่งกลิ่นและเคลื่อนไหว เป็นภาพสะท้อนการส่งเสริมพื้นที่สาธารณะภูมิทัศน์ ท้องถิ่นมาใช้งานด้านกิจกรรมทางศาสนา

84


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ภาพที่ 5 ผังหลังคา ผังพื้น รูปตัดและรูปด้านหน้าวิหาร (บน) และทัศนียภาพภายนอกวิหาร (ล่าง) ที่มา: ผู้วิจัย (2562)

ภาพที่ 6 ที่ตั้งโครงการและพืชพรรณในพื้นที่ (บน) และบรรยากาศงานภูมิทัศน์ในพื้นที่ (ล่าง) ที่มา: ผู้วิจัย (2562)

85


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

4.4 กระบวนการท�ำงานเพื่อชุมชนในการออกแบบวิหารพระอุปคุตและการปรับปรุงภูมิทัศน์ การด�ำเนินการนีไ้ ด้สง่ เสริมให้ชมุ ชนเกิดความคิดริเริม่ ในการพัฒนาในขัน้ ตอนการออกแบบร่วมกับผูอ้ อกแบบ และ เกิดความรู้ความเข้าใจในการขออนุญาติก่อสร้างและการก่อสร้างต่อไป การด�ำเนินการนี้ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ก�ำหนด ความคิด ร่วมออกแบบ และด�ำเนินการในขั้นตอนหลังจากจัดท�ำแบบร่างขั้นสุดท้าย ซึ่งถือว่าชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับ การตัดสินใจ ระดับการร่วมมือ และระดับการใช้ประโยชน์ โดยท�ำงานกับผู้ออกแบบทั้ง 5 ขั้น และในแต่ละขั้นนั้นมีราย ละเอียด ดังนี้ 4.4.1 ขั้นที่ 1 การศึกษา วิเคราะห์และสรุปความต้องการชุมชน เครือข่ายชุมชนร่วมริเริ่มการพัฒนา คนในชุมชน เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาภายในชุมชน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ก�ำหนดความต้องการและ จัดล�ำดับความส�ำคัญของความต้องการ เพื่อเป็นโจทย์ในการออกแบบให้แก่ผู้ออกแบบ 4.4.2 ขั้นที่ 2 การวางแผนงาน เป็นขั้นตอนทีเ่ ครือข่ายชุมชน คนในชุมชนและผู้ออกแบบร่วมวางแผนในการพัฒนา คนในชุมชนมีสว่ นร่วมก�ำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ ก�ำหนดวิธกี ารและแนวทางการด�ำเนินการ โดยผูอ้ อกแบบได้เสนอ แนะและสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องรายละเอียดของงานสถาปัตยกรรม และกระบวนการออกแบบแก่ชุมชน เพื่อชุมชน ทราบถึงข้อจ�ำกัดและความเป็นไปได้บางประการ เช่น ข้อจ�ำกัดในด้านโครงสร้างและงบประมาณในการก่อสร้างสะพาน กลางน�้ำ ปัจจัยที่ส่งผลต่องบประมาณในการก่อสร้าง ขนาดพื้นที่และแนวทางในการบริหารจัดการงานก่อนกระบวนการ ก่อสร้างจนการก่อสร้าง เป็นต้น 4.4.3 ขั้นที่ 3 การด�ำเนินการออกแบบก่อสร้าง ผู้ออกแบบได้ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของโครงการในด้านต่าง ๆ แล้วก�ำหนดโครงร่างแบบทางเลือกบนฐานของบริบทที่ตั้ง งานระบบที่จ�ำเป็น รายละเอียดของสถาปัตยกรรมไทยอีสาน ร่วมสมัย จากนัน้ เลือกโครงร่างแบบทีเ่ หมาะสมมาก�ำหนดแนวคิด ออกแบบและพัฒนาแบบสถาปัตยกรรมและงานภูมทิ ศั น์ ขั้นต้น ผู้ออกแบบได้น�ำเสนอแบบและประชุมรับฟังความคิดเห็นกับชุมชน และปรับแก้ไขผลงานอกแบบตามข้อเสนอแนะ จนมาสู่แบบร่างขั้นสุดท้ายที่เป็นรูปแบบที่ชุมชนต้องการ คือ วิหารที่มีลักษณะรูปทรง การประดับตกแต่ง และโครงสร้าง อาคารที่เรียบง่าย แต่คงแสดงลักษณะศิลปะสถาปัตยกรรมที่ชุมชนคุ้นเคยในรูปแบบไทยอีสาน และการใช้พืชพรรณพื้นถิ่น ในงานภูมิทัศน์ ภายใต้ข้อจ�ำกัดในด้านงบประมาณและบริบทชุมชน 4.4.4 ขัน้ ที่ 4 การเสนอแนะแบบก่อสร้าง ผูอ้ อกแบบได้เสนอแนวทางในการออกแบบวิหารพระอุปคุตกลางน�ำ้ และ การปรับปรุงภูมิทัศน์ ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนโคกพระ ชุมชนรับผลประโยชน์ที่พึงได้จากการพัฒนานี้ ซึ่ง วิหารประอุปคุตกลางน�้ำถือเป็นคุณค่าแก่คนในชุมชน ตลอดจนเป็นพื้นที่ที่สร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างคนในชุมชน จาก กิจกรรมที่จะเกิดขึ้น 4.4.5 ขั้นที่ 5 การประเมินผลงานและสรุปผล คนในชุมชน เครือข่ายชุมชน และผู้ออกแบบร่วมประเมินการพัฒนา โดยทุกฝ่ายมีความพึงพอใจต่อการร่วมพัฒนาผลงานออกแบบทีไ่ ด้กระท�ำไปนัน้ ส�ำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างไร การประเมิน เป็นรูปแบบการประเมินสรุปผลโดยรวม ซึ่งทั้งชุมชนและเครือข่ายชุมชนมีความพึงพอใจต่อภาพรวมของการด�ำเนินการ และต้องการให้มีการด�ำเนินการในลักษณะนี้หากผู้น�ำชุมชนหรือเครือข่ายชุมชนมีการด�ำเนินการพัฒนาในพื้นที่ชุมชนโคก พระ จากขั้นตอนในกระบวนการท�ำงานข้างต้น ส�ำหรับระยะเตรียมการนั้นเครือข่ายชุมชนมีบทบาทในการท�ำงานขั้นที่ 1-2 ค่อนข้างมาก เนื่องจากมีอ�ำนาจในการตัดสินใจด้านงบประมาณ และจะเป็นผู้รับผิดชอบในการด�ำเนินการต่อไป ส่วน ระยะด�ำเนินการในการท�ำงานขัน้ ที่ 3 เครือข่ายชุมชนร่วมพัฒนาร่วมด้วยนัน้ ผูอ้ อกแบบได้แลกเปลีย่ นประสบการณ์ในงาน ออกแบบและด�ำเนินการกับหน่วยงานภายนอกทีเ่ กีย่ วข้องแก่ชมุ ชน ในขณะทีช่ มุ ชนได้แลกเปลีย่ นกระบวนการท�ำงานพัฒนา ในพืน้ ทีจ่ ากประประสบการณ์ทชี่ มุ ชนเคยด�ำเนินการ นอกจากนัน้ ในการท�ำงานขัน้ ที่ 4 ผูอ้ อกแบบมีบทบาทส�ำคัญ เนือ่ งจาก เป็นการด�ำเนินการผลิตผลลัพธ์งานออกแบบแก่ชุมชน ซึ่งชุมชนมีส่วนร่วมในระดับการตัดสินใจและระดับการใช้ประโยชน์ ต่างจากขัน้ ที่ 1-3 ทีช่ มุ ชนมีสว่ นร่วมในระดับความร่วมมือ สุดท้ายในขัน้ ที่ 5 ทัง้ คนในชุมชน เครือข่ายชุมชนและผูอ้ อกแบบ ร่วมประเมินผลงานและสรุปผล เพื่อวางแผนการท�ำงานในขั้นตอนต่อไปส�ำหรับงานก่อสร้าง ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการ ในการท�ำงานชุมชนที่ ทศพล กฤตยพิสิฐ (2537) และ เฉลียว บุรีภักดี และคณะ (2545) อธิบายไว้ การท�ำงานนี้ได้ใช้กระบวนการออกแบบระหว่างชุมชนและผู้ออกแบบ ตั้งแต่ร่วมริเริ่มพัฒนาในการค้นหาข้อจ�ำกัด และความต้องการเบื้องต้นในชุมชน ซึ่งมีจัดล�ำดับความส�ำคัญของความต้องการ (ล�ำดับความจ�ำเป็นขององค์ประกอบในนี้

86


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

งานออกแบบ) ทั้งยังร่วมวางแผนในการพัฒนา ก�ำหนดกรอบเป้าหมายของงานออกแบบ และสนับสนุน/ประสานงาน รวม ถึงมีส่วนร่วมในการรับฟังการน�ำเสนอผลงานออกแบบและให้ข้อคิดเห็นต่อผลงานการออกแบบ จากนั้นเมื่อชุมชนและผู้ ออกแบบได้ด�ำเนินการพัฒนาแบบมาสู่ข้อสรุปและจัดท�ำแบบร่างขั้นสุดท้าย ซึ่งถือเป็นการร่วมประเมินการพัฒนาผลลัพธ์ และการด�ำเนินการสรุปสุดยอด นอกจากนัน้ ระดับของการมีสว่ นร่วมในกระบวนการออกแบบระหว่างชุมชนและผูอ้ อกแบบ นี้เป็นการมีส่วนร่วมขั้นกลาง คือ คนในชุมชนมีส่วนร่วมบางส่วน ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการรับรองว่าจะ ได้รับการตอบสนองจากผู้มีอ�ำนาจในการตัดสินใจหรือไม่อย่างไร เนื่องจากข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะบางประการของผู้ที่ให้ ข้อคิดเห็นมีความแตกต่างออกไปจากเป้าหมายทิศทางในการออกแบบเบือ้ งต้น และหาข้อสรุปทีช่ ดั เจนหรือเป็นรูปธรรมไม่ ได้ ในส่วนการน�ำเสนอผลงานออกแบบ จึงเป็นขั้นตอนที่สำ� คัญมากในการน�ำเสนอภาพความต้องการในใจให้ออกมา เป็นรูปธรรม ซึง่ การจัดท�ำร่างตัวอย่างของแนวทางในการออกแบบวิหารพระอุปคุตกลางน�ำ้ และงานภูมทิ ศั น์ทเี่ ป็นแบบทาง เลือก (Schematic Design) สามารถช่วยในการสื่อสารความนึกคิดของแต่ละฝ่ายให้เข้าใจตรงกันได้อย่างประณีประณอม โดยพูดคุยหาข้อสรุปจากการเลือกจุดเด่นของแบบทางเลือกแต่ละแบบ ทั้งนี้ปัจจัยที่ช่วยในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุผล ส�ำเร็จ คือ ผู้น�ำชุมชน ที่มีความตั้งใจในการท�ำงาน ประสานงาน และบริการจัดการในโครงการและในกลุ่มของชุมชน การบรรลุ เ ป้ า หมายเพื่ อ ผลลั พ ธ์ ใ นการด� ำ เนิ น การ ที่ มี ก ารแลกเปลี่ ย น/เกิ ด ทั ก ษะด้ า นการออกแบบศิ ล ปะ สถาปัตยกรรม และพัฒนาผลงานออกแบบร่วมกันระหว่างชุมชนและผูอ้ อกแบบ ท�ำให้เกิดการอนุรกั ษ์และสืบสานองค์ความ รู้งานศิลปะสถาปัตยกรรม ซึ่งผู้ร่วมโครงการได้เห็นถึงประโยชน์ในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ได้แก่ วิหารพระอุปคุตกลางน�้ำแห่งนี้สามารถเป็นศูนย์กลางอีกแห่งของชุมชน ท้องถิ่นมีรายได้จากการการท่องเที่ยวและ การขายสินค้าในช่วงกิจกรรม รวมทั้งการเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ในการเป็นเจ้าของพื้นที่และการใช้ ประโยชน์ในงานบุญประเพณีและงานกิจกรรมชุมชน การเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ของคนในชุมชน จากการแลกเปลี่ยน องค์ความรูด้ า้ นศิลปะสถาปัตยกรรมและการออกแบบนี้ สามารถเป็นจุดเริม่ ต้นในการกระตุน้ และส่งเสริมให้ชมุ ชนตระหนัก ถึงแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของตนเองอีกด้วย นอกเหนือจากปัญหาและอุปสรรคในการด�ำเนินการ คือ การจัดกิจกรรมที่มีช่วงเวลาคลาดเคลื่อนจากช่วงเวลาที่ วางแผนไว้ เนื่องจากการนัดหมายประชุมรับฟังความคิดเห็นบางครั้งมีความสะดวกไม่ตรงกัน จึงต้องมีการสลับหรือแยก กิจกรรมบางอย่างให้เกิดขึ้นเป็นกลุ่มย่อย รวมถึงปัญหาด้านการจัดการที่เกิดความล่าช้าและปัญหาทางด้านงบประมาณใน การก่อสร้างในขั้นตอนถัดไปที่ชุมชนต้องวางแผนส่วนประชาสัมพันธ์โครงการ การจัดหาทุนและแต่งตั้งคณะกรรมการรับ ผิดชอบ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับที่ทางคณะได้ด�ำเนินการเป็นแบบขั้นต้นในโครงการนี้ อย่างไรก็ตามการด�ำเนินการในล�ำดับถัดไป นัน้ เป็นการน�ำผลงานการออกแบบร่างขัน้ สุดท้ายส�ำหรับวิหารพระอุปคุตกลางน�ำ้ และงานภูมทิ ศั น์ไปใช้ประโยชน์ ทีต่ อ้ งขอ อนุญาติก่อสร้างในพื้นที่สาธารณะประโยชน์และด�ำเนินการก่อสร้างนั้น ชุมชนและผู้ออกแบบได้หารือกันในเบื้องต้นและ วางแผนด�ำเนินการ โดยเครือข่ายชุมชนเป็นหลักส�ำคัญในการขับเคลือ่ นการท�ำงานดังกล่าว ดังนัน้ การท�ำงานของผูน้ ำ� ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีความรู้ความเข้าใจในทิศทางเดียวกันมีความส�ำคัญยิ่งที่ท�ำให้การด�ำเนินการส�ำเร็จลุล่วง

5. สรุปผล จากวัตถุประสงค์ที่มุ่งศึกษาเพื่อการออกแบบวิหารกลางน�้ำและงานภูมิทัศน์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนางานออกแบบ ซึ่งศึกษาข้อมูลส�ำคัญที่เป็นโจทย์ในการออกแบบวิหารพระอุปคุตกลางน�้ำ ประกอบกับการเข้าพื้นที่ เพื่อส�ำรวจที่ตั้งและชุมชนโดยรอบส�ำหรับลักษณะทางกายภาพ การสัมภาษณ์ความต้องการของชุมชน และการประชุมรับ ฟังความคิดเห็นจากชุมชนต่อผลงานออกแบบ ผลงานออกแบบเป็นรูปแบบของวิหารที่ชุมชนต้องการเป็นลักษณะที่เรียบ ง่าย ทั้งรูปทรง การประดับตกแต่ง และโครงสร้างของอาคาร ที่มีลักษณะศิลปะสถาปัตยกรรมรูปแบบไทยอีสานร่วมสมัย และใช้พชื พืน้ ถิน่ ในงานภูมทิ ศั น์ โดยเพิม่ ไม้พมุ่ และไม้คลุมดิน ซึง่ เป็นลักษณะและบริบททีค่ นในชุมชนคุน้ เคย โดยต้องค�ำนึง ถึงขนาดและสัดส่วนที่เหมาะสมในการจัดภูมิทัศน์ให้เกิดประโยชน์ สะดวกสบายและเป็นทัศนียภาพทีดีในพื้นที่ (ศศิยา ศิริ พานิช, 2558) ที่สามารถเป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ที่เอื้อต่อการฝึกปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวข้องกับสมาธิ ศีล ปัญญา โดยการใช้ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนา

87


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ทั้งนี้ผลงานออกแบบวิหารพระอุปคุตกลางน�้ำและงานภูมิทัศน์ที่เกิดขึ้นได้สะท้อนลักษณะของศิลปะวัฒนธรรมและ สถาปัตยกรรมของพื้นที่ (ภายในข้อจ�ำกัดด้านงบประมาณ) อันเป็นผลจากการพัฒนางานออกแบบร่วมกันระหว่างชุมชน และผูอ้ อกแบบในแต่ละขัน้ ตอนอย่างต่อเนือ่ ง รูปแบบศาสนาสถานทีช่ มุ ชนต้องการ กล่าวได้วา่ ในส่วนของการออกแบบทาง สถาปัตยกรรมและงานภูมิทัศน์นั้นเป็นรูปแบบที่มาจากความต้องการเฉพาะ ภายใต้บริบทและเงื่อนไขต่าง ๆ ท�ำให้เกิดเป็น รูปแบบเฉพาะตัว ที่คนส่วนใหญ่ในชุมชนยอมรับและคนที่มีส่วนร่วมเกิดความภาคภูมิใจ กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและงานภูมิทัศน์ในการท�ำงานนี้ได้ปรับให้สอดคล้องกับกระบวนการพัฒนา ชุมชน จึงไม่ได้ด�ำเนินการตามล�ำดับขั้นตอนในการออกแบบตามอย่างส�ำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม กรมชลประทาน (ม.ป.ป.) ที่เป็นขั้นตอนพื้นฐานในการออกแบบก่อสร้าง แต่ได้ด�ำเนินการออกแบบก่อสร้างที่ต้องศึกษา บริบทของชุมชนและมีขนั้ ตอนการพัฒนาแบบในลักษณะการน�ำเสนอและประชุมรับฟังข้อเสนอแนะจากชุมชน ทีใ่ กล้เคียง กับการท�ำงานของ ชนิธิกาญจน์ จีนใจตรง และคณะ (2561) และ รังสิทธิ์ ตันสุขี และคณะ (2561) ที่มีการน�ำเสนอและ ประชุมรับฟังข้อเสนอแนะจากชุมชนกลุ่มใหญ่สองครั้ง (ประชุมกลุ่มย่อยอีกสองครั้ง) หลังจากชุมชนมีส่วนร่วมในการน�ำ เสนอครั้งแรก ท�ำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างคนในชุมชน ผู้น�ำและคณะกรรมการวัดฯ ที่มีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนข้อ เสนอแนะกันเองจนเป็นข้อสรุปร่วมกันของชุมชน และหลังจากการน�ำเสนอครั้งที่สอง ผู้ออกแบบได้เห็นความกระตือรือร้น การอาสาขอรับผิดชอบงานแต่ละส่วนและความร่วมใจกันเกิดขึน้ อย่างชัดเจน ดังนัน้ ผลลัพธ์ในแต่ละขัน้ ตอนของกระบวนการ เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยชุมชนควรพิจารณาถึงเป้าหมาย ซึ่งกระบวนการท�ำงานเพื่อชุมชนในการออกแบบนั้น ชุมชนควรมีส่วนร่วม ในการออกแบบอย่างน้อยสองครั้ง เพื่อให้ชุมชนเกิดการขับเคลื่อนงานร่วมกันต่อไป กระบวนการออกแบบระหว่างชุมชนและผู้ออกแบบครั้งนี้ เป็นแลกเปลี่ยนความรู้ในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ประเภทศาสนสถานและงานภูมิทัศน์ ซึ่งได้แก้ไขปัญหาหรือโจทย์ที่ตั้งไว้อย่างเหมาะสมที่สุด ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งชุมชน และผูอ้ อกแบบได้รว่ มกันประยุกต์ใช้องค์ความรูข้ องตนร่วมกันจากการปฏิบตั กิ ารณ์ในการท�ำงานออกแบบในพืน้ ทีจ่ ริง โดยที่ ชุมชนสามารถน�ำประสบการณ์นไี้ ปใช้ในการด�ำเนินการออกแบบอืน่ ในลักษณะเดียวกัน ส่วนผูอ้ อกแบบสามารถน�ำมาใช้ใน การปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่มีปัจจัยด้านชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ความตั้งใจในการท�ำงานของผู้น�ำชุมชนและผู้มี ส่วนเกี่ยวข้อง (คณะกรรมการวัดฯ และผู้น�ำ/เครือข่ายชุมชน) รวมทั้งความรู้ความเข้าใจในทิศทางเดียวกันของคนในชุมชน ที่มองเห็นประโยชน์ของชุมชนร่วมกันเป็นปัจจัยส�ำคัญในการขับเคลื่อนการท�ำงาน (ปาริชาติ วลัยเสถียร, 2542; เฉลียว บุรีภักดี และคณะ, 2545) นอกจากนัน้ ยังพบว่าขัน้ ตอนการศึกษาวิเคราะห์และสรุปความต้องการของชุมชน เป็นส่วนหนึง่ ในการวางแผนทีถ่ อื เป็น พืน้ ฐานส�ำคัญทีส่ ดุ ระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนทัง้ ในการตัดสินใจ การร่วมมือและการประเมินผลส่งผลต่อการขับเคลือ่ น งานให้บรรลุผลอย่างมาก เนื่องจากการท�ำงานในลักษณะนี้มีระเบียบขั้นตอนเป็นล�ำดับ ชุมชนต้องมีบทบาทในทุกขั้นตอน นอกจากนัน้ ความตัง้ ใจในการท�ำงานของผูน้ ำ� ชุมชนและผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้อง และความรูค้ วามเข้าใจในทิศทางเดียวกันของคนใน ชุมชนนั้นเป็นปัจจัยส�ำคัญในการขับเคลื่อนการท�ำงานให้ส�ำเร็จอย่างยิ่ง

6. กิตติกรรมประกาศ ขอขอบพระคุณชาวชุมชนโคกพระ และญาติโยมวัดป่าศรัทธาธรรมวิทยา ส�ำหรับความอนุเคราะห์ข้อมูลและความร่วม มืออันดีในการด�ำเนินการ และกองส่งเสริมการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส�ำหรับงบประมาณสนับสนุนโครงการ ท�ำนุบ�ำรุงศิลปวัฒนธรรมแบบมุ่งเป้าจากงบประมาณแผ่นดิน ประจ�ำปี พ.ศ. 2562

7. การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง จามรี อาระยานิมิตสกุล. (2558). พืชพันธุ์ในงานภูมิสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิตจ�ำนงค์ กิติกีรติ. (2536). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุณพินอักษรกิจ. เฉลียว บุรีภักดี และคณะ. (2545). ชุดวิชาการวิจัยชุมชน ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง. หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตการ จัดการและประเมินโครงการ. นนทบุรี: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

88


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ชนิธิกาญจน์ จีนใจตรง, วรากุล ตันทนะเทวินทร์ และ วราพรรณ ผลโพธิ์. (2561). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและปรับปรุง ภูมิทัศน์ภูป่าเปาะ จังหวัดเลย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 26 (1), 74-91. เดวิด คินส์ลีย์. (2551). นิเวศวิทยากับศาสนา จิตวิญญาณเชิงนิเวศในมุมมองต่างวัฒนธรรม. ลภาพรรณ ศุภมันตรา (แปล). กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นท์ติ้ง. ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น�้ำ. (2534). การพัฒนาชุมชนเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์. ทศพล กฤตยพิสิฐ. (2537). การมีส่วนร่วมของก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เขตหนองจอก ที่มีต่อโครงการ กิจกรรมการพัฒนาตาม แนวทาง บรม และ บวร เพื่อสร้างสรรอุดมการณ์แผ่นดินทองหนองจอก. กรุงเทพฯ : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2542). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน สาขาพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. รังสิทธิ์ ตันสุขี, วิวัฒน์ วอทอง, วิชาภรณ์ ช�ำนิก�ำจร, ณัฐวัฒน์ จิตศิลป์, วรากุล ตันทนะเทวินทร์, ปาริชาติ ศรีสนาม, ...และ ศรัทธาชาติ ศรีสังข์. (2561). การศึกษาเพื่อการออกแบบวิหารพระองค์กาสและการวางผังบริเวณ วัดโพธิ์กลาง ต.บ้านทุ่ม อ.เมือง จ.ขอนแก่น. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 14, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, กันยายน 2561. วรากุล ตันทนะเทวินทร์, วิวัฒน์ วอทอง, ธนายุทธ ไชยธงรัตน์ และ ธเนศ ฉัตรจุฑามณี. (2562). การศึกษาแนวทางในการ ออกแบบวิหารพระอุปคุตกลางน�้ำ ณ สวนสาธารณะหนองแวง อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม (รายงาน ผลการวิจัย). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ศศิยา ศิริพานิช. (2558). ภูมิทัศน์พื้นฐาน. นครปฐม : คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตก�ำแพงแสน. สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร. ส�ำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม กรมชลประทาน (ม.ป.ป.). ส่วนการออกแบบสถาปัตยกรรม. จากเวปไซต์ http://kromchol.rid.go.th/design/2013/index.php/th/ (วันที่สืบค้น 1 สิงหาคม 2563) Dunham, A. (1958). Community Welfare Organization. NewYork : Thomas Y Crowell Company. Kemmis, S. and R. McTaggart. (1988). Action and Knowledge: Breaking the Monopoly with Par ticipatory Action- Research. New York: Apex.

89



บทความวิจัย

- Research Article -



วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

การออกแบบกราฟิกเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญา ท้องถิ่นประเภทเครื่องปั้นดินเผากรณีศึกษากลุ่ม เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อจังหวัดมหาสารคาม Graphic Design for Traditional pottery Product Development: A Case study of Ban Mo, Maha Sarakham Provience วิชนาถ ทิวะสิงห์1* และ Lin Hightower2 1

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 2 College of the Arts, School of Art and Design, Kennesaw State University,USA

Wichanat Tiwasing1* Lin Hightower2 1

Assistant Professor, Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts, Maha Sarakham University, Kantarawichai District, Maha Sarakham, Thailand, 44150 2 College of the Arts, School of Art and Design, Kennesaw State University,USA *Email: wichanat.t@msu.ac.th

บทคัดย่อ การวิจยั นีม้ งุ่ ศึกษาและพัฒนาเพือ่ สร้างภาพลักษณ์ให้กบั ผลิตภัณฑ์กลุม่ เครือ่ งปัน้ ดินเผาของจังหวัดมหาสารคาม กรณีศึกษาคือกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ หมู่ที่ 11 ต�ำบลเขวา อ�ำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีการสืบทอด ภูมิปัญญาการปั้นเครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่ยุคบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาประมาณ 200 ปีมาแล้ว (สุดสาคร ไชยโยชน์, 2559) และยังไม่มีตราสินค้าของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและส่ง เสริมผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ จังหวัดมหาสารคาม และออกแบบตราสินค้าเพื่อสร้างแบรนด์ให้กับผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อจังหวัดมหาสารคาม เพื่อผลักดันและส่งเสริมผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาของจังหวัดมหาสารคาม ด้วยการออกแบบตราสินค้า (Logo) ให้กบั ผลิตภัณฑ์ โดยให้นสิ ติ ชัน้ ปีที่ 3 จ�ำนวน 11 คน สาขานฤมิตศิลป์ วิชาเอกออกแบบ ผลิตภัณฑ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ได้ท�ำการออกแบบตราสินค้าจ�ำนวน 11 รูปแบบ ในเบื้องต้น สอบถามความพึงพอใจของสมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ จ�ำนวน 13 คน ด้วยวิธีการ Focus Group และเครื่อง มือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่รูปแบบตราสินค้าที่ออกแบบโดยนิสิต 11 รูปแบบ ประกอบกับแบบสอบถามถามเกี่ยวกับการรับรู้ ออกแบบตราสินค้า ประเด็นรูปแบบตัวอักษร ภาพประกอบ สีทใี่ ช้ และตราสินค้าสามารถสือ่ สารถึงอัตลักษณ์เครือ่ งปัน้ ดินเผา สรุปผลการวิจัยการรับรู้ความพึงพอใจของสมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อที่ต่อตราสินค้า (Logo) พบว่าตราสินค้าที่ สมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อชื่นชอบคือรูปแบบที่ 9 และให้เหตุผลว่าเป็นตราสัญลักษณ์ที่ใช้สองมือปั้นดินเป็นรูป หม้อซึ่งสามารถสะท้อนได้ถึงความเป็นเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ ค�ำส�ำคัญ: เครื่องปั้นดินเผา, ตราสินค้า, การพัฒนาผลิตภัณฑ์

93


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

Abstract This research aims to develop a product brand for pottery commodities in Mahasarakham Province. Using the case study of Ban Mo, village 11th, Khwao sub-district, Mueang district. Which has inherited the wisdom of making pottery from the ancestor era to the present for about 200 years ago (Sudsakorn Chaiyod.2559) and there is no brand of Ban Mo pottery group. Research objectives to develop and promote Ban Mo pottery products Maha Sarakham Province and creating Logo design for a brand of Ban Mo pottery product development Maha Sarakham Province in order to promote the sale and marketing strategies by creating logos for the products. 11 logo models were designed by 11 third-year students in product design at the Faculty of Architecture Urban Design and Creative Arts. The target samples were collected from group members of the pottery commodities:13 people in Mahasarakham province by focus group method. The research tool was a questionnaire examining and rating the 11 logo designs. By using a questionnaire to ask about brand design awareness Wherein, typography, illustrations, colors, and brands can convey pottery identity. The results of this research found that the most satisfaction of the samples towards the designed logos was the 9th logo. The symbol was derived by two hands molding the clay, which can reflect the pottery of Ban Mo. This was determined to effectively relate hand-crafted quality to the products. Keywords: Pottery, Logo, Product development Received: July 13, 2020; Revised: August 6, 2020; Accepted: August 23, 2020

1. ที่มาและความส�ำคัญของปัญหา ภูมปิ ญ ั ญาของเครือ่ งปัน้ ดินเผาเป็นหลักฐานหนึง่ ทางประวัตศิ าสตร์ทมี่ คี วามเกีย่ วข้องกับชีวติ มนุษย์เรามาตัง้ แต่ในอดีต จนถึงยุคปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการปรากฏแหล่งเครื่องปั้นดินเผาอยู่มากมายหลายแห่งจากการขุดค้นพบ โดย เครื่องปั้นดินเผามีรูปแบบ เทคนิคและลวดลายแตกต่างกันออกไปตามความสามารถของช่างฝีมือในแต่ละท้องถิ่นหรือตาม สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของแต่ละชุมชน ซึ่งบางแห่งอาจมีแหล่งดินที่อุดมสมบูรณ์เอื้อต่อการผลิตเครื่องปั้นดินเผา และ จากการที่ชุมชนบางแห่งมีพื้นที่ติดต่อกัน มีการท�ำการค้าร่วมกันจึงท�ำให้ได้รับอิทธิพลส่งผ่านไปยังอีกชุมชนก่อให้เกิด การ แลกเปลี่ยนศิลปะวัฒนธรรมและเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน และมีการพัฒนารูปแบบการผลิต ซึ่งในระยะแรกจะผลิตขึ้นเพื่อ ใช้ภายในกลุม่ ของตนเองก่อนต่อมาจึงสามารถพัฒนาเพือ่ การค้าและกลายเป็นอุตสาหกรรมมีการส่งออกไปจ�ำหน่ายยังชุมชน ใกล้เคียงและชุมชนอื่น ๆ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ จังหวัดมหาสารคามเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ชุมชน เกี่ยวกับ “เครื่องปั้นดินเผา” ที่เกิดจากการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นมายาวนาน โดยมีประวัติความเป็นมาคือชาว บ้านหม้อเป็นลูกหลานที่อพยพมาจากเขตอ�ำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เพราะในช่วงนั้นเกิดฝนแล้งติดต่อกัน เกิดโรค ระบาดหนักจนต้องอพยพมาย้ายถิน่ ฐาน ซึง่ เชือ่ ว่าจะท�ำมาหากินง่ายกว่าและได้พบ “หนองเลิง” ซึง่ ถือว่าเป็นขุมทรัพย์ของ ชาวบ้านหม้อ ปัจจุบันเป็นแหล่งน�้ำที่อุดมสมบูรณ์ที่ส�ำคัญที่สุด คือเป็นหนองน�้ำที่มีดินดีปั้นหม้อได้คุณภาพสูง จึงได้มี การ ผลิตเครื่องปั้นดินเผาจากเป็นผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน ชุมชน และจนกระทั่งกลายเป็นผลิตเพื่อการค้า เริ่มจากขายในจังหวัด เอง และกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ แต่ปัญหาคือกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อยังไม่มีตราสินค้าของกลุ่มที่จะช่วยผลักดัน ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักได้อย่างกว้างขวาง โครงการนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาและออกแบบตราสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของให้กับกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา บ้านหม้อ จังหวัดมหาสารคาม โดยมีแนวคิดคือการบูรณาการระหว่างชุมชนกับสถาบันการศึกษา คือมหาวิทยาลัย มหาสารคาม โดยเล็งเห็นความส�ำคัญในการให้นิสิตได้เรียนรู้การออกแบบกราฟิกเพื่อพัฒนาแบรนด์ตราสินค้า (Logo) ชื่อ

94


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ของการน�ำเสนอบทความนี้ โดยสาเหตุท่ีเลือกตลาดนัดแห่งนี้มาเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากตลาดชุมชนดังกล่าวจัดเป็น พืน้ ทีท่ มี่ คี วามน่าสนใจเพราะเป็นตลาดทีเ่ ติบโตมาจากชุมชนซึง่ เดิมเป็นชุมชนเล็กๆ ทีม่ กี ารเจริญเติบโตอย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่ มหาวิทยาลัยมหาสารคามก่อตั้ง ท�ำให้เกิดประชากรแฝง และธุรกิจห้างร้านต่างๆ ที่รุกล�้ำเข้ามาในเขตชุมชน ซึ่งได้ส่งผลก ระทบต่อเอกลักษณ์สำ� คัญต่างๆ ของชุมชน พืน้ ทีต่ งั้ ของตลาดนัดวัดชัยจุมพลยังเป็นพืน้ ทีส่ ำ� หรับท�ำกิจกรรมส�ำคัญอืน่ ๆ ของ ชาวชุมชนด้วย ด้วยความที่พื้นที่ของชุมชนไม่ใหญ่มาก ลานวัดและศาลาวัดจึงถือเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่มีขนาดกว้างขวาง ที่สุดในชุมชน ที่ใช้ทั้งในการประชุม แลกเปลี่ยน ระหว่างคนในชุมชนและนอกชุมชน ใช้เป็นจัดงานประเพณีต่างๆ รวมทั้ง ยังใช้ในการตากข้าวในฤดูเก็บเกี่ยวอีกด้วย พื้นที่ของตลาดนัดชุมชนวัดชัยจุมพล จึงถือเป็นพื้นที่ของกิจกรรมชั่วคราวที่มี การปรับเปลี่ยนไปได้ตามโอกาส โดยมีตลาดนัดชุมชนเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้น ตราสินค้า (Brand name) หมายถึง ชื่อ (name) ค�ำ (Word) เครื่องหมาย (Sign) สัญลักษณ์ (Symbol) การออกแบบ (Design) (ประดิษฐ์ จุมพลเสถียร, 2557) ทีม่ เี อกลักษณ์สามารถจดจ�ำได้งา่ ยให้กบั กลุม่ เครือ่ งปัน้ ดินเผาบ้านหม้อ เพือ่ แสดง ความแตกต่างของสินค้า หรือบริการของผูข้ ายให้แตกต่างไปจากคูแ่ ข่งขัน ซึง่ การออกแบบตราสินค้า (Logo) เปรียบเสมือน กับสัญลักษณ์ภาพทีใ่ ช้แทนชือ่ สินค้าหรือชือ่ องค์กร ดังนัน้ ตราสินค้าจึงไม่ได้ทำ� หน้าทีเ่ พียงบอกข้อมูลเบือ้ งต้นว่าสินค้านัน้ มี ลักษณะแบบไหน แต่ตราสินค้ายังท�ำหน้าที่หลักในการสร้างความผูกพันและความทรงจ�ำกับผู้บริโภคด้วยความโดดเด่นมี เอกลักษณ์เฉพาะตัวทีไ่ ม่เหมือนใครของผลิตภัณฑ์ถอื เป็นสิง่ เร้าอันดับแรกทีท่ ำ� ให้ผบู้ ริโภคจดจ�ำสินค้าได้เป็นอย่างดีและสร้าง โอกาสให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ การน�ำเสนอที่มีเอกลักษณ์สามารถจดจ�ำได้ง่าย ก็นับว่าเป็นสิ่งส�ำคัญ เพื่อ ให้เป็นที่รู้จักและกลับมาซื้อเป็นการเพิ่มช่องทางของการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งชาวบ้านหม้อมีความช�ำนาญและ เชี่ยวชาญในเครื่องปั้นดินเผาเป็นทุนเดิมส่งต่อให้สถาบันการศึกษาที่มีความช�ำนาญทางด้านการออกแบบร่วมกันสานต่อ และผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่นิยมและรู้จักมากขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการออกแบบกราฟิกโดยให้นิสิตเรียนรู้การออกแบบตราสินค้า (Logo) เพื่อพัฒนาแบรนด์ให้กับ เครือ่ งปัน้ ดินเผาบ้านหม้อ ซึง่ ทางกลุม่ ยังไม่มตี ราสินค้าทีใ่ ช้ชว่ ยผลักดันผลิตภัณฑ์ให้เป็นทีร่ จู้ กั ได้อย่างกว้างขวาง โดยศึกษา องค์ประกอบของการออกแบบกราฟิก ประกอบด้วย สี ตัวอักษร ภาพประกอบ และการสื่อสารของตราสินค้าถึงอัตลักษณ์ เครื่องปั้นดินเผา ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (focus group) จากการสอบถามบุคคลในกลุ่มสมาชิกเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ เพื่อให้ได้มาถึงความคิดเห็น ความเชือ่ หรือทัศนคติ โดยค�ำถามจะถูกถามในรูปแบบของการปฏิสมั พันธ์แบบต่าง ๆ โดยเปิด โอกาสให้ผเู้ ข้าร่วมมีโอกาสพูดคุยและแสดงความเห็นได้อย่างอิสระระหว่างผูร้ ว่ มวิจยั หรือผูเ้ ข้าร่วมด้วยกันเอง (Lindlof, T. R., & Taylor, B. C, 2002) และศึกษาแนวคิดด้านการออกแบบกราฟิกเพือ่ แบรนด์ตราสินค้า (Logo Design) ศึกษาแนวคิด และทฤษฎีการรับรู้ (Visual Perception) (วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, 2549) เพื่อเชื่อมโยงไปสู่แนวทางการออกแบบตราสินค้า ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของให้กับกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อจังหวัดมหาสารคาม เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญา เครือ่ งปัน้ ดินเผาให้ยงั คงอยูแ่ ละเพือ่ ต่อยอดผลิตภัณฑ์ออกสูท่ อ้ งตลาดทีก่ ว้างขึน้ รวมไปถึงการกระจายรายได้และสร้างงาน ให้กับชุมชนต่อไป

2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ จังหวัดมหาสารคาม 2.2 ออกแบบตราสินค้าเพื่อสร้างแบรนด์ให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อจังหวัดมหาสารคาม

3. สมมติฐาน การออกแบบตราสินค้าสามารถสร้างภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ จังหวัดมหาสารคาม

4. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผูว้ จิ ยั ได้เลือกกลุม่ ตัวอย่างโดยท�ำการสุม่ แบบอย่างง่าย (Simple random sampling) เป็นสมาชิกกลุม่ เครือ่ งปัน้ ดินเผา บ้านหม้อ จ�ำนวน 13 คน โดยให้นสิ ติ สาขานฤมิตศิลป์ ชัน้ ปีที่ 3 จ�ำนวน 11 คน สาขานฤมิตศิลป์ ทีเ่ รียนในกลุม่ วิชาออกแบบ ผลิตภัณฑ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีส่วนร่วมกันสานต่อและผลักดัน

95


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่นิยมและรู้จักมากขึ้นด้วยการออกแบบตราสินค้าจ�ำนวน 11 รูปแบบให้กับกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา บ้านหม้อจังหวัดมหาสารคาม

5. สถานที่ด�ำเนินการวิจัย กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ หมู่ที่ 11 ต�ำบลเขวา อ�ำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ในการศึกษาข้อมูล ประวัติความ เป็นมาและการสอบถามรูปแบบการออกแบบตราสินค้าทีส่ ามารถส่งเสริมสินค้าภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ประเภทเครือ่ งปัน้ ดินเผา บ้านหม้อ จังหวัดมหาสารคามและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยให้ นิสิตสาขานฤมิตศิลป์ ชั้นปีที่ 3 สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ มีส่วนร่วมกันสานต่อและผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่นิยม และรู้จักมากขึ้นด้วยการออกแบบตราสินค้าสร้างแบรนด์ให้กับกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อจังหวัดมหาสารคาม

6. กรอบแนวคิดของการวิจัย โดยผูว้ จิ ยั แบ่งประเด็นการศึกษาซึง่ ประกอบไปด้วย ศึกษาแนวคิดด้านการออกแบบกราฟิกเพือ่ แบรนด์ตราสินค้า (Logo Design) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการรับรู้ (Visual Perception) (วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, 2549) เพื่อเชื่อมโยงไปสู่แนวทาง การออกแบบตราสินค้าทีม่ คี วามเป็นเอกลักษณ์ของให้กบั กลุม่ เครือ่ งปัน้ ดินเผาบ้านหม้อจังหวัดมหาสารคาม และศึกษา การ เชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีกับกรอบการวิจัย การวิจัยนี้มุ่งที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ด้านตัวแปรอิสระคือรูปแบบกราฟิกคือ ตราสินค้า (Logo Design) ตัวแปรตาม คือการรับรู้ระดับความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบกราฟิก และเชื่อมโยงไปสู่แนวทางการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทเครื่องปั้นดินเผา กรณีศึกษากลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อจังหวัดมหาสารคาม

ภาพที่ 1 การเชื่อมโยงกรอบของการวิจัย

7. วิธีด�ำเนินการวิจัย จากการด� ำ เนิ น งานวิ จั ย ผู ้ วิ จั ย ได้ น� ำ นิ สิ ต ชั้ น ปี ที่ 3 จ� ำ นวน 11 คน ที่ เรี ย นในกลุ ่ ม วิ ช าออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามลงพื้นที่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ หมู่ที่ 11 ต�ำบลเขวา อ�ำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ในการศึกษาข้อมูลของชุมชน ประวัตคิ วามเป็นมา จากนัน้ ให้นสิ ติ ออกแบบ ตราสินค้า (logo) ทีส่ ามารถสือ่ สารถึงเอกลักษณ์ของกลุม่ เครือ่ งปัน้ ดินเผาบ้านหม้อ และศึกษาปัจจัยทางด้านการออกแบบ ที่มีผลต่อการรับรู้ (Visual Perception) ของกลุ่มเป้าหมาย โดยได้รูปแบบตราสินค้า 11 รูปแบบจาก จ�ำนวน 11 คน ใน

96


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

เบือ้ งต้นเริม่ สอบถามจากความพึงพอใจของสมาชิกในกลุม่ เครือ่ งปัน้ ดินเผาบ้านหม้อ จ�ำนวน 13 คน โดยประเด็นข้อค�ำถาม สอบถามการรับรู้และการสื่อสารถึงตราสินค้าที่สื่อถึงอัตลักษณ์และสามารถส่งเสริมสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภท เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ จังหวัดมหาสารคาม ในประเด็น สี (Color) ในประเด็น สีที่ใช้กับตราสินค้ามีความเหมาะสม ตัวอักษร (Font) ในประเด็น ตัวอักษรที่ใช้กับตราสินค้ามีความเหมาะสม เรื่องภาพประกอบ (Illustrator) ในประเด็น ภาพประกอบที่ใช้กับตราสินค้ามีความเหมาะสม ตราสินค้าสามารถสื่อสารถึงอัตลักษณ์เครื่องปั้นดินเผา โดยการวิจัยเป็นรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การ Focus Group จากการสอบถามสมาชิกในกลุ่มผลิตภัณฑ์ เครือ่ งปัน้ ดินเผาบ้านหม้อเพือ่ ให้ได้มาถึงความคิดเห็น ความเชือ่ หรือทัศนคติ โดยเปิดโอกาสให้ผเู้ ข้าร่วมการวิจยั คือสมาชิก กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาและนิสิตที่จะออกแบบตราสินค้ามีโอกาสพูดคุยและแสดงความเห็นได้อย่างอิสระ (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐ สินธุ์. 2550) รวบรวมความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ จ�ำนวน 13 คน ที่มีต่อรูปแบบตราสินค้าทั้ง 11 รูปแบบ ออกแบบโดยนิสิตชั้นปีที่ 3 จ�ำนวน 11 คน ที่เรียนในกลุ่มวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ภาพที่ 2 กระบวนการด�ำเนินการวิจัย 7.1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วยรูปแบบตราสินค้าและแบบสอบถามการรับรู้ที่มีต่อการออกแบบตราสิน ค้า จ�ำนวน 1 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามการรับรูข้ องสมาชิกกลุม่ เครือ่ งปัน้ ดินเผาบ้านหม้อ ทีม่ ตี อ่ รูปแบบตราสินค้าทัง้ 11 รูปแบบ ประกอบ ด้วย ข้อค�ำถามเกี่ยวกับการรับรู้ความพึงพอใจรูปแบบตราสินค้าที่สื่อถึงอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ

97


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ภาพตราสินค้า

ลำ�ดับ

ประเด็นการรับรู้ 5 มากที่สุด

1

ระดับความพึงพอใจ 4 3 2 มาก ปานกลาง น้อย

1 น้อยที่สุด

ตราสินค้าสื่อถึงอัตลักษณ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ ภาพที่ 3 รูปแบบแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย

7.2 การเก็บข้อมูล งานวิจัยนี้ได้เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540) โดยเก็บข้อมูลเบื้องต้นกับสมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ จ�ำนวน 13 คน เป็นผู้หญิง 8 คน ผู้ชาย 5 คน ขัน้ ตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เพือ่ สอบถามรูปแบบตราสินค้าโดยใช้แบบสอบถามกับภาพประกอบ รูปแบบตราสินค้าสอบถามการรับรู้ที่มีต่อรูปแบบตราสินค้าทั้ง 11 รูปแบบ (Wichanat and Kevin, 2015) โดยถามการ รับรู้เรื่องกราฟิกและการสื่อสารของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาจากชุมชนบ้านหม้อ 7.3 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ขอ้ มูลผูว้ จิ ยั น�ำข้อมูลทีไ่ ด้จากการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามมาประมวลผลทางสถิตเิ บือ้ งต้น ทีม่ ตี อ่ การรับรู้ระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบตราสินค้าในเรื่องของการออกแบบและการสื่อสารของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ของชุมชนบ้านหม้อ

8. สรุปผลการวิจัย สรุปผลการวิจัยการรับรู้ความพึงพอใจของสมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อที่ต่อตราสินค้า (Logo) พบว่าตราสิน ค้าทีส่ มาชิกกลุม่ เครือ่ งปัน้ ดินเผาบ้านหม้อชืน่ ชอบคือรูปแบบที่ 9 และให้เหตุผลว่าเป็นตราสัญลักษณ์ทใี่ ช้สองมือปัน้ ดินเป็น รูปหม้อซึ่งสามารถสะท้อนได้ถึงความเป็นเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อได้ และการออกแบบตราสินค้าพบว่า สี (Color) ในประเด็น สีทใี่ ช้กบั ตราสินค้ามีความเหมาะสม ผลสรุปพบว่าสมาชิกกลุม่ เครือ่ งปัน้ ดินเผาบ้านหม้อพึงพอใจ รูปแบบตราสินค้ารูปแบบที่ 7 เป็นล�ำดับที่ 1 ค่าเฉลี่ย 4.23 (S.D. = 0.83) ตราสินค้ารูปแบบที่ 4 ล�ำดับที่ 2 ค่าเฉลี่ย 4.15 (S.D. 0.80) ตราสินค้ารูปแบบที่ 11 ล�ำดับที่ 3 ค่าเฉลี่ย 4.00 (S.D. = 0.91) ตราสินค้ารูปแบบที่ 3 ล�ำดับที่ 4 ค่าเฉลี่ย 3.92 (S.D. = 0.86) ตราสินค้ารูปแบบที่ 10 ล�ำดับที่ 5 ค่าเฉลี่ย 3.76 (S.D. = 0.83) ตราสินค้ารูปแบบที่ 5 ล�ำดับที่ 6 ค่าเฉลี่ย 3.38 (S.D. = 0.96) ตราสินค้ารูปแบบที่ 9 ล�ำดับที่ 7 ค่าเฉลี่ย 3.07 (S.D. = 0.95) ตราสินค้ารูปแบบที่ 6 ล�ำดับที่ 8 ค่าเฉลี่ย 2.92 (S.D. = 0.64) ตราสินค้ารูปแบบที่ 2 ล�ำดับที่ 9 ค่าเฉลี่ย 2.46 (S.D. = 0.87) ตราสินค้ารูปแบบที่ 1 ล�ำดับ ที่ 10 ค่าเฉลี่ย 2.23 (S.D. = 0.92) และตราสินค้ารูปแบบที่ 8 ล�ำดับที่ 11 ค่าเฉลี่ย 2.15 (S.D. = 1.28) ตามส�ำดับ

98


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

เรือ่ งสี (Color) ผลสรุปพบว่าการเลือกใช้สใี นการออกแบบสีเดียว และเป็นโทนสีนำ�้ ตาลทีเ่ ปรียบเสมือนสีของดินทีก่ ลุม่ ผลิตภัณฑ์เครือ่ งปัน้ ดินเผาบ้านหม้อใช้ในการผลิตหม้อ และเนือ่ งจากเป็นโทนสีเข้มสามารถมองเห็นเด่นชัด และท�ำให้สามารถ จดจ�ำได้ง่าย โทนสีเข้มมีค่าในทางบวกเนื่องจากเมื่อเราใช้สีอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพหรืออักษรวางลงไป ก็จะท�ำให้สีเหล่านั้น เจิดจ้าสะดุดตาขึ้น (กฤษฎา นาคเทวัญ: การออกแบบกราฟิก, 2012)

1. รูปแบบที่ 7

2. รูปแบบที่ 4

3. รูปแบบที่ 11

ภาพที่ 4 ผลความพึงพอใจของสมาชิกในกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ ที่มีต่อรูปแบบสีที่ใช้กับตราสินค้า 3 ล�ำดับแรก ตัวอักษร (Font) ในประเด็น ตัวอักษรที่ใช้กับตราสินค้ามีความเหมาะสม ผลสรุปพบว่าสมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา บ้านหม้อพึงพอใจรูปแบบตราสินค้ารูปแบบที่ 4 เป็นล�ำดับที่ 1 ค่าเฉลี่ย 4.30 (S.D. = 0.75) ตราสินค้ารูปแบบที่ 7 ล�ำดับ ที่ 2 ค่าเฉลี่ย 4.15 S.D. 0.80 ตราสินค้ารูปแบบที่ 3 และรูปแบบที่ 9 ล�ำดับที่ 3 ค่าเฉลี่ย 4.00 (S.D. = 0.91) ตราสินค้า รูปแบบที่ 10 ล�ำดับที่ 4 ค่าเฉลี่ย 3.92 (S.D. = 0.86) ตราสินค้ารูปแบบที่ 3 ล�ำดับที่ 5 ค่าเฉลี่ย 3.76 (S.D. = 0.83) ตราสิน ค้ารูปแบบที่ 5 ล�ำดับที่ 6 ค่าเฉลี่ย 3.30 (S.D. = 0.94) ตราสินค้ารูปแบบที่ 8 ล�ำดับที่ 7 ค่าเฉลี่ย 2.84 (S.D. = 0.68) ตราสินค้ารูปแบบที่ 11 ล�ำดับที่ 8 ค่าเฉลี่ย 2.30 (S.D. = 0.85) รูปแบบที่ 1 ล�ำดับที่ 9 ค่าเฉลี่ย 2.30 (S.D. = 1.0) ล�ำดับ ที่ 10 ตราสินค้ารูปแบบที่ 2 ล�ำดับที่ 9 ค่าเฉลี่ย 2.00 (S.D. = 0.81) ตามส�ำดับ เรื่องตัวอักษร (Font) ผลสรุปพบว่าการใช้ตัวอักษรที่เห็นได้ชัดเจนและโดดเด่น สามารถอ่านได้ง่าย จะท�ำให้ตราสิน ค้าของกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อเกิดการจดจ�ำได้ง่าย (ปาพจน์ หนุนภักดี, 2553)

(ก) รูปแบบที่ 4

(ข) รูปแบบที่ 7

(ค) รูปแบบที่ 6

(ง) รูปแบบที่ 9

ภาพที่ 5 ผลความพึงพอใจของสมาชิกในกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ ที่มีต่อรูปแบบตัวอักษรที่ใช้กับตราสินค้า 3 ล�ำดับแรก

99


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

เรื่องภาพประกอบ (Illustrator) ในประเด็นภาพประกอบที่ใช้กับตราสินค้ามีความเหมาะสมผลสรุปพบว่าสมาชิกกลุ่ม เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อพึงพอใจรูปแบบตราสินค้ารูปแบบที่ 9 เป็นล�ำดับที่ 1 ค่าเฉลี่ย 4.53 (S.D. = 0.66) ตราสินค้ารูป แบบที่ 4 ล�ำดับที่ 2 ค่าเฉลี่ย 4.38 (S.D. = 0.65) ตราสินค้ารูปแบบที่ 7 ล�ำดับที่ 3 ค่าเฉลี่ย 4.23 (S.D.= 0.72) ตราสินค้า รูปแบบที่ 10 ล�ำดับที่ 4 ค่าเฉลี่ย 3.84 (S.D. = 0.89) ตราสินค้ารูปแบบที่ 3 ล�ำดับที่ 5 ค่าเฉลี่ย 3.46 (S.D. = 1.05) ตราสิน ค้ารูปแบบที่ 11 ล�ำดับที่ 6 ค่าเฉลี่ย 3.38 (S.D. = 0.96) ตราสินค้ารูปแบบที่ 2 ล�ำดับที่ 7 ค่าเฉลี่ย 2.69 (S.D. = 0.75) ตราสินค้ารูปแบบที่ 1 ล�ำดับที่ 8 ค่าเฉลี่ย 2.46 (S.D. = 1.19) ตราสินค้ารูปแบบที่ 6 ล�ำดับที่ 9 ค่าเฉลี่ย 2.38 (S.D. = 0.96) ตราสินค้ารูปแบบที่ 5 ล�ำดับที่ 10 ค่าเฉลี่ย 2.15 (S.D. = 0.80) และตราสินค้ารูปแบบที่ 8 ล�ำดับที่ 11 ค่าเฉลี่ย 1.84 (S.D. = 0.80) ตามส�ำดับ เรื่องภาพประกอบ (Illustrator) ผลสรุปพบว่าการใช้ภาพประกอบสองมือที่โอบอุ้มหม้อหรือก�ำลังสร้างหม้อสะท้อนให้ เห็นถึงผลิตภัณฑ์ทเี่ กิดจากภูมปิ ญ ั ญาของชุมชนบ้านหม้อในการสือ่ สารการออกแบบ การสร้างหรือการปัน้ หม้อด้วยสองมือ เกิดจากภูมิปัญญาการคิดค้นอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ในอดีต และยังด�ำรงเอาไว้จนถึงยุคปัจจุบันสืบทอดกันมา

(ก) รูปแบบที่ 9

(ข) รูปแบบที่ 4

(ค) รูปแบบที่ 7

ภาพที่ 6 ผลความพึงพอใจของสมาชิกในกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ ที่มีต่อรูปแบบภาพประกอบที่ใช้กับตราสินค้า 3 ล�ำดับแรก ตราสินค้าสามารถสื่อสารถึงอัตลักษณ์เครื่องปั้นดินเผา ผลสรุปพบว่าสมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อพึงพอใจรูป แบบตราสินค้ารูปแบบที่ 9 เป็นล�ำดับที่ 1 ค่าเฉลี่ย 4.38 (S.D. = 0.76) ตราสินค้ารูปแบบที่ 7 ล�ำดับที่ 2 ค่าเฉลี่ย 4.23 (S.D. = 0.83) ตราสินค้ารูปแบบที่ 4 ล�ำดับที่ 3 ค่าเฉลี่ย 4.00 (S.D. = 0.81) ตราสินค้ารูปแบบที่ 2 ล�ำดับที่ 4 ค่าเฉลี่ย 3.76 (S.D. = 0.72) ตราสินค้ารูปแบบที่ 10 ล�ำดับที่ 5 ค่าเฉลี่ย 3.76 (S.D. = 0.83) ตราสินค้ารูปแบบที่ 3 ล�ำดับที่ 6 ค่า เฉลี่ย 3.38 (S.D. = 0.96) ตราสินค้ารูปแบบที่ 1 ล�ำดับที่ 7 ค่าเฉลี่ย 3.30 (S.D. = 0.85) ตราสินค้ารูปแบบที่ 11 ล�ำดับที่ 8 ค่าเฉลี่ย 2.84 (S.D. = 0.68) ตราสินค้ารูปแบบที่ 6 ล�ำดับที่ 9 ค่าเฉลี่ย 2.76 (S.D. = 0.59) ตราสินค้ารูปแบบที่ 5 ล�ำดับ ที่ 10 ค่าเฉลี่ย 2.38 (S.D. = 0.86) และตราสินค้ารูปแบบที่ 8 ล�ำดับที่ 11 ค่าเฉลี่ย 2.15 (S.D. = 0.98) ตามส�ำดับ

100


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจต่อภาพตราสินค้าของสมาชิกในกลุ่มเครื่องปั่นดินเผา บ้านหม้อ สีที่ใช้มีความ ตัวอักษรที่ใช้มี ภาพประกอบที่ ตราสินค้าสื่อ เหมาะสม ความเหมาะสม ใช้มีความเหมาะ ถึงอัตลักษณ์ ลำ�ดับ ภาพตราสินค้า สม เครื่องปั้นดิน เผาบ้านหม้อ S.D. S.D. S.D. S.D. X X X X 1

2.23

0.92

2.30

1.10

2.46

1.19

3.30

0.85

2.46

0.87

2.00

0.81

2.69

0.75

3.76

0.72

3.92

0.86

3.76

0.83

3.46

1.05

3.38

0.96

4.15

0.80

4.30

0.75

4.38

0.65

4.07

0.75

3.38

0.96

3.30

0.94

2.15

0.80

2.38

0.86

2.92

0.64

4.00

0.81

2.38

0.96

2.76

0.59

รูปแบบที่ 1 2

รูปแบบที่ 2 3

รูปแบบที่ 3 4

รูปแบบที่ 4 5

รูปแบบที่ 5 6

รูปแบบที่ 6

101


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ลำ�ดับ

ภาพตราสินค้า

สีที่ใช้มีความ เหมาะสม

ตัวอักษรที่ใช้มี ความเหมาะสม

ภาพประกอบที่ ตราสินค้าสื่อ ใช้มีความเหมาะ ถึงอัตลักษณ์ สม เครื่องปัน้ ดิน เผาบ้านหม้อ S.D. S.D. S.D. X X

X

S.D.

X

4.23

0.83

4.15

0.80

4.23

0.72

4.23

0.83

2.15

1.28

2.84

0.68

1.84

0.80

2.15

0.98

3.07

0.95

4.00

0.81

4.53

0.66

4.38

0.76

3.76

0.83

3.92

0.86

3.84

0.89

2.76

0.83

4.00

0.91

2.30

0.85

3.38

0.96

2.84

0.68

7

รูปแบบที่ 7 8

รูปแบบที่ 8 9

รูปแบบที่ 9 10

รูปแบบที่ 10 11

รูปแบบที่ 11

102


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

9. ข้อเสนอแนะการวิจัย ผลของการวิจัยครั้งนี้สามารถช่วยให้ชุมชนผลิตเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อได้มีตราสินค้าใช้เพื่อในการสื่อสารการตลาด ให้เป็นที่รู้จัก ในเบื้องต้นได้สอบถามความพึงพอใจรูปแบบตราสินค้ากับกลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกในกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา บ้านหม้อ และข้อเสนอแนะในการด�ำเนินการวิจยั ต่อไปควรจะสอบถามการรับรูไ้ ปยังกลุม่ เป้าหมายคือกลุม่ ผูบ้ ริโภคผลิตภัณฑ์ เครือ่ งปัน้ ดินเผาเพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลความสนใจในรูปแบบตราสินค้าของผูบ้ ริโภคเพือ่ เชือ่ มโยงระหว่างผูผ้ ลิตและผูบ้ ริโภค ซึง่ ส่ง ผลไปถึงการผลักดันผลิตภัณฑ์เครือ่ งปัน้ ดินเผาบ้านหม้อให้เป็นทีร่ จู้ กั ในตลาดวงกว้าง น�ำมาซึง่ กระบวนการส่งเสริมการขาย ทางการตลาด (Marketing) หรือเรียกได้ว่าสามารถใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ หมู่ 11 ต�ำบลเขวา อ�ำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

10. กิตติกรรมประกาศ การศึกษาครั้งนี้เกิดขึ้นได้จากการบูรณาการระหว่างชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อและการออกแบบโดยนิสิตชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 เอกการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขานฤมิตศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้วิจัยขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

11. เอกสารอ้างอิง กฤษฎา นาคเทวัญ. (2012). การออกแบบกราฟิก. [Online]. ได้จาก: www.sorndesign.com [สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2012]. ปาพจน์ หนุนภักดี. (2553). Graphic Design Principles. พิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี: ไอดีซีฯ. ประดิษฐ์ จุมพลเสถียร. (2547). การสร้างแบรนด์และการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: แพค อินเตอร์กรุ๊ป จ�ำกัด. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2549). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม: มูลฐานทางพฤติกรรม เพื่อการออกแบบและการวางแผน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง. สุดสาคร ไชยโยชน์. (2559). สัมภาษณ์กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ. หมู่ที่ 11 ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559. Lindlof, T. R., & Taylor, B. C. (2002). Qualitative Communication Research Methods, 2nd Edition. Thousand Oaks, CA: Sage. Wichanat Tiwasing and Kevin Hapeshi. (2015). Logo Design for local cloth weaving products in Mahasarakham province, Thailand. Business and Social Sciences Research Conference.

103


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

12. ภาคผนวก รูปแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อทั้ง 11 รูปแบบ ที่ออกแบบโดยนิสิตชั้นปีที่ 3 จ�ำนวน 11 คน ที่เรียนในกลุ่มวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รูปแบบที่ 1

104

รูปแบบที่ 2

รูปแบบที่ 3

รูปแบบที่ 4

รูปแบบที่ 5

รูปแบบที่ 6

รูปแบบที่ 7

รูปแบบที่ 8

รูปแบบที่ 9


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

12. ภาคผนวก (ต่อ)

รูปแบบที่ 10

รูปแบบที่ 11

105



บทความวิจัย

- Research Article -



วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

การประยุกต์ใช้แบบจ�ำลองกฎการพยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อ การส�ำเร็จการศึกษาของนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการท�ำเหมืองข้อมูล Utilization of Rule-based Predicting Models Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts Students at Mahasarakham University by Data Mining วรารินทร์ ปัญญาวงษ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

Wararin Panyawong Computer Technical Officer, Affiliation, Address, City, Province, Postal Code Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts, Maha Sarakham University, Kantarawichai District, Maha Sarakham, Thailand, 44150 Email: wararin.p@msu.ac.th

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนต่อระดับปริญญาตรี และสร้างแบบจ�ำลองใน การพยากรณ์การส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยข้อมูล ถูกรวบรวมจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิต ศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 6 หลักสูตร ได้แก่สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมผังเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม การจัดการงาน ก่อสร้าง สถาปัตยกรรมภายใน นฤมิตศิลป์ ในปีการศึกษา 2557-2559 จ�ำนวน 929 ระเบียน ในการนี้เทคนิค Decision Table, Decision Rule, Repeated Incremental Pruning to Produce Error Reduction (RIPPER) และ OneR ได้ ถูกน�ำมาใช้ในการสร้างแบบจ�ำลองเพื่อการพยากรณ์ ในการวัดประสิทธิภาพแบบจ�ำลอง 10-fold cross validation ได้ถูก น�ำมาใช้ในการแบ่งข้อมูลออกเป็น ชุดข้อมูลเรียนรู้ และชุดข้อมูลทดสอบ โดยประสิทธิภาพของ แบบจ�ำลองที่สร้างจาก แต่ละเทคนิคใช้ ค่าความเที่ยงตรง (Precision) ค่าความระลึก (Recall) และ ค่า F-measure จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ มีผลต่อการเลือกเรียนต่อระดับปริญญาตรี 5 ล�ำดับแรก คือ 1) อ�ำเภอ 2) ประเภทวิชา 3) เพศ 4) เกรดเฉลี่ยกลุ่มสุขศึกษา พลศึกษา และ 5) อาชีพมารดา ส่วนการสร้างแบบจ�ำลองเทคนิค RIPPER สามารถสร้างแบบจ�ำลองกฎพยากรณ์ที่มี ประสิทธิภาพมากกว่า Decision Table, Decision Rule, and OneR ซึ่งมีความถูกต้อง (Precision) เท่ากับ ร้อยละ 91 ค่าความระลึก (Recall) เท่ากับ ร้อยละ91.10 และค่า F-measure เท่ากับ ร้อยละ90.90 ต้นแบบกฎการจ�ำลองนี้สามารถ

109


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

น�ำไปใช้ในการพัฒนาระบบหรือโปรแกรมการพยากรณ์การส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ ค�ำส�ำคัญ: แบบจ�ำลองกฎการพยากรณ์, เหมืองข้อมูล, แบบจ�ำลองการพยากรณ์ตามกฎ

Abstract This research are to study factors influencing selecting graduation bachelor and to create rulebased prediction models of graduation bachelor. The data were collected from 6-course education institutions in Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts Students at Mahasarakham University from year 2014-2016. The data consist of 929 records. In this paper, Decision Table, Decision Rule, Repeated Incremental Pruning to Produce Error Reduction (RIPPER) and OneR are used for building the rule-base prediction models. In order to measure the performance of the rule-base prediction models, 10-fold cross validation is applied to divide the data set into learning and testing sets. The performance of the prediction models created from each technique is measured with precision, recall and F-measure. The experimental results revealed that Factors influencing selecting graduation bachelor of the top five as follows: 1) district 2) Type of course 3) gender 4) grade point average of health and physical education and 5) mother’s career. For building prediction model, RIPPER is superior to Decision Table, Decision Rule, and OneR. It can create effective rule-based prediction models with 91% of precision, 91.10% of recall and 90.90% of F-measure. Keywords: Rule-based Prediction Models, Data Mining, Rule-based Prediction Models. Received: Marchr 4, 2020; Revised: Marchr 27, 2020; Accepted: August 17, 2020

1. บทน�ำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีการผลิตบัณฑิต ด้านงานสถาปัตยกรรมและสาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบต่าง ๆ ซึ่งได้จัดการเรียนการสอนใน 2 ระดับการศึกษา คือ ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท โดยการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต (ปริญญาตรี) ใช้ระบบทวิภาค คือ แบ่งปี การศึกษาหนึ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ได้แก่ ภาคการศึกษาต้นและภาคการศึกษาปลาย (หรืออาจมีภาคฤดูร้อนก็ได้) หลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิตเป็น 6 หลักสูตร ได้แก่ สถาปัตยกรรม ภูมสิ ถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมผังเมือง สถาปัตยกรรม ภายใน นฤมิตศิลป์ สถาปัตยกรรมการจัดการงานก่อสร้าง ทัง้ 6 หลักสูตรได้รบั การรับรองจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถาบันอุดมศึกษามีข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอยู่เป็นจ�ำนวนมากข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นตาม การเติบโตควบคู่กับความทันสมัย ของเทคโนโลยีประกอบกับมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่และมีขอ้ มูล สารสนเทศภายในมีแฝงองค์ความรูส้ ำ� คัญซ่อนอยู่ จากความ ก้าวหน้าของเทคโนโลยีจึงเกิดศาสตร์ด้าน ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ร่วมกับวิวัฒนาการข้อมูลโดย Group (2010) อ้างถึงใน สายชล สินสมบูรณ์ทอง (2558) กล่าวว่า การท�ำเหมืองข้อมูลจะเป็นกระบวนการค้นหาความสัมพันธ์ รูป แบบ หรือกฎเกณฑ์ โดยน�ำข้อมูลปริมาณมากจากแหล่งจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่เก็บไว้น�ำมาเข้าสู่ กระบวนการวิธีทาง คณิตศาสตร์ และสถิติมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดการข้อมูล การท�ำ เหมืองข้อมูลนั้นมีเทคนิคที่สามารถประยุกต์ ใช้ได้มากมายโดยได้มีงานวิจัยด้านการศึกษาจากข้อมูลที่มี อยู่ในสถาบันอุดมศึกษา เช่น งานวิจัยของ สมฤทัย กลัดแก้ว อรไท ชั้วเจริญ และช�ำนาญ เจริญรุ่งเรือง (2557) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกต�ำแหน่งงานของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมูบ่ า้ นจอมบึงจากข้อมูลภาวะมีงานท�ำของบัณฑิตทีส่ ำ� เร็จการศึกษาปีการศึกษา 5 พ.ศ. 2555 – 2557

110


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

จ�ำนวน 1,933 คน โดยจ�ำแนกประเภทข้อมูล (Classification) ด้วยเทคนิค Decision Tree เปรียบเทียบกับเทคนิค Logistic Regression พบว่าแบบจ�ำลองที่ใช้เทคนิค Decision Tree ให้ ความถูกต้องสูงสุดที่ร้อยละ 57.37 และงานวิจัย ของ เสกสรรค์ วิลัยลักษณ์ วิภา เจริญภัณฑารักษ์ และ ดวงดาว วิชาดากุล (2558) ได้พัฒนาแบบจ�ำลองท�ำนายผลการเรียน นักเรียน โรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก�ำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จากข้อมูล นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างปีการศึกษา 2553 – 2556 จ�ำนวน 525 ระเบียน และ 16 คุณลักษณะ พบว่า การคัดเลือกคุณลักษณะด้วยชุดข้อมูลแบบไม่จัดกลุ่มวิธี Correlation – based Feature Selection ร่วมกับเทคนิค Neural Network ให้ค่าความถูกต้องสูงสุดที่ร้อยละ 94.48 และมีค่าความ คลาดเคลื่อนสมบูรณ์เฉลี่ยที่ 0.1880 ซึ่งมี ความ เหมาะสมที่สุด ส่วนงานวิจัยของ ชุติมา อุตมะมุณีย์ และประสงค์ ปราณีตพลกรัง, (2553) ได้หาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสิน ใจเลือกสาขาวิชาเรียนของ นักศึกษาระดับอุดมศึกษา จากข้อมูลนักศึกษาระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน จ�ำนวน 9 แห่ง โดยใช้เทคนิค Decision Tree และเปรียบเทียบเทคนิค Bayesian Networks เพื่อ พัฒนาแบบจ�ำลอง ท�ำนายระบบตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียน พบว่าเทคนิค Bayesian Networks มี ค่าความแม่นย�ำสูงสุดร้อยละ 91.35 การท�ำเหมืองข้อมูล (Data Mining) เป็นกระบวนการค้นหาความรู้ที่มีอยู่ในฐานข้อมูลขนาด ใหญ่ ซึ่งเทคโนโลยีที่เข้า มาช่วยในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นข้อมูลที่สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ ได้ โดยที่องค์กรต่าง ๆ มักจะมองข้ามความส�ำคัญของข้อมูลที่เก็บไว้ นักวิจัยหลายท่าน ได้น�ำเอากระบวนการของเหมืองข้อมูลมาใช้ในการสร้าง แบบจ�ำลองเพื่อการพยากรณ์ (เสกสรรค์ วิลัยลักษณ์ วิภา เจริญภัณฑารักษ์ และดวงดาว วิชาดากุล, 2558) มีการเสนอการ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบส�ำรวจสภาวะสุขภาพประชาชนโดยใช้ข้อมูลของ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2555 โดยในการศึกษาการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นของประชาชน พบว่าอัลกอริทึม Partial Rules ให้ความถูกต้อง มากกว่าอัลกอริทึมต้นไม้ ตัดสินใจ C4.5 โดยมีค่าความถูกต้อง (precision) เท่ากับ ร้อยละ 88.60% ค่าระลึก (recall) เท่ากับ ร้อยละ 89.20% และค่าความเหวี่ยง (F-measure) เท่ากับ ร้อยละ 88.80% ดังนัน้ ผูว้ จิ ยั จึงมีแนวคิดศึกษาปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการส�ำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสร้างแบบจ�ำลองการพยากรณ์การส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้วยเทคนิค Decision Table, Decision Rule, RIPPER และ OneR เพื่อให้คณะอาจารย์และผู้บริหารได้น�ำไปประยุกต์ใน การวิเคราะห์ความส�ำเร็จการศึกษานิสติ แนะแนวการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ในสถานศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้อย่างแม่นย�ำที่สุด

2. แนวคิดที่เกี่ยวข้อง สมฤทัย กลัดแก้ว (2557) ได้วิจัย “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการเลือก ต�ำแหน่งงานให้สอดคล้องกับความสามารถ ของบัณฑิต” เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกต�ำแหน่ง งานที่สอดคล้องกับความสามารถบัณฑิตด้วยเทคนิค Logistic Regression Analysis โดยการจ�ำแนก ประเภทข้อมูลด้วยเทคนิค Decision Tree และเปรียบเทียบความถูกต้องการท�ำนาย ระหว่างเทคนิค Logistic Regression Analysis และการจ�ำแนกประเภทข้อมูลด้วยเทคนิค Decision Tree จากนั้น ได้ ท�ำการพัฒนาแบบจ�ำลองช่วยในการตัดสินใจเลือกต�ำแหน่งงานให้สอดคล้องกับความสามารถของ บัณฑิต จากข้อมูลภาวะ มีงานท�ำบัณฑิตที่ส�ำเร็จปีการศึกษา 2555 – 2557 จ�ำนวน 1,933 ระเบียน จ�ำนวน 2,825 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง และได้ รวบรวมแบบส�ำรวจข้อมูลภาวะมีงานท�ำของศูนย์ 31 คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ ศึกษา และได้แบ่งต�ำแหน่งงาน หรือกลุ่มอาชีพเป็น 8 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยจาก 12 คุณลักษณะ มีผลต่อการเลือก ต�ำแหน่ง งานหรือกลุ่มอาชีพมี 4 คุณลักษณะ คือ เพศ คุณวุฒิการศึกษาที่ส�ำเร็จการศึกษา สาขาวิชาที่เรียน และ ความสามารถพิเศษ ซึ่งมีระดับนัยส�ำคัญทางสถิติอยู่ที่ 0.05 และจากการวัดค่าประสิทธิภาพตัว แบบด้วยค่าความถูกต้อง (Accuracy) ค่าความแม่นย�ำ (Precision) และค่าความระลึก (Recall) ซึ่ง ได้วิเคราะห์ผลเปรียบเทียบค่าความถูกต้องของ การพยากรณ์เทคนิคการจ�ำแนกประเภทข้อมูลพบว่า เทคนิค Decision Tree อยู่ที่ร้อยละ 57.37 โดยมีค่ามากกว่าเทคนิค Logistic Regression Analysis เล็กน้อยที่ร้อยละ 56.30 จึงได้พัฒนาแบบจ�ำลองระบบสนับสนุนการตัดสินใจการเลือก ต�ำแหน่งงานให้ สอดคล้องกับความความสามารถของบัณฑิตโดยใช้เงื่อนไข 4 คุณลักษณะดังกล่าวมาสร้างเป็น แบบจ�ำลอง ระบบโดยออกแบบส่วนติดต่อประสานงานผู้ใช้ด้วย Microsoft Visual Basic

111


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

เสกสรรค์ วิลยั ลักษณ์ วิภา เจริญภัณฑารักษ์ และดวงดาว วิชาดากุล, (2558) ได้วจิ ยั “การใช้เทคนิคการท�ำเหมืองข้อมูล เพื่อพยากรณ์ผลการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก�ำแพงแสนศูนย์วิจัยและ พัฒนาการศึกษา” เพือ่ พัฒนาคลังข้อมูลและสร้งแบบจ�ำลองท�ำน�ำยผลการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก�ำแพงแสนศูนย์วจิ ยั และพัฒนาการศึกษา โดยใช้ขอ้ มูลนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่าง ปีการศึกษา 2548 – 2556 น�ำมาพัฒนาคลังข้อมูลด้วยโครงสร้าง แบบ Snowflake Schema จากนั้นใช้ข้อมูลนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างปี การศึกษา 2556 – 2556 จ�ำนวน 525 ระเบียน ประกอบด้วย 16 คุณลักษณะ น�ำมาพัฒนา แบบจ�ำลองท�ำนาย โดยใช้ชุดข้อมูล 2 แบบ ได้แก่แบบไม่จัดกลุ่ม (Original Data) และแบบจัดกลุ่ม (Cluster Data) จากนั้นท�ำการคัดเลือกคุณลักษณะด้วยวิธี Correlation-based Feature Selection และวิธี Information Gain แล้วใช้เทคนิค Neural Network แบบ Multi-Layer Perceptron เทคนิคSupport Vector Machine และเทคนิค Decision Tree มาพัฒนาแบบจ�ำลอง 32 ท�ำนายพร้อมเปรียบเทียบและวัดประสิทธิภาพด้วยวิธี 10-fold Cross Validation พบว่าคลังข้อมูลทีพ่ ฒ ั นาขึน้ ผูใ้ ช้งานมีความพึงพอใจอยูใ่ นระดับดีและจากการเปรียบเทียบแบบจ�ำลองท�ำนายโดยชุดข้อมูล แบบไม่จัดกลุ่ม (Original Data) ที่คัดเลือกด้วยวิธี Correlation-based Feature Selection ร่วมกับเทคนิค Neural Network แบบ Multi-Layer Perceptron จ�ำนวน 5 คุณลักษณะ คือ แผนการเรียน ผลการเรียนเฉลี่ยวิทยาศาสตร์ ผล การเรียนเฉลี่ยสังคมศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ย ภาษาอังกฤษ และผลการเรียนเฉลี่ยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะ มากทีส่ ดุ โดยมีคา่ ความ ถูกต้องสูงสุดทีร่ อ้ ยละ 94.48 และมีคา่ รากทีส่ องของความคลาดเคลือ่ น (RMSE) น้อยทีส่ ดุ ที่ 0.1880 จากนั้นน�ำมาพัฒนาระบบพยากรณ์ผลการเรียนด้วยภาษา PHP นิภาพร ชนะมาร และพรรณี สิทธิเดช (2557) ได้วิจัย “การวิเคราะห์ปัจจัย การเรียนรู้ด้วยการคัดเลือกคุณสมบัติและ การพยากรณ์” เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคเหมืองข้อมูลท�ำนาย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร จ�ำนวน 180 ระเบียน ประกอบด้วยคุณสมบัติ 23 คุณลักษณะ แบ่งเป็นตัวแปร อิสระ 22 คุณลักษณะ ได้แก่ ข้อมูลภูมหิ ลังและข้อมูลผลการเรียนรายวิชาในชัน้ ปีที่ 1 และ 2 ตัวแปรตามหรือตัว แปรท�ำนาย คือเกรดเฉลี่ยเมื่อส�ำเร็จการศึกษา จากนั้นวิเคราะห์ปัจจัยการเรียนรู้ด้วยการคัดเลือก คุณลักษณะที่ส�ำคัญ 3 วิธี ได้แก่ 1) วิธี Correlation-based 2) Consistency-based และ 3) วิธี Gain Ratio จากนั้นน�ำมาพัฒนาแบบจ�ำลองการท�ำนาย ด้วย เทคนิค Neural Network แบบ Backpropagation และเทคนิคSupport Vector Machines ร่วมกับการวัดประสิทธิภาพ ด้วยวิธี 10-fold Cross Validation และวัดค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อน (RMSE) พบว่าข้อมูลภูมิหลังไม่ใช่ ข้อมูล ส�ำคัญในการท�ำนายผลสัมฤทธิท์ างการเรียน และผลการเรียนรายวิชาจ�ำนวน 10 คุณลักษณะ นัน้ เป็นตัวแปรส�ำคัญ ส�ำหรับ แบบจ�ำลองท�ำนายด้วยเทคนิค Neural Network แบบ Backpropagation และเทคนิคSupport Vector Machines จาก คุณลักษณะส�ำคัญดังกล่าวมีคา่ ความ ผิดพลาดอยูใ่ นระดับต�ำ่ กว่าแบบจ�ำลองท�ำนายทีใ่ ช้ตวั แปรตัง้ ต้นจ�ำนวน 22 คุณลักษณะ ในขณะที่ เทคนิคการรวมกลุ่มประจ�ำแนกประเภทด้วยวิธี Bagging ร่วมกับเทคนิค Neural Network แบบ Back-propagation และเทคนิค Support Vector Machines พบว่าผลการพยากรณ์ของ Bagging ร่วมกับเทคนิค Neural Network แบบ Back-propagation มีค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อน (RMSE) อยู่ระดับต�่ำสุดที่ 0.1051 มีประสิทธิภาพดีที่สุด จึงน�ำไปใช้พยากรณ์ Osiris Villacampa (2015) ได้วิจัยเรื่อง “Feature Selection and Classification Methods for Decision Making: A Comparative Analysis” เพื่อศึกษาการประมวลผลการท�ำเหมืองข้อมูลเพื่อลดมิติข้อมูลด้วยการคัดเลือกคุณลักษณะ หรือการเลือก คุณลักษณะซึง่ จะช่วยให้การท�ำเหมืองข้อมูลมีความถูกต้องและความมีประสิทธิภาพ โดยใช้ขอ้ มูล ประวัตกิ าร บริการและการขายรถจากตัวแทนจ�ำหน่ายรถ จ�ำนวน 15,417 ระเบียน จ�ำนวน 40 คุณลักษณะ และข้อมูลประวัติการเงิน ของลูกจากธนาคาร จ�ำนวน 10,578 ระเบียน จ�ำนวน 17 คุณลักษณะ เพื่อหารูปแบบจ�ำแนกประเภทลูกค้าที่มีฐานะอยู่ใน กลุม่ ผูซ้ อื้ รถใหม่ โดยน�ำเทคนิคการคัดเลือกคุณลักษณะแบบ Filters, Wrappers และ Hybrid ได้แก่วธิ ี Information Gain วิธี Correlation Based Feature Selection วิธี Relief-F และวิธี Wrappers น�ำมาใช้เพื่อลดจ�ำนวน คุณลักษณะในชุด ข้อมูลจากนัน้ ท�ำการจ�ำแนกประเภทและพัฒนาแบบจ�ำลองด้วยเทคนิค Decision Tree เทคนิคk-Nearest Neighbor และ เทคนิค Support Vector Machines ทดสอบ ประสิทธิภาพแบบจ�ำลองด้วยวิธี 5-fold Cross Validation และวิเคราะห์ เปรียบเทียบการคัดเลือก คุณลักษณะและความ แตกต่างด้วยค่า Accuracy, ค่า Area Under Receiver Operating Characteristic Curve (AUC), ค่า F-Measure, ค่า TP Rate และค่า FP Rate พบว่าค่าความถูกต้องของเทคนิค Decision

112


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

Tree ร่วมกับการคัดเลือกคุณลักษณะแบบ Wrapper ที่ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 0.10 มีความถูกต้องแม่นย�ำถึงร้อยละ 86.4 ในการจ�ำแนกประเภท/การคัดเลือกคุณลักษณะแบบเดียวกันนี้ ยังให้ค่า AUC สูงสุดที่ร้อยละ 90.4 ส่วนเทคนิค k-Nearest Neighbor และเทคนิค Support Vector Machines มีค่าความถูกต้องเพียงร้อยละ 84.9 และ ร้อยละ79.8 ตามล�ำดับ

3. วิธีการศึกษา ด�ำเนินการวิจยั ในงานวิจยั ได้นำ� เอาขัน้ ตอนการท�ำเหมืองข้อมูลมาใช้ เพือ่ สร้างระบบ พยากรณ์การส�ำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งมีขั้นตอนการด�ำเนินการดังนี้ การเตรียมข้อมูล การสร้างแบบจ�ำลอง และการวัดประสิทธิภาพแบบจ�ำลอง 3.1 การเตรียมข้อมูล การเตรียมข้อมูลของการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ ได้ข้อมูลมาจากการส�ำรวจข้อมูลจ�ำนวน นิสิตระดับปริญญาตรี จากระดับปริญญาตรีในสถานศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามประจ�ำ ปีการศึกษา 2557-2559 จ�ำนวน 5 สาขา ได้แก่ สาขาภูมิสถาปัตยกรรม สาขาสถาปัตยกรรม สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาสถาปัตยกรรมภายใน และนฤมิตศิลป์ ตารางที่ 1 จ�ำนวนนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ประจ�ำปีการศึกษา 2557-2559 สาขาวิชา 1. ภูมิสถาปัตยกรรม 2. สถาปัตยกรรม 3. สถาปัตยกรรมผังเมือง 4. สถาปัตยกรรมภายใน 5. นฤมิตศิลป์ รวม รวมทั้งสิ้น

จำ�นวนนิสิต ปีการศึกษา 2557 (คน) 26 68 64 58 48 264

จำ�นวนนิสิต ปีการศึกษา 2558 (คน) 46 84 77 71 63 341 871 คน

จำ�นวนนิสิต ปีการศึกษา 2559 (คน) 35 55 69 61 46 266

113


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ตารางที่ 2 การจ�ำแนกชนิดของตัวแปร ชื่อตัวแปร 1. Sex 2. Age 3. Number of siblings 4. Father Status 5. Father Career 6. Mother Status 7. Mother Career 8. Amphoe 9. Thai 10. Math 11. Science 12. Social 13. Health 14. Art 15. Career and Technology 16. Foreign language 17. Type of course 18. Graduate

คำ�อธิบายตัวแปร เพศ อายุ จำ�นวนพี่น้อง สถานภาพบิดา อาชีพบิดา สถานภาพมารดา อาชีพมารดา อำ�เภอ เกรดกลุ่มภาษาไทย เกรดกลุ่มคณิตศาสตร์ เกรดกลุ่มวิทยาศาสตร์ เกรดกลุ่มสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เกรดกลุ่มสุขศึกษา พลศึกษา เกรดกลุ่มศิลปะ เกรดกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี เกรดกลุ่มภาษาต่างประเทศ ประเภทวิชาที่จบ จบการศึกษา

ระดับการวัดผล Nominal Ratio Ratio Nominal No Nominal No Nominal Ratio Ratio Ratio Ratio Ratio Ratio Ratio Ratio Nominal Nominal

3.2 การสร้างแบบจ�ำลอง การสร้างแบบจ�ำลองพยากรณ์การส�ำเร็จการศึกษา เพื่อช่วยในการตัดสินว่าเมื่อเข้าศึกษาต่อแล้วจะสามารถส�ำเร็จ การศึกษาได้หรือไม่ด้วยตัวแปรทั้ง 18 ตัวแปรที่ได้จากการส�ำรวจข้อมูลจ�ำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2557-2559 นั้น ด้วยการท�ำเหมืองข้อมูลด้วยโปรแกรม Weka 3.8.1 และเทคนิคที่น�ำมาใช้ในการสร้าง แบบจ�ำลองมีจ�ำนวน 4 เทคนิค คือ 1) เทคนิค Decision Table 2) เทคนิค Decision Rule 3) เทคนิค RIPPER 4) เทคนิค OneR 3.3 การวัดประสิทธิภาพของแบบจ�ำลอง ในการวัดประสิทธิภาพของแบบจ�ำลองนั้น โดยการน�ำข้อมูลที่เตรียมไว้ ทดสอบทั้งหมด 929 ระเบียน ผู้วิจัยได้ ท�ำการทดลองแบ่งชุดข้อมูลเป็น 2 ชุด คือ ข้อมูลชุดสอน และข้อมูลชุดทดสอบ ด้วยหลักการ 10-fold cross validation เพื่อให้ข้อมูลทุกตัวมีโอกาส เป็นชุดทดสอบและชุดสอน โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น ชุดข้อมูลสอน (Training Data) และข้อมูล ทดสอบ (TestingData) โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 10 ส่วนเท่า ๆ กัน ใช้ 9 ส่วนเป็นชุด ข้อมูลสอน และอีก 1 ส่วนเป็นชุด ข้อมูลทดสอบ ซึ่งจะท�ำ สลับกันจนครบทั้งหมด 10 รอบ ในส่วนการวัดประสิทธิภาพของตัวแบบในงานวิจัยนี้ได้วัดจาก ค่าความแม่นย�ำ ค่าความไว และค่าความจ�ำเพาะ

114


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

4. ผลการวิจัย ในการด�ำเนินการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนต่อ ส�ำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรี ในสถานศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเพื่อสร้าง แบบจ�ำลองในการพยากรณ์การส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถานศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและ นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พยากรณ์ (rule based) ที่มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ โดยมีผลการวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีผลต่อการ เลือกเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และผลการวัดประสิทธิภาพแบบจ�ำลองทั้ง 4 เทคนิค 4.1 ผลการวัดประสิทธิภาพแบบจ�ำลองทั้ง 4 เทคนิค การวัดประสิทธิภาพของแบบจ�ำลองนี้คณะผู้วิจัยได้น�ำเอาโปรแกรม WEKA เวอร์ชั่น 3.8.1 มาเป็นเครื่องมือมาใช้ ในการสร้างแบบลองด้วยเทคนิค ใช้เทคนิค Decision Table, Decision Rule, RIPPER และ OneR โดยใช้ Gain Ratio และ Filter ในการคัดเลือกแอตทริบิวต์ การวัดประสิทธิภาพ ของแบบจ�ำลองด้วย ค่าความถูกต้อง (Precision) ค่าความ ระลึก (Recall) และ F-measure ได้ผลการทดลอง

ภาพที่ 1 ค่า Precision ของกฎการพยากรณ์

115


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ภาพที่ 2 ค่า Recall ของกฎการพยากรณ์

ภาพที่ 3 ค่า F-measure ของกฎการพยากรณ์

116


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ภาพที่ 4 แสดงให้เห็นว่า แบบจ�ำลองที่สร้างจากเทคนิค RIPPER ภาพที่ 4 แสดงให้เห็นว่า แบบจ�ำลองที่สร้างจากเทคนิค RIPPER ได้ถูกสร้างกฎ จ�ำนวน 15 กฎ ซึ่งมีการแปลกฎ การพยากรณ์ดังนี้ ตัวอย่างการแปลกฎการพยากรณ์ (amper=5) => education=2 (40.0/0.0) พยากรณ์ว่านักเรียนคนนี้จะไม่จบการศึกษา ด้วยค่า ความถูกต้องที่ร้อยละ 100 (amper=1) and (type=1) and (health=2) => education = 2 (49.0/00) ถ้านักเรียน เรียนในสาขาพาณิชยกรรม และเรียนกลุ่มสุขศึกษา พลศึกษา ได้เกรดระดับ 2 พยากรณ์ว่านักเรียนคนนี้จะไม่จบการศึกษา ด้วยค่าความถูกต้องที่ร้อย ละ 100 (amper=1) and (type=1) and (art=1.5) and (sci=2.5) => education = 2 (22.0/3.0) ถ้านักเรียน เรียนในสาขา พาณิชยกรรม และเรียนกลุ่มวิชาศิลปะ ได้เกรดระดับ 1.5 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ได้เกรดระดับ 2.5 พยากรณ์ว่านักเรียนคน นี้จะไม่จบการศึกษา ด้วยค่าความถูกต้องที่ร้อยละ 88 (amper=8) and (health=2.5) and (thai=2.5) => education = 2 (19.0/1.0) ถ้านักเรียนเรียนกลุ่มสุขศึกษา พลศึกษา ได้เกรดระดับ 2.5 กลุม่ วิชาภาษาไทยได้เกรดระดับ 2.5 พยากรณ์วา่ นักเรียนคนนีจ้ ะไม่จบการศึกษาด้วยค่า ความ ถูกต้องที่ ร้อยละ 95 (amper=9) => education=2 (23.0/0.0) พยากรณ์ว่านักเรียนคนนี้จะไม่จบการศึกษาด้วย ค่าความถูกต้องที่ร้อยละ 100

117


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

5. อภิปรายผล ผลการวัดประสิทธิภาพแบบจ�ำลองด้วยค่าความเทีย่ งตรง (Precision) ทัง้ 4 เทคนิคจากการ วิเคราะห์ปจั จัยด้วยเทคนิค Gain Ratio Attribute Evaluation ผลปรากฏว่า ก่อนและหลังการ คัดเลือกตัวแปรในเทคนิค OneR ให้ค่าความเที่ยง ตรง ร้อยละ 80.90 เท่าเดิม เทคนิค RIPPER ให้ค่าความ เที่ยงตรง ร้อยละ 75.50 หลังจากคัดเลือกตัวแปร ให้ค่า ความ เที่ยงตรง ร้อยละ 77.30 ท�ำให้ค่าความเที่ยงตรง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.8 เทคนิค Decision Rule ให้ค่าความเที่ยงตรง ร้อย ละ 77 หลังจากคัดเลือกตัวแปร ให้ค่าความ เที่ยงตรง ร้อยละ 76.60 ท�ำให้ค่าความเที่ยงตรงลดลง ร้อยละ 0.4 เทคนิค Decision Table ให้ค่าความเที่ยงตรง ร้อยละ 76.4 หลังจากคัดเลือกตัวแปร ให้ค่าความเที่ยงตรง ร้อยละ 75.30 ท�ำให้ค่า ความเที่ยงตรงลดลง ร้อยละ 1.1 ด้วย 10-flod cross validation ผลการวัดประสิทธิภาพแบบจ�ำลองด้วยค่าความเทีย่ งตรง (Precision) ทัง้ 4 เทคนิคจากการ วิเคราะห์ปจั จัยด้วยเทคนิค Gain Ratio Attribute Evaluation และใช้การคัดกรองค่าผิดปกติออก ผลปรากฏว่า ก่อนและหลังการคัดเลือกตัวแปร และใช้การคัดกรองค่าผิดปกติออก ในเทคนิค RIPPER ให้ค่าความเที่ยงตรง มากที่สุด ร้อยละ 91 ประสิทธิภาพสูงขึ้น ร้อย ละ 15.5 ต่อมา เทคนิค Decision Rule ให้ค่าความเที่ยงตรง ร้อยละ 87.10 ประสิทธิภาพสูงขึ้น ร้อยละ 10.1 เทคนิค Decision Table ให้ค่าความ เที่ยงตรง ร้อยละ 85.80 ประสิทธิภาพสูงขึ้น ร้อยละ 9.4 เทคนิค OneR ให้ค่าความเที่ยงตรง ร้อยละ 82.80 ประสิทธิภาพสูงขึ้น ร้อยละ 1.9 ด้วย 10-flod cross validation ตามล�ำดับ ผลการวัดประสิทธิภาพแบบจ�ำลองด้วยค่าความระลึก (Recall) ทั้ง 4 เทคนิคจากการ วิเคราะห์ปัจจัยด้วยเทคนิค Gain Ratio Attribute Evaluation ผลปรากฏว่า ก่อนและหลังการ คัดเลือกตัวแปรในเทคนิค OneR ให้ค่าความระลึก ร้อยละ 73.20 เท่าเดิม เทคนิค RIPPER ให้ค่าความระลึก ร้อยละ 75.80 หลังจากคัดเลือกตัวแปร ให้ค่าความระลึก ร้อยละ 77.70 ท�ำให้ค่าความระลึกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.9 เทคนิค Decision Rule ให้ค่าความระลึก ร้อยละ 77.40 หลังจากคัดเลือกตัวแปร ให้ค่าความระลึก ร้อยละ 76.60 ท�ำให้ค่า ความระลึกลดลง ร้อยละ0.8 เทคนิค Decision Table ให้ค่าความระลึก ร้อยละ 76.40 หลังจากคัดเลือกตัวแปร ให้ค่าความระลึก ร้อยละ 75.80 ท�ำให้ค่าความระลึกลดลง ร้อยละ 0.6 ด้วย 10-flod cross validation ผลการวัดประสิทธิภาพแบบจ�ำลองด้วยค่าความระลึก (Recall) ทั้ง 4 เทคนิคจากการวิเคราะห์ปัจจัยด้วยเทคนิค Gain Ratio Attribute Evaluation และใช้การคัดกรองค่าผิดปกติออก ผลปรากฏว่า ก่อนและหลังการคัดเลือกตัวแปรและใช้ การคัดกรองค่าผิดปกติออก ในเทคนิค RIPPER ให้ค่า ความระลึกมากที่สุด ร้อยละ 91.10 ประสิทธิภาพสูงขึ้น ร้อยละ 15.3 ต่อมา เทคนิค Decision Rule ให้ค่าความระลึก ร้อยละ 87 ประสิทธิภาพสูงขึ้น ร้อยละ 9.6 เทคนิค Decision Table ให้ค่าความระลึก ร้อยละ 84.70 ประสิทธิภาพสูงขึ้น ร้อยละ 8.3 เทคนิค OneR ให้คา่ ความระลึก ร้อยละ 77.10 ประสิทธิภาพสูงขึน้ ร้อยละ 3.9 ด้วย10-flod cross validation ตามล�ำดับ ผลการวัดประสิทธิภาพแบบจ�ำลองด้วยค่า F-measure ทั้ง 4 เทคนิคจากการวิเคราะห์ปัจจัย ด้วยเทคนิค Gain Ratio Attribute Evaluation ผลปรากฏว่า ก่อนและหลังการคัดเลือกตัวแปรใน เทคนิค OneR ให้ ค่า F-measure ร้อย ละ66.50 เท่าเดิม เทคนิค RIPPER ให้ค่า F-measure ร้อยละ 75.60 หลังจากคัดเลือกตัวแปร ให้ค่า F-measure ร้อยละ 77.40 ท�ำให้ค่า F-measure เพิ่มขึ้น ร้อยละ1.8 เทคนิค Decision Rule ให้ค่า F-measure ร้อยละ 77.20 หลังจากคัด เลือกตัวแปร ให้ค่า F-measure ร้อยละ 76.60 ท�ำ ให้ค่า F-measure ลดลง ร้อยละ 0.6 เทคนิค Decision Table ให้ ค่า F-measure ร้อยละ 76.40 หลังจาก คัดเลือกตัวแปร ให้ค่า F-measure ร้อยละ75.50 ท�ำให้ค่า F-measure ลดลง ร้อยละ 0.9 ด้วย 10-flod cross validation ผลการวัดประสิทธิภาพแบบจ�ำลองด้วยค่า F-measure ทั้ง 4 เทคนิคจากการวิเคราะห์ปัจจัย ด้วยเทคนิค Gain Ratio Attribute Evaluation และใช้การคัดกรองค่าผิดปกติออก ผลปรากฏว่า ก่อน และหลังการคัดเลือกตัวแปรและใช้การคัด กรองค่าผิดปกติออก ในเทคนิค RIPPER ให้ค่า F-measure มากที่สุด ร้อยละ 90.90 ประสิทธิภาพสูงขึ้น ร้อยละ 15.3 ต่อมา เทคนิค Decision Rule ให้ค่า F-measure ร้อยละ 87 ประสิทธิภาพสูงขึ้น ร้อยละ 9.8 เทคนิค Decision Table ให้ค่า F-measure ร้อยละ85 ประสิทธิภาพสูงขึ้น ร้อยละ 8.6 เทคนิค OneR ให้ค่า F-measure 72 ประสิทธิภาพสูงขึ้น ร้อยละ 5.5 ด้วย 10-flod cross validation ตามล�ำดับ

118


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

6. สรุป สรุปได้ว่า เทคนิค RIPPER มีความเหมาะสมในการสร้างแบบจ�ำลองการพยากรณ์การส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถานศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยใช้เทคนิค ในการเปรียบ เทียบได้แก่ Decision Table, Decision Rule, RIPPER และ OneR โดยใช้ Gain Ratio และ Filter ในการคัดเลือก แอตทริบิวต์ ผลการทดลองพบว่าเทคนิค RIPPER มีความเหมาะสมมากที่สุด ในการสร้างแบบจ�ำลองพยากรณ์การส�ำเร็จ การศึกษา โดยการวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้วยค่าความถูกต้อง (Precision), ค่าความระลึก (Recall) และ F-measure

7. ข้อเสนอแนะ 7.1 ควรเพิ่มการวิเคราะห์ปัจจัยให้หลายหลายมากขึ้น 7.2 แบบจ�ำลองต้นแบบนี้ สามารถน�ำไปใช้ในการพัฒนาระบบการพยากรณ์การส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ใน สถานศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

8. เอกสารอ้างอิง สายชล สินสมบูรณ์ทอง. (2558). การท�ำเหมืองข้อมูล (Data Mining). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส. สมฤทัย กลัดแก้ว. (2557). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการเลือกต�ำแหน่งงานให้สอดคล้องกับ ความสามารถของบัณฑิต. การศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสมหาบัณฑิต สาขาระบบสนับสนุน การตัดสินใจ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง. เสกสรรค์ วิลัยลักษณ์ วิภา เจริญภัณฑารักษ์ และดวงดาว วิชาดากุล. (2558). การใช้เทคนิคการท�ำ เหมืองข้อมูลเพื่อพยากรณ์ผลการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก�ำแพงแสน. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. ชุติมา อุตมะมุณีย์ และประสงค์ ปราณีตพลกรัง. (2553). การพัฒนาตัวแบบระบบสนับสนุนการ ตัดสินใจ แบบอัตโนมัติออนไลน์ส�ำหรับการเลือกสาขาวิชาเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. Journal of Information Science and Technology, 1(2), 39 - 48. นิภาพร ชนะมาร และพรรณี สิทธิเดช. (2557). การวิเคราะห์ปัจจัยการเรียนรู้ด้วยการคัดเลือก คุณสมบัติ และการพยากรณ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(12), 34 - 35. Osiris Villacampa. (2015). Feature Selection and Classification Methods for Decision Making: A Comparative Analysis. Ph.D. dissertation, Information Systems, College of Engineering and Computing, Nova Southeastern University. Jiawei Han and Micheline Kamber. (2006). Data Mining: Concepts and Techniques Second Edition. San Francisco: Morgan Kaufmann. Group, T. G. (2010). What is data mining? Retrieved from http://www.gartner.com [accessed 18 May 2563]. PangNing Tan Michael Steinbach and Vipin Kumar. (2006). Introduction to Data Mining. Boston: Pearson Addison Wesley. David Hand Heikki Mannila and Padhraic Smyth. (2001). Principles of Data Mining. Retrieved from ftp://gamma.sbin.org.pub/doc/books/Principles_of_Data_Mining.pdf [accessed 24 January 2563].

119



คณะกรรมการ กลั่นกรองบทความ - Peer Review -



ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความภายนอกมหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.ชุมพร มูรพันธุ์ รองศาสตราจารย์ จันทนี เพชรานนท์ รองศาสตราจารย์ ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล รองศาสตราจารย์ ดร.วารุณี หวัง รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ เหลืองบุตรนาค รองศาสตราจารย์ ดร.กอปร ศรีนาวิน รองศาสตราจารย์ วีรวรรณ ศีติสาร รองศาสตราจารย์ อาวิน อินทรังษี รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต นิตยะ รองศาสตราจารย์ ดร.กรุณา รักษวิณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทิรา พรมพันธุ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงยศ วีระทวีมาศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล ตั้งสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรกานต์ รวยสูงเนิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนสิทธิ์ จันทะรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีร์นิธิ อักษร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนสิรา เพชรานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทิรา พรมพันธุ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชัญญา โปษยะนันทน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.การุณย์ ศุภมิตรโยธิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันต์ จันทร์สมศักดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิติยา ปิดตังนาโพธิ์ ดร.จักรกฤษณ์ เหลืองเจริญรัตน์ ดร.ธีย์ โคตรถา ดร.สุรางคนา ตรังคานนท์ ดร.วัชรพงศ์ ดีวงษ์ ดร.พัศพันธน์ ชาญวสุนันท์ ดร.จักรสิน น้อยไร่ภูมิ ดร.สินีนาถ ศุกลรัตนเมธี

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความภายนอกมหาวิทยาลัย(ต่อ) ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ ดร.ยอดขวัญ สวัสดี ดร.ขาม จาตุรงค์กุล ดร.จันทนีย์ จิรัณธนัฐ ดร.ปัทมพร วงศ์วิริยะ ดร.วิทยา ดวงธิมา ดร.พันธุ์ระวี กองบุญเทียม

124

มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความภายในมหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ เรืองธรรม รองศาสตราจารย์ ดร.กฤต โง้วธนสุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเดช เชาวรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธราวุฒิ บุญเหลือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สักรินทร์ แซ่ภู่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดิฐา แสงวัฒนะชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชนาถ ทิวะสิงห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพัทธา หรรนภา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรากุล ตันทนะเทวินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อมฤต หมวดทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยนันท์ พรหมเพ็ญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บริรักษ์ อินทรกุลไชย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จารุณีย์ นิมิตศิริวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรีพรรณ์ สุพรรณสมบูรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัชนูพรรณ คำ�สิงห์ศรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุวัฒน์ การถัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำ�ภา บัวระภา ผู้ช่วยศาสตราจารย์เมธี พิริยการนนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชาภรณ์ ชำ�นิกำ�จร ผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสิทธิ์ ตันสุขี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัญญา ทองสวัสดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิกรม วงษ์สุวรรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดาราลัย ไซมะเริง อาจารย์ ดร.ธนายุทธ ไชยธงรัตน์ อาจารย์ ดร.วรวรรณ เนตรพระ อาจารย์ ดร.นิลปัทม์ ศรีโสภาพ

สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาการจัดการงานก่อสร้าง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาการจัดการงานก่อสร้าง คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย์ฯ

125



ค�ำแนะน�ำ

ส�ำหรับผูเ้ ขียนบทความลงตีพิมพ์


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียนบทความลงตีพิมพ์

วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 ช่วงเดือน มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 ช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม โดยมี วัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นการรวบรวมผลงานทางวิชาการและงานวิจัยทางด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบและการ ก่อสร้าง ซึ่งบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ทุกบทความจะผ่านความการพิจารณาและความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขา ที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พุทธศักราช 2521 และเผยแพร่ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ThaiJO การเตรียมบทความ 1. เป็นบทความวิจัย หรือบทความวิชาการ ที่มีความยาวไม่ควรน้อยกว่า 1 หน้า และไม่ควรเกิน 15 หน้า กระดาษ A4 ตามแบบฟอร์ม JADC03-Template (26.5x18.5) ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/ Jadc/index 2. เป็นบทความทีไ่ ม่ได้อยูร่ ะหว่างการพิจารณาตีพมิ พ์ของสือ่ สิง่ พิมพ์อนื่ ๆ และไม่เคยได้รบั การตีพมิ พ์ใน วารสารใด ๆ มาก่อน 3. ต้องไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ไม่มีการลอกเลียน หรือตัดทอนผลงานวิจัยของผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับ อนุญาตและ มีการอ้างอิงที่เหมาะสม 4. ชนิดและขนาดตัวอักษร ทัง้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตวั อักษร TH Sarabun PSK ซึง่ ขนาดตัวอักษร มีรายละเอียด ดังนี้ 4.1 ชื่อบทความ ใช้ตัวอักษรขนาด 18 pt. ตัวหนา 4.2 ชื่อ-สกุลผู้เขียนบทความ ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวปกติ 4.3 หัวข้อหลัก ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา 4.4 หัวข้อรอง ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวเอียง 4.5) เนื้อเรื่องในหัวข้อหลักและหัวข้อรอง ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ 4.6) เนื้อเรื่องในตาราง ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ รูปแบบการเขียนบทความ ควรมีหัวข้อเรื่องเรียงตามล�ำดับ ดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีข้อความที่กระชับ ได้ใจความ และบ่งบอกบทความได้อย่างชัดเจน ชื่อผู้เขียน (Author) ให้ระบุชื่อ นามสกุล ต�ำแหน่ง หน่วยงานและที่อยู่ของผู้เขียนทุกคน บทคัดย่อ (Abstract) บทคัดย่อต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ค�ำส�ำคัญ (Keyword) ค�ำสืบค้นที่เกี่ยวข้องกับบทความ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทน�ำ (Introduction) กล่าวถึงความส�ำคัญของปัญหาและภูมิหลังของการวิจัย รวมไปถึงวัตถุประสงค์ของงานวิจัย วิธีการศึกษา (Research methods, Materials and Methods) อธิบายถึงอุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอน การศึกษา เครื่องมือ การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และ/หรือ สถิติที่ใช้ในการศึกษา โดยสามารถแตกออกเป็น หลายหัวข้อได้ ผลการศึกษาและวิจารณ์ (Results and Discussion) บรรยายผล และวิจารณ์ผล สามารถแตกออกเป็นหลายหัวข้อได้ สรุป (Conclusion) บรรยายถึงบทสรุปของงานศึกษา

128


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ข้อเสนอแนะ (Recommendation) เสนอแนะต่อหน่วยงานทีน่ ำ� ผลไปใช้ และเสนอต่อแนวทางการศึกษาในครัง้ ต่อไป (ถ้ามี) กิตติกรรมประกาศ ขอบคุณทุนสนับสนุน หรือบุคคล (ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงในบทความให้ใช้ระบบการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ แบบ นาม-ปี และหน้า (ชื่อ-นามสกุลผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์) ตรงต�ำแหน่งท้ายประโยคที่ต้องการอ้างอิง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกสามารถใช้โปรแกรม Endnote หรือใช้บริการจัดรูปแบบเอกสารอ้างอิงออนไลน์ Homepage & Submit paper: https://www.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/index ขั้นตอนการส่งบทความ เนื่องด้วยวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง ก�ำาลังรับการปรับปรุงให้เป็นวารสารออนไลน์ จึงขอให้ ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1. เตรียมไฟล์ต้นฉบับตามค�ำแนะน�ำการเตรียมต้นฉบับ 2. ผู้เขียนส่งบทความฉบับสมบูรณ์ และไฟล์ภาพที่ใช้ในบทความทางอีเมล Jadcarch@msu.ac.thเพื่อให้กองบรรณาธิ การตรวจสอบเบื้องต้น 3. ลงทะเบียนสมาชิก เข้าเว็บไซต์ https://www.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/index ท�ำตามค�ำแนะน�ำส�ำหรับ การใช้งานเบื้องต้นของระบบ ThaiJO2 (ส�ำาหรับผู้แต่ง Author) ซึ่งมีรายละเอียดตามหัวข้อดังนี้ 3.1 การสมัครสมาชิกวารสาร (Author Register) (ผู้ใช้ยังไม่มี Username, Password ในระบบ ThaiJO 3.2 การส่งบทความ (Submission) 3.3 รอตรวจสอบสถานะ การตอบรับ/ปฏิเสธ ทาง E-mail การพิจารณาคุณภาพของบทความ 1. บทความวิจัยและบทความวิชาการ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้นในด้านคุณภาพของบทความ และการพิมพ์ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ด�ำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณา แล้วเหมาะสม มีคณ ุ ภาพ จะส่งผูท้ รงคุณวุฒภิ ายนอกตามความเชีย่ วชาญของสาขาวิชา พิจารณากลัน่ กรอง (Peer review) อย่างน้อย 2 ท่าน 2. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ 3. ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลา การแก้ไขไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์ เกณฑ์การพิจารณาบทความ 1. บทความวิจัยและบทความวิชาการ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้น ในด้านคุณภาพของบทความ และการพิมพ์ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ด�ำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณา แล้วเหมาะสม มีคณ ุ ภาพ จะส่งผูท้ รงคุณวุฒภิ ายนอกตามความเชีย่ วชาญของสาขาวิชา พิจารณากลัน่ กรอง (Peer review) อย่างน้อย 2 ท่าน 2. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ 3. ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลา การแก้ไขไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์

129


วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563

ข้อมูลติดต่อบรรณาธิการ ส�ำนักงานวารสารสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต�ำบลขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 Email: Jadcarch@msu.ac.th, website: http://www.tci-thaijo.org/index.php/JADC โทรศัพท์: (043) 754-381, โทรสาร: (043) 754-382, มือถือ (086) 455-5990 (จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.00 น.) การส่งบทความ : ส่งบทความฉบับสมบูรณ์ ถึง อาจารย์ ดร.ธนายุทธ ไชยธงรัตน์ ส�ำนักงานวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต�ำบลขามเรียง อ�ำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 หรือส่งมาที่ Jadcarch@msu.ac.th อ่านและสืบค้นวารสารฉบับย้อนหลังได้ที่ http://www.tci-thaijo.org/index.php/JADC

130



วารสารสถาป ตยกรรม การออกแบบและการก อสร าง

Journal of Architecture, Design and Construction คณะสถาป ตยกรรมศาสตร ผังเมืองและนฤมิตศิลป มหาว�ทยาลัยมหาสารคาม ป ท่ี 2 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2563 Vol.2 No.2 May - August 2020 ISSN (Print Edition): 2673-0332 ISSN (Online Edition): 2673-0340

บทความว�ชาการ

………………………………………………………………………………………………

หน า

การท องเที่ยวในเขตเมืองและการพัฒนา: กรุงเทพมหานคร Urban Tourism and Development: Bangkok เพชรลัดดา เพ�ชรภักดี (Pechladda Pechpakdee)

13

การทบทวนวรรณกรรมสำหรับความหนาแน นของสภาพแวดล อมที่ส งผลต อพฤติกรรมและเยาวชน Environmental Density and Its Impacts on Children and Teenagers’ Behaviours: A Systematic Review ป ยะวรรค ป �นแก วและนิพัทธา หรรนภา (Piyawan Pinkaew and Niphattha Hannapha)

29

บทความว�จัย

………………………………………………………………………………………………. การออกแบบพ�้นที่เกษตรกรรมเพ�่อความยั่งยืน อำเภอวาป ปทุม จังหวัดมหาสารคาม Designing Agricultural Landscapes for Sustainable Wapi Pathum District Maha Sarakham province ทรงภพ เมฆพรรณโอภาส,อำภา บัวระภา และธ�รดา นามไห (songbhop mekkapan-opas, Umpa Buarapa and Theerada Namhai)

41

กระบวนการทำเกลือสินเธาว กับการก อเกิดภูมิทัศน วัฒนธรรม แหล งเกลือสินเธาว บ อกฐ�น ตำบลเมืองเพ�ย อำเภอบ านไผ จังหวัดขอนแก น Cultural Landscape Elements of a Rock Salt Mine at Boh Kathin, Mueang Phia Sub-district, Ban Phai District, Khon Kaen Province โกว�ทย วาป ศิลป (Kowit Wapeesilp)

55

กระบวนการทำงานเพ�อ่ ชุมชนในการออกแบบว�หารพระอุปคุต ณ สวนสาธารณะหนองแวง จังหวัดมหาสารคาม Work Process for the Community to Design the Vihara Phra Upakut at Nong Waeng public park, Maha Sarakham Province วรากุล ตันทนะเทว�นทร , ว�วัฒน วอทอง, ธเนศ ฉัตรจุฑามณี และสายลม โกษาเฉว�ยง (Warakul Tantanatewin, Wiwat Wotong, Thanet Chatjutamanee and Sailom Kosachaviang)

75

การออกแบบกราฟ�กเพ�่อพัฒนาผลิตภัณฑ จากภูมิป ญญาท องถิ�นประเภทเคร�่องป นดินเผา กรณีศึกษากลุ มเคร�่องป นดินเผาบ านหม อจังหวัดมหาสารคาม Graphic Design for Traditional Pottery Product Development: A Case study of Ban Mo, Maha Sarakham Provience ว�ชนาถ ทิวะสิงห และ Lin Hightower (Wichanat Tiwasing and Lin Hightower)

93

การประยุกต ใช แบบจำลองกฎการพยากรณ ป จจัยที่มีผลต อการสำเร�จการศึกษาของนิสิต คณะสถาป ตยกรรมศาสตร ผังเมืองและนฤมิตศิลป มหาว�ทยาลัยมหาสารคาม โดยการทำเหมืองข อมูล Utilization of Rule-based Predicting Models Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts Students at Mahasarakham University by Data Mining วราร�นทร ป ญญาวงษ (Wararin Panyawong)

109


วารสารสถาป ตยกรรม การออกแบบและการก อสร าง

Journal of Architecture, Design and Construction คณะสถาป ตยกรรมศาสตร ผังเมืองและนฤมิตศิลป มหาว�ทยาลัยมหาสารคาม ป ท่ี 2 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2563 Vol.2 No.2 May - August 2020 ISSN (Print Edition): 2673-0332 ISSN (Online Edition): 2673-0340

บทความว�ชาการ

………………………………………………………………………………………………

หน า

การท องเที่ยวในเขตเมืองและการพัฒนา: กรุงเทพมหานคร Urban Tourism and Development: Bangkok เพชรลัดดา เพ�ชรภักดี (Pechladda Pechpakdee)

13

การทบทวนวรรณกรรมสำหรับความหนาแน นของสภาพแวดล อมที่ส งผลต อพฤติกรรมและเยาวชน Environmental Density and Its Impacts on Children and Teenagers’ Behaviours: A Systematic Review ป ยะวรรค ป �นแก วและนิพัทธา หรรนภา (Piyawan Pinkaew and Niphattha Hannapha)

29

บทความว�จัย

………………………………………………………………………………………………. การออกแบบพ�้นที่เกษตรกรรมเพ�่อความยั่งยืน อำเภอวาป ปทุม จังหวัดมหาสารคาม Designing Agricultural Landscapes for Sustainable Wapi Pathum District Maha Sarakham province ทรงภพ เมฆพรรณโอภาส,อำภา บัวระภา และธ�รดา นามไห (songbhop mekkapan-opas, Umpa Buarapa and Theerada Namhai)

41

กระบวนการทำเกลือสินเธาว กับการก อเกิดภูมิทัศน วัฒนธรรม แหล งเกลือสินเธาว บ อกฐ�น ตำบลเมืองเพ�ย อำเภอบ านไผ จังหวัดขอนแก น Cultural Landscape Elements of a Rock Salt Mine at Boh Kathin, Mueang Phia Sub-district, Ban Phai District, Khon Kaen Province โกว�ทย วาป ศิลป (Kowit Wapeesilp)

55

กระบวนการทำงานเพ�อ่ ชุมชนในการออกแบบว�หารพระอุปคุต ณ สวนสาธารณะหนองแวง จังหวัดมหาสารคาม Work Process for the Community to Design the Vihara Phra Upakut at Nong Waeng public park, Maha Sarakham Province วรากุล ตันทนะเทว�นทร , ว�วัฒน วอทอง, ธเนศ ฉัตรจุฑามณี และสายลม โกษาเฉว�ยง (Warakul Tantanatewin, Wiwat Wotong, Thanet Chatjutamanee and Sailom Kosachaviang)

75

การออกแบบกราฟ�กเพ�่อพัฒนาผลิตภัณฑ จากภูมิป ญญาท องถิ�นประเภทเคร�่องป นดินเผา กรณีศึกษากลุ มเคร�่องป นดินเผาบ านหม อจังหวัดมหาสารคาม Graphic Design for Traditional Pottery Product Development: A Case study of Ban Mo, Maha Sarakham Provience ว�ชนาถ ทิวะสิงห และ Lin Hightower (Wichanat Tiwasing and Lin Hightower)

93

การประยุกต ใช แบบจำลองกฎการพยากรณ ป จจัยที่มีผลต อการสำเร�จการศึกษาของนิสิต คณะสถาป ตยกรรมศาสตร ผังเมืองและนฤมิตศิลป มหาว�ทยาลัยมหาสารคาม โดยการทำเหมืองข อมูล Utilization of Rule-based Predicting Models Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts Students at Mahasarakham University by Data Mining วราร�นทร ป ญญาวงษ (Wararin Panyawong)

109


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.