หนังสือประกอบวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทย ครั้งที่ 10

Page 1



หนังสือประกอบวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙


หนังสือประกอบวีดทิ ัศน์เพื่อการศึกษา โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ ๑๐ จำนวนหน้ำ หน่วยงำน พิมพ์ครั้งที่ ๑

๒๘๒ หน้ำ ภำควิชำศิลปะกำรแสดง คณะมนุษยศำสตร์ มหำวิทยำลัยนเรศวร พุทธศักรำช ๒๕๕๙

ที่ปรึกษา ครูชวลิต สุนทรำนนท์

นักวิชำกำรละครและดนตรี ระดับทรงคุณวุฒิ กรมศิลปำกร กระทรวงวัฒนธรรม

คณะผู้ดาเนินงาน รศ.นุชนำฏ ดีเจริญ นำงรุ่งนภำ ฉิมพุฒ ผศ.ประภำศรี ศรีประดิษฐ์ นำงสำวรัชดำพร สุคโต ดร.จิตติมำ นำคีเภท นำงสำวภูริตำ เรืองจิรยศ นำงสำวอุบลวรรณ โตอวยพร นำยวรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน นิสิตสำขำวิชำนำฏศิลป์ไทย ภำควิชำศิลปะกำรแสดง คณะมนุษยศำสตร์ มหำวิทยำลัยนเรศวร บรรณาธิการ

รองศำสตรำจำรย์นุชนำฏ ดีเจริญ

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

นำยวรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน

ภำควิชำศิลปะกำรแสดง คณะมนุษยศำสตร์ มหำวิทยำลัยนเรศวร ตำบลท่ำโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ๖๕๐๐๐ โทร. ๐-๕๕๙๖-๒๕๒๕ โทรสำร ๐-๕๕๙๖-๒๐๐๐


คำนำ โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐ ระหว่างวันที่ ๖-๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับ ความกรุณาจาก ครูชวลิต สุนทรานนท์นักวิชาการละครและดนตรี ระดับทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดท่ารา จานวน ๕ ชุดการแสดง อันได้แก่ ราเบิกโรง ละครนอก ราฉุยฉายไกรทอง ราฉุยฉายหลวิชัย -คาวี ราฉุยฉายนางวิฬาร์ และระบาพัธวิสัย และได้ บันทึกท่าราไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้เนื้อหาที่ได้จัดทาขึ้นในทุกครั้งที่ผ่านมา ได้นามาใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาทักษะ นาฏศิลป์ไทยของภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นหลัก ทั้งใน ส่วนของราขั้นพื้นฐาน เพลงหน้าพาทย์ ราเดี่ยว ราคู่ และระบามาตรฐาน ซึ่งจาเป็นต่อการเรียนรู้ของ นิสิตโดยตรง ส่วนหนึ่งของผลงานได้นาเผยแพร่ ลงในเว็บไซต์ www.youtube.com ดังปรากฏอยู่ใน หน้ าผลงานการแสดงของเว็บ ไซต์ ศิ ล ปวั ฒ นธรรม คณะมนุ ษยศาสตร์ www.human.nu.ac.th/ newculture เพื ่อ เป็น ประโยชน์ต่อ สาธารณชนและหน่ว ยงานทางการศึก ษาอื่น ๆ ได้ศึก ษา ค้นคว้าองค์ความรู้ทางนาฏศิลป์ไทยอีกทางหนึ่ง ขอขอบคุ ณ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวรที่ ได้ จั ด สรรงบประมาณแผ่ น ดิ น เพื่ อ ใช้ ในการด าเนิ น โครงการ ขอบคุณ วิท ยากรทั้ งสองท่านที่ส ละเวลาในการถ่ายทอดท่ารา ขอบคุณ คณะกรรมการ ดาเนินงานทุก ๆ ท่าน ที่เป็นส่วนผลักดันให้การดาเนินงานโครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยสาเร็จลุล่วง ด้วยดีมาทุกปี

(รองศาสตราจารย์นุชนาฏ ดีเจริญ) หัวหน้าดาเนินโครงการ


สำรบัญ

บทที่

หน้ำ

๑ โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ประจำปีงบประมำณ ๒๕๕๙............................................................................... วัตถุประสงค์ของการดาเนินโครงการ.................................................................. วิธีการดาเนินโครงการ......................................................................................... สถานที่ในการดาเนินโครงการ............................................................................. ผลที่คาดว่าจะได้รับ.............................................................................................

๑ ๒ ๒ ๓ ๓

๒ วิทยำกรผู้ถ่ำยทอดท่ำรำ ครูชวลิต สุนทรำนนท์.................................................. ประวัติการศึกษา................................................................................................. ประวัติการรับราชการ......................................................................................... ผลงานด้านการแสดง........................................................................................... วิทยากร และอาจารย์พิเศษ................................................................................. ผลงานด้านวิชาการ............................................................................................. บทความ นาฏศิลป์ไทย........................................................................................ บทความ ละครนอก............................................................................................ บทความ ท่าราในการแสดงละคร........................................................................ บทความ ราฉุยฉาย.............................................................................................

๔ ๕ ๕ ๕ ๖ ๖ ๘ ๑๖ ๒๒ ๒๙

๓ รำเบิกโรงละครนอก เครื่องแต่งกาย..................................................................................................... บทประกอบการแสดง......................................................................................... ท่ารา.................................................................................................................... ๔ รำฉุยฉำยไกรทอง................................................................................................ เครื่องแต่งกาย..................................................................................................... บทประกอบการแสดง......................................................................................... ท่ารา...................................................................................................................................

๓๘ ๓๘ ๓๙ ๔๐ ๘๙ ๙๑ ๙๑ ๙๒


สำรบัญ (ต่อ)

บทที่

หน้ำ

๕ รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี..................................................................................... เครื่องแต่งกาย..................................................................................................... บทประกอบการแสดง......................................................................................... ท่ารา...................................................................................................................................

๑๒๐ ๑๒๓ ๑๒๔ ๑๒๕

๖ รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์............................................................................................. เครื่องแต่งกาย..................................................................................................... บทประกอบการแสดง......................................................................................... ท่ารา...................................................................................................................................

๑๙๔ ๑๙๕ ๑๙๖ ๑๙๗

๗ ระบำพัธวิสัย....................................................................................................... เครื่องแต่งกาย..................................................................................................... บทประกอบการแสดง......................................................................................... ท่ารา....................................................................................................................................

๒๒๕ ๒๒๖ ๒๒๖ ๒๒๘

บรรณำนุกรม................................................................................................

๒๘๒


สำรบัญภำพ

ภำพ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗

หน้ำ ครูชวลิต สุนทรานนท์………………………………………………………………………………………. เครื่องแต่งกายราเบิกโรงละครนอก……………………………………………………………………. เครื่องแต่งกายราฉุยฉายไกรทอง……………………………………………………………………….. เครื่องแต่งกายราฉุยฉายหลวิชัย – คาวี ชุดยืนเครื่องพระ……………………………………… เครื่องแต่งกายราฉุยฉายหลวิชัย – คาวี ชุดที่ใช้แสดงเป็นชุดเอกเทศ........................... เครื่องแต่งกายราฉุยฉายนางวิฬาร์……………………………………………………………………… เครื่องแต่งกายระบาพัธวิสัย……………………………………………………………………………………..

๔ ๓๘ ๙๑ ๑๒๓ ๑๒๓ ๑๙๕ ๒๒๖


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๕๙

ภารกิจหลักประการหนึ่งของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นอกเหนือจากการ ผลิ ต บั ณ ฑิ ต การวิ จั ย และการบริ ก ารด้ า นวิ ช าการแก่ ชุ ม ชนแล้ ว ยั ง มี ก ารอนุ รั ก ษ์ แ ละส่ ง เสริ ม ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งถือเป็นมรดกอันสาคัญยิ่ง และเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเจริญเป็นรากฐาน ของความมั่นคงของประเทศ ศิลปวัฒนธรรมจะเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้ จะต้องมีการอนุรักษ์ พัฒนา ทานุบารุง และส่งเสริมให้คงอยู่สู่อนุชนรุ่นหลัง ศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีและนาฏศิลป์เป็นสิ่งที่แสดงเอกลักษณ์ของชาติ ประเทศต่างๆ ใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มประชาคมอาเซียน ต่างมีเอกลักษณ์ทางด้านดนตรี และนาฏศิลป์ในรูปแบบของตน แต่ยังคงมีลักษณะร่วมที่คล้ายกันหลายประการ ทั้งในด้านความเชื่อ ทางศาสนา การรักษาขนบธรรมเนียมจารีตทางการแสดง การฝึกฝนจนเกิดความชานาญก่อนที่จะ ออกแสดง ตลอดจนการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ในรูปแบบของครูและศิษย์ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ที่โดดเด่นของนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ไทย ยังมีลักษณะของนาฏศิลป์ต่างชาติที่เข้ามาผสมผสานกับนาฏศิลป์ไทย จนเกิดเป็น การแสดงที่มีแบบแผนและความงดงามตามแบบฉบับของไทย อาทิเช่น การแสดงละครใน นิยมแสดงเรื่อง อิเหนา ซึ่งมีเค้าโครงเรื่องมาจากชวา การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งปรับปรุงมาจากเรื่องรามายณะของ อินเดีย การแสดงละครพันทาง จะแสดงเรื่องราวพงศาวดารของไทยหรือพงศาวดารของชนชาติต่างๆ มีการใช้ท่ารา การแต่งกายและใช้เครื่องดนตรีบางชิ้นตามแบบชนชาติที่แสดง เช่น เรื่องราชาธิราช เป็น การแสดงที่มีทั้งชนชาติมอญ พม่า จีน นอกจากนี้ ในขณะที่ประเทศไทยได้มีการเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศต่าง ๆ การปรับตัวทางนาฏศิลป์จึงมีขึ้นตามมาด้วย การสืบทอดท่าร าทางนาฏศิลป์มีมาอย่างช้ านาน ประกอบด้วยระเบียบแบบแผน จารีต ประเพณีที่งดงาม เป็นสิ่งที่ทาให้นาฏศิลป์ดารงอยู่ได้ จึงควรค่าแก่การอนุรักษ์ แต่ปัจจุบันครูที่ธารงไว้ ซึ่งมาตรฐานความเป็นนาฏศิลป์นั้น นับ วันจะลดน้อยลงด้วยความชราภาพและอายุขัย ทั้งยังไม่มี หน่วยงานใดได้เก็บผลงานของคุณครูเหล่านั้นไว้ จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะรับการถ่ายทอดองค์ ความรู้นั้น และบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จากเหตุผลดังกล่าว สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เล็งเห็นความสาคัญของการสืบทอดองค์ความรู้ทางด้านนาฏศิลป์ไทย จึงดาเนิน โครงการการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐ โดยได้ดาเนินงาน อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ องค์ความรู้ที่ได้รับการสืบทอดในครั้งที่ ๙ ที่ผ่านมา ได้รับการ ถ่ายทอดท่าราจากครู อรพินท์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นาฏศิลปินอาวุโส (เกษียณอายุราชการ) สานัก การสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และครู ธานิต ศาลากิจ นาฏศิลปินอาวุโส (เกษียณอายุ โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ


ราชการ) สานักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดท่าราเดี่ยว จานวน ๖ ชุดการแสดง ได้แก่ ราจรกาบวงสรวง บทบาทท่ารานางวาลี บทบาทท่ารานางยุบล กราว สามนักขา-สามนักขาชมโฉมพระราม ระบายักษิณีวรรณคดีเอก และบทบาทท่ารานางพันธุรัต ใน ตอนตามพระสังข์ การด าเนิ น โครงการในครั้ ง ที่ ๑๐ ได้ รั บ การถ่ า ยทอดท่ า ร าจากครู ช วลิ ต สุ น ทรานนท์ นักวิชาการละครและดนตรี ระดับทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จานวน ๕ ชุดการ แสดง อันได้แก่ ราเบิกโรงละครนอก ราฉุยฉายไกรทอง ราฉุยฉายหลวิชัย -คาวี ราฉุยฉายนางวิฬาร์ และระบาพัธวิสัย ทั้งนี้ได้นาหนังสือและวีดิทัศน์ดังกล่าวเผยแพร่ยังห้องอ่านหนังสือคณะมนุษยศาสตร์ และ สานักหอสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อ นามาต่อยอดโดยการใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาทักษะ นาฏศิลป์ไทยพร้อมทั้งบูรณาการกับโครงการนเรศวรสังคีต ครั้งที่ ๒๕ การแสดงละครนอก เรื่องไกรทอง ตอน พ้อบน – พ้อล่าง และการศึกษาค้นคว้าจากผู้ที่สนใจ เพื่อให้เป็นมาตรฐานที่ได้รับการขัดเกลา และพิจารณาจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ อันเป็นประโยชน์โดยตรงต่อนิสิต อีกทั้งยังนาลง เผยแพร่ในเว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่นาฏศิลป์สืบต่อไป วัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ ๑. เพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์และการสืบทอดองค์ความรู้ทางนาฏศิลป์ไทย จากศิลปิน แห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ๒. เพื่อบันทึกท่าราแบบมาตรฐานหรือแบบพื้นบ้านไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในรูปแบบของ หนังสือและวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา ๓. เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ และนิสิตนาฏศิ ลป์ไทย ได้พัฒนาทักษะทางด้านวิชาชีพ อีกทั้ง ยังเป็นการบูรณาการการจัดโครงการเข้ากับการเรียนการสอนของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร วิธีการดาเนินงาน ๑. ขออนุมัติโครงการ ๒. ประชาสัมพันธ์โครงการ ๓. จัดเตรียมโครงการ ๔. ดาเนินโครงการ ช่วงที่ ๑ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยรับการถ่ายทอดท่าราและองค์ความรู้ต่าง ๆ จากศิ ล ปิ น แห่ ง ชาติ ห รื อ ผู้ เ ชี่ย วชาญ ระหว่ า งวั น ที่ ๖-๑๐ มิ ถุ น ายน ๒๕๕๙ ณ ห้ อ งปฏิ บั ติ ก าร นาฏศิลป์ ชั้น ๗ กองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งแต่เวลา ๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ช่ ว งที่ ๒ บั น ทึ ก ท่ า ร าเป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษร และบั น ทึ ก วี ดิ ทั ศ น์ เ พื่ อ การศึ ก ษา ระหว่างวันที่ ๑๑ มิถุนายน – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ


๕. สรุปและประเมินผลโครงการ สถานที่ดาเนินโครงการ ห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์ ชั้น ๗ อาคารกองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีการส่งเสริมการอนุรักษ์ และการสืบทอดองค์ ความรู้ทางนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ๒. มีการบันทึกท่าราแบบมาตรฐานหรือแบบพื้นบ้านจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร ในรูปแบบของหนังสือและวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา และสามารถเผยแพร่ผลงานสู่ สาธารณะชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓. คณาจารย์ และนิสิตนาฏศิลป์ไทย ตลอดจนผู้ที่สนใจ ได้พัฒนาทักษะทางด้านวิชาชีพ อีกทั้งยังสามารถบูรณาการจัดโครงการเข้ากับการเรียนการสอนของนิสิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย และบูรณาการกับโครงการนเรศวรสังคีต ครั้งที่ ๒๕ การแสดงละครนอก เรื่องไกรทอง ตอน พ้อบน – พ้อล่าง

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ


วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา ครูชวลิต สุนทรานนท์

ภาพ ๑ ครูชวลิต สุนทรานนท์ ที่มา: ครูชวลิต สุนทรานนท์ ชื่อ

นายชวลิต สุนทรานนท์

ตาแหน่ง

นักวิชาการละครและดนตรี ระดับทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

ประวัติการศึกษา คุณวุฒิและวิชาเอก ประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นสูง ปริญญาตรีศึกษาศาสตรบัณฑิต ปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประวัติรับราชการ วัน เดือน ปี ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๖ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๐ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๑ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๓ ๓ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๑ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๔ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๘ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘

สถาบัน วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยรามคาแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ตาแหน่ง อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ นักวิชาการละครและดนตรี ๓ นักวิชาการละครและดนตรี ๔ นักวิชาการละครและดนตรี ๕ นักวิชาการละครและดนตรี ๖ นักวิชาการละครและดนตรี ๖ ว. นักวิชาการละครและดนตรี ๗ ว. นักวิชาการละครและดนตรี ๘ ว. นักวิชาการละครและดนตรี ๘ ว. นักวิชาการละครและดนตรี ๙ ชช. นักวิชาการละครและดนตรีทรงคุณวุฒิ

สังกัด วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง กองการสังคีต กองการสังคีต กองการสังคีต กองการสังคีต สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ สานักการสังคีต สานักการสังคีต สานักการสังคีต กรมศิลปากร

ผลงานด้านการแสดง ในระหว่างรับราชการตาแหน่งนักวิชาการละครและดนตรี ระดับ ๓ - ๖ ผู้บังคับบัญชาได้ มอบหมายให้เป็นผู้แสดงทั้งโขน ละคร และระบาเบ็ดเตล็ด ดังนี้ - การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ บทบาทของพระลักษมณ์ พระสัตรุด พระนารายณ์ พระอินทร์ พระอรชุน พระวิษณุกรรม พระมาตุลี มานพ กวางทอง นางสีดา นางเบญกาย นางมณโฑ นางสามนักขา แปลง - การแสดงละคร บทบาทของคาวี สังข์ทอง นางรจนา นางเกศสุริยงแปลง นางแก้วหน้าม้า พราหมณ์เกศสุริยง พราหมณ์ยอพระกลิ่น นางยี่สุ่น พราหมณ์ทิพเกสร นางจันทร นางผีเสื้อสมุทรแปลง สินสมุทร สุดสาคร นางคันธมาลี พลายชุมพลมอญ นกยูง ไก่แก้ว รถเสน นางจันทร ฯลฯ - ระบ าเบ็ ด เตล็ ด อาทิ ร าสี่ ภ าค ร าลาวดวงเดื อ น ฟ้ อ นแพน ร าซั ด ชาตรี ร าฝรั่ ง คู่ ร าวง มาตรฐาน ราโนรา ฯลฯ การปฏิบัติหน้าที่ด้านการเป็นผู้แสดงนั้น ทาให้ครูชวลิต สุนทรานนท์ ได้มีโอกาสเดินทางไป เผยแพร่นาฏศิลป์ไทยในต่างประเทศมากมาย เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ลาว ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

กัมพูชา เวียดนาม ออสเตรเลีย อัฟริกา รัสเซีย เมียนม่า เยอรมัน เชคโกสโลวาเกีย ฟินแลนด์ ตุรกี อินเดีย เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ค ฮังการี สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง ไทเป โรมาเนีย สเปน ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี บราซิล เม็กซิโก เคนยา บาห์เรน บรูไน ดูไบ อิ หร่าน อิสราเอล ลิเบีย อเมริกา นิวซีแลนด์ โปรตุเกส นอร์เวย์ จอร์แดน ฯลฯ วิทยากร และอาจารย์พิเศษ นอกเหลือจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้แสดงแล้ว ครูชวลิต สุนทรานนท์ ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากร และอาจารย์พิเศษของสถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ - การอบรมนาฏศิลป์ไทยให้กับเยาวชน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - การบรรยาย และสาธิต ศักยภาพด้านการวิจัยสาขานาฏศิลป์และดุริยางค์ สถาบัน เทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี - การบรรยาย และสาธิต เรื่องการแสดงพื้นเมืองงามตามกาลสมัย การอบรมเชิงปฏิบัติ การ พัฒนาศักยภาพครูสอนนาฏศิลป์ ระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร - การบรรยาย และสาธิ ต การออกก าลั ง กายแบบศิ ล ปะนาฏศิ ล ป์ พื้ น บ้ า น กรมอนามั ย กระทรวงสาธารณสุข - การบรรยาย และสาธิตโครงการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ณ เมืองยาชิโย ประเทศญี่ปุ่น ของนักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร - การบรรยายเรื่องนาฏศิลป์ไทย หลักสูตรมัคคุเทศก์ทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต - อาจารย์สอนนาฏศิลป์แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ - วิทยากรถ่ายทอดท่าราในโครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร - ผู้ถ่ายทอดท่าราและกากับการแสดงแสดงละครนอก เรื่องไกรทอง ตอน พ้อล่าง – พ้อบน ในโครงการนเรศวรสังคีต ครั้งที่ ๒๕ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๙ ผลงานด้านวิชาการ พ.ศ.๒๕๓๘ พ.ศ.๒๕๔๒ พ.ศ.๒๕๔๕ พ.ศ.๒๕๔๘ พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๑

บันทึกท่าราเพลงฉุยฉาย หนังสือวิพิธทัศนา บันทึกท่าราศิลปินต้นแบบศิลปากร รวบรวม ค้นคว้าวิจัย เรื่องเครื่องแต่งกายละครและการพัฒนา พัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ด้านการแสดงนาฏศิลป์ไทย : กรณีศึกษา หนังสือวิพิธทัศนา ชุดระบา รา ฟ้อน ปีที่ ๑ – ๓

วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

พ.ศ.๒๕๕๐ พ.ศ.๒๕๕๒ พ.ศ.๒๕๕๓

พ.ศ. ๒๕๕๔ พ.ศ. ๒๕๕๕ พ.ศ. ๒๕๕๖ พ.ศ. ๒๕๕๗

ศึกษาวิจัย เรื่องการศึกษา และพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการแต่งกายยืน เครื่องโขน - ละครรา กรมศิลปากร พัฒนาระบบการจัดองค์ความรู้ด้านการแสดงนาฏศิลป์ไทย : กรณีศึกษาการ แสดงเป็นชุดเป็นตอนละครโขน (โขนตัวพระ) พัฒนาระบบการจัดองค์ความรู้ด้านการแสดงนาฏศิลป์ไทย : กรณีศึกษาการ แสดงเป็นชุดเป็นตอนละครโขน ละครชาตรี เรื่องรถเสน ตอนรถเสนจากเมรี ละครนอก เรื่องสุวรรณหงส์ ตอนกุมภัณฑ์ถวายม้า ละครใน เรื่องอิเหนา ตอนบุษบาชมศาล-เล่นธาร ละครดึกดาบรรพ์ เรื่องอิเหนา ตอนชมศาล ละครพันทาง เรื่องพญาผานอง ตอนรักสามเส้า ละครเสภา เรื่องไกรทอง ตอนไกรทองรบชาลวัน นาฏกรรมโขนสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คู่มือกลวิธีการแต่งกายยืนเครื่องโขน ของกรมศิลปากร - คู่มือกลวิธีการแต่งหน้าแบบต่าง ๆ ในการแสดงโขน - ละคร ของกรมศิลปากร - หนังสือโขนอัจฉริยนาฏกรรมสยาม ราวงมาตรฐาน กรมศิลปากร - เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติ การครูสอนนาฏศิลป์ เรื่องการแสดง พื้นเมืองงามตามกาลสมัย - เอกสารประกอบการบรรยายนาฏศิลป์สาหรับมัคคุเทศก์ - ข้อมูลเผยแพร่งานจัดนิทรรศการประกอบการแสดงโขน-ละคร อาทิ เรื่อง เงาะป่า, เรื่องศึกเก้าทัพ, การแสดงโขน ชุดพระพิราพ - บทความศิล ปวัฒ นธรรมด้านนาฏดุริยางคศิล ป์เผยแพร่แก่ครู อาจารย์ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล - ข้อมูล จังหวะไทยกายบริหารเผยแพร่หนังสือนิตยสารศิล ปากร, ชีว จิต, ข่าวสด, ขยับกายสบายชีวี - เอกสารการประกอบการออกกาลังกายแบบราวงมาตรฐาน - จัดทาบทโขน - ละคร ประกอบการแสดงของกรมศิลปากร

ตัวอย่างผลงานบทความทางวิชาการที่ครูชวลิต สุนทรานนท์ได้เรียบเรียงขึ้น เพื่อเป็นความรู้ และข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าทางนาฏศิลป์ไทย ดังต่อไปนี้

ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

นาฏศิลป์ไทย ชวลิต สุนทรานนท์ เรียบเรียง นาฏศิลป์ของไทยซึ่งมีมาแต่โบราณ แบ่งออกเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ คือ “ระบา รา ฟ้อน ละคร โขน” ระบา ระบ า คือศิล ปะของการร าที่แสดงพร้อมกันเป็นหมู่ เริ่มตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ไม่จาเป็นต้อง ดาเนินเป็นเรื่องเป็นราว การแสดงระบาจะเน้นที่ความสวยงามของท่ารา การแปรแถว เครื่องแต่งกาย ความเหมาะสมและความพร้อมเพรียงของผู้แสดง เพลงร้อง และทานองดนตรี การแสดงระบาที่ทา มี ทั้งการทาท่ารา ที่เรียกว่าการตีบทตามบท และการแสดงระบาที่ทาท่าราโดยไม่ต้องคานึงถึงบทร้อง แต่อาศัยการประดิษฐ์ท่าราให้มีความสวยงาม ระบาที่ปรากฏในนาฏศิลป์ไทยมี อยู่ ๒ รูปแบบคือ ระบาที่เป็นแบบแผนดั้งเดิม และระบาที่ ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ๑. ระบาที่เป็นแบบแผนดั้งเดิม หรือระบามาตรฐาน คือระบาที่ประกอบด้วยท่ารา บทร้อง และเพลงหน้าพาทย์ ตามแบบนาฏศิลป์ไทย เป็นระบาที่มีแต่โบราณ ใช้เป็นมาตรฐานในการฝึกหั ด และการแสดง การแต่งกายของระบามาตรฐานส่วนใหญ่จะแต่งกายแบบยืนเครื่อง เช่น ระบาที่แต่งกายยืนเครื่อง สมมติเป็นเทพบุตร-นางฟ้า (ระบามาตรฐาน) - ระบาดาวดึงส์ -ระบาเทพบันเทิง -ระบาสี่บท -ระบากฤดาภินิหาร -ระบาพรหมาสตร์ -ระบานันทอุทยาน -ระบาเชิดจีน -ระบายู่หงิด (ย่องหงิด) ๒. ระบาที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เป็นระบาที่ปรับปรุงจากระบามาตรฐาน หรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับเหตุการณ์หรือโอกาสที่นาไปแสดง หรือเพื่ อให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่ แสดงประกอบซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะได้แก่ ๒.๑. ระบาที่ประดิษฐ์ ขึ้ นจากระบ าที่เป็นแบบแผน โดยอาศัยรู ปแบบการแสดงลีลาท่ า ร า ทานองดนตรีและเครื่องแต่งกาย ตามลักษณะเดิม เช่น ระบากินรีร่อน ระบากริชหมู่ เป็นต้น ๒.๒. ระบาที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในภาคต่าง ๆ เช่นระบาเก็บใบ ชาของภาคเหนือ ระบาร่อนแร่ของภาคใต้ ระบาชาวนาของภาคกลาง เป็นต้น ๒.๓. ระบาที่ประดิษฐ์ขึ้นจากการเลียนแบบท่าทางของสัตว์ การเดิน การกระโดด การวิ่ง เช่น วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

-ระบาครุฑ -ระบาม้า -ระบาไก่ -ระบานกเขา -ระบานกสามหมู่ -ระบานกยูง -ระบากวาง -ระบาควาย -ระบาเงือก ๒.๔. ระบาที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ ในโอกาสพิ เศษทั้งรัฐพิธี และราษฎร์พิธี เช่น ระบาอาเซียน ระบาจีน-ไทยไมตรี ระบาลาว-ไทยปณิธาน เป็นต้น ๒.๕. ระบาที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสอดแทรกการแสดงโขน ละครบางตอนให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และสวยงาม เช่น ระบาดอกบัว ระบานพรัตน์ เป็นต้น ๒.๖. ระบาที่ประดิษฐ์ขึ้นจากภาพจาหลักในโบราณสถาน เพื่อแสดงยุคสมัยที่มีมาแต่โบราณ เช่น ระบาโบราณคดี เป็นต้น รา รา คือศิลปะของการราเป็นคู่ หรือแสดงคนเดียว ที่มักเรียกว่า “ราเดี่ยว” และ “ราคู”่ สาหรับ การแสดงบางชุด บางครั้งก็มีการราหลายคนซึ่งไม่ได้จัดเข้าอยู่ในประเภทของระบาเรียกว่า “ราหมู่” เช่น ราสีนวล ราลาวกระทบไม้ ราเดี่ยว คือการราที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดี ยว ได้ แก่ ราฉุยฉายต่าง ๆ เช่น ฉุยฉายพราหมณ์ ฉุยฉายเบญกาย ฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน รากริชเดี่ยว รามโนห์ราบูชายัญ ราพลายชุมพล ร าคู่ มักจะร าเบิ กโรง เป็นการแสดงสั้ น ๆ ก่อนการแสดงเรื่องใหญ่ การแสดงชนิดนี้ไม่มี ความสัมพันธ์กับเรื่องที่จะแสดงต่อไป ได้แก่ ราเบิกโรง เช่น ราปะเลง ราเบิกโรงกิ่งไม้เงินทอง ราแม่บท ราอวยพร เป็นต้น ราคู่ ที่ตัดตอนมาจากการแสดงเรื่องใหญ่ เช่น พระลอตามไก่ รจนาเสี่ยงพวงมาลัย หย้าหรัน ตามนกยูง เป็นต้น ราคู่ที่เป็นการราอาวุธ เช่น ราทวน รากริช ราดาบโล่ เป็นต้น ราหมู่ คือการราที่ใช้ผู้แสดงมากกว่า ๒ คนขึ้นไป มุ่งความงามของกระบวนท่ารา และความ พร้อมเพรียงของผู้แสดง เช่น ราโคม ราสีนวล ราสวัสดิรักษา ฟ้อน ฟ้อน คือศิลปะของการราที่ประกอบด้วยผู้แสดงตั้งแต่ ๑ คนขึ้นไป ซึ่งจัดอยู่ในการแสดง ประเภทระบา หรือรา แต่คาว่า “ฟ้อน” ส่วนมากนิยมใช้ กับการแสดงภาคเหนือเป็นหลัก เป็นการ ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


๑๐

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

แสดงที่มีความสวยงามของลีลาท่าราอันอ่อนช้อยงดงาม เพลงร้อง และทานองดนตรี มีความไพเราะ ฟ้อนเป็นการแสดงพื้นเมือง ที่มีลักษณะการแต่งกาย เพลงร้อง เพลงดนตรีตามภาษาท้องถิ่นหรือตาม เชื้อชาติ ซึ่งมีปรากฏอยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ฟ้อนทางภาคเหนือ เช่น ฟ้อนจันทราพาฝัน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น - ฟ้อนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ฟ้อนภูไท เป็นต้น เซิ้ง เซิ้ง คือศิลปะของการแสดงพื้นบ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของการแสดงจะ สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น ขนบจารีตประเพณี วิถีชีวิตของกลุ่มชน ตลอดจนการประกอบ อาชีพ ที่มีจุดประสงค์ในการแสดงเพื่อความสนุกสนาน เช่น เซิ้งสวิง เซิ้งโปงลาง เซิ้งตังหวาย ฯลฯ ละคร ละคร คื อ การแสดงที่ ผู ก เป็ น เรื่ อ งมี เ นื้ อ ความเหตุ ก ารณ์ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น เป็ น ตอนๆ ตามลาดับ ประกอบด้วยดนตรี และบทร้องตามโอกาส และลักษณะชนิดของการแสดงละครแต่ ล ะ แบบ ละครแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ ละครราที่เป็นแบบแผน และละครราที่ ปรับปรุงขึ้น ๑. ละครราที่เป็นแบบแผน ๑.๑ ละครชาตรี เป็นละครที่นาแบบแผนการแสดง มาจากการแสดงโนรา ซึ่งนิยมแสดงในภาคใต้ เป็น ต้นแบบของละครราชนิดอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมแสดงเรื่อง มโนราห์และเรื่องรถเสน ใช้เพลงร่ายชาตรีและ ร่ายนอก เป็นเพลงร้องดาเนินเรื่อง เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบ คือ ปี่ กลองเล็ก (กลองชาตรี) โทน ฆ้องคู่ การแต่งกาย แต่งแบบยืนเครื่องเหมือนละครนอกและละครใน ผิดกันที่การสวมยอด ประดับศีรษะ ละครชาตรีจะสวมยอดที่ดัดแปลงมาจากเทริด อันเป็นสัญลักษณ์โดยเฉพาะ ๑.๒ ละครนอก มีแนวการแสดงที่ ต้องการความสนุกสนาน มีตลกแทรกเพื่อความบันเทิง จนบางครั้ง ถึงหยาบโลน ไม่คานึงถึงระเบียบประเพณี ผู้แสดงจะต้องมีเชาว์ในการแสดงเป็นอย่างดี เพราะจะต้อง มีการเจรจานอกบทอยู่เสมอ บทที่ใช้แสดงส่วนใหญ่เป็นบทที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มักจะเป็น เรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ การขับร้องใช้ เพลงที่มีจังหวะเร็ว ๆ มีเอื้อนน้อย มักจะเป็นเพลงชั้นเดียว ดาเนิน เรื่องด้วยเพลงร่ายนอก ปี่พาทย์ใช้ประกอบการแสดง โดยทั่วไปใช้ปี่พาทย์เครื่องห้า การแต่งกาย แต่งยืนเครื่องพระ – นาง ๑.๓ ละครใน มีแนวการแสดงตรงข้ามกับละครนอก คือมีความมุ่งหมายที่จะแสดงให้เห็น ศิลปะของการราที่ประณีตงดงาม ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครั ด ไม่นิยมแสดงตลก วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

๑๑

ฟุ่มเฟือยและปราศจากถ้อยคาหยาบ บทที่ใช้แสดงมีเพียง ๓ เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อิเหนา และอุณรุท การขับร้องใช้เพลงร่ายใน เป็นการดาเนินเรื่อง ส่วนเพลงร้องอื่น ๆ เป็นเพลงที่มีความอ่อนโยนไพเราะ วงปี่พาทย์ที่ใช้ คือวงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องแต่งกาย แต่งยืนเครื่องพระ นาง เหมือนกับละครนอกละครราแบบโบราณนี้ แต่เดิมไม่มีการจัดฉากตามท้องเรื่อง เพิ่งจะเริ่มมีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ๒. ละครราที่ปรับปรุงขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จและพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒.๑ ละครดึกดาบรรพ์ ปรับปรุงขึ้นโดยการยึดแนวการแสดงละครในเป็นหลัก คือ มุ่งหมาย ศิลปะในเชิงรา และเพลงร้องนาแบบอย่างการแสดงละครของชาวตะวันตกเข้าผสมด้วย บทที่ใช้แสดงนาบทละครนอก และละครในของเดิม มาปรับปรุงใหม่ให้รัดกุมขึ้น ดาเนินเรื่องด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าผู้ ดู และไม่มีการบอกกล่าวถึงอารมณ์ บางครั้งก็ใช้เจรจาด้วยคากลอน และคาเจรจาเป็นบทร้อยแก้วแทรกขึ้น ทาให้การดูละครเข้าใจง่าย และสนุกสนานเพิ่มขึ้น ดนตรี มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์โดยเพิ่มเครื่องดนตรีขึ้นและเรียกว่า ปีพ่ าทย์ดึกดาบรรพ์ เพลงร้องได้รับการปรับปรุงให้เข้ากับปี่พาทย์ การแต่งกาย แต่งยืนเครื่อง ฉาก มีฉากประกอบการแสดงตามเนื้อเรื่อง ๒.๒ ละครพันทาง ปรับปรุงขึ้นตามแนวของการแสดงละครนอก โดยยึดเอาความสนุกสนานเป็นหลัก สาคัญ และใช้ลีลาท่าราที่ปรับปรุงใหม่ให้เหมาะกับลักษณะของตัวละคร บทบาทที่ใช้แสดงมักเป็นบท ที่กล่าวถึงตัวละคร ซึ่งมีเชื้อชาติต่าง ๆ เช่น ชาติมอญ จีน พม่า เป็นต้น บทที่นิยมแสดงในปัจจุบันนี้ มีเรื่องพระลอ ราชาธิราช ผู้ชนะสิบทิศเป็นต้น เพลงร้องและเพลงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง จะมีท่วงทานองไปตามเชื้อชาติ ของ ตัวละครตามที่บทละครกาหนดมา และมักจะพูดออกสาเนียงไปตามเชื้อชาติ การแต่งกาย แต่งตามเชื้อชาติและความเป็นจริ งของตัวละครในบท ทาให้ผู้ดูเกิด ความสนุกสนานไปอีกแบบหนึ่ง ดนตรีใช้ ปี่พาทย์เครื่ องห้า และเพิ่มเครื่องดนตรีตามเชื้ อชาติตัวละคร เช่น ล่อโก๊ะ กลองต๊อก ในการแสดงที่มีตัวละครแสดงบทของชาวจีน เป็นต้น ฉาก มีฉากประกอบการแสดงซึ่งเปลี่ยนตามเนื้อเรื่อง ๒.๓ ละครเสภา น าการแสดงเสภาและละครรามาผสมเข้าด้ว ยกัน แสดงตามแนวของละครนอก เครื่องแต่งกาย เพลงร้อง เพลงดนตรี ดาเนินตามแบบละครพันทาง ดาเนินเรื่องด้วยการขับเสภา บาง คราวผู้แสดงก็จะขับร้องหรือขับเสภาเอง บางคราวต้นบทและลูกคู่จะเป็นผู้ร้อ งแทนให้ เรื่องที่นิยม แสดงมีเรื่องขุนช้างขุนแผน ไกรทอง ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


๑๒

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

๓. การแสดงละครชนิดต่าง ๆ นอกจากละครรา ๓.๑ ละครพูด เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อยังคงดารงตาแหน่งเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิ ราช เมื่อกลับจากยุโรป ทรงนาวิธีการแสดงแบบตะวันตกมาเพื่อให้ข้าราชสานักได้รู้จักวิธีการตกแต่ง ท่าทางตามสามัญชน ๓.๒ ละครสังคีต เหมือนละครพูด แต่มีบทร้องซึ่งเป็นการดาเนินเรื่อง ตัดบทร้องหรือบทพูดออกไม่ได้ ๓.๓ ละครร้อง กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงริเริ่ม ไม่มีการรา ผู้แสดงร้องต้นบทและมีลูกคู่รับ อยู่ในโรง มีการเจรจาทวนบทใช้ออร์แกนหรือไวโอลินคลอ ส่วนเพลงหน้าพาทย์ใช้ปี่พาทย์บรรเลง ใช้ ผู้หญิงแสดงล้วน ๓.๔ ละครแบบหลวงวิจิตรวาทการ ใช้ท่าราง่าย ๆ บางตอนร้องและราแบบละครรา มีเพลงหน้าพาทย์ ส่วนใหญ่แสดง เรื่องประวัติศาสตร์ โขน โขน นาฏกรรมชั้นสูงของไทย มีกาเนิดมาตั้งแต่พุ ทธศตวรรษที่ ๒๐ โดยวิวัฒนาการมาจาก การละเล่น ๓ ประเภท คือ หนังใหญ่ ชักนาคดึกดาบรรพ์ และกระบี่กระบอง กล่าวคือได้ท่าทางการ เต้นจากหนังใหญ่ รูปแบบเครื่องแต่งกายจากชักนาคดึกดาบรรพ์ และท่าต่อสู้ ขึ้นลอยต่อตัวจากกระบี่ กระบอง ส่วนเนื้อเรื่องที่แสดง ใช้บทพระราชนิพนธ์ เรื่องรามเกียรติ์ ของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ ๑, ๒, ๓ และ ๖ ที่ บรรจุอรรถรสด้วยรัก โลภ โกรธ หลง อิทธิปาฏิ หาริย์ กลยุทธ์กลวิธี ในการทา สงครามให้ฝ่ายธรรมะและฝ่ ายอธรรม คือ ฝ่ายพระนารายณ์อวตาร หรือพระรามกษัตริย์กรุงอโยธยา ซึ่งมีข้าทหารเป็นเหล่าวานร กับฝ่ายทศกัณฐ์ พญายักษ์เจ้าเมืองลงกา ที่มีเหล่าอสูรเป็นบริวาร ผู้แสดง มีทั้งฝ่ายพระ นาง ยักษ์ ลิง โขนมีกาเนิดมาจากการแสดง ๓ อย่าง คือ ๑. ชักนาคดึกดาบรรพ์ ๒. หนังใหญ่ ๓. กระบี่กระบอง วิวัฒนาการของโขน การแสดงโขนสมัยแรก ๆ คงจะเล่นกันกลางสนาม เช่นเดียวกับชักนาคดึกดาบรรพ์ ไม่มีการ ปลูกโรงให้เล่น เมื่อได้รับ ความนิยมต่อมาจึงมีการคิดแก้ไขวิธี การเล่น ในสมัยที่โขนกาลังได้รับความ นิยมและมีวิวัฒนาการมาตามลาดับนั้นการเล่นหนังใหญ่ ละคร ระบาก็ยังมีอยู่ การเล่นโขนได้ก้าวหน้า มาเป็นศิลปะการแสดงบนเวที แต่ก็คงจะมีการเล่นโขนกลางสนามอยู่บ้างซึ่งแบ่งตามลักษณะที่แสดง เป็น ๕ ประเภท คือ วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

๑๓

๑. โขนกลางแปลง ๒. โขนนั่งราวหรือโขนโรงนอก ๓. โขนหน้าจอ ๔. โขนโรงใน ๕. โขนฉาก ๑. โขนกลางแปลง เป็นการแสดงโขนกลางสนามบนพื้นดิน การแสดงโขนแบบนี้มีแต่การยกทัพและการรบกัน ดนตรีที่บรรเลงประกอบ ก็จะบรรเลงเฉพาะเพลงหน้าพาทย์ ประกอบการยกทัพและรบกันเท่านั้น บท โขนใช้ แต่คาพากย์และ คาเจรจา เน้นการดาเนินเรื่อง การแสดงโขนกลางแปลงนี้เคยมี แสดงครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๙ ในงานฉลองอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมชนกาธิราช โดยโขนวังหลวงเป็นกองทัพพระราม และโขนวังหน้าเป็นทัพทศกัณฐ์ ยกทัพมาบรรจบกันที่ท้องสนามหลวงประสมโรงเล่นกันตอนสิบขุนสิบ รถ ปรากฏว่าโขนวังหน้าซึ่งเป็นทัพทศกัณฐ์ไม่ยอมแพ้ จึงเกิดรบกันขึ้นจริง ๆ เสร็จจากงานสมโภชพระ อัฐิแล้ว ความบาดหมางระหว่างวังหลวงกับวังหน้าก็เกิดขึ้นจนถึงกับเตรียมทาสงครามกัน สมเด็จพระพี่ นางเธอทั้งสองพระองค์ คือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระศรี สุดารักษ์ต้องทรงเป็น ผู้ไกล่เกลี่ยจึงคืนดีเป็นปกติสืบมา (ธนิต อยู่โพธิ์, ๒๕๐๐, หน้า ๓๑) จากหลักฐานที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่ าการแสดงโขนกลางแปลงนิยมแสดง ตอนยกรบ หรือยกทัพ เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากเวที กลางแจ้งมีความกว้างเหมาะกับการแสดงโขนที่ มีผู้แสดงมาก ฉากที่ใช้เป็นฉากธรรมชาติ ผู้ชมจึงต้องจินตนาการฉากตามเนื้อเรื่ องที่แสดง แต่ในปัจจุบันการแสดง โขนกลางแปลงที่กรมศิลปากรจัดแสดงจะดาเนินเรื่องด้วยการพากย์ เจรจา และขับร้อง พร้อมทั้งจัด แสดงในหลาย ๆ ตอนด้วย ๒. โขนนั่งราวหรือโขนโรงนอก เป็นการแสดงโขนบนโรงมีราวพาดยาวตามส่วนขนานกับเวทีของโรงโขน เพือ่ ให้ตัวนายโรง และตัวเอกนั่งและรา ช่องว่างระหว่างราวพาดกับฉากมีไว้ เพื่อให้ตัวโขนเดินได้รอบราวมีประตูเข้าออก ๒ ข้าง เมื่อตัวโขนออกมาราแล้วจะไปนั่งประจาที่บนราวซึ่งสมมติว่าเป็นเตียงหรือที่นั่งประจาตาแหน่ง ดาเนินเรื่องด้วยการพากย์ เจรจา ใช้เพลงหน้าพาทย์ เช่น เพลงกราวใน กราวนอก คุกพาทย์ และตระ นิมิต เป็นต้น มีวงปี่พาทย์ ๒ วง ตั้งทางซ้ายและทางขวาของโรง เรียกว่า วงหัววงท้าย ขั้นตอนในการแสดงโขนนั่งราวหรือโขนโรงนอกเริ่มตั้งแต่ตอนบ่ายก่อนถึงวันแสดงใช้ วงปี่ พาทย์ ๒ วงโหมโรง ในระหว่างโหมโรงพวกโขนจะออกมากระทุ้ งเส้าตามจังหวะเพลงที่กลางโรงจนจบ โหมโรง แล้วแสดงตอนพิราพออกเที่ยวป่าจับสัตว์กินเป็นอาหาร พระรามหลงเข้าสวนพวาทองของพิราพ แล้วหยุดการแสดง ผู้แสดงนอนพักค้างคืนเฝ้าโรง ๑ คืน จึงเรียกตอนนี้ว่า “โขนนอนโรง” ในวันรุ่งขึ้นครั้นถึง เวลากลางคืนจึงเริ่มการแสดงเรื่องราวต่าง ๆ ที่กาหนดไว้ โดยเริ่มจากการไหว้ครู โดยครูผู้อาวุโสจุดธูป เทียนบูชาครูเทพเจ้า ผู้แสดงทุกคนร่วมไหว้บูชาครูแล้วเริ่มแสดง ปี่ พาทย์บรรเลงเพลงวา การแสดงจะ ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


๑๔

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

ดาเนินเรื่องไปจนจบการแสดง ปัจจุบันกรมศิลปากรไม่ได้จัดการแสดงโขนประเภทนี้เต็มรูปแบบดัง ปรากฎตามเอกสารข้างต้น เพียงเพื่อจัดสาหรับการศึกษาเป็นฉาก ๆ เท่านั้น และจัดผสมผสานกับการ แสดงโขนโรงใน ๓. โขนหน้าจอ เป็นโขนประเภทหนึ่งที่พัฒนามาจากการแสดงหนังใหญ่ คือมีการแต่งตัวโขนออกมาแสดง หน้าจอหนังใหญ่ โดยเจาะผ้าดิบทั้ง ๒ ข้าง ทาเป็นช่องประตูเข้าออกด้านขวาของเวทีเป็นซุ้มประตูค่าย พลับพลาของพระราม ด้านซ้ายของเวทีเป็นซุ้มประตูปราสาทราชวังกรุ งลงกาของทศกัณฐ์ กลางฉาก ตอนบนจะเขี ย นรู ป เมขลาล่ อ แก้ ว ด้ า นหนึ่ ง รู ป รามสู ร เหนื อ ขึ้ น ไปเขี ย นรู ป ดวงพระอาทิ ต ย์ แ ละ พระจันทร์ด้านละดวงยกพื้ นหน้าจอขึ้นลาดกระดานปูเสื่อมีลูกกรงล้อมรอบกั้นคนดูมิให้เข้ามา ดนตรี จะบรรเลงบนพื้ นโรงโขนหลังจอหนังใหญ่ที่ยกจอขึ้นเหนือพื้นเวที ผู้บรรเลงจะมองเห็นผู้แสดงผ่าน ช่องว่างระหว่างจอหนังกับพื้นเวทีซึ่งมีเชือกผูกตรึงยึดจอไว้ ลาดับขั้นตอนในการแสดงจะเริ่มจากช่วงบ่ายเนื่องจากแต่เดิมก่อนแสดงหนังใหญ่เป็นเรื่อง เป็นราว จะมีการเชิดหนังใหญ่จับระบาหน้าจอหนัง เรียกว่า “หนังจับระบาหน้าจอ” ต่อมามีผู้คิดเอา คนแต่งตัวละครไปเล่นจับระบาไปจนค่า แล้วจึงเริ่มเล่นหนังต่อ ต่อมามีผู้ปล่อยตัวโขนออกมาเล่นแทน ตัวหนังแล้วมีการเชิ ดหนังสลับไปบ้าง จึงเรียกการแสดงในตอนนี้ว่ า “หนังติดตัวโขน” ครั้นภายหลัง เลยปล่อยตัวโขนเล่นไปตั้งแต่เย็นจนเลิกในเวลากลางคืน ส่วนจอตั้งไว้พอเป็นพิธีเท่านั้น (ธนิต อยู่โพธิ์, ๒๕๐๐, หน้า ๓๓) การแสดงในช่วงกลางคืนจะมีการโหมโรงไหว้ครูเทพเจ้า โดยครูผู้อาวุโสกล่าวนาไหว้ ครู ศิลปินร่วมกันไหว้ครู แล้วเริ่มการแสดงเป็นเรื่องยาวจนจบ โดยมีการตีบทตามบทพากย์เจรจา และการ ราเพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดง ปัจจุบันกรมศิลปากรจัดการแสดงโขนประเภทนี้โดยดาเนินเรื่อง ด้วยการพากย์ เจรจาและขับร้องส่วนมากจัดแสดงในเวลากลางคืน แต่ถ้าเป็นงานศพจะแสดงตอนเผาศพ เรียกว่า โขนหน้าไฟ เป็นการแสดงชุดสั้น ๆ แล้วหยุดพักเริ่มแสดงอีกครั้งตอนกลางคืนเวลาประมาณ ๒๐.๐๐ น. เป็นการแสดงชุดยาว ๔. โขนโรงใน เป็นโขนประเภทหนึ่งที่พั ฒนามาจาก “หนังจับระบา หน้าจอ” และ “หนังติดตัวโขน” ซึ่งเอาละครมาเล่นระบาแทนตัวหนังสลับกับการเชิดหนังใหญ่ ศิลปะแห่งการเล่นหน้าจอหนังเริ่มผสม ปะปนกันมากขึ้น โดยมีการนาการเต้น การพากย์ การเจรจา และการราเพลงหน้าพาทย์อย่างโขนมา ประสมกับระบา รา ฟ้อน ประกอบการขับร้องและเพลงประกอบกิริ ยาอาการของดนตรีแบบละครใน ด้วยลีลาท่าราที่ประณีตงดงาม ตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีนิย มเอาเรื่องรามเกียรติ์ไปแต่งบทละคร สาหรับแสดงละครใน เช่น บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และ บทพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้น วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

๑๕

๕. โขนฉาก เป็ น โขนประเภทหนึ่ งที่ พั ฒ นาขึ้น ในสมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจุล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นพระดาริของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ โดยนารูปแบบการสร้างฉากและแบ่งฉากมาใช้ประกอบการแสดงเหมือนละครดึกดา บรรพ์ ส่วนวิธีการแสดงจะแสดงแบบโขนโรงใน คือ การพากย์เจรจา และขับร้อง มีระบาประกอบการ แสดงด้วย ลักษณะของฉาก เป็นฉากที่ประดิษฐ์ขึ้นให้สอดคล้องตามท้องเรื่อง ต่อมาหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ กรมศิลปากรก็นาออกแสดงในลักษณะของโขนฉากหลายชุด เช่น ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุด พรหมาสตร์ ชุดนาคบาศ ชุดนางลอย ชุดศึกวิรุญจาบัง ชุดปราบกากนาสูร และชุดหนุมานอาสา เป็น ต้น ลาดับขั้นตอนในการแสดงโขนฉากมีรูปแบบการแสดงเช่นเดียวกับโขนโรงใน คือ มีการโหม โรงไหว้ครูเทพเจ้า โดยครูอาวุโส กล่าวนาเริ่มแสดงเนื้อเรื่อง ปี่พาทย์บรรเลงเพลงวาแล้วดาเนินเรื่องจน จบการแสดง ต่อมาได้มีการนาเทคโนโลยีมาใช้ ในการตกแต่งฉากและมาช่วยในการดาเนินเรื่อง เช่น ใช้ แสงเลเซอร์ประกอบการแสดงในฉากอภินิหารต่าง ๆ เช่น ตอนพระรามแผลงศร เพือ่ เข่นฆ่าหมู่มาร แต่เดิมใช้ ตัวตลกถือลูกศรวนไปรอบ ๆ หมู่ มาร หมู่มารก็ล้มลงแต่ปัจจุบันใช้แสงเลเซอร์ยิงไปพร้อมมี ระบบเสียงประกอบทาให้ดูสมจริงมากยิ่งขึ้น

ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


๑๖

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

ละครนอก ชวลิต สุนทรานนท์ เรียบเรียง ละครนอก คือ ละครที่ชาวบ้านชายล้วนเป็นผู้แสดง มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เหตุที่เรียกว่าละคร นอก สันนิษฐานว่า คงจะเป็นเพราะละครนอกเป็นละครของชาวบ้านที่แสดงนอกเขตพระราชฐาน ตรงกันข้ามกับละครของพระมหากษัตริย์แสดงโดยผู้หญิงที่เป็นชาววัง ในเขตพระราชฐานชั้นในมีชื่อว่า ละครใน สมัยโบราณละครนอกนิยมแสดงเรื่ องเกี่ยวกับกษัตริย์ หรือที่เรียกกันว่า เรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ จะแสดงเรื่องอะไรก็ได้ มิได้มีกฎเกณฑ์บังคับ แต่เมื่อมีการแสดงละครในของหลวงขึ้ นมา จึงออกกฎ บังคับมิให้ละครนอกนาเรื่องที่ละครในแสดงไปแสดง รวม ๓ เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อิเหนา และอุณรุท ละครนอกเป็นละครแบบชาวบ้าน ศิลปะการร่ายราไม่งดงามเหมือนละคร ภายหลังที่ผู้แสดง ละครในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งได้รับการฝึกหัดและร่ายราอย่างประณีตงดงามมา แสดงละครนอก ท่าราของละครนอกจึงค่อยวิจิตรบรรจงขึ้น การแสดงละครนอกจะดาเนินเรื่องอย่าง รวดเร็ว กับการแสดงตลกขบขันแทรกอยู่ด้วย การแสดงตลกบางครั้งก็จะออกหยาบคายและพูดจาสอง แง่สองง่าม เมื่อถึงช่วงทางที่จะแทรกบทตลกได้ก็จะมีการติดตลกกันนาน ๆ จนคนดูพอใจหรือหมดสิ้น กระบวนที่จะเล่นตลกแล้ว จึงจะกลับเข้าเรื่องต่อไป ตัวแสดงที่สมมติเป็นท้าวพญามหากษัตริย์และ พระมเหสี เมื่อถึงคราวแสดงบทตลกกับเสนาข้าราชการ ก็ไม่ต้องคานึงถึงขนบประเพณีการเจ้าเข้านาย ให้เคร่งครัด จะมีการพูดจาล้อเล่นกันตามสบาย เพลงร้องของละครนอก บางเพลงก็ใช้เพลงเดียวกับเพลงร้องของละครในได้ แต่มีเพลงร้องที่ เป็นของละครนอกโดยเฉพาะ ซึ่งละครในจะนาไปใช้ร้องไม่ได้อยู่หลายเพลง เช่น เพลงช้าปี่นอก เพลง โอ้ปี่นอก เพลงโอ้ชาตรีนอก เพลงปีนตลิ่งนอก เพลงชมดงนอก และเพลงร่ายนอก เป็นต้น เนื่องจากใน สมัยก่อนละครนอกใช้ผู้ชายล้วนเป็ นผู้แสดง เพลงที่บรรเลงจึงต้องให้ผู้ช ายสามารถร้องได้ส ะดวก เรียกว่า “ทางกรวด” หรือ “ทางนอก” ต่อมาเมื่อผู้หญิงแสดงละครนอกมากขึ้น ปี่พาทย์จึงเปลี่ยน เสียงมาบรรเลง “ทางใน” อันเป็นเสียงของละครในสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้ เหตุที่ผู้หญิงมาแสดงละครนอก เป็นเพราะว่าพระบาทสมเด็จพระพุ ทธเลิศหล้านภาลัย ทรง พระราชนิ พ นธ์ บทละครนอกขึ้ น ๕ เรื่ อ ง คื อ สั ง ข์ ท อง ไชยเชษฐ์ มณี พิ ชั ย ไกรทอง และคาวี พระบาทสมเด็จพระนั่ งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดารงพระอิ สริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ก็ทรง พระนิพนธ์เรื่องสังข์ศิลป์ชัยถวายอีกหนึ่งเรื่อง จึงเป็นบทละครนอก พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ รวม ๖ เรื่อง ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้หญิงที่เคยแสดงละครในมาแสดงละครนอกทั้ง ๖ เรื่องนี้ได้ ปัจจุบันนี้ผู้แสดงละครนอกมีทั้งชายจริงหญิงแท้ คือผู้ชายแสดงเป็นตัวพระ และผู้หญิงแสดงเป็นตัว นาง หรือผู้หญิง เป็นทั้งตัวพระตัวนางก็ได้ บางครั้งผู้แสดงก็เป็นผู้ชายทั้งหมดตามแบบของผู้แสดง ละครนอกสมัยโบราณ ส่วนลักษณะหรือรูปแบบการแสดงละครนอกของกรมศิลปากรเป็นการแสดงที่ ได้รับการสืบทอดมาจากละครในที่แสดงเรื่องของละครนอก โดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับยุคสมัย วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

๑๗

เครื่ องแต่งกายของผู้ แสดงละครนอก แต่เดิมคงจะแต่ง อย่า งสามัญชน เว้ นผู้ แสดงที่เ ป็ น กษัตริย์ จึงจะแต่งกายยื่นเครื่ องพระหรือตัว นายโรงอย่างละครชาตรี ถ้าเป็นตัวยักษ์ห รือลิง ก็ส วม หน้ากากเรื่องเขียนหน้า เพื่อให้ทราบว่าเป็นตัวอะไร สาหรับเครื่องแต่งกายละครนอกที่แต่งแบบยืน เครื่อง พระ นาง สวม ชฎา รัดเกล้านั้น เป็นของที่ประดิษฐ์ขึ้นภายหลังเป็นการเลียนแบบเครื่องแต่ง กายของผู้แสดงละครใน ปัจจุบันนี้เครื่องแต่งกายของละครนอกกับละครในเหมือนกันทุกประการ เมืองแห่งนิยายนาฏกรรมเรื่อง “ไกรทอง” ถ้าท่านจะไปเที่ยวเมืองเหนือและโดยสารรถไปกรุงเทพฯ พิษณุโลก ออกจากสถานีกรุงเทพฯ ไปเป็นระยะทางราว ๘๖๗๕ เส้น สิ้นเวลาราว ๗ – ๘ ชั่วโมง ท่านจะไปถึงสถานีพิจิตร ตามชื่อเมืองใน ภาคเหนื อ ของไทยสถานี พิ จิ ต รนี้ ตั้ ง อยู่ ณ ฝั่ ง ซ้ า ยหรื อ ฝั่ ง ตะวั น ออกแม่ น้ าน่ า น ณ ฝั่ ง ขวาหรื อ ฝั่ ง ตะวันตกของแม่น้าเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดพิจิตร แต่ตัวเมืองพิจิตรซึ่งมีศาลากลางตั้งอยู่ในบัดนี้ย้าย มาตั้งใหม่ เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ห่างจากศาลากลางจังหวัดนี้ ไปทางทิศตะวันตก ราว ๑๕๐ เส้น จะไปถึงที่ตั้งเมืองพิจิตรเก่าเป็นเมืองโบราณสมัยขอม และสมัยกรุงสุโขทัยเรียกว่าเมือง “สระหลวง” ซึ่งปรากฏในหนังสือบางเรื่ องเรียกว่า “โอฆบุรี” มีคาเล่าสืบมาว่า ณ ท้องที่เมืองพิจิตร เก่านี้ เป็นสถานที่เกิดของตะเภาแก้วและตะเภาทองสองสาวงามธิดาท่านเศรษฐีเมืองพิจิตร ผู้เป็น นางเอกแห่งนิยายรักผจญภัยอันวิจิตรพิสดารลือชื่อของจังหวัดนั้น ยังมีสถานที่เรียกกันว่า “ดงเศรษฐี” ปรากฏอยู่ซึ่งคงสมมติว่าเป็นที่บ้านเดิมของท่านเศรษฐี ผู้เป็นบิดาของตะเภาแก้วและตะเภาทอง ทั้งยังมี “เกาะวิมาลา” และ “ถ้าชาลวัน” ปรากฏอยู่ ซึ่งคงจะสมบัติเป็นที่อยู่ของนางพญาและพญาจระเข้ผู้มี บทบาทสาคัญในนิยายรักผจญภัยของเมืองนั้น แต่ถ้าชาลวันยังมีปรากฏอยู่อีกแห่งหนึ่งที่ เขาพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ดังที่ท่านสุนทรภู่ มหากวีเอกของเราก็กล่าวถึงไว้ ใน “นิราศพระบาท” เคยได้ยินผู้ใหญ่ เล่าให้ฟงั มาแต่ครัง้ เยาว์วัยว่า ถ้าชาลวันที่เขาพระพุทธบาทนั้น มีคาเล่าสืบมาว่าเป็นปากปล่องช่องคูหา ซึ่งมีอุโมงค์ลึกลอดผ่านใต้ดินไปทะลุออกแม่น้า แต่จะไปทะลุออกแม่น้าไหน ตรงไหนหาทราบไม่ เล่าแต่ว่า ไปทะลุออกที่ตรงวังน้าวนใหญ่ในแม่น้า อุโมงค์นี้เป็นที่มาของพญาชาลวัน และเป็นที่อยู่ของบรรดา จระเข้บริวารทั้งหลาย และเล่าว่า อุโมงค์นั้นเดี๋ยวนี้อาจจะตันเสียก็ได้ ขอฝากไว้ เป็นข้อคิดของท่าน นักปราชญ์ทางธรณีวิทยา ถ้าชาลวันหรือถ้าใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยของพญาจระเข้ดังกล่าวนี้ จะตั้งอยู่ที่ ไหนก็ตามแต่มักมีนิยามที่ผู้ใ หญ่ผู้เฒ่าเล่าถึงพญาจระเข้ตัวสาคัญ ๆ อยู่หลายตัว เช่น พญาจระเข้ที่ ปรากฏชื่อว่า ด่างเกยไชย ท้าวแสนตา และพญาพันวัง เป็นต้น ซึ่งพญาจระเข้เหล่านี้ บางชื่อก็ปรากฏ กล่าวถึงอยู่ในวรรณคดีลือชื่อของไทยมาแต่โบราณ เช่น ที่กล่าวถึง ท้าวพันวั ง ไว้ในสมุทรโฆษคาฉันท์ ด้วยเหตุนี้เรื่องราวเล่าขานเกี่ยวกับจระเข้เหล่านี้ จึง น่าจะมีมาแต่โบราณนานไกล แต่ที่เรื่องราวพญา จระเข้ชื่อ ชาลวัน และถ้าชาลวันไปปรากฏร่าลือเป็นที่รู้จักกันมาก ก็คือชาลวันเมืองพิจิตร เห็นจะเนื่อง ด้วยมีสองสาวงามมีนามว่า ตะเภาแก้ว และตะเภาทอง ธิดาของท่านเศรษฐีอยู่ที่นั้น เรื่องราวของพญา ชาลวันและตะเภาทองจึงเป็นที่รู้กันแพร่หลาย เมื่อท่านได้ไปชมถึงถ้าชาลวัน และบ้านเมืองของตะเภา แก้ว ตะเภาทอง สองสาวชาวพิจิตรมาบ้างแล้ว ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


๑๘

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

คราวนี้ถ้าท่านล่องกลับลงมากรุงเทพฯ และเมื่อมีเวลาว่าง ก็นั่งเรือจากแถวท่าช้างวั งหลวง หรือถ้าเลี้ยวเข้าไปในคลองบางกอกน้อย ชั่ วระยะเวลาราวชั่วโมงครึ่งจะถึงตาบลบางขุนกอง อาเภอ บางกรวย จังหวัดนนทบุรี แล้วท่านก็จะมาถึงปากคลองแห่งหนึ่งทางซ้ายมือมีปากคลองกว้างราว ๒ วา เรือที่ท่านนั่งไปอาจไม่เลี้ยวเข้าลาคลองนั้นก็ได้ เพราะฤดูนี้เป็นฤดูแล้งมักตื้นเขิน ไม่สะดวกที่จะผ่าน เข้าไปเหมือนฤดูน้า แต่เรือของท่านจะเลี้ยวเข้าไปคลองนั้นหรือไม่ก็ตาม ท่านจะสังเกตเห็นศาลเจ้า ตั้งอยู่ที่ปากคลองฝั่ งขวา ผู้ผ่านไปมาเคยเล่าให้ฟังว่าเคยสังเกตเห็นมีศีรษะจระเข้ขนาดใหญ่ตั้งพิงอยู่ เหนือเครื่องบูชาบนศาลนั้น แสดงว่ายังมีผู้นับถือเซ่นไหว้ สังเวยอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้ ณ ปากคลอง ฝั่งซ้ายมือตรงกันข้ามกับที่ศาลเจ้าที่กล่าวถึงนี้ มีวัดอยู่วัดหนึ่ง เรียกกันว่าวัดบางนายไกรใน หรือเรียก ตามค าสามั ญ แถวถิ่ น นั้ น ว่ า วั ด บางนายไกร หรื อ บางไกร เล่ า กั น สื บ มาว่ า ณ แถวถิ่ น นี้ เ คยเป็ น นิวาสสถานของพระเอกผู้เรืองวิทยาคมในนิยายรักแห่งนาฏยคดีลือชื่อเรื่องไกรทอง ซึ่งท่านมหากวีเอก สุนทรภู่ของเราก็พรรณนาถึงไว้ ใน “นิราศพระประธม” ว่า บางนายไกรไกรทองอยู่คลองนี้ ไปเข่นฆ่าชาลวันให้พลันตาย ได้ครอบครองสองสาวชาวพิจิตร

ชื่อจึงมีมาทุกวันเหมือนมั่นหมาย เป็นเลิศชายเชี่ยวชาญผ่านวิชา ...................................................

เรื่องราวของตะเภาแก้ว, ตะเภาทอง, พญาชาลวัน และไกรทองดังกล่าวนี้ เดิมทีอาจมีความ จริงของท้องเรื่องบางตอนเกิดขึ้นในแถวท้องถิ่นจังหวัดพิจิตรและจังหวัดนนทบุรี มีมาแต่บรมโบราณก็ อาจเป็นได้ แต่รูปเรื่องอาจเป็นอย่างหนึ่งต่างหาก ครั้นมีคนชอบเล่าชอบฟังกันมากเมื่อเล่าขานกันสืบ ต่อแพร่หลายไปความวิจิตรพิสดารของเรื่องจึงมีมากขึ้นทุกทีเช่นเดียวกับเรื่องขุนช้างขุนแผน ครั้งตกมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จึงมีผู้นาเอานิยายเรื่องนี้มาแต่งขึ้นเป็นบทละครใช้ชื่อเรื่องว่า “ไกร ทอง” เป็นบทละครเรื่องไกรทองตอนต้นที่กล่าวกันมาว่า มีฉบับเหลือสืบมา แต่ละครเรื่องไกรทองใน สมัยอยุธยาจะมีผู้นิยมชมชอบสักเพียงใดหาทราบไม่ ตกมาในสมัยรัตนโกสินทร์นี้ก็ได้มีผู้นาเอาเรื่องไกร ทองมาแต่งเป็นบทละครอีกสานวนหนึ่ง เป็นความต่อมาจากฉบับที่ว่ามีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อใน รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงนาเอาเรื่องไกรทองมาทรงพระราชนิพนธ์ ขึ้นเป็นบทละคร ๒ ตอนคือ ตอนที่ ๑ “นางวิมาลาตามไกรทองออกจากถ้า” และตอนที่ ๒ “ไกรทอง ตามนางวิมาลากลับไปถ้า” (บทพระราชนิพนธ์ ๒ ตอนนี้ เรียกเป็นที่ หมายรู้ กันในวงการละครว่า ตอน “พ้อบนและพ้อล่าง”) และพระราชนิพนธ์ บทละครนอกเรื่องนี้ มีบทบาทเป็นพิเศษ แตกต่างจาก ท่าทางของละครในและละครนอกอื่น ๆ ปรากฏว่าเป็นที่นิยมกันแพร่หลาย เป็นเหตุให้เกิดศิลปินผู้ แสดงเป็นตัวไกรทองได้รับชื่อเสียงสมญาเป็นพิเศษสืบมาหลายชั่วคน เช่ น คุณน้อยงอก ไกรทอง ใน รัชกาลที่ ๒ และหม่อมแก้วไกรทอง ซึ่งต่อมาเป็นท้าวศรีสุนทรนาฏ ในรัชกาลที่ ๖ เป็นต้น ต่อแต่นั้นมา เรื่องไกรทองก็ กลายเป็น ที่นิย มแพร่หลายทั้ งในวงการนิย ายที่เล่ าขานและวงการละครในสมัย เล่ น ดอกสร้อยสักวาเมื่อครั้ งรัชกาลที่ ๓ ตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ ๕ บรรดานักเลงแต่งบทสักวาก็นิยมนา วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

๑๙

เรื่องไกรทองมา แต่งเป็นบทสักวาโต้ตอบกั น เมื่อเวลาลอยเรือเล่นตามแม่น้าลาคลองเป็นที่ชื่นบาน บันเทิงสาเริงรมย์ ต่อมาเมื่อปลายรัชกาลที่ ๕ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิป ประพันธ์พงศ์ได้ทรงนาเอา เรื่องไกรทองตอนต้นมาแต่งขึ้นเป็นบทละครอีกสานวนหนึ่ง และทรงตัดบทเป็น ๖ ฉาก แต่ทรงเรียกว่า “ชุด” ดาเนินความตั้งแต่ชาลวันพญาจระเข้กับตะเภาทองสาวชาวพิจิตรสุขสาราญอยู่ด้วยกันในถ้าทิพย์ จนถึงไกรทองรับอาสา ตามเข้าไปปราบชาลวันสาเร็จ แล้วพาตะเภาทองขี่หลังชาลวันกลับขึ้นบก บทละครไกรทองพระราชนิพนธ์ ของสมเด็จในกรมพระนราธิปประพันธ์ พงศ์เรื่องนี้ ทรงแต่ง ขึน้ ไว้ เป็นอย่างที่เรียกว่า “ละครพันทาง” แตกต่างจากละครไทยแบบอื่น แต่เหมาะสมกับบทบาทของ ตัวละครเป็นอย่างยิ่ง ด้วยมีท่ารากระปรี้กระเปร่าเพราพริ้ง มีเชิงละครนอกกลาย ๆ แต่แทรกละครใน ไว้ให้เห็นงามในบางตอน เพลงร้องของตัวละครและดนตรีก็ทรงดัดแปลงให้เหมาะสมแก่ทีท่าของตัวละคร ด้วยทรง แทรกวิธี การของเสภาราผสมเข้าไว้ ให้ดาเนินเรื่องได้ไม่ชักช้าทั้งเปิดช่องให้แทรกตลกขบขันได้ตาม ท้องเรื่องด้วยอาจเรียกว่า “ละครเสภา” ก็ได้ หลังจากได้มีบทละครเรื่องไกรทองสานวนนี้เกิดขึ้นแล้ว ต่อแต่นั้นมาก็ได้มีละครนิยมนาเอาเรื่องไกรทอง พระราชนิพนธ์ของสมเด็จในกรมพระนราธิปประพันธ์ พงศ์ไปแสดงกันแพร่หลาย บรรดาครูอาจารย์ทางนาฏศิลป์พิจารณาเห็นกันว่า บทละครเรื่องไกรทอง พระราชนิพนธ์ของ สมเด็จในกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์เรื่องนี้ เป็นแบบฉบับของละครไทยที่มีชั้นเชิงของศิลปะ น่าดูน่า ชมอีกแบบหนึ่ง จึงนามาเป็นบทฝึกหัดศิลปินของกรมศิลปากร และนาออกแสดงให้ประชาชนได้มี โอกาสชมนาฏศิลป์เรื่องนี้ แต่เริ่มแสดงตั้งแต่ชุด “ไกรทองอาสา” เป็นต้นไป และตัดบทไปบ้างบาง ตอนด้วยมุ่งหมายให้เหมาะแก่เวลา และตัวผู้แสดง แม้การแสดงของกรมศิลปากรจะไม่เต็มตามบทพระ นิพนธ์เดิมด้วยได้เลือกคัดตัดท่อนไปบ้างเป็นบางตอนและบางส่วน แต่ก็เป็นไปด้วยความเคารพเป็น อย่างยิ่ง ในพระองค์ผู้ทรงนิพนธ์ ในโอกาสนี้ บรรดานักเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป ข้าราชการศิลปินและครูบาอาจารย์ของกรม ศิลปากรขอถวายความเคารพสักการะแด่พระองค์ผู้ทรงนิพนธ์บทละครเรื่องไกรทอง ด้วยความสานึ ก ในพระกรุณาธิคุณ กรมศิลปากร บทความดังกล่าวข้างต้น เป็นความนาที่ปรากฏอยู่ในสูจิบัตรละครเรื่องไกรทอง ซึ่งกรมศิลปากร จัดแสดง ณ โรงละครศิล ปากร พ.ศ. ๒๔๙๒ ดาเนินเรื่องตามบทพระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ จัดแสดง ๔ ฉาก คือ ฉากที่ ๑ ริมแม่น้าเมืองพิจิตร ตอนที่ ๑ บนตลิ่งริมฝั่งแม่น้า ตอนที่ ๒ บนกุฏิพระอาจารย์คง ฉากที่ ๒ ภายในถ้าทิพย์ใต้น้า ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


๒๐

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

ฉากที่ ๓ ริมฝั่งน้า หน้าบ้านเศรษฐีเมืองพิจิตร ฉากที่ ๔ ภายใต้น้า ตอนที่ ๑ หน้าถ้าทิพย์ ตอนที่ ๒ ภายในถ้าทิพย์ แห่งเดียวกับฉากที่ ๒ ผู้แสดงเป็นนาฏศิลปินของกรมศิลปากร มี ๒ ชุด คือ ศิลปินชาย และศิลปินหญิง ผลัดเปลี่ยน กันแสดงชุดละ ๑ สัปดาห์ สาหรับรายนามผู้แสดง ที่สาคัญประกอบด้วย ชุดศิลปินชาย ไกรทอง อาคม สายาคม อาจารย์คง สาย แย้มแจ่มจันทร์ ชาลวัน (มนุษย์) อร่าม อินทรนัฏ ชาลวัน (จระเข้) หยัด ช้างทอง วิมาลา เจริญจิต ภัทรเสวี เลื่อมลายวรรณ กรองกาญจน์ โรหิตเสถียร ตะเภาทอง สืบพงศ์ สวัสดิเกียรติ ชุดศิลปินหญิง ไกรทอง สุวรรณี ศรีบุญรัน์ ชาลวัน (มนุษย์) อบเชย ทิพโกมุท ชาลวัน (จระเข้) ชะม้อย ธารีเธียร วิมาลา กรองกาญจน์ โรหิตเสถียร เลื่อมลายวรรณ สินีนาฏ โพธิเวส ตะเภาทอง สืบพงศ์ สวัสดิเกียรติ ควบคุมการฝึกซ้อมโดย ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี และครู อาจารย์นาฏศิลป์ ของกรมศิลปากร สานักการสั งคีต กรมศิลปากร กาหนดจัดการแสดงละครนอกเรื่ องไกรทอง ตอนไกรทอง อาสา–ปราบชาลวัน ในรายการนาฏกรรมสังคีต ประจาปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ดังนี้ ๑. วันอาทิตย์ที่ ๑, ๘ กรกฎาคม และ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ ณ โรงละครแห่งชาติ ๒. วันเสาร์ที่ ๑๔ กรกฎาคม และ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี ๓. วันอาทิตย์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๕ ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัด นครราชสีมา ลักษณะของการแสดงในครั้ งนี้ ใช้ผู้ชายแสดงล้วน แต่งกายยืนเครื่องตามรูปแบบละครนอก เว้นแต่ตัวละครไกรทอง จะแต่งกายตามสภาพความเป็นจริง เพื่อความสะดวกในการแสดง มุ่งเน้นการ ดาเนินเรื่องรวดเร็วเจราตลกขบขัน กระบวนท่า รา และรูปแบบการแสดง มีลักษณะเฉพาะตามแบบที่ วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

๒๑

ใช้ผู้ชายแสดงล้วน มีความแตกต่างจากการแสดงละครนอกที่ใช้ ผู้หญิงแสดงล้วน หรือชายจริงหญิงแท้ ตามองค์ประกอบต่าง ๆ ของการแสดงอันมีเนื้อเรื่องย่อ ดังนี้ ชาลวัน พญาจระเข้อาศัยอยู่ในถ้าทิพย์ใต้น้าเมืองพิจิ ต ร มีภ รรยา ๒ คน คือ วิมาลา และ เลื่อมลายวรรณ ภายในถ้าทิพย์มีความสว่างไสวดังเช่น ตอนกลางวัน จระเข้อาศัยอยู่ในถ้านี้มีร่างเป็นมนุษย์ อิ่มทิพย์โดยไม่ต้องกินอาหาร ชาลวันนั้น จิตใจพาลชอบกินมนุษย์ตามวิสัยจระเข้ มิได้รักษาศีลครองสัตย์ เช่นท้าวราไพผู้เป็นปู่ วันหนึ่ง ชาลวันรู้สึกจิตใจเร่าร้อน คิดจะออกไปนอกถ้าทิพย์เที่ยวหามนุษย์กินเป็นอาหาร จึงสั่ง ให้วิมาลาและเลื่อมลายวรรณอยู่ดูแลรักษาถ้าทิพย์และบริเวณให้เรียบร้อย เมื่อชาลวันออกจากถ้าทิพย์ ก็กลายร่างเป็นจระเข้ว่ายน้าไปตามท้องน้าจนมาพบตะเภาทอง ตะเภาแก้ว สองธิดาเศรษฐีเมืองพิจิตร กาลังเล่นน้ากับบริวารสาวใช้อยู่ที่ท่าน้าหน้ าบ้าน ชาลวันนึกรักนางตะเภาทองผู้มีรูปโฉมงดงามจึงตรง เข้าคาบร่างนางตะเภาทองดาดิ่งลงสู่ถ้าทิพย์ ชาลวันในร่างมนุษย์แก้ไขจนนางตะเภาทองฟื้นคืนสติและ เข้าเกี้ยวพาราสี ฝ่ายนางตะเภาทองเห็นชาลวันมีรูปร่ างสวยงาม อีกทั้งก็มิรู้ที่จะทาประการใดจาต้อง ยินยอมเป็นภรรยา นางวิมาลารู้ว่าชาลวันไปได้นางมนุษย์มาเป็นภรรยาใหม่ จึงชักชวนนางเลื่อมลายวรรณไปดูที่ ในห้อง เห็นชาลวันนอนหลับอยู่ส่วนนางตะเภาทองนั่งอยู่คนเดียว ก็พูดจาถากถางด้วยความหึงหวงจน เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น กล่าวถึงเศรษฐีเมืองพิจิตรบิดานางตะเภาทอง รู้ว่าจระเข้คาบลูกสาวไปและสาคัญผิดว่ านาง ตะเภาทองตายแล้ว สั่งบ่าวไพร่ค้นหาศพแต่ไม่พบจึงป่าวประกาศหาคนดี มีวิชาปราบจระเข้หากสาเร็จ จะยกนางตะเภาแก้วให้เป็นภรรยา และจะแบ่งทรัพย์สมบัติให้ค รึ่งหนึ่ง ข่าวล่วงรู้ไปถึงไกรทองชาย หนุ่มชาวเมืองนนทบุรี มีอาชีพล่องเรือไปค้าขายอยู่ที่เมืองพิจิ ตร จึงศึกษากับอาจารย์คงผู้ประสิทธ์ ประสาทวิชาความรู้ อาจารย์คงมอบหอกสัตตะโลหะ ศาสตราวุธที่สามารถมาทาลายพญาจระเข้ได้ ไกรทองออกเดินทางมายังบ้านเศรษฐีเพื่อขอรับอาสา ชาลวันอยู่กับวิมาลาในถ้า ฝันว่าไฟไหม้ถ้าทิพย์ และเทวดาถือพระขรรค์เข้ามาฟาดฟันชาลวั น สาวไส้ออกให้กากิน ทาให้ชาลวั นตกใจตื่นขึ้น จึงเล่า ความฝันให้วิมาลาฟัง วิมาลารู้ว่าเป็นฝันร้าย แนะนาให้ไปแก้ฝันกับท้าวราไพ ท้าวราไพกล่าวตักเตือน ให้ชาลวันหยุดทาบาป และห้ามออกนอกถ้า ขณะเดียวกันไกรทองก็ทาพิธีอ่านอาคม ด้วยอานาจมนตร์ บันดาลให้ชาลวันเกิดความกลัดกลุ้ม ไม่อาจทนอยู่ในถ้าได้ จนต้องทาลายปากถ้าออก ชาลวันกลายร่างเป็นจระเข้ว่ายน้ามายังโรงพิ ธี แลเห็นไกรทองอยู่บนแพก็รู้ว่าเป็นศัตรู เข้า ต่อสู้หมายจะทาร้ายไกรทอง ด้วยเดชะวิทยาคมช่วยป้องกันไกรท้องได้ แต่ชาลวันกลับถูกไกรทองแทง จนได้รับบาดเจ็บแสนสาหัส เมื่อรู้ว่าสู้ไม่ได้ก็หนีกลับลงไปในถ้า ไกรทองจุดเทียนระเบิดน้าตามลงไป พบนางวิมาลาจึงไต่ถามว่ าชาลวันอยู่ที่ใด นางวิมาลาไม่ยอมบอก ชาลวันได้ยินเสียงก็ออกมาทั้ง ที่ยัง ได้รับบาดเจ็บอยู่ ทั้งชาลวันและไกรทองเข้าสู้รบกันอีกครั้ง ในที่สุดชาลวันก็เป็นฝ่ายพ่ ายแพ้ ถูกไกร ทองจับตัวมัดไว้ ไกรทองออกตามหานางตะเภาทองจนพบ จากนั้นไกรทองพานางตะเภาทองขี่หลัง จระเข้ชาลวันขึ้นไปยังเหนือน้าสู่บ้านของเศรษฐี ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


๒๒

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

ท่าราในการแสดงละคร ชวลิต สุนทรานนท์ เรียบเรียง ที่มา ศิลปะการฟ้อนราต้นกาเนิดอารยธรรมมาจากประเทศอิ นเดีย ซึ่งประเทศไทยได้รับอิทธิ พล อารยธรรมต่าง ๆ ของอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นลัทธิ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่างตลอดจน ศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ และโดยเฉพาะท่า ราของไทยซึ่งเชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียดังจะกล่ าว ต่อไปนี้ ๑. ตานานการฟ้อนรา ๒. ตาราราของไทย ๓. การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น ๑. ตานานการฟ้อนรา นายธนิต อยู่โพธิ์ ได้กล่าวไว้ว่า “ได้พิจารณาเห็นว่าท่าราต่าง ๆ ในคัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์นั้น คงจะได้เคยแพร่หลายเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยมาแต่เบื้องบรรพกาลซึ่งอาจเป็นได้ว่า ครูบาอาจารย์ ชาวอินเดียแต่ก่อนเป็นผู้นาเข้ามาสั่งสอนหรืออาจเป็นได้ว่ าครูบาอาจารย์ชาวไทยได้ไปศึกษาเรียนรู้ และนาเข้ามาอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าได้พบแสดงท่าราบางท่าคล้ายกับท่ารา ในคัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์” ตาราฟ้อนราของหอสมุดวชิรญาณฯ ตอนที่ ๑ ได้กล่าวถึงตาราการฟ้อนรา และภาพลายเส้นกรณะของนาฏศิลป์อินเดียที่คัดลอกมาจากฝาผนังเทวสถานในแคว้ นมัทราส อินเดีย ตอนใต้ ถึงตานานการฟ้อนราของอินเดียตามที่ปรากฏใน “โกยิ่ลปุราณะ” ไว้ดังนี้ “ในกาลครั้งหนึ่งมีฤๅษีพวกหนึ่งตั้งอาศรมบาเพ็ญพรตอยู่กับภรรยาในป่ าตาระคา ต่อมาฤๅษี พวกนี้ประพฤติอนาจารฝ่าฝืนบัญญัติ ร้อนถึงพระศิวะต้องชวนพระนารายณ์ลงมาปราบ พระศิวะทรง แปลงเป็นโยคีหนุ่มรูปงาม พระนารายณ์ทรงแปลงองค์เป็นภรรยาสาวรูปสวย ทั้งนี้เพื่อล่อให้พวกฤๅษี และภรรยาเกิดความหลงใหลในความรูปงาม เพราะอานาจราคะจริตจนเกิดการวิวาทแย่งชิ งกันใน บรรดาฤๅษีและภรรยาด้ว ยกัน เอง แต่พระเจ้าทั้งสองไม่ปลงใจด้ว ย เมื่อฤๅษีและภรรยามิประสบ ความสาเร็จแต่อย่างใด จึงทาให้ฤๅษีเหล่านั้นเกิดโทสะ พากันสาปแช่งพระผู้เป็นเจ้าทั้งสอง แต่พระศิวะ และพระนารายณ์หาได้รับอันตรายไม่ พวกฤๅษีจึงเนรมิตเสือขึ้นตัวหนึ่งเพื่อจะฆ่าโยคีปลอมและภรรยา ให้ตาย พระศิวะจึงต้ องฆ่าเสือแล้วทรงถลกหนังเสือมาทาเป็นเครื่องแต่งองค์เสีย พวกฤๅษีพากันใช้ อานาจเวทมนต์เนรมิตพญานาคขึ้นอีกตัวหนึ่งเพื่ อให้พระผู้เป็นเจ้าทั้งสองถึงแก่ความตาย พระศิวะจึง จับพญานาคตัวนั้นมาพันพระวรกายทาเป็นสังวาลประดับองค์ ต่อจากนั้นก็ทรงปาฏิหาริย์ด้วยการ เต้นราท่าทางอยู่ไปมา แต่พวกฤๅษียังไม่สิ้นฤทธิ์จึงเนรมิต ยักษ์ค่อมมีกายสีดาสนิทขึ้นตนหนึ่งชื่อว่า “มุย ะละคะ” เมื่อพระศิว ะเห็น ดังนั้น จึงใช้พระบาทขวาเหยียบยักษ์มุยะละคะจนหลังหักแล้วทรง ฟ้อนราอยู่บนหลังยักษ์ตนนั้นออกไป จนหมดกระบวนฟ้อนราเมื่อฤๅษีเห็นดังนั้นก็สิ้ นทิฐิยอมรับผิด ทูลขอขมาและให้สัญญาว่าจะปฏิบัติตนอยู่ในเทวบัญญัติอย่างเคร่งครัดต่อไป วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

๒๓

ต่อมาพญาอนันตนาคราช ซึ่งเป็นบัลลังก์นาคของพระนารายณ์ ได้ฟังพระนารายณ์ทรงเล่าเรื่อง ถึงการฟ้อนรา ของพระศิวะที่ป่า “ตาระคา” มีความประสงค์ที่จะได้ดูการฟ้ อนราของพระศิวะบ้าง (ในบางตาราว่าการปราบฤๅษีในครั้งนั้นพญาอนันตนาคราชได้เสด็จด้วย) พญาอนันตนาคราชจึงทูล พระนารายณ์ให้ช่วยทูลพระศิวะให้ฟ้อนราให้ดูอีก พระนารายณ์จึงทรงแนะนาให้พญาอนันตนาคราช บาเพ็ญพรตบูชาพระศิวะเพื่อขอพร แล้วจะได้ทุกสิ่งตามต้องการ พญาอนันตนาคราชกระทาตามและ เมื่อได้พบพระศิว ะ ก็ทูล ขอดูก ารฟ้ อ นราพระศิว ะทรงรับ คาว่าจะลงมาฟ้ อ นราให้ดูในมนุษย์โ ลก ณ ตาบลที่มีชื่อว่ า “จิทัมพรัม” ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของโลก ให้พญาอนันตนาคราชมาคอยดู ครั้นถึง วัน กาหนดพระศิว ะเสด็จ ลงมายัง “ติล ไล” หรือ “ตาบลจิทัมพรัม ” (ในแคว้ นมัทราช) ทรงเนรมิต “นฤตสภา” ขึ้นแล้วทรงฟ้อนราตามที่เคยประทานสัญญาแก่พญาอนันตนาคราชอีกวาระหนึ่ง ในกาลต่อมาพระศิว ะ มีพระประสงค์จะแสดงฟ้ อนราให้เป็นแบบฉบับ ตามคาทูล ขอของ พระภรตฤษีซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับพระราชบัญชามาจากพระพรหม ให้เป็นผู้รวบรวมตาราการฟ้อนราอีกทีหนึ่ง จึงเชิญพระอุมาให้ประทับเป็นประธานเหนือสุวรรณบัลลังก์ ให้พระสรัสวดีดีดวีณา (พิณ) พระอินทร์ เป่าขลุ่ย พระพรหมทรงฉิ่ง พระลักษมีขับร้อง พระนารายณ์ตีโทน และพระศิวะทรงฟ้อนราให้พระภรตฤๅษี บันทึกท่าราของพระศิวะไว้ทุกกระบวนรา เพื่อเป็นตาราสั่งสอนการฟ้ อนราให้แก่บรรดามนุษย์โลก ต่อไป” จากตานานการฟ้ อนร าดังกล่าว ชาวอินเดียถือว่าเมืองจิทัมพรั ม (ในแคว้ นมัทราส) อยู่ ใน ประเทศอินเดียข้างฝ่ายใต้ เป็นที่ที่พระศิวะได้เสด็จลงมาฟ้อนราให้มนุษย์โลก ในภายหลัง พ.ศ.๑๘๐๐ จึงได้สร้างเทวรูปปางนาฏราช พระศิวะทรงฟ้อนราครบทั้ง ๑๐๘ ท่า ตามที่ปรากฏในตารานาฎยศาสตร์ รจนาโดยพระภรตฤๅษี จะเห็นได้ว่าหลักฐานที่กล่าวถึงในตอนต้น ท่าราของไทยได้รับอิทธิพลมาจากท่าราของอินเดีย ซึ่งกล่าวถึงพระศิวะได้เสด็จลงมาฟ้ อนราให้มนุษย์โลกชม ณ ตาบล จิทัมพรัม แคว้นมัทราชในอินเดีย ตอนใต้ การฟ้อนราของพระศิวะ ได้มีการบันทึกท่าราและรวบรวมเป็นตาราฟ้ อนรา โดยพระภรตฤษี ตาราดังกล่าวสันนิษฐานว่าคือ ตารานาฎยศาสตร์ และภายหลัง พ.ศ. ๑๘๐๐ ได้มีการสร้างเทวรูป ปางนาฏราชแสดงท่ารา ๑๐๘ ท่า ที่พระศิวะแสดงท่าราไว้ จึงถือว่าเป็นหลักฐานที่สาคัญของตานาน ฟ้อนราของอินเดีย ๒. ตาราของไทย ตาราร าของไทยอาจกล่ าวไว้ว่ า ได้ รับ อิ ทธิ พลจากตารานาฎยศาสตร์ ข องอิน เดี ย ซึ่งพวก พราหมณ์นาเข้ามาเผยแพร่ พร้ อมกับศาสนาพราหมณ์ เข้าใจว่ าจะเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่ส มัย สุโขทัยและมีตาราราของไทยที่ใช้สืบทอดกันมาดังนี้ ๑. รวบรวมในหอพระสมุดเก่าแก่ที่สุดสร้างขึ้นในรั ชการที่ ๑ เป็นตาราท่าราต่าง ๆ เขียนรูป ระบายสีปิดทอง มีเฉพาะตอนต้น ส่วนตอนปลายขาดหายไป ๒. ตาราท่าราเหมือนกับเล่ม ๑ แต่เขียนฝุ่นเป็นลายเส้นเดียว ฝีมือช่างรัชกาลที่ ๒ มีภาพท่ารา บริบูรณ์ถึง ๖๖ ท่า สมุดเล่มนี้ได้มาแต่ในพระราชวั งบวรฯ คัดสาเนามาจากเล่มรัชกาลที่ ๑ และท่ารา ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


๒๔

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

ที่ขาดไปจากเล่มในรัชกาลที่ ๑ อาศัยหลักฐานจากสมุดตาราทั้ง ๒ เล่ม จึงสันนิษฐานได้ว่า ตารารามี มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแต่หายไปเมื่อครั้งเสียกรุงฯ ครั้นถึงรัชกาลที่ ๑ จึงได้โปรดเกล้าฯให้ประชุมพวก ครูละครทาตาราท่าราขึ้นใหม่ไว้เป็นแบบแผนสาหรับพระนคร ๓. สมเด็จ ฯ กรมพระยาดารงราชานุภ าพทรงกล่า วไว้ใ นหนัง สือ ตาราฟ้ อ นรา ตอนที่ ๓ หน้า ๔๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว รัช กาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เพือ่ พระราชทานแจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจุฑาธุช ธราดิลกกรมขุนเพชรบูรณ์อิ นทราชัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ความว่า “ไทย พม่า ชวา แม้จะหัดฟ้อนรา ตามแบบอินเดียด้วยกัน แต่กระบวนราผิดกันไปตามนิยมของชาตินั้น” ๔. หนังสือฟ้อนราฉบับหอสมุดวชิรญาณฯ นั้นถือเป็นตาราฟ้อนราเล่มแรกที่ได้รวบรวมพิมพ์ขึ้น เป็นรูปเล่มหนังสือที่แตกต่างไปจากภาพเขียนลายเส้นท่าราแม่ท่าในมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีเนื้อความ แบ่งเป็น ๓ ตอนดังนี้ ตอนที่ ๑ กล่าวถึงตานานการฟ้อนราและภาพลายเส้นกรณะของนาฏศิลป์อินเดียที่คัดลอก มาจากฝาผนังเทวสถานในแคว้นมัทราส อินเดียตอนใต้ ตอนที่ ๒ เป็นตาราราของไทย กล่าวถึงกลอนตาราราแม่บทใหญ่ซึ่งมีมาแต่โบราณจาสืบต่อ กันมาแบบมุขปาฐะไม่ปรากฏนามผู้แต่ง มีอยู่ ๑๘ คากลอน ชื่อแม่ท่ามี ๖๔ ท่า และบทนางนารายณ์ จากพระราชนิ พ นธ์ บ ทละครเรื่ อ งรามเกี ย รติ์ ใ นรั ช กาลที่ ๑ มี ๘ ค ากลอน ชื่ อ แม่ ท่ า มี ๒๐ ท่ า นอกจากนี้มีกลอนไหว้ ครูชาตรีอีก ๑ บท ๑๗ คากลอน ในตอนที่ ๒ นี้ มีภาพเขียนลายเส้นแม่ท่าละคร เลียนแบบภาพลายเส้นในรัชกาลที่ ๑ ตอนที่ ๓ กล่าวถึงเพลงฟ้อนรา มีภาพถ่ายประกอบเป็นแม่ท่าบางท่าของละครชาตรี เมือง นครศรีธรรมราช ในรัชกาลที่ ๖ ซึ่งหมื่นระบาบรรเลง (คล้ายพรหเมศร) ครูละครชาตรีมีชื่อเสียงของ นครศรีธรรมราชสมัยนั้นพร้อมด้วยศิษย์เป็นผู้แสดงท่ า นอกจากนี้มีท่าราแม่ท่าของแม่บทใหญ่ ซึ่งมิได้ เรียงลาดับท่าราตามบทกลอนตารารา หากแต่เรียงท่าราตามชื่อท่าที่ออกเสียงสัมผัสคล้องจอง เช่น “เทพประนม ปฐม พรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลา ช้านางนอน ผาลาเพียงไหล่ พิสมัยเรียงหมอน กังหันร่อน แขกเต้าเข้ารัง กระต่ายชมจันทร์ พระจันทร์ทรงกลด พระรถโยนสาร จ่อเพลิงกาฬ หนุมานผลาญยักษ์ พระหริรัก ษ์โ ก่ง ศิล ป์ คชริน ทร์ป ระสานงา ช้า งสะบัด หญ้า ขี่ม้า ตีค ลี สารถีชัก รถ กรดพระสุเ มรุ ตระเวนเวหา นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา ชักแป้งผัดหน้า เหราเล่นน้า กินรินเลียบถ้า ยั้งคิด ประดิษฐ์ท่ารา ฯลฯ” สาหรับชื่อท่าราต่าง ๆ ในตาราของไทย ถ้าพิจารณาดูจะเห็นว่าปะปนหลายชั้น ชั้นเดิมอาจจะ ตรวจตรงคาแปลจากตาราอินเดีย ชั้นต่อมาคงจะมีที่คลาดเคลื่อนเลือนจากคาเดิม โดยบอกเล่าสืบกัน มาหลายทอด ที่คิดประดิษฐ์ใหม่ในชั้นหลังก็มี ที่กล่าวมานี้ เห็นได้ในคากลอนของเก่าว่าด้วยตาราท่ารา มีอยู่ ๓ บท คือ ๑. บทกลอนสุภาพ แต่งบอกท่าตาราราไว้แต่โบราณ ๒. บทละครเรื่ องรามเกีย รติ์ พระราชนิพนธ์ ในรัช กาลที่ ๑ ตอนนารายณ์ล่ อนนทุก (หรือ ปราบนนทุก) ซึง่ แต่ละท่าเฉพาะทีจ่ ะราในบทนั้น เป็นคากลอนเรียกว่า บทนางนารายณ์ วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

๒๕

๓. คาไหว้ครูของพวกละครชาตรี (โนห์ราเมืองนครศรีธรรมราช) ๕. หนังสือนาฏยศาสตร์ตาราราของ ร.ต.ท.แสง มนวิทรู แปลจากคัมภีร์นาฎยศาสตร์ของ ภรตมุนี ที่เป็นฉบับสันสกฤตซึ่งกรมศิลปากรเป็นผู้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยนายธนิต อยู่โพธิ์ ได้กล่าวไว้ว่า “ได้พิจารณาเห็นว่าท่าราต่าง ๆ ในคัมภีร์ภรตนาฎยศาสตร์นั้นคงจะได้เคยเผยแพร่เข้ามา สู่ดินแดนไทยมาตั้งแต่เบื้องบรรพกาล อาจเป็นได้ว่าครูอาจารย์ชาวอินเดียแต่ก่อนเป็นผู้นามาสอนหรือ อาจเป็นได้ว่าครูอาจารย์ของไทยได้ไปศึกษาเรียนรู้แล้วนาแบบอย่างใดอย่างหนึ่งก็อาจเป็นได้เพราะมี หลักฐานส่อแสดงให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น เช่น เครื่องปูนปั้นดินเผาสมัยทวารวดีบางชิ้น และปติมาหล่อ สาริดสมัยลพบุรีบางรูปแสดงท่าราบางท่า คล้ายกับท่าราในคัมภีร์ภรตนาฎยศาสตร์” จะเห็นว่าหลักฐานตาราราของไทยได้รับอิทธิพลมาจากตารานาฎยศาสตร์ ของอินเดียโดยพวก พราหมณ์ นาเข้ามาเผยแพร่ตามหลักฐานที่ ปรากฏซึ่งเป็นเพียงภาพเขียนลายเส้ น ครั้นในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดเกล้าให้ครูละครรวบรวมไว้เป็นตาราราใช้ในพระนคร และต่อมาในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการรวบรวมหนังสือตาราราที่ถือ ว่าเป็นตาราราเล่มแรก คือ ตาราฟ้อนราฉบับหอวชิรญาณ ซึ่งต่างจากภาพเขียนลายเส้นท่า ราในสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ เป็นกลอนตารารามี ๑๘ คากลอน มีชื่อแม่ท่า ๖๔ ท่า โดยเล่าสืบต่อกันมาแบบมุข ปาฐะและได้รวบรวมเป็นภาพถ่ายท่าราต่าง ๆ ตามกลอนตาราราแม่บทสืบทอดกันมา จนเป็นท่ารา มาตรฐานปรากฏสาหรับใช้ในการฝึกหัดท่าราเบื้องต้น ๓. การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทยเบื้องต้นในที่นี้ หมายถึงการฝึกหัดเฉพาะในวิทยาลัยนาฏศิลป เมื่อนักเรียน สมัครเข้าเรียนในวิทยาลัยนาฏศิลป จะมีการคัดเลือกตามวิธีการคัดเลือก แบ่งเป็น พระ นาง ยักษ์ ลิง จะเริ่มการฝึ กหัด รา “แม่ท่า” ส่วนพระ นาง จะเริ่มฝึกหัด “ราเพลง” หมายถึง เรียกตามชื่ อเพลง ในทางปี่พาทย์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดารงราชานุภาพทรงกล่าวถึงท่ารา “ราเพลง” ไว้ในตานานละครอิเหนาว่า “การฟ้อนราเป็นหลักของวิชาละคร (รา) เพราะฉะนั้นผู้เป็นครูบาอาจารย์ แต่ก่อนจึงคิดแบบราเป็นท่าต่าง ๆ ตั้งชื่อบัญญัติไว้ให้เรียกเป็นตาราแล้วคิดร้อยกรองท่าราต่าง ๆ นั้น เข้ากระบวนสาหรับท่าราเข้าเพลงปี่พาทย์เรียกว่า “ราเพลง” อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งสาหรับราเข้ากับ บทร้อง เรียกว่า “ราใช้บท” บรรดาผู้ที่จะฝึกหัดละคร ฝึกหัดตั้งแต่ยังเด็ก ครูให้หัดราเพลงก่อน แล้ว ฝึกหัดราใช้บท เมื่อราได้แล้วครูจึง “ครอบ” คืออนุญาตให้เล่นละคร แต่นั้นไปจึงนับว่าเป็นละคร” ดังนั้น การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น ตัวยักษ์ ลิง เริ่มจากการฝึกแม่ท่า ส่วนตัวพระ นาง เริ่มจากการ หัดเพลงช้าเพลงเร็ว ซึ่งถือว่าเป็นเพลงพื้นฐานสาหรับการฟ้อนรา เพราะไม่ว่าการฟ้อนรา ไม่ว่าจะเป็น ระบา รา ฟ้อน หรือแม้กระทั่งการแสดงตามบทบาทของพระเอก นางเอก ปู่ ย่า ตา ยาย คงจะไม่พ้น ท่าราในเพลงช้า เพลงเร็ว ที่เป็นสิ่งสาคัญในการพัฒนาหรือคิดประดิษฐ์ท่า ราการแสดงชุดต่าง ๆ ได้ เป็นอย่างดี หลังจากฝึกราเพลงช้า - เพลงเร็ว แล้ว ครูจะหัดให้ราเพลงหน้าพาทย์ชั้นต้นอื่นๆ ได้แก่ เพลงเชิด เพลงเสมอ และรัว เมื่อราเพลงเหล่านี้ได้แล้ว ครูก็จะหัดให้นักเรียนราใช้ บท คือ ท่าแม่บทใหญ่ และ ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


๒๖

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

แม่บทเล็กคือ ราตามบทขับร้องทานองเพลงชมตลาด บอกชื่อท่า ราตามบทร้อง คือ เทพพนม ปฐม พรหมสี่หน้า เป็นต้น ราตีบทในการแสดงละคร การตีบท หรือเรียกอีกอย่างว่า “ราใช้บท” คือ การแสดงท่าทางแทนคาพู ดรวมทั้งการแสดง อารมณ์ด้วย เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจ หรือผู้ชมสามารถเข้าใจความหมายได้ ด้วยการแสดงท่าทางของ ผู้แสดง การตีบทนี้เป็นการแปลความหมาย และถือเป็นการใช้ ภาษาอย่างหนึ่ง เพราะในการแสดง ความรู้สึกนึกคิดให้บุคคลอื่นเข้าใจนั้น มิใช่อาศัยเพียงคาพู ดอย่างเดียว สามารถใช้ท่าทางตลอดจน สีหน้าประกอบด้วย และในบางครั้งการใช้ท่าทางนี้สื่อความหมายได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่ต้องอาศัย คาพูดเลยก็มี เช่น การส่ายหน้าไปมาแสดงถึงการปฏิเสธ ผู้ที่พูดด้ว ยสามารถเข้าใจได้ทันที หรือ การพยักหน้าเป็นการตอบรับ บทโขนละครของไทยที่แต่งกันในสมัยก่อน เริ่มแรกทีเดียวก็จะแต่งเป็น ลักษณะดาเนินเรื่ องด้วย บทกลอน เมื่อจะนามาแสดงจะต้องมีการตีความหมาย โดยเลือกใช้กิริยา อาการ ตลอดจนท่ า ทางต่ า ง ๆ เพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งสั ม พั น ธ์ กั บ บทกลอนเหล่ า นั้ น หากการตี บ ทไม่ สอดคล้องสัมพันธ์ กันบทกลอนเหล่ านั้น ก็จะทาให้อรรถรสในด้านการแสดงลดหรือด้อยลงไป การรา ตีบทประกอบการแสดงละคร แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะได้แก่ ๑. การราตีบทประกอบคาร้อง ๒. การราตีบทประกอบคาเจรจา ๓. การราตีบทประกอบเพลงหน้าพาทย์ ๑. การราตีบทประกอบคาร้อง หลักสาคัญที่จะต้องคานึงถึงก็คือ การใช้ท่าราตีบทประกอบ เพลงร้ อ งหรื อ การตี บ ทประกอบค าร้ อ ง ไม่ ค วรตี บ ททุ ก ค า แต่ จ ะใช้ ท่ า ร าหรื อ ตี บ ทเฉพาะค าที่ มี ความหมายเด่นชัด และคานึงถึงลีลาและท่วงทีในการรา ให้เหมาะกับทานองเพลงเป็นสาคัญ เพื่อให้ สอดคล้องกับบทเพลง การใช้ท่าราหรือการตีบทประกอบเพลงร้อง สิ่งสาคัญผู้ราจะต้องเข้าใจจังหวะ และทานองเพลง จึงจะทาให้ผู้ราสามารถใช้ท่าราหรือตีบทได้ตรงตามคาร้องและทานองเอื้อนของเพลง ๒. การราตีบทประกอบเจรจา ซึ่งมีทั้งการเจรจาแบบที่เป็น คากลอน กับการเจรจาแบบร้อย แก้วหลักสาคัญในการตีบทประกอบคาเจรจา มักนิยมตีบทในลักษณะรวบคา หรือตีบทในช่วงท้ายของ คาจะตีบทน้อยกว่าการตีบทประกอบคาร้อง คานึงถึงลีลาการใช้บทที่สง่างาม ๓. การราตีบทประกอบเพลงหน้าพาทย์ การตีบ ทประกอบเพลงหน้าพาทย์ เป็นการใช้ ท่ารา หรื อตีบ ทเพื่อสื่ อความหมายให้ ผู้ ดูได้เข้าใจว่าผู้ แสดงกาลั งทาอะไร จะไปที่ไหน หลั กในการตีบท ประกอบเพลงหน้าพาทย์มักนิยมใช้ท่า ราหรือตีบท เพื่อที่จะบอกแก่ผู้ชมว่า ตัวละครกาลังจะไปที่ไหน หรือกาลังจะทาอะไร

วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

๒๗

โครงสร้างท่าราในการตีบทโขน-ละคร การตีบทโขน - ละคร

ท่าราหลัก

ท่าเดี่ยว

ท่าราขยาย

ท่าเชื่อม

ท่ารับ

ท่าคู่

กระบวนท่าราที่นามาใช้ในการตีบทโขน-ละคร ประกอบด้วย ๑. ท่าราหลัก เป็นท่าที่เกิดขึ้นจากการตีบทตามบทร้องเพื่อใช้แทนความหมายของคาร้องนั้น ๆ โดยเป็นท่าที่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนเหมาะสมที่สุด แบ่งออกเป็น - ท่าเดี่ยว คือท่าหลักที่ปฏิบัติเพียงครั้งเดียว - ท่าคู่ คือท่าหลักที่ปฏิบัติซ้าเป็นสองครั้ง ๒. ท่าราขยาย เป็นท่าราที่ใช้ขยายความหมายของท่าราหลัก โดยต้องมีความสัมพันธ์กับท่ารา หลัก เพือ่ ขยายคุณลักษณะของท่าราหลักว่าสิ่งนั้นมีความหมายหรือมีความสวยงามอย่างไร ท่าขยายนี้ มีทั้ง ท่าที่น ามาจากเพลงช้ า เพลงเร็ ว และเพลงแม่บท และเป็นท่าที่ แต่งขึ้น โดยเลื อกนามาใช้ ให้ เหมาะสมกับความหมายของบทร้อง ถึงแม้ว่าในการทาท่าราหลัก จะเป็นท่าเดียวกัน แต่ท่า ราขยาย อาจจะต่างกันได้ ๓. ท่าเชื่อม หมายถึง ท่าราที่ใช้เชื่อมระหว่างท่าราหลักและท่าราขยายให้ร้อยเรียงต่อกันไป อย่างสวยงาม เป็นท่าที่ปรากฏอยู่ในระหว่างทานองเอื้อนของบทร้องแต่ละคา ๔. ท่ารับ หมายถึง ท่าราที่อยู่ในช่วงท้ายของบทร้อง แต่ละคากลอน ซึ่งมีทั้งท่ารับที่ประกอบ ทานองเพลงโดยไม่มีบทร้อง หรือท่ารับที่ประกอบทานองเพลงที่มีการร้องซ้าในคากลอนเดิม การนาท่า รามาใช้ในการตีบ ทโขน - ละคร เพื่อให้ได้ท่า ราที่งดงามต้องใช้อวัยวะส่ว นต่าง ๆ ของร่างกายมา ประกอบกัน เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวไปกับท่าราอย่างสอดคล้อง โดยการราจะต้องประกอบด้วย การ ใช้สรีระ ดังนี้ ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


๒๘

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

- การใช้ศีรษะ - การใช้ใบหน้า - การใช้คอ - การใช้ไหล่ - การใช้แขน - การใช้มือ - การใช้ลาตัว - การใช้เอว - การใช้ขา - การใช้เท้า

วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

๒๙

ราฉุยฉาย ชวลิต สุนทรานนท์ เรียบเรียง ที่มาของ “ราฉุยฉาย” ความหมายของ “ฉุยฉาย” ฉุยฉาย ในความหมายตามพจนานุกรม เป็นคานาม หมายถึง ชื่อเพลงร้องและท่าราชนิดหนึ่ง, เป็นคากริยา หมายถึง กรีดกราย ฉุยฉาย คือประเภทของการแสดงนาฏศิลป์ไทยชุดหนึ่ง ที่มีลีลาเยื้องกรายมักใช้ในการราเดี่ยว การร่ายราแสดงถึงอุปนิสัยของตัวละคร โดยเน้นลักษณะบุคลิกภาพเฉพาะอย่าง บทร้องในการแสดง ประเภทฉุยฉายจึงมักพรรณนาถึงหน้าตาท่าทางและการแต่งองค์ทรงเครื่องที่ค่ อนข้างละเมียดละไม สวยงาม คาว่าฉุยฉายในความรู้สึกของคนทั่วไปมีความหมายอี กนัยหนึ่งคือการหยิบหย่งของผู้คนที่ ไม่สนใจทาการงานอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน สนใจแต่เฉพาะการแต่งกาย กรีดกรายเดินไปเดินมาเท่านั้น ฉะนั้นคาว่าฉุยฉาย เมื่อนามาใช้กับชีวิตปกติสามัญชนจึงมักมีความรู้สึกในแง่ไม่ค่อยดีนัก ถ้ากล่าวถึงในด้านการแสดงแล้วการราฉุยฉายเป็นส่วนที่มีความสมบูรณ์แบบในตัวเองอยู่ ครบครัน มีความเป็นสุนทรียะในด้านนาฏกรรมของไทยที่น่า ดูที่สุด ผู้ที่มีความสามารถไม่ถึ งในเชิง ศิลปะการร่ายราของไทยถ้าจะนาชุดการแสดงฉุยฉายไปร่ายราเช่นชุดฉุยฉายพราหมณ์ก็ดี ฉุยฉายวันทอง ก็ดี แล้วจะมองไม่เห็นคุณค่าและความงามของศิลปะเลย ด้ ว ยเหตุ นี้ เ องผู้ ที่ จ ะก้ า วมาถึ ง การร าฉุ ย ฉายต้ อ งผ่ า นการฝึ ก ฝนการร าทั้ ง ที่ เ ป็ น พื้ น ฐาน โดยเฉพาะเพลงช้า เพลงเร็ว ราแม่บท และราเบ็ดเตล็ดในชุดต่าง ๆ มาแล้วเป็นอย่างดีจึงจะสามารถ ฝึกการราฉุยฉายได้ เพราะลีลาการราฉุยฉายนั้น มีท่วงทีที่งดงาม มีการสอดใส่อารมณ์ และความรู้สึก ด้วยใบหน้าท่าทาง ตลอดจนการเคลื่อนไหวทุกส่วนสัดของร่างกาย นับตั้งแต่มือและเท้า “ฉุยฉาย” จึง เป็นการแสดงภาษาทางนาฏศิลป์ไทย ที่มีคุณค่าทางศิลปะเป็นเลิศ นิยมกันว่าตัวละครสามารถแสดง อารมณ์ ความภาคภูมิใจออกมาทางท่าราได้ดีกว่าที่จะพูดออกมาเป็นคาพูดและมักใช้แสดงในตอนที่ตัว ละครเกิดความภาคภูมิใจ เมื่อเห็นว่าตนเองแต่งตัวได้อย่างสวยสดงดงามหรือเมื่อสมมติว่าตัวละคร แปลงกายที่ไม่สวยให้สะสวย เป็นต้น การราฉุยฉายจึงเป็นศิลปะชั้นสูงที่ราให้ดีได้ยากในส่วนของผู้ชม นอกจากจะดูท่าราแล้ว เขานิยมฟังบทร้องล้อให้ปี่เป่าเลียนเสียงไปตามคาร้องอีกด้วย ถ้าคนปี่สามารถ เป่าปี่เลียนเสียงขับร้องได้ชัดถ้อยชัดคาก็นิยมว่าศิลปินคนนั้นเป่าปี่ดีเลิศ ประวัติความเป็นมาของฉุยฉาย ในสมัยโบราณไม่ปรากฏว่ามีการแสดงราฉุยฉาย มีแต่คาว่า “ฉุยฉาย” ปรากฏอยู่ดังเห็นได้ จากคาเรียกชื่อท่ารา “ฉุยฉายเข้าวัง” ซึ่งเป็นชื่อท่าราท่าหนึ่งในแม่บทใหญ่ (ภาพตาราท่าราโบราณ ซึ่งตกทอดมาตั้งแต่ส มัย กรุ งศรี อยุธ ยา) นอกจากนี้ยังปรากฏในเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ใ น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลกมหาราช เช่นในตอนศึกวิรุญจาบัง หนุมานแปลงกายเป็น มานพหนุ่มเข้าไปหานางวานรินมีบทประพันธ์ กล่าวไว้ดังนี้ ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


๓๐

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

“คิดแล้วยอกรขึ้นเหนือเกล้า ไหว้พระเป็นเจ้านาถา ทั้งคุณสมเด็จพระจักรา ก็ร่ายเวทวิทยาแปลงกาย ฯ ฯ ๑๐ คา ฯ ตระ ชมตลาด เป็นมานพน้อยทรงลักษณ์

ส่งศรีประเสริฐเลิศชาย

ผิวพักตร์พริ้มเพริศเฉิดฉาย กรายกรเข้าถ้าคีรี ฯ

ฯ ๒ คา ฯ ฉุยฉาย” หรือในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปรากฏในตอนทศกัณฐ์แต่งตัวไปเกี้ยวนางสีดาในพระราชอุทยาน มีบทประพันธ์กล่าวไว้ดังนี้ “ครั้นถึงซึง่ สวนอุทยาน ลงจากรถแก้วแววไว

ให้หยุดพลมารน้อยใหญ่ ตรงไปตาหนักห้างนางสีดา ฯ ๒ คา ฯ ฉุยฉาย”

เมื่อพิจารณาบทละครที่ยกมาเป็นตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเพลงฉุยฉายนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะ ของการอวดตัว จากการแปลงกายหรือการแต่งตัวเพื่อใช้แสดงในบทบาทของลีลาการเยื้องย่างของตัว ละครที่กรีดกรายไปอย่างสง่างาม เพื่อเข้าไปเกี้ยวพาราสีนางอันเป็นที่พึงพอใจของตน ซึ่งเป็นเสมือน ลักษณะของเพลงหน้าพาทย์เพลงหนึ่ง คือใช้บรรเลงต่อจากบทร้องเช่นเดียวกับเพลงหน้าพาทย์อื่น ๆ ที่พบได้ในบทละครนี้ “ความจริงเพลงฉุยฉาย และเพลงแม่ศรี มิใช่เพลงใช้บรรเลงขับร้องเหมือนอย่างเพลง สามชั้นหรือเพลงเถาโดยทั่วไป แต่บรรเลงประกอบการฟ้ อนราในฉากหนึ่งตอนหนึ่ง ซึ่งแสดง ถึงการแปลงกายหรือแต่งตัวให้สวยงามอะไรทานองนี้ เป็นต้น” (ประชุมบทมโหรีจากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพขุนทรงสุภาพ) “ฉุ ย ฉายเป็ น เพลงหน้ า พาทย์ ช นิ ด หนึ่ ง ในหกชนิ ด ของหน้ า พาทย์ ที่ แ สดงความ สนุกสนานเบิกบานใจ และเป็นการแสดงในความภาคภูมิใจ เมื่อได้แต่งตัวใหม่หรือเมื่อได้ แปลงตัวให้งดงามกว่าเดิม” (ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ์) ต่อมามีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ าเพลงฉุยฉายนามาใช้ในอีกรูปแบบหนึ่งคือมีบทร้อ งเข้ามา ประกอบ ดังได้มีปรากฏในบทมโหรี เรื่ องกากีของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สมัยกรุงรัตนโกสิ นทร์ วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

๓๑

ตอนต้น ซึ่งได้กล่าวถึงบทร้องฉุยฉายและบทร้องแม่ศรีในบทมโหรีบทที่ ๒๘ (ร้องแม่ศรี) และบทที่ ๓๐ (ร้องฉุยฉาย) ดังนี้ บทที่ ๒๘ ร้องแม่ศรี เจ้าไปอยู่กับเราเปล่าเปลี่ยวนัก เชิญเชยเสวยรมย์สมใจนาง จนสิ้นเดือนฟ้าสุเมรุมาศ กว่าจะลุศิวโมกข์อมัตธรรม์

ที่นี่พรักพร้อมสวาทไม่ขาดข้าง ตั้งแต่ปางนี้ไปอย่าพบกัน แสนชาติอย่าได้ร่วมภิรมย์ขวัญ ว่าแล้วเหาะหันไปฉิมพลีฯ ๔ คา

บทที่ ๓๐ ดูราสุดาดวงเนตร พี่ตั้งหน้าท่าน้องทุกคืนวัน อยู่ไยในหน้าพระลานเล่า พี่ชอบใจในสวาทแสนทวี

เจ้าประเวศไปสู่พิมานสวรรค์ พึ่งเห็นขวัญตามาถึงธานี ขอเชิญเข้าปรางค์มาศปราสาทศรี มิเสียที่บารุงผดุงมาฯ ๖ คา

ร้องฉุยฉาย

ราฉุยฉายตั้งแต่เบื้องต้นมานั้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นมาอย่างไรจึงได้ เป็นรูปแบบอย่างที่เห็นในปัจจุบันแต่ก็มีหลักฐานพอแสดงให้เห็นเค้าของการเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง “เพลงฉุย ฉายเป็นเพลงสองสมัยชั้นเก่าแก่มี มาแต่ส มัย กรุง ศรีอยุธ ยาเป็นเพลงที่ ทานองช้าส่วนแม่ศรีนั้น เป็นเพลงเร็วที่ร้องให้เจ้ามาเข้าทรง แต่เพราะเหตุใดเพลงสองเพลงนี้ จึงมารวมเข้าเป็นชุดกันและประกอบการฟ้อนราแบบฉุยฉาย เช่น ฉุยฉายพราหมณ์ ยังค้นไม่ พบการขับร้องต้องร้องเพลงฉุยฉายก่อน แล้วจึงมาถึงเพลงแม่ศรีเมื่อร้องหมดคาหนึ่ง ปี่จะเป่า ว่าเนื้อเลียนแบบ ว่ากันว่าผู้ใดเป่าได้ชัดถ้อยคากับเสียงร้องมากที่สุดนับเป็นผู้ชานาญการเป่าปี่ มากทีเดียว” (ประชุมบทมโหรี) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปรากฏมีบทราดอกไม้เงินทองที่ทรงพระราช นิพนธ์ขึ้นสาหรับให้ตัวพระใช้ ราเบิกโรงละครใน และยังมีพระราชนิพนธ์อีกหนึ่งบทสาหรับตัวนาง เข้าใจว่าคือบทฉุยฉายสองนางเนื้อเหลืองที่คุ ณครูลมุล ยมะคุปต์ และคุณครูเฉลย ศุขะวณิช ได้รับ ถ่ายทอดมาจากเจ้าจอมละม้าย ในรัชกาลที่ ๕ (ประเมษฐ์ บุญยะชัย/ละครวังสวนกุหลาบ) “ร้องฉุยฉายก็คือร้องเพลงช้า ร้องแม่สรี (สรีเป็นคาเขมร แปลว่าผู้หญิง ร่อยมาจากสตรี ) นี่ก็ คือร้องเพลงเร็วนั่นเอง เห็นได้ว่าแต่ก่อนละครไม่ได้มีปี่พาทย์เข้ามาปนครั้นเอาปี่พาทย์มาทาเพลง การ ร้องแทนปี่พาทย์ก็ไม่ทิ้ง คงร้องไปพร้อมกับปี่พาทย์ ร้องก็ร้องไปทางหนึ่ง ปี่พาทย์ก็ตีไปทางหนึ่ง ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


๓๒

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

ฟัง จอแจไม่เป็นส่า ...การร้องซ้อน ๆ ไปกับเพลงปี่พาทย์เพิ่งเลิกกันเสียไม่ นานนักใช้ปี่พาทย์ ทาอย่าง เดียว เหลือแต่ฉุยฉายเท่านั้นที่คงใช้ร้องอยู่บ้าง แต่ก็ทาเป็นร้องรับไม่ได้ร้องซ้อนไปกับปี่พาทย์” “ส่วนฉุยฉายเป็นร้องเพลงช้าแทนปี่พาทย์ แม่ศรีเป็นร้องเพลงเร็วแทนปี่พาทย์ น่าสังเกตอยู่ที่ ร้องฉุยฉายแล้วรับด้วยปี่ประหนึ่งว่าเดิมทีจะเล่นไปด้วยกัน” (เสฐียรโกเศศ/ร้อง รา ทาเพลง) พอสังเกตให้เห็นได้ว่าการราฉุยฉายเทียบเท่ากับเป็นการราเพลงช้า และเพลงเร็ว กล่าวคือ ราเพลงฉุยฉาย เสมือนราเพลงช้าส่วนราแม่ศรีเสมือนกับราเพลงเร็ว และเมื่อเทียบกับลักษณะการแสดง ที่มีปรากฏอยู่แล้ว ก็มีส่วนในความเป็นไปได้ตามที่กล่าวมา โครงสร้างเพลงฉุยฉาย เพลงฉุยฉาย ประกอบด้วย - เพลงออก (ใช้เพลงรัว/เพลงฉุยฉาย) - เพลงฉุยฉาย ๒ บท (บทละ ๓ คาร้อง) และเพลงแม่ศรี ๒ บท (บทละ ๒ คาร้อง) จบคาร้อง ทุกคาปี่เป่าเลียนเสียงคาร้อง และจบเพลงฉุยฉายแต่ละบท ปี่พาทย์รับเพลงฉุยฉาย จบเพลงแม่ศรีแต่ ละบทปี่พาทย์รับเพลงแม่ศรี - เพลงเข้า (ใช้เพลงเร็ว – ลา) หรือเพลงหน้าพาทย์อื่น ๆ เช่น เพลงพญาเดิน ตัวอย่างเช่น บทฉุยฉายพราหมณ์ จากบทละครเรื่องพระคเณศร์ เสียงา พระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ ๖ เพลงออก - ปี่พาทย์ทาเพลงรัว เพลงฉุยฉายบทที่ ๑ - ร้องเพลงฉุยฉาย คาร้องที่ ๑ ฉุยฉายเอยช่างงามขา ช่างราโยกย้าย คาร้องที่ ๒ สะเอวแสนอ่อน อรชรช่วงกาย วิจิตร์ยิ่งลาย ที่คนประดิษฐ์ คาร้องที่ ๓ สองเนตรคมขา แสงดามันขลับ ชม้อยเนตรจับ ช่างสรวยสุดพิศ ปี่พาทย์รับ - ปี่พาทย์รับเพลงฉุยฉาย เพลงฉุยฉายบทที่ ๒ - ร้องเพลงฉุยฉาย คาร้องที่ ๑ สุดสรวยเอย ยิ่งพิศยิ่งเพลินเชิญให้งงงวย คาร้องที่ ๒ งามหัตถ์งามกร ช่างฟ้อนระทวย ช่างนาฏช่างนวย สรวยยัว่ นัยนา คาร้องที่ ๓ ทั้งหัตถ์ทั้งกร ก็ฟ้อนถูกแบบ ดูยลดูแยบ สวยยิ่งเทวา วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา

ปีเ่ ป่าเลียนเสียงคาร้อง ปีเ่ ป่าเลียนเสียงคาร้อง ปีเ่ ป่าเลียนเสียงคาร้อง

ปีเ่ ป่าเลียนเสียงคาร้อง ปีเ่ ป่าเลียงเสียงคาร้อง ปีเ่ ป่าเลียนเสียงคาร้อง


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

- ปี่พาทย์รับเพลงฉุยฉาย - ร้องเพลงแม่ศรี น่าชมเอยน่าชมเจ้าพราหมณ์ คาร้องที่ ๑ ดูทั่วตัวงามไม่ทรามจนนิด ดูผุดดูผ่องเหมือนทองทาติด คาร้องที่ ๒ ยิ่งเพ่งยิ่งพิศยิ่งคิดชมเอย ปี่พาทย์รับ - ปี่พาทย์รับเพลงแม่ศรี เพลงแม่ศรี บทที่ ๒ - ร้องเพลงแม่ศรี น่ารักเอย น่ารักดรุณ คาร้องที่ ๑ เหมือนแรกจะรุ่น จะรู้เดียงสา เจ้ายิ้มเจ้าแย้ม แก้มเหมือนมาลา คาร้องที่ ๒ จ่อจิตติดตา เสียจริงเจ้าเอย ปี่พาทย์รับ - ปี่พาทย์รับเพลงแม่ศรี เพลงเข้า - ปี่พาทย์ทาเพลงเร็ ว, ลา -

๓๓

ปี่พาทย์รับ เพลงแม่ศรี บทที่ ๑

ปีเ่ ป่าเลียนเสียงคาร้อง ปีเ่ ป่าเลียนเสียงคาร้อง

ปีเ่ ป่าเลียนเสียงคาร้อง ปีเ่ ป่าเลียนเสียงคาร้อง

ลักษณะของการราฉุยฉาย การราฉุยฉายจะพบได้ใน ๓ ลักษณะ คือ - ราฉุยฉายแบบเต็ม - ราฉุยฉายแบบตัด - ราฉุยฉายพวง ราฉุยฉายแบบเต็ม หมายถึง การราฉุยฉายเต็มรูปแบบตามมาตรฐานที่กาหนดไว้ คือราเพลง ฉุยฉาย ๒ บท และราเพลงแม่ศรี ๒ บท ฉุยฉายในแต่ละบทมี ๓ คาร้อง ส่วนของแม่ศรีแต่ละบทมี ๒ คาร้อง ซึ่งจบแต่ละคาร้องต้องราตามปี่ที่เป่าเลียนเสียงคาร้องทุกคาและต้องราตามปี่พาทย์รับเพลง ฉุยฉาย ๒ บทและราตามปี่พาทย์รับแม่ศรี ๒ บทจบท้ายด้วยราเพลงเร็ว – ลา ดังตัวอย่างบทฉุยฉาย พราหมณ์ เรื่องพระคเณศร์เสียงา ที่ยกมาข้างต้น ราฉุยฉายแบบตัด หมายถึงการราฉุยฉายโดยตัดทอนจากบทเต็มให้สั้นลง หรือราฉุยฉายในบท ที่มีเพลงฉุยฉาย และเพลงแม่ศรีอย่ างละ ๑ บท ในเพลงฉุยฉาย ๑ บทมี ๓ คาร้อง แม่ศรี ๑ บทมี ๒ คาร้อง ซึ่งจบแต่ละคาร้องต้องราตามปี่ที่เป่าเลียนเสียงคาร้องทุกคากลอน และเมื่อจบเพลงฉุยฉาย ต้องราตามปี่พาทย์รับเพลงฉุยฉาย และจบเพลงแม่ศรีต้องราตามปี่พาทย์รับเพลงแม่ศรี แล้วจบท้าย ด้วยราเพลงเร็ว – ลา เช่นกัน ในกรณีที่มีบ ทร าฉุ ย ฉายแบบเต็ ม อยู่ แล้ ว ด้ว ยเหตุผ ลบางประการ ต้องการราอย่ า งตั ด ก็ สามารถทาได้โดยราฉุยฉายแบบเต็ม ๑ บท และราเพลงแม่ศรี ๑ บท โดยจะเลือกใช้บทไหนราก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม บางครัง้ นิยมราฉุยฉาย บทที่ ๑ แล้วต่อด้วยแม่ศรีบทที่ ๒ ตัวอย่างเช่น ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


๓๔

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

บทราฉุยฉายพราหมณ์อย่างตัด เพลงออก - ปี่พาทย์ทาเพลงรัว เพลงฉุยฉายบทที่ ๑ - ร้องเพลงฉุยฉาย คาร้องที่ ๑ ฉุยฉายเอย ช่างงามขาช่างราโยกย้าย คาร้องที่ ๒ สะเอวแสนอ่อน อรชรช่วงกาย วิจิตร์ยิ่งลาย ที่คนประดิษฐ์ คาร้องที่ ๓ สองเนตรคมขา แสงดามันขลับ ชม้อยเนตรจับ ช่างสรวยสุดพิศ - ปี่พาทย์รับเพลงฉุยฉาย - ร้องเพลงแม่ศรี น่ารักเอย น่ารักดรุณ คาร้องที่ ๑ เหมือนแรกจะรุ่น จะรู้เดียงสา เจ้ายิ้มเจ้าแย้ม แก้มเหมือนมาลา คาร้องที่ ๒ จ่อจิตติดตา เสียจริงเจ้าเอย ปี่พาทย์รับ - ปี่พาทย์รับเพลงแม่ศรี เพลงเข้า - ปี่พาทย์ทาเพลงเร็ว, ลา -

ปีเ่ ป่าเลียนเสียงคาร้อง ปีเ่ ป่าเลียนเสียงคาร้อง ปีเ่ ป่าเลียนเสียงคาร้อง

ปีเ่ ป่าเลียนเสียงคาร้อง ปีเ่ ป่าเลียนเสียงคาร้อง

ราฉุยฉายพวง หมายถึง การราเพลงฉุยฉายและเพลงแม่ศรีต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการเป่าเลียน เสียงคาร้อง พอจบแต่ละบทจึงจะราตามปี่พาทย์รับ (ฉุยฉายมี ๒ บทแม่ศรีมี ๒ บท) แล้วลงท้ายด้วย เพลงเร็ว-ลา ทั้งนี้เป็นการช่วยให้เวลาในการแสดงกระชับขึ้น ดังเช่นบทราฉุยฉายศูรปนขา เพลงออก - ปี่พาทย์ทาเพลงรัว เพลงฉุยฉายบทที่ ๑ -ร้องเพลงฉุยฉายคาร้องที่ ๑ ฉุยฉายเอย เสร็จจาแลงแปลงกาย จะตามชายไปให้ทัน คาร้องที่ ๒ นักพรตช่างงามวิไล แต่งตัวเราไซร้ไปให้งามขา คาร้องที่ ๓ ผ้านุ่งใหม่สไบหอม ให้พร้อมทุกสิ่งอัน อีกเพชรพรายพรรณ เห็นกระนั้นคงติดใจ ปี่พาทย์รับ -ปี่พาทย์รับเพลงฉุยฉายเพลงฉุยฉายบทที่ ๒ -ร้องเพลงฉุยฉายคาร้องที่ ๑ เสียดายเอย อยากจะส่องพระฉาย หัดแย้มพรายให้ยั่วยวน วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

คาร้องที่ ๒ คาร้องที่ ๓ ปี่พาทย์รับ เพลงแม่ศรีบทที่ ๑ คาร้องที่ ๑ คาร้องที่ ๒ ปี่พาทย์รับ เพลงแม่ศรีบทที่ ๒ คาร้องที่ ๑ คาร้องที่ ๒ ปี่พาทย์รับ เพลงเข้า

กระจกในไพรหาที่ไหนมา ช่างเถอะเจรจา และแย้มสรวล ด้วยเสียงอ่อนหวาน กระบิดกระบวน คงตามลามลวนมาชวนเรา -ปี่พาทย์รับเพลงฉุยฉาย-ร้องเพลงแม่ศรีแม่ศรีเอย แม่ศรีโฉมเฉลา แต่งจริตให้พริ้งเพรา เจ้าหนุ่มจะได้หลง ต้องทาแสนงอน ควักค้อนให้งวยงง แม้นมาต้ององค์ จะสลัดปัดกรเอย -ปี่พาทย์รับเพลงแม่ศรี-ร้องเพลงแม่ศรีแม่เล่นตัวเอย แม่จะแกล้งเล่นตัว แม้มากอดพันพัว เราจะหยิกจะตี อยากมาหลงทาไม จะยั่วให้สิ้นดี แทบเป็นบ้าแล้วครานี้ ที่ในกุฎีเจียวเอย -ปี่พาทย์รับเพลงแม่ศรี-ปี่พาทย์ ทาเพลงเร็ว, ลา-

การราฉุยฉายแยกประเภทตามลักษณะที่ปรากฏ การราฉุยฉายสามารถแยกประเภทตามลักษณะที่ปรากฏในการแสดงได้ดังนี้ ราฉุยฉายที่อยู่ในการแสดงโขน ได้แก่ - ราฉุยฉายอินทรชิต (อินทรชิตแปลงเป็นพระอินทร์) ตอนศึกพรหมาสตร์ - ราฉุยฉายมานพ (หนุมานแปลง) ตอนศึกวิรุญจาบัง - ราฉุยฉายเบญกาย (นางเบญกายแปลงเป็นนางสีดา) ตอนนางลอย - ราฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน ตอนหนุมานถวายแหวน - ราฉุยฉายทศกัณฐ์ (หนุมานแปลง) ตอนทาลายพิธีหุงน้าทิพย์ - ราฉุยฉายฤๅษีแดง (ทศกัณฐ์แปลง) ตอนตามกวาง - ราฉุยฉายทศกัณฐ์ ตอนกาเนิดทศกัณฐ์ - ราฉุยฉายหนุมานทรงเครื่อง ตอนชูกล่องดวงใจ ราฉุยฉายที่อยู่ในการแสดงละคร ได้แก่ - ราฉุยฉายยอพระกลิ่น ละครนอก เรื่องมณีพิชัย - ราฉุยฉายพราหมณ์เล็กพราหมณ์โต ละครนอก เรื่องสุวรรณหงส์ ครูเชาวลิต สุนทรานนท์

๓๕


๓๖

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

- ราฉุยฉายนางแมว ละครนอก เรื่องไชยเชษฐ์ - ราฉุยฉายเสือโค ละครนอก เรื่องหลวิชัย-คาวี - ราฉุยฉายไกรทอง ละครนอก เรื่องไกรทอง - ราฉุยฉายวันทอง ละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ - ราฉุยฉายศูรปนขา ละครดึกดาบรรพ์ เรื่องรามเกียรติ์ตอนศูรปนขาตีสีดา - ราฉุยฉายฮเนา ละคร เรื่องเงาะป่า ราฉุยฉายที่ประดิษฐ์ขึ้นในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ - ราชุมนุมฉุยฉาย - ราฉุยฉายเพลงปี่ ราฉุยฉายเบิกโรง ได้แก่ - ราฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง เป็นการราเบิกโรงละครใน - ราฉุยฉายพราหมณ์ อยู่ในการแสดงเบิกโรงเรื่องพระคเณศร์เสียงา การแต่งกายในการราฉุยฉาย การราฉุยฉาย เป็นการราในลักษณะต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันตาม ประเภทของการแสดง ฉุยฉายแต่ละชุดการแสดงมีรูปแบบเฉพาะตามบุคลิกของตัวละครในบทบาทนั้น ๆ การราฉุยฉายมีหลายชุด ที่นาตัวละครเอกจากวรรณคดีมาเป็นผู้ รา มีหลายชุดที่บทร้องพรรณนาถึง บุคลิกลักษณะ หน้าตาท่าทาง การแต่งองค์ทรงเครื่อง บางครั้งก็แสดงถึงอุปนิสัยของตัวละคร ส่วนมาก เนื้อหาของบทร้องมักแสดงให้เห็นถึงการมีจริตกรีดกรายเยื้องย่างที่สง่างดงาม อันมีความสัมพันธ์ตรง กับลักษณะของการแสดงประเภทนี้ ดังนั้นเครื่องแต่งกายของตัวละครในการราฉุยฉายจึงมีลักษณะ สอดคล้องกลมกลืนไปตามตัวละครที่ต้องรา ซึ่งพอจาแนกให้เห็นได้ ดังนี้ แต่งกายแบบยืนเครื่อง การแต่งกายในลักษณะนี้จะมีทั้งที่เป็น พระ นาง ยักษ์ ลิง และพราหมณ์ ได้แก่ราฉุยฉายที่อยู่ ในการแสดงโขน ละครนอก เช่ น เรื่ องคาวี เรื่องสุ ว รรณหงส์ ฯลฯ ในการราเบิกโรง เป็นต้น ทั้งนี้ เพราะว่าละครราที่เป็นมาตรฐาน อันได้แก่ โขน ละครนอก ละครใน ต้องแต่งกายแบบยืนเครื่อง แต่งกายตามสภาพ การแต่งกายในลักษณะนี้จะเป็นไปตามสถานภาพ หรือฐานะของตัวละคร ได้แก่ แต่งแบบ ชาวบ้าน เช่น ฉุยฉายไกรทอง ฉุยฉายวันทอง เป็นต้น แต่งแบบพันทาง เช่ น ฉุยฉายบุเรงนอง เป็นต้น แต่งแบบนุ่งผ้ายกจีบหน้านาง ห่มสไบปัก เช่น ฉุยฉายศูรปนขา ฉุยฉายยอพระกลิ่นเป็นต้น

วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารา


โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

๓๗

เพลงที่ใช้ประกอบการราฉุยฉาย ฉุยฉาย อาจเป็นเพลงหน้าพาทย์เพลงหนึ่ง ต่ อมาจึงได้มีการบรรจุเนื้อร้องสาหรับขับกล่อม ในวงมโหรี แล้วจึงวิวัฒนาการขึ้นใช้ประกอบการแสดงมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ รูปแบบเดิมที่เป็นหน้าพาทย์ จึงหายไปด้วยไม่มีความนิยมใช้ กันอีกเพลงที่ใช้ประกอบราฉุยฉาย มีกาหนดไว้ เป็นเฉพาะ คือ เพลง ฉุยฉาย เป็นเพลงสองชั้นเก่าแก่จัดอยู่ในประเภทเพลงหน้าทับปรบไก่ และเพลงแม่ศรี ใช้หน้าทับสองไม้ เอกลักษณ์ที่เด่นชัดคือ การร้องเพลงด้วยปี่ที่เลียนบทร้องในท้ายเพลงของแต่ละคาร้อง เครื่องดนตรี ใช้วงปี่พาทย์แต่ต้องมีเครื่องดนตรีที่สาคัญ คือ ปี่ใน เพราะต้องใช้เป่าเลียนเสียงคาร้อง ขั้นตอนของการราฉุยฉาย - ราออกด้วยเพลงรัว/เพลงฉุยฉาย - ราเพลงฉุยฉาย - ราเพลงแม่ศรี - ราเข้าด้วยเพลงเร็ว-ลา/เพลงพญาเดิน ลักษณะของผู้แสดง - เป็นตัวเอกของการแสดงในตอนนั้น - ต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและชานาญในการรานาฏศิลป์ไทย - ต้องเป็นผู้มีบุคลิกลักษณะภูมิฐาน และมีความซาบซึ้งในบทละครของตัวละคร - ต้องเป็นผู้ที่มีปฏิภาณในการใช้จริตลีลาท่าทางของการร่ายราที่สง่าสวยงาม

ครูเชาวลิต สุนทรานนท์


รำเบิกโรงละครนอก

รำเบิกโรงละครนอก เป็นกำรแสดงที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้แสดงเป็นระบำเบิกโรงก่อนกำรแสดง ละครนอก โดยธรรมเนียมนั้นก่อนจะเริ่มแสดงละครนอกจะต้องมีกำรแสดงชุดเบิกโรง ซึ่งกำรแสดงชุด เบิกโรงละครนอกนี้จะเป็นกำรเล่ำประวัติโดยสังเขปผ่ำนทำงท่ำรำตำมแบบนำฏศิลป์ไทย ประพันธ์บท โดย นำยสมรัตน์ ทองแท้ นักวิชำกำรละครและดนตรีช ำนำญกำร สำนักกำรสังคีต กรมศิล ปำกร กระทรวงวัฒนธรรม โดยบทประพันธ์ กำรแสดงชุดนี้ครูชวลิต สุนทรำนนท์ ได้ถ่ำยทอดท่ำรำใ้​้ กับ นิสิตสำขำวิชำนำฏศิลป์ไทย เครื่องแต่งกำย รำเบิกโรงละครนอกแต่งกำยด้วยชุดยืนเครื่องพระ-นำง ซึ่งเป็นเครื่องแต่งตัวที่ใช้ในละครนอก โดยตัวพระสวมชฎำ ตัวนำงสวมรัดเกล้ำยอด ดังภำพ

ภำพ ๒ เครื่องแต่งกำยรำเบิกโรงละครนอก ที่มำ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rouenrarai&month=๐๔-๒๐๑๓&date= ๒๒&group=๑๗&gblog=๒๕

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

บทประกอบกำรแสดง - ปี่พำทย์ทำเพลงช้ำพวงร้อย - ร้องเพลงลีลำกระทุ่ม ละครรำของไทยในเก่ำก่อน ขจำยจรทั่วแดนแสน้รรษำ บัญญัตินำมละครนอกบอกลีลำ ว่ำท่วงท่ำกระชับเล่นฉับไว เดิมผู้เล่นเป็นชำยล้วนชวนชื่นจิต ้ลำกจริตคิดเพลินเชิญ้ลงใ้ล ครั้น้ญิงแทรกแปลกตำอยู่ดูละไม เรื่องส่วนใ้ญ่เป็นนิทำนพื้นบ้ำนชม - ร้องเพลงปีนตลิ่งนอก งำมทำงเล่นเด่นลักษณ์ประจักษ์ชัด ตำมถนัดชำย้ญิงยิ่งสวยสม ใ้​้ผ่อนเครียดคลำยรำคำญสรำญรมย์ จึงนิยมสืบมำพำยินดี มนัสน้อมบูชำครูอำจำรย์ สร้ำงสืบสำนนำฏกรรมนำสุขศรี ขอสำนสืบมั่นดำรงคงธรณี เทิดศักดิ์ศรีกำรละครบวรเอย - ปี่พำทย์ทำเพลงเร็ว, ลำ -

รำเบิกโรงละครนอก

๓๙


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๐

ท่ำรำ ๑

เพลง เพลงช้ำพวง ร้อย

แถว ตัวพระ ตัวนำง

รำเบิกโรงละครนอก

ตัวพระ ตัวนำง วิ่งออกมำจำกทำงด้ำนซ้ำย วิ่งออกมำจำกทำงด้ำนขวำ ของเวที มือขวำจีบคว่ำระดับ ของเวที ปฏิบัติสลับด้ำนกับ อก มือซ้ำยเท้ำสะเอว เอียง ตัวพระ ซ้ำย จำกนั้นคลำยมือขวำตั้ง มือแขนตึงระดับไ้ล่ ยืนแตะ เท้ำซ้ำยตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงขวำ


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๑

เพลง เพลงช้ำพวง ร้อย

แถว

ตัวพระ ตัวนำง จรดเท้ำขวำ วิ่งมำด้ำน้น้ำ ปฏิบัติสลับด้ำนกับตัวพระ ้ันตัวไปทำงขวำ มือซ้ำยจีบ คว่ำแขนงอมือขวำแบ้งำย ปลำยนิ้วตกแขนงอระดับเอว เอียงซ้ำย จำกนั้นก้ำวเท้ำซ้ำย ขวำ แล้วกระดกเท้ำซ้ำย คลำยมือซ้ำยตั้งวงบัวบำน มือขวำจีบส่ง้ลัง เอียงขวำ

แถว

ตัวพระ ตัวนำง วำงเท้ำซ้ำยลง จรดเท้ำขวำ ปฏิบัติสลับด้ำนกับตัวพระ เอียงซ้ำย จำกนั้นพลิกมือซ้ำย ตั้งวงบน มือขวำจีบคว่ำแขน ตึงระดับไ้ล่ จรดเท้ำซ้ำย แล้ววิ่งซอยเท้ำ เอียงขวำ เคลื่อนตัวมำด้ำน้น้ำ

เพลง เพลงช้ำพวง ร้อย

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๒

เพลง เพลงช้ำพวง ร้อย

แถว

ตัวพระ ตัวนำง ้ันตัวไปทำงซ้ำย มือขวำจีบ ปฏิบัติสลับด้ำนกับตัวพระ คว่ำแขนงอมือซ้ำยแบ้งำย ปลำยนิ้วตกแขนงอระดับเอว เอียงขวำ จำกนั้นก้ำวเท้ำขวำ ซ้ำย แล้วกระดกเท้ำขวำ คลำยมือขวำตั้งวงบัวบำน มือ ซ้ำยจีบส่ง้ลัง เอียงซ้ำย

แถว

ตัวพระ ตัวนำง วำงเท้ำขวำลง จรดเท้ำซ้ำย ปฏิบัติสลับด้ำนกับตัวพระ เอียงขวำ จำกนั้นพลิกมือขวำ ตั้งวงบน มือซ้ำยจีบคว่ำแขน ตึงระดับไ้ล่ จรดเท้ำขวำ แล้ววิ่งซอยเท้ำ เอียงซ้ำย เคลื่อนตัวมำด้ำน้น้ำ

เพลง เพลงช้ำพวง ร้อย

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๓

เพลง เพลงช้ำพวง ร้อย

แถว

ตัวพระ ปฏิบัติท่ำที่ ๒-๕ ซ้ำอีกครั้ง

ตัวนำง ปฏิบัติท่ำที่ ๒-๕ ซ้ำอีกครั้ง

แถว

ตัวพระ ตัวนำง ้ันตัวมำด้ำน้น้ำ มือซ้ำยแบ ปฏิบัติสลับด้ำนกับตัวพระ ้งำยปลำยนิ้วตกแขนงอ ระดับเอว มือขวำตั้งวงล่ำง จรดเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นถอนเท้ำขวำ จรดเท้ำ ซ้ำย เปลี่ยนมือขวำแบ้งำย ปลำยนิ้วตกแขนงอระดับเอว มือซ้ำยตั้งวงล่ำง เอียงขวำ วิ่ง ซอยเท้ำเปลี่ยนตำแ้น่ง

เพลง เพลงช้ำพวง ร้อย

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๔

เพลง เพลงช้ำพวง ร้อย

แถว

ตัวพระ มือทั้งสอง้ยิบจีบแล้ว เปลี่ยนเป็นจีบ้งำยระดับวง กลำง ก้ำวเท้ำขวำ ซ้ำย แล้ว วำง้ลังเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

ตัวนำง ปฏิบัติสลับด้ำนกับตัวพระ

แถว

ตัวพระ ตัวนำง คลำยมือจีบทั้งสองตั้งวงกลำง ปฏิบัติสลับด้ำนกับตัวพระ จรดเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้น้ยิบจีบ้งำยอีกครั้ง ้นึ่ง วำง้ลังเท้ำขวำ เอียง ซ้ำย ทำสลับกันจน้มด จัง้วะเพลง

เพลง เพลงช้ำพวง ร้อย

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๐

เพลง เพลงช้ำพวง ร้อย

แถว

ตัวพระ ตัวนำง ถอนเท้ำขวำ ้ันตัวไป ปฏิบัติสลับด้ำนกับตัวพระ ทำงขวำ มือซ้ำยจีบปรกข้ำง มือขวำเท้ำสะเอว จรดเท้ำ ซ้ำย เอียงซ้ำย ซอยเท้ำ้ันตัว มำด้ำน้น้ำ

แถว

ตัวพระ ม้วนมือซ้ำยเป็นวงบน ก้ำว เท้ำซ้ำย ขวำ แล้ววำง้ลัง เท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

๑๑

เพลง เพลงช้ำพวง ร้อย

ตัวนำง ปฏิบัติสลับด้ำนกับตัวพระ

รำเบิกโรงละครนอก

๔๕


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๖

๑๒

เพลง เพลงช้ำพวง ร้อย

แถว

ตัวพระ ตัวนำง มือซ้ำย้ยิบจีบเป็นจีบปรก ปฏิบัติสลับด้ำนกับตัวพระ ข้ำง จรดเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้นคลำยมือซ้ำยออกตั้ง วงบน วำง้ลังเท้ำซ้ำย เอียง ขวำ ทำสลับกันจน้มด จัง้วะเพลง

แถว

ตัวพระ ตัวนำง มือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำเท้ำ ปฏิบัติสลับด้ำนกับตัวพระ สะเอว เผ่นตัวขึ้นชะโงกตัว แล้วแตะเท้ำขวำตึงขำทั้งสอง ข้ำง เอียงซ้ำย

๑๓

เพลง เพลงช้ำพวง ร้อย

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๗

๑๔

เพลง เพลงช้ำพวง ร้อย

แถว

ตัวพระ มือทั้งสองเท้ำสะเอว ้น้ำ ตรง เล่นเท้ำทั้งสองโดยไส เท้ำไปด้ำน้น้ำสลับกันจน ้มดจัง้วะเพลง

ตัวนำง ปฏิบัติสลับด้ำนกับตัวพระ

แถว

ตัวพระ ้ันตัวเฉียงขวำ มือขวำจีบ คว่ำระดับอก มือซ้ำยตั้งวง ระดับอก ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้นคลำยมือ ขวำตั้งวงบน มือซ้ำยจีบส่ง ้ลัง ยกเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

ตัวนำง ปฏิบัติเช่นเดียวกับตัวพระ

๑๕

เพลง ท้ำยจัง้วะ เพลง

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๘

๑๖

เพลง ละครรำของ ไทย

แถว

ตัวพระ ตัวนำง ท่ำช้ำง้ว่ำน้ญ้ำ ้ันตัวไป ปฏิบัติเช่นเดียวกับตัวพระ ทำงซ้ำย มือซ้ำยตั้งวงบัวบำน มือขวำ้ยิบจีบเป็นจีบ้งำย แขนตึงระดับไ้ล่ ก้ำวเท้ำ ซ้ำย ยกเท้ำขวำ เอียงขวำ

แถว

ตัวพระ ท่ำสอดสร้อยมำลำ มือซ้ำย ตั้งวงบน มือขวำจีบ้งำย ระดับชำยพก ก้ำวไขว้เท้ำ ขวำ เอียงขวำ ้มุนตัวไป ทำงซ้ำย

๑๗

เพลง เอื้อน

รำเบิกโรงละครนอก

ตัวนำง ปฏิบัติเช่นเดียวกับตัวพระ


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๘

เพลง ในเก่ำก่อน

แถว

ตัวพระ ตัวนำง ้ันตัวเฉียงขวำ ทำท่ำสอด ปฏิบัติเช่นเดียวกับตัวพระ สร้อยมำลำ สอดมือขวำตั้งวง บน มือซ้ำยจีบ้งำยระดับ ชำยพก ก้ำว้น้ำเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

แถว

ตัวพระ ตัวนำง ้ันตัวไปทำงขวำ มือทั้งสอง ปฏิบัติเช่นเดียวกับตัวพระ จีบคว่ำระดับอก จรดเท้ำซ้ำย แล้วซอยเท้ำ เอียงขวำ ้มุน ตัวมำด้ำน้น้ำพร้อมกับเดิน มือทั้งสองขึ้น คลำยมือออก ระดับศีรษะ

๑๙

เพลง ขจำยจร

รำเบิกโรงละครนอก

๔๙


๕๐

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๐

เพลง ทั่วแดน

แถว

ตัวพระ แบมือทั้งสองคว่ำรวมมือกัน ระดับชำยพก แล้วเลื่อนมือ ออกจำกกัน ฉำยเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

ตัวนำง ปฏิบัติเช่นเดียวกับตัวพระ

แถว

ตัวพระ มือทั้งสองแบคว่ำกำงออก ฉำยเท้ำซ้ำย ขวำ

ตัวนำง ปฏิบัติเช่นเดียวกับตัวพระ

๒๑

เพลง เอื้อน

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๕๑

๒๒

เพลง แสน้รรษำ

แถว

ตัวพระ มือทั้งสองตั้งมือแขนตึงระดับ ไ้ล่ ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียง ซ้ำย จำกนั้นยักตัวพร้อมกับ เดำะแขนตำมจัง้วะเพลง

ตัวนำง มือทั้งสองตั้งมือแขนตึงระดับ ไ้ล่ ก้ำวไขว้เท้ำซ้ำย เอียง ซ้ำย จำกนั้นยักตัวพร้อมกับ เดำะแขนตำมจัง้วะเพลง

แถว

ตัวพระ มือทั้งสองจีบ้งำยไขว้กันที่ อก ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียง ซ้ำย

ตัวนำง มือทั้งสองจีบ้งำยไขว้กันที่ อก ก้ำวไขว้เท้ำขวำ เอียง ขวำ

๒๓

เพลง บัญญัตินำม

รำเบิกโรงละครนอก


๕๒

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๔

เพลง ละครนอก

แถว

ตัวพระ ้ันตัวไปทำงซ้ำย พลิกมือ ขวำตั้งมือแขนตึงระดับไ้ล่ มือซ้ำย้ยิบจีบแล้วแบ้งำย ปลำยนิ้วตกแขนงอระดับ เอว ก้ำวไขว้เท้ำซ้ำย ขยั่น เท้ำ เอียงซ้ำย จำกนั้นปฏิบัติอีกด้ำน้นึ่ง ในทำนองเอื้อน

ตัวนำง ้ันตัวไปทำงซ้ำย พลิกมือขวำ ตั้งมือแขนตึงระดับไ้ล่ มือ ซ้ำย้ยิบจีบแล้วแบ้งำย ปลำยนิ้วตกแขนงอระดับเอว ก้ำวไขว้เท้ำซ้ำย ขยั่นเท้ำ เอียงซ้ำย จำกนั้นปฏิบัติอีกด้ำน้นึ่งใน ทำนองเอื้อน

แถว

ตัวพระ

ตัวนำง

ท่ำจับนำง มือทั้งสองจีบคว่ำ ระดับอก แล้วคลำยมือออก จับมือตัวนำง ยืนแตะเท้ำซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย ้น้ำมองนำง

ท่ำจับนำง มือทั้งสองจีบคว่ำ ระดับอก ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ เอียง ซ้ำย จำกนัน้ คลำยมือตั้งสอง ออก มือขวำตั้งวงบน มือซ้ำยตั้ง มือแขนตึงระดับไ้ล่ โดยตัว พระจะจับมือทั้งสองข้ำง ยืน แตะเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย ้น้ำมอง พระ

๒๕

เพลง บอกลีลำ

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๕๓

๒๖

เพลง เอื้อน

แถว

ตัวพระ ตัวนำง มือยังจับนำงดังเดิม เดินสลับ มือยังจับกับตัวพระดังเดิม เปลี่ยนตำแ้น่ง เดินสลับเปลี่ยนตำแ้น่ง

แถว

ตัวพระ ท่ำจับนำง อยู่ด้ำน้นังของ ตัวนำง ก้ำวไขว้เท้ำขวำ มือ ซ้ำยจับมือนำง มือขวำจับที่ เอวนำง เอียงขวำ ขยั่นเท้ำ

๒๗

เพลง ว่ำท่วงท่ำ

ตัวนำง ท่ำจับนำง มือซ้ำยตั้งมือแขน ตึงระดับไ้ล่ มือขวำเท้ำ สะเอว ก้ำวไขว้เท้ำขวำ เอียง ขวำ ขยั่นเท้ำ

รำเบิกโรงละครนอก


๕๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๘

เพลง กระชับ

แถว

ตัวพระ ท่ำจับนำง เปลี่ยนมำอยู่ ทำงด้ำนซ้ำยของตัวนำง ม้วน มือทั้งสองจับมือนำง ก้ำวข้ำง เท้ำขวำ เอียงซ้ำย ้น้ำมอง นำง

ตัวนำง ท่ำจับนำง ม้วนมือทั้งสอง มือซ้ำยตั้งมือทอดแขนออก ด้ำนข้ำงระดับเอว มือขวำตั้ง วงล่ำง โดยตัวพระจะจับมือ ทั้งสองข้ำง ก้ำวไขว้เท้ำขวำ เอียงขวำ ้น้ำมองตัวพระ

แถว

ตัวพระ ตัวนำง อยู่ในท่ำเดิม ขยั่นเท้ำเคลื่อน อยู่ในท่ำเดิม ขยั่นเท้ำเคลื่อน ตัวไปทำงขวำ แล้วขยั่น ตัวไปทำงขวำ แล้วขยั่น กลับมำทำงซ้ำย กลับมำทำงซ้ำย

๒๙

เพลง เอื้อน

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๕๕

๓๐

เพลง เล่นฉับ

แถว

ตัวพระ ท่ำคว้ำ ้ัน้น้ำเข้ำ้ำตัวนำง มือซ้ำยเท้ำสะเอว มือขวำ กรีดนิ้วคว้ำนำงระดับเอว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย แล้ววิ่งสลับที่กับตัวนำง

ตัวนำง ท่ำ้ลบ ้ัน้น้ำเข้ำ้ำตัว พระ มือขวำจีบ้งำยระดับ ชำยพก มือซ้ำยจีบส่ง้ลัง ยืนเ้ลื่อมเท้ำขวำ เอียงขวำ แล้ววิ่งสลับที่กับตัวพระ

แถว

ตัวพระ ทำท่ำคว้ำมือซ้ำย แล้ววิ่ง สลับที่กับตัวนำงอีกครั้ง กลับมำอยู่ตำแ้น่งเดิม

ตัวนำง ทำท่ำ้ลบมือซ้ำย แล้ววิ่ง สลับที่กับตัวพระอีกครั้ง กลับมำอยู่ตำแ้น่งเดิม

๓๑

เพลง ไว

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๕๖

๓๒

เพลง เดิมผู้เล่น

แถว

ตัวพระ ้ันตัวเฉียงซ้ำย ม้วนมือทั้ง สอง ก้ำว้น้ำเท้ำซ้ำย เอียง ขวำ แล้วยกเท้ำขวำ เผ่นตัว ขึ้น มือซ้ำยเท้ำสะเอว มือขวำ วำงมือที่้น้ำขำขวำ ้น้ำตรง

ตัวนำง ้ันตัวมำด้ำน้น้ำ ก้ำว้น้ำ เท้ำซ้ำย มือซ้ำยจีบ้งำย ระดับชำยพก วำงมือขวำที่ ้น้ำขำซ้ำย เอียงซ้ำย

แถว

ตัวพระ ้ันตัวเฉียงขวำ มือขวำ้ยิบ จีบตั้งวงบัวบำน พลิกมือซ้ำย ตั้งวง้น้ำ ยืนแตะเท้ำซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย จำกนั้นทำสลับอีกด้ำน้นึ่ง ในทำนองเอื้อน

ตัวนำง ้ันตัวเฉียงขวำ มือขวำ้ยิบ จีบตั้งวงบัวบำน พลิกมือซ้ำย ตั้งวงล่ำง ยกเท้ำซ้ำย เอียง ซ้ำย จำกนั้นทำสลับอีกด้ำน้นึ่ง ในทำนองเอื้อน

๓๓

เพลง เป็นชำยล้วน

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๕๗

๓๔

เพลง ชวนชื่นจิต

แถว

ตัวพระ ้ันตัวเฉียงขวำ มือขวำจีบ ้งำยระดับอก มือซ้ำยตั้งวง ระดับอก ก้ำวไขว้เท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้นเดินมือขวำ จีบส่ง้ลัง มือซ้ำยจีบเข้ำอก ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

ตัวนำง ้ันตัวเฉียงขวำ มือขวำจีบ ้งำยระดับอก มือซ้ำยตั้งวง ระดับอก ก้ำวไขว้เท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้นเดินมือขวำ จีบส่ง้ลัง มือซ้ำยจีบเข้ำอก ก้ำวไขว้เท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

แถว

ตัวพระ ตัวพระแบ่งสองฝั่งปฏิบัติ สลับด้ำนกัน ฝั่งขวำ (ของเวที) มือซ้ำยจีบคว่ำแขนตึงระดับ ไ้ล่ มือขวำตั้งวงล่ำง ก้ำว ไขว้เท้ำขวำ เอียงขวำ แล้ววิ่ง สวนกับฝั่งซ้ำย ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติสลับด้ำน

ตัวนำง ยืนเ้ลื่อมเท้ำซ้ำย มือขวำ แบ้งำยปลำยนิ้วตกแขนตึง ระดับไ้ล่ ทอดแขนลง เล็กน้อย มือซ้ำยตั้งวงล่ำง เอียงซ้ำย

๓๕

เพลง ้ลำกจริต

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๕๘

๓๖

เพลง คิดเพลิน

แถว

ตัวพระ ฝั่งขวำ มือซ้ำยตั้งวงบน มือ ขวำตั้งมือแขนตึงระดับไ้ล่ ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ แล้ววิ่งสวนกับฝั่งซ้ำย ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติสลับด้ำน

ตัวนำง มือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำตั้ง มือแขนตึงระดับไ้ล่ ก้ำวไขว้ เท้ำขวำ เอียงขวำ

แถว

ตัวพระ ้ันตัวเฉียงซ้ำย มือทั้งสอง กรีดนิ้วประสำนกันที่อก ถูมือ เล็กน้อย สะดุดเท้ำขวำ แล้ว ยืนแตะเท้ำขวำตึงขำทั้งสอง ข้ำง เอียงขวำ

ตัวนำง มือทั้งสองกรีดนิ้ว ประสำนกันที่อก ถูมือ เล็กน้อย ก้ำวไขว้เท้ำซ้ำย ลัก คอซ้ำย-ขวำ

๓๗

เพลง เชิญ้ลงใ้ล

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๕๙

๓๘

เพลง ครั้น้ญิง แทรก

แถว

ตัวพระ ตัวนำง มือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำเท้ำ ้ันตัวเฉียงขวำเล็กน้อย มือ สะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียง ทัง้ สองตั้งวง้น้ำ จรดเท้ำ ซ้ำย มองตัวนำง ซ้ำย เอียงขวำ วิ่งขึ้นมำ แทรกตัวพระ

แถว

ตัวพระ อยู่ในท่ำเดิม ยืนแตะเท้ำขวำ ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงขวำ ้น้ำมองตัวนำง แล้วกล่อม ้น้ำในทำนองเอื้อน

๓๙

เพลง แปลกตำอยู่

ตัวนำง ก้ำวไขว้เท้ำซ้ำย มือซ้ำยจีบ ส่ง้ลัง มือขวำตั้งวงระดับ ไ้ล่ซ้ำย ลักคอซ้ำย ้นัก ้ลัง แล้วเดินมือขวำตั้งวง ระดับไ้ล่ขวำ ลักคอขวำ ้นัก้น้ำ ทำซ้ำอีกครั้งใน ทำนองเอื้อน

รำเบิกโรงละครนอก


๖๐

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๐

เพลง ดูละไม

แถว

ตัวพระ มือทั้งสอง้ยิบจีบกรดนิ้วมือ ขวำระดับวงล่ำง มือซ้ำย ระดับวงบน ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ แล้วก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียง ซ้ำย จำกนั้นยืดตัวขึ้นแตะ เท้ำซ้ำยตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงขวำ ้น้ำมองตัวนำง

ตัวนำง มือทั้งสอง้ยิบจีบกรีดนิ้วมือ ขวำระดับวงล่ำง มือซ้ำย ระดับวงบน ก้ำวไขว้เท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย ้น้ำมองตัวพระ

แถว

ตัวพระ ตั้งมือทั้งสองระดับชำยพก แล้วปำดมือไปทำงซ้ำย มือ ซ้ำยจีบส่ง้ลัง มือขวำกรีด นิ้วตั้งวงล่ำง ฉำยเท้ำซ้ำยแล้ว วำง้ลัง ลักคอซ้ำย จำกนั้นปฏิบัติสลับด้ำน ทำซ้ำทั้ง้มดสำมครั้ง

ตัวนำง ตั้งมือทั้งสองระดับชำยพก แล้วปำดมือไปทำงซ้ำย มือ ซ้ำยจีบส่ง้ลัง มือขวำกรีด นิ้วตั้งวงล่ำง ฉำยเท้ำซ้ำย แล้ววำง้ลัง ลักคอซ้ำย จำกนั้นปฏิบัติสลับด้ำน ทำซ้ำทั้ง้มดสำมครั้ง

๔๑

เพลง เรื่องส่วน ใ้ญ่ เป็นนิทำน เอื้อน

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๖๑

๔๒

เพลง พื้นบ้ำนชม

แถว

ตัวพระ ตัวนำง ้ันตัวเฉียงขวำ แบมือทั้งสอง แบมือซ้ำยระดับอกยื่นมำ ระดับอกยื่นมำด้ำน้น้ำ ยืน ด้ำน้น้ำ มือขวำจีบส่ง้ลัง แตะเท้ำซ้ำยตึงขำทั้งสองข้ำง ก้ำวไขว้เท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย เอียงซ้ำย

แถว

ตัวพระ ช้อนมือขวำจีบ้งำยแขนตึง ระดับไ้ล่ ม้วนมือซ้ำยตั้งมือ แขนตึงระดับไ้ล่ จรดเท้ำ ขวำ เอียงซ้ำย วิ่งแปรแถว เป็นวงกลม

๔๓

เพลง งำมทำงเล่น เด่นล้ำ

ตัวนำง ช้อนมือขวำจีบ้งำยแขนตึง ระดับไ้ล่ ม้วนมือซ้ำยตั้งมือ แขนตึงระดับไ้ล่ จรดเท้ำ ขวำ เอียงซ้ำย วิ่งแปรแถว เป็นวงกลม

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๖๒

๔๔

เพลง ประจักษ์ชัด

แถว

ตัวพระ ตัวนำง มือทั้งสอง้ยิบจีบ้งำยระดับ มือทั้งสอง้ยิบจีบ้งำย วงบน ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียง ระดับวงบน นั่งลงตั้งเข่ำขวำ ซ้ำย เอียงขวำ

แถว

ตัวพระ ตัวนำง พลิกมือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำ พลิกมือขวำตั้งวงบน มือซ้ำย ตั้งมือแขนตึงระดับไ้ล่ เอียง ตั้งมือแขนตึงระดับไ้ล่ เอียง ขวำ วิ่งแปรแถวไปทำงซ้ำย ซ้ำย วิง่ แปรแถวไปทำงขวำ

๔๕

เพลง ตำมถนัด

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๖๓

๔๖

เพลง ชำย้ญิง

แถว

ตัวพระ ม้วนมือทั้งสอง มือซ้ำยเท้ำ สะเอว วำงมือขวำที่้น้ำขำ ขวำ ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียง ซ้ำย มองตัวนำง

ตัวนำง มือขวำเท้ำสะเอว มือซ้ำยจีบ ที่เอวขวำ ก้ำวไขว้เท้ำซ้ำย ลักคอขวำ

แถว

ตัวพระ ตัวนำง ้ัน้ลัง มือขวำเท้ำสะเอว เปลี่ยนมือซ้ำยเท้ำสะเอว มือ วำงมือซ้ำยที่้น้ำขำซ้ำย ก้ำว ขวำจีบที่เอวขวำ ก้ำวไขว้เท้ำ ข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ มอง ขวำ ลักคอซ้ำย ตัวนำง

๔๗

เพลง ชำย้ญิง

รำเบิกโรงละครนอก


๖๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๘

เพลง ยิ่งสวยสม

แถว

ตัวพระ ท่ำยิ้ม มือขวำเท้ำสะเอว มือ ซ้ำยจีบกรีดนิ้วระดับปำก ยืน แตะเท้ำขวำ ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย ้น้ำมองตัวนำง

ตัวนำง ท่ำอำย คลำยมือจีบซ้ำยแบ แตะที่แก้มซ้ำย มือขวำจีบส่ง ้ลัง ก้ำวไขว้เท้ำซ้ำยเอียง ซ้ำย

แถว

ตัวพระ รวมมือทั้งสองระดับชำยพก ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

ตัวนำง รวมมือทั้งสองระดับชำยพก ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ

๔๙

เพลง ใ้​้ผ่อน เครียด

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๖๕

๕๐

เพลง คลำย รำคำญ

แถว

ตัวพระ ้ันตัวไปทำงขวำ ท่ำนำง นอน มือขวำแบ้งำยปลำย นิ้วตกแขนงอระดับเอว มือ ซ้ำยตั้งวงล่ำง ยืนแตะเท้ำ ซ้ำยตึงขำทั้งสองข้ำง เอียง ซ้ำย จำกนั้นทำสลับด้ำนใน บทเอื้อน

ตัวนำง ้ันตัวไปทำงขวำ ท่ำนำง นอน มือขวำแบ้งำยปลำย นิ้วตกแขนงอระดับเอว มือ ซ้ำยตั้งวงล่ำง ยืนแตะเท้ำ ซ้ำยตึงขำทั้งสองข้ำง เอียง ซ้ำย จำกนั้นทำสลับด้ำนใน บทเอื้อน

แถว

ตัวพระ ้ันตัวมำด้ำน้น้ำ ปรบมือทั้ง สองระดับอก ซอยเท้ำ เอียง ขวำ จำกนั้นทำท่ำยิ้ม มือซ้ำย จีบกรีดนิ้วระดับปำก มือขวำ เท้ำสะเอว ยืนแตะเท้ำซ้ำยตึง ขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย

ตัวนำง ้ันตัวมำด้ำน้น้ำ ปรบมือ ทั้งสองระดับอก ซอยเท้ำ เอียงขวำ จำกนั้นทำท่ำยิ้ม มือซ้ำยจีบกรีดนิ้วระดับปำก มือขวำจีบ้งำยระดับชำยพก ยืนแตะเท้ำซ้ำยตึงขำทั้งสอง ข้ำง เอียงซ้ำย

๕๑

เพลง สรำญรมย์

รำเบิกโรงละครนอก


๖๖

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๕๒

เพลง เอื้อน

แถว

ตัวพระ สะดุดเท้ำขวำ มือขวำจับมือ ตัวนำง มือซ้ำยเท้ำสะเอว แล้วยืนแตะเท้ำขวำ ตึงขำทั้ง สองข้ำง เอียงขวำ ้น้ำมอง ตัวนำง

ตัวนำง สะดุดเท้ำซ้ำย ยื่นมือซ้ำยใ้​้ ตัวพระจับ มือขวำจีบ้งำย ระดับชำยพก แล้วแตะเท้ำ ซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียง ซ้ำย ้น้ำมองตัวพระ

แถว

ตัวพระ มือซ้ำยป้อง้น้ำ ถอนเท้ำ ซ้ำย ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ เอียง ขวำ จำกนั้นวิ่งจับมือตัวนำง เป็นวงกลม

ตัวนำง มือขวำแบ้งำยปลำยนิ้วตก แขนงอระดับเอว ถอนเท้ำ ซ้ำย ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ เอียง ขวำ จำกนั้นวิ่งจับมือกับตัว พระเป็นวงกลม

๕๓

เพลง จึงนิยมสืบ มำ

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๖๗

๕๔

เพลง ครำยินดี

แถว

ตัวพระ ้ันตัวมำด้ำน้น้ำ แทงมือ ซ้ำยตั้งวงบน มือขวำแบ้งำย ปลำยนิ้วตกแขนงอระดับไ้ล่ ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ กระดกเท้ำ ซ้ำย เอียงซ้ำย

ตัวนำง ้ันตัวมำด้ำน้น้ำ แทงมือ ซ้ำยตั้งวงบน มือขวำแบ ้งำยปลำยนิ้วตกแขนงอ ระดับไ้ล่ ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ กระดกเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

แถว

ตัวพระ พนมมือทั้งสองระดับอก นั่ง ลงตั้งเข่ำขวำ ้น้ำตรง

ตัวนำง พนมมือทั้งสองระดับอก นั่ง ลงตั้งเข่ำขวำ ้น้ำตรง

๕๕

เพลง มนัสน้อม บูชำ

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๖๘

๕๖

เพลง ครูอำจำรย์

แถว

ตัวพระ เดินมือพนมขึ้นระดับศีรษะ

ตัวนำง เดินมือพนมขึ้นระดับศีรษะ

แถว

ตัวพระ เดินมือลง นั่งคุกเข่ำ จำกนั้น พลิกมือขวำตั้งวงบน มือซ้ำย ้ยิบจีบแล้วเปลี่ยนเป็นจีบ้ งำนแขนงอระดับเอว ตั้งเข่ำ ขวำ เอียงซ้ำย

ตัวนำง เดินมือลง นั่งคุกเข่ำ จำกนั้น พลิกมือขวำตั้งวงบน มือซ้ำย ้ยิบจีบแล้วเปลี่ยนเป็นจีบ้ งำนแขนงอระดับเอว กระดก เสี้ยวเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

๕๗

เพลง สร้ำงสืบสำน นำฏกรรม

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๖๙

๕๘

เพลง นำฏกรรม นำสุขศรี

แถว

ตัวพระ นั่งคุกเข่ำมือขวำตั้งวงบน มือ ซ้ำยจีบ้งำยระดับวง้น้ำ เอียงซ้ำย จำกนั้นพลิกมือขวำ ตั้งวงบัวบำน ม้วนมือซ้ำยตั้ง วง้น้ำ ตั้งเข่ำขวำ เอียงขวำ

ตัวนำง นั่งคุกเข่ำมือขวำตั้งวงบน มือ ซ้ำยจีบ้งำยระดับวง้น้ำ เอียงซ้ำย จำกนั้นพลิกมือ ขวำตั้งวงบัวบำน ม้วนมือ ซ้ำยตั้งวง้น้ำ ตั้งเข่ำขวำ เอียงขวำ

แถว

ตัวพระ ลุกยืนขึ้น มือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำจีบ้งำยระดับวง้น้ำ เอียงขวำ จำกนั้นพลิกมือซ้ำย ตั้งวงบัวบำน ม้วนมือขวำตั้ง วง้น้ำ กระดกเท้ำขวำ เอียง ซ้ำย

ตัวนำง ลุกยืนขึ้น มือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำจีบ้งำยระดับวง้น้ำ เอียงขวำ จำกนั้นพลิกมือ ซ้ำยตั้งวงบัวบำน ม้วนมือ ขวำตั้งวง้น้ำ กระดกเท้ำ ขวำ เอียงซ้ำย

๕๙

เพลง ดนตรี

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๗๐

๖๐

เพลง ขอสำนสืบ

แถว

ตัวพระ ซอยเท้ำ มือขวำจีบส่ง้ลัง มือซ้ำยจีบระดับปำกแล้ว ม้วนมือออก เอียงขวำ

ตัวนำง ซอยเท้ำ มือขวำจีบส่ง้ลัง มือซ้ำยจีบระดับปำกแล้ว ม้วนมือออก เอียงขวำ

แถว

ตัวพระ มือขวำจีบปรกข้ำง คล้องมือ กับตัวนำง มือซ้ำยจีบส่ง้ลัง ถอนเท้ำซ้ำย ก้ำว้น้ำเท้ำ ขวำ เอียงขวำ จำกนั้นเดินย่ำ เท้ำเปลี่ยนเอียงสองครั้ง

ตัวนำง ถอนเท้ำซ้ำย ้ัน้ลัง มือขวำ จีบปรกข้ำง คล้องมือกับตัว พระ มือซ้ำยจีบส่ง้ลัง ถอน เท้ำซ้ำย ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้นเดินย่ำเท้ำ เปลี่ยนเอียงสองครั้ง

๖๑

เพลง มั่นดำรงเอย

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๗๑

๖๒

เพลง คงธรณี

แถว

ตัวพระ ้ันตัวไปทำงขวำ มือขวำตั้ง วงบน มือซ้ำยชี้นิ้วคว่ำมือ แขนตึงระดับไ้ล่ ก้ำว้น้ำเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

ตัวนำง ้ันตัวไปทำงขวำ มือขวำตั้ง วงล่ำง มือซ้ำยชี้นิ้วคว่ำมือ แขนตึงระดับไ้ล่ ก้ำว้น้ำเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

แถว

ตัวพระ ้มุนตัวไปทำงด้ำน้ลัง ้ัน ตัวไปทำงซ้ำย มือซ้ำยตั้งวง บน มือขวำจีบคว่ำแขนตึง ระดับไ้ล่ ดึงมือจีบขึ้น ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ

ตัวนำง ้มุนตัวไปทำงด้ำน้ลัง ้ัน ตัวไปทำงซ้ำย มือซ้ำยตั้งวง ล่ำง มือขวำจีบคว่ำแขนตึง ระดับไ้ล่ ดึงมือจีบขึ้น ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ

๖๓

เพลง เอื้อน

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๗๒

๖๔

เพลง เทิดศักดิ์ศรี กำรละคร

แถว

ตัวพระ ้น้ำตัวมำด้ำน้น้ำ ท่ำพร้ม สี่้น้ำ มือทั้งสิงจีบคว่ำแขน งอระดับเอว แล้วเดินมือขึ้น คลำยมือตั้งวงบัวบำน ก้ำว้น้ำเท้ำซ้ำย กระดกเท้ำ ขวำ ้น้ำตรง

ตัวนำง ้น้ำตัวมำด้ำน้น้ำ ท่ำ พร้มสี่้น้ำ มือทั้งสิงจีบคว่ำ แขนงอระดับเอว แล้วเดินมือ ขึ้นคลำยมือตั้งวงบัวบำน ก้ำว้น้ำเท้ำซ้ำย กระดกเท้ำ ขวำ ้น้ำตรง

แถว

ตัวพระ พลิกมือขวำตั้งวงบน มือซ้ำย ตั้งมือแขนตึงระดับไ้ล่ จรด เท้ำขวำ เอียงซ้ำย แล้ววิ่งเพื่อ ตั้งซุ้ม ปฏิบัติสลับกันสองฝั่ง

ตัวนำง พลิกมือขวำตั้งวงบน มือซ้ำย ตั้งมือแขนตึงระดับไ้ล่ จรด เท้ำขวำ เอียงซ้ำย แล้ววิ่ง เพื่อตั้งซุ้ม ปฏิบัติสลับกัน สองฝั่ง

๖๕

เพลง กำรละคร

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๖๖

เพลง บวรเอย

แถว

ตัวพระ ตั้งซุ้ม ดังภำพ

ตัวนำง ตั้งซุ้ม ดังภำพ

แถว

ตัวพระ ท่ำนุ่งผ้ำ ยืนขึ้น แบมือขวำ แตะที่ด้ำน้ลังเอว แบมือ ซ้ำยแตะที่เอวขวำ ก้ำวข้ำง เท้ำขวำ เอียงขวำ

ตัวนำง นั่งคุกเข่ำ ตั้งมือทั้งสอง บริเวณเอวขวำ เอียงขวำ

๖๗

เพลง เพลงเร็ว

รำเบิกโรงละครนอก

๗๓


๗๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๖๘

เพลง เพลงเร็ว

แถว

ตัวพระ ตัวนำง มือทั้งสองตั้งวงล่ำง ก้ำว้น้ำ มือขวำจีบ้งำยระดับชำยพก เท้ำขวำ แล้วประ-ยกเท้ำซ้ำย มือซ้ำยตั้งวงล่ำง ตั้งเข่ำขวำ เอียงขวำ เอียงซ้ำย

แถว

ตัวพระ ตัวนำง ท่ำนุ่งผ้ำ แบมือทั้งสองแตะที่ ท่ำนุ่งผ้ำ ม้วนมือขวำตั้งวง เอว โดยตกปลำยมือลง ก้ำว ล่ำง ช้อนมือซ้ำยจีบ้งำย ข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย ระดับชำยพก ยืนขึ้น กระดก เท้ำซ้ำย เอียงขวำ

๖๙

เพลง เพลงเร็ว

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๗๕

๗๐

เพลง เพลงเร็ว

แถว

ตัวพระ ตัวนำง ้ันตัวไปทำงซ้ำย มือทั้งสอง ้ันตัวไปทำงซ้ำย มือทั้งสอง จีบคว่ำระดับอก ประ-ยกเท้ำ จีบคว่ำระดับอก ประ-ยกเท้ำ ขวำ เอียงขวำ ซ้ำย เอียงขวำ

แถว

ตัวพระ คลำยมือทั้งสองออก ตั้งวง้น้ำ ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นสะดุ้งตัว้ัน มำด้ำน้น้ำ

๗๑

เพลง เพลงเร็ว

ตัวนำง คลำยมือทั้งสองออก ตั้งวง้น้ำ ก้ำวไขว้เท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้นสะดุ้งตัว ้ันไปทำงขวำ

รำเบิกโรงละครนอก


๗๖

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๗๒

เพลง เพลงเร็ว

แถว

รำเบิกโรงละครนอก

ตัวพระ ท่ำใส่เสื้อ มือขวำจีบแล้ว คลำยมือออกตั้งมือแขนตึง ระดับไ้ล่ มือซ้ำยเท้ำสะเอว ยืนแตะเท้ำซ้ำย ตึงขำทั้งสอง ข้ำง เอียงขวำ จำกนั้นทำ สลับอีกข้ำง้นึ่ง

ตัวนำง ท่ำ้่มสไบ มือขวำตั้งวง ระดับอก มือซ้ำยจีบ้งำย ระดับอก ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้น เดินมือ ซ้ำยจีบส่ง้ลัง มือขวำจีบที่ ไ้ล่ซ้ำย ก้ำวไขว้เท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย แล้วสะดุ้งตัว้ันไป ทำงขวำ


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๗๗

๗๓

เพลง เพลงเร็ว

แถว

ตัวพระ มือขวำจีบคว่ำแขนงอระดับ เอว มือซ้ำยแบ้งำยปลำยนิ้ว ตกแขนงอระดับเอว ก้ำว้น้ำ เท้ำซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้น คลำยมือขวำตั้งวงบัวบำน พลิกมือซ้ำยตั้งมือแขนตึง ระดับไ้ล่ จรดเท้ำขวำ เอียง ซ้ำย จำกนั้นจรดเท้ำ แล้ววิ่ง สลับที่กับตัวนำง

ตัวนำง มือซ้ำยจีบคว่ำแขนงอระดับ เอว มือขวำแบ้งำยปลำย นิ้วตกแขนงอระดับเอว ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นคลำยมือซ้ำยตั้งวงบัว บำน พลิกมือขวำตั้งมือแขน ตึงระดับไ้ล่ จรดเท้ำซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้นจรดเท้ำ แล้ววิ่งสลับที่กับตัวพระ

แถว

ตัวพระ ก้ำว้น้ำเท้ำซ้ำย แล้วก้ำว ข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นยักตัว แล้ว้มุน รอบตัว

ตัวนำง ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ แล้วก้ำว ข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้นยักตัว แล้ว้มุน้ัน ้ลัง

๗๔

เพลง เพลงเร็ว

รำเบิกโรงละครนอก


๗๘

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๗๕

เพลง เพลงเร็ว

แถว

ตัวพระ มือซ้ำยจีบคว่ำแขนงอระดับ เอว มือขวำแบ้งำยปลำยนิ้ว ตกแขนงอระดับเอว ก้ำว้น้ำ เท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้น คลำยมือซ้ำยตั้งวงบัวบำน พลิกมือขวำตั้งมือแขนตึง ระดับไ้ล่ จรดเท้ำซ้ำย เอียง ขวำ จำกนั้นจรดเท้ำ แล้ววิ่ง สลับที่กับตัวนำง

ตัวนำง มือซ้ำยจีบคว่ำแขนงอระดับ เอว มือขวำแบ้งำยปลำย นิ้วตกแขนงอระดับเอว ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นคลำยมือซ้ำยตั้งวงบัว บำน พลิกมือขวำตั้งมือแขน ตึงระดับไ้ล่ จรดเท้ำซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้นจรดเท้ำ แล้ววิ่งสลับที่กับตัวพระ

แถว

ตัวพระ ตัวนำง ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ แล้วก้ำวข้ำง ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ แล้วก้ำว เท้ำซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้นยัก ข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ ตัว แล้ว้มุนรอบตัว จำกนั้นยักตัว แล้ว้มุน้ัน มำด้ำน้น้ำ

๗๖

เพลง เพลงเร็ว

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๗๙

๗๗

เพลง เพลงเร็ว

แถว

ตัวพระ ท่ำคว้ำ ้ัน้น้ำเข้ำ้ำตัวนำง มือซ้ำยจีบส่ง้ลัง มือขวำ กรีดนิ้วคว้ำนำงระดับเอว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย แล้ววิ่งสลับที่กับตัวนำง

ตัวนำง ท่ำ้ลบ ้นัน้น้ำเข้ำ้ำตัว พระ มือขวำจีบ้งำยระดับ ชำยพก มือซ้ำยจีบส่ง้ลัง ยืนเ้ลื่อมเท้ำขวำ เอียงขวำ แล้ววิ่งสลับที่กับตัวพระ

แถว

ตัวพระ ทำท่ำคว้ำมือซ้ำย แล้ววิ่ง สลับที่กับตัวนำงอีกครั้ง กลับมำอยู่ตำแ้น่งเดิม

ตัวนำง ทำท่ำ้ลบมือซ้ำย แล้ววิ่ง สลับที่กับตัวพระอีกครั้ง กลับมำอยู่ตำแ้น่งเดิม

๗๘

เพลง เพลงเร็ว

รำเบิกโรงละครนอก


๘๐

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๗๙

เพลง เพลงเร็ว

แถว

ตัวพระ ท่ำคว้ำ ้ัน้น้ำเข้ำ้ำตัวนำง มือซ้ำยเท้ำสะเอว มือขวำ กรีดนิ้วคว้ำนำงระดับเอว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

ตัวนำง ท่ำ้ลบ ้นัน้น้ำเข้ำ้ำตัว พระ มือขวำจีบ้งำยระดับ ชำยพก มือซ้ำยจีบส่ง้ลัง ยืนเ้ลื่อมเท้ำขวำ เอียงขวำ

แถว

ตัวพระ ทำท่ำคว้ำมือซ้ำย

ตัวนำง ทำท่ำ้ลบมือซ้ำย

๘๐

เพลง เพลงเร็ว

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๘๑

๘๑

เพลง เพลงเร็ว

แถว

ตัวพระ ท่ำจับนำง มือทั้งสองจีบคว่ำ ระดับอก แล้วคลำยมือออก จับมือตัวนำง ก้ำว้น้ำเท้ำ ซ้ำย เอียงซ้ำย ้น้ำมองนำง แล้วปล่อยมือเมื่อตัวนำงสลัด ออก

ตัวนำง ท่ำจับนำง มือทั้งสองจีบคว่ำ ระดับอก ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นคลำยมือตั้ง สองออก มือขวำตั้งวงบน มือ ซ้ำยตั้งมือแขนตึงระดับไ้ล่ โดยตัวพระจะจับมือทั้งสอง ข้ำง ก้ำว้น้ำเท้ำซ้ำย เอียง ซ้ำย ้น้ำมองพระ แล้วสลัด มือออก

แถว

ตัวพระ ท่ำยิ้ม มือขวำเท้ำสะเอว มือ ซ้ำยจีบกรีดนิ้วระดับปำก ยืน แตะเท้ำขวำ ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย ้น้ำมองตัวนำง

ตัวนำง ท่ำอำย ม้วนมือจีบซ้ำยแบ แตะที่แก้มซ้ำย มือขวำจีบส่ง ้ลัง ก้ำวไขว้เท้ำซ้ำยเอียง ซ้ำย

๘๒

เพลง เพลงเร็ว

รำเบิกโรงละครนอก


๘๒

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๘๓

เพลง เพลงเร็ว

แถว

ตัวพระ สะดุดเท้ำขวำ มือขวำจับมือ ตัวนำง มือซ้ำยเท้ำสะเอว แล้วยืนแตะเท้ำขวำ ตึงขำทั้ง สองข้ำง เอียงขวำ ้น้ำมอง ตัวนำง

ตัวนำง สะดุดเท้ำซ้ำย ยื่นมือซ้ำยใ้​้ ตัวพระจับ มือขวำจีบ้งำย ระดับชำยพก แล้วแตะเท้ำ ซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียง ซ้ำย ้น้ำมองตัวพระ

แถว

ตัวพระ ตัวนำง มือขวำจับกับตัวนำง มือซ้ำย มือซ้ำยจับกับตัวพระ มือขวำ ตั้งมือแขนตึงระดับไ้ล่ ประ- แบ้งำยปลำยนิ้วตก แขนตึง ยกเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย ระดับไ้ล่ ประ-ยกเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

๘๔

เพลง เพลงเร็ว

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๘๓

๘๕

เพลง เพลงเร็ว

แถว

ตัวพระ วำดมือซ้ำยลงแล้วพลิกแบ ้งำยปลำยนิ้วตกแขนตึง ระดับไ้ล่ ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

ตัวนำง วำดมือขวำขึ้นแล้วพลิกตั้ง มือแขนตึงระดับไ้ล่ ก้ำว ข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

แถว

ตัวพระ กระทุ้งเท้ำขวำ แล้วยืน เ้ลื่อมเท้ำซ้ำย พลิกมือซ้ำย ตั้งมือแขนตึงระดับไ้ล่ เอียง ซ้ำย จำกนั้นเดินจับมือตัวนำงใน ท่ำรำส่ำย พร้อมกับถัดเท้ำ แปรแถว

ตัวนำง กระทุ้งเท้ำขวำ แล้วยืน เ้ลื่อมเท้ำซ้ำย พลิกมือขวำ แบ้งำยปลำยนิ้วตกแขนตึง ระดับไ้ล่ เอียงซ้ำย จำกนั้นเดินจับมือตัวพระใน ท่ำรำส่ำย พร้อมกับถัดเท้ำ แปรแถว

๘๖

เพลง เพลงเร็ว

รำเบิกโรงละครนอก


๘๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๘๗

เพลง เพลงเร็ว

แถว

ตัวพระ ตัวนำง ท่ำโลมบน เดินถัดเท้ำ มือทั้ง ท่ำโลมบน มือทั้งสองจีบแตะ สองจีบแตะที่ไ้ล่นำง ทีไ่ ้ล่ กันมือตัวพระออก

แถว

ตัวพระ ตัวนำง ท่ำเชยคำง มือขวำจับที่้ลัง ท่ำเชยคำง มือขวำเท้ำสะเอว นำง มือซ้ำยจีบแตะที่คำงนำง มือซ้ำยจีบที่คำง กันมือตัว พระออก

๘๘

เพลง เพลงเร็ว

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๘๕

๘๙

เพลง เพลงเร็ว

แถว

ตัวพระ ตัวนำง ท่ำโลม มือซ้ำยเท้ำสะเอว มือ ท่ำโลม มือซ้ำยเท้ำสะเอว ขวำตั้งมือแตะบริเวณ้น้ำอก มือขวำตั้งมือปัดมือตัวพระ ของตัวนำง ออก

แถว

ตัวพระ ตัวนำง เดินท่ำรำส่ำย รอ้มดจัง้วะ เดินท่ำรำส่ำย รอ้มดจัง้วะ

๙๐

เพลง เพลงเร็ว

รำเบิกโรงละครนอก


๘๖

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๙๑

เพลง เพลงลำ

แถว

ตัวพระ มือทั้งสองล่อแก้ว้งำยระดับ อก แล้วคลำยมือออกล่อแก้ว ระดับวงบน จรดเท้ำขวำ เอียงขวำ วิ่งควงกับตัวนำง

ตัวนำง ้ัน้ลังมือทั้งสองล่อแก้ว ้งำยระดับอก แล้วคลำยมือ ออกล่อแก้วระดับวงบน จรด เท้ำขวำ เอียงขวำ วิ่งควงกับ ตัวพระ

แถว

ตัวพระ พลิกมือทั้งสองล่อแก้วระดับ วงกลำง จรดเท้ำซ้ำย เอียง ซ้ำย วิ่งควงกับตัวนำง

ตัวนำง พลิกมือทั้งสองล่อแก้วระดับ วงกลำง จรดเท้ำซ้ำย เอียง ซ้ำย วิ่งควงกับตัวพระ

๙๒

เพลง เพลงลำ

รำเบิกโรงละครนอก


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๘๗

๙๓

เพลง เพลงลำ

แถว

ตัวพระ คลำยมือขวำตั้งวงบน มือซ้ำย จีบ้งำยระดับชำยพก จรด เท้ำขวำ เอียงขวำ วิ่งควงกับ ตัวนำง

ตัวนำง คลำยมือขวำตั้งวงบน มือ ซ้ำยจีบ้งำยระดับชำยพก จรดเท้ำขวำ เอียงขวำ วิ่ง ควงกับตัวพระ

แถว

ตัวพระ ตัวนำง เดินมือซ้ำยขึ้นจีบปรกข้ำง เดินมือซ้ำยขึ้นจีบปรกข้ำง มือขวำตั้งวงล่ำง จรดเท้ำซ้ำย มือขวำตั้งวงล่ำง จรดเท้ำ เอียงซ้ำย วิ่งควงกับตัวนำง ซ้ำย เอียงซ้ำย วิ่งควงกับตัว พระ

๙๔

เพลง เพลงลำ

รำเบิกโรงละครนอก


๘๘

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๙๕

เพลง เพลงลำ

แถว

ตัวพระ ้ันตัวไปทำงซ้ำย มือทั้งสอง กรีดนิ้ว มือซ้ำยตั้งวงบน มือ ขวำตั้งวงล่ำง ก้ำวไขว้เท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย ้มุนตัวไปทำงขวำ จำกนั้นทำสลับอีกข้ำง้นึ่ง

ตัวนำง ้ันตัวไปทำงขวำ มือทั้งสอง กรีดนิ้ว มือขวำตั้งวงบน มือ ซ้ำยตั้งวงล่ำง ก้ำวไขว้เท้ำขวำ เอียงขวำ ้มุนตัวไปทำงซ้ำย จำกนั้นทำสลับอีกข้ำง้นึ่ง

แถว

ตัวพระ ท่ำจับนำง มือทั้งสองจีบคว่ำ ระดับอก แล้วคลำยมือออก จับมือตัวนำง ยืนแตะเท้ำซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย ้น้ำมองนำง

ตัวนำง มือทั้งสองจีบคว่ำระดับอก ก้ำว้น้ำเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นคลำยมือตั้งสองออก มือขวำตั้งวงบน มือซ้ำยตั้งมือ แขนตึงระดับไ้ล่ โดยตัวพระ จะจับมือทั้งสองข้ำง ยืนแตะ เท้ำซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย ้น้ำมองพระ

๙๖

เพลง เพลงลำ

รำเบิกโรงละครนอก


รำฉุยฉำยไกรทอง

รำฉุย ฉำยไกรทอง เป็น กำรรำที่แสดงถึงบุคลิก ลักษณะ กำรแต่งกำยของตัว ละครสำคัญ “ไกรทอง” เพื่อจะไปปรำบชำลวันที่ท่ำน้ำเมืองพิจิตร จัดแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ประกอบกำรแสดง ละครเสภำ เรื่องไกรทอง ตอนพ้อล่ำง ประพันธ์บทโดย นำยปัญญำ นิตยสุวรรณ อดีตนักวิชำกำรละคร และดนตรี ๙ ชช. ประดิษฐ์ท่ำรำโดยนำยธงไชย โพธยำรมย์ อดีตนำฏศิลปิน ๙ (ชวลิต สุนทรำนนท์, ผู้ให้สัมภำษณ์, ๗ มิถุนำยน ๒๕๕๙) เนื้อเรื่องย่อไกรทอง กล่ำวถึงเมืองพิจิตรมีถ้ำใต้น้ำแห่งหนึ่ง มีแก้ววิเศษส่องสว่ำงอยู่ภำยใน มีจระเข้มำอำศัยอยู่ซึ่ง จระเข้ที่เข้ำมำอยู่ในถ้ำจะกลำยร่ำงเป็นมนุษย์และอิ่มทิพย์ไม่ต้องกินอำหำร แต่อย่ำงใด ท้ำวรำไพเป็นพระยำจระเข้รักษำศีลอยู่ในถ้ำนั้น มีบุตรชื่อท้ำวโคจร และมีหลำนชื่อพระยำ ชำลวัน เมื่อท้ำวโคจรมีเหตุวิวำทกับ จระเข้ตัว อื่นจนกัดกันตำย ท้ำวรำไพจึงมอบอำนำจให้ช ำลวัน ปกครองเหล่ำจระเข้ในถ้ำนั้น ชำลวันมีนิสัยชอบกินเนื้อมนุษย์ จึงมักจะออกไปหำเนื้อมนุษย์กินอยู่เสมอ มีเมียอยู่สองคนคือ วิมำลำและเลื่อมลำยวรรณ วันหนึ่งชำลวันออกหำเนื้อมนุษย์กินจนมำถึงท่ำน้ำที่นำงตะเภำทองและ นำงตะเภำแก้ว ธิดำของเศรษฐีเมืองพิจิตร กำลังเล่นน้ำอยู่กับบ่ำวไพร่ ชำลวันเห็นนำงตะเภำทอง มีรูปร่ำงหน้ำตำสวยงำมก็นึกรัก จึงตรงเข้ำไปคำบนำงตะเภำทองกลับไปยังถ้ำ เมื่อนำงฟื้นขึ้นก็พูดจำ เกี้ยวพำจนได้นำงเป็นเมีย ระหว่ำงที่ชำลวันนอนหลับอยู่นั้น นำงวิมำลำและเลื่อมลำยวรรณทรำบว่ำ สำมีได้ผู้หญิงใหม่มำเป็นเมียจึงชวนกันมำดู เห็นนำงตะเภำทองจึงเข้ำไปพูดจำถำกถำงด้วยควำมหึงหวง แล้วเกิดทะเลำะด่ำว่ำกัน จนพระยำชำลวันตื่นขึ้นเข้ำห้ำมและข่มขู่ทั้งสำมจึงเลิกลำกันไป ฝ่ำยเศรษฐีเมืองพิจิตรเมื่อทรำบว่ำจระเข้คำบนำงตะเภำทองไปก็เข้ำใจว่ำลูกสำวตำยแล้ว เที่ยวให้คนออกหำศพก็ ไม่พบ จึงประกำศหำหมอมำปรำบจระเข้นั้น แต่ชำลวันมีเขี้ยวแก้วกำยสิทธิ์ คุ้มครอง หมอจระเข้จึงไม่อำจทำอะไรได้ และยังถูก ชำลวันฆ่ำตำยเสียมำก เศรษฐีจึงประกำศว่ำหำก ใครสำมำรถฆ่ำชำลวันได้จะยกนำงตะเภำแก้วให้เป็นเมีย และจะแบ่งสมบัติให้กึ่งหนึ่งด้วย ขณะนั้นไกร ทอง เป็นชำวเมืองนนทบุรีคุมเรือขึ้นมำค้ำขำยที่มืองพิจิตร และได้ร่ำเรียนวิชำอำคมจำกพระครูที่วัด หน้ำพระธำตุจนชำนำญ ครั้น ได้ยินประกำศก็คิดอำสำปรำบชำลวัน จึงไปปรึกษำพระอำจำรย์ พระ อำจำรย์ได้มอบหอกสตโลหะให้เพื่อใช้ปรำบชำลวัน ไกรทองเมื่อทำสัญญำกับเศรษฐีต่อหน้ำกรมกำร เมืองพิจิตร แล้วจึงตั้งพิธีที่หำดทรำยริมน้ำ ชำลวันเมื่อไกรทองตั้งพิธีก็ฝันว่ำไฟไหม้ถ้ำ และมีเทวดำมำสังหำรตน นำงวิมำลำจึงแนะให้แก้ฝัน กับท้ำวรำไพ ท้ำวรำไพจึงว่ำฝันร้ำยนัก ให้ถือศีลรักษำตัวอยู่ในถ้ำห้ำมออกไปไหนจนกว่ำจะสิ้นเครำะห์ ชำลวันจึงให้บริวำรปิดปำกถ้ำเอำไว้ แต่เมื่อไกรทองอ่ำนมนต์เรียกทำให้ชำลวันกลัดกลุ้มใจจนทนอยู่ ไม่ได้ จึงทำลำยปำกถ้ำแล้วกลำยเป็นจระเข้มำทำงที่ไกรทองทำพิธี แล้วเข้ำไปเกยแพหวังจะกัดไกรทอง ให้ตำย แต่ไกรทองมีวิชำอำคมจึงเข้ำต่อสู้และแทงถูกชำลวันบำดเจ็บ จนต้องหนีกลับไปยังถ้ำ ไปขอ รำฉุยฉำยไกรทอง


๙๐

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

ควำมช่วยเหลือจำกท้ำวรำไพแต่ท้ำวรำไพไม่เข้ำด้วยเพรำะเหตุมำจำกควำมชั่วของชำลวันเอง ชำลวัน น้อยใจจึงกลับมำพักรักษำตัวอยู่กับนำงวิมำลำ ฝ่ำยไกรทองเห็นชำลวันดำน้ำหำยไปจึงจุดเทียนระเบิดน้ำติดตำมมำจนถึงถ้ำ จระเข้บริวำร เห็นมนุษย์บุกเข้ำมำก็ตกใจหนีไปหมดเหลือแต่วิ มำลำอยู่นอกห้อง ไกรทองจึงเข้ำไปฉวยข้อมือแล้ว บังคับให้บอกว่ำชำลวันอยู่ที่ไหน แต่วิมำลำไม่ยอมบอก ไกรทองก็ข่มขู่จนนำงวิมำลำร้องขึ้น ชำลวันได้ยิน เสียงเมียจึงออกมำช่วยจนรบกับไกรทอง แต่ก็แพ้ถูกไกรทองจับมัดไว้ในร่ำงจระเข้ ไกรทองคิดว่ำชำลวัน แปลงร่ำงเห็นมนุษย์ได้จึงน่ำจะลักนำงตะเภำทองมำเป็นเมีย ก็ออกเดินหำจนพบ แต่ตะเภำทองเมื่อตก เป็นเมียจระเข้ก็ถูกรังควำนเข้ำสิงทำให้พูดไม่ได้ ไกรทองจึงพำนำงขี่ชำลวันขึ้นมำบนบก นำมำส่งต่อยัง กรมกำรเมืองพิจิตร เศรษฐีขอให้ช่วยนำงตะเภำทอง ไกรทองจึงใช้หอกสตโลหะสังหำรชำลวัน ตะเภำทอง จึงกลับมำเป็นปกติ เศรษฐีจึงยกนำงตะเภำแก้ว พร้อมกับแบ่งสมบัติให้ตำมสัญญำ แล้วยังยกนำง ตะเภำทองให้ด้วยอีกคน ไกรทองจึงครองสมบัติกับนำงทั้งสองที่บ้ำนเศรษฐีตั้งแต่นั้นมำ อยู่มำวันหนึ่งไกรทองนึกถึงนำงวิมำลำเมียชำลวันที่อยู่ ในถ้ำ มีรูปร่ำงสวยงำมก็คิดจะลงไป เกี้ยวพำ จึงแสร้งบอกภรรยำทั้งสองว่ำจะไปปรนนิบัติพระอำจำรย์สักระยะหนึ่ง แล้วจึงลอบระเบิดน้ำ ลงมำที่ถ้ำ นำงวิมำลำเมื่อชำลวันตำยก็ให้เศร้ำโศกเสียใจ เมื่อไกรทองมำเกี้ยวพำนก็หนีปิดประตูลั่นดำลเสีย ไกรทองร่ำยมนต์สะเดำะดำลเปิดประตูเข้ำไปสัญญำว่ำจะอยู่เป็นคู่ครองแล้วเป่ำมนต์เทพรัญจวนทำให้ วิมำลำรัก และได้นำงเป็นเมีย ไกรทองสมสู่อยู่กับนำงวิมำลำมำได้ระยะเวลำหนึ่งก็นึกถึงบ้ำน จึงพำวิมำลำ กลับขึ้นมำด้วยโดยเสกแหวนใส่ไว้ในมวยผมแล้วลงเลขยันต์ปิดกลำงศีรษะของนำงเพื่อไม่ให้กลำยร่ำง กลับเป็นจระเข้ ไกรทองพำนำงมำพักที่ศำลำในสวนของเศรษฐี ตำยำยที่เฝ้ำศำลำเห็นไกรทองพำผู้หญิงอื่น มำจึงรีบไปบอกตะเภำแก้วตะเภำทอง สองนำงด้วยควำมหึงหวงจึงชวนบรรดำบ่ำวไพร่ออกไปที่ศำลำ ทันที ครั้นมำถึงศำลำเห็นปิดประตูลงกลอนข้ำงใน มีเสียงคนพูดกันอยู่ก็ร้องเรียกให้เปิดประตู ไกรทอง เห็นเมียมำก็แกล้งพูดจำแก้เก้อ แต่ไม่ยอมเปิดประตู ทั้งสองนำงจึงให้บ่ำวไพร่พังประตูเข้ำไปเห็นไกรทอง อยู่กับนำงวิมำลำ ก็เข้ำไปตัดพ้อต่อว่ำ ตะเภำทองจำวิมำลำได้ก็บอกตะเภำแก้วว่ำนำงคนนี้เป็นเมียชำลวัน ชื่อวิมำลำ ทั้งสำมจึงมีปำกเสียงด่ำทอกัน ตะเภำทองตะเภำแก้วให้บ่ำวไพร่ช่วยกันรุมตบตี วิมำลำทน ไม่ไหวก็แก้แหวนและเลิกยันต์ออกกลับเป็น จระเข้ ไล่กัดสองนำงและบริวำรหนีไป ไกรทองจึงให้นำง กลับไปคอยอยู่ที่ถ้ำก่อน หลังจำกนั้นไกรทองก็ไปโลมทั้งสองนำงจนหำยโกรธ แล้วจึงเทียวไปมำหำนำง วิมำลำที่ในถ้ำอยู่เสมอ

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๙๑

เครื่องแต่งกำย กำรแต่งกำยรำฉุยฉำยไกรทองมีลักษณะกำรแต่งกำยตำมสถำนภำพหรือฐำนะของตัวละคร คือ แต่งกำยแบบชำวบ้ำน โดยสวมเสื้อลงยันต์ นุ่งโจงกระเบน มีผ้ำคำดเอว คอผู้ผ้ำประเจียด และ ศีรษะสวมมงคล ซึ่งเป็นลักษณะกำรแต่งกำยของผู้มีวิชำอำคม

ภำพ ๓ เครื่องแต่งกำยรำฉุยฉำยไกรทอง ที่มำ : ดร.ธีรเดช กลิ่นจันทร์ บทประกอบกำรแสดง - ปี่พำทย์ทำเพลงฉุยฉำย- ร้องเพลงฉุยฉำย ฉุยฉำยเอย เจ้ำไกรทองแคล่วคล่องกรีดกรำย แต่งตัวรัดกุมเป็นหนุ่มสมชำย สวมมงคลมนต์กำจำยบนศีรษะ ใครเห็นเป็นหลงงวยงงเสน่ห์ กรุ้มกริ่มยิ้มเผล่ปรำบจระเข้ด้วยเดชะ - ร้องเพลงแม่ศรี แม่ศรีเอย แม่ศรีหมอจระเข้ ชื่นอำรมณ์สมคะเน จะบำรำบชำลวัน วำงปึ่งผึ่งผำย สมเป็นชำยฉกรรจ์ สำวหลงงงงัน อยำกสัมพันธ์ไกรทองเอย - ปี่พำทย์ทำเพลงเร็ว, ลำ รำฉุยฉำยไกรทอง


๙๒

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

ท่ำรำ ๑

เพลง เพลงฉุยฉำย

ท่ำรำ มือขวำควงหอก กำมือซ้ำยเท้ำสะเอว เดินออกมำวนหน้ำเวที

เพลง เพลงฉุยฉำย

ท่ำรำ ยืนแตะเท้ำซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง เฉียงตัวไปทำงขวำเล็กน้อย มือขวำถือหอก ขัดไว้ด้ำนหลังและที่แขนซ้ำย มือซ้ำยกำมือ เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๙๓

เพลง เอื้อน

ท่ำรำ ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงซ้ำย มือซ้ำยจีบหงำยแล้วม้วนมือตั้งมือแขนตึง ระดับไหล่ มือขวำถือหอกระดับวงกลำงแล้วช้อนมือถือหอกหักข้อมือขึ้น แขน ตึงระดับไหล่ ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำย ขยั่นเท้ำ เอียงซ้ำย

เพลง เอย ฉุย

ท่ำรำ จรดเท้ำซ้ำย มือขวำถือหอกหักข้อมือระดับชำยพก มือซ้ำยจีบส่งหลัง จรด เท้ำขวำ ซอยเท้ำ เอียงขวำ ซอยเท้ำหมุนตัวไปทำงขวำ

รำฉุยฉำยไกรทอง


๙๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

เพลง ฉำยเอย

ท่ำรำ หันตัวไปทำงขวำ ม้วนมือขวำถือหอกตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ ช้อนมือซ้ำยจีบ หงำยแขนตึงระดับไหล่ ถอนเท้ำซ้ำยก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ

เพลง เจ้ำไกรทอง

ท่ำรำ มือขวำถือหอกระดับวงล่ำง มือซ้ำยชี้นิ้วหัวแม่มือเข้ำอก สะดุดเท้ำซ้ำย แล้ว ยืนแตะเท้ำซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๙๕

เพลง แคล่วคล่อง

ท่ำรำ หันตัวมำด้ำนหน้ำ มือซ้ำยจีบคว่ำ มือขวำหงำยมือถือหอกแขนงอระดับเอว ยกเท้ำซ้ำย เผ่นตัวขึ้น เอียงขวำ จำกนั้นสอดจีบมือซ้ำยแบหงำยปลำยนิ้วตก แขนงอระดับไหล่ พลิกมือขวำถือหอกตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ ก้ำวเท้ำซ้ำย ยกเท้ำขวำ เผ่นตัวขึ้น เอียงซ้ำย

เพลง กรีดกรำย

ท่ำรำ ยืนแตะเท้ำซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง มือขวำคว่ำมือทิ้งปลำยหอกลงแล้วปัด ปลำยหอกขึ้น มือซ้ำยตั้งวงล่ำง เอียงซ้ำย มองปลำยหอก จำกนั้นก้ำวเท้ำซ้ำย แตะเท้ำขวำตึงขำทั้งสองข้ำง มือขวำถือหอกระดับวงล่ำง มือซ้ำยจีบคว่ำแขน ตึงระดับเอว แล้วปลำยจีบดึงมือขึ้นตั้งมือระดับไหล่ เอียงขวำ มองไปทีม่ ือ

รำฉุยฉำยไกรทอง


๙๖

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

เพลง รับปี่

ท่ำรำ รำซ้ำท่ำตั้งแต่บทเอื้อน จนถึง “กรีดกรำย”

๑๐

เพลง แต่งตัวรัดกุม

ท่ำรำ ถอนเท้ำขวำ เฉียงตัวไปทำงขวำเล็กน้อย มือขวำถือหอกระดับวงล่ำง แบมือ ซ้ำยแตะบริเวณชำยพก กรีดนิ้วเล็กน้อย แตะเท้ำซ้ำยตึงขำทั้งสองข้ำง เอียง ซ้ำย ก้มหน้ำเล็กน้อย

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๙๗

๑๑

เพลง เป็นหนุ่มสมชำย

ท่ำรำ ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวเฉียงซ้ำย มือขวำถือหอกระดับวงล่ำง กำมือซ้ำยเท้ำ สะเอว แตะเท้ำขวำ ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงขวำ

๑๒

เพลง สวมมงคล มนต์กำจำย

ท่ำรำ หันตัวมำด้ำนหน้ำ มือขวำถือหอกหักข้อมือระดับอก มือซ้ำยตั้งวงระดับอก ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้น ม้วนมือขวำถือหอกระดับวงบน เดินมือ ซ้ำยจีบตะแคงคู่กับมือขวำ ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ กระดกเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

รำฉุยฉำยไกรทอง


๙๘

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๓

เพลง บนศีรษะ

ท่ำรำ หันตัวเฉียงซ้ำย สะดุดเท้ำขวำ มือขวำชี้นิ้วที่ศีรษะโดยปัดข้อศอกไปทำงซ้ำย มือซ้ำยถือหอกระดับวงล่ำง แตะเท้ำขวำตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงขวำ ก้มหน้ำ เล็กน้อย เปิดหน้ำมองมำด้ำนหน้ำ

๑๔

เพลง รับปี่

ท่ำรำ รำซ้ำท่ำตั้งแต่บท “แต่งตัวรัดกุม” จนถึง “บนศีรษะ”

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๙๙

๑๕

เพลง ใครเห็น

ท่ำรำ หันตัวไปทำงขวำ มือขวำถือหอกระดับวงล่ำง มือซ้ำยชี้นิ้วกวำดมือระดับอก ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ วิ่งหันตัวไปทำงซ้ำย

๑๖

เพลง เป็นหลง

ท่ำรำ เปลี่ยนมือซ้ำยถือหอกระดับวงล่ำง มือขวำล่อแก้วระดับชำยพกแล้วม้วนมือ ออก ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยไกรทอง


๑๐๐

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๗

เพลง งวยงงเสน่ห์

ท่ำรำ หันตัวไปทำงขวำ สะดุดเท้ำซ้ำย มือทั้งสองประกบกันระดับอกโดยหอกอยู่ ตรงกลำงตั้งปลำยหอกขึ้น เคล้ำมือเล็กน้อย แตะเท้ำซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย

๑๘

เพลง กรุ้มกริ่มยิ้มเผล่

ท่ำรำ ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย มือขวำถือหอกระดับวงล่ำง กำมือซ้ำยเท้ำ สะเอว แตะเท้ำขวำ ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย ส่ำยไหล่เล็กน้อย แล้วยิ้ม

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๐๑

๑๙

เพลง ปรำบจระเข้

ท่ำรำ หันตัวไปทำงขวำ กระโดดเล็กน้อยแล้วก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย โยนหอกขึ้นแล้ว หงำยมือรับหอกระดับไหล่ หันปลำยหอกมำด้ำนหน้ำ มือซ้ำยตั้งวงล่ำง เอียง ขวำ

๒๐

เพลง ด้วยเดชะ

ท่ำรำ หันตัวมำด้ำนหน้ำ มือขวำถือหอกตั้งปลำยด้ำมลงกับพื้น มือซ้ำยเท้ำสะเอว จำกนั้นใช้เท้ำขวำเตะด้ำมหอกขึ้น ให้ด้ำมพำดที่แขนซ้ำย มือซ้ำยตั้งวงบัว บำน มือขวำจับหอกระดับวงหน้ำ ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย หันตัวไป ทำงซ้ำย แล้ววิ่งวนไปทำงขวำ

รำฉุยฉำยไกรทอง


๑๐๒

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๑

เพลง รับปี่

ท่ำรำ รำซ้ำท่ำตั้งแต่บท “ใครเห็นเป็นหลง” จนถึงบท “ปรำบจระเข้ด้วยเดชะ”

๒๒

เพลง ปี่พำทย์รับ

ท่ำรำ หันตัวมำด้ำนหน้ำ มือขวำถือหอกหักข้อมือขึ้น แล้วม้วนออก ตั้งมือแขนตึง ระดับไหล่ มือซ้ำยตั้งมือแล้วช้อนมือจีบหงำยแขนตึงระดับไหล่ ถอนเท้ำซ้ำย ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้นทำท่ำในลักษณะเดียวกันสลับข้ำง ฉำยเท้ำ ขึ้นหน้ำสำมครั้ง ลงหลังอีกสำมครั้ง

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๐๓

๒๓

เพลง ปี่พำทย์รับ

ท่ำรำ ท้ำยเพลง หันตัวไปทำงซ้ำย มือขวำถือหอกหักข้อมือลง แขนงอระดับเอว มือ ซ้ำยแบหงำยปลำยนิ้วตกแขนงอระดับเอว ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำยเอียงขวำ จำกนั้น พลิกมือขวำถือหอกหักข้อมือขึ้น แขนตึงระดับไหล่ มือซ้ำยตั้งวงบน แตะเท้ำ ขวำ ย่อตัว เอียงซ้ำย

๒๔

เพลง แม่ศรีเอย

ท่ำรำ แตะเล่นเท้ำขวำสองครั้ง พร้อมกับม้วนมือขวำถือหอกหักข้อมือออก แล้ว ช้อนมือหักข้อมือเข้ำ หันตัวมำด้ำนหน้ำ

รำฉุยฉำยไกรทอง


๑๐๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๕

เพลง แม่ศรีหมอจระเข้

ท่ำรำ หันตัวเฉียงขวำ มือขวำถือหอกระดับวงบน หันปลำยหอกออกด้ำนหน้ำ มือ ขวำตั้งวงล่ำง ก้ำวเท้ำขวำแล้วยกเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

๒๖

เพลง ชื่นอำรมณ์

ท่ำรำ ท่ำยิ้ม มือขวำถือหอกระดับวงล่ำง มือซ้ำยจีบกรีดนิ้วที่ปำก ยืนแตะเท้ำขวำ ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๐๕

๒๗

เพลง สมคะเน

ท่ำรำ รวมมือทั้งสองระดับเอว ถอนเท้ำขวำ แตะเท้ำซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียง ขวำ

๒๘

เพลง จะบำรำบ

ท่ำรำ แยกมือทั้งสองที่รวมมือกันออก ลักษณะแบคว่ำ ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

รำฉุยฉำยไกรทอง


๑๐๖

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๙

เพลง ชำลวัน

ท่ำรำ วิ่งขึ้นมำด้ำนหน้ำเวที หันตัวไปทำงซ้ำย มือขวำถือหอกคว่ำมือ แทงปลำย หอกไปด้ำนหน้ำ ให้ปลำยตกพื้นเล็กน้อย มือซ้ำยตั้งวงบน ยกเท้ำซ้ำย เผ่นตัว ขึ้น เอียงขวำ

๓๐

เพลง รับปี่

ท่ำรำ รำซัดท่ำผำลำเพียงไหล่ วิ่งลงหลังหันตัวไปทำงขวำ ม้วนมือขวำถือหอกระดับ วงบน พลิกมือซ้ำยแบหงำยปลำยนิ้วตกแขนงอ ระดับเอว เอียงซ้ำย จำกนั้น เดินตำมจังหวะเพลง เปลี่ยนมือซ้ำยตั้งวงล่ำง แล้วพลิกกลับเป็นแบหงำย ปลำยนิ้วตกระดับเอวดังเดิม ทำสลับกัน เดินหันตัวไปทำงซ้ำย

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๐๗

๓๑

เพลง รับปี่

ท่ำรำ ท้ำยรับปี่ วิ่งขึ้นมำด้ำนหน้ำเล็กน้อย แทงมือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำถือหอก ระดับวงล่ำง ก้ำวขวำ เท้ำซ้ำย แล้วกระดกเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

๓๒

เพลง วำงปึ่งผึ่งผำย

ท่ำรำ กำมือทั้งสองกำงแขนออกด้ำนข้ำงลำตัว ถอนเท้ำขวำ แตะเท้ำซ้ำยตึงขำทั้ง สองข้ำง ตึงแขนซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้นถอนเท้ำซ้ำย แตะเท้ำขวำตึงขำทั้งสอง ข้ำง ตึงแขนขวำ เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยไกรทอง


๑๐๘

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๓๓

เพลง สมเป็นชำย

ท่ำรำ มือขวำถือหอกวำงปลำยด้ำมลงเคำะกับพื้น ปลำยหอกตั้งตรง มือซ้ำยเท้ำ สะเอว เอียงซ้ำย

๓๔

เพลง ฉกรรจ์

ท่ำรำ ก้ำวเท้ำซ้ำย แล้วยกเท้ำขวำ โดยปลำยเท้ำขวำแตะที่ด้ำมหอก พยักหน้ำ เล็กน้อย

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๐๙

๓๕

เพลง สำวหลง

ท่ำรำ มือขวำถือหอกระดับวงล่ำง ชี้มือซ้ำยตั้งมือระดับอก แล้วเลื่อนชี้ออกไป ทำงซ้ำย ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย หน้ำตรง

๓๖

เพลง งงงัน

ท่ำรำ มือซ้ำยตั้งวงหน้ำ ลักคอสองครั้ง พร้อมกับปัดวงไปทำงขวำ-ซ้ำย เล็กน้อย

รำฉุยฉำยไกรทอง


๑๑๐

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๓๗

เพลง อยำกสัมพันธ์ ไกรทองเอย

ท่ำรำ ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย แตะเท้ำขวำ ตึงขำทั้งสองข้ำง มือทั้งสอง ทำท่ำรัก โดยแบไขว้มือที่อก ส่ำยไหล่เล็กน้อย เอียงขวำ พยักหน้ำเล็กน้อย

๓๘

เพลง รับปี่

ท่ำรำ รำซัดท่ำผำลำเพียงไหล่ วิ่งไปทำงซ้ำยเล็กน้อย มือซ้ำยจีบหงำยแล้วม้วนมือ ออกเป็นวงบน พลิกมือขวำถือหอกหงำยมือแขนงอระดับเอว ปลำยหอกตก พื้น ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้นเดินตำมจังหวะเพลง พร้อมกับพลิก ปลำยหอกขึ้น ตั้งมือระดับวงล่ำง แล้วเดินมือขวำออก เปลี่ยนมือถือหอก หงำยมือขึ้นแขนงอระดับไหล่ ทำสลับกัน เดินหันตัวไปทำงขวำ

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๑๑

๓๙

เพลง รับปี่

ท่ำรำ ท้ำยรับปี่ หันตัวไปทำงขวำ แทงมือขวำถือหอกระดับวงบน มือซ้ำยตั้งวงล่ำง ก้ำวเท้ำซ้ำย เท้ำขวำ แล้วกระดกเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

๔๐

เพลง ปี่พำทย์รับ

ท่ำรำ รับท่ำสอดสร้อยมำลำ สอดมือขวำตั้งวงบน มือขวำถือหอกหักข้อมือหงำย ระดับวงล่ำง จรดเท้ำขวำ เอียงขวำ แล้ววิ่งวนไปทำงขวำ

รำฉุยฉำยไกรทอง


๑๑๒

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๑

เพลง ปี่พำทย์รับ

ท่ำรำ หันตัวมำด้ำนหน้ำ มือทั้งสองจีบตะแคงระดับอก (มือขวำถือหอก) ประ-ยก เท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้นคลำยมือทั้งสอง มือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำถือหอก ตั้งมือระดับไหล่ ผสมเท้ำ เอียงขวำ หน้ำมองมือสูง แล้วยักตัวตำมจังหวะ เพลง

๔๒

เพลง เพลงเร็ว

ท่ำรำ ตบเท้ำตำมจังหวะเพลง มือขวำถือหอกคว่ำมือลงแล้วพลิกหงำยมือแขนตึง ระดับไหล่ เปลี่ยนเหลื่อมเท้ำซ้ำย ตบเท้ำซ้ำยต่อเนื่อง พร้อมกับเดำะแขนขวำ เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๑๓

๔๓

เพลง เพลงเร็ว

ท่ำรำ คลำยมือขวำแล้วพลิกตั้งมือถือหอกแขนตึงระดับไหล่ เปลี่ยนเหลื่อมเท้ำขวำ ตบเท้ำขวำต่อเนื่อง พร้อมกับเดำะแขนขวำ เอียงขวำ ค่อย ๆ หันตัวไป ทำงขวำ

๔๔

เพลง เพลงเร็ว

ท่ำรำ ฉำยอำวุธสองครั้ง โดยเริ่มฉำยไปทำงขวำ พร้อมกับฉำยเท้ำขวำ แล้วเปลี่ยน ฉำยอำวุธทำงซ้ำย พร้อมกับฉำยเท้ำซ้ำย

รำฉุยฉำยไกรทอง


๑๑๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๕

เพลง เพลงเร็ว

ท่ำรำ มือซ้ำยจีบคว่ำแขนงอระดับเอว มือขวำหงำยมือถือหอกแขนงอระดับเอว ประ-ยกเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นคลำยมือซ้ำยตั้งวงบัวบำน พลิกมือขวำตั้ง มือแขนตึงระดับไหล่ ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ

๔๖

เพลง เพลงเร็ว

ท่ำรำ เยื้องตัว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๑๕

๔๗

เพลง เพลงเร็ว

ท่ำรำ เยื้องตัว แล้วก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ

๔๘

เพลง เพลงเร็ว

ท่ำรำ ชะโงกตัว หน้ำมองไปด้ำนหน้ำเวที จำกนั้นดึงตัวกลับ ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียง ซ้ำย แล้วจึงเดินถัดเท้ำขวำ หันตัวไปทำงซ้ำย

รำฉุยฉำยไกรทอง


๑๑๖

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๙

เพลง เพลงเร็ว

ท่ำรำ หันตัวไปทำงซ้ำย กำมือซ้ำยเท้ำสะเอว มือขวำถือหอกขัดด้ำนหลัง ปลำย หอกขัดกับแขนซ้ำย เดินถัดเท้ำลงไปด้ำนหลังเวที แล้วหมุนตัว หันตัวไป ทำงขวำ แล้วเดินถัดเท้ำขึ้นมำด้ำนหน้ำเวที พร้อมกับใช้ตัวหน้ำหนัง

๕๐

เพลง เพลงเร็ว

ท่ำรำ ท้ำยเพลงเร็ว หันตัวมำด้ำนหน้ำ มือขวำถือหอกระดับวงบน วำดแขนซ้ำยลง แล้วพลิกแบหงำย ปลำยนิ้วตกแขนตึง ระดับไหล่ ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ วำงหลัง เท้ำซ้ำย เอียงขวำ

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๑๗

๕๑

เพลง เพลงลำ

ท่ำรำ มือขวำถือหอกระดับวงบน มือซ้ำยกรีดนิ้วตั้งวงล่ำง ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียง ขวำ จำกนั้น กรีดนิ้วมือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำถือหอกระดับวงล่ำง ก้ำวหน้ำ เท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย ทำทั้งสองท่ำซ้ำอีกหนึ่งครั้ง

๕๒

เพลง เพลงลำ

ท่ำรำ หันตัวไปทำงขวำ ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ มือขวำจับด้ำมหอก มือซ้ำยแบรับปลำย หอก เอียงซ้ำย วิ่งลงไปทำงด้ำนหลัง

รำฉุยฉำยไกรทอง


๑๑๘

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๕๓

เพลง เพลงลำ

ท่ำรำ หันตัวไปทำงขวำ ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย มือซ้ำยจับด้ำมหอก มือขวำแบรับปลำย หอก เอียงขวำ วิ่งลงไปทำงด้ำนหลัง

๕๔

เพลง เพลงลำ

ท่ำรำ หันตัวเฉียงซ้ำย มือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำจับปลำยด้ำมหอก ตกปลำยหอกลง พื้น ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงขวำ

รำฉุยฉำยไกรทอง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๑๙

๕๕

เพลง เพลงลำ

ท่ำรำ ตวัดหอกขึ้นควงแล้วขัดที่หลัง เดินหมุนตัวไปทำงซ้ำย หันตัวเฉียงซ้ำย ยืน แตะเท้ำขวำ ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงขวำ

รำฉุยฉำยไกรทอง


ฉุยฉายหลวิชัย - คาวี

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี (ในหนังสือเก่ำเรียกชื่อว่ำ พหลวิชัย แต่ในบทพระรำชนิพนธ์ ใน รัชกำลที่ ๒ เรียกว่ำ หลวิชัย (กรมศิลปำกร, ๒๕๔๕, หน้ำ ๓๙๑)) เป็นกำรแสดงที่แทรกอยู่ในละคร นอก เรื่องเสือโค หรือเรื่องคำวี ซึ่งนำยเสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชำติประพันธ์บทขึ้นเพื่อจัดแสดงใน รำยกำรศรีสุขนำฏกรรม เมื่อวันที่ ๒๖ และ ๒๗ มกรำคม ๒๕๓๓ ณ โรงละครแห่งชำติ ประดิษฐ์ท่ำรำ โดย นำยธงชัย โพธยำรมย์ อดีตนำฏศิลปิน ๙ ชช. ผู้รับกำรถ่ำยทอดท่ำรำคู่แรกคือ ผู้ช่วยศำสตรำจำรย์ ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชำติ และนำยชวลิต สุนทรำนนท์ นักวิชำกำรละครและดนตรี เชี่ยวชำญ (กรมศิลปำกร, ๒๕๕๘, หน้ำ ๒๔) ครู ช วลิ ต สุน ทรำนนท์ ได้ถ่ำยทอดท่ำรำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี ให้ แก่คณำจำรย์และนิสิต สำขำวิชำนำฏศิลป์ไทย ภำควิชำศิลปะกำรแสดง คณะมนุษยศำสตร์ มหำวิทยำลัยนเรศวร ในโครงกำร สืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐ เนื้อหำกำรแสดงเป็นกำรบรรยำยควำมงำมของหลวิชัยและคำวีที่แปลงกำยเปลี่ยนจำกร่ำง สัตว์ คือเสือและโค มำเป็นมนุษย์ แม้ทั้งสองจะเป็นสัตว์คนละชนิดกัน แต่เมื่อแปลงกำยเป็นมนุษย์เป็น พี่น้องกันก็มีลักษณะรูปร่ำงหน้ำตำที่งดงำมละม้ำยคล้ำยกัน เรื่องคำวี หรือเรื่องเสือโคได้นำมำจำกนิทำนโบรำณที่เล่ำสืบต่อกันมำนำน เป็นนิทำนที่มีข้อคิด คติสอนใจแทรกอยู่หลำยแห่ง เรื่องรำวกล่ำวถึงลูกเสือตัวหนึ่งอยู่ในถ้ำ วันหนึ่งแม่เสือออกไปหำอำหำร ทิ้งลูกให้อยู่ในถ้ำจนอดโซ ขณะนั้นโคแม่ลูกอ่อนได้ผ่ำนมำ ลูกเสือจึงขอนมกิน แม่โคสงสำรจึงให้ลูกเสือ กินนม ลูกเสือรู้บุญคุณของแม่โคจึงชวนให้อยู่ด้วยกันที่ถ้ำเสือ แต่แม่โคเกรงแม่เสือจะทำร้ำย ลูกเสื อจึง รับว่ำจะชี้แจงให้ แม่โคจึงได้อยู่ที่นั่น ลูกเสือกับลูกโคจึงเป็นเพื่อนรักกัน แต่แม่โคไม่ไว้ใจแม่เสือ เมื่อเวลำออกหำอำหำรจึงไปคนละทำงกับแม่เสือ แม่เสือก็คิดจะกินโค ทั้งสองอยู่เสมอ วันหนึ่งสบโอกำส จึงแสร้งบอกว่ำจะไปหำกินทำงทิศเหนือ แล้วลอบมำดักรอแม่โค ทำงทิศใต้ เมื่อแม่โคผ่ำนมำจึงจับแม่โคกิน ลูกโคกับลูกเสือไม่เห็นแม่โคกลับมำก็ประหลำดใจ และ ยังได้กลิ่นโคติดมำกับตัวแม่เสือ ก็นึกสงสัย จึงชวนกันออกตำมหำในป่ำ ไปพบซำกแม่โคมีรอยถูกเสือ กัดกินก็รู้ว่ำแม่เสือลอบกินแม่โคไปเสียแล้ว เมื่อเห็นว่ำแม่ เสือทำทุจริตจึงร่วมมือกั นฆ่ำแม่เสือตำย แล้วทั้งสองก็ไปจำกถ้ำนั้น ทั้งสองเดิน ทำงผ่ำนมำหน้ำอำศรมฤๅษี พระฤๅษีเห็ นลู กเสือกับลูกโคมำด้วยกันก็แปลกใจ เพรำะธรรมดำสัตว์ทั้งสองย่อมเป็นศัตรูกันตำมธรรมชำติ จึงเรียกมำสอบถำม เมื่อทรำบเรื่องรำวก็เกิด ควำมเมตตำจึงชุบสัตว์ทั้งสองให้เป็นมนุษย์ แล้ว ตั้งชื่อลูกเสือว่ำ หลวิชัย ตั้งชื่อลูกโคว่ำ คำวี และได้ สอนวิชำให้กับคนทั้งสอง เมื่อหลวิชัยคำวีเรียนวิชำสำเร็จแล้ว พระฤๅษีจึงชุบเครื่องอำภรณ์สำหรับแต่งตัวและพระขรรค์ ให้คนละหนึ่งเล่ม แล้วทำพิธีถอดดวงใจของคนทั้งสองใส่ไว้ในพระขรรค์นั้น พร้อมทั้งกำชับให้รักษำ รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๒๑

พระขรรค์ไว้ให้ดี อย่ำให้ตกอยู่ในมือศัตรูได้ แล้วจึงให้ออกไปหำบ้ำนเมืองครอบครอง ทั้งสองเดินทำง มำถึงเมืองจันทรบุรี จึงเข้ำพักใต้ต้นไทรริมสระน้ำ โดยสระน้ำนั้นมียักษ์ตนหนึ่งมำสิงอยู่คอยดักจับคน กินเป็นอำหำร หลวิชัยนอนหลับไป คำวีจึงออกมำตักน้ำที่บึงพบกับยักษ์จึงสู้กัน คำวีฆ่ำยักษ์ตำยจึงโยน ศพไว้ที่ริมบึงนั้น แล้วกลับมำหำหลวิชัย ต่อมำชำวเมืองได้มำพบศพยักษ์นอนตำยอยู่ก็ดีใจ รีบไปทูลท้ำวมคธรำชผู้ครองเมืองจันทรบุรี ท้ำวมคธรำชจึงให้ตำมหำผู้ที่ฆ่ำยักษ์ตำย อำมำตย์เที่ยวสืบหำจึงพบหลวิชัยคำวีอยู่ใต้ร่มไม้ เห็นรูปร่ำง งดงำมจึงเข้ำไปสอบถำม หลวิชัยจึงแจ้งว่ำน้องเรำเป็นผู้ฆ่ำยักษ์ตำย อำมำตย์จึงพำไปเข้ำเฝ้ำท้ำวมคธรำช ท้ำวมคธรำชจึงประทำนรำงวัลและจะให้คำวีอภิเษกกับพระธิดำ แต่คำวีขอให้ประทำนให้ห ลวิชัย เพรำะตนไม่ต้องกำรมีลำภยศก่อนพี่ และหำกหลวิชัยได้พบกับยักษ์ก่อนตน ก็จะต้องฆ่ำ ยักษ์ ต ำย เช่นเดียวกัน ท้ำวมคธรำชจึงให้หลวิชัยอภิเษกกับนำงศรีสุดำพระธิดำ พร้อมกับตั้งเป็นที่พระอุปรำช ฝ่ำยคำวีเมื่อหลวิชัยได้เป็นอุปรำชจึงลำพี่เพื่อออกไปแสวงหำบ้ำนเมืองครอบครองบ้ำง หลวิชัย มีควำมอำลัยแต่ไม่อยำกขัดขวำงน้อง จึงเสี่ยงดอกบัวกันคนละดอก หำกว่ำฝ่ำยใดมีอันตรำยก็ขอให้ ดอกบัวเหี่ยวแห้งลงให้เห็นประจักษ์แก่อีกฝ่ำย เพื่อจะได้ติดตำมไปช่วยทัน คำวีออกเดินทำงไปหลำยเดือน จนถึงเมืองแห่งหนึ่งร้ำงไม่มีผู้คน จึงเที่ยวเดินหำทั่วปรำสำทรำชมณเทียร พบกลองใหญ่ตีดูไม่มีเสียง กังวำน จึงผ่ำออกดูข้ำงในก็พบนำงหนึ่งซ่อนอยู่ในกลองนั้น เมื่อสอบถำมจึงทรำบว่ำนำงนั้นชื่อจันท์สุดำ เป็ น ธิดำของท้ ำวพรหมจั กร ผู้ ครองเมืองจัน ทรนคร ต่อมำมีนกอิน ทรี ยั ก ษ์ส องผั ว เมีย มำโฉบเอำ ชำวเมืองไปกิน จะรบป้องกันอย่ำงไรก็ไม่ได้ บิดำจึงซ่อนนำงไว้ในกลองก่อนที่จะถูกนกอินทรีโฉบเอำไปกิน จึงรอดอยู่แต่ผู้เดียว คำวีจุดไฟล่อให้นกอินทรีออกมำแล้ว ฆ่ำเสีย แล้ว จึงครองเมืองร้ำงนั้นและได้ นำงจันท์สุดำเป็นชำยำ วันหนึ่งถึงนักขัตฤกษ์สงกรำนต์ คำวีจึงชวนจันท์สุดำไปอำบน้ำชำระกำยที่ลำธำรตำมประเพณี นำงจันท์สุดำมีผมหอม เมื่ออำบน้ำจึงเก็บเอำผมหอมที่ร่วงหล่นใส่ในผอบลอยน้ำไป ผอบลอยไปจนถึง เมืองพัธ วิสัย ซึ่งในขณะนั้น ท้ำวสันนุรำช กษัตริย์ช รำผู้ปกครองเมืองออกมำประทับที่ตำหนัก แพ เห็นผอบลอยน้ำมำจึงเก็บมำเปิดออกดูเห็นเส้นผมมีกลิ่นหอม ก็หลงรักนำงเจ้ำของผมนั้น จึงให้เสนำ ป่ำวประกำศว่ำหำกใครสำมำรถพำนำงผมหอมมำได้ จะให้รำงวัลอย่ำงมำกมำย ฝ่ำยยำยเฒ่ำทัศประสำท เคยเป็นชำวเมืองจันทรนครแต่หนีตำยนกอินทรี มำ เมื่อได้ยินประกำศก็นึกได้ถึงนำงจันท์สุดำซึ่งบิดำ ซ่อนนำงไว้ในกลอง จึงอำสำไปพำมำถวำย ท้ำวสันนุรำชจึงให้จัดเรือเอกชัยพร้อมไพร่พลเพื่อไปรับนำง เมื่อเดินทำงมำถึง ยำยเฒ่ำทัศประสำทจึงเข้ำไปในเมืองแต่ผู้เดียว ก็เห็น นำงจันท์สุดำอยู่กับ คำวี ก็แจ้งว่ำนำงมีสำมีแล้ว แต่ด้วยควำมโลภอยำกได้รำงวัลจึงคิดจะกำจัดพระคำวีเสีย จึงทำทีแสร้งร่ำไห้ เข้ำไปหำ นำงจันท์สุดำจำยำยเฒ่ำได้ก็ไว้ใจให้มำเป็นข้ำรับใช้ ยำยเฒ่ำสังเกตเห็นพระคำวีขัดพระขรรค์ ไว้กับตนเสมอไม่ยอมให้ห่ำง จึงแอบทูลลวงให้นำงจั นท์สุดำถำมถึงสำเหตุโดยอ้ำงเหตุผลว่ำพระคำวี อำจไม่ไว้ใจนำงจันท์สุดำ หำกพระคำวีรักก็จะต้องบอก ฝ่ำยพระคำวีเมื่อจันท์สุดำมำถำมก็อิดออดไม่ อยำกบอก แต่ด้วยควำมรักชำยำจึงบอกควำมลับว่ำพระขรรค์ฝังดวงใจเอำไว้ หำกใครลักไปเผำไฟ ตนก็จ ะสิ้น ชีวิต และกำชับ ว่ำห้ำมบอกใครโดยเด็ดขำด นำงจันท์สุดำซื่อแอบเล่ำเรื่องให้ยำยเฒ่ำ ทัศประสำทฟัง ยำยเฒ่ำจึงได้ช่องที่จะฆ่ำพระคำวี รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


๑๒๒

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

วันหนึ่งยำยเฒ่ำแจ้งว่ำตำมประเพณีกษัตริย์ขึ้นครองรำชต้องทำกำรมุรธำภิเษก เสด็จไปสระ เกศำที่ริมฝั่งน้ำทั้งสององค์ พระคำวีเห็นดีด้วยจึงให้ยำยเฒ่ำเป็นผู้จัดกำร เมื่อพระคำวีจะลงสรงน้ำยำย เฒ่ำจึงร้องทักว่ำให้เอำพระขรรค์ฝำกไว้ที่ตน หำกนำลงน้ำจะเป็นสนิม พระคำวีไม่เฉลียวใจจึงยื่นพระ ขรรค์ให้ยำยเฒ่ำ เมื่อได้พระขรรค์แล้วยำยเฒ่ำจึงนำพระขรรค์ไปสุมไฟ พระคำวีร้อนรนจึงขึ้นจำกน้ำแล้ว ล้มสลบลงที่ริมฝั่ง นำงจันท์สุดำเห็นพระคำวีเป็ นไปดังนั้นก็ล้มสลบตำมไปอีกคน ยำยเฒ่ำจึงเข้ ำมำ อุ้มนำงมำลงเรือแล้วรีบกลับไปยังเมืองพัธวิสัย ฝ่ำยหลวิชัยเมื่อคำวีมีเหตุ ก็ให้รู้สึกร้อนใจจึงออกมำดูดอกบัวที่เสียงทำยไว้เห็นเหี่ยวแห้ง ก็ทรำบว่ำเกิดเหตุร้ำยกับคำวี จึงออกติดตำมหำ เทวดำได้ย่อระยะทำงให้หลวิชัยมำถึงเมืองจันทรนคร ก็พบพระขรรค์อยู่ในกองไฟ เมื่อออกเดินหำก็พบคำวีนอนอยู่ที่ริมน้ำก็ตกใจ เมื่อพิจำรณำดูพระขรรค์ เห็นเพียงมัวหมองเพรำะเปลวไฟเท่ำนั้น จึงขัดสีทำควำมสะอำด แล้วนำน้ำมำรดคำวีก็ฟื้นขึ้นมำ เมื่อทรำบ เรื่องรำวจึงชวนกันออกติ ดตำมหำนำงจันท์สุดำ โดยดูร่องรอยว่ำน่ำจะถูกพำไปทำงเรือ จึงเดินทำง เลียบฝั่งน้ำไปจนถึงเมืองพัธวิสัย หลวิชัยจึงแปลงเพศเป็นฤๅษี แล้วเสกให้คำวีตัวเล็กลงเท่ำตุ๊กตำให้ซ่อน อยู่ในย่ำม แล้วหลวิชัยก็เที่ยวสืบเสำะข่ำวอยู่ในเมือง ฝ่ำยท้ำวสันนุรำชเมื่อยำยเฒ่ำทัศประสำทพำนำงจันท์สุดำมำถวำยแล้ว เมื่อเข้ำไปเกี้ยวพำรำสี นำงจันท์สุดำรังเกียจก็ด่ำว่ำต่ำง ๆ นำ ๆ อีกทั้งเข้ำใกล้ก็ให้ร้อนรน แม้จะใช้ให้หมอเสน่ห์มำทำเสน่ห์ ก็ยังไม่ได้ผล ท้ำวสันนุรำชจึงคิดว่ำที่นำงไม่รักอำจเป็นเพรำะว่ำตนแก่เฒ่ำ จึงให้เสนำเที่ยวประกำศหำ ผู้มีวิชำอำคมมำชุบตัวท้ำวสันนุรำชให้เป็นหนุ่มอีกครั้ง เสนำเที่ยวป่ำวประกำศจนไปพบฤๅษีหลวิชัยเห็น ท่ำทีน่ำเลื่อมใส ก็เข้ำไปนมัสกำรแล้วแจ้งเรื่องให้ทรำบ ฤๅษีเมื่อทรำบเรื่องรำวก็นึกอุบำยได้จึงรับ จะช่วยชุบตัวให้ ฤๅษีให้ขุดหลุ มก่อกองไฟข้ำงใน แล้วกั้นม่ำนเจ็ดชั้น ให้ท้ำวสันนุรำชนั่ งพนมมืออยู่ ปำกหลุม เมื่อได้ทีก็ผลักท้ำวสุนนุรำชตกลงสิ้นชีวิตในกองไฟ แล้วเสกให้คำวีตัวโตขึ้นดังเดิมทำทีเป็น ท้ำวสันนุรำชที่ชุบตัวเสร็จแล้ว หลังจำกนั้นคำวีได้ไปหำนำงจันท์สุดำ เมื่อทรำบเรื่องรำวทั้งหมดพร้อมกับได้รับคำยืนยันจำก ฤๅษีหลวิชัยแล้ว ก็มีควำมยินดี ฝ่ำยนำงคันธมำลีมเหสีของท้ำวสันนุรำชทรำบข่ำวกำรชุบตัวและเข้ำใจ ว่ำนำงจันท์สุดำยินดีในสำมีตนก็เกิดควำมหึงหวง จึงเข้ำไปเฝ้ำแล้วพูดจำกระทบกระเทียบมีปำกเสียง กับนำงจันท์สุดำ จนถึงขั้นลงไม้ลงมือ พระคำวีเข้ำขวำงแล้วไล่นำงให้กลับไป นำงมีควำมเสียใจจึง กลับไปร้องไห้ที่ตำหนัก ฤๅษีหลวิชัยจึงบอกพระคำวีให้แสร้งทำมีไมตรีกับนำงเพื่อกันคนสงสัย และให้ บอกว่ำจะชุบนำงให้กลับเป็นสำวขึ้นอีกครั้ง พระคำวีจึงเสด็จไปหำแสร้งทำไมตรี นำงคันธมำลีก็ยอม จะชุบร่ำงกำยให้เป็นสำว แต่ทนควำมร้อนไม่ได้จึงเลิกพิธีไป ยำยเฒ่ำทัศประสำทจำพระคำวีได้จึงลอบนำควำมไปบอกนำงคันธมำลี แล้วคบคิดกันส่งข่ำว ไปยังไวยทัตหลำนของนำงทัศมำลีให้ยกพลมำสังหำรพระคำวีเสีย แล้วจะยกรำชสมบัติให้ ไวยทัต รวบรวมผู้คนบุกเข้ำมำหมำยจะสังหำรพระคำวี พระคำวีเนรมิตกองทหำรเข้ำสู้รบจนสำมำรถจับตัว ไวยทัตได้ เมื่อสอบสวนทรำบเหตุผู้ร่วมกระทำกำรจึงสั่งให้ประหำรชีวิตไวยทัต นำงคันธมำลีและยำยเฒ่ำ ทัศประสำทเสีย แล้วพระคำวีก็ครองเมืองเมืองกับนำงจันท์สุดำสืบมำ รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๒๓

เครื่องแต่งกาย กำรแต่งกำยรำฉุยฉำยหลวิชัย -คำวี เดิมแต่งกำยด้วยชุดยืนเครื่องพระ โดยหลวิชัยแต่งกำย ด้วยชุดยืนเครื่องพระสีแดงขลิบเขียว คำวีแต่งกำยด้วยชุดยืนเครื่องพระสีเหลืองขลิบแดง แต่เมื่อนำมำ จัดแสดงเป็นชุดเอกเทศจึงได้มีกำรแต่งกำยอีกแบบ โดยแต่งกำยลักษณะชุดลำลอง ดังภำพ

ภาพ ๔ เครื่องแต่งกายราฉุยฉายหลวิชัย – คาวี ชุดยืนเครื่องพระ ที่มา: กรมศิลปากร, ๒๕๕๘, หน้า ๒๔

ภาพ ๕ เครื่องแต่งกายราฉุยฉายหลวิชัย – คาวี ชุดที่ใช้แสดงเป็นชุดเอกเทศ ที่มา: กรมศิลปากร, ๒๕๕๘, หน้า ๒๓ รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


๑๒๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

บทประกอบการแสดง - ร้องเพลงสมิงทอง กลับเป็นสองมำนพหนุ่มน้อย แช่มช้อยงำมสง่ำน่ำรักใคร่ เสือเป็นพี่มีอิทธิ์ฤทธิไกร โคนั้นไซร้เป็นน้องผ่องโสภำ - ร้องเพลงฉุยฉำย ฉุยฉำยเอย พี่เสือเหลือจะสวยเจ้ำนำดนวยมำหน้ำ น้องโคโสภิตต้อยติดตำมมำ เสือโคโอ่อ่ำทีท่ำอ่อนช้อย สิ้นเขี้ยวสิ้นเขำพริ้งเพรำเหลำหล่อ ละเอียดลออปำกนิดจมูกหน่อย สองมำนพเอย ใครพิศใครพบสบจิตคิดรัก เมตตำอำนิสงส์ส่งเสริมเพิ่มศักดิ์ จะเยื้องจะยักชวนชักให้ชม แฉล้มแช่มช้ำจริยำมำรยำท จะนวยจะนำดวิลำศเลิศสม - ร้องเพลงแม่ศรี แม่ศรีเอย แม่ศรีสองสัตว์ สองศรีศรีสวัสดิ์ มิต้องหัดอบรม สู่ร่ำงมนุษย์ แสนสุดนิยม กิริยำอำรมณ์ งำมสมใจเอย แม่ศรีเอย แม่ศรีมงคล จำกสัตว์เป็นคน เพรำะกุศลชักพำ บำเพ็ญบำรมี มีจิตเมตตำ ผลคุณกรุณำ ให้ผำสุกเอย - ปี่พำทย์ทำเพลงเร็ว, ลำ -

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๒๕

ท่ารา ๑

เพลง

ท่ารา ท่ำสอดสร้อยมำลำ มือขวำตั้งวงบน มือซ้ำยจีบหงำยระดับชำยพก เอียง ขวำ วิ่งซอยเท้ำออกมำจำกในโรง จำกนั้นเปลี่ยนสอดมือซ้ำยตั้งวงลง มือ ขวำจีบหงำยระดับชำย เอียงขวำ ทำสลับกัน จบที่สอดมือซ้ำยตั้งวงบน

เพลง

ท่ารา ท่ำป้องหน้ำ ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย แล้วสอดมือขวำตั้งวงบน มือ ซ้ำยจีบหงำยระดับชำยพก เท้ำขวำก้ำวข้ำง เอียงซ้ำย แล้วหมุนตัวหันไป ทำงขวำมือ จำกนั้น คลำยมือซ้ำยออกป้องหน้ำ มือขวำแบหงำยแขนงอ ระดับเอว ด้ำนข้ำงลำตัว กระทุ้งเท้ำซ้ำย แล้วกระดก เอียงขวำ

เพลงรัว

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๒๖

เพลง กลับเป็นสองมำนพ

ท่ารา เดินมือทั้งสองจีบคว่ำแขนงอระดับอก ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำยแล้วเปลี่ยนก้ำวข้ำง เท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นยืด ยุบ จำกนั้นเดินมือทั้งสองขึ้นคลำยมือออก ผ่ำนหน้ำ วิ่งหมุนตัวไปทำงขวำ

เพลง หนุ่มน้อย

ท่ารา หันตัวเฉียงไปทำงขวำเล็กน้อย มือทั้งสองกำหลวม ๆ ระดับวงล่ำง สะดุด เท้ำซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้น มือทั้งสองกำมือเท้ำสะเอว ยืนแตะเท้ำซ้ำยตึงขำ ทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๒๗

เพลง แช่มช้อย

ท่ารา หันหน้ำตรง ตั้งมือซ้ำยแขนตึงระดับไหล่ มือขวำตั้งวงกลำง ก้ำวข้ำงเท้ำ ซ้ำย จำกนั้นย้อนตัวหนักหลัง งอแขนซ้ำย ตึงมือขวำ

เพลง งำมสง่ำ

ท่ารา หันตัวเฉียงขวำเล็กน้อย มือขวำหยิบจีบตั้งวงบัวบำน พลิกมือซ้ำยตั้งวงหน้ำ ยืนแตะเท้ำซ้ำยตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


๑๒๘

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

เพลง เอื้อน น่ำรักใคร่

ท่ารา ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย แบมือทั้งสองไขว้กันที่อกในท่ำรัก ก้ำวข้ำง เท้ำขวำ เอียงซ้ำย

เพลง แช่มช้อยงำมสง่ำ

ท่ารา ตั้งมือทั้งสองแขนตึงระดับไหล่ จำกนั้นเดินเช็ดเท้ำแล้วก้ำวหน้ำตำมจังหวะ เพลง โดยเริ่มที่เท้ำขวำก่อน ทำพร้อมกับยักตัวไปตำมจังหวะเพลง

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๒๙

เพลง น่ำรักใคร่

ท่ารา ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ แบมือทั้งสองไขว้กันที่อกในท่ำรัก ก้ำวข้ำง เท้ำซ้ำย เอียงขวำ แล้วปฏิบัติท่ำยืนตัวพระ

๑๐

เพลง เสือเป็นพี่

คาวี หลวิชัย ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย มองไปที่หลวิชัย ช้อนมือซ้ำยจีบเข้ำอก มือขวำเท้ำ มือขวำเท้ำสะเอว วำงมือซ้ำยที่หน้ำ สะเอว ก้ำวหน้ำเท้ำขวำแล้วยกเท้ำ ขำซ้ำย เอียงขวำ ซ้ำย เอียงขวำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๓๐

๑๑

เพลง

คาวี ปฏิบัติท่ำยิ้ม มือขวำเท้ำสะเอว มือ ซ้ำยจีบกรีดนิ้วที่ปำก ยืนแตะเท้ำ ซ้ำยตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย

หลวิชัย มือทั้งสองตั้งวงล่ำง ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

เพลง

คาวี

หลวิชัย มือซ้ำยจีบหงำยระดับชำยพก มือ ขวำตั้งวงล่ำง ก้ำวเท้ำขวำไป ด้ำนข้ำงเล็กน้อย เอียงขวำ จำกนั้น ช้อนมือขวำจีบหงำยระดับชำยพก ม้วนมือซ้ำยตั้งวงล่ำง ยกเท้ำซ้ำย แล้วแตะ ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย

มีอิท-

๑๒

เอื้อน

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๓๑

๑๓

เพลง -ฤทธิไกร

คาวี

หลวิชัย วิ่งหมุนตัวไปทำงขวำมือ แล้วหันตัว ไปทำงซ้ำย มือซ้ำยหยิบจีบตั้งวงบัว บำน พลิกมือขวำตั้งวงหน้ำ กระโดด เล็กน้อย แล้วก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียง ซ้ำย

คาวี ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ มือ ซ้ำยจีบเข้ำอก มือขวำเท้ำสะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

หลวิชัย ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ หน้ำมองคำวี มือ ซ้ำยเท้ำสะเอว มือขวำวำงที่หน้ำขำ ขวำ เอียงซ้ำย

๑๔

เพลง โคนั้นไซร้

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๓๒

๑๕

เพลง เป็นน้อง

คาวี หลวิชัย หันตัวไปทำงซ้ำย มือซ้ำยเท้ำสะเอว มือขวำชี้นิ้วตะแคงมือแขนงอ ระดับ แบมือขวำคว่ำ แล้วปำดมือจำก เอว มือซ้ำยเท้ำสะเอว ยืนแตะเท้ำ ระดับอกออกไปด้ำนข้ำง ก้ำวข้ำง ขวำ ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงขวำ เท้ำขวำ เอียงซ้ำย

๑๖

เพลง เอื้อน ผ่องโสภำ

คาวี หลวิชัย หันหน้ำตรง ปฏิบัติท่ำผำลำ มือขวำ ปฏิบัติท่ำยิ้ม มือขวำเท้ำสะเอว มือ จีบปรกข้ำง มือซ้ำยตั้งวงกลำง ก้ำว ซ้ำยจีบกรีดนิ้วที่ปำก ยืนแตะเท้ำ ข้ำงเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้นม้วน ซ้ำยตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย มือขวำตั้งวงบน พลิกมือซ้ำยแบ หงำยแขนงอระดับเอว ยกเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๓๓

๑๗

เพลง โคนั้นไซร้เป็นน้อง

คาวี ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ มือ ซ้ำยจีบเข้ำอก มือขวำเท้ำสะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

หลวิชัย ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ หน้ำมองคำวี มือ ซ้ำยเท้ำสะเอว มือขวำวำงที่หน้ำขำ ขวำ เอียงซ้ำย

คาวี ปฏิบัติท่ำพิสมัยเรียงหมอน มือทั้ง สองจีบหงำยระดับอก ก้ำวหน้ำเท้ำ ขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นเดินมือทั้ง สอง คลำยมือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำ ตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ กระดกเท้ำ ซ้ำย เอียงขวำ

หลวิชัย ปฏิบัติท่ำพิสมัยเรียงหมอน มือทั้ง สองจีบหงำยระดับอก ก้ำวหน้ำเท้ำ ซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้นเดินมือทั้ง สอง คลำยมือขวำตั้งวงบน มือซ้ำย ตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ กระดกเท้ำ ขวำ เอียงซ้ำย

๑๘

เพลง ผ่องโสภำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๓๔

๑๙

เพลง

ท่ารา หันตัวไปทำงขวำ มือขวำแบหงำยปลำยนิ้วตกแขนงอระดับเอว มือซ้ำยตั้ง วงล่ำง จรดเท้ำซ้ำยแล้วซอยเท้ำ เอียงขวำ หมุนตัวไปทำงซ้ำย แล้วปฏิบัติ ท่ำเดิม แต่ทำสลับข้ำง ซอยเท้ำหมุนมำหน้ำตรง

เพลง

ท่ารา มือขวำตั้งวงบน ฉำยมือซ้ำยออกไปด้ำนข้ำง ถอนเท้ำขวำ ฉำยเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

เอื้อน

๒๐

ฉุย-

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๑

เพลง

ท่ารา มือซ้ำยตั้งวงบน ฉำยมือขวำออกไปด้ำนข้ำง ถอนเท้ำซ้ำย ฉำยเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

เพลง

ท่ารา แทงมือขวำตั้งวงบน แทงมือขวำแบหงำยปลำยนิ้วตกแขนตึงระดับเอว ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ วำงหลังเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

-ฉำย

๒๒

เอย

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๓๕


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๓๖

๒๓

เพลง พี่เสือ

คาวี ไว้มือซ้ำยระดับวงบน มือขวำเท้ำ สะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

หลวิชัย ช้อนมือซ้ำยจีบเข้ำอก มือขวำเท้ำ สะเอว ก้ำวหน้ำเท้ำขวำแล้วยกเท้ำ ซ้ำย เอียงขวำ

คาวี ทำท่ำยิ้ม มือซ้ำยจีบกรีดนิ้วระดับ ปำก มือขวำเท้ำสะเอว ถอนเท้ำซ้ำย แล้วยืนแตะเท้ำขวำตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย

หลวิชัย หยิบจีบมือขวำแล้วตั้งวงบัวบำน พลิกมือซ้ำยตั้งวงหน้ำ สะดุดเท้ำ ซ้ำยแล้วยืนแตะเท้ำซ้ำย ตึงขำทั้ง สองข้ำง เอียงซ้ำย

๒๔

เพลง เหลือจะสวย

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๓๗

๒๕

เพลง เจ้ำนำดนวย

คาวี

หลวิชัย มือขวำจีบหงำยแขนตึงระดับไหล่ มือซ้ำยตั้งวงบน ยกเท้ำซ้ำย เอียง ซ้ำย จำกนั้นม้วนมือขวำตั้งวงบน เดินมือซ้ำยจีบส่งหลัง ก้ำวหน้ำเท้ำ ซ้ำย เอียงขวำ

คาวี

หลวิชัย ปฏิบัติเหมือน “เจ้ำนำดนวย” แต่ ทำสลับข้ำง

ปฏิบัติท่ำเดิม

๒๖

เพลง มำหน้ำ

ปฏิบัติท่ำเดิม

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๓๘

๒๗

เพลง

คาวี รำซ้ำท่ำตั้งแต่บท เอื้อน เมื่อถึงบท “เจ้ำนำดนวยมำหน้ำ” ทำท่ำ เดียวกับหลวิชัย

หลวิชัย รำซ้ำท่ำตั้งแต่บท เอื้อน จนถึง เจ้ำ นำดนวยมำหน้ำ

เพลง

คาวี ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ มือ ซ้ำยจีบเข้ำอก มือขวำเท้ำสะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

หลวิชัย ทำท่ำมองคำวี ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ วำงมือขวำที่หน้ำขำขวำ มือซ้ำยเท้ำ สะเอว หน้ำมองคำวี

รับปี่

๒๘

น้องโค

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๓๙

๒๙

เพลง

คาวี หันตัวเฉียงขวำ มือขวำหยิบจีบแล้ว ทำท่ำมอง เปลี่ยนเป็นวงบัวบำน พลิกมือซ้ำย ตั้งวงหน้ำ ถอนเท้ำขวำ ยืนแตะเท้ำ ซ้ำยตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย

เพลง

คาวี หลวิชัย หันหน้ำตรง มือซ้ำยหยิบจีบแล้วแบ ทำท่ำเดิน ๒ ครั้ง โดยเริ่มจำก หงำยปลำยนิ้วตก แขนงอระดับเอว ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำย กรีดนิ้วมือทั้งสอง พลิกมือขวำตั้งวงล่ำง ก้ำวหน้ำเท้ำ เอียงขวำ ซ้ำย เอียงซ้ำย ในบท “ต้อย” จำกนั้นพลิกมือซ้ำยตั้งมือแขนตึง ระดับไหล่ มือขวำหยิบจับแล้ว เปลี่ยนเป็นจีบหงำยระดับชำยพก ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ ในบท “ติด” จำกนั้นทำซ้ำทั้งสองท่ำอีก ครั้งในบท “ตำมมำ” แล้วขยั่นเท้ำ

โสพิศ

หลวิชัย

๓๐

ต้อยติด ตำมมำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๔๐

๓๑

เพลง เสือโคโอ่อ่ำ

คาวี หลวิชัย หันตัวเฉียงขวำ กำมือทั้งสองยื่นมำ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ด้ำนหน้ำระดับชำยพก สะดุดเท้ำ ซ้ำย จำกนั้นเลื่อนมือทั้งสองกำมือ เท้ำสะเอว ยืนแตะเท้ำซ้ำย ตึงขำทั้ง สองข้ำง เอียงซ้ำย

๓๒

เพลง ที

คาวี ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ มือขวำเท้ำสะเอว ดังเดิม มือซ้ำยตั้งมือแขนตึงระดับ ไหล่ ลักคอขวำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๓๓

เพลง ท่ำ

คาวี มือทั้งสองคงเดิม เปลี่ยนก้ำวข้ำง เท้ำซ้ำย ลักคอซ้ำย

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

๓๔

เพลง อ่อนช้อย

คาวี หลวิชัย หันตัวไปทำงขวำ มือขวำตั้งวงบน ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี มือซ้ำยตั้งวงล่ำง ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย วิ่งหมุนรอบตัวไปทำงด้ำน หลัง

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๔๑


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๔๒

๓๕

เพลง รับปี่

คาวี รำซ้ำท่ำตั้งแต่บท “น้องโคโสพิศ” จนถึง “ทีท่ำอ่อนช้อย”

หลวิชัย รำซ้ำท่ำในบท “น้องโคโสพิศ” แล้ว รำท่ำเดียวกับคำวีตั้งแต่บท “ต้อย ติดตำมมำ” จนถึง “ทีท่ำอ่อนช้อย”

๓๖

เพลง สิ้นเขี้ยว

คาวี หลวิชัย หันตัวเฉียงขวำเล็กน้อย มือทั้งสอง ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี จีบหงำยคู่กันบริเวณปำก สะดุดเท้ำ ซ้ำย เอียงขวำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๓๗

เพลง สิ้นเขำ

คาวี หลวิชัย ม้วนมือทั้งสอง แล้วเปลี่ยนมือเป็นชี้ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี นิ้วตั้งมือระดับแง่ศีรษะ ยืนแตะเท้ำ ซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย

๓๘

เพลง พริ้งเพรำเหลำหล่อ

คาวี หลวิชัย มือทั้งสองจีบคว่ำบริเวณใต้คำง แล้ว ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี คลำยมือออกแบแตะที่แก้ม จรดเท้ำ ขวำแล้วเล่นเท้ำ โดยก้ำวเท้ำซ้ำย จรดเท้ำขวำ แล้วก้ำวเท้ำขวำจรด เท้ำซ้ำย สลับกันจนหมดบท เอียง ศีรษะตรงข้ำมกับเท้ำที่จรด

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๔๓


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๔๔

๓๙

เพลง ละเอียด

คาวี มือขวำแตะที่แก้มดังเดิม เดินมือ ซ้ำยตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ ทอด แขนลงเล็กน้อย ถอนเท้ำซ้ำย ก้ำว ไขว้เท้ำขวำแล้วขยั่นเท้ำ เคลื่อนตัว ไปทำงซ้ำย เอียงขวำ

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

๔๐

เพลง ลออ

คาวี หลวิชัย ปฏิบัติเหมือนบท “ละเอียด” แต่ทำ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี สลับข้ำง เคลื่อนตัวไปทำงขวำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๑

เพลง

คาวี หันตัวเฉียงขวำ สะดุดเท้ำซ้ำย แล้ว ยืนแตะเท้ำซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง มือขวำชี้ที่ปำก มือซ้ำยกำมือเท้ำ สะเอว

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

เพลง จมูกหน่อย

คาวี ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย มือ ขวำเท้ำสะเอว มือซ้ำยชี้ที่จมูก ก้ำว ข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

ปำกนิด

๔๒

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๔๕


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๔๖

๔๓

เพลง

คาวี หลวิชัย รำซ้ำท่ำตั้งแต่บท “สิ้นเขี้ยวสิ้นเขำ” ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี จนถึง “ปำกนิดจมูกหน่อย”

เพลง ปี่พำทย์รับ

คาวี หลวิชัย มือขวำจีบหงำยระดับอก มือซ้ำยตั้ง ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี วงระดับอก ถอนเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้นเดินมือขวำจีบส่งหลัง มือ ซ้ำยจีบหงำยแขนตึงส่งไปด้ำนหน้ำ ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้นปฏิบัติท่ำในลักษณะเดิม แต่ ทำสลับข้ำงอีก ๒ ครั้ง

รับปี่

๔๔

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๕

เพลง ปี่พำทย์รับ

คาวี ช้อนมือขวำจีบหงำยแขนตึงระดับ ไหล่ ม้วนมือจีบซ้ำยตั้งมือแขนตึง ระดับไหล่ วำงหลังเท้ำซ้ำย เอียง ซ้ำย จำกนั้นจึงปฏิบัติในลักษณะ เดิมแต่ทำสลับข้ำง ลงหลังจนหมด จังหวะเพลง

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

๔๖

เพลง เอื้อน

คาวี หลวิชัย ท่ำภมรเคล้ำ หันตัวไปทำงขวำ มือ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ขวำตั้งวงบน มือซ้ำยจีบหงำยคู่กับ มือขวำ จรดเท้ำซ้ำยแล้วซอยเท้ำ เอียงขวำ หมุนตัวไปทำงซ้ำย จำกนั้นปฏิบัติท่ำภมรเคล้ำสลับข้ำง ซอยเท้ำหันตัวมำด้ำนหน้ำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๔๗


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๔๘

๔๗

เพลง สองมำนพเอย

คาวี หันตัวเฉียงขวำเล็กน้อย มือขวำจีบ หงำยระดับอก มือซ้ำยตั้งวงระดับ อก ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้นเดินมือขวำจีบส่งหลัง ช้อน มือซ้ำยจีบเข้ำอก ยกเท้ำซ้ำย เอียง ซ้ำย

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

๔๘

เพลง ใครพิศ

คาวี หลวิชัย คลำยมือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำตั้งมือ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี แขนตึงระดับไหล่ ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๙

เพลง

คาวี ย้อนตัวหนักหลัง รวมมือทั้งสอง ด้ำนหน้ำ เอียงซ้ำย

เพลง

คาวี หลวิชัย ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย มือ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ขวำชี้นิ้วตะแคงมือชี้ไปด้ำนหน้ำ มือ ซ้ำยเท้ำสะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

ใครพบ

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

๕๐

สบจิต

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๔๙


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๕๐

๕๑

เพลง

คาวี หลวิชัย หันตัวไปทำงขวำ สะดุดเท้ำซ้ำย ตั้ง ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี มือทั้งสองระดับอก จำกนั้น ยืนแตะ เท้ำซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง มือทั้งสอง ไขว้กันที่อก เอียงซ้ำย

เพลง

คาวี รำซ้ำท่ำตั้งแต่บทเอื้อน จนถึง “สบ จิตคิดรัก”

คิดรัก

๕๒

รับปี่

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๕๑

๕๓

เพลง เมตตำอำนิสงส์

คาวี หลวิชัย ถอนเท้ำขวำ ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย ไว้มือ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ซ้ำยระดับวงบน มือขวำเท้ำสะเอว เอียงขวำ

๕๔

เพลง ส่งเสริม

คาวี หลวิชัย หันตัวมำด้ำนหน้ำ มือซ้ำยจีบคว่ำ ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ แขนงอระดับเอว มือขวำแบหงำย ข้ำง ปลำยนิ้วตก แขนงอระดับเอว ก้ำว ข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้น คลำยมือซ้ำยตั้งวงบัวบำน พลิกมือ ขวำตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ ยกเท้ำ ขวำ เอียงขวำ รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๕๒

๕๕

เพลง เพิ่มศักดิ์

คาวี มือขวำหยิบจีบแล้วคลำยมือ ออกเป็นวงบัวบำน มือซ้ำยพลิกมือ ตั้งวงหน้ำ ก้ำวข้ำงเท้ำขวำแล้ว กระดกเสี้ยวเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

หลวิชัย ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ข้ำง

๕๖

เพลง จะเยื้อง

คาวี หลวิชัย มือขวำหยิบจีบระดับเอวแล้วคลำย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี มือออกแบหงำยปลำยนิ้วตก แขน งอระดับเอว พลิกมือซ้ำยตั้งมือแขน ตึงระดับไหล่ ถอนเท้ำซ้ำย ก้ำวหน้ำ เท้ำขวำ แล้วขยั่นเท้ำ เอียงขวำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๕๗

เพลง

คาวี หลวิชัย พลิกมือขวำตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี มือซ้ำยหยิบจีบแล้วคลำยมือออกแบ หงำยปลำยนิ้วตกแขนงอระดับเอว จรดเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

เพลง

คาวี หลวิชัย มือขวำหยิบจีบระดับเอวแล้วคลำย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี มือออกแบหงำยปลำยนิ้วตก แขน งอระดับเอว พลิกมือซ้ำยตั้งมือแขน ตึงระดับไหล่ วำงหลังเท้ำซ้ำย เอียง ขวำ

...

๕๘

จะยัก

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๕๓


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๕๔

๕๙

เพลง

คาวี หลวิชัย หันตัวไปทำงซ้ำย มือซ้ำยตั้งมือแขน ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ตึงระดับไหล่ ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ มือ ขวำกวักมือระดับวงบน เอียงซ้ำย

เพลง

คาวี หนักหลัง กวักมือขวำอีกหนึ่งครั้ง เอียงขวำ

ชวน

๖๐

ชัก

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๖๑

เพลง

คาวี หันตัวไปทำงขวำ แบมือขวำระดับ อก มือซ้ำยเท้ำสะเอว ยืนแตะเท้ำ ซ้ำย ตึงขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย

เพลง

คาวี หลวิชัย รำซ้ำท่ำตั้งแต่บท “เมตตำอำนิสงส์” ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี จนถึงบท “ชวนชักให้ชม”

ให้ชม

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

๖๒

รับปี่

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๕๕


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๕๖

๖๓

เพลง แฉล่มแช่มช้ำ

คาวี หลวิชัย หันหน้ำตรง กรีดนิ้วมือทั้งสอง มือ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ขวำตั้งวงบน มือซ้ำยตั้งวงล่ำง ถอน เท้ำซ้ำย ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ

๖๔

เพลง จริยำมำรยำท

คาวี หลวิชัย หันตัวไปทำงขวำ ช้อนมือทั้งสองล่อ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี แก้ว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้นม้วนมือ มือซ้ำยล่อแก้ว ระดับวงบน มือขวำล่อแก้วระดับวง หน้ำ ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย วิ่ง หมุนตัว

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๕๗

๖๕

เพลง จะนวยจะนำด

คาวี หลวิชัย หันหน้ำตรง ถอนเท้ำขวำ ปำดมือไป ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ทำงขวำ มือซ้ำยจีบคว่ำแขนตึง ดึง ข้ำง มือจีบขึ้นระดับไหล่ มือขวำตั้งวง ล่ำง จรดเท้ำซ้ำย แล้วก้ำวข้ำง เอียง ขวำ

๖๖

เพลง จะนวยจะนำด

คาวี หลวิชัย หันหน้ำตรง ถอนเท้ำขวำ ปำดมือไป ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ทำงขวำ มือซ้ำยจีบคว่ำแขนตึง ดึง ข้ำง มือจีบขึ้นระดับไหล่ มือขวำตั้งวง ล่ำง จรดเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๕๘

๖๗

เพลง วิลำศเลิศคม

คาวี มือทั้งสองจีบหงำยระดับอก ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้น คลำยมือทั้งสอง มือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ กระดกเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

หลวิชัย ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ข้ำง

คาวี รำซ้ำท่ำตั้งแต่บท “แฉล่มแช่มช้ำ” จนถึงบท “วิลำศเลิศคม”

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

๖๘

เพลง รับปี่

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๖๙

เพลง ดนตรีรับ

คาวี หลวิชัย ปำดมือไปทำงขวำ มือขวำจีบคว่ำ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี แขนตึง ดึงมือจีบขึ้นระดับไหล่ มือ ซ้ำยตั้งวงล่ำง ถอนเท้ำซ้ำย ก้ำวหน้ำ เท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้นทำใน ลักษณะเดียวกันสลับข้ำง เดินขึ้น หน้ำอีกสองครั้ง

๗๐

เพลง ดนตรีรับ

คาวี หลวิชัย มือขวำตั้งวงบน มือซ้ำยจีบคว่ำแขน ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ตึง ดึงมือจีบขึ้นระดับไหล่ วำงหลัง เท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้นทำใน ลักษณะเดียวกันสลับข้ำง ฉำยเท้ำ วำงหลังอีกสำมครั้ง

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๕๙


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๖๐

๗๑

เพลง ท้ำยดนตรีรับ

คาวี หลวิชัย มือซ้ำยจีบหงำยแขนงอระดับเอว ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ มือขวำแบหงำยปลำยนิ้วตก แขนงอ ข้ำง ระดับเอว ประ-ยกเท้ำซ้ำย เอียง ซ้ำย จำกนั้นพลิกมือซ้ำยจีบหงำย แขนตึงระดับไหล่ มือขวำตั้งวงบน ผสมเท้ำ เอียงขวำ

๗๒

เพลง แม่ศรีเอย

คาวี อยู่ในท่ำเดิม ย้อนตัว หนักหลัง งอ แขนซ้ำยเล็กน้อย เอียงซ้ำย แล้ว หนักหน้ำ ตึงแขนซ้ำย เอียงขวำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

หลวิชัย ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ข้ำง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๖๑

๗๓

เพลง แม่ศรีสองสัตว์

คาวี หลวิชัย ขยับเท้ำขวำ แล้วเหลื่อมเท้ำซ้ำย ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ มือขวำตั้งวงบนดังเดิม คลำยมือซ้ำย ข้ำง แบหงำยปลำยนิ้วตก แขนงอระดับ เอว เอียงซ้ำย จำกนั้นขยับเท้ำซ้ำย แล้วเหลื่อมเท้ำขวำ เดินมือซ้ำยตั้ง มือระดับอก มือขวำตั้งมือแขนตึง ระดับไหล่ เอียงขวำ

๗๔

เพลง สองศรี

คาวี หลวิชัย ขยับเท้ำขวำ แล้วเหลื่อมเท้ำซ้ำย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี เลื่อนมือซ้ำยออกตั้งวงหน้ำ พลิกมือ ขวำตั้งวงบัวบำน เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๖๒

๗๕

เพลง ศรีสวัสดิ์

คาวี หันตัวไปทำงขวำ มือขวำตั้งวงบน มือซ้ำยตั้งวงล่ำง ยกเท้ำซ้ำย เอียง ซ้ำย

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

๗๖

เพลง มิต้องหัด

คาวี หลวิชัย มือขวำเท้ำสะเอว มือซ้ำยส่ำยมือใน ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ท่ำปฏิเสธ ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียง ขวำ ส่ำยหน้ำเล็กน้อย

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๗๗

เพลง

คาวี หลวิชัย หันตัวไปทำงซ้ำย มือทั้งสองกรีดนิ้ว ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ประกบกันระดับเอว โดยมือขวำแบ หงำย มือซ้ำยแบคว่ำ ก้ำวข้ำงเท้ำ ขวำ เอียงขวำ

เพลง

คาวี หลวิชัย ท่ำผำลำเพียงไหล่ มือขวำจีบปรก หันหลัง ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ข้ำง มือซ้ำยตั้งวงกลำง ถอนเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้นม้วนมือขวำตั้งวง บน พลิกมือซ้ำยแบหงำยปลำยนิ้ว ตกแขนงอระดับเอว ก้ำวหน้ำเท้ำ ซ้ำย เอียงซ้ำย

อบรม

๗๘

รับปี่

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๖๓


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๖๔

๗๙

เพลง

คาวี ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เดินมือซ้ำยมำตั้ง วงล่ำง เอียงขวำ จำกนั้นก้ำวหน้ำ เท้ำซ้ำย เดินมือขวำแบหงำยปลำย นิ้วตกแขนงอระดับเอว เอียงซ้ำย เดินวนเป็นครึ่งวงกลมสลับที่กับหล วิชัย

เพลง

คาวี หลวิชัย ปฏิบัติท่ำผำลำเหมือนครั้งแรก เดิน หันหลัง ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี วนเป็นครึ่งวงกลมสลับที่กับหลวิชัย กลับมำที่เดิม

รับปี่

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

๘๐

รับปี่

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๘๑

เพลง ท้ำยรับปี่

คาวี หลวิชัย จบท่ำที่หันตัวไปทำงซ้ำย มือซ้ำยตั้ง ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี วงบน มือขวำแบหงำยปลำยนิ้วตก แขนงอระดับเอว วำงหลังเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

๘๒

เพลง สู่ร่ำงมนุษย์

คาวี ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ มือทั้งสองจีบคว่ำ ระดับชำยพก แล้วค่อย ๆ แทง ปลำยนิ้วขึ้นมำเป็นจีบหงำยระดับ ชำยพก เอียงซ้ำย

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๖๕


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๖๖

๘๓

เพลง แสนสุดนิยม

คาวี หลวิชัย หันตัวไปทำงขวำ ตั้งมือทั้งสอง ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ระดับอก ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้นเดินมือซ้ำยจีบกรีดนิ้วระดับ ปำกในท่ำยิ้ม มือขวำจีบส่งหลัง ก้ำว ข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย วิ่งหมุนตัวไป ทำงขวำ

๘๔

เพลง กิริยำ

คาวี หลวิชัย หันตัวไปทำงขวำ มือขวำจีบกรีดนิ้ว ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี แล้วตั้งวงระดับอก มือซ้ำยจีบส่ง หลัง ยืนแตะเท้ำซ้ำย ตึงขำทั้งสอง ข้ำง เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๘๕

เพลง

คาวี หลวิชัย หันตัวไปทำงซ้ำย มือซ้ำยจีบกรีดนิ้ว ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี แล้วตั้งวงระดับอก มือขวำจีบส่ง หลัง ยืนแตะเท้ำขวำ ตึงขำทั้งสอง ข้ำง เอียงขวำ

เพลง

คาวี หันตัวไปทำงขวำ มือขวำหยิบจีบ แล้วตั้งวงบัวบำน มือซ้ำยตั้งวงหน้ำ ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ แล้ววิ่ง ขึ้นไปด้ำนหน้ำเล็กน้อย

อำรมณ์

๘๖

งำมสม

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๖๗


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๖๘

๘๗

เพลง

คาวี หันตัวไปทำงซ้ำย มือซ้ำยจีบเข้ำอก มือขวำจีบส่งหลัง ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ วิ่งหมุนตัวไปทำงซ้ำย

เพลง

คาวี หลวิชัย มือขวำหยิบจีบแล้วคลำยมือแบ ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ หงำยปลำยนิ้วตก แขนงอระดับเอว ข้ำง พลิกมือซ้ำยตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้น ปฏิบัติในลักษณะเดิมแต่สลับข้ำง เดินเข้ำหำหลวิชัย แล้วเดินแยกออก

ใจเอย

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

๘๘

รับปี่

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๘๙

เพลง ท้ำยรับปี่

คาวี หลวิชัย จบด้วยท่ำแผลงศร หันตัวไป ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ทำงซ้ำย มือซ้ำยหยิบจีบแล้ว เปลี่ยนเป็นจีบปรกข้ำง แบมือขวำ แล้วพลิกมือเป็นตั้งมือแขนตึงระดับ ไหล่ ก้ำวเท้ำขวำ ซ้ำย แล้วกระดก เท้ำขวำ เอียงซ้ำย

๙๐

เพลง ปี่พำทย์รับ

คาวี หลวิชัย ท่ำสอดสร้อยมำลำ สอดมือขวำตั้ง ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี วงบน มือซ้ำยจีบหงำยระดับชำยพก ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้น ยืดยุบ แล้ววิ่งวนไปทำงซ้ำย

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๖๙


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๗๐

๙๑

เพลง ปี่พำทย์รับ

คาวี หลวิชัย หันตัวมำหน้ำตรง มือซ้ำยจีบคว่ำ ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ แขนงอระดับไหล่ มือขวำแบหงำย ข้ำง ปลำยนิ้วตก แขนงอระดับเอว ประยกเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้น คลำย มือซ้ำยตั้งวงบัวบำน พลิกมือขวำตั้ง มือแขนตึง ระดับไหล่ ผสมเท้ำ เอียง ขวำ แล้วยักตัวตำมจังหวะเพลง

๙๒

เพลง ท้ำยปี่พำทย์รับ

คาวี หลวิชัย หันตัวไปทำงซ้ำย มือขวำจีบคว่ำ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี แขนงอระดับเอว มือซ้ำยแบหงำย ปลำยนิ้ว แขนงอระดับเอว ก้ำวหน้ำ เท้ำซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้นพลิกมือ ขวำจีบหงำยแขนตึง ระดับไหล่ มือ ซ้ำยตั้งวงบน จรดเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๙๓

เพลง แม่ศรีเอย

คาวี หลวิชัย ม้วนมือขวำตั้งวงกลำง แตะ-เล่นเท้ำ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ขวำ เอียงขวำ แล้วช้อนมือขวำจีบ หงำยแขนตึงดังเดิม แตะ-เล่นเท้ำ ขวำ เอียงขวำ ค่อย ๆ หันตัวมำหน้ำ ตรง

๙๔

เพลง แม่ศรีมงคล

คาวี ท่ำพรหมสี่หน้ำ มือทั้งสองจีบคว่ำ แขนงอ ระดับเอว ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ หน้ำตรง จำกนั้นเดินมือทั้งสองขึ้น คลำยมือเป็นวงบัวบำน กระดกเท้ำ ซ้ำย หน้ำตรง

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๗๑


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๗๒

๙๕

เพลง จำกสัตว์

คาวี หลวิชัย เดินมือทั้งสองตั้งวงล่ำง ก้ำวข้ำงเท้ำ ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ซ้ำย เอียงซ้ำย ข้ำง

๙๖

เพลง เป็นคน

คาวี หลวิชัย หันตัวเฉียงขวำ ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี แล้วยกเท้ำซ้ำย วำงมือซ้ำยที่หน้ำขำ ซ้ำย มือขวำเท้ำสะเอว หน้ำตรง

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๙๗

เพลง เพรำะกุศล

คาวี ไว้มือซ้ำยระดับวงบน มือขวำเท้ำ สะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

คาวี มือทั้งสองคว่ำ ระดับไหล่ซ้ำย แล้ว เดินมือลง ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียง ซ้ำย วิ่งหมุนตัวไปทำงขวำ

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

๙๘

เพลง ชักพำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๗๓


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๗๔

๙๙

เพลง รับปี่

คาวี หลวิชัย หันตัวไปทำงซ้ำย มือทั้งสองหยิบจีบ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี แล้วพลิกมือจีบหงำยระดับวงกลำง ก้ำวเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย แล้วก้ำวเท้ำ ขวำ เอียงขวำ จำกนั้นคลำยมือทั้ง สองออก แล้วพลิกมือตั้งวงกลำง ก้ำวเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย แล้วก้ำวเท้ำ ขวำ เอียงขวำ ปฏิบัติสลับกัน เดิน หันตัวไปทำงขวำ

๑๐๐

เพลง ท้ำยรับปี่

คาวี มือทั้งสองหยิบจีบแล้วพลิกมือจีบ หงำยระดับวงกลำง ก้ำวเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย แล้วก้ำวเท้ำขวำ วำงหลัง เท้ำซ้ำย เอียงขวำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๐๑

เพลง บำเพ็ญบำรมี

คาวี ช้อนมือทั้งสองพนมมือระหว่ำงอก ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำย หน้ำตรง

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

คาวี เดินก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เท้ำซ้ำย ค่อย ๆ เลื่อนมือทั้งสองขึ้นพนมระดับแง่ ศีรษะ กล่อมหน้ำ

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี

๑๐๒

เพลง มีจิตเมตตำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๗๕


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๗๖

๑๐๓

เพลง ผลบุญกรุณำ

คาวี หลวิชัย เดินก้ำวหน้ำเท้ำขวำ-ซ้ำย แล้วผสม ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี เท้ำ ถวำยบังคมหนึ่งครั้ง

๑๐๔

เพลง ให้ผำ-

คาวี มือทั้งสองจีบหงำยระดับอก ถอน เท้ำขวำ จรดเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

หลวิชัย ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๐๕

เพลง

คาวี หลวิชัย เดินมือทั้งสองคลำยมือตั้งมือแขนตึง ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ระดับไหล่ ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำย หันตัว ไปทำงขวำ แล้วจรดเท้ำขวำ เอียง ซ้ำย แล้ววิ่งหมุนตัวไปทำงขวำมือ

เพลง

คาวี หลวิชัย หันตัวไปทำงซ้ำย ท่ำนำงนอน มือ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ซ้ำยจีบหงำยระดับชำยพก แล้วม้วน มือออกตั้งวงล่ำง มือขวำตั้งมือแล้ว พลิกเป็นแบหงำยปลำยนิ้วตก แขนงอ ระดับเอว ก้ำวเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย แล้ว ก้ำวเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้น ก้ำว เท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย แล้วก้ำวเท้ำขวำ พลิกมือซ้ำยปลำยนิ้วตก มือขวำตั้ง มือ จำกนั้นจึงเดินพร้อมกับเปลี่ยน พลิกมือตำมจังหวะ หันตัวไปทำงขวำ

-สุกเอย

๑๐๖

รับปี่

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๗๗


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๗๘

๑๐๗

เพลง ท้ำยรับปี่

คาวี หลวิชัย จบด้วยท่ำผำลำเพียงไหล่ มือขวำจีบ ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี ปรกข้ำงแล้วม้วนมือออกตั้งวงบน มือซ้ำยตั้งวงกลำง แล้วพลิกลงแบ หงำยปลำยนิ้วตกแขนงอ ก้ำวเท้ำ ซ้ำย-ขวำ แล้วกระดกเท้ำขวำ เอียง ขวำ

๑๐๘

เพลง ปี่พำทย์รับ

คาวี หลวิชัย ท่ำสอดสร้อยมำลำ สอดมือซ้ำยตั้ง ปฏิบัติเช่นเดียวกับคำวี วงบน มือขวำจีบหงำยระดับชำยพก ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้น ยืดยุบ วิ่งหมุนตัวไปทำงขวำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๗๙

๑๐๙

เพลง ปี่พำทย์รับ

คาวี หลวิชัย รับท่ำพิสมัยเรียงหมอน มือทั้งสอง ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ จีบหงำยระดับอก ประ-ยกเท้ำซ้ำย ข้ำง เอียงซ้ำย จำกนั้นเดินมือทั้งสองออก คลำยมือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำตั้งมือ แขนตึงระดับไหล่ ผสมเท้ำ เอียงขวำ แล้วยักตัวตำมจังหวะเพลง

๑๑๐

เพลง เพลงเร็ว

คาวี ย้อนตัว ลดแขนซ้ำยลงเป็นวงบน เหลื่อมเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้น ย้อนตัวกลับ มือซ้ำยตั้งวงระดับเอว เหลื่อมเท้ำขวำ เอียงขวำ

หลวิชัย ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ข้ำง

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๘๐

๑๑๑

เพลง เพลงเร็ว

คาวี หลวิชัย ยืดตัว ตบเท้ำ ช้ำ ๒ ครั้งแล้วเร็ว ๘ ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ครั้ง พร้อมกับค่อย ๆ เดินมือทั้งสอง ข้ำง ลง มือขวำจีบหงำยระดับชำยพก มือซ้ำยตั้งวงล่ำง เปลี่ยนเหลื่อมเท้ำ ซ้ำย เอียงซ้ำย

๑๑๒

เพลง เพลงเร็ว

คาวี ยืดตัวตบเท้ำต่อเนื่องจำกท่ำแรก เดินมือขวำขึ้นคลำยมือตั้งวงบน เดินมือซ้ำยจีบส่งหลัง เปลี่ยน เหลื่อมเท้ำขวำ เอียงขวำ (นับตบ เท้ำ ๘ ครั้ง)

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

หลวิชัย ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ข้ำง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๘๑

๑๑๓

เพลง เพลงเร็ว

คาวี หลวิชัย ยืดตัวตบเท้ำต่อเนื่อง พร้อมกับค่อย ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ๆ เดินมือทั้งสองลง มือขวำจีบหงำย ข้ำง ระดับชำยพก มือซ้ำยตั้งวงล่ำง เปลี่ยนเหลื่อมเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย (นับตบเท้ำ ๘ ครั้ง)

๑๑๔

เพลง เพลงเร็ว

คาวี ยืดยุบ ม้วนมือขวำตั้งวงล่ำง ช้อน มือซ้ำยจีบหงำยระดับชำยพก เปลี่ยนเหลื่อมเท้ำขวำ เอียงขวำ

หลวิชัย ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ข้ำง

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๘๒

๑๑๕

เพลง เพลงเร็ว

คาวี หลวิชัย ยืดตัวตบเท้ำต่อเนื่อง เดินมือซ้ำยขึ้น ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ คลำยมือตั้งวงบน เดินมือขวำจีบส่ง ข้ำง หลัง เปลี่ยนเหลื่อมเท้ำซ้ำย เอียง ซ้ำย (นับตบเท้ำ ๘ ครั้ง)

๑๑๖

เพลง เพลงเร็ว

คาวี หลวิชัย ยืดตัวตบเท้ำต่อเนื่อง พร้อมกับค่อย ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ๆ เดินมือทั้งสองลง มือซ้ำยจีบหงำย ข้ำง ระดับชำยพก มือขวำตั้งวงล่ำง เปลี่ยนเหลื่อมเท้ำขวำ เอียงขวำ (นับตบเท้ำ ๘ ครั้ง)

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๘๓

๑๑๗

เพลง เพลงเร็ว

คาวี หลวิชัย มือขวำจีบคว่ำแขนงอ มือซ้ำยแบ ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ หงำยปลำยนิ้วตกแขนงอ ระดับเอว ข้ำง ยืดตัวตบเท้ำขวำ ช้ำ ๒ ครั้ง แล้ว เร็ว เอียงขวำ

๑๑๘

เพลง เพลงเร็ว

คาวี หลวิชัย ยืดตัวตบเท้ำต่อเนื่อง เดินมือทั้งสอง ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ขึ้น คลำยมือขวำตั้งวงบัวบำน มือ ข้ำง ซ้ำยตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ เปลี่ยน เหลื่อมเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๘๔

๑๑๙

เพลง เพลงเร็ว

คาวี หลวิชัย ยืดตัวตบเท้ำต่อเนื่อง เดินมือทั้งสอง ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ลง มือซ้ำยจีบคว่ำแขนงอ มือขวำ ข้ำง แบหงำยปลำยนิ้วตกแขนงอ ระดับ เอว เอียงซ้ำย

๑๒๐

เพลง เพลงเร็ว

คาวี หลวิชัย ยืดตัวตบเท้ำต่อเนื่อง เดินมือทั้งสอง ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ ขึ้น คลำยมือซ้ำยตั้งวงบัวบำน มือ ข้ำง ขวำตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ เปลี่ยน เหลื่อมเท้ำขวำ เอียงขวำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๒๑

เพลง เพลงเร็ว

คาวี สอดมือขวำตั้งวงบน มือซ้ำยจีบ หงำยระดับชำยพก ก้ำวไขว้เท้ำขวำ หมุนตัวหันไปทำงขวำ เอียงซ้ำย

หลวิชัย

คาวี สอดมือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำแบ หงำยปลำยนิ้วตกแขนตึงระดับไหล่ แตะเท้ำซ้ำย หน้ำตรง

หลวิชัย

๑๒๒

เพลง เพลงเร็ว

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๘๕


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๘๖

๑๒๓

เพลง เพลงเร็ว

คาวี หลวิชัย ยืดยุบ แตะ-เล่นเท้ำซ้ำย พร้อมกับ ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี เมื่อหมุนตัว ส่ำยแขนขวำ เดำะแขนซ้ำย และลัก มำด้ำนหน้ำ หลวิชัยจึงหมุนหันหลัง คอ ช้ำ ๒ ครั้ง เร็ว ๘ ครั้ง แล้ว ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำย ปฏิบัติต่อเนื่อง หมุนตัวมำด้ำนหน้ำ จบท่ำ ก้ำวเท้ำ ซ้ำย วำงหลังเท้ำขวำ

๑๒๔

เพลง เพลงเร็ว

คาวี วิ่งขยับแถวเฉียง มือทั้งสองตั้งวง ระดับอก สะดุดเท้ำซ้ำย เอียงขวำ แล้วเดินมือทั้งสองออก มือขวำจีบ ปรกข้ำง มือซ้ำยจีบหงำยแขนตึง ระดับไหล่ ยกเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

หลวิชัย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๒๕

เพลง เพลงเร็ว

คาวี ยืดยุบ ม้วนมือทั้งสอง มือขวำตั้งวง บน มือซ้ำยแบหงำยปลำยนิ้วตก แขนตึงระดับไหล่ ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

หลวิชัย

คาวี ยืดยุบ พลิกมือซ้ำยตั้งมือแขนตึง ระดับไหล่ เปลี่ยนเหลื่อมเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้น ยืดยุบ ส่ำยแขน ซ้ำย พร้อมกับเดินถัดเท้ำซ้ำย วน เป็นวงกลมคู่กับหลวิชัย เดินกลับมำ ตำแหน่งเดิม

หลวิชัย

๑๒๖

เพลง เพลงเร็ว

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๘๗


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๘๘

๑๒๗

เพลง เพลงเร็ว

คาวี หันตัวไปทำงขวำ มือขวำหยิบจีบ แล้วเปลี่ยนเป็นวงบัวบำน มือซ้ำย แบหงำยแล้วพลิกมือขี้นเป็นตั้งมือ แขนตึงระดับไหล่ เดินถัดเท้ำขวำ เดำะแขนซ้ำย เอียงขวำ เคลื่อนตัว มำด้ำนหน้ำ

หลวิชัย

คาวี เดินมือขวำตั้งวงหน้ำ มือซ้ำยจีบส่ง หลัง เดินถัดเท้ำขวำ เอียงซ้ำย เคลื่อนตัวลงหลัง

หลวิชัย

๑๒๘

เพลง เพลงเร็ว

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๒๙

เพลง เพลงเร็ว

คาวี หันตัวไปทำงซ้ำย มือซ้ำยหยิบจีบ แล้วเปลี่ยนเป็นวงบัวบำน มือขวำ แบหงำยแล้วพลิกมือขี้นเป็นตั้งมือ แขนตึงระดับไหล่ เดินถัดเท้ำขวำ เดำะแขนขวำ เอียงซ้ำย เคลื่อนตัว มำด้ำนหน้ำ

หลวิชัย

คาวี เดินมือซ้ำยตั้งวงหน้ำ มือขวำจีบส่ง หลัง เดินถัดเท้ำขวำ เอียงขวำ เคลื่อนตัวลงหลัง

หลวิชัย

๑๓๐

เพลง เพลงเร็ว

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี

๑๘๙


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๙๐

๑๓๑

เพลง เพลงเร็ว

คาวี หมุนตัวมำด้ำนหน้ำ รอหมดจังหวะ ในท่ำรำส่ำย หมดจังหวะ ก้ำวหน้ำ เท้ำขวำ วำงหลังเท้ำซ้ำย วำดมือ ซ้ำยแบหงำยปลำยนิ้วตก แขนตึง ระดับไหล่ วำดมือขวำตั้งมือแขนตึง ระดับไหล่ เอียงขวำ

หลวิชัย

๑๓๒

เพลง เพลงลำ

คาวี หลวิชัย ท่ำสอดสูง มือซ้ำยจีบคว่ำแขนงอ ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ มือขวำแบหงำยปลำยนิ้วตก ระดับ ข้ำง วิ่งสวนกับคำวี เอว ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นเดินมือซ้ำยขึ้น คลำยมือตั้ง วงบัวบำน พลิกมือขวำตั้งมือแขนตึง ระดับไหล่ จรดกเท้ำซ้ำย เอียงขวำ วิ่งสวนกับหลวิชัย

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๙๑

๑๓๓

เพลง

คาวี หลวิชัย ปฏิบัติท่ำเดิม แต่ทำสลับข้ำง วิ่ง ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี แต่ทำสลับ สวนกับหลวิชัยกลับมำตำแหน่งเดิม ข้ำง วิ่งสวนกับคำวี

เพลง

คาวี หลวิชัย ท่ำนำงนอน มือขวำจีบหงำยระดับ ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี หลวิชัยหัน ชำยพกแล้วม้วนมือตั้งวงล่ำง มือ หลัง ซ้ำยตั้งมือแล้วพลิกลงแบหงำยปลำย นิ้วตก แขนงอระดับเอว เอียงซ้ำย

เพลงลำ

๑๓๔

เพลงลำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๙๒

๑๓๕

เพลง

คาวี หลวิชัย ปฏิบัติท่ำนำงนอนสลับข้ำง หันหลัง ปฏิบัติท่ำนำงนอนเช่นเดียวกับคำวี หลวิชัยหันหน้ำ

เพลง

คาวี หลวิชัย หมุนตัวหันมำด้ำนหน้ำ มือขวำจีบ ปฏิบัติท่ำเดียวกับคำวี คว่ำแขนตึง ดึงจีบขึ้นระดับไหล่ มือ ซ้ำยตั้งวงล่ำง วำงหลังเท้ำขวำ เอียง ขวำ จำกนั้นทำสลับข้ำงอีกหนึ่งครั้ง

เพลงลำ

๑๓๖

เพลงลำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๙๓

๑๓๗

เพลง

คาวี มือซ้ำยจับมือกับหลวิชัย มือขวำแบ หงำยปลำยนิ้วตกแล้วพลิกขึ้นตั้งมือ ระดับไหล่ ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำย แล้ว ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

หลวิชัย มือขวำจับมือกับคำวี มือซ้ำยหยิบ จีบคลำยมือเป็นวงบัวบำน ก้ำวหน้ำ เท้ำซ้ำย แล้วก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียง ซ้ำย

เพลง

คาวี ย้อนตัวหนักหลัง เอียงขวำ แล้ว หนักหน้ำ เดินมือขวำลงจีบส่งหลัง เอียงซ้ำย

หลวิชัย ย้อนตัวหนักหลัง เอียงขวำ แล้ว หนักหน้ำ แทงมือซ้ำยตั้งวงบน เอียง ซ้ำย

เพลงลำ

๑๓๘

เพลงลำ

รำฉุยฉำยหลวิชัย – คำวี


รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์ เป็นกำรรำเดี่ยวที่อยู่ในกำรแสดงละครนอก เรื่องไชยเชษฐ์ บทพระรำชนิพนธ์ ในพระบำทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้ำนภำลัย ถ่ำยทอดท่ำรำในโครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปิน แห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐ โดยครูชวลิต สุนทรำนนท์ นักวิชำกำรละครและดนตรีเชี่ยวชำญ ซึ่งครูชวลิตได้รับกำรถ่ำยทอดท่ำรำจำกครูรัจนำ พวงประสงค์ ศิลปินแห่งชำติ ที่ได้รับกำรถ่ำยทอดท่ำรำ จำกครูเจริญจิต ภัทรเสวี อีกทอดหนึ่ง บทฉุยฉำยประพันธ์โดย นำงพัฒนี พร้อมสมบัติ อดีตนักวิชำกำร ละครและดนตรี ๙ ชช. รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์เป็นกำรรำของตัวละคร “นำงวิฬำร์” หรือนำงแมว ซึ่งเป็นแมวที่นำงจำปำทอง หรือนำงสุวิญชำเลี้ยงไว้ รำถวำยเทพยดำเพื่อแก้บนที่ช่วยให้ขุดเจอพระโอรส เนื้อเรื่องโดยย่อของเรื่อง ไชยเชษฐ์ กล่ำวถึงนำงจำปำทอง ธิดำของท้ำวอภัยนุร ำช เจ้ำเมืองเวสำลี เหตุที่ชื่อจำปำทองเป็น เพรำะว่ำเมื่อนำงร้องไห้จะมีดอกจำปำทองร่วงลงมำ วันหนึ่งนำงจำปำทองเก็บเอำไข่จระเข้เข้ำมำเลี้ยง ไว้ในวัง เมื่อจรเข้โตขึ้นก็ทำร้ำยกัดกินชำวเมือง ทำให้ท้ำวอภัยนุรำชขับไล่นำงออกจำกเมืองโดยมีนำงแมว ติดตำมไปด้วย ทั้งสองได้ผ่ำนอันตรำยต่ำง ๆ จนได้มำพึ่งพระโคดมฤๅษี ครั้นเจ้ำเมืองสิงหลซึ่งเป็นเมืองยักษ์ ทรำบข่ำวนำง จึงขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม แล้วให้ชื่อใหม่ว่ำ “สุวิญชำ” ต่อมำนำงสุวิญชำได้อภิเษกกับพระไชยเชษฐ์ โอรสของท้ำวธรรมมึกแห่งเมืองเหมันต์ พระไชยเชษฐ์ มีบำทบริจำริกำอยู่ ๗ นำง ซึ่งนำงทั้งเจ็ดต่ำงก็ริษยำนำงสุวิญชำ เมื่อนำงสุวิญชำเจ็บท้องจะคลอดบุตร นำงทั้งเจ็ดจึงอุบำยให้พระไชยเชษฐ์ออกไปจับช้ำงเผือก แล้วแอบนำโอรสของนำงสุวิญชำที่เพิ่งคลอด นำใส่หีบฝังไว้ที่โคนต้นไทรในป่ำ และนำท่อนไม้มำใส่พำนพร้อมกับกล่ำวหำนำงสุวิญชำว่ำคลอดลูก ออกมำเป็นท่อนไม้ พระไชยเชษฐ์หลงเชื่อจึงสั่งให้ประหำรชีวิต แต่พี่เลี้ยงทั้งสี่ได้ทูลทัดทำนไว้ จึงสั่งให้ ขับนำงสุวิญชำออกไปจำกเมือง นำงวิฬำร์ ซึ่งเห็ น เหตุกำรณ์และรู้ เรื่ องรำวทั้งหมด จึงเล่ ำให้ นำงสุ วิญชำฟัง และพำไปขุ ด พระโอรสที่โคนต้น ไทร แต่ขุดไปไม่พบพระโอรส นำงวิฬำร์จึ งยกมือขึ้นไหว้บนบำนต่อเทพเทวดำ จึงพบหีบที่ฝังพระโอรสไว้ นำงวิฬำร์จึงได้รำฉุยฉำยถวำยเพื่อเป็นกำรแก้บน จำกนั้นจึงพำกันเดินทำง ไปยังเมืองสิงหล ท้ำวสิงหลเมื่อทรำบเรื่องรำวก็โกรธ จะยกทัพไปยังเมืองเหมันต์เพื่อสังหำรพระไชยเชษฐ์ แต่นำงสุวิญชำขอร้องไว้เพื่อเห็นแก่หลำนเกรงว่ำจะกำพร้ำพ่อ ท้ำงสิงหลจึงใจอ่อนและตั้งชื่อให้กับ พระกุมำรว่ำ “พระนำรำยณ์ธิเบศร์” พระไชยเชษฐ์เมื่อทรำบควำมจริงจึงออกเดินทำงพร้อมกับพี่เลี้ยง เพื่อติดตำมหำนำงสุวิญชำ จนถึงเมืองสิงหล ระหว่ำงทำงได้พบพระนำรำยธิเบศร์ที่ออกเดินทำงมำล่ำสัตว์ที่ในป่ำ พระไชยเช ษฐ์ สงสัยว่ำเด็กน้อยนี้น่ำจะเป็นโอรสของตน จึงออกไปพูดจำด้วย พระนำรำยณ์ธิเบศร์ไม่รู้จักจึงเกิดปะทะ คำรมและรบกันขึ้น พระนำรำยณ์ธิเบศร์แผลงศรไปหวังจะสังหำรพระไชยเชษฐ์ แต่ศรกลับกลำยเป็น ดอกไม้ตกเกลื่อนกลำด พระไชยเชษฐ์จึงอธิษฐำนหำกพระกุมำรเป็นโอรส ก็ขอให้ศรกลับกลำยเป็น รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๙๕

อำหำรทิพย์ แล้วแผลงศรไป ศรก็กลำยเป็นอำหำรทิพย์ตำมคำอธิษฐำน พระไชยเชษฐ์จึงเล่ำควำมจริง ให้ฟัง พระนำรำยณ์ธิเบศเมื่อรู้ว่ำเป็นพระบิดำจึงพำพระไชยเชษฐ์เข้ำเมืองเพื่อเฝ้ำท้ำวสิงหล โดยให้ ปลอมตัวเป็นไพร่รออยู่ที่ซุ้มประตูวังก่อน แล้วตนจึงเข้ำไปทูลท้ำวสิงหล นำงวิฬำร์แอบฟังโดยตลอด ก็นึกเจ็บใจคิดแก้แค้นพระไชยเชษฐ์ให้อับอำย จึงออกไปพูดจำเยำะเย้ยถำกถำงพระไชยเชษฐ์ที่ซุ้มประตูวัง จนสำใจ หลังจำกนั้นพระไชยเชษฐ์ได้เข้ำเฝ้ำท้ำวสิงหล และรับผิดในสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป ท้ำวสิงหล ให้อภัยและจัดให้จัดกำรอภิเษกพระไชยเชษฐ์กับนำงสุวิญชำขึ้นใหม่ที่เมืองสิงหล เครื่องแต่งกำย รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์ แต่งกำยด้วยชุดยืนเครื่องนำงสีน้ำเงิน ขลิบแดง ศีรษะสวมศิรำภรณ์รูปหัวแมว ตำมสัญชำติของตัวละครที่เป็นแมว ดังภำพ

ภำพ ๖ เครื่องแต่งกำยรำฉุยฉำยนำงวิฬำร์ ที่มำ : กรมศิลปำกร, ๒๕๕๗, หน้ำ ๒๓ รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


๑๙๖

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

บทประกอบกำรแสดง - ปี่พำทย์ทำเพลงฉุยฉำย - ร้องเพลงฉุยฉำย ฉุยฉำยเอย นบกรรำร่ำยถวำยพระไทรเทวำ สองแขนแอ่นอ่อนท่ำกินนรลีลำ ตระเวนเวหำขี่ม้ำตีคลี ประเท้ำก้ำวยำตรนำดกรกรำย รำฉุยฉำยถวำยเทพนำลี - ร้องเพลงแม่ศรี แม่ศรีเอย แม่ศรีวิฬำรัตน์ รำฉุยฉำยถวำยหัตถ์ โสมนัสยินดี เทพไทเทวำ ทั่วป่ำวนำศรี โปรดรับไมตรี ตัวข้ำนี้ถวำยเอย - ปี่พำทย์ทำเพลงเร็ว, ลำ -

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๙๗

ท่ำรำ ๑

เพลง

ท่ำรำ ท่ำออก – หันตัวด้ำนซ้ำย มือซ้ำยจีบหงำยแขนตึง มือขวำวงล่ำง ก้ำวเท้ำ ขวำ เอียงศีรษะด้ำนขวำ ขยั่นเท้ำ หันตัวด้ำนขวำ ปฎิบัติท่ำเดิมแต่คนละข้ำงกัน ปฎิบัติสลับกันจนหมดจังหวะ

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๙๘

เพลง เอื้อน ๓

เพลง ฉุยฉำยเอย

ท่ำรำ สอดสร้อยซ้ำย ขวำ ขยั่นเท้ำ หันมำด้ำนหน้ำ

ท่ำรำ มือทั้งสองตั้งวงล่ำง ฉำยเท้ำซ้ำยวำงหลัง – ขวำวำงหลัง ลักคอ มือซ้ำยตั้ง วงล่ำง มือขวำจีบหลัง

เพลง นบกร

ท่ำรำ พนมมือที่อก หนักหลัง ก้ำวเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๙๙

เพลง

ท่ำรำ หันด้ำนซ้ำย มือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำหยิบจีบคว่ำดึงขึ้นแขนตึงระดับไหล่ ก้ำวเท้ำซ้ำย จรดเท้ำขวำ เอียงศีรษะด้ำนซ้ำย

เพลง

ท่ำรำ หันด้ำนขวำ มือขวำตั้งวงบน มือซ้ำยหยิบจีบคว่ำดึงขึ้นแขนตึงระดับไหล่ ก้ำวเท้ำขวำ จรดเท้ำซ้ำย เอียงศีรษะด้ำนขวำ

รำ ๖

ร่ำย

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๐๐

เพลง ถวำยพระไทรเทวำ

ท่ำรำ มือทั้งสองพนมระดับแง่ศีรษะขวำ ก้ำวเท้ำขวำ ซ้ำย กระดกเท้ำขวำ เอียง ซ้ำย

เพลง สองแขน

ท่ำรำ หันด้ำนขวำ จีบคว่ำสองมือแล้วพลิกหงำยขึ้น แขนตึงระดับไหล่ยื่นไป ข้ำงหน้ำ ยกเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๐๑

เพลง แอ่นอ่อน

ท่ำรำ ส่งจีบทั้งสองมือไปด้ำนหลัง แล้วม้วนจีบออกเป็บวงกลำง ก้ำวเท้ำซ้ำยมำ ด้ำนหน้ำ ลักคอ งอแขน ซ้ำย ขวำ

๑๐

เพลง ท่ำกินนร

ท่ำรำ หันด้ำนซ้ำย มือซ้ำยแบหงำยระดับวงบน มือขวำจีบคว่ำ แล้วพลิกเป็นจีบ หงำยแขนตึงระดับไหล่ ก้ำวเท้ำซ้ำย เดี่ยวเท้ำขวำ เอียงขวำ

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๐๒

๑๑

เพลง ลี ลำ

ท่ำรำ จีบหลังสองมือ ก้ำวเท้ำขวำ เอียงขวำมำด้ำนหน้ำ มือซ้ำยวงบน มือขวำวงล่ำง ก้ำวเท้ำซ้ำยขยั่น เอียงขวำ

๑๒

เพลง ตระเวนเวหำ

ท่ำรำ หันด้ำนขวำ มือขวำจีบคว่ำ แล้วสอดขึ้นเป็นมือแบหงำยระดับวงบน มือ ซ้ำยแบหงำยปลำยนิ้วตกแขนงอข้ำงลำตัว พลิกมือขึ้นเป็นแขนตึงระดับ ไหล่ ก้ำวเท้ำขวำ เอียงขวำ ยกเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๐๓

๑๓

เพลง

ท่ำรำ มือซ้ำยหยิบจีบ มือขวำวงล่ำง ข้ำงเอวขวำ ก้ำวเท้ำซ้ำย ขวำ วำงหลังเท้ำ ซ้ำย เอียงขวำ

เพลง

ท่ำรำ มือขวำตั้งวงแขนงอข้ำงลำตัว มือซ้ำยจีบหงำยระดับชำยพก ถอนเท้ำขวำ เอียงขวำ พลิกมือขวำขึ้นเป็นจีบหงำยแขนตึงระดับไหล่ มือซ้ำยวงล่ำง ก้ำวเท้ำซ้ำย กระดกขวำ เอียงซ้ำย

ขี่ม้ำ ๑๔

ตีคลี

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๐๔

๑๕

เพลง ประเท้ำ

ท่ำรำ หันด้ำนหน้ำ มือทั้งสองจีบคว่ำ ประเท้ำขวำ เอียงซ้ำย แล้วคลำยออกเท้ำ สะเอว ก้ำวเท้ำขวำ จรดเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

๑๖

เพลง ก้ำวยำตร

ท่ำรำ มือเหมือนเดิม ประเท้ำซ้ำย เอียงขวำ ก้ำวเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๐๕

๑๗

เพลง นำดกรกรำย

ท่ำรำ มือขวำจีบคว่ำ แขนงอข้ำงลำตัวแล้วสอดขึ้นเป็นมือแบหงำย มือซ้ำยแบ หงำยปลำยนิ้วตก พลิกเป็นมือตั้งแขนตึง ก้ำวเท้ำ ขวำ ลักคอ (ปฏิบัติ เหมือนเดิมแต่คนละข้ำงกัน)

๑๘

เพลง รำ

ท่ำรำ มือซ้ำยตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ มือขวำจึบหงำยระดับชำยพก จรดเท้ำขวำ ลักคอ

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๐๖

๑๙

เพลง

ท่ำรำ มือซ้ำยจึบคว่ำ แขนงอระดับเอว สอดจีบเป็นมือแบหงำยปลำยนิ้วตก มือ ขวำแบหงำยปลำยนิ้วตก แล้วพลิกเป็นวงล่ำง เท้ำขวำวำงหลัง ลักคอ

เพลง ถวำยเทพ

ท่ำรำ หันด้ำนขวำ มือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำหยิบจีบคว่ำดึงขึ้นแขนตึงระดับไหล่ ก้ำวเท้ำขวำ จรดเท้ำซ้ำย เอียงศีรษะด้ำนซ้ำย

ฉุยฉำย

๒๐

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๐๗

๒๑

เพลง นำรี

ท่ำรำ หันด้ำนซ้ำย มือขวำตั้งวงบน มือซ้ำยหยิบจีบคว่ำดึงขึ้นแขนตึงระดับไหล่ ก้ำวเท้ำซ้ำยขยั่น เอียงศีรษะด้ำนซ้ำย

๒๒

เพลง ปี่พำทย์รับ

ท่ำรำ (ท่ำนำงนอน) มือขวำจึบคว่ำ แขนงอระดับเอว ก้ำวเท้ำขวำ เอียงซ้ำย สอด จีบเป็นมือแบหงำยปลำยนิ้วตก มือซ้ำยแบหงำยปลำยนิ้วตก แล้วพลิกเป็น วงล่ำง ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ หน้ำมองออก

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๐๘

๒๓

เพลง ปี่พำทย์รับ

ท่ำรำ หันด้ำนหน้ำ ปฎิบัติท่ำนำงนอน ก้ำวเท้ำขึ้นหน้ำ ๓ จังหวะ ลงหลัง ๒ จังหวะ

๒๔

เพลง ปี่พำทย์รับ

ท่ำรำ (ท่ำสอดสูง) มือซ้ำยจีบคว่ำ แขนงอข้ำงลำตัว ประเท้ำขวำ เอียงซ้ำย แล้ว สอดขึ้นเป็นมือแบหงำย มือซ้ำยแบหงำยปลำยนิ้วตก พลิกเป็นมือตั้งแขน ตึง ก้ำวเท้ำ ขวำ เอียงขวำ

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๐๙

๒๕

เพลง แม่ศรีเอย

ท่ำรำ มือขวำจีบปรกข้ำง หนักหลัง ลักคอ ม้วนจีบขวำเป็นวงบน มือซ้ำยพลิก เป็นมือแบหงำยปลำยนิ้วตก แขนตึงระดับไหล่ ลักคอ

๒๖

เพลง แม่ศรีวิฬำร์รัตน์

ท่ำรำ หันด้ำนขวำ มือทั้งสองจีบคว่ำ แล้วคลำยจีบออกไขว้มือกันเป็นวง ระดับวง หน้ำ ก้ำวเท้ำขวำ ซ้ำย กระดกขวำ เอียงซ้ำย

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


๒๑๐

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๗

เพลง รำฉุยฉำย

ท่ำรำ มือซ้ำยจึบหงำยแขนตึงระดับไหล่ทอดไปด้ำนหน้ำ มือขวำจีบหลัง ก้ำวเท้ำ ซ้ำย เอียงซ้ำย

๒๘

เพลง ถวำยหัตถ์

ท่ำรำ หันด้ำนซ้ำย มือทั้งสองจีบคว่ำไขว้กันระดับวงหน้ำ ก้ำวเท้ำขวำ กระดก เท้ำซ้ำย

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๑๑

๒๙

เพลง

ท่ำรำ หน้ำอัด มือซ้ำยจีบหงำยแขนงอ ยกเท้ำซ้ำย เอียงขวำ ม้วนจีบเป็นวงแขน ตึงระดับไหล่ มือขวำวงกลำง พลิกเป็นจีบหงำยแขนตึงระดับไหล่ ก้ำวเท้ำ ซ้ำย เอียงซ้ำย

เพลง

ท่ำรำ มือซ้ำยจึบคว่ำ ก้ำวเท้ำขวำ เอียงขวำ แล้วคลำยออกมำแนบแก้ม มือขวำ จีบหลัง ก้ำวเท้ำซ้ำยเอียงซ้ำย

โสมนัส

๓๐

ยินดี

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


๒๑๒

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๓๑

เพลง

ท่ำรำ หันด้ำนขวำ (ท่ำบัวชูฝัก) มือขวำจีบคว่ำระดับวงบน มือขวำแบหงำย ปลำยนิ้วตกระดับวงล่ำง ก้ำวเท้ำขวำเอียงขวำ สอดจีบขวำเป็นมือแบ หงำย มือซ้ำยวงล่ำง ยกเท้ำซ้ำย เอียงศีรษะด้ำนซ้ำย

เพลง

ท่ำรำ หันด้ำนซ้ำย (ปฏิบัติท่ำบัวชูฝัก แต่คนละด้ำนกัน)

เทพไท

๓๒

เทวดำ

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๑๓

๓๓

เพลง ทั่วป่ำวนำศรี

ท่ำรำ มือขวำชี้กวำดสูง มือซ้ำยจีบหลัง เอียงซ้ำย วิ่งหมุนรอบตัว

๓๔

เพลง โปรดรับ

ท่ำรำ หันด้ำนขวำ ช้อนมือทั้งสองขึ้นมือเรียงกันอยู่ด้ำนหน้ำ ก้ำวเท้ำขวำ เอียง ขวำ

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


๒๑๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๓๕

เพลง

ท่ำรำ จีบหงำยสองมือม้วนออก หนักเท้ำซ้ำยเอียงซ้ำย โกยมือทั้งสองขึ้น ก้ำว เท้ำขวำ เอียงขวำ

เพลง

ท่ำรำ พนมมือระดับอก ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำย ลักคอ

ไมตรี

๓๖

ตัวข้ำนี้

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๑๕

๓๗

เพลง ถวำยเอย

ท่ำรำ จีบคว่ำสองมือระดับอก ก้ำวเท้ำขวำ ลักคอ คลำยจีบออกเป็นมือตั้งแขน ตึงระดับไหล่ จรดเท้ำซ้ำย ลักคอ

๓๘

เพลง ปี่พำทย์รับ

ท่ำรำ (ดึงจีบสั้น) หันด้ำนขวำ ดึงจีบขวำขึ้นแขนตึงระดับไหล่ มือซ้ำยวงล่ำง ก้ำว เท้ำขวำ เอียงขวำ ขยั่นเท้ำ หมุนมำด้ำนซ้ำย

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


๒๑๖

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๓๙

เพลง ปี่พำทย์รับ

ท่ำรำ ดึงจีบซ้ำยขึ้นแขนตึงระดับไหล่ มือขวำวงล่ำง ก้ำวเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย ขยั่น เท้ำ

๔๐

เพลง ปี่พำทย์รับ

ท่ำรำ หันมำด้ำนหน้ำ มือซ้ำยวงบน มือขวำจีบคว่ำดึงขึ้น แขนตึงระดับไหล่ ก้ำว เท้ำขวำ วำงหลังเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๑๗

๔๑

เพลง ปี่พำทย์รับ

ท่ำรำ มือขวำวงบน มือซ้ำยจีบคว่ำดึงขึ้น แขนตึงระดับไหล่ วำงหลังเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

๔๒

เพลง ปี่พำทย์รับ

ท่ำรำ มือขวำจีบคว่ำ มือซ้ำยแบหงำยปลำยนิ้วตกแขนงอระดับเอว ประเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


๒๑๘

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๓

เพลง ปี่พำทย์รับ

ท่ำรำ พลิกจีบขวำขึ้นเป็นจีบหงำยแขนตึงระดับไหล่ มือซ้ำยพลิกเป็นวงบน ก้ำว เท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

๔๔

เพลง เพลงเร็ว

ท่ำรำ ปฏิบัติท่ำเดิม ยักตัว ดึงจีบเข้ำ ออก ช้ำ ๒ จังหวะ เร็ว ๖ จังหวะ ค่อย ๆ ลดระดับมือลง หมดจังหวะ มือซ้ำยวงล่ำง มือขวำจีบหงำย เหลื่อมเท้ำ ขวำ เอียงขวำ

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๑๙

๔๕

เพลง

ท่ำรำ มือเหมือนเดิม ตบเท้ำตำมจังหวะ กล่อมหน้ำ ๘ จังหวะ หมดที่มือขวำ จีบ หงำยระดับชำยพก มือซ้ำยวงล่ำง เหลื่อมเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย ถอนเท้ำซ้ำย ก้ำวขวำ ขยั่นไปด้ำนซ้ำย มือขวำวงล่ำง มือซ้ำยจีบหงำยระดับชำยพก

เพลง

ท่ำรำ มือขวำวงบน มือซ้ำยจีบหงำยคู่กัน สะดุดเท้ำขวำ เอียงซ้ำย แตะเท้ำขวำ เอียงขวำ ตบเท้ำตำมจังหวะ พร้อมกับสะบัดจีบเปลี่ยนมือ ลดระดับมือลง มำที่ระดับชำยพก หมดจังหวะ หันตัวด้ำนซ้ำย มือขวำหยิบจีบหงำยขึ้น ระดับไหล่ มือขวำวงล่ำง ก้ำวเท้ำขวำ เอียงขวำ

เพลงเร็ว

๔๖

เพลงเร็ว

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


๒๒๐

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๗

เพลง

ท่ำรำ หันด้ำนหน้ำ มือซ้ำยวงบน มือขวำวงล่ำง จรดเท้ำซ้ำย ลักคอ ตบเท้ำ พลิกมือซำยแบหงำยปลำยนิ้วตก ลักคอ สลับ เป็นวงล่ำง ปฏิบัติสลับกัน จนหมดจังหวะ

เพลง

ท่ำรำ หันด้ำนซ้ำย มือซ้ำยวงล่ำง มือขวำจีบหงำยแขนตึงระดับไหล่ ก้ำวเท้ำขวำ เอียงขวำ

เพลงเร็ว

๔๘

เพลงเร็ว

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๒๑

๔๙

เพลง

ท่ำรำ หันหน้ำอัด มือขวำตั้งวงบน มือซ้ำยแบหงำยปลำยนิ้วตกระดับวงล่ำง แตะ เท้ำซ้ำย ลักคอ จำกนั้นพลิกมือซ้ำยตั้งขึ้นสลับกับแบหงำย พร้อมกับลัก คอ แตะเท้ำ หมุนตัวไปทำงซ้ำย

เพลง

ท่ำรำ หันด้ำนซ้ำย มือซ้ำยวงล่ำง มือขวำจีบหงำยแขนตึงระดับไหล่ ก้ำวเท้ำขวำ เอียงขวำ ย่ำเท้ำซ้ำย ถัดเท้ำขวำตำมจังหวะ เดินหมุนตัวมำด้ำนหน้ำ

เพลงเร็ว

๕๐

เพลงเร็ว

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


๒๒๒

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๕๑

เพลง

ท่ำรำ มือซ้ำยจีบหงำยระดับชำยพก มือขวำจีบหลัง ย่ำ ถัดเท้ำตำมจังหวะ หมุน ลงหลัง

เพลง

ท่ำรำ กลับมำ ทำท่ำแมว ตำมจังหวะ สลับขวำ ซ้ำย จนหมดเพลง

เพลงเร็ว

๕๒

เพลงเร็ว

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๒๓

๕๓

เพลง

ท่ำรำ มือทั้งสองล่อแก้วระดับวงล่ำง แล้วม้วนมือออก มือขวำตั้งวงบน มือซ้ำย ตั้งวงล่ำง ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้นปฏิบัติอีกด้ำนหนึ่ง

เพลง

ท่ำรำ หันตัวไปทำงขวำ มือทั้งสองล่อแก้วระดับชำยพกแล้วม้วนมือออก มือซ้ำย ตั้งวงบน มือขวำตั้งวงล่ำง ก้ำวเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย หมุนตัวไปทำงขวำ จำกนั้นจึงปฏิบัติอีกด้ำน

เพลงลำ

๕๔

เพลงลำ

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


๒๒๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๕๕

เพลง เพลงลำ

ท่ำรำ จบท่ำด้วยท่ำแมว แล้ววิ่งเข้ำโรง

รำฉุยฉำยนำงวิฬำร์


ระบำพัธวิสัย

ระบำพัธวิสัย เป็นระบำที่เรียกชื่อตำมเมืองที่อยู่ในบทละครดึกดำบรรพ์เรื่องคำวี ตอน คันธมำลี ขึ้นหึง ระบำชุดนี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกำลที่ ๕ ปรำกฏในบทคอนเสิร์ต ในตอนท้ำยของละครดึกดำบรรพ์ พระนิพนธ์โดยสมเด็จพระเจ้ำบรมวงศ์เธอ เจ้ำฟ้ำกรมพระยำนริศรำนุวัดติวงศ์ ระบำพัธวิสัยเดิมเป็น บทร้องขับลำนำ ซึ่งไม่ปรำกฏท่ำรำและรูปแบบกำรแสดง ต่อมำ ครุลมุล ยมะคุปต์ จึงได้คิดประดิษฐ์ ท่ำรำประกอบกำรแสดง โดยสมมติผู้แสดงเป็นเหล่ำเสนำอำมำตย์ฝ่ำยมหำดไทยและฝ่ำยกลำโหม แสดงควำมจงรักภักดีต่อองค์พระมหำกษัตริย์ บทประพันธ์เป็นประเภทกำพย์ยำนี ๑๑ และกลอน บทละคร สมเด็จ พระเจ้ ำ บรมวงศ์เ ธอ เจ้ำ ฟ้ำ กรมพระยำนริ ศ รำนุวั ด ติว งศ์ ท รงพระนิ พ นธ์ เ ป็ น บทคอนเสิร์ต ทรงปรับปรุงทำนอง เพลงร้องและดนตรีร่วมกับพระประดิษฐ์ไพเรำะ (ตำด ตำตะนันท์) และหลวงเสนำะดุริยำงค์ (ทองดี ทองพิรุฬห์) โดยร่วมคัดเลือกและประพันธ์ทำนองเพลงสำหรับขับร้อง โดยกำหนดบทร้องและทำนองเพลง ๓ เพลง ได้แก่ เพลงลำทองย่อน เพลงลำมอญแปลงท่อน ๒ เพลง ลำมอญแปลงท่อน ๓ และจบลงด้วยเพลงรัวดึกดำบรรพ์ อำจเป็นเพรำะว่ำ เพลงลำทองย่อนและเพลง ลำมอญแปลง เป็นเพลงที่มีท่วงทำนองไพเรำะอ่อนหวำน เหมำะแก่กำรนำมำบรรจุในบทที่เกี่ยวกับ อำศิรวำท บทที่แสดงถึงควำมจงรักภักดี ท่วงทำนองเพลงมีอัตรำจังหวะ ๒ ชั้น และมีทำนองเห่เรือช่วย สร้ ำงควำมรู้สึ กถึงกำรทำพิธีของหลวง บทร้องกล่ ำวถึงจำรีตประเพณีกำรเข้ำเฝ้ำของมุขมนตรีใน ตำแหน่งต่ำง ๆ มำเฝ้ำถวำยสดุดีด้วยควำมจงรักภักดี (จิรวดี เจริญศรี และคณะ, ๒๕๕๔, หน้ำ ๑๙๙๒๐๑) เนื้อหำของกำรแสดงในละครดึกดำบรรพ์ มีเนื้อหำถึงเหล่ำเสนำอำมำตย์ฝ่ำยกลำโหม และ ฝ่ำยมหำดไทยของเมืองพัทธวิสัย ออกมำร่ำยรำจับระบำเพื่อถวำยพระพรท้ำวสันนุรำช ที่ถูกอุบำยของ ฤๅษีหลวิชัยให้เข้ำพิธีชุบกำยให้กลับเป็นหนุ่ม แต่นำพระคำวีมำปลอมเป็นกษัตริย์แทน เหล่ำเสนำ อำมำตย์จึงถวำยพระพรที่พระองค์ได้ชัยจำกควำมชรำ กำรแสดงชุดนี้ครูชวลิต สุนทรำนนท์ ได้ถ่ำยทอด ท่ำรำให้กับคณำจำรย์และนิสิตสำขำวิชำนำฏศิลป์ไทย ภำควิชำศิลปะกำรแสดง คณะมนุษยศำสตร์ มหำวิทยำลัยนเรศวร

ระบำพัธวิสัย


๒๒๖

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

เครื่องแต่งกำย ระบำพัธวิสัย แต่งกำยด้วยชุดยืนเครื่องพระแขนยำว ศีรษะสวมปันจุเหร็จ โดยสมมตินักแสดง เป็นเหล่ำเสนำอำมำตย์ ของเมืองพัธวิสัย ดังภำพ

ภำพ ๗ เครื่องแต่งกำยระบำพัธวิสัย ที่มำ: โครงกำรประกวดนำฏศิลป์ไทย มหำวิทยำลัยนเรศวร บทร้องเพลงพัธวิสัย - ปี่พำทย์ทำเพลงทองย่อน - ร้องลำทองย่อน สรวมชีพข้ำพระบำท ถวำยอภิวำทบำทธุลี นฤบดีดิลกรัฐ พัธวิสัยผ่ำนเผ้ำ พระเดชพระปกเกล้ำ ไพร่ฟ้ำอยู่เย็น ฯ สรวมชีพขอทูลสนอง ถวำยผองพลำมำตย์ มหำดไทยเฝ้ำฝ่ำยขวำ กลำโหมเฝ้ำฝ่ำยซ้ำย ตำมทีบ่โยกย้ำย อยู่พร้อมเพรียงกัน - ร้องลำมอญแปลงท่อน ๒ วันนี้เอย วันนี้วันดี แสนสุรเสนี จะเล่นระบำ หลำยเลบง บำเรอทรงธรรม ระบำพัธวิสัย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

จะผูกพจน์ เป็นบทลบอง สอดสำเนียง กับเสียงดนตรี จะเป็นถ้อยคำ ด้วยสำรำญ สำเริงหฤทัย

จะเลือกทำนอง ให้ร้องคมขำ ให้เข้ำที จะเต้นจะรำ ขอถวำยพรชัย เพรำะพระภูวนัย ได้ชัยชรำเอย เห่ฯ ขอพระเอย ขอพระตรีศุลี พระจักรปำณี และบิดำมหำ สำมพระองค์ จงพิทักษ์รำชำ สมเด็จอมรินทร์ แรมบุรพทิศ พระยมศักดิ์สิทธิ์ สถิตทำงขวำ พระพิรุณ ระวังหลังภพ พระไพสพ เธอสิงอุตรำ ขอสี่เทวำ ช่วยรักษำพระวงศ์ พระลักษมี ยุพดีโฉมยง ขอให้พระองค์ ทรงศรีสวัสดิ์เอย เห่ฯ - ร้องลำมอญแปลงท่อน ๓ ขอให้พระองค์ จงพ้นภัยพำล เข็ญใจจัณฑำล จงบันดำลวิบัติ ขอจงนิรทุกข์ ขอจงนิรโศก และนิรโรค อันตรำยขจัด ใครก่อเข็ญ ก็จงเห็นรหัส อุบำทว์อุบัติ สำรพัดอย่ำมี กำลกิณี จงประลำตประลัย ศัตรูภำยนอก จงออกตัวไกล ศัตรูภำยใน จงประลัยลำญชนม์ พระจอมสกล จงสถำพรเอย เห่ฯ ขอให้พระองค์ จงเกษมสำรำญ เสวยรมย์สมภำร บริวำรสลับสลอน เจริญศักดิ์ ทรงพลสิทธิ์ เจริญพระฤทธิ์ ริปูสยบสยอน พระยศแพร่หลำย อย่ำรู้หำยรู้หย่อน พระเกียรติกระฉ่อน ทุกนครมำคัล หิรัญสุวรรณ บรรณำกำรมำกมำ สมบูรณ์สมบัติ พิพัฒน์โภคำ เสวยสุขทุกทิวำ ชันม์วรรษำยืนยง สิ่งใด ธ ประสงค์ จงประสิทธิ์เถิดเอย เห่ฯ - ปี่พำทย์ทำเพลงรัวดึกดำบรรพ์ -

ระบำพัธวิสัย

๒๒๗


๒๒๘

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

ท่ำรำ ๑

เพลงพัธวิสัย

มือขวำแบหงำยปลำยนิ้วตก แขนงอระดับเอว มือซ้ำยตั้งวงล่ำง วิ่งออกมำ ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงขวำ มือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำจีบคว่ำแขนตึง ดึง มือจีบขึ้นระดับไหล่ ก้ำวหน้ำเท้ำขวำแล้วขยั่นเท้ำ เอียงขวำ

เพลงพัธวิสัย

ระบำพัธวิสัย

หันตัวไปทำงซ้ำย มือขวำตั้งวงบน มือซ้ำยจีบคว่ำแขนตึง ดึงมือจีบขึ้น ระดับไหล่ ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำยแล้วขยั่นเท้ำ เอียงซ้ำย ปฏิบัติทั้งสองท่ำ สลับกันรวมทั้งสิ้น ๕ ครั้ง ครั้งที่ ๕ หันตัวมำด้ำนหน้ำ


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๒๙

เพลงพัธวิสัย ๔

มือขวำจีบคว่ำระดับอก มือซ้ำยตั้งวงระดับอก ประ-ยกเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

เพลงพัธวิสัย ๕

กรำยมือขวำตั้งวงบน เดินมือซ้ำยจีบส่งหลัง ก้ำวเท้ำซ้ำยลงนั่ง เอียงขวำ

เพลงพัธวิสัย

นั่งคุกเข่ำ วำงมือทั้งสองที่หน้ำขำ โดยที่มือซ้ำยทอดยำวกว่ำมือขวำ เล็กน้อย เอียงขวำ

ระบำพัธวิสัย


๒๓๐

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

เพลงพัธวิสัย

ท่ำหมอบเฝ้ำ นั่งพับปลำยเท้ำ มือทั้งสองกรีดนิ้วประกบกันโดยมือซ้ำยแบ หงำย มือขวำแบคว่ำ ก้มตัวลง เอียงซ้ำย

สวมชีพ

นั่งบนส้นเท้ำ มือทั้งสองตั้งวงล่ำง กล่อมหน้ำเอียงขวำ แล้วเปลี่ยนกล่อม หน้ำ เอียงซ้ำย

ระบำพัธวิสัย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

ข้ำพระบำทเอย ๙

มือทั้งสองพนมระหว่ำงอก หน้ำตรง

ถวำยอภิวำทบำทธุลี นฤบดีดิลกรัฐ พัธวิสัยผ่ำนเผ้ำ

ถวำยบังคมสำมครั้ง

ระบำพัธวิสัย

๒๓๑


๒๓๒

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๐

พระเดช พระปรกเกล้ำ

ระบำพัธวิสัย

ฝั่งขวำ มือทั้งสองตั้งวงกลำง เอียงซ้ำย จำกนั้นช้อนมือทั้งสองจีบหงำย ระดับวงบน เอียงขวำ ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๓๓

๑๑

ไพร่ฟ้ำอยู่เย็น

มือทั้งสองจีบหงำยระดับอก แล้วเดินมือออกคลำยมือตั้งมือแขนตึงระดับ ไหล่ หน้ำตรง

๑๒

สวมชีพ

หันตัวเฉียงขวำ มือทั้งสองพนมระหว่ำงอก เดินเข่ำซ้ำย เอียงขวำ

ระบำพัธวิสัย


๒๓๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๓

ขอทูลสนอง ๑๔

หันตัวมำด้ำนหน้ำ พนมมือทั้งสองระหว่ำงอก กระทบ หน้ำตรง

ถวำยผอง ๑๕

โกยมือทั้งสองขึ้น หน้ำตรง

ผลำมำตย์เอย

มือขวำชี้นิ้วคว่ำมือ มือซ้ำยตั้งวง ระดับอก เอียงซ้ำย จำกนั้นชี้มือขวำกวำด ไปทำงขวำ วำงมือซ้ำยลงบนหน้ำขำซ้ำย เอียงขวำ

ระบำพัธวิสัย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๓๕

๑๖

มหำดไทย

ฝั่งขวำ มือขวำเท้ำสะเอว มือซ้ำยจีบเข้ำอก เอียงขวำ ฝั่งซ้ำย วำงมือทั้งสองที่หน้ำขำ โดยมือขวำทอดยำวกว่ำมือซ้ำยเล็กน้อย เอียงซ้ำย มองฝั่งขวำ

๑๗

เฝ้ำฝ่ำยขวำ

ฝั่งขวำ ท่ำหมอบเฝ้ำ นั่งพับปลำยเท้ำ มือทั้งสองกรีดนิ้วประกบกันโดยมือ ซ้ำยแบหงำย มือขวำแบคว่ำ ก้มตัวลง เอียงซ้ำย ฝั่งซ้ำย อยู่ในท่ำมองฝั่งขวำดังเดิม

๑๘

กลำโหม

ฝั่งขวำ อยู่ในท่ำหมอบเฝ้ำ ฝั่งซ้ำย มือขวำเท้ำสะเอว มือซ้ำยจีบเข้ำอก เอียงขวำ ระบำพัธวิสัย


๒๓๖

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๙

เฝ้ำฝ่ำยซ้ำย

ฝั่งขวำ อยู่ในท่ำหมอบเฝ้ำ ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติท่ำหมอบเฝ้ำ นั่งพับปลำยเท้ำ มือทั้งสองกรีดนิ้วประกบกัน โดยมือซ้ำยแบหงำย มือขวำแบคว่ำ ก้มตัวลง เอียงซ้ำย

๒๐

ตำมที่บ่โยกย้ำย อยู่พร้อมเพรียงกัน

ระบำพัธวิสัย

ฝั่งขวำ พนมมือระหว่ำงอก ตั้งเข่ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นลุกขึ้นวิ่งวนแปร แถวเป็นแถวตอน แล้วก้ำวหน้ำเท้ำขวำ ในบท “อยู่พร้อมเพรียงกัน” ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติสลับข้ำงกับฝั่งขวำ


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๓๗

๒๑

เห่...

ท่ำผำลำเพียงไหล่ มือขวำจีบปรกข้ำง มือซ้ำยตั้งวงกลำง ถอนเท้ำซ้ำย ประ-ยกเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นม้วนมือขวำตั้งวงบน พลิกมือซ้ำยแบ หงำยปลำยนิ้วตก แขนงอระดับเอว ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้นจึง สะดุ้งตัวตำมจังหวะเพลง เปลี่ยนเอียงซ้ำย แล้วกลับมำจบที่เอียงขวำ

๒๒

วันนี้เอย

ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย ม้วนมือขวำเท้ำสะเอว ม้วนมือซ้ำยวำงที่หน้ำขำซ้ำย เอียงขวำ ระบำพัธวิสัย


๒๓๘

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๓

วันนี้วันดี

ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ มือขวำชี้นิ้วคว่ำมือแขนงอ ระดับวงบน มือซ้ำยเท้ำสะเอว เอียงซ้ำย

๒๔

แสนสุรเสนี

หันตัวมำด้ำนหน้ำ มือซ้ำยตั้งมือระดับอก มือขวำเท้ำสะเอว จรดเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้น ถอนเท้ำขวำ ช้อนมือซ้ำยจีบเข้ำอก จรดเท้ำซ้ำย เอียง ขวำ

ระบำพัธวิสัย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๓๙

๒๕

จะเล่นระบำ

มือทั้งสองจีบหงำยระดับอก จรดเท้ำซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้นคลำยมือทั้งสอง ออกตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำย จรดเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

ระบำพัธวิสัย


๒๔๐

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๖

หลำยรเบง บำเรอทรงธรรม์

ฝั่งขวำ มือซ้ำยจีบคว่ำแขนงอ มือขวำแบหงำยปลำยนิ้วตกแขนงอ ระดับ เอว ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นคลำยมือซ้ำยตั้งวงบัวบำน พลิกมือ ขวำตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ จรดเท้ำซ้ำย เอียงขวำ ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ จำกนั้นทั้งสองฝั่งวิ่งสลับที่กัน

๒๗

(ร้องซ้ำ) วันนี้เอย ระบำพัธวิสัย

ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ ม้วนมือซ้ำยเท้ำสะเอว ม้วนมือขวำวำงที่หน้ำขำขวำ เอียงซ้ำย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๔๑

๒๘

วันนี้วันดี

ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย มือซ้ำยชี้นิ้วคว่ำมือแขนงอ ระดับวงบน มือขวำเท้ำสะเอว เอียงขวำ

๒๙

แสนสุรเสนี

หันตัวมำด้ำนหน้ำ มือซ้ำยตั้งมือระดับอก มือขวำเท้ำสะเอว จรดเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้น ถอนเท้ำขวำ ช้อนมือซ้ำยจีบเข้ำอก จรดเท้ำซ้ำย เอียง ขวำ

ระบำพัธวิสัย


๒๔๒

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๓๐

จะเล่นระบำ

ระบำพัธวิสัย

มือทั้งสองจีบหงำยระดับอก จรดเท้ำซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้นคลำยมือทั้งสอง ออกตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำย จรดเท้ำขวำ เอียงซ้ำย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๔๓

๓๑

หลำยรเบง บำเรอทรงธรรม์

ฝั่งขวำ มือซ้ำยจีบคว่ำแขนงอ มือขวำแบหงำยปลำยนิ้วตกแขนงอ ระดับ เอว ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นคลำยมือซ้ำยตั้งวงบัวบำน พลิกมือ ขวำตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ จรดเท้ำซ้ำย เอียงขวำ ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ จำกนั้นทั้งสองฝั่งวิ่งสลับที่กัน

ระบำพัธวิสัย


๒๔๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๓๒

จะผูกพจน์

ท่ำภมรเคล้ำ มือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำจีบหงำยคู่กับมือซ้ำย จรดเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้น จรดเท้ำขวำ ก้ำวหน้ำ แล้วจรดเท้ำซ้ำย เปลี่ยนมือขวำ ตั้งวงบน มือซ้ำยจีบหงำยคู่กับมือขวำ เอียงขวำ

๓๓

เป็นบทลบอง

ระบำพัธวิสัย

จรดเท้ำซ้ำย ถอนเท้ำ แล้วจรดเท้ำขวำ เปลี่ยนมือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำจีบ หงำยคู่กับมือซ้ำย เอียงซ้ำย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๔๕

๓๔

จะเลือกทำนอง

ปำดมือซ้ำย ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำย มือขวำหยิบจีบแล้วคลำยมือออกแบหงำย ปลำยนิ้วตก แขนงอระดับเอว มือซ้ำยตั้งวงล่ำง ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงขวำ

๓๕

ให้ร้อง

ยืดยุบ หนักหลัง พลิกมือขวำตั้งมือแขนตึงระดับเอว มือซ้ำยจีบหงำยระดับ ชำยพก เอียงซ้ำย

ระบำพัธวิสัย


๒๔๖

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๓๖

คมขำ

ยืดยุบ หนักหน้ำ มือขวำหยิบจีบแล้วคลำยมือแบหงำยปลำยนิ้วตก แขนงอ ระดับเอว คลำยมือซ้ำยตั้งวงล่ำง เอียงขวำ

๓๗

สอดสำเนียง กับเสียงดนตรี ให้เข้ำที

ระบำพัธวิสัย

เข้ำคู่กัน ฝั่งขวำหันหลัง มือซ้ำยจีบปรกข้ำง มือขวำตั้งวงกลำง ถอนเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้นเดิน มือซ้ำยจีบส่งหลัง ช้อนมือขวำจีบปรกข้ำง คล้องแขนกัน ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงขวำ แล้วเดินย่ำเท้ำ เปลี่ยนเอียงสลับที่กับ


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๔๗

๓๘

จะเล่นระบำ

วิ่งกลับที่เดิม มือทั้งสองจีบหงำยระดับอกแล้วม้วนมือออกตั้งมือแขนตึง ระดับไหล่ จรดเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

๓๙

จะเป็นถ้อยคำ

ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ มือขวำเท้ำสะเอว มือซ้ำยชี้ที่ปำก เอียงขวำ

ระบำพัธวิสัย


๒๔๘

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๐

ขอถวำยพรชัย

หันตัวไปทำงซ้ำย โกยมือทั้งสองขึ้น ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

๔๑

(ร้องซ้ำ) จะผูกพจน์... รำซ้ำท่ำตั้งแต่บท “จะผูกพจน์” จนถึง “ขอถวำยพรชัย” ขอถวำยพรชัย

ระบำพัธวิสัย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๔๙

๔๒

ด้วยสำรำญ

หันตัวมำด้ำนหน้ำ มือทั้งสองตั้งมือระดับอก จรดเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้น ช้อนมือทั้งสองจีบหงำยระดับอก ถอนเท้ำขวำ จรดเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

๔๓

สำเริงหฤทัย

จรดเท้ำซ้ำย ม้วนมือทั้งสองตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ ก้ำวเท้ำซ้ำย จรดเท้ำ ขวำ เอียงซ้ำย

ระบำพัธวิสัย


๒๕๐

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๔

เพรำะพระภูวไนย

ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย ไว้มือขวำระดับวงบน มือซ้ำยเท้ำสะเอว เอียงซ้ำย

๔๕

ได้ชัยชรำเอย

ระบำพัธวิสัย

ฝั่งขวำ มือทั้งสองจีบคว่ำแขนงอระดับเอว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้นคลำยมือทั้งสองตั้งวงบน กระดกเสี้ยวเท้ำขวำ เอียงขวำ ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๕๑

๔๖

เห่...

วำงเท้ำลง เปลี่ยนเอียงใน จำกนั้นสะดุ้งตัวตำมจังหวะเพลง เปลี่ยนเอียง นอก

๔๗

ขอพระเอย ขอพระตรีศุลี ๔๘

ทั้งสองฝั่งปฏิบัติท่ำเดียวกัน พนมมือระหว่ำงอก ก้ำวข้ำงเท้ำนอก เอียงใน จำกนั้นยืดยุบ แล้ววิ่งแปรแถวเพื่อไปตั้งซุ้ม

พระจักรปำณีและบิดำมหำ สำมพระองค์ทรงพิทักษ์รำชำ (ร้องซ้ำ) ขอพระเอย....ทรง พิทักษ์รำชำ

ตั้งซุ้มดังภำพ แล้วสะดุ้งตัว เปลี่ยนเอียงไปในทำงเดียวกัน ตำม จังหวะเพลง

ระบำพัธวิสัย


๒๕๒

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๔๙

สมเด็จอมรินทร์

วิ่งแปรแถวเป็นแถวตอน หันตัวไปทำงซ้ำย ไว้มือขวำระดับวงบน มือซ้ำยเท้ำ สะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

๕๐

แรมบูรพำทิศ

ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ มือซ้ำยชี้นิ้วคว่ำมือระดับวงบน มือขวำเท้ำ สะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

๕๑

พระยมศักดิ์สิทธิ์

หันตัวมำด้ำนหน้ำ มือซ้ำยหยิบจีบตั้งวงบัวบำน แบมือขวำแล้วพลิกตั้งวง หน้ำ สะดุดเท้ำขวำ เอียงขวำ แล้วยกเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

ระบำพัธวิสัย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๕๓

๕๒

สถิตทำงขวำ

มือขวำชี้นิ้วคว่ำมือไปทำงขวำ แขนตึงระดับไหล่ มือซ้ำยเท้ำสะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงขวำ

๕๓

พระพิรุณ

ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ ไว้มือซ้ำยระดับวงบน มือขวำเท้ำ สะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

๕๔

ระหวังหลังภพ

พลิกมือขวำตั้งวงบน มือซ้ำยตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ ยกเท้ำขวำ แล้วก้ำวข้ำง เอียงซ้ำย หน้ำมองไปทำงหลังเวที ระบำพัธวิสัย


๒๕๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๕๕

พระไพศรพ

ยืดยุบ หมุนตัวไปทำงขวำ หันตัวมำด้ำนหน้ำ

๕๖

เธอสิงอุตรำ

มือซ้ำยชี้นิ้วคว่ำมือไปทำงซ้ำย แขนตึงระดับไหล่ มือขวำเท้ำสะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงขวำ

๕๗

ขอสี่เทวำ

หันตัวไปทำงขวำ แบมือทั้งสองหงำยคู่กันระดับอกในท่ำเชิญ ก้ำว ข้ำงเท้ำซ้ำยแล้วกระดกเสี้ยวเท้ำขวำ เอียงขวำ ระบำพัธวิสัย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๕๕

๕๘

ช่วยรักษำพระวงศ์

หันตัวไปทำงซ้ำย รวมมือทั้งสองระดับเอว ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียง ซ้ำย

๕๙

(ร้องซ้ำ) สมเด็จอมรินทร์

ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ ไว้มือซ้ำยระดับวงบน มือขวำเท้ำ สะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

๖๐

แรมบูรพำทิศ

ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย มือขวำชี้นิ้วคว่ำมือระดับวงบน มือ ซ้ำยเท้ำสะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย ระบำพัธวิสัย


๒๕๖

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๖๑

พระยมศักสิทธิ์... ช่วยรักษำพระวงศ์ ๖๒

รำซ้ำบท “พระยมศักดิ์สิทธิ์” ไปจนถึงบท “ช่วยรักษำพระวงศ์”

พระลักษมี

ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ ไว้มือซ้ำยระดับวงบน มือขวำเท้ำ สะเอว ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

๖๓

ยุพดีโฉมยง

ระบำพัธวิสัย

ฝั่งขวำ มือซ้ำยตั้งวงกลำง มือขวำจีบหงำยที่ข้อศอกซ้ำย ก้ำวข้ำง เท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้นพลิกมือซ้ำยแบหงำยปลำยนิ้วตก แขน ตึงระดับไหล่ ม้วนมือขวำตั้งวงต่อปลำยนิ้วที่ข้อศอกซ้ำย กระดก เสี้ยวเท้ำขวำ เอียงขวำ ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๕๗

๖๔

ขอให้พระองค์

หันตัวไปทำงขวำ ไว้มือขวำระดับวงบน มือซ้ำยเท้ำสะเอว ก้ำวข้ำง เท้ำขวำ เอียงซ้ำย

๖๕

จงศรีสวัสดิ์เอย

ฝั่งขวำ มือทั้งสองจีบหงำยระดับอก ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นม้วนมือทั้งสองออก มือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำตั้งมือแขนตึง ระดับไหล่ กระดกเท้ำซ้ำย เอียงขวำ ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ

๖๖

เห่...

วำงเท้ำลง เปลี่ยนเอียงใน จำกนั้นสะดุ้งตัวตำมจังหวะเพลง เปลี่ยนเอียงนอก ระบำพัธวิสัย


๒๕๘

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๖๗

ขอให้พระองค์

หันตัวไปทำงขวำ ไว้มือซ้ำยระดับวงบน มือขวำเท้ำสะเอว ก้ำวข้ำง เท้ำซ้ำย เอียงขวำ

๖๘

จงพ้นภัยพำน

ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย ฟำดมือขวำ มือซ้ำยเท้ำสะเอว ก้ำว ข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

๖๙

เข็ญใจจันฑำล

ระบำพัธวิสัย

ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ ฟำดมือซ้ำย มือขวำเท้ำสะเอว ก้ำว ข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงขวำ


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๕๙

๗๐

จงบัลดำลวิบัติ

ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงขวำ ถูมือทั้งสองเข้ำด้วยกันระดับอก แล้วสะบัดออก ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

๗๑

(ร้องซ้ำ) ขอให้พระองค์... ...จงบันดำลวิบัติ ๗๒

รำซ้ำบท “ขอให้พระองค์” จนถึงบท “จงบันดำลวิบัติ”

ขอจงนิรทุกข์

ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ ไขว้มือทั้งสองที่ ยืนแตะเท้ำซ้ำยตึง ขำทั้งสองข้ำง เอียงซ้ำย ระบำพัธวิสัย


๒๖๐

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๗๓

ขอจงนิรโศก

มือขวำหยิบจีบปรกข้ำง แล้วดึงมือลง มือซ้ำยเท้ำสะเอว ก้ำวหน้ำ เท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย แล้วก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงขวำ

๗๔

และนิรโรค

ฟำดมือซ้ำยระดับไหล่ มือขวำเท้ำสะเอว ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียง ขวำ แล้วก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย

๗๕

อันตรำยขจัด

ระบำพัธวิสัย

ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย ฟำดมือขวำระดับอก มือซ้ำยเท้ำ สะเอว เอียงซ้ำย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๖๑

๗๖

(ร้องซ้ำ) ขอจงนิรทุกข์... อันตรำยขจัด

รำซ้ำบท “ขอจงนิรทุกข์” จำกนั้นรำซ้ำตั้งแต่บท “ขอจงนิรโศก” จนถึงบท “อันตรำยขจัด” แต่ทำสลับข้ำง

๗๗

ใครก่อเข็ญ

ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย ฟำดมือขวำระดับอก มือซ้ำยเท้ำ สะเอว เอียงซ้ำย

๗๘

ก็จงเห็นรหัส

ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ มือซ้ำยชี้นิ้วที่ตำ มือขวำเท้ำสะเอว เอียงขวำ ระบำพัธวิสัย


๒๖๒

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๗๙

อุบำทว์อุบัติ

ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย ฟำดมือขวำระดับอก มือซ้ำยเท้ำ สะเอว เอียงซ้ำย

๘๐

สำรพัดอย่ำมี

หันตัวไปทำงขวำ สะดุดเท้ำซ้ำย มือซ้ำยจีบคว่ำแล้วคลำยมือออก ตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ มือขวำเท้ำสะเอว ยืนและเท้ำซ้ำยตึงขำทั้ง สองข้ำง เอียงซ้ำย ส่ำยมือเล็กน้อย

๘๑

(ร้องซ้ำ) อุบำทว์อุบัติ สำรพัด รำซ้ำตั้งแต่บท “อุบำทว์อุบัติ” จนถึงบท “สำรพัดอย่ำมี” แต่ทำ อย่ำมี สลับข้ำง ระบำพัธวิสัย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๖๓

๘๒

กำลกิณี

ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ ฟำดมือซ้ำยระดับอก มือขวำเท้ำ สะเอว เอียงขวำ

๘๓

จงประลำตประลัย

ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย รวมมือทั้งสองระดับเอวแล้วพลิก แบหงำย กำงแขนออก ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

๘๔

(ร้องซ้ำ) กำลกิณี จงประลำต ประลัย

รำซ้ำบท “กำลกิณี จงประลำตประลัย”

ระบำพัธวิสัย


๒๖๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๘๕

ศัตรูภำยนอก

ระบำพัธวิสัย

ฝั่งขวำ หันตัวมำด้ำนหน้ำ มือขวำหยิบจีบหงำยระดับชำยพก มือ ซ้ำยจีบส่งหลัง ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงขวำ จำกนั้นยืดยุบ คนหน้ำวิ่ง นำแถววนไปทำงขวำ แล้วตั้งแถวตอน โดยอยู่ในตำแหน่งของคน สุดท้ำย (คนสุดท้ำยขึ้นมำแทนที่คนหน้ำ) ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๖๕

๘๖

จงออกตัวไกล

ฝั่งขวำ มือขวำจีบหงำยระดับชำยพก มือซ้ำยตั้งวงล่ำง เอียงซ้ำย แล้วคลำยมือขวำตั้งวงบน เดินมือซ้ำยจีบส่งหลัง ก้ำวเท้ำขวำ ซ้ำย แล้ววำงหลังเท้ำขวำ เอียงขวำ ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ

ระบำพัธวิสัย


๒๖๖

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๘๗

ศัตรูภำยใน

ฝั่งขวำ มือซ้ำยหยิบจีบหงำยระดับชำยพก มือขวำจีบส่งหลัง ก้ำว ข้ำงเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้นยืดยุบ คนหน้ำวิ่งนำแถววนไป ทำงซ้ำย แล้วตั้งแถวตอน กลับตำแหน่งเดิมคือสุดท้ำย (คนสุดท้ำย ขึ้นกลับมำตำแหน่งคนหน้ำตำมเดิม) ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ

๘๘

จงประลัยลำญชนม์

ระบำพัธวิสัย

ถอนเท้ำซ้ำย หันตัวไปทำงซ้ำย รวมมือทั้งสองระดับเอวแล้วพลิก แบหงำย กำงแขนออก ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๖๗

๘๙

(ร้องซ้ำ) ศัตรูภำยนอก...จง ประลัยลำญชนม์ ๙๐

รำซ้ำตั้งแต่บท “ศัตรูภำยนอก” ไปจนถึงบท “จงประลัยลำญ ชนม์”

พระจอมสกล

ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ ไว้มือซ้ำยระดับวงบน มือขวำเท้ำ สะเอว เอียงขวำ

ระบำพัธวิสัย


๒๖๘

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๙๑

จงสถำพรเอย

ระบำพัธวิสัย

ฝั่งขวำ มือซ้ำยจีบคว่ำแขนงอระดับเอว มือขวำแบหงำยปลำยนิ้ว ตกแขนงอระดับเอว ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นคลำยมือ ซ้ำยตั้งวงบัวบำน พลิกมือขวำตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ กระดกเท้ำ ขวำ เอียงขวำ ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๖๙

๙๒

เห่...

วำงเท้ำลง เปลี่ยนเอียงใน จำกนั้นสะดุ้งตัวตำมจังหวะเพลง เปลี่ยนเอียงนอก

๙๓

ขอให้พระองค์

ฝั่งขวำ มือขวำตั้งวงล่ำง มือซ้ำยแบหงำยปลำยนิ้วตกแขนงอระดับ เอว ก้ำวข้ำงเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นยืดยุบ วิ่งแปรแถวเพื่อไปตั้ง ซุม้ ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ

ระบำพัธวิสัย


๒๗๐

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๙๔

จงเกษมสำรำญ เสวยรมย์สมภำร บริวำรสลับสลอน (ร้องซ้ำ) ขอให้พระองค์... บริวำรสลับสลอน ๙๕

ตั้งซุ้มดังภำพ แล้วสะดุ้งตัว เปลี่ยนเอียงไปในทำงเดียวกัน ตำม จังหวะเพลง

เจริญศักดิ์ ทรงพลสิทธิ์

วิ่งแปรแถวเป็นแถวปำกพนัง หันตัวไปทำงขวำ มือซ้ำยจีบคว่ำแขน งอระดับเอว มือขวำแบหงำยปลำยนิ้วตกแขนงอระดับเอว ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้นคลำยมือซ้ำยตั้งวงบัวบำน พลิก มือขวำตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ ยกเท้ำซ้ำย เอียงขวำ

ระบำพัธวิสัย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๗๑

๙๖

เจริญพระฤทธิ์ ริปูสยบสยอน

ค่อย ๆ หันตัวไปทำงซ้ำย มือขวำจีบคว่ำแขนงอระดับเอว มือซ้ำย แบหงำยปลำยนิ้วตกแขนงอระดับเอว ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้นคลำยมือขวำตั้งวงบัวบำน พลิกมือซ้ำยตั้งมือแขนตึงระดับ ไหล่ ยกเท้ำขวำ เอียงซ้ำย

๙๗

(ร้องซ้ำ) เจริญศักดิ์ทรงพล สิทธิ์ เจริญพระฤทธิ์ริปูสยบ สยอน

รำซ้ำบท “เจริญศักดิ์ทรงพลสิทธิ์ เจริญพระฤทธิ์ริปูสยบสยอน”

ระบำพัธวิสัย


๒๗๒

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๙๘

พระยศแพร่หลำย

มือทั้งสองจีบคว่ำแขนงอระดับอก จรดเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้น คลำยมือทั้งสองออกระดับวงบน ซอยเท้ำ หมุนตัวไปทำงขวำ

๙๙

อย่ำรู้หำยรู้หย่อน

ระบำพัธวิสัย

หันตัวไปทำงขวำ สะดุดเท้ำซ้ำย มือซ้ำยจีบคว่ำแล้วคลำยมือออก ตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ มือขวำเท้ำสะเอว ยืนและเท้ำซ้ำยตึงขำทั้ง สองข้ำง เอียงซ้ำย ส่ำยมือเล็กน้อย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๗๓

๑๐๐

พระเกียรติกระฉ่อน

ฝั่งขวำ หันตัวมำด้ำนหน้ำ ช้อนมือทั้งสองแบหงำยคู่กันระดับวงบน ด้ำนซ้ำย ในท่ำเชิญ ก้ำวข้ำงเท้ำซ้ำย กระดกเสี้ยวเท้ำขวำ เผ่นตัว ขึ้น เอียงขวำ ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ

๑๐๑

ทุกนครมำคัล

ฝั่งขวำ วำงเท้ำลงแล้วนั่งลงตั้งเข่ำซ้ำย มือทั้งสองกรีดนิ้วประกบ กันโดยมือซ้ำยแบหงำย มือขวำแบคว่ำ วำงศอกซ้ำยที่หน้ำขำซ้ำย ก้มตัวลง เอียงซ้ำย ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ

ระบำพัธวิสัย


๒๗๔

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๐๒

(ร้องซ้ำ) พระเกียรติกระฉ่อน ทุกนครมำคัล ๑๐๓

รำซ้ำบท “พระเกียรติกระฉ่อน ทุกนครมำคัล”

หิรัญ

ฝั่งขวำ มือซ้ำยชี้นิ้วตะแคงมือระดับเอว วำงมือขวำที่หน้ำขำซ้ำย เอียงซ้ำย ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ

๑๐๔

สุวรรณ

ฝั่งขวำ มือขวำหยิบจีบปรกข้ำง แล้วคลำยมือออก วำงมือซ้ำยที่ หน้ำขำซ้ำย เอียงขวำ ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ ระบำพัธวิสัย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๐๕

บรรณำกำรมำกมำ ๑๐๖

โกยมือทั้งสองขึ้น หน้ำตรง

(ร้องซ้ำ) หิรัญสุวรรณ บรรณำกำรมำกมำ

รำซ้ำบท “หิรัญสุวรรณ บรรณำกำรมำกมำ”

ระบำพัธวิสัย

๒๗๕


๒๗๖

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๐๗

สมบูรณ์สมบัติ

ระบำพัธวิสัย

ท่ำนภำพร ยืนขึ้น มือซ้ำยจีบคว่ำแขนงอระดับเอว มือขวำแบหงำย ปลำยนิ้วตกแขนงอระดับเอว ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ เอียงซ้ำย จำกนั้น คลำยมือซ้ำยตั้งวงบัวบำน พลิกมือขวำตั้งมือแขนตึงระดับไหล่ กระดกเท้ำซ้ำย เอียงขวำ


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๗๗

๑๐๘

พิพัฒน์โภคำ เสวยสุขทุกทิวำ

ท่ำผำลำ แทงมือซ้ำยตั้งวงบน พลิกมือขวำแบหงำยปลำยนิ้วตก แขนงอระดับเอว แตะเท้ำซ้ำย เอียงซ้ำย จำกนั้นปฏิบัติท่ำนภำพ รอีกครั้ง โดยพลิกมือซ้ำยตั้งวงบัวบำน พลิกมือขวำตั้งมือแขนตึง ระดับไหล่ วำงหลังเท้ำซ้ำย เอียงขวำ ปฏิบัติซ้ำอีกหนึ่งครั้ง

ระบำพัธวิสัย


๒๗๘

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๐๙

ชันม์วรรษำยืนยง

หันตัวไปทำงซ้ำย มือขวำจีบคว่ำแขนงอระดับเอว มือซ้ำยแบหงำย ปลำยนิ้วตกแขนงอระดับเอว ก้ำวหน้ำเท้ำซ้ำย เอียงขวำ จำกนั้น คลำยมือขวำตั้งวงบัวบำน เดินมือซ้ำยจีบส่งหลัง ยกเท้ำขวำ เอียง ซ้ำย

๑๑๐

(ร้องซ้ำ) สมบูรณ์สมบัติ...ชันม์ รำซ้ำตั้งแต่บท “สมบูรณ์สมบัติ” จนถึงบท “ชันม์วรรษำยืนยง” วรรษำยืนยง ระบำพัธวิสัย


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๗๙

๑๑๑

สิ่งใด ธ ประสงค์

ถอนเท้ำขวำ หันตัวไปทำงขวำ ไว้มือซ้ำยระดับวงบน มือขวำเท้ำ สะเอว เอียงขวำ

๑๑๒

จงประสิทธิ์เถิดเอย

หันตัวมำด้ำนหน้ำ ก้ำวหน้ำเท้ำขวำ ถวำยบังคมหนึ่งครั้ง แล้ว กระดกเท้ำซ้ำย หน้ำตรง

ระบำพัธวิสัย


๒๘๐

โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๑๑๓

เห่... ๑๑๔

พนมมือทั้งสองระดับอก วำงเท้ำซ้ำยลง นั่งลงตั้งเข่ำขวำ หน้ำตรง

เห่...

ท้ำยเห่ ปฏิบัติท่ำหมอบเฝ้ำ นั่งพับปลำยเท้ำ มือทั้งสองกรีดนิ้ว ประกบกันโดยมือซ้ำยแบหงำย มือขวำแบคว่ำ ก้มตัวลง เอียงซ้ำย

๑๑๕

รัวดึกดำบรรพ์

ระบำพัธวิสัย

นั่งคุกเข่ำ ถวำยบังคมสำมครั้ง


โครงกำรสืบทอดนำฏศิลป์ไทยจำกศิลปินแห่งชำติหรือผู้เชี่ยวชำญ ครั้งที่ ๑๐

๒๘๑

๑๑๖

รัวดึกดำบรรพ์

ท่ำสอดสร้อยมำลำ ฝั่งขวำ สอดมือซ้ำยตั้งวงบน มือขวำจีบหงำยระดับชำยพก ตั้งเข่ำ ขวำ เอียงขวำ จำกนั้นยืดยุบ วิ่งเข้ำโรง ฝั่งซ้ำย ปฏิบัติตรงข้ำมกับฝั่งขวำ

ระบำพัธวิสัย


๒๘๒

โครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ ๑๐

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. (๒๕๔๕). บทละครนอก พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร. กรมศิลปากร. (๒๕๕๗). ชุดการแสดง ศิลปินศิลปากรต้นแบบ. นนทบุรีฯ: ไทภูมิ พับลิชชิ่ง. กรมศิลปากร. (๒๕๕๘). ศิลปิน ศิลปะ ศิลปากร. นนทบุรี: ไทภูมิ พับลิชชิ่ง. จิรวดี เจริญศรี , ปวีณา เหมือนพาล, พัชราภรณ์ หาญณรงค์ และคณะ. (๒๕๕๔). ระบาพัทธวิสัย : กรณี ศึ ก ษาอาจารย์ ช วลิ ต สุ น ทรานนท์ . ศิ ล ปนิ พ นธ์ ภาควิ ช านาฏดุ ริ ย างคศิ ล ป์ คณะ ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สัมภาษณ์ ชวลิต สุนทรานนท์ นักวิชาการละครและดนตรี ระดับทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. ๗ มิถุนายน ๒๕๕๙.

บรรณานุกรม




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.