อาศรมศึกษาทางนาฏศิลป์ไทย ชุด กลมนารายณ์

Page 1

อาศรมศึกษาทางนาฏศิลป์ไทย ชุด กลมนารายณ์

เอกลักษณ์ กลิ่นทอง

อาศรมศึกษาทางนาฏศิลป์ไทยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2561


อาศรมศึกษาทางนาฏศิลป์ไทย ชุด “กลมนารายณ์” ของ นายเอกลักษณ์ กลิ่นทอง ได้ รั บ การพิ จ ารณาให้ นั บ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการศึ ก ษาตามหลั ก สู ต รศิ ล ปศาสตรบั ณ ฑิ ต (นาฏศิ ล ป์ ไ ทย) คณะกรรมการอาศรมศึกษาทางนาฏศิลป์ไทย ...................................................................................................................อาจารย์ที่ปรึกษา (อาจารย์วรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน) ...................................................................................................................กรรมการ (ดร.รุ่งนภา ฉิมพุฒ) ...................................................................................................................กรรมการ (อาจารย์รัชดาพร สุคโต) ...................................................................................................................กรรมการ (ดร.จิตติมา นาคีเภท) ...................................................................................................................กรรมการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศรี ศรีประดิษฐ์) ...................................................................................................................กรรมการ (อาจารย์อุบลวรรณ โตอวยพร) ...................................................................................................................กรรมการ (อาจารย์ภูริตา เรืองจิรยศ) อนุมัติ ................................................................ (ดร.จิตติมา นาคีเภท) หัวหน้าภาควิชาศิลปะการแสดง


ประกาศคุณูปการ การสอบร าเดี่ย วมาตรฐานทางด้ านนาฏศิล ป์ ไทยของสาขาวิช านาฏศิล ป์ ไทย ภาควิช า ศิล ปะการแสดง คณะมนุ ษยศาสตร์ มหาวิท ยาลั ยนเรศวร เป็นส่ วนหนึ่ งของการศึกษาในรายวิช า อาศรมศึกษาทางนาฏศิลป์ไทย (202462) เป็นการศึกษาการราจากอาจารย์ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในด้านนาฏศิลป์ไทย โดยให้นิสิตรับการถ่ายทอดท่าราตลอดจนทักษะการรา กลวิธีต่าง ๆ ในการรา จากอาจารย์ ผู้ ถ่ ายทอดให้ ได้ ม ากที่ สุ ด ซึ่ ง นิ สิ ต จะได้ รับ ความรู้ในทางทฤษฎี ความรู้ในทางปฏิ บั ติ และความรู้จากประสบการณ์ของอาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่ารา ทั้งนี้การศึกษาการแสดงชุด กลมนารายณ์ ได้รับพระอนุเคราะห์และความช่วยเหลือจากอาจารย์หลายท่านจึงทาให้การแสดงชุดนี้สาเร็จลุล่วง ไปได้ด้วยดี ขอกราบขอบพระคุ ณ อาจารย์ ส มรั ต น์ ทองแท้ นาฏศิ ล ปิ น อาวุ โ ส ส านั ก การสั ง คี ต กรมศิ ล ปากร กระทรวงวั ฒ นธรรม ที่ ได้ เสี ย สละเวลาให้ ค าแนะน าและถ่ า ยทอดท่ า ราการแสดง ชุด กลมนารายณ์ให้กับนิสิต ขอขอบพระคุ ณ อาจารย์ ว รวิท ย์ ทองเนื้ อ อ่ อน อาจารย์ ที่ ป รึกษารายวิช าอาศรมศึก ษา ทางนาฏศิลป์ ไทย ที่ ได้ให้ คาปรึ กษาและคาแนะนา ตรวจสอบความถูกต้องของขั้นตอนการจัดท า รูปเล่มและการฝึกปฏิบัติท่ารา ขอบพระคุณคุณครูทุกท่านที่ได้ให้คาแนะนาที่มีประโยชน์จนทาให้การรับการถ่ายทอดท่ารา ในครั้งนี้สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ขอกราบขอบพระคุณบิดามารดาที่ช่วยสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายและช่วยให้กาลังใจกับนิสิต มาโดยตลอด สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณเพื่อน ๆ ชั้นปีที่ 4 และน้อง ๆ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ภาควิชา ศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่คอยแนะนา ให้ความช่วยเหลือเป็นกาลังใจ ตลอดมา เอกลักษณ์ กลิ่นทอง


สารบัญ บทที่

หน้า

1 บทนา…………………………………………………………................................….……...…..…… ความสาคัญของการถ่ายทอดท่ารา....……………………….........…………….......……… วัตถุประสงค์......................................……………………….........…………….......……… วิธีดาเนินงาน.....................................……………………….........……………....…...…… ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ................……………………….........…………….......……… นิยามศัพท์เฉพาะ..............................……………………….........……………....…...……

1 1 1 2 3 3

2 ประวัติผู้ถ่ายทอดท่ารา............................................................................................. ประวัติส่วนตัว...................................……………………….........………....…………...… ประวัติการศึกษา................................……………………….........……………...………… ประวัติการทางาน..............................……………………….........………………………… ผลงานทางด้านวิชาการและการแสดง……………………….........……………...………… ประวัติการสืบทอดและการถ่ายทอดท่ารา……………..……….........………...………… แผนผังการสืบทอดและถ่ายทอดท่ารา.……………………….........…………....……...…

4 4 4 5 5 14 15

3 วิธีดาเนินการสืบทอดและฝึกหัด.............................................................................. ขั้นตอนในการสืบทอดและฝึกหัด.......……………………….........………….……..……… ระยะเวลาและสถานที่การสืบทอดและฝึกหัด...........….........…………….......……… อุปกรณ์ในการสืบทอดและฝึกหัด......……………………….........……………....…...…… พัฒนาการในการสืบทอดและฝึกหัด.……………………….........……………....……...…

16 16 17 19 20


สารบัญ (ต่อ) บทที่

หน้า

4 อาศรมศึกษาทางนาฏศิลป์ไทย ชุด กลมนารายณ์….....…………….............…………… ประวัติความเป็นมาของการแสดง………………..……….........……………....…………… เรื่องย่อของการแสดง……………………...................….........…………..…....…………… บทร้อง……………………….........……………....……...........................................……… ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง……………………….........…………….............…………… ฉากและอุปกรณ์ประกอบการแสดง……………………….........……………....….....…… เครื่องแต่งกายและการแต่งหน้า……………………….........…………….........…………… นาฏยศัพท์ที่ใช้ในการแสดง……………………….........……………................…………… กระบวนท่าราและการใช้พื้นที่………………………................……………....…………… กลวิธีในการรา................................……………………….........……………....……………

22 22 22 23 24 26 27 29 31 76

5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ.......................................................................................... บทสรุป................................……………………......………….....................…….………. ข้อเสนอแนะ………………………………........................……....…………………....……….

77 77 78

บรรณานุกรม............................................................................................................................

80

ภาคผนวก………………………....……………………………………….………..............................……….....

82

ประวัติผู้วิจัย………………………………………………………….………............................……................

98


สารบัญตาราง ตาราง 1 2 3 4 5

หน้า แสดงวิธีการดาเนินงาน………………………………............….............................…...………… 2 แสดงประวัติการรับราชการของอาจารย์สมรัตน์ ทองแท้……………………………………….. 5 แสดงผลงานด้านการแสดงของอาจารย์สมรัตน์ ทองแท้...……………………………………… 6 แสดงระยะเวลาการสืบทอดและฝึกหัด………………………………………………….……….….... 17 แสดงกระบวนท่าราชุด กลมนารายณ์……………………….......……………………………......... 31


สารบัญภาพ ภาพ 1 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้…………………………………….............................…………........... 2 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ รับบทเป็นพระราม ในการแสดงโขนนั่งราว เรื่อง รามเกียรติ์………......................................................................................................... 3 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ รับบทพระราม ในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์............... 4 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ รับบทพระลักษณ์ ในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์…….…. 5 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ รับบทพระพรต ในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์…………… 6 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ รับบทเป็นพระลอ ในการแสดงละครพันทาง เรื่องพระลอ.. 7 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ แสดงชุด ราฉุยฉายเพลงปี่…………….…………....................... 8 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ รับบทเป็นพระมณีพิชัย ในการแสดงละครนอก เรื่อง พระมณีพิชัย…………………………………………………………………………………………………. 9 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ แต่งกายชวาถ่ายรูปลงวารสารศิลปากร………………………... 10 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ รับบทเป็นองค์ประตาระกาหรา ในการแสดงละคร เรื่อง อิเหนา ..................……………………………………................…………............................... 11 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ ร่วมแสดงชุด ฟ้อนลาวดวงเดือน…………………………........... 12 แผนผังการสืบทอดท่าราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ …………………...........….... 13 วงปี่พาทย์เครื่องห้า…………………...........………................…………................................ 14 วงปี่พาทย์เครื่องคู่…………………………..........................…………................................... 15 วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่…………………………................…………........................................ 16 อุปกรณ์ประกอบการแสดงได้แก่ จักร คฑา และตรี....…………................................... 17 เครื่องแต่งกาย ชุด กลมนารายณ์…………………………................................................. 18 การแต่งหน้า ชุด กลมนารายณ์………………………….....................................…………....

หน้า 4 9 9 10 10 11 11 12 12 13 13 15 24 25 25 26 27 28


1

บทที่ 1 บทนำ ควำมสำคัญของกำรถ่ำยทอดท่ำรำ นาฏศิลป์เป็นศิลปะประจาชาติไทยสาขาหนึ่งที่ลักษณะโดดเด่น เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ด้วยความประณีตงดงาม ให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึ กของผู้ชมให้ ค ล้อยตาม การศึกษานาฏศิลป์เป็นการศึกษาวัฒนธรรมอันเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ซึ่งประกอบด้วย จิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรีและนาฏศิลป์ โดยนอกจากจะแสดงความเป็นอารยะของ ประเทศแล้วยังเป็นเสมือนแหล่งรวมศิลปะและการแสดงหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยมีมนุษย์เป็น ศูนย์กลางในการที่จะสร้างสรรค์อนุรักษ์และถ่ายทอดสืบต่อไป ผู้ที่จะทาให้นาฏศิลป์คงคุณค่าและงดงามประณีต เป็นที่พึงพอใจของผู้ที่ได้ชมคือ ศิลปินหรือ นักแสดง ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่สืบทอดศิลปวัฒนธรรมแขนงนี้ จะต้องศึกษาถึงหลักและวิธีการผสมผสาน กั บ ประสบการณ์ ที่ ต้ อ งใช้ เวลาในการสั่ ง สมเป็ น ระยะเวลายาวนานจนกว่ า จะถึ ง ขั้ น ที่ เรี ย กว่ า “เชี่ยวชาญ” บางครั้งอาจต้องใช้เวลาปฏิบัติต่อเนื่องมาตลอดทั้งชีวิต (สุมิตร เทพวงษ์, 2548, หน้า 8-12) จากมู ล เหตุ ที่ น าฏศิ ล ป์ เป็ น ศิ ล ปะประจ าชาติ ที่ ได้ มี ก ารสื บ ทอดมาอย่ างต่ อ เนื่ อ ง จากครู ผู้เชี่ยวชาญจากรุ่นเก่ามาสู่รุ่นปัจจุบัน เป็นศาสตร์ที่ควรแก่การศึกษาสาหรับคนทุกชนชั้น เป็นศิลปะ แห่งความงามที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และทรงคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์ไว้เป็น แบบแผนแก่คนรุ่นหลัง จึงสมควรได้รับการรวบรวมไว้เป็นมรดกของชาติประกอบกับความสนใจของผู้ ที่ ได้ รั บ การถ่ า ยทอด ในฐานะที่ เป็ น ผู้ ศึ ก ษานาฏศิ ล ป์ ไทย ท าให้ ต ระหนั ก ถึ ง ความส าคั ญ และ ความจ าเป็ น ของการฝึ ก หั ด กระบวนท่ า ร าทางด้ า นนาฏศิ ล ป์ ไ ทย เพื่ อ เป็ น การเพิ่ ม พู น ความรู้ ความสามารถทั้งยังช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ให้เกิดความชานาญมากยิ่งขึ้น ผู้ศึกษามีความสนใจที่จะศึกษาองค์ความรู้ของผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทย คือ อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ นาฏศิลปินอาวุโส สานักการสังคีต กรมศิลปากร โดยท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านการแสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุดกลมนารายณ์มาเป็นระยะเวลานาน ทาให้ท่าน เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างสูง ท่านได้รับการถ่ายทอดกระบวนท่าราจากท่านอาจารย์ธงไชย โพธยารมย์ อดี ต ผู้ เชี่ ย วชาญนาฏศิ ล ป์ ไทย ส านั ก การสั งคี ต กรมศิ ล ปากร ซึ่ งเป็ น การถ่ า ยทอด ประสบการณ์ตรงท่าน จึงมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษทาให้เป็นที่เชื่อถือในองค์ความรู้ ที่สั่งสมมา จาก ข้อความข้างต้น จึ งท าให้ ผู้ ศึกษาสนใจที่ จะศึกษาราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ เพื่อเป็ นการ สืบทอดและเพิ่มองค์ความรู้ในการราเดี่ยวมาตรฐานให้แก่ผู้ศึกษาต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค้น คว้าองค์ป ระกอบการแสดงและกลวิธีของการรากลมนารายณ์ ในฉบับของ อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้


2

วิธีดำเนินงำน ผู้ศึกษาได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ จากสื่อวีดีทัศน์ และได้ดาเนินการขอรับการถ่ายทอดท่าราจากอาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ และทาการสอบประเมินผล ราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ พร้อมวางแผนการดาเนินงานดังตารางต่อไปนี้ ตำรำง 1 แสดงวิธีกำรดำเนินงำน วิธีกำรดำเนินงำน

แผนกำรดำเนินงำนเดือนมิถุนำยน – เดือนกันยำยน ( พ.ศ. 2561 ) มิถุนำยน กรกฎำคม สิงหำคม กันยำยน 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4

1. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติการแสดงราเดี่ยว มาตรฐาน ชุด กลมนารายณ์ 2. ศึกษาจากสื่อ วีดีทัศน์ 3. ขอรับการถ่ายทอดกระบวน ท่าราจากอาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ 4. สอบ 25% - 100% 5. สอบราเดี่ยวมาตรฐาน ชุด กลมนารายณ์ กับท่าน คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ วันที่ 31 สิงหาคม 2561 6. สรุปผล ส่งรูปเล่ม


3

ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ ทราบถึงกลวิธีการรากลมนารายณ์ ในฉบับของอาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ นิยำมศัพท์เฉพำะ แจกไม้: การปฏิบัติที่ใช้มือและเท้าพร้อมกันโดยมือขวาถือคทา ระดับวงจากนั้นเปลี่ยนมือเป็น วงบัวบานทิ้งปลายคทาลง มือซ้ายถือจักรม้วนมือและตั้งวงแขนตึงระดับไหล่ มีทั้งแจกไม้หน้าและแจก ไม้ข้าง เต้นเสือลากหาง: ลีลาท่าราที่ใช้เท้าเต้นยกขึ้นลงสลับกันพร้อมทั้งใช้หน้าหนังและควงอาวุธ กระทาพร้อมกันและให้สัมพันธ์กัน พระนารายณ์ : เทพเจ้ าที่ อยู่ในมเหศวรพงศ์เป็นมเหสั กเทวราช ล าดับที่ส องรองลงมาจาก พระอิศวร เป็นเทพเจ้าผู้รักษาความดี มีกายสี ม่วงดอกตะแบก หนึ่งหน้า สี่มือ ทรงมงกุฎชัย ทรงตรี คทา จักรและสังข์เป็นอาวุธ มีครุฑเป็นพาหนะ เลาะ: ลีลาท่าราที่จะกลับ ตัวหันมาอีกด้านหนึ่งโดยใช้จมูกเท้าขวาจรดกับพื้นแล้วขยับและ ยกเท้าซ้ายขึ้นมือขวาตั้งวงสูงแล้วหักข้อมือเข้าหาลาตัว หน้ าหนั ง: คือกดปลายคางลง กดไหล่ ล ง กดเกลี ยวหน้ า โดยท าพร้อ มกัน และติ ดต่ อกัน ใช้ จังหวะยืดยุบตามจังหวะกลองโดยใช้ทุกส่วนให้สัมพันธ์กัน


4

บทที่ 2 ประวัติผู้ถ่ายทอดท่ารา รำเดี่ยวมำตรฐำนทำงด้ำนนำฏศิลป์ไทย ชุด กลมนำรำยณ์ ได้รับควำมอนุเครำะห์ถ่ำยทอด ท่ำรำจำก อำจำรย์ สมรัตน์ ทองแท้ ปัจจุบันท่ำนดำรงตำแหน่งนำฏศิล ปินอำวุโส ส ำนักกำรสั งคีต กรมศิลปำกร กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบกำรณ์และควำมสำมำรถทำงด้ำนนำฏศิลป์ไทย เป็นอย่ำงสูง โดยมีประวัติของผู้ถ่ำยทอดท่ำรำ ดังต่อไปนี้ ประวัติส่วนตัว

ภาพ 1 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ ที่มา: สมรัตน์ ทองแท้, 2561 อำจำรย์สมรัตน์ ทองแท้ เกิดเมื่อวันที่ 4 มกรำคม ปีพุทธศักรำช 2504 ณ กรุงเทพมหำนคร เป็นบุตรของนำยเจือ ทองแท้ และนำงอบ ทองแท้ มีพี่น้องรวมกันทั้งหมด 12 คน ปัจจุบันท่ำน ดำรงตำแหน่งนำฏศิลปินอำวุโส สำนักกำรสังคีต กรมศิลปำกร กระทรวงวัฒนธรรม ประวัติการศึกษา ปี พ.ศ.2526 จบกำรศึ ก ษำระดั บ ปริ ญ ญำบั ณ ฑิ ต คณะนำฏศิ ล ป์ แ ละดุ ริ ย ำงค์ สถำบั น เทคโนโลยีรำชมงคล หลักสูตรศึกษำศำสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) ปี พ.ศ.2536 จบกำรศึกษำระดับมหำบัณฑิต คณะศิลปศำสตร์ (นำฏยศิลป์ไทย) จุฬำลงกรณ์ มหำวิทยำลัย


5

ประวัติการทางาน เมื่ อ จบกำรศึ ก ษำระดั บ ปริ ญ ญำบั ณ ฑิ ต จำกสถำบั น เทคโนโลยี ร ำชมงคลที่ วิ ท ยำลั ย นำฏศิลปสมทบกับคณะนำฏศิลป์และดุริยำงค์ เมื่อปี พ.ศ.2528 ก็เข้ำรับกำรสอบบรรจุเข้ำรับรำชกำร ที่กองกำรสังคีตโดยเริ่มดำรงตำแหน่งเป็นนำฏศิลปิน 3 ตาราง 2 แสดงประวัติการรับราชการของอาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ วัน เดือน ปี 18 มกรำคม 2528 1 ตุลำคม 2532 1 ตุลำคม 2534 1 ตุลำคม 2543

ตาแหน่ง นำฏศิลปิน 3 นำฏศิลปิน 4 นำฏศิลปิน 5 นำฏศิลปิน 6

1 เมษำยน 2550

นักวิชำกำรละครและดนตรี ระดับ 7 ว.

1 เมษำยน 2552

นักวิชำกำรละครและดนตรี ชำนำญกำร

ปัจจุบัน

นำฏศิลปินอำวุโส

สังกัด งำนนำฏศิลป์ กองกำรสังคีต งำนนำฏศิลป์ กองกำรสังคีต งำนนำฏศิลป์ กองกำรสังคีต กลุ่มนำฏศิลป์ สถำบันนำฏ ดุริยำงคศิลป์ กลุ่มวิจัยและพัฒนำงำนแสดง สำนักกำรสังคีต กลุ่มวิจัยและพัฒนำกำรสังคีต สำนักกำรสังคีต งำนนำฏศิลป์ กองกำรสังคีต

หมายเหตุ: จำกเริ่มรับรำชกำรจนถึงปัจจุบัน แสดงเฉพำะที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ ที่สูงขึ้น และกำรเปลี่ยนแปลงในกำรดำรงตำแหน่งในสำยงำนต่ำง ๆ ผลงานทางด้านวิชาการและการแสดง 1. ผลงานด้านวิชาการ อำจำรย์ส มรัตน์ ทองแท้ ได้มีผ ลงำนด้ำนวิช ำกำรหลำกหลำยด้ำนไม่ว่ำจะเป็นกรรมกำร อำจำรย์พิเศษ และวิทยำกร ดังต่อไปนี้ - กรรมกำรพิจำรณำกำรทดสอบมำตรฐำนนำฏศิลปินไทย ของคณะศิลปกรรมศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสวนสุนันทำ ณ โรงละครภัทรำวดี เธียร์เตอร์ ปี พ.ศ.2522 - กรรมกำรสอบศิ ล ปนิ พ นธ์ (แนวสร้ำงสรรค์ ) คณะศิล ปนำฏดุ ริย ำงค์ ภำควิช ำ นำฏศิลป์ สำขำวิชำนำฏศิลป์ไทย สถำบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒ นธรรม ณ สถำบันบัณฑิต พัฒนศิลป์ - เป็นอำจำรย์พิเศษ สอนวิชำทักษะนำฏศิลป์ 6 คณะศิลปนำฏดุริยำงค์ ภำควิชำ นำฏศิลป์ สำขำวิชำนำฏศิลป์ไทย สถำบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒ นธรรม ณ สถำบันบัณฑิต พัฒนศิลป์ - เป็ น อำจำรย์ ที่ ป รึ ก ษำและควบคุ ม ศิ ล ปะนิ พ นธ์ ให้ กั บ นั ก ศึ ก ษำคณะศิ ล ปนำฏ ดุริยำงค์ สถำบันบัณฑิตพัฒนศิลป์


6

- เป็ น ผู้ สอนและฝึ กซ้อมกำรแสดงนำฏศิล ป์ไทย ให้ แก่ค ณะละครสมัครเล่ นบ้ ำน ปลำยเนิน วังคลองเตย - ประพันธ์บทสำหรับแสดงรำทั่วไป ได้แก่ รำอำลัยข้ำรำชกำรที่เสียชีวิต รำอวยพร รำฉุยฉำย บทรำเบิกโรง ฯลฯ ให้กรมศิลปำกรและผู้ขออนุเครำะห์ทั่วไป - เป็นวิทยำกรกำรอบรมกำรจัดกำรแสดงละครเรื่องอิเหนำแบบชวำ ให้กับวิทยำลัย นำฏศิลปลพบุรี - เป็นวิทยำกร กำรสอบศิลปนิพนธ์ (แนวอนุรักษ์) คณะศิลปนำฏดุริยำงค์ ภำควิชำ นำฏศิลป์ สำขำวิชำนำฏศิลป์ไทย สถำบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒ นธรรม ณ สถำบันบัณฑิต พัฒนศิลป์ - เป็นคณะทำงำนกำรวิจัยทะเบียนข้อมูลวิพิธทัศนำ ชุดระบำรำฟ้อน - เป็นคณะทำงำน งำนวิจัยเรื่องเครื่องแต่งกำยละครและกำรพัฒนำ: กำรแต่งกำย ยืนเครื่องละครใน ของกรมศิลปำกร - เรียบเรียงบทละครเรื่อง จันทะโครบ จำกต้นฉบับของท่ำนผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี สำหรับใช้เป็นบทแสดงละครนอก ของสำนักกำรสังคีต กรมศิลปำกร - เรียบเรียงบทละครเรื่องมัทนะพำธำ พระรำชนิพนธ์ในพระบำทสมเด็จพระมงกุฎเกล้ำ เจ้ำอยู่หัว สำหรับใช้แสดงในรำยกำรประจำเดือน ของสำนักกำรสังคีต กรมศิลปำกร - เรียบเรียงบทละครเรื่องมโหสถ สำหรับใช้แสดงในรำยกำรสังคีตศำลำ ของสำนักกำร สังคีต กรมศิลปำกร - เรียบเรียงบทละครเรื่องพระพุทธเจ้ำ สำหรับใช้แสดงในวันวิสำขบูชำ ณ ประเทศ อินโดนีเซีย และงำนฉลอง 60 ปี เจ้ำอำวำสพระธำตุดอยสุเทพ - เป็นผู้อนุเครำะห์ให้คำปรึกษำเกี่ยวกับเรื่องนำฏศิลป์ไทย จัดทำเพำเวอร์พ้อยท์เรื่อง มหรสพไทย, นำฏศิลป์ไทย, โขน กรมศิลปำกร, สูจิบัตรกำรแสดงนำฏศิลป์ กรมศิลปำกร เป็นต้น 2. ผลงานด้านการแสดง อำจำรย์สมรัตน์ ทองแท้ ได้ทำหน้ำที่ในฐำนะศิลปิน โดยได้แสดงบทบำท เป็นตัวละครในโขน ละคร ของสำนักกำรสังคีต กรมศิลปำกร หลำยเรื่องต่อไปนี้ ตาราง 3 แสดงผลงานด้านการแสดงของอาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ ประเภท ละครรำ

เรื่อง อิเหนำ (แต่งชวำ) พระนล ขอมดำดิน มโหสถ ละคร

แสดงเป็น อิเหนำ สังคำมำระตำ พระอินทร์ พระร่วง พระเจ้ำวิเทหะ พระอิศวร

ตอน ตัดดอกไม้ฉำยกริช, บุษบำเสี่ยงเทียน เป็นต้น อิเหนำเข้ำเฝ้ำท้ำวดำหำ, ศึกกะหมังกุหนิง ทมยันตีสยุมพร พระร่วงจำกเมืองละโว้ สร้ำงธรรมศำลำ-นำงยักษำพ่ำยคดี พระอุมำประทำนพร


7

ประเภท

เรื่อง เทวกำเนิด วิฑูรบัณฑิต ละครนอก สังข์ทอง คำวี

แสดงเป็น พระเจ้ำโกรพ พระสังข์ พระคำวี

หลวิชัย มณีพิชัย พระมณีพิชัย แก้วหน้ำม้ำ แก้วหน้ำม้ำ ละครนอก จันทโครบ พระอินทร์ ไชยเชษฐ์ พระไชยเชษฐ์ พระอภัยมณี พระอภัยมณี, ศรีสุวรรณ ท้ำวแสมปม พระชินเสน ลักษณะวงศ์ พระลักษณวงศ์ สังข์ศิลป์ชัย พระอินทร์, เทวดำ สุวรรณหงส์ พระสุวรรณหงส์ โสนน้อย พระวิจิตรจินดำ เรือนงำม พญำผำนอง ขุนไสยส, พระยำงำเมือง, พระวรุณ ละคร พันทำง

พระลอ

พระลอ

รำชำธิรำช มโนห์รำ

สมิงพระรำม พระสุธน

ตอน หำเนื้อหำปลำ, มณฑำลงกระท่อม, ตีคลี, พระสังข์เลียบเมือง, นำงจันท์สลักชิ้นฟัก เป็นต้น บัวเสี่ยงทำย, ได้นำงจันท์สุดำ, เผำพระขรรค์, ชุบตัว, คันธมำลีขึ้นหึง เป็นต้น) คันธมำลีขึ้นหึง ยอพระกลิ่นกินแมว, ขอมณีพิชัยไปเป็นทำส เสี่ยงว่ำว, ถวำยลูก, ถอดรูป, ทัศมำลีขึ้นหึง เป็นต้น สำปโมรำ นำงแมวเย้ยซุ้ม พบสำมพรำหมณ์, ผีเสื้อลักพระอภัย, หนีผีเสื้อ, ติดเกำะ, พบนำงสุวรรณมำลี, ศึกเก้ำทัพ, เกี้ยวนำงละเวง, อำวุธนำงวำลี, เพลงปี่พระอภัย ลำพระฤษี, เล่ห์นำงยี่สุ่น, ประหำรพรำหมณ์เกสร, ตำมนำง พระอินทร์ช่วยพระสังข์ศิลป์ชัย เสี่ยงว่ำว, เข้ำโกศ, ชุบพระสุวรรณหงส์, ชมถ้ำ, ถวำยม้ำ เล่ห์นำงกุลำ รักสำมเส้ำ คำปินขอฝน พระลอคลั่ง, ลำแม่, เสี่ยงน้ำ, ตำมไก่, ลงสวน, เข้ำห้อง แต่งงำน, เกี้ยวพระรำชธิดำ, หนีจำกหงสำ พบนำงมโนห์รำ, เข้ำห้อง, ยกพล, เดินป่ำ, เลือกคู่


8

ตาราง 3 (ต่อ) ประเภท เรื่อง ละครชำตรี รถเสน กำเนิดยักษ์ ลิง เบิกโรง มหำพลี กำเนิด สุริยเทพ โสมเทพ เบิกโรง ตรีมูรติ ตำนำนท่ำรำ

แสดงเป็น พระรถเสน พระอิศวร

ตอน จับม้ำ, ฤทธิ์น้ำจันท์, เมรีตำมรถเสน -

พระอิศวร พระอิศวร

-

พระอิศวร พระอิศวร, พระพรหม, พระนำรำยณ์ พระอิศวร

-

เบญจเทพ ประทำนพร รำมเกียรติ์ พระอิศวร โขน

หุ่น กระบอก เบ็ดเตล็ด

รำมเกียรติ์

พระรำม

พระนำรำยณ์ พระพรหม พระลักษมณ์ พระพรต พระอภัยมณี เชิดหุ่นพระอภัย

ลักษมีสีดำ, พระรำมรำชจักรี, นำรำยณ์สิบปำง ปำงมหัลลกอสุรำวตำร, พระจักรีอวตำร, นำรำยณ์ปรำบนนทุก, หนุมำนชำญสมร พระรำมปูนบำเหน็จ, ทำลำยอสุรำ, สองสวำ ประลองฤทธิ์, พระจักรกฤษณ์กรีฑำข้ำมมหำ สำคร, ยกรบ, ลักสีดำ, ฉลองพระบำทรำมรำช สุริยวงศ์, นำงลอย, มำลีวรำชว่ำควำม, พำลีสอน น้อง, หนุมำนชำญสมร หนุมำนชำญสมร หนีผีเสื้อ ฉุยฉำยเพลงปี่, ฟ้อนดวงเดือน, ฟ้อนอวยพรออก ดวงเดือน, ฟ้อนแพน, โยคีถวำยไฟ, ซัดชำตรี, เซิ้ง โปงลำงและเซิ้งกะโป๋, ระบำร่อนแร่ ,รำสดุดีวีระ ไทย, ระบำชำวนำ, รำถวำยพระพรเฉลิมพระ ชนมพรรษำสมเด็จพระนำงเจ้ำพระบรมรำชินนี ำถฯ, รำอำลัยนำยชนะ แรงไม่ลด, รำอำลัยนำยปัญญำ, นิตยสุวรรณ, รำระลึกพระคุณครูจำนง พรพิสุทธิ์, รำเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหำรำช


9

ภาพ 2 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ รับบทเป็นพระราม ในการแสดงโขนนั่งราว เรื่องรามเกียรติ์ ที่มา: สมรัตน์ ทองแท้, 2561

ภาพ 3 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ รับบทเป็นพระราม ในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ที่มา: สมรัตน์ ทองแท้, 2561


10

ภาพ 4 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ รับบทเป็นพระลักษณ์ ในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ที่มา: สมรัตน์ ทองแท้, 2561

ภาพ 5 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ รับบทเป็นพระพรต ในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ที่มา: คมสันฐ หัวเมืองลำด, 2561


11

ภาพ 6 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ รับบทเป็นพระลอ ในการแสดงละครพันทาง เรื่องพระลอ ที่มา: สมรัตน์ ทองแท้, 2561

ภาพ 7 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ แสดงชุด ราฉุยฉายเพลงปี่ ที่มา: สมรัตน์ ทองแท้, 2561


12

ภาพ 8 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ รับบทเป็นพระมณีพิชัย ในการแสดงละครนอก เรื่องพระมณีพิชัย ที่มา: สมรัตน์ ทองแท้, 2561

ภาพ 9 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ แต่งกายชวาถ่ายรูปลงวารสารศิลปากร ที่มา: สมรัตน์ ทองแท้, 2561


13

ภาพ 10 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ รับบทเป็นองค์ประตาระกาหลา ในการแสดงละคร เรื่องอิเหนา ที่มา: สมรัตน์ ทองแท้, 2561

ภาพ 11 อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ ร่วมแสดงชุด ฟ้อนลาวดวงเดือน ที่มา: สมรัตน์ ทองแท้, 2561


14

3. รางวัลที่ได้รับ - ได้รับรำงวัลศิลปินดีเด่น ปี พ.ศ. 2542 ของสมำคมขุนวิจิตรมำตรำ - ได้รับรำงวัลเข็มเชิดชูเกียรติ์ศิลปิน ของมหำวิทยำลัยธรรมศำสตร์ ประวัติการสืบทอดและการถ่ายทอดท่ารา อำจำรย์สมรัตน์ ทองแท้ได้รับกำรถ่ำยทอดกระบวนท่ำรำเดี่ยวมำตรฐำนชุด กลมนำรำยณ์มำ จำก อำจำรย์ธงไชย โพธรมย์ โดยอำจำรย์ธงไชย โพธยำรมย์ ได้รับกำรถ่ำยทอดกระบวนท่ำรำมำจำก ท่ำนผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ซึ่งอำจำรย์สมรัตน์ ทองแท้ ได้ถ่ำยทอดกระบวนท่ำรำให้นำยเอกลักษณ์ กลิ่ น ทอง นิ สิ ตสำขำวิช ำนำฏศิล ป์ ไทย ภำควิชำศิล ปะกำรแสดง คณะมนุษ ยศำสตร์ มหำวิทยำลั ย นเรศวร จำกอำจำรย์ ส มรั ต น์ ทองแท้ เมื่ อ วั น ที่ 20 มิ ถุ น ำยน พ.ศ.2561 ณ ส ำนั ก กำรสั ง คี ต กรมศิลปำกร กระทรวงวัฒนธรรม โรงละครเล็กชั้น 4


15

แผนผังการสืบทอดและถ่ายทอดท่ารา จำกข้อมูลข้ำงต้นสำมำรถเขียนแผนผังกำรสืบทอดท่ำรำเดี่ยวมำตรฐำนชุด กลมนำรำยณ์ ได้ ดังต่อไปนี้ ท่ำนผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ทองสุก ทองหลิม

ธงไชย โพธยำรมย์

สมบัติ แก้วสุจริต

เผด็จ พลับประสงค์

บุญนำ ลินิฐฎำ

ประสิทธิ์ คมภักดี

ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ สำนักกำรสังคีต กรมศิลปำกร

ชวลิต สุนทรำนนท์ สำนักกำรสังคีต กรมศิลปำกร

ฤทธิเทพ เถำว์หิรัญ สถำบันบัณฑิตพัฒนศิลป

ชรินทร์ พรหมรักษ์

สมเจตน์ ภู่นำ สำนักกำรสังคีต กรมศิลปำกร

สมรัตน์ ทองแท้ สำนักกำรสังคีต กรมศิลปำกร

คมสันฐ หัวเมืองลำด สำนักกำรสังคีต กรมศิลปำกร

เอกลักษณ์ กลิ่นทอง ผู้ศึกษำ

ภาพ 12 แผนผังการสืบทอดท่าราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ ที่มา: เอกลักษณ์ กลิ่นทอง, 2561


16

บทที่ 3 วิธีดำเนินกำรสืบทอดและฝึกหัด การสอบราเดี่ยวมาตรฐาน เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา นาฏศิล ป์ ไทย ภาควิช าศิล ปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลั ยนเรศวร ในรายวิช า 202462 อาศรมศึกษาทางนาฏศิลป์ไทย (Thai Dance Forum) การถ่ายทอดความรู้โดยผู้ เชี่ยวชาญและชานาญ การทางด้านการแสดงทางด้านนาฏศิลป์ไทย และใช้ระยะเวลาในการสื บทอดและฝึกฝนอย่างละเอียด เพื่อความถูกต้องของกระบวนท่ารา โดยมีขั้นตอนการสืบทอดและฝึกหัด ดังต่อไปนี้ 1. ขั้นตอนในการสืบทอดและฝึกหัด 2. ระยะเวลาและสถานที่การสืบทอดและฝึกหัด 3. อุปกรณ์ในการสืบทอดและฝึกหัด 4. พัฒนาการในการสืบทอดและฝึกหัด ขั้นตอนในกำรสืบทอดและฝึกหัด ขั้นตอนการสืบทอดและฝึกหัด ผู้ศึกษาได้รับการถ่ายทอดท่าราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ จาก อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ โดยมีอาจารย์วรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเป็นผู้ขัดเกลาท่ารา อย่างละเอียด เพื่อให้ผู้ศึกษาพัฒนาฝีมือการรา ผู้ศึกษาจึงศึกษากลวิธีการราจากอาจารย์ผู้ถ่ายทอดทั้งสอง ท่านให้มีความชานาญการฝึกหัดยิ่งขึ้น โดยมีขั้นตอนการฝึกหัดดังนี้ 1. ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ อย่าง ละเอียด 2. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลของเพลงกลม ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงของราเดี่ยวมาตรฐาน ชุด กลมนารายณ์ โดยการฟังทานองเพลงซ้า ๆ ตลอดจนท่องบทร้องเพื่อให้จดจาจังหวะและเนื้อร้องได้ อย่างแม่นยา 3. ศึกษาข้อมูลการราจากวีดีทัศน์และวิดีโอของอาจารย์หลาย ๆ ท่าน ก่อนที่จะได้รับการถ่ายทอด ท่ารา 4. อาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่าราได้ทดสอบการแบ่งทานองของเพลงและอธิบายการแสดงอารมณ์ของการ ราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ แต่ละความหมายตามทานองเพลงและบทร้อง เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจถึง บทบาทและอารมณ์ของตัวละคร 5. อาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่ารา ให้ผู้ศึกษาทาความเข้าใจกับจังหวะของเพลงกลม ก่อนเข้าเพลงและ แก้ไขท่าราแต่ละท่าอย่างละเอียด 6. อาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่าราให้ ผู้ ศึกษาราเข้ากับเพลงและหลั งจบเพลงอาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่ารา แนะนาจุดที่ต้องแก้ไขและให้ทาซ้า ๆ เพื่อแก้ไขจุดที่ยังปฏิบัติไม่ได้


17

7. อาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่าราให้ผู้ศึกษาทบทวนการราและร้องโดยยังไม่เข้าเพลง 8. อาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่าราเก็บรายละเอียด ตรวจสอบความถูกต้องของท่าราหลังจบเพลงอย่าง ละเอียดอีกรอบ 9. อาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่ารา แนะนากลวิธีการรา การใช้หน้า การยิ้ม และอารมณ์ ให้กับผู้ศึกษา 10. ทบทวนการราจุดที่ต้องแก้ไข อย่างละเอีย ดอีกครั้งก่อนเข้าเพลงอีกครั้ง จากผู้ถ่ายทอดท่ารา จะเก็บรายละเอียดของอารมณ์ การใช้หน้า การยิ้ม ควบคู่กับการรา จนจบเพลง ระยะเวลำและสถำนที่กำรสืบทอดและฝึกหัด ระยะเวลาในการสืบทอดและฝึกหัด ตั้งแต่เดือน มิถุนายน – กันยายน พ.ศ. 2560 โดยใช้เวลาและสถานที่ ปฏิบัติงาน ดังนี้ ตำรำง 4 แสดงระยะเวลำกำรสืบทอดและฝึกหัด วัน/เดือน/ปี 10-11 มิถุนายน 2561

15 มิถุนายน 2561

17 มิถุนายน 2561

20-22 มิถุนายน 2561

เวลำ

กำรฝึกหัด

สถำนที่

17.00 – 18.00 น. ท่องบทร้อง ฟังเพลง และศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ ท่าราตามวีดีโอ ก่อนไปพบ และห้องปฏิบัติการ อาจารย์ที่ปรึกษา ทางด้านนาฏศิลป์ไทย อาคารเทคโนโลยี สารสนเทศและการ สื่อสาร ชั้น 7 15.00 – 16.00 น. พบอาจารย์ที่ปรึกษาและทบทวน อาคาร 5 ท่ าร าตระนารายณ์ ก่ อนเข้ ารั บ คณะมนุษยศาสตร์ ก า ร ถ่ า ย ท อ ด ท่ า ร า จ า ก ผู้เชี่ยวชาญ 15.00 – 16.00 น. พบอาจารย์ที่ปรึกษาและทบทวน อาคาร 5 ท่ าร าตระนารายณ์ ก่ อนเข้ ารั บ คณะมนุษยศาสตร์ การถ่ายทอดจากผู้เชี่ยวชาญ 13.00 – 16.00 น. เข้ ารั บ การถ่ ายทอดท่ าร าเดี่ ยว สานักการสังคีต มาตรฐานชุดกลมนารายณ์ ครั้งที่ กรมศิลปากร 1 จากอาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ โรงละครเล็ก ชั้น 4


18

ตำรำง 4 (ต่อ) วัน/เดือน/ปี 12 กรกฎาคม 2561

2 สิงหาคม 2561

8 สิงหาคม 2561

เวลำ กำรฝึกหัด 15.00 – 17.00 น. ฝึกซ้อมท่ารากับอาจารย์ที่ ปรึกษา อาจารย์วรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน 15.00 – 17.00 น. ฝึกซ้อมท่ารากับอาจารย์ที่ ปรึกษา อาจารย์วรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน 13.00 – 15.00 น. สอบราเดี่ยวมาตรฐาน 25 %

15 สิงหาคม 2561

10.00 – 17.00 น. เข้ารับการถ่ายทอดท่าราเดี่ยว มาตรฐานชุดกลมนารายณ์ ครั้งที่ 2 จากอาจารย์สมรัตน์ ทองแท้

22 สิงหาคม 2561

13.00 – 17.00 น. สอบราเดี่ยวมาตรฐาน 75 %

24 สิงหาคม 2561

15.00 – 17.00 น. ฝึกซ้อมท่ารากับอาจารย์ที่ ปรึกษา อาจารย์วรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน 15.00 – 17.00 น. ฝึกซ้อมท่ารากับอาจารย์ที่ ปรึกษา อาจารย์วรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน

25 สิงหาคม 2561

สถำนที่ คณะมนุษยศาสตร์ ตึก 5 ชั้น 3 คณะมนุษยศาสตร์ ตึก 5 ชั้น 3 ห้องปฏิบัติการ ทางด้านนาฏศิลป์ไทย อาคารเทคโนโลยี สารสนเทศและการ สื่อสาร ชั้น 7 มหาวิทยาลัยนเรศวร สานักการสังคีต กรมศิลปากร โรงละครเล็ก ชั้น 4 อาคารเทคโนโลยี สารสนเทศและการ สื่อสาร ชั้น 7 มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะมนุษยศาสตร์ ตึก 5 ชั้น 3 คณะมนุษยศาสตร์ ตึก 5 ชั้น 3


19

ตำรำง 4 (ต่อ) วัน/เดือน/ปี 29 สิงหาคม 2561

เวลำ กำรฝึกหัด 09.00 – 12.00 น. สอบราเดี่ยวมาตรฐาน 100 %

30 สิงหาคม 2561

08.30 – 17.00 น. ซ้อมใหญ่การสอบราเดี่ยว มาตรฐาน

31 สิงหาคม 2561

08.30 – 17.00 น. สอบราเดี่ยวมาตรฐานกับ คณะกรรมการภายนอก

สถำนที่ โรงละครเฉลิมพระ เกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร โรงละครเฉลิมพระ เกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร โรงละครเฉลิมพระ เกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร

อุปกรณ์ในกำรสืบทอดและฝึกหัด การรั บ การถ่ ายทอดท่ าร า ชุ ด กลมนารายณ์ ผู้ ศึ ก ษาได้ มี ก ารเตรีย มความพร้อ มเพื่ อ รับ การ ถ่ายทอดท่าราในการเตรียมอุปกรณ์ประกอบการแสดง เพื่อให้ได้เรียนรู้จริงจากการถ่ายทอดท่าราและ ฝึกหัด ดังต่อไปนี้ อุปกรณ์ประกอบกำรเรียน 1. เครื่องบันทึกภาพนิ่ง 2. เครื่องบันทึกภาพเคลื่อนไหว 3. เครื่องเขียน 4. สมุดจดบันทึก 5. บทร้องและทานองเพลง 6. แผ่นเพลง อุปกรณ์ประกอบกำรรำ 1. คทา 2. ตรี 3. จักร


20

พัฒนำกำรในกำรสืบทอดและฝึกหัด พัฒ นาการในการสื บทอดและการฝึกหัดการสอบราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ ผู้ศึกษามี พัฒนาการในการรามากขึ้นจากการฝึกฝน และนอกจากนี้ยังมีปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการราที่เกิดขึ้น เล็กน้อย ซึ่งผู้รับการถ่ายทอดได้มีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ดังต่อไปนี้ 1. พัฒนำกำรในกำรสืบทอด ในตลอดระยะเวลาที่ได้รับการถ่ายทอดท่าราจากอาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ ผู้ศึกษาได้จดบันทึก ท่าราในแต่ละส่วนที่ต้องแก้ไขและจุดสาคั ญของท่าราและบันทึกภาพเคลื่ อนไหว เพื่อตรวจสอบความ ถู ก ต้ อ งของท่ า ร าและเก็ บ รายละเอี ย ดวิ ธี ก ารร าที่ อ าจารย์ ผู้ ถ่ า ยทอดท่ าร าได้ ถ่ ายทอดให้ แ ก่ ผู้ ศึ ก ษา หากผู้ศึกษาจ าท่าราไม่ได้ ก็จ ะสามารถนาภาพเคลื่ อนไหวมาดูประกอบกับการดูจากรายละเอียดที่จด บั น ทึก หลั งจากได้รับ การถ่ายทอดท่าราจนจบเพลง ผู้ศึกษาได้ห มั่นฝึ กซ้อมอยู่เสมอ เพื่ อให้ เกิดความ ชานาญในการราให้มีความถูกต้องและสวยงาม เพื่อที่ในการไปรับการถ่ายทอดครั้งต่อไป ผู้รับการถ่ายทอด จะได้รับความรู้เพิ่มพูนจากเดิม 2. รำยละเอียดของท่ำรำจำกกำรสืบทอด ผู้ศึกษาได้รับคาแนะนาเกี่ยวกับรายละเอียดจากอาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ เพื่อ นาไปฝึกฝนให้ เกิดความสวยงามและความสมบู รณ์ ของการแสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ มากยิ่งขึ้นโดย อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ ได้ให้คาเกี่ยวกับรายละเอียดการแสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ ดังนี้ 1) อารมณ์ ข องตั ว ละคร ผู้ ศึ ก ษาต้ อ งสมมุ ติ บ ทบาทการแสดงเป็ น พระนารายณ์ โดยให้ มี ความรู้สึกถึงความหน้าเกรงขามและสง่างามเนื่องในตอนนี้พระนารายณ์เดินทางเพื่อที่จะไปปราบนนทุก 2) ลีลาของตัวละคร ผู้ศึกษาจะต้องมีลีลาการราที่เหมาะสมกับบทบาทการแสดง เนื่องจากการ แสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุดกลมนารายณ์ ผู้แสดงจะต้องมีลักษณะที่สง่างามเพราะพระนารายณ์เป็นเทพเจ้า ที่สูงศักดิ์ 3) การเชื่อมท่ารา ผู้ศึกษาจะต้องมีการเชื่อมท่าราอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของท่ารา 4) การใช้พื้นที่ในการรา ผู้ศึกษาไม่ควรราอยู่กับที่ ควรใช้พื้นที่บนเวทีให้มาก 5) การปรับท่าราให้เหมาะกับผู้เรียน ผู้ศึกษาควรมีระดับของท่าราที่เหมาะสมกับสรีระของ ผู้แสดง เช่น การใช้วงต่าง ๆ การถืออาวุธ จะต้องอยู่ในตาแน่งที่เหมาะสมกับผู้แสดงโดยไม่สูงหรือต่าเกินไป 6) ฝึกการใช้ร่างกายให้สวยงาม เช่น ก้าวหน้า ก้าวข้าง การใช้แขน การขยั่นเท้า เป็นต้น การ ก้าวเท้าควรก้าวให้เหมาะสมกับผู้แสดง ไม่ควรกว้างหรือแคบเกินไป 3. ปัญหำ อุปสรรคและกำรแก้ไข 1) ผู้ศึกษามีกาลังขาที่ไม่แข็งแรง ทาให้ยืนไม่ค่อยอยู่ จึงต้องออกกาลังกายเพื่อให้ขาแข็งแรง 2) ผู้ ศึ กษาร าไม่ ต รงจั งหวะ ราคร่อ มและไปก่ อ นจังหวะ จึงต้ อ งฝึ ก ราเข้ากั บ เพลงบ่ อ ย ๆ และท่องบทให้แม่นยา


21

3) ผู้ศึกษาปฏิบัติท่าราบางท่าไม่หมดมือ และต้องเพิ่มความมั่นใจเพื่อให้ท่าราแต่ละท่ามีความ ชัดเจน 4) ผู้ศึกษายังราไม่เข้าถึงอารมณ์ บทบาทของตัวละคร ต้องหมั่นฝึกซ้อมเข้าเพลงบ่อย ๆ และ ต้องจินตนาการว่าตัวเองเป็นพระนารายณ์ จากการได้ รั บ การถ่ า ยทอดท่ าร าและกลวิ ธี ก ารร ากลมนารายณ์ จาก อาจารย์ ส มรั ต น์ ทองแท้ ทาให้ผู้ศึกษาสามารถจดจาท่าราและรายละเอียดที่ท่านได้ถ่ายทอดให้แก่ผู้ศึกษา ทาให้ราได้งดงาม ขึ้น จากเดิม ทั้ งนี้ ผู้ ศึ กษาได้ห มั่ น ฝึ ก ซ้อ มเพื่ อ ให้ มี ค วามช านาญในการรา และมี ลี ล า อารมณ์ ในการรา เพื่อพัฒนาฝีมือการราให้ดียิ่งขึ้นและสามารถนาไปแสดงได้อย่างสมบูรณ์ ข้อเสนอแนะ การแสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุดกลมนารายณ์ จากอาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่าราโดย อาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่าราได้มีการประเมินและให้ข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ 1. อาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ - ตั้งแต่เริ่ม ใฝ่ที่จะติดตามและคอยถามไถ่ผู้สอนเพื่อจะได้ไม่เกิดความยุ่งยากในการรับ การถ่ายทอด ด้วยอยู่ห่างไกลแต่ผู้เรียนก็พยายามติดตามครู - การรับ การถ่ายทอดท่าราก็ทาด้วยความตั้งใจและใส่ ใจ ทาให้ การเรียนรู้ชัดเจนและ รวดเร็ว ข้อแก้ไขต่าง ๆ ทาได้ดี - มักมาคอยครูเพื่อขอรับการถ่ายทอดท่ารา นับว่าเป็นคนเพียรที่ดี และนอกจากนี้ ยั งมี ก ารประเมิ น และข้ อ เสนอแนะจากท่ านคณะกรรมการผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ทางด้านนาฏศิลป์ไทย จานวน 6 ท่าน ดังนี้ 1. ดร.นพรัตน์ศุภาการ หวังในธรรม - ตอนราตระนารายณ์ ราถืออาวุธถูกหรือไม่? 2. ดร.ไพฑูรย์ เข้มแข็ง - แต่ งกายสวยงามเรี ย บร้ อ ยดี ตลอดทั้ ง อุ ป กรณ์ คื อ อาวุ ธ ของพระนารายณ์ ก็ น ามา ประกอบกับท่ารากลมตามจารีตของเพลงกลมนารายณ์ ตังหวะลีลาท่าราใช้ได้ ผู้แสดงซ้อมมาดี โดยเฉพาะ ทั้งเพลงกลมและตระนารายณ์ 3. อาจารย์ตวงฤดี ถาพรพาสี - ไม่มี 4. ผศ.ฐิติมา วิทยาวงศรุจิ - ราพอได้น ะคะ อยู่ในเกณฑ์ดี แต่เหลื่ อมเท้าเวลายกเท้าไม่ดีเท่าที่ควร ยกดันน่องมา ข้างหน้าเกินเลยดูไม่สง่า 5. รศ.นุชนาฏ ดีเจริญ - บางท่ายังดูไม่สง่า จากข้อเสนอแนะของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏศิลป์ไทย ผู้ศึกษาจะนาความรู้ที่รับ นาไปปรับปรุงต่อไป


22

บทที่ 4 อาศรมศึกษาทางนาฏศิลป์ไทย ชุด กลมนารายณ์ การแสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ มีส่วนประกอบที่สาคัญหลายด้านที่หากขาดสิ่งใดไป จะทาให้การแสดงขาดความสมบูรณ์ โดยผู้ศึกษาได้แบ่งแยกส่วนประกอบที่สาคัญของการแสดงราเดี่ยว มาตรฐานชุ ด กลมนารายณ์ ได้ แ ก่ ประวั ติ ค วามเป็ น มาของการแสดง เรื่ อ งย่ อ ของการแสดง เพลงประกอบการแสดง ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ฉากและอุปกรณ์ประกอบการแสดง เครื่องแต่งกาย และการแต่งหน้า นาฏยศัพท์ที่ใช้ในการแสดง กระบวนท่ารา และกลวิธีในการรา ดังต่อไปนี้ ประวัติความเป็นมาของการแสดง พระนารายณ์ที่ปรากฏในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง รามเกียรติ์ อยู่ในมเหศวรพงศ์ ซึ่งเป็นมเหสักขเทวราชลาดับที่สองรองลงมาจากพระอิ ศวร เป็นเทพเจ้าผู้รักษาความดี มีกายสีม่วงดอกตะแบก หนึ่งหน้า สี่กร ทรงมงกุฎยอดชัย ทรงตรี คทา จักรและสังข์เป็นอาวุธ มีครุฑเป็นพาหนะ เพลงหน้ าพาทย์ กลมนั้ นถือเป็นเพลงหน้าพาทย์ครู หรือหน้าพาทย์ชั้นสูงเพลงหนึ่ง ซึ่งมีจังหวะ หน้ าพาทย์ อื่ น ร่ ว มอยู่ คื อ กราวนอกและเพลงเร็ว ซึ่ งใช้ ในพิ ธี ก รรมส าคั ญ หลายพิ ธี เช่ น พิ ธี ไหว้ ค รู เทศน์มหาชาติ เป็นต้น และใช้ประกอบการแสดงโขน ละคร เพื่อแสดงอากัปกิริยาในการเดินทางตัวละคร เป็ น การแสดงเพื่ ออวดฝี มื อของผู้ แสดง ในด้านดนตรีแม้ท านองจะเปลี่ ยนไป หน้ าทั บกลองก็ส ามารถ กระสวนจังหวะให้สัมพันธ์กันอย่างกลมกลืนกับทานองนั้น ๆ (ณรงค์ชัย ปิฎกรัตช์, 2542, หน้า 23) จากการที่เพลงกลมเป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้สาหรับประกอบกิริยาการเดิน ทางสาหรับตัวละครที่ เป็นเทพเจ้า เทวดา ผู้มีอิทธิฤทธิ์และผู้สูงศักดิ์ พระนารายณ์ ก็มีฐานะเป็นเทพเจ้าพระองค์หนึ่งที่สูงศักดิ์ ดังนั้ นเพลงหน้ าพาทย์กลมจึงใช้กับ พระนารายณ์ ได้และเรียกว่า “กลมนารายณ์ ” ตามชื่อของตัวละคร รากลมนารายณ์ เป็นการแสดงประกอบในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์และการแสดงเบิกโรงหลากหลาย ชุด แต่ส่วนใหญ่ที่นิยมเล่นในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทุก กระบวนท่าราหลัก ที่ใช้ส่วนใหญ่เรียกว่า “การใช้หน้าหนัง” ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กับหน้าทับ ไม้กลองและทานองเพลงเป็น อย่างดี การแสดงชุดนี้ต้องใช้ความสามารถของผู้แสดงสูง ถือเป็นการราอวดฝีมือ ตลอดจนเป็นการใช้อาวุธ ประกอบการแสดงในคราวเดียวกันอีกด้วย เรื่องย่อของการแสดง ร ากลมนารายณ์ ที่ ผู้ ศึ ก ษาได้ รั บ การถ่ า ยทอดท่ า ร า อยู่ ใ นการแสดงโขนเรื่ อ ง รามเกี ย รติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทุก ซึ่งมีเนื้อเรื่องย่อดังต่อไปนี้


23

นนทุ ก เป็ น ยั ก ษ์ ที่ มี ห น้ า ที่ ล้ า งเท้ า ให้ แ ก่ เ หล่ า เทวดาที่ ม าเข้ า เฝ้ า พระอิ ศ วร ณ เขาไกรลาส เหล่าเทวดาที่มาล้ างเท้า มักหยอกล้ อ นนทุ กอยู่เป็น ประจา ด้วยการลู บหั วบ้าง ถอนผมบ้าง จนกระทั่ ง หัวโล้นทั้งศีรษะ นนทุกแค้นใจมาก แต่ว่าตนเองไม่มีกาลังจะสู้ได้จึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวรแล้วกราบทูลขอพร ให้มีนิ้วเพชร ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นตายเพื่อป้องกันตนเอง พระอิศวรเห็นว่านนทุกปฏิบัติหน้าที่รับใช้พระองค์มา นานจึงประทานพรให้ตามที่ขอ ไม่นานนักนนทุกก็มีใจกาเริบเพียงแต่ถูกเทวดามาลูบหัวเล่นเช่นเคย นนทุก ก็ชี้เหล่าเทวดานางฟ้าตายเป็น จานวนมาก พระอิศวรทราบเรื่องก็ทรงกริ้ว จึงให้ พระนารายณ์ ไปปราบ พระนารายณ์จึงแปลงกายเป็นนางอัปสรมาดักรอในทางที่นนทุกจะผ่านมา นนทุกเห็นนางแปลงก็หลงรักจึง เข้าไปเกี้ยวพาราสี นางอัปสรจึงชักชวนให้นนทุกราตามนางก่อนจึงจะรับรัก นนทุกจึงราตามไปจนถึงท่า นาคาม้ ว นหาง ซึ่ งต้ อ งชี้ นิ้ ว เพชรที่ ข าท าให้ ข านนทุ ก ขาหั ก ล้ ม ลง พระนารายณ์ จึ งคื น ร่า งเดิ ม เหยี ย บ อกนนทุกไว้ นนทุกเห็นเป็นพระนารายณ์ จึงตัดพ้อว่าเอาเปรียบตนเพราะว่าพระนารายณ์ เป็นผู้มีอานาจมี ถึง 4 กร แต่ตนมีแค่ 2 มือ เหตุใดจึงมาทาอุบายหลอกลวงตน พระนารายณ์จึงสาปให้นนทุกไปเกิดใหม่ให้มี 10 หน้า 20 มือ แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง 2 มือลงไปสังหารนนทุก แล้วพระนารายณ์จึง ใช้ตรีตัดศีรษะนนทุกสิ้นใจตาย ชาติต่อมานนทุกจึงได้ไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมา เกิดเป็นพระรามเพื่อปราบทศกัณฐ์ต่อไป บทร้อง การแสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ มีการใช้เพลงประกอบการแสดงโดยเริ่มจากเพลง กลมซึ่งเป็ น เพลงหน้ าพาทย์ ชั้น สู งใช้ส าหรับ ประกอบกิริยาการเดิน ทางส าหรับ ตัว ละครที่ เป็ น เทพเจ้ า เทวดา ผู้มีอิทธิฤทธิ์และผู้สูงศักดิ์ต่อด้วยเพลงเชิดซึ่งเป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ประกอบอากัปกิริยา เยื้องกราย และการเดินของตัวละครที่ใช้ในการเดินทางไกล จากนั้นจึงเป็น เพลงที่ใช้ประกอบบทร้องคือเพลงเหาะ จบด้ว ยเพลงตระนิ มิตเป็ น เพลงหน้าพาทย์ ที่ใช้ในการแปลงกายของพระนารายณ์ เพื่ อแปลงกายเป็ น นางอัปสรไปปราบนนทุก การแสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ มีบทร้องและทานองเพลงดังนี้ - ปี่พาทย์ทาเพลงกลม, เชิด - ร้องเพลงเหาะ เมื่อนั้น องค์พระนารายณ์เป็นใหญ่ มาถึงเชิงบรรพตด้วยทันใด ทรงร่ายเวทย์แปลงไปด้วยฤทธี - ปี่พาทย์ทาเพลงตระนิมิต, รัว -


24

ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง การแสดงนอกจากที่จะมีการราที่ สวยงามและยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่สาคัญนั่นก็คือดนตรีประกอบการ แสดงซึ่งจะทาให้การแสดงสมบูรณ์ การแสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ เป็นการแสดงที่อยู่ในโขน เรื่อง รามเกียรติ์ มีการใช้เพลงหน้าพาทย์เพลงกลมและเพลงหน้าพาทย์ตระนิมิตประกอบการแสดง จึงใช้ วงปี่พาทย์ไม้แข็งบรรเลงประกอบการแสดง โดยแบ่งออกเป็นวงปี่พาทย์ เครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ ซึ่งมักจะเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ โดยวงปี่พาทย์แต่ละประเภทประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้ 1) วงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง

ภาพ 13 วงปี่พาทย์เครื่องห้า ที่มา: ทรงวิทย์ แก้วศรี, 2533, หน้า 33


25

2) วงปี่พาทย์เครื่องคู่ ประกอบด้วย ปี่นอก ปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้อง วงเล็กตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง

ภาพ 14 วงปี่พาทย์เครื่องคู่ ที่มา: ทรงวิทย์ แก้วศรี, 2533, หน้า 33 3) วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็กฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง

ภาพ 15 วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ที่มา: ทรงวิทย์ แก้วศรี, 2534, หน้า 34


26

ฉากและอุปกรณ์ประกอบการแสดง การแสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุดกลมนารายณ์ จะจาลองฉากบนท้องฟ้าซึ่งฉากจะจัดทาเป็นท้องฟ้า เพื่อให้ เกิดความสมจริงในการแสดง ทั้งนี้การแสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ สามารถมีฉาก หรื อ ไม่ มีฉ ากก็ ได้ซึ่ งอยู่ ต ามความเหมาะสมของการแสดงนั้ น ๆ ส่ ว นอุ ป กรณ์ ป ระกอบการแสดงของ การราเดี่ยวมาตรฐานชุดกลมนารายณ์ ได้แก่ คทา ตรี และจักรซึ่งเป็นอาวุธประจาตัวของพระนารายณ์ ยกเว้นสังข์ ที่ไม่ได้นามาใช้ประกอบในการแสดงดังภาพ

ภาพ 16 อุปกรณ์ประกอบการแสดงได้แก่ จักร คทาและตรี ที่มา: เอกลักษณ์ กลิ่นทอง, 2561


27

เครื่องแต่งกายและการแต่งหน้า 1. เครื่องแต่งกาย การแสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ แต่งกายสมมุติเป็นพระนารายณ์ โดยแต่งกาย ยืนเครื่องพระแขนยาว สีม่วงขลิบเหลือง ดังภาพ

ภาพ 17 เครื่องแต่งกาย ชุด กลมนารายณ์ ที่มา: เอกลักษณ์ กลิ่นทอง, 2561 การแต่งกายการแสดงร าเดี่ ยวมาตรฐานชุ ด กลมนารายณ์ สามารถแบ่ งออกเป็ น 3 ประเภท ได้ดังต่อไปนี้ 1.1 ศิราภรณ์ 1) ชฎายอดชัย พร้อมอุบะและดอกไม้ทัด 1.2 พัตราภรณ์ 1) กรองคอสีเหลือง 2) อินทรธนูสีเหลือง 3) เสื้อแขนยาวสีม่วง (ฉลององค์) 4) รัดสะเอวสีม่วงขลิบเหลือง 5) สนับเพลาสีม่วงขลิบเหลือง 6) ผ้ายกสีม่วง (ผ้านุ่ง หรือภูษา) 7) ห้อยข้างสีม่วงขลิบเหลือง 8) ห้อยหน้าสีม่วงขลิบเหลือง


28

1.3 ถนิมพิมพาภรณ์ 1) ทับทรวง 3) กาไลแผง (ทองกร) 5) ปะวะหล่า 7) เข็มขัด (ปั้นเหน่ง) 9) แหวนรอบ (แหวนรองกาไลเท้า)

2) สังวาล 4) แหวนรอบ 6) ธามรงค์ 8) กาไลเท้า

2. การแต่งหน้า การแต่งหน้าการแสดงการราเดี่ยวมาตรฐาน ชุด กลมนารายณ์ เป็นการแต่งหน้าแบบละคร โดยวาดคิ้วด้วยอายไลน์เนอร์ให้คิ้วเป็นสีดาเข้ม และโก่งให้เข้ ากับรูปหน้าของผู้แสดงและให้รับกับชฎาที่ผู้ แสดงสวมใส่ ทาปากด้วยลิปสติกสีแดงสด แต่งหน้าให้เข้มเพื่อที่จะให้ใบหน้าของผู้แสดงโดดเด่นเข้ากับชุด เครื่องแต่งกาย

ภาพ 18 การแต่งหน้า ชุด กลมนารายณ์ ที่มา: เอกลักษณ์ กลิ่นทอง, 2561


29

นาฏยศัพท์ที่ใช้ในการแสดง นาฏยศั พ ท์ คื อ คาศั พ ท์ ที่ ใช้ สื่ อ สารให้ มี ค วามเข้าใจตรงกัน ในนาฏศิ ล ป์ ไทย เป็ น คาศั พ ท์ ที่ ใช้ เรียกชื่อท่ารา หรือบ่งบอกถึงกิริยาอาการต่างๆ รวมถึงระดับ ตาแหน่งของท่า ซึ่งผู้ที่เรียนนาฏศิลป์ไทย จะต้องได้ฝึกปฏิบัติท่าราพื้นฐานเหล่านี้ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานการราในเพลงต่าง ๆ ที่มีความยากขึ้นตามลาดับ ผู้ ศึ ก ษาได้ ท บทวนเรื่ อ งนาฏยศั พ ท์ จ ากเอกสารต่ าง ๆ (ประภาศรี ศรีป ระดิ ษ ฐ์ , 2548, หน้ า 49-52) ซึ่งร าเดี่ ย วมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ ได้ มีการวิเคราะห์ ท่ าราซึ่งพบนาฏยศัพ ท์ ที่ป รากฏอยู่ในราเดี่ย ว มาตรฐานชุด กลมนารายณ์ มีดังต่อไปนี้ 1. วง คือ ช่ ว งมื อและแขนที่ก างออก ปลายมื อจะตั้งขึ้ น ล าแขนโค้งไม่ หั กหรืองอเป็ นเหลี่ ย ม วงโดยทั่วไปมี 5 ชนิด ได้แก่ วงบน วงกลาง วงต่า วงหน้า และวงหงายหรือวงบัวบาน -วงบน ตัวพระจะกางแขนออกข้างลาตัวเฉียงมาด้านหน้าเล็กน้อยยกขึ้นสูงในระดับแง่ ศีรษะ -วงกลาง อยู่ด้านข้างระดับไหล่ค่อนมาข้างหลังเล็กน้อย -วงต่า อยู่ด้านหน้าตรงหัวเข็มขัดหรือชายพก ตัวพระวงจะเฉียงข้าง -วงหน้า อยู่ด้านหน้าระดับปาก -วงหงายหรือวงบัวบาน จัดเป็นวงพิเศษที่มีรูปร่างไม่เหมือนวงทั้ง 4 ดังกล่าวคือ จากวง ดังกล่าวนามาพลิกข้อมือหงายฝ่ามือขึ้นให้ปลายนิ้วชี้ออกด้านข้างหรือตกลงล่าง 2. จีบ คือ การจรดหัวแม่มือและนิ้วชี้เข้าหากันตรงข้อปลายของนิ้วชี้ นิ้วที่เหลือทั้งสามตึงและกรีด ออกให้มากที่สุด จีบมี 5 ชนิด ได้แก่ จีบหงาย จีบคว่า จีบปรกหน้า ปรกข้าง และจีบส่งหลัง - จีบหงาย คือการจีบที่หงายฝ่ามือขึ้น ให้ปลายนิ้วที่จรดกันตั้งขึ้ น จีบทุกครั้งจะต้องหัก ข้อมือเข้าลาแขนด้วย - จีบคว่า คือการจีบที่พลิกข้อมือให้ปลายนิ้วตกลงล่าง - จีบปรกข้าง คือ ลักษณะเหมือนจีบหงายอยู่ด้านหน้า หันปลายนิ้วเข้าหาหน้าผาก - จีบปรกข้าง คือลักษณะเหมือนจีบหงายแต่อยู่ด้านข้างระดับศีรษะ หันปลายนิ้วเข้าหา ศีรษะ - จีบส่งหลัง คือการส่งจีบไปข้างหลัง ตั้งแขนและพยายามให้แขนที่ส่งไปหลังนี้ ห่างจาก ลาตัว ปลายนิ้วที่จีบจะต้องชี้ขึ้นข้างบน 3. ล่อแก้ว คือ การจรดนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางเข้าหากั นตรงข้อแรกของปลายนิ้วให้มีลักษณะ เป็นวงกลม นิ้วที่เหลือทั้งสามตึงและกรีดออกให้ มากที่สุด ล่อแก้วมี 2 แบบ คือ ล่อแก้วหงายและล่อแก้ว คว่า - ล่อแก้วหงาย คือล่อแก้วหงายฝ่ามือขึ้นให้ปลายนิ้วที่จรดกันตั้งขึ้น และล่อแก้วทุกครั้ง จะต้องหักข้อมือเข้าหาลาแขนด้วย - ล่อแก้วคว่า คือการล่อแก้วที่พลิกข้อมือให้วงกลมตกลงข้างล่าง 4. เอียงศีรษะ ศีรษะมักเอียงพร้อมกับการกดไหล่ เช่น กดไหล่ขวาก็เอียงศีรษะทางขวา เป็นต้น 5. ลักคอ คือ ศีรษะเอียงเป็นคนละทางกับไหล่ที่กดลง เช่น กดไหล่ขวาเอียงศีรษะข้างซ้าย เป็นต้น


30

6. ประเท้า คือ อาการของเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ใช้จมูกเท้าตบพื้นเบา ๆ แล้วยกขึ้นโดยให้เท้าอีกข้าง หนึ่งยืนรับน้าหนักตัว 7. ก้าวเท้า คือ การวางเท้าที่ยกสูงจากพื้น โดยวางส้นเท้าลงก่อนแล้วจึงตามด้วยปลายนิ้วเท้าทิ้ง น้าหนักตัวลงไปยังเท้าที่ก้าวให้หมด การก้าวเท้ามี 2 วิธี คือ ก้าวหน้าและก้าวข้าง - ก้าวหน้า หมายถึง ก้าวเท้าไปข้างหน้า ตัวพระจะต้องแบะเข่าออกให้ได้เหลี่ยมปลาย เท้าที่ก้าวจะเอียงไปด้านข้างให้ส้นเท้าหน้าอยู่ในแนวเดียวกับหัวแม่เท้าหลังห่างกันประมาณคืบครึ่งหรือ หนึ่งฟุต เปิดส้นเท้าหลัง - ก้าวข้าง หมายถึง ก้าวเท้าที่ยกลงเฉียงไปด้านข้างทิ้งน้าหนักตัวลงไปยังเท้าที่ก้าวจะเป็ น ข้างซ้ายหรือข้างขวาก็ได้ ขณะที่ลาตัวหัวตรงอยู่ด้านหน้า ตัวพระจะต้องก้าวเฉียงออกด้านข้างให้มากกว่า ก้าวหน้า 8. กระทุ้งเท้า คือ อาการของจมูกเท้าที่อยู่ข้างหลังกระทุ้งลงกับพื้นเบา ๆ วิธีกระทุ้ง คือ เท้าหน้า ยืน ย่อเข่ารับ น้าหนั กตัว เท้าหลังเปิ ดส้ นเท้าขึ้นให้จมูกเท้าวางอยู่บนพื้นแล้ วยกขึ้ นเล็กน้อยก่อน จึงจะ กระทุ้ง 9. กระดกเท้า คือ อาการของเท้าข้างใดข้างหนึ่งยืนย่อเข่ารับน้าหนักตัว ถีบเข่าหรือส่งเข่าอีกข้าง หนึ่งไปข้างหลัง แล้วหนีบน่องให้ชิดหน้าขามากที่สุด หักข้อเท้าให้ปลายเท้าตกลงล่างการกระดกอาจสืบ เนื่องมาจากการกระทุ้งก็ได้ หรือถีบเข่าขึ้น ข้างหลังเลย โดยไม่ต้องกระทุ้งเท้าก่อนก็ได้ ตัวพระเวลากระทุ้ง จะต้องกันเข่าหรือเปิดเข่าให้ขากางออก ห่างจากขาที่ยืนย่อเข่ารับน้าหนักตัว 10. จรดเท้า คือ การยืนเต็มเท้าด้วยเท้าข้างใดข้างหนึ่งให้จมูกเท้าอีกข้ างหนึ่งจรดพื้น ยกส้นเท้า ขึ้นเล็กน้อย โดยต้องให้เท้าที่จรดอยู่ขนานกับเท้าที่ยืนเต็มเท้า เมื่อจรดเท้าแล้วจึงหยุดท่านิ่งสักพักหนึ่งหาก เป็นตัวพระให้กับเข่าออก 11. แตะเท้า คือ การยืนเต็มเท้าด้วยเท้าข้างใดข้างหนึ่งให้จมูกเท้าอีกข้างหนึ่งจรดพื้น ยกส้นเท้า ขึ้นเล็กน้อย อาจแตะได้ทั้งขาตึง หรือขางอ โดยเท้าที่จรดอยู่ขนานกับเท้าแล้วจึงปฏิบัติท่าราอื่นต่อไป โดย ไม่หยุดท่านิ่ง 12. ฉายเท้า คือ การยื นเต็มเท้าด้วยเท้าใดเท้าหนึ่ง ใช้จมูกเท้าอีกข้างไสไปด้านข้าง ยกส้ นขึ้น เล็กน้อย 13. เหลื่อมเท้า คือ การยืนเต็มเท้าทั้งสองข้าง โดยใช้เท้าข้างใดข้างหนึ่งอยู่ติดกับกลางฝ่าเท้าของ อีกข้างหนึ่ง เปิดปลายเท้าทั้งสองให้แยกออกจากกัน 14. ซอยเท้า หรือขยั่นเท้า คือ การย่อตัวลง แข็งหน้าขายกเท้าซ้ายสลับกับการยกเท้าขวาถี่ ๆ การซอยเท้าสามารถปฏิบัติอยู่กับที่ หรือวิ่งเคลื่อนที่ก็ได้ 15. แจกไม้ คือ การปฏิบัติที่ใช้มือและเท้าพร้อมกันมีทั้งแจกไม้หน้าและแจกไม้ข้าง 16. เต้นเสือลากหาง คือ ลีลาท่าราที่ใช้เท้าเต้นยกขึ้นลงสลับกันพร้อมทั้งใช้หน้าหนังและควงอาวุธ กระทาพร้อมกันและให้สัมพันธ์กัน 17. เลาะ คือ ลีลาท่าราที่จะกลับตัวหันมาอีกด้านหนึ่งโดยใช้จมูกเท้าขวาจรดกับพื้นแล้วขยับและ ยกเท้าซ้ายขึ้นมือขวาตั้งวงสูงแล้วหักข้อมือเข้าหาลาตัว


31

18. ย้อนตัว-แทงมือ คือ ลีลาท่าราจากการถ่ายน้าหนักตัว จากขาด้านหน้ามาอยู่ที่ขาอีกข้างหนึ่ง พร้อมทั้งกดเกลียวข้าง กดไหล่ เอียงศีรษะ และแขนตึง หงายมือ กระดกเท้าหลัง กระทาพร้อมกันและให้ สัมพันธ์กัน 19. ย้อนตัว -ขยั่นเท้า คือ การถ่ายน้าหนักจากขาข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง แล้วใช้จมูกเท้าขยั่น เพื่อให้เคลื่อนที่ หรือเรียกว่า ขยั่นเท้ารัวกลอง กระบวนท่าราและการใช้พื้นที่ กระบวนท่าราของการแสดงราเดี่ยวมาตรฐาน ชุด กลมนารายณ์ มีความงดงาม ละเมียดละไม ตามแบบของนาฏศิลป์ไทย โดยการแสดงมีกระบวนท่ าราที่สวยงามและเป็นการราอวดฝีมือของผู้แสดงซึ่ง จะมีการใช้พื้นที่บนเวทีและกระบวนท่าราที่สวยงามดังต่อไปนี้ ตาราง 5 แสดงกระบวนท่าราชุด กลมนารายณ์ ท่าที่ 1

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าออก วิ่งซอยออกจากทาง ด้านขวาของเวที ท่าที่ 1 ปฏิบัติท่าสอด เชิด มือขวาถือคทา มือซ้าย ถือจักร วิ่งวนเป็นเลข 8 ปฏิบัติ 4 จังหวะ ศีรษะเอียงตามมือจีบ


32

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 2

3

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าออกท่าที่ 2 ปฏิบัติท่าควงคทา มือขวาควงคทาระดับ วงบน มือซ้ายถือจักร ส่งหลัง วิ่งวนเป็นเลข 8 ปฏิบัติ 4 จังหวะ ศีรษะเอียงตามจีบส่ง หลัง

ท่าชักแป้งผัดหน้า มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา ระดับวงหน้า มือซ้าย ถือจักรระดับวงบน เท้า: วิ่งซอยเท้า มาตรงกลางเวที ศี ร ษะ: เอี ย งตามมื อ ที่ตั้งวง


33

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 4

5

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าราร่าย มือ: กรายมือซ้ายคลาย ออกมือขวาอยู่ระดับ วงบน เท้า: ก้าวข้างเท้าซ้าย แล้วเหลื่อมเท้าขวา ศี ร ษะ: เอีย งด้ านมื อ ที่ ก รายแล้ ว กลั บ มา เอียงมือวง

ท่าราร่าย (ต่อ) มือ: มือขวาควง กระบองระดับวงบน มือซ้าย จีบส่งหลัง เท้า: ก้าวหน้าเท้าขวา และวางส้นด้วยเท้า ซ้าย ศีรษะ: เอียงมองมือสูง ระหว่างควงศีรษะ เอียงข้างมือซ้าย


34

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 6

7

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา หันตัวไปทางด้านซ้าย มือ: มือขวาค่อยกราย คทา ออก มือซ้ายจีบ ส่งหลังเช่นเดิม เท้า: ประเท้าขวาขึ้น ศีรษะ: เอียงข้างซ้าย

หันตัวไปทางด้านซ้าย มื อ : มื อ ขวาตั้ ง คทา ขึ้ น มื อ ซ้ า ยถื อ จั ก ร ส่งหลังเช่นเดิม เท้า: ก้าวข้างเท้าขวา หนักขวา ศีรษะ: เอียงซ้าย พร้อมยักหน้าหนัง 3 จังหวะ


35

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 8

9

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา เก็บเท้า ย้อนตัวเล็กน้อย มือ : มื อทั้ งสองยังคง เดิม เท้า: เก็บเท้าโดยก้าว เท้าขวาเล็กน้อยขยับ เท้ า ซ้ า ยตาม ยกขา ด้านซ้ายขึ้นระดับครึ่ง น่องและแตะจมูกเท้า ด้ า นซ้ า ย ขาทั้ ง สอง ข้างตึง ศีรษะ: มองเอียงซ้าย

ท่าเชื่อม มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา จีบคว่าระดับเอว มือ ซ้ายถื อ จัก รหงายมื อ แขนงอระดับเอว เท้า: ก้าวไขว้เท้าซ้าย จากนั้ น ลากเท้ า ขวา มาประ ศีรษะ: เอียงด้านขวา หน้ า มองออกห น้ า เวที


36

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 10

11

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าแทงอาวุธ มื อ : มื อ ขวาพลิ ก ขึ้ น แบ มื อ แ ท งป ล าย คทาไปด้ านหน้ า มื อ ซ้ ายถื อ จั ก รระดั บ วง บน เท้า: ก้าวข้างเท้าขวา ศีรษะ: เอียงซ้าย หน้า มองออกหน้าเวที ท่าย้อนตัวแทงอาวุธ ย้อนตัว มือ: งอแขนขวาเล็กน้อย มื อขวาปฏิ บั ติ เช่ นเดิ ม จากนั้ นแทงมื อขวาไป ด้านหน้าเช่นเดิม เท้ า: ถ่ ายน้ าหนั กไป ด้ านซ้ ายเล็ กน้ อยและ กลั บไปหนั กหน้ าเท้ า ขวาพร้ อมกระดกเสี้ ยว เท้าซ้ายขึ้น ศี รษ ะ: เอี ย งซ้ าย หน้ามองออกหน้าเวที ท าห น้ าห นั งช้ า 2 จั งหวะ เร็ ว 2 จั งหวะ หน้ าเสี้ ยวขวา จบย้ อน ตัววางเท้าลง


37

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 12

13

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าเชื่อม มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา ระดั บเอว มื อซ้ ายถื อ จักรหงายลงระดับเอว เทา: ประเท้ าซ้ ายขึ้ น ศีรษะ: เอียงซ้าย หน้า มองออกหน้าเวที

ท่าเงื้อ มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา หงายมื อ ขึ้ น แขนตึ ง มือซ้ายถือจักรระดับ วงล่าง เท้า: ก้าวข้างเท้าซ้าย ศี ร ษะ: ศี ร ษะเอี ย ง ขว าห น้ าม อ งอ อ ก หน้าเวที ท า ห น้ า ห นั ง ช้ า 2 จังหวะ เร็ว 2 จังหวะ


38

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 14

15

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าเงื้อเก็บเท้า มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา หงายมื อ ขึ้ น แขนตึ ง มื อซ้ ายถื อจั กรระดั บ วงล่าง เท้ า: เก็ บเท้ าโดยก้ าว เท้าซ้ายเล็ กน้ อยขยั บ เท้ าขวาตาม ยกขา ด้านขวาขึ้นระดับครึ่ง น่องและแตะจมู กเท้ า ด้านขวาขาทั้งสองข้าง ตึง ศีรษะ: ศีรษะเอียงขวา หน้ามองออกหน้าเวที จากนั้ นกล่ อมหน้ าให้ หมดจังหวะ ท่าเชื่อม มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา พลิกมือขึ้น มือซ้ายถือ จักรคว่ามือลง เท้ า: ถอนเท้ าขวายก เท้ าซ้ าย เล็ ก น้ อ ย จากนั้นให้ก้าวข้างเท้า ขวา ศี รษะ: เอี ยงขวาหน้ า หันมองหน้าเวที


39

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 16

17

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา ระดับวงล่างทิ้งปลาย ลง มื อ ซ้ า ยถื อ จั ก ร คว่ ามื อ ท าสลั บ กั บ ตามจังหวะ เท้า: ก้าวข้างเท้าขวา ศีรษะ: เอียงขวาหน้า หั น ม อ ง ห น้ า เว ที จากนั้ น ให้ ค วงคทา เป็ น วงกลมแล้ ว วาด แ ข น ขึ้ น ล ง ต า ม จั ง ห วะตุ๊ บ ทิ ง ทิ ง ปฏิบัติ 6 จังหวะ มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา พลิ ก มื อ เป็ น วงล่ า ง มือซ้ายถือจักรหงาย เท้า: เก็บเท้าโดยก้าว เท้าซ้ายเล็กน้อยขยับ เท้ า ขวาตาม ยกขา ด้านขวาขึ้นระดับครึ่ง น่องและแตะจมูกเท้า ด้ า นขวาขาทั้ ง สอง ข้างตึง ศีรษะ: เอียงขวาหน้า หันมองหน้าเวที


40

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 18

19

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าย้อนตัวแทงอาวุธ ย้อนตัว มื อ : ง อ แ ข น ซ้ า ย เล็ ก น้ อ ย มื อ ขวาถื อ ค ท า ร ะ ดั บ ว ง บ น จากนั้นแทงมือซ้ายไป ด้านหน้า เท้ า : ถ่ ายน้ าหนั ก ไป ด้านซ้ายเล็ กน้อยและ กลั บไปหนั กหน้ าเท้ า ขวาพร้อมกระดกเสี้ยว เท้าขวาขึ้น ศีรษะ: เอียงขวา หน้า มองออกหน้าเวที ท่าแทงอาวุธ มื อ : ง อ แ ข น ข ว า เล็ ก น้ อ ย มื อ ซ้ าย ปฏิบัติเช่นเดิม จากนั้น แทงมือขวาไปด้านหน้า เท้ า : ถ่ ายน้ าหนั ก ไป ด้ านซ้ ายเล็ กน้ อยและ กลั บไปหนั กหน้ าเท้ า ขวาพร้อมกระดกเสี้ยว เท้าซ้ายขึ้น ศีรษะ: เอียงซ้าย หน้ า มองออกหน้าเวที


41

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 20

21

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าเชื่อมเงื้อ มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา หงายมื อ ขึ้ น แขนตึ ง มือซ้ายถือจักรระดับ วงล่าง เท้า: ก้าวไขว้เท้าซ้าย ประเท้าขวาและก้าว ข้างเท้าขวา ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า หน้ า มองออกห น้ า เวที ท่าขยั่นเท้ารัวกลอง 1 มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา แขนตึงระดับไหล่ มื อ ซ้ายคงเดิม เท้ า: ถอนเท้าขวา ยก เท้าซ้าย ขยั่นเท้าเฉียง ลงไปด้ า นขวา แล้ ว เปลี่ ย นก้ า วไขว้ เท้ า ขวาแล้ วกลั บก้ าวไขว้ เท้าซ้าย ขยั่นเท้า ศีรษะ: เอียงตามเท้าที่ ก้าว


42

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 22

23

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าเชื่อม มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา จีบ คว่าระดั บ อก มื อ ซ้ า ย ถื อ จั ก ร ตั้ งว ง ระดับอก เท้ า: ป ระเท้ าแล้ ว ก้าวข้างเท้าขวา ศีรษะ: เอียงขวา

ท่ า ลงเสี้ ย วหน้ า อั ด (นั่ง) มือ: ม้วนมือขวาออก พาดคทาระดับวงบน มือซ้ายถือจักรจีบ ส่ ง หลั ง วางบนฝ่ า เท้ า ซ้าย เท้า: นั่งกระดกเสี้ยว เท้าซ้าย ศีรษะ: เอียงขวา


43

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 24

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าขึ้น มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา ระดั บ วงบน มื อ ซ้ า ย ถื อ จั ก รพลิ ก มื อ เป็ น ระดั บ วงล่ า ง ตั้ ง เข่ า ขึ้น เท้า: ยกเท้าขวาแล้ ว แตะเท้าขาตึง ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย หน้ า มองออกห น้ า เวที


44

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 25

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าเสือลากหาง 1.มือ: มือขวาถือคทา จีบ ปรกข้างแล้ วม้ว น มือออกเป็นวงบน มือ ซ้ายคงเดิม เท้ า : เท้ า ขวาตะลึ ก ตึ ก โดยตบเท้ า ขวา เต็ ม เท้ า 2 ครั้ ง แล้ ว ยกเท้าซ้าย ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย หน้ า มองออกห น้ า เวที 2. มื อ : มื อ ข วาถื อ คทาตวัดเข้า มือซ้าย คงเดิม เท้ า : ว างเท้ าซ้ า ย เปลี่ยนยกเท้าขวา ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า หน้ า มองออกห น้ า เวที จากนั้ น ย่ าเท้ า หน้ า หนั ง ไปตามจั ง หวะ พ ร้ อ มกั บ ควงคท า ระดับวงบน โดยควง กลับไปด้านหลัง


45

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 26

27

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าเชื่อมควงคทา มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา ระดั บ วงบน มื อ ซ้ า ย ถื อ จั ก รพลิ ก มื อ เป็ น วงล่ าง พ ร้ อ ม ค ว ง คทาเป็นวงกลม เท้า: เท้าทั้งสองซอย อยู่กับที่ ศี รษ ะ: ศี รษ ะต รง หน้ า มองออกห น้ า เวที ท่ากรอกคอ มือ: มือขวาจีบจับคทา ห้ อยลงระดับกึ่งกลาง หน้ าผาก มื อซ้ ายถื อ จักรคงเดิม เท้า: ผสมเท้า ศี รษะ: หน้ าตรง หั น หน้ามองออกหน้าเวที จากนั้นสะดุ้งตัวพร้อม กับกรอกคอไปทางซ้าย แล้วสะดุ้งตัว กรอกคอ ไปทางขวาแล้วทาสลับ ซ้ ายขวา ตามจั งหวะ ตะโพน


46

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 28

29

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าเชื่อม มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา ระดั บวงล่ าง มื อซ้ าย ถื อ จั ก รระดั บ วงล่ า ง ดังเดิม เท้า: ถอนเท้าซ้ายแล้ว ยกเท้ าขวา แล้ วก้ าว ไขว้เท้าขวาพร้อมขยั่น เท้า ศี ร ษะ: หน้ า มองไป ทางซ้าย ท่าขยั่นเท้ารัวกลอง2 มื อ: มื อขวาควงคทา ระดั บวงล่ าง มื อซ้ าย คงเดิม เท้ า: ขยั่ นเท้ าไปทาง ด้านซ้าย ศีรษะ: หน้ามองไปทาง ด้านซ้าย


47

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 30

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าขึ้น มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา ระดั บวงล่ าง มื อซ้ าย ถือจักรคงเดิม เท้ า : ก้ าวเท้ าซ้ ายไป ด้านข้างเล็กน้อย แล้ว ยกเท้าขวาแตะเท้าขา ตึง ศี ร ษะ: หน้ า มองไป ทางด้านซ้าย


48

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 31

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่ าตบเท้ าล้ อจั งหวะ ตะโพน 1.มื อ : ม ื อ ข ว า ถื อ คท าระดั บวงบน มื อ ซ้ายถือจักรแล้วกราย มือออกเป็นตั้งวงหน้า เท้ า: ป ระเท้ าซ้ าย แล้ ว จากนั้ น เหลื่ อ ม เท้าขวา ศี รษะ: เอี ยงซ้ ายแล้ ว กลับเอียงขวา 2.มือ: มื อขวาถือคทา ระดั บ วงบน มื อ ซ้ าย ถื อจั กรแล้ วพลิ กเป็ น ท่าชักแป้งผลัดหน้า เท้ า: เหลื่ อมเท้ าขวา ตบเท้าขวา ศีรษะ: เอียงขวา หน้า มองออกด้านหน้าเวที ระหว่างตบเท้าขวาให้ ค่ อ ย ๆ เลื่ อ นมื อ ไป ทางด้ านซ้ ายจากนั้ น เปลี่ยนเป็นท่าชักแป้ง ผลั ดหน้ าด้ านซ้ าย เหลื่อมเท้าซ้าย


49

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 32

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าแจกไม้ (ขวา) มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา ระดั บ วงล่ า งจากนั้ น เปลี่ ย นมื อ เป็ น วงบั ว บานทิ้งปลายคทาลง มื อ ซ้ า ยถื อ จั ก รม้ ว น มื อ และตั้ งวงแขนตึ ง ระดับไหล่ เท้ า : โขยกเท้ า ซ้ า ย และแตะเท้ า ขวาขา ตึง ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า จังหวะโขยก จากนั้น เปลี่ ยนเป็นเอียงซ้าย หน้ า มองออกห น้ า เวที หั น ไปทางด้ า น ซ้าย


50

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 33

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่ าตบเท้ าล้ อจั งหวะ ตะโพน 1.มื อ: มื อขวาถื อคทา แล้ วกรายออกเป็ นตั้ ง วงหน้า มือซ้ายถือจักร ระดับวงบน เท้า: ประเท้าขวา แล้ว จากนั้นเหลื่อมเท้าซ้าย ศี รษะ: เอี ยงขวาแล้ ว กลับเอียงซ้าย 2.มื อ: มื อขวาถื อคทา ระดับวงหน้าแล้วพลิก เป็นท่าชักแป้งผัดหน้า มือซ้ายถือจักรระดับวง บน เท้ า: เหลื่ อมเท้ าซ้ าย ตบเท้าซ้าย ศีรษะ: เอียงซ้าย หน้า มองออกด้านหน้าเวที ระหว่างตบเท้าซ้ายให้ ค่ อ ย ๆ เลื่ อ นมื อไป ทางด้ านขวาจากนั้ น เปลี่ยนเป็นท่าชักแป้ ง ผัดหน้าด้านขวาเหลื่อม เท้าขวา


51

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 34

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าแจกไม้ (ขวา) มื อ : มื อ ซ้ า ยถื อ จั ก ร ระดั บ วงล่ า งจากนั้ น เปลี่ ย นมื อ เป็ น วงบั ว บานหงายจักรขึ้น มือ ขวาถื อ คทาม้ ว นมื อ แ ล ะ ตั้ งว งแ ข น ตึ ง ระดับไหล่ เท้ า : โขยกเท้ า ขวา และแตะเท้ า ซ้ า ยขา ตึง ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย จังหวะโขยก จากนั้น เปลี่ ยนเป็น เอียงขวา หน้ า มองออกห น้ า เวที หั น ไปทางด้ า นขวา พร้ อ มกล่ อ มหน้ า 3 จังหวะ


52

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 35

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าเลาะ 1) มือ: มือขวาถือคทา ระดั บ วงบน มื อ ซ้ าย ถื อจั กรจี บระดั บชาย พก เท้า: โขยกเท้าขวา ศี รษะ: เอี ยงขวาหน้ า มองมือขวา 2) มือ: เปลี่ยนมือขวา ถื อ คทากรี ด นิ้ ว ข้ า ง ม้ ว นมื อ ซ้ า ยถื อ จั ก ร เป็นวงล่าง เท้า: ยกเท้าซ้าย ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย หน้ า มองออกห น้ า เวที ยื ด -ยุ บ แล้ ว หั น ตัวไปทางด้านซ้าย


53

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 36

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าสอดสวย 1) มือ: มือขวาถือคทา ห ง า ย มื อ แ ข น ง อ ระดับเอว มือซ้ายถือ จั ก รจี บ คว่ าแขนงอ ระดับเอว เท้า: ก้าวข้างเท้าซ้าย ศีรษะ: เอียงซ้าย 2) มือ: เปลี่ยนมือขวา ถื อ คทาเป็ น วงล่ า ง มือซ้ายถือจักรเป็นวง บัวบาน เท้า: ยกเท้าขวา ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า หน้ า มองออกห น้ า เวที


54

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 37

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงกลม

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าผาลาเพียงไหล่ 1.มือ: มือขวาถือคทา ม้ ว นมื อ มื อ ซ้ า ยถื อ จักรระดับวงกลาง เท้ า : ย ก ข า ข ว า ดังเดิม ศีรษะ: เอียงขวา 2.มือ: ม้วนมือขวาถือ คทาออกเป็ น วงบน พลิ ก มื อ ซ้ า ยถื อ จั ก ร เป็ น หงายมื อแขนงอ ระดับเอว เท้า: ก้าวข้างเท้าขวา ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย มองวงบน ยื ด -ยุ บ หมุ น ตั ว ไป ทางด้านขวา


55

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 38

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงเชิด

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าเชิด มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา คงเดิ ม มื อ ซ้ า ยถื อ จักรเปลี่ยนเป็นตั้งวง แขนตึง ระดับไหล่ เท้ า: ป ระเท้ าซ้ า ย ยกขึ้น แล้วก้าวข้าง ศีรษะ: เอียงขวา จากนั้ น ย้ อ นตั ว แล้ ว ผสมเท้า


56

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 39

40

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงเชิด

เพลงเชิด

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าชักแป้งผัดหน้า มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา วงบน มือซ้ายถือจักร ระดับวงหน้า เท้ า: ถอนเท้ าขวา แล้วก้าวข้างเท้าซ้าย ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย แล้วกลับมาเอียงขวา หน้ า มองออกห น้ า เวที ยืด-ยุบ วิ่งวนไป ทางซ้าย ท่าสอดเชิด มือ: มือขวาถือคทา มือซ้ายถือจักร เท้า: วิ่งวนไป ทางด้านซ้าย ศี ร ษะ: เอี ย งตามมื อ จีบ


57

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 41

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงเชิด

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าชักแป้งผัดหน้า ศี ร ษะ: เอี ย งตามมื อ ที่ตั้งวง มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา ระดั บ วงห น้ า มื อ ซ้ ายถื อ จั ก รระดั บ วง บน เท้ า : วิ่ ง ซอยเท้ า มา ตรง กลางเวที


58

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 42

43

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงเชิด

เพลงเชิด

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าราร่าย ศี ร ษะ: เอีย งด้ านมื อ ที่ ก รายแล้ ว กลั บ มา เอียงมือวง มื อ : ก ราย มื อ ซ้ าย คลายออกมือขวาอยู่ ระดับวงบน เท้า: ก้าวข้างเท้าซ้าย แล้วเลื่อมเท้าขวา

ท่าควงคทา ศี ร ษะ: เอี ย งมองมื อ สูง มื อ : มื อ ข ว า ค ว ง กระบองระดับ วงบน มือซ้าย จีบส่งหลัง เท้า: ก้าวไขว้เท้าขวา และวางส้ น ด้ ว ยเท้ า ซ้ า ย ร ะ ห ว่ า ง ค ว ง ศีรษะเอียงข้างมือสู ง ควงเสร็จ


59

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 44

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงเชิด

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าผาลาเพียงไหล่ 1.มือ: มือขวาถือคทา จี บ ปรกข้ าง มื อ ซ้ า ย ถือจักรระดับวงกลาง เท้า: ยกขาขวาดังเดิม ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า หน้ า มองออกห น้ า เวที 2.มือ: ม้วนมือขวาถือ คทาออกเป็ น วงบน พลิ ก มื อ ซ้ า ยถื อ จั ก ร เป็ น หงายมื อแขนงอ ระดับเอว เท้า: ก้าวข้างเท้าขวา ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย มองวงบน ห มุ น ตั ว ไ ป ท า ง ด้านขวา


60

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 45

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงเชิด

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าป้องหน้า 1.มือ: มือขวาถือคทา ห ง า ย มื อ แ ข น ง อ ระดับเอว มือซ้ายถือ จักรป้องหน้า เท้า: กระดกเท้าซ้าย ศีรษะ: เอียงขวามอง ลอดใต้มือป้อง

46

เพลงเชิด

ท่าพัก มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา ระดั บ วงบน มื อ ซ้ า ย ถือจักรระดับวงล่าง เท้า : แตะเท้ าขวาขา ตึง ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า หน้ามองไปหน้าเวที

47

เพลงเชิด

เก็ บ อาวุ ธ ยืน ท่ า ตั ว พระ มือ: มือซ้ายวางระดับ หน้ า ขา มื อ ขวาเท้ า สะเอว เท้า: แตะเท้ าซ้ายขา ตึง ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า หน้ามองไปหน้าเวที


61

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 48

49

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เมื่อนั้น

องค์พระ

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา มือ: กรายมือทั้งสอง ออก แล้ววางไว้ระดับ เดิม เท้ า: ก้ า วห น้ า เท้ า ขวา และเหลื่ อมเท้ า ซ้าย ศีรษะ: เอียงตรงข้าม เท้าหน้า หน้ามองไป หน้าเวที ปฏิบัติ 2 ครั้ง

มือ: มือทั้งสองจีบล่อ แก้วระดับชายพก เท้ า: ก้ า วห น้ า เท้ า ขวา ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า หน้ามองไปหน้าเวที


62

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 50

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง นารายณ์

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา มื อ : มื อ ทั้ ง สองเป็ น จี บ ล่ อ แก้ ว แขน งอ ระดับเอว เท้ า : ยกเท้ า ซ้ า ยขึ้ น ไปข้างหน้าเล็กน้อย ศี ร ษะ: ตั้ งตรง หน้ า มองไปหน้าเวที

51

เป็น

มื อ : มื อ ทั้ ง สองเป็ น จีบล่อแก้ว แทงออก เท้า: ก้าวข้างเท้าซ้าย ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย หน้ามองไปหน้าเวที

52

ใหญ่

มื อ : มื อ ทั้ ง สองเป็ น จี บ ล่ อ แก้ ว มื อ ขวา ระดั บ วงบน มื อ ซ้ า ย ระดับวงกลาง เท้ า : ยกเท้ า ขวาขึ้ น ยื่ น ไ ป ข้ า ง ห น้ า เล็กน้อย ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า หน้ามองไปหน้าเวที


63

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 53

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง มาถึงเชิง

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา มื อ : มื อ ขวาจี บ คว่ า ระดั บ อก มื อ ซ้ ายตั้ ง วงระดับอก เท้า: ก้าวเท้าหน้าเท้า ขวา เท้ าซ้ายเปิ ด ส้ น เท้า ศีรษะ: เอียงซ้ายหน้า มองออกหน้าเวที

54

บรรพต

มือ: มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายจีบส่งหลัง เท้า: ก้าวข้างเท้าซ้าย ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย หน้ามองไปหน้าเวที

55

ด้วยทันใด

มือ: มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายจีบส่งหลัง เท้ า: จมู ก เท้ าซ้ า ย แตะ ขาตึงทั้งสองข้าง ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย หน้ามองไปหน้าเวที


64

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 56

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง ทรงร่ายเวท

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา มื อ : มื อ ทั้ ง สองข้ า ง จีบคว่าระดับอก เท้า: ก้าวข้างเท้าซ้าย หนักเท้าซ้าย ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า หน้ามองไปหน้าเวที

57

แปลงไป

ท่าแปลงกาย มื อ : มื อ ทั้ ง สองข้ า ง จีบคว่าระดับอก เท้า: ก้าวข้างเท้าขวา หนักเท้าขวา ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย หน้ามองไปหน้าเวที

58

ด้วยฤทธี

ท่าแผลงฤทธิ์ มื อ : มื อขวาตั้ งวงบั ว บาน มื อ ซ้ า ยวางวง ล่างบนหน้าขา เท้า: ยกเท้าซ้าย ศี ร ษ ะ : ตั้ ง ต ร ง หน้ามองไปหน้าเวที


65

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 59

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงตระนิมิต

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่ า ตระนิ มิ ต ท่ า ที่ 1 (ขวา) 1.มือ: มือขวาถือคทา ห งาย มื อ ทิ้ งป ล าย คทาลง มื อ ซ้ า ยถื อ จักรหงายมือ เท้า: ประเท้าขวา ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า หน้ามองไปหน้าเวที 2.มือ: มือขวาถือคทา ไขว้ ร ะดั บ อกโดยมื อ ขวาอยู่บน มือซ้ายถือ จักรไขว้ระดับอกโดย มือซ้ายอยู่ล่าง เท้า: ก้าวข้างขวา ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย ห น้ า ม อ ง ไ ป ท า ง ด้านขวา ย้อนตัว 2 จังหวะ


66

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 60

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงตระนิมิต

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่ า ตระนิ มิ ต ท่ า ที่ 1 (ซ้าย) 1) มือ: มือขวาถือคทา หงายมือทิ้งปลายคทา ลง มื อซ้ ายถื อจั กร หงายมือ เท้า: ประเท้าซ้าย ศีรษะ: เอียงซ้าย หน้า มองไปหน้าเวที 2.มื อ: มื อขวาถื อคทา ไขว้ ระดั บ อกโดยมื อ ขวาอยู่ล่าง มือซ้ายถือ จั กรไขว้ ระดั บอกโดย มือซ้ายอยู่บน เท้า: ก้าวข้างซ้าย ศีรษะ: เอียงขวา หน้า มองไปทางด้านซ้าย ย้อนตัว 2 จังหวะ


67

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 61

62

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงตระนิมิต

เพลงตระนิมิต

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่ า ตระนิ มิ ต ท่ า ที่ 2 (ขวา) มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา ระดั บวงบน มื อซ้ าย ถือจักรวางไว้หน้าขา เท้ า: ยกเท้ าซ้ ายส่ งไป ด้ านห น้ าเล็ กน้ อย ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า แล้วกลับเอียงซ้าย สะดุ้ ง ตั ว ตามจั งหวะ 2 จั ง หวะ แล้ ว หมุ น ตั ว ไปทางด้ า นซ้ า ย โดยวนหลัง ท่ า ตระนิ มิ ต ท่ า ที่ 2 (ซ้าย) มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา วางไว้หน้าขา มือซ้าย ถือจักรระดับวงบน เท้า: ยกเท้าขวาส่งไป ด้านหน้าเล็กน้อย ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย แล้วกลับเอียงขวา สะดุ้ ง ตั ว ตามจั งหวะ 2 จังหวะ แล้ ว หั นไป ด้านขวา


68

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 63

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงตระนิมิต

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าเชื่อม มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา หงายมื อ ระดั บ เอว มื อ ซ้ า ยถื อ จั ก รจี บ คว่าแขนงอระดับเอว เท้า: ยกเท้าซ้าย ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย หน้าหันมองหน้าเวที


69

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 64

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงตระนิมิต

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่ า ตระนิ มิ ต ท่ า ที่ 3 (ขวา) มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา ระดั บ ไห ล่ แ ข น ตึ ง มือ ซ้ ายถือ จั กรวงบั ว บาน เท้า: ก้าวข้างเท้าซ้าย ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า แล้วกลับเอียงซ้าย ย้อนตัวตามจังหวะ 2 จั ง หวะ ในระหว่ า ง ย้อนให้ ลดมื อซ้ายลง มาเป็ น ระดั บ วงหน้ า แล้วกลับไปเป็นวงบัว บานดั ง เดิ ม จากนั้ น หันไปด้านซ้าย


70

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 65

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงตระนิมิต

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าเชื่อม มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา จีบคว่าแขนงอระดับ เอว มื อ ซ้ า ยถื อ จั ก ร หงายมือแขนแขนงอ ระดับเอว เท้า: ประเท้าขวา ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า หน้าหันมองหน้าเวที


71

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 66

67

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงตระนิมิต

เพลงตระนิมิต

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่ า ตระนิ มิ ต ท่ า ที่ 3 (ซ้าย) มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา วงบัวบาน มือซ้ายถือ จักรระดับไหล่แขนตึง เท้า: ก้าวข้างเท้าขวา ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย แล้วกลับเอียงขวา ย้อนตัวตามจังหวะ 2 จั ง หวะ ในระหว่ า ง ย้อนให้ ล ดมื อขวาลง มาเป็ น ระดั บ วงหน้ า แล้วกลับไปเป็นวงบัว บานดั ง เดิ ม จากนั้ น หันไปด้านหน้า

ท่าเชื่อม มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา มือซ้ายถือจักร มือทั้ง สองจีบระดับอก เท้า: ประเท้าซ้าย ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย ห น้ า ม อ ง ไ ป ท า ง ด้านซ้าย


72

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 68

69

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงตระนิมิต

เพลงตระนิมิต

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่ากรบน มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา ระดั บ วงกลาง มื อ ซ้ ายถื อ จั ก รระดั บ วง กลาง เท้ า: ป ระเท้ าซ้ า ย แล้วก้างข้างเท้าซ้าย ศีรษะ: เอียงขวา มอง ไปทางด้านซ้าย ย้อนตัวตามจังหวะ 2 จังหวะ

ท่าเชื่อม มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา มือซ้ายถือจักร มือทั้ง สองจีบคว่าระดับเอว เท้า: ประเท้าขวา ศี ร ษะ: ตั้ ง ตรง มอง ไปด้านหน้า


73

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 70

71

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงตระนิมิต

เพลงรัว

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่ากรล่าง มือ: มือขวาถือคทา มือซ้ายถือจักร มือทั้ง สองหงายมื อ แขนงอ ระดับเอว เท้า: ก้าวข้างเท้าขวา ศีรษะ: เอียงซ้าย มอง ไปทางด้านขวาย้อนตัว ตามจั งหวะ 2 จังหวะ กดไหล่ขวาและค่อย ๆ หันตัวไปด้านขวา

ท่าแปลง มือ: มือขวาควงคทา ระดั บ วงบน มื อ ซ้ า ย ถือจักรระดับวงล่าง เท้า: ก้าวไขว้เท้าซ้าย ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย หน้ า มองไปหน้ า เวที ทิง้ หน้า และค่ อ ย ๆ หมุ น ตั ว ไปด้านซ้าย


74

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 72

73

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงรัว

เพลงรัว

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา ท่าร่ายเวทถืออาวุธ มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา มือซ้ายถือจักร มือทั้ง ตั้งวงระดับอก เท้า: ก้าวข้างเท้าซ้าย หนักเท้าซ้าย ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ข ว า หน้ามองไปหน้าเวที

ท่ า แ ป ล ง ก า ย ถื อ อาวุธ มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา มือซ้ายถือจักร มือทั้ง สองข้างจีบคว่าระดับ อก เท้า: ก้าวข้างเท้าขวา หนักเท้าขวา ศี ร ษ ะ : เอี ย ง ซ้ า ย หน้ามองไปหน้าเวที


75

ตาราง 5 (ต่อ) ท่าที่ 74

75

ภาพ

เนื้อร้อง / ทานอง เพลงรัว

เพลงรัว

การใช้พื้นที่

คาอธิบายท่ารา วิ่งกรายมือแปลงกาย มื อ : มื อ ขวาถื อ คทา ระดับชายพก มือซ้าย ถื อ จั ก ร ห งา ย มื อ แขนงอระดับเอว เท้ า: ก้ า วห น้ า เท้ า ขวา และยกเท้าซ้าย ไปด้านหน้า ศีรษะ: เอียงขวาและ กลั บ มาตั้ ง ตรง หน้ า มองไปหน้าเวที ท่าสอดสร้อยมาลา 1.มือ: มือขวาถือคทา ระดับชายพก มือซ้าย ถือ จักรวงบน เท้า: ก้าวข้างเท้าขวา ศีรษะ: เอียงขวา และวิ่งเข้าเวทีฝั่งขวา เนื่ อ งจาก เป็ น การ แปลงกายจึงต้องเข้า เวทีฝั่งขวาเพื่อให้นาง น า ร า ย ณ์ วิ่ ง ส ว น ออกมา


76

กลวิธีในการรา ราเดี่ ย วมาตรฐานชุ ด กลมนารายณ์ ซึ่ งได้รับ การถ่ายทอดท่ าราจากอาจารย์ ส มรัต น์ ทองแท้ มีกลวิธีการราที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะคือการใช้หน้าหนัง ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กับหน้าทับ ไม้กลองและ ทานองเพลงเป็นอย่างดี การแสดงชุดนี้ต้องใช้ความสามารถของผู้แสดงสูงนอกจากนั้นเป็นการราอวดฝีมือ ตลอดจนเป็นการใช้อาวุธประกอบการแสดงในคราวเดียวกันอีกด้วย ซึ่งต้องหมั่นฝึกซ้อมให้ชานาญหากเป็น การราด้วยแผ่น บันทึกเสี ยงจะต้องบริหารท่าราให้ ตรงกับจังหวะให้พอดี ซึ่งผู้ศึกษาได้รับกลวิธีจากการ ถ่ายทอดท่าราจากอาจารย์สมรัตน์ ทองแท้ มีกระบวนท่าราแบ่งออกเป็น 3 ช่วงตามลักษณะของเพลงที่ใช้ ประกอบการร่ายราดังนี้ ช่วงที่ 1 เพลงกลม ท่าเก็บเท้า ต้องให้ตรงจังหวะและยกขาให้ระดับครึ่งน่อง ท่าขยั่นเท้ารัวกลอง ให้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดเพื่อให้เกิดความนุ่มนวล การใช้หน้าหนัง ให้ปฏิบัติอย่างนุ่มนวลและให้จังหวะชัดเจน ช่วงที่ 2 ร้องเพลงเหาะ การราจะต้องสมมุติบทบาทการแสดงเป็นพระนารายณ์ที่มีความสง่า การกดไหล่ต้องให้สัมพันธ์กับการก้าวเท้า หมุนตัวไปด้านข้าง ช่วงที่ 3 เพลงตระนิมิต การย้อนตัวจะต้องใช้จังหวะที่ชัดเจน แต่มีความสง่างามและนุ่มนวล การใช้สายตาจะต้องมองไปไกลให้สายตาเป็นผู้ที่มองเห็นทุกอย่างอย่างกว้างไกล จากการศึกษาการราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ ทาให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของการ แสดงร าเดี่ ย วมาตรฐานชุ ด กลมนารายณ์ อยู่ ใ นโขนเรื่ อ ง รามเกี ย รติ์ ตอน นารายณ์ ป ราบนนทุ ก องค์ป ระกอบของการแสดงชุดนี้ คือ ดนตรีที่ ใช้ว งปี่ พาทย์ไม้ แข็ง มาบรรเลงด้วยเพลงกลม เพลงเหาะ เพลงตระนิ มิต เข้าเพลงรัว เครื่องแต่งกายประกอบไปด้วยการแต่งกายยืนเครื่องตัวพระแขนยาวสี ม่วง ขลิ บ เหลื อง ศีร ษะสวมมงกุฎ ยอดชัยพร้อมอุบ ะและดอกไม้ทั ด แต่งหน้าแบบยืน เครื่องละคร อุปกรณ์ ประกอบการแสดง 3 อย่าง ได้แก่ คทา ตรี และจักร โดยมือขวาถือ คทา มือซ้ายถือจักรและเหน็บตรีไว้ที่ ด้านขวาตรงเข็มขัดซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สาคัญอย่างยิ่ง รวมถึงกลวิธีในการราที่ได้รับการถ่ายทอด จากอาจารย์ ส มรัตน์ ทองแท้ ทาให้ ผู้ ศึกษาสามารถแสดงราเดี่ยวมาตรฐาน ชุด กลมนารายณ์ ได้อย่าง สมบูรณ์ตามหลักและแบบแผนของนาฏศิลป์ไทย


77

บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ การแสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ เป็นการราอวดฝีมือตามแบบฉบับของโขนที่มีการ สืบทอดมาอย่างยาวนานจากรุ่นสู่รุ่นควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้อยู่คู่กับวัฒนธรรมไทยให้สืบไป จากการศึกษา สรุปได้ดังต่อไปนี้ บทสรุป รากลมนารายณ์ เป็นการราประกอบเพลงหน้าพาทย์เพลงกลมของตัวละคร “พระนารายณ์” ซึ่ง เพลงกลมนารายณ์ เป็นเพลงกลมที่ใช้กับตัวละครพระนารายณ์ ซึ่งหน้าพาทย์เพลงกลมใช้ ประกอบกิริยา การเดินทางสาหรับตัวละครที่เป็นเทพเจ้า เทวดา ผู้มีอิทธิฤทธิ์และผู้สูงศักดิ์ มีการใช้การราชุดนี้ในการ แสดงหลากหลายตอนแต่ส่วนใหญ่นิยมเล่นในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทุก กระบวนท่าราที่ใช้ในการแสดงส่วนใหญ่จะใช้กระบวนท่าราที่เรียกว่า “การใช้หน้าหนัง” ต้องมี ความสัมพันธ์กับหน้าทับ ไม้กลองและทานองเพลงเป็นอย่างดี การแสดงชุดนี้ต้องใช้ความสามารถของ ผู้แสดงสูงนอกจากนั้นยังเป็นการราอวดฝีมือ ตลอดจนเป็นการใช้อาวุธประกอบการแสดงในคราวเดียวกัน อีกด้วย เครื่ อ งแต่ งกายร าเดี่ ย วมาตรฐานชุ ด กลมนารายณ์ เป็ น การแต่ งกายยื น พระแขนยาวสี ม่ ว ง ขลิบเหลือง สวมชฎายอดชัย การแต่งหน้าราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ เป็น แต่งหน้าแบบละคร โดยให้คิ้ว ตา ปากและ แก้มเด่นชัด อุปกรณ์ประกอบการแสดงได้แก่ คทา ตรี และจักรซึ่งเป็นอาวุธประจาตัวของพระนารายณ์ ฉากประกอบการแสดงจะจาลองฉากบนท้องฟ้าซึ่งฉากจะจัดทาเป็นท้องฟ้าเพื่อให้เกิดความสมจริง ในการแสดง ทั้งนี้การแสดงราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ สามารถมีฉากหรือไม่มีฉากก็ได้ซึ่งอยู่ตาม ความเหมาะสมของการแสดงนั้น ๆ เพลงและดนตรีป ระกอบการแสดงใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็งบรรเลงเพลงกลม เพลงเชิด เพลงเหาะ เพลงตระนิมิต และเพลงรัว กลวิธีการราเดี่ ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ ในฉบับ ของอาจารย์ส มรัต น์ ทองแท้ ประกอบ ไปด้วยการฝึกปฏิบัติในการใช้หน้าหนังในเพลงกลม เพื่อให้ได้ความสง่างามและความนุ่มนวลของท่ารา และการใช้เท้า การเก็บเท้า และยกเท้าต้องมีความสง่าเพื่อให้เกิดการทรงตัวให้งดงามมีความสอดคล้องกับ จังหวะ ความกลมกลืนความต่อเนื่องของท่ารารวมถึงการถ่ายทอดอารมณ์ตามบุคลิกของตัวละครให้เข้ากับ จังหวะเพลง การใช้พื้นที่ให้เข้ากับลีลาท่ารา การกดหน้าทับขา การก้าวเท้าให้ถูกลักษณะของการก้าวหน้า ก้าวข้าง ประเท้า เก็บเท้า การกล่อมหน้า ยักตัว ให้ถูกต้องตามหลักนาฏศิลป์ไทย


78

ข้อเสนอแนะ 1. ผู้ที่สนใจจะศึกษาการราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ ควรมีการฝึกกาลังขาและการใช้หน้า หนังให้เกิดความชานาญ 2. ควรทาความเข้าใจกับจังหวะของเพลงกลม โดยเฉพาะหน้าทับ ไม้กลอง เพื่อให้เกิดความง่าย ต่อการแบ่งจังหวะในการรา 3. ในกรณีใช้แผ่นบันทึกเสียงควรฝึกซ้อมสม่าเสมอเพื่อให้ท่าราและจังหวะของเพลงสอดคล้องกัน 4. ควรศึกษากลวิธีการราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ ในรูปแบบของอาจารย์ท่านอื่น ๆ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่


79

บรรณานุกรม


80

บรรณานุกรม กรมศิลปากร. (2530). หนังสือเครื่องดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ. ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2542). สารานุกรมเพลงไทย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์. ทรงวิทย์ แก้วศรี. (2533). ดนตรีไทย โครงสร้าง อภิธานศัพท์ และสาระสังเขป. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์ การพิมพ์. ประภาศรี ศรีประดิษฐ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. (2548). เอกสารประกอบการสอน 202213 นาฏศิลป์ ไทยตัวพระ 3. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน. (2548). โครงการปริญญานิพนธ์ การสอบราเดี่ยวมาตรฐานทางด้านนาฏศิลป์ ไทย ชุด กลมนารายณ์. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. สุมิตร เทพวงษ์. (2548). นาฏศิลป์ไทย : นาฏศิลป์ไทยสาหรับประถมและมัธยม. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. สุรพล วิรุฬรักษ์. (2549). นาฏยศิลป์รัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


81

ภาคผนวก


82

เข้าพบอาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่าราครั้งแรก วันที่ 20-23 มิถุนายน 2561

บันทึกภาพกับอาจารย์ที่ปรึกษา


83

บันทึกภาพรวมกับเพื่อนนาฏศิลป์ไทยรุ่นที่ 16 มหาวิทยาลัยนเรศวร

บันทึกภาพรวมกับเพื่อนนาฏศิลป์ไทยรุ่นที่ 16 มหาวิทยาลัยนเรศวร


84

บันทึกภาพรวมกับเพื่อนนาฏศิลป์ไทยรุ่นที่ 16 มหาวิทยาลัยนเรศวร (วันจริง)

บันทึกภาพร่วมกับครอบครัว


85

ไวนิลหน้างาน

โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์


86

ชฎายอดชัยพร้อมอุบะและดอกไม้ทัด

ฉลององค์แขนยาวสีม่วง พร้อมอินทรธนูสีเหลือง


87

สนับเพลาสีม่วง หรือกางเกง

ภูษา หรือผ้ายกสีม่วง


88

ห้อยหน้าสีม่วงขลิบเหลือง

ห้อยข้าง


89

รัดสะเอวสีม่วงขลิบเหลือง

กรองคอสีเหลือง


90

ทับทรวง

สังวาล พร้อมตาบทิศ


91

ปะวะหล่า

แหวนรอบข้อมือ


92

ทองกร หรือกาไลแผง

เข็มขัด


93

กาไลข้อเท้า

แหวนรอบข้อเท้า


94

ภาพการสอบราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ (วันจริง)

ภาพการสอบราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์ (วันจริง)


95

ภาพการซ้อมใหญ่ราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์

ภาพการซ้อมใหญ่ราเดี่ยวมาตรฐานชุด กลมนารายณ์


96

ภาพสวมชฎา โดย ช่างแต่งหน้า

บันทึกภาพร่วมกับท่านคณะกรรมการและแขกผู้มีเกียรติ


ประวัติผู้วิจัย


ประวัติผู้วิจัย ชื่อ – ชื่อสกุล วัน เดือน ปี เกิด ที่อยู่ปัจจุบัน ประวัติการศึกษา

เอกลักษณ์ กลิ่นทอง 16 สิงหาคม 2539 99/11 หมู่ 9 ตาบลท่าโพธิ์ อาเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 ปัจจุบันกาลังศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.