Scoop
THE
MASTER
LUTHIERS OF
CREMONA เรื่อง รัชชา-ภาวันต์ ภาพ S.Guy
เป็นที่ร�่ำลือกันว่า ไวโอลินเก่าแก่ที่ดีและโด่งดังที่สุด มีอายุ เกือบ 300 ปี นั่นคือไวโอลินที่ชื่อ เลอ เมสซี่ (Le Messie) อัน เป็นผลงานการประดิษฐ์ของ อันโตนิโอ สตราดิวารี ช่างท�ำ ไวโอลินชื่อก้องชาวอิตาเลียน กระทั่งปัจจุบัน เมืองแห่งนัก ท�ำไวโอลินที่มีชื่อเสียงที่สุด จึงจะเป็นที่ใดไปไม่ได้ นอกจาก เมืองเครโมนา สาธารณรัฐอิตาลี เพราะที่นี่ คือที่ซึ่งลูทิเย่ร์ หรือช่างผลิตเครื่องดนตรีประเภทสายคนดังกล่าว ได้สร้าง รากฐานไว้ให้ลกู หลานสืบสานต่อ จนกลายเป็นทีย่ อมรับ และ โด่งดังไกลทั่วโลก
00186
รากฐานที่ว่าคือการสร้างความโดดเด่น ด้วยรูปทรงพิสุทธิ์อันมีเสน่ห์ ความประณีต บรรจงในการประกอบแผ่นไม้หลายชิ้นเข้า กับเส้นสายของไวโอลินแต่ละตัวอย่างซับซ้อน และทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือเสียงทีห่ วานละมุนจับใจ อันเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ซึง่ ด้วยความ งดงามที่ ป รากฏกั บ ทั้ ง รู ป ลั ก ษณ์ แ ละเสี ย ง เช่นนี้ เมืองเครโมนา จึงถูกขนานนามให้เป็น เมืองไวโอลิน และเป็นต้นก�ำเนิดของศาสตร์ ชั้นสูงแห่งการสร้างไวโอลินอย่างแท้จริง แม้เครื่องจักรอุตสาหกรรมจะเข้ามามี บทบาทในการสร้างเครื่องดนตรีในโลกยุค ปัจจุบัน แต่ทุกวันนี้ชาวเครโมนาส่วนใหญ่ก็ ยังยึดธรรมเนียมการสร้างไวโอลินด้วยสอง มือตามแบบโบราณ ด้วยเห็นว่าการสรรค์สร้างไวโอลินนัน้ ไม่ใช่แค่เรือ่ งอาชีพ เศรษฐกิจ และเม็ดเงินเท่านั้น หากแต่เปรียบได้ดั่งจิต วิญญาณแห่งงานศิลปะ ดังเห็นได้จากระบบ ที่รู้กันทั้งเมืองว่าสามารถน�ำไวโอลินเก่าไป ขายคืนช่างผูส้ ร้างได้ ซึง่ มักได้ราคาดีกว่าเดิม เพราะถูกมองเป็นผลงานชิน้ มาสเตอร์พซี ทีย่ งิ่ เก่าก็ยิ่งมีคุณค่านั่นเอง เครโมนาในปัจจุบัน ยังคงเต็มไปด้วย ร้านรวงขายไวโอลินคุณภาพดี โรงเรียนสอน ท�ำไวโอลินชั้นสูง รวมถึงเวิร์กช็อปของช่าง ยอดฝี มื อ มากมาย อี ก ทั้ ง กลิ่ น อายของน�้ ำ มันวาร์นิชที่ใช้เคลือบไวโอลิน รวมถึงเสียง ดนตรีอนั เกิดจากการสีคนั ชักเข้ากับสายทีถ่ กู กดโน้ตแต่ละตัวนั้น ก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้มาเยือน สามารถสัมผัสได้ทุกหัวมุมถนน แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย หากเราจะเล่า ถึงความน่าสนใจของเมืองไวโอลินแห่งนี้ ให้ครบถ้วนบนพื้นที่หน้ากระดาษเพียง สั้นๆ แต่เรื่องราวของ 3 นักสร้างไวโอลิน ชัน้ ครูทลี่ ปิ ส์กำ� ลังจะพาไปรูจ้ กั ในหน้าถัด ไป ก็คงเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้ลิปสเตอร์ สัมผัสถึงความน่าหลงใหลของต�ำนานอัน เก่าแก่ได้ ไม่มากก็น้อย
0187
ฟรันเชสโก บิสโซลอตติ ในแวดวงของผูท้ เี่ กีย่ วข้องกับไวโอลิน ทัง้ นัก เล่นและนักสร้าง Francesco Bissolotti ได้รบั การขนานนามว่าเป็นพ่อมดแห่งวงการ ด้วย มีผลงานเข้าขัน้ แถวหน้าของโลก และแม้ใน วัยที่ก้าวผ่านปีที่ 85 ของชีวิตมาแล้ว ชาย ชราระดับต�ำนานก็ยงั ไม่เคยหยุดทดลองหา วิธใี หม่ๆ เพือ่ สร้างสรรค์ไวโอลินทีด่ ที สี่ ดุ ซึง่ สิง่ นี้ ได้กลายเป็นปรัชญาหลักในการท�ำงาน แบบร่วมสมัยของเขา ที่ไม่เหมือนใคร และ คงไม่อาจหาใครท�ำได้เหมือน ย้อนกลับไปในวันวาน การที่ได้คลุกคลี กั บ ลุ ง ผู ้ เ ป็ น ช่ า งท� ำ เฟอร์ นิ เ จอร์ ม าตั้ ง แต่ เ ด็ ก บิสโซลอตติจึงเติบโตมาพร้อมกับรายละเอียด ของงานไม้ งานออกแบบ รวมถึงงานแกะสลัก โดยหลังจากที่พบรักกับเสียงไวโอลินในวัยแตก เนื้อหนุ่ม เขาก็ได้เขยิบเข้าใกล้เส้นทางของสาย อาชีพในปัจจุบนั มากขึน้ เรือ่ ยๆ จากเพียงผูส้ นใจ กลายเป็นผู้เล่น กลายเป็นนักเรียนของโรงเรียน สอนท�ำไวโอลิน จนกลายเป็นช่างท�ำไวโอลินใน ที่สุด และแม้ว่าขณะนั้น (ช่วงปี 1950s) เครโมนาจะก�ำลังตกอยู่ในยุคที่อาชีพช่างท�ำไวโอลิน เงียบเหงา จนบิสโซลอตติต้องหาวิธีเอาตัวรอด เฉพาะหน้าด้วยการท�ำงานเป็นช่างแกะสลักไม้ ทั่วไป แต่ด้วยมีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะ เป็นนักสร้างไวโอลินอย่างแท้จริง เขาจึงไม่เคย ละทิ้งความฝัน และหมั่นสั่งสมประสบการณ์ไว้ เป็นต้นทุนให้กับตัวเองอยู่เสมอ กระทั่ ง ถึ ง ยุ ค ที่ แ วดวงนั ก ท� ำ ไวโอลิ น ใน เครโมนาเริ่มฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง (ช่วงปี 1970s) นั่นคือช่วงเวลาส�ำคัญที่เปิดโอกาสให้บิสโซลอตติได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ซึ่งสิ่ง ที่ท�ำให้ผลงานของเขาแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด จากนักสร้างไวโอลินรุ่นเดียวกัน คือ ความสด ใหม่ และการผสมผสานระหว่างวิถีดั้งเดิมกับ วิวัฒนาการเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว บิสโซลอตติเป็นช่างท�ำไวโอลินประเภทนัก ทดลองที่มักมองหาความผิดพลาดจากระเบียบ การท�ำไวโอลินแบบเก่า แล้วพัฒนาให้กลาย เป็นไวโอลินตัวใหม่ที่สมบูรณ์แบบอยู่เสมอ จน เกิดเสียงกล่าวชมว่า เครื่องดนตรีของเขานั้นใช้ บรรเลงแสนง่าย ให้เสียงหวานกังวานใส และ เปล่งได้ทงั้ คียส์ งู หรือต�ำ่ โดยทีไ่ ม่มโี น้ตใดผิดเพีย้ น ทั้งนี้ ด้วยทักษะด้านช่างไม้ที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ไวโอลินโดยฝีมือของบิสโซลอตติจึงมีรูปลักษณ์ ทีส่ ง่างามมาก ราวกับว่าเขาได้ท�ำให้เครือ่ งดนตรี ชิ้นหนึ่งกลายเป็นผลงานศิลปะชิ้นเอกอีกด้วย ในการท�ำไวโอลินแต่ละตัว บิสโซลอตติจะ 00188
พิถีพิถันในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการเลือกเนื้อ ไม้ ทีเ่ ขาจะมีแหล่งไม้หายากเก็บไว้เป็นคลังของ ตัวเอง อีกทัง้ น�ำ้ มันวาร์นชิ ส�ำหรับเคลือบไวโอลิน ก็ยังเป็นไปตามแบบฉบับของบิสโซลอตติ อัน เกิ ด จากการผสมสมุ น ไพรและวั ต ถุ ดิ บ หลาก หลายชนิด ซึ่งจะไม่เคยถูกน�ำมาใช้เพื่อท�ำสีของ ไวโอลินตัวใหม่ให้ดูเหมือนไวโอลินเก่า เช่นช่าง คนอื่นๆ ที่อาจท�ำไปเพราะอยากสร้างความขลัง เพราะบิสโซลอตติอยากโชว์เนื้อไม้นั่นเอง หากใครได้มีโอกาสไปเยือนเวิร์กช็อปของ บิสโซลอตติทเี่ มืองเครโมนา ก็จะรูส้ กึ ได้เลยว่าอีก บทบาทหนึง่ ของนักสร้างไวโอลินผูน้ กี้ ค็ อื ช่างไม้ที่ มีสุนทรียะแสนวิจิตร เพราะตั้งแต่บานประตูไม้ รูปทรงไวโอลินที่ถูกแกะสลักให้เป็นสรีระสุดเย้า ยวนของสตรี ตามมุมมองของเขาที่คิดว่าความ งดงามของไวโอลินนั้นน่าหลงใหลเช่นเดียวกับ เสน่หข์ องเพศหญิง เรือ่ ยไปถึงการตกแต่งภายใน ทีแ่ สดงความร่วมสมัยด้วยองค์ประกอบต่างๆ ซึง่ ถูกอ้างอิงจากไวโอลิน ก็ล้วนเป็นหลักฐานแสดง ถึงคุณสมบัตินี้ได้อย่างชัดเจน ดั ง ปั จ จั ย ทั้ ง หมดทั้ ง มวล บิ ส โซลอตติ จึ ง กลายเป็นช่างท�ำไวโอลินที่โด่งดัง และมีผลงาน เป็นที่หมายปองของบรรดานักเล่นไวโอลินตัวยง และนักสะสม โดยถึงแม้ว่าเจ้าตัวจะยังมีชีวิต อยู่ แต่ผลงานเก่าๆ ของเขาก็จัดอยู่ในรุ่นลิมิเต็ด อิดิชั่น ที่ทุกวันนี้ถูกตีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมไป เกือบสามเท่าตัว ส่วนไวโอลินรุ่นใหม่ๆ นั้น จะ สนนราคาอยู่ที่ประมาณตัวละ 18,000 ยูโร หรือ ประมาณ 750,000 บาทขึ้นไป ทว่า แม้จะมีทุน เพียงพอ ก็ยังไม่ใช่เรื่องง่ายหากใครอยากจะ ครอบครองเครือ่ งดนตรีโดยฝีมอื ช่างระดับต�ำนาน เพราะต้องสั่งท�ำเท่านั้น และต้องรอคิวประมาณ หนึ่งปีได้ เนื่องจากบิสโซลอตติจะไม่ท�ำไวโอลิน ไว้เป็นสต๊อกไว้ส�ำหรับวางขาย อีกทั้งในปีหนึ่งๆ เขาก็จะผลิตไวโอลินได้มากทีส่ ดุ แค่ 10 ตัวเท่านัน้ จากจุ ด เริ่ ม ต้ น จนปั จ จุ บั น กล่ า วได้ เ ลย ว่าการประสบความส�ำเร็จของบิสโซลอตติเป็น เพราะความมุ ่ ง มั่ น และพรสวรรค์ ข องเขาเอง ล้วนๆ จึงไม่น่าแปลก ที่ทุกวันนี้บุคลิกภายนอก ของชายชราจะค่อนข้างเป็นผูเ้ คร่งขรึมและถือตัว ไปสักนิดในสายตาคนทั่วไป เพราะแน่นอนว่า ตลอดระยะเวลายาวนานที่ผ่านมา ทั้งอุปสรรค ปัญหา และความท้าทายนับไม่ถว้ น ล้วนคือสิง่ ที่ เขาต้องพบเจอ กระทัง่ สะท้อนออกมาทางบุคลิก บิสโซลอตติยงั เป็นทีย่ กย่องในฐานะบรมครู เพราะเคยสอนด้านการท�ำไวโอลินในโรงเรียนที่ เครโมนามากว่า 10 ปี ก่อนจะออกมาเปิดคลาส
เล็กๆ ที่เวิร์กช็อปของตัวเอง ด้วยเหตุผลที่ว่ามี อิสระในการปรับโครงสร้างหลักสูตรให้เข้ากับ สไตล์ของตนได้มากกว่า โดยแม้จะสอนตาม แบบฉบับของบิสโซลอตติเอง แต่สิ่งที่เกิดขึ้น เสมอก็คือการสนับสนุนให้ลูกศิษย์แสดงความ เป็นตัวเองออกสู่ผลงาน ดังนั้น เขาจึงจะสอน แค่เทคนิคการออกแบบโครงสร้างไวโอลินเบื้อง ต้น แล้วจึงช่วยขัดเกลาผลงานขั้นต่อไปให้ลูก ศิษย์ทีละคน บิสโซลอตติอาจเป็นครูที่ดุอยู่สักหน่อย แต่ ก็เป็นยอดอัจฉริยะ มีค�ำแนะน�ำที่คมคาย และ หากจะนับกันให้ถ้วนจริงๆ อดีตนักเรียนที่เคย ผ่านการเคีย่ วกร�ำจากผูป้ ระสิทธิป์ ระสาทวิชาคน นี้ เรียกได้เลยว่ากระจายอยู่เกือบทั่วโลก ซึ่งหนึ่ง ลูกศิษย์ระดับหัวกะทิที่โด่งดังก็เช่น สเตฟาโน โกเนีย (Stefano Conia) เป็นต้น ด้านชีวิตส่วนตัว บิสโซลอตติมีครอบครัวที่ ผูกพันกับการสร้างไวโอลินเช่นกัน โดยลูกชาย ทั้ง 4 คนของเขา (ปัจจุบันคนเล็กเสียชีวิตแล้ว) ก็หลงใหลในเสียงดนตรี และความงดงามของ เนื้อไม้รวมถึงสีสันของวาร์นิช จึงได้เจริญรอย ตามผู้เป็นพ่อในฐานะนักสร้างไวโอลิน โดยช่าง ใหญ่อย่างบิสโซลอตติ จะคอยให้ค�ำแนะน�ำ หรือติชมผลงานของลูกๆ บ้าง แต่ก็ยังยึดแนว การสอนที่ท�ำมาโดยตลอด คือจะส่งเสริมให้ทุก คนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ดังนั้น ภายใน เวิร์กช็อปที่เปรียบเสมือนบ้านของครอบครัวนี้ จึงถูกแบ่งเป็นโซนย่อยๆ เพื่อให้ลูกๆ ได้มีอิสระ ในการท�ำงานกันอย่างเต็มที่ แต่ถ้าถามถึงความเป็นเอกภาพแบบบิส โซลอตติ แ ฟมิ ลี่ คงอยู ่ ที่ ค วามปรารถนาที่ จ ะ รักษาเนือ้ ไม้ไว้ให้มากทีส่ ดุ โดยเวลาลงลายเซ็น เพื่อตีตราประทับการเป็นเจ้าของผลงาน ทุกคน จะเขียนลงบนกระดาษก่อนแล้วค่อยติดด้านใน ตัวไวโอลิน แทนการสลักหรือลงนามบนเนื้อไม้ โดยตรง นี่เป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจมากของ ครอบครัวนี้ เพราะแม้จะมีต้นตระกูลเป็นช่าง ท�ำไวโอลินหัวสมัยใหม่ แต่พวกเขาก็ยงั พยายาม รักษาธรรมเนียมการถนอมเนื้อไม้ เช่นที่ช่างท�ำ ไวโอลินแห่งเครโมนาในอดีตเคยท�ำ ทุกความละเมียดละไมในความสร้างสรรค์อันเปี่ยมด้วยมนตร์ขลังของพ่อมด แห่งวงการไวโอลินนั้น ช่างน่าชื่นชม น่า สนใจ และเป็นต�ำนานอย่างที่ใครหลายคน เคยกล่าวไว้อย่างแท้จริง
00189
สเตฟาโน โกเนีย หากเราต้องการรู้ว่านักท�ำไวโอลินคนใดมี ฝีมือ ก็ควรตัดสินจากผลงานของเขา คือ คุณภาพของตัวไวโอลิน แต่หากเราต้องการ รู้ว่าครูสอนท�ำไวโอลินคนใดเก่ง ก็คงต้อง ตัดสินจากผลงานซึ่งคือคุณภาพของตัวลูก ศิษย์ Stefano Conia เป็นทั้งนักท�ำและครู สอนท�ำไวโอลินทีม่ ฝี มี อื เพราะผลงานทีผ่ า่ น มาในชีวติ ของเขามีทงั้ ตัวเครือ่ งสายและตัว ลูกศิษย์ที่ล้วนแต่อยู่ในระดับมาสเตอร์ เสียงร้องเพลงจากเด็กชายวัย 10 ขวบดัง ขึ้นเพื่อเรียกขวัญและก�ำลังใจให้ตนเองระหว่าง ก�ำลังเดินเท้ากลับบ้านในยามคํ่าคืนอยู่กลาง ราวป่า ณ เมืองบาลาตงฟูเรด ประเทศฮังการี ห่างจากเครโมนามา 800 กว่ากิโลเมตร ผู้คน ที่สัญจรมาพบเห็นเขาเข้าในบางคราวไม่มีใคร สนใจ และหากแม้ว่า ฟรันเชสโก บิสโซลอตติ ลูทเิ ย่รอ์ าวุโสแห่งเมืองเครโมนาจะบังเอิญได้มา เห็นภาพในชั่วขณะนั้นด้วยเหตุใดก็ตามที เขา ก็ไม่มีทางทราบได้เลยว่าเด็กชายผู้นี้จะก้าวขึ้น มาเป็นศิษย์ของตนในอนาคต และเติบใหญ่จน กลายมาเป็นครูผู้ทรงคุณูปการแก่วงการเครื่อง สายในวันหนึ่ง สเตฟาโน โกเนีย เด็กชายชาวฮังกาเรียน มุ่งหน้ากลับสู่บ้านพักสไตล์โคโลเนียลของเขา ซึ่งห่างจากตัวเมืองถึง 300 กิโลเมตร เนื่องจาก ไม่มเี งินค่าเดินทาง เขาจึงไม่มที างเลือกนอกจาก ต้องผจญกับหิมะทีส่ งู ถึงหัวเข่าในฤดูหนาว และ ดิ น โคลนอั น เฉอะแฉะในฤดู ใ บไม้ ร ่ ว งทุ ก วั น แต่กระนั้น เขาก็ยังสามารถด�ำรงตนเป็นเด็ก นักเรียนที่ฉลาดและดีคนหนึ่งได้ ความอั ต คั ต ขั ด สนในครอบครั ว ของเด็ ก ชายเริ่มบังเกิดขึ้นเมื่อ อิชท์วาน โกเนีย (Istvan Conia) ผู้เป็นบิดาถูกกฎหมายรัฐจองจําด้วย เหตุผลทางการเมือง แม้เด็กชายโกเนียจะคิดถึง พ่ออยู่บ้าง แต่ก็เขาก็ยังคงอาศัยอยู่กับแม่โดย มีสุขภาพจิตที่ดี และยังซุกซนไปตามวัย โกเนีย มีงานอดิเรกในยามว่างที่ช่วยผ่อนคลายความ ตึงเครียดในครอบครัว และสร้างความสนุกสนาน ให้กับตนได้เป็นอย่างดี นั่นคือการปั้นโน่นนิด ประดิษฐ์นี่หน่อยโดยใช้วัสดุต่างๆ ทั้งโคลน ขี้ผึ้ง เหล็ก และไม้ มาก่อเป็นโครงสร้างของเล่นใน แบบต่างๆ จนเป็นที่ประจักษ์แก่คนรอบข้างว่า เขามีพรสวรรค์ในงานช่าง อยู ่ ม าวั น หนึ่ ง เด็ ก ชายโกเนี ย ก็ ไ ด้ รั บ สิ่ ง ประดิษฐ์ชิ้นงามที่ท�ำมาจากไม้ นั่นคือไวโอลิน 00190
ตัวเล็กขนาดฮาล์ฟไซซ์อย่างดีทที่ งั้ คุณภาพเสียง และระยะการวางมือมีความสมบูรณ์แบบเหมาะ ส�ำหรับการเป็นเครื่องดนตรีที่สุด สิ่งประดิษฐ์ ชิ้นนี้ท�ำให้เขาต้องใจเต้นระรัว เพราะผู้ที่ตั้งใจ ส่งมันมาไว้ในมือของเขาคือช่างท�ำไวโอลินที่ เขารู้จักดีที่สุด อิชท์วาน โกเนีย พ่อของเขาเอง พ่อผู้ซึ่งแอบท�ำไวโอลินส่งมาให้จากในเรือนจํา พ่อผู้ซึ่งเขาเกือบลืมไปแล้วว่ามีหน้าตาอย่างไร นั่นเป็นชั่วขณะที่ท�ำให้โกเนียรู้สึกรักไวโอลิน ประหนึ่งว่ามีความผูกพันกับเครื่องดนตรีชนิดนี้ ทางสายเลือด บางครั้ง แรงที่ดลใจให้มนุษย์เราอุทิศทั้ง ชีวิตไปกับการเดินบนเส้นทางหนึ่งๆ ก็เป็นเพียง วัตถุเล็กๆ ชิ้นเดียวเท่านั้นเอง สายตาของเด็กหนุ่มวัย 18 ปี จ้องตรงไป ข้างหน้าอย่างมั่นคง ระหว่างก�ำลังเดินเท้าเข้า สู่วิทยาลัยสอนท�ำเครื่องสาย ณ เมืองเครโมนา สาธารณรัฐอิตาลี ในมือของเขามีเพียงกระเป๋า เสื้อผ้าหนึ่งใบ ไวโอลินแบบอมาตี หนึ่งตัวซึ่ง เขาประกอบขึ้นเองตามแบบไวโอลินของพ่อ และความตั้งใจอันแรงกล้าที่จะสมัครเข้ารับ การศึ ก ษาในวิ ท ยาลั ย แห่ ง นี้ และด้ ว ยความ เมตตาจากผู้อ�ำนวยการวิทยาลัยและอาจารย์ อีกสามท่าน ได้แก่ บิสโซลอตติ สการาบอตโต (Sgarabotto) และโมรัซซี (Morazzi) ท�ำให้ สเตฟาโน โกเนีย เด็กหนุ่มชาวฮังกาเรียนผู้เพิ่ง ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาจากชั้ น ไฮสคู ล ได้ รั บ ทุ น เข้ า ศึกษาต่อในวิทยาลัยแห่งนี้ เวลา 8 ปีทผี่ า่ นมา เด็กชายโกเนียได้เติบโต ขึ้นเป็นเด็กหนุ่มที่สมบูรณ์แข็งแรง พร้อมกันนั้น ทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับไวโอลินของเขาก็ได้ แข็งแรงตามขึน้ ไปด้วย หลังจากโกเนียได้รบั การ ตอบรับอย่างดีจากวิทยาลัยแห่งนี้ เส้นทางชีวิต ของเขาก็ทอดยาวไปสูค่ วามเป็นลูทเิ ย่รอ์ ย่างเต็ม ตัวทันที โกเนียเริ่มลงมือท�ำงานอย่างมืออาชีพ เป็นครั้งแรกโดยใช้เวลาช่วงเย็นหลังเลิกเรียน เข้าไปช่วยท�ำงานในร้านทําไวโอลินของอาจารย์ โมรัซซี ณ ที่นี่ เขาได้เรียนรู้ทฤษฎีไปพร้อมกับ ประสบการณ์จริง หลั ง จบการศึ ก ษาจากวิ ท ยาลั ย เพี ย งไม่ นาน โกเนี ย ก็ เ ข้ า สอนในฐานะอาจารย์ วิ ช า ประกอบซ่อมแซมและถนอมเนื้อไม้ที่วิทยาลัย แห่งเดิม รวมถึงได้คดิ สูตรนาํ้ ยารักษาเนือ้ ไม้หรือ วาร์นชิ ขึน้ มาเป็นของตัวเอง นัน่ ถือเป็นจุดเริม่ ต้น ของการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะให้กบั ไวโอลินใน
สกุลช่างของเขาเองอย่างเต็มตัว อนึง่ ภูมปิ ญ ั ญาทัง้ หลายในโลกล้วนพัฒนา ขึน้ มาได้จากการสัง่ สมและต่อยอด หากเราต้อง ศึกษาสิ่งใดด้วยการเริ่มนับหนึ่งลองผิดลองถูก ใหม่ด้วยตัวเองทั้งหมด ช่วงชีวิตของมนุษย์คน หนึ่งคงสั้นเกินกว่าจะพัฒนาอะไรไปไกลจนสุด ทางได้ ครูจงึ ถือเป็นบุคคลสําคัญผูท้ ำ� ให้ศาสตร์ และศิลป์ในทุกวงการพัฒนาขึ้นมาได้ เพราะครู ช่วยสร้างทางลัดในการเข้าถึงความรู้เบื้องต้นที่ ค้นพบมาแล้วให้กบั คนรุน่ ใหม่ เพือ่ ให้เหลือเวลา หาวิธีต่อยอดได้นานขึ้น ใบหน้ า เปื ้ อ นยิ้ ม ของอาจารย์ ส อนท� ำ ไวโอลินวัย 60 ปี สเตฟาโน โกเนีย ก�ำลังแจก ยิม้ ต้อนรับแขกทีม่ าเยีย่ มชมบ้านของเขา ซึง่ เปิด เป็นพื้นที่ส�ำหรับเวิร์กช็อปไปในตัว นอกจากชุด กลั่นวาร์นิชสูตรเฉพาะ ราวตากไวโอลิน และ ห้องเก็บไวโอลินอันมีตเู้ ซฟขนาดใหญ่ซงึ่ ภายใน เก็บรักษาผลงานทั้งหมดของเขาที่ซื้อคืนจาก ลูกค้าผู้ล่วงลับมาสะสมไว้ รวมถึงไวโอลินของ อาจารย์ซึ่งเขาหาซื้อมาเก็บไว้ตามธรรมเนียม แล้ว อีกหนึ่งสิ่งสําคัญที่ดึงดูดความสนใจของ แขกเป็นที่สุดก็คือ โต๊ะท�ำงานอันศักดิ์สิทธิ์ของ เขา พื้นที่เล็กๆ ซึ่งบ่มเพาะศิษย์แต่ละรุ่นขึ้น มาเป็นลูทิเย่ร์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหมดของเมืองเครโมนา ไม่ว่าจะเป็นมาร์เชลโล วิลลา ลูทิเย่ร์รุ่น ใหม่ที่ชนะเลิศการประกวดในอันดับหนึ่งของ เมืองเครโมนา จิออร์จิโอ กริซาเลส์ ปรมาจารย์ ด้านการท�ำเครื่องสายควอเต็ต หรือสเตฟาโน ตราบุกกี ประธานสมาพันธ์ลูทิเยร์แห่งเครโมนา นักท�ำไวโอลินระดับมาสเตอร์เหล่านี้ล้วน แต่ยกย่องอาจารย์โกเนียว่าเป็นผู้ประสาทวิชา ให้กับตนทั้งสิ้น คงเป็นเพราะสิง่ ประดิษฐ์จากไม้ชนิ้ งาม ชิ้นแรกที่โกเนียได้สัมผัสเมื่อวัย 10 ขวบ ที่ ได้เพาะบ่มความรักขึ้นในใจของเขา เคล้า เข้ากับความรูแ้ ละทักษะจนเป็นเนือ้ เดียวกัน สัง่ สมผ่านทศวรรษและถ่ายทอดส่งผ่านไปสู่ ลูกศิษย์แต่ละคน เพือ่ สรรค์สร้างสิง่ ประดิษฐ์ ชิน้ งามชิน้ ใหม่ๆ ทีจ่ ะบันดาลใจเด็กชายเด็ก หญิงในรุน่ ต่อไป นัน่ คงเป็นเครือ่ งประกันทัง้ ความเป็นลูทิเย่ร์ และความเป็นครูชั้นยอด ของ สเตฟาโน โกเนีย ได้ดีกว่าเกียรติบัตร หรือใบรับรองจากสํานักใดๆ
00191
สเตฟาโน ตราบุกกี แม้ ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น ทายาทของตระกู ล ช่ า งท� ำ ไวโอลิ น เก่ า แก่ แต่ ใ นปั จ จุ บั น Stefano Trabucchi ก็ เ ป็ น ที่ รู ้ จั ก กว้ า งขวางอย่ า ง มากในแวดวงผู้ผลิตเครื่องดนตรีประเภท เครื่องสายในเครโมนา เพราะนอกจากเขา จะเป็นนักบรรเลงระดับมาเอสโตร ตลอด จนเป็นนักสร้างไวโอลินชั้นครูแล้ว อีกหนึ่ง บทบาทที่ทุกคนยกย่องและรู้จัก ก็คือผู้อยู่ เบือ้ งหลังความก้าวหน้าในสายอาชีพส�ำคัญ ของเมืองไวโอลินแห่งนี้นั่นเอง ด้ ว ยทั ก ษะความสามารถ ประกอบกั บ บุคลิกส่วนตัวที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตรเสมอ ตัง้ แต่ปคี ริสตศักราช 2010 ตราบุกกีจงึ ได้รบั คัด เลือกให้ด�ำรงต�ำแหน่งประธานสมาพันธ์ช่างฝี มือแห่งเครโมนา (Cremona Confartigianato) โดยมีหน้าที่เป็นผู้ผลักดันกิจกรรมต่างๆ ตลอด จนดูแลกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการ ประกอบธุรกิจและการท� ำงานของช่างผู้ผลิต เครื่องสาย นอกจากนี้ ตราบุกกีก็ยังเป็นสมาชิก คนส�ำคัญของสมาคมผู้ผลิตเครื่องสายชั้นสูง (Consorzio Liutai "A. Stradivari" Cremona) ที่คอยสนับสนุนผู้ผลิตเครื่องสายในเครโมนา ให้ไปมีโอกาสทางการตลาดในระดับนานาชาติ มากขึ้นอีกด้วย แต่ก่อนที่จะได้รับการยอมรับจากเพื่อน ร่วมสายอาชีพ รวมถึงมีผลงานเป็นที่ต้องการ ในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในอิตาลีเอง สหรัฐอเมริกา ญีป่ นุ่ เรือ่ ยไปจนเยอรมนีเช่นในปัจจุบนั ชีวิตที่เปี่ยมเสียงดนตรีของตราบุกกีนั้น เริ่มต้น ขึ้นตั้งแต่สมัยที่เขายังอายุได้เพียง 8 ขวบ โดย แม้ว่าจะเกิดและเติบโตที่เมืองซอนดริโอ ไม่ใช่ เครโมนา และมีคุณพ่อเป็นอายุรแพทย์ หาใช่ ช่างท�ำไวโอลิน แต่เพราะทุกคนในครอบครัว ของเขารักเสียงดนตรีมาก ตราบุกกีในวัยเยาว์ผู้ หลงใหลในศิลปะการบรรเลงรวมถึงเทคนิคการ สร้างไวโอลินเข้าอย่างจัง จึงได้รบั การสนับสนุน มาโดยตลอด กระทั่ ง อายุ 14 ปี ไวโอลิ น ตั ว แรกที่ ถู ก ประกอบขึ้นแบบงูๆ ปลาๆ จากความใคร่รู้ที่มี มากกว่าความช�ำนาญของตราบุกกีก็ถือก�ำเนิด ขึ้น ซึ่งทุกวันนี้ ผู้เป็นย่ายังเก็บรักษาเอาไว้อย่าง ดี หากแต่เพราะตราบุกกีมองว่านั่นเป็นผลงาน ที่น่าชัง เขาจึงไม่เคยน�ำออกมาโชว์หรือเอาไป จัดนิทรรศการที่ไหน นั่นเป็นสาเหตุว่าท�ำไมพอ เรียนจบชั้นมัธยมต้น ตราบุกกีจึงตัดสินใจย้าย จากบ้านเกิดเพือ่ ไปเรียนท�ำไวโอลินอย่างจริงจัง ทีเ่ ครโมนา ณ International School of Lutherie "A. Stradivari" ทันที โดยตลอดระยะเวลา 4 ปี ในหลั ก สู ต ร ตราบุกกีได้มีโอกาสศึกษาการประกอบเครื่อง สายทุกชนิด ทั้งไวโอลิน เชลโล ดับเบิลเบส หรือ 00192
วิโอลา ซึง่ นอกจากผลงานเขาของจะโดดเด่นจน เป็นที่สนใจกับทั้งกลุ่มเพื่อนและครูบาอาจารย์ แล้ว ตราบุกกียังถูกกล่าวขวัญถึงในฐานะของ บั ณ ฑิ ต หนุ ่ ม จากต่ า งเมื อ ง ที่ เ รี ย นจบพร้ อ ม ประกาศนียบัตรวิชาชีพอันถูกระบุด้วยผลการ ศึกษาระดับคะแนนเต็ม อย่ า งไรก็ ดี ตราบุ ก กี นั้ น ไม่ เ คยคิ ด หยุ ด พั ฒ นาความสามารถของตนเอง หลั ง เรี ย น จบ เขาจึงเดินทางไปตามเวิร์กช็อปของช่างท�ำ ไวโอลินชื่อดังหลายต่อหลายคนเพื่อขอฝึกงาน โดยหนึ่งอาจารย์ระดับต�ำนานที่ตราบุกกีเคย ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ก็คือ สเตฟาโน โกเนีย และ ระหว่างนั้น เขาก็ยังหมั่นทดสอบฝีมือด้วยการ เข้าแข่งขันท�ำไวโอลินในหลายๆ เวที อาทิ เวที แรกที่ เ มื อ งบาวี โ น (Baveno Violinmaking Competition) ที่เขาสามารถคว้ารางวัลดาวรุ่ง ในฐานะช่างท�ำไวโอลินที่อายุน้อยที่สุดในหมู่ผู้ ผ่านเข้ารอบสุดท้ายมาได้ หรืออีกหนึ่งเวทีใหญ่ ที่เมืองบาญากาวัลโล (Bagnacavallo Young Violinmaker's Competition) ที่ครั้งนี้ตราบุกกี ก็คว้ารางวัลที่สองมาได้ส�ำเร็จ แม้ว่าขณะนั้น เขาจะยังเป็นช่างท�ำไวโอลินหน้าใหม่ เมื่ อ สั่ ง สมประสบการณ์ จ นได้ ที่ แ ละ เรียนรู้ทุกเทคนิคที่ส�ำคัญส�ำหรับการเป็นช่าง ท�ำไวโอลินจนช�่ำชอง ในปีคริสตศักราช 1992 ตราบุกกีจึงเปิดเวิร์กช็อปของตัวเองขึ้นในใจ กลางเมืองเครโมนา อันเป็นที่ที่เขาสร้างผลงาน มาสเตอร์พีซขึ้นหลายชิ้น ทั้งที่เป็นเครื่องดนตรี ยุคคลาสสิกประเภทเครื่องสาย เช่น ไวโอลิน วิโอลา และเชลโล รวมไปถึงเครือ่ งดนตรียคุ บาโร้ก อาทิ วิโอลาดามู (Viola d'amore) และไวโอลิน ขนาดเล็กส�ำหรับเต้นร�ำ (Pochette Violin) ซึ่ง โดยรวมนั้น ตราบุกกีจะได้รับอิทธิพลมาจาก โมเดลเก่าๆ ของต�ำนานแห่งนักสร้างไวโอลินผู้ ล่วงลับอย่าง อันโตนิโอ สตราดิวารี โดยตรง และ เรียกได้เลยว่าขนบธรรมเนียมรวมถึงวิธีการที่ เกีย่ วกับไวโอลินทุกอย่าง ทัง้ ด้านรูปลักษณ์และ คุณสมบัติของสุดยอดปรมาจารย์ผู้นี้ ก็คือแรง บันดาลใจหลักของเขา ท�ำให้ปจั จุบนั ตราบุกกีจงึ มักสร้างไวโอลินตัวใหม่ๆ ขึน้ ตามรูปทรงโบราณ หากมีความโมเดิรน์ จากการเคลือบวาร์นชิ ทีแ่ ตก ต่างและหลากหลาย นอกจากนี้ เขาก็ยงั มีความ สนใจอย่างแรงกล้า ที่จะสร้างไวโอลินขึ้นตาม แบบไวโอลินตัวดังๆ ในอดีตอีกด้วย นอกจากบุคคลที่เป็นไอคอน หากกล่าวถึง แรงบันดาลใจจากความรู้สึก ตราบุกกีได้เคย แสดงวิสัยทัศน์ไว้ว่า เพราะนักสร้างไวโอลิน นั้นเป็นอาชีพที่ค่อนข้างพิเศษ ที่ต้องมีความ สุขก่อนถึงสร้างผลงานออกมาได้ ดังนั้น ช่าง ท� ำ ไวโอลิ น ที่ ดี จึ ง ต้ อ งมี ค วามรั ก ดนตรี รั ก ไม้ รวมถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่จะท�ำให้เกิดเครื่อง
ดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหัวใจส�ำคัญ ทั้งนี้ ยังต้องมีทักษะเรื่องไม้อย่างเฉพาะเจาะจง ควร จับแล้วจินตนาการได้เลยว่าควรจะท�ำโมเดล แบบใด หรือจะเคลือบวาร์นิชแบบไหน ซึ่งเรื่อง เหล่านี้ไม่มีเทคนิคลัดหรือวิธีชั่งตวงวัดแน่นอน ที่ใครจะสอนใครได้ หากแต่ต้องใช้ความผูกพัน อันเกิดจากการลงมือท�ำงานอย่างหนัก จนกลาย เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมขึ้นมาเอง ทุกวันนี้ตราบุกกียังสร้างผลงานแต่ละชิ้น ด้วยสองมือเป็นแบบแฮนด์เมดร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยในเวิรก์ ช็อปของเขา จะมีเพียงแค่ลกู มือคอย ช่วยอีกหนึ่งคนเท่านั้น ซึ่งตราบุกกีจะพิถีพิถัน ทุกขั้นตอน ตั้งแต่เลือกไม้ให้ได้ไม้ที่ชอบและ เหมาะสมจริงๆ ก่อนจะน�ำไปสู่หลากขั้นตอน สุดแสนละเอียด ท�ำให้การท�ำไวโอลินหนึ่งตัว ต้องใช้เวลานานอย่างน้อย 220 ชั่วโมง และ ถ้าใครได้รู้จักงานของเขาอย่างแท้จริงก็จะรู้ว่า นอกจากเรือ่ งเสียงทีด่ จี นได้รบั การยอมรับอย่าง แพร่หลายแล้ว ซิกเนเจอร์ของนักสร้างไวโอลินผู้ นี้ ก็คือการทิ้งร่องรอยเฉพาะตัวไว้ตรงด้านข้าง ของไวโอลิน ซึ่งเป็นการท�ำลวดลายบนผิวไม้ใน แบบทีย่ ากมาก ท�ำให้เมือ่ พบเห็น จึงบอกได้เลย ว่าใครคือเจ้าของผลงาน อีกหนึ่งความน่าสนใจในเครื่องดนตรีของ ตราบุกกี คือการที่เขาพยายามใส่เรื่องราวลงไป ในทุกชิน้ ให้มคี ณ ุ ค่ามากกว่าแค่การน�ำไปใช้เพือ่ บรรเลง ด้วยการท�ำเครื่องสายให้เป็นแบบซีรีส์ หรือลิมเิ ต็ดอิดชิ นั่ อย่างเมือ่ ครัง้ ครบรอบ 20 ปี ใน การเปิดเวิร์กช็อป ตราบุกกีก็ท�ำไวโอลินรุ่นพิเศษ ออกมาให้มีเพียง 20 ตัวเท่านั้น หรือเมื่อปีก่อน ที่เขาสร้างเครื่องดนตรี 4 ชิ้น เป็นควอเต็ตที่ท�ำ จากไม้ชนิดเดียวกัน เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวาระ ครบรอบ 200 ปีแห่งนักประพันธ์เพลงโรแมนติกชื่อก้องชาวอิตาเลียนอย่าง จูเซปเป แวร์ดิ (Giuseppe Verdi) ซึ่งแน่นอนว่าเป็นชุดเดียวใน โลก มีชื่อว่า Tribute to Giuseppe Verdi in the 200th birth anniversary string Verdi quartet ส่ ว นปี นี้ ตราบุ ก กี ใ ห้ เ กี ย รติ สุ ด ยอดแรง บันดาลใจของเขาด้วยการสร้างไวโอลินตาม แบบมาสเตอร์พีซของสตราดิวารีในปีคริสตศักราช 1715 อันมีความพิเศษตรงที่แผ่นไม้ด้าน หลังจะมีลวดลายแกะสลักแบบสามมิตทิ เี่ หมือน เปลวไฟ และตราบุกกีกก็ ำ� ลังจะท�ำให้เปลวไฟนี้ ลุกโชนขึ้นอีกครั้ง ส�ำหรับตราบุกกี การสร้างไวโอลินนั้น คื อ ศิ ล ปะ นั่ น จึ ง ท� ำ ให้ แ ต่ ล ะตั ว แตกต่ า ง ในด้านความคิดสร้างสรรค์ มีเอกลักษณ์ ชัดเจน และที่ส�ำคัญที่สุด คือสามารถบอก เล่าเรื่องราวที่น่าสนใจได้ กระทั่งกลายเป็น เสน่ห์ที่ตราตรึงให้ผู้คนหลงใหล และกลาย เป็นต�ำนานแห่งเมืองเครโมนา 00193