2 minute read

ุ้งไทย ชี้ทิศทางอนาคตกุ้งไทย ผลิตกุ้งที่ดีที่สุดมอบแด่ชาวโลกส.ก

ประเทศ/ปี 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562* % เปลี่ยนแปลง 61/62 ไทย 250 230 260 300 300 290 290     - จีน 650 625 600 550 525 525 625 +19% เวียดนาม 240 300 210 260 320 410 440 +7% อินโดนีเซีย 180 200 220 270 260 270 260     -4% อินเดีย 270 420 470 530 600 560 580 +4% มาเลเซีย 46 35 30 40 45 39 48 +23% ฟิลิปปินส์ 52 57 48 53 55 56 58 +36% อเมริกากลาง  - ใต้ 555 630 628 669 810 870 973 +12% อื่นๆ 65 70 100 110 160 200 135     -33% รวม 2,308 2,567 2,566 2,782 3,075 3,220 3,409 +5% ที่มา : สมาคมกุ้งไทย, *ประมาณการ

คงเผชิญหน้ากับปัญหาโรคตัวแดงดวงขาว อาการ ขี้ขาว ที่ยังคงสร้างความเสียหายกระจายในพื้นที่ เลี้ยงหลักๆ ท�ำให้เกษตรกรไม่สามารถสร้างผล การเลี้ยงที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง ท�ำให้มีต้นทุนแฝง จากความเสียหาย และกุ้งที่โตได้ไม่เต็มศักยภาพ ในปีนี้หลายๆ ฟาร์ม จึงปรับลดความหนาแน่น ในการเลี้ยงลงมาประมาณร้อยละ 20 - 30 เพื่อ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรค นอกจากนี้ ยังพบ รายงานการเกิดโรค EMS อย่างต่อเนื่องในปีนี้ เช่นกัน แต่มั่นใจว่าปีหน้าปัญหาดังกล่าวจะดีขึ้น ด้วยเกษตรกรผู้เลี้ยงเองมีความรู้ ความเข้าใจใน ปัญหา มีการปรับตัว ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยง ผนึกก�ำลังเป็นหนึ่ง ที่ส�ำคัญทุกภาคส่วนได้หันมา ช่วยกันอย่างเต็มที่”

Advertisement

ท.พ.สุรพล ประเทืองธรรม นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมกุ้งไทย และนายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ไทย กล่าวว่า “อนาคตกุ้งไทย ก็ยังสามารถกลับมา ได้แน่นอน เพราะความต้องการกุ้งในตลาดโลกยังมี อยู่อย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่ส�ำคัญที่สุดก็คือ ความ สามารถในการผลิตกุ้ง ที่สามารถสู้กับคู่แข่งใน ตลาดโลกทั้งปริมาณ คุณภาพ และต้นทุนที่ไม่ สูงมาก”

“จากการประชุมนานาชาติ Shrimp 2019 หรือกุ้ง 2019 ซึ่งสมาคมกุ้งไทย ร่วมเป็นเจ้าภาพ จัดงาน กับ FAO กรมประมง เมื่อเร็วๆนี้ ที่ กรุงเทพฯ นั้น สินค้ากุ้งจากการเลี้ยง ยังเป็นที่ ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก ในปริมาณที่สูงขึ้น ด้วยเป็นอาหารโปรตีนเนื้อขาวที่มีโภชนาการดี ผลผลิตสัตว์น�้ำที่จับจากทะเลมีแนวโน้มลดลง เรื่อยๆ จ�ำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น แม้มีหลาย ประเทศหันมาเลี้ยงกุ้งกันมากขึ้นก็ตาม เชื่อว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเคยเป็นแชมป์ผลิตกุ้ง และ ส่งออกกุ้งมากที่สุดในโลกในหลายปีติดต่อกันมา กอปรกับตลาดน�ำเข้ากุ้งส�ำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน ก็ยังให้เครดิต และเชื่อมั่นในสินค้า กุ้งไทยว่าคุณภาพดี ปลอดภัยที่สุด ขอให้เราผลิต ได้มากพอ และสม�่ำเสมอ ในราคาที่สามารถแข่งขัน ได้เท่านั้น

ดร.สมศักดิ ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย น�ำทีมคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ และที่ปรึกษา ร่วมกันถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ในงานแถลงข่าว สมาคมกุ้งไทยพบสื่อฯ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว บางกอก ฟอร์จูน กรุงเทพฯ

ที่ส�ำคัญ ด้วยประเทศไทย มีลูกกุ้งที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก จากสายพันธุ์ที่ โตเร็ว แข็งแรง ปลอดโรค ท�ำให้ประเทศไทยมีศักยภาพสูงที่จะผลิตกุ้งไซส์ใหญ่ ทิศทางการผลิตกุ้งไทยจะไม่เน้นปริมาณ แต่มุ่งเน้นผลิตกุ้งคุณภาพ ดี ปลอดภัย ปลอดสารตกค้าง ผลิตกุ้งไซส์ใหญ่ โปร่งใส ตรวจสอบย้อนกลับได้ เป็นมิตร สิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางการค้าให้ดียิ่งๆ ขึ้น ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นโอกาส ที่ประเทศไทยจะกลับมาทวงแชมป์คืนเป็นไปได้สูง และหากทุกปัจจัยเอื้ออ�ำนวย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขณะนี้เรายังเผชิญปัญหาการเลี้ยงและอุปสรรคต่างๆ ที่ พี่น้องเกษตรกร และส่วนที่เกี่ยวข้องต้องไปช่วยกันปรับปรุงแก้ไขพัฒนาร่วมกัน ส่วนเรื่องที่ต้องให้รัฐด�ำเนินการให้ ได้แก่ แก้ปัญหาเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งเกินไป ท�ำให้ไม่สามารถส่งออกและแข่งขันได้ ภาครัฐควรมีการสนับสนุนส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง มีการเจรจา กับตลาดคู่ค้าเพื่อเปิดตลาดใหม่ๆ เพื่ออุตสาหกรรมกุ้งไทยที่ยั่งยืน และที่ส�ำคัญ ต้องเจรจาเรื่อง FTA เพื่อเปิดตลาด EU ให้กุ้งจากไทยสามารถกลับมาแข่งขันได้ รวมถึงการประชาสัมพันธ์เชิงรุก การให้โอกาสเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยเข้าถึง แหล่งทุน การเสริมสภาพคล่อง การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับภาค การผลิต ภาคการส่งออก และส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ฯลฯ เพื่อให้อุตสาหกรรมกุ้ง ของประเทศอยู่รอด ได้รับการพัฒนาให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ” ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย กล่าวทิ้งท้าย

งานสัตว์น�้ำไทย 2019

จัดได้ยิ่งใหญ่ มิติใหม่วงการสัตว์น�้ำไทย

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมสัตว์น�้ำ ผนึกก�ำลัง จัดงานยิ่งใหญ่ “สัตว์น�้ำไทย 2019 (Thai Aqua Expo 2019)” ในวันที่ 2 - 4 ธันวาคม2562 ณ โรงแรม ซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของไทยที่น�ำเอาสัตว์น�้ำเศรษฐกิจ ของไทย และห่วงโซ่อุปทานสัตว์น�้ำมารวมกันในงาน โดยมี นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ เกียรติเป็นประธานเปิดงาน มี นายสรายุทธ แก้วกุลปรีชา รองผู้ว่า ราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวต้อนรับ และนางสาวพัชรินทร์ จินดาพรรณ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย กล่าวรายงาน ร่วมด้วย นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง นายถาวร จิระโสภณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้น�ำองค์กรฯ เกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์น�้ำจากทั่วประเทศ และผู้สนใจเข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง งานดังกล่าวจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ข้อมูล ทางวิชาการให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเศรษฐกิจในประเทศไทย ยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำไทย ให้ไป สู่ระดับโลก ส่งเสริมการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการ ตลาดสัตว์น�้ำ และยังเป็นการสร้างความสามัคคีในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยง สัตว์น�้ำไทยให้เป็นหนึ่งเดียว ภายในงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักด้วยกัน คือ 1. งานสัมมนาวิชาการเพื่อให้ความรู้เกษตรกร 2. งานแสดงสินค้า เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้พบปะกับผู้ค้า ปัจจัยการผลิตสัตว์น�้ำ ทั้ง ลูกพันธุ์สัตว์น�้ำ ปัจจัยการผลิตอื่นๆ 3. กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น�้ำ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แสดง ความคิดเห็นในเรื่องความส�ำคัญการเพาะเลี้ยง สัตว์น�้ำไทย และนโยบายภาครัฐที่จะสนับสนุน ภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ รวมทั้งกล่าวชื่นชมการ จัดงานในครั้งนี้ ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศ ผู้ผลิตและส่งออกผลผลิต และผลิตภัณฑ์ประมง อันดับต้นๆ ของโลก เป็นประเทศที่ได้รับการ ยกย่องชื่นชมจากองค์การสหประชาชาติทั้ง 3 องค์กร (องค์การอาหารและเกษตรแห่งสห - ประชาชาติ FAO, กองทุนระหว่างประเทศเพื่อ พัฒนากสิกรรม หรือ IFDA และ World Food Programme) ว่าประสบความส�ำเร็จในการพัฒนา ภาคเกษตรกรรมจนกระทั่งเป็นประเทศชั้นน�ำของ โลกในการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร อยู่ ในฐานะที่สามารถสนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ ความรู้ทางเทคนิค องค์ความรู้ในการเกษตร และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำแก่ประเทศอื่นๆ ได้

ขณะที่ ภาครัฐมีนโยบายซึ่งสอดรับกับ พลังขับเคลื่อนของภาคเอกชนและทุกภาคส่วน  นโยบายการตลาดน�ำการผลิต  นโยบาย เทคโนโลยีเกษตร 4.0 ซึ่งจากนี้ไป การท�ำฟาร์ม จะต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน สร้างระบบ Food Safety GAP GMP และต้องใช้เรื่องของ Food lost และ Food Waste

ซึ่งเป็นหลักการส�ำคัญขององค์การสหประชาชาติ เข้ามาผสมผสานกันในการด�ำเนินนโยบาย และ ในวันที่ 1 มกราคม 2563 หน่วยงานในสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้ง 22 หน่วยงาน จะมีโครงการบริการออนไลน์ครบทุกหน่วยงาน เชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ลงไปบน Platform มือถือ ของเกษตรกร เป็นข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์โดย AI ทั้งราคาในประเทศ และต่างประเทศ ปัญหา ข่าวด่วน แนวโน้มของสถานการณ์ในตลาดโลก หรือองค์ความรู้ที่มาจาก FAO สิ่งเหล่านี้เป็น การใช้เทคโนโลยีการตลาดน�ำส�ำหรับมิติใหม่ของ สัตว์น�้ำไทย  มีการวางโครงสร้างและระบบ ส�ำหรับอนาคตเพื่อให้ศักยภาพของเราได้เติม เต็ม และก้าวสู่การเป็นประเทศชั้นน�ำของโลก ในด้านของการประมงก็คือ การร่างพระราชบัญญัติ กองทุนประมง  การจัดท�ำร่างพระราชบัญญัติ การจัดตั้งสภาการประมงแห่งชาติ เพื่อให้การ ประมงของเราในทุกภาคส่วนจะมีองค์กรระดับชาติ เหมือนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  จัด ตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมการเกษตร (Agritech and Innovation Center) ทุกจังหวัด ภายใน 1 ปี โดยเริ่มในปีหน้า โดยอาศัยความ ร่วมมือของ 6 องค์กรคือ 1. กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ 2. กระทรวงอุตสาหกรรม (กลางน�้ำ แปรรูป) 3. กระทรวงพาณิชย์ (การค้าภายในและ การส่งออก) 4. สถาบันเกษตรกร เช่น สมาคม - ชมรมเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ 5. ภาควิชาการ (มหาวิทยาลัยทั้งหมด) และ 6. ภาคเอกชน เพื่อคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ น�ำมาใช้ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และที่ส�ำคัญ เป็น เทคโนโลยีของคนไทยเพื่อคนไทย  การจัดตั้ง ธนาคารสัตว์น�้ำเพื่อเป็นแหล่งอาหารส�ำหรับชุมชน

This article is from: