3 minute read
เลขาฯ ฟันธง ปี 63 วัตถุดิบอาหารสัตว์ไม่ขาดแคลน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 สมาคมนิสิตเก่าสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.จักร พิชัยรณรงค์ สงคราม และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดสัมมนา วิชาการ “ทันโลกทันเหตุการณ์อาหารสัตว์และวัตถุดิบ 2563” ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ โดยมีนักวิชาการร่วมสัมมนาในหัวข้อ ส�ำหรับหัวข้อน่าสนใจ คือ “แนวโน้มวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2563” โดยได้รับเกียรติจาก “คุณบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์” เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย มาบรรยาย คุณบุญธรรม กล่าวว่า สถานการณ์การผลิตอาหารสัตว์โลก ปี พ.ศ. 2562 พบว่า มีผลผลิตรวมกันทั้งสิ้น 1,103 ล้านตัน มีการเติบโตคิดเป็นค่าเฉลี่ย 3% โดยทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่เติบโตสูงสุด คิดเป็น 5% รองลงมาคือ ทวีปยุโรป คิดเป็น 4% ตามมาด้วยเอเชียแปซิฟิก 3% อเมริกาเหนือ และตะวันออกกลาง 2% และอเมริกาใต้ 1% ขณะที่อาหารสัตว์ที่มีการผลิตมากที่สุดได้แก่ อาหารไก่เนื้อ คิดเป็น 28% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด รองลงมาคือ อาหารสุกร คิดเป็น 21% ตามมาด้วยอาหารไก่ไข่ 14% อาหารโคนม 12% อาหารโคเนื้อ 7% อาหาร สัตว์น�้ำ 4% อาหารสัตว์เลี้ยง และอื่นๆ อีก 5% อาหารไก่เนื้อ ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตมากที่สุดนั้น มีการเจริญเติบโตคิดเป็น ค่าเฉลี่ย 3% โดย 60% มาจากการผลิตของ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา บราซิล อินเดีย รัสเซีย เม็กซิโก ไทย และอินโดนีเซีย ตามล�ำดับ สัมพันธ์กับการผลิตเนื้อไก่ของโลกที่มีการเติบโตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสูงถึง 13.3%
Advertisement
เฉลี่ย 2.6% ต่อปี เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่ เติบโตเช่นกัน โดยช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เติบโต 29.6% เฉลี่ย 5.9% ต่อปี ขณะที่ประเทศผู้น�ำเข้า เนื้อไก่สูงที่สุดในโลกคือ ประเทศญี่ปุ่น รองลงมา คือ กลุ่มประเทศอียู และประเทศจีน ส่วนประเทศ ผู้ส่งออกเนื้อไก่สูงสุดคือ ประเทศบราซิล รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา ตามมาด้วยประเทศไทย
สถานการณ์วัตถุดิบโลกที่ส�ำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด กากถั่วเหลือง พบว่าข้าวโพดในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา มีการผลิตสูง และต�่ำกว่าความต้องการ สลับกันไปมา แต่ไม่มากนัก ส่วนราคาพบว่า ปี การผลิต 2560 - 2562 มีราคาเพิ่มสูงขึ้น ส่วนปี การผลิต 2562 - 2563 คาดว่า ถ้าราคาเพิ่มขึ้น จะไม่เกิน 156 เหรียญต่อตัน และไม่ต�่ำกว่า 145 เหรียญต่อตัน
ขณะที่สถานการณ์กากถั่วเหลือง พบว่า การผลิตมีปริมาณสูงกว่าความต้องการมาโดย ตลอด แต่ไม่ต่างกันมากนัก แต่เรื่องของสต็อก คงเหลือพบว่า ในแต่ละปีการผลิตมีปริมาณที่ต�่ำ ส่วนราคา พบว่า มีความผันผวนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะปีการผลิต 2559 - 2560 จนถึง 2561 ราคาพุ่งสูงขึ้นจาก 347 เหรียญต่อตัน เป็น 376 เหรียญต่อตัน แต่หลังจากนั้นปรากฏว่า ราคา พุ่งต�่ำลงมาเหลือ 339 เหรียญต่อตัน ดังนั้น จึง คาดว่าช่วงปีการผลิต 2562 -2563 จะอยู่ระหว่าง 323 - 246 เหรียญต่อตัน
ส�ำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย หาก มองเรื่องของการเติบโตอาหารสัตว์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2531 - 2562 เติบโตเฉลี่ยปีละ 9.43% ส่วน ปี พ.ศ. 2561 - 2562 เติบโตเฉลี่ย 1.28% ซึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ต่างพบวิกฤตหลายครั้ง ส�ำหรับครั้งที่ถือว่ารุนแรงมากที่สุด คือช่วง ปี พ.ศ. 2540 ที่เกิดปัญหาวิกฤตการเงินไทย หรือที่ เรียกว่า “ต้มย�ำกุ้ง” ต่อมา ปี พ.ศ. 2547 ประสบ ปัญหาวิกฤตไข้หวัดนก จนกระทั่งปี 2551 เกิด วิกฤตการเงินสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลกระทบกับ ประเทศไทยไม่น้อย แม้จะไม่เท่ากับวิกฤตการเงิน ของไทยโดยตรงก็ตาม แต่ทุกครั้งที่เกิดวิกฤต ก็ ท�ำให้อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ของไทย มีความเสียหายไม่น้อย
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองถึงห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหารประเทศไทย พบว่า มีมูลค่ามหาศาล ไม่ว่าจะเป็นมูลค่าอาหารสัตว์ที่มี 300,000 ล้านบาท มูลค่าผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์และประมง 600,000 ล้านบาท และมูลค่าบริโภคภายใน ประเทศ และส่งออก 800,000 ล้านบาท ซึ่ง มูลค่าเหล่านี้ จะมีความสัมพันธ์กันในแง่ของ ห่วงโซ่อาหาร ที่เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบเกษตร โรงงาน
อาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ แปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ และอาหาร โดย 80% เป็นการผลิตเพื่อป้อน ภายในประเทศ และ 20% ส่งออกต่างประเทศ ดังนั้น การที่ไทยได้รับการยอมรับให้เป็นครัว ของโลกจึงไม่แปลก แต่สิ่งส�ำคัญคือ การผลิต จะต้องมีความปลอดภัย มั่นคง ยั่งยืน ในส่วนของอาหารสัตว์ ความต้องการ อาหารสัตว์ในรอบปี พ.ศ. 2562 มีทั้งหมด 20.18 ล้านตัน โดยแยกความต้องการในแต่ละชนิดสัตว์ ได้ดังนี้ ไก่เนื้อ 37% รองลงมาคือ สุกร 33% ไก่ไข่ 17% เป็ด และโค 4% ปลา 3% และกุ้ง 2% แต่อย่างไรก็ดี หากมองภาพรวมช่วงปี พ.ศ. 2531 - 2562 การเติบโตของอาหารสัตว์แต่ละ ประเภทเฉลี่ยในไก่เนื้อ 15% รองลงมาคือ ไก่ไข่ 9% สุกร 8% กุ้ง 13.4% โคนม 32% ปลา 24.2% มีเพียงเป็ดเท่านั้นที่การเติบโตลดลง คือ -0.7% แต่ถ้ามองในปีปัจจุบัน พ.ศ. 2561 -2562 ไก่เนื้อเติบโตเฉลี่ย 10.2% แต่ไก่ไข่ และสุกร การเติบโตถดถอยลงจนติดลบ โดยในส่วนของ ไก่ไข่ คือ - 13.1% ขณะที่สุกร - 2.0% ทั้งนี้ เนื่องจากทั้งสองก�ำลังเผชิญปัญหาภายใน โดย เฉพาะสุกรที่เจอปัญหาโรคระบาด
ขณะที่วัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสัตว์ พบว่า วัตถุดิบประเภทพลังงานยังคงเป็นข้าวโพด ผลิตภัณฑ์ข้าว มันส�ำปะหลัง และข้าวสาลี คิดเป็น 60% ของวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ รองลงมาคือ ถั่วเหลือง และกากถั่วเหลือง 28% ปลาป่น 3% และวัตถุดิบอื่นๆ อีก 9% ส่วน วัตถุดิบหลักอย่างข้าวโพด พบว่า ความต้องการ ในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2562 เฉลี่ยปีละ 571% ส่วนการเติบโตของผลผลิตข้าวโพด ปี พ.ศ. 2541 - 2562 เฉลี่ยปีละ 0.12% แต่ความ
ต้องการใช้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ขณะที่ราคาหน้าโรงงาน ยังสูงกว่าราคาตลาดโลกเท่าตัว ตรงกันข้ามพบว่า ประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย ต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก โดยประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีผลผลิต และผลิตได้สูงที่สุดในโลก คือประมาณ 1,677 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่ไทย ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 699 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น
ถั่วเหลือง การผลิตของโลกในรอบปีการ ผลิต 2562 -2563 อยู่ที่ 337 ล้านตัน โดยประเทศ บราซิลมีสัดส่วนการผลิตที่มากที่สุดคือ 36% รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา 29% ตาม ด้วยประเทศอาร์เจนตินา 16% และอีก 19% จาก ประเทศอื่นๆ ส่วนการส่งออกถั่วเหลือง และกาก ถั่วเหลืองของโลก รอบปีการผลิต 2562 - 2563 อยู่ที่ 216 ล้านตัน โดยมีประเทศบราซิลเป็น ผู้ส่งออกอันดับ 1 คิดเป็น 42% ของปริมาณการ
ส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา 28% ตามมาด้วย ประเทศอาร์เจนตินา 18% และ อีก 12% จากประเทศอื่นๆ
ส�ำหรับประเทศไทยถือเป็นอีกประเทศที่มี การน�ำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง และกากถั่วเหลือง โดย ประเทศหลักที่น�ำเข้าคือ ประเทศบราซิล สหรัฐอเมริกา และอาร์เจนตินา โดยเฉพาะช่วงปี พ.ศ. 2558 - 2561 มีการน�ำเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ปีนี้
กลับพบว่ามีการน�ำเข้าที่ลดลง ทั้งนี้เนื่องจาก ประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องโรคระบาดในการ เลี้ยงสัตว์ ท�ำให้ความต้องการใช้อาหารสัตว์น้อย ลง บวกกับการแข็งค่าของเงินบาท ด้วยเหตุนี้ จึงท�ำให้การน�ำเข้าของไทยลดลงจากปีก่อนๆ กากถั่วเหลือง สถานการณ์ช่วงปี พ.ศ. 2552 - 2562 ในด้านราคา พบว่าอัตราราคา กากถั่วเหลืองต่างประเทศลดลงเฉลี่ยปีละ -1.32% เช่นเดียวกับกากถั่วเหลืองกะเทาะเปลือก ลดลง เฉลี่ยปีละ -1.70% แต่อย่างไรก็ดี ส�ำหรับประเทศ ไทย ประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดถั่วเหลืองยังต�่ำ กว่าค่าเฉลี่ยโลก โดยประเทศที่มีการผลิตได้มาก ที่สุดคือ ประเทศบราซิล โดยในรอบปีที่ผ่านมา ผลิตได้ 123 ล้านตัน ผลผลิตเฉลี่ย 533 กิโลกรัม ต่อไร่ รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา 97 ล้านตัน ตามมาด้วยอาร์เจนตินา 53 ล้านตัน จีน 17 ล้านตัน และปารากวัย 10 ล้านตัน ตามล�ำดับ ขณะที่ประเทศไทย ผลิตได้ 0.05 ล้านตัน ได้ ผลผลิตต่อไร่แค่ 245 กิโลกรัม
สถานการณ์วัตถุดิบและนโยบายภาครัฐ ณ ปัจจุบัน ในส่วนของข้าวโพด สภาวะปัจจุบัน คือ ผลผลิตไม่เพียงพอ ประสิทธิภาพการผลิตต�่ำ ผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม นโยบายก�ำกับคือ ส่งออก เสรี จ�ำกัดการน�ำเข้า รับประกันราคาขั้นต�่ำ ปลาป่น สภาวะปัจจุบันคือ เกิดปัญหา IUU นโยบายก�ำกับ คือ ส่งออกเสรี น�ำเข้ามีก�ำแพงภาษี 15%
กากถั่วเหลือง สภาวะปัจจุบันคือ ผลผลิต ไม่เพียงพอ นโยบายก�ำกับคือ เก็บภาษีน�ำเข้า 2% อนุญาตให้ส่งออก 20% ของการผลิตภายใน ประเทศ ประกันราคาผลผลิตภายในประเทศ ข้าว สาลี สภาวะปัจจุบันคือ ไม่มีการผลิตในประเทศ นโยบายก�ำกับคือ ใช้มาตรการควบคุมการน�ำเข้า
3:1 โดยสรุปสถานการณ์วัตถุดิบไทยคือ นโยบาย การควบคุมดูแลวัตถุดิบที่ผ่านมา ท�ำให้ต้นทุน วัตถุดิบอาหารสัตว์ไทยแพงกว่าตลาดโลก
ความท้าทายห่วงโซ่อุปทานอาหารในปี พ.ศ. 2563 คงหนีไม่พ้นเรื่องการแบน 3 สารเคมี อันตราย ที่มีมติเอกฉันท์ ห้ามใช้ ห้ามจ�ำหน่าย และห้ามผลิต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหารอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะหลายๆ ประเทศยังมีการใช้กันอยู่ ดังนั้น การที่ประเทศ ไทย มีมติแบน 3 สารดังกล่าว เท่ากับประเทศ ที่ยังมีการใช้อยู่นั้น จะไม่สามารถน�ำเข้าวัตถุดิบ เหล่านั้นได้ นี่จึงเป็นความท้าทาย โดยเฉพาะ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เป็นอย่าง มาก
นอกจากเรื่องของการแบน 3 สารเคมี อันตรายแล้ว ความท้าทายห่วงโซ่อุปทานอาหาร อีกเรื่องคือ สงครามการค้าระหว่างจีนกับ สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งทางตรง และ ทางอ้อมกับไทย แต่ที่กระทบโดยตรงแน่นอน คือ การที่สหรัฐอเมริกา ตัด GSP สินค้าไทย ซึ่งจะท�ำ ให้ไทยต้องเสียภาษีในการส่งสินค้าเข้าสหรัฐอเมริกา แต่ที่ถือว่าท้าทายมากที่สุดคงหนีไม่พ้น เรื่องโรค ASF เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นมาจริงๆ จะกระทบไปทั้งระบบอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ตลอดจน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
โดยสรุป สถานการณ์อาหารสัตว์ของโลก ในปี พ.ศ. 2563 สุกรในจีน และเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ จะถดถอยจากโรค ASF แต่ไก่เนื้อ และ สัตว์อื่นๆ รวมทั้งสุกรในอเมริกา บราซิล และ ยุโรป จะเติบโตเพิ่มขึ้นจากผลของราคาวัตถุดิบ อาหารสัตว์หลักของโลกยังมีปริมาณเพียงพอ ต่อความต้องการ จากสถานการณ์ในปัจจุบัน ราคาวัตถุดิบในปี 2563 จะมีความใกล้เคียงกับ ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจะต้องหาทางออกเรื่องการ ยกเลิกการใช้ 3 สารเคมีทางการเกษตร ไม่ให้ มีผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานอาหารของไทย รัฐบาลต้องเร่งปรับประสิทธิภาพการผลิตวัตถุดิบ อาหารสัตว์ของไทย ให้มีประสิทธิภาพแข่งขัน ได้ในตลาดโลก เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารของ ไทย มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน