2 minute read

ประสบการณ์ของไทยในงานชริมป์ 2019

รูปที่ 3 ตรวจสอบระบบไบโอซีเคียวที่ใช้งานอยู่ อย่างสม่�ำเสมอ เพื่อปรับปรุงและแก้ไข ให้มีประสิทธิภาพมากขึ ้ น

5. เน้นการบ�ำบัดน�้ำก่อนน�ำไปเลี้ยงกุ้ง อย่างจริงจัง เนื่องจากในช่วงที่มีความเสี่ยงในการ เกิดโรคสูง จะพบว่าน�้ำธรรมชาติจากภายนอกที่จะ น�ำมาเลี้ยงกุ้งมักจะมีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส ในน�้ำมากกว่าช่วงปกติ การบ�ำบัดน�้ำในช่วงนี้จึง ต้องท�ำอย่างพิถีพิถันในทุกขั้นตอน จึงจะลดความ เสี่ยงได้ โดยจะต้องไม่มีพาหะน�ำโรคไวรัสตัวแดง ดวงขาวต่างๆ เช่น ปู เคย กุ้งกระต่อม กุ้งฝอย เป็นต้น น�้ำดิบที่สูบเข้ามาในฟาร์มต้องผ่านการ ก�ำจัดพาหะด้วยไตรคลอร์ฟอน 2 พีพีเอ็ม ก่อน แล้วจึงสูบมาเก็บในบ่อพักน�้ำ เพื่อลดความขุ่น โดย ให้เกิดการตกตะกอนขั้นต้นด้วยการใช้ด่างทับทิม 5 พีพีเอ็ม และควรพักน�้ำไม่น้อยกว่า 7 วัน จากนั้น สูบน�้ำส่วนใสด้านบนเข้าบ่อทรีต เพื่อเข้าสู่ขั้นตอน การฆ่าเชื้อ โดยใช้คลอรีนความเข้มข้น 15 พีพีเอ็ม จากนั้นสูบน�้ำส่วนใสผ่านใยกรองไปเก็บในบ่อน�้ำ พร้อมใช้ ปรับคุณภาพตามมาตรฐานการเลี้ยงกุ้ง และน�ำไปใช้ต่อไป • การจัดการสภาพแวดล้อมในบ่อเลี้ยงให้ กุ้งอยู่สบายไม่เครียด

Advertisement

นอกจากการมีระบบไบโอซีเคียวที่ดี และ มีประสิทธิภาพแล้ว การสร้างสภาพแวดล้อมในบ่อ ให้เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งตลอดระยะเวลาการ เลี้ยงนั้น จะช่วยให้กุ้งอยู่สบาย ไม่เครียด มีความ แข็งแรง และความต้านทานโรคสูงขึ้น ท�ำให้ช่วยลด ความเสี่ยงของการเกิดโรค โดยมีแนวทางดังนี้ 1. เลี้ยงกุ้งในอัตราที่เหมาะสม ซึ่งจะ ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของฟาร์ม และขนาด ของกุ้งที่ต้องการจับ รวมทั้งการให้อาหารต้อง ระมัดระวังอย่าให้อาหารเกินความต้องการของกุ้ง การเพิ่มอาหารจึงควรค่อยๆ เพิ่ม ไม่ควรเพิ่มเร็ว เกินไป ซึ่งอาจท�ำให้อาหารเหลือได้ 2. ควบคุมคุณภาพน�้ำให้เหมาะสม ตลอดการเลี้ยง คุณภาพน�้ำทางเคมีที่ส�ำคัญ ได้แก่ ปริมาณออกซิเจนละลายน�้ำ (DO) ต้องไม่ต�่ำกว่า 5 พีพีเอ็ม พีเอช (pH) ควรอยู่ในช่วง 7.5 - 8.3 และมีค่าความแตกต่างในรอบวันไม่ควรเกิน 0.5 ค่าอัลคาไลนิตี้ (Alkalinity) ไม่ควรต�่ำกว่า 150 - 180 พีพีเอ็ม ไม่ควรมีสารพิษ เช่น แอมโมเนีย ไนไตรท์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์ ในบ่อมีปริมาณ แร่ธาตุที่เพียงพอต่อความต้องการของกุ้ง ถ้า ความเค็มของน�้ำที่เลี้ยงมากกว่า 20 พีพีที ขึ้นไป ค่าแคลเซียมควรมากกว่า 250 พีพีเอ็ม แมกนี - เซียมควรมากกว่า 400 พีพีเอ็ม และโพแทสเซียม ควรมากกว่า 150 พีพีเอ็ม เป็นต้น ทั้งนี้ ปริมาณ และสัดส่วนของแร่ธาตุขึ้นอยู่กับความเค็มที่ใช้ เลี้ยงกุ้งด้วย

3. สภาพพื้นบ่อต้องสะอาด เนื่องจากในระหว่างการเลี้ยงจะมีการสะสม ของสารอินทรีย์ในบ่อ โดยเฉพาะที่พื้นบ่อ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกิดจากอาหารที่กุ้งกิน ไม่หมด ซากแพลงก์ตอน รวมทั้งขี้กุ้งที่ขับถ่ายออกมา เมื่อเกิดการย่อยสลายโดย แบคทีเรีย ก็จะท�ำให้เกิดสารที่เป็นพิษต่อกุ้ง เช่น แอมโมเนีย ไนไตรท์ และก๊าซ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นต้น รวมทั้งท�ำให้กุ้งอ่อนแอ และติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น ดังนั้น เกษตรกรจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการให้อาหาร เพราะถ้าให้อาหารเหลือมาก จนเกินไป นอกจากจะท�ำให้สิ้นเปลืองแล้วยังท�ำให้เกิดการสะสมของสารอินทรีย์ ทั้งในน�้ำ และตะกอนเลน ท�ำให้เกิดสารพิษดังกล่าวขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการก�ำจัด ตะกอนที่พื้นบ่อ โดยท�ำการสูบออกจากหลุมกลางบ่อเก็บในบ่อทิ้งเลนที่แยกเป็น สัดส่วน ร่วมกับการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยย่อยสลายของเสีย เช่น ไบโอทริม ไบโอรีดอกซ์ หรือซุปเปอร์พีเอส (ใช้ตามปริมาณที่แนะน�ำของผลิตภัณฑ์) และติดตามคุณภาพน�้ำอย่างใกล้ชิดเป็นประจ�ำทุกวัน การสูบของเสียออกจาก บ่อเลี้ยง และการใช้จุลินทรีย์ ต้องท�ำตั้งแต่ช่วงต้นของการเลี้ยงต่อเนื่องไปจนกระทั่ง วันที่จับกุ้ง

จะเห็นได้ว่าการป้องกันโรคตัวแดงดวงขาวนั้น อยู่ในวิสัยที่เกษตรกรผู้เลี้ยง กุ้งสามารถควบคุมความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้เกือบทั้งหมด แต่สิ่งที่ส�ำคัญคือ เกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งจะต้องให้ความส�ำคัญ และใส่ใจกับระบบไบโอซีเคียวอย่างเต็มที่ มีการ วางแผน และเตรียมความพร้อมในการเลี้ยง รวมทั้งลดโอกาสที่ท�ำให้กุ้งในบ่อเกิด ความเครียดโดยการสร้างสภาพแวดล้อมในบ่อให้เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งตลอด ระยะเวลาการเลี้ยง ถ้าสามารถปฏิบัติได้ตามนี้แล้ว เชื่อมั่นได้ว่า จะสามารถ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคตัวแดงดวงขาว และประสบความส�ำเร็จในการเลี้ยงกุ้ง ได้อย่างแน่นอน

ความท้าทาย และประเด็นต่างๆ ในการเพาะเลี ้ ยงกุ้ง:

ประสบการณ์ของไทย ในงานชริ ้ มป์ 2019

“ปัญหาที่เราเผชิญในอดีต ถ้าคิดว่าเป็นเรื่องร้าย มันก็เป็นเรื่องร้าย แต่ถ้าเรามองเป็นเรื่องดี ก็ถือว่า มันสอนเราเยอะมาก เราได้ต่อสู้กับหลายๆ สิ ่ ง ดังนั ้ น โรคต่างๆ ที่กล่าวมา เราก็ต่อสู้กับมันมาได้ตลอด แก้ไขได้ตลอด ซึ่งมันท�ำให้เรา ได้พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา”

ดร.สมศักดิ ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทยกล่าว

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย ได้รับเกียรติร่วมบรรยายในหัวข้อความท้าทายและประเด็นต่างๆ ในการเพาะเลี้ยงกุ้ง: ประสบการณ์ ของไทย (Shrimp Aquaculture Challenges and Issue: The Thai Experience) ในงาน นิทรรศการการแสดงสินค้าและการประชุมการค้ากุ้งโลก หรือชริ้มป์ 2019 (Shrimp 2019) ซึ่งจัดขึ้น โดย อินโฟฟิช (Infofish) ร่วมกับกรมประมง องค์การข่ายงานศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำแห่งเอเซียและ แปซิฟิก (The Network of Aquaclture Centers in Asia - Pacific: NACA) และสมาคมกุ้งไทย ภายใต้แนวคิด โมเดลเพื่อความยั่งยืน “Modelling for Sustainability” ในวันที่ 12 - 14 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรม เจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ ซึ่งการบรรยายดังกล่าวมีความน่าสนใจเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมกุ้งไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และทิศทางของ อุตสาหกรรมกุ้งไทยในอนาคต จึงสรุปมาน�ำเสนอดังนี้

ประเทศไทยเริ่มเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาในปี 2529 ซึ่งในขณะนั้น เป็นการเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำเป็น หลัก จนกระทั่งปี 2546 เริ่มมีการเลี้ยงกุ้งขาว แพร่หลายมากขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ปัญหาจากโรคกุ้งได้รบกวน และสร้างผลกระทบ ต่อผลผลิตกุ้งไทยมาโดยตลอด อาทิ ปี 2535 พบโรคหัวเหลือง (YHV) ปี 2538 เกิดโรคตัวแดง ดวงขาวระบาด (WSSV) ปี 2541 เกิดโรคขี้ขาว ปี 2546 พบโรคทอร่า (TSV) และในปี 2554 มีรายงานว่าพบโรคอีเอ็มเอส (EMS) หรือโรค ตายด่วน ในประเทศไทย และได้แพร่ระบาดอย่าง รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตกุ้งไทยลดลงกว่าครึ่ง เหลือเพียง 230,000 ตัน จากที่เคยผลิตได้สูงสุด 600,000 ตัน และคาดว่าผลผลิตปีนี้จะอยู่ที่ ประมาณ 290,000 - 300,000 ตัน ประเทศไทยก้าวข้ามวิกฤตเหล่านี้มาได้ เป็นเพราะอุตสาหกรรมกุ้งไทยได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนที่เข้มแข็งจากทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาครัฐ กรมประมง ภาคเอกชน สมาคม - ชมรม สถาบัน

การศึกษา/สถาบันวิจัยต่างๆ มาร่วมมือกันแก้ ปัญหา มีโมเดลการเลี้ยงที่ดี/มีเทคนิคการเลี้ยง ที่มีประสิทธิภาพต่างๆ เช่น แนวทาง 3 สะอาด ระบบไบโอฟลอค ระบบน�้ำหมุนเวียน (RAS) ร่วมกับการมีระบบไบโอซีเคียวที่เข้มข้น ที่ส�ำคัญ มีการพัฒนาพ่อแม่พันธุ์กุ้ง - ลูกพันธุ์กุ้งที่ดีเยี่ยม ซึ่งเกิดจากการลงทุนวิจัยศึกษาและพัฒนาด้าน การปรับปรุงพันธุกรรมกุ้งของภาคเอกชน ด้าน เกษตรกรไทยมีความสามัคคี และมีประสิทธิภาพ ในการผลิตกุ้ง ผู้ประกอบการห้องเย็น และ โรงงานแปรรูป มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัย และ มีประสิทธิภาพ

ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมกุ้ง ไทยตั้งแต่ปี 2529 - 2562 มีหลากหลายรูปแบบ อาทิ ปี 2533 เรื่อง TEDs ปี 2534 เรื่องการ ท�ำลายป่าชายเลน ปี 2536 เรื่องยาปฏิชีวนะ (ญี่ปุ่น) ปี 2540 ปัญหาจีเอสพี (GSP) โดนตัด สิทธิร้อยละ 50 และในปี 2542 โดนตัดสิทธิ ทั้งหมด ต่อมาปี 2549 - 2556 ไทยได้คืนสิทธิ อีกครั้ง หลังจากนั้นจนถึงปัจจุบัน โดนถอนสิทธิ

รูปที่ 1 โรคที่เป็นปัญหาต่อการเลี้ยงกุ้งของไทยตั ้ งแต่ปี 2529-2562

This article is from: