1 minute read
6 ปัจจัยหนุนส่งออก ลุ้นฝ่าด่านโคโรนา ดันทังปีเป็นบวก
พาณิชย์ยังมั่นใจ ส่งออกไทยปี 63 จะกลับมาขยายตัว ชู 6 ปัจจัยหนุน ลุ้นไวรัสโคโรนากระทบระยะสั้น ดันความต้องการจีนน�ำเข้าสินค้าอาหารเพิ่ม ขณะตลาดหลักทิศทางกลับมาโต
Advertisement
นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานนโยบายและ ยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึง แนวโน้มการส่งออกว่า สนค. ประเมินการส่งออกไทยจะกลับมาขยายตัวในปี 2563 (จากปี 2562 ติดลบ 2.7%) โดยการส่งออกล่าสุดเดือน ธันวาคม 2562 ที่ลดลงหรือหดตัว 1.3% แต่ หากหักน�้ำมัน และทองค�ำ จะขยายตัวที่ 1.2% เป็นสัญญาณดีว่าการส่งออกไทย เริ่มฟื้นตัว และมีทิศทางที่ดีในปี 2563 ทั้งนี้มีปัจจัยสนับสนุนที่ส�ำคัญ คือ เศรษฐกิจ โลกฟื้นตัว โดย IMF คาดการณ์เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวปีนี้ที่ 3.3% (จากขยายตัว 2.9% ในปี 2562) และเห็นสัญญาณว่าการค้าโลกก�ำลังผ่านจุดต�่ำสุดจากกิจกรรม การผลิตในหลายสาขา ท่าทีความพร้อมในการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ของหลายประเทศเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ อาทิ สหรัฐฯ สหภาพ ยุโรป และญี่ปุ่น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก และ ราคาน�้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น สงครามการค้าระหว่างจีน และสหรัฐฯ ที่เริ่มผ่อนคลาย จากการลงนามข้อตกลงทางการค้าระยะแรก (Phase - 1 Deal) สถานการณ์ Brexit มีความชัดเจนแล้ว และมีช่วงเปลี่ยนผ่านจนถึงสิ้นปี 2563 ซึ่งจะยังไม่ ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย และ ค่าเงินบาทเริ่มมีแนวโน้มอ่อนค่าลง โดยเดือนมกราคม 2563 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 30.44 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาอ่อนค่าในรอบ 9 เดือน
“ส�ำหรับประเด็นการแพร่ระบาดของไวรัส โคโรนาในประเทศจีนนั้น สนค. คาดว่า ยังไม่น่า กระทบต่อการส่งออกไทยในระยะสั้น โดยเฉพาะ กลุ่มอาหารที่มีมูลค่าสูงในตลาดจีน เพราะมี อุปสงค์ซื้อสินค้าอาหารไทยที่มีความปลอดภัย และ คุณภาพดีอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ต้องติดตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิด ไม่ให้มีการชะงักของ การค้าในภูมิภาค” ส่วนประเด็นสินค้าส่งออก 573 รายการ ถูกระงับสิทธิ GSP โดยสหรัฐฯ นั้น นางสาวพิมพ์ชนก ยืนยันว่า กระทรวงพาณิชย์ อยู่ระหว่างการด�ำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ และเตรียมมาตรการรองรับ ในทุกกรณีอย่างรัดกุม เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อ ผู้ส่งออกน้อยที่สุด โดยกรมการค้าต่างประเทศ
มีแผนรองรับส�ำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับ ผลกระทบ และในด้านการรักษาตลาด กรมส่งเสริม การค้าระหว่างประเทศ มีแผนจัดกิจกรรม น�ำ คณะภาครัฐ และเอกชน บุกตลาดเป้าหมาย กว่า 18 ประเทศ ในปี 2563 ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ การตลาดส�ำคัญตามแนวนโยบายของรองนายก รัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) เพื่อรักษาฐานเดิม และขยายตลาดใหม่ที่มีศักยภาพอย่างครอบคลุม และกระจายความเสี่ยงจากมาตรการการค้าของ ประเทศใดประเทศหนึ่ง แผนกิจกรรมส�ำคัญ อาทิ เอเชีย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย บังคลาเทศ และ CLMV ยุโรป ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และรัสเซีย แอฟริกา แอฟริกาใต้ ตะวันออกกลาง บาห์เรน และ ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
ด้านมุมมองรายตลาด นางสาวพิมพ์ชนก ชี้แจงว่าตลาดส่งออกส�ำคัญต่างๆ มีการปรับตัว ดีขึ้นอย่างชัดเจนในครึ่งปีหลังของปี 2562 อีก ทั้งการส่งออกเดือนธันวาคม2562 ขยายตัวใน หลายตลาด การส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ และจีน ขยายตัว 15.6% และ 7.3% ตามล�ำดับ ซึ่งเป็น อัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 10 เดือน และ 18 เดือน ตามล�ำดับ นอกจากนี้ การส่งออกไป ตลาดตะวันออกกลาง และตลาดรัสเซีย และกลุ่ม ประเทศ CIS ขยายตัว 11.4% และ 8.0% เป็น อัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 23 เดือน และ 16 เดือน ตามล�ำดับ รวมทั้งการส่งออกไปตลาด CLMV กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ที่ 1.1% ซึ่งการส่งออกไปตลาดส�ำคัญที่ปรับตัว ดีขึ้น สะท้อนถึงการส่งออกไทยผ่านจุดต�่ำสุดไป แล้ว และคาดว่าจะรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวได้ ต่อเนื่องในปี 2563
นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ของ สนค. พบว่า มีสินค้าส่งออกหลายรายการที่ควรเร่ง ผลักดัน เพื่อให้การส่งออกไทยกลับมาขยายตัว ในปี 2563 โดยสินค้าไทยมากกว่า 30 รายการ ครอบคลุมทั้งสินค้าเกษตรและอาหาร และสินค้า อุตสาหกรรม (สัดส่วนประมาณ 25% และ ขยายตัวมากกว่า 13%) ท�ำสถิติมูลค่าส่งออก สูงสุดเป็นประวัติการณ์ท่ามกลางการค้าโลกที่ ชะลอตัวในปี 2562 และคาดว่าจะยังคงขยายตัว ต่อเนื่องในปีนี้ ซึ่งการที่ไทยสามารถส่งออกสินค้า กลุ่มนี้สูงสุดเป็นประวัติการ สะท้อนความสามารถ ในการปรับตัว และพัฒนาสินค้าของผู้ประกอบการ ไทยที่ตอบโจทย์ตามความต้องการของตลาดสินค้า เกษตรและอาหาร อาทิ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง นมและผลิตภัณฑ์ นม ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารส�ำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องดื่ม สิ่งปรุงรสอาหาร และอาหารสัตว์เลี้ยง
สินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องส่งวิทยุ โทรเลข โทรศัพท์ นาฬิกาและส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ เครื่องส�ำอางสบู่และผลิตภัณฑ์ รักษาผิว ผ้าแบบส�ำหรับตัดเสื้อ และเครื่องใช้ บนโต๊ะอาหาร
“นอกจากการรุกตลาดส่งออก และผลักดัน สินค้าศักยภาพแล้ว การเร่งเจรจาความตกลงการ ค้าเสรี (FTA) เพื่อลดภาษีสินค้า รวมถึงการเจรจา แก้ไขปัญหาจากอุปสรรคและมาตรการทางการค้า ที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีในตลาดเป้าหมายก็เป็น อีกส่วนส�ำคัญในการผลักดันการส่งออกในอนาคต โดยหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง มีการบูรณาการการท�ำงานร่วมกันกับภาคเอกชน ด้วย ในส่วนของผู้ประกอบการควรให้ความส�ำคัญ ในการดูแลรักษามาตรฐานสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้สินค้าไทยคงศักยภาพในการส่งออกต่อไป”