1 minute read

พลิกฟื้ นการเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำ ทางเลือกอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ

ฮ่องกงผวาหมูจีน น�ำเข้าจากไทยเพิ ่ ม 2,000%

"ฮ่องกงขาดแคลน เนื้อหมูบริโภค หลังอหิวาห์แอฟริกา ระบาดในจีน หันน�ำเข้าจาก อาเซียนเพิ่ม ไทยได้อานิสงส์ส่งออก โตเกือบ 2,000%"

Advertisement

ส�ำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ ฮ่องกง รายงานโดยอ้างอิงข้อมูล ของหนังสือพิมพ์ South China Morning Post ว่า จากที่ฮ่องกงประสบปัญหาการขาดแคลนเนื้อ หมู เนื่องจากการตรวจพบโรคอหิวาต์แอฟริกัน ในสุกร (ASF) ในจีนแผ่นดินใหญ่ และระงับ การขนส่งสุกรมีชีวิตนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งทางฮ่องกงพยายามแก้ปัญหา โดยหา แหล่งน�ำเข้าสินค้าจากประเทศในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ โดยเฉพาะการส่งออกจากไทย ซึ่งพบ ว่าในเดือนสิงหาคม 2562 การส่งออกเนื้อหมู ของไทยไปฮ่องกงเพิ่มขึ้น 40% (ตามข้อมูลจาก สมาคมผู้เลี้ยง สุกรแห่งประเทศไทย) ขณะที่สถิติ จาก World Trade Atlas เมื่อเปรียบเทียบเดือน ต่อเดือนในปี 2562 จะเห็นว่า ในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้น 241% และก้าวกระโดดเป็น 418% ในเดือนตุลาคม ทั้งนี้ภาพรวมการน�ำเข้าของปี 2562 (ม.ค. -พ.ย.) ฮ่องกงน�ำเข้าประเภทหมูสด/ แช่เย็น จากไทย มูลค่า 8.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 1,945% จาก ปี 2561

จากการส�ำรวจตลาดของ สคต. ฮ่องกง พบว่า มีการน�ำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นในห้างซุปเปอร์- มาร์เก็ต ระดับกลาง และสูง ได้แก่ Park N Shop, Wellcome และ V.C. Meat Processing Ltd. (ซึ่งบริษัทนี้ได้ผลการเจรจาสั่งซื้อสินค้าโดยการ แนะน�ำผ่าน สคต. ฮ่องกง ตั้งแต่ปลายเดือน สิงหาคม 2562) นอกจากนี้ ยังมีการน�ำเข้าจาก ผู้ส่งออกไทยรายใหญ่ อาทิ เบทาโกร และ ซีพี ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ประกอบการเนื้อหมูไทยเป็นอย่าง มาก

การน�ำเข้าหมูมีชีวิตโดยหน่วยงาน The Food & Health Bureau มีการเฝ้าระวังอย่าง เข้มงวด และร่วมมือกับหน่วยงาน Customs and Excise Department เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ เนื้อหมูที่เกิดโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรเข้าไปยัง ฮ่องกง จากสถิติหลายปีที่ผ่านมา ฮ่องกงบริโภค หมูจ�ำนวน 1.5 ล้านตัว และน�ำเข้าหมูมีชีวิตจาก จีนแผ่นดินใหญ่ ประมาณ 4,000 ตัวต่อวัน แต่ ปัจจุบันฮ่องกงน�ำเข้าจากจีนลดลง คงเหลือจ�ำนวน 1,324 ตัวต่อวัน (ล่าสุด 9 ธ.ค. 62) ผลจากการ ขาดแคลนหมูสดท�ำให้ราคาสูงขึ้นจากเดิม 75.7 ดอลลาร์ฮ่องกง ต่อกิโลกรัม (ม.ค. 62) เป็น 159 ดอลลาร์ฮ่องกง ต่อกิโลกรัม (ธ.ค. 62) ปกติชาวฮ่องกงนิยมบริโภคเนื้อหมู/เนื้อวัว เฉลี่ย 0.66 กิโลกรัมต่อวัน โดยการปรุงต้มน�้ำซุป เป็นส่วนใหญ่ และนิยมซื้อหมูสดจากพ่อค้าแผง ในตลาดสด จากผลกระทบด้านราคาที่สูงขึ้นกว่า เท่าตัวท�ำให้ผู้บริโภคหันไปซื้อเนื้อ หมูแช่เย็น/แช่ แข็งในห้างซูเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านค้าที่ขายของช�ำ ที่ขายเนื้อสัตว์น�ำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ ไทย อเมริกา ออสเตรเลีย และมาเลเซีย โดยความ เชื่อถือเรื่องความปลอดภัย/คุณภาพที่ไม่พบโรค อหิวาต์ฯ

พลิกฟื้นการเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำ

ทางเลือกอุตสาหกรรมสัตว์น�้า

อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งขาวในปีนี้ ตั้งแต่ต้นปีต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน “ราคายังไม่ดีขึ้น และมีโรครบกวนตลอด” เนื่องจากมีฝนตกตลอดทั้งปี พบว่า เกษตรกรยังคงประสบปัญหากุ้งโตช้าแทบทุกพื้นที่การเลี้ยงจากการติดเชื้อ ไมโครสปอริเดีย (Microsporidia) หรือเชื้ออีเอชพี จะเห็นได้ว่า ทิศทาง อุตสาหกรรมกุ้งไทยคือเน้นการเลี้ยง และการส่งออกกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) เป็นหลัก และยังคงประสบปัญหาในเรื่องของราคาและโรคอยู่ แต่การเลี้ยงและส่งออกกุ้งกุลาด�ำ (Penaeus monodon) กลับมีน้อย หากแต่ ตลาดสหภาพยุโรป และจีน ยังมีความต้องการกุ้งกุลาด�ำอีกมาก แม้จะมีราคาสูง แต่ก็เป็นที่นิยมในตลาดมากเพราะมีเนื้อแน่น และสีสันสวยงาม โดยเฉพาะในวงการ ภัตตาคาร และโรงแรมชั้นน�ำ อีกทั้งผู้บริโภคที่มีก�ำลังซื้อสูง เน้นของดี มีคุณภาพ กุ้งกุลาด�ำจากประเทศไทยเป็นที่รู้จักดีในตลาด และยังมีช่องทางตลาดอีกมาก ที่ผ่านมากุ้งกุลาด�ำไม่สามารถเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ได้ ต้องจับจากธรรมชาติ ในทะเล แม้ว่าจะมีการคัดกรองโรค แต่ลูกกุ้งที่ได้จากพ่อแม่พันธุ์ธรรมชาติมักมี ปัญหาด้านการผลิต คือ โตช้า และมีการตายเรื้อรัง แต่ขณะนี้ทางกลุ่มธุรกิจ สัตว์น�้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มีนโยบาย จะผลักดันการเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำให้กลับมาอีกครั้ง เนื่องจากปัจจุบันซีพีเอฟสามารถ พัฒนาสายพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาด�ำได้ส�ำเร็จ และส่งเสริมการเลี้ยงให้มากขึ้น จึงถือเป็นทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรหันกลับมาเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำเพื่อส่งออก ให้มากขึ้นต่อไป

This article is from: