คู่ มื อ เก็ บ เงิ น • The Basic
บทที่ 1 กระจกเงาบานแรกของคุณ
คู่ มื อ เก็ บ เงิ น • The Basic
ศศินไม่มีเงินเก็บ เป็นหนี้บัตรเครดิตสามใบ ไม่เคยลงทุน และไม่คิดถึงอนาคต ข้างหน้า ได้เงินเดือนมาเท่าไหร่ก็มีวิธีใช้จ่ายจนเป็นศูนย์ “จะไปกลัวอะไร เงินหมดเดี๋ยวเดือนหน้าก็เข้ามาใหม่ เก็บเงินไปทำไม เดี๋ยว ตายไปก็ไม่ได้ใช้พอดี”
บุคลิก ทางการเงิ น ที่ แ ตกต่ า ง
จินนี่ ซิงเกิลมัมที่มีลูกสาวหนึ่งคน จำต้องวางงบประมาณใช้จ่ายในแต่ละเดือน เพราะไม่อย่างนั้น “เงินเดือนฉันคงไม่พอใช้แน่” จินนี่มีสมุดเล็กๆ คอยจดว่าตัวเองใช้เงินไปกับอะไรในแต่ละวัน เธอมองว่าการ มีเงินเก็บสำคัญมากๆ จึงเริ่มต้นออมเงินให้ลูกตั้งแต่เดือนแรกที่แกลืมตาดู โลก และวางแผนจะออมให้ลูกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมั่นใจว่าแกมีทุนการศึกษาไปจนจบ ปริญญาตรี สาวแกร่งวัย 35 ปีเก็บเงินซื้อคอนโดมิเนียมได้สำเร็จเมื่อปีที่แล้ว เธอไม่เคยมี หนี้บัตรเครดิตและไม่เคยต้องยืมเงินใครเลย “นี่เป็นเรื่องที่ฉันภูมิใจมาก” ศศิน ตรงกันข้ามกับจินนี่ เขาเป็นหนุ่มโสด ไม่มีภาระรับผิดชอบ มีตำแหน่ง หน้าที่การเงินสูงกว่าจินนี่มาก และแน่นอนเงินเดือนมากกว่าสองเท่า มีวิถีชีวิตที่ หรูหราดูดี แต่สภาพการเงินของเขาดูไม่ดีเหมือนวิถีชีวิต
คุณคงเคยเห็น “ศศิน” และ “จินนี่” เดินผ่านหน้าคุณไปทุกวันๆ ละหลายคน ทั้ ง สองเป็ น “บุ ค ลิ ก ภาพทางการเงิ น ” แบบสุ ด ขั้ ว คนละข้ า ง ในจำนวน “บุคลิกภาพทางการเงิน” ที่ผู้เชี่ยวชาญแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ มาดูว่าคุณเป็นใครในสี่แบบนี้ • นักวางแผน (Planners) ควบคุมการเงินอย่างเอาอยู่ วางงบประมาณการใช้จ่ายอย่างเคร่งครัด • นักดิ้นรน (Strugglers) ควบคุมการเงินตัวเองได้บ้างไม่ได้บ้าง บางครั้งก็เอาไม่ค่อยอยู่ • นักซุกปัญหา (Deniers) ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นว่าตัวเองมีปัญหา เพราะกลัวว่าจะต้องลุกขึ้นมาแก้ไข • นักโปรยเงิน (Impulsivers) ตามใจตัวเองแบบสุดๆ หาความสุขให้เต็มที่ พรุ่งนี้ค่อยว่ากัน แน่นอนกลุ่มแรกคือจินนี่ และศศินพ่อตัวดีอยู่ในกลุ่มสุดท้าย คนส่วนใหญ่อาจอยู่ในสองกลุ่มตรงกลาง มีปัญหามากบ้างน้อยบ้าง ยอมรับรู้ บ้างไม่ยอมรับรู้บ้างตามแต่กรณี
10
11
ศศิ น กั บ จิ น นี่
aw 1-112.indd 10-11
3/27/12 1:37:56 PM
คู่ มื อ เก็ บ เงิ น • The Basic
คู่ มื อ เก็ บ เงิ น • The Basic
ไม่ว่าคุณจะเป็นใครในสี่กลุ่มนี้ ถ้าอยากจะลุกขึ้นควบคุมการเงินตัวเองให้ได้ จริ ง ๆ เสี ย ที คุ ณ ต้ อ งเปลี่ ย นตั ว เองเป็ น นั ก วางแผน (Planners) อย่ า งจิ น นี่
สถานเดียว
เพราะในทางการเงิน ขนาดของความมั่งคั่งจะวัดกันเฉพาะที่ทรัพย์สินไม่ได้ แต่ ต้องวัดกันที่หนี้สินด้วย ความมั่งคั่งสุทธิ คือการวัดความมั่งคั่งของบุคคลคนหนึ่ง โดยการนำตัวเลข ทรัพย์สินทั้งหมดของคนนั้นเป็นตัวตั้ง แล้วลบด้วยตัวเลขหนี้สินทั้งหมดที่เขามีอยู่ ความมั่งคั่งสุทธิ = ทรัพย์สินทั้งหมด - หนี้สินทั้งหมด สรามีความมั่งคั่งสุทธิ (1,000,000-1,200,000) = -200,000 ขณะที่สรัยมีความมั่งคั่งสุทธิ (500,000-0) = +500,000 ตามสูตรนี้ สรัยจึงรวยกว่าสรา ซึ่งมี “ความมั่งคั่งสุทธิติดลบ” อยู่มากทีเดียว
คุ ณ อยู่ ต รงไหนในทางการเงิน
สราอายุ 35 ปี เธอทำงานในฝ่ายบัญชีของบริษัทอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง แม้จะ มีเงินเดือนดีแต่ก็มีเงินเก็บอยู่น้อยมาก เมื่อเธอรู้แน่ชัดว่า หากปล่อยชีวิตให้สนุกอย่างที่เป็นมาสิบห้าปี ชีวิตของเธอใน อีกสิบห้าปีข้างหน้าคงไม่สนุก เป็นเรื่องดีมากๆ ที่อดีตนักดิ้นรนอย่างสรา ตัดสินใจลุกขึ้นมาเป็นนักวางแผน แต่ก่อนที่จะรู้ว่าเธอต้องทำอะไรเพื่อให้ตัวเองมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น สราจำเป็นต้องรู้ข้อมูลทางการเงินของตัวเองเสียก่อน เปรียบเหมือนคนอ้วนที่อยากลดน้ำหนัก สิ่งแรกที่ต้องทำคือชั่งน้ำหนักของ ตัวเอง สราจึงลงมือ “ชั่งน้ำหนักทางการเงิน” ของเธอ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า “ความมั่งคั่งสุทธิ”
กอบกู้ ความมั่ ง คั่ ง สุ ท ธิ
สรา มีทรัพย์สินทั้งหมด 1,000,000 บาท แต่มีหนี้สินต้องจ่าย 1,200,000 บาท ขณะที่สรัย-น้องสาว มีทรัพย์สินทั้งหมด 500,000 บาท แต่หนี้สินเป็นศูนย์ สราเคยคิดว่าเธอรวยกว่าสรัย เพราะดูจากตัวเลขรายได้และทรัพย์สินที่มี แต่เมื่อวัดความมั่งคั่งสุทธิดูดีๆ เธอก็จำใจต้องยอมรับความจริง
เมื่อนั่งลงคำนวณตัวเลขกันจริงๆ จังๆ สราซึ่งมีหนี้บัตรเครดิตคงค้าง และมีเงิน ออมเก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำเตี้ยติดดิน ก็ค้นพบความจริงว่าเธอ ไม่ได้รวยอย่างที่เคยคิด สราตัดสินใจที่จะตั้งเป้าหมายทางการเงินอย่างง่ายๆ เพื่อกอบกู้ความมั่งคั่ง สุทธิของตัวเอง เริ่มจากเอาเครื่องหมายติดลบออกจากตัวเลขความมั่งคั่งสุทธิของเธอให้ ได้ อย่างน้อยให้กลายเป็นศูนย์ก็ยังดี “เพิ่มตัวเลขความมั่งคั่งสุทธิให้ได้ 200,000 บาท” จึงเป็นเป้าหมายแรกที่เข้าที
ซึ่งสราสามารถทำได้ทั้งด้วยการเพิ่มทรัพย์สิน และการลดหนี้สิน แต่จะเร็วขึ้นมาก ถ้าทำทั้งสองอย่างไปพร้อมๆ กัน
12
13
คุ ณ รวยหรื อ จนกั น แน่
aw 1-112.indd 12-13
3/27/12 1:37:56 PM
คู่ มื อ เก็ บ เงิ น • The Basic
คู่ มื อ เก็ บ เงิ น • The Basic
คุณคงเห็นแล้วว่า ก่อนที่จะตั้งเป้าหมายทางการเงินใดๆ เป็นไปไม่ได้ที่คุณจะ ไม่ลงนั่งคำนวณดูตัวเลขภาพรวมทางการเงินของคุณ คุณจำเป็นต้องรู้จุดที่คุณยืน อยู่ให้แน่ชัดก่อน จึงจะกำหนดได้ว่าคุณจะเดินทางไปไหนแน่ ตัวเลขความมั่งคั่งสุทธิคือตัวเลขเบื้องต้นที่สุดที่ทุกคนควรต้องรู้เกี่ยวกับตัวเอง มันคือตัวเลขสำคัญที่อาจจะเปิดโลกทัศน์ของคุณใหม่ ว่า (จริงๆ แล้ว) คุณอยู่ตรง ไหนกันแน่ในโลกการเงิน
เพื่อสร้างกระจกบานใหญ่บานแรกที่สะท้อนสุขภาพการเงินของคุณ ขอให้นั่งลง ใส่ตัวเลขตามความจริงลงในตารางข้างล่างนี้ จะได้รู้สักทีว่าหน้าตาการเงินของคุณ ยังสวยงามดี หรือกำลังมีปัญหา ตัวอย่างตารางคำนวณหาความมั่งคั่งสุทธิ ทรั พ ย์ สิ น เงินสด บัญชีออมทรัพย์ บัญชีประจำ ตั๋วแลกเงิน กองทุนรวม หุ้น พันธบัตร อสังหาริมทรัพย์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กระจกเงาบานแรก
14
aw 1-112.indd 14-15
เงินออมในประกัน รถยนต์(มูลค่าปัจจุบัน) ทองคำ อัญมณี/ของสะสม อื่นๆ ..................................... ..................................... ทรัพย์สินรวม หนี้ สิ น หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ หนี้บัตรเครดิต หนี้บริษัท หนี้ส่วนตัว บิลค้างจ่าย หนี้อื่นๆ ................................ ................................ หนี้สินรวม ทรัพย์สินรวม - หนี้สินรวม ____________ - ____________
มูลค่าความมั่งคั่งสุทธิ = _____________________ 15
3/27/12 1:37:57 PM
คู่ มื อ เก็ บ เงิ น • The Basic
คู่ มื อ เก็ บ เงิ น • The Basic
เรื่ อ งจริ ง บั น ดาลใจ เมื่อครั้งที่ แดเนียล บล็อกเกอร์วัยยี่สิบต้นๆ แห่ง Sweating The Big Stuff เริ่มต้นทำงานเป็นปีแรกนั้น เขามีเงินเก็บติดตัวอยู่แค่ 1,000 เหรียญ แต่มีหนี้ สินค่าเล่าเรียนถึง 24,000 เหรียญ เรียกว่าตัวเลขความมั่งคั่งสุทธิ “ติดลบ” ทันทีที่ออกสตาร์ทชีวิต หลังจากตั้งเป้าหมายที่จะเปลี่ยนเครื่องหมายลบให้กลายเป็นบวกในหนึ่งปี แดเนียลก็สะกดรอยตามทุกการใช้จ่ายของตัวเอง และเริ่มต้นควบคุมการเงิน แบบจริงจัง หนึ่งปีผ่านไป นี่คือผลงานสุดภูมิใจของแดเนียล 1) ลดหนี้ค่าเล่าเรียนได้ 4,900 เหรียญ 2) สร้างเงินออมฉุกเฉินได้ 5,000 เหรียญ 3) สร้างเงินออมเพื่ออนาคตได้ 9,710 เหรียญ เมื่อคำนวณดูเงินออมต่อรายได้แล้ว พบว่าหนุ่มน้อยแดเนียลมีสัดส่วนการ ออมต่อรายได้สูงถึง 47.5% “ขนาดผมเพิ่งเรียนจบทำงานปีแรก ยังสามารถพลิกตัวเลขความมั่งคั่งสุทธิ จากติดลบ 23,000 เหรียญ มาเป็นเกือบบวกได้ ดังนั้นคุณทุกคนก็ต้องทำได้” แดเนียลเขียนไว้ในเว็บบล็อกของเขา “แค่ไม่ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อยแบบวัยรุ่นทั่วไปหันมาตั้งเป้าหมาย แล้วหาวิธีไปให้ ถึง ผมกล้าพูดได้ว่านี่เป็นเรื่องสนุกเรื่องหนึ่งของชีวิตเลยล่ะครับ”
16
aw 1-112.indd 16-17
บทที่ 2 ค้นหาธงชัยของชีวิต เป้าหมายเป็ นมากกว่ า ความอยาก
เฮนรี่ ฟอร์ดพูดไว้ว่า “อุปสรรคคือสิ่งน่ากลัวที่คุณหันไปเห็น เมื่อคุณเผลอละ สายตาจากเป้าหมายของคุณ” นี่คือข้อดีอันดับหนึ่งของเป้าหมายสำหรับชีวิต มันจะบังคับให้คุณละสายตาจาก อุปสรรคทั้งหลาย มาจับจ้องที่เป้าหมายในฝันของคุณแทน มีงานวิจัยมากมายสนับสนุนว่า มนุษย์ที่มีเป้าหมายในชีวิตและพยายามไปถึง มันให้ได้ จะพบความสุขที่แท้จริงกว่ามนุษย์ที่ดำเนินชีวิตโดยปราศจากมัน อย่าสับสนเป้าหมายกับความ “อยาก” การที่โบว์ “อยาก” ไปเที่ยวอิตาลี บี “อยาก” ได้มือถือรุ่นใหม่ นั่นไม่ใช่ “เป้าหมาย” ของชีวิต “เป้าหมาย” ไม่ใช่การได้ครอบครองวัตถุเพื่อบรรลุความอยากชั่วครู่ชั่วยาม แต่คือธงชัยในชีวิตที่คุณมุ่งมั่น มีความปรารถนาอย่างแน่วแน่ที่จะไปถึงมัน และมี แรงผลักดันที่จะทำให้สำเร็จโดยไม่ต้องมีใครบังคับ 17
3/27/12 1:38:07 PM