ทำไมฉันไม่รวย

Page 1

8

ทำ ไม ฉั น ไม่ รวย

1

ทำไมฉั น ไม่ ร วย


ทำไมฉั น ไม่ ร วย

มันต้องมีเหตุผลแน่นอนเลยใช่ไหม เหตุผลอะไรหรือที่คุณพอจะคิดได้ เพื่อตอบคำถามกระแทกใจ “ทำไมฉันไม่รวย” งานหนัก เงินเดือนน้อย ค่าครองชีพสูงจะตาย แฟนใช้เงินเก่ง พ่อแม่ไม่เคยสอนเรื่องเงิน ไม่มีมรดก ไม่ค่อยได้ทำโอที เจ้าหนี้หน้าเลือด เจ้านายใจดำไม่ขึ้นเงินเดือน ค่าใช้จ่ายจำเป็นเพียบ น้ำมันแพง เงินเฟ้อ เศรษฐกิจไม่ด ี


10 ทำ ไม ฉั น ไม่ รวย

อือม์! รู้สึกดีขึ้นมากมาย มีเหตุผลตั้งมากมายที่ทำให้เราไม่รวย แถมคิดยังไงๆ มันก็ไม่ใช่ความผิดของเราเสียด้วย จริง! มีสิ่งแวดล้อมมากมายรอบตัวที่คุณจะโยนความผิดให้ แต่เตือนไว้ก่อนนะ ยิ่งคุณโยนบาปได้ไกลตัวเท่าไหร่ โอกาสรวยของคุณก็ยิ่งไกลออกไปเช่นกัน

ความผิ ด ของใครสั ก คน

ที่ทำงานคุณมีสักคนไหม คนทีไ่ ม่เคยทำอะไรผิดสักกรณี น้องณี ที่เงินเดือนไม่ขึ้น เพราะ “ณีไม่ใช่พวกขี้ประจบนายอย่างคนอื่นเขานี่” พี่ทศ ที่ขายงานลูกค้าไม่ผ่าน เพราะ “พวกนี้มันรสนิยมบ้านๆ ชอบงานที่ไม่ใช้หัวคิด” คุณพิศ ที่งานเสร็จไม่ทันเดดไลน์ เพราะ “เจ้านายขี้งก ไม่ยอมจ้างคนเพิ่ม” คุณเคยได้ยิน “เหยื่อ” ทางการเงินสักคนบ่นถึงความซวยทำนองนี้ไหม “แพนจะรู้ได้ยังไง ว่าซื้อบ้านแล้วดอกเบี้ยมันบานได้ขนาดนี้ จ่ายค่างวดเดือนละ

เท่าไหร่ก็กลายเป็นดอกเบี้ยหมดเลย ธนาคารโกงหรือเปล่าก็ไม่รู้” “ซวยจริงๆ นี่ถ้าไอ้ท็อปมันไม่คะยั้นคะยอให้ผมทำบัตรกับมันเมื่อปลายปี ผมก็ไม่ต้อง เป็นหนี้บัตรมันเป็นแสน” ”น้องอย่าไปเปิดพอร์ตกับ บล.นี้นะ มาร์เก็ตติ้งมันไม่ดี ชอบแนะนำให้พี่ซื้อหุ้นเน่าๆ” ในเรื่องของความล้มเหลวทางการเงิน การเล่นบท “เหยื่อ” ย่อมน่าเห็นใจกว่าการเล่น บท “ตัวร้าย” พวกเขาจึงโทษใครสักคนได้เรื่อยๆ ตลอดชีวิต ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว “ตัวร้าย” ที่ทำลายชีวิตเขาเหล่านั้น ไม่สามารถบีบคั้นบังคับ ขืนใจให้เขาทำสิ่งนั้นได้ ถ้าพวกเขาไม่ตัดสินใจทำมันเอง เรามักลืมเสียสนิทว่า ทุกการตัดสินใจทางการเงินที่ทำให้เราไปไม่ถึงไหน ไม่ว่าจะ

มีใครเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ ไม่ว่าตอนตัดสินใจจะรู้สึกเครียดแค่ไหน คนที่ตัดสินใจ


11

ขั้นสุดท้ายคือตัวเราเอง การไม่รวยไม่ใช่อาชญากรรมทีต่ อ้ งมองหาต้นเหตุแห่งความเสียหาย ทุกความผิดพลาด เป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่สำหรับตัวเราเอง แต่เราจะไม่เคยเรียนรูบ้ ทเรียนนีเ้ ลย ตราบใดทีเ่ ราไม่เคยรับผิดชอบการกระทำของเราเอง ยิ่งเราเล่นบท “ผู้ถูกรังแก” อีกนานเท่าใด ระยะเวลาที่เราจะ “ไม่รวยเสียที” ก็นาน เท่านั้น เราเลือกที่จะรับบทเป็นอะไร ผลลัพธ์สุดท้ายก็จะตกกับเราเช่นนั้น

งานนี้ มี แ พะ

คุณตื่นขึ้นทุกเช้า ดูรายงานข่าวที่มีแต่เรื่องร้ายๆ หุ้นตก ธนาคารปิด เศรษฐกิจล่ม คนตกงาน ดอกเบี้ยบาน น้ำมันแพง หากหุ้นในพอร์ตของคุณร่วงหล่นลงเหว จนเงินที่คุณลงทุนไว้แทบไม่เหลือค่า คุณอาจ ร่วมวงก่นด่าความพินาศของเศรษฐกิจโลก แช่งชักผู้นำประเทศที่สร้างปัญหาอย่างมันปาก แต่ช้าก่อน คุณที่แอบซุกปัญหาการเงินไว้กองใหญ่อยู่แล้วก่อนเศรษฐกิจล่ม โปรดอย่า เพิ่งสวมรอยโยนบาปให้ใคร การเงินสหรัฐฯ ไม่ใช่แพะตัวใหญ่ที่สุดซวยของคุณ เรื่องนี้ยิ่งไม่เกี่ยวกับรัฐบาลไทย คุณก็รู้อยู่แก่ใจ ไม่ว่าประเทศจะบริหารโดยพลพรรค ฝ่ายไหน คุณเลือกเขาเข้าไปหรือไม่ เขาฟอร์มทีมเศรษฐกิจได้ดีหรือขี้เหร่ปานใด ปัญหาการเงินที่คุณได้สร้างไว้ มันก็ได้ก่อตัวขึ้นก่อนหน้านั้นมาตั้งหลายปี ไม่มีใครแก้ปัญหาทางการเงินของตัวเองได้ ตราบใดที่เขายังยอมรับไม่ได้ ว่าการที่ ฐานะการเงินของเขาไปไม่ถึงไหน ปัญหาใหญ่มาจากตัวของเขาเอง ต่ อ ให้ เ ราอายุ สี่ สิ บ ห้ า หรื อ ห้ า สิ บ สี่ เราก็ ยั ง เติ บ โตเป็ น ผู้ ใ หญ่ ไ ม่ ไ ด้ ถ้ า เราไม่ เ คย

“รับผิดชอบ” สิ่งที่เรากระทำ “รับผิดชอบ” ที่แปลง่ายๆ ว่า รับได้ทั้งผิดทั้งชอบ หมายความว่า หากวันนี้เราร่ำรวยประสบความสำเร็จ เราคงไม่โยนความดีให้รัฐบาล หรือเจ้านาย ดังนัน้ เราก็ควรยืดอกรับอย่างผึง่ ผายว่า ตัวเองล้มเหลวทางการเงินเพราะตัวเอง


12 ทำ ไม ฉั น ไม่ รวย

คนอื่ น ไม่ ได้ ล ำบากอย่ า งฉั น

แหวน สาวโสดบรรณาธิการนิตยสารผู้หญิง ทำเงินได้เดือนละ 50,000 บาท เหมือนคนอื่นทั่วไป วันเงินเดือนออกต้องถูกหักค่าโน่นนี่ยุบยับ ภาษี กองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ ประกันสังคม ไหนจะหักค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนโน่นผ่อนนี่ แค่นี้ก็หมดไป

ตั้ง 30,000 บาทแล้ว ได้มา 50,000 บาท เหลือให้ใช้แค่ 20,000 บาท แต่ละเดือนแหวนรู้สึกว่าตัวเอง

แสนลำบาก เธอต้องอดทนหักใจจากสิ่งที่อยากซื้ออยากได้ ทุกวันนี้ก็ใช้จ่ายแต่เรื่องจำเป็น ล้วนๆ “ได้ห้าหมื่นเหลือใช้แค่ไม่ถึงครึ่ง คนอื่นได้เท่าไหร่ก็ใช้เต็มแม็ก โลกนี้ไม่ยุติธรรม

มีแต่ฉันคนเดียวที่ต้องลำบากลำบน” แหวนบ่นอย่างสุดเซ็ง ลืมความจริงเสียสนิทว่า “คนอื่น” ของเธอนั้นหมายถึงแค่

พี่แหวว บก.บริหารที่เงินเดือนมากกว่าเธอแปดพันแต่ไม่มีภาระอะไร กับศรีวิไล ผู้อำนวย การฝ่ายการตลาดเงินเดือนเท่ากันที่พ่อแม่รวย เธอทำเป็นลืม “คนอื่น” อีกมากมายในกองบรรณาธิการ อย่างพัดชา เลขาฯ กอง เจ้าของเงินเดือน 20,000 บาท(มีภาระต้องเลี้ยงแม่) ชาติ ช่างภาพ เจ้าของเงินเดือน 18,000 บาท(ต้องเลี้ยงเมียที่กำลังท้อง) หรือวิทยา กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ เงินเดือน 16,000 บาท(ก็ต้องส่งน้องเรียนเหมือนกัน) เธอทำเป็นลืมว่า ต่อให้หักค่าใช้จ่ายสำคัญๆ ออกจนหมด รายได้ที่เหลือสำหรับ

ใช้จ่ายส่วนตัวของเธอ ก็ยังมีตัวเลขสูงกว่ารายได้รวมของ “คนอื่น” เหล่านี้อยู่ดี และยั ง จั ด ว่ า สู ง กว่ า ตั ว เลขเงิ น เดื อ นเฉลี่ ย ของคนไทยทั่ ว ไป(จากผลการสำรวจ

ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. 2550) เพราะครัวเรือนไทยมีรายได้ เฉลี่ยเพียงเดือนละ 18,823 บาท และอย่ า ได้ เ อาไปเที ย บกั บ ครั ว เรื อ นกลุ่ ม ที่ มี ร ายได้ ต่ ำ สุ ด ของประเทศไทยที เ ดี ย ว เพราะถ้าเทียบกับครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้ต่ำเตี้ยแค่ 1,321 บาท แหวนอาจตกใจจนพูด อะไรไม่ออก เมื่อพบความจริงว่า เธออยู่ในระดับรายได้สูงมาก สูงกว่าครัวเรือนไทยที่จนที่สุดอยู่ถึง 15 เท่า!!!!


13

เหวี่ ย งกระจกไม่ พ้ น ตั ว

ลองเดาดูว่า ถ้าแหวนยังพร่ำโทษว่า “คนอื่นไม่ลำบากอย่างฉัน” ไปเรื่อยๆ อีกสิบปี เธอจะมีโอกาสพบความสุขทางการเงินเมื่ออายุเท่าไหร่ แหวนจะโยน “กระจกส่ อ งความจริ ง ” ทิ้ ง ก็ ไ ด้ หากภาพสะท้ อ นจากกระจก คื อ

การประกาศความจริงที่เธอไม่อยากรับรู้ว่า ในประเทศนี้มีผู้คนที่มีรายได้น้อยกว่าเธอ มากๆ และพวกเขายังดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข เรากับแหวนก็ไม่ต่างกัน เราพร่ำบ่นโยนความผิดให้รัฐบาล เซ็งที่ต้องทำงานแสนหนัก แต่ได้ค่าเหนื่อยน้อยนิด โทษเจ้าหนี้ว่ารีดเลือดกับปู ก่นด่าโชคชะตาที่ให้เราเกิดมาจน เรามีกระจกชั้นดีที่จะสะท้อนความจริงได้ แต่เรากลับเหวี่ยงกระจกออกไป ให้มัน สะท้อนสิ่งที่อยู่รอบตัว เราเห็นแต่ภาพสะท้อนน่าเกลียดชังของสิ่งอื่นมากมาย แต่ส่องไปจนตาย เราก็ไม่มีวัน เห็นภาพที่บิดเบี้ยวของตัวเอง ภาพสะท้อนว่าวิถีชีวิตของเรา สิ่งที่เราซื้อ สิ่งที่เราใช้ สิ่งที่เราสวมใส่ สิ่งที่เรายอมจ่าย ทุกอย่างในเรื่องการเงินของเราที่เราตัดสินใจ ทั้งหมดนี้ไม่ได้มีใครบังคับเราเลย ถ้าปมปัญหาของเราใหญ่เกินแก้ไข ยิ่งนานไปยิ่งรู้สึกว่ามันใหญ่ขึ้นทุกปี เงินเดือนขึ้น แต่ไม่รู้สึกดี ทำงานหนักแต่ไม่รวยสักที ทำดีแล้วรู้สึกว่าไม่ได้อะไรตอบแทน สาเหตุต้อง ไม่ใช่โชคชะตา แต่คือการเลือกที่ผิดพลาดของเราเอง เป็นไปได้ที่ปัจจัยภายนอกอาจผลักดันให้เราก้าวพลาดไป แต่การแก้ไขเป็นหน้าที่

ของเรามาตั้งแต่ต้น เมื่อคุณสังหรณ์ใจว่าทางนี้ตัน แต่คุณยังวิ่งชน สุดท้ายคุณจะโทษใครที่เจ็บตัว

คุ ณ เห็ น อะไรในกระจกบ้ า ง

แหวน อาจต้องอยู่กับความรู้สึก “ฉันลำบากกว่าคนอื่น” ไปจนตาย ถ้าเธอไม่หยุด โวยวาย แล้วเพ่งมองกระจกส่องความจริงที่เธอหันหลังให้มาตลอดหลายปี


14 ทำ ไม ฉั น ไม่ รวย

เพียงหันกลับมามองเงาสะท้อน เธอก็เห็นความจริงดังกล่าวแล้ว ว่าเธอไม่ได้ยากจน อย่างที่คิด แล้ ว เหตุ ใ ดเธอจึ ง รู้ สึ ก ว่ า เงิ น ไม่ พ อใช้ ทั้ ง ๆ ที่ ตัวเลขเงิ น ที่ เ ธอมี ไ ว้ ใ ช้ จ่ า ย สู ง กว่ า มาตรฐานรายได้เฉลี่ยของคนทั้งประเทศ ถ้าปัญหาไม่ได้อยู่ทตี่ ัวเลข แล้วมันอยูต่ รงไหน ในกระจกนั่นไง ตัวปัญหาอยู่ตรงหน้า จ้องมองแหวนกลับมาด้วยดวงตาเบิกกว้าง ผู้หญิงในกระจกนั่นไง คนที่สร้างปัญหาให้เธอ Dave Ramsey เจ้าของหนังสือการเงินส่วนบุคคลสุดฮิต “Financial Peace” และ “The Total Money Makeover” ให้คำปรึกษาทางการเงินกับผู้ฟังรายการชาวอเมริกันมา นับล้าน ผ่านรายการวิทยุของเขาเอง หลังจากคลุกคลีกบั “คนไม่ยอมรวย” เพือ่ ช่วยพวกเขากอบกูว้ กิ ฤติการเงินมานับแสนราย เขาค้นพบข้อสรุปง่ายๆ ว่า 20% ของปัญหาการเงินมาจากความไม่รู้ 80% ของปัญหาการเงินมาจากพฤติกรรม “การแก้ปัญหาการเงินนั้นไม่ยากเลย ตรงข้ามมัน(โคตร)ง่าย ถ้าเพียงแต่พวกเขาลงมือ เปลี่ยนแปลงตัวเอง!” เดฟได้ ส ร้ า งมุ ม มองที่ แ ตกต่ า งอย่ า งสิ้ น เชิ ง ของการแก้ ปั ญ หาการเงิ น ส่ ว นบุ ค คล

ฐานข้ อ มู ล ซอฟท์ แ วร์ ตั ว เลข สู ต รคำนวณ กฏมหั ศ จรรย์ การปรั บ โครงสร้ า งหนี้

ล้วนเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายทาง เขาฟันธงอย่างมั่นใจ ปัญหาที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ยอมรวยนั้นไซร้ คือเงาสะท้อนที่อยู่ในกระจกนั่นเอง


15

ตั ว เรานั่ น แหละคำตอบ

ปรัชญาการเงินส่วนบุคคลแบบตรงเผงของเดฟน่าสนใจมาก เขายืนยันว่าเขาไม่ได้

ค้นพบอะไรทั้งนั้น ไม่มีความลับสู่หนทางรวยอะไรทั้งสิ้น ไม่มีอะไรเก๋ไก๋ไปกว่าที่เราเคย

ได้ยินมาก่อน แม้แต่หลักล้างหนี้แบบ “Debt Snowball” อันโด่งดังนั้น ก็ไม่มีอะไรแปลก สิ่งที่ทำให้แผนกอบกู้หายนะการเงินของเดฟได้ผล คือการแก้ที่รากปมอย่างแท้จริง “ปัญหาการเงินของคุณไม่มีทางแก้ได้ ถ้าคุณไม่เริ่มแก้ที่นิสัยของตัวคุณเอง” ไม่มีปาฏิหาริย์ ไม่มีความมหัศจรรย์ ไม่มีความลับ ไม่มีกฏแห่งพลังใดๆ ทั้งนั้น วิธีที่คุณจะเปลี่ยนชีวิต ง่ายแค่เปลี่ยนวิธีคิดของตัวคุณเอง คุณจะเปลี่ยนอะไรบางอย่างได้ ก็เมื่อคุณลงมือเปลี่ยนมัน ง่ายๆ ดื้อๆ แบบนั้น แต่รับประกันผลที่ได้ ไม่ว่าคุณจะมีรายได้ระดับรากหญ้า หรือ เงินเดือนสูงลิบทะลุฟ้าหกเจ็ดหลัก ไม่ต้องอ้างหลักเศรษฐศาสตร์ระดับรางวัลโนเบล ไม่ต้องจำสูตรที่ค้นคิดโดยนักการเงิน ชั้นนำ ปัญหาการเงินลึกๆ แก้ได้ด้วยปรัชญาการเงินขำๆ เรื่อง “ครูพักลักจำ” ที่ตายาย พ่อแม่ คนข้างบ้านแก่ๆ และตัวคุณเองก็รู้ดี “สัจธรรมการเงิน” ที่คุณรู้มาตั้งแต่ปอสี่ ถึงเวลานี้มันอาจช่วยชีวิตคุณ

ฉันพบปัญหากับตัวฉันเอง มากกว่าที่เคยพบกับคนอื่นใดในชีวิต - Dwight L.Moody -


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.