คนดีนิสัยไม่ดี

Page 1

6 ทำ ไม ฉั น ไม่ รวย

2

คนดี นิ สั ย ไม่ ดี


17

ฉั น เอาชี วิ ต ไม่ อ ยู่

วีร์ก็เหมือนทุกคนในโลกนี้ ทำงานมาตั้งยี่สิบปี จนป่านนี้เขาก็ยังไม่เฉียดกรายกับ

คำว่ารวย ดูภายนอก วีรเ์ ป็นเจ้าของชีวติ ทีน่ า่ ทึง่ ด้วยตำแหน่งผูอ้ ำนวยการแผนกผลิต ในบริษทั โปรดักชัน่ ทีวใี หญ่ยกั ษ์ เขาเคยเดินยืดอกผึง่ ผายขึน้ ไปรับรางวัลบนเวทีประกวดสามปีซอ้ น ด้วยตำแหน่งหน้าที่ที่ต้องคุมการทำงานของลูกน้องยี่สิบกว่าชีวิต หล่อหลอมบุคลิกให้ เขาเป็นคนโผงผาง บ่อยครั้งในห้องประชุมที่เขาตบโต๊ะปัง ตวาดลูกน้องจนสะดุ้ง ด่าลูก ทีมจนสะเทือน แต่วันนี้บนโต๊ะทำงานไม้ขัดมันตัวใหญ่ ท่าน ผอ.ที่ไม่เคยเกรงอินทร์พรหมหน้าไหน กลับรู้สึก “รับไม่ไหว” กับปัญหาที่ซุกซ่อนไว้ของตัวเอง เขาซบหน้าลงกับกองเอกสารทวงหนีอ้ ย่างอ่อนล้า ความรูส้ กึ แบบนีเ้ กิดขึน้ ทุกปลายเดือน ในโลกแห่ ง การทำงาน เขาเป็ น หั ว หน้ า ที ม ที่ ใ ครๆ ก็ ก้ ม หั ว ให้ แต่ ใ นโลกการเงิ น

นั้นไม่ใช่ ตัวเลขยอดหนี้กดหัวให้เขากลับกลายเป็นเด็กผู้ชายตัวเล็กๆ ที่ไร้ทางสู้ หนี้สินพะรุงพะรัง ภาระที่แบกอยู่เต็มหลังทั้งลูกและเมีย ไหนยังจะบ้าน รถยนต์ ประกัน ไม่รวมค่าใช้จ่ายสารพันที่เข้าคิวทวงยิก อย่าว่าแต่เงินติดก้นบัญชี ทุกวันนี้ใช้เงิน ให้ชนเดือนได้ก็นับว่าบุญเต็มทีแล้ว


18 ทำ ไม ฉั น ไม่ รวย

วีร์รู้สึกเหมือนรถที่หมุนคว้าง แล้วไปเบรคค้างที่ชะง่อนผา เบือ้ งล่างคือเหวลึก รอบข้างคือป่าทะมึน เขาขยับเกียร์ถอยหลัง แต่มนั กลับพังอีกต่างหาก นี่เป็นครั้งแรกที่เขายอมรับกับตัวเอง “ฉันเอาชีวิตตัวเองไม่อยู่จริงๆ”

ชี วิ ต เสี ย เมื่ อ เกี ย ร์ พั ง

วีร์ขับรถคันงามมาถึงทางตัน แต่เชื่อไหมบนถนนสายนั้น ไม่ได้มีแต่รถของวีร์คันเดียว ที่กำลังมุ่งลงเหว บนถนนแปดเลน คุณมองเห็นรถทุกคันขับขี่อย่างสบายๆ ดูเหมือนทุกคนบังคับรถของ ตัวเองได้ แต่น่าใจหาย! พวกเขายังไม่รู้ตัวเลยว่า เบรครถกำลังมีปัญหา • ผลสำรวจสถานภาพหนี้ ค รั ว เรื อ นเดื อ นสิ ง หาคม 2551 คนไทยมี ห นี้ สิ น ครัวเรือนเฉลี่ย 135,166 บาท เพิ่มขึ้น 15.84% จากปี 2550 ถือว่าสูงสุดใน รอบ 10 ปี • สาเหตุที่คนไทยเป็นหนี้เพิ่ม เพราะรายได้น้อยกว่ารายจ่าย ทำให้คนส่วนมาก

ต้ อ งหาทางออกด้ ว ยการกู้ แต่ สั ด ส่ ว นการกู้ เ งิ น ในระบบน้ อ ยกว่ า การพึ่ ง เงิ น

นอกระบบ ผลสำรวจพบว่าการพึ่งพาเงินนอกระบบมีสัดส่วนถึง 35% สูงกว่าปี 2550 ที่มีเพียง 32.2% • คนไทย 56.50% ระบุว่ามีหนี้เพิ่มขึ้นมากกว่ารายได้ มีเพียง 10.79% เท่านั้น ที่มีรายได้สูงกว่าหนี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้ทำแบบสำรวจชิ้นนี้ แสดงความเป็นห่วงว่าคนที่มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละหมื่นบาท ส่อแววมีปัญหามากที่สุดใน การชำระคืนหนี้


19

เพราะกลุ่มผู้มีรายได้ 10,000-20,000 บาทที่ตอบแบบสำรวจนี้ ยอมรับว่าตนมีปัญหา การผ่อนส่งเกิน 80%!

ขว้ า งหนี้ ไม่ พ้ น คอ

ถ้ า คุ ณ ถามคนไทยใกล้ ตั ว ที่ จ มกองหนี้ ว่ า หนทางใดที่ จ ะช่ ว ยให้ เ ขาสะสางปั ญ หา

ขึ้นมาได้ รับรองคำตอบแรกที่เขาโพล่งออกมาต้องเป็น “ถ้าเจ้านายขึ้นเงินเดือนให้ผมไง ไม่ก็ให้โบนัสหลายๆ เดือน รับรองหนี้หมดแน่นอน” คำตอบนี้น่าสนใจ ใครๆ(โดยเฉพาะคนที่เงินเดือนไม่พอใช้)มักคิดเสมอว่า ปัญหาของ เขาติดอยู่แค่ตัวเลขรายได้ เมื่อใดก็ตามที่เขามีรายได้มากขึ้น ปัญหาก็จะจบ บี ม เงิ น เดื อ นหมื่ น ห้ า มี ห นี้ บั ต รเครดิ ต อยู่ ส ามหมื่ น บวกลบคู ณ หารง่ า ยๆ ถ้ า ได้

เงินเดือนขึ้นสักหนึ่งเท่า เขาคงปลดหนี้ได้เลยในเดือนเดียว ยิ่งถ้าเงินเดือนขึ้นสักสองเท่า เขาคงมีเงินเก็บอย่างที่ฝัน โอย! ยิ่งคิดยิ่งมันส์ ถ้าเงินเดือนขึ้นเป็นสักแปดเก้าหมื่น อย่ามาคุยกันเรื่องหนี้ แค่ปี สองปีเขาก็ซื้อรถเงินสดได้เห็นๆ ช้าก่อนบีม ผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือน ปี 2551 ของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้ข้อมูลตรงกันข้ามกับที่คุณคิด ตารางนี้ แ สดงให้ เ ห็ น ความจริ ง ปวดใจ ไม่ ว่ า จะมี ร ายได้ ม ากขึ้ น เท่ า ไหร่ คนไทย

ส่วนใหญ่ก็ยังขว้าง “ปัญหาหนี้” ไม่พ้นคออยู่ดี คนไทยรายได้ 10,000-20,000 บาท มีปัญหาชำระหนี้เกิน 80% คนไทยรายได้ 20,001-50,000 บาท มีปัญหาชำระหนี้ 59-69% คนไทยรายได้ 50,001-90,000 บาท มีปัญหาชำระหนี้ 56.70% คนไทยรายได้สูงกว่า 90,001 บาท มีปัญหาชำระหนี้ 40.10%


20 ทำ ไม ฉั น ไม่ รวย

มี เ ท่ า ไหร่ ก็ ไม่ พ อ

เห็นหรือยังบีม ว่าเรื่องนี้มันไม่เกี่ยวกับตัวเลขรายได้ แต่มันเกี่ยวกับอุปนิสัยของเราเอง ต่อให้มีตัวเลขรายได้สูงเท่าไหร่ ก็ไม่ได้แปลว่า “ขว้างงูแล้วพ้นคอ” คนมีเงินน้อยก็มีหนี้น้อย คนมีเงินมากก็ยิ่งมีหนี้มาก ที่มีน้อยก็หลอกตัวเองได้ ว่าปัญหาเราใหญ่เพราะรายได้น้อย แต่ที่มีมากสิน่าเห็นใจ เพราะไม่รู้จะหลอกตัวเองยังไง ว่าทำไมมันถึงไม่พอ! โอย! อย่าขู่ให้มากนักได้ไหม คุณเริ่มอยากร้องไห้ นึกไม่พอใจที่เอาความจริงเจ็บๆ มาพูด อย่าเพิ่งโมโหไป คุณไม่ได้เป็นคนส่วนน้อยในโลกใบใหญ่ที่รู้สึกว่า “ฉันเอาชีวิตไม่อยู่” เคยมีสถิติต่างประเทศบ่งชี้ ว่าคนส่วนใหญ่ก็ดำเนินชีวิตแบบ “ใจไม่ดี” เหมือนคุณนี่ ล่ะ มีผู้คนมากมายที่คุมเงินตัวเองไม่ได้จนบั้นปลายชีวิต และอีกมากมายของมากมายที่ ตายไปโดยไม่เคยควบคุมเงินของตัวเองได้เลย สาเหตุที่เราคุมเงินไม่อยู่ ไม่ใช่เพราะเราไม่มีเงินเป็นแน่ ลองคิดดูว่าเราทุกคน ต่อให้ลำบากยากแค้นเพียงใด ต่างก็ได้รับ “วัยทำงาน” ที่ ยาวนานถึงสี่สิบปีเท่าๆ กัน ตลอดระยะเวลาอันยาวนานขนาดนี้ แม้แต่คนงานค่าแรงต่ำเตี้ย หรือรับจ้างเป็น ขอทานได้วันละ 100 บาท ก็ยังมีโอกาสสัมผัสเงินผ่านเข้าออกมือรวมกันเป็นล้าน ดังนั้น คนทำงานที่มีรายได้สูงกว่าขอทาน จึงต้องมีเงินที่ผ่านมือเข้ามาหลายล้าน

(หรือหลายสิบล้าน) อย่างแน่นอน แต่เพราะปล่อยให้เงินผ่านมาแล้วก็ผ่านไป คนส่วนใหญ่จึงไม่ได้คิดจะจัดการอย่างไร ให้เงินนั้นคงอยู่ สุดท้ายบั้นปลายชีวิต คนที่ต้องพึ่งพาระบบเบี้ยบำนาญ สวัสดิการของรัฐ หรือฝากผีฝากไข้ให้ลูกหลานดูแล จึงมีสูงถึง 95% ส่วนคนที่สามารถควบคุมเงินได้ จนมีฐานะพอกินพอใช้จนวันสุดท้ายของชีวิต มีอยู่ ราวแค่ 5% เท่านั้นเอง!!! ปัญหาจึงไม่น่าจะอยู่ที่เงิน แต่น่าจะอยู่ที่นิสัยของคนที่ใช้มัน!


21

นิ สั ย ควบคุ ม พฤติ ก รรม

คุณชอบตืน่ ราวๆ เจ็ดโมงเช้า ตืน่ ปุบ๊ ต้องกดเปิดทีวดี ขู า่ ว เวลาอาบน้ำคุณชอบฮัมเพลง อาหารเช้าคุณชอบง่ายๆ ขนมปังปิง้ ทาเนยกับกาแฟก็ได้ หรือน้ำเต้าหูก้ บั ผลไม้สกั อย่างก็พอ คุณขับรถไปทำงานนานๆ ครัง้ เพราะคุณไม่ชอบรถติดกลางทาง จึงชอบไปด้วยรถไฟฟ้า ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นทุกวัน ไม่ต้องมีใครบังคับ คุณเลือกทำ เพราะคุณพอใจ เมื่อทำสิ่งที่คุณพอใจบ่อยครั้งเข้า นานวันก็กลายเป็นความเคยชินที่เรียกว่า “นิสัย” นิ สั ย เป็ น ตั ว กำหนดพฤติ ก รรมที่ เ ราทำลงไป เมื่ อ คำนึ ง ถึ ง ประโยชน์ แ ละโทษจาก พฤติกรรมที่เราทำลงไปแล้ว เราจึงสรุปได้ว่า เรามีบางนิสัยที่ดี และบางนิสัยที่ไม่ดี นิสัยดีคือนิสัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเป็นประโยชน์ ส่วนนิสัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรม

เป็นโทษ เราเรียกมันว่านิสัยเสีย ข่าวดี! นิสัยบางอย่างแม้ไม่ดี แต่เป็นสิ่งที่เราเปลี่ยนได้! ตอนเล็กๆ จิ๊บติดนิสัยกินของหวานทั้งวันจากคุณพ่อคุณแม่ โตขึ้นเธอต้องทรมานกับ น้ำหนักที่ล้นเกิน เมื่อรู้ว่าถ้ายังกินของหวาน จะทำให้เธอลดความอ้วนไม่สำเร็จ จิ๊บจึง เปลีย่ นมากินผลไม้แทน ต่อให้คุณถูกปลูกฝังนิสัยไม่ดีมาอย่างไร คุณก็ไม่ต้องรับเอานิสัยเป็นโทษนั้นไว้ชั่วชีวิต คุณสามารถเปลี่ยนนิสัยนั้นเมื่อใดก็ได้ โดยไม่มีใครกล้าฟ้องร้องเอาผิดอย่างใดกับคุณ ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า นิสัยไม่ดีไม่ได้กำจัดกันง่ายๆ ถ้าคุณเคยติดบุหรี่ ติดเหล้า ติดของ หวาน คุณจะรู้ซึ้งและเข้าใจ ว่าการเปลี่ยนนิสัยต้องใช้กำลังใจมหาศาล แต่เราก็ต้องกำจัดนิสัยไม่ดีให้ได้ มิฉะนั้นเราจะควบคุมพฤติกรรมของเราไม่ได้ และเมื่อเราควบคุมพฤติกรรมที่เป็นโทษไม่ได้ เราก็จะควบคุมชีวิตของเราไม่ได้ด้วย

พฤติ ก รรมพาจน

แอม “แพ้ทาง” เอามากๆ กับเรื่องแต่งบ้าน เงินเดือนของเธอเผลอหมดไปกับการซื้อ ของแต่งคอนโดมิเนียมกระจุกกระจิกได้ทกุ วัน จนรูต้ วั อีกทีกเ็ ป็นหนีบ้ ตั รเครดิตรุงรังเสียแล้ว


22 ทำ ไม ฉั น ไม่ รวย

วันนี้ก็เช่นกัน หลังจากพลิกนิตยสารแต่งบ้านเล่มใหม่ล่าสุด เธอก็นึกร้อนอยากออกไป ซื้อเก้าอี้ตัวใหม่ เหมือนที่โชว์ไว้ในคอลัมน์บ้านสวยประจำเล่ม ทั้งๆ ที่คอนโดที่อยู่กับ

พี่สาวสองคน มีเก้าอี้ให้นั่งอยู่แล้วเจ็ดตัว มีเหตุผลมากมายที่เธอต้องซื้อเก้าอี้ตัวใหม่ เพราะตัวเดิมนั่งไม่สบาย(แม้จะซื้อเบาะ นุ่มๆ มาเสริมแล้ว) เพราะมันดูไม่อบอุ่นเท่าไหร่(แต่เข้ากันดีสุดๆ กับโต๊ะที่ซื้อมาเป็นชุด) และเพราะมันทำให้เธอปวดหลังแทบตาย(จริงๆ เพราะนั่งแช่ทั้งวัน) เหตุผลมากมายขนาดนั้น เธอจึงตัดสินใจแต่งตัวออกจากบ้าน และกลับมาพร้อม

เก้าอี้ที่(ไม่รู้ทำไม)นั่งไปนั่งมากลับรู้สึกเหมือนเดิม แอมบ่นกระปอดกระแปด โทษฟ้าด่าดินที่ทำให้เธอซื้อได้แต่ของไม่ดี “รู้ไหมแอม” พี่อ้อมถอนใจ “เธอไม่ได้ซื้อของไม่ดีหรอก แต่เธอซื้อของที่เธอไม่อยาก ได้ต่างหาก” แอมชะงัก พี่อ้อมจะมาไม้ไหน “พี่ว่าถ้าเธอจะแก้ปัญหาซื้อของไม่ดีมากองไว้เต็มบ้าน เธอต้องหยุดรับนิตยสารเล่มนี้ เพราะอ่านเล่มใหม่ทีไร เธอต้องแล่นออกไปซื้อของที่เธอไม่อยากได้กลับมาทุกที ถ้าเลิกไม่ ได้ก็ต้องหัดแยกให้ได้เสียที ว่าอารมณ์ไหนเป็นแค่อารมณ์ชั่ววูบ”

คนดี นิ สั ย (การเงิ น )ไม่ ดี

Dan Ariely ผู้เขียนหนังสือชื่อ “Predictably Irrational: The Hidden Forces That Shape Our Decisions” พบว่ามีนิสัยบางอย่าง ที่หล่อหลอมรูปแบบการตัดสินใจทางการ เงิน อันส่งผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวที่จะควบคุมเงินของมนุษย์ ศาสตราจารย์ผศู้ กึ ษาด้าน “เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม” หรือ “Behavioral Economics” แห่ง Duke University ได้ทำการทดลองและยกตัวอย่างนิสัยที่ซ่อนตัวอยู่หลังพฤติกรรม จับจ่ายพิกลๆ ของเราหลายข้อ ตัวอย่างเช่น 1. มีโอกาสมากที่เราจะซื้อของที่เราไม่ได้ตั้งใจซื้อ เพราะติดกับดักของฟรีที่แถมมา ทั้งๆ ที่รวมๆ แล้ว มันแพงกว่าของที่เราอยากได้ซึ่งไม่แถมอะไรให้เราเสียอีก


23

2. เมื่อกินยาปวดหัวที่(เราคิดว่า)ราคาแพงกว่า เรารู้สึกว่าเราหายปวดหัวกว่า

กินยาที่(เราคิดว่า)ราคาถูกกว่า สาเหตุเพราะเรามักมีความคาดหวังที่สูงกว่า ต่อ ของที่ราคาแพงกว่า 3. สมมติว่าเราติดใจสินค้าราคาแพงสักชิ้นหนึ่ง แต่ยังลังเลที่จะซื้อ หากบังเอิญ

เราเดินไปเจอสินค้าแบบเดียวกันแต่ถูกกว่า เราจะตัดสินใจซื้อทันที ไม่ว่าเราจะ

อยากได้มันจริงๆ หรือไม่ก็ตาม เราทุกคนล้วนติดกับดักรูปแบบพฤติกรรมการใช้จ่ายแบบไม่สมเหตุผล ซึ่งมักถูกผลัก ดันโดยนิสัยไม่ดี(หรือความเชื่อ)ที่เรามีแต่ไม่รู้ทัน ธรรมชาติของนิสัยไม่ดี เมื่อยังอ่อนอยู่เราจะไม่รู้สึก จะรู้อีกทีก็ต่อเมื่อมันฝังลึกจนเลิก ไม่ได้เสียแล้ว การที่เรามีนิสัยการเงินไม่ดี ไม่ได้แปลว่าเราเป็นคนไม่ดี แต่จำเป็นที่เราต้องรู้ทันนิสัย เหล่านี้ เพราะต่อให้เรามีนิสัยใช้จ่ายไม่สมเหตุผลแค่ไหนก็ตาม หากเรารู้ทันความไม่สม เหตุผลของตัวเองได้ เราย่อมกระชากตัวเองให้คดิ ใหม่และควบคุมพฤติกรรมของเราได้อยูห่ มัด ดังนั้น การค้นพบนิสัยที่สร้างปัญหา จึงเป็นการท้าทายตัวเองอย่างอเนกอนันต์!! หนังสือเล่มนี้จะช่วยคุณเจาะขุดให้เจอรากปมนิสัยบางอย่าง ที่ทำให้คุณเกิดอาการ เบรคเสียเกียร์พัง แล้วลงมือจัดการกับมันไปทีละข้อ และนี่คือภารกิจที่ท้าทายที่สุดอันดับแรก : หยุดหันหลังให้กระจกเสียที หันกลับมาส่องกระจกดูตัวเองทุกวัน กล้าที่จะเผชิญกับความจริงในนั้น ไม่ว่าภาพสะท้อนที่คุณเห็นคืออะไร รับมันให้ได้ นี่คือปัญหาของคุณเอง

ถ้าคุณกำหนดพฤติกรรมได้ คุณกำหนดนิสัยได้ ถ้าคุณกำหนดนิสัยได้ คุณกำหนดตัวคุณเองได้ ถ้าคุณกำหนดตัวคุณเองได้ คุณกำหนดชะตากรรมได้ - Andre Maurois -


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.