4 ทำ ไม ฉั น ไม่ รวย
3
ทั ศ นคติ ผู้ แ พ้
25
เรื่ อ งของหนู ด ากั บ หนู ดี
คนสามคนมีเงินเท่าๆ กัน คนหนึ่งอาจไม่ใช้เงินเลย อีกคนใช้จนหมด และอีกคนใช้ ครึ่งหนึ่งเก็บครึ่งหนึ่ง การที่เราจะใช้เงิน ไม่ใช้เงิน หรือใช้บ้างไม่ใช้บ้าง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเรามีเงินหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับวิธีคิดที่เรามีต่อเงิน หนูดากับหนูดี อายุเท่ากัน เรียนจบคณะเดียวกัน เริ่มทำงานพร้อมกัน เงินเดือนเท่า กัน ไม่มีมรดกเหมือนกัน พวกเธอแยกย้ายกันไปประกอบอาชีพ ต่างคนต่างทำงานเป็นพนักงานบริษัทเอกชน เหมือนกัน ผ่านไปห้าปี หนูดากับหนูดีมีชีวิตเป็นอย่างไรหนอ หนูดายังคงเช่าหอรอเงินเดือนขึ้น ในบัญชีไม่มีเงินสักบาท แถมยังเป็นหนี้หลายหมื่น หนูดไี ด้เลือ่ นตำแหน่งเป็นหัวหน้า มีเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของตัวเอง มีเงินเก็บเป็นแสน ทั้งสองคนมี “ต้นทุน” ทุกอย่างเหมือนๆ กัน แต่ผลลัพธ์กลับออกมาตรงข้ามกัน เหมือนฟ้ากับเหว โลกใบนี้มีคนอย่างหนูดี โลกใบนี้ถึงมีคนบางคนที่รวยกว่าเรา
26 ทำ ไม ฉั น ไม่ รวย
ทั ศ นคติ ผู้ ช นะ
คนที่มี “ทัศนคติผู้ชนะ” อย่างหนูดี รบกับเงินกี่ทีไม่มีจน คนที่รู้โดยสัญชาตญาณ ว่าเขาควรจัดการอย่างไรกับเงิน คนที่รู้ว่าสิ่งใดในชีวิตบ้างที่สำคัญ แล้วเรียงลำดับมันได้อย่างไม่บกพร่อง คนที่ใช้ชีวิตอย่างรู้จุดหมาย รับมือกับความอยากชั่ววูบได้อย่างมีสติ คนที่ไม่มีนิสัยต่อตี แต่เอาตัวรอดได้ทุกที เพราะรู้นิสัย “ศัตรู” เงินจะอยู่หรือไม่อยู่กับใคร กุญแจสำคัญอยู่ที่ “ทัศนคติ” ของผู้ครอบครองมันนี่เอง
เราได้เงินมาเท่ากัน แต่เราจะใช้เงินหรือให้เงินใช้เรานัน้ ขึน้ อยูก่ บั ระบบคิดของเราล้วนๆ มาดูอีกสักตัวอย่างเป็นไร วัฒน์ หัวหน้าแผนกอาคารในบริษัทใหญ่ ไม่เคยรู้สึกว่ามีเงินพอใช้เลยสักเดือน ทุกครั้ง ที่เงินขาดมือ เขาจะคร่ำครวญถึงความยากจน พระเจ้าไม่เข้าข้าง นายจ้างไม่เห็นหัว
เจ้าหนี้ชั่วรีดเลือดกับปู วัฒน์ไม่เคยตระหนักเลยว่า เขาเองที่รีดเลือดกับตัวเอง เขาชวนเพื่อนไปนั่งดื่มเบียร์
ทุกวันเพื่อรำพันถึงความคับแค้น ทุกคืนพอเริ่มเมาก็สั่งเหล้าแบบประชดชีวิต ไม่น่าแปลก ใจที่กระเป๋าสตางค์ของเขาอวบอ้วนด้วยสลิปบัตรเครดิต ค่าใช้จ่ายของการเป็น “ผู้แพ้” เกินเงินเดือนทุกเดือน ตรงข้ามกับวุฒิ แมสเซนเจอร์บริษัทเดียวกันที่เงินเดือนน้อยกว่าตั้งครึ่ง ก้มหน้าก้มตา ทำงานโดยไม่เคยพร่ำรำพันว่าเขาอาภัพอับโชค เงินเดือนออกเมื่อใด เขามองมันเป็น “กระสุน” ที่ต้องใช้อย่างมีความหมาย เงินเดือนน้อยนิดถูกจัดการด้วยวิธีคิดอย่างเป็นระบบ วุฒิวางแผนว่าจะซื้อมอเตอร์ไซค์ สั ก คั น ไม่ ใ ช่ เ พื่ อ เอาไว้ รั บ ส่ ง สาว แต่ เ ป็ น “เป้าหมายระยะยาว” ที่ จ ะใช้ ร ถคั น นี้ เ ป็ น
เครื่องมือหากิน บ่อยครั้งที่วัฒน์เหงา มารบเร้าให้วุฒิออกไปกินเหล้าเป็นเพื่อน วุฒิแม้ยังหนุ่มฉกรรจ์ ใจก็ อ ยากออกไปสั ง สรรค์ เ ฮฮา แต่ เ มื่ อ ชั่ ง น้ ำ หนั ก เที ย บระหว่ า ง “ความอยาก” กั บ
“ความฝัน” เขาก็ได้คำตอบเหมือนกันทุกครั้ง ว่าเขาควรเลือกอะไร
27
หลังจากสูก้ บั ใจตัวเองอยูส่ ามปี วุฒกิ บ็ รรลุเป้าหมาย ซือ้ มอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเองได้จริงๆ ทั้งๆ ที่วุฒิไม่มีต้นทุนอะไรเหนือกว่าวัฒน์แม้แต่อย่างเดียว นอกจาก “ทัศนคติผู้ชนะ” ที่วุฒิไม่เคยมี
เปลี่ ย นความคิ ด ชี วิ ต เปลี่ ย น
วัฒน์มองเงินด้วยสายตาผู้แพ้ เขาจึงขมขื่นว่าไม่เคยมีพอ แต่วุฒิไม่เสียเวลาคร่ำครวญ เขาตั้งเป้าหมายและลงมือทำ สิ่งที่เขาต้องสู้มีเพียงความอยากเท่านั้น โดยมีเงินเป็นแค่อุปกรณ์สร้างฝันของเขาให้ เป็นจริง ง่ายไหม! แค่เปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตการเงินก็เปลี่ยนไปเห็นๆ คุณอยากเป็นวุฒิผู้เห็นเงินเป็นอุปกรณ์สู่ความสำเร็จ หรืออยากเป็นวัฒน์ผู้ระทมทุกข์ ชอกช้ำเพราะเห็นเงินเป็นความยุติธรรมที่เขาไม่เคยได้รับ คุณอยากเป็นหนูดาที่จมบ่วงหนี้ หรือหนูดีที่เก็บเงินเร็ว ทั้งหมดนี้คุณเลือกได้ แค่เลือก “มุมมองใหม่” ที่คุณมีต่อเงิน สมการเบสิค : ทัศนคติที่เรามีต่อเงิน คือตัวสร้างรูปแบบการจัดการกับเงินของเรา ดังนั้น : ถ้าเราต้องการมีเงิน เราต้องเปลี่ยนที่ทัศนคติของเรา ไม่ใช่ที่เงิน
ทุ ก อย่ า งอยู่ ที่ เ ราเท่ า นั้ น
โชคก็เหมือนกรรม มันคือผลของการกระทำของคุณ อำนาจที่จะสร้างหรือทำลายอยู่ในมือเรา ทุกครั้งที่เราโทษสิ่งอื่นนอกจากตัวเรา ว่าเป็น สาเหตุที่ทำให้เราไม่สมหวัง แปลว่าเรากำลังเหวี่ยง “อำนาจ” ที่เรามีไปให้คนอื่น
28 ทำ ไม ฉั น ไม่ รวย
ทุ ก ครั้ ง ที่ คุ ณ “บ่ น ” อะไรทำนองนี้ คุ ณ กำลั ง โยนอำนาจที่ คุ ณ มี ทิ้ ง ไปวั น ละเล็ ก
วันละน้อย • คนรวยก็รวยขึ้น คนจนก็จนลง • ใครจะไปมีปัญญา • พ่อแม่ไม่มีหัวการค้า ลูกๆ ก็เลยไม่มี • ทำใจเถอะ มันก็อย่างนี้แหละ • เงินทองของหายาก • คนรวยโลภทั้งนั้น • ถ้ารวยได้ก็ดี ทุกคำที่คุณตอกย้ำว่ามันเป็นไปไม่ได้ มันก็จะยิ่งเป็นไปได้มากขึ้นทุกวัน
คุ ณ คิ ด เรื่ อ งเงิ น อย่ า งไร
คำถามต่อไปนี้ ให้ตอบแค่ว่าใช่หรือไม่ใช่ 1. คนรวยคือคนมีอำนาจ 2. ความสำเร็จแปลว่ามีเงินมากๆ 3. ฉันชื่นชมคนที่มีเงินมากกว่าฉัน 4. ถ้าฉันหาเงินได้มาก ฉันยอมรับว่าอยากให้คนรู้ 5. ฉันมีความสุขเวลามีคนปลื้มของมีราคาที่ฉันใส่หรือใช้สอย 6. ฉันชอบบอกใครๆ ว่าฉันจ่ายเงินไปเท่าไหร่ โดยที่เขาไม่ต้องถาม 7. ฉันชอบรู้ว่าคนไหนทำเงินได้เท่าไหร่ มากกว่าฉันไหม 8. ฉันเชื่อว่าเงินมักใช้ง้างคนได้ 9. ของแพงย่อมมีคุณภาพ 10. ฉันคงรู้สึกใจพองมากๆ ถ้าวันหนึ่งฉันทำเงินได้มากกว่าคนที่เคยรวยกว่าฉัน 11. เวลาซื้อของ ฉันจะคิดในใจ ว่าคนโน้นคนนี้จะพูดว่าอะไรเมื่อเห็นของชิ้นนี ้
29
รวมคะแนน : ให้ 1 คะแนน ทุกข้อที่ตอบว่า “ใช่” 9-11 คะแนน : คุณเชื่ออย่างฝังใจว่า เงินคืออำนาจและบารมี และทั้งสองอย่างนี้
มีความหมายกับชีวิตคุณอย่างล้นเหลือ คุณให้ความสำคัญกับความสำเร็จซึ่งวัดกันจาก
สิ่งที่มองเห็นภายนอก คุณไม่ชอบอยู่ท่ามกลางคนที่มีเงินน้อยกว่าคุณ 6-8 คะแนน : ทัศนคติทางการเงินของคุณมีความสมดุลโดยธรรมชาติ เงินสำคัญ สำหรับคุณ แต่มีอย่างอื่นที่สำคัญเท่ากันด้วย เช่น ความสำเร็จในการทำงานและความ สัมพันธ์ที่ดีในชีวิต 0-5 คะแนน : เงินไม่สำคัญสำหรับคุณเลย ถึงมีเงินมากคุณก็ไม่คิดจะใช้เงินสร้างภาพ เพราะสำหรับคุณแล้ว เงินไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจหรือความมีเกียรติแต่อย่างใด
ทำไมคุ ณ คิ ด กั บ เงิ น แบบนี้
สิ่งแวดล้อมที่เราเติบโตมาในวัยเด็ก คือตัวกำหนดวิธีที่เราคิดเกี่ยวกับเงิน เราส่วนใหญ่เรียนรู้เรื่องของเงินครั้งแรกจากพ่อแม่ วิธีจัดการกับเงินของท่านที่เราเห็น มาตั้งแต่เด็ก คือปัจจัยสำคัญที่หล่อหลอมรูปร่างความคิดของเราที่มีต่อมัน ทัศนคติเรื่องเงินในวัยเด็กจะฝังใจเราจนโต ถ้าเงินเป็นสาเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทใน บ้าน คุณจะพยายามทุกวิถีทางที่จะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าเรื่องเงิน เด็กที่โตขึ้นมาใน ครอบครัวเช่นนี้ มีโอกาสที่จะปกปิดปัญหาการเงินและการใช้จ่ายเกินตัวของตัวเอง เด็กที่โตมาในครอบครัวที่ใช้เงินมือเติบ มีโอกาสจะเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่รู้จักขอบเขตของการ ใช้เงิน แม้ว่าจะทำเงินได้น้อยกว่าพ่อแม่ ก็ยังยืนยันจะใช้เงินตามความพอใจ ทัศนคติเช่น นี้อันตราย เพราะนำไปสู่ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวได้ในที่สุด ทัศนคติ คือแนวโน้มที่จะแสดงหรือมีปฏิกิริยาในทางบวกหรือในทางลบต่อสิ่งใด
สิ่งหนึ่ง ทัศนคติจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับค่านิยมของบุคคลและประสบการณ์ทาง สังคมที่ฝังรากลึกในคนนั้น
30 ทำ ไม ฉั น ไม่ รวย
ทำไมคุ ณ ชอบใช้ เ งิ น
เราต่างมีเหตุผลไม่เหมือนกันในการใช้เงิน นอกเหนือจากการจับจ่ายเพื่อปัจจัยสี่
ที่จำเป็นแล้ว การใช้เงินเกินจากนั้น มักสัมพันธ์กับอารมณ์ของเราทั้งสิ้น การใช้เงินเป็นวิธีสนองตอบต่ออารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง บางคนใช้เงินในเวลาที่มี ความสุข บางคนใช้เงินเพื่อกำจัดความทุกข์ บางคนซื้อเพื่อให้หายเหงา บางคนจ่ายเพื่อให้ เข้ากับคนอื่นได้ นักการตลาดรู้เรื่องนี้ดีทุกราย งานของเขาคือการทำทุกวิถีทางให้คุณเกิดอารมณ์ต่างๆ ที่เร้าให้คุณสนองตอบด้วยการใช้เงิน ถ้าคุณรู้สึก “พล่าน” อยากใช้เงินทุกครั้งที่รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง หรือถ้าคุณ “ค่อยยังชั่ว” ทุกครั้งที่ได้จ่ายเงินซื้อของแพงๆ ตรวจสอบระดับความนับถือตัวเองของคุณด่วน คนที่มีความนับถือตัวเองต่ำ มีแนวโน้มที่จะชอบใช้เงินเพื่อซื้อการยอมรับจากคนอื่น ทุกครั้งที่คุณซื้อรองเท้ายี่ห้อดัง ใช้น้ำหอมที่กำลังฮิต ซื้อรถสปอร์ตรุ่นล่า เข้าสปาเพื่อ ให้มีเรื่องคุยกับคนอื่น ลองตรวจสอบว่าคุณกำลังใช้จ่ายเพื่อ “เสริมอัตตา” หรือ “แสวงหา
การยอมรับ” หรือเปล่า ทุกครั้งที่คุณกำลังจับจ่าย อย่าลืมฉุกคิดสักนิด ว่าคุณถูกกระตุ้นให้ซื้อด้วยอารมณ์ใด คุณกำลังสนองอารมณ์ “เบื่อ” “เซ็ง” “เศร้า” “เหงา” “แย่” “ไม่มีค่า” “อยากสวย”
“อยากหล่อ” “อยากดูด”ี ด้วยการซื้อหรือเปล่า แน่ใจนะว่าจะดับอารมณ์ชั่ววูบเหล่านี้ ด้วยการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น!
รู้ ทั น ทั ศ นคติ อั น ตราย
ทัศนคติเชิงลบทางการเงิน คือหลุมพรางอันตรายที่คุณมักเผลอตกลงไปโดยไม่รู้ตัว ลองสำรวจว่าคุณมี “ทัศนคติอันตราย” แบบนี้บ้างไหม
31
“เรามันโชคไม่ดี” ทัศนคติที่เจ็บช้ำกับโลกคือบ่อเกิดของทัศนคติเชิงลบกับเงิน มันไม่ผิดที่คุณรู้สึกขมขื่น กับชีวิต แต่การจมอยู่กับมันไม่มีทางเปลี่ยนอะไรได้ หากคุณปฏิบัติต่อชีวิตไม่ดี คุณก็จะปฏิบัติต่อเงินไม่ดีไปด้วย ปรับทัศนคติใหม่ : เงินเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ฉันบรรลุเป้าหมาย ไม่ใช่อุปกรณ์ที่จะใช้เพื่อ ปลอบใจตัวเอง “เงินซื้อใครก็ได้” เงิ น ซื้ อ ได้ แ ต่ ค นที่ หิ ว เงิ น เท่ า นั้ น ถ้ า คุ ณ คิ ด ว่ า มี เ งิ น แล้ ว ความรั ก จะตามมาง่ า ยๆ
คุณกำลังเข้าใจผิด เมื่อคุณใช้เงินซื้อความรักหรือความภักดี สุดท้ายสิ่งที่คุณมีคือคนที่
หวังเงินคุณ ปรับทัศนคติใหม่ : การใช้เงินดึงคนอื่นไว้กับคุณสะท้อนความอ่อนแอในจิตใจของคุณ เอง สิ่งที่ดึงดูดคนเข้ามาหาคุณอย่างยั่งยืนได้ คือพลังแห่งความรักที่คุณจ่ายไป ไม่ใช่เงิน “ฉันมีค่าเพราะฉันมีเงิน” เป็นความเข้าใจผิดมากๆ หากคุณคิดว่า “คุณหนู” ในครอบครัวรวยๆ มักเอาแต่ใจ เพราะจริงๆ แล้ว ยิ่งเด็กที่เกิดในครอบครัวยากจนมากเท่าไหร่ อาจโตขึ้นเป็นคนเอาแต่ใจ มากขึ้นเท่านั้น คุณคงเคยถูกพ่อแม่ห้ามไม่ให้กินขนมใช่ไหม ยิ่งท่านดุด่ากีดกันมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่ง อยากแอบสวาปามให้สะใจเป็นการชดเชย เมื่อเราขาดสิ่งใดเราก็มักชดเชยด้วยสิ่งนั้น เราจึงเห็นผู้ใหญ่ที่ช็อปแหลกแบบคุมตัวเอง ไม่ได้อยู่ทั่วไปรอบตัวเรา ด้วยรากลึกปมปัญหา “ขาดแคลน” ในใจมาตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้เรารู้สึกว่าเสียเท่าไหร่ เสียไป แพงเท่าไหร่ฉันก็จ่ายได้ ฉันซื้อถ้าฉันพอใจ ฉันมีเงินและฉันมีค่าคู่ควร
32 ทำ ไม ฉั น ไม่ รวย
ปรับทัศนคติใหม่ : ไม่ผิดที่อยากชดเชยให้สะใจ แต่ความสะใจต้องมีจุดสิ้นสุด ขุด ปมด้อยเรื่องเงินตอนเด็กๆ ทิ้งไป บอกตัวเองว่าใจของคุณเต็มแล้ว ต่อไปนี้คุณไม่ขาด อะไรแล้ว “ฉันซื้อแต่ของคุ้มค่า” คุณยืนยันว่าคุณคิดแล้วคิดอีกก่อนซื้ออะไรสักอย่าง คุณใช้เงินเป็นและซื้อเฉพาะสิ่งที่ คุ้มค่าเงินเท่านั้น ของที่คุณซื้อส่วนใหญ่ผ่านการวินิจฉัยว่า “ไม่ซื้อก็โง่แล้ว” ทว่าหากลองเดินสำรวจรอบบ้านดู ข้าวของ “ไม่ซื้อก็โง่” ที่คุณกวาดมาเก็บไว้ ทุกวันนี้ ยังอยู่ในถุงอย่างดี ไม่เคยใช้ ไม่เคยเปิด ไม่เคยใส่ ไม่เคยดู ถึงจะจริงที่คุณซื้อของคุ้มราคา แต่ปัญหาคือมันไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการ! ปรับทัศนคติใหม่ : ของที่คุ้มค่าถ้าซื้อแล้วไม่ใช้ ให้เรียกใหม่ว่า “ของไร้ค่า”
ไม่ว่าคุณจะเชื่อว่าคุณทำได้ หรือเชื่อว่าคุณทำไม่ได้ มันก็ถูกต้องทั้งนั้น - Henry Ford -