ซะกาตกับการบรรเทาปัญหาความยากจนในมุสลิมไทย อิศรา ศานติศาสน์1 ผลการศึกษาในอดีตเกี่ยวกับปัญหาความยากจนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งกว่าร้อยละ ๘๕ ของประชากรนับ ถือศาสนาอิสลาม และเป็นพื้นที่ที่กว่าร้อยละ ๔๐ ของประชากรไทยที่นับถือศาสนาอิสลามอาศัยอยู่ ชี้ว่า ในขณะที่ปัญหา ความยากจนที่วัดจากสัดส่วนคนจนในประชากรทั้งหมดของประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเกือบร้อยละ ๓๕ ในปี ๒๕๓๑ เป็นร้อยละ ๑๔ ในปี ๒๕๓๙ ซึ่งแม้จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในปีก่อนหน้า เป็นร้อยละ ๑๕.๕ ในปี ๒๕๔๑ แต่ก็ลดลงเป็นร้อยละ ๑๒.๔ และร้อยละ ๘.๙ ในปี ๒๕๔๓ และ ๒๕๔๕ ตามลาดับ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เกือบ ๓ ใน ๔ ของ คนจนในประเทศไทยหลุดพ้นจากปัญหาความยากจนในช่วง ๑๔ ปีนี้ แต่ในช่วงเดียวกันคนจนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ ถึงร้อยละ ๔๒ หลุดพ้นจากปัญหาความยากจน จากกว่าร้อยละ ๔๔.๒ ของประชากรในสามจังหวัดที่ตกอยู่ในความยากจนในปี ๒๕๓๑ เป็นร้อยละ ๒๕.๗ ในปี ๒๕๔๕ (Isra Sarntisart, 2005)2 อย่างไรก็ตาม รายงานข้างต้นเป็นการแยกวิเคราะห์ในระดับพื้นที่และเป็นการวิเคราะห์ในสถานการณ์ที่ฐานข้อมูลทีม่ ี ไม่เอื้อต่อการแยกวิเคราะห์ตามศาสนา ต่อมาเมื่อมีข้อมูลภูมิหลังทางศาสนา จึงได้ มีการศึกษารายได้และรายจ่ายของมุสลิม ไทย โดยเปรียบเทียบกับคนไทยโดยทั่วไป พบว่าในปี ๒๕๔๙ คนไทยประมาณ ๖.๑ ล้านคนหรือร้อยละ ๙.๕๕ ของคนไทยทั้ง ประเทศตกอยู่ในความยากจน ซึ่งลดลงเหลือร้อยละ ๘.๑๒ ในปี ๒๕๕๒ และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๐.๖๓ ในปี ๒๕๕๖ ในขณะที่ สัดส่วนคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามที่ตกอยู่ในความยากจน ลดลงจากร้อยละ ๑๗.๓๖ ในปี ๒๕๔๙ เป็นร้อยละ ๑๕.๓๙ ในปี ๒๕๕๒ และกลับเพิ่มเป็นร้อยละ ๑๙.๗๗ ในปี ๒๕๕๖3 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนมุสลิมไทยตกอยู่ในความยากจน มีมากกว่า เกือบสองเท่าตัวของสัดส่วนคนไทยโดยทั่วไปที่ตกอยู่ในความยากจนอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาดังกล่าว (แผนภาพที่ ๑) มุสลิมที่ยากจนกระจายตัวอยู่ในแต่ละภูมิภาคลดหลั่นกันไป
คัดมาจากส่วนหนึ่งของรายงานเรื่อง การปฏิรูปการส่ งเสริมกิจการกองทุนซะกาตเพื่อแก้ ไขปั ญหาความยากจน ที่ผ้ เู ขียนทา ให้ กบั สภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อเดือน กันยายน 2558 2 Isra Sarntisart. (2005). “Socio-economics Silence in the Three Southern Provinces of Thailand”, Journal of Public and 1
Private Management, Vol. 12 No. 2. P.67-87.
กนกวรรณ ยีหวังเจริญ, (๒๕๕๗), การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้ างรายได้ และพฤติกรรมการบริโภคของมุสลิมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๖, รายงานวิจยั เสนอต่อแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย มูลนิธสิ ร้างสุขมุสลิมไทย. 3