๒-๒๕๕๒ มีนาคม - เมษายน
จดหมายข่าวสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
พระพุทธมหาปารมีนุภาพพิสุทธิ์อนุตตรสังคามวิชัย
‘ศักดิ์สิทธิ์ วิจิตรศิลป์’ โดย จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ
ทอง สัมฤทธิ์ มูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต มีโครงการจัดสร้างพระพุทธมหาปารมีนุภาพ พิสุทธิ์อนุตตรสังคามวิชัย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยจ�ำลองจากองค์จริง ที่ใช้เป็น พระประธาน ในการแสดงหุ่นกระบอก เรื่อง ‘ตะเลงพ่าย’ เพื่อระลึกถึงคุณพระ บูรพกษัตราธิราช และวีรบรรพชนผู้กอบกู้และปกปักรักษาแผ่นดินไทย ให้ยืนยง สืบมาจนทุกวันนี้ พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นผลงานออกแบบและตรวจคุมการปั้น-หล่อของ จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ มีความงดงามด้วยพุทธลักษณะ และวิจิตรศิลป์ อย่างสมบูรณ์ พระพักตร์งามสงบเปี่ยมพระเมตตา นับเป็นศิลปะสกุลช่างรัตนโกสินทร์ ยุคปัจจุบัน ที่งามสมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่เคยมี มูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต จึงด�ำริและ ด�ำเนินงานจัดสร้างพระพุทธรูปองค์จ�ำลอง โดยมีจ�ำนวนจ�ำกัด เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมี โอกาสน�ำไปบูชาเป็นสิริมงคล (โปรดอ่านรายละเอียดปกหลังด้านใน)
สารบัญ
ฉบับที่ ๒-๒๕๕๒
มีนาคม-เมษายน ผู้จัดท�ำ
คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัย ๒๕๕๒-๒๕๕๔
ที่ปรึกษา อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน รุ่น ๓๗ ยอดชาย ขันธชวนะ รุ่น ๔๔ บรรยง พงษ์พานิช รุ่น ๔๔ วรชาติ มีชูบท รุ่น ๔๖ กุลวิทย์ เลาสุขศรี รุน่ ๕๗ ประชา ศรีธวัชพงศ์ รุน่ ๕๙ วีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐ ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ รุ่น ๔๖ สาราณียกร อาทิตย์ ประสาทกุล รุ่น ๗๑ บรรณาธิการ กิตติเดช ฉันทังกุล รุน่ ๗๓ คณะบรรณาธิการ กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา รุ่น ๖๕ กอบกิจ จ�ำจด รุน่ ๗๐ อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ รุน่ ๗๑ กรด โกศลานันท์ รุ่น ๗๑ เขต ณ พัทลุง รุ่น ๗๑ ภพ พยับวิภาพงศ์ รุ่น ๗๑ พิชิต ศรียานนท์ รุ่น ๗๒ มณฑล พาสมดี รุ่น ๗๓ สุทธิพงษ์ ลิม้ สุขนิรนั ดร์ รุน่ ๗๓ รัฐพล ปัน้ ทองพันธ์ รุน่ ๗๕ พงศกร บุญมี รุน่ ๗๕ ปรีดี หงสต้น รุน่ ๗๕ ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง รุน่ ๗๖ กรรณ จงวัฒนา รุน่ ๗๖ ศิริชัย กาญจโนภาส รุ่น ๗๖ ธนกร จ๋วงพานิช รุ่น ๗๗ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ รุ่น ๗๙ ถ่ายภาพ ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ รุ่น ๗๒ เฉลิมหัช ตันติวงศ์ รุ่น ๗๗ วรุฒมาศ ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ศิลปกรรม/พิมพ์ที่ พี. เพรส ผู้ช่วยประสานงาน / ทะเบียนสมาชิก วาสนา จันทอง ล�ำจวน ไชยชาติ (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ)
ห้องเพรบ ๔ ๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี ๖ ใต้หอประชุม ๑๐ สัมภาษณ์ นิธิ สถาปิตานนท์ จดหมายเหตุวชิราวุธฯ สอบไล่ ๔๔ หอประชุม บทเรียนจากเขมร ๔๘ โรงเลี้ยง บ้านประชาชื่น ๕๑ เรือนจาก เรื่องเล่า รุ่น ๔๔ ๕๔ คอมมอนรูม ฤดูเปลี่ยนคนโอวีไม่เปลี่ยน ๙๐ จากห้องประชุมสมาคมฯ ๙๔ ระฆังกีฬา สัมภาษณ์ ม.ร.ว.แจ่มจรัส รัชนี ๙๗ ร่างประโยชน์สุขประชาราษฎร์ ตึกพยาบาล เอ็นร้อยหวาย ๑๐๖ ศัพท์โอวี ตึ๋งหนืด ปากเหม็น ๑๐๘ ลอดรั้วพู่ระหงส์ ของขวัญ ๑๑๑ สนามหลัง ๑๑๕ ห้องสมุด อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ ๑๒๓ วันกลับบ้าน ๑๒๔ ห้องเบิกของ ๑๓๑ ตัวอักษร “อนุมานวสาร” ออกแบบโดย ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน (รุ่น ๓๗) ภาพปก นิธิ สถาปิตานนท์ ภาพโดย ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) สัญลักษณ์ “๑๐๐ ปี วชิราวุธฯ” ออกแบบโดย นิธิ สถาปิตานนท์ (รุ่น ๓๘)
เปลี่ยนแปลง-ย้ายที่อยู่/สนับสนุนการเงิน-โฆษณา/ ส่งข่าว-ประกาศ-ประชาสัมพันธ์/ส่งข้อเขียน-บทความ ติดต่อ : สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ e-mail: ovnewsletter@yahoo.com website: www.oldvajiravudh.com
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 1
2
คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประจ�ำปี ๒๕๕๒ - ๒๕๕๔
๑. นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ รุ่น ๔๐ ๒. ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ๓. นายตันติ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ รุ่น ๔๐ ๔. นายสุรเดช บุณยวัฒน รุ่น ๔๑ ๕. นายชัยวัฒน์ นิตยาพร รุ่น ๔๒ ๖. ดร.คุรุจิต นาครทรรพ รุ่น ๔๕ ๗. ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ ์ รุ่น ๔๖ ๘. นายศุภลักษณ์ เปรมะบุตร รุ่น ๔๗ ๙. ร.อ.ชมพล ยูสานนท์ รุ่น ๕๑ ๑๐. นายสุภรัตน์ อัลภาชน์ รุ่น ๕๑ ๑๑. นายไชยวุฒิ์ พึ่งทอง รุ่น ๕๑ ๑๒. นายปฏิภาณ สุคนธมาน รุ่น ๕๒ ๑๓. นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รุ่น ๕๔ ๑๔. นายสัคคเดช ธนะรัชต์ รุ่น ๕๗ ๑๕. นายชาย วัฒนสุวรรณ รุ่น ๕๗ ๑๖. ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ รุ่น ๕๙ ๑๗. นายวรากร บุณยเกียรติ รุ่น ๕๙ ๑๘. นายวีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐ ๑๙. นายภัคพงศ์ จักรษุรักษ์ รุ่น ๖๑ ๒๐. นายทรงศักดิ์ ทิพย์สุนทร รุ่น ๖๒ ๒๑. นายอาทิตย์ ประสาทกุล รุ่น ๗๑
นายกสมาคมฯ กรรมการโดยต�ำแหน่ง กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 3
ห้องเพรบ
จากประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ สวัสดีครับ พี่น้องชาว โอวี ทุกท่าน การเลือกตั้งกรรมการสมาคมนักเรียน เก่าวชิราวุธวิทยาลัยประจ�ำปี ๒๕๕๒-๒๕๕๔ ได้เสร็จสิ้นลงเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เราได้นายกฯ และกรรมการบริหารสมาคมฯ ชุดใหม่ โดยพี่จุลสิงห์ วสันตสิงห์ นอกจากจะ ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมฯ แล้ว ยัง เป็นเลขาธิการฝั่งนักเรียนเก่าของการจัดงาน ฉลองวชิราวุธฯ ครบรอบ ๑๐๐ ปี ซึง่ ถูกก�ำหนด ให้มีขึ้นในช่วง ๒๒-๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ อีกด้วย งานครบรอบ ๑๐๐ ปีนี้ ถึงแม้ดเู หมือน จะยังมีเวลาอีกนาน แต่อันที่จริงแล้วเวลา ๒ ปี นั บ ว่ า เป็ น เวลาที่ สั้ น พอสมควรที เดี ย ว ถ้ า เทียบกับสิ่งที่เราอยากท�ำให้เกิดหรือสร้างขึ้น เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ต่อ องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผูเ้ ปรียบเสมือนพ่อของพวกเรา คงต้องยอมรับ ว่าความคิดจากการระดมสมอง กว่าจะตกผลึก และเป็นที่ยอมรับของทุก ๆ ท่านนัน้ ไม่ใช่เรื่อง ง่าย การระดมทุนต้องวางแผนระยะยาว และ การลงมือท�ำสิ่งที่เป็นปณิธานของเราย่อมต้อง ใช้เวลาพอสมควร ท�ำให้เวลาทีเ่ ราคิดว่ายังมีอยู่ มากนัน้ เหลืออยู่น้อยลงเป็นล�ำดับ
4
ผมมีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มหนึง่ ชือ่ พระบรมราชะประทรรศนีย์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นโครงการที่ รัฐบาล ข้าราชบริพารและประชาชนผูจ้ งรักภักดี ได้ร่วมกันสร้างหอวชิราวุธานุสรณ์ถวาย ใน วโรกาสพระราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๔ ทางคณะกรรมการโดย ฯพณฯ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ร่วมกับกระทรวง ศึกษาธิการและกรมศิลปากรได้ใช้เวลาในการ ศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมหลักฐาน เพื่อ ท� ำ การสร้ า งพิ พิ ธ ภั ณฑ์ พ ระบรมรู ป หุ ่ นขี้ ผึ้ ง แสดงพระราชกรณียกิจส�ำคัญ ๑๒ ประการ และเมื อ งดุ สิ ต ธานี จ� ำ ลองขึ้ น ไว้ ณ หอ วชิ ร าวุ ธ านุ ส รณ์ บริ เวณหอสมุ ด แห่ ง ชาติ ท่าวาสุกรี การด�ำเนินการครั้งนี้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ กว่าจะแล้วเสร็จและเปิดอย่าง เป็นทางการในวันพุธที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๓๗ ใช้เวลาทั้งสิ้น รวม ๑๘ ปี ส�ำหรับการระดม ทุนนั้น นอกจากจะได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนแล้ว ทางคณะ กรรมการยังได้หาทุนโดยได้รับความร่วมมือ จากราชตฤณมั ย สมาคมแห่ ง ประเทศไทย จัดการแข่งขันม้านัดพิเศษ ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าภคินเี ธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ ท�ำให้
ได้ทนุ ด�ำเนินการเริม่ แรกเป็นจ�ำนวนเงิน ๗ ล้าน บาท จากเรื่องดังกล่าวคงท�ำให้เราตระหนักได้ ว่า เวลาไม่ถึง ๒ ปีที่เรามีอยู่ในขณะนี้ นับว่า เหลือน้อยมากจริง ๆ นะครับ ส� ำ หรั บ หนัง สื อ อนุ ม านวสารฉบั บ นี้ พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาส น� ำ เสนอชี วิ ต และผลงานของ พี่ เต้ ย นิ ธิ สถาปิตานนท์ (รุน่ ๓๘) ศิลปินแห่งชาติอกี ท่าน หนึง่ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของชาวโอวีทุกคน พร้อมทัง้ เนือ้ หาสาระอีกมากมายทีไ่ ด้คดั สรรมา แล้วเป็นพิเศษ โดย กิตติเดช ฉันทังกูล หรือ โก้ ได้รับความไว้วางใจจากทีมงานให้ท�ำหน้าที่ เป็นสาราณียกรฝึกหัดอีกครั้งหนึง่ ขอขอบคุณ โก้และน้อง ๆ ทุกคนเช่นเคย เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งส�ำหรับอนุมาน วสารที่พี่เตา (บรรยง พงษ์พานิช รุ่น ๔๔) ซึ่งนอกจากจะเป็นประธานกรรมการพัฒนา ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย และ กรรมการบริหาร บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) แล้ว ด้วยเลือดวชิราวุธฯ อันเข้มข้น ยังได้กรุณารับเป็นที่ปรึกษาให้กับอนุมานวสาร ด้วยความเต็มใจ นอกจากนัน้ เรายังได้นกั คิด นักปรัชญา ดร.โกวิท วงศ์สรุ วัฒน์ (รุน่ ๓๙) ซึง่ นอกจากจะเป็นนักเขียนของหนังสือพิมพ์มติชน และต่วยตูนแล้ว ท่านยังรับเป็นนักเขียนประจ�ำ ให้กับหนังสือของเราอีกด้วย ส�ำหรับพี่โกวิทซึ่ง เป็นองค์ปาฐกในกิจกรรม All Gentlemen Can Learn ครัง้ ที่ ๒ ทีผ่ า่ นมานัน้ ครัง้ ทีเ่ ราไป พบท่านเพือ่ เรียนเชิญมาเป็นองค์ปาฐก พี่โกวิท
บอกว่ายินดีเสมอที่จะมีโอกาสรับใช้โรงเรียน สนองเบื้องพระยุคลบาท มีอะไรที่พอจะช่วย ได้ก็ขอให้บอก ท�ำให้พวกเรารู้สึกซาบซึ้งเป็น อย่างยิ่ง ทีมงานทุกคนรู้สึกเป็นเกียรติ และ ขอขอบพระคุณ พี่ทั้งสองท่านมา ณ ที่นี้ ส�ำหรับทีมงานอนุมานวสารนัน้ เรามี สมาชิกใหม่ล่าสุดเข้ามาเพิ่ม ๓ คน คือ กรรณ จงวัฒนา (รุ่น ๗๖) สถาปัตยกรรมศาสตร์ ปีที่ ๕ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ (รุ่น ๗๙) ศิลปศาสตร์ ปีที่ ๓ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศศินทร์เคยเป็น ประธานสมาคมหนัง สื อ พิ ม พ์ เมื่ อ สมั ย อยู ่ วชิราวุธฯ และปัจจุบนั เป็นบรรณาธิการหนังสือ ข่าว Torch ของคณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รวมทั้งลูกชายผม วรุตมาศ ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (รุ่น ๗๙) สถาปัตยกรรมศาสตร์ ปี ที่ ๔ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็แอบย่องมา ขอสมัครเป็นตากล้องส�ำรองด้วย เป็นที่น่า สังเกตว่าขณะนี้เรามีรุ่นน้องใหม่ ๆ เข้ามาเป็น สมาชิกเพิม่ ขึน้ เรือ่ ย ๆ สมาชิกรุน่ น้องของเราอีก คนหนึง่ คือ ธนกร จ๋วงพานิช บัณฑิตหมาด ๆ จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้รับเลือกไปแข่งขันว่าความที่วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา พวกเราขอเอาใจช่วยให้จ๋วง ประสบความส�ำเร็จในการแข่งขันครั้งนีด้ ้วย ขอบคุณและสวัสดีครับ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖) มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 5
๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี จดหมายเหตุจากนักเรียนเก่าฯ
ถึงทีมงานอนุมานวสาร พี่ ข อฝากความเห็ น มาถึ ง อนุ ม าน วสารว่า บทสัมภาษณ์ของอนุมานวสาร รวม ทั้งรายการ All Gentle Men Can Learn นัน้ มุ่งเน้นไปที่นกั ธุรกิจมากเกินไป น่าจะหัน มาสัมภาษณ์ข้าราชการโดยเฉพาะพวกที่รับใช้ ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทบ้าง เช่น ดร.เชาวน์ ณ ศีลวันต์ องคมนตรีและอดีตกรรมการ อ� ำ นวยการโรงเรี ย น พี่ อ� ำ พล เสนาณรงค์ องคมนตรี “พี่ ห นุ ่ ย ” พลากร สุ ว รรณรั ฐ องคมนตรี “พี่หัด” สหัส พุกกะมาน รอง เลขาธิการพระราชวัง ซึ่งได้รับราชการใกล้ชิด เบื้องพระยุคลบาทมาตั้งแต่จบไปจากโรงเรียน “พี่ฆุ” ระฆุวงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา บุตร เจ้าพระยารามราฆพ ทีร่ บั ราชการสนองพระเดช พระคุณต่อเนื่องกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อ “พี่อิ๋ง” พลเอกศุภชัย อิงคุลานนท์ อดีตรองสมุหราช องครักษ์ หรือจะเป็น “พี่ตูน” การันต์ ศุภกิจ วิเลขการ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เหล่านี้ เป็นต้น ส�ำหรับตัวพี่ชื่อ “ยุดอึก” หรือ “ผู้การ โอเล่” เป็นนายต�ำรวจประจ�ำราชส�ำนักและ นักร้องเสียงทองประจ�ำพระราชส�ำนัก ที่พี่ส่ง จดหมายมานี้ก็ เพื่ อ เป็ นการตอกย�้ ำ ให้ พ วก เราระลึกถึงหน้าที่ของ “เด็กในหลวง” ที่เป็น เป้าหมายสูงสุดของการเป็นนักเรียนวชิราวุธฯ
6
คือ “รู้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นฉัตรชัย อีก รู้เสียสละ ได้ด้วยใจงาม” รวมทั้งข้าราชการที่ เสียสละเพื่อประเทศชาติ จากพี่ “ยุดอึก” พล.ต. (ว่าที่ พล.ท.) อรรถพจน์ คล่องตรวจโรค รุน่ ๔๓ ราชองครักษ์ ประจ�ำพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทีมงานอนุมานวสาร ขอตอบ พวกเราที ม งานทุ ก คนเห็ น ด้ ว ยกั บ พี่ยุดอึกครับ ที่โอวีเรามีพี่ๆ ที่เป็นตัวอย่าง ที่ดีมากมายหลายวงการ พวกเราจะทยอย ค่อยๆ ท�ำกันไปครับ โดยส่วนใหญ่พี่โอวีที่ เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่พวกเราก็อยากจะขอ เข้าสัมภาษณ์แต่ติดเรื่องการประสานงานครับ เลยยังท�ำให้ไม่ค่อยได้สัมภาษณ์มากเท่าที่ควร หากมีโอกาสอ�ำนวยเราอาจจะเชิญมาคุยใน งาน all gentle men ครับ แต่ทั้งนีก้ ็ขึ้นอยู่กับ บรรดาพีๆ่ น้องๆ โอวี สนใจอยากจะฟังใครพูด เพื่อที่ทีมงานเราจะได้เชิญพี่โอวีท่านนัน้ มาพูด ในเรื่องที่ทุกคนสนใจ ซึ่งก็มีโอวีเก่งหลายท่าน กระจายตัวอยู่ตามวงการโน้นบ้างนี้บ้าง และ ทีมงานอนุมานวสารทุกคนก็เชือ่ ว่าทางสมาคมฯ คงจะยินดีให้การสนับสนุนกิจกรรมดีๆ แบบนี้ ตลอดไปครับ
ถึง ทีมงานอนุมานวสาร ก่อนอืน่ พีต่ อ้ งขอขอบคุณน้องๆ มากที่ ได้กรุณาส่งหนังสืออนุมานวสารมาให้ พีไ่ ด้อา่ น ทุกฉบับและทุกตัวอักษร อนุมานวสารท�ำให้ พี่ได้ร�ำลึกถึงความหลังที่เต็มไปด้วยความสุข สนุกสนานเมื่อวัยเยาว์และความภาคภูมิใจที่ ได้ถกู หล่อหลอมให้เป็นสุภาพบุรษุ ลูกวชิราวุธฯ ตามแนวพระราชด�ำริของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ที่ทุกสังคมยอมรับและนิยมยกย่องตลอดมา ตราบจนทุกวันนี้ และเท่าที่ได้อ่านจากคอลัมน์ ๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี พี่น้องทุกคนที่ได้ ส่งจดหมายมาแสดงความคิดเห็นนั้นล้วนมี ความรู้สึกที่เป็นไปในทางเดียวกันทุกคน พี่ขอเสนอความคิดเห็นว่า ควรให้โอวี ทุกคนทุกรุ่นได้มีส่วนร่วมกับน้องๆ เสียสละ เงินตามสมควรเป็นค่าสมาชิก เพื่อเป็นทุน ในการท�ำหนังสือตามที่น้องๆ และกรรมการ สมาคมฯ เห็นสมควร จะได้ร่วมกันผลักดัน และพัฒนาอนุมานวสารทีพ่ วกเรารักให้ด�ำรงอยู่ ได้อย่างยั่งยืนโดยไม่ต้องรับการสนับสนุนจาก สมาคมฯ เพื่อให้อนุมานวสารเป็นเพชรน�้ำเอก ในวงการวรรณกรรมที่แม้แต่ผู้ที่ไม่ใช่นกั เรียน วชิราวุธฯ ได้อ่านก็ต้องชื่นชม ส่วนเงินบริจาค และเงินสนับสนุนจากบริษัทห้างร้านต่างๆ จะ ได้เก็บไว้ท�ำกิจกรรมต่างๆ เช่น จัดให้มีการ ประกวดเรี ย งความของนัก เรี ย นวชิ ร าวุ ธ ฯ และน� ำ เงิ น บางส่ ว นเป็ น รางวั ล ให้ แ ก่ ผู ้ ช นะ การประกวด เรื่องที่ได้ที่หนึง่ ก็จะได้น�ำมาลง ในอนุมานวสารทุกฉบับ และเรื่องที่ดีที่สุดใน
หนึ่ง ปี ก็ จ ะได้ รั บ รางวั ล ยอดเยี่ ย มเป็ น ต้ น อนุมานวสารก็จะเป็นประโยชน์ในการสร้าง นัก เขี ย นรุ ่ นต่ อ ๆ ไปของเรา และบางคน อาจจะกลั บ มาเป็ นก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญ ในการผลิ ต อนุมานวสารที่เป็นเพชรน�ำ้ เอกต่อไป หรือ เป็น ทุนการศึกษาให้กับบุตรธิดาของโอวีที่เรียนดี ไม่ว่าจะเรียนอยู่ที่โรงเรียนวชิราวุธฯ หรือไม่ ก็ตาม เป็นต้น สุ ด ท้ า ยนี้ พี่ ข อชื่ น ชมในผลงาน อนุมานวสาร ทีน่ อ้ งๆ ได้เสียสละเงิน เวลา และ ความสุขส่วนตัวมาช่วยกันเสกสรรปั้นแต่งจน เป็นผลงานชิ้นเอกที่ท�ำให้ลูกวชิราวุธฯ ทุกคน ทุกรุ่น ที่ได้อ่านจะต้องภาคภูมิใจ วางไม่ลง อ่านทุกตัวอักษรพร้อมทั้งร�ำลึกถึงอดีตที่เคย เยาว์เช่นเดียวกับพี่ และแม้แต่สุภาพสตรีที่เคยอยู่บริษัท ล๊อกซเลย์ ซึ่งได้เขียนมาแสดงความความ ประทับใจในการบริหารงานของพี่ธงชัย ล�่ำซ�ำ (เสียดายที่ไม่ได้บอกว่ารุ่นอะไร) ได้อ่านบท สัมภาษณ์ของพี่ธงชัยฯ ในอนุมานวสาร เล่ม ๔-๒๕๕๑ แล้วเข้าใจแนวการอบรมสัง่ สอนของ โรงเรียนวชิราวุธฯ ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้ วางไว้ ซึ่งพี่ธงชัยฯ ได้ใช้เป็นหลักในการด�ำรง ชีวิตและการบริหารงาน ได้เขียนมายกย่อง ชื่นชมสถาบันของเราและให้ค� ำมั่นว่าจะเป็น แฟนประจ�ำของอนุมานวสารต่อไป พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (รุ่น ๔๔) (อ�ำรุง น้อยเศรษฐ) มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 7
ทีมงานอนุมานวสาร ขอตอบ ขอขอบคุณพีอ่ ำ� รุงครับ ส�ำหรับค�ำชืน่ ชม ทีค่ งจะถือได้วา่ เป็นรางวัลและก�ำลังใจชัน้ เยีย่ ม ส�ำหรับ ทีมงานอนุมานวสารทุกคน ในการร่วมแรง ร่วมใจกันสร้างสรรค์และผลักดันอนุมานวสาร ให้เป็น “เพชรน�ำ้ เอก” อย่างที่พี่อำ� รุงว่าไว้ต่อไป ในส่ ว นของเรื่ อ งค� ำ แนะน� ำ ให้ มี ก าร ประกวดเรียงความนัน้ ปรกติทางโรงเรียนได้ จัดให้มีการประกวดการเรียนรู้พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๖ อยู่แล้ว และปัจจุบันกิจกรรมใน โรงเรียนก็มีมาก ทางทีมงานเห็นว่าหากจะไป ประกวดเรียงความกันอีก เกรงว่าจะซ�้ำซ้อน กับกิจกรรมของทางโรงเรียนครับ แต่ทางเรา ก็มีแผนที่จะเชิญตัวน้องๆ รุ่นใหม่ที่มีฝีมือ อย่างน้อง ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ (รุ่น ๗๙) มี ความตัง้ ใจและอยากทีจ่ ะมามีสว่ นร่วมเป็นหนึง่ ในทีมอนุมานวสารเพื่อที่จะได้ให้หนังสือเล็กๆ เล่มนี้เป็นเหมือนสนามหลังให้น้องๆ ได้มาวิ่ง
มาซ้อมเตรียมความพร้อมทัง้ ในด้านของการท�ำ หนังสือและการท�ำงานร่วมกันเป็นทีม เพือ่ จะได้ ลงสนามจริงอย่างมั่นใจในอนาคต ทีมงานอนุมานวสารขอขอบพระคุณพี่ อ�ำรุงที่กรุณาเป็นห่วงเรื่องการเงินในการผลิต อนุมานวสารครับ ขณะนี้ คณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ โดยพี่จุลสิงห์ วสันตสิงห์ (รุ่น ๔๐) นายกสมาคมฯ ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายเมื่อหัก ลบรายได้ จ ากเงิน บริจ าคจากนัก เรีย นเก่ า ฯ และค่าโฆษณาแล้ว ฉบับหนึง่ ประมาณเกือบ ๑๐๐,๐๐๐ บาท เนื่องจากคณะกรรมการฯ เห็ น ว่ า การผลิ ต จดหมายข่ า วถึ ง สมาชิ ก ใน รู ป แบบของอนุ ม านวสารนั้น เป็ น “หน้ า ที่ ” ของสมาคมฯ ที่จะต้องท�ำเพื่อนักเรียนเก่าฯ ทุกคน ดังนั้น อนุมานวสารจึงไม่มีนโยบาย ขอเก็บเงินในการด�ำเนินการผลิตอนุมานวสาร จากสมาชิกครับ เว้นเสียแต่ว่ามีผู้ประสงค์จะ บริจาคเท่านัน้ ครับ
ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนการจัดท�ำ อนุมานวสาร ๑. ศ.น.พ.อาวุธ ศรีศกุ รี (โอวีเก๋ากึก้ ส์) ๒,๐๐๐ บาท ๒. จิรายุศ แสงสว่างวัฒนะ (รุน่ ๓๑) ๒,๐๐๐ บาท ๓. จักรพันธุ์ โปษยกฤต (รุ่น ๓๓) ๓๐,๐๐๐ บาท ๔. เตช บุนนาค (รุ่น ๓๓) ๕๐๐ บาท ๕. อดิศักดิ์ เหมอยู่ (รุ่น ๓๘) ๒๐,๐๐๐ บาท ๖. โอวี ๔๐ ๑๐,๐๐๐ บาท ๗. จุลสิงห์ วสันตสิงห์ (รุ่น ๔๐) ๕,๐๐๐ บาท ๘. พูลศักดิ์ ประณุทนรพาล (รุน่ ๔๐) ๕,๐๐๐ บาท ๙. คุรุจิต นาครทรรพ (รุ่น ๔๕) ๓,๐๐๐ บาท ๑๐. ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุน่ ๔๖) ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๑. นรศุภ นิติเกษตรสุนทร (รุ่น ๔๖) ๑,๐๐๐ บาท ๑๒. นายธาณี จูธะพันธ์ (รุ่น ๔๗) ๕,๐๐๐ บาท
8
๑๓. มนต์เทพ โปราณานนท์ (รุน่ ๔๙) ๓,๐๐๐ บาท ๑๔. โอวี รุ่น ๕๐ ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๕. พ.ท.ธนา ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๑) ๑,๐๐๐ บาท ๑๖. ทวีวัฒน์ ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๕) ๑,๐๐๐ บาท ๑๗. ทวีสิน ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๖) ๑,๐๐๐ บาท ๑๘. คมกฤช รัตนราช (รุ่น ๕๙) ๒,๐๐๐ บาท ๑๙. ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (รุ่น ๕๙) ๒,๐๐๐ บาท ๒๐. วีรยุทธ โพธารามิก (รุ่น ๖๐) ๑,๐๐๐ บาท ๒๑. กมล นันทิยาภูษิต (รุ่น ๖๑) ๕,๐๐๐ บาท ๒๒. โอวี รุ่น ๗๐ ๓,๐๐๐ บาท ๒๓. สถิร ตั้งมโนเพียรชัย (รุ่น ๗๑) ๑,๐๐๐ บาท ๒๔. อาทิตย์ ประสาทกุล (รุ่น ๗๑) ๑,๐๐๐ บาท
คุยกับสถาปนิก
นิธ ิ สถาปิตานนท์ ใต้หอประชุม คุยกับนักเรียนเก่าฯ
“ขอเวลาแป๊บหนึง่ ครับ” สถาปนิกอาวุโสคนหนึง่ แง้มประตูหอ้ งประชุมใหญ่ ของบริษัท A49 เพื่อขอพบกับ นิธิ สถาปิตานนท์ (รุ่น ๓๘) ในฐานะประธานของ บริษัทแห่งนี้ นิธิฯ หยุดเล่าเรื่องที่พวกเราก�ำลังฟังเพลิน และขอตัวลุกออกไปพบกับ สถาปนิกอาวุโสคนนัน้ ความเงียบเข้ามาแทนทีอ่ ย่างรวดเร็ว คงเป็นเพราะพวกเราเกือบ ๑๐ คนที่ ก�ำลังนัง่ ฟังเรื่องเล่านัน้ ต่างคิดถึงสิ่งที่นธิ ิฯ เพิ่งเล่าให้ฟังมาตลอดเกือบ ๒ ชั่วโมง มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 11
ที่ผ่านมา โดยไม่ปริปากพูดกับใคร สักพักจึง ค่อยมีเสียงเขยื้อนแก้วกาแฟเย็นเข้าใกล้ตัว ตามด้วยเสียงดูดกาแฟที่เหลืออยู่ไม่กี่หยด สุดท้ายผ่านหลอดพลาสติกมาแทรกพอให้ไม่ เงียบจนเกินไป แสงแดดยามสายส่องผ่านต้นไม้ครึ้ม ผ่านกระจกที่รายรอบห้องประชุมนั้นเข้ามา กระทบกั บ บานกระจกใสที่ เป็ น โต๊ ะ ประชุ ม ตัวใหญ่ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของส�ำนักงาน แห่งนี้ชวนให้เราเคลิบเคลิ้มไปกับบรรยากาศ ไม่ น ่ า เชื่ อ ว่ า ห้ อ งประชุ ม สี่ เ หลี่ ย มเรี ย บ ๆ แห่งนีจ้ ะตัดความจอแจของรถที่วิ่งผ่านไปมา ในซอยสุขุมวิท ๒๖ ทะลุไปยังถนนพระราม ๔ ออกไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ ไม่นานนิธิฯ เดินกลับมา และเล่าต่อ... แต่คราวนี้เขาแทรกด้วยเรื่องที่เขาเพิ่งออกไป เมื่อสักครู่ “เมื่อกี้ผมเพิ่งปฏิเสธเงินค่าออกแบบ ๕๐ ล้านไปง่าย ๆ เราออกแบบ เราท�ำกันมา นานจนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้วล่ะ เป็นโปรเจค ใหญ่ทีเดียว...” “...พอดีเมือ่ ตะกี้ ผมต้องเป็นคนตัดสิน ใจคนสุดท้าย เพราะเป็นการต่อรองเงื่อนไข ส�ำคัญบางข้อ ที่ผู้จัดการของผมอยากให้ผม ตัดสินใจ” นิธฯิ บอกเราในท�ำนองว่า เขาไม่ชอบท�ำ อะไรทีม่ ลี บั ลมคมใน โดยเฉพาะถ้าจะต้องมีการ คดโกงติดสินบนกันมากมาย รวมทัง้ จะต้องไป ขอความช่วยเหลือกับผู้ใหญ่คนที่ไม่รู้จักซึ่งเขา
12
อาจจะหวังผลตอบแทนในวันหน้า ดังนัน้ เขา จึงปฏิเสธค่าออกแบบรายได้ก้อนโตของบริษัท ไปโดยไม่คิดเสียดาย แม้จะเป็นยุคที่เศรษฐกิจ ไม่สู้ดีนกั ดังเช่นที่กำ� ลังเป็นอยู่นี้ แล้วเขาก็กลับไปเรื่องเดิมที่เล่าค้างไว้ โดยไม่มกี งั วลกับเรือ่ งใหญ่ทเี่ พิง่ ตัดสินใจไปใน ชั่วครู่นนั้ แม้แต่น้อย บทสัมภาษณ์ต่อไปนีจ้ ะตอบค�ำถามว่า ท�ำไมเขาจึงคิดเช่นนัน้ และเขาคิดกับเรื่องอื่น ๆ ตัง้ แต่เรือ่ งโรงเรียน การศึกษา วิชาชีพสถาปนิก และการเมืองไทย ฯลฯ อย่างไรบ้าง พี่นธิ ิฯ มาเข้าวชิราวุธฯ ได้อย่างไรครับ คุณปูผ่ มมีลกู สองคน ท่านเป็นนายอ�ำเภอ อยูท่ อี่ ำ� เภอสองพีน่ อ้ ง จังหวัดสุพรรณบุรี คุณปู่ เป็นคนท�ำพลับพลาไทยรับเสด็จฯ ด้วยความ ที่เป็นชาวบ้านใช้ของป่ามาท�ำ ในหลวงรัชกาล ที่ ๖ ก็ทรงโปรด และต่อมาก็ได้รบั พระราชทาน นามสกุลนี้ ตอนหลังคุณปู่ก็ได้เป็นพระยา อุ ภั ย ภาติ ก เขต และท่ า นก็ ส ่ ง พ่ อ ผมไปอยู ่ ราชวิทย์ฯ พอเกิดสงคราม ราชวิทย์ฯ ก็ไปรวมกับ วชิราวุธฯ คุณพ่อ (หลวงชาญภูเบศร์) ก็กลาย เป็นศิษย์เก่าวชิราวุธฯ ไปด้วย เพื่อนวชิราวุธฯ กับราชวิทย์ฯ ก็แยกกันไม่ออก คุณพ่อผมก็ เข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ต�ำแหน่งสุดท้ายคือ มหาดเล็ก ห้องบรรทม รับใช้อยู่จนถึงวันที่พระองค์ท่าน สวรรคต ผมเกิดที่กรุงเทพฯ เรามีพี่น้อง ๗
คน ผมเป็นลูกชายคนสุดท้อง ทีเ่ หลือเป็นพีส่ าว หมดเลย พ่อเห็นว่าถ้าอยูท่ บี่ า้ นต่อไปคงไม่ดแี น่ ก็เลยจับส่งเข้ามาอยู่วชิราวุธฯ ตอนเข้าไปโรงเรียนใหม่ ๆ ร้องไห้ไหมครับ ผมเข้าโรงเรียนตอนประถมฯ ๓ และ ตอนนัน้ น่าจะร้องไห้ด้วยนะ มาอยู่คณะเด็ก เล็กสามก่อนที่จะเข้าคณะใน ตัวคณะยังเป็น บ้านไม้เก่า ๆ เป็นเรือนไม้ต่อกันสามเรือน แล้ว ก็มาเข้าคณะพญาไท มีหลวงโศภณพิทยาภรณ์ (ม.ล.อุไร อิศรเสนา) เป็นผู้ก� ำกับคณะแต่ พอใกล้จะจบเปลี่ยนเป็นครูจิต พึ่งประดิษฐ์ หลวงโสภณตอนนั้นก็แก่มาก เป็นน้องท่าน ผู้บังคับการพระยาภะรตฯ แล้วแกก็ท�ำตาม หน้าที่ของแก จะไม่ค่อยมายุ่งกับเด็กเท่าไร ก็
จะให้หัวหน้าคณะดูแล แต่ครูจิตฯ ไม่มีลูก ก็ เดินมาตรวจบ่อยหน่อย ตอนนัน้ ท่านเพิ่งอายุ ๔๐ กว่า ๆ ก็ยังมีเรี่ยวแรงเดินตรวจดูเด็ก นักเรียนทุกวัน อาหารการกินในสมัยนัน้ เป็นอย่างไรบ้างครับ ในยุคผมนัน้ ทุกคนก็รู้ว่าอาหารคณะ พญาไทดีกว่าคณะผู้บังคับการและดุสิต เรามี โรงครัวอยู่ที่คณะเลย อาหารก็พอทานได้ แต่ จ�ำได้ฝังตาเลยคือ ห้องน�้ำ โดยเฉพาะ ส้วม สกปรกโทรมมาก ชักโครกก็ชักไม่ได้ ก็ต้อง กองทับกันพูน กระดาษเช็ดก้นก็เป็นกระดาษ สีน�้ำตาล บางช่วงกระดาษช�ำระหมดก็ต้องใช้ กระดาษหนังสือพิมพ์ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 13
ที่จริงผมมีความใฝ่ฝัน ที่อยากจะเห็นโรงเรียนเรา เป็นสถานที่แห่งเดียว และแห่งสุดท้าย ของประเทศไทย ที่มีหมู่อาคาร ที่สวยงามสง่างาม
พี่นธิ ิฯ เล่นกีฬาอะไรบ้างครับ ผมเล่นกีฬาทุกอย่าง ตัวเองเป็นคนที่ วิ่งเร็ว ตอนผมอยู่รุ่นกลางพญาไทได้โล่ห์ทุก อย่างได้ทั้ง รักบี้ ฟุตบอล บาสเกตบอล ฯลฯ ตอนที่ผมอยู่รุ่นกลางผมเป็นเด็กตัวใหญ่ พอ มารุ่นใหญ่ผมก็กลายมาเป็นคนตัวเล็กไป แล้ว ก็ตัวเท่านี้มาตลอด แต่ในที่สุดผมก็ได้มาเป็น นักวิง่ ในงานกรีฑาหน้าพระทีน่ งั่ วิง่ ๑๐๐ เมตร
14
๔ คนสุดท้ายของโรงเรียน จ�ำได้ว่ามี ไอ้คก (พล.ต.ท.เจตนากร นภี ต ะภั ฏ ) เจิ ด พงษ์ ปุณโสนี, จ๋อม (สืบแสง วงศ์เธียรทอง) ทั้ง ๓ คน เป็นทีมชาติรักบี้หมดเลย ตอนอยู่โรงเรียนเป็นเด็กแบบไหนครับ ผมจะเป็นเด็กเรียน เด็กท�ำกิจกรรม ค่อนข้างจะเรียนหนังสือ แต่เด็กทีค่ ณะพญาไท
ปลากัดอยู่กันชุมเลย สมัยตอนเด็ก ๆ ผมอยูย่ งั ไม่มที วี ดี เู ลย ยุคผมเนี่ยเป็นรุ่นที่เริ่มท�ำคอมมอนรูมเลย พอ ผมอยู่ ม.๖ โรงเรียนสร้างคอมมอนรูมให้ ผม จ�ำได้เลยว่าออกไปหาเฟอร์นิเจอร์ที่สวนมะลิ แถว ๆ ยศเส เพื่อเอามาท�ำเป็นห้องสมุด มีที่ นัง่ เล่น มีทเี่ ล่นหมากรุก มีโต๊ะอ่านหนังสือ เริม่ ต้น มันเป็นห้องพักผ่อน ตอนหลังก็ขอเรี่ยไรเงิน จากผู้ปกครองมาท�ำเพิ่ม หากันเองแต่งกันเอง จนเป็นห้องใช้งานได้สมบูรณ์
จะมีเด็กต่างจังหวัดมาอยู่เยอะ พวกนีก้ ็จะเป็น เด็กเซียน ส่วนคณะผู้บังคับการก็จะเป็นเด็ก ลูกท่านหลานเธออยู่กัน วันหยุดเด็กพญาไท พวกนีก้ ็จะท�ำธนูไปล่าหมากันที่สนามหลัง ไป ตึกขาวยิงนกพิราบมาปิ้งกินกัน ตกปลากันมั่ง จับปลากัดหน้าคณะดุสติ มาเลีย้ ง ซึง่ สมัยก่อน หน้าคณะดุสิตจะเป็นตึกร้าง ตึกก็จะโทรมมาก สระน�้ำหน้าตึกก็จะมีงหู ลามด้วยนะ แล้วก็จะมี
เคยส่งรูปวาดเข้าประกวดไหมครับ ก็ส่งเข้าไปแข่งพร้อมกับพี่จักรพันธุ์ โปษยกฤต นัน่ ล่ะ ไม่ค่อยมีใครทราบว่าผม ได้รางวัลที่สอง ในระดับนักเรียนมัธยม แต่ จักรพันธุฯ์ เขาแก่กว่าผม ๔ รุน่ ในขณะทีร่ ปู ของพี่ จักรพันธุฯ์ สถานทูตญีป่ นุ่ ซึง่ เป็นคณะกรรมการ ประกวดไม่เชื่อว่าเป็นเด็กวาด เพราะเขียนด้วย สีนำ�้ มัน แต่รปู ของผมนัน้ เขาเชือ่ ว่าเป็นเด็กวาด รุ่นใกล้ ๆ กับผมยังมีคนส่งเข้าไปอีก ๒-๓ คน ชื่อ สุรสีห์ อิทธิกุล เป็นโอวีนะ ยังมี ถ่ายรูปคูก่ บั ผมเลย และก็มพี บี่ นั เทิง ตันติวทิ ย์ ปัจจุบันเป็นประธานธนาคารธนชาตไปแล้ว ชอบการวาดเขียนมาตั้งแต่เด็กแล้วหรือครับ สมัยงานกรีฑาก็จะมีท�ำฉากที่สนาม หน้า ฉากจะยาวประมาณครึง่ สนามฟุตบอลเลย ก็ใช้ครูกับนักเรียนมาช่วยกันท�ำ ผมก็จะเป็น แรงงานท�ำอะไรพวกนีอ้ ยูห่ ลายปี ฉากใหญ่มาก มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 15
บางทีก็ต้องท�ำเครื่องแต่งตัว เช่น เฮเลนออฟ ทรอย ก็จะท�ำหมวกโรมัน พวกเราช่วยกันท�ำ ครูท่านใดในสมัยนัน้ ที่ยังพอจ�ำได้บ้างครับ สมัยเด็กเล็กก็จะเป็นครูจำ� รัส จันทรางศุ ครูบรรจง ลวพันธุ์ เด็กสามก็ครูสะอาดจิต เทวาหุดี ส่วนครูสมใจ เทียมสมบูรณ์ ก็เพิ่ง เข้ามาใหม่อายุ ๒๐ กว่า ๆ เด็กบางคนเริ่มเป็น หนุ่มแล้ว แต่ก็ยังอยู่เด็กเล็กอยู่ ครูสาวเข้ามา ก็เห็นเด็กตอนอาบน�้ำก็อาย ตอนหลังโรงเรียน เลยย้ายเด็กที่โตมากไปเข้าคณะใน สมัยนัน้ ที่ อาบน�้ำเป็นตุ่ม แล้วก็เปิดโล่ง แก้ผ้ากันทุกคน เคยโดนท่านผู้บังคับการ พระยาภะรตราชา “ตบ” ไหมครับ เคยปกติผ มเป็ น เด็กเรียน แต่ด้วย ความบังเอิญ ตอนนั้นผมเป็นหัวหน้าคณะ แล้ว ระฆังตีเข้าเรียนแล้ว ผมก็เดินไปเข้าเรียน แต่เดินอ้อมไปทางหอนาฬิกา เพราะฝนมันตก ท่านผูก้ ารฯ ก็เดินกางร่มมาพอดี พอเห็นว่าสาย แล้วเลยเรียกมา เจอเข้าก็เอาร่มฟาด ร่มก็ขาด เลยเปียกทั้งคู่ พอถึงตึกขาวท่านก็เรียกไป ตบต่ อ ที่ ห ้ อ งผู ้ ก าร ดู เหมื อ นท่ า นผู ้ ก ารจะ โกรธมากเพราะท�ำท่านเปียกฝน เครื่องหมาย สามารถต่าง ๆ ที่เคยได้รับ ท่านก็เรียกคืนหมด อีกทีก็เดินตัดแถวบนหอประชุมเพื่อที่ จะลงไปก่อน ท่านเห็นก็เดินมาจับเสือ้ แล้วก็ตบ มีอยูค่ รัง้ หนึง่ ผมก็ไปห้องน�ำ้ ตอนเพรบ ธรรมดาห้องน�้ำนีก่ จ็ ะเป็นทีท่ เี่ ด็กไปสูบบุหรีบ่ า้ ง
16
ไปมั่วสุมกันมั่ง ผมก็ไปกับพวกนัน้ พวกที่ไป ด้วยกันก็รุ่นเดียวกันแล้วก็เป็นพวกที่เซียน ๆ ทั้ง นั้น ผู ้ บัง คับ การก็โผล่ ม าจากไหนก็ไม่ รู ้ ตอนกลางคืนน่ะ ธรรมดาท่านก็จะไม่มาตรวจ อยู่ดี ๆ ท่านก็โผล่พรวด เข้าไปที่ส้วม ซึ่งท่าน คาดว่าน่าจะเจออะไรที่นี่ ตอนนั้นท่านก็อายุ ๘๐ กว่า ตาก็ไม่ค่อยดีแล้ว ไฟในห้องส้วมก็ จะไม่สว่างมาก จะสลัว ๆ พอผู้บังคับการเดิน เข้ามา ทุกคนรีบยืนตรงกันหมด เหลือแต่เสื้อ กางเกงก็ไม่ได้ใส่ดว้ ยความทีพ่ วกเราผิวตัวด�ำ ๆ กันหมด เพราะเล่นรักบี้ ผู้บังคับการ ท่านก็ว่า “อ้าว ไอ้พวกนี้เตรียมหนีโรงเรียนนี่ นุ่งกางเกง ขายาวกันหมด” ท่านก็ไล่ตบทุกคนเลย ผมก็ โดนด้วย คือท่านเห็นว่าผิวขาด�ำ ๆ ของพวกเรา ว่าเป็นกางเกงเตรียมตัวไปเที่ยวกัน มี เรื่ อ งอะไรที่ อ ยู ่ ในความทรงจ� ำ ไม่ เคยลื ม บ้างครับ ก็มีเหมือนกัน แต่เป็นเรื่องตอนที่จบ ออกมาแล้ว คือว่าผมเป็นเด็กเรียนห้อง ก. มาตลอด ไม่เคยตก ตอนอยู่โรงเรียน ก็ท�ำ ประโยชน์ให้โรงเรียนมาโดยตลอด เป็นหัวหน้า วงเครื่องสายสากล เป็นนักรักบี้ทีมโรงเรียน เป็นบรรณาธิการสมาคมหนังสือพิมพ์ และเป็น ตัวแทนของโรงเรียนถวายภาพเขียนในหลวง ตอนงานกรีฑา ต่อจากคุณจักรพันธุ์ฯ ทุกปี พอจบผมเข้าจุฬาฯ ก็ได้เป็นหัวหน้านิสิตคณะ สถาปัตย์จุฬาฯ จบ ๕ ปี ได้เสื้อสามารถของ จุฬาฯ พอผมจบผมภาคภูมิใจมาก
พอเรียนจบแล้วผมก็จะแต่งงาน ผม ก็ตั้งใจว่าใช้หอประชุมเป็นที่รดน�้ำแต่งงาน ก็ เลยพาพ่อแม่ผู้หญิง พาพ่อแม่ผมไปเพื่อไปขอ อนุญาตท่านผู้การฯ ตอนนั้นผู้การก็แก่แล้ว ๘๐ กว่า ๆ ท่านก็มอง จ�ำผมไม่ได้ หรืออาจจะ จ�ำผิด ชี้หน้าเลย แล้วพูดว่า “เฮ้ย เธอนีต่ อน เรียนเกเรมากเลยโรงเรียนเราไม่สนับสนุนเด็ก เกเรมีประวัติไม่ดี” ผมเลยไม่ได้แต่งงานบน หอประชุมเลย เสียใจ น้อยใจ ไม่ไปเหยียบ โรงเรียนร่วมสิบปี แล้วตอนอยู่โรงเรียนล่ะครับ มีเรื่องอะไรที่ท�ำ แล้วสนุก ๆ บ้างครับ ผมเป็นประธานสมาคมหนังสือพิมพ์ และเป็ น บรรณาธิ ก ารวชิ ร าวุ ธ านุ ส าสน์ ปี เดี ย วกั นนั้น มี พ ลากร สุ ว รรณรัฐ เป็ น รอง
บรรณาธิการ ตอนนัน้ เราพยายามเปลี่ยนโฉม วชิราวุธานุสาสน์กนั จากทีเ่ ดิมเอาบทสวดมนต์ พระบรมราโชวาทมาใส่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเด็ก พอได้รบั ก็มกั จะไม่คอ่ ยอ่าน เพราะนัง่ ฟังทุกวัน เบื่อกันอยู่แล้ว เราก็เลยใส่เรื่องโน้นเรื่องนี้ เรื่องนินทาคนในโรงเรียน เอาบทความที่อ่าน สนุกใส่เข้าไปด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ท่าน ผู้บังคับการก็ยอมให้ใส่เข้าไปได้ รุ่นผมยังเป็น รุ่นที่เริ่มท�ำหนังสือพิมพ์เวียนเป็นชุดแรก ก่อน หน้านีก้ ค็ อื ชัยอนันต์ สมุทวณิช แต่ผมจะท�ำเป็น ข่าวสารสนุกสนานมากกว่า แล้วก็เอาไปติดที่ บอร์ดตึกขาว ทุกคนก็จะได้อ่านกันทั้งโรงเรียน ผมเป็นคนชอบเปลี่ยนแปลง ผมชอบ คิดอะไรใหม่ ๆ อาจจะเป็นด้วยนิสัยแบบนี้มั้ง ผมถึงมาเป็นสถาปนิก และสิ่งหนึ่งที่ผมยัง ภาคภูมิใจอยู่คือ การท�ำหนังสือ ตอนที่ผมเป็น มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 17
ประธานสมาคมหนัง สื อ พิ ม พ์ นั้น เพราะผม ชอบเขียนหนังสือ และก็ใฝ่ฝันไว้ว่าสักวันหนึง่ ผมจะมีบริษัทท�ำหนังสือ แล้ววันนี้ผมได้ท�ำ แล้ว ตอนผมอายุ ๖๐ ผมท�ำส�ำนักพิมพ์ชื่อ “ลายเส้น” ท�ำหนังสือกันเป็นล�่ำเป็นสันเลย มี การจดทะเบียน มีพนักงานประจ�ำ ท�ำหนังสือ ออกมาได้สัก ๒๐ เล่มแล้ว อี ก กิ จ กรรมหนึ่ ง ที่ ผ มชอบท� ำ คื อ งานคณะ จัดกันเป็นเรื่องใหญ่โต มีการแสดง หลายชุด ต้องตัดเสื้อผ้า เอาพี่ ๆ น้อง ๆ ที่อยู่ มาแตร์ฯ มาช่วยแต่งหน้า เพราะพวกเราไม่รู้ จะเอาใครมาช่วย ใครมีพี่สาวน้องสาวก็ชวน มาช่วยแต่งหน้าท�ำเสื้อผ้า ว่าไปแล้ว งานคณะ นีส้ อนเด็กได้เยอะมากเลยนะ คือ หนึง่ เด็กต้อง รู้จักการบริหารจัดการ ต้องรวบรวมเงิน แบ่ง เงินไปจัดเรื่องอาหารเลี้ยงคนเป็นร้อย ต้อง เชิญครู เชิญเด็กคณะอื่นมางานเลี้ยง ต้องจัด ไฟตกแต่ง ต้องจัดเวที ต้องจัดการแสดง พวก เราก็จะได้ฝกึ ท�ำงาน ยิง่ พวกทีอ่ ยูส่ ามปีสดุ ท้าย ก็จะรู้เรื่องการบริหารจัดการเก่ง การจัดงาน คณะจึงสอนอะไรหลาย ๆ อย่างแก่เด็กมากมาย แล้วพอมาเข้าจุฬาฯ ล่ะครับ เล่นรักบี้ทีมมหาวิทยาลัยให้จุฬาฯ อยู่ ๓ ปี ทั้ง ๆ ที่การเรียนในคณะสถาปัตย์ฯ ก็ หนักอยู่แล้ว แต่ ๔ โมงครึ่ง นักรักบี้ต้องลง ไปทีส่ นามซ้อมแล้วในขณะทีค่ นอืน่ ยังต้องเรียน อยู่ในห้องเรียน สมัยนัน้ เรื่องเล่นรักบี้เป็นเรื่อง ที่ซีเรียสมาก เพื่อไปแข่งในระดับอุดมศึกษา
18
ทุกคนเลยต้องมาตรงเวลา ถ้ามาไม่ตรงเวลาต้อง ถูกท�ำโทษ วิ่งรอบสนาม เราก็เลยต้องแอบหนี ออกมาจากห้องเลคเชอร์ นักรักบี้ทุกคนต้อง หนีเรียนกันทัง้ นัน้ เสาร์อาทิตย์กย็ งั ต้องไปซ้อม ผมก็เล่นจนถึงปี ๓ ได้เสื้อสามารถ ก็ขอบาย เลย เพราะมีความรู้สึกว่า ๒ ปีสุดท้ายขอใช้ ชีวิตมหาวิทยาลัยให้คุ้ม เพราะเล่นแต่รักบี้เรา ก็จะไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ไม่รู้จักผู้หญิง คนไหนเลย อยู่แต่ในสนามรักบี้ มีแฟนคลับที่ ชื่นชอบเรา แต่ก็ไม่มีเวลาพาไปเที่ยว พอปี ๔ ปั๊บ ผมก็เริ่มท�ำกิจกรรมอื่น ๆ พอปี ๕ ผมก็ได้ เป็นหัวหน้าคณะ เป็นตัวแทนของคณะ ในคณะ กรรมการบริหารของสโมสรนิสติ (สจม.) ท�ำให้ รู้จักคนเยอะขึ้นอีกมาก ตอนนัน้ รักบี้แข่งกันเองภายในระหว่าง ชั้นปีของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ยังไม่มี มี แต่รกั บีร้ ะหว่างคณะ สมัยผมยังเป็นรุ่นบุกเบิก การถ่ายหนังแล้วไปฉายให้คนตีตั๋วไปดู พอ หมดยุคหนังก็ท�ำเป็นละครกัน หนังก็ไม่ได้ ท�ำแล้ว หากจะมองโรงเรียน จากมุมมองทางสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมในโรงเรียนเราก็ไม่ใช่ ไทยแท้ เรียกได้ว่าเป็นไทยโมเดิร์น ไทยเรา ธรรมดาจะไม่มีอาคาร ๒ ชั้น อาคาร โรงเรียน เป็นอาคารที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศที่ เข้ามา เป็นยุคโคโลเนียล ที่อาคารมี ๒ ชั้น ท�ำ บันได อย่างหอประชุมนีก่ ็ไม่ใช่ไทยแท้นะ
ผลงานการเขียนของ นิธิฯ สมัยเป็นบรรณาธิการสมาคมหนังสือพิมพ์ ตีพิมพ์ลงในพระมนูแถลงสาร
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 19
หอประชุมใหญ่แห่งใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ตึกที่ชอบที่สุดในโรงเรียน หอประชุมเราก็ดูดีนะ เป็นอาคารไม้ สักที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ บางคนบอกว่าใหญ่ ที่สุดในโลก ตกแต่งด้วยลวดลายไทย หาไม่ ได้แล้ว เราต้องรักษาไว้ เป็นการผสมระหว่าง สถาปัตยกรรมไทยเข้ากับสถาปัตยกรรมของ ตะวันตก ได้อย่างยอดเยี่ยม ลือกันมาว่าข้างใต้ฐานของตึกขาวมีสระน�้ำอยู่ จริงหรือไม่ครับ ที่ใต้ฐานตึกขาวเป็นท่อนซุงวางขัดกัน อยู่ ใช้ซุงเป็นตัวรับน�้ำหนักของอาคาร ซุงนีก่ ็ จะเป็นเสมือนเรือที่ลอยอยู่ข้างใต้แล้วก็สร้าง อาคารขึ้นมา ไอ้ข้างใต้นกี่ ็คือส่วนที่เขาไม่ได้ใส่ ทรายเข้าไป ไม่ได้ปิด อย่างพระที่นงั่ อนันต์ฯ ก็ จะเป็นระบบเดียวกัน ข้างล่างทีเ่ ขาบอกว่าเข้าไป
20
แล้วเป็นน�้ำทั้งนัน้ เลย ก็เพราะระดับน�้ำมันสูง น�้ำมันก็เลยหล่อของมันอยู่อย่างนัน้ ก็เลยดู คล้ายเป็นสระน�ำ้ อยู่ข้างล่าง น�้ำพวกนี้ไม่ได้ถูก ใส่ไว้ตั้งแต่ตอนสร้างแต่มันซึมเข้ามาเอง โรงเรี ย นเราควรจะท� ำ อย่ า งไรกั บ ภู มิ ทั ศ น์ ภายในโรงเรียนที่มีอาคารเก่าแก่อยู่มากมาย ขนาดนี้ ตอนนี้ผมได้ท�ำมาสเตอร์แพลนของ โรงเรียนเสร็จไปแล้ว ซึ่งได้เริ่มท�ำตั้งแต่สมัย ท่านผู้บังคับการ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ท่าน ผู้บังคับการคนปัจจุบันก็รับรู้เรื่องนีด้ ้วย ในมาสเตอร์แพลนเราจะมาจัดโซนนิง่ ว่าอาคารอะไรควรอยูต่ รงไหน อย่างเช่น อาคาร ด้านการศึกษาควรจะอยู่ตรงไหน อย่างคณะที่ เด็กอยู่ที่พักของผู้ก�ำกับคณะก็ควรแยกออก
จากกันโดยไปสร้างอีกอาคารหนึง่ ให้เด็กอยูบ่ น ตัวคณะทั้งหมดเลย น่าสังเกตว่า เวลาเรามอง จากหอประชุมไปทางคณะพญาไทและคณะ จิตรลดา กลายเป็นว่าเราจะเห็นด้านหลังมาก ที่สุด ในมาสเตอร์แพลนเราก็จะมาจัดวางตัว อาคารใหม่ เพื่อให้ด้านหลังของคณะจิตรลดา และพญาไทดูสวย ให้เห็นตัวอาคารคณะ ไม่ใช่ เอาส่วนบริการ (โรงเลีย้ ง,ทีล่ า้ งจานฯ) มาไว้ ซึง่ ด้านหลังทัง้ สองคณะจะรกมาก ไม่มกี ารบริหาร จัดการที่ดี เพราะที่ผ่านมาเราไม่มีมาสเตอร์ แพลน พอนึกจะสร้างตึกอะไรก็ใส่เข้าไป มอง ไปแล้วกลายเป็นเหมือนสลัม หรื อ อย่ า งตรงสนามเทนนิ ส เป็ นที่ ที่ เหลืออยู่เพียงไม่กชี่ นิ้ ทีอ่ าจจะท�ำอะไรได้ โดยที่ เทนนิสอาจจะยังมีอยู่หรือมีอย่างไร เพียงแต่ ว่า ถ้าจะสร้างอาคารอะไรตรงนัน้ ก็อาจจะสร้าง ในทีต่ รงนัน้ ได้อกี ทีห่ นึง่ โดยสามารถสร้างขยาย ต่อออกมาจากโรงซักรีด ด้านการศึกษาก็ควร จะต่อจากตึกขาวไปให้เป็นเรื่องของการศึกษา นักเรียนเก่าฯ หลายคนเมือ่ ผ่านไปโรงเรียน ก็ เห็นอาคารสามชัน้ ก�ำลังอยูร่ ะหว่างการก่อสร้าง ขึ้นมาแทนที่โรงอาหารของคณะจิตรลดาและ พญาไทที่มีอยู่เดิม ไม่ทราบว่าพี่นิธิฯ คิด อย่างไรกับอาคารเหล่านีค้ รับ อันนี้ผมยังไม่ทราบเลย ที่จริงผมมี ความใฝ่ฝนั ทีอ่ ยากจะเห็นโรงเรียนเราเป็นสถาน ที่แห่งเดียวและแห่งสุดท้ายของประเทศไทยที่ มีหมู่อาคารที่สวยสง่างาม ฉะนัน้ อาคารอะไร
ก็ตามที่จะสร้างขึ้น จะต้องมีมาสเตอร์แพลน มาควบคุม ใครจะท�ำอะไรก็ต้องอยู่ในกรอบ ที่ว่านี้ ตึกจะได้ขึ้นมาเป็นระเบียบเรียบร้อย บรรดาอาคารที่ขึ้นมาก็จะได้มีความกลมกลืน กับอาคารเดิม แต่ถา้ ผูบ้ ริหารไม่เคารพมาสเตอร์ แพลน ก็จะมีตึกบ้า ๆ ขึ้นมาท�ำลายบรรยากาศ ตึกทุกตึกควรจะผสมกลมกลืนกันทั้งพื้นที่ ไม่ ควรจะมีสถาปัตยกรรมใหม่โด่เด่ขนึ้ มา หลังคา ทุกอันควรจะควบคุมสีให้ได้ ตัวอาคารก็ต้องมี ความเป็นไทยให้ได้ แม้กระทั่งคณะดุสิต เมื่อ ถึงจุดหนึ่งแล้ว เราก็คงต้องคิดปรับปรุงให้ เป็นสภาพเก่าให้ได้ เหมือนกับตัวตึกยุคก่อน สงครามให้ได้ ทั้งหมดนีก้ ็เป็นข้อเสนอแนะที่ ผมใส่ไว้ในมาสเตอร์แพลนแล้ว โรงเรียนเรามีตึกหนาแน่นเกินไปไหม ผมคิดว่าก็ยงั ไม่เยอะ ความต้องการใช้ พื้นที่มันก็ยังมีนะ แต่ถ้ามันยังควบคุมได้ด้วย มาสเตอร์แพลน ให้อยู่ในกรอบของมาสเตอร์ แพลน ตึกไหนจะขึ้นก็ต้องอิงอยู่กับตรงนั้น ถ้าท�ำได้วชิราวุธฯ จะอยู่ไปอีก ๑๐๐ ปี โดยที่ ไม่มตี กึ ทีน่ า่ เกลียดหรืออะไรต่าง ๆ ถ้าเทียบกับ สถานศึกษาอื่น อย่างเช่น จุฬาฯ นี่เขาแทบจะ ไม่มที วี่ ่างเลยนะ สนามเขาแทบจะไม่มี ในขณะ ที่เรามีถึง ๓ สนาม ถือได้ว่าพื้นที่โล่ง (open space) ของเราเยอะ ทั้งตัวสนามและสระน�้ำ ผมเพิ่ ง ดู ภ าพถ่ า ยทางอากาศของโรงเรี ย น วชิราวุธฯ เรายังโหว่เยอะเลยนะ จากหอประชุม มาตึ ก ขาวเรายั ง หลวมมากเลย หลวมกว่ า มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 21
ผกาแก้ว บุนนาค กรรมการบริหารและผู้จัดการ บริษัท สถาปนิก 49 จ�ำกัด
เด็กวชิราวุธฯ ในสายตาของพี่แก้ว เป็น อย่างไรครับ เราสนิทกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ มาจน ตอนนีก้ ็ยังสนิทกันอยู่ ส่วนมากเป็นเพื่อน รักเลยไม่มีข้อติอะไร
ก็จะชอบท�ำของ เช่น พวกกระเป๋าสตางค์ เป็นสี ๆ เอามาแจกสาว ๆ สมัยก่อนไม่มี โรงเรียนไหนท�ำ ยกเว้นที่นี่ ท�ำแล้วก็เอามา แจก หลายคนก็ได้แฟน ได้สามี ของก�ำนัล เหล่านีก้ ็มีส่วนอยู่มาก
ข้อที่ควรติเด็กวชิราวุธฯ เรียนไม่ค่อยเก่ง ที่จริงเป็นเด็กที่ดี ทุกอย่าง เต้นร�ำเก่ง แต่เรื่องเรียนนี่พึ่งพา ไม่ได้ โดยเฉพาะตอนมาเรียนด้วยกันที่ จุฬาฯ สมุดเลคเชอร์จะโดนพวกนี้เอาไป จดต่อหมดเลย
พูดถึงพี่เต้ยให้ฟังหน่อยครับ เขาเป็นคนเรียบร้อย เป็นเด็กเรียน คุยสนุก
ท�ำไมสมัยก่อน เด็กวชิราวุธฯ กับเด็ก มาแตร์ฯ ถึงสนิทกันครับ สมัยก่อนเด็กวชิราวุธฯ นาน ๆ ถึง จะได้ออกมาจากโรงเรียนที ออกมาได้ทีก็ จะมีงานต่าง ๆ พวกนีก้ ็จะมาเดินเตร่ แล้ว
22
สนิทกับใครอีกไหมครับ หน่อ (ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน) เพราะเขามาจีบเพื่อนสนิท จุดเด่นของเด็กวชิราวุธฯ คือมารยาทดี ดีเหมาะที่เป็นเพื่อน เป็นเด็กที่มีระเบียบ
สวนจิตรลดาอีก เพราะสวนจิตรลดามองลงไป มีแต่ต้นไม้และตึกต่าง ๆ เยอะ มีตึกไหนบ้างที่ควรทุบทิ้งครับ ก็มีเยอะเลยนะ ผมยังอยากฝันเห็น โรงเรียนเราเป็นสไตล์ไทยอยู่ และจะเป็นแห่ง เดียวในโลก ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยนะ ที่ยัง รักษาสปิริตตรงนี้เอาไว้ได้ เพราะฉะนั้นเรา ก็ต้องแข็งใจท�ำให้ได้ แม้กระทั่งคณะดุสิตก็ ต้องฟื้นฟูกลับมาเป็นสภาพเดิมให้ได้ จะตั้ง งบประมาณ หนึง่ ร้อยล้านสองร้อยล้านก็ว่ากัน ไป เพื่อสร้างกลับมาให้เป็นสภาพเดิม และเก็บ รักษาตรงนี้ให้ไปอีกสัก ๑๐๐ ปี ที่อื่นท�ำไม่ได้ แล้ว จุฬาฯ ก็ท�ำไม่ได้ ที่ไหนก็ท�ำไม่ได้ แต่ ส�ำหรับวชิราวุธฯ ผมว่าเราต้องพยายามท�ำให้ได้ ยกตัวอย่างนะ ตรงสนามหลังที่ฟาก หนึ่งเราท�ำเป็นคณะใหม่ อีกฟากหนึ่งที่จริง ถ้าเป็นอะไรที่ล้อกันอยู่ตรงนั้นก็จะดูสง่าขึ้น เยอะเลย แต่ในขณะนีด้ า้ นหอพักครู สไตล์ของ ตึกปนกันไปหมดแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความ ว่าต้องไปทุบทิ้งนะ แต่ให้คิดถึงภาพที่ว่า ถ้า รักษารูปแบบอาคารทรงไทยได้ หรือถ้าเป็น อาคารสมั ย ใหม่ ก็ ต ้ อ งเคารพอาคารเก่ า ให้ มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ มันอาจจะย้อนยุค ให้ท�ำเหมือน ๑๐๐ ปีที่แล้วไม่ได้ แต่ก็ต้อง พยายามท�ำให้มันกลืน ท�ำให้มันเคารพให้ได้ เพราะในทางสถาปัตยกรรม เวลาเราไปท�ำงาน อาคารใดที่ชนกับอาคารเก่า ๆ โบราณ อย่าง ในอังกฤษ หรือฝรั่งเศส ตึกใหม่ที่เกิดขึ้นแม้
จะเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ก็ต้องเคารพ ของเดิมอยู่ ทั้งในแง่ของการใช้วัสดุ หรือในแง่ การเจาะช่องหน้าต่าง หรืออะไรก็แล้วที่ดูแล้ว เป็นส่วนเดียวกัน ต้องท�ำให้ตึกเก่าตึกใหม่ดู แล้วกลืนกันได้ ตอนนีท้ ่านผู้บังคับการก็ติดต่อให้ผม ออกแบบตึกเรียนของเด็กเล็กหลังใหม่ แต่ผม ก็ได้ปฏิเสธไปเพราะว่าผมเป็นคณะกรรมการ โรงเรียน แล้วก็ไม่น่าจะให้ผมมาออกแบบ เพราะผมจะมาให้ขอ้ คิดเห็นอะไรก็ล�ำบาก และ ทุกคนก็จะมองว่าเป็นกรรมการ โรงเรียนแล้ว ท�ำไมยังมาหากินกับโรงเรียนอีก ใช่ไหมละ ผม ก็บอกให้เขาไปคิดใหม่ เขาโทรกลับมาอีกว่าคิด แล้วก็จะให้ผมออกแบบอยู่ดี เราควรจะท�ำอย่างไรในด้านสถาปัตยกรรมของ โรงเรียนต่อไปครับ โรงเรียนเราจะมองด้านอนุรกั ษ์แต่เพียง อย่างเดียวไม่ได้ ต้องมองในแง่ของอนาคต อย่างหนึง่ ที่ผมบอกมาตลอดว่าที่โรงเรียนเรา ไม่มีประตูหน้านะ ประตูที่เป็นประตูใหญ่ของ โรงเรียน โรงเรียนชั้นหนึ่งที่มีอาคารเก่าแก่ ที่สุด มีขนาดใหญที่สุด มีชื่อเสียงมากที่สุด ใน ประเทศไทย แต่ไม่มีประตูทางเข้า จุฬาฯ ก็มี เกษตรฯ เขาก็มี โรงเรียนทีไ่ หนเขาก็มกี นั ทัง้ นัน้ ตอนที่ ผ มท� ำ มาสเตอร์ แ พลนของ โรงเรียน ผมได้เอาผังโรงเรียนอันเก่าตั้งแต่เริ่ม สร้างโรงเรียนมาดู บริเวณด้านหน้าหอประชุม หน้าของโรงเรียนเรานั้นมีสะพาน และเป็น มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 23
ประตูใหญ่ แต่ผมก็ไม่ทราบว่าท�ำไมตอนหลัง ถึงไม่สร้างสะพานนี้ เวลามีงานพระราชพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ หรือผู้แทน พระองค์ก็น่าจะเสด็จพระราชด�ำเนินเข้ามาทาง นัน้ เพราะถนนจะตรงเข้ามาที่หอประชุมเลย เป็นประตูใหญ่ที่ทำ� ให้โรงเรียนดูสง่างาม ในพลับบลิคสคูลของนิวซีแลนด์หรือ ในอังกฤษ เขาสร้างตึกกองบังคับการด้านหน้า โรงเรียน พอคนเข้ามาติดต่อเลีย้ วรถเข้ามาผ่าน ประตูหลักก็จะเจอตึกกองบังคับการ แต่ของ โรงเรียนเรานี่ ให้มาเข้าด้านหลังแล้วก็มาลอด ใต้ตึกที่เป็นห้องสนามหลัง ความสง่างามไม่มี ฮวงจุ้ยเสียหมด แขกไปใครมาก็ต้องมาลอด ซึ่งผมว่าแย่มากเลย
ผมบอกมาตลอดว่า ที่โรงเรียนเรา ไม่มีประตูหน้านะ ประตูที่เป็น ประตูใหญ่ของโรงเรียน โรงเรียนชั้นหนึง่ ที่มีอาคารเก่าแก่ที่สุด มีขนาดใหญ่ที่สุด มีชื่อเสียงมากที่สุด ในประเทศไทย แต่ไม่มีประตูทางเข้า
ภาพร่างประตูทางเข้าของโรงเรียน จากถนนพิชยั เข้ามาทางด้านสนามหลัง ฝีมอื การออกแบบของนิธฯิ
ดังนั้นพอเรามาพูดถึงเรื่องมาสเตอร์ แพลนในแง่ของหลักวิชาการ ในแง่ของความ สง่างามของโรงเรียน เราจะต้องนึกถึงตรงนีด้ ว้ ย ผมไปท�ำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมาทั้งหมด พอเราเดินเข้าไปแล้วเราจะรู้เลยว่าตึกไหนเป็น ตึกอธิการบดี ขับรถเข้าไปง่าย ๆ เข้าไปแล้วดู สง่างาม แขกไปใครมาดูแล้วสวยงาม แนวคิดเรื่องประตูทางเข้าโรงเรียนมีมานาน หรือยังครับ ผมยืนยัน เพราะผมเพิ่งได้ดูภาพถ่าย ทางอากาศ มีมาตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนเลย เป็น มาสเตอร์แพลนยุคแรกที่สร้างโรงเรียนเรา มี ทางเข้าตรงนัน้ อยู่ มีตัวถนนตรงเข้าหอประชุม เลย แต่เรือ่ งสะพาน ก็มกี ารเถียงกันว่าสมัยนัน้
มีคลองหรือเปล่า เพราะดูในรูปเหมือนกับว่ามัน ไม่มีคลองอยู่ เพราะรูปมันดูเบลอ ๆ ผมเคยท� ำ แบบไปเสนอสองหนแล้ ว ก็ไม่เคยผ่าน ครั้งแรกท�ำแบบประตูข้างหน้าไป สวยเลยครับ ประตูมีตราโรงเรียนมีเสาโก้หรู ติ ด ไฟประดั บ สวยงาม แต่ ค ณะกรรมการ โรงเรียนฯ ด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่ทราบ บอกว่า ไม่เอา พอไม่เอาผมก็มาท�ำแบบทางเข้าอันใหม่ ทางด้านประตูสนามหลัง แต่เข้าตรงกลางสนาม รักบี้ ๒ สนามเข้าตรงช่องตรงกลาง เพื่อไม่ให้ ลอดตึกก็ไม่ส�ำเร็จอีก แล้วตอนนี้ ประตูใหญ่ของโรงเรียนควรจะอยู่ ด้านไหนครับ ผมต้องคิดพร้อมกันว่า ตึกอ�ำนวย การอยู่ตรงไหน ตึกที่ต้อนรับแขกจะอยู่ตรง ไหน ตึกที่ผู้บังคับการจะอยู่ที่จะรับรองแขกได้ แล้วก็ท�ำถนนวิ่งตรงเข้ามา มันไม่จ�ำเป็นต้อง ท�ำถนนให้วิ่งเข้ามากลางหอประชุม จะเข้าซ้าย เข้าขวาผมว่าได้นะ ส่วนประตูใหญ่มตี วั เลือกแรกอยูท่ ดี่ า้ น คลอง ซึ่งเป็นด้านหน้าของโรงเรียน แต่ถ้าเข้า ทางนี้แล้วไม่เหมาะ ตัวเลือกที่สองคือทางเข้า ตรงตึกธุรการที่ตั้งอยู่ปัจจุบันนี้ได้หรือไม่ เปิด ทางเข้า เปลี่ยนตึกบางตึก หรือกระเถิบทาง เข้าออกมาอีกหน่อยเพื่อเข้าไปแล้ว ปิ้ง ! เจอ หอนาฬิกา ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คเลย อันนีก้ ็อาจ จะเป็นไปได้เหมือนกัน มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 25
สิริรัชต์ ชุติมิต
ลูกสาว พลตรีอภิชาต ชุติมิต (รุ่น ๓๘) และน้องสาว อภิรัชต์ ชุติมิต (รุ่น ๖๗) คิดอย่างไรกับเด็กวชิราวุธฯ ครับ คิดว่าเด็กวชิราวุธฯ รักกันดี ถึง จะจบมาแต่ก็ยังกลับไปท�ำกิจกรรมของ โรงเรียนอยู่เสมอ รักกันมาก แล้วก็พูดจากับผู้หญิงดี เพื่อน แอ๊น ก็ชมว่าพี่ชายพูดกับน้องสาวดีค่ะ
26
ขอย้อนกลับไปเรื่องการท�ำคณะดุสิตขึ้นมา ใหม่ได้ไหมครับ ขอความกรุณาพี่เล่าให้ฟัง ต่อได้ไหมครับ เรื่องนี้ผมเห็นว่าพูดกันมานานแล้วนะ จริง ๆ ก็ทำ� ไม่ยากหรอก มันก็แค่เปลีย่ นให้กลับ มาดูเหมือนเดิม ผมว่างบ ๕๐ ล้านก็นา่ จะท�ำได้ ไม่ต้องทุบใหม่หมดนะ แค่ปรับเปลี่ยนสภาพ ใส่หน้าบันเข้าไป ใส่หน้าต่าง รายละเอียดล้อ ของเก่า พิมพ์เขียวก็ยังอยู่ ไม่ต้องเหมือนเก่า ๑๐๐ เปอร์เซนต์ แค่ให้กลับมาคลาสิคเหมือน เดิม ในแง่ของการหาเงินก็ควรเป็นหน้าที่ของ ทั้งโรงเรียนและนักเรียนเก่าฯ ช่วยกันคนละไม้ คนละมือ อีกอันหนึง่ ทีน่ า่ ท�ำใหม่คอื ศาลากลางน�ำ้ ท�ำให้มันเป็นไทยให้สวย ๆ ลอยอยู่กลางน�้ำ ใส่ หลังคาทรงไทยลงไปให้ลอ้ กับตึกขาว ขนาดผม จบไปแล้ว ๔๐ ปี ศาลากลางน�้ำก็ยงั คงอยูอ่ ย่าง นัน้ ซึ่งมันก็เป็นภาพที่ดูแล้วไม่ใช่ไทย มันควร ที่จะปรับสภาพให้กลับมาเป็นศาลาไทยสวย ๆ เห็นว่าจักรพันธุ์ฯ เขายินดีช่วยใส่ลวดลาย ที่ จริง ๑๐๐ ปี เราก็ควรท�ำศาลาอันนี้ไปเลยก็ดี นะ อาจจะใช้ชื่อว่าศาลา ๑๐๐ ปี เพราะศาลา กลางน�้ำอยู่ในจุดที่เด่นมาก เป็นแลนด์มาร์ค ของโรงเรียนเราได้ เหมือนหอนาฬิกา ในโอกาสที่เราครบ ๑๐๐ ปี เรื่องนีต้ ้อง เอามาพูดกับแบบจริง จังว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่ ต้องท�ำ หนึง่ ประตูทางเข้าต้องท�ำ สอง ศาลา กลางน�้ำก็ตอ้ งท�ำ และ สาม ปรับปรุงคณะดุสติ ให้กลับมาดูเหมือนเดิม
แล้วศาลากลางน�้ำ ถ้าสร้างขึ้นมาใหม่แล้ว ใน แง่ของการใช้งานและประโยชน์ใช้สอย เรา ควรใช้ท�ำอะไรครับ เป็ นที่ รั บ รองเวลามี แขกมาเยี่ ย มชม โรงเรียน บรรดาศาลาในโลกนีก้ ถ็ กู สร้างขึน้ เพือ่ ใช้เป็นที่พักผ่อน แต่ถ้าจะใช้เป็นที่ซ้อมดนตรีก็ ท�ำเป็นศาลาปิดใส่กระจกเข้าไป ถ้าเราไม่เอาเป็น ที่ซ้อมดนตรีก็ไม่ต้องท�ำให้มันใหญ่มาก แต่ให้ มันเป็นอนุสรณ์ ๑๐๐ ปีของเรา สามารถใช้เป็น ที่ถ่ายรูปก็ยังได้ ขอเปลี่ยนเรื่องนะครับ ทุกคนคงทราบกันดี ถึงชื่อเสียงและความส�ำเร็จของบริษัท A49 พี่นิธิฯ พอจะเล่ าให้ฟังถึงเคล็ดลับในการ ก่อร่างสร้างบริษัทฯ มาจนถึงวันนี้ได้ไหมครับ ผมจบมาก็เปิดบริษัทฯ จนวันนี้ผมมี พนักงานทั้งหมด ๓๕๐ คน ผมก็บริหาร โดย ใช้ปรัชญาและจิตวิทยาที่เอาคนไว้ให้อยู่กับเรา ได้ และรู้จักผูกมิตรสร้างสัมพันธ์กับเขา รู้ใจ เขาใจเรา เรื่องการปกครองคนนี้เป็นสิ่งที่ผมได้ มาจากวชิราวุธฯ มาเต็ม ๆ เราสอนกันมานาน เราต้องเป็นลูกน้องเขาก่อน พอมาเป็นลูกพี่เขา ก็จะรู้จักว่าควรท�ำอย่างไร เวลาเราจะลงโทษ เขา เราต้องยุติธรรม จะเฆี่ยนเด็กก็ต้องมั่นใจ ว่าเราตัดสินได้ถกู ต้องแล้ว การปกครองคนเป็น พื้นฐานที่ติดตัวผมมา ตอนออกมาอยู่จุฬาฯ ผมก็สามารถเป็นหัวหน้าคณะได้ นอกจากนี้ เด็กวชิราวุธฯ จะรู้จักการเข้าสังคม การท�ำงาน
เรื่องการปกครองคนนี้ เป็นสิ่งที่ผมได้มาจาก วชิราวุธฯ มาเต็ม ๆ เราสอนกันมานาน เราต้องเป็น ลูกน้องเขาก่อน พอมาเป็นลูกพี่เขา ก็จะรู้จักว่า ควรท�ำอย่างไร
เป็นทีม รู้จักประนีประนอม ในขณะเดียวกันก็ ต้องเอาตัวเองให้รอดได้ด้วย ที่ นี่ น อกจากทุ ก คนมาท� ำ งานกิ น เงินเดือนกันแล้ว ธรรมดาเขาจะกลับบ้านกันหมด เวลาเลิกงาน แต่ทนี่ พี่ นักงานบางคนก็ยงั อยูต่ อ่ อีกสองสามชั่วโมงเล่นดนตรีกัน นัง่ ดูทีวี เล่น ฟุตบอลโต๊ะ นัง่ คุยกันไปเรือ่ ย จนสามทุม่ ถึงค่อย กลับบ้าน แล้วก็มีกิจกรรมอะไรกันอยู่เรื่อย เป็นสิ่งที่ผมได้มาจากทั้งวชิราวุธฯ และจุฬาฯ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 27
รูปถ่ายคณะเด็กเล็กสาม ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ในภาพ มีเด็กนักเรียนหลายคน ที่ขณะนี้โตเป็นผู้ใหญ่และเป็น ที่รู้จักในวงสังคม เช่น (เอกอัครราชทูต) โดมเดช บุนนาค, พล.ต.ท.เจตนากร นภีตะภัฏ, ลอยเลื่อน บุนนาค, เขมทัศน์ ไชยสุต, พล.อ.ต.รริน หงสกุล, (พ.ต.อ.) เขจร ศิริวรรณ, (พ.อ.) อภิชาต ชุติมิต, ศุขสนัน่ โชติกเสถียร, กฤษฎา โรจนกร, เกรียงไกร บุรณศิริ, อัครเดช บุนนาค
เมื่อได้เป็นศิลปินแห่งชาติ ชีวิตเปลี่ยนไป ไหมครับ ถ้าเราท�ำงานมาถึงขั้นหนึ่งและเราท�ำ ประโยชน์ ให้กับคนให้กับสังคมให้กับประเทศ ชาติ จนมาถึงจุดหนึง่ ทีค่ นเขาเห็นว่าควรยกย่อง เขาก็ให้ คือผมเองนอกจากจะท�ำสายวิชาชีพ แล้ว ผมก็ยังสอนหนังสือ เขียนหนังสือท�ำ ผลงานทัง้ ไทยทัง้ ฝรัง่ แล้ว ก็ยงั หันกลับมาท�ำงาน
28
ทีเ่ ป็นวัดวาอารามด้วย ท�ำฟรีนะ ทีจ่ ริงผมไม่ได้ คาดหวังในต�ำแหน่งนีเ้ ลย เพราะศิลปินแห่งชาติ ส่วนใหญ่อายุจะประมาณ ๗๐ แต่ตอนทีผ่ มได้ ผมอายุ ๕๕ เขาบอกว่าผมท�ำงานมาเยอะแล้ว เป็นนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรม ราชูปถัมภ์ เป็นครูบาอาจารย์ เป็นอะไรต่ออะไร ก็เป็นตัวอย่างที่ดีที่เขาเห็นว่าควรจะได้
เนือ่ งจากศิลปินแห่งชาติในสาขาผมนีม้ ี ไม่มากคน เมื่อได้มาแล้วคนก็คาดหวังว่าจะได้ ความรูจ้ ากเรา คนก็จะเชิญไปเป็นกรรมการ ซึง่ เขาก็คาดหวังว่าเราจะไปช่วยงานเขาได้ แต่กท็ �ำ อะไรไม่ได้มาก เพียงแค่เขารับฟังมากขึน้ ซึง่ เรา ก็ต้องระวังตัวมากขึ้นไปด้วย มีสถาปนิกที่ชื่นชอบเป็นพิเศษไหมครับ มีเยอะ คือ สถาปนิกเป็นการเรียนรู้ ระหว่างกัน คนก่อนหน้าเราเขาก็ท�ำอะไรไว้เยอะ เราก็มาเรียนรู้จากเขา อย่าง แฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frank Lloyd Wright) เป็นตัวอย่างที่
ดี เขาท�ำงานในวิชาชีพนี้มาทั้งชีวิต งานของเขา ก็เป็นงานที่อยู่คู่กับโลกเรามา เป็นอะไรที่ผู้คน ต้องไปเยี่ยมไปชมแม้ตัวเขาจะตายไปแล้ว เขา เป็นตัวอย่างที่ดีที่ท�ำให้ผมจะต้องตั้งใจท�ำให้ดี เพราะมันจะต้องอยู่อีกนาน ไม่ให้เป็นขยะของ เมือง เราก็ต้องตั้งใจท�ำให้ดีที่สุด งานสถาปัตยกรรมต้องท�ำให้อยู่ไปอีก พันปี และเกี่ยวกับความปลอดภัยของคน เรา จะท�ำชุ่ยไม่ได้ อาคารหลังหนึง่ มีคนเข้าไปอยู่ เป็นพัน งานพวกนี้ต้องท�ำด้วยวิชาการและ ความระมัดระวัง อาคารที่มีคนเข้าไปอยู่ มีคน ไปขย่มไปกระทืบมันจะพังจะถล่มลงมาไม่ได้ สถาปนิกจึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมมาก ตอนนีผ้ มท�ำงานสถาปัตยกรรมอันหนึง่ ที่แปลกมากในโลก คือผมไปท�ำที่วัดธรรมกาย ทีเ่ ขาเอาไว้ใช้เป็นทีป่ ระกอบพิธกี รรมทางศาสนา ปรากฏว่าก็ท�ำเป็นสเตเดี้ยม ข้างล่างก็ท�ำเป็น โล่ง ๆ ข้างบนก็ท�ำเป็นอัฒจันทร์ขึ้นไป จุคนได้ ๑ ล้านคน ยาวข้างละ ๑ กิโล ๔ ด้าน ลงทุน ไป ๔ พันกว่าล้าน สร้างใกล้จะเสร็จอยู่แล้วนะ มีห้องน�้ำ ๘ พันห้อง เพื่อรองรับคนที่จะไป ประกอบพิธี ๑ ล้านคนในคราวเดียว เวลาเขา ประกอบพิธี วันมาฆบูชา, วิสาขบูชา คนมาเป็น ล้านจริง ๆ แล้วจุดเทียนพร้อมกัน ลองนึกภาพ ดูสิแสงเทียนจะสว่างล้านดวง ผมว่ามันเป็นสิ่ง มหัศจรรย์ในโลกอย่างหนึง่ อัฒจันทร์ทจี่ คุ นได้ ล้านคนยังไม่มีที่ไหนในโลกนะ อย่างมากสุดก็ แสนหนึง่ สองแสนคน มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 29
ผลงานชิ้นไหนที่รู้สึกผูกพันมากที่สุด ผมได้ออกแบบเจดีย์องค์หนึง่ ที่วัดป่า สุนนั ทวนาราม ของท่านมิตซูโอะ คเวสโก อาจ จะเป็นเจดีย์อันเดียวในประเทศไทยที่เคลือบ ด้วยกระเบื้องโมเสกเล็ก ๆ สีแดงเลือดนกทั่ว ทั้งเจดีย์เลย ยอดก็เป็นทองขึ้นไป เป็นเจดีย์ สีแดงแป๊ดอยู่กลางป่า คือเราท�ำแล้วก็มีคน มากราบไหว้ และคงจะอยูค่ เู่ มืองไทยไปอีกเป็น พันปี ก็รู้สึกดี พอผมได้เป็นศิลปินแห่งชาติแล้วมีคน มาขอให้ผมท�ำเจดีย์กันใหญ่ โดยเฉพาะสาย วัดป่า ตอนนี้เป็นองค์ที่ ๗ แล้ว ทุกคนก็คง คาดหวังว่าผมออกแบบได้ และเจดีย์สไตล์ ของผมก็ จ ะไม่ ใ ส่ ล วดลายอะไรที่ ห วื อ หวา มาก เราจะสมถะเรียบ ๆ เพราะเรามาจากสาย สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ สไตล์การออกแบบอาคารของพีน่ ธิ ฯิ เป็นแบบ ไหนครับ สถาปนิกในโลกในวันนีต้ ้องแข่งขันกัน มาก ทุกคนพยายามที่จะแสดงตัวตนของเขา เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่าตัวเขาท�ำสไตล์แบบนี้ เช่น แฟรงค์ แกรี่ (Frank Gary) ท�ำงานชิน้ แรก ออกมาน่าตืน่ เต้นมาก ชิน้ ทีส่ องก็ยงั เหมือนเดิม คนก็ยังพอรับได้ ต่อไปไม่ว่าจะท�ำอะไรก็เป็น แบบเดียวกันหมด เหมือน ๆ กันหมดทุกที่ แต่ ผ มคิ ด ว่ า ไม่ มี เหตุ ผ ลที่ จ ะไปท� ำ อาคารให้เหมือนกันไปหมด ไม่ว่าจะท�ำโรงแรม หอประชุมก็ท�ำออกมาเหมือนกัน สถาปนิกใน
30
ไอ้คก (พล.ต.ท.) เจตนากร นภีตะภัฏ คนนั่งกลาง ทางซ้ายมือ นานๆ จะได้เห็นนักเรียนทั้งหมดแต่ง ชุดนอนเรียบร้อย มีหนังสือเรียนอยู่ในมือ เพราะ อี ก สองสามวั นจะสอบไล่ แ ล้ ว ในภาพมี จตุ ร งค์ นิลประดับ, คก, หยอย และผม
โลกส่วนใหญ่ก็เป็นนี้อยู่หลายคน มันกลาย เป็นตราประทับว่างานของเขาต้องเป็นแบบนี้ ถึงจะเรียกว่าเป็นงานของเขา ซึ่งตัวผมไม่ใช่ สไตล์แบบนั้น ผมจะดีไซน์ตามฟังก์ชั่นตาม ประโยชน์ใช้สอย ผมออกแบบอาคารแทบจะทุกแบบเลย แม้กระทั่งอาคารเซ็นทรัลเวิร์ด ราชประสงค์ ที่ปรับปรุงต่อเติมใหม่ผมก็ท�ำ หรือจะเป็น กระทรวงการต่างประเทศ หรืออาคารทีเ่ ป็นไทย จริง ๆ ผมก็ท�ำ แล้วแต่ว่าลูกค้าต้องการจะให้ ออกแบบอะไร จริง ๆ แล้วผมไม่อยากมีสไตล์ ของตัวเองหรอก ไม่อยากให้พอคนดูงานของ ผมปั๊บ แล้วรู้ทันทีว่าเป็นงานของนิธิฯ ผมไม่ ต้องการเป็นแบบนัน้ ผมยังบอกเด็กในบริษัท ด้วยว่าอย่าพยายามเอาตัวอย่างอันนัน้ อันนี้ คือ ถ้าเกิดมันมีรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมซ�ำ ้ ๆ
จนกระทัง่ ออกมาเป็นแบบนิธฯิ ปับ๊ ผมจะเบรค ทันที เปลี่ยนได้และลองไปท�ำแบบอื่น ยังเจอเพือ่ นรุน่ เดียวกันอยูต่ ลอดหรือเปล่าครับ รุ่นผมนีจ่ ะใกล้ชิดกันมาก ตอนนี้เรา มีประมาณสัก ๔๐ คนที่ยังเจอกันเวลามีนดั กัน เวลาเลี้ยงกันปีหนึง่ มีสัก ๒-๓ ครั้ง แต่ ว่าเผอิญมาเล่นกอล์ฟด้วยกัน เลยเจอกันแทบ ทุกอาทิตย์ ก็มาเล่นกันสนุกสนาน เล่นกันไม่ สนใจสกอร์ ก็มาด่าพ่อล่อแม่กันจนกลับบ้าน แล้วก็ เฮฮากันจนแคดดี้ตกใจว่าท�ำไมพวกนี้ ไม่ทะเลาะกันสักที เราเล่นเหมือนจะโกรธกัน มึงโกงกู กูโกงมึงอะไรอย่างนี้ แต่ว่าท้ายที่สุด อาทิตย์หน้าก็นดั กันใหม่ แล้วเราก็โกงกันด้วย นะ เพราะว่าเราสนิทกันด้วยมั้งนะ พอมึงเผลอ ปั๊บ กูเขี่ยลูกทันที ก๊วนกอล์ฟที่ไปกันประจ�ำมี อยูป่ ระมาณ ๑๐ กว่าคน บางทีกไ็ ด้ถงึ สองก๊วน ตอนเป็นนักเรียน ได้พบเจอกับสาว ๆ บ้าง หรือเปล่าครับ รุน่ ผมกับนักเรียนมาแตร์เดอีนสี่ นิทกัน มาก เรียกว่าเหมากันเป็นรุน่ ๆ เลย ละครอาจจะ เอาเค้าโครงมาจากตรงนีก้ ็ได้ รุ่นผมนีจ่ ับคู่กับ เด็กมาแตร์ฯ กันหลายคู่เลย ส่วนใหญ่เราก็เจอ กันตามงานปาร์ตที้ จี่ ดั ตามบ้านเพือ่ นเรา พอปิด เทอมทีกจ็ ดั ปาร์ตี้ แต่รนุ่ ผมนีก่ ย็ งั มีอกี สายหนึง่ ทีไ่ ปทางวัฒนาวิทยาลัย คือ พลากร สุวรรณรัฐ ส่วนตัวผมมาทางมาแตร์ฯ จนทุกวันนี้พวกเรา ก็ยังสนิทกัน ยังคบกันอยู่ อย่างคุณผกาแก้ว
บุนนาค นีก่ ็มาแตร์ฯ รุ่นเขาเป็นรุ่นที่มาเต้นร�ำ กับรุ่นผมตั้งแต่เมื่อ ๕๐ ปีที่แล้วโน่น แล้ว ตอนนี้เขามาเป็นผู้จัดการที่นี่มาได้ ๒๐ กว่า ปีแล้ว อะไรเป็นเสน่ห์ของเด็กวชิราวุธฯ ที่ท�ำให้รุ่น ของพี่สนิทสนมกับสาว ๆ โรงเรียนอื่นได้มาก ขนาดนีค้ รับ คือเผอิญเด็กวชิราวุธฯ มีบุคคลิกภาพ แบบสุภาพบุรุษ เป็นคนดี แล้วก็พูดจาเพราะ ซึ่งผู้หญิงเขาก็คงชอบตรงนีก้ ระมัง แต่ขณะที่ เด็กโรงเรียนอื่น เขาอาจจะเจอผู้หญิงเยอะแต่ การเข้าผู้หญิงมันไม่นิ่มนวล รวมทั้งการแต่ง เนื้อแต่งตัวด้วย อี ก ข้ อ หนึ่ ง ที่ ผู ้ ห ญิ ง เขาปลื้ ม เด็ ก วชิราวุธฯ ก็คงเป็นเพราะ ผู้หญิงเขาคงใฝ่ฝัน ว่าอยากมีแฟนเป็นเด็กวชิราวุธฯ เวลามันใส่ ชุดกีฬามันดูเท่ห์ แต่งเนือ้ แต่งตัวดูสะอาด แต่ง ตัวดูมีคลาส ไปงานไหน ๆ ก็แต่งตัวดูดีทั้งนัน้ ว่าไปแล้ว อิทธิพลเรื่องการแต่งเนื้อ แต่งตัวนี่ได้มาจากโรงเรียนเยอะมากใส่เสื้อฟ้า ขาว น�ำ้ เงิน จนคนทีท่ ำ� งานถามว่า “พีเ่ ต้ยใส่เป็น แต่เสือ้ สีฟา้ น�ำ้ เงิน และขาวอย่างเดียวเลยหรอ” ในฐานะกรรมการอ� ำ นวยการ โรงเรีย น พี่ นิธิฯ มองวชิราวุธฯ ในอีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า อย่างไรครับ วชิราวุธฯ มีส่วนในการสร้างคนให้เป็น ผู้นำ� การปกครองคน อันนี้มีส่วนมาก ๆ เพราะ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 31
สถาบันอืน่ เขาไม่คอ่ ยรูจ้ กั ในระดับเด็กมัธยมฯ ที่อื่นเขาไม่รู้จักการปกครองคนเป็นอย่างไร ใน วชิราวุธฯ เรามีการสอนกันมาตั้งแต่เด็ก สอน ต่อ ๆ กันมาจนกระทัง่ มันอยูใ่ นสายเลือดทีร่ จู้ กั จะปกครองคน รู้จักสร้างมนุษยสัมพันธ์ มีโอวีหลายท่านที่ทั้งตระกูลอยู่วชิราวุธฯ แต่ พอถึงรุ่นลูกของตัวเองกลับไม่ส่งเข้าวชิราวุธฯ จุดทีเ่ ป็นประเด็นส�ำคัญทีโ่ อวีไม่อยากส่งลูกเข้า ของวชิราวุธฯ ก็เพราะด้านวิชาการเราอ่อน โรงเรียนอื่นเขาไปถึงไหนกันแล้วแต่ของเรา กลับย�่ำอยู่กับที่ พี่นิธิฯ คิดเห็นอย่างไรกับ ประเด็นนี้ คือจริง ๆ แล้วในด้านวิชาการ เราก็ตอ้ ง ด้วยนะ ผมเชื่อว่าในด้านกีฬาเรามาหนึง่ ละ ใน
เรื่องอะไร ที่โอวีเห็นว่าไม่ถูกไม่ควร ก็ต้องเสนอแนะออกไป แล้วก็พูดให้ชัดเจน พูดเพื่อสร้างสรรค์ ไม่ใช่พูดเพื่อท�ำลายใคร 32
ด้านดนตรีเรามาหนึง่ ละ ในระดับมัธยมด้วย กัน แต่ในด้านวิชาการ อันนี้เราไม่ วันนี้รุ่นลูก รุ่นหลานของเรา เรายังไม่อยากให้อยู่วชิราวุธฯ คือตั้งแต่ในยุคผมจะยกย่องนักกีฬา มากเลย ใครใส่เสื้อเบลเซอร์เดินเข้าหอประชุม คนตบมื อ กั น เกรี ย วในวั นที่ รั บ เครื่ อ งหมาย สามารถ แต่พวกที่เรียนเก่งนี่ ถึงเวลาก็เดินมา ส่งใบคะแนนไป เขาก็ไม่ได้รับการยกย่อง ไม่ ได้รบั การส่งเสริมอะไรมากกว่านัน้ อันทีจ่ ริงผม คิดว่าเราต้องท�ำทั้งสองทาง คือไม่อยากให้เสีย ทางหนึง่ ทางใดไป ในแง่สังคม ในแง่กีฬา ใน แง่ดนตรี เราก็ต้องรักษาสปิริตอันนี้ไว้ ซึ่งผมก็
คณะพญาไท ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ในภาพนักเรียนเด่นๆ หลายคนที่จำ� ได้ เช่น วันชัย ประภานนท์, อ�ำนาจ คอวณิช, ม.ร.ว.จิรนัดดา กิตติยากร, ดุสิต นนทะนาคร, ปฐม ถาวรธาร, คมจักร ศักดิ์ศรี ส่วน “เป้” (สุวิทย์ สุรพัฒน์) ยืนติดอยู่กับผมในรูป
คิดว่าเราดีทสี่ ดุ ในประเทศไทยแล้ว แต่ทางด้าน วิชาการ เราจะท�ำอย่างไรละที่จะท�ำให้มันดี ซึ่ง จะต้องดีในระดับทีว่ า่ ลูกของเขาจบจากทีน่ แี่ ล้ว เขามีความมั่นใจว่าลูกเขาจะเข้ามหาวิทยาลัย ชั้นดีได้ หรือจะต้องเป็นคนที่ร�่ำเรียนส�ำเร็จ หรือท�ำงานได้ ประสบความส�ำเร็จได้ ถ้ามันไป ควบคู่กันได้ จะเป็นสิ่งที่วิเศษที่สุดเลย
ในด้านวิชาการ เราน่าจะมุง่ ไปในทางไหนครับ มันอาจจะถึงเวลาแล้วที่โรงเรียนควร จะมีหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งไปอยู่ที่เขาใหญ่ หรืออยู่ที่ไหนก็ได้ เพราะตอนนี้โรงเรียนหลาย แห่งก็เปิดกันแล้ว แล้วเขาก็เป็นโรงเรียนประจ�ำ เหมือนกัน แต่วชิราวุธฯ เราท�ำมานานแล้ว เรา ก็ควรจะมีภาคภาษาอังกฤษ แล้วท�ำไมเราไม่ทำ� เรามีพื้นฐานแน่น มีความสง่างามมีชื่อเสียงอยู่ แล้วเนี่ย ผมว่าขี้คร้านคนจะวิ่งมาเข้ากันเต็ม มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 33
ถ่ายหน้าตึกเรียน เสียงดังเจี๊ยวจ๊าว จนท่านผู้บังคับการต้องให้คนมาไล่เข้าห้องเรียน
ไปหมดเลย ซึ่งอันนีก้ ็ไม่รู้ว่าบอร์ดบริหารเขา จะมีนโยบายอันนี้ไหม ส่วนที่อยู่ปัจจุบันก็ต้อง รักษามันไว้ บทบาทของนักเรียนเก่าฯ ควรจะเป็นอย่างไร ครับ เราควรจะพูดเรื่องของโรงเรียน หรือ ควรจะปล่อยให้เป็นเรื่องของผู้บังคับการหรือ กรรมการอ�ำนวยการ โรงเรียนฯ ครับ ส�ำ หรับ ผมนะคิด ว่าต้องพูด เพราะ ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว โรงเรียนก็ทำ� เรื่องของ การบริหารจัดการไป แต่เรื่องอะไรที่โอวีเห็น ว่าไม่ถูกไม่ควรก็ต้องเสนอแนะออกไป แล้วก็ พูดให้ชัดเจน พูดเพื่อสร้างสรรค์ไม่ใช่พูดเพื่อ ท�ำลายใคร คือไม่ใช่พูดเพื่อไปอัดใครเพื่อที่จะ เอาเขาออก พูดเพื่อสร้างสิ่งที่ดี ผมว่ายุคนี้มัน ยุคโลกาภิวัฒน์แล้ว
34
พี่นธิ ิฯ ช่วยเล่าให้ฟังได้ไหมครับ ว่าหากจะ วัดความส�ำเร็จในแวดวงอาชีพสถาปนิกแล้ว จะใช้เกณฑ์ใดตัดสิน ผมท�ำงานมาทั้งชีวิต จนถึงวันนีก้ ็อายุ ๖๒ แล้วเนี่ย ที่ผ่านมาผมก็ไม่ได้ตั้งใจจะ ท�ำให้ตนเองมีชื่อเสียง เพียงแต่อยากจะท�ำให้ มาตรฐานในวิ ช าชี พ สถาปนิก มี ม าตรฐานที่ สูงขึ้น มั่นคงมากขึ้น ให้ได้รับการยกย่องใน ระดับหนึง่ อย่างเช่น บอร์ดบริหารขององค์กร ต่าง ๆ สถาปนิกจะไม่ค่อยถูกเชิญให้เข้าร่วม ดังนัน้ ผมจึงตั้งใจคิดและท�ำให้อาชีพสถาปนิก เป็นที่ Recognize ของสังคมให้ได้ แล้ว วิธีการก็คือผมไม่ได้ท�ำตัวโดดเด่นเพื่อไปเล่น การเมือง เข้าไปสมัครเป็นผู้แทนฯ หรือเข้าไป ท�ำอะไรอย่างนัน้ คือผมท�ำงานด้วยหลายวิธี เลยที่จะท�ำให้อาชีพนี้มีความมั่นคงให้ได้ แล้ว สังคมก็จะยอมรับเอง แล้ววันนี้ ผมเองก็เริ่ม
ที่ผ่านผมก็ไม่ได้ตั้งใจ จะท�ำให้ตนเองมีชื่อเสียง เพียงแต่อยากจะท�ำให้ มาตรฐานในวิชาชีพสถาปนิก มีมาตรฐานที่สูงขึ้น มั่นคงมากขึ้น ให้ได้รับ การยกย่องในระดับหนึง่ ได้รับการยอมรับให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ก็ได้ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยอยู่ ๒ แห่ง เป็น กรรมการอ�ำนวยการ โรงเรียน ซึง่ บทบาทตรงนี้ ท�ำให้คนอืน่ มองเห็นว่าสถาปนิกก็มคี วามคิดให้ ความเห็นในเชิงนโยบายได้ ที่ ผ ่ า นมาผมไม่ ไ ด้ ว อกแวก เบ้ ตั ว เองไปท� ำ งานอื่ น เลยนอกจากงานของ สถาปนิก บางคนเขาอาจจะเบ้ไปท�ำเป็นผู้รับ เหมาบ้ า ง ไปท� ำ ธุ ร กิ จ อสั ง หาริ ม ทรัพ ย์ บ ้ า ง หรือเล่นการเมืองบ้าง แต่ผมตั้งใจว่าจะอยู่ แต่ในสายวิชาชีพจริง ๆ สร้างผลงาน ที่ดี ท�ำหนังสือเผยแพร่ให้ความรู้ คนไปบรรยายในมหาวิ ท ยาลั ย คนก็เริม่ รูจ้ กั ผมในบทบาทเหล่านัน้ อะไรที่ช่วยในเรื่องของการศึกษา
ได้ ผมจะสนับสนุนเต็มที่ อย่างที่บริษัทฯ นีก่ ็ จะมีนิสิตนักศึกษาเข้าเยี่ยมชมเดือนเว้นเดือน พอมาแล้วเราก็ให้ความรู้ว่าเราบริหารจัดการ อย่างไร ได้เห็นผลงาน ได้รู้แนวคิด และก็ได้ รับความรู้กลับไป คนที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยดัง ๆ แล้วชีวิต จะประสบความส�ำเร็จเสมอไปจริงไหม อั น นี้ ผ มเคยเขี ย นในหนั ง สื อ เรื่ อ ง “เส้นสายสู่ปลายฝัน” ได้พูดไว้ถึงความส�ำเร็จ ของสถาปนิก ไม่ใช่ว่าพ่อแม่รวยแล้วให้คุณ ไปจบมหาวิทยาลัยชั้นน�ำจากต่างประเทศแล้ว บอกว่าเดี๋ยวลูกจะต้องประสบความส�ำเร็จ ผม บอกเลยว่าไม่ได้ เพราะตัวคน ๆ นัน้ จะต้องมี คุณสมบัติบุคลิกอีกมากเลยกว่าที่จะก้าวไป สู่ความส�ำเร็จได้ โอเค แม่อาจจะบอกว่าแม่จะ ให้เงินลูก ๑๐ ล้านบาทไปตั้งบริษัทสถาปนิก เจ๊งทุกราย!!! เพราะฐานไม่มั่นคง แล้วมัน ก็ ส ร้ า งคนสร้ า งอะไรไม่ ไ ด้ คื อ อาชี พ ไหน จะส�ำเร็จได้คนรอบข้างต้องสนับสนุนเรานะ ช่วยเหลือกันไปกันเป็นขบวน หรือคนที่ว่า เป็นนักออกแบบเก่ง ๆ ตั้งบริษัทเองก็เจ๊งมา
ถ่ายวันไปสอบไล่มัธยม ๘ สมัยนัน้ ไปสอบที่โรงเรียนอื่น ต้องแต่งเต็มยศ นักเรียนโรงเรียนอื่นๆ คงหมั่นไส้สาปแช่งให้สอบตก ปีนนั้ รุ่นผมเลยสอบตกกันหลายคน
เยอะแล้ ว เพราะเขาเก่ ง คนเดี ย วแล้ ว ก็ ไม่ สามารถบริหารจัดการคนในบริษัทได้ ตั ว ผมเองได้ พื้ น ฐานตรงนี้ ม าจาก การเป็ น นั ก เรี ย นวชิ ร าวุ ธ ฯ ปกครองคน เอาคนดีมาอยู่กับผม ให้เขามีแรงสนับสนุน ด้านก�ำลังใจ แล้วก็พยายามสอนในสิ่งที่ดีงาม ให้กับเขา แม้กระทั่งการแต่งตัวให้เรียบร้อย ไม่ใช่กระเซอะกระเซิง เด็กหลายคนในบริษัท ก็ได้อิทธิพลจากผม จากวันแรกที่เข้ามาท�ำงาน จนเปลี่ ย นบุ ค ลิ ก เขาไปจากพื้นฐานเป็ น เด็ก ต่างจังหวัด ไอ้ตรงนี้มันเป็นอะไรที่เราไม่ได้ ตั้งใจจะสอนแต่เขาก็สังเกตเห็น ตรงนีก้ ็ทำ� ให้ บริษัทไปได้ พื้ นฐานคุ ณ สมบั ติ ที่ ท� ำ ให้ ส ถาปนิก ประสบความส�ำเร็จได้นั้นไม่ใช่เรื่องพื้นฐาน
36
การศึกษาแน่นอน ไม่ใช่พื้นฐานของพ่อแม่ ที่อยู่ในสังคมชนชั้นสูง ผมก็มานัง่ คิดข้อแรก ก็นกึ ถึงความอดทน ผมใส่ความอดทนเป็นข้อ แรกเลย เพราะเป็นสถาปนิกเป็นการให้บริการ คน ต้องอ่านใจลูกค้าให้ออก ต้องเอาใจเขา ต้อง ศึกษาให้ได้ว่าคนที่เขาจะมาหาเรา เขาต้องการ อะไร เขาฝันอะไร เราก็ต้องช่วยให้เขาให้สร้าง อาคารออกมาให้ได้ เหมือนกับสร้างอาคารที่ เขาฝัน เมื่อเขาเข้าไปแล้วมีความสุขที่ได้อยู่ใน อาคารหลังนัน้ เพราะนัน่ คืออาชีพของเรา ฉะนัน้ เราจึงต้องมีความอดทนเป็นเยี่ยมเลย บางครั้ง ลูกค้าแก้แบบเราเป็น ๑๐ ครัง้ เราก็ยงั ยิม้ ได้ ไม่ โกรธ เพราะถ้าโกรธก็จบ แล้วโปรเจคนีล้ กู ค้าก็ จะไม่เอาละ บางโปรเจคผมท�ำที ๔-๕ ปี แก้แล้ว แก้อีก แต่มานั่งคุยกันก็ต้องยิ้มแย้มแจ่มใส
รูปในห้องเรียนปีสุดท้ายกับครูสมศรี
การแก้แบบมันเป็นส่วนของงานทีเ่ ราต้องท�ำ ซึง่ มันจะท�ำให้ผลงานออกมาดี เรียบร้อย นอกจากความอดทนแล้ว สถาปนิกก็ ต้องมีความซือ่ สัตย์ ไม่รบั คอมมิชชัน่ ไม่ตกุ ติก กับผูร้ บั เหมา ความจริงสถาปนิกนีม่ โี อกาสรวย มากเลย ถ้าเป็นคนแบบนัน้ นอกจากค่าแบบ ที่ คุ ณ ได้ จ ากลู ก ค้ า แล้ ว เนี่ ย คุ ณ ยั ง เอาค่ า คอมมิชชั่นวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ๕ เปอร์เซ็นต์ เช่น คุณสเปคสีไป คุณก็เอา ๕ เปอร์เซ็นต์ คุณก�ำหนดสเปคของอลูมิเนียมไป ก็ได้อีก ๕ เปอร์เซ็นต์ คุยกับผู้รับเหมาว่าอยากให้งานไป ได้ง่ายคุณก็ขอเขาอีก ๕ เปอร์เซ็นต์ รวมแล้ว คุณได้มากกว่าค่าแบบอีกไม่รเู้ ท่าไร แต่พนื้ ฐาน ผมและที่นี่เราไม่ท�ำเลย เมื่อได้ค่าแบบมาแล้ว จบ เรื่องค่าคอมมิชชั่นอย่ามาพูดกับผม แล้ว ชื่อเสียงของเราก็สร้างสมมาจากตรงนี้ คนเขา
ก็จะเริ่มรู้ว่าที่นี่ไม่ตุกติกหรืออะไรต่าง ๆ นีค่ ือ ความซื่อสัตย์ในวิชาชีพไง อันนี้เป็นข้อที่สอง ที่ผมบอกคนที่นตี่ ้องอยู่ในจิตใจเราตลอดเวลา แล้วก็มีเรื่องจิตวิทยาในการปกครอง คน ผมนีก่ ็ต้องอ่านคนให้ออก อ่านลูกค้าให้ ออก อ่ า นคนที่ ม าสมั ค รงานกั บ ผมให้ อ อก สังเกตดูแม้กระทั่งดวงตาของเขาเพราะลูกค้า บางคนเขาไม่พูดว่าชอบหรือไม่ชอบแต่พอมอง ตาเขาเรารู้ อย่างบางคนเขาขยิบตา ๑ ที แสดง ว่าเขาไม่ชอบละ เขาไม่เห็นด้วยกับที่เราพูด ไปละ เราก็ต้องเบ้ไปพูดเรื่องอื่น หรือบางคน กระดิกนิว้ บางคนดูได้จากลมหายใจ สถาปนิก ต้องดูปฏิกริยาของลูกค้าด้วย สถาปนิกทีเ่ ก่งจะ ต้องมีตรงนีด้ ้วย สิ่งเหล่านี้เกิดจากการสังเกต และประสบการณ์ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 37
เป็นผู้แทนของโรงเรียน ทูลเกล้าฯ ถวายรูปภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
คืออาชีพสถาปนิกที่ผมท�ำเนี่ย ท�ำให้มี โอกาสพบเจอบุคคลระดับสูงสุดของทุกสถาบัน เวลาเราจะไปเสนองานเขา เราต้องไปถึงประธาน และคนเหล่านีก้ ็ล้วนเป็นเศรษฐี มีอัตตากันทั้ง นัน้ เลย แต่เราก็ต้องท�ำงานกับเขาให้ได้ แต่ก็ ไม่ได้คบกันเป็นเพือ่ น แล้วก็ไม่ได้ไปแบบกราบ แทบเท้าเขา เราไปแบบมีศกั ดิศ์ รี ในขณะทีเ่ ขาก็ เคารพผม เรียกผมว่าอาจารย์ ผมก็คยุ กับเขาได้ แต่พองานจบแล้วก็จบ ผมไม่เคยไปกินข้าว ไม่ เคยอะไรต่าง ๆ กับเขาเลย ซึง่ ในการท�ำงานเราก็ ต้องอ่านคนพวกนี้ให้ออก อย่างผมท�ำเซ็นทรัล เวิร์ด มูลค่าโครงการ ๕-๖ พันล้านบาท ใช้เวลา ทั้งหมด ๕ ปี แล้วผู้บริหารของเครือเซ็นทรัลก็ มาจากหลายครอบครัวที่เป็นญาติกัน ทุกคน เป็นกรรมการ เราก็ต้องผ่านอุปสรรคตรงนี้ไป
38
ให้ได้ เข้าไปในบอร์ดเราต้องเสนองานให้ได้ คนนี้มีความคิดอย่างนี้ คนนีก้ ็เห็นด้วย แต่คน นัน้ ก็ไม่เห็นด้วย เราต้องแก้ปัญหาตรงนี้ไปให้ ได้ จนกระทั่งงานจบลงไปด้วยความเรียบร้อย ตอนที่ทำ� งานเซ็นทรัลเวิร์ด เราไม่ได้ปิดห้างนะ เราก็ต้องทยอยท�ำไปทีละส่วน ฝ่ายการตลาด ก็จะเข้ามาเปลี่ยนทุกวันเลย จะมาแก้ย้ายโซน กัน เราก็ตอ้ งเปลีย่ นแก้กนั ใหม่ ตรงนีถ้ า้ เราไม่มี ความอดทน จิตวิทยาเราไปไม่ถึง ไม่สามารถ บริหารคนเยอะ ๆ ได้ก็จบ โครงการนี้ไปได้ ครึง่ ๆ กลาง ๆ เราก็ตอ้ งถอนตัว สถาปนิกหลาย คน ก็ไปตรงนี้ไม่ได้นะ บางคนเจอหนัก ๆ เข้า ก็เครียด ถึงขนาดเส้นเลือดในสมองแตกก็มี เพราะมันเครียดมาก เพราะต้องไปเกีย่ วกับเงิน จ�ำนวนมาก
พี่ นิธิ ฯ คิ ด เห็ น อย่ า งไรกั บ สถาปั ต ยกรรม ผังเมืองโดยรวมของประเทศไทย ที่ดูแล้ว เอาของแต่ ล ะที่ ม าผสมปนเปกั น จนไม่ มี เอกลักษณ์ของตนเองเหลืออยู่เลยครับ ในยุโรปนั้น สถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่ ฝังรากมาเป็นพันปี และคนก็รกั ศิลปวัฒนธรรม ของเขามาก แล้วก็กฎหมายของเขานีถ่ ึงแล้ว ตรงนี้สร้างได้ ตรงนี้สร้างไม่ได้ อาคารเก่านี้ ปรับปรุงได้เท่านัน้ เท่านี้ แต่เมืองไทยเราเรื่อง กฎหมายอ่อนแอมากเลย กฎหมายผังเมือง คุมไม่ถึง แล้วก็อิทธิพลของการเมือง มาเฟีย รุนแรง ประเทศไทยเรายังป่าเถือ่ นมากถ้าเทียบ กับยุโรป การเมืองไทยสามารถพลิกกฎหมาย ได้ ฉีกออกไปท�ำได้ ทั้งที่ตัวกฎหมายบอกท�ำ ไม่ได้ ไอ้นกั การเมืองก็ท�ำจนได้ มีการใช้ความ
รุนแรงกัน คือเรายังอยู่ในสังคมแบบนี้อยู่ ก็ เป็นเรื่องน่าเศร้า การรวมตัวของสถาปนิกไทย สามารถสร้าง บทบาทอะไรให้แก่สังคมไทยได้บ้าง ที่ จ ริ ง สถาปนิ ก ไทยเรารวมตั ว เป็ น ปึกแผ่นนะครับ เราท�ำงานต่อสู้ด้านอนุรักษ์ มาเยอะ เช่น เกาะรัตนโกสินทร์ ท�ำมากับ หน่อ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน์ (รุ่น ๓๗) นี่แหละ ถ้า ไม่ได้พวกเรา ป่านนี้เละกว่านี้อีก เราผลักดัน กันในหลาย ๆ เรื่อง เราผลักดันจนกระทั่ง รื้อโรงหนังเฉลิมไทยลงไปได้ ท�ำให้มองเข้าไป เห็นวัดราชนัดดา เห็นโลหะปราสาท ตรงนัน้ เป็น เรื่องที่สถาปนิกมาต่อสู้กันนะ นอกจากนี้เรายัง ผลักดันให้ออกกฎหมายของเกาะรัตนโกสินทร์
ชนะเลิศฟุตบอล รุ่นกลาง ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ถ่ายรูปคู่กับผู้ก�ำกับคณะ (คุณครูสมจิต พึ่งประดิษฐ์) ปีนนั้ คณะ พญาไท ได้ถ้วยชนะเลิศรุ่นกลาง ทั้ง รักบี้ ฟุตบอล บาสเกตบอล และวอลเลย์บอล
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 39
ถ่ายวันไปเล่นดนตรี วันประสูติสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ ที่วังรื่นฤดี มี ภราเดช พยัฆวิเชียร อยู่ในภาพอดีต เป็น ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
เพื่อให้สามารถอนุรักษ์อาคารไว้ได้ โดยการ ควบคุมความสูงของอาคาร จนเดี๋ยวนี้ใครจะ สร้างอะไรในเกาะรัตนโกสินทร์ก็จะสร้างไม่ ค่อยได้ละ ในแง่ของหน่วยงานราชการเขาไม่ ค่อยสนใจเรื่องพวกนี้ จนกว่าจะมีการผลักดัน จากพวกเราเข้าไป ตอนนีเ้ ป็นช่วงเศรษฐกิจถดถอยทัว่ โลก พีม่ อง วิกฤตครั้งนี้อย่างไรครับ ทีผ่ มท�ำงานมาหลาย ๑๐ ปีกผ็ า่ นวิกฤต มาหลายครั้ง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง A49 ยุคนัน้ ก็ปี ๒๕๒๖ เศรษฐกิจก็ตกต�ำ่ แล้วก็มายุคสงคราม อ่าวเปอร์เชีย จนมาถึงยุคฟองสบูแ่ ตก ก็ผา่ นมา ได้ หลายครั้งที่เราต้องแก้ปัญหากันขนาดหนัก
40
เลย เรียกว่าลดคนกัน จากหลายร้อยเหลือเพียง ๕๐ คน ลดเงินเดือนกันครึ่งหนึง่ ก็เคยมาแล้ว ไม่จา่ ยโบนัส ไม่จา่ ยโอที ลดสวัสดิการ รถก็สง่ คืน บริษัทลิสซิ่งทั้งหมด ก็เคยผ่านมาหมดแล้ว เพราะฉะนัน้ ผมก็ไม่ตื่นเต้นเท่าไร ก็เตรียมตัว รับมือกับมัน แต่จากปีที่ฟองสบู่แตกมาจนถึงวันนี้ ก็ ๑๒ ปี ผมก็ ไ ด้ ว างแผนของบริ ษั ท ใน หลาย ๆ เรือ่ งเลย เราต้องขยายบริษทั ไปทีภ่ เู ก็ต ขยายไปที่ เชี ย งใหม่ แ ละขยายไปที่ อ าบู ด าบี เปิด A49 International แล้วก็เปิดเว็บออก ไปทั่วโลก ท�ำหนังสือส่งขายทั่วโลก ท�ำให้ บริษัทของผมเป็นที่รู้จักในเอเชีย แล้วตอนนี้ บริษัทของผมก็ไปได้โปรเจคที่อาบูดาบี คน
เพื่อให้ดูหลักฐานกันจะๆ ธนูยังถืออยู่ในมือ ในภาพมีเพื่อนๆ ที่คุ้นหน้ากันหลายคน เช่น (พ.ต.อ.) วินจิ ตันติวงศ์, ปรีชา วัชราภัย, ปกรณ์ ปุณฑริก ส่วนคนที่ถือธนูนนั้ ชื่อ ศุภชัย คชเสนี
ของผมก็ต้องไปอยู่ที่โน่นส่วนหนึ่ง แล้วยัง ต้ อ งไปท� ำ ที่ คู เวต บาเรนห์ และยั ง มี ที่ จี น ฟิลิปินส์ มาเลเซีย คือตอนนี้มันเป็นการพึ่งพา กันละ ท�ำให้ผมไม่ค่อยกลัวเท่าไร โอเค ตอน นี้ในอเมริกาแย่ ยุโรปแย่ ในตะวันออกกลาง ก็ เ ริ่ ม แย่ ล ะ แต่ ก็ ยั ง พอไปได้ ในเอเชี ย ตะวันออกเฉียงใต้เราก็แย่ อย่างในมาเลเซีย สิงคโปร์ ตอนนี้โปรเจคใหม่ ๆ ก็หยุดกัน แต่ ก็ยังพอมีบางแห่งท�ำต่อไปได้ เพราะฉะนั้น เราก็ได้พึ่งพากัน ถ้าที่โน่นมีงานเราก็ส่งคน ไป ที่นี่มีงานเราก็ส่งคนไป อย่างกรุงเทพฯ เรา ดูเหมือนจะแย่ แต่ภูเก็ตยังไม่แย่นะ โรงแรม ใหม่ ๆ ยังท�ำอยู่ ผมก็เช็คไปว่ายังมีนกั ท่องเทีย่ ว ไปกันเยอะนะ แล้วคนต่างชาติที่มาเที่ยวมาก
ทีส่ ดุ ในเครือ่ งบินประมาณ ๘๐% เป็นคนอินเดีย มาเที่ยวกันเป็นว่าเล่นเลย คือตลาดมันเปลี่ยน เรื่องในวงการสถาปนิก มีเรื่องอะไรที่พี่ยัง อยากเห็นเป็นจริงครับ ก่อนอืน่ ต้องพูดถึงจักรพันธุ์ โปษยกฤต ก่อน เพราะผมชืน่ ชมเขาทีเดียว คือเขาเป็นคนที่ สามารถเขียนรูปได้ รูปละ ๒๐ ล้าน ซึ่งศิลปิน ก่อนหน้าเขาไม่มใี ครท�ำได้ เพราะจักรพันธุฯ์ เขา จะไม่เขียนรูปขายตามแกลเลอรี่ เขียนตามสั่ง ตามความพอใจของเขา ถ้าคุณมาแบบเป็น เศรษฐีจะให้เขาเขียนรูปให้ ถ้าพูดไม่ถูกหูเขา เขาก็จะไม่เขียนให้ เขาท�ำตัวได้ขนาดนัน้ เขียน แล้วจะมาบอกว่าไม่สวย ก็ขีดทิ้งเลย ดังนัน้ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 41
การเป็นสถาปนิกของผมก็จะท�ำตามอย่างเขาให้ ได้ ไม่เป็นสถาปนิกถูก ๆ ค่าแรงเท่าไรก็ได้ งาน อะไรก็ได้ คุยกันแล้วดูพูดไม่รู้เรื่อง โดยเฉพาะ อาชีพอย่างผม ถ้าไม่ดตู าม้าตาเรืออาจถูกลูกค้า ฟ้องร้องได้ เป็นร้อย ๆ พัน ๆ ล้านเลยนะ ผม เคยเจอเข้าไป ค่าแบบบ้านหลังหนึง่ ได้ไม่ถงึ ๑๐ ล้านเลยนะ ฟ้องผมร้อยกว่าล้าน อันนีเ้ ราก็กลัว เหมือนกัน เราถึงต้องอ่านกันให้ออกเลย ผมก็ ไม่ใช่ว่าจะรับลูกค้าทุกรายไป วิธีที่จะปฏิเสธก็ ง่ายมากขึ้นค่า Fee ให้แพง ๆ ค่าแรงสถาปนิกไทยส�ำหรับงานราชการ ที่ถูกก�ำหนดไว้ในกฎระเบียบแค่เพียง ๑.๗๕% ซึง่ เป็นค่า Fee ที่ ไม่มปี ระเทศไหนในโลกทีจ่ า้ ง สถาปนิกด้วยค่า Fee แค่ ๑.๗๕ เปอร์เซ็นต์
42
แต่มันก็เป็นการเขียนกฎอันนี้ไว้เป็นเวลานาน แล้ว และผมก็พยายามต่อสู้มา เปรียบเทียบ ให้เห็นเลยว่า มาเลเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น อเมริกา ของเรานีต่ �่ำที่สุดในโลก โดยเฉลี่ย ค่า Fee อยู่ ที่ ๕ ถึง ๗ เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นระดับที่มีชื่อ เสียงระดับโลก เขาจ่ายถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ก็มี แต่สถาปนิกไทยได้ ๑.๗๕ เปอร์เซ็นต์ ยังมีเรื่องที่น่าเศร้ากว่านัน้ อีก ก็คือว่า อย่างเวลากระทรวงการต่างประเทศไปจ้าง สถาปนิกสร้างสถานทูตในต่างประเทศ เขาก็ ไปจ่ายค่า Fee ในอัตราของอังกฤษ คือ ๒๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ซึ่งต้องจ่ายตามกฎหมายของ อังกฤษเขา แต่ถ้ามาจ้างสถาปนิกไทยไปท�ำ เขาให้แค่ ๑.๗๕ เปอร์เซ็นต์ เพียงเพราะว่าเรา
ถ่ายที่เชียงใหม่เมื่อวันเลี้ยงให้คุณครู Mr.Hossick ที่เดินทางกลับมาเที่ยวเมืองไทยเมื่อปลายปี ๒๕๓๙ หลังจากไม่ได้พบกันกว่า ๒๐ ปี ลูกศิษย์แก่ๆ กันไปหมดแล้ว บางคนแก่ทันคุณครูไปเลยก็มี ในภาพมี สุปัญญา แพ่งสภา, ดร.จาริต ติงศภัทย์, อภิพร ภาษวัธน์ และเพื่อนรุ่นเดียวกันอีกหลายคน รวมทั้ง พลากร สุวรรณรัฐ ซึ่งเป็นผู้ว่าอยู่เชียงใหม่ช่วงนัน้
เป็นบริษัทสัญชาติไทย ต้องอยู่ในกฎระเบียบ ของไทย ผมเคยเจอมาแล้ ว นะ มี ส ถานทู ต ไทยที่ประเทศแห่งหนึง่ ในยุโรป จ้างฝรั่งที่นนั่ ออกแบบ ท่านทูตจะแก้แบบจะเปลี่ยนอะไรก็ ไม่ได้ ไอ้ฝรั่งพวกนี้มันก็ไม่ยอมแก้แบบ ซึ่งท�ำ ออกมาแล้วไม่มีความเป็นไทยเลย จนในที่สุด งานเหลืออีกประมาณ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ เขาก็ บอกให้ฝรัง่ เพลา ๆ ได้ละ แล้วเขาก็มาจ้างผมไป ผมก็ช่วยท�ำให้มันเป็นไทยให้ได้อะไรที่เปลี่ยน ได้ก็เปลี่ยน แต่เขาจ่ายค่า Fee แค่ ๑.๗๕ เปอร์เซ็นต์ แต่จ่ายฝรั่งที่สถานทูตไม่เอาแบบ ได้ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ เนี่ยระเบียบราชการมันเป็น แบบนีม้ นั ท�ำให้สถาปนิกไทยรูส้ กึ เหมือนโดนตบ
หน้า เขาบอกว่าจ่ายเกินกว่านี้ไม่ได้เพราะผม เป็นคนไทย แต่เราก็ชว่ ยท�ำจนสถานทูตเปิดจน ได้ สวยงามเป็นที่พอใจ ถ้าจะแก้ตอ้ งไปแก้ทกี่ ฎหมาย ก็ตอ้ งไป วิ่งนักการเมือง พอวิ่งทีไรทุกคนเข้าใจ จนไม่รู้ จะเถียงอย่างไร เพราะทั่วโลกเขาจ่ายกันเท่านี้ แล้ ว เขาก็รั บ หลัก การไปแล้ ว ก็ห ายไป เป็ น แบบนีท้ ุกรัฐบาล ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ,์ วรชาติ มีชูบท (รุ่น ๔๖), นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา (รุ่น ๖๕), อาทิตย์ ประสาทกุล, อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ (รุน่ ๗๑), ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง (รุ่น ๗๖) สัมภาษณ์ ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ ่ น ๗๒) ถ่ า ยภาพ กิ ต ติ เดช ฉันทังกูล (รุ่น ๗๓) เรียบเรียง มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 43
จดหมายเหตุวชิราวุธฯ บันทึกเรื่องราวในโรงเรียน
สอบไล่ อนุ ม านวสารฉบับนี้เป็นฉบับประจ�ำ เดือนมีนาคม และสิ่งที่คู่กับเดือนมีนาคมของ ทุกปีก็คือการสอบไล่ ก่อนจะพูดถึงการสอบไล่ประจ�ำปี คง ต้องเริ่มที่การสอบเข้าโรงเรียน ในตอนปลาย เดือน สมั ย ที่ ผ มจะสอบเข้ า โรงเรี ย นนั้ น จ� ำ ได้ ว ่ า พอสอบประถมสองที่ โ รงเรี ย น อักษรเจริญเสร็จ นักเรียนอนุบาลและประถม ๑ กับนักเรียนหญิงล้วนปิดเทอมกลับบ้านกันไป หมด คงเหลือแต่พวก ประถม ๒ - ๓ - ๔ ทีจ่ ะ มาสอบเข้าวชิราวุธฯ ทีป่ า้ ครูทา่ นจัดติวเข้มพิเศษ พอถึ ง วั น สอบป้ า ครู ก็ เดิ น แถวข้ า มถนนมา สอบเข้าที่ตึกขาว เริ่มสอบแต่เช้าไปเสร็จราว ๆ เที่ยงวัน จ�ำได้ว่าห้องที่ผมสอบเป็นห้องปีก ชั้นสองด้านสนามหน้า มีนกั เรียนมาสอบกัน เต็มห้องแต่กว่าครึ่งเป็นนักเรียนอักษรเจริญ
44
สอบเสร็จกลับไปรับประทานเลี้ยงที่ อักษรเจริญแล้วได้หยุดพักผ่อนนิดหน่อย ก่อน ที่จะกลับมาปรับฐานความรู้ก่อนมาเรียนจริง อีกครัง้ พอถึงวันเปิดเรียนชัน้ ประถม ๓ วันแรก ก็ได้พบ “นายโก๊ะ” อ�ำนาจ เหลืองอร่ามรัตน์
พี่ชายคุณหรีดผู้โด่งดังยอมซ�้ำชั้นรอเพื่อนเก่า จากอักษรเจริญมาสมทบ หักนายโก๊ะออก แล้วนักเรียนประถม ๓ รุ่นนัน้ มาจากอักษร เจริญเสียกว่าครึง่ ห้อง คงเป็นนักเรียนทีม่ าจาก โรงเรียนอื่นไม่ถึง ๑๐ คน จากนั้ น ก็ เ ล่ า เรี ย นและสอบไล่ เพื่ อ เลื่อนชั้นเรียนกันในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และ มี น าคมมาตามล� ำ ดั บ จะมี พิ เศษเฉพาะชั้ น ประถม ๔ ประถม ๗ ม.ศ. ๓ ที่เราเรียกกัน ว่า ม.๖ และ ม.ศ. ๕ หรือเราเรียกกันว่า ม. ๘ ทีต่ อ้ งสอบข้อสอบกระทรวงทีจ่ ดั สอบพร้อมกัน ทั่วประเทศ ฉะนัน้ สี่ชั้นนีจ้ ึงสอบไม่พร้อมกับ ชั้นอื่น ๆ ที่โรงเรียนออกข้อสอบและจัดสอบ เอง พวกทีโ่ รงเรียนจัดสอบเองนัน้ โดยมากสอบ เสร็จแล้วก็กลับบ้านกันไป ชัน้ ทีส่ อบช้าทีส่ ดุ คือ ประถม ๗ ทีไ่ ปสอบเอากลางเดือนมีนาคมทีค่ น อื่นเขากลับบ้านกันไปหมดแล้ว ตอนรุ่นผมอยู่ประถม ๗ นัน้ ผมถูก ส่งเข้ามาอยู่ที่คณะจิตรลดาพร้อมกับเพื่อน ๆ อีก ๖ คน รวมทั้งตัวผมด้วยก็เป็น ๗ คนพอดี ความที่คณะจิตรลดากับตึกเรียนเด็กเล็กอยู่ ไกลกันมากที่สุด เราจึงได้รับความเมตตาจาก หัวหน้าในเวลานัน้ มากเป็นพิเศษ เพราะบางวัน กว่าจะเลิกเรียนแล้วกลับไปถึงคณะ พี่ ๆ ท่านก็ เข้าแถวเตรียมตัวขึน้ โรงเลีย้ งกันแล้ว ยิง่ บางวัน ทีค่ รูทา่ นปล่อยช้ามาก ๆ กว่าจะกลับถึงคณะพี ่ๆ ท่านก็รบั ประทานอาหารกันไปแล้ว แต่นอ้ งเล็ก ทัง้ ๗ ก็ได้รบั ความเห็นใจจากหัวหน้าเป็นพิเศษ
เสมอมา ยิ่งถึงเวลาสอบไล่ปลายปีที่พี่ ๆ ม.๘ ต้องกลับมาสอบไล่เป็นรอบที่ ๒ ปีนนั้ จึงเป็น ปีพิเศษที่พี่ใหญ่กับน้องเล็กต้องมาอยู่เฝ้าคณะ ร่วมกันอย่างอบอุ่น เพราะพี ่ ๆ ท่านเมตตาดูแล น้องเล็กทั้ง ๗ คนเป็นอย่างดี จึงท�ำให้น้องเล็ก ทัง้ ๗ คนนีส้ นิทสนมและเคารพรักพี ่ ๆ รุ่น ๔๑ นี้เป็นพิเศษมาจนถึงทุกวันนี้ พอเข้ามาอยู่คณะในได้เรียนที่ตึกขาว เต็มตัว ก็จะได้รับการสั่งสอนจากหัวหน้าและ พี่ ๆ ให้สังเกตต้นแคฝรั่งที่รอบ ๆ เกาะศาลา กลางน�้ำ ถ้าเห็นดอกออกสีม่วง ๆ ขาว ๆ เริ่ม ออกเมื่อไร ก็ให้เริ่มอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ กันได้แล้ว แต่พอถึงมัธยมปลายต้องย้ายไป เรียนที่ตึกวิทยาศาสตร์ และตึกเพชรรัตน์ มอง จากตึกเรียนไม่เห็นต้นแคฝรั่งที่ศาลากลางน�้ำ แล้ว ต้องไปอาศัยดูดอกแคที่ริมรั้วข้างเรือน จากที่เราใช้เป็นซุปเปอร์ไฮเวย์ผ่านเข้าออกใน ยามวิกาล และทีห่ ลังห้องเรียนศิลปะทีเ่ ราเรียก กันว่า “โรงปั้น” (ท�ำไมถึงเรียกว่าโรงปั้นก็ไม่ ทราบ ทั้ง ๆ ที่มีห้องเรียนงานไม้และวาดรูป ด้วย) ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน สถานทีส่ อบไล่สำ� หรับชัน้ มัธยม ยกเว้น ชั้น ม.๘ ที่ไปสอบที่สนามกลางของกระทรวง ศึกษาธิการนัน้ ส่วนใหญ่ก็สอบกันที่ตึกขาว มี ที่พิเศษคือ ม.๗ หรือ ม.ศ. ๔ ที่เป็นชั้นปราบ เซียนไว้คัดกรองพวกที่ไม่ค่อยตั้งใจเรียนให้ เรียนซ�้ำชั้นเพิ่มความรู้ให้หนักแน่นเสียก่อน ก่อนที่จะปล่อยไปสอบข้อสอบกระทรวงใน มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 45
ตอน ม.๘ แต่โรงเรียนคงจะเห็นใจนักเรียนทีท่ �ำ ประโยชน์ให้โรงเรียนแต่ไม่คอ่ ยมีความสามารถ ในการเล่าเรียน เลยจัดให้พวก ม.๗ ไปสอบ ที่ใต้ถุนหอประชุมที่มีเสาเรียงรายกันอยู่เกือบ ร้อยต้น และต้องมีครูมาคุมสอบมากเป็นพิเศษ แม้กระนัน้ พวกเราก็มีเทคนิคพิเศษที่สามารถ หลบเร้นสายตาสับปะรดของครูที่คุมสอบเอา ตัวรอดกันมาได้ เทคนิคส�ำคัญที่นกั เรียนใน ยุคนัน้ คงจะจ�ำกันได้ดีก็คือเวลามีลมพัดมาที กระดาษค�ำตอบก็จะปลิวกันให้ว่อน แล้วพวก เราก็จะพร้อมใจกันลุกไปเก็บกระดาษค�ำตอบ ตอนที่เก็บค�ำตอบนี่แหละครับที่กระดาษของ คนเรียนเก่งมักจะตกไปอยู่ในมือพวกเรียนไม่ เก่งแต่ความสามารถเฉพาะตัวสูง รอดจากชั้น ม.๗ มาแล้ว คราวนีก้ ็ ถึงคราวสอบครั้งส�ำคัญในชีวิตนักเรียน คือ สอบไล่ชั้น ม.๘ ที่ต้องไปสอบในสนามสอบ ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ ที่โรงเรียนวัด ราชาธิวาส เว้นแต่ปีที่เจ้านายทรงเข้าสอบไล่จึง จะไปสอบรวมกั บ โรงเรี ย นจิ ต รลดาที่ ส วน จิตรลดา ถึงวันสอบไล่ในช่วงต้นเดือนมีนาคม ตอนเช้าของทุกวันจะมีรถประจ�ำต�ำแหน่งมา จอดรอพวกเราอยู่ที่หน้าหอประชุม เป็นรถ สีขาวมีสองประตูยี่สิบหน้าต่างที่เราเรียกกันว่า “รถเมล์ขาว” รับประทานอาหารเช้าที่วรรณา จัดให้ตามสั่งเรียบร้อยแล้ว ก็แต่งเครื่องแบบ
46
สวมเสื้อราชปะแตนมาขึ้นรถ พอพร้อมกันรถ ก็ออกไปส่งที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส แล้วรอรับ กลับมารับประทานอาหารกลางวัน แล้วก็ไป ส่งและรอรับกลับในตอนเย็น ที่ประทับใจมา จนถึงทุกวันนีค้ ือ ตอนเช้าก่อนออกไปสอบวัน แรก ท่านผู้บังคับการพระยาภะรตราชา ท่าน กรุณามาที่หน้าหอประชุมแล้วน�ำพวกเราถวาย บังคมพระบรมรูปที่หน้าหอประชุม แล้วท่าน รอส่งพวกเราขึ้นรถจนรถแล่นออกไปแล้วท่าน จึงกลับเรือน การสอบนั้ น ไม่ มี อ ะไรยากส� ำ หรั บ พวกเรา ยิ่งพวกห้องวิทย์นนั้ เกิดปรากฏการณ์ ประหลาดที่เพื่อนผมคนหนึ่งที่ตลอดปี ม.๘ นัน้ เขาแทบไม่ได้รำ�่ เรียนเอาเสียเลย เนื่องจาก ต้องสูญเสียคุณพ่อ และในฐานะทีเ่ ป็นบุตรชาย คนเดียวของครอบครัวก็จะต้องกลับไปแบกรับ ธุรกิจของครอบครัว แต่ไม่น่าเชื่อคนที่แทบจะ ไม่ได้เล่าเรียนเลยตลอดทั้งปี กลับท�ำคะแนน สอบไล่ได้เกือบ ๘๐% เรียกว่าเกือบติดบอร์ด นักเรียน ๆ เก่งประจ�ำปีเลยทีเดียว (สมัยนัน้ สาย วิทย์ถา้ สอบได้ ๘๐% ขึน้ ไป และสายศิลป์สอบ ได้ ๗๕ ขึ้นไป จะได้ชื่อว่าติดบอร์ดนักเรียน ๆ ดี) เรื่องนีต้ ้องยกให้เป็นความชอบของเทคนิค พิเศษที่พวกเราแบ่งหน้าที่ให้เพื่อนที่เก่ง ๆ ช่วย กันท�ำข้อสอบคนละข้อแล้วก็เวียนให้กนั ทัง้ ห้อง ผลเลยออกมาอย่างนัน้ ข้างฝ่ายสายศิลป์ ทั้ง ศิลป์ค�ำนวณและศิลป์ฝรั่งเศส ที่พวกเรามัก
จะยกย่องตัวเองเป็น “ศิลปิน” คือเรียนบ้างไม่ เรียนบ้างตามอารมณ์นนั้ ต้องไปสอบรวมกับ นักเรียนผดุงศิษย์ห้องหนึง่ ส่วนอีกห้องเป็น วชิราวุธฯ ล้วน ๆ ห้องทีผ่ มสอบนัน้ แบ่งเป็น ๔ แถว เป็น ผดุงศิษย์เสียสองแถว วชิราวุธฯ ๒ แถว วชิราวุธฯ เรามากันครบ แต่ผดุงศิษย์มีนกั เรียนหญิงมา สอบแค่ ๒ คน เวลาท�ำสอบกรรมการท่านก็ เลยเมตตาสอดส่องแต่พวกเรา ปล่อยให้สอง สาวนั้นคอยถามค� ำตอบจากพวกเราทุกวิชา เราก็ช่วยสงเคราะห์กันไปตามอัตภาพ จะถูก จะผิดอย่างไรไม่อาจทราบได้ เพราะพวกเราทั้ง สองแถวนีล้ ว้ นเป็นพวกทีค่ วามรูแ้ น่นกันทัง้ นัน้ เรื่องเทคนิคพิเศษเลยไม่ต้องพูดถึง ผิดกับอีก ห้องทีม่ แี ต่พวกเราล้วน ๆ ทีม่ กี รรมการคุมสอบ เป็นเพือ่ นสนิทของ “ครูดม” ครูดมท่านเลยช่วย ฝากฝังให้เป็นพิเศษ พวกที่สอบห้องนัน้ เลยได้ คะแนนดี ๆ ไปตาม ๆ กัน สอบไล่วันสุดท้ายเสร็จแล้วพวกเรา ก็ได้ไปกราบลาท่านผู้บังคับการ จ�ำได้ว่าเข้าไป ยืนล้อมโต๊ะยาวในกองบังคับการจนแน่นไป หมด วันนั้นท่านผู้บังคับการกล่าวให้โอวาท ว่าอย่างไรจ�ำไม่ได้ จ�ำได้แต่ว่าเวลาที่ฟังท่านผู้ บังคับการให้โอวาทวันนัน้ ใจคอออกจะหวิวๆ ชอบกล คงจะเป็นเพราะนับแต่วันนั้นเราจะ ต้องออกไปผจญโลกกว้าง เพื่อเตรียมตัวเรียน ต่อในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป แต่วันนัน้ ก็ยัง
ไม่ใช่วนั สุดท้ายของชีวติ นักเรียนเสียทีเดียว เรา ยังต้องฟังผลการสอบในตอนต้นเดือนเมษายน พอกระทรวงศึกษาธิการประกาศผลสอบ และ ปรากฏว่าปีนนั้ นักเรียนวชิราวุธฯ สอบไล่ชั้น มัธยมปลายได้หมดทุกคน และตกบ่ายวันที่ ประกาศผลสอบนั้นเองก็ได้เกิดพายุฤดูร้อน ถล่มที่โรงเรียน เหมือนกับจะช�ำระล้างโรงเรียน ให้สะอาดหมดจดหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ แต่ที่ ท�ำให้ต้องจดจ�ำไม่ลืมเลือนเลยก็คือ ภายหลัง จากที่พายุฝนฟ้าคะนองในบ่ายวันนัน้ หยุดลง ก็ได้พบว่าช่อฟ้าเอกที่ด้านหน้าหอประชุมถูก ฟ้าผ่าลงจนหักสะบั้นลงมาทั้งหมด ไหน ๆ ก็เล่าถึงเรื่องสอบไล่กันมาแล้ว ในตอนท้ายนีก้ ข็ ออนุญาตประกาศนามนักเรียน เก่า ๓ ท่านที่ได้สร้างเกียรติประวัติไว้แก่ โรงเรียน คือ ดร.กมล ชาญเลขา สอบไล่ได้เป็นที่ ๑ ประเทศไทย ชัน้ มัธยม ๘ ปีการศึกษา ๒๔๗๗ ดร.สุรนิ ทร์ (ตันเสียงสม) เศรษฐมานิต สอบไล่ได้เป็นที่ ๑ ประเทศไทย ชั้นเตรียม อุดมศึกษาปีที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๔๙๗ ชัยยันต์ อัคควัฒน์ ที่ ๑ ประเทศไทย ชั้นประถม ๔ ปีการศึกษา ๒๕๑๐ ประถม ๗ ปีการศึกษา ๒๕๑๓ และมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปี การศึกษา ๒๕๑๖ วรชาติ มีชูบท (รุ่น ๔๖)
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 47
หอประชุม
แง่คิดดีๆ จากเรื่องเล่าของพี่โอวี
บทเรียนจาก
เขมร
ผู ้ เ ขี ย นเพิ่ ง เดิ น ทางไปยั ง ประเทศ กัมพูชา (เขมร) ๒ ครั้ง ครั้งละ ๕ วันบ้าง ๔ วันบ้าง แบบขี่ม้าชมดอกไม้นนั่ แหละครับ แต่ ก็ได้ข้อคิดมาเยอะจนอยากจะแชร์กับพี่น้อง O.V. แบบว่าไม่ได้บอกเล่าให้ใครแล้วอกจะ แตกว่ายังงั้นเถอะ ! ความประทับ ใจที่สุดของผู้เขียนคือ มัคคุเทศก์ (ไกด์) ชาวเขมร ๓ คน คือ
48
๑. นายสุคิริน อายุ ๔๔ ปี เป็นไกด์ ให้ในระหว่างอยู่ในกรุงพนมเปญเมืองหลวง ของราชอาณาจั ก รกั ม พู ช า นายสุ คิ ริ น เป็ น คนที่ ผ ่ า นร้ อ นผ่ า นหนาวมามาก ประเภท คนเดนตายนั่นแหละ เมื่อพวกเขมรแดงเข้า มาไล่ ต ้ อ นประชาชนออกจากเมื อ งทั้ ง หมด ให้ไปตั้งคอมมูนในชนบทและท� ำลายระบบ การเงิน การไปรษณีย์ การพาณิชย์ และวิถชี วี ติ
สมัยอุตสาหกรรมทัง้ สิน้ เพือ่ ทีจ่ ะน�ำสังคมเขมร กลับไปสูย่ คุ การเกษตรแบบดัง้ เดิมตามนัยของ Primitive Communist ตามที่นายคาร์ล มาร์ค พรรณนาเอาไว้ ตอนนัน้ นายสุคิรินอายุ ได้ ๑๓ ขวบก็โดนต้อนไปกับเขาด้วย นายสุคิรินถูกสั่งให้ท�ำปุ๋ยจากขี้ควาย ผสมดินวันละ ๗๐ กิโลกรัม ในระยะ ๖ เดือน แรกแล้วก็ถูกให้ท� ำงานนานาชนิดในท้องไร่ ท้องนาซึง่ ในเวลานัน้ ทุกคนแต่งชุดด�ำเหมือนกัน หมด พวกที่เคยอยู่ในเมืองมักจะตายไปก่อน เป็นจ�ำนวนมากเนือ่ งจากทนความล�ำบากไม่ไหว นายสุคิรินหนีออกมาจากคอมมูนเมื่อกองทัพ เวียดนามบุกเขมรใน พ.ศ. ๒๕๒๑ รวมเวลาที่ อยู่ที่คอมมูนของนายสุคิริน คือ ๓ ปี ๓ เดือน ๒๑ วัน ซึ่งนายสุคิรินไม่เคยลืมเลย คนเขมรตายไปร่วม ๒ ล้านคนในช่วง ๓ ปีเศษทีเ่ ขมรแดงปกครองประเทศกัมพูชาซึง่ ส่วนใหญ่ตายจากความอดอยาก โรคภัยไข้เจ็บ และอีกร่วม ๗ แสนคนจากการฆ่าทิ้งเนื่องจาก เป็ น ศั ต รู ห รื อ สงสั ย ว่ า จะเป็ น ศั ต รู ข องเขมร แดง (พวกที่ถูกสงสัยและฆ่าทิ้งนีค้ ือพวกที่มี การศึกษาและพวกทีส่ วมแว่นตา!) การทีต่ อ้ งไป ดูกะโหลกศีรษะมนุษย์ทถี่ กู เขมรแดงฆ่าตายนัน้ ดูจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยหากไปกับทัวร์ ส่วนไกด์คนที่สองเป็นหนุ่มใหญ่อายุ ๓๖ ปี ไกด์คนนี้เป็นไกด์พาขี่ม้าชมดอกไม้ ในเมื อ งเสี ย มเรี ย บ (เมื อ งที่ เป็ น ที่ ตั้ ง ของ นครวัด นครธม) เขาจ�ำอะไรไม่ได้เลยในสมัย เขมรแดงเนื่องจากเพิ่งมีอายุได้ ๓ ขวบตอนที่
เวีย ดนามยกทัพ เข้ า มาขับ ไล่ พ วกเขมรแดง ในพ.ศ. ๒๕๒๑ แต่ได้ให้ความรู้ว่าการแวะลง ท�ำธุระส่วนตัวระหว่างทางที่ไม่มีห้องน�้ ำตาม ข้างทางที่คนไทยบอกว่าผู้ชายไปยิงกระต่าย และผู้หญิงไปเก็บดอกไม้นนั้ ในเขมรบอกว่า ผู้ชายไปบีบคอเด็ก ส่วนผู้หญิงไปทอดแห ซึ่ง กว่าจะเข้าใจได้ก็ต้องใช้จินตนาการกันมากพอ สมควรทีเดียว ส�ำหรับไกด์คนที่สามเป็นเด็กหนุ่มอายุ ไม่เกิน ๓๐ ปี ไม่พูดถึงเรื่องเขมรแดงเลย เพราะไม่สนใจ (เหมือนเยาวชนไทยปัจจุบันนี้ ที่ไม่สนใจและไม่รู้เรื่อง ๑๔ ตุลา ๑๖ และ ๖ ตุลา ๑๙ เลย) ไกด์คนนี้เป็นคนร่าเริงช่างพูด ช่างสังเกต ที่ประทับใจมากก็คือเขาบอกว่า บรรดาคนไทยที่มาทัวร์ประเทศกัมพูชานั้นมี ลักษณะที่เด่นเป็นเอกลักษณ์ของทัวร์ไทย ๓ ประการ คือ “ฉี่ - ช้อป - แชะ” ซึ่งไกด์เด็กหนุ่ม คนนีอ้ ธิบายว่าทัวร์ไทยต้องหยุดรถระหว่างทาง บ่อยทีส่ ดุ มากกว่าทัวร์ชาติอนื่ ๆ เพือ่ เข้าห้องน�ำ้ ไปฉีน่ นั่ เอง ส่วนช้อป ก็คือชอบซื้อของกันเหลือ เกิน ทั้งๆ ที่สินค้าต่าง ๆ ที่วางขายอยู่ในเขมร นัน้ ประมาณ ๗๐% น�ำเข้ามาจากประเทศไทย ทัง้ สิน้ ส่วนเรือ่ งโบราณสถานและประวัตศิ าสตร์ นัน้ คนไทยส่วนใหญ่ไม่มคี วามสนใจเลย สนใจ แต่จะช้อปปิ้งอย่างเดียว ส�ำหรับ “แชะ” นั้นคือถ่ายรูป และ ถ่ายรูปนัน้ ไม่ได้ถ่ายรูปสถานที่หรือสิ่งที่สำ� คัญ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 49
อะไรเลยหากแต่มงุ่ ถ่ายรูปทีม่ รี ปู ของตัวเองติด อยูด่ ว้ ยเป็นใช้ได้เหมือนกับจูเลียส ซีซาร์ทคี่ อย กล่าวค�ำอมตะไว้ว่า “ข้ามา ข้าเห็น ข้าถ่ายรูปของข้าไว้แล้ว” เท่านัน้ เอง โดยทั่ ว ไปแล้ ว ประเทศกั ม พู ช าดู ดี อย่างน่าพิศวงไม่น่าเชื่อว่าความพินาศฉิบหาย ที่ เที ย บเคี ย งกั บ ประเทศญี่ ปุ ่ น และประเทศ เยอรมันภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองนัน้ จะ ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและการค้นพบน�้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจ�ำนวนมหาศาลในอ่าวไทย บริเวณใกล้ชายฝั่งเขมรจะเริ่มการผลิตได้ใน พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๔ นี้ คงเปลี่ยนโฉมหน้า ทางเศรษฐกิจของกัมพูชาอย่างมากมายทีเดียว
50
แต่ก็นนั่ แหละครับ ความเจริญรุ่งเรือง ทั้ ง หลายของบรรดาประเทศต่ า งๆ นั้ น มี หลั ก ส� ำ คั ญ ยิ่ ง อย่ า งหนึ่ง คื อ ประชาชนของ ประเทศต้องไม่มีวัฒนธรรมในการโกงหรือที่ เรียกว่าคอรัปชั่น (Corruption) เป็นวิถีชีวิต หากจะดู จ ากตารางข้ อ มู ล ของคนขี้ โกงมาก น้อยอย่างไรเป็นรายประเทศล่าสุดขององค์การ Transparency International ทีท่ �ำการศึกษา ประเทศทั่วโลก ๑๗๙ ประเทศ และจัดอันดับ การคอรัปชั่นจากน้อยไปหามากซึ่งเมื่อดูเพียง เฉพาะในแวดวงของกลุ่มประเทศอาเซียนของ เราก็คงจะพออนุมานว่าใครเจริญกว่าใครได้ กระมัง กล่าวคือ สิงคโปร์ เป็นอันดับที่สี่ (๔) มาเลเซีย อันดับที่สี่สิบสาม (๔๓) ไทยอันดับที่แปดสิบสี่ (๘๔) เวี ย ดนามอั นดั บ ที่ ห นึ่ง ร้ อ ยยี่ สิ บ สาม (๑๒๓) ฟิลิปปินส์อันดับที่หนึง่ ร้อยสามสิบเอ็ด (๑๓๑) อินโดนีเซียอันดับที่หนึง่ ร้อยสี่สิบสาม (๑๔๓) กัมพูชาอันดับที่หนึ่งร้อยหกสิบสอง (๑๖๒) ลาวอันดับทีห่ นึง่ ร้อยหกสิบแปด (๑๖๘) ส่วนแชมเปี้ยนของสุดยอดโกงก็คือ เมียนมาร์เพือ่ นบ้านของเราและเป็นสมาชิกของ อาเซียนด้วยคืออันดับที่หนึ่งร้อยเจ็ดสิบเก้า (๑๗๙) อย่างว่าละครับขนาดรัฐบาลจัดการ เลือกตั้งเองพอรัฐบาลแพ้ก็เลยพาลจับคนชนะ การเลือกตั้งเข้าคุกหมด หาใครที่โกงขนาดนี้ ไม่ได้อีกแล้วละครับ แปลกนะครับที่ขึ้นต้นที่เขมรแต่กลับ จบลงที่พม่า โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ (รุ่น ๓๙)
โรงเลี้ยง
บ้านประชาชื่น Real traditional Thai dish
สวัสดีทา่ นผูอ้ า่ นอนุมานวสารทุกท่านค่ะ หลังจากทีผ่ า่ นฤดูรอ้ น และฤดูรอ้ นมากมาแล้ว ในตอนนี้เราก็ได้เข้าสู่ฤดู “ร้อนที่สุด” ของ ประเทศไทยกันแล้วนะคะ แต่อากาศร้อนอย่าง นีต้ ัวเราก็อย่าใจร้อนตามอากาศนะคะ หลาย ๆ ท่านก็ไปเที่ยวทะเล น�้ำตก ภูเขา เป็นการ ดับร้อน (เทีย่ วเมืองไทยด้วยจะยิง่ ดีคะ่ พีเ่ บิรด์ ธงไชยฝากบอกมา) แต่ในคอลัมน์โรงเลี้ยง ฉบั บ นี้จ ะพาทุ ก ท่ า นไปคลายร้ อ นกั นที่ ร ้ า น
อาหาร “บ้านประชาชื่น” ค่ะ อย่าเพิ่งสงสัย ว่าไปกินข้าวจะช่วยท�ำให้หายร้อนได้จริงหรือ? ค�ำตอบอยูข่ า้ งล่างนีแ้ ล้วขอเชิญทุกท่านเดินทาง มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 51
ไปที่ร้านบ้านประชาชื่นพร้อมกันเลยค่ะ เพี ย งแค่ ก ้ า วเข้ า มาในบริ เวณร้ า นที่ ดัดแปลงจากบ้านของคุณอาบูน - บวรพิตร พิบูลสงคราม (รุ่น ๔๖) คณะพญาไท ก็รู้สึก ร่มรื่นกับบรรดาต้นไม้ใหญ่น้อยที่ปลูกไว้ โดย เฉพาะต้นประดู่แดงที่ปลูกไว้ต้อนรับทุกท่าน หน้าบ้านนั้นถือว่าหาชมได้ยาก และถ้าเป็น ช่วงเดือนมกราคม - มีนาคมก็จะออกดอกแดง สะพรัง่ สวยงามเต็มต้นเลยค่ะ เดินถัดไปอีกนิด เข้าไปในตัวบ้านที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงามและ สะอาดตาก็ยิ่งท�ำให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเอง เหมือนรับประทานอาหารอยูท่ บี่ า้ นเลย ไม่รอช้า เราก็กวาดสายตาดูเมนูอาหารไทยต้นต�ำรับ ที่ มี ให้ เ ลื อ กมากมายไม่ ว ่ า จะเป็ นจานเรี ย ก น�้ำย่อยอย่าง ข้าวตังหน้าตั้ง อาหารจานเดี่ยว เช่น ข้าวคลุกกะปิ ข้าวมันส้มต�ำ โรตีแกงเนื้อ ขนมจีนน�ำ้ พริก หรือจะสัง่ มาเพือ่ ทานเป็นกับก็มี หมี่กรอบ ไข่พะโล้ แกงขี้เหล็ก ปลาทูต้มเค็ม แกงเลียงกุ้งสด แต่ ส� ำ หรั บ ไฮไลท์ จ านเด็ ด ดั บ ร้ อ น ของเราในวันนี้นั้นต้ อ งยกให้เป็นหน้าที่ของ “ข้าวแช่” ค่ะ ส�ำหรับข้าวแช่ของที่นกี่ ็มาพร้อม เครื่องเคียงตามต�ำรับชาววังทุกอย่างอันได้แก่ พริกหยวกสอดไส้ กะปิทอด หมูฝอยหวาน หอมแดงสอดไส้ทอด พริกแห้งสอดไส้ทอด กรอบ พร้อมผักเคียงต้นหอม มะม่วงมันที่ แกะเป็นใบไม้ กระชายที่แกะเป็นดอกจ�ำปี อย่างประณีตบรรจง ข้าวหุงได้ก�ำลังดีเลยท�ำให้ เรียงเม็ดสวย ขาว นุ่มพอเหมาะมาก มาพร้อม
52
กับน�ำ้ ลอยดอกมะลิหอม ๆ แล้วดอกมะลิของที่ นี่ปลูกเองในบ้านด้วยนะคะท�ำให้ไม่ต้องกังวล ถึงสารเคมีอันตราย แค่ตักค�ำแรกเข้าปากไป เท่านัน้ ... บอกได้ค�ำเดียวเลยค่ะว่าอร่อยและ ชื่นใจคลายร้อนได้จริง ๆ ยังมีอีกหลายเมนูเด็ดที่วันนี้ไม่บอก ต่อไม่ได้เลยนะคะ เริ่มกันที่จานแรก “ข้าวมัน ส้มต�ำ” ข้าวมันทีห่ งุ ได้หอมมันก�ำลังดี มาพร้อม กับ ส้มต�ำรสจัดจ้าน หมูฝอย และแกงไก่ ที่ เหมือนทุกอย่างจะแตกต่างกันแต่พอมารวม กันอยู่ในหนึง่ ค�ำแล้วนัน้ กลมกล่อมลงตัวมาก ทีเดียวเชียวค่ะ และยังมี “โรตีแกงเนือ้ ” แกงเนือ้ ต�ำรับโบราณทีเ่ นือ้ นุม่ ก�ำลังดีในน�ำ้ แกงสีขน้ สวย ที่มาพร้อมกับโรตีทอดกรอบสีเหลืองน�้ำตาล น่ า กิ น แต่ ถ ้ า ท่ า นใดอยากรั บ ประทานกั บ ขนมจีนหรือข้าวสวยก็บอกทางร้านได้นะคะ
ทางร้านจัดให้ค่ะ เห็นแต่ละเมนูนลี่ ้วนแล้วแต่เป็นอาหาร ต�ำรับโบราณที่ทุกวันนี้หาสูตรที่อร่อยทานได้ ยากนะคะ แต่ส�ำหรับที่บ้านประชาชื่นนีท้ ุกเมนู เป็นสูตรที่สืบทอดกันมาของราชสกุลสนิทวงศ์ โดย ม.ล.พร้อมศรี พิบลู สงคราม ซึง่ เป็นคุณแม่ ของคุณอาบูน อาหารของที่นจี่ ึงเป็นอาหารไทย ต�ำรับชาววังที่ใส่ใจลงไปในทุกจานให้ทุกท่าน ที่มาทานแล้วต้องอยากกลับมาทานอีก เรื่อง
เคล็ดไม่ลับ การกินข้าวแช่
ในการกินข้าวแช่นนั้ จะไม่นำ� กับลง ไปในชามข้าวนะคะแต่จะตักกับ รั บ ประทานก่ อ นตามด้ ว ยข้ า ว (หรือข้าวแช่ก่อนแล้วตามด้วย กับก็ได้ค่ะไม่ว่ากัน) เพื่อที่ว่า รสชาติของกับแต่ละอย่างจะ ไม่ผสมกันค่ะ ของวัตถุดิบในการท�ำอาหารต่าง ๆ นั้นล้วน เป็นของดีมีคุณภาพทั้งนัน้ เหมือนมีคุณแม่ท�ำ กับข้าวให้ทานที่บ้านเลยค่ะ และแม้จะอิ่มอร่อยมากกับอาหารคาว แล้ว แต่กระเพาะของเราก็ยอ่ มมีทเี่ หลือส�ำหรับ ของหวานเสมอใช่มั้ยคะ งั้นเรามาต่อกันด้วย “ลูกตาลลอยแก้ว” ซึ่งหวานเย็นก�ำลังดี และ เนื้ อ ลู ก ตาลอ่ อ นที่ ช ่ ว ยให้ ห ายร้ อ นได้ เป็ น
ปลิดทิ้งเลยค่ะ และยังมีขนมเค้กและเบเกอรี่ ที่ทางร้านท�ำเองอีกนะคะซึ่งล้วนแล้วแต่น่ากิน ทั้งนัน้ มาให้เราเลือกสรร ส�ำหรับสนนราคาของอาหารในวันนีเ้ มือ่ เทียบกับคุณภาพแล้วเรียกได้ว่า “คุ้มค่าที่สุด” ข้าวแช่แสนอร่อยชุดละ ๒๐๐ บาทและกับข้าว อื่น ๆ เพียง ๙๐ บาทเท่านัน้ ค่ะ (มีหมี่กรอบที่ ราคา ๑๐๐ บาท) และหากท่านที่ต้องการมา รับประทานข้าวแช่สามารถโทรมาสัง่ ไว้ลว่ งหน้า หรือ ต้ อ งการจะสอบถามเส้ นทางได้ ที่เบอร์ ๐๒-๕๘๕-๑๓๒๓ หรือ ๐๘๙-๐๕๗-๑๖๑๓, ๐๘๑-๖๑๙-๒๖๑๐ ร้านตั้งอยู่ที่ ๓๗ ซอย ประชาชื่ น ๓๓ แยก ๑ โดยเมื่ อ ถึ ง แยก โรงพยาบาลเกษมราษฎร์แล้วให้เลีย้ วขวา ตรงไป จากโรงพยาบาลสักประมาณ ๓๐๐ เมตร จะ เห็นป้าย ซอยประชาชื่น ๓๓ เลี้ยวขวาที่ แยก ๑ ตรงไปจนสุดก่อนทีถ่ นนจะโค้งไปทางขวา จะ เห็นป้ายเขียนว่า “บ้านประชาชืน่ ” ร้านเปิดตัง้ แต่ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. โดยที่เสาร์อาทิตย์ คนจะแน่นเป็นพิเศษแต่คุณอาบูนก็จะลงมา ดูแลลูกค้าทุกท่านด้วยตัวเองนะคะ ส�ำหรับ ชาวโอวี ก็ เ ชิ ญ มานั่ ง คุ ย เล่ น กั น พร้ อ มกั บ รับประทานอาหารอร่อย ๆ ได้เลยค่ะ โรงเลี้ ย งฉบั บ นี้ ข อขอบพระคุ ณ : อาหน่อง ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖) และอาน้อง คุณอโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ไกด์ พ าชิม กิต ติม ศัก ดิ์ และส�ำ หรับ รู ป ภาพ สวย ๆ ค่ะ กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ (ลูกสาว พี่ยักษ์ รุ่น ๔๖) มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 53
เรื่องเล่าสนุกดี ...
จากผองพี่ โอวี ๔๔ เรือนจาก
“Forty years on, when afar and asunder. Parted are those who are singing today, When you look back, and forget fully wonder. What you were like in your work and your play…” เมื่ อ กล่ า วถึ ง เพลง อี ก สี่ สิ บ ปี หรื อ “Forty years on” คงจะไม่ มี นัก เรี ย น วชิราวุธฯ คนใดไม่เคยร้องเพลงนี้ อีกสีส่ บิ ปี... Forty years on เป็นเพลง ทีน่ กั เรียนวชิราวุธฯ ทัง้ โรงเรียน ร่วมกันขับขาน อย่ า งก้ อ งกั ง วานลั่ น หอประชุ ม ในงานวั น พระราชทานประกาศนียบัตรและรางวัลประจ�ำ ปีการศึกษา อันเสมือนเป็นวันปิดภาคเรียน สุดท้ายของแต่ละปีการศึกษา อีกทั้ง เพลง นี้ อีกสี่สิบปี... Forty years on ยังเปรียบ ประดุ จ หนึ่ง เพลงสุ ด ท้ า ย อั น ประทั บ จิ ต ตราตรึ ง แสนซึ้ ง ใจ ของเหล่ า นั ก เรี ย นชั้ น ม.ศ. ๘ หรือ ม. ๖ ในปัจจุบัน (ตามแต่ละ ยุคสมัย) ผู ้ ก�ำ ลัง จะจบการศึก ษาชั้น สู ง สุ ด ของโรงเรียนที่จะได้ขับร้องเพลงนี้เป็น “ครั้ง สุดท้าย” ในฐานะนักเรียนวชิราวุธฯ ก่อนที่ จะจบการศึกษา......ผันแปรสถานภาพมาเป็น นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย อย่างเต็มภาคภูมิ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 55
อีกสี่สิบปี... Forty years on หนึง่ ในเพลงโรงเรี ย นสุ ด ส� ำ คั ญ แสนคลาสสิ ค เพลงนี้ เนื้อความในเพลงกล่าวถึงนักเรียน วชิราวุธฯ ทุกคน ผู้ก�ำลังจะจบการศึกษาที่ ก�ำลังยืนร้องเพลงนี้อยู่ ว่าเมื่อเขาได้ออกจาก สถาบันอันทรงเกียรตินี้ไปแล้ว ในอีกสี่สิบปี ข้างหน้า นับจากวันทีเ่ ขาก�ำลังยืนร้องเพลงนีอ้ ยู่ เขาจักหวนระลึกถึงห้วงเวลาแห่งความทรงจ�ำ ที่ ใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชีวิตที่ได้ใช้ช่วงหนึง่ ร่วม กับเหล่าผองเพื่อนพี่น้องนักเรียนวชิราวุธฯ... เรียน เล่นดนตรี เล่นกีฬา วีรกรรมสนุกโลดโผน โจนทะยานต่าง ๆ ประสบการณ์และสิ่งดีงาม ทัง้ หลายทัง้ ปวงทีไ่ ด้รบั การหล่อหลอมมาตลอด ในรั้วโรงเรียน เมื่อเวลาผ่านไปอีกสี่สิบปี เขา ผู้นนั้ จะหวนระลึกถึงเรือ่ งราวเหล่านี้ ด้วยรอย ยิ้มอันปิติสุขอย่างภาคภูมิใจ มีพี่ ๆ โอวีหลายคนมากมาย บอกกับ พวกเราเหล่ า น้ อ ง ๆ ที ม งานอนุ ม านวสาร บ่อยครัง้ ว่า คุณจะไม่มที าง “ซาบซึง้ ” ถึง “ความ ไพเราะ” ของเพลงนี้ได้เลย จนกว่าเมื่อคุณจะ จบออกมาเป็น “โอวี” เต็มตัวแล้ว ตอนยังเป็น นักเรียน ร้องเพลงนี้บนหอประชุมทุก ๆ ปี ก็ ยังไม่รู้หรอกว่าเพลงนี้มัน “ไพเราะ” แต่เมื่อ ถึงเวลาที่จบออกมาแล้วนี่แหละ ถึงจะรู้ซึ้งใน จิตจนจับใจเลยว่า “ไพเราะ” เหมือนดังว่าเป็น เพลงที่สื่อถึงจิตวิญญาณแห่งการเป็นนักเรียน วชิราวุธฯ อย่างไรก็มิปาน ...ยิ่งจบออกมานาน เพียงใด ก็ย่อมยิ่งจะซาบซึ้งถึงสุนทรีย์ของ ค� ำ ว่ า “อี ก สี่ สิ บ ปี . .. Forty years on”
56
มากเพียงนัน้ ... ...โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหล่าพี่ ๆ โอวี รุ่น ๔๔ ที่จบออกมาจากโรงเรียน เป็นเวลา “ใกล้จะครบ ๔๐ ปี” ในอีก ๒ - ๓ ปีทจี่ ะถึงนี.้ .. อาจจะเป็นเพราะพวกเราเหล่าน้อง ๆ อนุมานวสารยังเป็นโอวีรนุ่ หนุม่ ทีเ่ พิง่ จะจบจาก โรงเรียนออกมาได้ไม่กี่ปี พวกเราก็ยังนึกภาพ ไม่ออกเหมือนกันว่า ความรูส้ กึ (Feeling) ดังที่ กล่าวนี้ ของพี่ ๆ ที่จบออกมาจากโรงเรียนจวน ใกล้จะครบ ๔๐ ปีนนั้ ... มันเป็นเช่นไร?!! พี่ ๆ โอวีรุ่น ๔๔ นับได้ว่า เป็นพี่โอวี รุ ่ น หนึ่ง ที่ มี โอวี ที่ ป ระสบความส� ำ เร็ จ และมี ชื่อเสียงในหลากหลายวงการ นัน่ จึงเป็นเครื่อง การันตีได้ว่า เรื่องราวต่าง ๆ ที่เราจะได้ฟัง ได้ คุยจากพวกพี ่ ๆ เหล่านี.้ .. ย่อมจะ “ไม่ธรรมดา” แน่นอน เมือ่ วันพุธที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ พวกเราทีมงานอนุมานวสาร ได้มโี อกาสเดินทาง ไปสัมภาษณ์เหล่าพี่ ๆ โอวีรุ่น ๔๔ ที่บริษัท SAMCO (Siam Administrative Management Company) ซึ่งมี พี่เอ๊าะ อายุ ธ นาครทรรพ รุ่น ๔๔ เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ครั้นทีมงานอนุมานวสาร เดินทาง ไปถึงบริษัท SAMCO แล้วก็ย่างก้าวเข้าไป ในอาคารรับรอง ภาพที่เราเห็น ก็ล้วนท�ำให้ พวกเราถึงกับตกตะลึงอย่างประทับใจ นัน่ คือ การตกแต่งภายใน โดยเฉพาะตัวบันไดกลางใน ตัวอาคารนัน้ ดุจดั่งจ�ำลองแบบบันไดตึกขาว (ตึกวชิรมงกุฎ) ของโรงเรียนเรามา เยี่ยงไรก็
เยี่ยงนัน้ ซึ่งพี่เอ๊าะได้บอกกับพวกเราว่า ได้รับ แรงบันดาลใจมาจากสุนทรียภาพอันงดงามทาง สถาปัตยกรรมของตึกขาวโรงเรียนเรานี่เอง จึง ได้น�ำมาใช้เป็นรูปแบบในการตกแต่งภายใน อาคารที่พวกเรายืนอยู่นี้ จากนัน้ พวกเราก็ได้เข้าไปสวัสดีทกั ทาย เหล่าพี ่ ๆ โอวีรุ่น ๔๔ ทั้งหลาย ที่พี่เอ๊าะชวน มาพูดคุยเล่าเรื่องราวให้พวกเราฟังกันในวันนี้ พวกเราได้เจอพี่ ๆ รุน่ ๔๔ หลายคน ที่ ล้วนแล้วแต่ประสบความส�ำเร็จ มีชื่อเสียงทาง สังคมในหลากหลายวงการ ไม่วา่ จะเป็น “พีเ่ ตา บรรยง พงษ์พานิช” ประธานกรรมการบริษัท หลักทรัพย์ภทั ร จ�ำกัด (มหาชน) ผูถ้ กู กล่าวขานว่า เป็นนักเรียนวชิราวุธฯ ที่ถูกพระยาภะรตราชา “ตบ” มากที่สุด, “พี่เอ๊าะ อายุธ นาครทรรพ” กรรมการผู้จัดการบริษัท SAMCO บุคคล ผู้ที่เพื่อนร่วมรุ่น ๔๔ ขนานนามเขาว่า เป็นคน “เนีย๊ บ” ทีส่ ดุ ในรุน่ หรืออย่าง “พีเ่ ป๋ง ยอดชาย ขันธชวนะ บรรณาธิการชื่อดังแห่งสยามกีฬา สตาร์ซอคเกอร์, พี่ทักษิณ พันต�ำรวจเอก ทักษิณ ฟองเงิน สุดยอดนายต�ำรวจ นักเรียน วชิราวุธฯ ที่ท่านผู้การแป๊ะ “รักมาก!!” จนให้ ฉายาพีท่ กั ษิณว่าเป็น “หัวหน้านักเรียนช่างกล”, รวมไปถึง “พี่คิม อาชวิน วิชัยดิษฐ์” สายลับ คับประสบการณ์ แห่งส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ นอกจากนี้ ก็ยงั มีพ ี่ ๆ รุน่ ๔๔ คนอืน่ ๆ มาร่วมกัน ช่วยกันเล่า ช่วยกันแซว แลกเปลีย่ น มุ ม มองใหม่ ๆ ให้ กั บ พวกเราอนุ ม านวสาร อีกมากมาย อันได้แก่ พีห่ นู พงศ์พนิ ติ เดชะคุปต์
58
CEO ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จ�ำกัด (มหาชน), พี่มณฑล พลตรีมณฑล ไชยเสวี, พี่นติ ิกร ยูประพัฒน์, พี่รัฐฎา บุนนาค, พี่นพรัตน์ จันทร์เพ็ญ, พี่มนัน ณ นคร และพี่สมศักดิ์ รัตนวดี หลั ง จากทั ก ทายท� ำ ความรู ้ จั ก กั น เรียบร้อย ทั้งพี ่ ๆ รุ่น ๔๔ และพวกเราน้อง ๆ ทีมงานอนุมานวสาร ก็ได้ไปตักอาหารแล้วก็ มานั่งร่วมโต๊ะรับประทานอาหาร พร้อมกับ พูดคุยสนทนา ทั้งยังได้ฟังพวกพี่ ๆ เล่าเรื่อง ระลึกความหลังกันอย่างเมามันออกรสชาติปาน อาหารรสเด็ด ใครจะคิดบ้างว่า รุ่นพี่ หนุ่มใหญ่อายุ ๕๐ กว่า ๆ กับรุ่นน้อง เด็กหนุ่มที่อายุเพิ่งจะ ๒๐ ต้น ๆ จะสามารถนั่งเสวนากันได้เฮฮา สุ ด เหวี่ ย งได้ ถึ ง เพี ย งนี้ แต่ ก็ ด ้ ว ยความที่ แม้จะ “ต่างวัย” แต่ทว่าทุกคนต่างล้วนมี “หัวใจ เดียวกัน” (หัวใจโอวี) จึงท�ำให้พี่น้องต่างวัย สามารถสนทนาพาเพลินกันได้อย่างถูกคอ ชนิด เสียงฮาไม่ยอมหายได้ตั้งแต่หัวค�่ำยันจนถึง ตีหนึง่ ของคืนวันนัน้ ....และแล้ว เรื่องเล่าสนุก ๆ เคล้าคลุก ด้วยสาระ ทั้งล้วนยังสะท้อนภาพแห่งนิยาม ความหมายในเพลง อีกสี่สิบปี ได้จับแจ้งแจ่ม จากเหล่าผองพีโ่ อวี ๔๔ ก็ได้เริม่ พรัง่ พรูออกมา ณ บัดเดี๋ยวนัน้ ....
“ระบบที่ให้เรียนรู้ด้วยการคิด “Learning by Leading” ดูแลกันเองตั้งแต่เด็ก ๆ เนี่ย มันปลูกฝังเรื่อง Responsibility (ส�ำนึกรับผิดชอบ) , เรื่อง Leadership (ภาวะผู้น�ำ) เรื่องอะไรต่าง ๆ เหล่านี้”
PUBLIC SCHOOL พี่เตา: คุณ (ถามทีมงานอนุมานวสาร) รู้หรือเปล่าว่า พับบลิคสคูล (Public school) เกิดขึ้นมา ได้อย่างไร ใครรู้บ้าง ท�ำไมถ้าคุณไปอเมริกา พับบลิคสคูล คือโรงเรียนรัฐ แต่ถ้าอยู่อังกฤษ หากพูดถึง พับบลิคสคูล มันจะกลายเป็นโรงเรียนของ ลูกผู้ดี ลูกคนรวย คุณรู้หรือเปล่า ประวัติมันมาจากไหน ผมก็รู้มานิด ๆ หน่อย ๆ แต่ว่ามันเป็น เรือ่ งน่าสนใจ เพราะมันเกีย่ วโยงได้กบั วชิราวุธฯ ที่มาของพับบลิคสคูล ถ้าผมจ�ำไม่ผิด นะ หลังสงครามครูเสด เนื่องจากคนอังกฤษ ออกไปรบร่วมกับพระเจ้าริชาร์ด ทีม่ สี มญานาม ว่า พระเจ้าริชาร์ดหัวใจสิงห์นะ่ (King Richard The Lion Heart) แล้วทหารอังกฤษก็ตายเป็น จ�ำนวนมาก แล้วท�ำให้มันมีเด็กก�ำพร้าเยอะ เพราะเด็กพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นลูกของทหารที่ ตายไปดังกล่าว ด้วยเหตุที่อังกฤษมีเด็กก� ำพร้าเยอะ ฉะนั้นรัฐบาลจึงต้องเลี้ยงเด็กก� ำพร้า ด้วย
งบประมาณมีจ�ำกัด ก็เลยต้อง “ตั้งโรงเรียน กินนอน” แล้วก็ “มีครูน้อย” ก็เลยต้องให้เด็ก “ดูแลกันเอง” นีจ่ งึ เป็นทีม่ าถึงการทีเ่ รียกว่า “พับบลิค สคูล” พับบลิคสคูล คุณก็รู้ใช่ไหมว่า มัน แปลว่า “สาธารณะ” มันไม่ใช่ของดี แต่สาเหตุที่ค�ำว่า พับบลิคสคูล มัน กลายเป็นของดีก็เพราะมันเริ่มมาจาก จริง ๆ มันเป็นโรงเลี้ยงเด็กก�ำพร้า แล้วด้วยความที่ ว่า มันประหยัด นี่ ผ มอ่ า นมาจากหนั ง สื อ แปลอี ก ทีหนึง่ นะ ทว่ามันน่าสนใจเพราะมันจะโยงมา วชิราวุธฯ ได้ คือมันท�ำให้ ระบบของการที่ “ดูแล กันเอง” มันเกิดขึ้นครั้งแรก เนื่องจากอังกฤษ ไม่มีงบประมาณในการเลี้ยงเด็กก�ำพร้ามากนัก แต่!!!! พอเวลาผ่านไปประมาณ ๒๐ - ๓๐ ปี ปรากฏว่า เด็กพวกนี้ “ได้ดี!!!!” กัน หมดทุกคน เด็กพวกนี้มันดีหมด นีค่ ือการค้นพบว่า มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 59
60
“ระบบที่ ใ ห้ เ รี ย นรู ้ ด ้ ว ยการคิ ด .... Learning by Leading” ... ดูแลกันเองตัง้ แต่ เด็ก ๆ เนี่ย มันปลูกฝังเรื่อง Responsibility (ส�ำนึกรับผิดชอบ), เรื่อง Leadership (ภาวะ ผู้น�ำ) ....เรื่องอะไรต่าง ๆ เหล่านี้” เพราะฉะนัน้ Gradually (อย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป) ไอ้ระบบนี้ มันก็กลายเป็น ระบบที่ได้รับการยอมรับ โรงเรียนพวกนี้เดิม เคยเป็นโรงเลีย้ งเด็กก�ำพร้า มันก็เลยมีชอื่ ขึน้ มา “ผูด้ ”ี ก็เลยส่งลูกเข้าไปเรียนกันอย่างแพร่หลาย ถ้าคุณไปดูประวัติศาสตร์ พับบลิค สคูล โรงเรียนแรก ๆ นี้ ๘๐๐ ปีที่แล้วทั้งนัน้ ประมาณนัน้ แล้วมันก็เลยมีการตัง้ โรงเรียนประเภท นีก้ ันขึ้นต่อมาอีกมากมาย สาเหตุนจี้ ึงเรียกใช้ ค�ำว่า “พับบลิคสคูล” ซึ่งค�ำ ๆ นีจ้ ะคนละโลก กันเลย ถ้าคุณไปอเมริกา ที่อเมริกา พับบลิค สคูล คือ โรงเรียนรัฐ มันต้องเรียก ไพรเวทสคูล (Private school) ถึงจะเป็นโรงเรียนชั้นสูง เรือ่ งนีม้ นั ก็อธิบายได้หลายเรือ่ ง ล้นเกล้า รัชกาลที่ ๖ ท่านไปเรียนมา แล้วท่านก็ชอบ กลับมาเมืองไทย ก็จึงมาตั้งโรงเรียนพับบลิค สคูลแบบอังกฤษอย่างนี้ขึ้น เป็น “โรงเรียน มหาดเล็กหลวง….วชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบนั ” นี่เอง คือทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นนี่ มันก็มีเหตุ มีผล แปรไปตามยุคตามสมัย ทีนี้เวลาผ่านไป
ยกตัวอย่างเช่น พับบลิคสคูลในอังกฤษเดีย๋ วนี้ แทบจะ ๘๐% เป็นสหศึกษา มีนกั เรียนหญิง เรียนด้วย โดยสรุปก็คือ เมื่อเวลาเปลี่ยน ยุค สมัยเปลี่ยน พับบลิคสคูล ก็จ�ำต้องปรับตัวให้ เข้ากับยุคสมัยด้วยเช่นกัน
วีรกรรมโดน “แป๊ะตบ*” พี่เป๋ง: พี่ เตานี่ แ หละ คื อ คนที่ โ ดน ผู้การแป๊ะ “ตบ” ...... “มากที่สุด” กี่ทีวะ ไอ้เตา พี่เตา: กูไม่ได้นับ พี่เป๋ง: เป็นร้อย!!! อนุมานวสาร: เรื่องนัน้ จริงป่าวครับที่ โดนตบตั้งแต่ลุกลงจากเตียง พี่เป๋ง: ไอ้เตาน่ะ เป็นนักเรียนทีผ่ กู้ ารฯ รักมากที่สุด!! พี่เตา: รั ก อะไร กู โดนตบเกื อ บทุ ก วันเลย กูรับรองว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ วชิราวุธฯ นี้ แน่นอน!!! พี่เป๋ง: แต่เพราะมันเป็นคนที่ไม่กลัว ผู้การฯ พี่เตา: กลัวสิวะ ไม่กลัวได้ไง ใครจะ ไม่กลัว คือตอนเด็ก ผมเป็นคนอวดดี อวด ดีน่ะ คือ ไม่ได้เป็นในทางที่ดีนะ คือเป็นทาง ที่ไม่ค่อยดีน่ะ คือไม่ได้แย่หรอก แต่ตอนเด็ก เราคิดว่าเราแน่นะ ตั้งแต่เด็ก ๆ แต่จริง ๆ ไม่ ได้ดีอะไรเลย ความรู้ก็ยังน้อย และเป็นคนที่
* แป๊ะ เป็นชื่อที่นักเรียนวชิราวุธฯ ในยุคนั้นใช้เรียก (ในหมู่นักเรียนด้วยกันเอง แทนตัวพระยา ภะรตราชา อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย) มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 61
นิสัยอวดดี แล้วก็ชอบ “ลองของ” “กล้า” เดี๋ยว นีก้ ็ยังติดนะ นิสัยพวกนี้ แต่แป๊ะก็ท�ำให้เรากล้า “สู้คน” ไม่เช่น นัน้ ป่านนีก้ ค็ งโดนเค้าเหยียบจมดินไปนานแล้ว พี่คิม: ถ้าให้พูดเรื่องไอ้เตาเนี่ย มีเป็น ร้อยเรื่องเลย เฉพาะเรื่อง “แป๊ะตบ” เนี่ย ก็ หลายแล้ว!! เรื่องแป๊ะตบเนี่ย ถ้าไปเขียนลง อนุมานวสารนะ ต้องไปขอขมาลาโทษ ท่าน เจ้าคุณภะรตฯ ก่อนนะ พี่เป๋ง: ผูก้ ารภะรตฯ ในยุคนัน้ เนีย่ ตบ คือ ตบจริง ๆ พอตบเสร็จแล้วเนี่ย มันเป็น สิ่งที่น่าจดจ�ำ ส�ำหรับเด็กที่โดนตบ แป๊ะตบ... ค�ำว่า “แป๊ะตบ” เนีย่ มันเป็น ค�ำทีใ่ นยุคนัน้ แม้จะมีความทารุณอยูใ่ นนัน้ แต่ สุดท้ายก็ทำ� ให้ เด็กทีโ่ ดนตบ เมือ่ โตออกมาแล้ว
62
ก็ “ได้ดี” กันไปมากมาย พี่เตา: ดีไม่ดี ทุกวันนี้ กูกย็ งั “ฝัน” ว่า “โดนแป๊ะตบ” ขนาดผ่านไปเกือบ ๔๐ ปี แล้ว นะเนี่ย!!! ( ฮากันทั้งโต๊ะ) พี่คิม: เรื่ อ งแป๊ ะ ตบเนี่ ย ถ้ า คุ ณ (อนุมานวสาร) เอาไปเขียนลงอนุมานวสารนะ อย่างน้อยเล่มละเรื่อง คุณก็จะลงได้หลายเล่ม ทีเดียว เพราะโอวีโดนกันมาหลายต่อหลาย รุ่นเลย แค่อย่างพีเ่ อ๊าะเนีย่ โดนตบมาตัง้ แต่รนุ่ พ่อ ยันรุ่นลูก!! เพราะฉะนัน้ ก็จะมีเรื่อง “แป๊ะ ตบ” ในโอวีทกุ ๆ รุน่ ทีอ่ ยูใ่ นสมัยพระยาภะรตฯ แต่อย่างรุน่ ผมเนีย่ จะมีแกะด�ำอยูพ่ วก หนึง่ ก็พวกที่เรียนห้องเดียวกับไอ้เป๋งเนี่ย คือ จะเป็นห้องเรียนเดียว ที่โดนแป๊ะตบ “หมดทุก
“ค�ำว่า “แป๊ะตบ” เนี่ย มันเป็นค�ำที่ในยุคนัน้ แม้จะมีความทารุณอยู่ในนัน้ แต่สุดท้าย ก็ท�ำให้เด็กที่โดนตบ เมื่อโตออกมาแล้ว ก็ “ได้ดี” กันไปมากมาย” คน!!!” “ทัง้ ห้อง!!!” แบบไล่เรียงตบทีละคนเลย พี่เป๋ง: เรื่องของเรื่องคืออย่างนี้ ชั่วโมง หนึง่ (คาบแรก) วิชา Geography (ภูมศิ าสตร์) ครูสอนชื่อคุณครูพิศมัย ...แก “สวย” แล้วก็ นุ่งมินิสเกิตร์ ไอ้ตอนนัน้ พวกเราอยู่ ม.ศ. ๓ กัน เด็ก ม.ศ. ๓ ตอนนัน้ เป็นวัยที่มนั ก�ำลังห้าว ในห้องนั้นก็มีแผนที่โลกแผ่นใหญ่ ๆ แขวนอยู่หน้าห้อง พวกเราก็แกล้งถามคุณครู ว่า คุณครูครับ! ขั้วโลกเหนืออยู่ตรงไหนอ่ะ?... คือแกล้งถามเพือ่ ให้แกเขย่งชีไ้ ปทีแ่ ผนที่ พอครู พิสมัยเขย่งชี้ปุ๊บ กระโปรงนี่ ก็ “เถิก!!” ขึ้น มา ไอ้พวกเราก็แอบดูกางเกงในแกกันฉิบหาย เลย... ครูครับ!! ขั้วโลกใต้ด้วย?!! ไอ้พวกเรา ก็แอบดูอีกกันฉิบหาย... ก็เฮฮากันไป แต่แล้วไอ้เพื่อนหลังห้อง ใครไม่รู้เล่น ปัน้ ลูกดินน�ำ้ มัน แล้วดีด ๆ กันน่ะ ดีดหนังสติก๊ น่ะ เล่นอยู่หลังห้อง “แต่ดันดีดพุ่งมาโดน ขาอ่อนแก!!” เท่านัน้ แหละ! แกนี่ เดินร้องไห้ กลับไปออฟฟิศเลย ทีน่ แี้ หละ ไม่เกิน ๕ นาที ๓ มหาอ�ำนาจ!! มี ผู ้ ก ารฯ ครู อ รุ ณ ครู อุ ด ม โผล่ เข้ า มา
เลย... ใครชื่อทักษิณ ใครชื่อตรีกูลย์ ใครชื่อ นพรัตน์!!.... แป๊ะเดินมา หวดกู ปั๊ก!!! ไอ้ทักษิณ น่ะ คนที่ ๓ ดูเพือ่ นโดนตบเลือดก�ำเดาไหล พอ ผู้การฯ จะตบมันกอดเอวผู้การฯ เลย!!! แป๊ะ แกอ้วนนี่ เลยกอดได้สบายเลย ไอ้ษิณ มัน ซุกพุงแป๊ะ แบบมวยซุกวงในเลยอ่ะ กอดเอว คร่อมหมด ครูอรุณนีน่ ะ หัวเราะจนเหนียงขึ้น เลย (ฮากันใหญ่) พี่เตา: ไอ้ษิณ นี่..จริง ๆ!! ฮ่า ๆ ๆ พี่เป๋ง: แล้ ว แกก็ ด ่ า นะ แล้ ว ก็ เดิ น ตบนักเรียนเรียงตัวเลยนะ มีอยู่คนหนึง่ ไอ้ บันลือศักดิ์ ตอนนี้มันเป็นด็อกเตอร์ ตามัน ปรือน่ะ ตามันปรือโดยธรรมชาติ คือกล้ามเนื้อ ตามันเป็นอย่างนัน้ ขนาดพยายามเบิ่งตาแล้ว ก็ยังปรืออยู่ดี (หัวเราะ) แป๊ะเดินมา ....ท�ำตาปรือ ง่วงนอน เหรอ!! “ผัวะ!!!”... อ้าว ตาปรือก็ไม่บอก (ข�ำ กันจนไส้บิด) พี่ทักษิณ: แต่พอจบ ม.ศ. ๕ มันก็ไป ผ่าหนังตา ที่นี้เลยกลายเป็น “พี่เบิ่ง” ไปเลย!! มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 63
พี่เอ๊าะ: พอไปผ่าแล้ว เลยกลายเป็น “พี่เบิ่ง” ไปเลย!! (ฮากันใหญ่) ทุกคนโดนตบกันหมด หาเรื่องให้ตบ ได้ทั้งห้อง พีท่ กั ษิณ: อีกคนหนึง่ เอกชัย นพจินดา (พี่ ย.โย่ง ผู้ล่วงลับ) เค้าปักชื่อมา เอกชัย จุด นพจินดา จุด ผู้การฯ เดินมาถึง ...อ้าว! มี จุดด้วยเหรอ... ก็โดนตบ ผัวะ!!!!! พี่ เ อ๊ า ะ: ไอ้ วั นที่ โดนตบทั้ ง ห้ อ งนี่น ่ ะ ไอ้ เราไม่ ได้ ท� ำ อะไร ยั ง โดนตบเลย ข้ อ หา “เสือ้ นักเรียนสีจาง!!” ก็ทปี่ กั ชือ่ สีชมพู (พญาไท) สีมันจาง พี่เป๋ง: ไม่ เค้าเดินตบตามโต๊ะก่อนไง แต่ที่เล่น ๕-๖ คน มันไปยืนรอหน้าชั้นอยู่แล้ว พีเ่ อ๊าะ: แต่รสู้ กึ ว่า ไอ้คนทีไ่ ม่โดนตบอยู่ คนเดียวในห้องวันนัน้ คือ ไอ้ รัฐฎา บุนนาค นะ พี่เป๋ง: แป๊ะตบหมดทุกคนเลย เสร็จ แล้วก็เดินกลับออฟฟิศไป พี่คิม: ก็ธรรมดา เพราะไอ้เจี๊ยบ ดัน เป็นคนดีดดินน�้ำมันไปโดนก้นครูเค้า ครูเค้าก็ ร้องไห้ไปฟ้องแป๊ะ ก็สมควรโดนแล้ว พี่เตา: ผู้การแป๊ะเป็นคนเจ้าระเบียบ เนี๊ยบทุกอย่าง พี่คิม: ไอ้ฮูกนี่โดนตบ สุดยอด!! เดี๋ยว กูจะเล่าให้ฟังดีกว่า ไอ้ฮูกโดนตบเนี่ยนะ จะท�ำให้เห็นไหว พริบปฏิภาณหลายอย่างของผู้การแป๊ะ ไอ้ฮูก นีก่ ็รุ่นผมนะ ชื่อ ธีระ นิลสลัด คือว่า มันเนี่ย อยู่วงปี่สก๊อต ใช่มะ บ่าย ๒ แล้วก็ต้องไปเข้า
64
วงซ้อม ไอ้ฮกู อยูค่ ณะพญาไท ยังยืนอยูช่ อ่ งลม นัง่ เปิดวิทยุฟัง แป๊ะขับรถผ่านมา รถสีฟ้า เอ๊ะไอ้นี่ ชั่วโมงปี่ มานัง่ อยู่ช่องลม ไอ้ฮูกเห็นรถแป๊ะ ปุ๊บ ก็รีบวิ่งเข้าไปหลบในห้องเสื้อผ้าเลย ห้อง ตู้น่ะ แป๊ะก็ให้คนขับรถขับเข้ามาส่งที่หน้าคณะ พญาไทปั๊บ แล้วก็ลงรถ จ�้ำเดินตามเข้าห้อง ตู้ ตุ้บ ๆ ๆ ๆ ไปเลย เมื่ อ ก่ อ นห้ อ งตู ้ จ ะเหมื อ นเขาวงกต ไอ้ฮูกก็เข้าไปแอบอยู่ซอกข้างใน แป๊ะก็เดินวน ไอ้ฮูกได้ยินเสียงเท้าแป๊ะว่ามาทางทิศไหน มัน ก็คอ่ ย ๆ หลบฉากไปอีกด้านหนึง่ แป๊ะมาทางนี้ อ้าว! ไม่เจอ ไอ้ฮกู เค้าแอบอยูข่ า้ งใน สักประเดีย๋ ว ได้ยนิ เสียงแป๊ะเดินออกไป สักแป๊บหนึง่ ...เฮ่ย เสียงเงียบแล้วโว้ย! …แป๊ะคงไปแล้วแน่ ๆ!!... หารู้ไม่ ว่าแป๊ะแกแอบยืนดักหลบอยู่ พอ ไอ้ฮูกชะล่าใจ เดินออกมาปั๊บ จ๊ะเอ๋กับแป๊ะ ทันที!! แล้วก็โดนตบ ผัวะ ๆ ๆ ๆ ไปตาม ระเบียบ (หัวเราะกันจนต่อมฮากระจุย) คือจริง ๆ แป๊ะเค้าย�่ำเท้าอยู่กับที่ แล้ว ท�ำเป็นเหมือนเดินออกไป แต่จริง ๆ แล้วไม่ ได้เดินออกไป แต่แกล้งย�ำ่ เท้าเสียงดัง ๆ แล้ว ค่อย ๆ เบาลง ท�ำเป็นเหมือนว่าเดินออกไปไกล แล้ว แต่ทว่าแล้วแอบซุ่มยืนดักรออยู่ พี่เป๋ง: ไอ้นี่คืออารมณ์ขันอย่างหนึ่ง ของแป๊ะ เป็นอารมณ์ขันที่แบบ... มีลูกเล่นน่ะ ลูกเล่นนีค่ ือ คิดสนุก แพรวพราว พีท่ กั ษิณ: แป๊ะเค้าเป็นคนแต่งตัวเนีย๊ บ มาก ถึงเค้าจะเป็นคนพุงใหญ่ ใหญ่มาก แต่เค้า
ใส่กางเกงคาดเข็มขัดเหนือสะดือขึน้ ไปอีกเยอะ เลยน่ะ เค้าเนี๊ยบมากเลยนะ พี่เป๋ง: นาฬิกาเนี่ย สวยเชียว Vertex พี่คิม: เน็คไทเนี่ย จะต้องเข้ากับชุด ตลอด พี่เตา: แต่ ที่ โดนตบเสีย ว ๆ น่ ะ มี หลายครั้งนะ พี่เป๋ง: มีเสียว ๆ ด้วยเหรอเนี่ย! พี่เตา: คือไอ้ที่โดนตบธรรมดาน่ะ กู โดนประจ�ำทุกวันอยู่แล้ว แต่ไอ้ที่ว่าเสียวน่ะ มีอยูช่ ว่ งหนึง่ ผูก้ ารฯ ให้ผมไปรายงาน ตัว ตอนเวลาเข้าเพรบ ผมต้องเข้าไปรายงานตัว กับท่าน ที่บ้านพักท่าน มีอยู่วันหนึง่ วันนัน้ ผู้การฯ ก็ไม่ได้ตบ แรงอะไรมาก แต่ก็ตบน่ะ ตบเต็มมืออยู่ คือว่า ผู้การฯ ท่านนอนดูทีวีอยู่ในเรือนผู้การฯ เค้าก็ จะมีเก้าอี้ตัวสีเขียว ที่เอนนอนดูทีวีได้ ตอนนั้นผมก็คลานเข้าไปรายงานตัว ผู้การฯ ก็นอนดูทีวีอยู่ ไม่รู้ยังไง แกก็ขยับตัว เผยอก้น “ตด” ปร้าดดดดดดด!!!! โอ้โหย ผมกลั้นไม่อยู่เลย หัวเราะ ซะลัน่ เลย ผูก้ ารฯ หันมา หวดตบเลย ป้าบ!!!... ไม่รู้กาลเทศะ! พี่เอ๊าะ: เป็ นข้ อ หาที่ สุ ด ยอดมากเลย ไม่รู้กาลเทศะ แล้วมีอกี ทีหนึง่ ผูก้ ารแป๊ะนัง่ รถมาทาง หอนาฬิกา ตอนนัน้ กูก็เดินกลับจากตึกขาว พอดี ทีนี้ ผูก้ ารฯ ก็นงั่ รถสวนมา ไอ้เราก็ขเี้ กียจ โค้งเคารพน่ะ ก็เลยท�ำเป็นไม่เห็นไง แล้วก็แกล้ง
เดินเตะก้อนหินลงสระน�้ำ ทันใดนัน้ เอง!!!!! แป๊ะจอดรถลงมาเลย ปรีเ่ ข้า ตบ ผัวะ!! ตบ ๆ ๆ “...บังอาจถมสระที่ในหลวงสร้าง!!!” ...แล้วก็ ตบ ผัวะ ๆ ๆ ๆ (ฮากันสนัน่ โต๊ะ) แต่ที่ประทับใจมากก็คือ วันที่ผมไป ลาท่าน ตอนจบ ม.๘ ท่านก็ให้ปากกาพร้อม ซองกับผมมาอันหนึง่ ผมนีก่ ้มลงไปกราบเท้า เลย พี่เป๋ง: แล้วมึงก็ทำ� หายไปแล้ว!! พี่เตา: แน่นอน ก็ใช่น่ะดิ กูทำ� หายไป แล้ว แน่นอน กูเป็นคนดีกระพีท้ งั้ นัน้ เรือ่ งแบบ นี้ พี่เป๋ง: กระพี้ ๆ แต่คนจะชอบเรื่อง อย่างนีน้ ะ กระพี้พวกนี้ ท�ำให้เราไม่แก่ เรื่อง กระพี ้ ๆ พวกเนี้ย มันท�ำให้เราสดใส เป็นเรื่อง ที่มันผูกพันน่ะ พี่เตา: เรือ่ งพวกนี้ มันท�ำให้เรามีความ อดทนนะ ต่อเรื่องไร้เหตุผลได้สูง คือในชีวิต จริงน่ะ คุณต้องเจอเรื่องแบบนี้ พี่คิม: แต่ จ ริ ง ๆ เวลาแป๊ ะ ตบเนี่ ย ก่อนตบ จะถามก่อน จะสอนก่อน จะด่าก่อน อย่ า งไอ้ เ อ๊ า ะเนี่ ย ผู ้ ก ารแป๊ ะ ถาม ...ชื่ออะไร... พี่เอ๊าะก็ตอบ อายุธครับ ผู้การฯ ก็ถามต่อไปอีกว่า ...นามสกุลอะไร? ...พี่เอ๊าะ ตอบ นาครทรรพ ครับ ผู้การฯ ก็ถามอีก .... ลูกใคร ...พี่เอ๊าะก็บอกไปว่า องอาจครับ ผูก้ ารแป๊ะก็ดา่ ไปชุดหนึง่ ว่า “พ่อมันก็ดี ท�ำไมลูกมันถึงเลวอย่างนี!้ ” เสร็จแล้วก็ ผัวะ!!! ตบนี่ เสยขึ้นเลย มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 65
เตา FOR แป๊ะ
ลงอีกที
พี่เอ๊าะ: พอเสยขึน้ แล้วใช่มะ ก็หวดเสย
พี่คิม: แต่ ว ่ า แกตบเนี่ ย แกจะตบ น�้ำหนัก พอดี ๆ พี่เอ๊าะ: ไม่ถึงกับหนักมาก พี่คิม: คือไม่ถึงกับหนักมาก แล้วก็ไม่ เบามาก แต่ว่าตบทีหนึง่ เนี่ย หน้านี่หันเลย!! พี่เอ๊าะ: แต่ไอ้ที่เราหันเนี่ย เราหันตาม มือแกนะ เราอย่าไปฝืนนา แล้วก็จะไม่คอ่ ยเจ็บ พีค่ มิ : ต้อง Flexible (ยืดหยุน่ ) ตามมือ
66
พี่คิม: พี่เตาเนี่ย ความรู้ดีที่สุดในรุ่น ๔๔ เลยนะ อย่างพี่เตาเนี่ย เหมาะที่จะเป็น “ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย” ได้ (หันไปถาม พี่เตา) ท�ำไมมึงไม่เป็นผู้การฯ ว่ะ ? พี่เตา: มึงเห็นใจกูเถอะ กูขเี้ กียจจะตาย พี่คิม: เฮ่ย แต่อย่างมึงเป็นได้นะ!! พี่เตา: เป็นไม่ได้ กูมีความรู้เรื่องการ ศึกษาที่ไหนล่ะ พี่คิม: มึงเป็นได้ มึงเป็นแป๊ะได้ มึง มีความเป็นแป๊ะอยู่ในตัว มึงมีความเหมาะสม ทุกประการ พีเ่ ป๋ง: อย่างเช่นอะไรวะ ความเหมาะสม พีค่ มิ : ไอ้เตาเนีย่ มันมีทกุ อย่างจริง ๆ อนุมานวสาร: แล้วท�ำไมพีเ่ ตาถึงเหมาะ ที่จะเป็นผู้บังคับการล่ะครับ พี่คิม: ไอ้ เตาเนี่ย ที่มันจะเป็ น แป๊ ะ (พระยาภะรตราชา อดีตผู้บังคับการวชิราวุธฯ) ได้เนี่ยนะ ไอ้เตามันเป็นคนดี แต่ว่ามันขี้อาย ไม่กล้าโชว์ว่ามันดี มันเป็นคนธรรมะ ท�ำบุญ ท�ำกุศลตลอดเวลา การที่จะเป็นแป๊ะได้ ส�ำคัญที่สุด คือ จะต้องมี “บุคลิก” ที่สามารถให้เด็กเอาอย่าง ได้ ฉะนัน้ อย่างไอ้เตาเนี่ยเป็นได้ คือว่า มัน “เป็นผู้น�ำ” เพราะมันเป็นมาตั้งแต่สมัยนู่น แล้วนะ เป็นหัวหน้าวงปี่สก๊อตก็เป็น เป็น หัวหน้าคณะก็เป็น เล่นรักบี้ก็ได้ ดนตรี พาที กีฬาบัตร (ฮา) มันท�ำได้หมดทุกอย่าง เอาเป็นว่า
นักเรียนวชิราวุธฯ เนีย่ ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ท่าน เขียนไว้ ท่านบอกว่า ไม่ต้องการเก่งวิชาการทุก ด้าน แต่ต้องการ “Gentleman” (สุภาพบุรุษ) หมายความว่า “รู้โลก” คือหมายความว่า เป็น คนที่ไม่ใช่ว่า อ่อนโลก ต้องเจนโลกพอสมควร แต่!! เจนโลก แต่ไม่เลวนะ เช่น เล่นไพ่เก่ง แต่ไม่ติดการพนัน ตีกอล์ฟเก่ง แต่พนันน้อย (ข�ำกันท้องแข็ง) แล้วที่แน่ก็คือว่า ต้องเป็นคนที่ “มี ความประพฤติดี” ไม่มีความประพฤติที่เลว ๆ ชอบท�ำสิ่งที่ผิด แล้วก็ชอบท�ำความดี อย่ า งไอ้ เตาเนี่ ย มั นจะท� ำ บุ ญ แทบ ทุกวัน แล้วก็ท�ำความดี โดยไม่หวังตอบแทน ไอ้เตาเนีย่ มันไปตัง้ มูลนิธทิ ที่ ำ� จดหมายเหตุของ ท่านพุทธทาส โดยไม่มีใครรู้เลย เพราะมันเอา ชื่อคนอื่นใส่ไว้ แล้วใส่ชื่อตัวเองไว้ข้างหลัง ทั้ง ยังหาเงินให้กับหอจดหมายเหตุอีกด้วย โดยสรุปก็คือ คนที่จะเป็นผู้การได้ คือ เค้าเรียกว่า ต้องเป็น “Role Model” มันต้อง เป็น Role Model ได้ แล้วก็ต้องมีความพร้อม ทุก ๆ อย่าง อย่างไอ้เตาเนีย่ คือ ตังค์มนั ก็มเี ยอะ แล้ว มันไม่ตอ้ งไปท�ำอะไรอีก เงินเดือนสูง ไม่มลี กู ทุกวันนีต้ ้องไปหาลูกคนอื่นมานัง่ คุยด้วย (ข�ำ) ไอ้เตาเนีย่ มันไม่มลี กู เพราะฉะนัน้ มันก็จะชอบ คุยกับลูกชาวบ้านเค้าไปเรื่อย (ข�ำ) อนุมานวสาร: แล้วพี่เตาแต่งงานมั๊ย ครับ? (ฮากันยกโต๊ะ) พี่เป๋ง: มันมีเมีย แต่ไม่มีลูก พี่เตา: (หันไปพูดกับพีเ่ ป๋ง) เมียกูดกุ ว่า
เมียแป๊ะละกัน (หัวเราะกันใหญ่) พี่คิม: คือโดยสรุปรวมทุกอย่างแล้ว เนีย่ พีเ่ ตาพร้อมสมบูรณ์ทสี่ ดุ ในรุน่ ๔๔ ส�ำหรับ การจะเป็นผู้บังคับการวชิราวุธฯ การที่จะเป็นแป๊ะได้เนี่ย พอ ๆ กับเป็น นายกรัฐมนตรีเลย คือ หมายความว่า คุณจะ ต้องยอมเสียสละชีวิตส่วนตัวของคุณ อะไรที่ คุณชอบ คุณเคยชอบ ส่วนสาเหตุที่ไอ้เตามันไม่ยอมเป็น มัน ก็เป็นเหตุผลที่น่าสนใจว่า มันยัง “ตัดทางโลก ไม่ได้” (หัวเราะคิก ๆ) พี่เอ๊าะ: คือผู้การวชิราวุธฯ เนี่ย ต้อง เป็นคนที่มีเกียรติ พี่เตา: ฐานะทางสั ง คม ต้ อ งเป็ นที่ ยอมรับ... ในด้านดีนะ อนุมานวสาร: แล้วท�ำไมพีเ่ ตาถึงเหมาะ จะเป็นผู้บังคับการล่ะครับ เพราะวิสัยทัศน์ ความคิด มุมมองของพี่เตา เหมาะใช่ไหมครับ พี่เอ๊าะ: ไอ้เตาน่ะ มันผ่านประสบการณ์ ชีวิตมาเยอะ มันมีคุณสมบัติเป็นได้ อนุมานวสาร: คอื แบบ Idol ของผูก้ ารฯ มันต้องเป็นแบบผูก้ ารแป๊ะ อย่างนัน้ ใช่ไหมครับ พี่เอ๊าะ: คือมันต้องมีอะไรหลาย ๆ อย่าง นะ แต่คือดูรวม ๆ แล้ว ไอ้เตามันมีคุณสมบัติ พร้อม มันเป็นได้ ถ้ามันเอาจริงก็เป็นได้ พี่คิม: ก็ “เตา FOR แป๊ะ” ไง “เตา FOR แป๊ะ”!! “เตา FOR แป๊ะ”!! ฮ่า ๆ ๆ ๆ
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 67
ความประทับใจสมัยเป็น นักเรียนวชิราวุธฯ พี่คิม: สมัยเราเด็ก ๆ เวลามีงานวชิราวุธานุสาสน์ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ของทุกปี วันสวรรคตรัชกาลที่ ๖ ในตอนค�่ำ ก็จะมีงานวชิราวุธานุสาสน์ จัดที่วังสราญรมย์ ซึ่งก็จะมีการจัดประกวด นางสาวไทย งานวชิราวุธานุสาส์นนีจ่ ะจัดหลาย วัน เพราะมีประกวดนางสาวไทย จัดตัง้ แต่รอบ คัดเลือกจนถึงรอบตัดสิน สมัยก่อนนี่ นาง สาวไทยเนี่ย เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมนักเรียน เก่าวชิราวุธฯ พี่เป๋ง: เฮ่ย!! ตอนนีก้ ็ยังเป็น พี่คิม: ทีนี้ สมัยก่อนเนีย่ สมัยพวกเรา เป็นเด็ก จะต้องโดนเกณฑ์ คือในช่วงที่จัดงาน วชิราวุธานุสาสน์หลายวันเนีย่ จะมีอยูว่ นั หนึง่ คือ วันสุดท้าย ที่สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณีฯ, เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ ฯลฯ จะเสด็จมาร่วมงาน ส�ำหรับเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ นี้ ท่านจะเสด็จไปทุกปี แล้วก็จะมีโต๊ะเสวยอาหารค�่ำ ซึ่งที่โต๊ะเสวย เนี่ย ก็จะใช้นกั เรียนวชิราวุธฯ “เป็นบ๋อย” คอย เสิรฟ์ อาหาร นักเรียนทีเ่ ป็นบ๋อยแต่ละคนก็จะมี ผ้าขาวพาดแขนอยู่ แล้วก็มถี าดอาหาร เวลาเดิน เข้าไปเสิร์ฟ ก็จะเข้าทางด้านขวา ซึ่งธรรมเนียม การเสิรฟ์ นี้ จะมีมหาดเล็กจากส�ำนักพระราชวัง มาอบรมให้ก่อนวันเสิร์ฟจริง ....พวกเราเนี่ย ก็โดนเกณฑ์ไปเสิร์ฟ...
68
พี่เตา: กูมไี ฮไลท์...ไอ้ปา๋ เป็นผูป้ ระสบ เหตุ ไอ้ปา๋ นีเ่ ป็นเด็กเรียบร้อย ก็เป็นหนึง่ ในเด็ก ที่ถูกเกณฑ์ไปเสิร์ฟ ส�ำหรับโต๊ะเสวย จะเป็นโต๊ะรูปตัวยู ใหญ่เลย นัง่ เสวยกันอยู่ ๔๐ คน ไอ้ปา๋ นีจ่ ะเป็น คนเสิร์ฟให้กับสมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณีฯ กับท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุลฯ ไอ้ป๋าเนี่ย ตอนเสิร์ฟกาแฟนะ กาแฟนี่ ขอบอกว่า ร้อนฉ่าเลย!! พอยื่นแขนที่ถอื กาแฟ ไปให้ แล้วท่านผู้หญิงก�ำลังคุยอย่างออกรสก็ “ปัดผ้า!!” กาแฟก็กระฉอกมาโดนมือ โอ้โหว!!!! มือมันเต้น สั่น ๆ ๆ ๆ อย่างเงี้ยเลย ก็จ�ำได้ มือ มันเต้นสั่นยิกเลย พี่ป๋า: ตอนนัน้ เสิร์ฟชุดสุดท้ายแล้ว ก็เข้าไป ยื่นมือเข้าไปปั๊บ จังหวะท่านผู้หญิง ดุษฎีมาลา สะบัดผ้ากันเปื้อน ก็พอดีโดนถ้วย กาแฟ กาแฟในถ้วยก็กระฉอกหกมารดมือ โหย!! ขนาดใส่ถุงมือ ยังร้อน!!! แสบมาก เลย คิดดูว่า น�ำ้ ร้อนแช่ในถุงมือน่ะ!!! เเต่เรา จะปล่อยมือไม่ได้ เพราะถ้าปล่อย กาแฟก็จะ หกรดสมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณีฯ แน่นอน ตอนนั้ น ร้ อ นยั ง ไงก็ ต ้ อ งอดทน แต่ ด ้ ว ย ความร้อน มือก็สั่นยิก ๆ ๆ แล้วถ้วยก็สั่น ขบกับจานรองดัง แก๊ก ๆ ๆ กลับมาถึงโรงเรียน เจ้าคุณภะรตฯ ชมเลย ชมว่า.... “ท�ำหน้าที่ได้ดีมาก”..... พีเ่ ตา: ในการเสิรฟ์ สมมุตวิ า่ ถ้าเป็นเนือ้ เราก็ต้องถือทั้งถาดเนื้อ มีมีดหั่นอยู่ที่บนถาด แล้วก็ยื่นทั้งถาดให้แขกเป็นผู้หั่นเนื้อ หั่นจาก
ถาดบนแขนของเราเลย มีผ้าพาดอยู่บนแขน ซึ่งถาดนีจ่ ะใหญ่ อีกทั้งเนื้อก็หนัก ไอ้เราก็ต้อง เกรงแขนอย่างมาก แล้วก็ต้องยื่นไปอย่างเนี้ย (ท�ำท่ายื่นแขนให้ดู) พี่เอ๊าะ: เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ นะ ท่านก็หนั่ บนแขนเรา เสร็จแล้วเพลงไพเราะ ท่านก็ตบขา ตามเพลง จนลืมหัน่ เนือ้ ไอ้เราก็ตอ้ งยืนถือถาด ค้างอยู่อย่างเนี้ย เมื่อยมาก พี่เตา: โห เหนื่อยนะ ตอนนัน้ น่ะ ถาด เงินน่ะ หนักอย่างงี้เลย
อยู่ เปลีย่ นออกทางเขาดินดีกว่า เข้าตรงสะพาน อ้อมไปทางลานพระรูปทรงม้า ไป “แข่งซิง่ ” กัน ตรง “ลานพระรูป!!!” อนุมานวสาร: แสดงว่า สมัยก่อน รถ ก็น้อยสิครับ พี่เป๋ง: รถไม่ค่อยมี สมัยนัน้ “เป็นป่า” พี่ทักษิณ: กลางคืน น่ากลัวจะตาย! พี่เป๋ง: แข่งรถพระอินทร์เนีย่ นะ มีตโี ค้ง ด้วยนะ กระเด็นตกลงไปในสระน�้ำกัน สนุก เชียว ลงน�้ำกันเป็นประจ�ำ (ข�ำ)
เรื่องสนุก ๆ สมัยอยู่โรงเรียน
ปาเจ๊กเฉ่า อนุมานวสาร: แล้วเจ๊กเฉ่านี่ จะโดน แกล้งประจ�ำเลยเหรอครับ พี่เป๋ง: ก็ไม่รู้เหมือนกัน เด็กก็จะชอบ ไปปาเจ๊กเฉ่ากันประจ�ำทุกปี ช่วงปลายปี พี่ทักษิณ: ก็แบบ... เขวี้ยงอะไรใส่ หน้าร้าน ให้เจ๊กเฉ่าวิ่งมาตี พี่เป๋ง: ไอ้ พ วกกองหน้ า ก็ วิ่ ง หนี เจ๊กเฉ่า ให้เจ๊กเฉ่าไล่ตาม ส่วนไอ้พวกกองหลัง ก็เข้าหลังร้าน ขนของออกมาหมดเลย พีท่ กั ษิณ: แล้วก็จะมีการนัดวันกันด้วย นะ ทั้ง ๔ คณะ เด็กโตจะมารวมหัวปาเจ๊กเฉ่า กันอย่างพร้อมเพรียง เวลาเดียวกัน นึกภาพดู นักเรียนมากันทีเดียว ๑๐๑๕ คน โอ๊ย!!! ถล่มทีเดียว ของร้านเจ๊กเฉ่า เรียบหายหมดเลย บางทีเจ๊กเฉ่ามันก็รเู้ หมือนกันนะ บางที มันก็เตรียมปืนไว้ พอนักเรียนมา ก็เอาปืนยิงขู่
แข่งรถพระอินทร์ อนุ ม านวสาร: รุ ่ น พวกพี่ นี่ ยั ง มี เ อา รถพระอินทร์มาขี่เล่นกันป่าวครับ พี่เป๋ง: มี ขีก่ นั ไปถึงนูน่ “ลานพระบรม รูปทรงม้า!!” พวกวาดฉากไง มัน มีพ วกวาดฉาก เตรียมงานกรีฑาด้วยไง ทีนี้ มันจะวาดกันตอน กลางคืน บางทีเล่นกันถึงตี ๑ ตี ๒ ช่วงนัน้ มันไม่ค่อยมีเรียนกันแล้ว ทีนี้ พอกลางคืนปุ๊บ ก็เตรียมงานกรีฑากัน ครู วัชรินทร์ ชื่นก�ำเนิด ครูจุมพล อุดมสรยุทธ กับพวกเด็ก ๆ... ทีนี้พอพวกแกเผลอ ไอ้พวก เราก็มาเข็นรถพระอินทร์กัน เลยไปถึงราชวัตร ไปซื้อราดหน้าก่อน มีทั้งคนเข็นและคนบังคับ ด้วย คืนต่อ ๆ มาพวกเราก็คดิ ว่าไปทางราชวัตร บ่อยแล้ว เดี๋ยวพวกต�ำรวจ สน.ดุสิตไปรอจับ
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 69
ขึ้นฟ้า ปัง ๆ ๆ แต่ก็ไม่มีใครกลัวนัน่ ไม่มีใคร สนใจอ่ะ ก็ขโมยของเจ๊กเฉ่ากันเหมือนเดิม พี่เป๋ง: ก็คือขโมยวันเดียว ก่อนปิด เทอมใหญ่น่ะ เจ๊กเฉ่า โดนทุกปี มันก็รู้อยู่แล้ว มันรู้ ว่าก่อนวันงานกรีฑาเนี่ย ประมาณคืนหรือสอง คืน มันจะต้องโดน โดนทุกปี ตัง้ แต่เราเข้าคณะ เด็กโตจนจบ ก็เห็นเจ๊กเฉ่าโดนปาทุกปีเลย อนุมานวสาร: แล้วใช้อะไรปากันบ้าง ล่ะครับ พี่เป๋ง: ก็ก้อนหินบ้าง ขอนไม้บ้าง ไม้ บ้าง อะไรประมาณนี้ ปากันจนหลังคาร้าน พังเลย อย่างเงี้ย ไอ้พวกนี้ อย่างพี่ทักษิณนี่ ตอนสมัย ม.ศ. ๓ ขาหัก ต้องใส่เฝือกถึงโคน ขา พอปลายปี พวกเราก็จะไปปาเจ๊กเฉ่ากัน ทักษิณก็หา้ วจะไปปาด้วย พอเจ๊กเฉ่าวิง่ มา ไอ้นี่ วิ่งก่อนเลย วิ่งเร็วกว่าคนขาดีอีก แล้ววิ่งเข้ามา ในคณะพญาไท เจอหั ว หน้ า คณะพญาไท จับ... มึงมาท�ำไม!! อยู่จิตรลดา แต่เสือกมา ปาเจ๊กเฉ่า ใส่เฝือกด้วย (หัวเราะกันแก้มปริ) อนุมานวสาร: แล้วถ้าช่วงไหนเจ๊กเฉ่า เขี้ยว ๆ (งก ขายของแพงแถมยังให้ของน้อย) นี้ ก็ “แบน” (บอยคอต ไม่ยุ่ง ไม่ซื้อของด้วย) เจ๊กเฉ่ากันบ้างหรือเปล่าครับ พี่เป๋ง: ก็ แบน ไม่ซื้อกินมันเลย อะไร ประมาณนี้ เจ๊กเฉ่าแกเป็นคนไม่ยิ้มไง ไม่ค่อย พูดจาด้วย อนุมานวสาร: คืออย่างสมัยพวกผม เฉ่า (ชื่อเรียกโรงอาหารว่าง เรือนจากยุคทันสมัย)
70
พ.ต.อ.ทักษิณ พ่วงเงิน ปัจจุบันเป็น รองผูบ้ งั คับการกองบังคับต�ำรวจนครบาล ๙
จะมีประมาณ ๓-๔ ร้าน ถ้าร้านไหนขายแพง ๆ พวกรุ่นพี่ก็จะสั่งแบนร้านนัน้ ไม่ให้เด็กซื้อกิน ร้านนัน้ เลย สักพัก ร้านนัน้ ก็จะลดราคาลง เด็ก ก็จะกลับมาซื้อกินกันเหมือนเดิม พี่เป๋ง: แล้วก็ประเภทชักดาบอีก ก็พอ จะมีบ้าง อย่างพวกร้านข้าวหมูทอดอะไรพวก นี้ “ติดไว้ก่อน... เดี๋ยวจ่าย” ....“แต่แล้วก็ไม่ จ่าย!!!!” ( หัวเราะ) ไอ้ บ างคนหนัก กว่ า นั้น อี ก ไม่ จ ่ า ย ชักดาบ แถมยังมีการ “ทิง้ ทวน” ขอยืมเงินเพิม่ อีก ร้ายจริง ๆ ไอ้พวกเราก็มีนะ แต่ถามว่า จริง ๆ แล้วเราอยากขี้โกงมั๊ย ติดเป็นนิสัยขี้โกงมั๊ย... ไม่ใช่!! เพราะว่า ตอนอยู่ในโรงเรียน ถ้าไอ้คน อื่นมันท�ำได้ กูก็ต้องท�ำได้ (ข�ำ)
ไอ้เจ๊กโย่ว โดนกูทิ้งทวน!! พี่คิม: มึงทิ้งทวนไปเท่าไหร่วะ พี่เป๋ง: “๒๐ บาท” อนุมานวสาร: ๒๐ บาทสมัยนัน้ เยอะ ป่าวครับ พี่เป๋ง: ก็ เ ยอะสิ โอ้ โ หว เยอะนะ (หัวเราะคิก ๆ)
นิ้วหวิดขาด!!!
พี่เป๋ง: พีเ่ ตาเค้าเข้าเด็กเล็ก ๑ ตอน ป.๕ แต่พี่เข้าตั้งแต่ ป.๓ พี่เตา ตัวสูง แถมยังเป็น เด็กดีกับครูฉบิ หายเลย... นายบรรยงอย่างงู้น นายบรรยงอย่างงี.้ .. ซือ่ พีเ่ ตานะ อยูเ่ ด็กเล็ก ๑ แม่งตัวแสบ แม่งเล่นทุ่มน�ำ้ หนัก เอาก้อนหิน ก้อนใหญ่มาทุ่ม ลงนิ้วเท้า!!! นิ้วก้อยนี่ หวิด ขาด!!!! นิว้ ก้อยซ้ายนี่ ฉีกล่องแล่งเลย ไอ้เตาก็ ต้องมาช่วยพยุงนิว้ ไปให้หมอทีต่ กึ พยาบาลเย็บ ไอ้เตามันเล่นทุ่มน�้ำหนัก ไอ้เราก็ยืน ๆ อยู่ หินพุ่งลงมาตีนกู ปุ๊!!! นิ้วกูหวิดขาด เลย ห้อยต่องแต่ง กระดูกโผล่ ตอนนัน้ นีน่ ะ ไอ้เตา งง!! พูดไม่ออก แต่แล้วมันก็เป็นคน จูงไปส่งตึกพยาบาลด้วยกัน แล้วก็ไปนั่งให้ หมอเย็บให้ พี่เอ๊าะ: จนบัดนี้ แผลเป็นไอ้เป๋งมันยัง อยู่เลยนะ (ฮากันแก้มฉีก) งานคณะ พี่เตา: (หันมาถามน้องอนุมานวสาร) สมัยคุณยังมีจัดงานคณะกันอยู่ไหม
อนุมานวสาร: มีครับ แต่ว่าเป็นเด็ก ๆ แต่ละคณะจัดงานกันเอง พี่เตา: สมัยผมเด็ก ๆ คณะผูบ้ งั คับการ มีจดั ทีหนึง่ แล้วก็คนวาดฉากให้คอื พีจ่ กั รพันธ์ุ โปษยกฤต แกวาดฉากให้นะ โอ้โหว สุดยอด อย่างงี้เลย!! พี่เป๋ง: เมื่ อ ก่ อ นนี้ โรงเรี ย นเนี่ ย มี งานคณะ จัดกันเองอะไรกันเอง พญาไทนี่ “คณะเพลย์บอย!!” โมเดิร์นอาร์ท (Modern Art) อย่างเดียว ฉาบฉวยอย่างเดียว แต่ “จุดเด่น” ของงานคณะพญาไท ก็ คือ “ละครล้อครู” ท�ำเรื่องล้อครู คณะพญาไท นี่ “อันดับ ๑” พวกครูทุกคนต้องมาดูกันว่า... ปีนี้ใครโดน!! ปีนี้ใครโดน!! ฮ่า ๆ ๆ
ข้อเสียของนักเรียนวชิราวุธฯ อนุ ม านวสาร: ข้ อ เสี ย ของนัก เรี ย น วชิราวุธฯ คืออะไรครับ พี่เตา: เป็นค�ำถามที่ดี จะมีคนมาถาม ผมเยอะ ในค�ำถามนี้ คื อ ว่ า พั บ บลิ ค สคู ล ในอั ง กฤษเนี่ ย เดีย๋ วนี้ จะเปลีย่ นไปจากวิถเี ก่าเดิมมาก เด็กเนีย่ จะมีอยู่ช่วงวัยหนึง่ เป็นวัยที่มี “สัญชาตญาณ ดิบ” จะ “เอาตัวรอด” และก็จะ “ข่มผู้อื่น” โดยธรรมชาติ สัญชาตญาณดิบนีก้ ็คือ สัญชาตญาณ แห่งการเอาตัวรอด บางทีอาจต้องใช้ค�ำว่า “จะ ไม่คิดถึงคนอื่นมากนัก เพราะทุกคนมันต้อง ดิ้นรนให้ตนเองรอด คือเห็นแก่จิตใจคนอื่น มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 71
อายุธ นาครทรรพ เจ้าภาพในวันนัน้
“น้อยกว่า” การอยู่รอดของตนเอง”... ซึ่งจุดนี้ มัน “เสี่ยงมาก!!” ที่มันจะมีการ “beat กัน!!!! (ข่มเหง)” ซึง่ ถ้าใครก็ตาม ในช่วงวัยนัน้ ทีอ่ อ่ นแอ แล้วก็โดน beat ตั้งแต่เด็ก ๆ ณ จุดนี้ ถือว่า เป็นเรื่องใหญ่มาก มันจะเกิด “แผลในใจ” แล้ว บางคนเนี่ย “บุคคลิก” มันจะ “เปลี่ยน” ...ไป “ตลอดกาล” เพราะมันเป็นบุคคลิก ในช่วงที่ อ่อนไหว...
72
ฉะนัน้ โรงเรียนพับบลิคสคูลในอังกฤษ สมัยนี้เนี่ย มันจะแคร์มากเลย จะไม่ปล่อยให้ เด็กอยู่กันตามธรรมชาติแบบสมัยก่อนแล้ว โห.. มันตามเด็กเนี่ยนะ มันตามละเอียดมาก ถ้ามีใคร beat กัน “ถ้าใครดูแล้วมีลักษณะ อ่อนแอ เขาจะเข้าช่วยทันที!!!” มันไม่เหมือน สมัยก่อน ที่ปล่อยให้ใช้ชีวิตกันตามธรรมชาติ เพราะว่าเด็กเนี่ย โดยธรรมชาติ เมื่ออยู่ใกล้ กัน ในเชิงจิตวิทยา มันก็จะต้อง “เอาตัวรอด” ดังนัน้ แล้ว มันจะ beat กัน แล้วเวลา มัน beat กันเนีย่ นะ ไอ้คนทีอ่ อ่ นแอ พลัง้ พลาด ถูก beat เนี่ย มันก็จะเกิด “แผลในใจ” ไป “ชั่วชีวิต” ได้ ทฤษฎีนี้เนี่ย โรงเรียนแบบพับบลิค สคูลในอังกฤษ ออสเตรเลีย เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว ครูจะไม่ปล่อย เซอร์ไพรส์มาก ผมเคยไปคุยกับ พวกโรงเรียนแฮโรว์ รักบี้ อะไรพวกนี้ หรืออย่าง ที่ออสเตรเลียเนี่ย จะเซอร์ไพรส์มากเลย “ครู” “รูน้ สิ ยั เด็ก” อย่างละเอียดแต่ละคน ครูรทู้ กุ คน รู้ถงึ ปัญหา เข้าใจ ครูต้องตามเด็กทุกคน ไม่งนั้ มันจะไม่มคี วามอัพเดต (Update) แล้วเด็กมัน จะข่มกัน คุณลองมองย้อนกลับไปสิ ในหมู่ เพื่อนเรา มันจะต้องมีคนที่ถูก ... ข่มเหง!!!!” พี่คิม: ทีนคี้ ุณ (อนุมานวสาร) เข้าใจ รึยงั ว่าท�ำไมผมถึงบอกว่า ไอ้เตาเนีย่ มันเหมาะ ที่จะเป็นแป๊ะ!! พี่เตา: เฮ่ย กูอ่านหนังสือเยอะ พี่คิม: กูยอมรับในรสนิยมของมึง ว่า มีความเป็นแป๊ะสูง ฮ่า ๆ ๆ
KILLING INSTINCT * อนุ ม านวสาร: แต่ รุ ่ น พวกผมโตมา ผู้การปิ๋ง (ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช) บอกว่า โอวี ไม่มี Killing Instinct อันนีจ้ ริงป่าวครับ พี่ เตา: Killing Instinct ในที่ นี้ หมายถึง การมีสญ ั ชาตญาณเบือ้ งลึกแห่งจิตใจ ในอันใคร่ปรารถนาที่จะต้อง “เหนือกว่าคน อื่น” ดี-เด่น-ดัง กว่าคนอื่น “เป็นหลัก” โดย พร้อมที่จะเหยียบย�ำ่ ก�ำจัด ขัดขา และท�ำลาย ผู้อื่น เฉพาะอย่างยิ่ง “คู่แข่ง” ของตนเองได้ ทุกขณะ ยามเมื่อสบโอกาสทั้งทางตรงและทาง ลับ เพื่อที่ตนจะได้ใช้ไต่เหยียบ “ขึ้นเป็นใหญ่” ดังที่ใจใคร่หวัง อนุมานวสาร: การขาด Killing Instinct คือสาเหตุที่พวกเราไม่ได้เป็นใหญ่กัน สักที พี่เตา: ผมไม่ เห็ นด้ ว ยในจุ ด นี้ ว ่ า คื อ ไม่ได้เป็นใหญ่ เพราะไม่มี Killing Instinct ผม ไม่เห็นด้วย ณ จุดนี้ แต่ค�ำว่า “เป็นใหญ่” นัน่ แปลว่าอะไร ในทาง “การเมืองน่ะเหรอ” อนุมานวสาร: ในทางการเมืองน่ะครับ เป็นใหญ่ในทางการเมือง เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรี อะไรประมาณนัน้ พี่เตา: อั น นั้ น ไม่ ไ ด้ เรี ย ก Killing Instinct อืม... ถ้าเป็นใหญ่ในทางการเมือง ก็
ต้องบอกว่า... ผมกลับคิดว่า... “โอวี เหี้ยไม่พอ” อนุมานวสาร: ก็ถูกครับ พี่เป๋ง: คนที่มีสัญชาตญาณขนาดนั้น มันต้องมีทั้งแรงกดและแรงบีบ พี่เตา: ค� ำ ว่ า เป็ น ใหญ่ ท างการเมื อ ง คุณจะพยายามเอาใคร อนุมานวสาร: ต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี ครับ พี่เตา: แต่ ถ ้ า ต� ำ แหน่ ง นายกฯ มั น ก็ ต� ำ แหน่ ง เดี ย ว ไม่ จ�ำ เป็ นต้ อ งมี Killing Instinct อะไร พี่เป๋ง: ส่วนหนึง่ เราว่า โอวีไม่ชอบเล่น การเมือง พี่เตา: มันต้องมีพนื้ ฐานก่อน คุณต้อง เริ่มเดินบนถนนการเมืองก่อน คุณถึงจะไปถึง ต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี หรือต�ำแหน่งอื่น ๆ ได้ แต่ถา้ ถามว่า โอวีสว่ นใหญ่ชอบเล่นการเมืองมัย๊ มันน้อยมาก เพราะว่า.. อืม พี่เอ๊าะ: มันชอบเล่นกันเองในโรงเรียน มากกว่า!!( ฮากันโต๊ะสะเทือน) พี่เป๋ง: โอวี บางทีมันมีนิสัย “หลอก ใครไม่ค่อยได้”
* Killing Instinct (สัญชาตญาณแห่งการฆ่า) ส�ำหรับสังคมมนุษย์, สังคมการเมือง, สังคม การท�ำงาน,... ฯลฯ
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 73
สิ่งที่ได้จากโรงเรียนวชิราวุธฯ จนท�ำให้ประสบความส�ำเร็จในชีวิต อนุมานวสาร: ที่พวกพี่ประสบความ ส�ำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้ สิ่งที่ได้มาจากโรงเรียน ที่ท�ำให้เรามีวันนี้ได้ มีเรื่องอะไรบ้างครับ อะไร ที่โรงเรียนสอนเรา ท�ำให้เรามีวันนี้ได้ พี่คิม: โรงเรียนเหรอ ให้ทกุ อย่างเลย!! ประการแรกเลย ที่โรงเรียนเราเนี่ย จะ ไม่เหมือนโรงเรียนอื่นเลย อะไรหลาย ๆ อย่าง ไอ้ทเี่ หมือน เราก็เหมือนน่ะนะ แต่ทไี่ ม่เหมือนนี่ อันแรกเลย... คือว่า... มันสอนเยอะว่ะ อันแรกเลยก็คือ การรู้จัก “การเป็น นักกีฬา” โรงเรียนเราสอนกีฬาเยอะ เรื่อง การเป็นนักกีฬาจากที่โรงเรียน คือสอนให้เรา รู้ว่า เราต้อง “แพ้ให้เป็น” ชนะนี่ไม่ยาก ชนะ ให้เป็นนีก่ ไ็ ม่ใช่งา่ ย แต่ไม่ยาก ทว่า “แพ้ให้เป็น” นี่ สิ ย าก ใช่ ม ่ ะ แล้ ว โรงเรี ย นเรานี่ ส อนว่ า ให้รู้จักแพ้ให้เป็น ผมอยู่คณะพญาไทนี่แพ้ตลอด แข่ง กีฬาอะไร ก็ไม่ได้ถ้วยกับเขาสักที อยู่คณะใน ๕ ปี ติดโล่ห์เดียว!! อนุมานวสาร: โล่ห์อะไรครับ พี่คิม: บาสเก็ตบอล นอกนัน้ ไม่เคย ติดโล่ห์อะไรเลย แพ้ตลอด!! พี่เป๋ง: ให้เราคณะพญาไทนีร่ ซู้ งึ้ เลย ว่า แพ้เป็นยังไง!! พี่คิม: ไอ้ ต รงนี้นี่ ส� ำ คั ญ เพราะว่ า “แพ้เป็น” ไง แพ้เออไม่เป็นไร เดี๋ยวกูล่อ
74
มึงใหม่ นีค่ ือ Attitude (ทัศนคติ) ของคนแพ้ แล้วเราก็ไม่ได้ไปโกรธ ไปโวยวาย ไปอิจฉาอะไร คนชนะเค้า เวลาคุณไปท�ำงานเนี่ยนะ คุณจะพบ ว่ามีคน “เยอะมาก” ที่ “แพ้ไม่เป็น” แล้ว ไอ้พวกที่แพ้ไม่เป็นนี่ ตอนจบก็เป็น Looser (ผู้แพ้) เพราะความที่มันแพ้ไม่เป็นนี่แหละ ใน ที่สุดก็แพ้ตลอด แต่ ไ อ้ ค นที่ แ พ้ เป็ น เนี่ ย มั น แพ้ อ ยู ่ ซักพักนึง แล้วเดี๋ยวมันก็ค่อย ๆ พัฒนาตนเอง ขึ้นไป ตรงนีน้ ซี่ ึมซับจากโรงเรียนตรง ๆ เพราะ ว่าโรงเรียนเราแข่งกีฬาตลอดทั้งปี แพ้เสร็จ ไม่เป็นไร กูตปี งิ ปองแพ้ เดีย๋ วกูไปล่อมึงทีแ่ บดฯ เดี๋ยวกูไปล่อมึงที่กรีฑา... ฯลฯ โรงเรียนสอนให้เรารู้ว่า “แพ้เรื่องเล็ก” การแพ้ เป็นเรื่องเล็ก เป็นของธรรมดา แต่มัน ก็สอนให้เรารูว้ า่ ไม่มใี ครจะชนะกูทกุ เรือ่ งหรอก ขี้หมูขี้หมากูก็ด่าเก่งกว่ามึงละกัน ฮ่า ๆ ๆ นะ... ตรงนี้มันสอน แล้วมันก็ท�ำให้ เราเป็นคนที่สมบูรณ์กว่าคนที่ไม่มีโอกาสเรียน รู้ตรงจุดนี้ อันที่ ๒ เนีย่ ทีโ่ รงเรียนสอน ก็คอื สอน ให้เราเป็นคน “ไม่กลัวเงิน” เพือ่ นฝูงเนีย่ ใครมี เงินมาก ช่างมัน เพราะเรา “เห็นไส้!!” มันหมด... As a Person เพราะฉะนัน้ ไม่แปลก จะรวย แค่ไหน ก็ไม่แปลก หรือแม้กระทั่งว่า ตัวเราจะรวยแค่ไหน คุณก็จะรู้ตัวว่า คุณก็ไม่ใช่เทวดาเหนือคนอื่น แต่คนที่ไม่ได้เรียนวชิราวุธฯ มักไม่ค่อยได้มี
โอกาสเรียนรู้ตรงจุดนี้ อันที่ ๓ อ�ำนาจนิยม ( Authoritarianism) ตรงนี้เราไม่เป็น ลักษณะอ�ำนาจนิยมคืออะไร? อ�ำนาจ นิยม คือ ชอบมีอำ� นาจ และสยบให้อำ� นาจ เจอ คนที่มีอ�ำนาจมากกว่า ก็หงอให้เค้า เจอคนที่มี อ�ำนาจน้อยกว่า ก็ไปข่มเขา... พวกเราวชิราวุธฯ ไม่เป็น!!!! ใช่มะ พวกเราไม่เป็น เรารู้ว่า ใครมี อ�ำนาจมากกว่าเรา เราก็ไม่กลัว แต่เราก็ให้ความ เคารพ หากทว่า เวลาไหว้เนี่ย ไม่ใช่หงอสยบ ก้มหัว....จะคนละแบบกัน จะเป็นลักษณะ “ระวังเชิง” ว่าจะมาไม้ไหนกับกู แต่ไม่กลัว!!!! ตรงนีส้ ำ� คัญนะ เพราะว่า เราไม่กลัวอ�ำนาจนิยม พี่เตา: จะเล่าเพิ่มเติมให้ฟัง คือของ ไอ้คิมนี่ มันจะจ�ำได้แต่ผลสรุป แต่ปัญหาของ ตัวผมก็คือ “เข้ากับเพื่อนไม่ค่อยได้ก่อน” ผมเป็นคนที่ หัวรุนแรง... ในทางความคิด ที่เป็นไปในทางความถูกต้อง ยุติธรรม ผมเป็น เด็กที่ ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่อยู่บ้าน นอก เป็นเด็กมาจากบ้านนอก ผมเป็นคนอ่าน หนังสือ พ่อชอบให้อา่ นหนังสือ มาอยูว่ ชิราวุธฯ ก็ไม่เป็นไร ป.๕ ป.๖ ก็ยังไม่มีปัญหา แต่พอ ป.๗ เข้าคณะใน คุณเชื่อมั๊ย “ปัญหามี” ที่เล่าให้ฟังนี่ไม่ใช่อะไร เพราะมันมี เหตุ มีปัจจัย ที่ทำ� ให้กลายเป็นเราได้ มันต้อง มีเหตุนะ ป.๗ เนี่ย เข้าคณะใน สูงไป ๑๖๐ เซนติเมตร ต้องไปเล่นกีฬารุ่นกลาง แล้วไอ้เรา ป.๗ มันจะไปเล่นอะไรรุ่นกลาง!!!! ต่อให้มึง
เก่ง มึงก็ไม่ติด อย่าว่าอะไรเลย แล้วก็ไม่เก่ง ด้วย (หัวเราะกันใหญ่) มันมี Pressure (แรง กดดัน) คือ ไม่ได้เล่นกีฬา คัดทีมอะไรก็ไม่ติด ที่มาบอกผลทางกีฬานี่ จะเล่าให้ฟัง ว่า ผมก็เลยไม่เล่นกีฬาเลยครับ!! วชิราวุธฯ คุณก็รู้ เล่นกีฬากันวันละกี่ชั่วโมง บ่าย ๒ ก็เริ่มเล่น กีฬาแล้ว เสร็จแล้วผมท�ำอะไรล่ะ เมื่อก่อนผม ท�ำอะไรล่ะ คนอืน่ เค้าเล่นกีฬากัน ผมเล่นอย่าง เดียว เล่นแต่แบดฯ ตอนนัน้ มันไม่มีใครเล่น วชิราวุธฯ เนี่ย ไม่ค่อยมีใครเล่นแบดฯ ผมเนี่ย ติดโล่ห์แบดฯ ๕ โล่ห์เลยนะ แต่จะเล่าให้ฟัง ถึงจุดที่จะเป็นประเด็น คือว่า ทุกคนไปเล่นกีฬา อยู่ ป.๗ ต้องไปเล่น รุน่ กลาง จะเล่นอะไรกะเค้า ก็เล่น แบดฯ แบดฯ เค้าเล่น ๒ เดือน ๓ เดือนเอง แล้วก็เลิกเล่น ไปทั้งปี ผมไม่เล่นกีฬา แล้วผมท�ำไง... “ผม เข้าห้องสมุด” ก็คนอื่นเค้าเล่นกีฬา เราเล่น อะไรก็ไม่ได้ ก็เลยเข้าห้องสมุด เข้าห้องสมุด ตลอด พอขึ้น ม.ศ. ๑ สูงไป ๑๗๒ เซนติเมตร “รุ่นใหญ่!!!!” ...รุ่นใหญ่!! ...ขย่มยังไงก็ไม่กด ไม่อยู่ ๗ ซม. ..รุ่นใหญ่ ม.ศ. ๑ รุ่นใหญ่... ก็เลยไม่เล่นกีฬาอีก จะเล่นอะไรล่ะ ม.ศ. ๑ จะไปติดอะไร พวกมึง (เพื่อน ๆ รุ่น ๔๔ ที่นงั่ อยู่ด้วย) อาจจะจ�ำผิด กูเล่นกีฬา จริง ๆ เนี่ย ม.ศ. ๓ เพราะว่ามันเล่นไม่ได้ไง... สุดท้ายก็ “ห้องสมุดครับ” อย่างที่พวกคุณ (อนุมานวสาร) ท�ำ หนังสือกันน่ะ ผมชอบ เพราะผมเคยเป็น สต๊าร์ฟ ท�ำงานของสมาคมหนังสือพิมพ์ ผมเขียน ผม มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 75
ชอบเขียน ผมเขียนเยอะ จะมีเรื่องเก่า ถ้าลอง ไปรื้อ ๆ ดูจะมีอยู่เยอะ ผมชอบเขียนไง แต่พอ กลับไปอ่าน ก็ว่าแปลกทุกทีอ่ะ ท�ำไมตอนเด็ก เขียนตอนอายุ ๑๓-๑๔ น่ะ คุณนึกออกไหม อายน่ะ อายตัวเอง เฮ่ย เขียนเข้าไปได้ไงวะ เสี่ยว ฮ่า ๆ ๆ แต่ก็โอเคไง ก็ ๑๓-๑๔ น่ะ พี่เป๋ง: ตอนพี่อยู่เด็กเล็ก ๑ นะ (พี่ เตา) อยู่ ป.๕ แล้ว เป็น “เด็กดี” ของครู... เด็กดีของครู หมายความว่าไงล่ะ ก็คือ “เหี้ย” ในสายตากู เวลาครูถามนะ... นายบรรยง ใคร คุยกัน ฟ้องเลย!! แล้วเป็นคนเดียวตลอด ที่ ขี้ฟ้องครู พี่เตา: ผมเคยถูกเพื่อนแอนตี้ (Anti) นะ คือผมเด็กซื่อไง ซื่อบื้อเลยน่ะ ควายน่ะ ควายมาจากบ้านนอก ไม่มีปัญหา แต่อย่างน้อยกูก็ ๙๐% .... ก็ ๙๐% อ่ะ อิอิ อนุมานวสาร: แล้วเกิดอะไรขึ้น ถึงจบ ม.๘ มาแค่ ๕๐% ล่ะครับ พี่เตา: Point (จุ ด ประสงค์ ห ลั ก , จุดส�ำคัญ) มันคืออย่างนี้ สังคมวชิราวุธฯ เชิดชูเทิดทูนนักกีฬา คือ ไอ้นักเรียนเรียน ดี อ ย่ า งเราเนี่ ย โดนล้ อ ... ไอ้ ป ากเหม็ น ไอ้เสี่ยว ไอ้เปรต สังคมมันก็ Force (กดดัน, บีบคั้น) เรา สักพักเราก็พยายามที่จะเอาตัวรอด มัน เป็นธรรมชาติของสัตว์ ...U need to seek Survival, seek to be ยอมรับ เป็นส่วนหนึง่
76
ในกลุ่ม be member…. ทีนี้ ผมนี่... คุณเชื่อไหม ว่าผมอยู่ ห้ อ งสมุ ด วั น ละ ๕ ชั่ ว โมง!! แล้ ว ก็ ยั ง ยื ม หนังสือกลับมาอ่านที่คณะด้วย ผมไม่ได้อยากจะโม้นะ แต่หนังสือใน ห้องสมุดน่ะ ผมอ่านมันทุกเล่ม ยกเว้นแต่ ราชกิจจานุเบกษา บางทีกย็ งั อ่านมันเลย เพือ่ ที่ จะเข้าใจมันหน่อยว่ามันคืออะไร เพือ่ ทีจ่ ะเข้าใจ เรื่องกระบวนการออกกฎหมาย ผมเข้าใจมัน ตั้งแต่เด็ก ๆ นะ เห็นมันวางเต็มห้องสมุด ก็ เลย เออ อ่านมันซะหน่อย แต่พออยู่คณะเด็กโตสักพักหนึง่ โดย นิสัยของเด็กที่ต้องการที่จะเข้าไปสู่สังคม ทว่า สังคมต้อนรับแต่นักกีฬา แล้วผมเล่นไม่ได้ เลย ก็ ป.๗ รุ่นกลาง ม.ศ. ๑ รุ่นใหญ่ แล้ว จะให้เล่นอะไร พอ ม.ศ. ๒ ผมก็เริม่ ไปฝึก อยากจะไป ร่วมกับเค้า แต่ก็ยัง Concentrate (ตั้งอก ตั้งใจจดจ่อ) กับการเข้าห้องสมุดอยู่ พอ ม.ศ. ๓ ...บ้าเลย!! ...“ผมต้ อ งการที่ จ ะเป็ นนัก กี ฬ าที ม โรงเรียน ให้ได้!!!”... ทีน่ มี้ นั มีหนังสืออยู่ ๒ เล่ม ในห้องสมุด วชิราวุธฯ ที่เปลี่ยนชีวิตผมไปตลอดกาล คือ เล่มหนึง่ ... ซึง่ เดีย๋ วนีย้ งั มีขายอยู่ เขียนโดย เดล คาร์เนกี เป็นแนว How to ชื่อว่า “วิธีผูกมิตร เอาชนะใจศัตรู” เป็นเล่มที่ดังที่สุดของ เดล คาร์เนกี หนังสือเล่มนี้เนี่ย ท�ำให้ผมกลับเข้า สู่สังคม
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 77
โอ้ย!! เมื่อก่อน พวกนี้ (เพื่อน ๆ รุ่น ๔๔ ที่นงั่ อยู่ในโต๊ะ) มันไม่คบผมหรอก ผมมัน ไอ้เสี่ยว!! ไอ้ LOW!! ไอ้... ฯลฯ หนังสืออีกเล่มหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตผม อาจจะเซอร์ไพรส์ เป็นหนังสือภาษาอังกฤษ เล่ม ที่ ๒ นีช้ ื่อว่า “Atheletic Trainning” มอบ ให้ห้องสมุดโดย ครูอรุณ แสนโกศิก มันเป็น เรื่องเกี่ยวกับการเตรียมความฟิตให้ร่างกาย ที่ จะเป็นนักกีฬา แล้วมันเป็นภาษาอังกฤษ มันก็ เลยท�ำให้ผมต้องถือ Dictionary เปิดอ่านอยู่ เรื่อย เล่มแรกแปลเป็นภาษาไทย พี่เป๋ง: เมื่อก่อนกูจ�ำได้ ไอ้เตามันเป็น ตัวแทนโรงเรียน ไปแข่งตอบปัญหาของ Shell เป็นภาษาอังกฤษ แล้วเค้าถามว่า ...สปาเกตตี้ กับ มักกะโรนีต่างกันยังไง ไอ้เตาตอบว่า “มีรู กับ ไม่มีรู!!” ( ฮา กันสนัน่ โต๊ะ) พี่เตา: ตอนนั้นเป็นตัวแทนโรงเรียน เค้าถามว่า What’s the difference between spagetthi and magaroni ?... เป็นภาษา อังกฤษด้วยนะ ภาษาอังกฤษกูก็แย่ เอ่อ... ก็ ไม่ แ ย่ เท่ า ไหร่ เพราะอ่ า นหนัง สื อ เล่ ม นั้น (Atheletic Trainning) เลยได้ฝึกภาษา อังกฤษ กูก็ตอบไป There is a “HOLE” in magaroni, there is “no hole” in spagethi. (ข�ำคิก ๆ ๆ ๆ) มาเข้ า เรื่ อ งต่ อ คื อ จะเล่ า ให้ ฟ ั ง ว่ า “อยากเป็นนักกีฬา” พออ่านหนังสือเล่มนั้น
78
แล้ว ผมตื่นตี ๕ ทุกวัน ไปวิ่ง!!!! วิ่งสัก ๑๐ รอบ สิง่ แรกคือ ต้องฟิตก่อน ผมวิง่ วันละ “๑๐ รอบโลก” น่ะ สมัยนัน้ เค้าเรียกกัน รอบโลกคุณรู้จักไหม เริ่มตั้งแต่คณะ ผู ้ บั ง คั บ การ เลี้ ย วซ้ า ยไปวนวงเวี ย นหน้ า หอประชุมแล้วกลับมา วิ่งตั้งแต่ตี ๕ ถึง ๖ โมง วิ่งชั่วโมงหนึง่ ไม่หยุดทุกวัน ตื่นมาคนเดียว โดยสมัครใจ!! จากเด็กที่เล่นกีฬาไม่เป็น “ผมก็แข็ง แรง!!!!” เด็กเนี่ย มันโดน Inspire (กระตุ้นเร้า ดลใจ) Inspire ก็คอื คุณต้องเป็นนักกีฬาให้ได้ คุณถึงจะได้รับการยอมรับ ได้รับการยกย่อง ทั้ง ๆ ที่ผมก็เป็นนักเรียนที่เก่งอยู่... ผมทิ้งเลย ก็มุ่งอย่างเดียว “ต้องเป็นนักกีฬา” สมัยก่อน... สมัยหลังเนี่ย รุ่นพวกคุณ (อนุมานวสาร) คงจะมีคนชี้แนะมากขึ้น สมัย ผมไม่มี คิดเอง..ท�ำเอง ผมก็ท�ำได้ตามต้องการ ม.๗ (ม.ศ. ๔) “ติดทีมโรงเรียนทุกอย่าง!!!!” กรีฑา บาส รักบี้ แบดฯ “ติดทีมชาติดว้ ย!!!!” รักบีท้ มี ชาติ กรีฑาได้เหรียญทอง วิ่ง ๑,๕๐๐ เมตร กรีฑา นักเรียนประเทศไทย บาส เป็นหัวหน้าทีมได้ แชมป์บาสนักเรียน ม.๘ ( ม.ศ. ๕) ได้ไปคัด บาสทีมชาติ เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ ๕ แต่ไม่ติด คัดผ่านไปถึงรอบสุดท้ายด้วยนะ คือเด็กทุกคนน่ะ เด็กหนุ่มทุกคนน่ะ เราอยากทีจ่ ะเร็ว แล้วพอเราไปถึงจุดทีต่ ้องการ เร็ว!! เราก็จะ ego (มีอัตตาสูง, คิดว่าตัวเอง
แน่แล้ว) เราก็คิดว่า เราเก่ง!! ใจเรา เราคิด ว่า เราสุดยอด!! เท่ห์!! เท่ห์ว่ะ กูติดทีมชาติ ตั้ ง แต่ อ ยู ่ ม.๘ และก็ ยั ง มาเป็ น หั ว หน้ า วงปี่สก๊อต ทั้ง ๆ ที่เป่าเป็นอยู่แค่ ๕ เพลง อีก ต่างหาก ผมสาบานได้ แต่ที่ได้เป็นหัวหน้าวงก็ เพราะเราเท่ห์ เราเป็นนักกีฬาทีมชาติ ผมนึกว่า ผมน่ะ Peak แล้ว ชีวิตนี้ ...สุดท้ายก็ “หลงทาง” ...ผมก็เริ่มไปสู่ กิเลสทัง้ หลาย... จะเล่าให้ฟงั ผมเล่าให้ฟงั เพือ่ ให้ไปเป็นประวัตไิ ปเขียน เผือ่ ทีจ่ ะเป็นประโยชน์ กับพวกคุณ (เห็นบางคนยังหนุ่ม) ตอนนั้น ผมอยู ่ ม.๘ ไปเจอคน ๆ หนึง่ เป็นโอวี มาที่สมาคมฯ ประจ�ำ เท่ห์ ขับ
พลตรีมณฑล ไชยเสวี
รถสปอร์ต ควงสาวสวยไม่ซ�้ำหน้า พี่คนนัน้ เขาบอกผมว่า “...เชือ่ มัย้ เมืองไทยน่ะ เอาปริญญา มาแค่นั้นน่ะ เมืองไทยไม่ได้ใช้หรอกความรู้ ใช้แต่ ไหวพริบ กับ เส้น...” ก็ถูกไง เพราะ เมืองไทยยุคนัน้ มัน Colonialism (จักรวรรดินยิ ม) คล้าย ๆ กับว่า “คุณรู้จักใครล่ะ!” ใช้อยู่สอง เรื่อง ไหวพริบ กับ เส้น ...พูดเป็นภาษาสุภาพ “คุณรู้จักใครล่ะ!!” ขอแค่ให้ “รู้จักคนนะ” แล้ว คุณก็ใช้ชีวิตนะ... โหว โคตรสนุกเลย ...สอบ ง่าย... โอ้โหว นี่มันคติชีวิตผมเลย ในทีส่ ดุ ผมก็เลย เลิกเรียนหนังสือเลย ม.๖ (ม.ศ. ๓) ๙๐%, ม.๗ (ม.ศ. ๔) ๗๐%, ม.๘ (ม.ศ. ๕) ๕๐% พอดีเป๊ะ! แต่ผมเอาตัวรอดได้ พอดีเลย ไม่มี อะไร รอดอยู่แล้ว ก็ผมเล่นอ่านหนังสือหมด ทั้งห้องสมุดเลยนี่ แล้วจะไม่รอดได้ไง ฮ่า ๆ ๆ แต่แบบ... ตรงนี้ ถือว่าท�ำตัว “ผิด!!” หลงทาง ....เพราะว่า สังคมวชิราวุธฯ เชิดชู นักกีฬา... เกินไป ผมก็ ego คิดว่า อ้าว เรา ท�ำได้ไง ก็ ม.๘ ติดทีมชาติแล้วน่ะ อนุมานวสาร: แล้วรู้ได้อย่างไงครับ ว่า อย่างนี้มันผิด พี่เตา: ผมยังหลงทางต่ออีกนาน โชคดี ผมจบ ๕๐% มา ผมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ตอนสอบเข้า Entrance น่ะ ผมก็เข้าได้เพราะ พื้ นฐานเดิ ม คุ ณนึก ออกไหม อย่ า งคณะ เศรษฐศาสตร์ สมัยผมเรียนเนี่ย สอบเข้า ใช้วิชา ม.ศ. ๕ กับวิชาความรู้รอบตัวภาษา อังกฤษ ทีนผี้ มก็เลยสอบเข้าได้ทดี่ เี ลยน่ะ คณะ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 79
เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ผมก็สอบเข้าได้ ผมก็ยิ่ง ego... กูแย่ขนาดนี้ กูยงั สอบเข้าได้เป็นอันดับที่ ๒๐ เลยนะ ยิ่ง ego หนักเข้าไปอีก... แล้วเด็ก วชิราวุธฯ มาอยู่ จุฬาฯ โอ้โหว... สาวเพียบเลย ผมอยูจ่ ฬุ าฯ เนีย่ นะ ผมท�ำอยู่ ๓ อย่าง เล่นกีฬา... ชอบจีบผู้หญิง และก็การพนัน.... ๓ อย่าง ไม่เคยเรียนหนังสือเลย เละเทะหนัก แต่ อ ย่ า งกี ฬ าเนี่ ย ผมชอบไง ผมเล่ นกีฬ า มหาวิทยาลัย ผมแข่ง ๘ โมง ถึง ๔ ทุ่มน่ะ โอเค รักบี้ แน่นอนอยูแ่ ล้ว ผมเล่นบาสฯ บาสฯ นี่ ผมเกือบติดทีมชาตินะ วอลเลย์ผมเล่น ผม เล่นกีฬา ผมไปเล่นทีมเขต เมื่อก่อนเขาเรียก กีฬาเขต เดี๋ยวนี้เรียกกีฬาแห่งชาติ ผมไปแข่ง ตลอด และอย่างที่ ๔ คุณจะเซอร์ไพรส์ ผม
80
เล่น “ทศกรีฑา” กีฬามหาวิทยาลัยเนีย่ ผมเล่น ๔ อย่างทีมมหาวิทยาลัย บ้าไปกะเขาตลอด หนังสือไม่เรียน ชีวิตนี่หลงทาง... ส่วนเรื่อง ผู้หญิงนี่ ผมขออนุญาตไม่เล่าละกัน แต่ตอนหลังได้มาคุยกับเด็กรุ่นน้อง ๆ เนีย่ นะ ผมจะบอกว่าเรือ่ งพวกนี้ ไม่ใช่เรือ่ งเท่ห์ เลยนะ ตอนเด็กเราอาจจะคิดว่าเท่ห์ แต่พอแก่ แล้วมองกลับไป มันไม่ได้เท่ห์อะไรเลย สุดท้าย ผมก็เรียน ๕ ปี จบเกรดเฉลี่ย ๒.๐๐ ติดเอฟ สอบตก ๗ วิชา แถมยังไม่ได้ ความรู้อะไรเลย.. อนุมานวสาร: แล้ว ๕ ปีที่ผ่านมา คือ เอาตัวรอดกันตอนสอบอย่างเดียวเลยเหรอ ครับ
พี่เตา: คือเราเป็นคนที่ อย่างน้อยเรา เรียนรู้มามาก จากเด็กไม่มีเพื่อน มาเป็นคนที่ เพื่อนรัก ฉะนัน้ เวลาผมก�ำลังจะโดนรีไทล์เนี่ย นะ ผมไม่ต้องกลัวเลย “ทีมเวิร์ค!!!” โอ้โห! รอบโต๊ะ เวลาสอบนี่ผมลอกเพื่อนได้รอบโต๊ะ มันเต็มใจช่วยผม ให้ผมลอก ผมก็ไม่กลัว เรา ไม่มีวันโดนรีไทล์อยู่แล้ว ...แต่ทเี่ ล่ามาเนีย่ ไม่ใช่เรือ่ งดีเลยนะ ที่ เล่ามานี่ไม่ใช่เรื่องเท่ห์เลย... ทว่าสุดท้ายก็ผ่านมาได้ แต่ไม่ได้เท่ห์ อะไรเลย ผมจบมาเนี่ยนะ ผมใช้เวลา ๘ เดือน ในการหางาน... ใครมันจะรับผม แต่บังเอิญว่า โชคดี ผมเรียนรู้ว่า ก็ ไม่ ไ ด้ อ ยากจะโม้ ห รอก พวกลู ก น้องผมนี่จบ Harvard, Boston,… ฯลฯ มหาวิทยาลัยดัง ๆ เต็มไปหมด แต่ก็บอกมัน เฮ่ย พวกมึงเป็นคนที่ชีวิตโคตรดีเลย มึงเดิน ถูกทางถูกต้องมาตลอด มึงมาถึงจุดนี้ แต่มึง เนี่ย เสียเปรียบกูอย่าง เพราะกูนี่ เป็นคนที่ หลงทาง เข้ารกเข้าพงมามาก พวกมึงนี่ไม่รู้ หรอกว่า ในรกในพงนี่แม่งมีอะไร แต่กูเนี่ย เห็นมาหมด พวกมึงไม่รู้หรอกว่า ในรกในพง มันมีอะไรอยู่บ้าง คือคุณจะ Frustrate (ผิดหวัง, ไม่ได้ ดังใจ, คับข้องใจ) ไง อย่างคุณเป็นคนดีมา ตลอด คุณจะ Frustrate เวลาไปเจอคน หรือ อะไรที่ไม่ดี ไม่ถูกใจ แคลงใจ... คุณจะ เฮ่ย มันเหี้ยได้อย่างนี้ได้ยังไงกัน แต่กูจะเข้าใจมัน อย่าง มนัส บุญจ�ำนงค์เนี่ย โอ้โหย อ่านข่าว
แล้ว กูเข้าใจมึงเลย กูเคยเป็นอย่างมึงทุกอย่าง อนุมานวสาร: แล้วท�ำไมถึงใช้เวลาถึง ๘ เดือนเลยล่ะครับ กว่าจะหางานได้ พี่เตา: คือผมก็แบบ อยากจะหางาน อย่างที่คนอื่น ๆ เขาหาได้กัน คือ งานดีที่สุด สมัยผม ก็คือ งานบริษัทต่างชาติ เช่น Shell, Carltex, Toyota, … ฯลฯ รองลงมาก็คือ เครื อ ซิ เมนต์ ไ ทย รองลงมาก็ ธ นาคารใน ประเทศไทยรองลงมาอีกก็ รัฐวิสาหกิจ พวก EGAT... อะไรพวกนี้ ธนาคารไทย โอเค ไม่เอาหรอก บริษัท ต่างชาติ ก็คงจะไม่ไหว ผมไปสมัครพวก ธนาคาร คุณเชื่อมั๊ย ผมเดินเข้าไปธนาคารไทยพาณิชย์ ไปสมั ค ร กรอกใบสมั ค ร ส่ ง เอกสาร ยื่ น Transcript ไม่ให้ผมสอบ!! บอก น้องอย่า สอบเลย เปลืองข้อสอบมัน เสียเวลาตรวจของ มันน่ะ เห็น Transcript ผม เค้าบอกว่า ไม่ ผ ่ า น... พอไปธนาคารกสิ ก รไทย เห็ น Transcript เอ้อ ไม่ให้ผมกรอกใบสมัคร จนตอนหลังมาโชคดี ได้มาอยู่บริษัท เล็ก ๆ แห่งหนึง่ อันนีน้ ี่เป็นโชคนะ คือคนเรา เนี่ย ท�ำอย่างไรเราจะสร้างชีวิต สร้างอนาคต... เราแย่ในอดีตได้ แต่เราอย่าล้มเหลวอนาคต... แล้วเราจะไปอยู่ในบริเวณที่ดีได้ ผมถือว่าเป็นโชคเหมือนกันนะ ผมมา ท�ำ Capital Market (ตลาดทุน) ได้มาท�ำงาน กับพี่วิโรจน์ นวลแข พี่เป๋ง: แต่มึงก็ต้องยอมรับนะว่า มึง เข้าไปท�ำงานได้ ด้วยความเป็นโอวี กับความ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 81
เป็นนักรักบี้ แล้วพี่วิโรจน์ นวลแข เห็นแวว ความสามารถ ก็เลยช่วยผลักดัน ตรงนีต้ ่าง หากที่บอกได้ว่า ท�ำไมถึงเป็นสิ่งที่ได้รับจาก วชิราวุธฯ พี่เตา: แต่กูไม่อยากให้เป็นอย่างเนี้ย พี่เป๋ง: คือ แต่ก็ต้องยอมรับว่า มัน ไม่ใช่ทุกคน ที่จะโชคดีอย่างนี้ อย่างที่บอกว่า บางอย่าง มันเป็นจิก๊ ซอว์ ทีไ่ ม่ใช่ทกุ คนทีเ่ ริม่ ต้น ไม่ดี แล้วจะสามารถกลับตัว จนมาเป็นอย่างไอ้ เตาได้ คือคนเราแต่ละคน กว่าจะถึงตรงจุด นัน้ เนี่ย บางทีมันไม่รู้หรอก แต่มันเลือก มัน เป็นของมันเอง ใครจะไปรู้ว่าชีวิตข้างหน้าจะ เป็นยังไง หรืออย่างผม ผมจะรู้ได้ยังไงว่าผม จะมาเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียงขนาดนี้ ประสบความส�ำเร็จในวิถีของผม ก็ไม่รู้ แต่ว่า จิก๊ ซอว์ทมี่ นั สร้างมาเนีย่ องค์ประกอบทีม่ นั เกิด ขึน้ มาได้นนั้ มาจากโรงเรียนวชิราวุธฯ ทุกอย่าง พี่คิม: “เตา FOR แป๊ะ!!” เห็นไหม นีไ่ ง “เตา FOR แป๊ะ!!” พี่เตา: มึงพอ ๆ เดีย๋ วน้อง (อนุมานวสาร) เขานึกว่า กูอยากได้ Campaign นี้ (หัวเราะ)
ความส�ำเร็จของพี่เอ๊าะ กับบริษัท SAMCO มาวะ
82
พี่เตา: เอ๊าะ มึงจบปริญญาตรีอะไร
พี่เอ๊าะ: จิตรกรรม มหาวิทยาลัยในรัฐ โอกาโฮม่า สหรัฐอเมริกา พี่คิม: พี่เอ๊าะนี่ เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท SAMCO มีพนักงานในสังกัด ๕,๐๐๐ คน พี่เอ๊าะ: ตั้งมา ๑๕ ปีแล้ว ตอนเริ่ม ตั้ง ตอนนัน้ ยังไม่มีอะไรเลย มีพนักงานโอน มาจากธนาคารไทยพาณิชย์ ๓๘๕ คน ผมป็น คนที่ ๓๘๖ พีเ่ ป๋ง: ไอ้เอ๊าะเนีย่ เรียนวชิราวุธฯ ๑๑ ปี ตอนเด็ก ๆ ครูบรรจง ชอบพูดว่า นายอายุธ ท�ำแต่หล่อ หนังสือไม่เรียน คือไอ้เอ๊าะ มันชอบ หวีผมทรงเอลวิสแน่ะ เมือ่ ก่อนสมัยอยูเ่ ด็กเล็ก ๑ ไว้ผมยาว ...นายอายุธ เอาแต่หล่อ ไม่เรียน หนังสือ... จบ ๑๑ ปี พี่เตา: ตอนเริ่มต้นบริษัทเนี่ย มึงใช้ เงินเท่าไร พี่ เ อ๊ า ะ: บริ ษั ท นี่ เริ่ ม ต้ น ปี แรกได้ งบประมาณมาจากธนาคาร ๕๐ ล้านบาท แล้ว ก็อยู่กันอย่างนัน้ ทั้งปีน่ะ คือเป็นบริษัทร่วมทุน กันระหว่างโอวีด้วยกันทั้งนัน้ เลยนะ พี่เตา: พี่เอ๊าะบริหารงานได้เก่งมาก บริษัทมีพนักงาน ๕,๐๐๐ คน ท�ำก�ำไรได้ปีละ ๕,๐๐๐ ล้านบาท พี่เอ๊าะ: ๑,๕๐๐ ล้านบาทโว้ย พี่เป๋ง: ไอ้เอ๊าะเนี่ย มันเป็นคนที่มีเป้า แล้วก็เดินมาในเส้นทางที่ถูก แต่จริง ๆ มันเริ่ม มาจาก มันเป็นคน “เนีย้ บ!!” ชอบแต่งตัวเนีย้ บ
ฉะนัน้ งานมันก็เลยออกมาเนี้ยบตาม ไปด้วย มาจากการที่มันเนี้ยบมาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้วมันไม่เคยทิ้งความเป็นตัวตนคนเนี้ยบของ มัน และก็เอามาใช้กบั งาน แล้วมันให้ใจกับงาน จนส�ำเร็จออกมาเป็นรูปธรรม โดยใช้ตรรกะ การคิดของคนที่จบทางด้านจิตรกรรม พี่คิม: แต่พเี่ อ๊าะนีน่ า่ ยกย่อง เพราะมัน สร้างบริษทั ด้วยพืน้ ฐานของคุณงามความดี มัน เนี่ย ท�ำบริษัท เพื่อให้พนักงานทุกคนมีความ สุขที่สุด เพื่อให้ทุกอย่างที่มันท�ำเนี่ย เป็นงาน บริการที่ดีเลิศ พี่เป๋ง: ไอ้เอ๊าะเนี่ย ด้วยความที่มันมี ความเป็นตัวตนของมันตั้งแต่เด็ก ๆ มันเป็น คนที่เนี้ยบ เป็นคนมีอารมณ์ดี แล้วก็มีความ กล้า ชอบสร้างฝัน แล้วก็ลงมือท�ำ พี่เอ๊าะ: แม่กูสอนไว้ว่า คนเราจะยาก ดีมีจนไม่ส�ำคัญ แต่คนเราต้อง “มีความเป็น ระเบียบ” ชีวิตเราต้องมีระเบียบ มีความเป็น ระเบียบ มีความสะอาดสะอ้าน เพราะถือว่า ความเจริญนัน้ จะเริ่มต้นมาจากสิ่งเหล่านี้ พี่เป๋ง: แล้วพอมันมาสร้างโครงสร้าง ของงาน มันก็เอาความเนี้ยบตรงเนี้ย มาใช้ อย่างเต็มตัว แล้วก็เอาตัวเข้าแลก ว่าความ เนีย้ บคืออะไร ความแตกต่างระหว่างสิง่ ทีพ่ เิ ศษ กับสิ่งที่เนี้ยบคืออะไร แล้วก็ด�ำเนินอาชีพด้วย จิตใจทีบ่ ริการคน บริษทั บริการคนเพือ่ ให้ลกู ค้า มีความสุข พี่คิม: ไอ้ เ อ๊ า ะเนี่ ย มั น ไม่ เคยเอา เปรียบใคร แม้กระทั่งลูกค้า
พี่เอ๊าะ: จริง ๆ นะ ผมไม่เคยเอาเปรียบ ใคร ถ้าท�ำงานเนีย่ เมือ่ ตกลงกับลูกค้าแล้ว ยังไง ก็ต้องท�ำให้ดีที่สุด โดยต้องไม่เอาเปรียบลูกค้า ด้วย พี่คิม: ไอ้เอ๊าะนี่ มันไม่เคยเอาเปรียบ ลูกค้าเลย จริง ๆ นะ แถมตอนทีย่ งั เป็นลูกน้อง เขา ก็ไม่เคยเอาเปรียบเจ้านายด้วย พี่เป๋ง: แต่มนั ท�ำบริษทั โดนปล้น!!! (ฮา กันกระจายลั่น) มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 83
พี่คิม: แล้วมันก็แบกรับความเสียหาย คนเดียว ไม่ให้ลำ� บากไปถึงลูกน้อง พี่เอ๊าะ: คนเราต้องมีคุณธรรม พี่เป๋ง: ลูกค้าต้องการงานชั้นยอด มัน ท�ำให้โดยที่ไม่คิดว่า งานตรงเนี้ย มันไม่ใช่งาน แค่ทำ� ให้ลูกค้า แต่มันคือการให้สิ่งที่ดีที่สุด ต่อ คนที่ติดต่องานกับมัน นีค่ ือสิ่งที่ไอ้เอ๊าะมันท�ำมาตลอด จะใช้ เงินแพง ใช้เงินมากแค่ไหน ถ้าลูกค้าพอใจ ว่า สิ่งที่ท�ำให้นนั้ มันชั้นยอดจริง ๆ ...ไม่ มี บ ริ ษั ท ไหน ที่ จ ะให้ ไ ด้ ม าก ขนาดนี้... พี่เอ๊าะ: คือคนท�ำธุรกิจ มันก็ไม่มีใคร อยากเสียก�ำไรกันทั้งนั้น แต่บางที ก�ำไรมัน
ก็ต้องยอมเสียบ้าง ทุกคนก็หวังอยู่ ทุกคนก็ อยากจะเอาเปรียบ แต่การเอาเปรียบเนี่ย เรา ก็ต้องมองว่า ลูกค้าเค้าก็ควรที่จะได้ในสิ่งที่ดี ที่สุดตามที่เค้าต้องการ คิดดูสิ ลูกค้าจ่ายมาในสิ่งที่เค้าอยาก ได้ แต่บางทีเค้าไม่รู้ว่า ความน่าที่จะได้ มันอยู่ ที่ไหน เราก็ต้องท�ำให้เค้า “ได้เกิน” กว่าสิ่งที่ เค้าคาดไว้ เพราะเค้าไม่ได้รู้เหมือนเรา เรารู้ว่า สิ่งนัน้ มันอยู่ที่ระดับไหน ส่วนเรื่องการมีคุณธรรมกับพนักงาน ก็คือการปกครองคนนี้เป็นเรื่องที่ได้มาจาก วชิราวุธฯ โดยตรง อนุมานวสาร: สมัยพี่เอ๊าะเด็ก ๆ เป็น ไงบ้างครับ
พี่เป๋ง: ไอ้เอ๊าะเหรอ เป็นคนที่ “เนี้ยบ” ที่สุดในรุ่น!!! ใช้เวลาดูแลตัวเองนานกว่าคนอืน่ ๒-๓ เท่า เป็นคนที่ทำ� อะไรต้องเนี้ยบตลอด แถมยังเป็นคนจิตใจดีงาม พี่เอ๊าะเนี่ย นะ เพื่อน ๆ หรือใคร ๆ อะไรก็แล้วแต่ เอ๊าะ ไม่เคยแกล้งใคร ...อยู ่ โ รงเรี ย น เป็ น หั ว หน้ า คณะ พญาไท... พี่คิม: คุณ (อนุมานวสาร) เชือ่ ไหม ว่า เอ๊าะนี่ ไม่เคยโกรธใครเลย ในชีวิต ...เอ๊าะเคย โกรธคนแค่คน ๆ เดียวเท่านัน้ ไอ้เอ๊าะเนี่ย ในตลอดชีวิตมันเนี่ย เคย โกรธคนแค่ครั้งเดียว คือคนที่มาโกงเงินบริษัท มัน ในชีวิตนี้คุณท�ำได้ไหมล่ะ ไม่โกรธใคร เลยน่ะ พี่เป๋ง: สมัยอยู่อเมริกา มันมีแฟนอยู่ ผู้หญิงคนหนึง่ ที่มันรัก พอมันรู้ปุ๊บ ว่าผู้หญิง นอกใจ มันขับรถไปเลย ข้ามรัฐ!! แต่ท�ำใจได้ ด้วยความที่มีน�้ำใจนักเลง ขับไปดูเลยว่าเป็น ใคร เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ชายคนนัน้ ต้องดี แฟนที่ คบอยู่ถึงเปลี่ยนใจไปชอบ ...นี่ไง คือสิ่งที่บ่งบอกว่า ท�ำไมมันถึง เป็นคนแบบนี้ คุณลองคิดดูสิว่า ขับรถข้ามรัฐ เพื่อที่จะไปดูให้เห็นว่า ผู้ชายคนนัน้ ดีจริงไหม พีค่ มิ : ...เอ๊าะนีค่ อื “มนุษย์ทมี่ หัศจรรย์ ที่สุด” พี่เป๋ง ผู้เอื้อนเอ่ยอย่างเต็มภาคภูมิว่า ต้นทุนชีวิต ได้รับมาจากโรงเรียนวชิราวุธฯ
๑๐๐%
พี่เป๋ง: ส่วนตัวเราเนี่ย สิ่งที่ได้เป็นต้น ทุนชีวิต คือได้จากโรงเรียน ๑๐๐% เพราะเรา จบ ม.๘ เราท�ำงาน คนอืน่ เขาไปเรียนเมืองนอก เรียนมหาวิทยาลัย เรานีจ่ ากโรงเรียนเพียว ๆ เลย จบ ม. ๘ แล้วไม่เรียนต่อ ในความไม่เรียนต่อ มันเกิด ego ก็คือว่า ปีแรก entrance ไม่ติด ก็ไปเรียนรามค�ำแหง ไปเล่นรักบี้ เล่นจบฤดูกาล แล้วก็ไม่ไปเรียน พ่อเขาก็บอกว่า อ้าว ถ้า ไม่ไปเรียนก็อ่ะ ไปเป็นนักข่าว ก็เอาเราไปอยู่ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง แต่ว่า ถ้าถามว่า นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ประสบความส� ำ เร็ จ เหมื อ นกั น หมดไหม... ไม่ใช่!! มันเป็นจิ๊กซอว์ของชีวิต แล้วก็ไม่ใช่ ทุกคน ที่จะได้จังหวะดี ๆ อย่างนัน้ แต่เผอิญ เรากับโย่ง ได้จังหวะที่ดี ได้จิ๊กซอว์ที่มันลงตัว ในชีวิต ที่มันเพียงพอ และเราพอใจ มันก็เลย มาถึงขนาดนี้ ว่าโอเค เป็นแบบอย่างให้กับคน รุ่นหลัง เป็นคนที่ประสบความส�ำเร็จในวิถีชีวิต ที่เราเป็นได้เป็นในสิ่งที่เราเป็น ทั้งหมดนี้ ถ้าถามว่า ได้จากไหน บอก ได้เลยว่า ได้จากโรงเรียนทั้งหมด ได้จาก ๑๐ ปีที่อยู่วชิราวุธฯ มันสอนให้เราเป็นลูกน้องที่ดี เป็นนายที่ดี เป็นพี่ที่ดี จิตใจดี... สิ่งที่โรงเรียน สอนเรามา ซึมซับมาใช้ให้เต็มที่ แล้วเอาไปท�ำ ต่อเองกับชีวิตเรา ชีวิตทุกวันนี้ ใช้และเรียนรู้ ได้ตลอด มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 85
นัน่ คือสิ่งที่ตอบว่า ท�ำไมถึงได้เปรียบ เด็กโรงเรียนอื่น ๆ เราไม่เชื่อว่า เด็กที่โตมา จากโรงเรียนอื่น แล้วมาอยู่ในสภาพอย่างเรา จะท�ำได้แบบเรา ที่ สุ ด แล้ ว แต่ ล ะคนเนี่ ย ตั้ ง แต่ เด็ ก มันมีจิ๊กซอว์ต่าง ๆ กัน เพียงแต่องค์ประกอบ ที่มันประกอบออกมาเป็นคนได้เนี่ย ชีวิตที่ อยู่ในโรงเรียน ๑๐ ปี มันซึมซับทุกวันโดยที่ เราไม่รู้ตัวว่าเราจะซึมซับมาตรงไหน เราได้ ตรงไหน ไอ้จิตวิญญาณตรงนี้เนี่ย มันส�ำคัญ ตรงที่ว่า มันท�ำให้ใครได้เรียนรู้อะไร แล้วได้ น�ำเอาไปใช้อย่างไร อย่างไอ้เอ๊าะ เอา “ความเนีย้ บ” มาใช้ใน การท�ำงาน ไอ้เตา เอาเรื่องในวัยเด็กมาปรับใช้
86
จนประสบความส�ำเร็จ อะไรประมาณนี้
หัวหน้า พี่คิม: พูดถึงเรื่องการแต่งตั้งหัวหน้า สิ่งที่ได้จากการเป็นหัวหน้าจากที่โรงเรียน คุณ เชือ่ ไหม ในระบบราชการ มันไม่มอี ย่างนีเ้ ลยนะ ถ้าคุณไปถามใครก็ตาม พวกเป็นหัวหน้ากอง... ฯลฯ ถ้าลองไปถามว่า เธอรูห้ รือไม่วา่ หัวหน้ามี หน้าที่อย่างไรบ้าง?... ตอบกันไม่ถูก! แต่โรงเรียนเรานี้ สอนกันตั้งแต่เด็ก ๆ สอนให้รู้ว่า การเป็นหัวหน้า มันเปลี่ยนหน้าที่ จากเด็ก มาเป็น “คนที่ดูแลเด็ก” ใช่ไหม แล้ว มันก็มีหน้าที ่ ๆ ต่างออกไปอีก
พวกเรา พอจะเป็นหัวหน้า ผูบ้ งั คับการ ก็จะถามเรา เราก็ต้องท่องไปตอบ .... ผม ทราบดีแล้ว และขอปฏิญาณต่อพระพุทธรูป พระบรมรูป ท่านผูเ้ ป็นประธาน ท่านผูบ้ งั คับการ ท่านผู้ก�ำกับคณะ ครู และนักเรียนทุกคนว่า... อะไรประมาณนี้ ในระบบราชการ คุณเชื่อไหม คนที่ รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากองหลาย ๆ คน “มันยัง ไม่รู้เลยว่า หน้าที่มันต่างกับลูกน้องมันยังไง!” ผมเนี่ย ต้องไปสอนพวกมันว่า เค้าตั้งคุณเป็น หัวหน้าเนีย่ คุณกับลูกน้องมีหน้าทีต่ า่ งกันยังไง ต้องสอนกันเยอะ แต่วา่ พวกเราเนีย่ เรียนรูจ้ ากประสบการณ์ ชีวิตที่โรงเรียนโดยตรง อย่างเต็มที่
ทฤษฎีนกั เรียนวชิราวุธฯ (Theory of Vajiravudh Boy) พีเ่ ตา: มันมีทฤษฎีอยู่ เกีย่ วกับนักเรียน วชิราวุธฯ พี่โป๊ป อรณพ จันทรประภา ตอนนี้ เป็นประธาน สยามฟิวเจอร์ เขามีทฤษฎีอยู่อัน หนึง่ ว่า เด็กวชิราวุธฯ เนี่ย มีอยู่ ๒ พวกเท่านัน้ คือ “ดี” กับ “เลว” กลาง ๆ ไม่มี แต่ทฤษฎีพี่ โป๊ปเนี่ย... จริงนะ
FORTY YEARS ON พี่เตา: (หันไปถามเพือ่ น ๆ) มึงจ�ำเพลง Forty years on กันได้มั๊ย พีเ่ ป๋ง: นี่ ก�ำลังจะพูดอยู่ อีก ๓ ปี ก็ถงึ รุน่ พวกเราแล้วนะ เคยคุยกับน้องอนุมานวสาร วัน
ก่อนแล้วได้ไอเดีย อยากให้ท�ำโปรเจคทีม่ เี พลง Forty years on เป็น Ballade คือเป็นเพลง บรรยายชีวติ ท�ำตอนงานวชิรวุธฯ ครบ ๑๐๐ ปี ให้ Forty years on มันเป็น Theme อยาก ให้มันเป็น Theme เพราะว่า อันนี้มันเป็นสิ่งที่ บ่งบอกทีด่ ี เป็นเพลงทีม่ าจาก Harrow School อนุมานวสาร: ร้องให้ฟังหน่อยครับ พี่เป๋ง: Forty years on, when afar and asunder. Parted are those who are singing today… ...เวลามันผ่านไปกับคนที่ก�ำลังร้องใน วันนี้... ...When you look back, and forget fully wonder. What you were like in your work and your play… ...สิ่งที่คุณเคยเห็น สี่สิบปีมาแล้ว คุณ จะไหลรินกลับมาจาก Theme นี้ …นิยามเพลงนีห้ มายความว่า เป็นอะไร ที่เป็น “จิตวิญญาณ” ที่ชัดอยู่ คนที่จบออกไป แล้ว ถึงจะรู้ว่า “เพราะ”... ผมอยากให้พวกคุณ (อนุมานวสาร) ท�ำเป็น Ballade เป็น Theme ของ Forty years on คือว่า เพลงนี้ มันเล่าเรื่อง พอท�ำ ขึ้นเวทีปุ๊บ ให้เพลงนี้เป็นเพลงประกอบการน�ำ เสนอยุคต่าง ๆ ของวชิราวุธฯ... คุณอาจจะใช้ กีต้าร์โปร่ง หรืออะไรก็แล้วแต่... ให้เป็นเพลง Ballade แล้วก็มีคนมาเล่าเรื่อง ณ ยุคนัน้ ๆ ทศวรรษนัน้ ๆ แล้วก็จะมีภาพ คือจะน�ำเสนอ เป็น multivision หรืออะไรยังไงก็แล้วแต่ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 87
ยุคนัน้ มีครูจ�ำรัส ครูบรรจง... คุณก็ไล่ไป มี โอวีออกมาเล่าเรื่อง อย่างไอ้เตาเนี่ย ออกมา เล่า...สมัยผมเด็ก ๆ ผมอย่างโน้น ผมอย่างนี้ อะไรก็ว่าไป แต่ส�ำคัญ คือ เพลง Forty years on จะต้องเป็น Theme จะต้องเป็นหลาย ๆ หลาก เป็น Ballade มีกีต้าร์ มีปี่สก๊อต หรืออะไร ต่าง ๆ ทว่า Feeling เนี่ย ให้เป็นในแนวทาง นี้ แล้วมันจะเป็นสีสัน เสมือนหนึง่ ละครเพลง ของงานวชิราวุธฯ ครบ ๑๐๐ ปี แล้วคุณก็เก็บ ประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ของโรงเรียนมาใส่ลงไป ลองคิดดู คนอายุ ๖๐ กลับมา แล้ว มาร้อง มาฟัง หวนนึกภาพเก่า ๆ สมัยต่าง ๆ ...Memories of things like the tune of a song… ภาพต่าง ๆ มันจะหวนไหลออกมา ...When you look back, and forget fully wonder… ลืมไปบ้าง ผ่านไปแล้ว ...What you were like in your work and your play: ...Then it may be, there will often come o’er you, memories of things like the tune of the song… นี้...
…ทุกสิ่งมันจะไหลออกมา จากเพลง
งานวชิราวุธฯ ครบ ๑๐๐ ปี คุณ (อนุ มานวสาร) เอาตรงนี้เป็น Theme พวกคุณ ลองคิด Theme นี้มา เพราะโรงเรียนเรามี
88
ประวัติศาสตร์ คนอาจจะเล่าถึงผู้การฯ เล่าถึง อะไรต่าง ๆ เมือ่ ถึงเวลา อาจจะมีคนมาเล่นเพลง นี้ เป็น Ballade แล้วก็มีคนออกมาเล่าเรื่องไป เรื่อย ๆ เอาข้อมูลของแต่ละทศวรรษมาท�ำ เพราะฉะนั้ น อั น นี้ เ ป็ น งานของ นักเรียนเก่าฯ ทุกคน ผมว่างานนีน้ ะ สุดยอด!!! เรานึกภาพออกใช่ไหม เอาอันนี้เป็น Theme รับรอง สนุกกันทุกคน เพราะเพลงนี้ “มัน เพราะมาก” พี่คิม: Follow up! Follow up! Follow up! Follow up! Follow up!!!! พี่ ๆ ทุกคน: “...Till the Field ring again and again, with the might of the thirty best men, Follow up! Follow up! ...”
ฝากไว้ให้ได้คิด พีเ่ ตา: เมือ่ คุณผ่านชีวติ ไปช่วงหนึง่ คุณ จะเห็นว่า ในกลุม่ เพือ่ นของคุณ บางคน ก็จะได้ รับกระแสสังคม ให้ดเู หมือนว่า รุง่ เรือง ประสบ ความส�ำเร็จ แต่อีกบางพวก ก็จะดูเหมือนว่า เสื่อม ล้มเหลว แต่จุดประสงค์ของผม คือว่า ถ้าเป็น เพื่อนโอวีเหมือนกัน จะประคับประคองกัน อย่างไร คนที่ประสบตความส�ำเร็จ ก็ต้องมี ส�ำนึก ทีจ่ ะช่วยคอยประคับประคองเพือ่ นทีเ่ ขา ไม่ประสบความส�ำเร็จ จนถึงขั้นล้มเหลวด้วย
พี่เป๋ง: มึงไปตัง้ มูลนิธดิ กี ว่า ไอ้เตา!!!! (ฮากันใหญ่) พี่คิม: อ้าว ...ก็เตา FOR แป๊ะ นี่ !!! ฮ่า ๆ ๆ แต่ อ ย่ า งเพื่อ นผมคนหนึ่งนี่ จะเล่า ให้ฟัง ไอ้ปรือ ดร.บันลือศักดิ์ เรียนห้อง ค มาตลอด แต่ไปจบด็อกเตอร์ ไปจบมหาวิทยาลัย จากรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา พอจบกลับมาเนี่ยนะ สมัยที่พวกเรา จบกันมาใหม่ ๆ สมัยนัน้ เนี่ย ก็มักจะเบิ้ลกัน ไป เบิ้ลกันมา กูเก่งกว่ามึง มึงเก่งกว่ากู อะไร ประมาณเนี้ย แต่พอตอนหลังที่... พอแก่เข้า มันจะ คิดตรงกันข้าม มันจะไปคิดอย่างทีไ่ อ้เตาว่า คือ แทนทีจ่ ะดูหมิน่ กัน... “จะกลับหันมาหาทางช่วย ประคับประคองกัน” กลับมาพูดเรื่องไอ้ปรือ เพื่อน ๆ มีแต่ ถามกันว่า เฮ่ยมึงจริงเหรอ มึงจบด็อกเตอร์ จริ ง เหรอ ไอ้ ป รื อ มั นก็ ต อบ “กู จ บจริ ง ดิ มึงเห็นกูเป็นอะไร!!” เพื่อน ๆ ก็ “อ้าว ก็มึง เรียนห้อง ค ตลอด มึงจะจบได้ไง!!” ไอ้ปรือก็ “กูจบจริง ๆ!!!!!!” แต่ว่าพอต่อมา มีอยู่วันหนึง่ รุ่นเรานี่ แหละ นัดเลี้ยงรุ่น กินข้าวเย็นกัน เสร็จแล้ว เจอไอ้ปรือ บอก ไอ้ปรือ มึงเป็นด็อกเตอร์ มึง บรรยายเรื่องเศรษฐกิจของประเทศให้พวก ๆ ฟังหน่อยดิ... พวกเราก็ตั้งใจฟัง เพื่อให้มัน เกิดความมั่นใจว่า มันได้รับการยอมรับ... ทีนี้
ก็ตั้งใจฟังกันมากเลย ตรงนีส้ �ำคัญ เพราะว่า ในทีส่ ดุ แล้วเนีย่ เราน่ะ ก็ต้องพึ่งพากันในทางที่ถูก แล้วไอ้เตาเนี่ย รู้ดีกว่าเค้า แล้วก็ไป แอบหัวเราะเยาะไอ้ปรือ... แต่คนอื่นไม่มีใคร หัวเราะเยาะ ไอ้ปรือตอนนี้ เป็นรองประธาน ไทย ธนาคาร ได้รบั การยอมรับว่า เป็นกูรเู ศรษฐศาสตร์ คนหนึ่งของเมืองไทยแล้วคิดดูสิ ถ้ามันโดน เพือ่ น ๆ มันข�ำใส่ มันจะขาดความมัน่ ใจมากเลย ขนาดไหน พี่เป๋ง: มีคนถามเราว่า ถ้าย้อนอดีต กลับไปได้ จะไปเรียนหนังสือในมหาวิทยาลัย ไหม แต่ว่าจิ๊กซอว์ชีวิตของเรามันเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนัน้ เราไม่กลับ เพราะอะไรรูม้ ยั๊ เพราะ วิถีชีวิตของแต่ละคนเนี่ยนะ มันมีจิ๊กซอว์ที่ ด�ำเนินการอยู่ เป็นไปตามวิถีที่เราต้องการ ในรุน่ เรา มีดอ็ กเตอร์เยอะเลย หลายคน แต่ว่ามียอดทองคนเดียวโว้ย!!... ฮ่า ๆ... นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา (รุ่น ๖๕), อาทิตย์ ประสาทกุล, อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์, เขต ณ พัทลุง (รุ่น ๗๑), ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒), กิตติเดช ฉันทังกูล (รุ่น ๗๓), รัฐพล ปั้นทองพันธ์ (รุ่น ๗๕), ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง, ศิริชัย กาญจโนภาส (รุ่น ๗๖), สัมภาษณ์ ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง (รุ่น ๗๖) เรียบเรียง ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) ถ่ายภาพ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 89
คอมมอนรูม เรื่องสบายสไตล์โอวี
ฤดูเปลี่ยน....
คน
โอวี ไม่เปลี่ยน
“เทวดา ท�ำไมไม่ใส่ แพมเพอร์ส” เสียงใสๆ จากความไร้เดียงสาของสาวน้อยคน หนึง่ ที่นงั่ อยู่บน เบาะหลังรถผม ที่กล่าวทักเทวดาที่กลั้นฉี่ไม่อยู่ปล่อยฝนเทลงมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย ทั้งๆ ที่ เพิ่งย่างเข้าต้นเดือนเมษายนเท่านัน้ เอง ผมอดนึกข�ำในใจกับความไร้เดียงสาของลูกสาวผมที่ นึกว่าฝน มาจากฉี่เทวดา แต่พอลองนึกย้อนไปเมื่อเกือบสี่สิบปีที่แล้ว ก็ยังพอเค้าลางของความทรงจ�ำ เกี่ยวกับความเป็นมาของฝนในหัวผมว่า กว่าจะรู้ว่ามันมาจากไหนเราเองก็นกึ ว่ามันคงมีเทวดายืนฉีอ่ ยู่ บนท้องฟ้า เหมือนกัน
90
...แน่นอน ฝนตกย่อมมากับรถติดและ ที่ส�ำคัญเหตุการณ์แปลกประหลาดที่มักเกิดขึ้น เสมอก่อนฝนตก คือ การเอารถเข้าไปล้างมาใหม่ เอี่ยมหลังจากไม่ได้ล้างมาหลายอาทิตย์ ...หรือว่า มนุษย์เรามีสัญชาตญาณเหมือนสัตว์ป่าที่มักจะ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวเองยามจะเกิดความ เปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ...ฝนก็ตก...รถก็ติด... แถมนัง่ เสียดายเงินร้อยกว่าบาทที่จ่ายไปกับค่า จ้างล้างรถ ผมนัง่ ทอดอารมณ์รอรถเคลื่อนตัวไป เรื่อยๆ พลันสายตาผมก็เหลือบมองขึ้นไปบนฟ้า สวนเม็ดฝนผ่านกระจกหน้ารถผมเอง สายฝน ที่พุ่งเข้ามาหาหน้าผมเคลื่อนตัวมาด้วยความเร็ว แหวกอากาศเหมือนกับเราก�ำลังขับเคลื่อนยาน อวกาศ แหวกม่านอุกกาบาตด้วยความเร็วสูง เหมือนเวลาตอนอยู่โรงเรียนวชิราวุธฯ เมื่อใดเวลา ไปซ้อมปี่สก๊อต ที่หอประชุมแล้วต้องติดฝนอยู่ใต้ หอประชุมเดินกลับคณะไม่ได้ ผมมักจะฆ่าเวลา ด้วยการไปยืนมองหยดน�ำ้ ที่หยดลงมาจากปลาย หลังคาหอประชุม แล้วจินตนาการว่าตัวเองก�ำลัง ขับเคลื่อนยานอวกาศอยู่ ก�ำหนดให้หยดน�้ำแต่ละ หยดเป็นเหมือนอุกกาบาตหรือกลุ่มดาวที่พุ่งเข้า มา แล้วเราก็ต้องคอยบังคับยานหลบไปเรื่อยๆ ฟังดูเหมือนผมว่างงานหรือหาอะไรอย่างอื่นท�ำไม่ ได้ แต่ผมว่าวิธีฆ่าเวลาของผมมันช่างเต็มไปด้วย จินตนาการล้วนๆ ในโรงเรียน วชิราวุธฯ เราไม่เคยรู้สึกว่า เวลาฝนตกรถมันจะติดตรงไหน นัน่ เพราะเราใช้ ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในโรงเรียนที่ไม่ต้องไปนัง่ ท�ำ การบ้านหรือกินอาหารเย็นบนรถเวลานัง่ รถกลับ บ้านหลังเลิกเรียน แต่แน่นอนฝนในโรงเรียน
วชิราวุธฯ ไมได้พกมาแต่ความเย็น สดชื่นและ น�ำพาความเปียกแฉะ แต่ยังคงน�ำมา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมอะไรหลายอย่าง ของเด็กในโรงเรียนวชิราวุธฯ โดยเริ่มตั้งแต่ หากฝนตกตอนเช้าก่อนเรียนชั่วโมงหนึง่ พวกเราอาจจะไม่ต้องไปเรียนชั่วโมงหนึง่ ต้องรอ อยู่ในห้องเพรบแทน แต่นนั่ ก็หมายถึง พวกเรา อาจจะโดนใช้ให้ขัดรองเท้าหรือให้บริการรุ่นพี่ที่มัก จะบริหารเวลากับการท�ำความสะอาดเครื่องใช้ ส่วนตัวและห้องส่วนตัว (ว่างจัด) หากฝนตกหลังจากกินข้าวเช้าเสร็จ พวก เราอาจจะงดขึ้นหอประชุมได้ซึ่งส่งผลให้หัวหน้า บางคนที่ไม่อยากจะน�ำสวดมนต์เลย แล้วถึงเวร สวดมนต์วันนัน้ พอดี รอดตัวจากการขึ้นไปยืน ตื่นเต้นน�ำสวดมนต์ หนังสือสวดมนต์สั่นหยั่งกับ เสี่ยงเซียมซี แถมเสียงสั่น ขาสั่น ให้เด็กรุ่นน้อง แถวหน้ามันแอบหัวเราะเอา หากฝนตกตอนเบรกกินของว่างนัน่ หมายถึง รายได้ของเจ๊กเฉ่าและบรรดาแม่ค้าที่ เรือนจาก ตกฮวบลงทันทีและท�ำให้อาหารกลางวัน ที่คณะอร่อยขึ้นผิดหูผิดตา แถมอาจจะมีรุ่นน้อง บางคน เปียกกระมอมกระแมมไปเรียนชั่วโมงที่ห้า เหตุเพราะต้องตากฝนไปซื้อขนมที่เรือนจากให้ รุ่นพี่บางคนที่ทนแรงแหย่พยาธิในท้องไม่ไหว มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 91
หากฝนตกตอนหลังกินข้าวกลางวัน แทนที่พวกเราจะไปซ้อมดนตรี กลับกุลีกุจอวิ่ง ไปเก็บชุดกีฬาของตัวเอง หรืออาจจะของรุ่นพี่ ที่ฝากพวกเราซัก ที่ราวตากผ้าแทน แล้วถ้า วันไหนมันตกคาบลูกคาบดอก ระหว่างที่ซ้อม ดนตรีไปพักนึงแล้วล่ะก็ พอเลิกซ้อมดนตรี พวกเราจะรีบกลับคณะเพื่อไปเก็บชุดกีฬา ของคนอื่น หรือ ของรุ่นพี่คนอื่นที่มีสีและแบบ เดียวกันกับของรุ่นพี่ที่เรารับเอามาซักแต่ตากอยู่ ในร่มไม่โดนฝน เอามาให้รุ่นพี่คนนัน้ แทน ส่วน คนที่รับผิดชอบของรุ่นพี่ที่เรามาแอบสลับไป ก็ จ�ำเป็นต้องเอาเสื้อกีฬาตัวนัน้ ไปผึ่งกับเตาใน โรงครัว ผึ่งไปผึ่งมา เสื้อไหม้เป็นรูมาแล้วก็ หลายครั้ง แล้วยิ่งเสื้อตัวที่ไหม้เป็นรูเป็นเสื้อแข่ง ด้วยล่ะมึงเอ๊ยยยย!!! หากฝนตกระหว่างที่เราซ้อมรักบี้กันอยู่ แผนการซ้อมไม่ว่าจะถูกก�ำหนดไว้ยังไง วันนัน้ รุ่น พี่ที่ควบคุมการซ้อมจะต้องเปลี่ยนแผนมาให้ซ้อ มการแท็คเกิ้ลทันที เนื่องจากสภาพสนาม เอื้ออ�ำนวยให้ล้มแล้วไม่เป็นแผลหมูแดง แต่ถ้า ไม่ได้เป็นหน้ารักบี้ล่ะก้อ ยามใดที่ฝนตกหนัก ระหว่างเล่นกีฬามันช่างเหมือนกับธรรมชาติจงใจ สร้างทะเลจ�ำลอง ให้นกั เรียนประจ�ำอย่างพวก เรา ได้โลดแล่นพุ่งตัวสไลด์กับพื้นสนาม แหวก สายน�้ำที่เอ่อนองขึ้นมาในสนาม ได้อารมณ์สนุก กว่าสไลด์เดอร์ที่สวนสยามหลายเท่าตัวนัก หากฝนตกหลังจากที่สวดมนต์ก่อน นอนเสร็จ พวกเราจะรู้สึกถึงความชุ่มชื่นเย็นสบาย ในห้องนอนของพวกเรา แต่ลุงรอด (คนขับรถ ครูอรุณ) อาจจะไม่ชอบใจนัก หลังจากที่พบว่า สายน�ำ้ ที่ไหลลงหัวตัวเองเวลาเดินผ่านโรงจอดรถ
92
ไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง ไฟจะดับอย่างไร สิ่งหนึ่งที่สายนำ�้พระพิรุณ เปลี่ยนยากมาก คือ พลังความสามัคคีของพวกเรา นักเรียนวชิราวุธฯ
ของ คณะ จิตรลดา ไม่ใช่ สายน�้ำฝนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ปะปนมาด้วย ฝนเทียมจากบรรดาเทวดาที่นอนอยู่ที่ห้องยี่สิบ คณะจิตรลดา ผสมโรงปล่อยลงมาเนื่องจากไม่ สามารถเดินไปห้องน�้ำได้ นัน่ เป็นเพียงบางส่วนของความทรง จ�ำเปียกๆ ของผมในวชิราวุธฯ แต่ผมเชื่อมั่นอยู่ อย่างหนึง่ ว่าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง ไฟจะดับ อย่างไร สิ่งหนึง่ ที่สายน�้ำพระพิรุณเปลี่ยนยาก มาก คือ พลังความสามัคคีของพวกเรานักเรียน วชิราวุธฯ ผมขอยกตัวอย่างเหตุการณ์หนึง่ ซึ่ง เกิดขึ้นกับผมและ พี่ๆ น้องๆ โอวีหลายๆ คน พร้อมๆ กัน หลายปีก่อน สมาคมนักเรียนเก่าฯ ได้ จัดแข่งกอล์ฟประจ�ำปีขึ้นมาเหมือนที่จัดทุกปี ปี นัน้ ไปจัดที่สนามกอล์ฟแห่งหนึง่ บนถนนบางนา ตราด ซึ่งขณะนัน้ ก�ำลังมีการซ่อมถนนทางเข้า สนามตลอดทาง หลังจากที่การแข่งขันเสร็จสิ้น ลงในช่วงของงานเลี้ยงมอบของรางวัล ท้องฟ้า
ที่แจ่มใสเมื่อตอนกลางวัน จนถึงหัวค�ำ่ ก็ยังไม่มี วี่แววของฟ้าฝนเลยซักนิด แต่หลังจากที่เริ่มแจก รางวัลนัน่ เอง กลุ่มเมฆด�ำ ด�ำทะมึนก็คลืบคลาน เบียดบังแสงจันทร์ในค�ำ่ คืนนัน้ จนมืดสนิท ลม พัดแรงต้นไม้บริเวณคลับเฮ้าส์สนามกอล์ฟเอียง ตัวลู่ตามกระแสลมแรงที่เบียดกับใบไม้ส่งเสียง ดังไปหมด ไม่รอที่จะให้ใครตั้งตัวกลับบ้านก่อน สายฝนก็เทลงมาเหมือนใครเปิดท่อน�ำ้ รุนแรง และต่อเนื่องเกือบชั่วโมง ทันใดนัน้ เองแสงสว่าง จากกระแสไฟฟ้าและเสียงเพลงจากดนตรีที่จ้าง มาก็หยุดท�ำงานอย่างพร้อมเพรียงกัน ความมืด สนิทเข้าปกคลุม เจ้าหน้าที่สนามเข้ามาในงาน เลี้ยงพร้อมกระบอกไฟฉายในมือ พร้อมกับแจ้ง ว่า กระแสไฟฟ้าดับเนื่องจาก กระแสลมกระชาก เสาไฟต้นหนึง่ ล้มลงท�ำให้ กระแสไฟฟ้าในสนาม ดับหมด อีกทั้ง ถนนทางออกที่เป็นหลุมเป็นบ่อ อยู่ก่อนแล้ว ขณะนีจ้ มอยู่ในกระแสน�ำ้ ที่เอ่อล้น มาจากการระบายน�ำ้ ไม่ทันเพราะฝนตกหนักมาก ไม่แนะน�ำให้ใครขับรถออกไปตอนนี้ หลังจาก คณะจัดงานตั้งตัวได้จึงขอเทียนไขจากสนามและ บอกให้ทุกคนทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อม กับแนะน�ำให้ให้ออกมานอกห้องจัดเลี้ยงเพื่อจะ ได้ไม่ร้อนอบอ้าว หลายคนคงนึกภาพตามไปว่า บรรยากาศคงเซ็งสนิท แต่เปล่าเลยครับ พวกเรา ยังจับกลุ่มสนทนาต่อไปโดยไม่สนใจว่าเกิดอะไร ขึ้น ยิ่งนาน ยิ่งสนุก บรรยากาศใต้แสงเทียน อากาศสบายๆ ฝนตกปรอยๆ เวลาผ่านไปซักครึง่ ชั่วโมง พวกเราเริ่มลดกลุ่มย่อยลงแล้วเริ่มขยับ เข้ามาเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น บทสนทนาเริ่มกระชับ และลิ้นรัว เสียงหัวเราะจากการอ�ำกันไปอ�ำกันมา จากเรื่องราวในอดีตยามอยู่ในโรงเรียนและเพลง
คณะ เพลงโรงเรียนถูกน�ำกลับมาขับขานอย่าง ออกรสออกชาติ จากเหตุการณ์ที่น่าจะเบื่อหน่าย และคับขัน พวกเรากลับพลิกให้มนั เป็นโอกาสท�ำให้ บรรยากาศคืนนัน้ สนุกกว่าตอนไฟไม่ดับเสียอีก นี่แหละครับความสามัคคีของพวกเรา ที่มีความสามารถรวมตัวกันได้อย่างรวดเร็วและมี พลัง อยู่ที่ว่าจะรวมตัวกันไปท�ำอะไรเท่านัน้ เอง อย่างล่าสุดที่ทีมอนุมานวสารได้จัด All Gentlemen Can Learn ครั้งที่ ๒ ที่ บริษัท SAMCO ที่พี่เอ๊าะ อายุธ นาครทรรพ รุ่น ๔๔ เป็นผู้บริหารอยู่ ผมได้รับความ สนุกสนานพร้อมความรู้และได้มีโอกาสซึมซับ บรรยากาศการรวมตัวกันของพวกเรา นักเรียน วชิราวุธฯ อีกครั้งหนึง่ งานนีต้ ้องขอขอบคุณพี่เอ๊าะและพี่ๆ รุ่น ๔๔ ทุกท่าน ที่ได้สละเวลา สละเงิน มาแบ่ง ปันความรู้ให้กับน้อง ขอขอบคุณ พี่เจ๋ง รุ่น ๕๗ จาก บริษัท สิงห์คอร์เปอเรชั่น ที่อนุเคราะห์ กิจกรรมของสมาคมฯ มาตลอด ขอบคุณน้องๆ ที่ยังให้ความเคารพ นับถือกับพี่ๆ ไม่เสื่อมคลาย ... พี่ๆเลี้ยงดูแลน้อง น้องดูแลพี่... ในใจยังนึกภาวนาให้ฝนตกตอนช่วงท้ายของงาน จะได้อยู่กันเยอะกว่านี้อีก แต่ไม่กล้าคิดไปถึงให้ ไฟดับ เพราะพี่เตาบอกว่าถ้าไฟดับที่ SAMCO ครั้งหนึง่ นัน่ หมายถึง รถขนเงิน บริษัทพี่เอ๊าะ โดนปล้นครั้งหนึง่ มิน่าตอนในงานมีไฟกระตุกวูบหนึง่ เห็นพี่เอ๊าะเฉยๆ ไม่ตกใจอะไร แล้วบอกว่าเดี๋ยว ก็มา เอ...หมายความว่าไงครับพี่.. พบกันใหม่เล่มหน้าครับ วีรยุทธ โพธารามิก (รุ่น ๖๑) มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 93
จากห้องประชุมสมาคมฯ ในชั่ ว โมงนี้ เรื่ อ งที่ ค ณะกรรมการ บริหารสมาคมฯ ได้ให้ความส�ำคัญมากที่สุด เรื่องหนึง่ คงจะไม่พ้น เรื่องการจัดเตรียมงาน วชิราวุธ ๑๐๐ ปี โดยเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา คณะกรรมการจัดงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ได้จัดให้มีการประชุมขึ้นที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารอัศวพาหุ โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานคณะกรรมการจัดงานฯ เป็นประธาน ดร.สุเมธฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า คณะ กรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย ได้มี ค�ำสั่ง แต่ ง ตั้ง คณะกรรมการจัดงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ขึ้นแล้ว ประกอบด้วย นักเรียนเก่าฯ ผูก้ ำ� กับคณะ ครู และพนักงานวชิราวุธวิทยาลัย จึงขอเชิญนักเรียนเก่าฯ ที่สนใจเข้ามาช่วยงาน ในฝ่ายต่าง ๆ เนือ่ งจากยังต้องการมาช่วยงานอีก จ�ำนวนมาก โดยจะมีการแต่งตั้งเป็นกรรมการ เพิ่มเติมต่อไป และต้องขอขอบพระคุณ พี่นธิ ิ สถาปิตานนท์ ทีไ่ ด้กรุณาออกแบบตราสัญลักษณ์ งานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ให้ ซึ่งพวกเราคงจะได้ เห็นกันแล้วนะครับ ส�ำหรับสาระส�ำคัญของ การประชุมนั้นสามารถสรุปได้ว่า งานฉลอง ครบรอบวชิราวุธ ๑๐๐ ปี จะเริม่ ตัง้ แต่วนั ที่ ๒๒ ถึง ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยจะประกอบไปด้วย งานนิทรรศการ (ร่วมกับองค์กรทีเ่ กีย่ วข้อง) ใน เวลากลางวันของวันธรรมดา และงานแสดง ละคร งานรื่นเริง และการแสดงอื่น ๆ ในช่วง เวลากลางคืนในวันเสาร์-อาทิตย์ และในวันที่
94
๒๙ ธั น วาคมจะเป็ นงานพระราชพิ ธี ฉลอง วันพระราชทานก�ำเนิดโรงเรียน ส�ำหรับกิจกรรม อื่น ๆ นัน้ เราจะเน้นเพื่อหารายได้และ/หรือ ประชาสัมพันธ์เท่านัน้ นอกจากนี้ ที่ประชุมยัง ได้มีมติถึงแนวทางการระดมทุนด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ การระดมทุนจากพีน่ อ้ งโอวี การระดมทุน จากองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยคณะกรรมการ อยู่ระหว่างการพิจารณาถึงเรื่องการจารึกชื่อ และการมอบของที่ระลึกส�ำหรับผู้สนับสนุน รายใหญ่อยู่ นอกจากนี้ จะมีการระดมทุนจาก การแข่งม้าการกุศล การจัดท�ำหนังสือ กิจกรรม กีฬา (กอล์ฟ รักบี้ เดินการกุศล และอืน่ ๆ) การ จัดท�ำแสตมป์ทรี่ ะลึก การจัดท�ำธนบัตรทีร่ ะลึก ออกประมูล และของที่ระลึก และมีผู้เสนอ กิจกรรมเพิ่มเติม อาทิ การประกวดนางสาว ไทย-วชิราวุธ ๑๐๐ ปี เป็นต้น ซึ่งที่ประชุม ได้มีมติว่า หากใครสนใจจะท�ำสิ่งของ หรือ จัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับ งานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี นอกเหนื อ ไปจากกิ จ กรรมที่ ก ล่ า วมาใน เบื้องต้น หรือต้องการใช้สัญลักษณ์ วชิราวุธ ๑๐๐ ปี แล้ว แผนงานกิจกรรมนัน้ ๆ ควร จะได้รับความเห็นชอบในหลักการจากส�ำนัก เลขาธิ ก ารก่ อ น ส� ำ หรั บ รายได้ นั้น เราจะ สมทบทุ น เพื่ อ ท� ำ เป็ น การท� ำ ประโยชน์ ใ ห้ แก่ โรงเรี ย น โดยในเบื้ อ งต้ น มี เป้ า หมาย หลัก คือ ร่ ว มสมทบทุ น สร้ า งตึก เรีย นคณะ เด็กเล็กใหม่-อาคารวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ร่วม
สมทบทุนซ่อมแซมคณะดุสิต ร่วมสมทบทุน บู ร ณะศาลากลางน�้ ำ และตั้ ง ทุ นการศึ ก ษา โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณา ในรายละเอี ย ดอี ก ครั้ ง หลั ง จากเสร็ จ งาน ส�ำ หรับผู ้ ที่บ ริจ าคเงินนั้น คณะกรรมการฯ ก� ำ ลั ง อยู ่ ร ะหว่ า งการพิ จ ารณาถึ ง วิ ธี ก ารขอ ลดหย่อนภาษี นอกจากนี้ ดร.สมภพ เจริญกุล ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ให้ข้อคิดว่างาน ประชาสัมพันธ์นนั้ จ�ำเป็นต้องอาศัยทัง้ นักเรียน ปัจจุบนั นักเรียนเก่าฯ ครู และผู้ปกครอง และ สาธารณชน ความส�ำเร็จของการประชาสัมพันธ์ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมซึ่งไม่ควรจัดหลากหลาย เพราะจะท� ำ ให้ เ กิ ด ความสั บ สนได้ และ การประชาสั ม พั นธ์ ที่ ดี ที่ สุ ด คื อ ปากต่ อ ปาก ส่ ว นการออกข่ า วตามสื่ อ นั้น ไม่ น านก็ ข ่ า วก็ เงียบ จึงขอความร่วมมือจากนักเรียนปัจจุบัน นักเรียนเก่าฯ ช่วยกันประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะ ท�ำให้ข่าวยั่งยืนมากกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุม ยังได้มอบหมายให้เหล็ง (ร.อ.ประชา ศรีธวัชพงศ์) ไปพิจารณาน�ำเสนอแผนงานจัดท�ำ web วชิราวุธ ๑๐๐ ปี ให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ได้พิจารณา ต่อไป และในกรณีที่คณะกรรมการ มีเรื่องให้ พิจารณาเร่งด่วน ไม่ต้องรอการประชุมใหญ่ ขอให้เสนอผ่านส�ำนักเลขาธิการ ซึ่งประกอบ ด้วย ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยและนายก สมาคมนักเรียนเก่าฯ หากมีการผ่านพิจารณา แล้ว ให้ถือว่าใช้อ�ำนาจประธาน อนุมัติในเรื่อง เร่งด่วนได้เลย
นอกเหนื อ ไปจากเรื่ อ งการจั ด การ ประสานงานเพื่อเตรียมงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี แล้ว ในช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้ คณะกรรมการ สมาคมฯ ชุดนี้ ก็ยังคงมุ่งเน้นถึงการท�ำงานที่ การบริหารจัดการงบประมาณทีเ่ ป็นระบบ และ โปร่งใสเช่นเดิม ซึ่งสมาคมฯ ก็โชคดีมากที่ได้ พี่หมู (ปฏิภาณ สุคนธมาน) มาช่วยงานด้านนี้ ให้ แต่พี่หมูแอบบอกว่ายุ่งกว่าบัญชีที่บริษัท เสียอีก คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ยังได้ ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเสริมสร้าง ความสามัคคีในหมูส่ มาชิก อาทิ งานทอดผ้าป่า สามัคคีวัดอรัญวาศรีคีรีบรรพต เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม และการจัดงาน All Gentlemen can learn ครั้งที่ ๒ เมื่อ ๒๘ มีนาคม ที่ผ่าน มา รวมถึงการจัดท�ำของที่ระลึกของสมาคมฯ อาทิ เน็คไท แก้วน�ำ้ พวงกุญแจ ร่ม และเสือ้ โปโล เป็นต้น เพื่อไว้ส�ำหรับบริการสมาชิกส�ำหรับ กิ จ กรรมสุ ด ท้ า ยของคณะกรรมการบริ ห าร สมาคมฯ ชุดนี้ คือ การประชุมใหญ่สามัญ ประจ�ำปี ๒๕๕๒ ซึ่งในปีนี้เราได้มีงานจัดงาน เลี้ยงต้อนรับน้องโอวีรุ่น ๘๑ ซึ่งเพิ่งจบการ ศึกษาเมื่อ ๑๗ มีนาคม จ�ำนวน ๗๓ คน ร่วม เข้าเป็นสมาชิกสมาคมฯ ครับ พูดถึงเรื่องนี้ ใคร่ขอเรียนให้ทราบว่า โอวีรุ่นเก่า ๆ ที่สมัยจบ มาใหม่ยังไม่ได้สมัครเป็นสมาชิก ท่านสามารถ สมัครเป็นสมาชิกสมาคมได้นะครับเพียงแต่ ให้ข้อมูลที่ updated แก่เจ้าหน้าที่สมาคมฯ ท่านจะได้รับข่าวสารจากสมาคมฯ กลับมา ร่วมกิจกรรมกับพี่น้องโอวีรุ่นต่าง ๆ กันครับ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 95
ส�ำหรับวาระพิเศษในปีนี้เรามี ๒ เรื่องครับ เรื่องแรกคือ การนับล�ำดับเลขรุ่นนักเรียนเก่า วชิราวุธฯ เนื่องจากได้มีนกั เรียนเก่าอาวุโสท่าน ได้ให้ขอ้ คิดว่า การนับหมายเลขรุน่ ของพวกเรา นัน้ มิได้สอดคล้องกับการก�ำเนิดของโรงเรียน มหาดเล็กหลวงอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามการ เปลี่ยนแปลงหมายเลขรุ่นอาจก่อให้เกิดความ สับสนได้ เนื่องจากได้ใช้มาระยะเวลาหนึง่ แล้ว ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะกรรมการ บริ ห ารสมาคมฯ ตั้ ง คณะท�ำ งานเพื่ อ ศึ ก ษา ความเหมาะสมในเรื่องนี้ต่อไป อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่อง การแก้ไขระเบียบข้อบังคับสมาคมฯ ว่ า ด้ ว ยการส่ ง เอกสารเลื อ กตั้ ง ซึ่ ง แต่ เดิ ม ระเบียบสมาคมฯ ว่าด้วยการส่งเอกสารเลือกตัง้ ได้ก�ำหนดไว้ว่า ให้สมาคมฯ ส่งบัตรเลือกตั้ง ให้ ส ามั ญ สมาชิ ก ทางไปรษณี ย ์ ล งทะเบี ย น ตอบรับ อย่างไรก็ตามในการจัดส่งเอกสารเลือกตัง้ แต่ละครั้งจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ บาท ดังนัน้ ที่ประชุมจึงมีมติให้ สามารถท�ำได้ โดยทั้งทางไปรษณีย์ธรรมดาหรือมารับด้วย ตนเอง จากนัน้ ก็เป็นการจัดการเลือกตั้ง คณะ กรรมการบริหารสมาคมฯ ประจ�ำปี ๒๕๕๒๒๕๕๔ ปรากฏว่ามีผู้ได้รับเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้ นายกสมาคมฯ นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ กรรมการ นายตันติ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ นายสุรเดช บุณยวัฒน ดร.คุรุจิต นาครทรรพ
96
ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ นายปฏิภาณ สุคนธมาน ร.อ.ชมพล ยูสานนท์ นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา นายสัคคเดช ธนะรัชต์ ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ นายวรากร บุณยเกียรติ นายวีรยุทธ โพธารามิก นายภัคพงศ์ จักษุรักษ์ นายอาทิตย์ ประสาทกุล ส�ำหรับกิจกรรมต่อเนื่องที่จะมีขึ้นใน เดือนเมษายนนี้ เราจะมีการแข่งกอล์ฟ O.V. Invitation 2009 ในวันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน ณ สนามกอล์ฟบางปะกงริเวอร์ไซด์ ก็ตอ้ งขอเชิญ นักกอล์ฟโอวีทุกท่านมาประลองฝีมือกัน shot gun เที่ยงครับ ค่าบัตร (รวมกรีนฟี แคดดี้ งานเลี้ยง) ๑,๗๐๐ บาท งานนี้พี่ชายน้อย (สัคคเดช ธนะรัชต์) ทุ่มสุดตัว เตรียมของ รางวัลพิเศษจ�ำนวนมากครับ ตียังไงก็มีรางวัล กลับบ้านครับ แต่ต้องรบกวนว่าคืนนั้นไม่ อยากให้กลับกันดึกมากนัก เพราะในวันรุ่งขึ้น วันอาทิตย์ที่ ๑๙ เมษายน เวลา ๑๐.๐๐ น. สมาคมฯ จะจัดงาน ระลึกพระคุณครู ขอเชิญ โอวีทุกท่าน ร่วมแสดงความกตัญญู และ มุ ทิ ต าจิ ต รดน�้ ำ คุ ณ ครู เ นื่ อ งในเทศกาล สงกรานต์ครับ ซึ่งก็ต้องขอขอบพระคุณพี่ ๆ รุน่ ๓๓-๓๕ ทีไ่ ด้กรุณาจุดประกายความคิดให้ งานนีจ้ ัดที่ห้องประชุมใหญ่สมาคมฯ นะครับ ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (รุ่น ๕๙)
ม.ร.ว.แซมแจ่มจรัส รัชนี ระฆังกีฬา คุยกับโอวีก่อนไปเข้าแถว
ร่างประโยชน์สุขประชาราษฎร์ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 97
ท่านได้เข้ามาท�ำงานสนองพระราชด�ำริเมือ่ ไหร่ และอย่างไร ผมเกิ ด มาในชาติ วุ ฒิ ที่ เป็ นข้ า รองพระยุคลบาทอยู่แล้ว และ เมื่อสมัยเด็กยังได้มีโอกาสเรียน ในโรงเรียนซึ่งเน้นการปลูกฝังในเรื่องนี้ ตัว อย่างชัดๆ ก็คือในเนื้อเพลงของโรงเรียนเพลง หนึง่ ตอนหนึง่ ขึน้ ต้นว่า “พวกเราเหล่านักเรียน มหาดเล็กเด็กในหลวง” หรืออีกเพลงหนึง่ คือ “รู้ รักชาติ ศาสน์ กษัตริยเ์ ป็นฉัตรชัย อีกรูเ้ สียสละ ได้ด้วยใจงาม” เป็นต้น นอกจากนัน้ โอวาทที่ครูบาอาจารย์น�ำ มาพูดจาอบรมสั่งสอนอยู่เป็นนิจคือการย�้ำถึง พระราชประสงค์ขอ้ หนึง่ ขององค์ผพู้ ระราชทาน ก�ำเนิดโรงเรียนว่า ต้องการให้นกั เรียนทุกคน เป็นสุภาพบุรษุ และเป็นคนดีมคี ณ ุ ภาพในสังคม สิ่งเหล่านีก้ ็ได้หล่อหลอมใจมาตั้งแต่ต้น และ ทุกปีเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียนของเรา เมื่อถึงเวลาเสด็จฯ กลับ ก็เป็นธรรมเนียมในการส่งเสด็จฯ ที่พวกเรา กลุ่มหนึ่งจะได้มีโอกาสเข็นรถพระที่นั่งไปส่ง เสด็จฯ ที่เขตโรงเรียน ก่อนที่รถพระที่นงั่ จะ ติดเครื่องยนต์เคลื่อนไปเองต่อไป ยั ง เคยนึ ก ภู มิ ใ จอย่ า งสนุ ก ๆ ตาม ประสาเด็กว่า นี่เป็นการประเดิมการถวายงาน รับใช้พระองค์ท่านแล้ว และรู้สึกมั่นใจว่าเมื่อ โตขึ้นจะต้องได้ถวายงานมากกว่านี้ ซึ่งหาก เป็นเช่นนัน้ ก็สัญญากับตัวเองว่าจะต้องท�ำให้ ได้ดีกว่านี้
98
เมื่อพ้นวัยเรียนออกมาท�ำงานก็ได้มี โอกาสพบผู้คนทีต่ ่างพืน้ ฐานอาชีพ ต่างวัย ต่าง การศึกษา ต่างประสบการณ์ และได้รับการ หล่ อ หลอมมาจากแหล่ ง อื่ น มี จิ ต ส� ำ นึก ที่ คล้ายคลึงกันในการที่จะถวายงาน ในคราว เสด็จฯ ทรงงานในป่าดงดอยจึงได้เห็นภาพที่ ชินตาทีม่ ขี า้ ราชการหรือเจ้าหน้าทีช่ นั้ ผูใ้ หญ่หรือ ชั้นผู้น้อย และผู้คนในพื้นที่ถวายรายงานหรือ ถวายค�ำตอบแด่พระองค์ท่าน และไม่เป็นภาพ ที่แปลกตาเลยที่จะได้เห็นพระองค์ท่านประทับ อยู่ท่ามกลางบรรยากาศเช่นนี้เป็นเวลานานๆ เมื่อพระองค์ท่านเสด็จฯ กลับแล้วก็ได้เก็บ ความภาคภูมใิ จเป็นก�ำลังใจทีจ่ ะท�ำงานถวายต่อ ไปจนกว่าจะได้เฝ้าฯ อีก ส่วนตัวผมนัน้ นึกถึง ค�ำพูดที่ชินหูมาแต่เยาว์วัยว่า “พระมาโปรด” ความรู้สกึ ของผู้คนทีม่ ารับเสด็จก็คงจะคิดเช่น นัน้ แต่เป็น “พระเจ้าอยู่หัวฯ มาโปรด” ในบางครั้งพวกเราก็มีท้อแท้เมื่อเทียบ กับความสนุกสนานสะดวกสบายที่เพื่อนร่วม งานคนอื่นได้รับอยู่ แต่ความคิดนีก้ ลับหมดไป เมือ่ เทียบกับความเหนือ่ ยยากหรือความทุม่ เทที่ พระองค์ทรงมี การท�ำงานโดยแน่วแน่ต่อการ ปิดทองหลังพระจึงกลับเป็นหน้าที่ที่ท�ำให้การ ท�ำงานมีความสุข พวกเราเคยได้มีโอกาสรับพระราชทาน พร ดังสรุปใจความตอนหนึ่งประมาณได้ว่า “ถ้าอยากให้พระองค์ท่านมีความสุขก็จงไป ท�ำให้ประชาชนของพระองค์ท่านมีความสุข แล้วตัวพระองค์ท่านก็จะมีความสุขเอง” พร
นีจ้ ับใจพวกเรามาก เพราะว่าทุกครั้งที่ท�ำงาน ช่วยเหลือคนที่ล�ำบากกว่าหรือด้อยโอกาสกว่า อันเป็นงานที่ไม่มีรางวัลแต่ก็ได้รับรางวัลอยู่ใน ตัว คือมีความสุขเพราะได้ถวายงานที่จะท�ำให้ ในหลวงทรงมีความสุข แนวพระราชด�ำริที่ได้พระราชทานมีอย่างไร บ้าง และมีการสนองพระราชด�ำริอย่างไร ผมตอบด้วยข้อจ�ำกัดของสติกำ� ลัง และสติ ป ั ญ ญาที่ ผ มมี เ ท่ า นั้ น เพราะเป็ นค� ำ ถามที่ ก ว้ า งใหญ่ ไพศาลเสียเหลือเกิน คงจะพูดคุยให้ฟังได้แค่ ภาพทีเ่ ห็นจากน�ำ้ ในขันน�ำ้ มิใช่ภาพทีส่ ะท้อนจาก สระน�้ำซึ่งย่อมมีได้หลากหลายกว่า พระองค์ ท่านเสด็จพระราชด�ำเนินทรงงานทัว่ ทุกภูมภิ าค ของประเทศ ส่วนผมและคณะเพียงแต่มโี อกาส ได้รับเสด็จฯ เฉพาะในพื้นที่ที่ผมได้ท�ำงาน ถวายฯ เท่านัน้ ดีใจที่ได้มีโอกาสเล่าเรื่องราว ส่วนหนึง่ แห่งพระอัจฉริยภาพให้เป็นทีป่ ระจักษ์ ผมและคณะได้เคยถวายงานเกี่ยวกับ การส� ำ รวจดิ น เพื่ อ เป็ นข้ อ มู ล ประกอบการ วางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในโครงการหนึง่ ทรงพระราชทานค�ำ ชี้ แนะว่ า อย่ า คัด เลือ ก เฉพาะดินที่ดีมาใช้เท่านั้นแต่ให้พิจารณาคัด เลือกดินทีส่ ามารถจะพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไข ให้ใช้ประโยชน์ได้มาใช้ดว้ ย เผือ่ จ�ำเป็นทีจ่ ะต้อง น�ำมาใช้ในอนาคต แต่ตอ้ งค�ำนึงถึงสิง่ แวดล้อม ด้วย เช่น พื้นที่ที่เป็นป่าก็ต้องเป็นป่า
ดังนั้นเมื่อได้วางแผนการใช้ที่ดินใน พื้นที่แห้งแล้งกันดารก็ได้คัดเลือกดินที่ดีที่สุด ทีห่ าได้ในพืน้ ทีน่ นั้ ส�ำหรับการเกษตร ดินทีด่ อ้ ย ลงไปคือดินตืน้ ส�ำหรับปลูกหญ้าเลีย้ งสัตว์ และ ดินที่พอจะปรับปรุงได้คือดินหินผุส�ำหรับการ พัฒนาเพื่อการใช้ในอนาคต ส่วนที่ด้อยที่สุด นัน้ ยกให้ป่าไม้ นอกจากนัน้ ก็ยังได้นำ� ข้อมูลมา ประเมินผลกระทบสิง่ แวดล้อมเป็นพืน้ ทีส่ เี ขียว เหลือง แดง โดยที่เขียวยุยงให้ใช้ประโยชน์ เหลืองยอมให้ใช้หากจ�ำเป็น และแดงเป็นพื้นที่ ห้ามไว้ส�ำหรับให้ป่าไม้ใช้เท่านัน้ และต่อมาก็ได้ ถือเป็นหลักเกณฑ์ในการวางแผนการใช้ทดี่ นิ ใน โครงการอื่น ๆ ต่อไป เมื่อมีการน�ำโครงการนี้มาปฏิบัติจริง ด้วยการบุกเบิกพัฒนาในพื้นที่ที่ก�ำหนดให้เป็น พื้นที่เกษตรจัดสรรแก่ราษฎรซึ่งท�ำการเกษตร เลื่อนลอยอยู่บนดอยให้ได้มีที่ท�ำกินเป็นหลัก แหล่งถาวร ชาวบ้านซึ่งอยู่ตีนดอยข้างล่าง ก็ ก ลั บ ขึ้ น มาเพื่ อ ซื้ อ รุ ก ที่ ท� ำ กิ น ผื นนี้ มี ก าร พระราชทานพระราชด�ำริเกี่ยวกับสิทธิท�ำกิน โดยแบ่งขั้นตอนเป็น สทก. ๑, ๒ และ ๓ ตาม ล�ำดับ โดยที่ สทก. ๑ เป็นการก�ำหนดเขตพืน้ ที่ โครงการ สทก. ๒ เป็นการจัดแบ่งพื้นที่อย่าง คร่าวๆ พร้อมกับการพัฒนา เมื่อการพัฒนา เสร็จสมบูรณ์ไม่วา่ จะเกีย่ วกับระบบการอนุรกั ษ์ ดินและน�้ำ การชลประทาน หรือการก่อสร้าง เส้นทางล�ำเลียงในไร่นาก็ตาม ก็จะมีการตรวจ สอบขอบเขตที่ดินที่แน่นอนอีกครั้งหนึ่งเพื่อ ท�ำ สทก. ๓ หน่วยงานที่รับปฏิบัติเกี่ยวกับ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 99
การสนองพระราชด�ำริ สทก. ก็เพียงแต่ท�ำการ รังวัดขอบเขตพื้นที่ที่ราษฎรใช้ทำ� กินอยู่เท่านัน้ เป็นเพียงการมอบเอกสารเพือ่ มิให้ผดิ กฎหมาย ป่าไม้ ทั้งที่โดยแท้จริงแล้วราษฎรเหล่านัน้ อาจ จะอยูท่ ำ� กินก่อนทีก่ ฎหมายป่าไม้จะตราก�ำหนด ขึ้นใช้บังคับด้วยซ�ำ้ ไป ครั้ ง หนึ่ ง ได้ เ คยกราบบั ง คมทู ล ฯ รายงานเกี่ยวกับการก่อสร้างฝายขนาดเล็ก เพื่อการกักเก็บตะกอนอันอุดมสมบูรณ์ที่ไหล ลงมาจากพื้นที่รับน�้ำรวมทั้งศึกษาการสูญเสีย ธาตุอาหารที่ไหลปนไปกับน�้ำ ได้พระราชทาน ค�ำชี้แนะว่าอย่าเพียงแต่ศึกษาเพื่อรู้การสูญ เสียเท่านัน้ ให้หาทางน�ำกลับมาใช้ประโยชน์ให้ ได้ด้วย ในเรื่องนี้ได้น�ำไปออกแบบระบบรักษา ดินในพื้นที่เกษตรน�้ำฝนให้สามารถเก็บกักน�้ำ ไหลบ่าไว้ใช้กับไม้ผลได้ทั้งหมด ซึ่งต่อมาได้มี พระราชด�ำริเพิ่มเติมให้มีการป้องกันไนเตรท มิให้ไหลลงไปปนเปื้อนกับแหล่งน�้ำซึ่งอยู่ใน พื้นที่ต�่ำลงไป หรือแม้กระทั่งลงไปปนเปื้อน กับน�้ำใต้ดินซึ่งอยู่ชั้นล่าง ระบบการเก็บน�ำ้ เพื่อ การรักษาดินนีก้ ็สามารถสนองพระราชด�ำริได้ และเมื่อมีการปลูกหญ้าแฝกร่วมด้วย ทั้งหญ้า แฝกและไม้ผลยืนต้นก็ยงั ช่วยดึงสารไนเตรทให้ เวียนกลับขึ้นมาใช้ได้อีก แทนการปล่อยให้ซึม ลงดินไปปนเปื้อนกับน�้ำใต้ดินชั้นล่าง ความก้ า วหน้ า ทางวิ ท ยาการด้ า น การเกษตรท�ำให้ชาวนาสามารถปลูกข้าวได้ ๒-๓ ครั้งต่อปี มีการน�ำเครื่องจักรเข้ามาใช้ ทั้ง ในการไถพรวนและการเก็บเกี่ยวเพื่อให้
100
ท�ำงานได้เร็วขึ้นทันเวลาส�ำหรับการปลูกข้าว ในฤดูกาลต่อไป ชาวนาไม่มีโอกาสตากข้าวให้ แห้งโดยวิธีธรรมชาติจึงเป็นการปลูกเพื่อส่งให้ โรงสีเท่านัน้ ไม่สามารถเก็บไว้กินเองได้เพราะ ความชื้นสูงเกินไป ทรงมีพระราชด�ำริให้สร้าง ยุง้ ฉางหญ้าแฝกดินเหนียวสาธิตขึน้ ในโครงการ ส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เป็นยุ้งฉางที่สร้าง ได้ง่าย ราคาถูก และสามารถเก็บข้าวไว้กินได้ ตลอดปีโดยที่คุณภาพยังดี งานวิจัยต่อมาก็ ยืนยันในเรื่องนี้ ต่อมาได้มีพระราชด�ำริเพิ่มเติมให้มี การปรับปรุงประสิทธิภาพของยุง้ ฉางหญ้าแฝก ดินเหนียวให้ผนังซึ่งสามารถรับน�้ำหนักได้เอง นี้สร้างได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้นและมีคุณสมบัติการ เป็นฉนวนดีขนึ้ ไปอีก ส่วนในตัวกองข้าวเปลือก เองนัน้ มีพระราชด�ำริให้ใช้ประโยชน์จากความ ลาดเทของกองข้าวเปลือกและความลาดเท ของพื้ นที่ ที่ ท� ำ ให้ ข ้ า วไหลได้ ม าสร้ า งให้ เ กิ ด โพรงหรือช่องอากาศในกองข้าวเปลือกเป็นการ ลดอุณหภูมิและความชื้นที่เกิดจากการหายใจ ของกองข้าวเปลือกท�ำให้ข้าวหอมมะลิคงความ หอมไว้ได้โดยที่ไม่ถูกท�ำลายจากความร้อนที่ เกิดขึ้นในกองข้าวเปลือกเอง นอกจากนัน้ ยังมี พระราชด�ำริเพิ่มเติมให้น�ำความร้อนที่เกิดจาก การหายใจของกองข้าวเปลือกเวียนกลับมา ใช้ด้วย รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถของ ยุ้งฉางให้สามารถอบข้าวเปลือกให้แห้งพอที่จะ เก็บไว้กินได้ตลอดปีโดยไม่เสียหาย
เมื่อ ๔๐ ปีที่แล้วได้ทรงออกแบบและ สร้างเรือหางกุดเพื่อให้ชาวนาสามารถใช้เป็น เครือ่ งเรือและเครือ่ งสูบน�ำ้ ได้ในเครือ่ งเดียวกัน เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นสร้าง ขึ้นใหม่ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายว่า เป็นเรือ “Out Board Hydro Jet” ที่สามารถ วิง่ ขึน้ จอดเกยบนหาดได้เองเพราะต�ำแหน่งของ ท้องเรืออยู่ต�่ำกว่าใบจักร และทรงมีพระราช ด�ำริเพิ่มเติมให้ปรับปรุงแก้ไขให้ใช้กับเครื่อง เรือหางยาวได้ท�ำให้มีความคล่องตัวกว่าและ ปลอดภัยกว่า มีอุปกรณ์ประกอบเพิ่มเติมให้ ใช้เบรกหรือถอยหลังได้และสามารถเติมอากาศ ได้ในคราวเดียวกันท�ำให้ใช้ในการบ�ำบัดน�้ำเสีย ได้ด้วยไม่ว่าจะในขณะเรือแล่นหรือไม่ ก็ตาม ในเรื่องพระราชด�ำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก ทรงกล่าวไว้หลายครั้งหลายคราวหลายเรื่อง หลายราว กว้างขวางลึกซึ้ง อยากจะขอเล่าถึง หัวข้อส�ำคัญๆ ทีป่ ระทับใจและได้กอ่ ให้เกิดการ ขยายผลและความเข้าใจในเรือ่ งหญ้าแฝกออก ไปอีกมากมาย ๒ - ๓ ประการ ครั้งหนึ่งทรงเล่าว่าในการปลูกหญ้า แฝกนัน้ ถ้ามีดินด�ำ ๆ ติดไปกับหญ้าแฝกด้วย แล้วหญ้าแฝกก็จะเจริญเติบโตเองโดยง่าย พวก เรามาสรุปกันว่าดินด�ำเพียงน้อยนิดที่ติดไปกับ หญ้าแฝกไม่นา่ จะเป็นความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ ที่จะท�ำให้หญ้าแฝกเจริญเติบโตได้ แต่น่าจะ เป็นอะไรบางอย่างที่เกี่ยวพันกับหญ้าแฝกและ ความเด่นเฉพาะของหญ้าแฝกโดยตรง ผลการ ศึกษาเรือ่ งจุลนิ ทรียด์ นิ ทีเ่ กีย่ วกับหญ้าแฝกพบ
ว่า หญ้าแฝกมีจุลินทรีย์ดินชนิดที่เป็นเชื้อราที่ ท�ำให้รากหญ้าแฝกเจริญงอกงามได้ดหี าน�ำ้ และ อาหารได้เก่ง มีแบคทีเรียกลุ่มที่ตรึงไนโตรเจน ได้เองจากอากาศและกลุ่มที่สามารถละลาย สินแร่โปแตสเซียมและฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูป ทีพ่ ชื ใช้ประโยชน์ได้ การขยายผลการศึกษาต่อ มาจึงท�ำให้สามารถใช้หญ้าแฝกในดินทีม่ ปี ญ ั หา การใช้ประโยชน์ได้ดีโดยเฉพาะในดินที่มีความ อุดมสมบูรณ์ตำ�่ เมื่อมีการพระราชทานรางวัล King of Thailand Vetiver Award ครั้งที่ ๑ คณะ ผู้เชีย่ วชาญและผู้ทไี่ ด้รบั พระราชทานรางวัลใน ครั้งนัน้ ได้ให้ค�ำท�ำนายกับผมว่าต่อไปข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นผู้นำ� ของโลกในการใช้หญ้า แฝกเพราะว่ามีหญ้าแฝกมากมายหลายสาย พันธุ์ในประเทศ มีตั้งแต่บนพื้นที่สูงทางภาค เหนือ ทีด่ อน ทีร่ าบลุ่มน�้ำขัง ป่าพรุ และป่าชาย เลนชายฝั่ง เป็นต้น และอีกประการหนึง่ น่าจะ เป็นโครงการเดียวในโลกที่มีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นผู้น�ำโครงการ เหตุการณ์ต่อมาก็เป็นเช่นค�ำท�ำนาย นัน้ ทรงมีพระราชด�ำริอย่างกว้างขวางให้มีการ ศึกษาเรื่องสายพันธุ์โดยเฉพาะความเหมาะสม ในการใช้ประโยชน์ของหญ้าแฝกแต่ละสาย พันธุ์ อาทิ เมื่อน�ำสายพันธุ์ที่เหมาะสมมาใช้ ในการใช้ในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนแล้วก็ จะต้องมีการใช้งานร่วมกับแท่งเพาะช�ำที่ย่อย สลายได้ เมื่อปลูกแล้วก็จะต้องป้องกันมิให้ หญ้าแฝกลอยเท้งเต้งเมื่อน�ำ้ ทะเลขึ้น หรือใน มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 101
ผมอยู่ในสภาวะที่พ้นวัยท�ำงานมาแล้ว แต่ก็ได้พยายามที่จะน�ำพระราชด�ำริมาใช้ ให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนเท่าที่จะมีโอกาส หรือความสามารถที่เหลืออยู่เท่าที่จะท�ำได้ เป็นการท�ำงานสนองพระราชด�ำริ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยช่วยให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ อีกกรณีหนึง่ การใช้หญ้าแฝกสายพันธุ์ซึ่งยังมี ความเขียวชอุ่มในฤดูแล้งมาปลูกในพืน้ ทีป่ ่าไม้ เพื่อใช้เป็นแนวป้องกันไฟป่าเปียก หรือการ ใช้หญ้าแฝกพันธุ์ที่โตได้ในที่น�้ำขังมาปลูกในที่ ราบลุ่มริมฝั่งน�้ำให้ระยะระหว่างแถวถี่ขึ้นกว่า การรักษาดินเป็นการป้องกันพื้นที่เกษตรไม่ให้ เสียหายเมื่อน�้ำล้นตลิ่ง เป็นต้น นอกจากนีย้ งั ทรงมีพระราชด�ำริให้หญ้า แฝกที่เกิดขึ้นในประเทศเป็นพันธุ์พืชที่ได้รับ การคุ้มครองท�ำให้สามารถก�ำหนดให้มีการใช้ หญ้าแฝกสายพันธุท์ ถี่ กู ต้องกับการใช้งานแต่ละ ประเภทและสามารถห้ามปรามการใช้หญ้าแฝก สายพันธุ์ที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต เช่น สายพันธุ์ที่เมล็ดไม่เป็นหมันสามารถงอก ได้ เป็นต้น ในเรื่องสิทธิบัตร ได้พระราชทานสิทธิ บัตรเรื่อง “เรือหางกุด” อันเป็นสิทธิบัตรใน พระปรมาภิไธย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้พวกเรา คนไทยตืน่ ตัวในเรือ่ งการจดสิทธิบตั รทรัพย์สนิ
102
ทางปั ญ ญาของตนเอง ขอสรุ ป สั้ น ๆ เป็ น ค�ำโคลงซึ่งได้แต่งถวายบันทึกไว้ว่า ๏ วันหนึง่ ในที่เฝ้า รับสั่งทรัพย์แผ่นดิน ปัญญาเนื่องน�ำสิน สิทธิบัตรจดไว้
ภูมินทร์ ชาติไซร้ สมบัติ ค่าแม้นแผ่นทองฯ
โครงการที่ ท ่ า นเคยถวายงานในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และได้ด�ำเนินการ อย่างไรบ้าง ผมไม่แน่ใจว่าจะตอบค�ำถามนี้ ได้ตรงหรือเปล่าเพราะว่าผมอยู่ ในสภาวะที่พ้นวัยท�ำงานมาแล้ว แต่ก็ได้พยายามที่จะน�ำพระราชด�ำริมาใช้ให้ เป็นประโยชน์ต่อชุมชนเท่าที่จะมีโอกาสหรือ ความสามารถที่ เหลื อ อยู ่ เท่ า ที่ จ ะท�ำ ได้ เป็ น การท�ำงานสนองพระราชด�ำริตามแนวเศรษฐกิจ พอเพียงโดยช่วยให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้
อาศัยความรูจ้ ากพระราชด�ำริเรือ่ งไบโอ ดีเซลมาจัดตั้งโรงงานท�ำไบโอดีเซลขนาดเล็ก ระดับชาวบ้าน โดยปรับปรุงรูปแบบให้เรียบง่าย ชาวบ้านท�ำเองได้ ขัน้ ตอนง่ายๆ คือน�ำน�ำ้ มันพืช ที่ใช้แล้วมากรอง ต้มพอเดือดเพื่อไล่นำ�้ ให้ส่วน ผสมต่างๆ เข้ากันดี น�ำมาเก็บสะสมรวมไว้จน ได้ปริมาณมากพอจึงใส่สารเคมีและอุ่นด้วย ความร้อนเพื่อเป็นการกระตุ้นปฏิกิริยาแล้วทิ้ง ไว้ ๑ คืน จึงน�ำมาผสมน�้ำเพื่อละลายสารเคมี ทีต่ กค้างทิง้ ไป แยกน�ำ้ กับน�ำ้ มันด้วยวิธกี าลักน�ำ้ ๒-๔ ครั้ง ทางโรงงานจะจัดกลุ่มสมาชิกใน การน�ำน�้ำมันพืชที่ใช้แล้วมาแลกเปลี่ยนกับน�้ำ มันไบโอดีเซลที่โรงงานผลิตขึ้นโดยมีส่วนต่าง ผลทีเ่ กิดขึน้ คือท�ำให้รถไถเดินตาม เครือ่ งสูบน�ำ้ หรือรถยนต์รับจ้าง ๔ ล้อขนาดเล็ก สามารถ พึ่งพาตนเองได้ไม่ต้องใช้น�้ำมันดีเซลซึ่งต้องน�ำ เข้าจากต่างประเทศ ได้พยายามจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรม ชาวบ้านเป็นการสร้างวงจรการเพิม่ มูลค่าสินค้า เกษตรขึ้นในหมู่บ้านของตนเองท�ำให้ชาวบ้าน ไม่ว่าจะมีอายุหรือขีดความสามารถที่แตกต่าง กันก็สามารถมีรายได้จากการร่วมในโครงการ นี้ได้ไม่ต้องไปหางานในโรงงานหรือในเมือง ที่ห่างไกลออกไป เป็นการสร้างครอบครัวให้ อบอุ่นมีความสุข โดยได้ท�ำอยู่ ๒-๓ โครงการ เป็นโครงการน�ำร่อง คือการน�ำเศษและก้านใบ หญ้าแฝกมาต้มกับโซดาไฟเพื่อแยกเนื้อเยื่อ หญ้าแฝกออกมาใช้ท�ำกระดาษแฝก เป็นการ ทดแทนการใช้เยื่อสาท�ำให้ลด การตัดต้นสาซึ่ง
เป็นไม้ยนื ต้นลงได้ หรือการจัดกลุม่ ผูป้ ลูกหญ้า แฝกสายพันธุ์สงขลา ๓ โดยใช้จุลินทรีย์ดิน เพื่อการเก็บเกี่ยวใบที่ได้คุณภาพตามต้องการ มาท�ำเป็นเชือกเกลียวหญ้าแฝกเพื่อส่งต่อให้ กลุม่ ทีท่ ำ� จักสานหรือเฟอร์นเิ จอร์ตอ่ ไป เป็นการ ปรับปรุงการจักสานสู่การจักรสาน นัน่ คือการ ออกแบบเครื่องมือเพื่อให้การจักสานท�ำงาน ได้มีคุณภาพสม�่ำเสมอขึ้นรวดเร็วขึ้น และไม่ จ�ำเป็นที่จะต้องใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เท่านัน้ มาท�ำงานอีกต่อไป เด็กเล็กผู้เฒ่าผู้แก่ก็ สามารถท�ำงานจักสานที่มีคุณภาพได้ ในการนี้ ได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความ ต้องการของลูกค้าก่อนจึงจะท�ำการผลิตโดย ได้รบั การคุ้มครองผลงานทรัพย์สนิ ทางปัญญา ถือเป็นการใช้การตลาดมาน�ำการผลิต หรือแม้ กระทัง่ การท�ำก้อนอิฐดินเหนียวโดยมีหญ้าแฝก เป็นวัสดุเสริมแรงท�ำให้ชาวบ้านมีวสั ดุกอ่ สร้างที่ ประหยัดทั้งราคาและพลังงาน เป็นต้น ทั้งนี้ได้มีการเตรียมการที่จะส่งเสริม ให้มีการผลิตจุลินทรีย์ดินส� ำหรับหญ้าแฝก ในระบบอุตสาหกรรมชาวบ้านเพื่อท�ำให้หญ้า แฝกทรงคุณค่าในการใช้ประโยชน์ได้อย่าง กว้างขวางหลากหลายมากยิ่งขึ้น และได้มี การมองหาลู่ทางที่จะน�ำจุลินทรีย์ดินซึ่งได้จาก หญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์กับพืชอื่นโดยเริ่มจาก พืชตระกูลหญ้าด้วยกันก่อนเพื่อเป็นแนวทาง การใช้เทคโนโลยีชีวภาพกับพืชในระบบเกษตร อินทรีย์แทนการใช้สารเคมีโดยเริ่มจากอ้อย เพื่อเป็นพืชพลังงานทดแทนหรือข้าวซึ่งเป็นพืช มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 103
ทรงทุ่มเทเหลือเกิน ที่จะช่วยพสกนิกรผู้ยากไร้ของพระองค์ ความดีงามนี้มิใช่เป็นเพียงดอกไม้ ซึ่งสวยงามชั่วคราวรอวันเหี่ยวเฉา แต่เป็นดอกไม้แห่งความดีงามซึ่ง เบ่งบานอยู่ในหัวใจของพวกเราตลอดไป อาหารหลักก่อน ความประทั บ ใจในการท� ำ งานสนองพระ ราชด�ำริมีอะไรบ้าง กษั ต ริ ย ์ PARAKRAMA BAHU มหาราช ซึ่งปกครอง ศรีลงั กาในระหว่างคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๒ เคยตรัสไว้สรุปความได้ว่า “ในประเทศ ของพระองค์ ซึ่ ง มี ก ารท� ำ นาโดยอาศั ย น�้ ำ ฝน ระบบชลประทาน หรื อ น�้ ำ ซึ่ ง ไหลจาก ป่าธรรมชาติก็ตาม พระองค์จะไม่ยอมปล่อย ให้ฝนแม้แต่หยดเดียวไหลลงสู่ทะเลโดยไม่ ท�ำประโยชน์ให้กับพสกนิกรของพระองค์ให้ มากที่สุดเสียก่อน” ในหลวงของเราทรงท�ำ มากกว่านัน้ คือโดยทีน่ อกจากจะมีพระราชด�ำริ ให้มีการปลูกป่าเพื่อเก็บน�้ำไว้ในพื้นที่ป่าไม้ ปลูกหญ้าแฝกเพือ่ รักษาน�ำ้ ในพืน้ ทีเ่ กษตร ปลูก หญ้าแฝกเป็นฝายหญ้าแฝกในล�ำห้วยร่วมกับ ฝายแม้วเพื่อชะลอการไหลของน�้ำ มีฝายยก ระดับน�ำ้ เพือ่ ใช้ในการเกษตร มีอา่ งเก็บน�ำ้ ขนาด
104
เล็ก กลาง ใหญ่กระจายอยู่ทั่วไปเป็นการเก็บ ทั้งความชุ่มชื้นและน�้ำเพื่อใช้ในประเทศแล้ว พระองค์ยังทรงมุ่งเน้นการสร้างภูมิประเทศให้ ความชืน้ ทีพ่ ดั จากทะเลหรือมหาสมุทรสามารถ รวมตัวเป็นเมฆฝนและกลั่นตัวเป็นฝนได้มาก ขึ้น นอกจากนัน้ เมื่อเกิดวิกฤตเกี่ยวกับภาวะ ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงก็ยังมีการพระราชทาน ฝนหลวงอีกด้วย เมื่อเสด็จฯ ทรงงานในหลาย ๆ ครั้งที่ เกี่ยวข้องกับการพระราชทานการวางโครงการ ก็จะทรงวางงานให้เป็นการท�ำงานร่วมกันของ หลายๆ หน่วยงาน อาทิ การวางโครงการสร้าง อ่างเก็บน�้ำ เป็นต้น ก็ทรงพูดถึงการรักษาพื้นที่ ป่าไม้ต้นน�้ำล�ำธาร ทรงพูดถึงการใช้ที่ดิน ใช้น�้ำ การจัดที่ท�ำกิน การส่งเสริมอาชีพ การรักษา สิ่ ง แวดล้ อ ม และการประหยั ด พลั ง งานใน คราวเดียวกัน พวกเราก็ได้ร่วมกันจัดประชุม ปรึกษาหารือถวายงานให้ลุล่วงเป็นที่ต้องพระ ราชประสงค์และพอพระราชหฤทัยให้จงได้ หน่วยงานทีใ่ หญ่หรือหน่วยงานทีผ่ บู้ ริหารระดับ
สูงให้ความสนับสนุนดีผลงานก็มักจะก้าวหน้า ไปได้ ด ้ ว ยดี ซึ่ง แน่ น อนว่าหน่วยงานที่เล็ก หรือข้าราชการชั้นผู้น้อยเป็นผู้ปฏิบัติถวายงาน ผลงานก็ย่อมจะไปช้ากว่าไม่ทันกัน ผู้ที่ไป เร็วกว่าก็จะช่วยอุ้มชูผู้ที่ไปช้ากว่าให้ก้าวไปสู่ จุ ด หมายพร้ อ มกัน โดยไม่ถือเขาถือเราหรือ ถือเอาการแบ่งแยกของหน่วยงานหรือต้นสังกัด มาข้องเกี่ยว นี่กระมังที่เขาเรียกค�ำโก้ ๆ ว่า “บูรณาการในปัจจุบัน” พวกเราแอบถวายพระสมัญญานาม พระองค์ท่านเป็นการภายในในหมู่พวกเราว่า “อาจารย์ใหญ่” เพราะทุกครั้งที่ทรงติดตาม งานก็ไม่ได้ติเตียนพวกเราที่ท�ำงานผิดพลาด แต่กลับพระราชทานค�ำชีแ้ นะทีจ่ ะน�ำไปปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องนัน้ ๆ ในบางครั้งการบ้านที่ อาจารย์ใหญ่ให้ไว้ยงั ท�ำไม่เสร็จดีกถ็ งึ รอบวาระ ที่อาจารย์ใหญ่จะมาให้การบ้านอีกแล้ว พวก เราต่างปริวิตกกันว่าเราไม่ได้ทุ่มเทมากมาย เหมือนพระองค์ท่านหรือจึงท�ำงานได้ไม่เสร็จ ทัน พระองค์ท่านกลับเสด็จฯ มาพระราชทาน ก�ำลังใจด้วยซ�้ำไป พวกเราก็แอบภูมิใจกันว่า ทรงรู้ว่าพวกเราไม่ได้ท�ำการเพาะปลูกผักชี ใน หลายครั้งพวกเราก็ได้การบ้านที่ยากเป็นโจทย์ เลขการบ้านทีเ่ ป็นเลขในใจส�ำหรับพระองค์ทา่ น แต่ส�ำหรับพวกเราแล้วเป็นโจทย์เลขการบ้าน ที่ต้อง สุมหัวร่วมกันคิดร่วมกันท�ำเป็นเวลา นานแล้วก็ยังท�ำไม่ได้เสียอีกด้วย ต้องขอรับ พระราชทานเฉลยในโอกาสต่อไป
พวกเราที่ได้เคยถวายงานด้วยกันและ ได้พ้นหน้าที่หรือวัยท�ำงานไปแล้วต่างก็ได้มี โอกาสมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้คนรุ่น หลังฟัง มีหลายเหตุการณ์ที่พวกเราเพิ่งถึง บางอ้อเพราะเหตุการณ์หรือสถานการณ์ได้ ประจักษ์ถึงที่พระองค์ท่านได้มองเหตุการณ์ ล่วงหน้าไว้แล้วด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล แต่สิ่งที่พวกเราเห็นประจักษ์พ้องกันตั้งแต่เริ่ม ท�ำงานด้วยกันก็คือ ทรงทุ่มเทเหลือเกินที่จะ ช่วยพสกนิกรผู้ยากไร้ของพระองค์ ความดี งามนี้มิใช่เป็นเพียงดอกไม้ซึ่งสวยงามชั่วคราว รอวันเหีย่ วเฉาแต่เป็นดอกไม้แห่งความดีงามซึง่ เบ่งบานอยู่ในหัวใจของพวกเราตลอดไป และ เราก็ตั้งใจร่วมกันที่จะเล่าถึงเรื่องดอกไม้นี้ให้ ลูกหลานของเราได้รับทราบสืบไปพร้อมทั้ง อบรมสั่งสอนให้ท�ำความดีงามให้เข้าไปอยู่ใน หัวใจของผู้คนให้จงได้แม้เพียงซีกเสี้ยวหนึ่ง ก็ยังดี นอกจากนี้ยังจะสอนให้เป็นผู้มีพรหม วิหาร ๔ ด้วยการแสดงมุทิตาจิตชื่นชมยินดีให้ ก�ำลังใจกับผู้ที่เสียสละท�ำงานให้ส่วนรวมหรือ แผ่นดินโดยมิเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน
๏ อธิษฐานทิพยช่อไม้ ถวายดาว อมตะบูชาเรื่องราว เทพไท้ ปิติปราโมทย์ทุกคราว ก้มกราบ ฝากเบ่งบานช่อไม้ พสกถ้วนหัวใจฯ
ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น๔๖) และ อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา สัมภาษณ์/เรียบเรียง มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 105
ตึกพยาบาล
เอ็น ร้อยหวาย อักเสบ ถามหมอ ผมมีค�ำถามอยากจะถามคุณหมอครับ สมัยที่ผมอยู่ที่โรงเรียน ผมเห็นเพื่อนๆ เจ็บข้อเท้า กันหลายคน ส่วนใหญ่จะเจ็บบริเวณข้อเท้าด้านหลังขึ้นมาเกือบถึงน่อง คาดว่าเกิดจากการโดนสั่ง ให้วงิ่ เยอะแน่นอนครับ และมันจะเจ็บมากถ้าต้องเดินหรือวิง่ พอไปหาหมอหวัน หมอแหวง ทีต่ กึ พยาบาล ก็จะได้พวกยาทาแก้ปวด แล้วบอกว่าเป็น “เอ็นร้อยหวายอักเสบ” เลยอยากจะถือโอกาสนีถ้ ามคุณหมอ ขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโรคเอ็นร้อยหวายอักเสบด้วยครับ/ ทรงพล กรรณสูตร (รุ่น ๗๗)
106
หมอตอบ ตอนสมัยอยู่โรงเรียน เด็กๆ จะถูกสั่งให้วิ่งออกก�ำลังกายหลังจากนัน้ ก็จะมีอาการเจ็บปวด ตามจุดต่างๆ สมัยนัน้ ปวดเจ็บอะไรก็ต้องไปตึกพยาบาล หาหมอหวันกับหมอแหวงดูอาการให้ ซึ่ง ก็มักจะได้ยานวดหรือน�้ำมันมวยมาทา เป็นส่วนใหญ่ เอ็นร้อยหวายก็เป็นจุดหนึง่ ที่มีอาการเจ็บได้บ่อย โดยเฉพาะในกลุ่มนักกีฬาที่ ต้องวิ่ง เอ็นร้อยหวายเป็นเส้นเอ็นที่เชื่อมระหว่างกล้ามเนื้อน่องกับกระดูกส้นเท้า ซึ่ง ใช้ในการกระดกปลายเท้าลง สาเหตุที่ทำ� ให้เกิดการอักเสบมักจะเกิดจากการใช้งาน มากเกินไป การวิ่งขึ้นบริเวณที่ลาดชัน การใส่รองเท้าที่พื้นแบนวิ่งระยะใกล้ และ การใส่รองเท้าส้นสูง ซึง่ ก็จะท�ำให้เกิดมีอาการปวดบริเวณเส้นเอ็นเวลาออกก�ำลังกาย พักก็จะดีขนึ้ หรือ อาจจะมีอาการบวมแดงบริเวณเอ็นร่วมด้วย ส่วนในรายทีเ่ ป็นเรือ้ รังอาจจะมีอาการเดินขึน้ บันได หรือเดินไกลๆ แล้วก็มอี าการปวด ในบางรายอาจจะมีร้สู กึ เอ็นยึดตอนเช้าหลังจากตืน่ นอนได้ การรักษา ก็ต้องหยุดการออกก�ำลังกาย อาจจะดูแลตัวเองในขั้นต้นด้วยการ ประคบเย็น เพื่อลดอาการบวมปวดของเส้นเอ็น ซื้อที่รองหนุนส้นเท้า (Heel pad) มาใส่ใน รองเท้า แล้วไปพบหมอ โดยหมออาจจะให้ทานยาลดการอักเสบ ปิดพลาสเตอร์ที่บริเวณ เส้นเอ็นเพื่อช่วยพยุงเส้นเอ็น หรือถ้าเป็นมากๆ ก็อาจจะให้ทำ� กายภาพ หรือฉีดยาเพื่อ ลดอาการอักเสบ การป้องกัน อาจจะท�ำได้โดยการใช้รองเท้าวิ่งที่เป็นรองเท้าวิ่งจริงๆ ไม่ใช่ใส่ รองเท้าผ้าใบ (นันยาง ซึง่ เป็นทีน่ ยิ มในสมัยทีผ่ มยังเป็นนักเรียนวชิราวุธฯ) ไปวิง่ ระยะไกลๆ การยืด เส้นทั้งก่อนและหลังออกก�ำลังกายก็มีส่วนช่วย ไม่ควรวิ่งขึ้นที่สูงเป็นระยะทางไกลๆ และที่สำ� คัญ เมือ่ เริม่ มีอาการควรหยุดพักรักษาตัง้ แต่เมือ่ ยังเป็นน้อยๆ อยู่ เนือ่ งจากถ้าเป็นเรือ้ รังจะรักษาได้ยาก นายแพทย์ปัญญาวัชร ภาษีผล (รุ่น ๗๑)
นายแพทย์ปัญญาวัชร ภาษีผล (รุ่น ๗๑) ตอนนี้เป็นหมอเฉพาะทางด้านกระดูกที่โรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 107
ศัพท์โอวี
เรื่องราวในโรงเรียนฉบับไม่เป็นทางการ
ปากเหม็น (ค�ำวิเศษณ์) ค�ำจ�ำกัดความ (Definition) “ปากหม็น” เป็นค�ำวิเศษณ์บอกคุณลักษณะท�ำหน้าที่เป็น ดั่งสามัญนามเพื่อใช้เรียกกลุ่มเด็กวชิราวุธฯ ที่ ค่อนข้างจะเป็นเด็กคงแก่เรียน วันๆ หนึง่ แทบ จะไม่พูดจาเล่นล้อหยอกซนกับใครๆ ด้วย มัวแต่ไปหมกตัวเงียบอ่านต�ำราเรียนกองโต อย่างเมามัน ใช้ปากพูดน้อยจน “ปากเหม็น” ถึงขั้นหนอนหนังสือยังต้องเรียกพี่!!! พวก “ปากเหม็ น ” เหล่ า นี้ มั ก ชอบ จะไปมุดตัว “ซุ่ม” ท่องหนังสือเรียนอยู่ตาม ซอกหลืบต่างๆ ของโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นตาม พุม่ ไม้ตา่ งๆ ซึง่ มีมมุ สุดเย็นสบายหรือต�ำแหน่ง แสนผ่อนคลายในห้องสมุด หรือแม้แต่กระทั่ง ใน “ห้องน�ำ้ ” แก๊งส์เด็กปากเหม็นก็ยังไม่ละเว้น ศัพท์ปากเหม็นนีค้ าดว่าน่าจะได้รบั การ บัญญัติและใช้กันในหมู่เด็กวชิราวุธฯ ในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๑๕ ซึง่ พี่ ดร.โกวิท วงศ์สรุ วัฒน์ รุ่น ๓๙ เล่าให้ฟังว่าในช่วงเวลานัน้ มีโฆษณา ยาสีฟันชิ้นหนึง่ ซึ่งมีเนื้อเรื่องแนวๆ เกี่ยวกับ เด็ ก ปากเหม็ น อะไรสั ก อย่ า งนี้ แ หละครั บ
108
ด้วยเหตุนเี้ องจึงไม่รอดพ้น “ความแสบคิดสนุก ปาก” ของเหล่านักเรียนผู้ร้ายเดียงสาไปได้ จน เอามาบัญญัติศัพท์ใช้กันอย่างแพร่ระบาดทั้ง โรงเรียนในที่สุด พี่เตา บรรยง พงษ์พานิช รุ่น ๔๔ ก็ ยังได้มาเล่าเรื่องให้ฟัง อันเป็นการย�ำ้ การันตี ถึงความฮิตของค�ำศัพท์ “ปากเหม็น” ในยุค นัน้ อีกด้วย พี่เตาเล่าให้ฟังว่า ก่อนเขาจะมาเป็นนัก รักบี้ทีมชาติตอน ม.ศ. ๕ ในช่วงที่พี่เตาเรียน อยู่ ม.ศ. ๑ - ม.ศ. ๒ นัน้ ตอนนัน้ ด้วยความ ที่ตัวสูงจัด!!! เลยต้องไปเล่นกีฬาในรุ่นใหญ่ ก็ เลยไม่ตดิ ทีมกีฬาซักอย่างเพราะความสูงทีต่ อ้ ง ไปเล่นในรุ่นใหญ่ พอถึงช่วงบ่ายๆ เวลากีฬา คนอื่นเค้า ก็ไปเล่นกีฬากัน พี่เตาก็เลยต้องใช้เวลานี้ไปเข้า ห้องสมุดอ่านหนังสือวันละ ๔ ชัว่ โมงจนถึงเย็น แทน ด้วยเหตุนี้เองเมื่อเพื่อนๆ มาเจอพี่เตาใน ห้องสมุด ก็เลยมักจะชอบแกล้งกระเซ้าล้อเป็น ประจ�ำว่า “ไอ้เตา...ไอ้ปากเหม็น...ฮ่าๆๆ”
แต่กระนัน้ ก็ดี พีโ่ กวิท ก็ได้เล่าเพิม่ ด้วย ความฮาอีกว่า ยังมีพวกปากเหม็นกรณีพิเศษ (Special Case) อีกด้วย!!! คือจะมีพวก เด็กบางกลุ่ม (จ�ำนวนค่อนข้างมากเสียด้วยสิ ฮิฮิ) ที่จริงๆ แล้ว ไม่ได้เป็นเด็กตู้ เด็กเรียน ชอบท่องหนังสืออะไรหรอก แต่.. พวกเขา เหล่านี้ มักชอบ แสร้งสวมวิญญาณ “เนียน” เป็ น พวกปากเหม็ น พวกนี้ นั บ เป็ น แก๊ ง ส์ ปากเหม็น (ตัวปลอม) แกล้งท�ำเหมือนปาก เหม็น ซุ่มอ่านหนังสือเรียนอย่างขยันขันแข็ง “หากทว่าใต้หนังสือเรียนเปี่ยมวิชาการ อันยิ่งใหญ่ กลับได้ถูกสอดไส้ไว้ด้วย ‘หนังสือ โป๊!’ แสนหายาก (ในโรงเรียน) สุดวาบหวิวปลิว อารมณ์ อย่างชนิดที่ว่าเนียนกันสุดๆ”
การตบตาเพื่อนๆ ทั้งหลาย ด้วยการ เนียนเป็นพวกปากเหม็นเยี่ยงนี้ ก็เพื่อที่ว่า จะได้สามารถอ่านหนังสือโป๊สุดหายาก (ใน โรงเรียน) เล่มนัน้ คนเดียวสบายๆ อย่างชื่นลิ้ม อิ่มใจ โดยไม่ต้องมีเพื่อนพี่น้องคนอื่นๆ มา แย่งอ่านด้วย เนื่องเพราะทักษะหนังสือเรียน เนียนปากเหม็น ป้องปกไว้ให้แล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงมิใช่เรื่องน่าแปลกใจกระไรเลย ถ้าจะเห็น นักเรียนจ�ำนวนมากในยุคนัน้ กระท�ำตัวเป็น “เด็กปากเหม็น” (ตัวปลอม) อยู่ทั่วทุกมุม โรงเรียน พี่ ดร.โกวิท วงศ์สรุ วัฒน์ (รุ่น ๓๙) พี่เตา บรรยง พงษ์พานิช (รุ่น ๔๔) เล่าให้ฟัง ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง (รุน่ ๗๖) รังสรรค์เรือ่ ง
ตึ๋งหนืด
(ค�ำนาม)
ปลาทองพูดกับปลาหางนกยูงว่า ปลาทอง: เฮ้ยยแก.... นั้นอะไรอยู่ ก้นบ่อน�ำ้ หน่ะ สีเขียวๆ ดูใสๆ อยูก่ นั เป็นก้อนๆ ปลาหางนกยูง: อ้าวนี้แกจ�ำไม่ได้จริงๆ เหรอ.. .มันอยูม่ าตัง้ นานแล้วนะก่อนแกเกิดอีก ปลาทอง: อ้าววว... จริงเหรอนี้ ๑๐ วินาทีผ่านไป
ปลาทอง: เฮ้ยแก....นัน้ อะไรอยู่ก้นบ่อ น�ำ้ หน่ะ สีเขียวๆ ดูใสๆ อยู่กันเป็นก้อนๆ ปลาหางนกยูง: ....ถ้าปลาสองตัวนี้ พู ด ได้ มั น คงจะตั้ ง ค� ำ ถามกั น ไม่ รู ้ จ บกั บ ก้ อ นสี เขี ย วๆ ก้ น บ่ อ น�้ ำ ที่ น อนแน่ นิ่ง อยู ่ แต่ ส� ำ หรั บ เด็ ก นั ก เรี ย นวชิ ร าวุ ธ ฯ อาจจะ รู ้ จั ก กั น ดี กั บ ก้ อ นเขี ย วๆ เละๆ เหมื อ น มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 109
เจลลี่อุ่นๆ ก้อนนี้อยู่ เพราะสามารถพบเห็นก้อนเหล่านี้ได้ ตามบ่อน�้ำที่ตื้นๆ ในโรงเรียน ที่มีตระไคร่น�้ำ เกาะอยู ่ เ ยอะๆ ผมเองก็ ไม่ แ น่ ใ จว่ า ก้ อ น เหล่านี้มันเกิดขึ้นมาได้ยังไง ไม่อาจสามารถ อธิบายอย่างละเอียดในทางวิทยาศาสตร์ได้ อันนีค้ งต้องไปถามอาจารย์แผนกวิทยาศาสตร์ กันดู แต่ว่าก้อนเขียวๆ เหล่านี้มีชื่อเรียกกันว่า “ตึ๋งหนืด” ครับ ถ้าใครเคยเลีย้ งปลาในบ่อน�ำ้ เล็กทีบ่ า้ น ก็จะต้องลงมือลงแรงท�ำความสะอาดบ่อปลานัน้ สักประมาณ ๒-๓ ครัง้ ต่อปี และการทีจ่ ะท�ำให้ ได้ถนัดและจริงจัง ก็ต้องลงไปในบ่อขัดๆ ถูๆ บ่อให้สะอาด ตอนนัน้ แหละครับทีท่ กุ ท่านจะได้ สัมผัสกับก้อนเขียวๆ ลืน่ ๆ เหมือนเจลลีส่ เี ขียว รองพื้นบ่ออยู่อีกชั้นหนึง่ สันนิษฐานว่าเจ้าก้อน เหล่านีอ้ าจเกิดจากการตกตะกอนของตระไคร่นำ�้ เพราะมั น สามารถเลี้ ย งได้ ในแก้ ว หรื อ ขวด พลาสติกใสๆ ซึ่งน้องๆ ในคณะเด็กเล็กจะ ชอบเอาเลีย้ งกัน โดยตักน�ำ้ จากบ่อหรือกระถาง เลีย้ งปลาหน้าคณะใส่ขวดใสๆ แล้วปล่อยทิง้ ไว้ เนื่องจากไม่มีอะไรท�ำยามว่าง ซึ่งวิธีการเลี้ยง ผมก็ไม่แน่ใจนักว่ารายละเอียดของการเลี้ยง เจ้าก้อนเขียวๆ ที่เรียกกันว่า “ตึ๋งหนืด” นีน้ กั เพราะได้ฟังวิธีเลี้ยงมาจากเพื่อนผมมาอีกที แต่ก็ใช่ว่าจะเลี้ยงแล้วปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ ให้รก ทีร่ กทาง ทิง้ ไว้เกะกะทางเดินคณะนะครับ ส่วน
110
ใหญ่เวลาเลี้ยงกันก็จะเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้าของ ตัวเอง ไม่ให้ใครเห็นว่า ตึ๋งหนืดของเราโตไป เท่าไหร่แล้วและมีขนาดพอเหมาะที่จะเอาไป แข่งกัน การแข่งตึ๋งหนืด คือ การเอาตึ๋งหนืด ที่เราเลี้ยงไว้ในขวด มาปากัน ไม่ได้ปาใส่กัน นะครับ แต่เป็นการปาใส่ผนังคณะ แล้วดูว่า ตึ๋งหนืดของใครจะเกาะอยู่บนผนังคณะนาน กว่าและเยอะกว่ากัน จนผนังคณะเกิดเป็นรอย ด่างทางยาวตามตั้งและท�ำให้อาจารย์ประจ�ำ คณะต้องส�ำแดงฤทธิเ์ ดช เดินถือไม้เรียวไล่ตอ้ น พวกนักการพนันรุน่ เยาว์ ให้มายืนหน้ากระดาน พร้อมแจกเครื่องมือท�ำความสะอาดทั้งหลาย และให้ไปจัดการลบร่องรอยการท�ำผิดออกจาก ผนังคณะ อันเป็นการจบวงจรชีวิตของตึ๋งหนืด หนึง่ ชั่วอายุไข ดูเหมือนว่าวงจรชีวติ ของตึง๋ หนืดช่างดู สั้นอะไรเช่นนี้ เกิดมาก็เป็นที่ระบายอารมณ์ให้ เด็กนักเรียนน้องๆ ได้ปากันเพือ่ ความสะใจ แต่ ทว่าตึ๋งหนืดก็ไม่ตายไปจากโรงเรียนเลยแม้แต่ น้อย ตราบใดทีโ่ รงเรียนยังมีสภาพแวดล้อมทีด่ ี ระบบนิเวศฯ ทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ บ่อน�้ำทีม่ สี งิ่ มีชวี ติ หลากหลายอย่างอาศัยอยู่ ตึ๋งหนืดก็ยังคงจะมี ให้เด็กนักเรียนได้ทดลอง เพลิดเพลิน และได้ จดจ�ำว่าชีวติ ของตึง๋ หนืดนัน้ สัน้ ...แต่ความทรงจ�ำ ช่างยาวนาน กรรณ จงวัฒนา (รุ่น ๗๖)
ลอดรั้วพู่ระหงส์ เรื่องเล่าจากคนใกล้ชิด
ของขวัญปีใหม่ เรียน ทีมงานอนุมานวสาร ทุกคน พีห่ น่องและพีน่ อ้ งขอชวนไปฉลองปีใหม่ทบี่ า้ น วันเสาร์ที่ ๒๗ ธ.ค. ๑๘.๐๐ น. โดยจะมีการจับฉลากของขวัญด้วย (ขอเสนอแนะต้นไม้หรือ หนังสือที่ตัวเองชื่นชอบและอยากให้คนอื่นอ่าน) สนุก ๆ นะครับ พี่หน่อง ฝากบอกว่า พีน่ ้องมีต้นคริสต์มาส เปิดไฟวิบวับด้วยครับ แล้วพบกันครับ รบกวนฝากส่งต่อ ๆ กันด้วยครับ
อาทิตย์
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 111
ข้างบนนีเ้ ป็นข้อความทีน่ อ้ งกิก๊ (อาทิตย์ ประสาทกุล) ส่งถึงเพื่อนพ้องนัดแนะให้มาพบ เพื่อส่งท้ายปีเก่าร่วมกัน ปกติพวกเราทีมงาน อนุมานวสารจะหาโอกาสมาพบปะรับประทาน อาหารเย็นแบบรวมพลกันเดือนละครั้ง (และ พบปะแบบกระปริดกระปรอยกันอีกเดือนละ หลายครั้ง) แต่ครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งอื่น ๆ ตรงที่ เรามีบรรยากาศของปีใหม่มาประกอบ มีหนังสือ ทีช่ นื่ ชอบมาจับฉลากแลกเปลีย่ นกันอ่าน บางคน ก็มีของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ ติดมือมาให้กันและ กัน เป็นความอบอุ่นต่างรุ่นต่างวัยที่เราไม่เคย คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น เกือบจะขวบปีเต็มแล้วที่เรามีประเพณี ปฏิบัติกันเป็นประจ�ำเช่นนี้ ไม่ว่าอากาศจะร้อน อบอ้าว ฝนกระหน�่ำ หรือหนาวเย็น พวกเรา ต่างมากันโดยพร้อมเพรียง มากันเท่าทีจ่ ะมาได้ มาเดี่ยวบ้าง มาคู่บ้าง แต่รวมกันแล้วไม่เคยต�่ำ กว่าสิบคนขึ้นไป แรก ๆ ก็ขัดเขินไม่รู้ว่าจะนั่งกันที่ใด ทานอาหารกั น แบบเกรงใจ ถามหาห้ อ งน�้ ำ ห้องท่าว่าอยูท่ ไี่ หน จะหยิบถ้วยหยิบชามหยิบน�้ำ และขนมกันอย่างไร ชวนเพือ่ นมาอีกได้หรือไม่ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป การรวมพล เดือนละครั้งของเรากลายเป็นการคืนสู่เหย้า ของครอบครัวอนุมานวสาร ไปโดยปริยาย เรา มีสมาชิกหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เสียงหัวเราะ ดังขึ้นเรื่อย ๆ ทานอาหาร (แบบซ�้ำ ๆ ซาก ๆ) กันอย่างเอร็ดอร่อยขึ้นเรื่อย ๆ บางคนพอใจ จะนัง่ กับพื้น นัง่ เก้าอี้ เอกเขนกบนโซฟา นอน
112
ดูทีวี และเปิดตู้เย็นหยิบไอศครีมหลังอาหาร ได้ตามชอบใจ คนเก่าแนะคนที่เพิ่งมาใหม่ “มึง ลองนี่หรือยังอร่อยดี” “ห้องน�้ำอยู่ตรงโน้น... เดี๋ยวกูพาไป” ฯลฯ รุ่นน้องหยิบจานชามและ รินเครื่องดื่มให้รุ่นพี่เป็นภาพที่เห็นได้อยู่เสมอ เวลาที่เราพบกัน น้องกิ๊ก (อาทิตย์ ประสาทกุล รุ่น ๗๑) สาราณียกรผู้แสนเฉียบคม (ห้ามน้องกิ๊กตัด ข้อความนี้) ของเราจะมาสม�่ำเสมอไม่ได้ขาด และมักจะมาพร้อมกับขนมหวานที่แสนอร่อย น้องกิ๊กจะเป็นคนที่ริเริ่มรวบรวมความคิดและ สรุป (หัวข้อที่ถกเถียงกัน) ให้เข้าเรื่อง (แต่บาง ครั้งก็เป็นคนท�ำไขว้เขวเองซะดื้อ ๆ ก็มี) จิมมี่ (พิชิต ศรียานนท์ รุ่น ๗๒) จะ มาพร้อมกับฝนพร�ำและไอศครีมกล่องโตที่ เพื่อนๆ (ใช้ช้อนคันเดียวกัน) ตักทานรอบวง อย่างชื่นมื่น จิมมี่เป็นคนเดียวในพวกเราที่ ท�ำงานด้านหนังสือเป็นอาชีพ โก้ (กิตติเดช ฉันทังกูล รุ่น ๗๓) มัก มาเป็นคนแรกและเดินเข้าบ้านอย่างคุ้นเคย นักเขียนหัวเรีย่ วหัวแรงส�ำคัญของอนุมานวสาร คนนี้ เป็นคนที่มีไอเดียแปลกแหวกแนวชนิด จากฟ้ามาเป็นเหวที่ใครฟังแล้วต้องแอบอมยิ้ม หลัง ๆ นี้ โก้มักชวนอึ้ด (มณฑล พาสมดี รุ่น ๗๓) มาร่วมท�ำงานและเฮฮาด้วยเป็นประจ�ำ คนครองต�ำแหน่งมาดึกที่สุดเห็นจะได้ แก่นทั (ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ รุ่น ๗๒) ช่างภาพใหญ่ ที่ถ่ายรูปได้สวยเหลือเกิน บางครั้งนัทจะมา พร้อมกับไวโอลินคูใ่ จ บรรเลงเพลงไพเราะชวน
ให้เพื่อน ๆ เคลิบเคลิ้มและระลึกถึงความหลัง และหากจะมีใครสักคนที่มาถึงดึกกว่า นัท คน ๆ นัน้ จะต้องเป็นน๊อต (นิธิศ นวรัตน ณ อยุ ธ ยา รุ ่ น ๖๖) ซึ่ ง มาพร้ อ มกั บ เสี ย ง มอเตอร์ไซค์คันโปรด เจ้าของบริษัท แฟรงค์ บราเธอร์ส น�ำ้ ใจงามคนนีม้ กั มีคำ� ถามเด็ด ๆ มา ฝากผู้ให้สัมภาษณ์อยู่เสมอ คณะใหญ่ซึ่งมาพร้อมกันบ่อยครั้งจะ น�ำโดย เบ็น (อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาค รุ่น ๗๑) นักสัมภาษณ์และเรียบเรียงมือฉมัง, กรด (กรด โกศลานันท์ รุ่น ๗๑) ซึ่งเมื่อมาครั้งแรกนัน้ กรดเพิ่งลาสิกขาบทจากวัดแถบอีสาน, เควิน (เขต ณ พัทลุง รุ่น ๗๑) โอวี ภาคเอฟเอ็ม สเตอริโอ ภาษาอังกฤษทุ้ม ๆ ของเควินมัก เรียกเสียงหัวเราะได้เสมอ และ ตั๊บ (เอกภัทร เปรมโยธิน รุ่น ๗๑) เจ้าของไอเดียเว็บไซต์ อนุมานวสาร ผูเ้ รียบร้อย น่ารัก และมีใบหน้าที่
ยิ้มแย้มทุกครั้งที่พบกัน ต้น (รัฐพล ปั้นทองพันธ์ รุ่น ๗๕) มา บ้างไม่มาบ้าง ต้นเป็นเจ้าของข้อคิดปรัชญาที่ พี่ ๆ ฟังแล้วนิง่ อึ้งเพราะทึ่งจัด, น้องโอ๊ค โซดา (ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง รุ่น ๗๖) และหมวด พร้อม (ศิริชัย กาญจโนภาส รุ่น ๗๖) คู่หู คู่ฮา เจ้าของคอลัมน์ “ศัพท์โอวี” มักมีส�ำนวน สวิงสวายแกมหวานซึ้งมาให้พ ี่ ๆ ส่งเสียงโห่ฮิ้ว เป็นประจ�ำ ทั้งสามเป็นนักถอดเทปมือเยี่ยม ท�ำงาน (ถอดเทปการสัมภาษณ์) ทีพ่ ี่ ๆ พยายาม ท�ำ ให้เชื่อว่าส�ำคัญที่สุด และที่ลืมไม่ได้คือ น้องจ๋วง (ธนกร จ๋วงพานิช รุ่น ๗๗) นักเขียน คารมคมคาย ผู ้ มี ผ ลงานด้ า นสั ง คมเป็ นที่ ประจักษ์ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ในรั้วจามจุรี บ้านนี้ได้มีโอกาสต้อนรับแขกรับเชิญ อยูเ่ ป็นระยะ ลุงเบะ (วรชาติ มีชบู ท รุน่ ๔๖) จะ มาเป็นครั้งคราวพร้อมทั้งเกร็ดประวัติศาสตร์ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 113
โรงเรียนซึ่งเธอรู้อยู่แต่เพียงผู้เดียว (ในกรณีนี้ ห้ามพี่เบะเป็นโรคอัลไซเมอร์โดยเด็ดขาด), ปกรณ์ (ดร.ปกรณ์ อาภาพันธ์ รุ่น ๕๙) เลขาฯ ใหญ่ผู้มุ่งมั่นของสมาคมฯ ผู้สามารถหลงทาง ได้ทุกครั้งที่มา และ บิ้ค (วีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐) เจ้าของคอลัมน์คอมมอนรูมอันโด่งดัง ผู้มีปณิธานอันแน่วแน่ที่จะเข้าร่วมเป็นทีมกับ อนุมานวสาร เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ของ โอวีให้ยาวนานต่อไป ทั้งนี้ยังไม่นับน้อง ๆ สาว น้อยน่ารัก ที่ (ทน) มาเป็นก�ำลังใจให้กบั ทีมงาน อย่างสม�่ำเสมอ ในการพบกันแต่ละครั้ง เรามักจะเริ่ม ต้นด้วยค�ำพูดที่ว่า “แล้วอนุมานวสาร เล่มหน้า จะเอายังไง” ท่ามกลางเสียงกระทบกันของช้อนส้อม ท่ามกลางการระดมสมอง การออกความคิด เห็น การเสนอแนวทาง ฯลฯ จะสอดแทรกไป ด้วยเรื่องเล่า เรื่องแซว เรื่องอ�ำ และเรื่องข�ำ ๆ ซึ่งในฐานะผู้ฟังขอยืนยันว่า เรื่องเก่าซ�ำ้ ซากที่ น�ำมาเล่าใหม่ ยังเรียกเสียงหัวเราะเฮฮาได้อย่าง ไม่รู้จักจบจักสิ้น ทุกการถกเถียงคือการเรียนรู้ และทุกครั้ง เรื่องเป็นเรื่องบ้าง ไม่เป็นเรื่องบ้าง ทีพ่ วกเราพูดคุยกัน จะกลายมาเป็น อนุมานวสาร หนังสือข่าวเล่มเล็กที่ท่านถืออยู่ในมือขณะนี้ ดึกดื่นล่วงเข้าวันใหม่ เมื่อแสงไฟจาก บ้านรอบข้างเริม่ ดับลง พีห่ น่อง (ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ รุน่ ๔๖) พีน่ อ้ ง และตุง๋ (วรุตมาศ ศุข สวัสดิ์ ณ อยุธยา รุ่น ๗๙) จะเดินไปส่งทีมงาน
114
ทีร่ ถซึง่ จอดยืดยาวไปตามแนวถนน พวกเราจะ ยืนคุยโยกโย้โอ้เอ้กันอีกสักพัก เสียงเตือนให้ ขับรถดี ๆ เสียงนัดหมาย เสียงร�ำ่ ลา จึงค่อย ๆ จางหายพร้อมกับไฟท้ายของรถคันหลังสุดที่ เคลื่อนลับตา ทุกคนต่างแยกย้ายไปท�ำหน้าที่ ของตนเพื่อให้อนุมานวสารเล่มหน้าสมบูรณ์ กว่าเล่มเดิมที่เคยเป็นอยู่ รู้ทั้งรู้ว่าข้อเขียนนีจ้ ะได้รับการคัดค้าน อย่างเขิน ๆ จากทีมงานอนุมานวสารผู้มีความ เชื่อมั่นในการปิดทองหลังพระ ไม่ประสงค์จะ เปิดเผยตนเอง แต่อย่างน้อยในฐานะคนใกล้ชดิ ที่อยู่นอกรั้วพู่ระหงส์ก็อยากเรียนให้ผู้อ่าน ทราบว่า เบื้องหลังชื่อและนามสกุลเพราะ ๆ ที่ เรียงรายอยูใ่ นหน้าสารบัญนัน้ ทีมงาน (ทัง้ ทีเ่ อ่ย นามและไม่ได้เอ่ยนามในที่นี้) ทุกคนมีตัวตน มีความตั้งใจจริง มีความคิดริเริ่ม และมีความ เสียสละ ในอันที่จะท�ำหน้าที่เป็นสายใยถักสาน นักเรียนเก่าจากสถาบันอันเป็นทีร่ กั ยิง่ ของพวก เขาเข้าไว้ด้วยกัน มิตรภาพ ความอบอุ่น ระหว่างพี่น้อง อนุ ม านวสารเปรี ย บเสมื อ นของขวั ญ ปี ใหม่ อันล�้ำค่าที่เราให้ต่อกันและกัน ความสุขแห่ง การท�ำ งานร่ ว มกันนั้น มีป รากฏอยู ่ ในทุ ก ตัว อักษร ทุกบรรทัด และทุกหน้าหนังสือ ด้วย ความหวังว่าสิ่งเหล่านี้ จะถูกถ่ายทอดและส่ง ผ่านไปถึงผู้อ่านอนุมานวสารทุกท่านให้ได้รับ ความสุข สดชื่นและรื่นรมย์ ในปีใหม่ที่มาถึง แล้วนีโ้ ดยทัว่ กัน อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา
สนามหลัง ข่าวสมาคมฯ ประชุมเพื่อเตรียมจัดงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ประชุมใหญ่ อาคารอัศวพาหุ
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 115
ประชุมใหญ่สามัญสมาชิกและเลือกตัง้ คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ และเลีย้ งต้อนรับ นักเรียนเก่าฯ รุ่น ๘๑ วันศุกร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารอัศวพาหุ และร่วมงานเลี้ยงบริเวณลานหน้าอาคารสมาคมฯ
116
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 117
กิจกรรมปาฐกถาอนุมานวสาร “All Gentlemen Can Learn ครัง้ ที่ ๒” ณ บริษทั Siam Administrative Management (SAMCO) เรื่อง “อนาคตวชิราวุธฯ หลัง ๑๐๐ ปี” โดย รศ. ดร.โกวิท วงศ์สรุ วัฒน์ (รุน่ ๓๙) นักเรียนเก่าฯ รุน่ ๔๔ เป็นเจ้าภาพ วันเสาร์ที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๖.๐๐ น.
118
งานระลึกพระคุณครู เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒ ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารอัศวพาหุ มีคุณครูเก่าและนักเรียนเก่าฯ มาร่วมงานกันอย่างอบอุ่น
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 119
การแข่งขันกอล์ฟ O.V. ANNUAL GOLF 2009 เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๒ ณ สนาม กอล์ฟบางปะกงริเวอร์ไซด์ กอล์ฟ คลับ รางวัลชนะเลิศประเภททีมคณะ ครองถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ได้แก่ คณะจิตรลดา ประเภทรุ่น ได้แก่รุ่น ๖๒
120
การประชุมจัดงาน ๑๐๐ ปี ฝ่ายหารายได้ ดุสิต นนทะนาคร (รุ่น ๓๗) (ประธานฝ่ายหารายได้) และโอวีอาวุโสร่วมรับประทานอาหารกลางวัน เมือ่ วันศุกร์ที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องสนามหลัง และ สุรเดช บุณยวัฒน (อุปนายกสมาคมฯ) เป็นตัวแทนมอบช่อดอกไม้ เพื่อ แสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ ดุสิต นนทะนาคร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานหอการค้าแห่ง ประเทศไทย
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 121
122
ห้องสมุด
อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เขียนโดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ (รุ่น ๓๙)
เราเคยสงสัยกันหรือไม่วา่ สิง่ ทีเ่ ราคุน้ เคยและอาศัยอยูร่ ว่ ม กัน ภายใต้ ค�ำว่า “สังคม” นัน้ แท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่ และถ้าเรา อยากท�ำความรู้จัก สังคมให้มากขึ้น เราก็มักจะใช้ รัฐศาสตร์ และ นิติศาสตร์ เข้ามาช่วยวิเคราะห์สังคม ซึ่งมีอยู่ในทุกระดับชั้นตั้งแต่ สังคมของนักเรียนเก่าฯ ไปจนถึงสังคมโลก แต่แน่นอนคนส่วนใหญ่ มักมองข้ามและเบื่อหน่ายกับเนื้อหาวิชาจ�ำพวกนีก้ ัน ด้วยขอบเขตของวิชาการทัง้ สองด้าน กินอาณาบริเวณกว้างขวาง แถมยังซับซ้อนซ่อนเงือ่ น ตลบแตลงและพลิกแพลงไป ๆ มา ๆ อยูเ่ สมอ จนเราไม่สามารถทีจ่ ะท�ำความเข้าใจสังคมได้ทกุ เรือ่ ง แต่ถ้าหากมีหนังสือเล่มเล็ก ๆ เล่มหนึง่ ที่สามารถ สร้างความเข้าใจในเรื่อง รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ไปพร้อม ๆ กับแง่คิดที่ตลกขบขันได้ละ !!! “อย่าเพิ่งปลงเชื่อ” หนังสือเล่มกะทัดรัดแต่พกเอาความรู้หลากหลายระดับ ตั้งแต่เรื่อง ปกิณกะ อย่างเรื่อง “ผูกเนกไทไปท�ำไม” ไปจนถึงเรื่องระดับโลก “ท�ำไมรัสเซียจึงบุกจอร์เจีย” หรือหากมองในมิติกาลเวลา เรื่องอย่าง “ประวัติศาสตร์คืออะไร ปัจจุบันไม่ค่อยมี นอกจากอดีต กับอนาคต” หรือเรื่องเขาพระวิหารที่ยังคงหลอกหลอน ฯลฯ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการตั้งค�ำถามจาก สิ่งที่ธรรมดาที่สุดโดยตัวผู้เขียนเอง แล้วก็ค้นคว้าหาค�ำตอบและค�ำอธิบาย ที่พร้อมจะท�ำให้ผู้อ่าน ต้องฉุกคิด ไม่มากก็น้อย ทุกเรื่องในหนังสือเป็นงานเขียนที่ถูกย่อย และกลั่นกรองมาจากประสบการณ์และ องค์ความรู้ของตัวผู้เขียนเอง ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชารัฐศาสตร์มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่หนุ่ม จนใกล้เกษียณ การถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ให้ออกมาในรูปแบบ “ตลกร้าย” ด้วยการใช้ภาษา บอกเล่าเรื่องราว อย่างง่ายที่สุด กระชับ ชัดเจน ในทุกประเด็น สามารถดึงดูด ให้เราสามารถอ่าน ได้รวดเดียวจบ ได้อย่างสบาย ๆ หนังสือเล่มนีก้ ็เป็นอีกหนึง่ สิ่งที่พิสูจน์ให้เราได้เห็นว่า เรื่องเครียด ๆ อย่างการเมือง สังคม กฎหมาย และประวัตศิ าสตร์ ก็มแี ง่มมุ ทีเ่ รียกเสียงขบขันได้ไม่แพ้หนังสือตลกโปกฮาทัง้ หลาย แถม ยังได้สาระแง่คิด ที่สามารถน�ำไปใช้ได้อีกด้วย คุ้มเกินคุ้มจริง ๆ กิตติเดช ฉันทังกูล (รุ่น ๗๓) มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 123
วัจากทีนมกลั บบ้าน งานอนุมานวสาร
เป็นเรื่องที่หน้าแปลกอยู่เหมือนกัน ที่ ผมต้องเล่าเรือ่ งการ จัดงาน all gent # 2 แบบ ย้อนกลับจากช่วงท้ายก่อน แล้วค่อยมาช่วงแรก ทัง้ นีท้ งั้ นัน้ มันเกิดจากทีผ่ มตืน่ เช้าเข้ามาเช็คเมล์ ก็จะมีเมล์จากน้องทีมอนุมานวสาร เข้ามาเป็น เมล์ถึงทีมงานด้วยกัน อย่างเช้ารุ่งขึ้น (จริง แล้ว บ่ายแก่ๆ เลยละ) ผมได้รับเมล์จาก น้อง คนหนึ่งพูดถึงบรรยากาศในงานตอนช่วงดึก ก็เลยอดรนทนใจไม่ไหว ลุกขึน้ มาเล่าเรือ่ งสูก่ นั ฟัง ครัง้ นีอ้ กี เช่นกันทีต่ นื่ ขึน้ มาตอนเช้าวันหยุด (วันนี้เช้าจริงๆ) เห็นเมล์ของนัท ไกรฤกษ์ โอวี ๗๒ (ที่ต้องใส่ชื่อและนามสกุล เพราะชื่อที่ โรงเรียน ไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะได้) ตากล้องอนาคตไกลทีแ่ นบรูปสวยๆ บรรยากาศ
124
วั นงาน ประกอบกั บ เมล์ ข องผมที่ เ ล่ า เรื่ อ ง งานตอนช่วงดึก จึงเกิดความคิดว่า หากไม่ เล่าเรื่องงานตอนช่วงแรกด้วย คงจะท�ำให้การ ชมภาพสวยๆ ของนัทอาจจะเล่าเรื่องงานช่วง แรกไม่ชัดเจนนัก ผมจ�ำได้วา่ all gen ครัง้ นี้ ตอนเริม่ แรก เราเริ่มกันจากเรายังไม่รู้ว่าจะให้ใครมาเป็น องค์ปาฐก รูแ้ ต่วา่ สถานทีเ่ ป็น SAMCO แน่นอน แล้ว ยังขาดวันจัดงานและทุกๆ อย่าง พูดให้สนั้ ๆ ง่ายๆ ก็คือ ยังไม่มีอะไรเลย ยกเว้น สถานที่... และก็เป็น พี่หน่อง พี่น้อง อีกนัน่ แหละครับที่ รับหน้าที่ประสานงานกับทุกๆ คน ตั้งแต่รุ่น พี่เอ๊าะจนถึงทีมงานอนุมานวสาร แล้ววันหนึง่ ผมก็ได้รับเมล์จากพี่หน่องว่า พี่หน่องนัดกับ
รุ่นพี่เอ๊าะไว้ว่าจะคุยเรื่องรูปแบบการจัดงานนี้ กัน โดยนัดกันที่ร้านอาหารจีนแห่งหนึ่งย่าน ราชประสงค์ และด้วยความไม่ละเอียดของ ผม ท�ำให้ผมไปเจอพวกพี่ๆ ผิดวัน คือผมไป ก่อนล่วงหน้าอาทิตย์หนึง่ และที่ส�ำคัญถึงผม จะจ�ำวันถูกก็ยังไม่ได้เจอพวกพี่ๆ อยู่ดี เพราะ เค้าขอเลื่อนไปวันอื่นแล้ว สุดท้ายผมก็ได้รับ การคอนเฟิร์มวันนัดที่แน่นอนพร้อมทั้งการ พยายามจะขอโทษผม จากพี่หน่องที่ไม่ได้แจ้ง ผมว่ามีการเลือ่ นนัดแล้ว ไม่เป็นไรครับพีห่ น่อง อย่างน้อย วีซา่ ผมก็ออกแล้วในวันนัน้ แล้วผม ก็เลยไม่คืนวีซ่าต่อซะดึกแฮ๋ๆ ในที่สุด ทีมงานอนุมานวสาร ก็ได้ มาพบกับ พี่ๆ รุ่น ๔๔ จนได้ เราใช้เวลากัน อยู่หลายชั่วโมง ที่ร้าน เสี่ยวหลงเปา แถว ราชประสงค์ เริม่ ต้นแบบเกรงใจกัน สัง่ เก๊กฮวย เย็นมานัง่ ฟัง พี่ๆ คุยกัน ตอนแรกก็พยายาม จะคุยเรื่องงานทุกครั้ง แต่มักจะไปจบเรื่องของ พวกพี่ๆ ซะส่วนใหญ่ พี่เตา พี่ยืด พี่เอ๊าะ และ พี่ๆ รุ่น ๔๔ อีกสอง อ�ำกันไปอ�ำกันมาตาม ประสาโอวี ผ่านไปซักชั่วโมงกว่าๆ พวกเรา เริ่มคุ้นเคย สั่งเบียร์ไล่กวด พี่เตาที่น�ำไปแล้ว หลายขวด และแล้วพี่เตาก็เสนอชื่อพี่โกวิทขึ้น มา และแนะน�ำประวัติพี่โกวิทคร่าวๆ... ครับ คร่าวๆ เท่านั้นเอง... เพราะในที่สุดพี่เค้าก็ หันมาคุยกันเองให้เราฟังอีก เราใช้เวลาที่นนั่ ประมาณสามชั่วโมง จึงจบออกมาพร้อมเบียร์ กับเสี่ยวหลงเปาเต็มกระเพาะ พร้อมกับชื่อ พี่ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
....แต่ผม ท่อก และโก้ ที่เร่งเบียร์ตาม พีเ่ ตา เริม่ รูส้ กึ ว่ายังคุยกันไม่พอ เลยไปวางแผน จัดงานกันต่อเกือบตีสอง ส่วนรายละเอียด หลังจากเสี่ยวหลงเปาแล้วไม่ขอเล่าต่อ เพราะ เป็นช่วงละลายพฤติกรรมของพี่กับน้องเท่านัน้ หลังจากวันนัน้ อีกประมาณเกือบสอง อาทิตย์ พี่หน่องก็แจ้งว่าติดต่อพี่โกวิทได้แล้ว และจะยกขบวนขันหมาก พร้อมน้องๆ ทีม อนุมานวสารไปเจรจาเรียนเชิญพี่โกวิทมาเป็น องค์ปาฐก การเจรจาเป็นผลส�ำเร็จเกินคาด เพราะ นอกจากพี่โกวิทจะรับปากมาเป็นองค์ปาฐกให้ แล้วยังให้โอกาสทีมงานสัมภาษณ์ และที่เด็ด ที่สุดพี่โกวิทยังกรุณา ร่วมเขียนบทความลงใน อนุมานวสารด้วย สงสัยต้องส่งชุดนี้ไปเจรจา ปัญาหาชายแดน ไทย-กัมพูชา ซะแล้ว พีเ่ ตารุ่น ๔๔ องค์ปาฐกในงานครัง้ แรก และเป็นคนเสนอชื่อพี่โกวิทในครั้งนี้ ถูกเชิญ กลับมาอีกครัง้ เพือ่ ร่วมด�ำเนินรายการ ในฐานะ ผู้ให้ทัศนะร่วมกับพี่โกวิท พี่หน่อง รุ่น ๔๖ รับหน้าที่ประสานงาน กับพีโ่ กวิทและรุน่ พีเ่ อ๊าะต่อไป นัน่ คงเป็นเพราะ ตัวเลขรุ่นพี่หน่อง ใกล้เคียงกับรุ่นพี่ๆ เค้ามาก ทีส่ ดุ น้องๆ จึงลงความเห็นว่าพีห่ น่อง นอกจาก จะเป็นประธานจัดงานแล้ว ยังต้องสวมบทบาท หน่วยหน้าให้พวกเราท�ำหน้าที่เจรจาเรื่องยากๆ ที่ดูเหมือนง่าย แต่ต้องใช้ประสบการณ์และ ตัวเลขรุ่นเท่านัน้ จึงจะท�ำได้ พี่หนู ธราวุธ รุ่น ๔๖ นักพากย์กีฬา ชือ่ ดังและคอลัมนิสต์ ในหนังสือฟุตบอลอมตะ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 125
สตาร์ซอคเก้อร์ ที่ในงานนี้ให้เกียรติทีมงาน มาเป็นผู้ด�ำเนินรายการตอนปาฐกถา ให้ถือ เป็นการยกระดับงานนีใ้ ห้ใกล้เคียงกับมืออาชีพ ขึ้นมาอีก ส่วนใครรับหน้าที่ติดต่อประสานงาน กับพีห่ นูนนั้ คงไม่ตอ้ งบอกดูตวั เลขรุน่ เอาก็พอ จะรู้ครับ ผม กับ มะ รุ่น ๖๙ ขันอาสาตั้งตัวเป็น ออร์กาไนเซอร์สมัครเล่น ท�ำหน้าทีท่ ำ� sequenze ของงาน ประสานงานเรือ่ ง สถานที่ ทีมงานทุกคน และสมาคมฯ รวมทัง้ คุมรายละเอียดงานทีเ่ หลือ ออร์กาไนเซอร์ตัวจริงคือ พี่เอ๊าะ รุ่น ๔๔ และ ทีมงาน SAMCO ไม่ว่าจะเป็น พี่หง่าว พี่โอ และพนักงาน SAMCO อีกหลายชีวิตที่ได้ ให้ความกรุณากับพวกเราชาววชิราวุธฯ เหลือ เกิน เป็นคนรับไปหมดตัง้ แต่ อาหาร เครือ่ งดืม่
126
ตกแต่งสถานที่ light and sounds และบริการ ต่างๆ ภายในงาน ท่อก รุ่น ๗๑ ประสานงานเรื่องเอกสาร งบประมาณ ขอความอนุเคราะห์กับสมาคมฯ และวงปี่สก๊อต ชูฮวย รุ่น ๗๑ โก้ รุ่น ๗๓ และ น้อง ทีมงานอนุมานวสารทุกคน (ขอโทษที่ไม่ได้ เอ่ยนาม) รวมทั้งแฟนๆ ของน้อง ท�ำหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ และฝ่ายทะเบียน เลยมีการบ้าน ฝากไว้ให้น้องๆ ส�ำหรับคราวหน้าว่า ใครที่ใช้ แรงงานแฟนคนอื่นมาสองครั้งแล้ว ขอความ ร่วมมือคราวหน้าช่วยหาแฟนมาเป็นของตัว เอง มาให้พี่ๆ น้องๆ ใช้งานด้วย โดยเฉพาะ เบ็น ชูฮวย และศรเทพฤทธิ์ (คนชื่อยาวแต่จ�ำ ง่าย) ส่วนใครที่มีไว้ใช้ส่วนตัวสองครั้งแล้ว ก็
พยายามรักษาความสัมพันธ์เอาไว้ เก็บไว้ใช้ คราวหน้าด้วย เพราะถ้าหากแฟนใครมางาน all gen ได้ครบสามครั้งล่ะก็ แสดงว่ารักเรา จริง ไม่ต้องพาไปพิสูจน์รักแท้ ที่โค้งหน้าเหี้ย แต่อย่างใด บอส รุน่ ๗๐ ท�ำหน้าทีพ่ ธิ กี รภาคสนาม และยังรักษาระดับงานแบบมือโปรไว้ได้อย่าง ไม่มีที่ติ น้องฟ้า ลูกสาวพี่ยักษ์ รุ่น ๔๔ ดาวรุ่ง พุ่งแรง ประกบคู่งานพิธีกรกับมืออาชีพ อย่าง บอส ได้แบบไหลลื่น พี่น้อง อโนมา ผู้ครองต�ำแหน่ง ลูก หลาน เมีย และแม่โอวีดีเด่นท� ำหน้าที่เป็น ทีป่ รึกษาฝ่ายสนับสนุนส่วนตัวท่านประธานจัด งาน (พีห่ น่อง รุน่ ๔๖) และ แม่งานตัวจริง ของ
ชาวอนุมานวสาร ที่มักจะถามกับผมเสมอ ว่า “แล้วชั้นมาเกี่ยวอะไรกับพวกเธอเนี่ย” ค�ำตอบ ก็คอื ให้กลับไปดู ต�ำแหน่งข้างต้น แล้วจะทราบ ว่าเกี่ยวกันยังไงครับ นี่ถ้ารอต่อไปจากนี้อีก ซักพักใหญ่ๆ อาจจะได้ต�ำแหน่งย่าโอวี เพิม่ อีก ต�ำแหน่งจากเจ้าตุ๋งลูกชายก็ได้นะครับ วันงานเริ่มขึ้น ผมมาถึงงานประมาณ เทีย่ งครึง่ พบว่า พีเ่ อ๊าะมาถึงอยูก่ อ่ นแล้ว พร้อม เหล่ผมนิดๆ ว่าผมมาช้าไปรึเปล่า ผมแอบ ตั้งข้อสังเกตว่า สงสัยพี่เอ๊าะอาจจะไม่ได้กลับ บ้านตั้งแต่เมื่อคืนก่อนงาน เพราะผมอยู่กับพี่ เอ๊าะและทีมงาน เพือ่ ดูแลความเรียบร้อยจนถึง สองทุ่มกว่าๆ ผม กับ มะ จึงขอตัวกลับก่อน แต่ดูพี่เอ๊าะที่เริ่มจัดการ สั่งให้ลูกน้องตกแต่ง สถานที่จนบางครั้งเดินลงไปลงมือเอง ตั้งแต่ ตอนกลางวันยังไม่มีทีท่าว่าจะกลับเลย อีกทั้ง ผมได้สงั เกตว่าพีเ่ อ๊าะจ�ำชือ่ พนักงานทีม่ าช่วยงาน ในวันนัน้ ได้ทกุ คน และ ปฏิบตั กิ บั ลูกน้องอย่าง เป็นกันเอง ตั้งแต่ระดับช่างยันผู้อ�ำนวยการ เจ๋งจริงๆ พอบ่ายนิดๆ ทีมงานเริ่มทยอยมา ผม เริ่ม brief งานและตามมาด้วยประธานจัด งานและภรรยาที่คราวนี้มาเร็วขึ้น แต่มาทราบ ตอนหลัง brief งานเสร็จแล้วว่าหลายคนๆ ยังไม่ได้ทานข้าวรวมทั้ง พี่น้อง พี่หน่องด้วย และก็เป็นพี่น้องอีกนั่นแหละครับที่คอยดูแล พวกเรา ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องปากท้อง จัดการ สั่ง junk food ชื่อดังที่สุดในโลกมาให้พวกเรา ได้ลองท้องก่อนท�ำงาน บ่ายสองกว่าๆ โอวีทมี่ า มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 127
ร่วมงานเริม่ ทยอยมาถึงงานไม่วา่ จะเป็นขาประจ�ำ อย่าง พี่หน่อ ชัยนิมิตร รุ่น ๓๗+๑๗ พี่อ๋อง นรฤทธิ์ รุน่ ๔๐ และ พีด่ ี้ รุน่ ๔๔ และภรรยาพี่ ที่ขับรถตรงจากโรงเรียนอย่าง พี่ต๋อ รุ่น ๔๐ และ พี่แก่ รุ่น ๔๖, พี่จู๋ รุ่น ๔๗ ที่ sms มา ถามเวลาผมตั้งแต่ก่อนเที่ยง, พี่กบ รุ่น ๕๐ มา พร้อมภรรยา และน้องเด็กวชิราวุธฯ หน้าตา เหมือนกันสามคน แต่ใช้นามสกุลเดียวกันกับ พี่กบ, เฮียเหล็ง รุ่น ๕๙ observer จาก เว็บโอวี, เพื่อนๆ รุ่น ๖๐ ดร.อนิรุทธ์ เอ๊ยยย โหน่ง ชุมพล ที่มาให้ก�ำลังใจคนจัดงาน ศพ แห่งโอวีรีสอร์ทที่น�ำของมาร่วมจ�ำหน่ายในงาน และเพื่อนร่วมรุ่น ๖๑ หนอง, กิ้ม, เม้ง, จอร์จ และดุก เจ้าของขนมปังสังขยา รวมทั้งน้องๆ และพี่ๆ ชาวโอวีอีกหลายท่าน ที่ผมไม่ได้เอ่ย นามรวมแล้วประมาณเกือบ ๙๐ คน....
128
จากนัน้ สองพิธกี ร คูข่ วัญ น้องฟ้า และ บอส ๗๐ เริ่มน�ำวิดีโอ เก็บภาพบรรยากาศ ในงาน พร้อมสัมภาษณ์ผู้ที่มาร่วมงานและน�ำ ผูร้ ว่ มงานทุกคนเข้าไปในตัวตึกกลาง SAMCO เพือ่ ฟังพีเ่ อ๊าะบรรยายสรุปเกีย่ วกับหลักการใน การด�ำเนินธุรกิจของบริษัท SAMCO ภายใต้ การบริหารของพีเ่ อ๊าะ และพาเยีย่ มชมหน่วยงาน ต่างๆ ของบริษัท SAMCO ซึ่งหลังจากกลับ มาจากการเยี่ยมชม SAMCO หลายคนยังคง ตะลึง และพูดถึงความเป็นมืออาชีพของบริษัท SAMCO ให้ได้ยินอยู่เรื่อยๆ เวลาใกล้บ่ายสี่โมง พวกที่ไปเยี่ยมชม บริษทั เริม่ หายเหนือ่ ยจากการพาทัวร์อาณาจักร SAMCO แล้ว วงปีส่ ก๊อต ทีน่ ำ� โดย มิสเตอร์ คีท น้องวูหยิน และน้องนันยาง รุน่ ๗๑ อีกสองคน เริม่ บรรเลง แขกคนส�ำคัญของผมทีผ่ มพยายาม
ล็อกคิวมางานให้ได้โดยตัง้ ใจจะให้กล่าวปิดและ มอบของที่ระลึกในตอนท้าย คืออดีตนายก สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย นพ.ยุทธ โพธารามิก รุ่น ๒๙ ก็มาถึงงานพอดี จากนัน้ แล้วก็เดินเข้างานพร้อมกับทุกๆ คน โดยมี วงปี่เดินน�ำด้วย เพลงสอง หรือ Scotland the brave เข้ามาในงานส่วนที่จัดเป็นเวที ปาฐกถา พี่หน่อง เข้ามาคุยกับผม ว่าจะสลับ คิวนิดหน่อย โดยจะให้พี่หมอยุทธขึ้นมากล่าว เปิดแล้วตามด้วยพีต่ นั ติ รุน่ ๔๐ ตัวแทนสมาคม นักเรียนเก่าฯ และก่อนจะขึ้นไปด�ำเนินรายการ พีห่ น่องขอแถมด้วยข้อสงสัยส่วนตัวว่า พีห่ มอ ยุทธเป็นอะไรกับผม ผมเลยบอกว่าตอนนี้ เรียกพีเ่ หมือนทุกคนแหละครับ แต่ตอนอยูบ่ า้ น เรียก “พ่อ” ครับ หลั ง จากบรรดาโอวี อ าวุ โ สกล่ า ว เปิดงาน พี่หน่อง รุ่น ๔๖ ก็เริ่มแนะน�ำตัว ผู ้ ด� ำ เนิน รายการ พี่ ห นู ธราวุ ธ นพจิ นดา รุ ่ น ๔๖ ตามด้ ว ยพี่ เตา บรรยง รุ ่ น ๔๔ ขึ้นมารับช่วงต่อในการแนะน�ำตัว องค์ปาฐก คือ ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ รุ่น ๓๙ จากนัน้ ทั้ ง สามท่ า นก็ เริ่ ม ด�ำ เนิน รายการถาม ตอบ และแลกเปลี่ ย นทั ศ นะ ตั้ ง แต่ ป ระวั ติ ที่ น ่ า สนใจของพี่โกวิท ๓๙ ว่าท�ำไมถึงรู้ทุกเรื่อง การฝากข้อคิดให้ไว้ในวงการศึกษา รวมทั้ง โรงเรียนวชิราวุธฯ ด้วย ประโยคสัน้ ๆ ว่า Train to be a trainer จากนัน้ ก็เป็นเวทีแลกเปลีย่ น ทางความคิดเรียบง่ายแบบพีน่ อ้ ง ละลายเวทีให้ เป็นระนาบเดียวกัน น้องถามพี่ตอบ พี่พูดน้อง
ซักถาม ตัง้ แต่รนุ่ ใหญ่สดุ จนถึงรุน่ เล็กสุด เราใช้ เวลาประมาณ ๒ ชัว่ โมงกว่า แบบไม่รตู้ วั เพราะมัว เพลิดเพลินกับการเสวนาอย่างออกรสออกชาติ เวลา ๑๘.๓๐ น. โดยประมาณ การปาฐกถา จึงจ�ำ เป็นต้องจบลง จากนั้นพวกเราก็ออก ด้ า นนอก มาเสวนาตามใจชอบต่ อ กั น อี ก พร้อมอาหารเครื่องดื่มจาก โอวีรุ่น ๔๔ เบียร์ สิงห์จากพี่เจ๋ง ๕๗ โดยการประสานงานของ พีช่ ายน้อย ๕๗ และดนตรี jazz ขับกล่อม จาก สมาคมนักเรียนเก่าฯ ทุกคนต่างเดินทักทายจับกลุม่ คุยกันไป พร้อมทั้งเพลิดเพลินกับเสียงเพลงไพเราะ จน พี่หลายคนอย่างพี่ฮูกและพี่คิม รุ่น ๔๔ ที่โดด ขึน้ มาแจมร้องเพลงและโซโลกีตาร์ กับวงดนตรี ยังไม่รวมพี่ตัด รุ่น ๔๔ ที่ขอนักดนตรีตีกล่อง ให้จังหวะ แล้วหันไปถามนักดนตรีว่า ฝีมือตน ใช้ได้มยั๊ น้องนักดนตรีกด็ นั ตอบไปอย่างชืน่ ชม หรือเกรงใจก็ไม่รู้ว่า “ดีเลยค่ะ พี่ขา” โดยไม่รู้ เลยว่า ประโยคนัน้ ประโยคเดียวจะสร้างแรง บันดาลใจให้พี่ตัดในการให้จังหวะไปตลอด ค�่ำคืนนัน้ พวกเราเพลิดเพลิน กับบรรยากาศ สบายๆ และบทสนทนาที่ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเรา คุยเรื่องอะไรกัน จนถึงเวลาอันสมควร หลาย คนเริ่มขอตัวกลับก่อน เนื่องจากภารกิจในวัน รุ่งขึ้น บริ เ วณทางเดิ น ไปออฟฟิ ศ พี่ เ อ๊ า ะ แปลงสภาพเป็นเวทีเสวนาย่อยๆ ไปในทันที บรรยากาศเหมือนตอนแอบกินเหล้าในโรงเรียน ง่ายๆ (เพราะกินเบียร์ ไม่ต้องผสมโซดา) ผม มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 129
จึ ง สวมวิ ญ ญานผู ้ ด� ำ เนิน รายการยิ ง ค� ำ ถาม ให้พี่ๆ ตอบ และควบคุมการถามและเสนอ ความคิดเห็นของน้องๆ ให้เป็นระเบียบมีจงั หวะ จะโคน ต้องบอกว่าเป็นการเสวนาที่ออกรส ออกชาติ ได้ทั้งความรู้และความบันเทิง แลก เปลี่ ย นความคิ ด เห็ นกั น แบบไม่ มี กั๊ ก เรื่ อ ง บางเรื่องที่พี่คิมเล่าให้ฟังในคืนนัน้ พี่เตากับพี่ ตัดก็ยังยืนยันว่าพี่คิมไม่เคยเล่าเรื่องนี้มาก่อน ที่ไหนแม้กระทั่งเพื่อนในรุ่น นี่คื อ อนุ ม านวสารปาฐกถาในฝั น ของผมเลย ทั้งสาระความรู้จากประสบการณ์ ของพี่ๆ ตั้งแต่เคล็ดลับในการหนีเมียเที่ยว และหลักการง่ายๆ ในการไม่ให้เมียว่ายาม กลับบ้านดึกของพี่คิม ที่บอกกับน้องๆ ว่า ให้เรียกเมียว่า “แม่” ไว้แล้วทุกอย่างจะดีเอง หลักการณ์ในด�ำเนินชีวิตของสองฝั่งความคิด ทุนนิยมกับเศรษฐกิจพอเพียง ที่ดูเหมือนจะ ขัดแย้งกัน แต่ตอนสรุปกลับสามารถท� ำให้ น้องๆ เห็นข้อเท็จจริงในการอยู่ร่วมกันอย่าง ปรองดองของสองขัว้ ความคิด นัน่ คือ มิตรภาพ ของค�ำว่า “เพื่อน” การวิเคราะห์การเมืองใน เรื่องความขัดแย้งของกลุ่มแดง-เหลืองแบบ อินไซด์จริงๆ และไม่ใช่ที่จะเป็นฝั่งพี่ที่เป็นฝ่าย พูดอย่างเดียว ฝั่งรุ่นน้องก็ไม่ยอมน้อยหน้า ยิงค�ำถามกันแบบตรงไปตรงมา เฉียบคม แต่ เต็มไปด้วยความเคารพ อีกทั้งมีหลายๆ คน ที่แสดงความคิดเห็นได้อย่างน่าฟัง ถึงขนาด รุ่นใหญ่อย่างพี่เตายังพยักหน้าตาม การเสวนา
130
ด�ำเนินไปอย่างออกรสออกชาติ จนเวลาใกล้เที่ยงคืน ก็ยังไม่วี่แววหรือ ทีทา่ ว่าจะเลิกรากันทัง้ รุน่ พีร่ นุ่ น้อง ผมจึงอาศัย จังหวะ dead air ขออนุญาตสรุปและปิด รายการเพราะเกรงว่าหากเมามากกว่านี้อาจจะ มีคนไปปล้นรถขนเงินของพี่เอ๊าะได้ ก่อนร�ำ่ ลากัน พี่ๆ หลายคนเดินมาให้ ก�ำลังใจทีมงาน และอยากให้จัดอีก คนมางาน ชอบใจ คนจัดก็ดใี จ คนจัดดีใจก็มกี ำ� ลังใจท�ำงาน ให้สมาคมฯ ต่อไป พอสมาคมฯ มีงานดีออกมา เรื่อยๆ ก็ได้รับความร่วมมือจากนักเรียนเก่าฯ มากขึ้ น พวกเราก็ ส ามั ค คี ม ากขึ้ น พอเรา สามัคคีมากขึ้นจะคิดการใหญ่ท�ำอะไรให้กับ โรงเรียนและแผ่นดินไทยมันก็ง่ายขึ้น สรุปว่า เรามาถูกทางแล้วครับ พี่ๆ น้องๆ แม้ว่าการพูดคุยจะจบลงไปแล้ว แต่ ผมเชื่ อ ว่ า บรรยากาศเมื่ อ คื นนี้ ยั ง คงสร้ า ง ความสุขและความประทับใจให้กับพวกเรา หลายๆ คนที่อยู่กันต่อเมื่อคืน อย่างน้อยที่สุด ก็ตวั ผม ทีม่ ไี ม่กคี่ รัง้ ทีเ่ มากลับบ้านแล้วได้ความ รู้และความรู้สึกดีๆ ติดกลับบ้านไปด้วย แต่ก็ ยังไม่รู้จะบอกเมียยังไงว่า ไม่ได้มีแต่ความเมา อย่างเดียวที่เอากลับมาบ้าน จึงตัดสินใจเรียก เมียว่า “แม่” อย่างที่พี่คิมแนะน�ำ ผลปรากฏว่า ภรรยาผมก็ไม่ได้ว่าอะไรผมซักเท่าไหร่ ด้วยความเคารพ วีรยุทธ โพธารามิก (รุ่น ๖๐)
ห้องเบิกของ
ธุรกิจขนาดย่อมของชาวโอวี ห้องเบิกของเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจของพี่น้องชาวโอวี เพื่อให้ชาวโอวี อุดหนุนซึ่งกันและกัน หากต้องการจะลงประกาศหรือแนะน�ำธุรกิจ กรุณาแจ้งรายละเอียดพร้อม หมายเลขติดต่อมายัง ovnewsletter@yahoo.com ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ
ร้านอาหาร ร้านรับลมริมน�้ำ พี่โย่ง ป๊อก บุญยัง (รุ่น ๕๐) และ พี่โจ้ (รุ่น ๕๔) ตั้งอยู่ริมสระว่ายน�้ำ Riverline Place คอนโดมิเนียม ติดแม่น�้ำเจ้าพระยา (มีทั้งวิวริมน�้ำ และวิ ว นัก ว่ า ยน�้ ำ ) ถนนพิ บู ล สงคราม นนทบุ รี โทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ๐๒-๙๖๕-๓๒๐๐ ร้ า นครั ว กะหนก ร้ า นของภรรยา พ.ต.ท.กุ ล ธน ประจวบเหมาะ (รุน่ ๕๕) สถานทีต่ งั้ จากถนนลาดพร้าว เข้าซอยลาดพร้าว ๗๑ ประมาณ ๑๕๐ เมตรอยู่ซ้าย มือ ส�ำหรับชาวโอวีทกุ ท่าน รับส่วนลดค่าอาหาร ๑๐% สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐๒-๕๑๔-๑๘๑๔ ร้านอาหารตึกแถว ษาเณศวร์ โกมลวณิช (รุ่น ๖๙) รับช่วงต่อจากที่บ้านดูแลกิจการร้านอาหารเหนือสุด แสนอร่ อ ยบนถนนนิ ม มานเหมินทร์ ถนนสายฮิป แห่งเมืองเชียงใหม่ เมนูแนะน�ำคือ แกงโฮ๊ะ ปลาสลิด ทอดฟู และแหนมผัดไข่ โทร. ๐๕๓ ๒๑๘ ๓๓๓ ร้านอาหาร อิงน�้ำ ของ พี่อึ่ง (รุ่น ๓๙) ตั้งอยู่ระหว่าง จรัญ ๗๓-๗๕ (เลย lotus มาประมาณ ๑๐๐ เมตร) อาหารอร่อยมาก ราคาก็ไม่แพง พี่อึ่ง เป็นกันเองมาก ลองไปชิม รับรองไม่ผิดหวัง ร้านอาหาร บ้านประชาชื่น ของพี่บูน บวรพิตร พิบูล สงคราม (รุ่น ๔๖) คณะพญาไท เวลาท� ำอาหาร ๑๐.๓๐-๑๕.๓๐ ไม่ขายช่วงเย็น ไม่มีวันหยุด เสาร์
และอาทิตย์ คนแน่นมาก ควรรีบไปแต่เนิน่ ๆ เมนู เลื่องชื่อ ข้าวแช่ ต�ำรับ ม.ล.พร้อมศรี พิบูลสงคราม ที่สืบทอดสูตรมาจากต้นตระกูลสนิทวงศ์ ความอร่อย ต้องไปลิ้มรสด้วยตนเองจะดีที่สุด ตั้งอยู่ที่ ๓๗ ซอย ประชาชื่น ๓๓ กรุงเทพฯ ๑๐๘๐๐ ถ้าไปไม่ถูก หรือ ต้องการจองโต๊ะ โทร. ๐๒-๕๘๕๑๓๒๓ หรือ มือถือ ๐๘๙-๐๕๗๑๖๑๓, ๐๘๑-๖๑๙๒๖๑๐ ร้าน HOW TO ภิญโญ โอวีคณะผู้บังคับการ (รุ่น ๔๔) ตั้งอยู่แถวถนนเกษตรนวมินทร์ มีดนตรี แนว เพลง Acoustic Guitar และ Folk Song ส่วนลด ส� ำ หรั บ ชาวโอวี ลดค่ า อาหาร ๒๐% สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐๘๖-๓๐๐-๕๘๔๖ OZONO PLAZA ของคมกฤช รัตนราช (รุ่น ๕๙) อยู ่ ท ้ า ยซอยสุ ขุ ม วิ ท ๓๙ (พร้ อ มพงษ์ ) หลั ง ตึ ก อิตลั ไทย เป็นแหล่งรวมร้านค้าทีต่ อบสนอง life style ของคน (และสัตว์เลี้ยง) ทุกรุ่น ภายในมีร้านอาหาร ร้านเฟอร์นิเจอร์ pub, ร้านเสื้อผ้า, coffee shop, ร้านท�ำผม, waxing, ร้านท�ำเล็บ, ร้านแผ่นเสียง ร้านขายสินค้าส�ำหรับสัตว์เลี้ยง, spa อาบน�้ำ ตัดขน สุนขั และแมว โรงแรมสุนขั โรงแรมแมว และยังมี Dog park ส�ำหรับสมาชิกเท่านั้น ชมรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ www.ozono.us หรือถ้ามาไม่ถูก ติดต่อ ๐๘๑-๖๕๗-๖๑๘๒ ชาวโอวีทา่ นใดสนใจสมัคร สมาชิก Dog park จะได้รับส่วนลด
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 131
The Old Phra Arthit Pier พงศ์ธร เพชรชาติ (รุน่ ๖๐) ร้านอาหารสวยริมแม่น�้ำเจ้าพระยา ใกล้ ๆ กับ ท่าพระอาทิตย์ ส�ำหรับชาวโอวีพเี่ ค้ามีสว่ นลดให้ ๑๐% โทรมาจองโต๊ะได้ที่ ๐๒-๒๘๒-๙๒๐๒ หรือถ้ามาไม่ถกู ติดต่อได้ที่ ๐๘๑-๘๒๒-๔๔๐๒
ร้านอาหารชิมิ ศิโรฒม์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (รุน่ ๔๔ ) ร้ า นชาบู ช าบู แ ละยาคิ นิ คุ ในแบบของโฮมเมด (อ่ า นรายละเอี ย ดได้ ในคอลั ม น์ โรงเลี้ ย ง ฉบั บ ที่ ๑/๒๕๕๒) คุณภาพเยี่ยมราคาย่อมเยาว์ เหมาะกับ การกินในช่วงหน้าหนาวพอดี อยากหาอะไรอร่อย กระแทกลิน้ เชิญได้ที่ ถนนประดิพทั ธ์ ซอย ๑๙ โทรไป จองโต๊ะล่วงหน้าได้ที่เบอร์ ๐๒-๓๕๗-๑๓๙๐-๑ หรือ อีเมล์ shimi_restaurant@hotmail.com
บริการ ถ่ายรูป ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) ช่างภาพใหญ่ ประจ� ำ อนุ ม านวสารลาออกจากการเป็ นนัก ข่ า วมา ประกอบธุรกิจส่วนตัวบอกว่าไม่ชอบให้ใครมาก�ำหนด เวลา ออกมาท� ำ งานอิส ระเสียเลยดีกว่า ถนัดรับ ถ่ า ยรู ป งานแฟชั่ น งานเฉลิ ม ฉลอง และถ่ า ยรู ป ในสตูดิโอ ทั้งถ่ายบุคคลและผลิตภัณฑ์ สตูดิโอ ของเขาตั้งอยู่ในหมู่บ้านการ์เด้นโฮม สะพานใหม่ โทร. ๐๘๗-๐๕๑-๘๖๐๕ อี เมล์ nat_vc72@ hotmail.com หรื อ แวะชมผลงานก่ อ นได้ ที่ www.natphoto.com ร้าน ENCH Tutor & Café ฉัตรชัย เทพอภิชัยกุล, สรณัฐ สุดลาภา (รุ่น ๗๖), ศราวุธ ศิริวัฒน์ (รุ่น ๗๗) และผองเพื่อน รุ่น ๗๖, ๗๗, ๗๘ กลุ่มน้องโอวี เลือดใหม่ไฟแรง ผสาน “๒ งานบริการคุณภาพ” ไว้ ในร้านเดียวได้อย่างสร้างสรรค์ลงตัว ขอเชิ ญ ชวนลิ้ ม รส ขนมของว่ า งสุ ด แสน อร่อย พร้อมชิมน�้ำปั่นแสนสุดพิเศษ ในบรรยากาศ ร้านชวนชื่นมื่นน่ารัก กับราคาเป็นกันเอง น�ำทีมอร่อย ลิ้นอิ่มใจโดย สรณัฐ สุดลาภา (รุ่น ๗๖) ทั้งเปิดสอน พิเศษ ตั้งแต่ชั้น ประถม ๑ ถึง มัธยม ๖ และคอร์ส ติว ENTRANCE สอบเข้ามหาวิทยาลัย อ�ำนวยการ สอนโดย ฉัตรชัย เทพอภิชยั กุล (รุน่ ๗๖) บัณฑิตใหม่ วิศวะฯ จุฬา ยอดอัจฉริยะแห่งโอวีรนุ่ ๗๖ ผูค้ ว้ารางวัล เรียนดีวชิราวุธ ๑๐ ปีซอ้ น ภูมใิ จขอเสนอเชิญชวน พีๆ่
132
เพือ่ นๆ น้องๆ โอวี พาลูกๆ หลานๆ มาพบกับกวดวิชา ชั้นคุณภาพ ด้วยราคาอันแสนจะย่อมเยาว์ครับ ENCH Tutor&Café ตั้งอยู่ ณ ซอยสามัคคี ข้ า ง รร.เบญจมราชานุ ส รณ์ ถ.สามั ค คี อ.เมื อ ง จ.นนทบุรี เริ่มเปิดบริการตั้งแต่ ต้นเดือนพฤษภาคม ศกนี้เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ๐๘๖–๖๑๑–๓๖๖๔ (ฉัตรชัย รุ่น ๗๖), ๐๘๖–๖๙๙– ๐๕๙๕ (สรณัฐ รุน่ ๗๖), ๐๘๕–๙๐๙– ๙๒๒๒ (ศราวุธ รุ่น ๗๗) e-mail: ihavea_dream@hotmail.com แฟรงค์บราเดอร์ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา (รุ่น ๖๕) อดีตหัวหน้าวงจุลดุริยางค์ ที่เคยน� ำวงไปแสดงที่ โรงเรียนสาว ๆ ทั่วราชอาณาจักร หันมาท�ำธุรกิจ ดนตรีอย่างจริงจัง มีสาขาที่กรุงเทพฯ และสิงคโปร์ ขายเครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องดนตรีคลาสสิก มี ไวโอลินเก่าตั้งแต่ระดับมืออาชีพ ควรค่าแก่การเก็บ สะสม จนไปถึงไวโอลินคุณภาพดีราคาย่อมเยาว์ โทร. ๐๒-๖๓๒-๘๘๒๓-๔ ไร่ บี เอ็น จุลพงศ์ คุม้ วงศ์ (รุน่ ๔๘) พีโ่ จ้ทำ� ไร่ บี เอ็น เกีย่ วกับสวนผัก ผลไม้ และดอกไม้ ทีน่ มี่ ชี อื่ เรือ่ งลิน้ จี่ (นรก) เพราะขายแพงโคตร ๔๐๐-๗๐๐ บาท/กก. ส่ง ขายที่ห้าง เอ็มโพเรียม เซ็นทรัลเวิล์ด เท่านัน้ แต่ถ้ามา ซือ้ ทีไ่ ร่จะลดให้พเิ ศษ เหลือ ๑๐๐-๒๐๐ บาท ฝากบอก ชาวโอวีว่าถ้าผ่านมาเขาค้อ ก็แวะมาเยี่ยมเยือนบ้าง โทร. ๐๕๖-๗๕๐-๔๑๙ มือถือ ๐๘๑-๙๗๓-๘๕๕๒
ร้านตัดผม Sindy Lim ร้านตัดผมส�ำหรับสุภาพ บุรุษและสุภาพสตรีฝีมือเยี่ยมของแท้และดั้งเดิมบน ปากซอยสุขุมวิท ๔๙ (เข้าซอยอยู่ขวามือ ตรงข้าม เซเว่นอีเลฟเว่นและร้านก๋วยเตี๋ยวแซว) ของ ทวีสิน ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๖) หากก�ำลังจะหาร้านท�ำผมเพื่อ ออกงานหรือเปลี่ยนลุคแล้วละก็ เชิญไปใช้บริการ ได้ ติดต่อไปที่ ๐๒-๒๖๐-๐๖๓๕, ๐๒-๒๖๐-๐๗๙๓ หรือต้องการติดต่อเจ้าของร้านโดยตรง โทรตามได้ที่ ๐๘๑-๙๒๓-๒๓๗๓
ร้านขายสัตว์เลี้ยง Furrytail ร้านขายผลิตภัณฑ์ ส�ำหรับสัตว์เลีย้ ง ของกอบกิจ จ�ำจด (รุน่ ๗๐) นอกจาก จะเป็นเว็บดีไซน์เนอร์แล้วยังเปิดร้านขายผลิตภัณฑ์ ส�ำหรับหมาและแมวออนไลน์ ไปเยี่ยมเยือนได้ที่ www.weloveshopping.com/shop/furrytail หรือ ติดต่อตรงที่ โทร. ๐๘๖ ๕๒๘-๑๐๘๕ ร้านฟูฟู เจษฎา ใยมุง (รุน่ ๖๕) และภรรยาเปิดบริการ อาบน�้ำ/ตัดขนสุนัข บริการรับฝากสัตว์เลี้ยงกลาง เมืองจันทร์ ถนนท่าแฉลบ อ.เมือง จ.จันทบุรี โทร. ๐๘๑ ๓๕๓ ๒๘๖๕ และ ๐๘๖ ๓๘๙ ๙๔๕๐
อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (รุ ่ น ๔๔) ผลต่ อ ยอดจากไร่ วิม านดิน ผลิต และ จ�ำหน่ายชาสมุนไพรอินทรีย์รางจืด (Babbler’s Bill Leaf) มีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ สามารถล้างพิษ แก้อาการเมาค้าง และท�ำลายเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุ ของโรคเริมได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีน�้ำเอ็นไซม์ ที่สกัดมาจากพืชผักผลไม้ที่ปลูกแบบอินทรีย์เกษตร ปลอดสารเคมี ๑๐๐% สรรพคุ ณของน�้ำ รั ต นคุ ฯ
คือ ช่วยปรับสมดุลของเซลล์ในรางกายและท�ำให้ ระบบก�ำจัดอนุมูลอิสระสมบูรณ์ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ ร่างกายสามารถสลายพิษ ป้องกันโรคภัย-ไข้เจ็บ และ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือชะลอความแก่ได้นนั้ เอง พี่น้องโอวีท่านใดสนใจอยากรักษาสุขภาพแบบไร้สาร หรืออยากบ�ำบัดรักษาด้วยวิธีแบบธรรมชาติ ติดต่อ ได้ที่ เบอร์ ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔
ตกแต่งภายใน รับเหมาก่อสร้าง ไอซิดฯ ภตภพ (สิทธิพงษ์) ช.เจริญยิ่ง (รุ่น ๖๖) เปิด บริษัทรับตกแต่งภายใน รับเหมาก่อสร้างภายใต้ชื่อ บริษัทไอซิดฯ ผลงานส่วนใหญ่เป็นการตกแต่งบ้าน และคอนโด โดยเฉพาะล่าสุดที่คอนโดมิเนียมหรู “เดอะ แอดเดรส สยามฯ” ที่เข้าไปตกแต่งหลายห้อง และรับเหมาก่อสร้างปรับปรุงห้องที่โรงแรมเดอะมา รีนา ภูเก็ต โทร. ๐๒-๕๑๔-๐๘๓๙ มือถือ ๐๘๑๗๓๓-๗๗๐๑ เว็บไซต์ www.icidcompany.com
อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ นิธิ ก านต์ (มะนาว) โรหิ ต ศุ น (รุ่น ๗๐) หลังจากผ่านการเป็นนายแบบโฆษณา มาหลายชิ้ นตอนนี้ ผั นตั ว เองมาเป็ นนายหน้ า ขาย บ้าน ที่ดิน คอนโด ของ Era หากท่านใดต้องการ ขายหรือซื้อ บ้าน ที่ดิน คอนโด ติดต่อมาได้ครับ ๐๘๙-๒๑๒-๓๓๔๔ หรือ nithikarn99@gmail.com
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 133
โรงแรม บ้านไร่วิมานดินออร์แกนนิคฟาร์มสเตย์ จังหวัด กาญจนบุรี ชาย พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (รุ่น ๔๔) ไปพักผ่อนสบาย ๆ ภายใต้บรรยากาศความ เป็นธรรมชาติด้วยราคาสบายกระเป๋า นอกจากจะ ได้มาพักผ่อนแล้ว ทางบ้านไร่วิมานดินยังจัดเตรียม อาหารปรุ ง จากผลิ ต ภั ณฑ์ อิ นทรี ย ์ เพื่ อ ล้ า งสารพิ ษ และฟื้นฟูสุขภาพของท่านให้แข็งแรง ส�ำหรับพี่น้อง ที่ ส นใจ อยากไปสั ม ผั ส ธรรมชาติ อ ย่ า งเต็ ม อิ่ ม โทรศัพท์ไปจองได้ที่ ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔ หรืออยาก หาข้อมูลเพิ่มเติม ก็เข้าไปดูได้ที่ www.vimarndin farmstay.com ส�ำหรับชาวโอวี ลดราคาให้พิเศษ ชุ ม พรคาบานาและศู น ย์ กี ฬ าด� ำ น�้ ำ ลึ ก วริ ส ร รักษ์พันธุ์ (รุ่น ๖๑) ที่หาดทุ่งวัวแล่น จังหวัดชุมพร ให้บริการที่พัก สัมมนา และบริการด�ำน�้ำลึก มีคอร์ส สอนด�ำน�้ำลึก และมีเรือพาออกด�ำน�้ำในทะเลชุมพร ส�ำนักงานกรุงเทพฯ โทร. ๐๒-๓๙๑-๖๘๕๙ มือถือ ๐๘๙-๗๒๔-๙๓๒๐ ชุมพร โทรศัพท์ ๐๗๗-๕๖๐๒๔๕-๗ เว็บไซต์ www.chumphoncabana.com โรงแรม รัตนาปาร์ค มาฆะ พุ่มสะอาด (รุ่น ๕๕) ท�ำงานอยู่โรงแรม รัตนาปาร์ค ที่พิษณุโลก ฝากบอก ว่าถ้าโอวีท่านไหนมาก็ให้โทรบอกได้เลย จะดูราคาค่า ห้องให้พิเศษ โทร. ๐๘๑-๕๙๖-๖๓๙๖ เบอร์โรงแรม ๐๕๕-๒๔๔-๕๒๑
The bihai huahin ตั้งอยู่ที่ ๘๙ หมู่ ๕ บ้าน หั ว ดอน ต� ำ บลหนองแก อ� ำ เภอหั ว หิ น จั ง หวั ด ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๑๑๐ โอวีลด ๒๐% โทร. ๐๓๒๕๒๗-๕๕๗-๖๐ เว็บไซต์ www.thebihaihuahin.com ดิ โอ.วี. รีสอร์ท โกมล นันทิยาภูษิต (รุ่น ๖๑) เปิด โรงแรมกลางเมืองจันทบุรี ชนิดทีว่ า่ ใครขับรถผ่านต้อง รู้ว่าเป็นของโอวีทันที เพราะเต็มไปด้วยกลิ่นอายและ ของตกแต่งสมัยอยู่โรงเรียนของตนเองและลูกชาย โทร. ๐๘๑ ๘๓๓ ๒๑๒๕ ตาลคู่ บีช รีสอร์ท อลงกต วัชรสินธุ์ (รุ่น ๗๕) ตั้งอยู่ ใน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช รีสอร์ทสวยริมทะเล ใสใกล้เกาะสมุย กลัวไปไม่ถูก ติดต่อเจ้าตัวได้โดย ตรง ๐๘๕-๘๔๗-๗๕๗๕ หรือ g_got75@hotmail.com ไร่ภูอุทัย ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อ�ำนวยศิลป์ อุทัย (รุ่น ๗๑) และ รังสรรค์ อุทัย (รุ่น ๗๒) สัมผัสบรรยากาศบนภูอุทัยที่ล้อมรอบ ด้วยธรรมชาติของอุทยานฯ เขาใหญ่ สูดรับอากาศ บริสุทธิ์ด้วยโอโซนระดับ ๗ มีลานกว้างบนเนินเขา ที่มองเห็นทิวเขาได้ ๓๖๐ องศา พร้อมกิจกรรม มากมาย ติ ด ต่ อ ได้ ที่ ๐๘๖-๑๓๖-๑๖๑๙ หรื อ ๐๘๖-๕๕๔-๕๔๕๗ หรื อ แวะชมเว็ บ ไซต์ ก ่ อ นที่ http://www.phu-uthai.com/ ชาวโอวี ราคาพิเศษ
ออกแบบเว็บไซต์อละงานกราฟฟิค Zyplus.com สิษฐวัฒน์ ตู้จินดา (รุ่น ๖๗) ปิดทอง หลังพระมาเสียนาน ให้บริการจดชื่อโดเมนเนมและ ให้พื้นที่เว็บโฮสติ้งของเว็บไซต์ โอวี www.oldvajiravudh.com มาตัง้ แต่เปิดโฉมใหม่เมือ่ เกือบสองปีกอ่ น เขาให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตมานานตั้งแต่เรียนจบ โดยเปิดบริษัทเล็ก ๆ ซึ่งมีเขาเป็นทั้งเจ้าของ ผู้จัดการ และพนักงานเพียงคนเดียว ชื่อ “zyplus” สนใจจดชื่อ
134
โดเมนเนมหรือเช่าเว็บโอสติ้งเข้าไปที่ www.zyplus. com หรือ โทร. ๐๒-๘๙๑-๕๕๒๙ 22eq กอบกิจ จ�ำจด (รุ่น ๗๐) นิติศาสตร์บัณฑิต จากรั้วธรรมศาสตร์ผันตัวเป็นกราฟฟิกดีไซเนอร์ รับ ออกแบบและจัดท�ำเว็บไซต์ทั่วราชอาณาจักร ติดต่อที่ โทร. ๐๘๖ ๕๒๘ ๑๐๘๕ หรือ www.jate.22eq.com
อนุมานวสาร ฉบับย้อนหลัง
อนุมานวสาร ฉบับปี ๒๕๕๐
ฉบับ ๑ - ๒๕๕๐ เมษายน - มิถุนายน
ฉบับ ๒ - ๒๕๕๐ ฉบับ ๓ - ๒๕๕๐ กรกฎาคม – กันยายน ตุลาคม – ธันวาคม อนุมานวสาร ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๒ - ๒๕๕๑ ฉบับ ๓ - ๒๕๕๑ เมษายน – พฤษภาคม มิถุนายน – กรกฎาคม ฉบับปี ๒๕๕๒
ฉบับ ๑ - ๒๕๕๒ มกราคม – กุมภาพันธ์
ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๔ - ๒๕๕๑ สิงหาคม – กันยายน
ฉบับ ๑ - ๒๕๕๑ มกราคม – มีนาคม
ฉบับ ๕ - ๒๕๕๑ ตุลาคม – ธันวาคม
ขอรับอนุมานวสารฉบับย้อนหลังได้ที่ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ (คุณวาสนา จันทอง) หรือดาวน์โหลด ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ที่ www.oldvajiravudh.com/anuman.html มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 135
เห็นแต่หน้า แปลกหน้าสี่ห้าร้อย เมื่อเร็วๆ นี้ จักรพันธ์ุ โปษยกฤต (รุ่น ๓๓) ได้มีบทความในนิตยสาร พลอยแกมเพชรเล่าถึงผองเพือ่ นทีข่ ณะนีอ้ ยูใ่ นเพศบรรพชิต เมือ่ ม.ร.ว.แซมแจ่มจรัส รัชนี (รุ่น ๓๓) ได้อ่าน จึงได้ประพันธ์โคลงตอบดังกล่าว และเนื่องจากเห็นว่ามีเพื่อน นักเรียนวชิราวุธฯ หลายคนได้ถวายการรับใช้ใต้เบือ้ งพระยุคลบาท ม.ร.ว.แซมแจ่มจรัสฯ จึงเห็นว่าจะเป็นการดีหากมีการบันทึกเรื่องเหล่านี้ไว้ เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติ โดย ม.ร.ว.แซมแจ่มจรัสฯ จะประพันธ์โคลงถึงผู้นนั้ เป็นบทน�ำของบทความ ซึ่งจะ สามารถติดตามได้ในอนุมานวสารฉบับต่อไป
จักรพันธุ์เพื่อนร่วมชั้น เขียนเล่าเรื่องราวละมัย ชมจินตกวีตามนัย แอบกระหยิ่มทั้งถี้
เยาว์วัย เก่ากี้ สายเลือด ลูกไม้ หล่นไกล
เป็นอาจินต์รับรู้ เพื่อนอัครศิลปิน รังสรรค์วิจิตรระบิล นึกฮึกเหิมสร้างบ้าง
ยลยิน เด่นค้าง หุ่นเชิด สักชิ้น ศิลปี
ร้อยกรองชีพเหล่าข้า นบถวายชาติศาสตร์ ทองหลังพระราโชวาท ผองเพื่อนโอวีไซร้
รองบาท กษัตริย์ไท้ ส�ำนึก ชื่อชั้น ต�ำนาน
บทโคลงโดย พระภิกษุ ม.ร.ว.แซม แจ่มจรัส รัชนี ตอบถึงพี่จักรพันธุ์ โปษยกฤต ผ่านทางอนุมานวสาร ขอขอบคุณน้องกิ๊กที่ช่วยเรียบเรียงช่วงต้นให้ดูงดงามน่าอ่าน
136
วัตุถุประสงค์
เพื่อหารายได้มาเป็นกองทุนท�ำนุบ�ำรุงพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมศิลปวัตถุผลงานของ จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งมีอยู่เป็นจ�ำนวนมาก อาทิ งานประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม และ ประณีตศิลป์ ต้นฉบับแบบร่างงานจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดตรีทศเทพวรวิหาร และ พระอุโบสถวัดเขาสุกมิ จังหวัดจันทบุรี ศิลปวัตถุประเภทงานหุน่ ทัง้ หุน่ โบราณ และหุน่ ที่ สร้างขึน้ ใหม่ของ จักรพันธุ์ โปษยกฤต และคณะ ทุกเรือ่ งรวมหลายร้อยตัว ทัง้ ยังมีเครือ่ ง ดนตรีจ�ำนวนกว่า ๑๐๐ ชิ้น ซึ่งสมควรเก็บรักษาไว้เป็นมรดกของชาติ เพื่อให้ประชาชน และเยาวชนรุ่นต่อไปได้ค้นคว้าศึกษาความเป็นไป และได้เห็นแหล่งก�ำเนิดของสกุลช่าง ศิลปะสกุลหนึง่ ในแผ่นดิน
พิธีพุทธาภิเษก
ด�ำเนินการพุทธาภิเษกอย่างถูกต้องเหมาะสมทุกขั้นตอนการจัดสร้าง โลหะ ที่จะผสมหล่อได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกโดย พระคณาจารย์สายศิษย์พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริ โย ทุกวันพระขึ้น ๑๕ ค�่ำ ตลอดพรรษาของปีพ.ศ. ๒๕๕๑ ณ วัดเขาสุกิม อ�ำเภอ ท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี อันเป็นวัดที่พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิรโิ ย พระเถระฝ่ายอรัญ วาสี ผู้เชี่ยวชาญด้านสมถะกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานองค์ส�ำคัญในบรรดาศิษย์ สายพระอาจารย์ มัน่ ภูรทิ ตั ตเถระ ได้กอ่ ตัง้ ขึน้ และอยูจ่ �ำพรรษา ทัง้ ยังเป็นทีป่ ระดิษฐาน สรีรสังขารของท่านให้พทุ ธศาสนิกชนขึน้ ไปกราบไหว้ขอพรอยูเ่ ป็นประจ�ำ ผสมทองชนวน เก่าจากรูปหล่อหลวงพ่อทอง ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ประจ�ำวัดเขาสุกิมมาตั้งแต่ เริม่ สร้างวัด ทุกองค์จะบรรจุมวลสารศักดิส์ ทิ ธิข์ องแท้ทที่ า่ นพระอาจารย์สมชายแผ่เมตตา อธิฐานไว้ ตั้งแต่ครั้งยังไม่ละขันธ์
ติดต่อสั่งจองได้ที่ มูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต ก�ำหนดวันรับพระพุทธรูปภายใน ๓ เดือน นับจากวันที่บริจาค และติดต่อรับได้ที่ เลขที่ ๔๙/๑ ถนนสุขุมวิท ๖๓ แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์ ๐๒-๓๙๒-๗๗๕๔ โทรสาร ๐๒-๓๙๒-๗๗๕๓