เอกสารประกอบการอบรมค่ายศิลปะ

Page 1


เอกสารประกอบการอบรม

ค่ายศิลปะ

ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗

จัดพิมพ์โดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ จานวน ๑๐๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗

จัดทาเอกสาร: ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน

จัดการอบรม:

สนับสนุนการจัดอบรม :

ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ณัฐฐิญา แก้วแหวน สายรุ้ง กล่ําเพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์

ศิลปกรรมและออกแบบ อายุวัฒน์ ค้าผล


หลักสูตรอบรม โครงการค่ายศิลปะ หลักการและเหตุผล สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาเป็นหน่วยงาน ที่ทาหน้าที่ในด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อม เป็นสถานที่ตั้ง ของศูนย์ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถาบันอยุธยาศึกษามีพันธกิจในการสนับสนุนให้การศึกษาและผลิตบัณฑิต ที่มีความรู้คู่คุณธรรม สานึก ในความเป็นไทย ให้บริการทางวิชาการด้านอยุธยาศึกษา ท านุ บ ารุ ง ศิ ล ปวั ฒ นธรรมสร้ า งความรู้ ความเข้ า ใจในคุ ณ ค่ า และความภู มิ ใ จใน วัฒนธรรมท้องถิ่นของชาติ หอศิลป์จัง หวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหน่วยงานหนึ่ง ของสถาบันอยุธยา ศึกษาที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวม ถ่ายทอด นาเสนอ เผยแพร่ และอนุรักษ์ งานศิลปะแก่ครู นักเรียน นักศึกษา และประชาชน โดยทั่วไปการจัดทาโครงการนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานักเรียน ที่ได้รับการฝึกอบรม ให้มีความรู้ มีทักษะที่ดีใน การศึกษาศิลปะ

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อส่งเสริมความตระหนักในการอนุรักษ์ในการเรียนรู้ทางด้านศิลปะ ๒. เพื่อส่งเสริมการบูรณาการในการพัฒนาความรู้ด้านศิลปะ


กาหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ

โครงการค่ายศิลปะ วันที่ ๑๒-๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๗

วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๓๐ – ๐๘.๔๕ น. เวลา ๐๘.๕๐ น. เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.

เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ลงทะเบียน พิธีเปิด โดย ดร.จงกล เฮงสุวรรณ ผู้อานวยการสถาบันอยุธยาศึกษา การอบรมเชิงปฏิบัติการ “ค่ายศิลปะ” แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการ ๒ กลุ่ม ๑. การประดิษฐ์ดอกไม้จากดินญี่ปุ่น วิทยากรโดย คุณอารุณี วงศ์หาญ ๒.การแกะสลักผักและผลไม้ วิทยากรโดย คุณกาญจนวิช บัวสว่าง , คุณศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ พักรับประทานอาหารกลางวัน การอบรมเชิงปฏิบัติการ “ค่ายศิลปะ” แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการ ๒ กลุ่ม ๑. การประดิษฐ์ดอกไม้จากดินญี่ปุ่น วิทยากรโดย คุณอารุณี วงศ์หาญ ๒.การแกะสลักผักและผลไม้ วิทยากรโดย คุณกาญจนวิช บัวสว่าง , คุณศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ (เปลี่ยนฐานกิจกรรมเวลา ๑๓.๐๐ น.)


วันศุกร์ที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๓๐ - ๐๙.๐๐ น. เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.

เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

เวลา ๑๖.๑๕ - ๑๖.๓๐น.

ลงทะเบียน การอบรมเชิงปฏิบัติการ “ค่ายศิลปะ” แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการ ๒ กลุ่ม ๑. การสานปลาตะเพียนและการลงสี วิทยากรโดย คุณวิศิษฐ์ กระจ่างวี ๒.ศิลปะการสร้างสรรค์เส้นสายลายทอง วิทยากรโดย คุณอานนท์ แซ่แต้ พักรับประทานอาหารกลางวัน การอบรมเชิงปฏิบัติการ “ค่ายศิลปะ” แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการ ๒ กลุ่ม ๑. การสานปลาตะเพียนและการลงสี วิทยากรโดย คุณวิศิษฐ์ กระจ่างวี ๒.ศิลปะการสร้างสรรค์เส้นสายลายทอง วิทยากรโดย คุณอานนท์ แซ่แต้ (เปลี่ยนฐานกิจกรรมเวลา ๑๓.๐๐ น.) พิธีมอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม


สารบัญ การประดิษฐ์ดอกไม้จากดินญี่ปุ่น การแกะสลักผักและผลไม้

๑ ๑๒

การสานปลาตะเพียน

๔๖

งานสร้างสรรค์ลายทอง

๕๔

บันทึกท้ายเล่ม

๕๙


I๑

การประดิษฐ์ดอกไม้จากดินญี่ปุ่น อารุณี วงศ์หาญ

ดอกไม้ดินญี่ปุน หมายถึง การประดิษฐ์ ดอกไม้จากการปั้น ด้วยดินวิทยาศาสตร์ ซึ่งหมายความถึงดอกไม้ประดิษฐ์ที่ทําจากดินญี่ปุนหรือดินไทย เพราะหลายคนมักเรียก รวมๆว่าดอกไม้ดินญี่ปุน ถึงแม้ดอกไม้นั้นทําจากดินไทยก็ตาม


๒I

เช่น หากเราไปซื้อดอกไม้ประดิษฐ์จากดิน และถามคนขายว่า ดอกไม้ประดิษฐ์ชนิดนี้ เรียกว่าอะไร คนขายมักผู้ว่า ดอกไม้ดินญี่ปุนนัน่ น่าจะหมายถึง การประดิษฐ์ดอกไม้ จากการปั้นด้วยดินวิทยาศาสตร์มากกว่า อาจไม่ได้ หมายถึงว่าดอกไม้นั่นทํามาจาก ดินญี่ปุน เพราะในตลาดปัจจุบัน ดอกไม้ที่ขายอยู่นั้น ส่วนใหญ่ก็ทํามาจากดินไทยเป็น ส่วนมากจะผสมดินญี่ปุนก็ส่วนน้อย แม้ว่าจะเป็นดอกไม้ดินที่ทํามาจากดินไทยก็ตาม สบายใจได้ เพราะในปัจจุบั น ดิน ไทยเราส่ว นมากได้พัฒ นาไปในทางที่ดีขึ้ นทําให้ ดอกไม้ดิน ที่ทําจากดินไทย มีความอ่อนช้อย ดัดได้ นิ่ม ไม่แตกหักง่าย (บางการผลิต ที่ได้มาตรฐาน) ปัจจุบัน ยังมีผู้ที่สนใจในงานประดิษฐ์ดอกไม้เป็นจํานวนมากทั้งที่ต้องการทํา เป็นงานอดิเรกบ้าง รายได้เ สริม บ้าง หรือ แม้ก ระทั่ ง ต้องการทําเป็นอาชีพเลยก็ มี ฉะนั้นเราควรถามตัวเอง ก่อนว่าเรามีความตั้งใจทําดอกไม้เพื่ออะไร? เพราะเราจะได้ เตรียมตัวถูก เช่น ๑.ต้องการทําเป็นงานอดิเรก เพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อความสุข ความชอบ ส่วนตัว อันนี้เราก็ไม่ต้องคิดมากในการทําดอกไม้ หาที่เรียนที่ใกล้บ้าน หรือที่สะดวก หรือแม่แต่ซื้อ หนังสือมาเรียนเอง เวลาทําเรียนทําดอกไม้ ก็ไม่ต้องกังวลเท่าไหร่ว่า จะสวยหรือไม่ จะถูกหรือผิด จะได้ไม่ซีเรียส และควรบอกกับผู้สอนว่า เรามาเรียน เพื่อเป็นงานอดิเรก เพราะในบางครั้งผู้จะเข้มงวดกับเรา ว่าจะต้องทําให้ถูก ให้สวย ให้ได้หากเป็นเช่นนี้แล้ว แทนที่เราจะเรียนเพื่อความเพลิดเพลิน จะกลายเรียนเพื่อ ความเครียดเสียเปล่าๆ


I๓

๒.ทํ า เพื่ อ เป็ น งานอดิ เ รก บางครั้ ง เราอยากทํ า เพราะความชอบแล้ ว ยังอาจจะเป็นรายได้เสริมสําหรับเราได้อีกทางหนึ่ง เพราะดอกไม้ดินมีอุปกรณ์ที่ไ ม่ ยุ่งยากมากนักบางดอกพกพาไปทําได้ในสถานที่ต่างๆได้ หากจะเรียน เพื่อรายได้ เสริม ก็ควรตั้งใจเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ การใช้ดิน การคลึงดินให้คล่องหน่อย และควรรู้จักดอกไม้ต่างๆให้มากด้วยทั้งจากหนังสือดอกไม้ต่างๆ หมั่นสังเกตดอกไม้ จริงๆบ้าง (ครูที่ดีที่สุดในการทําดอกไม้ คือธรรมชาตินั่นเอง) ๓.ทําเพื่อเป็นงานหลัก หลายๆคนกําลังเบื่องาน กําลังตกงาน อยากหา อาชีพใหม่บ้าง การดอกไม้ดินเป็นอาชีพ ก็นับเป็นอาชีพ ที่มีอิสระค่อนข้างสูง รายได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถฝีมือ และความมีระเบียบวินัยของตัว เอง บางคนมีรายได้ไม่กี่ พันบาท/เดือน แต่หลายคนที่มีรายได้เป็นหลักหมื่น/เดือนก็มากอยู่ หรือพัฒนาจนมี ลูกน้องหลายคน จนมีทีมงานดอกไม้ก็มีมาก ส่วนที่จะทําให้อาชีพ การทําดอกไม้ดิน จะประสบความสําเร็จ ไม่ใช้อยู่ที่ฝีมือ หรือทําดอกไม้ได้สวย เหมือนที่หลายคนคิดแต่ ขึ้นอยู่กับคําว่า “ความรับผิดชอบ” คํานี้สําคัญมากสําหรับคนทําดอกไม้ ยิ่งถ้าเราไม่มี ร้านเองด้วยแล้ว ยิ่งต้องมีความรับผิดชอบที่สูงมากๆ ร้านดอกไม้หลายๆร้านในเมือง ไม่ใช่ต้องการยอดฝีมือ ที่ทําดอกไม้สวยเพียงอย่างเดียวเพราะหลายคนที่ทําดอกไม้ สวย แต่กลับไม่ค่อยมีใครอยากจะสั่งซื้อชิ้นงานเช่น พอนัดส่งงานแล้วเลื่อนแล้วเลื่อน อีก ไม่มาส่ง บ้าง ผิดนัดอยู่บ่อยๆ ถึงให้ทําสวยแค่ไหนทางร้านแต่ละร้านก็ไ ม่ชอบ ฉะนั้น คําว่า “ความรับผิดชอบ” จึงน่าจะเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุด เพราะถึงแม้วันนี้ เรา อาจยังทําดอกไม้ได้ไม่สวยเท่าไหร่ แต่เชื่อว่าการทําอยู่บ่อยๆ ฝึกฝนตัวเอง อยู่บ่อยๆ ให้เราพัฒนา การทําดอกไม้ดินได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน...


๔I

อุปกรณ์การทาดอกไม้จากดินญี่ปุ่น

๑.ดินไทย ,ดินญี่ปุน , ดินผสมสีเขียว ๒.กาวลาเท็กซ์ กาวร้อน ๓.ครีมพอนด์ส ๔.พิมพ์ตัดดอกและใบโนบิเ์ล่ ๕.ดัมเบลล์ เหล็กคลึง เหล็กเข้าช่อ ลูกกลิ้ง ๖.กรรไกร คีมตัด คีมปากแหลม ๗.เรซินอัดลายใบ่ ๘.สีเบอร์ ๙, ๒๘, ๓๗,๔๕ ๙.พู่กัน ๑๐.ลวดก้านต้น ลวดดอกเบอร์ ๒๒,๒๔ ๑๑.เครื่องรีด ๑๒.พลาสติกรีดดิน


I๕

ขั้นตอนการทาดอกไม้จากดินญี่ปุ่น ๑. ผสมและนวดดิน นําดินไปรีด จากนั้นใช้พิมพ์ตัดดอกทาบ

๒. กดลายกลีบดอก


๖I

๓. คลึงกลีบดอกโดยรอบ

๔. กลีบดอกที่ผ่านการคลึงเรียบร้อบ


I๗

๕. นากลีบดอกที่ผ่านการคลึงมาแต้มสี

๖. กลีบดอกที่ผ่านการแต้มสีเรียบร้อย


๘I

๗. ปั้นเกสรข้างในดอกโนบิเล่

๘. ลักษณะของเกสรที่ปั้นเสร็จแล้ว


I๙

๙. นากลีบดอกมาประกอบเข้าเป็นดอกโนบิเล่

๑๐. ปั้นดอกตูม


๑๐ I

๑๑. นาดอกโนบิเล่และดอกตูมที่ปั้นเสร็จแล้วเตรียมเข้าช่อ

๑๒. ลักษณะการเข้าช่อแบบดอกเดียว


I ๑๑

๑๓. ลักษณะการเข้าช่อแบบ ๒ ดอก

๑๔.ขั้นตอนการเข้าช่อ


๑๒ I

การแกะสลักผักและผลไม้ กาญจนวิช บัวสว่าง

ประวั ติ ค วามเป็ น มาของการแกะสลั ก ผั ก และผลไม้ งานศิ ล ปะดั้ ง เดิ ม ของไทยนั้ น มี อ ยู่ ม ากมายหลายอย่ า งหลายแขนง การแกะสลั ก ก็ เ ป็ น งานศิ ล ปะ อย่ า งหนึ่ ง ที่ ถื อ เป็ น มรดกอั น ล้ํา ค่ า ที่ สื บ ทอดกั น มาช้า นาน เป็ น งานฝี มือ ที่ ต้ อ งใช้ ความถนัด สมาธิ ความสามารถเฉพาะตัว และความละเอียดอ่อนมาก


I ๑๓

การแกะสลั ก ผั ก และผลไม้ เป็ น การแสดงออกทางวั ฒ นธรรมที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ ป ระจํ า ของชาติ ไ ทยเลยที เ ดี ย ว ซึ่ ง ไม่ มี ช าติ ใ ดสามารถเที ย บเที ย มได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในปัจจุบันนี้คงจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ ศิลปะแขนงนี้ ที่มีแนวโน้มจะสูญหายไปและลดน้อยลงไปเรื่อยๆ

ความเป็นมาของการแกะสลักผักและผลไม้ การแกะสลักผักและผลไม้เดิมเป็นวิชาที่เรียนขั้นสูงของกุลสตรีในรั้วในวัง ที่ ต้ อ งมี ก ารฝึ ก ฝนและเรี ย นรู้ จ นเกิ ด ความชํ า นาญ บรรพบุ รุ ษ ของไทยเราได้ มี การแกะสลั ก กั น มานานแล้ ว แต่ จ ะเริ่ ม กั น มาตั้ ง แต่ ส มั ย ใดนั้ น ไม่ มี ใ ครรู้ แ น่ ชั ด เนื่ อ งจากไม่ มี ห ลั ก ฐานแน่ ชั ด จนถึ ง ในสมั ย สุ โ ขทั ย เป็ น ราชธานี ในสมั ย ของ สมเด็ จพระร่ว งเจ้ า ได้ มีนางสนมคนหนึ่งชื่ อ นางนพมาศ หรื อท้า วศรี จุฬาลักษณ์ ได้แต่ง หนัง สือเล่มหนึ่งชื่อว่า “ตํารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ” ขึ้นและในหนังสือเล่มนี้ ได้ พู ด ถึ ง พิ ธี ต่ า ง ๆ ไว้ และพิ ธี ห นึ่ ง เรี ย กว่ า พระราชพิ ธี จ องเปรี ย งในวั น เพ็ ญ เดือนสิบสอง เป็นพิธีโคมลอย นางนพมาศได้คิดตกแต่งโคมลอยที่งดงามประหลาด กว่ า โคมของพระสนมคนอื่ น ทั้ง ปวง และได้ เ ลือ กดอกไม้ สีต่ า ง ๆ ประดั บ ให้ เ ป็ น ลวดลายแล้วจึงนําเอาผลไม้มาแกะสลักเป็นนกและหงส์ให้เกาะเกสรดอกไม้อยู่ตาม กลี บ ดอกเป็ น ระเบี ย บสวยงามไปด้ ว ยสี สั น สดสวย ชวนน่ า มองยิ่ ง นั ก รวมทั้ ง เสียบธูปเทียน จึงได้มีหลักฐานการแกะสลักมาตั้งแต่สมัยนั้น


๑๔ I

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรด การประพันธ์ยิ่งนัก พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวาน และแห่ ชมผลไม้ได้พรรณนา ชมฝีมือการทําอาหาร การปอกคว้านผลไม้ และประดิดประดอย ขนมสวยงาม และอร่ อ ยทั้ ง หลาย ว่ า เป็ น ฝี มื อ งามเลิ ศ ของสตรี ช าววั ง สมั ย นั้ น พระราชนิพนธ์กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวานตอนหนึ่งว่า “ น้อยหน่านําเมล็ดออก ปล้อนเปลือกปอกเป็นอัศจรรย์ มือใครไหนจักทัน เทียบเทียมที่ฝีมือ นาง ผลเงาะไม่ งามแงะ มล่อนเมล็ด และเหลือปัญหา หวนเห็นเช่นรจนา จําเจ้าเงาะเพราะเห็นงาม” (กรมวิชาการ, ๒๕๓๐ : ๑๗) และทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง สังข์ทอง พระองค์ทรงบรรยายตอน นางจันทร์เทวี แกะสลักชิ้นฟักเป็นเรื่องราวของนางกับพระสัง ข์ นอกจากนั้นยัง มี ปรากฏในวรรณกรรมไทยแทบ ทุกเรื่อง เมื่อเอ่ยถึงตัวนางซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องว่า มี คุ ณ สมบั ติ ข องกุ ล สตรี เพรี ย กพร้ อ มด้ ว ยฝี มื อ การปรุ ง แต่ ง ประกอบอาหาร ประดิดประดอยให้สวยงาม ทั้งมีฝีมือในการประดิษฐ์งานช่างทั้งปวง ทําให้ทราบว่า กุลสตรีสมัยนั้นได้รับการฝึกฝนให้พิถีพิถันกับการจัดตกแต่ง ผัก ผลไม้ และการปรุง แต่งอาหารเป็นพิเศษ จากข้อความนี้น่าจะเป็นที่ยืนยันได้ว่า การแกะสลักผัก ผลไม้ เป็ น ศิ ล ปะของไทยที่ กุ ล สตรี ใ นสมั ย ก่ อ นมี ก ารฝึ ก หั ด เรี ย นรู้ ผู้ ใ ดฝึ ก หั ด จนเกิ ด ความชํานาญ ก็จะได้รับการยกย่อง


I ๑๕

งานแกะสลักใช้กับของอ่อน สลักออกมาเป็นลวดลายต่ าง ๆ อย่างงดงาม มีสลักผัก สลักผลไม้ สลักหยวกกล้วยถือเป็นงานช่างฝีมือของคนไทยที่มีมาแต่โบราณ งานสลักจึง อยู่ในงานช่าง ๑๐ หมู่ เรียกว่า ช่างสลัก ในช่างสลักแบ่ง ออกย่อย คือ ช่ า งฉลุ ช่ า งกระดาษ ช่ า งหยวก ช่ า งเครื่ อ งสด ส่ ว นช่ า งอี ก ๙ หมู่ ที่ เ หลื อ ได้ แ ก่ ช่างแกะ ที่ มีทั้งช่างแกะตรา ช่างแกะลาย ช่างแกะพระหรือภาพช่างหุ่น มี ช่างไม้ ช่างไม้สูง ช่างปากไม้ ช่างปั้น มีช่างขี้ผึ้ง ช่างปูน เป็นช่างขึ้นรูปปูน มีช่างปั้น ช่างปูน ก่อ ช่างปูนลอย ช่างปั้นปูน ช่างรัก มีช่างลงรัก มีปิดทอง ช่างประดับกระจก ช่างมุก ช่างบุ บุบาตรพระเพียง อย่างเดียว ช่างกลึง มีช่างไม้ ช่างหล่อ มีช่างหุ่นดิน ช่างขี้ผึ้ง ช่างผสมโลหะ ช่างเขียน มีช่างเขียน ช่างปิดทอง การสลักหรือจําหลัก จัดเป็นศิลปกรรมแขนงหนึ่ง ในจําพวกประติมากรรม เป็นการประดิษฐ์วัตถุเนื้ออ่อนอย่างผัก ผลไม้ ที่ยังไม่เป็นรู ปร่าง หรือมีรูปร่างอยู่แล้ว สร้างสรรค์ให้สวยงามและพิสดารขึ้น โดยใช้เครื่องมือที่มีความแหลมคม โดยใช้วิธีตัด เกลา ปาด แกะ คว้าน ทําให้เกิดลวดลายตามต้องการ ซึ่งงานสลักนี้เป็นการฝึกทักษะ สัมพันธ์ของมือและสมอง เป็นการฝึกจิตให้นิ่ง แน่วแน่ต่องานข้างหน้า อันเป็นการฝึก สมาธิได้อย่างดีเลิศ การสลักผักผลไม้นอกจากจะเป็นการฝึกสมาธิแล้วยังเป็นการฝึกฝีมือให้เกิด ความชํานาญเป็นพิเศษ และต้องมีความมานะ อดทน ใจเย็น และมีสมาธิเป็นที่ตั้ง รู้จักการตกแต่ง มีความคิดสร้างสรรค์ การทํางานจ้องให้จิตใจทําไปพร้อมกับงานที่ กําลังสลักอยู่ จึง ได้งานสลักที่สวยงามเพริศแพร้วอย่างเป็นธรรมชาติ ดัดแปลงเป็น ลวดลายประดิษฐ์ต่างๆ ตามใจปรารถนา


๑๖ I

ปั จ จุ บั น วิ ช าการช่ า งฝี มื อ เหล่ า นี้ ถู ก บรรจุ อ ยู่ ใ นหลั ก สู ต ร ตั้ ง แต่ ชั้ น ประถมศึ ก ษา มั ธ ยมศึ ก ษามาจนถึ ง อุ ด มศึ ก ษาเป็ น ลํ า ดั บ ประกอบกั บ รั ฐ บาล และภาคเอกชนได้ให้การสนับสนุน จึงมีการอนุรักษ์ศิลปะต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการแกะสลักผลงานประเภทเครื่องจิ้ม จนกระทั่งงานแกะสลักได้กลายเป็น สิ่งที่ต้องประดิษฐ์ ตกแต่งบนโต๊ะอาหารในการจัดเลี้ยงแขกต่างประเทศ ตามโรงแรม ภัต ตาคาร ตลอดจนร้ า นอาหาร ก็ จะใช้ง านศิ ลปะการแกะสลั ก เข้ าไปผสมผสาน เพื่อให้เกิดความสวยงาม หรูหรา และประทับใจแก่แขกในงาน หรือสถานที่นั้น ๆ งานแกะสลักผลไม้ จึงมีส่วนช่วยตกแต่งอาหารได้มาก คงเป็นเช่นนี้ตลอดไป การแกะสลักผักและผลไม้ บางทีเรียกว่า การทําเครื่องสด เป็นงานที่ต้อง อาศัยความประณีต อดทน และละเอียดอ่อนในการทํา เป็นศิลปวั ฒนธรรมที่มีมา แต่สมัยโบราณ จัดเป็นศิลปะประจําชาติซึ่งควรค่าแก่การส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้เป็น สมบั ติ ข องชาติ เพื่ อ ให้ ค นรุ่ น หลั ง ได้ ศึ ก ษาหาความรู้ แ ละมี ค วามภาคภู มิ ใ จ ในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์งานแขนงนี้สืบไป


I ๑๗

ความหมายของการแกะสลักผักและผลไม้ ช่างสลัก ตามปกติมักเรียกรวมกับช่างแกะว่า ช่างแกะสลัก ช่างแกะหรือ ช่างสลักในสมัยก่อนแยกเป็น ๒ อย่าง คือ ช่างสลักกระดาษและช่างสลักของอ่อนที่ เรียกว่า เครื่องสด สลักหยวกในการแต่งเมรุ การสร้างพลับพลาชั่วคราวเพื่อประกอบ พิ ธี ห รื อ เป็ น ที่ ป ระทั บ ช่ า งเหล่ า นี้ มี ห น้ า ที่ ป ระดั บ สถานที่ เ ป็ น ที่ ป ระทั บ ของ พระมหากษัตริย์ งานเมรุทั้งของหลวงและราษฎร์ก็ใช้ช่างสลัก ซึ่งเรียกว่า ช่างสลัก ของอ่อน ที่เรียกว่า “ของอ่อน” เนื่องจากใช้หัวเผือก หัวมัน ฟักทอง เป็นวัสดุในการ สลัก เครื่องมือของช่างสลักมักจะใช้เพียงแต่มีดปลายแหลมเล่มเดียว ช่างสลักของ อ่อนนี้ส่วนมากมีความรู้ ความสามารถในการแกะสลักมาก่อนแทบทั้งสิ้นหรืออาจเป็น ช่างแกะด้วยก็ไ ด้ และช่างแกะสลัก ของอ่อ นจะต้องเป็น ช่างสลัก หยวกด้ว ยเพราะ งานสลักหยวกเป็นสาระสําคัญของการทําเมรุงานตกแต่ง ที่ประดับให้วิจิตรงดงาม ยิ่งขึ้น (วิทย์ พิณคันเงิน,๒๕๑๕,หน้า ๑๖-๑๗) การปอกคว้ าน หมายถึ ง การใช้ อุปกรณ์ เครื่ องมื อมาทํ าการด้วยวิ ธีการ ต่างๆ เพื่อทําให้สิ่ง ที่จ้องการหลุดออกจากกัน การแกะสลัก หมายถึง การนําวัสดุ ต่างๆ เช่น พืช ผัก สบู่ ขี้ผึ้ง และวัสดุอื่น ๆ มาประดิษฐ์เป็นรูปลักษณ์ลวดลายต่างๆ โดยใช้เครื่องมือตัด จัก เฉือน เกลา แกะ แซะ คว้านออกจากชิ้นเดิมจนสําเร็จรูป การแกะสลักผัก หมายถึง การใช้อุปกรณ์-เครื่องมือที่ใช้สําหรับการแกะสลัก มาทําด้วยวิธีต่าง ๆ ทําให้ผักเกิดลวดลายตามที่ต้องการ การแกะสลักผลไม้ หมายถึง การใช้ อุ ป กรณ์ -เครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช้ สํ า หรั บ การแกะสลั ก มาทํ า การด้ ว ยวิ ธี ก ารต่ า ง ๆ ทํ า ให้ ผ ลไม้ เ กิ ด ลวดลายตามต้ อ งการ ความสํ า คั ญ ของการแกะสลั ก ผั ก ผลไม้ งานศิลปะดั้งเดิมของไทยนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่างหลายแขนง


๑๘ I

ความสาคัญของการแกะสลักผักและผลไม้ การแกะสลักผัก ผลไม้นั้นเป็นงานที่มีคุณค่า มีความสําคัญมากมายหลาย ประการ ซึ่งสามารถพอจะแยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้ ๑. นํามาใช้ได้ในชีวิตประจําวัน สามารถตัด แต่งผัก ผลไม้ เป็นชิ้นเป็นคํามี ความสวยงามและ เพื่อความสะดวกในการรับประทาน ๒. นํามาใช้ในโอกาสพิเศษ ตามงานเลี้ยงต่างๆ สามารถแกะสลักผัก ผลไม้ เพื่อนําไปจัดตกแต่ง อาหารต่างๆ เช่น แกะสลักผักหรือผลไม้เป็นผอบเพื่อใส่อาหาร และใช้ในการตกแต่งสถานที่ให้ดูสวยงามน่าชมได้อีกด้วยเช่น การแกะสลักแตงโมหรือ แคนตาลูปทั้งผลเพื่อตกแต่งสถานที่ในงานให้สวยงาม ๓. สร้ างสมาธิ ให้ กั บผู้ ที่ แกะสลั ก การแกะสลัก ผั ก ผลไม้ จะต้ องมี สมาธิ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุจากมีดที่ใช้ในการแกะสลักได้ และชิ้นงานที่ได้จะมีความ ประณีตสวยงามไม่มีรอยช้ําตามต้องการ ๔. เสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เมื่อผู้แกะสลักเรียนรู้วิธีการแกะสลัก อย่างชํานาญแล้ว จะมีความเข้าใจและสามารถสร้างสรรค์ลวดลายใหม่ได้ตามความ ต้องการ ๆ ๕. สร้างความภาคภูมิใจแก่ตัวเอง การแกะสลักถือเป็นงานที่มีความยาก อย่ า งหนึ่ ง แต่ ห ากได้ มี ก ารเรี ย นรู้ อ ย่ า งมี ร ะบบ มี ขั้ น ตอน และใช้ ร ะยะเวลา ในการฝึกฝน จะสามารถทําได้อย่างง่ายดายและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง


I ๑๙

๖. อนุรักษ์สืบสานศิลปะการแกะสลักของไทย ปั จจุบันมีผู้สนใจงานด้าน แกะสลักผักและผลไม้อย่างจริงจังน้อยลง เนื่องจากค่ านิยมมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่ ยั ง มี ผู้ ส นใจที่ จ ะเรี ย นรู้ ก ารแกะสลั ก ผั ก และผลไม้ เพื่ อ ใช้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการประกอบอาชีพในต่างประเทศ และการแกะสลักผักและผลไม้เป็นวิชาหนึ่ง ของการศึกษา จึงเป็นสิ่งที่ยังมีกลุ่มคนที่มีการอนุรักษ์สืบทอดให้คงอยู่ต่อไป

การเลือกใช้โอกาสในการประดิษฐ์ผักและผลไม้ ๑. ชีวิตประจําวัน การประดิษฐ์ผักและผลไม้ต้องใช้เวลาและฝีมือ คนทั่วไป จึงมิได้แกะสลักผักและผลไม้กันอย่างวิจิตรพิสดารในชีวิตประจําวัน จะทํากันอยู่บ้าง ก็ประดิษฐ์อย่างง่าย ๆ ไม่ต้องใช้เวลามากนัก เช่น แกะสลักรอบแตงกวา และมะเขือ ที่ ใ ช้ เ ป็ น เครื่ อ งจิ้ ม จั ด ดอกไม้ ใ ส่ แ จกั น บู ช าพระ หรื อ ใช้ ป ระดั บ ห้ อ ง แต่ ถ้ า เป็ น ของหลวงอาจมี ก ารประดิ ดประดอยได้ ทุ ก วั น ผั ก และผลไม้ จ ะได้ รั บ การตกแต่ ง เป็นอย่างดี เช่น แกะสลักแตงกวาเป็นตัวกระต่ายเพื่อบรรจุน้ําจิ้ม คว้านเงาะสอดไส้ ด้วยมะละกอ แตงโมแกะสลักเป็นกระเช้า หรือดอกกุหลาบ ๒. โอกาสพิเศษ ในโอกาสพิเศษ ได้แก่ งานเลี้ยง รับแขก เยี่ยมไข้ หรือพิธี ทางศาสนา และพิธีตามประเพณีต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานฉลองวันเกิด งานบวช งานศพ งานวันตรุษสารท วันขึ้นปีใหม่ และวันธรรมสวนะ เป็นต้น งานเหล่านี้จะใช้ เวลาในการประดิ ษ ฐ์ ม ากขึ้ น และมี รู ป แบบแตกต่ า งกั น ไปแล้ ว แต่ ช นิ ด ของงาน ถ้า เป็ น งานเลี้ ย งรั บ รองโดยทั่ ว ไปจะแกะสลั ก ผั ก และผลไม้ ใ ห้ ส วยงามเพื่ อ นํ า ไป ประกอบอาหารหวานคาวมากขึ้น


๒๐ I

ถ้า เป็ นงานเลี้ ยงรับ รองของทางรั ฐบาลหรื อของหลวงก็จ ะมี ความวิจิ ต ร พิสดารมากขึ้นตามลําดับ เช่น แกะสลักฟักทองให้สวยงาม เพื่อใช้เป็นภาชนะบรรจุ แกงหรือ ต้มยํา แกะสลักผลไม้นานาชนิดวางบนพานหรือโตก หรือนําใบตองมาเย็บ เป็นบายศรีประดับด้วยดอกไม้สด เพื่อรับรองแขกบ้านแขกเมือง หรืองานทางศาสนา เช่น งานแห่เทียนพรรษา นําเทียนมาแกะสลักเป็นลวดลายดอกไม้ ใบไม้หรือลายไทย แล้ว ประดับด้ วยตาข่า ยซึ่ง ร้อยด้วยดอกไม้ สด ในเทศกาลปี ใหม่ มีการนํา ขิง ดองที่ แกะสลักเป็นรูปต่างๆ สบู่ที่แกะสลักเป็นดอกไม้ และผลไม้ที่แกะสลักและเชื่อมหรือ แช่อิ่มแล้ว บรรจุใส่กล่องแก้วหรือกระเช้า เพื่อส่งมอบให้เป็นของขวัญแด่ผู้ ที่เคารพ นับถือ สําหรับงานวันลอยกระทงจะมีการเย็บกระทง แล้วจับจีบด้วยใบหรือดอก ประดับประดาด้วยดอกไม้และมาลัย ถ้าเป็นของหลวงกระทงเครื่องสดจะได้รับการประดับประดาตกแต่งอย่าง งดงาม โดยจะนํ า ผั ก และผลไม้ ม าแกะสลั ก เป็ น รู ป ต่ า งๆ เช่ น นก ผี เ สื้ อ หงส์ และต่ อ เติ ม ด้ ว ยอุ บ ะดอกไม้ ส ดและมาลั ย ห้ อ ยชาย คุ ณ ค่ า ของการประดิ ษ ฐ์ ผั ก และผลไม้ การประดิ ษ ฐ์ ผั ก และผลไม้ เ ป็ น งานที่ ใ ช้ ฝี มื อ เวลาและความมี ใ จรั ก ในสมัย ก่ อนข้ าราชบริ พ ารฝุ ายในเป็ นผู้ ป ระดิ ษ ฐ์เ พื่ อใช้ ในงานพระราชพิ ธี ต่า ง ๆ เท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการฟื้นฟูเอกลั กษณ์ของไทยขึ้น การประดิษฐ์ผักและผลไม้ จึงได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษจากบุคคลทั่วไป เนื่องจากวัสดุอุปกรณ์ที่นํามาใช้ หาได้ง่าย และเศษวัสดุที่เหลือจากการประดิษฐ์ก็ยังนําไปประกอบอาหารอื่น ๆ ได้ รวมทั้งผลงานที่ได้ออกมาก็สวยงามคุ้มค่า จึงนิยมทํากันแพร่หลายขึ้น


I ๒๑

นอกจากนี้ ยั งได้ รับ ผลตอบแทนทางด้า นจิต ใจ คื อ ผู้ป ระดิ ษ ฐ์มี อ ารมณ์ เยือกเย็น สุขุม มีสมาธิที่จะทํางานให้สําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และยังเป็นทางนําไปสู่ ความภู มิ ใ จในการประกอบงานศิ ล ปะอื่ น ๆ อี ก ด้ ว ย งานประดิ ษ ฐ์ ป ระณี ต และที่สําคัญ ที่สุด คือ นําไปประกอบเป็นอาชีพได้โดยอาจจะทําเป็นอุตสาหกรรม ขนาดเล็ ก ๆ ในครอบครัว หรื ออุต สาหกรรมพื้ นบ้า นเพื่อใช้ใ นโอกาสวัน ขึ้นปี ใหม่ ตรุษสารท และเทศกาลต่าง ๆ เช่น แกะสลักผักและผลไม้แล้วนําไปดอง เชื่อม แช่อิ่ม ฯลฯ บรรจุใส่ภาชนะให้สวยงามแล้วนําไปจําหน่าย หรือทําเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ เช่น อาหารประจําวันในโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร หรืออาหารในโอกาสพิเศษ เช่ น การเลี้ ย งรั บ รองแขกต่ า งประเทศ งานแสดงเอกลั ก ษณ์ ไ ทย นอกจากนี้ ยั ง แพร่หลายไปสู่ต่างประเทศในรูปของสินค้าได้เป็นอย่างดี

การจาแนกลักษณะของงานตามวิธีการแกะสลัก ๑. รูปร่องลึก เป็นการเซาะเนื้อวัสดุให้เป็นร่ องลึกตามลวดลายหรือลักษณะ งานที่ออกแบบไว้ ๒. รูปนูน เป็นการแกะสลักเนื้อวัสดุนูนขึ้นจากพื้น คือ การแกะสลักพื้นให้ ต่ําลง ให้ตัวลายนูนสูงขึ้นมา ๓. รูปลอยตัว เป็นการแกะสลักที่มองเห็นได้โดยรอบทุกด้าน ดังนั้น จะเห็น ได้ว่า ศิลปะการประดิษฐ์ผักและผลไม้ มีคุณค่าและความสําคัญอย่างยิ่ง จนได้บรรจุ ลงในหลักสูตรการเรี ยนการสอน ทั้ งทางภาควิชาการและภาคปฏิบัติหลายระดั บ ทั้งทางภาคเอกชนและรัฐบาล จึงนับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย และเราควรที่จะ ดํารงรักษาสืบทอดศิลปะนี้ไว้ตลอดไป (ที่มา : สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน)


๒๒ I

วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้สาหรับการแกะสลัก ผักผลไม้ วั ส ดุ -อุ ป กรณ์ ที่ ใ ช้ สํ า หรั บ การแกะสลั ก ผั ก ผลไม้ การปอก คว้ า นและ การแกะสลัก ผั กและผลไม้ มี อุ ปกรณ์ ที่ใ ช้ ในแกะสลั ก สามารถหาได้ ไ ม่ ยุ่ ง ยากนั ก มีคุณสมบัติ หน้าที่และลักษณะที่เหมาะสมดังนี้ ๑. มีดแกะสลักในปัจจุบันมี ๒ ลักษณะ ดังนี้ ๑.๑ มีดแกะสลักที่มีด้ามแบน - มี ลั ก ษณะใบมี ด เรี ย วแหลมยาวประมาณ ๑ - ๒ นิ้ ว ใบมีดมักจะเป็นเนื้อสเตนเลสอย่างดีเพื่อมิให้เกิดปฏิกิริยากับผักและผลไม้ มีดด้าม แบนเหมาะสําหรับผู้ที่เริ่มฝึกฝนการแกะสลัก เพราะสามารถควบคุมมีดได้ง่าย ๑.๒ มีดแกะสลักที่มีด้ามกลม - มีลักษณะใบมีดเรียวแหลมยาวประมาณ ๑.๕ – ๒.๕ นิ้ว ใบมี ด มี ทั้ ง เนื้ อ สเตนเลส และเนื้ อ เหล็ ก จึ ง ควรเลื อ กให้ เ หมาะสมกั บ การใช้ ง าน มีดด้ามกลมเหมาะสําหรับผู้ที่แกะสลักได้แล้ว เพราะสามารถควบคุมมีดให้ไปตาม ทิศทางต่างๆ ๒. มีดตัดและหั่น ใช้สําหรับ ตัด หั่นและเกลาผักและผลไม้ - ควรมีความคม มีดหั่นควรมีความยาวของใบมีด ๕ – ๗ นิ้ว ๓. มีดคว้าน ใช้คว้านเมล็ดผลไม้ออก - ควรมีความคม ควรเลือกที่ทําจากสเตนเลส ๔. มีดปอก ใช้สําหรับปอกเปลือกผักและผลไม้ – ควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับผักและผลไม้ที่จะใช้ ๕. ที่ตักผลไม้ทรงกลม ใช้สําหรับตักผักหรือผลไม้ให้เป็นทรงกลม - ช้อนกลมใช้สําหรับควักไส้ผักและผลไม้ ควรเลือกที่ทําจากสเตนเลส


I ๒๓

๖. ที่ตัดแบบหยัก ใช้ตักและหั่นผัก ผลไม้ให้เป็นลวดลายสวยงาม - ควรเลือกให้เหมาะกับผักและผลไม้ มีความคมและควรเลือกที่ทํา จากสเตนเลส ๗. พิมพ์กดรูปต่างๆ ใช้กดผัก ผลไม้ให้มีรูปแบบตามต้องการ - ควรเลือกให้มีความคมและควรเลือกที่ทําจากสเตนเลส ๘. กรรไกร ใช้ตัดและตกแต่งผักผลไม้ที่สลัก - ควรเลือกให้เหมาะกับผักและผลไม้ มีความคมและควรเลือกที่ทํา จากสเตนเลส ๙. หินลับมีดหรือกระดาษทราย ใช้สําหรับลับมีดให้มีความคม - ควรเลือกเนื้อละเอียดๆ เพื่อจะได้ไม่ทําให้มีดสึกกร่อนเร็ว ๑๐. เขียง ใช้สําหรับรอง เวลาหั่น ตัดผักและผลไม้ - ควรเลือกเขียงไม้หรือเขียงพลาสติก ที่มีขนาดเหมาะสมในการใช้ งานและมีน้ําหนักเบา ๑๑. อ่างน้ํา ใช้สําหรับใส่น้ําเพื่อแช่ผักและผลไม้ที่แกะสลักแล้ว ให้สดขึ้น - ควรเลือกให้เหมาะกับปริมาณผักและผลไม้ที่จะแช่ ๑๒. ถาด ใช้สําหรับรองเศษผักและผลไม้เวลาแกะสลัก - ควรเลือกให้เหมาะกับขนาดของผักหรือผลไม้ที่แกะสลัก ๑๓. ผ้าเช็ดมือ ใช้สําหรับเช็ดมือและอุปกรณ์ต่างๆในการแกะสลัก - ควรเลือกที่ซับน้ําได้ดี อาจเป็นผ้าขาวบางหรือผ้าขนหนูผืนเล็ก ๑๔. พลาสติกห่ออาหาร ใช้สําหรับห่อผักและผลไม้ เพื่อไม่ให้ผักและผลไม้ เหี่ยวเฉาเมื่อแกะสลักเสร็จ - ควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับผักและผลไม้ที่แกะสลัก


๒๔ I

๑๕. ถุงมือยาง ใช้สําหรับสวมมือเพื่อเพิ่มความสะอาดเวลาหยิบจับผักและ ผลไม้ในการแกะสลัก - ควรเลือกแบบที่กระชับ แนบเนื้อ งานศิลปะดั้งเดิมของไทยนั้นมี อยู่มากมายหลายอย่างหลายแขนง มีดแกะสลักมีมากมายหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับ ความถนัดของผู้แกะสลักเอง

การเลือกมีดแกะสลัก ผักผลไม้ มีดแกะสลักถือเป็นสิ่งที่สําคัญมากของงานแกะสลัก อาจจะกล่าวได้ว่ามีมีด เพียงเล่มเดียวก็สามารถแกะสลักได้ทุกแบบ ทุกลวดลาย การเลือกมีดแกะสลัก ๑. มีดจะต้องมีความคม ใบมีดที่บางจะสามารถแกะสลักลวดลายได้ละเอียด และไม่มีรอยช้ําที่เกิดจากรอยมีด ๒. น้ําหนักของด้ามมีดจะต้องมีความเบา เพื่อไม่ให้เกิดการอ่อนล้า ๓. ปลายมีดจะต้องมีความเหยียดตรงไม่มีรอยบิ่น และควรมีปลอก หรือซอง สําหรับ เก็บมีดเพื่อปูองกันปลายมีด ๔. ใบมีดควรเลือกที่ไม่เป็นสนิมง่ายเพราะจะดูแลรักษายาก และไม่ปลอดภัย ต่อการบริโภค การปอก คว้ า นและการแกะสลั ก ผลไม้ นั้ น นอกจากจะต้ อ งทรา บ กระบวนการต่างๆ ในการแกะสลักแล้ว หัวใจที่มีความสําคัญต่อการแกะสลัก นั้นก็คือ มี ด แกะสลั ก ที่ มี เ พี ย งเล่ ม เดี ย วสามารถแกะสลั ก ลวดลายได้ ทุ ก ลวดลาย


I ๒๕

วิธีการจับมีดแกะสลัก ผักผลไม้ วิธีการจับมีดแกะสลัก ที่ถูกต้องจะทําให้นําไปไปปฏิบัติไ ด้อย่างเหมาะสม และการความรวดเร็วในการทํางาน รวมทั้งผลงานที่จะมีความสวยงาม ปลอดภัยจาก อุบัติเหตุได้อีกด้วย การจับมีดแกะสลักมีวิธีการจับอยู่ ๓ แบบ คือ ๑. การจับมีดแกะสลักแบบหั่นผัก เหมาะสําหรับการแกะสลักวัสดุ ที่มีขนาด ใหญ่ เช่นแตงโม ลักษณะลวดลายการแกะสลักจะเป็นลวดลายที่มีขนาดใหญ่ ๑.๑ วิ ธี ก ารจั บ มี ด แบบหั่ น ผั ก ลั ก ษณะด้ า มมี ด จะอยู่ ใ ต้ อุ้ ง มื อ มีวิธีการจับดังนี้ - นิ้วหัวแม่มือจะอยู่ด้านข้างมีด ตรงระหว่างด้ามมีดและ ใบมีด - นิ้วชี้จับตรงสันมีด ตรงกึ่งกลางของใบมีด - นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยกําด้ามมีด ๑.๒ วิธีการแกะสลักโดยการจับมีดแบบหั่นผัก - มือซ้ายจับวัสดุที่จะแกะสลัก - มือขวาจับมีดแบบหั่นผัก และต้องให้นิ้วนางสัมผัสวัสดุ ที่แกะสลักเพื่อช่วยควบคุมน้ําหนักมือและจะทํา ให้ช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ๒. การจับมีดแกะสลักแบบจับปากกา เหมาะสําหรับการแกะสลักลวดลายได้ อย่างอิสระ นิยมใช้แกะสลักโดยทั่วไป วิธีการจับมีดแบบจับปากกา ลักษณะด้ามมีด จะอยู่เหนือฝุามือมีอิสระในการแกะสลักลวดลาย มีวิธีการจับดังนี้ - นิ้ ว หั ว แม่ มื อ จะอยู่ ด้ า นข้ า งมี ด ตรงระหว่ า งด้ า มมี ด และใบมี ด - นิ้วชี้จับตรงสันมีด ตรงกึ่งกลางของใบมีด - นิ้วกลางจะอยู่ด้านข้างมีด ตรงระหว่างด้ามมีดและใบมีด และตรง ข้ามกับนิ้วหัวแม่มือ


๒๖ I

- นิ้วนาง นิ้วก้อยไม่สัมผัสมีด วิธีการแกะสลักโดยการจับมีดแบบหั่น ผัก - มือซ้ายจับวัสดุที่จะแกะสลัก - มือขวาจับมีดแบบหั่นผัก และต้องให้นิ้วนางสัมผัสวัสดุที่แกะสลัก เพื่อช่วยควบคุมน้ําหนักมือและจะทํา ให้ช่วยลดอุบัติเหตุที่เกดขึ้น ๓. การจั บมีด แกะสลัก แบบปอกผลไม้ เหมาะสําหรับการปอก การเกลา รูปร่าง รูปทรงต่าง ๆ วิธีการจับมีดแบบปอกผลไม้ ลักษณะด้ามมีดจะอยู่ใต้อุ้ง มือ นิ้วชี้จะเป็นตัวกําหนดทิศ ทางของการเคลื่อนมีด มีวิธีการจับดังนี้ - นิ้วหัวแม่มือจะอยู่ด้านข้างมีด ตรงระหว่างด้ามมีด ใบมีดและสันมีด - นิ้วชี้จับด้านข้างมีด ตรงระหว่างใบมีดและด้ามมีด - นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยกําด้ามมีด วิธีการแกะสลักโดยการจับมีด แบบปอกผลไม้ - มือซ้ายจับวัสดุที่จะแกะสลัก - มือขวาจับมีดแบบปอกผลไม้ และให้นิ้วชี้ช่วยควบคุมการเคลื่อน ของมีดและช่วยควบคุมน้ําหนักมือ จะทําให้ช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น การแกะสลักลวดลายต่าง ๆ โดยทั่วไปมักจะจับมีดแบบการจับดินสอ หรือ ปากกา อาจจะกล่าวได้ว่า การแกะสลักนั้นเหมือนกับการเขียนหนังสือ ที่สามารถลาก ดินสอ หรือปากกาไปในทิศทางต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ


I ๒๗

การเก็บรักษามีด ๑. หลังใช้งานแล้วต้องทําความสะอาดทุกครั้ง วัสดุที่นํามาแกะสลักบางชนิด มีย าง ต้ องล้า งยางที่ คมมีด ด้ว ยมะนาว หรื อน้ํ า มัน พืช ก่อ น แล้ ว จึง ล้า งด้ วยน้ํา ให้ สะอาด เช็ดให้แห้งเก็บปลายมีดในฝักหรือปลอก ๒. หมั่นดูแลมีดแกะสลักให้มีความคมสม่ําเสมอเวลาใช้งานแกะสลักผักและ ผลไม้จะได้ ไม่ช้ํา โดยหลังการใช้ต้องลับคมมีดทุกครั้ง เช็ดให้แห้ง เก็บใส่กล่องไว้ให้ พ้นมือเด็ก ๓. ควรเก็ บ มี ด แกะสลั ก ในปลอกมี ด เพื่ อ ปู อ งกั น ไม่ ใ ห้ ป ลายมี ด กระทบ ของแข็ง จะทําให้ปลายมีดหักหรืองอได้

รูปทรงของผักและผลไม้ ผัก และผลไม้ในประเทศไทยมีมากมายหลายชนิดโดยทั่วไปจะมีรูปทรงกลม และรูปทรงกระบอก ซึ่งเป็นรูปทรงพื้นฐานในการแกะสลักได้ทุกลวดลาย ผักและ ผลไม้สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ ๑. ผลไม้ ที่ มี เ นื้ อ บาง จะสามารถแกะสลั ก ได้ ไ ม่ ม ากนั ก และเหมาะกั บ การปอกคว้าน เพื่อการรับประทาน เช่น ชมพู่ พุทรา ละมุด มะปราง เงาะ ๒. ผลไม้เนื้อหนา จะสามารถปอก คว้าน ตัดแต่งให้เป็นชิ้นที่มีรูปร่างตาม ต้องการ เพื่อการรับประทาน และแกะสลักได้ตามความต้องการ ของผู้แกะสลัก เช่น แตงโม แคนตาลูป มันแกว มะม่วง มะละกอ


๒๘ I

การเลือกซื้อผลไม้เพื่อการแกะสลัก ๑. เลือกตามฤดูกาลที่มี จะได้ผลไม้ที่มีความสด และราคาถูก ๒. เลื อ กให้ ต รงกั บ ความต้ อ งการหรือ วั ตถุ ป ระสงค์ใ นการแกะสลั ก เช่ น เพื่อการปอกคว้าน เพื่อการแกะสลักเป็นภาชนะ ๓. เลื อ กให้ มี ข นาดเหมาะสมกั บ ผลงานที่ จ ะแกะสลั ก โดยเฉพาะการ แกะสลักภาชนะจะต้องเลือกรูปทรงและขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน ๔. เลือกให้สด สวยตามลักษณะของผลไม้ที่แกะสลัก ทั้งผิวพรรณ และอายุของผลไม้

การเลือกซื้อผลไม้เพื่อการแกะสลักชนิดต่างๆ ๑. แครอท ผักหัว สีส้มสด เนื้อแน่น ฉ่ําน้ํา เลือกหัวตรง ผิวเปลือกไม่เหี่ยว หัวสด ขั้วเขียว เนื้อละเอียด แน่นและเนียน ไม่เป็นเสี้ยน จะทําให้สลักเป็นลวดลาย ต่าง ๆ ได้ง่าย ลวดลายที่สลักมีความคมชัดและสวยงามดังนั้นคนที่จะสลักต้องมีความ ชํานาญพอสมควร นอกจากนี้แล้วมีดที่ใช้สลักต้องคม จะทําให้ลวดลายที่ได้คมบาง พลิ้ว ได้งานสลักที่มีความงดงาม สามารถเก็บได้นาน เพียงแต่นํางานที่สลักเสร็จแล้ว แช่น้ําเย็นสักครู่เก็บใส่กล่องพลาสติก ปิดฝาแช่ตู้เย็นช่องธรรมดา แครอทที่สลักเพื่อ ใช้รับประทานและประดับจานอาหารไปในตัวนั้น นิยมจัดในจานสลัด อาหารจาน เดีย ว เช่ น จานข้ าวผั ด ตลอดจนจานอาหารฝรั่ง แบบจานหลัก จะเลือ กสลัก เป็ น ลวดลายง่าย ๆ เช่น สลักเป็นดอกไม้ต่าง ๆ ใบไม้แบบง่าย ๆ เป็นริ้วลายสวยแล้ว นํามาจัดเป็นผักหัวจาน จัดคู่กับผักสีเขียวอย่างแตงกวา แตงร้าน กะหล่ําปลีทั้งสีเขียว สีม่วง เป็นต้น แครอทที่สลักเจตนาใช้ประดับหัวจานให้ดูสวยงามเท่านั้น นิยมสลัก เป็ น ลวดลายดอกไม้ ด อกใหญ่ ลวดลายสลั บ ซั บ ซ้ อ นสวยงาม มี ฐ านดอ กวาง ที่หัวจานได้ แต่งด้วยกลีบใบแตงกวา เมื่อใช้เสร็จสามารถล้างน้ําเย็นใส่กล่องเก็บไว้ใช้


I ๒๙

คราวหน้าได้อีก เก็บได้นาน ๒ – ๓ วันในตู้เย็น ข้อเสนอแนะ แครอท ก่อนจะนําไป แกะสลักไม่ควรแช่น้ํา เพราะ เนื้อจะแข็งจะทําให้แกะยาก เมื่อแกะสลักเสร็จนําไปแช่ น้ํา กลีบจะแข็งอยู่ตัว สีสด ๒. แตงกวา แตงร้าน ผักเนื้ออ่อนมีน้ํามาก เลือกที่เปลือกสด ลายสีเขียว อ่อนสลับขาว ลูกอวบอ้วนจะมีเนื้อหนา ไส้น้อย แตงกวา แตงร้าน ที่จะนํามาสลักให้ เลื อกซื้ อแตงที่ ยัง สด ขั้ว ยัง เขีย วอยู่ ล้ างน้ํ าให้สะอาดซั บ น้ํา ให้ แ ห้ง แล้ ว สลั กทั น ที จึงจะได้ชิ้นงานที่สวย กลีบใบแข็งสดฉ่ําน้ํา ถ้ายังไม่สลักให้เก็บแตงในตู้เย็นโดยไม่ต้อง ล้าง แตงจะยังคงสภาพสดและไม่แก่ เปลือกแตงยังคงเขียวไม่เหลือง เมื่อได้ชิ้นงาน แล้วให้เก็ บใส่ กล่อ งหรื อถุง พลาสติก เก็บ ไว้ใ นตู้เ ย็นช่ องธรรมดา เก็บได้นาน ๒๔ ชั่วโมง เกินกว่านั้นชิ้นงานจะเฉาไม่สวย สลักแตงกวา แตงร้าน เพื่อรับประทานจะ สลักลวดลายง่าย ๆ เช่น ลายใบไม้แบบต่าง ๆ อย่างใบไม้แบบฉลุด้านที่เป็นเปลือก หรือสลักแบบให้เส้นลายใบละเอียดด้านที่เป็นเนื้อ นํามาตกแต่งในอาหารจานเดียว รวมกับผักสีแดง สีเหลือง สีส้ม ที่สลักเป็นดอกไม้ เช่น อาหารจานข้าวผัดต่าง ๆ หรือ อาหารจานกับข้าว แตงกวา แตงร้านสลักสามารถรับประทานได้ นอกจากนี้ยังจัดใน จานน้ําพริกชนิดต่าง ๆ เป็นผักสดรับประทานด้วย สลักแตงกวาแตงร้านจัดแสดงฝีมือ เน้ น ความสวยงาม นิ ย มใช้ แ ตงกวาหรื อ แตงร้ า นลู ก อวบอ้ ว น เพราะมี เ นื้ อ มาก และลูกใหญ่ สลักเป็นดอกบัว รูปสัตว์ นํามาตกแต่งแซมในถาดน้ําพริกหรือผักสลัก ชนิดอื่น ๆ ให้เกิดความหลากหลายของลวดลายในถาดผักสลัก


๓๐ I

๓. มะเขื อ เทศ มี ห ลายพั น ธุ์ หลายสี สั น หลายขนาด และหลายชนิ ด นิยมมะเขือเทศลูกใหญ่ ผิวเปลือกสดสีแดงเข้าสม่ําเสมอทั้งลูก เนื้อหนา เมื่อสลั กจะ ได้ชิ้นงานที่มีสีแดงสด มีดที่ใช้ในการสลักต้องคม เพราะเปลือกของมะเขือเทศมีความ เหนียว ถ้ามีดไม่คมจะทําให้เนื้อมะเขือเทศช้ํา เมื่อสลักได้ชิ้นงานแล้ว ต้องไม่ให้ถูกน้ํา อีกเลย ใส่ ในกล่องหรือถุงพลาสติก เก็บ ไว้ในตู้เย็ นช่องธรรมดาก่อนนํ าออกมาใช้ ซึ่งจะเก็บได้นานถึง ๒๔ ชั่วโมง สลักมะเขือเทศเพื่อรับประทานนั้น ถ้านําไปเสิร์ฟกับ ผักสะบัดนิยมสลักเป็นถ้วย โดยสลักปากถ้วยเป็นลายฟันปลา ใส่น้ําสลัด เสิร์ฟพร้อม กับจานผักสลัด หรือนํามะเขือเทศสีดามาสลักเป็นกลีบดอก กรีดแยกออกจากไส้คง รักษาไว้ให้เป็นเกสร ใช้ตกแต่งอาหารจานเดียว เช่น ข้า วผัด มีแตกงกวาหรือต้นหอม แซมมาด้วย สลักมะเขือเทศเป็นดอกไม้ ต้องใช้มะเขือเทศห่ ามเท่านั้นจึง จะทําได้ นิยมแต่งหัวจานกับข้าวให้ดูสวยงามน่ารับประทาน ดอกกุหลาบมะเขือเทศนิยมทํากัน มากทําง่าย ๆ เพียงใช้มีดคมกริบค่อยๆ ปอกเปลือกมะเขือเทศบาง ๆ เป็นวงรอบ มะเขือเทศ อย่าให้เปลือกขาด จากนั้นนําเปลือกมะเขือเทศมาขดเป็นวงซ้อน ๆ กัน จะได้ดอกกุ หลาบสีแดงสดสวยที เดียว เนื้ อในมะเขื อเทศก็นํา ไปใช้เป็น เครื่องปรุ ง อาหารอื่น ๆ ได้ ๔. หัวไชเท้า เป็นผักหัวสีขาว แท่งยาวตรง ปลายรี เนื้อสีขาวใส เนื้อกรอบ เพราะฉ่ํ าน้ํา นํา มาสลักได้ห ลากหลายลวดลาย เลือกหัว ไชเท้าที่ มีผิว สด ไม่เ หี่ย ว เปลือกขาวสะอาด ผิวเรียบสม่ําเสมอทั้งหัว รูปทรงกระบอกแนวตรง หัวใหญ่ เนื้อไม่ ฟุามหรือเหี่ยว จึงสามารถสลักได้ลวดลายแบบและหลายขนาด ชิ้นงานจะออกมาขาว สะอาด สลั ก หั ว ไชเท้ า ไว้ รั บ ประทาน นิ ย มปรุ ง สุ ก ที่ รั บ ประทานกั บ อาหารฝรั่ ง จะเกลาเป็นหัวไชเท้าลูกเล็ก ทําเป็นรูปใบไม้อย่างหนา หรือสลักเป็นลวดลายกลม ๆ


I ๓๑

อย่ า งง่ า ย ถ้ า นํ า ไปทํ า แกงจื ด จะตั ด เป็ น ท่ อ นตามขวางก่ อ นสลั ก เป็ น ดอกเล็ ก ๆ หลาย ๆ แบบอย่างง่าย ๆ สลักหัวไชเท้าดิบ นิยมสลักเพื่อนํามาประดับหรือตกแต่ง หัวจานให้ดูสวยงามเท่านั้น สลักเป็นรูปดอกไม้แบบต่ าง ๆ นําไปย้อมสีผสมอาหารให้ ได้ สีสั นหลากหลายตามต้อ งการ ลวดลายที่ สลัก เช่น ลายดอกกุ หลาบ ลายดอก ดาวเรือ ง ลายดอกลั่นทม สลักหั วไชเท้า ดิบเพื่อนํ าไปแต่ ง เครื่องสดก็เช่น เดียวกั น นิยมสลักเป็นดอกไม้ ลวดลายสวยงามละเอียด สลักเป็นนก รูปผีเสื้อ และสัตว์เล็ก สัตว์น้อย พร้อมกั บแต่งแต้มสีสันเลียนแบบธรรมชาติ ทําให้ดอกหัวไชเท้าดูเหมือน ดอกไม้จริงยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ หัวไชเท้า เมื่อแกะสลักเสร็จให้แช่น้ําเย็นจัดจะสดนาน ๕. พริก มีหลายสายพันธุ์ ที่นิยมนํามาสลักคือ พริกชี้ฟูา พริกหวาน เพราะ มีเนื้อ มาก สีส ดสวย มี ทั้งสี แดง สีเ ขียว สีเหลือง ส่ว นพริ กขี้ห นูนิย มนํา มาตกแต่ ง ทั้งเม็ด โดยเฉพาะพริกขี้หนูสวน ถ้าเม็ดใหญ่ขึ้นมาหน่อยจะสลักเป็นดอกไม้ดอกเล็ก สําหรับตกแต่งถ้วยน้ําพริกเล็กๆ พริกที่สลักต้องเลือกผิวเปลือกที่สด ไม่เหี่ยว ขั้วมี สีเขียวสด ไม่เน่า และดําคล้ํา ถ้าเป็นพริกชี้ฟูาความยาวประมาณ ๒ นิ้ว สลักพริกเพื่อ รั บ ประทาน พริ ก ขึ้ น ชื่ อ ว่ า เผ็ ด ถ้ า สลั ก พริ ก เป็ น ดอกเป็ น ดวงจะไม่ นิ ย มนํ า ไป รั บ ประทาน จึ ง หั่ น เป็ น ชิ้ น เฉี ย งบ้ า น แฉลบบ้ า ง ใส่ เ ป็ น ส่ ว นประกอบในอาหาร หรือซอยเป็นเส้นๆ เท่านั้น สลักพริกเพื่อนําไปตกแต่ง จะนิยมตกแต่งในอาหารไทย จําพวกแกง ผัด และทอด นิยมใช้พริกชี้ฟูา ทั้งสีแดง และสีเขียว นํามาสลักเป็นดอก เป็ น ดวง เช่ น ดอกพริ ก ที่ สลั ก มี ตั้ง แต่ ๔ กลี บ ไปจนถึ ง ๗ กลี บ แช่ น้ํ า ให้ ด อกบาน ตกแต่งหัวจานกับต้นหอม ผักกาดหอม


๓๒ I

๖. มะเขื อ ต่ า ง ๆ ที่นํ า มารั บ ประทานกั บ น้ํา พริ กก็ มี มากมายหลายพั น ธุ์ ที่ นิ ย มและรู้ จั ก กั น แพร่ ห ลายได้ แ ก่ มะเขื อ เหลื อ ง มะเขื อ ไข่ เ ต่ า มะเขื อ เสวย มะเขือม่วง มะเขือเปราะ ซึ่งแต่ละพันธุ์ก็มีสีสันที่แตกต่างกันไปเมื่อนํามาจัดรวมกันก็ จะได้สีที่มีความหลากหลายในถาดน้ําพริ ก ต้องเลือกมะเขือ ที่แก่จัด ขั้วสีเขียวสด ผิวเปลือกไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ําหรือแมลงกัด มะเขือเมื่อถูกอากาศจะทําให้ดํา จึงต้อง นํามะเขือที่ สลักเสร็จ แล้วแช่ในน้ํ าที่ผสมน้ํา มะนาวสักครู่ เอาขึ้น จากน้ํ า ใส่ กล่อ ง จัดเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา เนื้อมะเขือจะยังขาวและน่ารับประทาน สลักมะเขือเพื่อ รับประทาน นิยมสลักจัดในถาดน้ําพริกนานาชนิด เช่น น้ําพริกกะปิ น้ําพริกมะขาม น้ําพริกอ่อง หลน เป็นต้น หรือหั่นเป็นชิ้นสลักด้วยลายง่ายๆ สลักด้านข้างให้เหมือน ใบไม้ ใส่ในแกงต่างๆ หรือผัด เพื่อเพิ่มความสวยงาม การสลักมะเขือทั้งลูกเป็นดอกไม้ ต่างๆ เช่น ดอกดาวกระจาย ให้ใช้มะเขือเสวยมาสลัก ดอกประดิษฐ์สีเหลืองใช้มะเขือ เหลืองมาสลัก และเพื่อสะดวกในการรับประทาน ยัง นํามะเขือเหลืองมาสลักเป็น ใบไม้ลายฉลุ ตกแต่งในจานน้ําพริกด้วย สลักมะเขือเพื่อตกแต่ง และให้รับประทานได้ ด้วยจะสลักเป็นใบไม้ง่าย ๆ แบบต่าง ๆ ทั่ง ลายฉลุ ลายใบไม่ละเอียดนัก ถ้าจัดหัว จานเพียงอย่างเดียว เช่นอาหารจานเดียวและกับข้าว จะเลือกใช้มะเขือม่วง และ มะเขือเหลือง เพราะมีขนาดใหญ่กว่ามะเขือชนิดอื่น ๗. แรดิช เป็นรากสะสมอาหารอยู่ใต้ดินเรียกว่าหัว หัวมีขนาดเล็ก มีลักษณะกลม รูปไข่ หรือยาวเรียวเนื้อในขาว กรอบชุ่มน้ํา สลักเป็นดอกไม้แต่งจานอาหารให้เลือกหัวกลม ขนาดตามต้องการ ผิวสีสดสม่ําเสมอไม่มีรอยช้ํา ขั้วสด เนื้อแน่น เมื่ อสลักได้ชิ้นงานแล้ว ให้ แช่น้ําในกล่องนํ าเข้าตู้เย็นก่อนนําออกมาใช้งาน แต่ถ้าต้องแช่ นานให้เอาขึ้นจากน้ําห่ อ กระดาษทิชชูสีขาวเก็บใส่กล่องไว้ในตู้เย็น จะทําให้กลีบดอกแข็งสดและอิ่มตัว


I ๓๓

๘. เผือ ก เป็นผักหัวที่มีเนื้อแน่นและละเอียด เนื้อมีลักษณะคล้ายหินอ่อน เมื่อนํามาแกะสลักจะได้ลวดลายเฉพาะของเนื้อเผือก และลวดลายที่ประดิษฐ์ขึ้นด้วย มีทั้งหัวใหญ่และหัวเล็ก เลือกหัวที่มีน้ําหนัก ส่วนที่เป็นลําต้นมีสีเขียวและสั้น สลักได้ ทั้งดอกไม้ และใบไม้แบบง่าย ๆ สลักเป็นภาชนะใส่อาหาร เมื่อสลักได้ชิ้นงานแล้วอย่า นํา ชิ้ น งานไปแช่ น้ํา นาน เพราะจะทํ า ให้แ ปู ง ที่ อ ยู่ใ นเนื้ อเผื อ กออกมามาก ทํ า ให้ ลวดลายที่สลักไม่สดสวย ให้จุ่มน้ําเย็น เก็บใส่กล่องพลาสติก ปิดฝาหรือใส่ถุงพลาสติก เก็บในตู้เย็นได้นาน ๒ วัน สลักเผือกเพื่อรับประทาน ไม่นิยมรับประทานดิบเพราะมี ยางจะทําให้คัน จึงนิยมทําให้สุกก่อนรับประทานโดยใส่เป็นส่วนประกอบในอาหาร ทั้งอาหารคาว เช่น แกงเลียงเผือก และอาหารหวาน เช่นนําไปเชื่อม และสลักเป็น ภาชนะใส่สัง ขยาเป็นสังขยาเผือก เลือกลายสลักแบบง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน หรือ ละเอียดจนเกินไป เพราะเผือกเมื่อสุกเนื้อจะมีลักษณะฟู สลักเผือกเพื่อตกแต่งหัวจาน เพียงอย่างเดียวนิยมใช้เผือกดิบมาสลักเป็นดอกไม้ ทั้งลายดอกกุหลาบลายดอกรักเร่ เป็นต้น สลักทั้งดอกเล็ก ดอกใหญ่ นํามาตกแต่งหัวจานอาหารกับแตงกวาสลักเป็น ใบไม้ ข้อควรระวัง เผือก ควรล้างเผือกทั้งหัวจากนั้นผึ่งให้แห้งก่อนปลอกเปลือก และ แกะสลัก เพราะถ้าน้ําเผือกมาล้างน้ําหลังจากปลอกเปลือกจะมีเ มือกและคันมือ เมื่อ แกะสลักแล้ว ล้างด้วยน้ําผสมสารส้มเจือจางหรือน้ํามะขามเปียก เผือกจะมีสีขาวสวย ๙. ฟักทอง มีหลายหลายพันธุ์ หลายสี แต่ที่นิยมนํามาสลักเป็นฟักทองเนื้อสี เหลื องและสี เหลือ งออกส้ม เพราะหาได้ง่า ย เนื้ อละเอีย ด แน่ นและหนา ผลใหญ่ เนื้อเยอะ เมล็ดน้อย สลักฟักทองเพื่อนํามาใช้รับประทาน นิยมสลักลวดลายเรียบง่าย เพื่ อ รั กษาเนื้อ ฟั ก ทองให้เ ป็ น ชิ้น เป็ นอั น เช่น สลัก ฟั ก ทองเพื่อ เป็ นผั ก จิ้ มน้ํ า พริ ก นิยมสลักลายลงข้างฟักทองบ้าง ต้องเป็น ลาย ง่าย ๆ ไม่กินเนื้อลึกเมื่อนึ่ง สุกแล้ ว


๓๔ I

ลวดลายจึงจะยังคงอยู่ สลักฟักทองเพื่อใช้เป็นผอบ นิยมสลักทั้งลูกโดยปอกเปลือก ออกให้หมด เกลาฟักทองให้เป็นรูปโถ คว้านเมล็ดให้เรียบร้อย แล้วจึงลงมือสลักให้ เป็นดอกเป็นดวงที่งดงามวิจิตร เช่นลายดอกข่า ลายดอกกูหลาบ ลายดอกรักเร่แปลง ฯลฯ จากนั้นก็นําไปใช้เป็นภาชนะใส่น้ําพริกหรือหลน เป็นต้น สลักฟักทองเพื่อนําไป เชื่ อ ม นิ ย มสลั ก เป็ น รู ป ดอกไม้ แ บบต่ า งๆ หลายๆ รู ป แบบ ลายต้ อ งไม่ ล ะเอี ย ด หรือพลิ้วจนเกินไป จะทําให้กลีบดอกหัก เมื่อเชื่อมเสร็จจะได้ชิ้นงานสวยเป็นเงางาม งานฟั กทองที่แ กะสลักแล้ว ให้จุ่ มน้ํา เท่า นั้น ไม่ควรแช่ น้ํา เพราะทํ าให้ กลีบ ช้ําได้ ข้อเสนอแนะ ฟักทอง เมื่อแกะสลักเสร็จแล้วไม่ควรแช่น้ํา เพราะ ฟักทองจะเปลี่ยนสี เน่าเร็ว ให้ใช้ผ้าขาวบางชุบน้ําบิดหมาดๆคลุมไว้ หรือนําไปแช่ตู้เย็น ๑๐. ขิง เป็นพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า “เหง้า” มีรูปร่างต่าง ๆ สวยงาม นิยมใช้ขิงอ่อนมาสลักเพราะเนื้อละเอียด สีเหลืองนวล สลักได้ทั้งแง่งใหญ่และแง่งเล็ก สังเกตตรงลําต้นที่ติดกับแง่งขิงมีสีชมพู ผิวเปลือกสดไม่มีรอยช้ํา เลือกขิง ที่สด ผิว เปลือกยังใสเป็นสีชมพูนํามาล้างให้สะอาด ทิ้งให้สะเด็ดน้ําก่อนนํามาสลัก เมื่อสลักได้ ชิ้นงานแล้วให้คลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ํา ทยอยทํานําไปเก็บไว้ในตู้เย็นก่อน มิฉะนั้น เนื้อขิงจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ําไม่สวยงาม สลักขิงนั้นนิยมสลักเพื่อไว้ดองรับประทานเป็ น ส่วนใหญ่ ลวดลายที่เลือกนํามาสลักมีทั้งเป็นลูกสับปะรดเล็ก ๆ เป็นรูปดอกข่ากลีบ ซ้อน สลักเป็นขิงยืดหยุ่นได้สลักเป็นลายดอกไม้และใบไม้ตามแง่งขิงได้สวยงามสลัก เป็นสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยแล้วจึงนําไปดองในขวดโหลแจกเป็นของขวัญที่รับประทานได้ สวยงาม ให้ด้วยฝีมือและทํามาจากใจ สลักขิงกินเป็นผักแนมแกมกับอาหารต่าง ๆ เช่น น้ําพริ ก ขนมจีน ชาวน้ํ า หั่น เป็นแผ่นบาง สลักลายเล็ก น้อยให้ดูส วยงามขาว สะอาดชวนน่า รับประทานมี ทั้งลวดลายใบไม้ ดอกประดิษ ฐ์ เป็นต้ น สลักขิ ง เป็ น


I ๓๕

ดอกไม้ตกแต่งหัวจาน นิยมสลักเป็นดอกเป็นดวง ดอกเล็ก ๆ จัดในจานอาหารที่มีขิง เป็ น เครื่ อ งปรุ ง เช่ น ต้ ม ส้ ม ปลาทู ไก่ ผั ด ขิ ง ยํ า ขิ ง อ่ อ น เมี่ ย งต่ า ง ๆ เป็ น ต้ น ข้อเสนอแนะ ขิง เมื่อแกะสลักเสร็จนําไปแช่น้ําผสมน้ํามะนาวสักครู่ จะเปลี่ยนเป็นสี ชมพูสวย ๑๑. เลมอน มีผลใหญ่ทรงกลมรีสีเหลือง มีจุกสองด้าน ผิวสีเหลือง เปลือก หนา คล้ายเปลือกส้มซันควิก นํามาหั่นแต่งจานอาหาร เลือกผิงตึงไม่มัน แปลว่าผลยัง สด ถ้าผิวมั นคือผลเริ่ มเก่าแล้ว ล้างให้สะอาดก่อนนํามาสลัก ชิ้นงานสลักเก็บเข้ า กล่องปิดฝาแช่ตู้เย็นช่องธรรมดา ๑๒. ต้นกระเทียม ลําต้นขาวยาวใบแบนและโอบซ้อนๆกัน ต้นกระเทียมจีน มีขนาดเล็กและผอม เนื้อละเอียด มี รสและกลิ่นแรกกว่าพันธุ์ฝรั่ง เลือกหัวแน่นช่วง โคนยาว เลือกหัวเท่า ๆ กัน เมื่อสลักได้ชิ้นงาน ให้แช่ในน้ําเย็นจัดสักครู่ก่อนนําขึ้นมา เก็บใส่กล่องปิดฝาแช่ตู้เย็นช่องธรรมดา ๑๓. หอมใหญ่ เป็นผักหัวที่มีหลายขนาด เนื้อเป็นวงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ใน การเลือกหอมใหญ่ม าสลักนั้น ให้เ ลือกหัวแน่น มีน้ําหนัก เมื่อบีบดูจะไม่ยุบ หัว มี ลักษณะแห้ง สลักลวดลายได้ง่าย ๆ อย่างสวยงาม การสลักหอมใหญ่นั้น สลักได้ทั้ง หัว และสลักได้เป็ นกลี บดอกไม้ ต่าง ๆ โดยลอกเนื้อหอมออกเป็นชั้ น ๆ เสี ยก่อ น จากนั้นก็สลักลวดลายกลีบตามที่ต้องการ เมื่อได้กลีบดอกไม้แล้วเก็บใส่ถุงพลาสติก ปิ ด ฝาเข้ า ตู้ เ ย็ น เมื่ อ จะใช้ ก็ นํ า มาประกอบเป็ น ดอกไม้ สลั ก หอมใหญ่ เ พื่ อ นํ า มา รับประทาน เช่น ใส่ในแกงมัสมั่น นิยมสลักหอมใหญ่เป็นรูปฟันปลาซึ่งจะเลือกใช้ หอมใหญ่หัวขนาดเล็ก ถ้านํามาใส่กับผักสลัดนิยมลอกเนื้อออกมาเป็นชั้นๆ แล้วสลัก


๓๖ I

เป็นรูปใบไม้แบบง่ายๆ ถ้านําไปผัดก็จะหั่นออกมาเป็นชิ้น จักริมรอบกลีบหอมใหญ่ เป็นต้น สลักหอมใหญ่เพื่อนําไปตกแต่งหัวจาน ทั่งอาหารจานเดียวและกับข้าวนิยม สลักหอมใหญ่เป็นกลีบดอกไม้ เช่น กลีบดอกปลายแหลม กลีบดอกปลายมน จัดให้ เป็นรูปดอกไม้ที่หัวจาน แต่งให้ดอกไม้หอมใหญ่สวยด้วยผักสีเขียวอย่างใบไม้แตงกวา และต้นหอม ข้อเสนอแนะ หอมแดงและหอมใหญ่ ในขณะที่ปอกและแกะสลัก จะมี สารระเหยออกมาทําให้แสบตา ต้องนําไปแช่น้ําก่อน ๑๔. ผักกาด มีลักษณะปลียาวรี กาบสีขาว ใบสีเหลืองอ่อนหรือสีเขียวอ่อน หยักงอซ้อนกันเป็นกอแน่นใบ และกาบใบกรอบมีน้ํามาก เลือกต้นยาวไม่สูง ให้มีส่วน ของก้ า นใบมาก สดแข็ ง กรอบไม่ เ หี่ ย ว โคนต้ น ทาปู น ไว้ ก่ อ น ต้ น ก็ จ ะไม่ เ น่ า ผิวขาวสม่ําเสมอ ไม่มีอื่นแซม เมื่อสลักได้ผลงานแล้วให้จุ่มน้ํา แล้วนําขึ้นห่อผ้าขาว บางหรืกระดาษทิชชูจุ่มน้ําห่อไว้ ใส่กล่องแช่ตู้เย็นช่องธรรมดา ๑๕. กะหล่ าปลี ทั้ งสี เขี ยวและสี ม่ วงในเกาะกั นแน่ นหุ้ มซ้ อนกั นหลายชั้ น ใบหนาและกรอบกรุบ ผิวใบหยิกเป็นคลื่น เลือกหัวไม่แน่น เพื่อจะได้แยกออกเป็นใบๆได้ ง่ายโดยไม่ฉีกขาด และไม่โค้งงอ เลือกหัวสดดูที่ก้านและสีผิวตึง ถ้าไม่สดให้แก้ด้วยการ แช่น้ําเย็นจัดทั้งหัวสักครู่ก็จะช่วยให้กะหล่ําปลีสดขึ้น เมื่อสลักได้ชิ้นงานแล้วให้แช่น้ําใส่ กล่องปิดฝาเข้าตู้เย็นช่องธรรมดา เก็บไว้ได้ ๑ วัน ถ้าเกินกว่านี้ต้องเอาขึ้นจากน้ํามาห่อ กระดาษทิชชูไว้ เก็บเข้ากล่องแช่ตู้เย็นช่องธรรมดา จะเก็บไว้ได้หลายวัน


I ๓๗

๑๖. บี ต รู ท มี รู ป ร่ า งค่ อนข้ า งกลม ผิ ว สี ม่ ว งแดง เนื้ อ สี แ ดงเข้ ม ชุ่ ม น้ํ า ก้านใบสีแดง นํามาสลักเป็นรูปดอกไม้เพื่อประดับจานอาหาร เลือกหัวกลม ๆ ขนาดเท่า ๆ กัน เนื้อแน่นแข็ง ไม่ฟุาม ผิวตึงเรียบสม่ําเสมอ สีม่วงสด มีน้ําหนัก ล้างให้สะอาดก่อน นําไปสลักงานให้เก็บชิ้นงานด้วยการนําไปห่อด้วยกระดาษทิชชูชุบน้ําใส่กล่องปิดฝาแช่ ตู้เย็นเพื่อช่วยถนอมผลงาน จะเก็บชิ้นงานได้หลายวัน เมื่อจะใช้ให้ฉีดน้ําให้ชุ่ม เพื่อให้ สดใสขึ้น ข้อเสนอแนะ บีทรูท เมื่อปลอกเปลือกแล้วควรล้างด้วยน้ําเกลือเจือจางก่อน เพื่อไม่ให้สีตกออกมามากเกินไป ถ้าทิ้งไว้จะดํา ควรฉีดน้ําอยู่เสมอ ๑๗. แอปเปิ้ล มีหลายพันธุ์ ทั้งสีแดง สีเขียว และสีเหลือง นอกจากนี้ยังมีทั้งลูก เล็กและลูกใหญ่ เปลือกสีแดงอมเหลือง สามารถนํามาสลักได้ทั้งนั้น เลือกที่ผิวเปลือกสด ไ ม่ เ หี่ ย ว ไ ด้ รู ป ท ร ง ถ้ าเ ป็ น แ อ ป เ ปิ ล พั น ธุ์ สี แ ดง สี เ ขี ย ว แ ล ะ สี เ ห ลื อ ง สีต้องสม่ําเสมอทั้งผล แอปเปิลแต่ละพันธุ์แต่ละสีที่นํามาสลักจะมีเนื้อไม่เหมือนกัน เมื่อ สลักเสร็จแล้วต้องแช่ในน้ําผสมน้ํามะนาวทันที เพราะเมื่อเนื้อถูกกับอากาศจะดํา ถ้าใช้ แอปเปิลสีเขียวก็เพียงแต่ชุบน้ําเย็นสักครู่ เพราะเนื้อมีรสเปรี้ยวทําให้ชิ้นงานไม่ดํา สลัก แอปเปิ ลเพื่ อรั บประทานจะสลั ก เป็ นแบบง่ าย ๆ เช่ นสลั กเป็ น รู ปใบไม้ จัดในถาดผลไม้สําหรับเสิร์ฟหรือหั่นเป็นชิ้นสามเหลี่ยมซ้อนกัน เรียกช้างแอปเปิลสําหรับ ตกแต่ งหัวจาน โดยเฉพาะอาหารแบบฝรั่งโดยทั่วไป สลักแอปเปิ ลเพื่ อตกแต่งและจั ด แสดงนิยมสลักทั้งผล ปอกเปลือกแล้วสลัก กับสลักทั้งเปลือก การสลักทั้งเปลือกช่วยทํา ให้สีของเปลือกสลับกับเนื้อสีเหลืองนวลของแอปเปิลได้อย่างสวยงาม โดยเฉพาะแอปเปิล สีแดงนํามาจัดในถาดผลไม้ และสลักแอปเปิลสีเขียวเป็นลายใบไม้นํามาแซมให้สวยงาม


๓๘ I

๑๘. มะละกอ มี ห ลายพั น ธุ์ ให้ เ นื้ อ หลายสี สามารถนํ า มาสลั ก ได้ ทั้ ง ผล แต่พันธุ์ที่นิยมเป็นพันธุ์แขกดํา เพราะเนื้อมีสีส้มแสด เนื้อหนา รูปทรงสวย เปลือกสี เขียวสลักลวดลายได้สวยงาม มะละกอ เป็นผลไม้ที่มียาง เมื่อปอกเปลือกหรือตัดเป็น ชิ้นแล้วต้องล้างน้ําเอายางออกก่อนจึงลงมือสลัก เมื่อสลักได้ชิ้นงานแล้วไม่ควรล้างน้ํา โดยเฉพาะมะละกอสุก เพราะจะเละ ถ้าสลักทั้งผลเพื่อตกแต่งหรือจัดแสดงให้ฉีดน้ํา แล้วคลุมด้วยผ้าขาวบาง สลักมะละกอเพื่อรับประทาน ต้องเลือกมะละกอเนื้อสุก เปลือกเริ่มมีสีสัน สลักเป็นลวดลายแบบง่ายๆโดยหั่นมะละกอเป็นชิ้นขนาดพอคํา ตกแต่งชิ้นมะละกอให้มีลักษณะเหมือนใบไม้ แล้วสลักลานเส้น หรือสลักเป็นดอกไม้ ดอกเล็กขนาดพอคํา นํามาจัดในถาดผลไม้รวมเสิร์ฟแบบบุฟเฟุต์ สลักมะละกอเพื่อ อวดฝีมือ ต้องเป็นมะละกอห่ามเปลือกมีสีส้มตรงแก้มมะละกอ เนื้อจะแข็ง สลักได้ ง่ายจะได้ลวดลายที่สวยงาม มะละกอสามารถสลักได้ทั้งเปลือก และสลักเฉพาะเนื้อ มะละกอล้วนๆ นอกจากนี้ยังนิยมสลักมะละกอเป็นภาชนะใส่อาหารอีกด้วย ทําเป็น ลวดลายที่สวยงามสลับซับซ้อน ๑๙. ฝรัง เป็นผลไม้เปลือกบาง ผลทรงกลมปูอม มีหลายพันธุ์ เลือกใช้ฝรั่ง พันธุ์สาลี่ หรือฝรั่งลูกใหญ่ทรงกลมปูอม เลือกเปลือกสีเขียวอ่อน ผิวเปลือกเรียบ สด ไม่เหี่ยวไม่มีรอยช้ํา ตรงขั้วไม่มีสันเนื้อนูนขึ้นมา สลักได้ทั้งผลและหั่นชิ้นออกมาสลัก เนื้ อ ฝรั่ ง มี ลั ก ษณะเป็ น เหมื อ นเม็ ด ทราย มี ด ที่ ใ ช้ สลั ก ต้ อ งคม ลวดลายจะคมชั ด เมื่อสลักได้ชิ้นงานแล้วชุบน้ําเย็นสักครู่ เก็บใส่กล่องพลาสติกหรือใส่ถุงพลาสติกปิดให้ สนิท แช่ตู้เย็นช่องธรรมดาจนกว่าจะใช้งาน สลักฝรั่งเพื่อรับประทาน เลือกใช้ฝรั่งสุก สลั ก ลวดลายแบบง่ า ย ๆ เช่ น หั่ น เป็ น ชิ้ น ตกแต่ ง ให้ มี ลั ก ษณะเหมื อ นใบไม้ สลักลายเส้นเป็นลานฉลุ หรือหั่นชิ้นขนาดพอคํา สลักเป็นดอกไม้ดอกเล็ก ๆ เช่ น


I ๓๙

ดอกกุหลาบ ดอกพุดตาน จัดกับถาดผลไม้รวมเสิร์ฟพร้อมพริกกับเกลือ สลักฝรั่งเพื่อ ตกแต่ง หรื อจั ด แสดง เลื อ กใช้ ฝรั่ง ห่ าม เนื้อ จะแน่ น และแข็ง สลัก ด้ วยลวดลายที่ สลับซับซ้อนทั้ง ผล เช่น ลายดอกรักเร่แปลง หรือสลักเป็นภาชนะสําหรับใส่อาหาร เป็นผอบสําหรับใส่พริกกับเกลือจัดแสดงพร้อมกับชิ้นฝรั่งที่สลักพร้อมรับประทาน ๒๐. สับปะรด มีหลายพันธุ์ เลือกใช้สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย หรือที่เรียกว่า สับปะรดเมื องชลบุรี เพราะเปลือ กบาง ตาไม่ลึ ก เนื้ อสีเ หลื อง เลื อกสับปะรดแก่ จัดตาใหญ่ เปลือกสีเขียวอมเหลือง เนื้อไม่ฉ่ํามาก เมื่อสลักได้ชิ้นงานจะเห็นลวดลาย ชัดเจน มีดที่ใช้ในการสลักต้องคมมาก เพราะเนื้อสับปะรดเป็นเส้นใย เมื่อสลักเนื้อจะ ไม่เป็นเสี้ยนและช้ํา น้ําในสับปะรดไม่ไหลออกมามาก สลักสับปะรดเพื่อรับประทาน นิยมสลักลวดลายแบบง่าย ๆ เช่น สลักเป็นผีเสื้อแล้วหั่นเป็นชิ้น หรือทําเป็นสับปะรด ลูกจิ๋ว หรือหั่นเป็นชิ้นก่อนแล้วสลักให้เป็นรูปพัด จัดในถาดผลไม้รวมสําหรับเสิร์ฟ แบบบุฟเฟุต์หรือจัดมาในจานอาหาร เป็นการตกแต่งหัวจาน และยังรับประทานได้ ด้วย สลักสับปะรดเป็นภาชนะสําหรับใส่อาหารอย่างน้ําสลัด เครื่องดื่ม หรือใส่อาหาร นําไปอบ เช่น ข้าวอบสับปะรด ต้องเลือกผลขนาดเล็กเปลือกสีเขียว สลักลวดลาย เฉพาะตรงปากของภาชนะเป็นฟัน ปลา หรือสลักให้เป็นร่องกลีบมนเหมือนดอกไม้ ๒๑. แคนตาลูป มีหลากหลายพันธุ์และหลากหลายขนาด มีทั้ง ผลกลมรี และกลมปูอม พันธุ์ข องไทยเปลือกจะมีสีเหลืองอ่อน เนื้อสีเหลืองทอง แคนตาลูป ญี่ปุนเปลือกเป็นริ้ว ลูกกลม เนื้อสีเขียว แคนตาลูปที่จะนํามาสลักต้องเลือกแคนตาลูป ที่ไม่สุกมาก ผิวเปลือกสด เมื่อสลักได้ชิ้นงานแล้ว อย่านําไปแช่น้ํา เพราะแคนตาลูป จะเสียเร็ว สลักแคนตาลูปเพื่อรับประทาน เลือกแคนตาลูปสุกสลักลาย จะมีกลิ่นหอม


๔๐ I

รสหวาน นิยมสลักลวดลายแบบง่ายๆ เพราะแคนตาลูปให้มีลักษณะเหมือนใบไม้แล้ว สลั กลายเส้ น หรื อสลัก เป็ นดอกเล็ กขนาดพอคํา อย่ างดอกแพงพวย ดอกกุ หลาบ สลักแคนตาลูปเพื่อตกแต่ง นิยมสลักทั้งผลเพื่อจัดแสดงในถาดผลไม้รวมชนิดอื่น ต้อง เลื อ กแคนตาลู ป ที่ ยั ง ไม่ สุ ก เนื้ อ แคนตาลู ป ยั ง แข็ ง อยู่ นํ า มาสลั ก เป็ น ลวดลายที่ สลับซับซ้อน เช่นกลีบดอกรักเร่แปลง กลีบดอกกุหลาบซ้อนกัน ๒๒. แตงโม ผลไม้ ที่มี น้ํ าหนัก มาก มี หลายพั นธุ์ หลายขนาด หลายสี ผิ ว ทั่งทรงกลมและทรงรี เลือกผิวเปลือกสด สีสวยทั้งลูก เนื้อแตงโมมีน้ํามาก และแน่น มีดที่ใช้สลักต้องคม ลวดลายที่สลักจะคมชัดสวยงาม แตงโมที่สลักเสร็จแล้วทั้ง ผล ต้องฉีดน้ําแล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางหรือคลุมด้วยถุงพลาสติก แช่ตู้เย็นช่องธรรมดา จนกว่าจะใช้งาน และถ้าหั่นเป็นชิ้นเอาแต่เนื้อสีแดงมาสลัก ให้เก็บใส่กล่องปิดฝาให้ สนิท แช่ตู้เย็นช่องธรรมดาเช่นกัน สลักแตงโมเพื่อรับประทาน ให้เลือกแตงโมลูกใหญ่ ได้เนื้อมาก ไส้ไม่ล้ม สุกกําลังดี เนื้อจะฉ่ํา หั่นเป็นชิ้นยาว สลักลวดลายที่เนื้อแตงโม เล็ ก น้ อ ย เช่ น ทํ า ลวดลายหยั ก ด้ า นข้ า งของชิ้ น แตงโม แล้ ว หั่ น เป็ น ชิ้ น หนา พอประมาณ หรือสลักเป็นลายดอกกุหลาบเล็ก ๆ ขนาดพอคําก็ไ ด้ จัดในถาดผลไม้ รวมสําหรับเสิร์ฟแบบบุฟเฟุต์ สลักแตงโมเพื่อตกแต่งหรือจัดแสดง เลือกใช้แตงโมให้มี ขนาดพอเหมาะกับภาชนะที่จะใช้จัด นอยมสลักทั้งผลด้วยลวดลายที่สลับซับซ้อน สวยงาม จัดเป็นหัวถาดในถาดอาหารประเภทอาหารว่าง อาหารเรียกน้ําย่อย จัดใน ถาดผลไม้รวมพร้อมรับประทาน หรือหั่น ชิ้นสลักเป็นดอกไม้สีแดงจัดรวมกันในถาด ผลไม้ชนิดอื่นก็ได้


I ๔๑

๒๓. มันแกว มีหลายขนาด ทั้งหัวขนาดใหญ่และหัวขนาดเล็ก การสลักมัน แกวให้เลือกหัวขนาดเล็กเท่ากํามือ เนื้อมันแกวจะละเอียดใส ไม่ขุ่น เนื้อไม่เป็นเสี้ยน ทําให้สลักได้งานและลวดลายคมชัด ก่อนนํามันแกวมาสลักต้ องล้างเปลือกให้สะอาด ปอกเปลือกออกให้หมด เนื้อมันแกวจะขาวใส เมื่อสลักได้ชิ้นงานแล้ว ต้องชุบน้ําเย็น สักครู่ อย่าแช่น้ํานาน จะทําให้เนื้อมันแกวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้ สลักมันแกวเพื่อ รับประทาน ให้เลือกหัวขนาดใหญ่ เพรามะเนื้อมาก หั่นเป็นชิ้นพอคํา เช่น ดอกรักเร่ ตูม ดอกผกากาญจน์ ดอกบ๊วย ตกแต่งเกสรด้วยดอกเข้มสีแดง จัดรวมกับผลไม้อื่น ๆ เสิร์ฟพร้อมพริกกับเกลือ สลักมันแกวเพื่อตกแต่งหรือจัดแสดง อย่างอาหารจานบุฟ เฟุต์จานใหญ่ต้องให้มันแกวหัวขนาดใหญ่สลักเป็นดอกไม้ เช่นดอกไม้ลายดอกกุหลาบ จัดหัวจานพร้อมกับผักสีเขียว หรือนํามันแกวไปย้อมสีตามต้องการหรือสลักทั้งหัวให้มี ลวดลายที่สลับซับซ้อนนําไปจัดรวมกับผลไม้ชนิดอื่นที่มีสีสันต่างๆ ก็ช่วยให้ผลไม้นั้นดู สวยงามน่ารับประทาน นอกจากนี้ยังนิยมนําสีผสมอาหารมาย้อมให้ลวดลายสีขาวใส ของมันแกวเปลี่ยนเป็นสีสันต่างๆ เช่น สลักเป็นสัตว์ตัวน้อย แต่งแต้มสีให้สวยน่ารักได้ ๒๔. มะม่ วง มีม ากหลายพั น ธุ์ นํ า มาสลั กได้ ทั้ง นั้ น เลื อกที่ ผิ วเปลือ กสด สีเขียว ไม่มีรอยช้ํา ได้รูปทรง ถ้ายังมีขั้วต้องเลือกที่มีสีเขียวสด ไม่เหี่ยวและดําคล้ํา ชิ้นงานที่สลักจากมะม่วงพันธุ์ที่ไม่ใช่น้ําดอกไม้ต้องปอกเปลือกออกให้หมด แช่ในน้ํา ผสมน้ํามะนาวสัครู่จึงน้ํามาสลักตามต้องการ เมื่อสลักเสร็จแล้วก็แช่น้ําผสมน้ํามะนาว อีกครั้ง ชิ้นงานสลักนั้นก็จะไม่ดํา ถ้าใช้มะม่วงพันธุ์น้ําดอกไม้มาสลัก ให้ล้างด้วยน้ํา เย็นเก็บใส่ตู้เย็นไว้จนกว่าจะใช้งาน เนื่องจากมะม่วงพันธุ์น้ําดอกไม้มีรสเปรี้ยวในเนื้อ มาก เมื่อถูกอากาศจึงไม่ดํา สลักมะม่วงเพื่อรับประทาน เลือกใช้มะม่วงพันธุ์ไหนก็ได้ แต่ต้องปอกเปลือกเขียวออกให้หมดจนเห็นแต่เนื้อขาว แล้วแช่ในน้ําผสมน้ํามะนาว


๔๒ I

สักครู่ หั่นเป็นชิ้นขนาดพอคํา สลักเป็นลวดลายใบไม้แบบต่างๆ เช่น ใบไม้ฉลุ หรือ สลักเป็นดอกไม้เล็ก ๆ เช่น ดอกบุหลัน นํามาจัดเสิร์ฟพร้ อมกับเกลือ หรือน้ําปลา หวาน สลักมะม่วงเพื่อตกแต่งหรือจัดแสดง ใช้มะม่วงพันธุ์น้ําดอกไม้ เพราะจะอยู่ได้ นานไม่ดํา เลือกที่ขั้วสด สีเขียว นิยมสลักทั้งผล โดยสลักทั้งเปลือก และปอกเปลือก แล้วสลักตรงเนื้อสีขาว ด้วยลวดลายวิจิตรสวยงามนํามาจัดในถาดผลไม้รวมชนิดอื่น ประดับบนโต๊ะอาหาร ๒๕. ชมพู่ มีหลายพันธุ์ เป็นผลไม้เปลือกบาง มีเนื้อเป็นฟองน้ํา ผิวเปลือกสด มันเรียบ ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ําถ้ายังมีขั้วติดอยู่ เลือกที่สด สีเขียว เมื่อสลักได้ชิ้นงาน แล้วอย่านําไปแช่น้ํา เพราะเนื้อที่เป็นฟองน้ําจะทําให้ชมพู่อบน้ํามากขึ้น และทําให้ เสียเร็ว สลักชมพู่เพื่อรับประทาน จะสลักเป็นชิ้นลวดลายใบไม้แบบต่าง ๆ หรือหั่น เป็นชิ้นแล้วตกแต่ง ชิ้นชมพู่ให้มีลักษณะเหมือนรูปหัวใจ ใช้ไ ด้ทั้ง ชมพู่สีเขียว ชมพู่สี แดง เพื่อให้เกิดสีสันหลากหลาย เมื่อจัดเสิร์ฟรวมกับผลไม้ชนิดอื่นจะดูน่ารับประทาน สลักชมพู่เพื่อตกแต่ง นิยมสลักทั้งผล เพื่ออวดงานฝีมือ หรือประดับในถาดผลไม้ชนิด ต่างๆให้งดงามนําไปประดับโต๊ะอาหาร ลวดลายที่สลัก เช่นดอกประดิษฐ์ถ้าสลักทั้ง ผลเลือกใช้ชมพูม่าเหมี่ยวเพราะมีเนื้อหนาเลือกที่แก่จัดแต่ยังไม่สุกดี เนื้อจะแน่น แข็ง มีรสเปรี้ยว ๒๖. ละมุด มีผลลัก ษณะกลม รูปไข่หรือยาวรี ขนาดเล็กหรือใหญ่แล้วแต่ พันธุ์ เปลือกบาง ผิง เปลือกสีน้ําตาล ผิวเรียน เนื้อนิ่ม เนื้อละมุดมีสีน้ําตามอมแดง น้ําตาลอมเหลือง ไส้กลางผลเป็นสีขาวนวล เมล็ดสีดําเป็นมันแบนเรียว ๒-๕ เมล็ด


I ๔๓

อยู่ ก ลางผล ให้ เ ลื อ กผลที่ ขั้ ว ยั ง ติ ด อยู่ เนื้ อ แน่ น ไม่ มี ร อยช้ํ า ล้ า งก่ อ นนํ า ไปสลั ก เมือสลักแล้วเก็บผลงานใส่กล่อง แช่ตู้เย็นช่องธรรมดาทันที ๒๗. พุทรา มีมากมายหลายพันธุ์ ทั้งพุทราไทยลูกกลมเล็ก พุทราแอปเปิล ลูกกลมใหญ่ และพุทราลูกรีปลายแหลม นิยมนําพุทราแอปเปิลและพุทราลูกยาวรีมา สลัก เลือกลูกใหญ่ ผิวเปลือกสด ไม่มีรอยช้ําหรื อแมลงกัดแทะ แก่กําลังดี เนื้อจะไม่ แข็ง สลักได้ง่าย ชิ้นงานที่สลักเสร็จแล้วไม่ควรแช่น้ํา เพราะในเนื้อของพุทรามีเมือก อยู่แล้ว จะทําให้เกิดเมือกมากขึ้นและเสียเร็ว สลักพุทราเพื่อรับประทาน เลือกพุทรา ที่แก่จัดแต่ไม่ถึงกับสุก ผิวเปลือกสดไม่ดํา นิยมสลักลวดลายใบไม้ เช่ น ใบไม้ลายฉลุ ใบไม้สลักริม จัดใส่ถาดบุฟเฟุต์รวมกับผลไม้อื่น ๆ เสิร์ฟพร้อมพริกเกลือในงานเลี้ยง หรือในจานที่จัดเสิร์ฟ สลักพุทราเพื่อตกแต่งหรือจัดแสดง เลือกผลขนาดเท่าๆกัน หรือจะคละผลเล็กผลใหญ่ก็ได้ พุทราต้องแก่จัด นิยมสลักทั้ง ผลสลักด้วยลายกลีบ ดอกรักเร่ลายคชกริชขวาง หรือสลักเป็นดอกบัว จัดใส่ถาดผลไม้รวมที่มีผลไม้ชนิดอื่น เพื่อประดับบนโต๊ะอาหาร พุทราลูกเล็ก งานที่สลักทั้งผลก็สามารถนํามารับประทาน ได้สะดวกเช่นกัน ๒๘. แก้วมังกร ผลรูปสีชมพูจัด แต่กลีบเลี้ยงยังเป็นสีเขียวอยู่ คล้ายเปลวไฟ ของมังกร เมื่อผ่าผลจะเห็นเปลือกสีชมพูสดหนาราว ๆ ๒-๓ มิลลิเมตร ถัดจากเปลือก เข้าไปเป็นเนื้อสีขาว มีเมล็ดคล้ายเมล็ดแมงลักฝังตัวอยู่ในเนื้อเป็นจํานวนมากดังนั้น จึงนํามาสลักได้งานชิ้นสวน สีสันงามตา ให้เลือกผลแก้วมัง กรขนาดเหมาะมือ ผิว สดใส ขั้วยังเขียวอยู่เนื้อแน่น ผิวไม่มีรอยช้ํา ล้างให้สะอาดก่อนนําไปสลักนําชิ้นงานใส่ กล่อง เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา


๔๔ I

สรุปการเลือกซื้อตามชนิด และการดูแลรักษาผัก-ผลไม้ แตงกวา เลือกผิวสดสีเขียวปนขาวไม่เหลือง สามารถนํามาแกะสลักได้หลาย รูปแบบ เช่น กระเช้าใส่ดอกไม้ ดอกไม้ ใบไม้ เมื่อแกะเสร็จให้ล้างด้วยน้ําเย็นใส่กล่อง แช่เย็นไว้ หรือใช้ผ้าขาวบางชุบน้ําคลุมไว้จะได้สดและกรอบ มะเขือเทศ เลือกผลที่มีผิวสด ขั้วสีเขียว นํามาแกะสลักเป็นดอกไม้ หรือปอก ผิวนํามาม้วนเป็นดอกกุหลาบ เมื่อแกะเสร็จควรล้างด้วยน้ําเย็น ใส่กล่องแช่เย็น มะเขือ เลือกผลที่มีผิวเรียบ ไม่มีรอยหนอนเจาะ ขั้วสีเขียวสด นํามาแกะ เป็นใบไม้ ดอกไม้เมื่อแกะเสร็จควรแช่ในน้ํามะนาวหรือน้ํ ามะขาม จะทําให้ไ ม่ดํ า แครอท เลือกสีส้มสด หัวตรง นํามาแกะเป็นดอกไม้ ใบไม้ สัตว์ต่าง ๆ เมื่อ แกะเสร็จให้แช่ไว้ในน้ําเย็น ขิง เลือกเหง้าที่มีลักษณะตามรูปร่างที่ต้องการ แกะเป็นช่อดอกไม้ ใบไม้ สัตว์ เมื่อนําขิงอ่อนไปแช่ในน้ํามะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูสวย มันเทศ เลือกหัวที่มีผิวสด ไม่มีแมลงเจาะ แกะเป็นรูปสัตว์ต่างๆ แกะเสร็จ แล้วนําไปแช่ในน้ํามะนาวหรือน้ํามะขาม ผิวจะได้ไม่ดํา เผือก เลือกหัวใหญ่กาบสีเขียวสด นํามาแกะเป็นภาชนะใส่ของ หรืออาหาร ดอกไม้ ใบไม้ เมื่อแกะเสร็จให้นําไปแช่ในน้ํามะนาวหรือน้ํามะขามจะทําให้มีสีขาวขึ้น ฟักทอง เลือกผลแก่เนื้อสีเหลืองนวล นํามาแกะเป็นภาชนะ ดอกไม้ ใบไม้ หรือสัตว์ต่างๆ แกะเสร็จแล้วให้ล้างน้ําแล้วใช้ผ้าขาวบางชุบน้ําคลุมไว้ มันฝรัง เลือกผิวสด นํามาแกะเป็นใบไม้ ดอกไม้ สัตว์ต่างๆ เมื่อปอกเปลือก แล้วให้แช่ไว้ในน้ํามะนาวจะได้ไม่ดํา แตงโม เลือกผลให้เหมาะกับงานที่ออกแบบไว้ นํามาแกะเป็นภาชนะแบบ ต่างๆ เมื่อแกะเสร็จให้ใช้ผ้าขาวบางชุบน้ําคลุมไว้


I ๔๕

เงาะ นํา มาคว้า นเอาเมล็ ดออก ใช้ วุ้น สีสัน ต่า งๆ หรื อสั บปะรด หรือ เนื้ อ แตงโม ยัดใส่แทน เมื่อแกะเสร็จให้นําไปแช่เย็น ละมุด เลือกผลขนาดพอดี ไม่เล็ก หรือใหญ่เกินไป ไม่สุกงอม แกะเสร็จให้นําไปแช่ในตู้เย็น สับปะรด เลือกผลใหญ่ ไม่ช้ํา แกะเป็นพวงรางสาดได้สวยงาม แกะเสร็จให้ ล้างด้วยน้ําเย็นและนําไปแช่เย็น ส้ม เลือกผลใหญ่ แกะเป็นหน้าสัตว์ เช่น แมวเหมียว น้อยหน่า เลือกผลใหญ่ไม่งอม นํามาคว้านเอาเมล็ดออก แกะเสร็จนําไปแช่เย็น

คาศัพท์ที่เกี่ยวกับการแกะสลักผักและผลไม้ การแกะสลัก หมายถึง การทําวัสดุสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกจากกัน หรือใช้เครื่องมือ ที่แหลมคม กดทางคมลง บนวัตถุนั้นตามความประสงค์เป็นลวดลายสวยงามต่าง ๆ หรือการใช้เล็บมือค่อย ๆ แกะเพื่อให้หลุดออก ความหมายของคําศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้ใน การแกะสลักผักและผลไม้ เป็นสิ่งจําเป็นที่ควรทราบ ซึ่งเมื่อพูดถึงคําศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้ ในการแกะสลักแล้ว ผู้เรียนเข้าใจความหมาย สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามขั้นตอน คําศัพท์ต่าง ๆ เหล่านี้ยังเป็นทักษะพื้นฐาน ที่นักเรียนควรทราบและควรปฏิบัติไ ด้ การปอก หมายถึง การทําวัสดุที่มีเปลือก ต้องการให้เปลือกออก ด้วยมือ หรือใช้มีด แล้วแต่ชนิดวัสดุ เช่น ใช้มือปอกกล้วยหรือส้ม ถ้าเป็นของที่ใช้มีดก็จับมีด มือหนึ่ง อีกมือหนึ่งจับของที่จะปอก แล้วกดมีดลงที่เปลือกให้คมมีดเดินไปตามเปลือก เรื่อยไปจนสุดเปลือกของสิ่งนั้นๆ เช่นปอกมะเขือเทศ ปอกแตงโม เป็นต้น การจัก หมายถึง การทําวัสดุให้เป็นแฉกหรือฟันเลื่อย โดยใช้มีดแกะสลักกด ลงบนส่วนกลางของวัสดุนั้น ให้แยกออกจากกัน หรือใช้เครื่องมือแหลมแทงตรงที่ ต้องการ เช่นการจักหอมหัวใหญ่ การจักละมุด


๔๖ I

การกรีด หมายถึง การทําวัสดุสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้เป็นรอยแยก หรือขาดออก จากกัน โดยใช้ของแหลมคมกดลงบนวัสดุนั้น แล้วลากไปตามความต้องการ การตัด หมายถึง การทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งต้องการให้เป็นท่อนสั้นยาวตาม ต้องการ โดยใช้มือหนึ่งจับมีด และอีกมือหนึ่งจับวัสดุวางบนเขียง แล้วกดมีดลงบน วัสดุให้ขาดออกจากกัน การฝาน หมายถึง การทําวัสดุสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เป็นแผ่นหรือชิ้นบาง โดยใช้มือ จับของไว้ในฝุามือหรือวางบนเขียง แล้วใช้อีกมือหนึ่งจับมีดกดลงบนของนั้นให้ตรง มีความบางมากหรือน้อยตามต้องการ การเจียน หมายถึง การทําให้รอบนอกของวัสดุสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรียบไม่ขรุขระ หรือเป็นรูปทรงต่างๆ การเซาะ หมายถึง การทําให้เป็นรอยลึกหรือรอยกว้าง เช่น เซาะเป็นรอย ตามประสงค์ โดยใช้มือข้างหนึ่งจับวัสดุนั้น แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งจับมีด ให้ทางคมกด กับวัสดุนั้น ไถไปด้วยความเร็วเพื่อให้วัสดุขาดและเรียบ การเกลา หมายถึง การตกแต่งวัสดุที่ ยังไม่เกลี้ยงให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น โดยใช้ มีดนอนหันคมออก ฝานรอยที่ขึ้นเป็นสันและขรุขระให้เกลี้ยง การคว้าน หมายถึง การทําวัสดุซึ่งมีส่วนเป็นแกนหรือเมล็ดให้ออกจากกัน โดยใช้เครื่องมือที่มีปลายแหลมและคมแทงลงตรงจุดที่ต้องการคว้าน แล้วขยับไป รอบๆ จนแกนหลุดค่อยๆ แคะหรือดุนออก เช่นการคว้านเงาะ


I ๔๗

หลักการแกะสลักผักและผลไม้ ๑. การเลือกซื้อผักและผลไม้ ควรเลือกชนิดที่มีความสดใหม่ เพื่อจะช่วยให้ ผลงานที่แกะสลัก มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น ๒. ก่อนนําผักและผลไม้ไปแกะสลัก ควรล้างน้ําให้สะอาด ๓. การเลือกมีดแกะสลัก ควรเป็นมีดสแตนเลส หรือมีดทองเหลือง ซึ่ง มีด ต้องคมมาก เพราะจะทําให้ผักและผลไม้ไม่ช้ําและไม่ดํา ๔. การเลือกชนิดของผักและผลไม้แกะสลัก ควรเลือกให้เหมาะกับประโยชน์การนําไปใช ๕. การเลือกรูปแบบหรือลวดลายที่จะแกะควรเลือกให้เหมาะกับการนําไปใช้ประโยชน์ ๖. การเลือกผัก ผลไม้ตกแต่งอาหารควรเลือกชนิดที่มีสีสวยงาม หลากหลาย เพื่อจะทําให้อาหารน่ารับประทานขึ้น ๗. การแกะสลักต้องพยายามรักษาคุณค่าอาหาร โดยไม่ควรแช่น้ํานานเกินไป

ลาดับขั้นการแกะสลักผักและผลไม้ ๑. ออกแบบ โดยการร่างแบบในกระดาษ ๒. วิเคราะห์เพื่อเลือกผักหรือผลไม้ในการนํามาแกะสลักให้มีความเหมาะสม ตามที่ออกแบบไว้ ๓. เกลาให้ได้รูปทรงตามที่ออกแบบไว้ ๔. แกะสลักวิธีเซาะร่องให้ได้รูปทรงที่ออกแบบไว้ ข้อเสนอแนะ ควรฝึกตาม ขั้นตอนเพื่อให้เกิดทักษะและแกะสลักได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากผักและผลไม้เหี่ยวเร็ว


๔๘ I

หลักการดูแลรักษาผักและผลไม้ก่อนและหลังการแกะสลัก ผักและผลไม้ที่ใช้ในงานแกะสลักมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป จึงควรได้รับการ ดูแลรักษาอย่างดี ตั้งแต่ขั้นตอนก่อนแกะสลัก ในระหว่างการแกะสลักและหลังการ แกะสลัก เพื่อให้มีสภาพที่น่ารับประทาน ตลอดจนสงวนคุณค่าทางโภชนาการไว้ไ ด้ ซึ่งมีวิธีการดูแลรักษาดังนี้ ๑. ผักและผลไม้ที่ซื้อมาต้องล้างให้สะอาดก่อนนําไปแกะสลัก ไม่ควรแช่ผัก ผลไม้ไว้ในน้ํานานเกินไป เพราะจะทําให้ผักและผลไม้เน่าและช้ําง่าย เมื่อแกะสลัก เรียบร้อยแล้ว ควรแยกผักและผลไม้ที่เก็บไว้เป็นประเภท ๒. การปูองกันผักและผลไม้ที่มีลักษณะรอยดําหรือเป็นสีน้ําตาลตามกลีบที่ ถูกกรีด อาจจุ่มน้ําเปล่าที่เย็นจัด น้ําเกลือเจือจาง หรือน้ํามะนาว เพื่อช่วยชะลอการ เกิดรอยดําหรือสีน้ําตาล ๓. ผักและผลไม้ที่แกะสลักเรียบร้อยแล้วควรล้างน้ําเย็นจัด แล้วจึงนําไปจัด ตกแต่ ง หรื อ นํ า ไปถนอมอาหารเพื่อ ใช้ ใ นโอกาสต่อ ไป ถ้ ายั ง ไม่ ใช้ ง านควรเก็ บ ใส่ ถุงพลาสติก ปิดปากถุง หรือเก็บใส่กล่องปิดฝาให้สนิท นําไปเก็บในตู้เย็น ๔. เมื่อ จัดงานแกะสลัก ใส่ภาชนะเรียบร้อยแล้ว ให้คลุ มด้วยพลาสติกห่ อ อาหารแล้วนําไปเก็บในตู้เย็น


I ๔๙

ประโยชน์ของงานแกะสลักผักและผลไม้ ๑. เพื่อใช้ในชีวิตประจําวัน เช่น ๑.๑ จัดตกแต่งผักและผลไม้ให้สวยงามน่ารับประทาน ๑.๒ จัดแต่งให้สะดวกแก่การรับประทาน ๒. เพื่อใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น ๒.๑ งานประเพณีต่างๆ นิยมจัดตกแต่งอาหารคาวหวานให้สวยงาม เพื่อเลี้ยงพระหรือรับรองแขก เช่น งานบวชนาค งานแต่งงาน งานวันเกิด งานฉลอง แสดงความยินดี ๒.๒ งานวันสําคัญ เช่น งานปีใหม่ หรือแกะสลักผลไม้เชื่อม/แช่อิ่ม ใส่ภาชนะที่เหมาะสมใช้เป็นของขวัญ ของฝาก ไปกราบญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ๒.๓ งานพระราชพิธีต่างๆ ๓. เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ เช่ น เป็นช่ างแกะสลั กผักและผลไม้ตาม ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม หรือบนสายการบินระหว่างประเทศ ๔. เพื่อเป็นแนวทางในการดํารงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ไทย ๕. เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย ๖. เพื่อ ให้ เกิ ดความคิ ด ริเ ริ่ม สร้ างสรรค์ ในการคิด รูป ทรง และลวดลายที่ แปลกใหม่โดยจัดประกวดการแกะสลักผักและผลไม้ในหัวข้อต่างๆ ๗. ทําให้ผู้แกะสลักเกิดความภาคภูมิใจในผลงานและได้รับการยกย่องสร้าง งานและรายได้


๕๐ I

ข้อควรระวังในทางเทคนิคบางประการ ผัก และผลไม้ส่ วนใหญ่เ มื่อ แกะสลัก เสร็จ แล้ วให้ล้ างน้ํา เย็ นจั ด จัด วางใน ภาชนะแล้วใช้ผ้าขาวบางชุบน้ําพอหมาดคลุมไว้ หรือจัดใส่กล่องพลาสติก ปิดฝาให้ แน่นแล้วใส่ตู้เย็น มีผักและผลไม้บางชนิดต้องระมัดระวังในการเก็บรักษาเป็นพิเศษ เช่น ฟักทอง เมื่อแกะสลักเสร็จให้ล้างน้ําเย็นจัด ห้ามแช่ไ ว้นานๆ เพราะจะทําให้ ปลายกลีบขาวและเน่าเร็ว หัวหอมใหญ่ เมื่อแกะสลักเสร็จแล้ว แช่น้ําประมาณ ๕-๑๐ นาที เพื่อให้ กลีบแข็ง แล้วนําขึ้นจัดวางในภาชนะ ใช้ผ้าขาวบางชุบน้ําพอหมาดคลุมไว้ เผื อ ก ขณะแกะสลั ก ไม่ ค วรล้ า งน้ํ า เพราะจะทํ า ให้ มี เ มื อ กและคั น เมื่อแกะสลักเสร็จแล้วนําไปล้างในน้ําผสมน้ําสารส้ม หรือน้ําส้มเจือจาง จะทําให้เผือก ขาวขึ้น น่าเต้า ขณะแกะสลั กน้ํ าเต้า ต้อ งจุ่ มน้ํา ตลอดเวลา มิ ฉะนั้ นจะดํ า เพราะ น้ําเต้ามียางมาก เมื่อแกะสลักเสร็จแล้วล้างน้ําเย็นจัด นําขึ้นห่อด้วยผ้าขาวบางที่ชุบ น้ําพอหมาด จั ดใส่ กล่อ งพลาสติ ก เมื่อจะนํา มาบรรจุ อาหารคาว-หวาน หากเป็ น อาหารร้อ น ควรลวกภายในผลด้ว ยน้ํ าเดือด ถ้ าเป็นอาหารที่เย็ น ให้แ ช่น้ํา เย็ นจั ด ๒ นาที แล้วนําขึ้นซับน้ําให้แห้ง พุทรา เมื่อแกะสลักเสร็จแล้ว ควรล้ างในน้ําผสมน้ํ ามะนาวเจื อจาง จะทําให้ พุทราไม่ดําและไม่เป็นเมือก (ในขณะแกะสลักไม่ควรจุ่มน้ํา จะทําให้ลื่นและเป็นขุยได้)


I ๕๑

ขิง ขณะแกะสลัก ไม่ ค วรจุ่ ม น้ํ า จะทํ า ให้ร้ อ นมื อ เมื่ อ แกะสลั ก เสร็ จ แล้ ว ควรนําไปแช่ในน้ําส้มประมาณ ๑๐-๑๕ นาที ขิงจะอ่อนตัวและเปลี่ยนเป็นสีชมพู แล้วล้างน้ําสะอาด ผึ่งแห้งนําไปใส่ขวดดอง ฝรังและมะม่วง เมื่อแกะสลักแล้ว ควรนําไปล้างในน้ําผสมน้ํามะนาวเจือจาง ทําให้ไม่ดํา ละมุด เมื่อแกะสลักแล้วอย่าแช่น้ํา ควรล้างด้วยน้ําเย็นจัดละมุดจะได้สด ถ้าจะเก็บไว้น านๆ ใช้ผ้าขาวบางชุบน้ําสะอาดบิดให้ห มาดคลุมไว้ แล้วจึง ใส่ตู้เย็ น มิฉะนั้นผิวจะแห้งดํา ไม่น่ารับประทาน ถ้าเก็บไว้นานหลายชั่วโมงควรชุบน้ําเชื่อม และ จัดใส่กล่องปิดฝาแน่น ใส่ตู้เย็นไว้จนกว่าจะถึงเวลานําออกใช้ แห้วและมันแกว เป็นผลไม้ที่มีเนื้อเปราะมาก เวลาแกะสลักต้องระวังเป็น พิเศษเพราะลายจะหักง่าย มันฝรั่ง เมื่อแกะสลักแล้ว ควรแช่น้ําธรรมดาหรือน้ําเย็น จัดประมาณ ๑๐ นาที เพื่อให้ยางออก งานที่แกะสลักแล้วจะไม่ดํา บีตรูท เมื่อแกะสลักเสร็จแล้ว ควรล้างน้ําเย็นจัด แล้วนําขึ้นจัดวางในภาชนะ แต่บีตมีข้อเสีย คือ มียางและสีตก เมื่อทิ้งไว้นานผิวจะแห้งดํา ต้องหมั่นฉีดน้ํา หรือใช้ ผ้าขาวบางชุบน้ําพอหมาดปิดไว้ เมื่อถึงเวลาใช้ ควรแช่น้ําเย็นจัดประมาณ ๒-๕ นาที สีดอกจะสดขึ้น ผักและผลไม้ทุก ชนิด เมื่อนํ าออกจากตู้เย็ นควรล้างน้ําเย็ นจัด อีกครั้ ง หนึ่ ง ก่อนนําไปใช้อุณหภูมิจะได้ไม่เปลี่ยน และเมื่อจัดเสร็จแล้วควรใช้ผ้าขาวบางชุบน้ําเย็น จัดพอหมาดคลุมไว้


๕๒ I

การสานปลาตะเพียน วิสิษฐ์ กระจ่างวี

ปลาตะเพียนสาน เป็นงานประดิษฐ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย เดิมมักใช้ ใบลานมาทําเป็นเส้นแผ่นยาว ๆ บาง ๆ มาตากแดด ๒-๓ นาที แล้วมาสานเป็นรูป ปลาตะเพียน เนื่องจากใบลานมีโครงสร้างที่แข็งแรง แล้วลงสีให้สวยงาม จากนั้นก็ นํามาประกอบเป็นโมบาย สมั ย ก่ อ นคนไทยมี อ าชี พ ทํ า นากั น เป็ น ส่ ว นใหญ่ ในคู ค ลองก็ จ ะมี ป ลา ตะเพี ย นเป็ น จํ า นวนมาก ปลาตะเพี ย น คื อ เป็ น ปลาที่ มี ลั ก ษณะพิ เ ศษโดดเด่ น ในด้ า นความแข็ง แรงปราดเปรี ย ว และเจริ ญเติ บ โต อย่ า งรวดเร็ว การสานปลา ตะเพี ย นเพื่ อ มอบให้ แ ก่ เ ด็ ก เพื่ อ ให้ มี สุ ข ภาพพลานามั ย ที่ แ ข็ ง แรง ปราดเปรี ย ว เลี้ยงง่าย โตเร็วและเจริญรุ่งรือง


I ๕๓

ปลาตะเพียนสานจึงเป็นสัญลักษณ์แห่ง ความอุดม สมบูรณ์ เนื่องจากช่วงที่ ปลาโตเต็มที่ นั้น เป็นช่ว งเดียวกับ ช่วงเวลาที่ ข้าวตกรวง นอกจากนี้ผู้ใหญ่มักจะ แขวน ปลาตะเพียนสาน ไว้เหนือเปลเด็ก เพื่อเป็น การอวยพร ให้เด็กสุขภาพแข็งแรง อีกด้วย

ชิ้นส่วนของปลาตะเพียนสาน ปลาตะเพียนสานเป็นเครื่องแขวนที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนสําคัญ ๖ ชิ้น คือ กระโจม แม่ปลา กระทงเกลือ ปักเปูา ใบโพธิ์ และลูกปลา ปลาตะเพียนสานมี ๒ ชนิดคือ ชนิดที่เขียนเป็นลวดลาย ตกแต่ง สวยงาม สําหรับแขวนเหนือเปลลูกผู้มีบรรดาศักดิ์ และชนิดที่เป็นสีใบลานเรียบๆ ไม่มีการ ตกแต่งอย่างใด ใช้แขวน เหนือเปลลูกชาวบ้านธรรมดาสามัญ

ขั้นตอนการสานปลาตะเพียน


๕๔ I


I ๕๕


๕๖ I


I ๕๗


๕๘ I


I ๕๙


๖๐ I

งานสร้างสรรค์ลายทอง อานนท์ แซ่แต้

เป็ น งานที่ มี ล ายเลี ย นแบบลายรดน้ํ า ซึ่ ง จะตั ด ทอนความซั บ ซ้ อ น ของ กระบวนการทําลายรดน้ําลง ให้ง่ายต่อการปฏิบัติและเหมาะสมกับผู้ที่เริ่มฝึกเขียน อีกทั้งยังสามารถนําไปแต่งเติม บนวัตถุต่างๆตามแต่จะสร้างสรรค์กันออกไป


I ๖๑

อุปกรณ์ที่ต้องใช้มีดังนี้ ๑.ตัวชิ้นงานที่จะนํามาเขียนลาย ๒.สีอครีลิค ๓.ยางมะเดื่อ ๔.พู่กัน ๕.ทองเปลว ๖.กระดาษลอกลาย

ขั้นตอนและวิธีการ ๑.เตรียมพื้นชิ้นงาน โดยใช้สีอครีลิคทาให้ทั่ว ๒.ออกแบบลวดลาย ตามความต้องการ

๓.นําแบบมาคัดลอกบนชิ้นงานที่เตรียมพื้นแล้ว


๖๒ I

๔.ทายางมะเดื่อ ตามลายที่เราออกแบบไว้ ในส่วนที่ต้องการให้เป็นสีทอง ทิ้ง ไว้ให้แห้งประมาณ ๕-๑๐ นาที

๕.นําทองเปลวมาปิดบนชิ้นงาน ในส่วนที่ทายางมะเดื่อให้ทั่ว แล้วจึงทําการ ปัดเศษทองในส่วนที่ไม่ติดยางมะเดื่อออกไป


I ๖๓

๖.ทํ า การตกแต่ ง บางส่ ว น ที่ ท องนั้ น อาจจะเกิ น ออกมาด้ ว ยการตั ด เส้ น โดยใช้สีอครีลิค สีเดียวกับที่เตรียมพื้นเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ


๖๔ I


I ๖๕

บันทึก ...................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ......................................................................................................................................


๖๖ I

...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ......................................................................................................................................


I ๖๗

...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ......................................................................................................................................


๖๘ I

...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ......................................................................................................................................


I ๖๙

...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ......................................................................................................................................


๗๐ I

...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ......................................................................................................................................



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.