เอกสารประกอบพิธีเวียนเทียน เนื่องในวันอาสาฬหบูชา

Page 1


I๑ เอกสารประกอบการจัดกิจกรรม

พิธีเวียนเทียน เนื่องในวันอาสาฬหบูชา วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ วัดราชประดิษฐาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จัดพิมพ์โดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ จานวน ๑๐๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ ผู้อานวยการสถาบันอยุธยาศึกษา ดร.จงกล เฮงสุวรรณ

รองผู้อานวยการสถาบันอยุธยาศึกษา อ.กันยารัตน์ คงพร (ฝ่ายบริหาร) อ.สุรินทร์ ศรีสังข์งาม (ฝ่ายวิชาการ) อ.อุมาภรณ์ กล้าหาญ (ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ) ว่าที่ร้อยตรีหญิง รัตติยา พาวินัย (หัวหน้าสานักงาน)

ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน

ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป : ณัฐฐิญา แก้วแหวน สายรุ้ง กล่าเพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์ ยุพดี ป้อมทอง

จัดทาเอกสาร และศิลปกรรมรูปเล่ม พัฑร์ แตงพันธ์


๒I

สารบัญ หน้า ความสาคัญของวันอาสาฬหบูชา

การประกอบพิธีทางศาสนาในวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย

บทสวดมนต์ในวันอาสาฬหบูชา

๑๐

ประวัติวัดราชประดิษฐานและวัดท่าทราย

๑๗


I๓

กาหนดการ พิธีเวียนเทียน เนื่องในวันอาสาฬหบูชา วันพฤหัสบดีท่ี ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ วัดราชประดิษฐาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

-------------------------------เวลา ๑๘.๓๐ น.

เวลา ๑๙.๐๐ น. เวลา ๑๙.๑๕ น. เวลา ๑๙.๓๐ น.

ผู้เข้าร่วมพิธีเวียนเทียน พร้อมกันที่วัดราชประดิษฐาน - ลงทะเบียนเข้าร่วมพิธีเวียนเทียน - บรรยายประวัติศาสตร์และศิลปกรรม วัดราชประดิษฐาน กิจกรรมสวดมนต์ทาวัตรเย็น และรับดอกไม้ ธูปเทียน พิธีเวียนเทียนประทักษิณรอบพระอุโบสถ เสร็จพิธี เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ


เน I


I๕

ความสาคัญของ วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๘ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรง แสดงพระธรรมที่ ต รั ส รู้ เป็ น ครั้ ง แรก จึ ง ถื อ ได้ ว่ า วั น นี้ เป็ น วั น เริ่ ม ต้ น ประกาศ พระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทาให้แจ้ง แก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็น สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ คือทรงสาเร็จภารกิจแห่งการ เป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น "สัมมาสัมพุทธะ" คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัส รู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ซึ่งแตกต่างจาก "พระปัจเจกพุทธเจ้า" ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ


๖I

แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อ เรียกว่า "วันพระธรรม" วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมสาเร็จพระโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคลคนแรก และได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสมบทเป็นพระสงฆ์องค์ แรกในพระศาสนา และด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลกดังกล่าว พระ รัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้ง แรกในโลก ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมี ชื่อเรียกว่า "วันพระสงฆ์" ดังนั้น วันอาสาฬหบูชาจึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิด เหตุการณ์สาคัญ ของพระพุทธศาสนาดังกล่าว ซึ่งควรพิจารณาเหตุผลโดยสรุปจาก ประกาศสานักสังฆนายกเรื่องกาหนดพิธีอาสาฬหบูชา ที่ได้ส รุปเหตุการณ์สาคัญ ที่ เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชาไว้โดยย่อ ดังนี้ เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมจักร์ ประกาศสัจจธรรม อันเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณ ฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ในวันนั้น เป็น วัน แรกที่ บั งเกิดสั งฆรัต นะ สมบูรณ์ เป็น พระรัตนตรัย คือ พระพุ ท ธ รัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ คาว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาใน วัน เพ็ญ เดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวัน เพ็ญ เดือน ๘ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนมิถุนายนหรือเดือน กรกฎาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน ๘ สองหน ก็ให้เลื่อนไปทาในวันเพ็ญ เดือน ๘ หลัง แทน เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีการบู ชาในเดือน ๘ หรือวันอาสาฬหบู ชาใน ประเทศพุทธเถรวาทมาก่อน จนมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ การบูชาในเดือน ๘ หรือวัน


I๗

อาสาฬหบูชาจึงได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย ตามที่คณะสังฆมนตรี ได้กาหนดให้วันนี้ เป็ น วั น ส าคั ญ ทางพระพุ ท ธศาสนาของประเทศไทยอย่ า งเป็ น ทางการเมื่ อ พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยคณะสัง ฆมนตรีได้มีม ติให้ เพิ่ มวันอาสาฬหบูชาเป็ นวัน สาคั ญ ทางพุ ท ธ ศาสนาในประเทศไทย ตามคาแนะนาของ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) โดย คณะสัง ฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสานักสังฆนายกเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ กาหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสาคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกาหนดพิธี อาสาฬหบู ช าขึ้ น อย่ างเป็ น ทางการเป็ น ครั้ง แรกในประเทศไทย โดยมี พิ ธี ป ฏิ บั ติ เทียบเท่ากับวันวิสาขบูชาอันเป็นวันสาคัญทางพระพุทธศาสนาสากล อย่างไรก็ตาม วันอาสาฬหบูชาถือเป็นวันสาคัญที่กาหนดให้กับวันหยุดของ รัฐเพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนในต่างประเทศที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถร วาทอื่น ๆ ยังไม่ได้ให้ความสาคัญกับวันอาสาฬหบูชาเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา


๘I

การประกอบพิธีทางศาสนาใน วันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย พระราชพิธี การพระราชพิ ธี บ าเพ็ ญ พระราชกุ ศ ล เนื่องในวันอาสาฬหบูชานี้มีชื่อเรียก เป็นทางการ ว่า พระราชพิธีทรงบาเพ็ญพระราชกุศล เนื่องใน วันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา ซึ่งเดิม ก่อน พ.ศ. ๒๕๐๑ เรียกเพียง การพระราชพิธีทรง บาเพ็ญ พระราชกุศ ล เนื่อ งในวัน เข้ าพรรษา แต่ หลังจากมีการกาหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวัน ส าคั ญ ทางพระพุ ท ธศาสนาในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ แล้ ว ส านั ก พ ระราชวั ง จึ ง ได้ ก าหน ดเพิ่ ม วั น อาสาฬหบูชาเพิ่มเติมขึ้นมา การพระราชพิธีนี้โดย ปกติ มี พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว เป็ น องค์ ประธานในการพระราชพิธีบาเพ็ญ พระราชกุศล และบางครั้ง ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน โดยสถานที่ประกอบพระราชพิธีหลักจะจัด ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดบวรนิเวศวิหาร และภายในพระบรมมหาราชวัง การ ส าคั ญ ของพระราชพิ ธี คื อ การถวายพุ่ ม เที ย นเครื่ อ งบู ช าแก่ พ ระพุ ท ธปฏิ ม าและ พ ร ะ ร า ช า ค ณ ะ ร ว ม ทั้ ง ก า ร พ ร ะ ร า ช ท า น ภั ต ต า ห า ร แ ก่ พ ร ะ ร า ช า คณะ ฐานานุ กรม เปรียญ ซึ่งรับ อาราธนามารับ บิ ณ ฑบาตในพระบรมมหาราชวัง จานวน ๑๕๐ รูป ทุกปี เป็นต้น ซึ่งการพระราชพิธีนี้เป็นการแสดงออกถึงพระราช


I๙

ศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา ขององค์ พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นเอก อัครพุทธศาสนูปถัมภก์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

พิธีสามัญ การประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเนื่องในวันอาสาฬหบูชาของประชาชน ทั่ ว ไปนี้ พุ ท ธศาสนิ ก ชนชาวไทยโดยทั่ ว ไปนิ ย มท าบุ ญ ตั ก บาตร ฟั ง พระธรรม เทศนา เวียนเทียนรอบอุโบสถหรือสถูปเจดีย์พุทธสถานต่าง ๆ ภายในวัด เพื่อเป็นการ ระลึกถึง วันคล้ายวันที่ เกิดเหตุการณ์ สาคัญ ของพระพุ ทธศาสนาในวัน ขึ้น ๑๕ ค่ า เดือน ๘ โดยแนวปฏิ บั ติ ใ นการประกอบพิ ธี ใ นวั น อาสาฬหบู ช าตามประกาศ สานักสังฆนายก ที่คณะสงฆ์ไทยได้ถือเป็นแบบแผนมาจนถึงปัจจุบันนี้คือ ให้คณะสงฆ์ และพุ ท ธศาสนิก ชนจัดเตรียมสถานที่ ก่อ นถึงวัน อาสาฬหบู ชา โดยมีก ารท าความ สะอาดวัด และเสนาสนะต่าง ๆ จัดตั้งเครื่องพุทธบูชา ประดับ ธงธรรมจักร และเมื่อ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๘ ก็ให้จัดการแสดงพระธรรมเทศนาตลอดทั้งวัน เมื่อถึงเวลา ค่าให้มีการทาวัตรสวดมนต์และสวดบทพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร มีการแสดงพระ ธรรมเทศนาในเนื้อหาเรื่องในพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร นาสวดบทสรภัญญะบูชา คุณพระรัตนตรัย และให้พระสงฆ์นาเวียนเทียนบูชาพระพุทธปฏิมา อุโบสถ หรือสถูป เจดี ย์ เมื่ อ เสร็จ การเวี ย นเที ย นอาจให้ มี ก ารเจริ ญ จิ ต ตภาวนา สนทนาธรรม แต่ กิจกรรมทั้งหมดนี้ควรให้เสร็จสิ้นก่อนเวลา ๒๔.๐๐ น. ของวันนั้น เพื่อพักผ่อนเตรียม ตัวก่อนเริ่มกิจกรรมวันเข้าพรรษา (วันแรม ๑ ค่า เดือน ๘) ในวันรุ่งขึ้นต่อไป การประกอบพิ ธี วั น อาสาฬหบู ช าในปั จจุ บั น นี้ น อกจากการเวี ย น เทียน ทาบุญ ตักบาตรฯ ในวันสาคัญแล้ว ยังมีหน่วยงานภาครัฐ องค์กรทางศาสนา และภาคประชาชน ร่ วมกั น จั ด กิ จ กรรมต่ า ง ๆ ขึ้ น มากมาย เพื่ อ เป็ น การเผยแผ่ พระพุ ท ธศาสนาและประชาสั ม พั น ธ์ กิ จ กรรมทางพระพุ ท ธศาสนาต่ าง ๆ ให้ แ ก่ ประชาชน เช่น กิจกรรมสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนาวันอาสาฬหบูชา เป็นต้น


๑๐ I

บทสวดมนต์ในวันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมทาบุญ ตักบาตรในตอนเช้า และตลอดวันจะมีการบาเพ็ญบุญกุศลความดีอื่น ๆ เช่น ไปวัดรับศีล งดเว้นการทา บาปทั้งปวง ถวายสังฆทาน ให้อิสระทาน (ปล่อยนกปล่อยปลา) ฟังพระธรรมเทศนา และไปเวียนเทียนรอบโบสถ์ในเวลาเย็น ก่อนทาการเวียนเทียนพุทธศาสนิกชนควรร่วมกันกล่าวคาสวดมนต์และคา บูชาในวันอาสาฬหบูชา โดยปกติตามวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการทาวัตรสวดมนต์ก่อนทา การเวียนเทียน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมทาการเวียนเทียนอย่างเป็นทางการ (โดยมีพระภิกษุ สงฆ์นาเวียนเทียน) ในเวลาประมาณ ๒๐ นาฬิกา บทสวดมนต์ที่พระสงฆ์นิยมสวดใน วันอาสาฬหบูชาก่อนทาการเวียนเทียนนิยมสวด (ทั้งบาลีและคาแปล) ตามลาดับดังนี้

บทบูชาพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)


I ๑๑

บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ

บทสรรเสริญพระพุทธคุณ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

บทสรรเสริญพระพุทธคุณ (ทานองสรภัญญะ) นา) องค์ใดพระสัมพุทธ ตัดมูลเกลสมาร หนึ่งในพระทัยท่าน ราคี บ พันพัว องค์ใดประกอบด้วย โปรดหมู่ประชากร ชี้ทางบรรเทาทุกข์ ชี้ทางพระนฤพาน พร้อมเบญจพิธจักเห็นเหตุที่ใกล้ไกล กาจัดน้าใจหยาบ

(รับพร้อมกัน) สุวิสุทธสันดาน บ มิหม่นมิหมองมัว ก็เบิกบาน คือดอกบัว สุวคนธกาจร พระกรุณาดังสาคร มละโอฆกันดาร และชี้สุขเกษมศานต์ อันพ้นโศกวิโยคภัย ษุ จรัสวิมลใส ก็เจนจบประจักษ์จริง สันดานบาปทั้งชายหญิง


๑๒ I

สัตว์โลกได้พึ่งพิง ข้าฯ ขอประณตน้อม สัมพุทธการุญ-

มละบาปบาเพ็ญบุญ ศิรเกล้าบังคมคุณ ญ ภาพนั้นนิรันดร ฯ (กราบ)

บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (นา) สะหวากขาโต (รับ) ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิ โก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ

บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (ทานองสรภัญญะ) (นา) ธรรมะคือคุณากร ประทีปชัชวาล แห่งองค์พระศาสดาจารย์ สว่างกระจ่างใจมล เป็นแปดพึงยล สมญาโลกอุดรพิสดาร พิสุทธิ์พิเศษสุกใส นามขนานขานไข คือทางดาเนินดุจคลอง ยังโลกอุดรโดยตรง นบธรรมจานง

(รับพร้อมกัน) ส่วนชอบสาทร ดุจดวง ส่องสัตว์สันดาน ธรรมใดนับโดยมรรคผล และเก้ากับทั้งนฤพาน อันลึกโอฬาร อีกธรรมต้นทางครรไล ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง ให้ล่วงลุปอง ข้าฯ ขอโอนอ่อนอุตมงค์ ด้วยจิตและกายวาจา ฯ (กราบ)


I ๑๓

บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จิตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

บทสรรเสริญพระสังฆคุณ (ทานองสรภัญญะ) (นา) สงฆ์ใดสาวกศาสดา แต่องค์สมเด็จภควันต์ ลุทางที่อัน โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร สะอาดและปราศมัวหมอง บ มิลาพอง เป็นเนื้อนาบุญอันไพและเกิดพิบูลย์พูนผล มีคุณอนนต์ ข้าฯ ขอนบหมู่พระศรานุคุณประดุจราพัน

(รับพร้อมกัน) รับปฏิบัติมา เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรรระงับและดับทุกข์ภัย ปัญญาผ่องใส เหินห่างทางข้าศึกปอง ด้วยกายและวาจาใจ ศาลแด่โลกัย สมญาเอารสทศพล อเนกจะนับเหลือตรา พกทรงคุณาด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์


๑๔ I

พระไตรรัตน์อัน อุดมดิเรกนิรัติศัย จงช่วยขจัดโพยภัย อันตรายใดใด จงดับและกลับเสื่อมสูญ ฯ (กราบ)

บทสวดบูชาเนือ่ งในวันอาสาฬหบูชา (คานาถวายดอกไม้ธูปเทียน) ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัส สะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อะโหสิ โข โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัม พุทโธ สัตเตสุ การุญญัง ปะฏิจจะ กะรุณายะโก หิเตสี อะนุกัมปัง อุปาทายะ อาสาฬ หะปุณณะมิยัง พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุต ตะรัง ธัมมะจักกัง ปะฐะมัง ปะวัตเตตวา จัตตาริ อะริยะสัจจานิ ปะกาเสสิ ฯ ตัสมิญจะ โข สะมะเย ปัญจะวัคคยานัง ภิกขูนัง ปะมุโข อายัสมา อัญ ญา โกณฑัญโญ ภะคะวะโต ธัมมัง สุตวา วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง ปะฏิละภิตวา ยัง กิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ภะคะวันตัง อุปะสัมปะทัง ยาจิตวา ภะคะวะโต เยวะ สันติกา เอหิภิกขุ อุปะสัมปะทัง ปะฏิละภิตวา ภะคะวะโต ธัมมะวิ นะเย อะริยะสาวะกะสังโฆ โลเก อุปปันโน อะโหสิ ฯ ตัสมิญจะ โข สะมะเย สังฆะรัต ตะนัง โลเก ปะฐะมัง อุปปันโน อะโหสิ พุทธะระตะนัง ธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนัน ติ ติระตะนัง สัมปุณณัง อะโหสิ ฯ มะยั ง โข เอตะระหิ อิ มั ง อาสาฬหะปุ ณ ณะมี ก าลั ง ตั ส สะ ภะคะวะโต ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะกาละสัมมะตัง อะริยะสาวะกะสังฆะอุปปัตติกาละสัมมะตัญ จะ ระตะนัตตะยะสัมปุณณะกาละสัมมะตัญจะ ปัตวา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา อิเม สัก กาเร คะเหตวา อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจ


I ๑๕

เจ คุเณ อะนุสสะรันตา อิมัง ถูปัง (อิมัง พุทธะปะฏิมัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสส สามะ ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา ฯ สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตี ตารัม มะณะตายะ ปัญ ญายะมาโน อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ

คาแปล เราทั้งหลายถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคพระองค์ใดแล้ว ว่าเป็นที่พึ่ง พระผู้มีพระ ภาคพระองค์ใด เป็นพระศาสดาของเราทั้ งหลาย อนึ่ง เราทั้งหลายชอบใจซึ่ง พระ ธรรมของพระผู้มี พระภาคพระองค์ใด พระผู้มีพ ระภาคเจ้าพระองค์ นั้น เป็ น พระ อรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ทรงอาศัยความการุณในสัตว์ทั้งหลาย ทรงพระกรุณาแสวงหา ประโยชน์เกื้อกูล ทรงอาศัยความเอ็นดู ได้ยังพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไป ทรงประกาศอริยสัจ ๔ เป็นครั้งแรกแก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสีในวันอาสาฬหปุณณมี อนึ่ง ในสมัยนั้นแล ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าของพระภิกษุ ปัญจวัคคีย์ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ธรรมจักษุอันบริสุทธิ์ปราศจาก มลทิ น ว่า "สิ่ง ใดสิ่ง หนึ่งมี ความเกิ ดขึ้น เป็ นธรรมดา สิ่ งทั้ ง ปวงนั้ น มีความดับ เป็ น ธรรมดา" จึงทูลขออุปสมบทกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นองค์แรกในโลก อนึ่ง ในสมัยแม้นั้นแล พระสังฆรัตนะได้บังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ ได้สมบูรณ์แล้วในโลก


๑๖ I

บั ด นี้ เราทั้ งหลายแล มาประจวบมงคลสมั ย อาสาฬหปุ ณ ณมี วั น เพ็ ญ อาสาฬหมาสที่รู้พร้อมกันว่า เป็นวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงประกาศ พระธรรมจักรเป็ นวันที่เกิ ดขึ้นแห่งพระอริยสงฆ์สาวก และเป็น วันที่พ ระรัตนตรัย สมบูรณ์ คือ ครบ ๓ รัตนะ จึงมาประชุมกันแล้ว ณ ที่นี้ ถือสักการะเหล่านี้ ทากาย ของตนให้เป็นดังภาชนะรับเครื่องสักการะ ระลึกถึงพระคุณตามเป็นจริงทั้งหลายของ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จักทาประทักษิณ สิ้นวาระสามรอบซึ่ง พระสถูป (พระพุทธ ปฏิมา) นี้ บูชาอยู่ด้วยสักการะอันถือไว้แล้วอย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จปรินิพพานนาน มาแล้ว ยังปรากฏอยู่ด้วยพระคุณสมบัติอันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพึงรู้โดยความ เป็นอตีตารมณ์ จงทรงรับเครื่องสักการะ อันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถือไว้แล้วนี้ เพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ. จากนั้ นจุ ดธูป เที ยนและถื อดอกไม้เป็น เครื่องสัก การบู ชาในมือ แล้ วเดิ น เวียนรอบปูชนียสถาน ๓ รอบ โดยขณะที่เดินนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึง พระพุทธคุณ ด้วยการสวดบทอิติปิโส (รอบที่หนึ่ง) ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการ สวดสวากขาโต (รอบที่ สอง) และระลึ กถึงพระสั งฆคุ ณ ด้ วยการสวดสุป ะฏิ ปัน โน (รอบที่สาม) จนกว่าจะเวียนจบ ๓ รอบ จากนั้นนาธูปเทียนดอกไม้ไปบูชาตามปูชนีย สถานจึงเป็นอันเสร็จพิธี.


I ๑๗

ประวัตวิ ัดราชประดิษฐาน และวัดท่าทราย

วัดราชบูรณะ และวัดท่าทรายเป็น วัดโบราณตั้งอยู่ที่ตาบลหัวรอ อาเภอ พระนครศรีอยุธยา ภายในเขตกาแพงพระนครศรีอยุธยาทางด้านทิศเหนือวัดทั้งสอง ตั้งอยู่คนละฝากคลองประตูข้าวเปลือกโดยวัดราชประดิษฐานตั้งอยู่ทางฝั่งคลองด้าน ทิศตะวันตก วัดท่าทรายทางฝั่งตะวันออกปากคลองตรงนี้มีประตูน้า เรียกประตูคลอง ข้าวเปลือกประตูน้าที่ว่านี้พระยาโบราณราชธานินทร์อธิบายไว้ว่าไม่ใช่ประตูที่มีบาน ปิดเปิด หรือมีช่องระบายน้าอย่างสมัยปัจจุบัน เป็นแต่เว้นช่องกาแพงพระนครตรง ปากคลองสาหรับ ให้น้ าไหลเข้า ออกในกลางพระนครได้ บางปากคลองที่ เป็น ด้าน


๑๘ I

สาคั ญ ก็ มีป้ อ มประตูอ ยู่ส องฟาก บางคลองที่ ไม่เป็น ด้ านสาคั ญ ก็ ไ ม่มี ป้ อมในสมั ย อยุ ธ ยา คลองข้ าวเปลื อ กเป็ น คลองใหญ่ มี ส ะพานข้ ามคลองอยู่ ห ลายสะพาน ทั้ ง สะพานอิฐ สะพานไม้ และศิลาแดง ดังที่ชาวกรุงเก่าเขียนเล่าไว้ในพรรณนาภูมิสถาน พระนครศรีอยุธยา ว่า “คลองปตูข้าวเปลือกตรงออกปตูจีน มี ตะพานก่อด้วยศิลา แลง ชื่อ ตะพานช้าง มาถึง ตะพานอิดชื่อ ตะพานป่าถ่าน ๑ มาถึง ตะพานไม้ชื่อ ตะพานวัดขุนเมืองใจ ๑ มาถึงตะพานอิดชื่อตะพานวัดขุนเมืองใจ” ๑ มาถึงตะพาน อิดชื่อตะพานตลาดจีน ๑ ปากคลองทางด้านวัดราชประดิษฐานและวัดท่าทรายมี ป้อมก่อเป็นรูปพับสมุดอยู่สองฟาก ปัจจุบันป้อมประตูข้าวเปลือกยังคงมีอยู่ แต่คลอง ที่คั่นระหว่างวัดราชประดิษฐานกับวัดท่าทรายหายไปแล้ว คงเหลือร่องรอยเป็นคูน้า ช่วงสั้นๆ ลักษณะเหมือนสระน้าขนาดเล็กอยู่ตรงช่วงต่อจากป้อมประตูข้าวเปลือกลง มาและวัดทั้งสองก็ได้รวมเป็นวัดเดียวกันเรียกวัดราชประดิษฐานปัจจุบันมีพระสงฆ์จา พรรษา มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ วัดราชประดิษฐาน เป็นวัดสาคัญในประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ปรากฏชื่อ กล่าวถึงพงศาวดารหลายครั้งเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับพระราชประวัติของสมเด็จพระ มหาจักรพรรดิ ( พ.ศ. ๒๐๙๑ – ๒๑๑๑ ) กษัตริย์ในราชวงศ์สุพรรณภูมิ ลาดับที่ ๑๖ แห่งกรุงศรีอยุธยาว่า เมื่อไชยราชาสวรรคต สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ( ชื่อเดิม พระเทียรราชา ) ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ใกล้ชิ ดของสมเด็จพระไชยราชาธิราช เกรงว่า หากอยู่ในเพศฆราวาสจะมีภัยเพราะสมเด็จพระไชยราชามีโอรสซึ่งยังทรงพระเยาว์อยู่ ๒ องค์คือ พระยอดฟ้า พระชนม์ ๑๑ พรรษาและพระศรีศิลป์พระชนม์ได้ ๕ พรรษา พระยอดฟ้าได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาส่วนพระเทียรราชานั้น จดหมายเหตุ ของโปรตุเกสว่าเป็นน้องยาเธอต่างมารดากับสมเด็จพระไชยราชาธิราช จึงอยู่ในฐานะ ที่อาจก่อให้เกิดความระแวงขึ้นได้ว่าจะคิดแย่งราชสมบัติจากพระยอดฟ้าพระเทียร ราชาจึงออกบวชเสียที่วัดราชประดิษฐาน


I ๑๙

ต่อมาท้าวศรีสุดาจันทร์สนับสนุนขุนวรวงศาธิราชขึ้นว่าราชการแผ่นดินและ คบคิดกันประหารชีวิตพระยอดฟ้าเสีย ขุนนางผู้ใหญ่ประกอบด้วยขุนพิเรนทรเทพ เป็นหัวหน้าก็ร่วมมือฆ่าขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ แล้วให้นาเรือพระที่ นั่งไชยสุพรรณหงส์ไปยังวัดราชประดิษฐาน อัญเชิญพระเทียรราชาให้ลาผนวชเข้ามา พระราชวัง ทาพิธีปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ทรงพระนามสมเด็จพระมหาจัก พรรดิ ราชาธิราช และในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดินั้นเอง พระราชพงศาวดารก็ กล่าวชื่อวัดนี้อีกว่า “ ศักราช ๙๐๖ ปีมะโรง ฉศก ( พ. ศ. ๒๐๘๗ ) ” ฝ่ายพระ ศรีศิลป์ผู้น้องพระยอดฟ้า พระองค์เอามาเลี้ยงไว้จนอายุได้สิบสามปีสิสิบสี่ปีจึงให้อก บวชเป็นสามเณรอยู่ ณ วัดราชประดิษฐาน ต่อมาพระศรีศิลป์ซ่อมสุมพวกพลคิด การกบถ ยกพวกเข้าพระราชวัง เกิดการต่อสู้กันกับโอรสของสมด็จพระมหาจักรรดิ และเสนาบดี พระศีศิลป์ต้องปืนตาย ” หลังจากนั้นมากล่าวถึงอีกครั้งในปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (พ.ศ. ๒๒๕๑ – ๒๒๗๕) ขณะทรงพระประชวร และสั่งให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า อภัยเสวยราชสมบัติสืบต่อไป แต่สมเด็จพระอนุชากรมพระราชวังบวรสถานมงคลซึ่ง เป็นตาแหน่งอุปราชไม่ยอม จึงสั่งให้ขุนศรีคงยศไปตั้งค่ายคลองประตูข้าวเปลือกฟาก ตะวันตกหน้าวัดราชประดิ ษฐาน หลังจากสมเด็จพระเจ้าท้ายสระสวรรคต และทา การสู้รบกั นหลายวัน ในที่ สุด ฝ่ายกรมพระราชวังบวรฯ เป็ น ฝ่ายมี ชัย และได้ขึ้ น ครองราชย์ เป็นที่รู้จักในพระรามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และในรัชสมัยสมเด็จ พระเจ้ าเอกทั ศ ( พ.ศ. ๒๓๐๑ – ๒๓๑๐ ) ก็ ได้ ป รากฏชื่ อ วั ด ราชประดิ ษ ฐาน เกี่ยวพันกับเหตุการณ์สงครามคราวเสียกรุงครั้งที่สองว่า เมื่อกองทัพพม่ายกเข้ามา ใกล้จะถึงกรุงนั้น พระเจ้าอยู่หัวให้นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะ ซึ่งอยู่วัดนอกเมืองให้ เข้ามาอยู่ในวัดในพระนคร เจ้าฟ้าอุทุมพรซึ่งถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระเจ้า เอกทัศแล้วทรงผนวชเป็นภิกษุอยู่ที่วัดประดู่ ก็เสด็จเข้ามาอยู่ ณ วัดราชประดิษฐาน ขุนนางและราษฏรชวนกันไปทูลเชิญเสด็จให้ลาผนวช ออกช่วยป้องกันพระนคร แต่ พระองค์ก็หาได้ลาผนวชไม่


๒๐ I

จากข้อความที่กล่าวถึงในพงศาวดาร เห็นได้ว่าวัดนี้เป็นวัดสาคัญ มีมาแต่ สมัยอยุธยาตอนต้นแล้วอย่างน้อยในสมั ยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. ๒๐๗๗ – ๒๐๘๙ ) วัดนี้ก็คงจะเป็นวัดซึ่งเป็นที่นับถือและรู้จักกันดีและคงจะเป็นวัดใหญ่หรือ เป็น วัด ที่ สาคัญ อยู่ มิใช่น้ อย เมื่อ พระเที ยรราชาตัด สิน พระทั ยออกผนวช เมื่ อสิ้ น รัชกาลสมเด็จพระไชยราชา จึงได้มาผนวชอยู่ที่วัดนี้ ปัจจุบันบริเวณฝั่ ง ตะวันออก ของป้อมประตูข้าวเปลือก ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดราชประดิษฐาน ไม่มีสิ่งก่อสร้างที่มีอายุ เก่าลงไปถึงสมัยอยุธยาตอนต้นเหลืออยู่ อุโบสถ์ที่เห็นอยู่เป็นของสร้างใหม่ แต่ใบ เสมาที่ปักแสดงเขตอุโบสถอยู่นั้นเป็นใบเสมารุ่นเก่าทาด้วยหินทรายสีแดงค่อนข้าง หนา ส่ว นบนกว้าง ส่วนล่างหรือเอวคอดเข้าเล็กน้อยสลักลายด้านเดียว ขอบฐาน สลักเส้นคู่ขนานมนแนวนอน มีลายก้านขดอยู่ระหว่างกลางจากขอบฐานขึ้นไปตรง กลาง สลัก ลายดอกไม้ใบไม้อ ยู่ ในกรอบสามเหลี่ยม ส่วนยอด ของสามเหลี่ยมสลักเป็นสันกลาง ใบเสมาขึ้นไปตามแนวตั้งไปแยก อกจากกันตรงส่ว นบนของเสมา แล้ววาดโค้งไปตามแนวขอบทั้ ง สองข้างสอบลงมาแล้วขยายออก ที่ขอบฐานไปจดเป็นมุมแหลมกับ เส้ น ที่ เป็ น ก ร อ บ ข อ งเนื้ อ ที่ สามเหลี่ยมซึ่งสลักลายตรงกลาง เส้ น ที่ แ ยกออกจากสั น กลางไป ตามแนว ขอบของเสมานี้เป็ น เส้นคู่ มี ลายไข่ปลาอยู่ระหว่าง กลางตรงส่ ว นแหลมด้ า นบน สลักลาย ใบไม้ดอกไม้ ลักษณะ โดยรวมคล้ายคลึงกันกับใบเสมา


I ๒๑

ที่พ บในเมือ งโบราณต่างๆ ที่ อยู่ ในเขตลุ่ม แม่น้ าเจ้าพระยา ลุ่ มแม่ น้าสุ พ รรณบุ รี ตั้งแต่ น ครสวรรค์ อุ ทั น ธานี ชัย นาท สรรค์ บุ รี อิ น ทร์บุ รี สิ ง ห์ บุ รี สุ พ รรณบุ รี อ่างทอง อยุธยา ฯลฯและลงไปทางใต้ เช่น ราชบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช ภายในอุโบสถเดิมของวัดราชประดิษฐาน เคยมีจิตรกรรมฝาผนัง ดังที่พระ ยาโบราณ ราชธานิ น ทร์ ( พ ร เดชะคุ ป ต์ ) ได้ เ ขี ย น ไว้ ใ น รายงาน ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ สมัยเมื่อเป็นอุปราช มณฑลอยุธยาว่า “ ผนังในพระอุโบสถ ปรากฏว่าเขียนรูปภาพสมัยครั้งคนไว้ผมยาว พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๔ ได้เคยเสด็จมาทอดพระเนตร และโปรดให้ กรม ขุนราชสีห์วิกรมถ่ายอย่างภาพนั้นไว้ ในรัชกาลที่ ๕ แรกเสวยราชย์ก็ได้เสด็จขึ้นมา ทอดพระเนตร ว่ารูปภาพยังอยู่เป็นแต่ลบเลือนหมด แต่เมื่อข้าพระพุทธเจ้าขึ้นมา หลังคาพระอุโบสถไม่มีเสียแล้ว เป็นอันน่า เสียดาย ที่มิได้รูปภาพสมัยครั้งคนแต่งไว้ ผมยาวไว้” ส่วนวัดท่าทรายนั้นเป็นวัดที่อยู่ของพระมหานาคซึ่งเป็นผู้แต่งฉันทบุรโณ วาท กล่าวด้วยเรื่องสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาทวัดนี้ไม่ มีเรื่อ งราวปรากฏในพงศาวดารมากนั ก มี ก ล่า วชื่ ออยู่ ครั้ ง หนึ่ ง แผ่ น ดิน พระเจ้ า ปราสาททอง ( พ.ศ. ๒๑๗๒ – ๒๑๙๙ ) ว่าให้ปลูกเรือนเสาไม้ไผ่ที่ริมวัดท่าทรายให้ พระอาทิตย์วงศ์อยู่ พระอาทิตย์วงศ์ที่กล่าวถึงนี้ เป็นโอรสสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้ ขึ้นครองราชย์หลังจากพระราชบิดาสวรรคตขณะเมื่อมีพระชนมายุ ๙ พรรษา อยู่ใน ราชสมบัติได้ ๖ เดือน มุขมนตรีพร้อมใจกันยกเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ขึ้น ครองราชย์ ทรงพระนามต่อ มาว่า สมเด็ จ พระเจ้ าปราสาททอง พงศาวดารเล่า ว่า “(พระเจ้ า ปราสาททอง) เสด็ จ ประพ าสมาหน้ า วิ ห ารใหญ่ (วั ด พ ระศรี ส รรเพ ชญ์ ) ทอดพระเนตรเห็นพระอาทิตยวงศ์ พระราชบุตรพระเจ้าทรงธรรมซึ่งยกออกเสียจาก ราชสมบั ตินั้ น ขึ้ น นั่ งห้ อยเท้ าอยู่บ นก าแพงแก้ ว ชี้ พ ระหั ต ถ์ต รัส ว่าอาทิ ต ยวงศ์


๒๒ I

องอาจมิได้ลงจากกาแพงแก้วให้ต่า ลดพระอาทิตยวงศ์ลงจากยศให้ไปปลูกเรือนเสา ไม้ไผ่สองห้องสองหลัง ริมวัดท่าทรายให้อาทิตยวงศ์อยู่ ให้คนอยู่ด้วยสองคนแต่พอ ตักน้าหุงข้าว ” วัดท่าทรายในปัจจุบันได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดราชประดิษฐาน ยังคงมี สิ่งก่อสร้างสมัยอยุธยาเหลืออยู่ แต่สภาพค่อนข้างทรุดโทรม สิ่งก่อสร้างที่สาคัญควร กล่าวถึง ดังนี้ ๑ . เจดีย์ทรงปรางค์ ตั้งอยุ่ทางด้านทิศเหนือป็นเจดีย์มีลักษณะค่อนข้าง แปลก กล่าวคือ เป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมขนาดย่อม ประกอบด้วยส่วนฐานสูง ถัดจาก ส่วนฐานขึ้นมาเป็นส่วนเรือนธาตุซึ่งมีซุ้มจระนา เป็นช่องยาวยอดโค้งสอบเข้าหากัน เป็นรูปแหลมอยู่โดยรอบภายในซุ้มทาสีแดง ซุ้มด้านทิศตะวันออกเจาะประตูทางเข้า สู้ห้องภายในเรือนธาตุ ส่วนซุ้มด้านอื่นๆ อีก ๗ ซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับ ยืน พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย ทาด้ วยปูนปั้นลงรัก ของเดิมอาจจะปิดทอง แต่ไม่มีร่องรอยเหลือให้ทราบได้แน่ชัด ยังคงเหลือองค์สภาพดีอยู่ในซุ้มด้านทิศเหนือ เหนือซุ้มขึ้นไปมีนาค ๕ เศียรปู นปั้น ยังมีเหลือให้เห็นอยู่บางด้านแต่ไม่สมบูรณ์ เหนือส่วนเรือนธาตุเป็นส่วนยอดปรางค์ประกอบด้วยชั้นหลังคาซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๕ ชั้น แต่ละชั้นประดับด้วยกลีบขนุนโค้งสอบเข้าหากัน ๒ . เจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงกลมขนาดต่างๆเป็นของสร้างในชั้นหลัง องค์ หนึ่งอยู่ในสภาพที่พังทลายจนเห็นเศียรพระพุทธรูปปูนปั้นวางขวางอยู่ข้างในคงจะ เป็นพระพุทธรูปเก่าที่ชารุด และนามาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ตามประเพณีที่ปฏิบัติกัน มาแต่ โ บราณที่ ไ ม่ ท าลายหรื อ ทิ้ ง ขว้ า งพระพุ ท ธรู ป ที่ ช ารุ ด ให้ เ ป็ น ที่ ส ลดใจแก่ พุทธศาสนิกชน ๓. อุ โบสถ อยู่ ใ นสภาพทิ้ ง ร้ า งทรุ ด โทรมเพราะมี อุ โ บสถใหม่ ท างฝั่ ง วัดราชประดิษฐาน อุโบสถหลังนี้จึงไม่ได้ใช้ ลักษณะเป็นอุโบสถขนาดเล็กมีพาไลทั้ง


I ๒๓

ด้านหน้าด้านหลัง ใบเสมาตั้งอยู่บนฐานซึ่งทาเป็นบัวกลุ่ม ลักษณะเป็นใบเสมาสมัย อยุธยาตอนปลาย กล่าวคื อ มีข นาดเล็ก เอวคอด สลั กกลายตรงกลางเป็น รูปทั บ ทรวง ๔. หอระฆัง ตั้งอยู่ถัดจากมณฑปก่ออิฐ ถือปูน ผนังแต่ละด้านเจาะเป็น ช่อง หน้าต่างรูปโค้งแหลมแบบยุโรป ที่ฐานทาเป็นช่องตื้นๆทรงเดียวกันส่วนยอด ชารุด ลักษณะทางสถาปัตยกรรมบ่งว่าเป็นของสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายตั้งแต่ รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชลงมา ๕ . หอสมณธรรม เป็นอาคารขนาดเล็ก ก่ออิฐถือปูน เคยใช้เป็นที่เก็บ หนั ง สื อ ธรรมและคั ม ภี ร์ ข องพระสงฆ์ อาคารหลั ง นี้ ส ร้ า งในสมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ สันนิษฐานได้จากข้อความที่เคยพบสลักไว้บนกรอบประตูว่า “ราชประชุมสร้างหอ สมณธรรม ร. ศ. ๑๒๘ ” ( พ.ศ. ๒๔๕๓) อาคารหลังนี้ปัจจุบันมีสภาพทรุดโทรมมาก


๒๔ I



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.