ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๑
เอกสารประกอบการจัดกิจกรรม
โครงการวัฒนธรรมอยุธยาสู่การพัฒนาอาเซียน ครั้งที่ ๑
“ภูมิวัฒนธรรมอยุธยา – อาเซียน”
จัดพิมพ์โดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มีนาคม จานวน ๑๐๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ ฝ่ายบริหาร ดร.จงกล เฮงสุวรรณ อ.กันยารัตน์ คงพร อ.สุรินทร์ ศรีสังข์งาม อ.อุมาภรณ์ กล้าหาญ ว่าที่ร้อยตรีหญิง รัตติยา พาวินัย
ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน
ฝ่ายส่งเสริม และเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ณัฐฐิญา แก้วแหวน สายรุ้ง กล่่าเพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์ ยุพดี ป้อมทอง
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๒
สารบัญ ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของอาเซียน และประชาคมอาเซียน
๖
ราชอาณาจักรไทย
๑๓
บรูไนดารุสซาลาม
๑๕
ราชอาณาจักรกัมพูชา
๑๘
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
๒๔
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
๓๐
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
๓๒
มาเลเซีย
๓๗
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
๔๓
สาธารณรัฐสิงคโปร์
๔๘
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
๕๒
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๓
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๔
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๕
สกุลเงินที่ใช้กันในหมู่ของประเทศสมาชิกอาเซียน ทางประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ยังไม่มีแนวคิดที่จะ ใช้เงินสกุลเดียวกันเหมือนกับประชาคมยุโรป เนื่องจากหวั่นเกรงว่าจะประสบปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะและเศรษฐกิจ ยุโรปที่ เกิดขึ้นในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กรีซและสเปน ซึ่งก่าลังเป็นที่จับตามองไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ โดย ปัญหาที่เกิดขึ้นมีต้นตอมาจากการ- ใช้สกุลเงินร่วมกัน (สกุลเงินยูโร) นั่นเอง
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๖
ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของ อาเซียน และประชาคมอาเซียน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร๑
อาเซียน (ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติแห่ งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Nations) คือ องค์กรเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และ ความมั่นคง อาเซียนก่อตั้งอย่างเป็นทางการที่ประเทศไทยเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ (ค.ศ. ๑๙๖๗) มีสมาชิกแรก ก่อตั้ง ๕ ประเทศ ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น ๑๐ ประเทศโดย ประเทศสมาชิกใหม่ที่เพิ่งเข้าร่วมได้แก่ บรูไน (๗ ม.ค. ๒๕๒๗) เวียดนาม (๒๘ ก.ค. ๒๕๓๘) ลาว พม่า (๒๓ กค ๒๕๔๐) และกัมพูชา (๓๐ เม.ย. ๒๕๔๒)
๑ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
(๒๕๕๘). ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของอาเซียน และประชาคมอาเซียน. ค้นเมื่อ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘. จาก www.sac.or.th/databases/conference_asean_๒๐๑๑/?page_id=๕๓๖
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๗
สงครามเย็น ในแง่ประวัติศาสตร์การเมืองยุคสงครามเย็น อาเซียนคืออีกกลไกหนึ่งที่ฝ่ายโลกตะวันตกได้ผลักดันให้เกิดขึ้น โดยหวังว่าอาเซียนจะช่วยต้านการรุกคืบของลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีปฏิวัติโดมิโน่ในภูมิภาคนี้ได้ อย่างไรก็ดี สิ่งที่ น่าสนใจก็คือ มหาอ่านาจฝ่ายตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ให้การสนับสนุนประเทศในอาเซียนโดยไม่สนใจว่า ประเทศเหล่ า นั้ น จะปกครองด้ ว ยระบอบการเมื อ งแบบใด จะมี ค ณะรัฐ บาลทหารปกครองโดยเว้ น วรรคระบอบ ประชาธิปไตยหรือไม่ ขอเพียงต่อต้านคอมมิวนิสต์ก็พอแล้ว หลังจากที่อาเซียนก่อตั้งได้ไม่นาน การเมืองยุคสงครามเย็นก็มีเหตุต้องพลิกผัน เมื่อจีนเกิดแตกหักกับโซเวียต ในช่วงปลายทศวรรษที่ ๑๙๖๐ ท่าให้อเมริกาเห็นช่องทางสร้างดุลอ่านาจสามเส้า ด้วยการสร้างสัมพันธ์ทางการทูตกับ จีนในช่วงต้นทศวรรษที่ ๑๙๗๐ อันเป็นที่มาของการทูตหมีแพนด้า การทูตปิงปอง การสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม และการหันมาเจริญความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและชาติตะวันตกใหม่อีกครั้ง การหันมาจับมือกันของโลกตะวันตกกับจีน ท่าให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องปรับตัวกัน ขนานใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อจีนประกาศนโยบายเปิดประเทศ และเริ่มเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจสู่ระบบตลาดในช่วง ปลายทศวรรษที่ ๑๙๗๐ ตามมาด้วยโซเวียตรวมทั้งกลุ่มประเทศบริวารทั้งหลายในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ถือเป็นการ สิ้นสุดอย่างเป็นทางการของสงครามเย็น และเริ่มเข้าสู่ยุคของการค้าเสรีแทบจะในทันที
เริ่มยุคการค้าเสรี WTO และ AFTA อันที่จริงแนวคิดเรื่องการค้าเสรีเป็นสิ่งที่กลุ่มโลกตะวันตกและพันธมิตรได้ด่าเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สิ้น สงครามโลกครั้งที่สอง โดยได้ร่วมกันจัดท่าข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) และได้จัดประชุมเพื่อ เจรจาลดภาษีศุลกากรตลอดจนอุปสรรคทางการค้า ทั้งสิ้น ๘ ครั้ง โดยเฉพาะในการประชุมครั้งที่ ๘ ที่ประเทศอุรุกวัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ (ค.ศ. ๑๙๘๖) นั้น อาจถือได้ว่าเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคของการค้าเสรีอย่างเต็มรูปแบบ เพราะได้เริ่มมี การเจรจาเปิดเสรีการค้าภาคบริการเช่น การเงิน ธนาคาร และการประกันภัย รวมทั้งยังได้ เริ่มเจรจาเพื่อก่าหนด ข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์ สิน ทางปั ญ ญาที่เกี่ย วข้องกับการค้า (TRIPS) ซึ่งส่ งผลกระทบโดยตรงต่อระบบสาธารณะสุ ข (สิทธิบัตรยา) และความมั่นคงทางอาหาร (สิทธิบัตรพันธุ์พืช) ของประเทศก่าลังพัฒนาที่ร่วมเป็นภาคีสัญญา นอกจากนี้ยังได้มีมติให้ตั้งองค์การการค้ าโลก (WTO) เพื่อท่าหน้าที่แทน GATT โดย WTO มีฐานะเป็นองค์กร นิติบุคคลระหว่างประเทศ ส่วนประเทศภาคีสัญญา GATT เดิมต้องสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO โดยมีพันธะกรณี ต้องปฏิบัติตามทุกข้อตกลงที่เกิดขึ้นจากการประชุมรอบอุรุกวัย และ WTO มีอ่านาจบังคับหรือลงโทษสมาชิกที่ล ะเมิด ข้อตกลงได้ การที่ข้อตกลงเรื่อง TRIPS เกี่ยวข้องกับประเด็นอ่อนไหวเช่นนี้ ท่าให้เกิดเสียงวิพากษ์อย่างรุนแรงว่า WTO ออกใบอนุญาต “ปล้น” ทรัพยากรของสมาชิกประเทศยากจน ท่าให้ประเทศยากจนต้องพึ่งพิงประเทศร่่ารวยแทบจะ โดยเบ็ดเสร็จ คล้ายเป็นการออกล่าอาณานิคมยุคใหม่ นอกจากนี้ก็มีข้อวิจารณ์รุนแรงต่อกลุ่มประเทศร่่ารวยและ WTO ว่าไม่มีทางสร้างสิ่ งที่เรีย กว่าการค้าเสรีได้จริง เพราะประเทศร่่ารวยยังคงหาทางเจรจาเพื่อก่าหนดทิศทางตลาดได้ รวมทั้งยังคงออกมาตรการกดดันหรือปกป้องตลาดของตัวเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการบิดเบือนหลักการสู งสุดของ การค้าเสรีเรื่องการค้าที่เป็นธรรมและโอกาสที่เท่าเทียมของคู่ค้า กระแสต่อต้านการค้าเสรีจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและ ต่อเนื่อง ท่าให้การเจรจารอบนี้ต้องใช้เวลานานถึง ๗ ปีกว่าที่จะตกลงกันได้ ซึ่งก็เป็นแค่เพียงบางเรื่องเท่านั้น ท่าให้ สมาชิกหลายประเทศที่ยังคงต้ องการเดินหน้าสู่การเปิดการค้าเสรีหันมาใช้วิธีการเจรจาแบบทวิภาคี และการจับกลุ่ม เปิดตลาดเสรีในภูมิภาคแทน เช่น เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA)
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๘
แม้จะรู้ว่าระบบการค้าเสรีภายใต้ WTO มีความเสี่ยงเพียงใด แต่ก็ดูเหมือนจะไม่มีทางเลือกอะไรให้กับประเทศ ก่าลังพัฒ นามากนั ก เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศอาเซียน ที่สุดท้ายแล้วก็ตัดสินใจสร้างเขตการค้าเสรีภูมิภาคอาเซียน (AFTA) ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อเสริมสร้างอ่านาจต่อรอง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ ภูมิภาค เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ และเพื่อส่งเสริมการค้าภายในกลุ่มประเทศอาเซียนอาเซียนให้มีปริมาณมาก ขึ้น โดยหวังว่าการตัดสินใจดังกล่าวจะสร้างความมั่งคั่งให้กับภูมิภาคได้
วิกฤติเศรษฐกิจปี ๒๕๔๐ ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ ๑๙๙๐ โดยเฉพาะหลังจากที่ได้มีการจัดตั้ง AFTA เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน ก็เติบโตขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ ทว่าความอัศจรรย์นี้ก็ได้แปรเปลี่ยนเป็นความหายนะในเวลาเพียงแค่ ๕ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ (ค.ศ. ๑๙๙๗) วิกฤติเศรษฐกิจการเงินที่เริ่มต้นจากประเทศไทยได้ ส่งผลกระทบต่อระบบ เศรษฐกิจของประเทศใกล้เคียงในภูมิภาคอย่างรวดเร็ว และได้แพร่ระบาดต่อไปยังระบบเศรษฐกิจของเอเชียและของ โลกในท้ายที่ สุ ด ผู้ น่ าประเทศตลอดจนนั กวิเคราะห์ ทั้งหลายเริ่มตระหนักอย่างแท้ จริงว่า การเปิ ดเสรีท างการเงิน สามารถช่วยสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ และในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างหายนะทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ได้ด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงมีค่าถามว่า ประเทศก่าลังพัฒนาควรจะปฏิเสธการพัฒนาแบบเสรีนิยมเช่นการเปิดตลาด การค้าเสรี หรือควรจะเดินต่อไปด้วยความรอบคอบและสุขุมกว่าเดิม? กลางเดือนธัน วาคม ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ บรรดาผู้ น่ าอาเซียนได้ เข้าร่วมประชุมสุ ด ยอดอย่างไม่ เป็ นทางการที่ ประเทศมาเลเซีย เพื่อร่วมหาทางแก้ปัญหาดังกล่าว สุดท้ายแล้วอาเซียนก็ได้ตัดสินใจที่จะเดินตามเส้นทางพัฒนาสาย เสรีนิยมต่อไป ทั้งนี้เพราะอาเซียนเห็นว่า ทางเดียวที่จะช่วยกอบกู้เศรษฐกิจของภูมิภาคได้อย่างยั่งยืนก็คือ การลงทุนทั้ง จากภายในและภายนอกภูมิภาค และการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นเพื่อจะดึงดูดการลงทุนได้นั้น มีทางเดียวก็คือจะต้องรวม ตลาดและขยายตลาดให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่การถอยกลับไปสู่แนวคิดโบราณที่สร้างก่าแพงกั้นตลาดของแต่ละ ประเทศแยกจากกัน ซึ่งมีแต่จะเป็นการลดเพดานการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศไปด้วย นอกจากจะยืนยันว่าอาเซียนจะเดินไปตามเส้นทางพัฒนาสายเดิมต่อไปแล้ว บรรดาผู้น่าอาเซียนยังเห็นร่วมกัน ว่ า อาเซี ย นจ่ า เป็ น ต้ อ งเดิ น ให้ เร็ ว และรวมตั ว กั น ให้ ม ากขึ้ น ไปอี ก ซึ่ ง เป็ น ที่ ม าของการร่ ว มกั น ก่ า หนดวิ สั ย ทั ศ น์ อาเซียน ๒๕๖๓ (ASEAN vision ๒๐๒๐) อันน่าไปสู่การจัดตั้งสามเสาประชาคมอาเซียนในที่สุด
จาก ASEAN Vision ๒๐๒๐ สู่สามเสาประชาคมอาเซียน เอกสารวิสัยทัศน์อาเซียนซึ่งเป็นผลลัพธ์ส่าคัญจากการประชุมผู้น่าอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้จิ น ตนาการถึงอาเซีย นในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ไว้อย่างน่าประทับ ใจว่า “อาเซียนจะต้องเป็ นเสมือนวง สมานฉันท์ของบรรดาประเทศสมาชิก ที่มุ่งปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก และด่ารงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีเสถียรภาพ มี ความมั่งคั่ง ตลอดจนร่วมกันเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัตร เพื่อก้าวสู่การเป็นสังคมที่ดูแลห่วงใยกันและกัน” หากเราพักเรื่องความประทับ ใจไว้ แล้วลองพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า เอกสารวิสั ยทัศน์อาเซียนให้ ความส่าคัญกับ ๓ เรื่อง ได้แก่ ความมั่นคง-เสถียรภาพของภูมิภาค เรื่องความมั่งคั่ง และเรื่องการสร้างสังคมที่ดูแล ห่วงใยกัน (caring societies) เหตุที่อาเซียนมองว่าในอนาคตจะต้องให้ความส่าคัญกับสามเรื่องดังกล่าว ส่ว นหนึ่งเป็น เพราะในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ อาเซียนไม่ได้เผชิญแค่วิกฤติเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องวิกฤติสิ่งแวดล้อมควันไฟป่าจากกาลิ มันตัน และสุมาตรา รวมทั้งเรื่องปัญหาวิกฤติการเมืองในประเทศกัมพูชาที่ท่าท่าว่าจะลุกลามบานปลายกลายเป็น ปัญหาระหว่างประเทศไปด้วย
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๙
นอกจากนี้ อาเซียนได้ตระหนักแล้วว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นปัญหาระดับภูมิภาคมากขึ้นทุกที ดังนั้นจึง ไม่สามารถที่จะรวมตัวกันอย่างหลวมๆ หรือไม่เป็นทางการเช่นที่ผ่านมาได้อีกต่อไป อาเซียนจ่าเป็นต้องรวมตัวกันอย่าง จริงจังโดยให้ความส่าคัญกับมิติทั้ง ๓ อย่างเต็มที่ คือ ในมิ ติ ค วามมั่ น คง อาเซี ย นมองว่ าจ่า เป็ น ต้ อ งหาวิธีจั ด การความขั ด แย้ งระหว่างประเทศที่ ยื ด หยุ่ น และมี ประสิทธิภาพกว่าเดิม ในมิติของความมั่งคั่ง อาเซียนเห็นว่าจ่าเป็นต้องสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ด้วยการเร่งกระบวนการเปิดเสรีการค้า และมุ่งสู่ระบบการค้าเสรีอ ย่างเต็มรูปแบบให้ได้ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ในมิติ ของการสร้างสังคมที่ห่วงใยกัน อาเซียนเห็นว่าจ่าเป็นต้องสร้างให้คนในอาเซียนเกิดส่านึกถึงอัตลักษณ์ร่วมของภูมิภาค เพื่อน่าไปสู่การสร้างส่านึ กรับผิดชอบร่วมกัน และสร้างให้เกิดส่านึกความห่วงใยช่วยเหลือกันมากขึ้น เพื่อให้ชุม ชน อาเซียนมีความพร้อมรับมือกับปัญหาสังคมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนา การเปิดเสรีการค้า และโลกาภิวัฒน์ ๓ มิติหลักที่วิสัยทัศน์อาเซียนให้ความส่าคัญได้พัฒนาไปสู่แนวคิด ๓ เสาประชาคมอาเซียน ส่วนเรื่องการสร้าง ชุมชนอาเซียนให้มีความร่วมมืออย่างจริงจังก็ได้พัฒนาไปสู่การเขียนกฎบัตรอาเซียน เพื่อสร้างธรรมนูญหรือกฎเกณฑ์ ตลอดจนสร้างองค์กรอาเซียนที่มีสถานะเป็นองค์กรนิติบุคคลระหว่างประเทศอย่างแท้จริง หลังจากการประกาศวิสัยทัศน์อาเซียน ๒๕๖๓ กระบวนการสร้างชุมชนอาเซียนใหม่ก็มีพัฒนาการมาเป็นล่าดับ โดยเฉพาะในการประชุมสุดยอดผู้น่า อาเซียนครั้งที่ ๙ ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ ๗-๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ผู้น่าอาเซียนได้ร่วมกันลงนามในเอกสารประวัติศาสตร์ที่เรียกกันต่อมาว่า “ปฏิญญาบาหลีฉบับที่สอง” (Bali Concord II) เพื่อประกาศเจตนารมณ์ ที่จ ะสร้างประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้ว ย ๓ เสาส่ าคัญ ได้แก่ ประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายที่จะท่าให้ส่าเร็จ ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ จากนั้น ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๒ ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปี ๒๕๕๐ ได้มีการประกาศ เลื่อนเป้าหมายการรวมตัวให้เร็วเข้ามาอีก ๕ ปีเป็น พ.ศ. ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) และในการประชุมสุดยอดผู้น่าอาเซียน ครั้งที่ ๑๔ ที่ช ะอ่า ประเทศไทย ผู้น่าอาเซียนก็ได้ร่วมลงนามในเอกสาร “Roadmap for an ASEAN Community ๒๐๐๙-๒๐๑๕″ ซึ่งเป็นการรวมพิมพ์เขียวหรือแผนงานการสร้างสร้างประชาคมทั้ง ๓ เสาไว้ด้วยกัน กล่าวได้ว่าเป็น เอกสารที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับทั้งสามเสาประชาคมมากที่สุดชิ้นหนึ่ง โดยสรุปแล้ว สามเสาประชาคมมีสาระสังเขป ดังนี้
ประชาคมการเมืองและความมั่นคง มีเป้าหมายเพื่อสร้างอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีเสถียรภาพและสันติภาพ ปราศจากภัยคุกคามทางการทหาร และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ส่งเสริมให้อาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก ตลอดจนริเริ่มแนวทางในการจัดการความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีความ ยืดหยุ่นมากขึ้น รวมทั้งริเริ่มกลไกใหม่ๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาค
ประชาคมเศรษฐกิจ มีเป้ าหมายเพื่อมุ่งสู่การเป็ น ตลาดและเป็นฐานการผลิ ตเดียวที่สามารถแข่งขันกับภูมิภ าคอื่นได้ โดยมีการ เคลื่อนย้ายสินค้า บริการ แรงงานฝีมือ และเงินทุนอย่างเสรี ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิก ใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒ นา และเพื่อช่วย ยกระดับศักยภาพของกลุ่มประเทศเหล่านี้ ในการเข้าสู่กระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๑๐
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เป้าหมายคือการยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกด้านให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความ มั่นคงทางสังคม พร้อมรับ มือกับผลกระทบอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนมีความรู้สึกเป็นหนึ่ง เดียวกัน มีส่านึกความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ มรดกทางวัฒนธรรม และมีส่านึกร่วมในอัตลักษณ์ของภูมิภาค เพื่อ สร้างให้เกิดส่านึกการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี มีความรับผิดชอบ อันจะน่าไปสู่การสร้างให้ประชาคมอาเซียนเป็นสังคมแห่ง ความห่วงใยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยมีแผนงานที่ส่าคัญดังนี้ ๑) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการสนับสนุนการศึกษา สนับสนุนให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี สารสนเทศให้มากขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้ประชาชนเสริมทักษะในการเป็นผู้ประกอบการให้มากขึ้น ๒) ส่ ง เสริ ม สวั ส ดิ ก ารสั งคมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ ด้ ว ยการยกระดั บ ความเป็ น อยู่ ให้ พ้ น จากความ ยากจน เสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการพัฒนาและการรวมตัวเป็น ประชาคมอาเซี ย น ส่ งเสริ ม ความมั่ น คงด้ านอาหาร พั ฒ นาระบบสาธารณสุ ข และเสริ ม สร้างสุ ข ภาวะที่ ดี ให้ กั บ ประชาชน ต่อต้านยาเสพติด และให้อาเซียนเป็นสังคมที่พร้อมรับมือกับภัยพิบัติได้ ๓) ส่ งเสริ ม ความยุ ติ ธ รรมและสิ ท ธิท างสั งคม ด้ ว ยการคุ้ ม ครองและส่ งเสริม สิ ท ธิต ลอดจนสวั ส ดิ ก ารของ ประชาชนและแรงงานอพยพ ๔) ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน เช่น มลพิษหมอกควันข้ามแดน มลพิษจากของเสียที่มีพิษข้ามแดน ฯลฯ ๕) การสร้ า งอั ต ลั ก ษณ์ อ าเซี ย น ส่ งเสริ ม ให้ ป ระชาชนอาเซี ย นเกิ ด ส่ านึ ก ร่ ว มในเอกภาพท่ า มกลางความ หลากหลาย ส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกันทั้งในด้าน วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และ ศาสนา ส่งเสริมให้เกิดส่านึกร่วมในความเป็นเจ้าของมรดกทางวัฒ นธรรมของอาเซียน และส่ งเสริมให้ มีการพัฒ นา อุตสาหกรรมวัฒนธรรม และสินค้าวัฒนธรรมของอาเซียน
กฎบัตรอาเซียน สิ่ งที่ น่ า สนใจอี ก ประการของประวั ติ ศ าสตร์ ส มาคมอาเซี ย นก็ คื อ อาเซี ย นไม่ เคยมี ส ถานะทางกฎหมาย หมายความว่าอาเซียนไม่ได้มีตัวตนอย่างแท้จริง การประชุมสุดยอดผู้น่า ตลอดจนการติดต่อประสานงาน และการ ด่าเนินงานที่ผ่านมาทั้งหมด ล้วนเป็นไปอย่าง “ไม่เป็นทางการ” กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ประเทศสมาชิกอาจจะปฏิบัติตาม หรือไม่ป ฏิบั ติตามข้อตกลงใดๆ ที่ท่าไว้กับ สมาคมอาเซียนก็ได้ ซึ่งเป็นสิ่ งที่เกิดขึ้นบ่อย โดยที่สมาคมอาเซียนก็ไม่มี อ่านาจและไม่มีกลไกอะไรไปบังคับประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามได้ แม้ความสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าวจะช่วยประคองสมาคมอาเซี ยนให้ผ่านภาวะวิกฤติในอดีตมาได้ แต่นับวันก็ ยิ่งกลายเป็นข้อจ่ากัดมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นอาเซียนจึงตัดสินใจปฏิรูปตัวเองครั้งใหญ่ด้วยการเขียนกฎบัตรอาเซียน ซึ่งมีผลให้ อาเซียนยกฐานะขึ้นเป็นองค์กรนิติบุคคล มีโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน มีผู้แทนถาวรประจ่าอาเซียน และมี ธรรมนูญหรือกฎหมายข้อบังคับ เพื่อขับเคลื่อนการด่าเนินงานของอาเซียนได้อย่างเป็นรูปธรรม อาเซียนเริ่มต้นกระบวนการเขียนกฎบัตรฯ ตั้งแต่การประชุมสุดยอดผู้น่าอาเซียนครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ เวียงจันทน์ ประเทศลาว จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่เมืองเซบูประเทศฟิลิปปินส์ อาเซียนได้เริ่มด่าเนินการยกร่างกฎบัตรอาเซียน และประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียนครบทั้ง ๑๐ ประเทศ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นมา
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๑๑
กฎบัตรอาเซียนประกอบด้วยข้อบท ๑๓ บท ๕๕ ข้อ โดยมีส่วนที่ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งส่าคัญ ๒ เรื่อง ได้แก่ การระบุให้มีการจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน และระบุให้องค์กรอาเซียนต้องมี ปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาค ประชาสังคมมากขึ้นด้วย
ข้อวิจารณ์หลักต่ออาเซียน ตลอดเวลาที่ผ่านมา อาเซียนมักถูกวิจารณ์ว่าเป็นองค์กรเสือกระดาษ บ้างก็วิจารณ์ว่าอาเซียนท่างานแบบ Lip service คือ การเจรจากับการปฏิบัติมักไม่สอดคล้องกัน แต่กระนั้นอาเซียนก็ยังคงประสานสัมพันธ์ระหว่างชาติสมาชิก ไว้ได้อย่ างดี และหากจะให้ ความเป็ น ธรรมกับอาเซียนบ้าง เราคงต้องยอมรับว่าแม้จะมีอุปสรรคและขีดจ่ากัดมาก เพียงใด แต่อาเซียนก็ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการด่าเนินงานมาตลอดจนถึงปัจจุบันเช่นกัน ดังนั้ นแทนที่จ ะวิจารณ์ ตามธรรมเนียมข้อเขียนวิช าการ ในที่นี้จึงเปลี่ ยนเป็นการหยิบยกข้อวิจารณ์ ที่อาจ สะท้อนถึงข้อจ่ากัดหรือเพดานที่กดให้อาเซียนเดินไปได้อย่างเชื่องช้า เพื่อจะได้ร่วมกันหาทางก้าวข้ามข้อจ่ากัดเหล่านี้ไป ให้ได้ โดยขอยกตัวอย่างที่ส่าคัญสองเรื่อง
เต็มไปด้วยคานามธรรมอุดมคติ ในเอกสาร Roadmap เราจะพบว่ า มี ก ารกล่ า วถึ ง ค่ า ใหญ่ ที่ เ ป็ น แนวคิ ด อุ ด มคติ ม ากมาย เช่ น สิ ท ธิ มนุษยชน ประชาธิปไตย ขันติธรรม ความอดทนอดกลั้น การเคารพในความแตกต่างหลากหลาย การมีประชาชน เป็นศูนย์กลาง ฯลฯ โดยเฉพาะในกฎบัตรอาเซียนที่มักถูกอ้างถึงอยู่เสมอว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งส่าคัญ เพราะได้มีการ ระบุให้ต้องจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน รวมทั้งสนับสนุนให้องค์กรภาคประชาชนมีปฏิสัมพันธ์กับอาเซียนใน รูปแบบต่างๆ มากขึ้น แต่นี่ก็ดูจะเป็นสิ่งท้าทายอย่างยิ่ง เพราะแนวคิดที่ถูกอ้างถึงเหล่านี้ล้วนเป็นค่านิยมเสรีนิยมประชาธิปไตย ซึ่งดู จะไม่ลงรอยนักกับวิถีการเมืองและโลกทัศน์ประชาธิปไตยในแบบอาเซียน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ของประเทศในอาเซี ย นมี ค วามแตกต่ า งไปจากค่ า นิ ย มและวั ฒ นธรรมประชาธิ ป ไตยแบบสั ง คมยุ โ รปตะวั น ตก ค่อนข้างมาก และหลายเรื่องก็ขัดแย้งกัน อย่างรุนแรงด้วย เช่น บทบาทและสิ ทธิของสตรีที่ยังแตกต่างในประเทศ อาเซียน รวมทั้งค่านิยมทางการปกครองและโลกทัศน์เรื่องความสัมพันธ์เชิงอ่านาจระหว่างผู้คน เป็นต้น ดังนั้นการที่อาเซียนแต่งตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพียง ๑๐ คนเพื่อร่างกฎบัตรฯ ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้คนถึงกว่า ๕๐๐ ล้ านคน จึ งเกิดขึ้น อย่ างง่ายดายโดยปราศจากเสี ยงท้วงติ งจากเหล่ าผู้ น่าอาเซียนหรือผู้ เกี่ยวข้องแต่อย่างใด นอกจากนี้การที่ผู้คนทั่วไปแทบจะไม่รู้จักว่าประชาคมอาเซียนคืออะไร ก่าลังจะท่าอะไร หรือรวมตัวแล้วจะส่งผลดีหรือ เสี ย อย่ างไร สิ่ งเหล่ านี้ เป็ น ค่าตอบได้อย่ างดี ว่า ประชาคมอาเซีย นมี ป ระชาชนเป็ นศู น ย์กลางจริงหรือ ไม่ หรือ การ ตั้งเป้าหมายให้ ประชาคมอาเซียนเป็นสังคมที่ยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย ก็ท่าให้เกิดค่าถามว่า ด้วยความ แตกต่างหลากหลายอย่างลึกซึ้งของผู้คนในอาเซียนจะน่าไปสู่การยอมรับร่วมกันในค่านิยมใหม่นี้ได้เพียงใด
ถ้าเศรษฐกิจดี ประชาชนก็จะอยู่ดีกนิ ดีไปเอง ในเอกสารแนะน่าประชาคมอาเซียนที่เผยแพร่อยู่ทั่วไปนั้น มักอธิบายว่า การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนและ การรวมตลาดอาเซียนให้เป็นตลาดเดียวที่มีขนาดใหญ่ จะท่าให้อาเซียนมีความน่าสนใจและดึงดูดการลงทุน ซึ่งจะส่งผล ให้เกิดการจ้างงานและแก้ไขปัญหาความยากจนในภูมิภาคได้ กล่าวอีกนัยก็คือ ถ้าเศรษฐกิจดีประชาชนก็จะมีกินมีใช้ไป เอง
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๑๒
ทว่าค่าอธิบายแบบนี้ชวนให้นึกถึงภาพของ คนต้นน้่าที่กั้นฝายไว้ใช้ในยามแล้งแล้วก็บอกคนปลายน้่าว่า ถ้าน้่า มากก็จะล้นไหลไปเอง เมื่อนึกถึงภาพนี้ก็ชวนให้เกิดค่าถามว่า อาเซียนเองไม่เคยพูดถึงการกระจายความมั่งคั่งเลย หรือ เพราะอาเซียนเกรงว่าจะกลายเป็นการแทรกแซงระบบตลาดซึ่งขัดกับหลักปรั ชญาการค้าเสรี หรือที่จริงแล้วประชาชน อาจยังไม่ใช่ศูนย์กลางของอาเซียนในจินตนาการเรื่องเศรษฐกิจ
บทส่งท้าย แม้ในปัจจุบั นกลุ่มองค์กรพัฒ นาเอกชนและกลุ่มภาคประชาสังคมได้ร่วมกันติดตามและน่าเสนอข้อวิจารณ์ มากมาย ท่าให้เราเห็นถึงปัญหาน่าวิตกหลายประการของอาเซียนและแผนงานการสร้างประชาคมอาเซียน แต่ในอีก ด้านหนึ่งก็สะท้อนว่าสังคมทุกฝ่ายก็มีความคาดหวังต่อองค์กรนี้สูงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การที่อาเซียนซึ่งเคยเป็นอดีต เวทีปิดเฉพาะชนชั้นน่า บัดนี้ได้เริ่มเปิดให้ “คนอื่น” ได้เข้าร่วมสื่อสารแลกเปลี่ยนมากขึ้น เช่น เริ่มมีการท่างานกับ กลุ่ม นักวิชาการและกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งแม้จะยังไม่มากแต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ส่าคัญ รวมทั้งความกระตือรือร้น ขององค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคมต่างๆ ในการเฝ้าจับตาดูการท่างานของอาเซียนอย่างใกล้ชิด นี่ก็เป็นอีก ดั ช นี ที่ บ อกถึ งความตื่ น ตั ว ของผู้ ค นที่ มี ต่ อ อาเซี ย น ซึ่ ง หากมองในแง่นี้ ก็ ดู จ ะเป็ น สั ญ ญาณด้ า นบวกต่ อ ทั้ งองค์ ก ร อาเซียน กลุ่มผู้วิจารณ์ และโดยเฉพาะต่อสังคมในภูมิภาคนี้เช่นกัน อย่างไรก็ดี ประชาคมอาเซียน ในความหมายที่เน้นความส่าคัญของ “ประชาคม” คงไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่าง ง่ายๆ เพียงแค่การมีกฎบัตรอาเซียน มีวิสัยทัศน์อาเซียน มีแผนงานที่รัดกุม หรือมี NGOs ที่เข้มแข็งเท่านั้น หาก “ประชาคม” ที่มีคนเป็นศูนย์กลาง น่าจะมีองค์ประกอบที่ส่าคัญที่สุดคือประชาชนในภูมิภาค ที่คิดและเชื่อมั่นในพลัง แห่ ง การเปลี่ ย นแปลง การต่ อ สู้ การสร้ า งสรรค์ ข องตั ว เอง และร่ ว มกั น เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในกระบวนการทาง ประวัติศาสตร์ เพื่อเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามความขัดแย้งและหาหนทางไปสู่ “ประชาคม” ที่เป็นความหวังของสามัญชนได้ ในที่สุด
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๑๓
ราชอาณาจักรไทย Thailand
ที่ตั้ง
ทิศตะวันออกติดกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว
พื้นที่
๕๑๓,๑๑๕ ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
กรุงเทพมหานคร
ประชากร
๖๗.๒๒ ล้านคน
ภาษาราชการ
ภาษาไทย
ศาสนา
พุทธศาสนา ร้อยละ ๙๕
ประมุข
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ผู้นารัฐบาล
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๑๔
ระบอบการปกครอง
ประชาธิป ไตยอั น มี พ ระมหากษั ตริย์ ท รงเป็ น ประมุ ข มีลั ก ษณะเป็ น ระบอบการ ปกครองแบบประชาธิปไตยผ่านระบบรัฐสภาหรือประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐผู้ทรงบริหารพระราชอ่านาจตามขอบเขตที่ ก่าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญการบริห ารประเทศประชาชนจะใช้อ่านาจบริห ารผ่ าน คณะรัฐมนตรีที่ผ่านการคัดเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีผู้น่ารัฐบาล คือ นายกรัฐมนตรี (ด่ารงต่าแหน่งวาระละ ๔ ปี)
เขตการปกครอง
ประเทศไทยแบ่งเขตการบริหารออกเป็น การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จั งหวัด ๗๗ จังหวัด ๘๗๗ อ่ าเภอ และ ๗,๒๕๕ ต่าบล และการปกครองส่ ว น ท้องถิน่ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนต่าบล
วันชาติ
วัน ที่ ๕ ธัน วาคม ซึ่ งเป็ น วัน พระราชสมภพของพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทร มหาภูมิพลอดุลยเดช
หน่วยเงินตรา
บาท
ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ รายได้ประชาชาติต่อหัว
๓๘๗.๓ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ๕,๓๙๐ ดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ ๑.๘ สินค้านาเข้าสาคัญ
น้่ ามั น ดิบ เครื่อ งจั กรกลและส่ ว นประกอบ เครื่อ งจัก รไฟฟ้ าและส่ ว นประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
สินค้าส่งออกสาคัญ
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า น้่ามันส่าเร็จรูป
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๑๕
บรูไนดารุสซาลาม Brunei Darussalam
ข้อมูลทั่วไป ที่ตั้ง
ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว (ละติจูดที่ ๕ เหนือเส้นศูนย์สูตร)
พื้นที่
๕,๗๖๕ ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ ๗๐ เป็นป่าไม้เขตร้อน
เมืองหลวง
บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ประชากร
๔๑๔,๐๐๐ คน (๒๕๕๕)
ภาษาราชการ
ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu)
ศาสนา
อิสลาม (๖๗%) พุทธ (๑๓%) คริสต์ (๑๐%) และฮินดู (๑๐%)
การเมืองการปกครอง ประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ ๒๙
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๑๖
รัฐมนตรีต่างประเทศ
เจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ (Prince Mohamed Bolkiah)
ระบอบการปกครอง
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นองค์ประมุขผู้น่ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เขตการปกครอง
แบ่งเป็นสี่เขตคือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong
วันชาติ
๒๓ กุมภาพันธ์
วันสถาปนาความสัมพันธ์ ทางการทูตกับไทย
๑ มกราคม ๒๕๒๗
เศรษฐกิจการค้า หน่วยเงินตรา
บรูไนดอลลาร์ (๑ บรูไนดอลลาร์ ประมาณ ๒๓.๒ บาท/ เมื่อ เม.ย. ๒๕๕๖)
ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ รายได้ประชาชาติต่อหัว
๑๖.๖ พันล้าน USD (๒๕๕๕)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ร้อยละ ๑.๖ (๒๕๕๕)
สินค้านาเข้าสาคัญ
เครื่ อ งจั ก รอุ ต สาหกรรม รถยนต์ เครื่ อ งใช้ ไฟฟ้ า สิ น ค้ า เกษตร อาทิ ข้ า ว และผลไม้
สินค้าส่งออกสาคัญ
น้่ามันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
๔๘,๐๐๐ USD โดยประมาณ (๒๕๕๕)
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบรูไนดารุสซาลาม ๑.๑ ไทยสถาปนาความสั มพั น ธ์ท างการทู ตกั บ บรูไนฯ เมื่อ วัน ที่ ๑ มกราคม ๑.ภาพรวม ๒๕๒๗ เอกอัครราชทูต ณ บันดาร์ เสรีเบกาวัน คนปัจจุบัน คือ นายอภิช าติ ความสัมพันธ์ทั่วไป
เพ็ชรรัตน์ และเอกอัครราชทูตบรูไนประจ่าประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ Dato Paduka Haji Kamis bin Haji Tamin ๑.๒ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ บรูไนฯ มีความใกล้ชิดและฉันมิตร โดยมีการ แลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงอยู่เสมอ บรูไนฯ เป็นพันธมิตรที่ดีของไทยต่อ เรื่องต่าง ๆ ทั้งในกรอบอาเซียน และกรอบพหุภาคี (อาทิ OIC สหประชาชาติ เอเปค) ปัจจุบัน มีกลไกก่ากับความร่วมมือทวิภาคีที่ส่าคัญคือ คณะกรรมาธิการ
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๑๗
ร่ ว มว่ า ด้ ว ยความร่ ว มมื อ ทวิ ภ าคี ไ ทย - บรู ไ นฯ (Joint Commission for Bilateral Cooperation - JCBC) ซึ่งไทยเป็ นเจ้าภาพการประชุมครั้งแรกเมื่ อ วันที่ ๓๐ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖ ที่กรุงเทพฯ
๒. ความสัมพันธ์ด้าน การเมืองและความมั่นคง
ไทยและบรูไนฯ มีทัศนะทางด้านการทหารและความมั่นคงที่สอดคล้องกัน ความ ร่ ว มมื อ ทางการทหารด่ าเนิ น อย่ างต่ อ เนื่ อ ง โดยมี ก ารแลกเปลี่ ย นการเยื อ น ระหว่างผู้น่าระดับสูงของกองทัพทั้งสองประเทศ และมีการแลกเปลี่ยนบุคลากร ด้านการทหารและการส่งบุคลากรทางทหารเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ อย่างสม่่าเสมอ
๓. ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ บรูไนเป็นคู่ค้าของไทยล่าดับที่ ๙ ในอาเซียน และเป็นคู่ค้าของไทยล่าดับที่ ๗๑ ๓.๑ การค้า ในระดับ โลก ในปี ๒๕๕๕ การค้ ารวมมี มูล ค่า ๖๓๒.๘๙ ล้ านดอลลาร์ส หรัฐ (๑๙,๖๕๘.๓๗ ล้ านบาท) ไทยส่ งออกไปบรูไนมูล ค่า ๑๙๐.๗๕ ล้ านดอลลาร์ สหรัฐ (๕,๘๙๔.๘๕ ล้านบาท) และน่าเข้าจากบรูไน ๔๔๒.๑๔ ล้ านดอลลาร์ สหรัฐ (๑๓,๗๖๓.๕๒ ล้านบาท) โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า ๒๕๑.๔ ล้าน ดอลลาร์ส หรัฐ (๗,๘๖๘.๖๖ ล้ านบาท) สิ นค้าที่ส่ งออกไปบรูไนฯ ได้ แก่ ข้าว น้่ า ตาล หม้ อ แปลงไฟฟ้ า และส่ ว นประกอบ ปู น ซี เมนต์ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เซรามิ ก ผลิตภัณฑ์ยาง กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้น สิน ค้าน่าเข้าจากบรูไนฯ ได้แก่ น้่ามันดิบ สินค้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
๓.๒ การลงทุน
๓.๒.๑ การลงทุน ของบรูไนฯ ในไทยที่ ส่ าคัญ คือ การลงทุ นระหว่าง Brunei Investment Agency (BIA) และกองทุนบ่าเหน็จบ่านาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่ง ได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน (Matching Fund) ในชื่อกองทุนไทยทวีทุน ๑ มูลค่าประมาณ ๙๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ๒๕๔๖ มีอายุกองทุน ๘ ปี ทั้งนี้ กองทุนไทยทวีทุน ๑ ได้หมดอายุลงเมื่อปี ๒๕๕๑ และเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ กบข. และ BIA จึงได้จัดตั้งกองทุนไทยทวีทุน ๒ มูลค่าประมาณ ๗๖ ล้าน ดอลลาร์ ส หรั ฐ มี อ ายุ ก องทุ น ๑๐ ปี นอกจากนี้ ยั งมี ก ารลงทุ น ภายใต้ BOI จ่านวน ๑ โครงการ คือ โครงการเอเพ็กซ์ เซอร์คิต (ไทยแลนด์) จ่ากัด ซึ่งเป็น ธุรกิจจัดจ่าหน่ายแผงวงจรไฟฟ้า ๓.๒.๒ การลงทุ น หลั ก ของนั ก ธุ ร กิ จ ไทยในบรู ไนฯ จะอยู่ ในสาขารั บ เหมา ก่อสร้าง/สถาปนิก ซึ่งมีบริษัทที่มีชื่อเสียงในบรูไนฯ คือบริษัทรับเหมาก่อสร้าง Brunei Construction และบริษัทสถาปนิก Booty Edwards & Rakan-Rakan (การประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติในบรูไนฯ จะต้องมีชาวบรูไนเป็น หุ้นส่วน ซึ่ง รัฐบาลไม่ ได้ก่าหนดอัตราการถือหุ้ นส่ ว นอย่างตายตัว ) นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจ ขนาดย่อม ได้แก่ ร้านขายของ ร้านอาหาร และอู่ซ่อมรถ เป็นต้น
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๑๘
ราชอาณาจักรกัมพูชา Kingdom of Cambodia
ข้อมูลทั่วไป ที่ตั้ง
ตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจ่าปา สัก) ทิศตะวันออกติดเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตย นิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัด สระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย
พื้นที่
๑๘๑,๐๓๕ ตารางกิโลเมตร หรือ มีขนาดประมาณ ๑ ใน ๓ ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ ๒,๐๐๐ กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดน ติดต่อกับประเทศไทยยาว ๗๙๘ กิโลเมตร
เมืองหลวง
กรุงพนมเปญ
ประชากร
๑๔.๑๔ ล้านคน
ภาษาราชการ
ภาษาเขมร
ศาสนา
พุทธนิกายเถรวาท
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๑๙
การเมืองการปกครอง ประมุข
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี (Preah Bat Samdech Preah Boromneath Norodom Sihamoni)
ผู้นารัฐบาล
สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีต่างประเทศ
นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และความร่วมมือระหว่างประเทศ
ระบอบการปกครอง
ระบอบประชาธิป ไตยแบบรั ฐ สภา โดยมี พ ระมหากษั ต ริ ย์ เป็ น ประมุ ข ภายใต้ รัฐธรรมนูญ
เขตการปกครอง
ตามกฤษฎีกา ลงนามโดย นรม.กพช. เมื่อ ๑๒ ม.ค. ๒๕๕๒ ก่าหนดให้มีการแบ่ง เขตการปกครอง ดังนี้:แบ่งเป็น ๑ ราชธานี (พนมเปญ) และ ๒๓ จังหวัด ได้แก่ กระแจะ เกาะกง กันดาล กัมปงจาม กัมปงชนัง กัมปงธม กัมปง สะปือ กัมปอต ตาแก้ว รัตนคีรี พระวิหาร พระตะบอง โพธิสัต บันเตียเมียนเจย ไปรเวง มณฑล คีรี สตึงเตรง สวายเรียง เสียมราฐ อุดรมีชัย ไพลิน แกบ และพระสีหนุ และแต่ละ จังหวัดจะมีศูนย์กลางการปกครองเรียกว่า (อ่าเภอเมือง) เรียกว่า กรุง นอกจากนี้ ยังมีเมืองส่าคัญที่มีฐานะเป็น กรุง อีก ๓ แห่ง คือ กรุงปอยเปต (จ. บันเตียเมีย เจย) กรุงบาเว็ต (จ. สวายเรียง) และกรุงสวง (จ.ก่าปงจาม)
วันชาติ
๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๖
วันสถาปนาความสัมพันธ์ ทางการทูตกับไทย
๑๙ ธันวาคม ๒๔๙๓
เศรษฐกิจการค้า หน่วยเงินตรา
เรียล (๑ บาท ประมาณ ๑๓๐ เรียล)
ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ รายได้ประชาชาติต่อหัว
๑๓.๑๖ พันล้าน USD
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ร้อยละ ๖.๗
สินค้านาเข้าสาคัญ
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม บุหรี่ ทองค่า วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ และยา
สินค้าส่งออกสาคัญ
เสื้อผ้า สิ่งทอ ไม้ ยางพารา ข้าว ปลา ยาสูบ และรองเท้า
๙๑๑.๗๓ USD
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๒๐
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา ๑. ภาพรวมความสัมพันธ์ ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับกัมพูชาเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๔๙๓
เมื่อวัน ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ สถานเอกอัครราชทู ต ณ กรุงพนมเปญ ได้ จัด กิจกรรมฉลองครบรอบ ๖๐ ปี การสถาปนาความสั มพันธ์ทางการทูตของสอง ประเทศขึ้น ณ กรุงพนมเปญ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ไทยและกัมพูชาเข้าร่วม ปัจจุบัน เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ คือ นายสมปอง สงวนบรรพ์ นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ ส่านักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ๓ เหล่าทัพ ส่านักงาน ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (กระทรวงพาณิชย์) และส่านักข่าวกรองแห่งชาติ ประจ่ า การอยู่ ใ นกั ม พู ช าด้ ว ย ในส่ ว นของกั ม พู ช า มี น าง You Ay เป็ น เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจ่าประเทศไทย โดยมีส่านักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ประจ่าการอยู่ในกรุงเทพฯ และมีสถานกงสุลใหญ่ ประจ่าจังหวัดสระแก้วด้วย กัมพูช าและไทยมีประวัติศาสตร์ วัฒ นธรรม ศาสนา และรูปแบบการ ด่ า รงชี วิ ต ของประชาชนที่ ค ล้ า ยคลึ ง กั น มี ค วามสั ม พั น ธ์ ในระดั บ ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนบริเวณแนวชายแดนที่ใกล้ ชิด และมีการแลกเปลี่ ยนทาง การค้ า ปริ ม าณมาก (สิ น ค้ า เกษตร และเครื่ อ งอุ ป โภคบริ โ ภค) อย่ า งไรก็ ดี ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งไทยกั บ กั ม พู ช าผกผั น บ่ อ ยครั้ ง สาเหตุ ห ลั ก มาจาก สถานการณ์การเมืองภายใน การปลุกกระแสชาตินิยมในหมู่ประชาชน และปัญหา เขตแดน กัมพูชาเคยประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย ๒ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ ใน สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ (สถาปนา ความสั มพั น ธ์กลั บ คืน ในเดือนกุมภาพั น ธ์ ๒๕๐๒) และครั้งที่ ๒ เมื่อ วัน ที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๔ (สถาปนาความสัมพันธ์กลับคืนในปี ๒๕๐๙ สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร) โดยทั้ง ๒ กรณี มีสาเหตุมาจากข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์ประกาศลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตลง (เหลือ เป็ น ระดั บ อุปทู ต) หลั งจากเหตุการณ์ เผาสถานทูต ไทยเมื่ อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๖ จากกรณีที่มีรายงานข่าวในกัมพูชาว่า นักแสดงชาวไทย (กบ-สุวนันท์ คง ยิ่ ง) กล่ าวดู ห มิ่ น ชาวกั ม พู ช า (รัฐ บาล พ.ต.ท.ทั ก ษิ ณ ชิ น วัต ร) และการเรีย ก เอกอัครราชทูตฯ (นายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย) กลับประเทศ ระหว่างวันที่ ๕ พ.ย. ๒๕๕๒ – ๒๔ ส.ค. ๒๕๕๓ หลังจากที่กัมพูชาประกาศแต่งตั้ง พ.ต.ท. ทัก ษิ ณ ฯ เป็ น ที่ ป รึก ษารัฐ บาลกั ม พู ช า (ต่อ มากัม พู ช าออกแถลงการณ์ ยุ ติก าร ปฏิบั ติห น้าที่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ฯ เมื่อวันที่ ๔ พ.ย. ๒๕๕๓) ซึ่งฝ่ ายกัมพูช าได้ เรียกเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจ่าประเทศไทยกลับกัมพูชาในช่วงเดียวกัน
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๒๑
ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชากลับคืนสู่ภาวะปกติ
๒. ความสัมพันธ์ ด้านการเมือง
กลไกการเจรจาหารือ ทวิภ าคี ที่ ส่ าคัญ คื อ คณะกรรมาธิการร่ว มว่าด้ว ยความ ร่วมมือ ทวิภาคี ไทย-กัมพูชา (Joint Commission on Bilateral Cooperation JC) ซึ่งเป็นเวทีส่าหรับการเจรจา/ตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือในทุก ๆ ด้าน ทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สั งคม วัฒ นธรรม การศึ กษา การท่ อ งเที่ ยว ฯลฯ โดยได้มี การ ประชุมครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๓๘ ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และครั้งล่าสุด คือ การประชุม JC ครั้งที่ ๗ ณ เมืองเสียมราฐ เมื่อวันที่ ๓ - ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ทั้ ง นี้ ไทยจะเป็ น เจ้ า ภาพจั ด การประชุ ม JC ครั้ ง ที่ ๘ ในปี ๒๕๕๕ (ในชั้ น นี้ ก่าหนดจัดในช่วงเดือนสิงหาคม ณ กรุงเทพฯ) ส่าหรับการเจรจาหารือเรื่องเขตแดน มีกลไกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดน ร่วม ไทย-กัมพูชา JBC (Joint Boundary Commission) เป็นเวทีหลัก โดยการ ประชุม ครั้งล่ าสุ ด คื อ JBC ครั้งที่ ๕ เมื่ อวัน ที่ ๑๓-๑๔ กุม ภาพั น ธ์ ๒๕๕๔ ณ กรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังมีกลไกความร่วมมือด้านการทหาร โดยมี คณะกรรมการชายแดน ทั่วไปไทย กัมพูชา (General Border Committee - GBC) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศเป็นประธาน และคณะกรรมการชายแดน ส่ ว นภู มิ ภ าค ไทย กั มพู ช า (Regional Border Committee RBC) ซึ่งมีแ ม่ทั พ ของแต่ละภูมิภาคทหารของทั้งสองฝ่ายเป็นประธาน ในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ความสัมพันธ์ไทย กัมพูชามีพัฒนาการที่ดี ขึ้ น มาก อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยฝ่ า ยกั ม พู ช าก็ ได้ แ สดงความพร้ อ มที่ จ ะปรั บ ปรุ ง ความสัมพันธ์กับไทยอย่างชัดเจน รวมทั้งมีการจัดการประชุมทวิภาคีไทย-กัมพูชา ที่เป็ น กลไกความร่ว มมือ และเป็ นเวที ห ารือ ที่ส่ าคัญ ระหว่างกัน ที่ห ยุดชะงักไป ในช่วงที่มีปัญหาข้อพิพาทระหว่างกัน เช่น การประชุม GBC ครั้งที่ ๘ (ระหว่าง วันที่ ๑๙-๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔) การประชุม JBC ครั้งที่ ๕ (ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๔ กุม ภาพั น ธ์ ๒๕๕๕) เป็ น ต้ น นอกจากนี้ มี ก ารแลกเปลี่ ย นการเยื อ นของผู้ น่ า ระดับ สู ง เพื่ อกระชั บความสั ม พัน ธ์และส่ งเสริม ความร่ว มมือ ระหว่างกัน อย่าง ต่อ เนื่ อ ง โดยเมื่ อ วัน ที่ ๑๕ กั น ยายน ๒๕๕๕ นายกรั ฐ มนตรีได้ เดิ น ทางเยื อ น กัมพูชาอย่างเป็นทางการในโอกาสเข้ารับต่าแหน่งใหม่ และได้เข้าเยี่ยมคารวะและ หารือข้อราชการกับนายกรัฐ มนตรีกัมพู ชา ในประเด็นความร่วมมือต่าง ๆ ทั้ ง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ฯลฯ ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะ ส่งเสริมและขยายความร่ว มมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างกัน และจ่ากัดประเด็นที่ยัง เป็นปัญหา ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีในด้านอื่น ๆ และเมื่อวันที่ ๒๙-๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดิน ทางเยือนกัมพู ช าอย่างเป็น ทางการด้วย และได้พบหารือข้อราชการกั บ
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๒๒
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือ ระหว่างประเทศกัมพูชาด้วย
๓. ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การค้ า รวมระหว่ า งไทยกั ม พู ช าปี ๒๕๕๔ มี มู ล ค่ า ๙๓,๑๕๒.๐๙ ล้ า นบาท ๓.๑ การค้า
(๓,๐๘๑.๓๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นระยะเดียวกันของปี ๒๕๕๓ ร้อยละ ๑๔.๘๒ จ่าแนกเป็นมูลค่าการส่งออก ๘๗,๗๗๙.๗ ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๘.๒ มูลค่าการน่าเข้า ๕,๓๗๒.๓๙ ล้านบาท ลดลงร้อยละ ๒๑.๘ โดยไทยได้เปรียบ ดุลการค้า ๘๒,๔๐๗.๓๑ ล้านบาท สินค้าส่งออกที่ส่าคัญของไทยไปกัมพูชา ได้แก่ น้่ า มั น ส่ า เร็ จ รู ป น้่ า ตาลทราย มอเตอร์ แ ละเครื่ อ งก่ า เนิ ด ไฟฟ้ า เครื่ อ งดื่ ม เครื่องส่าอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ปูนซีเมนต์ ผลิ ตภัณ ฑ์ยาง เคมีภัณ ฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ส่วนสินค้าน่าเข้าที่ส่าคัญจากกัมพูชา ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สิ นแร่ โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ท่าจากผัก ผลไม้ เสื้อผ้าส่าเร็จรูป พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ไม้ซุง ไม้ แปรรูปและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ การค้าชายแดน ปี ๒๕๕๔ มีมูลค่า ๗๐,๕๑๘.๑๗ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๓ ร้อยละ ๒๗.๒๕ เป็นมูล ค่าการส่งออก ๖๕,๖๐๖.๑๑ ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๘.๓๖ และมูลค่าการน่าเข้า ๔,๙๑๒.๐๖ ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔.๑๓ ซึ่ง ไทยได้เปรียบดุลการค้าชายแดน ๖๐,๖๙๔.๐๕ ล้านบาท ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่ ส่ าคั ญ ได้ แก่ มอเตอร์และเครื่องก่ าเนิ ด ไฟฟ้ า น้่ าตาลทราย ยางยานพาหนะ เครื่ อ งส่ า อาง เครื่อ งหอมและสบู่ เครื่ อ งยนต์ สั น ดาปภายในแบบลู ก สู บ และ ส่วนประกอบ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ผ้าผืนและด้าย รถยนต์ อุปกรณ์และ ส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบอื่น ๆ และเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ สินค้าน่ าเข้าที่ส่าคัญ ได้แก่ เหล็ก ผักและของปรุงแต่งจากผัก อะลูมิเนียมและ ผลิตภัณฑ์ ทองแดงและผลิตภัณฑ์ เศษกระดาษ เสื้อผ้าส่าเร็จรูป พืชน้่ามันและ ผลิตภัณฑ์ ธัญพืช ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ และเครื่องมือเครื่องใช้ท่าด้วยโลหะสามัญ
๓.๒ การลงทุน
นั บ ตั้งแต่ รัฐ บาลกัม พู ช าได้มี กฎหมายการลงทุ น เมื่ อวัน ที่ ๕ สิ งหาคม ๒๕๓๗ จนถึงปี ๒๕๕๔ ประเทศไทยเป็นผู้ลงทุนอันดับที่ ๖ มีจ่านวนเงินลงทุน ๒๑๘ ล้าน ดอลลาร์ ส หรั ฐ รองจากมาเลเซี ย จี น ไต้ ห วั น เวี ย ดนาม และเกาหลี ใต้ ในปี ๒๕๕๑ ไทยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา (Cambodian Investment Board: CIB) จ่ า นวน ๔ โครงการ เป็ น เงิ น ลงทุ น มูล ค่า ๓๐.๖๗ ล้ านดอลลาร์ส หรัฐ ฯ ได้แก่ การผลิ ตอ้อยและน้่ าตาลของกลุ่ ม บริษัท Thai Beverage ธุรกิจภาคการขนส่ งเพื่อสร้างท่ าเรือโดยบริษั ทในกลุ่ ม บริ ษั ท น้่ าตาลขอนแก่น ของไทย และการลงทุ น ของกลุ่ ม โรงพยาบาลกรุงเทพ
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๒๓
เกี่ยวกับโรงพยาบาลนานาชาติในนามบริษัท Phnom Penh Medical Service จ่ากัด ส่าหรับปี ๒๕๕๒ ไทยลงทุนเป็นอันดับที่ ๖ มีจ่านวน ๕ โครงการ เงินลงทุน มูลค่า ๑๕.๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากเป็นอันดับที่ ๒ ของเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติ ทั้ ง หมด รองจากจี น ได้ แ ก่ อุ ต สาหกรรมผลิ ต เสื้ อ ผ้ า ส่ า เร็ จ รู ป ๑ โครงการ อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร ๓ โครงการ และอุตสาหกรรมผลิตรองเท้า ๑ โครงการ ในปี ๒๕๕๓ ไทยมีมูล ค่าการลงทุน เป็ นอัน ดับ ที่ ๖ โครงการที่ได้รับ อนุมัติมีจ่านวน ๑ โครงการเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าแปรรูป และ ในปี ๒๕๕๔ ไม่มีโครงการลงทุนใหม่ ๆ จากประเทศไทย
๓.๓ การท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวในกัมพูชาระหว่างเดือนมกราคม - ตุลาคม ๒๕๕๔ มีจ่านวนมากเป็นอันดับ ๗ โดยมีจ่านวนนักท่องเที่ยว ๙๑,๓๔๓ คน รอง จากเวียดนาม เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ลาวซึ่งมีจ่านวนลดลงจากช่วง เดียวกันของปี ๒๕๕๓ ร้อยละ ๒๖.๔๕ ในขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวกัมพูชาได้ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยในปี ๒๕๕๔ จ่านวน ๒๕๒,๗๐๕ คน ซึ่งเพิ่มขึ้น จากปี ๒๕๕๓ ร้อยละ ๗๒.๗๖ โดยมีจ่านวน ๑๔๖,๒๗๔ คน
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๒๔
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย Republic of Indonesia
ข้อมูลทั่วไป ที่ตั้ง
พื้นที่
ทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับ มหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออกติดกับติมอร์ -เลสเต และปาปัวนิวกินี และทิศใต้ ติดกับทะเลติมอร์ พื้นที่ทางบก ๑,๙๐๔,๔๔๓ ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเล ๓,๑๖๖,๑๖๓ ตารางกิโลเมตร (รวมพื้นที่ทั้งหมด ๕,๐๗๐,๖๐๖ ตารางกิโลเมตร)
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๒๕
เมืองหลวง
กรุงจาการ์ตา
ประชากร
๒๔๘ ล้านคน (๒๕๕๓)
ภาษาราชการ
ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)
ศาสนา
อิ ส ลามร้ อ ยละ ๘๕.๒ คริ ส ต์ นิ ก ายโปรแตสแตนร้ อ ยละ ๘.๙ คริ ส ต์ นิ ก าย โรมันคาทอลิกร้อยละ ๓ ฮินดูร้อยละ ๑.๘ พุทธร้อยละ ๐.๘ และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ ๐.๓
การเมืองการปกครอง
ประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Dr. Susilo Bambang Yudhoyono) ผู้น่ารัฐบาล ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Dr. Susilo Bambang Yudhoyono) ด่ารงต่าแหน่งเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ (สมัยที่ ๒)
ระบอบการปกครอง
ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้า ฝ่ายบริหาร (ด่ารงต่าแหน่งวาระละ ๕ ปี การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดมี ขึ้น เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒เขตการปกครอง๓๐ จังหวัด และเขตการ ปกครองพิเศษ ๔ เขต ได้แก่ กรุงจาการ์ตา เมืองยอกยาการ์ตา จังหวัดอาเจะห์ และ จังหวัดปาปัวและปาปัวตะวันตก
วันชาติ
๑๗ สิงหาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ ทางการทูตกับไทย
๗ มีนาคม ๒๔๙๓
เศรษฐกิจการค้า หน่วยเงินตรา
รูเปียห์ (๑,๐๐๐ รูเปียห์ ประมาณ ๓.๒๑ บาท)
ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ รายได้ประชาชาติต่อหัว
๙๒๘.๓ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ร้อยละ ๖.๓
สินค้านาเข้าสาคัญ
เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ น้่ามันเชื้อเพลิง ผลิตภัณพ์อาหาร
สินค้าส่งออกสาคัญ
ก๊าซธรรมชาติ น้่ามัน เครื่องใช้ไฟฟ้า ไม้ เสื้อผ้า
๔,๙๔๔ ดอลลาร์สหรัฐ
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๒๖
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ความสัมพันธ์ด้านการเมือง ไทยสถาปนาความสั ม พั น ธ์ ท างการทู ต กั บ อิ น โดนี เซี ย เมื่ อ วั น ที่ ๗ มี น าคม ๒๔๙๓ และครบรอบ๖๐ ปีของการสถาปนาความสั มพัน ธ์ทางการทูตเมื่อปี ๒๕๕๓ ปัจจุบัน เอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา คือนายภาสกร ศิริยะพันธุ์ และเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจ่าประเทศไทย คือ นายลุตฟี ราอุฟ
กลไกความร่ว มมื อ หลั ก ได้ แ ก่ (๑) การประชุ ม คณะกรรมาธิ ก ารร่ว มไทย อิ น โด นี เซี ย (Joint Commission Meeting between the Kingdom of Thailand and the Republic of Indonesia :JC) ซึ่ ง มี รั ฐ ม น ต รี ว่ า ก า ร กระทรวงการต่ างประเทศของทั้ งสองฝ่ ายเป็ น ประธานร่ว ม โดยอิ น โดนี เซี ย จั ด การประชุ ม JCครั้ ง ที่ ๗ เมื่ อ วั น ที่ ๑ – ๒ กั น ยายน ๒๕๕๓ และ (๒) คณะกรรมการระดับสูง (High Level Committee : HLC) โดยมีผู้บัญชาการ ทหารสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม โดยอินโดนีเซียจัดการประชุม HLC ครั้งที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซียเป็นพันธมิตรที่ส่าคัญของไทยทั้งในกรอบอาเซียนและในเวทีระหว่าง ประเทศอื่น ๆการที่อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีจ่านวนประชากรมุสลิมมากที่สุด ในโลก ท่าทีของอินโดนีเซียเกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ย่อมมีผลต่อ ท่ า ที ข องประเทศมุ ส ลิ ม โดยเฉพาะในกรอบองค์ ก ารความร่ ว มมื อ อิ ส ลาม (Organization of Islamic Cooperation : OIC) ซึ่ ง ที่ ผ่ า นมา อิ น โดนี เ ซี ย สนั บ สนุน แนวทางการแก้ไขปั ญ หาของ รัฐ บาลและช่ว ยอธิบ ายให้ ป ระเทศ มุสลิมอื่น ๆ เข้าใจปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี ๒๕๕๕ มีการเยือนที่ส่าคัญได้แก่ (๑) ประธานาธิบดีอินโดนีเซียเข้าร่วมการ ประชุม World Economic Forum (WEF) on East Asia ๒๐๑๒ ครั้งที่ ๒๑ ที่ ก รุ ง เทพฯ ระหว่ า งวั น ที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๑ มิ ถุ น ายน ๒๕๕๕ (๒) นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุม Bali Democracy Forum ครั้งที่ ๕ ที่บาหลี ระหว่างวันที่ ๗ – ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ และ (๓) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุ ม ารี เ สด็ จ ฯ เยื อ นอิ น โดนี เ ซี ย ระหว่ า งวั น ที่ ๑๘ – ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การค้า
อิ น โดนี เซี ย เป็ น ประเทศคู่ ค้ า ที่ ส่ า คั ญ อั น ดั บ ๒ ของไทยในอาเซี ย น รองจาก มาเลเซีย และเป็นคู่ค้าอันดับที่ ๕ ของไทยในโลก ในปี ๒๕๕๔ มูลค่าการค้าทวิ ภาคีระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย เท่ากับ ๑๗,๔๕๔ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการ น่าเข้า ๗,๓๗๖ ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออก ๑๐,๐๗๘ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลการค้า ๒,๗๐๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ๒๕๕๕ มูลค่าการค้าระหว่าง
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๒๗
ไทยกับอินโดนีเซียเท่ากับ ๑๙,๒๙๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการน่าเข้าจาก อินโดนีเซีย ๘,๐๘๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออก๑๑,๒๐๙ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลการค้า ๓,๑๒๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกของไทยไปอินโดนีเซีย ที่ส่าคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกล และส่วนประกอบ น้่าตาลทราย เคมีภัณฑ์ ข้าว เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบ ลูกสูบและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ มันส่าปะหลัง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ สินค้าน่าเข้าจากอินโดนีเซียที่ส่าคัญ ได้แก่ สิน แร่โลหะอื่น ๆเศษโลหะและผลิตภัณ ฑ์ ถ่านหิน เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้่า เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ น้่ามันดิบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ ยานยนต์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช รถยนต์ นั่ง ไทยกับอินโดนีเซียได้ลงนามความตกลงทางการค้า (Trade Agreement) เมื่อ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยความตกลงฯ ดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าระหว่างไทยกับ อิ น โดนี เซี ย ผ่ า นคณะกรรมการร่ว มทางการค้ า (Joint Trade Committee : JTC) โดยมี รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงพาณิ ช ย์ ข องไทย และรั ฐ มนตรี ว่ า การ กระทรวงการค้าของอินโดนีเซียเป็นประธานร่วม ไทยกับอินโดนีเซียได้ลงนามข้อตกลงว่าด้วยการแก้ไขบันทึกความเข้าใจว่าด้วย การซื้ อ ขายข้ า วระหว่ า งรั ฐ บาลไทยกั บ รั ฐ บาลอิ น โดนี เ ซี ย เมื่ อ วั น ที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ที่บาหลี โดยข้อตกลงฯ ดังกล่าว เป็นการต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่ าด้วยการซื้อขายข้าวฉบับเก่าซึ่งหมดอายุไป เมื่อปี ๒๕๕๔ ซึ่งระบุว่ารัฐบาลไทยจะจ่าหน่ายข้าวขาวร้อยละ ๑๕ – ๒๕ ใน ปริ ม าณไม่ เกิ น ๑ ล้ า นตั น ต่ อ ปี ระหว่ า งปี ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ ให้ แ ก่ รั ฐ บาล อินโดนีเซีย การลงทุน
ในปี ๒๕๕๕ ไทยเป็นประเทศผู้ลงทุนอันดับที่ ๑๕ ในอินโดนีเซีย โดยมีมูลค่าการ ลงทุน ๖๘ ล้ านดอลลาร์ส หรัฐ (ประมาณ ๒ พันล้านบาท) ส่ วนใหญ่ เป็นการ ลงทุ น ด้ านอุ ต สาหกรรมอาหาร อุ ต สาหกรรมรถยนต์ อุ ต สาหกรรมยางและ พลาสติ ก พื้ น ที่ ที่ เข้าไปลงทุ น ส่ ว นใหญ่ ได้แ ก่ เกาะสุ ม าตราใต้ แ ละเกาะชวา ตะวันตก โดยบริษัทไทยขนาดใหญ่ ๆ ที่เข้าไปลงทุน อาทิ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือซิเมนต์ไทย บ้านปู ธนาคารกรุงเทพ ลานนาลิกไนต์ และบริษัท ปตท. จ่ากัด (มหาชน) ในปี ๒๕๕๕ อิน โดนี เซี ยเป็ น ผู้ ล งทุ น อัน ดั บ ที่ ๓ ของไทยในอาเซีย นรองจาก สิ งคโปร์และมาเลเซีย โดยมี การลงทุ น ในไทยจ่านวน ๑ โครงการ มูล ค่าการ ลงทุน ๑.๔๔ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๔๓ ล้านบาท)ผ่านส่านักงานคณะกรรมการ
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๒๘
ส่งเสริมการลงทุน
ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม ไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมที่ใกล้ชิด มีการจัดท่าความตก ลงด้านสังคมและวัฒนธรรม และมีการด่าเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทาง วัฒนธรรมระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรมและสม่่าเสมอโดยกิจกรรมที่ส่าคัญ อาทิ การอั ญ เชิญ ผ้ าพระกฐิ น พระราชทานไปทอดถวายยังวัด ในอิ น โดนี เซีย การ สถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องระหว่างกัน รวมทั้งกิจกรรมเฉลิมฉลอง ครบรอบ ๖๐ ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย ในปี ๒๕๕๓ ไทยและอินโดนีเซียด่าเนินความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคล ภายใต้ โ ครงการ Thai International Cooperation Programme (TICP) ของส่านักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒ นาระหว่างประเทศ ได้แก่ (๑) ความ ร่วมมือทวิภาคี (๒) ทุนศึกษาระดับปริญญาโทนานาชาติ (TIPP) (๓) หลักสูตร ฝึ กอบรมนานาชาติป ระจ่าปี (AITC) (๔) ความร่ว มมือ ทางวิช าการระหว่าง ประเทศก่ า ลั ง พั ฒ นา (TCDC) และ (๕) ความร่ ว มมื อ ไตรภาคี (Trilateral Programme) ในปี ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔ ไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาหารแก่ อิน โดนีเซียภายใต้กรอบ TICP จ่านวน ๒๗๓ ทุน มูลค่า ๗๗,๕๔๔,๕๐๐ บาท และในปี ๒๕๕๕ อินโดนีเซียได้รับทุนการศึกษาในหลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติ จ่านวน ๔ ทุน นอกจากนี้ไทยยังได้ได้ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒ นาระดับถูมิ ภาค ได้แก่ โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศสมาชิกอาเซียนผ่าน ส่านั กงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน การด่าเนิ นการภายใต้โครงการ พัฒนาเขตเศรษฐกิจอินโดนีเซีย – มาเลเซีย - ไทย (IMT-GT) และการให้ความ ช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาจังหวัดอาเจะห์ผ่านมูลิธิแม่ฟ้าหลวง เช่น โครงการ พัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืน โครงการน่าร่องเพื่อแก้ไขปัญหาและเตรียมความพร้อม ด้านโรคมาลาเรีย โครงการฝึกอบรมช่างไม้พื้นฐาน โครงการจัดตั้งศูนย์ขาเทียม และโครงการศึกษาแนวทางการเลี้ยงและการปรับปรุงพันธุ์แพะเพื่อส่งเสริมการ เลี้ ย งอย่ างเป็ น อาชี พ รวมทั้ ง โครงการบั ว แก้ ว สั ม พั น ธ์ เพื่ อ เผยแพร่ แ นวคิ ด เศรษฐกิจพอเพียง อิน โดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านวิช าการไทย – อินโดนีเซีย ครั้งที่ ๓ที่กรุงจาการ์ตา ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยที่ ป ระชุ ม ได้ ห ารื อ เกี่ ย วกั บ ความร่ ว มมื อ ทางวิ ช าการด้ า นการศึ ก ษา สาธารณสุข พลังงาน และความร่วมมือระหว่างกันในการให้ความช่วยเหลือแก่ ประเทศที่สาม ทั้งนี้ ไทยเสนอจัดการประชุมครั้งที่ ๔ ในช่วงปี ๒๕๕๖ อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอธิการบดีแห่งอินโดนีเซีย (Council of
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๒๙
Rector of Indonesian State University : CRISU) แ ล ะ อ ธิ ก ารบ ดี แ ห่ ง ประเทศไทย (Council of University President of Thailand : CUPT) ครั้งที่ ๖ ที่มหาวิทยาลั ย Sriwijaya เมืองปาเลมบัง เมื่อวันที่ ๒๐-๒๒ ตุลาคม ๒ ๕ ๕ ๔ เพื่ อ ส ร้ า งแ ล ะส นั บ ส นุ น ค ว าม ร่ ว ม มื อ ท างวิ ช าก ารระห ว่ า ง สถาบั นอุดมศึกษาของไทยและอินโดนีเซีย และการแลกเปลี่ ยนความคิดเห็ น ประสบการณ์ ตลอดจนการเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการต่อไปในอนาคต โดยไทยเป็ น เจ้าภาพจัด การประชุ มครั้งที่ ๗ ที่ มหาวิท ยาลั ย นเรศวร จังหวัด พิษณุโลก ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ เมื่ อ วั น ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔ รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแห่งชาติอินโดนีเซียได้ลงนามในบันทึกความ เข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาที่บรูไนดารุสซาลาม ในช่วงการประชุม สภารั ฐมนตรีศึ กษาแห่ งเอเชี ยตะวันออกเฉี ยงใต้ ครั้งที่ ๔๖ และการประชุ ม รัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครั้งที่ ๖ซึ่งมีบทบาทส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และมหาวิทยาลัยไทยและอินโดนีเซีย ในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญ ของบุคลากรด้านการศึกษา และนักเรียน/นักศึกษาของทั้งสองประเทศ
เมอร์ไลออน (The Merlion) เป็นสัญลักษณ์ของประเทศสิงคโปร์ ตั้งอยู่ใกล้กับโรงแรมฟูลเลอร์ตันหันหน้าไป ยังอ่าวมารีน่า จึงมีทัศนียภาพอันสวยงามที่นักท่องเที่ยวเห็นเป็นต้องแวะมาเก็บภาพ เป็นที่ระลึก The Merlion ซึ่งมีหัว เป็นสิงโตและล่าตัวเป็นปลาก่าลังโต้คลื่น มีความสูงประมาณ ๘.๖ เมตร น้่าหนัก ๗๐ ตัน ท่าจากปูนซีเมนต์ สร้างโดย Lim Nang Seng ช่างแกะสลักที่มีชื่อเสียงของสิงคโปร์
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๓๐
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว Lao People's Democratic Republic
ข้อมูลทั่วไป ที่ตั้ง
ตั้ งอยู่ ท างหนื อ ของภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ทิ ศ เหนื อ ติ ด กั บ จี น ทิ ศ ตะวัน ตกติ ด กับ พม่ าและไทย ทิ ศ ตะวัน ตกติ ด กั บ เวีย ดนาม และทิ ศ ใต้ติ ด กั บ กัมพูชา เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล
พื้นที่
๒๓๖,๘๘๐ ตร.กม. (๑/๒ เท่าของประเทศไทย)
เมืองหลวง
นครหลวงเวียงจันทน์ (Vientiane)
ประชากร
๖.๘๙๔ ล้านคน
ภาษาราชการ
ภาษาลาว
ศาสนา
ศาสนาพุทธ (เถรวาท) ร้อยละ ๗๕ ๗๕ และนับถือความเชื่อท้องถิ่น ร้อยละ ๑๖-๑๗
ประมุข
พลโท จู ม มาลี ไซยะสอน (Lt. Gen. Choummaly Sayasone) ประธาน ประเทศ สปป. ลาว (President of the Lao PDR)
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๓๑
ผู้นารัฐบาล
นายทองสิง ท่ามะวง นายกรัฐมนตรี
ระบอบการปกครอง
ระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
เขตการปกครอง
แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๘ จังหวัด โดยมี เมือง เป็นหน่วยย่อย
วันชาติ
๒ ธันวาคม
หน่วยเงินตรา
กีบ
ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ รายได้ประชาชาติต่อหัว
๑๑.๑๙ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ร้อยละ ๘
สินค้านาเข้าสาคัญ
เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยานยนต์ เชื้อเพลิง สินค้าอุปโภคบริโภค
สินค้าส่งออกสาคัญ
ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ กาแฟ ไฟฟ้า กระป๋อง ทองแดง ทองค่า
๑,๕๓๔ ดอลลาร์สหรัฐ
“ประตูไซ” หรือ ประตูชัย
พระธาตุหลวงเวียงจันทน์
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๓๒
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ Republic of the Union of Myanmar
ข้อมูลทั่วไป ภายหลังการประชุมรัฐสภาเมียนมาร์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๔ เมียนมาร์ได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (เดิมคือ The Union of Myanmar เปลี่ยนเป็น The Republic of the Union of Myanmar) ปัจจุบันมีรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสภาประชาชน สภาชาติพันธุ์ และ สภาท้องถิ่น โดยมีนายเต็ง เส่ง ด่ารงต่าแหน่งประธาธิบดี ซึ่งเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕
ที่ตั้ง
ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจีน (๒,๑๘๕ กม.) ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับลาว (๒๓๕ กม.) และไทย (๒,๔๐๑ กม.) ทิศตะวันตกติดกับอินเดีย (๑,๔๖๓ กม.) และบังกลาเทศ (๑๙๓ กม.) ทิศใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
พื้นที่
๖๕๗,๗๔๐ ตารางกิโลเมตร (ประมาณ ๑.๓ เท่าของไทย)
เมืองหลวง
เนปิดอว์ (Nay Pyi Taw)
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๓๓
ประชากร
๕๘.๓๘ ล้านคน (ปีงบประมาณ ๒๕๕๑ - ๒๕๕๒)
ภาษาราชการ
เมียนมาร์/พม่า
ศาสนา
ศาสนาพุทธ (ร้อยละ ๘๙) ศาสนาคริสต์ (ร้อยละ ๕) ศาสนาอิสลาม (ร้อยละ ๔) อื่น ๆ (ร้อยละ ๒)
การเมืองการปกครอง ประมุข และประธานาธิบดี
นายเต็ง เส่ง (U Thein Sein)
ระบอบการปกครอง
รัฐสภาที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขประเทศและ หัวหน้ารัฐบาล
เขตการปกครอง
แบ่งการปกครองเป็น ๗ รัฐ (state) ส่าหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่ม น้อย และ ๗ ภาค (region) ส่าหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพม่า
วันชาติ
๔ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๘ (๒๔๙๑)
เศรษฐกิจการค้า หน่วยเงินตรา
จั๊ต อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ ๗๒๕ จั๊ตเท่ากับ ๑ ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ๒๔ จั๊ต เท่ากับประมาณ ๑ บาท (ณ เดือนกันยายน ๒๕๕๔)
ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ รายได้ประชาชาติต่อหัว
๓๑.๗ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๕๓)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ร้อยละ ๓.๓ (ปี ๒๕๕๓)
สินค้านาเข้าสาคัญ
เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้่ามันส่าเร็จรูป
สินค้าส่งออกสาคัญ
ก๊าซธรรมชาติ ไม้ เมล็ดพืชและถั่ว
๒,๘๕๘ ดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๕๓)
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ๑.๑ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเมียนมาร์ดีขึ้นเป็นล่าดับ และมีการแลกเปลี่ยน ภาพรวมความสัมพันธ์
การเยื อ นและการหารื อ ระดั บ สู ง ระหว่ า งสองประเทศอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดย นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนเมียนมาร์แล้ว ๒ ครั้ง คือ การเดินทางเยือนในโอกาส รับ ต่าแหน่งใหม่ เมื่อวัน ที่ ๕ ต.ค. ๒๕๕๔ และการเข้าร่วมการประชุมผู้ น่า ๖ ประเทศลุ่มแม่น้่าโขง (GMS) ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๑๙ - ๒๐ ธ.ค. ๒๕๕๔ โดยในครั้ง
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๓๔
หลังนี้ นายกรัฐมนตรีได้พบหารือกับประธานาธิบดีเมียนมาร์ ที่เนปิดอว์ และนาง ออง ซาน ซู จี ที่กรุงย่างกุ้งด้วย ๑.๒ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสองฝ่ายมีความร่วมมือทวิภาคีที่คืบหน้าในด้านต่างๆ อย่ างต่อ เนื่ อ ง ทั้ งด้ านการปราบปรามยาเสพติด การป้ องกัน และปราบปราม การค้ามนุษย์ การแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย การส่ งเสริมการค้าและการ ลงทุน และล่าสุด รัฐบาลเมียนมาร์ได้เปิดจุดผ่านแดนถาวรเมียวดีตรงข้าม อ.แม่ สอด จ.ตาก เมื่อวันที่ ๕ ธ.ค. ๒๕๕๔ (ภายหลังจากที่ปิดมาตั้งแต่วันที่ ๑๘ ก.ค. ๒๕๕๓) และปล่ อ ยตั ว นั ก โทษชาวไทย ๘ คน เพื่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ เนื่ อ งใน วโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ ๗ รอบ และ เป็นการแสดงไมตรีจิตในความสัมพันธ์อันดีกับไทย ๑.๓ ไทยกั บ เมี ย นมาร์ มี ค วามร่ ว มมื อ ภายใต้ ก ลไกทวิ ภ าคี ที่ ส่ า คั ญ คื อ (๑) ค ณ ะ ก รรม าธิ ก ารร่ ว ม (Thailand – Myanmar Joint Commission on Bilateral Cooperation - JC) (๒ ) ค ณ ะกรรมการช ายแดน ส่ วน ภู มิ ภ าค (Regional Border Committee - RBC) (๓) คณะกรรมการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee - JBC) รวมทั้งคณะกรรมการด้านเทคนิคว่าด้วยแม่น้่าที่ เป็ น เขตแดน และ (๔) คณ ะกรรมาธิ ก ารร่ ว มด้ า นการค้ า (Joint Trade Commission - JTC)
ความสัมพันธ์ ด้านการค้าการลงทุน
(๑) ในปี ๒๕๕๔ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับ ๒ ของเมียนมาร์ (หลังจากที่ไทยเคยครอง อันดับ ๑ จนกระทั่ง ปี ๒๕๕๓ ปัจจุบันอันดับ ๑ คือ จีน)โดยการค้าไทย เมียน มาร์ ปี ๒๕๕๔ มี มู ล ค่ า ๑๘๕,๖๐๒ ล้ านบาท (เพิ่ มขึ้ น กว่าร้อยละ ๑๙) ส่ ว น การค้าชายแดนมีมู ล ค่ า ๑๕๗,๕๙๐ ล้ านบาท คิ ด เป็ น ร้อยละ ๙๒ ของมูล ค่ า การค้ารวมทั้งหมด (๒) ไทยมีมูลค่าการลงทุนสะสมตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ รวม ๙,๕๖๘ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็ น อันดับที่ ๒ รองจากจีนและฮ่องกง (มูลค่ารวม ๒๐,๒๕๕ ล้ านดอลลาร์ สหรัฐ) อันดับ ๓ คือ เกาหลีใต้ (มูลค่ารวม ๒,๙๓๘ ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สาขาการ ลงทุนของไทยที่ส่าคัย ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า การผลิต ประมง และปศุสัตว์ ทั้งนี้ มูล ค่ าการลงทุ น สะสมของไทยในเมียนมาร์เคยครองอัน ดับ ๑ จนกระทั่ งถึงปี ๒๕๕๓ (๓) ไทยและเมียนมาร์มีความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกัน การเลี่ยงรัษฎากร ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๕ ส.ค. ๒๕๕๕ นอกจากนี้ ไทย และเมียนมาร์ได้ลงนามความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ลงนามเมื่อ วันที่ ๑๔ มี.ค. ๒๕๕๑ ซึ่งฝ่ายเมียนมาร์ได้แจ้งฝ่ายไทย เมื่อวันที่ ๘ ส.ค. ๒๕๕๔ ว่าได้ด่าเนินการตามกระบวนการภายในเสร็จสิ้ นแล้ ว และโดยที่ความตกลงฯ ดังกล่าวเข้าข่ายมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญ ฝ่ายไทยจึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๓๕
ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ ๑๘ ต.ค. ๒๕๕๔ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอรัฐสภา พิจารณาเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับต่อไป
ความร่วมมือด้านแรงงาน
มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง มีแ รงงานเมียนมาร์ที่ได้ล งทะเบียนและผ่านการ พิสูจน์สัญชาติแล้ว ๘๐๘,๕๘๐ คน ยังเหลือแรงงานที่ลงทะเบียนแล้ว ๓๐๐,๔๘๒ คน ที่ต้องด่าเนินการให้เสร็จภายในเดือน ก.พ. ๒๕๕๕ และมีการน่าเข้าแรงงาน เมี ย นมาร์อ ย่ า งถู ก กฎหมายแล้ ว ๑๐๑,๐๙๔ คน (ข้ อ มู ล เดื อ น ม.ค. ๒๕๕๕) ปัจจุบันฝ่ายเมียนมาร์มีศูนย์พิสูจน์สัญชาติในฝั่งเมียนมาร์ที่เมืองเมียวดีและ ท่า ขี้เหล็ก และในฝั่งไทยที่ จ.ระนอง โดยฝ่ายเมียนมาร์จะเปิดศูนย์พิสูจน์สัญชาติใน ไทยอีก ๕ แห่ ง ได้แก่ ที่ จ.เชียงใหม่ สุ ราษฎร์ธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดท่าการได้ภายในเดือน มี.ค. ๒๕๕๕ นอกจากนี้ ในการเปิดจดทะบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ ระหว่างวันที่ ๑๕ มิ.ย. ๑๓ ส.ค. ๒๕๕๔ มีแรงงานเมียนมาร์มาจดทะเบียนเพิ่มเติมอีก ๑,๐๔๗,๖๑๒ คน ซึ่งจะต้องพิสูจน์สัญชาติแรงงานกลุ่มนี้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๑๔ มิ.ย. ๒๕๕๕
โครงการพัฒนา ท่าเรือน้าลึกทวาย
นิคมอุตสาหกรรมและเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับไทย - เมื่อวันที่ ๒ พ.ย. ๒๕๕๓ บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จ่ากัด (มหาชน) ได้ ลงนามกับการท่าเรือเมียนมาร์ ในกรอบความตกลงเพื่อพัฒนาท่าเรือน้่าลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรมและเส้นทางคมนาคม (ถนน รถไฟ สายส่งไฟฟ้าและท่อก๊าซ/ น้่ามัน เชื่อมต่อระหว่างเมืองทวายกับ จ.กาญจนบุรี) โดยได้จัดตั้งบริษัท Dawei Development Co.,Ltd. (DDC) เพื่อด่าเนินโครงการ -ฝ่ายไทยได้เตรียมการในฝั่งไทยเพื่อรองรับโครงการท่าเรือน้่าลึกทวายฯ โดยได้ จั ด ตั้ งคณะอนุ ก รรมการพั ฒ นาโครงสร้า งพื้ น ฐานเชื่ อ มโยงพื้ น ที่ เศรษฐกิ จ ฝั่ ง ตะวัน ตกกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้คณะกรรมการพัฒ นาระบบการบริห าร จั ด การขนส่ งสิ น ค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ขณะนี้ ฝ่ ายไทยโดยส่ ว น ราชการที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการร่วมกันเตรียมการมในส่วนของไทย -เมื่อวันที่ ๗ ม.ค. ๒๕๕๕ รัฐมนตรีว่าการคลัง เป็นหัวหน้าคณะน่าผู้แทนระดับสูง จากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง รวม ๔๕ คน เยี่ยมชมพื้นที่ก่อสร้างท่าเรือน้่าลึกทวาย และหารือกับคณะผู้แทนเมียนมาร์ ซึ่งน่าโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผน และพั ฒ นาเศรษฐกิจแห่ งชาติเมี ยนมาร์ ทั้งสองฝ่ ายได้ยืน ยัน เจตนารมณ์ ที่จ ะ สนับสนุนโครงการดังกล่าว และให้ความส่าคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและ สั งคม โดยประธานบริษั ท อิ ตาเลี ย นไทยฯ ได้ ยืน ยั น จะด่าเนิ น โครงการฯ โดย ค่านึงถึงความสมดุลด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๓๖
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อก่อสร้างถนนและสะพานเชื่อมโยง กั บ เมี ย นมาร์ โดยในปี ๒๕๕๔รับ บาลไทยได้ จั ด สรรเงิน งบประมาณเพื่ อ (๑) ทางคมนาคม ซ่อมแซมสะพานข้ามแม่น้่าเมย แห่งที่ ๑ แบบถาวร เชื่อมโยง อ.แม่สอด จ. ตาก เมืองเมียวดีของเมียนมาร์ (๒) สร้างถนนช่วงต่อจากเชิงเขาตะนาวศรี กอกะเร็ก และ (๓) ปรับปรุงถนนแม่สอด/เมียวดี เชิงเขาตะนาวศรี โดยคาดว่าจะใช้เวลา ก่อสร้าง ๓ โครงการรวมประมาณ ๘๔๐ วัน
ความช่วยเหลือเพื่อการ พัฒนาและด้านมนุษยธรรม
ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแก่ เมียนมาร์ฝ่านส่านักงานความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) กระทรวงการต่างประเทศเป็นหลัก โดย ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมาได้มอบทุนการศึกษาและฝึกอบรมไปแล้วประมาณ ๒,๐๐๐ ทุน ในวงเงินประมาณ ๕๕๐ ล้านบาท โดยเฉพาะด้านการเกษตร การศึกษาและ สาธารณสุข นอกจากนี้ ไทยยังได้ให้ความช่วยเหลือเมียนมาร์ในกรณีภัยพิบัติอย่าง ต่อเนื่อง ทั้ง (๑) เหตุการณ์พายุไซโคลนนารืกีส เมื่อเดือน พ.ค. ๒๕๕๑ ซึ่งไทยให้ ความช่ว ยเหลือผ่ านหน่วยงานต่างๆ รวมมูล ค่าประมาณ ๑ พันล้ านบาท และ ปัจจุบันยังให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบูรณะโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงอุปกรณ์ พยากรณ์อากาศ มูลค่าประมาณ ๔๐ ล้านบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ท่าพิธีมอบ ระหว่างการเยือนเมียนมาร์เมื่อวันที่ ๕ ต.ค. ๒๕๕๔ (๒) เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ รัฐฉาน เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ ซึ่งไทยได้ให้เงินช่วยเหลือรวม ๓.๕ ล้านบาท และสิ่ งของบรรเทาทุ ก ข์ และ (๓) ล่ า สุ ด เหตุ อุ ท กภั ย ฉั บ พลั น ที่ ภ าคมะกวย มัณฑะเลย์ และสะกายในภาคกลางของเมียนมาร์ เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ ซึ่ง ไทยได้ ม อบเงิน ช่ ว ยเหลื อ ๒ ล้ านบาท ในขณะเดี ย วกั น เมี ย นมาร์ได้ม อบเงิน ช่ ว ยเหลื อ จ่ านวน ๕๐,๐๐๐ ดอลลาร์ ส หรัฐ และสิ่ งของบรรเทาทุ ก ข์ ส่ าหรั บ เหตุการณ์อุทกภัยในไทยเช่นกัน
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๓๗
มาเลเซีย Malaysia
ข้อมูลทั่วไป ที่ตั้ง
พื้นที่
ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน คือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ประกอบด้วย ๑๑ รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิ ลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์และปะลิส มาเลเซีย ตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) ประกอบด้วย ๒ รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวัก นอกจากนี้ ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐ อีก ๓ เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา(เมืองราชการ) และเกาะลาบวน ๓๒๙,๗๕๘ ตารางกิโลเมตร ( ประมาณ ๖๔% ของไทย)
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๓๘
เมืองหลวง
กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประชากร
๒๙.๕๑๒ ล้านคน
ภาษาราชการ
มาเลย์
ศาสนา
อิสลาม (๖๐%) พุทธ (๑๙%) คริสต์ (๑๒%)
การเมืองการปกครอง ประมุข
สมเด็จพระราชาธิบดี อัลมูตัสสิมู บิลลาฮี มูฮิบบุดดิน ตวนกู อัลฮัจญ์ อับดุล ฮา ลิม มูอัซซัม ชาห์ อิบินี อัลมาฮูม สุลต่าน บาดิชาห์ สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ ๑ ๔ (His Majesty Almu’tasimu Billahi Muhibbuddin Tuanku Alhaj Abdul Halim Mu'adzam Shah ibini Almarhum Sultan Badlishah The Yang di-Pertuan Agong XIV of Malaysia)
ผู้นารัฐบาล
ดาโต๊ะ ซรี มูห์ฮัมหมัด นาจิบ บิน ตุน อับดุล ราซัค
ระบอบการปกครอง
สหพัน ธรัฐ โดมีสมเด็จพระราชาธิบดี (Yang di-Pertuan Agong) เป็นประมุข ซึ่งมาจากการเลือกตั้งเจ้าผู้ปกครองรัฐ ๙ แห่ง (ยะโฮร์ ตรังกานู ปะหัง สลังงอร์ เกดะห์ กลันตัน เนกรีเซมบิลัน เประและปะลิส ) และผลัดเปลี่ยนหมุดเวียนกัน ขึ้นด่ารงต่าแหน่ง วาระละ ๕ ปี โดมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐ (Menteri Besar ในกรณีที่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ หรือ Chief Minister ในกรณีที่ไม่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ) เป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งรัฐ
เขตการปกครอง
มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองเป็น ๑๓ รัฐ ได้แก่ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ ปะลิส ซาบาห์และซาราวัก และ ๓ ดินแดนสหพันธ์ ได้แก่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
วันชาติ
๓๑ สิงหาคม
เศรษฐกิจการค้า หน่วยเงินตรา
ริงกิต (๑ ริงกิตประมาณ ๑๐.๑๗บาท สถานะ ก.พ.๒๕๕๖)
ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ
๓๐๗.๗ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๕๕)
รายได้ประชาชาติต่อหัว
๑๐,๕๐๒ ดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๕๕)
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๓๙
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ร้อยละ ๕.๒ (ปี ๒๕๕๕)
สินค้านาเข้าสาคัญ
ไฟฟ้าและอิเล็ก เครื่องจักรและอุกรณ์ เคมีภัณฑ์ น้่ามันส่าเร็จรูป อุปกรณ์ด้าน การขนส่ง
สินค้าส่งออกสาคัญ
ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ไฟฟ้ า และอิ เล็ ก ทรทรอนิ ก ส์ เครื่ อ งจั ก รและอุ ป กรณ์ เคมี ภั ณ ฑ์ อุ ป กรณ์ ด้ า นการขนส่ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ โลหะอนิ ก ส์ น้่ ามั น ปาล์ ม เคมี ภั ณ ฑ์ ก๊ า ซ ธรรมชาติเหลว (LNG) น้่ามันดิบ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ภาพรวมความสัมพันธ์ทั่วไป ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซียเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๐๐
และมี ส ถานเอกอั ค รราชทู ต ณ กรุ ง กั ว ลาลั ม เปอร์ เอกอั ค รราชทู ต ณ กรุ ง กัวลาลัมเปอร์ คนปัจจุบันคือ นายกฤต ไกรจิตติ ซึง่ เดินทางไปรับหน้าทีเ่ มื่อวันที่ ๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๕ นอกจากนี้ ไทยยังมีสถานกงสุลใหญ่ในมาเลเซีย ๒ แห่ง ได้แก่ (๑) สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง และ (๒) สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตา บารู ส่ าหรับ ส่ ว นราชการและหน่ ว ยงานต่ าง ๆ ของไทย ซึ่ งตั้ งส่ านั ก งานใน มาเลเซียได้แก่ ส่านักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารทั้งสามเหล่าทัพ ส่านักงานส่งเสริม การค้าในต่างประเทศ ส่ านักงานแรงงาน และส่ านักงานประสานงานต่ารวจ ส่ า นั ก งานการท่ อ งเที่ ยวแห่ ง ประเท ศไทย บ ริ ษั ท การบิ นไท ย จ่ า กั ด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จ่ากัด (มหาชน) มาเลเซีย มาเลเซียมีสถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจ่าประเทศไทย และเอกอัครราชทูต มาเลเซียประจ่าประเทศไทย ได้แก่ ดาโต๊ะ นาซีระห์ บินตี ฮุสซัยน์ ซึ่งเข้ารับ ต่าแหน่งเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ และมีสถานกงสุลใหญ่มาเลเซียประจ่า จังหวัดสงขลา และกงสุญใหญ่มาเลเซียประจ่าจังหวัดสงขลา ได้แก่ นายไฟซัล แอต มุฮัมมัด ไฟซัล บิน ราซาลี ซึ่งเข้ารับต่าแหน่งเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียแบ่งออกเป็น ๒ ด้านหลัก ได้แก่ (๑) การ ด่าเนินความร่วมมือภายใต้กลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่ อาทิ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วย ความร่ ว มมื อ ทวิ ภ าคี ร ะหว่ า งไทยกั บ มาเลเซี ย (Joint Commission : JC) คณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒ นาร่วมส่าหรับพื้นที่ชายแดน (Joint Development Strategy : JDS) คณ ะกรรมการด้ า น ความมั่ น คง ได้ แ ก่ ค ณ ะ ก รรม ก ารช าย แ ด น ทั่ ว ไป (General Border Committee : GBC) คณะกรรมการระดับสูง (High Level Committee : HLC) และคณะกรรมการ ชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee : RBC) ซึ่งทั้ง ๓ ระดับ เป็นกรอบความร่วมมือของฝ่ายทหารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านความ มั่น คง และความร่วมมือชายแดน คณะกรรมการด้านความมั่นคงกรอบอื่น ๆ เฉพาะเรื่อง อาทิ คณะกรรมการร่วมด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๔๐
แ ล ะ ค ว า ม ร่ ว ม มื อ ใ น ก ร อ บ Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT) และอาเซียน และ (๒) ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความ ไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยการเสริมสร้างความมั่นคง ในพื้ น ที่ ช ายแดนร่ว มกั น การร่ ว มกั น พั ฒ นาและยกระดั บ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของ ประชาชนในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศและการเสริมสร้างมาตรการสร้าง ความไว้วางใจ (Confidence Building Measures) บนพื้นฐานของกรอบ ๓Es ได้แก่ การศึกษา (Education) การจ้างงาน (Employment) และการประกอบ กิจการ (Entrepreneurship)
ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียมีพลวัตร รวมทั้งตั้งอยู่บนผลประโยชน์ ร่ ว มกั น โดยทั้ ง สองฝ่ า ยตระหนั ก ถึ ง การมี “จุ ด มุ่ ง หมาย” ร่ ว มกั น โดยให้ ความส่าคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีเพื่อสนับสนุนความเชื่อมโยงใน อาเซียนทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การอ่านวยความสะดวกด้า นการเดินทางและ ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน
ความสัมพันธ์ด้านความมั่นคง กองทัพไทยกับ มาเลเซียมี การฝึกทางทหารระหว่างกันเป็ นประจ่า ได้แก่ (๑) LAND EX THAMAL ซึ่ ง เป็ น การฝึ ก ประจ่ า ปี เริ่ ม เมื่ อ ปี ๒๕๓๖ (๒) THALAY LAUT ซึ่งมีการฝึกครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๒๓ จัดขึ้นทุก ๒ ปี โดยไทยกับมาเลเซีย สลับกันเป็นเจ้าภาพ (๓) SEA EX THAMAL เริ่มเมื่อปี ๒๕๒๒ มีพื้นที่ฝึกบริเวณ พื้นที่ปฏิบัติการร่วมชายแดนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซียทั้งด้านอ่าวไทยและ ทะเลอันดามัน (๔) AIR THAMAL เป็นการฝึกการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ตามบริ เวณชายแดนไทย-มาเลเซี ย ตั้ ง แต่ ปี ๒๕๒๕ โดยท่ า การฝึ ก ทุ ก ปี ประกอบด้วยการฝึกภาคสนามสลับกับการฝึกปัญหาที่บังคับการ และสลับกัน เป็นเจ้าภาพ และ (๕) JCEX THAMAL เป็นการฝึกร่วม/ผสมภายใต้กรอบการ ปฏิ บั ติ ก ารทางทหารนอกเหนื อ จากสงครามในการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ด้ า น มนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ และการช่วยเหลือประชาชน
อนึ่ง เมื่อวันที่ ๓ - ๗ มีนาคม ๒๕๕๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย และผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาเลเซียเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อเข้า ร่วมพิธีเปิดงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารและเทคโนโลยีด้านการรักษา ความปลอดภัยประจ่าปี ๒๕๕๕ ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิม แพค เมืองทองธานี มและเมื่อวันที่ ๑๗-๑๙ เมษายน ๒๕๕๕ รองผู้บัญชาการ ทหารบกและผู้แทนระดับสูงจากกระทรวงกลาโหมได้เดินทางเยือนมาเลเซียเพื่อ เข้าร่วม Defence Services Asia – DSA ๒๐๑๒) ครั้งที่ ๑๓ และมาเลเซียได้ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการระดับสูงไทย - มาเลเซีย (HLC) ครั้งที่ ๒๘ ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีผู้ บัญชาการทหารสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๔๑
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
การค้า
ในปี ๒๕๕๔ มาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับที่ ๔ การค้ารวมระหว่างไทยกับมาเลเซียมี มูลค่า ๒๔,๗๒๔.๘ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๗๔๙,๖๒๖.๖๘ ล้านบาท) ไทยส่งออก ๑๒,๓๙๘.๗๕ ล้ า นดอลลาร์ ส หรั ฐ (๓๗๓,๖๐๖.๖๒ ล้ า นบาท) และน่ า เข้ า ๑๒,๓๒๖.๐๖ ล้านดอลลาร์สหรัฐ(๓๗๖,๐๒๐.๐๕ ล้านบาท) โดยไทยได้เปรียบ ดุล การค้า ๗๒.๖๙ ล้ านดอลลาร์ส หรัฐ (เสี ย เปรียบดุ ล การค้าเนื่ องจากอัตรา แลกเปลี่ยน ๒,๔๖๑๓.๔๓ ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๖.๑๐ เมื่อเปรียบเทียบ กับมูลค่าการค้ารวมปี ๒๕๕๓ การค้าชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียมีมูลค่า ๑๘,๖๘๘.๔๙ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๕๖๐,๖๕๔.๙๙ ล้านบาท) โดยไทยได้เปรียบ ดุล การค้า ๖,๖๐๒.๔๔ ล้ านดอลลาร์ส หรัฐ (๑๙๘,๐๗๓.๓๔ ล้ านบาท) ทั้งนี้ การค้าชายแดนประกอบเป็นสัดส่วนร้อยละ ๗๔ ของการค้ารวมระหว่างไทยกับ มาเลเซีย สินค้าส่งออกของไทยไปมาเลเซีย ได้แก่ ยางพารา คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และ ส่วนประกอบรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้่ามันส่าเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณ ฑ์ ผลิตภัณฑ์ ยาง เครื่องจักรและส่ วนประกอบของเครื่องจักรกล เม็ด พลาสติ ก เหล็ ก เหล็ ก กล้ า และผลิ ต ภั ณ ฑ์ สิ น ค้ า ที่ ไทยน่ า เข้ า จากมาเลเซี ย ประกอบด้ ว ย น้่ า มั น ดิ บ เครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ อุ ป กรณ์ แ ละส่ ว นประกอบ เคมี ภั ณ ฑ์ เครื่ อ งจั ก รไฟฟ้ า และส่ ว นประกอบ สื่ อ บั น ทึ ก ข้ อ มู ล ภาพ เสี ย ง แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน น้่ามัน ส่าเร็จรูป สินแร่และโลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์
การลงทุน
ในปี ๒๕๕๔ มาเลเซียลงทุนในไทยจ่านวน ๓๔ โครงการ มีมูลค่า ๖,๑๓๕ ล้าน บาท โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในสาขาการบริการยานยนต์ การเกษตร และ อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ได้รับการอนุมัติจากส่านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ลงทุน จ่านวน ๒๑ โครงการ คิดเป็นมูลค่า ๓,๘๖๓ ล้านบาท มาเลเซียสนใจมา ลงทุนในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปยางพารา และปาล์มน้่ามัน เนื่องจากมาเลเซียมีศักยภาพในการลงทุน และการลงทุนใน ไทยจะช่วยลดต้นทุนการผลิตเนื่องจากไทยมีแรงงานและอุตสาหกรรมสนับสนุน ที่ ดี ก ว่ า ม า เล เซี ย ทั้ งนี้ Malaysia Industrial Development Authority (MIDA) อนุมัติส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่มีภาคการลงทุนของไทยลงทุนด้วย จ่านวน ๓ โครงการ มีมูลค่า ๒,๔๑๕ ล้านบาท นักลงทุนไทยที่สนใจไปลงทุนใน มาเลเซียได้แก่ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท เครือซีเมนต์ ไทย กลุ่มบริษัทสามารถ และร้านอาหารไทย
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๔๒
การท่องเที่ยว
ในปี ๒๕๕๔ มีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเดินทางมาประเทศไทยมากเป็นอันดับ หนึ่งจ่านวน ๒.๔๗ ล้านคน ขณะที่มีนักท่องเที่ ยวไทยไปมาเลเซียจ่านวน ๑.๕๒ ล้านคน
ความสัมพันธ์ด้านสังคมและ วัฒนธรรม
ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในมาเลเซียประกอบด้วย (๑) กลุ่มแรงงานไทยในร้านต้มย่า ของมาเลเซีย (ร้านอาหารไทย) จ่านวนมากกว่า ๑๐,๐๐๐ คน และ (๒) กลุ่ ม นักเรียนทุนรัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งศึกษาระดับมัธยมต้น - มัธยมปลายในโรงเรียน สอนศาสนาของรัฐบาลมาเลเซียจ่านวน ๓๕๐ คน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนมาเลย์ เชื้อสายสยาม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวไทยอาศัยอยู่ใน ๔ มณฑลใน ภาคใต้ตอนล่ างของสยาม เนื่องจากเมื่อปี ๒๔๕๒ รัฐบาลสยามตกลงมอบ ๔ มณฑลให้อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษกั บการให้อังกฤษยอมรับอธิปไตย ของสยามในส่วนอื่นของประเทศ คนเหล่านี้จึงตกค้างและกลายเป็นพลเมืองของ มาเลเซียในปัจจุบัน คนสยามดังกล่าวมีการสืบทอดวัฒนธรรมไทย เช่น ประเพณี สงกรานต์ ลอยกระทง เข้าพรรษา ออกพรรษา กฐิน และใช้ภาษาไทยเป็นภาษา สื่อสารในท้องถิ่น
ความร่วมมือทางวิชาการ
ไทยและมาเลเซียมีความร่วมมือทางวิช าการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้ว ย ความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างไทยกับมาเลเซีย ลงนามเมื่อ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับ มาเลเซี ย ลงนามเมื่ อ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๔ ซึ่ งด่ าเนิ น ความร่ว มมื อ ระหว่า ง สถาบันการศึกษาของไทยและมาเลเซีย การแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการศึกษา และการให้ทุนการศึกษา นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังมีความร่วมมือระหว่างสถาบัน วิ ช าการไทย - มาเลเซี ย (Thailand-Malaysia Think Tank and Scholar Network) โดยมีศูนย์ดิเรก ชัยนาม คณะรัฐ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Institute of Strategic and International Studies ของมาเลเซียเป็นผู้ ประสานงานหลัก
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๔๓
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ Republic of the Philippines
ข้อมูลทั่วไป ที่ตั้ง
ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้ ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก
เมืองหลวง
กรุงมะนิลา
ประชากร
๙๘ ล้านคน
ภูมิอากาศ
อากาศเมืองร้อน
ภาษา
ฟิลิปิโน และอังกฤษเป็นภาษาราชการ
ศาสนา
โรมันคาธอลิกร้อยละ ๘๓ โปรเตสแตนท์ร้อยละ๙ มุสลิมร้อยละ ๕
หน่วยเงินตรา
เปโซ (๑ เปโซ ต่อ ๐.๗๐ บาท/ เม.ย. ๒๕๕๖)
ผลิตภันฑ์มวลรวมในประเทศ ๒๕๐.๓ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (๒๕๕๕) (GDP) (GDP per capita) ๔,๐๙๖ ดอลลาร์สหรัฐ (๒๕๕๕) รายได้ประชาชาติต่อหัว
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๔๔
การเมืองการปกครอง ๑. การเมืองการปกครอง
๑.๑ ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ป กครองในระบอบประชาธิ ป ไตย ในรู ป แบบสาธารณรั ฐ มี ประธานาธิบ ดี เป็ น ประมุ ข มาจากการเลื อกตั้งโดยตรงจากประชาชน อยู่ ใน ต่าแหน่งคราวละ ๖ ปี ด่ารงต่าแหน่งได้ไม่เกิน ๑ วาระ วุฒิสภามีสมาชิก ๒๔ คน มาจากการเลือกตั้งจากผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศ (nationwide – elected) มีวาระ ๖ ปี และรัฐบาลจะจัดให้มีการเลือกตั้งวุฒิสภาจ่านวนครึ่งหนึ่ง (๑๒ คน) ทุก ๓ ปี ๑.๒ ฟิ ลิ ป ปิ นส์ แบ่ งเขตการปกครองออกเป็ น ๑๗ เขต (region) ๘๐ จังหวัด (province) และ ๑๒๐ เมือง (city) โดยแบ่งการปกครองย่อยออกเป็น ๑,๔๙๙ เทศบาล (municipality) และ ๔๑,๙๖๙ บารั งไก (barangay) ซึ่ งเที ย บเท่ า ต่าบลหรือหมู่บ้าน ๑.๓ ฟิลิปปินส์จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และ สภาผู้แทนท้องถิ่นทั่วประเทศ รวม ๑๗,๙๙๖ ต่าแหน่งในคราวเดียวกัน เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓ มีผู้ลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ๕๐.๗ ล้านคน ในจ่านวนนี้ มีผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประมาณ ๓๘ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๗๕ ของผู้ ล งทะเบี ย นทั้ งหมด โดยนายเบนิ กโน เอส อาคี โน ที่ ส าม (Benigno S. Aquino III) ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจากพรรค Liberal (LP) และนาย เจโจมาร์ บิ ไน (Jejomar Binay) อดี ต นายกเทศมนตรีเมื อ งมากาติ (Makati) ได้รับเลือกตั้งเป็นรองประธานาธิบดี ๑.๔ รั ฐ บาลภายใต้ ก ารบริห ารงานของประธานาธิ บ ดี อาคี โ น ที่ ส าม มุ่ งให้ ความส่าคัญกับการปฏิรูประบบบริหารประเทศเพื่อปราบปรามการฉ้อราษฎร์บัง หลวงและขจัดความยากจน จึงได้รับ ความนิ ยม จากประชาชนและมีส ถานะ ความมั่นคงทางการเมืองสูง ทั้งนี้ รัฐบาลมีมาตรการเร่งด่วน ได้แก่ การส่งเสริม การลงทุนจากต่างประเทศ การสร้างมาตรฐานกฎระเบียบด้านงบประมาณ การ ปรั บ ปรุ งระบบข้ าราชการพลเรื อ น และการปรั บ ปรุ งระบบการศึ ก ษา ส่ ว น ประเด็นด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐบาลฟิลิปปินส์เน้นการส่งเสริม ความร่วมมือในประเด็นท้าทายต่าง ๆ เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้าม ชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การระบาดของโรคติดต่อ การฟื้นฟูสภาพ เศรษฐกิจ และการสร้างพลังประชาคมระหว่างประเทศในทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุ เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDG) ภายในปี ๒๕๕๘
๒.เศรษฐกิจการค้า
๒.๑ ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ มี ร ะบบเศรษฐกิ จ ที่ ค ล้ ายคลึ งกั บ ไทย กล่ าวคื อ เป็ น ประเทศ เกษตรกรรม ประชากร ร้อยละ ๖๐ ประกอบอาชีพเกษตรกร อย่างไรก็ดี สภาพ ภูมิ ป ระเทศที่ เป็ น หมู่ เกาะส่ งผลให้ พื้ น ที่ เพาะปลู กมี น้อ ย โดยส่ วนใหญ่ จะอยู่ บริ เวณที่ ร าบต่่ า และเนิ น เขาที่ ป รั บ ให้ เป็ น ขั้ น บั น ไดในบริ เวณเกาะลู ซ อน
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๔๕
ขณะเดียวกันประชากรฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพในต่างประเทศ ฟิลิป ปินส์จึงพึ่งพารายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศเพื่อการพัฒ นา ประเทศเป็นส่วนใหญ่ ๒.๒ รัฐบาลภายใต้การบริหารงานด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีอาคีโน ที่สาม เน้นนโยบายสร้างวินัยทางการคลัง โดยการบริหารงบประมาณแบบสมดุล (zero - budgeting policy) เพื่อแก้ไขภาวะงบประมาณขาดดุล อันเป็นปัญหาสืบเนื่อง จากรัฐบาลชุดก่อน ในปี ๒๕๕๓ รัฐบาลได้ก่าหนดงบประมาณขาดดุลอัตราร้อย ละ ๔ ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วลรวมภายในประเทศ (GDP) หรื อ ประมาณ ๖๒๕ พัน ล้ านเปโซ เนื่องจากความจ่าเป็น ในการจัดสรรงบประมาณเพื่อเร่งพั ฒ นา โครงสร้างสาธารณู ปโภค และอัด ฉีด เม็ดเงิน ให้ กับครัวเรือนที่ มีรายได้ต่าเพื่ อ กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน โดยสนับสนุนการสร้างกลไกความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ - เอกชน (public - private partnerships) และเร่งแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค ต่อการลงทุ นของต่างชาติ ผลั กดันกฎหมายป้ องกันการผู กขาด (anti - trust law) เพื่ อ ส่ งเสริ ม การแข่ ง ขั น อย่ า งเท่ า เที ย ม รวมทั้ งให้ ค วามส่ า คั ญ กั บ การ ส่ ง เสริ ม การลงทุ น ในสาขาสาธารณู ป โภค การท่ อ งเที่ ย ว ธุ รกิ จ บริ ก าร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เหมืองแร่ และเกษตรกรรม ๒.๓ ในปี ๒๕๕๓ การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของฟิลิปปินส์ อยู่ที่อัตราร้อยละ ๗.๓ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อปี ๒๕๕๓ การใช้จ่ายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิ บดีเมื่อเดือน มิถุนายน ๒๕๕๓ รวมทั้งปัจจัยเชิงบวกด้านอื่น ๆ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของเงินโอน จากแรงงานฟิ ลิ ปปิ น ส์ ในต่างประเทศ การขยายตัว ของภาคการส่ งออก การ ขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ การเพิ่มขึ้นของปริมาณการลงทุน และ เศรษฐกิจมหภาคมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ รัฐ บาลได้ตั้งเป้าหมายให้ผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศเติบโตในอัตราร้อยละ ๗ ๘ ตลอดวาระการบริหารงาน (ปี ๒๕๕๓ ๒๕๖๐) อย่างไรก็ดี นักลงทุนต่างชาติยังมีความกังวลต่อปัญ หา/ อุปสรรคอื่น ๆ ในการลงทุนในฟิลิปปินส์ เช่น ความไม่แน่นอนเชิงนโยบายใน ระยะยาว ระบบสาธารณูปโภคขาดคุณภาพและค่าใช้จ่ายสูง
๓. นโยบายต่างประเทศ
๓.๑ นโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์อยู่บนพื้นฐานของนโยบายหลัก ๓ ด้าน คือ (๑) ด้านความมั่นคง (๒) ด้านเศรษฐกิจ และ (๓) ด้านแรงงานฟิลิปปินส์ใน ต่างประเทศ (Overseas Filipinos Workers) โดยเน้นการสร้างความสมดุลระหว่าง ผลประโยชน์แห่งชาติกับการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมระหว่างประเทศ และยังคง ให้ความส่าคัญกับการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศสมาชิกอาเซียน
๓.๒ ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ มีค วามใกล้ ชิด กับ สหรัฐ อเมริกา เนื่ องด้ว ยความเกี่ย วพั น ทาง
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๔๖
ประวัติ ศ าสตร์ ความเป็ น พั น ธมิ ต รด้ านความมั่ น คง และสหรัฐ อเมริก าเป็ น ประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด ในระหว่างการเยือนสหรัฐอเมริกาของประธานาธิบดี อาคีโน ที่สาม เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๓ รัฐบาลฟิลิปปินส์ประสบผลส่าเร็จใน การดึงดูดการลงทุนและเงินช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐอเมริกาพร้อม จะสนับสนุนนโยบายแห่งชาติข องฟิลิปปินส์ในทุกมิติ ในการนี้ ฟิลิปปินส์ได้ลง นามความตกลง Millennium Challenge Account (MCA) มูลค่า ๔๓๔ ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งความตกลงดังกล่าว อยู่ภายใต้การด่าเนินงานของความร่วมมือ แห่ งความท้าทายแห่ งสหั ส วรรษ (Millennium Challenge Corporation – MCC) โดยเป็นเงินทุนจากสหรัฐอเมริกาที่สนับสนุนประเทศที่ยากจนเพื่อใช้ใน การแก้ ไขปั ญ หาความยากจนและพั ฒ นาเศรษฐกิ จ อย่ า งยั่ ง ยื น นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังได้แสดงความสนใจที่จะเพิ่มพลวัตร และแรงขับเคลื่อนทางการค้า กับ สหรัฐ อเมริก า โดยการเข้าร่ว มการเจรจาความตกลงว่าด้ ว ยการค้าเสรีใน กรอบ Trans – Pacific Economic Partnership ๓.๓ ฟิลิปปินส์มีความสัมพันธ์ในระดับดีกับนานาประเทศ อาทิ (๑) กับญี่ปุ่นใน ฐานะประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์และเป็น ประเทศผู้ บ ริ จ าครายส่ า คั ญ ต่ อ การพั ฒ นาในมิ น ดาเนา (๒) กั บ จี น ในฐานะ ประเทศคู่ ค้ า และผู้ ล งทุ น ที่ ส่ า คั ญ และ (๓) กั บ ประเทศต่ า ง ๆ ในภู มิ ภ าค ตะวันออกกลาง อาทิ ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน และเยเมน ซึ่งเป็นตลาดแรงงาน ส่าคัญของฟิลิ ปปินส์และแหล่ งทุนส่ าหรับการพัฒ นาในมินดาเนา ตลอดจนมี ศั ก ยภาพที่ จ ะสนั บ สนุ น ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ในการเข้ า เป็ น ประเทศผู้ สั งเกตการณ์ ใน องค์การการประชุ มอิส ลาม (Organization of the Islamic Conference – OIC) ๓.๔ ฟิลิปปินส์ส่งเสริมผลประโยชน์แห่งชาติในเวทีระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง (๑) การร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเจรจา สันติภาพระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front – MILF) และกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (Moro National Liberation Front – MNLF) (๒) การเป็ น เจ้ าภาพจั ด การประชุ ม ระดั บ รัฐ มนตรีก ลุ่ ม NAM วาระพิ เศษว่าด้ ว ยเรื่อ ง Interfaith Dialogue และ ความร่วมมือเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (Special Non-Aligned Movement Ministerial Meeting - SNAMM) เมื่ อ เดื อ นมี น าคม ๒๕๕๓ ซึ่ งมี ก ารรั บ รอง ปฏิญญามะนิลาเกี่ยวกับหลักส่าคัญในการบรรลุผลด้านสันติภาพและการพัฒนา โดยใช้ Interfaith Dialogue (๓) การเป็นประธานการประชุมทบทวนไม่แพร่ ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (๒๐๑๐ Review Conference of Non-Proliferation of Nuclear Weapon – NPT) ซึ่งสาระส่ าคัญ เกี่ยวกับการลดและไม่แพร่ขยาย อาวุธนิวเคลียร์ และการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติจ่านวน ๖๔ ข้อ ได้รับ การบรรจุไว้ในรายงานสุ ด ท้ายของการประชุมดังกล่ าว (๔) การส่ งกองก่า ลั ง
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๔๗
ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ เข้ าร่ว มภารกิ จรัก ษาสั น ติภ าพของสหประชาชาติ และ (๕) การมี บทบาทที่แข็งขันในกรอบอาเซียน อาทิ บทบาทในฐานะประเทศผู้ประสานงาน การเจรจาระหว่างอาเซียน สหรัฐอเมริกา การส่งเสริมการจัดท่าแนวทางปฏิบัติ ใน ท ะ เล จี น ใต้ (Code of Conduct in South China Sea) ร ว ม ทั้ งก า ร สนับสนุนการท่างานของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียน
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ - ไทยสถาปนาความสั ม พัน ธ์ท างการทูตกับ ฟิลิ ปปิน ส์ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๔๙๒ เอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลาคนปัจจุบันคือ นายประศาสน์ ประศาสน์ วินิจฉัย และมีหน่วยงานในสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แก่ ส่านักงานผู้ช่วยทูตฝ่าย ทหาร ส่านักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และส่านักงานกงสุลกิตติมศักดิ์ ไทย ณ เมืองเซบู เอกอัครราชทูตฟิลิปปินส์ประจ่าประเทศไทย คนปัจจุบันคือ นางลิงลีไง เอฟ ลาคันลาเล - ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทยกับฟิลิปปินส์ด่าเนินไปอย่างราบรื่นและใกล้ชิดมานาน เป็นประเทศร่วมก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ (South East Asia Treaty Organization - SEATO) และอาเซียน และเป็น แนวร่ ว มในอาเซีย นและเวที ระหว่างประเทศเนื่อ งจากมี ทั ศนคติ และแนวคิ ด คล้ า ยคลึ ง กั น โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ด้ า นประชาธิ ป ไตยและการส่ ง เสริ ม สิ ท ธิ มนุษยชน มีกลไกความสัมพันธ์ทวิภาคี ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความ ร่ ว มมื อ ทวิ ภ าคี (Joint Commission on Bilateral Cooperation – JCBC) ตั้งเมื่อปี ๒๕๓๖ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ทั้งสองฝ่าย เป็นประธานร่วม ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม JCBC ครั้งที่ ๔ (ครั้งหลังสุด) เมื่อวันที่ ๒๕ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ที่กรุงเทพฯ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ปรับรูปแบบ การประชุมโดยให้จัดการประชุมเป็นประจ่าทุก ๒ ปี โดยเป็นการประชุมระดับ เจ้ า หน้ า ที่ อ าวุ โสแล้ ว ตามด้ ว ยการประชุ ม ระดั บ รั ฐ มนตรี ในลั ก ษณะไม่ เป็ น ทางการ (Retreat) ฝ่ ายฟิลิ ป ปินส์ มีก่าหนดเป็น เจ้าภาพจัดการประชุม JCBC ครั้งที่ ๕ ซึ่งในชั้นนี้ ฟิลิปปินส์เสนอจะจัดการประชุมดังกล่าวในปี ๒๕๕๕ - ในปี ๒๕๕๒ ไทยกั บ ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ไ ด้ ค รบรอบ ๖๐ ปี ของการสถาปนา ความสัมพันธ์ทางการทูต โดยมีการจัดกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมเฉลิมฉลองโอกาส ดั งกล่ า ว อาทิ นิ ท รรศการศิ ล ปะ การแสดงทางวั ฒ นธรรม การแลกเปลี่ ย น ผู้เชี่ยวชาญการอนุรักษ์โบราณสถานและการจัดเทศกาลภาพยนตร์
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๔๘
สาธารณรัฐสิงคโปร์ Republic of Singapore
ข้อมูลทั่วไป เมืองหลวง
สิงคโปร์
ที่ตั้ง
เป็นเกาะ (island city-state) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมาเลย์ (ห่างจาก คาบสมุทรประมาณ ๑๓๗ กิโลเมตร) ทิศเหนือติดกับรัฐยะโฮร์ มาเลเซีย (Johor Bahru) ทิศตะวันออก ติดทะเลจีนใต้ ทิศตะวันตกติดมาเลเซียและช่องแคบมะ ละกา ทิศใต้ติดช่องแคบมะละกา ใกล้กับเกาะเรียล (Riau) ของอินโดนีเซีย
พื้นที่
๖๙๙.๔ ตารางกิโลเมตร (ประมาณเกาะภูเก็ต)
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๔๙
ประชากร
๕.๓๑ ล้านคน
ศาสนา
พุทธ (ร้อยละ ๔๒.๕) อิสลาม (ร้อยละ ๑๔.๙) คริสต์ (ร้อยละ ๑๔.๖) ฮินดู (ร้อย ละ ๔) ไม่นับถือศาสนา (ร้อยละ ๒๕)
ภาษาราชการ
อังกฤษ จีน มลายูและทมิฬ
ประมุข
นายเอส อาร์ นาธาน (๒๕๔๒-ปัจจุบัน) ประธานาธิบดี
ผู้นารัฐบาล
นายลี เซียน ลุง (๒๕๔๗-ปัจจุบัน) นายกรัฐมนตรี
รูปแบบการปกครอง
ระบอบสาธารณรั ฐ แบบรั ฐ สภา (Parliamentary Parliament) มี ส ภาเดี ย ว (Unicameral parliament) มี ป ระธานาธิบ ดี เป็ น ประมุ ข ของรัฐ (วาระ ๖ ปี ) และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้น่ารัฐบาล/หัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ ๕ ปี)
วันชาติ
๙ สิงหาคม (แยกตัวจากสหพันธรัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๐๘)
วันสถาปนาความสัมพันธ์ ทางการทูตกับไทย
๒๐ กันยายน ๒๕๐๘
เงินตรา
ดอลลาร์สิงคโปร์
ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ รายได้ประชาชาติต่อหัว
๒๕๙.๘ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ร้อยละ ๔.๙
สินค้าส่งออก
เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า
สินค้าน่าเข้า
เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า น้่ามันดิบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร
๕๐,๑๒๓ ดอลลาร์สหรัฐ
การเมืองการปกครอง ประเทศสิงคโปร์มีการปกครองระบอบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา (Parliamentary Parliament) มี ส ภาเดี ย ว (Unicameral parliament) มี ป ระธานาธิ บ ดี เป็ น ประมุขของรัฐ (วาระ ๖ ปี ) และนายกรัฐ มนตรีเป็ นผู้ น่ ารัฐ บาล/หั ว หน้ าฝ่ าย บริหาร (วาระ ๕ ปี) สิงคโปร์มีเสถียรภาพและความต่อเนื่องทางการเมืองโดยมี รัฐบาลภายใต้การน่าของพรรค People’ s Action Party (PAP) มาโดยตลอด นับตั้งแต่แยกตัวออกจากมาเลเซียเมื่อปี ๒๕๐๘ เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ นายลี เซี ย น ลุ ง รองนายกรัฐ มนตรี รั ฐ มนตรีว่ า การกระทรวงการคลั งและ ประธานธนาคารกลาง (บุตรของนายลี กวน ยู อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์)ได้รับ
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๕๐
แต่งตั้งให้ด่ารงต่าแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่สามของสิงคโปร์ สืบแทนนายโก๊ะ จ๊ก ตง (ซึ่งปัจจุบันด่ารงต่าแหน่งรัฐมนตรีอาวุโส)
เศรษฐกิจการค้า สิงคโปร์ต้องเผชิญกับประเด็นท้าทายส่าคัญสามประการ ได้แก่ การแข่งขันจาก ประเทศในภูมิภาค การมีประชากรสูงอายุในจ่านวนเพิ่มขึ้นขณะที่อัตราการเกิด ของประชากรลดลง และการปรับโครงสร้างในภาคการผลิต ซึ่งเน้นการผลิตเพื่อ การส่งออก เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๘ นายลิม อึง เคียง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและ อุตสาหกรรมสิ งคโปร์ได้แถลงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับแนวทางยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่ม ผลผลิตในภาคอุตสาหกรรม (manufacturing) (ซึ่งมีสัดส่วนเป็นร้อยละ ๒๗.๗ ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วลรวมภายในประเทศ) ใน ๑๕ ปี ข้ า งหน้ า ได้ แ ก่ (๑) เพิ่ ม งบประมาณด้านการวิจัยและการพัฒนาจากร้อยละ ๒.๑ ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศเป็ น ร้อ ยละ ๓ โดยเน้ น ๓ สาขา ได้ แก่ วิท ยาศาสตร์ชีว ภาพ (biomedical sciences) เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและน้่า (environmental and water technologies) และสื่ อ ดิ จิ ตั ล (interactive and digital media) (๒) ส่งเสริมการจัดท่าความตกลงทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบของ ความตกลงการค้าเสรีทวิภาคี ความตกลงเพื่อส่งเสริมการลงทุน ความตกลงว่า ด้วยการยกเว้นภาษีซ้อนและความตกลงการรับรองมาตรฐานร่วม เพื่อขยาย ช่องทางทางการค้าและการลงทุนให้กับภาคเอกชนสิงคโปร์ (๓) ขยายการผลิตใน สาขาอุตสาหกรรมส่ าคัญ ๆ อาทิ อิเล็กทรอนิ กส์ เคมีภัณ ฑ์และวิทยาศาสตร์ ชีวภาพ และพัฒ นาสาขาอุตสาหกรรมใหม่ ๆ อาทิ นาโนเทคโนโลยี สื่อดิจิตัล เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน และ (๔) ขยายการค้าและการลงทุน ไปยังตลาดใหม่ๆ อาทิ จีน อิน เดีย ตะวันออกกลาง ซึ่งมีบริษัท Government Investment Corporation (GIC) และ Temasek Holdings ซึ่ ง รั ฐ บาลเป็ น ผู้ ถือหุ้นมีบทบาทส่าคัญในการขยายตลาดดังกล่าว
การพัฒนาเป็นศูนย์กลางของ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่า กว่า อาทิ เวียดนาม จีนและอินเดีย รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความส่าคัญกับการพัฒนา ภูมิภาค
ประเท ศสู่ เ ศรษ ฐกิ จ ที่ มี พื้ นฐานแห่ งการเรี ย นรู้ (knowledge - based economy) และด่าเนินนโยบายต่างๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทาง เศรษฐกิจและพัฒนาให้ประเทศเป็นศูนย์กลางธุรกิจบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้แก่ (๑) ด้ านการบริการทางการแพทย์ สิ งคโปร์มี โครงการ SingaporeMedicine ส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเดินทางมารักษาพยาบาลที่สิงคโปร์ ซึ่งมุ่งเน้นตลาดในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๕๑
(๒) ด้านการบิน สิงคโปร์มีเป้าหมายจะรักษาสถานะการเป็นศูนย์กลางทางการ บิ น ในภูมิภ าคโดยอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารหลั งที่ส าม (Terminal ๓) ของท่าอากาศยานชางงีในมูลค่า ๑.๗๕ พันล้ านดอลลาร์สิ งคโปร์ ให้ เสร็จสิ้ น ภายในปี ๒๕๕๑ และอาคารส่ าหรับสายการบิน ต้น ทุน ต่่าในมูล ค่า ๔๕ ล้ าน ดอลลาร์สิงคโปร์ ได้เปิดให้ บริการเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๙ ซึ่งคาดว่าจะ รองรับนักท่องเที่ยวได้จ่านวน ๒.๗ ล้านคนต่อปี (๓) ด้านการท่องเที่ยว รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดสรรงบประมาณในมูลค่า ๒ พันล้าน ดอลลาร์สิงคโปร์เพื่อสนับสนุนแผนแม่บทด้านการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ใน ๑๐ ปีข้างหน้า (Tourism Master Plan ๒๐๑๕) เพื่อเสริมสร้างให้สิงคโปร์เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวที่ส่าคัญในภูมิภาคและเพิ่มจ่านวนนักท่องเที่ยวจาก ๘ ล้านคน ในปี ๒๕๔๗ เป็ น ๑๗ ล้ านคนในปี ๒๕๕๘ และรายได้จาก ๑๐ พั น ล้ านดอลลาร์ สิงคโปร์เป็น ๓๐ พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้แถลงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับการตัดสินใจที่จะสร้างบ่อนการ พนั น ในรู ป แบบของ Integrated Resort - IR จ่ า นวน ๒ แห่ ง ที่ บ ริ เวณอ่ า ว Marina ซึ่งใกล้ กั บย่ านธุ รกิจของสิ งคโปร์ และบนเกาะ Sentosa ให้ เสร็จสิ้ น ภายในปี ๒๕๕๒ (รายงานการศึกษาของบริษัท Merrill Lynch ระบุว่าบ่อนการ พนั น ๒ แห่ งดังกล่ าวจะสร้างรายได้ให้ สิ งคโปร์ป ระมาณ ๒ พั นล้ านดอลลาร์ สหรัฐ ต่อปี และมหาวิท ยาลั ยแห่ งชาติสิ งคโปร์ป ระเมิน ว่าจะช่วยเพิ่มจ่านวน นักท่องเที่ยวในอัตราร้อยละ ๑๐) การรณรงค์การท่องเที่ยวโดยเน้นจุดเด่นของ สิ งคโปร์ ในการเป็ น สั งคมที่ มี ค วามหลากหลายทางเชื้ อ ชาติ แ ละวั ฒ นธรรม Uniquely Singapore” (๔) ด้านการศึกษา สิงคโปร์มีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้ประเทศเป็นศูนย์กลางด้าน ก า ร ศึ ก ษ า ( global schoolhouse) ตั้ ง แ ต่ ปี ๒ ๕ ๔ ๑ Economic Development Board (EDB) ได้ จั ด ท่ า โครงการ World Class University (WCU) เพื่อเชิญชวนและดึงดูดให้ สถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลกในสาขาต่าง ๆ อาทิ บริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์มาจัดตั้งสาขาในสิงคโปร์ สิงคโปร์ได้ร่วมมือกับสถาบันทางการศึกษาที่ มีชื่อเสียงระดับโลกมากกว่า ๑๐ แ ห่ ง อ า ทิ Massachusetts Institute of Technology, University of Pennsylvania, University of Chicago และ INSEAD เปิดสาขาที่สิงคโปร์ ใน หลักสูตรด้านการบริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์การแพทย์และวิศวกรรมศาสตร์ (๕) ด้านอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ รัฐบาลจะใช้งบประมาณจ่านวน ๒๐๐ ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ระหว่างปี ๒๕๔๗-๒๕๕๒ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม เชิงสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีกระทรวง ข่าวสาร สารสนเทศและศิลปะเป็นหน่วยงานหลักดูแลเรื่องนี้
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๕๒
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม Socialist Republic of Vietnam
ข้อมูลทั่วไป ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทิศเหนือติดกับจีน ทิศตะวันตกติดกับลาว ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับกัมพูชา ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้และอ่าวตังเกี๋ย ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย
พื้นที่
๓๓๑,๖๙๐ ตารางกิโลเมตร (ประมาณพื้นที่ ๓ ใน ๕ ของไทย)
เมืองหลวง
กรุงฮานอย (Hanoi)
ประชากร
๘๙.๗ ล้านคน
ภาษาราชการ
เวียดนาม
ศาสนา
ไม่มีศาสนาประจ่าชาติ เนื่องจากปกครองโดยระบอบสังคมนิยม (มีผู้แสดงตนว่า นับถือศาสนาต่างๆ ๑๕.๖๕ ล้านคน โดยศาสนาพุทธ (มหายาน) มีจ่านวนผู้นับ ถือมากที่สุด (ร้อยละ ๙.๓)
ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอาเซียน I ๕๓
ประมุข
ประธานาธิบดี คือ นายเจือง เติ๊น ซาง (Truong Tan Sang)
ผู้นารัฐบาล
นายกรัฐมนตรี คือ นายเหวียน เติ๊น สุง (Nguyen Tan Dung)
ระบอบการปกครอง
ระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam) เป็นพรรคการเมืองเดียวและ มีอ่านาจสูงสุด
เขตการปกครอง
แบ่ งเขตการปกครองออกเป็ น ๕๘ จั งหวั ด และ ๕ เทศบาลซึ่ งเป็ น เขตการ ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีฐานะเท่าจังหวัด
วันชาติ
๒ กันยายน
วันสถาปนาความสัมพันธ์ ทางการทูตกับไทย หน่วยเงินตรา
๖ สิงหาคม ๒๕๑๙
ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ รายได้ประชาชาติต่อหัว
๑๗๐ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ร้อยละ ๕.๔
สินค้านาเข้าสาคัญ
น้่ามัน ปุ๋ย รถยนต์ รถจักรยานยนต์
สินค้าส่งออกสาคัญ
สิ่งทอและเสื้อผ้า โทรศัพท์มือถือ น้่ามันดิบ รองเท้า เครื่องหนัง คอมพิวเตอร์ และอาหารทะเล
ด่ง
๑,๘๙๖ ดอลลาร์สหรัฐ