เอกสารประกอบโครงการวัฒนธรรมอยุธยาสู่การพัฒนาอาเซียน ครั้งที่ 2 ”ศิลปวัฒนธรรม อยุธยา – อาเซียน”

Page 1


I๑

โครงการวัฒนธรรมอยุธยาสู่การพัฒนาอาเซียนครั้งที่ ๒ (ศิลปวัฒนธรรมอยุธยา – อาเซียน) วันศุกร์ที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๘ ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

จัดพิมพ์โดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มิถุนายน ๒๕๕๘ จานวน ๓๕๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ ฝ่ายบริหาร ดร.จงกล เฮงสุวรรณ อาจารย์กันยารัตน์ คงพร อาจารย์สุรินทร์ ศรีสังข์งาม อาจารย์อุมาภรณ์ กล้าหาญ ว่าที่ร้อยตรีหญิง รัตติยา พาวินัย

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ธัญวลัย แก้วแหวน สายรุ้ง กล่า่ เพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์ ยุพดี ป้อมทอง

ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน

ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิจ์ ิ๋ว


๒I

โครงการวัฒนธรรมอยุธยาสู่การพัฒนาอาเซียน ครั้งที่ ๒ (ศิลปวัฒนธรรมอยุธยา - อาเซียน) วันศุกร์ที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๘ ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ***********************************

๐๘.๐๐ - ๐๘.๔๕ น. ๐๘.๔๕ - ๐๙.๐๐ น. ๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น. ๐๙.๓๐ – ๑๒.๓๐ น.

๑๒.๓๐ – ๑๓.๓๐ น. ๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

ลงทะเบียน และชมนิทรรศการประกอบการสาธิต โอชาอาเซียน พัตราอาเซียน และเวชกรรมอาเซียน พิธีเปิดโครงการวัฒนธรรมอยุธยาสู่การพัฒนาอาเซียน ครั้งที่ ๒ (ศิลปวัฒนธรรมอยุธยา – อาเซียน) การแสดงแบบ (Fashion Show) สีสันแห่งอาเซียน โดยนักศึกษา สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สัมมนาวิชาการเรื่อง “ศิลปะสถาปัตยกรรมอยุธยา – อาเซียน” วิทยากรโดย ๑. ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ๒. อาจารย์ ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ พักกลางวัน เสวนาประกอบการแสดงชุด “ออกสิบสองภาษา : ลักษณะนานาชาติในศิลปะนาฏดุริยางค์ไทย” วิทยากรโดย ๑. อาจารย์สุรินทร์ ศรีสังข์งาม ๒. อาจารย์อมุ าภรณ์ กล้าหาญ ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกสิทธิ์ สุนิมิตร ๔. อาจารย์ ดร.นภัสนันท์ จุนนเกษ

หมายเหตุ - ชมนิทรรศการโอชาอาเซียน และชิมอาหารไทย อาหารอาเซียนหลากหลาย และอาหารจานเดียวขึ้นชื่อ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา “ก๋วยเตี๋ยวเรืออยุธยา” - ชมนิทรรศการพัตราอาเซียน การแสดงแบบเสื้อพร้อมถ่ายภาพ และเลือกซื้อสินค้าผ้าทอลวดลายประจ่าจังหวัด พระนครศรีอยุธยา - ชมนิทรรศการเวชกรรมอาเซียน ประกอบการสาธิตนวดประคบสมุนไพร และเลือกชมสินค้ายาสมุนไพรต่างๆ


I๓

ความสัมพันธ์ไทย-พม่า จากหลักฐานทางศิลปกรรมในสมัยอยุธยา* ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์**

บทบาทของศิลปะพุ กามต่ออยุธยานั้ น ไม่ปรากฏมากนัก เนื่ อ งจากระยะเวลาห่ า งไกลกั น ประกอบกั บ ช่ ว งที่ ต รงกั บ สมั ย อยุธยา อาณาจักรพุกามได้ล่มสลายลงแล้ว และดินแดนในพม่าเอง แยกเป็นหลายอาณาจักร จึงไม่ใช่ศูนย์กลางทางศาสนา และแหล่ง บันดาลใจทางศิลปะที่สาคัญ ดังนั้นกับงานศิลปกรรมสมัยอยุธยา จึงมีความสัมพันธ์กันน้อยมาก ถึงแม้ว่าจะมีการทาสงครามกันเป็น ครั้งคราว แต่บทบาททางด้านงานศิลปะระหว่างทั้ง ๒ อาณาจักร ไม่ปรากฏมากนัก ส่วนหนึ่งที่ยังพอมีอยู่บ้างในระยะแรกของศิลปะ อยุ ธ ยา เป็ น งานที่ รั บ สื บ ต่ อ มาจากศิ ล ปะสุ โ ขทั ย และล้ า นนา มากกว่าที่จะไปรับมาโดยตรง

* ปรับปรุงมาจาก ศักดิ์ ชัย สายสิงห์. ศิลปะพม่า. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๘ **ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร


๔I

๑. เจดีย์ทรงปราสาทยอดและเจดีย์ยอด ตัวอย่างเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบสุโขทัยที่พบที่อยุธยา เป็นงานที่สืบต่อมา จากศิลปะสุโขทัยและล้านนา ที่น่า แนวความคิดในการสร้างเจติยวิห ารมาใช้ และ พัฒนาเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบสุโขทัย เมื่อมาถึงสมัยอยุธยาได้น่ามาพัฒนาต่อ อีกเล็กน้อย คือส่วนฐานและเรือนธาตุที่ท่าเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ ส่วนยอดจึงเป็นแบบ เจดีย์ไม่มีบัลลังก์แบบสุโขทัยและล้านนา๑ มีการประดับรัดอก เป็นต้น อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ที่ ถื อ เป็ น ประเด็ น ส่ า คัญ ทางวิช าการ คื อ การประดับ เจดี ย์ ยอดเหนือหลังคาตรีมุขของปรางค์ในสมัย อยุธยาตอนต้น ซึ่งตามปรกติแล้วรูปแบบ ของปรางค์ทั้งหมดพัฒนามาจากปราสาท ขอม แต่ที่ไม่เคยปรากฏในวัฒนธรรมเขมร คือ การประดับเจดีย์องค์เล็กๆ เป็ นเจดีย์ ทรงระฆังไว้บนสันหลังคาตรีมุข ซึ่งน่าจะ ได้แบบอย่างมาจากการประดับสถูปิกะไว้ ที่มุมฐานเจดีย์ในแต่ละชั้นของเจติย วิหาร ในศิลปะพุกาม ปัจจุบันเหลือหลักฐานอยู่ ที่พระปรางค์ วัดราชบูรณะ ซึ่งเชื่อว่าพระ ปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้นทั้งหมดที่ มี เจดีย์ทรงปราสาทยอด วัดมหาธาตุ ตรีมุขยื่นออกมาด้านหน้านั้นแต่เ ดิมน่าจะ มีการประดับเจดีย์ยอดทั้งหมด๒ ๑

สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยางานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯ : เมือง โบราณ, ๒๕๔๙, หน้า ๘๖. ๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๕.


I๕

นอกจากนี้ยังมาปรากฏในเจดีย์ทรงระฆังที่วัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งเป็นเจดีย์ ทรงระฆังแบบพิเศษที่ มีการท่าเป็ น มุขยื่น ออกมาทั้ง ๔ ด้าน (จัตุรมุข) และบนสั น หลังคามีการประดับเจดีย์ยอดทั้งหมด น่าจะเป็นการรับรูปแบบต่อมาจากเจดีย์ทรง ปรางค์ที่มีเจดีย์ยอดเหนือหลังคามุข พัฒนาสืบต่อมาจนถึงเจดีย์เพิ่มมุมในระยะแรกที่ มี จั ตุ ร มุ ข และมี เจดี ย์ ย อดด้ ว ยเช่ น กั น เช่ น เจดี ย์ ศ รี สุ ริ โยทั ย เจดี ย์ วั ด ญาณเสน เป็นต้น๓ ส่าหรับการท่าเจดีย์ทรงระฆังที่มีมุขยื่นออกมาทั้ง ๔ ด้าน คือการพยายามท่า ให้เจดีย์ทรงระฆัง กลายเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอด เพราะมีการประดับพระพุทธรูป ในมุขทั้งสี่ด้าน มีหลังคา และมีเจดีย์ยอด ท่าให้เกิดมุมมองแบบเจติยวิหารของศิลปะ

๓ สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยางานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน.

หน้า ๗๑ และ ๙๓-๙๕


๖I

พุกามที่จะเห็นพระพุทธรูปทั้ง ๔ ด้าน และยอดเป็นเจดีย์ ส่วนนี้ ก็น่าจะเป็นมีแรง บันดาลใจมาจากศิลปะพุกามเช่นเดียวกัน

๒. เจดีย์ภเู ขาทอง งานศิลปกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ กับพม่าด้านการสงคราม และข้อสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์ เจดีย์ภูเขาทอง พระนครศรีอยุธยา มี ส่วนฐานเจดีย์ที่เป็นแบบพม่า-มอญ คือการท่า ฐานประทักษิณ ยกสูง ๓ ชั้น ซ้อนลดหลั่นกัน ในผั งยกเก็จ ส่ วนบนเป็ น เจดีย์เพิ่ มมุมไม้สิ บ สองแบบอยุ ธ ยา ในส่ ว นของฐานแบบเจดี ย์ มอญ นี้ เ องท่ า ให้ เกิ ด ข้ อ สั น นิ ษ ฐาน ทาง ประวั ติ ศ าสตร์ เ ป็ น ๒ แนวความคิ ด คื อ ประการแรก เชื่อว่าเป็นเจดีย์ที่พ ระเจ้าบุเรง นองสร้างขึ้นเพื่อเป็ นการฉลองชัยชนะเหนื อ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ๔ แต่ ส ร้ าง ได้ เพี ย งส่ ว น ฐานและต่อมาคนไทยได้มาสร้างเจดีย์เพิ่มมุม ต่อในภายหลัง ส่วนอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งเชื่อ ว่า เป็นเจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างขึ้น ในคราวที่ประกาศอิสรภาพและรบชนะพม่า๕ ๔ กรมศิลปากร.

คาให้การชาวกรุงเก่า คาให้การขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุง เก่า ฉบับหลวงประเสร็ฐอักษรนิติ์. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, ๒๕๑๕, ๘๙. ๕ สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยางานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. หน้า ๙๕-๙๖. และดูรายละเอียดใน งานวิจัยเรื่อง เจดีย์เพิ่ม มุม เจดีย์ย่อมุมสมัยอยุธยา. ได้รับทุนพิมพ์เผยแพร่จาก มูลนิธิ เจมส์ ทอมป์ สัน, ๒๕๒๙, หน้า ๔๗-๔๘.


I๗

รูปแบบของเจดีย์ภูเขาทอง ส่วนฐานได้มี การตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นฐาน เจดีย์แบบพม่า มากกว่าแบบมอญ ๖ ส่วนองค์เจดีย์เป็นเจดีย์ ประเภทเพิ่มมุมที่ได้มี การศึกษาวิวัฒ นาการ ทางด้านรูปแบบแล้วพบว่าน่าจะเป็นเจดีย์ที่เกิดขึ้น ในสมัย อยุธยาตอนกลาง โดยมีวิวัฒนาการอยู่ หลังจากเจดีย์ศรีสุริโยทัยที่สันนิษฐานว่าเป็น เจดีย์ที่ บรรจุอัฐิของพระสุริโยทัย สร้างขึ้นโดยพระมหา จักรพรรดิในปี พ.ศ. ๒๐๙๑๒๑๑๑๗ โดยดูจากการ ที่เจดีย์ภูเขาทองยังมีมุขยื่นออกมาทั้ง ๔ ด้านแต่มุข หดสั้น เข้าและไม่มีเจดีย์ยอดบนสันหลังคา ก่าหนดอายุแล้วเชื่อว่าอยู่ในราวต้นพุทธศตวรรษ ที่ ๒๒ ซึ่ ง น่ า จะตรงกั บ สมั ย สมเด็ จ พระนเรศวรได้ โดยมี ข้ อ สั น นิ ษ ฐานทาง ประวัติศาสตร์ว่า เมื่อพระนเรศวรทรงรบชนะพระมหาอุปราชแล้ว เอกสารได้กล่าวว่า พระองค์ได้ทรงสถาปนาเจดีย์อันเป็นมงคลขึ้น กับในบันทึกของหมอแกมเฟอร์ที่ได้ เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้เขียนลายเส้นเจดีย์ภูเขาทอง และเขีย นบั น ทึกว่าเป็ น เจดีย์ที่ชาวอยุธยา กล่าวว่าเป็นเจดีย์ที่ส ร้างขึ้นเมื่อคราวที่ สยามมีชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ต่อศัตรู จากรูปแบบศิลปะ ต่า แหน่งที่ตั้ง และความเข้าใจ ของชาวอยุธยาจึงน่าจะหมายถึงเจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสร้ างขึ้นเพื่อฉลอง ชัยชนะต่อพระมหาอุปราชแห่งพม่า ในปี พ.ศ. ๒๑๓๕ และอีกเหตุผลหนึ่งว่าท่าไมจึง มีฐานเป็นเจดีย์แบบ มอญ-พม่า อาจเพราะสมเด็จพระนเรศวรเคยประทับอยู่ที่เมือง หงสาวดี จึ ง ทรงเคยเห็ น ฐานแบบนี้ แ ละการที่ ส ร้ า งเจดี ย์ แ บบอยุ ธ ยาไว้ ข้ า งบนก็ หมายถึงการประกาศชัยชนะเหนือพม่านั่นเอง๘

๖ เชษฐ์ ติงสัญชลี. รายงานวิจัย

ประเด็นใหม่เกี่ยวกับเจดีย์แบบมอญและแบบพม่าในประเทศ ไทย. ได้รับทุนอุดหนุน งานวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔, (เอกสารอัดส่าเนา), หน้า ๒๗๘ ๗ ดูรายละเอียดใน สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์เพิ่มมุม เจดีย์ย่อมุมสมัยอยุธยา. ได้รับทุนพิมพ์เผยแพร่ จาก มูลนิธิ เจมส์ ทอมป์ สัน, ๒๕๒๙, ดูบทวิเคราะห์ บทที่ ๒ และหน้า ๔๕. ๘ สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยา งานช่างหลวงแห่งแผนดิน. หน้า ๙๕-๙๖.


๘I

นอกจากนี้ยังได้พบส่วนฐานเจดีย์อีกองค์หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็นฐานเจดีย์ แบบมอญ คือ เจดีย์ประธานที่วัดกุฏีดาว ที่ส่วนฐานท่าเป็นฐานยกชั้นอยู่ในผังยกเก็จ และมีระบบฐานบัวคว่​่า ลาดเอนขนาดใหญ่ ผสมกับฐานสิงห์แบบอยุธยา และมีการ ประดับสถูปิกะเล็กๆ บนฐานประทักษิณ ฐานส่วนนี้น่าจะเป็นงานที่สร้างพอกทับขึ้น ใหม่ พร้อมกับการก่อพอกทับเจดีย์องค์เดิมที่เป็นเจดีย์ทรงระฆัง เป็นเจดีย์ทรงเครื่อง โดยมียอดเป็นทรงคลุ่มเถา อันเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตามประวัติกล่าวว่า มีการซ่อมครั้งใหญ่ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ๙ ส่วน ฐานเป็นการน่ามาจากเจดีย์แบบมอญ น่าจะเป็นกรณีพิเศษที่สร้างขึ้น อาจมีที่มาจาก ฐานเจดี ย์ ภู เขาทอง เพราะไม่ พ บว่ า ในสมั ย นี้ มี ค วามนิ ย ม เจดี ย์ แ บบมอญพม่ า ในที่อื่นๆ เลย

๓. งานจิตรกรรมฝาผนัง ความสัมพันธ์ทางด้านศิลปกรรมระหว่างศิลปะอยุธยากั บศิลปะพุกามหรือ พม่าปรากฏอยู่ไม่มากนั กในงานสถาปั ตยกรรม เนื่ องจากพื้นฐานทางวัฒ นธรรมที่ ต่างกันและระยะเวลาที่ห่างไกลกัน มาก แต่ในงานจิตรกรรมยังปรากฏอยู่ค่อนข้าง ชัดเจนทั้งรูปแบบศิลปะ และคติการสร้าง โดยเฉพาะในสมัยอยุธยาตอนต้น เท่าที่พบ หลักฐานเหลืออยู่คือจิตรกรรมในกรุพระปรางค์ ที่นิยมเขียนเรื่องพุทธประวัติ ชาดก และพระอดีตพุทธเจ้า โดยเฉพาะชาดกเขียนในชุด ๕๕๐ พระชาติ และการเขียนภาพ พระอดีตพุทธจ่านวนมาก หรือในชุด ๒๘ พระองค์ เขียนเป็นแถวๆ ประทับภายใต้ พุ่มไม้ ประกอบด้วยพระสาวกหรือเทวดาทั้ง ๒ ข้าง เหมือนกับจิตรกรรมในศิลปะ พุกาม ซึ่งรูปแบบนี้ได้พบ มาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยลพบุรีช่วงก่อนการสถาปนา กรุงศรีอ ยุ ธ ยา เช่น ที่ เจดี ย์ ห มายเลข ๑๖ค. วัด พระศรีรัตนมหาธาตุแ ละ ปรางค์ วัดนครโกษา เมืองลพบุรี ส่า หรับในสมัยอยุธยาตอนต้น ตัวอย่างเช่น ที่ ผนังคูหากรุ ๙ สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยา งานช่างหลวงแห่งแผนดิน. หน้า ๗๑.


I๙

พระปรางค์วัดราชบูรณะ วัดพระราม พระนครศรีอยุธยา๑๐ และวัดมหาธาตุ เมือง ราชบุรี เป็นต้น นอกเหนื อ จากรู ป แบบที่ รั บ แบบอย่างมาจากศิลปะพุกามแล้วน่าจะ รับคติการสร้างมาพร้อมกัน เช่น คติการ สร้ า งชาดก ๕๕๐ พระชาติ และพระ อดีตพุ ท ธเจ้ า น่ าจะอิ งกับ คติค วามเชื่ อ เรื่ อ ง ห น่ อ พุ ท ธ า ง กู ร ที่ เชื่ อ ว่ า พระมหากษั ต ริ ย์ ห รื อ พระบรมวงศานุ วงศ์ คื อ ห น่ อ พุ ท ธ างกู ร พ ระอ งค์ เปรี ย บเสมื อ น พ ระโพ ธิ สั ต ว์ การที่ พระองค์ เสด็จ ลงมาเกิดในโลกมนุ ษย์ นี้ เป็นพระชาติหนึ่ง ๆ ในการบ่า เพ็ญทาน บารมี และเมื่ อ สวรรคตไปแล้ ว ก็ จ ะไป เป็ น พระโพธิ สั ต ว์ ในพระชาติ ต่ อ ๆ ไป สุดท้ายจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อๆ ไป ตามคติ นี้ จึ ง มี พ ระพุ ท ธเจ้ า หลาย พ ระ อ งค์ แ ล ะ แ ต่ ล ะ พ ระ อ งค์ ต้ อ ง เสวยพระชาติ เป็ น พระโพธิ สั ต ว์ ห ลาย พระชาติ

๔. ตามหางานช่างไทยในพม่า บทบาทของศิล ปกรรมไทยที่ ให้ อิท ธิพ ลสะท้ อ นกลั บ ไปยั งศิ ล ปะพม่ านั้ น ค่อนข้างน้อยมาก เหตุเพราะพม่านั้นอยู่ใกล้กับวัฒนธรรมต้นแบบ คืออินเดียมากว่า ๑๐ สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยา งานช่างหลวงแห่งแผนดิน. หน้า ๑๗๘-๑๘๕


๑๐ I

ไทย ศาสนาได้ผ่านมาในดินแดนพม่าก่อน แล้วจึงถ่ายทอดส่งมายังดินแดนไทยส่วน หนึ่ง กับอีกส่วนหนึ่งภายหลังเมื่อศาสนาพุทธหมดไปจากอินเดีย และไปเจริญรุ่งเรือง อยู่ที่ศรีลังกา ทั้งไทยและพม่าก็ไปรับพุทธศาสนาจากศรีลังกาเป็นหลัก ทั้ง ๒ ดินแดน จึง มีลักษณะของงานศิลปกรรมที่ใกล้เคียงกัน แต่บทบาทของการรับอิทธิพลต่อกันจึง มีน้อยโดยเฉพาะจาก ดินแดนไทยไปยังพม่า อย่างไรก็ตามได้มีการค้นพบงานศิลปกรรมไทยและอิทธิพลทางวัฒนธรรม ไทยในประเทศพม่าอยู่ สื บ เนื่ องจากการสงครามเมื่ อคราวเสี ย กรุงครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าได้เกณฑ์เชลยศึกชาวไทย อันได้แก่ พระเจ้าอุทุมพร พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ในค่าให้การของขุนหลวงหาวัด กล่าวว่า “... พระเจ้า ช้างเผือก (พระ เจ้ามังระ) มีค่าสั่งให้จับพระบรมวงศานุวงศ์ไปยังกรุงอังวะ รวมทั้งให้เก็บสมบัติและ เกณฑ์ ไพร่ พ ลในอาชี พ ต่ างๆ ได้ แก่ ช่ างเขี ย น ช่ างฟ้ อ น นั ก ดนตรี ช่ างแกะสลั ก ช่างทอง ช่างเงิน ช่างมุก ช่างลงรัก ปิ ดทอง กลับไปในครั้งนั้นด้วย...”๑๑ โดยให้ ไป ประทับอยู่ยังเมืองมัณฑเลย์๑๒ นักวิชาการชาวพม่าและชาว ไทยได้ให้ความส่าคัญกับ หลักฐานทางประวัติศาสตร์และงานศิลปกรรมในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ และได้ มี การค้น พบหลั กฐานงานศิลปกรรมที่แสดงให้ เห็ น ว่าเป็นศิลปะและวัฒ นธรรมไทย ได้แก่ การแสดงโขนหรือ หุ่ น เรื่องรามเกีย รติ ที่พม่าเรียกว่าระบ่า โยเดีย (อยุธยา) น่าจะเป็นนาฏศิลป์ ที่นางในราชส่านักไทยน่าไป แสดงในราชส่านักพม่าและได้มีการ แสดงสืบทอดมา เพราะในบรรดาประเทศในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ที่ รับวัฒนธรรม อินเดีย พม่าเพียงชาติเดียวที่ไม่มีปรากฏหลักฐานว่านิยมเรื่องรามายณะมาก่อน พม่า เพิ่งจะ รู้จักจากชาวไทยในสมัยอยุธยาตอนปลายนี่เอง สังเกตได้จากเรื่องราวที่แสดง

๑๑หอสมุ ด แห่ งชาติ .

คาให้ การขุน หลวงหาวัด (ฉบั บ หลวง). นนทบุ รี : พี.เค. พริ้น ติ้งเฮาส์ , ๒๕๔๕, หน้า ๑๒๓. ๑๒อูหม่องหม่องติน. วิชานนท์ ส่าน้อยและสุเนตร ชุตินธรานนท์ แปล. “เชลยไทยในมัณฑเลย์ ” เอเชียปริทัศน์, ปี ที่ ๑๖ ฉบับที่ ๒ , ๒๕๓๘, หน้า ๑๔.


I ๑๑

เครื่องแต่งกายและท่าร่า ที่ เป็นแบบนาฏศิลป์ ไทย อย่างไรก็ตามหลักฐานทางด้ าน วัฒนธรรมอื่นๆ เกี่ยวกับคนไทย เช่น บ้านเรือน ผู้คน และภาษา ไม่ปรากฏอยู่แล้ว มีหลักฐานส่าคัญที่ปรากฏอยู่และเป็นหลักฐานส่าคัญมาก คืองานศิลปกรรม และเหลือหลักฐานอยู่เฉพาะงานจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏอยู่ตามวัดพม่า ตามเหมือง ต่าง ๆ เท่าที่ปรากฏอยู่ที่มีการค้นพบแล้ว เช่ น ที่วัดมหาเต็งดอจี เมืองสกาย กู่วุดจีกู พญา เมืองบินบู และส่านักสงฆ์ บายาร์จี เมืองมนยวา๑๓ เป็นต้น ได้มีการตรวจสอบลักษณะของงานจิตรกรรมแล้วสรุปได้ว่าเป็นช่างชาวไทย ในสมัยอยุธยาตอนปลายที่เขียนขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัยเพราะรูปแบบและเทคนิคนั้น เป็ นแบบอยุ ธยาตอนปลายที่ แตกต่างจากเทคนิ คและรูปแบบของศิลปะพม่า เช่น เรื่องราวและการแสดงออก เช่น เรื่องไตรภูมิโลกสัณฐาน พระอดีตพุทธเจ้าที่ท่า เป็น แถวพระอดีตพุทธเจ้า ประทับนั่งบนฐานที่มีผ้าทิพย์ มีพัดยศอยู่ระหว่างพระอดีตพุทธ เจ้า การเขียนอาคารบ้านเรือน เช่น เจดีย์ทรงปรางค์เจดีย์ทรงเครื่ องและอาคารทรง ปราสาทยอดแบบไทยที่มี ฐานอาคารโค้งแอ่นเล็กน้อยคล้ายเรือส่า เภา มีฐานสิงห์ มี ครุฑแบก ส่วนยอดเป็นเรือนซ้อนชั้นแบบไทย มี ยอดเป็นเจดีย์ทรงเครื่องและมีเหม มี การใช้เส้นสินเทาแบบหยักฟันปลา นอกจากนี้ยังมีเครือเถาและลาย ประดับหน้าบัน ประดับลายช่อหางโต นักวิชาการพม่าเรียกลวดลายประเภทนี้ว่า กระหนก (knout) หรื อ ลวดลายพรรณพฤกษาแบบอยุ ธ ยา (Yodaya Flower design)๑๔ ซึ่ ง เป็ น ลวดลายที่นิยมในศิลปะไทยสมัย อยุธยาตอนปลาย ดังเช่นปรากฏที่วัด วัดไชยวัฒนา ราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดไผ่ล้อม จังหวัด เพชรบุรี เป็นต้น ๑๓อ่า นรายละเอีย ดใน

อรวินท์ ลิ ขิตวิเศษกุล. ช่ างอยุธยาในเมืองพม่ ารามั ญ . กรุงเทพฯ : อิ

โคโมสไทย, ๒๕๕๓. ม.ล.สุรสวัสดิ์ ศูขสวัสดิ์. ชาวอยุธยาที่เมืองสกาย. กรุงเทพฯ : สายธาร, ๒๕๔๙, หน้า ๗๕. และดูใน U Aye Myint. Edited by Sone Srimatrang. Burmese Design Through Drawings. Bangkok : Siam Tong Kit Press Limited Partnership, 1993, no. 316 317 and 325.

๑๔ดูใน


๑๒ I


I ๑๓

บรรณานุกรม กรมศิ ล ปากร. ค าให้ ก ารชาวกรุ งเก่ า ค าให้ ก ารขุ น หลวงหาวั ด และพระราช พงศาวดารกรุ งเก่ า ฉบั บ หลวงประเสร็ ฐอั ก ษรนิ ติ์ . กรุ งเทพฯ : คลั ง วิทยา. เชษฐ์ ติงสัญชลี. รายงานวิจัย ประเด็นใหม่เกี่ยวกับเจดีย์แบบมอญและแบบพม่าใน ประเทศไทย. ได้ รั บ ทุ น อุ ด หนุ น งานวิ จั ย จากสถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔, (เอกสารอัดส่าเนา). สันติ เล็กสุขุม. เจดี ย์เพิ่มมุม เจดีย์ย่อมุมสมัยอยุธยา. ได้รับทุนพิมพ์เผยแพร่จาก มูลนิธิ เจมส์ ทอมป์ สัน, ๒๕๒๙. _______. ศิ ล ปะอยุ ธ ยางานช่ า งหลวงแห่ งแผ่ น ดิ น . พิ มพ์ ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๙. สุรสวัสดิ์ ศูขสวัสดิ์, ม.ล.. ชาวอยุธยาที่เมืองสกาย. กรุงเทพฯ : สายธาร, ๒๕๔๙. หอสมุดแห่งชาติ. คาให้การขุนหลวงหาวัด (ฉบับหลวง). นนทบุรี : พี.เค. พริ้นติ้ง เฮาส์, ๒๕๔๕. อรวินท์ ลิขิตวิเศษกุล . ช่า งอยุธ ยาในเมืองพม่า รามัญ . กรุงเทพฯ : อิโคโมสไทย, ๒๕๕๓. อูห ม่ อ งหม่ อ งติ น . วิช านนท์ ส่ าน้ อ ยและสุ เนตร ชุติ น ธรานนท์ แปล. “เชลยไทย ในมัณฑเลย์” เอเชียปริทัศน์, ปี ที่ ๑๖ ฉบับที่ ๒ , ๒๕๓๘. U Aye Myint. Edited by Sone Srimatrang. Burmese Design Through Drawings. Bangkok : Siam Tong Kit Press Limited Partnership, 1993.


๑๔ I

บันทึก ........................................................................................................................ ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ............................................................................................................................. ......... ....................................................................................................................... ............... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. .........


I ๑๕

บันทึก ........................................................................................................................ ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ................................................................................................................................ ...... ............................................................................................................................. ......... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ......................................................................................................................................


๑๖ I

บันทึก ........................................................................................................................ ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ............................................................................................................................. ......... ....................................................................................................................... ............... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......... ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................. .........



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.