เอกสารประกอบโครงการวัฒนธรรมอยุธยาสู่การพัฒนาอาเซียน ครั้งที่ 3 ”บริบททางวัฒนธรรม อยุธยาสู่การพัฒนาอ

Page 1


เอกสารประกอบการจัดกิจกรรม

โครงการวัฒนธรรมอยุธยาสู่การพัฒนาอาเซียน ครั้งที่ ๓ “บริบททางวัฒนธรรมอยุธยาสู่การพัฒนาอาเซียน”

จัดพิมพ์โดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กรกฏาคม จานวน ๒๐๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ ฝ่ายบริหาร ดร.จงกล เฮงสุวรรณ อ.กันยารัตน์ คงพร อ.สุรินทร์ ศรีสังข์งาม อ.อุมาภรณ์ กล้าหาญ ว่าที่ร้อยตรีหญิง รัตติยา พาวินัย

ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน

ฝ่ายส่งเสริม และเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ณัฐฐิญา แก้วแหวน สายรุ้ง กล่​่าเพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์ ยุพดี ป้อมทอง


สารบัญ ความสาคัญของอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)

ที่มาและบทบาทภาคประชาสังคม: ภายใต้ร่มประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

๑๐

อัตลักษณ์และวัฒนธรรมแห่งประชาคมอาเซียน

๑๔


โครงการวัฒนธรรมอยุธยาสู่การพัฒนาอาเซียนครั้งที่ ๓ บริบททางวัฒนธรรมอยุธยาสู่การพัฒนาอาเซียน วันพุธที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๘ ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

หลักการและเหตุผล: สถาบั น อยุ ธ ยาศึ ก ษา เป็ น หน่ ว ยงานที่ มี ห น้ า ที่ แ ละเป้ า หมายเพื่ อ เป็ น ศู น ย์ ข้ อ มู ล ด้ า นวั ฒ นธรรมอยุ ธ ยา ที่มีคุณภาพ เป็นสถาบันที่เชิดชู และส่งเสริมการประยุกต์ใช้ข้อมูลทางวัฒนธรรมอยุธยา เพื่อการพัฒนาสังคมอย่าง ยั่งยืน ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ที่มีความสอดคล้องกับพันธกิจและนโยบายในการบริหารประเทศ และมหาวิทยาลัยตามล่าดับ โดยทางมหาวิท ยาลั ย ฯ มีน โยบายส่ าคัญ ในการเตรียมความพร้อม ด้ว ยการส่ งเสริมให้ มีการผลิ ตงานวิจัย และสร้ า งสรรค์ น วั ต กรรม องค์ ค วามรู้ สื บ สานโครงการอั น เนื่ อ งมาจากพระราชด่ า ริป รัช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และสามารถแข่งขันได้ ในกลุ่มประเทศอาเซียน และเพื่อเป็นการเตรียมความ พร้อมในการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะเสาหลัก “ASCC” หรือ “ประชาสังคมและวัฒนธรรม” ประเด็นส่าคัญของความสัมพันธ์ทางด้าน“ASCC” หรือ “ประชาสังคมและวัฒนธรรม” คือเมื่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เกิดการรวมตัวและประสานความร่วมมือกันนั้น จะส่งผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในระบบโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมแบบมหภาคของภูมิภาคนี้หรือไม่ อย่างไร และส่งผลสืบเนื่องต่อหลายสิ่ง อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น ที่ ท ราบกั น ดี ว่ า ทรั พ ยากรส่ า คั ญ ของภู มิ ภ าคนี้ คื อ ทรั พ ยากรที่ เกิ ด จากผลผลิ ต ทางด้ า น ศิล ปวัฒ นธรรมรวมไปถึงแหล่ งมรดกโลก ซึ่งมีผ ลอย่างยิ่ งต่อมู ล ค่าที่ส ามารถส่ งผลต่อ การพั ฒ นาในระดั บภู มิภ าค ทรัพยากรและองค์ประกอบเหล่านี้ จะได้รับผลกระทบอย่างไรต่อสภาวะการปัจจุบัน และอนาคตของภูมิภาค รวมไปถึง ความใส่ใจหรือตระหนักรู้ต่อกาธ่ารงคุณค่าของเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมในกระแสของการเปลี่ยนแปลง ครั้งส่าคัญ นี้ สถาบันอยุธยาศึกษาจึงจัดโครงการวัฒนธรรมอยุธยาสู่การพัฒนาประชาคมอาเซียน “บริบททางศิลปวัฒนธรรมเพื่อ การพัฒ นาประชาคมอาเซีย น” เพื่อเป็ น การสร้างความรู้ความเข้าใจในบริบทแห่ งการพัฒ นาและการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวข้างต้น

วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อเผยแพร่ นิทรรศการ สาธิต และจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมอยุธยา และประเทศ ต่างๆในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้างความเข้าใจ ในประเด็นเรื่องวัฒนธรรมร่วม โดยเฉพาะ “ASCC” หรือ “ประชาสังคม และวัฒนธรรม”ในระดับภูมิภาคต่อไป ๒) เพื่อเป็นงานด้านท่านุบ่ารุงศิลปวัฒนธรรม ที่เกิดจากการบูรณาการกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมของกลุ่ม ประเทศต่างๆในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การสร้างสรรค์เอกลักษณ์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมในอัต ลักษณ์อาเซียน ๓) เพื่อปลูกจิตส่ านึ กให้ ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตระหนักถึงความส่าคัญของ วัฒนธรรมอยุธยา ให้สามารถสืบสานและด่ารงอยู่ได้ในกระแสวัฒนธรรมในยุคประชาคมอาเซียน


กาหนดการโครงการวัฒนธรรมอยุธยาสู่การพัฒนาอาเซียนครั้งที่ ๓ บริบททางวัฒนธรรมอยุธยาสู่การพัฒนาอาเซียน วันพุธที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๘ ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น.

ลงทะเบียน และชมนิทรรศการมรดกโลกในอาเซียน หัตถกรรมอาเซียน การท่องเที่ยวอาเซียน และนิทรรศการบริบททางวัฒนธรรมกับ AC

๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๕ น.

พิธีเปิดโครงการวัฒนธรรมอยุธยาสู่การพัฒนาอาเซียนครั้งที่ ๓

๐๙.๓๐ – ๑๐.๓๐ น. ๑๐.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.

๑๔.๓๐ – ๑๕.๓๐ น.

- กล่าวรายงาน โดย ดร.เกษม บารุงเวช อธิการบดี - กล่าวเปิดงาน และกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ทิศทางในการพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” โดย นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สั มมนาทางวิช าการในหั ว ข้อเรื่อง “ความร่ว มมือ และการแลกเปลี่ ยนด้านวัฒ นธรรมกั บ ประชาคมอาเซียน ๒๐๑๕ ” วิทยากรโดย อ.สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการ สัมมนาทางวิชาการในหัวข้อเรื่อง “บริบททางวัฒนธรรมอยุธยา สู่การพัฒนาอาเซียน ” วิทยากรโดย ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ พักรับประทานอาหารกลางวัน สั ม มนาทางวิ ช าการในหั ว ข้ อ เรื่อ ง “บริบ ททางวั ฒ นธรรมอยุ ธ ยา สู่ ก ารพั ฒ นาด้ านการ ท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ” วิทยากรโดย คุณภาคภูมิ น้อยวัฒน์ บรรณาธิการฝ่ายภาพ อนุสาร อสท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สัมมนาทางวิชาการในหัวข้อเรื่อง “ศิลปหัตถกรรมอาเซียน” วิทยากรโดย ดร.ดุลย์พิชัย โกมลวาณิช และคุณสุรภี โรจนวงศ์


ความสาคัญของอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาเซียน หรือ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ” ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ หลัง การลงนามในปฏิ ญ ญากรุ งเทพฯ (Bangkok Declaration) โดยรัฐ มนตรีจาก ๕ ประเทศ ได้แ ก่ นายอาดัม มาลิ ก รัฐ มนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศจากอิ น โดนี เซี ย ตุน อับ ดุ ล ราซัก บิ น ฮุส เซน รองนายกรัฐ มนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติจากมาเลเซีย นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจากฟิลิปปินส์ นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากสิงคโปร์ และพันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจากไทย ต่อมา บรูไนดา รุสซาลามและเวียดนามได้เข้าร่วมอาเซียนเมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๒๗ และวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ตามล่าดับ ตามด้วยลาว และเมียนมาร์ เข้าร่วมเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ส่วนกัมพูชาเป็นประเทศสุดท้ายที่เข้าร่วมเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๒ ปฏิ ญ ญากรุ งเทพฯ ก่าหนดเป้ าหมายและวั ต ถุ ป ระสงค์ส่ าหรับ อาเซี ย น ๗ ประการ ได้แ ก่ ส่ งเสริม ความ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม ส่งเสริมการมีเสถียรภาพสันติภาพและความ มั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒ นธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร ส่ ง เสริ ม ความร่ ว มมื อ ซึ่ งกั น และกั น ในการฝึ ก อบรมและการวิ จั ย ส่ งเสริ ม ความร่ ว มมื อ ในด้ า นเกษตรกรรมและ อุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่ อสาร และการปรับ ปรุงมาตรฐานการด่ ารงชีวิต ส่ งเสริมการมีห ลั กสู ต ร การศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

ประเทศสมาชิกอาเซียน อาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด ๑๐ ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

สานักเลขาธิการอาเซียนและเลขาธิการอาเซียน ส่านักเลขาธิการอาเซียน หรือ “ASEAN Secretariat” จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ หลังการลง นามในข้อตกลงการจัดตั้งส่านักเลขาธิการอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ต่อมาในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๔ รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้มอบอาคารทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตาเพื่อใช้เป็นส่านักงานใหญ่ของส่านักเลขาธิการ อาเซียน อาคารดังกล่าวถูกใช้เป็นส่านักงานถาวรของอาเซียนนับแต่นั้นเป็นต้นมา ส่านักเลขาธิการอาเซียนได้รับการ สนับสนุนด้านงบประมาณจากประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศในสัดส่วนที่เท่ากัน ส่วนเลขาธิการอาเซียน หรือ “Secretary General of ASEAN” ได้รับการแต่งตั้งโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน โดยมีวาระการด่ารงต่าแหน่ง ๕ ปีที่ไม่สามารถต่ออายุได้ และให้ได้รับการเลือกจากคนชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน บนพื้นฐานของการหมุนเวียนตามล่าดับตัวอักษร โดนค่านึงตามสมควรถึงความซื่อสัตย์สุจริต ความสามารถ รวมถึง ประสบการณ์ทางวิชาชีพ และความเท่าเทียมกันทางเพศ กฎบัตรอาเซียนได้ระบุถึงหน้าที่ของเลขาธิการอาเซียน และให้ เลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของอาเซียนด้วย นอกจากนี้ ยังได้ระบุให้มีรองเลขาธิการอาเซียน ๔


คน ประกอบด้วย รองเลขาธิการอาเซียน ๒ คน ซึ่งมีวาระการด่ารงต่าแหน่ง ๓ ปีที่ไม่สามารถต่ออายุได้ และรอง เลขาธิการอาเซียน ๒ คน ซึ่งมีวาระการด่ารงต่าแหน่ง ๓ ปีและอาจต่ออายุได้อีก ๓ ปี

ความสาเร็จของอาเซียน นับตั้งแต่ก่อตั้ง ประเทศสมาชิกอาเซียนพยายามส่งเสริมการยึดมั่นในบรรทัดฐานร่วมกัน และสร้างเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างผู้ก่าหนดนโยบาย ความร่วมมือที่เกิดขึ้นได้ช่วยป้องกันความขัดแย้งและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจใน ภูมิ ภ าค ในช่ว งที่ผ่ านมาประเทศสมาชิ กอาเซี ยนประสบความส่ าเร็จในการส่ งเสริมให้ อาเซี ยนเป็ น เวที ที่ ป ระเทศ มหาอ่านาจหลายประเทศเข้าร่วมหารือในฐานะประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partners) ในกรอบต่างๆ ทั้งอาเซียน+๑ อาเซียน+๓ (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit-EAS) ซึ่งเป็นเวที หารือด้านยุทธศาสตร์ในระดับผู้น่า นอกจากนี้อาเซียนยังสร้างเวทีหารือด้านการเมืองและความมั่นคง ซึ่งเป็นเพียงเวที เดียวในภูมิภาคเอเชีย -แปซิฟิกที่เรียกว่า “การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมือ ง และความมั่นคงใน ภูมิภ าคเอเชีย -แปซิฟิก” (ASEAN Regional Forum-ARF) ที่มีพัฒ นาการเรื่อยมานับแต่การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ จนถึงการทูตเชิงป้องกัน ปัจจุบัน อาเซียนให้ความส่าคัญกับการสร้างประชาคมอาเซียน (ASEAN Community – AC) ให้บรรลุตาม เป้าหมายในปี ๒๕๕๘ ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย ๓ เสาหลัก คือประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political- Security Community-APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic CommunityAEC) และประชาคมสั งคมและวั ฒ นธรรมอาเซี ย น (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) โดยอาเซี ย นมี พัฒนาการที่ดีในการด่าเนินการตามพันธกรณีที่ระบุไว้ในแผนการด่าเนินงานแต่ละเสา พัฒนาการที่ส่าคัญ อาทิ การที่ประเทศภายนอกภูมิภาคจ่านวนมากเข้าเป็นภาคี สนธิสัญญาไมตรีและความ ร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation-TAC) ซึ่งเป็นการก่าหนดหลักการด่าเนิน ความสั มพัน ธ์ในภู มิภ าค การจั ดท่าปฏิ ญ ญาอาเซียนว่าด้ว ยสิ ทธิมนุษ ยชน (ASEAN Human Rights DeclarationAHRD) เป็นครั้งแรกเพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียน และการเสริมสร้างความร่วมมือด้าน กลาโหมที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นโดยให้ประเทศคู่เจรจาเข้าร่วม นอกจากนี้ อาเซียนยังมีความร่วมมือที่ก้าวหน้าในด้านเศรษฐกิจ และการรวมตัวในภูมิภาค การส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการและการลงทุนในภูมิภาค โดยเฉพาะการเจรจา การเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจแบบรอบด้านในระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic PartnershipRCEP) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการลดช่องว่างเพื่อการพัฒนา รวมทั้งการจัดท่าแผนแม่บท ว่าด้ ว ยความเชื่ อ มโยงระหว่ างกั น ในอาเซี ย น (Master Plan on ASEAN Connectivity-MPAC) ในด้ า นสั งคมและ วัฒนธรรม อาเซียนมีความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในเรื่องการจัดการภัยพิบัติ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของสตรี เด็ก และกลุ่มผู้อ่อนแอ และการศึกษา โดยได้จัดท่าคู่มือการจัดท่าหลักสูตรอาเซียน (ASEAN Curriculum Sourcebook) เพื่อเป็นคู่มือครูที่จะใช้ในการจัดท่าหลักสูตรอาเซียนต่อไป


ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนเพื่อให้ประชาชนมีความ อยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน และพัฒนาอัตลักษณ์ระดับภูมิภาค ร่วมกัน โดยเน้นการส่งเสริมความรู้แ ละความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกในด้านต่างๆ ทั้งนี้ การเสริมสร้างรากฐาน และความเชื่อมโยงระหว่างกันที่แข็งแกร่งจะน่าไปสู่ความเข้าใจซึ่งกันและกัน การเป็นเพื่อนบ้านอาเซียนที่ดี การรู้เขารู้ เรา และมี ค วามรั บ ผิ ด ชอบร่ ว มกั น ระหว่างประเทศสมาชิ กภายใต้ ก ารเป็ น สั งคมที่ เอื้ ออาทรและมี ป ระชาชนเป็ น ศูนย์กลาง อันเป็นเป้าหมายส่าคัญของการสร้างประชาคมอาเซียนแผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC Blueprint) ได้ก่าหนดเป้าหมายหลัก ๖ ประการ ได้แก่ (๑) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (๒) การคุ้มครองและให้สวัสดิการสังคม (๓) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (๔) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) (๕) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (๖) การลดช่องว่างด้านการพัฒนา และส่งเสริมให้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิด ศิลปินและสื่อใน ภูมิภาค ตลอดจนการเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในภูมิภาคโดยเฉพาะในระดับประชาชนทั้งนี้ ไทยจะ ได้รับประโยชน์จากรากฐานส่าคัญของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนที่ประชาชนมีความเข้าใจกันและกัน และ เข้าใจถึงผลประโยชน์ที่มีร่วมกัน ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การสร้างประชาคมอาเซียนสามารถประสบความส่าเร็จและมีความ ยั่งยืน

อาเซียนกับการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อาเซียนมีความร่วมมือเรื่องสิ่งแวดล้อมระหว่างกันหลายด้าน ตัวอย่างหนึ่งของความร่วมมือที่เห็นได้ชัดเจน คือ การแก้ไขปัญหาหมอกควันซึ่งมีสาเหตุจากไฟป่าและไฟบนดินผ่านกรอบความร่วมมือเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบ ของปัญ หาหมอกควันข้ามแดน โดยมีการจัดตั้งศูนย์อุตุนิยมวิทยาเฉพาะทางอาเซียนที่สิงคโปร์ เพื่อก่าหนดตัวชี้วัด คุณภาพอากาศ และระบบการวัดปัญหาอันตรายของไฟ เพื่อตอบสนองต่อปัญหาไฟป่าในปี ๒๕๔๐-๒๕๔๑ อาเซียนจึง รับรองแผนปฏิบัติการแก้ปัญหามลพิษในภูมิภาคซึ่งเป็นการรวบรวมมาตรการต่างๆ ในการป้องกันไฟป่า ไฟบนดินและ การบรรเทาผลกระทบ การศึกษาและมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น โดยในปี ๒๕๔๕ มีการจัดท่าความตกลงอาเซียนว่า ด้วยมลพิษหมอกควันข้ามแดน ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี ๒๕๔๖ นอกจากนี้ อาเซียนยังมีความร่วมมือเพื่ออนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติของอาเซียน โดยก่าหนดพื้นที่ ๒๗ แห่งให้ เป็นพื้นที่ควบคุมในฐานะมรดกทางธรรมชาติของอาเซียนมีโครงการบริหาร การจัดการทรัพยากรน้่า จัดตั้งศูนย์ความ หลากหลายทางชีวภาพอาเซียนและโครงการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมและระบบนิเวศน์ การก่าหนดเกณฑ์แผนปฏิบัติงาน เรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษา และการสร้างความตระหนักให้กับสาธารณชนในเรื่องสิ่งแวดล้อม


ทั้งนี้ ไทยจะได้รับประโยชน์จากการกระชับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอาเซียนเพื่อส่งเสริม ความร่วมมือด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนการจัดการกับปัญหาหมอกควันข้ามแดนและจัดการ ทรัพยากรน้่า

อาเซียนกับความร่วมมือในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ การรับมือกับวิกฤตการณ์โรคซาร์สในปี ๒๕๔๖ ที่มีผู้เสียชีวิตจ่านวนมากในอาเซียน และส่งผลกระทบต่อระบบ เศรษฐกิจของหลายประเทศคือตัวอย่างหนึ่งของความร่วมมือในอาเซียนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อใน ภูมิภาคโดยร่วมมือกับประเทศอื่นๆ และองค์การอนามัยโลก โดยไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมผู้น่าอาเซียนสมัยพิเศษ ร่วมกับผู้น่าจีนที่กรุงเทพ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๖ เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือกันเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคซาร์สซึ่งน่าไปสู่ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในการตรวจสอบและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว เมื่อมี การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก อาเซียนยังได้ร่ วมมือกับประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ด่าเนินมาตรการป้องกันการ แพร่ระบาดมีการจั ดตั้งคลังวัคซีน ทั้งในประเทศไทยและประเทศสมาชิกอื่น ๆ เช่นที่สิ งคโปร์ และได้ร่ว มกันเตรียม อุปกรณ์ป้องกันส่าหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้วย ความร่วมมือด้านสาธารณสุขในกรอบอาเซียนมีกลไกขับเคลื่ อนเป็น การประชุมในระดับต่างๆ ใน ๑๐ ด้าน ได้แก่ โรคติดต่อ ความปลอดภัยด้านอาหาร ความร่วมมือ ด้านเทคนิคเกี่ยวกับ ยา การเตรียมพร้อมและรับมือกับโรคระบาด การควบคุมยาสูบ เอดส์ สุขภาพจิต สุขภาพแม่และเด็ก โรคไม่ติดต่อ และ การแพทย์ดั้งเดิม แผนงานการจั ด ตั้ งประชาคมสั งคมและวัฒ นธรรมอาเซี ย น (ASCC Blueprint) ได้ ร ะบุ ค วามร่ ว มมื อ ด้ า น สาธารณสุขของอาเซียนไว้ภายใต้หัวข้อการคุ้มครองและให้สวัสดิการสังคม ซึ่งประกอบด้วย ๗ หัวข้อหลัก ได้แก่ (๑) การขจัดความยากจน (๒) เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการรวมตัวของอาเซียนและ โลกาภิวัตน์ (๓) การส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร (๔) การเข้าถึงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการด่ารงชีวิตที่มีสุขภาพ (๕) การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ (๖) การรับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด (๗) การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติ และประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

อาเซียนกับการจัดการกับภัยพิบัติ การจัดประชุมรัฐมนตรีอาเซียนสมัยพิเศษเพื่อการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยในเมียนมาร์ สืบเนื่องจากเหตุการณ์พายุไซโคลนนาร์กีสเป็นตัวอย่างความร่วมมือในอาเซียนกรณีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่ง น่าไปสู่การส่งมอบความช่วยเหลือให้กับเมียนมาร์ โดยมีอาเซียนเป็นแกนน่า การจัดส่งทีมแพทย์จากอาเซียนไปช่วย ผู้ประสบภัย และการจัดประชุมประเทศผู้บริจาคซึ่งอาเซียนมีบทบาทน่าร่วมกับสหประชาชาติที่กรุงย่างกุ้งของเมียน มาร์ ซึ่งสามารถระดมความช่วยเหลือให้กับเมียนมาร์เพื่อการฟื้นฟูประเทศต่อไป อาเซี ย นมี ก ลไกเพื่ อ รั บ มื อ กั บ ภั ย พิ บั ติ ผ่ า นคณะกรรมการอาเซี ย นด้ า นการจั ด การภั ย พิ บั ติ (ASEAN Committee on Disaster Management – ACDM) จัดท่าแผนปฏิบัติการ การฝึกอบรม การสื่อสารและแลกเปลี่ยน ข้อมูล ระหว่างหน่ วยงานภาครัฐ และเอกชนตลอดจนสร้างความตระหนักรู้สู่ส าธารณชน ทั้งนี้ เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๘ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบสนองต่อสถานการณ์ ฉุกเฉิน (ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response – AADMER) เพื่อส่ งเสริม


ความร่วมมือให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียน เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (ASEAN Coordinating Center For Humanitarian Assistance on Disaster Management – AHA Center) ที่ กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซียเพื่อเป็นศูนย์ประสานงานการจัดการด้านภัยพิบัติในภูมิภาค รวมทั้งระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียนกับองค์กรระหว่างประเทศที่เป็นพันธมิตรของอาเซียนในกรณีที่เกิดภัยพิบัติด้วย

การอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน อาเซียนให้ความส่าคัญกับความร่วมมือเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน โดยประเทศ สมาชิกอาเซียนได้จัดท่าโครงการศึกษาวิจัยและจัดท่าการผลิตร่วมกันในเรื่องต่างๆ มากมายทั้งการอนุรักษ์โบราณสถาน สถานที่ ศิลปะการแสดงดั้งเดิม และสิ่งที่ถือเป็นมรดกทางวัฒ นธรรมของภูมิภาค อีกทั้ งยังมีการน่าเสนอสู่ประชาชน อาเซียนทั้งในรูปแบบของหนังสือภาพ งานจิตรกรรมระดับภูมิภาค และการจัดนิทรรศการภาพถ่ายอาเซียน นอกจากนี้ อาเซียนยังมีความร่วมมือเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมในกรอบความร่วมมืออาเซียน+๓ ด้วย

การส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างเยาวชนในภูมิภาค อาเซียนเห็นว่าเยาวชนคืออนาคตของอาเซียน และเป็นก่าลังส่าคัญของการสร้างประชาคมอาเซียน จึงพยายาม ส่งเสริมให้เยาวชนมีความใกล้ชิดและรู้จักกันมากขึ้นผ่านความร่วมมือในหลายสาขา มีการจัดค่ายเยาวชนอาเซียนและ กิจกรรมสันทนาการอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่บางประเทศสมาชิกก็ให้ทุนการศึกษากับนักเรียนจากประเทศอาเซียน อื่น เช่น สิงคโปร์มีการจัดตั้งกองทุนเยาวชนอาเซียนเพื่อสนับสนุนการท่ากิจกรรมร่วมกันส่าหรับเยาวชนอาเซียน เป็น ต้น นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ให้การสนับสนุนโครงการเรือเยาวชนโดยเชิญเยาวชนกว่า ๓๐๐ คนจาก ประเทศสมาชิก อาเซียนและญี่ ปุ่น ให้ เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวเป็นประจ่าทุกปี เรือเยาวชนจะแวะเทียบ ท่าเรือของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่น ซึ่งมีส่วนส่าคัญในการส่งเสริมมิตรภาพในหมู่เยาวชน ของเอเชีย ในช่วงเวลา ๑ ปีกว่าก่อนที่จะบรรลุเป้าหมายการเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ประเทศสมาชิกอาเซียน ต่างให้ความส่าคัญมากยิ่งขึ้นกับการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเยาวชนผ่านการเรียนรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งการสร้างความตระหนักรู้เรื่องประชาคมอาเซียนให้กับเยาวชน ทั้งนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานส่าคัญในการสร้างความไว้ เนื้อเชื่อใจซึ่งจะน่าไปสู่การสร้างประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืนต่อไป


๑๐

ที่มาและบทบาทภาคประชาสังคม: ภายใต้ร่มประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน* ประชาคมสังคมและวัฒ นธรรมมีเป้าหมายที่จะท่าให้ประชาชนเกิดความตระหนักรู้ถึงความเป็นประชาคม อาเซียนให้มีความคุ้นเคยต่อกันและรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการให้ประชาชนในรัฐภาคีอาเซียนมี ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยแสวงหาอัตลักษณ์ร่วมกัน เพื่อที่จะสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันและใส่ใจระหว่างกัน (building a caring and sharing society) รวมทั้งท่าให้ความเป็นอยู่ของประชาชนตลอดจนสวัสดิการต่างๆ ดีขึ้นด้วย ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) เน้นให้ความส่าคัญในประเด็นของทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนท่าให้เกิดความกลมเกลียวในหมู่ประชาชนอาเซียน โดยพิมพ์เขียวประชาคมสังคมและวัฒ นธรรมนี้ ถือเป็นตัวแทนที่สื่อถึงมิติของ “มนุษย์” เป็นหลัก และเน้น ความร่วมมือในอาเซียน เพื่อให้เกิดการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยมี เป้าหมายที่สร้างและพัฒนามา จากความต้องการให้สังคมมีความรับผิดชอบ โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

พิมพ์เขียวประชาคมสังคม วัฒนธรรม (Asean Socio-Cultural Community Blueprint) มีลักษณะส่าคัญ ๖ ประการ ดังนี้  เพื่อให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (a. Human Development.)  เพื่อให้มีการคุ้มครองและให้สวัสดิการทางสังคม (b. Social Welfare and Protection.)  เพื่อให้เกิดการรักษาสิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (c. Social Justice and Rights.)  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม (d. Ensuring Environmental Sustainability.)  เพื่อสร้างอัตลักษณ์แห่งอาเซียน (e. Building the ASEAN Identity.)  เพื่อลดช่องว่างการพัฒนา (f. Narrowing the Development Gap.)

ที่มาและบทบาทภาคประชาสังคม: ภายใต้ร่มประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ความร่วมมือของอาเซียนถูกด่าเนิ นการโดยรัฐบาลในยุคสมัยต่างๆ และค่อนข้างขาดการมีส่วนร่วมในการ ก่าหนดทิศทางจากภาคประชาชน เนื่องจากอาเซียนยังมีกลไกที่ไม่ใคร่จะชัดเจนนัก ในการเปิดโอกาสให้ภาคประชา สังคมเข้าไปมีส่วนร่วม ดังนั้นนโยบายต่างๆ แม้แต่กฎบัตรอาเซียนที่ก่าหนดขึ้นมาก็มาจากการก่าหนดจากรัฐบาลของ กลุ่มประเทศอาเซียนทั้งสิ้น

*คัดสรรข้อมูลจาก ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน ASEAN Socio-Cultural Community ASCC Blueprint. สืบค้นเมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ จาก www.siamintelligence.com/asean-socio-cultural-community-ascc-blueprint


๑๑

ในหลายปีที่ผ่านมาค่าว่า “อาเซียน” เป็นค่าที่คุ้นหูของคนไทยกันมาตลอด สิ่งที่หลายท่านรับรู้กันคืออาเซียน ประกอบด้วย ๓ เสาหลักส่าคัญ คือเสาหลักด้านการเมือง-ความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม-วัฒนธรรม แต่สิ่งที่พึ่งจะเกิดขึ้นได้ ๗ ปี คือ “ภาคประชาสังคมอาเซียน” หรือ กรอบการประชุมอาเซียนภาคประชาชน (ASEAN Civil Society Conference: ACSC หรือที่รู้จักกันในนาม ASEAN People Forum: APF) อธิบายโดยง่ายคือ เวทีของภาคประชาชนจาก ๑๑ ประเทศสมาชิกอาเซียน (+ติมอร์ เลสเต) โดยเวทีภาคประชาชนลักษณะนี้จะจัดคู่ขนานไปกับการประชุมสุดยอดผู้น่า อาเซียน (ASEAN SUMMIT) ที่จัด ขึ้นทุกปี และการเกิดขึ้นของ ACSC นั้นต้องยกเครดิตให้กับรัฐบาลมาเลเซีย เนื่องจากในสมัยที่ได้เป็นประธานอาเซียน เมื่อ ค.ศ. ๒๐๐๕ รัฐบาลของมาเลเซียได้มอบหมายให้ศูนย์อาเซียนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมารา ( ASEAN Study Center of Universiti Teknologi Mara:UiTM) จัดการประชุมภาคประชาสังคมคู่ขนานไปกับการประชุมสุดยอดผู้น่า อาเซียนครั้งที่ ๑๑ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๒๐๐๕ ต่อมา ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๐๖ การวางแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ส่าหรับการประชุมรณรงค์เพื่อ ผลักดันระดับนโยบายก็ได้ถูกจัดขึ้นอีกโดย NGOs หลายองค์กรที่กรุงเทพฯ หลังจากนั้น ก็ท่าให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มเพื่อ ประสานงานเพื่อเคลื่อนไหวด้านสังคมในเอเชีย โดยใช้ชื่อ SAPA (Solidarity for Asian Peoples’ Advocacies) ดังนั้ น ทั้ง SAPA และ ACSC จึ งเป็ นความพยามหนึ่งของภาคประชาชนที่ต้องการเข้าไปมีส่ วนร่วมในการ ผลักดันประเด็นในอาเซียน เช่น ประเด็นสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม เพศสภาพ การค้า การลงทุน การช่วยเหลือเพื่อ มนุษยธรรม ฯลฯ ซึ่งการจัดเวทีลักษณะดังกล่าวท่าให้ตัวตนของภาคประชาสังคมเด่นชัดมากขึ้น รวมถึงมีแถลงการณ์ ภายหลังการระดมสมองและพูดคุยในหลายเรื่อง เพื่อผลักดันประเด็นต่างๆ ให้เป็นนโยบายในระดับอาเซียน แต่ปัญหาของภาคประชาสังคมในอาเซียนก็คือ รัฐบาลต่างๆ ในอาเซียนมาจากระบบการเมืองที่หลากหลาย และมีระดับ ของความเป็ น ประชาธิปไตยที่แตกต่าง ท่าให้ ภ าคประชาสังคมซึ่งจัดตั้งโดยภาคประชาชนไม่ได้รับการ ยอมรับจากรัฐบาลในบางประเทศสมาชิกอาเซียน ว่าด้วยเรื่องของสถานะและความชอบธรรมในการเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อผลักดันนโยบาย แม้ว่าโดยหลั กการที่ระบุ อยู่ ในกฎบัตรอาเซียนว่าด้ว ยการท่างานของอาเซียนทุกอย่างจะมีประชาชนเป็ น ศูนย์กลาง แต่ในความเป็นจริงอาเซียนไม่ได้จัดเตรียมโครงสร้างอย่างเป็นทางการเพื่ อสนับสนุนประชาชนให้มีพื้นที่ พูดคุยกันอย่างแท้จริง แม้จะมีการเปิดกว้างให้ภาคประชาชนได้พบปะพูดคุยกับผู้น่าอาเซียนก็เป็นเพียงฉากหนึ่งเท่านั้น โดยรัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนจะเปิดโอกาสให้ตัวแทนของภาคประชาชาชนประเทศละ ๑ คนเพื่อพบปะกับผู้น่า อาเซียน (interface dialogue) แต่ก็มีความพยามแทรกแซงจากทุกรัฐบาลของประเทศสมาชิก ที่อยากจะให้คนที่มีความใกล้ชิดกับภาครัฐเข้า มาเป็นตัวแทนการประชุม เพื่อให้เกิดความราบรื่นปราศจากความคิดเห็นที่แตกต่างที่อาจน่ามาซึ่งความขัดแย้ง และ อาจเป็นสิ่งที่บั่นทอนภาพลักษณ์การประชุมอาเซียนได้ ด้วยเหตุ นี้ จึงท่าให้หลายต่อหลายครั้งเราจะพบปัญหาของการ ไม่ให้ความร่วมมือของรัฐบาลในประเทศสมาชิกอาเซียนเช่นใน ค.ศ. ๒๐๐๙ ที่ไทยเป็นเจ้าภาพผู้น่ากัมพูชาและพม่า ปฏิเสธพบตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือกจากเวทีภาคประชาสังคม ในครั้งล่าสุดการประชุม ACSC/APF ของภาคประชาชนในเดือนมี นาคม ค.ศ. ๒๐๑๒ ที่ประเทศกัมพูชา ทาง รัฐบาลกัมพูชาซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้น่าอาเซียน มีท่าทีขัดขวางไม่ให้ใช้สถานที่จัดประชุมท่าให้ภาค ประชาชนกัมพูชาเกิดความล่าบากในการจัดหาสถานที่ในการประชุม ขณะที่ในวันเวลาเดียวกันรัฐบาลกัมพูชาได้จัดเวทีภาคประชาชนขึ้ นมาอีกเวที ทั้งที่ก็มีเวทีภาคประชาชนที่จัด โดยภาคประชาสังคมในหลายปีที่ผ่านมาอยู่แล้ว จึงท่าให้เกิดความสับสนว่าเวทีไหนเป็นเวทีของภาคประชาชน


๑๒

การกระท่าในลักษณะดังกล่าวของรัฐบาลกัมพูชาก็เพื่อลดความส่าคัญของเวทีภาคประชาชนที่จัดขึ้นเอง และ ต้องการน่าคนจากเวทีที่รัฐบาลกัมพูชาจัดขึ้นไปพบปะ interface dialogue กับผู้น่าอาเซียน แทนเวทีภาคประชาชนที่ จัดขึ้นเองโดยปราศจากการแทรกแซงจากรัฐ เหตุการณ์ลักษณะนี้คงเป็นตัวชี้วัดได้เป็นอย่างดีถึงทัศนคติของรัฐบาลประเทศสมาชิกกับภาคประชาสังคม การ ไม่ให้ความส่าคัญกับกระบวนการภาคประชาชนในอาเซีย นของรัฐบาลประเทศสมาชิกในอาเซียน อีกทั้งการพบปะผู้น่า ในแต่ละครั้งก็ใช้เวลาเพียง ๑๕-๓๐ นาที ท่าให้ไม่มั่นใจว่าการพบปะเพื่อยื่นข้อเสนอจะก่อให้เกิดผลในการขับเคลื่อน มากน้อยเพียงใด ประเด็นที่ภาคประชาสังคมมักถูกโจมตีเพื่อท่าลายความน่าเชื่อถือคือเรื่องความชอบธรรมในการเป็นตัวแทน ภาคประชาชน กับฝ่ายรัฐบาลอาเซียนซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนอันชอบธรรมโดยกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้มักถูกหยิบยกเป็นเหตุผล ชั้นดีเมื่อรัฐบาลอาเซียนต้องการปฏิเสธข้อเสนอของเวทีภาคประชาสังคม โดยโจมตีไปที่สถานะของกลุ่มภาคประชา สังคมโดยไม่ให้ความส่าคัญกับประเด็นที่ภาคประชาสังคมตั้งข้อสังเกตหรือข้อโต้แย้ง แต่ในขณะเดียวกันเรื่องบางเรื่องคงไม่ต้องถกเถียงกันถึงความชอบธรรมของสถานะมากนักอย่างประเด็นสิทธิ มนุษยชน ซึ่งผู้ละเมิดเป็นฝ่ายรัฐเสมอ ท่าให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบก็สามารถท้วงติงได้ โดยประเด็นที่เกิดการท้วง ติงกันล่าสุดนี้ คือกรณีที่ผู้น่าประเทศอาเซียนเดินหน้ารับรองปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Declaration) โดยภาคประชาสังคมโต้แย้งว่าเป็นกฎบัตรที่ท่าลายกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เพราะเนื้อหาของปฏิญญาฉบับนี้ได้สร้างความชอบธรรมให้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้อยู่ใต้เขตอ่านาจของรัฐเสมือน การไปรับรองการละเมิดสิทธิของรัฐบาลในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่สุดท้ายสิ่งที่ภาคประชาชนท่าได้คือการบอยคอตด้วยการไม่น่าปฏิญญาฉบับนี้มาใช้ในการท่างานกับกลุ่ม ต่างๆ ที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค เราจะไม่อ้างปฏิญญาฉบับนี้ในการติดต่ อกับอาเซียนหรือรัฐภาคีของอาเซียน เท่านั้น แต่ไม่มีอ่านาจไปเปลี่ยนเนื้อหาใดๆได้เลย

ข้อเสนอแนะ “ประชาคมอาเซียน” จะเกิดขึ้น ได้ยากในทางปฏิบัติหากไม่มีความร่วมมือของประชาชนในแต่ละประเทศ แม้ว่า จะมีการท่าข้อตกลงกันของรัฐบาลในแต่ละเสาหลัก แต่ก็อาจจะเป็นแค่เศษกระดาษหากไม่ได้เกิดจากส่านึกของ ภาคประชาชนที่อยากจะเข้ามามีส่วนร่วมโดยแท้จริง สิ่งที่จะท่าให้เกิดขึ้นได้คือ ต้องสนับสนุ นให้มีพื้นที่ส่าหรับเอื้อ โอกาสให้แก่ประชาชนด้วย ดังนั้นการเกิดขึ้งของวงประชุมอย่าง ACSC จะท่าให้ประชาชนของประเทศสมาชิกมีการ พบปะพูดคุยกันมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีสอดคล้องกับความตั้งใจที่จะท่าให้เกิด “ประชาคม” เพราะการจะเป็นประชาคมนั้นจ่าเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างรัฐต่อรัฐ แต่รากฐานที่ส่าคัญที่สุดคือการมี ปฏิสัมพันธ์จากประชาชนในกลุ่มประเทศสมาชิก เพราะหากเราย้อนดูภูมิหลังประเทศสมาชิกอาเซียนนั้นเรามีดินแดน ติดกัน มีทั้งความร่วมมืออันดีและการท่าสงครามกันมาก่อน ท่าให้ ประเทศในอาเซียนยังมีกลิ่นอายของลัทธิชาตินิยมอยู่ มาก ที่แต่ละรัฐปลูกฝังกันมานานเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองในยุคต่างๆ ท่าให้ประชาชนในประเทศสมาชิกยังมีความ เกลียดชัง ดูถูก รังเกียจ ไม่ไว้วางใจประเทศเพื่อนบ้านกันอยู่มาก ในทางกลั บ กัน เราจะพบว่าในปั จ จุบั น การเป็ น ประชาคมอาเซี ย นกลั บ ต้ อ งพยามลดทอนเรื่อ งความเป็ น ชาตินิยมให้ลดน้อยลงเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีระหว่างประชาชนด้วยกัน ฉะนั้นการพบปะพูดคุยและท่างานร่วมกันของภาค ประชาชนก็จะส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีได้อย่างแน่นอนและจะท่าให้อาเซียนเป็นประชาคมภาคปฏิบัติไม่ใช่เพียงเศษ กระดาษเหมือนอย่างที่เป็นอยู่


๑๓

ด้วยเหตุนี้ สิ่ งที่ รัฐ บาลอาเซีย นต้องท่ าก็คือผลั กดัน ให้ เกิดการขึ้น ทะเบียนขององค์กรภาคประชาสั งคมใน ปั จ จุ บั น ที่ มีอยู่ ม ากและปรับ ปรุ งกระบวนการให้ ภ าคประชาชนมีส่ ว นร่ว มในการแสดงความคิด เห็ น ในทิ ศทางการ ขับเคลื่อนอาเซียน โดยการรับรองสถานะของเวทีภาคประชาชนหรือภาครัฐอาจจะจัดเวทีร่วมกับภาคประชาชนเพื่อน่า ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมของแต่ละครั้งเสนอแก่รัฐต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ประชาชนมีบทบาทในการพัฒ นาการ ก่าหนดนโยบายเพื่อพัฒนาประชาคมอาเซียนต่อไป ท่ามกลาง ๓ เสาหลักแห่งประชาคมอาเซียน เสาด้านสังคมและวัฒ นธรรมนี้ ถือเป็นเสาที่ให้ความส่าคัญกับ มนุ ษย์โดยเฉพาะเจาะจงที่สุด ประเด็นที่พูดถึงกันบ่อยคือความเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละประเทศในอาเซียน รวมทั้ง ประเด็นประวัติศาสตร์ของอาเซียนที่ได้เผชิญกันมาบ้างทั้งดีและร้าย และยากจะลืมเลือน เนื่องจาก เสาด้านสังคมและวัฒนธรรมมักเป็นฐานรากของความสัมพันธ์ในระดับประชาชน และฐานรากที่ ส่าคัญนี้ถือเป็นระดับล่างของสังคมที่มีขนาดกว้าง แต่ภาครัฐมักจะลืมเลือนหรือให้ความใส่ใจต่อประเด็นดังกล่าวน้อย กว่าเสาด้าน ความมั่นคงและเศรษฐกิจ


๑๔

อัตลักษณ์และวัฒนธรรม แห่งประชาคมอาเซียน* สาวิตรี สุวรรณสถิต**

ความนา อาเซียน เป็นหนึ่งในการเตรียมการที่จะให้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนรวมกันเป็นประชาคมหนึ่งเดียวนั้น ได้ สร้ า งค่ า ขวั ญ หรื อ Motto ของอาเซี ย นไว้ ว่ า “One Vision One Identity One Community” (หนึ่ ง วิ สั ย ทั ศ น์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม) การจะมีวิสัยทัศน์ร่วมกันทั้งอาเซียนว่าเป็นประชาคมหนึ่งเดียวกันนั้นอาจไม่ยากในระดับผู้น่า ที่มองว่าอาเซียน มีอนาคตร่วมกัน ต้องพึ่งพาอาศัยกัน เพื่อความอยู่รอด แต่ในระดับประชาชน อาจมีวิสัยทัศน์ที่แตกต่างหลากหลาย ออกไป การจะมีอัตลักษณ์ร่วมกันนั้น ต้องมีความตระหนักรับรู้ร่วมกันว่าเป็นคนในประชาคมเดียวกัน เป็นหนึ่งเดียวกัน รักที่จะอยู่ ร่วมกัน มัน เป็น ความเชื่อมโยงทางจิตใจ จิตส่านึกและวัฒ นธรรม ต่างกับการเชื่อมโยงทางกายภาพ หรือ ภูมิศาสตร์ การรับ รู้และเป็ น เจ้ าของร่ว มกัน ในประชาคมอาเซียน ถือเป็น ส่ ว นหนึ่งของงานด้านสร้างสรรค์อัตลั กษณ์ อาเซียน อันเป็นเป้าหมายส่าคัญ และปรากฏค่าขวัญของอาเซียนที่ระบุไว้ในกฎบัตรอาเซียน และปรากฏอยู่ในเอกสาร พิมพ์เขียวของประชาคมอาเซียนด้านสังคมวัฒนธรรม

* บทความนี้ตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ฉบับประจ่าปี ๒๕๕๖ ** ผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา


๑๕

การสร้างความเชื่อมโยงกันในทางคมนาคมด้านกายภาพเพื่อให้เป็นประชาคมทางเศรษฐกิจอาเซียนเดียวกันนั้น มุ่งหมายที่จะให้เศรษฐกิจด้านต่าง ๆ ลื่นไหลอย่างเสรี จึงมีแนวความคิดเกี่ยวกับ การสร้างถนน และเส้นทางให้ติดต่อ เชื่อมโยงกันหมดในอาเซียน การสร้างทางรถไฟเชื่อมตั้งแต่สิงคโปร์ไปถึงคุนหมิง การสร้างเครือข่ายการขนส่งทางน้่า การสร้างระบบขนส่งทางทะเล การสร้างระบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และยังมีการเชื่อมโยงโทรคมนาคมและ อิน เตอร์เน็ ตอีกด้วย แต่การเชื่อมโยงความรู้สึกผู กพันทางวัฒ นธรรมนั้น ใช้วิธีตัดถนนเชื่อมเข้าหากันอย่างเดียวไม่ เพียงพอ ห ลายคน สงสั ย ว่ า อั ต ลั ก ษ ณ์ ความผู ก พั น กั น เป็ น อาเซี ย น จะสร้ า งได้ ห รื อ ไม่ ? จะขั ด แย้ ง กั บ อัตลักษณ์แห่งชาติของแต่ละประเทศหรือไม่ ? ความจริง วิสัยทัศน์ในเรื่องการสร้างอัตลักษณ์อาเซียนนั้น เป็นอุดมคติที่ สวยงาม แต่จะท่าให้เป็นความจริงตามที่วาดหวังไว้ได้หรือไม่ ต้องอาศัยความพยายามร่วมกันหลายฝ่ายและอาจใช้ เวลานานกว่าตัดถนน การสร้างอัตลักษณ์นั้น เป็นเรื่ องของจิตส่านึกที่จะรู้สึกว่า เราเป็นเจ้าของวัฒนธรรมเดียวกัน หรือเป็นคนใน ครอบครัวอาเซียนร่วมกัน รู้จักวัฒนธรรมของกันและกัน รู้ จักความเหมือนและความแตกต่างของกันและกัน และยินดี ยอมรับในความเหมือนหรือความแตกต่างนั้น ๆ อัตลักษณ์อาเซียนที่จะมีร่วมกัน อาจหมายถึงการยึดถือค่านิยมที่ดีงามในการอยู่ร่วมกัน เช่นการพึ่งพาอาศัยกัน ได้ การแบ่ งปันช่วยเหลือกัน การไว้วางใจและซื่อสัตย์ต่อกัน ซึ่งในประเพณีเดิมของผู้คนในอาเซียนส่วนใหญ่ ก็เป็น เช่นนั้ นอยู่แล้ว ยกเว้น เมื่อมีเรื่องทรัพย์สิน ผลประโยชน์ และการเอารัดเอาเปรียบมาเกี่ยวข้อง หรือแม้แต่การที่มุ่ง แข่งขันชิงดีชิงเด่นกัน ก็ท่าให้เราเคยรบรากันมาแล้วในอดีต การปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตร่วมกันจึงอาจต้องใช้เวลานานที่จะเกิดขึ้นได้จริง แต่ทั้งนี้คนในอาเซียนต้องไม่จมอยู่ใน ปลักโคลนของอดีตที่เคยขัดแย้ง แต่ต้องมองอนาคตร่วมกัน อีกประเด็นหนึ่งที่สร้างความท้าทายให้กับเรื่องอัตลักษณ์อาเซียนก็คือ คนในแต่ละชาติย่อมมีอัตลักษณ์ร่วมกับ คนในชาตินั้น ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจมีคนกลุ่มน้อยในชาติหนึ่งที่มีอัตลักษณ์แยกย่อยออกมาร่วมกับคนในหมู่บ้าน เดียวกัน ที่มีเชื้อสายชาติพันธุ์เดียวกัน หรือมีความเชื่อทางศาสนาร่วมกั น และคนกลุ่มนั้นอาจมีเอกลักษณ์ร่วมกับคน กลุ่มใหญ่ในชาติอื่นที่เป็นเพื่อนบ้านใกล้เคียงกันได้ ในประเทศหนึ่ งๆ จึ งอาจจะมีอัตลักษณ์ของชนกลุ่มน้อยหลาย ๆ กลุ่มอยู่ในประเทศเดียวกันได้ เป็นความ แตกต่างที่ต้องยอมรับ และให้เกียรติว่ามีศักดิ์ศรีเสมอกัน นี่คือหลัก การส่าคัญอีกประการหนึ่งของอาเซียน... คือความ เป็นหนึ่งเดียวกันในความหลากหลายกันทั้งในแต่ละประเทศ และเมื่อมารวมกันเป็นอาเซียนหนึ่งเดียว ดังนั้นผู้คนในอาเซียนจะต้องค่านึงว่า อัตลักษณ์ของผู้คนในอาเซียน มีทั้งความแตกต่างหลากหลายกัน และมี ทั้งความเหมือนกันหรือมีลักษณะร่วมกันในหลายด้าน เพราะอย่างน้อยๆ ก็ตั้งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ที่มีสภาพแวดล้อม ธรรมชาติ และดิน ฟ้าอากาศในโซนเดีย วกัน ได้ รับ อิทธิพลจากลมมรสุ ม เดียวกัน อยู่ในเส้ น ทางการค้าผ้ าไหม และ เครื่องเทศทั้งทางบกและทางทะเลด้วยกัน อีกทั้งต่างก็มีประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ในช่วงที่ยุโรปเข้ามาติดต่อ ค้าขายด้วยแตกต่างกันไป จึงมีทั้งความคล้ายคลึง และความแตกต่าง ทั้งทางด้านเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา วิถีชีวิต และวัฒนธรรม หรือทั้งในแนวปฏิบัติทางการเมืองการปกครองและกฎหมาย มีความเหมือนและความต่า งกันทั้ง ในนิสัยการท่างานและกฎระเบียบในการท่างาน การใช้ชีวิต การพักผ่อนหย่อนใจ นี่ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่อาเซียน จะต้องยอมรับซึ่งกันและกันให้ได้ และหาจุดร่วมกันให้ได้

๑. การหาจุดร่วมในด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในอาเซียน การหาจุ ดร่ว มในด้ านวิถีชีวิตและวัฒ นธรรมในอาเซียนด้านมรดกวัฒ นธรรม ที่ต้อ งปกป้ องคุ้ มครอง และ ปรับปรุงพัฒนาให้เป็นมรดกร่วมของอาเซียนสืบต่อไปในอนาคต


๑๖

๑.๑ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่นโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ส่วนมากเป็นพยานหลักฐาน ทางวัตถุ และสถานที่ที่เป็นตัวแทนของอารยธรรมโบราณ และวิถีชีวิตทีเ่ สื่อมสลายไปแล้ว ๑.๒ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หรือเป็นมรดกวิถีชีวิตและประเพณีที่ยังสืบทอดจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ตาย ไม่ห ยุดอยู่ นิ่ง แต่มีชีวิต มีล มหายใจ จึงเปลี่ยนแปลงและเติบโตได้ แบ่งได้เป็นประเภทต่าง ๆ อย่างน้อย ๕ ประเภท เช่นความเชื่อ วรรณกรรมและภาษา ความรู้ดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาผ่านการบอกเล่าหรือการปฏิบัติสืบกันมา ศิลปะพื้นบ้าน งานช่างหัตกรรม ศิลปะการแสดงและดนตรี ธรรมเนียมปฏิบัติและประเพณี ต่าง ๆ ที่สืบทอดส่งต่อกัน มาตั้งแต่โบราณ และยังมีชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบัน ในที่นี้จะยกตัวอย่างมรดกวัฒนธรรมที่ จับต้องไม่ได้ที่ส่าคัญในอาเซียน สัก ๒ - ๓ ด้านดังนี้ ๑.๒.๑ มรดกวัฒนธรรมด้านภาษา ภาษาเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ส่าคัญยิ่ง ก่อให้เกิดความเข้าใจกัน ความผูกพันซึ่งกันและกัน และความใกล้ชิดสนิทสนมกันง่ายขึ้น คนไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาของเราเอง แต่ปัจจุบันคนในสังคมไทยส่วนใหญ่ก่าลังให้ความส่าคัญต่อวัฒนธรรม ด้านภาษา และวรรณกรรมลงไปมาก อาจจะเป็นเพราะเนื่องจากคนไทยอ่าน และเขียนหนังสือโดยเฉลี่ยน้อยมาก ใช้ เวลาบริโภคสาระและความบันเทิงผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ที่ไม่เน้นวัฒนธรรมด้านภาษา ภาษาไทยที่ประณีตบรรจงก็ใช้ น้อยลงในชีวิตประจ่าวัน วิถีชีวิตคนไทยในสมัยใหม่เร่งรีบ และการสื่อสารก็ต้องการความรวดเร็ว คล่องตัว ภาษาถิ่น ต่าง ๆ ของไทยซึ่งแสดงถึงความมั่งคั่งทางวัฒ นธรรม เปรียบเหมือนมีทรัพย์เก็ บ สะสมอยู่ในคลั ง ภูมิภาคท้องถิ่น ก็ยังไม่ได้รับการส่งเสริมสืบทอดที่เหมาะสม จึงลดบทบาทหน้าที่ ความส่าคัญในการอบรมบ่มเพาะจิตใจ และศีลธรรม และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมในครอบครัว ในวัด ในภูมิภาคลงไปกว่าในอดีต โดยเฉพาะส่าหรับคนรุ่น ใหม่ ในการสร้างอัตลักษณ์ร่วมอาเซียน ได้เลือกใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารอย่าง เป็นทางการในการประชุม การพบปะแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการทุกระดับ ทั้งนี้เพราะเราไม่สามารถเลือ กภาษาของ ประเทศใดประเทศหนึ่งมาใช้เป็นภาษากลางได้ แต่นี่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายมาก เพราะคนจากหลายประเทศเช่น ไทย ลาว เขมร เวีย ดนาม อิน โดนีเซีย โดยเฉลี่ย และในบางระดับ ก็ไม่สันทัดคล่องแคล่ วในภาษาอังกฤษมากนัก เพราะไม่ได้ ใกล้ชิดกับชาวอังกฤษ หรือคนที่พูดอังกฤษมากมาก่อน ดังนั้น การแสดงความคิด หรือการแสดงออกด้านอื่นๆ ผ่าน ภาษาอังกฤษที่ตนไม่ถนัด ก็คงไม่คล่องแคล่วเท่าคนจากประเทศบรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย เมียนมาร์ และฟิลิปปิ นส์ การ ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการอาเซียนจะท่าให้คนไทย จะต้องเร่งเรียนภาษาอังกฤษให้ใช้ได้ดีมากขึ้น เป็นการสร้าง วัฒนธรรมทางภาษาในมิติใหม่ เราจะสู้ชาติ อื่น ได้ไหมในเรื่องการใช้ภ าษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของอาเซียน ? ตัวอย่างเช่น กระทรวง วัฒนธรรมโดยการเสนอของสมาคมกวีไทย ได้เสนอให้มีการให้รางวัลกวีสุนทรภู่ เป็นรางวัลที่จะให้ทุกปีแก่กวีเอกจาก ทุกประเทศที่แต่ละประเทศเลือกเสนอมาเอง ผลงานเขียนต้องมียาวนานพอสมควรในภาษาของชาตินั้นและแปลเป็น ภาษาอังกฤษมาด้วย สิงคโปร์ตอบมาเป็นประเทศแรกเสนอชื่ อ เอ็ดวิน ทัมโบ ซึ่งมีเชื้อสายทมิฬและจีน เป็นกวีแห่งชาติ ที่เคยได้รับรางวัลซีไรท์ในปีแรก และยังมีงานเขียนต่อมาจนวันนี้ เป็นอาจารย์สอนวรรณคดีอังกฤษในมหาวิทยาลัย สิงคโปร์ด้วย ที่ส่ าคัญ คือ มีผ ลงานกวีนิ พ นธ์และงานเขียนอื่นๆ เป็นภาษาอังกฤษจ่านวนมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ รู้จักกัน กว้างขวางในหมู่กวีทั่วโลก ส่าหรับคนอาเซียนจากประเทศบรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซียและบางส่วนของฟิลิปปินส์ เขามีมรดกภาษาดั้งเดิม เขาพูดภาษาเดียวกัน และนับถือศาสนาอิสลามเหมือนกัน จึง มีอัตลักษณ์และส่านึกร่วมกันได้ง่าย ในขณะที่ไทย ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ นั บถือศาสนาพุทธ แต่ไม่พูดภาษาเดียวกันหมด คนลาวกับ คนไทยยังมีมรดกร่วมทางภาษา โดยเฉพาะคนไทยในภาคอี สาน ภาคเหนือ และแม้แต่คนภาคใต้ก็สามารถสื่อสารเข้าใจภาษากันได้ แต่คนไทยที่ อยู่ใน ภาคกลางก็ยังไม่สามารถพูด ฟัง อ่านหรือเขียนภาษาลาวได้เลย ส่าหรับคนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็มีอัตลักษณ์


๑๗

ทางภาษา และศาสนาใกล้เคียง หรือร่วมกับคนในมาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย แต่กับคนในภาคอื่นๆ ก็ยังมีปัญหาอยู่ใน การสร้างอัตลักษณ์ร่วมกัน ในอนาคตเมื่อรวมกันเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว จะมีการเลื่อนไหลทางการลงทุน และ แรงงานในอาเซียนเสรียิ่งขึ้น ท่าให้คนอาเซียนทุกชาติต้องพยายามเรียนรู้ภาษาของกันและกันให้มากขึ้นด้วย กรณีอัตลักษณ์วัฒนธรรมในด้านภาษาของไทยเองนั้น คนไทยส่วนใหญ่จากทุกภูมิภาคสามารถพูดภาษาไทย กลางที่ใช้เป็นทางการได้ดี ภาษาไทยกลางที่ใช้กันทั้งประเทศจึงเป็นอัตลักษณ์ร่วมของคนไทยทั้งประเทศ แต่ในทาง กลั บ กัน ไม่ใช่คนไทยทุกคนที่ รู้ภ าษาถิ่น ภาคอื่นๆ ของไทย ดังนั้ นภาษาถิ่นจึงเป็ นอัตลั กษณ์ ของคนในท้ องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะ ส่วนภาษาของประเทศเพื่อนบ้านนั้น คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังเรียนรู้กันน้อย แม้ว่าจะมีการเปิดสอนใน สถาบันการศึกษาหลายแห่งแล้ว คนไทยส่วนใหญ่นอกจากจะพูดภาษาของประเทศอาเซียนอื่น ๆ ไม่ได้แล้ว ก็ยังไม่ ระมัดระวังค่าพูดเวลาเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้าน หรือเวลาให้สัมภาษณ์ทางสื่อมวลชนของไทย ก็ไม่ระวังไม่ตระหนัก ว่าค่าพูดในเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามเพื่ อนบ้านนั้น คนในประเทศเพื่อนบ้านเขารับสื่อไทยและฟังรู้เรื่อง การแสดงความดู หมิ่นวัฒนธรรมหรือคนของประเทศอื่นผ่านทางสื่อ ก็จะสร้างความโกรธแค้นในจิตใจของคนเพื่อนบ้าน ทั้งหมดนี้จึงเป็นข้อท้าทายทางอัตลักษณ์อาเซียนในด้านภาษา ที่จะช่วยให้เราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้น ๑.๒.๒ มรดกวัฒนธรรมด้านอาหาร อาหารถือกันว่าเป็นวัฒนธรรมส่าคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ภาษาอังกฤษใช้ค่าว่า Food culture และมีนักวิชาการเขียนบทความและหนังสือในหัวข้อนี้ไว้จ่านวนมาก ความจริงอาหารเป็นเรื่องของกระทรวงเกษตร มีการจัดวันอาหารโลกอยู่เป็นประจ่า แต่ความจริงอีกเหมือนกัน ว่า เกษตรและวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ใกล้กันมาก ภาษาอังกฤษจะใช้ค่าว่า culture คือวัฒนธรรม และ agriculture คือ เกษตร แปลว่าต้องเจริญเติบโตทั้งนั้น มีคนเขียนบทความวิชาการในหัวข้อนี้ไว้หลายคน และเคยมี โครงการของยูเนสโก ร่ ว มกั บ FAO และ WFP ในหั ว ข้ อ นี้ ด้ ว ย และมี ค นเขี ย นหนั ง สื อ เรื่ อ ง The Unsettling of America: Culture & Agriculture [Paperback] ผู้เขียนชื่อ Wendell Berry (Author) น่าสนใจมาก ถือว่าเป็นหนังสือคลาสสิกเล่มหนึ่งของ อเมริกาทีเดียว และพิมพ์หลายครั้งแล้ว Wendell Berry เขามีข้อเสนอมุมมองว่าการท่าการเกษตรนั้น เป็นการพัฒนาวัฒนธรรมและเป็นกิจกรรมที่ เกี่ย วกับจิ ตวิญญาณ แต่ปั จจุบั น การเกษตรกลายเป็นธุรกิจที่แยกห่างจากครอบครัว และบริบททางวัฒ นธรรม คน อเมริกันก็มีชีวิตที่แยกห่างจากที่ดินอีก และชาติอเมริกาทั้งชาติมีชีวิตห่างไกลจากที่ดิน ห่างไกลจากความรู้ทางเกษตร และห่างไกลจากความรักความผูกพันกับการเพาะปลูก และพากันท่าลายธรรมชาติ ยูเนสโกได้ประกาศขึ้นบัญชีอาหารของบางประเทศ เช่น อาหารฝรั่งเศสให้เป็นมรดกที่จับต้องไม่ได้ของมนุษย์ เพราะอาหารฝรั่งเศสสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับการใช้ประโยชน์จากความรู้เกี่ยวกั บธรรมชาติ นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นก็ก่าลังเตรียมจะเสนออาหารญี่ปุ่นเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก ด้วย ส่าหรับประเทศในอาเซียน เป็นสังคมที่มีรากเหง้ามาจากการเกษตรทั้งสิ้น คนอาเซียนเหมือนกันในเรื่อง “การ กินข้าวกินปลา” ถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมที่ส่าคัญที่สืบทอดมาแต่โบราณ มีคนศึกษาไว้ว่า คนในภูมิภาคนี้จะทักทายเมื่อ พบกันด้วยการถามหรือเชิญให้กินข้าวกินปลาเสมอ วัฒ นธรรมอาหารจึงน่าจะเชื่อมโยงคนในอาเซียนให้รู้สึกว่ามีอัต ลักษณ์ร่วมกันได้ง่ายขึ้น วัฒนธรรมข้าว ประเทศทั้งสิบประเทศในอาเซียนล้วนเป็นคนในวัฒนธรรมข้าวด้วยกัน กินข้าวเป็นอาหารหลัก และรู้จักปลูก หุง ต้ม และแปรรูปข้าวเป็นอาหารจานต่างๆ เป็นจ่านวนมากมาแต่โบราณ การกินข้าวจึงเป็นวัฒนธรรม ร่วมของคนในอาเซียน คนอาเซียนส่วนใหญ่ท่านาข้าว เพราะธรรมชาติและดินฟ้าอากาศในเขตมรสุมเขตร้อนเหมาะกับ การท่านาและ การปลูกข้าวมาตั้งแต่บรรพกาล โดยวิธี ไถ หว่าน และปล่อยให้น้่าท่วม ( wet rice cultivation) สืบเนื่องกันมาหลาย


๑๘

ร้ อ ยหลายพั น ปี ปั จ จุ บั น นี้ ป ระเทศใน อาเซี ย นที่ ไม่ ท่ า นาก็ มี แ ต่ สิ ง คโปร์ กั บ บรูไนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีวัฒ นธรรม ท่ า นาบนเขา ซึ่ ง ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ เอาไปขึ้ น บัญชีมรดกโลกไปแล้ว และยังขึ้นบัญ ชี การร้องเพลงระหว่างท่านาบนภูเขาของ ชนกลุ่ ม หนึ่ งนั้ น ไปขึ้น ทะเบี ย นมรดกที่ จับต้องไม่ได้ด้วย ท่านาเสร็ จ เกี่ย วข้ าวเสร็ จ ก็ถึ ง หน้าน้่า น้่าท่วมทุกปีในบางพื้นที่ ผักบุ้ง ผักกะเฉดก็ขึ้นเต็มทุ่งนา น้่าท่วมจึงเป็น ส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนในแถบนี้ ซึ่ง มีวิถีครึ่งบกครึ่งน้่า อยู่เรืออยู่แพกันมานาน น้่าท่วมก็มีประโยชน์ในการท่านา เพราะน้่า ท่วมน่าสารอาหารมาเป็นปุ๋ย ธรรมชาติ และยังท่าให้ปลาชุกชุมด้วย คนในอาเซียนจึงอยู่กับน้่ามาตลอด คนอาเซียนค้าข้าวมานานแล้ว มีหลักฐานโบราณที่ระบุว่าพม่า ชวา ไทย ฟิ ลิปปินส์ เป็นแหล่งปลูกและส่งออก ข้าวที่ส่าคัญไปค้าขายต่างประเทศปีละเป็นหมื่นตันขึ้นไป (ดู Anthony Reid, 1988, Southeast Asia in the Age of Commerce, p 19-24) ในปัจจุบันนี้ ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ ก็ยังท่านากันอยู่อย่างเป็นล่​่า เป็นสันและส่งออกด้วย ยกเว้น บรูไนดารุสซาลามและสิงคโปร์ ที่ต้องซื้อข้าวกินเป็นหลัก คนอาเซียนนับถือเทพแห่งข้าว เช่น ไทยนับถือเทพที่เรียกว่า แม่โพสพ อินโดนีเซียเรียกว่า เดวี ศรี เป็นต้น มี การท่าพิธีไหว้บูชา หรือสมโภช เพราะนับถือข้าวว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ และสร้างสรรค์ชีวิต จึงมีพิธีกรรม ประเพณีเกี่ยว กับข้าวในขั้นตอนต่างๆ เป็นจ่านวนมาก เช่น ในอินโดนีเซียมีการท่าพิธีแต่งงานให้เทพแห่งข้าว ไทยมีการท่าขวัญข้าว และมีการละเล่น ตลอดจนเพลงร้อง และศิลปะการแสดงเกี่ยวข้าว มีส่านวนเกี่ยวกับข้าวอยู่มากมาย คนอาเซียนสร้างสรรค์ต่าราอาหารจากข้าวไว้มาก เฉพาะของไทยเรานั้น มีทั้งส่าหรับคาวหวาน และเครื่องดื่มที่ ท่าจากข้าวที่น่าสนใจและไม่เหมือนใคร เช่น ข้าวแช่ ข้าวเหนียวมะม่วง นี่ยังไม่เห็นชาติไหนประดิดประดอยกินกันเท่า เรา ซึ่งไทยเราก็ยั งส่ารวจและเก็บ รวบรวมกันไม่ครบถ้วน และไม่เป็นระบบสากล และพันธุ์ข้าวทั้งพันธุ์มีอยู่เดิมใน พื้นบ้านพืน้ เมืองและพัฒนาใหม่ก็มีอยู่มากมาย วัฒนธรรมข้าว จึงเป็นจุดร่วมทางอัตลักษณ์วัฒนธรรมที่ส่าคัญในอาเซียน เป็นทั้งภูมิปัญญาที่สืบทอดมาช้านาน เป็นทั้งวัฒนธรรมทางความเชื่อ พิธีกรรม เป็นการสร้างสรรค์ต่อยอด เช่น ต่ารับต่าราอาหารทั้งคาวหวาน และเครื่องดื่ม จากข้าว พันธุ์ข้าวพื้น เมืองในอาเซียนก็มีมาก และมี ผลวิจัยออกมาว่า ข้าวมีสารบางอย่างที่กินแล้วมีความสุข คนใน อาเซียนจึงยิ้มง่าย หัวเราะง่าย มีความสุขง่าย ในปัจจุบัน การพัฒนาทางพันธุกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ก็ ก้าวหน้ามากขึ้น ไม่ทราบว่าพันธ์ข้าวพื้นเมืองเดิมๆ ยังเก็บไว้บ้างหรือไม่? วัฒนธรรมข้าว ยังเป็นวัฒนธรรมร่วมในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี (อาเซียน+ ๓) ด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตที่ส่าคัญ คือ ประเทศคู่เจรจาเช่นสหรัฐอเมริกาก็เป็นประเทศที่ผลิตข้าวโดยสืบทอดวัฒนธรรมนี้มาจากชนเผ่าอินเดีย นดั้งเดิม และได้รับอิทธิพลจากการเข้ายึดครองฟิลิปปินส์และญี่ปุ่น และปัจจุบันอเมริกาผลิตข้าวส่งออกแข่งกับอาเซียน และแปร รูปข้าวและข้าวโพดเป็นอาหารส่าเร็จไปขายทั่วโลกด้วย


๑๙

วัฒนธรรมข้าวจึงเป็นวัฒนธรรมที่คนไทยควรต้องสนใจให้มากขึ้นในทุกๆ ด้าน จะต้องศึกษา ส่ารวจและท่า ประวัติ ท่าทะเบียน จดสิทธิบัตรข้าว และอาหาร ไว้ว่าเป็นวัฒนธรรมไทยก่อนที่จะไปรวมกันเป็นวัฒนธรรมในอาเซียน ด้วย วัฒนธรรมปลา ดินแดนในภูมิภาคอาเซียนมีแม่น้่าล่าธารที่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้น ปลาเป็นอาหารส่าคัญที่มีความ อุดมในภูมิภาคนี้ มีอาหารที่ท่าจากปลามากมายเช่นกัน คนในแถบนี้กินปลาทั้งปลาสดที่น่ามาปรุงเป็นอาหาร และปลาที่ หมักดองเก็บไว้เป็นอาหารได้นานๆ จากบันทึกคนเดินทางตะวันตกจะเห็นว่าเดิมคนในอาเซียนไม่นิยมกินเนื้อสัตว์ใหญ่ ยกเว้น ในพิธีกรรม เช่น การฆ่าควายในการกินฮีดของคนบางกลุ่มชาติพันธ์ (ดู Christoforo Borri, 1633, CochinChina ( III) อ้างใน ใน Reid 1988) คนในอาเซียนเกือบทุกประเทศรู้จักและมีเทคนิคการจับปลาง่ายๆ มาแต่โบราณ โดยการพายเรือออกไปทอดแห และวางลอบ หรือใช้กับดักง่าย ๆ เช่นการยกยอ หรือ กู้อีจู้ การจับปลาในแถบนี้ ท่ากัน จนเรียกว่าเป็นอุตสาหกรรมอย่างที่สองรองจากข้าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ดู John Crawford, 1820 History of Indian Archipelago และ Antonio de Morga 1598, Conditions in The Philippines อ้างในReid เรื่องเดิม) การ กินสัตว์ต่างๆ เกิดขึ้นเมื่อมีชนชาติอื่นเข้ามาอยู่ในดินแดนนี้ ข้าวกับปลาเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ การวาดรูปปลาและท่าเครื่องเล่น เครื่องตบแต่งที่เป็นตัวปลา จึงเป็นอัตลักษณ์ร่วมอีกอย่างหนึ่งในอาเซียน นอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมร่วมกันเกี่ยวกับการหมักดองปลาโดยใช้เกลือเพื่อถนอมอาหาร และแปรรูปอาหาร เช่น การท่ากะปิ (มาเลเซีย เรียกว่า เบลาคาน พม่า เรียก งาปิ เวียตนาม เรียก ย็อกนาม) ท่าปลาร้า น้่าปลา ปลาเค็ม เป็นต้น จึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเกลือ มีรายงานของนักส่ารวจโบราณว่า ดินแดนในอาเซียนเป็นแหล่งเกลือที่ส่าคัญ คนที่อยู่ชายฝั่งทะเล รู้จักการท่าเกลือมาช้านานแล้ว ( Antoni Galvao, 1545, Treatise on Molluccus อ้างใน Reid เรื่องเดิม ) ชวาตะวันออกก็เป็นแหล่งส่งออกเกลือ เช่นเดียวกับ บริเวณ อ่าวไทยและจังหวัดเพชรบุรี ก็เป็นแหล่งผลิต เกลือป้อนกรุงสยามและแหลมมาลายู (ดูบันทึกบาทหลวง Pallegoix, 1854 Description du Royaume Thai ou Siam, 98, 117) ประเทศในแถบนี้จึงมีวัฒนธรรมเกลือด้วย และยังเกี่ยวข้องกับ วัฒ นธรรม ด้านน้่าตาล ที่ท่าจากอ้อย น้่าตาลโตนด มะพร้าว และ น้่าผึ้ง จากเอกสาร ศตวรรษที่ ๑๗ ของญี่ปุ่น ( ดู Ishii Yoneo ๑๙๗๑, Seventeenth Century Japanese Documents about Siam) อยุธยามีการปลูกอ้อย และส่งไปขายญี่ปุ่นเป็นสินค้าที่ส่าคัญ โดยขนไปทางเรือ ส่าเภาจีน ในยุคนั้น ชวาตะวันตกก็เลิก ปลูกพริกไทย หั นมาปลู กอ้อยส่ งไปขายจีน แทน (reid เรื่องเดิม) นอกจากอ้อย ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังท่า น้่าตาลแดงจากตาลโตนด หรือปาล์มน้่าตาล และยังหาน้่าผึ้งป่าที่มีอยู่มากด้วย ดังนั้น วัฒนธรรมการท่าขนมหวานจาก น้่าตาลอ้อย น้่าตาลโตนด และมะพร้าว จึงเป็นวัฒนธรรมร่วมอีกอย่างหนึ่งในดินแดนแถบนี้ วัฒนธรรมอาหารไทยที่มีข้าวปลา อาหารต่างๆ นั้น มีการผสมผสานกับอาหารของหลายวัฒนธรรมแต่มีการ ปรับปรุงใหม่จนเป็นอัตลักษณ์ไทยเกี่ยวกับอาหารนี้ คนไทย จะมีวรรณกรรม และกวีนิพนธ์เกี่ยวกับส่ารับคาวหวาน เช่น กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง และกาพย์เห่เรือพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ เป็นต้น แสดงว่า อาหารได้ถูกยกระดับจากความ จ่าเป็นพื้นฐานในชีวิตประจ่าวัน ขึ้นมาเป็นวรรณศิลป์ในลักษณะที่เรียกได้ว่า วรรณกรรมคลาสสิก ๑.๒.๓ วัฒนธรรมเกี่ยวการดูแลสุขภาพ การดัดตน นวด ประคบ หลีกเลี่ยงการกินของแสลง การกินสมุนไพร ตามฤดูกาล การปรุงยาบ่ารุงต่าง ๆ เป็นมรดกภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาในภูมิภาคอาเซียน บางตัว อาจมีรวมกัน บางตัวอาจเป็นภูมปิ ัญญาเฉพาะของแต่ละชาติ


๒๐

๑.๒.๔ วัฒ นธรรมการย้อมและทอผ้า ทั้งผ้าฝ้าย ผ้ า ไหม ด้ ว ยเทคนิ ค วิ ธี ก ารมั ด ย้ อ มและเพิ่ ม เส้ น ด้ า ยเพื่ อ สร้ า ง ลวดลายสัญลักษณ์ ต่าง ๆ นับเป็ นมรดกวัฒ นธรรมที่ส่าคัญต่อ ผู้ ค นทุ ก ระดั บ ทุ ก เพศทุ ก วัย ในทุ ก ประเทศในอาเซี ย น แม้ แ ต่ บรูไนก็ส่งเสริ มฟื้น ฟู การทอผ้ ายกส่าหรั บ ใช้ในพิธีการ ผ้ าเป็ น การแสดงอั ต ลั ก ษณ์ ข องกลุ่ ม ชน ผ่ า นลวดลายและสี สั น ตลอดจนการออกแบบการแต่งกายในพิธีการต่า งๆ การทอผ้า เป็นการสร้างสรรค์ที่กลายเป็นอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็ก และ ขนาดใหญ่เกือบทุกประเทศในอาเซียน ฝ้ายและไหมเป็นผลผลิต ทางเกษตร สี ย้ อ มตามแบบเดิ ม ก็ ม าจากความรู้ เ กี่ ย วกั บ ธรรมชาติ คนในภูมิภาคนี้มีการแต่งกายตามแบบตะวันตกเป็นที่ นิยมในยุคหนึ่ง แต่ปัจจุบัน เมื่ออาเซียนมารวมกันเป็นครอบครัว เดียวกันแล้ว ก็คงจะสร้างรูปแบบในการแต่งกายที่เป็นอัตลักษณ์ อาเซียนได้ในอนาคต ๑.๒.๕ วัฒนธรรมด้านความเชื่อและศาสนา คนในทุกประเทศในอาเซียน มีวัฒนธรรมการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และภูตผีมาก่อนที่ศาสนาใหญ่ของโลก คือฮินดู พุทธ อิสลามและคริสต์ จะเผยแพร่เข้ามา ความหลากหลายทางความ เชื่อและศาสนานั้น ก็เป็นสิ่งที่คนในอาเซียนจะต้องยอมรับ เคารพในความแตกต่างและพยายามอยู่ร่วมกันให้ได้อย่างดี ด้วย ในด้านประวัติศาสตร์ การสอนและการเรียนประวัติศาสตร์ของประเทศในอาเซียนก็สามารถสร้างอัต ลักษณ์ ทางวัฒนธรรมให้กับคนในอาเซียนได้ หากการสอนประวัติศาสตร์ตอกย้่าแต่ในเรื่องการท่าสงครามอยู่อย่างเดียว ไม่ได้ สอนให้วิเคราะห์บริบททางสังคม ความเชื่อและทางการเมืองในภาพรวมด้วย ก็จะส่งเสริมความคิดในด้านการเป็นศัตรูคู่ แค้นกันมาตั้งแต่อดีตด้านเดียว ซึ่งจะท่าให้ค นในปัจจุบันมีความเกลียดชัง และไม่ไว้วางใจกันในปัจจุบันและในอนาคต ในอดีตนั้นประเทศไทยก็เคยท่าสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านมาโดยรอบทิศ เขาก็เครียดแค้นเรา เราก็เครียดแค้นเขา ในการจะสร้างสันติภาพและประชาคมอาเซียนร่วมกันในอนาคต คงจะต้องสร้างความรู้สึกยอมรับนับถือกัน และกัน ความเข้าใจที่ดีต่อกัน และหาจุดร่วมในประวัติศาสตร์ที่มีไมตรีต่อกันมาสนับสนุน


๒๑

๒.วัฒนธรรมที่หลากหลาย กับการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม ความหมายของค่าว่าวัฒนธรรมที่หลากหลาย แม้แต่ภายในแต่ละประเทศ ก็อาจเข้าใจวัฒนธรรมในมุมมองที่ ต่างกัน ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นความมั่งคั่งทางทุนเดิมที่มีอยู่ในสังคมมาแต่โบราณ และเป็นบ่อเกิดของการ สร้างสรรค์ใหม่เพื่อเพิ่มคุณค่า และมูลค่าให้กับสังคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ในอนาคต ในประเทศไทยและในหลายประเทศในอาเซียน อาจมองว่า วัฒนธรรมจ่าแนกแยกออกได้เป็นหลายประเภท หลายระดับ เช่น ในประเทศไทยอาจจะมี ก. วัฒ นธรรมที่อาจเรี ยกได้ว่ามีลั กษณะไทยคลาสสิ ก คือ มีคุณ ค่าสู ง มีความงามเป็นที่ ยกย่องเชิดชูอย่าง กว้างขวางในหมู่คนที่มีสถานะทางสั งคม และผ่านพัฒ นาปรับปรุงจนสมบูรณ์ แบบในช่วงกาลเวลาที่ผ่านมา เป็นที่ ยอมรับของคนที่มีความรู้ส่วนใหญ่ หรือชนชั้นปกครองในสังคมมานาน ได้รับคัดเลือกและยกย่องว่าเป็นวัฒ นธรรม ระดับชาติ เป็ นศิลปะหรืองานช่างฝีมือระดับสูง มักจะน่าไปจัดแสดงในงานพระราชพิธี รัฐพิธี ในโรงละครแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หรือหอศิลป์แห่งชาติ เป็นต้น วัฒนธรรมในระดับนี้ ต้องรักษาสืบทอดและเผยแพร่มิให้สูญ หายไป แต่ก็สามารถปรับปรุงสร้างสรรค์เพิ่มเติมให้มีคุณค่าโดดเด่นมากขึ้นได้ ไม่ใช่เพียงอนุรักษ์โดยเก็ บเข้าพิพิธภัณฑ์ เท่านั้น นอกจากนี้ ในอนาคตก่อนที่จะเปิดเสรีเป็นสังคมเดียวกัน อาจต้องค่านึงถึงการสงวนสิทธ์หรือก่าหนดข้อสงวน ส่าหรับการแสดงในโอกาสที่เหมาะสม ในสถานที่ที่สมควร หรือการจัดแสดงโดยผู้ที่ผ่านการถ่ายทอดที่ยอมรับเท่านั้น ไว้ ด้วย ข. วัฒนธรรมของกลุ่มชนย่อยในท้องถิ่นต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ มีความ เป็นอยู่ การแสดงออกทางประเพณีและวัฒนธรรม และการสร้างสรรค์เฉพาะของกลุ่มชนมาแต่ดั้งเดิม มีทั้งภาษาต่านาน บอกเล่า พิธีกรรม ดนตรี การฟ้อน การเข้าทรง การสร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรมและศิลปะเฉพาะที่เป็นอัตลักษณ์ของ กลุ่มชน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ความเชื่อ และภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษของกลุ่มชน ที่ได้ถือ ปฏิบัติ สืบต่อกันมา อาจมีการปรับเปลี่ ยนพัฒนาไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปบ้าง แต่ยังมีการปฏิบัติและยอมรับกันใน กลุ่มชนอยู่ มีหัตถกรรมพื้นบ้านที่น่าวัตถุดิบจากธรรมชาติมาสร้างสรรค์เพื่อเป็นของใช้ แต่มีความสวยงามอยู่ในตัว วัฒนธรรมของกลุ่มชนในลักษณะเช่นนี้ควรส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเจ้าของวัฒนธรรมเป็นผู้ปกป้องรักษาและพัฒนาเอง ค. วัฒ นธรรมที่ แ พร่ ห ลายเป็ น ที่ นิ ย มของประชาชนหมู่ ม าก ที่ เป็ น ชนชั้ น กลางถึ งระดั บ แรงงานในสั งคม อุตสาหกรรมสมัยใหม่ สังคมประเภทนี้อาจประกอบด้วย คนหนุ่มสาวที่ย้ายถิ่นที่อยู่เพื่อการศึกษาหรือผู้ที่อพยพมาจาก ชุมชนต่างๆ ทั้งในประเทศ และจากประเทศใกล้เคียงที่เข้ามาท่างานในภาคอุตสาหกรรม ชนในกลุ่มนี้อาจแบ่งเป็นหลาย กลุ่มย่อยและหลายระดับ ต่างกลุ่มก็ต้องการเสพศิลปะและสิ่งสรรค์สร้างวัฒนธรรมที่บันเทิงอารมณ์ ที่ตอบสนองวิถีชีวิต แบบใหม่ของเขา ที่ต้องจากบ้านเกิด จากรากเหง้าวัฒนธรรมเดิมมา และแสวงหาวิถีชีวิ ตและอัตลักษณ์ใหม่ ท่าให้เกิด การผลิตศิลปวัฒนธรรมในปริมาณมาก ในลักษณะสินค้าหรืออุตสาหกรรม ตอบสนองกระแสนิยมทางวัฒนธรรมอย่าง รวดเร็ว นิยมในระยะสั้น ๆ แล้วก็มีการผลิตระลอกใหม่ ๆ มาแทน การผลิตสินค้าและอุตสาหกรรมวัฒนธรรมแบบนี้ ออกมาตอบสนองความนิยมของคนกลุ่มนี้เป็นจ่านวนมาก และสามารถแพร่กระจายกลับไปยังท้องถิ่นของชุมชน หรือ ชนบทเดิมของชนกลุ่มเหล่านี้ ผ่านการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการตลาด มีการเผยแพร่ผลผลิตทางวัฒนธรรมผ่านเวทีขนาด ใหญ่ในสังคม หรือผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ และโทรทัศน์ทมี่ ีการผลิตเป็นเทปจ่านวนมาก ง. การน่าเนื้อหาวัฒนธรรมเก่ามาปรับเปลี่ยนหรือปรุงแต่งใหม่ ในยุคปัจจุบัน การบริโภควัฒนธรรมของไทย เปลี่ยนไป ดังนั้น วัฒนธรรมรูปแบบเดิมอาจถูกน่ามาปรับเปลี่ยนสร้างสรรค์ใหม่ส่าหรับคนรุ่นใหม่และส่าหรับคนนอก วัฒนธรรมที่ไม่รู้จักวัฒนธรรมดั้งเดิม เมื่อวัฒ นธรรมกลายเป็นการค้า และผลิตตามกระบวนการอุตสาหกรรม มีการ แสวงหาวัตถุดิบ มีการน่าเข้าสู่กระบวนการผลิตที่ใช้ทั้งคนและเทคโนโลยี ก็เกิดมีประเด็นเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ เช่น ค่าเขียนบท ค่าวัตถุดิบ ค่าตอบแทนนั กแสดง และศิลปิน และค่าจ้างผู้ผ ลิตด้านเทคนิคและการตลาดที่เข้ามา เกี่ยวข้อง จึงมีประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาทางวัฒนธรรมเข้ามาเป็นประเด็นโต้แย้งในเวทีการค้าโลกด้วย


๒๒

จ. วัฒนธรรมใหม่ที่มี การสร้างสรรค์ผ่านสื่อแบบใหม่ (new media) โดยใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการ สื่อสารสารสนเทศสมัยใหม่ในการผลิต และการเผยแพร่ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต และผ่านเครือข่ายสังคมสมัยใหม่ นิยม แพร่หลายมากในหมู่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกทุกเพศทุกวัย ซึ่งก่าลังเพิ่มจ่านวนอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน นิยมมากที่สุดใน หมู่เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ และกลุ่มชนที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ ทุกคนอาจสร้า งสรรค์และแสดงออก รวมทั้งแบ่ งปั น การบริโภคได้อย่างรวดเร็วและเสรี แต่มีประเด็นเรื่องลิขสิท ธิ์และปัญ หาการละเมิด การหลอกลวง ตลอดจนอาชญากรรมอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมาก ทั้งหมดนี้ ก็เป็นกรอบกว้าง ๆ ส่าหรับการด่าเนินการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมของอาเซียนในอนาคต

๓.เพลงชาติอาเซียน: อัตลักษณ์อาเซียนที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ แม้ ยั ง ไม่ เป็ น ที่ เข้ าใจชั ด เจน ว่ า อั ต ลั ก ษ ณ์ อ าเซี ย น คื อ อ ะไร แ ล ะจะส ร้ า งขึ้ น ได้ อ ย่ า งไร แต่ ที่ ผ่านมา อาเซียนก็ได้เริ่มต้นโดยสร้างความรู้สึกร่วมกันในอาเซียนผ่านโครงการทางวัฒนธรรมที่ด่าเนินไปใน COCI เช่น ในโครงการเกี่ยวกับโบราณสถานและพิพิธภัณฑ์ โครงการด้านดนตรีและศิลปะการแสดง หรือโครงการเกี่ยวกับสิ่งทอ ตามประเพณีเดิม ซึ่งล้วนเสนอจุดร่วมทางด้านอัตลักษณ์วัฒนธรรมทั้งสิ้น ดังจะได้กล่าวในรายละเอียดเกี่ยวกับ COCI ในช่วงต่อไป นอกจากนี้ ยังได้มีการสร้างเพลงชาติอาเซียนขึ้นใช้ ร่วมกันในงานพิธีต่างๆ ของอาเซียน เพื่อเป็นอัตลักษณ์ ร่วมกันของอาเซียน เพลงชาติอาเซียนนี้ ประเทศไทยโดยกระทรวงวัฒนธรรมได้คัดเลือกผลงานของนักแต่งเพลงชาว ไทยที่ ได้ ส่ ง บทนิ พ นธ์ ทั้ ง ดนตรี แ ละค่ า ร้ อ งมาเข้ า ประกวด เพื่ อ คั ด เลื อ กให้ เป็ น เพลงชาติ อ าเซี ย น และในที่ สุ ด คณะกรรมการนานาชาติได้คัดเลือกผลงานของคนไทย หนึ่งรายการ จากบทเพลงที่ทุกประเทศส่งมา ๙๙ รายการ ให้ เป็นเพลงชาติของอาเซียน ( ASEAN Anthem) ไปแล้ว โดยใช้บรรเลงในงานพิธีต่างๆ ของอาเซียน เพื่อแสดงอัตลักษณ์ ของอาเซียน เพลงชาติอาเซียนที่ได้รับเลือกนี้ ชื่อ เพลง The ASEAN Way ประพันธ์ บทร้อง ท่านอง และเรียบเรียง โดย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ นายส่าเภา ไตรอุดม และนางพยอม วลัยพัชรา เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธี เปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๔ ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ที่อ่าเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มี เนื้อร้องภาษาอังกฤษดังนี้ Raise our flag high, sky high Embrace the pride in our heart ASEAN we are bonded as one Look-in out-ward to the world. For peace, our goal from the very start And prosperity to last. We dare to dream we care to share. Together for ASEAN we dare to dream, we care to share for it's the way of ASEAN.


๒๓

เนื้อร้อง ภาษาไทย พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ วันที่เรามาพบกัน อาเซียน เป็นหนึ่ง ดังที่เราปรารถนา เราพร้อมหน้าเดินไปตรงนั้น หล่อหลอมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์ ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล เพลงชาติอาเซียนนี้ ได้มีการน่ ามาเรียบเรียงเป็นทางแจ้ส บ้าง ป๊ อปบ้าง และเปิดในงานของอาเซียนตาม โอกาส แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่ติดตลาดจนถือเป็นเพลงฮิตของอาเซียน ไม่เหมือนเพลงลอยกระทงของครูเอื้อที่ร้อง และ เล่นกันในทุกงานอาเซียนมานานปี หรือแม้แต่เพลงของพี่เบิร์ ด ธงไชย เช่นสบายๆ ที่นักแสดงชาติต่างๆ ของอาเซียนได้ ฟังแล้วต่างรู้จักและร้องได้ ในยุคหนึ่ง เช่น เพลง "สบายๆ" เพราะเป็นความชอบ ความนิยม ความรู้สึกใกล้ตัวใกล้ใจกัน จากความรู้สึก และจิตใจของผู้คน แต่เพลงชาติก็ถือเป็นสัญลักษณ์ทางราชการของอาเซียนที่มุ่งจะให้เกิดความรับรู้ถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียนต่อไปในอนาคต

๔.โครงการความร่วมมือด้านวัฒนธรรมในระหว่างประเทศสมาชิก จากการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลการบริหารจัดการ การส่งเสริมท่านุบ่ารุง และการเผยแพร่วัฒนธรรมของ ประเทศสมาชิกในอาเซียน จะเห็นได้ว่าประเทศส่วนใหญ่เห็นว่าวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่มีความส่าคัญสูงในนโยบายของ ประเทศ และต่างเห็นพ้องต้องกันว่า การปกป้องคุ้มครอง การจัดแสดงและการส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรม เช่นการ แสดงดนตรี การฟ้ อ นร่ า การแสดงออกทางศิ ล ปหั ต ถกรรม และวรรณกรรม งานประเพณี ตลอดจนมรดกทาง โบราณสถาน สถานที่จัดแสดงต่าง ๆ เช่นพิพิธภัณฑ์ หอศิลปะ โรงละคร และลานการแสดงกลางแจ้ง เป็นต้น จะเป็น การประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ดีมากให้กับอาเซียน ในระยะแรก ๆ ของการก่อตั้งอาเซียน ฟิลิปปินส์ได้เสนอจะให้มีศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนเป็นศูนย์ระดับภูมิภาค แต่ให้ตั้งเป็นการถาวรอยู่ที่กรุงมะนิลา แต่ประเทศสมาชิกไม่สนับสนุน และต่อมาเมื่อมีการตั้งกองทุนวัฒนธรรมอาเซียน โดยญี่ ปุ่ น และประเทศสมาชิกร่ว มกัน บริ จาคนั้ น อาเซียนจึงได้ตกลงที่จะให้ มีโครงการร่วมมือแลกเป ลี่ ยนระหว่าง ประเทศอาเซียนด้วยกันในด้านวัฒนธรรม เป็นโครงการแต่ละปีไป โดยมีคณะกรรมการด้านวัฒนธรรมและสื่อสารของ อาเซียน (committee on Culture and Information) เป็นกลไกประสานความร่วมมือในการคัดเลือกกิจกรรมความ ร่วมมือทางวัฒ นธรรม และการสื่อสารระหว่างประเทศด้านต่า งๆ ปีละประมาณ ๕ - ๑๐ โครงการและประเทศทุก ประเทศในอาเซียนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ โดยส่านักเลขาธิการอาเซียนจัดสรรงบประมาณจากกองทุนอาเซียนมา เป็นค่าใช้จ่าย คณะกรรมการด้ านวัฒ นธรรมและสื่อสาร (Committee on Culture and Information หรือ COCI) นี้ ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๗๘ และได้ท่าหน้าที่เป็นกลไกส่ าคัญ ในการก่าหนดทิศทางการด่าเนินงาน และคัดเลื อก โครงการที่เหมาะสมด้านวัฒนธรรม และสื่อสารที่ประเทศสมาชิกของอาเซียนสนใจร่วมกันมากว่า ๓๐ ปีแล้ว โดยมุ่ง ส่ งเสริ ม ความเข้ า ใจอั น ดี และความใกล้ ชิ ด ระหว่ า งประชาชน และสร้ า งสรรค์ ก ารพั ฒ นาในภู มิ ภ าคให้ เพิ่ ม ขึ้ น


๒๔

โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนวัฒนธรรมของอาเซียน ( ASEAN Cultural Fund) ซึ่งได้รับบริจาคจากญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ คณะกรรมการด้านวัฒนธรรมและสื่อสารของอาเซียนหรือ COCI ยังได้เปิดรับที่จะมีความร่วมมือ กับคู่เจรจาต่างๆ เช่นอาเซียนกับออสเตรเลีย อาเซียนกับแคนาดา อาเซียนกับเกาหลี อาเซียนกับสหรัฐอเมริกา อาเซียน กับ อี ซี อาเซียนกับ UNDP เป็นต้น โครงการต่างๆ ของ COCI ที่ได้ด่าเนินมาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๘๐ ถึง ๒๐๑๒ มีดังนี้ ก ในด้านวรรณกรรมและอาเซียนศึกษา (Literary and ASEAN Studies) อาทิ ๑. Exchange of Persons and Fellowships (In South-East Asian Studies) ๒. Anthology on ASEAN Literatures ๓. Conference on ASEAN Literatures (Traditional and Modern) ๔. Literary Resource Materials for Drama Presentations ข ในด้านจดหมายเหตุและหลักฐานเอกสาร Archives and Documentation อาทิ ๑. Shipping Meritime and Waterways ๒. ASEAN Colloquium on Oral History ๓. Exchange of ASEAN Archivists ๔. Joint ASEAN Oral History Project to Interview Senior ASEAN Statesmen ค ในด้านห้องสมุดและทรัพยากรในหอสมุด Libraries and Library Resources อาทิ ๑. Exchange of ASEAN Librarians ๒. Library Networking and Interchange of Materials among ASEAN Libraries ๓. Study on the Promotion of Reading Habits by ASEAN Libraries “Reading for All” ๔. Quality Service for All: Management Training Programme for ASEAN Senior Librarians ๕. Conference on ASEAN Book Development “Books for All” ง ในด้านมรดกวัฒนธรรม Cultural Heritage อาทิ ๑. Intra-ASEAN Archaeological Excavation and Conservation ๒. Exploration of Historical and Cultural Sites of ASEAN ๓. Exchange of Curators of Ethnography on the Material Culture of Peoples of Southeast Asia ๔. Exchange of Curators of Art, Museum/Galleries ๕. Seminar on Museology from ASEAN Perspectives: Planning and Display of History Museum Exhibits in An ASEAN Setting Archives and Documentation จ ในด้านสิ่งพิมพ์และการทาหลักฐานเอกสาร Publication / Documentary อาทิ ๑. Publication of Directory of ASEAN Museums ๒. Children’s Book and Source Materials on ASEAN Cultures


๒๕

๓. Publication on ASEAN Comparative Librarianship ๔. Publication on ASEAN Cultural Heritage ฉ ในด้านทัศนศิลป Visual Arts อาทิ ๑. ASEAN Sculpture Symposium ๒. ASEAN Youth Painting Workshop and Exhibition ๓. ASEAN Youth Sculpture Workshop and Exhibition ๔. Photographic Folio on the ASEAN Sculptures ๕. ASEAN Visual Arts Education Symposium and Workshop ช ในด้านศิลปะและช่างหัตถกรรม Arts and Crafts อาทิ ๑. Comparative Study of Folk Arts and Indigenous Architecture in ASEAN Countries ๒. ASEAN Traditional Folk Arts and Craft Workshop ๓. People-to-People Exchange Programme: ASEAN Cultural Interaction at the Grassroots (๒๐๐๐-๒๐๑๐) ๔. Bamboo: The Staff of Life, ASEAN Bamboo Cultural Resources Development Programme (FY ๒๐๐๒/๒๐๐๓) ซ. ในด้าน การฟ้อนรา ละคร และศิลปะการแสดง Dance / Drama / Performing arts อาทิ ๑. Study of Basic Traditional Dance, Music, Choreography and Visual Arts ๒. Artistes-in-Residence ๓. ASEAN Artistes Creative Interaction ๔. ASEAN Festival of Performing Arts ฌ ในด้านดนตรี Music อาทิ ๑. Preservation of Traditional Technology (Workshop on the Manufacture of Brass Musical Instruments) ๒. ASEAN Youth Music Workshop ๓. ASEAN Composers Forum on Traditional Music ญ ในด้าน การจัดนิทรรศการ Exhibition อาทิ ๑. Exhibition of Photographs on ASEAN Cultural Heritage ๒. ASEAN Exhibition of Children’s Art ๓. Travelling Exhibition of Paintings and Photographs ๔. ASEAN Travelling Exhibition of Paintings, Photography and Children’s Arts ฎ ในด้านค่ายเยาวชน. Youth Camp อาทิ ๑. ASEAN Youth Friendship Camp ๑๙๙๘: Nature Hug (Philippines)


๒๖

๒. ASEAN Youth Friendship Camp ๑๙๙๙: The Study of Cultural Heritage (Thailand) ๓. ASEAN Youth Camp 2001: Trail of Unit (Malaysia) ๔. ASEAN Youth Camp 2002: Honouring Kindness Through the Arts (Myanmar) ฏ ในด้าน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ Creative Industries ๑. Towards a Regional Cultural Enterprise : A Forum on the ASEAN SMCEs (๒๐๑๐) ๒. Arts Management Series in the Creative Industries (2010) นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่อาเซียนร่วมจัดกันกับคู่เจรจา (ASEAN-Dialogues) ดังนี้ ASEAN-Australia ๑. Art Museum Professional Workshop and Study Tour ๒. A Regional ASEAN Policy and Strategy for Cultural Heritage ๓. Developing an ASEAN Model for Cultural Mapping ASEAN-China ๑.Joint Experts Meeting for the Establishment of a Programme Framework on ASEAN-China Cultural Cooperation (FY2003/2004) ๒.ASEAN-China Cultural Performance and Symphony Orchestra ๓.ASEAN-China Youth Camp (Thailand, Myanmar, China; 2010) ASEAN-Japan ๑.ASEAN-Japan Multinational Cultural Mission ๒.ASEAN-Japan Symphony Orchestra (2003) ๓.ASEAN-Japan Children’s Kindness Installation Project ASEAN-Republic of Korea ๑.ASEAN-ROK Study Tour of Korean Libraries by Senior Librarians ๒.ASEAN-ROK Cultural Leadership Exchange Programme ๓.Korea-ASEAN Artists Exchange Fellowship Programme ASEAN-New Zealand ๑. ASEAN-New Zealand Inter-Institution Linkages Programme: Sharing of Library Resources on Ethnobotany ASEAN+3 ๑.The Networking of East Asian Culture Heritage (NEACH) (Thailand, China, Myanmar, Malaysia, Japan; 2005/ 2006/ 2007/ 2008/ 2009)


๒๗

๒.The 10+3 Training Program on Cooperation for Cultural Human Resource Development (China, 2006/2007/2008/2009) ๓.ASEAN+3 Workshop on Risk Preparedness for the Preservation of Cultural Heritage (Thailand, 2009) ๔.ASEAN+3 Workshop on the Role of Movies in Promoting East Asia (Thailand, 2009) (ข้อมูลจาก งานร่วมมืออาเซียน สตสป กระทรวงวัฒนธรรม ) จาก โครงการของ COCI ที่น่ามาสรุปหัวข้อเป็นภาษาอังกฤษเสนอไว้ข้างต้น จะเห็นว่ามีครอบคลุมทุกด้าน กิจกรรมเหล่านี้ ช่วยกระชับ มิตรภาพในระดับศิล ปินและผู้ ปฏิบัติงานวัฒ นธรรม และสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ สมาชิกอาเซียน ที่หลากหลายกัน แต่มารวมกันได้ในระดับศิลปินกับศิลปิน ช่างฝีมือกับช่างฝีมือ ประชาชนคนดูกับ ศิลปิน เป็นต้น ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้มากขึ้น และยังส่งเสริมให้ ภาพลักษณ์ของอาเซียน มีความโดดเด่นชัดเจนขึ้นในสายตาของประชาชนอาเซียนเอง ผ่านสื่อมวลชนอาเซียน และออก ปรากฏสู่สายตาชาวโลกด้วย นอกจากนี้ผลของกิจกรรมหลายด้านที่ได้ตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม หรือผลิตออกเป็นวีดีทัศน์ เทป ซึ่งเป็นทรัพยากรส่าหรับการศึกษาค้นคว้า และใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ตามหนังสือ สิ่งพิมพ์และวีดีโอ เหล่านี้ ล้วนใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ ท่าให้ประชาชนชาวอาเซียนจ่านวนมาก รวมทั้งคนไทย ที่ไม่เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ รับรู้ได้ไม่มากเท่าที่ควร.

สรุป ในปั จ จุบั น ในประเทศไทย มีการพู ดคุยและสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเตรียมตัว เข้าสู่ ประชาคม อาเซียนกันมาก อย่างไรก็ตามการพูดคุยและสร้างความเข้าใจเหล่านั้นยังเน้นในเรื่อง “ประชาคมเศรษฐกิจ ” แต่ด้าน เดียว ทั้ง ๆ ที่ เป้าหมายของการสร้างประชาคมอาเซียนเป็นหนึ่งนั้น ตั้งอยู่บนเสาหลัก ๓ ด้าน คือ ๑.เสาหลักประชาคม อาเซียนด้านความมั่นคง ๒.เสาหลักประชาคมอาเซียนด้านเศรษฐกิจ และ ๓.เสาหลักประชาคมอาเซียนด้านสังคมและ วัฒ นธรรม ซึ่งด้านที่ ๓ นี้ มีรายละเอียดมากมาย เพราะครอบคลุมงานที่เกี่ยวกับประชาชนในระดับต่าง ๆ ทั้งด้าน สวัส ดิการสังคม ด้านการศึกษา ด้านสุ ขภาพอนามัย และด้านวัฒ นธรรม ซึ่งด้านวัฒ นธรรมเพียงเรื่องเดียวนั้น ก็มี ประเด็ น ที่ ส ลั บ ซั บ ซ้อ นที่ ต้ องช่ ว ยกั น คิด ช่ ว ยกั น สร้างสรรค์ ดั งได้ วิเคราะห์ ไว้ข้างต้น แล้ ว มิ ฉะนั้ น การรวมกั น เป็ น ประชาคมหนึ่งเดียวกันก็คงจะแบ่งแยก แบ่งส่วน แบ่งกลุ่มกันตามแต่วัฒนธรรมของกลุ่มใด ส่วนใด จะเชื่อมถึงกันได้ เป็ น ส่ วน ๆ โดยไม่ร วมกลุ่มต่าง ๆ ให้ ยอมรับนั บถือซึ่งกันและกัน และอยู่ร่ว มกันด้วยส่ านึกร่วมกันว่าพวกเราเป็ น ประชาคมเดียวกัน และต้องอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ช่วยกันสร้างความไพบูลย์พัฒนาให้แก่ประชาคมอาเซียนโดยรวมให้ ได้

บรรณานุกรม ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน ASEAN Socio-Cultural Community ASCC Blueprint. สืบค้นเมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ จาก www.siamintelligence.com/asean-socio-cultural-community-ascc-blueprint ประชาคมอาเซี ย น. สื บ ค้ น เมื่ อ ๑ สิ ง หาคม ๒๕๕๘ จาก www.aseancommunity roadshow.com/ aseancommunity/ culture.html สาวิตรี สุวรรณสถิต. (๒๕๕๖). อัตลักษณ์และวัฒนธรรมแห่งประชาคมอาเซียน. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา. ปีที่ ๕ ฉบับประจ่าปี ๒๕๕๖. หน้า ๕ – ๑๗.


๒๘

อาเซียนหลังปี ๒๕๕๘ วิสัยทัศน์ของประชาคมอาเซียนภายหลังปี ๒๕๕๘ (ASEAN Community’s Post ๒๐๑๕ Vision) การสร้าง ประชาคมอาเซียนเป็นกระบวนการที่ต้องด่าเนินการอย่างต่อเนื่อง แม้ภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ แล้วก็ตาม ... ปัจจุบันอาเซียนอยู่ในระหว่างกระบวนการจัดท่าวิสัยทัศน์อาเซียนหลังปี ๒๕๕๘ ซึ่งต้องสะท้อนความ ต้องการของประชาชน เน้ น ให้ ป ระชาชน เป็น ศูนย์ก ลาง และต่อยอดจากสิ่ งที่ด่าเนินการส่ าเร็จแล้ ว เพื่อรักษาให้ อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีสันติภาพและเสถียรภาพ รวมทั้งผลักดันการ รวมตัวทางเศรษฐกิจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และส่งเสริม ความร่วมมือกับประเทศนอกภูมิภาคอย่างใกล้ชิด โดยมีอาเซียนเป็นตัวขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือในภูมิภาค

แล้วท่านคิดว่าอาเซียนหลังปี ๒๕๕๘ จะเป็นอย่างไร .............................................................................................................................................................................. ......................................................................................................................................................... ................................... ............................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................................ ..................................................................................................................................................................... ....................... ............................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................................


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.