เอกสารประกอบกิจกรรมอยุธยาศึกษาวิชาการ ”พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งย

Page 1


โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิต กิจกรรรมอยุธยาศึกษาวิชาการ สัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติ

“พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” วันศุกร์ที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ อาคาร ๑๐๐ ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

จัดพิมพ์โดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มีนาคม ๒๕๕๘ จานวน ๒๕๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ ฝ่ายบริหาร ดร.จงกล เฮงสุวรรณ อาจารย์กันยารัตน์ คงพร อาจารย์สุรินทร์ ศรีสงั ข์งาม อาจารย์อุมาภรณ์ กล้าหาญ ว่าที่ร้อยตรีหญิง รัตติยา พาวินัย

ฝ่ายบริหารงานทัว่ ไป ณัฐฐิญา แก้วแหวน สายรุ้ง กล่​่าเพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์ ยุพดี ป้อมทอง

ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน

ฝ่ายส่งเสริม และเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว


สารบัญ พิพิธภัณฑ์บริบาล กับการจัดการมรดกวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ศาสตราจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร์

ชะพูชะอู: วงปี่พาทย์กะเหรี่ยงโป จังหวัดกาญจนบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัญ กาญจนประดิษฐ์

๔๖


อาเศียรวาทสดุดีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวาระทรงมีพระชนมายุครบ ๕ รอบนักษัตรสัฐิพรรษา ๒ เมษายน ๒๕๕๘ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ กรานเกศกมลมนสิการ โอษฐ์เอื้อนและอวยวจบวร อัญเชิญพระไตรรุจิรรัต ชนไทยถวายสุวรทรวง สมเด็จพระเทพรตนรา จงรักและภักดิ์ปิยอนันต์ ด้วยทรงประกอบพระกรณีย์ ทั้งศาสตรศิลปะพิไล ไพร่ฟ้าประชาพระอนุกูล ทรงเกื้อกรุณธุรภาร ตามรอยพระบาทพระปิตุรา แดนนั้นก็พลันทุรกษัย ครบสัฏฐิวรรษชนมวาร ขอทรงเกษมกิติยพร

ณ พสุนทราธรณ์ ทวิเมษมาสสรวง นกระพัดหทัยปวง ณ พระบาทพระมิ่งขวัญ ชสุดาสีนิรันดร์ สุจริตเสมอไป ศุภศรีขจรไกล ก็พิพัฒนานาน บริบูรณ์เขษมศานติ์ ทนุถิ่นประเทศไทย ชประพาส ณ แดนใด ชนชื่นพระอาทร มณิกานต์นรากร ข้าพระบาทถวายเทอญ ประพันธ์โดย นางอมรา หันตรา ผู้ได้รับรางวัลบุษราคัมมณีศรีราชภัฏ ครั้งที่ ๑๐


พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ของ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นที่ประจักษ์ชัดทุกด้าน และสะท้อนให้ประชาชนชาวไทย ได้เห็นอย่างสม่​่าเสมอ ไม่ว่าจะเป็นพระราชด่ารัส พระราชด่าริ พระราชนิพนธ์ หรือบทพระราชสัมภาษณ์ หรือในข่าวพระราชส่านัก พระอัจฉริยภาพและความสนพระราชหฤทัยด้านต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ รัฐบาลในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงประกาศให้วันที่ ๒ เมษายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น

“วันอนุรักษ์มรดกของชาติ” ตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตราบจนปัจจุบนั


โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิต กิจกรรรมอยุธยาศึกษาวิชาการ

สัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการ อนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” วันศุกร์ที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ อาคาร ๑๐๐ ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. ๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น.

๐๙.๓๐ – ๑๐.๑๕ น.

๑๐.๑๕ – ๑๐.๓๐ น. ๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.

๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๐ น. ๑๔.๔๐ – ๑๖.๐๐ น.

ลงทะเบียน และชมนิทรรศการ “พลวัตของท้องถิ่นกับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อ ความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” พิธีเปิดกิจกรรมอยุธยาศึกษาวิชาการ ผู้อ่านวยการสถาบันอยุธยาศึกษา กล่าวรายงาน รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กล่าว เปิดงาน และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น” การบรรยายประกอบการสาธิต “ดนตรีเฉลิมพระเกียรติชุดตระนวมินทร์” วิทยากรโดย ครูสาราญ เกิดผล ศิลปินแห่งชาติ ประจ่าปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) พักรับประทานอาหารว่าง การบรรยายเรื่อง “พลวัตของท้องถิ่นกับการอนุรักษ์สืบสานภูมิวัฒนธรรม และชุมชน” วิทยากรโดย ศาสตราจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พักกลางวัน การบรรยายประกอบการสาธิต “พลวัตจากความหลากหลายและเชื้อชาติในกระแส วัฒนธรรมอาเซียน กรณีศึกษา ดนตรีกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ” วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ ดร.มานพ วิสทุ ธิแพทย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พักรับประทานอาหารว่าง การบรรยายประกอบการสาธิต “พลวัตของท้องถิ่นกับการสืบสานการละเล่นพื้นบ้าน” วิทยากรโดย ดร.สุขสันติ แวงวรรณ วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง อาจารย์ อุมาภรณ์ กล้าหาญ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา


หลักสูตรอยุธยาศึกษาวิชาการ สัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” ๑.ชื่อหลักสูตร: หลักสูตรอยุธยาศึกษาวิชาการสัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนใน กระแสวัฒนธรรมอาเซียน” ๒.หน่วยงานผู้รับผิดชอบ: สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๓.หลักการและเหตุผล: ภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนเราผ่านกระบวนการ ศึกษา สัง เกตคิดวิเคราะห์จนเกิดปัญ ญา และตกผลึกมาเป็ นองค์ความรู้ที่ประกอบกัน ขึ้น มาจาก ความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง และอาจกล่าวไว้ว่า ภูมิปัญ ญาท้องถิ่นจัดเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ สมัยใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการ และการปรับตัวในการด่าเนินชีวิตของ คนเรา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชนและในการตัวของผู้รู้เอง หากมีการ สืบค้นหาเพื่อศึกษา และน่ามาใช้ก็จะเป็นที่รู้จักกันเกิดการยอมรับ ถ่ายทอด และพัฒนาไปสู่คนรุ่น ใหม่ตามยุคตามสมัยได้ ด้วยเหตุนี้ ภูมิปัญญา จึงเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกตัวตนของคนในท้องถิ่นต่าง ๆ ได้อย่างดี ทว่าในปั จจุบั น สภาพสั งคมเปลี่ ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้ งความเจริญ ก้ าวหน้ าทางเทคโนโลยี ประกอบกับกระแสวัฒนธรรมอาเซียนที่ก่าลังจะเข้ามาสู่สังคมไทยเมื่อเปิดประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ย่อมส่งผลกระทบต่อภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ดั ง นั้ น เนื่ อ งใน โอกาสมหามงคลเฉลิ ม พระชนมายุ ๖๐ พรรษา สมเด็ จ พระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ที่พระองค์ทรงเป็น “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และ “วิศิษฏศิลปิน” นั้น สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ในฐานะที่ เป็น หน่ วยงานที่ท่ าหน้ าที่ในการส่งเสริม การอนุรัก ษ์ และสืบ สานศิล ปวัฒ นธรรมประจ่าท้ องถิ่ น พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีวิสัยทัศน์เป็นศูนย์ข้อมูลด้านวัฒนธรรมอยุธยาที่มีคุณภาพ เป็นสถาบันที่เชิด ชู และส่ ง เสริ ม การประยุ ก ต์ ใช้ ข้ อ มู ล ทางวั ฒ นธรรมอยุ ธ ยาเพื่ อ การพั ฒ นาสั ง คมอย่ า งยั่ ง ยื น เห็นสมควรจัดกิจกรรมอยุธยาศึกษาวิชาการ สัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง “พลวัตของ ท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุ มารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ และเพื่ อ ปลูก จิ ตส่ านึ ก และ เผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรม


อาเซีย น อัน เป็ นการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างสถาบั นอยุธยาศึกษา กับหน่วยงานทาง วิชาการ และหน่วยงานทางการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในท้องถิ่น และจังหวัดต่าง ๆ กิ จ กรรมการอบรมทางวิ ช าการ “อยุ ธ ยาศึ ก ษาสั ญ จร” ประกอบด้ ว ยการบรรยาย ประกอบการสาธิต “ดนตรีเฉลิมพระเกียรติชุดตระนวมินทร์” การบรรยายเรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิวัฒนธรรมและชุมชน” การบรรยายประกอบการสาธิต “พลวัตจากความ หลากหลายและเชื้อชาติในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน กรณีศึกษา ดนตรีกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ” และการบรรยายประกอบการสาธิต “พลวัตของท้องถิ่นกับการสืบสานการละเล่นพื้นบ้าน” โดย วิท ยากรเป็ น ผู้ท รงคุ ณ วุฒิ จากหลายสถาบัน การศึก ษา เกี่ย วกับ ศิ ลปวัฒ นธรรม และภู มิ ปั ญ ญา ท้องถิ่น พร้อมด้วย นิทรรศการ “พลวัตของท้องถิ่นกับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญ ญา เพื่อความ ยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” ๔.วัตถุประสงค์: ๑) เพื่ อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาส ฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ อันเป็นการส่านึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงเป็น “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และ “วิศิษฏศิลปิน” ๒) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒ นธรรม และภูมิปัญ ญาท้องถิ่น จากเนื้อหาการ อภิปราย ประกอบการสาธิตของนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ๓) เพื่ อปลูกจิตส่านึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญ ญาท้องถิ่น เพื่อความยั่ง ยืนใน กระแสวัฒนธรรมอาเซียน ๔) เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างสถาบันอยุธยาศึกษา กับหน่วยงานทาง วิชาการ และหน่วยงานทางการศึกษาต่าง ๆ ๕.สาระส่าคัญของหลักสูตร: หลักสูตรหลักสูตรอยุธยาศึกษาวิชาการสัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง “พลวัต ของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” เป็น หลักสูตรสัมมนาเพื่อการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ๖.หัวเรื่องและขอบข่ายเนื้อหา: หัวเรื่อง: ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ขอบข่ายเนื้อหา : การสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ๗.รูปแบบ และวิธีการฝึกอบรม ๗.๑ รูปแบบการฝึกอบรม: การสัมมนาทางวิชาการ ๗.๒ วิธีการฝึกอบรม: การสัมมนาทางวิชาการ โดยวิทยากรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากหลาย สถาบันการศึกษา เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น


๘.ระยะเวลาการฝึกอบรม: ๑ วัน ๙.จ่านวนผู้เข้ารับการอบรม: ๒๕๐ คน ๑๐.คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม: นักวิชาการ อาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ๑๑.ค่าใช้จ่าย: งบประมาณจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๑๒.การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม: ๑๒.๑ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๒.๒ ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๒.๓ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถน่าความรู้ไปใช้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๓.วิทยากร: ๑๓.๑ ครูส่าราญ เกิดผล และคณะ ศิลปินแห่งชาติ ประจ่าปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ๑๓.๒ ศาสตราจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๑๓.๓ รองศาสตราจารย์ ดร.มานพ วิสุทธิแพทย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๑๓.๔ ดร.สุขสันติ แวงวรรณ วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง ๑๔.สื่อการอบรม: ๑๔.๑ เอกสารประกอบการสัมมนา ๑๔.๒ จอแสดงภาพประกอบ ๑๔.๓ นิทรรศการ “พลวัตของท้องถิ่นกับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืน ในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” ๑๕.สถานที่ฝึกอบรม: ห้องประชุมใหญ่ อาคาร ๑๐๐ ปี ศูนย์ภาษาและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา


ปรัชญา รอบรู้ เชิดชู สู่สร้างสรรค์ วัฒนธรรมอยุธยา

วิสัยทัศน์ สถาบันอยุธยาศึกษา เป็นศูนย์ข้อมูลด้านวัฒนธรรมอยุธยาที่มีคุณภาพเป็นสถาบันที่เชิดชู และส่งเสริมการประยุกต์ใช้ข้อมูลทางวัฒนธรรมอยุธยาเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

พันธกิจ ๑. รวบรวม ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมอยุธยา ๒. อนุรักษ์ สืบสาน ส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมอยุธยา ๓. ส่งเสริม และสนับสนุนการน่าแนวทางพระราชด่าริ และข้อมูลทางวัฒนธรรมอยุธยามา ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสังคมปัจจุบันอย่างยั่งยืน

เอกลักษณ์ของสถาบันอยุธยาศึกษา เป็นหน่วยงานที่รอบรู้ และเชิดชูวัฒนธรรมอยุธยา

บทบาทหน้าที่ของสถาบันอยุธยาศึกษา สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นหน่วยงานที่ท่าหน้าที่ ในการด่าเนินงานด้านการศึ กษา ค้นคว้า วิจัยเรื่องราวและสืบค้น ข้อมูล เกี่ยวกับ ประวัติ ศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะและวัฒ นธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญ ญาท้องถิ่นให้การส่งเสริมสนับสนุนในการผลิต บัณฑิต การอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่และท่านุบ่ารุงศิลปวัฒนธรรมไทย สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ ให้การบริการข้อมูลเกี่ยวกับอยุธยาศึกษาศิลปะและวัฒนธรรมการละเล่นพื้นเมือง คติชนวิทยา ฯลฯ ของภาคกลางแก่ผู้สนใจทั่วไปทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ



สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

พิพิธภัณฑ์บริบาล กับการจัดการมรดกวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ศาสตราจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร์ ศูนย์ศึกษาพัฒนาโบราณคดีชุมชน (archaeopen centre Thailand) บทความวิชาการประกอบการบรรยายในการสัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่นกับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” จัดโดยสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘

ที่มา : พุทธทาสภิกขุ (๒๕๓๙) : ป่วย ๓ เดือน เกิดสมุดเล่มนี้ มกรา-กุมภา-มีนา ๓๕. คาปรารภของผู้เขียนบทความ พระนครศรีอยุธยามีพิพธิ ภัณฑ์ภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย แต่ปัจจุบันยังไม่ได้ใช้พิพิธภัณฑ์เป็นวิธีการ ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเท่าที่ควรจะเป็น มีพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นจานวนน้อยจนน่าตกใจ และไม่มีหอศิลปะเลยสักแห่งเดียว


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

บทนา ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๕๓ ข้าพเจ้าได้ใช้กิจกรรมการพัฒนาพิพิธภัณฑ์แหล่งโบราณคดี และพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น ในต าบลนาซาวและต าบลบ่ อ สวก อ าเภอเมื อ งน่ า น จั ง หวั ด น่ า น ชุ ม ชนบ้ านบั ว ต าบลแม่ ก า อาเภอเมือง จังหวัดพะเยา และชุมชนวัดพระปรางค์ ตาบลเชิงกลัด อาเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ในการจัดการทรัพยากรวัฒ นธรรม ทรัพยากรวัฒนธรรมในวัด และทรัพยากรวัฒนธรรมพื้นบ้านได้ ประสบความสาเร็จ และได้น าเอาประสบการณ์มาเขียนเป็นเอกสารทางวิชาการตีพิมพ์ เผยแพร่ จานวน ๘ เล่ม ประกอบด้วย (๑) โบราณคดีชุมชน:การจัดการอดีตของชาวบ้านกับการพัฒนาชุมชน (๒๕๔๖) (๒) การฟื้ น ฟูพ ลั งชุม ชนด้ว ยการจัด การทรัพ ยากรวัฒ นธรรมและพิ พิธ ภัณ ฑ์ : แนวคิ ด วิธีการและประสบการณ์จากเมืองน่าน (๒๕๔๗) (๓) การจัดการโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์โดยองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (๒๕๔๘) (๔) กระบวนการโบราณคดี ชุ ม ชน การวิ จั ย เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารพั ฒ นาแบบมี ส่ ว นร่ ว มเพื่ อ เสริมสร้างความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน (๒๕๔๘) (๕) การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในงานพัฒนาชุมชน (๒๕๔๘) (๖) การจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีในงานพัฒนาชุมชน (๒๕๕๐) (๗) สิบปีโบราณคดีชุมชน (๒๕๕๓) (๘) อารยะพะเยาที่แหล่งเตาเวียงบัว (๒๕๕๕) ในหนังสือทั้ง ๘ เล่ม ได้นาเสนอแนวคิดเรื่องการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นการพัฒนา ศักยภาพของผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่นด้วยกระบวนการพิพิธภัณฑ์บาบัดไปบ้างแล้ว แต่บางส่วน อาจจะเก่าไป ในบทความนี้ จึงนาเอาเนื้ อหาที่ เกี่ ยวข้อ งกั บพิ พิ ธภัณ ฑ์ ชุมชนท้ องถิ่น ของหนัง สื อ ทั้ง ๘ เล่มดังกล่าว มาปรับปรุงให้ทันสมัย และนาเอาคาบรรยายเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ ชุมชนท้องถิ่นที่ข้าพเจ้าได้รับเชิญไปบรรยายในโอกาสต่าง ๆ และที่ใช้ในการสอนรายวิชาการจัดการ ทรัพยากรวัฒนธรรมในงานพัฒนาชุมชนมาใส่ไว้เพื่อให้เนื้อหามีความสมบูรณ์ และมีตัวอย่างที่เป็น รูปธรรมมากยิ่งขึ้น ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่นักพัฒนา นักศึกษา นักจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม ผู้สนใจเรื่องพิพิธภัณฑ์ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นที่มีความสนใจเรื่องนี้มากกว่า ในห้วงเวลาที่ผ่านมา


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

ทาไม? ฅนไทยไม่ค่อยสนใจพิพิธภัณฑ์ เมื่ อ เอ่ ย ถึ ง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ หรื อ มิ ว เซี ย ม : museum ฅนไทยส่ ว นมากมั ก จะนึ ก ถึ ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สังกัดกรมศิลปากรที่จัดแสดงโบราณวัตถุประเภทพระพุ ทธรูป เทวรูป ถ้วยโถโอชาม ของเก่า ของหายาก หรือของแปลกประหลาด ที่ฅนไทยส่วนใหญ่เมื่อได้เข้าไปชมครั้ง หนึ่งแล้วเกิดความรู้สึกไม่ค่อยประทับใจ ไม่น่าสนใจ และไม่เกิดแรงจูงใจที่จะต้องแวะเวียนเข้าไปชม อีกเป็นครั้งที่สองครั้งที่สามหรืออีกหลาย ๆ ครั้ง เหตุที่ฅนไทยทั่วไปไม่ค่อยให้ ความสนใจและให้ความสาคัญ ต่อพิพิธภัณ ฑ์ที่จัดแสดงวัตถุ สิ่ง ของโบราณ และเรื่องราวของสังคมวัฒ นธรรมในอดีต และไม่สนใจที่จะสร้างพิพิธภัณฑสถาน ท้องถิ่น หรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีหลายสาเหตุ เหตุปัจจัยสาคัญประการหนึ่งคงเป็นเพราะว่าในระบบการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาสังคม ไปสู่ความทันสมัยในห้วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ฅนไทยไม่ได้ถูกสอนให้สนใจอดีตในฐานะที่เป็น เรื่ อ งของคุ ณ ค่ า ทางสั ง คมวั ฒ นธรรม แต่ ก ลั บ ถู ก สอนให้ ม องว่ า อดี ต ความเชื่ อ ศาสนา และ ประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานานเป็นเรื่องของความงมงาย ไม่มี เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตร์กายภาพ/วิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ) และเป็นอุปสรรคต่อการ พัฒนาไปสู่ความก้าวหน้า ทาให้ฅนไทยรุ่นใหม่ที่ผ่านระบบการศึกษาแผนใหม่ขาดสานึกเรื่องอดีต ไม่สนใจประวัติศาสตร์ความเป็นมาของตนเองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ สนใจเฉพาะตัวเอง มีความเป็น ปัจเจกชนมากเกินไป มองเห็นวัตถุสิ่งของโบราณที่เป็นมรดกทางสังคมวัฒนธรรมเป็น เพียงสินค้ามีมูลค่าด้านการซื้อขายมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ ประกอบกับในระยะเวลาที่ผ่านมาการจัดการพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยส่วนมากดาเนินการ โดยหน่ วยราชการ มีแ บบแผนมาตรฐานที่ ต้อ งดาเนิ นการโดยผู้ที่ไ ด้รับ การศึ กษาอบรมวิชาการ พิพิธภัณฑ์สมัยใหม่และวิชาชีพเฉพาะทางหลายด้าน ทาให้หน่วยงาน องค์กร สถาบัน ชุมชนท้องถิ่น ที่ถูกมองว่าไม่มีความรู้ ขาดประสบการณ์ ไม่มีเจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จึงขาดความมั่นใจไม่ กล้าที่จะสร้างและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานของตนเองขึ้นมาเพราะกลัวว่าจะไม่ได้มาตรฐาน กลัวว่าจะ ไม่ได้รับการยอมรับ เหตุผลสาคัญอีกประการหนึ่งที่ทาให้ฅนในท้องถิ่นไม่สร้างและไม่สามารถพัฒนา พิพิธภัณ ฑ์ไ ด้ก็เพราะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าถ้าบุคคลใด หน่วยงานใด องค์กรใดจะสร้าง พิพิ ธ ภัณ ฑ์ ห รือ สถานที่ จั ดแสดงวัตถุ สิ่งของที่ เรี ยกว่า พิ พิ ธ ภัณ ฑ์ จะต้ องได้รั บอนุ ญ าตจากกรม ศิลปากร หากไม่ได้รับอนุญ าตก็ไม่สามารถดาเนินการได้ ซึ่ง ในความเป็น จริงแล้วกรมศิลปากรมี อานาจในการควบคุมดูแลเฉพาะพิพิธภัณฑ์ประเภทที่เรียกว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (National Museum) เท่านั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ กาหนดว่ าการจะให้ สถานที่ ใดเป็ น พิ พิ ธภั ณ ฑสถานแห่ งชาติ ได้ จะต้ อ งประกาศใน


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

ราชกิ จ จานุ เบกษาหรื อ การจะถอนสภาพสถานที่ ใดจากการเป็ น พิ พิ ธภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ ต้ อ ง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่...กรมศิลปากรไม่มีอานาจในการอนุญ าตหรือ ไม่อ นุญ าตให้ ใครสร้างหรือ ไม่สร้าง พิพิธภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หมายความว่าในความเป็นจริงแล้ว เรื่องพิพิธภัณฑสถานเป็นสิทธิสาธารณะ ที่ใคร บุคคลใด กลุ่มใด ชุมชนใด องค์กรใดก็สามารถ สร้างและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานเพื่อใช้ประโยชน์ในทางการพัฒนาชุมชนและสังคมส่วนรวมได้ โดยอิสระแต่จะต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมหรือเป็นการเบียดเบียนตนเอง ฅนอื่น สัตว์อื่นและสิ่งอื่นจน ก่อให้เกิดปัญหาในระบบความสัมพันธ์ระหว่างกันเท่านั้น

พิพิธภัณฑ์และความสาคัญของพิพิธภัณฑ์ เมื่ อ ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๐๐ มี ฅ นร้ า ยลั ก ลอบขุ ด กรุ ใต้ ฐ านพระปรางค์ วั ด ราชบู ร ณะที่ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ทางราชการเข้ า ระงั บ เหตุ แ ละขุ ด ค้ น เพิ่ ม เติ ม ได้ โบราณ วั ต ถุ ส าคั ญ ที่ มี ค่ า จ านวนมาก พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชเสด็ จ ทอดพระเนตรสถานที่ และโบราณวัตถุ ทรงมีกระแสพระราชดารัสสาคัญ เรื่องการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานเพื่อเก็บรักษา และจัดแสดงโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่รวบรวมไว้ได้ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยไม่ต้องนาเข้า ไปเก็ บ รั ก ษาหรื อ จั ด แสดงในพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานในกรุ ง เทพฯ ซึ่ ง กรมศิ ล ปากรได้ รั บ สนองแนว พระราชดาริ จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อจัด แสดงโบราณวัตถุที่ขุดได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบู รณะโดยนาเอาพระพิมพ์จานวนหนึ่งที่ขุดพบใน กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะออกจาหน่ายให้ประชาชนเช่า รวบรวมเงินมาใช้ในการก่อสร้างอาคาร พิพิธภัณฑ์ฯ และในวันที่ ๒๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุ ล ยเดช และสมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พ ระบรมราชิ นี น าถ เสด็ จ พระราชด าเนิ น ทรงเปิ ด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาและมีพระราชดารัสที่ทรงชี้ถึงความจาเป็นที่ประเทศและ ชุมชนท้องถิ่นจะต้องมีพิพิธภัณฑ์ไว้เป็นเครื่องแสดงเกียรติภูมิ ดังนี้ ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้มาเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาในวันนี้ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานทั้งหลายนั้น ล้วนเป็นของมีคุณค่าและจาเป็น แก่การศึกษาค้นคว้าในทางประวัติศ าสตร์ ศิล ปะ และโบราณคดี เป็นเครื่องแสดงถึง ความ เจริญรุ่งเรืองของชาติไทยที่มีมาแต่อดีตกาล สมควรจะสงวนรักษาให้คงทนถาวร เป็นสมบัติ ส่วนรวมของชาติไว้ตลอดกาล โดยเฉพาะโบราณวัตถุ ควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้นักศึกษาและประชาชนได้ชมและศึกษาหาความรู้ให้ มากและทั่วถึงยิ่งกว่าที่ เป็นอยู่ในขณะนี้


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

ข้าพเจ้าได้คิดมานานแล้วว่า โบราณวัตถุและศิลปวัตถุของท้องถิ่นใด ก็ควรจะเก็บรักษา แล ะตั้ ง แสดงไว้ ใ นพิ พิ ธภั ณ ฑ สถาน แห่ งช าติ ข องจั ง ห วั ด นั้ น ๆ ข้ า พ เจ้ า พ อใจ ที่ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารและกรมศิ ล ปากรที่ เห็ น พ้ อ งด้ วย และท าได้ ส าเร็จ เป็ น แห่ ง แรกที่ จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยานี้ กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาเคยเป็ น ราชธานี อั น รุ่ ง เรื อ งอยู่ ถึ ง ๔๑๗ ปี มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุอันควรแก่การสนใจศึกษามากมาย ถ้าเราพิจารณา ตามความเจริ ญ รุ่ ง เรื อ งของกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาที่ เ คยมี ม าแต่ อ ดี ต แล้ ว จะเห็ น กั น ได้ ว่ า พิพิธภัณ ฑสถานแห่ งชาติเท่ าที่มี อยู่นี้ คงจะน้อยไปเสียอีก ที่จ ะเก็บรวบรวมและตั้งแสดง โบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี ผู้ ก ล่ า วกั น ว่ า ขณะนี้ มี ผู้ ส นใจและหาซื้ อ โบราณวั ต ถุ แ ละศิ ล ปวั ต ถุ ส่ ง ออกไป ต่างประเทศกันมาก ถ้าต่อไปภายหน้า เราจะต้องไปศึกษาหรือชมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุของ ไทยเราเองในต่ างประเทศ ก็ ค งจะเป็ น เรื่ อ งที่ น่ าเศร้า และน่ า อั บ อายมาก เราจึ ง ควรจะ ขวนขวายและช่ ว ยกั น หาทางรวบรวมโบราณวั ต ถุ แ ละศิ ล ปวั ต ถุ ข องเรา แล้ ว จั ด สร้ า ง พิพิธภัณฑสถานเก็บรักษาไว้จะเป็นการดีที่สุด จริงอยู่งานดังกล่าวนี้จะต้องใช้เวลาและเงินมาก แต่ก็เชื่อว่าถ้าทุก ๆ ฝ่ายได้ร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจังแล้ว ก็คงจะสาเร็จลุล่วงไปได้ บั ด นี้ ได้ เวลาแล้ ว ข้ า พเจ้ า ขอเปิ ด พิ พิ ธภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ เจ้ าสามพระยา ขอให้ พิพิธภัณฑสถานแห่งนี้ จงสถิตสถาพร อานวยประโยชน์ในด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ ศิลปะ และโบราณคดีแก่นักศึกษาและประชาชนโดยกว้างขวาง และหวังว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยานี้จะเป็นสมบัติอันควรพากภูมิใจของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและคนไทย ทั่วไปตลอดกาลนาน.

ความทั้ งสิ้ น ในกระแสพระราชด ารั ส ที่ อั ญ เชิ ญ มาดั ง กล่ า วชี้ ให้ เห็ น ว่ า พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ฯ ทรงตระหนั ก ในพระราชหฤทั ย ว่ า พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ เป็ น สิ่ ง จ าเป็ น ไม่ แ ต่ เฉพาะใน ระดับประเทศเท่านั้น เมื่อพิจารณาให้ถ่องแท้ก็จะเห็นว่าพิพิธภัณฑ์เป็นเรื่องจาเป็นสาหรับสังคมใน ทุก ระดับ เพราะในแต่ ละสั งคมแต่ละชุม ชน แต่ ละกลุ่ม ฅน แต่ ละวั ฒ นธรรมต่ างก็มีวั ตถุโบราณ ศิ ล ปวั ต ถุ ซึ่ ง เป็ น ผลิ ต ผลทางวั ฒ นธรรมทั้ ง ที่ มี ส ภาพเป็ น มรดก (heritage) และเป็ น วั ต ถุ ท าง วัฒนธรรมร่วมสมัยยังใช้ประโยชน์ (creativity/cultural present) อยู่มากมาย พระองค์ท่านทรงชี้ ว่าวัตถุทั้ง หลายเหล่านั้นมีประโยชน์ในทางการศึกษา และเป็นวัตถุพยานแสดงความเป็นมาของ สัง คมระดั บ นั้ น ๆ ผู้ ฅ นและสมาชิ ก ของสั งคมหรื อ ชุ มชนนั้ น ๆ ก็ ค วรจะต้ อ งขวนขวายช่ว ยกั น รวบรวมวัตถุโบราณ ศิลปวัตถุเอามาเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ที่ช่วยกันสร้างขึ้น มา ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมและชุมชนนั้น ๆ ในระยะยาว นอกจากกระแสพระราชดารัสข้างต้นที่ให้ความสาคัญ กับพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณ ศิลปวัตถุ แล้ว ยังมีพิพิธภัณ ฑ์ในความหมายและรู ปแบบที่ทรงเรียกว่า พิพิธภัณ ฑ์มีชีวิต หรือ พิพิธภัณ ฑ์ ธรรมชาติ มีชีวิต (living museum) ที่มีเป้าหมายทางการพั ฒ นาวัฒ นธรรมชุมชน และทรงพระ


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

กรุ ณ าโปรดเกล้า ฯ ให้ ด าเนิ น การในลั ก ษณะ โครงการศู น ย์ ศึ ก ษาการพั ฒ นาอั น เนื่ อ งมาจาก พระราชด าริ โดยมีพระราชประสงค์ให้ศูน ย์ฯดังกล่าวเป็ น แหล่งทดลอง ค้นคว้า ศึกษาด้านการ พัฒนาการเกษตร การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานของราษฎร พสกนิ ก รสามารถเข้ า ไปเรี ย นรู้ ทั้ ง ความส าเร็ จ และความล้ ม เหลวของการพั ฒ นามิ ติ ต่ า ง ๆ ที่ ด าเนิ น การในรู ป แบบสหวิ ท ยาการ ซึ่ ง ในปั จ จุ บั น มี ศู น ย์ ศึ ก ษาการพั ฒ นาอั น เนื่ อ งมาจาก พระราชด าริที่เป็นเสมื อนพิ พิธภัณ ฑ์ มีชีวิต ดาเนิ นการเป็น แบบอย่ างกระจายอยู่ในส่วนภูมิภ าค ทั่วประเทศ ๖ แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดาริ อาเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดาริ อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรี ศูนย์ศึ กษาการพั ฒ นาอ่าวคุ้ง กระเบนอัน เนื่องมาจากพระราชดาริ อาเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดาริ อาเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดาริ อาเภอดอยสะเก็ด จัง หวัด เชี ยงใหม่ และศูน ย์ ศึก ษาการพั ฒ นาพิ กุล ทองอัน เนื่ อ งมาจากพระราชดาริ อ าเภอเมื อ ง จัง หวัดนราธิว าส และยังมี อีก แห่ งหนึ่ งอยู่ ที่อ ยู่ที่ พ ระต าหนั กจิต รลดา พระราชวัง ดุสิ ต ใจกลาง กรุงเทพมหานคร สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ทรงกล่ า วถึ ง ความ ส าคั ญ ของ พิพิธภัณฑ์ในพระราชดารัสเปิดการประชุมสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างประเทศ ณ กรุงโซล ประเทศ เกาหลี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๗ (อัญเชิญมาอ้างใน. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ก้าวไปด้วยกัน. ๒๕๔๗, น.๓) ความว่า พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ คื อ การเล่ า เรื่ อ งราวชี วิ ต ของคนกลุ่ ม หนึ่ ง ให้ ค นกลุ่ ม อื่ น ได้ รั บ รู้ และ กระบวนการเล่าเรื่องนี้ทาให้สมาชิกชุมชนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมกันทบทวนเรื่องราวความรู้จาก อดีต และนามาเป็นกาลังสาหรับปัจจุบัน และอนาคตต่อไปพิพิธภัณฑ์ทาให้ได้ความรู้กว้างไกล ด้วยหนทางที่ย่นย่อ

สถานะของพิพิธภั ณ ฑ์โดยทั่วไปจึงเป็ นเสมือนห้องรับแขกของหน่วยทางสั งคมและการ ปกครองระดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับตาบล อาเภอ จังหวัด เมือง หรือประเทศ ที่รวบรวมสิ่งของ ที่เป็นวัตถุโบราณที่มีคุณ ค่าทางประวัติศาสตร์ -โบราณคดี งานฝีมือทางศิลปะที่สวยงาม วัตถุที่ มี คุณ ค่าทางศาสนาความเชื่อ เอกสารทางประวัติศาสตร์ รูปภาพ สิ่ง ของเครื่องใช้ในกิจการต่าง ๆ ที่ควรแก่การชี้ชวนให้ฅน ต่างถิ่น ฅนต่างวัฒนธรรมได้ชื่นชมและรับรู้ จะว่าไปแล้ว พิ พิธภัณ ฑ์ ไม่ใช่เรื่องแปลกในวิถีชีวิตของเราทุ กวัน นี้ เพราะเรามั กจะชอบ สะสมวัตถุสิ่งของ และเอาวัตถุสิ่งของที่สะสมไว้นั้นมาตกแต่งประดับประดาที่อยู่อาศัย ที่ทางาน เพื่อ ชื่นชมด้วยตนเองและเพื่อเอาไว้อวดผู้มาเยือนอีกทางหนึ่ง ด้วย บ้านเรือนส่วนมากในสมัยนี้มักจัด


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

บริ เวณไว้ รั บ แขกไว้ ต รงมุ ม ใดมุ ม หนึ่ ง ของบ้ า น หรื อ ไม่ ก็ จั ด ไว้ เป็ น สั ด ส่ ว นในห้ อ งใดห้ อ งหนึ่ ง โดยเฉพาะ ซึ่ ง ในห้ อ งรั บ แขกนั้ น มั ก มี ก ารตกแต่ ง ประดั บ ประดาสวยงาม มี ตู้ ใส่ วั ต ถุ สิ่ ง ของที่ มี ความสาคั ญ ส าหรับ เจ้ าของบ้าน ทั้งที่ เป็ น ของเก่า ของโบราณ ภาพถ่ าย ใบประกาศนี ยบั ตร ใบ ปริญ ญาบั ตร ของที่ระลึก ถ้วยโถโอชาม ฯลฯ ที่ล้วนแต่เป็นของดีมีคุณ ค่าในทางจิตใจของผู้เป็ น เจ้าของ และเมื่ อมีแขกมายี่ ยมเยือนก็ถือโอกาสอวดของเหล่านั้ น มี การอธิบายที่ม าหรือประวัติ สิ่งของเหล่านั้นด้วยความภาคภูมิใจ ซึ่งพฤติการณ์เช่นนี้เป็นไปในลักษณะเดียวกับการจัดพิพิธภัณฑ์ นั่นเอง สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ หรือ ICOM (International Council of Museums) (อ้างใน จิรา จงกล ๒๕๓๒, น.๔) ให้ความหมายของคาว่า พิพิธภัณฑสถาน หรือ MUSEUM คือ สถาบั น บริการสั งคมที่ไม่ มุ่งสร้า งกาไร ท าหน้ าที่ ใ นการรวบรวม สงวนรักษา ศึ กษาวิ จัย ให้ ความรู้ และจัดแสดงสิ่งที่เป็นหลักฐานสาคัญของมนุษย์และธรรมชาติแวดล้อ มเพื่อประโยชน์ ทางด้านการค้นคว้า การศึกษา และความเพลิดเพลิน ซึ่งสิ่งสาคัญนั้นประกอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถาน สิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ และวัตถุตามธรรมชาติ นอกจากนี้ พิพิธภัณ ฑ์โดยทั่วไปยัง มีความหมายรวมไปถึง สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัต ว์ สถานอภิบาลและแสดงสัตว์น้า วนอุทยาน ศูนย์วิทยาศาสตร์และศูนย์แสดงทางดาราศาสตร์ หอ ศิลปะ ฯลฯ โดยทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายหลัก ๆ ร่วมกัน คือ (๑) แสวงหาให้ได้มาซึ่งวัตถุในการจัดแสดง (๒) ดูแล รักษาอนุรักษ์วัตถุที่จัดแสดงให้อยู่ครบคงทนยาวนาน (๓) ศึก ษาค้ น คว้า ทั้ งส่ วนที่ เกี่ ย วกับ วัต ถุ สิ่ ง ของที่ จั ด แสดงและการบริห าร จัดการพิพิธภัณฑ์ (๔) การสื่อความหมายและการจัดแสดง ศาสตราจารย์พิเศษ พิสิฐ เจริญวงศ์ (๒๕๓๘) ผู้ทรงคุณวุฒิทางโบราณคดีและการจัดการ ทรัพยากรวัฒ นธรรม ปัจจุบัน เป็นผู้อ านวยการศูน ย์โบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่ งภู มิภาคเอเชี ย ตะวันออกเฉียงใต้ (SPAFA) ให้ความหมายของ พิพิธภัณฑ์ ว่าหมายถึง แหล่งรวมความรู้ทั้งหลาย ของมนุษย์ ในขณะที่ เจราลด์ จอร์จ (Gerald George) และ ซินดี้ แชเรล-เลียว (Cindy SherrellLeo) ผู้เขียนหนังสือแนะแนวทางการวางแผนพิพิธภัณฑ์ ชื่อ Starting Right : A Basic Guide to Museum Planning (1989, p.25) ระบุ ว่า พิ พิ ธภั ณ ฑ์ คื อ องค์ กรที่ ท าหน้ าที่ ใ นการดู แ ล จัดการวัตถุที่มีความสาคัญให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาปัญญาของมนุษยชาติ และ จอร์จ บี. กู๊ ด (George B. Goode) นั ก พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วิ ท ยาผู้ ที่ มี บ ทบาทส าคั ญ ในการบุ ก เบิ ก และพั ฒ นา พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์ คือ สถานอภิบาลความคิดที่มี


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

ชี วิ ต ไม่ ใ ช่ สุ ส าน เก็ บ ขอ งเก่ า : Museum is a nursery of living thoughts, not as a cemetery of bric-a-brac. กิจการพิพิธภัณ ฑ์และพิพิธภัณฑสถานถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคมและชุมชน ระดั บ ต่ า ง ๆ ของโลกมาเป็ น เวลานานแล้ ว ในประเทศฝรั่ ง เศสหลั ง การปฏิ วั ติ ป ระชาธิ ป ไตย พิพิธภัณฑ์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ประชาธิปไตย เป็นเครื่องมือในการสร้างวัฒนธรรมชาติ และสร้างแรงจูงใจในการสร้างประชาธิปไตย ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานในประเทศพัฒนาอย่างเช่น ญี่ ปุ่ น สหรัฐอเมริก า ฝรั่งเศส อังกฤษ ออสเตรเลี ย เดนมาร์ก เยอรมนี ฯลฯ ได้ก ลายเป็ นแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทั ศ นศึ กษาที่ ส ร้ างรายได้ ให้ กั บ หน่ วยงาน องค์ ก ร มหานคร เทศบาล เมื อ ง องค์ ก าร ปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่น หรือบุคคลที่เป็นเจ้าของเป็นจานวนมาก ทุ กวั น นี้ ก ารพั ฒ นาพิ พิ ธภั ณ ฑสถานในประเทศไทยได้ เข้าไปมี บ ทบาทอยู่ ในองค์ก รทุ ก ประเภท เช่น รัฐสภาก็มีพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ในสัง กัด นอกจากนี้ กระทรวงทบวงกรมอื่ น ๆ ก็ ส ร้ า งและพั ฒ นาพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ รู ป แบบต่ า ง ๆ ขึ้ น มาอี ก มากมาย ทั้งพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ พิพิ ธภัณ ฑ์การเกษตร พิพิธภัณ ฑ์ไดโนเสาร์ พิพิธภัณฑ์ ผ้า พิพิธภัณ ฑ์ เครื่องปั้นดินเผา พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์/ชนเผ่า พิพิธภัณฑ์ฝิ่น พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ฯลฯ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งรัฐบาลที่ผ่านมาก็ให้ความสนใจกับการลงทุนพัฒนาพิพิธภัณฑสถานขนาดใหญ่ตามแบบแผน ของพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ส มิ ธ โซเนี ย น ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก าด้ ว ยงบประมาณจ านวนมากในพื้ น ที่ เกาะรัตนโกสินทร์ เพื่อใช้เป็นแหล่งรวมความรู้สาหรับการจัดการศึกษา และใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว สาคัญของกรุงเทพมหานคร ซึ่งขณะนี้มีสถาบันพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้แห่งชาติได้เปิดดาเนินการ มาระยะหนึ่งแล้วในบริเวณที่ตั้งกระทรวงพาณิชย์(เดิม) ย่านท่าเตียน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร รู้จักกันดีในชื่อ มิวเซียมสยาม : Museum Siam ที่ใช้สัญลักษณ์รูป “คนกบแดง” เป็นตราสถาบัน พระราชบัญ ญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ให้ความสาคัญ ต่อพิพิ ธภัณฑสถานใน ฐานะที่ เป็ น แหล่ งเรีย นรู้ส าหรั บ การจั ด การศึ ก ษา ทั้ ง การศึก ษาในระบบ การศึก ษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยหรือการศึกษาตลอดชีวิต เห็นได้จากการที่สานักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสาคัญ ต่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑสถาน รูปแบบต่าง ๆ ในระยะที่ผ่านมา และมีการส่งเสริมให้เกิดความตื่นตัวของชุมชนท้องถิ่นที่จะสร้าง และพัฒนาพิพิธภัณฑสถานรูปลักษณะต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม สารวจพบว่าปัจจุบันใน ประเทศไทยมี พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานอยู่ ห ลายรู ป แบบและหลายเจ้ า ของรวม ๆ กั น แล้ ว มี อ ยู่ ร าว ๑,๐๐๐ แห่ง เฉพาะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ถือเป็นพิ พิธภัณฑสถานแบบมาตรฐานที่จัดแสดง โบราณวั ต ถุ แ ละศิ ล ปวั ต ถุ ใ นทางโบราณคดี แ ละประวั ติ ศ าสตร์ มี ก ระจั ด กระจายอยู่ ทั้ ง ใน กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดจานวน ๔๔ แห่ง นอกนั้นเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชน พิพิธภัณฑ์ของ


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

สถาบั น การศึ ก ษา วัด โบสถ์ องค์ ก รปกครองส่ว นท้ อ งถิ่ น หน่ ว ยราชการ องค์ ก รธุ รกิ จ เอกชน และองค์กรธุรกิจมหาชน ที่ น่ า สนใจคื อ ในระยะสิ บ กว่ า ปี ที่ ผ่ า นมามี พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง เป็ น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ขนาดเล็ก ดาเนินงานโดยบุคคลและองค์กรชุมชนในท้องถิ่นต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นจานวนมาก แสดงให้ เห็นว่าฅนในประเทศไทยใส่ใจกับประวิติศาสตร์ความเป็นมาในอดี ตและพยายามจัดการทรัพยากร วัฒนธรรมที่เป็นหลักฐานของอดีตในรูปแบบพิพิธภัณฑ์กันมากขึ้น และทาให้เกิดความเข้าใจโดยทั่ว กัน ว่าพิ พิธ ภัณ ฑ์ ก็ไม่ได้เป็ น เรื่อ งที่ ผู กขาดทาได้แ ต่จ าเพาะหน่วยราชการ องค์ กรเชี่ยวชาญตาม กฎหมาย หรือนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอีกต่อไป ใคร ๆ ก็ทาพิพิธภัณฑ์ได้ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ใ นประเทศไทยเกิ ด ขึ้ น ในราชส านั ก และแวดวงราชการมาตั้ ง แต่ รั ช สมั ย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ไม่ได้แพร่หลายลงไปสู่ระดับชุมชน เพราะพิพิธภัณ ฑ์ ไม่ใช่วัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวสยามโดยทั่วไป ผู้คนในสังคมไทยแต่เดิมไม่ใคร่นิยมทาและไม่ค่ อย คุ้ น เคยกั บ การสะสมเพื่ อ อวดโชว์ และก็ จ ะเห็ น ได้ ว่ า แม้ ในปั จ จุ บั น พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานส่ ว นใหญ่ โดยเฉพาะพิ พิธภัณ ฑสถานแห่งชาติที่ให้ความสาคัญ กับวัตถุและสาระความรู้ทางโบราณคดีและ ประวัติศาสตร์นั้นยังถูกจัดการโดยผู้คนในองค์กรราชการ และองค์กรวิชาการ(สถาบันการศึกษา) โดยมีวัตถุประสงค์ในการสงวนรักษาสมบัติทางวัฒ นธรรมไว้สาหรับรัฐชาติแทบทั้งสิ้น เพิ่งจะมีการ ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ระดับท้องถิ่นต่าง ๆ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง ในภาพรวมจึงกล่าวได้ว่าพิพิธภัณฑ์ หรือพิพิธภัณฑสถานโดยทั่วไป เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ความรู้ และการจัดการความรู้ที่ผ่านการศึกษาวิจัย การจัดแสดงวัตถุสิ่งของและเรื่องราวของ วัตถุสิ่งของในสังคมวัฒนธรรมของพื้นที่ต่าง ๆ ที่มุ่งให้เกิดประโยชน์แก่การเรียนรู้ของฅน นั่นเอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ของหน่วยราชการ พิพิธภัณฑ์ในสถาบันอุดมศึกษาส่วน ใหญ่มีแบบแผนการจัดการที่พยายามใช้มาตรฐานสากล มีภารกิจและขั้นตอนการทางานที่เป็นระบบ ค่อนข้างตายตัว ได้แก่ (๑) การเสาะแสวงหาเก็บรวบรวมวัตถุเพื่อการจัดแสดง (๒) การสงวนรักษาวัตถุให้คงทน (๓) การศึกษาค้นคว้าวิจัยเรื่องราวของวัตถุที่รวบรวมมาได้ (๔) การบันทึกข้อมูลและการจัดทาทะเบียนวัตถุสิ่งของ (๕) การจัดแสดง (๖) การให้บริการการศึกษาและการประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ และ (๗) การรักษาความปลอดภัย พิพิธภัณฑ์กลุ่มนี้มีการจัดโครงสร้างองค์กรที่มีคนทางานแยกส่วนไปตามความชานาญตาม ระบบสากล ประกอบด้ ว ย ภั ณ ฑ ารั ก ษ์ (curator) นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ห รื อ นั ก อนุ รั ก ษ์ วั ต ถุ (conservation scientist) เจ้ า หน้ า ที่ ฝ่ า ยจั ด นิ ท รรศการ (exhibition staff) เจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ก าร


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๑๐

การศึกษา (education staff) เจ้าหน้าที่ธุรการ (administrative staff) และเจ้าหน้าที่รักษาความ ปลอดภัย (security staff) ในแต่ละกลุ่มงานมีคนทางานจานวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของ พิพิธภัณฑ์ ซึ่งนอกจากข้อกาหนดดังกล่าวแล้ว พิพิธภัณฑ์แบบมาตรฐานยังมีข้อกาหนดสัดส่วนพื้นที่ ใช้สอยในอาคารพิพิธภัณฑ์ออกเป็นส่วนต่าง ๆ ได้แก่  ส่วนเบื้องหน้า ประกอบด้วยส่วนจัดแสดงหรือส่วนนิทรรศการ ส่วนบริการ สถานที่ จอดรถ ห้องจาหน่ายบัตรเข้าชม โถงต้อนรับและประชาสัมพันธ์ สถานที่รับฝากของ ห้องบรรยาย ห้องอาหาร/ภัตตาคาร ร้านขายหนังสือและของที่ระลึก ห้องสันทนาการ สาหรับเด็ก ห้องสารสนเทศ ห้องน้า  ส่ว นเบื้ อ งหลั ง ได้แ ก่ ส านั ก งานบริห าร อาคาร/ห้ องปฏิ บั ติ การอนุ รัก ษ์ วัต ถุ ส่ ว น ปฏิบัติการด้านเทคนิคจัดแสดง คลังเก็บวัตถุ

พิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ชุมชน (community museum) พิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น (local museum) หมายถึง แหล่ง สถานที่ รวบรวมและ/หรือจัด แสดงหลักฐานทางโบราณคดี วัตถุโบราณ สิ่งของ เครื่องใช้ วัตถุทางวัฒนธรรม รวมทั้งความรู้ภูมิปัญญา เรื่องราวประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรม ชุม ชนท้ อ งถิ่น ที่ มี อ ยู่ ห รือ เคยมีอ ยู่ ในชุม ชนหรือ ท้ อ งถิ่ น นั้ น ๆ ซึ่ ง อาจจะเป็ น สถานที่ บ้ านเรื อ น สิ่งก่อสร้างสมัยโบราณที่โดยอายุ รูปแบบทางศิลปะ สถาปัตยกรรม หรือประวัติความเป็นมาเป็น ประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องราวของชุมชนนั้น ๆ ที่รวมเรียกว่าโบราณสถาน แหล่งโบราณคดี หรือ อาคารสถานที่ ที่ ก่ อ สร้ างขึ้ น ใหม่ เพื่ อ ใช้ จั ด แสดงข้ อ มู ล หลั ก ฐานทางโบราณคดี แ ละทรัพ ยากร วัฒนธรรมต่าง ๆ ของชุมชน หรืออาจะเป็นสถานที่อื่นใดที่แสดงถึงนัย สาคัญทางวัฒนธรรมชุมชน ท้องถิ่นให้ฅนในชุมชนและฅนนอกชุมชนรับรู้เข้าใจได้อย่างถ่องแท้ หากมองว่ า โลกใบนี้ เป็ น สั ง คมใหญ่ ประเทศไทยก็ เ ป็ น เสมื อ นชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น เล็ ก ๆ ที่มีอัตลักษณ์ /เอกลักษณ์ทางสังคมวัฒนธรรมเฉพาะของตนเอง และเมื่อมองว่าประเทศไทยเป็น สังคมใหญ่ ในสังคมไทยก็ย่อมประกอบด้วยชุมชนท้องถิ่นย่อย ๆ ที่มีวัฒนธรรมท้องถิ่นแตกต่างกัน ออกไปจานวนมาก และวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นมิได้ดารงอยู่อย่างอิสระแยกขาดออกจากกันโดยสิ้นเชิง หากมี ความเชื่อมโยงเกาะเกี่ ยวกระชับกั นอย่างสอดคล้อ งเป็น กระบวนการก่อ ให้ เกิด เป็น สัง คม วัฒนธรรมขนาดใหญ่ที่สืบทอดกันมายาวนานจนถึงทุกวันนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม (ใน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ๒๕๓๙, น.๑๑๑) อธิบายถึงความหมายและคุณลักษณะของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นไว้ว่า


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๑๑

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น คือ สถานที่จัดแสดงของที่ทาให้คนในท้องถิ่นรู้จักถิ่น รู้จักตนเองว่า อยู่ที่ไหน มีสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างใด มีหลักฐานความเก่าแก่ในการ ตั้งถิ่นฐานและการปรับตัวเองเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมาอย่างใด และในการ ปรับตัวดังกล่าวทาให้ต้องพัฒนาเทคโนโลยีอย่างใดขึ้นมาควบคุม เรื่อยลงมาถึงพัฒนาการทาง สังคม การเมืองและเศรษฐกิจในท้องถิ่นที่จะทาให้แลเห็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมใน ปัจจุบันและอนาคตได้ การจัดพิพิธภัณฑ์ที่ทาให้คนได้เห็นจากสิ่งที่เป็นจริงใกล้ตัวดังกล่าวนี้ จะเป็นพื้นฐานสาคัญที่นาไปสู่การสร้างสรรค์นานาประการ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการศึกษานอก ระบบที่อาจสร้างดุลยภาพกับการศึกษาในระบบที่เน้นการเรียนรู้สิ่งไกลตัว การเชื่อและการ ท่องจาแบบคิดไม่เป็นอยู่ในขณะนี้ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นนั้นแลเห็นได้จากข้อมูลและหลักฐานที่ นามาแสดง ประกอบด้วย หลักฐานทางโบราณคดี (archaeological pasts) ที่เป็นที่มาของ ประวั ติ ศ าสตร์ ท างวั ฒ นธรรม (cultural history) รวมทั้ ง หลั ก ฐานเกี่ ย วกั บ ชาติ พั น ธุ์ (ethnological present) ซึ่งได้จากวัตถุสิ่งของและคาบอกเล่าของคนในท้องถิ่น เป็นที่มาของ ประวัติศาสตร์ทางสังคม

ในทางทฤษฎี ข้าพเจ้า (สายันต์ ไพรชาญจิตร์) มีสมมติฐานว่าพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นมี คุณประโยชน์ (functions) ในฐานะที่เป็นทั้งเครื่องมือและวิธีการ (means) ในกระบวนการพัฒนา ชุมชน ซึ่งก็คือ เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างศักยภาพและฟื้นฟูพลังของชุมชนท้อ งถิ่นให้สามารถจัดการ ทรัพยากรวัฒนธรรมในชุมชนของตนเอง ส่งเสริมให้ชาวบ้าน สมาชิกของชุมชนเข้าไปมีส่วน ร่วมในกระบวนการจัดการ ตั้งแต่ การศึกษาวิจัย การสารวจค้นหา ทาแผนที่และบัญชีทรัพยากร วัฒนธรรม การประเมินคุณค่าและศักยภาพของทรัพยากรวัฒนธรรม การวางแผนการจัดการ การอนุรักษ์/บริรักษ์ การสงวนและการบูรณะปฏิสังขรณ์ การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์/นิทรรศการ การเผยแพร่ การฟื้ นฟู และการจัด การเชิ งธุรกิจชุ มชน เป็ น กระบวนการแลกเปลี่ย นเรียนรู้ ระหว่างฅนในชุมชนกับนักวิชาการและนักพัฒนาจากภายนอก และระหว่างสมาชิกในชุมชนที่มี ความรู้และประสบการณ์เรื่องทรัพยากรวัฒนธรรมแตกต่างกัน ก่อให้เกิดความเสียสละ ความ เอื้ออารีเกื้อกูล ทานุบารุงแก่กันและกันในหมู่สมาชิกของชุมชน ก่อให้ เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ ร่วมกัน ทาให้ชาวบ้านมีความภาคภูมิใจในชุมชน รักถิ่นฐานบ้านเกิด เป็นพื้นที่แสดงความเป็น ตัวตนของฅนในชุมชนให้ฅนทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้เห็นและยอมรับ ทาให้ฅนในชุมชน รู้สึกได้ว่ามีศักดิ์ศรี และประการสาคัญที่สุดก็คือ พิพิธภัณ ฑ์ชุมชน เป็นเครื่องมือในกระบวนการ สร้างความรู้และฟื้นฟูภูมิปัญญาที่นาไปสู่การพัฒนาชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองทุก ๆ มิติได้อย่าง แท้จริง ดัง นั้ น หากจะปรับ ประยุ ก ต์แ นวคิ ด การท าพิ พิ ธภั ณ ฑ์ ในระดั บ เมื อ งหรื อระดั บ ประเทศ (พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ ) เอาไปใช้ ในการจั ด การพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น ในระดั บ หมู่ บ้ า น และระดับครัวเรือน ก็คงไม่ยากที่จะอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือทา


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๑๒

ไม่ได้ เพราะแท้จริงแล้วชาวบ้านก็มีพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวอยู่ในบ้านกันอยู่แล้วไม่อยู่ในรูปห้องรับแขกก็ อยู่ ในรูป ของตู้ โชว์ หรื อไม่ ก็อ ยู่ในรูป ของการตกแต่ ง ประดั บ ประดาตามฝาบ้ าน หรือ ไม่ก็ อยู่ ใน ลักษณะมุมเก็บของซึ่งเป็นวิธีการที่ชาวบ้านทาได้และคุ้นเคยอยู่แล้ว เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของชุมชนโดยทั่วไป และด้วยแนวคิดเช่นนี้ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นและความเชื่อมั่นว่าการจัดการ พิพิธภัณฑ์ชุมชน จะเป็นกรรมวิธีหนึ่งในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชน ได้อีกแนวทางหนึ่ง ในปัจจุบันมีแนวคิดในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นบางแนวคิดมุ่งเน้นให้พิพิธภัณฑ์ ชุมชนมีลักษณะเป็นศูนย์รวมของทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่นโดยวิธีการจัดการแบบรวม ศูนย์อานาจแบบรัฐ (state-based management) มากกว่าการจัดการให้มีกระจายไปตามสภาพ ความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งแนวคิดและวิธีก ารดั งกล่าวอาจจะไม่ สอดคล้องกับ หลักธรรมชาติ แนวพระราชด าริ เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง หลัก การพั ฒ นาชุ ม ชน และเป้ าประสงค์ ที่ มุ่ ง พั ฒ นาความ สามารถของชุมชนในการจัดการพิพิธภัณฑ์แบบพึ่งตนเอง เห็นได้จากขั้นตอนและวิธีการพัฒนาหรือ สร้างพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นหลายแห่งในประเทศไทยที่นักวิชาการด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม หรือนักวิชาการสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าไปศึกษาเก็บ รวบรวมข้อมูลและวัตถุสิ่งของที่มีอยู่ในชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ที่กาหนดกันว่าเป็น ท้อ งถิ่น (local region) ซึ่งอาจจะครอบคลุมลุ่มน้า หลายหมู่บ้าน หลายตาบล แล้วรวบรวมเอาทั้งวัตถุสิ่งของไป รวมไว้ ณ ที่ ใดที่ หนึ่ งในพื้น ที่ ที่ ก าหนดให้เป็ น พิพิ ธภั ณ ฑ์ ของท้ องถิ่น นั้ น จากนั้ นก็ อาจจะบูรณะ ปรับปรุงอาคารเก่าแห่งใดแห่งหนึ่งขึ้นมาเป็นอาคารจัดแสดง หรือถ้ามีง บประมาณมากก็จะสร้าง อาคารพิพิธภัณ ฑ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด แล้วจัดแสดงวัตถุสิ่งของพร้อมทั้งจัดนิทรรศการความรู้ไว้ใน พิพิธภัณฑ์นั้น มีความพยายามจัดการให้ชาวบ้านหรือผู้นาในชุมชนท้องถิ่นนั้นเข้าไปมีบทบาทในการ จัดการพิพิธภัณฑ์ ซึ่งในทางปฏิบัติก็อาจจะเกิดผลสัมฤทธิ์ทางด้านการสร้างและจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ ในระยะสั้นแต่ในระยะยาวอาจจะมีปัญหาเรื่องการดูแลรักษา และกระบวนการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ อาจจะมีปัญหาเรื่องขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นนั้น เพราะกิจกรรม ส่ ว นใหญ่ ที่ ด าเนิ น การกั น มาในการพั ฒ นาพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น หลายแห่ ง มั ก จะด าเนิ น การโดย นักวิชาการ และผู้ชานาญการทางวิชาชีพที่เป็นฅนนอกชุมชน โดยที่ฅนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม น้อยมาก ทาให้ขาดกระบวนการเรี ยนรู้อย่างต่อเนื่อง และที่สาคัญ ฅนในชุมชนท้องถิ่นส่วนมากไม่ สามารถเข้ าถึงพิ พิ ธภัณ ฑ์ ได้ เนื่อ งจากอยู่ไกลตัว ไกลหมู่ บ้าน คงจะมี เฉพาะฅนที่ อยู่ในพื้ นที่ ตั้ ง พิพิ ธภัณ ฑ์ ได้ เข้าไปมีส่วนร่วมเพี ยงส่วนน้ อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ งในการจัดการหลัง จากก่อ สร้าง พิพิธภัณฑ์เสร็จแล้วและเปิดให้บริการแก่สาธารณะ ฅนที่อยู่ไกลจากที่ตั้งอาคารพิพิธภัณฑ์แทบจะ ไม่ ไ ด้ เข้ าไปมีส่ ว นร่วมเลย ท าให้ เกิด ความรู้สึ ก ว่าไม่ ไ ด้ เป็ น เจ้ าของร่วมกั น ซึ่ ง เป็ น ประเด็ น ที่ ไ ม่ สอดคล้องกับหลักการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และไม่สอดคล้องหลักการที่ให้ความสาคัญต่อ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความหลากหลายของกลุ่มฅนที่มีอยู่


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๑๓

ในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนเพื่อให้เกิดผลได้ทางการพัฒนาชุมชนอย่างทั่วถึงและยั่งยืน ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าเราจะต้องให้ความสาคัญกับแนวคิดและการปฏิบัติในเรื่องการกระจายอานาจ และการยอมรับสิ ทธิชุม ชนที่ นาไปสู่ก ารฟื้ นฟู พ ลัง และเพิ่ มอ านาจ (decentralization towards empowering) มากกว่ า แนวคิ ด เรื่ อ งการรวมศู น ย์ อ านาจแต่ ส ลายพลั ง (centralization but de-powering) เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงทรัพยากรและโอกาสในการมีส่วนร่วมในกระบวนการ จัดการของฅนหมู่มากในชุมชนท้ องถิ่นนั้ น และควรจะต้องกาหนดขอบเขตของความเป็นชุม ชน ท้องถิ่นให้หลากหลายไปตามสภาพความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อย ๆ ด้วย การพัฒนาและจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการแสดงตัวตนต่อ ผู้อื่นของชุมชนท้องถิ่นระดับต่าง ๆ เพื่อบ่งบอกว่า ฉันเป็นใคร พวกเรา(ฅนในท้องถิ่นนั้น ๆ ) เป็น ใคร มีความเจริญ ทางสังคมและวัฒ นธรรมที่ก่อให้เกิดความเข้มแข็ง ของชุมชนท้องถิ่นได้อย่างไร และเราจะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขอย่างยั่งยืนได้อย่างไรในฐานะที่เราต่างก็เป็นมนุษย์เสมอ กัน ในขณะเดียวกันก็เป็นกระบวนการบอกย้าถึงคุณลักษณะวัฒนธรรมท้องถิ่นให้แก่คนในชุมชน ท้องถิ่นนั้น ๆ ว่า เราเป็นใคร เกี่ยวข้องผูกพันกันอย่างไรทั้งกับฅนอื่น ๆ ในท้องถิ่นเดียวกันและต่าง ท้องถิ่น ชุมชนของเราสืบทอดมาอย่างสงบสุข และอยู่ร่วมกับชุมชนท้องถิ่นอื่น ๆ ทั้งใกล้และไกลได้ อย่างไร ซึ่งเป็นทั้งกระบวนการที่ทบทวนอดีต เข้าใจสภาวะปัจจุบัน และนาไปสู่การสร้างสรรค์สิ่ง ใหม่ ๆ สาหรับอนาคตของสังคมและชุมชนระดับต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ศาสตราจารย์ สุ ธิ ว งศ์ พงษ์ ไ พบู ล ย์ (๒๕๓๙, น.๘๐-๘๑) กล่ า วถึ ง คุ ณ ลั ก ษณะของ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นประเภทหนึ่งว่า พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแต่ละแห่งไม่จาเป็นต้องเหมือนกัน และจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ ต่างกันด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่โลภมากว่าพิพิธภัณฑ์ของเราจะตอบคาถามเกี่ยวกับชุมชน ได้ทุกเรื่อง มันก็น่าจะทาให้วิสัยในการจัดทานี่มันทาได้ดีขึ้ น คือให้ความรู้อะไรเขาไป ให้เขา ประทับใจในเรื่องนั้นสักเรื่องหนึ่ง เป็นเด่นในเรื่องนั้น ในประเด็นเรื่องการจัดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอย่างไร ข้าพเจ้าอยากจะสรุปบอกว่า จัดสนอง ตามข้อมูลที่แต่ละถิ่นพึงหาได้และมั่นใจว่า เราจะกระทาเรื่องนั้นได้อย่างต่อเนื่อง มีระบบ แล้ว ก็ โ ดดเด่ น ที่ สุ ด ขึ้ น มา ถ้ า เมื อ งไทยมี พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ พื้ น บ้ า นประเภทนี้ ๓๐,๐๐๐ แห่ ง ๓๐,๐๐๐ เรื่อง ข้าพเจ้าเชื่อว่าไม่ได้เป็นของซ้าซ้อน ไม่ใช่เป็นสิ่งเปลืองเปล่า แต่เป็นสิ่งที่จะให้ องค์ความรู้ในเรื่องพื้นบ้านนั้นมันเกิดความกระจ่างชัดขึ้นมา


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๑๔

คนที่สุพรรณไปดูพิพิธภัณฑ์ที่สุราษฎร์ในเรื่องของยางพารา สมมติอย่างนี้ แล้วก็เกิด วิสัยทัศน์ว่าวิธีจัดพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับยางพารานี่มันให้ค าตอบอย่างนั้น ๆ น่ะนะ อันนี้ก็เป็น มรรควิธีที่ค นสุพรรณหรือกาญจนบุรีอาจจะเอาแบบคิดอันนี้ไปทากับของเขาก็ได้ เขาไปที่ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ใช่เข้าไปเพื่อเรียนรู้ว่ามันมีอะไรเท่านั้น แต่เขา น่าจะได้กลับไปว่า เมื่อเขากลับไปถึงบ้านเขาแล้ว เขาจะเกิดความคิด วิธีการจัดการกับข้อมูล ในท้องถิ่นของเขาอย่างไรแล้วให้มันเกิดประโยชน์ด้วย

ข้าพเจ้าก็เห็นสอดคล้องกันกับท่านศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์ ว่าพิพิธภัณฑ์ชุมชนใน ท้องถิ่นหนึ่ง ๆ มีได้ไม่จากัด ควรจะมีอยู่ทุกหมู่บ้าน หรืออาจจะมีอยู่หลายแห่งในหมู่บ้านหนึ่ง ๆ ก็ ได้ไม่จาเป็นว่าจะต้องมีเพียงแห่งเดียว ยิ่งมีมากเท่าใดก็จะเป็นเครื่องมือพัฒ นาฅนในท้องถิ่นให้มี ความรู้ความคิดไปในทิศทางเดียวกันมากยิ่งขึ้นเท่านั้น คือ มีความภูมิใจในวัฒนธรรมของตน รักถิ่น ฐานบ้านเกิด รู้และเข้าใจระบบนิเวศวัฒนธรรมของตนอย่างลึกซึ้ง ยิ่งมีฅนคิดเหมือนกัน ทาคล้าย ๆ กันแต่ไม่แข่งขันเพื่อเอาชนะกันกันมากเท่าใด ก็จะทาให้กระบวนการกลุ่มเกิดขึ้นเร็วและทาให้ชุมชน แข็งแรงมากขึ้นท่านั้น การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในลักษณะเช่นนี้เป็นวิธีการสาคัญ ที่จะช่วยเสริมสร้าง ความสามารถ ฟื้นฟูพลังและอานาจในการจัดการทรัพยากรวัฒ นธรรมให้ฅนในชุมชนท้องถิ่นได้ อย่างทั่วถึงและยั่งยืน เพราะฅนที่เข้ามามีส่วนร่วมจัดการพิพิธภัณฑ์จะทาในสิ่งที่ ตัวเองมีความรู้จริง เข้ าใจจริ ง ๆ เป็ น การจั ดการไปตามธรรมชาติ ที่ คุ้ น เคย ใช้ ท รัพ ยากร อุป กรณ์ แ ละเทคโนโลยี ที่ เหมาะสมกับท้องถิ่นของตน ไม่ต้องการเทคโนโลยีซับซ้อนหรือมีราคาแพงที่จะต้องมีภาระลงทุนซื้อ หาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพื่อทานุบารุงในภายหลัง ทั้ง ยังจะช่วยให้ ฅนในชุมชนท้องถิ่นมีความ มั่นใจในการคิดแก้ปัญหาอื่น ๆ หรือสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามสาหรับพัฒ นาตนและพัฒ นาชุมชนเป็น กระบวนการสืบเนื่องต่อไป การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นที่เป็นกระบวนการพัฒนาชุมชนไปพร้อม ๆ กันจะช่วย ให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทักษะในการจัดการแบบมาตรฐานสากลจากนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพไปสู่ชาวบ้านสร้างจิตสานึกในเรื่องความรู้สึกเป็นเจ้าของทรัพยากรวัฒนธรรม ในชุม ชนของตนเอง กระบวนการศึ กษาวิจั ยจะช่วยให้ ช าวบ้า นได้รู้จั กเรื่องราวของตั วเอง รู้จั ก ทรัพยากรและศักยภาพที่แท้จริงในชุมชนของตนมากขึ้ น เมื่อชาวบ้านสามารถจัดการพิพิธภัณ ฑ์ ชุมชนท้องถิ่นได้เองแล้วก็จะเกิดความมั่นใจ ภูมิใจ นาไปสู่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของชุมชน การ พัฒนาด้านการเรียนรู้ และนาไปสู่ความเข้มแข็งของกลุ่ม ชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเองได้บนพื้นฐาน วัฒนธรรมท้องถิ่น เกิดความรักถิ่นฐาน ความสามัคคีและความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน มุ่งแต่ทานุบารุงกัน และกันให้เจริญ และสามารถพัฒนาไปสู่การสร้างกัลยาณมิตรและเครือญาติพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ในวงกว้างและระดับที่สูงขึ้นไปอีก ดังนั้น รูปแบบของพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นจึงมีได้ไม่จากัด ขึ้นอยู่ กับประเภทของทรัพยากรวัฒนธรรม วัตถุสิ่งของ หรือสิ่งที่ต้องการแสดงนั้นเป็นอะไร


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๑๕

หลั ก การที่ส าคั ญ ก็คื อ มี อะไรอยู่ ที่ ไหนก็พั ฒ นาให้เกิด พิ พิ ธภั ณ ฑ์ ณ ที่ นั้ น ไม่ ค วร คัดเลือกเอาเฉพาะสิ่ง ของที่ โดดเด่น สวยงามหรือทรงคุณ ค่าเป็นพิเศษตามมาตรฐานของ นักวิชาการแล้วพรากแยกเอาไปจัดแสดงที่อื่น เพราะจะทาให้ฅนส่วนใหญ่ในชุมชนท้องถิ่นเข้า ไม่ถึง ไม่ใส่ใจ ละทิ้งทรัพยากรวัฒนธรรมส่วนย่อย ๆ หรือส่วนที่เหลืออยู่ซึ่งอาจจะไม่สวยงาม ไม่โดดเด่นต้องตรงตามมาตรฐานของนักวิชาการ และจะทาให้สาระความรู้ ความหมายที่มีอยู่ ในตัววัตถุสิ่ง ของนั้นต้องถูกแยกออกจากระบบนิเวศหรือบริบทแวดล้อมหรือสถานที่ที่วัตถุ สิ่งของนั้นเคยตั้งอยู่และมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมมาก่อนต้องสูญเสียไป

พิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นแต่ละแห่งไม่จาเป็นต้องเหมือนกัน หรือต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน และจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ต่างกันด้วย เพราะสังคมวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกันทั้งหมด ถ้าพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นแห่งหนึ่งจะนาเสนอเรื่องเด่น ๆ เกี่ยวกับท้องถิ่นหนึ่งได้เพียงบางเรื่อง ก็ไม่จาเป็นต้องให้มีทุกเรื่องในที่เดียว หากจัดการเรื่องเด่นนั้นให้ดี ให้ความรู้ได้เหมาะสมครบถ้วนแก่ ผู้ชม ให้ผู้ชมเกิดความประทับใจในเรื่องนั้น ๆ มีความโดดเด่นในเรื่องนั้นก็เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดีมีคน อยากชมจานวนมากได้ พิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ อาจมีได้หลายประเภท ไม่จากัดจานวน และไม่ จาเป็นจะต้องอยู่ในรูปของอาคารสถานที่เพียงอย่างเดียว หากแต่สามารถพัฒนาพื้นที่สาคัญ ๆ ที่มี คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้ทาหน้าที่เป็นพิพิธภัณฑ์ได้ พิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นอาจจะ อยู่ตามแหล่งโบราณคดีที่เป็นถ้า แหล่งฝังศพ โบราณสถาน เจดีย์ร้าง วัดร้าง โบสถ์ ศาลเจ้า มัสยิด สุสานฝัง ศพ ป่าช้าป่าเฮ่ว ที่เผาศพ เพิงผา ที่น้าตก ในป่าชุมชน ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าบุ่ง ป่าทาม บนภูเขาท้ายหมู่บ้าน ที่หาดทรายชายทะเล อู่ต่อเรือ ที่ศาลผี ที่ต้นไม้ใหญ่ ในสวน ในไร่ ในนา ใน วิหาร บนศาลาการเปรียญ ที่โรงปั้นหม้อ ที่เตาเผาถ้วยชามและโอ่งไห โรงทอผ้า และสถานที่อื่น ๆ ในท้องถิ่น ข้ อ ส าคั ญ ที่ พึ ง ตระหนั ก ก็ คื อ ที่ ไหน ๆ ก็ พั ฒ นาเป็ น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น ได้ ทั้ ง นั้ น ถ้าสามารถสื่อความหมายเชิงสังคมวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ๆ ได้ พิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นควรจะมี อยู่ทุกหมู่บ้าน หรืออาจจะมีอยู่หลายแห่งในหมู่บ้านหนึ่ง ๆ ก็ได้ ไม่จาเป็นว่าจะต้องมีเพียงแห่งเดียว ยิ่งมีมากเท่าใดก็จะเป็น เครื่องมือพัฒนาฅนในท้องถิ่นให้มีความรู้ความคิดไปในทิศทางเดียวกันมาก ยิ่งขึ้นเท่านั้น คือ จะต้องทาให้ฅนท้องถิ่นมีความภูมิใจในสังคมวัฒนธรรมของตน รักถิ่นฐานบ้านเกิด รู้และเข้าใจระบบนิเวศวัฒนธรรมชุมชนของตนอย่างลึกซึ้ง ซึ่งยิ่งมีฅนคิดเหมือนกัน ทาคล้าย ๆ กัน แต่ไม่แข่งขันเบียดขับกันมากเท่าใด ก็จะทาให้ชุมชนท้องถิ่นแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น การพัฒนาและจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในแนวทางเช่นนี้เป็นวิธีการสาคัญที่จะช่วย เสริมสร้างความสามารถ ฟื้นฟูพลังและสิทธิอานาจในการจัดการวัฒ นธรรมชุมชนให้คนในชุมชน ท้องถิ่นได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน เพราะฅนที่เข้ามามีส่วนร่วมจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นสามารถ ท าในสิ่ ง ที่ ตั ว เองมี ค วามรู้ จ ริ ง เข้ า ใจจริ ง ๆ เป็ น การปฏิ บั ติ จั ด การไปตามธรรมชาติ ที่ คุ้ น เคย ใช้ทรัพยากร อุปกรณ์และเทคนิควิทยากรที่เหมาะสมกับท้องถิ่นของตน ไม่ต้องการเทคนิควิทยาการ


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๑๖

ซั บ ซ้ อ นหรื อ มี ร าคาแพงที่ จ ะต้ อ งมี ภ าระลงทุ น ซื้ อ หาและสิ้น เปลือ งค่ าใช้ จ่ ายเพื่ อ ท านุ บ ารุง ใน ภายหลัง ทั้งยังจะช่วยให้ฅนในชุมชนท้องถิ่นมีความมั่นใจในการคิดแก้ปัญหาอื่น ๆ หรือสร้างสรรค์ สิ่งที่ดีงามสาหรับพัฒนาตนและพัฒนาชุมชนและสังคมเป็นกระบวนการสืบเนื่องต่อไป พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น มี คุ ณ ประโยชน์ ในฐานะที่ เป็ น ทั้ ง เครื่ อ งมื อ และวิ ธี ก ารใน กระบวนการพัฒ นาชุมชน กล่ าวคื อเป็น กิจกรรมที่เสริม สร้างศั กยภาพและฟื้ นฟู พ ลัง ของชุมชน ท้องถิ่นให้สามารถจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในชุมชนของตนเอง ส่งเสริมให้ชาวบ้าน สมาชิกของ ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการ ทั้งการศึกษาวิจัย การสารวจค้นหา ทาแผนที่และ บัญชีทรัพยากรวัฒนธรรม การประเมินคุณค่าและศักยภาพของทรัพยากรวัฒนธรรม การวางแผน การจัดการ การอนุรักษ์และบริรักษ์ใช้ประโยชน์ให้สมสมัย การสงวนรักษา การบูรณะปฏิสังขรณ์ การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ จัดนิทรรศการ การเผยแพร่ การฟื้นฟู และการจัดการเชิงธุรกิจชุมชน การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นก่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างฅนใน ชุม ชนกับ นั ก วิ ชาการและนั กพั ฒ นาจากภายนอก และระหว่า งสมาชิ ก ในชุม ชนที่ มี ความรู้แ ละ ประสบการณ์เรื่องทรัพยากรวัฒนธรรมแตกต่างกัน ก่อให้เกิดความเสียสละ ความเอื้ออารีเกื้อกูล ทานุ บ ารุง แก่ กัน และกั นในหมู่ สมาชิ กของชุม ชน ก่ อให้ เกิ ดความรู้สึ กเป็น เจ้ าของร่วมกัน ท าให้ ชาวบ้านมีความพากภูมิใจในชุมชน รักถิ่นฐานบ้านเกิด เป็นพื้นที่แสดงความเป็นตัวตนของฅนใน ชุมชนให้คนทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้เห็นและยอมรับ ทาให้ฅนในชุมชนรู้สึกได้ว่ามีศักดิ์ศรี เท่าเทียมกับฅนที่อื่น และประการสาคัญที่สุดก็คือ พิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเป็นเครื่องมือสาคัญ ใน กระบวนการสร้างความรู้และฟื้นฟูภูมิปัญญาที่นาไปสู่การพัฒนาชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองทุก ๆ มิติได้อย่างแท้จริง ในภาพรวม พิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ก็คือ อาณาบริเวณ หรือสถานที่แสดงวัตถุ สิ่ง ของและเรื่ อ งราวของสั ง คมวัฒ นธรรมที่ ท าให้ ฅ นในท้ อ งถิ่ น รู้จั ก ถิ่ น รู้ จัก ตนเองว่า อยู่ ที่ ไ หน มีสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างใด มีหลักฐานความเก่าแก่ในการตั้งถิ่นฐานและ การจั ด ระบบความสั ม พั น ธ์ ข องฅนกั บ สภาพธรรมชาติ ก ายภาพ ฅนกั บ สิ่ ง เหนื อ ธรรมชาติ และความสัมพันธ์ของฅนกับฅนในชุมชนท้องถิ่นและต่างถิ่นอย่างไร มีการพัฒนาเทคนิควิทยาการ เครื่องมื อเครื่องใช้ อุป กรณ์ ทุ่ น แรงอย่างหนึ่ง อย่ างใดขึ้น มาใช้สอยบ้ าง มีความสาเร็จและความ ล้มเหลวในการพัฒนาสังคม การเมืองและเศรษฐกิจในท้องถิ่นที่จะใช้เป็นบทเรียนสาหรับการพัฒนา สังคมวัฒนธรรมของชุมชนในปัจจุบันและอนาคตได้มากน้อยเพียงใด

พิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการภูมิปัญญาความรู้ การจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นให้เกิดคุณประโยชน์ในฐานะเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนไม่ใช่ กิ จ กรรมที่ เ พี ย งแต่ ท าให้ เ กิ ด อาคารสถานที่ ที่ แ สดงเฉพาะ วั ต ถุ สิ่ ง ของ ดั ง ที่ พ บเห็ น ได้ ใ น พิพิธภัณฑสถานทั่ว ๆ ไป แต่ต้องเป็นกระบวนการที่ให้ความสาคัญต่อการแสดงบทบาทและตัวตน หรือ อัตลักษณ์ ของทั้ง ฅนท้องถิ่น และ วัตถุสิ่งของในท้องถิ่น ไปพร้อม ๆ กัน


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๑๗

ในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ อาจจะมีประเด็น (issues/themes) ที่สามารถนามาออกแบบจัดแสดง เป็นพิพิ ธภัณ ฑ์ได้หลายประเภท ทั้งที่เป็นสถานที่ เป็นสิ่ง ก่อสร้าง วัตถุ และความรู้ความหมายที่ เกี่ยวกับสถานที่ สิ่งก่อสร้างและวัตถุนั้น ๆ รวมทั้งฅนที่มีความรู้ความสามารถในการทามาหากิน การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ เครื่องใช้ มีความรู้ความสามารถในการรักษาพยาบาลโรคภัยไข้เจ็บ มีความรู้ความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับสิ่งเหนือธรรมชาติได้เป็นพิเศษ ซึ่ง ทั้งหมดนี้คือสิ่ง ที่ เรียกว่า ภูมิปัญญาความรู้ ในทั ศ นะของข้ า พ เจ้ า ค าว่ า “ภู มิ ปั ญ ญ า” หมายถึ ง ระบบความรู้ ความเชื่ อ ความสามารถทางพฤติกรรมหรือทักษะในการสร้างสรรค์อ งค์รวมของความสัมพันธ์อันกื้อ กูล มีเมตตาไมตรี ท านุบ ารุงกัน และกัน อย่างพึ่ งพิ งสัม พั นธ์กั นอยู่เสมอระหว่ างมนุ ษย์ กับ มนุ ษ ย์ มนุษย์กับธรรมชาติกายภาพ และมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติหรือธรรมชาติส่วนที่มีอานาจเหนือ มนุ ษ ย์ และการที่ ฅนจะมี ภู มิ ปั ญ ญาที่เหมาะสมได้ ก็ จะต้ องผ่ านกระบวนการเรียนรู้ จากฅนอื่ น สัตว์อื่นและสิ่งอื่นที่ดารงอยู่ร่วมกัน เรียนรู้ว่าจะอยู่ร่วมกันแบบที่มีความสุขเสมอหน้ากันได้อย่างไร การจัด การภู มิ ปั ญ ญาความรู้ในระบบพิ พิ ธภั ณ ฑ์ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น เป็ น กระบวนการค้ น หา และเชื่อมโยงความรู้ในตัวของฅน และความรู้ที่อยู่แฝงฝังอยู่ในวัตถุสิ่งของ โดยเฉพาะการเชื่อมโยง ภูมิ ปัญ ญาความรู้ในฅนเก่า ๆ และภูมิ ปั ญ ญาความรู้ที่ มี อยู่ในของเก่า ๆ เข้าด้ว ยกัน แล้วน ามา วิเคราะห์ประเมินค่า เลือกสรรเพื่อใช้ประโยชน์ในทางการพัฒ นาท้องถิ่นของฅนปัจจุบัน ซึ่งการ จัดการภูมิปัญญาความรู้เป็นกิจกรรมการพัฒนาชุมชนที่สามารถกระทาต่อเนื่องได้ตลอดเวลาไม่ใช่ ดาเนินการเฉพาะช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เท่านั้น การจัดการภูมิปัญญาความรู้ในระบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเริ่มต้นที่การแก้ปัญหาเรื่อง ความไม่ รู้ ของท้ องถิ่ น นั้ น ๆ โดยใช้ กระบวนการศึก ษาวิจัย และกระบวนการเรียนรู้ เพื่ อ ค้น หา คาตอบ และคลี่คลายความไม่รู้ คล้าย ๆ กับงานที่นักวิชาการทั่วไปดาเนินการ ต่างกันตรงที่เป็น กระบวนการวิจัยและกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเท่านั้นเอง ในกระบวนการพัฒนาชุมชน โดยทั่วไป เรามักจะเริ่มต้นกั นที่การศึกษาวิเคราะห์ชุมชน ซึ่งเป็นการใช้ “ปัญหาและความไม่รู้ ” เป็นจุดเริ่มต้นที่จะดาเนินการพัฒนา เป็นการพัฒนาฅนที่ไม่รู้ให้รู้ ซึ่งฅนที่ไม่รู้นั้นมีทั้งฅนนอก ซึ่ง ได้ แก่ นั กพั ฒ นา นัก ปกครอง พ่ อค้ า ครู นั กวิจั ยและคนกลุ่ มอื่ น ๆ ที่เข้าไปเกี่ย วข้อ งกับ ชุม ชน และฅนในชุมชน ซึ่งหมายถึง ชาวบ้าน พระสงฆ์ นักการเมืองท้องถิ่น และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ซึ่งสิ่งที่ เรียกว่า ความไม่รู้ ไม่ได้หมายความว่าไม่รู้อะไรเลย จริง ๆ แล้วชาวบ้านมีความรู้เชิงภูมิปัญ ญาที่ เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่เขาอยู่อาศัย แต่การพัฒนาแบบทันสมัยที่ผ่านมาทาให้เขาเข้าใจผิดว่าสิ่ง ที่เขาเคยรู้และปฏิบัติ สืบกั นมานั้ น ไม่ถูก ต้อง ไม่เหมาะสม งมงาย ไม่ทั นสมั ย ท าให้ช าวบ้ านไม่ เชื่อถือและค่อย ๆ ละทิ้งความรู้ภูมิปัญญาที่เคยเป็นประโยชน์และมุ่งแสวงหาความรู้ชุดใหม่ที่นาเข้า จากภายนอกท้องถิ่น เป็นลักษณะอาการที่เรียกว่า ไม่รู้ว่าตัวเองรู้ ไม่มั่นใจว่าตัวเองก็ทาได้ ไม่รู้ว่า สิ่งที่ตัวเองเคยทาและทาต่อ ๆ กันมานั้นเหมาะสมดีแล้วสาหรับท้ อ งถิ่น สภาพเช่นนี้เป็นเหตุ


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๑๘

ปัจจัยสาคัญที่ทาให้ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ พึ่งตัวเองไม่ได้เกือบทุกมิติ เพราะถูกทาให้คิดและเชื่อว่า ชุมชนของตัวไม่มีอะไรดีเลยมาเป็นเวลานาน การจัดการภูมิปัญญาความรู้ในกระบวนการพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น เป็นลักษณะเดียวกัน กั บ การศึ ก ษาชุ ม ชนแบบมี ส่ ว นร่ ว มและการศึ ก ษาวิ จั ย ตนเองของชุ ม ชน อาจะเรี ย กว่ า เป็ น กระบวนการทบทวนความทรงจาร่วมของชุมชน หรือเป็น การขุดค้นหาอดีต (digging up the pasts) เป็นการค้นหาความหมาย และการระบุคุณค่าความสาคัญ ของทรัพยากรวัฒนธรรมที่เป็น วั ต ถุ สิ่ ง ของ สิ่ ง ก่ อ สร้ า ง เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ ต่ า ง ๆ ที่ ชุ ม ชนเคยใช้ ป ระโยชน์ ม าก่ อ น ซึ่ ง เป็ น กระบวนการส่งเสริมให้ฅนในท้องถิ่นได้ทบทวนภูมิปัญญาความรู้ที่เคยทาให้ชุมชนพึ่งตนเองได้และมี ความเป็นอยู่อย่างปกติสุขมายาวนาน ช่วยให้ฅนที่เคยรู้เคยทาได้ตามภูมิปัญญาความรู้นั้นเกิดความ มั่นใจว่าสิ่งที่เคยรู้เคยทานั้นยังมีคุณค่าและยังใช้ประโยชน์ได้ เป็นการบอกกล่าวต่อฅนรุ่นใหม่ที่ไม่ เคยรู้ ไม่เคยทา ไม่เคยตระหนักในคุณค่าของภูมิปัญญาความรู้นั้นให้ได้รู้ ได้เข้าใจและเห็นคุณค่ามาก ขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการปลูกจิตสานึกแบบหันเข้าหาคุณค่าภายในท้องถิ่นควบคู่ไปกับการสร้างความ เข้าใจต่อระบบคุณค่าภายนอกที่ถาโถมเข้ามาในชุมชน การจัดการภูมิปัญญาความรู้ในกระบวนการพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นไม่ได้มีความมุ่งหมาย เพื่อการเสาะหาวัตถุสิ่ งของเอามาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เป็นหลัก หากให้ความสาคัญ ต่อการสร้าง ความเชื่อมั่ นของชาวบ้านในภู มิปั ญ ญาความรู้ที่ มีอยู่ ในชุม ชนเป็ นลาดับ ต้น สร้างการยอมรับใน ภูมิปัญ ญาความรู้และส่งเสริมให้มีการยอมรับในตัวชาวบ้านที่มีภูมิปัญ ญาความรู้ซึ่งส่วนมากเป็น ผู้สูงอายุเป็นลาดับถัดมา ซึ่งการยอมรับในทั้งสองส่วนเป็นต้นทางของกระบวนการมีส่วนร่วมในการ พัฒนาชุมชนผ่านการทาพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น คือ เมื่อฅนส่วนใหญ่ในชุมชนได้รู้ ได้เข้าใจ ได้เห็น คุณค่าและยอมรับทั้งภูมิปัญญาความรู้ที่มีอยู่ในตัวฅนและในวัตถุสิ่งของแล้ว ก็จะให้ความสาคัญและ เต็มอกเต็มใจในการจะจัดการให้เกิดประโยชน์ทางการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในลาดับต่อ ๆ ไปโดยไม่ ต้องบังคับหรือใช้กลอุบายใด ๆ จูงใจให้ปฏิบัติ

แผนที่วัฒนธรรมท้องถิ่นกับการทาพิพิธภัณฑ์ชุมชน ขั้นตอนสาคัญในกระบวนการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นคือการสร้างความรู้ด้วยการ ศึกษาวิจัยที่ เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของฅนในชุมชนและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกชุม ชน ซึ่งวิธีการวิจัยที่เหมาะสมวิธีหนึ่ง ได้แก่ การทาแผนที่ มรดกวัฒ นธรรมท้อ งถิ่น (Local Cultural Heritage Mapping : LCHM) แผนที่มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นกระบวนการศึกษาวิจัยเชิงพัฒนาแบบมีส่วนร่วมรูปแบบ หนึ่งที่ให้ชุมชนเข้ามาร่วมกันค้นหา ระบุ หรือกาหนดรายการ และจัดทาทะเบียนหรือระบบบัญ ชี บรรดามรดกวั ฒ นธรรมประเภทต่ า ง ๆ ที มี อ ยู่ ใ นท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง จะเป็ น การบั น ทึ ก รายการ และรายละเอียดองค์ประกอบส่วนย่อยต่าง ๆ ของมรดกวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ทั้งในรูปลักษณะของ


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๑๙

สิ่งที่จับต้องสัมผัสได้ (the tangibles) เช่น แหล่งโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ในรูปของอาคาร สถานที่ วัตถุ สิ่งก่อสร้าง ภูมิประเทศ โรงงาน งานหัตถกรรม ถ้า เพิงผา ชายหาด เนินเขา ริมฝั่ง แม่น้า บ่อน้า สระ ทะเลสาบ ฯลฯ และสิ่งที่เป็นนามธรรม (the intangibles) เช่น ความทรงจ า ภู มิ ปั ญ ญ าและความรู้ ประวั ติ บุ ค คล ทั ศ นคติ ความเชื่ อ และระบบคุ ณ ค่ า ศิลปวัฒนธรรม การแสดง เพลง พิธีกรรม ฯลฯ การศึกษาวิจัยลักษณะนี้จะช่วยให้ท้องถิ่นค้นพบสิ่งที่ เรียกว่า เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ หรือ คุณลักษณะเฉพาะของตนเอง (local unique or identity) ที่มี ความแตกต่ า งไปจากชุ ม ชนอื่ น ๆ และน าไปสู่ ก ารคิ ด ริ เริ่ม ที่ จ ะท ากิ จ กรรมพั ฒ นาต่ า ง ๆ อั น เกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่ค้นพบนั้นทั้งด้านการบันทึก การเขียนประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น การอนุรักษ์ การ ใช้ประโยชน์หรือการฟื้นฟูบูรณะให้กลับมาทาประโยชน์ต่อท้องถิ่นในมิติต่าง ๆ การทาแผนที่ ม รดกวัฒ นธรรมท้อ งถิ่นโดยทั่วไปมี ส่วนสาคัญ ในการตอบสนองต่ อความ ต้องการในด้านต่าง ๆ ของการพัฒนาท้องถิ่น เช่น การกระตุ้นและส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว การอนุรักษ์ ฟื้นฟู บูรณะ ปฏิสังขรณ์สถานที่ทางประวัติศาสตร์ การปรับปรุงวิถีทัศน์ในถนนหรือ คลองสายส าคั ญ ๆ ของชุ ม ชน และการสร้า งเสริ ม ประสบการณ์ แ ละการสร้า งผลผลิ ต ใหม่ ๆ ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น การทาแผนที่มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นกิจกรรมที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่ม ต่าง ๆ ในชุมชนในการจาแนกประเภทของมรดกวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชน ร่วมกันกาหนดว่ามรดก วัฒนธรรมประเภทใด แห่งใด ชิ้นใด ควรได้รับการบันทึก อนุรักษ์บูรณะฟื้นฟูหรือผลิตซ้าขึ้นมาใหม่ ซึ่งผลผลิตจากกิจกรรมอาจจะปรากฏในรูปต่าง ๆ ได้แก่  แผนที่แสดงตาแหน่งที่ตั้ง ที่เก็บรักษามรดกวัฒนธรรม  รายงานการส ารวจค้ น คว้ า ที่ มี ข้ อ มู ล ที่ ตั้ ง ประวั ติ ลั ก ษณะและสภาพของมรดก วัฒนธรรม  การบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ตัวเขียน วีดีทัศน์ หรือวัสดุทางเทคโนโลยีสื่อสารอื่น ๆ เช่น ซีดีรอม (CD-ROM) ภาพยนตร์ ภาพนิ่งไมโครฟิล์ม หนังสือ ฯลฯ  งานศิลปะ เช่น ภาพวาด รูปปั้น การละเล่น เพลง งานหัตถกรรม เครื่องจักสาน ผ้าทอ เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ  แน วคิ ด และ แผน งาน ก ารจั ด ก าร มรดก วั ฒ น ธรรมใน รู ป แบบ ต่ า ง ๆ เช่ น สวน ป ระ วั ติ ศ าสตร์ สวน วั ฒ น ธรรม ย่ า น ป ระวั ติ ศ าสตร์ ย่ า น วั ฒ น ธรรม อ่ าวประวัติ ศ าสตร์ อ่ าววั ฒ นธรรม หุ บ เขาประวั ติ ศ าสตร์ห รือ ก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ หรือหุบเขาวัฒนธรรม ย่านอุตสาหกรรมประวัติศาสตร์หมู่บ้านประวัติศาสตร์ หรือก่อน ประวัติ ศ าสตร์ หรือ หมู่ บ้ านวั ฒ นธรรมเส้ น ทางประวั ติ ศ าสตร์ เส้ น ทางวั ฒ นธรรม พิพิ ธภั ณ ฑ์ แ หล่ งโบราณคดี พิ พิ ธภั ณ ฑ์ ท้ องถิ่ นรูป แบบต่าง ๆ และหอจดหมายเหตุ


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๒๐

ท้ อ งถิ่ น หอวั ฒ นธรรมหรื อ ศู น ย์ เรี ย นรู้ ด้ านประวั ติ ศ าสตร์ โบราณคดี วั ฒ นธรรม เป็นต้น  แนวคิดหรือแผนงานการจัดการมรดกวัฒนธรรมในรูปแบบโครงการศึกษาการพัฒนา โบราณคดีและนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่น  ภูมิปัญญางานศิลปะเชิงช่าง หัตกรรม มหัตถศิลป์ต่าง ๆ ฯลฯ นอกจากนี้กระบวนการแผนที่มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นยังก่อให้เกิดคุณประโยชน์อื่น ๆ เช่น นาไปสู่การทากิจกรรมด้านปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม การปลูกต้นไม้ การแก้ไขปัญหาจราจร การ ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของชุมชน ซึ่งแนวคิดและข้อค้นพบในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาดังกล่าว มักจะเกิดขึ้นในระหว่างการทาแผนที่ และเห็นว่ามีปัญหาใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับมรดกวัฒนธรรมและ การพัฒนาท้องถิ่น การท ากิจ กรรมแผนที่ ม รดกวัฒ นธรรมท้องถิ่นสามารถดาเนิ นการได้ในพื้น ที่ของชุมชน ท้องถิ่นทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้าน ตาบล อาเภอ ลุ่มน้า เทือกเขา คลอง ย่าน หาด อ่าว ป่า หรือ ในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับทุกขนาดทุกสถานที่ไม่ว่าจะมีประชากรมากหรือน้อย แต่ ค วรเป็ น ท้ อ งถิ่ น ที่ มี พื้ น ที่ ท างภู มิ ศ าสตร์ แ น่ น อน มี ป ระวั ติ ก ารตั้ ง ถิ่ น ฐานยาวนานพอที่ จ ะมี เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม มรดกวัฒนธรรม วัฒนธรรมชุมชนที่มีอายุเก่าแก่พอสมควร ทั้งนี้ไม่จากัด ว่าต้องกี่ปี ขึ้นอยู่กับคุณค่าและความสาคัญที่มีต่อชุมชนท้องถิ่นนั้น ซึ่งบางครั้งถ้า มรดกวัฒนธรรม นั้นมีอายุเพียงไม่กี่ปี แต่ถ้ามีคุณค่าและความสาคัญต่อการพัฒนาความเป็นชุมชนและวัฒนธรรมสูง ยิ่งก็สามารถทากิจกรรมแผนที่มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใด ข้อที่พึงตระหนักไว้อย่างหนึ่งก็คือต้องระลึกอยู่เสมอว่า ความมุ่งหมายพื้นฐาน ของการทา แผนที่วัฒนธรรมท้องถิ่นในเชิงกระบวนการ ก็คือ การช่วยให้ฅนในท้องถิ่นนั้น ๆ รู้จักชื่นชมและ สามารถนาเอาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ มรดกวัฒนธรรมทั้งหลายที่ค้นพบไปใช้ประโยชน์ในการ พัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองได้อย่างยั่งยืน การมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยผ่านกระบวนการแผนที่ มรดกวัฒ นธรรมท้องถิ่น ช่วยให้ ทุกฅนในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้รับประโยชน์ทั่วกัน เนื่องจากเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับฅนทุกฅน เกี่ยวข้องสถานที่ทุกแห่ง รวมทั้งเกี่ยวข้องกับความรู้ความคิดของแต่ละฅนที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันใน ลักษณะของความเป็นชุมชนท้องถิ่นเดียวกัน กระบวนการแผนที่มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นอาจจะอานวยให้เกิดแหล่งประกอบการหรือ กิจการใหม่ ๆ ขึ้นในพื้นที่ที่มีการว่างงานสูง นอกจากนี้ยังมีส่ วนช่วยในการสร้างความเข้าใจเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่จะเอื้อต่อความสาเร็จในกระบวนการปรับความเข้าใจการสร้าง ความปรองดอง การสร้างความเสมอภาค และการพัฒนาทัศนคติและค่านิยมที่ดี คุณธรรม และ จริยธรรมต่อการจัดการมรดกวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้น ๆ


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๒๑

ในด้านการริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ การทาแผนที่ มรดกวัฒ นธรรมท้องถิ่นช่วยให้สามารถ ค้นพบเรื่องราว ความคิด แนวคิด จินตนาการ รูปแบบ และข้อมูลต่าง ๆ ของท้องถิ่นที่สามารถ นาไปใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้เกิดการคิดดัดแปลงและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ในรูปแบบของ งานฝีมือ และงานศิลปะต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เช่น การนาเอารูปแบบลวดลายที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ หรือสัญลักษณ์ที่พบในแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ และสัญลักษณ์ของ หลักฐานทางโบราณคดีอื่น ๆ ไปสร้างสรรค์ในงานเขียนและวาดภาพ งานปั้น งานเครื่องปั้นดินเผา สถาปัตยกรรม เครื่องตกแต่งประดับบ้านและอาคาร งานผ้าและสิ่งทอ งานกระดาษ การ์ด สิ่งพิมพ์ และงานออกแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังสามารถนาเอาเรื่องราวเกี่ยวกับ โบราณคดีและประวัติ ศาสตร์ของท้อ งถิ่ น วรรณกรรม นิทาน เรื่องเล่า มุขปาถะ ตานาน ไปสร้างสรรค์ในรูปแบบงานเขียนทางวิชาการ งาน เขียนทางประวัติศาสตร์ สารคดี บทความ วรรณกรรม ข่าวสาร และบทโทรทัศน์ รวมไปถึงการสร้าง เป็นภาพยนตร์ออกเผยแพร่ การทาแผนที่มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นมีคุณประโยชน์ต่อการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของท้องถิ่น เพราะว่าในการศึกษาวิจัยดังกล่าวช่วยให้คนในท้องถิ่นได้ ค้นพบมรดกวัฒนธรรม ซึ่งสามารถนาไปพัฒนาเป็นทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ในด้านการศึกษาและการเรียนรู้ การทาแผนที่มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นก่อให้เกิดการเรียนรู้ ร่ว มกั น ของทุ ก ฝ่ ายและทุ ก คนที่ เข้ าร่ว มกิ จ กรรม ผลได้ ทั้ ง ที่ เป็ น องค์ ค วามรู้ ข้ อ ค้ น พบ ปั ญ หา ทางออกในการแก้ปัญหา สถานที่ วัตถุ ล้วนแต่เป็นทรัพยากรในการศึกษาและการเรียนรู้ของคนใน ท้องถิ่น เองและคนนอกชุมชน ในบางพื้นที่ การศึกษาวิจัยในลักษณะนี้นาไปสู่การสร้างหลักสูต ร การศึกษาขึ้นมาใหม่ให้สัมพันธ์กับประเด็นทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ค้นพบ ใน หลายกรณีเกิดศูนย์เรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ขึ้นมากมาย ทั้งในรูปแบบศูนย์ฝึกอาชีพ สถาน ประกอบการ กลุ่ม พิพิ ธภัณ ฑ์ชุม ชนรูป แบบต่ าง ๆ กลายเป็น สถานที่ฝึก อาชีพ ดูง าน ถ่ ายทอด เทคโนโลยีและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถของคนที่เข้าไปเกี่ยวข้อง สามารถสร้างสรรค์อาชีพเพิ่มรายได้ และเชื่อว่าน่าจะช่วยลดภาวะการว่างงานในชุมชนท้องถิ่นได้ใน ระดับหนึ่ง การทาแผนที่ มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นมีประโยชน์ต่ อการวางแผนและการพัฒนาท้องถิ่น ช่วยให้ทราบความต้องการที่แท้จริงของชุมชนต่าง ๆ ในเขตการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ ที่เกิดขึ้นใน ระหว่างการดาเนินกิจกรรม ซึ่งองค์กรชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ในฐานะ หน่วยจัดการงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สามารถนาไปพิจารณาประกอบในการปรับปรุงแผนงานของ โครงการต่าง ๆ นอกจากนี้การระบุว่ามรดกวัฒนธรรมแห่งใด ชิ้นใดมีความสาคัญมากน้อยเพียงใดยังช่วยให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นสามารถประเมินผลดีผลเสีย (ผลกระทบ) ที่จะเกิดจาก


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๒๒

กิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ ต่อมรดกวัฒนธรรมว่าเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อ มรดกวัฒนธรรมนั้น และ เป็นแนวทางในการจัดการอนุรักษ์หรือใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมในระยะยาว การทาแผนที่มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นในชุมชนท้องถิ่นใด ๆ ผู้มีหน้าที่หลักในการจัดทาแผน ที่วัฒนธรรมท้องถิ่นน่าจะได้แก่องค์กรชุมชนท้องถิ่น คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชน ร่วมมือกับฝ่ายบริหารและสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกระดับทุกประเภท ทั้ งอบจ. อบต. เทศบาล เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร ประสานกับนักวิชาการในสถาบันการศึกษา นักวิชาการ อิ ส ระ องค์ ก รพั ฒ นาเอกชน องค์ ก รประชาชน ภาคธุร กิ จ เอกชน และองค์ ก รจั ด การด้ า นการ ท่องเที่ยว สานักงานศิลปากร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในภูมิภาคต่าง ๆ สานักงานวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมจังหวัด-อาเภอ-ตาบล สถาบันทางศาสนา พระสงฆ์ ผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น ให้เข้ามา ช่วยกันจัดกระบวนการสารวจตรวจค้น ศึกษาวิจัยเอกสาร สารวจศึกษาในภาคสนาม สร้างสาระ ความรู้เกี่ยวกับโบราณสถาน แหล่งโบราณคดี โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและมรดกวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่มี อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ แล้วจัดทาเป็นแผนที่แสดงตาแหน่งที่ตั้ง ที่เก็บรักษา จัดทาทะเบียนบัญ ชีและ บันทึกสภาพโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ค้นพบโดยละเอียดด้วยการถ่ายภาพ วีดีทัศน์ หรือ บันทึกสภาพปัจจุบันด้วยเทคนิควิธีการอื่น ๆ ทาการประเมินศักยภาพด้านต่าง ๆ จัดทารายงาน การศึ ก ษาเป็ น รูป เล่ม เพื่ อ เผยแพร่ เก็ บ ไว้ ใช้ ป ระโยชน์ ในการวางแผน การบริ ห ารจัด การ หรื อ ให้ บ ริ ก ารทางวิ ช าการแก่ สั ง คม แนวทางการด าเนิ น การในการศึ ก ษาวิ จั ย จั ด ท าแผนที่ ม รดก วัฒนธรรมท้องถิ่น มีดังต่อไปนี้ (๑) ลักษณะของงานศึกษาวิจัยจัดทาแผนที่มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นงานวิจัยเชิงสารวจ เป็ น การศึ ก ษาประมวลข้ อ มู ล จากเอกสาร ที่ มี ผู้ ศึ ก ษาไว้ แ ล้ ว (documentary survey) และ การศึ ก ษาส ารวจและค้ น หาทรั พ ยากรวั ฒ นธรรมเพิ่ ม เติ ม ในภาคสนาม (field-survey) ยั ง ไม่ จาเป็ นต้องมีการขุดค้น ศึกษาในแหล่งโบราณคดีหรือตามโบราณสถานต่าง ๆ กิจกรรมนี้อ งค์ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดาเนินการได้เองอย่างเอกเทศ โดยไม่ต้องยื่นหนังสือขออนุญาตต่อกรม ศิลปากร แต่อาจจะขอรับการสนับสนุนและความร่วมมือด้านผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีที่สังกัดกรม ศิลปากร สถาบันการศึกษา หรือนักวิชาการอิสระให้เข้าร่วมดาเนินงานด้วยก็ได้ (๒) ชุมชนท้องถิ่น องค์กรชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเดียวกัน หรือ ในท้องถิ่นทางภูมิศาสตร์เดียวกัน เช่น ลุ่มน้าเดียวกัน หุบเขาเดียวกัน ฝั่งทะเลด้านเดียวกันอ่าว เดียวกัน คลองเดียวกัน ควรจัดทาเป็นโครงการศึกษาวิจัยและจัดทาแผนที่มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ สามารถดาเนินการร่วมกัน ใช้ ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย แบบแผนการบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ ข้อ มู ล และการรายงานผลการศึ ก ษาในรู ป ลั ก ษณะและมาตรฐานเดี ย วกั น ทั้ ง นี้ เพื่ อ ให้ อ งค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเชื่อมโยงข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกันได้ โดยการลงทุนด้านงบประมาณร่วมกันเพียงครั้งเดียว


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๒๓

(๓) องค์การบริหารส่วนจังหวัดต่าง ๆ มีศักยภาพในการเป็นเจ้าของเรื่องหลัก (เจ้าภาพ) เป็นผู้ประสานงานในการริเริ่มพัฒนาโครงการ จัดหานักวิชาการ ผู้เชี่ยว ชาญด้านการศึกษาวิจัยและ จัดทาแผนที่มรดกวัฒนธรรม ประสานหน่วยงานเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องให้เข้า มาร่วมดาเนินการวิจัย โครงการศึ กษาวิจัยและจัดท าแผนที่ มรดกวัฒ นธรรมท้ องถิ่น โดยมีชุมชนท้อ งถิ่น องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ในจังหวัดเข้าร่วมดาเนินการและรับผิดชอบภาระหน้าที่ศึกษาวิจัย ในพื้นที่ท้องถิ่นนั้น ๆ (๔) นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทาแผนที่ มรดกวัฒนธรรมร่วมกับคณะทางาน ท้องถิ่นร่วมกันออกแบบระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย วิธีการสารวจ ระบบการบันทึกข้อมูล วิธีการ วิเคราะห์ การรายงานผลการศึก ษา และออกแบบระบบแผนที่ฐ านที่ เป็ น มาตรฐานเดี ยวกัน ให้ สามารถนาไปใช้ได้ในทุกพื้นที่ในท้องถิ่นเดียวกันหรือต่างท้องถิ่นเพื่อการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล กันในอนาคต (๕) เทคนิควิธีการสารวจศึกษา เก็บข้อมูล มรดกวัฒ นธรรม และการจัดทาแผนที่โดยทั่วไป ควรใช้วิธีการและเทคโนโลยีง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากสามารถทาได้ด้วยมือ (manual method) แต่ในบาง กรณีอาจจะใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ (GIS) ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์แปลความเข้ามาช่วยในการศึกษาก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านงบประมาณ และความสามารถของคณะทางานในแต่ละพื้นที่ (๖) รูปแบบการศึกษาวิจัย ควรดาเนินการในลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติ การพัฒนาชุมชน แบบมีส่วนร่วม (PAR&CD) ที่เป็นกระบวนการพัฒนาความสามารถของผู้เข้าร่วมกิจกรรมไปพร้อม ๆ กับการสร้างผลงานการวิจัยและผลิตแผนที่และฐานข้อมูลมรดกวัฒนธรรมไปด้วยในขณะเดียวกัน (๗) ผู้ วิ จั ย หลั ก และผู้ จั ด ท าแผนที่ ค วรเป็ น ฅนในชุม ชนท้ อ งถิ่ น มี เจ้า หน้ า ที่ ข ององค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ โดยมีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ให้คาปรึกษาและ ร่วมดาเนินการวิจัยเป็นระยะ ๆ (๘) มีการรายงานความก้าวหน้า และนาเสนอผลการศึกษาวิจัยเป็นระยะ ๆ ทั้งการนาเสนอ ในเวทีย่อยระดับภายในชุมชนท้องถิ่น อบต.เทศบาลตาบล เทศบาลเมืองและในเวทีใหญ่ระดับ อบ จ.กทม.หรือการนาเสนอสู่สาธารณะเพื่อการแลก เปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ ในหมู่ข้าพเจ้า ด้ วยกั น และเป็ น การรายงานความก้ าว หน้ า ในการด าเนิ น งานต่ อ สาธารณะและเพื่ อ เป็ น การ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เมื่องานวิจัยเสร็จสมบูรณ์ก็ให้นาเสนอต่อสภาองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น รัฐสภา และรัฐบาลเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น การพัฒนาภูมิภาค และการพัฒนาประเทศต่อไป ในกรณีที่ชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลาย ๆ แห่งยังไม่ สามารถดาเนินการศึกษาวิจัยจัดทาแผนที่วัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมกันได้ ชุมชนท้องถิ่นใด องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่มีทรัพยากรวัฒนธรรมอยู่ในพื้นที่มากและมีความพร้อมด้านงบประมาณ ก็ อาจจะริ เริ่ ม ทดลองด าเนิ น การศึ ก ษาวิ จั ย น าร่ อ งเพื่ อ หาแบบแผนการวิ จั ย และระบบแผนที่ ที่


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๒๔

เหมาะสมไปก่อนก็ได้ เมื่อประสบความสาเร็จแล้วก็สามารถขยายผลความสาเร็จให้เป็นตัวอย่างแก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งอื่น ๆ นาไปดาเนินการได้ ไม่จาเป็นต้องดาเนินการพร้อมกันก็ได้ ทั้ง นี้แล้วแต่ความพร้อมและความสนใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่ง การดาเนินการ กิจกรรมแผนที่ วัฒ นธรรมท้ องถิ่นเป็น กระบวนการสร้าง ขุดค้น ค้น หาความรู้ท้ องถิ่น อย่างหนึ่ ง ผลการดาเนินงานจะก่อให้เกิดข้อมูลและชุดความรู้เฉพาะถิ่น หรืออัตลักษณ์ท้ องถิ่นสาหรับการ พิจารณาตัดสินใจเลือกว่าจะจัดให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในรูปแบบใดจึงจะเป็นประโยชน์แก่การพัฒนา ชุมชนท้องถิ่นในระยะยาว

การแปลงความรู้ให้ง่าย (simplification of knowledge) คือกุญแจสู่ความสาเร็จของพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ในกระบวนการสร้างความรู้ ไม่ว่าความรู้นั้นจะได้มาด้วยวิธีการวิจัยแบบใดก็ตาม ในที่นี้ได้ แนะนาให้ใช้กิจกรรมแผนที่มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาชุมชนแบบมี ส่ ว น ร่ ว ม (Participative Action Research and Community Development : PAR&CD) ในการสร้างกระบวนการเรีย นรู้ร่วมกัน ของฅนในชุ มชนและผู้ฅ นจากนอกชุมชนท้ องถิ่น ที่ มีทั้ ง ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่สนใจใคร่ร่วมเรียนรู้ เมื่อได้ ความรู้ ซึ่งในที่นี้ หมายรวมถึงสถานที่ โบราณสถาน วัตถุสิ่งของ มรดกวัฒนธรรม ต่าง ๆ และเรื่องราวเกี่ยวกับสถานที่และสิ่งของเหล่านั้น มาแล้ว เราต้องทาขั้นตอนอื่น ๆ ต่อไปอีก เพื่อให้พัฒนาไปสู่พิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น กล่าวคือ เมื่อรู้อะไร ๆ ได้อะไร ๆ มาแล้วก็เอาความรู้นี้ไปแปลง(transform) และสื่อความหมาย (interpret)ในลักษณะที่เรียกว่า การทาความรู้ให้ง่ายใช้ได้ทันที : normalization /simplification of knowledge คือ ทาให้ ความหมาย คุณค่า และสาระต่าง ๆ ง่ายต่อการทาความเข้าใจของฅนส่วนใหญ่ที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ เชิงวิชาการสากลในเรื่องนั้น ๆ ขั้ น ตอน การท าความรู้ ใ ห้ ง่ า ยนี้ ต่ า งไปจาก การศึ ก ษ าวิ จั ย ก ระแสหลั ก ทั่ ว ไป ที่ นัก วิจั ย/นั กวิ ชาการมั กท าการวิเคราะห์ สัง เคราะห์ สร้างทฤษฎี สร้างชุ ดความรู้ท างวิช าการที่ ซับซ้อนและเข้าใจยาก (abstraction) แต่ในทางพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสิ่งที่ต้องทาให้มากที่สุดและ บ่อยที่สุด คือ การท าความรู้ให้ง่ายพร้อ มใช้ เพื่ อ ให้ ฅนส่วนใหญ่ เข้าใจ เข้าถึ ง และสามารถ น าไปใช้ ป ระโยชน์ ใ นทางการพั ฒ นาได้ ด้ ว ยตั ว ของเขาเองโดยตรง ไม่ ต้ อ งรอให้ มี ฅ นกลาง (change agent หรือ knowledge-broker) มาช่วยแปลความให้อีกทอดหนึ่งอย่างที่เคยทา ๆ กัน มาในสมัยก่อน การจัดการความรู้เพื่อนาไปจัดแสดงและนาเสนอในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นต้องให้ ความส าคั ญ ที่ ก ารท าให้ ง่ า ยต่ อ การรู้ แ ละเข้ า ใจ เพราะว่ า มี ก ลุ่ ม เป้ า หมายอยู่ ที่ ฅ นส่ ว นใหญ่


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๒๕

อยู่ที่ฅนหมู่มาก ทั้งผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ใหญ่ที่รู้หนังสือ ไม่รู้หนังสือ ฅนจน ฅนรวย ฅนพิการ ไม่ใช่มุ่งหวัง กลุ่มเป้าหมายเพียงแค่นักวิชาการ ข้าราชการ นักธุรกิจ นักท่องเที่ยวหรือผู้นาที่เป็นฅนส่วนน้อย จะต้องทาให้ใครต่อใครให้สามารถรับรู้ สามารถเข้าใจได้เหมือน ๆ กันโดยเร็วที่สุด ถ้าการสร้างความรู้ในรูปแบบที่เรียบง่ายทาได้ดี กระบวนการส่งผ่านความรู้ (knowledge transmit) ในรูปแบบพิ พิธภัณ ฑ์ชุม ชนท้องถิ่นดี ผลทางการพัฒ นา คือ ฅน มีความรู้ความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ก็จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง เมื่อผลการพัฒนาเกิดขึ้นเร็วและกว้างขวางก็ เท่ ากั บ ว่า เราประสบความส าเร็จ ในการเสริม สร้ า งพลั ง ปั ญ ญา (wisdom empowerment) ให้ กับฅนในชุมชน และให้กับฅนหมู่มากนอกชุมชนด้วย ซึ่งจะต่างจากกระบวนการศึกษาวิจัยเพื่อการ ทาพิพิธภัณฑ์กระแสหลักตรงที่ว่าท้ายที่สุดแล้วฅนหมู่มากไม่ค่อยได้รับประโยชน์อะไรมากนัก เพราะ ไม่เข้าใจและเข้าไม่ถึงความรู้ที่เขาไม่ได้มีส่วนร่วมในการขุด ค้นหา หรือสร้างมาตั้งแต่เริ่มต้น ในการพัฒ นาพิ พิ ธภั ณ ฑ์ เฮื อนบ้ านสวกแสนชื่น ที่ ชุม ชนบ้ านสวกพั ฒ นา ตาบลบ่อ สวก อาเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๔ พิพิธภัณฑ์ในบ้านที่บ้านป่าคา ตาบลบ่อสวก อาเภอ เมืองน่าน และพิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคี ในปีพ.ศ. ๒๕๔๕ พิพิธภัณฑ์บ้านก้อดสวรรค์ทันใจ ตาบลนาซาว อาเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๖ พิพิธภัณฑ์นิเวศวัฒนธรรมดงปู่ฮ่อ บ้านสวกพัฒนา ตาบลบ่อสวก อาเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ พิพิธภัณฑ์ไหสี่หูเตา แม่น้าน้อยและพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเชิงกลัด(ชุมชนวัดพระปรางค์) ตาบลเชิงกลัด อาเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ในปีพ.ศ. ๒๕๔๙ ได้จัดให้มีกิจกรรมการศึกษาวิจัยค้นหาภูมิปัญญาความรู้มิติต่าง ๆ ในวัฒนธรรมชุมชนของหมู่บ้าน (ขั้นตอนการสร้าง ขุด ค้นหาความรู้) ได้แก่ภูมิปัญญาความรู้ เรื่อง ความมั่นคงทางอาหาร เศรษฐกิจพอเพียงในระดับครอบครัว สมุนไพรใกล้บ้านและรอบบ้าน นิเวศ วัฒนธรรมในป่าดอยภูซาง(แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์) ความสัมพันธ์ของเครื่องมือ เครื่องใช้ในการทานากับที่นา ป่าเมี่ยงและการทาเมี่ยง เครื่องจักสานกับป่าไผ่และประโยชน์ ใช้สอย ผ้าทอและเครื่องมือ ทอผ้ า ระบบความเชื่อ พิ ธีก รรมของชุม ชนกั บป่า แหล่ง น้ า ที่น า การทานา การปลูกเรือน การหาและจับสัต ว์น้ า การหาและจั บดักสั ตว์ป่า การหาและเก็บ ผักผลไม้จากป่ า และท้องนารอบ ๆ หมู่บ้าน มิติต่าง ๆ ดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนและเป็น วัตถุสิ่งของที่จะนามาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ดังนั้นในขั้นตอนการศึกษา วิจัยภูมิปัญ ญาความรู้ของ ชุมชนต่าง ๆ ดังกล่าวจึงเป็นการทบทวนความรู้และความสามารถในการจัดการวิถีชีวิตในห้วงเวลา และในสถานการณ์ต่าง ๆ ของชุมชนที่ทาให้ฅนเก่าฅนแก่เจ้ าของความรู้และประสบการณ์ได้ฟื้นฟู ความรู้ภูมิปัญญาของตน ได้ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาให้แก่ฅนรุ่นใหม่ของชุมชนได้ทราบ ได้ร่วมกัน ประเมินคุณค่าความสาคัญของภูมิปัญญาความรู้มิติต่าง ๆ ว่าภูมิปัญญาความรู้ใดยังมีคุณประโยชน์ ใช้งานอยู่ได้ และมีภูมิปัญญาความรู้ชุดใดมิติใดที่หลงลืมไม่ได้ใช้งานมานานแล้วและจะสามารถฟื้นฟู ภูมิปัญ ญาความรู้ชุดใดขึ้นมาใช้งานใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหาของชุมชนที่เผชิญ อยู่ได้


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๒๖

บ้าง ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้และประเมินคุณค่าและศักยภาพของทรัพยากรภูมิปัญญาความรู้ของ ชุมชนไปพร้อม ๆ กัน นอกจากนี้ยังสร้างโอกาสให้ฅนในชุมชนได้ทีส่วนร่วมในการสารวจและขุดค้น แหล่งโบราณคดีที่มีอยู่ในชุมชน และใกล้ชุมชนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจการทางานวิชาการและ เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องราวทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง กิจกรรมการจัดการในขั้นตอนต่อจากการทาความรู้ให้ง่ายในกระบวนการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ ชุมชน ก็คือ การสร้างสื่อ (media/means creating) สาหรับให้ฅนหมู่มากได้เรียนรู้จนเกิดความรู้ และเข้าใจในสาระหรือสาร (information) เกี่ยวกับความรู้ที่ต้องการบอกกล่าวให้รู้มากขึ้นอีก ซึ่ง ความรู้ความเข้าใจที่เกิดกั บกลุ่มฅนที่อยู่ร่วมกันเฉพาะเวลาในการวิจัยในกระบวนการแผนที่ มรดก วัฒ นธรรมท้องถิ่นอาจจะยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฅนที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกระบวนการ แผนที่ ม รดกวัฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น ก็ ยั งไม่ มีโอกาสได้ เรีย นรู้ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น จะเป็ น แหล่ ง นาเสนอและถ่ายทอดความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องนั้น ๆ ไปสู่ฅน กลุ่มอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้มาร่วมรู้หรือ จะมาร่วมรู้ในอนาคตได้อีกด้วย นั่นคือต้องเอาความรู้นี้ถ่ายทอดให้แพร่ขยายออกไปอีกในวงกว้าง ซึ่งสาระความรู้ก็อาจจะถูกแปลงไปเป็นสื่อรูปแบบอื่น ๆ ได้อีก และสื่อสาคัญชนิดหนึ่งก็คือ การจัด แสดงพิพิธภัณฑ์(museum display) นั่นเอง นอกจากการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ในรูปของสื่อจัดแสดง นิทรรศการ การจัดแสดงวัตถุสิ่งของ การทาเป็นเอกสาร และสื่ออื่น ๆ แล้ว ผู้ฅนที่มีส่วนร่วมใน การศึกษาวิจัยจนมีความรู้ความเข้าใจดีมากพอแล้วเขาก็อาจจะเอาสาระนั้นไปนาเสนอด้วยวาจา การนาชม การพูดคุยแลกเปลี่ยนกับฅนอื่น ๆ ในชุมชนและที่มาจากนอกชุมชน จะเห็นได้ว่า ความรู้ ที่ได้มาจากการศึกษาวิจัยจะถูกแปลง (transform)ไปสู่สื่อต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทั้งหมดนั้นเริ่ม จากการทาความรู้ให้ง่ายดังที่กล่าวมาแล้ว จะเห็ น ได้ ว่ า การจั ด การในขั้ น แรก คื อ การศึ ก ษาวิ จั ย แผนที่ วั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น หรื อ การศึกษาแบบีส่วนร่วมรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความรู้เพียงขั้นตอนเดียวก็ก่อให้เกิดผลทางการ พัฒนาชุมชนในระดับต่าง ๆ มากมาย ซึ่งแม้ว่าจะเป็นการดาเนินการเฉพาะในชุมชนเล็ก ๆ (จุลภาค/ หน่วยย่อย) แต่ถ้าเราจัดการให้ดีก็สามารถจะทาให้ความรู้นั้นแพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง ออกไปสู่ระดับมหภาคได้ ที่ ผ่านมาบางฅนอาจบอกว่าการท าวิจั ยในระดั บ ชุม ชนท้ อ งถิ่น เล็ ก ๆ ไม่ มี ผลลั พ ธ์ห รื อ ผลกระทบต่อ เนื่ อ ง (impact) ต่อ การพั ฒ นาในระดั บ มหาภาคซึ่ ง อาจจะเป็ น จริง ในการวิ จัย เชิ ง ปริ ม าณ ก ระแสหลั ก แต่ ถ้ า เราศึ ก ษ าวิ จั ย เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารพั ฒ น าแบบมี ส่ ว น ร่ ว มที่ เ ป็ น กระบวนการพัฒนาชุมชน หรือกระบวนการทานุบารุงชุมชนให้เจริญในลักษณะดังกล่าว ข้าพเจ้าเชื่อ ว่าผลกระทบของการศึกษาวิจัยมีโอกาสแผ่ออกไปถึงและไปทั่วด้วย เพราะว่าสาระของการศึกษา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการศึกษาวิจัยและข้อค้นพบสาคัญ ๆ มักจะถูกนาไปเผยแพร่ผ่าน ระบบและกลไกสื่ อ สารมวลชนให้ ฅ นทั่ ว ไปก็ ไ ด้ รั บ รู้ ไ ด้ เรี ย นรู้ ไ ปพร้ อ ม ๆ กั บ ฅนในชุ ม ชนด้ ว ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชุดความรู้ที่ถาวรรวมทั้งวัตถุสิ่งของที่เป็นมรดกและเป็นทรัพยากรวัฒนธรรมก็


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๒๗

ยังคงจัดแสดงและนาเสนออยู่ที่พิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ใครจะไปดูเมื่อไรก็ได้ มีอยู่ตลอดไป เพราะ เป็ น การจั ด การในลั ก ษณะยั่ ง ยื น ความยั่ ง ยื น ของชุ ด ความรู้ ที่ เกิ ด จากกระบวนการพั ฒ นาใน กระบวนการแปลงความรู้ให้ง่ายทาให้ฅนรู้เร็ว รู้จริง และทาได้ ขณะเดียวกันก็ส่งผลไปถึงผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาวิจัยทุกฅน ทั้งผู้จัดการ ทั้ง ผู้เข้าร่วมในการจัดการทั้งฅนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งฅนมาเยือน นักวิจัย ชาวบ้าน ใครต่อใครที่อยาก รู้ ทุกฅนที่ เข้ามาเกี่ยวข้องได้รู้ได้เรียนรู้ถือเป็นผู้เรียนรู้ทั้งสิ้น มี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในแนว ระนาบด้วยซ้าไป ทุกฅนที่เข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนการศึกษาวิจัยทรัพยากรวัฒนธรรมเป็นผู้มี ความสาคัญเท่ากันทุกฅน ความรู้จึงแพร่หลายกระจายสู่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับชั้น ยิ่งนานวันผู้ที่เข้า ไปเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นมีมากขึ้น ความรู้ก็กระจายออกไปมากขึ้น ที่สาคัญ ก็คือ มี ผู้เรียนรู้แล้วนาเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้กันมากขึ้น ก็ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนในชุมชนท้องถิ่นอื่น ๆ มากยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยไม่จาเป็นต้องนาไปกาหนดเป็นนโยบายของหน่วยงานใดเลยก็ได้

การยกระดับความรู้สู่ทฤษฎีการพัฒนาชุมชน เมื่อทาความรู้ให้ง่ายแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะละทิ้งส่วนที่ต้องทาให้ยากหรือ เป็นวิชาการที่เรียกว่า การสังเคราะห์เชิงวิชาการที่โดยปกตินักวิจัยและนักวิชาการก็ทากันอยู่แล้ว ส่วนใหญ่งานวิจัยที่เข้า ไปทากันในชุมชนท้องถิ่นมักจะเป็นการทาให้เกิดชุดความรู้เชิงทฤษฎีทางวิชาการ ซึ่งไม่พอเพียงและ ไม่ เหมาะสมสาหรับการพัฒ นาชุ มชนที่ เป็ นกระบวนการ เพราะความรู้ยาก ๆ เช่น นั้ นฅนทั่ วไป สามารถรู้ได้น้อย เข้าใจได้น้อยและใช้เวลานานกว่าจะรู้จริง ทาได้จริง ส่วนมากความรู้ถูกทาให้ยาก เกินไปจนชาวบ้านไม่เข้าใจก็เลยนาไปใช้ในการพัฒนากันไม่ได้สักที เรื่องกระบวนการทาความรู้ให้ ง่ายและการทาความรู้ให้ยากในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นที่จังหวัดน่าน นายแพทย์บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ที่ปรึกษาศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่านท่านสนใจและเคยถามข้าพเจ้าว่าทาไม ต้องทาทั้งง่ายและยาก เพราะโดยเป้าหมายทางการพัฒนาชุมชนการทาความรู้ให้ง่ายที่สุดสาหรับ ชาวบ้านก็น่าจะเพียงพอแล้ว ที่ต้องทาให้ยาก ก็เพราะว่ามีฅนอีกจานวนหนึ่งอยากเห็นความรู้ที่ยาก ๆ ฅนกลุ่มนี้ก็คือ นักวิชาการ และหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยที่อยากเห็นผลการวิจัยที่ยาก ๆ อยาก ได้ชุดความรู้เป็นวิชาการที่เกิดจากการสังเคราะห์จนเกิดเป็นระบบที่ซับซ้อนอย่างที่ทา ๆ กันมาจน เป็นประเพณี ในทัศนะของข้าพเจ้ าเห็นว่าจริง ๆ แล้ว การทาให้ เกิดชุดความรู้แบบง่ายที่ สุดสาหรับ ชาวบ้านนี่แหละเป็นสิ่งที่ถือว่ายากที่สุดสาหรับนักวิชาการ เพราะเป็นกิจการที่ไม่ค่อยมีใครทากัน ได้สาเร็จ นักวิชาการในสถาบันการศึกษา ในมหาวิทยาลัย ในหน่วยงานพัฒนาทั้งของรัฐและเอกชน เขาก็เลยอยากรู้ด้วยว่าทาอย่างไรให้มันง่าย แล้วก็การทาให้ง่ายนั้นยากแค่ไหนอย่างไร นี่คือเหตุผล ของการที่จะต้องทาให้เกิดชุดความรู้ที่ยากซึ่งในทางวิชาการเรียกกระบวนการนี้ว่า abstraction การทาให้ยากก็คือทาให้เป็นวิชาการ การทาชุดความรู้ให้มันยากขึ้นเพื่ออะไร ก็เพื่อจะนาไปสู่ทฤษฎี


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๒๘

ที่จ ะใช้เป็ น แบบอย่างทั่ วไปในระดับ มหภาค หรือ หาข้อ สรุป สร้างเป็ น ทฤษฎี ต้ น แบบ : Grand Theory ที่สามารถนาเอาไปใช้ได้สาเร็จในทุกที่ทุกรณีแต่งานวิจัยในกระบวนการพิพิธภัณฑ์ชุมชน ท้องถิ่นทาในลักษณะไปเก็บข้อมูลจากส่วนย่อยหรือจุลภาค ศึกษาวิจัยจากภาคสนามหรือของจริง ในสถานการณ์จริง จากจุดเล็ก ๆ ทีละจุดสองจุด ทีละแห่งสองแห่ง ทดลองลงมือปฏิบัติการจริง ๆ สร้างเป็น ทฤษฎีฐานราก : Grounded Theory ซึ่งต่อไปถ้าประสบความสาเร็จมากขึ้น ๆ ได้รับ การยอมรับและเกิดเสถียรภาพในระดับหนึ่ง ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบวิธีการพัฒนาที่ ค้นพบก็อาจจะ เป็นทฤษฎีต้นแบบที่จะถูกนาไปใช้ในระดับมหภาค ถูกนาไปแปลงเป็นยุทธศาสตร์ เป็นนโยบายใน การพัฒนาชุมชนทั่วไปได้ กล่าวคือถ้าทิศทางการพัฒนาชุมชนอย่างนี้ชัดเจน ได้รับการยอมรับ ใช้ ได้ผลมากขึ้น เชื่อว่าจะถูกนาไปแปลงเป็นนโยบายในการพัฒนา ซึ่งการนาไปใช้จะต้องเอาปรัชญา หลัก การ เอาวิธีการที่ สอดคล้ องกัน ไปใช้ ด้วย ไม่ ใช่เอาไปเฉพาะแนวคิ ดทฤษฎีห รือรูป แบบการ ทางานที่เป็นตัวอย่างความสาเร็จ (best practice) เท่านั้น เพราะฉะนั้นการจัดการมรดกวัฒนธรรมความรู้ภูมิปัญญาผ่านกระบวนการพิพิธภัณฑ์ชุมชน ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่ข้าพเจ้ากาหนดรียกว่า “พิพิธภัณฑ์บริบาล : MUSEOPEN” ก็อาจจะ กลายเป็นแนวคิดทฤษฎีทางการพัฒนาอย่างหนึ่งก็ได้ในอนาคต ดังนั้นการที่ต้องทาให้มันยากก็ต้อง ใช้ระบบจาแนก วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินอะไรต่าง ๆ เพื่อจะนาไปสู่แบบแผนการทางานที่ นาไปใช้ในที่อื่นได้ และเมื่อมันถูกใช้ซ้า ๆ ไปสักพักหนึ่ง มีการยอมรับมากขึ้นก็เป็นทฤษฎีในทางการ พัฒนา เป็นทฤษฎีในทางการจัดการได้ แล้วทฤษฎีนี้ก็คือความรู้ชุดใหม่ของสังคม ซึ่งแบบแผนทาง วิชาการที่ค้นพบหรือคิดได้ก็จะเป็นแนวคิดอานวยการ หรือ Steering Concept สาหรับที่จะเอาไป ประยุกต์ใช้ในการทางานวิจัยหรือพัฒนาในชุมชนอื่น ๆ ต่อไป

พิพิธภัณฑ์บริบาล แบบอย่างการเรียนรูอ้ ย่างเป็นสุขของฅนเฒ่าที่เมืองน่าน คงไม่มีใครปฏิเสธว่าทุกวันนี้ความสาเร็จของการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ แผนใหม่ในห้วงศตวรรษที่ผ่านมาส่งผลให้ฅนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น เห็นได้จากจานวนผู้สูงอายุใน โครงสร้างประชากรของประเทศไทยก าลัง เพิ่ ม สูง ขึ้ น มากในหลายปี ที่ ผ่านมาและดู เหมื อนว่า มี แนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า จากการคาดการณ์ทางประชากรของนักประชากร ศาสตร์ พบว่ าในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ประเทศไทยมี จานวนผู้สู ง อายุ ที่ มี อ ายุ ตั้ ง แต่ ห กสิ บ ห้ าปี ขึ้น ไป ประมาณ ๓.๕ ล้านฅน คิดเป็นร้อยละ ๕.๗ ของประชากรทั้งประเทศ (๖๑.๕ ล้านฅน) และคาดว่า ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ประเทศไทยจะมี ประชากรรวมประมาณ ๗๑.๗ ล้านฅน และจะมีผู้สูง อายุถึ ง ประมาณ ๗.๑ ล้านฅน หรือร้อยละ ๙.๙ ของประชากรรวมทั้งประเทศ (ข้าพเจ้าก็จะถูกนับรวมอยู่ ในกลุ่มผู้สูงอายุด้วย...หากยังมีชีวิตอยู่ถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๓) ซึ่งจานวนประชากรสูงอายุที่สูงเช่นนี้สร้าง


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๒๙

ความวิตกให้กับนักวางแผนพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง เพราะเขาถือว่าผู้สูงอายุเป็นวัยพึ่งพิง เป็น ภาระ เป็นกลุ่มประชากรที่ไม่มีผลิตภาพ หรือมีผลิตภาพต่า แต่บริโภคสูง อาจจะเป็นปัจจัยถ่วงความ จาเริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศได้.....แต่ข้าพเจ้ามิได้คิดเช่นนั้น เมื่ อ ก่ อ นสั งคมไทยไม่ ค่ อ ยมี ปั ญ หาเรื่ อ งผู้ สู ง อายุ ม ากนั ก เพราะเป็ น สั ง คม-วั ฒ นธรรม เกษตรกรรมที่อยู่รวมกัน อย่างอบอุ่นในครอบครัวขนาดใหญ่มีสมาชิกหลายรุ่นอายุตั้ง แต่รุ่นทวด รุ่นยายย่าตาปู่ รุ่นแม่พ่อ รุ่นน้า-อา รุ่นพี่-น้องไปจนถึงหลานและเหลน ซึ่งในระบบครอบครัวแบบนี้ ผู้สูงอายุมีความสาคัญและมีบทบาทสูงมาก ทั้งในฐานะที่เป็ น ปูชนียบุคคลของครอบครัว คอยทา หน้าที่ปกครองดูแลลูกหลาน ระงับข้อพิพาทและความขัดแย้งในหมู่เครือญาติ ทาหน้าที่ถ่ายทอด วัฒ นธรรมของชุมชนสู่สมาชิกรุ่นเยาว์และสมาชิกใหม่ที่เข้ามาอยู่ร่วมชายคาด้วยการแต่งงานให้ สามารถสืบทอดวิถีปฏิบัติที่ดีงามต่อไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า แต่ เ มื่ อ ประเทศไทยได้ ป รั บ เปลี่ ย นวิ ถี ก ารพั ฒ นาจากสั ง คมวั ฒ นธรรมเกษตรกรรม มหัตถกรรมแบบพอเพียงเลี้ยงชีพพึ่งพิงสัมพันธ์กับสรรพสิ่งไปสู่สังคมเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์และ สังคมอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพิงภายนอกอย่างรวดเร็วในห้วงเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ทาให้ โครงสร้างของครอบครัวไทยเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ฅนรุ่นใหม่ถูกระบบการศึกษาหล่อหลอมให้มุ่ง ทางานในระบบที่มีค่าจ้างเป็นรายเดือนในภาคราชการ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และภาคบริการใน สังคมเมืองที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าเป็นมนุษย์เงินเดือน ความเจริ ญ ก้ า วหน้ า ทางด้ า นการพั ฒ นาในเมื อ งใหญ่ แ ละย่ า นอุ ต สาหกรรมได้ ดึ ง ดู ด ประชากรวัยทางานออกจากชุมชนท้องถิ่นในชนบทรุ่นแล้วรุ่นเล่า ฅนเหล่านั้นทิ้งแม่ทิ้งพ่อ ทิ้งยายย่า ตาปู่ และผู้สูงอายุรวมทั้งเด็ก ๆ ที่ยังทางานไม่ได้ไว้ข้างหลัง แม้ว่าจะมีฅนวัยทางานอีกส่วนหนึ่งที่ ไม่ได้อพยพเข้าเมืองใหญ่แต่ก็ไม่ได้อยู่ร่วมเรือนคอยเลี้ยงดูพ่อแม่ เลี้ยงดูปู่ย่าตายายกันมากเหมือน แต่ก่อน บ้างก็ให้เหตุผลว่าไม่มีกาลังทรัพย์มากพอจะเลี้ยงดูได้ ต้องเลี้ยงลูกของตนเอง ต้องส่งเสียลูก ของตนเองเรียนหนังสือ เงินที่หามาได้ไม่พอใช้จึงไม่สามารถส่งไปเลี้ยงพ่อแม่ปู่ย่าตายายให้อยู่ดีมีสุข ได้ ในสังคมไทยจึงมีผู้สูงอายุจานวนมากที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับการอยู่อย่างโดดเดี่ยว ขาด ลู ก หลานเหลี ย วแล อด ๆ อยาก ๆ และมี จ านวนไม่ น้ อ ยที่ เจ็ บ ป่ ว ยและพิ ก ารช่ ว ยตั ว เองไม่ ไ ด้ ซึ่งปัญหาเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่ยากจนเท่านั้น แม้แต่ผู้ที่เกษียณอายุจากงาน มีเงินบานาญ เลี้ยงชีพก็ประสบปัญหาถูกทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว บางรายต้องตัดสินใจเข้าไปพักอาศัยในบ้านพัก ฅนชราของทางราชการ ซึ่งก็พอจะช่วยให้ชีวิตปลอดภัยขึ้นได้บ้าง แต่รัฐก็ไม่สามารถจัดหาสวัสดิการ ให้ ได้ ครบทุ กฅน ยิ่งลูก หลานทอดทิ้ ง สังคมไม่เห็น คุ ณ ค่าและความสาคัญ ผู้สู ง อายุส่ ว นใหญ่ จึ ง ประสบปัญหาการป่วยเจ็บทางจิตใจเริ่มจากมีอาการไม่กระฉับกระเฉง ห่อเหี่ยวและหดหู่ทอดอาลัย ใช้ชีวิตไปวัน ๆ นานเข้าก็พาลเจ็บป่วยทางกายหลาย ๆ โรคและไม่นานก็เสียชีวิต


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๓๐

ปรากฏการณ์ดังกล่าวนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ แม้ว่าภาครัฐจะพยายามคิด หาวิธีแก้ปัญหาด้วยการให้มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือประกาศให้ มีวัน ครอบครัวในช่วงเวลาเดีย วกั น เพื่ อ ให้ ลูก หลานกลับ บ้ านไปเยี่ย มผู้ สูง อายุแ ล้ว ก็ต าม แต่ ก็ ดู เหมือนว่ามาตรการดังกล่าวไม่ได้ช่วยให้สภาพปั ญ หาของผู้สูงอายุดีขึ้นเลย เพราะวันหยุดยาว ๆ ติดต่อกัน ๔-๕ วันนั้นไม่ได้ช่วยให้ผู้สูงอายุที่ต้องอยู่เดียวดายมาตลอดเวลา ๓๖๐ วันในรอบปีมีความ กระฉับกระเฉงขึ้นสักกี่มากน้อย ลูกหลานที่กลับบ้านก็ใช่ว่าจะสนใจไยดีกับผู้สูงอายุมากนัก ส่วนมาก ก็พากันเที่ยวเตร่พบปะเพื่อนฝูง หรือไม่ก็จับกลุ่มเฉลิมฉลองสนุกสนานในหมู่พวกกันเองเสียมากกว่า ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีกาลังกาย กาลังปัญ ญาและกาลังทรัพย์ก็พยายาม แก้ปัญ หาโดยการตั้งกลุ่ม ตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้นมาเพื่อทากิจกรรมทางสังคมร่วมกันในหมู่ผู้สูงอายุ ด้วยกันเอง ซึ่งก็ช่วยผ่อนคลายปัญหาลงไปได้บางเป็นบางขณะ แต่ผู้สูงอายุส่ วนใหญ่ก็ยังถูกฅนใน สังคมวัฒนธรรมอุตสาหกรรมสมัยใหม่มองว่าเป็นภาระของสังคม เป็นวัยพึ่งพิงไม่ใช่วัยที่มีผลิตภาพ ทางเศรษฐพาณิชย์ซึ่งน่าจะไม่ถูกต้องนัก เพราะแท้ที่จริงแล้วผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ มีประสบการณ์ชีวิต เคยลองผิดลองถูกจนสามารถสร้างคุณู ปการแก่สังคมระดับต่าง ๆ มามากมาย และถึงแม้จะมีวัยสูงขึ้น มีสภาพร่างกายที่เสื่อมลงตามธรรมชาติ แต่ก็ยังมีพลังความคิดพลังปัญญาที่ ทรงคุณค่าในทางที่จะช่วยทากิจการบางประเภทที่ฅนหนุ่มสาวผู้ขาดประสบการณ์ไม่สามารถทาได้ หรือ ท าได้ก็ ไ ม่ ดีเท่ าผู้ สูงอายุ ภารกิ จดั งกล่ าวนี้ ก็ คื อ กิ จกรรมในกระบวนการคัด สรรกลั่ น กรอง (acculturation) ผลิตซ้าและสืบทอดทางวัฒนธรรม (cultural reproduction) และให้การเรียนรู้ ทางสังคม (socialization) ให้แก่ลูกหลานเช่นที่เคยปฏิบัติสืบกันมาตั้งหลายศตวรรษก่อนหน้านี้ ฅนวัยทางานและหนุ่มสาวสมัยนี้ไม่เชื่อมั่น (และไม่ค่อยเชื่อฟัง) ในความสามารถของพ่อแม่ และปู่ย่าตายายในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนลูกหลานเสียแล้ว พวกเขาพากันเห็นว่าพ่อแม่ของตน เป็นฅนรุ่นเก่า มีการศึกษาน้อยไม่ทันสมัย จึงเอาลูกหลานไปให้ครูที่โรงเรียนสั่งสอนเลี้ยงดู ประกอบ กับรัฐออกกฎหมายบังคับให้เด็กทุกฅนต้องเข้าเรียนในระบบโรงเรียนด้วย ลูกหลานเด็กเล็กก็ไม่สนิท ชิดเชื้อกับยายย่าตาปู่ ยิ่งห่างกันมากก็ยิ่งไม่เห็นความสาคัญ ยิ่งห่างกันมากก็ยิ่งขาดความเชื่อมั่นใน ตั ว ยายย่ า ตาปู่ ข องตน ค าสอนของผู้ สู ง อายุ จึ ง ไม่ มี ค วามหมายในสายตาลู ก หลานอี ก ต่ อ ไป สภาพการณ์ดังกล่าวล้วนสร้างความเจ็บช้าอยู่ลึก ๆ ในใจของผู้สูงอายุในสังคม ไทย (และสังคมอื่น ๆ ที่มีการพัฒนาแบบเดียวกับสังคมไทย) มากขึ้นทุกที หลายท่านอาจจะไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่นาเสนอมาทั้งหมด เพราะเขาเลี้ยงดูพ่อแม่หรือไม่ก็อยู่ กันเป็ นครอบครัวใหญ่ และอบอุ่น แต่จะมีสักกี่ครอบครัว มีสักกี่ฅนที่ท าเช่นนั้นได้ ถามว่าปัญ หา เช่นนี้จะแก้กันอย่างไร เพราะถ้าไม่หาทางแก้กันเสียแต่วันนี้ เมื่อถึงวันที่ฅนรุ่นเราแก่เฒ่าก็คงต้อง ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกัน ในห้วงหลายปีที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้มีโอกาสทางานวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วน ร่วมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่จังหวัดน่าน


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๓๑

โดยในการท างานวิจัยเรื่องดังกล่ าวข้าพเจ้าให้ความสาคั ญ กับ ผู้สูง อายุ ที่เรียกกั นทั่ วไปว่า พ่ ออุ๊ ย แม่ อุ๊ ย มากกว่ า ฅนในวั ย อื่ น เพราะโดยส่ ว นตั ว มี ค วามเชื่ อ ว่ า ผู้ สู ง อายุ เ ป็ น ผู้ มี ค วามรอบรู้ มีประสบการณ์ทางด้านวัฒนธรรมชุมชนในมิติต่าง ๆ มากกว่าฅนวัยอื่นในชุมชนท้องถิ่นนั้น ๆ จากการศึกษาพบว่านับวันผู้สูงอายุในชุมชนชนบทไม่มีสถานที่และโอกาสพบปะกันมากนัก ผู้สูงอายุส่วนมากไม่มีพื้นที่ทางสังคม (social space) ขาดโอกาสในการแสดงความสามารถในการ พัฒ นาชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่บ้างก็ต้องทางานเลี้ยงชีพ บ้างก็ต้องเฝ้าบ้านให้ลูกหลานที่ออกไป ทางานนอกชุมชน บ้างก็เจ็บป่วยทางกายไม่กระฉับกระเฉง แต่ในอีกทางหนึ่งข้าพเจ้าได้พบว่าผู้สูงอายุเหล่านั้นมีศักยภาพในการเป็นพลัง ขับเคลื่อน กระบวนการพัฒนาชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้กิจกรรมพิพิธภัณฑ์ชุมชน ท้ อ งถิ่ น เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น หรื อ เครื่ อ งมื อ สื่ อ ผ่ า น (entry-point/means)ซึ่ ง มี ตั ว อย่ า งในกรณี ข อง พิพิธภัณฑ์เตาโบราณบ้านบ่อสวก พิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่น และพิพิธภัณฑ์ดงปู่ฮ่อ ที่บ้าน สวกพัฒนา หมู่ที่ ๘ ต.บ่อสวก อ.เมืองน่าน พิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคี บ้านนาซาว หมู่ที่ ๑ พิพิธภัณฑ์บ้านก้อดสวรรค์ทันใจ หมู่ที่ ๔ ต.นาซาว อ.เมืองน่าน และศูนย์เรียนรู้แหล่ง โบราณคดี ดอยภูซาง ท้องที่ ต.นาซาว อ.เมืองน่าน จ.น่าน ที่ข้าพเจ้าเข้าไปดาเนินการวิจัยและพัฒนาชุมชน ร่วมกับ ชาวบ้ านและนัก ศึ กษาคณะสั งคมสงเคราะห์ ศ าสตร์ มหาวิท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ที่ ไ ปฝึ ก ภาคปฏิบัติด้านพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ชุมชนในพื้นที่สองตาบลดังกล่าวในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๖ และ พ.ศ. ๒๕๔๗ กระบวนการพิพิธภัณฑ์บริบาลเพื่อสร้างความสุขให้ผู้สูงอายุที่ชุมชนบ้านนาซาว เกิดขึ้นจาก การที่ข้าพเจ้าและดาบตารวจมนัส ติคา ได้เข้าไปศึกษาทาทะเบียนพระพุทธรูปไม้แบบศิลปะพื้นถิ่น ของเมื อ งน่ า นตามโครงการศึก ษาเพื่ อ การอนุ รัก ษ์ แ ละฟื้ น ฟู ป ระเพณี ก ารท าบุ ญ ด้ วยการสร้า ง พระพุทธรูปไม้ในจังหวัดน่านที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากสานักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ในการดาเนินงานได้พบว่าพระอธิการบุญ ศรี สุขวัฒฺโน เจ้าอาวาสวัดนาซาว พ่ออุ๊ยเลื่อน สถานอุ่น พ่ออาจารย์หนานบุญรัตน์ นันไชย และผู้สูงอายุอีกหลายท่านในชุมชนบ้านนาซาว เป็นผู้ที่ มีความสามารถในการอ่านและแปลความจารึกภาษาล้านนาบนฐานพระพุทธรูปไม้ได้เป็นอย่างดี และเมื่อข้าพเจ้าขอร้องให้ท่านช่วยอ่านและแปลความจารึกของพระพุทธรูปไม้ ท่านก็ดาเนินการให้ ด้วยความเต็มใจ และสังเกตเห็นว่าท่านทาอย่างมีความสุข กระตือรือร้นและดูภูมิอกภู มิใจที่ได้แสดง ความสามารถทางวิช าการออกมา และเมื่ อ เกิ ด ความไว้ว างใจกัน และกัน เจ้ าอาวาสวัด นาซาว ผู้สูงอายุที่เป็นกรรมการวัดก็ได้พาข้าพเจ้าเข้าไปชมวัตถุโบราณที่มีอยู่ในวัด โดยเฉพาะคัมภีร์ใบลาน (ธัมม์ใบลาน) ซึ่งมีอยู่เป็นจานวนมาก แต่การเก็บรักษาเป็นไปตามมีตามเกิ ดและสุ่มเสี่ยงต่อการผุพัง เสียหาย ข้าพเจ้าจึงได้ ชักชวนกันรวบรวมวัตถุโบราณที่มีอยู่มาจัดทาเป็น พิพิธภั ณฑ์ พุท ธศาสนา ซึ่งท่านเจ้าอาวาสและผู้สูงอายุก็สนใจ แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะทากันอย่างไรและจะทากันเมื่อใด


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๓๒

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เมื่อข้าพเจ้าได้รับอนุมัติทุนสนั บสนุนเพื่อการวิจัยเชิงปฏิบัติการ พัฒนาแบบมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมใน จัง หวัดน่านจากสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และได้รับมอบหน้าที่จากคณะ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ให้นานักศึกษาปริญญาตรีในหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต ออกฝึก ภาคปฏิบัติด้านสังคมสงเคราะห์ชุมชนในภาคฤดูร้อนของปีการศึกษา ๒๕๔๔ จึงได้จัดให้นักศึกษา จานวน ๑๓ ฅน เข้าไปปฏิบัติงานอยู่ในชุมชนบ้านนาซาวและแนะนาให้ใช้กระบวนการโบราณคดี ชุมชนและพิพิ ธภัณ ฑ์ชุมชนท้ องถิ่นในการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน รวมไปถึงการท ากิ จกรรมสัง คม สงเคราะห์ชุมชนตามที่กาหนดไว้ในหลักสูตรการฝึกภาค ปฏิบัติ ซึ่งในระยะเริ่มต้นทั้งนักศึกษาและ ชาวบ้านต่างก็ขาดความมั่นใจเพราะยังไม่มีความเข้าใจเรื่องกระบวนการและเทคนิควิธีโบราณคดี ชุมชนและไม่มีประสบการณ์การทาพิพิธภัณฑ์ชุมชนแต่อย่างใด ด้วยความอุตสาหะของทั้งนักศึกษา และชาวบ้าน โดยเฉพาะด้วยความเอาใจใส่และทุ่มเทของผู้สูงอายุในหมู่บ้านทาให้สามารถสร้าง อาคารพิพิธภัณฑ์ ค้นหาและรวบรวมศาสนวัตถุ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในชุมชน จัดแสดงวัตถุ โบราณ จัดแสดงนิทรรศการถาวร และเปิดให้บริการเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนได้ภายในระยะเวลา เพียง ๑ เดือนเท่านั้น ผลการวิ จั ย ดั ง กล่ า ว ได้ พ บว่ า นอกจากฅนในชุ ม ชนบ้ า นนาซาวจะมี ศั ก ยภาพและ ความสามารถในการจัด การทรัพ ยากรวัฒ นธรรมที่ เป็ น ศาสนวัต ถุ ในวัด และวั ตถุ ท างชาติพั น ธุ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการทานา เครื่องมือเครื่องใช้ในบ้าน อุปกรณ์ทอผ้าและอื่น ๆ ในรูปแบบของ การจัดพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นที่หลอมรวมเอาความเป็นบ้านและความเป็นวัดเข้าไว้ด้วยกันอย่าง กลมกลืนและกลมเกลียวแล้ว กิจกรรมในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมฯที่บ้านนาซาวยังทา ให้ค้นพบรูปแบบและเทคนิควิธีการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดีซึ่ง ต่ อ มาข้ า พเจ้ า เรี ย กรู ป แบบและวิ ธี ก ารนี้ ว่ า กระบวนการพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ บ ริ บ าล : Museum Therapeutic Process : MUSEOPEN พิพิธภัณฑ์บริบาล ในที่นี้จึงหมายถึง การใช้กิจกรรมและกระบวนการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ ชุมชนท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างกาลังใจ ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาพจิต และสร้าง โอกาสให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้แสดงความสามารถและถ่ายทอดภูมิปัญญาความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม การทามาหากินที่เคยปฏิบัติมาอย่างมีความสุขในอดีตให้นักศึกษาและเยาวชนที่เป็น หลานเป็นเหลนได้รู้ ทาให้ลูกหลานได้เห็นความสามารถและคุณค่ าของยายย่าตาปู่ของตนที่ สามารถสร้างความรู้ สร้างประวัติศาสตร์ชุมชน และทาหน้าที่เสมือนครู อาจารย์สอนนักศึกษา ครู อาจารย์และผู้ฅนที่มาจากนอกชุมชนได้ กระบวนการและวิธีการพิพิธภัณฑ์ชุมชนดังกล่าวจึง ช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุขกับการทางานด้านอนุรักษ์และจัดการทางวัฒนธรรมในบั้นปลายชีวิต มีสถานที่ให้มาพบปะพูดคุยกัน มีโอกาสให้ได้มาเป็นวิทยากรบรรยายนาชมพิพิธภัณฑ์ให้กับแขก


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๓๓

ต่างบ้านนักท่องเที่ยวต่างถิ่น ข้าราชการระดับต่าง ๆ รวมทั้งนักเรียนนักศึกษารุ่นหลานรุ่นเหลน ที่ไปทัศนศึกษา วัดนาซาวมีวัตถุโบราณสาคัญหลายอย่างที่มีอายุตั้งแต่ราว ๕๐-๒๕๐ปีและเป็นชุมชนที่มี ประวัติการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่เมื่อ ๒๐๐-๓๐๐ ปีมาแล้ว วัตถุโบราณสาคัญชิ้นเอกของวัดนาซาวชิ้น หนึ่ง คือ วิหารน้ อย ถู กนาไปจัด แสดงเป็ นการถาวรที่พิ พิ ธภัณ ฑสถานแห่ง ชาติน่ าน แต่ยัง มีวัต ถุ โบราณและศิลปวัตถุ รวมทั้งศาสนวัตถุที่อาจจะมีคุณค่ าน้อยตามเกณฑ์การคัดเลือกของนักวิชาการ ด้านพิพิ ธภั ณฑ์ (ภั ณฑารักษ์)สังกัดกรมศิลปากรเหลืออยู่ในวัดอีกเป็นจานวนมากและยัง ไม่มีการ จัดการวัตถุโบราณ ศาสนวัตถุและทรัพยากรทางวัฒนธรรมเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนแต่ อย่างใด นอกจากนี้ที่วัดนาซาวยังมีเจ้าอาวาสที่มีความรู้และความชานาญด้านยาสมุนไพรและภาษา ล้านนาสามารถอ่านและแปลคัมภีร์ และจารึกโบราณได้เป็นอย่างดี บ้านนาซาวเป็นชุมชนหมู่บ้านที่มีระบบความสัมพันธ์เชิงเครือญาติเข้มแข็งมากเนื่องจาก เป็นฅนในตระกูลใหญ่ที่สืบมาจากต้นตระกูลเดียวกันและส่วนใหญ่มีนามสกุลเดียวกันหรือใกล้ชิ ดกัน นอกจากนี้ในชุมชนยังมีผู้สูงอายุที่มีความรู้ภาษาล้านนาและภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ หลายท่าน ในชั้นต้นข้าพเจ้าได้เข้าไปประสานและทดลองทากิจกรรมการทาทะเบียนพระพุทธรูปไม้ รวมทั้งการอ่านและแปลความจารึกภาษาล้านนาบนฐานพระพุทธรูปไม้ พบว่าท่านพระอธิการบุญ ศรี สุขวัฒฺโน เจ้าอาวาสวัดนาซาว และพ่ออุ๊ยเลื่อน สถานอุ่น เข้าร่วมดาเนินการทาทะเบียนและ วิเคราะห์จารึกด้วยความเต็มใจและมีทัศนคติที่ดีมากต่อการจัดการเชิงอนุรักษ์ ด้วยคุณลักษณะดังกล่าว ชุมชนบ้านาซาวจึงมีความเหมาะสมในการเป็นพื้นที่ศึกษาวิจัยเชิง ปฏิ บั ติ ก ารพั ฒ นาแบบมี ส่ ว นร่ว มโดยใช้ กิ จ กรรมการสร้า งพิ พิ ธภั ณ ฑ์ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น ที่ ใช้ วั ด เป็ น ศูนย์กลางในการจัดการและเป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ ในการดาเนินงานวิจัย ข้าพเจ้าได้จัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาพิพิธ ภัณฑ์ชุมชนร่วมกัน ระหว่างนักวิจัยจากภายนอกชุมชน และฅนส่วนใหญ่ในชุมชน โดยให้นักศึกษาปริญญาตรีคณะสังคม สงเคราะห์ ศาสตร์ มหาวิท ยาลัยธรรมศาสตร์ที่ไ ปฝึก งานด้านสัง คมสงเคราะห์ชุ มชน (แต่ยัง ไม่ มี ความรู้และทักษะด้านการทางานพิพิธภัณฑ์ชุมชน) จานวน ๑๓ ฅน ลงไปจัดกระบวนการสารวจ ค้ น หาผู้รู้ ศึ ก ษาภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ส ารวจค้ น หาวัต ถุ โบราณ ศาสนวัต ถุ แ ละวัต ถุ ท างชาติ พั น ธุ์ เครื่อ งมือ เครื่อ งใช้ เครื่องมื อท านา เครื่องมื อทอผ้าฯลฯโดยการมีส่ วนร่ว มอย่างกว้างขวางของ เยาวชน ผู้สูงอายุ และกลุ่มแม่บ้าน การสารวจและค้นหาฯดังกล่าวใช้วิธีการ ค่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชน และการทาแผนที่วัฒนธรรม ท้องถิ่นเบื้องต้น ค่อย ๆ จัดกิจกรรมและการละเล่นที่เป็นสื่อในการให้ความรู้เรื่องวัตถุโบราณ วัตถุ ทางศาสนา วัตถุทางชาติพันธุ์โดยมีผู้สูงอายุเป็นวิทยากร มีนักศึกษาคอยประสานงานจดบันทึกและ กระตุ้ น ให้ เกิ ด กิ จ กรรมต่ อ เนื่ อ ง ในขณะเดี ย วกั น ข้ าพเจ้ า และดาบต ารวจมนั ส ติ ค า ผู้ จั ด การ พิพิธภัณฑ์แหล่งเตาเมืองน่านและพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่นก็ทาหน้าที่ประสานงานกับผู้นา


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๓๔

ชุมชน เจ้าอาวาส และเป็นวิทยากรกระบวนการคอยให้คาปรึกษา คอยกระตุ้นให้เกิดความต่อเนื่อง ในกิจกรรม มีการค้นหาและรวบรวมวัตถุโบราณ ศิลปวัตถุ ศาสนวัตถุที่มีอยู่ในวัด และวัตถุทางชาติ พันธุ์ที่มีอยู่ในชุมชนได้เป็นจานวนมาก มีการจัดทาทะเบียนบัญชีวัตถุต่าง ๆ โดยการมีส่วนร่วมของ เยาวชน และมีการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับวัตถุแต่ละชิ้นแต่ ละชนิดโดยมีผู้สู งอายุเป็น ผู้อธิบาย ประวัติความเป็นมา วิธีการสร้าง วิธีการประดิษฐ์ วิธีการใช้ง าน นักศึกษาและเยาวชนทาการจด บันทึก ถ่ายภาพ วาดภาพ ทาความสะอาด ซ่อมแซมส่วนที่ชารุด ซึ่งกระบวนการทางานลักษณะนี้ ก่อให้เกิดความรู้ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนางานพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในหมู่เยาวชน ผู้สูงอายุ และ นักศึกษา จนกระทั่งนาไปสู่การประชุมตกลงร่วมกันของชุมชนว่าจะต้องสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา จัดแสดงวัตถุโบราณ ศิลปวัตถุ ศาสนวัตถุ และวัตถุทางชาติพันธุ์ที่รวบรวมได้ ในกระบวนการทางานมีผู้เข้าไปมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่าง ๆ ของกิจกรรมเป็นจานวนมาก ทั้งฅนในชุมชน และ ฅนจากนอกชุมชน ดังนี้ ฅนในชุมชน กล่าวได้ว่ามีฅนในชุมชนบ้านนาซาวทุกเพศทุกวัยเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรม และกระบวนการวิจั ย ประกอบด้ วย เจ้าอาวาสวัด บ้ านนาซาว สามเณรในวัด นาซาว ผู้ สูง อายุ อาจารย์วัด ผู้นาชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตาบลนาซาว (หมู่ที่๑) กลุ่มพ่อบ้าน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชนของหมู่บ้าน เด็กเล็ก ครูโรงเรียนวัดนาซาว บัณฑิต อาสากองทุนหมู่บ้าน ซึ่งเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มคิด วางแผน จัดประชุม ทาอาหาร รับประทานร่วมกันในระหว่างการทางานระยะต่าง ๆ สารวจค้นหาทรัพยากรวัฒนธรรม ทาแผนที่ วัฒนธรรมชุมชน สร้างชุดความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรวัฒนธรรมของชุมชน ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ ทาทะเบียนวัตถุโบราณและวัตถุทางวัฒนธรรมที่ค้นหาและรวบรวมมาได้ การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ จัดการพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์และร่วมเป็นกรรมการอานวยการและกรรมการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์วัด บ้านนาซาวสามัคคี ฅนนอกชุมชน ได้แก่ ข้าพเจ้า ดาบตารวจมนัส ติคา และนักศึกษาปริญ ญาตรีหลักสูตร สังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิตที่ฝึกภาคปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ชุมชน ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา ๒๕๔๔ (มีนาคม-พฤษภาคม ๒๕๔๕) จานวน ๑๓ ฅน คอยทาหน้าที่ประสานงาน จัดกิจกรรมปลูก จิตสานึก จัดกิจกรรมสารวจทาแผนที่ วัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างง่าย ๆ ร่วมกับเยาวชนและชาวบ้าน ค้นหาผู้รู้ในชุมชน กระตุ้นชุมชนให้เห็นความสาคัญของการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมและความรู้ ในชุมชน ร่วมค้นหาวัสดุก่อสร้างในชุมชน ระดมแรงงานในการก่อสร้าง จัดหางบประมาณที่ชุมชนมี ไม่พอ จัดกระบวนการทาทะเบียนทรัพยากรวัฒ นธรรม จัดกระบวนการสร้างชุดความรู้เกี่ยวกับ ทรัพยากรวัฒนธรรมของชุมชนโดยให้ฅนในชุมชนมีส่วนร่วมมากที่สุด ถ่ายทอดเทคนิควิธีการทางาน เปิดโอกาสให้ฅนในชุมชนได้แสดงออกตามความ สามารถและศักยภาพของตนเอง ทั้งการแสดงออก ในเรื่องภาวะความเป็นผู้นาในการจัดการ (เจ้าอาวาส ผู้สูงอายุ และผู้ใหญ่บ้าน) การเป็นวิทยากรนา ชมพิพิธภัณฑ์(เจ้าอาวาส สามเณร ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง) การตั้งชื่อ พิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาว


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๓๕

สามัคคี (เจ้าอาวาส) การจัดเตรียมสถานที่และพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ เชิญแขกผู้มีเกียรติมาร่วมพิธีเปิด จัดการต้อนรับและกล่าวรายงานต่อประธานในพิธี(ผู้ใหญ่บ้าน) ดาเนินการด้านพิธีกรรมทางศาสนา (อาจารย์วัดและผู้สูงอายุ) จัดการแสดงในพิธีเปิด (คณะครูและนักเรียนโรงเรียนวัดนาซาว และกลุ่ม เยาวชนสตรีบ้านนาซาว) นอกจากนี้ ยั งมีผู้ ว่าราชการจั งหวัดน่ าน (ร.ต.ต. ธนพงษ์ จัก กะพาก) เป็ น ประธานฝ่า ย ฆราวาสในพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ พระครูสิริธรรมภาณี เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองและรองเจ้าคณะอาเภอเมือง น่าน เป็นประธานฝ่ายบรรพชิต นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน (นายนรินทร์ เหล่าอารยะ) ตัวแทนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน ประธานบริหารองค์การบริหารส่วนตาบลนาซาว ประธานสภาฯ อบต.นาซาว ปลั ด อบต.นาซาว และชาวบ้ า นจากชุ ม ชนใกล้ เคี ย งอี ก ประมาณ ๕๐๐ ฅน เข้าร่วมในพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคี เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ นอกจากนี้ยังพบคุณลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาความสามารถของชุมชนท้องถิ่นใน การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม โดยเห็นได้จากการที่ฅนในชุมชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการจัดการ ในกระบวนการของกิ จ กรรมพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ชุ ม ชนทั้ ง หมด คื อ ตั้ ง แต่ ก ารส ารวจค้ น หาทรั พ ยากร วัฒนธรรมและภูมิปัญญาความรู้พื้นถิ่น การสร้างชุดความรู้ทางวิชาการ(การวิจัย)เกี่ยวกับทรัพยากร วัฒ นธรรมในชุ มชน การถ่ายทอดชุด ความรู้จากผู้ สูง อายุไ ปสู่เยาวชนโดยผ่านกระบวนการวิจั ย (ผู้เฒ่าเล่าบอก เยาวชนซักถามและจดบันทึก) การทาแผนที่วัฒนธรรมท้องถิ่น การทาทะเบียนวัตถุ ทางวัฒนธรรม การร่วมประชุมประเมินคุณค่าทรัพยากรวัฒนธรรมและความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน การ วางแผนสร้างพิพิธภัณฑ์ การค้นหาทรัพยากรและวัสดุก่อสร้างในชุมชน การร่วมใช้แรงงานและฝีมือ เชิงช่างในการออกแบบและก่ อสร้าง ดัดแปลงวัสดุ เหลือ/เลิกใช้ให้เกิดประโยชน์ในการก่อสร้าง อาคารพิ พิธภัณ ฑ์ ซึ่งมีชาวบ้านในชุมชนจากทุกครัวเรือนมาร่วมกิ จกรรม การมี ส่วนร่วมในการ บริจ าควั สดุก่ อ สร้าง และวัตถุ ท างวัฒ นธรรม เครื่อ งมื อเครื่อ งใช้วั ตถุ โบราณสาหรับ จัด แสดงใน พิพิธภัณ ฑ์ การสร้างชุดความรู้เกี่ยวกับวัตถุโบราณบางประเภทที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถ พิเศษเฉพาะตัว เช่น การอ่านวิเคราะห์และแปลความจารึกภาษาพื้นเมืองล้านนาบนฐานพระพุทธรูป ไม้ และบนฝาหีบเก็บคัมภีร์ใบลาน รวมทั้งการอ่านและแปลความคัมภีร์ใบลานที่ดาเนินการโดยท่าน เจ้ าอาวาส และผู้ สู ง อายุ การจั ด แสดงครั ว ไฟ เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ ใ นการท านา อุ ป กรณ์ ท อผ้ า (ดาเนินการโดยผู้สูงอายุ) และการเขียนคาอธิบายวัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ด้วยภาษาและอักษร พื้ น เมื อ งล้ า นนาก็ ด าเนิ น การโดยพ่ อ อุ๊ ย เลื่ อ น สถานอุ่ น ซึ่ ง มี ข้ า พเจ้ า ดาบต ารวจมนั ส ติ ค า และนั ก ศึ กษาคอยอานวยความสะดวก และจั ด การเชื่ อมโยงกิจ กรรมต่ าง ๆ ให้ ส อดคล้อ งและ ต่อเนื่อง หลัง จากการเปิ ด พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วัด บ้ า นนาซาวสามั ค คี อ ย่า งเป็ น ทางการแล้ ว ข้ าพเจ้ าและ นักศึกษาได้เดินทางกลับกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าจงใจไม่ติดต่อกับชุมชนเป็นเวลานาน ๆ เพื่อทดสอบว่า ชุมชนจะดาเนินการบริหารจัดการด้วยตัวเองได้อย่างไร ซึ่งจากการติดตามประเมินผลเป็นระยะเมื่อ


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๓๖

เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๖ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ๒๕๔๘ และพ.ศ. ๒๕๔๙ พบว่าชุมชน บ้านนาซาวก็ยังสามารถจัดการพิพิธภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการอานวยการ และคณะกรรมการบริหารจัดการพิพิ ธภั ณฑ์ ขึ้นมารับผิดชอบดู แลบริหารจัดการพิพิ ธภั ณ ฑ์ โดย ประสานงานและเชื่อมโยงกิจกรรมกับพิพิธภัณฑ์แหล่งเตาเมืองน่านบ้านบ่อสวกและพิพิธภัณฑ์เฮือน บ้านสวกแสนชื่นที่มีดาบตารวจมนัส ติคาเป็นผู้ดูแลจัดการอยู่ในลักษณะเครือญาติพิพิธภัณฑ์ และ พันธมิตรพิพิธภัณฑ์ เมื่อมีฅนเข้าไปเที่ยวชมทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑ์แหล่งเตาเมืองน่านและพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้าน สวกแสนชื่น ดาบตารวจมนัส ติคา ก็จะแนะนาให้ไปชมพิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคี (ซึ่งอยู่ใน เส้นทางเดียวกันและอยู่ไม่ไกลกัน) หรือบางครั้งดาบตารวจมนัส ติคาจะพาผู้ชมไปยังพิพิธภัณฑ์วัด บ้านนาซาวสามัคคีด้วยตัวเอง พิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคีจึงเริ่มมีฅนรู้จักและเข้าไปเที่ยวชม มากขึ้นในปีแรก ๆ และต่อมาก็มีฅนรู้จักกันแพร่หลาย เพราะมีได้รับการบรรจุรายชื่ อและประวัติ พิพิธภัณฑ์ไ ว้ในนามานุกรมพิพิธภัณ ฑสถานในประเทศไทย ภาคเหนือ เล่ม ๑ ที่จัดทาและพิ มพ์ เผยแพร่โดย สานักพิ พิธภั ณฑสถานแห่งชาติกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖และต่อมามีรายชื่อ ประวั ติ แ ละภาพถ่ ายพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ป รากฏอยู่ ในสื่ อ อิ เล็ ก โทรนิ ก ส์ ของศู น ย์ ม านุ ษ ยวิ ท ยาสิ ริ น ธร (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม [http://www.sac.or.th/museumdatabase] คณะกรรมการพิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคีจัดให้มี วิทยากรอาสาสมัครที่เป็นผู้สูงอายุ คอยดูแลปิดเปิด และอธิบายนาชมในพิพิธภัณฑ์จนกลายเป็นกิจวัตรประจาวันของผู้สูงอายุในชุมชน ที่เริ่มใช้พิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคีเป็นเวทีพบปะและทากิจกรรมร่วมกันมากขึ้น มีการค้นหา วัต ถุโบราณ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เข้าไปจัดแสดงในพิพิ ธภัณ ฑ์ เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกั น มัคคุเทศก์ในจังหวัดน่านก็เริ่มนานักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ฯมากขึ้นด้วย ความสามารถทางวัฒ นธรรมชุม ชนของผู้สู ง อายุในชุม ชนบ้านนาซาวเห็ นได้ชัด เจนเมื่ อ ข้าพเจ้าได้จัดกิจกรรมการวิจัยต่อเนื่องเข้าไปเสริมสร้างความสามารถของชุมชนบ้านนาซาวในการ บริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชน (เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๕) ได้แก่การจัดทาทะเบียน และการสร้าง ชุดความรู้เกี่ยวกับคัมภีร์ใบลานที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคี โดยในคราวนั้นข้าพเจ้า พร้อ มด้วยดาบตารวจมนั ส ติค า และนั ก ศึก ษาปริญ ญาโทในหลัก สูต รพั ฒ นาชุม ชนมหาบั ณ ฑิ ต (พช.ม.) จานวน ๙ ฅน เข้าไปร่วมจัดกระบวนการร่วมกับผู้สูงอายุและกลุ่มแม่บ้าน มีผู้สูงอายุ(ชาย) ที่มีความรู้และความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาล้านนา และเคยมีประสบการณ์ในการจาร คัมภีร์ใบลาน จานวน ๖ ท่าน ได้แก่ พ่ออุ๊ยเลื่อน สถานอุ่น อายุ ๗๙ ปี พ่ออาจารย์หนานบุญรัตน์ นันไชย อายุ ๖๗ ปี พ่อหนานสมบุญ สายคากอง อายุ ๖๑ ปี พ่อหนานอินส่อง อินวุฒิ อายุ ๗๗ ปี พ่อหนานสอน อินวุธ อายุ ๕๖ ปี พ่ออาจารย์หนานพรหม วงศ์สิริ อายุ ๗๐ ปี เป็นวิทยากรหลักใน การอ่านวิเคราะห์สาระสาคัญในคัมภีร์ใบลานแต่ละผูก เพื่อการจาแนกประเภทเรื่องในคัมภีร์ การ กาหนดอายุสมัยของคัมภีร์ การระบุผู้สร้างและข้าพเจ้าคัมภีร์ และได้ทดลองให้ พ่ออาจารย์หนาน


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๓๗

พรหม วงศ์สิริ ทาการปริวรรตคัมภีร์ใบลานจากภาษาล้านนาเป็นภาษาไทย คือ เรื่องตานานพระธาตุ แช่ แ ห้ ง (จารเมื่ อ พ.ศ. ๒๔๓๖) จ านวน ๔๓ หน้ าลาน/ผู ก ซึ่ ง พ่ อ อาจารย์ ห นานพรหม วงศ์ สิ ริ สามารถปริวรรตได้อย่างถูกต้องได้ใจความครบถ้วนโดยใช้เวลาเพียง ๑ วัน กับ ๑ คืนเท่านั้น แสดง ให้เห็นศักยภาพและความสามารถของผู้สูงอายุในด้านการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมและสร้างชุด ความรู้ท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี และกิจกรรมดังกล่าวเป็นการเสริมสร้างความสามารถของผู้สูงอายุใน ชุมชนท้องถิ่นในการวิจัยเอกสารโบราณที่มีอยู่มากมายตามชุมชนหมู่บ้านต่าง ๆ โดยไม่ต้องรอคอย ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณจากสถาบันการศึกษาหรือองค์กรราชการที่มีผู้เชี่ยวชาญอยู่ไม่กี่ฅน เข้าไปดาเนินการ กระบวนการวิจัยที่ดาเนินการไปแล้วยังมีส่วนขยายผลให้ชุมชนหมู่บ้านอื่น ๆ เดินทางเข้าไป ดูง านและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้สูงอายุที่พิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคี และที่ผ่านมาก็มีผู้นา ชุมชนจากชุมชนหมู่บ้านอื่น ๆ ประสานขอคาแนะนาและความร่วมมือจากข้าพเจ้าผ่านดาบตารวจ มนัส ติคาให้ไปจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ ศาสนวัตถุประเภทพระพุทธรูปไม้ และคัมภีร์ใบลานในวัด ของชุมชนต่างอาเภออีกหลายแห่ง เช่น ที่วัดหนองบัว วัดท่าผา วัดดอนแก้ว อาเภอท่าวังผา จังหวัด น่านและที่วัดวัวแดง ตาบลแม่สา อาเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จากปรากฏการณ์และข้อค้นพบในการดาเนินงานวิจัยฯในกรณีพิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาว สามัคคี ดังกล่าวข้างต้น ทาให้มั่นใจว่าเราจะสามารถใช้กระบวนการพิพิธภัณฑ์ชุมชนเป็นวิธีการใน การส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในชุมชนต่าง ๆ ให้เข้าไปมีบทบาทสาคัญในการพัฒนาชุมชน และเชื่อ ว่ากระบวนการดังกล่าวจะสามารถช่วยสร้างความสุขความประทับใจ ความอิ่มเอมใจให้กับผู้สูงอายุ ที่กาลังถูกทอดทิ้ง และอยู่ในภาวะซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยลดปัญหาของผู้สูงอายุ และช่วย เสริมพลังในการพัฒนาของชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย

แม่อุ๊ยชื่น ธิเสนา กับความสุขจากการมีพิพิธภัณฑ์ที่บ้าน แม่อุ๊ยชื่น ธิเสนา (ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๗ อายุ ๘๐ ปี) เดิม เป็นเจ้าของที่ดินที่ตั้งพิพิธภัณฑ์เตาโบราณบ้านบ่อสวกและพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่น ต่อมา ได้ยกที่ดินผืนนี้ให้แก่คุณสุนัน ติคา (บุตรสาว) และดาบตารวจมนัส ติคา (บุตรเขย)แต่ก็ยังอยู่อาศัย ในครอบครัวเดีย วกันแม่อุ๊ย ชื่นได้มี ส่วนร่วมในการขุดค้ นเตาสุนั นและเตาจ่ามนัสมาตั้ง แต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่นในปีพ.ศ. ๒๕๔๔ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่อุ๊ยชื่น ได้ยกเครื่อ งใช้ สิ่งของต่าง ๆ ที่ เก็บสะสมเอาไว้ให้ นามาจัด แสดงในพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่นทั้งหมด แม่อุ๊ยชื่นได้เริ่มพัฒนาความสามารถในการจัดการ พิพิธภัณฑ์เตาโบราณโดยการนาชมแก่นักท่องเที่ยว และนักเรียนนักศึกษาในช่วงเวลาวันทางานที่จ่า มนัสและคุณสุนันไปทางานในเมือง


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๓๘

เพราะเป็นฅนชอบอ่านหนังสือและยังมีความจาดีเยี่ยม แม่อุ๊ยชื่นอ่านหนังสือและเอกสาร การวิจัยที่ เกี่ย วกับ แหล่ งเตาเมื องน่าน พระเจ้ าไม้เมื องน่าน และหนัง สือ ทางโบราณคดี อื่น ๆ ที่ ข้าพเจ้านาไปให้ และยังมีหนังสือที่ได้รับจากหน่วยงานอื่น ๆ ทาให้แม่อุ๊ยชื่นมีความรู้เรื่องเตาโบราณ และเครื่องถ้วยชามค่อนข้างดี ประกอบกับวัตถุสิ่งของที่จัดแสดงอยู่บนเฮือนบ้านสวกแสนชื่นเป็น ของแม่ อุ๊ ย ชื่ น เอง แม่ อุ๊ ย ชื่ น จึ งน าชมวั ต ถุ สิ่ ง ของต่ าง ๆ บนเฮื อ นพิ พิ ธภั ณ ฑ์ ไ ด้ ค ล่ อ งแคล่ ว และ สนุกสนานเป็นที่ประทับใจของผู้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เตาโบราณบ้านบ่อสวก และพิพิธภัณฑ์เฮือน บ้านสวกแสนชื่น ในห้ วงเวลาระหว่างปี พ .ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๖ แม่ อุ๊ ย ชื่ น ได้ เสาะหาวั ต ถุสิ่ ง ของมาจัด แสดง เพิ่มเติมในพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่น และได้นากี่ทอผ้าเก่ามาให้ช่างซ่อมแซมเพื่อใช้ในการ สาธิตการทอผ้าให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้ ซึ่งปัจจุบันแม่อุ๊ยชื่นมีอาชีพเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งคือ การสาธิตทอผ้าและขายผ้าที่ทอได้ให้เป็นของที่ระลึก เมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๕ ดาบตารวจมนัสได้ซื้อครกมองตาข้าวของเก่ามาตั้งไว้ในบริเวณบ้านชุด หนึ่งเพื่อเป็นทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้วิถีชีวิตในระยะแรกแม่อุ๊ยชื่นได้สาธิตการตาข้าวด้วยครกมอง ให้เด็กนักเรียนดู แต่ทาไประยะหนึ่งก็สามารถตาข้าวเอาไปหุงรับประทานได้ และที่สาคัญแม่อุ๊ยชื่น พบว่าการตาข้าวด้วยครกมองและกินข้าวซ้อมมือช่วยให้โรคปวดขาปวดเอวหายไปด้วย ส่วนของรา ข้าวปลายข้าวก็เอาให้ ไก่กินได้ด้วยปรากฏ การณ์ เช่นนี้เป็ นหลักฐานยืนยันถึง ความสามารถของ แม่อุ๊ยชื่นในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปกติและก่อให้เกิดประโยชน์ทั้ง


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๓๙

ในชีวิตประจาวัน เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพร่าง กายจิตใจและก่อให้เกิดประโยชน์ด้านการเรียนรู้ ของฅนอื่น ๆ ได้ ทุกวันนี้แม่อุ๊ยชื่นยังทาหน้าเป็นทั้งฅนกวาดเช็ดถูดูแลความเรียบร้อยของพิพิธภัณฑ์เฮือน บ้านสวกแสนชื่นทุก ๆ เช้าและทาหน้าที่เป็นวิทยากรประจาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เกือบทุกวัน ยกเว้นวัน พระและวันสาคัญทางศาสนา ซึ่งแม่อุ๊ยชื่นจะต้องไปทาบุญถือศีลที่วัดบ่อสวก ตั้ ง แต่ พ .ศ.๒๕๔๒-๒๕๕๓ มี นั ก เรี ย นนั ก ศึ ก ษานั ก การเมื อ ง ข้ า ราชการ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว นักวิชาการและผู้ที่สนใจเข้าไปเยี่ยมชมและได้ใช้บริการจากการนาชมของแม่ อุ๊ยชื่นแล้วไม่น้อยกว่า ๗๐,๐๐๐ ฅน จากจานวนผู้เยี่ยมชมทั้งหมดราว ๑๐๐,๐๐๐ กว่าฅน นอกจากนี้ในระยะแรกของการ เปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์แม่อุ๊ยชื่นยังได้รับเชิญจากสถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาเขตน่าน ให้ไปเป็น วิทยากรบรรยายพิเศษในการศึกษาวิชาเกี่ยวกับการจัดการแหล่งเรียนรู้และสังคมโลกอีกด้วย แม่ อุ๊ย ชื่ นได้ ให้ สั ม ภาษณ์ แ ก่ จ รีพ ร นาคสัม ฤทธิ์ มหาบั ณ ฑิ ต สาขาชนบทศึก ษาและการ พัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๕ เกี่ยวกับความเป็นมาของการเป็น วิทยากรชุมชนและเป็นผู้จัดการทรัพยากรวัฒนธรรมทั้งหลุมขุดค้นที่มีเตาเผาและพิพิ ธภัณฑ์เฮือน บ้านสวกแสนชื่นที่อยู่ในบริเวณบ้านว่า ยายมาปลูกบ้านตรงนี้เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ ลูกเขย (จ่ามนัส )มาอยู่บ้านนี้เมื่อไหร่จาไม่ได้ ก่อนที่จะปลูกบ้านนี้ ที่ตรงเตาเป็นจอมปลวก ตาแสนหารถไถมาเกรดจอมปลวก พอดีเจ้าของ รถไถเขาว่ามันเป็นดินแข็ง ยายก็บอกว่าหยุดเถอะก็หยุ ดไปไม่ได้ทาต่อ เราเกรดดินนี่เดือน เมษายน เราจะเอาของกินมาปลูกกิน พวกพริกมะเขือ มะขามหวาน ปลูกเท่าไรก็ไม่ขึ้น ยายก็ เอาปุ๋ย ขี้เป็ดขี้ไก่มาใส่ก็ไม่ขึ้น เป็นใบหงิกใบงอ ยายก็ไม่รู้ว่าตรงเนินดินนี่เป็นเตา พอดีลูกเขย เอาฅนเฒ่าฅนแก่ในบ้านบ่อสวกมาดู ฅนแก่อายุประมาณ ๘๐-๙๐ ปีพามาดูที่บ้าน ก็ว่าเป็นน้า บ่อห่างบ่อร้างของฅนเมื่อก่อน จากนั้นอาจารย์สายันต์ได้ถ้วยชามจากอาเภออมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่ มาเปรียบเนื้อดินที่มีเตาทุกที่ทั้งด่านเกวียน ศรีสัช ฯ บ้านเชียง เวียงกาหลงไปลอง เทียบทุกที่ก็ไม่ใช่เนื้อดินของที่นั่น อาจารย์มีโอกาสมาเที่ยวที่น่านก็เอาของชิ้นนั้นมาด้วย ก็มา แวะที่พิพิธภัณฑ์น่าน ก็พบว่ามีของบ้านบ่อสวกสมัยที่เขาขุดพระบ่อสวกในพ.ศ.๒๔๙๙ เขาเอา ไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์จังหวัดน่าน เป็นถ้วยชาม พิพิธภัณฑ์ก็ติดป้ายว่าเป็นของบ้านบ่อสวก อาจารย์ก็ว่าถ้ามีของอย่างนี้ต้องมีเตา อาจารย์ก็ติดตามมาสารวจมาตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ ตอนนั้นก็ไปสารวจที่เขาขุดพระบ่อสวกไม่เจอเตาเลยกลับกรุงเทพฯ แล้วก็ไม่ได้มาอีกตั้งเกือบ สิบห้าปี ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๔๒ อาจารย์สายันต์ก็มาสารวจอีก ก็ไปหาอาจารย์สมเจตน์ วิมลเกษม ที่โรงเรียนสตรีศรีน่านแล้วก็ไปประชาคมเมืองน่านที่โรงพยาบาลน่าน ปรึกษาคุณหมอบุญยงค์ คุณหมอคณิต คุยกันแล้วคุณหมอบุญยงค์ คุณหมอคณิตก็แนะนาให้ไปสารวจที่ที่เขาขุดพระ บ่อสวกของมันมีอยู่ที่นั่น อาจารย์สายันต์ก็เลยไปสารวจที่นั่น พอดีมากันตอนกลางวัน สารวจ จนเหนื่อยก็มาพักที่บ้านยาย ลูกเขยออกเวรมาพอดี ลูกเขยก็ดูแลและคุยกับอาจารย์ก่อน


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๔๐

อาจารย์จะกลับลูกเขยก็เอ่ยขึ้นมาว่า ที่บ้านข้าพเจ้ามีดินแข็ง ๆ ไม่รู้เป็นอะไร เวลาตัดหญ้า ใบมีดไปโดนเข้าใบมีดบิดทุกครั้ง ไม่รู้ว่าเป็นอะไรเลยปล่อยทิ้งไว้ เอาคนเฒ่าคนแก่ในบ้านบ่อ สวกมาดูก็ว่าเป็นน้าบ่อห่างบ่อร้างของฅนเมื่อก่อน อาจารย์เลยว่าให้พาไปดู ลูกเขยจะแบกจอบแบกเสียมไปขุดดินขุดหญ้าให้รู้ อาจารย์ก็ ว่าไม่ต้องเอาไปหรอกดูด้วยตาก็รู้ พอไปถึงก็รู้เลยว่าเป็นเตาเป็นของโบราณจริง ๆ เดือนตุลาคม ปีพ.ศ.๒๕๔๒ อาจารย์สายันต์ก็ขึ้นมาขุด มีนักศึกษาปริญญาตรี ปริญญา โทและจ้างชาวบ้านบ่อสวกมาขุด ระหว่างขุดทาพิธีด้วย ในวันแรกเริ่มทาการบวงสรวงวันที่ ๒ เราเริ่มขุด ละอ่อนนักศึกษา๓ฅนได้แยกออกไปสืบข้อมูลจากฅนเฒ่าคนแก่ เหลืออยู่ที่บ้านนี้ ๗ ฅนกับชาวบ้านอีก๙ ฅน ขุด ๆ ไปหลายวันเข้าพอดีชาวบ้านเขากลับไปนอนฝันว่าระหว่ างขุด ไม่ได้นอนที่บ้านไปนอนอยู่ที่ป่าสุสานระหว่างที่ขุดเตาเราก็เลยปรึกษากันวันที่ ๑๕ ตุลาคมให้ นิมนต์พระมา ๙ รูป มาทาบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ส ร้างเตา อาจารย์สายันต์ได้งบวิจัยจาก ธรรมศาสตร์มาพัฒนาแหล่งโบราณคดีสร้างอาคารคลุมหลุมเตาตอนแรกเลยมุงหลังคาเป็น หญ้าคาเสาไม้ยูคาหาเอาแถว ๆ นี้ ในระหว่างการขุดพบถ่านจึงเก็บและนาไปส่งพิสูจ น์อายุ ของเตาพบว่าอายุ ๕๕๐-๗๕๐ ปี เตาบ้านบ่อสวกเป็นเตาก่อด้วยดินที่มีอายุเก่ารุ่นเดียวกับเตา รุ่นแรก ๆ ที่ศรีสัชนาลัย ระหว่างที่ขุดแพทย์บุญยงค์มาร่วมด้วย พอมาเห็นของโบราณและของใช้ของชาวบ้านที่ เป็นภูมิปัญญาเก็บเอาไว้ ไม่มีที่เก็บรักษาเพียงพอก็ใจบุญบริจาคห้องแถวเก่าโรงพยาบาลเป็น ไม้เก่า กระเบื้ องเก่ าจากโรงพยาบาลน่านมาให้ ก็จ้างคนมาตีไม้ มุง หลัง คาและสร้างเรือ น พิพิธภัณฑ์ในปีต่อมา พอดีเจ้าหน้าที่บริษัทเอไอเอสเขาเป็นคนเมือ งน่านแต่มาจากกรุง เทพฯมาเที่ ยวเห็ น หลังคามุง หญ้าคาอยู่ก็เลยประสานงานบริษัทใหญ่ ที่กรุงเทพฯบริจ าคเงินให้ส ามหมื่นบาท มาร่วมสมทบกับของมูลนิธิพระครูพุทธมนต์โชติคุณโรงพยาบาลน่าน จึงได้ทาหลังคาใหม่ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ สมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯเสด็จ มาทัศนศึกษาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เตาเผาโบราณท่านรับสั่งไม่ให้ขุดเจาะเปิดเตาจ่ามนัสให้เก็บ ไว้ดูชมตามธรรมชาติ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี เสด็จมาทัศนศึกษาเยี่ยมชม ก็ไม่ให้ขุดเจาะเตานี้เช่นเดียวกัน ปล่อยให้ ดูตาม ธรรมชาติไม่ให้เสียหายไปมากกว่านี้เก็บรักษาไว้ให้ลูกหลานดู.

ในการศึกษาพบว่าแม้ว่าแม่อุ๊ยชื่นจะเคยได้รับความทุกข์ยากจากปัญ หาครอบครัว เคยมี อาชีพเป็นแม่ค้าขายของที่ต้องการกาไรเป็นหลัก เคยเจ็บป่วยทั้งกายและใจในระยะเวลาก่อนการขุด ค้นเตาสุนันและเตาจ่ามนัสในปี พ.ศ.๒๕๔๒ แต่จากการวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมตามแบบแผน โบราณคดี ชุ ม ชน และการได้ เข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในการจั ด การทรั พ ยากรวั ฒ นธรรม การพั ฒ นา


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๔๑

พิพิธภัณฑ์เตาโบราณบ้านบ่อสวกและพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่นด้วยตนเองทุกขั้นตอนตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๔๒ จนถึง ๒๕๕๗ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางจิตใจและร่างกายของแม่อุ๊ยชื่นได้ อย่างน่าสนใจ การเปลี่ยนแปลงที่นาไปสู่การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีเป้าหมายเพื่อความสุขของฅน อื่นได้เกิดขึ้นในจิตใจของแม่อุ๊ยชื่นเป็นลาดับเรื่อยมาและน่าจะกล่าวได้ว่าในปัจจุบันแม่อุ๊ยชื่นได้เห็น ความสาคัญของ การให้เท่ากับการรับ และดูเหมือนว่าแม่อุ๊ยชื่นจะให้ความสาคัญกับ การให้ เพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ ทั้งนี้เห็นได้จากคาให้สัมภาษณ์และคาพูดที่มักบอกกับฅนอื่น ๆ เสมอ ๆ เมื่อมีผู้ปรารภว่า บ้านนี้อยู่กันได้อย่างไร มีฅนมาเที่ยวจานวนมาก ค่าเข้าชมก็ไม่เก็บ บริการห้องน้าห้องส้วมฟรี และก็ ไม่เห็นมีหน่วยงานไหนมาช่วยเหลือดูแล น่าจะต้องเก็บค่าเข้าชมเพื่อเอามาช่วยค่าใช้จ่ายและเป็น กาลังใจให้ฅนทางานอย่างนี้ แต่แม่อุ๊ยชื่นมักบอกกับใคร ๆ ว่า ฅนที่มาเที่ยวชมบอกว่าให้ยายเก็บค่าเข้าเยี่ยมชม ยายก็บอกว่ายายทาไม่ได้ ฅนที่ไม่มี เงินที่เขาอยากมาดูก็มี เขาจะได้เห็นได้มาศึกษาเรียนรู้ด้วย แม้ว่าเขาจะไม่มีอะไรมาตอบแทน เราสัก อย่างยายก็ไม่ ว่า ถ้า เราไม่ได้อ ะไรเลย เราก็อ ยู่อ ย่างนี้ แหละเป็ น วิถีชี วิต ของเราไม่ เดือดร้อน เงินที่บริจาคในตู้ก็เอามาซื้อน้ามันตัดหญ้า ทุกบาททุกสตางค์ที่เขาบริจาคเราก็เอามา พัฒนาพิพิ ธภัณ ฑ์นี้ เราจะกวาดใบไม้ในหน้าแล้ง มันเยอะกวาดไม่ทันก็จ้างเขากวาดวัน ละ ๑๐๐ กว่าบาท คนรุ่นยาย และจ่ามนัสก็คงทาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีลูกหลานมาดูแลต่อไป

หลัก ฐานอีก ชุดหนึ่งที่ ยืน ยันถึ งการยอมรับ ในความสามารถของแม่อุ๊ ยชื่น ในการจัดการ ทรัพ ยากรวัฒ นธรรม โดยเฉพาะอย่ างยิ่ ง ความสามารถในการน าเสนอและน าชม ก็ คื อ บั น ทึ ก ความเห็นในสมุดเยี่ยมของผู้ที่มาเยี่ยมชม ซึ่งส่วนมากมักจะเขียนไว้อย่างอิสระตรงกับที่ใจของฅน เขียนคิด ไม่ใช่ข้อมูลที่มาจากแบบสอบถาม ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิได้เขียนถึงพัฒนาการของแม่อุ๊ยชื่น ธิ เสนา ไว้ ในค าน าของหนั งสื อ การฟื้ น ฟู พ ลั งชุ ม ชนด้ ว ยการจั ด การทรัพ ยากรวั ฒ นธรรมและ พิพิ ธภัณ ฑ์ชุ มชน:แนวคิด วิธีการ และประสบการณ์ จากจังหวั ดน่าน (สายันต์ ไพรชาญจิต ร์, ๒๕๔๗) ที่ โครงการโครงการเสริม สร้า งการเรีย นรู้ เพื่ อ ชุม ชนเป็ น สุ ข (สรส.) สานั ก งานกองทุ น สนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสานักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) จัดพิมพ์ เผยแพร่ ว่า


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๔๒

ความเข้มแข็งของชุมชนเป็นทั้งเหตุและผลของการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การสร้าง ความเข้มแข็งแก่ชุมชนทาได้หลายแนวทาง โดยมีฐานสาคัญอยู่ที่การดาเนินการนั้นต้องเกิด จากการขับดันจากภายในชุมชนนั้นเอง อาศัยทรัพยากรในท้องถิ่น มีสมาชิกในชุมชนเป็นแกน นา มีการร่วมแรงร่วมใจในชุมชนอย่างกว้างขวาง และการดาเนินการนั้นต้องสร้างการเรียนรู้ ร่วมกันของคนในชุมชน โดยที่การดาเนินการร่วมกันและเรียนรู้ร่วมกันจะต้องมีความต่อเนื่อง และยกระดับขึ้นอย่างเป็นพลวัต กิจกรรมสาหรับดาเนินการเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนมี หลากหลาย เช่น การรวมตัวกันดาเนินการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กิจกรรมโรงสีชุมชน ร้านค้า ชุ ม ชน การวิ จั ย ประวั ติ ศ าสตร์ ท้ อ งถิ่ น กิ จ กรรมการเรีย นรู้ข องเด็ ก นั ก เรี ย นในโรงเรี ย น พิพิธภัณฑ์ชุมชน เป็นต้น หนังสือ การฟื้นฟูพลังชุมชนด้วยการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ์ชุมชน: แนวคิด วิธีการ และประสบ การณ์จากจังหวัดน่าน นี้ มีความแปลกใหม่ที่ ผู้เป็นแรงผลักดัน การดาเนินการเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เป็นนักโบราณคดี คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สา ยันต์ไพรชาญจิตร์ แห่งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักโบราณคดีโดยทั่วไปมักมองโบราณวัตถุว่าเป็นสมบัติส่วนกลางของชาติ เมื่อมีการ ค้นพบโบราณวัตถุ ก็มักนาออกไปจากแหล่งค้นพบ เอาไปเก็บไว้ที่ส่วนกลาง แต่อาจารย์ส า ยันต์เป็นนักโบราณคดีที่มองต่างมุม คือ มีความเชื่อว่าควรเก็บโบราณวัตถุไว้ที่แหล่งค้นพบ ให้ เป็นสมบัติของชุมชน จึงอาจกล่าวได้ว่าเรื่องราวในหนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นได้เพราะความเป็นนัก โบราณคดีแหวกแนวของอาจารย์สายันต์---นักโบราณคดีชุมชน มุมมองและวิธีการที่แหวกแนวมีอยู่เต็มไปหมดในหนังสือเล่มนี้ เช่น การบวชดอย สร้าง ความศักดิ์สิทธิ์ป้องกันคนเก็บขวานหินโบราณออกไปจากภูเขา การสร้าง พิพิธภัณฑ์วันเดียว ที่บ้านก้อดสวรรค์ กิจกรรมพิพิธภัณฑ์บาบัดสร้างความสุขให้ แก่ผู้สูงอายุ การพัฒนาตนเอง ของแม่อุ๊ยชื่น ธิเสนา จากแม่บ้านธรรมดามาเป็นวิท ยากรนาชมและให้ค วามรู้เรื่องเตาเผา โบราณและอดีตของชุมชนได้อย่างฉะฉานน่าสนใจ

ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช มิได้เขียนถึงแม่อุ๊ยชื่นโดยที่ไม่ได้รู้จัก ไม่ได้สัมผัส หรือรับรู้เพียงข้อมูลจากข้อเขียนในหนังสือดังกล่าวและเขียนคานาเพื่อให้หนังสือดูดี หากแต่ท่านได้ เคยไปเยี่ยมชมพิพิธภัณ ฑ์เตาโบราณบ้านบ่อสวกและพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่นแห่ง นี้เมื่อ เดื อ นมิ ถุ น ายน พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมี แ ม่ อุ๊ ย ชื่ น ธิ เสนา เป็ น ผู้ บ รรยายน าชม การที่ ท่ า นเขี ย นถึ ง ความสามารถของแม่อุ๊ยชื่นไว้ในคานาดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องเกินจริงแต่อย่างใด รศ.ดร.อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ แห่งสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฅนเมืองน่านที่ได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เตาเผาโบราณและพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่น และได้ สัมผัสกับการต้อนรับของแม่อุ๊ยชื่น รศ.ดร. อรวรรณ เขียนไว้ในสมุดบันทึกเยี่ยมพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้าน สวกแสนชื่น เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ว่า


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๔๓

....ประทับใจมากในอัธยาศัยไมตรีอันงดงามของ “คุณน้าชื่น ” เจ้าของบ้าน เรื่องราว ความเป็นมาของการเจอและการขุดเตาเผาโบราณที่เจ้าของบ้านเกี่ยวข้องทั้งหมดมีคุณค่า งดงาม บอกถึงความเป็นคนเมืองน่าน ที่มีน้าใจกว้างขวาง เอื้ออาทรต่อผู้อื่นและต่อสภาวะ แวดล้อม เป็นเรื่องราวบ่งบอกผู้อื่น คนถิ่นอื่นที่มาเยือน ที่คนเมืองน่านด้วยกันภูมิใจในคุณค่า แห่ง น้าใจที่ม าจากใจ ตัวแทนความดี งามของชาวน่านทั้ง มวลที่ กล่าวมามี คุณ ค่ าในระดั บ เดียวกับเตาเผาโบราณซึ่งมีการสั่งสมถ่ายทอด.

สรุป ก ล่ าวโด ยส รุ ป ส ถาน ภ าพ ขอ งพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ชุ ม ชน ท้ อ งถิ่ น เป็ น ได้ ห ล ายอ ย่ า ง เช่น เป็นห้องรับแขกของชุมชน เป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชนที่สมาชิกชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เป็ นศู น ย์เรีย นรู้และห้ องสมุด ภู มิปั ญ ญาของชุม ชนเพราะเป็ น แหล่ง รวมวิท ยาการความรู้ ต่าง ๆ และเป็นตลาดภูมิปัญญาที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ได้ การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในทัศนะของข้าพเจ้า หมายถึง การพัฒนาทั้งฅน และความเป็น ชุมชนให้เข้ม แข็ง โดยมุ่ งเน้นพั ฒ นาให้ ฅนให้พึ่ งตั วเอง เห็น แก่ส่วนรวม สามารถเป็น ผู้นาในการ พัฒ นากลุ่มหรือชุมชนให้เข้มแข็งต่อไป เหตุผลที่ต้องมีการพัฒ นาก็เนื่องมาจากฅนและชุมชนใน ปัจจุบันนั้นมีความอ่อนแอ เพราะขาดภูมิปัญญาที่ถูกต้องและขาดการจัดการความรู้ท้องถิ่นให้ดีการ พัฒนาชุมชนท้องถิ่นจึงต้องทาให้ฅนเกิดความเข้ม แข็งทางปัญญาที่นาไปสู่การสร้างความเป็นชุมชน หรือวัฒนธรรมชุมชนซึ่งกระบวน การพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถใช้ในการ พัฒนาชุมชนดังกล่าวได้ ความแตกต่างของพิพิธภัณฑ์ทั่วไปและพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นคือ พิพิธภัณฑ์ทั่วไปมักเน้น ที่การพั ฒนาและแสดง ของ มากกว่าที่การพัฒนาและแสดง ฅน ขณะที่พิพิธภัณฑ์ชุมชนฯ จะให้ ความสาคัญกับการแสดง ฅน พร้อมกับแสดงของ และมีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนา ฅนให้มีความรู้ที่ ถูกต้องและความสามารถที่เหมาะสมแก่สถานการณ์เป็นสาคัญ ภูมิปัญญา หมายถึง ความรู้ ความเชื่อ และความสามารถเชิงพฤติกรรมในการจัดระเบียบ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อม และมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ ให้อยู่ในสภาวะสมดุลและเป็นปกติอยู่เสมอ หรือกล่าวอย่างง่าย ๆ ภูมิปัญ ญาก็คือ การจัดการชีวิต ตัวเองไม่ให้เป็นทุกข์นั่นเอง หากมองว่าภูมิปัญญาคือ ความรู้ เราสามารถพิจารณาได้ ๒ ลักษณะ คือ ความรู้ที่ติดตน เป็นความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวฅน และความรู้ที่ติดอยู่กับของความรู้ภูมิปัญญามีมากในอดีต เนื่องเพราะ ปัจจุบันเป็นห้วงเวลาที่สั้นมาก ดังนั้นความรู้แบบติดคนจึงมีอยู่มากในคนเฒ่าคนแก่ ขณะที่ความรู้ แบบติด ของจะมีอ ยู่ มากในของเก่าของโบราณ หากพิ จารณาในแง่นี้ ภู มิปั ญ ญาก็ คือ ทรัพ ยากร วัฒนธรรม ดังนั้น หากจัดการให้ถูกต้องและนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ก็จะทาให้ชุมชนเกิดความ เข้มแข็งและมีอานาจมากขึ้น


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๔๔

กระบวนการพิ พิธภัณ ฑ์ ชุมชนจึงเป็น กระบวนหนึ่ง ของการจัดการทรัพ ยากรวัฒ นธรรม ความรู้ภูมิปัญญา และการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีฐานะเป็นทั้งห้องรับแขก พื้นที่สาธารณะ ศูนย์การเรียนรู้ ห้องสมุดและ ตลาดภูมิปัญญาของชุมชน การได้มาซึ่งความรู้นั้นต้องมาจากคนเฒ่าคนแก่เป็นหลัก อย่าไปหวังจาก คนหนุ่มสาว การทางานพิพิธภัณฑ์ชุมชนจึงมีลักษณะ ให้ผู้เฒ่านา ผู้ใหญ่หนุน ดึงเด็กตาม เพราะเด็ก และฅนหนุ่มสาวมีความรู้น้อยมาก ความรู้อยู่กับผู้เฒ่าผู้แก่ ความรู้ภูมิปัญญาที่ได้มีทั้งส่วนที่นาไปสู่ การแปลงให้ง่ายเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ และทาให้ยากเพื่อกลายเป็นทฤษฎีทางวิชาการ พื้นฐานความคิดในการจั ดการพิพิ ธภัณ ฑ์ ชุมนท้ องถิ่นให้เป็น ศูนย์ เรียนรู้เพื่ อการพัฒ นา ชุม ชน คื อ ท าอย่ า งไรให้ พิ พิ ธภั ณ ฑ์ ชุ ม ชนเป็ น ไปเพื่ อ ประโยชน์ สุ ข แห่ ง มหาชนหมายความว่ า กระบวนการพิพิธภัณฑ์ชุมชนจาเป็นต้องมีหลักการพัฒนาชุมชนกากับอยู่ตลอดเวลาได้แก่ หลักการ มี ส่ ว นร่ ว ม การพึ่ งตนเอง การฟื้ น ฟู พ ลั ง การกระจายอ านาจ และการพั ฒ นาที่ ส อดคล้ อ งกั บ วัฒนธรรมชุมชน พิพิธภัณฑ์ชุมชนหลายแห่งในจังหวัดน่านที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสทางานด้วย คือ พิพิธภัณฑ์ หลุมขุดค้นแหล่งเตาเมืองน่านบ้านบ่อสวก และพิพิธภัณฑ์บ้านสวกแสนชื่น ตาบลสวก อาเภอเมือง จังหวัดน่าน พิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคี และพิพิธภัณฑ์บ้านก้อดสวรรค์ทันใจ ตาบลนาซาว อาเภอเมือง จังหวัดน่าน ศูนย์การเรียนรู้แหล่งโบราณคดีดอยภูซาง ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ที่สาคัญ อยู่ในพื้นที่ตาบลสวกและตาบลนาซาว อาเภอเมือง จังหวัดน่าน แนวทางการทางานที่ดาเนินการในขณะนี้เป็นการจัดการ และพัฒนาแนวโบราณคดีชุมชน เป็นการจัดการและพัฒนาเชิงกระบวนการที่มีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผสมผสานกับปรัชญาและ หลั ก การพั ฒ นาชุ ม ชน เป้ า หมายอยู่ ที่ ก ารพั ฒ นา ฅน หลั ก การจั ด การแนวโบราณคดี ชุ ม ชน คือ ยึดหลักองค์รวม ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย และเข้าใจพลวัต จัดกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกั น แบบเปิ ด เน้ น เรี ยนรู้จ ากการปฏิ บั ติจ ริง มี การท างานที่ ไ ม่ฝื น ธรรมชาติ ไม่ เป็น ทางการ เน้ น การสร้ างความสุข และความประทั บ ใจร่ว มกั น ท าการวิจัย และพั ฒ นาเพื่ อ ฟื้ น ฟู พ ลั ง ชุม ชน เน้นการเป็นผู้นาร่วมกันและได้สุขเสมอกัน ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความ สามารถของชุมชนท้องถิ่นใน การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมและสร้างพลังต่อรองให้กับชุมชน ตัวอย่างที่ เป็น รูป ธรรมของการสร้างความเข้ มแข็ง ให้ กับ ฅนในชุม ชนด้ วยกระบวนการ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ชุ ม ชนคื อ กรณี พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วั ด บ้ า นนาซาวสามั ค คี พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ก ลายเป็ น พื้ น ที่ แ ละ กระบวนการในการบาบัดผู้สูงอายุในชุมชน ทาให้ผู้ สูงอายุรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าด้วยกระบวนการทา พิพิธภัณฑ์ที่ให้ผู้สูงอายุได้เข้าไปมีบทบาทสาคัญ ในการให้ข้อมูลความรู้ และสร้างเป็นเนื้อหาที่จัด แสดงในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นรวมถึงการเข้ามามีบทบาทในการดาเนินงาน การเป็นผู้อธิบาย นาชม พิพิธภัณฑ์แก่เด็ก ๆ ในชุมชน และบุคคลจากต่างถิ่นที่มาเยี่ยมชม.


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๔๕

เอกสารที่ใช้ในการศึกษาและเขียนบทความ จิรา จงกล. ๒๕๓๒. พิพิธภัณฑสถานวิทยา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากรจัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงาน พระราชทานเพลิงศพนางจิรา จงกล วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๓๒. พิสิฐ เจริญ วงศ์. ๒๕๕๑. แนวคิดเรื่องการจัดการทรัพยากรวัฒ นธรรม. (บทความเกี่ยวกับการ จัดการทรัพยากรวัฒนธรรมที่พิมพ์เผยแพร่ในนิตยสารอาทิตย์รายสัปดาห์ -รวมเล่มเป็น หนังสือสาหรับการศึกษาในหลักสูตรการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม) กรุงเทพฯ : คณะ โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. เพ็ญ พรรณ เจริญพร. ๒๕๔๘. พิพิธภัณฑสถานวิทยา. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ๓๐๐ ๒๖๑ พิพิธภัณฑสถานวิทยา (Museology). คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. สายันต์ ไพรชาญจิตร์. ๒๕๕๓. พิพิธภัณฑ์บริบาล (MUSEOPEN). กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาพัฒนา โบราณคดีชุมชน (ARCHAEOPEN) สายั น ต์ ไพรชาญจิ ต ร์ . ๒๕๕๐. การจั ด การทรั พ ยากรทางโบราณคดี ใ นงานพั ฒ นาชุ ม ชน. กรุงเทพฯ : โครงการหนังสือโบราณคดีชุมชน. สายันต์ ไพรชาญจิตร์. ๒๕๔๘. การฟื้นฟูพลังชุมชนด้วยการจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีและ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ : แนวคิ ด วิ ธี ก าร และประสบการณ์ จ ากจั ง หวั ด น่ า น. กรุ ง เทพฯ : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส) สานักงานกองทุนสนับสนุนการ วิจัย (สกว.) และ สานักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส). ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ๒๕๓๙. เอกสารการสัมมนาทางวิชาการเรื่อ งพิพิ ธภัณ ฑ์ ท้อ งถิ่นใน ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร มหาวิทยาลัยศิลปากร. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). ๒๕๕๑. พิพิธภัณฑ์ภาคสนาม ประสบการณ์จากคน ลองทา. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (เอกสารทางวิชาการลาดับที่ ๖๗). Gerald George & Cindy Sherrell-Leo. 1989. Starting Right : A Basic Guide to Museum Planning. American Association for State and Local History.


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๔๖

ชะพูชะอู: วงปี่พาทย์กะเหรี่ยงโป จังหวัดกาญจนบุรี* ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัญ กาญจนประดิษฐ์

บทความนี้ เป็ น บทความที่ น าเสนอความรู้ เรื่ อ ง วงชะพู ช ะอู ซึ่ ง เป็ น วั ฒ นธรรมดนตรี ข องชาวกะเหรี่ ย งโปในจั ง หวั ด กาญจนบุ รี เครื่ อ งดนตรี ประกอบด้ ว ย ๒ กลุ่ ม คื อ กลุ่ ม เครื่ อ งตี (ชะพู ) ได้ แ ก่ ปัตตาล่า โหม่งวาย ตะโพ้ว-ชะโค้ว-โป้ว วาเลเคาะ-จี เจ่งจี และเครื่องเป่า ได้ แ ก่ ขะน่ ว ย ใช้ ส าหรับ บรรเลงในงานบุ ญ เช่ น งานท าบุ ญ ข้ า วใหม่ งานบุ ญ สงกรานต์ งานบุ ญ กฐิ น งานศพ โดยมากเป็ น การบรรเลง ประกอบการร าของกะเหรี่ ย ง ๓ ชนิ ด คื อ ร าตง ร าอะเย้ ย ก่ ว ยเจ๊ า ะ (ลิเกกะเหรี่ยง๑) บทนา กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาวเขาที่จัดอยู่ในตระกูลภาษา จีน – ทิเบต มีมากเป็นอันดับหนึ่งใน บรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย แบ่งเป็ น ๔ กลุ่มได้แก่ กะเหรี่ยงสะกอ กะเหรี่ยงโป กะเหรี่ ย งคะยา และกะเหรี่ย งตองซู ก ระจายอยู่ ต ามบริเวณป่ า เขาบริ เวณภาคเหนื อ และภาค ตะวั น ตกติ ด ชายแดนไทย – พม่ า ได้ แ ก่ จั ง หวั ด เชี ย งราย เชี ย งใหม่ แม่ ฮ่ อ งสอน ล าพู น ตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น

* บทความนี้ได้รับการคัดสรรจาก รองศาสตราจารย์ ดร.มานพ วิสุทธิแพทย์ ให้ใช้เป็นบทความประกอบการ การบรรยายประกอบการสาธิต “พลวัตจากความหลากหลายและเชื้อชาติในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน กรณีศึกษา ดนตรีกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ” ในโครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิต กิจกรรรมอยุธยาศึกษาวิชาการ เรื่อง “พลวัต ของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” ๑ วนิดา พรหมบุ ตร. (๒๕๕๒). วงชะพู ช ะอู : ดนตรีป ระกอบการแสดงชาวกะเหรี่ย ง หมู่ บ้ านกองม่อ งทะ ตาบลไลโว่ อาเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี.


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๔๗

ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดกาญจนบุรี ส่ วนมาเป็นกะเหรี่ย งโป นับ ถือศาสนาพุท ธ มีค วาม ใกล้ชิดกับมอญ มากกว่าชาวกะเหรี่ยงกลุ่มอื่น จึงทาให้ประเพณีและวัฒนธรรมบางอ่างมีคล้ายคลึง กับชาวมอญ ชาวกะเหรี่ยงเป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่มากเป็นอันดับหนึ่ง กระจายอยู่อาเภอต่าง ๆ ได้แก่ อาเภอหนองบรือ อาเภอไทรโยค อาเภอทองผาภูมิ อาเภอศรีสวัสดิ์ และอาเภอสังขละบุรี ในด้านวัฒนธรรมประเพณีของชาวกะเหรี่ยงกล่าวได้ว่า มีการดาเนินชีวิตด้วยการให้ความ เคารพในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับธรรมชาติที่ประสานความเชื่อในหลักปฏิบัติ ๓ สิง่ เข้าด้วยกัน คือ จิตวิญ ญาณในธรรมชาติ หลักปฏิบัติแบบฤษี และหลักธรรมในพุทธศาสนา ผสมประสานทาง ความเชื่อจนกลายมาเป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์๒ ได้แก่ ภาษา การแต่งกาย การประกอบอาชีพ และพิธีกรรมทางความเชื่อ จากการประสมประสานความเชื่อดังกล่าว จะเห็นได้จากรูปแบบของ พิธีกรรมต่าง ๆ ในรอบปี ประกอบด้วยพิธีกรรมที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาทั้ง ๑๒ เดือน และพิธีกรรมที่ เกี่ยวกับความเชื่อเดิมในชุมชน ตัวอย่างเช่น ประเพณีผูกข้อมือ (หล่า เขาะ ไข่จู) ประเพณีฟาดข้าว (เผาะ บือ) ประเพณีทาบุญข้าวใหม่ (โบว บู ส้อง คู้) ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเพณีและพิธีกรรมที่ เกี่ยวกับแต่ละช่วงของชีวิต พิธีกรรมประจาปีในชุมชน พิธีกรรมเกี่ยวกับการทาไร่ และพิธีกรรมตาม โอกาส สาคัญต่าง ๆ ๓ ซึ่งในแต่ละพิธีกรรมนั้นมักจะมีดนตรีและการละเล่นเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ได้แก่ ราตง ราอะเย้ย และก่วยเจ๊าะ (ลิเกกะเหรี่ยง) เป็นต้น

วงชะพูชะอู ชะพูชะอู เป็นชื่อเรียกวงดนตรีของชาวกะเหรี่ยงที่เล่นกันอย่างแพร่หลายในชุมชนกะเหรี่ยง จั ง หวั ด กาญ จนบุ รี ใช้ บ รรเลงในประเพณี ต่ า ง ๆ ของชุ ม ชน ลั ก ษณะของเครื่ อ งดนตรี และการประสมวงคล้ายกับ วงดนตรีของมอญ พม่า และไทยใหญ่ แต่มีชื่อเรียกต่างกัน เช่น มอญ เรี ย กว่ า “วงก่ ว นกว๊ า ดมอญ ” พม่ า เรี ย กว่ า “วงซายวาย” ไทใหญ่ เ รี ย กว่ า “วงจ๊ า ตไต” คาว่า “ชะพู ชะอู” เป็นคาเรียกชื่อวงดนตรีภาษากะเหรี่ยง ที่เรียกตามลักษณะของเครื่องดนตรีที่มา ประสมวง มีความหมายดังนี้ ชะพู หมายถึง เครื่องตี ชะอู หมายถึง เครื่องเป่า

๒ จรัญ กาญจนประดิษฐ์. (๒๕๔๗). การศึกษาดนตรีชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านกองม่องทะ ตาบลไล่โว่

อาเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. ๓ พระไทร ไทรสังขชวาลลิน. (๒๕๔๙). ศึกษาพิธีกรรมชาวพุทธชุมชนกะเหรี่ยง: กรณีศึกษาชุมชนกะเหรี่ยงโป ในตาบลไล่โว่ อาเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๔๘

วงชะพูชะอู จากความหมายแสดงให้เห็นว่า การประสมวงดนตรีประเภทนี้ประกอบด้วยเครื่องดนตรี หลัก ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องตี และกลุ่มเครื่องเป่า ซึ่งเป็นลักษณะการประสมวงดนตรี เช่นเดียวกับ วงดนตรีของไทย คือ วงปี่พาทย์ ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีสองประเภท คือ เครื่องตีและเครื่องเป่า เช่นกัน ประกอบด้วยระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง และปี่ใน เพื่อความเข้าใจเราอาจ เรียกชื่อวงดนตรีชนิ ดนี้ จากการเที ยบเคี ยงหลั กการประสมวงของดนตรีไ ทยได้ ว่า “วงปี่ พ าทย์ กะเหรี่ยง”

เครื่องดนตรีในวงชะพูชะอู เครื่องดนตรีในวงชะพูชะอู ประกอบด้วย ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มชะพูชะอู ประกอบด้วย ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มชะพู (เครื่องตี) และกลุ่มชะอู (เครื่องเป่า) ได้แก่ โหม่งวาย (ฆ้องแผง) ปัตตาล่า (ระนาด เหล็ ก) เครื่อ งหนั ง ได้แก่ ตะโพ้ ว (กลองใหญ่ ) ชะโค้ว (กลอนเล็ก) โป้ ว (กลอน วางเรียง ๕ ใบ) วาเลเคาะ-จี (เกราะไม้) เจ่งจี (ฉาบใหญ่) และขะน่วย (ปี่)


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

ภาพ: วงชะพูชะอู งานทาบุญกฐิน ที่มา: จรัญ กาญจนประดิษฐ์

กลุ่มชะพู (เครื่องตี) ๑.โหม่งวาย (โหม่งแผง) เป็นเครื่องดนตรี ที่ทาหน้าที่ดาเนินทานอง มีรูปแบบการเรียงลูกโหม่ง เป็ น ๓ กลุ่ม คื อ ส่วนบน ส่ วนกลาง และส่ วนข้า ง จานวนทั้ง หมด ๑๘ ลูก เรียงลาดับเสียงต่า-สูง จาก ซ้ายไปขวา ลักษณะที่สาคัญ คือ แต่ละส่วนสามารถ แยกชิ้นส่วนได้ และสามารถเลือกส่วนใดส่วนหนึ่งที่มี เสียงครบไปบรรเลงได้ ลักษณะของฆ้องแผงนี้ นับว่า เป็ น เอกลั ก ษณ์ แ ละนิ ย มใช้ เฉพาะกลุ่ ม พม่ า มอญ กะเหรี่ยง และไทยใหญ่ เท่านั้น

โหม่งวาย

๔๙


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

เครื่ อ งดน ตรี อี ก ชนิ ด หนึ่ ง ที่ ค ล้ า ยกั บ โหม่ ง วาย คื อ จี ว าย รูป ร่า งลั ก ษณะ และวิธี ก าร บรรเลงเหมือนกับโหม่งวายทุกประการแตกต่างกัน เพียงชนิดของวัสดุที่มาทาลูกฆ้อง จีวายมีลักษณะ เหมือนลูกฆ้องของไทย ส่วนโหม่งวายก็มีลักษณะ เหมือนโหม่งของไทยเช่นเดียวกัน ทั้งโหม่งวาย และ จีวายเป็ นเครื่อ งดนตรีที่ ช าวกะเหรี่ย งไม่ส ามารถ สร้างเองได้ต้องสั่งซื้อมาจากร้านขายเครื่องดนตรีใน ประเทศพม่ า ผ่ านเข้ ามาทางด่ า นเจดี ย์ ส ามองค์ อาเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ๒.ปั ต ตาล่ า (ระนาดเหล็ ก ) เป็ น เครื่ อ ง ดน ตรี ที่ ท าห น้ าที่ ด าเนิ น ท าน องมี ลั ก ษ ณ ะ เช่นเดียวกับระนาดเหล็กของไทย เป็นเครื่องดนตรี ที่ชาวกะเหรี่ยงสามารถสร้างขึ้นเองได้ ลูกปัตตาล่า ทาจากเหล็ กเจาะรู และตอกตะปู ติด กับ ขอบของ กล่องไม้ด้านล่างที่ประกอบเป็นกล่องเสียง ลักษณะ การบรรเลงคล้ายกับระนาดทุ้มของไทย ๓.ตะโพ้ ว-ชะโค้ ว-โป้ ว เป็น เครื่องดนตรี กลุ่มเครื่องหนัง มีขนาดต่าง ๆ แบ่งเป็นสามส่วนคือ ๑ ) ต ะ โพ้ ว คื อ ก ลองสอ งห น้ าใบ ให ญ่ ท ร ง ปล่ อ งกลางเหมื อ นตะโพนของไทย วางอยู่ บ น ขากลองที่ ท าจากไม้ วางอยู่ ด้ า นซ้ า ยมื อ ของ นักดนตรี ๒) ชะโค้ว คือ กลองรูปทรงปล่องกลาง ขนาดย่ อ มลงมี ร ะดั บ เสี ย งสู งกว่ าตะโพ้ ว วางอยู่ ด้านหน้าของนักดนตรี และ ๓) โป้ว คือ กลองสอง หน้ารูปทรงปล่องกลาง วางแนวตั้งเรียงอยู่ด้านหน้า ของนักดนตรี เรียงลาดับตามขนาด และระดับเสียง มีจานวน ๔ หรือ ๕ ใบ ที่มีระดับเสียงต่างกันตาม กลุ่มเสียงของเพลง

จีวาย

ปัตตาล่า

ตะโพ้ว – ชะโค้ว – โป้ว

๕๐


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๕๑

กลองทั้ ง ๓ ชนิ ด นี้ มี ห น้ าที่ บ รรเลงควบคุ ม จั ง หวั ด ของเพลงต่ าง ๆ เป็ น ผู้ น าวงในการ ขึ้นเพลงมีรูปแบบการตีที่หลากหลายเปลี่ยนไปตามลักษณะทานองเพลง การปรับเสียงกลองทาโดย ใช้ที่ติดหน้ากลองโดยเฉพาะ เรียกว่า “โป้วอี่” ซึ่งต้องสั่งซื้อมาจากร้านค้าในฝั่งประเทศพม่าและมี ขายที่ด่านเจดีย์สามองค์ ๔.วาเลเคาะ – จี เป็นเครื่องดนตรีที่สาคัญ สาหรับกากับจังหวะ แบ่งเป็นสองคา คือ วาเลเคาะ หมายถึง เกราะไม้ และจี หมายถึง ฉิ่ง โดยตอกฉิ่ง ติ ด กั บ ด้ า นบนของเกราะตี ต ามจั ง หวะของเพลงมี เสียงดัง “ฉิ่ง เกราะ ฉิ่ง เกราะ” สลับกัน ช้า – เร็ว ตามจัง หวะของเพลง ผู้ที่ตีวาเลเคาะ – จี นี้จะต้อง เป็นผู้ที่รู้เพลง และจังหวะเป็นอย่างดี ทาหน้าที่เป็นผู้ ควบคุมจังหวะของวง วาเลเคาะ – จี ค าว่ า วาเลเคาะ-จี แบ่ ง เป็ น ๓ ค า ได้ แ ก่ วา แปลว่า ไม้ไผ่ และคาว่า เลาเคาะ มาจากภาษา พม่ า คื อ เล-โคว่ หมายถึ ง เครื่ อ งดนตรี ป ระเภท เครื่องตี หรือจาพวกเครื่องประกอบจังหวะที่ทาจาก ไม้ ไ ผ่ และค าว่ า “จี ” มาจากภาษาพม่ า คื อ เจ หมายถึง เครื่องดนตรีที่ทาจากโลหะ๔ ๕.เจ่ ง จี เป็ น เครื่ อ งดนตรี ก ลุ่ ม ประกอบ จังหวะ เช่นเดียวกับ วาเลเคาะ-จี หรือ เรียกว่าฉาบ ใหญ่ มี ห น้ า ที่ ก ากั บ จั งหวะส าคั ญ ช้ า – เร็ ว ตาม เจ่งจี ทานองเพลง การตีเจ่งจีสามารถทาได้ ๒ วิธี คือ ตีสองฝาประกบกัน หรือใช้ไม้ตีเพียงฝาเดียว การตีเจ่งจี จะต้องตีให้เสียงดังฟังชัดเจน เพื่อกากับจังหวะช้า – เร็วของเพลง

กลุ่มชะอู (เครื่องเป่า) ขะน่วย (ปี่) เป็นเครื่องดนตรี ทาหน้าที่บรรเลงทานอง มีสองขนาด คือ ขนาดเล็กเรียกว่า “ขะน่ วยปี้ ” มีเสียงเล็ กแหลม เจิ ดจ้า ส่วนปี่ ขนาดใหญ่ เรียกว่า “ขะน่วยผะดู ” มี เสีย งนุ่ม นวล กว่าขะน่วยปี้ มีส่วนประกอบ ๓ ส่วน คือ ลิ้นปี่ เลาปี่ และลาโพงปี่ ทาจากโลหะ ๔ Khin Maung Tin. Traditional

Ministry or Culture, Mayanmar.

Music Ensemble of Myamar”. Department of Fine Arts.


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๕๒

ลักษณะการบรรเลง เป่าเป็นทานองเพลงต่าง ๆ ตาม โครงสร้างของเพลง เป่าเก็บบ้างโหยหวนบ้าง คลุกเคล้าไปกับ เครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ บทบาทที่สาคัญของขะน่วย คือ เป็น เครื่องดนตรีที่ใช้นาวง ในวงชะพูชะอู

โอกาสที่ใช้ในการบรรเลง การบรรเลงวงชะพูชะอูในโอกาส ดั ง นี้ งานทาบุ ญ ข้าวใหม่ งานบุญสงกรานต์ งานบุญกฐิน งานศพ โดยมากมัก เป็นการแสดงประกอบการราของกะเหรี่ยง ๓ ชนิด คือ ราตง ราอะเย้ย ก่วยเจ๊าะ (ลิเกกะเหรี่ยง)๕

ขะน่วย

ขั้นตอนการบรรเลง การบรรเลงวงชะพูชะอู มีขั้นตอนการบรรเลง ดังนี้ ๑.เพลงไหว้ครู (นาโตส้อง) ๒.บรรเลงตามความถนัด การเริ่มต้นบรรเลงต้องบรรเลงเพลงไหว้ครูก่อน เรียกว่า เพลงนาโตส้อง และหลังจากนั้นก็ สามารถบรรเลงเพลงอื่น ๆ ต่อไปได้ตามความถนัด ในบ้างครั้งการบรรเลงก็ไม่ได้จาเป็นต้องบรรเลง ตามขั้นตอนเสมอไป ขึ้นอยู่กับความพร้อมของนักดนตรี และบรรยากาศของงานที่เน้นความเรียบ ง่ายมากกว่าระเบียบขั้นตอน สามารถเริ่มบรรเลงเพลงตามความถนัดโดยไม่ต้องบรรเลงเพลงไหว้ครู ก่อ นก็ ไ ด้ เช่น กัน แต่ ห ากงานใดที่ บ รรเลงเพลงไหว้ ค รู ก่ อ นแสดงว่า นั ก ดนตรีให้ ค วามสาคั ญ กั บ การบรรเลงในงานนั้นเป็นพิเศษ

การสืบทอด การสืบทอดวงชะพูชะอู มีลักษณะเป็นวัฒนธรรมการเรียนดนตรีแบบมุขปาฐะผู้เรียนต้อง เริ่มต้นจากการเรียนแบบครูฝึกทาซ้าจนชานาญจนสามารถบรรเลงในงานจริงได้ ส่วนมากแต่ละ หมู่บ้านนั้นจะมีความเคลื่อนไหว และพยายามสร้างวงชะพูชะอูประจาของหมู่บ้าน เพื่อให้บรรเลงใน งานต่าง ๆ ที่จัดขึ้น โดยนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในชุมชนมักจะได้เป็นผู้รั บเชิญให้ไปสอนตามหมู่บ้าน ต่าง ๆ โดยไม่คิดค่ าสอน ปัจจุบั นชุ มชนนั้น ได้รับ การสนั บสนุ นจากฝ่ ายปกครองท้องถิ่น มากขึ้ น ในการซื้อเครื่องดนตรีและสนับสนุนค่าสอนในแต่ละครั้ง ๕ วินิดา

พรหมบุตร. (๒๕๕๒). เรื่องเดิม.


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๕๓

การแต่งกาย การบรรเลงงานสาคัญแต่ละครั้งนักดนตรีมักจะแต่ง กายประจาของชนแต่หากเป็นงานที่ แสดงในชุมชนมักจะแต่งกายตามความสะดวก แต่ต้องเป็นชุดที่เรียบร้อย คือเสื้อแขนยาวนุ่งผ้าโส ร่องแบบกะเหรี่ยง

การสร้างเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีในวงชะพู ช ะอู ชุ ม ชนสามารถสร้างขึ้ น เองได้เพี ยงบางชนิ ด เช่น ปัต ตาล่ า ตะโพ้ว ตะโค้ว โป้ว และ วาเลเคาะ โดยช่างทาเครื่องดนตรีเหล่านี้ได้มั กจะเป็นนักดนตรีที่มีฝีมือใน ด้านงานช่างซึ่งในชุมชนนั้นมีผู้ที่สามารถทาเครื่องดนตรีเองได้ ๒ คน คือ ซาร่าเปียว จากหมู่บ้าน ใหม่พัฒนาและ นายคองเจิ่ง จากหมู่บ้านกองม่องทะ สาหรับเครื่องดนตรีที่ต้องซื้อมาจากร้านขายเครื่องดนตรีที่อยู่ในประเทศพม่าผ่านมาทาง ชายแดนไทย-พม่าที่อาเภอสังขละบุรี ได้แก่ ลูกโหม่ง ลูกฆ้อง และ ขะน่วย(ปี)่ ตัวอย่างโน้ตเพลง เพลงนาโตส้อง

เพลงโพ่วเจีย ท่อน ๑


สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “พลวัตของท้องถิ่น กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา เพื่อความยั่งยืนในกระแสวัฒนธรรมอาเซียน” I

๕๔

ท่อน ๒

จบด้วยทานอง

เอกสารอ้างอิง จรัญ กาญจนประดิษฐ์. (๒๕๔๗). การศึกษาดนตรีชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านกองม่องทะ ตาบลไล่โว่ อาเภอสังขละ บุรี จังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญานิพนธ์. ศป.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. พระไทร ไทรสังขชวาลลิน. (๒๕๔๙). ศึกษาพิธีกรรมชาวพุทธชุมชนกะเหรี่ยง : กรณีศึกษาชุมชนกะเหรี่ยงโป ในตาบลไล่โว่ อาเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยาลัยศาสนศึกษา : มหาวิทยาลัยมหิดล. วนิ ดา พ รห ม บุ ต ร. (๒ ๕ ๕ ๒ ). ว งช ะพู ช ะ อู : ด น ต รี ป ระ กอ บ ก ารแ ส ด งช าว กะ เห รี่ ย งห มู่ บ้ า น กองม่องทะ ตาบลไล่โว่ อาเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญานิพนธ์ ศป.ม. (มานุษ ยดุริ ยางควิทยา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Khin Maung Tin. Traditional Music Ensemble of Myanmar”. Department of Fine Arts.Ministry or Culture,Mayanmar.

สัมภาษณ์บุคคล ซาร่าบ่องกล่อง นาย. นักดนตรี. เกิดในฝั่งประเทศพม่าปัจจุบันสอนดนตรีให้กับหมู่บ้านต่าง ๆ ในอาเภอสังขละบุรี. บันทึกข้อมูล เมษายน ๒๕๕๑. โหล่ง เกียรติก้องกูล,นาย. นักดนตรี นักแสดง (เมตารี่ ราตง ละครก่วยเจ๊าะ). เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ (อายุ ๕๔ ปี). บ้านเลขที่ ๒๙ หมู่ ๒ หมู่บ้านกองม่องทะ ตาบลไล่โว่ อาเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. ๗๑๒๔๐. บันทึกข้อมูล ธันวาคม ๒๕๕๒. อภิชาต เสตะพันธ์, นาย. นักดนตรี (นาเด่ง).เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ (อายุ ๕๓ ปี).บ้านเลขที่ ๔๐ หมู่ที่ ๒ หมู่ หมู่บ้านกองม่องทะ ตาบลไล่โว่ อาเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. ๗๑๒๔๐ บันทึก ข้อมูล ธันวาคม ๒๕๕๓.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.