เอกสารประกอบการอบรมอยุธยาสัญจร “ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา”

Page 1


เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร “อยุธยาศึกษาสัญจรเฉลิมพระเกียรติฯ”

ประวัตศิ าสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา สุรินทร์ ศรีสังข์งาม

จัดพิมพ์โดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จานวน ๔๐๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ ฝ่ายบริหาร ดร.จงกล เฮงสุวรรณ กันยารัตน์ คงพร สุรินทร์ ศรีสังข์งาม อุมาภรณ์ กล้าหาญ

ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน

ฝ่ายส่งเสริม และเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว

ฝ่ายบริหารงานทัว่ ไป ณัฐฐิญา แก้วแหวน สายรุ้ง กล่​่าเพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์ ยุพดี ป้อมทอง


หลักสูตรการอบรมทางวิชาการ “อยุธยาศึกษาสัญจร” ๑.ชื่อหลักสูตร: การอบรมทางวิชาการ “อยุธยาศึกษาสัญจร” ๒.หน่วยงานผู้รับผิดชอบ: ฝ่ายวิชาการ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๓.หลักการและเหตุผล: “มรดกไทย” เป็ น มรดกทางวั ฒ นธรรมที่ แ สดงออกถึ ง สั ญ ลั ก ษณ์ ข องความเป็ น ชาติ ซึ่ง ได้ แก่ โบราณวัต ถุ ศิลปวัต ถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิ ลปหัต ถกรรม นาฏศิลป์ และดนตรี ตลอดจนถึงการด่าเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดิน ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยานอกจากจะได้รับการยอมรับให้เป็นมรดก แห่งชาติแล้ว ยังได้รับการยอมรับจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นมรดกสากลแห่งมวลมนุษยชาติ หรือที่เรียกว่า “มรดกโลก”อันเป็นความภาคภูมิใจของคนใน ชาติ และโดยเฉพาะคนในท้องถิ่นพระนครศรีอยุธยาที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมนี้ ให้คงอยู่สืบไป กอปรกั บ ในวั น ที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ อั น เป็ น วั น คล้ ายวั น พระราชสมภพของสมเด็ จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศให้เป็น “วันอนุรักษ์มรดกไทย” เพื่อส่านึกในพระมหากรุณาธิคุณและเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ที่พระองค์ทรงเป็น “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และ “วิศิษฏศิลปิน” สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ ท่าหน้าที่ในการส่งเสริมการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมประจ่าท้องถิ่นพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีวิสัยทัศน์เป็นศูนย์ข้อมูลด้านวัฒนธรรมอยุธยาที่มีคุณภาพ เป็นสถาบันที่เชิดชู และส่งเสริมการ ประยุกต์ใช้ข้อมูลทางวัฒนธรรมอยุธยาเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน นั้น เห็นสมควรจัดกิจกรรม อบรมทางวิชาการ “อยุธยาศึกษาสัญ จร” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ และเพื่อเผยแพร่และบริการวิชาการด้าน “ประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมอยุธยา” ให้แก่ หน่วยงานการศึกษา และสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในท้องถิ่น และจังหวัดต่าง ๆ ตลอดจนเป็นการปลูก จิตส่านึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะในท้องถิ่นพระนครศรีอยุธยาซึ่ง เป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของโลก รวมถึงยังเป็นการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างสถาบัน อยุธยาศึกษา กั บหน่ วยงานการศึก ษา และสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้ ง ในท้อ งถิ่น และจัง หวัดต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์บทบาท และพันธกิจของสถาบันอยุธยาศึกษา และมหาวิทยาลัยราช ภั ฏ พระนครศรี อ ยุ ธ ยาในการเป็ น แหล่ ง รวบรวม ศึ ก ษา ค้ น คว้ า และเผยแพร่ อ งค์ ค วามรู้ ด้ า น วัฒนธรรมอยุธยา ตลอดจนการอนุรักษ์ สืบสาน ส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมอยุธยาอีกด้วย


กิจกรรมการอบรมทางวิชาการ “อยุธยาศึกษาสัญ จร” ประกอบด้วยการปาฐกถาพิเศษ เรื่ อ ง สถาบั น อยุ ธ ยาศึ ก ษากั บ งานอนุ รั ก ษ์ สื บ สาน ส่ ง เสริ ม และเผยแพร่ วั ฒ นธรรมอยุ ธ ยา การบรรยายด้านประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะอยุธยา การบรรยายด้านประวัติศาสตร์ อยุธยาร่วมสมัย และการบรรยายด้านวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นพระนครศรีอยุธยา โดยคณะ ผู้บริหารและนักวิชาการประจ่าสถาบันอยุธยาศึกษา รวมถึงการน่าเสนอนิทรรศการเรื่อง “สมเด็จ พระเทพรั ต นราชสุ ด า ฯ สยามบรมราชกุ ม ารี กั บ การอนุ รั ก ษ์ ม รดกไทย” และนิ ท รรศการ “ประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมอยุธยา” โดยออกไปเผยแพร่และให้บริการทางวิชาการแก่ อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ๔.วัตถุประสงค์: ๑) เพื่ อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาส ฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ อันเป็นการส่านึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงเป็น “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และ “วิศิษฏศิลปิน” ๒) เพื่อเผยแพร่และบริการวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมอยุธยา ให้ หน่วยงานการศึกษา และสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในท้องถิ่น และจังหวัดต่าง ๆ ๓) เพื่อปลูกจิตส่านึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะในท้องถิ่น พระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ๔) เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างสถาบัน อยุธยาศึกษา กับหน่วยงาน การศึกษา และสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในท้องถิ่น และจังหวัดต่าง ๆ ๕.หัวเรื่องและขอบข่ายเนื้อหา: หัวเรื่อง: ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมอยุธยา ขอบข่ายเนื้ อ หา : สถาบั น อยุ ธยาศึก ษากั บ งานอนุ รัก ษ์ สื บ สาน ส่ง เสริ ม และเผยแพร่ วั ฒ นธรรมอยุ ธ ยา สมเด็ จ พระเทพกั บ การอนุ รั ก ษ์ ม รดกไทย การบรรยายด้ า น ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะอยุธยา การบรรยายด้านประวัติศาสตร์อยุธยา ร่วมสมัย และการบรรยายด้านวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นพระนครศรีอยุธยา ๖.รูปแบบ และวิธีการฝึกอบรม ๑) รูปแบบการฝึกอบรม: การอบรมทางวิชาการ ๒) วิธีการฝึกอบรม: การอบรมทางวิชาการ โดยวิทยากรเป็นผู้บริหาร และนักวิชาการ จากสถาบันอยุธยาศึกษา ๗.ระยะเวลาการฝึกอบรม: ๑ วัน ๘.จ่านวนผู้เข้ารับการอบรม: ครั้งละ ๑๐๐ คน จ่านวน ๔ ครั้ง ๙.คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม: นักวิชาการ อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาและบุคคลทั่วไป


๑๐.ค่าใช้จ่าย: งบประมาณจาก มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา (งบแผ่ น ดิ น ) จ่ า นวนเงิ น ๑๐๐,๐๐๐ บาท ๑๑.การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม: ๑) ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๒) ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๓) ผู้เข้ารับการอบรมสามารถน่าความรู้ไปใช้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๒.ผลที่คาดว่าจะได้รับ: ๑) เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ๒) หน่วยงานการศึกษา และสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในท้องถิ่น และจังหวัดต่าง ๆ ได้รับการ บริการวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมอยุธยา ๓) ผู้รับการอบรมมีจิตส่านึก เกี่ ยวกับการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒ นธรรมไทย โดยเฉพาะ มรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๔) สถาบั น อยุธ ยาศึ ก ษาสามารถสร้างเครื อข่ ายทางวิช าการ กั บ หน่ วยงานการศึ กษา และสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในท้องถิ่น และจังหวัดต่าง ๆ ๑๓.วิทยากร: ๑) ดร.จงกล เฮงสุวรรณ ผู้อ่านวยการสถาบันอยุธยาศึกษา ๒) อาจารย์สุรินทร์ ศรีสังข์งาม รองผู้อ่านวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันอยุธยาศึกษา ๓) นายพัฑร์ แตงพันธ์ นักวิชาการศึกษา สถาบันอยุธยาศึกษา ๔) นายปัทพงษ์ ชื่นบุญ นักวิชาการศึกษา สถาบันอยุธยาศึกษา ๑๔.สื่อการอบรม: ๑) เอกสารประกอบการอบรม ๒) เครื่องฉายและจอแสดงภาพประกอบ ๓) นิทรรศการ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กับการอนุรักษ์มรดก ไทย” และนิทรรศการ “ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมอยุธยา” ๑๕.สถานที่ฝึกอบรม: ส่านักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถาบันการศึกษาและโรงเรียนต่าง ๆ


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๑

ประวัตศิ าสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะอยุธยา ๑.พัฒนาการข้อมูลทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ประวั ติ ศ าสตร์ ส มั ย อยุ ธ ยาตลอดระยะเวลา ๔๑๗ ปี ใ นฐานะของการเป็ น ราชธานี แห่งราชอาณาจักรสยามภายใต้การปกครองของ ๕ ราชวงศ์ ปรากฏงานเขียนทางประวัติศาสตร์ใน ลักษณะที่เรียกว่า “พงศาวดาร” และ “ตานาน” ประกอบกัน จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์อยุธยาที่ พบในปั จ จุ บั น ส่ ว นใหญ่ เป็ น งานที่ ได้ จ ากการเขี ย นขึ้ น ใหม่ แ ล้ ว ทั้ ง สิ้ น ในสมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ ประกอบด้ วยข้อมูล จากเอกสารทางประวัติศาสตร์จานวนหนึ่ง เป็นเอกสารที่มีทั้งข้อมูลที่เหมือน และมีความขัดแย้งประกอบกัน ดังนั้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์อยุธยาในปัจจุบัน จึงสามารถเรียกได้ ว่าเป็น “งานประวัติศาสตร์นิพนธ์ “ ที่ผ่านการชาระโดยนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ จนปรากฏ เป็นทฤษฎีที่ยอมรับแล้วในปัจจุบัน ๑.๑ รายพระนามพระมหากษั ต ริ ย์ ก รุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา รั ช กาลของพระมหากษั ต ริ ย์ ค รั้ ง กรุงศรีอยุธยาจากงานประวัติศาสตร์นิพนธ์ ดังตารางต่อไปนี้๑ พระนาม

ราชวงศ์

ปีครองราชย์

๑.พระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอูท่ อง) ๒.พระราเมศวร

ต้นราชวงศ์อู่ทอง

พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒

อู่ทอง

๓.พระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) ๔.พระเจ้าทองลัน ๕.พระรามราชาธิราช

ต้นราชวงศ์สุพรรณภูมิ

ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๑๓ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๑๙๓๑-๑๙๓๘ พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๓๑

สุพรรณภูมิ อู่ทอง

พ.ศ.๑๙๓๑ (ครองราชย์ ๗ วัน) พ.ศ.๑๙๓๘-๑๙๕๒

จากพระราชนิ พ นธ์ เรื่ อ งอธิ บ ายรัช กาลครั้ ง กรุ ง เก่ า ซึ่ ง ได้ ส อบสวนเรื่อ งจ านวนราชกาล ล าดั บ ปี รั ช กาล พระนาม พระราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเสียใหม่ โดยตั้งอยู่บนพระราชพงศาวดารฉบับหลวง ประเสริฐฯ เป็นสาคัญ ซึ่งถือได้ว่าเป็นฉบับที่มีความถูกต้องแม่นยาในเรื่องของศักราชและลาดับเหตุการณ์มาก ที่สุด ร่วมกับเอกสารของไทยฉบับต่างๆ และเอกสารของชาวต่างชาติอื่นๆ


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๒

๖.พระอินทาชาธิราชที่ ๑ (พระนครอินทร์) ๗.พระบรมราชาที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ๘.พระบรมไตรโลกนาถ ๙.พระบรมราชาธิราชที่ ๓ (อินทราชาธิราชที่ ๒) ๑๐.พระรามาธิบดีที่ ๒ ๑๑.พระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ๑๒.พระรัฏฐาธิราชกุมาร (พระรัษฎาฯ) ๑๓.พระไชยราชาธิราช ๑๔.พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) ๑๕.ขุนวรวงศาธิราช ๑๖.พระมหาจักรพรรดิ ๑๗.พระมหินทราธิราช ๑๘.พระมหาธรรมราชา ๑๙.พระนเรศวร ๒๐.พระเอกาทศรถ ๒๑.พระศรีเสาวภาคย์ ๒๒.พระเจ้าทรงธรรม ๒๓.พระเชษฐาธิราช ๒๔.พระอาทิตยวงศ์ ๒๕.พระเจ้าปราสาททอง ๒๖.เจ้าฟ้าไชย ๒๗.พระศรีสุธรรมราชา ๒๘.พระนารายณ์ ๒๙.พระเพทราชา ๓๐.พระเจ้าเสือ ๓๑.พระเจ้าท้ายสระ ๓๒.พระเจ้าบรมโกศ ๓๓.พระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) ๓๔.พระเจ้าเอกทัศ

สุพรรณภูมิ

พ.ศ.๑๙๕๒-๑๙๖๗

สุพรรณภูมิ

พ.ศ.๑๙๖๗-๑๙๙๑

สุพรรณภูมิ สุพรรณภูมิ

พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑ พ.ศ.๒๐๓๑-๒๐๓๔

สุพรรณภูมิ สุพรรณภูมิ สุพรรณภูมิ

พ.ศ.๒๐๓๔-๒๐๗๒ พ.ศ.๒๐๗๒-๒๐๗๖ พ.ศ.๒๐๗๖-๒๐๗๗

สุพรรณภูมิ สุพรรณภูมิ อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุพรรณภูมิ ต้นราชวงศ์สุโขทัย สุโขทัย สุโขทัย สุโขทัย สุโขทัย สุโขทัย สุโขทัย ต้นราชวงศ์ปราสาททอง ปราสาททอง ปราสาททอง ปราสาททอง ต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง บ้านพลูหลวง บ้านพลูหลวง บ้านพลูหลวง บ้านพลูหลวง

พ.ศ.๒๐๗๗-๒๐๙๐ พ.ศ.๒๐๙๐-๒๐๙๑ พ.ศ.๒๐๙๑ (๒ เดือน) พ.ศ.๒๐๙๑-๒๑๑๑ พ.ศ.๒๑๑๑-๒๑๑๒ พ.ศ.๒๑๑๒-๒๑๓๓ พ.ศ.๒๑๓๓-๒๑๔๘ พ.ศ.๒๑๔๘-๒๑๕๔ พ.ศ.๒๑๕๔ พ.ศ.๒๑๕๔-๒๑๗๑ พ.ศ.๒๑๗๑-๒๑๗๒ พ.ศ.๒๑๗๒ พ.ศ.๒๑๗๒-๒๑๙๙ พ.ศ.๒๑๙๙ (๒ วัน) พ.ศ.๒๑๙๙ (๒ เดือน ๑๘ วัน) พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑ พ.ศ.๒๒๓๑-๒๒๔๖ พ.ศ.๒๒๔๖-๒๒๕๒ พ.ศ.๒๒๕๒-๒๒๗๕ พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๐๑ พ.ศ.๒๓๐๑

บ้านพลูหลวง

พ.ศ.๒๓๐๑-๒๓๑๐


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๓

ประวั ติ ศ าสตร์ ส มั ย อยุ ธ ยาตลอดระยะเวลา ๔๑๗ ปี ในฐานะของการเป็ น ราชธานี แห่งราชอาณาจักรสยาม เพื่อความเข้าใจสามารถแบ่งประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาออกเป็นช่วงสมัย ต่าง ๆ ๓ ตอน โดยสรุปได้ดังนี้ ๑.๒ ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนต้น (สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ - รัชกาลสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ) การสถาปนากรุงศรีอยุธยาปี พ.ศ.๑๘๙๓ โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระ เจ้าอู่ทอง) จนถึงสิ้นรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในปี พ.ศ.๒๐๓๑ รวมระยะเวลา ๑๓๘ ปี ภายใต้การปกครองของ ๒ ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์ฝ่ายเหนือ (ราชวงศ์เชียงราย, อู่ทอง) และราชวงศ์ สุพรรณภูมิ ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนต้น เป็นช่วงของการเริ่มสร้างอาณาจักรอยุธยาโดย สมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๑ หรือ พระเจ้าอู่ท อง (ครองพระราชย์สมบัติ พ.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๑๒) ซึ่งเป็น ต้น ราชวงศ์อู่ทองหรือราชวงศ์เชียงราย ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๓ โดยรวบรวม เมืองที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติเข้าด้วยกันโดยมีเมืองลพบุรี(ละโว้) และเมืองสุพรรณบุรีเป็นแกน นา๑ ความเข้มแข็งของอยุธยาส่วนหนึ่งมาจากเมืองทั้ง ๒ เมืองนี้เป็นฐานอานาจสาคัญ ระเบียบการ ปกครองในระยะแรกพระมหากษัตริย์ทรงมีอานาจสุงสุดอยู่ที่ศูนย์กลางคือเมืองหลวง ในส่วนท้องถิ่น เมืองลูกหลวงต่าง ๆ จะมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองไปปกครองในลักษณะเครือญาติ เมืองลพบุรี (ละโว้ ) และเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นแกนนาถือได้ว่าเป็นเมืองลูกหลวงที่มีความสาคัญมาก รองจากกรุงศรี อยุธยา เห็นได้จากการที่พระเจ้าอู่ทองได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระราเมศวรขึ้นเป็นอุปราชไปครอง เมืองลพบุรี๒ ทรงขยายขอบเขตทางการเมืองจากศูนย์กลางคือ พระนครศรีอยุธยาขึ้นไปสู่เมืองต่าง ๆ เมื่ อ แรกสร้ า งเมื อ งมี เมื อ งในเขตขั น ธสี ม าจ านวน ๑๖ เมื อ ง ได้ แ ก่ มะละกา ชวา ตะนาวศรี นครศรีธรรมราช ทวาย เมาะตะมะ เมาะลาเลิง สงขลา จันทบุรี พิษณุโลก สุโขทัย พิชัย สวรรคโลก พิจิตร กาแพงเพชร และนครสวรรค์๓ และทรงสถาปนาพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งทรงเป็นพระเชษฐาของ พระมเหสีของพระเจ้าอู่ทองให้ครองเมืองสุพรรณบุรี อันเป็นฐานอานาจของราชวงศ์สุวรรณภูมิ ซึ่ง เป็นเมืองที่มีอานาจทางการทหารเป็นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองลพบุรี เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จ พระเจ้าอู่ทองสมเด็จพระราเมศวรได้ครองราชสมบัติอยู่ ๑ ปี สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เสด็จ ๑

ศรีศักดิ์ วัล ลิโภดม, กรุงศรีอยุธยาของเรา (กรุง เทพมหานคร : มัง กรการพิ มพ์และโฆษณาจ ากัด , ๒๕๒๗), ๒๐ -๒๑. ๒ กรมศิลปากร, “พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ [เจิม],” ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๘ (กรุงเทพมหานคร : องค์การการค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๒), ๒. ๓ กรมศิล ปากร, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑, พิมพ์ค รั้งที่ ๗ (กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์คลังวิทยา, ม.ป.ป.), ๑๑๑ - ๑๑๒.


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๔

จากเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระราเมศวรทรงทราบก็ได้ถวายพระราชสมบัติให้แล้วเสด็จกลับขึ้นไป ครองเมืองลพบุรีดังเดิม ในรัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งทรงเป็นต้นราชวงศ์สุพรรณภูมิ ครองราชย์สมบัติเมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๓ - ๑๙๓๑ ได้มีการทาสงครามเพื่อขยายอาณาเขตไปสู่เขมร และ ดินแดนทางเหนือคืออาณาจักรสุโขทัยได้สาเร็จ ครั้งสุดท้ายเสด็จสวรรคตกลางทางขณะเสด็จไปตี เมืองชากังราวเมื่อ ปี พ.ศ. ๑๙๒๑๑ ในรัชกาลสมเด็จพระนครินทร์หรือสมเด็จพระอินทราชา ครองราชย์สมบัติอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๕๒ - ๑๙๖๗ เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิที่เสด็จมาจากเมืองสุพรรณบุรี ทรงปลด สมเด็จพระยารามราชาออกจากราชบัลลังก์แล้วขึ้นครองราชย์สมบัติแทน ๒ ในรัชกาลนี้ อาณาจักร สุโขทัยได้ตกอยู่ภายใต้อานาจอยุธยาอย่างแท้จริงภายหลังจากที่สมเด็จพระนครินทร์เสด็จขึ้นปราบ จราจล ณ เมื อ งสุ โขทั ย ๓ กรุงศรีอ ยุธ ยาในรัช กาลของพระองค์ นั้ น มีค วามเจริญ รุ่ง เรืองทางด้า น เศรษฐกิจมาก อันเนื่องมาจากการติดต่อค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับจีน ปรากฏความสัมพัน ธ์ ทางการฑูตและการค้าขาย รวมไปถึงประเทศอื่น ๆ อีกด้วย ภายหลั ง ที่ ส มเด็ จ พระนคริ น ทร์ เสด็ จ สวรรคตลงเมื่ อ พ .ศ. ๑๙๖๗ สมเด็ จ พระบรม ราชาธิราชที่ ๒ หรือเจ้าสามพระยา ซึ่งเป็นพระโอรสได้ขึ้นครองราชย์สมบัติระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๖๗ ๑๙๙๑ ภายหลังจากเสร็จสงครามราชบัลลังก์ระหว่างเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยาแล้ว ในรัชกาล นี้ได้มี การยกทัพไปตีเมื องเขมรมาไว้ในอานาจ ๔ ได้สาเร็จ และมี การสถาปนาพระโอรสเป็ นพระ อุปราชให้ไปครองเมืองหัวเมืองฝ่ายเหนือเป็นครั้งแรก ณ เมืองพิษณุโลก เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระราช โอรสได้ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๑๕ ในระยะแรกที่พระองค์ขึ้นครองราชสมบัติ นั้นหัวเมือง ฝ่ายเหนือยังคงมีความวุ่นวายกระด้างกระเดื่องและหันไปฝักใฝ่เมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ซึ่งในขณะนั้นพระราชบิดา ได้โปรดให้ พระองค์(สมเด็จพระราเมศวร)ไปปกครองดูแลหัวเมื องฝ่ายเหนือ ณ เมืองพิ ษณุ โลกซึ่งเป็นเมื อง ลูกหลวง เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นราชโอรสซึ่งมีเชื้อสายราชวงค์พระร่วง เพราะ พระมารดาทรง ๑

กรมศิลปากร, “พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ,” ใน คาให้การชาวกรุงเก่า คาให้การ ขุนหลวงหาวัด (พระนคร : โรงพิมพ์เจริญธรรม, ๒๕๑๕), ๔๔๔ - ๔๔๕. ๒ เรื่องเดียวกัน, ๔๔๖. ๓ กรมศิลปากร, “พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ,” ใน คาให้การชาวกรุงเก่า คาให้การ ขุนหลวงหาวัด, ๔๔๖. ๔ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, “พุทธศาสนาและการรวมอาณาจักรสมัยตอนต้นอยุธยา,” ในเรื่องของสองนคร (ม.ป.ท., ม. ป.ท.), ๑๓๗. ๕ เรื่องเดียวกัน, ๔๔๘.


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๕

เป็น ธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ ๔ ซึ่งได้เคยครองเมืองพิษณุโลกมาแต่เดิม และยังสืบสายโลหิต ราชวงศ์พระร่วงของพ่อขุนรามคาแหงอีกด้วย๑ ภายหลังที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชสมบัติแล้ว เหตุการณ์ความวุ่นวายทาง เมืองเหนือยังดาเนินอยู่ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๔ พระยาเชลียงเป็นขบถชักนาศึกเข้าเมืองเชียงใหม่ มายึด เมืองพิษณุโลกและกาแพงเพชร ทาให้เกิดสงครามระหว่างสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและ พระเจ้า ติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่ติดต่อกันหลายปี สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงตัดสินพระทัยย้ายไป ประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกเพื่อดูแลรักษาเมืองด้านเหนือในปี พ.ศ. ๒๐๐๖ ซึ่งเป็นการยกฐานะเมือง พิษณุโลกขึ้นเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร และลดฐานะของกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองลูกหลวงทางทิศ ใต้แล้วแต่งตั้งพระราชโอรสไปครอง ทางเหนือจึงเป็นศูนย์กลางอาณาจักรทั้งหมดตลอดรัชกาลของ พระองค์ (พ.ศ. ๒๐๐๖ - ๒๐๓๑) ซึ่งมีส่วนทาให้วัฒนธรรมจากทางเหนือ แพร่มาสู่กรุงศรีอยุธยา อย่างมากในช่วงนี้ เห็นได้ชัดเจนจากรูปแบบทางศิลปกรรม และวัฒนธรรมทางด้านพุทธศาสนา พระราชกรณียกิจทางด้านศาสนาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อันได้แก่ การออกผนวช ที่วั ด จุฬ ามณี ณ เมื องพิ ษ ณุ โลก ระหว่ างที่ ทรงครองราชย์ส มบั ติ ในปี พ.ศ. ๒๐๐๘ การบู รณะ วัดพุทธชินราช และการโปรดให้จัดงานสมโภช บาเพ็ญ กุศลแด่พระสงฆ์ , พราหมณ์ พระราชทาน ทรัพย์แก่ข้าราชบริพารและราษฎรรวมทั้งทรงโปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตร่วมกันแต่งมหาชาติคา หลวง ซึ่งเป็นวรรณคดีที่สาคัญทางพระพุทธศาสนาเรื่องแรกในสมัยอยุธยา ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๒๕ นั้น ถึงแม้ว่าพระราชกรณียกิจดูเหมือนจะเป็นการดาเนินรอยตามครรลองของขนบธรรมเนียมโบราณ แห่งกษัตริย์สุโขทัย ๒ แต่ก็เป็นผลสาเร็จที่ทาให้ชาวสุโขทัยเกิดความชื่นชมและยอมรับพระองค์กับ ประชาชนทางเหนือได้ เ ป็ น อย่ า งดี ก ล่ า วคื อ พุ ท ธศาสนาในรั ช กาลสมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถ ได้ ก ลายเป็ น ฐานทางการเมืองที่ทาให้เกิดอานาจในการปกครอง บนรากฐานของศีลธรรม๓ ความเปลี่ ย นแปลงทางการปกครองในสมั ย สมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถนี้ นั บ ได้ ว่ า มี ค วามสาคั ญ ที่ สุ ด เพราะได้ ถู ก ใช้ เ ป็ น รากฐานการปกครองในระยะต่ อ ๆมา กล่ า วคื อ ระบบ ศั ก ดิ น าได้ก่อตัวขึ้นเต็มรูป แบบ อันเกิดจากความพยายามสร้างความมั่น คงในระบบอานาจของ สถาบันกษัตริย์ การมีพระราชอาณาเขตที่ กว้างขวางจาเป็น ต้องมีการจัดระเบียบการปกครองที่ รัดกุ ม การปกครองส่ว นกลางหรือ ราชธานีแ ต่เดิม นั้ นพระมหากษั ตริย์ จะทรงมี พ ระราชอ านาจ เด็ดขาดในการบริหาร และแบ่งการปกครองเป็น ๔ ส่วน ได้แก่ เวียง(เมือง) วัง คลัง และนา โดยมี

ผ่องศรี ยอดกุศล, “สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ,” ใน กรุงศรีอยุธยา (กรุงเทพมหานคร : คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๑๕), ๕๑. ๒ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, “พุทธศาสนาและการรวบรวมอาณาจักรสมัยต้นอยุธยา,” ใน เรื่องของสองนคร, ๑๔๔. ๓ เรื่องเดียวกัน, ๑๔๓ - ๑๔๔.


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๖

ขุน นางทาหน้าที่ในแต่ละส่วน ซึ่งทาให้กิจการของทหารและพลเรือนปะปนกันมาก จึงทรงแยก ระบบดังกล่าวที่สาคัญดังนี้ ได้แก่ - ตั้ง ธรรมเนียมกระทรวงทบวงกรม แยกหน้าที่ราชการออกเป็นฝ่ายทหารและ ฝ่า ยพล เรือนอย่างเด็ดขาด - ตั้ง ธรรมเนี ยมศั กดิน า คื อ การสร้า งกฎหมายเพื่อ กาหนดค่าของคนทุก คนในประเทศ ด้วยการใช้ระบบที่ดินเป็นจานวนไร่เปรียบเทียบค่านั้น โดยบุคคลในราชตระกูลจะมีศักดิ์นาสูงกว่า บุคคลสามัญ พระมหากษัรติย์จะทรงกาหนดยศและตาแหน่งราชการตามลาดับชั้นต่าง ๆ ซึ่งธรรม เนียมศักดิ์นานี้จะใช้เป็นหลักในการบังคับบัญชา การบาเหน็จความดีความชอบ การชาระคดีความ และปรับไหมในโรงศาล ซึ่งการสร้างกลไกของระบบศักดิ์นาดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชน ที่ มี ค วามสามารถยกระดั บ ชั้ น ของตนให้ สู ง ขึ้ น ได้ โ ดยการท าความดี ค วามชอบต่ อ สถาบั น พระมหากษัตริย์ - เปลี่ยนการปกครองหัวเมืองแบบเดิมที่ให้เจ้าเมืองปกครองกันเอง เป็นการรวมอานาจการ ปกครองเข้าสู่ศูนย์กลาง แบ่งระดับหัวเมืองออกเป็นชั้นต่าง ๆ ตามความสาคัญ และส่งขุนนางผู้ใหญ่ ฝ่ายสมุหนายกและสมุหกลาโหมไปปกครองโดยให้ขึ้นตรงต่อราชธานี - มีการปรับปรุงกฎหมายและออกกฎหมายต่าง ๆ เพิ่มเติมในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งต่อมาได้ ถู ก รวบรวมเป็ น ต ารากฎหมายซึ่ ง เรี ย กว่ า “กฎหมายตราสามดวง” ในรั ช กาลที่ ๑ แห่ ง กรุงรัตนโกสินทร์ ที่เป็นแบบฉบับของกฎหมายไทยในปัจจุบัน๑ ภายหลังที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคตลงสมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ ๓ (พระ อิ น ทราชาธิ ราชที่ ๒ ) ได้ ท รงย้ า ยเมื อ งหลวงกลั บ มาที่ ก รุ ง ศรีอ ยุ ธยาตามเดิ ม ฐานอ านาจทาง การเมืองการปกครองที่มั่นคงในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้สงผลให้กรุงศรีอยุธยามีความ เรียบร้อยต่อมา ในปี พ.ศ. ๑๙๖๗ มีความเคลื่อนไหวที่สาคัญทางศาสนาได้แก่ การประดิษฐาน พุทธ ศาสนานิกายสิงหลภิกขุหรือลังกาวงศ์ในกรุงศรีอยุธยา หลังจากที่ พระสงฆ์ ๘ รูปจากอาณาจักร สยาม และ ๒๕ รูปจากนครเชียงใหม่ได้อุปสมบทใหม่ ณ แม่น้า กัลยาณี ในศรีลังกา แล้วกลับมาทา อุปสมบทกรรมใหม่ให้กับพระมหาสีลวิสุทธิ ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระมเหสีในสมเด็จพระบรม ราชาธิราชที่ ๒ กับพระมหาเถรสัทธัมนโกวิท ที่กรุงศรีอยุธยา๒ การขยายอานาจทางการเมือง และการติดต่อสัมพันธ์กับอาณาจักรที่เจริญ รุ่งเรืองมาก่อน ได้แก่ สุโขทัยและเขมร ทาให้กรุงศรีอยุธยาได้รับรูปแบบทางสังคมวัฒนธรรมจากอาณาจักรทั้งสอง ซึ่ง สะท้ อ นให้ เห็ น ได้ จ ากวั ฒ นธรรมทางศาสนา แนวทางการปฏิ บั ติด้ า นพิ ธี ก รรม และรูป แบบ ศิลปกรรม ๑ ๒

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, “สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ,” ใน กรุงศรีอยุธยา, ๕๒-๕๗. พระรัตนปัญญาเถระ, ชินกาลมาลีปกรณ์ (ม.ป.ท., ม.ป.ป), ๑๐๕.


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๗

เนื่องจากพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักของกรุงศรีอยุธยาที่พระมหากษัตริย์และประชาชนนับ ถือ พระมหากษัตริย์จึงมีหน้าที่หลักในการส่งเสริมพุทธศาสนา เพื่อกรรมดีและผลทางการเมืองที่จะ เสริม สร้างความมั่นคงให้กั บสถาบันกษั ตริย์ ดัง นั้นพระราชฐานะของพระมหากษั ต ริย์อ ยุธยาใน ระยะแรกจึงทรงเป็นพุทธราชา ถึงแม้ว่าเมื่อกรุงศรีอยุธยายึดครองเขมรได้ จะรับเอาธรรมเนียมประเพณี กษัตริย์ในศาสนา พราหมณ์ของเขมรมาใช้ เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมพระราชอานาจทางการเมืองในฐานะเทวราชา ผู้ทรงอานาจเด็ดขาด และความศักดิ์สิทธิ์ในมณฑล ที่มีเมื องหลวงเป็นศูนย์กลางการปกครองเมือง บริวารอยู่โดยรอบ๑ แต่ธรรมเนียมประเพณีในศาสนาพราหมณ์ที่รับเข้ามานี้ก็ได้รับเลือกสรรสาระ แนวทางปฏิบัติ และการให้ความหมายตามบริบทของสังคมไทยที่ไม่ขัดต่อความเป็นธรรมิกราชตาม หลักพุทธธรรมที่เป็นรากฐานอยู่เสมอ ๒ กล่าวคือ ระบบจริยธรรมในศาสนาพุทธ ยังคงเป็นธรรม ปฏิ บั ติ ส าคั ญ ส าหรั บ พระมห ากษั ต ริ ย์ ที่ จ ะเป็ น ส่ ว นที่ ใ ช้ ใ นการควบคุ ม พระราชอ านาจ ของพระมหากษัตริย์ให้ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา ธรรมปฏิบัติดังกล่าว ได้แก่ ทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ และจักรวรรดิวัตร เป็นต้น๓ ความเป็ น สมมติ เทพของกษั ต รี ย์ อ ยุ ธ ยาไม่ ไ ด้ เฉพาะเจาะจงว่ า เป็ น สมมติ เทพองค์ ใ ด โดยเฉพาะแต่เป็นการผนวกเอาลักษณะของเทพหลาย ๆ องค์ไ ว้ทั้งพระศิวะ พระนารายณ์ พระ พรหม และพระอินทร์ สะท้อนให้เห็นจากระเบียบพิธีกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ ได้แก่ การทาพิธีกลบบัตรสุมเพลิง ในการถวายพระนามพระองค์และพระนครเป็นพิธีกรรมแบบพราหมณ์๔ ส่วนพิธีกรรมทางพุทธศาสนาที่สาคัญในฐานะพุทธราชา ได้แก่ การสถาปนา พระมหาธาตุประจา เมือง การสร้าง-ปฏิสังขรณ์วัด และอุปถัมภ์พระภิกษุเป็นต้น ๑.๓ ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนกลาง (สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ - รัชกาล สมเด็จพระอาทิ ตยวงศ์ ) ประวัติ ศาสตร์สมั ยอยุ ธยาตอนกลาง เริ่ม ตั่ง แต่ รัชกาลสมเด็จ พระบรม ราชาธิราชที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๐๓๑ ถึงสิ้นรัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ ในปี พ.ศ. ๒๑๗๒ รวม ๑๔๒ ปี ภายใต้การปกครองของ ๒ ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ และราชวงศ์สุโขทัย

สุภาพรรณ ณ บางช้าง, พุทธธรรมที่เป็นรากฐานสังคมไทยก่อนสมัยสุโขทัยถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๕), ๕๓. ๒ เรื่องเดียวกัน, ๕๖ - ๖๐. ๓ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธ์ ปราโมช, “สังคมไทย,” ใน ลักษณะไทย (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช , ๒๕๒๕), ๔๑. ๔ กรมศิลปากร, “พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ,” ใน คาให้การชาวกรุงเก่า คาให้การ ขุนหลวงหาวัด, ๔๔๘.


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๘

สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ได้เริ่มมีการติดต่อกับชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นชาวตะวันตกเป็น ชาติแรกที่ส่งฑูตเข้ามาติดต่อกับราชสานักอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๕๔๑ หลังจากที่อยุธยามีการค้า ขายกับจีนมาก่อนหน้านั้นแล้วโดยสัญญาทางพระราชไมตรีกับโปรตุเกตฉบับแรกเมื่อปีพ .ศ. ๒๐๕๙ สาหรับชาติตะวันตกอื่น ๆ ได้แก่ สเปนและฮอลันดาเข้ามาติดต่อกับอยุธยาในรัชกาลสมเด็จ พระ นเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓ - ๒๑๔๘) ส่วนชาวอังกฤษเข้ามาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๕๓ - ๒๑๗๑) ท าให้ มีก ารติ ดต่อ การค้า และการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ รวมทั้ ง การน า เทคโนโลยีด้านต่างๆ มาสู่กรุงศรีอยุธยา เช่น การสร้างสถาปัตยกรรมจาพวกป้อมปราการ และปืน ใหญ่ การแผ่ขยายอานาจไปทางตะวันตกทาให้เกิดสงครามกับพม่าในช่วงรัชกาลพระไชยราชาธิราช สงครามครั้ง แรกคือ สงครามเชียงกราน ที่ท หารอาสาชาวโปรตุเกสได้มีส่วนร่วมรบทาให้กรุง ศรี อยุธยาได้รับชัยชนะ๒ ในช่วงรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ความขัดแย้งระหว่างไทยกับพม่าเริ่ม ก่อตัวขึ้นราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุเหตุการณ์สาคัญเรื่องสมเด็จพระสุริโยทัย พระมเหสีของ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงสิ้นพระชนม์ในการสงครามกับพม่า บ้านเมืองยังคงวุ่นวายจากปัญหา ทางด้านสงคราม ทั้งสงครามกับเขมร(พระยาละแวก)และพม่า มีการสร้างเสริมกาแพงเมืองเพื่ อ เตรียมรับศึกจากภายนอก การทาสงครามดังกล่าวทาให้เกิดการบ้านเมืองระส่าระส่าย มีการกวาด ต้อนผู้คนและการอพยพหลายครั้ง ความวุ่นวายทางการเมืองดังกล่าวส่งผลให้การสร้างและการทานุ บารุงสถาปัตยกรรมทางศาสนา ในช่วงเวลานี้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และศิลปะโบราณวัตถุ สถานไม่มากนักจะกระทั่งปี พ.ศ. ๒๑๑๒ ในรัชกาลพระมหินทราธิบดี กรุงศรีอยุธยา ก็ต้องพ่ายแพ้ สงครามแก่พม่าในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง และตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเป็นระยะเวลานานถึง ๑๕ ปี ในช่วงที่กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นของพม่านี้ ทาให้อยุ ธยาได้รับวัฒนธรรมทางด้านต่าง ๆ ทั้งจาก สุโขทัย และจากพม่ามาด้วย ดังที่ เห็น ได้ชัด เจน ได้แก่ ส่วนฐานเจดี ย์ป ระธานวั ดภู เขาทอง ซึ่ ง มี เอกสารระบุว่าพระเจ้าบุเรงนองทรงสร้างภายหลังจากที่พระองค์ โจมตีกรุงศรีอยุธยาได้ การปกครองอยุธยาของสมเด็จพระมหาธรรมราชา เริ่มต้นในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ ซึ่งเป็นเชื้อสาย ราชวงศ์สุโขทัยทางพระราชบิดา มีพระราชโอรสองค์โตคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จนกระทั่งใน ปี พ.ศ. ๒๑๒๗ สมเด็จ พระนเรศวรมหาราชครั้ง ด ารงต าแหน่ ง พระมหาอุ ป ราช ทรงประกาศ อิสรภาพ ทาให้กรุงศรีอยุธยาหลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของพม่าและเมื่อพระองค์ ขึ้นครองราช สมบัติ (พ.ศ. ๒๑๓๓ - ๒๑๔๘) ก่อนขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์พร้อมพระอนุชา ทรงยกกองทัพขึ้น ๑

จาชินโต โจเซ โด นาสชิเมนตุ โมวร่า “ความสัมพันธ์ของชาวโปรตุเกสกับประเทศสยาม,” แปลโดย เดโช อุตต รนที, แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี ๑, ๓ (มกราคม ๒๕๑๑) : ๔๗-๔๙. อ้างถึงใน ประทีป เพ็ง ตะโก, “การศึกษาเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๑), ๑๐. ๒ กรมศิลปากร, “พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ,” ใน คาให้การชาวกรุงเก่า คาให้การ ขุนหลวงหาวัด, ๔๕๔.


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๙

ไปตีล้านนาและเชียงใหม่ ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของพม่า เจ้าเมืองเชียงใหม่ยอมสวามิภั กดิ์ ทรงได้ท า สงครามขยายอาณาเขต และปราบปรามเมืองที่กระด้างกระเดื่อง ได้แก่ ล้านช้าง และไทยใหญ่ การ ชนะสงครามครั้งสาคัญหลายครั้งสงผลให้เกิดความมั่นคงทางการเมืองแก่กรุงศรีอยุธยา และมีความ สงบเรียบร้อยซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาบ้านเมืองระยะต่อ ๆ มา ในช่วงตอนปลายของสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถซึ่งเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระนเรศวร มหาราช (ครองราชสมบั ติ พ.ศ. ๒๑๔๘ - ๒๑๕๓) และในรั ช กาลสมเด็ จ พระเจ้ า ทรงธรรม (ครองราช-สมบั ติ พ.ศ. ๒๑๕๓ - ๒๑๗๑) ชาวตะวันตกเริ่มมีบทบาทในการค้าขายและเผยแพร่ ศาสนาคริ ส ต์ ๑ แต่ พุ ท ธศาสนาก็ ยั งคงเป็ ที่ นั บ ถื อ ของพระมหากษั ต ริย์ แ ละประชาชนอยู่ อ ย่ า ง เคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมนั้น พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง อย่างมาก ทรงโปรดฯ ให้มีการแต่งกาพย์มหาชาติซึ่งเป็นวรรณกรรมทานองร่ายยาวรวมไปถึงการพบ รอยพระพุทธบาทที่สระบุรี เป็นที่มาของงานนมัสการพระบาทอันเป็นพระราชประเพณีสืบต่อมา ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ. ๒๐๓๔) ถึงสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๗๑) รวมระยะเวลา ๑๓๗ ปี ทางด้างสถาปัตยกรรมสมัยนี้นิยมสร้างเจดีย์ทรงกลมเป็น ประธานของวัดสืบเนื่ องจากเมื่อครั้งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นไปเสวยราชย์ ณ เมือ ง พิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๖ คงได้นาแบบอย่างเจดีย์ทรงกลมแบบสุโขทัยลงมาสร้างยังกรุงศรีอยุธยา ๑.๔ ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลาย (สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง - รัชกาล สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ น์ ) ประวัติศ าสตร์ส มัยอยุธยาตอนปลาย เริ่มตั่ งแต่รัช กาลสมเด็ จพระเจ้ า ปราสาททอง ในปี พ.ศ. ๒๑๗๓ ถึงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ในรัชกาลสมเด็จ พระเจ้าเอกทัศน์ รวม ๑๓๗ ปี เป็นสมัยของการปรับเปลี่ยนอานาจจากกลุ่มกษัตริย์ไปสู่อานาจของ กลุ่มขุนนางราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเป็นกษัตริย์ต้นราชวงศ์ปราสาททอง ปกครองกรุงศรีอยุธยา ในช่วงปี พ.ศ. ๒๑๗๒ - ๒๑๙๙ ก่อนขึ้นครองราชสมบัติสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเป็นขุนนาง ที่มีตาแหน่งสูงสุด คือเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ซึ่งมีอานาจทางการทหารเป็นอย่างมาก ทาให้ใน สมัยของพระองค์ กรุงศรีอยุธยามี ความเจริญ รุ่ง เรือ งอั นเนื่ องมาจากการมี ฐานอานาจและความ เข้มแข็งของพระองค์ตั้งแต่ยังไม่ได้ขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ได้ปลดสมเด็จอาทิตยวงศ์ออกจาก บัลลังก์แล้วปราบดาภิเษกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ การที่พระองค์ไม่มีสิทธิอันชอบธรรมในการขึ้น ครองราชสมบัตินี้ ทาให้พระองค์ได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลในสังคมและ ประเทศใกล้เคียง ด้วยการแสดงออกทางวัตถุและทาการฟื้นฟูพระราชพิธีทางศาสนาอันเกี่ยวข้องกับ ลัทธิเทวราชามาใช้ เพื่อยกฐานะของพระองค์ขึ้นเป็นเทวราชา รวมทั้งทานุบารุงพระพุทธศาสนา ๑

กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๗ (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์ คลังวิทยา, ๒๕๑๖), ๒ - ๓.


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๑๐

และปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิธราชธรรมอันประเสริฐ เพื่อแสดงความเป็นธรรมราชาควบคู่กันไป ด้วย การตีเขมรได้ในรัชสมัยของพระองค์ มีส่วนทาให้เกิดการสถาปนาลัทธิเทวราชาขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่พระมหากษัตริย์องค์ก่อนๆ ได้ปฏิบัติพระองค์เป็นธรรมราชาอย่างเคร่งครัด ดังเช่นใน รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระเอกทศรถ และพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งความเป็นเทวราชใน รัชกาลของพระองค์ได้สะท้อนออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งพระองค์โปรดฯ ให้ สร้างข้น ได้แก่ วัดไชยวัฒนาราม และปราสาทนครหลวง ที่แสดงให้เห็นถึง รูปแบบและคติที่รับอิทธิพลมาจากคติเทวราชาของเขมร๑ การประกอบพระราชพิธีลบศักราชเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๑๘๑ ในสมัยของพระองค์ โดยพระราชพิธีลบศักราชนี้มีวัตถุประสงค์ที่สาคัญ ๓ ประการ คือ - ระงับความระส่าระสายอันเกิดจากการทานายถึงเหตุการณ์ที่จะมีในจุลศักราช ๑๐๐๐ - เพื่อฟื้นฟูพระราชพิธีอันแสดงความสาคัญของกษัตริย์ - เพื่อประกาศความยิ่งใหญ่เหนือบรรดาประเทศเพื่อนบ้านที่นับถือพุทธศาสนา และใช้จุล ศักราชเหมือนกัน๒ ซึ่ง จุ ดประสงค์ ทั้ ง ๓ ข้ อ ดังกล่ าวข้ างต้น นั้ น เป็ น การแสดงให้ เห็ น ถึง จุ ดประสงค์ในการ ประกาศความยิ่งใหญ่ของสถาบันกษัตริย์อยุธยาในฐานะจักรพรรดิราช ซึ่งเป็นใหญ่เหนือกษัตริย์ใน บรรดาประเทศเพื่อนบ้านทั้งปวง ในรัลกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองบ้านเมืองมีความสงบสุข เนื่องจากก่อนหน้าที่พระองค์ จะขึ้นครองราชสมบัตินั้นได้ทรงกาจัดอานาจกองทหารญี่ปุ่นซึ่งเข้าตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรได้ หมดสิ้นและเมื่อเป็นกษัตริย์แล้วพระองค์ก็ได้ทรงปราบปรามกบฎปัตตานีและเขมร จนได้ชัยชนะ และไม่ปรากฏว่ามีศึกสงครามมาติดพระนครในสมัยพระองค์ ๓ จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น วัน วลิต (Jeremias van vliet) เขียนบันทึกเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๑๘๓ “กล่าวกันว่าทรงสร้างกาแพงกรุงศรีอยุธยาขึ้นใหม่ทั้ง หมดอีกทั้งพระราชวังหลวงกับตัว เมืองก็ได้ปรับปรุงครั้งใหญ่พระองค์ทรงสร้างประฏิสังขรณ์ และซ่อมแซมวัดวาอารามพระที่นั่งมหา ปราสาทและปรางค์สถูปเจดีย์ขึ้นไว้หลายแห่งมากยิ่งกว่าพระมหากษัตริ์แต่ปางก่อน” ในตอนต้นของแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์(ครองราชสมบัติ พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) มีชาว ต่างชาติ หลายประเทศเข้ามาติดต่ อสั มพั น ธ์กับ กรุง ศรีอยุ ธยาเพื่ อ ประโยชน์ ทางด้ านการค้าขาย ศาสนา และการเมือง ความสัม พัน ธ์กับชาวต่ างชาติดัง กล่ าวเป็ นผลทาให้ กรุง ศรีอยุธยาเกิดการ ๑

กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒, ๑๐-๒๔. ศรีศักร วัลลิโภดม, “จากพระเจ้าอู่ทองถึงพระเจ้าปราสาททอง,” เมืองโบราณ ๗, ๓ (สิงหาคม - พฤศจิกายน ๒๕๓๔) : ๔๕. ๓ ฉลวยวรรณ ชินะโชต , “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช,” ใน กรุงศรีอยุธยา (ม.ป.ท., ม.ป.ป.), ๗๐. ๒


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๑๑

เปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้านที่สาคัญได้แก่การที่สมเด็จพระนารายณ์มีฐานพระราชอานาจส่วนใหญ่ มาจากชุมชนต่างชาติโดยเฉพาะฝรั่งเศสนั้นทาให้นักวิชาการมองว่าลักษณะดังกล่าวมีส่วนสาคัญ ที่ เป็ น เหตุ ให้ พ ระองค์ ต้ อ งย้ า ยราชธานี จ ากกรุ ง ศรีอ ยุ ธ ยาไปยั ง ลพบุ รี ที่ มี ร ะบบป้ อ งกั น เมื อ งที่ มี ประสิทธิภาพอย่างตะวันตกเพื่อความปลอดภัยของพระองค์เอง เพราะพระองค์ถูกต่อต้านจากเหล่ า ขุนนาง๑ จากหลัก ฐานทางด้ านศิ ลปกรรมสมั ยสมเด็ จพระนารายณ์ ที่เหลื ออยู่ในปั จจุบั น พบว่ ามี ปรากฏอยู่ที่จังหวัดลพบุรีมากกว่าอยุธยา ซึ่งสอดคล้องกับของความในจดหมายเหตุของบาทหลวง ที่ เข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น ว่าพระองค์ได้ทรงโปรด ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ และโปรดประทับที่เมืองนี้(เมืองลพบุรี) ปีละ ๘ - ๙ เดือน๒ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสาคัญของเมือง ลพบุรีในช่วงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ว่าน่าจะมีความสาคัญมาก ในฐานะที่อาจเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ สมเด็จพระนารายณ์ได้โปรดฯ ให้มีการแต่งสาเภาไปค้าขายกับต่างประเทศทั้งในเอเชียและ ยุโรป เช่น ฟิลิปินส์ จีน อินเดีย ชวา สุมาตรา ฝรั่งเศส อัง กฤษ โปรตุเกส ฮอลันดา และเปอร์เชีย ตะวันออกไกล โดยกรมพระคลั่งสินค้าได้ส่งเรือสินค้าเพื่อนาสินค้าไปขายเอง แทนที่จะขายกับเรือ ต่างประเทศที่มารับซื้อไปหากาไร ทาให้กรุงศรีอยุธยาสมัยนั้นเป็นศูนย์กลางการค้าขายนารายได้ เข้าประเทศอย่างมากมาย๓ การติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันตกสมัยนี้ นอกจากจะทาให้กรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการค้าแล้วชาวต่างชาติดังกล่าวยังได้นา วิทยาการความรู้ด้านต่าง ๆ มาสู่กรุงศรีอยุธยาด้วยวิทยาการสาคัญ คือ รูปแบบและเทคนิคการ ก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งปรากฏให้เห็นจากโบราณสถานสมัยอยุธยาในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดลพบุรี ซึ่งมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมทรงตึกและสถาปัตยกรรม แบบไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์๔ เช่นงานก่อสร้างพระนารายณ์ราชนิเวศน์โดยบาทหลวงโทมัส เป็นผู้ทาแบบถวาย บ้านรับรองราชฑูต และป้อมเมืองบางกอกเป็นต้น หลังรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ได้เกิดกระแสต่อต้านชาวตะวันตกในบทบาททางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวฝรั่งเศส จนถึงสมัยสมเด็จพระเพทราชา(ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๓๑ ๒๒๔๖) ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ซึ่งเป็นผู้นาในการปฏิวัติยึดอานาจจากสมเด็จ พระ นารายณ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นขุนนางฝ่ายปกครองในกรมพระคชบาลขวาตาแหน่ง ออกพระเพทราชา ๑

กรมศิลปากร, สมเด็จพระนารายณ์ และพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ (กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ, ม.ป.ป.), ๓๕. ตาชาร์ด, จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยาม, แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ การศาสนา, ๒๕๑๗), ๗๑. ๓ ฉลวยวรรณ ชินะโชต, “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช,” ใน กรุงศรีอยุธยา, ๗๓. ๔ อนุวิทย์ เจริญศุภ กุล , “สถาปั ตยกรรมไทยสกุล ช่างสมเด็จ พระนารายณ์ ,” มหา วิทยาลัยศิล ปากร ๑๐, ๑๗ (สิงหาคม ๒๕๒๙) : ๑๑๒ - ๑๒๖. ๒


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๑๒

มีค วามสาคัญ ใกล้ชิ ด กั บ สมเด็จ พระนารายณ์ เมื่ อ ขึ้น ครองราชย์ แล้ วทรงท านุ บ ารุง พุ ท ธศาสน า ตามลาดับ สมั ย สมเด็ จ พระเจ้ า เสื อ (ครองราชย์ ร ะหว่ า งปี พ.ศ. ๒๒๔๖ - ๒๒๕๑) เป็ น ยุ ค ที่ พระนครศรีอยุธยาใช้กาลังในการจัดการกลุ่มอานาจในพระนครอย่างเด็จขาด มีผลทาให้ฐานอานาจ ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีความมั่นคงเป็นที่ยอมรับ หลังสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือแล้วไม่ปรากฏว่ามี การปฏิวัติหรือท้าทายอานาจอย่างเปิดเผย สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๕๑ - ๒๒๗๕) เมื่อพระเจ้า เสือ สวรรคตแล้ วกรมพระราชั งบวรสถานมงคลเสด็ จขึ้ น ครองราชย์ ท รงพระนามว่า สมเด็ จพระ เจ้าอยู่หัวท้ายสระ เหตุการณ์ภายในพระนครดูจะผ่อนคลายไม่เข้มงวดดังรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ เป็นผลทาให้การค้ากับต่างประเทศเริ่มฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งโดยเฉพาะกับประเทศจีน พระมหากษัตริย์ก็ ยังคงทรงทานุบารุงพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ปรากฏการสร้างปฏิสังขรณ์วัดอย่างสม่าเสมอ จนถึงในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (หรือพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชสมบัติ พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑) ซึ่งเป็นกษัตริย์ลาดับที่ ๔ ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง ถึงแม้ว่าวิธีการที่สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศขึ้นครองราชสมบัติจะทาให้สูญเสียข้าราชการและแม่ทัพผู้มีฝีมือไปเป็นอัน มากในสงครามกลางเมืองเพื่อแย่งชิงราชสมบัติระหว่างวังหลวงกับวังหน้าแต่ก็นับได้ว่ารัชกาลของ พระองค์เป็ นยุคที่ กรุงศรีอยุธยามีความเจริญ รุ่ง เรืองทางด้านศิ ลปกรรมมากทั้ง ทางการช่างและ วรรณคดี ส่วนทางด้านศาสนาถือว่ายุคนี้เป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดอีกครั้งหนึ่งของพุทธศาสนา ปรากฏ หลักฐานว่าในปี พ.ศ. ๒๒๙๓ พระเจ้าเกียรติสิงหะพระมหากษัตริย์ลังกาได้รับสั่งให้สามเณรสรณัง แต่งพระราชสาส์นเป็นภาษามคธถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและสมเด็จพระสังฆราชกรุงศรี อยุธยา พร้อมส่งราชฑูต ๕ คนมาทูลขอพระสงฆ์อยุธยาเพื่อไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงโปรดเกล้าฯให้พระอริยมุนีและพระอุบาลี พระราชาคณะ ๒ องค์ และพระ เปรียญกรรมวาจารณ์ ๕ รูป รวมทั้งพระอันดับอีก ๑๒ รูป เป็นคณะสงฆ์ไปอุปสมบทกุลบุตรชาว ลั ง กา และตั้ ง นิ ก ายสยามวงศ์ ใ นลั ง กา ๑ ซึ่ ง นั บ ได้ ว่ า เป็ น ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ส าคั ญ ทางด้ า น พระพุทธศาสนาของกรุงศรีอยุธยา๒ ซึ่งการติดต่อสัมพันธ์กับลังกานี้น่าจะมีส่วนทาให้วัฒนธรรมทาง พุทธศาสนาบางประการของลังกาถ่ายทอดมาสู่กรุงศรีอยุธยา เช่น คติพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นคติ ๑

ปิยนาถ บุ นนาค [นิโครธา], ประวัติศ าสตร์และอารยะธรรมของศรีลัง กา (กรุงเทพ มหานคร : ส านั กพิม พ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๔), ๒๔๗. ๒ กรมศิลปากร, กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ , จดหมายเหตุระหว่างราชฑูตลังกาและสยามครั้งกรุงศรีอยุธยา (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๓. พิมพ์ในการฌาปนกิจศพ นางเอม พุกกะมาน ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๓), ๑ - ๒.


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๑๓

หนึ่งที่สาคัญ ของลังกา โดยปรากฏหลักฐานถึงการนาพันธุ์ต้นพระศรีมหาโพธิ์จาลังกามาปลูกไว้ที่ วัดวรโพธิ์ในรัชกาลของพระองค์๑ ถึงแม้ว่าในสมัยของพระองค์จะมีการติดต่อสัมพันธ์และทาการค้ากับจีน แต่ก็ไม่ได้ทาให้ เศรษฐกิจในรัชกาลของพระองค์มีสภาพเจริญรุ่งเรืองเท่าที่ควร อันเป็นผลสืบเนื่องมาแต่รัชกาล พระ เจ้าอยู่หัวท้ายสระ ประกอบกับในสมัยของพระองค์ก็โปรดฯ ให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดที่สร้างมา แต่เดิมจานวนมากมายทาให้ต้ องใช้งบประมาณในการท านุ บารุงศิล ปกรรมค่อนข้างมาก สภาพ เศรษฐกิจในสมัยนี้จึงมีแต่ทรุดลง หลังจากที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคตแล้ว ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชสานักมีการแย่ง ชิงราชบัลลังก์บ่อยครั้ง ทาให้สูญเสียกาลั งคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการในราชสานัก บ้านเมืองจึง อ่อนแอสังคมแบบรวมศูนย์ขาดความมั่นคง เมื่อมีศึกมาติดพระนครจึงไม่มีกาลังเพียงพอที่จะป้องกัน พระนคร ซึ่งส่งผลให้กรุงศรีอยุธยาต้องล่มสลายในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ในที่สุด

บรรจบ เทียมทัด, “วัดโพธิ์,” ใน พระราชวังและวัดโบราณในจังหวัดพระนครศรี อยุธยา พร้อมทั้งรูปถ่ายและ แผนผัง (ม.ป.ท., ม.ป.ป. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายจารัส เกียรติก้อง ธันวาคม ๒๕๑๑), ๙๙.


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๑๔

ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๓) การเติ บ โตของรั ฐ บริ เวณที่ ร าบลุ่ ม แม่ น้ าเจ้ า พระยา แม่ น้ าท่ าจี น และแม่ น้ าแม่ ก ลอง นับตั้ง แต่พุ ทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นมา รัฐเหล่านี้ได้ผ่านช่วงเวลาแห่ง การพัฒนาโครงสร้างทาง สังคมวัฒนธรรม เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ทางวัฒนธรรมจนในที่สุดสามารถสร้างสถานะของรัฐ ที่พัฒนาสู่การเป็นราชธานี ศิลปะอยุธยาเริ่มเด่นชัดขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อวัฒนธรรมจากเขมรซึ่ง สัน นิ ษ ฐานว่ ามาจากเมื อ งลพบุ รีเริ่ม เบาบางลง การเริ่ม ต้ น ในการสร้า งเอกลั ก ษณ์ ของรูป แบบ ศิล ปกรรมเช่น เดีย วกั บ ความสั ม พั น ธ์ที่ มี ในรัฐ สุโขทั ย ล้า นนา และอู่ ท องสุ พ รรณภู มิ รวมไปถึ ง ความสัมพันธ์หรือแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมพุกามในประเทศพม่าได้หล่อหลอมให้เกิดเอกลักษณ์ ของความเป็นอยุธยาภายใต้ระบบพระมหากษัตริย์และรัฐที่นับถือพระพุทธศาสนาจึงเป็นเครื่องยึด โยงให้เกิดระบบที่ขับเคลื่อนกรุงศรีอยุธยาในฐานะราชธานีแห่งแรกของประเทศไทย พระเจ้าอู่ทอง ( สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ) ในฐานะกษัตริย์พระองค์แรกผู้สถาปนากรุงศรี อยุธยาเมื่อปีพ.ศ. ๑๘๙๓ โดยรวบรวมเมืองที่มีความสัมพันธ์เ ชิงเครือญาติซึ่งมี เมืองลพบุรี (ละโว้) และเมืองสุพรรณบุรี เป็นแกนนาความเข้มแข็งของรัฐทั้ง ๒ เป็นพื้นฐานอานาจและระเบียบการ ปกครองในระยะแรกโดยมีพระมหากษัตริย์มีอานาจสูงสุดอยู่ที่เมืองอยุธยาและมีการแต่งตั้งเจ้าเมือง ต่างๆ ไปปกครองรัฐในลักษณ์ เครือญาติ ลักษณะเช่นนี้ด ารงอยู่หลายทศวรรษพร้อม ๆ กับ การ พัฒนาอยุธยาในด้านต่าง ๆ ปรากฏหลักฐานความสัมพันธ์กับรัฐต่างๆ ทั้งภายในและภายนอภูมิภาค โดยเฉพาะทางการทูต เช่น ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับเมืองจีนในสมัยสมเด็จพระนครินท ราธิราช จนเป็นที่มาของการพบศิลปะจีนอย่างมากมายในกลุ่มพระปรางค์วัดราชบูรณะ การปฏิ รูป การปกครองรัฐของอยุธยามี ความชั ดเจนขึ้น อีก ครั้ ง เมื่อ สมเด็ จพระบรมไตร โลกนาถทรงวางรากฐานการปกครองใหม่ก ล่าวคือการก่อตัวขึ้นของระบบศักดินาอย่างเต็มรูปแบบ อันเกิดจากความต้องการในการสร้างความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์รวมไปถึง การวางระบบการ ปกครองส่วนกลางที่เรียกว่า “จัตุสดมภ์” ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา เพื่อทาหน้าที่ในการบริหารราช กาลแผ่นดิน นอกจากนั้นแล้วการที่พระองค์ทรงมีพระมารดาเป็นเชื้อพระวงศ์ในฝ่ายสุโขทัยประกอบ กับการรบติดพันทั้งสุโขทัยและล้านนาทาให้เกิดการแลกเปลี่ยนของรูปแบบทางศิลปกรรม ปรากฏ ความนิยมในการสร้างเจดีย์กลมแบบสุโขทัยขึ้นในกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมา ความวุ่นวายของอยุธยาเกิดขึ้นอีกครั้งในศึกกับพม่านามาซึ่งการสูญเสียอิสรภาพครั้งที่ ๑ ในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรสทรงกู้เอกราชได้


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๑๕

ในอีก ๑๕ ปีต่อมา จึงเข้าสู่ยุคแห่งการฟื้นฟูบ้านเมือง ทานุบารุงพระศาสนาฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ภายในพระนครดังปรากฏการสร้างพระพุทธบาท จ. สระบุรี ในสมัยแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม นับได้ ว่าเป็นยุคที่อยุธยามีความเจริญก้าวหน้าในหลายๆ ด้านรวมไปถึงความสัมพันธ์กับต่างๆ ชาติด้วย ในปีพ.ศ. ๒๑๗๒ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงฟื้นฟูคติความเชื่อ ดั่ ง เดิ ม ของเขมรโดยกลั บ มาสร้ า งพระปรางค์ ยั ง ขอมอี ก ครั้ ง เช่ น วั ด ไชยวั ฒ นาราม จ. พระนครศรีอยุธยา รวมไปถึงการสร้างเจดีย์มีเหลี่ยมย่อมุมซึ่งปรากฏรูปแบบอย่างชัดเจนในช่วงราช กาลของพระองค์ สมเด็จพระนารายณ์ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อปีพ.ศ. ๒๑๙๙ กล่าวได้ว่าเป็นยุคทอง ของความสัม พัน ธ์กับต่ างประเทศรวมไปถึง ความเจริญ ในด้ านศิลปะวิทยาการต่ างๆ การรับเอา เทคโนโลยีการก่อสร้างจากตะวันตกก่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบในศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยที่ เรียกว่า “ศิลปะสกุลช่าง สมเด็จพระนารายณ์” ทั้งความรู้ที่ได้จากแขก ฝรั่ง จีน และชาติต่างๆ ใน ภูมิภาค กล่าวได้ว่าการเริ่มต้นของเทคโนโลยีในการก่อสร้างโดยเฉพาะอาคารได้ รับการปฏิรูปตั้งแต่ ยุคนี้เป็นต้นไป เมื่อพระเทพราชาทรงขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวงในปีพ.ศ. ๒๒๓๑ เป็นช่วงเวลาที่กล่าวได้ว่าศิลปะอยุธยาได้สร้างสรรค์รูปแบบจนมีเอกลักษณ์ของตนเอง สุนทรียภาพ และเอกลักษณ์ของช่างชาวอยุธยาได้ถ่ายทอดผ่านงานศิลปะและสถาปัตยกรรมอย่างชัดเจน เช่น ลวดลายในศิลปกรรมไทยหรือการปรับแบบสถาปัตยกรรมไทยให้มีความสูงมากขึ้น เป็นต้น การ พัฒนางานของช่างอยุธยายังคงดารงอยู่เช่นนี้จนถึงปีพ.ศ. ๒๓๑๐ อยุธยาได้เสียเอกราชเป็นครั้งที่ ๒ ให้กับพม่า และถือเป็นจุดสิ้นสุดของรัฐและศิลปกรรมแบบอยุธยา


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๑๖

แผนผังแสดงพื้นที่ภายในและรอบ ๆ พระนครของกรุงศรีอยุธยา

ช่วงเวลาในศิลปะอยุธยา ในการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะอยุธยา ได้มีการแบ่งยุคสมัยออกเป็นช่วงๆ ตามลักษณะ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของศิลปะโบราณวัตถุ สถานในสมัยอยุธยา สามารถแบ่งศิลปะอยุธยาออกได้เป็น ๓ ยุคคือ ( ตรี อมาตยกุล, ๒๕๑๐: ๔๔ – ๔๕ ) ๑. อยุธยาตอนต้น ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ถึงสิ้นรัชกาลสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถ ( พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๐๓๑ ) รวมระยะเวลา ๑๓๘ ปี ๒. อยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ถึงสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้า ทรงธรรม ( พ.ศ. ๒๐๓๔ – ๒๑๗๑ ) รวมระยะเวลา ๑๓๗ ปี ๓. อยุธ ยาตอนปลาย ตั้ งแต่ รัช กาลสวมเด็ จพระเจ้ าปราสาททอง ถึง เสีย กรุ ง ศรีอ ยุ ธยา รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ (พ.ศ. ๒๑๗๒ – ๒๓๑๐) รวมระยะเวลา ๑๓๘ ปี แม้ว่าในแรกสร้างพระนครศรีอยุธยาจะได้รับแรงบันดาลใจศิลปะและวัฒนธรรมจากขอมก็ ตาม แต่ผังเมืองอยุธยากลับแสดงให้เห็นเอกลักษณ์ที่สาคัญประการหนึ่งคือ ผังเมืองอยุธยาเป็นผัง


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๑๗

เมืองธรรมชาติ ที่เกิดจากการบรรจบกันของแม่น้ าสามสาย คือ แม่ น้าลพบุ รี ไหลผ่านเกาะเมือ ง อยุธยาทางฝั่งทิศ เหนื อ แม่น้ าป่าสั ก ไหลผ่านเกาะเมื องอยุธยาทางฝั่ง ทิ ศตะวันออก และแม่ น้ า เจ้าพระยา ไหลมาบรรจบแม่น้าลพบุรีตรงบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเมืองแล้วไหลมา ทางทิศใต้บรรจบกับแม่น้าป่าสักกลายเป็นแม่น้าเจ้าพระยาสายใหญ่ไหลลงสู่บางประอินและอ่าวไทย ภายในเกาะเมืองใช้ระบบคลองส่งน้าจากทิศเหนือมาสู่ทิศใต้ถือเป็นทางน้าหลักในพระนครส่วนแนว คลองทางฝั่งทิศตะวันออกตะวันตกมีส่วนช่วยในการอานวยความสะดวกด้านการสันจร การวางผัง พระนครกาหนดส่วนพระราชวังหลวงอยู่บริเวณกลางเกาะเมืองขึ้นไปทางด้านทิศเหนือ ทางฝั่งทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือเป็นวังหน้า และทางฝั่งทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเมืองเป็นวังหลัง

สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนต้นแผนผังของพุทธสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะวัด มีลักษณะแบบแผน ค่อนข้างชัดเจนคือ มักสร้างเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงปรางค์เป็นหลักของวัด รอบปรางค์ประธาน สร้างแนวกาแพงระเบียงคต โดยระเบียงคตทางฝั่งทิศตะวันออกสร้างเป็นวิหารมักมีขนาดใหญ่ท้าย วิหารล้าเข้ามาในเขตเจดีย์ประธานเชื่อมต่อกับแนวระเบียงคต ฝั่งทิศตะวันตกของปรางค์ประธาน สร้างพระอุโบสถมีใบเสมาล้อมรอบมักมีขนาดเล็กกกว่าพระวิหารและไม่เชื่อมต่อกับระเบียงคต ทา ให้วัดที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเป็นหลัก เช่น แผนผังวัดพุท ไธสวรรค์ วัดพระราม วัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น สมัยอยุธยาตอนกลางเนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานหรืออยู่ในปัจจุบันมากนักแต่สามารถสรุป ในประเด็นสาคัญได้ ลักษณะแผนผังโดยรวมยังคงมีความใกล้เคียงกับสมัยอยุธยาตอนต้นแต่นิยม สร้างเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลมแทนการสร้างพระเจดีย์ทรงปรางค์และแผนผังของวัดเริ่มมี ขนาดเล็กลง เช่น วัดพระศรีสรรเพชร วัดวรเชตุธาราม จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น สมัยอยุธยาตอนปลายในช่วงแรกยังคงปรากฏแผนผังวัดขนาดใหญ่แต่เริ่มมีแนวโน้มที่จ ะ เล็กลงตามลาดับ การสร้างเจดีย์ประธานเริ่มลดบทบาทลงนิยมสร้างพระอุโบสถเป็นหลักของวัด การ วางผังทิศทางของวัดมักยึดทางสันจรเป็นหลักมากกว่าการกาหนดทิศตะวันออกตะวันตกเหมือนสมัย อยุธยาตอนต้น นิยมสร้างเจดีย์ขนาดเล็กอยู่ในตาแหน่งต่าง ๆ ของผังบริเวณ เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดบรมพุทธาราม วัดพญาแมน จ. พระนครศรีอยุธยา วัดกวิศราราม วัดตองปุ จ. ลพบุรี และวัดโพธิ์ ประทับช้าง จ. พิจิตร เป็นต้น


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๑๘

๑. เจดีย์ในสมัยอยุธยา ในสมั ยอยุ ธยาตอนต้น นิ ยมสร้างพระเจดีย์ ทรงปรางค์ เป็ นประธานของวัด สมั ยอยุธยา ตอนกลางจึงเริ่มนิยมสร้างพระเจดีย์ทรงกลมหรือเจดีย์ทรงลังกา สันนิษฐานว่าได้รับแรงบันดาลใจมา จากสุโขทัย เมื่อเข้าสู่สมัยอยุธยาตอนปลายระยะแรกสร้างพระเจดีย์ทรงปรางค์เป็นหลักของวัด และ เริ่มลดบทบาทลง บทบาทของเจดีย์ประธานเริ่มลดลงแทนที่ด้วยการสร้างพระอุโบสถเป็นหลักของ วัดแทน ทาให้บทบาทของเจดีย์ประธานถูกปรับรูปแบบเป็นเจดีย์รายหรือเจดีย์บริวารแทน มีขนาด เล็กลงและมีความหลากหลายตามการพัฒนารูปแบบของสมัยอยุธยา สามารถแบ่งประเภทของเจดีย์ ตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมได้ เช่น เจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์ทรงกลมหรือทรงลังกา เจดีย์ทรงกลม ฐานแปดเหลี่ยม เจดีย์ทรงปราสาทหรือปรางค์ยอดเจดีย์ และเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม ๑.๑ เจดีย์ทรงปรางค์ เป็นแบบเจดีย์ที่นิยมสร้างเป็นหลักของวัดมากที่สุดในสมัยอยุ ธยา ตอนต้น เช่น ปรางค์ประธาน วัดพุทไธสวรรค์ วัดพระราม ปรางค์ประธาน วัดมหาธาตุและปรางค์ ประธาน วัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะปรางค์ประธาน วัดราชบูรณะ ถือว่าเป็น แบบแผนของเจดีย์ทรงปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้นที่สมบูรณ์ที่สุด กล่าวคือเป็นพระปรางค์ก่อบนฐาน ไพทีบนฐานไพทีมีเจดีย์ประจามุมและประจาด้าน องค์ปรางค์ประธานมีมุขทางเข้ายื่นออกจากองค์ ปรางค์เรียกว่า “ตรีมุข” ยื่น ออกทางทิ ศตะวันออกของเรือนธาตุ มีทางเข้า ๓ ทาง พระปรางค์ ลักษณะนี้คื อลักษณะเด่นของสมัยอยุธยาตอนต้น ส่วนปรางค์องค์อื่ นนั้ นมั กได้ รับการซ้อ มหรือ เปลี่ยนแปลงแบบไม่มากก็น้อย ความนิยมในการสร้างปรางค์ปรากฏขึ้นอีกครั้งในสมัยอยุธยาตอน ปลาย คือปรางค์ประธาน วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา ลักษณะของพระปรางค์เป็นแบบ ปรางค์โดดไม่มีการสร้างตรีมุข ด้านหน้าของพระปรางค์ทาบันไดทางขึ้นเข้าสู่ช่องคูหา ลักษณะนี้เป็น ลักษณะสาคัญของปรางค์ในช่วงสุดท้าย หลังจากนี้พระปรางค์จะเริ่มมีขนาดเล็กลงและไม่นิยมสร้าง ปรางค์ในลักษณะเป็นปรางค์ประธานของวัดอีก เช่น พระปรางค์ประจามุม วัดไชยวัฒนาราม พระ ปรางค์ด้านหน้าพระอุโบสถ วัดบรมพุทธาราม จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

วัดราชบูรณะ


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๑๙

๑.๒ เจดี ย์ ท รงกลมหรื อ ทรงลั งกา เนื่ อ งจากมี ลั ก ษณะคล้ ายระฆั ง กลมคว่าลงซึ่ ง เป็ น ลักษณะที่มีความเด่นชัด ตลอดช่วงสมัยอยุธยามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและองค์ประกอบของเจดีย์ ไม่มากนัก ส่วนใหญ่มักเปลี่ยนแปลงในเรื่องการเพิ่มองค์ประกอบและการปรับสัดส่วนตามรสนิยม ของยุคสมัยเท่านั้น เจดีย์ทรงกลมสมัยอยุธยาตอนต้นที่สาคัญ องค์หนึ่งคื อเจดีย์ประธานวัดแม่นางปลื้ม เป็น เจดีย์สิงห์ล้อมและเจดีย์ประธาน วัดธรรมิกราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เจดีย์ทรงกลมนิยมสร้างมากขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง เช่น เจดีย์ประธานสามองค์ วัด พระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ. ๒๐๓๕) มีการ เพิ่มมุขยื่นทั้งสี่ด้านตรงบริเวณมาลัยเถาใต้องค์ระฆัง มุขด้านทิศตะวันออกทาเป็นช่องคูหาเข้าสู้ห้อง ภายในเจดีย์ ส่วนอีกสามมุขเป็นผนังทึบประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งการเพิ่มมุขในองค์เจดีย์นี้เป็นวิธี ที่ช่างไทยใช้ในการพัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรมในรสนิยมของช่างไทยด้วย

วัดพระศรีสรรเพชญ ในสมัยอยุธยาตอนปลายเจดีย์ทรงกลมมักถูกสร้างให้มีขนาดเล็กลงมีทรวดทรงสูงขึ้นและใน บางองค์มีการเพิ่มลวดลายประดับชั้นฐานสิงห์เพิ่มในเจดีย์ด้วย เช่น เจดีย์บริวาร วัดมเหยงค์ จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ๑.๓ เจดีย์ทรงกลมฐานแปดเหลี่ยม เป็นเจดีย์ที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกับเจดีย์ทรงกลมแต่มี ผังพื้นเป็นรูปแปดเหลี่ยมกล่าวคือเจดีย์จะตั้งอยู่บนฐานเขียงแปดเหลี่ยมซ้อน ๒ – ๓ ชั้น รองรับฐาน บัวลูกแก้วแปดเหลี่ยม มาลัยเถาแปดเหลี่ยม และบัลลังก์ซึ่งมักเป็น ๔ – ๘ เหลี่ยม ส่วนยอดเหมือน


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๒๐

เจดีย์กลมทั่วไปความแตกต่างอีกประการหนึ่งคือ เจดีย์กลมฐานแปดเหลี่ยมมักมีโครงสร้างภายนอก สูงชะลูดคล้ายทรงกระบอกยอดแหลม ปรากฏรูปแบบตั้งแต่สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาจนถึง อยุธยา ตอนกลาง เช่น เจดีย์ประธานวัดอโยธยา เจดีย์วัดหลังคาขาว เจดีย์ประธาน วัดใหญ่ชัยมงคล เจดีย์ ประธาน วัดสุวรรณาวาส จ. พระนครศรีอยุธยา เป็น ต้น ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตัวอย่างเช่น เจดี ย์ ท องแดงในวั ด เหมยงค์ ได้ แ สดงให้ เห็ น พั ฒ นาการโดยเพิ่ ม ชั้ น ฐานสิ ง ห์ ๘ เหลี่ ย ม เป็ น องค์ประกอบใหม่ในองค์เจดีย์เพิ่มขึ้นด้วย

เจดีย์ราย วัดราชบูรณะ ๑.๔ เจดีย์ทรงปราสาทหรือปรางค์ยอดเจดีย์ หรือที่มีนักวิชาการบางท่านเรียกว่าเจดีย์ทรง ปราสาทยอด เป็นแบบเจดีย์ที่มีลักษณะตั้งแต่ส่วนฐานถึงเรือนธาตุคล้ายพระปรางค์ ส่วนตั้งแต่เหนือ เรือนธาตุเป็นเจดีย์ทรงกลมมีองค์ระฆังและส่วนยอด ลักษณะการผสมผสานเช่นนี้มีความเชื่อมโยง กับรูปแบบที่พบในศิลปะสุโขทัย เช่น เจดีย์รายบางองค์ในวัดมหาธาตุ จ. สุโขทัย ตัวอย่างสาคัญของ เจดีย์ทรงปราสาทในสมัยอยุธยาตอนต้นคือเจดีย์ทรงปราสาทประจามุมและด้านของปรางค์ประธาน วัดมหาธาตุ จ. พระนครศรีอยุธยา เจดีย์องค์นี้มีลักษณะพิเศษคือ ส่วนของเจดีย์กลมที่เป็นยอดเป็น เจดีย์แบบมีเอวคอดไม่มีบัลลังก์ยอดเป็นแบบบัวลูกแก้วขนาดใหญ่เรียงกันเพียง ๓ ลูกซ้อนสูงเป็นรูป กรวยบริเวณองค์ระฆังมีการตกแต่งเป็นพวงอุบะคล้ายลายตกแต่งในศิลปะแบบพุกาม ลักษณะเช่นนี้ พัฒนาจนถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย เช่น เจดีย์ทรงปราสาท วัดราชบูรณะ แสดงให้เห็นพัฒนาการ สาคัญคือ ส่วนฐานพัฒนาเป็นฐานสิงห์ซ้อน ๓ ชั้น รองรับเรือนธาตุที่มีลักษณะเรียวสูง เหนือเรือน ธาตุรองรับองค์ระฆังปรากฏมีชั้นบัวปากระฆังเป็นบัวโถหรือบัวคลุ่มรองรับองค์ระฆังแต่องค์ระฆัง


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๒๑

และยอดหักหายไป ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเจดีย์ทรงปราสาทที่เน้นลักษณะผอมสูงเป็น “ทรงจองแห” ซึ่งเป็นรสนิยมของช่างในสมัยอยุธยาตอนปลาย

เจดีย์ราย วัดมหาธาตุ ๑.๕ เจดีย์ทรงเหลี่ยมย่อมุม ยังมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสมมุติฐานของการสร้างเจดีย์เหลี่ยมย่อ มุมซึ่งนักวิชาการบางท่านเชื่อว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง คือเจดีย์ศรีสุริโยทัย วัดสวน หลวงสพสวรรค์ จ. พระนครศรีอยุธยา อย่างไรก็ตามความนิยมในการสร้างเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมเริ่มชัดเจนและนิยมมากขึ้นตั้งแต่ช่วง ต้ น ของสมั ย อยุ ธ ยาตอนปลายคื อ เจดี ย์ เหลี่ ย มย่ อ มุ ม คู่ ห น้ าพระอุ โบสถ วั ด ไชยวั ฒ นาราม จ. พระนครศรีอยุธยา ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง มีองค์ประกอบของเจดีย์เหมือนเจดีย์กลม เพียงแต่สร้างบนฐานย่อมุมไม้ ๑๒ และย่อมุมที่องค์เจดีย์ตั้งแต่ฐานจนถึง บัลลัง ก์ ซึ่งเป็นลักษณะ สาคัญ ของเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ในสมัยพระเพทราชาเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม เปลี่ยนจากการใช้ฐานมาลัยเถา ๓ ชั้น มาเป็นฐานสิงห์ซ้อน ๓ ชั้น รองรับองค์ระฆังแทน เช่น เจดีย์ เหลี่ยมย่อมุมที่วัดพระยาแมน จ. พระนครศรีอยุธยา โดยมีแนวโน้มของเจดีย์ที่สูงขึ้นและมีการย่อมุม มากขึ้นจากย่อมุมไม้ ๑๒ เป็นถึงย่อมุมไม้ ๒๐ ในสมัยช่วงปลายเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมได้มีการพัฒนา ลวดลายประดับตกแต่งให้มีความหรูหราขึ้น บัวปากระฆังเปลี่ยนเป็นบัวโถหรือบัวคลุ่ม ปล้องไฉน เปลี่ยนเป็นบัวคลุ่มรองรับปลีที่มีลูกแก้วขั้น บริเวณองค์ระฆังมีการตกแต่งแบบต่างๆ ทั้งแบบมีจีบริ้ว และมีสังวาลครอบ ซึ่งเรียกเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมที่มีการตกแต่งลักษณะนี้ว่า “เจดีย์ทรงเครื่อง” เช่น


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๒๒

เจดีย์บริวารวัดพุทไธสวรรค์ เจดีย์บริวารวัดภู เขาทอง เจดีย์ประธานวัดสามวิหาร จ.พระนครศรี อยุธยา เป็นต้น

เจดีย์เหลี่ยมย่อมุม วัดโปรดสัตว์ ๒. อุโบสถวิหารในสมัยอยุธยา ลักษณะของโรงอุโบสถในสมัยอยุธยาตอนต้นคงถ่ายแบบมาจากสถาปัตยกรรมแบบลพบุรี โดยนิยมสร้างพระวิหารเป็นอาคารหลัก โรงอุโบสถในยุคนี้ยังไม่มีการเจาะช่องหน้าต่างแต่จะมีการ เจาะช่องลมเป็นซี่ลูกกรงเรียกว่า “เสามะหวด” หรือบางแห่งทาเป็นเสาเหลี่ยม วัสดุที่ใช้ในการ ก่อสร้างส่วนใหญ่ใช้อิฐเป็นหลักแล้วจึงฉาบปูนทับ จนถึงสมัยอยุธยาตอนกลางการสร้างโรงอุโบสถจึงมีลักษณะแน่น บึกบึน กว้างใหญ่ และมี การยกฐานสูง นิยมมีพะไลทางด้านข้างแบบปีกนกทั้งสองข้าง ยัง คงไม่มีการทาช่องหน้าต่าง เช่น พระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ในสมัยอยุธยาตอนปลายเริ่มปรากฏลักษณะสาคัญ คือ การทาเส้นโค้งที่ฐานและหลังคาที่ เรียกว่า “โค้งสาเภา” เริ่มปรากฏการเจาะช่องหน้าต่าง การมุงหลังคานิยมใช้กระเบื้องชนิดหางตัด และกระเบื้องชนิดกาวมีกระเบื้องเชิงชายประกอบ การใช้กระเบื้องเคลือบเริ่มปรากฏในราวสมเด็จ พระนารายณ์ถึงพระเพทราชา เช่น ที่วัดบรมพุทธาราม จ. พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเชื่อว่าเป็นวัดแรกที่ มีการใช้ก ระเบื้ อ งเคลื อบสีเหลือ ง จนถึงช่ วงสุด ท้ายลักษณะเส้ นโค้ง สาเภาของฐานและแนวสั น หลัง คาเกือบเป็นเส้นขนานกัน นิยมทาหลังคาทรงโรงคือ มีหลังคาคลุมทั้งสี่ด้านซึ่งเป็นแบบอย่าง


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๒๓

ถ่ ายทอดให้ กั บ สมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ เช่ น แบบหลั ง คาของพระอุ โบสถวั ด พระศรี รัต นศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

ประติมากรรมสมัยอยุธยา ๑. พระพุทธรูป เป็นงานประติมากรรมที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนามีทั้งที่ทาจากศิลา ปูนปั้น สาริด และโลหะแบบต่างๆ ลั กษณะของพระพุ ท ธรูป ในยุค แรกคงถ่ ายทอดมาจากลั กษณะของ พระพุทธรูปแบบอู่ทอง ซึ่งมีลักษณะแบบขอมอยู่บ้างคือ มีพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระขนงเป็น ขอบบางต่อกันเป็นปีกกา พระโอษฐ์เป็นเส้นยาวค่อนข้างหนา พระนลาฏกว้าง มีขอบไรพระศก เม็ด พระศกเล็ก รัศมีรูปดอกบัวตูม ครองจีวรเฉียงแบบห่มดอง นั่งขัดสมาธิราบ ชายสังฆาฏิเป็นแผ่นพาด บ่าปลายตัดตรง ซึ่งเป็นลักษณะโดยรวมของพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ในสมัยอยุธยาคงปรากฏรูปแบบ ของพระพุ ทธรูปตั้งแต่รุ่น ๒ เลื่อยมา เช่น เศียรพระพุท ธรูป ขนาดใหญ่ ห ล่อด้วยสาริดได้จากวัด ธรรมิกราช จ. พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา ซึ่งแบบพระพักตร์ มี ลั ก ษณะโดยรวมของศิ ล ปะอู่ ท องรุ่ น ๒ เช่ น เดี ย วกั บ พระประธานส าริ ด ขนาดใหญ่ ใ นวิ ห าร วัดพนัญเชิง จ. พระนครศรีอยุธยา ซึ่งในพงศาวดารระบุว่าสร้างก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา ๒๖ ปี ก็ มีลักษณะของพระอู่ทองรุ่น ๒ เช่นเดียวกัน ลักษณะสาคัญอีกประการหนึ่งคือ เทคนิคการหล่อโลหะ สาริดของยุคนี้ถือว่าสูงมากเพราะสามารถหล่อโลหะให้มีความบางและประณีตแบบที่เรียกว่า “หล่อ แบบเปลือกไข่” นอกจากพระสาริดแล้วยังพบพระพุทธรูปแกะจากหินทราย เช่น พระพุทธรูปในวัด มหาธาตุ จ. พระนครศรีอยุธยา มีพระพักตร์เป็นรูปไข่ ไม่มีไรพระศก รัศมีรูปเปลว แสดงให้เห็นถึง ลักษณะของพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่น ๓ ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลางพระพุทธรูปองค์สาคัญ เช่น พระมงคลบพิตรในวิหารพระ มงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนหุ้มด้วยสาริด ในการบูรณะของ กรมศิ ล ปกรได้ พ บพระพุ ท ธรู ป ส าริ ด หลายองค์ อ ยู่ ใ นพระอุ ร ะมี ทั้ ง ขนาดย่ อ มและขนาดเล็ ก ประกอบด้วยพระพุ ท ธรูปทรงเครื่องน้อ ยประทับ ยืน พระพุ ท ธรูปนั่ ง ขัดสมาธิราบ พระพุ ทธรูป นั่งขัดสมาธิเพชร พระพุทธรูปเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลต่าง ๆ เช่น อิทธิพลศิลปะแบบล้านนา อิทธิพลศิลปะแบบอู่ทอง อิทธิพลศิลปะแบบสุโขทัย และอิทธิพลของศิลปะแบบนครศรีธรรมราช ที่ ปรากฏในพระพุทธรูปของอยุธยาสมัยกลาง ปัจจุบันพระพุทธรูปในพระอุระของพระมงคลบพิตรตั้ง แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จ. พระนครศรีอยุธยา ส่วนพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาตอนปลายนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่หมายถึง พระพุทธรูปที่มีการประดับเครื่องทรงอย่างมหาจักรพรรดิ มีเครื่องประดับ เช่น มงกุฎ พาหุรัด ทอง กร กรองศอ ทับทรวง ปั้นเหน่ง และทองพระบาท เป็นต้น นิยมสร้างทั้งในอิริยาบถยืนปางประธาน อภัย และอิริยาบถนั่งปางมารวิชัย เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่นั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ใน พระเมรุทิศและพระเมรุราย วัดไชยวัฒ นาราม แม้มีลักษณะค่อนข้างชารุดแต่จากลักษณะสามารถ


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๒๔

เที ย บเคี ย งได้กั บ พระประธานในพระอุ โบสถ วั ดหน้ า พระเมรุ ซึ่ ง สั น นิ ษ ฐานว่ าสร้างขึ้ น ในสมั ย เดียวกัน มีลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างเสี้ยม พระขนงโก่งมาก เปลือกพระเนตรใหญ่ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์อิ่มเป็ นรูป ลาโค้ ง ซึ่งเป็น ลักษณะเฉพาะของพระพุท ธรูปในสมั ยพระเจ้าปราสาททอง ลักษณะสาคัญอีกประการหนึ่งของพระพุทธรูปในยุคสุดท้ายคือ การพัฒนาลักษณะของฐานชุกชีหรือ ฐานรองรับพระให้มีลักษณะสูงขึ้นและพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นลักษณะเด่นของพระพุทธรูปประทับ นั่งรุ่นหลังสุดของอยุธยา

พระประธานในพระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุฯ ๒. พระพิมพ์ในสมัยอยุธยา จากกลักฐานการพบพระพิมพ์จานวนมากในกรุพระปรางค์ วัด ราชบูรณะ จ. พระนครศรีอยุธยา ทาให้ทราบถึงพระพิมพ์ที่มีในสมัยอยุธยา เช่น พระพิมพ์รูปแบบ ศิลปะปาละของอินเดีย พระพิมพ์อิทธิพลศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย พระพิมพ์ศิลปะแบบอู่ ทอง พระพิมพ์ศิลปะสุโขทัย พระพิมพ์แบบอยุธยา พระพิมพ์เหล่านี้มีทั้งที่สร้างด้วยชิน เงิน ทอง และดินเผา นอกจากนั้นยังพบพระพิมพ์รูปแบบต่าง ๆ ปรากฏอยู่ในสมัยอยุธยาโดยทั่วไป เช่น พระ พิมพ์เนื้อดินเผาที่เรียกว่า “หลวงพ่อโต” พบมากที่สุดในกรุวัดบางกระทิง และพระดินเผาเคลือบสี เหลืองที่เรียกว่า “พระขุนแผนเคลือบ” พบที่วัดใหญ่ชัยมงคล จ. พระนครศรีอยุธยา

จิตรกรรมในสมัยอยุธยา จิตรกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้นเหลือหลักฐานให้ศึกษาน้อยมากเนื่องจากผลงานส่วนใหญ่ สูญ สลายไปพร้อมกับตัวสถาปัตยกรรมหรือในบางครั้งเมื่อหลัง คาของอาคารเสียหายเป็นเหตุให้


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๒๕

จิตรกรรมฝาผนังถูกชะล้างไปด้วยอีกทั้งจิตรกรรมฝาผนังเป็นงานที่ค่อนข้างบอบบางจึงเสี ยหายไปทั้ง จากฝีมือมนุษย์และธรรมชาติ แต่ยังคงเหลือจิตรกรรมฝาผนังในสมัยอยุธยาตอนต้นที่สาคัญอยู่อีก กลุ่มหนึ่ง คื อ จิต รกรรมฝาผนั งในผนังคูห าพระปรางค์ป ระจาทิศตะวันตกเฉี ยงเหนื อของปรางค์ ประธาน วัดมหาธาตุ จ. พระนครศรีอยุธยา อยู่ในสภาพค่อนข้างชารุด จิตรกรรมเขียนเป็นภาพซุ้ม เรือนแก้วบนผนังฝั่งตรงข้ามทางเข้าคูหา สันนิษฐานว่าคงใช้เป็นฉากหลังของพระพุทธรูป ส่วนผนัง ทั้ง ๒ ข้าง ซ้ายขวา อยู่ในสภาพชารุดมากแต่สันนิษฐานได้ว่าคงเขียนเป็นรูปพระอดีตพระพุทธเจ้า ทั้ง ๒๘ พระองค์ อัน เป็ นคติ ความเชื่อ ที่ ม าจากคั มภี ร์พุ ท ธวงศ์ จิต รกรรมฝาผนั ง ในคูห าปรางค์ ประธาน วัดพระราม จ. พระนครศรีอยุธยา เขียนเป็นภาพเหล่าพระอดีตพุทธเจ้าที่มีขนาดค่อนข้าง ใหญ่ปัจจุบันอยู่ในสภาพเสียหายเป็นอย่างมาก และจิตรกรรมฝาผนังที่กรุภายในพระปรางค์ประธาน วัดราชบูรณะ จ. พระนครศรีอยุธยา ถือว่าเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังที่มีคุณค่าและสาคัญมากในสมัย อยุธยาตอนต้น จิตรกรรมได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของชาวจีนโดยเฉพาะในทางศิลปกรรมที่มีใน อยุธยา จิตรกรรมฝาผนังเขียนเป็นเรื่องราวต่างๆ ในพระพุทธศาสนา เช่น ภาพพระอดีตพุทธเจ้า ภาพพุทธประวัติ ภาพพระอสีติสาวกหรือพระอรหันต์ ๘๐ องค์ และเรื่องชาดกซึ่งเขียนไว้ประมาณ ๖๐ ชาติ ลักษณะโดยรวมของงานจิตรกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้นคือ ยังคงใช้สีไม่มากนัก เทคนิค การเขียนสีลงบนรองพื้นสีขาว ระบายพื้นหลังตัวภาพด้วยสีแดง ตัวภาพมีการระบายสีขาว สีเนื้อ และปิดทองคาเปลว ตัดเส้นด้วยสีดาหรือสีแดง ในสมัยอยุธยาตอนกลางเหลือตัวอย่างอยู่น้อยมากพบเพียงภาพลายเส้นบนแผ่นชินเป็นภาพ พระสงฆ์พ นมมือเดินทักษิ นาวัตรที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ. พระนครศรีอยุธยา และ ล่าสุดมีการ ค้ น พบจิ ต รกรรมฝาผนั ง รู ป พระสงฆ์ เดิ น ทั ก ษิ น าวั ต รที่ ภ ายในเจดี ย์ วั ด สิ ง หารามภายในเขต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสันนิษ ฐานว่าเป็นจิตรกรรมฝาผนัง ที่เขียนขึ้นราวสมัย อยุธยาตอนกลางด้วย สมัยอยุธยาตอนปลาย ปรากฏหลักฐานของการเขียนจิตรกรรมฝาผนังใน พระอุโบสถแต่เหลือหลักฐานอยู่ไม่มากนัก เช่น จิตรกรรมฝาผนังรูปลายก้านขดในพระเมรุทิศพระ เมรุราย วัดชัยวัฒนาราม จิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดใหม่ประชุมพล จิตรกรรมฝาผนังในตาหนัก พระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรค์ จ. พระนครศรีอยุธยา และจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏในวัดต่าง ๆ นอก จ. พระนครศรีอยุธยา เช่น จิตรกรรมฝาผนังวัดใหญ่สุวรรณาราม จ. เพชรบุรี จิตรกรรม เขียนเป็นเรื่องเทพชุมนุม นั่งแบ่งเป็นชั้นๆ จนเต็มผนัง จิตรกรรมฝาผนังที่วัดปราสาท จ. นนทบุรี จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดช่องนนทรี จ. กรุงเทพมหานคร เขียนเรื่องพุทธประวัติชาดกและ พระอดีตพุทธ เป็นต้น ลักษณะของจิตรกรรมฝาผนั งในสมัยอยุธยาตอนปลายได้แสดงให้เห็น ถึง พัฒนาการในการวางองค์ประกอบ การใช้สี และเทคนิควิธีการในการเขียนจิตรกรรม การเริ่มใช้สีที่มี ความหลากหลายขึ้นในจิตรกรรมฝาผนัง การปิดทองคาเปลว และตัดเส้นด้วยสีแดง วิธีการในการ เขียนตัวภาพ สถาปัตยกรรม ภาพทิวทัศน์ และทัศนียวิทยา ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มีองค์ประกอบ อย่างน่าสนใจปรากฏที่ วัดเกาะแก้วสุทธาราม จ. เพชรบุรี เขียนขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๒๖

พ.ศ. ๒๒๗๗ โดยแบ่งผนังเป็นช่องสามเหลี่ยม เขียนภาพพระพุทธเจดีย์สัตตมหาสถาน ภาพมาร ผจญ และไตรภู มิ ด้ ว ยฝี มื อ ที่ ย อดเยี่ย มแสดงความฉั บ พลั น ในการเขี ยนจิต รกรรมได้ อ ย่ า งเป็ น เอกลักษณ์ สิ่งเหล่านี้ได้ถ่ายทอดให้กับการสร้างสรรค์จิตรกรรมให้กับสมัยรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น

จิตรกรรมฝาผนัง วัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี

งานประณีตศิลป์สมัยอยุธยา งานประณีตศิลป์ที่สาคัญที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยอยุธยาคือ การค้นพบเครื่องทองภายในกรุใต้ ฐานพระปรางค์วัดราชบูรณะที่บรรจุไว้เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๘๖ แม้จะเหลือเครื่องทองอีกเพียงจานวน น้อยแต่กลับแสดงให้เห็นถึงลักษณะและพัฒนาการในงานประณีตศิลป์ประเภทช่างทองได้เป็นอย่าง ดี จากการศึ ก ษาลวดลายและกระบวนการขึ้ น รู ป เครื่อ งทองพบว่ า รูป แบบลวดลายยั ง คงเป็ น กระหนกยุคต้นแบบลายกลมม้วนต่อกันยังไมสะบัดปลายแบบกระหนกที่พ บในสมั ยอยุธยาตอน ปลาย เครื่องทองใช้วิธีการขึ้นรูปและฝังอัญ มณี ต่างๆ ด้วยวิธีการขึ้นกระเปาะ แทนที่ จะขุด แล้ว ฝังอัญ มณีลงไปแบบที่เราเรียกว่า “แบบฝังชาด” ซึ่งเป็นวิธีการที่เกิดขึ้นในภายหลังการฝังอัญมณี แบบขึ้นกระเปาะ


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๒๗

เครื่องทองภายในกรุวัดราชบูรณะ ต่ อ มาในสมั ย อยุ ธ ยาตอนกลาง ไทยได้ มี ก ารติ ด ต่ อ สั ม พั น ธ์กั บ จีน ท าให้ ง านศิ ล ปะและ ประณีตศิลป์แบบจีนหลั่งไหลเข้าสู่อยุธยา เช่น ถ้วยชามเครื่องเคลือบดินเผา พบเครื่องถ้วยแบบลาย ครามและลายสีแบบมีสีน้อยที่เรียกว่า “เครื่องถ้วยราชวงศ์เหม็ง” ราว พ.ศ. ๑๙๑๑ – ๒๑๘๗ ซึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นของการสั่งสินค้าและถ้วยชามราชวงศ์เหม็งในประเทศไทยถึงทุกวันนี้ งานเครื่องไม้ เช่น บานประตู ธรรมาสน์เทศน์ ได้รับการพัฒนารูปแบบอย่างสูง เช่น ที่วัด ใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี ได้เป็นลักษณะที่ยอดเยี่ยมของงานจาหลักไม้ที่เริ่มต้นตั้งแต่สมัยพระ เจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๓) เป็นต้นมา งานประณี ต ศิลป์ ได้ รับ การยอมรับในเชิ งความงามอย่างสูง ในสมั ยอยุธยาตอนปลายสุ ด โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ( พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๑๐ ) พบงานประณีตศิลป์ชั้น สาคัญ เช่น งานประดับมุขบานประตูที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงสร้างถวายวัดบรมพุทธราม ( พ.ศ. ๒๒๙๕ ) จ. พระนครศรีอยุธยา บานประตูมุขพระพุทธบาท ( พ.ศ. ๒๒๙๘ ) จ. สระบุรี และบาน ประตูมุขวิหารพระพุทธชินราช ( พ.ศ. ๒๒๙๙ ) จ. พิษณุโลก ได้แสดงให้เห็นลักษณะของการผูกลาย ไทยที่พัฒนาขึ้นจากสมัยอยุธยาตอนต้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังปรากฏงานเครื่องถม แม้จะยังไม่ สามารถหาแหล่งผลิตที่ชัดเจนได้ แต่ด้วยรูปแบบ และชนิดของลายแสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศใน งานประณีตศิลป์


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๒๘

บางส่วนของบานประตูวัดบรมพุทธาราม เครื่องถ้วยเบญจรงค์ สัน นิษ ฐานว่าเป็นสิ นค้านที่ อยุธยาสั่ง ทาจากประเทศจีน โดยส่ วน ลวดลายเป็นต้นแบบแล้วผลิตจากประเทศจีน เครื่องเบญจรงค์สมัยอยุธยา ประกอบด้วย สีดา แดง เหลือ เชียว ขาว เครื่องถ้วยที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ชามเทพนมนรสิงห์ พื้นดา ภายในชามเคลือบสีเขียว ตัดลายขอบชามด้วยลายเชิง ลักษณะของเครื่องเบญจรงค์นี้ยังคงผลิตสืบเนื่องและเฟื่องฟูมากขึ้นใน สมัยรัตนโกสินทร์ กล่าวได้ว่าพระนครศรีอยุธยาคือเบ้าหลอมสาคัญของการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมเพื่อสร้าง ความเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปกรรมของความเป็นชาติไทย จากรูปแบบและอิทธิพลที่หลากหลายใน อดีต ทั้งอิทธิพลจากศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย อิทธิพลจากศิลปะแบบพุกาม รวมไปถึง รูปแบบศิลปะร่วมสมัย เช่น ศิลปะแบบสุโขทัย ศิลปะแบบล้านนา ศิลปะแบบนครศรีธรรมราช และ ศิลปะแบบอู่ทอง ตลอดช่วง ๔๑๗ ปี ได้ผ่านช่วงเวลาแห่งการทดสอบพัฒนาและสร้างสรรค์ใหม่จน สามารถรูปแบบของศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง การกาเนิดของรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย การกาเนิดของลวดลายไทย และความงดงามจากพลังแห่งการสร้างสรรค์ทั้งหมดนี้ได้สืบทอดสู่กรุง รัตนโกสินทร์ในเวลาต่อมา


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๒๙

รูปที่ ๑ แผนผังวัดไชยวัฒนาราม

รูปที่ ๒ แผนผังวัดพญาแมน


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๓๐

รูปที่ ๓ แผนผังวัดบรมพุทธาราม


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๓๑

รูปที่ ๔ แผนผังวัดพระศรีสรรเพชญ อยุธยา

รูปที่ ๕ แผนผังวัดพระราม


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๓๒

รูปที่ ๖ แผนผังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาราว ๑๐๐ ปี

รูปที่ ๗ แผนผังวัดพุทไธสวรรย์


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๓๓

รูปที่ ๘ แผนผังวัดโพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร

รูปที่ ๙ แผนผังวัดมหาธาตุ


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๓๔

รูปที่ ๑๐ แผนผังวัดราชบูรณะ

รูปที่ ๑๑ แผนผังวัดวรเชษฐาราม


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๓๕

รูปที่ ๑๒ เจดีย์ประธานสามองค์เป็นทรงระฆัง วัดพระศรีสรรเพชญ รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๓๖

รูปที่ ๑๓ ปรางค์ประธาน วัดไชยวัฒนาราม อยุธยายุคปลาย รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๓๗

รูปที่ ๑๔ เจดีย์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ก่อนการสถาปนาราชธานีอยุธยาประมาณ ๑๐๐ ปี


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๓๘

รูปที่ ๑๕ เจดีย์สี่เหลี่ยมเพิ่มมุม ศรีสุริโยทัย อยุธยายุคกลาง รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๓๙

รูปที่ ๑๖ ปรางค์วัดบรมพุทธาราม อยุธยายุคปลาย รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาเหลือเพียงชุดฐาน


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๔๐

รูปที่ ๑๗ เจดีย์รายทรงปราสาทยอด วัดราชบูรณะ อยุธยายุคปลาย


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๔๑

รูปที่ ๑๘ เจดีย์ประธานทรงแปดเหลี่ยม วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยายุคต้น.

รูปที่ ๑๙ เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม วัดหลังคาขาว อยุธยายุคต้น


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๔๒

รูปที่ ๒๐ เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมประจามุมตะวันออกเฉียงเหนือ วัดราชบูรณะ อยุธยายุคต้น รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)

รูปที่ ๒๑ เจดีย์ทองแดง วัดมเหยงคณ์ อยุธยายุคปลาย รัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๔๓

รูปที่ ๒๒ เจดีย์ประจาด้านทรงปราสาทยอด วัดมหาธาตุ อยุธยายุคต้น รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)

รูปที่ ๒๓ เจดีย์ราย ทรงระฆัง วัดกุฎีดาว


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๔๔

รูปที่ ๒๔ เจดีย์ราย ทรงระฆัง วัดพระราม สร้างเพิ่มเติมในสมัยอยุธยายุคปลาย

รูปที่ ๒๕ ปรางค์ประจามุมตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์ประธาน วัดไชยวัฒนาราม อยุธยายุคปลาย รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๔๕

รูปที่ ๒๖ ปรางค์ประธาน วัดพระราม อยุธยายุคต้น

รูปที่ ๒๗ ปรางค์ประธาน วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยายุคต้น เข้าใจว่าสร้างในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๔๖

รูปที่ ๒๘ อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ

รูปที่ ๒๙ พระอดีตพุทธเจ้า มหาชนกชาดก จิตรกรรมฝาผนังด้านใต้อุโบสถวัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ อยุธยายุคปลาย


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๔๗

รูปที่ ๓๐ เตมียกุมารชาดก จิตรกรรมฝาผนังด้านตะวันตก ตาหนักโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยายุคปลาย

รูปที่ ๓๑ เทพชุมนุมในพุทธประวัติเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ จิตรกรรมฝาผนังด้านใต้ อุโบสถวัดสุวรรณาราม จ.เพชรบุรี อยุธยายุคปลาย


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๔๘

รูปที่ ๓๒ เทวดานั่งพนมมือสลับเจดีย์ อุโบสถหลังเดิม วัดใหม่ประชุมพล อยุธยายุคปลาย

รูปที่ ๓๓ วิทูรบัณฑิตชาดก จิตรกรรมฝาผนังด้านใต้อุโบสถ วัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ อยุธยายุคปลาย


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๔๙

รูปที่ ๓๔ เทวดายืนพนมมือคั่นภาพเรื่องทศชาติชาดก จิตรกรรมฝาผนังด้านใต้อุโบสถวัดปราสาท นนทบุรี อยุธยายุคปลาย


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๕๐

รูปที่ ๓๕ พระโพธิสัตว์ประสูติ จิตรกรรมฝาผนังด้านขวาของพระประธาน อุโบสถ วัดเกาะแก้ว สุทธาราม จ.เพชรบุรี อยุธยายุคปลาย

รูปที่ ๓๖ ภาพพระสงฆ์พนมมือเดินทักษินาวัตรที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๕๑

รูปที่ ๓๗ สันฐานจักรวาล จิตรกรรมฝาผนังด้านเหนือ ตาหนักโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยายุคปลาย

รูปที่ ๓๘ บานประดับมุก วิหารหลวงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก อยุธยายุคปลาย


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๕๒

รูปที่ ๓๙ ลายประดับปูนปั้นผนังข้าง ด้านใต้ วิหารวัดนางพญา อ.ศรีสัชนา จ.สุโขทัย

รูปที่ ๔๐ พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ปูนปั้น ปิดทอง ในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ อยุธยายุคปลาย.


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๕๓

รูปที่ ๔๑ พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ปูนปั้น เมรุทิศใต้ วัดไชยวัฒนาราม อยุธยายุคปลาย รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

รูปที่ ๔๒ เศรียรพระพุทธรูปแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๒ สาริด จากวัดธรรมิกราช ก่อนอยุธยายุคต้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จ.พรนครศรีอยุธยา


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๕๔

รูปที่ ๔๓ พระพุทธรูปโลหะ อยุธยายุคกลาง ค้นพบจากกรุยอดปรางค์ วัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี

รูปที่ ๔๔ พระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย สาริด อยุธยายุคกลาง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๕๕

รูปที่ ๔๕ พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ หินทราย วัดมหาธาตุ อยุธยายุคต้น

รูปที่ ๔๖ พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย สาริด อยุธยายุคกลาง พบในพระอุระของพระพุทธรูปมงคลบพิตร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๕๖

รูปที่ ๔๗ พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๑ สาริดก่อนอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยา ๕๗

รูปที่ ๔๘ พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ สาริด อยุธยายุคต้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ

รูปที่ ๔๙ พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ สาริด อยุธยายุคต้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.