เอกสารประกอบพิธีหล่อเทียน เนื่องในวันเข้าพรรษา

Page 1


I๑ เอกสารประกอบการจัดพิธีหล่อเทียนพรรษา

พิธีหล่อเทียนเนื่องในวันเข้าพรรษา วันที่ ๒๒-๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ บริเวณกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

จัดพิมพ์โดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ จานวน ๑๐๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ – โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ จัดทารูปเล่ม และศิลปกรรม พัฑร์ แตงพันธ์ ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว

ฝ่ายบริหาร ดร.จงกล เฮงสุวรรณ อาจารย์กันยารัตน์ คงพร อาจารย์สุรินทร์ ศรีสังข์งาม อาจารย์อุมาภรณ์ กล้าหาญ ว่าที่ร้อยตรีหญิง รัตติยา พาวินัย ฝ่ายบริหารงานทั่วไป : ณัฐฐิญา แก้วแหวน สายรุ้ง กล่​่าเพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์ ยุพดี ป้อมทอง


๒I

กาหนดการพิธีหล่อเทียนพรรษา วันที่ ๒๒-๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ บริเวณกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ น. - ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และแขกผู้มีเกียรติ ลงทะเบียนเข้าร่วมพิธี - ปี่พาทย์บรรเลงโหมโรงเย็น เวลา ๑๓.๓๐ น. - ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย - พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ - ประธานในพิธีประกอบพิธีหล่อเทียนพรรษา - ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมหล่อเทียนพรรษา วันที่ ๒๓ - ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. - คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ร่วม หล่อเทียนพรรษา


I๓

วันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา เป็นวันส่าคัญในพุทธศาสนา ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐาน ว่าจะพักประจ่าอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีก่าหนดเป็นระยะเวลา ๓ เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกัน โดยทั่วไปว่า จ่าพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จ่า" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษา นี้ถือเป็นข้อปฏิบัติส่าหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม การ เข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่​่า เดือน ๘ ของทุกปี (หรือเดือน ๘ หลัง ถ้ามีเดือน ๘ สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น ๑๕ ค่​่า เดือน ๑๑ หรือวันออกพรรษา สาเหตุที่พ ระพุทธเจ้าทรงอนุญ าตการจ่าพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่ หนึ่งตลอด ๓ เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อ เผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากล่าบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้ องกั นความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่​่า ธัญ พืชของชาวบ้านที่ ปลูกลง แปลงในฤดู ฝ น และโดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ช่ ว งเวลาจ่ า พรรษาตลอด ๓ เดื อ นนั้ น เป็นช่วงเวลาและโอกาสส่าคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จ่าพรรษารวมกันภายใน อาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง ๓ เดือน พุทธศาสนิกชน ชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบ่าเพ็ญ กุศลด้วยการเข้าวัดท่าบุญ ใส่บาตร ฟังพระ ธรรมเทศนา ซึ่ งสิ่ง ที่พิ เศษจากวันส่าคัญ อื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทีย น เข้ า พรรษา และผ้ า อาบน้่ า ฝน (ผ้ าวั ส สิ ก สาฏก) แก่ พ ระสงฆ์ ด้ ว ย เพื่ อ ส่ า หรั บ ให้ พระสงฆ์ได้ใช้ส่าหรับการอยู่จ่าพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่อ อายุครบบวช (๒๐ ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จ่าพรรษา ตลอดฤดู พ รรษากาลทั้ ง ๓ เดื อ น โดยพุ ท ธศาสนิ ก ชนไทยจะเรี ย กการบรรพชา อุปสมบทเพื่อจ่าพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"


๔I

ความสาคัญของการเข้าพรรษา ๑.ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพท่าไร่นา ดังนั้น การก่าหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืช ของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์ ๒.หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา ๘ - ๙ เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน ๓.เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติ ปฏิบัติธรรมส่าหรับตนเอง และ ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วัน ออกพรรษา ๔.เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับ กุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นก่าลังส่าคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป ๕.เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบ่าเพ็ญ กุศลเป็นการพิเศษ เช่น การ ท่าบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้่าฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวาย จตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้น อบายมุข และมีโอกาสได้ฟัง พระธรรมเทศนาตลอดเวลา เข้าพรรษา

มูลเหตุท่พ ี ระพุทธเจ้าอนุญาตการจาพรรษาแก่พระสงฆ์ ในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงวางระเบียบเรื่องการเข้าพรรษา ไว้ แต่การเข้าพรรษานั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์และพระสงฆ์ สาวกปฏิบัติกันมาโดย ปกติเนื่องด้วยพุทธจริยาวัตรในอันที่จะไม่ออกไปจาริกตามสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงฤดู ฝนอยู่แล้ว เพราะการคมนาคมมีความล่าบาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ในช่วง ต้นพุ ทธกาลมีจ่านวนน้อยและส่วนใหญ่ เป็น พระอริยะบุ คคล จึง ทราบดี ว่าสิ่ง ใดที่ พระสงฆ์ควรหรือไม่ควรกระท่า


I๕

ต่อมาเมื่อมีพระสงฆ์มากขึ้น และด้วยพระพุทธจริยาที่พระพุทธเจ้าจะไม่ ทรงบัญญัติพระวินัยล่วงหน้า ท่าให้พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้ทรงบัญ ญัติเรื่องให้พระสงฆ์ สาวกอยู่ประจ่าพรรษาไว้ด้วย จึงเกิดเหตุการณ์ กลุ่มพระสงฆ์ฉัพพัคคีย์พากันออก เดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และ ฤดูฝน ท่าให้ชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาไม่ยอมหยุด พักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่ พ ระภิ ก ษุ ส งฆ์ จ าริก ไปในที่ ต่ างๆ แม้ ในฤดู ฝ น อาจเหยี ย บย่​่ าข้ าวกล้ า ของ ชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่​่าโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากิน จนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจ่าอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นเวลา ๓ เดือนดังกล่าว

ในสมัยก่อน การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในฤดูฝน มีความยากลาบาก และเป็นช่วงฤดูทาไร่นาของชาวบ้าน พระพุทธเจ้าจึงวางระเบียบให้พระสงฆ์หยุดการเดินทาง เพื่อประจาอยู่ ณ สถานที่ใดที่หนึ่งในช่วงฤดูฝน


๖I

การเข้าพรรษาของพระสงฆ์ตามพระวินัยปิฎก ตามพระวินัย พระสงฆ์รูปใดไม่เข้าจ่าพรรษาอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง พระ พุทธองค์ทรงปรับอาบัติแก่ พระสงฆ์รูปนั้นด้วยอาบัติทุกกฎ และพระสงฆ์ที่อธิษฐาน รับค่าเข้าจ่าพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่ สามารถกลับมาในเวลาที่ก่าหนด คือ ก่อนรุ่งสว่าง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น "ขาด พรรษา" และต้ องอาบั ติทุ กกฎเพราะรับ ค่ านั้ น รวมทั้ง พระสงฆ์ รูป นั้ นจะไม่ไ ด้รั บ อานิสงส์พรรษา ไม่ได้อานิสงส์กฐินตามพระวินัย และทั้งยังห้ามไม่ให้นับพรรษาที่ขาด นั้นอีกด้วย

ประเภทของการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ การเข้าพรรษาตามพระวินัยแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ ปุริมพรรษา (เขียนอีกอย่างว่า บุริมพรรษา) คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่ม ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่​่า เดือน ๘ (ส่าหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน จะเริ่มในวัน แรม ๑ ค่​่า เดือน ๘ หลัง) จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่​่า เดือน ๑๑ หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จ่าพรรษาครบ ๓ เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับ กฐิน ซึ่ง มีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่​่า เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่​่า เดือน ๑๒ ปั จ ฉิ ม พรรษา คื อ การเข้ า พรรษาหลั ง ใช้ ในกรณี ที่ พ ระภิ ก ษุ ต้ อ งเดิ น ทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ท่าให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม ๑ ค่​่า เดือน ๘ ไม่ ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม ๑ ค่​่า เดือน ๙ แล้วจะไปออกพรรษาในวัน ขึ้น ๑๕ ค่​่า เดือน ๑๒ ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิม พรรษาจึง ไม่ มีโอกาสได้รับ กฐิน แต่ ก็ได้พ รรษาเช่นเดียวกั บพระที่ เข้าปุ ริมพรรษา เหมือนกัน


I๗

ข้อยกเว้นการจาพรรษาของพระสงฆ์ แม้การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติส่าหรับพระภิกษุโดยตรง ที่จะละเว้น ไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม แต่ว่าในการจ่าพรรษาของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษานั้น อาจมีกรณีจ่าเป็นบางอย่าง ท่าให้พระภิกษุผู้จ่าพรรษาต้องออกจากสถานที่จ่าพรรษา เพื่อไปค้างที่อื่น พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ท่าได้โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา โดยมีเหตุจ่าเป็นเฉพาะกรณี ๆ ไป ตามที่ทรงระบุไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งส่วนใหญ่จะ เกี่ยวกับการพระศาสนาหรือการอุปัฏฐานบิดามารดา แต่ทั้งนี้ก็จะต้องกลับมาภายใน ระยะเวลาไม่เกิน ๗ วัน การออกนอกที่จ่าพรรษาล่วงวันเช่นนี้ เรียกว่า "สัตตาหก รณียะ" ซึ่งเหตุที่ทรงระบุว่าจะออกจากที่จ่าพรรษาไปได้ชั่วคราวนั้นเช่น ๑.การไปรักษาพยาบาล หาอาหารให้ ภิกษุหรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย เป็น ต้น กรณีนี้ท่าได้กับสหธรรมิก ๕ และมารดาบิดา ๒.การไประงั บ ภิ ก ษุ ส ามเณรที่ อ ยากจะสึ ก มิ ให้ สึ ก ได้ กรณี นี้ ท่ า ได้ กั บ สหธรรมิก ๕ ๓.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ช่ารุด หรื อ การไปท่ า สั ง ฆกรรม เช่ น สวดญั ต ติ จ ตุ ต ถกรรมวาจาให้ พ ระผู้ ต้ อ งการอยู่ ปริวาส เป็นต้น ๔.หากทายกนิมนต์ไปท่าบุญ ก็ไปให้ทายกได้ให้ทาน รับศีล ฟังเทสนาธรรม ได้ กรณีนี้หากโยมไม่มานิมนต์ ก็จะไปค้างไม่ได้. ซึ่ง หากพระสงฆ์ออกจากอาวาสแม้โดยสัตตาหกรณียะล่วงก่าหนด ๗ วัน ตามพระวินัย ก็ถือว่า ขาดพรรษา และเป็นอาบัติทุกกฎเพราะรับค่า (รับค่าอธิษฐาน เข้าพรรษาแต่ท่าไม่ได้) ในกรณีที่พระสงฆ์สัตตาหกรณียะและกลับมาตามก่าหนดแล้ว ไม่ถือว่าเป็น อาบัติ และสามารถกลับมาจ่าพรรษาต่อเนื่องไปได้ และหากมีเหตุจ่าเป็นที่จะต้อง ออกจากที่จ่าพรรษาไปได้ตามวินัยอีก ก็สามารถท่าได้โดยสัตตาหกรณียะ แต่ต้อง กลับมาภายในเจ็ดวัน เพื่อไม่ให้พรรษาขาดและไม่เป็นอาบัติทุกกฎดังกล่าวแล้ว


๘I

อานิสงส์การจาพรรษาของพระสงฆ์ท่จี าครบพรรษา เมื่อพระสงฆ์จ่าพรรษาครบไตรมาสได้ปวารณาออกพรรษาและได้กรานกฐิน แล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ หรือข้อยกเว้นพระวินัย ๕ ข้อ คือ ๑.เที่ ยวไปไหนไม่ ต้ องบอกลา (ออกจากวัด ไปโดยไม่ จ่าเป็น ต้ อ งแจ้ ง เจ้ า อาวาสหรือพระสงฆ์รูปอื่นก่อนได้) ๒.เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวรครบส่ารับ ๓ ผืน ๓.ฉันคณะโภชน์ได้ (ล้อมวงฉันได้) ๔.เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ยกเว้นสิกขาบทข้อนิสสัคคิยปาจิตตีย์ บางข้อ) ๕.จีวรลาภอันเกิดในที่นั้นเป็นของภิกษุ (เมื่อมีผู้มาถวายจีวรเกินกว่าไตร ครองสามารถเก็บไว้ได้โดยไม่ต้องสละเข้ากองกลาง)

การถือปฏิบัตกิ ารเข้าพรรษาของพระสงฆ์ การเข้ า จ่ า พรรษาคื อ การตั้ ง ใจเพื่ อ อยู่ จ่ า ณ อาวาสใดอาวาสหนึ่ ง หรื อ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งเป็นประจ่าตลอดพรรษา ๓ เดือน ดังนั้ นก่อนเข้าจ่าพรรษา พระสงฆ์ในวัดจะเตรียมตัวโดยการซ่อมแซมเสนาสนะปัดกวาดเช็ดถูให้เรียบร้อยก่อน ถึงวันเข้าพรรษา เมื่อถึงวันเข้าพรรษา ส่วนใหญ่พระสงฆ์จะลงประกอบพิธีอธิษฐานจ่าพรรษา หลังสวดมนต์ท่าวัตรเย็นเป็นพิธีเฉพาะของพระสงฆ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะลงประกอบพิธี ณ อุโบสถ หรือสถานที่ใดตามแต่จะสมควรภายในอาวาสที่จะจ่าพรรษา โดยเมื่อท่า วัตรเย็นประจ่าวันเสร็จแล้ว เจ้าอาวาสจะประกาศเรื่อง วัสสูปนายิกา คือการก่าหนด บอกให้ให้พระสงฆ์ทั้งปวงรู้ถึงข้อก่าหนดในการเข้าพรรษา โดยมีสาระส่าคัญดังนี้ ๑.แจ้งให้ทราบเรื่องการเข้าจ่าพรรษาแก่พระสงฆ์ในอาราม ๒.แสดงความเป็นมาและเนื้อหาของวัสสูปนายิกาตามพระวินัยปิฏก


I๙

๓.ก่าหนดบอกอาณาเขตของวัด ที่พระสงฆ์จะรักษาอรุณ หรือรักษาพรรษา ให้ชัดเจน (รักษาอรุณคือต้องอยู่ในอาวาสที่ก่าหนดก่อนอรุณขึ้น จึงจะไม่ขาดพรรษา) ๔.หากมีภิกษุผู้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ก็ท่าการสมมุติเสนาสนคาหาปกะ (เจ้าหน้าที่สงฆ์) เพื่อให้เป็นผู้ก่าหนดให้พระสงฆ์รูปใดจ่าพรรษา ณ สถานที่ใดในวัด เมื่อแจ้งเรื่องดังกล่าวเสร็จแล้ว อาจจะมีการท่าสามีจิกรรม คือกล่าวขอขมา โทษซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพซึ่งกันและกั นระหว่างพระเถระและ พระผู้น้อย และเป็นการสร้างสามัคคีกันในหมู่คณะด้วย จากนั้นจึงท่าการอธิษฐานพรรษา เป็นพิธีกรรมที่ส่าคัญที่สุด โดยการเปล่ง วาจาว่าจะอยู่ จ่าพรรษาตลอดไตรมาส โดยพระสงฆ์ สามเณรทั้ งอารามกราบพระ ประธาน ๓ ครั้งแล้ว เจ้าอาวาสจะน่าตั้งนโม ๓ จบ และน่าเปล่งค่าอธิษฐานพรรษา พร้อมกันเป็นภาษาบาลีว่า อิมสฺม˚ิ อาวาเส อิม่ เตมาส่ วสฺส่ อุเปมิ (ถ้ากล่าวหลายคนใช้: อุเปม) หลังจากนี้ ในแต่ละวัดจะมีข้อปฏิบัติแตกต่างกันไป บางวัดอาจจะมีการ เจริญพระพุทธมนต์ต่อ และเมื่อเสร็จแล้วอาจจะมีการสักการะสถูปเจดีย์ ต้นพระศรี มหาโพธิ์ ภายในวัดอีกตามแต่จะเห็นสมควร เมื่อพระสงฆ์สามเณรกลับเสนาสนะของตนแล้ว อาจจะอธิษฐานพรรษาซ้่า อีกเฉพาะเสนาสนะของตนก็ได้ โดยกล่าววาจาอธิษฐานเป็นภาษาบาลีว่า อิมสฺม˚ิ วิหาเร อิม่ เตมาส่ วสฺส่ อุเปมิ (ถ้ากล่าวหลายคนใช้: อุเปม) เป็นอันเสร็จพิธีอธิษฐานเข้าจ่าพรรษาส่าหรับพระสงฆ์ และพระสงฆ์จะต้อง รัก ษาอรุณ ไม่ ให้ ข าดตลอด ๓ เดื อ นนั บ จากนี้ โดยจะต้ อ งรัก ษาผ้า ไตรจีว รตลอด พรรษากาล คือ ต้องอยู่กับผ้าครองจนกว่าจะรุ่งอรุณด้วย


๑๐ I

เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พระสงฆ์ในวัดจะรวมตัวกันอธิษฐานจาพรรษา ภายในวิหารหรืออุโบสถของวัด


I ๑๑

ประเพณีเนือ่ งด้วยการ เข้าพรรษาในประเทศไทย ในประเทศไทยมีป ระเพณี มากมายที่ เกี่ ยวข้อ งกับ การเข้าจ่าพรรษาของ พระสงฆ์ไ ทยมาช้ านาน ดัง ปรากฏประเพณี ม ากมายที่ เกี่ ยวกับ การเข้ าจ่าพรรษา เช่น ประเพณีถวายเทียนพรรษา แก่พระสงฆ์เพื่อจุดบูชาตามอารามและเพื่อถวายให้ พระสงฆ์ ส ามเณรน่ า ไปจุ ด เพื่ อ อ่ า นคั ม ภี ร์ ท างพระพุ ท ธศาสนาในระหว่ า งเข้ า จ่ า พรรษา ประเพณี ก ารถวายผ้ า อาบน้่ า ฝน หรื อ ผ้ า วั ส สิ ก สาฏก แก่ พ ระสงฆ์ ก่ อ น เข้าพรรษา เพื่อให้พระสงฆ์น่าไปใช้สรงน้่าฝนในพรรษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ พุทธศาสนิกชนไทยถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ ประจ่าปีคือ ประเพณีถวายผ้ากฐิน ที่จัด หลังพระสงฆ์ปวารณาออกพรรษา เพื่อถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ที่จ่าครบพรรษาจะได้ กรานและได้รับอานิสงส์กฐิน เป็นต้น

ประเพณีถวายเทียนพรรษา มีประเพณีหนึ่งที่เนื่องด้วยวันเข้าพรรษาและจัดเป็นประเพณีที่ส่าคัญและ สื บ ทอดกั น เรื่ อ ยมา ก็ คื อ ประเพณี ห ล่ อ เที ย นพรรษา ส่ า หรั บ ให้ พ ระภิ ก ษุ แ ละ พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ไ ด้ ตลอด ๓ เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง ซึ่งในปัจจุบัน ได้พัฒนามาเป็นงานประเพณี "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็น ขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้่า การถวายเทียนเพื่ อจุดตามประทีปเป็นพุทธบูชานั้น มาจากอานิสงส์การ ถวายเทียนเพื่อจุดเป็นพุทธบูชา ที่ปรากฏความในพระไตรปิฎก และในคัมภีร์อรรถ กถา ว่าพระอนุรุทธะเถระ เคยถวายเทียนบูชาท่าให้ได้รับอานิสงส์มากมาย รวมถึงได้


๑๒ I

เป็นผู้มีจักษุทิพย์ (ตาทิพย์) ด้วย ด้วยการพรรณาอานิสงส์ดังกล่าว อาจท่าให้ชาวพุทธ นิ ย มจุ ด ประที ป เป็ น พุ ท ธบู ช ามานานแล้ ว แต่ ไม่ ป รากฏหลั ก ฐานว่ าการท่ า เที ย น พรรษาในประเทศไทยถวายเริ่มมีมาแต่สมัยใด แต่ ปรากฏความในต่ารับท้าวศรีจุฬา ลักษณ์ ที่พรรณาการบ่าเพ็ญกุศลในช่วงเข้าพรรษาว่ามีการถวายเทียนพรรษาด้วย ในประเทศไทย การถวายเที ยนเข้าพรรษาจัด เป็ น พิ ธีใหญ่ มาตั้ ง แต่ส มั ย สุโขทัย ในสมัยรัตนโกสินทร์การถวายเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพระราชกรณียกิจส่าคัญ โดยจะเรียกว่าพุ่มเทียน มีการพระราชทานถวายพุ่มเทียนรวมพึงโคมเพื่อจุดบูชาตาม อารามต่าง ๆ ทั้งในพระนครและหัวเมือง ซึ่งพิธีนี้ยังคงมีมาจนปัจจุบัน การถวายเทียนพรรษาโดยแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ นั้น มีมาแต่โบราณ เดิมเป็นประเพณีราชส่านักดังที่ปรากฏในเทียนรุ่งเทียนหลวงตามพระอารามต่าง ๆ ส่าหรับเทีย นแกะสลัก ที่ป รากฏว่ามี การจั ดท่ าประกวดกัน เป็ น เรื่องราวใหญ่ โตใน ปัจจุบันนั้น พึ่งเริ่มมีเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยนายโพธิ์ ส่งศรี ได้เริ่มท่าแม่พิมพ์ปูนซีเมนต์เพื่อหล่อขี้ผึ้งเป็นท่าลวดลายไทยไปประดับติดพิมพ์บน เทียนพรรษา นับเป็น การจัดท่าเทียนพรรษาแกะสลักของช่างราษฏร์เป็นครั้ง แรก และนายสวน คูณผล ได้ท่าลวดลายนูนสลับสีต่าง ๆ เข้าประกวดจนชนะเลิศ ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงเริ่มมีการท่าเทียนพรรษาติดพิ มพ์ ประกวดแบบพิสดารโดยนาย ประดับ ก้อนแก้ว คือท่าเป็นรูปพุทธประวัติติดพิมพ์จนได้รับรางวัลชนะเลิศติดต่อกัน มาหลายปี จนปี พ.ศ. ๒๕๐๒ นายค่าหมา แสงงาม ช่างแกะสลัก ได้ท่าเทียนพรรษา แบบแกะสลักมาประกวดเป็นครั้งแรกจนได้รับรางวัลชนะเลิศ จากนั้นจึงได้มีการแยก ประเภทการประกวดต้ น เที ย นเป็ น สองแบบคื อ ประเภทติ ด พิ ม พ์ และประเภท แกะสลัก จนในช่วงหลังปี พ.ศ. ๒๕๑๑ นายอุตสาห์ และนายสมัย แสงวิจิตร ได้เริ่มมี การจัดท่าเทียนพรรษาขนาดใหญ่โต ท่าเป็นหุ่นและเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะ ของเทียนพรรษาขนาดใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบัน ในอดีต การหล่อเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพิธีส่าคัญที่ชาวพุทธจะมารวมตัว กันน่าขี้ผึ้ง มาหลอมรวมเป็นแท่งเทียนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ แต่ในปัจจุบันชาวพุทธ


I ๑๓

ส่ ว นใหญ่ จ ะนิ ย มการซื้ อ หาเที ย นพรรษาจากร้ า นสั ง ฆภั ณ ฑ์ โดยบางส่ ว นมี ก าร ปรับเปลี่ยนไปซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างถวายแก่พระสงฆ์แทนด้วย ซึ่งนับเป็น การปรับเปลี่ยนที่ได้ประโยชน์แก่พระสงฆ์ โดยตรง เพราะปัจจุบันไม่ได้มีการน่าเทียน มาจุดเพื่ออ่านหนังสืออีกแล้ว พระสงฆ์คงน่าเทียนไปจุดบูชาตามอุโบสถวิหารเท่านั้น

เทียนพรรษาในปัจจุบันใช้ ประโยชน์เพียงจุดบูชา พระพุทธปฏิมา ไม่ได้ใช้ ประโยชน์ในการศึกษา พระธรรมเหมือนในอดีต อีกแล้ว จึงทาให้ใน ปัจจุบันเริ่มมีชาวพุทธนา อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสง สว่างไปถวายแก่พระสงฆ์ แทนเทียนพรรษาซึ่งจะให้ ประโยชน์มากกว่าใช้จุด บูชาเท่านั้น

ประเพณีถวายผ้าอาบนาฝน (ก่อนเข้าพรรษา) ผ้า อาบน าฝน หรือ ผ้าวั สสิ ก สาฏก คื อ ผ้า เปลี่ ยนส่ าหรับ สรงน้่ า ฝนของ พระสงฆ์ เป็นผ้าลักษณะเดียวกับ ผ้าสบง โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตาม พุทธานุญาตที่ให้มีประจ่าตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม


๑๔ I

บาตร รัดประคด หม้ อกรองน้่า และมี ดโกน แต่ ช่วงหน้ าฝนของการจ่าพรรษาใน สมัยก่อนนั้น พระสงฆ์ที่มีเพียงสบงผืนเดียวจะอาบน้่าฝนจ่าเป็นต้องเปลือยกาย ท่าให้ ดูไม่งามและเหมือนนักบวชนอกศาสนา นางวิสาขามหาอุบาสิกาจึงคิดถวาย "ผ้าวัส สิกสาฏก" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้่าฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยนกับ ผ้าสบงปกติ จนเป็น ประเพณี ท่าบุญ สืบ ต่อกันมาจนถึง ปัจจุบัน โดยปรากฏสาเหตุ ความเป็นมาของการถวายผ้าอาบน้่าฝนในพระไตรปิฎกดังนี้ ครั้ง หนึ่งสมัยพุทธกาล พระศาสดาประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร นาง วิสาขาได้มาฟังธรรม แล้วทูลอาราธนาพระศาสดาและหมู่สงฆ์ไปฉันที่บ้านของนางใน วันรุ่งขึ้น เช้าวันนั้น เกิดฝนตกครั้งใหญ่ ตกในทวีปทั้ง ๔ พระศาสดาจึงรับสั่งให้ภิกษุ ทั้งหลายสรงสนานกาย พระสงฆ์ทั้งหลายที่ไม่มีผ้าอาบน้่าฝนจึงออกมาสรงน้่าฝนโดย ร่างเปลือยกายอยู่ พอดีกับนางวิสาขามหาอุบสิกาสั่งให้นางทาสีไปนิมนต์ภิกษุมารับภัตตาหาร ที่บ้านของตน เมื่อนางทาสีไปถึงที่วัดเห็นภิกษุเปลื้องผ้าสรงสนานกาย ก็เข้าใจว่า ใน อารามมีแต่พวกชีเปลือย (อาชีวกนอกพระพุทธศาสนา) ไม่มีภิกษุอยู่จึงกลับบ้าน ส่วน นางวิ สาขานั้ น เป็ น สตรีที่ ฉลาดรู้ แจ้ งในเหตุก ารณ์ ทั้ ง ปวง เมื่ อ ถวายภั ต ตาหารแก่ พระสงฆ์ มีพ ระพุ ท ธเจ้าเป็ นประมุ ขในวันนั้ น แล้ว จึง ได้โอกาสอัน ควรทู ลขอพร ๘ ประการต่อพระศาสดา พระศาสดาทรงอนุญาตพร ๘ ประการคือ ๑.ขอถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้่า) แก่พระสงฆ์เพื่อปกปิดความเปลือย กาย ๒.ขอถวายภัตแต่พระอาคันตุกะ เนื่องจากพระอาคันตุกะไม่ช่านาญหนทาง ๓.ขอถวายคมิก ภัต แก่พ ระผู้ เตรีย มตัวเดิน ทาง เพื่ อ จะได้ไ ม่พ ลัดจากหมู่ เกวียน ๔.ขอถวายคิลานภัตแก่พระอาพาธ เพื่อไม่ให้อาการอาพาธก่าเริบ


I ๑๕

๕.ขอถวายภัต แก่พ ระผู้พ ยาบาลพระอาพาธ เพื่อ ให้ ท่านน่ าคิ ลานภั ตไป ถวายพระอาพาธได้ตามเวลา และพระผู้พยาบาลจะได้ไม่อดอาหาร ๖.ขอถวายคิลานเภสัชแก่พระอาพาธ เพื่อให้อาการอาพาธทุเลาลง ๗.ขอถวายยาคูเป็นประจ่าแก่สงฆ์ ๘.ขอถวายผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้่า) แก่ภิกษุณีสงฆ์เพื่อปกปิดความไม่งาม และไม่ให้ถูกเย้ยยัน โดยนางวิสาขาได้ให้เหตุผล การถวายผ้าอาบน้่าฝนว่า เพื่ อให้ใช้ ปกปิ ด ความเปลือ ยกายในเวลาสรง น้่าฝนของพระสงฆ์ที่ดูไม่งามดังกล่าว ดังนั้น นางวิสาขาจึงเป็นอุบาสิกาคน แรกที่ ได้ รับ อนุ ญ าตให้ ถวายผ้ าอาบ น้่าฝน (วัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ ผ้ า อาบน้่ า ฝน จึ ง ถื อ เป็ น บริขารพิ เศษที่ พระพุท ธเจ้าอนุญ าต ให้พระสงฆ์ได้ใช้ ดังนั้นจึงจ่าเป็นต้อง ท่ า ให้ ถู ก ต้ อ งตามพระวิ นั ย ปิ ฎ ก มิ เช่ น นั้ น พระสงฆ์ จ ะต้ อ งอาบั ติ นิ ค สั ค คิ ยป าจิ ต ตี ย์ คื อ ต้ องท่ าผ้ า กว้า งยาวให้ ถู ก ขนาดตามพระวิ นั ย ผ้าอาบน้าฝนมีเพื่อใช้ผลัดกับ คือ ยาว ๖ คืบพระสุคต กว้าง ๒ คืบ ผ้าสบงปกติ เพื่อปกปิดความ ครึ่ ง ตามมาตราปั จ จุบั น คื อ ยาว ๔ เปลือยกายในเวลาสรงน้าฝน ศอก ๓ กระเบี ย ด กว้า ง ๑ ศอก ๑ ของพระสงฆ์ คืบ ๔ นิ้ว ๑ กระเบียดเศษ ถ้าหากมี ขนาดใหญ่กว่านี้ พระสงฆ์ต้องตัดให้ ได้ขนาด จึงจะปลงอาบัติได้


๑๖ I

นอกจากนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงวางกรอบเวลาในการแสวงหาผ้าอาบน้่าฝน ไว้ด้วย หากพระสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้่าฝนมาได้ภายนอกก่าหนดเวลาดังกล่าว จะต้อง อาบัติ โดยพระพุทธเจ้ายังได้ท รงวางกรอบเวลาในการแสวงหาผ้าอาบน้่าฝนไว้ว่า หากพระสงฆ์ แสวงหาผ้าอาบน้่าฝนมาใช้ได้ ภายนอกก่าหนดเวลาดัง กล่าว จะต้อ ง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ กล่าวคือ ทรงวางกรอบเวลาหรือเขตกาลไว้ ๓ เขตกาลคือ เขตกาลที่จะแสวงหา ช่วงปลายฤดูร้อน ตั้งแต่แรม ๑ ค่​่า เดือน ๗ ถึงวัน เพ็ญเดือน ๘ รวมเวลา ๑ เดือน เขตกาลที่จะท่านุ่งห่ม ช่วงกึ่งเดือนปลายฤดูร้อน ตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่​่า เดือน ๘ ถึงวันเพ็ญเดือน ๘ รวมเวลาประมาณ ๑๕ วัน เขตกาลที่จะอธิษฐานใช้สอย ช่วงเข้าพรรษา ตั้งแต่แรม ๑ ค่​่า เดือน ๘ ถึง วันเพ็ญเดือน ๑๒ รวมเวลา ๔ เดือน ด้วยกรอบพระพุทธานุญ าตและกรอบเวลาตามพระวินัยดังกล่าว เมื่อถึง เวลาที่พระสงฆ์ต้องแสวงหาผ้าอาบน้่าฝน พุทธศานิกชนจึงถือโอกาสบ่าเพ็ญกุศลด้วย การจัดหาผ้าอาบน้่าฝนมาถวายแก่พระสงฆ์ จนเป็นประเพณีส่าคัญ เนื่องในเทศกาล เข้าพรรษามาจนปัจจุบัน

ประเพณีถวายผ้าจานาพรรษา (หลังออกพรรษา) ผ้ า จ่ า น่ า พรรษา หรื อ ผ้ า วั ส สาวาสิ ก สาฎก เป็ น ผ้ า ไตรจี ว รที่ ถ วายแก่ พระสงฆ์ ที่ อ ยู่ จ่ า พรรษาครบ ๓ เดื อ น ที่ ผ่ า นวั น ปวารณาไปแล้ ว หรื อ ที่ ผ่ านวั น ปวารณาและได้กรานและอนุโมทนากฐินแล้ว ซึ่งผ้าจ่าน่าพรรษานี้พระสงฆ์สามารถ รับได้ภายในก่าหนด ๕ เดือน ที่เป็นเขตอานิสงส์กฐิน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่​่า เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่​่า เดือน ๔ แต่ส่าหรับพระสงฆ์ที่จ่าพรรษาครบ ๓ เดือน และผ่านวันปวารณาไปแล้ว ซึ่งไม่ได้กรานและอนุโมทนากฐิน ก็สามารถรับและใช้ผ้าจ่าน่าพรรษาได้เช่นกัน แต่


I ๑๗

สามารถรับได้ในช่วงก่าหนดเพียง ๑ เดือน ในเขตจีวรกาลส่าหรับผู้ไม่ได้กรานกฐิน เท่านั้น การถวายผ้ าจ่ าน่ าพรรษาในช่ว งดั งกล่า ว เพื่ อ อนุ เคราะห์ แ ก่พ ระสงฆ์ ที่ ต้องการจีวรมาเปลี่ยนของเก่าที่ช่ารุด พุทธศาสนิกชนจึงนิยมถวายผ้าจ่าน่าพรรษามา ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในประเทศไทยก็ปรากฏว่ามีพระราชประเพณีการถวายผ้าจ่าน่า พรรษาแก่พระสงฆ์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ตามความที่ปรากฏในหนังสือพระราช นิพนธ์พระราชพิธี ๑๒ เดือน ซึ่งปัจจุบันแม้ทางราชส่านักได้งดประเพณีนี้ไปแล้ว แต่ ประเพณี นี้ก็ยังคงมีอยู่ส่าหรับชาวบ้านทั่วไป โดยนิยมถวายเป็นผ้าไตรแก่พระสงฆ์ หลังพิธีงานกฐิน แต่เป็นที่สังเกตว่าปัจจุบัน จะเข้าใจผิดว่าผ้าจ่าน่าพรรษาคือผ้าอาบ น้่าฝน ซึ่งความจริงแล้วมีความเป็นมาและพระวินัยที่แตกต่างกันสิ้นเชิง

ประเพณีถวายผ้าอัจเจกจีวร (ระหว่างเข้าพรรษา) ผ้าอัจเจกจีวร แปลว่า จีวรรีบร้อน หรือผ้าด่วน คือผ้าจ่าน่าพรรษาที่ถวาย ล่วงหน้าในช่วงเข้าพรรษา ก่อนก่าหนดจีวรกาลปกติ ด้วยเหตุรีบร้อนของผู้ถวาย เช่น ผู้ถวายจะไปรบทัพหรือเจ็บไข้ไม่ไว้ใจว่าจะมีชีวิตรอดหรือไม่ชีวิต หรือเป็นบุคคลที่พึ่ง เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา ควรรับไว้ฉลองศรัทธา อัจเจกจีวรเช่นนี้ พระวินัยอนุญาตให้พระสงฆ์รับเก็บไว้ได้ แต่ต้องรับก่อน วัน ปวารณาไม่ เกิ น ๑๐ วั น (คื อ ตั้ งแต่ ขึ้ น ๖ ค่​่ า ถึ ง ๑๕ ค่​่ าเดื อ น ๑๑) และต้ อ ง น่ามาใช้ภายในช่วงจีวรกาล ผ้าอัจเจกจีวรนี้ เป็นผ้าที่มีความมุ่งหมายเดียวกับผ้าจ่าน่าพรรษา เพียงแต่ ถวายก่อนฤดูจีวรกาลด้วยวัตถุประสงค์รีบด่วนด้วยความไม่แน่ใจในชีวิต ซึ่งประเพณี นี้คงมีสืบมาแต่สมัยพุทธกาล ปัจจุบันไม่ปรากฏเป็นพิธีใหญ่ เพราะเป็นการถวายด้วย สาเหตุส่วนตัวเฉพาะรายไป ส่วนมากจะมีเจ้าภาพผู้ ถวายเพียงคนเดียวและเป็นคน ป่วยหนักที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า


๑๘ I

การประกอบพิธีทางศาสนา ในช่วงพรรษากาลในประเทศไทย

แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดี ที่จะได้ท่าบุญ รักษาศีล และช่าระจิตใจให้ผ่องใส โดยการจัดเตรียมสิ่งของเพื่อน่าไป ถวายแก่พระสงฆ์ที่จะจ่าพรรษา การตั้งใจรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ และตั้งใจบ่าเพ็ญ ความดี เข้ าวั ด ฟั ง ธรรมตลอดพรรษากาล ซึ่ งไม่ เฉพาะแต่ ช าวบ้ า นทั่ ว ไปเท่ า นั้ น สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ให้ความส่าคัญกับการเข้าพรรษาของพระสงฆ์เป็นอย่างมาก เช่นกัน


I ๑๙

พระราชพิธี การพระราชพิธีบ่าเพ็ญพระ ราชกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษานี้มี ชื่อ เรียกเป็นทางการว่า พระราชพิธีทรง บ่ า เพ็ ญ พระราชกุ ศ ล เนื่ อ งในวั น อ า ส า ฬ ห บู ช า แ ล ะ เท ศ ก า ล เข้ า พ ร ร ษ า ซึ่ ง เดิ ม ก่ อ น พ .ศ . ๒๕๐๑ เรี ย กเพี ย ง การพระราชพิ ธี ทรงบ่าเพ็ ญ พระราชกุศล เนื่อ งในวัน เข้าพรรษา แต่หลังจากที่ทางคณะสงฆ์ มีการก่าหนดให้เพิ่มวันอาสาฬหบู ชา เป็นวันส่าคัญ ทางพระพุทธศาสนาอีก วั น หนึ่ ง (ก่ อ นหน้ าวั น เข้ า พรรษา ๑ วั น ) ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ แล้ ว ส่ า นั ก พระราชวั ง จึ ง ได้ ก่ า หนดเพิ่ ม การ บ่าเพ็ญพระราชกุศลในวันอาสฬหบูชา เพิ่มเติมขึ้นมาด้วยอีกวันหนึ่งรวมเป็น สองวัน การพระราชพิ ธี นี้ โ ดยปกติ มี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น องค์ประธานในการพระราชพิธีบ่าเพ็ญ พระราชกุ ศ ล และบางครั้ งทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุ วงศ์ เสด็ จ แทนโดยสถานที่ ป ระกอบ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจิมเทียนพรรษาที่จะทรงอุทิศ พระราชทานไปจุดบูชาพระรัตนตรัย และพุทธเจดีย์สถาน ตามพระอารามหลวงต่าง ๆ ณ พระตาหนักจิตรลดารโหฐาน


๒๐ I

พระราชพิธีหลักจะจัดในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดบวรนิเวศวิหาร และภายใน พระบรมมหาราชวัง การส่าคัญของพระราชพิธีคือการถวายพุ่มเทียนเครื่องบูชาแก่ พระพุทธปฏิมาและพระราชาคณะ รวมทั้งการพระราชทานภัตตาหารแก่พระราช คณะ ฐานานุกรม เปรียญ ซึ่งรับอาราธานามารับ บิณ ฑบาตในพระบรมมหาราชวัง จ่ า นวน ๑๕๐ รู ป ในวั น เข้ า พรรษาทุ ก ปี เป็ น ต้ น ซึ่ ง การพระราชพิ ธี นี้ เป็ น การ แสดงออกถึ ง พ ระราชศรั ท ธาอั น แน่ น แฟ้ น ใน พ ระพุ ท ธศาสน า ขององค์ พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

พิธีสามัญ เมื่อถึง วันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนนิยมไปท่าบุญ ตักบาตร ถวายเที ยน พรรษา ถวายผ้ า อาบน้่ า ฝน โดยมั ก จะจั ด เครื่ อ งสั ก การะเช่ น ดอกไม้ ธู ป เที ย น เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร หรือมีการช่วยพระท่า ความสะอาดเสนาสนะซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ โดยนิยมไปร่วมท่าบุญตักบาตร ฟัง เทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น ซึ่งพอสรุปกิจที่พุทธศาสนิกชนพึง ปฏิบัติในพรรษากาลได้ดังนี้ ๑.ร่วมกิจกรรมท่าเทียนพรรษาหรือหลอดไฟถวายแก่พระสงฆ์ ๒.ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้่าฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร ๓.ร่ ว มท่ า บุ ญ ตั ก บาตร ฟั ง พระธรรมเทศนา รั ก ษาอุ โบสถศี ล ตลอด พรรษากาล ๔.อธิษฐานตั้งใจท่าความดี หรืองดการท่าชั่วอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น งดเว้น อบายมุขต่าง ๆ เป็นต้น


I ๒๑

วันเข้าพรรษาในประเทศอืน่ ๆ ในปัจจุบัน มีพระสงฆ์จากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะพระสงฆ์จากประเทศ ไทย พม่า ศรีลังกา และบางส่วนของญี่ปุ่น จะไปท่าพิธีวันเข้าพรรษาที่ประเทศอินเดีย และประเทศเนปาล ในสถานที่ ต่าง ๆ เช่น พุ ทธคยา เมืองราชคฤห์ สารนาถ เมือ ง กุ สิ น ารา สวนลุ ม พิ นี เมื อ งกบิ ล พั ส ดุ์ เมื อ งสาวั ต ถี และกรุ ง นิ ว เดลี เป็ น ต้ น ขณะเดี ยวกัน ในส่ วนอื่น ๆ ของประเทศอิน เดีย ต่างก็ ถือ ว่าวัน เข้าพรรษาเป็น วั น เริ่มต้นการถือศีลและปฏิบัติธรรมไปจนครบ ๓ เดือน และก่าหนดให้วันเข้าพรรษาให้ เป็นวันเริ่มการท่าความดีเช่นเดียวกัน ส่ า หรั บ ในประเทศอิ น เดี ย นั้ น ไม่ ไ ด้ ก่ า หนดให้ วั น เข้ า พรรษาและวั น อาสาฬหบูชาเป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศเหมือนกับ วันวิสาขบูชา ส่วนประเทศ อื่น ๆ นอกจากนี้ ก็ไม่ได้ให้ความส่าคัญกับวันเข้าพรรษาและวันอาสาฬหบูชาให้เท่า เทียมกับวันวิสาขบูชาด้วย


๒๒ I

คาถวายเทียนพรรษา ยัคเฆ ภันเต,สังโฆ ปะฏิชานาตุ , มะยัง ภันเต, เอตัง ปะทีปะยุคัง , สะปะริ วารัง, เตมาสัง, พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ, อิมัสสะหมิง อะโปสะถาคาเร, นิยยาเทมะ, สาธุ โน ภันเต, อะยัง เตมาสัง , พุทธัสสะ , ปูชะนัตถายะ, ปะทีปะยุคัสสะ,ทานัสสะ , อานิสังโส , อัมหากัญเจวะ,มาตาปิตุอาทีนัญจะ,ปิยะชะนานัง, ทีฆะรัตตัง,หิตายะ สุขา ยะ สังวัตตะตุ. ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์โปรดรับทราบ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอมอบ ถวายเทียนคู่นี้ พร้อมกับของบริวาร ไว้ ณ อุโบสถนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษา ขออานิ สงส์แ ห่ ง การถวายคู่ เที ย น เพื่ อ เป็ น พุ ท ธบู ช า ตลอดพรรษนี้ ข องข้ าพเจ้ า ทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ปิยชน ทั้งหลายมีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย ตลอดกาลนานเทอญ


I ๒๓

คาถวายผ้าอาบนาฝน อิมานิ มะยัง ภันเต วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะ ยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ข้าแต่ พ ระสงฆ์ ผู้ เจริญ ข้ าพเจ้ าทั้ งหลาย ขอน้ อ มถวายผ้า อาบน้่ า ฝนกั บ บริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอาบน้่าฝนกับทั้ง บริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ


๒๔ I

คาถวายผ้าจานาพรรษา อิม านิ มะยัง ภั น เต วัส สาวาสิ กะจีว ะรานิ สะปะริ วารานิ ภิ กขุ สัง ฆัส สะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ ภิกขุสังโฆ อิมานิ วัสสาวาสิกะจีวะรานิ สะ ปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ปิยะชะนานัง ทีฆะรัต ตัง หิตายะ สุขายะ ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจ่าน่าพรรษา กับ ทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิ กษุ สงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าจ่าน่ าพรรษา กับทั้ ง บริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลายเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.