เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรระยะสั้น คืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๑)
เรื่อง วิจิตรตระการตาใบลาน : สืบสานภูมิปัญญากรุงเก่า วันเสาร์ที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
จัดพิมพ์โดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ตุลาคม ๒๕๕๗ จานวน ๑๐๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน
ฝ่ายส่งเสริม และเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ณัฐฐิญา แก้วแหวน สายรุ้ง กล่ําเพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์ ยุพดี ปูอมทอง
คัดสรรข้อมูลจาก: พิม ประภาภรณ์. (๒๕๔๕). ตะเพียนใบลาน และภูมปิ ัญญาพื้นบ้านอยุธยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. ลาน สรรพคุณประโยชน์ของต้นลาน ๑๕ ข้อ. (๒๕๕๖). สืบค้นเมื่อ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ จาก frynn.com/ต้นลาน.
สารบัญ หน้า ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับต้นลาน
๑
ภูมิปัญญาการสานปลาตะเพียนใบลาน
๙
วิธีการสานปลาตะเพียนใบลาน
๑๙
บันทึก
๒๗
กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นคืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๑) เรื่อง วิจิตรตระการตาใบลาน : สืบสานภูมิปัญญากรุงเก่า ๑.ชื่อหลักสูตร: กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นคืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๑) วิจิตรตระการตาใบลาน : สืบสานภูมิปัญญากรุงเก่า ๒.หน่วยงานผู้รับผิดชอบ: ฝุายส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม สถาบันอยุธยาศึกษา ๓.หลักการและเหตุผล: ลานหรือไม้ลาน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพันธุ์ไม้ ดึกดําบรรพ์ ที่ไม่ขึ้นแพร่ห ลายนักถือ ได้ว่าเป็นไม้เ ศรษฐกิจประเภทหนึ่งของไทย ผลผลิตที่ ได้จากส่วน ต่าง ๆ ของต้นลาน สามารถนํามาใช้ประโยชน์เพื่อการดํารงชีวิต ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค นับตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ยอดลานอ่อน (ใบลานอ่อน) เป็นที่จารึก หนังสือพระธรรมคําสั่งสอนในพระพุทธศาสนา โดยการใช้เหล็กแหลมจารบนใบลานแล้วใช้ยางรักทา เอาทรายลบยางรักจะแทรกในตัวหนังสือที่จารเป็น เส้นดํา หรือจะใช้เขม่ าไฟแทนก็ ได้ เรียกหนังสือใบลานเหล่านี้ว่า "คัม ภีร์ใบลาน" นอกจากนี้ ยังนิยม นํา มาใช้ จัก สานทํ าผลิ ตภั ณ ฑ์ ข องใช้ อาทิ เช่น หมวก งอบ พัด กระเป๋ า เสื่ อ ภาชนะในครั ว เรื อ น เครื่องประดับตกแต่งบ้าน เช่น โมบายรูปสัต ว์ ปลาตะเพียน ฯลฯ ส่วนภาคใต้นํายอดลานพรุ มาฉีกเป็น ใบ สางออกเป็นเส้น ปั่นเป็นเส้นยาวคล้ายด้าย นําไปทอเป็นแผ่น เรียกว่า ห่งอวนหรือหางอวน ทําเป็นถุง รูปสามเหลี่ยมสําหรับไว้ต่อปลายอวน ใช้เป็นถุงจับกุ้งและเคยสําหรับทํากะปิ สานเป็นถุงใส่เกลือ ซองใส่ยา เส้นและซองใส่แว่นตา ใบลานแก่ ใช้มุงหลังคาและทําผนังหรือฝาบ้าน บางแห่งใช้ใบลานเผาไฟเป็นยาดับ พิษอักเสบฟกช้ําบวมได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรียกทั่วไปว่า "ยามหานิล" ก้านใบลาน ใช้ทําโครงสร้าง ไม้ขื่อ ไม้แป และผนัง บางแห่งใช้มัดสิ่งของแทนเชือกเหนียวมาก ส่วนกระดูกลาน (ใกล้กับบริเวณหนามแหลม) มีความ แข็ง และเหนียวมากกว่าส่วนอื่นของก้านใบ ใช้ทําคันกลดพระธุดงค์ นอกจากนี้ยังใช้ทําขอบภาชนะจักสาน ทั่วไป เช่น ขอบกระด้ง ตะแกรง กระบุง ตะกร้า ลําต้น นํามาตัดเป็นท่อน ๆ สําหรับนั่งเล่นหรือใช้ตกแต่ง ประดับสวน ทําฟืนเป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม ภาคใต้บางแห่งใช้ทําครกและสาก ผล ลูกตาลอ่อนนําเนื้อในมา รับประทานแบบลุกชิดหรือลูกจาก ส่วนเปลือกรับประทานเป็นยาขับระบายดี บางแห่งใช้ลูกลานทุบทั้ง เปลือก โยนลงน้ําทําให้ปลาเมา แต่ไม่ถึงตาย สะดวกแก่การจับปลา รากต้นลาน ใช้ฝนรับประทานแก้ร้อน ขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด เป็นต้น
แต่ในปัจ จุบันนี้ คนรุ่นใหม่ นิยมใช้วัส ดุสัง เคราะห์จ ากอุตสาหกรรม เพื่อความสะดวกสบาย และรวดเร็วต่อการใช้สอยในชีวิตประจําวัน จึงทําให้ใบลานเริ่มหมดความสําคัญลง กลายเป็นเพียงวัสดุ ส่วนหนึ่งสําหรับประดิษฐ์ของที่ระลึก แม้ว่าจะมีหน่วยงานทางด้านการศึกษา หน่วยงานท้องถิ่นทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมไปจนถึง แหล่ ง ภูมิ ปัญ ญาต่ าง ๆ พยายามที่ จ ะอนุรัก ษ์หั ตถกรรมจากใบลานเอาไว้ แต่ก็ยังคงอยู่ในวงแคบ อีกทั้งทั้งต้นลานก็อยู่ในสภาพที่ถูกคุกคามจากการขยายตัวของชุมชน และขาดการ อนุรักษ์ในเชิงพันธุกรรม สถาบันอยุธยาศึกษา เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอ ยุธยา ทําหน้าที่ใน ด้านการศึก ษา ค้นคว้า วิจัยข้อ มู ล เกี่ ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิล ปวัฒ นธรรมของจัง หวัด พระนครศรีอยุธยา จึงเห็นสมควรจัด กิ จกรรมอบรมหลัก สูตรระยะสั้นคืนความเป็นไทยในภูมิปัญญา ท้องถิ่นกรุงเก่า ครั้งที่ ๑ เรื่อง วิจิตรตระการตาใบลาน : สืบสานภูมิปัญญากรุงเก่า เพื่อให้ผู้เข้ารับการ อบรมสามารถผลิตชิ้นงานจากใบลานในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในเรื่องของการเตรียมใบลาน การสาน การลงสี โดยผู้อ บรมสามารถที่ จ ะนํ าไปประกอบอาชี พอิส ระและยั ง นํา ไปประยุ ก ต์กั บ งานอื่น ๆ ได้ ตลอดจนเป็นการปลูกจิตสํานึกและภาคภูมิใจในมรดกวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาติต่อไป ๔.วัตถุประสงค์ : ๑) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจ มีความความรู้เกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของใบลาน ๒) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจ มีความความรู้เกี่ยวกับ ปฏิบัติวิธีการผลิตหัตถกรรมจากใบลาน และสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะตนได้ ๓) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจ เกิดจิตสํานึกที่ดีเห็น คุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่น รวมทั้งสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรมแขนงต่างๆ ของไทย อันจะก่อให้เกิดความรู้สึกหวงแหนในศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ และเกิดผลดีต่อประเทศชาติ สืบไป ๕. สาระสาคัญของหลักสูตร: กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นคืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุง เก่า ครั้งที่ ๑ เรื่อง วิจิตรตระการตาใบลาน : สืบสานภูมิปัญญากรุงเก่า
๖. หัวเรื่องและขอบข่ายเนื้อหา: หัวเรื่อง: วิจิตรตระการตาใบลาน : สืบสานภูมิปัญญากรุงเก่า ขอบข่ายเนื้อหา: ผู้เข้ารับการอบรมสามารถผลิตชิ้นงานจากใบลานในหลากหลายรูปแบบ ทั้งใน เรื่องของการเตรียมใบลาน การสาน การลงสี โดยผู้อบรมสามารถที่จะนําไปประกอบอาชีพอิสระและยัง นําไปประยุกต์กับงานอื่นๆ ได้ ๗. รูปแบบและวิธีการฝึกอบรม: ๗.๑ อบรมเชิงอภิปราย (บรรยายทางวิชาการ) ๗.๒ วิ ธี ก ารฝึ ก อบรม: การจั ด กิ จ กรรมบรรยายทางวิ ช าการ โดยนั ก วิ ช าการที่ มี ค วามรู้ ความสามารถ และเป็นที่รู้จักในแวดวงวิชาการ ๘. ระยะเวลาการฝึกอบรม: ๑ วัน ๙. จานวนผู้เข้ารับการอบรม: ๔๐ คน ๑๐. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม: นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ และผู้สนใจทั่วไป ๑๑. ค่าใช้จ่าย: งบประมาณแผ่นดิน (บริการทางวิชาการ) ๒๕,๐๐๐ บาท ๑๒. การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม: ๑๒.๑ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๒.๒ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๒.๓ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปสามารถนําความรู้ไปใช้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๓. ผลที่คาดว่าจะได้รับ : ๑) นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป มีความความรู้เกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมา และคุณประโยชน์ต่าง ๆจากใบลาน ๒) นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป มีความความรู้เกี่ยวกับ ปฏิบัติวิธีการผลิตหัตถกรรมจากใบลาน และสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะตนได้ ๓) นักเรียน นักศึก ษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป เกิดจิตสํานึกที่ ดีเห็น คุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่น รวมทั้งสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรมแขนงต่างๆ ของไทย และสามารถนําไปประยุกต์ใช้เพื่อการประกอบอาชีพได้
๑๔. วันเวลาอบรม : วันเสาร์ที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ๑๕. สื่อการอบรม : ๑๕.๑ เอกสารประกอบการเสวนา ๑๕.๒ จอแสดงภาพประกอบ ๑๖. สถานที่ฝึกอบรม : ภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ ณ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๑๗. แนววิชาโดยสังเขป ผู้เข้ารับการอบรมสามารถผลิตชิ้นงานจากใบลาน ได้ด้วยตนเองในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การ เตรียมใบลาน การสาน การลงสี โดยผู้อบรมสามารถที่จะนําไปประกอบอาชีพอิสระและยังนําไปประยุกต์ กับงานอื่นๆ ได้
๑๘ .แผนการสอน วันที่ ๘ พ.ย. ๕๗
เวลา
เนื้อหาวิชา
๐๘.๓๐ – ๐๙.๓๐ น. ประวั ติ ค วามเป็ น มา และประโยชน์ ต่ า ง ๆ จากต้ น ลาน ,วั ส ดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทํางานตามขั้นตอนสาธิตการผลิตชิ้นงานจริง ๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ปฏิบัตกิ ารประดิษฐ์งานหัตถกรรมจากใบลาน ๑๓.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. ปฏิบัติการลงสีและตกแต่งลวดลายบนใบลาน ๑๕.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ปฏิบัติ เก็บลายละเอียดงาน และแก้ไขจุดบกพร่อง
รวมบรรยาย ๑ ชั่วโมง รวมปฏิบัติการ ๗ ชั่วโมง วัสดุที่จัดเตรียมให้ : พู่กันเบอร์ ๑๐ , พู่กันจีน , สีน้ํามัน , ปากกาเคมี , สีทองผงผสมน้ํามัน, ชุดลูกปัด กระดิ่ง, ใบลาน ,ชุดกระโจมใบลาน และเอกสารประกอบการอบรม
กาหนดการอบรม หลักสูตรระยะสัน้ คืนความเป็นไทยในภูมิปญ ั ญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๑) วิจิตรตระการตาใบลาน : สืบสานภูมปิ ัญญากรุงเก่า วันเสาร์ที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ณ ห้องประชุมสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น.
ลงทะเบียนรับเอกสาร
๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น.
แบ่งกลุ่มปฏิบัติการฝึกอบรม, แนะนําประวัติความเป็นมา และประโยชน์ต่าง ๆ จาก ต้นลาน แนะนําวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทํางานตามขั้นตอนสาธิตการผลิตชิ้นงานจริง วิทยาโดย คุณวิสิษฐ์ กระจ่างวี และคุณน้อย กระจ่างวี
๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.
ปฏิบัติการประดิษฐ์งานหัตถกรรมจากใบลาน วิทยาโดย คุณวิสิษฐ์ กระจ่างวี และคุณน้อย กระจ่างวี
๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.
ปฏิบัติการลงสีและตกแต่งลวดลายบนใบลาน วิทยาโดย คุณวิสิษฐ์ กระจ่างวี และคุณน้อย กระจ่างวี
๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.
ปฏิบัติการเก็บลายละเอียดงาน และแก้ไขจุดบกพร่อง วิทยาโดย คุณวิสิษฐ์ กระจ่างวี และคุณน้อย กระจ่างวี
๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.
สรุปผลงาน และมอบเกียรติบัตร (ผู้อบรมได้ผลงาน ๑ ชิ้น)
*** หมายเหตุ *** รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มในระหว่างการอบรม เวลา ๑๐.๐๐ น และ ๑๔.๐๐ น.
หน้า ๑
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับต้นลาน
ลาน ภาษาอังกฤษ Fan palm, Lontar palm, Talipot palm ต้นลาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Corypha Umbraculifera L. จัดอยู่ในวงศ์ ARECACEAE หรือในชื่อ เดิม คือ PALMAE เช่นเดียวกั บตาล ตาว จาก หวาย และมะพร้าว และต้นลานยัง มี ชื่ออื่นๆ อีก เช่น ลานบ้าน ลานวัด ลานหมื่นเถิดเทิง ปาล์มพัด เป็นต้น ต้นลาน เป็นพื ชใบเลี้ยงเดี่ยวที่จ ะอยู่ในตระกู ลปาล์ม มี ถิ่นมี กาเนิดอยู่ในอเมริกาและในแถบ เมดิเตอร์เรเนียน โดยส่วนใหญ่แล้วต้นลานมักจะขึ้นที่ที่มีอากาศชื้นเย็นและมีฝนตกมาก มีความทนทานต่อ ภัย ธรรมชาติไ ด้ดี ต้ นเล็ก แม้ ว่า จะถูก ไฟไม้ แต่ ก็ ส ามารถงอกขึ้ นมาใหม่ ได้ เนื่อ งจากมี ร ากที่ ลึ ก มาก โดยพรรณไม้ในสกุล ลานจะมีอ ยู่ด้วย ๖ ชนิดทั่ วโลก แต่ส าหรับในประเทศไทยจะพบต้นลานเพียงแค่ ๓ ชนิดเท่านั้น ได้แก่
หน้า ๒
ลานพรุ (gehang palm, ebang Palm) ต้นลานพรุ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Corypha utan Lam. มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไป จนถึงฟิลิปปินส์ และรวมไปถึงทางตอนเหนือของออสเตรเลียและประเทศไทย พบได้มากในแถบภาคใต้ แถวๆ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา กระบี่และพังงา ปาล์มชนิดนี้ มักขึ้นตามแนวชายฝั่งแม่น้าหรือใน พื้นที่ที่ชุ่มน้า มีลักษณะของลาต้นที่สูงคล้ายกับต้นตาล โดยมีความสูงประมาณ ๓๐ เมตร ขนาดของลาต้น ไม่รวมกาบใบมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๔๐-๖๐ เซนติเมตร และมักขึ้นรวมกันเป็นจานวนมากในที่ราบ ท้องทุ่ง แม้ในบริเวณที่มีน้าขัง ลานป่า หรือ ลานทุ่ง (Indochinese fan palm) ต้นลานป่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Corypha lecomtei Beec. สามารถพบได้ในประเทศไทยและ เวียดนาม จัดเป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของไทย โดยพบได้มากที่ปราจีนบุรี ขอนแก่น และสระบุรี และยังพบได้ ทั่วไปในจังหวัดลพบุรี ตาก นครปฐม และพิษณุโลก และต้นลานป่านี้จะมีขนาดใหญ่ไม่เท่าลานวัด โดยมี ความสูง ประมาณ ๑๕ เมตร และมี ขนาดเส้นผ่านศูนย์ก ลางของต้นไม่ ร วบกาบใบประมาณ ๔๕-๗๕ เซนติเมตร ลานวัด หรือ ลานบ้าน หรือ ลานหมื่นเถิดเทิง (ทั่วไปเรียกว่า “ลาน” หรือ “ต้นลาน“) (Fan palm, Lontar palm, Talipot palm) ต้นลานวัด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Corepha umbraculifera เป็นปาล์มชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน โลก โดยมี ถิ่นกาเนิดในประเทศศรีลังกาและอินเดีย และยังเป็นต้นไม้ ประจ าชาติของศรีลังกาอีกด้วย สาหรับในประเทศจะไม่พบตามธรรมชาติ แต่มักมีการนามาเพาะปลูกในภาคเหนือ
หน้า ๓
ลักษณะของต้นลานวัด ต้นลาน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีล าต้นตรงและแข็ง เป็นไม้ ต้นเดี่ยวไม่แตกหน่อหรือกอ ส่วนเนื้อไม้เป็นเส้นใย ไม่มีกิ่ง ลาต้นมีกาบใบติดคงทนเรียงเวียนอยู่โดยรอบ และมีหนามคล้ายฟันเลื่อย สั้นๆ อยู่ทั้งสองข้างริมขอบก้านใบ ลาต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๘๐ เซนติเมตร ต้นลานเมื่อ แก่ แล้วหรือ มี อ ายุร าว ๒๐-๘๐ ปี เมื่ อ อายุ ๒๐-๓๐ ปี ล าต้นจะมี ความสูง ถึง ๒๕ เมตร ในช่วงเดือน พฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนต้นลานจะออกดอกและผล ซึ่งนั่นหมายถึงชีวิตช่วงสุดท้ายของต้นลาน โดยผล เมื่อแก่แล้วจะร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน เมล็ดในผลจะงอกเป็นต้นลานขึ้นมาใหม่มากมาย
ใบลาน ใบมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือหรือรูปพัด ค่อนข้างกลมคล้ายกับใบตาล จนบางครั้งอาจ เรียกว่า “ปาล์มพัด” ใบมีสีเขียวอมเทา แผ่นใบมีขนาดประมาณ ๒.๕-๓×๒.๕-๓ เมตร ส่วนก้านใบออกสี เขียวอ้วนสั้น ยาวประมาณ ๒.๕-๓ เมตร และขอบก้านใบมี หนามแน่นเป็นฟันคมสีดายาวประมาณ ๑ เซนติเมตร และมีเส้นโค้งกลางใบยาวประมาณ ๑ เมตร แผ่นใบหยักเป็นคลื่น มีร่องแฉกแยกแผ่นใบ ๑๑๐ แฉก แต่ละแฉกมีขนาดประมาณ ๗๕-๑๕๐×๔.๖-๕ เซนติเมตร (เป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบใหญ่ที่สุดในโลก) เป็นไม้ ทิ้งใบได้เองตามธรรมชาติ
หน้า ๔
ดอกลาน หรือ ดอกต้นลาน ออกดอกเป็นช่อใหญ่คล้ายรูปพีระมิดตรงส่วนยอดของล าต้น มี ความยาวประมาณ ๖ เมตร ก้านชูช่อดอกสั้นหรือไม่มี ส่วนแกนช่อดอกยาวประมาณ ๖ เมตร มีขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓๕ เซนติเมตร โดยแกนช่อดอกจะมีถึง ๓๐ ก้าน แขนงของก้านช่อดอกย่อยมีถึง ๔๐ ก้าน ในแต่ละก้านจะยาวประมาณ ๕-๒๕ เซนติเมตร ในช่อดอกหนึ่งจะมีดอกลานอยู่เป็นจานวนมาก เป็นล้านๆ ดอก โดยดอกจะมีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม (บ้างก็ว่าดอกมีสีขาวครีม) นับตั้งแต่เมื่อเริ่มออก ช่อดอกและบานกลายเป็นผลสาหรับรับประทาน จะใช้เวลาประมาณ ๑ ปีขึ้นไป
หน้า ๕
หน้า ๖
ผลลาน หรือ ลูกลาน หรือ ลูกต้นลาน ผลมีลักษณะกลมรี มีสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ ๓.๕-๔.๕ เซนติเมตร หนึ่งผลมีหนึ่งเมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมสีดา ส่วนเนื้อในของผลจะคล้ายกับ ลูกจากหรือลูกชิด สามารถนามารับประทานได้ ผลเมื่อแก่แล้วจะร่วงหล่นลงพื้นดิน แล้วจะงอกเป็นต้น ลานเล็กๆ มากมายส่วนเนื้อของลูกลานจะคล้ายกับลูกชิดแต่จะมีลักษณะกลม มีรสชาติจืดและเหนียวหนืด
หน้า ๗
สรรพคุณของลาน ๑.ช่วยรักษาไข้หวัด ด้วยการใช้รากนามาฝนแล้วรับประทาน (ราก) ๒.รากนามาฝนใช้รับประทานเป็นยาแก้ร้อนใน และช่วยขับเหงื่อ (ราก) ๓.สรรพคุณของลูกลาน ใช้รับประทานเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ช่วยฆ่าเชื้อในลาไส้ และช่วย ระบาย (ลูกลาน) ๔.เปลือกของผลสามารถรับประทานเป็นยาขับระบายได้ดี (เปลือกผล) ๕.ต้นลาน สรรพคุณช่วยแก้พิษต่างๆ (ต้น) ๖.บางแห่งมีการนาใบลานเผาไฟมาใช้เป็นยาเพื่อช่วยดับพิษอักเสบ แก้อาการฟกช้าบวมได้ดี ซึ่ง โดยทั่วไปจะเรียกว่า “ยามหานิล” (ใบแก่)
ประโยชน์ตน้ ลาน ๑.ประโยชน์ของลูกลาน เนื้อในของผลนิยมนามารับประทานได้เช่นเดียวกับลูกจากหรือลูกชิด ใช้ทาเป็น ลูกลานเชื่อม ลูกลานลอยแก้ว ๒.ลูกลานเมื่อนามาทุบทั้งเปลือก แล้วโยนลงน้าจะช่วยทาให้ปลาเมา (แต่ไม่ถึงตาย) ทาให้ความ สะดวกในการจับปลา ๓.ประโยชน์ต้นลาน ในสวนของลาต้นเมื่อนามาตัดเป็นท่อนๆ สามารถนามาใช้ทาเป็นที่นั่งเล่น หรือนาไปใช้เพื่อตกแต่งหรือประดับสวนได้ และยังใช้ทาฟืนเป็นเชื้อเพลิงสาหรับการหุงต้ม ส่วนทางภาคใต้ บางแห่งอาจมีการนามาใช้ทาเป็นครกและสาก นอกจากนี้ลาต้นยังสามารถนามาใช้เลี้ยงด้วงได้เป็นอย่างดี ส่วนต้นลานที่แก่จัด ยังสามารถนามาเลื่อยเอากาบมาใช้ทาเป็นโรงเรือนสาหรับเลี้ยงสัตว์ หรือใช้ทาเป็นที่ อยู่อาศัยได้ ๔.สาหรับต้นลานป่านั้น เนื่องจากมีลาต้นและใบที่สวยงาม จึงมีผู้นามาใช้สาหรับตกแต่งเป็นไม้ ประดับตามสวนเพื่อใช้ปรับภูมิทัศน์ให้ดูสวยงาม ๕.ใบลานอ่อน หรือ ยอดลานอ่อน นิยมใช้เป็นที่เขียนจารึกตัวอักษรในหนังสือพระธรรมคาสอน ของพระพุทธศาสนา ด้วยการใช้เหล็กแหลมจารบนใบลานแล้วใช้ยางรักทา แล้วเอาทรายมาลบ ยางรักจะ แทรกอยู่ในตัวหนังสือที่จารเป็นเส้นดา หรือจะใช้เขม่าไฟแทนก็ได้ โดยเราจะเรียกหนังสือจากใบลานนี้ว่า “คัมภีร์ใบลาน” (ใบลานป่าก็ใช้ได้เช่นกัน) นอกจากนี้ยังสามารถนามาพิมพ์เป็นการ์ด หรือนามบัตร ที่คั่น
หน้า ๘
หนังสือ หรือนาไปใช้ในงานจักสารต่างๆ เพื่อใช้ทาเป็น พัด หมวก กระเป๋า เสื่อ งอบ ภาชนะต่างๆ ใน ครัวเรือน รวมไปถึงทาเป็นเครื่องประดับสาหรับตกแต่งบ้าน เช่น การทาเป็นโมบานรูปสัตว์ อย่างเช่นปลา ตะเพียน ๖.ใบลานแก่ สามารถนามาใช้สาหรับมุ งหลังคา ทาเป็นผนังหรือฝาบ้านได้ ก้านใบ สามารถ นามาใช้ทาเป็นโครงสร้าง ไม้ขื่ ไม้แป รวมไปถึงผนัง หรือนามาใช้แทนเชือกเพื่อมั ดสิ่งของได้ดีเพราะมี ความเหนียวมาก ๗.กระดูกลาน (ส่วนที่ ใกล้กั บบริเ วณหนามแหลม) จะมีความแข็งและเหนียวมากกว่าก้านใบ สามารถนามาใช้ทาเป็นคันกลดพระธุดงค์ได้ หรือนาไปใช้ทาเป็นขอบภาชนะจักสานทั่วๆ ไป เช่น ขอบ ตะกร้า ขอบกระด้ง กระบุง ตะแกรง ฯลฯ ๘.ทางภาคใต้จะนายอดของลานพรุมาฉีกเป็นใบ แล้วสางออกเป็นเส้นๆ ปั่นเป็นเส้นยาวคล้ายกับ ด้าย สามารถนาไปใช้ทอเป็นแผ่น หรือที่เรียกว่า “ห่งอวน” หรือ “หางอวน” ทาเป็นถึงรูปสามเหลี่ยมใช้ สาหรับไว้ต่อปลายอวน ใช้เป็นถุงจับกุ้ง หรือสานเป็นถุงใส่เกลื อ ซองใส่ยาเส้น ซองใส่แว่นตา หรื อใช้ทา เป็นเคยสาหรับทากะปิ ฯลฯ
หน้า ๙
ภูมิปัญญา การสานปลาตะเพียนใบลาน
ปลาตะเพียนใบลานมีความโดดเด่นตรงที่มีการนาวัสดุธรรมชาติคือใบลาน จากต้นลานที่ขึ้นอยู่ ทั่วไปในท้องถิ่นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ และด้วยคุณสมบัติของใบยาวและอ่อน สามารถดัดบิดได้ทุกทิศทาง ด้วยวิธีการง่าย ๆ ชาวบ้านย่านท่าวาสุกรีจึงนามาสานเป็นรูปปลาตะเพียน แล้วแขวนห้อยเพื่อให้ลูกหลาน ที่นอนในเปลเกิดความเพลิดเพลิน ไม่ร้องไห้โยเย ในอดีตการสานปลาตะเพียนใบลานนิยมทากันอย่างพื้น ๆ โดยใช้สีของใบลานเป็นหลัก แล้วเริ่ม พัฒนามาใช้ “รง” เพื่อให้เกิดความคงทน จนถงปัจจุบันมีการนาสีน้ามันมาระบายอย่างสวยสดงดงาม พร้อม ๆ กับประโยชน์ใช้สอยก็เริ่มเปลี่ยนไป กล่าวถคือ นามาแขวนประดับเพื่อความสวยงามของอาคาร สถานที่แทน
หน้า ๑๐
ภูมิปัญญาชาวท่าวาสุกรี ชาวบ้านย่านท่าวาสุกรีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับสายน้า โดยเฉพาะ ชาวไทยมุสลิม ที่ประกอบอาชีพค้าขายทางน้า มักล่องเรือไปค้าขายสินค้าประเภทเครื่องเทศอยู่เนือง ๆ เรือจึงเป็นเสมื อ นบ้าน ท าให้คุ้นเคยกับ น้าและปลา ครั้นเมื่ อบุตรหลานเกิ ดขึ้นมา ผู้เป็นพ่อแม่ จึง คิด ประดิษฐ์ของเล่น โดยนาใบลานซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ทั่วไปมาสานโดยยึดโยงวิถีทางน้าเป็นแนว ปลาตะเพียนนับเป็นปลาน้าจืดที่สวยงามและมีอยู่ทั่วไปในท้องน้า จึงถูกกาหนดให้เป็นต้นแบบ เมื่อภูมิปัญญาด้านการจักสานที่สั่งสมมาแต่เดิม ผนวกกับธรรมชาติแวดล้อมใกล้ตัว ปลาตะเพียนสานด้วย ใบลานจึงปรากฏขึ้นเป็นงานแห่งภูมิปัญญาในวิถีชีวิตของชาวกรุงเก่า
ความเป็นมาของปลาตะเพียนใบลาน
ว่ากันว่า ปลาตะเพียนใบลานเกิดขึ้นมาจากภูมิปัญญาของคนเฒ่าคนแก่ที่สั่งสมความรู้มาจาก งานด้านการจักสานที่คนไทยคุ้นเคยกันดี ในสมัยก่อนคนไทยมักอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ มีปู่ย่า ตา ยาย พ่อแม่ พี่น้อง และบรรดาญาติสนิท เมื่อสมาชิกในครอบครัวซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนวัยหนุ่มสาวให้กาเนิด ทายาทขึ้นมา ภาระการเลี้ยงดูบุตรหลานจะตกอยู่กับผู้หลักผู้ใหญ่ที่ปลดระวางจากงานประการเลี้ยงดูบุตร หลานจะตกอยู่กับผู้หลักผู้ใหญ่ที่ปลดระวางจากงานประจา โดยปล่อยให้คนหนุ่มสาว ออกไปทางานสร้าง รายได้ คนเฒ่าคนแก่ถือเป็นผู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตมามาก จึงคิดหาอุบายในการหลอกล่อหลานเหลนที่ ชอบร้องไห้โยเย โดยนาปลาตะเพียนสานด้วยใบลานแขวนบนขื่อเปล เด็ก ๆ จะเพลิดเพลินจนลืมร้องไห้ จึง เป็นการลดภาระผู้ใหญ่ไปในตัว
หน้า ๑๑
นอกจากนั้น เด็ก ๆ จ านวนไม่ น้อย ที่ ได้รับ การเลี้ยงดูโ ดยมี ป ลาตะเพียนใบลานเข้าไปเป็น ส่วนประกอบ มักมีสุขภาพพลานามัยที่ดี ทาให้เกิดความเชื่อที่ว่า ปลาพลานามัยที่ดี ทาให้เกิดความเชื่อ ที่ว่า ปลาตะเพียนใบลาน นาความสงบร่มเย็นมาสู่คนในครัวเรือน เพราะภาระในการเลี้ยงเด็กลดลง ผู้ใหญ่ ไม่ต้อพะวง ทาให้มีเวลาทามาหากินเสริมรายได้มากขึ้น เมื่อฐานะทางการเงินดีขึ้น ครอบครัวสงบสุข ทุก อย่างจึงดีตามมา ปลาตะเพียนใบลานจึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภไปอีกทางหนึ่ง จนถึงปัจจุบัน ความนิยมในการประดิษฐ์ชิ้นงานนี้ยังคงดารงอยู่คู่กับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเรื่อยมา ส่วนเหตุผลที่ปลาตะเพียนใบลานมีชื่อเสียงโด่งดังที่แหล่งย่านบ้านท่าวาสุกรีนั้น เป็นเพราะผูค้ นใน แถบนี้ เป็นผู้ริเริ่มและประดิษฐ์ผลงานมาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตนั้นเรียกผลงานหัตถกรรมประเภทนี้กัน ทั่วไปว่า “ปลาใบลาน” และเพี้ยนมาเป็น “ปลาโบราณ” แม้กระนั้นคาทั้งสองคาก็เข้ากันได้ดีเมื่อเวลา ล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นงานหัตถกรรมโบราณที่ทามาจากใบลานนั่นเอง
หน้า ๑๒
เครื่องมือ อุปกรณ์และวัตถุดิบ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่สาคัญในการทาปลาตะเพียนใบลานประกอบด้วย เลียด กรรไกรหรือมีด พู่กัน สีน้ามัน เข็มและด้าย ส่วนวัตถุดิบที่สาคัญคือใบลานนั่นเอง เลียด เลียดเป็นเครื่องมือที่ทามาจากเศษไม้สองแผ่นประกบกัน โดยส่วนบนมีสกรูสาหรับเลื่อนเข้าออก ได้ ส่วนล่างฝัง ชิ้นส่วนใบมีดโกน เมื่อจะใช้ต้องนาใบลานมาวางบนร่องไม้แผ่นล่างแล้วทาบแผ่นบนมา ประกบ ก่อนจะดึงใบลานให้ได้ขนาดตามที่กะไว้ กรรไกรหรือมีด หลังจากได้ใบลานที่ผ่านการเลียดแล้ว อาจต้องปาดด้านข้างเพื่อให้เรียบสนิท มีดจึงถูกนามาใช้ ในขั้นตอนนี้ ส่วนกรรไกรจะใช้ห ลังการสานใบลานเป็นตัวปลา โดยตัดแต่งส่วนหางให้ได้รูป ทรงตาม ต้องการ พู่กัน พู่กันที่ใช้ในงานสานปลาตะเพียน นิยมใช้กัน ๓ ประเภท คือ พู่กันปากตัดขนแบน ใช้สาหรับ ระบายสีพื้นทั่วไป พู่กันปลายมน ใช้สาหรับเขียนลานและพู่กันปลายแหลม ใช้สาหรับวาดลวดลายที่เส้น บางมาก บางทีอาจใช้ไม้เหลาเป็นปลายแทน สี งานสานปลาตะเพียนใบลานแต่เดิมใช้ “รง” ทาเพื่อรักษาเนื้อใบลาน แต่ระยะหลังความนิยม เปลี่ยนไปเป็นสีน้ามัน เนื่องจากสีประเภทนี้ให้ความสวยสดด้านสีสัน โดยเฉพาะสีทอง สีเงิน สีแดง สีม่วง สีชมพู และสีน้าเงิน เป็นที่นิยมใช้กันมาก
หน้า ๑๓
เข็มและด้าย เข็มและด้าย จะถูกนามาใช้ในขั้นตอนของการตกแต่งให้ปลาตะเพียนสานมีรายละเอียดมากขึ้น โดยเฉพาะปลาตะเพียนสานตัวใหญ่จ ะเป็นตัวหลัก นอกนั้นจะมี ปลาตัวเล็ก ถูก ร้อยเป็นพวงรวมฝูงกั น ส่วนบนของปลามักใช้จอมติดร้อยห้อยระย้า เข็มแบะด้ายจึงเป็นอุปกรณ์ในขั้นตอนที่ต้องร้อยให้ทุกส่วน ห้อยอยู่ตามระยะที่กาหนด ใบลาน โดยทั่วไป “ลาน” มีอยู่ด้วยกัน ๓ ชนิด คือ ลานวัด ลานพรู และลานพื้นเมือง ชนิดที่นิยมนามา สานปลาตะเพียนคือ ลานพื้นเมือง หรือบางพื้นที่เรียกลานทอง เพราะมีสีขาวนวลสะอาดตา สาหรับชาว ท่าวาสุกรี แต่เดิมสามารถหาใบลานได้ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ระยะหลังปริมาณลานที่มีอยู่ เริ่มลดจานวนลง ชาวบ้านจึงสั่งซื้อมาจากจังหวัดปราจีนบุรี โดยพ่อค้าจะมัดรวมกันประมาณ ๑,๐๐๐ ใบ ต่อหนึ่งมัด
หน้า ๑๔
หน้า ๑๕
ส่วนประกอบที่สาคัญและกรรมวิธีสานปลาตะเพียนใบลาน กว่าจะได้ปลาตะเพียนใบลานครบหนึ่งพวง จาเป็นต้องมีส่วนประกอบต่าง ๆ อยู่รวมกันอย่าง ครบถ้วนจึงจะเป็นปลาตะเพียนใบลานที่สมบูรณ์ ส่วนประกอบที่สาคัญประกอบด้วย กระโจมปลา หรือกระจังบน กระโจมปลา หรือกระจังบน คือส่วนบนของพวงปลาตะเพียนใบลานลักษณะทั่วไปคล้ายดาว แปดแฉก วิธีการทาเริ่มจากนาใบลานมาเลียดให้ได้ขนาดความกว้างประมาณ ๑ นิ้ว รวม ๔ เส้น เสร็จแล้ว นาใบลานที่เลียดแล้วพับครึ่งสอดขัดดึงให้ตึงแล้วพับซ้อน ก่อนจะสานส่วนที่เหลือให้เป็นแฉกลักษณะคล้าย ดาว ตัวปลา ปลาตะเพียนใบลานหนึ่งพวงนิยมทากัน ๓ ขนาด คือ ขนาดลูกปลา ๖ ตัว ๙ ตัว และ ๑๒ ตัว แต่ละพวงจะมี ปลาตัวใหญ่ห้อยเป็นประธานอยู่ส่วนบน ทั้ง การสานปลาตัวใหญ่และตัวเล็กมี กรรมวิธี เหมือนกัน แต่จะต่างกันตรงขนาดของตัวปลา วิธีการทาหากต้องการให้ได้ปลาตะเพียนตัวใหญ่ก็เลียดใบลานให้กว้าง และหากต้องการตัวเล็ก ต้องเลียดใบลานให้แคบกว่า ใบลานแคบมากเท่าใดจะได้ปลาขนาดเล็กเท่านั้น การสานปลาตะเพียนจะเริม่ จากนาใบลานที่เลียดแล้ว เพียงหนึ่งเส้นมาพับสอดให้ได้ส่วนหาง ก่อนจะย้อนมาทางส่วนหัว เมื่อสานเสร็จ แล้ว ส่วนปลายของใบลานจะกลายเป็นครีบปลา หลังจากเสร็จ สิ้นในส่วนของตัวปลาแล้ว ส าหรับปลาตัวใหญ่ห รือแม่ ปลาจ าเป็นต้องมี หางที่ สวยงามเป็นพิเศษ คนสานปลาตะเพียนจึงใช้วิธีนาใบลานขนาดความกว้างประมาณ ๑ นิ้ว ยาว ๔ นิ้ว มา พับเฉียงให้ด้านปลายแยกออกจากกัน แล้วตัดใบลานขนาดความยาวประมาณ ๗ นิ้ว กว้าง ๑ นิ้ว พับเป็น แนวยาว สวมทับโคนหางก่อนจะเย็บติดกันให้หางแข็งแรง เมื่อจะนาส่วนหางไปประกอบเข้ากับตัวปลา คนสานปลาตะเพียนจะผ่าส่วนท้ายของปลาให้ลึกเข้าไปประมาณ ๑ ซม. แล้วสอดหางเข้าไปก่อนจะเย็บ ติดกัน เสร็จแล้วจะได้แม่ปลาตะเพียนที่สมบูรณ์
หน้า ๑๖
กระทงเกลือ หรือดาว
กระทงเกลือ หรือดาว กระทงเกลือ หรือบางที่นิยมเรียกว่า “ดาว” คือชิ้นส่วนที่ทาขึ้นเพื่อครอบส่วนบนของลูกปลาแต่ ละตัวเพื่อความสวยงาม ส่วนมากทากันเป็นดาว ๕ แฉก วิธีการทาเริ่มจากนาใบลาน ๒ ใบมาเลียดตาม ขนาด แล้วทับซ้อนให้ปลายด้านหนึ่งเฉียงแยกจากกัน ก่อนจะพับใบลานเป้นรูปสามเหลี่ยมให้ครบทั้ง ๕ เหลี่ยม จะได้เป็นรูปดาว ๕ แฉก
หน้า ๑๗
ปักเป้า หรือเม็ด ปักเป้า หรือเม็ด คือส่วนประกอบของพวงปลาตะเพียนที่ถูกร้อยคั่นตามส่วนต่าง ๆ ของพวงปลา หากไม่มีปักเป้าหรือเม็ด ช่องว่างที่เกิดขึ้นจะเป็นเส้นด้ายขวาทาให้ขาดความสวยงาม คนสานปลาตะเพียน จึงคิดค้นทาเป็นเม็ดขึ้นมาเพื่อคั่นช่องว่างอย่างลงตัว วิธีการสานปักเป้า หรือเม็ด จะใช้ใบลานเลียดขนาดกว้างเล็กน้อยเพียงเส้นเดียว พับให้ด้านขวา ทับด้านซ้าย ก่อนจะสอดปลายด้านซ้ายลงไป แล้วบิดให้เป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อดึงจนตึงแล้วจะเป็นรูปเม็ด สามเหลี่ยม ใบโพ ใบโพ ทามาจากเศษใบลานที่เหลือ ใช้กรรไกรตัดให้เป็นแผ่นขนาดกว้าง ๑ นิ้ว ยาว ๑ นิ้ว เพื่อใช้ เป็นระบายที่ด้านปลายสุดของแต่ละส่วน
หน้า ๑๘
การระบายสีใส่ลวดลาย ปลาตะเพียนใบลานมีทั้งแบบไม่ระบายสี และแบบมีสีสัน คนสานปลาตะเพียนจึงแยกส่วนที่ไม่ ระบายสีไว้ต่างหาก เพื่อร้อยเป็นพวงโมบายในภายหลัง สาหรับปลาที่ต้องการระบายสี จะใช้วิธีนาพู่กันขนาดต่าง ๆ มาจุ่มสีระบายไปตามจินตนาการที่ กาหนด ก่อนจะตกแต่งให้เป็นลวดลายที่กะเกณฑ์ไว้การลงสีมีทั้งแบบสีเดียว และหลายสีขึ้นอยู่กับความ ต้องการของลูกค้าเป็นสาคัญ ส่วนการตกแต่งลวดลาย จะใช้พู่กันชนิดกลมปลายแหลขนาดเล็กมักนิยมใช้สีทอง และสีเงินมา เขียน โดยเฉพาะช่วงเกล็ดและหาง จะช่วยให้ตัวปลาโดยรวมเกิดความแวววาว
หน้า ๑๙
ร้อยทุกส่วนให้รวมเป็นหนึ่งเดียว หลังจากระบายสีและตากไว้จนแห้งแล้ว คนสานปลาตะเพียนจะร้อยส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดย เริ่มจากกระจังบน วิธี่การร้อยจะร้อยปักเป้าลงไปก่อนให้ได้ความยาวพอประมาณ ก่อ นจะร้อยกระจังบน เข้า แล้วร้อยปักเป้าซ้าลงไปอีก ๒ เม็ด ส่วนปลายของกระจังที่แยกออกเป็นแปดแฉก แต่ละแฉกจะมีใบโพ อยู่ด้านปลายโดยมีปักเป้าร้อยเป็นตัวคั่น ๒ เม็ด เมื่อเสร็จแล้ววางไว้ก่อน จากนั้นร้อยลูกปลาโดยมีใบโพห้อยระบาย สาหรับระยะห่างของลูกปลาแต่ละตัวจะมีปักเป้า เป็น ตัวเชื่อมลูกปลาที่ร้อยอาจมีเส้นละ ๒ ตัว ๓ ตัว และ๔ ตัว รวมทั้งหมด ๓ เส้น เมื่อร้อยแต่ละเส้นเสร็จแล้ว นามาเย็บติดตรงส่วนของหางแม่ปลา ๑ เส้น ส่วนท้อง ๑ เส้น และส่วนปาก ๑ เส้น ก่อนจะเย็บส่วนปลาย ของกระจังบนให้ติดกับสันหลังปลา เมื่อเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนจะได้ปลาตะเพียนใบลานเป็นพวง หรือโมบาย อย่างสมบูรณ์
หน้า ๒๐
ประโยชน์ใช้สอย จากอดีตถึง ปัจ จุบัน ปลาตะเพียนใบลานยัง คงถูก นามาใช้สาหรับ เลี้ยงเด็กอยู่ไม่ เ สื่อมคลาย โดยเฉพาะผู้คนตามแหล่งย่านบ้านชนบทของไทยในแถบที่ราบลุ่มภาคกลาง และส่วนต่าง ๆ ของประเทศ นอกจากนั้น จากความสวยงามและถือเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านจึงมีผู้สนใจอีกกลุ่มหนึ่งนาไป ติดห้อยเป็นโมบายประดับอาคารบ้านเรือน ร้านค้า และสานักงาน
หน้า ๒๑
วิธีการสานปลาตะเพียนใบลาน
หน้า ๒๒
พันใบลานโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางข้างซ้ายยึดตามแบบ กะความยาวหางทั้ง ๒ ข้างให้เท่ากัน
นาใบลานอีกเส้นหักครึ่งแต่ต้องปล่อยให้กระดาษพองตามธรรมชาติ
หน้า ๒๓
ครอบใบลานเส้นที่ ๑ ตามแบบ
นาหางเส้นที่ ๕ หันลอดใต้เส้นที่ ๑
หน้า ๒๔
พลิกตัวปลา
นาหางเส้นที่ ๓ ทับเส้นที่ ๒ และลอดใต้เส้นที่ ๑
หน้า ๒๕
ดึงตัวปลาให้ตงึ ก็จะได้ปลาตะเพียนชั้นเดียวแบบง่าย แต่ถ้าใครอยากสานปลาแบบสองชั้น แขวนผสมกันก็ ดูสวยไปอีกแบบ วิธีก็ไม่ยากเกินไป ซึง่ เรามีวิธีให้ง่ายขึนด้วยการเขียน หมายเลขที่หางปลาตามแบบ เรื่อง ยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายทันที
กาหนดหมายเลขที่หางปลาตามแบบ
หน้า ๒๖
นาเส้นที่ ๑ ทับเส้นที่ ๔
นาเส้นที่ ๒ กลับหลังไปไว้ใต้เส้นที่ ๓ และเส้นที่ ๑
หน้า ๒๗
ทับเส้นที่ ๒ ลงทับเส้นที่ ๑ และเส้นที่ ๓
หน้า ๒๘
นาเส้นที่ ๓ ทับเส้นที่ ๒ และลอดใต้เส้นที่ ๔
เสร็จแล้วพลิกกลับด้านพับเส้นที่ ๑ ลงมา
พับเส้นที่ ๔ สอดใต้ช่องตามภาพ เสร็จแล้วดึงทุกเส้นให้กระชับ
หน้า ๒๙
ตัดแต่งหางปลาให้สวยงาม คราวนี้ก็ได้ปลาตะเพียนอีกแบบ เป็นอันเรียบร้อย
หน้า ๓๐
บันทึก ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................
หน้า ๓๑
....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................
หน้า ๓๒
....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................
หน้า ๓๓
....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................