เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรระยะสั้น คืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ 3) “เปิงสงก

Page 1


เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรระยะสั้น คืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๓)

เรื่อง เปิงสงกรานต์ สืบสานตานานข้าวแช่ โอชารสแห่งอาเซียน วันเสาร์ที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๘

จัดพิมพ์โดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เมษายน ๒๕๕๘ จานวน ๑๐๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน

ฝ่ายส่งเสริม และเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว ฝ่ายบริหารงานทัว่ ไป ณัฐฐิญา แก้วแหวน สายรุ้ง กล่​่าเพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์ ยุพดี ป้อมทอง


สารบัญ หน้า ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มอญ

ชุมชนมอญ บ้านเสากระโดง อาเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๑๗

เรื่องเล่าจากงานสงกรานต์ที่บ้านเสากระโดง

๒๐

ข้าวแช่ ชาวมอญ

๓๒


กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นคืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๓)

เรื่อง เปิงสงกรานต์ สืบสานตานานข้าวแช่ โอชารสแห่งอาเซียน ๑.ชื่อหลักสูตร: กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นคืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๓) เปิงสงกรานต์ สืบสานต่านานข้าวแช่ โอชารสแห่งอาเซียน ๒.หน่วยงานผู้รับผิดชอบ: ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม สถาบันอยุธยาศึกษา ๓.หลักการและเหตุผล: ชาวมอญ สมัยโบราณถือว่าวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ นับเป็นความเชื่อที่ได้แบบอย่างมาจาก อินเดียพร้อมๆกับ การยอมรับนั บ ถือพุ ทธศาสนา ต่อมาชาวมอญก็ ได้ ประยุ กต์แบบแผนและถ่ ายทอด ประเพณีปฏิบัตินี้มายังชาวไทยด้วย อาหารมอญ ที่นิ ยมท่ากันในช่วงสงกรานต์เท่านั้น ก็คือ ขนมกะละแม และ ข้าวแช่ หรือ ข้าว สงกรานต์ คนมอญเรียกว่า “เปิงด้าจก์” ที่แปลว่า ข้าวน้่า โดยเฉพาะข้าวแช่นั้นเป็นอาหารที่เกี่ยวข้องกับ พิธีกรรม มีขั้นตอนในการท่าค่อนข้างพิถีพิถัน ใช้เวลาในการจัดเตรียมมาก และเมื่อปรุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องน่าไปถวายบูชาต่อเทวดา จากนั้นจะน่าไปถวายพระและแบ่งไปส่งผู้หลักผู้ใหญ่ ที่เหลือจากนั้นจึง จะน่ามาตั้งวงแบ่งกันกินกันเองภายในครัวเรือน การกินข้าวแช่ จึงเป็นการกินอาหารที่สอดรับกับสภาพภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี เพราะช่วงฤดูร้อน การกิ น อาหารที่ มี น้่ าเป็ น องค์ ป ระกอบมากๆ ท่ า ให้ ย่ อ ยง่า ย ลดอุ ณ หภู มิ ภ ายในร่ างก าย คลายร้อ น สร้างสมดุลภายในร่างกาย ผิวพรรณชุ่มชื่น ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บไข้ได้ป่ วย เช่น ผิวแห้ง ปากแตก จากอาการร้อนใน ท้องผูก ส่วนกับข้าวที่จะรับประทานกับข้าวแช่นั้นบางชนิดมีการตระเตรียมล่วงหน้านานนับเดือน เช่น ปลาแห้ง เนื้อแห้ ง ต้อ งจัดหาหรือซื้ อมาท่าเค็มเอาไว้ล่วงหน้า บางถิ่นมีกับ ข้าวหรือเครื่องเคียงข้าวแช่ ๕ ชนิด บางถิ่นมี ๗ ชนิด รายละเอียดแตกต่างกันไป ซึ่งรายการหลักๆ ได้แก่ ปลาแห้งป่น , เนื้อเค็มฉีก ฝอย, หัวไชโป้เค็มผัดไข่ ,ไข่เค็ม ,กระเทียมดอง เป็นต้น สถาบันอยุธยาศึกษา เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ท่าหน้าที่ใน ด้านการศึก ษา ค้น คว้า วิจัยข้ อมู ลเกี่ ยวข้ องกับ ประวัติศ าสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒ นธรรมของจัง หวั ด พระนครศรี อยุธยา จึงเห็ นสมควรจัด กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้น คืนความเป็ นไทยในภูมิปั ญ ญา ท้องถิ่นกรุงเก่า ครั้งที่ ๓ เรื่อง เปิงสงกรานต์ สืบสานต่านานข้าวแช่ โอชารสแห่งอาเซียน เพื่อให้ผู้เข้ารับ การอบรมได้เรียนรู้ความเป็นมา และประโยชน์ของข้าวแช่ในเชิงบูรณาการ สามารถปรุงอาหาร ทั้งในเรื่อง ของการเตรียมส่วนประกอบ การหุงข้าวแช่ การท่ากับข้าวเครื่องเคียงข้าวแช่ โดยผู้อบรมสามารถที่จะ น่าไปประกอบอาชีพอิสระได้ ตลอดจนเป็นการปลูกจิตส่านึกและภาคภูมิใจในมรดกวัฒนธรรม รวมทั้งเป็น การสืบสานภูมิปัญญาของชาติต่อไป


๔.วัตถุประสงค์ : ๑) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจ มีความความรู้เกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของข้าวแช่แบบต้นต่ารับของชาวมอญ และพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับข้าวแช่ ๒) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจ มีความความรู้เกี่ยวกับ ปฏิบัติวิธีการประกอบอาหารตามกรรมวิธีดั้ง เดิมของชาวมอญ อันเป็นชนชาติหนึ่ง ที่อยู่ร่วมในภูมิภาค อาเซียน ๓) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจ เกิดจิตส่านึกที่ดีเห็น คุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่น รวมทั้งสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรมแขนงต่างๆ ของไทย อันจะก่อให้เกิดความรู้สึกหวงแหนในศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ และเกิดผลดีต่อประเทศชาติ สืบไป ๕. สาระสาคัญของหลักสูตร: กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นคืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า ครั้งที่ ๓ เรื่อง เปิงสงกรานต์ สืบสานต่านานข้าวแช่ โอชารสแห่งอาเซียน ๖. หัวเรื่องและขอบข่ายเนื้อหา: หัวเรื่อง: เปิงสงกรานต์ สืบสานต่านานข้าวแช่ โอชารสแห่งอาเซียน ขอบข่ายเนื้อหา: ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ความเป็นมา และประโยชน์ของข้าวแช่ในเชิงบูรณา การ สามารถปรุงอาหาร ทั้งในเรื่องของการเตรียมส่วนประกอบ การหุงข้าวแช่ การท่ากับข้าวเครื่องเคียง ข้าวแช่ โดยผู้อบรมสามารถที่จะน่าไปประกอบอาชีพอิสระได้ ๗. รูปแบบและวิธีการฝึกอบรม: ๗.๑ อบรมเชิงอภิปราย (บรรยายทางวิชาการ) ๗.๒ วิ ธี ก ารฝึ ก อบรม: การจั ด กิ จ กรรมบรรยายทางวิ ช าการ โดยนั ก วิ ช าการที่ มี ค วามรู้ ความสามารถ และเป็นที่รู้จักในแวดวงวิชาการ ๘. ระยะเวลาการฝึกอบรม: ๑ วัน ๙. จานวนผู้เข้ารับการอบรม: ๔๐ คน ๑๐. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม: นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ และผู้สนใจทั่วไป ๑๑. ค่าใช้จ่าย: งบประมาณแผ่นดิน (บริการทางวิชาการ) ๓๙,๐๐๐ บาท ๑๒. การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม: ๑๒.๑ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๒.๒ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๒.๓ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปสามารถน่าความรู้ไปใช้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕


๑๓. ผลที่คาดว่าจะได้รับ : ๑) นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป มีความความรู้เกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของข้าวแช่แบบต้นต่ารับของชาวมอญ และพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับข้าวแช่ ๒) นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป มีความความรู้เกี่ยวกับ ปฏิบัติวิธีการประกอบอาหารตามกรรมวิธีดั้ง เดิมของชาวมอญ อันเป็นชนชาติหนึ่ง ที่อยู่ร่วมในภูมิภาค อาเซียน ๓) นักเรียน นั กศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป เกิดจิตส่านึกที่ดีเห็ น คุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่น รวมทั้งสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรมแขนงต่างๆ ของไทย และสามารถน่าไปประยุกต์ใช้เพื่อการประกอบอาชีพได้ ๑๔. วันเวลาอบรม : วันเสาร์ที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ๑๕. สื่อการอบรม : ๑๕.๑ เอกสารประกอบการเสวนา ๑๕.๒ จอแสดงภาพประกอบ

๑๖. สถานที่ฝึกอบรม : ภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ ณ ห้องประชุมต้นโมก มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๑๗. แนววิชาโดยสังเขป ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ความเป็นมา และประโยชน์ของข้าวแช่ในเชิงบูรณาการ สามารถปรุง อาหาร ทั้งในเรื่องของการเตรียมส่วนประกอบ การหุง ข้าวแช่ การท่ากับข้าวเครื่องเคียงข้าวแช่ โดยผู้ อบรมสามารถที่จะน่าไปประกอบอาชีพอิสระได้ ๑๘. แผนการสอน วันที่ เวลา เนื้อหาวิชา ๔ เม.ย ๒๕๕๘ ๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. ประวัติความเป็นมา และพิธีกรรมเกี่ยวกับการท่าข้าวแช่ ๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ปฏิบัติการประกอบอาหาร : การขัดข้าว หุงข้าว และอบควันเทียน ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ปฏิบัติการประกอบอาหาร : เครื่องเคียงข้าวแช่ ปลาแห้งป่น , เนื้อ เค็มฉีกฝอย, หัวไชโป้เค็มผัดไข่ ,ไข่เค็ม ,ผัดกระเทียมดอง ๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. สรุปผลการปฏิบัติการ รวมบรรยาย ๑ ชั่วโมง รวมปฏิบัติการ ๗ ชั่วโมง


กาหนดการอบรมหลักสูตรระยะสั้นคืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครัง้ ที่ ๓) เปิงสงกรานต์ สืบสานตานานข้าวแช่ โอชารสแห่งอาเซียน วันเสาร์ที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุมต้นโมก อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น.

ลงทะเบียนรับเอกสาร

๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น.

แบ่งกลุ่มปฏิบัติการฝึกอบรม, ประวัติความเป็นมา และพิธีกรรมเกี่ยวกับการท่าข้าวแช่ วิทยากรโดย อาจารย์จงกล สุวรรณวาสี และอาจารย์พิกุล สุจิตจูล

๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.

ปฏิบัตกิ ารประกอบอาหาร : การขัดข้าว หุงข้าว และอบควันเทียน วิทยากรโดย อาจารย์จงกล สุวรรณวาสี และอาจารย์พิกุล สุจิตจูล

๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ปฏิบัตกิ ารประกอบอาหาร : เครื่องเคียงข้าวแช่ ปลาแห้งป่น , เนื้อเค็มฉีกฝอย, หัวไชโป้เค็มผัดไข่ ,ไข่เค็ม ,ผัดกระเทียมดอง วิทยากรโดย อาจารย์จงกล สุวรรณวาสี และอาจารย์พิกุล สุจิตจูล

๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.

สรุปผลการปฏิบัติ และมอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้ารับการอบรม

*** หมายเหตุ *** รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มในระหว่างการอบรม เวลา ๑๐.๐๐ น และ ๑๔.๐๐ น.


หน้า ๑

ประวัตศิ าสตร์ชาติพันธุ์มอญ

กลุ่มชาติพันธุ์มอญในประเทศพม่า มอญ มี อารยธรรมสื บเนื่ องยาวนาน เป็ น ชนชาติ ที่มี อ ารยธรรมสู ง ในแถบเอเชี ยตะวั นออก เฉียงใต้ แม้ ในปัจจุบั นชนชาติมอญจะไม่มีป ระเทศปกครองตนเอง แต่ ยัง พบได้ว่าวัฒ นธรรมประเพณี ชนชาติต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ล้วนได้รับอิทธิพลมอญทั้งด้านภาษา ศาสนา สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ความเชื่อและประเพณีต่างๆ แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตประจาวัน มอญได้รับการจาแนกจากนักวิชาการทางด้านภาษาศาสตร์และมานุษยวิทยา จัดอยู่ในกลุ่มชน ชาติที่พูดภาษามอญ-เขมร (Mon-Khmar) ตระกูลออสโตร-เอเชียติค (Austro-Asiatic)

ภูมิหลังของมอญ ที่ตั้งของอาณาจักรมอญนั้น สามารถแยกออกเป็น ๒ พื้นที่ คือ มอญในดินแดนไทย และ มอญ ในดินแดนพม่า จากการศึกษาเท่าที่มีหลักฐาน พบว่าการตั้งอาณาจักรในอดีตนั้นมิได้แยกออกจากกันโดย ชัดเจน มีพื้นที่ซ้อนทับกันลื่นไหลไปตามศูนย์กลางของอานาจ บางครั้งขยายใหญ่กินพื้นที่กว้างครอบคลุม เมืองเล็กเมืองน้อย บางครั้งลีบเล็ก เมื่อเมืองเล็กเมืองน้อยตั้งตนเป็นอิสระ หรือเปลี่ยนแปลงตนเองเข้าหา


หน้า ๒

ขั้วอานาจอื่ น เป็ นไปตามความสามารถของผู้น าอาณาจักร สภาวะเศรษฐกิจ สัง คม และการเมื องใน ขณะนั้น มอญในดินแดนไทยนั้นอยู่ในข้อสันนิษฐานข้างต้น กล่าวคือเป็นการแผ่อานาจการปกครองของ มอญจากดินแดนพม่า ศิลปวัฒนธรรมและการเมืองมอญจึงอิทธิพลต่อประชากรในดินแดนส่วนที่เป็ น ประเทศไทยปัจจุบั น โดยที่ประชากรในพื้นที่นี้ยังเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม ได้แก่ มอญ ไทย (สยาม) คน พื้นเมือง เป็นหลัก นอกนั้นเป็นชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย ซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขาย และเผยแผ่ศาสนา เป็นต้น และต่างยอมรับในวัฒนธรรมมอญที่เป็นวัฒนธรรมสูงกว่า ในด้านศาสนา ตัวอักษร และวัฒนธรรม ผู้นาอาณาจักรอาจเป็นชาติพันธุ์มอญ หรืออาจเป็นชาติพันธุ์พื้นเมืองที่ผู้นาอาณาจักมอญในดินแดนพม่า (มอญ) แต่งตั้งให้ปกครองกันเอง

การอพยพของชาวมอญเข้าสู่ประเทศไทย ชาวมอญในที่นี้ หมายถึงชาวมอญที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในเมืองมอญ คือ พม่าตอนใต้ในปัจจุบัน และ อพยพจากถิ่นเดิมเข้ามายังแผ่นดินไทย เพราะถูกรุกรานจากอาณาจักรข้างเคียง ภาวะสงครามและการถูก กดขี่ข่มเหง ล้วนเป็นปัจจัยผลักดันให้ชาวมอญที่ได้รับความเดือดร้อน พากันอพยพครอบครัวหนีไปยัง ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ล้านนา เขมร เวียดนามลาว และไทย ในการอพยพเข้าสู่ไทย มีหลักฐานกล่าวถึงเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๐๘๒ เมื่อพระเจ้าตะเบงชเวตี้ ทาสงครามชนะ มีอานาจเหนืออาณาจักรหงสาวดี ชาวมอญจานวนมากพากันอพยพหลบหนีเข้ามายังพระ ราชอาณาจักรไทย และมีการอพยพเข้ามาอย่างต่อเนื่องอีกหลายครั้ง จนถึง พ.ศ. ๒๓๖๗ ถือเป็นการ อพยพเข้ามาอย่างเป็นทางการครั้งสุดท้าย เนื่องจากอังกฤษเริ่มทาสงครามกับพม่า อังกฤษเข้ายึดครอง บริเวณที่เป็นเมืองเก่าของมอญ และผนวกเข้าเป็นจังหวัดหนึ่งของอินเดีย

สาเหตุที่ทาให้ชาวมอญต้องอพยพ ชาวมอญที่อพยพออกจากดินแดนถิ่นกาเนิดนั้น สาเหตุที่สาคัญคือการตกอยู่ภายใต้อานาจการ ปกครองของพม่า ถูกบีบคั้ นทางการเมือง ความเดือดร้อนจากการถูกกดขี่ เกณฑ์แรงงานไปใช้ในการ ก่อสร้าง ทาการเกษตรรวบรวมเสบียงอาหารให้กองทัพพม่าก่อนการยกทัพเข้าทาสงครามกับชาติต่างๆ มากกว่าจะเป็นความเดือดร้อนจากเรื่องการทามาหากิน หรือเพราะประชากรเพิ่มจานวนสูง จนประสบ ปัญหาที่ทากิน มีผลผลิตไม่เพียงพอ ทั้งนี้เพราะภูมิประเทศของมอญมีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นเมืองท่า ค้าขายที่สาคัญ สภาพเศรษฐกิจจึงอยู่ในระดับมั่งคั่ง ไม่เดือดร้อน ส่วนการที่ชาวมอญเลือกอพยพเข้ามา ไทยเป็นหลักมากกว่าจะเป็นประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ นั้ น เนื่องจากพื้นที่ของมอญและไทยต่อเนื่องกัน สภาพภู มิอากาศคล้ายกัน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีอาหารการกิน วิถีชีวิต วัฒ นธรรมประเพณี ก็ เหมื อนกัน ที่ สาคัญ คื อ นั บ ถือศาสนาพุ ท ธเช่น เดี ยวกัน จึง สามารถปรับตั วได้ ง่ายเมื่อ เข้ามาอยู่ในไทย ประกอบกับไทยมีความรู้สึกเป็นมิตร ไม่มีนโยบายกีดกันชาวมอญ รวมทั้งพระมหากษัตริย์ไทยยินดีต้อนรับ ชาวมอญให้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเสมอ ชาวมอญเหล่านี้ทราบดีว่ามอญที่ได้อพยพเข้ามาก่อนหน้า นั้น ล้วนได้รับการปฏิบัติอย่างดี หลายคนได้รับราชการเป็นขุนนางระดับสูง การอพยพครั้งสาคัญของชาว มอญเข้ามาตั้งหลักแหล่งในไทยมี ๙ ครั้ง ดังนี้


หน้า ๓

การอพยพครั้งที่ ๑ (สมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช พ.ศ. ๒๐๘๒) เมื่อพระเจ้าตะเบงชเวตี้ทาสงครามชนะ มีอานาจเหนืออาณาจักรหงสาวดี ชาวมอญจานวนมาก พากันอพยพหลบหนีเข้ามายังพระราชอาณาจักรไทย พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯให้ชาวมอญกลุ่มนี้ ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบชานพระนครกรุงศรีอยุธยา การอพยพครั้งที่ ๒ (สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา พ.ศ. ๒๑๒๗) สืบเนื่องจากเมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง นายทหารมอญคือ พระยาเกียรติ์ พระยาราม และพระมหาเถรคันฉ่องได้เข้ามาสวามิภักดิ์สมเด็จพระนเรศวร หลังจากนั้น สมเด็จพระนเรศวรจึงชักชวนพระยาเกียรติ์พระยาราม และพระมหาเถรคันฉ่องเข้ามาไทย อีกทั้งชาวเมือง แครงและชาวมอญในเมืองรายทางที่เกลียดชังพม่าเพราะถูกกดขี่มานานจึงอพยพตามเสด็จสมเด็จพระ นเรศวรมหาราชเข้ามาเป็นจานวนมาก การอพยพครั้งที่ ๓ (สมัยสมเด็จพระนเรศวร พ.ศ. ๒๑๓๖) สาเหตุเกิดจากความเดือดร้อนที่ชาวมอญได้รับจากภาวะสงคราม เนื่องจากพม่าสมัยพระเจ้า นันทบุเรงพยายามยกทัพเข้ามาปราบปรามเอาชนะไทยหลายครั้ง แต่พ่ายแพ้กลับไปทุกครั้ง ทาให้ต้อง เกณฑ์พลเมืองเข้ากองทัพเพื่อทานาและเป็นทหาร ซึ่งชาวมอญเป็นพวกที่เดือดร้อนที่สุดเนื่ องจากอยู่ตรง แดนต่อระหว่างไทยกับพม่า ชาวมอญจึงพากันอพยพหนีพม่าเข้ามายังพระราชอาณาจักรไทย การอพยพครั้งที่ ๔ (สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. ๒๑๗๕) สาเหตุเกิดจากชาวมอญถือโอกาสที่พม่าผลัดแผ่นดินจึงก่อกบฏขึ้น แต่ไม่ประสบความสาเร็จถูก พม่าจับประหารชีวิตเป็นจานวนมาก ชาวมอญจึงพากันอพยพเข้ามายังพระราชอาณาจักรไทย การอพยพครั้งที่ ๕ (สมัยสมเด็จพระนารายณ์ พ.ศ. ๒๒๐๓) สาเหตุเกิดจากกองทัพจีนฮ่อซึ่งยึดบัลลังก์จากจักรพรรดิ์ยุ่ง ลีของจีนได้ จักรพรรดิ์ยุ่งลีหนีมา อาศัยอยู่ในดินแดนพม่า กองทัพฮ่อไม่พอใจจึงตามเข้ามาโจมตีพม่า พม่าจึงเกณฑ์ชาวมอญขึ้นไปช่วยรักษา เมืองอังวะ แต่ชาวมอญพากันหนีทัพ พม่าจึงยกกองทัพมาปราบจับชาวมอญฆ่าเผาไฟอย่างโหดเหี้ยม ชาว มอญได้อพยพหนีเข้ามายังพระราชอาณาจักรไทย ร่วม ๑๐,๐๐๐ คน การอพยพครั้งที่ ๖ (สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๙๐) สาเหตุเกิดจากความอ่อนแอของพม่าปลายราชวงศ์ตองอู ขณะที่พม่าต้องประสบภาวะสงคราม จีนฮ่อและไทย มอญก็ถือโอกาสรวบรวมกาลังและประกาศอิสรภาพใน พ.ศ. ๒๒๘๓ ภายใต้การนาของ สมิงทอพุทธเกษ หลังจากตั้งมั่นที่หงสาวดีได้แล้ว มอญคิดจะขยายอาณาเขตออกไปทางเหนือ เพื่อทาลาย ล้างอาณาจักรพม่าที่อังวะซึ่งกาลังอ่อนแอให้ราบคาบ แต่ก็ไม่ประสบความสาเร็จ มอญจึงเริ่มอพยพเข้า มายังพระราชอาณาจักรไทย และอพยพติดตามมาเป็นระลอกย่อยๆ หลายครั้งเมื่อกองทัพพม่าตีโต้กลับมา และปราบปรามอย่างหนัก การอพยพครั้งที่ ๗ (สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๗) สาเหตุเกิดจากพม่าสมัยราชวงศ์อลองพญาได้เกณฑ์แรงงานมอญเข้ากองทัพเพื่อเตรียมเส้นทาง เตรียมยกทัพเข้าโจมตีไทย มีพระยาเจ่ง เจ้าเมืองเตรินเป็นหัวหน้า ทหารมอญอีกส่วนหนึ่งถูกเกณฑ์เข้าเป็น ทหารประจากองทัพ แต่พากันหนีทัพ พม่าจึงจับครอบครัวทหารมอญไปเป็นตัวประกัน และพลอยจับเอา ครอบครัวของทหารที่สร้างทางไปด้วย เมื่อทหารเหล่านั้นทราบเข้าจึงไม่พอใจเป็นอย่างมาก ก่อกบฏขึ้นรุก ตีเอาเมืองคืนจากพม่า แต่ยกทัพขึ้นไปได้เพียงเมืองย่างกุ้ง (ตะเกิง) พม่าส่งกองทัพมาปราบ พวกมอญสู้ ไม่ได้และอพยพเข้ายังพระราชอาณาจักรไทยจานวนหลายพันคน


หน้า ๔

การอพยพครั้งที่ ๘ (สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พ.ศ. ๒๓๕๘) สาเหตุเกิดจากพระเจ้าปดุงของพม่า ต้องการสร้างพระเจดีย์มินกุนให้เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดใน โลก จึงได้เกณฑ์แรงงานเป็นจานวนมาก ชาวมอญได้รับความเดือดร้อนสาหัส เพราะไม่มีเวลาทามาหากิน ถูกรีดไถเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าหน้าที่พม่าที่ฉ้ อราษฎร์บังหลวง ชาวมอญจึงพากันอพยพเข้าไทย จานวน กว่า ๔๐,๐๐๐ คนเศษ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าลูกยาเธอเจ้า ฟ้ามงกุฏ ไปรับครัวมอญทางด่านเจดีย์สามองค์ การอพยพครั้งที่ ๙ (สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๓๖๗) สาเหตุเกิด จากเจ้า พระยามหาโยธา (เจ่ ง ) ขอพระราชทานพระบรมราชานุ ญ าตจัด กองทั พ ออกไปรับครอบครัวมอญที่เป็นญาติพี่น้องจากเมืองมอญ เนื่องจากขณะนั้นพม่ากาลังรบพุ่งอยู่กับอังกฤษ ซึ่ง พื้ นที่ บางส่ วนตกเป็ น ของอั งกฤษแล้ ว เจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง ) เกรงว่ าญาติพี่ น้อ งของตนจะเกิ ด อันตราย ซึ่งการอพยพครั้งนั้นมีจานวนชาวมอญเข้ามายังพระราชอาณาจักรไทยไม่มากนัก และเป็นการ อพยพครั้งสุดท้ายก่อนพม่าตกเป็นของอังกฤษ เส้นทางอพยพเข้าสู่ประเทศไทย มอญที่อพยพเข้ามายังพระราชอาณาจักรไทย โดยมากเป็นมอญจากเมืองใหญ่ที่มีความสาคัญ เป็นศูนย์กลางการค้า มีความอุดมสมบูรณ์ มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจานวนมาก จึงถูกพม่าควบคุมอย่าง เข้มงวด เช่น เมืองเมาะตะมะ และ เมืองมะละแหม่ง เมืองเหล่านี้อยู่ใกล้ชายแดนไทย มีเส้นทางติดต่อ ค้าขายมาแต่สมัยโบราณ ชาวมอญคุ้นเคยเส้นทางเหล่านี้ดี จึงสามารถเดินทางมาได้สะดวก ประกอบกับ มอญในเมืองเมาะตะมะถูกพม่าบีบคั้นกดดันมากกว่าเมืองอื่น เพราะถูกพม่าใช้เป็นที่ประชุมพล ก่อนยก ทัพเข้าตีไทย นอกจากมอญเมืองเมาะตะมะ และเมืองมะละแหม่ง ยังประกอบด้วยชาวมอญจากเมืองหง สาวดี เมืองเร (เย) เมืองแครง เป็นต้น เส้นทางการอพยพของชาวมอญเข้าสู่ไทย มีด้วยกัน ๔ ทางโดยตั้งต้นจากเมืองเมาะตะมะ และ เมืองมะละแหม่ง ได้แก่ (๑) ทางเหนือ อพยพเข้ามายังเมืองตาก หรือ เมืองระแหง ทางด่านแม่ละเมา เช่น การอพยพใน สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช พ.ศ. ๒๓๑๗ มีสมิงสุหร่ายกลั่นและพระยาเจ่งเป็นหัวหน้า (๒) ทางใต้ อพยพเข้ามายังเมืองกาญจนบุรี ทางด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่ งเป็นเส้นทางที่ใช้กันมาก ทั้ ง เป็ น เส้น ทางการค้ า การเดิ น ทั พ ทั้ ง ของฝ่ายไทยและฝ่ายพม่ า เช่ น การอพยพในสมั ย สมเด็จ พระ นารายณ์ และการอพยพในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (๓) เข้ามาทางเมืองอุทัยธานี เช่น การอพยพในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเป็นการอพยพครั้งใหญ่ อพยพกันเข้ามาหลายเส้นทาง (๔) เข้ามาทางเมืองเชียงใหม่ เช่น การอพยพในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๙๐ มีพระ ยาพระราม พระยากลางเมือง และพระยาน้อยวันดีเป็นหัวหน้า โดยตัดมาทางตะวันตกเข้าเมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองเชียงใหม่ส่งลงมาทางเมืองตาก และเจ้าเมืองตากได้ทาหนังสือส่งต่อมาถึงอยุธยา จากหลักฐานที่ทางการไทยบันทึกไว้ การอพยพของมอญมายังพระราชอาณาจักรไทย มีการจด บันทึกเอาไว้ ๙ ครั้ง คือ สมัยอยุธยา ๖ ครั้ง สมัยธนบุรี ๑ ครั้ง และสมัยรัตนโกสินทร์ ๒ ครั้ง อพยพเข้ามา โดยมีสาเหตุและเส้นทางการอพยพเข้ามาที่แตกต่างกันไป สามารถแสดงได้ดังตารางดังต่อไปนี้


หน้า ๕

ตารางระยะเวลา เส้นทาง และจานวนผู้อพยพชาวมอญ ครั้งที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖

สมัย สมเด็จพระชัยราชาธิราช สมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

พ.ศ. ๒๐๘๒ ๒๑๒๗ ๒๑๓๖ ๒๑๗๕ ๒๒๐๓ ๒๒๙๐

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

๒๓๑๗

พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า ๒๓๕๘ นภาลัย

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒๓๖๗

เส้นทางการอพยพ ด่านเจดีย์สามองค์ ด่านเจดีย์สามองค์ ด่านเจดีย์สามองค์ ด่านเจดีย์สามองค์ ด่านเจดีย์สามองค์ เชียงใหม่, ตาก ด่านแม่ละเมา ด่านเมืองตาก แขวงเมืองตาก ด่านเจดีย์สามองค์ ด่านเจดีย์สามองค์ ด่านเมืองอุทัยธานี ด่านเมืองตาก ด่านเจดีย์สามองค์

จานวน จานวนมาก จานวนมาก หลายพันคน จานวนหนึ่ง ประมาณ๑๐,๐๐๐ คน ประมาณ ๕,๐๐๐ คน จานวนมาก ประมาณ ๑,๐๐๐ คน ประมาณ ๑,๐๐๐ คน ประมาณ ๓,๐๐๐ คน ประมาณ ๔๐,๐๐๐ คน จานวนเล็กน้อย

จากตารางข้างต้นนี้ แสดงระยะเวลาการอพยพ เส้นทางการอพยพ และจานวนผู้อพยพชาว มอญโดยประมาณ จากหลักฐานที่ทางการจดบันทึกเอาไว้ทั้งสิ้น ๙ ครั้ง แต่คงจะมีชาวมอญอพยพเข้ามา อย่างไม่เป็นทางการอีกมาก เช่นการอพยพเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และการอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตหัวเมือง ชั้นนอก มิได้อพยพเข้ามาถึงเขตเมืองชั้นใน ที่ ม า: สุ ภ รณ์ โอเจริ ญ . (๒๕๔๑). มอญในเมื อ งไทย. หน้ า ๕๒-๗๔. และ นิ ธิ เอี ย ว ศรี วงศ์. (๒๕๔๖). มอญ เม็ง เตลงรามัญ: รามัญ เมง เตลง มอญ. หน้า ๕๒-๖๔.

นโยบายทางการไทยที่มีต่อผู้อพยพชาวมอญ เมื่อชาวมอญมีความเดือดร้อนเพราะถูกกดขี่ข่มเหงจากพม่า ก็มักจะมีหนังสือลับเข้ามากราบ บังคมทูลฯต่อพระมหากษัตริย์ไทยก่อน เพื่อขออพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร นโยบายของทางการไทยที่มีต่อชาวมอญอพยพ คือ ยินดีต้อนรับ เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่ม แรงงานการผลิตในภาคเกษตรกรรมแล้ว ยังเป็ นกาลังสาคัญ ในการป้องกันและสร้างอาณาจักรไทยให้ เข้มแข็ง ทางการไทยจะจัดเตรียมกองทัพพร้อมเสบียงอาหารออกไปรับชาวมอญอพยพ เมื่อชาวมอญเข้า มาอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารแล้ว พระมหากษัตริย์ไทยจะพระราชทานที่ดิน อุปกรณ์ก่อสร้างและจัด สถานที่ให้ปลูกบ้านเรือนอยู่อาศัย โดยมากเป็นย่านริมน้าและใกล้พระนครหรือชานพระนคร เนื่องจาก สะดวกต่อการสัญจร และมีความอุดมสมบูรณ์ในการดารงชีวิต ส่วนหัวหน้าชาวมอญที่นาครอบครัวมอญ เข้ามาก็มักได้รับพระราชทานรางวัล ตาแหน่งบรรดาศักดิ์ตามที่ได้รับเมื่อครั้งอยู่ในเมืองมอญ ตั้งตาแหน่ง หัวหน้าให้ดูแลปกครองกันเอง และให้สิทธิในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และการประกอบอาชีพโดย อิสระ


หน้า ๖

มอญในภาคกลางของไทย มอญที่อพยพเข้ามาในเมืองไทยตามที่ปรากฏพระราชพงศาวดารทุกครั้ง พระมหากษัตริย์โปรด เกล้าฯให้ ตั้งบ้านเรือนอยู่ในภาคกลางของไทยทั้ง สิ้น โดยเฉพาะมอญที่อพยพเข้ ามาสมัยรัตนโกสินทร์ ส่วนใหญ่จะได้รับพระราชทานที่ดินทากินบริเวณสองฝั่งแม่น้าเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดปทุมธานีลงมาจนถึง จังหวัดสมุทรปราการ ตลอดจนตามลุ่มน้าแม่กลอง และลุ่มน้าท่าจีน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯให้สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนา นุ รั ก ษ์ สร้ า งป้ อ มปราการที่ ป ากน้ า ในครั้ ง นี้ ไ ด้ ตั ด เอาท้ อ งที่ แ ขวงกรุ ง เทพมหานครกั บ แขวงเมื อ ง สมุ ท รปราการ รวมกั น ตั้ ง เป็ น เมื อ งใหม่ แล้ ว พระราชทานชื่ อ ว่ า “เมื อ งนครเขื่ อ นขั น ธ์ ” (อ าเภอ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ) และให้ย้ายชาวมอญเมืองปทุมธานีพวกเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง ) ที่อพยพเข้ามาสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชไปอยู่ เมื่อสร้างเมืองและป้อมค่ายเสร็จแล้วจึงโปรดเกล้าฯให้ตั้ง สมิงทอมา บุตรเจ้าพระยามหาโยธา(เจ่ง) เป็นพระยานครเขื่อนขันธ์รามัญราชชาติเสนาบดีศรีสิทธิสงคราม ผู้รักษาเมือง ต่อมา พ.ศ. ๒๓๗๑ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้ าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้พระยาโชฎึก ราชเศรษฐี (ทองจีน) ไปสร้างป้อมที่ปากคลองมหาชัย และให้แบ่งครอบครัวชาวมอญในเจ้าพระยามหา โยธา (ทอเรียะ) บุตรเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) ไปตั้งบ้านเรือนและทามาหากินอยู่ที่จัง หวัดสมุทรสาคร อยู่ดูแลป้อม และขุดลอกคลองสุนัขหอน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่ออัง กฤษเข้ายึดพม่ าและมีความคิดที่ จะตั้ ง ประเทศมอญขึ้ น ใหม่ โดยขอตั ว เจ้ าพระยามหาโยธา (ทอเรี ยะ) ไปจากไทย เพื่ อ ตั้ ง เป็ น กษั ต ริย์ ม อญ แต่ทางการไทยไม่เห็นด้วย เพราะหากมีประเทศมอญเกิดขึ้นใหม่ ไพร่บ้านพลเมืองมอญที่อพยพเข้ามาก็จะ พากั นกลับบ้านเมืองของตน และจะเกิดประโยชน์ กับฝ่ายอัง กฤษ ฝ่ายเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ก็ต้องการอยู่สนองพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทย อีกทั้งไม่ต้องการไปอยู่ใต้อาณัติอังกฤษ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดเหตุมีชาวมอญพากันอพยพกลับเมืองมะ ละแหม่งเป็นจานวนมาก สร้างความไม่พอใจแก่ทางการไทย เพราะจะทาให้ไพร่บ้านพลเมืองเหลือน้อย เกิดความอ่ อนแอขึ้นได้ จึงมีก ารออกพระราชบัญ ญั ติควบคุมการหลบหนี ออกนอกประเทศของมอญ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของพระมหากษัตริย์ในทุกรัชกาลที่ผ่านมา ที่ต้องการแรงงานมอญไว้ใช้ประโยชน์ ในพระราชอาณาจักรไทย สาหรับ หั วเมื อ งชายแดนตะวัน ตกด้ านจั ง หวั ด กาญจนบุ รี และจั ง หวั ด ราชบุ รี ซึ่ ง ติ ด ต่ อ กั บ ประเทศพม่ า และเป็ น อาณาเขตมอญแต่ เดิ ม นั้ น เป็ น เส้ น ทางผ่ า นในการอพยพ มี ก ารอพยพเข้ ามา อยู่เนือง ๆ ชาวมอญตั้งหลักแหล่งกระจัดกระจายกันอยู่ ทางราชการจึงจัดให้คนเหล่านี้อยู่รวมกันตาม เมืองหน้าด่าน เป็นเมืองหน้าศึกกับพม่ารวม ๗เมือง เรียกว่ารามัญ ๗ เมือง ได้แก่ เมืองสิงห์ เมืองลุ่มสุ่ม เมืองท่าตะกั่ว เมืองไทรโยค เมืองทองผาภูมิ เมืองท่าขนุน และเมืองท่ากระดาน ขึ้นตรงกับเมืองกาญจนบุรี เป็นเมืองหน้าด่านคอยสอดแนมสืบข่าวความในฝั่งพม่าแล้วรายงานให้ทางการทราบ และคอยสกัดทัพพม่า ก่อนเข้าโจมตีไทย ชาวมอญเมื่อเข้ามายังพระราชอาณาจักรไทย จะสร้างบ้านเรือนและประกอบอาชีพยังสถานที่ ที่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ พ ระราชทานให้ ต่ อ มาเมื่ อ ที่ ท ากิ น คั บ แคบ จึ ง มี ก ารกระจายตั ว ของชาวมอญ จากพระประแดง ปทุมธานี นนทบุรี และราชบุรี เข้าไปยังบริเวณต่างๆ ตามลุ่มน้าท่าจีนและแม่กลอง


หน้า ๗

นายลีล (Leal) ล่ามของร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ (Henry Burney) ทูตการค้าชาวอังกฤษ ที่ได้เข้า มาท าสั ญ ญาการค้ า กั บ ไทยช่ ว งรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว กล่ า วว่ า มี ม อญมาก ถึง ๓๐,๐๐๐ คน จากช่วงแม่น้าเจ้าพระยาถึงปากแม่น้าแม่กลอง ตอนเหนือของแม่น้าแม่กลองเหนือเมือง ราชบุรีมีหมู่บ้านมอญเป็นหย่อมๆ และทางตอนเหนือของกาญจนบุรี นายลีล ยังได้พบเมืองที่มีประชากร ประมาณ ๕,๐๐๐ คน โดยมากเป็นมอญที่ย้ายมาจากกรุงเทพฯ เป็นมอญเก่ามีมอญใหม่ปนบ้าง รัช สมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการทาสามะโนพลเมื อง พ.ศ. ๒๔๔๖ พบมอญกระจายอยู่ ตามมณฑลราชบุ รี มณฑลนครชัย ศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลกรุง เก่ า มณฑล นครราชสีมา และมณฑลปราจีนบุรี อันเป็นหลักฐานแสดงการกระจายตัวของมอญสมัยนั้น นอกจากหลักฐานดังกล่าว ยังพบว่ามีมอญอาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย อาจเป็นการ โยกย้ายกันเองภายหลัง การอพยพตกหล่นตามรายทางแต่เดิมที่เป็นเส้นทางเดินทัพ และเส้นทางอพยพ หลบหนี รวมทั้งการหนีเตลิดเข้ าป่าลึก เพราะหวาดกลัวสงคราม เมื่อความเจริญ เข้าไป มีการสามะโน พลเมือง จึงปรากฏเป็ นชุมชนมอญในภายหลัง เช่น ในจัง หวัดเชียงใหม่ ลาพูน ลาปาง ตาก พิ ษณุโลก อุทั ยธานี ลพบุรี นอกจากนี้ยังปรากฏมีชุมชนมอญเล็กๆ กระจายอยู่ในหลายจังหวัด เช่น นครสวรรค์ นครราชสี ม า สระบุ รี ปราจี น บุ รี ชั ย ภู มิ นครปฐม พระนครศรีอ ยุ ธ ยา สุ พ รรณบุ รี อ่ างทอง สิ ง ห์ บุ รี นครนายก กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า บริเวณที่มีชาวมอญอาศัยอยู่เป็นกลุ่มหนาแน่น ได้แก่ อาเภอบ้านโป่ง และ อาเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี อาเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อาเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อาเภอ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ อาเภอเมือง และ อาเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

บทบาทและการยอมรับในสังคมไทย เมื่อชาวมอญได้เข้ามาอยู่ในเมืองไทย ทางการไทยไม่ได้ถือว่าเป็นชนต่างชาติ ให้สิทธิในการ ก่อสร้างที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ การนับถือศาสนา การประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ และการ ดาเนินชีวิตตามขนบธรรมเนียมตามแบบอย่างที่ชาวมอญได้เคยยึดถือปฏิบัติกันมาแต่เดิม โดยไม่มีการหวง ห้าม ขุ นนางมอญและหัวหน้ากลุ่ม ที่อ พยพเข้ามานั้ น พระมหากษั ตริย์ก็ ไ ด้โปรดเกล้าฯให้เป็ นขุ นนาง ระดับสูง ส่วนไพร่พลเรือนก็มีเสรีภาพเช่นเดียวกับชาวไทย สามารถเลือกประกอบอาชีพของตนได้ตาม ความถนัด มีบทบาทอยู่ในสังคมเท่าเทียมกับพลเมืองไทยโดยทั่วไป

บทบาทด้านการเมือง ชาวมอญที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย ได้รับสิทธิเสรีภาพเช่นเดียวกันกับคนไทยทุกประการ ทางการ มิได้ถือว่าคนมอญเป็นชาวต่างประเทศ เพราะนับถือพระพุทธศาสนาเหมือนกัน รูปร่างหน้าตา วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตก็คล้ายกันกับคนไทย มีการผสมกลมกลืน และแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม หลักฐานยืนยัน คือ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. ๒๒๗๓ ทางราชสานักได้นาศิลาจารึกไปปักไว้หน้าประตู โบสถ์คริสต์ ห้ามมิให้เผยแผ่ศาสนาคริสต์แก่คนไทย ลาว มอญ และห้ามคนไทย ลาว มอญ เข้ารีตเป็นอัน ขาด เพราะ ๓ ชาตินี้นับถือศาสนาเดียวกัน คือพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของไทย ทางการไทยมิได้ปฏิบัติต่อคนมอญเยี่ยงคนต่างชาติ หากปฏิบัติต่อคนมอญเช่นเดียวกันกับคน ไทย ให้ สิ ท ธิ เสรีภ าพในการประกอบอาชี พ และชายชาวมอญทุ ก คนต้ อ งรั บ ราชการทหาร มี ห น้ า ที่ เช่นเดียวกันกับคนไทย กล่าวคือ ชายฉกรรจ์ชาวมอญ ต้องรับราชการเมื่ออายุได้ ๑๘ ปี ขึ้นทะเบียนเป็น


หน้า ๘

ไพร่สม เข้าสังกัดมูลนาย อายุครบ๒๐ ปี ปลดเป็นไพร่หลวง คือจะต้องมีสังกัดมูลนาย หรือกรมกอง สังกัด ไม่สามารถอยู่ลอยๆ ได้ สมัยอยุธยาไม่มี หลักฐานการแบ่ง กรมกองมอญที่ชั ดเจน แต่ แต่งตั้ งหั วหน้ากองมอญในยาม สงคราม และให้ ค วบคุ ม ดู แ ลกั น เอง ต าแหน่ ง จั ก รี ม อญ มี ย ศเป็ น พระยารามั ญ วงศ์ ต่ อ มาในสมั ย รัตนโกสินทร์ มีการจัดแบ่งหน่วยงานไพร่หลวงรามัญ ออกเป็น ๕ กรม มีเจ้ากรมยศเป็นพระยา และถือ ศักดินา ๑,๖๐๐ ดังนี้ (๑) กรมดั้งทองซ้าย มีพระยาเกียรติ เป็นเจ้ากรม (๒) กรมดั้งทองขวา มีพระยาพระราม เป็นเจ้ากรม (๓) กรมดาบสองมือ มีพระยานครอินทร์ เป็นเจ้ากรม (๔) กรมอาทมาตซ้าย มีพระยาภักดีสงคราม เป็นเจ้ากรม (๕) กรมอาทมาตขวา มีพระยารัตนจักร เป็นเจ้ากรม นอกจากกรมกองสังกัดเหล่านี้แล้ว ก็มีบางพวกสังกัดอยู่ในกรมของเจ้า ไม่เกี่ยวกับงานราชการ แผ่นดิน เป็นแต่ทางานตามรับสั่งของเจ้า โดยในสมัยธนบุรีและในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีข้อห้ามไม่ให้ชาว มอญเป็ น ไพร่ในกรมเจ้ า ทั่ ว ไป ยอมให้ มี แ ต่ ก รมพระราชวัง บวรแห่ ง เดี ย ว ไพร่ร ามั ญ ที่ สั ง กั ด ในกรม พระราชวังบวรแบ่งเป็น ๓ กรม เจ้ากรมมียศเป็นพระ คือ (๑) กรมมอญขวา มีพระปราบอังวะ เป็นเจ้ากรม (๒) กรมมอญซ้าย มีพระชนะภุกาม เป็นเจ้ากรม (๓) กรมมอญกลาง มีพระภักดีสรเดช เป็นเจ้ากรม การเกณฑ์ราชการ การกาหนดให้เข้าประจาการทั้งยามปกติและยามสงคราม ประเภทไพร่หลวง และไพร่ส่วยก็เหมือนกันทั้งไพร่ไทยและไพร่มอญ ไพร่พลมอญที่เข้ามาอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย มีส่วนในการทาสงครามป้องกันประเทศทุก ครั้ ง สงครามครั้ ง ส าคั ญ เช่ น สงครามเก้ า ทั พ สมั ย พระเจ้ า ปดุ ง พ.ศ. ๒๓๒๘, ๒๓๒๙ และ ๒๓๓๐ และสงครามปราบกบฏหัวเมืองปัตตานี พ.ศ. ๒๓๘๑ สาหรับหัวหน้าผู้อพยพชาวมอญ มักได้รับแต่งตั้งจากทางการให้ดารงตาแหน่งดังเดิมในเมือง มอญ เป็นหัวหน้าควบคุมดูแลกันเอง อีกทั้งให้มีบทบาทสาคัญในกองทัพไทย เช่น พระยาเกียรติ์ พระยา ราม ในสมัย สมเด็จ พระนเรศวรมหาราช พระยารามัญ วงศ์ (มะโดด) ในสมัย พระเจ้าตากสิ นมหาราช เจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บุตรหลาน ชาวมอญได้รับราชการทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน มีหน้าที่การงานระดับสูงในสังคมไทยสืบทอดมานับจากอดีตจวบ จนปัจจุบัน อนึ่งบทบาททางการเมือง ที่ขุนนางมอญเข้าไปมีบทบาท ไม่เพียงแต่เกิดจากขุนนางมอญเท่านั้น ยังมีบทบาทที่เกิดจากพระมหากษัตริย์ เช่นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดาเนินกุศโลบาย หลายประการที่เกี่ยวข้องกับมอญ ซึ่งพบว่าได้ทรงใช้ “มอญ” เป็นประโยชน์ต่อสถานการณ์ด้านการเมือง ของพระองค์ในการวางรากฐานอานาจขึ้นสู่ราชบัลลังก์ และการรักษาสถานภาพรวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ ของประเทศจนตลอดรัชกาลของพระองค์ ได้แก่ (๑) สถาปนาธรรมยุติกนิกาย โดยมีพระมอญเป็นแม่แบบ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนานิกายใหม่ขึ้น โดยทรงให้ เหตุผลว่า ขณะที่พระองค์ (พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏ) ผนวชอยู่ ทรงเกิดความเบื่อหน่าย เนื่องจากพระภิกษุ


หน้า ๙

ส่วนมากประพฤติผิดพระธรรมวินัย และต้องการจะลาสิกขาบทจากสมณเพศ กระทั่งทรงได้พบและมีพระ ราชปฏิสันถารกับพระสุเมธมุนี (ซาย พุทธฺวังโส) พระภิกษุมอญ ซึ่งมีวัตรปฏิบัติน่าเลื่อมใสเคร่งครัดพระ ธรรมวินัย พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎจึงได้อาราธนาพระสุเมธมุนี (ซาย พุทธฺวังโส) ซึ่งบวชมาจากเมืองมอญให้ ช่วยร่างแบบแผนคณะสงฆ์ “ธรรมยุติกนิกาย” โดยยึดถือการวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด และการครองจีวรของ พระมอญเป็นแม่แบบ แต่หลังจากพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎสถาปนาธรรมยุติกนิกายแล้ว ก็ไม่ปรากฎหลักฐานและประวัติ ที่กล่าวถึงพระสุเมธมุนี (ซาย พุทธฺวังโส) อีกเลย ว่าได้มีบทบาทต่อคณะสงฆ์ไทยอย่างไรต่อมาคงเนื่องด้วย พระสุเมธมุนี (ซาย พุทธฺวังโส) เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่รักสันโดษ และชราภาพมากแล้ว ได้ปลีกตัวไปอยู่วิเวก ตามลาพัง ในบั้นปลายชีวิตพระสุเมธมุนี (ซาย พุทธฺวัง โส) ได้มีเหตุบาดหมางกับกรมหลวงรักษ์รณเรศ (หม่อมไกรสร) จากนั้นก็หายสาบสูญไป กล่าวกันว่าหม่อมไกรสร ขอพระบรมราชานุญ าตถอดจากสมณ ศักดิ์และประหารชีวิต (๒) มีพระบรมราชินี และเจ้าจอมเป็นมอญจานวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีบาทบริจาริกาที่เป็นชั้นเจ้าจอมมารดา และ เจ้า จอมเป็นสตรีมอญทั้งสิ้น ๖ ท่าน ที่สาคัญมีพระบรมราชินีคือ กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ดังจะเห็น ได้ว่าในงานพระบรมศพของกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้มีปี่พาทย์มอญ เพราะทรงดาริว่ากรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์เป็นเชื้อมอญ นอกจาก กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระมเหสีเทวีแล้วยังประกอบด้วยเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น ที่จะได้ กล่าวต่อไปจากนี้ เจ้าจอม พระนม นางกานัล พระพี่เลี้ยงที่เป็นเชื้อสายมอญจานวนมาก ซึ่ง เป็นปกติ ธรรมดาด้วยบุคคลใดมีบุญวาสนาเข้ารับราชการในตาแหน่งสูง ก็ย่อมชักนาเครือญาติของตนเข้าไปรับใช้ ใกล้ชิด ทั้งความไว้เนื้อเชื่อใจส่วนบุคคล เสริมฐานะของตนเอง และเป็น การช่วยเหลือเครือญาติ จึงเป็น ดังที่แอนนากล่าวว่า ราชสานักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความเป็นมอญเข้มข้น (๓) อ้างว่าราชวงศ์จักรีสืบเชื้อสายมาจากตระกูลนายทหารมอญ ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ พระองค์ประสบเหตุความยุ่งยาก ในรัชกาล อันสืบเนื่องมาจากการแทรกแซงการบริหารราชการแผ่นดินของกลุ่มขุนนางที่สนับสนุนพระองค์ ขึ้นครองราชย์ และการเข้ ามาของชาติต ะวันตก ประเทศอัง กฤษส่ ง เซอร์ จอห์น เบาริ่ง เข้ ามาเจริ ญ สัมพันธไมตรี และได้แสดงให้เห็นว่าพร้อมจะใช้กาลังทหารบีบบังคับ หากรัฐบาลไทยไม่ยิน ยอมเจรจาและ ตกลงทางการค้าแบบเสรี แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงต้อนรับคณะทูตด้วยดี โอนอ่อน ตามด้วยการที่ทรงแสดงให้เห็นว่ากาลังมีการพัฒนาประเทศ เปิดรับอารยธรรมตะวันตกตามแบบอย่าง นานาอารยประเทศ พระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ เซอร์ จอห์น เบาว ริง เกี่ยวกับราชตระกูลที่สืบเชื้อสายมาจากนายทหารมอญ เพื่อแสดงให้ชาติตะวันตกเห็นว่า ชาติไทยเป็น ชนชาติที่ มีอารยธรรมสืบเนื่ องมายาวนานนั้ นระบุ ว่า บรรพบุ รุษ ข้างบิ ดาของพระองค์ สืบเชื้อ สายจาก นายทหารที่มาจากเมืองหงสาวดี แสดงว่าความเป็น “มอญ” ในยุคสมัยนั้นมีกิตติศัพท์เป็นที่รู้จักทั่วไป และเป็นที่ยอมรับสามารถอาศัยอ้างอิงได้


หน้า ๑๐

บทบาทด้านเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจของชาวมอญในประเทศไทยตั้งแต่แรกตั้งถิ่นฐาน ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ คล้ายๆ กับชาวไทยคือ เป็นเศรษฐกิจแบบพึ่ง ตนเอง ซื้อขายแลกเปลี่ยนผลิตผลหมุ นเวียนกันอยู่ภายใน ชุมชนของตน มีการค้าขายกันระหว่างชุมชนบ้าง เป็นการรับซื้อผลผลิตของเพื่อนบ้านไปขายต่อยังชุมชนที่ ห่างออกไป หรือชุมชนที่มีชาวมอญอาศัยอยู่ เช่น การนาฟืน จากมุงหลังคา จากสมุทรสาครไปขายยังปาก เกร็ด สามโคก การน าเครื่ องปั้ น ดิ น เผาจากปากเกร็ ด สามโคก มาขายยั ง สมุ ท รปราการ สมุ ท รสาคร สมุทรสงคราม และราชบุรี เป็นต้น แต่ไม่ได้ติดต่อการค้าขายกับต่างประเทศอย่างชาวจีนในประเทศไทย อาชี พ ของชาวมอญส่ ว นใหญ่ ค ล้ ายกั บ คนไทยทั่ วไป คื อ ท านา ท าสวน นาเกลื อ และงาน หัตถกรรมท้องถิ่น เช่น เย็บจากมุงหลังคา ตัดฟืน เผาถ่าน ทาจักสาน ทอเสื่อ ทอผ้า อาชีพที่ขึ้นชื่ออย่าง หนึ่งของชาวมอญ ได้แก่ ทาเครื่องปั้นดินเผา และทาอิฐมอญ แหล่งที่ทากันมาก คือ ปากเกร็ด และสาม โคก อาชีพดังกล่าวได้ก่อให้เกิดอีกอาชีพหนึ่งตามมา คือ พ่อค้าโอ่งและเครื่องปั้นดินเผาทางเรือ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หั วและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ มี นโยบายเปิดประเทศค้าขายเสรี ภายหลังสนธิสัญญาเบาวริง รูปแบบของเศรษฐกิจเปลี่ยนไปเป็นแบบเพื่อ การค้ามากขึ้น สินค้าที่ส่งออก ทารายได้ให้กับประเทศช่วงนั้นมากก็คือ ข้าว และชาวมอญก็มีส่วนสาคัญใน สภาพเศรษฐกิ จ แบบใหม่ มี ก ารบุ ก เบิ ก ที่ น าใหม่ ๆ ย่ า นบางนา บางแก้ ว บางพลี บางบ่ อ จั ง หวั ด สมุทรปราการ เขตลาดกระบัง เขตหนองจอก เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ อาเภอบางน้าเปรี้ยว อาเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา อาเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม อาเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี และอาเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นต้น ชาวมอญนั้นก็ต้องเสียภาษีอากรเช่นเดียวกันกับชาวไทยทุกประการ ไพร่หลวงมอญที่ไม่ต้องการ เข้าเวรทาราชการ ก็ใช้วิธีเสียเงินแทน เรียกว่า เงินค่าราชการ ชาวมอญมีอิสระในการประกอบอาชีพตามความถนัดของตน ตั้งแต่แรกเริ่มเข้ามายังแผ่นดินไทย การประกอบอาชีพ ต่ างๆ ของชาวมอญ ท าให้ ได้ ผ ลผลิต ที่ น าไปสู่ระบบการซื้ อขายแลกเปลี่ ย น การ หมุนเวียนของตลาด ชาวมอญมีบทบาทในการผลิตและการค้าขายในระดับหมู่บ้าน แต่ภายหลังจากสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้นแล้ว ชาวจีนก็เข้ามาแทนที่ สามารถกุมระบบเศรษฐกิจของไทยไว้ได้เกือบทั้งหมด ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงระดับประเทศ พระยาสีหศักดิ์สนิทวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ถัด ชุมสาย บุตรหม่อมเจ้า ประวิช ชุมสาย กับ หม่อมเจ้าสารภี สนิทวงศ์ หม่อมราชวงศ์ถัด ชุมสาย เป็นหลานตาของพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท) กล่าวว่าเคยทาธุรกิจหลายประเภท แต่ต้องเลิกกิจการไปเพราะ “...ตกลง ขายข้าวสารแพ้เจ๊ก ขายเสาแพ้แขก เป็นอันสู้คนต่างชาติไม่ได้...”

บทบาทด้านศาสนา ไทยรับพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทมาจากอินเดียโดยผ่านทางมอญ รวมทั้งวัฒนธรรมประเพณี ที่ส่งผ่านกันทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น การค้าขาย และการสมรสระหว่างกัน เป็นต้น โดยเฉพาะด้าน ศาสนา มีพิธีกรรมในวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องและผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา วิถีชีวิตของคนทั้งสองชนชาติจึงมี ความสอดคล้องกลมกลืนกัน จึงเป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ทาให้ชาวมอญที่อพยพเข้ามาอยู่เมืองไทย ได้รับ การยอมรับให้มีการผสมกลมกลืนทางชาติพันธุ์ มีการสมรสระหว่างกัน ทั้งในหมู่ราษฎรทั่วไปและกับพระ บรมวงศานุวงศ์


หน้า ๑๑

พระสงฆ์มอญเข้ามาพร้อมกับการอพยพลี้ภัยของชาวมอญ ด้วยนโยบายการปกครองของพม่า ที่ กดขี่ข่มเหง ฆ่าฟันผู้ที่ขัดขืน ไม่เว้นแม้พระภิกษุสงฆ์ ทั้งที่พม่าเองก็ยอมรับนับถือพุทธศาสนา การเข้ามา ของพระสงฆ์มอญทาให้เกิดศาสนาพุทธรามัญนิกายขึ้นในประเทศไทย คณะสงฆ์รามัญนิกายในประเทศไทย เกิดจากการที่ชาวมอญได้นาพุทธศาสนาแบบของตนเอง เข้ามาด้วย เมื่อมีการอพยพตั้งแต่ครั้งที่สองที่มีการบันทึกเอาไว้อย่างเป็นทางการ คือในสมัยของสมเด็จ พระมหาธรรมราชา ได้มีพระเถระผู้ใหญ่ร่วมขบวนเสด็จมากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วย คือ พระ มหาเถรคั น ฉ่ อ งและคณะประกอบด้ ว ยภิ ก ษุ ส ามเณรอี ก จ านวนมาก สมเด็ จ พระมหาธรรมราชา พระราชทานที่ทากินแก่ราษฎร และสร้างวัดถวายพระสงฆ์ อีกทั้งโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้พระมหาเถรคัน ฉ่องเป็นพระราชาคณะ เจ้าคณะสงฆ์รามัญ ปกครองดูแลคณะสงฆ์มอญทั้งหมด หลังกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง ศาสนิกชนห่างเหิน ไม่ทานุบารุงศาสนา พระภิกษุสงฆ์ไม่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย แม้ว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะ ทรงพยายามฟื้นฟูขึ้นใหม่ แต่ยังไม่ทันเรียบร้อยก็เกิดกรณีที่ทรงเข้าพระทัยว่าทรงบรรลุโสดาบันและทรง บัง คับให้พระสงฆ์กราบไหว้พระองค์ พระเถระผู้ใหญ่ที่ขัดขืนต้องถูกถอดสมณศักดิ์เป็นอันมาก รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงได้ฟื้นฟูกิจการด้านศาสนาขึ้นใหม่ ในส่วนของพระมอญโปรด เกล้าฯตั้งพระราชาคณะฝ่ายรามัญขึ้น ๓ รูป และส่งไปปกครองวัดสาคัญซึ่งประกอบด้วย พระสุเมธาจารย์ ให้ปกครองวัดชนะสงคราม ที่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเพิ่งสร้างเสร็จ พระไตรสรณธัช ส่งไปปกครองวัดบางหลวง เป็นเจ้าคณะรามัญในแขวงเมืองนนทบุรีและสามโคก และพระสุเมธน้อย ส่งไป ปกครองวัดบางยี่เรือใน หรือวัดราชคฤห์ ฝั่งธนบุรี การปกครองคณะสงฆ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แบ่งออกเป็นคณะดังนี้ คือ คณะเหนือ คณะใต้ และคณะกลาง ซึ่งตั้งขึ้นใหม่เพื่อรวบรวมเฉพาะวัดในเขตกรุงเทพฯเข้าไว้ด้วยกัน ส่วนคณะอรัญวาสีนั้นมีแต่ตาแหน่งเจ้าคณะ และคณะรามัญนั้นก็เป็นการรวมเอาวัดรามัญเข้าไว้ด้วยกัน ธรรมยุติกนิกาย เกิดขึ้นในรั ชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มูลเหตุมาจากเจ้าฟ้า มงกุฏขณะที่ทรงผนวชอยู่พบเห็นพระภิกษุโดยมากมีวินัยหย่อนยาน กระทั่งได้พบพระภิกษุมอญมีวัตร ปฏิบัติน่าเลื่อมใส จึงทาการปฏิรูปคณะสงฆ์ สถาปนานิกายใหม่คือ“ธรรมยุติกนิกาย” การสวดพระปริตร เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์มอญมาแต่โบราณ เริ่มมีครั้งแรกเมื่อพระมหา เถรคันฉ่องเข้ามาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา และได้รักษาสืบต่อมาเป็นโบราณราชประเพณีอย่างหนึ่งในราชสานัก ไทย ในการสวดพระปริต รรามัญ ที่ห อศาสตราคม พระบรมมหาราชวัง เป็ นการสวดเพื่ อขจัดปั ด เป่ า ภยันตรายต่างๆ เป็นการสืบชะตาเมือง ที่สาคัญคือเพื่อทาน้าพระพุทธมนต์สาหรับองค์พระมหากษัตริย์สรง พระพัก ตร์ เป็ นน้ าโสรจสรง และสาหรับประพรมพระบรมมหาราชวัง เพื่ อขจัดปั ดเป่าภยัน ตรายของ บ้ านเมื อ ง ดั งหนั งสื อ วรรณกรรมพระยาตรัง ที่ กล่ าวถึ ง การสวดพระปริ ตรในพระบรมมหาราชวั ง ว่ า เนื่องมาจากความ “ขลัง” ของคาถาอาคม ดังความว่า เรียงโรงคชเศวตไว้ ทุกประเทศชวนชม หอพระปริตไข สังฆรามัญห้า

ระวางใน ชื่นหน้า พุทธเวท เหตุขลัง


หน้า ๑๒

บทบาทด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณี วัฒนธรรมประเพณีของไทย ได้รับอิทธิพลมาจากหลายชนชาติ เช่น มอญ เขมร อินเดีย จีน ลาว เป็นต้น โดยเฉพาะวัฒนธรรมประเพณีมอญมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยอย่างมาก วัฒนธรรมมอญที่ปะปน อยู่ในวัฒนธรรมของไทยเริ่มแรกเข้ามาพร้อมกับการยอมรับนับถือศาสนาแล้ว ก.กฎหมาย กฎหมายไทยฉบับแรก คือ กฎหมายตราสามดวงมีต้นแบบมาจากพระมนูธรรมศาสตร์ หรือ มานวธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์พราหมณ์ของชาวฮินดู และมอญได้นามาตัดทอนเอาส่วนที่มีลักษณะของ พราหมณ์ฮินดูและระบบวรรณะออกไป คงไว้เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับ กฎหมายปกครอง และปรับให้เข้ากับ พระพุทธศาสนา จึงทาให้พระมนู ธรรมศาสตร์ของอินเดียกับพระธรรมศาสตร์หรือธรรมสัตถัมของมอญ ต่างกัน และพระธรรมศาสตร์ก็มีขนาดเล็กกว่าพระมนูธรรมศาสตร์ด้วย ข.ภาษา เป็นที่ทราบกันดีว่าชาวมอญและชาวไทยมีความใกล้ชิดกันในทางศาสนา และสิ่งที่เข้ามาพร้อมๆ กับอิทธิพลทางศาสนา ได้แก่ ภาษา ที่ผสมกลมกลืน และมีความใกล้ชิดอยู่ในวัฒนธรรมไทยมานาน ตั้งแต่ เริ่มมีอักษรไทยในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคาแหงทรงคิดค้นอักษรไทยขึ้น โดยดัดแปลงมาจากภาษาขอม หวัดและมอญโบราณซึ่งอารยธรรมมอญมีอิทธิพลอยู่ในเมืองสุโขทัย รวมทั้งพลเมืองในเมืองสุโขทัยก็มีคน มอญจานวนมาก ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ดังนั้นในภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้จึงมีภาษามอญปะปนอยู่ เป็นจานวนมาก ตัวอย่างดังแสดงในตารางข้างล่าง ตาราง ๒ แสดงคาศัพท์ภาษามอญ คาอ่าน คาแปล และความหมายที่ใช้ในภาษาไทย คาศัพท์ภาษามอญ ah.nj xmcj kaj ]kucj KNmj Kem.j Kl.mj gespj egLL.cj skjk.Y scjritj zbL’ dUernj n.Y pno b.tj Rucj lTo lmI

คาอ่านภาษามอญ อะฮาน อุแม่ง เกาะ เกริง คะนอม คะโม่ก คะลาม แกะเจ่บ โกล่ง จักกาย จังริด แจะปลุ ตู่เร่น น่าย ปะนาว ปาด เริ่ง และทาว และมี่

คาแปลภาษาไทย ห่าน อุโมงค์ เกาะ คลอง แป้งเส้น (เส้นขนมจีน) หมวก ข้าวหลาม กระเจี๊ยบแดง ทาง จักกาย จิ้งหรีด พลู ทุเรียน นาย มะนาว ปี่พาทย์ โรง ผู้เฒ่า ฝาหม้อ

ความหมายภาษาไทย ห่าน อุโมงค์ เกาะ กรุง ขนมจีน หมวก ข้าวหลาม กระเจี๊ยบแดง คลอง จักกาย จิ้งหรีด พลู ทุเรียน นาย มะนาว ปี่พาทย์ โรง ผู้เฒ่า ฝาละมี


หน้า ๑๓ wcj wiucj qMicj eqhj /Ykd>tj /ukj

แว่ง ว่าง ซะเมินญ เซ่ะฮ บัวกะตาด เบิก

วัง วง พญา, พระยา เหลือ มะเขือทวาย, มะเขือมอญ บุก (สมุนไพร)

วัง วง สมิง เศษ กระเจี๊ยบเขียว, กระต๊าด บุก (สมุนไพร)

จากตารางข้ างต้น นี้ แสดงให้ เห็ น ว่าศัพ ท์ ภ าษาไทย มี ที่ มาจากศั พ ท์ภ าษามอญจานวนมาก วัฒนา บุรกสิกร สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นาเสนอ รายงานวิจัยเรื่องลักษณะคาไทย ที่มาจากภาษามอญ ระบุว่ามีคาศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษามอญทั้งสิ้น ๖๙๗ คา ที่ ม า: วั ฒ นา บุ ร กสิ ก ร. (๒๕๔๑). รายงานการวิ จั ย เรื่ อ งลั ก ษณะค าไทยที่ ม าจากภาษา มอญ. หน้า ก และ หน้า ๑๕๒. และ พระมหาจรูญ ญาณจารี; และคนอื่น ๆ. (๒๕๔๘).พจนานุกรมมอญไทย ฉบับมอญสยาม. หน้า ๓๐๔. ค.ดนตรี เครื่องดนตรีมอญที่ไทยรับอิทธิพลเข้ามาอย่างแพร่หลาย คือ ปี่พาทย์มอญ ซึ่งเป็นการบรรเลง เพลงมอญ และสาเนียงมอญ ดนตรีมอญนั้นมีทั้ง นาเข้ามาจากเมืองมอญโดยตรงพร้อมการอพยพของคน มอญ และทั้งการปรับปรุงดัดแปลงขึ้นใหม่โดยคนไทยและคนมอญรวมทั้งลูกหลานมอญที่เกิดในเมืองไทย ดนตรีมอญชนิดอื่นๆ ได้แก่ กลองยาว วงซอ วงมโหรี สาหรับใช้ในการแสดงทะแยมอญ นอกจากดนตรี มอญแล้วสิ่งที่มักมาควบคู่กันคือ รามอญ นาฏศิลป์ การละเล่นการแสดง ได้แก่ สะบ้า ทะแยมอญ กระอั้ว แทงควาย

ปี่พาทย์มอญ


หน้า ๑๔

ง.วรรณคดี วัฒนธรรมประเพณีมอญเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในสัง คมไทย วรรณคดีเรื่อง “ราชาธิราช” เป็น พงศาวดารมอญ มีการแปลและแต่งเป็นวรรณคดีไทย ได้รับการยกย่องเป็นวรรณคดีที่ควรค่าแก่การอ่าน สาหรับคนไทย เนื้อหาบางตอนถูกนาไปตีพิมพ์เป็นแบบเรียนสาหรับเยาวชน โดยกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนั้นยังมีวรรณคดีไทยหลายเรื่องมีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี มอญ เช่น วรรณคดีไทย พื้นบ้านเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” มีเนื้อหาเป็นเรื่องราวในปลายสมัยอยุธยา และถูกนามาแต่งเป็น บทร้อง เสภาเมื่ อ สมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ ต อนต้ น ซึ่ ง มี ผู้ ร่ ว มแต่ ง กั น หลายท่ า น หนึ่ ง ในนั้ น คื อ สุ น ทรภู่ ซึ่ ง แต่ ง ตอน “กาเนิดพลายงาม” เสภาบทดังกล่าวมีสานวนภาษา และเนื้อหาเกี่ยวกับมอญอยู่หลายแห่ง วัฒนา บุ รกสิกร ได้วิเคราะห์ว่า สุนทรภู่น่าจะมีความรู้ภาษามอญ ซึ่งบทเสภาดังกล่าวมีดังนี้ แล้วพวกมอญซ้อนซอเสียงอ้อแอ้ ออระหน่ายพลายงามพ่อทรามเชย ให้อยู่ดีกินดีมีเมียสาว มวยบามาขวัญจงบันเทิง

ร้องทะแยย่องกะเหนาะหย่ายเตาะเหย ขวัญเอ๋ยกกกะเนียงเกรียงเกลิง เนียงกะราวกนตะละเลิ่งเคริ่ง จะเปิงยี่อิกะปิปอน

เนื้อหากล่าวถึงมอญในฐานะนักดนตรี “ทะแยมอญ” มีข้อความที่ถอดเสียงมาจากภาษามอญ แทรกอยู่ ๖ บาท ดังนั้นผู้แต่งที่มีความรู้ด้านฉันทลักษณ์ไทยและเข้าใจภาษามอญเท่านั้น จึงจะสามารถ แต่ง กลอนให้ มีเสี ยงและความหมายเป็ น มอญ ตรงตามฉัน ทลัก ษณ์ ไ ด้ แสดงให้ เห็น ว่ามีคนมอญอยู่ใน สังคมไทยเป็นจานวนมาก และคนไทยก็คุ้นเคยกับวัฒนธรรมมอญเป็นอย่างดี วรรณคดี เรื่อ ง “ขุ นช้ าง ขุน แผน” สอดแทรกวิถีชี วิตความเป็ น อยู่ การแต่ง กาย การละเล่ น ประเพณี คติความเชื่อ และไสยศาสตร์ของมอญ เช่น ตอนพระไวยแตกทั พ เมื่อพลายชุมพลปลอมตัวเป็น มอญท้าพระไวยออกรบ (พลายชุมพลและพระไวยเป็นบุตรของขุนแผน) ครานั้นเจ้าพลายชายชุมพล กูชื่อสมิงมัตรา ชื่อสมิงแมงตะยากะละออน เลื่องชื่อลือฟุ้งทุกกรุงไกร พระครูกูเรืองฤทธิเวท จะมาลองฝีมือไทยให้ระอา

แยบยลพูดเพี้ยนเป็นหงสา บิดากูผู้เรืองฤทธิไกร ในเมืองมอญใครไม่รอต่อได้ แม่ไซร้ชื่อเม้ยแมงตะยา พระสุเมธกะละดงเมืองหงสา ถ้าใครกล้ากูจะฟันให้บรรลัย

แสดงให้เห็ นว่าคนไทยในยุคนั้น คุ้นเคยกับคนมอญเป็นอย่างดี สามารถปลอมตัว เลียนเสียง รวมทั้งเอ่ยชื่อคนมอญ คือผู้ปลอมและผู้ถูกทาให้เชื่อต้องรู้จักมอญอย่างดี จึงสามารถเข้าใจความหมายและ เชื่อถือ การกล่าวอ้างถึงครูด้านคาถาอาคม สื่อให้เห็นว่า ในอดีตชาวมอญมีชื่อเสียงทางด้านไสยศาสตร์ เวทย์ ม นต์ เป็ น ที่ ห วั่ น เกรงของคนทั่ วไป ส่ ว น “พระสุ เมธ” เป็ น ต าแหน่ ง พระมหาเถรฝ่ ายรามั ญ ที่ พระมหากษัตริย์ไทยแต่งตั้งให้ดูแลปกครองพระรามัญ ด้วยกัน เริ่มตั้งครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยตั้งตามตาแหน่งพระสงฆ์ในเมืองมอญ


หน้า ๑๕

จ.ประเพณีและวัฒนธรรม ประเพณีและวัฒนธรรมของไทยที่เรายึดถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป หลากหลายประเพณีมีที่มาจาก มอญ เช่นประเพณีสงกรานต์ โดยมอญรับจากอินเดียมาคลี่คลายและปรับใช้ในแบบของมอญ ซึ่งมอญและ ไทยถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ พิธีปล่อยนกปล่อยปลา ประเพณีค้าโพธิ์ ส่งข้าวสงกรานต์ ทาบุญกลางหมู่บ้าน ตัก บาตรน้าผึ้ง ตักบาตรเทโว ประเพณีโยนบัว ล้างเท้าพระ เรียกได้ว่าประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาและอยู่ วิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ล้วนแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตชาวไทยทั้งในราชสานักและระดับสามัญชน ซึ่งชาวไทย รับเอาไว้โดยไม่รู้ตัว เช่น ประเพณีโกนจุก ประเพณีการบวช ประเพณีแต่งงาน ประเพณีแต่งงานของชาวมอญมีการแห่ขันหมาก นอกจากเงินทองและของหมั้น ขนม หมากพลู เหล้า บุหรี่ และผ้าเซ่นผีแล้ว ยังประกอบด้วย หน่อมะพร้าว หน่อกล้วยน้าว้า และหน่อหมาก ให้คู่บ่าวสาว ได้ปลูกและได้เก็บผลกินสาหรับตนและทารกที่จะเกิดใหม่ ซึ่งคู่แต่งงานที่ไม่ผ่านการสู่ขอจากผู้ใหญ่ แอบ ลักลอบหนีตามกัน หากทาพิธีแต่งงานจะไม่สามารถนาหน่อมะพร้าว หน่อกล้วยน้าว้า และหน่อหมาก เข้า ร่วมในขบวนแห่ได้ และเมื่อมีบุตรหลาน บุตรหลานก็จะไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมในพิธีสาคัญของหมู่บ้ าน เช่น สาวเชิญ เตียบ พานขันหมากในงานแต่งงาน สาวอุ้มต้นเทียนและเครื่องอัฐบริขารในงานบวชถือเป็นการ ลงโทษทางสังคม ของหวานที่เลี้ยงแขกในงานแต่งงานคือ ขนมสี่ถ้วย ซึ่งชาวไทยเรียกว่า “กินสี่ถ้วย” ได้แก่ ไข่กบ (เม็ดแมงลัก) นกปล่อย (ลอดช่อง) มะลิลอย (ข้าวตอก) และ อ้ ายตื้อ (ข้าวเหนียว) เป็นขนมมงคลในงาน แต่งงาน และการกล่าวถึงคาว่า “กินสี่ถ้วย” ยังมีความหมายถึงประเพณีแต่งงานอีกด้วย ประเพณีแต่งงาน ดังกล่าวเป็นประเพณีที่ยังมีการปฏิบัติกันโดยทั่วไปในหมู่ชาวไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีชาวมอญ อาศัยอยู่หลายชั่วอายุคนแล้ว รวมทั้งชาวมอญในประเทศพม่าซึ่งยึดถือประเพณีการแห่ขันหมาก รวมทั้ง กินขนมในงานแต่งดังกล่าวข้างต้นอย่างเคร่งครัด แต่ไม่ได้มีสี่ถ้วยอย่างในเมืองไทย มีเพียงข้าวเหนียวและ ลอดช่องและชาวมอญในประเทศพม่าเรียก“ลอดช่อง” ว่า “โหลดช่ง” ฉ.อาหาร อาหารไทยหลายชนิด มีที่มาจากอาหารมอญ โดยได้รับอิทธิพลทั้งรูปแบบและรสชาติจากความ ใกล้ชิดคุ้นเคยกับชาวมอญทั้งในราชสานัก และในระดับสามัญชน ต่อมาชาวไทยได้นาอาหารของชาวมอญ มาดัดแปลง ประยุกต์ให้ได้รสชาติถูกปากคนไทย ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด ทั้งอาหารหวานและ อาหารคาว เช่น ข้าวอีกา (เปิงคะด็อจก์)ข้าวเหนียวแดง (อะลอญฮะเกด) ข้าวเหนียวแดกงา (ฮะเปียง) ขนมกะละแม (กวานฮะกอ) ขนมจีน (ฮะนอม) และ ข้าวแช่ (เปิงด้าจก์ หรือ เปิงซังกราน) เป็นต้น ข้าวแช่ ตามประเพณีมอญแต่เดิมเป็นการหุงข้าว เพื่อบูชาเทวดาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สืบ เนื่องมาจากตานานสงกรานต์ของมอญ ขนมจีน เป็นอาหารมอญ ที่นิยมทาเฉพาะแต่ในเทศกาล และงานสาคัญเท่านั้น เพราะมีขั้นตอน การท าที่ ต้ อ งใช้ เวลามาก ค าว่ า "ขนมจี น " มอญเรี ย กว่ า "คนอม" เป็ น กริ ย าแปลว่ า ท า , สร้ า ง (ใน พจนานุกรมภาษามอญ-อังกฤษที่รวบรวมโดย Robert Halliday ได้ให้ความหมายว่า "form") ส่วนคาว่า" จีน" ที่อยู่ข้างหลังคาว่า "ขนม" นั้นไม่มีใช้ในภาษามอญ มีแต่คาว่า "จิน" ซึ่งแปลว่า “สุก” (จากการหุงต้ม) คนมอญนั้นจะเรียก ขนมจีนว่า "คนอม" เท่านั้น หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ สันนิษฐานว่า เกิดจาก ขณะที่คนมอญกาลังทา "คนอม" อยู่ ซึ่งมักเกิดความโกลาหนขึ้น ในที่ทาครัวเนื่องจากคนหมู่มาก จากการ ร้องบอกกันต่อๆ ไปว่า "คนอม" สุกแล้ว กินได้แล้ว ก็คือคาว่า “คนอม-จิน” ที่จริงแปลว่า “แป้งเส้น” สุก


หน้า ๑๖

แล้ว เมื่อคนไทยได้ยิน จึงเรียกอาหารชนิดนี้ว่า “คนอมจิน ” และเรียกเพี้ยนมาเป็ น "ขนมจีน "อย่างใน ปัจจุบัน สรุปได้ว่าศิลปวัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่อยู่ในสังคมไทยมาช้านานอย่างน้อย ตั้งแต่สมัยอยุธยา เกิดจากการอพยพเข้ามาของชาวมอญพร้อมกับ ศาสนา ภาษา วรรณคดี อาหาร การ แต่งกาย ประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรม ได้เปลี่ยนถ่ายเคลื่อนไหวไปมาในหมู่ชาวมอญและชาวไทย แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมไทยต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ซึ่งในที่สุดวัฒนธรรมประเพณีมอญจะ กลมกลืนหายไปกับศิลปวัฒนธรรมไทย เนื่องจากเกิดการยอมรับไปยึดถือปฏิบัติอย่างไม่รู้สึกแปลกแยก ด้วยความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


หน้า ๑๗

ชุมชนมอญ บ้านเสากระโดง อาเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ตามหลั ก ฐานทางประวั ติ ศ าสตร์ ป รากฏว่ า มี ก ารอพยพของชาวมอญ เข้ า สู่ ป ระเทศไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จพระนารายณ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และในสมัยกรุงธนบุรี รวมทั้งสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเข้ามาหลายทาง ได้แก่ ด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี ด่านแม่ละเมา จังหวัดตาก เข้ามาทาง จังหวัดเชียงใหม่ และทางจังหวัดอุทัยธานี ชาวมอญจะพานักอาศัยอยู่ตามริมน้า โดยเฉพาะบริเวณฝั่ง แม่น้าเจ้าพระยา ตามลาน้าแม่กลอง และลาน้าท่าจีน ชุม ชนมอญ บ้ านเสากระโดง ไม่ ท ราบแน่ ชั ด ว่า อพยพเข้า มาในสมั ย ใด แต่ สัน นิ ษ ฐานจาก คาบอกเล่าของผู้อาวุโสภายในหมู่บ้าน และจากโบราณสถาน ภายในวัดทองบ่อ คือ เจดีย์โบราณ ทาให้ คาดคะเนว่า น่าจะอพยพเข้ามาอยู่ ณ ชุมชนนี้ ตั้ง แต่ช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย ถึงกรุงรัตนโกสิ นทร์ ตอนต้น โดยเฉพาะจากคาบอกเล่าของคุณป้าภูมิ พลอยรัตน์ (ธรรมนิยาม) ว่า คุณตาฉ่า ธรรมนิยาม ผู้บิดา เล่ าให้ ฟั งว่า บรรพบุ รุ ษ มาจากเมือ งมอญ เข้ ามาทางจั ง หวัด เชีย งใหม่ แล้ วเดิ น ทางเข้ ามาทางเกวีย น มาก่ อ ตั้ ง หมู่ บ้ า น ใน ระยะมี อ าชี พ ท าน า ค้ า เกลื อ เผาอิ ฐ ใน ช่ ว งที่ อ พ ยพ เข้ า มาประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๖๐ หมู่บ้านเสากระโดง เดิมเรียกกันตามภาษามอญว่า กวานปราสาท และวัดทองบ่อ ก็มีการ เรียกกันแต่เดิมว่า เพียปราสาท ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นวัดทองบ่อ เนื่องจากบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านในอดีต เป็นด่านขนอน (ด่านเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา) มีคาบอกเล่าว่า ในสมั ยกรุงศรีอยุธยา มีการใช้


หน้า ๑๘

เรือสาเภา ในการขนส่งสินค้า และเดินทาง เกิดเหตุอัปปางลงเรือพร้อมเสากระโดง ลอยมาติดอยู่แถว หมู่บ้านนี้ จนทาให้ผู้คนผ่านไปมา เรียกหมู่บ้านว่าหมู่บ้านเสากระโดง ปัจจุบัน เสากระโดงได้เก็บรักษาไว้ ในบริเวณวัดทองบ่อ เป็นโบราณวัตถุ และสัญลักษณ์ของหมู่บ้านเสากระโดง

เจดีย์โบราณ วัดทองบ่อ

เสากระโดงเรือสาเภา ที่ถูกงม ขึ้นมาแสดงไว้ในวัดทองบ่อ อันเป็นที่มาของตานานชื่อ “บ้านเสากระโดง” ชุ ม ชนมอญบ้ า นเสากระโดง ตั้ ง อยู่ ที่ ห มู่ ที่ ๔ และหมู่ ที่ ๕ ต าบลขนอนหลวง อ าเภอ บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ริมแม่น้าเจ้าพระยา อาชีพ เดิมประกอบอาชีพการเผาอิฐ ค้าขายเกลือ จาก ทานา ปัจจุบันประกอบอาชีพรับจ้าง รับราชการ พนักงานโรงงาน และอื่น ๆ ศาสนา ประชาชน ในชุมชนมอญบ้านเสากระโดง นับถือศาสนาพุทธทั้งหมด มีวัดทองบ่อเป็น ศูนย์กลางของชุมชน ผู้สูงอายุ ยังคงสวดมนต์ภาษามอญ ทาวัตรเย็นเป็นประจาทุกวัน และในวันพระยังคง ถือศีลอุโบสถ


หน้า ๑๙

ภาษา ผู้สูงอายุ ในหมู่บ้ านยั งพู ดภาษามอญ สวดมนต์ภ าษามอญ ส าหรับผู้ ที่สามารถเขีย น และอ่านภาษามอญได้มีจานวนน้อย แต่ปัจจุบันเจ้าอาวาสวัดทองบ่อ ดาริจะจัดการสอนหนังสือภาษามอญ ให้กับเด็ก เยาวชนและผู้ที่สนใจ โดยจัดตั้งศูนย์ศึกษาภาษามอญ วัฒนธรรมประเพณี ชาวบ้านในชุมชนมอญบ้านเสากระโดง เคร่งครัดในศาสนา จะร่วมถือศีล ฟั ง ธรรม ในวั น พระและวั น ส าคั ญ ทางศาสนา รวมทั้ ง ร่ ว มกิ จ กรรมทางศาสนา เช่ น เทศกาล สงกรานต์ เทศกาลเข้ าพรรษา ประเพณี ก ารตัก บาตรน้ าผึ้ง เทศกาลออกพรรษา การเทศน์ มหาชาติ รวมทั้งกิจกรรม ในงานวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินีนาถ แม้ที่วัฒนธรรมได้เปลี่ยนไป ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป แต่พระภิกษุสงฆ์ที่วัดทองบ่อ ยังรักษาเอกลักษณ์ การสวดพระอภิธรรมภาษามอญ ตลอดมา การฟื้ น ฟู ป ระเพณี เจ้ า อาวาสวัด ทองบ่ อ ร่ ว มกั บ ชาวบ้ าน ได้ ฟื้ น ฟู ป ระเพณี ที่ สู ญ หายไป ประมาณ ๕๐ ปี โดยเฉพาะประเพณีแห่หงส์ – ธงตะขาบ ในเทศกาลสงกรานต์ ได้เริ่มฟื้นฟูมาเป็นเวลา กว่า ๑๐ ปี จนปั จจุ บั น ประเพณี นี้ เป็ น ที่ นิ ย มของชุ ม ชนชาวมอญบ้ า นเสากระโดง และชาวอ าเภอ บางปะอิน และในอนาคต จะพัฒนาและประชาสัมพันธ์ให้รู้จักแพร่หลาย ในระดับจังหวัดต่อไป รวมทั้ง จะฟื้นฟูให้เยาวชนได้แต่งกายแบบชาวมอญ ในโอกาสงานสาคัญ ๆ ด้วย


หน้า ๒๐

เรื่องเล่าจากงานสงกรานต์ที่บ้าน เสากระโดง ปัทพงษ์ ชื่นบุญ*

ลมหายใจพลัดถิ่น : สิ้นแผ่นดิน แต่ไม่สิ้นชาติ ชาวมอญ หรือชาวรามัญเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เก่าแก่ชนชาติหนึ่ง เคยปกครองพื้นที่อันกว้างใหญ่ ในแถบดินแดนพม่าตอนล่าง บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้าเอยยาวดี(อิระวดี) และปากแม่น้าสะโตง โดยมี ศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ที่เมืองสุธรรมวดี หรือเมืองสะเทิม มีอานาจในการควบคุมการค้าระหว่าง น่านน้าระหว่างซีกโลกตะวันออกและตะวันตก แต่เมื่อหลังจากที่ชนชาติพม่า เริ่มเข้ามาในดินแดนทางตอน เหนือของประเทศพม่า คืออาณาจักรพุกาม พม่าได้ทาสงครามกับชนชาติมอญหลายครั้ง รวมทั้งได้นาเชลย ชาวมอญมาใช้เป็นแรงงานในการก่อสร้าง ทาเกษตรกรรมเพื่อเป็นเสบียงให้กับพม่า มอญจึงกลายเป็นส่วน * นักวิชาการศึกษา สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา


หน้า ๒๑

หนึ่งอาณาจักรพุ กาม แต่ในขณะเดียวกัน พม่าก็ได้รับเอาวัฒนธรรมมอญมาใช้ ทั้ง ในเรื่องของศาสนา, ความเชื่อ, สถาปัตยกรรม, ตัวอักษร และภาษา เป็นต้น๑ ภายหลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกามในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จึงได้มีการย้ายราชธานีไปที่ เมืองพะโคหรือหงสาวดี กษัตริย์องค์สาคัญ ของชนชาติมอญคนแรกที่เริ่มเข้ามีบทบาทคือพระเจ้าวาเฬรุ หรือพระเจ้าฟ้ารั่ว ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับสุโขทัย รวมถึงมีพระอัครมเหสีเป็นพระราชธิดาของพ่อขุน รามคาแหงมหาราช และมีกษัตริย์สืบต่อมาอีกหลายพระองค์ คัมภีร์บาลีทางพระพุทธศาสนาจึงนิยมใช้คา เรียกว่า รามัญเทศ ซึ่งเมืองความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน สงครามครั้งต่อ มาระหว่างพม่ากับมอญ เริ่มขึ้ นอีกครั้งในปีพ .ศ.๒๐๘๒ รัชสมั ยของพระเจ้า ตะเบงชะเวตี้ จากราชวงศ์ตองอู ผลจากสงครามครั้งนั้น พม่าตีได้เมืองพะสิม และหงสาวดีซึ่งเป็นเมือง หลวงสาคัญของชาวมอญอันมีพระมหาธาตุมุเตา* เป็นศูนย์รวมจิตใจ นอกจากนี้พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ยังได้ ทาพิธีเจาะพระกรรณที่พระมหาธาตุมุเตา เป็นการแสดงสิทธิ์เป็นเจ้าของดินแดนโดยสมบูรณ์ ชาวมอญ บางส่วนที่รอดจากสงครามจึงได้เริ่มอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารที่กรุงศรีอยุธยาเป็นระลอกแรก ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากที่ทรงประกาศเอกราชแล้ว ทรงทาการอาราธนาพระ มหาเถรคันฉ่อง พร้อมกับชักชวนชาวมอญที่ร่วมสวามิภักดิ์ ให้อพยพเทครัวตามเสด็จมาที่กรุงศรีอยุธยา ใน ครั้งนั้น พระยาเกียร และพระยารามขุนนางมอญที่มี ความดีความชอบในราชการและกลุ่มญาติพี่น้อง ก็ ได้รับพระราชทานที่ดินตั้งบ้านเรือน ณ บ้านขมิ้น ซึ่งได้แก่บริเวณวัดขมิ้นในเรือนจาเก่าบริเวณตลาดหัวรอ ไปจนถึงบริเวณวัดขุนแสนในปัจจุบัน ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระราชทานที่ดินให้ทั้งกลุ่มชาวมอญเก่าที่ อยู่มา แต่เดิมและกลุ่มมอญใหม่ ไปตั้งชุมชนอยู่ชานกรุงศรีอยุธยาบริเวณวัดตองปุและคลองปทาคูจาม สงครามครั้งสาคัญระหว่างชาวพม่ากับชาวมอญ ที่มีผลทาให้ชาวมอญถึงกับสูญสิ้นแผ่นดินนั้น คือ สงครามในรัชกาลของพระเจ้าอลองพญา หลังจากขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงยกกองทัพไปตีเมืองแปร อังวะ และพะสิม พระองค์ได้ทาการปราบปราบชาวมอญด้วยนโยบายที่รุนแรง ไม่เว้นแม้กระทั่งพระภิกษุสงฆ์ พระเจ้าอลองพญา ทรงสร้างเมืองย่างกุ้ง หรือแยงคอน อันมีความหมายว่า “จะมีชัยในไม่ช้า”๒ เพื่อเป็นที่ ชุมนุมทหารก่อนที่จะยกทัพเข้าตีเมืองหงสาวดีจนแตกพ่าย ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ ๒๓๐๐ ให้ชาวมอญ เป็นจานวนมากอพยพเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา และบางส่วนก็อพยพไปอยู่ในดินแดนล้านนาโดยเรียกชาติ พันธุ์ตนเองว่า “เม็ง” และนับว่าเป็นครั้งที่ ๖ ซึ่งตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในส่วนเหตุการณ์ทางกรุงศรีอยุธยานั้น เมื่อสงครามครั้งใหญ่ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพม่าในปีพ.ศ. ๒๓๑๐ นายทองสุก ชาวมอญที่อาศัยอยู่บ้านโพธิ์สามต้น ได้เข้าพวกรับอาสากับพม่า จนได้รับตาแหน่งเป็น สุกี้พระนายกอง และได้อาสากองทัพพม่าทาสงครามกับอยุธยา นอกจากนี้เป็นผู้นาชุมชนชาวมอญในกรุง ศรีอยุธยา บังคับรวบรวมกองทัพมอญได้ถึง ๒,๐๐๐ คน เพื่อส่งเข้ากองทัพทาสงครามกับกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ แต่ต่อมาภายหลังสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ยก กองทัพเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้น และขับไล่ข้าศึกได้สาเร็จในปีเดียวกัน การกดขี่ของพม่าเป็นเหตุให้ชาวมอญอพยพครอบครัวเข้ามาในสยามประเทศถึง ๙ ครั้งด้วยกัน โดย เข้ามาในสมัยอยุธยา ๖ ครั้ง สมัยกรุงธนบุรี ๑ ครั้ง และสมัยรัตนโกสินทร์ ๒ ครั้ง

* พม่าเรียกว่า ชเวมอว์ดอว์


หน้า ๒๒

ภายหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ในปีพ.ศ.๒๓๑๐ สันนิษฐานว่าชาวมอญที่เคยตั้งชุมชน อยู่ในกรุงศรีอยุธยาบางส่วนโดนกวาดต้อนกลับไปยังกรุงอังวะในฐานะเชลยพร้ อมกับชาวกรุงศรีอยุธยา บางส่วนก็อพยพหนีภัยจากสงครามไปอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ปัจจุบันนี้จึงไม่พบว่ามีเชื้อสายของชุมชนชาว มอญในกรุงศรีอยุธยาตามสถานที่ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์หลงเหลืออยู่อีกเลย นอกจากร่องรอยของ โบราณสถานบางแห่งที่เกี่ยวข้อง เช่น วัดป้อมรามัญ , วัด ตองปุ, วัดเจ้ามอญ, วัดกุฎีดาว, วัดกลางรามัญ , วัดขมิ้น, วัดช้างใหญ่ และวัดขุนแสน แต่ก็ยังมีแหล่งวัฒนธรรมของชาวมอญที่น่าจะอพยพเข้ามาในสมัย กรุงศรีอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้ง ชุมชนอยู่ตามลุ่มแม่น้าในภาคกลาง รวมทั้งบางส่วนใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี อยุธยา นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ สมุทรสาคร กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่ ลาพูน ลาปาง ตาก กาแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี นครราชสีมา ชุมพร สุราษฎร์ธานี โดยส่วนใหญ่จะได้รับพระราชทานที่ดินทากินให้แต่แรกอพยพเข้ามา

“มอญคลั่ง” ที่บ้านเสากระโดง เช้าตรู่ของวันที่ ๑๔ เมษายน แม้ว่าสงกรานต์ปีนี้อากาศจะร้อนอบอ้าวสักเพียงใด แต่ก็มิได้เป็นตัว แปรสาคัญที่จะไปลดทอนความศรัทธาของชาวบ้านเสากระโดง ที่พร้อมใจกันตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อเตรียมสารับ กับข้าวเพื่อนาไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ในวัดทองบ่อ รวมถึงการประกอบพิธีกรรมอันสาคัญและศักดิ์สิทธิ์ ของหมู่บ้านแห่งนี้ ในแถบภูมิภาคอุษาคเนย์ แห่งนี้ สงกรานต์ คือเทศกาลสาคัญ แห่ง การก้าวล่วงเข้าสู่ศักราชใหม่ เป็นช่วงระยะเวลาที่สนุกสนานรื่นเริงของหลาย ๆ กลุ่มชาติพันธุ์ รวมไปถึงการทาบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับ ญาติพี่น้องที่ล่วงลับ กลุ่มชาวมอญตามท้องถิ่นต่าง ๆ ก็เช่นเดียวกัน เมื่อถึงฤดูเทศกาลงานบุญเช่นนี้ ก็จะ พากันละทิ้งหน้าที่การงานชั่วคราว ชาวมอญที่ต้องเดินทางไปทางานในที่ห่างไกล พลัดจากถิ่นฐานของ ตนเอง ก็จะพร้อมใจเดินทางกลับถิ่นฐานเดิม เพื่อมาร่วมกิจกรรมกับญาติพี่น้องและครอบครัว ด้วยเหตุที่ ชาวมอญพากันทาบุญอย่างสนุกสนานนี้เอง คนไทยจึงเรียกว่า มอญคลั่ง ซึ่ง มิได้มีความหมายไปในทางที่ บ้าคลั่งเสียสติ แต่เป็นการคลั่งในเรื่องที่ดี คือคลั่งในการทาบุญทากุศล๓ เช่น เดีย วกั น กั บ วิถีแ ห่ งของชาวมอญแห่ ง ชุ มชนบ้ านเสากระโดง ที่ สื บ ทอดจากรุ่ น อดี ต ถึง รุ่ น ปัจจุบัน งานสงกรานต์ถือเป็นงานใหญ่ ที่แต่ละบ้าน แต่ละครอบครัวภายในชุมชนต่างให้ ความสาคัญและ ถือเป็นงานใหญ่ที่เรียกว่า “ทาบุญเปิงซงกราน” อันเป็นคาเรียก “ข้าวแช่” ที่จะต้องนาไปทาบุญที่วัด คา ว่า “เปิง” จึงแปลว่า “ข้าว” ส่วนคาว่า “ซงกราน” จึงหมายถึง “สงกรานต์” นั่นเอง๔ ชุมชนมอญบ้านเสากระโดงตั้งอยู่ที่หมู่ ๔ และ หมู่ ๕ ตาบลขนอนหลวง อาเภอบางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าชุมชนมอญแห่งนี้อพยพเข้ามาเมื่อใด แต่จากคาบอกเล่า ของผู้อาวุโสภายในหมู่บ้าน และหลักฐานทางโบราณคดีที่อยู่ภายในวัดทองบ่อ สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษ ชาวมอญกลุ่มหนึ่ง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในย่านขนอนหลวง ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายภายหลังจากเสียกรุง ศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ บริเวณชุมชนแห่งนี้คงถูกทิ้งร้างไประยะหนึ่ง ภายหลังสงครามสงบ ลง คงมีกลุ่มชาวมอญบางส่วนซึ่งอพยพหนีไปอยู่ในถิ่นอื่นเป็นการชั่วคราว กลับเข้ามาตั้งรกรากในถิ่นฐาน เดิมของตนจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้ นราวปี พ.ศ.๒๓๖๐ ประกอบกับมีชาวมอญอีกกลุ่มหนึ่งจากทาง เชียงใหม่ แล้วเดิ นทางมาด้วยเกวียน เข้ามาก่อ ตั้ง ชุม ชนโดยมี ชื่อเรีย กชุม ชนในภาษามอญว่า “กวาน


หน้า ๒๓

ปราสาท” พร้อมทั้งสร้างวัดทองบ่อ เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้านและมีชื่อเรียกวัดว่า “เพย์ ปราสาท” เนื่ อ งจาก บริเวณพื้ น ที่ ในอดี ต ของชุ ม ชนนี้ ตั้ ง อยู่ใกล้ กับ ด่ านขนอนวัด โปรดสั ต ว์ (ขนอนบาง ตะนาว) หรือด่านเก็บภาษีในสมัยกรุงศรีอยุธยามีเรือสาเภาผ่านเข้าออกเสมอ สันนิษฐานว่ามีเรือสาเภาลา หนึ่ง เกิดอับปางลง สายน้าพัดพาเสากระโดงมาติดที่หน้าชุมชน ผู้คนที่สัญ จรไปมาต่อมาจึงได้เรียกชื่อ ชุมชนใหม่ว่า ชุมชนบ้านเสากระโดง ภาษามอญเรียกว่า เพย์ทอปลาง สาหรับเสากระโดงต้นดังกล่าวนั้น ยังเก็บรักษาไว้ภายในวัดทองบ่อจนถึงปัจจุบันนี้

การแต่งกายของชุมชนชาวมอญบ้านเสากระโดงในงานเทศกาลสาคัญต่าง ๆ. (๒๕๕๖). (ภาพนิ่ง). พระนครศรีอยุธยา: ปัทพงษ์ ชื่นบุญ ในเอกสารพรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงอาชีพของชาวมอญ ที่เข้ามาพานักอาศัย อยู่ในกรุงศรีอยุธยาไว้ดังนี้ ...ถนนย่านป่าทุ่ง วัดโควัดกระบือต่อกัน แต่ก่อนมีตลาดมอญแลพม่าแขก ฆ่าเปดไก่ฃาย ครั้นสมเดจ พระบรมราชาธิราชเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่หัวบรมโกษเสดจเถลิงถวัลราชสมบัติ ปราบดาภิเษกเปนพระเจ้า แผ่นดินที่ ๓๒ ในกรุงเทพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา ทรงพระมหากรุณาแก่สัตว์ ทรงพระมหา กรุณาโปรดเกล้าฯ แก่สัตวโลกยที่ถึงที่ตายให้จาเปนดารัส สั่งให้ตั้งกดพิกัด ห้ามปรามมิให้ฆ่าเปดไก่ ฃายแก่ ฝ่ายคนที่นับถือพระพุทธศาสนา แต่พวกมิจฉาทิฏฐิจะฆ่า ก็ตามยะถากามแห่งสัตว...๕


หน้า ๒๔

...มาย่านหลังวัดนกน่าวัดโพง มีร้านชาไทยมอญขายขันถาดภานน้อยใหญ่ เครื่องทองเหลืองครบ มี ตลาดสดฃายเช้าเยน ชื่อตลาดมอญ ๑...๖ ...ย่านวัดครุฑ ปั้นนางเลิ้งขาย…๗ ...ปากคลองเกาะแก้วนั้น เรือใหญ่ปากกว้าง๖ ศอก ๗ ศอก มอญบรรทุกมะพร้าวห้าว ไม้แสม เกลือ มาจอดขาย...๘ ชุมชนมอญบ้านเสากระโดง ไม่ได้ประกอบอาชีพทานา แต่ประกอบอาชีพค้าขายทางเรือมา ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ โดยจะล่องเรือแจวค้าขายสินค้าไปตามแม่น้าเจ้าพระยา และแม่น้าป่าสัก โดยเส้นทาง แม่น้าเจ้าพระยานั้น ล่องขึ้นเหนือไปจนถึงปากน้าโพและล่องลงใต้จนกระทั่งถึงปากอ่าวย่านมหาชัย บาง ขุนเทียน บางปลากด ส่วนแม่น้าป่าสัก ล่องไปจนถึงเพชรบูรณ์ หล่มสัก เลย สินค้าส่วนใหญ่ที่ขายคือ ตับ จาก เนื่องจากในอดีตการปลูกเรือนส่วนใหญ่ใช้ตับจากมุงหลังคา โดยซื้อจากชาวมอญที่พายเรือทวนน้า ขึ้นมาขายถึงเมืองปากน้าโพ และเพชรบูรณ์ ตับจากที่ถือว่ามีคุณภาพดีนั้นมาจากมหาชัย บางขุนเทียน และบางปลากด ส่วนตับจากที่มีคุณภาพด้อยกว่ามาจากคลองด่าน สมุทรปราการ สินค้าที่ชาวมอญนิยมนามาขายรองลงมาคือ เกลือ และใบลาน เกลือสมุทรคงได้จากทางมหาชัย ซึ่งนิยมทานาเกลือเป็นอาชีพ ส่วนใบลานนั้นได้จากดงลานในเขตเมืองหล่ม และเมืองเลย ชาวบ้านที่ซื้อมัก ไปทางอบและจารหนังสือ จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการค้าของชุมชนมอญบ้านเสากระโดงนั้น สอดคล้องเป็นอย่าง ยิ่งกับหลักฐานปรากฏในเอกสารพรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา ถึง การประกอบอาชีพการค้าของ ชาวมอญเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และมีความแตกต่างจากกลุ่มชาวมอญเมืองปทุมธานี สามโคก และบางเตย ที่นิยมค้าขายตุ่มใส่น้าหรือนางเลิ้ง อิฐ ปูน หม้อ ไห และเครื่องถ้วยชามต่าง ๆ และสามารถ ล่ อ งเรื อ ทวนน้ าไปถึ ง อุ ต รดิ ต ถ์ สุ โขทั ย ก าแพงเพชร ซึ่ ง ไกลกว่ า เส้ น ทางการค้ า ของชาวมอญบ้ า น เสากระโดง

เจดีย์ประธาน และศาลาการเปรียญ, (๒๕๕๖), ภาพนิ่ง : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ


หน้า ๒๕

วัดทองบ่อ: ศูนย์รวมใจของชาวมอญบ้านเสากระโดง สันนิษฐานว่าวัดทองบ่อ น่าจะสร้างพร้อม ๆ กับการเกิดของชุมชนแห่งนี้ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้รับวิสุงคามสีมาครั้งแรกเมื่อใด แต่ได้รับวิสุงคามสีมาครั้งที่ ๒ เมื่อพ.ศ.๒๔๙๔ เป็น วัดสังกัดคณะสงฆ์นิกายธรรมยุติ ภายในวัดทองบ่อมีโบราณสถานและสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจดังนี้

เจดีย์ประธาน เจดีย์ประธานวัดทองบ่อ ตั้งหันหน้าเข้าหาแม่น้าเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตก เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยม เพิ่มมุมก่อสร้างด้วยอิฐ ฉาบผิวด้วยปูนหมัก และขัดทับด้วยปูนตา ในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยได้รับ อิทธิพลจากศิลปะล้านนาจากฐานประทักษิณที่มีขนาดสูง บันไดขึ้นเจดี ย์ทางทิศตะวันตก สร้างปิดทับช่อง ประตูรูปเกือกม้า ซึ่งเดิมคงมีลวดลายประดับอยู่ องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานล่างสุด เป็นทางเดินรูปเกือกม้าด้านละ ๖ ช่อง เหนือขึ้นไปเป็นทางเดินประทักษิณ มีราวระเบียงเจาะเป็นช่อง ล้อมรอบ โดยมีฐานสี่เหลี่ยมย่อมุ มสี่ฐาน ฐานชั้นที่สองเจาะเป็นซุ้มรูปเกือกม้า ฐานชั้นที่สามเป็นฐานหน้า กระดานย่อมุมไม้สิบสองก่อเป็นช่องประตูหลอกไว้ทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็น ซุ้มสาหรับประดิษฐานพระพุทธรูปนูนต่า ฐานชั้นที่สี่หน้ากระดานมีบัวรัดเกล้าคาดรองรับชุดฐานสิงห์ ย่อ มุมไม้ยี่สิบ และฐานบัวลดหลั่นกันสามชั้น บัวปากระฆังรองรับบัวย่อมุมไม้ยี่สิบ ประดับลายปูนปั้นบัวคอ เสื้อหลังองค์ระฆัง ต่อขึ้นไปด้วยบัลลังก์ย่อมุมไม้สิบสอง มีภาชนะเครื่องเคลือบลายครามทรงสูงเป็นเสา หารรองรับบัวฝาละมีและปล้องไฉน ซึ่งมีเส้นลวดคั่นลดหลั่นกัน มีบัวคั่นรับปลียอดที่รองรับเม็ดน้าค้าง ในการบูรณะ กรมศิลปากรทาการสารวจเมื่อ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ โดยขุดตรวจฐานราก บริเวณทิศตะวันตกติดกับบันไดทางขึ้นเจดีย์ ความลึกรวม ๗๐เซนติเมตร จากระดับพื้น พบชั้นทรายและ ชั้นดินลูกรังถม บริเวณบันไดพบฐานแผ่กว้าง ๘๕ เซนติเมตร ฐานรากแผ่ ๖ ชั้น ในขณะที่ด้านข้างของ เจดีย์ขุดพบฐานแผ่ ๕ ชั้น มีความกว้าง ๑ เมตร พบว่ามีน้าซึมขึ้นมาตลอดเวลา เนื่องจากเจดีย์อยู่ใกล้กับ แม่น้าและเป็นช่วงที่มีน้าขึ้นสูง ระดับน้าใต้ดิน ๐.๖๐ เมตร จากระดับพื้น นอกจากนี้ได้ขุดเจาะบริเวณ ช่องทางเดินขนาดกว้าง ๗๕ เซนติเมตร ลึก ๓๕ เซนติเมตร พบพื้นอิฐถูกถมทับด้วยทรายก่อนเททับด้วย ซีเมนต์กาแพงแก้ว กาแพงแก้ววางตัวอยู่ขนานกับองค์เจดีย์ห่างไปทางทิศใต้ประมาณ ๓ เมตร กาแพงสูงโดยเฉลี่ย ประมาณ ๑ เมตร ลักษณะชารุดทรุดโทรม มี วัชพืชขึ้นและตะไคร่เกาะ อิฐด้านบนหลุดกระจัดกระจาย และถูกวางทิ้งไว้อย่างไม่เป็นระเบียบ กรมศิลปากรได้ทาการขุดตรวจฐานกาแพง หลุมขุดตรวจขนาด ยาว ๒ เมตร กว้าง ๑ เมตร ลึก ๕๐ เซนติเมตร จากพื้นปัจจุบัน พบว่ามีน้าซึมขึ้นมาตลอดเวลา เนื่องจากอยู่ ใกล้กับแม่น้าและเป็นช่วงที่มีน้าขึ้นสูง หลังจากขุดลงไปลึก ๕๐ เซนติเมตร พบชั้นอิฐเรียงซ้อนกันลงไปอีก ๑๑ ชั้น จากอิฐชั้นล่างสุดของพื้นปัจจุบัน และไม่พบหลักฐานทางโบราณวัตถุ

ศาลาการเปรียญ (เก่า) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเจดีย์ประธานห่างประมาณ ๘๐ เมตร อยู่ติดแม่น้าเจ้าพระยา เป็นอาคารไม้ยกพื้นสูงรูปสี่ เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๒ เมตร เป็นอาคารขนาด ๗ ห้อง เสาบันไดทางขึ้น ๒ ด้าน ๕ ขั้น ก่ออิฐฉาบปูนคือด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือกับด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ หลังคามุงกระเบื้องประดับปูนปั้นบนสันหลังคา สวยงามและที่หน้าบันทั้งสองด้ านประดับลวดลายปูนปั้น


หน้า ๒๖

เช่นเดียวกัน จารึกปีการก่อสร้างใน พ.ศ. ๒๔๕๕ เดือน ๗ แรม ๑ ค่าปัจจุบันอยู่ในระหว่างการปรับปรุง เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดทองบ่อและศูนย์ศึกษาชุมชนชาวมอญ

เสาหงส์ หากเดินทางไปในสถานที่แห่งใดก็ตาม เมื่อพบเห็นเสาหงส์ปักอยู่ ก็จะสามารถทราบได้ทันที่ว่ามี ชุมชนชาวมอญเกิดขึ้นในสถานที่แห่งนั้น เพราะเสาหงส์เป็นสัญลักษณ์ที่สาคัญ แสดงถึงความเป็น ชนชาติ มอญ เสาหงส์นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังธงตะขาบซึ่งเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล ตามตานานเล่าว่ามีชาวมอญ ไปพบต้นจันทน์ยืนต้นตายอยู่ในป่า ลักษณะของต้นจันทน์ ดังกล่าวเป็น ลาต้นตรงสวยงาม จึง ได้ตัดต้น จันทน์ดังกล่าวมาปักไว้ในบริเวณวัดของหมู่บ้านที่ตนพักพิงอยู่ เพื่อแขวนธงตะขาบบูชาพระพุทธเจ้า ใน ภายหลัง ได้ปรับให้ สวยงาม และมีความหมายมากขึ้น จึงแกะไม้เป็นรูปหงส์ป ระดับไว้ที่ป ลายเสา บาง ตานานกล่าวว่าหงส์นั้นหมายถึงเมืองหงสาวดี ซึ่งเคยเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดในอดีตของชาวมอญ ก่อนที่จะ โดนรุกรานจากพม่า ดังนั้นทิศทางของเสาหงส์ มักจะหันหน้าออกไปสู่ทิศที่ตั้งของเมืองหงสาวดีเสมอ ทั้งนี้ อาจเพื่อเป็น การเตือนสติมิให้ลืมชาติพันธุ์บ้านเกิดของตนเอง เสาหงส์บางแห่ งมีการพั ฒนารูปแบบให้ สวยงามขึ้น โดยเพิ่มเสาตะเกียบขนาบทั้งสองข้าง ส่วนการแขวน “นู่” หรือ “ธงตะขาบ” จะประกอบพิธี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น

เปิงซงกราน : อาหารมงคล เปิงซงกราน ในภาษามอญ มีความหมายว่า ข้าวสงกรานต์ ซึ่งมีความแตกต่างไปจากข้าวแช่ ทั่วไปที่มีขายตามท้องตลาดในปัจจุบัน ข้าวแช่นี้จั ดเป็นอาหารทานเล่น จะมีเฉพาะในช่วงเดือนสงกรานต์ เท่านั้น เนื่องจากเป็นช่วงที่มีอากาศร้อน การทาเปิงซงกรานอย่างประณีตของชาวมอญแต่โบราณนั้น จะต้องมีคุณสมบัติที่เรียกว่า “ถึง พร้อมด้วยลักษณะเจ็ด”๙ คือ ข้าวที่จะใช้หุงทาข้าวแช่ จะต้องใช้ข้าวเปลือก ๗ กา ซ้อมมือถึง ๗ ครั้ง และ ต้องนามาซาวน้าลอยดอกมะลิให้สะอาดอีก ๗ ครั้ง ครั้นเมื่อจะหุงก็จะต้องหุงกันกลางแจ้ง มีการทาราช วัตรรั้วล้อมปักฉัตรปักธง ด้วยถือว่าเปิงซงกรานนี้คือข้าวที่เป็นสิริมงคล จากนั้นก็จะนาน้าสะอาดใส่ไว้ในตุ่ม ใบย่อมๆ ลอยดอกมะลิ อบควันเทียนไว้ให้หอมข้ามคืน เมื่อจะนามารับประทานก็จะนาข้าวใส่ถ้วย และตัก น้าลอยดอกมะลิใส่ตามลงไป ข้าวแช่ก็ จะเย็น ชื่น ใจตามธรรมชาติ นอกจากนี้ ยั งมี การท าเครื่องเคีย ง ประกอบอาทิ งาปิทอด (กระปิทอด) , พริกหยวกสอดไส้,กระเทียมดองผั ดไข่ ,ปลาแห้งป่น , เนื้อเค็มฉีก ฝอย,หัวไชโป๊วผัดไข่เค็ม ชาวมอญบ้านเสากระโดงในอดีตจะให้ความสาคัญเป็นอย่างยิ่งกับกรรมวิธีการทาข้าวแช่ จะนิยม ทาประกอบสารับ เพื่ อถวายพระเท่ านั้น แต่ในยุค ปัจจุบั น นี้ชาวบ้ านจะต้องท าในปริม าณมากขึ้ น เพื่ อ สาหรับจัดเลี้ยงให้กับญาติผู้ใหญ่ และผู้ที่มาร่วมพิธีสงกรานต์ที่วัดทองบ่อด้วย จึงจาเป็นจะต้องลดขั้นตอน ที่ยุ่งยากบางประการออกไป อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการทาข้าวแช่จะไม่ได้ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์อีก ต่อไป แต่ชาวบ้านยังคงถือว่า เปิงซงกราน หรือข้าวแช่ ยังคงอยู่ในฐานะของอาหารมงคลในช่วงเทศกาล สงกรานต์ดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา


หน้า ๒๗

เสาหงส์ภายในวัดทองบ่อ. (๒๕๕๖). (ภาพนิ่ง) พระนครศรีอยุธยา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ

เปิงซงกรานอาหารมงคลของชาวมอญ. (๒๕๕๗). (ภาพนิ่ง). พระนครศรีอยุธยา. ธนิสร เพ็ชรถนอม.


หน้า ๒๘

พิธีแห่นู่ในงานเทศกาลสงกรานต์ชุมชนมอญบ้านเสากระโดง. (๒๕๕๖, ๒๕๕๗). (ภาพนิ่ง). พระนครศรีอยุธยา: ปัทพงษ์ ชื่นบุญ และธนิสร เพ็ชรถนอม.

นู่ : ผืนผ้าแห่งสรวงสวรรค์ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นเทศกาลที่ชาวมอญบ้านเสากระโดงทุกคน ไม่ว่าจะออกไปประกอบ อาชีพอยู่ไกลแค่ไหน เมื่อถึงวันสงกรานต์จะต้องพยายามเดินทางกลับมารวมกับครอบครัวและญาติพี่น้อง เพื่อร่วมประเพณีที่สาคัญนี้ โดยมีหัวใจของงานอยู่ที่การแห่ “นู่” หรือ ธง๑๐ ซึ่งมีลักษณะคล้ายธงตะขาบ ที่มีลักษณะเป็นผ้าผืนยาวขนาดกว้างประมาณ ๑ - ๒ เมตร ยาวประมาณ ๑๐-๑๕ เมตร มีไม้คั่นเป็นช่อง ๆ ตลอดผืน ประดับตกแต่งจนเกิดเป็นลวดลายสีสันสวยงาม ชาวมอญเชื่อว่าการแห่นู่ ขึ้นสู่เสาหงส์นี้มีอานิสงส์มาก เป็นการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ เพื่ออุทิศให้กับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ให้กับ “กร๊าบนาม”หรือผู้ที่ เกิดตรงกับวันเนา ซึ่งเป็นวันว่างคั่นระหว่างปีเก่ากับปีใหม่ บุคคลดังกล่าวอาจประสบเคราะห์กรรมที่ไม่ คาดฝัน จะต้องมีการสะเดาะเคราะห์ด้วยการแขวนนู่ หรือธงที่มีขนาดเล็กไว้ที่เสาหงส์ใกล้กับเคหะสถาน ของตน ในวันที่มีพิธีแห่นู่นั้น ชาวมอญบ้านเสากระโดงทุกคนจะแต่งกายอย่างสวยงามตามวัฒนธรรม ดั้งเดิม โดยจะตั้งขบวนแห่ไปรอบหมู่บ้านอย่างสนุกสนานรื่นเริง อันประกอบด้วยขบวนนักฟ้อนรา ขบวน แห่นู่ ขบวนปล่อยนกปล่อยปลา ขบวนแห่ไม้ค้าโพธิ์ ขบวนชักเกวียนที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน


หน้า ๒๙

ศิลปะสกุลช่างมัณฑะเลย์ อันเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจาหมู่บ้าน และจะต้ องนามาสรงน้าในช่วงบ่าย ประเด็นที่น่าสนใจคือมีขบวนเกวียนแห่รูปจาลองของพระมหาเถรคันฉ่อง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระสุพรรณกัลยา ซึ่งสะท้อนถึงการนาประวัติศาสตร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบพิธีกรรม ดังกล่าวด้วย จากนั้นจะทาการยกนู่ขึ้นสู่เสาหงส์ การถวายไม้ค้าโพธิ์ รวมทั้งเลี้ยงอาหารกลางวันผู้มาร่วมงาน ทุกคนด้วยข้าวแช่ จนกระทั่งในตอนบ่ายจะมีพิธีสรงน้าพระบนรางไม้ไผ่ จึงเป็นอันเสร็จกิจกรรม

อนาคตของชุมชนมอญบ้านเสากระโดง ในปัจจุบันนี้ วัฒนธรรมและการดารงชีวิตของชุมชนชาวมอญที่บ้านเสากระโดงแห่งนี้กาลังจะ หมดไป เยาวชนรุ่นใหม่ ไม่นิยมสื่อสารหรือพูดคุยด้วยภาษามอญ มีเพียงผู้สูงอายุในหมู่บ้านที่ยังพูดภาษา มอญ สวดมนต์ภาษามอญ สาหรับผู้ที่สามารถเขียนและอ่านภาษามอญได้มีจานวนน้อยลงมาก ระบบการค้าขายสินค้าทางเรือหมดไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเส้นทางคมนาคมที่สะดวกขึ้น มี ถนนตั ด ผ่ า น จึ ง ไม่ มี ใครนิ ย มแจวเรื อ ขายสิ น ค้ า อี ก ต่ อ ไป การขายตั บ จากจึ ง อาศั ย การสื่ อ สารทาง โทรศัพท์มือถือที่รวดเร็วกว่าและใช้รถในการขนส่งสินค้าแทน แต่ก็ไม่สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงหรือ ประกอบเป็นอาชีพหลักดังเช่นในอดีตได้อีกต่อไป เพราะปัจจุบันผู้คนนิยมหันมาปลูกบ้านโดยใช้กระเบื้อ ง มุง หลัง คา สินค้ าประเภทตั บจากจึงแทบจะไม่ เป็น ที่ต้ องการของตลาด อีก ทั้ง เมื่อ มีนิ คมอุต สาหกรรม เกิดขึ้นมากมายในย่านบางปะอิน วังน้อย นวนคร รุ่นลูกหลานของชาวมอญบ้านเสากระโดงจึง หันไป ประกอบอาชีพตามโรงงานอุตสาหกรรม บางส่วนก็ไปประกอบอาชีพรับจ้างตามบริษัทเอกชน หรือรับ ราชการ แม้วัฒนธรรมจะเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม แต่พระภิกษุสงฆ์ที่วัดทองบ่อ ยังรักษาเอกลักษณ์ การสวดพระอภิธรรมภาษามอญตลอดมาปัจจุบันพระครูอาทรพิพัฒนโกศล หรือ พระอาจารย์สุทัศน์ ธรรม อุบลเจ้าอาวาสวัดทองบ่อ มีความคิดที่จะจัดตั้งศูนย์ศึกษาภาษามอญ โดยจัดการสอนหนังสือภาษามอญ ให้ กั บ เด็ ก เยาวชนและผู้ ที่ ส นใจ รวมทั้ ง ท าการฟื้ น ฟู ป ระเพณี ดั้ ง เดิ ม ของชาวมอญขึ้ น มาเพื่ อ รัก ษา วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามนี้ไว้มิให้สูญ หายไปกับกาลเวลา หรือกลายเป็นเรื่องเล่าขานที่เป็นเพียง ความทรงจาในอดีตที่ลางเลือน ดั ง นั้ น ประเพณี ต ามวิ ถี วั ฒ นธรรม รวมทั้ ง รวมกิ จ กรรมทางศาสนา เช่ น ประเพณี สงกรานต์ ประเพณีการตักบาตรน้าผึ้ง เทศกาลเข้าพรรษา เทศกาลออกพรรษา การเทศน์มหาชาติ จึงเป็น เพียงสิ่งเดียวที่ยังเป็น เครื่องยึดโยงจิ ตใจ รวมทั้งสานสายสัมพั นธ์ของชุ มชนชาวมอญบ้ าน เสากระโดงไว้ให้ยังคงอยู่สืบไป สมดังคากล่าวที่ว่า “สิ้นแผ่นดิน แต่ไม่สิ้นชาติ” ๏


หน้า ๓๐

บรรยากาศงานเทศกาลสงกรานต์ชุมชนมอญบ้านเสากระโดง ประจาพุทธศักราช ๒๕๕๗. (๒๕๕๗).

(ภาพนิ่ง). พระนครศรีอยุธยา: ปัทพงษ์ ชื่นบุญ และธนิสร เพ็ชรถนอม.


หน้า ๓๑

เชิงอรรถ ๑

ศูนย์มอญศึกษา. (๒๕๕๐). นาชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง. หน้า ๒๓. ส.พลายน้อย (นามแฝง). (๒๕๑๕). เล่าเรื่องพม่ารามัญ. หน้า ๒๑๒. ๓ แหล่งเดิม. หน้า ๓๑๓ – ๓๑๔. ๔ แหล่งเดิม. หน้า ๓๑๔. ๕ คณะกรรมการช าระประวัติศาสตร์ไทยฯ. (๒๕๓๔). คาให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง. หน้า ๑๓. ๖ แหล่งเดิม. หน้า ๑๔ ๗ พระยาโบราณราชธานินทร์. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๓ เรื่องกรุงเก่า. หน้า๑๘๙. ๘ แหล่งเดิม. หน้า๑๙๒. ๙ ส.พลายน้อย (นามแฝง). (๒๕๑๕). เล่มเดิม. หน้า ๓๑๔. ๑๐ แหล่งเดิม. หน้า ๓๒๓. ๒

บรรณานุกรม กรมศิลปากร. (๒๕๑๑). ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๓ เรื่องกรุงเก่า. พิมพ์ครั้งที่ ๔ เนื่องในงาน พระราชทานเพลิงศพนายพิมล บุญอาภา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา. คณะกรรมการชาระประวัติศาสตร์ไทยฯ . (๒๕๓๔). คาให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจาก หอหลวง. กรุงเทพฯ : สานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จวน เครือวิชฌยาจารย์. (๒๕๔๓). ประเพณีมอญที่สาคัญ. กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์. จาลอง ทองดี. (๒๕๒๙). แผ่นดินประเทศมอญ. กรุงเทพฯ: สมาพันธุ์. มานพ แก้วหยก. (๒๕๕๔, มกราคม - เมษายน). มอญค้าขายทางเรือในอดีต. รักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติ พันธุ์. ปีที่ ๒ (ฉบับที่ ๑) : หน้า ๑๐. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (๒๕๕๖). มอญบางปะอิน. มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๖, จาก www.lek-prapai.org. ศูนย์มอญศึกษา. (๒๕๕๐). นาชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม. สมบัติ พลายน้อย. (๒๕๑๕). เล่าเรื่องพม่ารามัญ. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา. สานักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. (๒๕๕๑). โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่ม ๒. กรุงเทพมหานคร: ทวีวัฒน์การพิมพ์.


หน้า ๓๒

ข้าวแช่ ชาวมอญ

ชาวมอญ สมัยโบราณถือว่าวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ นับเป็นความเชื่อที่ได้แบบอย่างมาจาก อินเดียพร้อมๆกับ การยอมรับนั บ ถือพุ ทธศาสนา ต่อมาชาวมอญก็ ได้ ประยุ กต์แบบแผนและถ่ ายทอด ประเพณีปฏิบัตินี้มายังชาวไทยด้วย ในส่วนของไทยก็เพิ่งจะเปลี่ยนมานับเอาวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันปีใหม่ตามแบบสากล ภายหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ ได้ไม่นาน สาหรับชาวมอญแล้ว เทศกาลสงกรานต์นั้น เป็ น เทศกาลที่ สาคัญ เป็ น อย่า งยิ่ง ชาวมอญทั่ วไปต่ างเตรีย มตัว เตรียมงานนานนั บ เดือ น ทาความสะอาด บ้านเรือน เตรียมเสื้อผ้าใหม่ และอาหารสาหรับทาบุญตักบาตร ซึ่งเทศกาลสงกรานต์นั้นตรงกับวันที่ ๑๓– ๑๗ เมษายนของทุกปี ช่วงเช้าชาวบ้านทุกครัวเรือนต่างให้ความสาคัญ กับการทาบุญ ตักบาตร มุ่งไปที่วัด ไหว้พระสวดมนต์ สมาทานศีล ช่วงบ่ายจะจัดให้มีการสรงน้าพระพุทธรูป สรงน้าพระสงฆ์ และบังสุกุลอัฐฐิ ปู่ย่าตายาย ปล่อยนก ปล่อยปลา ค้าโพธิ์ ถางหญ้า สร้าง-ซ่อมสะพานข้ามคูคลอง เป็นต้น อาหารมอญ ที่นิยมทากันในช่วงสงกรานต์เท่านั้น ก็คือ ขนมกะละแม และ ข้าวแช่ หรือ ข้าว สงกรานต์ คนมอญเรียกว่า “เปิงด้าจก์” ที่แปลว่า ข้าวน้า โดยเฉพาะข้าวแช่นั้นเป็นอาหารที่เกี่ยวข้องกับ พิธีกรรม มีขั้นตอนในการทาค่อนข้างพิถีพิถัน ใช้เวลาในการจัดเตรียมมาก และเมื่อปรุงเสร็จเรี ยบร้อยแล้ว ก็จะต้องนาไปถวายบูชาต่อเทวดา จากนั้นจะนาไปถวายพระและแบ่งไปส่งผู้หลักผู้ใหญ่ ที่เหลือจากนั้นจึง จะนามาตั้งวงแบ่งกันกินกันเองภายในครัวเรือน


หน้า ๓๓

การกินข้าวแช่ เป็นการกินอาหารที่สอดรับกับสภาพภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี เพราะช่วงฤดูร้อน การกินอาหารที่มีน้าเป็นองค์ประกอบมากๆ ทาให้ย่อยง่าย ลดอุณหภูมิภายในร่างกาย คลายร้อน สร้าง สมดุลภายในร่างกาย ผิวพรรณชุ่ มชื่น ลดความเสี่ย งต่อ การเจ็บไข้ได้ป่ วย เช่น ผิวแห้ ง ปากแตก จาก อาการร้อนใน ท้องผูก

ตานานข้าวแช่ การทาข้ าวแช่สื บเนื่อ งมาจากต านานสงกรานต์ข องมอญ ดั ง ที่พ ระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้าอยู่หัวโปรดให้จารึกไว้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (จารึกไว้ในแผ่นศิลารวม ๗ แผ่น ติดไว้ที่คอสอง ในศาลาล้อมพระมณฑปทิศเหนือ ปัจจุบันบางแผ่นหายไปแล้ว) กล่าวคือ มีเศรษฐีผู้หนึ่งไม่มีบุตรธิดา เป็น ที่อับอายแก่ชาวบ้านและวิตกทุกข์ร้อนใจในอันที่ยังขาดผู้สืบทอดมรดกทรัพย์สินบรรดามีทั้งปวง ทาการ บวงสรวงบูชาแก่พระอาทิตย์ พระจันทร์ ทว่ากาลเวลาผ่านไป ๓ ปี ก็หาเป็นผลแต่อย่างใดไม่ ต่อมาในวัน หนึ่งเป็นวันในคิมหันตฤดูเจตมาส คนทั้งหลายเล่นนักขัตฤกษ์ต้นปีใหม่ทั่วชมพูทวีป คือพระอาทิตย์ก็จาก ราศีมีนประเวศสู่เมษราศี โลกสมมุติว่า วันมหาสงกรานต์ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังโคนต้นไทรใหญ่ริมน้า อันเป็นที่อยู่ของรุกขเทวดาทั้งหลาย นาข้าวสารล้างน้า ๗ ครั้ง แล้วหุงบูชารุกขเทวดาประจาพระไทรนั้น ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร และรุกขเทวดาพระไทรนั้นก็เมตตาให้เทพบุตร (ธรรมบาลกุมาร) มาจุติเป็นบุตรของ เศรษฐีสมความปรารถนา ครั้นต่อมา ชาวมอญ มีความเชื่อว่าหากได้กระทาพิธีเช่นว่านี้ บูชาต่อเทวดาในเทศกาลสงกรานต์ แล้ว สามารถตั้งอธิษฐานจิตสิ่งใดๆย่อมได้ดังหวัง บางคนก็พาลเชื่อเลยเถิดไปถึงว่า เป็นการบูชาท้าวกบิล พรหม ซึ่งเข้ามาเกี่ยวพันกับลูกชายเศรษฐีในภายหลังด้วยการตั้งปัญหามาทาย เกี่ยวกับ “ราศี” ของมนุษย์ เราตามตาแหน่งในช่วงเวลาต่างๆของวันหนึ่งๆ และท้ายที่สุดเมื่อธรรมบาลกุมารตอบถูก ท้าวกบิลพรหมก็ ต้องตัดพระเศียรตามคาท้าของตนบูชาธรรมบาลกุมาร กระทั่งเดือดร้อนให้ลูกสาวทั้ง ๗ คน ต้องผลัดเวร กั น มาถื อ พานรองรั บ พระเศี ย รพระบิ ด า ปี ล ะคน กั น มิ ใ ห้ พ ระเศี ย รตกถึ ง พื้ น ดิ น อั น จะน ามาซึ่ ง ไฟบรรลัยกัลป์ล้างผลาญโลก หรือแม้แต่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ก็ยังทาฝนแล้ง รวมทั้งน้าจะเหือดแห้ง หาก ตกลงมหาสมุทร และนั่นก็เป็นที่มาของตานานการกาเนิด นางสงกรานต์ อีกด้วย วิธีการปรุงข้าวแช่ การหุงข้าวแช่ในอดีตจึงเป็นพิธีกรรมในการบูชาเทวดาอย่างหนึ่ง เป็นการหุงข้าวที่มีขั้นตอน ซับซ้อน แฝงพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ กล่าวคือ ทุกขั้นตอนในการเตรียมข้าวแช่นั้นต้องพิถีพิถัน เริ่มตั้งแต่คัด ข้าวสารเม็ดสวย นามาซาวน้า ๗ ครั้ง ให้สะอาด และในการหุงข้าวนั้นต้องตั้งเตาไฟบนลานโล่งและต้องอยู่ นอกชายคาบ้าน ซึ่งขั้นตอนนี้มักจะเริ่มตั้งแต่บ่ายก่อนวันสงกรานต์ (ประมาณวันที่ ๑๒ เมษายน) หุงข้าว ให้สุกพอเม็ดสวย แล้วนาไปซาวน้า ขัดกับผนังกระบุงด้านในหรือภาชนะอะไรก็ได้ที่พื้นผิวมีความสาก เอา ยางข้าวออก ปล่อยให้สะเด็ดน้า ส่วนน้าที่จะทานร่วมกับข้าวแช่นั้น เตรียมโดยการนาน้าสะอาด ต้มสุก เทลงหม้อดินเผาใบใหญ่ อบควันเทียนและดอกไม้หอม เช่น มะลิ กุหลาบมอญ กระดังงา ทิ้งไว้หนึ่งคืน ระหว่างนี้หน้าที่ของพ่อบ้าน ก็คือ ต้องสร้างบ้านสงกรานต์ คนมอญเรียกว่า “ฮ๊อยซัง กรานต์ ” เป็นศาลเพียงตา ซึ่งมีความสูงระดับ สายตา ปลูกสร้างขึ้นชั่วคราวอย่างง่ายๆ ตรงบริเวณลานโล่งหน้าบ้าน มักสร้างด้วยไม่ไผ่ ขนาดไม่ใหญ่มาก นัก กว้างยาวประมาณ ๑ ศอก เพียงพอสาหรับวางถาดอาหารได้ ๑ สารับเท่านั้น การตกแต่งศาลก็มีตั้งแต่


หน้า ๓๔

ปูผ้าขาว ผูกผ้าสี ทางมะพร้าวตัดใบสั้นผ่าซีก ผูกโค้งตกแต่งเสาทั้ง ๔ ประดับด้วยดอกไม้สดเท่าที่จะหาได้ ในแต่ละท้องถิ่น เพื่อความสดชื่นสวยงาม บางถิ่นนิยมประดับด้วยดอกราชพฤกษ์ หรือดอกคูน คนมอญ เรียกว่า “ปะกาวซังกรานต์ ” ที่แปลว่าดอกสงกรานต์ เพราะดอกไม้ชนิดนี้ จะออกดอกในช่วงเทศกาล สงกรานต์เสมอ และประพรมน้าอบน้าปรุง รอการถวายข้าวแช่บูชาเทวดาในเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น ส่วนกับข้าวที่จะรับประทานกับข้าวแช่นั้นบางชนิดมีการตระเตรียมล่วงหน้านานนับเดือน เช่น ปลาแห้ง เนื้อแห้ง ต้องจัดหาหรือซื้อมาทาเค็มเอาไว้ล่วงหน้า บางถิ่นมีกับข้าวหรือเครื่องเคียงข้าวแช่ ๕ ชนิ ด บางถิ่ น มี ๗ ชนิ ด รายละเอี ย ดแตกต่ า งกั น ไป (ไม่ มี ข้ อ ใดผิ ด ข้ อ ใดถู ก ชั ด เจน เป็ น ไปตาม สภาพแวดล้อม สภาวะทางเศรษฐกิจของแต่ละถิ่น และการประยุกต์ดัดแปลงของแต่ละคน-ผู้เขียน) ซึ่งรายการหลักๆ ได้แก่ ๑. ปลาแห้งป่น ๒. เนื้อเค็มฉีกฝอย ๓. หัวไชโป้เค็มผัดไข่ ๔. ไข่เค็ม ๕. กระเทียมดอง เป็นต้น ขั้นตอนการปรุงกับข้าวหรือเครื่องเคียงที่ค่อนข้างยุ่งยาก คือปลาแห้งป่น และเนื้อเค็มฉีกฝอย อาจมีการทาเตรียมล่วงหน้าหลายวัน ปลาแห้งป่น โดยมาก นิยมใช้ปลาช่อนเค็มตากแห้ง ย่างสุก ฉีกเอา เฉพาะเนื้อ ระวังอย่าให้ก้างติดมาเป็นอันขาด ใส่ลงครกตาละเอียด คลุกน้าตาลทราย เกลือ ปรุงรสให้ รสชาติกลมกล่อม เนื้อเค็มฉีกฝอย นิยมเนื้อวัวมากกว่าเนื้อควาย นาเนื้อเค็มตากแห้งดังกล่าวย่างไฟสุก ฉีก ฝอยผัดน้ามันให้เหลืองกรอบหัวไชโป้เค็มผัดไข่ นาหัวไชโป้เค็มล้างให้รสเค็มกร่อยลง หั่นละเอียด หัวกะทิ ตั้งไฟให้เดือด นาหัวไชโป้ลงผัด ตอกไข่ตีให้ละเอียดราดลงบนหัวไชโป้ในกะทะ รอไข่สุก คนให้เข้ากัน ปรุง รสให้กลมกล่อมไข่เค็ม และ กระเทียมดอง สองรายการนี้เป็นรายการถนอมอาหารที่ มีกันอยู่ แทบทุ ก ครัวเรือน เพียงแต่นามาปอก หั่น ให้พอดีคา จัดใส่ชาม บางครอบครัวอาจมีการนามาดัดแปลงเพิ่มเติม เช่ น ย าไข่ เค็ ม กระเที ย มดองผั ด ไข่ เป็ น ต้ น ซึ่ ง รายการอาหารเหล่ า นี้ ก็ ค ล้า ยๆกั น ขึ้น อยู่ กั บ ว่า แต่ ล ะ ครอบครัวจะพลิกแพลง ไม่ถือว่าผิดแต่อย่างใด เลือกวัตถุดิบที่หาง่าย ราคาถูกในท้องถิ่น ต่อเมื่อภายหลัง ชาวไทยรับเอาวัฒนธรรมการกินข้าวแช่ของมอญมา ก็มีการประยุกต์ดัดแปลงเพิ่มขึ้น เช่น พริกหยวกทอด กะปิชุบไข่ทอด ยากุ้งแห้ง เป็นต้น รวมทั้งยังได้พัฒนากระบวนการปรุงและรายละเอียดให้วิจิตรพิษดาร ยิ่งขึ้น ได้แก่ การหุงข้าวพร้อมใบเตย เพื่อให้ได้ข้าวที่ออกมามีสีและกลิ่นชวนกิน โดยเฉพาะเมื่อข้าวแช่ มอญชาวบ้านธรรมดาๆ กลับกลายเป็นข้าวแช่ชาววัง การเลื่อนชั้นเข้าวังของข้าวแช่ มอญ ก็มาจากการที่สตรีมอญที่เข้ารับราชการฝ่ายใน (เป็นเจ้า จอมหม่อมห้ามของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน) และนาข้าวแช่ขึ้นถวายเป็นอาหารเสวย ในกาลต่อมาจึงเกิดการ แพร่หลายไปในวงกว้างทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวแช่ตระกูลเมืองเพชรบุรีนั้น สืบเนื่องมาจากการแปร พระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ไปอยู่ที่พระราชวังพระนครคีรี (เขา วัง) ในครั้งนั้นมีเจ้าจอมมารดากลิ่น (ซ่อนกลิ่น) เชื้อสายมอญทางเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ที่ หลบหนีพม่ามาครั้งกรุงธนบุรี เจ้าจอมมารดากลิ่นได้ติดตามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ าอยู่หัวไป ถวายราชการที่พระราชวังพระนครคีรีด้วย และคาดว่าในครั้งนั้นเองที่ข้าวแช่ของเจ้าจอมมารดากลิ่นได้รับ การถ่ายทอดไปยังห้องเครื่อง บ่าวไพร่สนมกานัลได้เรียนรู้ และแพร่หลายไปยังสามัญชนย่านเมืองเพชรบุรี ในที่สุด ทว่าข้าวแช่สูตรดั้งเดิมของเจ้าจอมมารดากลิ่นก็ ยังจับใจผู้ที่ได้ลิ้มลอง แม้แต่พระบาทสมเด็จพระ


หน้า ๓๕

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ได้เคยเสวย และทรงกล่าวถึงข้าวแช่ของเจ้าจอมมารดากลิ่นไว้ว่า “ หากจะกินข้าวแช่ ก็ต้องข้าวแช่เจ้าจอมกลิ่น ” อาจเป็นด้วยเจ้าจอมมารดากลิ่นท่านเป็นมอญผู้ดี และชานิ ชานาญ รู้จักกลเม็ดในการทาข้าวแช่ได้ดีกว่าคนทั่วไปก็เป็นได้

มารยาทในการกินข้าวแช่ แบ่งข้าวใส่ถ้วย ตักน้ าที่อบควัน เที ยนเติ มลงในถ้วยพอประมาณ (ถ้าเป็ นน้ าแช่เย็ นหรือเติ ม น้าแข็งภายหลัง ก็จะทาให้ ชื่นใจยิ่งขึ้น ) แบ่ง กับข้าวหรือเครื่องเคียงทุก ชนิดใส่ถ้วยละเล็กละน้อ ยตาม ต้องการ จัดเรียงรวมกันมาในถาดใหญ่ นาช้อนกลางตักกับข้าวถ่ายลงในช้อนตักข้าวส่วนตัวในชามข้าวของ ตน ในการรับประทาน จะทานกับข้าวเข้าไปก่อนก็ได้ หรือจะค่อยๆเอียงช้อนตักข้าว ให้ข้าวเข้าไปรวมกัน แล้วทานพร้อมกัน แต่ต้องระวังไม่ให้กับข้าวหกออกมาปนในชามข้าว เพราะจะทาให้สีสันในชามข้าวเลอะ เทอะไม่น่าดู และที่สาคัญต้องไม่ใช้ช้อนข้าวส่วนตัวตักกับข้าวโดยตรง เพราะเป็ นมารยาทที่ไม่สมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทานข้าวกับคนหมู่มาก

เอกสารอ้างอิง ชิดชนก กฤดากร, หม่อมเจ้า. (๒๕๔๑). อัตตาหิ อัตตโน นาโถ: นิทานชีวิตจริงบางตอนของข้าพเจ้า. กรุงเทพฯ: กรุงเทพฯ (๑๙๘๔). สมบัติ พลายน้อย. (๒๕๔๗). ตรุษสงกรานต์. กรุงเทพฯ: มติชน. อลิสา รามโกมุท. (๒๕๔๒). เกาะเกร็ด: วิถีชีวิตชุมชนมอญริมน้าเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ: สมาพันธ์. ไทยรามัญ, สมาคม. (๒๕๔๗). ๘๐ ปีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี: ๔๘ ปีสมาคมไทย รามัญ. กรุงเทพฯ: เท็คโปรโมชั่น.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.