เอกสารประกอบการจัดโครงการเล่าขานประวัติศาสตร์ “บรมพุทธาราม ย้อนรำฤกวันวารย่านป่าตอง”

Page 1


พิธีทาบุญวัดบรมพุทธาราม

เล่าขานประวัติศาสตร์ “บรมพุทธาราม ย้อนราฤกวันวารย่านป่าตอง” วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘

จัดพิมพ์โดย สถาบัน อยุธ ยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธ ยา มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ จานวน ๑๕๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ – โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ จัดทารูปเล่ม และศิลปกรรม พัฑร์ แตงพันธ์ ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว

ฝ่ายบริหาร ดร.จงกล เฮงสุวรรณ อาจารย์กันยารัตน์ คงพร อาจารย์สุรินทร์ ศรีสังข์งาม อาจารย์อุมาภรณ์ กล้าหาญ ว่าที่ร้อยตรีหญิง รัตติยา พาวินัย ฝ่ายบริหารงานทั่วไป : ณัฐฐิญา แก้วแหวน สายรุ้ง กล่ําเพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์ ยุพดี ป้อมทอง



พิธที าบุญวัดบรมพุทธาราม

“บรมพุทธาราม ย้อนราฤกวันวารย่านป่าตอง” หลักการและเหตุผล กลุ่มโบราณสถานในเขตมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา อาทิ วัดบรมพุทธาราม วัด สิ ง หาราม วั ด สวนหลวงค้ า งคาว สะพานป่ า ดิ น สอ สะพาน เทพหมี เป็นต้น นับเป็นกลุ่มโบราณสถานสําคัญที่ตั้งอยู่ในเขตอุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ พระนครศรีอยุธยา และมีความสําคัญ ทางด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ มายาวนานนั บ ตั้ ง แต่ ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี นอกจากนี้ ยังเคยเป็ น หย่ อ มย่ า นการค้ า ที่ สํ า คั ญ ใน สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ย่านป่าแห ย่านป่าดินสอ และย่านป่าตอง เป็ น ที่ ห ลอมรวม แห่ ง ชุ ม ชน สั ง คมพหุ วั ฒ น ธร ร มขน า ดใหญ่ บ น พื้ น ที่ ด้ า น ใต้ ข องเกา ะเมื อ ง พระนครศรีอยุธยา โดยมีวัดบรมพุทธารามเป็นเสมือนศูนย์กลางแห่งชุ มชน สถา บั น อยุ ธ ย า ศึ ก ษา เป็ น หน่ วย งา น ของมหา วิ ท ย า ลั ย ร า ชภั ฏ พระนครศรีอยุ ธ ยา ทํ า หน้ า ที่ ใ นด้ า นการศึ ก ษา ค้ น คว้ า วิ จั ย ข้ อ มู ล เกี่ ย วข้ อ งกั บ ปร ะวั ติ ศ า สตร์ โบร าณคดี ศิ ล ปวั ฒ น ธร ร มของจั ง หวั ด พร ะนคร ศรี อ ยุ ธ ย า จึ ง เห็ น สมควรจั ด โครงการเล่ า ขานประวั ติ ศ าสตร์ “บรมพุ ท ธาราม ย้ อ นรํ า ฤก วันวารย่านป่าตอง” เนื่องในวาระครบรอบการทํ า บุ ญ ประจํ า ปี วั ด บรมพุ ท ธาราม ซึ่งเดิมกําหนดให้ตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคม ของทุ ก ปี เพื่ อ เป็ น การรํ า ลึ ก ถึ ง สมเด็ จ


พระเพทราชา ที่ทรงสถาปนาพระอารามแห่งนี้เมื่อกว่า ๓๐๐ ปี ที่ ผ่ า นมา และรํ า ลึ ก ถึงบูรพมหากษัตริยาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งเพื่อเป็นการส่ ง เสริ มให้ นั ก ศึ ก ษา อาจ าร ย์ บุ ค ลากร และผู้ ส นใจทั่ ว ไป ได้ ต ร ะหนั ก ถึ ง ควา มสํ า คั ญ ของแหล่ ง โบราณสถานภายในเขตมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ตลอดจนเป็ น การ ปลู ก จิ ต สํ า นึ ก และภา คภู มิ ใ จในมรดกวั ฒ น ธรร มของน ครประวั ติ ศ า สตร์ พระนครศรีอยุธยาในฐานะมรดกโลกต่อไป

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สื บ สาน ประเพณี อั น ดี ง ามผ่ า นการจั ด กิ จ กรรม ในวันสําคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๒. เพื่อเป็นการอุ ทิ ศ ส่ ว นกุ ศ ล และรํ า ลึ ก ถึ ง สมเด็ จ พระเพทราชาที่ ท รง สถาปนาวัดบรมพุทธาราม ๓. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษา อาจารย์ บุ ค ลากร และผู้ ส นใจทั่ ว ไป ได้ตระหนักถึงความสําคัญของแหล่งโบราณสถานภายในเขตมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ พระนครศรีอยุธยา ตลอดจนเป็นการปลูกจิตสํานึกและภาคภูมิใจในมรดกวั ฒ นธรรม ของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาในฐานะมรดกโลกต่อไป


ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. เกิ ด การ อนุ รั ก ษ์ สื บ สาน ประเพณี อั น ดี ง ามผ่ า นกา รจั ด กิ จ กรร ม ในวันสําคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๒. นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และผู้สนใจทั่วไป ตระหนั ก ถึ ง ความสํ า คั ญ ของโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในเขตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ในฐานะที่ เ ป็ น ส่วนหนึ่งของเมืองมรดกโลก ๓. นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และผู้สนใจทั่วไป มีจิตสํานึ ก ที่ ดี เ ห็ น คุ ณค่ า ของศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ


กาหนดการพิธีทาบุญวัดบรมพุ ทธาราม “บรมพุทธาราม ย้อนราฤกวันวารย่านป่าตอง” วันศุกร์ที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ณ วัดบรมพุทธาราม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เวลา ๐๙.๓๐ น. เวลา ๐๙.๕๐ น. เวลา ๑๐.๐๐ น. เวลา ๑๒.๐๐ น.

ลงทะเบียน ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร พร้อมกันที่บริเวณ วัดบรมพุทธาราม พิธีสงฆ์ - พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ - ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน


I๑

วัดบรมพุทธาราม พระอารามเลียบมหารัฐยา ประวัติการสถาปนาวัดบรมพุ ทธาราม วัดบรมพุ ท ธาราม ตั้ ง อยู่ ริ มถนนศรี ส รรเพชญ์ ในบริ เ วณมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ต าบลประตู ชั ย อ าเภอพระนครศรี อ ยุ ธ ยา จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่ า สมเด็ จ พระเพทราชาโปรดให้ สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๒๓๒ “...แต่ปีกุน เบญจศก แล้วนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชด าริ ว่ า ที่บ้านหลวงตาบลป่าตองนั้นเป็นที่มงคลสิริราชฐานอันประเสริฐ สมควรจะสร้ า งเป็ น พระอาราม มีพระอุโบสถวิหารการเปรี ย ญพระเจดี ย ฐานก าแพงแก้ ว และกุ ฎี ส งฆ์ ศาลาสะพานเว็จกุฎี พร้อมแล้วทรงพระกรุณาให้หมื่นจันทราช่างเคลือบ ท ากระเบื้ อ ง เคลือบสีเหลืองมุงพระอุโบสถวิ ห ารทั้ ง ปวง และการสร้ า งพระอารมนั้ น สามปี เ ศษ จึงสาเร็จในปีขาล อัฐศก แล้วพระราชทานนามบั ญ ญั ติ พระอาราม ชื่ อ วั ด พระบรม พุทธารามตั้งเจ้าอธิการชื่อพระญาณสมโพธิราชาคณะคามวาสี ค รองพระอาราม และ ทรงพระกรุณาให้มีการฉลองและมี ก ารมหรสพ ๓ วั น และทรงถวายไทยทานแก่ พระสงฆ์ เ ป็ น อั น มา ก และพร ะราชทา นแลกข้ า พระไว้ อุ ป ฐากพระอารมก็ มา ก แล้วถวายพระกัลปนาขึ้นแก่พระอารามตามธรรมเนียม...”๑ ๑

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, เล่ม ๒ หน้า ๑๔๐ : พระราชพงศาวดารกรุ ง ศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน, หน้า ๕๑๖-๕๑๗ ; พระราชพงศาวดารกรุ ง ศรี อยุธยาฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด), เล่ม ๒ หน้า ๔๑๑ : พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ พันจันทนุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด), หน้า ๔๑๒-๔๑๓.


๒I

วัดบรมพุทธารามมีฐานเป็ น พระอารามหลวงครั้ ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ในฝ่ า ย คามวาสี เป็นที่สถิตของพระราชาคณะฐานานุศักดิ์ “พระญาณสมโพธิ์ ” สมเด็ จ พระ เพทราชาทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้นภายหลั ง การขึ้ น ครองราชย์ ณ ต าแหน่ ง ซึ่ ง เคยเป็ น นิ ว าสสถานเดิ มของพระองค์ ที่ เ รี ย กว่ า “ย่ า นป่ า ตอง” อั น เป็ น พื้ น ที่ ส าคั ญ ทา ง เศรษฐกิ จ เพราะเป็ น ย่ า นตลาดขายของสดเช้ า -เย็ น ๒ ต าแหน่ ง ที่ ตั้ ง ของวั ด ทา ง ทิศตะวันออกมีคลองฉะไกรน้อยซึ่งผันน้าจากแม่น้ าเจ้ า พระยาเข้ า สู่ บึ ง พระรามทาง ทิศเหนือ ส่วนทิศตะวันตกของวัดมีถนนหลวงคือ “ถนนป่าตองมหารัฎยา” มุ่ ง ตรงขึ้ น ไปจากประตูชั ย ซึ่ ง เป็ น ประตู ส าคั ญ ทางทิ ศ ใต้ ข องเกาะเมื อ ง ถนนหลวงนี้ ใ ช้ เ ป็ น เส้นทางกระบวนพยุหยาตราแห่พระกฐินหลวง นาคหลวง สระสนาน ช้างม้า มายั ง วั ด บรมพุทธาราม๓ วัดบรมพุทธาราม มักเรียกกันโดยสามัญว่า “วัดกระเบื้องเคลื อ บ” ด้ ว ยเหตุ ที่มุงหลังคาพระอุ โ บสถ ด้ ว ยกระเบื้ อ งเคลื อ บซึ่ ง แปลกประห ลาดกว่ า วั ด อื่ น ๆ ที่ มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา การมุงหลังคาด้วยกระเบื้ อ งเคลื อ บสี เ หลื อ งแกมเขี ย ว เคยปรากฏมาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ โดยใช้มุงหลังคาพระที่ นั่ ง ดุ สิ ต สวรรค์ ธัญญมหาปราสาทในพระนารายณ์ ร าชนิ เ วศน์ แ ละพระวิ ห ารหลวงวั ด พระศรี รั ต น มหาธาตุ ลพบุรี๔ ตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงแสดงความเห็นโดยสันนิษ ฐานว่ า “...กระเบื้องเคลือบที่มุงพระที่นั่งธัญญมหาปราสาทก็ดี ที่มุงโบสถ์ วั ด บรมพุ ท ธารามก็ ๒

“คาให้การชาวกรุงเก่า : ภาคที่ ๒ ตานานและท าเนี ย บต่ า งๆ ในกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา,” ใน คาให้การชาวกรุงเก่า คาให้การขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ อั ก ษร นิติ์ (พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, ๒๕๑๐), หน้า ๒๑๕. ๓ พระยาโบราณราชธานินทร์, “อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยากับ คาวิ นิ จ ฉั ย ของพระยา โบราณราชธานินทร์,” ในอธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยากับคาวินิจฉัย ของพระยาโบราณราช ธานินทร์ เรื่องศิลปะและภูมิสถานอยุธยา กรุงศรีอยุธยา และจังหวัดพิจิตร (พระนคร : โรงพิ ม พ์ สามมิตร, ๒๕๑๔. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางแดง แขวัฒนะ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริย์ ยาราม, ๒๕๑๔), หน้า ๕๓. ๔ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๔.


I๓

ดี เห็นจะเป็นของสั่งเข้ามาจากเมืองจีน จึงเป็นของแพง และมิได้มุ่งแพร่ ห ลายออกไป ถึงที่อื่น แม้แต่มุงวัดเดีย วก็ ยั ง เห็ น เป็ น ของอั ศ จรรย์ จ นราษฎรเอามาเรี ย กเป็ น ชื่ อ วัด แต่ถ้ากระเบื้องเคลือบนั้นทาที่ในกรุงเก่าดั ง กล่ า วในหนั ง สื อ พระราชพงศาวดาร น่าเข้าใจว่าเห็นจะได้ช่างเคลือบเข้ามาเมื่อในครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ทากระเบื้องเคลือบมุงพระที่นั่งธัญญมหาปราสาทกับพระวิหารหลวงวั ด มหาธาตุ เ มื อ ง ลพบุรีอีกแห่งหนึ่ง บางทีจะเป็นช่างคนนั้นเอง อยู่มาจนแผ่นดินสมเด็ จ พระเพทราชา ด้วย ระยะเวลาไม่ห่างกันนัก จึงโปรดให้ทากระเบื้อ งเคลื อ บขึ้ น มุ ง วั ด บรมพุ ท ธาราม ...”๕ ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ โปรดให้บูรณะวั ด บรมพุ ท ธารามใน พ.ศ.๒๒๙๕ และโปรดให้ทาบานประตูป ระดั บ มุ ก ส าหรั บ ประตู พระอุ โ บสถเพิ่ มขึ้ น ๖ ดังความว่า “...ศุภมัศดุ พระพุท ธศั ก ราช ๒๒๙๕ พระวรษา ณ วั น เสาร์ ขึ้ น ๔ ค่ า เดือน ๑๒ ปีมแมตรีณิศก พระบาทสมเด็ จ บรมนารถบรมบพิ ต รพระพุ ท ธเจ้ า อยู่ หั ว ทรงพระกรุณาดารัสเหนือเกล้าเหนื อ กระหม่ อ ม สั่ ง ให้ เ ขี ย นลายมุ ก บานประตู พระ อุโบสถวัดบรมพุทธาราม ช่าง ๒๐๐ คน ๒ เริ่ม ณ วันพุธ ขึ้น ๙ ค่า เดือ น ๑๒ ปี มแม ๕

สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดารงราชานุ ภ าพ, ตานานเครื่ อ งโต๊ ะ และถ้ ว ยปั้ น (กรุงเทพฯ : บริษัทสานักพิมพ์วิชาการ, ๒๕๒๙. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานประชุ ม เพลิ ง ศพ นาง สุมาลี สิงหเทพธาดา ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร, ๒๕๒๙), หน้า ๖๓-๖๔. ๖ บานประตูมุกจากวัดบรมพุทธาราม ปัจจุบันทาเป็นประตูประธาน (ประตู ก ลางด้ า นทิ ศ ตะวันตก) หอพระมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ๑ คู่ ซึ่งปรากฏจารึกบอกการสร้ า ง ครั้งสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ที่ขอบของบานประตูด้านขวา บานประตู อี ก ๑ คู่ อยู่ ที่ วั ดเบญจม บพิตรดุสิตวนาราม ส่วนอีก ๑ คู่ มีผู้นาไปตัดทาเป็นตู้พระธรรม ซึ่งภายหลังสมเด็จ พระเจ้ า บรม วงศ์เธอเจ้าฟ้าบริ พัตร์ สุ ขุ ม พั น ธ์ กรมพระนครสวรรค์ ว รพิ นิ ตทรงได้ ม า และประทานแก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครเมื่อ พ.ศ.๒๕๗๐. กรมศิลปากร, ประณีตศิลป์ไทย (กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๙๗) จากัด, ๒๕๓๖. จัดพิมพ์เนื่อ งในมหามงคลเฉลิ ม พระเกี ย รติ ๑๐๐ ปี วันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว), หน้า ๑๐๗-๑๐๘.


๔I

ตรีณิศก ลงมือทามุก ๖ เดือน ๒๔ วันสาเร็จ พระราชทานช่ า งผู้ ไ ด้ ท าการมุ ก ทั้ ง ปวง เสื้อผ้ารูปพรรณทองเงินและเงินตราเป็นอันมาก เลี้ยงวันแล ๒ เพลา ค่ า เลี้ ย งมิ ไ ด้ คิ ด เข้าในพระราชทานด้วย คิดแต่บาเหน็จประตู หนึ่งเป็นเงินตรา ๓๐ ชั่ง...”๗ ใน พ.ศ.๒๔๙๙ กรมศิ ล ปากร ได้ ท าการขุ ด แต่ ง โบราณสถาน วั ด บร ม พุทธารามเพื่อตรวจค้นหาหลักฐานเดิม ซึ่งได้พบกระเบื้ อ งเคลื อ บจ านวนมาก จนถึ ง มาในปี พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๒๖ วิ ท ยาลั ย ครู พระนครศรี อ ยุ ธ ยายื่ น ความประสงค์ ต่ อ กรมศิ ล ปากรเพื่ อ บู ร ณะพร ะอุ โ บสถบางส่ ว น ได้ แ ก่ พื้ น พระอุ โ บสถ ฐาน ชุ ก ชี พระประธาน มุขโถงหน้าหลัง และบันไดขึ้นลงทางทิศเหนือและทิ ศ ใต้ ๘ และต่ อ มาใน ปี พ.ศ.๒๕๓๓ วิ ท ยา ลั ย ครู พระน ครศรี อ ยุ ธ ยาได้ ป รั บ ปรุ ง ภู มิทั ศ น์ ข องวั ด บร ม พุทธารามอีกครั้ง โดยในปั จ จุ บั น วั ด บรมพุ ท ธารามเป็ น โบราณสถานขึ้ น ทะเบี ย น ประกาศในร าชกิ จ จา นุ เ บกษาเล่ มที่ ๖๐ ตอน ที่ ๓๙ ลงวั น ที่ ๓๐ กั น ย าย น พ.ศ.๒๔๘๖

ตาแหน่งที่ตั้งในผังเมือง วัดบรมพุทธารามตั้ง อยู่ ภ ายในเกาะเมื อ งพระนครศรี อ ยุ ธ ยาทางด้ า นใต้ ในบริเวณย่านป่าตอง ซึ่งเป็นพื้นที่สาคัญทางเศรษฐกิจเพราะเป็นย่านตลาดขายของสด เช้ า -เย็ น ต าแหน่ ง ของวั ด ตั้ ง อยู่ ร ะหว่ า งคลองฉะไกรน้ อ ยและถนนหลวงหรื อ ถนนป่าตอง ซึ่งเป็นเส้นทางหลักของเมืองที่จะมุ่งตรงไปยังประตูชัย ประตู เ มื อ งส าคั ญ ทางทิศใต้ของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวั ติศาสตร์ วั ฒ นธรรม และโบราณคดี ส านั ก นายกรัฐมนตรี, ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยาภาค ๑, หน้า ๕๗. ๘ ชมรมโบราณคดีและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุ ธ ยา, สามร้ อ ยเจ็ ด สิบปีบรมพุทธาราม (วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา, ๒๕๓๓). หน้า ๑๕-๑๖.


I๕

ตาแหน่งที่ตั้งของวัดบรมพุทธาราม ในแผนที่กรุงศรีอยุธยาฉบับพระยาโบราณราชธานิ นทร์

ลักษณะแผนผังพระอาราม วัดบรมพุทธารามตั้งหันหน้า พระอุโบสถสู่ทิศเหนือ ตามแนวแกนหลั ก เพี ย ง อย่างเดียว คือ แนวแกนเหนื อ -ใต้ มี พระอุ โ บสถเป็ น สถาปั ต ยกรรมประธานของ แผนผังโดยวางตัวอยู่ด้านหลังสุด ด้านหน้าพระอุโบสถในแนวแกนหลั ก มี พระปรางค์ และเจดีย์เรียงต่อแนวไปทางทิศเหนือ


๖I

ผังวัดบรมพุทธารามและวัดสิงหาราม พื้นที่ของวัดบรมพุทธารามอยู่ระหว่างคลองฉะไกรน้ อ ยทางทิ ศ ตะวั น ออก และถนนมหารัฎยาทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งมีผลต่อการวางผั ง ของวั ด บรมพุ ท ธาราม เพราะมีพื้นที่แคบ ไม่สามารถวางตัวตามแนวแกนตะวันออก-ตะวั น ตกใต้ การวางผั ง จึงกาหนดเฉพาะแนวแกนหลัก คือ แนวแกนเหนือ-ใต้ เพี ย งอย่ า งเดี ย ว โดยวั ด บรม พุทธารามไม่พบแนวของเขตของวัดที่ชัดเจน จึงไม่อ าจทราบขนาดของผั ง บริ เ วณได้ แต่ขอบเขตของวัดด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตกน่าจะมีแนวเขตชิ ด กั บ คล อง ฉะไกรน้อยและถนนป่าตองซึ่งมีระยะห่างกันประมาณ ๔๕ เมตร ส่วนขอบเขตวั ด ทาง ทิศเหนือและใต้หากยึดแนวท้ายสุดของกาแพงแก้ ว พระอุ โ บสถจนถึ ง แนวด้ า นหน้ า ของเจดีย์ทรงเครื่ อ งเป็ น เกณฑ์ แ ล้ ว จะมี ร ะยะประมาณ ๗๐ เมตร และเมื่ อ น ามา คานวณหาพื้นที่ของวัด ภายในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๔๕ x ๗๐ เมตร จะมี ขนาด ๓.๑๕๐ ตารางเมตร


I๗

สถาปัตยกรรมหลักภายในวัดบรมพุทธาราม

๑.พระอุโบสถ พระอุโบสถมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๑.๙๕ เมตร มี ค วามยาว มุขโถง ๓๑.๓๐ เมตร มุ ข โถงยื่ น ออกมาจากผนั ง สกั ด หน้ า -หลั ง มี ข นาด ๓.๓๕ x ๖.๗๕ เมตร ผนังสกัดหน้าเจาะช่อ งประตู ๓ ประตู ผนั ง สกั ด หลั ง มี เ พี ย ง ๒ ประตู ผนังข้างเจาะช่องหน้าต่างด้านละ ๗ ช่อง พื้นภายในพระอุ โ บสถบริ เ วณด้ า นหลั ง ตั้ ง ฐานชุกชี, ประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน ก่ออิฐถื อ ปู น ซึ่ ง แต่ เ ดิ มช ารุ ด เหลื อ เพี ย ง พระชานุ ๒ ข้ า ง รอบพระอุ โ บสถยั ง คงปรากฏต าแหน่ ง ของฐานเสมาทั้ ง ๘ ทิ ศ ถัดจากตาแหน่งของเสมา มีกาแพงแก้วล้อมรอบพระอุ โ บสถทั้ ง หมดไว้ โดยเปิ ด ช่ อ ง ทางเข้าสู่พื้นที่ภายในกาแพงแก้วด้านละ ๒ ช่อง ส่วนฐานของพระอุโบสถ มีลักษณะแอ่นโค้ ง อย่ า ง “ท้ อ งส าเภา” มี มุข โถง หน้า-หลัง ผนังเจาะช่องหน้าต่างถี่ สลับกั บ การประดั บ เสาหลอกแนบผนั ง ซึ่ ง เป็ น ลักษณะเด่นของอาคารที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ฐานมุขโถงมีความสู ง มากกว่ า ก็เพื่อการบังคับแนวระนาบของฐานโดยรวมให้แอ่นโค้งเชิ ด ขึ้ น ที่ ส่ ว นปลาย ตรงส่ ว น ฐานประดับลวดลายชั้นฐานสิงห์แบ่งตามแนวนอนได้ ๓ ตอน ฐานโดยรวมของพระ อุโบสถทาเป็นฐานแอ่นโค้งโดยส่วนปลายของฐานจะเชิดสูงขึ้น ไม่เ ป็ น ระนาบเดี ย วกั บ พื้นพระอุโบสถ


๘I

พระอุโบสถวัดบรมพุทธาราม

ลายปูนปั้นบริเวณซุ้มประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถ


I๙

ซุ้ ม ปร ะตู พร ะอุ โ บสถวั ด บร มพุ ท ธา รา ม เคยมี ก า รประดั บ กร ะจ กสี เช่ น เดี ย วกั บ ปร ะตู พระอุ โ บสถวั ด พระยาแมน ที่ ผ นั ง ข้ า งของช่ อ งปร ะตู มีภ า พ จิตรกรรมฝาผนัง๙ ปัจจุบั น ลบเลื อ นมาก บานประตู ข องพระอุ โ บสถนี้ ในรั ช กาล สมเด็จพระเจ้าบรมโกศได้โปรดให้ทาเป็นบานประตูประดับมุ ก ซึ่ ง ปั จ จุ บั น ติ ด ตั้ ง อยู่ ที่ หอพระมณเฑียรธรรม ที่ขอบบานประตูยังคงปรากฎจารึกอักษรมุกกล่า วถึ ง การสร้ า ง ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ลักษณะของลายบานประตูมุขเป็ น ลายกนกก้ า นขด ซึ่งปลายก้านขดออกรูปเป็นสัตว์หิมพานต์ ส่วนล่างของบานประตูเป็นรูปท้า วเวสสุ วั ณ ถัดขึ้นไปเป็นรูปสิงห์อัด (สิงห์หันหน้าตรง) รูปพระนารายณ์ ท รงสุ บ รรณ พระอิ น ทร์ ทรงช้างเอราวัณ พระพรหมทรงหงส์ตามล าดั บ ส่ ว นบนสุ ด ของบานประตู เ ป็ น ลาย บุ ษ บก ขอบรอบบานปร ะตู เ ป็ น ลาย ประจ ายามก้ า มปู ซึ่ ง ล้ อ มด้ ว ยลาย เนื่ อ ง ถัดออกไปเป็ น ลายรั ก ร้ อ ย อกเลาประตู ต อนกลางประดั บ เป็ น ลายพุ่ มข้ า วบิ ณฑ์ ริมสองข้างมีลายกนกก้านแย่งประกอบช่องไฟ นมอกเลากลางประดั บ เป็ น รู ป หนุ มาน หรือกระบี่ในท่าเงื้อพระขรรค์ ลายรอบนมอกเลาประดับเป็นลายแข้ ง สิ ง ห์ ซึ่ ง บากเป็ น จักรคล้ายใบระกา นมอกเลาเชิงล่างเป็นรูปหน้ายักษ์ซึ่งมีเฉพาะเศียรลักษณะลวดลาย และการวางภาพบนบานประตูมุกวัดบรมพุ ท ธารามคู่ นี้ ค ล้ า ยกั บ บานประตู มุก พระ มณฑปพระพุ ท ธบาท จ.สร ะบุ รี ซึ่ ง สร้ า งขึ้ น ในรั ช กา ลสมเด็ จ พระเจ้ า บรมโกศ เช่นเดียวกัน

บรรจบ เทียมทัด, “วัดบรมพุทธาราม และวัดสิงหาราม”, หน้า ๖๓ : ชมรมโบราณคดีและ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา, สามร้อยเจ็ดปีบรมพุทธาราม, หน้า ๒๕.


๑๐ I

บานประตูประดับมุกของวัดบรมพุทธาราม ทีน่ ามาติดตั้งอยู่ที่หอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม บานประตูมุกอีกคู่หนึ่งของวัดบรมพุทธาราม เชื่อกันว่าถูกดั ด แปลงเป็ น ตู้ ใ ส่ หนังสือพระไตรปิฎก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เ ธอเจ้ า ฟ้ า บริ พัต รสุ ขุ มพั น ธ์ กรมพระ นครสวรรค์วรพินิตทรงได้ มา และประทานแก่ พิพิธ ภั ณฑสถานแห่ ง ช าติ พระนคร บานประตูมุกดังกล่าวนี้ถูกตัดออกให้ ไ ด้ ข นาดของตู้ อ ย่ า งชั ด เจน ลั ก ษณะลวดลาย ประดับมุกเป็นลายกนกหางกินนรหรือกนก ๓ ตัวมีภาพสัตว์หิมพานต์ ราชสี ห์ คชสี ห์ หนุมานออกจากช่อกนก ซึ่งบรรจุอยู่ในวงกลมคล้า ยกะแปะจี น รอบวงกลมประดั บ เป็นดวงดาวล้อม ระหว่างวงกลมประดับลายหู ช้ า ง กั บ ช่ อ งไฟทั้ ง ๔ ด้ า น ลวดลาย ประดับมุกดังกล่าวนี้มีลักษณะเช่ น เดี ย วกั บ บานประตู มุก พระวิ ห ารวั ด พระศรี รั ต น มหาธาตุ จ.พิษณุโลก และบานประตูมุกศาลาการเปรียญวั ด ป่ า โมก จ.อ่ า งทอง ซึ่ ง มี จารึกที่ขอบบานระบุว่าสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ


I ๑๑

๒.พระวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถ อยู่นอกแนวแกนประธานของวั ด ใน ตาแหน่งชิดกับแนวกาแพงแก้วพระอุโบสถ โดยวางอาคารขนานกั บ แนวพระอุ โ บสถ และพระปรางค์ มีขนาดกว้าง ๙.๒ เมตร ยาว ๒๔.๒๐ เมตร มี มุข ยื่ น ออกจากผนั ง สกัดหลัง ๕.๖๐ เมตร กว้าง ๘.๕๐ เมตร ผนังสกัดหน้ า เจาะช่ อ งประตู ๑ ช่ อ ง ผนั ง สกัดหลังมี ๒ ประตู ผนังข้างเจาะช่องหน้าต่างด้านละ ๗ ช่อง เนื่องจากพระวิ ห ารอยู่ ในสภาพชารุด ยังไม่ได้รับการขุดแต่งหลักฐานด้านสถาปัตยกรรมจึงยังไม่ ชัดเจนนัก ๓.พระปรางค์ ตั้งอยู่ในแนวพระอุโบสถ ในตาแหน่งกึ่งกลางระหว่ า งพระอุ โ บสถและพระ เจดีย์ พระปรางค์ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุ รั ส ย่ อ มุ ม ๑๒ ขนาด ๙.๒๐ เมตร แผนผังขององค์ปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ย มย่ อ มุ ม ๒๘ ขนาด กว้ า ง-ยาวที่ ฐ านชุ ด ล่างสุดด้านละ ๖.๗๐ เมตร การย่ อ มุ มจะมี แ นวตั้ ง แต่ ฐ านล่ า งสุ ด จนถึ ง ส่ ว นยอด ปรางค์ มีลักษณะเป็นปรางค์ขนาดเล็ก ย่อมุมถี่ ทรงชะลูด สูง ฐานประทั ก ษิ ณท าเป็ น ฐานแอ่นโค้ง ซึ่งเป็นลักษณะของปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ๔.เจดีย์ เจดีย์ตั้งอยู่ในแนวพระอุโบสถเช่นเดียวกับพระปรางค์ โดยตั้ ง อยู่ ด้ า นเหนื อ สุดจากปรางค์ขึ้นไปทางเหนื อ องค์ เ จดี ย์ เ ป็ น เจดี ย์ ๘ เหลี่ ย ม แต่ ล ะเหลี่ ย มย่ อ มุ ม ประดับลวดลายขาสิงห์ ๘ ชุด ทาให้แผนผังของเจดีย์เหมือ นอยู่ ใ นผั ง กลม องค์ เ จดี ย์ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมย่อมุ ม ๑๒ ขนาด ๖.๔๕ x ๗.๓๕ เมตร มี ร าว ระเบียงล้อมรอบลานประทักษิณ เป็นรูปแบบเจดีย์สมัยอยุ ธ ยาตอนปลาย ที่ นิ ย มท า ย่อมุมขนาดเล็ก จานวนมากรอบฐานของพระเจดีย์


๑๒ I

พระปรางค์

เจดีย์ ๘ เหลี่ยม


I ๑๓

ย่านป่าตอง : ย่านประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา “โบราณสถานนั้ น เป็ น เกี ย รติ ข องชาติ อิ ฐ เก่ า ๆ แผ่ น เดี ย วมี ค่ า ควรจะ ช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุ ง เทพฯ แล้ ว ประเทศไทยก็ ไ ม่ มี ความหมาย”๑๐ พร ะร า ช ด า รั ส ข องพร ะ บา ทสม เด็ จ พร ะ เจ้ า อยู่ หั ว ใน งา น เปิ ด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา เมื่ อ วั น ที่ ๒๖ เดื อ นธั น วาคม พ.ศ.๒๕๐๔ ซึ่งบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้เป็น “เขตประวั ติ ศ าสตร์ ” ใกล้ เ คี ย งกั บ “วั ด บรม พุทธาราม” อันเป็นโบราณที่ส าคั ญ มาก และมี ห ลั ก ฐานเหลื อ ยู่ ชั ด เจ น ที่ แ สดงถึ ง เกียรติประวัติ อารยธรรม ศิ ล ป วั ฒ นธรรม และความเจริ ญ รุ่ ง เรื อ งของบรรพชน อยุธยาในอดีต คาว่า “ป่า” ในประวัติศาสตร์อยุธยานั้น ไม่ใช่ที่ว่างร้างเปลี่ ย ว เช่ น ป่ า ดง แต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม ตาบลที่เรียกว่า “ป่า” กลับ เป็ น ตลาดที่ ป ระชุ มคมใน กาแพงเมืองอยุธยา คือ ถ้าย่านใดมีสิ่งของอะไรมาก ก็ เ รี ย กว่ า ป่ า ของสิ่ ง นั้ น ๆ เช่ น ป่าตะกั่ว เป็นตลาดขายลูกแหและเครื่ อ งตะกั่ ว ย่ า นป่ า มะพร้ า ว เป็ น ตลาดที่ ข าย มะพร้าว หรืออาจจะมีต้นมะพร้าวอยู่แถบนั้น ป่าผ้าเหลือง ก็คือย่านตลาดขายผ้ า ไตร จีวร๑๑ ดังนั้น “ป่าตอง” จึงหมายถึงบริเวณหรือย่านที่มีสวนกล้วย มีใบตองขายแต่ มิได้หมายความว่าจะไม่มีสินค้าอย่างอื่นขายนอกจากใบตอง ดังปรากฏหลักฐานว่า “...ย่านป่าตอง ขายฝ้ า ย ของรั ก มี ต ลาดขายของสดเช้ า เย็ น หน้ า พระ คลังสินค้า อยู่ในย่านป่าตอง...”๑๒

๑๐

กรมศิลปากร อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุ ธ ยา กั บ คาวิ นิ จ ฉั ย ของพระยาโบราณราช ธานินทร์เรื่องศิลปะและภูมิสถานอยุธยา, กรุงศรีอยุธยา และจังหวัดพิจิตร. ๑๑ ล.ด. หน้า ๔๗. ๑๒ ล.ด. หน้า ๕๓.


๑๔ I

ภูมิสถานของย่านป่าตอง ก็คือ บริเวณที่อยู่ใกล้เคี ย งกั บ ถนนป่ า ตอง ซึ่ ง ใน ปั จ จุ บั น เป็ น ที่ ตั้ ง ของสถานที่ ร าชการส าคั ญ หลายแห่ ง เช่ น สถานี ต ารวจภู ธ ร พระราชวั ง โบราณ ศาลากลางจั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ย า ทั ณฑสถานวั ย หนุ่ ม โรงพยาบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งวัดบรมพุทธาราม ซึ่งอยู่ในมหาวิทยาลั ย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ในสมัยที่เกาะเมืองอยุธยา เป็นศูนย์ ก ลางทางการปกครองและเศรษฐกิ จ ของไทยนั้น ย่านป่าตองเป็นย่านเศรษฐกิจการคลังที่สาคัญของประเทศ ด้ ว ยปรากฏ ว่าเป็นที่ตั้งของพระคลังสินค้า ๑๓ ซึ่งเป็นที่เก็ บ รั ก ษาส่ ว ย อากร และเป็ น หน่ ว ยงาน ของรั ฐ บาลที่ จั ด ตั้ ง ขึ้ น เพื่ อ ผู ก ขา ดการ ค้ า กั บ ต่ า งประเทศ หน่ ว ย งานส าคั ญ นี้ พระมหากษัตริย์ทรงมอบให้อยู่ในอานาจของพระยาโกษาธิบดี (พระคลั ง ) มี กรมท่ า เป็นผู้ดาเนินการค้าขาย โดยจัดให้มีพระจุฬาราชมนตรี เ ป็ น กรมท่ า ขวา ดู แ ลการค้ า ฝ่ายแขกและชาติตะวันตก ส่วนหลวงโชฏึ ก ราชเศรษฐี เป็ น กรมท่ า ซ้ า ย ดู แ ลย่ า น การค้าฝ่ายจีนและชาติตะวันออก๑๔ ดังนั้นจึงไม่น่าสงสัยอะไรที่ ช าวต่ า งชาติ ได้ เ ข้ า มาเห็ น และอาศั ย ในย่ า น ป่าตองโดยกล่าวว่าเป็นย่านชุมชนหนาแน่น มีร้านรวงมากมาย บ้านเรือนใหญ่โต ย่านป่าตองกับสังคมพุทธศาสนิกชน ด้วยปรากฏหลักฐานวัดร้างหลายวัด ในบริ เ วณย่ า นป่ า ตอง เช่ น วั ด สว น หลวง วัดศาลเจ้าธง วัดป่าจาน วัดสิงหาราม โดยเฉพาะวั ด บรมพุ ท ธาราม ซึ่ ง อยู่ ใ น บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา นอกจากนั้นฝั่งตรงข้ า มทางด้ า นถนน ศรีสรรเพชญ์ปัจจุบัน (ถนนป่าตอง) ก็ยังมีชื่อวัดสาคัญๆ ปรากฏอยู่ ใ นแผนที่ โ บราณ

๑๓

บริเวณทัณฑสถาน ฝั่งตรงข้ามวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยาด้านถนนศรีสรรเพชญ์ เป็ น ที่ตั้งของพระคลังสินค้า ๑๔ สมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า การตั้งกรมท่ากลางก็ คง จะมีแนวปฏิบัติสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คือ มีฝรั่งเข้ามาค้าขายมาก ก็คงต้อ งติ ดต่ อ กั บ กรมท่าหลวง สมัยนั้น เห็นจะเป็นฟอลคอนดารงตาแหน่ง กรมท่าหลวง ว่าฝ่ายฝรั่ง


I ๑๕

อีกหลายวัด เช่น วั ด ป่ า ฝ้ า ย วั ด โคก ยายมี วั ด โคกยายหมา วั ด ประสาท วั ด หี บ เป็นต้น แสดงว่ า ย่ า นป่ า ตองในอดี ต เป็ น ที่ อ ยู่ ข องชุ มชนชา วพุ ท ธกลุ่ ม ใหญ่ สภาพทางเศรษฐกิจสังคมของชุมชนบริ เ วณนี้ เ จริ ญ รุ่ ง เรื อ งมาก เพราะมี ก ารลงทุ น สร้างวัดใหญ่สวยงามติดกันหลายวัดเพื่อให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน ย่านป่าตองกับสังคมมุสลิม การเปิดสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศในสมั ย อยุ ธ ยา เป็ น ผลให้ เ ศรษฐกิ จ การค้าของกรมท่าขวา หรือพระจุฬาราชมนตรี ซึ่งเป็นมุสลิมนั้น ได้เป็น ที่ พอพระราช หฤทัยของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างยิ่ง ชาวมุสลิมที่เข้ามาอยู่อยุธยา มีชื่อเสียงปรากฏเด่นชัดมาก เป็นแขกเดิ น ทาง มาจากเมืองกุมประเทศอิหร่าน ชื่อ เฉกอะหมัด กับมหะหมั ด สุ อิ ด เฉกอะหมั ด เป็ น พี่ มหะหมัดสุอิดเป็นน้อง เข้ามาค้าขายเมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๕ ในแผ่นดินสมเด็ จ พระนเรศวร มหาราช ได้พาพวกมุสลิมเข้ามาด้วยเป็นจานวนมาก และตั้ ง บ้ า นเรื อ น อยู่ บ ริ เ วณท่ า กายี๑๕ ท่านเฉกอะหมัดได้ทาการค้าขาย ได้เป็นพระจุฬาราชมนตรี และต่ อ มาก็ ไ ด้ เลื่อนขึ้นเป็น “เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐี ” มี ต าแหน่ ง เป็ น สมุ ห นายก๑๖

๑๕

ท่ า กายี คื อ ท่ า น้ า ใหญ่ ข อง แม่ น้ าเ จ้ า พระยาทางบริ เวณด้ า นหลั ง วิ ท ยาลั ย ครู พระนครศรีอยุธยา เป็นท่าน้าทาเลการค้าขาย คาว่า “ท่ากายี” เป็นศัพท์เปอร์เ ซี ย “กา” คงจะ เพี้ยนมาจากคาว่า “อากอ” ซึ่งแปลว่า หัวหน้า ส่วน “ยี” นั้นเติมเข้าไปเพื่อแสดงการคารวะ เช่ น ครับ หรือใต้เท้า คานี้ยังเป็น นามสกุล “อากายี” ของพวกเจ้าเซ็นตระกูลหนึ่งด้วย ๑๖ เป็นสมุหนายกฝ่ายเหนือ (เจ้าพระยากลาโหม เป็นสมุหนายกฝ่ายใต้) ดูแลบ้านเมืองต่ า ง พระเนตรพระกรรณถึงครึ่งประเทศ และในสมัยพระเจ้าปราสาททอง พระเจ้าปราสาททอง ทรง โปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “เจ้าพระยาบวรราชนายก” ในตาแหน่งจางวาง กรมมหาดไทยหรือ ตาแหน่งที่ปรึกษา


๑๖ I

ได้รับพระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณท้ายคู ๑๗ หรือที่เรียกว่าท่ า กี (อยู่ ใ ต้ วัดสวนหลวงลงมาทางริมน้า) ท่านถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๘๘ ปี เจ้ า พระยาอภั ย ราชา (ชื่น) ที่สมุหานายก ได้จัดการศพของบิดาและนาไปฝัง ที่ ป่ า ช้ า แขกท้ า ยคู ท่ า กา ยี มี หลั ก ฐานหลายอย่ า งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สั ง คมในอดี ต ของชุ มชนมุ ส ลิ มกลุ่ มส าคั ญ ใน ประวัติศาสตร์อยุธยา เช่น มีโคกแขก ทุ่งแขก ป่าช้าแขก กุฏีทอง แสดงถึ ง ว่ า ชุ มชน มุสลิมดังกล่าวได้เคยมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ได้ เ ข้ า มาเป็ น ข้ า ราชการ -ขุ น นางไทย และต่อมาถึงแม้อยุธยาจะแตกพินาศแล้ว เชื้อสายชาวไทยมุสลิมที่สืบทอดมาจากท่ า น บรรพชนมุสลิมดังกล่าว

สะพานบ้านดินสอข้ามคลองฉะไกรน้อยหน้าวัดบรมพุทธาราม

๑๗

ท้ายคู คือบริเวณ ๒ ฝั่งแม่น้าเจ้าพระยา ที่ต่อจากคูชื่อหน้า คือ ตั้ ง แต่ แ หลมนางกะจะ ฟากวัดพนัญเชิง และฟากตรงข้ามตั้งแต่ป้อมเพ็ชร์เรื่อยมาทางใต้


I ๑๗

บรรณานุกรม กรมศิลปากร. (๒๕๐๙). อธิบายแผนที่พระนครศรี อ ยุ ธยา กั บ คาวิ นิ จ ฉั ย ของพระ ยาโบราณราชธานินทร์เรื่องศิ ลปะและภู มิ สถานอยุ ธยา, กรุ ง ศรี อ ยุ ธยา และจังหวัดพิจิตร. กรุงเทพฯ: ครุสภา. คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒ นธรรม และโบราณคดี ส านั ก นายกรัฐ มนตรี . (๒๔๕๗). ประชุ ม จดหมายเหตุ สมั ย อยุ ธยาภาค ๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย ณ สะพานยศเส. คาให้การชาวกรุงเก่า คาให้การขุนหลวงหาวั ด และพระราชพงศาวดารฉบั บ หลวง ประเสริฐอักษรนิติ์. (๒๕๑๐). พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. ชมรมโบราณคดีและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๓๓). สามร้อยเจ็ดสิบปีบรมพุทธาราม. วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา. บรรจบ เทียมทัด. (๒๕๑๑). วั ดบรมพุ ท ธาราม และวั ดสิ ง หาราม. กรุ ง เทพฯ: กรมศิลปากร. อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยากับคาวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานิ น ทร์ เรื่ อ ง ศิลปะและภูมิสถานอยุธยา กรุงศรี อ ยุ ธ ยา และจั ง หวั ด พิ จิ ต ร . (๒๕๑๔). พระนคร : โรงพิมพ์สามมิตร. (พิมพ์เป็ น อนุ ส รณ์ ใ นงานฌาปนกิ จ ศพ นาง แดง แขวัฒนะ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริย์ยาราม)


๑๘ I

กาสรวลย่านป่าตอง ผศ. พงษ์จันทร์ คล้ายสุบรรณ์ ผู้ประพันธ์ ณ ที่นี้มีวัดกษัตริย์สร้าง อิฐหักปูนป่นหล่นเรียงราย หลังคาโบสถ์เคยมุงกระเบื้องเคลือบ บัดนี้ไม่มีแล้วหลังคา บานประตูโบสถ์มุกประดับ อักษรมุกจารึกไม่เลือนไป พระเจดีย์ย่อมุมชั้นเยี่ยม ฐานบัวกระจกแก้วแวววาม วัดนั้นชื่อ "วัดบรม ชาวบ้านเรียก "วัดกระเบื้องเคลือบ" แต่เดิมมา พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประดับมุกงามที่สุดประเทศไทย ณ ที่นี้มีวัดกษัตริย์สร้าง ชาว "ราชภัฏ" ทั้งหลายจงได้ยิน

แต่ปล่อยร้างรกเรื้อนนานเหลือหลาย แสนเสียดายที่สุดอยุธยา สีเหลืองเหลือบแห่งแรกแปลกหนักหนา มองฟ้าเห็นฟ้าน่าเศร้าใจ เลือนลับไปอยู่หนไหน บอกเล่าความยิ่งใหญ่และงดงาม ยี่สิบแปดเหลี่ยมยอดหักอยู่กลางสนาม หมองมัวไปตามกาลเวลา พุทธาราม" งามสมดูสง่า สมเด็จพระเทพราชาทรงสร้างไว้ โปรดให้ทาบานประตูโบสถ์ขึ้นใหม่ ไม่มีที่ไหนแล้วในแผ่นดิน อย่าปล่อยให้รกร้างจนสูญสิ้น กาสรวลถิ่นสถานย่านป่าตอง


I ๑๙

พุทธสถาน คู่ตานานเมือง นางสาวเพลินตา โมสกุล ผู้ประพันธ์ วัดบรมพุทธาราม พระราชทานนามไว้ พระองค์โปรดให้ทรงสร้าง และทรงสถาปนา คงอยู่คู่กรุงศรี ประวัติศาสตร์สืบยาวนาน ชนรุ่นใหม่ไม่ทิ้งทอด สร้างองค์พระประธานงามประเทือง จะนานนับกี่ชั่วกาล ณ ราชภัฏอยุธยา จงธารงคงความงาม ที่จะแกว่งทวีเท่า มั่นสืบสานตานานต่อ ให้เลืองชื่อลือเกรียงไกร

อารามหลวงตลอดช่วงสมัย ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ในนิวาสสถานงามสง่า เป็นวัดประจารัชกาล หลายร้อยปีที่ล่วงผ่าน พุทธสถานคู่ตานานเมือง มั่นตลอดสืบสานเรื่อง บูรณะสืบเนื่องนานมา คู่ถิ่นสถานงามสง่า คงคุณค่าด้วยศรัทธาผองเรา อย่ามองข้ามปูนอิฐเก่า เพื่อขานเล่าเรื่องราวสืบไป กอปรก่อสร้างความดีไว้ ว่าไม่สิ้นไร้คนดีศรีอยุธยา


๒๐ I


I ๒๑

อนุทิน ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ......................................................................................................................................


๒๒ I

...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ......................................................................................................................................


I ๒๓

...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ...................................................................................................................................... ......................................................................................................................................


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.