เอกสารประกอบการอบรม เรื่องศาสตร์ศิลป์ภูมิปัญญาจากตู้พระธรรมลายรดน้ำ

Page 1

เอกสารประกอบการอบรม หลักสูตรระยะสั้นงานศิลป ถิ่นกรุงเก า (ครั้งที่ ๑)

ศาสตร ศิลป ภูมิป ญญา จากตู พระธรรมลายรดน้ํา

ฝ กอบรมโดย อาจารย ศุภชัย นัยผ องศรี และอาจารย วันลี ตรีวุฒิ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ จัดโดยสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา


เอกสารประกอบการอบรม หลักสูตรระยะสั้นงานศิลปถิ่นกรุงเกา (ครั้งที่ ๑)

“ศาสตร ศิลป ภูมิป ญญา จากตู พระธรรมลายรดน้ํา” วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

จัดพิมพโดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ธันวาคม ๒๕๕๖ จํานวน ๘๐ เลม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ ผูจัดทํา: ฝายวิชาการ พัฑร แตงพันธ สาธิยา ลายพิกุน

คณะบรรณาธิการ: ฝายสงเสริม และเผยแพรวิชาการ ปทพงษ ชื่นบุญ อายุวัฒน คาผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว

ขอขอบคุณ หัวหนาพิพิธภัณฑสถานแหงชาติจันทรเกษม ผูอํานวยการพิพิธภัณฑสถานแหงชาติเจาสามพระยา คุณ ธนิสร เพ็ชรถนอม และคุณชัชนันทิ์ ภักดี ที่เอื้อเฟอสถานที่ และภาพถาย


สารบัญ งานลายรดน้ํา วิภารัตน ประดิษฐอาชีพ

หนา ๑

ศิลปะลายรดน้ํา และขั้นตอนการสรางสรรคลายลดน้ํา วันลี ตรีวุฒิ และศุภชัย นัยผองศรี

๑๑

ศาสตรศิลปภูมิปญญาจากตูพระธรรมลายรดน้ํา วันลีย กระจางวี

๑๙

บรรณานุกรม

๓๕

บันทึก

๓๖


หนา ๑

งานลายรดน้ํา* 0

วิภารัตน ประดิษฐอาชีพ

ธนิสร เพ็ชรถนอม / ชัชนันทิ์ ภักดี

งานเขียนภาพลายรดน้ําเปนงานประณีตศิลปประเภทหนึ่ง ซึ่งใชวิธีเขียนจิตรกรรม เปนภาพหรือลวดลายลงบนพื้นที่ลงรักหรือทาชาด แลวจึงปดทองและรดน้ําหรือเช็ดดวย น้ําใหเหลือเพียงภาพและลายที่ตองการ จึงเรียกกันวา ลายปดทองรดน้ํา ตอมาเรียกสั้นลง เปนลายรดน้ํา ๑ หรือบางครั้งเรียกกันวา ลายทอง ก็มี 1

* บทความนี้คัดจากเนื้อหาสวนหนึ่งของบทความเรื่อง งานชางรัก ในการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “งานชางหลวง” ของ สํานักพิพิธภัณฑสถานแหงชาติ กรมศิลปากร. ๑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (กรุงเทพฯ : นานมีบุคสพับลิเคชั่นส, ๒๕๔๖), ๙๒๒.


หนา ๒

ปจจั ยสํ าคัญ ในการเขี ยนลายทองคื อ “พื้น ” ชนิด ตา ง ๆ ไดแ กพื้น ไม พื้น ผนั ง ปู น พื้ นโลหะ พื้นหนังสัตว อยางไรก็ตาม วัสดุที่นิยมเขียนลายรดน้ํามากที่สุดดูเหมือนจะเปนไม ซึ่งคงจะมีสาเหตุมาจาก ที่รักมีคุณสมบัติรักษาเนื้อไมไดดี ทําใหไมคงทนแข็งแรง ไมผุงาย ชวยปองกันน้ํา ความชื้น และแมลงที่จะ กั ด กิ น เนื้ อ ไม ไ ด อี ก ด ว ย ๒ ซึ่ ง ทํ า เป น เครื่ อ งใช เครื่ อ งครุ ภั ณ ฑ เครื่ อ งอุ ป โภค อาคารสถานที่ และเครื่องประดับตกแตงที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ เชน เขียนลวดลายตกแตงพื้นตะลุม โตก พาน ใบประกับหนาคัมภีร หีบหนัง สือ ฝาและบานประตู หนาตาง ฉากลับแล ตูพระธรรม ฯลฯ สวนวัสดุที่ สําคัญในการทํางานเขียนลายรดน้ํา ไดแก ยางรัก หรือรักน้ําเกลี้ยงสมุก น้ํายาหรดาน และทองคําเปลว และยัง มี สวนประกอบอื่น ๆ อีก ไดแ ก ฝกส มปอ ย กาวยาวมะขวิด ดินสอพอง ฝุนถ านไม ผงดิน เผา กระดาษทราย 2

การเขียนลายรดน้ํามีขั้นตอนโดยสรุปคือ การเตรียมพื้นโดยลงสมุกหรือถมพื้นดวยสมุก ขัดให เรียบแลวจึงทายางรัก หรือลงรักน้ําเกลี้ยง กวดใหเรียบเกลี้ยงถึงสามชั้น และขัดฟอกหนารัก เช็ดรักขัดเงา ไดพื้นที่ดีแลวจึงรางรูปภาพ โรยแบบเพื่อเขียนน้ํายา หรดาน ถมเสนหรือทับเสน และถมพื้น เขียนระบาย ในชองไฟระหวางลายหรือ ระหว างรูปภาพสวนที่ตองการให เปนพื้ นสีดําตามแบบที่โรยไว ขั้น สุดทา ย คือ การเช็ดรักปดทองคําเปลวใหเต็มพื้นที่ เรียกวา ปดทองปูหนา และกวาดทองหรือกวดทองคําเปลว ใหแนบติดกับพื้นใหสนิทกอนจะรดน้ํา คือใชน้ําสะอาดรด ราดบนพื้นรัก จะปรากฏภาพที่เหลือเปนสีทอง บนพื้นชองไฟสีดํา หมอ มเจายาใจ จิตรพงศ ไดสั นนิ ษฐานไวว า งานลายรดน้ํา คงจะเปน การคิด คน สรา งสรรค ขึ้นดวย ภูมิปญญาของชางไทยเอง เพราะแมในประเทศจีน และประเทศญี่ปุนจะมีการทําเครื่อ งรักสีดํา แตงดวยทองมากอนแลว แตก็มีกรรมวิธีแตกตางไปจากวิธีการทําลายรดน้ําของไทย ๓ 3

ลายรดน้ํ า จะเริ่ ม ทํ า ขึ้ น ในสมั ย ใดไม มี ห ลั ก ฐานแน ชั ด แต อ าจเป น ไปได ว า มี ก ารทํ า แล ว ใน สมั ย สุ โ ขทั ย เนื่ อ งจากได พ บว า ในสมั ย นั้ น มี ก ารลงรั ก ป ด ทองพระพุ ท ธรู ป และการป ด ทองล อ งชาด เครื่ องจํ าหลักไมแ ลว ทั้ง ยั ง ไดปรากฏขอ ความตอนหนึ่ง จากจดหมายเหตุเ รื่องพระราชไมตรี ระหวา ง กรุงสยามกับกรุงจีน กลาวถึงรัชสมัยของพอขุนรามคําแหง ในป พ.ศ. ๑๘๓๔ ความวา “หลอฮกกกออง (หมายถึง ผู เปนใหญ ในหมูค นไทย) ใหนํา ราชทูตนํ าสาสน อักษรเขียนดว ย ลายน้ําทอง กับเครื่องบรรณาการ .......... มาถวาย ๔ 4

อยางไรก็ตาม ไมพบหลักฐานชิ้นงานตกแตงดวยลายรดน้ําในสมัยสุโขทัยหลงเหลือมาถึงปจจุบัน หลักฐานที่เกาแกที่สุดของงานลายรดน้ําจึงมีตั้งแตในสมัยอยุธยาเปนตนไป

เรื่องเดียวกัน, ๓๙-๔๐. เรื่องเดียวกัน, ๕๐. ๔ จุลทรรศน พยาฆรานนท, ลายรดน้ําและลายกํามะลอ (กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, ๒๕๑๖), ๖-๗. ๓


หนา ๓

ลายรดน้ําในสมัยอยุธยามีทํากันอย างแพรหลาย และเจริญ สูง สุดในชวงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงตอนกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ๕ โดยพบหลักฐานเกาที่สุดในสมัยอยุธยาตอนตน ไดแก ขอความจาก พระราชกําหนดในกฎมณเฑียรบาลที่ตราขึ้นไปในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑ – ๒๐๓๑) ความวา 5

“กลด ตอด้ําประกับมุข ใบทาชาดเขียนลายทอง” ซึ่ง สันนิษฐานวาการเขียนลวดลายทองบน พื้นสีแดงชาดเพื่อตกแตงกลดใหสวยงามนี้ คงจะหมายถึงกระบวนการทําลายรดน้ํานั่นเอง ๖ 6

ลายรดน้ํ า ในสมั ย อยุ ธ ยามั ก เขี ย นระบายพื้ น สี แ ดงชาด ต อ มาภายหลั ง จึ ง นิ ย มทํ า พื้ น สี ดํ า ที่เปนเชนนั้นสันนิษฐานวาชวงแรกเริ่มนั้น ชางหลวงเปนผูใชในการตกแตงเครื่องราชูปโภคถวายกษัตริย จึงใชสีแดงซึ่งเปนสีสัญลักษณของกษัตริย เมื่อการเขียนลายรดน้ําแพรขยายออกไปใชกับวัด และสามัญชน ติดที่กฎขอหามเรื่องการใชสี จึงไดใชสีดําแทน ดังนั้นสีพื้นของลายรดน้ําจึงแตกตางกันไปตามผูเปนเจาของ ๗ การตกแตงดวยลายรดน้ําในสมัยอยุธยานี้ มีหลักฐานวาทํากันอยางกวางขวางโดยที่โดดเดนอยางมาก ได แ ก ลายรดน้ํ า บนตู พ ระไตรป ฎ กซึ่ ง พบเป น จํ า นวนมาก และเป น ที่ นิ ย มต อ เนื่ อ งไปจนถึ ง ใน สมัยรัตนโกสินทร 7

เนื่องจากพระที่นั่ง และพระมหาปราสาทตาง ๆ ในสมัยอยุธยาไดชํารุดเสียหายไปจนไมเหลือ หลัก ฐานการตกแตง ดว ยลายรดน้ํ าไวใ หไ ดศึก ษา แตยั ง คงมีห ลัก ฐานทางเอกสารที่ กลา วถึ ง พระที่นั่ ง สรรเพชญปราสาทในรัชสมัยสมเด็จพระเจาปราสาททอง (พ.ศ.๒๑๗๓ – ๒๑๙๙) โดยปรากฏในจดหมาย เหตุ เรื่องพระราชไมตรีในระหวางกรุงสยามกับกรุงจีนความวา “กกอ อง (พระเจา แผน ดิน ) อยูใ นเมื องขา งฝา ยทิศตะวัน ตกที่ อยูสร างเปนเมืองรอบกํ าแพง ประมาณ สามลี้เศษ เตย (พระที่นั่ง) เขียนภาพลายทอง” ตอ มาในสมั ยของสมเด็จ พระเจา บรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๑) ราชทู ตจากลัง กาที่เ ดิ น ทางเขามาขอพระสงฆไทยใหไปชวยฟนฟูพุทธศาสนาไดพรรณนาถึงพระที่นั่งองคนี้ไวดวย ดังความวา “เมื่อลวงประตูชั้นที่ ๒ เขาไปก็ถึงพระที่นั่ง (สรรเพ็ชญปราสาท) สองขางฐานมุขเด็จพระที่นั่ง มีรูปภาพตาง ๆ ตั้งไว คือ รูปหมี รูปราชสีห รูปรากษส รูปโทวาริก รูปนาค รูปพิราวะยักษ รูปเหลานี้ลวน ปดทองตั้งอยางละคู ตรงหมูรูปขึ้นไป เปน (มุขเด็จ) ราชบัลลัง กสูง ประมาณ ๑๐ คืบ ตั้งเครื่องสูง รอบ (มุขเด็จ) ราชบัลลังกนั้นผูกมานปกทองงามนาพิศวง ฝาผนังพระที่นั่งก็ปดทอง” ๘ 8

ศิลป พีระศรี, เรื่องตูลายรดน้ํา (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๐๓), ๕. จุลทัศน พยาฆรานนท, ลายรดน้ําและลายกํามะลอ, ๗. ๗ เรื่องเดียวกัน, ๗ – ๘ . ๘ สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, เรื่องประดิษฐานพระสงฆสยามวงศในลังกาทวีป (พระนคร: ม. ป.ท., ๒๕๐๓), ๑๒๑-๑๒๒. (อนุสรณในงานพระเมรุพระศพ สมเด็จพระสังฆราชเจา กรมหลวงวชิรญาณวงศ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๐๓). ๖


หนา ๔

สว นพระตํ า หนั ก ตา ง ๆ นั้น พบว า มีค วามนิ ยมตกแตง เสาและฝาผนั ง ด ว ยลายรดน้ํา เชน กั น ดัง ขอความในคําให การขุน หลวงวัดประดูทรงธรรม ความว า “ริมชาลามหาปราสาทสุริยามรินทรนั้ น มีพระตําหนักใหญ ๕ หอง ฝากระดานหลังเจียด พื้นฝาทาแดงเขียนลายทอง ทรงขาวบิณฑเทพนมพรหม ภักตร เปนพระตําหนักฝายในหลัง ๑” “มีพระตกหนักหาหอง ฝาเขียนทองพื้นลงรักอยูในกลางสวนกระตาย ๑” “ดานเหนือ (พระที่นั่งบัญญงครัตนาศน) นั้นมีพระตําหนักปลูกปกเสาลงในสระดานเหนือหลัง หนึ่ง ๕ หอง ฝากระดานเขียนลายรดน้ํา ทองคําเปลวพื้นทารัก” ๙ 9

พระตําหนักซึ่ง เชื่อกัน วาสรางขึ้นในสมัยอยุธยา และยังเหลืออยูจนถึง ปจจุบันมีเพียง ๓ หลัง ซึ่งลวนมีการตกแตงดวยลายรดน้ําทั้งสิ้น พระตําหนักเหลานี้ตอมาไดกลายเปนเสนาสนะของวัด บางครั้งจึง ถูกจัดวาเปนอาคารประเภทศาสนสถานก็มี ๑๐ ไดแก 10

ตําหนักทองวัดไทร กรุงเทพฯ เดิมเปนพระตําหนักของสมเด็จพระเจาเสือ ซึงตอมาทรงพระราช อุทิศใหเปนกุฏิสงฆ ชื่อตําหนักทองมีที่มาจากฝาผนังลงรักเขียนลายน้ําอยางสวยงามทั้งหลัง ๑๑ 11

www.gerryganttphotography.com

พระตําหนักทอง วัดไทร กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๕๕๑ ๙

จุลทรรศน พยาฆรานนท, ลายรดน้ําและลายกํามะลอ, ๑๐ เรื่องเดียวกัน, ๑๐ – ๑๑. ๑๑ วรรณิภา ณ สงขลา, จิตรกรรมสมัยอยุธยา (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๓๕), ๑๙๔. ๑๐


หนา ๕

หอเขียน วังสวนผักกาด กรุงเทพฯ สันนิษฐานวาสรางขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) เดิมเปนตําหนักของเจานาย ตั้งอยูที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แลวยายมาอยูที่วัดบาน กลิ้งในจังหวัดเดียวกัน โดยมีคูกัน ๒ หลัง เปนหอไตรหลังหนึ่ง และหอเขียนอีกหลังหนึ่ง ตอมาไดบูรณะ รวมกันเขาเปนหลังเดียว และในปพุทธศักราช ๒๕๐๑ ม.ร.ว. พันธุทิพย บริพัตร ไดซื้อแลวยายมาปลูกขึ้น ใหมที่วังสวนผักกาด จนถึงปจจุบัน ผนังภายในของหอเขียนนี้ตกแตงดวยภาพลายรดน้ําเต็มทุกดาน เปน เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและรามเกียรติ์ ๑๒ 12

www.bareo-isyss.com/decor6.htm

www.thaiticketmajor.com

www.thailandsworld.com

หอเขียน วังสวนผักกาด กรุงเทพฯ

๑๒

เรื่องเดียวกัน, หนา ๑๙๕ ; และดู หมอมเจาสุภัทรดิศ ดิศกุล, “ประวัติหอเขียนวังสวนผักกาด” ใน หอเขียนวังสวน ผักกาดฺ (กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.,๒๕๐๒), ๓๗.


หนา ๖

ศาลาการเปรียญ วัดใหญสุวรรณาราม (ตําหนักสมเด็จแตงโม) จังหวัดเพชรบุรี มีลวดลายรด น้ําประดับอยูที่ตน เสาแตละตน งดงามมาก ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๕ มีพระราชหัตถเลขาชื่นชมไวเมื่อคราวเสด็จประพาสมณฑลราชบุรีในพุทธศักราช ๒๔๕๒ ความตอนหนึ่งวา “หลังพระอุโบสถตรงกันแนวเดียว มีการเปรียญยาว เสาแปดเหลี่ยม เขียนลายรดน้ํา ลายไมซ้ํา กันทุกคู ฝากระดานปะกนขางนอกเขียนลายทอง ขางในเขียนน้ํากาว บานประตูสลักซับซอน ซุมเปนคูหา งามเสียจริง ขอซึ่งคิดจะเอาอยางสรางการเปรียญวัดราชาธิวาสก็เพราะรักการเปรียญวัดใหญนี้” ๑๓ 13

http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E9895581/E9895581.html

www.bloggang.com

ศาลาการเปรียญ วัดใหญสุวรรณาราม สําหรับงานรักประเภทลายรดน้ําในสมัยอยุธยายัง นิยมประดับบนตูพระธรรม หีบพระธรรม ไมประกับคัมภีรใบลาน เครื่องอุปโภคตา ง ๆ เชน ตะลุมโตก พานแวนฟา เตียบ เชี่ยนหมาก เปนต น ดังคําใหการของขุนหลวงวัดประดูทรงธรรม ความตอนหนึ่งวา “ถนนยานปาเตียบ (ในเมือง) มีรานขายตะลุมมุก ตะลุมกระจก แลมุกแกมเบื้อ ตะลุมเขียนทอง ภานกํามะลอ ภานเลว ภานหมาก ชื่อยานปาเตียบ ๑ ๑๔ 14

หลั ก ฐานทางด า นศิ ล ปกรรมที่ มี ก ารตกต า งด ว ยลายรดน้ํ า สมั ย อยุ ธ ยา แสดงให เ ห็ น ว า กระบวนการตกแตง สิ่ง ของเครื่องใชตาง ๆ ดวยวิธีปดทองเขียนลายรดน้ํานั้น เปนที่นิยมเจริญ รุง เรือง มาแลว โดยเริ่มตน จากที่ชางหลวงไดสรางเครื่องอุปโภคตาง ๆ เพื่อถวายสนองรับใชพระมหากษัตริย ๑๓

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว, พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว เมื่อคราว เสด็จประพาสมณฑลราชบุรี พ.ศ.๒๕๕๒ (กรุงเทพฯ: ม.ป.ท., ๒๕๑๖), ๓ – ๔. ๑๔ จุลทรรศน พยาฆรานนท, ลายรดน้ําและลายกํามะลด, ๑๓.


หนา ๗

จากนั้ น จึ ง ขยายไปถึ ง การสร า ง ศาสนสถาน และศาสนวั ต ถุ และแพร ห ลายสู ช าวบ า นที่ ศ รั ท ธาใน พระพุทธศาสนา การสรางสืบทอดกรรมวิธีตอเนื่องกันมาถึงสมัยรัตนโกสินทร ในสมัยรัตนโกสินทร ความนิยมในการตกแตงอาคารและเครื่องอุปโภคดวยกรรมวิธีปดทองรดน้ํา เหมือนเชนสมัยอยุธยายังคงมีอยู ซึ่งคงไดรับการถายทอดความรูในเชิงชางสืบตอกันมา ซึ่งปรากฏในงาน ศิลปกรรมสําคัญ ๆ ไดแก พระมหาปราสาทราชมณเฑียร และพระอารามที่สรางสมัยรัตนโกสินทร ไดแก พระอุ โ บสถของวั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ า จุ ฬ าโลก รัชกาลที่ ๑ โปรดเกลาฯ ใหสรางขึ้นใหมครั้งนั้นไดเขียนตกแตงลายปดทองรดน้ําบนพื้นสีแดงชาดลงบน ฝาผนั ง ด า นนอกรอบพระอุ โ บสถ ต อ มาทรุ ด โทรมลงจึ ง ได มี ก ารปฏิ สั ง ขรณ เ ปลี่ ย นแปลงไปใน สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๓

www.bansansuk.com/travel/watprasiratana

http://bombik.com/node/404/

http://bombik.com/node/404/

พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพิมานดุสิดา เดิมเปนหอพระ ตั้งอยูกลางสระทางทิศตะวันตกของพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ภายในพระราชฐานชั้นในพระราชวังบวรสถานมงคลสมเด็จพระบวรราชเจามหาสุรสิงหนาท (พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๔๖) โปรดเกลาฯ ใหสรางขึ้นแทนที่พระมหาปราสาท ซึ่ง โปรดเกลาฯ ใหสรางขึ้นเมื่อจุลศั กราช ๑๑๔๔ (พ.ศ.๒๓๒๖) ปเถาะ เบญจศก เนื่องจากมีกบฏบัณฑิต ๒ คนลอบเขาพระราชวัง หนา แอบจะทํา รายสมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรฯ และเกิดการจับกุมฆาฟนกันตายลงในที่สรางพระมหาปราสาทนั้นคน


หนา ๘

หนึ่ ง จึ ง ทรงพระราชดํ า ริ ว า พระราชวั ง บวรสถานมงคลครั้ ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาไม มี ธ รรมเนี ย มสร า ง พระมหาปราสาท พระองคมาสรางปราสาทขึ้นในพระราชวังบวรกรุงเทพฯ นี้ เห็นจะเกินวาสนาไปจึงมีเหตุ จึงไดรื้อพระมหาปราสาทมาทําพระมณฑปที่วัดมหาธาตุ สวนบริเวณที่สรางพระมหาปราสาทนั้นโปรดฯ ใหสรางพระวิมานถวายเปนพุทธบูชาเปนที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ขนานนามวา “พระพิมานดุสิดา” ฝาผนังดานนอกปดทองประดับกระจก สวนดานในเขียนลายรดน้ําอยางประณีตงดงาม ตอมาในสมัย รัชกาลที่ ๒ พระพิมานดุสิดาคงชํารุด สมเด็จพระบวรราชเจามหาเสนานุรักษจึงโปรดเกลาฯ ใหรื้อสะพาน พระวิมานกลาง และพระระเบี ยงออก นํ าเอาฝาตั วไมที่ยัง ใช ไ ดถวายเปนฝาโรงธรรมวัดชนะสงคราม เมื่อ คราวสงครามเอเชี ยมหาบู รพาไดถู กระเบิด ทํา ลายพัง เสี ยหายมาก ยัง เหลื อแตบ างสว น เช น เสา ครั้น เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๑ พระครูวิสุทธิศิลาจารย (ฉันโท วง) เจาอาวาสวัดมะกอก เขตตลิ่งชัน ฝงธนบุรี มารับซื้อสวนที่ยังใชไดนําไปปรับปรุงสรางเปนหอสวดมนตและศาลาการเปรียญขึ้นไว ที่วัดนั้น ปจจุบันคงเหลือเฉพาะบานประตูพระวิมานเก็บรักษาไว ณ วัดชนะสงคราม พระพุทธมณเฑียรในสวนขวา ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหสรางขึ้นโดยใชไ มมีเสาเขียนลายทองบนพื้นแดง และฝาผนัง เขียนลายรดน้ําเรื่องปฐมสมโพธิ ฉายลายรดน้ําในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเปนฉากขนาดใหญ ใชงานเปนฝาประจันกั้นมุขดาน ทิศใต มีความยาว ๘.๔ เมตร สูง ๒.๒ เมตร ตัวฉากและกรอบลวนเปนไมจริง ฉากแบง ออกเปน ๕ สวน แผนกวางที่สุดคือสวนที่อยูตรงกลาง กวาง ๓.๔๖ เมตร สวนอีก ๔ แผนที่อยูทางซายและขวากวางเทา ๆ กัน ทั้งสองดานของฉากเขียนลายรดน้ําซึ่งผูกขึ้นจากเรื่องพระราชพิธีอินทราภิเษกเปนเรื่องหลักผสมผสาน กับเรื่องเมืองสวรรค ภาพเทพชุมนุม เปนตน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว ลายรดน้ําของไทยถือไดวาเฟองฟูเต็มที่ เพราะ โปรดการทํานุบํารุง พระศาสนาเปนอยางยิ่ง จึง มีการปฏิสัง ขรณและสรางพระมหาปราสาทและวัดวา อารามใหมขึ้นเปนจํานวนมาก ซึ่งวัดที่สรางหรือบูรณะในรัชสมัยนี้นิยมตกแตงบานประตู บานหนาตาง และองคประกอบที่เปนไมดวยลายรดน้ํา เชน พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีการตกแตงดวยลายรดน้ํา ดังนี้ “ในบานพระทวารขาง ในลวดลายรดน้ํา เปนเครือแยงทรงขาวบิณฑ ดอกในพื้นแดง สองขางผนังบานกบภายในพระทวารเขียน ระบายเป น ตน ไม เ ทศพื้ น ขาว เพดานทั บ หลั ง พระทวารข า งในป ด ทองลายรดน้ํ า เป นดอกจอกใหญ ดอกจอกนอย วงรอบพื้นชาด และในหองพระอุโบสถขื่อใหญลายรดน้ําเปนเครือแยงดอกในพื้นชาด มีกรวย เชิงสลับสี พื้นเขียว แดง มวง เปน ๓ ชั้น” พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หลังบานประตูเขียนลายรดน้ําเปนรูป พัดพระราชาคณะ ฐานานุกรมเปรียญทั้งฝายคามวาสีและอรัญ วาสีของวัดในเมืองหลวงและในหัวเมือง ที่บานหนาตางดานในเขียนลายรดน้ําเปนรูปตราเจาคณะสงฆ กรอบเช็ดหนาเขียนลายทองเปนเครือเทศ และบานประตูพระระเบียงชั้นนอกดานนอกเขียนลายรดน้ําเปนรูปกุมภัณฑ อสูรตาง ๆ เปนตน


หนา ๙

พระพุท ธรู ป ได แก พระพุท ธไสยาสนข นาดใหญ ที่วั ดราชโอรสารามราชวรวิ หาร กรุ ง เทพฯ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯใหสรางขึ้น โดยที่ฝาพระบาทของ พระพุทธรูปเขียนลวดลายรดน้ําเปนรูปกงจักรและมงคล ๑๐๘ ประการ ตูพระธรรมในพระที่นั่งพุทไธสวรรย สมเด็จพระบวรราชเจามหาศักดิพลเสพ (พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๗๕) โปรดใหสรางสําหรับใสพระไตรปฎกจํานวน ๓ ใบ เปนตูสามตอน ๑ ใบ และตูสองตอน ๒ ใบ ใชกั้น เปนอยางฝาประจันหอง ประจําในพระที่นั่งพุทไธสวรรย สําหรับเก็บรักษาพระธรรมคัมภีรของพระราชวัง หนา ทั้ง นี้สันนิษฐานวาในสมัยพระบวรราชเจามหาศักดิพลเสพ พระที่นั่ง พุทไธสวรรยนอกจากใชเปน หอพระ ประกอบการพระราชพิธีแลวยังใชเปนที่บอกหนังสือ (เรียนหนังสือ) ของพระสงฆและสามเณรดวย โดยทรงเลือกชางเขียนฝมือดีในขณะนั้นเปนผูเขียน ปรากฏชื่อมีเจากรมออน (หลวงพรหมปกาสิต) คนหนึ่ง ทานผูนี้เปนผูทําบานประดับมุกประตูพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นอกจากนี้ยังมีคนอื่นเขียน ถวายอีก ตู พ ระธรรมและหี บ พระธรรม รวมทั้ ง ไม ป ระกั บ คั ม ภี ร ยั ง มี ก ารทํ า สื บ ทอดกั น มาในสมั ย รัตนโกสินทรจนถึง สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๔ จึงเริ่มเสื่อมความนิยมลงไป แตยังคงมีการตกแตงดวยลายรดน้ําบนเครื่องอุปโภคอื่นๆ เชน เขียนแผงขางอานมา หนาฆอง ใบพาย เปนตน งานลายรดน้ําฝมือของชางหลวงจึง ไดแกง านศิลปกรรมตางๆ ที่คิดประดิษฐขึ้นในราชสํานัก เชน เครื่องราชูปโภคหรือเครื่องใชตางๆ ของพระมหากษัตริยและเจานายชั้นสูง ซึ่งพระมหากษัตริยทรง เปนองคอุปถัมภพระศาสนา ไดถวายสิ่งของเครื่องใชตางๆ ใหวัดที่สําคัญ ตอมาพอคาคหบดีผูมีจิตศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาก็สรางถวายเอาไวเปนพุทธบูชาตามอยางบาง สิ่งของเครื่องใชทั้งหลายที่ไดรับ พระราชทานและไดรั บบริจาคโดยพระมหากษัตริ ยแ ละเจา นายชั้น สูง เหลานี้ ยั ง คงเก็ บรั กษาอยู ตาม วัดตางๆ ทั่วประเทศไทย โดยสวนใหญแลวงานลายรดน้ําและกํามะลอที่ทําโดยกลุมชางหลวงมักจะสราง ขึ้นจากสวนกลางคือ เมืองหลวง หรือปริมณฑล ซึ่งมักจะเปนแหลงรวมชางฝมือดี เมื่อบานเมืองขยายตัว ออกไป หัวเมืองตางๆ ก็พัฒนาเจริญกาวหนามากขึ้น งานชางบางสวนก็ขยับขยายเคลื่อนยายออกไปตาม แหลงตางๆ ดังที่สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ ทรงบันทึกไววา “.....ไดพบหี บหนัง สื อใหญ อยางก นสอบปากผาย มีฐานรองที่พั ทลุง ใบหนึ่ง เขียนลายรดน้ํ า เปนฝมือรุนครูวัดเชิงหวาย ดานหนาเปนรูปภาพแกมกระหนก มีรูปพระแผลง รูปหนุมาน รูปกินนรคูหนึ่ง นกอิน ทรี คู หนึ่ ง สิง โตคู หนึ่ ง ราชสีห คู หนึ่ ง คชสี หคู หนึ่ ง กวางคู ห นึ่ง ด านข างเขี ย นกระหนกพะเนี ย ง เบื้องลางมีรูปฤษีกับสัตวปา ดานหลังเขียนลายนกไม... เห็นจะเปนการทําปลอยหัวเมือง” จากลายพระหัตถของสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอเจาฟากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ ขางตน เปนหลักฐานที่แสดงใหเห็นวามีการเคลื่อนยายตูหรือสิ่งของเครื่องใชที่เปนฝมือชางหลวงออกไปตามหัว เมืองตาง ๆ มีหลักฐานวาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๔ มีการสรางตูพระ ไตรป ฏ กถวายวั ด ต า งๆ ได แ ก จั ง หวั ด เพชรบุ รี ๓ วั ด คื อ วั ด จั น ทราวาส วั ด ลาด วั ด พระทรง และภาคตะวันออกอีก ๓ วัด คือ วัดมะกอกลาง จังหวัดระยอง วัดพลับ จังหวัดจันทบุรี และวัดบุปผาราม จั ง หวั ด ตราด นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารให ช า งหลวงไปปฏิ บั ติ ง านตามหั ว เมื อ งที่ เ ป น พระราชดํ า ริ อี ก ด ว ย


หนา ๑๐

ตอมาภายหลัง สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ ไดทรงรวบรวมสิ่งของเครื่องใชที่ งดงามดวยฝมือของชางหลวงในอดีตเหลานั้น กลับเขามาเก็บรักษาไวในพิพิธภัณฑสถานแหงชาติ พระนคร ดังพระราชปรารภของพระองควา “ถามีผูหวงแหนรักษาไวกับที่ไดก็ดี แตถาจะรักษาไวไมไดก็ควรเก็บเขา เสียที่พิพิธภัณฑ กรุงเทพฯ” ๏


หนา ๑๑

ศิลปะลายรดน้ํา และขั้นตอนการสร างสรรค ลายรดน้ํา วันลี ตรีวุฒิ ศุภชัย นัยผองศรี

ธนิสร เพ็ชรถนอม / ชัชนันทิ์ ภักดี

งานศิลปะลายรดน้ําเปนหนึ่งในงานชางสิบหมูประเภทชางรัก และเปนงานศิลปะ ไทยที่มีเอกลักษณ คือเปนภาพที่ใชสีแคสองสี ไดแก สีทองของทองคําและสีดําของยางรัก สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานไดอธิบายวา “ลายรดน้ํา คืองานจิตรกรรมไทยแขนงหนึ่ง ไดรับชางถายทอดความรูกันมาตั้งแตสมัยโบราณ เปนวิธีการที่ชางเขียนไดคิดทําไวชานานแลว ลายรดน้ํา ประกอบดวยการลงรัก เขียนลายดวยน้ํายาหรดาลและปดทองรดน้ํา” ...


หนา ๑๒

สวนใหญเราจะพบงานลายรดน้ําเขียนบนพื้นไมที่พบมากคือ ลายรดน้ําประดับภายนอกของ ตูพระไตรปฎก ซึ่ง บางครั้ง เรียกวาตูลายทอง หีบไมลับแล บานประตู บานหนาตาง และที่นาสนใจคือ ภาพลายรดน้ําขนาดใหญ ตกแตงผนังดานนอกของอาคารไม ซึ่งมักเปนพระตําหนักของกษัตริยมากอน ไดแก หอเขียน วังสวนผักกาด และตําหนักไมที่วัดไทร เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ไม ป รากฏหลั ก ฐานที่ บ ง บอกให รู ไ ด ว า ในสั ง คมไทยเริ่ ม ทํ า ลายรดน้ํ า เมื่ อ ใด ทั้ ง นี้ งานศิ ล ปะลายรดน้ํ า ส ว นใหญ ที่ พ บเป น งานในสมั ย อยุ ธ ยาตอนต น ปลาย และต น รั ต นโกสิ น ทร (รัชกาลที่ ๑ – ๔ ) ลายรดน้ําเปนงานปราณีตศิลปที่งดงาม ดังที่ศาสตราจารยศิลป พีระศรี ไดกลาวถึงลายรดน้ําใน หนังสือ ตูลายรดน้ําไววา “บรรดาศิ ล ปประยุ ก ต ที่ ค นไทยในสมั ย โบราณสร า งขึ้ น ไว มี อ ยู ป ระเภทหนึ่ ง (ส ว นมาก) ทําลวดลาย เปนภาพปดดวยบนแผน ทองคําเปลวบนพื้นรักสีดํา งานศิลปะประเภทนี้มีความสําคัญ มาก สํ า หรั บ ตกแต ง สิ่ ง ของเครื่ อ งใช ข องชาวบ า น และเครื่ อ งใช ใ นพระศาสนา .. งานช า งรั ก ประเภทนี้ เราเรียกวา “ลายรดน้ํา” (หมายถึงการทํางานสําเร็จในชั้นสุดทายดวยการเอาน้ํารด..) ไดเจริญสูงสุดใน สมัยอยุธยา ตั้งแตพุทธศตวรรษที่ ๒๒ จนถึงตอนกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ..” น. ณ ปากน้ํา ศิลปนแหงชาติผูเชี่ยวชาญดานศิลปะไทยไดกลาวถึงลายรดน้ําวา ลายรดน้ําปดทองหรือลายไทยของเราเปนวิสุทธิศิลปประเภทหนึ่ง ซึ่งสําแดงออกดวยน้ําหนัก ชองไฟ และเสนอันงามแสดงอารมณ ความรูตาง ๆ แมจะมีเพียงแคสีทองของตัวลายกับสีดํา” กล า วได ว า ความงามของลายรดน้ํ า เป น งานศิ ล ปะที่ ผ สานกั น อย า งลงตั ว ระหว า งงานฝ มื อ และเทคนิคการสรางสรรคง านที่ซับซอน กวาจะไดเปนงานชิ้นหนึ่งตองผานกระบวนการทําที่มีขั้นตอน ละเอียดตองอาศัยความชํานาญ และประสบการณของชางเปนสําคัญ

ขั้นตอนการสร างสรรค ลายรดน้ํา กระบวนการของการสรางงานลายรดน้ํามีกรรมวิธีที่สัมพันธกันตั้งแตการเตรียมพื้นผิวจนเสร็จ สิ้นเมื่อรดน้ําที่ลายปดทองดังตอไปนี้ การสรางงานลายรดน้ําแบบโบราณ ๑. เตรีย มพื้ น ผิ วที่ จะเขี ยนลายรดน้ํ า ซึ่ง ถือเปน หัว ใจสํา คัญ ที่ต องเตรีย มการอย างดี เพราะจะมีผลตอความคงทนของลายรดน้ํา โดยจะตองขัดผิวใหเรียบ นํารักน้ําเกลี้ยงมาทาพื้นใหทั่วเพื่อ อุดรอยเสี้ยนและผึ่งใหแหง


หนา ๑๓

๒. นํารักน้ําเกลี้ย งผสมสมุก * โดยบดใหเขากันจนละเอียด นําไปทาที่พื้นผิว จากนั้ น ปลอยทิ้งไวจนแหงสนิท 1 5

๓. นํ า หิน หรื อ กระดาษทรายมาขั ดผิ ว ให เ รี ย บเสมอกัน หากยัง ไม เ รีย บให เอาสมุ ก ที่ ผสมรักน้ําเกลี้ยงมาทาซ้ํา รอแหง และขัดซ้ํา ๔. เมื่อทารักและขัดผิวจนไดพื้นผิวที่มีความหนาเหมาะสมแลว ใหทาดวยรักน้ําเกลี้ยง และนําไปเก็บในที่มิดชิดไมมีฝุนจับได จนเมื่อแหงสนิทนําพื้นผิวนั้นมาเช็ด ปด ทําความสะอาด และทารัก น้ํ า เกลี้ ย งทั บ ปล อ ยให แ ห ง ทํ า เช น นี้ ซ้ํ า ๓ ครั้ ง จนพื้ น รั ก ขึ้ น เงาเป น มั น ที่ สํ า คั ญ คื อ รั ก น้ํ า เกลี้ ย งนั้ น ตองกรองจนไมมีกากหรือฝุนละอองปะปน ๕. เตรีย มน้ํายาหรดาลไดแก หินสีเ หลือ งที่นํา มาบดใหล ะเอี ยด แชน้ํา ลางใหส ะอาด และนํามาบดรวมกับน้ําสมปอย แลวนําไปตากแดดใหแหงจากนั้นนํามาใสน้ําตมฝกสมผอย บดจนละเอียด แลวตากแดดอีก ทําเชนนี้ซ้ํา ๒-๓ ครั้ง จากนั้นนํายางมะขวิดมาแชน้ําใหละลาย แลวนํามาผสมกับหรดาล ที่เตรียมไวจนไดความเหนียวพอดี คือเมื่อแหงแลวเช็ดรักไมหลุด ๖. ขั้นการเขียนลวดลายในสมัยโบราณ นายชางจะนํากระดาษขอยมารางตัวลายที่จะ เขียน จากนั้นใชเหล็กแหลมปรุตามเสนลายที่เขียนไว แตกอนที่จะนํากระดาษลายไปทาบพื้นผิวที่จะเขียน นั้น จะตองนําดินสอพองละลายน้ํามาลางพื้นผิวเสียกอนแลวเช็ดดินสอพองออกใหหมด จึงนํากระดาษปรุ ลายมาทาบเอาฝุนดินสอพองเผาใสลูกประคบ นํามาตบบนกระดาษตามรอยปรุ เพื่อใหฝุนนั้นผานรูปรุ ไปติดบนพื้นผิวเปน ลวดลาย แลวจึงมวนตลบกระดาษลายไวดานบน (เผื่อในกรณีที่ลายที่ตบดวยฝุนไม ชัดเจนสามารถทาบกระดาษไดตรงลายเดิม)

*

รักน้ําเกลี้ยง คือ รักดิบที่ผานการกรองและไดรับการซับน้ําเรียบรอยแลว เปนน้ํายางรักบริสุทธิ์ รักสมุก คือ รักน้ําเกลี้ยงผสมกับสมุก มีลักษณะเปนของเหลวคอนขางขน ใชสําหรับอุดแนวทางลงพื้น และถมพื้น (น ณ. ปากน้ํา กลาววาสมุกที่นํามาผสมนี้คือการเอาใบตองหรือหญาคาแหงมาเผาไฟใหไหมเปนถานหรือเขมาดํานํามาบด กรองอยางละเอียด)


หนา ๑๔

ธนิสร เพ็ชรถนอม / ชัชนันทิ์ ภักดี

ขั้นตอนการนําฝุนดินสอพองเผาที่ใสในลูกประคบ มาตบลงบนกระดาษปรุลายที่ทาบลงบนพื้นผิวที่จะเขียน

ธนิสร เพ็ชรถนอม / ชัชนันทิ์ ภักดี

ฝุนดินสอพองผานรูปรุไปติดบนพื้นผิวเปนลวดลาย


หนา ๑๕

๗. นําน้ํายาหรดาลที่เตรียมไวมาเขียนตามรอยที่ใชลูกประคบโรยแบบปรุไว และถมชอง ไปที่ตองการใหเห็นพื้นรักสีดํา โดยในการเขียนนั้นตองมีไมรองมือ มีลักษณะเปนไมยาว เล็ก หุมผาที่ปลาย มิใหเกิดรองรอยที่พื้นผิว

ธนิสร เพ็ชรถนอม / ชัชนันทิ์ ภักดี

ขั้นตอนการเขียนหรดาลตามรอยที่ใชลูกประคบโรยแบบปรุไว ๘. เมื่อเขียนเสร็จใชผานุมเช็ดฝุนออกแลวนําผาชุบยางรักที่เคี่ยวไฟไวจนเหนียว นํามาทํา การเช็ดรัก คือ เช็ดยางรักลงบนพื้นที่ไ มไ ดลงหรดาล (พื้นที่จะปดทอง) และเช็ดออกใหเหลือบางที่สุด เรียกวา การถอนรัก การถอนรักนี้ ตองอาศัยความชํานาญ หากทําไมดีจะทําใหหรดาลไมหลุดออกใน ขั้นตอนสุดทาย

ธนิสร เพ็ชรถนอม / ชัชนันทิ์ ภักดี

ขั้นตอนการถอนรัก ใชผาชุบยางรักที่เคี่ยวไฟจนเหนียว นํามาเช็ดรักลง บนพื้นที่ที่ตองการจะปดทอง และเช็ดออกใหเหลือเพียงบาง ๆ


หนา ๑๖

๙. ปดทองลงบนพื้น ที่เช็ดรักไว โดยเมื่อปดเสร็จก็นํากระดาษที่หุมแผนทองมาชุบน้ํา และปดทับทองที่ลงไว พรมน้ําใหชุมพื้นผิวทั้ง หมด ทิ้งไว ๒-๓ นาที ใหหรดาลละลาย และเช็ดออกดวย สําลีชุบน้ําเบา ๆ นําน้ํามารดและลางจนน้ํายาหรดาลออกจนหมด ทําใหสวนที่ปดทองกลายเปนตัวลาย ตามที่เขียนไวติดแนนกับพื้นรักแท ๆ ขั้นตอนสุดทายนี้เอง คือที่มาของชื่อ ลายรดน้ํา

ธนิสร เพ็ชรถนอม / ชัชนันทิ์ ภักดี

ขั้นตอนการปดทองลงบนพื้นที่เช็ดรักไว

ธนิสร เพ็ชรถนอม / ชัชนันทิ์ ภักดี


หนา ๑๗

ธนิสร เพ็ชรถนอม / ชัชนันทิ์ ภักดี

ขั้นตอนการนําน้ํามารด เพื่อลางน้ํายาหรดาลออก จนเผยใหเห็นสวนปดทองที่ติดแนนกับพื้นรัก


หนา ๑๘

การสรางงานลายรดน้ําดวยวัสดุทดแทน (แบบสมัยใหม) ๑. เตรียมพื้นที่จะใชเขียนโดยการใชสีโปวรถยนตทาใหทั่วพื้นรอใหแหงและขัดใหเรียบ ดวยกระดาษทราย แหง จนแหงสนิท

๒. เมื่อขัดจนเรียบแลวปดฝุนใหสะอาด และพนสเปรยเคลือบพื้นสีเทาใหทั่ว และทิ้งให ๓. ลงพื้นดวยสีเฟรกดําทาบาง ๆ รอใหแหง ทําซ้ํา ๓ ครั้ง จนพื้นเรียบเปนเงา และพักไว

๔. เตรียมน้ํายาหรดาล โดยการใชหินหรดาล และน้ําตมฝกสมปอย เชนเดียวกับแบบ โบราณ แตใชการกระถิน (น้ํายางของตนกระถินยักษ) แทนน้ํายางมะขวิดได ๕. ลอกลายที่ตองการเขียนลงบนกระดาษไข และใชเข็มปรุงตามลายที่ลอกไว ๖. ขั้นการเขียนลวดลายเริ่มจากการทําความสะอาดพื้นดวยดินสอพอง ผสมน้ําเล็กนอย นํามาถูวนใหทั่วพื้นที่เตรียมไว และใชสําลีถูออกใหหมด และนําแบบปรุบนกระดาษไขทาบลงบนพื้น ใชลูก ประคบดินสอพองตบใหทั่ว เปนการโรยแบบเพื่อเตรียมเขียน ๗. เขียนลวดลายดวยน้ํายาหรดาล และถมพื้นสวนที่ไมตองการใหติดทองโดยขณะเขียน ใชสะพานรองมือเพื่อไมใหมือสัมผัสกับพื้นที่เขียน ๘.เมื่อเขียนเสร็จใชลูกประคบดินสอพองลงบนงานเพื่อทําความสะอาดอีกครั้ง โดยตอง อยูในสถานที่ ๆ ไมมีความชื้นโดยเด็ดขาด เพราะลายที่เขียนอาจหลุดออกได ๙. ใชสีเฟรก แทนยางรัก โดยนําสําลีชุบกับสีและนํามาเช็ดใหทั่ว ใหสม่ําเสมอกัน เมื่อทั่ว แลวใชสําลีเปลาเช็ดซ้ําอีกเรียกวาการถอน จนกวาพื้นจะมีความแหงที่เหมาะสมที่จะปดทอง ๑๐. ปดทองลงบนพื้นใหทั่ว ใชนิ้วกวดทองเบา ๆ จากนั้น ขั้นการรดน้ําใชสําลีชุบน้ํา สะอาดมาเช็ดใหทั่ว และรูดน้ํายาหรดาลออก ลวดลายที่เขีย นไวก็จะปรากฏ เป นอันเสร็จขั้นตอนการ ทําลายรดน้ํา ๏


หนา ๑๙

ศาสตร ศิลป ภูมิป ญญา จากตู พระธรรมลายรดน้ํา วันลีย กระจางวี / บรรยาย * ธนิสร เพ็ชรถนอม และ ชัชนันทิ์ ภักดี / ถายภาพ 16

* ภัณฑารักษ ประจําพิพิธภัณฑสถานแหงชาติ เจาสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


หนา ๒๐

ลายกนกเปลวเถา ประกอบนกคาบ และตัวภาพสัตว ลิง นก

ลายกนกเปลวนกคาบ และ ตัวภาพสัตว กระรอก นก


หนา ๒๑

ลายกนกเปลวเถา นกคาบ เคลาตัวภาพลิง กระรอก

ลายกนกเปลวเถา นกคาบ มีหนาขบคาบกลางลาย เคลากระรอก


หนา ๒๒

ลายกรวยเชิงประดับกรอบตูพระธรรม

. ลายหนาขบแบบรักรอยประดับกรอบตูพระธรรม


หนา ๒๓

ลายดอกไมรวง และลายประแจจีน สลักไมประดับกระจก

ลายราชวัตใบเทศ สลักไมรองชาดประดับกระจก พื้นแดงประดับกระจก


หนา ๒๔

ลายกนกเปลวเถา นกคาบ

ลายกนกเปลวเถา ออกยอดลายเปนเศียรนาค


หนา ๒๕

ลายกนกเปลวเถา เคลากระรอก

ลายกนกเปลวเถา เคลากระรอก


หนา ๒๖

ลายพุมขางบิณฑ และสถาปตยกรรม

ลายพุมขาวบิณฑ ประกอบผามาน ในภาพสถาปตยกรรม


หนา ๒๗

กรอบนอกลายกระจัง กรอบในลายโบตั๋น

ตัวภาพทหาร เลมเรื่องชาดก


หนา ๒๘

ตัวภาพบุคคลชั้นสูง (เทวดา) และสถาปตยกรรม

ตัวภาพจับเรื่องรามเกียรติ์ (ลาง) ลายกนกเปลวเถา นกคาบ


หนา ๒๙

ลายกนกเปลวเถา และตัวภาพ

ลายกนกเปลว และตัวภาพกระรอก


หนา ๓๐

กินรี ประกอบ ลายกนกเปลวและนกคาบ

ลายกนกเปลวเถา


หนา ๓๑

ลายกํามะลอเรื่อง พระเวสสันดรชาดก

ลายกํามะลอเรื่อง พระเวสสันดรชาดก


หนา ๓๒

ลายกํามะลอ ลายมังกรดั้นเมฆ

ขาสิงหแบบจีนประดับตูพระธรรม


หนา ๓๓

ลายเครือเถา ออกลายมังกรอยางจีน

ลายประจํายามประดับกระจก


หนา ๓๔

ขาสิงหแบบมีหนาสิงห

อกเลาโลหะ ประกบหนาตูพระธรรม


หนา ๓๕

บรรณานุกรม เอกสาร วั น ลี ตรี วุ ฒิ และศุ ภ ชั ย นั ย ผ อ งศรี . (๒๕๕๖). ศิ ล ปะลายรดน้ํ า . พระนครศรี อ ยุ ธ ยา: เอกสาร ประกอบการอบรมหลักสูตรระยะสั้นงานศิลปถิ่นกรุงเกา (ครั้งที่ ๑) “ศาสตรศิลปภูมิปญญาจาก ตูพระธรรมลายรดน้ํา” จัดโดยสถาบันอยุธยาศึกษา. วิภารัตน ประดิษฐอาชีพ. (๒๕๕๔). งานชางรัก. ใน งานชางหลวง. กรุงเทพฯ: สํานักพิพิธภัณฑสถาน แหงชาติ กรมศิลปากร.

ภาพประกอบ ตูพระธรรมลายรดน้ํา พระราชวังจันทรเกษม. (๒๕๕๖). (ภาพนิ่ง). พระนครศรีอยุธยา: ธนิสร เพ็ชรถ นอม และ ชัชนันทิ์ ภักดี. พระตําหนักทอง วัดไทร กรุงเทพฯ. (๒๕๕๑). (ภาพนิ่ง). กรุงเทพฯ: www.gerryganttphotography.com พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (๒๕๕๖). (ภาพนิ่ง). กรุงเทพฯ: bombik.com/node/404/ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. travel/watprasiratana

(๒๕๕๖). (ภาพนิ่ง). กรุงเทพฯ: www.bansansuk.com/

ภาพชุดศาสตรศิลปภูมิปญญาจากตูพระธรรมลายรดน้ํา. (๒๕๕๖). (ภาพนิ่ง). ธนิสร เพ็ชรถนอม และ ชัชนันทิ์ ภักดี. หอเขียน วังสวนผักกาด กรุงเทพฯ. decor6.htm

(๒๕๕๖). (ภาพนิ่ง). กรุง เทพฯ: www.bareo-isyss.com/

หอเขียน วังสวนผักกาด กรุงเทพฯ. (๒๕๕๖). (ภาพนิ่ง). กรุงเทพฯ: www.thaiticketmajor.com หอเขียน วังสวนผักกาด กรุงเทพฯ. (๒๕๕๖). (ภาพนิ่ง). กรุงเทพฯ: www.thailandsworld.com/ ศาลาการเปรียญ วัดใหญสุวรรณาราม. (๒๕๕๖). (ภาพนิ่ง ). เพชรบุรี: http://2g.pantip.com/ cafe/lueplanet/ topic/E9895581/E9895581.html ศาลาการเปรียญ วัดใหญสุวรรณาราม. (๒๕๕๖). (ภาพนิ่ง ). เพชรบุรี: www.bloggang.com/ viewdiary.php?id=morkmek&month=08-2013&date=15&group=3&gblog=201


หนา ๓๖

บันทึก ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................


หนา ๓๗

....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................


หนา ๓๘

....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................


หนา ๓๙

....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................


หนา ๔๐

....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.