เอกสารประกอบการจัดกิจกรรมเวียนเทียนวันวิสาขบูชา 2558

Page 1


I๑ เอกสารประกอบการจัดกิจกรรม

เวียนเทียนวันวิสาขบูชา วันจันทร์ที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๘ ณ วัดเชิงท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จัดพิมพ์โดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ จานวน ๑๐๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ ผู้อานวยการสถาบันอยุธยาศึกษา ดร.จงกล เฮงสุวรรณ

รองผู้อานวยการสถาบันอยุธยาศึกษา อ.กันยารัตน์ คงพร (ฝ่ายบริหาร) อ.สุรินทร์ ศรีสังข์งาม (ฝ่ายวิชาการ) อ.อุมาภรณ์ กล้าหาญ (ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ) ว่าที่ร้อยตรีหญิง รัตติยา พาวินัย (หัวหน้าสานักงาน)

ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน

ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป : ณัฐฐิญา แก้วแหวน สายรุ้ง กล่าเพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์ ยุพดี ป้อมทอง

จัดทาเอกสาร และศิลปกรรมรูปเล่ม พัฑร์ แตงพันธ์ ภาพปก อ.สุรินทร์ ศรีสังข์งาม


๒I

สารบัญ หน้า ประวัติวัดเชิงท่า

ความสาคัญของวันวิสาขบูชา

๑๕

บทสวดมนต์ในพิธีวันวิสาขบูชา

๒๐

บทบูชาพระรัตนตรัย

๒๐

บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า

๒๐

บทสรรเสริญพระพุทธคุณ

๒๑

บทสรรเสริญพระพุทธคุณ (ทานองสรภัญญะ)

๒๑

บทสรรเสริญพระธรรมคุณ

๒๒

บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (ทานองสรภัญญะ)

๒๒

บทสรรเสริญพระสังฆคุณ

๒๒

บทสรรเสริญพระสังฆคุณ (ทานองสรภัญญะ)

๒๓

บทสวดชัยสิทธิคาถา

๒๔

บทสวดชัยสิทธิคาถา (ทานองสรภัญญะ)

๒๔

คาถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันวิสาขบูชา

๒๕


I๓

ประวัตวิ ัดเชิงท่า

*

วัดเชิงท่า เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะ เมืองริ่มฝั่งซ้ายของแม่น้าลพบุรี ใกล้กับคูไม้ร้องซึ่งเป็นอู่เก็บเรือพระที่นั่ง ที่ตั้งวัดนี้อยู่ ฝั่งตรงข้ามกับป้อมท้ายสนมและปากคลองท่อซึ่งเป็นท่าข้ามเรือของฝั่งเกาะเมืองมา ขึ้นฝั่งที่วัดเชิงท่า ด้วยเหตุนี้จึงเรียกชื่อว่าวัดตีนท่าอีกด้วย ประวัติของวัดเชิงท่า ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้สร้าง คงปรากฏเพียงตานานเล่าสืบ ๆ กันมาว่า เศรษฐีผู้หนึ่งสร้างเรือนหอให้แก่บุตรสาวซึ่ง หนีตามชายคนรักไปแล้วไม่ย้อนกลับ เศรษฐีผู้บิดาคอยบุตรสาวอยู่นานไม่เห็นกลับมา * กรมศิลปากร. (๒๕๕๑). โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒. กรุงเทพฯ: กรม


๔I

จึงได้ถวายเรือนหอนั้นให้แก่วัดที่ตนสร้างขึ้น จึงได้ชื่อว่า วัดคอยท่า เรื่องที่เล่าสืบกัน มานี้ หลวงจักรปราณี ได้นามาประพันธ์ไว้ใน นิราศทวารวดี มีความตอนหนึ่งว่า พิหารมีสี่มุขทั้งสี่ด้าน ดูโอฬารลดหลั่นน่าหรรษา เหมือนปราสาทราชวังอลังการ์ มุขเด็จหน้าดั่งหนึ่งท้องพระโรงทรง ที่ท่ามกลางมีพระปรางค์เป็นองค์ปลอด ดูใหญ่ยอดสูงเฉิดระเหิดระหง ที่เชิงปรางค์ข้างต่ามีถ้าลง เขาว่าตรงออกช่องคลอดสระปทุม ผู้ใหญ่เขามาเล่าก็น่าเชื่อ ว่าครั้งเมื่อเมืองสนุกยังสุขสม มีเศรษฐีมีมั่งตั้งรวบรุม เงินตวงตุ่มเหลือลันพ้นประมาณ มีบุตรสาวเล่าก็ไม่ให้ใครเห็น จึงสร้างป็นปรางค์มาศราชฐาน อันนี้ไว้ให้ธิดาอยู่มานาน แต่หญิงพาลตามชายสูญหายไป เศรษฐีแสนแค้นคะนึงถึงลูกสาว ไม่ได้ข่าวคอยท่าน้าตาไหล จึงอุทิศปรางค์มาศปราสาทชัย อันนี้ให้เป็นวิหารทาทานทุน ให้เรียกวัดคอยท่ามาชัดชัด กลับเป็นวัดเชิงท่านึกน่าหุน๑ ๑ หลวงจัก ปรานี .

นิราศทวารวดี. พระนคร : กรุง เทพการพิมพ์, ๒๕๑๒. หน้า ๒๒ – ๒๓ (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเอิบ ทังสุบุตร ณ เมรุวัดมกุฏ กษัตริยาราม วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๑๒)


I๕

ในรั ช กาลสมเด็ จพระนารายณ์ ม หาราช ระหว่างพุ ท ธศั กราช ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ มี ห ลั กฐานว่าเมื่ อครั้งเจ้าพระยาโกษาปานเป็ น ราชทู ต กลับ จากประเทศ ฝรั่งเศสแล้วได้ปฏิสังขรณ์วัดนี้และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโกษาวาส ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาลงมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ( พ.ศ. ๒๒๓๑ – ๒๓๐๑ ) บริเวณวัดนี้คงจะเป็นที่รวบรวมหญ้ า เพื่อนาข้ามฝั่งไปให้ ช้างม้าในวัง จึงนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดติณ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้อีกครั้งหนึ่ง และจากหนังสือเรื่องของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๘๗ หน้า ๑ บั น ทึ ก ไว้ ว่ า วัด โกษาวาสแห่ งนี้ มี ชื่ อ เรี ยกอี ก ชื่ อ หนึ่ ง ว่ า วั ด คลั ง กั บ มี เรื่ อ งเล่า ว่ า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อครั้งยังทรงพะเยาว์มีนามว่า สิน ขณะพระชนมายุได้ ๙ พรรษา เจ้าพระยาจักรีได้นาไปฝากให้เป็นศิษย์ของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาสให้ ศึกษาเล่าเรียนหนั ง สือไทย ขอม และคัมภี ร์พระไตรปิ ฎก เมื่อ พระชนมายุได้ ๑๓ พรรษาในวันหนึ่งนายสินคิดตั้งตนเป็นเจ้ามือบ่อนถั่ว ชักชวนบรรดาศิษย์วัดเล่นการ พนั น พระอาจารย์ทองดีท ราบเรื่องจึงลงโทษทุ กคน เฉพาะนายสิน เป็น เจ้ามือถู ก ลงโทษหนักกว่าคนอื่น ให้มัดมือคร่อมกับบันไดท่าน้าประจานให้เข็ดหลาบนายสินถูก มัดแช่น้าตั้งแต่เวลาพลบค่า พอดีเป็นช่วงเวลาน้าขึ้น พระอาจารย์ทองดีไปสวดพระ พุทธมนต์ลืมนายสิน จนประมาณยามเศษ พระอาจารย์นึกขึ้นได้จึงให้พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นอันเตวาสิก ช่วยกันจุดไต้ค้นหาก็พบนายสินอยู่ริมตลิ่ ง มือยังถูกมัดติดอยู่กับ บันได แต่ตัวบันไดกลับหลุดถอนขึ้นมาได้อย่างอัศจรรย์ เมื่อพระภิกษุสงฆ์ช่วยกันแก้ มัดนายสินแล้ว พระอาจารย์ท องดีจึงพาตัวนายสินไปยังอุโบสถให้นั่งลงท่ามกลาง พระภิกษุสงฆ์แล้วพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายสวดพระพุทธมนต์ด้วยชัยมงคลคาถาเป็นการ รับขวัญ ต่อมาเมื่อนายสินเรียนจบการศึกษา เจ้าพระยาจักรีก็ได้นาไปถวายตัวรับ ราชการเป็นมหาดเล็กในราชสานักสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนอายุได้ ๒๑ ปี ก็ ได้อุปสมบทอยู่กับอาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาส และบวชอยู่นานถึง ๓ พรรษา ใน ระหว่างนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งมีพระนามเดิมว่า


๖I

ทองด้วง เป็นพระสหายกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ขณะนั้นก็บวชอยู่ ณ วัดมหา ทลาย ( วัดไฟไหม้ ) วัดมหาทลาย ตั้งอยู่ใกล้กับวัดพระญาติการาม ด้านทิศใต้ในท้องที่ตาบลไผ่ ลิง อาเภอพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดร้าง สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัดชารุด ทรุดโทรมปรักหักพังไปหมดสิ้นแล้ว คงเหลือแต่รากฐานเจดีย์เท่านั้น ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดตีน ท่า ( วัด คอยท่ า ) หรือวัดโกษาวาส ( วัดคลัง ) นี้ ใช้ นามว่า วัด เชิง ท่า ทั้ ง นี้อาศั ย ข้อสังเกตจากบทประพันธ์เรื่อง นิราศทวารวดีหน้า ๒๑ ของหลวงจักปรานี ( ฤกษ์ ) ซึ่งเป็นกวีในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ( รัชกาลที่ ๓ – ๕ ) ความว่า “ครั้นรุง่ สางสว่างโพยมโทมนัส เที่ยวดาเนินเดินยืนตามพื้นล่าง กระฎีคร่าชารุดเขารื้อไป

ข้ามไปวัดเชิงท่าด้วยอาลัย เห็นที่ร้างเราเอ๋ยเคยอาศัย ไม่มีใครอุปถัมภ์มานาพา”

ปัจจุบันวัดเชิงท่าอยู่ในตาบลท่าวาสุกรี อาเภอพระนครศรีอยุธยา และยัง เป็ น วั ด ที่ มี พ ระภิ ก ษุ ส งฆ์ จ าพรรษาตลอดมา ส านั ก โบราณคดี กรมศิ ล ปากร ได้ ก าห น ดให้ วั ด เชิ ง ท่ า เป็ น แห ล่ ง โบ ราณ สถ าน ขอ งชาติ น อ ก เก าะ เมื อ ง พระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้เนื่องจากภายในบริเวณวัดมีงานศิลปกรรมไทยสมัยอยุธยา ตอนปลายในรูปแบบสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมหลายอย่าง สมควร ที่จะใช้เป็นแบบอย่างในการศึกษาอารยธรรมโบราณ จึงได้กาหนดเป็นโบราณสถานที่ สาคัญ ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ กรมศิลปากรได้ดาเนินโครงการขุดแต่งเพื่อออกแบบ บูรณะวัดเชิงท่า เนื่องจากโบราณสถานมีสภาพทรุดโทรม อาคารหลายหลัง ถูกขุด เจาะทาลายเพื่อหาโบราณวัตถุรวมทั้งการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา วัด เชิ ง ท่ า แบ่ ง พื้ น ที่ ได้ เป็ น ๒ ส่ ว น คื อ ส่ ว นกลุ่ ม โบราณสถาน และส่ ว น สังฆาวาส ส่ วนโบราณสถานประกอบด้ ว ย ปรางค์ วิ ห าร เจดี ย์ ศาลาการเปรีย ญ อุโบสถ หอระฆัง และแนวกาแพงแก้ว


I๗

โบราณสถานที่สาคัญ ปรางค์ประธาน ลักษณะเป็นปรางค์สมัยอยุธยามีประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ พิจ ารณาจากแผนผั งของปรางค์ป ระธานวัด เชิง ท่ านี้ คล้ ายกั บแผนผัง ปรางค์ ประธานวัดไชยวัฒนาราม ถึงแม้จะปรากฎร่องรอยการบูรณปฏิสังขรณ์และต่อเติมใน สมัยหลัง หลายครั้ง กล่ าวคื อ องค์ป ระธานตั้ งอยู่บ นฐานไพที เป็ นฐานสู งสี่ เหลี่ย ม จตุรัส ยาวด้านละ ๙.๗๐ เมตร บนฐานไพทีประดับด้วยปรางค์มุขขนาดเล็ก จึงทาให้ เป็นปรางค์ ๕ ยอด และมีส่วนฐานที่ยื่นออกจากเป็นมุขจากองค์ปรางค์อีก ๓ ด้าน คือ ด้านทิ ศตะวันออก ทิศตะวัน ตก และทิ ศเหนื อ ส่วนด้ านทิศใต้มีวิหารเชื่อมต่ อ ออกมาแทนตาแหน่งที่เป็นมุข ปรางค์ประธานมียอดนภศูลทาด้วยสาริดรูปลักษณะเหมือนฝักเพกา ยังอยู่ ในสภาพสมบูรณ์ดีส่วนปลียอดประกอบด้วยกลีบขนุนมีขนาดเท่ากันเรียงซ้อนขึ้นไป ๕ ชั้น ที่บริเวณชั้นเชิงบาตรทั้ง ๔ ด้าน ประดับด้ยวประติมากรรมปูนปั้นรูปครุฑและ ยักษ์ยืนถือตะบองซึ่งส่วนมาดพังทลายเกือบหมด ยักษ์ปราศจากเศียร ส่วนครุฑเหลือ เพียงลาตัว ส่วนที่เป็นเรือนธาตุมีซุ้ม ภายในซุ้มทั้ง ๔ ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ปางประทานอภัย ทาด้วยปูนปั้นนูนสูง ศิลปะอยุธยา ที่หน้าบันเหนือซุ้มประดิษฐาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย ทาด้วยปูนปั้นนูนสูงเช่น เดียวกัน ที่มุมฐานไพทีมีปรางค์มุข ขนาดเล็กประดิษฐานอยู่ทั้ง ๔ มุม พระพุทธรูปปูนปั้นรวมทั้งปรางค์มุมอยู่ในสภาพ ชารุดแตกร้าว บางส่วนปรักหักพังไปมาก มุขปรางค์ทั้ง ๓ ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออก ด้านทิศตะวันตก และด้านทิศ เหนือ มีประตูเข้ามุขปรางค์อยู่ทางด้านทิศเหนือเหมือนกันทั้ง ๓ มุข ภายในมุขปรางค์ มีเสาแปดเหลี่ย ม ก่ อ อิ ฐถื อ ปู น มุข ละ ๒ เสา ในมุ ข ปรางค์ ด้ านทิ ศ ตะวั น ออกและ ตะวันตกมีพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนแสดงปางประทานอภัยประดิษฐานอยู่ภายใน จระเข้น้าซุ้ม ส่วนในมุขปรางค์ด้านทิศเหนือ มีพระพุทธรูปปูนปั้นศิลาทรายสีแดงปาง ลีลา ชารุด พระเศียรหักหาย ( ปัจจุบันหายไปหมดแล้ว ) กับมีพระพุทธรูปปูนปั้นปาง


๘I

ลีลาสภาพชารุด มากเช่น เดี ยวกัน ลั กษณะพระพุ ทธรูป ในมุ ขปรางค์ทั้ ง ๓ ด้ าน มี สภาพชารุดเฉพาะองค์ที่อยู่ด้านทิศใต้เห็นรอยปูนซ่อมพอกเพิ่มของเดิมชัดเจน

วิห าร เป็ น ส่ว นที่เชื่อ มต่อ จากมุ ขปรางค์ ไปทางทิ ศ ใต้ มี ข นาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๒ เมตร อยู่ในสภาพชารุดเหลือแต่ผนังด้านยาว ๒ ข้าง หน้าวิหารหันไป ทางทิศใต้ตรงสู่แม่น้าลพบุรี ผนังวิหารด้านทิศตะวันตก และทิศตะวัน ออกเจาะช่อง ข้างละ ๓ ช่อง โดยเจาะช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง สอบขึ้นด้านบนกรอบหน้าต่าง ทางด้านนอกปั้นปูนเป็นซุ้มหน้าต่างเป็นลวดลายแข้งสิงห์ทรงสูง ตรงกลางมีนมสิงห์ รอบหน้ าต่างท าคล้ายเสาหลอก หน้าบั นของซุ้ม หน้าต่างปั้น ปูนเป็นลวดลายพัน ธุ์ พฤกษา แต่หลุดร่วงเกือบหมด ซุ้มหน้าต่างด้านทิศตะวันตกม่เหลือลวดลายปูนปั้น แล้ว ยังคงเหลือพียงเล็กน้อยที่ซุ้มหน้าต่างของผนังวิ หารด้านทิศตะวันออก ลวดลาย แข้งสิงห์ทรงสูงดังกล่าวเป็นลวดลายที่ปรากฏในศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย ผนัง ด้ า นนอกของวิ ห ารมี เสาหลอกซึ่ ง ฉาบปู น และปั้ น ปู น เป็ น บั ว หั ว เสาลั ก ษณะ เช่ น เดี ย วกั บ หั วเสาของซุ้ ม ประดิ ษ ฐานพระพุ ท ธรูป ที่ มุข ปรางค์ ด้ านหน้ าวิ ห ารมี


I๙

ระเบียงเล็กๆ มีบันไดขึ้น ๓ ทาง ทางด้านหน้า และด้านข้าง ๒ ด้าน แต่เป็นสิ่งที่ทา ขึ้นใหม่ ส่วนหลัง คาของเดิมพังทลาย ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่ง เป็ น พระพุทธรูปที่หล่อขึ้นใหม่ จานวน ๒ องค์ เจดีย์ราย บริเวณหน้าวิหารและอุโบสถมีเจดีย์หลายรูปแบบจานวนมาก ทั้ง เจดีย์เหลี่ยม เจดีย์กลม และองค์ระฆังเป็นกลีบมะเฟือง เป็นต้น กลุ่มเจดีย์ดังกล่าว ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชารุดปรักหักพัง ที่น่าสนใจและควรกล่าวถึงคือ เจดีย์ทรงเครื่อง ซึ่งเป็นเจดีย์ขนาดเล็ก ประดับด้วยลวดลายปูนปั้นลักษณะเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อ มุม ฐานเจดีย์ทาเป็นฐานสิงห์ซ้อนกัน ๓ ชั้น มีบัวกลุ่มอยู่เหนือฐานสิงห์รองรับองค์ ระฆัง ทาเป็นริ้วแนวตั้งโดยรอบหรือที่เรียกว่ากลีบมะเฟือง รูปแบบของเจดีย์นั้นจัด อยู่ ในศิ ล ปะสมั ย อยุ ธ ยา ประมาณพุ ท ธศตวรรษที่ ๒๓ หรื อ รั ช กาลสมเด็ จ พระ เจ้าอยู่หัวบรมโกศ ศาลาการเปรียญเป็นอาคารสร้างใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ประมาณรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหลักฐานตามประวัติบันทึกไว้ว่า นางแดง (โยมแดง) มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสร้าง โดยมอบให้ ขุนกลั่นทิพย์ ชาวตาบลท่าวาสุกรี บ้านอยู่ใต้วัดใหม่ชัยวิชิตฝั่งเกาะเมือง เป็นผู้ดาเนินการก่อสร้าง ลักษณะเป็นอาคาร ทรงเดียวกับอุโบสถมีความยาวไปตามลาแม่น้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก กว้าง ๑๑.๓๐ เมตร ยาว ๓๗.๑๒ เมตร ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน ยกพื้นสูง บริเวณผนังอาคาร เจาะเป็นช่องหน้าต่าง ๗ ช่อง ส่วนที่เป็นฐานก่อซุ้มโค้งเป็นเป็นช่องตรงกับหน้าต่าง ลักษณะเป็นใต้ถุนโปร่งให้ลมผ่านได้ รูปแบบสถาปัตยกรรมอย่างนี้คล้ายกับศาลาการ เปรียญที่วัดกุฎีดาว พื้นและหลังคาเป็นเครื่องไม้ มุงกระเบื้องลด ๓ ชั้น ส่วนที่เป็น หน้ า บั น แกะจ าหลั ก ด้ ว ยลวดลายกระหนก ประกอบภาพเทพนมตรงกลาง นอกจากนั้นยังมีเครื่องลายอง อันได้แก้ ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และที่ใต้หน้าบันมี สาหร่ายรวงผึ้งจาหลักลายประดับกระจกสี ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๔๗) อยู่ในสภาพชารุด ภาพจาหลักไม้เหล่านี้เป็นฝีมือช่างเก่าที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณ รัช กาลสมเด็จ พระเจ้ าอยู่หั วบรมโกศซึ่ งแต่เดิ ม อยู่ ที่ วั ด พระศรีส รรเพชญ และได้ นามาใช้กับศาลาที่วัดเชิงท่านี้


๑๐ I

ภ า ย ใน ศ า ล า ตกแต่ง ด้วยภาพเขีย น เป็ น ผลงานจิตรกรรมอันงดงาม ทรงคุ ณ ค่ า ยิ่ ง ส่ ว น บาน ประตูด้านนอกทั้ง ด้านหน้า แ ล ะ ด้ าน ห ลั งเป็ น ภ าพ เซี่ ย ว ก างกั บ ท ว าร บ าล (ปัจจุบันลบเลือนหมดแล้ว) ส่ ว นบานประตู ด้ า นในทั้ ง ด้านหน้าด้านหลังเป็นภาพแบบจีนบานหน้าต่างด้านทิศใต้ (ติดแม่น้า) เขียนเป็นภาพ แบบจีนมีลายม่านประกอบสัญลักษณ์ ฮก ลก ซิ่ว (ด้านนอกลบเลือนหมดแล้ว) ส่วน หน้าต่างด้านทิศเหนือ ซึ่งมีอาสนะสงฆ์ยกพื้นสูงนั้นมีลักษณะเป็นแผงไม้เรียงกันเป็น บานเกร็ด และเขียนภาพจิตรกรรมบนแผงไม้นั้นด้วย ที่ผนังอาคารมีภาพจิตรกรรมฝา ผนังตอนบนเป็นภาพเทพชุมนุ ม ตอนล่างเขียนภาพเล่าเรื่องทศชาติชาดกและพุทธ ประวัติ ภาพกลุ่มนี้เป็นฝีมือของพระอาจารย์ธรรมเจ้าอาวาสในสมัยนั้น กับครูแข ช่าง เขียนชาวบ้านตาบลท่าวาสุกรี ครูแขเป็นช่างที่มีความสามารถยิ่งผู้หนึ่งซึ่งพระยาโบราณราชธานินทร์ได้ มอบหมายให้ร่วมมือกับพันเที่ยง คัดลอกภาพเขียนจากผนังพระอุโบสถวัดยม ลงบน สมุดข่อยเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ ผลงานของครูแขยังปรากฏอยู่ที่พระอุโบสถวัดใหม่ชัยวิชิต วัดธรรมิกราช และที่ประตูวัดญาณเสน เป็นต้น นอกจากนี้ ภายในศาลายังมีภาพเขียนปรากฏอยู่ที่เพดานและเสา ซึ่ง ทา เป็ นเสากลม จานวน ๑๔ ต้น ตัวเสาเขียนลายก้านแย่ ง มีภาพเทพนมดอกลอยอยู่ ระหว่างลายกับทั้งมีชื่อจิตรกรผู้เขียนภาพจารึกไว้ที่ส่วนล่างของลายประดับเสาทุกต้น ปรากฏชื่อเรียงตามแผนผังเสาในศาลา ดังนี้


I ๑๑

๑๔ ๑๓

๖ ๗

๑๒

๑๑

๑๐

คาจารึก

คาอ่าน

๑. ต้นนีคูนภีนวัทษาลาปุญเขียน ๒. ต้นนิคูนแกววัทพรเมรเขียน ๓. ต้นนิคูนแกววัทพรเมรเขียน ๔. ต้นนินายอินวัทใมพรเขียน ๕. ต้นนีคูนแก้ววัทหน้าพรเมรเขิยน ๖. ...(ลบเลือนอ่านไม่ได้)... ๗. ต้นนีคุนษรรวัทบอระโพชเขียน ๘. ต้นนีคูนทาวัทพรเมรเขียน ๙. ต้นนีคุนทาวัทหน้าพระเมรเขียน ๑๐. ต้นนีนายอินวัท...(ลบเลือน)... ๑๑. ต้นนิคูนเยนวัทสาลาปุญเขียน ๑๒. ต้นนินาถูบบ้านป้อมเขียน ๑๓. ต้นนีคูนภีนวัทษาลาปุญเขียน ๑๔. ...(ลบเลือนอ่านไม่ได้)...

ต้นนี้คุณภีน วัดศาลาปูน เขียน ต้นนี้คุณแก้ว วัดพระเมรุ เขียน ต้นนี้คุณแก้ว วัดพระเมรุ เขียน ต้นนี้นายอิน วัดใหม่ เขียน ต้นนี้คุณแก้ว วัดหน้าพระเมรุ เขียน ต้นนี้คุณษรร วัดวรโพธิ์ เขียน ต้นนี้คุณทา วัดพระเมรุ เขียน ต้นนี้คุณทา วัดหน้าพระเมรุ เขียน ต้นนี้คุณเย็น วัดศาลาปูน เขียน ต้นนี้นายถูบ บ้านป้อม เขียน ต้นนี้คุณภีน วัดศาลาปูน เขียน


๑๒ I

ภายในศาลาด้ า นตะวั น ตกเป็ น อาสนะสงฆ์ ยกพื้ น สู ง ประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ตรงหน้ากระดานอาสนะสงฆ์เขียนภาพพื้นบ้าน มีธรรมาสน์ยอดบุษบก และสั ง เค็ ด จ าหลั ก ไม้ ประดั บ กระจกงดงามพิ จ ารณาจากลั ก ษณะรู ป แบบ สถาปัตยกรรมและลวดลายเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา ในพุทธศตวรรษที่ ๒๓ มีส่วนที่ สังเกตเห็นได้ชัดคือเส้นอ่อนโค้งที่ฐานและหลังคา อาจพบทั่วไปในโบสถ์วิหารที่ที่สร้าง ขึ้น ในสมั ยอยุ ธยา นอกจากนี้ ก ารตกแต่ งหลั งคาสั ง เค็ ด ก็ ก ระท าเช่ น เดีย วกับ การ ตกแต่งเครื่องบนหลัง คาของโบสถ์วิห าร ซึ่งประกอบด้วยตัวลายอง และหน้าบัน ที่ จาหลักด้วยไม้อย่างงดงาม อันอาจถือเป็นแบบอย่างในการศึกษาสถาปัตยกรรมสมัย อยุธยาที่สมบูรณ์ที่ สุดชิ้นหนึ่ง ดังที่ น. ณ ปากน้า ได้กล่าวไว้ว่า “ฝีมือจาหลักไม่ดี เยี่ยม เป็นแบบบราลีที่หลังคาเป็นยอดแหลมๆ ซึ่งไม่เคยเห็นที่ไหน”๑ อุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระปรางค์หันหน้าไปทางทิศใต้ มีขนาด กว้าง ๗.๕ เมตร ยาว ๑๘ เมตร ลักษณะของฐานแอ่นเป็นท้องสาเภา ซึ่งเป็นลักษณะ ๑ น. ณ ปากน้า ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา. พิมครั้งที่

โบราณ, ๒๕๒๙. หน้า ๗๕.

๒. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์เมือง


I ๑๓

ของฐานอุโบสถในสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่เนื่องจากสภาพโดยทั่วไปชารุดมาก ทาง วัดจึงดาเนินการซ่อมแซมใหม่ รูปทรงภายนอกและภายใน จึงเปลี่ยนไปจนไม่เห็นเค้า เดิ ม ที่ เป็ น ศิ ล ปะสมั ย อยุ ธ ยาคงมี เ ฉพาะพระประธานภายในพระอุ โบสถ เป็ น พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ทาด้วยปูนปั้นปิดทองทึบ ที่ยังคง พุทธลักษณะของศิลปกรรมสมัยอยุธยาปรากฎให้เห็นอยู่ และยัง มีใบเสมาลักษณะ ใกล้ เ คี ย งกั บ ใบเสมาของวั ด พนมยงค์ ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ ก็ ช ารุ ด แตกหั ก ไปมากแล้ ว เช่นเดียวกัน

หอระฆัง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระปรางค์ สร้างแบบก่ออิฐ ถือปูน ทรงมณฑป ผนังทั้ง ๔ ด้านเปิดโล่งเป็นช่องรูปกลีบบัว ตกแต่งขอบด้วยการ ปั้นปูนเป็นเส้นเกลียวประดับลายกนกผักกูดที่มุมทั้ง ๔ ทาเป็นเสาหลอก ปลายเสา เป็นกลีบบัวจงกลหรือบัวแวง ยอดเป็นบัวคลุ่มหรือบัวกลุ่ม ส่วนปลียอดหักพังไปแล้ว เหลือ เพีย งลวดลายปูน ปั้น พัน ธุ์พฤกษาบางส่วนเท่ านั้ น ฐานก่อด้ วยอิฐขนาดใหญ่ รองรับชุดฐานบัวคว่าบัวหงายซึ่งยืดส่วนหน้ากระดานจนสูงเพื่อรองรับส่วนที่เป็นที่ แขวนระฆังอีกชั้นหนึ่ง


๑๔ I

วิหารน้อย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันอกของพระปรางค์และวิหาร เป็นอาคารเล็กๆ ก่ออิฐ สอปูนแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวตามแนวแกนทิศเหนือ – ใต้ สภาพเดิมเหลือ เพียงฐาน ส่วนสัง ฆาวาส เป็ น ที่ ตั้งของอาคารเสนาสนะกุ ฏิ สงฆ์ ตั้ง อยู่บ ริเวณนอก กาแพงแก้วทางด้านทิศตะวันออก


I ๑๕

ความสาคัญของวันวิสาขบูชา

*

วันวิสาขบูชา เป็นวันสาคัญสากลทางพระพุทธศาสนาสาหรับชาวพุทธทุก นิ ก ายทั่ ว โลก ทั้ ง เป็ น วั น หยุ ด ราชการในหลายประเทศ และวั น ส าคั ญ ในระดั บ นานาชาติตามมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิด เหตุการณ์สาคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ๓ เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพ พานของพระพุทธโคดม โดยทั้งสามเหตุการณ์ไ ด้เกิด ณ วันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๖ หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิด เหตุ ก ารณ์ อั ศ จรรย์ ยิ่ ง และเรี ย กการบู ช าในวั น นี้ ว่ า "วิ ส าขบู ช า" ย่ อ มาจาก "วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตาม ปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย และมัก ตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย โดยในประเทศ ไทย ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปทาในวันเพ็ญเดือน ๗ แต่ประเทศอื่นที่นับถือ * วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (๒๕๕๗). วันวิสาขบูชา. สืบค้นเมื่อ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/วันวิสาขบูชา


๑๖ I

พระพุทธศาสนาเถรวาท และไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชา ในวันเพ็ญ เดือน ๖ แม้ในปีนั้นจะมีเดือน ๘ สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม ส่ ว นในกลุ่ ม ชาวพุ ท ธมหายานบางนิ ก ายที่ นั บ ถื อ ว่ า เหตุ ก ารณ์ ทั้ ง ๓ นั้ น เกิ ด ใน วัน ต่ างกั น ไป จะมี ก ารจั ด พิ ธี วิ ส าขบู ช าต่ างวั น กั น ตามความเชื่ อ ในนิ ก ายของตน ซึ่งไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท วันวิสาขบูชานั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสาคัญ สากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สาคัญ ๓ เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้ เกิ ด ขึ้ น เมื่ อ ๒,๕๐๐ กว่ า ปี ก่ อ น ณ ดิ น แดนที่ เรีย กว่ า ชมพู ท วี ป ในสมั ย พุ ท ธกาล โดยเหตุ ก ารณ์ แ รก เมื่ อ ๘๐ ปี ก่ อ นพุ ท ธศั ก ราช เป็ น "วั น ประสู ติ ข องเจ้ า ชาย สิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาล ในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ ต่อมา เมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช เป็ น "วันที่เจ้าชาย สิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้าเนรัญชรา ตาบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศ อินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ ๑ ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จ ดั บ ขั น ธปริ นิ พ พานขององค์ ส มเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า " ณ ใต้ ร่ ม สาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศ อินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๖ หรือเดือน วิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน ๖ นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิด เหตุการณ์ สาคัญ ๆ ของพระพุท ธเจ้าไว้มากที่สุด และได้ นิยมประกอบพิ ธีบาเพ็ ญ บุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อ เป็นการถวายสักการะราลึกถึงแด่องค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ทั้ ง มหายานและเถรวาททุ ก นิ ก ายมาช้ า นานแล้ ว ในบางประเทศเรี ย กพิ ธี นี้ ว่ า "พุ ท ธชยัน ตี " (Buddha Jayanti) เช่ น ใน อิ นเดี ย และศรี ลั ง กา ในปั จ จุบั น มี ห ลาย ประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศ


I ๑๗

ไทย ประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็น ประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่าย ของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติ บูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐาน ว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสาคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาว พุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก (ซึ่งไม่เหมือน วันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสาคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือ กันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพู ชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่ สมัชชา สหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสาคัญสากล" (International Day) ตามข้อมติสมัชชาใหญ่ แห่งสหประชาชาติที่ ๕๔/๑๑๒ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ปั จ จุ บั น ประเทศไทยได้ ป ระกาศให้ วั น วิ ส าขบู ช าเป็ น วั น หยุ ด ราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบ พิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็น การบูชาราลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สาคัญ ๓ เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่า เป็น วันคล้ายวัน ที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิท ธัตถะ ผู้ซึ่ง ต่อมาได้ "ตรัส รู้" เป็ นพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรง สั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คื อ ความจริงของโลก แก่ชนทั้ ง ปวงโดย "พระมหา กรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ทั้งสามเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน ๖ นี้ทาให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมา อย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน


๑๘ I

การกาหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสาคัญของโลก* การก าหนดให้ วัน วิ ส าขบู ชาเป็ น วั น สาคั ญ ของโลก เริ่ ม ต้น ขึ้น จากการที่ ผู้แทนจากประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาพุทธ คือ บังคลาเทศ จีน ลาว เกาหลีใต้ เวียดนาม ภูฎาน อินโดนีเซีย เนปาล กัมพูชา อินเดีย ปากีสถาน และไทย ได้มีมติ ร่วมกันที่จะเสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศรับรองข้อมติกาหนดให้ วัน วิ ส าขบู ช าเป็ น วัน หยุ ด ของสหประชาชาติ ในการประชุ ม พุ ท ธศาสนาระหว่า ง ประเทศ (International Buddhist Conference) ณ กรุง โคลัมโบ เมืองหลวงของ ประเทศศรีลังกา ระหว่างวันที่ ๙-๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ต่อมา คณะทูตถาวร ศรีลังกาประจาสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก จึงได้จัดเตรียมร่างข้อมติ และได้ขอ เสียงสนั บสนุ น จากประเทศต่ าง ๆ เพื่อ ให้มี การรับรองข้ อมติ เรื่องการประกาศให้ วั น วิ ส าขบู ช าเป็ น วั น หยุ ด ของสหประชาชาติ ใ นที่ ป ระชุ ม งสมั ช ชาใหญ่ แ ห่ ง สหประชาชาติ สมั ยสามัญ ครั้งที่ ๕๕ แต่คณะผู้แทนจากศรีลั งกาเปลี่ย นเสนอให้ ประกาศวั น วิ ส าขบู ช าเป็ น "วั น ส าคั ญ สากล" แทน เนื่ อ งจากวั น หยุ ด ของ สหประชาชาติมีมากแล้ว และจะกระทบต่อการดาเนินงานของสหประชาชาติ และได้ ดาเนิ นการให้คณะผู้แทนถาวรประจาสหประชาชาติจานวน ๑๖ ประเทศ คือ ศรี ลังกา บังคลาเทศ ภูฎาน กัมพูชา ลาว มัลดีฟส์ มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สเปน อินเดีย ไทย และยูเครน ๑ ให้ ร่วมลงนามในหนัง สือถึง ประธานที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพื่อนาเรื่องนี้เข้าสู่ระเบียบวาระ ของการประชุมใหญ่ฯ จนเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ที่ประชุมใหญ่สมัชชาแห่ง สหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ ๕๕ จึงได้พิจารณาระเบียบวาระที่ ๑๗๔ ว่าด้วยการ * วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (๒๕๕๗). วันวิสาขบูชา. สืบค้นเมื่อ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/วันวิสาขบูชา ๑ Request for inclusion of an additional item in the agenda of the fifty-fourth session in United Nations (12 November 1999). International recognition of the Day of Vesak. Retrieved on May 7, 2009


I ๑๙

ยอมรับ วัน วิ ส าขบู ช าในระดั บ สากล (International recognition of the Day of Visak) โดยการเสนอของศรีลังกา ซึ่งประธานที่ประชุมได้ให้ผู้แทนจากศรีลังกาเสนอ ร่างมติ และเชิญ ให้ผู้แทนจาก ไทย สิงคโปร์ บังคลาเทศ ภูฎาน สเปน พม่า เนปาล ปากีสถาน อินเดีย ขึ้นแถลง สรุปความได้ว่า "วัน วิส าขบู ชาเป็ นวั น สาคั ญ ของพุ ท ธศาสนิ ก ชนทั่ ว โลก เพราะเป็น วั น ที่ พระพุ ท ธเจ้ าประสู ติ ตรัส รู้ เสด็ จดั บ ขั นธปรินิ พ พาน พระพุ ทธเจ้ าทรงสั่ ง สอนให้ มวลมนุษย์มีเมตตาธรรมและขันติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดสันติสุขใน สังคม อันเป็นแนวทางของสหประชาชาติ จึงขอให้ที่ประชุมรับรองข้อมตินี้ ซึ่งเท่ากับ เป็นการรับรองความสาคัญของพุทธศาสนาในองค์การสหประชาชาติ โดยถือว่าวัน ดังกล่าวเป็นที่สานักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและที่ทาการสมัชชาจะจัดให้มี การระลึกถึง (observance) ตามความเหมาะสม"๑ นายวรวีร์ วีรสั มพั นธ์ อุปทู ตคณะผู้แ ทนถาวรไทยประจาสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ได้ให้เหตุผลในถ้อยแถลงมีใจความตอนหนึ่งว่า "องค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่ อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ ทุ ก ศาสนาสามารถเข้ า มาศึ ก ษาพุ ท ธศาสนา เพื่ อ พิ สู จ น์ ห าข้ อ เท็ จ จริ ง ได้ โดยไม่ จาเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุ ทธ และทรงสั่ง สอนทุกคนโดยใช้ปัญ ญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน" ในที่สุด องค์การสหประชาชาติได้กาหนดให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสาคัญ สากล" (ด้วยชื่อวันว่า "Vesak") โดยการเสนอของประเทศศรีลังกาดังกล่าว ด้วยมติ เอกฉั น ท์ ในที่ ป ระชุ ม สมั ช ชาใหญ่ แ ห่ ง สหประชาชาติ เมื่ อ วั น ที่ ๑๕ ธั น วาคม พ.ศ. ๒๕๔๒

Request for inclusion of an additional item in the agenda of the fifty-fourth session in United Nations (12 November 1999). International recognition of the Day of Vesak. Retrieved on May 7, 2009


๒๐ I

บทสวดมนต์ในพิธวี ันวิสาขบูชา บทบูชาพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ


I ๒๑

บทสรรเสริญพระพุทธคุณ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

บทสรรเสริญพระพุทธคุณ (ทานองสรภัญญะ) นา) องค์ใดพระสัมพุทธ ตัดมูลเกลสมาร หนึ่งในพระทัยท่าน ราคี บ พันพัว องค์ใดประกอบด้วย โปรดหมู่ประชากร ชี้ทางบรรเทาทุกข์ ชี้ทางพระนฤพาน พร้อมเบญจพิธจักเห็นเหตุที่ใกล้ไกล กาจัดน้าใจหยาบ สัตว์โลกได้พึ่งพิง ข้าฯ ขอประณตน้อม สัมพุทธการุญ-

(รับพร้อมกัน) สุวิสุทธสันดาน บ มิหม่นมิหมองมัว ก็เบิกบาน คือดอกบัว สุวคนธกาจร พระกรุณาดังสาคร มละโอฆกันดาร และชี้สุขเกษมศานต์ อันพ้นโศกวิโยคภัย ษุ จรัสวิมลใส ก็เจนจบประจักษ์จริง สันดานบาปทั้งชายหญิง มละบาปบาเพ็ญบุญ ศิรเกล้าบังคมคุณ ญ ภาพนั้นนิรันดร ฯ (กราบ)


๒๒ I

บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (นา) สะหวากขาโต (รับ) ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิ โก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ

บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (ทานองสรภัญญะ) (นา) ธรรมะคือคุณากร ประทีปชัชวาล แห่งองค์พระศาสดาจารย์ สว่างกระจ่างใจมล เป็นแปดพึงยล สมญาโลกอุดรพิสดาร พิสุทธิ์พิเศษสุกใส นามขนานขานไข คือทางดาเนินดุจคลอง ยังโลกอุดรโดยตรง นบธรรมจานง

(รับพร้อมกัน) ส่วนชอบสาทร ดุจดวง ส่องสัตว์สันดาน ธรรมใดนับโดยมรรคผล และเก้ากับทั้งนฤพาน อันลึกโอฬาร อีกธรรมต้นทางครรไล ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง ให้ล่วงลุปอง ข้าฯ ขอโอนอ่อนอุตมงค์ ด้วยจิตและกายวาจา ฯ (กราบ)

บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ


I ๒๓

ยะทิทัง จิตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

บทสรรเสริญพระสังฆคุณ (ทานองสรภัญญะ) (นา) สงฆ์ใดสาวกศาสดา (รับพร้อมกัน) รับปฏิบัติมา แต่องค์สมเด็จภควันต์ เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรรลุทางที่อัน ระงับและดับทุกข์ภัย โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร ปัญญาผ่องใส สะอาดและปราศมัวหมอง เหินห่างทางข้าศึกปอง บ มิลาพอง ด้วยกายและวาจาใจ เป็นเนื้อนาบุญอันไพศาลแด่โลกัย และเกิดพิบูลย์พูนผล สมญาเอารสทศพล มีคุณอนนต์ อเนกจะนับเหลือตรา ข้าฯ ขอนบหมู่พระศราพกทรงคุณานุคุณประดุจราพัน ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์ พระไตรรัตน์อัน อุดมดิเรกนิรัติศัย จงช่วยขจัดโพยภัย อันตรายใดใด จงดับและกลับเสื่อมสูญ ฯ (กราบ)


๒๔ I

บทสวดชัยสิทธิคาถา (นา) พาหุง (รับ) สะหัสสะมะภินิม มิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสาภะวะตุเต ชะยะสิทธินิจจัง

บทสวดชัยสิทธิคาถา (ทานองสรภัญญะ) (นา) ปางเมื่อพระองค์ปะระมะพุทตรัสรู้อะนุตตะระสะมาขุนมารสะหัสสะพาหุพาขี่คีริเมขละประทัง แสร้งเสกสะราวุธะประดิษฐ์ รุมพลพะหลพะยุหะปาน หวังเพื่อผจญวะระมุนินพระปราบพะหลพะยุหะมา ด้วยเดชะองค์พระทศพล ทานาทิธัมมะวิธิกูล ด้วยเดชะสัจจะวัจนา ขอจงนิกรพละสยาม ถึงแม้จะมีอะริวิเศษ ขอไทยผจญพิชิตะผลาญ

(รับ) ธะวิสุทธะศาสดา ธิ ณ โพธิบัลลังค์ หุวิชาวิชิตขลัง คะชะเหี้ยมกระเหิมหาญ กะละคิดจะรอนราญ พระสมุททะนองมา ทะสุชินะราชา ระมะเลืองมลายสูญ สุวิมละไพบูลย์ ชนะน้อมมะโนตาม และนะมามิองค์สาม ชะยะสิทธิทุกวาร พละเดชะเทียมมาร อะริแม้นมุนินทร (กราบ ๓ ครั้ง)


I ๒๕

คาถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันวิสาขบูชา ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัส สะ จะ มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, มัชฌิเมสุ ชะนะปะ เทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา, โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุต โต สั ก ยะกุ ล า ปั พ พะชิ โ ต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพั ร หมะเก สั ส สะ มะณะพราหมะณิ ย า ปะชายะ, สะเทวะมะนุ ส สายะ อะนุ ต ตะรัง สัม มาสั ม โพธิ ง อะภิ สั ม พุ ท โธ, นิ ส สั ง สะยั ง โข โส ภะคะวา, อะระหั ง สั ม มาสั ม พุ ท โธ, วิ ช ชาจะ ระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะ- สาระถิ สัตถา เทวะมะ นุสสานัง พุทโธ ภะคะวา, สะวากขาโต โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ, สุปะฏิปันโน ภะคะ วะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะ คะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ , อัฏฐะ ปุ ริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสัง โฆ, อาหุ เนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ, อะ ยัง โข ปะนะ ปะฏิมา ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะกะตา, ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ ตัง ภะ คะวันตัง อะนุสสะริตะวา ปะสาเทนะ สังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมีกาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ชาติสัมโพธินิพพานะกาละสัมมะตัง ปัตะวา, อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปาทิ สักกาเร คะเหตะวา อัตตะโน กายัง สัก การุปะธานัง กะริตะวา, ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา, อิมัง ปะฏิมัง ติกขักตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ, อิมัง ยะถา คะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมา นา, สาธุ โน ภันเต, ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะ ตายะ ปัญญายะมาโน อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง ทีฆะรัต ตัง หิตายะ สุขายะ.


๒๖ I

คาแปล เราทั้งหลายถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดว่าเป็นที่พึ่ง พระผู้มีพระ ภาคเจ้าพระองค์ใดเป็นศาสดาของเราทั้งหลาย และเราทั้งหลายชอบซึ่งธรรมของพระ ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้ าพระองค์นั้นแล ได้อุบัติขึ้นแล้วในหมู่ มนุษย์ชาวอริยกะ ในมัชฌิมชนบท พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เป็นโคดม (เหล่ากอแห่ง พระอาทิตย์) โดยพระโคตร เป็นบุตรแห่ง ศากยะ เสด็จออกบรรพชา แล้วแต่ศากยสกุล เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งพระอะนุตตะระสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกกับทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อม ทั้งเทวดาลและมนุษย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความ ประพฤติ) เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้ แจ้งโลก เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้ เบิกบานแล้ว เป็นผู้มีความเจริญจาแนกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ โดยไม่ต้องสงสัยแล อนึ่ง พระธรรมเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรั สไว้ดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึง เห็นได้ด้วยตนเอง เป็นธรรมที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้อย่างไม่จากัด กาลเวลา เป็นธรรมที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามา ใส่ตัว เป็นธรรมที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ นั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วแล เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออก จากทุ กข์แล้ว เป็นผู้ป ฏิบัติส มควรแล้ว นี้ คือคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นั บเรียงตัวบุ รุษได้ ๔ บุรุษ นั่นแหละคือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่ เขานามาบูชา เป็ นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทาอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า พระ ปฏิมานี้แล นักปราชญ์ได้อุทิศเฉพาะต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น สร้างไว้แล้ว เพียงเพื่อเป็ นเครื่องให้ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยการเห็นแล้ว ได้ ความเลื่อมใส และความระลึกถึง


I ๒๗

บัดนี้เราทั้งหลายมาถึงวันวิสาขบูชา อันเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า เป็นวันที่ประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงมาประชุมกันแล้ว ในที่นี้ ถือเครื่องสักการะมีธูปเทียนเป็นต้นเหล่านี้ ทากายของตนเองให้เป็นดังภาชนะ รองรับเครื่องสักการะ ระลึกถึงพระคุณทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตามความเป็นจริง บูชาด้วยเครื่องสักการะตามที่ได้ถือไว้แล้ว จักทาประทักษิณซึ่ง ประปฏิมากรนี้สิ้นวาระ ๓ รอบ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขออัญเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จดับขันธปริ นิพพานไปนานแล้ว ยังทรงปรากฏอยู่ด้วยพระคุณสมบัติอันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะพึงรู้โดยความเป็นอตีตารมณ์ ขอจงทรงรับซึ่งเครื่องสักการะอันข้าพระพุทธเจ้า ทั้งหลายถือ ไว้แล้วนี้ เพื่ อประโยชน์ และเพื่ อความสุข แก่ข้าพระพุท ธเจ้ าทั้ง หลาย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ


๒๘ I



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.