1
นักเขียนนวนิยายเป็นอาชีพ Haruki Murakami เขียน อรรถ บุนนาค มุทิตา พานิช แปล บรรณาธิการ บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการจัดการ ออกแบบปก รูปเล่ม พิสูจน์อักษร
พรพิรุณ กิจสมเจตน์ อธิชา มัญชุนากร กาบูล็อง มณฑา มัญชุนากร ศรรวริศา เมฆไพบูลย์ ชุลีพร วุ่นบ�ารุง ภัทร เตกิตติพงษ์ ขจรยศ สุภาจันทร์ พงศ์รพี ภัควุฒินันท์
SHOKUGYO TOSHITE NO SHOSETSUKA by Haruki Murakami Copyright © 2015 Haruki Murakami All rights reserved. Originally published in Japan by Switch Publishing Co., Ltd., Tokyo Thai translation rights arranged with Haruki Murakami through THE SAKAI AGENCY and SILKROAD AGENCY
ลิขสิทธิ์ภาษาไทย © 2017 ส�านักพิมพ์กา� มะหยี่ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2560 ISBN 978-616-7591-67-4 ราคา 290 บาท
จัดพิมพ์โดย : ส�ำนักพิมพ์ก�ำมะหยี่ 74/1 รังสิต-นครนายก 31 ต�าบลประชาธิปัตย์ อ�าเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130 โทรศัพท์ : 084 146 1432 โทรสาร : 02 996 1514 Homepage : www.gammemagie.com Facebook Page : GammeMagieEditions Email : gammemagie@gammemagie.com พิมพ์ที่ : บริษัท ภำพพิมพ์ จ�ำกัด 45/12-14, 33 หมู่ 4 ต�าบลบางขนุน อ�าเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130 โทรศัพท์ : 02 879 9154-6 โทรสาร : 02 879 9153 Homepage : www.parbpim.com จัดจ�ำหน่ำยทั่วประเทศโดย : บริษัทเคล็ดไทย จ�ำกัด 117-119 ถนนเฟื่องนคร ตรงข้ามวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 02 225 9536-9 โทรสาร : 02 222 5188 Homepage : www.kledthai.com
จากส�านักพิมพ์ อ่านนักเขียนเขียนเรื่อง อ่านเขียนและอื่นอื่น อ่านเอารสได้สาระดี
ส�านักพิมพ์ก�ามะหยี่ ตุลาคม 2560
ค�ำเตือน : กำรอ่ำนหนังสืออำจท�ำให้เป็นนักเขียนได้
สารบัญ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12
นักเขียนนวนิยายเป็นกลุ่มคนใจกว้างหรือไม่ ตอนเริ่มเป็นนักเขียนนวนิยาย ว่าด้วยรางวัลวรรณกรรม ว่าด้วยออริจินัลลิตี เอาละ จะเขียนอะไรดี ดึงเวลามาเป็นพวก การท�างานใช้แรงกายที่เป็นส่วนตัวขั้นสุด โรงเรียน จะให้ตัวละครแบบไหนออกมาดี เขียนให้ใครอ่าน ออกไปต่างประเทศ สู่เขตแดนใหม่ ณ ที่ซึ่งมีเรื่องเล่า บทส่งท้าย
6 28 56 81 110 133 159 185 210 234 259 288 299
1
นักเขียนนวนิยำยเป็นกลุ่มคนใจกว้ำงหรือไม่ ต่อไปนี้จะขอพูดถึงนวนิยาย... หากเริ่มต้นจั่วหัวแบบ นี้ก็ออกจะกว้างไปหน่อย จึงขอเริ่มพูดถึงนักเขียนนวนิยายก่อนนะครับ เพราะคิดว่าใช้วิธีนี้จะลงรายละเอียด ได้ลึก มองเห็นได้ชัด เทียบกันแล้วดูจะเล่าอะไรได้ ง่ายกว่า ถ้าจะให้ผมพูดตรงๆ ตามทีเ่ ห็น นักเขียนนวนิยาย โดยส่วนใหญ่—จริงอยูว่ า่ ไม่ใช่ทกุ คน—พูดได้ยากว่าเป็น เหล่ า คนผู ้ มี นิ สั ย น่ า รั ก และมี ส ายตาอั น เที่ ย งธรรม และอาจต้องหรี่เสียงลงสักหน่อยเมื่อพูดเรื่องนี้ แต่เท่า ที่ดู ไม่น้อยเลยที่มลี ักษณะนิสัยพิเศษหาคนชื่นชมได้ยาก มีกิจวัตรประจ�าวัน หรือแบบอย่างการปฏิบัติที่แปลก ประหลาด และนักเขียนโดยส่วนใหญ่ ซึ่งรวมถึงตัวผม ด้วย (เท่าทีผ่ มคาด น่าจะมีอยูป่ ระมาณ 92%) ต่างคิดว่า ‘สิ่งที่ตัวเองท�า สิ่งที่ตัวเองเขียนนั้นถูกต้องที่สุด และ หากไม่นับข้อยกเว้นพิเศษ สิ่งที่นักเขียนคนอื่นๆ ท�าหรือ เขียนล้วนแต่ผิด ไม่มากก็น้อย’ อยู่ที่ว่าจะพูดหรือไม่พูด ออกมาเท่านั้น เนื่องด้วยแต่ละคนใช้ชีวิตแต่ละวันด้วย แนวคิดเช่นนี้ ผู้คิดอยากมีเพื่อนหรือคนข้างเคียงนิสัย แบบนี้ หากจะพูดอย่างประหยัดวาจาสักหน่อย คิดว่า คงมีอยู่ไม่มากเป็นแน่ 6 นักเขียนนวนิยายเป็นอาชีพ
บางครัง้ เคยได้ยนิ เรือ่ งทีม่ นี กั เขียนเป็นเพือ่ นสนิท ผูกมิตรกันแน่นแฟ้น แต่ผมฟังเรื่องแบบนี้ทีไรต้องกังขา ไว้ก่อนทุกที จริงอยู่ว่าอาจมีเรื่องแบบนั้นอยู่บ้าง แต่ผม คิดว่าความสัมพันธ์แน่นแฟ้นไม่นา่ จะคงอยูย่ นื นานเท่าใดนัก นักเขียนนัน้ โดยพืน้ ฐานเป็นพวกคนมีอโี ก้สงู ส่วนใหญ่จะ เป็นคนที่มีความยโสหรือมีความรู้สึกเป็นคู่แข่ง ถ้านัก เขียนมาอยู่รวมกันจะเกิดกรณีไปด้วยกันไม่ได้ มากกว่า ไปด้วยกันได้ดแี น่ๆ ตัวผมเองเคยมีประสบการณ์แบบนัน้ อยู่หลายครั้ง มีตัวอย่างที่ขึ้นชื่ออยู่ ในดินเนอร์ปาร์ตี้ปีค.ศ. 1922 ที่กรุงปารีส มาร์แซล พรูตส์1 กับเจมส์ จอยซ์2 ได้นั่งร่วมโต๊ะกัน แต่แม้จะนั่งใกล้กัน ทั้งสองก็แทบจะไม่ พูดกันเลยสักค�า ผูค้ นรอบข้างต่างจับจ้องด้วยใจจดใจจ่อ ว่าสองนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ยี่สิบจะคุยกัน เรือ่ งอะไร แต่กลับจบลงโดยไม่มอี ะไรเกิดขึน้ เลย คงเป็น เพราะบางสิ่งคล้ายๆ ความมั่นใจของทั้งสองคนคงจะสูง มาก เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเป็นประจ�า แต่ว่าแม้จะเป็นเช่นนั้น หากเป็นเรื่องการกีดกัน คนอื่นออกจากอาณาบริเวณวิชาชีพ—พูดง่ายๆ ก็คือ 1
Marcel Proust (1871-1922) นักเขียน นักวิจารณ์วรรณกรรมชาว ฝรั่งเศส 2 James Joyce (1882-1941) นักเขียนชาวไอริช 7
ความรู้สึกหวง ‘อาณาเขต’ นั่นเอง—ผมคิดว่าอาจไม่มี คนจ�าพวกไหนใจกว้างและแสดงออกถึงความเผือ่ แผ่เท่า นักเขียนนวนิยายอีกแล้ว และนั่นยังเป็นสิ่งที่นักเขียน นวนิยายมีร่วมกัน อาจพูดได้ว่าเป็นหนึ่งในข้อดีงามซึ่งมี อยู่น้อยมากของนักเขียนนวนิยาย ผมคิดเช่นนี้อยู่เสมอ ผมจะลองอธิบายโดยละเอียดเพือ่ ให้เข้าใจง่ายขึน้ นะครับ สมมติวา่ นักเขียนนวนิยายคนหนึง่ ร้องเพลงเพราะ แล้วลุกขึ้นมาเป็นนักร้อง หรือมีฝีมือทางจิตรกรรม แล้ว เริ่มแสดงผลงานภาพเขียนในฐานะจิตรกร นักเขียนคน นั้นจะต้องถูกต่อต้านไม่มากก็น้อยระหว่างที่ใช้ชีวิตแบบ นัน้ และต้องถูกหัวเราะเยาะแน่ๆ คงต้องโดนสังคมก่นด่า ว่า “มันได้ใจท�าเรื่องที่ไม่ใช่ทางของตัวเอง” หรือ “ฝีมือ สมัครเล่น ไม่มีทั้งเทคนิคและความสามารถเลย” คงจะ ถูกศิลปินนักร้องหรือจิตรกรระดับมืออาชีพท�าตัวเย็นชา ใส่ หรืออาจถึงขั้นถูกกลั่นแกล้งเลยด้วยซ�้า หรืออย่าง น้อยที่สุด คงแทบไม่ได้ยินค�าพูดแสดงความยินดีอัน อบอุ่น อย่าง “ว่าไง พยายามมาถึงขั้นนี้ได้เลยนะ” หรือ ถึงจะมี ก็คงต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่เฉพาะ และเกิด ในลักษณะแบบเฉพาะพิเศษ ตลอดสามสิบปีมานี้ ตัวผมเองเขียนนวนิยาย พร้อมๆ กับแปลวรรณกรรมอังกฤษและอเมริกนั มาอย่าง ขะมักเขม้น ในช่วงแรกๆ (หรือในช่วงนี้ก็อาจยังเป็นอยู่) 8 นักเขียนนวนิยายเป็นอาชีพ
ดูจะไม่เป็นทีย่ อมรับ “การแปลไม่ใช่เรือ่ งง่ายๆ ทีพ่ วกมือ สมัครเล่นจะท�าได้” หรือไม่ก็ “นักเขียนมาท�างานแปล ช่างเป็นงานอดิเรกที่มาสร้างภาระเสียจริง” มีคนพูด ท�านองนี้จากทั่วสารทิศ นอกจากนี้ ตอนเขียนหนังสือเล่มอันเดอร์กราวด์ - UNDERGROUND ก็ถูกนักเขียนที่เขียนเรื่องนอนฟิกชั่นมืออาชีพวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง เช่น “ช่าง ไม่รู้กฎของนอนฟิกชั่นเอาเสียเลย” หรือ “เรียกน�้าตา ราคาถูกเสียเหลือเกิน” หรือ “ช่างเป็นมุกราคาถูก ท�า เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ” และอื่นๆ อีกมากมายที่วิพากษ์ วิจารณ์กันมา ตัวผมเองไม่ได้ตั้งใจจะเขียนงานเขียน ประเภท ‘นอนฟิกชัน่ ’ แต่เป็นงานเขียนในแบบของตัวเอง ทีเ่ รียกโดยเล่นค�าว่า ‘อฟิกชัน่ ’ หรือกล่าวได้อกี นัยหนึง่ ว่า ผมตั้งใจจะเขียน ‘ผลงานที่ไม่ใช่ฟิกชั่น’ แต่ผลที่ออก มาดูเหมือนจะไปเหยียบหางของเหล่าเสือทีเ่ ฝ้า ‘เขตแดน ศักดิ์สิทธิ์’ ที่ชื่อว่า ‘นอนฟิกชั่น’ เข้า ผมไม่รู้มาก่อนว่า มันมีอยู่ รวมถึงไม่เคยคิดว่านอนฟิกชั่นจะมี ‘กฎเหล็ก’ ให้ต้องปฏิบัติตามด้วย ในตอนแรกจึงค่อนข้างตกใจจน ท�าอะไรไม่ถูก ยิง่ ถ้าเขียนแล้วยืน่ มือออกไปนอกเขตอันเป็นทาง เฉพาะของตนด้วยแล้ว จะถูกผู้คนซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญใน สาขานั้นชักสีหน้า ไม่พอใจไว้ก่อน ราวกับเป็นเม็ดเลือด ขาวคอยก�าจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาภายในร่างกาย 9
พยายามจะขจัดให้พ้นทางเข้าสู่วงการนั้น แต่หากยังดื้อ ดึง ไม่ยอมแพ้ ท�าต่อไปเรื่อยๆ ในที่สุดพวกเขาจะค่อยๆ ยอมรับไปโดยปริยาย ในท�านอง “เอาเถอะ ช่วยไม่ได้” แล้วยอมให้อภัย ให้รว่ มทีร่ ว่ มทางด้วย แต่อย่างน้อยทีส่ ดุ ในช่วงแรกต้องโดนคลืน่ ลมโถมกระหน�า่ ยิง่ ถ้า ‘สาขานัน้ ’ แคบเท่าไร หรือมีความเฉพาะทางมากเท่าไร หรือมีความ เป็นเอกัตถะเท่าไร ความอหังการ หรือการกีดกัน และ แรงต้านที่จะพบในพื้นที่นั้นก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น หากทว่าในทางกลับกัน ถ้านักร้องหรือจิตรกรหันมาเขียน นวนิยาย หรือนักแปลหรือนักเขียนนอนฟิกชันเกิดหันมา เขียนนวนิยาย นักเขียนนวนิยายจะท�าหน้ารังเกียจใส่ หรือไม่ ผมคิดว่าไม่น่าจะท�า ในความเป็นจริงก็เห็นอยู่ ไม่น้อยว่ามีนักร้องหรือจิตรกรหันมาเขียนนวนิยาย มี นักแปลหรือนักเขียนนอนฟิกชันหันมาเขียนนวนิยาย แล้วผลงานเหล่านัน้ ก็ได้รบั ค�าชมเชยเป็นอย่างสูง แต่ไม่ เคยได้ยินนักเขียนนวนิยายหัวเสีย แล้วก่นด่าว่า “พวก มือสมัครเล่น ท�าอะไรไม่เจียมตัว” หรือว่าร้าย เย้ยหยัน กลัน่ แกล้งขัดแข้งขัดขา อย่างน้อยทีส่ ดุ เท่าทีผ่ มเคยเห็น หรือได้ยินก็แทบไม่มีเลย ตรงกันข้ามกลับมีความสนอก สนใจในตัวบุคคลผู้อยู่นอกวงการของตน ถ้ามีโอกาสก็ อยากจะพบปะเพื่อสนทนาเรื่องนวนิยาย หรืออยากให้ ก�าลังใจบ้าง สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสิ่งที่นักเขียนนวนิยาย 10 นักเขียนนวนิยายเป็นอาชีพ
คิดจะท�ามากกว่า จริงอยู่ อาจจะมีการแอบนินทาถึงผลงานอยูบ่ า้ ง แต่นนั่ เป็นกิจวัตรซึง่ เกิดขึน้ ระหว่างนักเขียนนวนิยายด้วย กันอยู่แล้ว พูดได้ว่าเป็นลักษณะการด�าเนินกิจการโดย ปกติของนักเขียนนวนิยาย ไม่ใช่เพราะเป็นคนนอกวงการ เข้ามาท�าธุรกิจเดียวกันเลยท�าให้โดนนินทา มนุษย์พันธุ์ นักเขียนนวนิยายนั้นส่วนมากมักถูกมองว่าเป็นคนมีข้อ บกพร่อง แต่เรื่องมีคนจะรุกล�้าเข้ามาในอาณาเขตของ พวกตน กลับดูเหมือนจะเปิดใจกว้างยอมรับได้ ท�าไมจึงเป็นเช่นนั้น ในความเห็นของผม ค�าตอบค่อนข้างชัดเจน คือ เพราะมันก็แค่นวนิยาย—‘มันก็แค่นวนิยาย’ อาจฟังดู หยาบไปเสียหน่อย—ถ้าคิดจะเขียน ใครๆ ก็เขียนได้ ทั้งนั้น ตัวอย่างเช่น กว่าจะออกตัวว่าเป็นนักเปียโนหรือ นักบัลเลต์มืออาชีพได้ จ�าเป็นต้องฝึกฝนอย่างหนักและ ใช้เวลายาวนานตั้งแต่ยังเล็ก หรือจะเป็นจิตรกรได้ ต้อง มีความรู้เฉพาะทางอยู่พอสมควร มีเทคนิคขั้นพื้นฐาน ติดตัว และจ�าเป็นจะต้องหาซื้ออุปกรณ์ให้พร้อมอยู่ ประมาณหนึ่ง การจะเป็นนักปีนเขาสูงๆ นั้นต้องมีความ กล้าหาญ เทคนิค และพละก�าลังมากกว่าคนทั่วไป แต่ถ้าเป็นนวนิยายแล้วแค่เขียนหนังสือเป็น (คน ญี่ปุ่นแทบทุกคนน่าจะเขียนเป็น) มีปากกากับสมุด มี ความสามารถในการสร้างเรื่องอยู่บ้าง ไม่จ�าเป็นต้อง 11
ผ่านการฝึกฝนเฉพาะทาง ในเบือ้ งต้นก็สามารถเขียนขึน้ มาได้ ว่าไปแล้ว มันจะออกมาในลักษณะของนวนิยาย ได้ประมาณหนึ่งเลย ไม่จ�าเป็นต้องเข้าเรียนคณะอักษรศาสตร์ในมหาวิทยาลัย ความรู้เฉพาะทางของการเขียน นวนิยายน่ะ มีก็เหมือนไม่มีนั่นแหละครับ ถ้าเป็นคนมีพรสวรรค์อยูบ่ า้ งก็ไม่ใช่เรือ่ งยากทีจ่ ะ เขียนงานดีๆ ให้ได้ตั้งแต่ครั้งแรก ถ้าจะเอาเรื่องของ ตัวเองมายกเป็นตัวอย่างก็ออกจะกระดากใจอยูส่ กั หน่อย แต่เอาเถอะ ขนาดคนอย่างผม คนที่ไม่เคยผ่านการ ฝึกฝนทักษะเพือ่ เขียนนวนิยายเลย แม้จะผ่านการศึกษา ในภาควิชาภาพยนตร์และการแสดงของคณะอักษรศาสตร์ในมหาวิทยาลัยมา แต่เป็นเพราะกระแสในยุค สมัยนั้น ผมเลยแทบไม่ได้เรียนอะไรสักอย่าง ไว้ผมยาว ปล่อยหนวดเครารุงรัง แต่งตัวปอนๆ ได้แต่ลอยชายไป มาอยูแ่ ถวนัน้ ไม่มคี วามตัง้ ใจจะเป็นนักเขียนเลย ไม่เคย ฝึกมือเขียนอะไร อยู่มาวันหนึ่งก็มีความคิดผุดขึ้นมา แล้วเขียนสิ่งที่เรียกได้ประมาณว่านวนิยายเรื่องแรกชื่อ สดับลมขับขาน - Hear the Wind Sing ได้รางวัล นักเขียนหน้าใหม่ของนิตยสารทางวรรณกรรม แล้วกลาย เป็นนักเขียนอาชีพโดยทีย่ งั ไม่รเู้ หนือรูใ้ ต้ ตัวผมเองยังอด เอียงคอสงสัยไม่ได้ว่า ‘แบบนี้ก็ได้เหรอ มันง่ายไปไหม’ รู้สึกว่ามันง่ายเกินไปหน่อย พอเขียนแบบนี้ อาจมีคนหมั่นไส้ผมว่าช่างท�าตัว 12 นักเขียนนวนิยายเป็นอาชีพ
‘มีความรู้เรื่องวรรณกรรมเป็นอย่างดี’ ผมแค่พูดถึงสิ่งที่ เป็นเรื่องพื้นฐานเท่านั้น สิ่งที่เรียกว่านวนิยายนั้น ไม่ว่า ใครจะว่าอย่างไร ไม่ตอ้ งสงสัยเลยว่ามันมีพนื้ ทีก่ ว้างใหญ่ ของความลึกซึ้งในการแสดงความรู้สึก และถ้าคิดในมุม กลับ พืน้ ทีก่ ว้างใหญ่ของความลึกซึง้ นัน่ เองคือจุดก�าเนิด ของพลังงานอันยิง่ ใหญ่และเรียบง่ายทีน่ วนิยายมีอยู่ เป็น ส่วนส�าคัญส่วนหนึ่งของนวนิยาย ดังนั้นการบอกว่า ‘ใครๆ ก็เขียนได้’ จากมุมมองของผม จึงไม่ได้เป็นการ กล่าวร้ายนวนิยายเลย แต่เป็นค�าชมต่างหาก กล่าวได้วา่ งานประเภทนวนิยายนัน้ เปรียบประดุจ สังเวียนมวยปล�า้ ทีใ่ ครๆ ก็เข้ามาได้งา่ ยๆ ถ้าคิดอยากจะ เข้า เชือกขึงรอบเวทีมีช่องกว้าง มีแท่นรองเหยียบขึ้น สังเวียนแสนสะดวกจัดเตรียมไว้ให้ สังเวียนกว้างใหญ่ ไม่มียามซุ่มคอยกีดกันไม่ให้เข้า กรรมการก็ไม่เรื่องมาก สักเท่าไร นักมวยปล�้ามืออาชีพ—ซึ่งในที่นี้หมายถึงนัก เขียนนวนิยาย—ออกจะถอดใจอยู่ประมาณหนึ่งแต่แรก แล้ว มีทา่ ทีทา� นอง ‘เอาเถอะ ใครก็ได้ ขึน้ สังเวียนกันมา เรื่อยๆ เลย’ ไม่รู้จะเรียกว่าเป็นพวกยอมรับฟังความ คิดเห็นของคนอื่นได้ดี หรือเป็นพวกสบายๆ หรือเป็น พวกมีความยืดหยุ่น พูดง่ายๆ คือเป็นพวกยังไงก็ได้ค่อน ข้างมาก แต่การขึ้นสังเวียนที่ว่า แม้จะขึ้นไม่ยาก แต่การ ยืนอยู่ตรงนั้นให้นานๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย นักเขียน 13
นวนิยายต่างรู้ซึ้งในข้อนี้เป็นอย่างดี การเขียนนวนิยาย สักเรื่องสองเรื่อง ไม่ได้ยากเย็นแสนเข็ญแต่อย่างใด แต่ การเขียนนวนิยายอย่างต่อเนือ่ งยาวนาน เขียนนวนิยาย เพื่อปากเพื่อท้อง การจะใช้ชีวิตที่เหลือต่อไปในฐานะนัก เขียนนวนิยายเป็นเรื่องยากอย่างยิ่ง อาจพูดได้ว่าคน ปกติธรรมดาทัว่ ไปนัน้ ท�าไม่ได้แน่ จะพูดอย่างไรดี เพราะ มันจ�าเป็นต้องมี ‘สิ่งพิเศษบางอย่าง’ แน่นอนว่าจ�าเป็น ต้องมีความสามารถอยู่พอสมควร ต้องมีความไม่ย่อท้อ อยูป่ ระมาณหนึง่ แล้วก็เหมือนกับเหตุการณ์ตา่ งๆ ในชีวติ คือต้องมีปัจจัยจ�าพวกดวงชะตาหรือพรหมลิขิตอยู่ด้วย แต่มันมีสิ่งที่จา� เป็นต้องมีมากกว่านั้น สิ่งที่จัดคร่าวๆ อยู่ ในประเภท ‘คุณสมบัติ’ คนที่มีสิ่งนี้ติดตัวอยู่แล้วก็จะมี ส่วนคนที่ไม่มีก็จะไม่มี มีคนที่มีสิ่งนี้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แล้วก็มีคนที่ได้สิ่งนี้ในภายหลังด้วยความยากล�าบาก เกี่ยวกับเจ้า ‘คุณสมบัติ’ นี้ ยังมีสิ่งที่ไม่รู้กระจ่าง อีกมากมาย จึงไม่อาจพูดฟันธงอะไรได้ เพราะโดยส่วน ใหญ่แล้วเป็นสิง่ ทีไ่ ม่สามารถท�าให้เห็นได้ดว้ ยตาหรือบอก กล่าวเป็นค�าพูด อย่างไรก็ตามการด�ารงสถานะนักเขียน นวนิยายให้ได้ตลอดรอดฝัง่ นัน้ เป็นสิง่ ทีย่ ากมาก นักเขียน นวนิยายต่างส�าเหนียกถึงเรื่องนี้เข้ากระดูกด�า ดังนัน้ ท่าทีทนี่ กั เขียนนวนิยายจะแสดงออกต่อคน ต่างวงการผู้มุดเชือกรอบสังเวียนมวยก้าวเข้ามาเป็น นักเขียนนวนิยาย โดยปกติแล้วก็น่าจะเป็นการต้อนรับ 14 นักเขียนนวนิยายเป็นอาชีพ
เปิดใจกว้าง นักเขียนส่วนมากมักจะมีท่าทีประมาณ ‘เอ้า ถ้าจะเข้ามาก็มาเลย’ หรือไม่ก็แสดงท่าทีใส่ใจเป็น พิเศษเมื่อมีคนเข้ามาใหม่ แต่ถ้าผู้เข้ามาใหม่ถูกดีดตก สังเวียนไปหรือลงจากสังเวียนไปเอง (เป็นสองเหตุผลซึง่ มักเกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่) ก็จะมีความรู้สึกว่า ‘โถ น่า สงสาร’ หรือไม่ก็ ‘ขอให้โชคดีนะ’ ถ้าเขาหรือเธอได้ พยายามในแบบของตนแล้วยังคงอยู่รอดบนสังเวียน อย่างสง่างาม แน่นอนว่านักเขียนจะแสดงการให้เกียรติ และการให้เกียรตินนั้ มักจะแสดงออกอย่างเท่าเทียมและ ชอบธรรม (หวังว่าจะมีการแสดงออกเช่นนั้น) การทีน่ กั เขียนนวนิยายใจกว้างนัน้ อาจเกีย่ วข้อง ด้วยว่าโลกวรรณกรรมไม่ใช่สังคมซีโร-ซัม3 กล่าวคือ ถ้า มีนกั เขียนหน้าใหม่หนึง่ คนโผล่ขนึ้ มา ในเบือ้ งต้นมันไม่ได้ หมายความว่านักเขียนหนึ่งคนที่อยู่มาก่อนจะสูญเสีย อาชีพไป อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ได้เห็นอย่างโจ่งแจ้งชัดเจน จุดนี้จึงท�าให้แตกต่างจากโลกของกีฬาอาชีพโดยสิ้นเชิง การมีนักกีฬาหน้าใหม่เข้ามาในทีมหนึ่งคน แล้วท�าให้ นักกีฬาหน้าเก่าหรือนักกีฬารุ่นใหม่ที่ไม่โดดเด่นคนหนึ่ง ถูกเปลี่ยนสัญญาเป็นนักกีฬาอิสระไม่สังกัดทีม หรือถูก 3
Zero-sum society เป็นสถานการณ์หนึ่งในทฤษฎีเกมที่มีผลเพียงแค่แพ้ชนะเท่านั้น จะมีผู้ชนะเพียงคนเดียวและผู้ชนะจะได้ผลประโยชน์จากเกม ทั้งหมด ผู้แพ้คนอื่นๆ จะไม่ได้ผลประโยชน์ใดเลย 15
ดีดออกจากวงการ เรื่องแบบนั้นจะไม่พบเห็นในโลก วรรณกรรม หรือถ้ามีนวนิยายเล่มหนึ่งขายได้หนึ่งแสน เล่ม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะท�าให้ยอดขายนวนิยายเล่ม อืน่ ตกไปหนึง่ แสนเล่ม ตรงกันข้ามถ้าหนังสือของนักเขียน หน้าใหม่ขายดีจะส่งผลให้วงการนวนิยายทั้งหมดคึกคัก และมีกรณีทสี่ ง่ ผลท�าให้ทงั้ วงการรุง่ เรืองสดใสขึน้ มาด้วย หากถึงจะเป็นเช่นนั้น ถ้าใช้เวลาสักหน่อย ต่อให้ บอกว่าสังเวียนนัน้ กว้างใหญ่ไพศาลแค่ไหน แต่บนสังเวียน ก็มีพื้นที่ส�าหรับคนจ�านวนจ�ากัดแค่พอเหมาะกับสังเวียน เช่นกัน เมื่อมองไปรอบๆ ผมรู้สึกว่ามันเป็นเช่นนั้น ตัวผมเอง จะว่าไปแล้วก็เขียนนวนิยายเป็นเวลาต่อเนือ่ ง มาถึงสามสิบห้าปี เลีย้ งปากเลีย้ งท้องด้วยอาชีพนักเขียน กล่าวคืออยูบ่ นสังเวียนชือ่ ‘วงการวรรณกรรม’ มาจนถึง สามสิบกว่าปี ถ้าจะพูดแบบเชยๆ ก็คอื ‘หากินด้วยปากกา ด้ามเดียว’4 หากจะตีความให้แคบลง อาจพูดได้วา่ ประสบ ความส�าเร็จมาหนึ่งขั้น ตลอดสามสิบกว่าปีนี้ ผมได้เห็นผูค้ นมากมายเข้า มาเป็นนักเขียนหน้าใหม่ มีไม่น้อยที่คนเหล่านั้นหรือผล งานเหล่านั้นได้รับการประเมินค่าค่อนข้างสูงตั้งแต่เปิด ตัว ได้รับค�าชมจากนักวิจารณ์ ได้รับรางวัลวรรณกรรม 4
ดัดแปลงส�านวนเดิมของญี่ปุ่น โดยเปลี่ยนค�าว่าพู่กันเป็นปากกา
16 นักเขียนนวนิยายเป็นอาชีพ
ต่างๆ คนในสังคมต่างกล่าวขานถึง หนังสือก็ขายดี ถูก คาดหวังถึงอนาคตอันเรืองรอง พูดได้ว่าขึ้นสังเวียน พร้อมแสงสปอตไลต์เจิดจ้าและเพลงประกอบ แต่เมือ่ มาดูกนั นักเขียนหน้าใหม่เมือ่ ยีส่ บิ -สามสิบ ปีก่อน มีกี่คนกันที่หลงเหลือเป็นนักเขียนนวนิยายที่ยัง คงเขียนอยู่จนทุกวันนี้ ถ้าจะพูดกันตรงๆ คือ มีจ�านวน ไม่มากนัก ว่าไปแล้ว เอาเข้าจริงๆ คือน้อยมาก เหล่า ‘นักเขียนดาวรุง่ ’ จ�านวนมากต่างหายกันไปเงียบๆ โดยที่ พวกเราไม่ทันสังเกตด้วยซ�้า หรือไม่ก็—ความจริงกรณี แบบนี้อาจมีเยอะกว่าด้วยซ�้า—เบื่อการเขียนนวนิยาย หรือรู้สึกขี้เกียจเขียนนวนิยายอย่างต่อเนื่อง เลยย้ายไป วงการอื่นกัน และผลงานมากมายที่พวกเขาเขียนขึ้น —ตอนเปิดตัว โด่งดังในระดับหนึง่ และได้รบั ความสนใจ จากผูค้ น—แต่เมือ่ มาถึงปัจจุบนั การหาซือ้ หนังสือเหล่านัน้ จากร้านหนังสือทัว่ ไปอาจเป็นเรือ่ งยาก เพราะนักเขียน นวนิยายอาจไม่ได้ถกู จ�ากัดจ�านวน แต่พนื้ ทีข่ องร้านหนังสือ นั้นมีจ�ากัด ในความคิดของผม การเขียนนวนิยายดูจะไม่คอ่ ยเหมาะ กับคนที่มีหัวสมองแหลมคมฉับไว จริงอยู่ว่าการเขียน นวนิยายนั้นจ�าเป็นต้องมีความสามารถ ความรู้ และ ศิลปวิทยาในระดับพอสมควร ขนาดผมเองก็ยังคิดว่า ตัวเองมีความสามารถ ความรู้ และศิลปวิทยาในระดับ 17
เท่าที่จา� เป็นต้องใช้ คิดว่าน่าจะเป็นแบบนั้น... หรือเปล่า แต่ถา้ ถูกถามต่อหน้าตรงๆ ว่า เป็นแบบนีจ้ ริงๆ ไม่ผดิ แน่ ใช่ไหม ตัวผมคงไม่มีความมั่นใจพอจะพูดได้เต็มปาก แต่สา� หรับคนหัวไวหรือมีคลังความรูม้ ากมายเกิน ธรรมดา ผมคิดอยูเ่ สมอว่าพวกเขาไม่เหมาะกับการเขียน นวนิยาย การเขียนนวนิยาย—หรือการเล่าเรื่อง— เป็นการกระท�าที่ต้องใช้ความช้าแบบเกียร์ต�่าในการขับ เคลื่อน ถ้าจะพูดให้เห็นภาพก็เป็นสปีดที่อาจจะเร็วกว่า เดินนิดนึง แต่ก็ช้ากว่าปั่นจักรยาน การเคลื่อนไหวขั้น พื้ น ฐานของความรู ้ สึ ก ของบางคนอาจจะเหมาะกั บ ความเร็วแบบนั้น แต่ของบางคนก็อาจไม่เหมาะ กรณีของนักเขียนนวนิยายโดยส่วนใหญ่แล้วจะดึง ความรู้สึกข้างในของตัวเองมาแปลงรูปเป็น ‘เรื่องเล่า’ แล้วพยายามน�าเสนอออกมาผ่าน ‘ระยะห่าง’ ระหว่าง รูปแบบที่มีอยู่ดั้งเดิมกับรูปแบบใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นจาก กระบวนการแปลงรูป พยายามจะเล่าอะไรบางอย่างโดย ใช้พลวัตของระยะห่างนั้นมาเป็นคานงัด ซึ่งเป็นการ ท�างานที่ค่อนข้างจะใช้เวลาและยอกย้อนอยู่พอสมควร ถ้าเป็นคนมีสารซึง่ เป็นโครงร่างอันแจ่มชัดอยูใ่ นหัว ประมาณหนึง่ แล้วก็ไม่จา� เป็นต้องน�าเรือ่ งเล่าเข้ามาแทนที่ ในทุกครั้ง แค่น�าโครงร่างนั้นมาโดยไม่ต้องท�าอะไรเลย แล้วแปลงเป็นภาษาเขียนไปตรงๆ ย่อมเร็วกว่ามาก คน ทั่วไปก็อ่านเข้าใจได้ง่ายกว่าด้วย สารหรือแนวคิดที่ 18 นักเขียนนวนิยายเป็นอาชีพ
พยายามจะแปลงออกมาในรูปนวนิยาย ซึ่งอาจต้องใช้ เวลาประมาณครึ่งปีนั้น ถ้าน�าเสนอออกไปตรงๆ ในรูป แบบเช่นนี้ การแปลงเป็นภาษาเขียนอาจท�าเสร็จได้ ภายในสามวัน หรือถ้าหันหน้าเข้าหาไมค์แล้วพูดไปตาม ที่คิดอาจเสร็จภายในเวลาไม่ถึงสิบนาทีด้วยซ�า้ คนหัวไว ท�าเรื่องเช่นนี้ได้อยู่แล้ว และคนที่ฟังก็จะตบเข่าฉาดว่า “อ๋อ มันเป็นแบบนี้นี่เอง” สรุปคือเป็นเพราะหัวดีนั่นเอง และผูม้ คี วามรูม้ ากมายมหาศาลนัน้ ไม่จา� เป็นต้อง ล�าบากล�าบนน�าเรื่องเล่าที่มีความแฟนซี หรือ ‘ภาชนะ’ ทีไ่ ม่รวู้ า่ คืออะไรมาเป็นสือ่ กลางในการน�าเสนอ หรือไม่มี ความจ�าเป็นต้องสมมติตั้งข้อแม้ตั้งแต่แรกเริ่ม แค่ใช้ ความรู้ที่มีอยู่ประกอบเป็นภาษาเขียนอย่างมีตรรกะ เท่านี้ผู้คนก็จะเข้าใจได้ง่ายและให้ความสนใจ นักวิจารณ์วรรณกรรมจ�านวนไม่น้อยไม่สามารถ ท�าความเข้าใจเรือ่ งเล่าหรือนวนิยายบางประเภท—หรือ อาจเข้าใจ แต่ไม่สามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นเป็น ภาษาหรือท�าให้เป็นตรรกะซึ่งใช้งานได้—สาเหตุคงจะ เป็นตามที่กล่าวไป จะว่าไป พวกนักวิจารณ์เมื่อเทียบ กับนักเขียนนวนิยาย พวกเขาฉลาดกว่ามาก และสมอง ก็ไวเกินไป คงจะทนนัง่ พาหนะทีม่ ชี อื่ ว่าเรือ่ งเล่า ซึง่ แล่น ช้าๆ ไม่ได้ ไม่สามารถปรับร่างกายให้เข้ากับมันได้ ดังนัน้ บ่อยครั้งพวกเขาจึงแปลแปลงความเร็วของตัวบทเรื่อง เล่าให้อยู่ในระดับความเร็วของตัวเองก่อน แล้วค่อย 19
วิพากษ์ตัวบทที่แปลแปลงมา การกระท�าเช่นนั้นอาจมี กรณีที่เข้ากันได้ และกรณีที่เข้ากันไม่ค่อยได้ อาจมีกรณี ทีไ่ ปได้สวยและกรณีทไี่ ปไม่คอ่ ยรอด โดยเฉพาะถ้าตัวบท นัน้ ไม่ได้มแี ค่ความอืดอาดยืดยาด แต่ยงั มีการซ้อนทับซับ ซ้อนเข้าไปอีก ท�าให้กระบวนการแปลแปลงเป็นเรือ่ งยาก ยิ่งขึ้น ตัวบทที่ได้รับการแปลแปลงมาจึงบิดเบี้ยว เรื่องนั้นก็เรื่องหนึ่ง พวกที่สติปัญญาแหลมคม พวกที่เฉลียวฉลาด—โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้คนซึ่งอยู่ ในวงการอืน่ —เขียนนวนิยายสักเรือ่ งสองเรือ่ ง หลังจาก นั้นก็ย้ายไปที่อื่น ภาพเหล่านี้ผมเห็นมากับตาหลายครั้ง หลายครา ผลงานทีค่ นเหล่านีเ้ ขียนขึน้ โดยส่วนใหญ่แล้ว ‘เขียนได้ด’ี เป็นนวนิยายเปีย่ มคุณภาพ ผลงานหลายชิน้ มีความสดใหม่จนน่าตกใจ แต่พวกเขาก็อยู่บนสังเวียน นักเขียนนวนิยายได้ไม่นาน มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง แต่มี จ�านวนน้อยมาก บางคนผมรู้สึกว่าพวกเขาแค่ ‘แวะเข้า มาทัศนศึกษานิดหน่อยแล้วกลับออกไป’ หรือไม่เช่นนั้น สิ่งที่เรียกว่านวนิยาย ถ้าเป็นคน มีพรสวรรค์ทางการเขียนสักหน่อย ในชั่วชีวิตหนึ่งก็อาจ เขียนนวนิยายสักเรือ่ งได้งา่ ยๆ ขณะเดียวกันคาดว่าพวก คนฉลาดหลักแหลมคงค้นพบว่าการเขียนนวนิยายไม่ได้ ให้คุณประโยชน์ถึงขั้นที่คาดหวังไว้ เขียนไปสักเรื่องสอง เรื่องก็เข้าใจได้เองว่า “อ้อ มันเป็นแบบนี้” แล้วเปลี่ยน ไปท�าอย่างอื่น และคงคิดด้วยว่า ถ้าเป็นแบบนี้ สู้ไปท�า 20 นักเขียนนวนิยายเป็นอาชีพ
อย่างอื่นน่าจะคุ้มกว่า ผมเองเข้าใจความรู้สึกนั้น การเขียนนวนิยาย เป็นการท�างานที่มีประสิทธิภาพต�่าอย่างยิ่ง เพราะมัน เป็นการ ‘ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ’ ซ�้าไปซ�้ามา เมื่อมี หัวข้อส่วนตัวอยูต่ รงนีห้ วั ข้อหนึง่ นักเขียนนวนิยายจะน�า สิง่ นัน้ ไปวางในบริบทใหม่แล้วเล่าว่า ‘สิง่ นัน้ นะ มันกล่าว ได้อีกอย่าง เช่นว่า...’ แต่ถ้าในการถอดความนั้นมีส่วน ซึ่งไม่กระจ่างแจ้งหรือเป็นแฟนซี ก็ต้องมาเริ่มอธิบาย ส่วนนั้นกันอีกว่า “สิ่งนั้นนะ มันกล่าวได้อีกอย่าง เช่น ว่า...” ไอ้เจ้า “สิ่งนั้นนะ มันกล่าวได้อีกอย่าง เช่นว่า...” จะมีต่อเนื่องเรื่อยไปไม่รู้จบ เหมือนตุ๊กตาแม่ลูกดกของ รัสเซียที่เปิดออกมาเจอตัวข้างในอีกเรื่อยๆ ท�าซ�้าไปซ�้า มาไม่รู้จบ เป็นการถอดความต่อเนื่องไม่จบไม่สิ้น จน ผมอดคิดไม่ได้ว่าคงไม่ค่อยมีการท�างานใดที่อ่อนด้อย ประสิทธิภาพและยอกย้อนมากเท่านี้ ถ้าสามารถเขียน หัวข้อซึง่ คิดไว้ในตอนแรกออกมาได้ตรงๆ เป็นตัวหนังสือ อย่างกระจ่างแจ้งและดูมีภูมิรู้ย่อมไม่มีความจ�าเป็นที่จะ ‘ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ’ มาทดแทนสิ่งที่คิดไว้ ถ้าจะ พูดให้สดุ โต่งอาจนิยามได้วา่ ‘นักเขียนนวนิยายเป็นมนุษย์ จ�าพวกที่ทา� สิ่งไม่จ�าเป็นให้เป็นสิ่งจ�าเป็น’ แต่ถ้าจะให้นักเขียนนวนิยายบอกกล่าวก็จะได้ว่า สิ่งไม่จ�าเป็นแบบนั้น สิ่งที่ซับซ้อนยอกย้อนแบบนั้น สิ่ง เหล่านั้นต่างหากที่มีความจริงซ่อนอยู่ภายใน มันอาจ 21
เป็นการพูดที่ดูแรงไปหน่อย แต่นักเขียนนวนิยายส่วน ใหญ่สร้างสรรค์ผลงานของตนโดยเชือ่ เช่นนัน้ ดังนัน้ การ คิดว่า ‘ส�าหรับโลกใบนี้ไม่จา� เป็นต้องมีนักเขียนนวนิยาย ก็ได้’ จึงเป็นสิ่งธรรมดาสามัญ พร้อมกันนั้น การคิดว่า ‘ส�าหรับโลกใบนีจ้ า� เป็นต้องมีนกั เขียนนวนิยายเป็นอย่าง ยิ่ง’ ก็เป็นสิ่งธรรมดาเช่นกัน ขึ้นอยู่กับการวางแผนการ ใช้เวลา และขึ้นอยู่กับการวางกรอบของโลกทัศน์ ถ้าจะ ให้น�าเสนอได้เที่ยงตรงยิ่งขึ้นก็คือ โลกที่เราอาศัยอยู่นั้น ซับซ้อนซ้อนทับ มีเบื้องหน้าเบื้องหลังระหว่างความมี ประสิทธิภาพต�า่ ทีย่ อกย้อนกับความมีประสิทธิภาพฉับไว ซึ่งถ้าขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิด ถดถอยอย่างรุนแรง โลกใบนี้ย่อมบิดเบี้ยวไป ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผม การ เขียนนวนิยายนัน้ โดยพืน้ ฐานแล้วจัดว่าเป็นการกระท�าที่ ‘สะเหล่อ’ แทบไม่มีสิ่งใดดูสมาร์ทเลยสักอย่าง หมกตัว อยู่ในห้องเพียงล�าพัง ได้แต่เขียนหนังสือพลางคิดว่า ‘นี่ก็ไม่ใช่ โน่นก็ไม่ใช่’ ต่อให้นั่งเค้นสมองอยู่หน้าโต๊ะทั้งวี่ ทัง้ วัน ผลิตประโยคทีพ่ อจะดีงามบ้างออกมาได้สกั บรรทัด ก็ไม่เห็นมีใครปรบมือให้ หรือไม่มีใครมาตบไหล่แล้วชม ว่า “ท�าได้ดีมาก” นักเขียนนวนิยายก็ได้แต่พยักหน้า “อือๆ” เห็นด้วยกับตัวเองคนเดียวเงียบๆ เมื่อกลายมา เป็นหนังสือ พิมพ์เป็นเล่ม อาจไม่มีใครสักคนบนโลกเลย 22 นักเขียนนวนิยายเป็นอาชีพ
ก็ได้ที่ให้ความสนใจกับคุณภาพของประโยคหนึ่งบรรทัด ทีเ่ ค้นเขียนออกมา การเขียนนวนิยายคือการท�างานเช่น นั้น เป็นงานที่ต้องใช้เวลาวุ่นวาย เป็นงานที่ชวนให้ หงุดหงิดน่าเบื่อไม่รู้จบ ในโลกใบนีม้ คี นใช้เวลาแรมปีในการใช้ปากคีบยาวๆ สอดลงในขวดแก้ว เพื่อละเลียดต่อเรือจ�าลองอันมี รายละเอียดยิบย่อย การเขียนนวนิยายก็เช่นเดียวกัน แม้ตวั ผมจะไม่ได้เป็นคนมีฝมี อื ท�างานประณีตขนาดนัน้ ได้ แต่ผมก็คิดว่าโดยเนื้อแท้ของงาน ทั้งสองอย่างน่าจะมี จุดร่วมเหมือนกัน เมื่อเป็นนวนิยายขนาดยาว การ ท�างานละเอียดประณีตในห้องปิดสนิทอย่างต่อเนื่องวัน แล้ววันเล่า ซึง่ โดยส่วนใหญ่มกั ต่อเนือ่ งไปไม่มวี นั จบ หาก ไม่ใช่คนที่มีนิสัยเข้ากับงานแบบนี้ได้อยู่เป็นทุนเดิม หรือ ไม่ใช่คนที่ไม่รู้สึกทุกข์กับงานแบบนี้ ย่อมไม่สามารถ ท�างานนี้ได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน สมัยเป็นเด็ก ผมอ่านหนังสือเล่มหนึ่งเล่าถึงชายสองคน ที่ออกไปเที่ยวชมภูเขาไฟฟูจิ พวกเขาทั้งสองไม่เคยเห็น ภูเขาไฟฟูจดิ ว้ ยตาตัวเองมาก่อน ชายผูฉ้ ลาดหลักแหลม กว่า เมื่อได้ชมภูเขาไฟฟูจิจากมุมต่างๆ จากตรงเชิงเขา เพียงเท่านั้นก็พูดขึ้นว่า “อ้อ ภูเขาไฟฟูจิเป็นแบบนี้เอง เข้าใจแล้วละว่ามันดีงามตรงจุดนี้เอง” แล้วกลับบ้านไป ด้วยความพึงพอใจ เข้าใจได้รวดเร็วดูมปี ระสิทธิภาพมาก 23
ทว่าชายผูเ้ ขลาเบาปัญญากว่าไม่สามารถท�าความเข้าใจ ภูเขาไฟฟูจิได้โดยง่าย จึงจ�าเป็นต้องอยู่ต่อเพียงล�าพัง แล้วเดินเท้าปีนขึน้ ภูเขาไปจนถึงยอด การท�าเช่นนัน้ ต้อง ใช้เวลา สร้างความยุง่ ยากและใช้พละก�าลังกายจนอ่อนล้า จนในที่สุดจึงจะรู้สึกว่า ‘อ้อ ภูเขาไฟฟูจิมันเป็นแบบนี้ เอง’ อาจไม่ถงึ กับเข้าใจ แต่กพ็ อใจในค�าตอบของตัวเอง ระดับหนึ่ง ส่วนมนุษย์เผ่าพันธุท์ เี่ รียกว่านักเขียนนวนิยายนัน้ (หรืออย่างน้อยก็โดยส่วนใหญ่) จะว่าไปก็เป็นคนที่ไปดู ภูเขาไฟฟูจิแบบหลัง นั่นคือ ไม่รู้ผมจะพูดแรงไปหรือ เปล่านะ จัดอยู่ในจ�าพวกชายผู้เขลาเบาปัญญา เป็นคน จ�าพวกทีห่ ากไม่ได้เดินเท้าด้วยตัวเอง และปีนขึน้ ไปจนถึง ยอดเขาแล้วจะไม่เข้าใจว่าภูเขาไฟฟูจเิ ป็นอย่างไร ถ้าจะ ว่าไปอีก อาจไม่ใช่แค่นั้นด้วยซ�้า น่าจะเป็นคนจ�าพวกที่ ปีนขึน้ ไปหลายหนก็ยงั ไม่เข้าใจ หรือไม่กย็ งิ่ ปีนยิง่ ไม่เข้าใจ หนักขึ้น ซึ่งน่าจะจัดเป็นธรรมชาติของพวกนักเขียน นวนิยาย และหากเป็นเช่นนั้นย่อมเป็นปัญหาก่อนจะพูด ถึง ‘ประสิทธิภาพ’ ด้วยซ�า้ เป็นสิง่ ทีค่ นฉลาดหลักแหลม ไม่มีทางท�าได้ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ดังนั้นส�าหรับนักเขียนนวนิยาย การมีอัจฉริยะ จากวงการอื่นจู่ๆ เผลอตัวเข้ามาเขียนนวนิยาย แล้วผล งานนัน้ ได้รบั ความสนใจจากผูค้ นในสังคมและนักวิจารณ์ จนกลายเป็นเบสต์เซลเลอร์ ก็ไม่ได้ตกอกตกใจอะไรนัก 24 นักเขียนนวนิยายเป็นอาชีพ
แถมยังไม่หวาดหวัน่ แต่อย่างใด หรือแม้แต่ (คิดว่านะครับ) จะรู้สึกขุ่นเคืองหัวเสีย เพราะอะไรหรือ เพราะนักเขียน นวนิยายรู้ดีว่าการที่คนเหล่านั้นจะเขียนนวนิยายอย่าง ยาวนานต่อเนื่องนั้นเป็นกรณีที่หาได้ยาก อัจฉริยะย่อม มี จั ง หวะของอั จ ฉริ ย ะ ปั ญ ญาชนย่ อ มมี จั ง หวะของ ปัญญาชน นักวิชาการย่อมมีจงั หวะของนักวิชาการ และ จังหวะของพวกเขาเหล่านัน้ โดยส่วนใหญ่เมือ่ มองในระยะ ยาวดูเหมือนจะไม่เหมาะกับการคร�่าเคร่งเขียนนวนิยาย จริงอยูว่ า่ ในบรรดานักเขียนนวนิยายอาชีพ มีคน ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นอัจฉริยะรวมอยู่ด้วย อีกทั้ง ยังมีคนฉลาดแหลมคม และไม่เพียงแต่แหลมคมแค่ใน มาตรฐานสังคมเท่านั้น ต้องแหลมคมในเรื่องนวนิยาย ด้วย แต่เท่าที่ผมดูแล้ว ระยะเวลาที่คนฉลาดแหลมคม เช่นนั้นจะเดินไปได้—พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ‘วันหมดอายุ ในฐานะนักเขียนนวนิยาย’—น่าจะอยู่ที่ราวๆ สิบปี ไม่ เกินนั้น หากเกินกว่านั้นจ�าเป็นต้องมีพรสวรรค์อันใหญ่ โตถาวรมาทดแทน พูดอีกอย่างได้ว่าเมื่อถึงเวลาหนึ่งจะ ถูกคาดหวังให้เปลีย่ นจาก ‘ความเฉียบคมแบบใบมีดโกน’ เป็น ‘ความเฉียบคมแบบมีดพร้า’ และจะถูกคาดหวังยิ่ง ขึ้นให้เปลี่ยนจาก ‘ความเฉียบคมแบบมีดพร้า’ เป็น ‘ความเฉียบคมแบบขวาน’ คนที่ก้าวผ่านจุดเปลี่ยนผัน แบบนั้นได้ดีจะเติบโตเป็นนักเขียนใหญ่อีกขั้นหนึ่ง และ จะอยูร่ อดผ่านยุคสมัยไปได้ ส่วนคนทีไ่ ม่สามารถก้าวผ่าน 25
ได้ ไม่วา่ จะมากหรือน้อย ก็จะหายจากวงการไปกลางคัน —หรือเงาของตัวตนก็จะเบาบางลง—หรือไม่ก็ไปอยู่ อย่างสงบในทีซ่ งึ่ คนฉลาดเฉียบคมควรจะอยูไ่ ด้อย่างสงบ ส�าหรับนักเขียนนวนิยาย การ ‘อยู่อย่างสงบใน ทีท่ คี่ วรอยูไ่ ด้อย่างสงบ’ ถ้าจะพูดตรงๆ นัน่ แทบหมายถึง ‘เสื่อมถอยซึ่งพลังสร้างสรรค์’ เลยทีเดียว นักเขียน นวนิยายก็เหมือนปลาบางชนิด ถ้าไม่ว่ายน�า้ ไปข้างหน้า เรื่อยๆ ก็จะตาย ดังที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวล ผมให้ความเคารพแก่นัก เขียนที่เขียนนวนิยายต่อเนื่องมานานแรมเดือนแรมปี โดยไม่รู้จักเบื่อ—หมายความได้อีกอย่างว่า ผมให้ความ เคารพแก่เพือ่ นร่วมอาชีพของผม แน่นอนว่าอาจมีความ ชอบหรือไม่ชอบเป็นการส่วนตัวในผลงานแต่ละเรื่องที่ พวกเขาเขียน แต่นั่นเป็นคนละเรื่องกัน การที่นักเขียน นวนิยายใช้การเขียนนวนิยายหากินเป็นอาชีพ หรือมีชวี ติ อยู่รอดในวงการได้นานต่อเนื่องถึงยี่สิบสามสิบปี สร้าง ฐานแฟนผู้อ่านได้จ�านวนหนึ่ง ผมคิดว่าคนเหล่านี้ต้องมี แก่นกระพี้ที่แข็งแรงในฐานะนักเขียนนวนิยาย จะต้องมี พลังขับเคลื่อนภายในที่กระตุ้นให้อยู่ไม่ได้ถ้าไม่ได้เขียน นวนิยาย มีน�้าอดน�า้ ทนสูงส่งในการท�างานอันเดียวดาย เป็นเวลานาน อาจเรียกว่านั่นคือคุณสมบัติและอุปนิสัย ของนักเขียนนวนิยายเลยก็ได้ 26 นักเขียนนวนิยายเป็นอาชีพ
การเขียนนวนิยายสักเรือ่ งนัน้ ไม่ใช่เรือ่ งยาก และ การเขียนนวนิยายดีๆ สักเรือ่ ง ส�าหรับบางคนแล้วก็ไม่ใช่ เรื่องยากเช่นกัน อาจไม่ถึงขั้นง่ายดายแต่ก็ไม่เกินความ สามารถ แต่การจะเขียนนวนิยายอย่างต่อเนือ่ งยาวนาน นั้นยากยิ่ง ใช่ว่าใครๆ ก็ท�าได้ เพราะการท�าเช่นนั้น ดัง ทีผ่ มได้กล่าวไปแล้ว มันจ�าเป็นต้องมีคณ ุ สมบัตพิ เิ ศษบาง ประการ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่เรียกว่า ‘พรสวรรค์’ ถ้าเช่นนั้น จะท�าอย่างไรเพื่อแยกให้ออกว่ามี คุณสมบัตินั้นอยู่ในตัวหรือไม่ ค�าตอบมีเพียงอย่างเดียว คือ ให้พสิ จู น์โดยการโยนลงน�า้ แล้วดูวา่ จะลอยขึน้ มาหรือ จมลงไป อาจฟังดูหยาบไปสักหน่อย แต่ดเู หมือนชีวติ คน เราแต่เดิมก็เป็นเช่นนั้น และแม้ว่าจะเป็นผู้ไม่ได้เขียน นวนิยายก็เห็นได้ชัดว่ายังมีชีวิตอยู่ได้อย่างชาญฉลาด และมีประสิทธิภาพ ส�าหรับคนทีอ่ ย่างไรก็อยากเขียน ถ้า ไม่ได้เขียนจะครัน่ เนือ้ ครัน่ ตัว คนเหล่านัน้ แหละทีจ่ ะเขียน นวนิยายและเขียนอย่างต่อเนื่อง ส�าหรับคนเหล่านั้นผม เปิดใจรับด้วยความยินดีในฐานะนักเขียนคนหนึ่ง ขอเชิญขึ้นสังเวียน
27
เกี่ยวกับผู้เขียน ต�านานกล่าวไว้ว่า ในวันที่อากาศอบอุ่นช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปีค.ศ. 1978 ขณะดูเบสบอลอยู่ ฮารูกิ มูราคามิก็เกิด แรงบันดาลใจในงานเขียนนิยายเล่มแรกทีต่ อ่ มาได้ชอื่ ว่า สดับลมขับขาน (Hear the Wind Sing) หลังจากนั้น งานเขียนของเขาประสบความส�าเร็จ ได้รับความนิยม อย่างรวดเร็ว ได้รับการจัดแปลกว่าสี่สิบภาษาทั่วโลก เขาออกผลงานอย่างสม�่าเสมอ ทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น ความเรียงและบทความสารคดี ฮารูกิ มูราคามิเกิดที่เมืองเกียวโต เมื่อปีค.ศ. 1949 ในช่วงวัยเด็กที่เมืองโกเบ พ่อของเขาเป็นพระ นักบวช ส่วนแม่เป็นลูกสาวพ่อค้าในเมืองโอซากา ทั้ง สองเป็นครูสอนวิชาวรรณกรรมญี่ปุ่น มูราคามิได้รับ อิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตกมาตั้งแต่เด็กโดยเฉพาะ ดนตรีและวรรณกรรม เขาเติบโตพร้อมกับการอ่านผล งานของนักเขียนอเมริกนั มากมาย เช่น เคิรต์ วอนเนกัต (Kurt Vonnegut) และริชาร์ด โบรติกัน (Richard Brautigan) ผลงานของเขาแตกต่างจากนักเขียนญี่ปุ่น คนอื่นๆ เนื่องจากอิทธิพลตะวันตกนี้นั่นเอง
เกี่ยวกับผู้แปล อรรถ บุนนำค จบปริญญาตรีศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชา ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับทุนจาก รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาด้านวรรณคดี ในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก แม้จะมีประสบการณ์ผ่านงานหลากหลายอาชีพ ทั้งเอกชนและรัฐบาลมาจนถึงปัจจุบัน แต่ก็ยังคงต้อง มนต์เสน่ห์ของวงการหนังสือตลอดมา ด้วยงานหลาก หลายบทบาท ทั้งนักเขียน นักแปล คอลัมนิสต์และ บรรณาธิการ มุทิตำ พำนิช หลังเรียนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้งานเป็น โปรแกรมเมอร์สร้างโปรแกรมแปลภาษาที่ญี่ปุ่น ท�าไป ท�ามารู้สึกว่าการแปลภาษาไม่ใช่เรื่องของเครื่องคอมพ์ เลยออกมาเป็นล่ามและนักแปลเสียเอง แล้วก็พบว่างาน แปลหนังสือคืองานในฝัน ได้บรรจงอ่านนิยายช้าๆ ทุก ซอกมุม ได้อยูบ่ า้ นทัง้ วัน ท�างานในชุดนอน กินไปท�างาน ไป หนีเที่ยวบ้างก็ได้ ติดที่เจ้าส�านักก�ามะหยี่ป้อนงาน ถี่ยิบไม่ค่อยปล่อยให้ว่าง จนมีผลงานออกมาอย่างต่อ เนื่องและยังจะเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ
ผลงานนวนิยายของฮารูกิ มูราคามิ 1979 สดับลมขับขาน (Hear the Wind Sing) 1980 พินบอล, 1973 (Pinball, 1973) 1982 แกะรอย แกะดำว (A Wild Sheep Chase) 1985 แดนฝันปลายขอบฟ้า (Hard-boiled Wonderland and the End of The World) 1987 ด้วยรัก ควำมตำย และหัวใจสลำย (Norwegian Wood) 1988 เริงระบ�ำแดนสนธยำ (Dance Dance Dance) 1992 กำรปรำกฏตัวของหญิงสำวในคืนฝนตก (South of the Border, West of the Sun)
1994-1995 บันทึกนกไขลำน (The Wind-Up Bird Chronicle) 1999 รักเร้นในโลกคู่ขนำน (Sputnik Sweetheart) 2002 คำฟกำ วิฬำร์ นำคำตะ (Kafka on the Shore) 2004 รำตรีมหัศจรรย์ (After Dark) 2009-2010 หนึ่งคิวแปดสี่ (1Q84) 2013 ชำยไร้สีกับปีแสวงบุญ (Colorless Tsukuru Tazaki and His Years of Pilgrimage) 2017 Killing Commendatore (ก�าลังอยู่ระหว่างการจัดแปล เป็นภาษาไทย)
ผลงานรวมเรื่องสั้นโดย ฮารูกิ มูราคามิ ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว 1983 เรือเชื่องช้ำสู่เมืองจีน (A Slow Boat to China) 1983 วันเหมำะเจำะส�ำหรับจิงโจ้ (A Perfect Day for Kangaroos) 1984 เส้นแสงที่สูญหำย เรำร้องไห้เงียบงัน (Firefly, Barn Burning and other stories) 1985 ไม่มีใครน�ำหน้ำบนม้ำหมุน (Dead Heat on a Merry-Go-Round) 1986 ค�ำสำปร้ำนเบเกอรี (The Second Bakery Attack)
1990 ทีวีพีเพิล (TV People) 1996 ปีศำจแห่งเล็กซิงตัน (Lexington Ghosts) 1997 อำฟเตอร์เดอะเควก (After the quake) 2005 ลึกลับ.โตเกียว.เรื่องสั้น (Tokyo Mysterious Story Collection) 2014 ชำยที่คนรักจำกไป (Men Without Women)
หากพบหนังสือที่มีข้อผิดพลาดหรือไม่ได้มาตรฐาน อาทิ หน้ากระดาษหายหรือสลับกัน โปรดแจ้งมาที่ 1q84thai@gmail.com เพื่อเปลี่ยนเล่มใหม่