Unit 03

Page 1


เอกสารอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส ข องมหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าชฉบั บ นี้ ได รั บ การสงวนลิ ข สิ ท ธิ์ แ ละคุ ม ครองภายใต ก ฎหมายลิ ข สิ ท ธิ์ รวมทั้ ง สนธิ สั ญ ญาว า ด ว ยทรั พ ย สิ น ทางป ญ ญา


หน่วย​ที่

3

ธ ส

การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ธ ส

ชื่อ วุฒ ิ ตำ�แหน่ง หน่วย​ที่​เขียน

ธ ส ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-1

ธ ส

อาจารย์ ดร.วรรณ​โณ ฟอง​สุวรรณ

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

อาจารย์ ดร.วรรณ​โณ ฟอง​สุวรรณ Ph.D. International Marketing, The University of Warwick and The University of Centre Antwerp, England and Belgium MBA University of Brussels, Belgium MS (Economics) University of Brussels, Belgium BBA (Marketing) Ramkhamhaeng University, Bangkok, Thailand ประธาน​หลักสูตร​นวัตกรรม​ธุรกิจ​ผู้​ประกอบ​การ​มหา​บัณฑิต มหาวิทยาลัยร​ าชภัฏ​สวนสุนันทา กรรมการ​หลักสูตร​ปรัชญา​ดุษฎีบ​ ัณฑิต​นวัตกรรม มหาวิทยาลัยร​ าชภัฏ​สวนสุนันทา หน่วย​ที่ 3

ธ ส


3-2

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

หน่วย​ที่ 3

ธ ส

การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

เค้าโครง​เนื้อหา

แนวคิด

ตอน​ที่ 3.1 แนวคิดเ​กี่ยว​กับ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ 3.1.1 การ​ตลาด​แนว​ใหม่ 3.1.2 ความ​หมาย​และ​ประโยชน์​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ 3.1.3 ช่อง​ทางการ​โฆษณา​และ​ประชาสัมพันธ์​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ ตอน​ที่ 3.2 การ​บริหาร​จัดการ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ 3.2.1 การ​บริหาร​การ​จัดการ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ 3.2.2 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรม​ผู้​บริโภค​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ 3.2.3 เครื่อง​มือห​ ลัก​ใน​การ​ทำ�การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ ตอน​ที่ 3.3 แนวทาง​การ​พัฒนา​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ 3.3.1 การ​วางแผน​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ 3.3.2 กลยุทธ์ก​ าร​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ 3.3.3 กลวิธีก​ าร​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

1. แนวคิด​และ​หลัก​การ​เกี่ยว​กับ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ คือ ผู้​ซื้อ​สามารถ​เกิด​ปฏิสัมพันธ์​ ได้โ​ ดย​ทันทีท​ ีเ่​กิดค​ วาม​เชื่อม​ ั่นใ​ น​ผลิตภัณฑ์น​ ั้น ความ​สะดวก​สบาย​ใน​การ​ซื้อข​ าย​ได้ต​ ลอด​ เวลา ช่วย​ให้ล​ ูกค้าง​ ่าย​ต่อก​ าร​เปรียบ​เทียบ​ข้อมูลห​ รือส​ ารสนเทศ​ด้าน​ผลิตภัณฑ์ข​ อง​กิจการ​ และ​กบั ค​ แู​่ ข่ง ส่วน​ผขู​้ าย​ชว่ ย​ใน​การ​ด�ำ เนินก​ จิ กรรม​ทางการ​ตลาด​ใน​รปู แ​ บบ​ตา่ งๆ ทีส​่ ามารถ​ สร้าง​ความ​สัมพันธ์​อัน​ดีก​ ับ​ลูกค้า 2. แนวคิด​และ​หลัก​การ​บริหาร​จัดการ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ คือ การ​วิเคราะห์ การ​วางแผน การ​ปฏิบัติ​การ​ตาม​แผนที่​วาง​ไว้​และ​การ​ควบคุม​โปรแกรม​ที่​ออกแบบ​ไว้​อย่าง​สร้างสรรค์ การ​สร้าง​และ​รักษา​ผล​ประโยชน์​จาก​การ​แลก​เปลี่ยน​กับ​ผู้​ซื้อ เป้า​หมาย​โดย​มี​จุด​มุ่ง​หมาย​ เพื่อใ​ ห้​บรรลุ​วัตถุประสงค์ข​ อง​องค์กร

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-3

ธ ส

3. กลยุทธ์​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ เน้น​กระบวนการ​ใน​การ​พัฒนา​และ​รักษา​กลยุทธ์​ให้​มี​ ความ​สอดคล้อง​ระหว่าง​เป้า​หมาย​ของ​องค์กร กับ​ความ​สามารถ​และ​โอกาส​ที่​จะ​เกิด​จาก​ การ​เปลี่ยนแปลง​ของ​ตลาด กระบวนการ​ใน​การ​วางแผน​เชิงกล​ยุทธ์ ประกอบ​ด้วย ภารกิจ​ ที่​ชัดเจน การ​ตั้งว​ ัตถุประสงค์ การ​ออกแบบ​กลุ่ม​ธุรกิจ​ที่ด​ ี การ​ประสาน​งาน​กลยุทธ์​ระดับ​ ต่างๆ และ​อาศัยก​ ลยุทธ์​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร

ธ ส

วัตถุประสงค์

ธ ส

เมื่อศ​ ึกษา​หน่วย​ที่ 3 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. อธิบาย​แนวคิด​เกี่ยว​กับ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ หรือ​การ​ตลาด​แนว​ใหม่ ความ​หมาย ประโยชน์​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ ช่อง​ทางการ​โฆษณา​และ​ประชาสัมพันธ์​ของ​การ​ ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ได้ 2. อธิบาย​การ​บริหาร​จัดการ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ พฤติกรรม​ผู้​บริโภค​ของ​การ​ตลาด​ อิเล็กทรอนิกส์ และ​เครื่อง​มือ​หลัก​ใน​การ​ทำ�การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ได้ 3. วิเคราะห์​กลยุทธ์​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ การ​วางแผน​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ กลยุทธ์​ การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ กลวิธี และ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-4

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ตอน​ที่ 3.1

ธ ส

แนวคิดเ​กี่ยว​กับ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

โปรด​อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ�​ตอน​ที่ 3.1 แล้วจ​ ึง​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ พร้อม​ปฏิบัติ​กิจกรรม​ใน​แต่ละ​เรื่อง

หัว​เรื่อง

แนวคิด

ธ ส

เรื่องที่ 3.1.1 การ​ตลาด​แนว​ใหม่ เรื่องที่ 3.1.2 ความ​หมาย​และ​ประโยชน์​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องที่ 3.1.3 ช่อง​ทางการ​โฆษณา​และ​ประชาสัมพันธ์​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ธ ส

1. การ​ตลาด​อเิ ล็กทรอนิกส์​ตอ้ ง​ใช้​หลัก​การ​สอ่ื สาร​การ​ตลาด โดย​ม​ตี วั ​แบบ​ให้​เห็น​ถงึ กระบวนการ​ ตัดสิน​ใจ​ซื้อ อาศัย​การ​เชื่อม​โยง​เครือ​ข่าย​หลาย​รูป​แบบ​ที่​เน้น​การ​ติดต่อ​ระหว่าง​บุคคล โดย​ใช้​เครื่อง​คอมพิวเตอร์​ใน​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ผ่าน​สาย​โทรศัพท์ หรือ​อินเทอร์เน็ต ซึ่ง​เป็น​ แนวคิด​การ​ตลาด​แนว​ใหม่เ​กิด​ประโยชน์​ต่อ​การ​สื่อสาร​การ​ตลาด​ทาง​ตรง​ต่อ​ผู้​ซื้อ​ได้​อย่าง​ รวดเร็ว 2. หลาย​คน​คิด​ว่าการ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ส่วน​ใหญ่​แล้ว​เป็น​เพียง​แค่​เรื่อง​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​ การ​ขาย​และ​การ​โฆษณา เพราะ​ใน​แต่ละ​วัน​เรา​จะ​รับ​รู้​ปรากฏการณ์​ใน​การ​โฆษณา​ผ่าน​ อินเทอร์เน็ตใ​ น​เชิงพ​ าณิชย์ห​ รือจ​ าก​การ​ขาย​สินค้าท​ าง​โทรทัศน์ อย่างไร​ก็ตาม การ​ขาย​และ​ การ​โฆษณา​นั้นเ​ป็นเ​พียง​ส่วน​หนึ่งท​ างการ​ตลาด​ทีช่​ ่วย​กระ​ตุ้นเ​กิด​ ความ​สนใจ​ใน​ผลิตภัณฑ์​ ของ​กิจการ ดัง​นั้น ถ้า​มี​ความ​เข้าใจ​อย่าง​แท้จริงใ​ น​ความ​หมาย​จะ​ก่อ​ให้​เกิด​ประโยชน์​ของ​ การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​อย่าง​มากมาย​ต่อ​ธุรกิจ 3. องค์กร​หรือบ​ ริษัทต​ ้อง​ทำ�​กิจกรรม​ทางการ​ตลาด​มากกว่าก​ าร​ผลิตผ​ ลิตภัณฑ์ท​ ดี่​ เี​พียง​อย่าง​ เดียว กิจการ​ยัง​ต้อง​แจ้ง​ให้​ผู้​บริโภค​รับ​รู้​เกี่ยว​กับ​ประโยชน์​ของ​ผลิตภัณฑ์​และ​ตำ�แหน่ง​ ผลิตภัณฑ์​ที่​วาง​ไว้​ใน​ใจ​ของ​ผู้​บริโภค​อย่าง​รอบคอบ ใน​การ​ทำ�​เช่น​นี้​กิจการ​ต้อง​มี​ทักษะ​ ใน​การ​ใช้​เครื่อง​มือ​สื่อสาร​สู่​มวลชน อัน​ได้แก่ การ​โฆษณา การ​ส่ง​เสริม​การ​ขาย และ ช่อง​ทางการ​โฆษณา​และ​ประชาสัมพันธ์​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

วัตถุประสงค์

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-5

ธ ส

เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 3.1 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. บอก​แนวคิด การ​สื่อสาร​การ​ตลาด กระบวนการ​สื่อสาร และ​ตัว​แบบ​ของ​พฤติกรรม​ ผู้บ​ ริโภค​ได้ 2. อธิบาย​องค์ป​ ระกอบ​ของ​ส่วน​ประสม​ทางการ​ตลาด​แบบ​ทั่วไป​ได้ 3. อธิบาย​องค์ป​ ระกอบ​ของ​ส่วน​ประสม​ทางการ​ตลาด​การ​ทำ�​ตลาด​ออนไลน์​ได้ 4. อธิบาย​ความ​แตก​ต่าง​ระหว่าง​การ​ตลาด​แบบ​ดั้งเดิม​กับ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ หรือ​ การ​ตลาด​แนว​ใหม่ไ​ ด้ 5. อธิบาย​ความ​หมาย​และ​ประโยชน์​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ได้ 6. อธิบาย​ช่อง​ทางการ​โฆษณา​และ​ประชาสัมพันธ์​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-6

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

เรื่องที่ 3.1.1 การ​ตลาด​แนว​ใหม่

ธ ส

ธ ส

เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​และ​การ​ตลาด​ใน​อนิ เทอร์เน็ต เดิมทีน​ กั การ​ตลาด​ภายใน​องค์กร​ใช้ส​ ือ่ ช​ นิดเ​ดียว​ กัน​กับ​ที่​นักการ​ตลาด​ภายนอก​องค์กร​ใช้​การ​ปฏิสัมพันธ์​กับ​กลุ่ม​เป้า​หมาย สื่อ​ที่​เลือก​ใช้​ใน​ระยะ​แรก ได้แก่ กระดาน​ข่าว วารสาร​ภายใน​องค์กร และ​จุลสาร ซึ่ง​ทั้งหมด​นี้​มี​ข้อ​จำ�กัด​เช่น​เดียว​กับ​โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และ​นิตยสาร เนื่องจาก​เป็นการ​สื่อสาร​แบบ​ทาง​เดียว ต่อ​มา​จึง​เพิ่ม​วิธี​การ​สื่อ​สา​รอื่นๆ คือ การ​สื่อสาร​ แบบ​ต่อ​หน้า เช่น การ​ประชุม การ​ให้​ข้อมูล​แบบ​สั้น​กระชับ และ​การ​สัมภาษณ์ แต่​ก็​มี​ข้อ​จำ�กัด​แง่​ของ​ ประสิทธิผล อย่างไร​ก็ตาม นักการ​ตลาด​ภายใน​องค์กร​เริ่มต​ ระหนักถ​ ึง​ความ​เป็นไ​ ป​ได้​ของ​การ​ติดต่อร​ ะหว่าง​ กัน และ​ประสิทธิผล​ของ​เทคโนโลยี​อินเทอร์เน็ต การนำ�​ระบบ​อินทราเน็ตม​ า​ใช้เ​ป็นเ​ครื่อง​มือท​ ีท่​ รง​พลังส​ ำ�หรับ​ การ​บริหาร​งาน​ใน​องค์กร​ที่​มี​การ​แยก​ส่วน​เพิ่ม​ขึ้น และ​การ​เปลี่ยนแปลง​ก็​เกิด​ขึ้น​เป็น​ช่วงๆ ดัง​นั้น การ​สื่อสาร​การ​ตลาด​ที่​อยู่​ใน​รูป​ของ​การ​โฆษณา​จะ​มี​บทบาท​ใน​การ​สร้างสรรค์​คุณค่า​แก่​ผู้​มี​ ส่วน​ได้ส​ ่วน​เสียห​ รือผ​ ูบ้​ ริโภค ภาพ​ลักษณ์อ​ งค์กร​เป็นต​ ัวส​ ะท้อน​ภาพ​ของ​องค์กร​ใน​สายตา​ของ​กลุ่มผ​ ูม้​ สี​ ่วน​ได้​ ส่วน​เสีย การ​พิจารณา​ปัจจัยท​ ีม่​ อี​ ิทธิพล​ต่อภ​ าพ​ลักษณ์อ​ งค์กร​ว่าการ​สื่อสาร​องค์กร​ผ่าน​การ​ติดต่อส​ ื่อสาร​แบบ​ พื้นฐ​ าน​ถือเ​ป็นช​ ่อง​ทาง​สำ�คัญท​ ี่ท​ ำ�ให้ผ​ ู้บ​ ริโภค​รับร​ ู้คุณค​ ่าข​ อง​องค์กร การ​ติดต่อส​ ื่อสาร​ใน​ที่น​ ี้ หมาย​ถึงท​ ั้งก​ าร​ ติดต่อ​สัมพันธ์​ระหว่าง​เจ้าห​ น้าที่​และ​ผู้บ​ ริโภค และ​สิ่ง​แวดล้อม​ทาง​กายภาพ​ของ​สถาน​ที่​ให้​บริการ นอก​เหนือ​ จาก​นั้นย​ ังเ​สริมอ​ ีกว​ ่าการ​สื่อสาร​การ​ตลาด​มบี​ ทบาท​ใน การ​สื่อค​ ุณค่าข​ อง​องค์กร​ไป​ถึงผ​ ูบ้​ ริโภค การ​ศึกษา​เรื่อง​ การ​ตลาด​แบบ​ใหม่​จึงเ​ป็น​เรื่อง​ที่ส​ ำ�คัญ

ธ ส

1. การ​ทำ�​ตลาด​ออนไลน์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

การ​ทำ�​ตลาด​ออนไลน์ (online marketing) หรือ​การ​ศึกษา​เรื่อง​การ​ตลาด​แบบ​ใหม่ ซึ่ง​ถือว่า​เป็น​ แนวทาง​ที่มา​แรง​มาก​ใน​ยุค​นี้แ​ ละ​เป็น​นวัตกรรม​หนึ่ง​ทาง​ด้าน​การ​ตลาด แบ่งเ​ป็น 2 แนวทาง คือ 1.1 การ​ตลาด​แบบ​ปิด (offline marketing) ก็​คือ การ​สื่อสาร​การ​ตลาด​โดย​ใช้​เครื่อง​มือ​กลุ่ม​การ​ สื่อสาร​ผ่าน​สื่อ​หลัก (above the line) และ​กลุ่ม​การ​สื่อสาร​แบบ​สอง​ทาง (below the line activities) คือ กิจกรรม​ทาง​โฆษณา การ​ตลาด​และ​การ​ขาย​ที่​มอง​เห็นไม่​เกี่ยว​กับอ​ ินเทอร์เน็ต หรือ​จับต​ ้อง​ได้​นั่นเอง 1.2 การ​ตลาด​แบบ​ออนไลน์ (online marketing) ก็​คือ การ​ตลาด​ที่​มี​กิจกรรม​บน​ไซเบอร์​หรือ​ระบบ​ อินเทอร์เน็ต​ทั้งหมด​นั่นเอง ไม่​ว่า​จะ​เป็นการ​ซื้อ การ​ขาย การ​โฆษณา หรือ​การ​วางแผน​การ​ตลาด​ผ่าน​ทาง​ อินเทอร์เน็ต ซึ่งป​ ัจจุบัน​จะ​มีค​ วาม​สำ�คัญ​มาก และ​สามารถ​ลด​ค่า​ใช้​จ่าย​ได้​อย่าง​มาก​ที​เดียว วิธี​การ​ทำ�การ​ตลาด​บน​โลก​ออนไลน์​นั้น องค์​ประกอบ​ต่างๆ ของ​การ​ตลาด​โดย​อาศัย​พาณิชย์​ อิเล็กทรอนิกส์ หรืออ​ ีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) เป็นส​ ิ่งส​ ำ�คัญท​ ี่ผ​ ู้ป​ ระกอบ​การ​ซึ่งม​ ีหน้าร​ ้าน​บน​โลก​ออนไลน์​ แห่งน​ ีจ้​ ะ​ต้อง​ศึกษา​ทำ�ความ​เข้าใจ​เป็นอ​ ย่าง​ดี เพื่อจ​ ะ​ทำ�ให้ไ​ ด้จ​ ัดก​ ิจกรรม​ทางการ​ตลาด​อย่าง​เหมาะ​สม​และ​เกิด​ ประสิทธิภาพ​มาก​ที่สุด

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-7

ธ ส

ใน​ช่วง​เริ่ม​ต้น​นั้น การ​ตลาด​อาจ​เป็น​เรื่อง​ยาก​ของ​ผู้​ประกอบ​การ​หน้า​ใหม่ รวม​ถึง​ผู้​ประกอบ​การ​ที่​ ดำ�เนินธ​ รุ กิจอ​ ยูด​่ ว้ ย​ความ​ไม่เ​ข้าใจ​ใน​ระยะ​เริม่ ต​ น้ แต่ก​ าร​ศกึ ษา​หา​ขอ้ มูลแ​ ละ​การ​ท�ำ ความ​เข้าใจ​ใน​วธิ ก​ี าร​ตลาด​ จะ​สามารถ​นำ�​เอา​ข้อมูลด​ ังก​ ล่าว​ไป​ใช้เ​พิ่มเ​ติมค​ วาม​เข้าใจ​ได้ม​ าก​ยิ่งข​ ึ้น ซึ่งท​ ำ�ให้ธ​ ุรกิจอ​ อนไลน์ข​ อง​องค์กร​หรือ​ บริษัท​สามารถ​เข้า​ถึง​กลุ่ม​ผู้​ใช้ได้​อย่าง​ตรง​กลุ่ม​เป้า​หมาย การ​ใช้อิเล็กทรอนิกส์​เป็น​เครื่อง​มือ​เชิง​พาณิชย์​นั้น​ สามารถ​ช่วย​ให้​ผู้​ขาย​ประหยัด​ค่า​ใช้​จ่าย ทั้ง​ใน​เรื่อง​ของ​สินค้า พนักงาน​ขาย และ​ให้​บริการ​ได้​ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง โดย​เครือข​ ่าย​อินเทอร์เน็ตท​ ี่ม​ ีผ​ ู้ใ​ ช้ท​ ั่วโ​ ลก​กว่า 1,900 ล้าน​คน​ทำ�ให้ป​ ริมาณ​การ​ซื้อข​ าย​เพิ่มข​ ึ้นอ​ ยู่ต​ ลอด​ เวลา แต่​ทั้งนี้ ผู้​ขาย​จะ​ต้อง​ศึกษา​เรื่อง​ของ​สินค้า ช่อง​ทางการ​ประชาสัมพันธ์ ตลอด​จน​กำ�หนด​กลุ่ม​เป้า​หมาย​ ให้​ชัดเจน​เพื่อ​ให้การ​ใช้​สื่อป​ ระเภท​นี้ม​ ี​ประสิทธิภาพ​สูงสุด ดัง​นั้น การ​มี​เว็บไซต์​เพื่อ​จำ�หน่าย​สินค้า​จึง​ไม่ใช่​เครื่อง​รับ​ประกัน​ความ​สำ�เร็จ​ทาง​ธุรกิจ เพราะ​ยัง​มี​ องค์​ประกอบ​ที่​เป็น​ตัวแปร​สำ�คัญ คือ “การ​ตลาด” แต่​เดิม​นั้น อาจ​จะ​รู้จัก​ส่วน​ผสม​ทางการ​ตลาด​เพียง 4 พี (4P) คือ สินค้า (Product) ราคา (Price) ช่อง​ทางการ​จัด​จำ�หน่าย (Place) การ​ส่งเ​สริม​การ​ขาย (Promotion) แต่ป​ จั จุบนั ต​ อ้ ง​รูจ้ กั ก​ บั อ​ กี 2 พี (2P) ใหม่ คือ การ​ให้บ​ ริการ​แบบ​เจาะจง (Personalization) และ​การ​รกั ษา​ความ​ เป็น​ส่วน​ตัว (Privacy) เพื่อใ​ ห้​เกิด​แนวคิด​การ​ประยุกต์​องค์​ประกอบ​การ​ตลาด​ดั้งเดิม​บวก​กับค​ วาม​สามารถ​ พิเศษ​ของ​เทคโนโลยี ทำ�ให้เ​กิด​องค์ป​ ระกอบ​การ​ตลาด​แบบ​ใหม่​ได้​โดย​มี​ราย​ละเอียด ดัง​ต่อ​ไป​นี้ องค์ป​ ระกอบ​ที่ 1 ผลิตภัณฑ์ (Product) แม้​เว็บไซต์​จะ​มี​ความ​สวยงาม แต่​หาก​ผลิตภัณฑ์​ไม่​ตรง​กับ​ ความ​ต้องการ​ของ​ลูกค้า ความ​สวยงาม​หรือ​ตื่น​ตา​ตื่น​ใจ​เพียง​อย่าง​เดียว​ก็​ไม่​สามารถ​ที่​จะ​สร้าง​ราย​ได้​ให้​กับ​ ธุรกิจ​ได้ ดัง​นั้น ผู้​ผลิต​จึง​ควร​ที่​จะ​มี​การ​วิเคราะห์​สินค้า​ว่า​รูป​แบบ​ควร​เป็น​ลักษณะ​ใด การ​ใช้​ประโยชน์​ของ​ สินค้า​และ​กลุ่มเ​ป้า​หมาย​หรือ​ผู้ซ​ ื้อ โดย​เฉพาะ​การ​ผลิต​สินค้า​ที่​ไม่มี​ขาย​ทั่วไป​ใน​ช่อง​ทาง​ปกติ เช่น ผลิตภัณฑ์​ แปรรูปส​ มุนไพร​จาก​เกษตร ขาย​สมุนไพร​เพื่อส​ ุขภาพ เป็น​อีก​วิธี​หนึ่ง​ที่​ทำ�ให้​สินค้า​นั้น​เป็น​ที่ต​ ้องการ​ของ​ผู้​ซื้อ​ ออนไลน์ องค์ป​ ระกอบ​ที่ 2 ราคา (Price) สินค้า​ไทย​อาจ​มี​ราคา​ถูก​เมื่อ​คำ�นวณ​ใน​สกุล​เงิน​ต่าง​ประเทศ แต่​การ​ ขาย​สินค้า​ไป​ต่าง​ประเทศ​ใน​ลักษณะ​ผู้ผ​ ลิต​สู่ผ​ ู้บ​ ริโภค หรือ​บี​ทู​ซี (B2C) นั้น ผู้​ซื้อ​ต้อง​ชำ�ระ​ค่า​ขนส่ง​และ​ภาษี​ นำ�​เข้า​ด้วย ซึ่ง​ขณะ​นี้ค​ ่า​ขนส่ง​สินค้า 1 กิโลกรัมไ​ ป​ประเทศ​สหรัฐอเมริกา โดย​บริษัทข​ นส่ง​มี​ต้นทุน​ประมาณ 2,000 บาท ดัง​นั้น สินค้าเ​หล่า​นี้​อาจ​จะ​มี​ราคา​แพง​กว่าท​ ี่​ซื้อ​จาก​ร้าน​ใน​ประเทศ​สหรัฐอเมริกา​ได้ ใน​ระยะ​ยาว​ แล้ว​ต้นทุนก​ าร​ผลิต​ของ​ไทย​อาจ​สูง​กว่าอ​ ินเดีย​หรือ​จีน เพราะ​ค่าแรง​ที่​ปรับต​ ัว​สูง​ขึ้น​ของ​ไทย​ทำ�ให้​ไม่​สามารถ​ พึ่งพา​การ​ส่งอ​ อก​ด้วย​การ​ขาย​ของ​ถูกไ​ ด้อ​ ีกต​ ่อไ​ ป ดังน​ ั้น ผูข้​ าย​จึงค​ วร​เน้นก​ าร​ตั้งร​ าคา​ให้เ​หมาะ​สม​กับค​ ุณภาพ​ ของ​สินค้า หมั่นต​ รวจ​สอบ​การ​เปลี่ยนแปลง​ราคา​ของ​คู่​แข่ง​ใกล้​เคียง องค์ป​ ระกอบ​ที่ 3 ช่อง​ทางการ​จัด​จำ�หน่าย (Place) ทำ�เล​การ​ค้า​ที่​ดี​หลาย​แห่ง​จะ​มี​ค่า​จอง​ใน​ราคา​ที่ส​ ูง​ มาก เนื่องจาก​เป็นท​ ี่​ต้องการ​ของ​คู่​แข่งห​ ลาย​ราย และ​ทำ�เล​การ​ค้า​ที่​ดี​ก็​มี​อยู่​จำ�กัด ทำ�ให้​ผู้​ประกอบ​การ​ขนาด​ เล็กห​ ลาย​ราย​จึงต​ ้อง​เริ่มธ​ ุรกิจด​ ้วย​การ​ใช้ร​ ถ​เข็น หรือเ​ปิดแ​ ผง​ลอย​ย่อยๆ ก่อน ถ้าจ​ ะ​เทียบ​กับเ​ว็บไซต์พ​ าณิชย์​ อิเล็กทรอนิกส์ การ​หา​ท�ำ เล​อาจ​จะ​เทียบ​เคียง​ได้​กบั ก​ าร​ตงั้ ช​ อื่ ​รา้ น​คา้ ที​ศ่ พั ท์​ทาง​อนิ เทอร์เน็ต​เรียก​วา่ โด​เมน​เนม (domain name) ใน​ทาง​อินเทอร์เน็ต​นั้น​ไม่มี​ข้อ​จำ�กัด​ทาง​กายภาพ ดัง​นั้น ทำ�เล​การ​ค้า​ทาง​อินเทอร์เน็ต​จึง​ ไม่​ได้​หมาย​ถงึ ที​ต่ ง้ั ​ของ​รา้ น ร้าน​คา้ ​อาจ​ใส่​ขอ้ มูล​สนิ ค้า​บน​เครือ่ ง​คอมพิวเตอร์​ท​ต่ี ง้ั ​อยู​ท่ ่ี ประเทศไทยสหรัฐอเมริกา

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-8

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

หรือ​อินเดียได้ โดย​ลูกค้า​ไม่​ได้​สนใจ​มาก​นัก และ​ส่วน​ใหญ่​แล้ว​ไม่​ทราบ​ด้วย​ซ้ำ�​ว่า​เครื่อง​คอมพิวเตอร์​ของ ร้าน​ค้า​อยู่​ที่​ประเทศ​ใด แต่​ลูกค้า​เข้า​สู่​ร้าน​ค้า​โดย​จดจำ�​ชื่อ​ร้าน เช่น amazon.com หรือ hotmail.com ชื่อ​ร้าน​ค้า​เหล่า​นี้​เปรียบ​เสมือน​ยี่ห้อส​ ินค้า และ​ชื่อ​เหล่า​นี้​เป็น​ทรัพยากร​ที่​มี​อยู่​จำ�กัด​บน​โลก​อินเทอร์เน็ต องค์ป​ ระกอบ​ที่ 4 การ​ส่ง​เสริมก​ าร​ขาย (Promotion) การ​ส่ง​เสริม​การ​ขาย​บน​เว็บไซต์​เป็น​สิ่ง​จำ�เป็น​ เช่นเ​ดียว​กับ​การ​ค้า​ปกติ โดย​รูป​แบบ​มี​ตั้งแต่​การ​จัด​ชิง​รางวัล การ​ให้​ส่วนลด​พิเศษ​ใน​เทศกาล​ต่างๆ รวม​ทั้ง​ การ​โฆษณา​ประชาสัมพันธ์ใ​ ห้ล​ ูกค้าเ​ข้าม​ า​เลือก​สินค้าท​ ีเ่​ว็บไซต์ นอกจาก​การ​โฆษณา​ประชาสัมพันธ์ใ​ น​สื่อป​ กติ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์แ​ ล้ว ยังม​ ีก​ าร​โฆษณา​ด้วย​รูปแ​ บบ​ที่เ​รียก​ว่า ป้าย​โฆษณา​บน​เว็บไซต์ (banner advertising) ซึ่งม​ ลี​ ักษณะ​คล้าย​สื่อส​ ิ่งพ​ ิมพ์ แต่จ​ ะ​แสดง​บน​เว็บไซต์อ​ ื่น การ​โฆษณา​ลักษณะ​นีจ้​ ะ​คิด​ ค่า​ใช้​จา่ ย​ตาม​จ�ำ นวน​ครัง้ ​ท​แ่ี สดง​โฆษณา โดย​นบั ​เป็น​จ�ำ นวน​หลัก​พนั ​ครัง้ (Cost Per Thousand Impressions – CPM) วิธี​การ​ประชาสัมพันธ์​เว็บไซต์​ที่ไ​ ด้​ผล​ดีอ​ ีก​วิธี​หนึ่ง​คือ การ​ลง​ทะเบียน​ใน​เว็บไซต์​เครื่อง​มือ​ค้นหา เช่น yahoo.com, google.com หรือก​ าร​ประมูล​ขาย​สินค้า​ใน​เว็บไซต์ ebay.com เป็นต้น องค์ป​ ระกอบ​ที่ 5 การ​ให้บ​ ริการ​แบบ​เจาะจง (Personalization) เทคโนโลยีอ​ ินเทอร์เน็ต​ทำ�ให้เ​ว็บไซต์​ สามารถ​เก็บข​ ้อมูลข​ อง​ลูกค้าแ​ ต่ละ​คน​ได้ และ​สามารถ​ให้บ​ ริการ​แบบ​เจาะจง​กับล​ ูกค้าแ​ ต่ละ​ราย​ได้ ตัวอย่าง​เช่น หาก​ผใู​้ ช้เ​คย​ซือ้ ห​ นังสือจ​ าก​เว็บไซต์ amazon.com เมือ่ เ​ข้าม​ า​ทเี​่ ว็บไซต์น​ อี​้ กี ค​ รัง้ ห​ นึง่ จ​ ะ​มข​ี อ้ ความ​ตอ้ นรับ โดย​ แสดง​ชื่อ​ผู้​ใช้​ขึ้น​มา พร้อม​รายการ​หนังสือ​ที่เ​ว็บไซต์​แนะนำ� ซึ่ง​เมื่อ​ดู​ราย​ละเอียด​จะ​พบ​ว่า​เป็นห​ นังสือ​ใน​แนว​ เดียว​กับท​ ี่เ​คย​ซื้อค​ รั้งท​ ี่แ​ ล้ว เมื่อผ​ ู้ใ​ ช้ส​ ั่งซ​ ื้อห​ นังสือใ​ ด เว็บไซต์ก​ ็จ​ ะ​ทำ�การ​แนะนำ�​ต่อไ​ ป​ว่าผ​ ู้ท​ ี่ส​ ั่งซ​ ื้อห​ นังสือเ​ล่ม​ นี้​มัก​จะ​สั่ง​ซื้อ​สินค้า​ต่อ​ไป​นี้​ด้วย พร้อม​แสดง​รายการ​หนังสือ​หรือ​สินค้า​แนะนำ� เป็นการ​สร้าง​โอกาส​การ​ขาย เครื่อง​คอมพิวเตอร์​ของ​ร้าน​ค้า​สามารถ​เก็บ​ข้อมูล​การ​ซื้อ​สินค้า​ของ​ลูกค้า​ทุก​ราย และ​ใช้​เท​คนิ​คดาต้าไมนิ่ง (data mining) ทำ�การ​วิเคราะห์​หาความ​สัมพันธ์​ใน​การ​ซื้อ​สินค้า รวม​ทั้ง​การ​เสนอ​ขาย​สินค้า​แบบ​ต่อ​เนื่อง (cross sell) ซึ่ง​เทคโนโลยี​เหล่า​นี้​สามารถ​พัฒนา​ไป​ใช้​กับ​การ​ให้​บริการ​ลูกค้า​ทาง​โทรศัพท์​ด้วย​ระบบ​คอลล์​ เซ็นเตอร์ (call center) ได้ด​ ้วย องค์ป​ ระกอบ​ที่ 6 การ​รกั ษา​ความ​เป็นส​ ว่ น​ตวั (Privacy) การ​ซื้อข​ าย​ผ่าน​ระบบ​เครือข​ ่าย​อินเทอร์เน็ต ผู้ซ​ ื้อ​ต้อง​มีก​ ารก​รอก​ข้อมูลส​ ่วน​ตัวข​ อง​ตน​ส่ง​ไป​ให้ผ​ ู้ข​ าย ดัง​นั้น ผู้ข​ าย​จะ​ต้อง​รักษา​ความ​ลับ​ของ​ข้อมูล​เหล่านี้​ โดย​ต้อง​ไม่​เผย​แพร่​ข้อมูล​ต่างๆ ของ​ลูกค้า​ก่อน​ได้ร​ ับ​อนุญาต ข้อมูล​ส่วน​ตัว​เหล่า​นี้​ไม่​ได้​หมาย​ถึง​ใน​เรื่อง​ของ​ ข้อมูล​อัน​เป็นค​ วาม​ลับ เช่น หมายเลข​บัตร​เครดิต​เท่านั้น แต่​ยัง​รวม​ไป​ถึง​ข้อ​มูล​อื่นๆ เช่น ที่​อยู่ เบอร์​โทรศัพท์ หรือ​ไปรษณีย์​อิเล็กทรอนิกส์ ผู้​ดูแล​เว็บไซต์​จำ�เป็น​ต้อง​สร้าง​ระบบ​รักษา​ความ​ปลอดภัย​ที่​เชื่อ​ถือ​ได้​ว่า​ข้อมูล​ เหล่า​นี้​จะ​ไม่​ถูก​โจรกรรม​ออก​ไป​ได้ โดย​ผู้​ขาย​จะ​ต้อง​ระบุ​นโยบาย​เกี่ยว​กับ​การ​รักษา​ความ​เป็น​ส่วน​ตัว​ของ​ ลูกค้า (privacy policy) ให้​ชัดเจน​บน​เว็บไซต์ และ​ปฏิบัติ​ตาม​กฎ​นั้น​อย่าง​เคร่งครัด เช่น ไม่​ส่ง​โฆษณา​ไป​หา​ ลูกค้า​ทาง​ไปรษณีย์​อิเล็กทรอนิกส์​โดย​ไม่​ได้​รับ​อนุญาต ไม่​นำ�​ข้อมูล​ที่​อยู่​ของ​ลูกค้า​ไป​ขาย​ต่อ​ให้​บริษัท​การ​ ตลาด เป็นต้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-9

ธ ส

ทั้งนี้ ส่วน​ผสม​ทางการ​ตลาด​ทั้ง 6 องค์​ประกอบ​นี้ ผู้​ขาย​หรือ​ผู้​ผลิต​ควร​มี​การ​วางแผน​และ​สร้าง​ กิจกรรม​ทีส่​ ัมพันธ์ก​ ัน ตั้งแต่ก​ าร​เลือก​สินค้าท​ ีม่​ คี​ ุณภาพ สอดคล้อง​กับค​ วาม​ต้องการ​ของ​ตลาด​กลุ่มเ​ป้าห​ มาย ใน​ระดับ​ราคา​เหมาะ​สม มีชื่อ​โด​เมน​เนม​ที่​ผู้​ซื้อ​จดจำ�​ได้​ง่าย สะกด​ผิด​ยาก มี​การ​ประชาสัมพันธ์​เผย​แพร่​ชื่อ​ เว็บไซต์​ให้​ลูกค้า​รู้จัก มี​บริการ​หลัง​การ​ขาย​ที่​ดี​ให้​ลูกค้า​เกิด​ความ​ประทับ​ใจ​อยาก​กลับ​มา​ใช้​บริการ​อีก​ครั้ง และ​ต้อง​รักษา​ความ​ลับ​ลูกค้าไ​ ด้

ธ ส

ธ ส

2. การ​สื่อสาร​การ​ตลาด

การ​สื่อสาร​การ​ตลาด​อาจ​ถือ​ได้​ว่า​เป็นก​ระ​บวน​การ​จัดการ​อย่าง​หนึ่ง​ที่​จะ​ช่วย​การ​ทำ�​ตลาด​ออนไลน์ (online marketing) ขยาย​ตัว​มาก​ขึ้น ​ในลักษณะ​ที่​ว่า​องค์กร​ทำ�การ​สนทนา​กับ​ผู้รับส​ าร​ที่​หลาก​หลาย โดย​ การ​สนทนา​นั้น​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​สร้าง​ข่าวสาร การ​ส่ง​สาร และ​การ​แปลง​สาร​ไป​มาระ​หว่าง​กลุ่ม​ผู้​มี​ส่วน​ได้​ส่วน​ เสีย​ตาม​ที่​กำ�หนด​ไว้ โดย​มีว​ ัตถุประสงค์​เพื่อ​กำ�หนด​ตำ�แหน่ง หรือ​ปรับ​เปลี่ยน​ตำ�แหน่ง​ของ​องค์กร หรือ​นำ�​สิ่ง​ ทีอ่​ งค์กร​นำ�​เสนอ​เข้าส​ คู่​ วาม​คิดจ​ ิตใจ​ของ​สมาชิกใ​ น​กลุ่มข​ อง​ผมู้​ สี​ ่วน​ได้ส​ ่วน​เสีย ซึ่งถ​ ้าเ​ป็นใ​ น​บริบท​นจี้​ ริยธรรม​ และ​ความ​ซื่อสัตย์​ถือว่า​เป็นส​ ิ่งส​ ำ�คัญส​ ูงสุด การ​สนทนา​เป็น​เรื่อง​จิตว​ ิญญาณ​ของ​การ​สื่อสาร สะท้อน​ถึงค​ วาม​ พร้อม​ที่​จะ​รับ​ฟัง​และ​เปลี่ยนแปลง​เพื่อผ​ ล​ประโยชน์​ร่วม​กัน​ของ​คน​หมู่​มาก กระบวนการ​สื่อสาร​การ​สนทนา​ได้​มี​การ​พัฒนา​ตัว​แบบ​หรือ​แบบ​จำ�ลอง​เชิง​บรรยาย ตัวอย่าง​เช่น ตัว​แบบ​ที่​ว่า​นี้​สามารถ​ใช้​เพื่อช​ ่วย​อธิบาย​พฤติกรรม​การ​ซื้อ​ของ​ผู้​บริโภค สามารถ​สื่อ​ให้​เห็น​และ​เข้าใจ รวม​ทั้ง​ ประเมินบ​ ทบาท และ​อิทธิพล​ของ​การ​สื่อสาร​การ​ตลาด​ต่อ​พฤติกรรม​ผู้​บริโภค เรา​สามารถ​แสดง​รูป​แบบ​การ​ สื่อสาร​ที่​ง่าย​ที่สุด​ด้วย​ตัว​แบบ​หรือ​แบบ​จำ�ลอง​ที่ม​ ี​องค์​ประกอบ ดังต​ ่อ​ไป​นี้ - ผู้​ส่งส​ าร (sender) คือ แหล่ง​ที่มา​ของ​ข่าวสาร - ผู้รับ​สาร (receiver) คือ บุคคล​หรือ​กลุ่ม​บุคคล​ที่​ได้​รับ​ข่าวสาร - การ​แปลง​รหัสเ​ข้า (encoding) คือ ความ​หมาย​ของ​ข่าวสาร​ทีถ่​ ูกส​ ่งม​ า​ใน​รูปข​ อง​เครื่องหมาย​ แบบ​ต่างๆ เช่น สัญลักษณ์ ถ้อยคำ� เสียง เป็นต้น - สื่อ (media) คือ ช่อง​ทาง​ที่ข​ ่าวสาร​ถูก​ส่ง​ออก​ไป - การ​แปลง​รหัส​ออก (decoding) คือ กระบวนการ​ที่​ผู้รับ​สาร​ทำ�การ ตีความ​ข่าวสาร​ที่มา​ใน​ รูป​ของ​เครื่องหมาย​แบบ​ต่างๆ ให้​อยู่ใ​ น​รูป​แบบ​ที่ต​ น​เข้าใจ​ได้ - การ​ตอบ​สนอง (response) คือ ปฏิกิริยา​ของ​ผู้รับส​ าร​ทแี่​ สดงออก เมื่อข​ ่าวสาร​ถูกแ​ ปลง​แล้ว - ปฏิกิริยา​โต้ตอบ (feedback) คือ การ​ตอบ​สนอง​ของ​ผู้รับ​สาร​ที่​ส่ง​สาร​กลับไ​ ป​ยัง​ผู้​ส่งส​ าร - สิ่ง​รบกวน (noise) คือ ข่าวสาร​และ​สิ่ง​อื่นๆ ที่​ทำ�ให้​ไขว้​เขว จาก​ตัว​แบบ​ใน​ภาพ​ที่ 3.1 จะ​เห็นว​ ่า​ผู้ส​ ่ง​สาร​เลือก​เครื่อง​มือ​ที่จ​ ะ​ให้ผ​ ล​ใน​การ​สื่อสาร​กับ​ผู้รับ​สาร และ​ จัด​ช่อง​ทาง​รับ​ปฏิกิริยา​โต้ตอบ ผู้​ส่ง​สาร​ต้อง​ออกแบบ​สาร​ที่​จะ​ถูก​นำ�​ไป​แปลง​รหัส​เข้า​เพื่อ​ที่​ผู้รับ​สาร ผู้​ฟัง ผู้​ชม​จะ​ตีความ​เนื้อหา​จาก​การ​แปลง​รหัส​ออก​ได้​ถูก​ต้อง สิ่ง​รบกวน​ใน​ตัวแ​ บบ​สะท้อน​ข้อ​เท็จจ​ ริง​ว่า​ข่าวสาร​ที่​ ส่งอ​ อก​ไป​ต้อง​แข่งขันก​ ันด​ ึงดูดค​ วาม​สนใจ​ของ​ผู้รับส​ าร และ​สิ่งแ​ ทรกแซง​อาจ​ส่งผ​ ลก​ระ​ทบ​ให้ผ​ ู้รับส​ าร​ตีความ​ เนื้อหา​บิดเบือน​ไม่​ถูก​ต้อง

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-10

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

กระบวนการ​สื่อสาร​แบบ​ต่างๆ อาจ​ช่วย​ให้​องค์กร​เข้าใจ​ถึง​พฤติกรรม​การ​ซื้อ​สินค้า​ของ​ผู้​บริโภค​ของ​ องค์กร​ได้

ธ ส

การ​แปลง ​รหัส​เข้า

ผู้​ส่ง​สาร

ปฏิกิริยา​โต้ตอบ

ธ ส

เนื้อหา​สาระ สื่อ

การ​แปลง​ รหัส​ออก

ธ ส

สิ่ง​รบกวน

ผู้รับ​สาร

ธ ส

การ​ตอบ​สนอง

ภาพ​ที่ 3.1 กระบวนการ​สื่อสาร (อ้างอิง Roft R. 1999)

ธ ส

การ​สื่อสาร​การ​ตลาด​เป็นก​ระ​บวน​การ​ส่ง​ข่าว​ข้อมูล​ของ​ผลิตภัณฑ์​หรือ​บริการ ตลอด​จน​เป็นการ​ แสดง​ให้​เห็น​ว่า​ผลิตภัณฑ์​หรือ​บริการ​นั้น​มี​ประโยชน์​ต่อ​ผู้​ใช้​อย่างไร นอกจาก​นี้ การ​สื่อสาร​การ​ตลาด​ยัง​ พยายาม​ชักจูง​ให้​ผู้​บริโภค ชื่นชม และ​เกิด​ความ​ชอบ​ใน​ผลิตภัณฑ์​หริ​อบ​ริ​การ​ที่​ปรากฏ​อยู่​ใน​การ​สื่อสาร​นั้น หรือ​นัยหนึ่ง​ก็​คือ การ​สื่อสาร​การ​ตลาด​พยายาม​เข้าไป​มี​อิทธิพล​ต่อ​ทัศนคติ​ของบุคคล​ที่​มี​ต่อ​สิ่ง​ที่​ปรากฏ​อยู่​ ใน​การ​สื่อสาร ทัศนคติ​เชิง​บวก​ของ​บุคคล​ที่ม​ ี​ต่อส​ ิ่ง​ใด​สิ่ง​หนึ่ง​เป็น​สิ่ง​สำ�คัญ ก่อน​ที่​บุคคล​จะ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​หรือ​ หัน​มา​ใช้​ผลิตภัณฑ์ห​ รือ​บริการ​นั้นๆ อย่างไร​ก็ตาม แนว​ความ​คิด​นี้​ถูก​นำ�​มา​ปรับ​ใช้​เบื้อง​ต้น​กับ​ผลิตภัณฑ์ท​ ี่​ ต้อง​ใช้ “ความ​พยายาม​ใน​การ​ซื้อส​ ูง” (high involvement) เช่น การ​เลือก​ซื้อ​ที่พัก​อาศัย รถยนต์ หรือ​การ​ เดิน​ทาง​ท่อง​เที่ยว​ต่าง​ประเทศ เป็นต้น ใน​สถานการณ์​เช่น​นี้ ผู้​บริโภค​อาจ​ทำ�การ​แสวงหา​ข้อมูล​อย่าง​ดี ทั้งนี้ เพื่อ​ให้ไ​ ด้​ข้อมูล​ก่อน​การ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อผ​ ลิตภัณฑ์ห​ รือ​บริการ​นั้น​อย่าง​เพียง​พอ ตัว​แบบ​ขั้น​ตอน​การ​ตอบ​สนอง (The Response Hierarchy Models) ซึ่ง​มี​อยู่​หลาย​แบบ​ด้วย​กัน และ​เกิด​ขึ้น​บน​หลัก​การ​ที่​ว่า​ใน​การ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​สินค้า​นั้น ผู้​บริโภค​ต้อง​ผ่าน​ลำ�ดับ​ขั้น​ตอน​ภายใน​จิตใจ​หลาย​

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ขั้น​ตอน​ด้วย​กัน และ​ภาพ​ที่ 3.2 ได้แ​ สดง​ให้​เห็น​ตัว​แบบ​ขั้น​ตอน​การ​ตอบ​สนอง​ของ 4 ตัว​แบบ

ธ ส

3-11

AIDA ADOPTION DAGMAR Laving and Stage Steiner การ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ การ​ยอมรับ การ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ การ​ซื้อ ขั้นพ​ ฤติกรรม

ธ ส

ทดลอง

ความ​ต้องการ การ​ประเมิน​ผล ความ​เชื่อ​มั่น ความ​เชื่อ​มั่น ความ​ชอบ ขั้นค​ วาม​รู้สึก

ความ​สนใจ

ความ​สนใจ

ธ ส

ความ​เข้าใจ

ธ ส

ชอบ

ความ​รู้ การ​พิจารณา ขั้น​ความ​เข้าใจ เอาใจ​ใส่ การ​ตระหนัก​ความ​รู้ การ​ตระหนัก​ความ​รู้ การ​ตระหนัก​ความ​รู้ ยัง​ไม่​รับ​รู้

ธ ส

ภาพ​ที่ 3.2 ตัว​แบบ​ขั้นต​ อน​การ​ตอบ​สนอง (อ้างอิง Kotler P. 2000)

ธ ส

นอกจาก​นี้ ยังม​ ต​ี วั แ​ บบ​ทศี​่ กึ ษา​เชิงล​ กึ ม​ าก​ขึน้ ซึง่ ส​ ามารถ​แสดง​ให้เ​ห็นถ​ งึ ค​ วาม​ซบั ซ​ อ้ น​ของ​พฤติกรรม​ ผู้​บริโภค ตัวอย่าง​เช่น ตัว​แบบ​แบล็กเวลล์​มิ​เนียร์​ด​เอง​เจิล (The Blackwell-Miniard-Engel model ดู Blackwell et al; 2001) โดย​จะ​อธิบาย​ให้​เห็น​ถึง​กระบวนการ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​ซึ่ง​มี​อยู่ 5 ขั้น​ตอน ซึ่ง​เกิด​ขึ้น​ ตาม​กาล​เวลา - การ​รับ​รู้​ถึงค​ วาม​จำ�เป็น - การ​แสวงหา​ข้อมูล - การ​ประเมิน​ทาง​เลือก - การ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ - ผลลัพธ์

ธ ส

ธ ส


3-12

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ตัวแปร​อิทธิพล​หลัก 4 ประเภท ได้แก่ - สิ่งเ​ร้า​ป้อน​เข้า - กระบวนการ​รับ​รู้​ข้อมูล - กระบวนการ​ตัดสิน​ใจ - ตัวแปร​ต่างๆ ที่ม​ ี​อิทธิพล​ต่อก​ ระบวนการ​ตัดสิน​ใจ จาก​ภาพ​ที่ 3.3 ตัว​แบบ​เริ่ม​ต้น​จาก​การ​รับ​รู้​ความ​ต้องการ​และ​ปัญหา​ของ​ผู้​บริโภค ซึ่ง​ต้อง​ได้​รับ​การ​ ตอบ​สนอง​ที่​น่า​พอใจ ตัว​แบบ​แสดง​ลำ�ดับ​ขั้น​ของ​กระบวนการ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ ซึ่ง​อธิบาย​ให้​เห็น​ถึง​ปัจจัย​ต่างๆ ที่​มี​อิทธิพล​ต่อ​การ​ตัดสิน​ใจ​ขั้น​สุดท้าย เช่น​เดียว​กับท​ ี่​ตัว​แบบ​นี้​สามารถ​ใช้​อธิบาย​ถึง​ผลิตภัณฑ์​หรือ​บริการ​ที​่ ต้อง​ใช้​ความ​ละเอียด​รอบคอบ​ใน​การ​เลือก​ใช้​ระดับ​สูง​มากกว่าร​ ะดับ​ต่ำ�

ธ ส

ม input

ธ ส

Stimuli Marketer Dominated Other

ธ ส

Information processing

Internal search

Exposure

Decision process

Memory

Acceptance Retention

ธ ส

Exernal search

Variables influencing Decision process

ธ ส

Need recognition Search

ธ ส

Attention

Comprehension

Environmental influences Culture Social class Personal influences Family Situation

Alternative evaluation

Purchase

Outcomes

ธ ส

Dissatisfaction

Satisfaction

Individual differences Consumer resources Motivation and involvement Knowledge Attitudes Personality, Values and lifestyles

ธ ส

ภาพ​ที่ 3.3 ตัว​แบบ​พฤติกรรม​ผู้​บริโภค​ของ​แบล็กเวลล์​มิเนียร์​ด​เอง​เจิล (อ้างอิง Blackwell, R.D., Miniard, P.W. and Engel, J.F. 2006)


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-13

ธ ส

องค์​ประกอบ​ของ​ส่วน​ประสม​การ​ส่ง​เสริม​การ​ตลาด 4พี ประกอบ​ด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่อง​ทาง การ​จัด​จำ�หน่าย และ​การ​ส่งเ​สริมก​ าร​ขาย แต่​ใน​ปัจจุบันไ​ ด้​สนับสนุนใ​ ห้​ใช้​ทาง​เลือก​ส่วน​ประสม​ทางการ​ตลาด​ จาก 4พี เป็น 7พี โดย​เพิ่ม​ตัวแปร คือ ผู้ม​ ี​ส่วน​ร่วม (คน​นำ�​ส่ง​บริการ) หลัก​ฐาน​ทาง​กายภาพ (สิ่งของ​ทรัพย์สิน​ ที่​ใช้​ใน​การ​ประเมิน​คุณภาพ​ของ​การ​บริการ) และ​กระบวนการ (ขั้น​ตอน​ของ​การ​ให้บ​ ริการ) โดย​ทั้ง​สาม​ตัวแปร​ ที่​เพิ่มข​ ึ้น​ทำ�ให้​ตัว​แบบ​ส่วน​ประสม​ทางการ​ตลาด​แบบ​ทั่วไป​มี​ความ​สมบูรณ์​ยิ่ง​ขึ้น ดังนี้ 1) ผู้​มี​ส่วน​ร่วม ต้อง​มี​การ​จัด​ตั้ง​ระบบ​และ​มี​หลัก​ฐาน​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​มี​การ​ประชุม​ร่วม​กัน​ ของทีม​งาน นำ�​ประเด็น​สำ�คัญ​มา​พิจารณา​อย่าง​สม่ำ�เสมอ รวม​ถึง​ข้อมูล​ที่​แสดง​ให้​เห็น​ว่าค​ วาม​เห็น​และ​ความ​ ต้องการ​ของ​เจ้า​หน้าที่​มี​ความ​สำ�คัญ เจ้า​หน้าที่​ต้อง​ได้​รับ​การ​ส่ง​เสริม​ให้​ตระหนัก​ถึง​บทบาท​ใน​การ​สนับสนุน​ วัตถุประสงค์​ของ​องค์กร ต้อง​ได้ร​ ับ​การ​ฝึกอ​ บรม​ที่​เหมาะ​สม องค์กร​ต้อง​อาศัย​เจ้า​หน้าที่ใ​ น​องค์กร​เพื่อ​นำ�​ส่ง​ บริการ และ​ต้อง​พร้อม​ที่จ​ ะ​นำ�​ส่งบ​ ริการ​ที่​ดี​ที่สุด​เท่า​ที่​จะ​ทำ�ได้ 2) หลัก​ฐาน​ทาง​กายภาพ ได้แก่ อาคาร สถาน​ที่ และ​สิ่ง​อำ�นวย​ความ​สะดวก​ต่างๆ ที่​อยู่​ใน​ สภาพ​พร้อม​สมบูรณ์ เพราะ​ถ้า​มี​สภาพ​ทรุด​โทรม​ การ​ส่ง​เสริม​การ​ตลาด​จะ​​หาย​ไป​ด้วย อาคาร​ที่​ขาด​การ​บำ�รุง​ รักษา​จะ​ทำ�ให้​เกิด​ความ​รู้สึก​เชิง​ลบ นอกจาก​นั้น เอกสาร​แผ่น​พับ จดหมาย​โต้ตอบ และ​จดหมาย​ข่าว ควร​ ได้​รับ​การ​ออกแบบ​อย่าง​ประณีต สวยงาม และ​ควร​มี​เอกสาร หรือ​คู่มือ​ที่​จัด​ทำ�​ขึ้น​อย่าง​ดี​มี​ข้อมูล​ครบ​ถ้วน พร้อม​ภาพ​ประกอบ​ของ​สิ่ง​อำ�นวย​ความ​สะดวก ข้อมูล​รายงาน​ตัวเลข​ผล​การ​ดำ�เนิน​งาน และ​รายงาน​ประจำ�​ ปีไ​ ว้แ​ จก​จ่าย การ​พัฒนา​เว็บไซต์ท​ ี่ส​ ามารถ​ลิงก์ถ​ ึงบ​ ริการ​จะ​เป็นผ​ ล​ดี เพื่อ​ส่งเ​สริมใ​ ห้ผ​ ู้บ​ ริโภค สามารถ​ติดต่อ​ และ​สร้าง​สัมพันธ์​กับ​องค์กร​ได้ 3) กระบวนการ วิธที​ ีป่​ ระชาชน​ได้ร​ ับก​ าร​ดูแล​ตลอด​เวลา​ทีเ่​ข้าร​ ับก​ าร​บริการ​มผี​ ลอ​ย่าง​มาก​ต่อ​ ทัศนคติด​ ้าน​การ​บริการ​ของ​ประชาชน การ​กำ�หนด​ขั้น​ตอน​ที่​เป็น​มิตร​ต่อ​ผู้​ใช้​บริการ​เพื่อ​ดูแล​จัดการ​ข้อ​สงสัย​ และ​ข้อร​ ้อง​เรียน​เป็นส​ ิ่งท​ สี่​ ำ�คัญอ​ ย่าง​สูง เป็นเ​ครื่อง​มือท​ แี่​ สดง​ให้เ​ห็นถ​ ึงภ​ าพ​ลักษณ์แ​ ละ​วัฒนธรรม​ของ​องค์กร​ ต่อ​สาธารณชน การ​สือ่ สาร​การ​ตลาด​แบบ​ผสม​ผสาน (Integrated Marketing Communica­tions Strategy - IMC) สะท้อน​ถึง​ประโยชน์​ของ​การ​ผสม​ผสาน​การ​ใช้​สื่อห​ ลาย​ชนิด เพื่อ​ใช้​นำ�​เสนอ​ข่าวสาร ภาพ​ลักษณ์ ผลิตภัณฑ์ และ​บริการ​ให้เ​ป็น​ไป​ใน​ทิศทาง​เดียวกัน แนวคิด 3 ประการ​ของ​การ​ตลาด​แบบ​ผสม​ผสาน มี​ดังนี้ 1) การ​สอื่ สาร​เนือ้ หา​เดียวกันผ​ า่ น​การ​สอื่ สาร​การ​ตลาด หรือก​ าร​สื่อสาร​แบบ​กลมกลืนเ​ป็นแ​ นว​ เดียวกัน ซึ่ง​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​รักษา​เนื้อหา​ข่าวสาร​ให้​มี​ความ​สม่ำ�เสมอ ชัดเจน แน่นอน และ​เข้า​ถึง​ครอบคลุม​ การ​สื่อสาร​การ​ตลาด​ทุก​ช่อง​ทาง 2) การ​สื่อสาร​แบบ​ผสม​ผสาน แนวคิด​นี้​มุ่ง​เน้น​การ​สื่อสาร​ระดับ​ย่อย การ​สื่อสาร​การ​ตลาด​ ควร​มุ่งก​ าร​พัฒนา​ภาพ​ลักษณ์ และ​มี​อิทธิพล​โดยตรง​ต่อ​พฤติกรรม​ของ​ผู้​บริโภค 3) การ​รณรงค์ส​ อื่ สาร​การ​ตลาด​ทป​ี่ ระสาน​กนั การ​สื่อสาร​การ​ตลาด หมาย​ถึง การ​ประสาน​การ​ ตลาด​ที่แ​ ตก​ต่าง​กันใ​ ห้ก​ ลมกลืนก​ ัน ซึ่งต​ ่าง​จาก​การ​สื่อสาร​เนื้อหา​เดียวกัน เนื้อหา​ที่แ​ ยก​ออก​จาก​กันไ​ ม่จ​ ำ�เป็น​ ต้อง​มุ่ง​สื่อสาร​ถึง​ตำ�แหน่ง​การ​ตลาด​เพียง​ตำ�แหน่ง​เดียว แต่​โดย​บรรทัดฐาน​ทั่วไป​เป็นการ​มุ่ง​สื่อสาร​ตำ�แหน่ง​ การ​ตลาด​หลาย​ตำ�แหน่ง​ให้​กับ​กลุ่ม​เป้า​หมาย​หลาย​กลุ่ม ซึ่ง​แผนการ​สื่อสาร​การ​ตลาด​แต่ละ​ลักษณะ​ต่าง​มี​ วัตถุประสงค์​ที่​แยก​ออก​จาก​กัน ไม่​ว่า​จะ​เป็น​เรื่อง​ภาพ​ลักษณ์ หรือ​เรื่อง​พฤติกรรม​ก็ตาม

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-14

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

หลักก​ าร​และ​แนวคิดเ​กี่ยว​กับบ​ ทบาท​ของ​การ​ตลาด​แบบ​ผสม​ผสาน​ถูกข​ ยาย​มาก​เกินไ​ ป​กว่าก​ ารนำ�​มา​ ปรับ​ใช้​กับ​ส่วน​ประสม​ทางการ​ตลาด​แบบ​ดั้งเดิม ตัวอย่าง​เช่น ถ้าอ​ งค์กร​ต้องการ​สร้าง​ตรา​องค์กร​ให้เ​ข้ม​แข็ง องค์กร​ต้อง​ให้​ความ​สำ�คัญ​กับ​การ​สื่อสาร​ภายใน​องค์กร​เทียบ​เท่ากับ​การ​สื่อสาร​ภายนอก​องค์กร นอกจากนี้ แล้ว​ยังม​ ีก​ ล​ยุทธ์​อื่นๆ อีกท​ ี่จ​ ะ​นำ�​มา​พิจารณา อาทิ​เช่น กลยุทธ์​การ​วิเคราะห์ คุณค่าข​ อง​กลยุทธ์​การ​สื่อสาร​ของ​ ผู้​มี​ส่วน​ได้​ส่วน​เสีย และ​กลยุทธ์​การ​สื่อสาร​ค่า​นิยม​ของ​องค์กร​ไป​ยัง​เจ้าห​ น้าที่​องค์กร เป็นต้น

ธ ส

ธ ส

3. การ​เปรียบ​เทียบ​การ​ตลาด​แบบ​ดั้งเดิมก​ ับ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ความ​แตก​ต่าง​ระหว่าง​การ​ตลาด​แบบ​ดั้งเดิม (traditional marketing) กับก​ าร​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ (electronic marketing) มี​ปัจจัย​ทางการ​ตลาด​หลาย​ประการ​ด้วย​กัน ดัง​แสดง​ใน​ตาราง​ที่ 3.1

ตาราง​ที่ 3.1 ความ​แตก​ต่าง​ระหว่าง​การ​ตลาด​แบบ​ดั้งเดิม​กับ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ปัจจัยทางการตลาด ลูกค้า

การตลาดแบบดั้งเดิม

หลากหลาย

ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (แนวใหม่)

เฉพาะกลุ่มส่วนใหญ่มีความรู้ค่อนข้าง สูง ในประเทศไทยเป็นคนในเมืองเป็น ส่วนใหญ่

ธ ส

การวิจัยตลาด

มักทำ�กับกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่ม

ทำ�กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

การแบ่งส่วนตลาด

ใช้เกณฑ์สภาพภูมิศาสตร์ และประชากรศาสตร์เป็นหลัก

ใช้เกณฑ์พฤติกรรมศาสตร์เป็นหลัก

ประเภทของสินค้า

แบ่งได้หลายแบบ ที่นิยม คือ แบ่งตาม พฤติกรรมการซื้อ คือ แบ่งเป็นสินค้า อุปโภคบริโภค สินค้าอุตสาหกรรม และบริการ

แบ่งตามวิธีการขนส่ง คือ สินค้าที่ต้อง ใช้บริการการจัดส่ง กับสินค้าที่ ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต

บริษัทพัฒนาสินค้าแล้วทดสอบ การยอมรับจากผู้บริโภค

ส่วนมากเป็นการผลิตตามความต้องการ ของลูกค้าแต่ละราย มีความยืดหยุ่นสูง

กำ�หนดโดยบริษัท

ขึ้นอยู่กับสินค้าและบริการที่ลูกค้าเลือก ดังนั้น ลูกค้าจึงเป็นผู้กำ�หนดราคา

ธ ส

สินค้า

ราคา

การจัดการการขาย

ธ ส

ลูกค้าพิจารณาข้อมูลจากการนำ�เสนอ ของพนักงานขายหรือสื่อโฆษณาอื่นๆ

ธ ส

เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่าง ผู้ซื้อกับผู้ขาย ผู้ซื้อเป็นผู้เลือกข้อมูล ตามความต้องการของตน


ตาราง​ที่ 3.1 (ต่อ) ปัจจัยทางการตลาด

ธ ส

ช่องทางการจัดจำ�หน่าย

ธ ส

การตลาดแบบดั้งเดิม

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (แนวใหม่)

ขายผ่านคนกลาง หรือผ่านพนักงานขาย ขายตรงไปยังผู้ซื้อผู้ขาย

การครอบคลุมเขตการขาย ครอบคลุมเป็นบางพื้นที่

สามารถขายได้ทุกที่ทั่วโลก

การสื่อสารการตลาด

ใช้กลยุทธ์ดึง (pull strategy) คือ โฆษณาโดยตรงไปยังผู้บริโภค

ใช้ทั้งกลยุทธ์ผลัก (push strategy) และกลยุทธ์ดึง (pull strategy) คือ โฆษณาทั้งคนกลางและผู้บริโภค

3-15

ธ ส

เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​ตลาด​ใน​อินเทอร์เน็ต​ใน​ปัจจุบัน​มี​ระบบ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​ ซอฟต์แวร์ห​ ลาก​หลาย​ประเภท​ทสี​่ ามารถ​น�​ำ มา​ใช้ใ​ น​การ​ท�ำ การ​ตลาด รวม​ถงึ แ​ อพ​พลิเ​คชัน่ ต​ า่ งๆ ของ​เทคโนโลยี​ สารสนเทศ​ใน​ระบบ​โทรคมนาคม และ​ระบบ​อินเทอร์เน็ตท​ ีม่​ อี​ ยูม่​ ากมาย มีแ​ อพ​พลิเ​คชัน่​ ทีใ่​ ช้เ​พื่อว​ ัตถุประสงค์​ โดย​ทั่วๆ ไป​ที่​สามารถ​นำ�​มา​ใช้​ใน​ส่วน​ของ​การ​ตลาด ตัวอย่าง​เช่น - ฐาน​ข้อมูลล​ ูกค้า - ระบบ​บริหาร​ลูกค้าส​ ัมพันธ์ - พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ - โปรแกรม​ช่วย​วิเคราะห์​ข้อมูล - ระบบ​สื่อสาร​ภายใน​องค์กร - ระบบ​แลก​เปลี่ยน​ข้อมูลท​ าง​อิเล็กทรอนิกส์ (EDI) - การ​สำ�รวจ​ทาง​อินเทอร์เน็ต - ระบบ​วางแผน​การ​ตลาด - การ​ทำ�ตัว​แบบ​การ​ตลาด - เครื่อง​มือ​สื่อสาร​แบบ​เคลื่อนที่ - ระบบ​คอมพิวเตอร์​เชื่อม​โยง​กับ​คู่​ค้า - ระบบ​สนับสนุน​การ​ตัดสิน​ใจ - ระบบ​คอมพิวเตอร์​เชื่อม​โยง​ถึงล​ ูกค้า - ซอฟต์แวร์ก​ าร​บริหาร​งาน​โครงการ ตัวอย่าง​ประเภท​ของ​เครื่อง​มือส​ ารสนเทศ​ที่ส​ ามารถ​นำ�​มา​ใช้ใ​ น​กิจกรรม​ทางการ​ตลาด ซึ่งส​ ะท้อน​ให้​ เห็น​ว่า​ใน​ความ​เป็นจ​ ริง​แล้ว​ยังม​ ี​เครื่อง​มืออ​ ื่นๆ อีก​หลาก​หลาย​ประเภท การ​ตลาด​แนว​ใหม่​ถูก​อธิบาย​ว่า​เป็น “การ​บรรลุ​วัตถุประสงค์​ทางการ​ตลาด​ผ่าน​การ​ใช้​เทคโนโลยี​ ดิจิทัล” ซึ่ง​ผลลัพธ์​ที่​ได้​มา​จาก​การ​ใช้​เทคโนโลยี​ที่​ทำ�ให้​เกิด​การ​ลงทุน​ทำ�​ตลาด​บน​อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยี​ ดิจิทัล ประกอบ​ไป​ด้วย เทคโนโลยี​อินเทอร์เน็ต อย่าง​เช่น เว็บไซต์​และ​จดหมาย​อิเล็กทรอนิกส์ เช่น​เดียว​กับ​ เทคโนโลยี​ดิจิทัล​อื่นๆ อย่าง​เช่น เทคโนโลยี​ไร้​สาย หรือ​มือ​ถือ รวม​ไป​ถึงเ​คเบิล​และ​สัญญาณ​ดาวเทียม

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-16

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

การ​ตลาด​แนว​ใหม่​ส่วน​ใหญ่​จะ​ถูก​นำ�​ไป​ใช้​ใน 2 ประเด็น​ที่​เด่น​ชัด​ใน​กระบวนการ​บริหาร​งาน​สมัย​ ใหม่ ซึ่ง​สามารถ​อธิบาย​ได้​ว่า 1) กิจกรรม​ทางการ​ตลาด​อัน​หลาก​หลาย​ถูก​นำ�​ไป​ใช้​ใน​องค์กร​ธุรกิจ ไม่​ว่า​จะ​เป็นการ​ทำ�​วิจัย​ การ​ตลาด การ​จัดการ​สินค้า​และ​การ​จัดการ​ตราสิน​ค้า การ​ประชาสัมพันธ์ และ​การ​บริการ​ลูกค้า 2) แนวคิดท​ สี่​ ามารถ​ถูกน​ ำ�​ไป​ใช้เ​พื่อเ​ป็นป​ รัชญา​นำ�ทาง​ให้ก​ ับเ​จ้าห​ น้าทีแ่​ ละ​กิจกรรม ใน​องค์กร​ ปรัชญา​นั้น​ครอบคลุม​ทุก​มุม​มอง​ของ​ธุรกิจ กลุ่ม​เป้า​หมาย​ของ​องค์กร การ​เน้น​ความ​สำ�คัญ​ไป​ที่​คู่​แข่ง​เป็น สิ่งส​ ำ�คัญ และ​เป็น​ที่มา​ของ​กลยุทธ์ท​ าง​ธุรกิจ นอกจาก​นั้น​ทุก​คนใน​องค์กร​ควร​ทำ�งาน​โดย​เน้น​ไป​ที่​ลูกค้า​เป็น​ สำ�คัญ แนวคิด​ทางการ​ตลาด​สมัย​ใหม่​รวม​เอา​ความ​หมาย​ทั้ง 2 นี้​เข้า​ไว้​ด้วย​กัน โดย​เน้น​ว่าการ​ตลาด​นั้น​ ครอบคลุม​หน้าที่​อัน​หลาก​หลาย​ใน​องค์กร เป็นก​ระ​บวน​การ​ใน​การ​ค้นหา​ความ​ต้องการ​ของ​กลุ่ม​เป้า​หมาย​ และ​ผลิต​สินค้า​หรือ​บริการ​เพื่อ​ตอบ​สนอง​ต่อ​ความ​ต้องการ​นั้น แนวคิด​ทางการ​ตลาด​ควร​ถูก​ยึด​เป็น​หัวใจ​ หลัก​ของ​องค์กร การ​ทำ�งาน​ของ​ผู้​อำ�นวย​การ ผู้​จัดการ​และ​พนักงาน​ควร​จะ​เป็น​ไป​ตาม​แนวคิด​หรือ​ปรัชญา​ ทางการ​ตลาด แนวคิด​ทางการ​ตลาด​สมัย​ใหม่​มอง​ว่าการ​ตลาด​ไม่​ได้​เป็น​แค่​การ​โฆษณา​หรือ​การ​ขาย​ตาม​ปรัชญา​ ทางการ​ตลาด​สมัย​ใหม่ องค์กร​ต้อง​ดำ�เนิน​งาน​โดย​ให้​ความ​สำ�คัญ​ไป​ที่​ลูกค้า ทุก​ฝ่ายใน​องค์กร​ต้อง​ประสาน​ ร่วมมือ​กัน​ทำ�​กิจกรรม​ต่างๆ เพื่อ​ให้​มั่นใจ​ได้​ว่า​ลูกค้า​ได้​รับ​สินค้า​หรือ​บริการ​ตาม​ความ​ต้องการ​อย่าง​มี​ ประสิทธิภาพ​และ​ประสิทธิผล โดย​ก่อ​ให้​เกิด​ผล​กำ�ไร​ตาม​มา การ​พัฒนา​ของ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​เพื่อ​ให้​ สอดคล้อง​กับค​ วาม​เปลี่ยนแปลง​ของ​ตลาด เป็นต​ ัวอย่าง​หนึ่งข​ อง​การ​ทำ�การ​ตลาด โดย​มุ่งต​ อบ​สนอง​ต่อค​ วาม​ ต้องการ​ของ​ลูกค้า การ​ริเริ่ม​นำ�​อินเทอร์เน็ต​มา​ใช้​ใน​ธุรกิจ​และ​การ​เริ่ม​ต้น​ทำ�​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​ส่วน​มาก​ เกีย่ วข้อง​กบั ก​ าร​ท�​ำ วจิ ยั เ​พือ่ ท​ �ำ ความ​เข้าใจ​ใน​ประสบการณ์ข​ อง​ลกู ค้า และ​ปรับร​ ปู แ​ บบ​การ​บริการ​ให้ส​ อดคล้อง​ กับ​ประสบการณ์​ของ​ลูกค้า เทคโนโลยี​ใหม่​เป็น​ที่​ดึงดูด​ของ​คน​บาง​กลุ่ม​ซึ่ง​เล็ง​เห็น​ถึง​สิ่ง​ที่​ดี​กว่า​ใน​การนำ�​เทคโนโลยี​มา​ใช้ ใน​ ขณะ​ทีค่​ น​อีกก​ ลุ่มห​ นึ่งม​ คี​ วาม​กังวล​กับก​ าร​ปรับต​ ัวใ​ น​สิ่งใ​ หม่ๆ แต่เ​พียง​เพราะ​ว่าเ​ทคโนโลยีไ​ ด้เ​ปลี่ยนแปลง​ไป​ อย่าง​รวดเร็ว การ​ตลาด​ใน​ยุ​คห​ลังๆ จึง​ต้อง​เปลี่ยนแปลง​ตาม​ไป​ด้วย ส่ง​ผล​ให้​เกิด​ระบบ​การ​ตลาด​แนว​ใหม่ หรือ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Marketing - e- Marketing) นั่นเอง

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 3.1.1 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 3.1.1 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 3 ตอน​ที่ 3.1 เรื่อง​ที่ 3.1.1


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-17

ธ ส

เรื่อง​ที่ 3.1.2 ความ​หมาย​และ​ประโยชน์​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

จาก​แนวคิดร​ ะหว่าง​การ​ตลาด​อเิ ล็กทรอนิกส์ก​ บั ก​ าร​ตลาด​แบบ​ดัง้ เดิม เป็นส​ ว่ น​ผสม​ของ​แนว​ความ​คดิ ​ ทางการ​ตลาด​และ​เทคนิค ทั้งด​ ้าน​การ​ออกแบบ การ​พัฒนา การ​โฆษณา และ​การ​ขาย มี​ประโยชน์​ใน​การ​สร้าง​ มูลค่า​เพิ่ม​ให้​แก่​ธุรกิจ​และ​กลุ่ม​ลูกค้า เนื่องจาก​ระบบ​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​สามารถ​สนับสนุน​การ​ร้องขอ​ข้อมูล​ ของ​ลูกค้า การ​จัดเ​ก็บป​ ระวัตแิ​ ละ​พฤติกรรม​ของ​ลูกค้าเ​อา​ไว้ รวม​ถึงก​ าร​สร้าง​ความ​สัมพันธ์ก​ ับล​ ูกค้าไ​ ด้ ส่งผ​ ล​ ต่อ​การ​เพิ่ม​และ​รักษา​ฐาน​ลูกค้า ตลอด​จน​สามารถ​อำ�นวย​ประโยชน์​ใน​การ​ประกอบ​ธุรกิจ​ได้​อย่าง​ครบ​ถ้วน ใน​ขณะ​ที่ก​ าร​ตลาด​แบบ​ดั้งเดิมจ​ ะ​มีร​ ูปแ​ บบ​ทีแ่​ ตก​ต่าง​จาก​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​อย่าง​ชัดเจน โดย​ การ​ตลาด​แบบ​ดั้งเดิม​นั้น​จะ​มี​กลุ่ม​เป้า​หมาย​ที่​หลาก​หลาย ไม่​เน้น​ทำ�​กับ​บุคคล​ใด​บุคคล​หนึ่ง​และ​มัก​จะ​ใช้​วิธี​ การ​แบ่ง​ส่วน​ตลาด โดย​ใช้​เกณฑ์​ของ​กลุ่ม​เป้า​หมาย​และ​พื้นที่ ใน​ขณะ​ที่​ถ้า​เป็นการ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ จะ​ สามารถ​ครอบคลุมไ​ ด้​ทั่วโ​ ลก ด้วย​เหตุ​นี้ องค์กร​ต่างๆ จึง​หันม​ า​ให้​ความ​สนใจ​กับ​อินเทอร์เน็ต​เป็น​อย่าง​มาก รวม​ถงึ ไ​ ด้ม​ ก​ี ารนำ�​เอา​แนวคิดก​ าร​ตลาด​อเิ ล็กทรอนิกส์ม​ า​ประยุกต์ใ​ ช้อ​ ย่าง​แพร่ห​ ลาย​เพือ่ ท​ �ำ การ​ตลาด​ออนไลน์​ ให้​ได้ป​ ระสิทธิภาพ​สูงสุด ดังน​ ั้น แนวทาง​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ มี​ดังนี้ ประการ​แรก คือ​การ​ใช้​เทคโนโลยีเ​หล่าน​ ี้​เพื่อ​สร้าง​ช่อง​ทาง​ออนไลน์ส​ ื่อสาร​ไป​สู่​ลูกค้า เช่น เว็บไซต์ จดหมาย​อิเล็กทรอนิกส์ ฐาน​ข้อมูล รวม​ทั้ง​มือ​ถือ/เทคโนโลยี​ไร้​สาย ทีวี​ดิจิทัล และ​รูป​แบบ​การ​สื่อสาร​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์​เหล่า​นี้ และ​การ​ทำ�​ตลาด​ด้วย​โปรแกรม​ค้นหา​ทางการ​ตลาด (search engine marketing) การ​เป็นต​ ัวแทน​ขาย​สินค้า​ออนไลน์ (affiliate marketing) โฆษณา​ออนไลน์ (online advertising) การ​เป็น​ ผู้​สนับสนุน​และ​ประชาสัมพันธ์​ออนไลน์ (sponsorship and online PR) ประการ​ที่​สอง เพื่อ​สนับสนุน​กิจกรรม​ที่​ให้​ได้​มา​ซึ่ง​ลูกค้า และ​กิจกรรม​ที่​เป็นการ​รักษา​ภายใน​ กระบวนการ​ซื้อ​สินค้า​ที่​ผ่าน​หลาก​หลาย​ช่อง​ทาง​และ​ภายใน​วงจร​ชีวิต​ของ​ลูกค้า ประการ​ทส​ี่ าม ผ่าน​ทางการ​ใช้เ​ทคนิคท​ างการ​ตลาด​เหล่าน​ โี​้ ดยตระหนักถ​ งึ ค​ วาม​ส�ำ คัญข​ อง​เทคโนโลยี​ ดิจิทัล​และ​พัฒนา​แนวทาง​ใน​การ​เข้า​ถึง​ลูกค้า มี​การ​จูงใจ​ให้​ลูกค้า​เข้า​มา​ใช้​บริการ​ทาง​ออนไลน์​ผ่าน​ทางการ​ สื่อสาร​ออนไลน์​และ​การ​สื่อสาร​แบบ​ดั้งเดิม (traditional communication) ซึ่ง​จะ​สามารถ​รักษา​ลูกค้า​ไว้​ กับ​องค์กร​ได้ โดย​การ​ทำ�ความ​รู้จัก​กับ​ลูกค้า​ใน​มุม​มอง​ต่างๆ ทั้ง​ประวัติ​ทั่วไป พฤติกรรม คุณค่า และ​แรง​ ผลัก​ดัน​ที่​ทำ�ให้​เกิด​ความ​จงรัก​ภักดี แล้ว​สื่อสาร​ไป​ยัง​กลุ่ม​เป้า​หมาย​และ​ให้​บริการ​ทาง​ออนไลน์​ที่​สอดคล้อง​ กับ​ความ​ต้องการ​เฉพาะ​บุคคล จะ​เห็นว​ ่า​มุ่งเ​น้น​ให้​เห็น​การนำ�​สื่อ​ดิจิทัล​เป็น​เพียง​ส่วน​หนึ่ง​ที่​ลูกค้า​ใช้​ใน​การ​ซื้อ​สินค้า​ด้วย การ​ใช้​สื่อ​ ดิจิทัล​ควบคู่ก​ ับส​ ื่อด​ ั้งเดิม ใน​การ​เลือก​ซื้อส​ ินค้า​และ​บริการ​ใช้อ​ ินเทอร์เน็ต​เป็นแ​ ค่ส​ ่วน​หนึ่งข​ อง​กลยุทธ์​หลาย​ ช่อง​ทาง การ​ใช้ช​ ่อง​ทางการ​ตลาด​ทีแ่​ ตก​ต่าง​กันค​ วร​ทีจ่​ ะ​ถูกน​ ำ�​มา​ใช้ร​ ่วม​กัน สนับสนุนซ​ ึ่งก​ ันแ​ ละ​กัน เพื่อส​ ื่อสาร​ ไป​ยังล​ ูกค้าข​ อง​องค์กร เป็นการ​มุ่งเ​น้นค​ วาม​สำ�คัญไ​ ป​ทีแ่​ นวทาง​การ​ตลาด​ทีย่​ ึดล​ ูกค้าเ​ป็นศ​ ูนย์กลาง และ​ความ​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-18

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

สามารถ​ของ​สื่อ​ดิจิทัล​ใน​ปัจจุบัน​ที่ช​ ่วย​ให้​นักการ​ตลาด​ทำ�ความ​เข้าใจ​กับล​ ูกค้า​แต่ละ​คน​ได้​ดี​ยิ่ง​ขึ้น และ​ผลิต​ สินค้า​เพื่อ​ตอบ​สนอง​ต่อ​ความ​ต้องการ​เฉพาะ​บุคคล​ได้​มาก​ขึ้น สำ�หรับ​ความ​สัมพันธ์ข​ อง​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ และ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​ นั้น ใน​ทุก​วัน​นี้​หาก​พูด​ถึง​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketing) ส่วน​ใหญ่​ก็​จะ​มัก​นึกถึง​การ​ตลาด​บน​ อินเทอร์เน็ต (internet marketing) ก่อน​เป็น​อันดับ​แรก เพราะ​เป็น​เครื่อง​มือ​ที่​เห็น​ได้​ชัดกว่าการ​ทำ�การ​ ตลาด​ผ่าน​อินเทอร์เน็ต หรือ​บาง​ครั้งก​ ็​เรียก​ว่า การ​ตลาด​ออนไลน์ (online marketing) ดัง​นั้น การ​ตลาด​บน​ อินเทอร์เน็ต หมาย​ถึง การ​ใช้เ​ทคโนโลยีเ​พื่อบ​ รรลุว​ ัตถุประสงค์ท​ างการ​ตลาด​โดย​ครอบคลุมท​ ั้งม​ ุมม​ อง​ภายใน​ ประเทศ​และ​นอก​ประเทศ สอดคล้อง​กับ​แนวคิด​ของ “ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์” (e–Business) เกี่ยวข้อง​กับก​ าร​ บริหาร​จัดการ​สื่อสาร​ทั้งภ​ ายใน​และ​ภายนอก​องค์กร อีก​หนึ่ง​คำ�​นิยม​ที่​ใช้​เรียก การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ และ​ บาง​ความ​หมาย​อาจ​จะ​เรียก​ว่า “การ​ตลาด​ดิจิทัล” เป็นค​ วาม​หมาย​ใช้เ​รียก​โดย บริษัท โฆษณา​ออนไลน์ ดังน​ ั้น การ​เข้าใจ​ความ​หมาย​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​จึง​มี​ผู้​ให้​ความ​หมาย​หลาก​หลาย​ความ​คิด​เห็น การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ เป็น​ส่วน​ประกอบ​หนึ่ง​ของ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจาก​การ​ตลาด​ อิเล็กทรอนิกส์จ​ ะ​มุ่งเ​น้นใ​ ห้ค​ วาม​สำ�คัญไ​ ป​ทีล่​ ูกค้า การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์น​ ีเ้​ป็นการ​สื่อสาร​กับก​ ลุ่มเ​ป้าห​ มาย​ ใน​ลักษณะ​เฉพาะ​เจาะจง​แบบ 2 ทาง เป็น​รูป​แบบ​การ​ตลาด​แบบ​ตัว​ต่อ​ตัว​ที่​ลูกค้า​หรือ​กลุ่ม​เป้า​หมาย​สามารถ​ กำ�หนด​รูปแ​ บบ​สินค้าแ​ ละ​บริการ​ได้ต​ าม​ความ​ต้องการ​ของ​ตนเอง มีก​ ารก​ระ​จาย​ไป​ยังก​ ลุ่มผ​ ู้บ​ ริโภค สื่อสาร​ไป​ ยัง​ทั่ว​ทุก​มุม​โลก​ตลอด 24 ชั่วโมง โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์​ได้​อย่าง​รวดเร็ว มี​ต้นทุน​ต่ำ�​แต่​ได้​ประสิทธิผล สามารถ​ วัดผล​ได้ และ​ที่​สำ�คัญส​ ามารถ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อห​ ลัง​จาก​ได้​รับ​ข้อมูล​ข่าวสาร​ภายใน​เวลา​อัน​รวดเร็ว ส่วน​พาณิชย์อ​ ิเล็กทรอนิกส์ เป็น​ส่วน​ประกอบ​ย่อย​ของ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ ดัง​นั้น ​ความ​สัมพันธ์​ ระหว่าง​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์​และ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ทั้ง​สอง​สิ่ง​มี​ความ​คล้าย​กัน​มาก ​แต่​พาณิชย์​ อิเล็กทรอนิกส์ม​ ี​ขอบเขต​ที่​กว้าง​กว่าก​ าร​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ เพราะ​ว่า​มัน​เกี่ยวข้อง​กับ​ทั้ง​ธุรกรรม หรือ​ทราน​ แซ​กชั่​นการ​ซื้อ​ขาย (buy-side and sell-side transaction) ใน​ขณะ​ที่​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​จะ​พุ่ง​เป้า​ ความ​สนใจ​ไป​ที่​การ​ซื้อข​ าย และ​การ​สื่อสาร​เป็น​หลัก ส่วน​ของ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​มี​ขอบเขต​กว้าง​มาก ครอบคลุม​การ​ค้า​ทั้งหมด​ที่​ผ่าน​อิเล็กทรอนิกส์​ หมาย​ถึง การ​ใช้อ​ ินเทอร์เน็ต และ​เครือข​ ่าย​ อื่นๆ รวม​ทั้งก​ าร​ใช้เ​ทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​มา​ช่วย​สนับสนุนพ​ าณิชย์​ อิเล็กทรอนิกส์ การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ การ​สื่อสาร​ใน​องค์กร​ขนาด​ใหญ่ การ​ทำ�งาน​ร่วม​กัน กระบวนการ​ใช้​ เว็บ​ไซต์ใ​ น​องค์กร ตลอด​จน​การ​ใช้​เครือ​ข่าย​การ​เชื่อม​ต่อ​ใน​องค์กร เพื่อ​ติดต่อ​ลูกค้า​และ​หุ้น​ส่วน​ทาง​ธุรกิจ ดัง​นั้น ความ​สัมพันธ์ข​ อง​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ และ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ ได้​รับ​อิทธิพล​จาก​เศรษฐกิจ​แบบ​ดิจิทัล (digital economy) คือ​การ​ทำ�​เศรษฐกิจ​ที่​มี​พื้น​ฐาน​จาก​การนำ�​ เทคโนโลยี​ดิจิทัล​มา​ใช้​งาน อัน​ได้แก่ เครือ​ข่าย​การ​ติดต่อ​สื่อสาร​แบบ​ดิจิทัล (เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และ​เอ็กซ์ท​ รา​เน็ต เป็นต้น) คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​อื่น จะ​มี​อิทธิพล​มาก​ต่อ​การ​ เปลี่ยนแปลง​ของ​ธุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-19

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 3.4 ความ​สัมพันธ์​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ และ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

1. ความ​หมาย​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

จาก​ความ​สัมพันธ์ข​ อง​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Marketing- e-Marketing) พาณิชย์​ อิเล็กทรอนิกส์​ และ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​นั้น ทำ�ให้​สามารถ​แยก​ความ​หมาย​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ หมาย​ถึง​อะไร โดย​มี​ความ​คิด​เห็น​จาก​ผู้เ​ชี่ยวชาญ ดังนี้ 1.1 “การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์” หมาย​ถึง การ​ดำ�เนิน​กิจกรรม​ทางการ​ตลาด​โดย​ใช้​เครื่อง​มือ​ อิเล็กทรอนิกส์ต​ า่ งๆ ทีท​่ นั ส​ มัยแ​ ละ​สะดวก​ตอ่ ก​ าร​ใช้ง​ าน​เข้าม​ า​เป็นส​ ือ่ ก​ ลาง ไม่ว​ า่ จ​ ะ​เป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือแ​ ท็บเล็ต (tablet) ที่ถ​ ูกเ​ชื่อม​โยง​เข้าด​ ้วย​กัน โดย​ระบบ​อินเทอร์เน็ตม​ า​ผสม​ผสาน​กับว​ ิธีก​ าร​ทางการ​ตลาด เป็นการ​ด�ำ เนินก​ จิ กรรม​ทางการ​ตลาด​อย่าง​ลงตัวก​ บั ล​ กู ค้าห​ รือก​ ลุม่ เ​ป้าห​ มาย​เพือ่ บ​ รรลุจ​ ดุ ม​ ุง่ ห​ มาย​ของ​องค์กร ซึ่ง​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​นี้​เป็นการ​สื่อสาร​กับ​กลุ่ม​เป้า​หมาย​ใน​ลักษณะ​เฉพาะ​เจาะจง​แบบ 2 ทาง เป็น ​รูป​แบบ​การ​ตลาด​แบบ​ตัว​ต่อ​ตัว​ที่​ลูกค้า​หรือ​กลุ่ม​เป้า​หมาย​สามารถ​กำ�หนด​รูป​แบบ​สินค้า​และ​บริการ​ได้​ตาม​ ความ​ตอ้ งการ​ของ​ตนเอง มีก​ ารก​ระ​จาย​ไป​ยงั ก​ ลุม่ ผ​ บู​้ ริโภค สือ่ สาร​ไป​ยงั ท​ ัว่ ท​ กุ ม​ มุ โ​ ลก​ตลอด 24 ชัว่ โมง โต้ตอบ​ ปฏิสัมพันธ์​ได้อ​ ย่าง​รวดเร็ว มีต​ ้นทุน​ต่ำ�​แต่ไ​ ด้ป​ ระสิทธิผล สามารถ​วัดผล​ได้ และ​ที่ส​ ำ�คัญส​ ามารถ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​ หลัง​จาก​ได้ร​ ับ​ข้อมูลข​ ่าวสาร​ภายใน​เวลา​อัน​รวดเร็ว (ภาวุ​ธ พงษ์ว​ ิทย​ภานุ 2552)

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-20

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

1.2 “การ​ตลาด​อเิ ล็กทรอนิกส์” หมาย​ถงึ การ​ด�ำ เนินก​ จิ กรรม​ทางการ​ตลาด​ใช้เ​ครือ่ ง​มอื อ​ เิ ล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ เป็น​เครื่อง​มือ​ใน​การ​ดำ�เนิน​กิจการ​ทางการ​ตลาด​กับก​ ลุ่ม​เป้าห​ มาย เป็น​กิจกรรม​ที่​เป็นการ​ สื่อสาร​แบบ 2 ทาง และ​กิจกรรม​ที่น​ ักการ​ตลาด​สามารถ​ติดต่อ​กับ​ผู้​บริโภค​ได้​ทั่ว​โลก​และ​ตลอด​เวลา (Judy Strauss and Raymond Frost 2009) 1.3 “การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์” หมาย​ถึง การ​ดำ�เนินก​ ิจกรรม​ทางการ​ตลาด​โดย​ใช้ส​ ื่ออ​ ิเล็กทรอนิกส์​ เป็นเ​ครื่อง​มือ โดย​สิ่งส​ ำ�คัญ​ที่ค​ วร​ทราบ​ก่อน​ทำ�การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​คือ พฤติกรรม​ของ​ผู้บ​ ริโภค​ออนไลน์ และ​กระบวนการ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​ของ​ผู้​บริโภค ซึ่ง​จะ​มี​ลักษณะ​แตก​ต่าง​จาก​ผู้​บริโภค​ผ่าน​ร้าน​ค้า​ทั่วไป สำ�หรับ ​ผู้​บริโภค​ออนไลน์ม​ ี​หลาย​ประเภท เช่น ผู้บ​ ริโภค​ที่ต​ ้องการ​ประหยัด​เวลา ผู้​บริโภค​ที่​มี​ความ​คิด​ทันส​ มัย และ​ ผู้​บริโภค​ที่​ชอบ​แสวงหา​สิ่งแ​ ปลก​ใหม่ เป็นต้น (ดร.ทวี​ศักดิ์ กาญ​จน​สุวรรณ 2552) 1.4 “การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์” หมาย​ถึง การ​ดำ�เนิน​กิจกรรม​ทางการ​ตลาด​โดย​ใช้​เครื่อง​มือ​ อิเล็กทรอนิกส์​ต่างๆ ที่​ทัน​สมัย​และ​สะดวก​ต่อ​การ​ใช้​งาน​เข้า​มา​เป็น​สื่อ​กลาง ไม่​ว่า​จะ​เป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือ​พี​ดี​เอ ที่​ถูก​เชื่อม​โยง​เข้า​ด้วย​กัน​ด้วย​อินเทอร์เน็ต มา​ผสม​ผสาน​กับ​วิธี​การ​ทางการ​ตลาด การ​ ดำ�เนิน​กิจกรรม​ทางการ​ตลาด​อย่าง​ลงตัว​กับล​ ูกค้า​หรือ​กลุ่ม​เป้า​หมาย เพื่อ​บรรลุ​จุด​มุ่ง​หมาย​ของ​องค์กร​อย่าง​ แท้จริง (Brad Alan Kleindl 2003) โดย​สรุป การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ หมาย​ถึง กระบวนการ​ทาง​สังคม​และ​การ​จัดการ​ที่​มุ่ง​ตอบ​สนอง​ ความ​จำ�เป็น​และ​ความ​ต้องการ​ให้​กับ​บุคคล​และ​กลุ่ม​ต่างๆ โดย​อาศัย​การ​สร้างสรรค์​และ​การ​แลก​เปลี่ยน​ ผลิตภัณฑ์​และ​การ​บริการ โดย​อาศัย​ระบบ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร​เป็น​หลัก เพื่อ​ความ​รวดเร็ว​ ใน​การ​ซื้อ​ขาย​ผ่าน​บน​ระบบ​พาณิชย์อ​ ิเล็กทรอนิกส์​และ/หรือ​ผ่าน​ระบบ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

2. ประโยชน์​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ประโยชน์จ​ าก​การนำ�​เอา​เทคโนโลยีอ​ ินเทอร์เน็ตม​ า​ช่วย​สนับสนุนก​ าร​ทำ�การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ และ​ ก่อ​ให้​เกิดผ​ ล​สำ�เร็จ​ตาม​เป้า​หมาย ได้แก่ 2.1 การ​ขาย ช่วย​ทำ�ให้ย​ อด​ขาย​เพิ่มข​ ึ้นจ​ าก​การ​ทำ�การ​ตลาด​ผ่าน​ออนไลน์ ซึ่งจ​ ะ​เป็นเ​ครื่อง​มือท​ ีช่​ ่วย​ ทำ�ให้​ลูกค้า​รู้จัก​และ​เกิด​ความ​ทรง​จำ�​ใน​สินค้า​และ​บริการ​เพิ่ม​มาก​ขึ้น นำ�​ไป​สู่​ยอด​ขาย​ที่เ​พิ่ม​ขึ้น 2.2 การ​บริการ การ​สร้าง​ประโยชน์ท​ ีเ่​พิ่มข​ ึ้นใ​ ห้แ​ ก่ล​ ูกค้าโ​ ดย​ใช้บ​ ริการ​ผ่าน​ออนไลน์ ไม่ว​ ่าจ​ ะ​เป็นการ​ จัด​โปร​โม​ชั่น​หรือ​การ​ให้​สิทธิ​พิเศษ​ต่างๆ 2.3 การ​พูด​คุย การ​สร้าง​ความ​ใกล้​ชิด​กับ​ลูกค้า​โดย​สร้าง​แบบ​สนทนา​โต้ตอบ​ระหว่าง​กัน​ได้ ทำ�ให้​ ลูกค้า​สามารถ​เข้า​มาส​อบ​ถาม ตลอด​จน​สามารถ​สำ�รวจ​ความ​คิด​เห็น ความ​ต้องการ​หรือ​ความ​สนใจ​ใน​เรื่อง​ ใด​เป็น​พิเศษ เป็นการ​สร้าง​ความ​พึงพ​ อใจ​ให้​กับ​ลูกค้า​ได้​ดี​อีก​ทาง​หนึ่ง 2.4 การ​ประหยัด เป็ น การ​ป ระหยั ด ​ง บ​ป ระมาณ​ใ น​ก าร​พิ ม พ์ ​ก ระดาษ โดย​ส ามารถ​ใ ช้ ​วิ ธี ​ก าร ส่ง​จดหมาย​ข่าวสาร​ไป​ยังล​ ูกค้า​แทน​การ​ส่งจ​ ดหมาย​แบบ​ดั้งเดิม​ที่​นำ�​ไป​แจก ​หรือ​ส่ง​ทาง​ไปรษณีย์ 2.5 การ​ประกาศ การ​ประกาศ​สัญลักษณ์ ตราสิน​ค้า​ผ่าน​ออนไลน์ ซึ่ง​จะ​ช่วย​เสริม​สร้าง​สินค้า​ของ ​เรา​ให้​เป็นท​ ี่​รู้จัก​และ​จดจำ�​ต่อ​ลูกค้า​ได้เ​ป็น​อย่าง​ดี

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-21

ธ ส

2.6 ต้นทุน​ที่​ต่ำ� การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ก่อ​ให้​เกิด​ประโยชน์​แก่​ธุรกิจ​ใน​หลายๆ ประการ ทั้ง​ใน​แง่​ ของ​กลุ่ม​ผู้​ประกอบ​การ เจ้าของ​สินค้า และ​กลุ่มล​ ูกค้า ทำ�ให้​ธุรกิจ​ดำ�เนิน​ไป​ได้​อย่าง​รวดเร็ว​ด้วย​ต้นทุน​ที่​ต่ำ� สามารถ​แข่งขัน​กับ​คู่แ​ ข่ง​ใน​ต่าง​ประเทศ​ได้ ส่งผ​ ล​ดี​ต่อ​ราย​ได้​ของ​ประเทศ 2.7 สามารถ​ที่​ติดต่อ​กับ​ผู้​บริโภค​ได้​ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มี​วัน​หยุด เว้น​แต่​เครื่อง​มือ​อิเล็กทรอนิกส์​ นั้นจ​ ะ​อยู่​ใน​ภาวะ​ที่ใ​ ช้​การ​ไม่​ได้ นอกจาก​นี้​แล้ว การ​ทำ�การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ก่อ​ให้​เกิด​ประโยชน์​แก่​ธุรกิจ​ใน​หลายๆ ประการ ทั้ง​ ใน​แง่​ของ​กลุ่ม​ผู้​ประกอบ​การ​เจ้าของ​สินค้า​และ​ใน​แง่​ของ​กลุ่ม​ลูกค้า ทำ�ให้​ธุรกิจ​ดำ�เนิน​ไป​ได้​อย่าง​รวดเร็ว

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 3.1.2 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 3.1.2 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 3 ตอน​ที่ 3.1 เรื่อง​ที่ 3.1.2

ธ ส

ธ ส

เรื่อง​ที่ 3.1.3 ช่อง​ทางการ​โฆษณา​และ​ประชาสัมพันธ์ข​ อง​การ​ตลาด อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

องค์กร​หรือ​บริษัท​ต้อง​ทำ�​กิจกรรม​ทางการ​ตลาด​มากกว่า​การ​ผลิต​ผลิตภัณฑ์​ที่​ดี​เพียง​อย่าง​เดียว กิจการ​ยัง​ต้อง​แจ้ง​ให้​ผู้​บริโภค​รับ​รู้​เกี่ยว​กับ​ประโยชน์​ของ​ผลิตภัณฑ์​และ​ตำ�แหน่ง​ผลิตภัณฑ์​ที่​วาง​ไว้​ใน​ใจ​ ของ​ผู้​บริโภค​อย่าง​รอบคอบ ใน​การ​ทำ�​เช่น​นี้​กิจการ​ต้อง​มี​ทักษะ​ใน​การ​ใช้​เครื่อง​มือ​สื่อสาร​สู่​มวลชน อัน​ได้แก่ การ​โฆษณา การ​ส่ง​เสริม​การ​ขาย การ​ประชาสัมพันธ์ ช่อง​ทางการ​โฆษณา​และ​ประชาสัมพันธ์​ของ​การ​ตลาด​ อิเล็กทรอนิกส์ ต้อง​อาศัยเ​ว็บไซต์ท​ ี่​มุ่งส​ ร้าง​ความ​สัมพันธ์อ​ ันด​ ี​กับล​ ูกค้า และ​อาศัยเ​ว็บไซต์น​ ี้​เป็นช​ ่อง​ทางการ​ ขาย​ผลิตภัณฑ์แ​ ละ​บริการ ดังน​ ั้น จึงต​ ้อง​เรียน​รู้ศ​ ัพท์เ​ฉพาะ​ที่ใ​ ช้ใ​ น​บน​เว็บ เพื่อเ​ป็นการ​สื่อสาร​ให้เ​ข้าใจ​ตรง​กัน

ธ ส

1. ศัพท์​เฉพาะ​ที่​ใช้​ใน​บน​เว็บ

ธ ส

1.1 ป้าย​โฆษณา หรือ​แบนเนอร์ (banner) เป็น​รูปภาพ​สำ�หรับ​การ​โฆษณา ซึ่ง​ส่วน​มาก​จะ​เป็น​รูป​ สี่เหลี่ยม​ที่​มีข​ นาด​แตก​ต่าง​กัน ทั้งนี้ ขึ้น​อยู่​กับ​ข้อ​กำ�หนด​ของ​เว็บไซต์ผ​ ู้​ให้​บริการ​รับ​ฝาก​แบนเนอร์ โดย​ป้าย​ โฆษณา​จะ​ใช้​เป็นเ​ครื่อง​มือ​เชื่อม​โยง​ไป​ยังเ​พจ​รายการ​สินค้า​หรือ​เว็บไซต์​ที่​เป็น​เจ้าของ​สินค้า​และ​บริการ​นั้น 1.2 แอด​ววิ ส​ ์ (ad views/impression/page views) เป็นจ​ ำ�นวน​ครั้งท​ ีล่​ ูกค้าเ​ห็นห​ น้าเ​ว็บท​ ีม่​ ปี​ ้าย​โฆษณา​ ใน​ช่วง​เวลา​ใด​เวลา​หนึ่ง​ตาม​ที่ก​ ำ�หนด​ไว้ เช่น มี​ลูกค้า​เข้าส​ ู่​เพจ​โฆษณา​จำ�นวน 4 ครั้ง​ต่อ​ชั่วโมง เป็นต้น ทั้งนี้ จำ�นวน​ครั้งท​ ี่แท้จ​ ริงจ​ ะ​ขึ้นอ​ ยูก่​ ับค​ วาม​แตก​ต่าง​ใน​การ​แสดง​ผล​ผ่าน​เว็บเ​บ​รา​เซอร์ว​ ่าม​ า​จาก​แหล่งข​ ้อมูลบ​ น​เว็บ​ เซิร์ฟเวอร์​โดยตรง หรือ​มา​จาก​หน่วย​ความ​จำ�​แคช (cache) ใน​เครื่อง​ไคล​เอน​ต์ (client)

ธ ส


3-22

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

1.3 ปุ่ม (button) เป็น​รูปภาพ​ที่ม​ ี​ขนาด​เล็ก​กว่าแ​ บนเนอร์ ใช้​สำ�หรับ​เชื่อม​โยง​ไป​ยัง​เพจ​เป้าห​ มาย​ใน​ เว็บไซต์ หรืออ​ าจ​ใช้​เพื่อ​ดาวน์โหลด​โปรแกรม​และ​ซอฟต์แวร์​ทั่วไป​ก็ได้ 1.4 แอด​คลิก (ad-click/click-through) เป็นการ​นับ​จำ�นวน​ครั้ง​ที่​ผู้​เยี่ยม​ชม​เว็บไซต์​คลิก​ที่​ป้าย​ โฆษณา​ใน​ช่วง​เวลา​ใด​เวลา​หนึ่ง เพื่อไ​ ป​ยังเ​ว็บไซต์​ปลาย​ทาง 1.5 เพจ (page) เป็น​เอก​สาร​เอช​ที​เอ็ม​แอล​ที่​บรรจุ​ข้อมูล เช่น ข้อความ รูปภาพ และ​มัลติมีเดีย​ไฟล์​ ชนิด​ต่างๆ เอา​ไว้ 1.6 ซี​พี​เอ็ม (Cost per Thousand Impressions - CPM) เป็นต้น​ทุน​ที่​ผู้​โฆษณา​จะ​ต้อง​จ่าย​เป็น​ ค่า​ป้าย​โฆษณา เมื่อ​มี​ผู้เ​ยี่ยม​ชม​เปิด​เพจ​โฆษณา​ของ​ตน​เป็นจ​ ำ�นวน 1,000 ครั้ง 1.7 อัตรา​การ​เปลี่ยน หรือ​คอน​เวอร์ชั่น​เรต (conversion rate) เป็น​เปอร์เซ็นต์​ของ​ผู้​ซื้อ​สินค้า​และ​ บริการ​จริง​จาก​จำ�นวน​ผู้ท​ ำ�การ​คลิก​ผ่าน​แบนเนอร์​มา​เยี่ยม​ชม​เว็บไซต์​ทั้งหมด เช่น จำ�นวน​ผู้​เยี่ยม​ชม​เว็บไซต์ 50 คน จะ​มี​ผู้​ซื้อ​สินค้า​จริง 10 คน ดัง​นั้น อัตรา​การ​เปลี่ยน​เท่ากับ 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น 1.8 อัตราส่วน​การ​คลิกผ​ า่ น หรือค​ ลิกท​ รูเ​รโช (click-through ratio) เป็นเ​ปอร์เซ็นต์ข​ อง​ความ​สำ�เร็จ​ ทีม​่ ผ​ี คู​้ ลิกท​ ปี​่ า้ ย​โฆษณา เช่น มีจ​ �ำ นวน​ผเู​้ ยีย่ ม​ชม​เปิดด​ เ​ู พจ​โฆษณา​ทัง้ หมด 100 เพจ แต่ค​ ลิกเ​ข้าไป​ดโ​ู ฆษณา​จริง​ เพียง 10 ครั้ง ดัง​นั้น อัตราส่วน​การ​คลิก​ผ่าน​เท่ากับ 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น อัตราส่วน​การ​คลิก​ผ่าน​จึง​เป็นการ​ วัด​ความ​สำ�เร็จ​ของ​แบนเนอร์​โฆษณา​ว่า​สร้าง​ความ​สนใจ​ให้​กับ​ผู้​เยี่ยม​ชม​เว็บไซต์​ได้​มาก​น้อย​เพียง​ใด 1.9 ฮิต (hit) เป็นการ​เข้าถ​ ึงห​ รือเ​รียก​ดขู​ ้อมูลข​ อง​เว็บเพจ​จาก​เว็บเ​ซิร์ฟเวอร์ ซึ่งใ​ น​แต่ละ​ครั้งจ​ ะ​มกี​ าร​ บันทึกจ​ ำ�นวน​ฮิตข​ อง​เว็บน​ ั้นเ​อา​ไว้เ​พื่อต​ รวจ​วัดค​ วาม​นิยม โดย​ฮิตจ​ ะ​มีจ​ ำ�นวน​มาก​หรือน​ ้อย​ก็ข​ ึ้นอ​ ยู่ก​ ับข​ นาด​ ของ​เว็บเพจ ความ​สมบูรณ์​ของ​ข้อมูล และ​รูป​แบบ​การนำ�​เสนอ​ที่​น่า​สนใจ​ด้วย 1.10 การ​เยีย่ ม​ชม (visit) เป็นการ​ท่อง​เข้าส​ ู่เ​ว็บไซต์แ​ ละ​การ​ออก​จาก​เว็บไซต์ข​ อง​ผู้เ​ยี่ยม​ชม​ใน​แต่ละ​ ครั้ง ซึ่ง​ระยะ​เวลา​อาจ​แตก​ต่าง​กัน​ตาม​แต่​ความ​สนใจ​ของ​ผู้​เยี่ยม​ชม โดย​ส่วน​มาก​จะ​มี​การ​แจ้ง​ตัว​ตน​ด้วย​ วิธี​การ​ลง​ทะเบียน (register) หรือก​ าร​ล็อกอิน (login) เข้า​สู่​ระบบ 1.11 การ​ปฏิสัมพันธ์​ของ​สื่อ​โฆษณา (interactive advertisement) เป็นการ​สร้าง​แรง​จูงใจ​ให้​กับ​ ผู้เ​ยี่ยม​ชม​ได้ก​ ระทำ�​บาง​สิ่งก​ ับ​ป้าย​โฆษณา เพื่อ​เข้าไป​ดู​เพจ​สินค้า​หรือ​เว็บไซต์​ปลาย​ทาง เช่น การ​โฆษณา​เชิง​ ตั้ง​คำ�ถาม ให้ผ​ ู้​เยี่ยม​ชม​เกิด​ความ​สงสัยห​ รือ​สนใจ​จน​ต้อง​คลิก​เข้าไป​ดู​ราย​ละเอียด เป็นต้น 1.12 การ​เข้า​ถึง หรือร​ ีช (reach) เป็น​ความ​สำ�เร็จ​เกิน​เป้าห​ มาย​ที่​วาง​ไว้ เช่น มี​จำ�นวน​ผู้​เยี่ยม​ชม​ที​่ เข้า​สู่​เว็บไซต์​มากกว่า 3,000 คน ภายใน​ระยะ​เวลา​เพียง 1 เดือน ซึ่ง​จาก​เดิม​คาด​หวังไ​ ว้​เพียง 20,000 คน เกิน​ เป้า​หมาย​ที่​วาง​ไว้​ถึง 17,000 คน เป็นต้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

2. การ​โฆษณา​บน​เว็บ

ธ ส

ธ ส

การ​สง่ เ​สริมก​ าร​ขาย​บน​เว็บเ​ป็นส​ ิง่ จ​ �ำ เป็นเ​ช่นเ​ดียว​กบั ก​ าร​คา้ ป​ กติ โดย​รปู แ​ บบ​มต​ี ัง้ แต่ก​ าร​จดั ช​ งิ ร​ างวัล การ​ให้​ส่วนลด​พิเศษ​ใน​เทศกาล​ต่างๆ รวม​ทั้ง​การ​โฆษณา​ประชาสัมพันธ์​ให้​ลูกค้า​เข้า​มา​เลือก​สินค้า​ที่​เว็บไซต์ นอกจาก​การ​โฆษณา​ประชาสัมพันธ์​ใน​สื่อป​ กติ เช่น


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-23

ธ ส

2.1 การ​โฆษณา​ผา่ น​ทาง​แบนเนอร์ ป้าย​โฆษณา​หรือแ​ บน​เนอ​รอ​์ าจเ​ปน​็ ข้อค​ วาม​สัน้ ๆ ภาพ​เคลือ่ นไหว หรือส​ ื่อม​ ัลติมีเดียท​ ีผ่​ สม​ผสาน​ภาพ​และ​เสียง​ไว้ด​ ้วย​กัน เพื่อเ​พิ่มค​ วาม​น่าส​ นใจ​ให้ก​ ับส​ ินค้าแ​ ละ​บริการ​มาก​ขึ้น โดย​เมื่อ​ผู้​ชม​คลิก​ที่​แบนเนอร์ ก็​จะ​เชื่อม​โยง​ไป​ยังเ​ว็บไซต์​ของ​บริษัท​ที่​เป็นเ​จ้าของ​สินค้า​ชนิด​นั้น 2.2 การ​โฆษณา​ผ่า​นทางป๊อ​ บ​อัพ โดย​ทั่วไป ​แบ่งอ​ อก​เป็น 2 แบบ คือ 1) แบบ​ป๊​อบ​อัพ (pop-up advertising) เป็น​โฆษณา​ที่​แยก​ออก​เป็น​เว็บ​เบ​รา​เซอร์​หน้าต่าง​ใหม่ และ​จะ​ปรากฏ​ขึ้น​พร้อม​กับ​เว็บเพจ​ที่​มี​โฆษณา​สินค้า​นั้น โดย​โฆษณา​แบบ​ป๊​อบ​อัพ จะ​อยู่​ด้าน​บน​ของ​เว็บเพจ​ ที่ผ​ ู้​ใช้​เรียก​ทำ�งาน​อยู่ (active window) 2) แบบ​ป๊​อบ​อันเดอร์ (pop-under advertising) เป็น​โฆษณา​ที่​แยก​ออก​เป็น​เว็บ​เบ​รา​เซอร์ หน้าต่าง​ใหม่​เช่น​เดียว​กับ​โฆษณา​แบบ​ป๊​อบ​อัพ แต่​จะ​อยู่​ด้าน​ล่าง​ของ​เว็บเพจ​ที่​ผู้​ใช้​เรียก​ทำ�งาน​อยู่ ดัง​นั้น ผู้​ใช้​จะ​ต้อง​ปิดเ​ว็บเพจ​นั้นเ​สีย​ก่อน​จึง​จะ​เห็น​หน้า​โฆษณา​นี้ 2.3 การ​โฆษณา​ผา่ น​ทาง​อเี มล เป็นการ​แนบ​ขอ้ มูลส​ นิ ค้าแ​ ละ​บริการ​ของ​บริษทั ไ​ ป​กบั อ​ เี มล​เพือ่ ส​ ง่ ไ​ ป​ยงั ​ ปลาย​ทาง ซึง่ อ​ าจ​เป็นบ​ คุ คล​ทัว่ ไป บริษทั หรือจ​ าก​ราย​ชือ่ ผ​ ทู​้ เี​่ คย​เข้าม​ า​เยีย่ ม​ชม​เว็บไซต์ท​ บี​่ นั ทึกไ​ ว้ใ​ น​ฐาน​ขอ้ มูล​ ของ​บริษัท​ก็ได้ นับ​ว่า​เป็น​รูป​แบบ​การ​โฆษณา​ที่ช​ ่วย​ประหยัด​ค่า​ใช้​จ่าย และ​ยัง​สะดวก รวดเร็ว สามารถ​เข้า​ถึง​ กลุ่มเ​ป้า​หมาย​จำ�นวน​มาก​พร้อม​กัน​ใน​เวลา​เดียวกัน​ได้ นอกจาก​นี้ ปัจจุบันก​ าร​รับส​ ่ง​อีเมล​ไม่​ได้​จำ�กัด​อยู่​บน​ เครื่อง​คอมพิวเตอร์​ส่วน​บุคคล​เท่านั้น แต่ย​ ังส​ ามารถ​รับส​ ่งอ​ ีเมล​ไป​ยังอ​ ุปกรณ์​พก​พา เช่น เครื่อง​พีด​ ีเอ (PDA) หรือ​โทรศัพท์​มือ​ถือ​ได้ อีเมล​จึง​เป็น​อีก​หนึ่ง​รูป​แบบ​การ​โฆษณา​ที่​มี​ผู้​ให้​ความ​สนใจ​นำ�​มา​ใช้​งาน​กัน​มาก​ขึ้น สิ่งท​ ี่ต​ ้อง​คำ�นึงถ​ ึงใ​ น​การ​ส่งอ​ ีเมล​เพื่อโ​ ฆษณา​สินค้าค​ ือ ผู้เ​สนอ​สินค้าค​ วร​ได้ร​ ับอ​ นุญาต​จาก​ลูกค้าเ​สีย​ ก่อน ทั้งนี้ เพื่อ​ไม่เ​ป็นการ​รบกวน​หรือ​สร้าง​ความ​รำ�คาญ​ใจ​ให้​กับ​ผู้รับ นอกจาก​นี้ การ​โฆษณา​ผ่าน​ทาง​อีเมล​ ไป​ยัง​ผู้รับ​โดย​ไม่​ได้​รับ​อนุญาต อาจ​ทำ�ให้​อีเมล​ดัง​กล่าว​กลาย​เป็น​จดหมาย​ขยะ (spam mail) ที่ผ​ ู้รับ​ไม่​เปิด​ อ่าน​เลย​ก็ได้ 2.4 การ​โฆษณา​ผา่ น​ทาง​ยอ​ู าร์แ​ อล (URL) เป็นการ​โฆษณา​โดย​อาศัยเ​ครื่อง​มือป​ ระเภท​เว็บไ​ ดเรกทอรี​ และ​เสิร์ช​เอน​จิน โดย​ผู้ใ​ ช้​บริการ​จะ​ต้อง​ลง​โฆษณา​กับผ​ ู้​ให้​บริการ​เหล่า​นี้​ก่อน ซึ่ง​มี​ทั้ง​แบบ​เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย และ​ ไม่​เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย​แต่​อย่าง​ใด จาก​นั้น​โปรแกรม​ก็​จะ​จัด​เก็บ​ดัชนี​คำ�​ศัพท์ และ​ยู​อาร์​แอล (URL - Universal Resource Locator) ของ​เว็บไซต์​ไว้​ใน​ฐาน​ข้อมูล หาก​มี​ผู้​ใช้​ค้นหา​คีย์เวิร์ด​หรือ​คำ�​ค้น (keyword) ที่​ตรง​กับ​ ข้อมูล​ของ​ยู​อาร์​แอล​ใด โปรแกรม​ก็​จะ​แสดง​ผลลัพธ์​เป็น​ชื่อ​ยู​อาร์​แอล​ของ​เว็บไซต์​นั้น​ขึ้น​มา ตัวอย่าง​เว็บไซต์​ ที่​ให้​บริการ​ประเภท​นี้ เช่น www.google.com www.yahoo.com 2.5 การ​โฆษณา​ผ่าน​ห้อง​สนทนา​และ​บล็อก ห้อง​สนทนา (chat room) เป็นการ​ติดต่อ​สื่อสาร​แบบ 2 ทาง กล่าว​คือ คู่​สนทนา​สามารถ​โต้ตอบ​ระหว่าง​กัน​ได้​ใน​เวลา​ที่​เกิด​ขึ้น​จริง ณ ขณะ​นั้น โดยที่​ไม่​ต้อง​เผชิญ​ หน้า​กัน ห้อง​สนทนา​จึง​เป็น​อีก​หนึ่ง​เครื่อง​มือ​ที่​นำ�​มา​ใช้​เป็น​ช่อง​ทาง​โฆษณา​ได้ โดย​วิธี​นี้​จะ​แตก​ต่าง​จาก​การ​ ใช้​แบนเนอร์​เพื่อ​โฆษณา​บน​เว็บเพจ​ทั่วไป กล่าว​คือ สามารถ​นำ�​เสนอ​สินค้า​และ​บริการ​ได้​ตลอด​เวลา​ที่​มี​การ​ ออนไลน์อ​ ยู่ และ​สามารถ​ย้อน​กลับ​มา​นำ�​เสนอ​สินค้า​ชนิด​เดิม​กับ​กลุ่ม​ลูกค้า​เดิม​ซ้ำ�​ได้ อย่างไร​ก็ตาม วิธี​นี้​ก็​มี​ ข้อ​จำ�กัด​ที่ส​ ำ�คัญ คือ ต้อง​ใช้​เวลา​ใน​การ​สนทนา​นาน และ​กลุ่ม​เป้าห​ มาย​ที่​ได้​ค่อน​ข้าง​แคบ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-24

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

บล็อก (blog) เป็น​ชุมชน​เพื่อ​การ​ติดต่อ​สื่อสาร เป็น​แหล่ง​รวบรวม​ผู้​ที่​มี​ความ​สนใจ​เรื่อง​เดียวกัน​ ให้​สามารถ​เข้า​มา​แลก​เปลี่ยน​ข้อคิด​เห็น​หรือ​ทัศนคติ​ได้ โดย​การ​โฆษณา​ผ่าน​บล็อก​อาจ​ทำ�ได้​หลาย​ลักษณะ เช่น การ​ตั้ง​กระทู้​เปิด​ประเด็น​หัวข้อส​ ินค้า​ที่ต​ ้องการ​นำ�​เสนอ เพื่อ​ดู​ความ​คิด​เห็น​ของ​ลูกค้า​ที่​มี​ต่อ​สินค้า หรือ​ เข้าไป​ศึกษา​ข้อมูลจ​ าก​กระทู้ส​ ินค้าข​ อง​คู่แ​ ข่ง เพื่อน​ ำ�​ข้อบ​ กพร่อง​ของ​คู่แ​ ข่งม​ า​ปรับปรุงก​ ับส​ ินค้าข​ อง​บริษัทตน เป็นต้น 2.6 การ​โฆษณา​ผา่ น​เกมออนไลน์ เป็นก​ ลยุทธ์ใ​ น​การ​ส่งเ​สริมก​ าร​ขาย (promotion) อีกร​ ูปแ​ บบ​หนึ่ง โดย​จะ​สร้าง​จุดส​ นใจ​ให้​ลูกค้า​เข้า​มา​เยี่ยม​ชม หรือ​สั่ง​ซื้อ​สินค้า​ผ่าน​การ​เล่น​เกมออนไลน์ ยก​ตัวอย่าง​เช่น ให้​ ลูกค้าเ​ล่นเ​กม​เพื่อส​ ะสม​แต้มต​ าม​กติกา หาก​ลูกค้าส​ ะสม​แต้มค​ รบ​ตาม​ทีก่​ ำ�หนด ก็ส​ ามารถ​เลือก​ซื้อผ​ ลิตภัณฑ์​ ได้​ใน​ราคา​ลด​พิเศษ หรือ​การ​เลือก​ซื้อส​ ินค้า 1 รายการ แล้ว​แถม​ฟรี​อีก 1 รายการ เป็นต้น ตัวอย่าง​เว็บไซต์​ ประเภท​นี้ เช่น www.majorcineplex.com http://itmg2.intel.com และ www.icc.co.th เป็นต้น 2.7 แค​ตา​ลอ็ ก​อเิ ล็กทรอนิกส์ (Electronic Catalog - e - Catalog) คือ รายการ​สนิ ค้าแ​ บบ​อเิ ล็กทรอนิกส์ เป็นส​ ่วน​ประกอบ​สำ�คัญท​ ีช่​ ่วย​สนับสนุนใ​ ห้ล​ ูกค้าต​ ัดสินใ​ จ​เลือก​ซื้อส​ ินค้าแ​ ละ​บริการ​ได้ส​ ะดวก​ขึ้น เนื่องจาก​ใน​ อดีตร​ ายการ​สินค้า​จะ​ถูก​นำ�​เสนอ​ใน​รูป​แบบ​แผ่น​พับ​หรือ​โบรชัวร์ (brochure) ที่​ทำ�​จาก​กระดาษ​เป็นเ​อกสาร​ แผ่นพ​ ับห​ รือห​ นังสือ​ที่ม​ ีข​ นาด​เล็กเ​ท่านั้น จึงท​ ำ�ให้ข​ าด​ความ​น่าส​ นใจ​และ​ไม่ส​ ะดวก​ใน​การ​เลือก​ชม ต่อม​ า​จึงม​ ​ี การ​พัฒนา​ให้​อยู่​ใน​รูป​แบบ (CD-ROM) แต่​ใน​ปัจจุบัน​เมื่อ​กระแส​การ​โฆษณา​บน​เว็บ​ได้​รับ​ความ​นิยม​มาก​ขึ้น ทำ�ให้​มีก​ าร​พัฒนา​เครื่อง​มือ​และ​เทคโนโลยี​ที่​ช่วย​สร้าง​แค​ตา​ล็อก​สินค้า​ให้​มี​ลูก​เล่น​ที่​น่า​สนใจ​มากกว่าเ​ดิม 2.8 การ​โฆษณา​ผา่ น​ชอ่ ง​ทา​งอืน่ ๆ นอกจาก​การ​โฆษณา​ตาม​วธิ ท​ี กี​่ ล่าว​มา​ขา้ ง​ตน้ แ​ ล้ว ยังม​ ก​ี าร​โฆษณา​ อีก​หลาย​วิธี เช่น การ​สื่อสาร​ผ่าน​เว็บ (web-based broadcasting) วิทยุ​บน​เว็บ (web–radio) และ​ทีวี​บน​เว็บ (web–TV) เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้น​อยู่ก​ ับ​ความ​คิด​สร้างสรรค์​ใน​การนำ�​เสนอ เพื่อ​ดึงดูด​ใจ​ให้​ลูกค้า​เข้า​มา​เยี่ยม​ชม และ​สั่งซ​ ื้อ​สินค้า​และ​บริการ​มาก​ยิ่ง​ขึ้น ไม่​ว่า​จะ​เป็นการ​โฆษณา​ด้วย​วิธี​ใด​ก็ตาม ผู้​ประกอบ​การ​จะ​ต้อง​คำ�นึง​ถึง​ปัจจัย​ด้าน​การ​ลงทุน​และ​ กลุ่มเ​ป้า​หมาย​เป็นส​ ำ�คัญ นอกจาก​นี้ การ​โฆษณา​จะ​ต้อง​ไม่​สร้าง​ความ​รำ�คาญ​ใจ​ให้​กับ​ลูกค้า การ​โฆษณา​บาง​ รูป​แบบ​ควร​ได้​รับ​อนุญาต​จาก​ลูกค้า​เสีย​ก่อน และ​ควร​นำ�​เสนอ​ใน​สิ่ง​ที่​เป็น​ประโยชน์​เพื่อ​ตอบ​สนอง​ความ​ ต้องการ​ของ​ลูกค้า​มาก​ที่สุดด​ ้วย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 3.1.3 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 3.1.3 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 3 ตอน​ที่ 3.1 เรื่อง​ที่ 3.1.3


ตอน​ที่ 3.2

ธ ส

ธ ส

การ​บริหาร​จัดการ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-25

ธ ส

โปรด​อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ�​ตอน​ที่ 3.2 แล้วจ​ ึง​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ พร้อม​ปฏิบัติ​กิ​จกร​รม​ใน​แต่ละ​เรื่อง

หัว​เรื่อง

แนวคิด

ธ ส

เรื่อง​ที่ 3.2.1 การ​บริหาร​การ​จัดการ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง​ที่ 3.2.2 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรม​ผู้​บริโภค​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง​ที่ 3.2.3 เครื่อง​มือ​หลัก​ใน​การ​ทำ�การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ธ ส

1. แนวคิด​และ​หลัก​การ​บริหาร​จัดการ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ คือ การ​วิเคราะห์ การ​วางแผน การ​ปฏิบัติ​การ​ตาม​แผนที่​วาง​ไว้ การ​ควบคุม​โปรแกรม​ที่​ออกแบบ​ไว้​อย่าง​สร้างสรรค์ การ​ สร้าง​และ​รักษา​ผล​ประโยชน์​จาก​การ​แลก​เปลี่ยน​กับ​ผู้​ซื้อ​เป้า​หมาย โดย​มี​จุด​มุ่ง​หมาย​เพื่อ​ ให้​บรรลุ​วัตถุประสงค์ข​ อง​องค์กร 2. พฤติกรรม​ผู้​บริโภค​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ที่​เกิด​ขึ้น​เนื่องจาก​การ​เกิด​ช่อง​ทาง​ ออนไลน์​ทำ�ให้​คนกลาง​บาง​ประเภท เช่น ตัวแทน​จำ�หน่าย​ตั๋ว​โดยสาร นาย​หน้า​ประกัน​ ขาย​ประกัน​ภัย ร้าน​ขาย​หนัง​สือ ถูก​แทนที่​ด้วย​การ​บริการ​ออนไลน์ ขณะ​เดียวกัน ก็​จะ​ เกิด​คนกลาง​ใน​ช่อง​ทาง​ออนไลน์ ซึ่ง​จะ​เป็น​คนกลาง​ที่​ช่วย​ให้​ผู้​บริโภค​ซื้อ​สินค้า​ช่อง​ทาง​นี้​ สะดวก รวดเร็ว และ​สำ�คัญ​ที่สุด​สินค้า​ราคา​ถูก​ลง 3. ลักษณะ​พิเศษ​ของ​การ​ทำ�การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​สามารถ​ดำ�เนิน​การ​ได้​ทั้ง​กิจการ​ขนาด​ ใหญ่ ขนาด​เล็ก และ​ส่วน​บุคคล ไม่มี​ขอบ​เขต​ใดๆ ใน​การ​จัด​ทำ�​โฆษณา มี​ความ​รวดเร็ว​ ใน​การ​รับแ​ ละ​ส่งข​ ้อมูลม​ าก​เข้าถ​ ึงต​ ลาด​ทุกป​ ระเทศ​ทั่วโ​ ลก ใน​การ​ซื้อผ​ ่าน​ช่อง​ทาง​ออนไลน์​ สามารถ​ทำ�ได้​อย่าง​รวดเร็ว​และ​มี​ความ​เป็น​ส่วน​ตัว ดัง​นั้น จึง​ต้อง​มีเครื่อง​มือ​หลักใ​ น​การ​ ทำ�การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-26

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

วัตถุประสงค์

เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 3.2 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. อธิบาย​ตัว​แบบ​พฤติกรรม​ของ​ผู้​บริโภค​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ได้ 2. อธิบาย​กระบวนการ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อข​ อง​ผู้​บริโภค​ได้ 3. อธิบาย​ประเภท​ของ​ผู้บ​ ริโภค​ออนไลน์​ได้ 4. อธิบาย​การ​เข้า​สู่​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ได้ 5. อธิบาย​การ​บริหาร​ความ​สัมพันธ์​กับ​ลูกค้า ได้ 6. อธิบาย​การ​กำ�หนด​ราคา​และ​การ​จัดการ​ช่อง​ทาง​จำ�หน่าย​สินค้า​ได้ 7. อธิบาย​การ​เก็บ​ข้อมูลเ​พื่อท​ ำ�​วิจัยต​ ลาด​ส่วน​บุคคล​ได้ 8. อธิบาย​สื่อก​ าร​ตลาด​สังคม​ออนไลน์​ได้ 9. อธิบาย​การ​ตลาด​ผ่าน​โมบาย​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-27

ธ ส

เรื่อง​ที่ 3.2.1 การ​บริหาร​การ​จัดการ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ เป็น​ส่วน​ผสม​แนว​ความ​คิด​ทางการ​ตลาด​และ​ทาง​เทคนิค​รวม​เข้า​ไว้​ด้วย​ กัน​ทั้ง​ด้าน​การ​ออกแบบ (design) การ​พัฒนา (development) การ​โฆษณา​และ​การ​ขาย (advertising and sales) ตัวอย่าง​เครื่อง​มือห​ ลัก​ใน​การ​ทำ�การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ใน​การ​ทำ�​กิจกรรม​การ​ตลาด เช่น การ​ตลาด​ ด้วย​เสิร์ช​เอน​จิน (search engine marketing) การ​ตลาด​ทาง​อีเมล (e-Mail marketing) การ​ตลาด​แบบ​ ตัวแทน (affiliate marketing) การ​ตลาด​แบบ​บอก​ต่อ (viral marketing) เป็นต้น โดย​มี​วัตถุประสงค์​ เพื่อ​ประโยชน์​ใน​การ​สร้าง​มูลค่า​เพิ่ม​ให้​แก่​ธุรกิจ​และ​ลูกค้า เนื่องจาก​ระบบ​อิเล็กทรอนิกส์​สามารถ​สนับสนุน ก​ าร​ร้องขอ​ข้อมูลข​ อง​ลูกค้า การ​จัดเ​ก็บป​ ระวัติ และ​พฤติกรรม​ของ​ลูกค้าเ​อา​ไว้ รวม​ถึงก​ าร​สร้าง​ความ​สัมพันธ์​ กับล​ ูกค้าไ​ ด้ ส่งผ​ ล​ต่อก​ าร​เพิ่มแ​ ละ​รักษา​ฐาน​ลูกค้า และ​อำ�นวย​ประโยชน์ใ​ น​การ​ประกอบ​ธุรกิจอ​ ย่าง​ครบ​ถ้วน

ธ ส

ธ ส

1. การ​จัดการ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ใน​ขณะ​ที่​การ​ตลาด​แบบ​ดั้งเดิม (traditional marketing) จะ​มี​รูป​แบบ​ที่​แตก​ต่าง​จาก​การ​ตลาด​ อิเล็กทรอนิกส์​อย่าง​ชัดเจน โดย​การ​ตลาด​แบบ​ดั้งเดิม​นั้น​จะ​มี​กลุ่ม​เป้า​หมาย​ที่​หลาก​หลาย จะ​ไม่​เน้น​บุคคล​ ใด​บุคคล​หนึ่ง และ​มัก​จะ​ใช้​วิธี​การ​แบ่ง​ส่วน​ตลาด (marketing segmentation) โดย​ใช้​เกณฑ์​สภาพ​ ประชากรศาสตร์ หรือ​สภาพ​ภูมิศาสตร์ และ​สามารถ​ครอบคลุม​ได้​บาง​พื้นที่ ใน​ขณะ​ที่​ถ้า​เป็นการ​ตลาด​ อิเล็กทรอนิกส์จ​ ะ​สามารถ​ครอบคลุมไ​ ด้ท​ ั่วโ​ ลก​เลย​ทเี​ดียว ด้วย​เหตุน​ ี้ ธุรกิจต​ ่างๆ ใน​ปัจจุบันจึงไ​ ด้น​ ำ�​การ​ตลาด​ อิเล็กทรอนิกส์ม​ า​เป็นแ​ นวคิดม​ า​ประยุกต์ใ​ ช้อ​ ย่าง​แพร่ห​ ลาย เพือ่ ท​ �ำ การ​ตลาด​ออนไลน์ใ​ ห้ไ​ ด้ป​ ระสิทธิภาพ​สงู สุด ซึ่ง​มี​หลัก​การ​จัดการ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ 1.1 การ​ตลาด​แบบ​ใหม่ หรือ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ เน้น​การ​ใช้​การ​ปรับแ​ ก้​หรือ​ตกแต่งส​ ินค้า​แบบ​ มวลชน (mass customization) มากกว่า​การ​ตลาด​รวม (mass marketing) เพราะ​ลูกค้า​ทุก​คน​มี​สิทธิ์​เลือก​ เว็บไซต์​ต่างๆ ทั่ว​โลก​เพื่อ​หา​สินค้า​ที่​ตนเอง​ต้องการ เพราะ​ฉะนั้น เน้น​ระบบ​ที่​สนอง​ตอบ​ความ​ต้องการ​ของ​ ลูกค้า​แต่ละ​คน​เป็น​หลัก ทั้งนี้ จะ​ต้อง​สร้าง​ระบบ​โปรแกรม​อัตโนมัติ​ขึ้น​มา​ตอบ​สนอง​ความ​ต้องการ​ดัง​กล่าว โดย​ให้​แต่ละ​คน​สามารถ​เลือก​ทาง​เลือก​ที่​สนอง​ความ​ต้องการ​ได้​ด้วย​ตนเอง 1.2 การ​แบ่ง​ส่วน​ตลาด​ต้อง​เป็น​แบบ​ส่วน​ตลาด​แบบ​จุลภาค (micro segmentation หรือ​แบบ​หนึ่ง​ ต่อ​หนึ่ง (one-to-one segmentation) หมาย​ถึง หนึ่ง​ส่วน​ตลาด​คือ​ลูกค้า​หนึ่ง​คน เพราะ​ใน​ตลาด​บน​เว็บ​ถือว่า​ ลูกค้า​เป็นใ​ หญ่ เนื่องจาก​มี​สิทธิ์ท​ ี่​เลือก​ซื้อส​ ินค้า​ใคร​ก็ได้ ยกเว้น​แต่​บริษัท​เป็น​เพียง​ราย​เดียว​ที่​มี​อยู่​ใน​ตลาด ฉะนั้น การ​พิจารณา​ข้อมูล​ความ​ต้องการ​หรือ​พฤติกรรม​ของ​ลูกค้า​ทุก​คน​โดย​อาศัย​ระบบ​ฐาน​ข้อมูล​ที่​ตรวจ​ จับพ​ ฤติกรรม​ของ​ลูกค้าแ​ ต่ละ​ราย​ได้ถ​ ือเ​ป็นป​ ัจจัยแ​ ห่งค​ วาม​สำ�เร็จท​ ีส่​ ำ�คัญม​ าก หรือใ​ น​แง่ข​ อง​การ​จัดการ​แล้ว​ เรียก​ว่า การ​บริหาร​ความ​สัมพันธ์​ลูกค้า (Customer Relationship Management – CRM) จะ​ทำ�ให้​ทราบ​ ว่า​ใคร​คือ​ลูกค้า​ประจำ�

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-28

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

1.3 การ​วาง​ตำ�แหน่งส​ ินค้า (positioning) ต้อง​เป็นไ​ ป​ตาม​ความ​ต้องการ​แต่ละ​บุคคล วาง​ตำ�แหน่ง​ สินค้า​เพื่อ​ให้​ลูกค้า​รับ​รู้​นั้น​ต้อง​วาง​ตาม​ความ​ต้องการ​ของ​แต่ละ​บุคคล และ​หาก​ความ​ต้องการ​นั้น​เปลี่ยน​ไป ระบบ​ก็​ต้อง​เคลื่อน​ตำ�แหน่ง​ของ​การ​วาง​นั้น​ไป​สนอง​ตอบ​ต่อ​ความ​ต้องการ​ใหม่​ด้วย 1.4 ให้​เป็น​หนึ่ง​ใน​เว็บ​ที่​ลูกค้า​จำ�​ได้ การ​สร้าง​ความ​จดจำ�​เพื่อ​ให้​จำ�​เว็บไซต์​เรา ​การ​จด​ชื่อ​โดเมน​ที่​ ทำ�ให้​จดจำ�​ง่าย หรือม​ ี​ความ​หมาย​ที่ส​ อดคล้อง​กับ​เนื้อหา​ของ​เว็บไซต์ จึงเ​ป็น​สิ่ง​ที่​จำ�เป็นม​ าก 1.5 ต้อง​รู้​ความ​ต้องการ​ลูกค้า​ล่วง​หน้า​ จำ�เป็น​จะ​ต้อง​ติดตาม​พฤติกรรม​การ​ซื้อ​ของ​กลุ่ม​เป้า​หมาย​ โดย​ตลอด 1.6 ต้อง​ปรับท​ ต​ี่ วั ส​ นิ ค้าแ​ ละ​ราคา​เป็นห​ ลัก สินค้าถ​ ือเ​ป็นห​ ัวใจ​ทีส่​ ำ�คัญท​ ี่สุด จำ�เป็นอ​ ย่าง​ยิ่งท​ จี่​​ ะต้อง​ เทียบ​กับ​คุณค่า​ของ​สินค้าแ​ ละ​คู่​แข่งเ​สมอ​ว่า​ใคร​สนอง​ตอบ​ต่อ​ความ​ต้องการ​ได้​ดี​กว่า​กัน 1.7 ต้อง​ให้​ลกู ค้า​ตกแต่ง​สนิ ค้า​ตาม​ความ​ตอ้ งการ​ได้​โดย​อตั โนมัติ (customization & personalization) วิธี​ที่​ให้​ลูกค้า​ได้​รับ​คุณค่า​หรือ​สนอง​ความ​ต้องการ​ได้​ดี​ที่สุด ก็​คือ การ​ให้​ลูกค้า​ได้​เลือก​หรือ​ตกแต่ง​สินค้า​ เอง รวม​ทั้ง​การ​คำ�นวณ​ราคา​ด้วย ฉะนั้น การ​ให้​ทาง​เลือก​ให้​ลูกค้า​ได้​เลือก​มาก​ที่สุด​จึง​เป็น​สิ่ง​ที่​สำ�คัญ​มาก

ธ ส

ธ ส

ธ ส

2. ตัว​แบบ​พฤติกรรม​ของ​ผู้​บริโภค​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

สิ่ง​สำ�คัญ​ของ​การ​ทำ�การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ทุก​รูป​แบบ คือ เพื่อ​ค้นหา​กลุ่ม​ลูกค้า​ของ​บริษัท และ​ ศึกษา​พฤติกรรม​ของ​ผู้​บริโภค​ใน​การ​เลือก​ซื้อ​สินค้า​ด้วย​วิธี​นี้ หรือ​ปัจจัย​ที่​มี​อิทธิพล​ต่อ​การ​เลือก​ซื้อ​สินค้า​ ของ​กลุ่มค​ น​เหล่าน​ ั้นแ​ ล้วน​ ำ�​มา​วางแผน​การ​ปฏิบัติง​ าน​ให้ส​ อดคล้อง​กับก​ าร​ตลาด​เพื่อใ​ ห้ส​ ามารถ​วางแผน​การ​ ตลาด​ได้​อย่าง​เหมาะ​สม ดังน​ ั้น การ​ศึกษา​ตัวแ​ บบ​พฤติกรรม​ของ​ผู้บ​ ริโภค​ออนไลน์​และ​กระบวนการ​ตัดสิน​ใจ​ ซื้อ​ของ​ผู้​บริโภค จึงเ​ป็น​สิ่ง​สำ�คัญ ปัจจัย​หนึ่งท​ ี่​ทำ�ให้​การ​ค้า​ผ่าน​ระบบ​ออนไลน์​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ คือ การ​สร้าง​แรง​จูงใจ​ให้​ผู้​บริโภค​ ต้องการ​ซื้อ​สินค้า​และ​บริการ​ของ​บริษัท ซึ่ง​การ​ที่​จะ​สร้าง​แรง​จูงใจ​ดัง​กล่าว​ได้​นั้น​จำ�เป็น​ต้อง​ทราบ​พฤติกรรม​ ของ​ผู้​บริโภค หรือ​ปัจจัย​ที่​มี​อิทธิพล​ต่อ​การ​เลือก​ซื้อ​สินค้า​ของ​ผู้​บริโภค​ก่อน โดย​สามารถ​ศึกษา​จาก​ตัว​แบบ (ภาพ​ที่ 3.5) ดังต​ ่อ​ไป​นี้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


คุณลักษณะ​ของ​ผู้​ซื้อ​ทั่วไป - อายุ - ทัศนคติ - เพศ - ความ​เชื่อ - การ​ศึกษา - งาน​อดิเรก - จริยธรรม - ประสบการณ์ - คติพจน์ - ฯลฯ

ธ ส

ธ ส

คุณลักษณะ​ของ​สินค้า​และ​บริการ - ชนิด​ของ​สินค้า - คุณภาพ - จุด​เด่น/ข้อ​แตก​ต่าง - การ​กำ�หนด​ราคา - ชื่อ​เสียง​ของ​ผลิตภัณฑ์

ธ ส

กระบวนการ​ตัดสินใ​ จ​ซื้อ​ของ​ผู้​บริโภค เป้าห​ มาย​ใน​การ​ซื้อ ขั้น​ตอน​ใน​การ​ซื้อ

คุณลักษณะ​ของ​ผู้​ซื้อ​ที่​เป็น​องค์กร - ชื่อ​เสียง​ของ​หน่วย​งาน - นโยบาย และ​วิธี​ปฏิบัติ​งาน - ทัศนคติ​หรือ​ค่า​นิยม - ค่า​ชดเชย​หรือ​ค่า​ตอบแทน

ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-29

ธ ส

สภาพ​แวดล้อม - วัฒนธรรม - เศรษฐกิจ - สภาพ​สังคม - การเมือง - กฎหมาย และ​จริยธรรม

การ​ซื้อ​ซ้ำ�​ของ​ผู้​บริโภค

ธ ส

ระบบ​พาณิช​ยอิเ​ล็ก​ทรอ​นิกส์ ระบบ​ทสี่​ นับสนุน คุณลักษณะ​ของ​เว็บไซต์ บริการ​ลูกค้า - ทาง​เลือก​ชำ�ระ​เงิน - ความ​ทัน​สมัย - บริการ​อีเมล - ทาง​เลือก​จัด​ส่ง​สินค้า - ความ​สมบูรณ์ - บริการ FAQs - ระยะ​เวลา ความ​ถูก​ต้อง - การนำ�​เสนอ - บริการ​ศูนย์ข​ ้อมูล และ​ความ​ปลอดภัย - ระบบ​นำ�ทาง - คติพจน์

ธ ส

ภาพ​ที่ 3.5 ตัว​แบบ​พฤติกรรม​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ (อ้างอิง ทวี​ศักดิ์ กา​ญจน​สุวรรณ 2552)

จาก​ภาพ​ที่ 3.5 สามารถ​จำ�แนก​ตัวแปร​ที่​มีอ​ ิทธิพล​ต่อ​พฤติกรรม​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ไ​ ด้ 4 ประการ ดังนี้ 2.1 ตัวแปร​อิสระ (independent/uncontrollable variable) เป็น​ตัวแปร​ที่​องค์กร​ไม่​สามารถ​ควบคุม​ ได้​มี 2 ชนิด ได้แก่ - คุณลักษณะ​ของ​ผซ​ู้ อื้ (personal characteristic) ผูซ้​ ื้อใ​ น​ทีน่​ ีอ้​ าจ​เป็นบ​ ุคคล​ทั่วไป (individual consumer) หรือ​เป็น​องค์กร (organizational buyer) ก็ได้ ตัวอย่าง​คุณลักษณะ​ของ​ผู้​ซื้อ เช่น เพศ อายุ ระดับร​ าย​ได้ การ​ศึกษา รสนิยม หรือ​ฐานะ​ทางการ​เงิน​ของ​บริษัท เป็นต้น - สภาพ​แวดล้อม (environmental variable) เช่น สภาพ​เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ​ วัฒนธรรม เป็นต้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-30

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

2.2 ตัวแปร​แทรกซ้อน (intervening variable) เป็นต​ วั แปร​ทอ​ี่ งค์กร​สามารถ​ควบคุมไ​ ด้ม​ ี 2 ชนิด ได้แก่ - สิ่ง​เร้า​ทางการ​ตลาด (marketing stimuli) คือ เครื่อง​มือ​ทางการ​ตลาด​ที่​กระตุ้น​ให้​ผู้​บริโภค​ ต้องการ​ซื้อ​สินค้า​และ​บริการ​มาก​ขึ้น เช่น ตราสิน​ค้า ราคา การ​ส่ง​เสริม​การ​ขาย และ​ช่อง​ทาง​จัด​จำ�หน่าย เป็นต้น - ระบบ​พาณิชย์อ​ เิ ล็กทรอนิกส์ คือ เทคโนโลยีท​ น​ี่ �​ำ มา​ใช้ส​ นับสนุนก​ าร​ขาย เพือ่ ใ​ ห้ล​ กู ค้าตัดสินใจ ​ ซื้อ​สินค้า​ได้​เร็วข​ ึ้น เช่น ระบบ​ชำ�ระ​เงิน ระบบ​รักษา​ความ​ปลอดภัย หรือ​ระบบ​บริการ​หลัง​การ​ขาย เป็นต้น 2.3 กระบวนการ​ตัดสินใ​ จ​ซื้อ​ของ​ผู้​บริโภค (decision making process) ประกอบ​ด้วย​งาน 5 ขั้น​ตอน ซึ่งจ​ ะ​กล่าว​ถึง​ราย​ละเอียด​อีก​ครั้งใ​ น​หัวข้อต​ ่อ​ไป 2.4 ตัวแปร​ตาม (dependent variable) เป็น​ตัวแปร​ที่​เกี่ยวข้อง​กับก​ าร​ตัดสิน​ใจ​ของ​ผู้​ซื้อ ซึ่ง​อาจ​อยู่​ ใน​รูป​ของ​คำ�ถาม​ต่างๆ เช่น จะ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อห​ รือ​ไม่ จะ​ซื้อ​อะไร ที่ไหน เมื่อ​ไหร่ และ​จำ�นวน​เท่าใด​ เป็นต้น โดย​ การ​ตอบ​คำ�ถาม​เหล่า​นี้ล​ ้วน​ขึ้น​อยู่ก​ ับ​ผู้ซ​ ื้อท​ ี่​จะ​ต้อง​นำ�​ตัวแปร​อิสระ​และ​ตัวแปร​แทรกซ้อน​มา​ใช้​พิจารณา​ด้วย ปัจจุบัน​ระบบ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ช่วย​องค์กร​ให้​สามารถ​เก็บ​ข้อมูล​ลูกค้า​ได้​ สะดวก​ขึ้น โดย​การ​ติดต​ ั้ง “ระบบ​ติดตาม​การ​ใช้ง​ าน” (tracking system) เพื่อเ​ก็บข​ ้อมูลก​ าร​ใช้ง​ าน​ของ​ลูกค้า แล้ว​นำ�​มา​วิเคราะห์​หา​ตัวแปร​แต่ละ​ชนิด​ตาม​ตัว​แบบ​ข้าง​ต้น ซึ่ง​จะ​ทำ�ให้​ทราบ​ถึง​พฤติกรรม​ของ​ผู้​บริโภค​ที่​มี​ ต่อก​ าร​ซื้อ​สินค้า​ผ่าน​ระบบ​ออนไลน์ ไม่​ว่าจ​ ะ​เป็น​พฤติกรรม​ที่​ช่วย​ให้​เกิด​การ​ซื้อ​สินค้า หรือ​ปัญหา​ที่​ลูกค้า​พบ​ จาก​การ​ใช้​งาน​ทำ�ให้​ยกเลิก​การ​ใช้​งาน​เว็บไซต์​ดัง​กล่าว เช่น การ​สั่ง​ซื้อ​มี​ขั้น​ตอน​หรือ​เงื่อนไข​ที่​ยุ่ง​ยาก ลูกค้า​ ขาด​ความ​เชื่อ​มั่น​ใน​คุณภาพ​ของ​สินค้า หรือ​เว็บไซต์​ให้​ข้อมูล​สินค้า​ไม่​เพียง​พอ เป็นต้น ซึ่ง​องค์กร​สามารถ​ นำ�​ข้อมูล​เหล่า​นี้​ไป​ใช้​ปรับปรุง​การ​ดำ�เนิน​งาน​ใหม่ สร้าง​แรง​จูงใจ หรือ​กลยุทธ์​ทางการ​ตลาด​ให้​มี​ผู้​เข้า​มา​ใช้​ บริการ​มาก​ขึ้น​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

3. กระบวนการ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​ของ​ผู้​บริโภค

ธ ส

อีกห​ นึ่งป​ ัจจัยท​ ี่ม​ ีผ​ ล​ต่อพ​ ฤติกรรม​ของ​ผู้บ​ ริโภค​ออนไลน์ คือ กระบวนการ​ตัดสินใ​ จ​ซื้อข​ อง​ผู้บ​ ริโภค (ภาพ​ที่ 3.6) ซึ่งแ​ บ่ง​ออก​เป็น 5 ขั้น​ตอน ดังนี้

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ขั้นตอนของกระบวนการ ตัดสินใจซื้อ

ธ ส

1. การตระหนักถึง ความต้องการ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ของผู้บริโภค (CDSS)

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-31

ธ ส

เครื่องมือบนอินเทอร์เน็ต ที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมแต่ละขั้นตอน

- ระบบตัวแทนจำ�หน่าย - ระบบแจ้งข่าวสารไปยังผู้บริโภค

ธ ส

- การโฆษณาบนเว็บผ่านแบนเนอร์ ยูอาร์แอล และห้องข่าวสารต่างๆ

2. การแสวงหาข้อมูล

- แคตาล็อกเสมือน (virtual catalog) - ส่วนเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ภายนอก - ส่วนปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบกับผู้ใช้

- เว็บไดเรกทอรี่ (web directory) - เสิร์ชเอนจิน

3. ประเมินข้อมูล แต่ละทางเลือก

- เครื่องมือคำ�ถามถามบ่อย (FAQs) - ตัวอย่างสินค้า หรือการทดลองใช้งาน - แบบจำ�ลองการประเมินพฤติกรรม ของผู้บริโภค

- การอภิปรายผ่านห้องข่าว - เครื่องมือเปรียบเทียบสินค้า และบริการ - แบบจำ�ลองทางธุรกิจอื่นๆ

ธ ส

ธ ส

4. การตัดสินใจซื้อ - ระบบการสั่งซื้อสินค้าและบริการ การชำ�ระเงิน และการจัดส่ง - ระบบการชำ�ระเงิน - ระบบจัดการการขนส่ง

- การชำ�ระเงินผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ - ระบบธนาคารเสมือน - ระบบขนส่ง และการตรวจสอบ สถานะของสินค้าที่จัดส่ง

5. การประเมินผลสินค้า และบริการหลังการซื้อ

- การอภิปรายผ่านกระทู้และ ห้องข่าวสนทนาต่างๆ

ธ ส

- บริการหลังการขายผ่านช่องทาง อีเมล และห้องข่าว

ธ ส

ภาพ​ที่ 3.6 ตัว​แบบ​ของ​กระบวนการ​ตัดสินใ​ จ​ซื้อ​ของ​ผู้​บริโภค​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ (อ้างอิง ทวี​ศักดิ์ กา​ญจน​สุวรรณ 2552)

ธ ส

3.1 การ​ตระหนักถ​ ึง​ความ​ต้องการ (need recognition) เป็นการ​วิเคราะห์​ว่า​ลูกค้า​ต้องการ​ซื้อ​สินค้า​ หรือบ​ ริการ​ชนิดใ​ ด ซึง่ ว​ ธิ ร​ี ะบุค​ วาม​ตอ้ งการ​ดงั ก​ ล่าว​ท�ำ ได้โ​ ดย​จดั ท​ �​ำ แบบสอบถาม การ​สมั ภาษณ์ หรือใ​ ช้เ​ทคนิค​ เก็บข​ ้อมูลว​ ิธอี​ ื่น จาก​นั้นจ​ ึงจ​ ัดหา​สินค้าแ​ ละ​บริการ​มา​เสนอ​ขาย โดย​ใช้เ​ทคนิคท​ ีช่​ ่วย​กระตุ้นใ​ ห้ล​ ูกค้าส​ นใจ​หรือ​ ต้องการ​ราย​ละเอียด​ของ​สินค้าแ​ ละ​บริการ​มาก​ขึ้น เช่น การ​โฆษณา​ผ่าน​เว็บไซต์ กระดาน​ข่าว หรือห​ ้อง​สนทนา เป็นต้น 3.2 การ​แสวงหา​ข้อมูล (information search) เมื่อ​ลูกค้า​รับ​รู้​สินค้า​และ​บริการ​ของ​องค์กร​และ​เกิด​ ความ​สนใจ​มาก​ขึ้น ใน​ขั้นต​ อน​นี้ล​ ูกค้า​จะ​เริ่มแ​ สวงหา​ข้อมูล​ผ่าน​เครื่อง​มือต​ ่างๆ เช่น การ​ใช้เ​สิร์ช​เอน​จินค​ ้นหา​ ข้อมูล​ผ่าน​ทาง​อินเทอร์เน็ต เพื่อ​หา​ว่า​จะ​สามารถ​ซื้อ​สินค้า​ได้​จาก​ที่​ใด ราคา​เท่าใด และ​ใคร​เป็น​ผู้​จำ�หน่าย เป็นต้น

ธ ส


3-32

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

3.3 การ​ประเมินข​ ้อมูล​แต่ละ​ทาง​เลือก (evaluation of alternative) ใน​กรณี​ที่​พบ​ว่า​มี​แหล่ง​จำ�หน่าย​ สินค้า​มากกว่า 1 แห่ง ลูกค้า​จำ�เป็น​ต้อง​วิเคราะห์​เพื่อ​ประเมิน​ทาง​เลือก​ใน​การ​เลือก​ซื้อ​สินค้า โดย​ใช้​เครื่อง​มือ​ เปรียบ​เทียบ​สินค้า​และ​บริการ หรือ​เครื่อง​มือ​คำ�ถาม​ถาม​บ่อยหรือ​ที่​พบ​บ่อย​ครั้ง (FAQs) เกี่ยว​กับ​สินค้า​และ​ บริการ​ของ​องค์กร เพื่อส​ ร้าง​ความ​มั่นใจ​ใน​การ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​มาก​ยิ่ง​ขึ้น 3.4 การ​ตัดสินใ​ จ​ซื้อ การ​ชำ�ระ​เงิน และ​การ​จัด​ส่ง (purchase, payment and delivery) เป็น​ขั้นตอน​ ที่​ลูกค้า​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​สินค้า​และ​บริการ​แล้ว ใน​ขั้น​ตอน​นี้​จะ​มี​กิจกรรม​อื่น​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​ซื้อ​ขาย ได้แก่ การ​ชำ�ระ​เงิน และ​การ​จัด​ส่ง​สินค้า ซึ่ง​องค์กร​จะ​ต้อง​จัด​เตรียม​เครื่อง​มือ​อำ�นวย​ความ​สะดวก​ไว้​ด้วย เช่น บริการ​ธนาคาร​เสมือน (virtual banking) หรือ​ระบบ​ตรวจ​สอบ​สถานะ​การ​จัด​ส่ง​สินค้า เป็นต้น 3.5 การ​ประเมิน​ผล​สินค้า​และ​บริการ​หลัง​การ​ซื้อ (postpurchase service and evaluation) เมื่อ​กระบวนการ​ซื้อ​เสร็จส​ ิ้น​ลง องค์กร​สามารถ​สังเกต​พฤติกรรม​หลัง​การ​ซื้อ​ของ​ลูกค้า ซึ่ง​จะ​แสดงออก​มา​ได้​ หลาย​ลักษณะ เช่น หาก​ลูกค้า​ได้​รับ​ความ​พอใจ​ก็​จะ​เกิด​การ​ซื้อ​ซ้ำ� ซื้อ​ใน​จำ�นวน​ที่​เพิ่ม​ขึ้น หรือ​เข้า​มา​เยี่ยม​ชม​ เว็บไซต์​ของ​บริษัท​บ่อย​ขึ้น แต่​ถ้า​ลูกค้า​ไม่​ได้​รับ​ความ​พอใจ​อาจ​แสดง​ความ​คิด​เห็น​ใน​ด้าน​ลบ​ต่อ​สินค้า​ของ​ บริษัท​ผ่าน​ทาง​กระทู้​สนทนา หรือ​เปลี่ยน​ไป​ใช้​สินค้า​ของ​คู่​แข่ง เป็นต้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

4. ประเภท​ของ​ผู้​บริโภค​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

สามารถ​จำ�แนก​ผู้บ​ ริโภค​ออนไลน์​ตาม​แรง​กระตุ้น​และ​พฤติกรรม​ใน​การ​ใช้​จ่าย​ได้ 8 ประเภท ดังนี้ 4.1 ผูบ​้ ริโภค​ทต​ี่ อ้ งการ​ประหยัดเ​วลา เป็นผ​ ู้บ​ ริโภค​ที่ย​ อม​เสียเ​งินแ​ พง​ขึ้นก​ ว่าเ​ดิมเ​พื่อซ​ ื้อส​ ินค้า โดย​ ไม่​ต้อง​เสีย​เวลา​เดิน​ทาง​ไป​ยังร​ ้าน​ค้า​หรือ​ออก​นอก​เคหะสถาน 4.2 ผู้​บริโภค​ที่​ต้องการ​หลีก​เลี่ยง​ปัญหา เป็น​ผู้​บริโภค​ที่​ไม่​ชอบ​การ​ซื้อ​สินค้า​ตาม​ร้าน​ค้า เนื่องจาก​ ต้องการ​หลีก​เลี่ยง​ปัญหา​การ​จราจร ผู้คน​คับคั่ง และ​เส้น​ทาง​ไกล​จาก​ที่พัก จึง​ยอม​ซื้อ​สินค้า​และ​บริการ​ผ่าน​ ทาง​อินเทอร์เน็ตแ​ ทน 4.3 ผูบ​้ ริโภค​ทม​ี่ ค​ี วาม​คดิ ท​ นั ส​ มัย เป็นผ​ ู้บ​ ริโภค​ที่ช​ อบ​ซื้อส​ ินค้าต​ าม​กระแส​ของ​เทคโนโลยีส​ มัยใ​ หม่ เพื่อค​ วาม​โก้​หรู หรือท​ ัน​สมัย ซึ่งส​ ่วน​ใหญ่​จะ​เป็นก​ลุ่ม​วัย​รุ่น 4.4 ผูบ​้ ริโภค​ทช​ี่ อบ​ทอ่ ง​เว็บไซต์แ​ ต่ไ​ ม่ช​ อบ​ซอื้ ผ​ า่ น​อนิ เทอร์เน็ต เป็นผ​ บู​้ ริโภค​ทชี​่ อบ​ทอ่ ง​อนิ เทอร์เน็ต​ เพื่อเ​ลือก​ดูส​ ินค้าแ​ ละ​บริการ​ที่ต​ น​ต้องการ​เพียง​อย่าง​เดียว แต่จ​ ะ​ไม่ซ​ ื้อส​ ินค้าด​ ้วย​วิธีน​ ี้ เนื่องจาก​ยังข​ าด​ความ​ มั่นใจ​ใน​ระบบ​รักษา​ความ​ปลอดภัย​บน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต ดัง​นั้น จึง​เลือก​ที่​จะ​ซื้อ​สินค้า​และ​บริการ​จาก​ ร้าน​ค้า​ทั่วไป​แทน 4.5 ผู้​บริโภค​ที่​จะ​ซื้อ​สินค้า​เมื่อ​เห็น​ของ​จริง​ก่อน​เท่านั้น เป็น​ผู้​บริโภค​ที่​ชอบ​ซื้อ​สินค้า​จาก​ร้าน​ค้า เพราะ​สามารถ​มอง​เห็น​สินค้า​และ​บริการ​ของ​จริง​ก่อน และ​ยัง​สะดวก​ที่​จะ​เจรจา​ต่อ​รอง​สินค้า​ได้​ตาม​ความ​ ต้องการ ผู้​บริโภค​กลุ่ม​นี้​จึง​ไม่​ชอบ​ซื้อ​สินค้า​ผ่าน​ทาง​อินเทอร์เน็ต แต่​ยัง​คง​ชอบ​ท่อง​เว็บไซต์​เช่น​เดียว​กับ​ ผู้​บริโภค​ใน​ประเภท​ที่ 4

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-33

ธ ส

4.6 ผู้บ​ ริโภค​ที่​ชอบ​แสวงหา​สิ่งแ​ ปลก​ใหม่ เป็นผ​ ู้​บริโภค​ที่​ชอบ​เสาะ​หา​สินค้า เพื่อ​เปรียบ​เทียบ​ราคา คุณภาพ บริการ และ​ประโยชน์​ใช้สอย​ก่อน​ที่​จะ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ นอกจาก​นี้ ยัง​ชอบ​แสวงหา​สินค้า​ที่​ค่อน​ข้าง​หา​ ได้​ยาก​เพื่อ​นำ�​มา​สะสม ซึ่งผ​ ู้บ​ ริโภค​กลุ่ม​นี้ม​ ี​จำ�นวน​น้อย​มาก 4.7 ผูบ​้ ริโภค​ทน​ี่ ยิ ม​ชอื่ ต​ ราสินค​ า้ เป็นผ​ ู้บ​ ริโภค​ที่ช​ ื่นช​ อบ​สินค้าท​ ี่ม​ ีชื่อเ​สียง ซึ่งส​ ินค้าเ​หล่าน​ ี้ส​ ่วน​มาก​ จะ​มี​เว็บไซต์​เป็น​ของ​ตนเอง ผู้​บริโภค​จึง​สามารถ​ติดตาม​ข่าวสาร​และ​ความ​เคลื่อนไหว​ต่างๆ ของ​สินค้า​และ​ บริการ​ที่​ตนเอง​ชื่น​ชอบ​อย่าง​ใกล้ช​ ิด​ผ่าน​ทาง​เว็บไซต์ 4.8 ผู้​บริโภค​ที่​ต้องการ​ยก​ระดับ​คุณภาพ​ชีวิต เป็น​ผู้​บริโภค​ที่​ใช้​อินเทอร์เน็ต​ใน​การ​ดำ�เนิน​ชีวิต​ ประจำ�​วัน ไม่ว​ ่าจ​ ะ​เป็นการ​ซื้อส​ ินค้า การ​ชำ�ระ​เงิน การ​ติดต่อส​ ื่อสาร การ​ติดตาม​ข่าวสาร หรือแ​ ม้แต่ก​ าร​เรียนรู​้ ผ่าน​ทาง​อินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ เพื่อย​ ก​ระดับ​ความ​เป็น​อยู่​ให้​ดี​ยิ่ง​ขึ้น

ธ ส

5. การ​เข้า​สู่​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ธ ส

การ​ตลาด​อเิ ล็กทรอนิกส์ คือ การ​ด�ำ เนินก​ จิ กรรม​ทางการ​ตลาด​โดย​ใช้ส​ ือ่ อ​ เิ ล็กทรอนิกส์เ​ป็นเ​ครือ่ งมือ​ ผ่าน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต นับ​เป็นการ​ตลาด​แนว​ใหม่​ที่​ช่วย​องค์กร​ให้​สามารถ​ปรับ​ตัว​เข้า​กับ​เทคโนโลยี วิธกี​ าร​ซื้อแ​ ละ​ขาย​สินค้า ตลอด​จน​พฤติกรรม​ของ​ผูบ้​ ริโภค​ทีเ่​ปลี่ยนแปลง​ไป​ได้เ​ป็นอ​ ย่าง​ดี โดย​กลยุทธ์ส​ ำ�หรับ​ ทำ�การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ที่ผ​ ู้ป​ ระกอบ​การ​ควร​ทราบ​มี​หลาย​ประการ ดังนี้ การ​เข้า​สู่​ตลาด​ผ่าน​ระบบ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์​ของ​ธุรกิจ​จะ​พิจารณา​จาก “ลักษณะ​ของ​องค์กร” และ “วิธี​ดำ�เนินธ​ ุรกิจ” มี 4 ลักษณะ​ด้วย​กัน (ภาพ​ที่ 3.7) ดังนี้ โมเดล​การ​ทำ�​ธุรกิจข​ อง​พาณิชย์อ​ ิเล็กทรอนิกส์โ​ ดย​ผ่าน​กลยุทธ์ก​ าร​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ โดย​รูปแ​ บบ​ ของ​โมเดล​ทาง​ธุรกิจ​มี 2 รูป​แบบ ดังนี้ 5.1 คลิก​และ​เพียว​เพลย์ (click and pure-play) หรือค​ ลิก​กับค​ ลิก (click and click)1 คือ​มี​รูป​แบบ ​การ​ค้าขาย​หรือก​ าร​ให้​บริการ​ผ่าน​ทาง​เว็บไซต์​และ​อินเทอร์เน็ต​เพียง​ช่อง​ทาง​เดียว​เท่านั้น ไม่มี​ธุรกิจ​หรือ​หน้า​ ร้าน​ค้า​จริงๆ ให้ค​ น​สามารถ​ไป​ซื้อห​ รือ​รับ​สินค้า​ได้ ดัง​นั้น เมื่อ​ลูกค้า​สั่ง​ซื้อ​สินค้า​จาก​เว็บไซต์ ทาง​เว็บไซต์​จะ​ ทำ�การ​ส่ง​สินค้า​ไป​ให้ล​ ูกค้าถ​ ึงที่​อยู่ข​ อง​ลูก​ค้า​นั้นๆ ได้​เลย ลักษณะ​คลิกแ​ ละ​เพียว​เพลย์ คือ รูปแ​ บบ​ผ่าน​องค์กร​ทาง​อินเทอร์เน็ตโ​ ดย​ดำ�เนินก​ าร​ธุรกรรม​ผ่าน​บน​ อินเทอร์เน็ตอ​ ย่าง​เดียว เป็นว​ ิธีก​ าร​ใน​การ​ประมาณ​การ​ต้นทุนข​ อง​เงินท​ ุนส​ ำ�หรับโ​ ครงการ​ใหม่ท​ ีเ่​สนอ​หรือข​ าย​ ผลิตภัณฑ์ท​ ีเ่​กี่ยวข้อง​กับก​ าร​ตรวจ​สอบ​ของ​บริษัทอ​ ื่นๆ ซึ่งม​ กี​ าร​ซื้อข​ าย​ใน​ข้อเ​สนอ​ของ​ธุรกิจแ​ ละ​การ​ประมาณ​ ค่า​ใช้​จ่าย​ของ​เงิน​ทุน​ขึ้น​อยู่​กับ​โครงสร้าง​เงิน​ทุน​ของ​องค์กร เช่น อัตราส่วน​หนี้​สิน​ต่อ​ทุน ใน​แง่​ของ​ธุรกิจ​ อิเล็ก​ทรอ​นิกส์ (e–Business) เป็น​องค์กร​ที่​ริเริ่ม​และ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ทั้งหมด​โดย​ผ่าน​ทาง​อินเทอร์เน็ต ไม่มี​ ร้าน​ค้า​เหมือน​คลิก​และ​มอ​ต้าร์ (click and mortar) ที่​ลูกค้า​สามารถ​เลือก​ซื้อ​สินค้า​ได้​โดยตรง

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

1 คำ�ว่า “คลิก” ในที่นี้คือเสียงคลิกเมาส์ เปรียบได้กับการใช้เว็บไซต์เป็นช่องทางการค้าขาย ส่วนคำ�ว่า “มอต้าร์” ในที่นี้คือ

การก่ออิฐสร้างบ้านอาคาร เปรียบได้กับธุรกิจที่มีหน้าร้านค้าจริงๆ


3-34

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ตัวอย่าง​ของ​คลิกแ​ ละ​เพียว​เพล​ยข​์ อง​บริษทั ​ขนาด​ใหญ่ เช่น amazon.com eBay.com eTrade.com และ Netflix.com เป็นต้น 5.2 คลิก​และ​มอ​ต้าร์ (click and mortar) หรือม​ ิกซ์​เพลย์ (mixed play) คือ มี​รูป​แบบ​การ​ที่​มี​การ​ ผสม​ผสาน​กัน​ระหว่าง​ผู้​ที่​มี​ธุรกิจ​ร้าน​ค้า​หรือ​มี​บริษัท เปิด​ให้​บริการ​ทำ�การ​ค้า​จริงๆ และ​มี​เว็บไซต์​เป็น​อีก ช​ ่อง​ทางใน​การ​ค้าขาย โดย​การ​ค้าใ​ น​รูปแ​ บบ​นี้จ​ ะ​เป็นผ​ สม​ผสาน​เชื่อม​ต่อก​ าร​ซื้อข​ าย​ทั้งส​ อง​ช่อง​ทาง​ด้วย​กันไ​ ด้ เพื่อใ​ ห้ศ​ ักยภาพ​ใน​การ​ค้าส​ ูงสุดใ​ น​การ​รองรับล​ ูกค้าท​ ั้งส​ อง​ช่อง​ทาง เช่น ลูกค้าส​ ามารถ​สั่งซ​ ื้อส​ ินค้าผ​ ่าน​เว็บไซต์ และ​ไป​รับ​สินค้า​ที่​หน้า​ร้าน​ได้ เป็นต้น ยก​ตัวอย่าง​ร้าน​ขาย​สินค้าอาหาร​ชื่อว่าร้าน​เครื่อง​แกง​ไทย ที่​เปิด​ร้าน​ ค้าขาย​สินค้าจำ�พวก อาหาร​ทะเล เครื่อง​เทศ หรือ​อุปกรณ์​ทำ�​อาหาร​ต่างๆ อยู่ใน​ตลาด​ย่าน อตก. เขต​จตุจักร มา​นาน​ได้ม​ า​เปิดเ​ว็บไซต์ข​ ึน้ ม​ า​เพือ่ เ​ป็นช​ อ่ ง​ทาง​ใหม่ใ​ ห้ล​ กู ค้าส​ ามารถ​สัง่ ซ​ ือ้ ส​ นิ ค้าต​ า่ งๆ ผ่าน​ทาง​เว็บไซต์ไ​ ด้อ​ ย่าง​ สะดวก โดย​หลัง​จาก​เปิด​เว็บไซต์​พบ​ว่า​ลูกค้า​สามารถ​ทำ�การ​เลือก​ซื้อ​สินค้า​ผ่าน​เว็บไซต์​ได้​ด้วย​ตัว​เอง และ ​ทาง​ร้าน​ค้า​จะ​จัด​ส่ง​สินค้า​ไป​ให้​ได้​ทั่ว​ประเทศ หรือ​จะ​สามารถ​เลือก​มา​รับ​สินค้า​ที่​หน้า​ร้าน​ค้า​ก็ได้ ซึ่ง​ถือ​เป็น การ​นำ�​เว็บไซต์​มา​ผสม​ผสาน​กับ​หน้า​ร้าน​หรือ​ธุรกิจ​ได้​อย่าง​ลงตัว ทำ�ให้​เกิด​ศักยภาพ​ทางการ​ค้าขาย​ขึ้น​สูง​ จาก​เดิมม​ าก ตัวอย่าง​ของ​คลิก​และ​มอ​ต้าร์ เช่น ToHome.com KBKids.com เป็นต้น การ​เปรียบ​เทียบ​รูป​แบบ​ของ​โมเดล​ทาง​ธุรกิจ​ระหว่าง​คลิก​และ​เพียว​เพล​ย์​ และ​คลิก​และ​มอ​ต้าร์ มีด​ ังนี้ 1) คลิก​และ​เพียว​เพล​ย์​จะ​เหมาะ​สำ�หรับ “ผู้​ที่​ต้องการ​จะ​เริ่ม​ต้น​ทำ�​ธุรกิจ​ใหม่” จุด​เด่น คือ เป็นการ​ลงทุน​น้อย​และ​สามารถ​เริ่ม​ต้น​ได้​อย่าง​รวดเร็ว เพราะ​แค่​จัด​ทำ�​ เว็บไซต์ ก็ส​ ามารถ​เริ่มต​ ้นท​ ำ�การ​ค้าขาย​ได้แ​ ล้ว และ​เป็นร​ ูปแ​ บบ​การ​ทำ�งาน​ทีอ่​ ิสระ ไม่ย​ ึดต​ ิดก​ ับร​ ูปแ​ บบ​บริษัท ทำ�ให้​มีค​ วาม​ยืดหยุ่น​สูงใ​ น​การ​บริหาร​หรือ​จัดการ จุด​ด้อย คือ ด้วย​ความ​ที่​เริ่ม​ต้น​ได้​ง่าย​และ​รวดเร็ว​ทำ�ให้​บาง​ครั้ง​อาจ​ขาด​ประสบการณ์ หรือก​ าร​บริหาร ความ​ช�ำ นาญ​ใน​การ​ท�ำ การ​ตลาด​หรือก​ าร​เข้าใจ​ธรุ กิจท​ ที​่ �​ำ อยู่ รวม​ถงึ ก​ าร​สร้าง​ฐาน​ลกู ค้าจ​ ะ​ตอ้ ง​ สร้าง​เอง​ใหม่ท​ ั้งหมด และ​การ​ความ​น่าเ​ชื่อถ​ ือ เพราะ​ธุรกิจท​ ั้งหมด​อยูบ่​ น​เว็บไซต์ ซึ่งบ​ าง​ครั้งล​ ูกค้าบ​ าง​คน​อาจ​ จะ​ไม่​ค่อย​เชื่อ​ถือห​ รือ​มั่นใจ​ใน​การ​ทำ�การ​ค้าขาย​กับ​ธุรกิจ​ที่​มี​แต่​เว็บไซต์เ​หมือน​กับ​ธุรกิจ​ที่​มีหน้า​ร้าน​ค้าจ​ ริงๆ 2) คลิกแ​ ละ​มอ​ตา้ ร์เ​หมาะ​ส�ำ หรับ “ผูท​้ ม​ี่ ธ​ี รุ กิจก​ าร​คา้ เ​ดิมอ​ ยูแ​่ ล้ว” อยูแ​่ ล้วแ​ ละ​ตอ้ งการ​ขยาย​เพิม่ ​ ช่อง​ทางการ​ค้าไ​ ป​ยัง​ทั่ว​โลก จุดเ​ด่น คือ ผู้​ที่ท​ ำ�​จะ​มีค​ วาม​ชำ�นาญ​ใน​ด้าน​ธุรกิจ​นั้นๆ อยู่​ก่อน​แล้ว​ทำ�ให้​การ​ทำ�งาน​ต่าง​ สามารถ​ทำ�ได้อ​ ย่าง​รวดเร็ว และ​นอกจาก​นี้ ยังส​ ามารถ​มีฐ​ าน​ลูกค้าเ​ดิมอ​ ยู่แ​ ล้วท​ ำ�ให้ส​ ามารถ​เริ่มต​ ้นจ​ าก​ลูกค้า​ กลุ่ม​เดิม​ได้ ขยาย​ออก​ไป​ได้​อย่าง​รวดเร็ว รวม​ถึง​จะ​ดู​น่า​เชื่อ​ถือ และ​สร้าง​ความ​มั่นใจ​ให้​กับ​ลูกค้า​ได้​ด้วย เพราะ​มี​ตัว​ตน มี​หลัก​แหล่ง​ที่​ติดต่อ​ที่​แน่นอน จุดด​ อ้ ย คือ ผูท้​ ีท่​ ำ�ได้จ​ ะ​ต้อง​เป็นผ​ ูท้​ ีม่​ ธี​ ุรกิจอ​ ยูแ่​ ล้วเ​ท่านั้น หาก​เป็นผ​ ูท้​ ีย่​ ังไ​ ม่มธี​ ุรกิจแ​ ละ​ ต้องการ​ทำ�​ใน​รูป​แบบ​นี้จ​ ะ​ต้อง​มี​การ​ลงทุน​ที่​สูง และ​ยัง​จะ​ต้อง​ใช้​คน​เป็น​จำ�นวน​มาก​ใน​การ​บริหาร​และ​จัดการ​ ระบบ​ต่างๆ ทั้ง​หน้า​ร้าน​ค้า​จริงๆ รวม​ถึง​เว็บไซต์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-35

ธ ส

ทั้งนี้ การ​เข้า​สู่ก​ าร​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​มี​ด้วย​กัน 4 ลักษณะ ดังนี้ (1) การ​เป็น​ผู้นำ�ร​ าย​แรก (first mover) เป็น​องค์กร​ที่​จัด​ตั้ง​ขึ้น​มา​ใหม่ (new firm) เพื่อ​ ทำ�​ธุรกิจผ​ ่าน​ระบบ​ออนไลน์ห​ รือค​ ลิก (click) เพียง​อย่าง​เดียว นอกจาก​นี้ ยังเ​ป็นผ​ ู้นำ�​ใน​การ​ทำ�​ธุรกิจอ​ อนไลน์​ เป็น​ราย​แรก​ด้วย ข้อดี​ของ​วิธี​นี้ คือ สามารถ​ใช้​อินเทอร์เน็ต​เป็น​เครื่อง​มือ​ช่วย​ให้​ตราสิน​ค้า (brand) ของ​ องค์กร​เป็นท​ ีร่​ ู้จักม​ าก​ขึ้น อีกท​ ั้งก​ าร​ดำ�เนินง​ าน​ใน​ช่วง​แรก​ยังไ​ ม่มคี​ ูแ่​ ข่งอ​ งค์กร​จึงม​ ผี​ ล​กำ�ไร​มาก อย่างไร​ก็ตาม กลยุทธ์​นี้จ​ ะ​ให้​ผล​ดี​ใน​ช่วง​เวลา​สั้นๆ เท่านั้น เพราะ​เมื่อ​บริษัท​อื่น​เห็น​ลู่ทาง​ที่​จะ​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ​ก็​จะ​เข้า​สู่​ ตลาด​ผ่าน​ระบบ​พาณิช​ยอิเ​ล็ก​ทรอ​นิกส์​บ้าง ทำ�ให้​องค์กร​มี​คู่​แข่ง​เกิด​ขึ้น ผล​กำ�ไร​จึง​ลด​ลง แนวทาง​แก้ไข คือ เพิ่ม​การ​โฆษณา​ตราสิน​ค้า​ให้​เป็น​ที่​รู้จัก​ของ​ลูก​ค้าห​ ลายๆ กลุ่ม เพื่อ​ ให้ล​ ูกค้าจ​ ดจำ� และ​นึกถึงส​ ินค้าข​ อง​บริษัทเ​ป็นร​ าย​แรก ทั้งนี้ องค์กร​จะ​ต้อง​คำ�นึงถ​ ึงต​ ้นทุนค​ ่าโ​ ฆษณา​ด้วย ซึ่ง​ อาจ​มี​ต้นทุน​สูง​ใน​ระยะ​ยาว และ​ยัง​ไม่​อาจ​มั่นใจ​ว่า​จำ�นวน​ลูกค้า​ที่​ใช้​สินค้า​ของ​บริษัทจ​ ะ​เพิ่ม​ขึ้น​จริง (2) การ​สร้าง​พนั ธมิตร (alliances) เป็นอ​ งค์กร​ทีจ่​ ัดต​ ั้งข​ ึ้นม​ า​ใหม่ เพื่อท​ ำ�​ธุรกิจผ​ ่าน​ระบบ​ ออนไลน์​ควบคู่​กับ​การ​เปิด​ร้าน​ค้า​จริง (click and mortar) โดยที่​องค์กร​ไม่​ต้อง​ลงทุน​สร้าง​ร้าน​ค้า​เอง แต่​ ใช้ว​ ิธีจ​ ับค​ ู่​เป็นพ​ ันธมิตร​กับ​องค์กร​อื่น​ที่​มี​ร้าน​ค้า​อยู่​แล้ว และ​ยัง​ไม่มี​เว็บไซต์เ​ป็น​ของ​ตนเอง ยก​ตัวอย่าง​เช่น บริษัท เบ​รนด์​เพลย์ (BrainPlay) และ​เคบี​ทอย​ส์ (KB Toys) ที่​เปิด​เว็บไซต์ www.kbtoys.com เพื่อ​ขาย​ ของ​เล่นเ​ด็กค​ วบคู่ก​ ับ​การ​ขาย​ผ่าน​ร้าน​ค้า​ปลีก​ขอ​งบ​ริษัทเบ​รนด์​เพลย์ เป็นต้น (3) การ​เป็น​ผู้​ตาม​อย่าง​รวดเร็ว (fast follower) เป็น​องค์กร​ที่​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​แบบ​ทั่วไป​มา​ ก่อน (existing firm) เมื่อ​เห็น​ความ​สำ�เร็จจ​ าก​การ​ทำ�​ธุรกิจผ​ ่าน​ระบบ​ออนไลน์​ของ​องค์กร​อื่น จึง​ต้องการ​เข้า​ สูต่​ ลาด​พาณิชย์อ​ ิเล็กทรอนิกส์บ​ ้าง​โดย​พัฒนา​เว็บไซต์ข​ ึ้นม​ า ซึ่งก​ าร​ดำ�เนินธ​ ุรกิจผ​ ่าน​ทาง​ระบบ​ออนไลน์อ​ าจ​ไม่​ เกี่ยวข้อง​กับก​ าร​ดำ�เนินง​ าน​ผ่าน​ทาง​ร้าน​ค้าก​ ็ได้ ข้อไ​ ด้เ​ปรียบ​ของ​องค์กร​นี้ คือ สามารถ​เริ่มต​ ้นพ​ ัฒนา​ระบบ​ได้​ ทันที และ​ไม่​ต้อง​กังวล​กับ​การ​พัฒนา​ระบบ​ใน​ระยะ​ยาว เพราะ​มี​ต้นทุน​จาก​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​มา​แล้ว ตัวอย่าง​ องค์กร​ที่ใ​ ช้ก​ ลยุทธ์น​ ี้ เช่น เว็บไซต์ barnesandnoble.com ดำ�เนินธ​ ุรกิจข​ าย​หนังสือผ​ ่าน​ระบบ​ออนไลน์เ​ช่น​ เดียว​กับ​เว็บไซต์ amazon.com เป็นต้น (4) การ​ขยาย​ธรุ กิจเ​พิม่ (brand extender) เป็นว​ ธิ ท​ี ไี​่ ด้ร​ บั ค​ วาม​นยิ ม​มาก​ทีส่ ดุ ซึง่ ม​ ล​ี กั ษณะ​ คล้าย​กับก​ ลยุทธ์แ​ บบ​ที่ 3 กล่าว​คือ เป็นการ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจผ​ ่าน​ระบบ​ออนไลน์ค​ วบคู่ก​ ับก​ าร​เปิดร​ ้าน​ค้าจ​ ริง แต่​ วิธี​นี้​องค์กร​จะ​บริหาร​จัดการ หรือ​กำ�หนด​กลยุทธ์​ใน​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ผ่าน​ระบบ​ออนไลน์​ให้​เป็น​ไป​ใน​ทิศทาง​ เดียวกันก​ ับ​ร้าน​ค้า เพื่อส​ นับสนุน​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจข​ อง​ทั้ง​องค์กร​นั่นเอง

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-36

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

จัดตั้งขึ้นมาใหม่

ธ ส

คลิกและเพียวเพลย์

คลิกและมอต้าร์

ธ ส

ลักษณะขององค์กร

ดำ�เนินธุรกิจมาก่อน

ตัวอย่าง ผู้นำ�รายแรก (First Mover) - Amazon.com - eBay.com - eTrade.com

ตัวอย่าง ผู้ตามอย่างรวดเร็ว (Fast Follower) Barnes & Noble RiteAid-Drugstore.com - Toys R Us

ตัวอย่าง สร้างพันธมิตร (Alliances) - KBKids.com (BrainPlay/KB Toys)

ตัวอย่าง ขยายธุรกิจเพิ่ม (Brand Extender) - REI - L.L. Bean - Wal-Mart

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 3.7 การ​เข้า​สู่​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ (อ้างอิง ทวี​ศกดิ์ กาญจณ​สุวรรณ 2552)

6. การ​กำ�หนด​กลุ่ม​เป้าห​ มาย​ทางการ​ตลาด

ธ ส

องค์กร​ที่เ​ข้าส​ ู่ต​ ลาด​ผ่าน​ระบบ​พาณิชย์อ​ ิเล็กทรอนิกส์แ​ ล้ว จำ�เป็นต​ ้อง​กำ�หนด​กลุ่มเ​ป้าห​ มาย​ทางการ​ ตลาด หรือ​กลุ่ม​ลูกค้า​ที่​ต้องการ​เสนอ​ขาย​สินค้า​และ​บริการ​ให้ ซึ่ง​โดย​ทั่วไป​สามารถ​จำ�แนก​ตลาด​ออก​เป็น 4 ระดับ (ตาราง​ที่ 3.2) ดังนี้ 6.1 การ​ตลาด​รวม (mass marketing) เป็นการ​ตลาด​ที่​ไม่​แบ่ง​กลุ่ม​ลูกค้า เหมาะ​สำ�หรับ​สินค้า​ที่​มี​ ขั้น​ตอน​การ​ผลิต​ไม่​ยุ่ง​ยาก องค์กร​จึง​สามารถ​ผลิต​สินค้า​ที่​มี​แบบ​และ​ราคา​เดียวกัน​จำ�​นว​นมากๆ เพื่อ​เสนอ​ ขาย​ให้ก​ ับล​ ูกค้าท​ ุกก​ ลุ่ม ส่วน​การ​โฆษณา​สินค้าจ​ ะ​ทำ�​ผ่าน​สื่อท​ ี่ส​ ามารถ​เข้าถ​ ึงล​ ูกค้าป​ ริม​ าณ​มากๆ ใน​ครั้งเ​ดียว เช่น โทรทัศน์ วิทยุ และ​หนังสือพิมพ์ เป็นต้น 6.2 การ​ตลาด​ทาง​ตรง (direct marketing) เนื่องจาก​ลูกค้า​แต่ละ​ราย​ก็​มี​ความ​ต้องการ​ที่​ต่าง​กัน การ​ตลาด​วิธี​นี้จ​ ึง​แบ่งล​ ูกค้า​ออก​เป็นห​ ลาย​กลุ่ม โดย​องค์กร​จะ​ผลิต​สินค้า​และ​บริการ​หลาย​แบบ​เพื่อ​เสนอ​ขาย​ ให้ก​ ับ​ลูกค้าแ​ ต่ละ​กลุ่ม และ​จะ​ใช้​ราคา​ขาย​เพียง​ราคา​เดียว​สำ�หรับ​สินค้า​แต่ละ​แบบ ส่วน​การ​โฆษณา​สินค้า​จะ​ ทำ�​ผ่าน​อีเมล​หรือ​โทรศัพท์ 6.3 การ​ตลาด​เฉพาะ (micromarketing หรือ niche marketing) มีล​ กั ษณะ​คล้าย​กบั ก​ าร​ตลาด​ทาง​ตรง แต่ว​ ิธีน​ ี้จ​ ะ​แบ่งก​ ลุ่มล​ ูกค้าอ​ ย่าง​ละเอียด​กว่า เพื่อใ​ ห้อ​ งค์กร​เลือก​ผลิตส​ ินค้าท​ ี่ต​ นเอง​มีค​ วาม​ชำ�นาญ หรือท​ ราบ​ ความ​ต้องการ​ของ​ลูกค้าเ​ป็นอ​ ย่าง​ดี แล้วน​ ำ�​มา​เสนอ​ขาย​ให้ก​ ับล​ ูกค้าโ​ ดย​เฉพาะ สำ�หรับร​ าคา​ขาย​จะ​แปรผันไ​ ป​ ตาม​ความ​ซับ​ซ้อน​ใน​การ​ผลิต​และ​กลไก​ตลาด ส่วน​การ​โฆษณา​สินค้า​จะ​พิจารณา​จาก​ข้อมูล​ของ​ลูกค้า​ว่า​ใช้​ ช่อง​ทาง​ใด​เพื่อ​รับ​สื่อ​มาก​ที่สุด

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-37

ธ ส

6.4 การ​ตลาด​ส่วน​บุคคล (personalized หรือ one-to-one marketing) เป็นการ​ตลาด​ที่​แบ่ง​กลุ่ม​ ลูกค้าอ​ ย่าง​สมบูรณ์ กล่าว​คือ สามารถ​ตอบ​สนอง​ความ​ต้องการ​ของ​ลูกค้าเ​ป็นร​ าย​บุคคล ทำ�ให้ล​ ูกค้าร​ ู้สึกเ​ป็น​ อิสระ ปราศจาก​การ​ถูก​ควบคุม​ของ​ผู้ข​ าย การ​ตลาด​วิธีน​ ี้​เหมาะ​กับ​สินค้า​ที่ม​ ี​ลักษณะ​สำ�คัญ 3 ประการ คือ - การ​ผลิต​มี​ความ​ซับ​ซ้อน - ราคา​สามารถ​ปรับ​เปลี่ยน​ไป​ตาม​ลูกค้า​แต่ละ​ราย - รสนิยม หรือค​ วาม​ชอบ​ส่วน​บุคคล​มี​อิทธิพล​ต่อ​การ​ซื้อ​สูง จะ​เห็นว​ า่ ห​ วั ใจ​ส�ำ คัญข​ อง​การ​ตลาด​สว่ น​บคุ คล คือ ข้อมูลส​ ว่ น​ตวั ข​ อง​ลกู ค้า (user profile) ซึง่ ป​ จั จุบนั ​ มี​เทคนิคท​ ี่ช​ ่วย​องค์กร​ใน​การ​เก็บ​ข้อมูล​นี้​หลาย​วิธี

ธ ส

สินค้า

การตลาด รวม

ธ ส

การตลาด ทางตรง การตลาด เฉพาะ

ธ ส

ตาราง​ที่ 3.2 การ​แบ่ง​ตลาด​และ​กลยุทธ์​ที่​ใช้​เข้า​ถึงก​ ลุ่ม​ลูกค้า

การตลาด ส่วนบุคคล

ผลิตง่าย

ลูกค้าทั้งหมด

ผลิตสินค้า หลากหลายชนิด

แบ่งตลาดออก เป็นหลายกลุ่ม

การผลิต มีความซับซ้อน

ตลาดขนาดเล็ก หรือเฉพาะกลุ่ม

การผลิต มีความซับซ้อนสูง

ส่วนบุคคล

ธ ส

กลุ่มเป้าหมาย

ธ ส

การกำ�หนดราคา

ราคาเดียว

ธ ส

ราคาเดียว

ราคาแปรผัน

ราคาเฉพาะลูกค้า แต่ละราย

(อ้างอิง ทวี​ศักดิ์ กา​ญจน​สุวรรณ 2552)

เทคนิคที่ใช้

สื่อโฆษณา เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์

ใช้อีเมลหรือ โทรศัพท์

พิจารณาจากข้อมูล ของลูกค้าแต่ละกลุ่ม

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 3.2.1 แล้ว​ โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 3.2.1 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 3 ตอน​ที่ 3.2 เรื่อง​ที่ 3.2.1

ธ ส

ธ ส

พิจารณาจากข้อมูล ของลูกค้าแต่ละราย


3-38

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

เรื่องที่ 3.2.2 ปัจจัย​ที่​มี​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​พฤติกรรม​ผบู้​ ริโภค​ของ​ การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

พฤติกรรม​การ​ซื้อข​ อง​ผู้บ​ ริโภค​เกิด​จาก​ปัจจัย​ต่างๆ ที่มา​กระทบ​ต่อ​พฤติกรรม​การ​ซื้อ การ​เข้าใจ​ถึง​ พฤติกรรม​การ​ซื้อไ​ ม่ใช่เ​รื่อง​ง่าย และ​ถือเ​ป็นง​ าน​ทีส่​ ำ�คัญข​ อง​การ​จัดการ​ตลาด​ผูบ้​ ริโภค​ทั่วโ​ ลก​มคี​ วาม​แตก​ต่าง​ กัน​อย่าง​มาก​ทั้ง​อายุ ราย​ได้ ระดับ​การ​ศึกษา และ​รสนิยม ผู้​บริโภค​เหล่าน​ ี้​ซื้อ​สินค้า​และ​บริการ​ที่​หลาก​หลาย​ อย่าง​ไม่​น่า​เชื่อ ความ​หลาก​หลาย​ของ​ผู้บ​ ริโภค​จะ​โยง​ไป​สู่​คน​อื่นๆ และ​ส่วน​อื่นๆ ทั่ว​โลก ซึ่ง​จะ​กระทบ​ต่อ​ทาง​ เหลือ​ต่างๆ ทั้ง​การ​เลือก​สินค้า บริการ​และ​บริษัท ดัง​นั้น พฤติกรรม​ของ​ผู้​บริโภค​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ จะ​ต้อง​พิจารณา​ถึงป​ ัจจัยท​ ี่​กระทบ​ต่อ​พฤติกรรม​ผู้บ​ ริโภค

ธ ส

1. การ​บริหาร​ความ​สัมพันธ์​กับ​ลูกค้า

ธ ส

ธ ส

แม้ว่า​ระบบ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์​ช่วย​เพิ่ม​โอกาส​ใน​การ​เข้า​ถึง​กลุ่ม​ลูกค้า​ของ​องค์กร​มาก​ขึ้น แต่​ก็​ หมาย​ถึง​การ​มีค​ ู่แ​ ข่ง​เพิ่ม​ขึ้น​จาก​ทั่ว​ทุก​มุม​โลก​ด้วย​เช่น​กัน ดัง​นั้น องค์กร​จึง​จำ�เป็นต​ ้อง​มี​กลยุทธ์ท​ ี่​ช่วย​สร้าง​ ความ​สัมพันธ์ท​ ี่ด​ ีก​ ับล​ ูกค้า เพื่อป​ ้องกันไ​ ม่ใ​ ห้ล​ ูกค้าเ​ปลี่ยน​ไป​ใช้ส​ ินค้าห​ รือบ​ ริการ​ของ​คูแ่​ ข่ง ซึ่งอ​ งค์กร​สามารถ​ นำ�​เทคโนโลยีม​ า​ใช้​กำ�หนด​กลยุทธ์​เพื่อส​ ร้าง​ความ​สัมพันธ์​อัน​ดี​กับล​ ูกค้า​ได้​หลาย​ประการ ดังต​ ่อ​ไป​นี้ 1.1 การ​สร้าง​ความ​เป็นส​ ว่ น​ตวั (personalization) โดย​จับค​ ู่ข​ ้อมูล​สินค้า บริการ และ​โฆษณา​ให้ต​ รง​ กับ​ความ​ต้องการ​ของ​ลูกค้า​แต่ละ​ราย​มาก​ที่สุด ซึ่ง​การ​ที่​จะ​ทราบ​ความ​ต้องการ​ดัง​กล่าว​ได้​นั้น​จะ​ต้อง​อาศัย​ ข้อมูล​ส่วน​ตัวข​ อง​ลูกค้า (user profile) ใน​การ​วิเคราะห์ เช่น รสนิยม ความ​ชอบ งาน​อดิเรก หรือ​พฤติกรรม​ ใน​การ​ใช้​งาน​บน​เว็บ เป็นต้น เทคนิค​ที่​ใช้​จัด​เก็บ​ข้อมูล​ข้าง​ต้น อาจ​ทำ�​โดย - สอบถาม​ข้อมูล​จาก​ลูกค้า​โดยตรง เช่น ใช้​วิธี​ทำ�​แบบสอบถาม หรือ​สัมภาษณ์​สิ่ง​ที่​องค์กร​ ต้องการ​ทราบ​จาก​ลูกค้า - สังเกต​พฤติกรรม​ของ​ลูกค้า​ใน​ขณะ​ที่​ออนไลน์ เช่น การ​เรียก​ดู​เท็กซ์ไ​ ฟล์ (text file) ใน​คุ้​กกี้ (cookies) ซึ่ง​บันทึกพ​ ฤติกรรม​ของ​ลูกค้าใ​ น​ระหว่าง​ที่​มี​การ​ใช้​งาน​เว็บไซต์​ไว้ - พิจารณา​จาก​รายการ​สั่ง​ซื้อ​ครั้งก​ ่อน เช่น เว็บไซต์ amazon.com ที่​แนะนำ�​ราย​ชื่อ​หนังสือ​ ออก​ใหม่ใ​ ห้​กับ​ลูกค้า โดย​พิจารณา​จาก​ประเภท​ของ​หนังสือ​ที่​ลูกค้า​สั่ง​ซื้อ​ครั้ง​ก่อน เป็นต้น - จัด​ทำ�​วิจัย​ทางการ​ตลาด สำ�หรับก​ ารนำ�​เสนอ​ข้อมูลใ​ ห้ก​ ับล​ ูกค้าส​ ามารถ​นำ�​เทคโนโลยีต​ ัวแทน​ปัญญา หรือไ​ อ​เอ (Intelligence Agent - IA) มา​ใช้​จัดการ​การ​ดำ�เนิน​งาน​แบบ​อัตโนมัติ​ได้ โดย​เทคโนโลยี​ตัวแทน​ปัญญา​จะ​จับ​คู่​ลูกค้า​และ​ โฆษณา​ทมี​่ อ​ี ยูใ​่ น​ฐาน​ขอ้ มูลต​ าม​เงือ่ นไข​ทกี​่ �ำ หนด แล้วจ​ ดั ส​ ง่ ข​ อ้ มูลไ​ ป​ให้ก​ บั ล​ กู ค้าโ​ ดย​อตั โนมัติ จึงช​ ว่ ย​ประหยัด​ เวลา​และ​ค่า​ใช้​จ่าย​จาก​การ​ดำ�เนิน​งาน​ของ​องค์กร​เป็น​อย่าง​มาก

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-39

ธ ส

1.2 การ​ตลาด​โดย​ได้​รับ​การ​ยินยอม (permission marketing) เป็น​กลยุทธ์​ใน​การ​ขอ​ความ​ยินยอม​ หรือ​การ​อนุญาต​จาก​ลูกค้า​ก่อน​ที่จ​ ะ​ส่ง​ข้อมูล​หรือโ​ ฆษณา​สินค้า​ไป​ให้ ทั้งนี้ เพื่อ​ไม่​ให้​ลูกค้า​รู้สึก​ถูก​ขัดจังหวะ (interrupt) ใน​ระหว่าง​ที่ร​ ับ​ชม​ข้อมูล เช่น มีป​ ๊​อบ​อัพ​โฆษณา​ปรากฏ​ขึ้น​มา เป็นต้น การ​ตลาด​วิธี​นี้​ทำ�ได้​หลาย​ ลักษณะ เช่น การ​ให้​ลูกค้า​เลือก​บริการ/ข่าวสาร​ที่​สนใจ​จะ​รับ​ผ่าน​ทาง​อีเมล การ​จูงใจ​โดย​ให้​สิทธิ​พิเศษ​หรือ​ คะแนน​สะสม เพื่อ​ให้​ลูกค้า​เข้า​มาก​รอก​แบบสอบถาม หรือ​เข้า​มา​ชม​โฆษณา​ของ​องค์กร เป็นต้น 1.3 การ​ใช้​บริการ​การ​ตลาด​ตัวแทน (affiliate marketing) เพื่อ​ให้​ลูกค้า​ค้นหา​หรือ​เข้า​ถึง​เว็บไซต์​ ของ​องค์กร​ได้​สะดวก​ขึ้น องค์กร​ควร​ใช้​บริการ​ตัวแทน (affiliate) โดย​ฝาก​ลิงก์​ของ​เว็บไซต์​ไว้​กับ​พันธมิตร​ ทางการ​ค้า และ​จ่าย​ค่า​นาย​หน้า​เป็น​ผล​ตอบแทน​กับ​บริษัท​ตาม​จำ�นวน​ครั้ง​ที่​มี​การ​ทำ�​ธุรกรรม​จริง (pay-forperformance) ข้อ​ควร​ระวังใ​ น​กรณี​ที่อ​ งค์กร​เป็น​ผู้ใ​ ห้บ​ ริการ​ตัวแทน (affiliate) เอง คือ ความ​เสี่ยง​จาก​การ​สูญ​เสีย​ ลูกค้า เมือ่ ล​ กู ค้าค​ ลิกเ​ชือ่ ม​โยง​ไป​ยงั เ​ว็บไซต์อ​ ืน่ ซึง่ จ​ ะ​แสดง​หน้าต​ า่ ง​เว็บเ​บ​รา​เซอร์อ​ นั ใ​ หม่ข​ ึน้ ม​ า​แทน ดังน​ ัน้ หาก​ ลูกค้าเ​ผลอ​ปิดห​ น้าต​ ่าง​เว็บเ​บ​รา​เซอร์ข​ อง​องค์กร​ทิ้งก​ ็จ​ ะ​ไม่ส​ ามารถ​กลับม​ ายังห​ น้าเ​ว็บข​ อง​องค์กร​ได้ องค์กร​ที​่ ให้บ​ ริการ​นี้​จึง​ต้อง​บริหาร​จัดการ​ลิงก์เ​ชื่อม​โยง​ภายใน​เว็บไซต์​อย่าง​รอบคอบ​ด้วย 1.4 การ​ให้​ลูกค้า​มี​ส่วน​ร่วม​ใน​การ​ผลิต​และ​ปรับ​แต่ง​สินค้า (customization and customer co-production) เป็นก​ ลยุทธ์ท​ ี่ล​ ูกค้าส​ ามารถ​แสดง​ความ​คิดเ​ห็น ออกแบบ หรือส​ ร้างสรรค์น​ วัตกรรม​ใหม่ร​ ่วม​ กับ​องค์กร​ได้ โดย​ใช้ว​ ิธีเ​สนอ​ขาย​สินค้า​แบบ “สั่ง​ผลิต” ที่​ลูกค้า​สามารถ​ปรับแ​ ต่ง (customization) สินค้า​ให้​ เป็น​สไตล์​ของ​ตน​แตก​ต่าง​จาก​ผู้ใ​ ช้​อื่นๆ ยก​ตัวอย่าง​เช่น บริษัท ไน​กี้ (Nike) ที่​ให้​ลูกค้า​สามารถ​ปรับแ​ ต่ง​แบบ​ ของ​รองเท้า ไม่ว​ ่า​จะ​เป็น​รูป​ทรง สี วัสดุท​ ี่​ใช้ และ​ลักษณะ​ของ​โลโก้ (logo) ที่​จัด​วาง เป็นต้น 1.5 การ​จดั การ​ขอ้ มูล (transactive content) เป็นก​ ลยุทธ์ท​ ใี​่ ช้ว​ ธิ น​ี �​ำ เสนอ​ขอ้ มูลแ​ บบ​เดิม ซึง่ ม​ ล​ี กั ษณะ​ ตายตัวร​ ่วม​กับว​ ิธีน​ ำ�​เสนอ​ข้อมูลแ​ บบ​พลวัต (dynamic information) ที่ส​ ามารถ​ทำ�งาน​โต้ตอบ​กับผ​ ู้ใ​ ช้ได้ ยก​ ตัวอย่าง​เช่น การ​ค้นหา​สินค้า และ​ให้แ​ สดง​ผลลัพธ์โ​ ดย​เรียง​ลำ�ดับต​ าม​เงื่อนไข​ด้าน​ราคา ความ​นิยม หรือค​ วาม​ ทันส​ มัย เป็นต้น 1.6 การ​บริการ​ลกู ค้า (customer service) เป็นก​ ลยุทธ์ท​ ีช่​ ่วย​ให้อ​ งค์กร​สามารถ​แก้ไข​ปัญหา​ของ​ลูกค้า​ ได้ท​ ันท​ ่วงที โดย​กระทำ�​ผ่าน​เครื่อง​มือ ดังนี้ - คำ�ถาม​ถาม​บ่อย หรือ​เอฟ​เอ​คิว (Frequently Asked Questions - FAQs) หรือ​บริการ​ตอบ​ คำ�ถาม​ที่​พบ​บ่อย​ครั้ง ซึ่ง​ระบบ​เอฟ​เอ​คิว​ควร​ทำ�งาน​ร่วม​กับ​เสิร์ช​เอน​จิน เพื่อ​ให้​ลูกค้า​สามารถ​ค้นหา​คำ�ถาม​ ได้​รวดเร็ว​ขึ้น รวม​ถึง​จัด​เตรียม​บริการ​อีเมล​เอา​ไว้​สำ�หรับ​กรณี​ที่​ลูกค้า​ไม่​พบ​คำ�ถาม​ที่​ตน​ต้องการ ก็​สามารถ​ ส่ง​อีเมล​มาส​อบ​ถาม​ปัญหา​กับ​องค์กร​ได้​เช่น​กัน - ระบบ​สนทนา​แบบ​ทนั ทีท​ นั ใด หรือเ​รีย​ ล​ไทม์ (real time) สำ�หรับใ​ ห้ล​ กู ค้าส​ อบถาม​ปญ ั หา​การ​ ใช้ง​ าน​ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งถ​ ึงแ​ ม้ว่า​วิธีน​ ี้จ​ ะ​ช่วย​ให้​องค์กร​มี​ต้นทุน​ต่ำ�​กว่า​การ​ใช้​ระบบ​สอบถาม​ผ่าน​ทาง​ โทรศัพท์ แต่​เนื่องจาก​เป็นการ​พูดค​ ุยด​ ้วย​การ​พิมพ์​ข้อความ​โต้ตอบ​กัน จึง​ทำ�ให้ก​ าร​ซักถ​ าม​ปัญหา​บาง​คำ�ถาม​ ทำ�ได้ไ​ ม่​สะดวก​นัก

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-40

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

- ระบบ​ตอบ​สนอง​การ​ท�ำ งาน​แบบ​อตั โนมัติ เพื่อล​ ด​ระยะ​เวลา​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ของ​ลูกค้าล​ ง องค์กร​สามารถ​ติดต​ ั้งร​ ะบบ​ตอบ​สนอง​การ​ทำ�งาน​แบบ​อัตโนมัติ ทำ�​หน้าที่ส​ ่งอ​ ีเมล​ยืนยันร​ ายการ​สั่งซ​ ื้อท​ ี่ไ​ ด้ร​ ับ​ จาก​ลูกค้า รวม​ทั้ง​ตอบ​ปัญหา​บาง​กรณีท​ ี่​ระบบ​สามารถ​จัดการ​ได้ จะ​เห็น​ว่า ระบบ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์​ช่วย​องค์กร​ให้​สามารถ​สร้าง​ความ​สัมพันธ์​อัน​ดี​กับ​ลูกค้า​ได้​ ง่าย​ขึ้น ส่ง​ผล​ให้​ลูกค้าเ​กิด​ความ​จงรัก​ภักดี (loyalty) ต่ออ​ งค์กร และ​กลับ​มา​ซื้อ​สินค้า​หรือ​ใช้​บริการ​ซ้ำ�​อีก​ใน​ อนาคต ซึ่ง​ผล​จาก​ความ​จงรัก​ภักดี​ดัง​กล่าว​ทำ�ให้​เกิด​ข้อดี​หลาย​ประการ เช่น ลด​ต้นทุน​ใน​การ​ทำ�การ​ตลาด​ และ​การ​โฆษณา​ของ​องค์กร​ลง เป็นต้น อย่างไร​ก็ตาม ใน​ทาง​กลับ​กัน ระบบ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์​อาจ​ลด​ ความ​จงรัก​ภักดี​ของ​ลูกค้า​ลง​ด้วย เนื่องจาก​ลูกค้า​สามารถ​ค้นหา​ร้าน​ค้า เปรียบ​เทียบ​สินค้า​และ​บริการ หรือ​ ข้อ​เสนอ​ที่ไ​ ด้​รับ​จาก​ผู้ข​ าย​ได้​ง่าย จึงม​ ี​โอกาส​ใน​การ​เปลี่ยน​ไป​ซื้อ​สินค้า​จาก​ผู้​ขาย​ราย​อื่น​สูง

ธ ส

2. การ​กำ�หนด​ราคา

ธ ส

ธ ส

ราคา (price) คือ สิ่ง​ที่​แสดง​มูลค่า​ของ​สินค้า​และ​บริการ และ​ยัง​เป็น​องค์​ประกอบ​สำ�คัญ​ของ​ส่วน​ ประสม​ทางการ​ตลาด (marketing mix) การ​กำ�หนด​ราคา​เป็นง​ าน​ทลี่​ ะเอียด​อ่อน และ​ต้อง​นำ�​ปัจจัยห​ ลาย​อย่าง​ มา​พิจารณา​ร่วม​กัน เช่น ต้นทุน​คงที่ (fixed cost) ต้นทุน​ผันแปร (variable cost) อุปสงค์ (demand) และ​ ราคา​ของ​คู่แ​ ข่ง (competitor’s price) เป็นต้น สำ�หรับก​ าร​กำ�หนด​ราคา​ใน​ธุรกิจร​ ะบบ​พาณิชย์อ​ ิเล็กทรอนิกส์​ จะ​มล​ี กั ษณะ​พเิ ศษ​กว่าธ​ รุ กิจท​ ัว่ ไป กล่าว​คอื องค์กร​สามารถ​ก�ำ หนด​ราคา​ขาย​ต่�​ำ ได้ เพราะ​ตน้ ทุนจ​ าก​การ​ด�ำ เนิน​ งาน เช่น ค่าเ​ช่า​สถาน​ที่ ค่าน้ำ� และ​ค่า​ไฟ เป็นต้น น้อย​มาก วิธี​การ​กำ�หนด​ราคา​ใน​ธุรกิจร​ ะบบ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ ที่​นิยม​ใช้​งาน​มี​ดังนี้ 2.1 บริการ​โดย​ไม่เ​สียค​ า่ ใ​ ช้จ​ า่ ย (free) เป็นก​ ลยุทธ์ท​ ีอ่​ งค์กร​อนุญาต​ให้ผ​ ูใ้​ ช้ท​ ั่วไป​เข้าม​ า​ใช้บ​ ริการ​โดย​ ไม่​ต้อง​เสีย​ค่าใ​ ช้​จ่าย ทั้งนี้ ก็เ​พื่อด​ ึง​ดูงใ​ ห้​มี​ผู้ส​ นใจ​เข้า​มา​ใช้​บริการ​มาก​ขึ้น และ​เกิด​การ​บอก​ต่อ​ไป​ยัง​ผู้​ใช้​ราย​ อื่น ซึ่ง​เท่ากับ​ช่วย​โฆษณา​สินค้า​ให้​กับ​องค์กร​โดย​อัตโนมัติ นอกจาก​นี้ ยัง​เป็นการ​ปิด​โอกาส​ไม่​ให้​สินค้า​ของ​ คู่​แข่ง​เข้า​มา​เติบโต​ใน​ตลาด​ด้วย ตัวอย่าง​เช่น บริษัท​ไมโครซอฟต์​ที่​แถม​ซอฟต์แวร์​เบ​รา​เซอร์ชื่ออิน​เท​อร์​เน็ต​ เอ็กซ์โพลเรอร์ (Internet Explorer) มา​พร้อม​กับ​ระบบ​ปฏิบัติ​การ​วินโดวส์ (Windows) และ​มี​ผู้นำ�​ไป​ใช้​งาน​ เป็นจ​ ำ�นวน​มาก จน​ทำ�​ให้เ​ว็บ​เบ​รา​เซอร์​ของ​คู่​แข่ง เช่น เน็ตส​ เคป (Netscape) ต้อง​พ่าย​แพ้​ไป อย่างไร​ก็ตาม กลยุทธ์ท​ ี่ไ​ ม่เ​หมาะ​กับ​การ​ดำ�เนินง​ าน​ใน​ระยะ​ยาว ดังน​ ั้น องค์กร​จึงต​ ้องหา​วิธี​การ​ที่จ​ ะ​ เปลี่ยน​ผู้ใ​ ช้เ​หล่าน​ ี้ใ​ ห้ก​ ลาย​เป็นล​ ูกค้าท​ ี่ซ​ ื้อส​ ินค้าไ​ ป​ใช้จ​ ริงด​ ้วย เช่น กำ�หนด​ระยะ​เวลา​สำ�หรับท​ ดลอง​ใช้บ​ ริการ​ โดย​ไม่​เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย​เอา​ไว้ เมื่อ​สิ้น​สุด​ช่วง​เวลา​ดัง​กล่าว หาก​ผู้​ใช้​ต้องการ​ใช้​บริการ​ต่อ​จะ​ต้อง​เสีย​ค่า​บริการ​ สมัคร​เป็น​สมาชิก หรือซ​ ื้อส​ ินค้า​นั้น​ไป​ใช้ 2.2 การ​ผลิตส​ ินค้า​หลาย​รุ่น (versioning) นำ�​มา​ใช้​ควบคู่​กับ​กลยุทธ์​แรก โดย​องค์กร​จะ​ผลิต​สินค้า​ ออก​มา​วาง​จำ�หน่าย​หลาย​รุ่น แต่ละ​รุ่น​ก็ม​ ี​คุณลักษณะ​ที่​ต่าง​กัน ลูกค้า​สามารถ​เลือก​ซื้อ​ตาม​งบ​ประมาณ หรือ​ ฟังก์ชัน​การ​ทำ�งาน​ที่​ตน​ต้องการ​ได้ ยก​ตัวอย่าง​เช่น เกม​ออนไลน์​ที่​มี​ลูก​เล่น​น้อย อาจ​เป็น​บริการ​ที่​ไม่​ต้อง​ เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย ส่วน​เกมออนไลน์​ที่​มี​ลูก​เล่น​ใหม่ๆ ที่​หลาก​หลาย ผู้​เล่น​ต้อง​สมัคร​เป็น​สมาชิก​ก่อน หรือ​เสีย​ ค่า​บริการ​เป็นร​ าย​ชั่วโมง เป็นต้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-41

ธ ส

2.3 การ​ขาย​เป็นแ​ พ็ก​เกจ (bundling) เป็น​กลยุทธ์​ที่​จัด​กลุ่ม​สินค้า​หรือ​บริการ​หลาย​อย่าง​เข้า​ไว้​ด้วย​ กัน​เป็น 1 แพ็ก​เกจ แล้ว​เสนอ​ขาย​ใน​ราคา​เดียว ซึ่ง​เป็น​ราคา​ที่​ทำ�ให้​ลูกค้า​รู้สึก​คุ้ม​ค่า​กว่า​การ​ซื้อ​แยก​ชิ้น ยก​ ตัวอย่าง​เช่น การ​เสนอ​ขาย​ซอฟต์แวร์​ออฟฟิศ (Office Tools) ของ​บริษัท​ไมโครซอฟต์ ซึ่ง​ใน 1 แพ็ก​เกจ ประกอบ​ด้วย โปรแกรม​ไมโครซอฟต์เ​วิร์ด (Word) เอ็กซ์​เซล (Excel) พาว​เวอร์​พ้อ​ยต์ (PowerPoint) และ​ แอก​เซส (Access) เป็นต้น 2.4 การ​เสนอ​ราคา​ได้ห​ ลาย​ครั้ง (dynamic pricing) กลยุทธ์​ที่​กล่าว​มา​ข้าง​ต้น​จะ​ใช้​เทคนิค​กำ�หนด​ ราคา​แบบ​ตายตัว (fixed price) โดย​ตั้งร​ าคา​ไว้ ณ ระดับท​ ีท่​ ำ�ให้อ​ งค์กร​ได้ร​ ับก​ ำ�ไร​สูงสุด แต่ใ​ น​บาง​สถานการณ์ เช่น สินค้า​เป็น​ของ​หา​ยาก หรือ​ซื้อ-ขาย​กัน​ไม่​บ่อย​นัก หาก​ปล่อย​สินค้า​ไว้​นาน​เกิน​ไป อาจ​ทำ�ให้​ชำ�รุด​หรือ ​เสีย​หาย​โดย​เปล่า​ประโยชน์ องค์กร​จำ�เป็น​ต้อง​ใช้​กลยุทธ์​การ​เสนอ​ได้​หลาย​ครั้ง โดย​ให้​ผู้​ซื้อ​เข้า​มา​เจรจา​ต่อ​ รอง​ราคา​ได้ ซึ่งอ​ าจ​เป็น​ระดับ​ราคา​ขาย​ที่​องค์กร​ต้อง​ยอม​ลด​กำ�ไร​ที่​จะ​ได้​รับ​ลง​เล็ก​น้อย ตัวอย่าง​การ​กำ�หนด​ ราคา​วิธี​นี้​คือ การ​ประมูล​อิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction)

ธ ส

3. การ​จัดการ​ช่อง​ทาง​จำ�หน่าย​สินค้า

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ช่อง​ทาง​จำ�หน่าย (channel of distribution) หมาย​ถึง ช่อง​ทาง​ที่จ​ ะ​นำ�​สินค้า​หรือบ​ ริการ​เคลื่อน​ย้าย​ จาก​ผู้ผ​ ลิตไ​ ป​ยังผ​ ู้บ​ ริโภค​หรือล​ ูกค้าภ​ ายใน​ช่วง​เวลา​และ​สถาน​ที่ท​ ี่ล​ ูกค้าต​ ้องการ ช่อง​ทาง​จำ�หน่าย​เป็นอ​ ีกห​ นึ่ง​ องค์​ประกอบ​สำ�คัญ​ของ​ส่วน​ประสม​ทางการ​ตลาด ซึ่ง​แต่​เดิม​การ​จัดการ​ช่อง​ทางการ​จำ�หน่าย​ของ​องค์กร​จะ​ กระทำ�​ได้ 2 ลักษณะ คือ (1) การ​ขาย​ตรง​จาก​ผู้​ผลิต​ไป​ยัง​ลูกค้า และ (2) การ​ขาย​ผ่าน​คนกลาง เช่น ตัวแทน​ จำ�หน่าย (distributor) และ​ร้าน​ค้า​ปลีก (retailer) เป็นต้น สำ�หรับ​ใน​ระบบ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์​การ​จัดการ​ช่อง​ทางการ​จำ�หน่าย​สินค้า​จะ​แตก​ต่าง​จาก​เดิม เนื่องจาก​เทคโนโลยี​บน​เว็บ​ช่วย​ให้​ผู้​ผลิต​สามารถ​ติดต่อ​ซื้อ-ขาย​สินค้า​กับ​ลูกค้า​ได้​โดยตรง โดย​ไม่​ต้อง​ผ่าน​ คนกลาง ซึง่ น​ บั เ​ป็นว​ ธิ ท​ี สี​่ ะดวก และ​ชว่ ย​ลด​ตน้ ทุนค​ า่ น​ าย​หน้า ตลอด​จน​องค์กร​สามารถ​รบั ร​ คู​้ วาม​ตอ้ งการ​ของ​ ลูกค้า​ได้​ดี​ขึ้น อย่างไร​ก็ตาม แบบ​จำ�ลอง​การ​ขาย​ตรง​จาก​ผู้​ผลิต​ไป​ยัง​ลูกค้า​อาจ​ให้​ผล​ดี​กับ​ธุรกิจ​บาง​ประเภท​ เท่านั้น เช่น ธุรกิจ​ด้าน​ความ​บันเทิง​ที่​ลูกค้า​สามารถ​ดาวน์โหลด​เพลง​ผ่าน​ระบบ​ออนไลน์​โดยตรง เป็นต้น แต่​ สำ�หรับธ​ รุ กิจด​ า้ น​การ​เดินท​ าง​และ​การ​ทอ่ ง​เทีย่ ว หรือก​ าร​จ�ำ หน่าย​รถยนต์ ยังจ​ �ำ เป็นต​ อ้ ง​ใช้ค​ นกลาง​เป็นต​ วั แทน​ จำ�หน่าย​ต่อ​ไป เพียง​แต่​นำ�​เทคโนโลยี​มา​ช่วย​ให้​เกิด​ความ​คล่อง​ตัว​มาก​ขึ้น

ธ ส

ธ ส

4. การ​ทำ�​วิจัย​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ผ่าน​ระบบ​ออนไลน์

ธ ส

วัตถุประสงค์ข​ อง​การ​ทำ�​วิจัยต​ ลาด (market research) คือ การ​ค้นหา​สารสนเทศ หรือ​องค์​ความ​รู้ (knowledge) ทีใ่​ ช้อ​ ธิบาย​ความ​สัมพันธ์ร​ ะหว่าง​ลูกค้า สินค้า กลไก​ตลาด และ​นักการ​ตลาด เพื่อน​ ำ�​องค์ค​ วามรู​้ นีไ้​ ป​ใช้ค​ ้นหา​โอกาส​ทางการ​ตลาด​ของ​ธุรกิจต​ ่อไ​ ป สำ�หรับก​ าร​ทำ�​วิจัยต​ ลาด​ใน​ธุรกิจร​ ะบบ​ธุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์ องค์​ความ​รู้​ดัง​กล่าว​จะ​นำ�​ไป​ใช้​เพื่อ​ค้นหา​วิธี​การ​ที่​จะ​เปลี่ยน​จาก​ผู้​เยี่ยม​ชม​เว็บไซต์ ให้​กลาย​เป็น​ผู้​ซื้อ​สินค้า​ หรือ​ใช้​บริการ​ของ​องค์กร​นั่นเอง

ธ ส


3-42

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

การ​ทำ�​วิจัยต​ ลาด​สามารถ​ทำ�ได้ 2 ลักษณะ คือ 4.1 การ​ทำ�​วิจัย​แบบ​ปิด (offline) ที่ใ​ ช้​แรงงาน​คนใน​การ​จัด​เก็บ และ​วิเคราะห์​ข้อมูล 4.2 การ​ทำ�​วิจัย​แบบ​ออนไลน์ (online) เป็นการ​นำ�​ระบบ​คอมพิวเตอร์​มา​ช่วย​จัด​เก็บ และ​วิเคราะห์​ ข้อมูลแ​ ทน​สำ�หรับก​ าร​ทำ�​วิจัยแ​ บบ​ออนไลน์เ​ป็นว​ ิธที​ สี่​ ะดวก รวดเร็ว สามารถ​เข้าถ​ ึงก​ ลุ่มต​ ัวอย่าง​เพื่อเ​ก็บข​ ้อมูล​ ได้ค​ รั้ง​ละ​ปริ​มาณ​มากๆ โดย​ใช้ต​ ้นทุน​ต่ำ� และ​ยังใ​ ห้​ผลลัพธ์​ที่​มี​ประสิทธิภาพ​ด้วย

ธ ส

ธ ส

5. การ​กำ�หนด​ปัญหา​ที่​ต้องการ​ทำ�​วิจัย

เพื่อใ​ ห้ไ​ ด้ม​ า​ซึ่งอ​ งค์ค​ วาม​รู้ท​ ี่ถ​ ูกต​ ้อง​และ​ตรง​ประเด็น นักการ​ตลาด​จำ�เป็นต​ ้อง​กำ�หนด​ปัญหา หรือส​ ิ่ง​ ที่​ต้องการ​ทราบ​จาก​การ​ทำ�​วิจัย​ก่อน ซึ่งอ​ าจ​อยู่​ใน​รูป​ของ​การ​ตั้ง​คำ�ถาม เช่น - ปัจจัย​ใด​บ้าง​ที่ช​ ่วย​สนับสนุน​ให้​ลูกค้า​ซื้อ​สินค้า​ผ่าน​ระบบ​ออนไลน์ - ลูกค้า​มี​วิธี​การ​ซื้อส​ ินค้า​ผ่าน​ระบบ​ออนไลน์​อย่างไร - ลูกค้า​สามารถ​เข้า​ถึง​เว็บไซต์​ของ​องค์กร​ผ่าน​ทาง​ใด​บ้าง - มี​วิธี​ใด​ที่ส​ ามารถ​จำ�แนก​ว่า​ใคร​จะ​เป็น​ผู้​ซื้อ​สินค้า​จริง​จาก​จำ�นวน​ผู้​เยี่ยม​ชม​เว็บไซต์ท​ ั้งหมด - ควร​ออกแบบ​เว็บไซต์อ​ ย่างไร​จึงจ​ ะ​สามารถ​ตอบ​สนอง​การ​ทำ�งาน​ของ​ลูกค้า​ได้​อย่าง​เหมาะ​สม ปัญหา​ข้าง​ต้น​ช่วย​ให้​องค์กร​ทราบ​สิ่ง​ที่​ต้องการ​ได้​ง่าย​ขึ้น อัน​จะ​ทำ�ให้​สามารถ​กำ�หนด​รูป​แบบ​การ​ โฆษณา ราคา​สินค้า การ​ออกแบบ​เว็บไซต์ ตลอด​จน​บริการ​ที่​ช่วย​ให้​ลูกค้า​ตระหนัก​ถึง​คุณค่า​ที่​องค์กร​มอบ​ ให้​ได้​อย่าง​เหมาะ​สม

ธ ส

ธ ส

6. การ​แบ่ง​ส่วน​ตลาด​เพื่อ​ทำ�​วิจัย

ธ ส

การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ม​ ุ่งเ​น้นก​ าร​ตลาด​ส่วน​บุคคล​หรืออ​ งค์กร ดังน​ ั้น จึงจ​ ำ�เป็นต​ ้อง​มกี​ าร​แบ่งส​ ่วน​ ตลาด (market segmentation) หรือล​ ูกค้า​ออก​เป็นก​ลุ่ม​ย่อย เพื่อ​ให้​ได้​ผล​การ​วิจัย​ที่​ตรง​กับ​ความ​เป็น​จริง​ มาก​ที่สุด สำ�หรับ​เกณฑ์ท​ ี่​ใช้​ใน​การ​แบ่ง​ส่วน​ตลาด ดัง​แสดง​ใน​ตาราง​ที่ 3.3

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ตาราง​ที่ 3.3 ตัวอย่าง​เกณฑ์ท​ ี่​ใช้​แบ่ง​ส่วน​ตลาด​เพื่อท​ ำ�​วิจัย

ธ ส

เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ภูมิศาสตร์ (Geographic)

ประชากรศาสตร์ (Demographic) จิตวิทยา (Psychology)

พฤติกรรม (Behavioral)

ธ ส

คำ�อธิบาย

3-43

- แบ่งตามภูมิภาค เช่น ประเทศ จังหวัด อำ�เภอ หรือตำ�บล เป็นต้น - แบ่งตามจำ�นวนประชากร หรือภาษาที่ใช้ - แบ่งตามสภาพอากาศ เช่น ประเทศเขตร้อน หนาว หรือร้อนชื้น เป็นต้น

ธ ส

แบ่งตามอายุ อาชีพ การศึกษา ขนาดครอบครัว ศาสนา ระดับรายได้ เชื้อชาติ หรือสัญชาติ

แบ่งตามชนชั้นทางสังคม บุคลิกภาพ การใช้ชีวิตประจำ�วัน หรืองานอดิเรกที่ชื่นชอบ

ธ ส

แบ่งตามทัศนคติ การรับรู้ โอกาสในการใช้ และการตอบสนองต่อ ผลิตภัณฑ์

(อ้างอิง ทวี​ศักดิ์ กา​ญจน​สุวรรณ 2552)

7. การ​เก็บ​ข้อมูล​เพื่อท​ ำ�​วิจัย​ตลาด​ส่วน​บุคคล

ธ ส

เพื่อ​ให้​ได้​มา​ซึ่งอ​ งค์ค​ วาม​รู้ส​ ำ�หรับ​ทำ�​วิจัยต​ ลาด​ส่วน​บุคคล นักการ​ตลาด​สามารถ​ใช้​วิธี​ดัง​ต่อ​ไป​นี้ 7.1 สอบถาม​ขอ้ มูลจ​ าก​ลกู ค้าโ​ ดยตรง ทำ�ได้ห​ ลาย​ลักษณะ เช่น หาก​ต้องการ​เก็บข​ ้อมูลเ​ป็นร​ าย​บุคคล นิยม​ใช้​วิธี​ส่ง​อีเมล แต่​หาก​ต้องการ​เก็บ​ข้อมูล​เป็นก​ลุ่ม อาจ​ใช้​วิธี​พูด​คุย​ผ่าน​ห้อง​สนทนา ใช้​แบบสอบถาม (questionnaire) แบบ​สำ�รวจ (survey) หรือ​การ​โหวต (voting) เพื่อ​จัด​อันดับ​ความ​นิยม​ผ่าน​ระบบ​ออนไลน์ เป็นต้น 7.2 สังเกต​จาก​พฤติกรรม​ของ​ลกู ค้า เนือ่ งจาก​การ​ท�​ำ แบบ​ส�ำ รวจ​ผา่ น​ระบบ​ออนไลน์ ผูใ​้ ช้อ​ าจ​ให้ข​ อ้ มูล​ ที่ไ​ ม่ต​ รง​กับค​ วาม​เป็นจ​ ริง ผล​สำ�รวจ​ที่ไ​ ด้จ​ ึงเ​ป็นข​ ้อมูลท​ ี่ผ​ ิด เพื่อห​ ลีกเ​ลี่ยง​ปัญหา​ดังก​ ล่าว ผู้ว​ ิจัยส​ ามารถ​ใช้ว​ ิธ​ี สังเกต (observing) จาก​พฤติกรรม​ของ​ลูกค้า​แทน โดย​ใช้​เครื่อง​มือ ดังนี้ - แฟ้มป​ ระวัติ​รายการ​ธุรกรรม (transaction logs) เป็น​เท็กซ์ไ​ ฟล์​ที่​บันทึก​ข้อมูล​การ​ทำ�งาน​บน​ เว็บข​ อง​ผู้ใ​ ช้เ​อา​ไว้ ทำ�ให้ท​ ราบ​ว่าผ​ ู้ใ​ ช้เ​ข้าถ​ ึงเ​ว็บไซต์ด​ ้วย​วิธีใ​ ด คลิกเ​ข้าช​ ม​ข้อมูล หรือท​ ำ�​รายการ​ใด​บ้าง​ภายใน​ เว็บไซต์ รวม​ทั้ง​จำ�นวน​ครั้งท​ ี่ก​ ลับ​มา​เยี่ยม​ชม​เว็บไซต์ - พฤติกรรม​การ​คลิกล​ ิงก์ (clickstream behavior) เป็นการ​วิเคราะห์พ​ ฤติกรรม​การ​คลิก​ลิงก์​ เชื่อม​โยง​จาก​เพจ​หนึ่ง​ไป​ยังอ​ ีกเ​พจ​หนึ่ง หรือ​จาก​ไซต์ห​ นึ่ง​ไป​ยัง​อีก​ไซต์​หนึ่ง​ของ​ผู้​ใช้ โดย​ข้อมูล​การ​คลิก​ลิงก์​ จะ​นำ�​มา​จาก​ไฟล์แ​ ฟ้มป​ ระวัติร​ ายการ​ธุรกรรม​นั่นเอง ตัวอย่าง​ข้อมูลท​ ี่ไ​ ด้จ​ าก​การ​วิเคราะห์ข​ ้อมูลก​ าร​คลิกล​ ิงก์ เช่น สินค้าท​ ีม่​ ผี​ ูช้​ ม​และ​ผูซ้​ ื้อม​ าก​ที่สุด สินค้าท​ ีเ่​กี่ยวข้อง หรือค​ วร​จัดใ​ ห้อ​ ยูใ่​ น​หมวด​เดียวกัน เพื่อค​ วาม​สะดวก​ ใน​การ​เลือก​ชม​ของ​ลูกค้า เป็นต้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-44

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

- คุ้​กกี้ (cookies) สปาย​แวร์ (spyware) และ​เว็บ​บั๊ก (web bugs) สำ�หรับ​คุ้​กกี้ (cookies) เป็น​เท็กซ์​ไฟล์​ที่​จัด​เก็บ​บน​เครื่อง​ไคล​เอน​ต์ เพื่อ​บันทึก​การ​ทำ�งาน​บน​เว็บ​ของ​ผู้​ใช้​เอา​ไว้ เมื่อ​มี​การ​ติดต่อ​กับ​ เซิร์ฟเวอร์​ใน​ครั้ง​ต่อ​ไป เว็บ​เบ​รา​เซอร์​ที่​เครื่อง​ไคล​เอน​ต์​จะ​ส่ง​คุ้​กกี้ (cookies) ไป​ยัง​เซิร์ฟเวอร์ เพื่อ​อ้างอิง​ ข้อมูลเ​ดิมท​ ี่ล​ ูกค้า​เคย​ใช้​งาน​ใน​ฐาน​ข้อมูล​ของ​เซิร์ฟเวอร์ - สปาย​แวร์ เป็น​โปรแกรม​ขนาด​เล็ก​ที่​คอย​รวบรวม​ข้อมูล หรือ​พฤติกรรม​ของ​ผู้​ใช้​โดย​ ไม่​ให้​บุคคล​นั้น​รู้ตัว แล้ว​ส่ง​ข้อมูล​กลับ​ไป​ยัง​คอมพิวเตอร์ท​ ี่​ส่ง​สปาย​แวร์​นั้น​มา ส่วน เว็บ​บั๊ก (web bugs) มีล​ ักษณะ​การ​ทำ�งาน​เช่นเ​ดียว​กับส​ ปาย​แวร์ แต่เ​ว็บบ​ ั๊กจ​ ะ​อยูใ่​ น​รูปข​ อง​ไฟล์ก​ ราฟิก (graphic file) ขนาด​เล็กท​ ี​่ ฝังม​ า​กับอ​ ีเมล​หรือเ​ว็บเพจ แม้ว่าก​ าร​ใช้ส​ ปาย​แวร์แ​ ละ​เว็บบ​ ั๊ก (web bugs) ทำ�ให้ท​ ราบ​พฤติกรรม​ของ​ผู้ใ​ ช้ได้​ เป็น​อย่าง​ดี แต่​ใน​ทาง​ปฏิบัติ​จะ​ไม่​นิยม​ใช้​วิธี​นี้ เนื่องจาก​เป็นการ​ละเมิด​สิทธิ​ส่วน​บุคคล ซึ่ง​ผิด​ต่อ​กฎหมาย​ และ​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจด​ ้วย - เว็บ​ไม​นิ่ง (web mining) เป็นการ​นำ�​เทคนิค​เหมือง​ข้อมูล (data mining) มา​ใช้​วิเคราะห์​ ข้อมูลบ​ น​เว็บท​ มี​่ อ​ี ยูจ​่ �ำ นวน​มหาศาล เพือ่ ใ​ ห้ส​ ามารถ​แยก​ประเภท จำ�แนก หรือจ​ ดั ก​ ลุม่ ค​ วาม​สมั พันธ์ข​ อง​ขอ้ มูล​ ดัง​กล่าว​ให้​เหมาะ​กับ​การนำ�​ไป​ใช้​งาน​จริง​ใน​ทาง​ธุรกิจ ตัวอย่าง​การ​ประยุกต์​ใช้​เว็บ​ไม​นิ่ง เช่น การ​วิเคราะห์​ ข้อมูลช​ ่วง​เวลา กลุ่มผ​ ูใ้​ ช้ และ​ลิงก์ท​ ีเ่​ข้าไป​ใช้บ​ ริการ เพื่อป​ รับปรุงห​ รือพ​ ัฒนา​บริการ​ใหม่ใ​ ห้ส​ ามารถ​ตอบ​สนอง​ ความ​ต้องการ​ของ​ผู้ใ​ ช้​มาก​ที่สุด เป็นต้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

8. การ​คาด​คะเน​ความ​ต้องการ​ของ​ลูกค้า

ธ ส

วิธี​นี้​องค์กร​จะ​คาด​คะเน​สินค้า​และ​บริการ​ที่​ลูกค้า​ชื่น​ชอบ​ด้วย​ตนเอง​โดย​พิจารณา​จาก​ข้อมูล​ทั่วไป​ ของ​ลูกค้า และ​ใช้เ​ทคนิค “การก​รอง​ข้อมูล” (filtering) เพื่อ​เปรียบ​เทียบ จัด​กลุ่ม และ​กำ�หนด​ความ​ต้องการ​ ของ​ลูกค้า ทั้งนี้ การก​รอง​ข้อมูล​ดัง​กล่าว​จะ​อยู่​ภาย​ใต้​สมมติฐาน​ที่​ว่า “มี​กลุ่ม​ลูกค้า​ที่​ชอบ​คล้าย​กัน และ​ยัง​ คง​ชอบ​สิ่ง​นั้น​อยู่​เช่น​เดิม”

ธ ส

9. ข้อ​จำ�กัด​ของ​การ​ทำ�​วิจัย​ตลาด​อิ​เล็ก​ทร​กนิกส์ผ​ ่าน​ระบบ​ออนไลน์

ธ ส

แม้ว่าก​ าร​ทำ�​วิจัยก​ าร​ตลาด​ผ่าน​ระบบ​ออนไลน์ท​ ำ�ให้เ​กิดข​ ้อดีห​ ลาย​ประการ เช่น ลด​ต้นทุนแ​ ละ​ระยะ​ เวลา​ใน​การ​จัด​ทำ�​เอกสาร เช่น แบบสอบถาม หรือแ​ บบ​สำ�รวจ เป็นต้น ง่าย​ต่อ​การ​ติดตาม​พฤติกรรม​ของ​ผู้​ใช้ สามารถ​เปลี่ยนแปลง​คำ�ถาม หรือ​วัตถุประสงค์ใ​ น​การ​ทำ�​วิจัย​ได้​ตลอด​เวลา เป็นต้น แต่​วิธี​นี้​ก็​มี​ข้อ​จำ�กัด​บาง​ ประการ​ที่​ต้อง​คำ�นึงถ​ ึง ได้แก่ 9.1 มี​ต้นทุน​ด้าน​เทคโนโลยี​ที่​นำ�​มา​ใช้​จัดการ กลั่น​กรอง หรือ​วิเคราะห์ข​ ้อมูล​ค่อน​ข้าง​สูง 9.2 กรณี​ที่​ระบบ​เครือ​ข่าย​เกิด​ขัดข้อง​ใน​ระหว่าง​ที่​มี​การ​เก็บ​ข้อมูล อาจ​ทำ�ให้​ผล​สำ�รวจ​บาง​ส่วน​ สูญหาย​ไป​ได้ 9.3 การ​เก็บ​ข้อมูล​บาง​วิธีอ​ าจ​ขัด​ต่อก​ ฎหมาย​และ​จริยธรรม​ใน​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ได้ 9.4 เนื่องจาก​เป็นการ​ดำ�เนิน​งาน​ผ่าน​ระบบ​ออนไลน์ ทำ�ให้​ไม่​สามารถ​สังเกต​พฤติกรรม หรือ​ทราบ​ ความ​รู้สึก​ของ​ผู้​ตอบ​แบบสอบถาม​ขณะ​นั้น​จริงๆ ทำ�ให้​ผล​การ​วิจัย​เชื่อ​ถือ​ได้​ยาก

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 3.2.2 แล้ว​ โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 3.2.2 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 3 ตอน​ที่ 3.2 เรื่อง​ที่ 3.2.2


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-45

ธ ส

เรื่อง​ที่ 3.2.3 เครื่อง​มือ​หลักใ​ น​การ​ทำ�การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

การ​ตลาด​ผา่ น​สือ่ ส​ งั คม (social media marketing) ถึอเ​ป็นม​ ติ ใ​ิ หม่ท​ างการ​ตลาด​ทแี​่ ตก​ตา่ ง​จาก​เดิม​ ที่​นักการ​ตลาด​ที่​มอบ​การ​สื่อสาร​การ​ตลาด 2 ทางใน​ยุค​ที่บ​ ริษัท​สามารถ​ค้นหา​ข้อมูล​ต่างๆ ผ่าน​โลก​ออนไลน์ ด้วย​การ​พัฒนา​ของ​เว็บไซต์​ที่​เปิด​ให้​ผู้​ใช้​แบรนด์​นั้น​ได้​มี​โอกาส​พัฒนา​เนื้อหา​ได้​ด้วย​ตนเอง ทำ�ให้​เกิด​สังคม​ ออนไลน์​ขึ้นใ​ น​รูป​แบบ​ต่างๆ กิจกรรม​ต่างๆ มอง​ปรากฏการณ์​ของ​สังคม​ออนไลน์ (social media) ที่​เกิด​ขึ้น​ และ​พบ​ว่า​เป็น​โอกาส​ที่​จะ​นำ�​มา​ใช้​ใน​ทางการ​ตลาด ซึ่ง​นักการ​ตลาด​จะ​ต้อง​ยอมรับ​ถึง​บทบาท​ที่​เปลี่ยนแปลง​ จาก​เดิม โดย​การ​พูด​คุย​กับ​คนใน​สังคม​ออนไลน์​เหล่า​นี้​ใน​ท่าที​ที่​มี​ความ​สัมพันธ์​กับล​ ูกค้า​ใกล้​ชิด​มาก​ขึ้น รับ​ ฟังค​ วาม​คิดเ​ห็นจ​ าก​ลูกค้าอ​ ย่าง​เปิดก​ ว้าง ต้อง​รู้จักฟ​ ังไ​ ม่เ​อาแต่พ​ ูดฝ​ ่าย​เดียว และ​มอบ​ประโยชน์ต​ ่างๆ ให้ท​ อี่​ าจ​ จะ​เกี่ยวข้อง​หรือไ​ ม่เ​กี่ยวข้อง​กับส​ ินค้าแ​ ละ​บริการ​ของ​ตนเอง ดังน​ ั้น การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ผ​ ่าน​สื่อส​ ังคม​จึง​ เป็นการ​ตลาด​แนว​ใหม่​อีก​ทาง​หนึ่ง ดังม​ ี​ราย​ละเอียด​ไป​นี้

ธ ส

1. สังคม​ออนไลน์

ธ ส

ธ ส

ใน​ยุคท​ ีม่​ กี​ าร​แข่งขันก​ ันส​ ูง สินค้าแ​ ละ​บริการ​ของ​ธุรกิจใ​ ด​สามารถ​เข้าถ​ ึงล​ ูกค้าไ​ ด้ก​ ่อน​ถือว่าไ​ ด้เ​ปรียบ​ อย่าง​ยิ่ง การ​เลือก​ใช้แ​ ผนการ​ตลาด​ที่ด​ ีจ​ ะ​ช่วย​ส่งเ​สริมแ​ ละ​ผลักด​ ันใ​ ห้ส​ ินค้าแ​ ละ​บริการ​นั้นม​ ีส​ ่วน​แบ่งท​ างการ​ ตลาด​ที่เ​พิ่มข​ ึ้น ดังน​ ั้น การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์จ​ ัดว​ ่าเ​ป็นอ​ ีกช​ ่อง​ทาง​หนึ่งใ​ น​การ​เพิ่มย​ อด​ขาย​และ​นำ�พา​สินค้า​ และ​บริการ​ของ​ธุรกิจ​นั้น​ก้าว​ไป​สู่ต​ ลาด​โลก​ได้​ง่าย​ขึ้น และ​ยัง​เป็น​กลยุทธ์​สำ�คัญ​สำ�หรับ​การ​ตลาด​ยุค​ใหม่ ยุค​ ที่​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​สามารถ​เข้า​ถึง​ผู้คน​ได้​ง่าย​และ​รวดเร็ว​ขึ้น ปัจจุบัน​สังคม​ออนไลน์ (social media) ได้​กลาย​เป็น​เครื่อง​มือ​สำ�คัญ​ที่​ช่วย​เพิ่ม​ช่อง​ทางการ​ประชาสัมพันธ์​สินค้า​และ​บริการ และ​ช่วย​ให้การ​ตลาด​ อิเล็กทรอนิกส์ก​ ลาย​เป็นเ​รือ่ ง​งา่ ย​ส�ำ หรับธ​ รุ กิจ รวม​ไป​ถงึ ช​ ว่ ย​ให้ธ​ รุ กิจไ​ ด้ใ​ กล้ช​ ดิ ก​ บั ล​ กู ค้าม​ าก​ขึน้ ลูกค้าส​ ามารถ​ แสดง​ความ​คิด​เห็น เสนอ​แนะ​สินค้า​และ​บริการ​ที่ต​ ้องการ และ​สามารถ​พูด​คุย​กับ​ลูกค้า​ราย​อื่น​ได้​ตาม​กลยุทธ์​ การ​สร้าง​ชุมชน​ออนไลน์ ซึ่งน​ อกจาก​นีแ้​ ล้ว จะ​ช่วย​ให้ข​ าย​สินค้าแ​ ละ​บริการ​ได้แ​ ล้ว ยังช​ ่วย​ให้ธ​ ุรกิจไ​ ด้ร​ ับข​ ้อมูล​ เพื่อ​นำ�​ไป​ใช้​ใน​การ​วิจัย และ​พัฒนา​สินค้า​และ​บริการ​ต่อ​ไป​ได้ สังคม​ออนไลน์ (social media) หมาย​ถึงส​ ังคม​ออนไลน์​ที่​มี​ผู้​ใช้​เป็นผ​ ู้​สื่อสาร หรือ​เขียน​เล่า เนื้อหา เรื่อง​ราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และ​วิดีโอ ที่ผ​ ู้ใ​ ช้เ​ขียน​ขึ้นเ​อง ทำ�​ขึ้นเ​อง หรือพ​ บ​เจอ​จาก​สื่ออ​ ื่นๆ แล้ว​ นำ�​มา​แบ่งป​ ันใ​ ห้ก​ ับผ​ ูอ้​ ื่นท​ ีอ่​ ยูใ่​ น​เครือข​ ่าย​ของ​ตน ผ่าน​ทาง​เว็บไซต์ท​ ีเ่​รียก​ว่า เครือข​ ่าย​สังคม (social network) ที่​ให้​บริการ​บน​โลก​ออนไลน์ ปัจจุบัน​การ​สื่อสาร​แบบ​นี้​จะ​ทำ�​ผ่าน​ทาง​อินเทอร์เน็ต และ​โทรศัพท์​มือ​ถือ​เท่านั้น​ สังคม​ออนไลน์ม​ ี​อิทธิพล​มา​จาก​การ​พัฒนา​เว็บไซต์​ดังนี้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-46

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

วิวัฒนาการ​ยุค​ของ​เว็บ​ต่างๆ ได้แก่ Web 1.0 Web 2.0 Web 3.0 และ Web 4.0 มี​ราย​ละเอียด ดังนี้ 1.1 เว็บ 1.0 (Web 1.0) เป็นเ​ว็บย​ ุคแ​ รก​ที่ทำ�การ​ผลิตเ​นื้อหา​ต่างๆ มา​จาก​เจ้าของ​เว็บไซต์ ผูท้​ ีต่​ ้องการ​ ข้อมูลก​ จ็​ ะ​เข้าไป​อ่าน​จาก​เว็บไซต์ห​ รือค​ ้นหา​ผ่าน​เสิร์ชเ​อน​จิน โดย​ส่วน​ใหญ่ก​ าร​ติดต่อส​ ื่อสาร​ระหว่าง​ผูอ้​ ่าน​กับ​ เจ้าของ​เว็บไซต์ห​ รือเ​ว็บม​ าสเตอร์ม​ ักเ​ป็นไ​ ป​ใน​ทาง​เดียว คือ ผู้เ​สนอ​เนื้อหา​หรือเ​จ้าของ​เว็บไซต์จ​ ะ​เป็นผ​ ู้จ​ ัดท​ ำ� ค้นหา นำ�​เสนอ​โดย​ผู้อ​ ่าน หรือ​ผู้ท​ ่อง​เว็บ​มีหน้า​ที่​รับข​ ้อมูล​สารสนเทศ​เพียง​อย่าง​เดียว ซึ่ง​ส่วน​ใหญ่​คน​เพิ่ง​จะ​ รู้จัก​อินเทอร์เน็ตใ​ น​การ​ใช้​งาน​จึงม​ ี​ไม่​มาก​นัก อาจ​มี​การ​รับ​ส่ง​ข่าวสาร​กัน​ทาง​อีเมล การ​โต้ตอบ​แบบ​ออนไลน์​ ผ่าน​โปรแกรม​ต่างๆ หรือ​เพียง​การ​ดาวน์โหลด เพลง และ​ภาพ​ต่างๆ จาก​เว็บไซต์​ที่​ให้​บริการ และ​การ​ติดต่อ​ ที่ส​ ื่อสาร​ที่เ​พิ่มม​ าก​ขึ้น เช่น กระดาน​สนทนา (webboard) เพื่อใ​ ห้ผ​ ู้อ​ ่าน​หรือผ​ ู้ใ​ ช้บ​ ริการ​ได้แ​ สดง​ความ​คิดเ​ห็น แลก​เปลี่ยน​ข้อมูล​ต่างๆ แก่ก​ ัน 1.2 เว็บ 2.0 (Web 2.0) (ค.ศ. 2000-2010) การ​เปลี่ยนแปลง​ต่อ​มา​ของ​ข้อมูล​สารสนเทศ​มุ่ง​ให้​เกิด​ การ​ติดต่อส​ ื่อสาร​เป็นไ​ ป​กว้าง​ขวาง​ขึ้น จาก​เดิมท​ ี่ผ​ ู้ท​ ่อง​เว็บห​ รือผ​ ู้ใ​ ช้บ​ ริการ​จะ​เป็นเ​พียง​ผู้บ​ ริโภค​ข่าวสาร​ข้อมูล กลับก​ ลาย​เป็นผ​ ู้ส​ ร้าง​เนื้อหา​ข้อมูล​ให้น​ ำ�​เสนอ​อยู่ใ​ น​เว็บต​ ่างๆ ได้ จะ​เห็นไ​ ด้จ​ าก​เว็บไซต์​ต่างๆ ที่ไ​ ด้เ​สนอ​ข้อมูล​ ความ​รูโ้​ ดย​เกิดจ​ าก​ผูใ้​ ช้ง​ าน​เข้าม​ า​บันทึกจ​ ัดเ​ก็บไ​ ว้อ​ ย่าง​เป็นห​ มวด​หมู่ โดย​เน้นใ​ ห้ค​ น​ทั่วไป​เข้าม​ า​มสี​ ่วน​ร่วม​ใน​ การ​สร้าง​เนื้อหา และ​การนำ�​เสนอ​ข้อมูลผ​ ่าน​เว็บไซต์​ที่​ได้​จัด​ทำ�​ขึ้น เว็บไซต์​ที่​มี​ลักษณะ​เป็น​เว็บ 2.0 ที่​รู้จัก​กัน​ ดี อาทิ วิกิพ​ ี​เดีย (Wikipedia) เป็น​เว็บไซต์ส​ ารานุกรม​ออนไลน์​หลาย​ภาษา​ที่​เป็น​แหล่ง​คลัง​ข้อมูล​สารานุกรม​ ออนไลน์​ที่​ใหญ่​ที่สุด​ใน​โลก จุด​เด่น​ของ​วิกิ​พี​เดีย คือ การ​ที่​ผู้​ใช้​สามารถ​นำ�​เสนอ​เนื้อหา​ได้​อย่าง​เสรี และ​มี​ การ​ปรับปรุง​เนื้อหา​ร่วม​กันไ​ ด้​อย่าง​อิสระ แต่​อย่างไร​ก็ตาม การ​ที่​ผู้​ใช้​สามารถ​นำ�​เนื้อหา​ความ​รู้​มา​เผย​แพร่​ได้​ อย่าง​เสรี​ก็​เป็น​ที่​น่า​จับตา​มอง​ว่าเ​นื้อหา​เหล่า​นี้ม​ ี​ความ​ถูก​ต้อง​มาก​น้อย​เพียง​ใด เมื่อ​มี​การ​ตั้ง​ข้อ​สงสัย​จึงม​ ี​นัก​ วิจัย​พยายาม​พิสูจน์​ความ​ถูก​ต้อง​ของ​เนื้อหา​ดัง​กล่าว​จาก​สารานุกรม​ที่​เก่า​แก่​ที่สุด​และ​น่า​เชื่อ​ถือ​ที่สุด​อย่าง บริตแ​ ทน​นิ​กา (Britannica) ผล​การ​วิจัยเ​ป็น​ที่​น่า​สนใจ​ว่า​เนื้อหา​และ​การ​ใช้​ภาษา​มี​ความ​ถูก​ต้อง​ใกล้​เคียง​กัน แต่อ​ ย่างไร​ก็ตาม การ​อ้างอิงห​ รือก​ ารนำ�​ข้อมูลค​ วาม​รู้จ​ าก​วิกิพ​ ีเ​ดียก​ ็ต​ ้อง​มีก​ าร​ตรวจ​สอบ​ความ​ถูกต​ ้อง​ก่อน​นำ�​ ไป​ใช้ และ​การ​เป็นแ​ หล่ง​อ้างอิงใ​ น​การ​ดำ�เนิน​การ​ทาง​ข้อมูล​ต่างๆ ก็​ยัง​ไม่​เป็น​ที่​น่า​เชื่อ​ถือ จึง​ควร​ที่​ผู้​ใช้​จะ​ต้อง​ มี​วิจารณญาณ​ใน​การ​ดึง​เอา​ข้อมูล​ไป​ใช้​ใน​กิจกรรม​ต่างๆ เว็บไซต์​ยู​ทิว​บ์​เป็น​หนึ่ง​ใน​เว็บ 2.0 ที่​ได้​รับ​ความ​นิยม​อย่าง​มาก เป็น​ชุมชน​ออนไลน์​ที่​เน้น​ทาง​ด้าน​ วิดีโอ​เพื่อค​ วาม​บันเทิงข​ นาด​ใหญ่ จุดเ​ด่นข​ อง​ยทู​ ิวบ​ ์ (YouTube) คือ การ​เปิดโ​ อกาส​ให้ผ​ ใู้​ ช้ส​ ามารถ​ดาวน์โหลด​ และ​แลก​เปลี่ยน​คลิปว​ ีดโิ​ อ​ได้อ​ ย่าง​อิสระ​จาก​ทุกม​ ุมโ​ ลก จัดเ​ป็นเ​ว็บไซต์ท​ ีว่​ ัยร​ ุ่นไ​ ทย​นิยม​กันม​ าก เป็นเ​ครือข่าย​ สังคม​ออนไลน์ โดย​เป็น​แหล่ง​ที่​เชื่อม​โยง​บริการ​ไว้​ค่อน​ข้าง​หลาก​หลาย ไม่​ว่า​จะ​เป็น​อีเมล เมส​เซน​เจอร์ (Messenger) บล็อก (Blog) เข้าด​ ้วย​กัน จำ�นวน​ตัวเลข​เฉพาะ​ใน​ประเทศไทย​มจี​ ำ�นวน​ผูเ้​ล่นม​ าก​ขึ้นเ​ป็นอ​ ันดับ​ ต้นข​ อง​โลก​เลย​ที​เดียว ทั้งหมด​ที่น​ ำ�​เสนอ​นี้เ​ป็นเ​พียง​ตัวอย่าง​เว็บ 2.0 บาง​ส่วน​เท่านั้น ซึ่งย​ ังม​ ีเ​ว็บไซต์ท​ ี่ใ​ ห้บ​ ริการ​ใน​ลักษณะ​ เช่น​นี้​อีก​มากมาย อาทิ เว็บไซต์ exteenblog และ bloggang และ​เว็บ 1.0 ที่​ได้​พยายาม​ยก​ระดับ​ตนเอง ​ให้​เป็นเ​ว็บ 2.0 อาทิ เว็บไซต์ K@pook และ sanook

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-47

ธ ส

1.3 เว็บ 3.0 (Web 3.0) (ค.ศ. 2010-2020) เป็น​ซี​แมน​ทิก​เว็บ (semantic web) ที่​สามารถ​เชื่อม​โยง​ ข้อมูล​ต่างๆ ทั้ง​ที่​อยู่ใ​ น​เว็บไซต์ข​ อง​ผู้พ​ ัฒนา​เอง​และ​จาก​แหล่ง​ข้อ​มูล​อื่นๆ ข้อมูล​ที่​นำ�​เข้า​มา​จะ​เป็น​เม​ทา​ดาต้า (metadata) ซึ่ง​หมาย​ถึงข​ ้อมูล​ที่ส​ ามารถ​บอก​ราย​ละเอียด​ของ​ข้อมูล ซึ่ง​ปัจจุบัน​ที่​เรา​ใช้ก​ ัน​อยู่ คือ แท็ก (tag) เพื่อใ​ ห้​ผู้​ใช้​งาน​อธิบาย​คำ�​สั่งส​ ั้นๆ ว่าส​ ิ่งท​ ี่แ​ สดง​นั้น​คือ​อะไร เช่น ใน​เว็บไซต์ hi5 ให้​ผู้​ใช้​งาน​ใส่​แท็ก​เพื่อ​อธิ​บาย​ สั้นๆ ว่า​ภาพ​นั้น​คือ​อะไร แต่​ใน​เว็บ 3.0 ที่​เว็บไซต์​ถูก​พัฒนา​ให้​มี​ความ​สามารถ​มาก​ขึ้น​ผู้​ใช้​งาน​หรือ​ผู้​ผลิต​ ไม่ต​ ้อง​ใส่​แท็ก​เอง แต่​ระบบ​คอมพิวเตอร์​จะ​ทำ�​หน้าที่​ใน​การ วิเคราะห์​และ​ประมวล​ผล​ข้อมูล​แล้วใ​ ห้​แท็ก​ตาม​ ความ​เหมาะ​สมอ​อก​มา​ได้ นอกจาก​นี้ ยังส​ ามารถ​เชือ่ ม​โยง​ไป​ยงั แ​ ท็ก​ อืน​่ ทีเ​่ กีย่ วข้อง​กนั ไ​ ด้ โดย​จะ​มก​ี าร​เชือ่ ม​โยง​ จาก​ฐาน​ข้อมูลท​ ำ�ให้ผ​ ู้ใ​ ช้ส​ ามารถ​ได้ข​ ้อมูลท​ ี่ต​ รง​ตาม​ความ​ต้องการ​มาก​ขึ้น หรือต​ ัวอย่าง​ใน​การ​สืบค้นข​ ้อมูลใ​ น​ การ​ค้นหา​ภาพ (image search) ซึ่งใ​ น​อนาคต​หาก​ต้องการ​ค้นหา​ภาพ​เกี่ยว​กับบ​ ุคคล​หนึ่งภ​ าพ เช่น “แวนโก๊ะ” เมื่อค​ ีย์ช​ ื่อท​ ี่ต​ ้องการ​เข้าไป​แล้ว เว็บไซต์จ​ ะ​สามารถ​เข้าใจ​ความ​หมาย​เอง​ได้ว​ ่า “แวนโก๊ะ” คือ บุคคล​ทีว่​ าด​ภาพ ​ดัง​ที่สุด​ของ​โลก โดย​จะ​ไป​เปรียบ​เทียบ​กับ​ภาพ​ใน​คลิป​วิดีโอ และ​ส่ง​ข้อมูล​ที่​ถูก​ต้อง​มายัง​ผู้​ใช้ 1.4 เว็บ 4.0 (Web 4.0) (ค.ศ. 2020-2030) เรียก​กันว​ ่า เว็บเ​ชิงส​ ัญลักษณ์ (A Symbiotic web) ต่อไ​ ป​ จะ​เรียก​วา่ เว็บท​ มี​่ อ​ี ยูท​่ กุ หน​ทกุ แ​ ห่ง (ubiquitous web) คือ เว็บท​ มี​่ ก​ี าร​ท�ำ งาน​แบบ​ปญ ั ญา​ประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI) หมาย​ถึง การ​สร้าง​คอมพิวเตอร์​ให้​สามารถ​คิด​ได้ (human mind & machines หรือ human & robot coexistence) มีค​ วาม​ฉลาด​มาก​ขึน้ ใ​ น​การ​อา่ น​ทัง้ เ​นือ้ หา (text) และ​รปู ภาพ (graphic) และ​ สามารถ​ตอบ​สนอง​ด้วย​การ​คำ�นวณ​หรือ​สามารถ​ตัดสิน​ใจ​ได้​ว่า​จะ​โหลด​ข้อมูล​ใด​ที่​จะ​ให้​ประสิทธิภาพ​ดี​ที่สุด​ มา​ให้​ก่อน และ​มี​รูป​แบบ​การนำ�​มา​แสดง​ที่​รวดเร็ว เว็บ 4.0 นัน้ ป​ ระกอบ​ดว้ ย 3 องค์ป​ ระกอบ การ​มอ​ี ยูท​่ กุ หน​ทกุ แ​ ห่ง (ubiquity) การ​ระบุต​ วั ต​ น (identity) และ​การ​เชื่อม​ต่อ (connection) กล่าว​คือ จะ​พบ​ได้​ทุกหน​ทุก​แห่ง ไม่​จำ�กัด​ว่า​จะ​เป็น​อุปกรณ์​ใด สามารถ​ระบุ​ ตัว​ตน​ของ​ผู้​ใช้​งาน​ได้​อย่าง​แน่ชัด รวม​ถึง​อาจ​จะ​บูรณ​า​การ​ไป​กับ​อุ​ปก​รณ์​อื่นๆ ที่​ช่วย​ใน​การ​ระบุ​ตัว​ตน เช่น จี​พี​เอส (GPS) และ​ก็​สามารถ​ใช้​งาน​ได้​ทุกหน​ทุก​แห่ง สามารถ​เชื่อม​ต่อ​ได้​ง่าย​จน​ไม่รู้​สึก​ถึง​ความ​ยุ่ง​ยาก​ใด​ ใน​ระหว่าง​การ​ทำ�​งาน​หนึ่งๆ อาจ​จะ​มี​ข้อความ​แทรก​ขึ้น​มา​ทันที​ก็ได้ ลักษณะ​ของ​เว็บ 4.0 จะ​ไม่​ได้​มอง​ไป​ที่ “ข้อมูล” อีก​ต่อ​ไป เพราะ​จะ​ก้าว​ข้าม​กลาย​เป็น​กิจกรรม​แทน เพราะ​ได้​ผ่าน​จุด​ของ​เว็บ 3.0 ที่​สามารถ​สื่อสาร​ กัน​ไป​แล้ว​ข้อมูล​ทุก​อย่าง​จึง​แลก​เปลี่ยน​ได้​อย่าง​อิสระ​จน​มอง​ข้าม​มัน​ไป​ได้​ว่า​ข้อมูล​อยู่​ที่ไหน​หรือ​มา​จาก​ไหน แต่​กลับ​ไป​สนใจ​แทน​ว่า​หาก​จะ​ทำ�​กิจ​กร​รม​หนึ่งๆ มี​ที่ไหน​ที่​มี​แอพ​พลิ​เคชั่​นที่​จะ​สนับสนุน​กิจกรรม​ที่​ผู้​ใช้​งาน​ ต้องการ​ได้ เช่น หาก​ต้องการ​จะ​ซื้อ​เสื้อ ข้อมูล​เสื้อ​จาก​ทุกๆ แหล่ง​ที่​รองรับ​กิจกรรม​นี้​ก็​จะ​ถูก​ส่ง​มา​รวม​กัน โดย​อาจ​มี​ข้อมูล​ประกอบ​ว่า​ร้าน​อยู่​ที่ไหน​จาก​แอพ​พลิ​เคชั่น​ด้าน​ข้อมูล สถาน​ที่ และ​สามารถ​เลือก​ผู้​ส่ง​สินค้า​ ได้​จาก​แอพ​พลิ​เคชั่นจ​ าก​ผู้ใ​ ห้​บริการ​ด้าน​การ​ส่ง เป็นต้น เนื้อหา​ของ​สังคม​ออนไลน์​โดย​ทั่วไป​เปรียบ​ได้​หลาย​รูป​แบบ ทั้ง​กระดาน​ความ​คิด​เห็น (discussion boards) เว็บบ​ ล็อก (weblogs) วิกิ (wikis) รูปภาพ และ​วิดีโอ ส่วน​เทคโนโลยีท​ ี่ร​ องรับเ​นื้อหา​เหล่าน​ ี้ก​ ็ร​ วมถึง​ เว็บ​บล็อก เว็บไซต์​แชร์​รูปภาพ เว็บไซต์​แชร์​วิดีโอ เว็บบ​ อร์ด อีเมล เว็บไซต์​แชร์เ​พลง การ​ส่ง​ข้อความ​ทันที​ ทันใด (instant messaging) เครื่อง​มือ​ที่​ให้​บริการ​วี​โอ​ไอ​พี (Voice over - VOIP)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-48

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ตัวอย่าง​สังคม​ออนไลน์ มี​ดังต​ ่อ​ไป​นี้ 1) Facebook (Social Network) 2) Youtube (Video Sharing) 3) hi5 (Social Network) 4) Pantip (Board) 5) Blogger (Blog) 6) MThai (Social Network) 7) Manager (Social Network) 8) exteen (Blog) 9) Twitter (Social Network) เครือ​ข่าย​สังคม (social networking) หมาย​ถึง เครือ​ข่าย​สังคม หรือ​อาจ​จะ​หมาย​ถึง เครือ​ข่าย​ สังคม​ใน​โลก​ออนไลน์อ​ ย่าง​อินเทอร์เน็ตท​ ีส่​ ามารถ​เชื่อม​โยง​คน​ต่างๆ จาก​ทุกม​ ุมโ​ ลก​เข้าด​ ้วย​กัน ทำ�ให้ส​ ามารถ​ แบ่งป​ ันข​ ้อมูล ความ​รู้ และ​โดย​เฉพาะ​ความ​รู้สึกใ​ ห้แ​ ก่ก​ ันไ​ ด้ง​ ่ายๆ ปัจจุบันเ​ว็บท​ ีใ่​ ห้บ​ ริการ​ลักษณะ​นีม้​ มี​ ากมาย​ หลาย​เว็บ แต่ท​ ี่​ดัง​มาก​ที่สุด​มี​หลาย​แห่ง ได้แก่ 1) www.twitter.com 2) www.multiply.com 3) www.hi5.com 4) www.friendster.com 5) www.facebook.com ใน​ที่​นี้​ขอ​ยก​ตัวอย่าง​เครือ​ข่าย​สังคม​ที่​ได้​รับ​ความ​นิยม​คือ เฟ​ซบุ๊ก (Facebook) ซึ่ง​เป็น​เครือ​ข่าย​ สังคม (social networking) เว็บไซต์​หนึ่ง​ที่​มี​ผู้​นิยม​ใช้​งาน​กัน​มาก​ที่สุด​แห่ง​หนึ่ง​ของ​โลก เพียง​สมัคร​เป็น​ สมา​ชิ​กกับเฟ​ซบุ๊​กก็จ​ ะ​สามารถ​แบ่ง​ปัน​ข้อมูล รูปภาพ ความ​รู้สึก​ผ่าน​ทาง​หน้าเ​ว็บ​ไซต์​ของ​เฟ​ซบุ๊ก​ได้ ที่มา​ของเฟซบุ๊กจุดเ​ริ่มต​ ้น​มา​จาก​นาย​มาร์ก ซัก​เค​อร์​เบิร์ก (Mr. Mark Zuckerburg) ใน​สมัย​ที่​เป็น​ นักศึกษามหาวิทยาลัย​ฮา​วาร์​ด​ได้​แนวคิด​มา​จาก​การ​เขียน​หนังสือ​ที่​ใช้​สำ�หรับ​แนะนำ�​ตัว​กับ​เพื่อน​ใหม่​ใน​ชั้น​ เรียน และ​นำ�​มา​ดัดแปลง​มา​เป็น​เว็บไซต์ใ​ น​โลก​ของ​อินเทอร์เน็ต เริ่ม​ต้น​ก็​ใช้​ใน​ระดับ​มหาวิทยาลัย และ​แพร่​ กระจาย​ไป​เรื่อยๆ จน​กระทั่ง​ยิ่งใ​ หญ่​ใน​ปัจจุบัน เรียก​ว่า​ปัจจุบัน​นาย​มาร์ก ซัก​เค​อร์​เบิร์ก​ได้​กลาย​เป็น​เศรษฐี​ คน​หนึ่งข​ อง​โลก ปัจจุบันเ​ฟ​ซบุ๊กไ​ ด้ม​ ีก​ าร​แปล​เป็นภ​ าษา​มากมาย รวม​ทั้งภ​ าษา​ไทย​ด้วย และ​ที่ท​ ำ�ให้เ​ป็นท​ ี่น​ ิยม​ อย่าง​รวดเร็ว​มาก​ขึ้น เพราะ​เป็นการ​บริการ​ให้​โดย​ไม่​เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

2. การ​ตลาด​ผ่าน​โมบาย​คอม​เมิร์ซ

ธ ส

ธ ส

ใน​ช่วง​ทศวรรษ​ที่​ผ่าน​มา​ได้​เกิด​การ​เปลี่ยนแปลง​สำ�คัญ​อัน​เป็น​ผล​มา​จาก​การ​พัฒนา​เทคโนโลยี​ เครือ​ข่าย​เพื่อ​การ​เชื่อม​ต่อ​ระหว่าง​คอมพิวเตอร์​กับ​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​เข้า​ด้วย​กัน ทำ�ให้​เกิด​ธุรกรรม​ ทาง​ธุรกิจ​ใน​ลักษณะเซเบอร์สเปซ (cyberspace) หรือ​แบบออนไลน์ ใน​รูป​แบบ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-49

ธ ส

(electronic Commerce-e-Commerce) ซึ่งส​ ่งผ​ ล​ดใี​ น​เรื่อง​ของ​การ​ลด​ข้อจ​ ำ�กัดก​ าร​ทำ�​ธุรกรรม​ทางการ​ค้าล​ ง ก่อใ​ ห้เ​กิดเ​ศรษฐกิจแ​ บบ​ดจิ ทิ ลั (digital economy) ทีจ​่ ดั ว​ า่ เ​ป็นป​ จั จัยก​ าร​แข่งขัน ใน​ยคุ ธ​ รุ กิจป​ จั จุบนั ท​ �ำ ให้เ​กิด​ การ​พัฒนา​ช่อง​ทาง​ธุรกิจใ​ หม่ๆ มากมาย รวม​ทั้งก​ าร​สนับสนุน​การ​ดำ�เนิน​ธุรกรรม​ที่​มี​ผล​ต่อ​การ​เปลี่ยนแปลง​ วิถชี​ ีวิตแ​ ละ​สังคม ต่อม​ า​ได้เ​กิดก​ าร​ขยาย​ตัวด​ ้าน​เทคโนโลยีโ​ ทรศัพท์เ​คลื่อนทีแ่​ ละ​อุปกรณ์ส​ ื่อสาร​ไร้ส​ าย​ต่างๆ ซึ่งช​ ่วย​เพิ่มป​ ระสิทธิภาพ​ของ​ธุรกิจแ​ บบ​พาณิชย์อ​ ิเล็กทรอนิกส์ ทั้งใ​ น​เรื่อง​ของ​ความ​หลาก​หลาย​ของ​ตัวเ​ครื่อง กระบวนการ​รักษา​ความ​ปลอดภัย ความ​สะดวก​ใน​การ​พก​พา และ​ความ​คล่อง​ตัว​ใน​การ​ใช้​งาน ส่ง​ผล​ให้​เกิด​ การ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจใ​ น​รูปแ​ บบ​ของ​โมบาย​คอม​เมิร์ซ (mobile Commerce - m-Commerce) เพิ่มม​ าก​ขึ้น ต่อม​ า​ นักการ​ตลาด​ได้พ​ ัฒนา​แนว​คิดใ​ หม่ๆ อาจ​จะ​เรียก​ว่า การ​ตลาด​แบบ​เคลื่อนที่ (mobile marketing) และ​มแี​ นว​ โน้ม​ที่​จะ​ขยาย​ตัวอย่าง​ต่อ​เนื่อง ด้วย​เหตุ​นี้​เอง ที่ท​ ำ�ให้​ธุรกิจ​ต่างๆ ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ผู้​ให้​บริการ​โทรศัพท์​เคลื่อนที่ ธุรกิจท​ ี่ทำ�การ​ค้าผ​ ่าน​เว็บไซต์ และ​ผูป้​ ระกอบ​ธุรกิจอ​ ื่นใ​ ห้ค​ วาม​สนใจ​และ​หันม​ า​ดำ�เนินธ​ ุรกิจใ​ น​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ ทางการ​ค้า​ใน​รูป​แบบ​ของ​โมบาย​คอม​เมิร์ซ​ มาก​ยิ่งข​ ึ้น โมบาย​คอม​เมิร์ซ คือก​ าร​ดำ�เนินก​ ิจกรรม​ต่างๆ ทีเ่​กี่ยวข้อง​กับธ​ ุรกรรม​หรือก​ าร​เงินโ​ ดย​ผ่าน​เครือข​ ่าย​ โทรศัพท์เ​คลือ่ นที่ หรือก​ าร​คา้ ขาย​ตาม​ระบบ​แนว​ความ​คดิ ข​ อง​พาณิชย์อ​ เิ ล็กทรอนิกส์ท​ ใี​่ ช้อ​ ปุ กรณ์พ​ ก​พา​ไร้ส​ าย​ เป็นเ​ครื่อง​มือใ​ น​การ​สั่งซ​ ื้อแ​ ละ​ขาย​สินค้าต​ ่างๆ ทั้งก​ าร​สั่งซ​ ื้อส​ ินค้าท​ ีเ่​ป็นร​ ูปธ​ รรม หรือน​ ามธรรม รวม​ทั้งก​ าร​รับ​ ส่ง​อีเมล สิ่ง​ที่​น่า​สนใจ และ​เมื่อโ​ ทรศัพท์​เคลื่อน​สามารถ​พก​พา​ไป​ได้​ทุก​ที่​ไม่​จำ�กัด ทำ�ให้​ตลาด​การ​ค้า​ออนไลน์​ หรือ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​เชิง​พาณิชย์​ผ่าน​โทรศัพท์​เคลื่อนที่ เป็น​ตลาด​ที่​น่า​สนใจ​ที่สุด​ใน​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ เพราะ​สะดวก​สบาย ไม่มข​ี อ้ จ​ �ำ กัดใ​ น​การ​ซือ้ ส​ นิ ค้า เพราะ​มก​ี าร​ใช้โ​ ทรศัพท์เ​คลือ่ นทีอ​่ ยูแ​่ ล้ว โดย​โมบาย​คอมเมิรซ์ ​ เป็นการ​แตก​แขนง​ของ​เทคโนโลยี​ที่​มี​ผลก​ระ​ทบ​โดยตรง​ต่อ​การ​ขยาย​ตัว​ของ​ธุรกิจ​พาณิชย์​อิ​เล็ก​ทรอ​นิกส์ โดย​โมบาย​คอม​เมิร์ซจ​ ะ​ช่วย​เร่ง​อัตรา​การ​เติบโต​ให้​กับ​การ​ดำ�เนิน​ธุรกรรม​ผ่าน​เครือ​ข่าย​อิเล็กทรอนิกส์​ได้​เร็ว​ กว่า​การ​ใช้​เทคโนโลยีพ​ าณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ ขอบเขต​ของ​โมบาย​คอม​เมิร์ซ​ครอบคลุม​ทั้ง​การ​ดำ�เนิน​ธุรกรรม​ ระหว่าง​ผู้​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​กับ​ผู้​ใช้​บริการ​โทรศัพท์​เคลื่อนที่ หรือ​บี​ทู​ซี (Business to Customer - B2C) และ​ ระหว่าง​ผู้​ดำ�เนินธ​ ุรกิจ​ด้วย​กันเอง หรือบ​ ี​ทูบี (Business to Business - B2B) ตัวอย่าง​ของ​โมบาย​คอม​เมิร์ซ เช่น การ​ส่ง​ข้อความสั้นหรือเอสเอ็มเอส (Short Messaging Service - SMS) นั้น นับ​เป็น​เทคโนโลยี​ใน​การ​สื่อสาร​ส่วน​บุคคล​แบบ​ส่ง​ตรง​ถึง​ตัว​จาก​ผู้​ใช้​บริการ​ไป​ยัง​ศูนย์​ ให้​บริการ​ต่างๆ ไม่ว​ ่า​จะ​เป็นการ​ส่งข​ ้อความ​ทาย​ผล​ฟุตบอล การ​ส่ง​ข้อความ​ตอบ​คำ�ถาม​รายการ​ทาง​โทรทัศน์ เป็นต้น ซึ่งม​ ีก​ าร​เก็บค​ ่าบ​ ริการ​ใน​อัตรา​พิเศษ และ​มีก​ าร​กำ�หนด​รางวัลล​ ่อใ​ จ​ใน​รูปแ​ บบ​ของ​การ​ชิงโ​ ชค ลักษณะ​ นี้​เป็นก​ ิจกรรม​ใน​เชิงข​ อง​โมบาย​คอม​เมิร์ซ การนำ�​โมบาย​คอม​เมิร์ซ​เหล่า​นี้​มา​คิด​ใน​เชิง​การ​ตลาด​จะ​ช่วย​ให้​กับ​สินค้า​และ​แบรนด์​ต่างๆ โดย​มี 4 วัตถุประสงค์​หลัก ดังนี้ 2.1 ความ​แพร่ห​ ลาย​ของ​เครื่อง​ลูก​ข่าย หรือ​โทรศัพท์​เคลื่อนที่​ หา​ซื้อ​ได้​ง่าย และ​ใน​ปัจจุบัน​มี​ความ​ แพร่​หลาย​มาก​ขึ้น ด้วย​ผล​จาก​การ​แข่งขัน​ระหว่าง​ผู้​ให้​บริการ​เครือ​ข่าย รวม​ถึง​แรง​ผลัก​ดัน​ของ​โทรศัพท์​ เคลื่อนที่​แบบ​พร้อม​ใช้ (เติม​เงินได้) ทำ�ให้​การ​ซื้อห​ า​โทรศัพท์​เคลื่อนที่​ทำ�ได้​ง่าย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-50

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

2.2 ความ​สามารถ​ใน​การ​ติดตาม​ตัว​ได้​เสมอ ตราบ​ใด​ที่​ผู้​ใช้​บริการ​เปิดเ​ครื่อง และ​อยู่​ใน​บริเวณ​ที่​มี​ สัญญาณ การ​ติดต่อส​ ื่อสาร​จาก​เครือ​ข่าย​ไป​สู่​เครื่อง​โทรศัพท์​เคลื่อนที่​จะ​ทำ�ได้​เสมอ ทั้งนี้ ผู้​ใช้​บริการ​มี​สิทธิ์​ ที่​จะ​ระงับ​การ​ติดตาม​ตัว​ได้ใ​ น​เวลา​ที่​ต้องการ เช่น ระงับ​การ​โทร​เข้า ให้​โทรศัพท์​เคลื่อนที่​ทำ�ได้​เฉพาะ​การ​โทร​ ออก​เท่านั้น 2.3 กระบวนการ​รักษา​ความ​ปลอดภัย โทรศัพท์​เคลื่อนที่​ใน​ปัจจุบัน​มี​ซิ​มการ์ด ซึ่ง​ใช้​เก็บ​ข้อมูล ​ส่วน​ตัวท​ ี่ส​ ำ�คัญ​ของ​ผู้ใ​ ช้​บริการ พร้อม​กับ​การ​เข้า​รหัส​ข้อมูล​ไว้ หาก​ต้อง​มี​การ​รับ-ส่ง​ข้อมูล​กับ​ระบบ​เครือ​ข่าย ตัวเ​ครื่อง​โทรศัพท์เ​คลื่อนที่จ​ ะ​มีค​ วาม​สามารถ​ใน​การ​เข้าร​ หัสข​ ้อมูลต​ ่างๆ ที่ม​ ีก​ าร​ใช้ง​ าน​ด้วย​รหัสท​ ี่ไ​ ม่ส​ ามารถ​ ถอด​ออก​โดย​บุคคล​ที่ 3 ได้ ตัวอย่าง​เช่น เครื่อง​โทรศัพท์​เคลื่อนที่​ที่​สนับ​สนุน​เทคโนโลยี​แวพ (Wireless Application Protocol - WAP) เป็นต้น 2.4 ความ​สะดวก​ใน​การ​ใช้ง​ าน เนือ่ งจาก​การ​ออกแบบ​โทรศัพท์เ​คลือ่ นทีร​่ ุน่ ใ​ หม่ๆ ให้ม​ ค​ี วาม​สวยงาม และ​ใช้ง​ าน​ง่าย​มาก​ขึ้น ไม่ว​ ่าจ​ ะ​เป็นใ​ น​ส่วน​ของ​หน้าจ​ อ การ​แสดง​ผล และ​การ​ป้อน​ข้อมูล รวม​ทั้งก​ าร​เพิ่มห​ น่วย​ ความ​จำ�​ภายใน​ตัว​เครื่อง​ให้​มาก​ขึ้น ทำ�ให้​สามารถ​ใช้​บันทึก​ข้อมูล​ต่างๆ เช่น สมุด​โทรศัพท์ รายการ​นัด​หมาย หรือ​รหัส​ลับ​ส่วน​ตัว​ต่างๆ ได้ม​ าก​ขึ้น นอกจาก​ลักษณะ​และ​ยัง​มี​จุด​เด่น​ของ​โมบาย​คอม​เมิร์ซ​ที่​เป็น​พื้น​ฐาน​สำ�คัญ​ใน​การ​ผลัก​ดัน​ให้การ​ ดำ�เนิน​ธุรกรรม​เชิง​พาณิชย์​ใน​รูป​แบบ​ของ​โมบาย​คอม​เมิร์ซ​เกิด​ขึ้น​ได้​แล้ว ความ​ก้าวหน้า​อย่าง​รวดเร็ว​ของ​ เทคโนโลยี​สื่อสาร​โทรคมนาคม​ที่​ช่วย​ให้​โทรศัพท์​เคลื่อนที่​ใน​อนาคต​อัน​ใกล้​มี​ขีด​ความ​สามารถ​เพิ่ม​เติม​มาก​ ขึ้น จึง​ถือว่า​เป็น​ปัจจัย​สำ�คัญ​ที่​ช่วย​ให้​โมบาย​คอม​เมิร์​ซก้าว​ผ่าน​อุปสรรค​ที่​ขัด​ขวาง​การ​เติบโต​ของ​กิจกรรม​ ของ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส​ ามารถ​สรุป​ได้​เป็น 3 ประการ ดังนี้ 1) การ​ใช้​ประโยชน์​จาก​ข้อมูล​ตำ�แหน่ง​ท้อง​ถิ่น เทคโนโลยี​บริการ​ที่​อิง​ท้อง​ถิ่น (location based service) ซึ่งเ​ป็น​ความ​ก้าวหน้า​อีกข​ ั้น​หนึ่ง​ของ​เครือ​ข่าย​โทรศัพท์​เคลื่อนที่ จะ​ทำ�ให้​เครือ​ข่าย​ทราบ​ได้​ ว่า​ผู้​ใช้​บริการ​แต่ละ​ราย​อยู่ ณ ที่​แห่ง​ใด​ได้​ตลอด​เวลา ทำ�ให้​สามารถ​สร้าง​บริการ​โมบาย​คอม​เมิร์ซ​ที่​สัมพันธ์​ กับต​ ำ�แหน่งท​ ี่อ​ ยู่ข​ อง​ผู้ใ​ ช้บ​ ริการ​ได้อ​ ย่าง​อัตโนมัติ ซึ่งส​ ิ่งเ​หล่าน​ ี้ไ​ ม่อ​ าจ​เกิดข​ ึ้นไ​ ด้ก​ ับก​ าร​ใช้เ​ครื่อง​คอมพิวเตอร์​ เพื่อ​ทำ�​ธุรกรรม​แบบ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ 2) สามารถ​เชื่อม​ต่อ​กับ​เครือ​ข่าย​เพื่อ​ติดต่อ​สื่อสาร​ได้​ใน​ทันที​ด้วย​ความ​พร้อม​ของ​เทคโนโลยี​ การ​รับส​ ่ง​ข้อมูลแ​ บบ​ใหม่ๆ ใน​ปัจจุบัน เช่น จี​พี​อาร์​เอส (Generic Packet Radio Service - GPRS) ใน​ เครือข​ ่าย​จเี​อส​เอ็ม (GSM) ร่วม​กับเ​ทคโนโลยีแ​ วพ (WAP) ทำ�ให้​ผูใ้​ ช้บ​ ริการ​สามารถ​ติดต่อก​ ับแ​ หล่งใ​ ห้บ​ ริการ​ โมบาย​คอม​เมิร์ซ​หรือ​บริการ​อินเทอร์เน็ต​ต่างๆ ได้​ทันที​ที่​ต้องการ โดย​ไม่​ต้อง​เสีย​เวลา​รอ​การ​เชื่อม​ต่อ​วงจร​ ให้​เรียบร้อย​ก่อน​ที่​จะ​ทำ�การ​สื่อสาร​ได้ เหมือน​ดัง​ใน​กรณี​ของ​การ​พึ่ง​พา​เทคโนโลยี​แว​พบ​น​เครือ​ข่าย​จี​เอส​ เอ็ม (GSM) หรือ​การ​ใช้ค​ อมพิวเตอร์​ทำ�​ธุรกรรม​แบบ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง​ความ​สามารถ​แบบ​ใหม่​ของ​ โทรศัพท์เ​คลื่อนทีน่​ ีเ้​อง​ทีน่​ ่าจ​ ะ​ตรง​กับพ​ ฤติกรรม​การ​ใช้ง​ าน​ของ​มนุษย์ท​ ี่สุด และ​น่าจ​ ะ​เป็นห​ นึ่งใ​ น​ปัจจัยส​ ำ�คัญ​ ที่ผ​ ลัก​ดันใ​ ห้​เกิด​การ​เจริญ​เติบโต​ของ​กิจกรรม​โมบาย​คอม​เมิร์ซ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-51

ธ ส

3) การ​จัดการ​ฐาน​ข้อมูลส​ ่วน​บุคคล แม้​ใน​ปัจจุบันเ​ครื่อง​โทรศัพท์เ​คลื่อนที่บ​ าง​รุ่น​จะ​มี​ความ​ สามารถ​ใน​การ​บันทึก​ข้อมูล​บาง​อย่าง​ของ​ผู้ใ​ ช้​บริการ​บ้าง​แล้ว แต่​โทรศัพท์​เคลื่อนที่​รุ่น​ใหม่ๆ ที่​มี​หน่วย​ความ​ จำ�​มาก และ​มี​การ​ใช้​เทคโนโลยี​การ​พัฒนา​โปรแกรม​พิเศษ เช่น การ​ใช้​โปรแกรมภาษา​จาวา (Java2ME) น่า​จะ​เป็น​จุด​หักเห​ที่​สำ�คัญ​สำ�หรับ​การ​เติบโต​ของ​กิจกรรม​โมบาย​คอม​เมิร์ซ ตัวอย่าง​ของ​ข้อมูล​ที่​เก็บ​ไว้​ใน​ ฐาน​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล​ก็​อาจ​จะ​เป็น​ความ​ชอบ​ส่วน​ตัว เลข​ที่​บัตร​ประจำ�​ตัว​ที่​สำ�คัญ​ต่างๆ กีฬา​ที่​ชอบ เป็นต้น ซึ่ง​หาก​ผู้​ใช้​บริการ​อนุญาต​ให้​มี​การ​เปิด​เผย​กับ​แหล่ง​ให้​บริการ​ข้อมูล โมบาย​คอม​เมิร์​ซก็​จะ​ทำ�ให้​เกิด​บริการ​ รูป​แบบ​ใหม่ๆ ที่​น่า​สนใจ​ขึ้น​อีก​มากมาย

ธ ส

3. เทคโนโลยี​ทเี่​กี่ยวข้อง​กับ​โมบาย​คอม​เมิร์ซ

ธ ส

เนื่องจาก​ธุรกิจ​ใน​รูป​แบบ​ของ​โมบาย​คอม​เมิร์ซ​จำ�เป็นต​ ้อง​อาศัย​เครือ​ข่าย​สื่อสาร​และ​เทคโนโลยีอ​ ื่น​ ที่เ​กี่ยวข้อง เพื่อเ​ชื่อม​โยง​ส่วน​ที่เ​กี่ยวข้อง​กับร​ ะบบ​โมบาย​คอม​เมิร์ซเ​ข้าด​ ้วย​กัน โดย​ปัจจุบันม​ ีก​ าร​ใช้โ​ ครง​ข่าย​ โทรคมนาคม​ไร้​สาย​เป็น​ระบบ​เครือ​ข่าย​พื้น​ฐาน​ทาง​ด้าน​ฮาร์ดแวร์ และ​ใช้​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ตใ​ น​การ​รับ​ส่ง​ ข้อมูลร​ ะหว่าง​กัน รวม​ทั้งเ​ทคโนโลยีซ​ อฟต์แวร์ท​ ีใ่​ ช้ใ​ น​การ​เขียน​โปรแกรม​ด้วย​ภาษา​แวพ (WAP) ซึ่งช​ ่วย​ให้ท​ ุก​ ส่วน​ที่​เกี่ยวข้อง​สามารถ​ทำ�งาน​ประสาน​กัน​ได้เ​ป็น​หนึ่ง​เดียว โดย​สามารถ​สรุป​เทคโนโลยี​ที่​เกี่ยวข้อง​ได้ ดังนี้ 3.1 โครง​ขา่ ย​โทรคมนาคม​ไร้ส​ าย เป็นโ​ ครง​ขา่ ย​ดจิ ทิ ลั ท​ มี​่ ก​ี าร​สง่ ผ​ า่ น​ขอ้ มูลใ​ น​ลกั ษณะ​ไอ​พี (Internet Pocket - IP) โดย​แบ่งข​ ้อมูลอ​ อก​เป็นแ​ พ็ก และ​ทำ�การ​ส่งข​ ้อมูลเ​ป็นช​ ่วง ทำ�ให้ส​ ามารถ​ส่งข​ ้อมูลจ​ าก​หลาย​แหล่ง​ และ​หลายๆ ข้อมูล​ได้พ​ ร้อม​กัน​ใน​เวลา​เดียว เช่น รับ​ภาพ เสียง และ​ภาพ​เคลื่อนไหว​ได้​พร้อมๆ กัน อุปกรณ์​ที่​ จะ​นำ�​มา​ใช้ใ​ น​การ​สื่อสาร​ลักษณะ​นี้​จะ​ต้อง​มีป​ ระสิทธิภาพ​สูง​มาก และ​มีข​ นาด​เล็กพ​ อที่จ​ ะ​สามารถ​พก​พา​ไป​ยัง​ ที่ต​ ่างๆ ได้ ตัวอย่าง​เช่น โทรศัพท์​เคลื่อนที่ หรือม​ ือ​ถือ มิ​นิ​โน้ต​บุ้ก ปาล์ม (Palm) พี​ดี​เอ (PDA) ซึ่ง​แสดง​ให้​ เห็นว​ ่า​ตลาด​อุปกรณ์ส​ ื่อสาร​ไร้ส​ าย​มี​การ​พัฒนา​อย่าง​ต่อ​เนื่อง และ​มี​การ​แข่งขัน​กัน​สูง 3.2 อินเทอร์เน็ต เป็นเ​ทคโนโลยีก​ าร​สื่อสาร​ที่ม​ ีผ​ ล​ต่อก​ าร​เปลี่ยนแปลง​ของ​โลก ซึ่งส​ ่งผ​ ลก​ระ​ทบ​ต่อ​ รูป​แบบ​การ​ดำ�เนิน​ชีวิต การ​ศึกษา การ​ทำ�​ธุรกิจ การ​ซื้อ​ขาย​แลก​เปลี่ยน​สินค้า และ​อื่นๆ เนื่องจาก​อินเทอร์เน็ต​ ช่วย​ให้การ​สื่อสาร​ระหว่าง​กัน​เป็น​เรื่อง​ที่​ง่าย​ขึ้น การ​ติดต่อ​กับ​ผู้คน​ใน​อีก​ซีก​โลก​เป็นไ​ ป​อย่าง​ง่ายดาย สะดวก และ​รวดเร็ว สามารถ​พูด​คุย ประชุม ส่ง​ไปรษณีย์ ผ่าน​ทาง​โลก​เวิลด์​ไวด์​เว็บ (World Wide Web – WWW) ที่ม​ ีข​ ้อมูลต​ ่างๆ มากมาย และ​ประเด็นท​ ี่ส​ ำ�คัญค​ ือ ค่าใ​ ช้จ​ ่าย​ใน​การ​ใช้อ​ ินเทอร์เน็ตม​ ีร​ าคา​ถูกม​ าก​เมื่อเ​ทียบ​กับ​ คุณภาพ​และ​ศักยภาพ​ที่​ได้​รับ 3.3 แวพ (Wireless Application Protocol - WAP) เป็น​เทคโนโลยี​ทาง​ด้าน​ภาษา​ที่​ใช้​ใน​เขียน​ โปรแกรม​เพื่อ​นำ�​เสนอ​ข้อมูล​ผ่าน​ทาง​เว็บไซต์ ซึ่ง​ใช้​งาน​ผ่าน​ทาง​โทรศัพท์​เคลื่อนที่ เนื่องจาก​การ​เปลี่ยน​ อุปกรณ์ร​ ับป​ ลาย​ทาง​จาก​คอมพิวเตอร์ซ​ ึ่งใ​ ช้ภ​ าษา​เอช​ทีเ​อ็มแ​ อล (Hypertext Markup Language - HTML) ใน​การ​เขียน​เว็บไซต์​ซึ่ง​มี​ขนาด​ใหญ่​ มา​เป็น​อุปกรณ์​มือ​ถือซึ่ง​มี​ขนาด​เล็ก​กว่า​มาก จึง​มี​การ​พัฒนา​โปรแกรม​ ให้​สอดคล้อง​กับ​อุปกรณ์ ภาษา​ที่​ใช้ ได้แก่ แวพ​เป็น​ภาษา​ที่​ใช้​ใน​การ​เขียน​โปรแกรม​ผ่าน​ทาง​มือ​ถือ​โดย​ เฉพาะ ดังจ​ ะ​เห็นไ​ ด้​จาก​การ​ชำ�ระ​ค่า​สินค้า​หรือบ​ ริการ​ผ่าน​ทาง​โทรศัพท์​มือ​ถือ เช่น การ​เรียก​ดู​ข้อมูล​ข่าว​สาร​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-52

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

แบบ​เรีย​ ล​ไทม์ การ​โอน​เงิน หรือจ​ อง​ตัว๋ ภ​ าพยนตร์ เป็นต้น ปัจจุบนั จ​ �ำ นวน​ผใู​้ ช้โ​ ทรศัพท์ม​ อื ถ​ อื ม​ จ​ี �ำ นวน​มากกว่า​ ผู้​ใช้เ​ครื่อง​คอมพิวเตอร์ และ​การ​ใช้ง​ าน​ของ​โทรศัพท์​มือ​ถือ​ก็​สะดวก​กว่า ดัง​นั้น ศักยภาพ​ของ​ตลาด​มือ​ถือ​จะ​ ยัง​คง​เติบโต​ต่อ​ไป​อย่าง​รวดเร็ว รูป​แบบ​การ​ใช้​งาน​ของ​โมบาย​คอม​เมิร์ซ มี​หลาย​ลักษณะ ดังนี้ 1) การ​ซื้อ​ขาย​หุ้น​แบบ​ออนไลน์ (online stock trading) ที่​ดำ�เนิน​การ​ซื้อ​ขาย​กัน​ทั่ว​โลก​อย่าง​ ไอ​โหมด (I-MODE) ใน​ญี่ปุ่น และ​ดำ�เนิน​การ​ธุรกรรม (e-Trade) กับ​ประเทศ​ต่างๆ ส่วน​แด็ก​เก​อร์​อิน​ ดัสทรี (Daggers Industry) ของ​สวีเดน ได้​ให้ล​ ูกค้าซ​ ื้อข​ าย​หุ้นใ​ น​ตลาด​สต๊อก​โฮล์มเ​อ็กซ์เ​ชน​จ์ (Stockholm Exchange) และ​รับ​ข้อมูล​ทางการ​เงิน​ด้วย​พี​ดี​เอ (PDA - Personal Digital Assistant) ทำ�ให้​สามารถ ​ซื้อ​ขาย​หุ้น​จาก​ที่ต​ ่างๆ ได้ 2) ธนาคาร​ออนไลน์ (online banking) หรือ​ธนาคาร​มือ​ถือ/เคลื่อนที่ (mobile banking) ได้​ มี​การ​ขยาย​ตัวอย่าง​รวดเร็ว เช่น ธนาคาร​ซิตี้​แบงก์​ได้​มี​บริการ​ธนาคาร​เคลื่อนที่​ใน​สิงคโปร์ ฮ่องกง และ​อีก​ หลาย​ประเทศ 3) การ​ช�ำ ระ​เงินจ​ �ำ นวน​นอ้ ย (micropayment) สำ�หรับผ​ ูบ้​ ริโภค​ใน​ญี่ปุ่นไ​ ด้ใ​ ช้โ​ ทรศัพท์ม​ ือถ​ ือใ​ ช้​ จ่าย​ผ่าน​เครื่อง​ขาย​สินค้า​แบบ​หยอด​เหรียญ (vending machine) ส่วน​ลูกค้า​ใน​กลุ่ม​ประ​เทศ​สแกน​ดิเนเวีย สามารถ​จ่าย​ค่า​จอด​รถ ค่า​ล้าง​รถ น้ำ�มัน​รถ และ​การ​จ่าย​ค่า​เครื่อง​ดื่ม​จาก​เครื่อง​ขาย​สินค้า​แบบ​หยอด​เหรียญ​ ใน​ประเทศ​เยอรมนี​ลูกค้าส​ ามารถ​จ่าย​ค่า​โดยสาร​และ​ค่า​แท็กซี่​ผ่าน​โทรศัพท์​มือ​ถือ 4) การ​พนันท​ าง​ออนไลน์ (online gambling) สำ�หรับใ​ น​ฮ่องกง ได้ม​ กี​ าร​ใช้ม​ ือถ​ ือเ​พื่อก​ าร​พนัน​ แข่ง​ม้า 5) การ​สง่ั ซ​ อ้ื แ​ ละ​บริการ (ordering and service) บริษทั บาร์น​ ส​แอนด์โ​ น​เบิล (Barnes & Noble) ให้​บริการ​ลูกค้าส​ ำ�หรับ​การ​ดาวน์โหลด​เพลง​ผ่าน​โทรศัพท์​มือ​ถือ​และ​พี​ดี​เอ 6) การ​ประมูลท​ าง​ออนไลน์ (online auctions) อย่าง​เช่น เว็บไซต์ QWL.com ประเทศ​อังกฤษ ได้​ให้​ลูกค้า​เปิด​ผ่าน​เว็บไซต์ และ​เปิด​ประมูล​โดย​ผ่าน​มือ​ถือ รวม​ทั้ง e-Bay ก็ได้​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​การ​ประมูล​ทาง​ ออนไลน์ผ​ ่าน​มือ​ถือ​เช่น​กัน 7) ระบบ​ข้อความ (messaging system) การ​ส่ง​อีเมล​ผ่าน​ทาง​มือ​ถือ ที่​เรียก​ว่า ข้อความ​สั้น หรือ​เอส​เอ็มเ​อส (Short Messaging Service - SMS) ใน​เดือน​สิงหาคม​ปี ค.ศ. 2000 ได้​มี​การ​ส่ง​และ​รับ​ ข้อความ​ทั่ว​โลก​ประมาณ​หนึ่ง​หมื่น​ล้าน​ข้อความ และ​เพิ่ม​ขึ้น​เป็น​เท่าต​ ัว​ใน​ต้น​ปี ค.ศ. 2001 8) การ​ประยุกต์​ใช้​งาน​ทา​งบี​ทูบี (B2B applications) ด้วย​การนำ�​โมบาย​คอม​เมิร์ซ​เก็บ​และ​ ประเมิน​ผล​ข้อมูล​เพื่อ​ใช้​สำ�หรับ​ตัดสิน​ใจ โดย​พนักงาน​ที่​ทำ�งาน​ใน​พื้นที่​ห่าง​ไกล (remote employees) สามารถ​ดำ�เนิน​ธุรกรรม​ได้ เช่น การ​ตรวจ​สอบ​ระดับ​สินค้า​คงคลัง หรือ​ดำ�เนิน​การ​สั่ง​ซื้อ​ขณะ​ที่​กำ�ลัง​ปฏิบัติ​ งาน​ใน​ภาค​สนาม 9) การ​ท�​ำ ธรุ กรรม​ผา่ น​อเิ ล็กทรอนิกส์​ผา่ น​โทรศัพท์​มอื ถ​ อื ส่วน​มาก​เป็นการ​ซื้อ​ขาย​สินค้า การ​ ชำ�ระ​คา่ บ​ ริการ หรือว​ า่ การ​ท�​ำ ธรุ กรรม​ผา่ น​ธนาคาร ธุรกิจข​ า่ วสาร​ทรี​่ ายงาน​ขา่ ว​ทาง​โทรศัพท์ม​ อื ถ​ อื ธุรกิจบ​ นั เทิง การ​จอง​ตั๋วห​ นัง การ​โหวต​คะแนน​ให้ก​ ับศ​ ิลปินท​ ีช่​ ื่นช​ อบ ธุรกิจท​ ่อง​เที่ยว​และ​โรงแรม การ​จอง​ตั๋วท​ ี่พักโ​ รงแรม​ และ​รี​สอร์ต การ​ดูข​ ้อมูล​ท่อง​เที่ยว​ระหว่าง​เดิน​ทาง หรือ​การ​ค้น​หา​ร้าน​อาหาร​อร่อย​ใน​ที่​ต่างๆ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-53

ธ ส

ธุรกิจ​ที่​ได้ก​ ล่าว​มา​นั้น​น่า​จะ​เป็น​ประโยชน์​จาก​การ​ทำ�​โมบาย​คอม​เมิร์​ซมาก​ที่สุด ตัวอย่าง การ​ใช้ท​ ูด​ ีบ​ าร์โ​ ค้ดโ​ ฆษณา​ตาม​สื่อต​ ่างๆ ที่ม​ ีก​ าร​ทำ�​โค้ดส​ ีด​ ำ�​สีข​ าว​แบบ​ที่เ​ป็นช​ ่อง​สี่เหลี่ยม​มา​ อยู่​ใน​โฆษณา​นั้นด​ ้วย ซึ่งโ​ ค้ด​เหล่า​นั้น​เรียก​ว่า ทู​ดีบ​ าร์​โค้ด (2D bar code) (ภาพ​ที่ 3.8) หรือ​ที่​เรียก​ว่า คิว​อาร์​ โค้ด (QR code) โดย​รวม​เรียก​ว่า ป้าย​สำ�หรับ​โทรศัพท์​มือ​ถือ หรือ​โม​บาย​แท็ก (mobile tag) (ภาพ​ที่ 3.9)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 3.8 ตัวอย่าง​ทู​ดี​บาร์โ​ ค้ด

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 3.9 ตัวอย่าง​โม​บาย​แท็ก

ธ ส

ม ม

ธ ส


3-54

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

วิธกี​ าร​โดย​นำ�​เอา​โทรศัพท์ม​ ือถ​ ือไ​ ป​สแกน​โค้ดน​ ีจ้​ ะ​ได้ร​ ับข​ ้อมูลใ​ น​เชิงล​ ึกม​ าก​ขึ้นก​ ว่าท​ ีไ่​ ด้ร​ ับข​ ้อมูลจ​ าก​ ป้าย​โฆษณา​ธรรมดา เช่น โปร​โม​ชั่น หรือ​ราย​ละเอียด​ข้อมูล​ผลิตภัณฑ์​ที่​มาก​ขึ้น เป็นต้น ซึ่ง​การ​ใช้​งาน​คิว​อาร์​ โค้ดเ​หล่าน​ เี​้ ป็นส​ ิง่ ห​ นึง่ ท​ ใี​่ ช้เ​ชือ่ ม​โลก​ออนไลน์แ​ ละ​ออฟ​ไลน์เ​ข้าด​ ว้ ย​กนั โ​ ดย​ใช้โ​ ทรศัพท์ม​ อื ถ​ อื เ​ป็นต​ วั กลาง​ทัง้ ส​ ิน้ การ​วิวัฒนาการ​ของ​ป้าย​สำ�หรับ​โทรศัพท์​มือ​ถือ​เหล่า​นี้​มี​มา​ตั้งแต่​บาร์​โค้ด​ธรรมดา​เห็น​กัน​ตาม​ป้าย​ ราคา​ผลิตภัณฑ์​ใน​ซูเ​ปอร์ม​ าร์เก็ต จน​มา​ถึงย​ ุคน​ ี้จ​ ะ​เห็นค​ ิวอ​ าร์โ​ ค้ดก​ ันม​ าก​ยิ่งข​ ึ้น นอกจาก​นี้ ยังม​ ีบ​ าร์โ​ ค้ดแ​ บบ​ อื่นอ​ ีก เช่น ไมโคร​ซอฟต์แท็ก (Microsoft tag) ด้วย​เช่นก​ ัน ซึ่งโ​ ค้ดท​ ั้งส​ าม​แบบ​ที่ก​ ล่าว​มา​ก็ท​ ำ�​หน้าที่เ​ชื่อม​โลก​ ออนไลน์ใ​ ห้เ​ข้า​กับ​ออฟ​ไลน์​ได้​ทั้งหมด การนำ�​โม​บาย​แท็ก​เหล่า​น​ม้ี า​คดิ ใ​ น​เชิง​การ​ตลาด​จะ​ชว่ ย​ให้​กบั ​สนิ ค้า​และ​แบรนด์​ตา่ งๆ โดย​มวี ตั ถุประสงค์​ หลัก 4 ข้อ ดังนี้ 1) เพื่อ​สร้าง​การ​รับ​รู้​ของ​แบรนด์ โม​บาย​แท็ก​สามารถ​ใช้​เพื่อ​ดึง​ความ​สนใจ​ของ​ผู้​บริโภค ซึ่ง​ นักการ​ตลาด​สามารถ​ใช้โ​ ม​บาย​แท็กเ​พื่อส​ ร้าง​การ​รับร​ ู้ข​ อง​แบรนด์ สร้าง​ความ​เข้าใจ​ใน​แบรนด์ หรือแ​ ม้ก​ ระทั่ง​ ให้ผ​ ู้​บริโภค​มี​ประสบการณ์​กับแ​ บรนด์​แม้ว่าจ​ ะ​อยู่น​ อก​สถาน​ที่ เช่น การ​สแกน​โค้ด​เพื่อ​รับข​ อง​รางวัล​ทันที ใน​ การ​รับ​แจก​ตัวอย่าง​สินค้า หรือ​การ​แจก​บัตร​เข้า​คอนเสิร์ต เมื่อ​เอา​โทรศัพท์​มือ​ถือ​ไป​สแกน​คิว​อาร์​โค้ด​จาก​ โฆษณา​ใน​หนังสือพิมพ์ เป็นต้น อีก​รูป​แบบ​หนึ่ง​คือ การ​เปลี่ยน​โทรศัพท์​มือ​ถือ​เป็นอ​ ุปกรณ์​การ​เล่น​เกม เช่น นำ�​คิวอ​ าร์โ​ ค้ดไ​ ป​ติดไ​ ว้ต​ าม​สถาน​ที่ต​ ่างๆ เพื่อใ​ ห้ผ​ ู้ร​ ่วม​กิจกรรม​เล่นเ​ป็นว​ อล์กแ​ รลลีห่​ า​คำ�​ตอบ​ต่างๆ ที่ซ​ ่อน​อยู​่ ใน​คิวอ​ าร์​โค้ด ซึ่ง​จะ​เห็น​ได้​ต้อง​ใช้​โทรศัพท์​มือ​ถือส​ แกน​ดู​เท่านั้น 2) เพื่อ​ให้​ข้อมูล​มาก​ขึ้น​ประกอบ​การ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​ โม​บาย​แท็ก​สามารถ​ให้​ข้อมูล​สินค้า​หรือ​ ผลิตภัณฑ์​ที่​มาก​ขึ้น​เพื่อ​ช่วย​ประกอบ​การ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​ได้ เช่น มี​สินค้า​อยู่​ชิ้น​หนึ่ง แล้ว​มี​ป้าย​คิว​อาร์​โค้ด​ติด​ อยู่ เมื่อ​สแกน​โค้ด​แล้ว​จะ​ให้​ข้อมูล​การ​รีวิว​สิน​ค้า​นั้นๆ โดย​ผู้​บริโภค​ส่วน​ใหญ่​ที่​จะ​ซื้อ​สินค้า​ที่​มี​ราคา​สูง​มัก​ จะ​หา​ข้อมูลป​ ระกอบ​การ​ตัดสินใ​ จ​ค่อน​ข้าง​มาก หาก​สินค้าห​ รือผ​ ลิตภัณฑ์ใ​ ช้จ​ ุดน​ ี้​มา​เล่น ณ จุดข​ าย หรือท​ ี่​ตัว​ สินค้าเ​ลย ย่อม​มี​โอกาส​ที่​จะ​โน้ม​น้าว​จิตใจ​ให้​ตัดสินใ​ จ​ซื้อ​สินค้าไ​ ด้​ง่าย​ขึ้น หรือใ​ ช้​เพื่อ​ให้​ตัวอย่าง​สินค้า เช่น หนังสือ​ที่​ถูก​ห่อ​พลาสติก​ไว้​ไม่​ให้​แกะ​อ่าน หาก​มี​โม​บาย​แท็ก​ให้​สแกน​เพื่อ​อ่าน​ตัวอย่าง​ก็​จะ​ทำ�ให้​มี​ข้อมูล​ใน​ การ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​ได้ 3) เพื่อ​ก่อ​ให้​เกิด​การ​ซื้อ ร้าน​กาแฟ​บาง​แห่ง​เกิด​แนวคิด​เนื่องจาก​เวลา​ลูกค้า​มา​ที่​ร้าน​จะ​ต้อง​ ต่อ​แถว​ยาว​เพื่อ​สั่ง​กาแฟ ก็​เลย​ออก​แนวคิด​ใหม่ใ​ ห้​ผู้​ซื้อ​คน​อื่นๆ ที่​ไม่​อยาก​ต่อ​แถว​สามารถ​ใช้โ​ ทรศัพท์​มือ​ถือ​ สแกน​โม​บาย​แท็ก​เพื่อ​สั่ง​กาแฟ​ที่​ต้องการ​ได้​เลย​โดย​ไม่​ต้อง​ต่อ​แถว การ​อำ�นวย​ความ​สะดวก​เล็ก​น้อย​เหล่า​นี้​ ก่อใ​ ห้เ​กิดก​ าร​ซื้อข​ าย​ได้ เช่น ห้าง​โลตัส หาก​แถว​ของ​การ​ชำ�ระ​เงินย​ าว​เกินก​ ว่าเ​ส้นเ​ขียว ทาง​ห้าง​จะ​เปิดบ​ ริการ​ ช่อง​ชำ�ระ​เงินเ​พิ่มท​ ันที

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-55

ธ ส

4) เพื่อ​บริการ​หลัง​จาก​การ​ซื้อ​สินค้า โม​บาย​แท็ก​สามารถ​ช่วย​สร้าง​ความ​พึง​พอใจ​ใน​การ​ซื้อ​ สินค้าไ​ ด้เ​ช่นก​ ัน โดย​การ​ให้บ​ ริการ​เพิ่มเ​ติมห​ ลังก​ าร​ขาย ตัวอย่าง​ง่ายๆ ก็ค​ ือ การ​ให้ข​ ้อมูลว​ ิธกี​ าร​ใช้ผ​ ลิตภัณฑ์​ เช่น​ วิธี​การ​ประกอบ​เฟอร์นิเจอร์แ​ บบ​ประกอบ​เอง​ที่​ซื้อ​ไป โดย​สามารถ​นำ�​เสนอ​วิธี​ใช้​เป็น​วิดีโอ​ให้​ดู​ง่ายดาย ​ยิ่ง​ขึ้น หรือ​สูตร​การ​ปรุง​อาหาร หาก​สินค้า​ที่​ซื้อ​ไป​เป็น​สินค้า​ที่​สามารถ​ไป​ปรุง​เพิ่ม​เติม​ได้ เป็นต้น หรือ​ แม้​กระทั่ง​ให้​ผู้​ที่​ซื้อ​สินค้า​ไป​แล้ว สามารถ​สแกน​โม​บาย​แท็ก​ที่​ติด​อยู่​บน​ตัว​ผลิตภัณฑ์ เพื่อ​ทำ�การ​เขียน​ รีวิว​สินค้า​ได้​เลย​ใน​ทันที ทั้งนี้ โอกาส​ใน​การ​ทำ�การ​ตลาด​โดย​การ​ใช้โ​ ม​บาย​แท็กย​ ังม​ ีอ​ ยู่ม​ ากมาย เพียง​แค่น​ ักการ​ตลาด​ต้องหา​ แนว​คิดใ​ หม่ๆ ว่าส​ ินค้าห​ รือผ​ ลิตภัณฑ์ข​ อง​ท่าน​สามารถ​นำ�​โม​บาย​แท็กไ​ ป​ร่วม​ใช้ต​ รง​จุดไ​ หน​ได้บ​ ้าง และ​ดวู​ ่าส​ ิ่ง​ ไหน​ใน​สี่​หัวข้อต​ ัวอย่าง​ข้าง​ต้น​จะ​ก่อใ​ ห้​เกิด​ประโยชน์​ทาง​ธุรกิจ​ของ​บริษัท​หรือ​องค์กร​ได้​มาก​ที่สุด

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 3.2.3 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 3.2.3 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 3 ตอน​ที่ 3.2 เรื่อง​ที่ 3.2.3

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส


3-56

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ตอน​ที่ 3.3

ธ ส

แนวทาง​การ​พัฒนาการ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

โปรด​อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ�​ตอน​ที่ 3.3 แล้วจ​ ึง​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ พร้อม​ปฏิบัติ​กิจกรรม​ใน​แต่ละ​เรื่อง

หัว​เรื่อง

แนวคิด

ธ ส

เรื่อง​ที่ 3.3.1 การ​วางแผน​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง​ที่ 3.3.2 กลยุทธ์​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง​ที่ 3.3.3 กลวิธี​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ธ ส

1. การ​ทำ�การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​จำ�เป็น​ต้อง​มี​การ​วางแผน อาจ​จะ​เป็นการ​วางแผน​ทำ�​ วิจัย​ตลาด หรือ​ทำ�การ​สื่อสาร​ทางการ​ตลาด​ใน​รูป​แบบ​ต่างๆ ซึ่ง​ก็​ขึ้น​อยู่​กับ​กลยุทธ์​หรือ​ วัตถุประสงค์ข​ อง​การ​ทำ�​ธุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์ โดย​ภาพ​รวม​เนื่องจาก​แผน​งาน​ทำ�การ​ตลาด​ อิเล็กทรอนิกส์ 2. กลยุทธ์ก​ าร​ตลาด​อเิ ล็กทรอนิกส์น​ ัน้ ม​ ข​ี ัน้ ต​ อน​ตัง้ แต่ก​ าร​วเิ คราะห์ส​ ถานการณ์ภ​ ายใน​องค์กร ภายนอก​องค์กร การ​ประเมิน​โอกาส​และ​อุปสรรค กลวิธี การ​ดำ�เนิน​งาน ​และ​การ​ควบคุม 3. กลวิธี​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​นั้น​ยัง​ต้อง​อาศัย​ส่วน​ประสม​ทางการ​ตลาด​โดย​รวม​ของ​ กิจการ ซึ่ง​อาจ​เรียก​ว่า​ส่วน​ประสม​การ​ส่ง​เสริม​การ​ตลาด ประกอบ​ด้วย การ​โฆษณา การ​ขาย​โดย​บคุ คล การ​สง่ เ​สริมก​ าร​ขาย การ​ประชาสัมพันธ์ และ​การ​ตลาด​ทางตรง ทีก​่ จิ การ​ ใช้​ประสม​ประสาน​กัน​อย่าง​เฉพาะ​เจาะจง​เพื่อ​ให้​บรรลุ​วัตถุประสงค์​ทางการ​โฆษณา​และ​ การ​ตลาด ซึ่งก​ าร​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​เป็น​เสมือน​แหล่ง​สำ�หรับ​ผู้​ซื้อ​ที่​ซึ่ง​ผู้​ขาย​สามารถ​นำ�​ เสนอ​ผลิตภัณฑ์​ต่างๆ ได้​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​โดย​ผู้​ซื้อ​สามารถ​ค้นหา​สารสนเทศ​ก่อน​การ​ ตัดสิน​ใจ​ซื้อ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

วัตถุประสงค์

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-57

ธ ส

เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 3.3 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. อธิบาย​ว่า​อินเทอร์เน็ต​สามารถ​ช่วย​ให้​กระบวนการ​ต่างๆ ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ ประสบ​ความ​สำ�เร็จ​ได้ 2. อธิบาย​ความ​แตก​ต่าง​ระหว่าง​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ และ​พาณิชย์​ อิเล็กทรอนิกส์​ได้ 3. อธิบาย​ถึง​วิธี​การ​เลือก​ใช้​ตราสิน​ค้า​บน​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ได้ 4. อธิบาย​แนวคิดข​ อง​การ​ทำ�​แผนการ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ส​ ำ�หรับบ​ ริษัทท​ ีท่​ ำ�​ธุรกรรม​ระหว่าง​ บริษัท​กับบ​ ริษัท​หรือ​บี​ทูบี​ด้วย​กัน​ได้ 5. อธิบาย​ถึง​กรอบ​แนวคิด​ใน​การ​ใช้​เพื่อ​วางแผน​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ได้ 6. เปรียบ​เทียบ​รูป​แบบ​การ​ประเมินค​ ุณค่า​ของ​ตราสิน​ค้า​แบบ​ดั้งเดิม​และ​การ​ประเมิน​มูลค่า​ ของ​ตราสิน​ค้า​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ได้ 7. อธิบาย​ถึงว​ ิธี​การ​พิจารณา​ใน​การ​ตั้ง​ราคา​ขาย​สินค้า​บน​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ได้ 8. วิเคราะห์ว​ ่าถ​ ้าจ​ ะ​พิจารณา​ถึงบ​ ุคคล​ใน​ส่วน​ประสม​การ​ตลาด​ทีห่​ มาย​ถึงใ​ น​สภาวะ​การ​ตลาด​ อิเล็กทรอนิกส์ ควร​จะ​เป็นการ​พิจารณา​ใน​แง่​ที่​ว่า​บุคคล​สามารถ​ถูก​แทนที่​ด้วย​ช่อง​ทาง​ ออนไลน์​ได้ 9. เขียน​แผนการ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ส​ ำ�หรับบ​ ริษัทท​ ีท่​ ำ�​ธุรกรรม​ระหว่าง​ธุรกิจแ​ ละ​ธุรกิจด​ ้วย​ กันไ​ ด้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-58

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

เรื่องที่ 3.3.1 การ​วางแผน​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

การ​วางแผน​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ (ภาพ​ที่ 3.10) มี​ขั้น​ตอน ดังนี้ 1. กลยุทธ์ท​ าง​ธุรกิจ​กลยุทธ์ (corporate หรือ business strategy) หมาย​ถึง แผนการ​ของ​แนวทาง​ ที่ถ​ ูกก​ ำ�หนด​โดย​ผู้บ​ ริหาร เพื่อก​ ำ�หนด​แนวทาง​การ​ดำ�เนินง​ าน​ของ​องค์กร​ให้บ​ รรลุเ​ป้าห​ มาย องค์กร​แต่ละ​แห่ง​ มีเ​ป้าห​ มาย​ที่ต​ ่าง​กัน​ไป เช่น เป้า​หมาย​ของ​องค์กร​ธุรกิจ​คือ ผล​ประกอบ​การ​ทาง​ธุรกิจ เช่น ผล​กำ�ไร ส่วน​แบ่ง​ ตลาด เป็นต้น 2. กลยุทธ์​ทาง​ระบบ​สารสนเทศ หรือ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ (Information System (IS) /Information Technology (IT) strategy) คือ การ​ได้​มา​ซึ่ง​แผน​งาน​ใน​การ​จัดการ​ทรัพยากร​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ ที่​มี​ประสิทธิภาพ เป็น​แผนที่​กำ�หนด​ทิศทาง​การ​ใช้​เทคโนโลยี​สารสนเทศ เพื่อ​สนับสนุน​กลยุทธ์​องค์กร เพื่อ​ ทำ�ให้​องค์กร​สามารถ​สร้าง​ความ​ได้​เปรียบ​เหนือ​คู่แ​ ข่ง แต่​ใน​กระบวนการ​พัฒนา​แผน​งาน​กลยุทธ์​นี้​มี​ประเด็น​ สำ�คัญ​ที่​กระบวนการ​วางแผน​กลยุทธ์ (strategic planning) 3. กลยุทธ์ก​ าร​ตลาด (marketing strategy) หมาย​ถึง การ​สร้าง​และ​การ​กำ�หนด​รูป​แบบ​ของ​เทคนิค​ ต่างๆ ที่​จะ​นำ�​มา​ใช้​ใน​การ​พัฒนา​ด้าน​ราคา (Price) ที่​ตั้ง (Place) การ​ส่ง​เสริม​การ​ขาย (Promotion) และ​ ผลิตภัณฑ์ (Product) ทั้งนี้ เพื่อ​ทำ�ให้​ผล​การ​ดำ�เนิน​งาน​ของ​องค์การ​ธุรกิจ​มี​การ​เจริญ​เติบโต​ทาง​เศรษฐกิจ​ อย่าง​ชัดเจน​ตาม​เป้า​หมาย​ที่อ​ งค์การ​ธุรกิจไ​ ด้​กำ�หนด​ไว้ 4. การ​วางแผน​การ​สร้าง​ความ​แตก​ต่าง (differentiation planning strategy) คือ ความ​ได้​เปรียบ​ ใน​การ​แข่งขัน (competitive advantage) หมาย​ถึง ความ​สามารถ​ของ​องค์กร​ใน​การ​แข่งขัน​ที่​มี​พันธมิตร​ ทาง​ธุรกิจ โดย​ความ​ได้​เปรียบ​นี้​เป็น​ผล​ใน​เชิง​ธุรกิจ​ทำ�ให้​องค์กร​สามารถ​สร้าง​ผล​ประกอบ​การ​ที่​ดี​ขึ้น ตัว​ชี้​ วัด​ของ​ความ​ได้​เปรียบ​ใน​การ​แข่งขัน เช่น ราย​ได้ที่​ดี​เหนือ​คู่​แข่ง ผล​กำ�ไร​ที่มา​กก​ว่า​คู่​แข่ง หรือ​จำ�นวน​ลูกค้า​ที่ มา​กก​ว่า​คู่​แข่ง เป็นต้น องค์กร​สามารถ​สร้าง​กลยุทธ์ไ​ ด้​หลาย​รูป​แบบ เพื่อ​นำ�​ไป​สู่​ความ​ได้​เปรียบ​ใน​การ​แข่งขัน เช่น ความ​ สามารถ​ใน​การ​ผลิต​สินค้า​หรือ​การ​ให้​บริการ​ที่​มี​คุณภาพ​สูง​กว่า​แข่ง ความ​สามารถ​ใน​การ​ให้​บริการ​แก่​ลูกค้า ทำ�ให้​ลูกค้า​ได้​รับ​ความ​พึง​พอใจ​ได้​เหนือ​คู่​แข่ง ความ​สามารถ​ใน​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ด้วย​ต้นทุน​ที่​ต่ำ�​กว่า​คู่​แข่ง ทำ�ให้​สามารถ​ขาย​สินค้า​หรือใ​ ห้​บริการ​ได้​ใน​ราคา​ที่ถ​ ูก​กว่า​ราคา​คู่​แข่ง ไม่​ว่า​องค์กร​เลือก​กลยุทธ์​ใด​ใน​การ​แข่งขัน เป้าห​ มาย​คือ การ​สร้าง​ความ​ได้​เปรียบ​ใน​การ​แข่งขัน​ทาง​ ธุรกิจ ซึ่งส​ ามารถ​วัดไ​ ด้จ​ าก​การ​ที่ล​ ูกค้าต​ ัดสินใ​ จ​เลือก​ลูกค้าด​ ้วย​คุณค่า (value) สินค้าท​ ี่เ​หนือก​ ว่าส​ ินค้าอ​ ื่นใ​ น​ ท้อง​ตลาด คุณค่า​ใน​ที่น​ ี้​อาจ​เป็น​ราคา​ที่ต​ ่ำ�​กว่า​สินค้า​อื่น การ​ให้​บริการ​ที่​ดี​เหนือ​กว่า​ราย​อื่น หรือ​คุณภาพ​ของ​ สินค้า​ที่เ​หนือ​กว่า​สินค้า​คู่​แข่ง

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

3-59

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

5. การ​วางแผน​การ​สื่อสาร​การ​ตลาด (marketing communications plan) อาจ​ถือ​ได้​ว่า​เป็น ก​ระ​บวน​การ​จัดการ​อย่าง​หนึ่ง​ที่​จะ​ช่วย​ให้การ​ทำ�​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ขยาย​ตัว​มาก​ขึ้น ใน​ลักษณะ​ที่​องค์กร​ ทำ�การ​สนทนา​กับผ​ ู้รับส​ าร​ที่ห​ ลาก​หลาย โดย​การ​สนทนา​นั้นเ​กี่ยวข้อง​กับก​ าร​สร้าง​ข่าวสาร การ​ส่งส​ าร และ​การ​ แปลง​สาร​ไป​มาระ​หว่าง​กลุ่มผ​ ู้ม​ ีส​ ่วน​ได้ส​ ่วน​เสียต​ าม​ทีก่​ ำ�หนด​ไว้ โดย​มีว​ ัตถุประสงค์เ​พื่อก​ ำ�หนด​ตำ�แหน่ง หรือ​ ปรับเ​ปลี่ยน​ตำ�แหน่งข​ อง​องค์กร หรือน​ ำ�​สิ่งท​ ี่อ​ งค์กร​นำ�​เสนอ​เข้าส​ ูค่​ วาม​คิดแ​ ละ​จิตใจ​ของ​สมาชิกใ​ น​กลุ่มข​ อง​ผู​้ มีส​ ่วน​ได้​ส่วน​เสีย ซึ่งถ​ ้า​เป็น​ใน​บริบท​นี้​จริยธรรม​และ​ความ​ซื่อสัตย์​ถือว่า​เป็น​สิ่ง​สำ�คัญ​สูงสุด การ​สนทนา​เป็น​ เรื่อง​จิต​วิญญาณ​ของ​การ​สื่อสาร สะท้อน​ถึง​ความ​พร้อม​ที่​จะ​รับ​ฟัง​และ​เปลี่ยนแปลง เพื่อ​ผล​ประโยชน์​ร่วม​ กันข​ อง​คน​หมู่ม​ าก

ธ ส

ธ ส

E-business strategy

6

ธ ส

ธ ส

Corporate (business) strategy 1 Marketing strategy

3

Plans for different Markets or brands

4

ธ ส

ธ ส

Marketing Communications plan 5

E-marketing plan

IS/IT strategy

ภาพ​ที่ 3.10 การ​วางแผน​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ (อ้างอิง Dave Chaffey 2007)

2

ธ ส

การ​วางแผน​การ​ตลาด​อเิ ล็กทรอนิกส์ (e-Marketing planning) เป็นการ​ท�ำ การ​ตลาด​อเิ ล็กทรอนิกส์​ ที่จ​ ำ�เป็นต​ ้อง​มี การ​วางแผน​ทำ�​วิจัยต​ ลาด​หรือก​ าร​สื่อสาร​ทางการ​ตลาด​ใน​รูป​แบบ​ต่างๆ ซึ่ง​ขึ้น​อยู่​กับ​กลยุทธ์​ หรือ​วัตถุประสงค์​ของ​การ​ทำ�​ธุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์ (e-Business strategy) (หมายเลข 6 ใน​ภาพ​ที่ 3.10) โดย​ ภาพ​รวม เนือ่ งจาก​แผน​งานการ​ตลาด​อเิ ล็กทรอนิกส์ ดังน​ นั้ อาจ​จะ​มก​ี าร​คาบ​เกีย่ ว​กนั ก​ บั พ​ าณิชย์อ​ เ​ิ ล็กท​ ร​กนิกส์ และ​อีก​ส่วน​หนึ่ง​อาจ​จะ​มี​ส่วน​ประกอบ​เหมือน​กัน​หรือ​ใกล้​เคียง​กัน​ใน​แต่ละ​แนวทาง​ได้ มี​อยู่ 6 องค์​ประกอบ (ภาพ​ที่ 3.11) คือ

ธ ส


3-60

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

- การ​วิเคราะห์​สภาวะ​แวดล้อม - การ​กำ�หนด​วัตถุประสงค์ - การ​วิเคราะห์​เชิงกล​ยุทธ์ - กลวิธี - การ​ดำ�เนิน​งาน - การ​ควบคุม

ธ ส

Control

ธ ส

Actions

ธ ส

ธ ส

Situation analysis

ธ ส

Strategy

Tactics

ธ ส

Objectives

ภาพ​ที่ 3.11 กรอบ​แนวคิดว​ างแผน​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ (อ้างอิง Dave Chaffey 2007)

ธ ส

ธ ส

ใน​เรื่อง​ท่ี 3.3.1 นี้​จะ​กล่าว​ถึง​องค์​ประกอบ​ท่ี 1 การ​วิเคราะห์​สภาวะ​แวดล้อม สำ�หรับ​องค์​ประกอบ ที่ 2 การ​กำ�หนด​วัตถุประสงค์และองค์​ประกอบ​ที่ 3 การ​วิเคราะห์​เชิงกล​ยุทธ์ จะ​กล่าว​ถึง​ใน​เรื่อง​ที่ 3.3.2 องค์​ประกอบ​ที่ 4 กลวิธี จะ​กล่าว​ถึงใ​ น​เรื่อง​ที่ 3.3.3 ส่วน​องค์​ประกอบ​ที่ 5 การ​ดำ�เนิน​การ และ​องค์​ประกอบ​ ที่ 6 การ​ควบคุม จะ​กล่าว​ถึงใ​ น​ตอน​ท้าย​ของ​เรื่อง​ที่ 3.3.3 มี​ราย​ละเอียด​ดัง​ต่อ​ไป​นี้ องค์​ประกอบ​ที่ 1 การ​วิเคราะห์​สภาวะ​แวดล้อม (situation analysis) เป็น​ขั้น​ตอน​ที่​ควร​จะ​กระทำ�​ เมื่อ​มีก​ าร​พัฒนา​กลยุทธ์ท​ างการ​ตลาด (marketing strategy) ไป​จนถึง​การ​ดำ�เนิน​การ​ตาม​กลยุทธ์​ทางการ​ ตลาด ดังภ​ าพ​ที่ 3.11 ขั้น​ตอน​นี้​จึงเ​ป็นการ​วิเคราะห์​ถึง​องค์​ประกอบ​และ​สถานการณ์​ที่​สำ�คัญ​ใน​ปัจจุบันข​ อง​ สินค้า​หรือบ​ ริการ จุด​ประสงค์​ของ​การ​วิเคราะห์​สถานการณ์ค​ ือ เพื่อ​ทำ�ความ​เข้า​ใจกับ​สภาวะ​แวดล้อม​ที่​เป็น​ อยู่​ทั้ง​ใน​ปัจจุบัน​และ​ใน​อนาคต​ของ​ธุรกิจ​ที่​ดำ�เนิน​การ​อยู่ ซึ่ง​จะ​ทำ�ให้​ธุรกิจ​สามารถ​ตั้ง​วัตถุประสงค์​ที่​เป็น​

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-61

ธ ส

จริง​สอดคล้อง​กับ​สิ่ง​ที่ก​ ำ�ลังเ​กิด​ขึ้น​ใน​ตลาด​ได้ ภาพ​ที่ 3.11 แสดง​ตัวอย่าง​การ​วิเคราะห์​สถานการณ์​เพื่อ​ช่วย​ วางแผน​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ให้​เห็น​ว่าการ​วิเคราะห์​สถานการณ์​ภายนอก​องค์กร​ช่วย​ให้​สามารถ​วางแผน​ การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ได้ อย่างไร​ก็ตาม การ​ศึกษา​สภาพ​แวดล้อม​ของ​องค์กร (e-Environment) ที่​เป็น​ทั้ง​ สภาพ​แวดล้อม​ระดับ​จุลภาค (micro environment) อัน​ได้แก่ ลูกค้า (customers) คู่​แข่ง (competitors) ผู้​จัดหา​วัตถุดิบ และ​คนกลาง​ทางการ​ตลาด (suppliers and intermediaries) รวม​ถึง​ศึกษา​สภาพ​แวดล้อม​ ระดับม​ หภาค (macro environment) อันไ​ ด้แก่ สังคม (social) กฎหมาย (law) การเมือง (political) เศรษฐกิจ​ และ​เทคโนโลยี (economic and technologies) การ​วิเคราะห์ส​ ถานการณ์เ​กี่ยวข้อง​กับก​ าร​พิจารณา​ถึงป​ ัจจัย​ ต่างๆ เหล่า​นี้​ทั้งหมด​เพื่อ​เป็น​พื้น​ฐาน​ใน​การ​กำ�หนด​วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และ​เทคนิค รวม​ถึง​การ​พิจารณา​ สภาพ​แวดล้อม​ระดับ​มหภาค สำ�หรับ​ใน​ที่​นี้​จะ​มุ่ง​เน้น​ไป​วิเคราะห์​สภาพ​แวดล้อม​ที่​เกี่ยว​พัน​กับ​องค์กร​อย่าง​ ใกล้​ชิดม​ ากกว่า ได้แก่ ลูกค้า คู่​แข่ง คนกลาง​ทางการ​ตลาด และ​โค​รง​สร้าง​ทางการ​ตลาด สภาวะ​ใน​องค์กร อย่าง​เช่น ทรัพยากร บุคลากร กระบวนการ และ​เทคโนโลยี จัด​เป็น​สิ่ง​จำ�เป็นท​ ี่​ต้อง​นำ�​มา​พิจารณา​เช่น​กัน ใน​ ขั้น​ตอน​นี้​สามารถ​วิเคราะห์​ประเด็น​ที่ส​ ำ�คัญ ดังนี้ 1.1 การ​วเิ คราะห์ค​ วาม​ตอ้ งการ (demand analysis) ปัจจัยส​ �ำ คัญท​ ช​่ี ว่ ย​ใน​การ​ก�ำ หนดวัตถุประสงค์​ ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​และ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​คือ การ​คาด​การณ์​ความ​ต้องการ​ของ​ลูกค้า​ใน​การ​ใช้​ บริการ​ธุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์ท​ ั้งป​ ัจจุบันแ​ ละ​อนาคต สิ่งน​ ีส้​ ่งผ​ ล​ให้ท​ ราบ​ถึงค​ วาม​ต้องการ​ซื้อส​ ินค้าท​ าง​ออนไลน์​ ของ​ลูกค้า เพื่อ​ให้​องค์กร​จัดสรร​ทรัพยากร​เข้าไป​ใน​ช่อง​ทาง​ออนไลน์​ได้​อย่าง​แม่นยำ�​มาก​ขึ้น การวิเคราะห์​ ความ​ต้องการ​ควร​ทำ�การ​ประเมิน​การ​ใช้​ช่อง​ทาง​ดิจิทัล​ของ​ลูกค้า​ที่​มี​อยู่​ใน​ปัจจุบัน​และ​ลูกค้า​ที่​มี​ความ​เป็น ​ไป​ได้​ใน​อนาคต โดย​สามารถ​ประเมิน​ความ​ต้องการ​ของ​ลูกค้า​ด้วย​คำ�ถาม ต่อ​ไป​นี้ - มี​กี่เ​ปอร์เซ็นต์​ของ​ลูกค้า​ของ​ธุรกิจ​ที่​ใช้​อินเทอร์เน็ต - มี​กี่เ​ปอร์เซ็นต์​ของ​ลูกค้า​ใน​ธุรกิจ​ประเภท​เดียวกัน​ที่​ใช้​อินเทอร์เน็ต - มี​กี่เ​ปอร์เซ็นต์​ของ​ลูกค้า​ที่​ตั้งใจ​จะ​ซื้อ​สินค้า​ออนไลน์ - มี​กี่​เปอร์เซ็นต์​ของ​ลูกค้า​ที่​ไม่​ได้​ตั้งใจ​จะ​ซื้อ​สินค้า​ออนไลน์ แต่​ข้อมูล​ใน​เว็บไซต์​มี​ อิทธิพล​ให้​ซื้อ​สินค้า​ทาง​ออฟ​ไลน์แ​ ทน - อะไร​เป็น​อุปสรรค​ของ​ลูกค้า​ใน​การ​ซื้อ​สินค้า​ออนไลน์ และ​จะ​สามารถ​จูงใจ​ลูกค้า​ให้​ หันม​ า​ซื้อ​สินค้า​ออนไลน์​ได้​อย่างไร 1.2 การ​วิเคราะห์​คู่​แข่ง (competitor analysis) เนื่องจาก​ลักษณะ​ของ​สื่อ​อินเทอร์เน็ต​มี​ การ​เปลี่ยนแปลง​สูง การ​วิเคราะห์​คู่​แข่ง​หรือ​การ​ติดตาม​คู่​แข่ง​จึง​มี​ความ​สำ�คัญ​มาก เพราะ​ช่วย​ให้​ธุรกิจ​ อิเล็กทรอนิกส์​รักษา​ลูกค้า​หรือ​ดึงดูด​ลูก​ค้า​ใหม่ๆ ได้ และ​ยัง​ส่ง​ผล​ให้​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​ต้อง​ออกแบบ​ บริการ​ใหม่ๆ อยู่​เสมอ และ​ต้อง​เปลี่ยน​รายการ​การ​ส่ง​เสริม​การ​ขาย​เช่น​กัน ลักษณะ​การ​เปลี่ยนแปลง​สูง​ของ​ สื่อ​อินเทอร์เน็ต​นั้น​ทำ�ให้​การ​เปรียบ​เทียบ​คู่​แข่ง (customer benchmarking) ไม่​ได้​เป็น​แค่​กิจกรรม​หรือ​ กระบวนการ​ทำ�​เฉพาะ​ตอน​กำ�หนด​กลยุทธ์เ​ท่านั้น แต่​เป็น​สิ่ง​ที่​ต้อง​ทำ�​อย่าง​ต่อ​เนื่อง

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-62

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

การ​เปรียบ​เทียบ​คู่​แข่ง​ถูก​ใช้​เพื่อ​เปรียบ​เทียบ​การ​บริการ​ของ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​ที่​อยู่​ภายใน​ ตลาด​เดียวกัน สำ�หรับ​ผู้ค​ ้า​ปลีก​การ​เปรียบ​เทียบ​กับ​คู่​แข่ง​ออนไลน์​อาจ​จะ​ยาก​กว่า​การ​เปรียบ​เทียบ​กับ​คู่​แข่ง​ ออฟ​ไลน์ เนื่องจาก​คู่​แข่ง​ออฟ​ไลน์​เป็น​ที่​รู้จัก​มากกว่า อย่างไร​ก็ตาม ด้วย​การ​ใช้​อินเทอร์เน็ต​ทำ�ให้​ธุรกิจ​เข้า​ ถึง​ตลาด​สากล​ได้​ดี โอกาส​ที่​จะ​ได้​รับ​ส่วน​แบ่ง​การ​ตลาด​ก็​เพิ่ม​ขึ้น​มาก​ด้วย โดย​เฉพาะ​ใน​กรณี​ของ​การ​ทำ�การ​ ค้า​ปลีก​ทาง​อินเทอร์เน็ต ตัวอย่าง​เช่น บริษัท​ราย​ใหม่​หลาย​แห่ง​ประสบ​ผล​สำ�เร็จ​ใน​การ​พัฒนา​ช่อง​ทาง​ อินเทอร์เน็ตเ​พือ่ ข​ าย​หนังสือ เพลง ซีดี และ​อปุ กรณ์อ​ เิ ล็กทรอนิกส์ ดังน​ นั้ บริษทั จ​ �ำ เป็นต​ อ้ ง​วเิ คราะห์บ​ ทบาท​ของ​ คู่​แข่ง​ออนไลน์​ที่​มีอ​ ยู่​และ​ที่ก​ ำ�ลัง​จะ​เข้าม​ า​ใน​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ใหม่​ด้วย บริษัท​ควร​พิจารณา​ประเด็น ดังนี้ - คู่แ​ ข่ง​ใน​ท้อง​ถิ่นท​ ี่​มีชื่อเ​สียง - คู่​แข่ง​ต่าง​ชาติ​ที่ม​ ีชื่อ​เสียง - บริษัท​ธุรกิจอ​ อนไลน์​ราย​ใหม่​ทั้ง​ใน​ท้อง​ถิ่น​และ​ใน​ต่าง​ประเทศ เมือ่ ท​ �ำ การ​วเิ คราะห์เ​ว็บไซต์ข​ อง​คแ​ู่ ข่ง ต้อง​สงั เกต​ความ​แตก​ตา่ ง​อย่าง​ระมัดระวังใ​ น​เรือ่ ง ต่อไ​ ป​นี้ - แนวทาง​ใหม่​ที่​แตก​ต่าง - บริษัทท​ ี่​เพิ่ง​เริ่ม​ทำ�​ธุรกิจบ​ น​อินเทอร์เน็ต - เทคโนโลยี​ใหม่ เทคนิค​การ​ออกแบบ​และ​การ​ให้​บริการ​ลูกค้า​บน​เว็บไซต์ ซึ่ง​อาจ​จะ​ เป็น​ข้อ​ได้​เปรียบ​ทาง​ธุรกิจ 1.3 การ​วิเคราะห์​คนกลาง (intermediary analysis) เว็บไซต์​คนกลาง ซึ่ง​ได้แก่ เว็บไซต์​ที่​ รวบรวม​ลิงก์​เว็บไซต์​และ​นำ�พา​ผู้​ชม​ไป​ยัง​เว็บไซต์​ของ​องค์กร การ​วิเคราะห์​สถานการณ์​ยัง​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​ บ่งช​ ี้ค​ นกลาง​ที่เ​กี่ยวข้อง​ใน​ตลาด เว็บไซต์​เหล่าน​ ี้ม​ คี​ วาม​แตก​ต่าง​กันใ​ น​หลาย​รูปแ​ บบ อย่าง​เช่น เว็บท​ ีม่​ เี​นื้อหา​ หลาก​หลาย (horizontal portal) และ​เว็บท​ ีม่​ เี​นื้อหา​เชิงล​ ึกเ​ฉพาะ​ด้าน (vertical portal) ซึ่งถ​ ูกใ​ ช้เ​พื่อป​ ระเมิน​ ความ​เหมาะ​สมใน​การ​ทำ�​โฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือ​ช่วย​ให้​นัก​วางแผนสามารถกำ�หนด​สื่อ​บ่ง​ชี้​ทาง​ธุรกิจ​ ในเชิงกล​ยุทธ์​เมื่อ​มี​การ​ทำ�​แคมเปญ​โฆษณา​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ 1.4 การ​ตรวจ​สอบ​การ​ตลาด​อเิ ล็กทรอนิกส์ภ​ ายใน​องค์กร (internal marketing audit) เป็นการ​ ประเมินข​ ดี ค​ วาม​สามารถ​ของ​ทรัพยากร​ทมี​่ อ​ี ยูใ​่ น​องค์กร อย่าง​เช่น บุคลากร กระบวนการ และ​เทคโนโลยีต​ า่ งๆ การ​ตรวจ​สอบ​ภายใน​องค์กร​จะ​พิจารณา​การ​ปฏิบัติ​งาน​ของ​เว็บไซต์​ปัจจุบัน หรือ​การ​ให้​บริการ​ออนไลน์ การ​ ตรวจ​สอบ​ภายใน​จะ​ทำ�การ​พิจารณา​ส่วน​ประกอบ​ใน​เว็บไซต์​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ ดัง​ต่อ​ไป​นี้ 1) ประสิทธิภาพ​แง่​ธุรกิจ (business effectiveness) การ​สร้าง​ราย​ได้​ผ่าน​ทาง​เว็บไซต์ ภารกิจข​ อง​บริษัทใ​ น​ด้าน​ที่ส​ ่งเ​สริมช​ ่อง​ทาง​ออนไลน์ ต้นทุนใ​ น​การ​ผลิตแ​ ละ​การ​ปรับปรุงเ​ว็บไซต์จ​ ะ​ได้ร​ ับก​ าร​ พิจารณา​ด้วย โดย​วิเคราะห์​ว่า​คุ้ม​ทุนห​ รือ​ไม่ (cost-benefit analysis) 2) ประสิทธิภาพ​แง่​การ​ตลาด (marketing effectiveness) โดยใช้มาตรการ​วัดผล​ทาง การ​ตลาดดังนี้ - กลุ่มเ​ป้า​หมาย (targets) - ยอด​ขาย (sales) - การ​รักษา​ลูกค้า​ไว้ก​ ับ​องค์กร (retention)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-63

ธ ส

- ส่วน​แบ่ง​ตลาด (market share) - การ​ยก​ระดับต​ ราสินค​ ้า หาความ​แข็งแกร่งใ​ หม่เ​ข้าม​ า​เสริมจ​ ุดยืนเ​ดิม และ​ความ​ จงรัก​ภักดี (brand enhancement and loyalty) - การ​บริการ​ลูกค้า (customer service) มาตรการ​วัด​เหล่า​นี้​จะ​ถูก​นำ�​ไป​ใช้​ประเมิน​สินค้า​ใน​สาย​ผลิตภัณฑ์ (product line) ที่​แตก​ต่าง​กัน​ออก​ไป ส่วน​ผสม​ทางการ​ตลาด​จึงค​ วร​นำ�​มา​พิจารณา​ด้วย​เช่น​กัน 3) ประสิทธิภาพ​แง่อ​ อนไลน์ (internet effectiveness) ประเมินก​ าร​ใช้ง​ าน​ของ​เว็บไซต์แ​ ละ​ ลักษณะ​ของ​ผู้ท​ ี่เ​ข้าม​ า​เยี่ยม​ชม​เว็บไซต์ ตัวป​ ระเมินผ​ ล​ทาง​ออนไลน์ป​ ระกอบ​ไป​ด้วย จำ�นวน​ผู้เ​ข้าช​ ม​ที่แท้จ​ ริง (unique visitor) จำ�นวน​ครั้งท​ ี่ค​ น​มา​เปิด​เว็บไซต์ (page impression) ซึ่ง​เป็นข​ ้อมูล​ที่​รวบรวม​มา​จาก​การ​ วิเคราะห์ข​ อง​เว็บไซต์ และ​ตัว​ประเมินผ​ ล​ที่เ​ป็น​เทคนิคก​ าร​ทำ�​วิจัย​ดั้งเดิม อย่าง​เช่น การ​สัมภาษณ์เ​ชิง​ลึก​และ​ การ​สนทนา​กลุ่มย​ ่อย (focus group) และ​การ​ใช้แ​ บบสอบถาม (questionnaire) กับ​ลูกค้า​ที่​มีอ​ ยู่ใ​ น​มุม​มอง​ ทางการ​ตลาด​คุณค่า (value preposition) ใน​เว็บไซต์​ที่​มี​ต่อ​ลูกค้า​ควร​ได้​รับ​การ​ประเมิน​ด้วย​เช่น​กัน องค์ป​ ระกอบ​ที่ 2 การ​กำ�หนด​วัตถุประสงค์ (objective setting) วัตถุประสงค์​ที่​มี​การ​กำ�หนด​ไว้​อย่าง​ ชัดเจน​จะ​ทำ�ให้แ​ ผนการ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ประสบ​ผล​สำ�เร็จ เนื่องจาก​จะ​ช่วย​กำ�หนด​ทิศทาง​การ​ทำ�งาน การ​ สื่อสาร​ไป​ยัง​ตลาด​เป้า​หมาย​ให้​กับ​องค์กร คุณค่า​ของ​วัตถุประสงค์​สามารถ​ถูก​ทดสอบ​ด้วย​หลัก SMART (SMART mnemonic) ประกอบ​ด้วย วัตถุประสงค์​นั้น​ต้อง​มี​ลักษณะ​เฉพาะ​เจาะจง (Specific) วัดผล​ได้ (Measurable) ประสบ​ความ​สำ�เร็จ​ได้​จริง (Achievable) ปฏิบัติไ​ ด้​จริง (Realistic) และ​มี​ข้อ​จำ�กัด​เรื่อง​เวลา (Time–Constraints) ตัวอย่าง​วัตถุประสงค์ข​ อง​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​ที่​สอดคล้อง​ตาม​หลัก SMART มี​ดัง​ต่อ​ไป​นี้ - เพื่อ​ให้​ได้​ลูกค้า​ใหม่​เข้า​มา​ใช้​บริการ​ออนไลน์ หรือ​สร้าง​ราย​ได้​โดย​การ​ขาย​พื้นที่​โฆษณา​ ออนไลน์ และ​ราย​ได้ที่​ได้​รับ​จะ​ต้อง​คุ้มก​ ับ​การ​ลงทุน - เพื่อร​ ักษา​ลูกค้าไ​ ว้ก​ ับอ​ งค์กร​ให้ไ​ ด้ม​ าก​ที่สุดด​ ้วย​การ​ลด​สัดส่วน​ลูกค้าอ​ อก​จาก​ระบบ (churn rate) จาก 25 เปอร์เซ็นต์ ให้​เหลือ 20 เปอร์เซ็นต์ - เพิ่ม​ราย​ได้​จาก​ช่อง​ทาง​ออนไลน์ โดย​ตั้ง​เป้า​ไว้​ว่า​จะ​ได้​รับ​ราย​ได้​จาก​ช่อง​ทาง​ออนไลน์ 20 เปอร์เซ็นต์ ด้วย​การ​ให้​บริการ​ออนไลน์​ด้วย​รูป​แบบ​ใหม่ - เพิ่ม​ราย​ได้​ทั้งหมด​ให้​ได้ 5 เปอร์เซ็นต์ ด้วย​การ​เจาะ​ตลาด​ต่าง​ประ​เทศ​ใหม่ๆ - ลด​ต้นทุน​การ​ให้​บริการ​ลูกค้าป​ ระจำ�​วัน (routine customer service) ลง 10 เปอร์เซ็นต์ ด้วย​การ​มุ่ง​เน้น​ไป​ที่ก​ าร​ให้​บริการ​ลูกค้า​อย่าง​พิเศษ (specialized customer service) วัตถุประสงค์​ของ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์จ​ ะ​ต้อง​ชี้​ให้​เห็น​ว่า​มี​คุณค่า มี​ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ​ สามารถ​ทำ�ได้ต​ าม​ที่ต​ ั้งไ​ ว้ ตาราง​ที่ 3.4 ได้น​ ำ�​เสนอ​ตัวช​ ีว้​ ัดค​ วาม​สามารถ​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ โดย​แผน​ งานการ​ตลาด​อเิ ล็กทรอนิกส์น​ ัน้ จ​ ะ​เป็นต​ วั ก​ �ำ หนด​โครงสร้าง​การ​ท�ำ งาน​ทดี​่ ท​ี ีส่ ดุ และ​ใน​ตาราง​ที่ 3.4 เป็นต​ วั อย่าง​ วัตถุประสงค์​ใน​การ​ทำ�การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ซึ่งอ​ ยู่​ภาย​ใต้​ตัว​ชี้​วัด​แบบ​สมดุล​เพื่อ​ทำ�​ธุรกิจ​ผ่าน​เว็บไซต์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-64

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ตาราง​ที่ 3.4 ตัว​ชี้​วัด​ความ​สามารถ​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ตัวชี้วัดแบบสมดุล

ประสิทธิผล

ประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์ทางการเงิน (คุณค่าของธุรกิจ)

- ต้นทุนช่องทางการจัดจำ�หน่าย - กำ�ไรที่ได้จากช่องทางการจัดจำ�หน่าย

- การสร้างรายได้จากสื่อออนไลน์ - การส่งเสริมรายได้

คุณค่าของลูกค้า

- จำ�นวนผู้เข้าชมที่แท้จริงเช่นเดียว กับเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีแนวโน้ม จะเข้ามาชมเว็บไซต์ - รูปแบบการจ่ายต่อยอดขาย - ความชอบของลูกค้า

- ยอดขาย - ลูกค้าใหม่ - ส่วนแบ่งการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ - ระดับความพึงพอใจของลูกค้า - ระดับความจงรักภักดีของลูกค้า

กระบวนการทำ�งาน

- อัตราที่แสดงว่าเราขายสินค้าได้กี่ชิ้น - ปริมาณการสั่งซื้อ - คุณภาพของสินค้า - เปอร์เซ็นต์การใช้จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์

- เวลาในการตอบสนองความต้องการ ของลูกค้า - เวลาในการให้บริการลูกค้า

- แนวทางใหม่ๆ ได้ถูกนำ�มาตรวจสอบ - การศึกษาการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ภายในองค์กร - ความพึงพอใจภายในองค์กร

- การนำ�แนวทางใหม่มาใช้ - ทบทวนการประเมินผลงาน

ธ ส

นวัตกรรมและการเรียนรู้

ธ ส

ธ ส

(อ้างอิง Dave Chaffey 2007)

ธ ส

ธ ส

การ​สนับสนุน​ให้​เกิด​ราย​ได้​ออนไลน์ (the online revenue contribution) มี​วัตถุประสงค์​สำ�คัญ​ ที่​ควร​จะ​มี​อยู่​ใน​แผน​งานการ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ คือ การ​สนับสนุน​ให้​เกิด​ราย​ได้​จาก​ทาง​ช่อง​ทาง​ออนไลน์ สามารถ​ตั้ง​วัตถุประสงค์​ของ​การ​ส่ง​เสริม​ราย​ได้​ทาง​ออนไลน์​สำ�หรับ​สินค้า​แต่ละ​ชนิด​ซึ่ง​แตก​ต่าง​กัน สำ�หรับ​ กลุม่ ล​ กู ค้า (customer segment) และ​สดั ส่วน​ตลาด​ตาม​ภมู ศิ าสตร์ (geographical market) และ​ยงั ส​ ามารถ​ ตั้ง​วัตถุประสงค์​ตาม​ช่อง​ทาง​ดิจิทัล​ที่แ​ ตก​ต่าง​กัน เช่น เว็บไซต์ มือ​ถือ หรือ​ทีวี​ดิจิทัล บริษัท​ที่​ตั้งว​ ัตถุประสงค์​ของ​การ​สนับสนุน​ราย​ได้​ทาง​ออนไลน์​ไว้​สูง เช่น 25 เปอร์เซ็นต์​ต่อ 2 ปี จะ​ ต้อง​จัดสรร​งบ​ประมาณ​และ​ทรัพยากร​ต่างๆ เพื่อด​ ำ�เนินง​ าน​ใน​ช่อง​ทาง​อินเทอร์เน็ตม​ ากกว่าท​ ี่ไ​ ด้ต​ ั้งเ​ป้าไ​ ว้ 2.5 เปอร์เซ็นต์ บริษัท ซิ​ส​โก้ (Cisco System Inc.) ผู้ผ​ ลิต​อุปกรณ์​ไอที​และ​สื่อสาร​ชั้น​นำ�​ของ​โลก ปัจจุบัน​มี​ยอด​ ขาย​ผ่าน​ทาง​ออนไลน์​ถึง 20 พัน​ล้าน​ดอลลาร์​สหรัฐ ความ​สำ�เร็จ​นี้​เกิด​ขึ้น​จาก​การ​ที่​ผู้​บริหาร​ระดับ​สูง​เล็ง​เห็น​ ความ​สำ�คัญ​ของ​ช่อง​ทาง​อินเทอร์เน็ต ตั้ง​เป้า​หมาย​ให้​มี​การ​สร้าง​ราย​ได้​ทาง​ออนไลน์ และ​ริเริ่ม​ทำ�การ​ค้าขาย​ ผ่าน​ทาง​อินเทอร์เน็ต​อย่าง​จริงจัง จาก​การ​ใช้​เทคโนโลยี​อินเทอร์เน็ต บริษัทซิ​ส​โก้​ได้​รับ​ประโยชน์​มากมาย นอก​เหนือจ​ าก​ราย​ได้ที่เ​พิ่ม​มาก​ขึ้น กำ�ไร​ของ​บริษัท​ก็​เพิ่ม​สูง​ขึ้น​อย่าง​เห็น​ได้​ชัด และ​ด้วย​การ​ใช้​เว็บไซต์​ทำ�ให้​ ต้นทุนก​ าร​ดำ�เนิน​การ​โดย​รวม​ลด​ลง 20 เปอร์เซ็นต์

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-65

ธ ส

สำ�หรับ​บริษัทบ​ าง​แห่ง เช่น บริษัท​ผลิต​สินค้า​อุปโภค​บริโภค (FMCG Manufacturer) หรือบริษัท​ ผลิต​เครื่อง​ดื่ม แต่​เป็น​ไป​ไม่​ได้ที่​จะ​คาด​หวัง​ราย​ได้​จาก​ทาง​ออนไลน์​โดยตรง ใน​กรณี​นี้​ควร​ใช้​อินเทอร์เน็ต​ เป็นส​ ่วน​หนึ่งข​ อง​ส่วน​ประสม​ทางการ​ตลาด (marketing mix) โดย​บทบาท​คือ การ​ชักจูงล​ ูกค้าใ​ ห้ไ​ ป​ซื้อส​ ินค้า หรือ​เป็นการ​สร้าง​ตราสิน​ค้า ใน​กรณี​นี้​บริษัท​ควร​ตั้ง​วัตถุประสงค์​ของ​การ​ส่ง​เสริม​การ​ขาย​ออนไลน์ (online promotion contribution) เพื่อด​ ึงดูด​ให้​คน​เข้า​มา​เยี่ยม​ชม​เว็บไซต์​และ​เห็น​ป้าย​โฆษณา​ออนไลน์ (banner adverts) หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 3.3.1 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 3.3.1 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 3 ตอน​ที่ 3.3 เรื่อง​ที่ 3.3.1

ธ ส

ธ ส

ธ ส

เรื่องที่ 3.3.2 กลยุทธ์​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

กลยุทธ์ (strategy) ธุรกิจ​จะ​ดำ�เนิน​งาน​อย่างไร​เพื่อ​ให้​บรรลุ​วัตถุประสงค์​วิธี​หรือ​แนวทาง​ใน​การ​ ดำ�เนินก​ าร​นั้น คือ กลยุทธ์ซ​ ึ่งป​ ระกอบ​อยู่ใ​ น​แผนการ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ กลยุทธ์เ​ป็นป​ ัจจัยส​ ำ�คัญท​ ี่ผ​ ลักดัน​ ให้​ธุรกิจ​ประสบ​ผล​สำ�เร็จ การ​ให้​คำ�​จำ�กัด​ความ​ของ​คำ�​ว่า “กลยุทธ์” ต้อง​รวม​อยู่​ใน​กระบวนการ​วางแผน​การ​ ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ เพราะ​เป็นก​ระ​บวน​การ​ของ​การ​วิเคราะห์ส​ ถานการณ์ การ​ตั้งง​ บ​ประมาณ​ลงทุนใ​ น​ช่องทาง​ อินเทอร์เน็ต​ควร​พิจารณา​จาก​ราย​ได้ที่​จะ​ได้​รับ​ผ่าน​ทางการ​ซื้อ​ขาย​ทาง​อินเทอร์เน็ต และ​พิจารณา​ตัดสิน​ว่า​ อินเทอร์เน็ต​ควร​จะ​มา​แทนที่​ช่อง​ทาง​อื่น หรือ​นำ�​มา​ใช้​ร่วม​กัน​กับ​ช่อง​ทางการ​สื่อสาร​อื่น ดัง​นั้น กลยุทธ์​การ​ ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ม​ ีป​ ระเด็นท​ ี่ส​ ำ�คัญ คือ การ​แบ่งส​ ่วน​ตลาด (Segmentation) การ​กำ�หนด​ตลาด​เป้าห​ มาย (Targeting) และ​การ​กำ�หนด​ตำ�แหน่ง​ผลิตภัณฑ์ใ​ น​ตลาด (Positioning) หรือ​เรียก​ว่า เอส​ที​พี (STP) โดย​ มี​ราย​ละเอียด ดังนี้

ธ ส

1. การ​แบ่ง​ส่วน​ตลาด

ธ ส

ธ ส

การ​แบ่งส​ ว่ น​ตลาด (market segmentation หรือ segmenting) เป็นการ​แบ่งต​ ลาด​ส�ำ หรับผ​ ลิตภัณฑ์​ ชนิด​ใด​ชนิด​หนึ่ง​ออก​เป็น​ตลาด​ย่อยๆ ที่​แตก​ต่าง​กัน​ทาง​ด้าน​ควา​ม​ชอบ ความ​ต้องการ และ​พฤติกรรม​ ผูบ้​ ริโภค​ใน​แต่ละ​ตลาด​ย่อยๆ นั้น โดย​อาศัยค​ ุณสมบัตขิ​ อง​ผูบ้​ ริโภค​หรือต​ ลาด​เป็นป​ ัจจัยใ​ น​การ​แบ่ง ทั้งนี้ เพื่อ​ ให้ส​ ามารถ​แยก​ตลาด​ออก​เป็นส​ ่วนๆ และ​ทำ�ให้เ​ห็นค​ วาม​เด่นช​ ัดท​ ีแ่​ ตก​ต่าง​กันข​ อง​คุณสมบัติ ความชอบ ความ​ ต้องการ และ​พฤติกรรม​ของ​ผู้​บริโภค​ที่​อยู่​ใน​แต่ละ​ส่วน​ของ​ตลาด เพื่อ​จะ​ได้​วางแผน​และ​ใช้​ความ​พยายาม​ ทางการ​ตลาด​ได้เ​หมาะ​สม​กับ​แต่ละ​ส่วน​ตลาด ตัวอย่าง​เช่น ผลิตภัณฑ์​กระเป๋าแ​ บ่งส​ ่วน​ตลาด​โดย​ยึด​เกณฑ์ เพศ วัย ราย​ได้ และ​รสนิยม เป็น​พื้น​ฐาน​ใน​การ​แบ่ง​ตลาด​กระเป๋าอ​ อก​เป็น​ส่วนๆ (market segment)

ธ ส


3-66

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

2. กลยุทธ์​การ​วาง​กลุ่ม​เป้า​หมาย

ธ ส

การ​ทบทวน​ตัว​เลือก​เป็น​สิ่ง​สำ�คัญ​สำ�หรับ​การนำ�​สื่อ​ดิจิทัล​มา​ใช้​เพื่อ​เข้า​ถึง​กลุ่ม​เป้า​หมาย​ใหม่ หรือ​ พัฒนา​ตลาด​ที่ม​ ีอ​ ยู่ และ​ต้อง​ทำ�การ​วิเคราะห์ก​ ลุ่มเ​ป้าห​ มาย​อย่าง​ละเอียด​เพื่อท​ ำ�ความ​เข้าใจ​กับค​ วาม​ต้องการ พัฒนา​กลยุทธ์เ​พื่อต​ อบ​สนอง​ต่อค​ วาม​ต้องการ​ของ​กลุ่มเ​ป้าห​ มาย และ​เพิ่มร​ าย​ได้ใ​ ห้ก​ ับบ​ ริษัท กระบวนการ​นี​้ คือ กลยุทธ์​การ​วาง​กลุ่ม​เป้า​หมาย (target market strategies) ซึ่ง​เกี่ยวข้อง​กับ​ขั้น​ตอน 4 อย่าง​ที่​แสดง​ให้​ เห็น​ใน​ภาพ​ที่ 3.12 การ​กำ�หนด​ตลาด​เป้า​หมาย (market targeting หรือ targeting) เป็น​กิจกรรม​ใน​การ​ประเมิน​ผล​ และ​การ​เลือก​ส่วน​ตลาด (market segments) ที่บ​ ริษัท​เห็นว​ ่า​เหมาะ​สม​กับ​ทรัพยากร​และ​ความ​ชำ�นาญ​ของ​ บริษัท ตลอด​จน​เป็น​ส่วน​ตลาด​ที่​มี​โอกาส​ทางการ​ตลาด​มี​ศักยภาพ​ใน​การ​สร้าง​ยอด​ขาย​และ​ทำ�​กำ�ไร​ให้​กับ​ บริษัท ตัวอย่าง​เช่น ผลิตภัณฑ์​กระเป๋า​ของ​บริษัท​เลือก​ตลาด​เป้า​หมาย​เป็น​ผู้​หญิง​อายุ 30-60 ปี ราย​ได้​สูง​ และ​รสนิยม​ดี ขั้นต​ อน​แรก​ที่แ​ สดง​ใน​ภาพ​ที่ 3.12 เป็นต​ ัวอย่าง​ขั้นต​ ่างๆ ของ​กลยุทธ์ใ​ น​การ​พัฒนา​เป้าห​ มาย​ทางการ​ ตลาด ประกอบ​ด้วย การ​จำ�แนก​กลุ่มเ​ป้าห​ มาย (market segmentation) เป็นส​ ิ่งส​ ำ�คัญใ​ น​การ​พัฒนา​กลยุทธ์​ ทางการ​ตลาด และ​ไม่​ได้​เกี่ยวข้อง​แค่​เฉพาะ​การ​แบ่ง​กลุ่ม​ลูกค้า​ใน​ตลาด​ออก​เป็นก​ลุ่ม​ย่อยๆ เท่านั้น แต่​เป็น การ​บ่งช​ ีก้​ ลุ่มล​ ูกค้า วาง​กลุ่มเ​ป้าห​ มาย หา​คุณลักษณะ​ทีส่​ ำ�คัญข​ อง​กลุ่มล​ ูกค้า และ​นำ�​เสนอ​ความ​แตก​ต่าง​ทีเ่​ป็น​ ข้อ​ได้​เปรียบ​เหนือค​ ู่​แข่งขัน (differential advantage) ซึ่ง​ถือ​เป็น​หลัก​สำ�คัญ​ของ​กลยุทธ์​การ​ตลาด ใน​การ​วางแผน​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ การ​วิเคราะห์​กลุ่ม​ลูกค้า​ต้อง​ถูก​ประเมิน​ใน​หัวข้อ ต่อ​ไป​นี้ - ขนาด​ของ​ตลาด​ใน​ปัจจุบัน การ​คาด​การณ์​ขนาด​ของ​ตลาด​ใน​อนาคต และ​ส่วน​แบ่ง​ตลาด​ ของ​องค์กร​ทั้ง​ใน​ปัจจุบัน​และ​ใน​อนาคต - ส่วน​แบ่งต​ ลาด​ของ​คู่​แข่ง - ความ​ต้องการ​ของ​แต่ละ​กลุ่ม​ลูกค้า โดย​เฉพาะ​ความ​ต้องการ​ที่​ยัง​ไม่​ได้​รับ​การ​ตอบ​สนอง - ข้อเ​สนอ​ของ​องค์กร​และ​คแู่​ ข่ง ทิศทาง​ของ​แต่ละ​กลุ่มล​ ูกค้าใ​ น​ทุกม​ ุมม​ อง​ของ​กระบวนการ​ซื้อ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


Informed by Market research and analysis of customer data

ธ ส

Demand analysis

Competitor analysis Internal analysis

ธ ส

Evaluation of resource

ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

Segmentation Identity customer needs and Segment market

ธ ส

Target marketing Evaluate and select target segments

Positioning Identify proposition for each segment Planning Deploy resources to achieve plan

ธ ส

Informs

Stage of target marketing

3-67

- Market segment definition

- Target segments - Online revenue contribution for each segment

ธ ส

- Online value proposition - Online marketing mix

- Online marketing mix - Restructuring

ธ ส

ภาพ​ที่ 3.12 ขั้น​ต่างๆ ของ​กลยุทธ์​ใน​การ​พัฒนา​เป้า​หมาย​ทางการ​ตลาด (อ้างอิง Dave Chaffey 2007)

ธ ส

กระบวนการ​จำ�แนก​กลุ่มล​ ูกค้า ได้ก​ ำ�หนด​คำ�ถาม 5 ข้อส​ ำ�คัญท​ ีค่​ วร​พิจารณา​เมื่อด​ ำ�เนินก​ าร​แผนการ​ ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ท​ ี่​ใช้​กลยุทธ์ย​ ึด​ลูกค้า​เป็น​ศูนย์กลาง มี​ดัง​ต่อ​ไป​นี้ 1) ลกู ค้าค​ อื ใ​ คร เป็นการ​บง่ ช​ กี​้ ลุม่ ล​ กู ค้าท​ มี​่ ล​ี กั ษณะ​และ​ความ​ตอ้ งการ​ทคี​่ ล้าย​กนั มีห​ ลักเกณฑ์​ หลาก​หลาย​ถูก​นำ�​มา​ใช้​บ่ง​ชี้​กลุ่ม​ลูกค้า ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ตัวแปร​ด้าน​ประชากรศาสตร์ (demographic) และ​ ภูมิศาสตร์ (geographic) สำ�หรับ​ธุรกิจท​ ี่ข​ าย​สินค้าใ​ ห้ก​ ับล​ ูกค้าท​ ี่เ​ป็นบ​ ุคคล และ​ลักษณะ​ของ​องค์กร​สำ�หรับ​ ธุรกิจ​ที่​ขาย​สินค้า​ให้​กับ​ธุรกิจด​ ้วย​กันเอง 2) ความ​ต้องการ​ของ​ลูกค้า​เปลี่ยนแปลง​ไป​อย่างไร ทำ�ความ​เข้าใจ​กับ​ความ​ต้องการ​ของ​กลุ่ม​ ลูกค้าต​ า่ งๆ โดย​เฉพาะ​เมือ่ ใ​ ช้อ​ นิ เทอร์เน็ต เพือ่ จ​ ะ​สามารถ​สง่ ม​ อบ​คณ ุ ค่าใ​ ห้ก​ บั ล​ กู ค้าไ​ ด้ใ​ น​ขัน้ ต​ อน​ตอ่ ไ​ ป ลูกค้า​ บาง​กลุ่ม​อาจ​จะ​ถูก​กระตุ้น​ได้ด​ ้วย​ราคา แต่​ใน​โลก​ออนไลน์​บาง​ครั้ง​การ​บริการ​ลูกค้า​สำ�คัญ​กว่า ซึ่ง​สิ่ง​ต่างๆ นี้​ เกี่ยว​พัน​อย่าง​ใกล้​ชิด​กับ​พฤติกรรม​ของ​ผู้ซ​ ื้อ (buyer behavior)

ธ ส

ธ ส


3-68

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

3) กลุม่ เ​ป้าห​ มาย​ไป​ทอ​ี่ ะไร ถือเ​ป็นการ​ตดั สินใ​ จ​เชิงกล​ยทุ ธ์ท​ สี​่ �ำ คัญใ​ น​การ​ตลาด​อเิ ล็กทรอนิกส์ กลุ่ม​ลูกค้าอ​ อนไลน์ท​ ี่ถ​ ูก​เลือก​จะ​ต้อง​น่า​ดึงดูดแ​ ละ​น่า​สนใจ​ใน​แง่​การ​เจริญเ​ติบโต​และ​กำ�ไร ซึ่งอ​ าจ​จะ​มี​ความ​ ใกล้​เคียง​หรือ​แตก​ต่าง​จาก​กลุ่ม​ลูกค้า​ออฟ​ไลน์ ตัวอย่าง​ของ​กลุ่ม​ลูกค้า​ที่​ถูก​เลือก​เพื่อ​สื่อสาร​ผ่าน​ช่อง​ทาง​ ออนไลน์ ประกอบ​ด้วย - ลูกค้า​ที่​สามารถ​สร้าง​กำ�ไร​ได้​มาก​ที่สุด ใช้​ช่อง​ทาง​อินเทอร์เน็ตส​ ื่อสาร​ข้อ​เสนอ​เฉพาะ​ เจาะจง​ส่วน​บุคคล (tailored offer) ไป​ยัง​ลูกค้า​เหล่า​นี้​เพื่อ​สร้าง​กำ�ไร​ให้​กับ​บริษัท - บริษทั ข​ นาด​ใหญ่ท​ ท​่ี �ำ ธ​ รุ กรรม​ระหว่าง​องค์กร​ธรุ กิจด​ ว้ ย​กนั เอง ซึง่ ส​ ามารถ​สร้าง​เครือข่าย​ ภายนอก​องค์กร (extranet) เพื่อ​ให้​บริการ​ลูกค้าเ​หล่า​นี้ พร้อม​ทั้ง​เพิ่ม​ความ​จงรัก​ภักดี - บริษัท​ขนาด​เล็ก​ที่​ทำ�​ธุรกรรม​ระหว่าง​องค์กร​ธุรกิจ​ด้วย​กันเอง บริษัท​ขนาด​ใหญ่​จะ​ ให้​บริการ​ลูกค้า​ผ่าน​ทาง​ตัวแทน​ฝ่าย​ขาย หรือ​ผู้​จัดการ​ฝ่าย​ลูกค้า (sales representative หรือ account manager) แต่​การ​ที่​ผู้​จัดการ​ฝ่าย​ลูกค้า​จะ​ให้​บริการ​บริษัท​ขนาด​เล็ก​อาจ​จะ​ไม่​คุ้ม​ค่า​ใช้​จ่าย อย่างไร​ก็ตาม อินเทอร์เน็ต​สามารถ​ใช้​เพื่อ​เข้า​ถึง​หรือ​ให้​บริการ​บริษัท​ขนาด​เล็ก​ได้​มี​ประสิทธิภาพ​มากกว่า ถึง​แม้ว่า​ราย​ได้​ จาก​บริษัทข​ นาด​เล็กจ​ ะ​ไม่ม​ าก แต่ถ​ ้าส​ ามารถ​ให้บ​ ริการ​บริษัทข​ นาด​เล็กห​ ลาย​แห่งผ​ ่าน​ทาง​อินเทอร์เน็ต รายได้​ รวม​ที่​ได้​รับ​จะ​เพิ่มม​ าก​ขึ้น​ตาม​ไป​ด้วย - สมาชิก​ใน​องค์กร​ที่​มี​ส่วน​ใน​การ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ สำ�หรับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ระหว่าง​องค์กร​ ธุรกิจด​ ้วย​กันเอง เว็บไซต์ค​ วร​จะ​มขี​ ้อมูลร​ าย​ละเอียด​ทีต่​ อบ​สนอง​ต่อค​ วาม​ต้องการ​ของ​ผูซ้​ ื้อ เพื่อช​ ่วย​ส่งเ​สริม​ การ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​สินค้า​หรือ​บริการ ตัวอย่าง​เช่น ข้อมูล​ด้าน​เทคนิค​สำ�หรับ​ผู้​ใช้​สินค้า ข้อมูล​ของ​กระบวนการ​ จัดซ​ ื้อจ​ ัดจ​ ้าง (e-Procurement) สำ�หรับ​ผู้จ​ ัดการ​ฝ่าย​จัดซ​ ื้อ และ​ข้อมูล​การ​สร้าง​ความ​น่าเ​ชื่อ​ถือใ​ ห้ก​ ับบ​ ริษัท​ สำ�หรับ​ผู้​ที่ม​ ีหน้าท​ ี่ใ​ น​การ​ตัดสิน​ใจ (decision maker) - ลูกค้า​กลุ่ม​เป้า​หมาย​ที่​เข้า​ถึง​ยาก เช่น กลุ่ม​เป้า​หมาย​ที่​เป็น​วัย​รุ่น​ไม่​สนใจ​ใน​เรื่อง​ของ​ การ​ทำ�​ประกันช​ ีวิต บริษัทป​ ระกัน​สามารถ​ใช้​เว็บไซต์​เป็น​เครื่อง​มือ​ใน​การ​เข้าถ​ ึง - ลูกค้า​ที่​จงรัก​ภักดี​ต่อ​ตราสิน​ค้า (brand loyalty) ให้​บริการ​กับ​ลูกค้า​ที่​ภักดี​ใน​บริษัท​ และ​ตราสิน​ค้า​ของ​บริษัทร​ าวกับ​เป็น​ผู้ม​ ี​อุปการ​คุณ (advocates) - ลูกค้า​ที่​ไม่​จงรัก​ภักดี​ต่อ​ตราสิน​ค้า (not brand loyal) เว็บไซต์​สามารถ​ถูก​สร้าง​ให้​ น่า​สนใจ สามารถ​ดึงดูด​ลูกค้าด​ ้วย​การ​ส่ง​เสริม​การ​ตลาด​ใน​รูป​แบบ​ต่างๆ พร้อม​ทั้ง​คุณภาพ​การ​บริการ​ระดับ​ สูง เพื่อ​รักษา​ลูกค้าไ​ ว้ก​ ับ​บริษัท - ลกู ค้าท​ อ​ี่ ยูใ​่ น​ขนั้ ต​ อน​ของ​วงจร​ชวี ติ ผ​ ลิตภัณฑ์ มีท​ ัง้ หมด 4 ขัน้ ต​ อน คือ ขัน้ ท​ ี่ 1 แนะนำ� ขั้น​ที่ 2 เจริญ​เติบโต ขั้น​ที่ 3 เติบโต​เต็ม​ที่ และ​ขั้น​ที่ 4 ถดถอย จะ​ได้​เห็น​ว่าการ​ใช้​เว็บไซต์​และ​จดหมาย​ อิเล็กทรอนิกส์เ​พือ่ ใ​ ห้บ​ ริการ​ลกู ค้าแ​ บบ​เจาะจง (personalization) ถูก​ใช้เ​พือ่ เ​ข้าก​ ลุม่ ล​ กู ค้าไ​ ด้ตาม​ระดับค​ วาม​ สัมพันธ์ท​ ี่​มี​ต่อบ​ ริษัท - ลูกค้า​ที่​แสดง​ความ​ตั้งใจ​ที่​จะ​ซื้อ​สินค้า ซึ่ง​เป็น​แนวทาง​การ​รับ​รู้​และ​การ​ตอบ​สนอง (sense and respond) เพื่อ​เข้า​ถึงก​ ลุ่ม​เป้า​หมาย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-69

ธ ส

4) สามารถ​เพิ่ม​คุณค่า​ได้​อย่างไร คุณค่า​ส่วน​ใหญ่​ขึ้น​อยู่​กับ​คุณภาพ​ของ​สินค้า คุณภาพ​การ​ บริการ เวลา​ใน​การ​ตอบ​สนอง​ต่อ​ลูกค้า และ​ราคา บริษัท​จะ​ต้อง​ตัดสิน​ใจ​ว่า​ส่วน​ประกอบ​ใด​ต่อ​ไป​นี้​สำ�คัญ​ ที่สุด แล้วห​ า​วิธี​ปรับ​องค์ป​ ระกอบ​เหล่า​นี้เ​พื่อ​ให้​สอดคล้อง​กับ​ส่วน​ประสม​ทางการ​ตลาด 5) เป็น​ตัว​เลือก​ลำ�ดับ​แรก​ได้​อย่างไร ต้อง​รู้​ว่า​จะ​วาง​ตำ�แหน่ง​ของ​ตราสิน​ค้า​ไว้​ใน​ตำ�แหน่ง​ใด​ ใน​ตลาด​ที่​แตก​ต่าง​จาก​คู่​แข่ง การ​วาง​ตำ�แหน่ง​ตราสิน​ค้า​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​รับ​รู้​ใน​ตราสิน​ค้า​ของ​ผู้​บริโภค​ตาม​ ส่วน​ประกอบ​ของ​คุณค่าท​ ี่​ได้อ​ ธิบาย​ไว้​ด้าน​บน ซึ่งอ​ ยู่​ใน​ขั้น​ตอน​ที่ 3 ตาม​ภาพ​ที่ 3.12 ซึ่ง​คือ​ขั้น​ตอน​ที่บ​ ริษัท​ จะ​ต้อง​ตัดสิน​ใจ​หา​ประโยชน์​ที่แ​ ตก​ต่าง​และ​ได้​เปรียบ​เหนือ​คู่​แข่ง สำ�หรับ​ตลาด​และ​ตำ�แหน่ง​ตราสิน​ค้า (market and positioning) ของ​ข้อมูล​สินค้า​ดิจิทัล​สามารถ​ สื่อสาร​ผ่าน​ทาง​เว็บไซต์ไ​ ด้ สินค้าน​ ั้นอ​ าจ​จะ​ไม่ไ​ ด้ข​ าย​ตรง แต่เ​ป็นการ​เพิ่มม​ ูลค่าใ​ ห้ก​ ับส​ ินค้าท​ ี่ม​ ีอ​ ยู่ บริษัทค​ วร​ ตั้ง​คำ�ถาม​ต่อ​ไป​นี้เ​มื่อ​ต้อง​มี​การ​พัฒนา​สินค้า​ใหม่​หรือ​เพิ่ม​คุณค่า​เชิง​ดิจิทัล​ให้​กับ​ลูกค้า 1) บริษัทส​ ามารถ​ให้​ข้อมูลเ​พิ่ม​เติม​หรือ​ให้​บริการ​ทาง​อินเทอร์เน็ต​ต่อ​ลูกค้า​ที่ม​ ี​อยู่​ได้​หรือ​ไม่ 2) บริษัทส​ ามารถ​ปรับเ​ปลี่ยน​ข้อมูลโ​ ดย​นำ�​เสนอ​ผ่าน​ทาง​อินเทอร์เน็ตเ​พื่อเ​ข้าถ​ ึงค​ วาม​ต้องการ​ ของ​ลูกค้าไ​ ด้​หรือ​ไม่ 3) บริษัท​สามารถ​ใช้​ความ​สามารถ​ของ​เรา​ดึงดูด​ลูกค้า​เพื่อ​ให้​เข้า​ใช้​บริการ​ออนไลน์​เพื่อ​เพิ่ม​ ราย​ได้ใ​ ห้ก​ ับบ​ ริษัทห​ รือไ​ ม่ เช่น ดึงดูดล​ ูกค้าใ​ ห้เ​ข้าม​ า​ซื้อส​ ินค​ ้าอ​ ื่นๆ ประกอบ​กัน (complementary product) 4) บริษัทจ​ ะ​ได้ร​ ับผ​ ลก​ระ​ทบ​จาก​ธุรกิจอ​ ื่นท​ ี่ม​ อบ​คุณค่าใ​ ห้ก​ ับล​ ูกค้าเ​ช่นเ​ดียว​กับท​ ี่บ​ ริษัทท​ ำ�​ใน​ ปัจจุบันห​ รือ​ไม่ 5) การ​กำ�หนด​ตำ�แหน่ง​ผลิตภัณฑ์​ใน​ตลาด (market positioning หรือ positioning) เป็นการ​กำ�หนด​ตำ�แหน่ง​ผลิตภัณฑ์​ของ​บริษัท​ให้​เกิด​ขึ้น​ใน​ใจ​ของ​ผู้​บริโภค​ใน​เชิง​เปรียบ​เทียบ​กับ​ผลิตภัณฑ์​ ของ​คู่​แข่งขัน โดย​ใช้​กลยุทธ์​การ​สื่อสาร​ทางการ​ตลาด​เป็น​เครื่อง​มือ​ใน​กระบวนการ​สร้าง​ตำ�แหน่ง​ผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์​กระเป๋า​ของ​บริษัท จะ​กำ�หนด​ตำ�แหน่ง​ทางการ​แข่งขันส​ ำ�หรับ​ผลิตภัณฑ์​ของ​บริษัท โดย​เน้น​ ความ​เป็นผ​ ลิตภัณฑ์​กระเป๋า​หนัง​ซึ่งเ​ป็น​มาตรฐาน​เดียว​กับ​มาตรฐาน​การ​ส่ง​ออก

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อ​หาร​สาระ​เรื่อง​ที่ 3.3.2 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 3.3.2 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 3 ตอน​ที่ 3.3 เรื่อง​ที่ 3.3.2

ธ ส

ธ ส


3-70

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

เรื่องที่ 3.3.3 กลวิธี​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

กลวิธี​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketing tactics) เป็นการ​นำ�​กลยุทธ์​ทางการ​ตลาด​มา​ใช้​ กับ​หลัก​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ (principles of e-marketing) ที่​มี​องค์​ประกอบ​หลัก​สำ�คัญๆ อยู่ 6 องค์​ ประกอบ คือ - องค์ป​ ระกอบ​ที่ 1 ผลิตภัณฑ์ (Product) - องค์ป​ ระกอบ​ที่ 2 ราคา (Price) - องค์ป​ ระกอบ​ที่ 3 ช่อง​ทางการ​จัดจ​ ำ�หน่าย (Place) - องค์ป​ ระกอบ​ที่ 4 การ​ส่งเ​สริม​การ​ขาย (Promotion) - องค์ป​ ระกอบ​ที่ 5 การ​ให้บ​ ริการ​แบบ​เจาะจง (Personalization) - องค์ป​ ระกอบ​ที่ 6 การ​รักษา​ความ​เป็น​ส่วน​ตัว (Privacy) โดย​มี​ราย​ละเอียด ดังนี้ องค์ป​ ระกอบ​ที่ 1 ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์แ​ ละ​บรรจุ​ภัณฑ์ (product and packaging) สำ�หรับ​สินค้า​ ทีจ​่ ะ​จ�ำ หน่าย​ผา่ น​เครือ่ ง​มอื ท​ าง​อเิ ล็กทรอนิกส์ค​ วร​มก​ี าร​คดั เ​ลือก​อย่าง​เหมาะ​สม ตรง​กบั ค​ วาม​ตอ้ งการ​ใน​ตลาด​ และ​สามารถ​เคลื่อน​ย้าย​สินค้าไ​ ด้ง​ ่าย เช่น ผลิตภัณฑ์ป​ ระเภท​ให้บ​ ริการ​เนื้อหา​สาระ (content provider) เป็น​ สินค้าป​ ระเภท​ไม่ถ​ าวร (soft product) เช่น เกม โปรแกรม​ประยุกต์ เพลง ภาพ​กราฟิก ข้อมูล​ข่าวสาร งาน​ วิจัย การ​จัด​ประชุม​สัมมนา​ออนไลน์ สินค้า​ประเภท​ความ​รู้​หรือ​การ​ศึกษา (education หรือ knowledge หรือ e-Learning courseware) การ​ให้​คำ�​ปรึกษา​ทั่วไป (consulting) ทนาย การ​ให้​คำ�​ปรึกษา​เรื่อง​สุขภาพ เป็นต้น ธุรกิจบ​ ริการ​และ​การ​สั่งจ​ อง (services and booking) เช่น การ​บริการ​ท่อง​เที่ยว ทัวร์ ที่พัก โรงแรม ภัตตาคาร ร้าน​อาหาร สถาน​ที่พัก​ผ่อน​หย่อน​ใจ เช่า​ยาน​พาหนะ หรือ​ตั๋ว​ภาพยนตร์ เป็นต้น สินค้าน​ ั้นต​ ้อง​มเี​อกลักษณ์แ​ ละ​ตำ�แหน่งผ​ ลิตภัณฑ์ท​ ีช่​ ัดเจน (uniqueness and good positioning) ควร​เป็น​สินค้า​ที่​มีเ​อก​ลักษณ์ม​ ากๆ มี​ขาย​แห่งเ​ดียว​ใน​โลก หรือ​สินค้า​ที่​เกิด​จาก​ภูมิปัญญา​ท้อง​ถิ่น ณ ที่​แห่ง​ นั้นเ​ท่านั้น หรือ​มีส​ ิ่ง​บ่งช​ ี้ท​ าง​ภูมิศาสตร์​ที่​กำ�หนด​ตำ�แหน่ง​ผลิตภัณฑ์​ไว้​อย่าง​ชัดเจน ควร​เป็น​สินค้า​ที่ก​ ำ�ลัง​อยู่ใ​ น​ความ​นิยม​และ​เป็นท​ ี่ต​ ้องการ​ใน​ตลาด (in trend) สินค้าห​ รือ​บริการ​ที่อ​ ยู​่ ใน​กระแส​ความ​นิยม เช่น สินค้า​เพื่อ​สุขภาพ บริการ​เกี่ยว​กับ​สุขภาพ เช่น สปา ชีว​จิต หรือ​สินค้า​แฟชั่น สินค้า​ ที่​เกี่ยว​กับ​ของ​ขวัญ​ของ​ที่​ระลึก​ต่างๆ สินค้า​ที่​รัฐบาล​ส่ง​เสริมก​ าร​ส่ง​ออก เช่น สินค้า​ชุมชน สินค้า​หนึ่ง​ตำ�บล​ หนึ่งผ​ ลิตภัณฑ์​ที่​ได้​รับ​รางวัล เป็นต้น ควร​ให้​ความ​สำ�คัญ​กับ​หีบห่อ​ที่​ขนส่ง​และ​ผู้​ให้​บริการ​ขนส่ง​ด้วย เพราะ​บรรจุ​ภัณฑ์​นอกจาก​สร้าง​ ความ​โดด​เด่น​แก่​สินค้า​แล้ว ยัง​ช่วย​ปกป้อง​สินค้า​ระหว่าง​การ​ขนส่ง​ได้ เอส​เอ็​มอี​สามารถ​ขอ​คำ�​ปรึกษา​เกี่ยว​ กับ​บรรจุ​ภัณฑ์​ได้ที่ กรม​ส่ง​เสริม​อุตสาหกรรม กรม​ส่ง​เสริม​การ​ส่ง​ออก หรือ​สำ�นักงาน​ส่ง​เสริม​วิสาหกิจข​ นาด​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-71

ธ ส

กลาง​และ​ขนาด​ย่อม (สสว.) ส่วน​การ​พิจารณา​ผู้​ให้​บริการ​ขนส่ง​ทั้ง​ใน​และ​ต่าง​ประเทศ (Logistic Service Provider - LSP) ควร​คำ�นึง​ถึง​ค่า​ใช้​จ่าย พิธีการ​ทาง​ศุลกากร ความ​ปลอดภัย​ใน​การ​ให้​บริการ และ​การ​รับ​ ประกัน​ความ​เสีย​หาย องค์ป​ ระกอบ​ที่ 2 ราคา การ​ตัดสิน​ใจ​ตั้งร​ าคา​สินค้า (price) สินค้า​ใน​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ส่วน​ใหญ่​ เป็นส​ ินค้าท​ ตี่​ ้อง​มบี​ ริการ​ขนส่งถ​ ึงม​ ือผ​ ู้รับส​ ินค้าบ​ าง​ประเภท​อาจ​มรี​ าคา​ถูกก​ ว่าค​ ่าข​ นส่ง แต่เ​มื่อร​ วม​กันแ​ ล้วอ​ าจ​ มี​ราคา​แพง​กว่า​สินค้า​ใน​ประเทศ​เป้า​หมาย และ​ใน​ระยะ​ยาว​ต้นทุน​สินค้า​ของ​ไทย​อาจ​มี​ราคา​แพง​กว่า​ประเทศ​ เพื่อน​บ้าน เนื่องจาก​ต้นทุน​ความ​เจริญ​ของ​ประเทศไทย​ที่​สูง​กว่า เช่น ค่าแรง ค่าบ​ ริการ​ขนส่ง หรือ​ต้นทุน​ทาง​ ความ​คิด ราคา​ไม่ใช่​จุด​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​ของ​ผู้​บริโภค​ใน​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ ดัง​นั้น จึง​ควร​ตั้ง​ราคา​ให้​เหมาะ​สม​ กับค​ ุณภาพ​สินค้าแ​ ละ​กำ�ลังซ​ ื้อข​ อง​กลุ่มเ​ป้าห​ มาย​ทีก่​ ำ�หนด​ไว้ และ​ควร​คำ�นวณ​ค่าข​ นส่งต​ าม​ระยะ​ทาง​ประเทศ​ เป้า​หมาย​เข้าไป​ใน​ราคา​สินค้า ใน​บาง​กรณี​อาจ​ต้อง​แยก​ราคา​สินค้า ค่า​ขนส่ง และ​ภาษี​ต่างๆ ออก​จาก​กัน และ​ แสดง​บน​หน้า​เว็บเพจ​ให้​ลูกค้าเ​ห็น​ได้​ชัดเจน หลัก​การ​ที่​ดี​ใน​การ​ตั้ง​ราคา​สินค้าใ​ น​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ คือ ไม่​ควร​ตั้ง​ราคา​ต่ำ�​เกิน​ไป​จน​ลูกค้า​ไม่​ มั่นใจ​ใน​คุณภาพ ควร​ตั้งร​ าคา​ให้​สม​เหตุ​สม​ผล​กับ​คุณค่า​สินค้า แต่​ถ้า​ราคา​แพง​กว่า​คู่​แข่งก​ ็​ควร​อธิบาย​ได้ ถ้า​ เป็นส​ ินค้าเ​ลียน​แบบ​ควร​ตั้งร​ าคา​ให้ต​ ่ำ�​กว่า หรือค​ วร​มหี​ ลาย​ระดับร​ าคา​ให้ล​ ูกค้าเ​ลือก​ทั้งต​ ่ำ�​และ​สูง เพราะ​ลูกค้า​ จะ​ไม่เ​สี่ยง​ซื้อส​ ินค้าร​ าคา​สูงใ​ น​ระยะ​เริ่มต​ ้น อีกว​ ิธีท​ ี่น​ ิยม​มาก​ใน​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ค​ ือ ควร​ให้ล​ ูกค้าก​ ำ�หนด​ ราคา​เอง​ได้ (price customization) เหมือน​กรณี​ของ www.dell.com ซึ่ง​สามารถ​ปรับร​ าคา​ได้​ตาม​ต้องการ (pricing on demand) แต่ใ​ น​ระยะ​ยาว​แล้วธ​ รุ กิจค​ วร​หนั ม​ า​มุง่ พ​ ฒ ั นา​สินค้าเ​พื่อล​ ด​ตน้ ทุนแ​ ละ​เพิ่มค​ วาม​หลาก​ หลาย​ใน​สินค้า​แทน​การ​ลด​ราคา อย่า​พยายาม​แข่งขัน​ราคา​กัน​บน​เว็บม​ ัก​ไม่​เกิด​ประโยชน์​อัน​ใด องค์ป​ ระกอบ​ที่ 3 ช่อง​ทางการ​จดั จ​ �ำ หน่าย สถาน​ทีจ่​ ำ�หน่าย​สินค้าแ​ ละ​วิธกี​ าร​จัดจ​ ำ�หน่าย (place and distribution channel) ทำ�เล​ที่​ตั้ง​ร้าน​ค้า​แบบ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ คือ ที่​อยู่​ของ​เว็บไซต์ ซึ่ง​ไม่​ได้​หมาย​ถึงที่​ อยู่​ของ​ตัว​ไฟล์​เว็บเพจ แต่​หมาย​ถึง​ชื่อ​ร้าน​ค้า​หรือ​ชื่อ​เว็บไซต์ ดัง​นั้น สิ่ง​ที่​แตก​ต่าง​จาก​ช่อง​ทางการ​จำ�หน่าย​ แบบ​การ​ตลาด​ดั้งเดิม​ก็​คือ จะ​ต้อง​ให้​ความ​สำ�คัญต​ ่อ​การ​ตั้ง​ชื่อ​เว็บไซต์เ​ป็น​อย่าง​ยิ่ง ชื่อเ​ว็บไซต์​หรือ​โด​เมน​เนม​เปรียบ​เสมือน​ตรา​ยี่ห้อ​สินค้า ซึ่ง​ควร​มี​เทคนิค​ที่​ดี ง่าย​ต่อ​การ​จดจำ� หรือ​ ค้นหา​ได้ง​ ่าย​ด้วย​เครื่อง​มือท​ าง​อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็บไซต์ช​ ่วย​ค้นหา ซึ่งเ​ป็นเ​ทคนิคท​ าง​คอมพิวเตอร์ท​ ี่ส​ ร้าง​ ความ​ได้เ​ปรียบ​ด้วย​การ​ลง​ทะเบียน​ใน​ระบบ​ค้นหา จะ​ทำ�ให้​ผู้​ค้นหา​สามารถ​พบ​เว็บไซต์​ที่​ต้องการ​ได้​ง่าย​ขึ้น ส่วน​ที่​อยู่ข​ อง​เว็บไซต์​หรือ​โฮสต์ห​ รือ​เว็บ​เซิร์ฟเวอร์ คือ ที่​อยู่ข​ อง​ไฟล์​ประเภท เอช​ที​เอ็ม​แอล (.html) พีเ​อชพี (.php) หรือเ​อ​เอส​พี (.asp) และ​ฐาน​ข้อมูลส​ ินค้าข​ อง​เว็บน​ ั้น ซึ่งจ​ ะ​อยูท่​ ีแ่​ ห่งใ​ ด​ก็ได้ใ​ น​โลก เว็บม​ าสเตอร์​ ส่วน​ใหญ่จ​ ะ​เลือก​โฮสต์ท​ ีม่​ คี​ ุณภาพ​ทาง​เทคนิคด​ ี มีค​ วามเร็วต​ ่อก​ าร​ตอบ​สนอง และ​มรี​ ะบบ​ความ​ปลอดภัยท​ ีด่​ ี ใน​ช่วง​เริ่มต​ ้น​ของ​การ​สร้าง​เว็บไซต์เ​พื่อก​ าร​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ ควร​เปิดโ​ อกาส​ลูกค้าไ​ ด้​ใช้​ช่องทาง​ จำ�หน่าย​เดิม​ใน​การ​ซื้อ​สินค้า​หรือ​บริการ​ด้วย จน​เมื่อ​ถึง​ระยะ​หนึ่ง​เห็น​ว่า​เหมาะ​สม​จึง​หัน​มา​ใช้​ช่อง​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์อ​ ย่าง​สมบูรณ์แ​ บบ ส่วน​การ​จัดจ​ ำ�หน่าย ถ้าเ​ป็นส​ ินค้าป​ ระเภท​ดิจิทัล ลูกค้าส​ ามารถ​ใช้เ​ครือข​ ่าย​ การ​สื่อสาร​ใน​การ​ดาวน์โหลด​ได้ คุณภาพ​ใน​การนำ�​ส่งข​ ้อมูลข​ ึ้นก​ ับโ​ ฮสต์ท​ ีเ่​รา​ใช้บ​ ริการ และ​ขึ้นอ​ ยูก่​ ับฮ​ าร์ดแวร์​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-72

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ของ​ลูกค้า จึง​ควร​อธิบาย​ให้​ลูกค้า​เข้าใจ​เรื่อง​คุณภาพ​ใน​การ​ดาวน์โหลด​ด้วย แต่​ถ้า​สินค้า​เป็น​สิ่งของ​ก็​ควร​ พิจารณา​ผู้ใ​ ห้บ​ ริการ​ขนส่งท​ ี่ด​ ีท​ ั้งใ​ น​เรื่อง​ราคา​ค่าข​ นส่ง ความ​ปลอดภัย การ​รับป​ ระกันค​ วาม​เสียห​ าย ความเร็ว​ ใน​การ​ให้​บริการ และ​พิธีท​ าง​ศุลกากร องค์ป​ ระกอบ​ที่ 4 การ​ส่งเ​สริมก​ าร​ขาย การ​ประชาสัมพันธ์​เว็บไซต์ (promotion) คือ การ​โฆษณา ประชาสัมพันธ์​บน​สื่ออ​ ิเล็กทรอนิกส์ เช่น การ​ทำ�​ป้าย​โฆษณา​ลง​บน​เว็บ​ที่​มีชื่อ​เสียง การ​แลก​ลิงก์​กับ​เว็บ​อื่นๆ การ​ลง​ทะเบียน​ใน​ระบบ​ค้นหา (registration in search engine) การ​ใช้​เว็บ​ตลาด​กลาง (promotion by shopping mall or e-Marketplace) การ​ลง​ทะเบียน​ใน​ระบบ​ค้นหา​นั้น เว็บม​ าสเตอร์จ​ ะ​ต้อง​รู้เ​ทคนิคท​ ี่ด​ ีใ​ น​การ​ตั้งช​ ื่อเ​ว็บไซต์ เทคนิคก​ าร​ ลง​ราย​ละเอียด​ผู้​ลง​ทะเบียน การ​ใช้​คำ�​สำ�คัญ หรือ​คำ�​อธิ​บาย​สั้นๆ ที่​เหมาะ​สม และ​การ​ใช้​เม​ทาแท็ก (meta tag) เพื่อ​ให้​ส​ไป​เด​อร์ (spider) หรือ​ค​รอ​เลอ​ร์ (crawler) ค้นหา​ได้​ง่าย และ​สามารถ​ขึ้น​ไป​อยู่​ใน​อัน​ดับ​ต้นๆ ของ​เครื่อง​มือ​ค้น​หา​นั้นๆ ตลอด​จน​การ​โฆษณา​และ​ประชาสัมพันธ์​ชื่อ​เว็บไซต์​ใน​เอกสาร​ที่​ออก​จาก​บริษัท​ ทั้งหมด ได้แก่ ใบปลิว นามบัตร แค​ตา​ล็อก โปสเตอร์ และ​การ​ลง​โฆษณา​ลง​สื่อมวลชน​ต่างๆ เป็นส​ ิ่ง​ที่​จำ�เป็น​ ใน​ระยะ​เริ่มต​ ้น องค์ป​ ระกอบ​ที่ 5 การ​ให้บ​ ริการ​แบบ​เฉพาะ​เจาะจง การ​ให้บ​ ริการ​ผ่าน​เว็บไซต์ส​ ามารถ​เก็บข​ ้อมูลข​ อง​ ลูกค้าแ​ ต่ละ​คน​ได้ จึงเ​ป็นค​ วาม​ได้เ​ปรียบ​กว่าก​ าร​ตลาด​แบบ​ดั้งเดิม เพราะ​สามารถ​ให้บ​ ริการ​เสมือน​เป็นล​ ูกค้า​ พิเศษ ซึ่ง​จะ​สร้าง​บริการ​และ​เสนอ​ขาย​สินค้า​ที่เ​หมาะ​สม​เป็น​ราย​บุคคล​และ​ตรง​ความ​ต้องการ (on demand) ได้ม​ าก​ที่สุด เหตุท​ ีท่​ ำ�ให้ก​ าร​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ช​ นะ​ใจ​ลูกค้าก​ ค็​ ือ การ​ให้บ​ ริการ​แบบ​ส่วน​บุคคล​ซึ่งเ​กิดจ​ าก​ความ​ สามารถ​ของ​ไฟล์​คุ้​กกี้ ซึ่ง​เป็น​ไฟล์​ข้อมูล​ขนาด​เล็ก (.txt) ที่​บันทึก​ใน​เครื่อง​ลูกค้า เว็บไซต์​จะ​สามารถ​รู้จัก​ ลูกค้า​ได้ท​ ันทีเ​มื่อ​ลูกค้า​กลับ​มา​ที่เ​ว็บไซต์​นี้​อีก​ครั้งห​ นึ่ง โดย​อ่าน​จาก​ข้อมูล​ใน​ไฟล์​คุ้​กกี้นี้​เอง จาก​นั้น​เว็บไซต์​ จะ​นำ�​ข้อมูล​ที่​ระบุ​ตัว​ตน​ของ​ลูกค้า​ไป​สัมพันธ์​กับ​สิ่ง​ที่​ลูกค้า​เคย​ซื้อ​ไว้​แล้ว ซึ่ง​เก็บ​อยู่​ใน​เครื่อง​คอมพิวเตอร์​ ของ​ร้าน​ค้า พร้อม​สร้าง​ความ​ประหลาด​ใจ​แก่ล​ ูกค้าท​ ี่ท​ ำ�ไม​เว็บไซต์​นี้จ​ ึงแ​ นะนำ�​และ​ทักทาย พร้อม​เสนอ​ขาย​ใน​ สิ่งท​ ี่​ลูกค้าต​ ้องการ​ได้​อย่าง​เหมาะ​สม เมื่อร​ ้าน​ค้าม​ ีข​ ้อมูลเ​กี่ยว​กับพ​ ฤติกรรม​การ​ซื้อข​ อง​ลูกค้าใ​ น​เครื่อง​คอมพิวเตอร์ม​ าก​ขึ้น ข้อมูลเ​หล่านี​้ เรียก​ว่า ฐาน​ข้อมูล​ลูกค้า (customer database) ซึ่ง​สามารถ​ใช้​โปรแกรม​ประ​เภท​ดาต้า​ไม​นิ่ง (data mining) ทำ�การ​วิเคราะห์​หาความ​สัมพันธ์​ใน​การ​ซื้อ​สินค้า รวม​ทั้ง​การ​เสนอ​ขาย​แบบ​ต่อ​เนื่อง (cross selling) ได้ เป็นการ​เปิดโ​ อกาส​ใน​การ​ขาย​สินค้า หรือเ​พิ่ม​ยอด​จำ�หน่าย​สินค้า​ใน​ร้าน​ได้​ง่าย​ขึ้น เทคโนโลยี​เหล่าน​ ี้​สามารถ​ นำ�​ไป​ใช้​กับ​ระบบ​คอลล์​เซ็นเตอร์​ได้ และ​จะ​เป็น​ก้าว​ต่อ​ไป​สำ�หรับ​การ​พัฒนา​รูป​แบบ​การ​ตลาด​ที่​เรียก​ว่า การ​บริหาร​ลูกค้า​สัมพันธ์ สรุป​ข้อไ​ ด้​เปรียบ​ใน​การ​ให้บ​ ริการ​แบบ​เฉพาะ​เจาะจง​ของ​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ - ได้​ข้อมูลล​ ูกค้าอ​ ัตโนมัติเ​มื่อม​ ี​การ​ซื้อ​เกิดข​ ึ้น ได้แก่ ชื่อ ที่​อยู่ เพศ อายุ การ​ศึกษา ราย​ได้ เบอร์​โทรศัพท์ อีเมล และ​อื่นๆ - ทราบ​พฤติกรรม​การ​ซื้อ เช่น ประเภท​สินค้า​ที่​ซื้อ ช่วง​เวลา​ที่​ซื้อ ฤดูกาล​ที่​ซื้อ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-73

ธ ส

- ทราบ​ปริมาณ​การ​ซื้อข​ อง​ลูกค้า​แต่ละ​ประเภท​ใน​ช่วง​เวลา​หนึ่ง - อันดับ​สินค้า​ขาย​ดี​ของ​ลูกค้าแ​ ต่ละ​กลุ่ม - กลุ่มข​ อง​ลูกค้าท​ ีท่​ ำ�​กำ�ไร​ให้ก​ ับร​ ้าน​ค้า เพื่อก​ ำ�หนด​ส่วน​ตลาด​ย่อย​ทีส่​ ำ�คัญ และ​กำ�หนด​ความ​ สำ�คัญ​ของ​ลูกค้า​เพื่อว​ างแผน​การ​ตลาด​ส่วน​ย่อย​ได้ - การ​ติดตาม​ผล​หลังก​ าร​ซื้อ และ​การ​ขอ​ความ​คิด​เห็น​จาก​ลูกค้า - สามารถ​ประเมิน​ผล​ความ​พึง​พอใจ​จาก​ลูกค้า​ได้​ง่าย องค์​ประกอบ​ที่ 6 การ​รักษา​ความ​เป็น​ส่วน​ตัว สิ่ง​ที่​ต้อง​ยอมรับ​และ​เป็น​จุด​อ่อนข​อง​การ​ใช้​อิเล็กทรอนิกส์ใ​ น​การ​ท�ำ การ​ตลาด​กค​็ อื ปัญหา​ดา้ น​การ​ละเมิดค​ วาม​สว่ น​ตวั ข​ อง​ผใู​้ ช้บ​ ริการ เช่น การนำ�​ขอ้ มูลส​ ว่ นตัว​ ของ​ลูกค้า​ที่เ​ข้า​มา​ใน​เว็บ​ไป​เผย​แพร่ ซึ่งเ​ป็นการ​กระทำ�​โดย​เจตนา ได้แก่ ราย​ชื่อ​ลูกค้า หมายเลข​บัตร​เครดิต​ ของ​ลูกค้า ที่​อยู่​ลูกค้า เบอร์​โทรศัพท์ อีเมล ทำ�ให้​เกิด​การ​ลักลอบ​นำ�​ข้อมูล​ลูกค้า​ไป​ใช้​ใน​ทาง​มิ​ชอบ หรือ​การ​ ส่ง​เอกสาร ข่าวสาร​ไป​ยัง​อีเมล​ของ​ลูกค้าม​ ุ่ง​หวัง​โดย​ไม่​ได้​รับ​อนุญาต ก่อ​ความ​รำ�คาญ​และ​รบกวน อีก​ทั้ง​การ​ ละเลย​เรื่อง​ความ​ปลอดภัยใ​ น​ข้อมูลล​ ูกค้า ข้อมูลถ​ ูกล​ ักลอบ​ขโมย​โดย​ไม่ต​ ั้งใจ เป็นท​ ี่มา​ของ​การ​เผย​แพร่ไ​ วรัส และ​อาชญากรรม​ทาง​คอมพิวเตอร์ ที่ท​ ำ�ให้ผ​ ู้บ​ ริโภค​เกิดค​ วาม​ไม่เ​ชื่อถ​ ือใ​ น​การ​ทำ�​ธุรกรรม​แบบ​อิเล็กทรอนิกส์ ก่อ​ให้​เกิดค​ วาม​เสียห​ าย​ทาง​เศรษฐกิจ​อย่าง​มาก การ​แก้​ปัญหา​ใน​ปัจจุบัน​ใน​ด้าน​ความ​ปลอดภัย​ใน​การ​ชำ�ระ​เงิน​เป็น​สิ่ง​สำ�คัญ​ที่​ผู้​ให้​บริการ​พาณิชย์​ อิเล็กทรอนิกส์ใ​ ห้ค​ วาม​ส�ำ คัญใ​ น​อนั ด​ บั ต​ น้ ๆ จึงไ​ ด้ม​ ก​ี าร​พฒ ั นา​วธิ ก​ี าร​ช�ำ ระ​เงินใ​ ห้ป​ ลอดภัยแ​ ละ​คุม้ ครอง​บริโภค​ อย่าง​ต่อ​เนื่อง​จนถึง​ระดับ​ที่​ดีม​ าก​ใน​ปัจจุบัน เช่น การ​พัฒนา​ระบบ​การ​ชำ�ระ​เงิน​ของ​วีซ่า (Verified by VISA) เทคนิคก​ าร​เข้าร​ หัสล​ ับ (cryptographic technique) เทคนิคก​ ุญแจ​สาธารณะ (Public Key InfrastructurePKI) การ​ออก​ใบรับร​ อง​อเิ ล็กทรอนิกส์แ​ ก่เ​ว็บไซต์ การ​ใช้ร​ ะบบ​ลายมือช​ ือ่ ด​ จิ ทิ ลั (digital signature) ตลอดจน​ การ​พัฒนา​วิธี​การ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​โทรศัพท์เ​คลื่อนที่​ของ​ธนาคาร​ต่างๆ ใน​ปัจจุบัน​ผู้​ให้​บริการ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์​ใน​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ระดับ​โลก มี​การ​รวม​ตัว​กัน ​สร้าง​องค์กร​กลาง​ไม่​แสวงหา​ก�ำ ไร​เพือ่ ​สร้าง​ความ​มน่ั ใจ​แก่​ผ​ใู้ ช้​บริการ เรียก​วา่ ซี​เอ (CA - Certified Authorities) ด้วย​การ​ให้​สัญลักษณ์ค​ วาม​ปลอดภัย เช่น TRUSTe, VeriSign หรือ Thawte แก่​เว็บไซต์​ที่​น่า​เชื่อ​ถือ ส่วน​ใน​ประเทศไทย​ได้ม​ ก​ี าร​พฒ ั นา​ทรัสต์ม​ าร์ก​ (TrustMark) ขึน้ โ​ ดย​กรม​พฒ ั นา​ธรุ กิจก​ าร​คา้ กระทรวง​พาณิชย์ และ​ได้ก​ ำ�หนด​ให้​ผู้ป​ ระกอบ​การ​พาณิชย์อ​ ิเล็กทรอนิกส์ใ​ น​ประเทศไทย​ทุก​คน​ต้อง​ขึ้น​ทะเบียน​ผู้​ประกอบ​การ​ อิเล็กทรอนิกส์ทุก​ราย​เพื่อค​ วาม​ปลอดภัย​ของ​ทั้งผ​ ู้​ให้​บริการ​และ​ผู้​ใช้​บริการ การ​วางแผน​การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ซึ่งม​ ี​ทั้งหมด 6 องค์​ประกอบ ที่​ได้​กล่าว​ไป​แล้ว​ทั้งหมด 4 องค์​ ประกอบ คือ การ​วิเคราะห์ส​ ภาวะ​แวดล้อม การ​กำ�หนด​วัตถุประสงค์ การ​วิเคราะห์เ​ชิงกล​ยุทธ์ และ​กลวิธี ส่วน​ ท้าย​ที่​จะ​กล่าว​ถึง​ต่อ​ไป​คือ องค์ป​ ระกอบ​ที่ 5 การ​ดำ�เนิน​งาน และ​องค์​ประกอบ​ที่ 6 การ​ควบคุม ดังนี้ องค์​ประกอบ​ที่ 5 การ​ดำ�เนิน​การ (actions) ส่วน​ประกอบ​ของ​การ​ดำ�เนิน​การ​ใน​แง่​แผนการ​ตลาด​ อิเล็กทรอนิกส์ หมาย​ถึง กิจกรรม​ที่​ผู้​จัดการ​ปฏิบัติ​เพื่อ​ให้​แผน​งาน​บรรลุ​ผล​สำ�เร็จ เมื่อ​มี​การ​ระบุ​ว่า​จะ​ต้อง​ ดำ�เนิน​การ​อย่างไร ควร​มี​การ​หา​คำ�​ตอบ​สำ�หรับ​คำ�ถามต่อไ​ ป​นี้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-74

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

- ระดับก​ าร​ลงทุนข​ อง​ช่อง​ทางการ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์เ​พียง​พอ​ต่อก​ าร​ให้บ​ ริการ​หรือไ​ ม่ ระยะ​ เวลา​คืนท​ ุน​นาน​เท่าใด - ต้อง​มี​การ​ฝึก​อบรม​พนักงาน​หรือ​ไม่ - ภาระ​ใหม่อ​ ัน​ใด​ที่ต​ ้อง​ทำ�​เพื่อใ​ ห้การ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์​ประสบ​ผล​สำ�เร็จ - โครงสร้าง​ของ​องค์กร​ใน​การ​ให้​บริการ​ทาง​อินเทอร์เน็ต​ต้อง​มี​การ​เปลี่ยนแปลง​หรือ​ไม่ - กิจกรรม​ใด​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​สร้าง​และ​การ​ดูแล​เว็บไซต์ ใน​ขั้น​ตอน​นี้​คือ การ​สรุป​การ​ดำ�เนิน​งาน​ทั้งหมด​ที่ต​ ้อง​เกิด​ขึ้น​ใน​แผนการ​ตลาด​อิเล็กทรอนิกส์ องค์​ประกอบ​ที่ 6 การ​ควบคุม (control) ส่ ว น​ป ระกอบ​ข อง​ก าร​ค วบคุ ม ​ใ น​แ ง่ ​แ ผนการ​ต ลาด​ อิเล็กทรอนิกส์ส​ ามารถ​ท�​ำ ผา่ น​การ​วจิ ยั ต​ ลาด​เพือ่ ใ​ ห้ไ​ ด้ม​ มุ ม​ อง​และ​ความ​คดิ เ​ห็นข​ อง​ลกู ค้า รวม​ถงึ ก​ าร​วเิ คราะห์​ ข้อมูลประวัติของเว็บเซิร์ฟเวอร์ (web-server log) ด้วย​เครื่อง​มือข​ อง​เว็บไซต์ ที่ใ​ ช้เ​ทคโนโลยีใ​ น​การ​ควบคุม​ ติดตาม​ผล​เพื่อ​ประเมิน​ว่าการ​ดำ�เนิน​งาน​บรรลุ​วัตถุประสงค์​หรือ​ไม่ นอกจาก​นี้ อินทราเน็ต​ยังสามารถ​ถูก​ใช้​ เพื่อ​แบ่ง​ปันข​ ้อมูล​ระหว่าง​นักการ​ตลาด​และ​ที่​ปรึกษา​ภายใน​องค์กรด้วย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 3.3.3 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 3.3.3 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 3 ตอน​ที่ 3.3 เรื่อง​ที่ 3.3.3

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส


บรรณานุกรม

ธ ส

ธ ส

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

3-75

ธ ส

กันยา​รัตน์ ศรี​วิ​สทิ​ยกุล (2553) ใน เอกสาร​ประกอบ​การ​สอน​ธุรกรรม​อิเล็กทรอนิกส์ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัย​ ศรีปทุม ไกร​ชิต สุ​ตะ​เมือง (2549) “อิทธิพล​ของ​การ​จัดการ​ลูกค้า​สัมพันธ์​ที่​มี​ต่อ​ความ​ตั้งใจ​ซื้อ​ซ้ำ�​ของ​ธุรกิจ​รถยนต์​นั่ง​ใน​ ประเทศไทย” ดุษฎีนิพนธ์ โครงการ​ดุษฎี​บัณฑิต​ทาง​สังคมศาสตร์ สาขา​วิชา​บริหารธุรกิจ คณะ​บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยร​ ามคำ�แหง​ ทวีศ​ ักดิ์ กาญ​จน​สุวรรณ (2552) การ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ กรุงเทพมหานคร เค​ที​พี คอม​พ์ แอนด์ คอน​ซัลท์ พิบูล ที​ปะ​ปาน (2545) หลักก​ าร​ตลาด​ยุค​ใหม่​ใน​ศตวรรษ​ที่ 21 กรุงเทพมหานคร โรง​พิมพ์ม​ ิตร​สัมพันธ์ก​ ราฟ​ฟิค ภาวุ​ธ พงษ์​วิทย​ภา​นุ “วิเคราะห์​กระแส e-Commerce ใน​ไทย​และ​ทั่ว​โลก ปี 51-51” เว็บไซต์ http://www.marketingbyte.com/articles/article-307-e-commerce-51-52. วิกิ​พีเดีย วี​โอ​ไอ​พี แหล่ง​ที่มา: http:/th.wikipedia.org/wiki/.[22/09/51]. โด​เมน​เนม แหล่ง​ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/.[22/09/51]. อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็ก​ซ์ทรา​เน็ต แหล่ง​ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/.[6/11/51] วัชร​พงศ์ ยะ​ไวทย์ (2542) E-commerce และ​กลยุทธ์​การ​ทำ�​เงินบ​ น​อินเทอร์เน็ต กรุงเทพมหานคร ซี​เอ็ด ยูเคชั่น วิทวัส รุ่งเรือง​ผล (2546) หลักก​ าร​ตลาด พิมพ์​ครั้งท​ ี่ 2 กรุงเทพมหานคร โรง​พิมพ์ม​ หาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์ ศิริ​วรรณ เสรี​รัตน์ ปริญ ​ ลัก​ษติ​ า​นนท์ ศุภร เสรี​รัตน์ และ​อาภา ป​ทะ​วานิช (2541) การ​บริหาร​ตลาด​ยุค​ใหม่ กรุงเทพมหานคร สำ�นักพ​ ิมพ์​ธีร​ะ​ฟิล์มแ​ ละ​ไซ​เท็กซ์ จำ�กัด ศิว​ฤทธิ์ พงศกร​รังศ​ ิลป์ (2547) หลักก​ าร​ตลาด (Principle of Marketing) กรุงเทพมหานคร สำ�นัก​พิมพ์ท​ ้อ​ป อาณัติ ลี​มัค​เดช (2546) เรียน​รู้​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ ภาค​ทฤษฎี​และ​ปฏิบัติ พิมพ์​ครั้ง​ที่ 1 กรุงเทพมหานคร เอ​อาร์บ​ ิซิเนส​เพรส Brad Alan Kleindl. (2003). Strategic Electronic Marketing. Thomsion. Dave Chaffey. (2007). E-Business and E-Commerce Management. (Strategy, Implementation and Practice). Person Education Limited. Gary L. Lilien, Philip Kotler, P. and Sridhar Moorthy. (1992). Marketing Models. New Jersey: Prentice–Hall, Inc. Joel Reedy, Shauna Schullo and Kenneth Zimmerman. (2000). Electronic Marketing. Harcourt College Publishers. Kotter Strauss and Raymond Frost. (2009). Electronic Marketing. Pearson Education International. Kotler, P. (2000). Marketing Management. New Jersey: Prentice–Hall, Inc. Mohammed Rafi, Fisher Robert, Jaworski Bernard and Paddison Gordon J. (2003). Internet marketing. McGraw-Hill.

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


3-76

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

Roft R. (1999). “Audience and Environment: Measurement and Media.” in P. J. Kitchen. (ed.) Marketing Communications: Principles and Practices 1. London: LTP Business Press.

ธ ส

Simon Collin. (2000). Electronic Marketing. John Wiley & Sons, ed.

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.