เอกสารอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส ข องมหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าชฉบั บ นี้ ได รั บ การสงวนลิ ข สิ ท ธิ์ แ ละคุ ม ครองภายใต ก ฎหมายลิ ข สิ ท ธิ์ รวมทั้ ง สนธิ สั ญ ญาว า ด ว ยทรั พ ย สิ น ทางป ญ ญา
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
หน่วยที่
4
ธ ส
ม
โครงสร้างพื้นฐ านธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ชื่อ วุฒ ิ ตำ�แหน่ง หน่วยที่เขียน
ธ ส
ธ ส
ธ ส
ธ ส
ม
อาจารย์ชัยยง ว่องวุฒิกำ�จร
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
อาจารย์ชัยยง ว่องวุฒิกำ�จร วศ.บ., วศ.ม. (ไฟฟ้า) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พณ.ม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตผู้อำ�นวยการอาวุโส สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ บมจ. ธนาคารกรุงไทย หน่วยที่ 4
ม
4-1
4-2
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
หน่วยที่ 4
ธ ส
ม
โครงสร้างพื้นฐ านธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
เค้าโครงเนื้อหา
วัตถุประสงค์
ม
ตอนที่ 4.1 โครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายสื่อสาร 4.1.1 เครือข ่ายสื่อสารโทรคมนาคม 4.1.2 เครือข ่ายอินเทอร์เน็ต 4.1.3 การประยุกต์ทางเว็บและอินเทอร์เน็ต ตอนที่ 4.2 โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 4.2.1 ฮาร์ดแวร์แ ละซอฟต์แวร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 4.2.2 ภาษาโปรแกรมเว็บ 4.2.3 การรักษาความมั่นคงของข้อมูลและองค์กร
ธ ส
ม
แนวคิด
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส ธ ส
ม
1. การสื่อสารมีบทบาทอย่างยิ่งต่อความก้าวหน้าของธุรกิจ ทำ�ให้สามารถติดต่อค้าขายกับ คู่ค ้าแ ละลูกค้าไ ด้ร วดเร็วแ ละได้ท ุกแ ห่งท ั่วโ ลก และยังข ับด ันใ ห้ก ระบวนการทางพาณิชย์ และอุตสาหกรรมมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปด้วย 2. การนำ�ระบบธุรกิจอ ิเล็กทรอนิกส์ม าใช้ง าน จะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการทำ�งานเสียใ หม่ และจะต้องเตรียมงบประมาณลงทุนที่ค่อนข้างสูงทางด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วย
ธ ส
ม
ม
ธ ส
เมื่อศ ึกษาหน่วยที่ 4 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต การประยุกต์ทางเว็บและ อินเทอร์เน็ตได้ 2. อธิบายฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ภาษาโปรแกรมเว็บ และการรักษา ความมั่นคงของข้อมูลและองค์กรได้
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ตอนที่ 4.1
ธ ส
ม
โครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายสื่อสาร
4-3
ธ ส
ม
โปรดอ่านแผนการสอนประจำ�ตอนที่ 4.1 แล้วจ ึงศึกษาเนื้อหาสาระ พร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง
ม
หัวเรื่อง
แนวคิด
ธ ส
เรื่องที่ 4.1.1 เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม เรื่องที่ 4.1.2 เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องที่ 4.1.3 การประยุกต์ทางเว็บและอินเทอร์เน็ต
ธ ส
ม
ธ ส
1. เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมทำ�หน้าที่รับและส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสาร โดยวิธีต ่างๆ 2. เครือข ่ายอินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายที่ใ ช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลหรือเครือข่าย ไอพี 3. การประยุกต์ท างเว็บแ ละอนิ เทอร์เน็ตทีส่ �ำ คัญ ได้แก่ เครือ่ งสบื ค้น ไปรษณียอ์ เิ ล็กทรอนิกส์ การสื่อสารด้วยข้อความด่วนและการพูดคุยวิดีโอ ห้องสนทนา คอมพิวเตอร์สังคม เครือข่ายสังคม การประมูลทางเว็บ สำ�นักงานบนเว็บ และบริการทางเว็บอื่นๆ
ม
วัตถุประสงค์
ธ ส
ม
ม
ธ ส
เมื่อศึกษาตอนที่ 4.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายโครงสร้างของเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงข่ายเทคโนโลยีแถบความถี่กว้าง เทคโนโลยีโครงข่ายดิจิทัล แนวโน้มของเครือข่ายอุปกรณ์ส ื่อสารวิสาหกิจ และเทคโนโลยี ไร้ส ายและการสื่อสารไอพีไ ด้ 2. อธิบายโครงสร้างของการสื่อสารข้อมูลรูปแบบทีซีพี/ไอพี โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต การ ทำ�งานของระบบอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต ระบบเวิลด์ไวด์เว็บ ความหมาย ของเว็บ 1.0 เว็บ 2.0 เว็บ 3.0 และเว็บ 4.0 ได้
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
4-4
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
3. อธิบายการประยุกต์ท างเว็บแ ละอินเทอร์เน็ตต่างๆ เครื่องสืบค้น ไปรษณีย์อ ิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสารด้วยข้อความด่วนและการพูดคุยวิดีโอ การหางาน การส่งแฟ้มเอกสาร เว็บล็อก ห้องสนทนา คอมพิวเตอร์สังคม การเอื้อเฟื้อทางสื่อ การทำ�เครื่องหมายสังคม การลำ�เลียงเนื้อหา ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ การชำ�ระเงินด้วยอิเล็กทรอนิกส์ การประมูล ทางเว็บ การดูหนังฟังเพลงทางอินเทอร์เน็ต สำ�นักงานบนเว็บ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และหนังสือเสียง บริการทางเว็บอื่นๆ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ได้
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
ธ ส
ม ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
ธ ส
เรื่องที่ 4.1.1 เครือข ่ายสื่อสารโทรคมนาคม
ธ ส
4-5
ม
การสื่อสารมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการวิวัฒนาการของธุรกิจ เนื่องจากทำ�ให้สามารถย่นระยะทางและ เวลาลงได้ ยิ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีมาก การสื่อสารก็ยิ่งมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมีผลทำ�ให้การทำ� ธุรกิจสามารถติดต่อค้าขายกับคู่ค้าและลูกค้าได้รวดเร็วและได้ทุกแห่งทั่วโลก นอกจากนั้น การสื่อสาร โทรคมนาคมยังขับเคลื่อนให้กระบวนการทางพาณิชย์และอุตสาหกรรมมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง ไปด้วย โครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายสื่อสาร หมายถึง เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ ที่ทำ�หน้าที่รับ และส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารโดยวิธีต่างๆ เช่น โทรศัพท์ วิทยุ และโทรทัศน์ เคเบิลทีวี โทรศัพท์มือถือการสื่อสารไร้ส าย ระบบดาวเทียม ระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ก่อนอื่นจะกล่าวถึงโครงสร้าง ของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยสังเขป
ม
ธ ส
ม
1. โครงสร้างของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ม
ธ ส
ธ ส
ม
โครงสร้างของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำ�คัญ 5 ประการ คือ ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการบริหารข้อมูล เทคโนโลยีโครงข่ายและ การสื่อสารโทรคมนาคม และการให้บริการทางเทคโนโลยี โดยที่องค์ป ระกอบทั้ง 5 ประการนี้จะต้องมีการ ประสานงานซึ่งกันและกันด้วย ดังแ สดงในภาพที่ 4.1
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ฮาร์ดแวร์ (hardware) การบริการ (services)
เครือข่าย (network)
การ บริหารข้อมูล (data management)
ธ ส
ม
ธ ส
ซอฟต์แวร์ (software)
ม
ภาพที่ 4.1 องค์ป ระกอบของโครงสร้างของเทคโนโลยีส ารสนเทศ
4-6
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
1.1 ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำ�หรับการประมวลผล การ จัดเก็บข้อมูล การนำ�ข้อมูลเข้า และนำ�ข้อมูลออก ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe) คอมพิวเตอร์ข นาดกลาง หรือเซิร์ฟเวอร์ (servers) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ หรือพีซี (desktop PC) และแบบวางตัก (laptop) หรือโน้ตบุ๊ก (notebook) รวมถึงอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ซึ่งสามารถเชื่อม ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อรับหรือส่งข้อมูลที่สำ�คัญ ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเครื่องสมาร์ตโฟน ต่างๆ (smartphone) เช่น เครื่องช่วยงานส่วนบุคคล หรือพีดีเอ (Personal Digital Assistants - PDA) เครื่องไอแพด (i-Pad) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงอุปกรณ์สำ�หรับนำ�เข้าข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ เป็นต้น อุปกรณ์สำ�หรับเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือสื่อเก็บข้อมูล เช่น ซีดีรอม (CD-ROM) หรือ ธัมไดรฟ์ (thumb drive) เป็นต้น และอุปกรณ์สำ�หรับแสดงผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น และ อุปกรณ์สำ�หรับรับหรือส ่งข้อมูล เช่น โมเด็ม (modem) เป็นต้น 1.2 ซอฟต์แวร์ค อมพิวเตอร์ หมายถึง ชุดคำ�สั่งที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำ�งานของคอมพิวเตอร์ ให้ทำ�ตามคำ�สั่งนั้นๆ ซอฟต์แวร์หรือชุดคำ�สั่งนี้ยังนิยมเรียกว่าโปรแกรมด้วย ซอฟต์แวร์อาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) ซอฟต์แวร์ระบบมีหน้าที่ควบคุมการทำ�งานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ดอส (DOS) วินโดวส์ (Windows) ลีนุกซ์ (Linux) เป็นต้น ส่วนซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์สำ�หรับใช้เฉพาะงาน เช่น โปรแกรม ทำ�บัญชี โปรแกรมพิมพ์เอกสาร โปรแกรมเล่นเกม เป็นต้น 1.3 เทคโนโลยีการบริหารข้อมูล หมายถึง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้สำ�หรับการบริหารจัดการข้อมูล ขององค์กรที่เก็บไว้ในฮาร์ดแวร์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ทางธุรกิจขององค์กรนั้นๆ เช่น ซอฟต์แวร์ กิจการธนาคาร ซอฟต์แวร์ควบคุมการผลิต เป็นต้น 1.4 เทคโนโลยีโครงข่ายและการสื่อสารโทรคมนาคม หมายถึง อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ทำ�หน้าที่อำ�นวยการเชื่อมต่อและรับส่งข ้อมูลให้แก่ผู้บริหาร ตลอดจนเจ้าห น้าที่ระดับต่างๆ ภายในองค์กร เช่น เครือข่ายแลน เป็นต้น รวมทั้งรับส่งข้อมูลให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ผ่านเครือข ่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น 1.5 การให้บริการทางเทคโนโลยี หมายถึง บุคลากรที่รับผิดชอบระบบสารสนเทศขององค์กร บุคลากรดังกล่าวจะต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถในการบริหาร ดูแลและแก้ไขปัญหาระบบสารสนเทศ รวมถึงการปรับปรุงต ่อเติม หรือทำ�การ บูรณาการ (system integration) ระบบใหม่เข้ากับระบบเดิมที่มีอยู่ (legacy system) ในกรณีที่องค์กร มีบุคลากรไม่พอเพียง อาจว่าจ้างบุคคลภายนอกมาช่วยงานบางส่วนเป็นครั้งคราว ก็เป็นที่นิยมกันใน ปัจจุบันนี้
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
2. เครือข่ายสื่อสารข้อมูล
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
เครือข่ายสื่อสารข้อมูล (communication network) หมายถึง การนำ�อุปกรณ์ตั้งแต่ 2 เครื่อง ขึ้นไปมาเชื่อมต่อให้สื่อสารถึงกัน โดยผ่านช่องทางเชื่อมต่อที่เป็นกายภาพซึ่งเป็นเส้นทางที่ข้อมูลอาศัยเป็น
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-7
ธ ส
ทางผ่าน อุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวหรือที่เรียกกันว่า สถานี (station) หรือบางครั้งก็เรียกว่า โหนด (node) นั้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถรับและ/หรือส่งข้อมูลกับโหนด อื่นๆ ได้ สำ�หรับคำ�ว่า เครือข่าย (network) นั้นเป็นคำ�ที่ใช้เรียกกันโดยรวม แต่ส่วนที่เป็นเครือข่ายที่เป็น แกนหลัก (backbone) จะเรียกว่า “โครงข่าย” ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ผู้ให้บริการการสื่อสารใช้ในการบริหาร จัดการเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า และในบางครั้งก ็อนุโลมให้ใช้เรียกสลับแทนกันได้ ขึ้นอยู่กับบริบทที่ผู้พูดจะ สื่อให้เข้าใจ ในที่นี้จะกล่าวถึง ตัวกลางในการส่งข้อมูล ประเภทของเครือข่ายสื่อสารดิจิทัล และโครงข่าย เทคโนโลยีแถบความถี่กว้าง 2.1 ตัวกลางในการส่งข้อมูล หมายถึง ตัวกลางหรือสื่อกายภาพใดๆ ที่ทำ�หน้าที่ส่งผ่านข้อมูลจาก ต้นทางถึงปลายทางได้ ตัวกลางในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารมีอยู่หลายประเภท เช่น สายไฟ ตีเกลียว (twisted wire) สายโคแอ็กเชียล (coaxial cable) สายใยแก้วนำ�แสง (fiber optics) รวมทั้ง ตัวกลางที่เป็นอ ากาศที่ใช้ส ่งด้วยวิทยุ หรือที่เรียกเป็นประเภทสื่อไร้สาย (wireless) ตัวกลางแต่ละประเภท ต่างก็มีข ้อดีข้อด ้อย ขึ้นอยู่ก ับการจัดรูปแบบของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ มีรายละเอียด ดังนี้ 1) สายไฟตีเกลียว เป็ น ส ายท องแดงหุ้ ม ฉ นวน แล้ ว พั น กั น เ ป็ น เ กลี ย ว เพื่ อ ข จั ด ค ลื่ น สัญญาณรบกวนจากเครื่องส่งวิทยุหรือฟ้าแลบได้ สายไฟตีเกลียวยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ “สาย ภายนอก” (arial cable) และ “สายภายใน” (indoor cable) สายภายนอกจะมีลักษณะแข็ง เนื่องจาก มีการเพิ่มเส้นลวดขึ้นมาอีกเส้นหนึ่ง ใช้สำ�หรับผูกยึดกับเสาหรืออาคาร มีฉนวนหุ้มเป็นสีดำ� เพื่อให้ทนต่อ ฝนและแสงแดด ส่วนสายภายในจะมีลักษณะอ่อน มีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น ฉนวนชั้นนอกจะหุ้มรวมสายทั้งหมด และมักจะเป็นสีเหลืองอ่อน ส่วนชั้นในเป็นสายทองแดงตีเป็นเกลียว โดยสายทองแดงแต่ละเส้นจะมีฉนวน หุ้มแยกเป็นสีๆ เช่น สีแดง สีดำ� สีเหลือง สีเขียว เป็นต้น เพราะบางครั้งอาจมีหลายคู่ก็ได้ สายโทรศัพท์ เป็นสายไฟตีเกลียวซึ่งส ามารถส่งผ่านข้อมูลได้ถ ึง 1.0 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) 2) สายโคแอ็กเชียล เป็นสายที่ตัวนำ�สองตัวมีแกนร่วมกัน ประกอบด้วย ตัวนำ�สายทองแดง เป็นแกนกลางอยู่ชั้นใน และสายทองแดงถักเป็นตาข่ายหุ้มรอบแกนกลาง โดยมีฉนวนพลาสติกลักษณะ เป็นท่อ กั้นระหว่างตัวนำ�ทั้งสอง และมีเปลือกพลาสติกหุ้มเป็นชั้นนอกสุด หากมองรูปตัดขวาง จะเห็นว่า ทุกชั้นจะมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน จึงเรียกว่า สายโคแอ็กเชียล (coaxial) เป็นสายที่สามารถส่งสัญญาณที่ มีความถี่สูงกว่าสายไฟตีเกลียว จึงใช้สำ�หรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง เช่น 600 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลเสียงได้ถึง 10,000 ช่อง นอกจากนี้ สายโคแอ็กเชียลยังมีคุณสมบัติ ป้องกันคลื่นรบกวนได้ดี เนื่องจากตัวนำ�แกนกลางถูกหุ้มด้วยตัวนำ�ชั้นนอก ซึ่งทำ�หน้าที่เป็นเกราะป้องกัน ในตัว 3) สายใยแก้วนำ�แสง หรือสายไฟเบอร์อ็อพติกส์ เป็นสายที่มีลักษณะคล้ายสายโคแอ็กเชียล มีแกนกลางทำ�ด้วยวัสดุแก้วหรือพลาสติกใส เคลือบด้วยวัสดุพิเศษ แล้วหุ้มด้วยชั้นของพลาสติกอ่อน และชั้นของตาข่ายถัก และชั้นเปลือกนอกเป็นพลาสติกเหนียว ทั้งนี้ เพื่อความแข็งแรงทนทาน สายใยแก้ว นำ�แสงส่งข้อมูลด้วยความเร็วที่สูงมากถึง 1.6 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) จึงนิยมใช้เป็นตัวกลางสื่อสาร แกนหลัก ถึงแม้จะมีต้องลงทุนสูง แต่ประหยัดกว่าการใช้ตัวกลางสื่อสารทางอื่นที่มีประสิทธิภาพเท่าก ัน
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-8
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
4) สื่อไร้สาย เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุในย่านความถี่ต่างๆ เป็นพาหะผ่านตัวกลาง ที่เป็นอากาศ การสื่อสารด้วยระบบไมโครเวฟ เป็นระบบที่นิยมใช้ในการส่งข้อมูลปริมาณมากๆ ทั้งการ สื่อสารบนพื้นโลกและสื่อสารผ่านดาวเทียม สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วที่สูงถึง 600 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ในปัจจุบันการสื่อสารไร้สายกำ�ลังได้รับความนิยมสูงขึ้น การเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตก็มีความ สะดวกยิ่งขึ้น เช่น สามารถต่อเข้าอินเทอร์เน็ตด้วยเทคโนโลยีจีพีอาร์เอส (GPRS) และเอดจ์ (EDGE) ได้ทุกที่ แม้จะเป็นกลางป่า หากที่ต ำ�บลนั้นมีสัญญาณระบบโทรศัพท์มือถือเข้าถ ึง 2.2 โครงข่ายเทคโนโลยีแถบความถี่กว้าง โครงข่ายจำ�นวนมากในปัจจุบันมีความต้องการที่จะ ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง เพื่อตอบสนองตามความจำ�เป็นของธุรกิจ เช่น ธุรกิจธนาคารที่จะต้องให้บริการ ลูกค้าจำ�นวนมากในคราวเดียวกัน ผ่านโครงข่ายสื่อสารข้อมูลเทคโนโลยีแถบความถี่กว้างส่วนบุคคลไปยัง สาขาต่างๆ และยังม ีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้บ ริการลูกค้า ซึ่งสามารถทำ�รายการตรงจากที่บ้านด้วย เป็นต้น รวมทั้งบริการทางอุปกรณ์เคลื่อนที่ผ่านเครือข่ายไร้สายต่างๆ ซึ่งเครือข่ายทั้งหลายเหล่านี้ต่างก็จะต้อง อาศัยโครงข่ายเทคโนโลยีแ ถบความถี่กว้าง (broadband network) เป็นแกนหลักเป็นส่วนใหญ่ โครงข่าย เทคโนโลยีแถบความถี่ก ว้าง มีห ลายประเภท ดังนี้ 1) เฟรมรีเลย์ (frame relay) เป็ น บ ริ ก ารโ ครงข่ า ยร่ ว ม ซึ่ ง มี ค วามเร็ ว สู ง ก ว่ า แ ละร าคา ถูกกว่า การสื่อสารแบบแพ็กเก็ตสวิตช์แบบเดิม สามารถส่งด้วยความเร็วสูงตั้งแต่ 56 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps) ถึง 40 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) โดยเฟรมรีเลย์จะแบ่งข ้อมูลออกเป็นกลุ่มของเฟรม ซึ่งมีลักษณะ คล้ายกับแพ็กเก็ต แต่มีขนาดของข้อมูลใหญ่กว่า และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า มีความผิดพลาดน้อยกว่า จึงทำ�ให้สามารถส่งข ้อมูลด้วยความเร็วสูง และเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันนี้ 2) เอทีเอ็ม (ATM - Asynchronous Transfer Mode) หรือระบบถ่ายโอนแบบไม่ประสาน เวลา เป็นโครงข่ายที่มีความเร็วสูงขึ้นไปอีก โดยในทำ�นองเดียวกันกับเฟรมรีเลย์ ระบบเอทีเอ็มใช้ความ ทันสมัยของเทคโนโลยีที่ให้ความเร็วสูงกว่า สามารถส่งด้วยความเร็วสูงตั้งแต่ 1.5 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ถึง 9 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) จึงนิยมกันมากในการใช้เป็นส่วนของแกนหลักของโครงข่าย 3) ไอเอสดีเอ็น (ISDN - Integrated Service Digital Network) หรือโครงข่ายบริการสื่อสาร ร่วมระบบดิจิทัล เป็นโครงข่ายสื่อสารโทรศัพท์ระหว่างประเทศรุ่นเก่าที่ให้บริการการสื่อสารที่รวมทั้ง สัญญาณที่เป็นเสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลดิจิทัล ความเร็วที่ให้บริการคือ 128 กิโลบิต ต่อวินาที (Kbps) ถึง 1.5 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ถึงแม้ว่าไอเอสดีเอ็นจะสู้ระบบเฟรมรีเลย์และเอทีเอ็ม ในหลายๆ ด้านไม่ได้ก็ตาม แต่เนื่องจากมีการให้บริการมาก่อน และมีราคาไม่สูงนัก เหมาะสำ�หรับธุรกิจ ขนาดเล็กแ ละขนาดกลาง อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ระบบดีเอสแอล (DSL - Digital Subscriber Line) กำ�ลังเข้ามาแทนที่แ ล้ว เนื่องจากให้ความเร็วท ี่สูงกว่าไอเอสดีเอ็น คือ 1.0–10.0 เมกะบิตต ่อวินาที (Mbps) ส่วนที่ใ ห้บ ริการสำ�หรับบ ้านที่อยู่อาศัยจ ะใช้ร่วมกับโครงข่ายสื่อสารโทรศัพท์พ ื้นฐาน เรียกว่า ระบบเอดีเอส แอล (ADSL - Asymmetric Digital Subscriber Line) ที่มีความเร็วอสมมาตร คือ ความเร็วขณะรับ ข้อมูลเป็น 1.5–9.0 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ส่วนความเร็วในการส่งข้อมูลจะเป็น 700 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps)
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-9
ธ ส
4) เอ็มพีแอลเอส (MPLS - MultiProtocol Label Switching) เป็นระบบโครงข่ายล่าสุดที่ ถูกออกแบบให้สามารถรองรับเทคโนโลยีสื่อสารใหม่ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งที่จะมีขึ้นในอนาคต เช่น ระบบเฟรมรีเลย์ถูกออกแบบให้เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารบนเครือข่ายที่มีอยู่เดิม กลายเป็นข้อจำ�กัด หรือคอขวดสำ�หรับอุปกรณ์ใหม่ๆ ในปัจจุบันที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าความสามารถของระบบเฟรมรีเลย์ ส่วนระบบเอทีเอ็มเป็นร ะบบที่ม ีก ารทำ�งานค่อนข้างซับซ ้อนและยุ่งย าก และใช้ว ิธีส ร้างวงจรเสมือนหนึ่งร ะดับ ในขณะที่ร ะบบเอ็มพีแ อลเอสใช้วิธีร ะบบฉลากซ้อน (label stacking) ซึ่งสามารถซ้อนได้หลายชั้น เป็นต้น 5) เครือข่ายมัลติเพล็กซ์ (multiplex networks) วัตถุประสงค์หลักข้อหนึ่งในการสื่อสาร ข ้อมูลค ือ จะทำ�อย่างไรจึงจ ะทำ�ให้อ ุปกรณ์ส ื่อส ารหลายๆ เครื่องสามารถส่งข ้อมูลไ ด้พ ร้อมกันใ นช่องสัญญาณ ช่องเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานจำ�นวนมากสามารถใช้ความถี่ช่องเดียวร่วมกันได้ หลักการนี้เรียกว่า การร่วม ใช้ช่องสัญญาณ หรือ “การมัลติเพล็กซ์” (multiplexing) ซึ่งอาจอธิบายได้โดยเปรียบเทียบกับมีห้องๆ หนึ่ง แต่มีคนอยู่ร่วมจำ�นวนมาก และต้องการจะพูดคุยกัน ซึ่งสามารถจัดการได้หลายวิธี เช่น แบ่งเวลา (time division) ให้คุยกันทีละคู่ตามเวลาที่กำ�หนด หรืออาจแบ่งความถี่ (frequency division) ของ ระดับเสียงที่จะพูด และกำ�หนดให้แต่ละคู่สนทนาพูดคุยและฟังที่ระดับเสียงที่ต่างกัน หรืออีกวิธีหนึ่ง คือ ให้แต่ละคู่เลือกพูดค ู่ละหนึ่งภ าษา (code division) ที่ไม่ซ้ำ�กัน เป็นต้น จะเห็นว ่าตัวห้องเปรียบเหมือน ช่องสื่อสาร 1 ช่องที่จะใช้ร่วมกัน ส่วนคนที่จะพูดคุยกันเปรียบเหมือนอุปกรณ์สื่อสาร วิธีต่างๆ ดังกล่าว คือ หลักการสื่อสารด้วยการร่วมใช้ช ่องสัญญาณ หรือการมัลติเพล็กซ์ นั่นเอง
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
3. ระบบเครือข่ายมัลติเพล็กซ์
ม
ธ ส
ม
ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น จะต้องมีโพรโทคอลหรือกฎที่เป็นมาตรฐานต่างๆ เช่น วิธีการเข้าถึงหรือร่วมใช้ (access) ช่องสื่อสาร (channel) เพื่อให้สามารถเข้าเชื่อมช่องสื่อสารหรือตัวกลาง เดียวกันร่วมกันได้ โดยสามารถส่งข ้อมูลใ นช่องสัญญาณเดียวกัน และแบ่งปันความจุ (capacity) ระหว่าง กัน ตัวอย่างของการร่วมใช้ช่องสื่อสาร เช่น เครือข่ายไร้สาย (wireless network) เครือข่ายบัส วงแหวน ฮับ และฮาล์ฟดูเพล็ก เป็นต้น ซึ่งการเข้าเชื่อมช่องสื่อสารดังกล่าวกระทำ�ได้โดยใช้วิธีการมัลติเพล็กซ์ (multiplexing) หรือการร่วมใช้ช่องสัญญาณ เพื่อให้ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ สามารถเข้าถึงช่องสัญญาณ สื่อสารเดียวกันและใช้ร่วมกันได้ โดยใช้โพรโทคอลมัลติเพิลแอ็กเซส (multiple access protocol) ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์มีเดียแอ็กเซสคอนโทรล หรือเอ็มเอซี (Media Access Control - MAC) เป็นตัวควบคุม จะทำ�หน้าที่กำ�หนดที่อยู่ และช่องสัญญาณมัลติเพล็กซ์ให้แก่แหล่งส่งข้อมูลต่างๆ เพื่อป้องกันการปะทะ กันระหว่างข้อมูลท ี่ส ่ง มีเดียแอ็กเซสคอนโทรล หรือเอ็มเอซี เป็นชั้นย่อยที่อยู่ในชั้นที่ 2 คือ ชั้นเชื่อมข้อมูล (data link layer) ของแบบจำ�ลองโอเอสไอ (OSI - Open Systems Interconnection model) หรือเป็น ชั้นย่อยในชั้นเชื่อมต่อ (link layer) ของแบบจำ�ลองทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) การร่วมใช้ช่องสัญญาณหรือการมัลติเพล็กซ์มีอยู่หลายวิธี เช่น การร่วมใช้ช่องสัญญาณแบบแบ่ง ความถี่ หรือเอฟดีเอ็มเอ (Frequency Division Multiple Access - FDMA) การร่วมใช้ช่องสัญญาณ แบบแบ่งเวลา หรือทีดีเอ็มเอ (Time Division Multiple Access - TDMA) การร่วมใช้ช่องสัญญาณ
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
4-10
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
แบบปริภูมิ หรือเอสดีเอ็มเอ (Space Division Multiple Access - SDMA) และการร่วมใช้ช่องสัญญาณ แบบเข้ารหัส หรือซีดีเอ็มเอ (Code Division Multiple Access - CDMA) เป็นต้น โดยแต่ละวิธีต่างมี ข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ในบางกรณีจึงม ีการนำ�หลายๆ วิธีมาใช้ร่วมกัน มีรายละเอียด ดังนี้ 3.1 การร่วมใช้ช่องสัญญาณแบบแบ่งค วามถี่ หรือเอฟดเีอ็มเอ เป็นการร่วมใช้ช่องสัญญาณวิธีหนึ่ง โดยกำ�หนดช่องความถี่สื่อสารที่แตกต่างกันให้แก่ผู้ใช้งานต่างๆ นำ�ไปใช้งานได้อย่างอิสระ โดยอาจนำ�ไป ใช้สื่อสารข้อมูลด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ทีดีเอ็มเอ ซีดีเอ็มเอ หรือเอสดีเอ็มเอ เป็นต้น วิธีเอฟดีเอ็มเอใช้วิธีเข้า เชื่อมช่องสื่อสารในชั้นที่ 2 ของแบบจำ�ลองโอเอสไอ ตัวอย่างการใช้การสื่อสารข้อมูลด้วยวิธีเอฟดีเอ็มเอ เช่น ระบบโทรศัพท์ไร้สาย ยุคที่ 1 หรือ 1 จี (1st Generation - 1G) รวมทั้งยังคงมีใช้ในระบบโทรศัพท์ ไร้สายระบบจีเอสเอ็ม (GSM) และการสื่อสารผ่านดาวเทียมในปัจจุบัน เป็นต้น ข้อดีของวิธีเอฟดีเอ็มเอคือ ไม่มีข้อยุ่งยากในการแบ่งเวลาเช่นในวิธีทีดีเอ็มเอ และปัญหาความ แตกต่างของระยะทางในวิธีซีดีเอ็มเอ ส่วนข้อเสียของวิธีเอฟดีเอ็มเอคือ อาจมีการรบกวนระหว่างช่อง สื่อสารข้างเคียงได้ง่าย ซึ่งจะทำ�ให้การสื่อสารข้อมูลเกิดความผิดพลาดได้ จึงต้องใช้อุปกรณ์กรองสัญญาณ ที่ม ีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีอ ื่น 3.2 การร่วมใช้ช่องสัญญาณแบบแบ่งเวลา หรือทีดีเอ็มเอ เป็นการร่วมใช้ช่องสัญญาณวิธีหนึ่ง โดยแบ่งเวลาในช่องสื่อสารออกเป็นช่วงๆ แล้วกำ�หนดช่วงเวลาหนึ่งๆ ให้แก่ผู้ใช้งานหนึ่งโดยเฉพาะ โดย ใช้ความถี่เดียวร่วมกันในการส่งข้อมูล วิธีทีดีเอ็มเอใช้วิธีเข้าเชื่อมช่องสื่อสารในชั้นที่ 2 ของแบบจำ�ลอง โอเอสไอ ตัวอย่างการใช้การสื่อสารข้อมูลด้วยวิธีท ีดีเอ็มเอ เช่น ระบบโทรศัพท์ไร้สาย ยุคที่ 2 หรือ 2 จี (2nd Generation - 2G) และยุคท ี่ 3 หรือ 3 จี (3rd Generation - 3G) ในระบบโทรศัพท์ไร้สายระบบจีเอสเอ็ม (GSM) เป็นต้น ข้อดีของวิธีทีดีเอ็มเอคือ ใช้เพียงความถี่เดียวร่วมกัน ควบคุมช่วงเวลาและกำ�หนดผู้ใช้ในขณะ ทำ�งานอยู่ ข้อเสียของวิธีทีดีเอ็มเอคือ ต้องใช้อุปกรณ์มากกว่าวิธีซีดีเอ็มเอในการเปลี่ยนเซลล์ในเครือข่าย มีความยุ่งยากในการจัดช่องความถี่ 3.3 การร่วมใช้ช่องสัญญาณแบบปริภูมิ หรือเอสดีเอ็มเอ เป็นการร่วมใช้ช่องสัญญาณวิธีหนึ่ง โดยใช้หลักการสร้างช่องสัญญาณกระจาย (spatial channel) คู่ขนานกับช่องสัญญาณใหญ่ สามารถนำ� พื้นที่สื่อสารมาใช้ซ้ำ�กันได้อีก ทำ�ให้การส่งข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น อีกทั้งยังสามารถควบคุมการเปิด และปิดอุปกรณ์รับส่งตามจังหวะการทำ�งาน ทำ�ให้ประหยัดพลังงานแบตเตอรี่ที่ใช้งาน และยืดอายุการ ใช้งาน เอสดีเอ็มเอเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ท ำ�ให้ระบบสื่อสารไร้สายมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 3.4 การร่วมใช้ช่องสัญญาณแบบเข้ารหัส หรือซีดีเอ็มเอ เป็นการร่วมใช้ช่องสัญญาณวิธีหนึ่ง โดย อุปกรณ์สื่อสารและจะถูกจัดให้เป็นกลุ่มๆ ที่มีรหัสต่างกัน แต่ส่งข้อมูลไปในช่องสัญญาณเดียวกัน ผู้ใช้ ที่มีรหัสที่ถูกต้องจึงจะอ่านรหัสนั้นได้ ซีดีเอ็มเอใช้เทคโนโลยีการกระจายความถี่ หรือการแผ่สเปกตรัม (spread-spectrum technology) และวิธีก ำ�หนดให้อุปกรณ์แต่ละเครื่องเข้ารหัสพิเศษ แล้วรวมสัญญาณ ที่อ ุปกรณ์สื่อสารทั้งห ลายส่งมาเข้าในช่องสัญญาณเพียงช่องเดียวได้
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-11
ธ ส
ข้ อ ดี ข องวิ ธี ซี ดี เ อ็ ม เ อคื อ สามารถควบคุ ม ก ารทำ � งานข องร ะบบโ ทรศั พ ท์ เ คลื่ อ นที่ ไ ด้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ และง่ายกว่าวิธีท ีดีเอ็มเอและเอฟดีเอ็มเอจึงเป็นท ี่นิยมมากในปัจจุบัน
ธ ส
4. ประเภทของเครือข่ายสื่อสารดิจิทัล
ม
เครือข่ายสื่อสารดิจิทัลมีอยู่หลายประเภท และสามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้หลายวิธี วิธีหนึ่งก็คือ การจัดแบ่งต ามลักษณะของพื้นที่ก ารใช้งาน ได้แก่ เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (Local Area Network LAN) เครือข่ายท้องถิ่น หรือแคน (Campus Area Network - CAN) เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network - MAN) เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือแวน (Wide Area Network WAN) ทั้งนี้ เครือข่ายดังกล่าวอาจใช้อุปกรณ์ประเภทมีสาย และ/หรือไร้สายผสมผสานกัน ซึ่งแนวโน้ม ในอนาคตจะนิยมใช้บริการประเภทไร้สายกันมากขึ้น เครือข ่ายแลน (LAN) เครือข่ายสื่อสารข้อมูลเริ่มใช้กันเมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) เป็น การเชื่อมจอมอนิเตอร์ไปยังคอมพิวเตอร์เมนเฟรมในอาคารเดียวกัน ต่อมาในปลายทศวรรษนั้น หน่วย วิจัยของบริษัท ซีรอกซ์ (Xerox’s Palo Alto Research Center - PARC) เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์เครือข่าย แลนขึ้นเป็นครั้งแรกที่สามารถให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลต่างๆ เชื่อมต่อและส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ เชื่อมเข้าไปยังเครื่องที่ศูนย์ประมวลผลได้ และยังสามารถใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ ปัจจุบันนี้รัศมีของ เครือข่ายแลนสามารถส่งข้อมูลได้ไกลถึง 500 เมตร โดยปกติเครือข่ายแลนจะใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่างๆ ภายในอาคารเดียวกัน ในกรณีที่ทำ�การติดตั้งเครือข่ายแลนเชื่อมกับหลายอาคาร เช่น ใน มหาวิทยาลัยหรือหน่วยราชการ ทำ�ให้เกิดเครือข่ายที่กว้างขึ้น เรียกว่า เครือข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายแคน แต่ถ้าขยายวงกว้างออกไปนอกพื้นที่ จะเรียกว่า เครือข่ายนครหลวง หรือเครือข่ายแมน เป็นต้น เครือข่ายนครหลวง เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมทั่วอำ�เภอหรือทั่วเมือง ถ้าเป็นเครือข่าย ที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลจนถึงทั่วประเทศและทั่วโลก จะเรียกว่า เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือแวน ซึ่งปัจจุบันนี้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ สามารถต่อเข้า เครือข่ายแวนนี้ผ่านทางเครือข่ายสื่อสารสาธารณะต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์พื้นฐานตามบ้านและสำ�นักงาน (public telephone network) คู่สายวงจรเช่า (leased line) หรือคู่สายเช่าผ่านดาวเทียม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเครือข ่ายเสมือนส่วนบุคคล หรือวีพ ีเอ็น (Virtual Private Network - VPN) เป็นเครือข่าย ที่ใช้ร่วมอยู่ในเครือข่ายบริเวณกว้าง แต่มีการติดตั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์พิเศษเพื่อเข้ารหัส (encrypt) และถอดรหัส (decrypt) ทั้งที่ต้นทางและปลายทาง จึงเป็นเครือข่ายที่มีความมั่นคงสูง โดยไม่ต้องเช่า คู่สายพิเศษจากผู้ให้บ ริการเครือข่ายสื่อสาร รูปแบบของเครือข่าย (network topology) การจัดวางเครือข่ายแลนสามารถจัดได้หลายรูปแบบ ที่แพร่ห ลายกันมาก ได้แก่ รูปแบบดาว (star topology) รูปแบบบัส (bus topology) และรูปแ บบวงแหวน (ring topology) ดังภ าพที่ 4.2
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-12
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ภาพที่ 4.2 รูปแ บบของเครือข่าย
ธ ส
ม
ธ ส
ม
จากภาพที่ 4.2 ลูกกลมเล็กใช้แทนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อาจเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ คอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือเครื่องพิมพ์ ส่วนลูกกลมใหญ่ ใช้แทนอุปกรณ์ฮับ (hub) หรือสวิตช์ (switch) และที่เป็นเส้นแทนสายเชื่อมต่อในเครือข่ายรูปแบบดาวอย่างง่ายนั้น ข้อมูลจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทั้งหมดจะวิ่งผ่านฮับเดียว แต่ถ้าจะต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากขึ้น ก็ต้องเพิ่มจำ�นวนฮับต่อพ่วงเป็นชั้นๆ เข้าไปอีก สำ�หรับเครือข่ายรูปบัสนั้น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งสัญญาณกระจายออกไปใน เครือข่าย เฉพาะเครื่องที่มีเลขที่อยู่ตรงกันเท่านั้นจะสามารถรับข้อมูลนั้นได้ เครือข่ายรูปบัสนี้บางครั้งก็ เรียกเป็น เครือข่ายอีเทอร์เน็ต (ethernet) ส่วนเครือข่ายรูปวงแหวนนั้น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะต่อเรียง กันเป็นวงแหวน ข้อมูลจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หนึ่งจะถูกส่งออกไปในวงแหวนในทิศทางเดียว โดยผ่าน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เฉพาะเครื่องที่มีเลขที่อยู่ตรงกันเท่านั้นจึงจะรับข้อมูลนั้นได้ ซอฟต์แวร์ที่ ใช้สำ�หรับเครือข่ายรูปวงแหวนนี้ คือ ซอฟต์แวร์เครือข่ายโทเค็นริง (token ring networking software) ซึ่งปัจจุบันนี้ไม่ได้ร ับความนิยมแล้ว
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
5. แนวโน้มของโครงข่ายสื่อสารข้อมูล
ธ ส
ม
ธ ส
ในสมัยก่อนปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) การสั่งซื้อสินค้าอาจใช้วิธีส่งทางไปรษณีย์ หรือส่งทาง แฟกซ์ ซึ่งยังอยู่ในรูปของกระดาษ ที่ต้องใช้เวลามากในการสื่อสารและการดำ�เนินการก็อาจเกิดข้อผิดพลาด ได้ง่าย แต่การประกอบธุรกิจในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องอาศัยโครงข่ายสื่อสารข้อมูลอย่าง หลีกเลี่ยงไม่พ้น เพราะมีความต้องการที่จะสื่อสารและติดต่อให้รวดเร็วและทันทีในบางโอกาส กับลูกค้า กับคู่ค้าผู้ผลิตสินค้า และกับพนักงาน โดยใช้คอมพิวเตอร์ มือถือ อินเทอร์เน็ต อีเมล ผ่านทางโครงข่าย
ม
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-13
ธ ส
สื่อสารไร้สาย ซึ่งการทำ�ธุรกิจผ่านทางอินเทอร์เน็ตกำ�ลังกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วในปัจจุบัน โครงข่าย สื่อสารข้อมูลอย่างง่าย พร้อมทั้งอ ุปกรณ์ท ี่สำ�คัญ ดังภาพที่ 4.3
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ภาพที่ 4.3 โครงข่ายสื่อสารข้อมูลอย่างง่าย
ม
ม
ธ ส
ม
อุปกรณ์ที่สำ�คัญเริ่มจ ากตำ�แหน่งผ ู้ใช้ คือ คอมพิวเตอร์ล ูกข่าย (client) ซึ่งเป็นค อมพิวเตอร์ส ่วน บุคคล ในคอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะประกอบด้วยแผงวงจรต่อประสานโครงข่าย (Network Interface Card - NIC) เพื่อเป็นช่องทางสำ�หรับเชื่อมต่อเข้าโครงข่ายสื่อสารผ่านสื่อหรือสายเชื่อมต่อต่างๆ เช่น สาย โทรศัพท์ หรือถ้าเป็นเครือข่ายแลน ก็อ าจจะใช้สายไฟตีเกลียว หรือสายโคแอ็กเชียล หรือสายใยแก้วนำ�แสง ตลอดจนสื่อประเภทไร้สาย จะเป็นคลื่นวิทยุ (radio waves) เช่น ระบบแลนไร้สาย (Wireless Local Area Network) เป็นต้น โดยมีคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (server) ที่ทำ�หน้าที่แม่ข่าย ซึ่งตัวเซิร์ฟเวอร์นี้จะ ใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System - NOS) ในการควบคุมการสื่อสาร ข้อมูลบนโครงข่ายสื่อสาร รวมทั้งจ ัดการเว็บเพจ และเก็บข ้อมูลต่างๆ ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้สำ�หรับเซิร์ฟเวอร์ เช่น วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ ลินุกซ์ และโนเวลล์เน็ตแวร์ เป็นต้น สำ�หรับอุปกรณ์ประเภทสวิตช์หรือฮับ ทำ�หน้าที่ เป็นช่องทางสำ�หรับให้เชื่อมต่อเข้าโครงข่าย โดยที่อุปกรณ์ฮับ เป็นอุปกรณ์สำ�หรับรับส่งสัญญาณข้อมูล อย่างง่าย ส่วนอุปกรณ์สวิตช์ จะมีความสามารถด้านการกลั่นกรองข้อมูลและควบคุมการส่งต่อไปยัง จุดหมายที่กำ�หนดไว้ สำ�หรับอุปกรณ์ร อบข้างอื่นๆ (peripheral) เช่น เครื่องพิมพ์ ก็ถือเป็นลูกข่ายประเภท หนึ่งด้วย อุปกรณ์สื่อสารดังกล่าวข้างต้น เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กับโครงข่ายภายในเท่านั้น หากต้องการจะเชื่อม ต่อออกไปยังโครงข่ายสื่อสารภายนอก ก็ต้องใช้อุปกรณ์สื่อสารที่เรียกว่า เราเทอร์ (router) ซึ่งจะทำ�หน้าที่ ควบคุมก ารรับส่งข้อมูลเพื่อให้ไปยังโ ครงข่ายอื่นๆ ได้อย่างถูกต้อง
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
4-14
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
6. เทคโนโลยีโครงข่ายดิจิทัล
ม
ธ ส
โครงข่ายดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนี้ ใช้เทคโนโลยีหลักๆ 3 ประการ คือ เทคโนโลยี ลูกข่ายและแม่ข่าย (client/server computing) เทคโนโลยีการสลับกลุ่มข้อมูล หรือแพ็กเก็ตสวิตชิ่ง (packet switching) และมาตรฐานของการสื่อสาร (communication standards) ดังนี้ 6.1 เทคโนโลยีลูกข่ายและแม่ข่าย ระบบลูกข่ายแม่ข่ายเป็นระบบการประมวลผลข้อมูลแบบ กระจายอย่างหนึ่ง ซึ่งการประมวลผลบางส่วนจะกระทำ�ในลูกข่าย ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่กระจาย กันอยู่ โดยมีคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ทำ�หน้าที่แม่ข่าย ด้วยการกำ�หนดเลขที่อยู่ของลูกข่าย และคอยควบคุม การสื่อสารรับส่งข้อมูลระหว่างลูกข่าย การกระจายกำ�ลังในการประมวลผลนี้ทำ�ให้การลงทุนต่ำ�ลงและมี ความคล่องตัวสูง แต่กำ�ลังของการประมวลผลโดยรวมเทียบเท่ากับเครื่องเมนเฟรม หรือคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ ในปัจจุบันนี้ ระบบลูกข่ายแม่ข่ายได้รับความนิยมสูง และเข้ามาแทนที่ระบบการประมวลผล แบบรวมศูนย์ ซึ่งเป็นการประมวลผลในเครื่องเมนเฟรม หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่แล้ว 6.2 เทคโนโลยีการสลับกลุ่มข้อมูล เป็นการส่งข้อมูลที่อยู่ในรูปดิจิทัล โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น ส่วนๆ เรียกแต่ละส่วนว่า แพ็กเก็ต (packet) ข้อมูลแต่ละแพ็กเก็ตจะถูกส่งเข้าไปในโครงข่ายทีล ะแพ็กเก็ต แต่ละแพ็คเก็ตก็จะเดินทางตามเส้นทางที่มีโอกาสเข้าถึงได้ก่อน หรือเป็นเส้นทางที่ว่างแยกๆ กันไป เมื่อ แพ็กเก็ตทั้งหมดได้ถูกส่งมาถึงปลายทางครบถ้วนแล้วก็จะถูกนำ�มาจัดเรียงกันใหม่ที่ปลายทาง จะได้ข้อมูล ตามลักษณะเดิม ในอดีตการสื่อสารข้อมูลจะเป็นลักษณะการเชื่อมต่อจุดถึงจุด (point-to-point) โดยใช้ สายสัญญาณที่ต่อถึงกันโ ดยเฉพาะทำ�ให้มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากสายสัญญาณที่ใช้ไม่อาจจะนำ�ไปผู้อื่นใช้ได้ ถึงแม้ว่าบางเวลาจะไม่ไ ด้มีการส่งข้อมูลก็ตาม 6.3 มาตรฐานของการสื่อสาร ในการสื่อสารข้อมูลดิจิทัลนั้น ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทั้งหลาย จะต้องทำ�งานด้วยกฎกติกาหรือโพรโทคอลเดียวกัน โพรโทคอล หมายถึง กฎกติกาหรือข้อกำ�หนดที่ใช้ ควบคุมการสื่อสารข้อมูล ที่อุปกรณ์รับและส่งจะต้องทำ�งานตามที่กำ�หนด มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถสื่อสาร กันได้ เปรียบเทียบกับการสนทนา ก็ต้องกำ�หนดภาษาที่จะพูดก่อน หากไม่พูดภาษาที่เข้าใจกันก็จะไม่ สามารถสื่อสารกันได้
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
7. เครือข่ายสื่อสารไร้ส าย
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ระบบเครือข ่ายสื่อสารไร้ส ายและเครือข ่ายความร่วมมือ เป็นก ลยุทธ์ห นึ่งท ี่จะเพิ่มข ีดค วามสามารถ ในเชิงแข่งขันให้กับกิจการ ด้วยการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างพนักงานและบุคคล ภายนอกที่เกี่ยวข้อง จึงทำ�ให้กิจการมีผลผลิตสูงขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น ส่งผลให้มีส่วนแบ่งการตลาดสูงขึ้น ด้วย และทำ�ให้ค่าใช้จ่ายลดลง โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและอุปกรณ์สื่อสารไร้สายเป็นเครื่องมือ สำ�คัญ อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายไร้สายต่างๆ ในยุค 1 จี จะเป็นโทรศัพท์ไร้สาย พูดคุยกันได้อย่างเดียว เนื่องจากเป็นระบบแอนะล็อก ต่อมาในยุค 2 จี เป็นยุคที่ เริ่มนำ�ระบบดิจิทัลมาใช้ อุปกรณ์โทรศัพท์ไร้สายจึงมีความสามารถส่งข้อมูลตัวอักษรได้ เช่น ข้อความสั้น
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-15
ธ ส
เป็นต้น และได้มีการพัฒนาให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลให้สูงขึ้นๆ ตามลำ�ดับ และเปลี่ยนเป็นยุค 2.5 จี 2.7 จี และ 3 จี ไปเรื่อยๆ ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายก็มีรูปแบบชนิดต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ส ่วนบุคคล พีดีเอ สมาร์ตโฟน วิกีส์ (Wikis) อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต จีพีเอส (GPS) พีโอเอส (POS) และ อาร์เอฟไอดี (RFID) เป็นต้น อุปกรณ์สื่อสารไร้สายเหล่านี้ช่วยให้สามารถส่งผ่าน ข้อมูลและข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ทำ�ให้สามารถดำ�เนินการกิจกรรมต่างๆ ต่อไปได้ทันที อุปกรณ์เครือข่าย สื่อสารรุ่นใหม่สามารถเชื่อมต่อผ่านระบบวายฟาย (WiFi) จีพีอาร์เอส (GPRS) เอดจ์ (EDGE) และ 3 จี ซึ่งจะช่วยให้การสื่อสารมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น และเป็นแนวโน้มที่ทำ�ให้เกิดวิถีชีวิตใหม่ คือสภาวะการ ดำ�เนินงานที่มีการสื่อสารอยู่ต ลอดเวลา เครือข่ายสื่อสารข้อมูลไร้สายมีอยู่หลายมาตรฐาน ซึ่งจะเหมาะสมกับการใช้งานของอุปกรณ์ เครือข่ายสื่อสารแต่ละประเภท อุปกรณ์สื่อสารไร้สายบางรุ่นยังสามารถใช้กับเครือข่ายได้หลายเครือข่าย ด้วย แต่ราคาก็จะสูงข ึ้น จึงเป็นข้อควรพิจารณาประการหนึ่งในการจัดหา ดังแ สดงในตารางที่ 4.1
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ตารางที่ 4.1 ต ารางของเครือข่ายสื่อสารข้อมูลมาตรฐานต่างๆ
ธ ส
ม
ยุค
ความเร็ว (Data Rate)
การยกระดับ (Upgradability)
NMT (Nordic Mobile Telephone) AMPS (Advanced Mobile Phone System)
1G
Analog
None
GSM (Global System for Mobile communications)
2G
ม
มาตรฐานเครือข่าย
CDMA (Code Division Multiple Access) EDGE (Enhanced Data for Global Evolution)
ธ ส
EV-DV (Evolution Data and Voice) EV-DO (Evolution Data Only)
ม
HSDPA (High Speed Data Access)
ธ ส
ม 2.5G 3G
3G
3G
3.5G
WiBro (Wireless Broadband)
4G
WiMax (Worldwide Interoperability for Microwave Access)
4G 4G
GPRS, EDGE, UMTS, HSDPA
307 Kbps
1xRTT, EV-DO, EV-DV
474 Kbps
From GSM
3.1 Mbps
From CDMA
2.4 Mbps
From CDMA
10 Mbps
From GSM
ธ ส
ม
UMTS LTE (Universal Mobile Telecommunications System, Long-term Evolution)
9.6 Kbps
ธ ส
ม
50 Mbps
Used in South Korea
70 Mbps
Wireless Broadband
277 Mbps
Future
4-16
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
ความก้าวหน้าข องระบบเครือข ่ายไร้สายและอุปกรณ์ไ ร้สายต่างๆ ทำ�ให้ก ิจการต่างๆ ต้องหันมาทำ� การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและวิธีการดำ�เนินงานเสียใหม่ จากตารางมาตรฐานเครือข่ายข้างต้นแสดง ให้เห็นว่า ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซี กำ�ลังถดถอยลง เนื่องจากมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีขนาดเล็กกว่าและใช้งานได้สะดวกกว่ามาทดแทน เช่น พีดีเอ สมาร์ตโฟน เป็นต้น ซึ่งสามารถเข้าถึง ข้อมูลต่างๆ ได้ทุกเวลาและทุกที่ทั่วโลก ถึงแม้จะยังมีข้อจำ�กัดบ้างในเรื่องของความเร็ว แต่การพัฒนา เครือข่ายถึงยุค 4 จี (4G) จะทำ�ให้ปัญหาเรื่องความเร็วลดลงไป
ธ ส
ม
ธ ส
8. เทคโนโลยีไร้ส ายและการสื่อสารไอพี
ม
8.1 เทคโนโลยีไร้สาย (wireless technology) ความคล่องตัวในการดำ�เนินธุรกิจเป็นประเด็น สำ�คัญที่วิสาหกิจต่างๆ พึงประสงค์ กิจการหลายแห่งหันมาปรับเปลี่ยนวิธีการใช้อุปกรณ์ไร้สายที่ไม่เป็น ระเบียบ มาจัดให้เป็นกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีประการหนึ่งในการดำ�เนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้น ความคล่องตัวใ นการสื่อสารข้อมูลและข่าวสาร ปัจจัยต่างๆ ที่จะต้องคำ�นึงถึง เช่น อุปกรณ์ไร้สายรุ่นใหม่ๆ ระบบแลนไร้สายความเร็วสูง บุคลากรดูแลและบำ�รุงรักษามีประสบการณ์ เครือข่ายสื่อสารที่มั่นคงและ คงทน ข้อมูลและเนื้อหาที่ส มบูรณ์ เป็นต้น อุปกรณ์ไร้สายรุ่นใหม่ๆ ทำ�ให้กลยุทธ์ในการดำ�เนินงานสามารถ เปลี่ยนจากห้องทำ�งานเป็นการทำ�งานนอกสถานที่ได้ พนักงานสามารถทำ�งานและให้ความร่วมมือผ่าน อุปกรณ์ไร้สายได้ต ลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ท ี่ใดทั่วโลก สามารถติดต่อรับข่าวสาร แสดงความคิดเห็น ตัดสินใจ กับเพื่อนร่วมงาน และกับลูกค้าห รือคู่ค ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครือข่ายสื่อสารข้อมูลเมื่อนำ�มาใช้กับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายก็จะเรียกชื่อต่างกันไป เช่น เครือข่าย แวนที่ใช้กับการสื่อสารไร้สายเคลื่อน ที่เรียกว่า WWAN (Wireless Wide Area Network) ระยะทางที่ ติดต่อได้จะขึ้นอยู่กับตัวกลางและความถี่ที่ใช้ในการส่ง ส่วนเครือข่ายแมนที่ใช้สำ�หรับอุปกรณ์สื่อสาร ไร้สาย เรียกว่า วายแม็กซ์ (Worldwide Interoperability for Microwave Access - WiMax) เป็น มาตรฐานใหม่ที่จะนำ�มาใช้กับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายอยู่กับที่ในระบบ 3 จี และ 4 จี มีรัศมีทำ�การประมาณ 50 กิโลเมตร และเครือข่ายแลนที่ใช้สำ�หรับอุปกรณ์ไร้สาย เรียกว่า WLAN (Wireless LAN) ซึ่งมีหลาย ประเภท ที่นิยมใช้กันมากคือ ประเภทวายฟาย (Wireless Fidelity - WiFi) ที่ใช้กับอุปกรณ์สื่อสาร เคลื่อนที่ ซึ่งระบบแลนไร้สายวายฟายเป็นระบบที่ทำ�ให้การสื่อสารคล่องตัว และนิยมกันอย่างแพร่หลาย มาตรฐานที่น ิยมมีชื่อเรียก ดังนี้ - 802.11b เป็นมาตรฐานเครือข่ายไร้ส ายที่ใ ช้ก ับอ ุป กรณ์บลูท ูธ (bluetooth) ใช้คลื่นค วามถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) เช่นเดียวกับคลื่นที่ใช้กับโทรศัพท์ไร้สายบ้าน และเตาไมโครเวฟ ความเร็วในการ ส่งข้อมูลคือ 11 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ต่อหนึ่งช่องสัญญาณ ระยะทางที่ติดต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร - 802.11a เป็นมาตรฐานเครือข่ายไร้สาย 12 ช่องสื่อสาร ที่ใช้คลื่นความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และใช้เฉพาะในอเมริกาเหนือ มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่า 802.11b ถึง 5 เท่า จึงทำ�ให้ส่ง แฟ้มข้อมูลขนาดใหญ่ได้ เป็นมาตรฐานของเครือข่ายที่ไม่สามารถเชื่อมต่อกับมาตรฐานของเครือข่าย 802.11b
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-17
ธ ส
- 802.11g เป็นมาตรฐานเครือข่ายไร้สาย 3 ช่องสัญญาณที่ใช้คลื่นความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) แต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลเท่ากันกับ 802.11a และยังสามารถเชื่อมต่อกับมาตรฐานเครือข่าย 802.11b - 802.11n เป็นมาตรฐานเครือข่ายไร้สายที่ปรับปรุงจากมาตรฐาน 802.11 รุ่นก่อนๆ โดย เพิ่มคุณสมบัติห ลายประการ เช่น การสื่อสารแบบหลายทางเข้าห ลายทางออก (Multiple-Input MultipleOutput - MIMO) ซึ่งใ ช้ได้ก ับคลื่นความถี่ 2.4 และ 5 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ด้วยความเร็ว 22 เมกะบิตต่อ วินาที (Mbps) และมีแนวโน้มจะปรับปรุงให้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) และระยะทางการติดต่อ ได้ไ กลขึ้น 8.2 วีโอไอพี (VoIP - Voice over IP) เป็นการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ก ำ�ลัง ได้รับนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในการติดต่อด้วยโทรศัพท์ ทำ�ให้เกิดความคล่องตัวในการสื่อสารยิ่งขึ้น อุปกรณ์ทุกชนิดที่มีระบบไอพี (IP) เช่น พีซี โน้ตบุ๊ก พีดีเอ และสมาร์ตโฟน ที่เชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ตได้ สามารถใช้พูดค ุยแบบโทรศัพท์ด้วยระบบวีโอไอพี ได้โดยมีค่าใช้จ่ายเท่ากับก ารเชื่อมต่ออ ินเทอร์เน็ตนั่นเอง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต ่ำ�มากเมื่อเทียบกับการสื่อสารด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ม
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 4.1.1 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 4.1.1 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 4 ตอนที่ 4.1 เรื่องที่ 4.1.1
ม
ธ ส
ธ ส
ม ม
ธ ส
ม
ธ ส
4-18
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
เรื่องที่ 4.1.2 เครือข ่ายอินเทอร์เน็ต
ธ ส
ม
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายฐานไอพี (IP - based Network Technology) หรือเครือข่ายไอพี (IP Network) เป็นเทคโนโลยีหลักที่ทำ�ให้สามารถสื่อสารด้วยเสียง ข้อมูลวิดีโอ และคลื่นวิทยุ ได้พร้อมกันโดยทำ�การแปลงสภาพให้เป็นดิจิทัลและอยู่ในรูปของแพ็กเก็ต เป็น แนวโน้มที่กำ�ลังแผ่ขยายไปทั่วโลก อุปกรณ์ต ่างๆ ก็จะถูกผลิตมาในแนวเดียวกัน รวมทั้งวิธีปฏิบัติงานและ พฤติกรรมของผู้คนก็จ ะต้องเปลี่ยนไปคือ จะต้องคุ้นเคยและรู้จักใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ ตามไปด้วย เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีเสถียรภาพสูง ไม่ล่มได้ง่ายๆ เพราะมีการเชื่อม ต่อโยงใยกันในลักษณะเครือข่ายที่มีวงจรทดแทนหรือสำ�รองซึ่งกันและกันได้ และลงทุนต่ำ� จึงได้รับความ นิยมมากขึ้นตามลำ�ดับ ปัจจุบันนี้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากสถิติ ในปี พ.ศ. 2551 มีผ ู้ใ ช้มากถึง 550 ล้านคนทั่วโ ลก
ม
ธ ส
ม
1. วิวัฒนาการของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา มีแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดเครือข่ายสื่อสารข้อมูลขึ้น จึงเกิดแนวคิด ที่จ ะสร้างเครือข ่ายคอมพิวเตอร์ท ี่ม ีค วามปลอดภัยส ูง เพื่อป ้องกันส หรัฐอเมริกาจากการอาจจะถูกโ จมตีด ้วย ขีปนาวุธ วิศวกรจากสถาบันแรนด์ (RAND) นายพอล บาราน (Paul Baran) จึงได้เสนอเทคนิคการสื่อสาร แบบแจกกระจาย (distributed communication) โดยวางเครือข่ายให้กระจายไปยังหน่วยสื่อสารต่างๆ ซึ่งข้อมูลจะถูกแยกเป็นกลุ่มๆ ส่งแจกกระจายไปตามหน่วยต่างๆ แล้วจึงไปรวมกันใหม่ที่ปลายทาง หาก แม้บางหน่วยจะได้รับความเสียหาย ข้อมูลก็ยังสามารถสื่อสารผ่านหน่วยอื่นๆ ที่เหลือได้ ขณะเดียวกัน ในประเทศอังกฤษ โดนัล วัตต์ เดวีส์ (Donald Watt Davies) ก็เป็นผู้หนึ่งที่ได้พัฒนาระบบคล้ายคลึงกัน และได้ให้นิยามการสลับกลุ่มข้อมูล (packet switching) ขึ้น ในปี พ.ศ. 2510 ได้มีก ารนำ�แนวคิดของ พอล บาราน และโดนัล วัตต์ เดวีส์ ไปทดลองโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์อาร์พาเน็ต (ARPANET - Advanced Research Projects Agency) โดยมี ลอเรนซ์ จี โรเบิร์ต (Lawrence G. Roberts) เป็นผู้อำ�นวยการ โดยให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ต่างๆ ทดลองต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เฉพาะกิจ ที่เรียกว่า ไอเอ็มพี (IMP - Interface Message Processor) ซึ่งสามารถทำ�ให้คอมพิวเตอร์ที่ผลิตจากโรงงานต่างกันสามารถสื่อสารกันได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (UCLA, UCSB) สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (SRI) และมหาวิทยาลัย ยูทาห์ (Utah) สามารถใช้ไอเอ็มพีเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายสื่อสารได้ โดยใช้ซอฟต์แวร์โพรโทคอลควบคุม เครือข่าย หรือเอ็นซีพี (Network Control Protocol - NCP) ในปี พ.ศ. 2515 วินต ์ เซิร์ฟ (Vint Cerf) และบ็อบ คาห์น (Bob Kahn) สมาชิกผู้ริเริ่มโครงการ อาร์ พ าเน็ ต ได้ เ สนอโ ครงการอิ น เทอร์ เ น็ ต (Internetting Project) เพื่ อใ ห้ ส ามารถ “ส่ ง ก ลุ่ มข้ อ มู ล
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-19
ธ ส
ลักษณะจุดต่อจุด” (end-to-end delivery of packets) ได้ และกำ�หนดเป็นมาตรฐานการสื่อสารทีซีพี (Transmission Control Protocol - TCP) ขึ้น ต่อมาก็ได้แบ่งทีซีพีออกเป็น 2 โพรโทคอล คือ ทีซีพี (Transmission Control Protocol - TCP) และไอพี (Internetworking Protocol - IP) โดยทีซีพีทำ�หน้าที่ แบ่งกลุ่ม รวมกลุ่ม และตรวจสอบข้อผิดพ ลาด (segmentation, reassembly, error detection) ส่วนไอพี จะทำ�หน้าที่แยกเส้นท างส่งข้อมูล (datagram routing) ซึ่งโพรโทคอลทั้ง 2 นี้ นิยมเรียกรวมกันว่า ทีซีพี/ ไอพี และกลายเป็นห ลักการของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในระยะแรกยังคงใช้กันอยู่ในวงแคบๆ เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ยังมี ราคาสูงมาก แต่ต่อมาเมื่อได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใ หม่ๆ ขึ้นเรื่อยๆ ทำ�ให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ม ีราคาต่ำ� ลง และทำ�ให้ระบบสื่อสารก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย อีกทั้งยังมีการบูรณาการระบบคอมพิวเตอร์และการ สื่อสารเข้าด้วยกัน นำ�ไปสู่การไหลผ่านของข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้เกิดบริการระบบใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น ระบบทำ�รายการออนไลน์ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้นการพัฒนาการสื่อสาร ไร้สาย ทำ�ให้การดำ�เนินงานต่างๆ ของกิจการมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ปัจจุบันนี้ไ ด้มีการจัดตั้งก ลุ่มยูเซด (University Corporation for Advanced Internet Development - UCAID) ขึ้น เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยร่วมกับบริษัทเอกชน เพื่อพัฒนาอินเทอร์เน็ตรุ่นใหม่ให้มี ความเร็วส ูงขึ้นและใช้งานง่าย โดยเรียกชื่อว ่า อินเทอร์เน็ต 2 (Internet 2 - I2) หรืออินเทอร์เน็ตรุ่นต่อไป (Next Generation Internet - NGI) หรืออะไบลีน (Abilene) ขึ้นอยู่กับหน่วยที่ทำ�การพัฒนา ขณะนี้ อินเทอร์เน็ต 2 ได้พัฒนาให้มีความเร็วถึงกว่า 2 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) แล้ว และยังมีการพัฒนาต่อไป อีก บ้างก็เรียกว่า อินเทอร์เน็ต 3 แต่ชื่อทางการคือ เอ็นแอลอาร์ (National Lambda Rail - NLR) เป็น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงถึง 10 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) ผ่านเครือข่ายใยแก้วนำ�แสงข้าม ประเทศ สำ�หรับใช้เฉพาะงานวิจัยเครือข่ายความเร็วสูงเท่านั้น เพื่อทดสอบการส่งข้อมูลขนาดใหญ่มากด้าน วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และการแพทย์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
2. โครงสร้างของการสื่อสารข้อมูลแบบทซี ีพี/ไอพี
ธ ส
ในอดีต การสื่อสารข้อมูลจะเป็นการเชื่อมต่อจ ุดถ ึงจ ุด ทำ�ให้ม ีก ารใช้โ พรโทคอลต่างๆ กันต ามความ สะดวก แต่ใ นปัจจุบันน ี้ การสื่อสารส่วนใหญ่ก ำ�ลังป รับเปลี่ยนมาใช้โ พรโทคอลที่เป็นม าตรฐานกันม ากขึ้น คือ โพรโทคอลทีซ ีพ ี/ไอพี ซึ่งเป็นโ ครงสร้างของเครือข ่ายอินเทอร์เน็ตท ี่ไ ด้ถ ูกพ ัฒนาขึ้นม าก่อนที่จ ะมีก ารกำ�หนด แบบจำ�ลองโอเอสไอ ดังน ั้น การจัดชั้นของภารกิจข่ายสื่อสารข้อมูลจึงแตกต่างกัน ดังภาพที่ 4.4
ม
ม
ธ ส
ม
4-20
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
OSI TCP/IP (เดิม) TCP/IP (ปัจจุบัน) Application
ธ ส
Presentation
Host Layers
Session
ม
Transport
Application (เช่น เอชทีเอ็มแอล)
Application (เช่น เอชทีเอ็มแอล)
Transport (TCP)
Transport (TCP)
Internet (IP)
Internet (IP)
ธ ส
Network
Media Layers
Data Link Physical
Host-to-network
ม
ม
Data Link Physical
ธ ส
ภาพที่ 4.4 โครงสร้างของการสื่อสารข้อมูลแบบจำ�ลองทซี ีพี/ไอพี
ธ ส
ม
กล่าวคือ แบบจำ�ลองทีซีพี/ไอพีแต่เดิมได้ถูกกำ�หนดไว้มี 4 ชั้น คือ ชั้นโฮสต์ทูเน็ตเวิร์ก (Hostto-network) ชั้นอินเทอร์เน็ต (Internet) ชั้นทรานสพอร์ต (Transport) และชั้นแอพพลิเคชั่น (Application) ซึ่งอาจเปรียบเทียบกับชั้นของแบบจำ�ลองโอเอสไอได้คือ ชั้นโฮสต์ทูเน็ตเวิร์กเทียบได้กับชั้นกายภาพ (physical) และชั้นเชื่อมข้อมูล (data link) รวมกัน ชั้นอินเทอร์เน็ตเทียบได้กับชั้นเน็ตเวิร์ก (network) ชั้นแอพพลิเคชั่นเทียบได้กับชั้นเซสชั่น (session) ชั้นการนำ�เสนอ (presentation) และชั้นแอพพลิเคชั่น (application) รวมกัน โดยที่ชั้นทรานสพอร์ตเทียบได้กับชั้นทรานสพอร์ตและรวมชั้นเซสชั่นบางส่วน ดังนั้น เพื่อให้สะดวกและสามารถอ้างอิงแบบจำ�ลองโอเอสไอได้ จึงนิยมแบ่งชั้นของแบบจำ�ลองทีซีพี/ไอพี ออกเป็น 5 ชั้น คือ ชั้นกายภาพ ชั้นเชื่อมข้อมูล ชั้นเน็ตเวิร์ก ชั้นทรานสพอร์ต และชั้นแอพพลิเคชั่น โดย 4 ชั้นแรกตรงกับชั้นของแบบจำ�ลองโอเอสไอ ส่วนชั้นแอพพลิเคชั่นของแบบจำ�ลองทีซีพี/ไอพีจะทำ�ภารกิจ แทนชั้นเซสชั่น ชั้นการนำ�เสนอ และชั้นแอพพลิเคชั่นของแบบจำ�ลองโอเอสไอ แบบจำ�ลองโอเอสไอ (Open System Interconnection Model - OSI) หรือรูปแบบการเชื่อม ต่อระบบเปิด 7 ชั้น (OSI Network Architecture 7 Layers Model) เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ออกแบบ มาโดยมีวัตถุประสงค์ให้ระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันได้ เมื่อใช้โพรโทคอลเดียวกัน ถึงแม้ว่า แต่ละระบบจะใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสากล หรือไอเอสโอ (the International Standards Organization - ISO) เป็นผู้นำ�เสนอโครงสร้างของการสื่อสารข้อมูล แบบจำ�ลองโอเอสไอ ในช่วง ปี ค.ศ. 1978-1979 แบบจำ�ลองโอเอสไอจะประกอบด้วย ชั้นของภารกิจ 7 ชั้น (seven layers of the OSI model) ประกอบด้วย ชั้นที่ 1 ชั้นกายภาพ ชั้นที่ 2 ชั้นเชื่อมข้อมูล ชั้นที่ 3 ชั้น เน็ตเวิร์ก ชั้นที่ 4 ชั้นทรานสพอร์ต ชั้นที่ 5 ชั้นเซสชั่น ชั้นที่ 6 ชั้นการนำ�เสนอ และชั้นที่ 7 ชั้นแอพพลิเคชั่น เป็นรูปแบบมาตรฐานทั่วไปที่กำ�หนดมาหลังจากที่ร ูปแบบของโพรโทคอลทีซีพี/ไอพีได้นำ�ออกใช้แล้ว
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
3. โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต
ม
4-21
ธ ส
หน้าที่และชั้นโครงข่ายสื่อสารข้อมูลแบบทีซีพี/ไอพีถูกกำ�หนดไว้ 4 ชั้น คือ ชั้นส่วนต่อประสาน เครือข่าย (Network Interface) อินเทอร์เน็ต (Internet) ทรานสพอร์ต (Transport) และแอพพลิเคชั่น (Application) ดังแ สดงในภาพที่ 4.5
ธ ส
ม
ม
คอมพิวเตอร์ A คอมพิวเตอร์ B ชั้นที่ 4
Application
Transport (TCP)
ชั้นที่ 3
Transport (TCP)
ชั้นที่ 2
Internet (IP)
ชั้นที่ 1
Network Interface
Internet (IP)
ธ ส
Network Interface
ม
ธ ส
Application
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ภาพที่ 4.5 รูปแ บบของหน้าทีแ่ ละชั้นโครงข่ายสื่อสารข้อมูลทีซีพี/ไอพี
ม
ชั้นที่ 1 ชั้นส่วนต่อประสานเครือข่าย (Network Interface) ทำ�หน้าที่ส่งและรับแพ็กเก็ตทางสื่อที่ เป็นกายภาพ เช่น ขั้วต่อและตัวกลางต่างๆ ทั้งประเภทมีสายและไร้สาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่าย สื่อสาร เช่น โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน โครงข่ายสื่อสารข้อมูลเทคโนโลยีแถบความถี่กว้าง เป็นต้น ชั้นที่ 2 ชั้นอินเทอร์เน็ต (Internet) ทำ�หน้าที่ควบคุมการจัดเลขที่อยู่ การกำ�หนดวิธีการส่ง และ การรวมข้อมูลแพ็กเก็ต เรียกว่า ไอพีดาต้าแกรม (IP datagrams) และเป็นช ั้นที่ใ ช้โพรโทคอลไอพี ชั้นที่ 3 ชั้นท รานสพอร์ต (Transport) ทำ�หน้าที่จัดการสื่อสาร ทำ�แพ็กเก็ตให้กับช ั้นแอพพลิเคชั่น และเป็นช ั้นที่ใช้โพรโทคอลทีซีพีและโพรโทคอลอื่นๆ ด้วย ชั้นที่ 4 ชั้นแอพพลิเคชั่น (Application) ทำ�หน้าที่ให้โปรแกรมประยุกต์ของลูกข่าย สามารถติดต่อ กับชั้นอื่นๆ ที่อยู่ถัดไปได้ และสามารถกำ�หนดโพรโทคอลและภาษาที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ เช่น การใช้ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HyperText Markup Language - HTML) ในการส่งเว็บเพจ เป็นต้น
ธ ส
ม
4. การทำ�งานของระบบอินเทอร์เน็ต
ม
ธ ส
ธ ส
ม
โดยทั่วไป โครงสร้างของเว็บไซต์จะประกอบด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดต่างๆ ที่มีซอฟต์แวร์ หลายประเภทควบคุมการทำ�งานอยู่ ดังแ สดงในภาพที่ 4.6
4-22
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ภาพที่ 4.6 การเข้าถึงข้อมูลทางเว็บ
ม
ธ ส
ม
การเ ชื่ อ มต่ อ เ ข้ า ร ะบบอิ น เทอร์ เ น็ ต นั้ น ลู ก ค้ า จ ะต้ อ งมี ก ารเตรี ย มอุ ป กรณ์ ใ ห้ พ ร้ อ มก่ อ น ซึ่ ง ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะหรือโน้ตบุ๊กก็ได้ ที่มีการติดตั้งโปรแกรมการเชื่อมต่อ โครงข่ายสื่อสาร และโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (web browser) อยู่แล้ว และมีสายเชื่อมต่อเข้ากับระบบ โทรศัพท์ หรือมีอุปกรณ์ไร้สายติดตั้งพร้อม เริ่มต้นโดยลูกค้าเรียกโปรแกรมเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสารให้มี การเชื่อมกันต่อก่อน จากนั้นจึงเรียกโปรแกรมเว็บเบราเซอร์เพื่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งจะมีคอมพิวเตอร์ทำ�หน้าที่เซิร์ฟเวอร์อยู่ ที่เรียกกันว่า โฮสต์ (host) ด่านแรกที่เข้าไปถึงก็คือ เว็บ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะทำ�หน้าที่เชื่อมต่อประสานกับผู้ใช้ต้นทางที่แสดงให้เห็นในรูปของเว็บเพจนั่นเอง ซึ่งบาง แห่งก็สงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนเป็นสมาชิกและได้รับรหัสผ่านเท่านั้นจึงจะเข้าถึงข้อมูลได้ การสื่อสาร ระหว่างกันในระบบจากเครื่องของลูกค้าถึงเว็บเซิร์ฟเวอร์จะใช้ภาษาเอชทีเอ็มแอล โดยเว็บเซิร์ฟเวอร์จะ แปลงคำ�สั่งจากภาษาเอชทีเอ็มแอลมาเป็นภาษาเอสคิวแอล (SQL) เพื่อที่จะทำ�ให้สามารถสื่อสารกับ แอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ระบบงานประยุกต์ และเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลหรือระบบจัดการฐาน ข้อมูล (DBMS) ได้ แอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์จะควบคุมการรับและส่งผ่านข้อมูลระหว่างเว็บเซิร์ฟเวอร์และ เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล โดยจะทำ�หน้าที่ประมวลคำ�สั่งใ นการทำ�รายการต่างๆ เช่น การเรียกดูข้อมูล การสั่งซื้อ และการชำ�ระเงิน เป็นต้น แล้วจึงส่งผ่านไปยังเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล เพื่อทำ�การปรับปรุงข้อมูลให้เป็นข้อมูล ปัจจุบันต่อไป ในระบบอินเทอร์เน็ต ข้อมูลที่ส่งจากคอมพิวเตอร์โฮสต์สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์ปลายทาง ที่รับสัญญาณได้โดยตรง เมื่อคอมพิวเตอร์ปลายทางเชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายเดียวกัน แต่ถ้าหากต่างไม่ได้ อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ข้อมูลก็จะถูกส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์อื่นที่สามารถส่งข้อมูลต่อให้ได้เป็นทอดๆ จนกว่าจะถึงเครือข่ายที่คอมพิวเตอร์ปลายทางเชื่อมต่ออยู่ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับ ระบบอินเทอร์เน็ต จะถูกกำ�หนดให้มีที่อยู่อินเทอร์เน็ตเอาไว้ เรียกว่า ยูอาร์แอล (Uniform Resource Locator - URL) เพื่อใช้แสดงตนในการสื่อสาร และเป็นมาตรฐานในการบ่งบอกที่อยู่ของเซิร์ฟเวอร์และ ข้อมูลต่างๆ ของแต่ละเว็บไซต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วย ไอคานน์ (The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers - ICANN) เป็นหน่วยงานทำ�หน้าที่บริหารจัดการเกี่ยวกับเลขที่อยู่
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-23
ธ ส
ไอพี (IP addresses) และชื่อโดเมน (domain name) ของอินเทอร์เน็ตสากล เพื่อควบคุมให้เลขที่อยู่และ ชื่อโดเมนของแต่ละรายไม่ให้ซ้ำ�กัน โดยว่าจ้างบริษัทจดทะเบียนโดเมน (Accredited Domain Name Registrars) ให้ทำ�หน้าที่จดทะเบียนชื่อโดเมนสากลขึ้น โดยจะคิดค่าบริการชื่อละ 10 เหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งได้มีการจดทะเบียนชื่อโดเมนไว้แล้วหลายล้านชื่อ บ้างก็จดทะเบียนไว้เพื่อแสวงหากำ�ไร เช่น ชื่อโดเมน Business.com สามารถขายได้ถึง 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีการแย่งใช้ชื่อโดเมนกันโดย พลการ จนถูกศาลได้ตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายแก่คนที่จดทะเบียนไว้เดิมถึง 40 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อม ค่าปรับอีก 25 ล้านเหรียญสหรัฐ และยังมีการฟ้องร้องกันอยู่เนืองๆ จึงได้มีการวางกฎเกณฑ์เพื่อป้องกัน ความพยายามตั้งชื่อโดเมนที่กำ�กวมด้วย ไอคานน์จะดูแลชื่อโดเมนสากลโดยแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะ ของกิจการที่นิยม เช่น .com หมายถึงธุรกิจทั่วไป .edu หมายถึงการศึกษา .gov หมายถึงราชการ .org หมายถึงองค์กรที่ไ ม่ใช่ธุรกิจห รือแสวงหากำ�ไร .net หมายถึงเว็บไซต์ที่ให้บริการเครือข่ายสื่อสาร เป็นต้น สำ�หรับชื่อโดเมนท้องถิ่นของแต่ละประเทศนั้น หน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้กำ�กับดูแลชื่อโดเมน ท้องถิ่นของตนเอง โดยมีมาตรฐานที่ประกอบด้วยอย่างน้อยสองส่วนโดยคั่นด้วยจุด (.) ส่วนแรก หมายถึง ประเภทของกิจการคล้ายกับชื่อโดเมนสากล เช่น .co หมายถึงธุรกิจ .ac หมายถึงสถานศึกษา .go หมายถึงราชการ และ .or หมายถึงอ งค์กรที่ไ ม่แ สวงหากำ�ไร ตามลำ�ดับ เป็นต้น สำ�หรับส่วนหลัง จะเป็นตัว บอกถึงประเทศ เช่น .us (สหรัฐฯ) .uk (อังกฤษ) .au (ออสเตรเลีย) .th (ไทย) .cn (จีน) และ .jp (ญี่ปุ่น) เป็นต้น
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
5. การเชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ต
ม
ธ ส
ม
การเชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ตสามารถกระทำ�ได้หลายวิธี ในอดีตการเชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ตจะ ต้องเชื่อมผ่านโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเป็นหลัก ต่อมาด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำ�ให้ เกิดบริการการสื่อสารข้อมูลแนวใหม่ขึ้นที่มีความเร็วสูงและได้ระยะทางไกลขึ้น วิธีหลักที่นิยมกัน ดังแสดง ในภาพที่ 4.7
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
4-24
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ภาพที่ 4.7 การเข้าถึงข้อมูลทางเว็บ
ธ ส
ม
ธ ส
ม
วิธีที่ 1 เชื่อมต่อผ่านเซิร์ฟเวอร์แลนหรือแลนไร้สายความเร็วสูง เป็นวิธีที่ใช้กิจการที่มีการติดตั้ง ระบบแลนใช้งานในหน่วยงาน ซึ่งอุปกรณ์ระบบแลนบางรุ่นจะมีเราเทอร์รวมอยู่ในตัวสำ�หรับเชื่อมเข้า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข้อดีของวิธีนี้คือ ความเร็วในการส่งข้อมูลจะสูงมาก ในระดับหลายร้อยเมกะบิต ต่อวินาที (Mbps) ในกรณีที่เป็นกิจการขนาดใหญ่จะติดตั้งระบบแลนหลายวง และมีความเร็วสูงเพื่อให้ ประหยัดในการลงทุน จะใช้อุปกรณ์เราเทอร์ที่แยกออกมา แต่ในปัจจุบันนิยมติดตั้งระบบแลนไร้สายหรือ วายฟายเพื่อความสะดวกและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน วิธีที่ 2 เชื่อมต่อผ่านบริการความเร็วสูง เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายพิเศษจาก ผู้ให้บริการเครือข่ายต่างๆ เช่น ระบบดีเอสแอลจากบริษัทติดตั้งโทรศัพท์ ระบบเคเบิลทีวี และระบบ ดาวเทียมจากผู้บริการเชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ข้อดีของวิธีนี้คือ มีความเร็วข้อมูลสูง 1 ถึง 7 เมกะบิตต่อว ินาที (Mbps) วิธีที่ 3 เชื่อมต่อผ่านวงจรโทรศัพท์ สำ�หรับบ้านพักอาศัย โดยใช้โมเด็มเชื่อมต่อสายไปยังผู้ให้ บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี (Internet Service Provider - ISP) และใช้ซอฟต์แวร์ที่ใช้โพรโทคอล ทีซีพี/ไอพี และเอสแอลไอพี (Serial Line Internet Protocol - SLIP) หรือพีพีพี (Point-to-Point Protocol - PPP) ซอฟต์แวร์เอสแอลไอพีและพีพีพีเป็นซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่ส่งแพ็กเก็ตผ่านสาย โทรศัพท์ ทำ�ให้เชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ตได้ การเชื่อมต่อผ่านวงจรโทรศัพท์มีข้อจำ�กัดที่มีความเร็วต่ำ�ที่ 56 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps) และขณะที่กำ�ลังเชื่อมต่ออยู่นั้นไม่สามารถใช้โทรศัพท์ปกติได้ แต่ในปัจจุบันนี้ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี บริษัทติดตั้งโทรศัพท์สามารถติดตั้งระบบเอดีเอสแอล (Asymmetric Digital Subscriber Line - ADSL) คือมีความเร็วอสมมาตร ความเร็วข ณะรับข้อมูลเป็น 1.5-9.0 เมกะบิต
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-25
ธ ส
ต่อวินาที (Mbps) ส่วนความเร็วในการส่งข้อมูลจะเป็น 700 กิโลบิตต ่อวินาที (Kbps) ข้อดีนอกจากความเร็ว สูงแล้ว ขณะที่กำ�ลังเชื่อมต่ออยู่ยังสามารถใช้โทรศัพท์ปกติได้ และอุปกรณ์บางรุ่นจะรวมทั้งเอดีเอสแอล ระบบแลน และระบบไร้ส าย หรือวายฟายในตัวเดียวกันด ้วย การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตดังกล่าวจะมีการเชื่อมผ่านโครงข่ายสื่อสารข้อมูลด้วย เช่น โครงข่าย โทรศัพท์พื้นฐาน และโครงข่ายสื่อสารข้อมูลเทคโนโลยีแถบความถี่กว้างเพื่อเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงและ ระยะทางไกลๆ ซึ่งปัจจุบันถ ือเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไปโดยปริยาย
ธ ส
ม
ธ ส
6. ระบบเวิลด์ไ วด์เว็บ
ม
หลายท่านอาจจะยังคงสับสนอยู่กับคำ�ว่า “เว็บ และอินเทอร์เน็ต” บ้างก็คิดว่าคงจะเหมือนกัน แต่ความจริงอินเทอร์เน็ต คือระบบเครือข่ายสื่อสารที่ทำ�หน้าที่ขนส่งข้อมูลเท่านั้น ส่วนเว็บ (web) เป็น โปรแกรมประยุกต์ที่อาศัยเครือขายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวส่งผ่าน เช่น การส่งอีเมล เป็นต้น ระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web - WWW หรือ W3) เป็นระบบที่พัฒนาโดย นายทิม เบิร์นเนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) จากสถาบันวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป หรือเซิร์น (European Organization for Nuclear Research - CERN) กรุงเจนิวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยตั้งใจสร้างระบบจัดการ เอกสารภายในสถาบันให้สามารถตามสืบค้นเอกสารได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink) เป็น เทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้ เพราะไฮเปอร์ลิงก์จะเชื่อมต่อหรือลิงก์ (link) ข้อมูล หรือเอกสารทุกชิ้นที่บรรจุไฮเปอร์ลิงก์อยู่ จึงได้ทดลองใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายในการสื่อสาร ต่อมา จำ�นวนเว็บเซิร์ฟเวอร์ก็ได้เพิ่มมากขึ้นจนเป็นหมื่นๆ เครื่อง กระจายอยู่ทั่วโลก และทำ�งานร่วมกันเสมือน เป็นหนึ่งเดียวที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลายเป็นแหล่งข้อมูลสำ�หรับให้ประชากรที่เป็นผู้ใช้ งานนับพันล้านคนสามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลที่มีอยู่มหาศาลได้ โดยคลิกที่ข้อความตัวหนา หรือที่รูปภาพ ไฮเปอร์ล ิงก์ก ็จะทำ�การเปิดหน้าเว็บใ หม่ที่ม ีรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้อย่างง่ายดาย เสมือนหนึ่งกำ�ลัง ใช้งานอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลมหาศาลให้สืบค้นและเปิดดูได้ เวิลด์ไวด์เว็บจึงเป็น แหล่งข้อมูลท ี่ได้รับความนิยมสูงท ี่สุดในโลก กล่าวโดยสรุป เวิลด์ไวด์เว็บเป็นคอมพิวเตอร์ระบบรับ/ให้บริการ (client/server computing) หรือระบบลูกข่าย/แม่ข่ายที่ทำ�งานด้วยไฮเปอร์ลิงก์ ซึ่งเป็นรหัสอ้างอิงของเอกสารที่ทำ�ให้สามารถติดตาม ได้อย่างอัตโนมัติทั่วโลกบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเอกสารเหล่านั้นจะโยงใยถึงกันอย่างต่อเนื่องด้วย รหัสไฮเปอร์ลิงก์ ซึ่งบรรจุอยู่ในข้อความไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) ที่อยู่ในเอกสารเรียกว่า หน้าเว็บ ด้วย คุณสมบัติที่รหัสไฮเปอร์ลิงก์สามารถเชื่อมโยงเอกสารต่างถึงกันได้ ทำ�ให้ผู้ใช้สามารถติดตามและเข้าถึงได้ ทั่วโลก โดยการท่องไป (navigate) บนอินเทอร์เน็ตแ ละทำ�การเปิดด ู (browse) ได้ด้วยซอฟต์แวร์ล ูกข่าย เว็บ (web client) ที่เรียกกันว่า เว็บเบราเซอร์ (web browser) เช่น อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์โพลเรอร์ หรือไออี (Internet Explorer - IE) ไฟร์ฟอกซ์ (Firefox) และซาฟารี (Safari) เป็นต้น การรวบรวมหน้าเว็บต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันมาไว้บนเว็บหนึ่ง เรียกเว็บนั้นว่า เว็บไซต์ ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเว็บไซต์จากเดิมที่มีแต่ ข้อมูลที่เป็นอักษรและรูปภาพมาเป็นเว็บไซต์ที่เป็นหลายสื่อ มีทั้งข้อมูลที่เป็นเสียงและภาพเคลื่อนไหว
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-26
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
อีกทั้งผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบ (interactive) กันทันทีได้ โดยใช้โปรแกรมเสริม (plug-in) เช่น อะโดบีแฟลช (Adobe Flash) เรีย ลเพลเยอร์ (Real Player) เป็นต้น การเข้าสู่เข้าระบบอินเทอร์เน็ตจะต้องเข้าทางพอร์ทัลเว็บ (web portal) เช่น เอโอแอล (AOL) เอ็มเอสเอ็น (MSN) กูเกิ้ล (Google) ยาฮู (Yahoo) เป็นต้น เช่น หากกำ�หนดให้เว็บเบราเซอร์หนึ่งให้เริ่ม ทำ�งานโดยเข้าสู่พอร์ทัลเว็บยาฮู ดังนั้น เว็บพอร์ทัลยาฮูก็จะกลายเป็นโฮมเพจ (home page) ของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไป เมื่อเปิดเครื่องและเชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ยาฮูก็จะปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ให้เห็น ในปัจจุบันนี้กิจการหลายแห่งก็นิยมสร้างพอร์ทัลเว็บองค์กร (corporate web portal) ของตนเอง ขึ้น ซึ่งเป็นพอร์ทัลและเว็บไซต์ขององค์กร เพื่อใ ช้เป็นช่องทางให้เข้าถึงข้อมูลของกิจการ
ธ ส
ม
7. เครือข่ายอินเทอร์เน็ตใ นทางธุรกิจ
ธ ส
ม
ม
จากความนิยมของเทคโนโลยีเว็บ และระบบอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ ทางเทคโนโลยี สารสนเทศ ทำ�ให้กิจการต่างๆ หันมาใช้วิธีการดำ�เนินธุรกิจเชิงดิจิทัลกันมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สมรรถภาพในการปฏิบัติงาน และลดต้นทุนการดำ�เนินงาน ทำ�ให้เกิดรูปแบบของการทำ�งานต่างๆ ขึ้น ในลักษณะของเครือข่ายแบบต่างๆ เฉพาะกิจกรรม ที่นิยมมีดังนี้ 7.1 เครือข่ายอินทราเน็ต (intranet) เป็นเครือข่ายที่ใช้ทางธุรกิจเฉพาะภายในกิจการโดยเฉพาะ ซึ่งจะต่างกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้โดยบุคคลทั่วไป กิจการสามารถแจ้งข่าวสารนโยบาย ข้ อ มู ล แ ละสื่ อ ก ารฝึ ก อ บรมต่ า งๆ ได้ และส ามารถใ ช้ ใ นก ารป รั บ เ ปลี่ ย นวั ฒ นธรรมอ งค์ ก รไ ด้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ เครือข่ายอินทราเน็ตในตอนแรกเริ่มนิยมใช้วิธีเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ เพราะสามารถ ป้องกันก ารบุกรุกข้อมูลได้ดี แต่จะมีปัญหาเรื่องความเร็วต่ำ� ค่าใช้จ่ายสูง และความไม่สะดวกในการใช้งาน ดังนั้น กิจการส่วนมากจึงนิยมใช้วิธีเชื่อมต่อผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแทน เนื่องจากการลงทุนต่ำ� แต่ได้ผล มากกว่า แต่ก ็จะต้องเพิ่มร ะบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลให้ดีด้วย 7.2 เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต (extranet) เป็นเครือข่ายที่กิจการใช้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างผู้ที่มีธุรกิจต่อกันโดยเฉพาะเช่น คู่ค้า ลูกค้า ผู้จัดหา เป็นต้น ซึ่งต่างก็ต้องการข้อมูลสารสนเทศ ต่างๆ เพื่อช่วยทำ�ให้ธุรกิจสามารถดำ�เนินการต่อไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเสียเวลารอ คอยข้อมูลที่จะต้องรับกันโดยตรง การเชื่อมต่อก็ใช้วิธีเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานอยู่ แล้วในทำ�นองเดียวกันก ับเครือข่ายอินทราเน็ต 7.3 พอร์ทัล (portal) หรือท ่าเทียบข้อมูล คือเว็บท ี่ทำ�หน้าที่เป็นช ่องทางผ่านเข้าอ อก หรือเกตเวย์ (gateway) ในการสื่อสารข้อมูลต่างๆ เช่น อีเมล แฟ้มข้อมูล สารสนเทศ รูปภาพ ดนตรี และบทความ เป็นต้น สมาชิกสามารถเชื่อมเข้าไปเพื่อส่งหรือดึง หรือแลกเปลี่ยนข่าวสารต่างๆ หรือวิจารณ์และโต้ตอบ กันได้ พอร์ทัลเริ่มในปี พ.ศ. 2540 เมื่อเว็บไซต์ต่างๆ เริ่มเปิดรับสมาชิกอีเมลโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ให้เรียก ดูข้อมูลข่าวสารต่างๆ และยังสามารถเชื่อมผ่านไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ได้อีก กลายเป็นเว็บพอร์ทัล หรือ พอร์ทัลบนเว็บ ต่อม าจึงไ ด้เกิดพอร์ทัลขึ้นมากมาย พอร์ทัลมีอยู่หลายประเภท เช่น
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-27
ธ ส
1) พอร์ทัลวิสาหกิจ (corporate or enterprise portal) เป็นพอร์ทัลส่วนตัวของกิจการหนึ่งๆ เพื่อใช้ในธุรกิจของตน ใช้เป็นเครื่องมือในการกระจายข่าวสาร รับส่งข้อมูล นำ�เสนอความคิดริเริ่มใหม่ๆ รับข้อเสนอแนะ และกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ โดยพนักงานไม่ต้องเสียเวลาในการสืบค้น ทำ�ให้กิจการ สามารถประหยัดเวลา และเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินงานด้วย 2) พอร์ทัลการค้า (commercial portal) เป็นพอร์ทัลที่ให้บริการทั่วไป เช่น กูเกิ้ล (www. google.com) ยาฮู (www.yahoo.com) อะเบาต์ (www.about.com) และอะเมซอน (www.amazon. com) เป็นต้น 3) พอร์ทลั ส อื่ ข า่ วสาร (publishing portal) เป็นพ อร์ทัลท ีม่ ุ่งส ื่อสารกับก ลุ่มค นทีม่ คี วามสนใจ เฉพาะเรื่อง โดยสามารถสืบค้นข้อมูลข่าวสารเฉพาะเรื่องในทางลึก หรือมีรายละเอียดมากได้ เช่น เทคเว็บ (www.techweb.com) ซีดีเน็ต (www.zdnet.com) เป็นพอร์ทัลด้านไอที เป็นต้น 4) พอร์ทัลแนวดิ่ง (vertical portal or vortal) เป็นพอร์ทัลข้อมูลข่าวสารทางการตลาด เกี่ยวกับงานแสดงสินค้า รายชื่อร ้านค้า อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ แต่ละประเภทโดยเฉพาะ เช่น ฟามาซูทิคัลออนไลน์ (www.pharmaceuticalonline.com) เกี่ยวกับเภสัชกรรม และเบเกอรี่ออนไลน์ (www.bakeryonline.com) เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเบเกอรี่ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เช่น เว็บสเฟียร์ (WebSphere) ของบริษัทไอบีเอ็ม เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำ�หรับสร้าง พอร์ทัลเชิงบูรณาการ (integration portal) สามารถสร้างพอร์ทัล 3 พอร์ทัลในพอร์ทัลเดียวกันได้ เช่น พอร์ทัลสำ�หรับคู่ค้าธุรกิจ หรือบีทูบี (B2B) พอร์ทัลสำ�หรับพนักงาน หรือบีทูอี (B2E) และพอร์ทัลสำ�หรับ ลูกค ้า หรือบีทูซี (B2C) รวมอยู่ใ นพอร์ทัลเดียวของกิจการ เป็นต้น
ธ ส
ม
ธ ส
ม
8. เว็บ 2.0-4.0
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
เมื่อย้อนไปหลายปีก่อนนี้ ผู้ที่เข้าไปในเว็บไซต์ต่างๆ ทำ�ได้แค่ดึงข้อมูลออกมาใช้เท่านั้น เป็นการ สื่อสารทางเดียว ต่อมาจึงได้มีการวิวัฒนาการมาเป็นการสื่อสารสองทาง โดยผู้ที่เข้าไปในเว็บไซต์สามารถ ดึงข้อมูลและนำ�เสนอข้อมูลของตนได้ด้วย ตัวอย่างเว็บไซต์ เช่น ยูทิวบ์ (YouTube) วิกิพีเดีย (Wikipedia) และมายสเปซ (MySpace) เป็นต้น ต่อมาเว็บไซต์บางแห่งได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นไปอีก โดยบรรจุ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่างๆ ไว้สำ�หรับให้ผู้ที่เข้าไปในเว็บไซต์นี้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นๆ ได้ เสมือนหนึ่งเป็นการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บนเว็บไซต์ เช่น กูเกิ้ลดอกส์ (Google Docs) เป็นเว็บ ที่ใช้เทคโนโลยี เว็บ 2.0 (Web 2.0) เว็บไซต์ที่สร้างกันในสมัยก่อนเรียกว่า เว็บ 1.0 (Web 1.0) เป็นการสร้างเว็บไซต์เพื่อบรรจุข้อมูล ข่าวสารเพื่อให้ผู้ใช้เข้ามาดูหรือดึงข้อมูลเท่านั้น ต่อมาได้มีการพัฒนาต่อไปอีก โดยให้ผู้ที่เข้ามาในเว็บไซต์ สามารถทำ�กิจกรรมต่างๆ ได้ เช่น เว็บไซต์ว ิกิพ ีเดีย (Wikipedia) ที่ให้ผู้ใช้แก้ไขหรือเพิ่มเนื้อหาได้ เว็บไซต์ บางแห่งท ีม่ บี ริการบล็อกส์ (web logs - blogs) เพื่อใ ห้ผ ูใ้ ช้เข้าไปแนะนำ�เว็บไซต์ท ีน่ ่าส นใจ พร้อมกับใ ห้แ สดง ข้อคิดเห็นไ ด้ ต่อมายูท ิวบ์ (YouTube) และฟลิกเกอร์ (Flickr) ได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเข้ามาแบ่งปัน ข้อมูลด้านรูปภาพ และภาพเคลื่อนไหวกันได้ ซึ่งนำ�ไปสู่การทำ�เครือข่ายสังคม (social network) เช่น
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
4-28
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
เฟซบุ๊ก (facebook) และมายสเปซ (myspace) เป็นต้น โดยผู้ใช้สามารถนำ�เสนอเนื้อหาและดึงผู้ที่มีความ สนใจในเรื่องเดียวกันมาเข้ากลุ่มได้ ส่วนเว็บไซต์ประเภทบล็อกส์ขนาดเล็ก (microblogs) เช่น ทวิตเทอร์ (Twitter) และไจคุ (Jaiku) ให้แสดงข้อคิดเห็นแก่เพื่อนๆ ได้ เว็บไซต์ทำ�เครื่องหมายสังคม หรือโซเชียล บุ๊กมาร์กกิ้ง (social bookmarking sites) เช่น ดิ๊กก์ (Digg) และเดลดอตไอซีโอดอตยูเอส (del.ico.us) ที่เปิดให้ผู้สนใจเข้ามาแสดงความเห็นและลงคะแนนความนิยมของเรื่องราวที่นำ�เสนอบนเว็บไซต์ และ เว็บไซต์ขายของต่างๆ ก็เปิดให้ผู้สนใจเข้ามาลงคะแนนความนิยมของสินค้าต่างๆ เป็นต้น จากตัวอย่าง ข้างต้นแ สดงให้เห็นว่า การวิวัฒนาการของเว็บไซต์มุ่งไ ปสู่การรวมตัวของกลุ่มคนที่จะมาแสดงความคิดเห็น แบ่งปันข ้อมูล พบปะเพื่อนฝูง และหาเพื่อนใหม่ นั่นเอง การที่เว็บไซต์หลายแห่งนำ�ซอฟต์แวร์ป ระยุกต์ต่างๆ มาบรรจุไว้ เช่น กูเกิ้ลดอกส์ (Google Docs) อะโดบีโฟโต้ชอปเอ็กซ์เพรส (Adobe Photoshop Express) ระบบปฏิบัติการเอ็กซ์เซอเรียน (Xcerion Web-based OS) และไมโครซอฟต์แมปส์ (Microsoft Maps) ทำ�ให้เว็บไซต์ที่ทำ�ได้แค่ดึงข้อมูลหรือ นำ�เสนอข้อมูลน ั้น กลายเป็นเว็บไซต์ที่เป็นเสมือนหนึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเว็บไซต์ไ ป สมัยก่อน การใช้งานคอมพิวเตอร์จะต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ประยุกต์ไว้ในเครื่องพีซีก่อน แต่ต่อไปนี้อาจไม่จำ�เป็น แล้ว เพราะสามารถเข้าไปใช้งานยังเว็บไซต์ที่ให้บริการได้ โดยจะต้องใช้เว็บเบราเซอร์ที่มีอาร์ไอเอ (RIA Rich Internet Application) ซึ่งจะทำ�ให้ผ ู้ใช้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ป ระยุกต์ต่างๆ บนเว็บไซต์ได้ อันเป็น คุณลักษณะของคลาวด์คอมพิวติ้ง (cloud computing) ซึ่งคำ�ว่า คลาวด์ แปลว่า ก้อนเมฆ เป็นชื่อเรียก อีกนัยหนึ่งที่หมายถึง ระบบอินเทอร์เน็ต คลาวด์คอมพิวติ้งนอกจากจะบรรจุซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่างๆ ไว้มากมายแล้ว ยังมีพื้นที่ให้จัดเก็บข้อมูลได้ด้วย ส่งผลให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง เช่น สมาร์ตโฟน ซึ่งพกพาได้ แทนการใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ นอกจากนี้ ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในยุคเว็บ 2.0 ทำ�ให้แนวคิดคอมพิวเตอร์ระบบกริด หรือกริดคอมพิวติ้ง (grid computing) เกิดขึ้นได้ โดยทำ�การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หลายๆ เครื่องจากหลายสาขาที่อยู่เมืองต่างๆ เข้าเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เสมือนหนึ่งเป็นเครื่อง คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เนื่องจากบริษัทข นาดใหญ่ส ่วนมากที่ม ีห ลายสาขา แต่ละสาขาจะใช้ง านคอมพิวเตอร์ ประมาณร้อยละ 25 ของกำ�ลังเครื่องเท่านั้น จึงมีกำ�ลังส่วนเกินพอที่จะแบ่งให้ใช้ในคอมพิวเตอร์ระบบกริด ได้ ทำ�ให้ล ดค่าใช้จ่ายในการลงทุนได้ม าก และประสิทธิภาพรวมก็เพิ่มสูงขึ้น คุณลักษณะของเว็บ 2.0 ที่สำ�คัญมีดังนี้ - สามารถดึงเอาความรู้จากผู้ใช้งานมารวมเป็นแหล่งสะสมองค์ความรู้ได้ - สามารถให้ดึงข้อมูลต่างๆ แล้วนำ�ไปผสมกันหรือขยำ�รวมกันแบบแมชอัพ (mash up) ได้ โดยใช้ส่วนต่อประสานบริการทางเว็บ (web-service interfaces) ในลักษณะคล้ายกับผู้จัดรายการ เพลงหรือดีเจ (DJ) ที่ชอบเอาเพลงต่างๆ มาขยำ�รวมกันหรือผสมปนเปกัน - ข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในเว็บ 2.0 เป็นข้อมูลที่สร้างขึ้น และควบคุมเนื้อหากันโดย ผู้ใช้งาน - มีเครื่องมือก ารพัฒนาโปรแกรมขนาดย่อมให้ผู้ใช้งานทำ�การแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาได้
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-29
ธ ส
- สามารถให้ผู้ใช้งานเข้ามาใช้โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ได้ เพียงแต่ใช้ผ่านเว็บเบราเซอร์ เท่านั้น
ธ ส
- มีสถาปัตยกรรมที่เอื้ออำ�นวยให้ผู้ใช้งานเพิ่มคุณค่าให้แก่โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ อย่าง
อิสระ
ม
- มีก ารสร้างรูปแบบเชิงธ ุรกิจแ นวใหม่เกิดข ึ้นเป็นประจำ�และเป็นไ ปอย่างต่อเนื่อง - มุ่งเน้นเครือข่ายสังคมเป็นหลัก - มีการใช้ส่วนต่อประสานเชิงโต้ตอบที่ใช้งานสะดวกและง่าย โดยอาจใช้ภาษาพัฒนาเว็บ ต่างๆ เช่น ภาษาเอแจ็กซ์ (Asynchronous Java Script and XML - AJAX) ซึ่งเป็นโปรแกรมภาษาที่ใช้ ในการพัฒนาเว็บเชิงโต้ตอบ เป็นการทำ�ให้หน้าเว็บมีการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วมาก เพียงแค่ปรับข้อมูลเล็กน้อย โดยมีเว็บเซิร์ฟเวอร์คอยจัดการให้อยู่เบื้องหลัง ไม่ต้องทำ�การโหลดหน้าเว็บ ใหม่ทุกครั้งที่ผู้ใช้งานทำ�การปรับปรุงข้อมูล ทั้งนี้ เพื่อที่จะเพิ่มความรวดเร็ว ความสะดวก และวิธีการ โต้ตอบของหน้าเว็บนั่นเอง ตัวอย่างของเว็บไซต์ท ี่มีคุณลักษณะของเว็บ 2.0 ที่ได้รับความนิยมสูงทางด้านต่างๆ คือ - ด้านสื่อสังคม (social media) เช่น www.stumbelupon.com www.slide.com www. bebo.com www.meebo.com และ www.wikia.com - ด้านวิดีโอ (video) เช่น www.joost.com www.metacafe.com www.dabble.com www.revision3.com www.youtube.com และ www.blip.tv - ด้านสื่อสารเคลื่อนที่ (mobile) เช่น www.mobio.com www.soonr.com www. tinypicture.com www.fon.com และ www.loopt.com - ด้านการโฆษณา (advertising) เช่น www.adify.com www.admob.com www.turn. com www.spotrunner.com และ www.vitrue.com - ด้านวิสาหกิจ (enterprise) เช่น www.successfactors.com www.janrain.com www.logowork.com www.simulscribe.com และ www.reardencommerce.com จากการพัฒนาการใช้งานเชิงธุรกิจต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวันทำ�ให้เกิดการประยุกต์ต่างๆ ขึ้น มากมาย จนได้ก้าวเข้าไปสู่ยุคของเว็บ 3.0 กันบ้างแล้ว ซึ่งเป็นการนำ�เสนอรูปแบบการทำ�ธุรกิจและการ เข้าสังคมในแนวใหม่ และจะทำ�ให้การดำ�เนินชีวิตรวมทั้งการประกอบอาชีพ หน้าที่การงาน และการจัด องค์กรต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย นอกจากนี้ เว็บ 3.0 ไม่เพียงแต่จะเป็นเทคโนโลยีที่เอื้อให้มีความคล่องตัว ในการเคลื่อนที่และความเป็นส่วนตัวมากขึ้น แต่จะรวบรวมพลังของประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะ นำ�ไปสู่การสืบค้นที่แม่นยำ�ให้ได้ตามที่ต้องการ ลักษณะเด่นของเว็บ 3.0 มีดังนี้ - มีก ารเชื่อมต่อที่ร วดเร็วและกว้างไกล - มีก ารใช้งานเชิงโต้ตอบ (interactive) ที่แพรวพราว - มีบ ริการเว็บเพิ่มมากขึ้นที่สามารถดำ�เนินการผ่านเบราเซอร์
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-30
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
- มีเครื่องมือส ืบค้น (search engine) ที่ทรงพลังสูงขึ้น - มีการเอื้อให้บุคคลทั่วไปสามารถพัฒนา แก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาและวิธีการใช้งานบน หน้าเว็บได้โดยสะดวกและง่ายดายมากยิ่งข ึ้น - มีโ อกาสที่จะเพิ่มโปรแกรมประยุกต์ระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) - ความเร็วใ นการสื่อสารสูงถ ึง 10 เมกะบิตต ่อวินาที (Mbps) ซึ่งเว็บ 2.0 มีความเร็วเฉลี่ย 1 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) - มีก ารใช้ระบบสามมิติ (3D) กันมากขึ้น - มีก ารนำ�ระบบไร้สายมาประยุกต์ใช้กันกว้างขวางยิ่งขึ้น โครงสร้างของเว็บ 3.0 อาจแบ่งออกเป็นชั้นของการบริการได้ 4 ชั้น ได้แก่ ชั้นเอพีไอ (API services) ชั้นรวบรวม (aggregation services) ชั้นแอพพลิเคชั่น (application services) และชั้นลูกข่าย บริการ (serviced clients) 1) ชั้นเอพีไอ (API services - Application Program Interface services) เป็นชั้นพื้นฐานหลัก ที่ใช้ใ นการขับเคลื่อนเว็บ 2.0 มาอยู่แล้ว และยังค งเป็นเครื่องยนต์ที่จะขับเคลื่อนเว็บ 3.0 ต่อไป เช่น เอพีไอ การค้นหา (search API) ของกูเกิ้ล เอพีไ อการเป็นส มาชิกห รือร ่วมค้า (affiliate API) ของอะเมซอน เป็นต้น คุณลักษณะที่สำ�คัญของชั้นเอพีไอคือ ความเป็นชั้นโภคภัณฑ์ (commodity layer) ซึ่งจะเป็นตัวคั้นเอา กะทิออกมา (กำ�ไร) จากมวลชนที่เข้ามาใช้บริการที่เว็บไซต์น ั่นเอง 2) ชั้นรวบรวม (aggregation services) เป็นชั้นที่คอยช่วยงานส่วนที่ล้นมาจากเอพีไอแล้ว จัดการรวบรวมพร้อมกับจัดระเบียบเสียใหม่ เพื่อช่วยให้เอพีไอทำ�งานได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น เช่น บรรดา ตัวช่วยส่งข้อมูลหรือเนื้อหาต่างๆ (RSS aggregators) ของเว็บไซต์ และบริการต่างๆ ในตลาดสินค้า (e-Marketplace) เช่น บริการของสไตรค์ไอรอน (StrikeIron) เป็นต้น 3) ชั้นแอพพลิเคชั่น (application services) เป็นชั้นที่สร้างรายได้ให้กับเว็บไซต์มากที่สุด บริการนี้จ ะแตกต่างจากการใช้โปรแกรมประยุกต์วิสาหกิจต่างๆ เช่น ซีอาร์เอ็ม (CRM) หรืออีอาร์พี (ERP) แต่เป็นการประยุกต์มิติใหม่ที่คอยรวบรวมโปรแกรมประยุกต์หลากหลายมาให้บริการแก่ผู้ใช้ให้ดำ�เนินการ ได้สำ�เร็จตามวัตถุประสงค์ โดยเน้นที่ความสะดวก ยืดหยุ่น และมีตัวช่วยแนะนำ�การใช้งานทุกขั้นตอน ตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ เช่น วีคอมเมิร์ซ (Voice Commerce - v-Commerce) เป็นศัพท์ที่ใช้ เรียกระบบที่มีการจำ�คำ�พูด (speech recognition) เพื่อให้ระบบทำ�งานด้วยคำ�สั่งเสียง เช่น การท่องไป ในอินเทอร์เน็ต และการเปิดดูอีเมล เป็นต้น และจะนำ�ไปสู่การใช้งานที่แปลกใหม่มากยิ่งขึ้น เป็นต้น 4) ชั้นลูกข่ายบริการ (serviced clients) เป็นชั้นสำ�หรับด้านฝั่งลูกข่าย ในส่วนของเว็บ 3.0 โดยเปิดใ ห้ผู้ใช้ทำ�หน้าที่จัดการและดูแลรักษาเนื้อหากันเองได้ ขณะนนี้ ักว ิทยาศาสตร์ร วมทั้งน ักธ ุรกิจท ั้งห ลายต่างกจ็ ้องทจี่ ะทำ�การขุดเจาะหาภูมิปัญญาของมนุษย์ จากเอกสารนับแสนล้านบนเว็บที่มีการเกี่ยวโยงถึงกันเหมือนดั่งด้ายที่ถักหรือทอกันเอาไว้ โดยมีเป้าหมาย ที่เพิ่มชั้นขึ้นไปอีกหนึ่งชั้นบนเว็บที่มีอยู่ ในลักษณะเชิงชี้นำ� แทนการแสดงด้วยสารบัญหรือแคตาล็อกแบบ เดิมๆ และอาจให้ร ะบบเสนอความคิดเห็นหรือคำ�แนะนำ�แบบมนุษย์ได้ด้วย ความสามารถของคอมพิวเตอร์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-31
ธ ส
เชิงกึ่งปัญญาประดิษฐ์ที่คิดแทนคนได้นี้คือ ความปรารถนาที่บรรดานักวิจัยทั้งหลายได้พยายามใฝ่หามา นานร่วมกึ่งศตวรรษ โดยมีเว็บความหมาย หรือซีแมนทิกเว็บ (semantic web) เป็นแกนหลักสำ�คัญของ เว็บ 3.0 เว็บความหมาย หรือซีแมนทิกเว็บ เป็นเทคโนโลยีที่ทำ�ให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ “ความ- หมาย” (semantic) ของข้อมูลสารสนเทศบนเว็บได้ อีกทั้งยังสามารถตีความและนำ�ไปใช้งานโดยซอฟต์แวร์ ประเภทปัญญาประดิษฐ์ได้ และทำ�ให้การสืบค้น การแบ่งปัน และการบูรณาการเป็นไปได้โดยง่ายยิ่งขึ้น ซีแมนทิกเว็บเป็นเทคโนโลยีที่สืบสานวิสัยทัศน์ของนายทิม เบิร์นเนอร์ส ลี ประธานสหพันธ์เวิลด์ไวด์เว็บ ที่ต้องการให้เวิลด์ไวด์เว็บเป็นสื่อสากลในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศและความรู้ ซีแมนทิกเว็บเป็น ผลงานส่วนที่ต่อยอดจากภาษาไฮเปอร์ลิงก์ ที่มนุษย์ก็สามารถอ่านและเข้าใจความหมายบนหน้าเว็บได้ ซึ่งประกอบไปด้วยปรัชญา หลักของการออกแบบ คณะทำ�งานกลุ่มร่วมมือ และเทคโนโลยีที่สนับสนุนต ่างๆ ประเด็นปัญหาในอนาคต จากงานวิจัยข องสแตฟฟอร์ด (2006) พบว่า ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เว็บ 3.0 รวมทั้งระบบอินเทอร์เน็ต มีแนวโน้มจะประสบปัญหาในอนาคต 4 ประเด็นสำ�คัญ คือ 1) การรักษาความมั่นคงของข้อมูล ทั้งผู้ซื้อสินค้าและลูกค้าธนาคารต่างมีความเป็นห่วง ในเรื่องความปลอดภัยเมื่อมีการโอนเงินทางอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ระบบเว็บและอินเทอร์เน็ตจะต้องทำ�ให้ ลูกค้าเกิดค วามมั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล 2) เครือข่ายสื่อสารไม่เสมอภาค เครือข่ายสื่อสารไม่เป็นกลาง ผู้ให้บริการเครือข่ายสื่อสาร ขนาดใหญ่สามารถเก็บค่าเชื่อมต่อสูงตามความเร็วของเครือข่ายได้ไม่อย่างอิสระ อาจมีผลทำ�ให้บริษัท เว็บที่มีขนาดเล็กสู้ค่าใช้จ่ายไม่ไหวจนต้องเลิกกิจการไป อาจคงเหลือแต่บริษัทใหญ่ๆ เช่น ไมโครซอฟต์ และกูเกิ้ล ที่ร ับมือได้แ ละคอยแย่งลูกค้า 3) การบังคับลิขสิทธิ์ ปัญหาด้านกฎหมายลิขสิทธิ์อาจทำ�ให้เว็บไซต์ เช่น ยูทิวบ์ วิกิพีเดีย เป็นต้น ต้องลดบทบาทลง อาจทำ�ให้ประชาคมต้องสูญเสียแหล่งข้อมูลสารสนเทศ การเปิดเผย ความ คิดเห็น และความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ 4) อุปสรรคในการเชื่อมต่อ ความเร็วในการอัพโหลดข้อมูลยังต่ำ�อยู่ เป็นข้อจำ�กัดที่ทำ�ให้ การอัพโหลดไฟล์ท ี่มีขนาดใหญ่ เช่น วิดีโอ ต้องใช้เวลามาก นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารความเร็วส ูง ด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น สมาร์ตโฟน ก็ยังม ีราคาสูงและมีข้อจำ�กัดในการเข้าเว็บไซต์ด้วย สรุปว่า เว็บ 2.0 เป็นเว็บที่เน้นการประยุกต์ทางเว็บและเครือข่ายสังคม เว็บ 3.0 เป็นเว็บที่ คอมพิวเตอร์ สามารถนำ�ข้อมูลสารสนเทศที่มีความหมายมาทำ�การแปลและดำ�เนินการต่อไปได้ แล้วต่อไป ก็จะถึงยุคของเว็บ 4.0 จะเป็นเว็บที่ทำ�อะไรได้บ้างก็ยังคงเป็นที่คาดเดากันอยู่ เช่น บางท่านก็มองว่าเว็บ 4.0 ข้อมูลสารสนเทศจะรวมตัวกันเสมือนลูกบอลกลมขนาดใหญ่ที่สามารถตอบทุกคำ�ถามและแก้ทุก ปัญหาได้ ไม่ว่าจะเป็นสันติภาพของโลก จนถึงทำ�ไมบอลต้องแพ้ในครั้งที่ผ่านมา บ้างก็คาดว่าในยุคเว็บ 4.0 จะประกอบด้วยอุปกรณ์ร ับรู้ (sensor) วางอยู่ท ั่วไป และจะคอยรวบรวมข้อมูลต่างๆ ทั้งสภาพแวดล้อม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-32
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
และหยั่งลึกถึงพฤติกรรมทางสังคมด้วย บ้างก็คาดว่าคอมพิวเตอร์จะสามารถเลียนแบบความคิดมนุษย์ที่มี ความอ่อนไหวได้ เป็นต้น
ธ ส
ม
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 4.1.2 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 4.1.2 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 4 ตอนที่ 4.1 เรื่องที่ 4.1.2
ม
ธ ส
เรื่องที่ 4.1.3 การประยุกต์ทางเว็บและอินเทอร์เน็ต
ม
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวผลักดันสำ�คัญที่ทำ�ให้การประยุกต์ทางเว็บและอินเทอร์เน็ตได้รับการ พัฒนาไปอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้วิถีการดำ�เนินธุรกิจและการดำ�เนินชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เช่น จากการซื้อขายผ่านหน้าร้าน ก็ทยอยเปลี่ยนมาเป็นการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตและเว็บ การประยุกต์ ดังกล่าวมีแนวโน้มที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนอื่นขอให้ทำ�ความเข้าใจเรื่องโครงสร้างของ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์กันก่อน
ธ ส
ม
ธ ส
1. โครงสร้างของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไปมีโครงสร้างซึ่งอาจแสดงได้ดังในภาพที่ 4.8 จะเห็นว่ารูปสามเหลี่ยม ที่อยู่ด้านบนสุดคือ การประยุกต์ทางธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ เช่น การซื้อขาย ธนาคารออนไลน์ การประมูลออนไลน์ การบริการลูกค้า เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีบริการสนับสนุนที่สำ�คัญต่างๆ เช่น บุคคล กฎระเบียบ การตลาด การจัดหา และคู่ค้า ที่จะเอื้อให้ธุรกรรมต่างๆ ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์สามารถ ทำ�งานได้ เปรียบเสมือนเสาที่คอยค้ำ�ยันไว้หรือสนับสนุนอยู่โดยมีโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การบริการธุรกิจ ทั่วไป เครือข่ายสื่อสาร รวมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เป็นต้น เปรียบเสมือนฐานรากของอาคารที่คอย รองรับอยู่ เป็นต ัวขับเคลื่อนให้ธุรกรรมต่างๆ สามารถดำ�เนินการต่อไปได้
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
บุคคล
บริการ สนับสนุน
โครงสร้าง พื้นฐาน
ม
การประยุกต์ต ่างๆ ทางธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
กฎ หมาย
การ ตลาด
ม
การ จัดหา
ธ ส
ม
2. บริการสนับสนุนธ ุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ธ ส
ม
1. การบริการ 2. การกระจาย 3. เครือข่าย 4. เครือข่าย ธุรกิจทั่วไป ข้อมูล สื่อข่าวสาร สื่อสาร ภาพที่ 4.8 โครงสร้างของธุรกิจอ ิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไป
4-33
คู่ค้า
5. การต่อ ประสาน
ธ ส
ม
บริการสนับสนุน (support services) คือ บริการที่จะส่งเสริมเพื่อที่จะเอื้อให้ธุรกรรมต่างๆ ของ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์สามารถดำ�เนินการได้ องค์ป ระกอบที่ส ำ�คัญ ได้แก่ บุคคล (people) กฎระเบียบ (public policy) การตลาด (marketing and advertising) บริการจัดหา (supply services) และคู่ค้า (business partnership) มีร ายละเอียดดังนี้ 2.1 บุคคล หมายรวมถึง ผู้ขาย ผู้ซื้อ คนกลาง ผู้ดูแลระบบสารสนเทศ และพนักงานระดับต่างๆ จนถึงร ะดับผู้บริหาร รวมทั้งบ ุคคลภายนอกอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 2.2 กฎระเบียบ หมายถึง กฎหมาย ระเบียบบังคับ นโยบาย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ (compliance) และมาตรฐานทางเทคนิค ซึ่งยังมีประเด็นที่สำ�คัญบางประเด็นที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ หรือ นำ�ไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมได้ เช่น การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และการประเมินภาษีต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะ ขึ้นอยู่กับรัฐบาลของแต่ละประเทศ และข้อตกลงระหว่างประเทศ 2.3 การตลาด รวมถึงการโฆษณา การวิจัยตลาด การส่งเสริมการขาย เนื้อหาบนเว็บไซต์ การ ตลาดเชิงเป้าหมาย เป็นองค์ประกอบที่จำ�เป็นในทางธุรกิจ รวมทั้งธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ด้วย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นธุรกิจอ อนไลน์ ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายจะไม่รู้จักก ัน ดังนั้น การทราบข้อมูล ที่ถูกต้องจะมีความสำ�คัญต ่อผู้ซ ื้อม าก 2.4 การจัดหา หมายรวมถึง การจัดส่ง (logistic) การชำ�ระเงิน ระบบรักษาความมั่นคงข้อมูล การพัฒนา การสร้างเนื้อหา และการทำ�ให้เสร็จตามที่สั่งซื้อ (order fulfillment) ล้วนเป็นก ิจกรรมสนับสนุน ที่จำ�เป็นสำ�หรับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
4-34
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
2.5 คู่ค้า หมายถึง บริษัทในเครือ บริษัทร่วมค้า (joint venture) กลุ่มบริษัท (consortium) ตลาดการค้า (exchanges) ตลาดบนเว็บ (e-Marketplace) เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในวงการธุรกิจ อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเกิดตลาดลูกโซ่อุปทาน (supply chain) ของกิจการ เช่น ความ ร่วมมือร ะหว่างบริษัท และผู้จ ัดหา (supplier) ลูกค้า และคู่ค้า เป็นต้น บริการสนับสนุนต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น จะต้องบริหารจัดการและการประสานงานที่ดี เพื่อให้การ ประยุกต์ การสนับสนุน และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้น กิจการจะต้อง มีการวางแผน การประสานงาน การจัดองค์กร การให้แรงจูงใจ การวางกลยุทธ์ และการปรับเปลี่ยน โครงสร้างกระบวนการดำ�เนินงานตามความจำ�เป็น นี่คืองานหลักอย่างหนึ่งของการบริหารจัดการธุรกิจ อิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
3. โครงสร้างพื้นฐ านของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทสำ�คัญ คือ โครงสร้าง พื้นฐานการบริการธุรกิจทั่วไป (common business services infrastructure) โครงสร้างพื้นฐานการ กระจายข้อมูลและข่าวสาร (messaging and information distribution infrastructure) โครงสร้าง พื้นฐานสื่อข่าวสาร และเนื้อหามัลติมีเดีย (multimedia content and networks publishing infrastructure) โครงสร้างพื้นฐ านเครือข่ายสื่อสาร (network infrastructure) และโครงสร้างพื้นฐานการต่อประสาน (interfacing infrastructure) กล่าวคือ 3.1 โครงสร้างพื้นฐานการบริการธุรกิจทั่วไป หมายรวมถึง การชำ�ระเงินด้วยอิเล็กทรอนิกส์ สารบัญอิเล็กทรอนิกส์ (e-Catalog) การทำ�ให้เสร็จตามที่สั่งซื้อ การรักษาความมั่นคงข้อมูล 3.2 โครงสร้างพื้นฐานการกระจายข้อมูลและข่าวสาร หมายถึง ระบบอีดีไอ (EDI) โพรโทคอลเอช ทีทีพี ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา 3.3 โครงสร้างพื้นฐานสื่อข่าวสารและเนื้อหามัลติมีเดีย หมายถึง ซอฟต์แวร์ทางเว็บ เช่น เอชทีเอ็ม แอล จาวา (JAVA) เอ็กซ์เอ็มแอล (XML) วีอ าร์เอ็มแ อล (VRML) เวิลด์ไวด์เว็บ (www) เป็นต้น 3.4 โครงสร้างพื้นฐานเครือข ่ายสื่อสาร หมายรวมถึง การสื่อสารโทรคมนาคม เคเบิลทีวี อุปกรณ์ มือถือไร้สาย ระบบอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต แลน แวน 3.5 โครงสร้างพื้นฐานการต่อประสาน หมายถึง ระบบฐานข้อมูล ระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร หรืออีอ าร์พี โซ่อุปทาน (supply chain) ลูกค้า และการประยุกต์ต่างๆ
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
4. การประยุกต์ทางเว็บ
ม
ม
ธ ส
การประยุกต์ทางเว็บและอินเทอร์เน็ตมีอ ยู่มากมายและหลากหลาย ในที่นี้จะกล่าวถึงการประยุกต์ ที่ส ำ�คัญๆ ได้แก่ เครื่องมือส ืบค้น ไปรษณีย์อ ิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสารด้วยข้อความด่วนและการพูดค ุยว ิดีโอ การหางาน การส่งแฟ้มเอกสาร เว็บล็อก กลุ่มข่าว ห้องสนทนา โทรศัพท์อินเทอร์เน็ตและการประชุมทาง วิดีโอ คอมพิวเตอร์สังคม เครือข่ายสังคม การเอื้อเฟื้อทางสื่อ การทำ�เครื่องหมายสังคม หรือโซเชียล
ม
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-35
ธ ส
บุ๊กมาร์กกิ้ง (social bookmarking) การลำ�เลียงเนื้อหา การจับจ ่ายทางเว็บ การประมูลทางเว็บ การดูหนัง ฟังเพลงทางอินเทอร์เน็ต หนังสืออ ิเล็กทรอนิกส์ หนังสือเสียง สำ�นักงานบนเว็บ และบริการทางเว็บอื่นๆ 4.1 เครื่องสืบค้น หรือเสิร์ชเอนจิน (search engine) คือเครื่องมือที่ช่วยให้ทำ�การสืบค้นข้อมูล สารสนเทศต่างๆ ได้อ ย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยกำ�หนดคำ�ที่ต้องการค้นหาเรียกว่า คำ�หลัก (keyword) เพื่อใช้ในการสืบค้น เช่น อาจสืบค้นหาเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยส ุโขทัยธรรมาธิราช อาจใช้คำ�หลักว่า มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก็ได้ แต่อาจใช้คำ�ย่อเป็นคำ�หลัก เช่น มสธ. หรือ stou ก็ได้ผลเช่นกัน เครื่องสืบค้นก็จะค้นหาเว็บไซต์ที่มีคำ�ดังกล่าวที่มีอยู่ในเนื้อหาของเว็บมาให้เลือก การให้บริการสืบค้น ข้อมูลด ังก ล่าวเป็นบ ริการที่ไม่คิดค่าใช้จ ่าย หลายท่านอาจตั้งข้อสงสัยว ่ากิจการเหล่าน ั้นหาเงินม าได้อย่างไร คำ�ตอบคือ มีรายได้จากค่าลงโฆษณาบนเว็บไซต์นั่นเอง โดยสามารถยิงโฆษณาเจาะจงให้ตรงกับความสนใจ ของผู้ใช้งานที่มาสืบค้นด้วย เครื่องสืบค้นที่น ิยมมากที่สุด ได้แก่ กูเกิ้ล (www.google.com) ยาฮู (www. yahoo.com) และ บิง (www.bing.com) เครื่องสืบค้นจะทำ�การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรมค้นหาอัตโนมัติเรียกว่า สไปเดอร์ (spider) ซึ่งจะคอยติดตามเว็บไซต์ต่างๆ แล้วนำ�หัวข้อเรื่องต่างๆ จากหน้าเว็บทุกหน้ามาจัดให้เป็นหมวดหมู่ กระบวนการนี้เรียกว่า การคลานหาบนเว็บ หรือเว็บครอว์ลิ่ง (web crawling) เนื่องจากเว็บไซต์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกันอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การคลานหาบนเว็บก็จะต้องดำ�เนินการไปอย่างต่อเนื่อง ไม่มีที่ส ิ้นส ุด ตัวอย่างเช่น กูเกิ้ลสามารถค้นหาหัวข้อเรื่องและจัดเรียงเป็นหน้าเว็บไ ว้แล้วถึง 4 พันล้านหน้า เว็บ โดยเก็บไว้ในฐานข้อมูลที่กระจายอยู่ 30 เขต แต่ละเขตใช้คอมพิวเตอร์ 2,000 เครื่อง ซึ่งบรรจุข้อมูล รวม 30 เพทะไบต์ 1 (petabytes) ต่อเขต สิ่งที่ท้าทายในการคลานหาบนเว็บก็คือ หัวข้อที่จะกำ�หนดให้เป็นคำ�หลัก ซึ่งเครื่องสืบค้นต่างกัน ก็จะมีวิธีกำ�หนดที่แตกต่างกันออกไป บางแห่งก็ใช้วิธีนับจำ�นวนคำ�ที่เกิดขึ้นบ่อยบนหน้าเว็บ ประเมิน คำ�นาม คำ�กริยา หัวเรื่อง หัวข้อย่อย คำ�ที่ปรากฏในการเชื่อมโยง เมื่อได้คำ�หลักจำ�นวนพอสมควรแล้ว ระบบก็จะเก็บบันทึกคำ�หลักเหล่านี้พร้อมยูอาร์แอลลงในฐานข้อมูล จากนั้นก็จะต้องมาพิจารณาอีกว่า ในหนึ่งคำ�หลักที่เกี่ยวโยงกับหน้าเว็บเป็นพันหน้านั้น หน้าเว็บใดบ้างที่จะมีประโยชน์มากกว่ากัน แล้วทำ� การจัดเรียงลำ�ดับตามความนิยม โดยถือว่าหน้าเว็บใดถูกอ้างอิงจากหน้าเว็บอื่นมากที่สุดก็ให้เป็นหน้าเว็บ ยอดนิยมอันดับหนึ่ง เครื่องสืบค้นมีความสำ�คัญในเชิงธุรกิจด้วย เพราะเป็นทางหนึ่งที่จะดึงลูกค้าให้มาเข้า ร้านได้เพิ่มขึ้น นอกจากเครื่องสืบค้นดังกล่าวข้างต้นแล้ว การหาข้อมูลอาจใช้บริการจากเว็บไซต์อื่นๆ ได้อีก เช่น จาก www.findarticles.com ซึ่งมีหัวเรื่องต่างๆ นับล้านหัวเรื่อง ที่มีทั้งทางด้านธุรกิจ การเงิน สุขภาพ การกีฬา และการศึกษา เป็นต้น หรือจากสำ�นักข่าวซีเอ็นเอ็น (CNN) ที่เว็บไซต์ www.cnn.com และ ฟ๊อกซ์นิวส์ (Fox News) ที่เว็บไซต์ www.foxnews.com ก็จะมีข้อมูลสารสนเทศมากมายให้ค้นหาได้ เช่นกัน เว็บไซต์บางแห่งให้บริการสืบค้นเป็นภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษด้วย เว็บไซต์วิกิพีเดียเป็น เว็บไซต์ประเภทสารานุกรม ที่บรรจุคำ�ในภาษาอังกฤษถึง 1.9 ล้านคำ� และยอมให้ผู้ใช้อาสาสมัครเข้ามาทำ�
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
1 เพทะไบต์ (petabyte) = 1,000,000 กิกะไบต์ (gigabyte)
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-36
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
การแก้ไขข้อมูลได้ คำ�ว่า “วิกิ” (wiki) แปลว่า รวดเร็ว ในภาษาฮาวาย ก่อตั้งโดย จิมมี่ เวลส์ (Jimmy Wales) มีความคิดที่จะขยายแนวคิดนี้ออกไปในรูปของหนังสือและคู่มือด้วย บ้างก็ใช้เว็บไซต์วิกิพีเดีย เพื่อให้กลุ่มคนของกิจการในการเสนอข้อมูลข่าวสารและสร้างความร่วมมือด้วย เว็บไซต์สควิดู (Squidoo) ที่เว็บไซต์ www.squidoo.com เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อคิดเห็นของบุคคลต่างๆ หลายด้าน เช่น ศิลปะ คอมพิวเตอร์แ ละเทคโนโลยี การศึกษา สุภาพ บันเทิง และข่าวสาร เป็นต้น 4.2 การสื่อสารด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การสื่ อ สารด้ ว ยอี เ มลมิ ไ ด้ ถู ก จำ � กั ด ด้ ว ยก ารส่ ง ข้อความแต่อย่างเดียวอีกต่อไป ขึ้นอยู่กับว่าทั้งผู้รับและผู้ส่งจะใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อะไร ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ๆ ช่วยให้ส ่งรูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย ผู้ให้บริการอีเมลออนไลน์ที่ได้ รับความนิยมในปัจจุบันนี้ ได้แก่ ฮอตเมล (Hotmail) จีเมล (Gmail) ยาฮูเมล (Yahoo mail) ไมโครซอฟต์ เอาต์ลุก (Microsoft Outlook) แอพเพิลเมล (Apple Mail) มอซซิลล่า (Mozilla) โดยผู้ใช้อีเมลจะต้อง เชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ตไปยังเว็บไซต์ของผู้ให้บริการอีเมลออนไลน์ เพื่อดูหรือส่งข้อมูลหรือจัดการกับ อีเมลของตนที่เก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอีเมลนั้นๆ โพรโทคอลไอเอ็มเอพี (Internet Messaging Access Protocol - IMAP) จะเอื้อใ ห้เข้าไปดูหรืออ่านอีเมลได้ และโพรโทคอลพ๊อป (Post Office Protocol - POP) จะช่วยให้ดึงข ้อมูลที่สนใจมาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของตนได้ สำ�หรับผู้ใช้ที่เป็นนักธุรกิจสามารถเข้าถึงอีเมลได้ด้วยอุปกรณ์สมาร์ตโฟน เช่น ไอโฟน (I-Phone) แบล็กเบอรี่ (BlackBerry) เป็นต้น และด้วยเทคโนโลยีพุชอีเมล (push e-mail) ที่ทำ�ให้เซิร์ฟเวอร์ของ กิจการสามารถผลัก (push) อีเมลที่ได้รับไปยังสมาร์ตโฟนได้ในทันที เสมือนหนึ่งว่าได้มีการส่งอีเมล มาที่ตัวสมาร์ตโฟนโดยตรง นอกจากนี้ เทคโนโลยีพุชอีเมลยังทำ�ให้ผู้ใช้สามารถเข้ามาดูอีเมลของตนได้ จากอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือต่างๆ และคอมพิวเตอร์ได้ทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย เนื่องจากการส่งข้อความทำ�ให้ขาดการแสดงอารมณ์ ดังนั้น จึงมีผู้คิดสัญลักษณ์ต่างๆ แทน อารมณ์ รวมทั้งคำ�ย่อต่างๆ เพื่อความรวดเร็วในการสื่อสาร ดังตัวอย่างแสดงในตารางที่ 4.2
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
ธ ส
ตารางที่ 4.2 สัญลักษณ์แ ละคำ�ย่อต ่างๆ แทนอารมณ์ในการสื่อสาร
:-]
ธ ส
:-@
หวีดตะโกน
สัญลักษณ์ :-} :-{
ความหมาย
ยิ้มและกะพริบตา ขมวดคิ้วกะพริบตา
ม :-#
:-D :-0
คำ�ย่อ
ความหมาย
AAMOF
As a matter of fact ความจริงแล้ว...
AFAIK
As far as I know เท่าที่ทราบ
ธ ส
ปิดปาก
BTW
หัวเราะ ตกใจ
โง่เง่า
ธ ส
:-& %-}
ลิ้นจุกปาก สมองตาย
ม
4-37
CUL8R
ม
ม
By the way ขอถือโอกาสนี้
See you later แล้วค่อยเจอกัน
F2F
Face to face คุยกันซึ่งหน้า
LOL
Laughing out loud หัวเราะดังๆ
OIC
Oh, I see อ๋อ เข้าใจแล้ว
TIA
Thank in advance ขอบคุณล่วงหน้า
TTFN
ธ ส
ม
Ta Ta for now สวัสดีลาก่อน
ความสะดวกในการสื่อสารด้วยอีเมล ทำ�ให้บางกิจการทำ�การส่งอีเมลเป็นชุดไปให้ตัวแทนจำ�หน่าย และคู่ค้าหรือลูกค้าทั่วโลก จากสถิติมีการส่งอีเมลถึง 4 หมื่นล้านฉบับในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2538 และเพิ่มอีก 1 แสนล้านฉบับในปีต่อๆ มา ส่งผลให้บางคนอาจได้รับอีเมลจำ�นวนมากจนท่วมท้น และส่วน มากจะเป็นอีเมลโฆษณาชักชวนซื้อสินค้าที่ไม่น่าสนใจ หรืออีเมลหลอกลวงให้ชำ�ระค่าบัตรเครดิต เรียกว่า เมลขยะ (junk mail หรือ bulk mail) หรือสแปม (spam) ผู้ให้บริการจึงต้องมีมาตรการป้องกันและดัก จับด้วยซอฟต์แวร์ และทำ�การลบทิ้ง หรือแยกส่วนออกมา ซอฟต์แวร์กรองดักจับสแปมสำ�หรับติดตั้ง ที่คอมพิวเตอร์พีซีที่นิยม ได้แก่ ClearContext, Seriously และ Xobni ซึ่งสามารถตรวจดูจากรายชื่อ ผู้ส่ง เนื้อหา และบริบทด้วย 4.3 การสื่อสารด้วยข้อความด่วน (Instant Messaging - IM) และการพูดคุยผ่านวิดีโอ (video chat) เป็นการสื่อสารแบบออนไลน์ทันทีระหว่างบุคคลสองคนขึ้นไปที่กำ�ลังเชื่อมต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ ทั้งฝ่ายผู้ส่งและผู้รับจะเปิดหน้าต่างที่หน้าจอมอนิเตอร์ขึ้นสองหน้าเป็นหน้าต่างสำ�หรับการรับและการส่ง และข้อความจะปรากฏขึ้นทันทีที่เคาะแป้นพิมพ์ ลักษณะจะคล้ายกับการพูดคุยกันแต่คุยด้วยแป้นพิมพ์ ผู้นำ�ด้านการสื่อสารด้วยข้อความด่วน ได้แก่ เอโอแอล (American Online - AOL) ยาฮู (Yahoo) และ ไมโครซอฟต์ (Microsoft) ปัจจุบันนี้ ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารแถบความถี่กว้างที่มีความเร็วสูง ทำ�ให้มีคนสนใจมาใช้ บริการการพูดคุยผ่านวิดีโอมากขึ้น ซึ่งเป็นการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ระหว่างพีซีสองเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ กับอินเทอร์เน็ต ผู้ใ ช้ทั้งส องสามารถพูดคุยแ ละมองเห็นหน้ากัน และยังสามารถคุยกันระหว่างคอมพิวเตอร์
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
4-38
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
หลายๆ เครื่องได้ด้วยในลักษณะของการประชุมทางวิดีโอ (video conferencing) ผู้ให้บริการการพูดคุย วิดีโอที่นิยม ได้แก่ แอพเพิลไ อแชต (Apple iChat) และสกายพ์ (Skype) 4.4 การหางาน อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งหางานที่ดีที่สุด เนื่องจากมีข้อมูลให้สืบค้นมากมายและ สามารถทำ�ได้ร วดเร็ว โดยอาจเริ่มจากการเข้าไปหาจากเครื่องสืบค้นก่อน เช่น อาจเข้าไปที่หน้าเว็บของยาฮู แล้วสืบค้นด้วยคำ�หลัก เช่น งานที่ต้องการ และเมื่อได้รายชื่อกิจการที่เปิดรับสมัครแล้ว ก็เชื่อมต่อไปยัง กิจการนั้นๆ ได้โดยตรง เว็บไซต์บางแห่งให้บริการหางานโดยตรง เช่น www.directmarketingcareer. com, www.monster.com, www.hotjobs.com และ www.careerbuilder.com เป็นต้น บางเว็บไซต์ ช่วยจัดทำ�ใบประวัติผู้สมัครงานให้ด้วย แต่ต้องระวังตัวให้มาก เพราะมีเว็บไซต์สมัครงานปลอมที่จะคอย หลอกเอาข้อมูลสำ�คัญส่วนตัวไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ เช่น เลขที่บัตรประจำ�ตัวประชาชน เลขที่บัตร เครดิต วันเดือนปีเกิด และเลขที่บ ัญชีธนาคาร เป็นต้น อาจทำ�ให้ต้องเสียทรัพย์โดยไม่รู้ตัวได้ 4.5 การส่งแฟ้มเอกสาร ทำ�ได้หลายวิธี เช่น เทลเน็ต (telnet) เป็นโพรโทคอลทางเครือข่าย สื่อสารที่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปยังเครือข่ายต่างๆ ได้ทางอินเทอร์เน็ต โดยซอฟต์แวร์เทลเน็ตยอมให้ผู้ใช้ สามารถออกคำ�สั่งตรงไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้ ทำ�ให้การรักษาความมั่นคงของข้อมูลไม่ดีพอ ดังนั้น ผู้ใช้ต่างๆ จึงหันไปใช้เอสเอสเอช (Secure Shell - SSH) ซึ่งทำ�งานลักษณะเดียวกับเทลเน็ต แต่มีการรักษาความ มั่นคงของข้อมูลที่ดีกว่า สำ�หรับเอฟทีพี (File Transfer Protocol - FTP) เป็นโ พรโทคอลเครือข่ายสื่อสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก หรือโฮสต์ และคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกล (remote) ผู้ใช้งานสามารถ ส่งสำ�เนาแฟ้มระหว่างกันได้ กิจการต่างๆ นิยมใช้เอฟทีพีในการส่งแฟ้มข้อมูลที่เป็นรายการทางธุรกิจและ มี ข นาดใ หญ่ ใ ห้ กั บ ลู ก ค้ า แ ละคู่ ค้ า หรื อ อ าจใ ช้ เ อฟที พี ใ นก ารด าวน์ โ หลดข้ อ มู ล ท างอิ น เทอร์ เ น็ ต ก็ ไ ด้ อย่างไรก็ดี เอฟทีพีเป็นโพรโทคอลที่ไม่มีการเข้ารหัสจึงไม่มีการรักษาความมั่นคงของข้อมูล ผู้ใช้ส่วนมาก จึงเปลี่ยนไปใช้เอสเอฟทีพี (Secure FTP - SFTP) แทนเพราะมีความมั่นคงกว่า 4.6 เว็บล็อก (web log) หรือบล็อก (blog) คือเว็บไซต์ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปบันทึกข้อความ ต่างๆ เกี่ยวกับข้อสังเกต ประสบการณ์ และความคิดเห็นในเรื่องราวต่างๆ ที่หลากหลาย บล็อกมีลักษณะ คล้ายกับวารสาร เมื่อมีคนเข้าไปบันทึกข้อความในบล็อก ข้อความนั้นก็จะถูกจัดเรียงไว้เป็นแถวแรก ข้อความที่บันทึกอาจประกอบด้วยตัวเชื่อมต่อหรือลิงก์เพื่อเชื่อมไปยังเว็บไซต์อื่นๆ และพื้นที่สำ�หรับผู้ที่ เข้ามาเยือนบันทึกความเห็นได้ ภาพเคลื่อนไหวก็อาจนำ�มาวางบนอินเทอร์เน็ตในทำ�นองเดียวกันกับบล็อก ด้วย ซึ่งม ักจะเรียกกันว ่า วิดีโอล็อก หรือวีล ็อก (video log - vlog) การบันทึกข้อความบนบล็อกสามารถ ทำ�ได้ง่าย บางครั้งจึงเกิดปัญหาถ้ามีคนมาบันทึกข้อความที่ยาวเกินไป บางคนอาจถูกไล่ออกจากงานเมื่อ พบว่านำ�ความลับขององค์กรมาเปิดเผยในบล็อก เว็บไซต์บล็อก เช่น www.blogger.com และ www. blogcatalog.com จะมีข้อมูลแนะนำ�และเครื่องมือช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างและใช้เว็บล็อกด้วย การ สร้างบล็อกของตนเองก็ทำ�ได้ไม่ยาก โดยเข้าไปยังเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก เช่น www.livejournal.com แล้ว กำ�หนดชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน แนวของเรื่อง (theme) เลือกยูอาร์แอลแล้วทำ�ตามคำ�แนะนำ� จากนั้นก็เริ่ม ด้วยการบันทึกข ้อความอันแรกเข้าไปได้เลย
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-39
ธ ส
บล็อกมีประโยชน์ต่อการบริหารของกิจการมาก เพื่อสื่อสารกับลูกค้า คู่ค้า และพนักงานภายใน แต่ก็ต้องระวังในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ การหมิ่นประมาท การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และการเปิดเผย ความลับของกิจการ พอดคาสต์ (podcast) หมายถึง การกระจายเสียงทางอินเทอร์เน็ต คำ�ว่า “พอดคาสต์” เป็นคำ� ที่แผลงมาจากคำ�ว่า “ไอพอด” (iPod) ซึ่งเป็นเครื่องฟังเพลงของบริษัทแอปเปิล (Apple Inc.) ผสมกับ คำ�ว่า “บรอดคาสติ้ง” (broadcasting) พอดคาสต์เป็นบล็อกที่เป็นเสียง ลักษณะคล้ายกับสถานีวิทยุ บนอินเทอร์เน็ต การบันทึกเสียงก็ทำ�ได้ง่าย โดยติดตั้งซอฟต์แวร์บันทึกเสียงบนเครื่องพีซี แล้วพูดผ่าน ทางไมโครโฟนบนพีซี ก็จะได้แฟ้มเสียงแบบเอ็มพีสาม (mp3) จากนั้นก็นำ�เสียงไปวางบนอินเทอร์เน็ต การ เข้าไปฟังเสียงบนอินเทอร์เน็ตก็สามารถใช้เครื่องพีซีต่อเข้าเว็บไซต์ที่มีพอดคาสต์ หรือจะดาวน์โหลดแฟ้ม เสียงหรือดนตรีมาเก็บไว้ในเครื่องพีซีหรือเครื่องฟังเพลงอย่างไอพอดก็ได้ เครื่องฟังดนตรีไอจูน (iTune) จากแอปเปิล สามารถดาวน์โหลดเสียงเพลงได้จากพอดคาสต์นับพันแห่งได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ก็มีบาง พอดคาสต์ที่คิดค่าบริการสมาชิกด้วย บล็อก วีล็อก และพอดคาสต์บางแห่งให้บริการการปรับใ ห้เป็นปัจจุบัน (update) ไปยังเครื่องพีซี อย่างอัตโนมัติ โดยใช้เทคโนโลยีอาร์เอสเอส (Really Simple Syndication - RSS) ซึ่งจะใช้กับสมาชิก ที่นิยมเข้าไปฟังรายการบ่อยๆ สมาชิกจะได้รับการปรับเนื้อหาบล็อกบนเครื่องพีซีให้เป็นปัจจุบันอย่าง อัตโนมัติ โดยไม่ต้องเสียเวลาเชื่อมต่อเพื่อเข้าไปค้นหาบนอินเทอร์เน็ต ในทำ�นองเดียวกัน เว็บไซต์หลาย แห่งก็ให้บริการการปรับให้เป็นปัจจุบันด้านเนื้อหาข่าวสาร เนื้อหาวีล็อก และเนื้อหาพอดคาสต์ด้วย ซอฟต์แวร์ที่จะใช้ในการเข้าเป็นสมาชิกอาร์เอสเอสเรียกว่า ซอฟต์แวร์รวมกลุ่ม (aggregator software) ซึ่งกูเกิ้ลรีดเดอร์ (Google Reader) เป็นซอฟต์แวร์รวมกลุ่มสำ�หรับเข้าเป็นส มาชิกบล็อกที่ไ ด้รับความนิยม สูงสุดในขณะนี้ กลุ่มข่าว หรือนิวส์กรุ๊ป (Newsgroups) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ทำ�การปรึกษาหารือกันในเรื่องใด เรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ และใช้เครือข่ายยูสเน็ต (usenet) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีรุ่นเก่าที่ใช้อีเมลเป็นหลัก และ เป็นศูนย์กลางในการรับส่งข่าวสารเป็นเรื่องๆ ไป กลุ่มข่าวจะแบ่งแต่ละเรื่องเป็นลำ�ดับชั้นต่างๆ และแต่ละ เรื่องอาจประกอบด้วยเรื่องย่อยๆ ได้อีกด้วย ยูสเน็ตเป็นโพรโทคอลการสื่อสารสำ�หรับควบคุมและจัดการ การส่งข้อความต่างๆ ระหว่างคอมพิวเตอร์หลักซึ่งทำ�หน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ และคอมพิวเตอร์ลูกข่าย อีเมล ต่างๆ จะถูกส่งไปเก็บรวมไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้สามารถดึงอีเมลต่างๆ มาอ่านและแสดงความคิดเห็นกลับ ไปได้ ทำ�ให้เกิดเป็นชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ และเวทีสำ�หรับแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มๆ ขึ้น ที่เรียกกันว่า กลุ่มข่าว ปัจจุบันน ี้ค นส่วนมากเริ่มเปลี่ยนไปใช้บล็อกและอาร์เอสเอส รวมทั้งเครือข่ายสังคมมากขึ้น 4.7 ห้องสนทนา (chat room) คือสิ่งอำ�นวยความสะดวกให้บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปสามารถ พูดคุยหรือโต้ตอบกันกันด้วยข้อความโดยพิมพ์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ การสนทนาในบางเรื่องอาจมีผู้เข้า ร่วมวงถึงหลายสิบคนพร้อมกันทั่วโลก และส่วนมากก็นิยมใช้ชื่อเล่นกันแทนชื่อจริง เช่น ไออาร์ซี (Internet Relay Chat - IRC) เป็นห้องสนทนาที่ให้ใช้วิธีพิมพ์ข้อความอย่างเดียว เว็บไซต์บางแห่งเปิดให้ใช้วิธี สนทนาด้วยเสียงได้ แต่อุปกรณ์ส ื่อสารนั้นจะต้องรองรับระบบเครือข่ายที่มีความเร็วสูงได้ด้วย
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-40
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
4.8 โทรศัพท์อินเทอร์เน็ต (internet phone) และการประชุมทางวิดีโอ (video conferencing) เป็นบริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นบริการที่ช่วยให้ติดต่อกันได้ทั่วโลกด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำ� บางราย ยังให้บริการติดต่อไปยังเครื่องโทรศัพท์ปกติได้ด้วย โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตใช้เทคโนโลยีวีโอไอพี (Voice over IP - VoIP) ทำ�ให้สามารถส่งโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพร้อมกับการส่งข้อมูลอื่นๆ ได้ในเวลาเดียวกัน ถึงแ ม้ว่าเทคโนโลยีวีโ อไอพีจ ะได้พัฒนามาเมื่อสิบกว่าปีก ่อน แต่ก็เพิ่งจะเริ่มได้รับความ นิยมอย่างแพร่หลายเมื่อไ ม่นานนี้ การประชุมทางวิดีโอเป็นการประยุกต์ทางอินเทอร์เน็ตที่สำ�คัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้สื่อสารด้วย เสียงและภาพเคลื่อนไหวได้พร้อมกัน เป็นระบบที่ทำ�ให้การประชุมพบปะทางอินเทอร์เน็ตทำ�ได้ง่ายขึ้นโดย ใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว และประหยัดเงินค่าใช้จ่ายด้วย เช่น ใช้โปรแกรมเน็ตมีตติ้ง (NetMeeting) ที่มีอยู่ ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็กซ์พี (Windows XP) หรือใช้วินโดวส์มีตติ้งสเปซ (Windows Meeting Space) ที่มีอยู่ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์วิสต้า (Windows Vista) ก็ได้ นอกจากนี้ การประชุมผ่าน อิ น เทอร์ เ น็ ต อ าจใ ช้ เ ครื่ อ งมื อ อื่ น ม าเ สริ ม เช่ น ซอฟต์ แ วร์ ก ารนำ �เ สนอ และอุ ป กรณ์ ก ารป ระชุ ม วิ ดี โ อ ที่นิยมได้แก่ เว็บเอ็กซ์ (WebEx) และโกทูมีตติ้ง (GoToMeeting) ที่รองรับผู้ประชุมจากหลายๆ แห่งได้ และแสดงภาพผู้ร่วมประชุมบนจอมอนิเตอร์แยกหลายจอได้ ส่วนบริษัทฮิวเล็ตต์แพ็กการ์ด (HewlettPackard - HP) ได้ผลิตซอฟต์แวร์ชื่อฮาโล (Halo) ซึ่งสามารถแสดงภาพการประชุมที่มีลักษณะเหมือน นั่งอยู่ในห้องเดียวกัน ทั้งๆ ที่ผ ู้ร ่วมประชุมอาจอยู่กันคนละประเทศก็ได้ 4.9 คอมพิวเตอร์สังคม (social computing) เป็นคำ�ที่ใช้เรียกสังคมที่มีพฤติกรรมคล้ายคลึงกัน อาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการสื่อสาร โดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษ เช่น บล็อก วิกิส์ และ ข้อความสั้น (short messages) เป็นต้น ปกติคอมพิวเตอร์จะนำ�มาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อลดต้นทุน การผลิต แต่คอมพิวเตอร์สังคมจะมุ่งเน้นการดึงดูดความสนใจ การขอความร่วมมือ เป็นการเปลี่ยนวิธี การสื่อสารในอดีตที่ผู้บัญชาการเป็นผู้สั่งการลงมา (top-down) กลายเป็นจากผู้น้อยสื่อสารไปหาผู้ใหญ่ (bottom-up) ซึ่งแต่ละหน่วยย่อยนี้ถือเป็นขุมกำ�ลังสำ�คัญในองค์กร สามารถใช้ในการให้คำ�ปรึกษา แนะนำ�สินค้า และขอความร่วมมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในเว็บไซต์ www.tripadvisor.com นักท่องเที่ยวสามารถแสดงความคิดเห็น ติชม และคำ�เตือนในประสบการณ์ท ี่พบได้ เครือข่ายสังคม (social network) เป็นเว็บไซต์ที่ยอมให้มีการสร้างพื้นที่ส่วนตัวหรือโฮมเพจได้ โดยสามารถนำ�เสนอบล็อก หรือวิกิส์ หรือรูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว หรือเสียงดนตรีได้ รวมทั้งเสนอ ความคิดเห็น และรวบรวมจุดเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ที่น่าสนใจด้วย ซึ่งบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ คล้ายกันสามารถเชื่อมต่อเข้าไปร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือนำ�เสนอข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ เมื่อมี ผู้เข้ามาร่วมวงกันมากขึ้น ก็จะกลายเป็นสังคมหนึ่งที่อยู่บนเครือข่ายหรือเว็บ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ บริการเครือข ่ายสังคม (Social Network Services - SNS) เช่น มายสเปซ www.myspace.com เป็น เว็บไซต์ที่ยอมให้ผู้สนใจสามารถเข้าไปสร้างโฮมเพจส่วนตัวได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สามารถเชื้อเชิญ เพื่อนๆ ให้เข้ามาร่วมกลุ่มเป็นลูกโซ่ มีการนำ�ข้อมูลที่น่าสนใจ รูปภาพ ประสบการณ์ มาแบ่งปันกัน จนกลายเป็นช ุมชนกลุ่มต ่างๆ หรือเป็นสังคมกลุ่มใหญ่บนเครือข่ายขึ้นมา
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-41
ธ ส
เครือข ่ายสังคมเป็นเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับตัวบ ุคคล เช่น มีนักร้องเด็กหญิงชาวฟิลิปปินส์คนหนึ่ง ชื่อ เพ็มเพ็งโก้ (Pempengco) รู้สึกห มดหวังท ี่จะได้เป็นนักร้องอาชีพ เมื่อพลาดตำ�แหน่งในการแข่งขันการ ขับร้องใน ปี พ.ศ. 2549 ต่อมามีคนนำ�เพลงที่เธอขับร้องเป็นภาพเคลื่อนไหวตอนหนึ่งไปเสนอบนเว็บไซต์ ยูทิวบ์ บังเอิญผู้จัดรายการเพลงชื่อดังของสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งพบเข้าเกิดประทับใจเด็กน้อย จึงได้รับ การสนับสนุนแ ละกลายเป็นนักร้องอาชีพยอดนิยมในเวลาต่อม า เครือข่ายสังคมอื่นๆ ที่นิยมมีมากมาย เช่น www.facebook.com เริ่มโดยกลุ่มนักศึกษาเพื่อ แบ่งปันข้อมูลกัน ต่อมาได้รับความนิยมมาก จึงแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะโดดเด่นกว่า www.myspace.com ตรงที่สมาชิกผู้ใช้งาน www.facebook.com ต้องใช้ชื่อจริงและอีเมลเดียวกัน กับที่ลงทะเบียนไว้ เป็นสังคมที่ติดต่อกันระหว่างบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ นอกจากนี้ www.youtube.com และ www.metcafe.com เป็นแหล่งรวมภาพเคลื่อนไหว www.flickr.com เป็นแหล่งร วมรูปภาพ www. classmates.com เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา www.friendster.com เป็นแหล่งหาเพื่อนคุย เล่าประสบการณ์ www.cyworld.nate.com เป็นเครือข่ายสังคมที่นิยมของเอเชีย www.yub.com เป็นแหล่งหาซื้อสินค้าลดราคา และ www.twitter.com เป็นเครือข่ายสังคมเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ส่ง ข้อความสั้นๆ ได้เพียง 140 ตัวอักษรต่อครั้ง เครือข่ายสังคมวิสาหกิจ (enterprise social network) เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับธุรกิจ เช่น เว็บไซต์ ที่เป็นของธนาคารต่างๆ เช่น www.bangkokbank.com www.ktb.co.th www.scbeasy.com ลูกค้า ธนาคารสามารถเรียกดูข้อมูลยอดเงินในบัญชี หรือทำ�รายการโอนเงินได้ เป็นต้น เว็บไซต์ของสายการบิน ต่างๆ เช่น www.thaiairways.com www.airasia.com ลูกค้าสามารถซื้อบัตรโดยสารและชำ�ระเงินผ่าน บัตรเครดิตไ ด้ เป็นต้น 4.10 การเอื้อเฟื้อทางสื่อ หรือมีเดียแชริ่ง (media sharing) เช่น www.youtube.com เป็น เว็บไซต์สำ�หรับเอื้อเฟื้อสื่อประเภทวิดีโอ และ www.flickr.com เป็นเว็บไซต์สำ�หรับเอื้อเฟื้อสื่อประเภท รูปภาพ เว็บไซต์เหล่านี้จะกำ�หนดระเบียบและวิธีการให้สมาชิกที่จะนำ�สื่อดิจิทัลต่างๆ มาเอื้อเฟื้อแก่กัน บนเว็บไซต์ เช่น www.youtube.com จะให้สมาชิกนำ�วิดีโอที่สร้างขึ้นเองได้ โดยแบ่งออกเป็นประเภท ต่างๆ ได้แก่ ประเภท ตลกขบขัน บันเทิง ภาพยนตร์หรือภาพเคลื่อนไหว วิธีทำ�สิ่งต่างๆ ข่าวสาร บุคคล สัตว์เลี้ยง กีฬา และท่องเที่ยว การเอื้อเฟื้อสื่อถ ือเป็นส่วนหนึ่งข องเว็บ 2.0 เนื่องจากเน้นเกี่ยวกับประชาคม ทั้ง www.youtube. com และ www.flickr.com ต่างก็เปิดให้สมาชิกเข้าไปวิจารณ์สื่อต่างๆ ในเว็บไซต์ได้ และยอมให้ผู้มา เยือนสามารถเข้าช ม สืบค้น และดาวน์โหลดสื่อบ างสื่อได้ 4.11 การทำ�เครื่องหมายสังคม หรือโซเชียลบุ๊กมาร์กกิ้ง (social bookmarking) เป็นตัวอย่าง เว็บไซต์ที่จัดอ ยู่ในเว็บ 2.0 เว็บไซต์เหล่านี้จะเปิดให้ผู้ใช้งานทำ�การจัดเก็บ แยกประเภท เอื้อเฟื้อ และสืบค้น เครื่องหมาย (bookmark) ต่างๆ บนเว็บได้ หรือที่เรียกว่า สิ่งที่ถูกใจ (favorite) วัตถุประสงค์หลักของ การทำ�เครื่องหมายสังคมคือ เพื่อหาความเป็นยอดนิยมของเว็บไซต์ วิดีโอ บล็อกเรื่องต่างๆ หรือเนื้อหา อื่นๆ ในขณะใดขณะหนึ่ง เว็บไซต์ที่ทำ�เครื่องหมายสังคมมักจะให้โปรแกรมเสริมเพื่อติดตั้งในเบราเซอร์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-42
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
ซึ่งจะปรากฏเป็นปุ่มพิเศษสำ�หรับคลิกเมื่อต้องการทำ�เครื่องหมาย เช่น เว็บไซต์ www.del.icio.us เป็น เว็บไซต์ที่ทำ�เครื่องหมายสังคม ที่ให้ปุ่ม “เรื่องร้อนขณะนี้” ให้คลิกได้ทันที เมื่อพบสิ่งที่ถูกใจ เว็บไซต์ www.digg.com เป็นเว็บไซต์ที่ทำ�เครื่องหมายสังคมทางด้านข่าวสาร ก็จะให้ปุ่ม “Digg this” ให้คลิก เมื่อพบข่าวสารที่ถ ูกใจ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อใ ห้ผู้ใ ช้อื่นๆ สามารถติดตามได้สะดวกนั่นเอง 4.12 การลำ�เลียงเนื้อหา (content streaming) เป็นวิธีการส่งข้อมูลแฟ้มมัลติมีเดีย (multimedia files) เสียงจากสถานีวิทยุกระจายเสียง และเนื้อหาอื่นๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยที่แฟ้มข้อมูล ภาพ และ เสียงที่ส่งซึ่งมีขนาดยาวนั้นจะไม่สะดุดเมื่อถึงปลายทาง เพื่อให้ผู้เข้ามาชมสามารถชมแฟ้มที่มีขนาดใหญ่ได้ โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลดให้จบเสียก่อน เป็นต้น 4.13 ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (electronic-Market) หรือตลาดสินค้า (marketplace หรือ e-Market) เป็นตลาดสินค้าเสมือนบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถมาพบกันและทำ�ธุรกรรมต่างๆ และเป็น กิจกรรมส่วนใหญ่ในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การทำ�หน้าที่ในการซื้อขายก็จะเหมือนกันกับการซื้อขาย ตามร้านค้าจริงที่เป็นกายภาพทั่วไป แต่ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ใ ช้ระบบคอมพิวเตอร์แ ละเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำ�ให้เป็นต ลาดสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูง มีข ้อมูลให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายมากมาย ปัจจุบันนี้ การจับจ ่ายทางเว็บ เช่น หนังสือ เสื้อผ้า รถยนต์ เวชภัณฑ์ หรือคำ�แนะนำ�ทางการแพทย์ นั้น เป็นเรื่องที่สะดวก ง่าย และประหยัด เช่น เว็บไซต์ www.amazon.com ขายหนังสือเรื่องสั้นที่เขียน โดยนักเขียนชื่อดัง ในราคาเล่มละ 15 บาท นอกจากนี้ ยังมีหนังสือตำ�ราต่างๆ ให้เลือกอีกมากมาย และ เว็บไซต์ข ายสินค้าส ่วนมากจะให้บริการส่งของ และรับของคืนหากไม่ถูกใจโดยไม่คิดค่าขนส่งด้วย ปัจจุบัน นี้เริ่มมีผู้นิยมใช้บ็อต (bot) ช่วยในการหาสินค้าที่ต้องการกันมากขึ้น บ็อต (bot) คือเครื่องมือซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำ�หรับสืบค้นหาข้อมูล สินค้า และราคาบนเว็บ หรือบางครั้งก็เรียกว่า หน่วยสืบราชการลับ (intelligent agent) บ็อต เป็นคำ�เรียกย่อจากคำ�ว่า “หุ่นยนต์” (robot) ซึ่งสามารถทำ�การสืบค้นสินค้าที่มี คุณลักษณะดี ราคาประหยัด จากเว็บไซต์ต่างๆ มาให้เลือก เว็บไซต์ เช่น www.shopping.com จะมีบ็อต คอยเลือกสินค้าบริการให้ลูกค้าด้วย 4.14 การชำ�ระเงินด้วยอิเล็กทรอนิกส์ การชำ�ระเงินเป็นบริการสนับสนุนที่มีบทบาทสำ�คัญอย่าง หนึ่งในการทำ�ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นแบบพาณิชย์ดั้งเดิม หรือแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม แต่วิธีการ ชำ�ระเงินแบบดั้งเดิม เช่น การชำ�ระด้วยเงินสดก็ไม่สามารถนำ�มาใช้กับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ส่วนการ ชำ�ระด้วยบัตรเครดิตก็มิใช่จะใช้ได้กับทุกคน และอาจไม่ปลอดภัยด้วย ดังนั้น การชำ�ระเงินที่ปลอดภัยกว่า ก็คือ การใช้ระบบชำ�ระเงินด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (electronic payment system) คือ ระบบชำ�ระเงินด้วย กระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งม ีอ ยู่ห ลายระบบ ที่สำ�คัญมีดังนี้ 1) บัตรเครดิตอิเล็กทรอนิกส์ (electronic credit cards) ชำ�ระเงินโดยใช้บัตรเครดิตธรรมดา แต่ควรชำ�ระด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเบราเซอร์มาตรฐานทั่วไป เช่น อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์โพลเรอร์ หรือไออี (Internet Explorer- IE) มอซซิลล่าไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) และกูเกิ้ลโครม (Google Chrome) เป็นต้น ที่ใช้สำ�หรับเชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ต จะมีการเข้ารหัสด้วยโพรโทคอลเอสเอสแอล (SSL Protocol) เพื่อร ักษาความมั่นคงของข้อมูลบ ัตรเครดิตใ นระหว่างทีเ่ดินท างผ่านอินเทอร์เน็ตไ ปยังบ ริษัทผ ูข้ าย
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-43
ธ ส
แต่ผู้ขายก็เปิดดูไ ม่ได้ เพราะเป็นข้อมูลท ี่เข้าร หัสอยู่ จากนั้นผู้ขายก็ส่งต่อไปให้บริษัทบ ัตรเครดิตซ ึ่งสามารถ เปิดด ขู อ้ มูลเพือ่ ต รวจสอบสถานะของบตั รและท�ำ การอนุมตั ติ อ่ ไ ป การช�ำ ระโดยบตั รเครดิตท างอเิ ล็กทรอนิกส์ นี้นิยมกันมากในพาณิชย์อ ิเล็กทรอนิกส์แบบบีทูซี (B2C) 2) การชำ�ระตามใบเรียกเก็บเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic bill payment) การชำ�ระเงิน ตามบิล หรือใ บแจ้งหนี้ หรือใบเรียกเก็บเงินมีอยู่ห ลายช่องทาง ที่สำ�คัญได้แก่ - ระบบออนไลน์ของธนาคาร (online banking) ลูกค้าจะต้องติดต่อธนาคารที่ตน มีบัญชีอยู่ก่อน เพื่อยื่นเรื่องขอใช้บริการตัดบัญชีเพื่อชำ�ระเงินในระบบออนไลน์ของธนาคารผ่านเว็บไซต์ ที่ต้องการ ธนาคารหลายแห่งก็ได้เปิดบริการรับชำ�ระบิลต่างๆ บนเว็บไซต์ของธนาคารเองด้วย - ผู้ออกบิลโดยตรง (biller direct) ลูกค้าอาจเลือกชำ�ระด้วยบัตรเครดิต หรือให้ หักเงินผ่านธนาคาร โดยผู้ออกบิลจะแสดงรายละเอียดของใบแจ้งหนี้ของลูกค้าไว้ที่บนเว็บไซต์ เมื่อลูกค้า เปิดเว็บไซต์ดูรายการและตรวจความถูกต้องแล้วจึงทำ�การอนุมัติการชำ�ระเงิน เพื่อให้ระบบดำ�เนินการ หักเงินต่อไป วิธีนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การชำ�ระเมื่อแสดงบิล (Electronic Bill Presentment and Payment - EBPP) - ผูร้ วบรวมบลิ (bill consolidator) เป็นค นกลางที่ป ระสานงานกับผ ู้อ อกบิลต ่างๆ โดย ลูกค้าจะแจ้งความจำ�นงให้ผู้รวบรวมบิลว่ามีความประสงค์จะให้หักเงินของบิลแห่งใดบ้าง ผู้รวบรวมบิล จะประสานงานกับผู้ออกบิลแต่ละรายให้ และจะนำ�รายละเอียดของใบแจ้งหนี้ต่างๆ ของลูกค้าแสดงไว้ ที่เว็บไซต์ ซึ่งก็จะดำ�เนินการในทำ�นองเดียวกันกับการชำ�ระเมื่อแสดงบิล 3) ความมั่นคงในการชำ�ระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับความ มั่นคงในการชำ�ระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่สำ�คัญมีอยู่สองประการ คือ ประเด็นที่จะทำ�ให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความมั่นคง และวิธีก ารรักษาความมั่นคง กล่าวคือ 3.1) ประเด็นที่จะทำ�ให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ม ีความมั่นคง มีดังนี้ - การรับรองความถูกต้อง (authentication) ผู้ซื้อ ผู้ขาย และสถาบันการเงิน จะต้องมีความมั่นใจว่าผ ู้ที่ตนกำ�ลังติดต่ออ ยู่นั้นค ือตัวจริงหรือเจ้าของจริง - ความสมบูรณ์ข องขอ้ มูล (integrity) จะตอ้ งความมนั่ ใจได้วา่ ขอ้ มูลสารสนเทศ เช่น ใบสั่งซื้อ คำ�ถามคำ�ตอบ และการอนุมัติต่างๆ ที่ส่งและได้รับมีความสมบูรณ์และแท้จริง มิได้ถูกแก้ไข หรือม ีการเปลี่ยนแปลงระหว่างทาง - การห้ามปฏิเสธ (nonrepudiation) ผู้ซื้อจะต้องไม่ปฏิเสธการสั่งซื้อโดยไร้ เหตุผล และผู้ขายต้องไม่ปฏิเสธการได้รับชำ�ระเงินโ ดยไร้เหตุผล - การรักษาความลับ (privacy) ลูกค้าส่วนมากต้องการรักษาข้อมูลส่วนตัวให้ เป็นความลับ ไม่ให้เปิดเผยสถานะภาพตัวเองและสิ่งของที่ซื้อใ ห้ผู้อื่นทราบ ดังเช่น การซื้อด้วยเงินสดปกติ - ความปลอดภัย (safety) ลูกค้าต้องการความมั่นใจว่าการใช้บัตรเครดิต ของตนผ่านอินเทอร์เน็ตมีความปลอดภัย และต้องการให้มกี ารป้องกันการถูกฉ้อโกงโดยผขู้ ายและมิจฉาชีพ
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-44
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
3.2) วิธกี ารรกั ษาความมนั่ คงขอ้ มูล วิธีก ารและกลไกที่จ ะนำ�มาใช้ เพื่อใ ห้บ รรลุผ ลตาม ประเด็นด ังก ล่าวข้างต้น เพื่อร ักษาความมั่นคงข้อมูลใ นระบบพาณิชย์อ ิเล็กทรอนิกส์น ั้นม อี ยูห่ ลายวิธดี ้วยกัน สำ�หรับกลไกสำ�คัญที่น ิยมใช้ค ือ การเข้าร หัสข ้อมูล (data encryption) ซึ่งเป็นก ลไกที่ใ ช้ก ันอ ย่างแพร่ห ลาย ทั่วไปในการรักษาความมั่นคงข้อมูล และมักจ ะใช้ร ่วมกับวิธีการและกลไกอื่นๆ ด้วย เช่น - กระเป๋าดิจิทัล (digital wallet) หรือกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallets) เป็นกลไกซอฟต์แวร์ความมั่นคงที่ช่วยให้การชำ�ระเงินในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความสะดวกยิ่งขึ้น ในกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์จะบรรจุข้อมูลบัตรเครดิตและที่อยู่ของผู้ถือบัตร ซึ่งสามารถนำ�บัตรไปซื้อสินค้า ที่จุดบริการต่างๆ ที่ร่วมโครงการได้ โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น จะรวมกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์และอาร์เอฟไอดีไว้ในเครื่องด้วย ทำ�ให้ลูกค้าสามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการผ่านเครื่องขายของ อัตโนมัติได้สะดวก เช่น ซื้อน้ำ�อัดลม ซื้อบัตรชมกีฬา เป็นต้น - บัตรเครดิตเสมือน (virtual credit card) เป็นการชำ�ระเงินค่าสินค้าโดยใช้ หมายเลขประจำ�ตัวและรหัสผ่าน โดยไม่ต้องแจ้งหมายเลขบัตรเครดิตเพื่อป้องกันความปลอดภัย บางกรณี ลูกค้าอาจขอให้บริษัทบัตรเครดิตออกหมายเลขพิเศษในการชำ�ระเงินโดยจำ�กัดว งเงินและระยะเวลาด้วย - ชำ�ระเงินด้วยลายนิ้วมือ (payment using fingerprint) มีซูเปอร์มาร์เก็ตบาง แห่งจะเก็บข้อมูลลายนิ้วมือของลูกค้า พร้อมกับข้อมูลการหักบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตตามแต่จะตกลง กัน เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าและตรวจใบเสร็จแล้ว ก็สามารถจ่ายโดยใช้นิ้วมือแตะที่เครื่องอ่านลายนิ้วมือ ระบบ คอมพิวเตอร์ก จ็ ะส่งข้อมูลเพื่อท ำ�การหักเงินต ามทไี่ ด้ตกลงไว้ 4.15 การประมูลทางเว็บ (web auction) หรือการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีอ็อกชั่น (electronic auction or e-Auction) คือกระบวนการแข่งขันในการเสนอราคา อาจเป็นทั้งแบบผู้ขายขอให้ผู้ซื้อ เสนอราคาซื้อ หรือแบบที่ผู้ซื้อขอให้ผู้ขายเสนอราคาขายก็ได้ หลักการที่สำ�คัญก็คือ ราคาจะพิจารณาจาก การเคลื่อนไหวของราคาที่เสนอแข่งกัน การประมูลเป็นว ิธีซื้อขายที่ใช้กันมาช้านาน ซึ่งจะเป็นว ิธีที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพกับการซื้อขายสินค้าบางอย่าง การประมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยขยาย ฐานลูกค้าให้โตขึ้น และช่วยลดระยะเวลาการประมูลให้สั้นลง ผู้ซื้อจะได้ประโยชน์ในการต่อรอง ทำ�ให้ ราคาถูกลง และไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่ทำ�การประมูล การประมูลผ่านอินเทอร์เน็ตยังลดค่าใช้จ่ายใน การดำ�เนินก ารด้วย จึงทำ�ให้มีผู้ซื้อและผู้ขายไม่ว่าจะเป็นบริษัทหรือส่วนบุคคลนิยมการประมูลเพิ่มมากขึ้น การประมูลทางเว็บเป็นวิวัฒนาการทางการซื้อขายสินค้าหรือบริการรูปแบบใหม่ และทำ�ให้ความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเปลี่ยนไป เช่น อีเบย์ (eBay) เป็นเว็บไซต์ยอดนิยมที่ใช้ง่าย มีสินค้าหลากหลาย จำ�นวนมากคอยให้บ ริการ มีการประมูลผ่านอีเบย์มากถึง 1 ล้านรายการพร้อมๆ กัน อีเบย์ยังเป็นแหล่งที่ดี ที่จะกำ�จัดสิ่งของเหลือใช้ที่ไม่ต้องการ และเป็นแหล่งที่จะหาซื้อของราคาถูกที่ต้องการได้ นอกจากอีเบย์ แล้วยังมีเว็บไซต์อื่นๆ ที่เปิดประมูลทางเว็บจำ�นวนมาก และมีกิจการหลายแห่งเริ่มเปิดให้ประมูลสินค้าของ ตนเองด้วย อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าการประมูลทางเว็บเป็นหนทางที่ดีทางหนึ่งในการนำ�ผู้ซื้อและผู้ขายให้มาพบ กัน แต่บางครั้งก็กลายเป็นปัญหาด้วย เพราะความไม่แน่ใจว่าผู้ขายหรือผู้ซื้อจะซื่อสัตย์หรือไม่ มีเว็บไซต์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-45
ธ ส
บางแห่งหลอกถามข้อมูล เช่น เลขที่บัตรประจำ�ตัวประชาชน เลขที่บัตรเครดิต วันเดือนปีเกิด และเลขที่ บัญชีธนาคาร เป็นต้น จึงต้องระวังตัวให้มาก ถึงกระนั้นก็ตาม การประมูลทางเว็บก็เติบโตไปได้อย่าง รวดเร็ว การประมูลทางเว็บมีหลายประเภท ประเภทที่สำ�คัญ ได้แก่ การประมูลเดินหน้า และการประมูล ถอยกลับ 1) การประมูลเดินหน้า (forward auction) คือการประมูลสำ�หรับการขาย ผู้ขายเสนอสินค้า จัดประมูล โดยมีผู้ซื้อมากรายเสนอราคา ผู้ซื้อที่เสนอราคาสูงที่สุดจะเป็นผู้ชนะและได้สินค้าไป ผู้ซื้อและ ผู้ขายอาจจะเป็นบริษัทหรือส่วนบุคคลก็ได้ เว็บไซต์ที่นิยมเข้าประมูลกัน คือ www.eBay.com ซึ่ง ส่วนใหญ่จ ะเป็นการประมูลเดินหน้า การประมูลเดินหน้าย ังจำ�แนกออกเป็น 2 แบบ คือ แบบขายทอดตลาด และแบบขายเพิ่มอาณาเขต แบบแรกเหมาะสำ�หรับลูกค้าที่ต้องการสินค้าทั่วไปราคาถูก แบบหลังจะเหมาะ กับลูกค้าที่ต ้องการสินค้าพิเศษหรือห ายาก 2) การประมูลถอยหลัง (reverse auction) คือการประมูลสำ�หรับการซื้อ ผู้ซื้อส่วนมากเป็น บริษัทที่ต้องการซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ โดยจะประกาศเชิญชวน ข้อเสนอราคา (Request For Quote - RFQ) หรือข้อเสนอโครงการ (Request For Proposal - RFP) พร้อมรายละเอียดบนเว็บไซต์ ของตนหรือเว็บไซต์ตลาดประมูลก็ได้ จากนั้นผู้ที่จะขายซึ่งมักจะเป็นผู้ที่ต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ กำ�หนด ก็จะทำ�การเสนอราคาบนเว็บ ซึ่งจะถูกเชื่อมต่อเข้าระบบอินทราเน็ตของบริษัทผู้ซื้อ เพื่อให้ฝ่ายการ เงินและฝ่ายวิศวกรรมทำ�การประเมิน ส่วนการถามตอบข้อข้องใจจะส่งผ่านทางอีเมล ผลการตัดสินก็จะ แจ้งให้ผู้ขายทราบทางเว็บและอีเมล การประมูลถอยหลังนี้นิยมใช้กับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการจัดซื้อสินค้า ที่มีราคาสูงหรือมีจำ�นวนมาก รัฐบาลหลายประเทศเริ่มบังคับให้หน่วยงานรัฐจะต้องจัดซื้อจัดหาด้วยวิธี ดังกล่าวนี้แล้ว การประมูลลักษณะนี้ส ามารถดึงผู้ข ายเข้าม าร่วมจำ�นวนมากได้ ทำ�ให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและ ใช้เวลาน้อยกว่าการประมูลแบบดั้งเดิมที่ไ ม่ผ่านทางเว็บ การประมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถดำ�เนินการได้ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น บีทูบี บีทูซี ซีทูบี ซีทูซี และอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-Government) และยังสามารถดำ�เนินการได้ทางเว็บไซต์ของผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือทางเว็บไซต์อื่นๆ เช่น www.ebay.com www.amazon.com และ www.dellauction.com เป็นต้น การแลกเปลี่ยนสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic bartering) หรือการแลกเปลี่ยนสินค้า ทางออนไลน์ (online bartering) เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าและ/หรือบริการแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่าน อินเทอร์เน็ต โดยไม่มีการทำ�รายการชำ�ระเงินแต่อย่างใด การแลกเปลี่ยนสินค้าออนไลน์อาจดำ�เนินการ บนเว็บไซต์ใดๆ ก็ได้ด้วยการประกาศสิ่งที่จัดไว้ให้แลก และ/หรือสิ่งที่ต้องการจะแลก โดยโฆษณาไว้บน โฮมเพจ กระดานข่าวบีบีเอส (Bulletin Board System - BBS) หรือห้องสนทนาต่างๆ นอกจากนี้ ยังมี เว็บไซต์ห ลายแห่งท ี่ท ำ�หน้าทีเ่ป็นค นกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าอ อนไลน์ เช่น www.barterbrokers.com www.ioffer.com และ www.swaptree.com เป็นต้น การแลกเปลี่ยนบางแห่งก็จะมีการให้ต่อรองกัน ได้ด ้วย ส่วนบางแห่งจะใช้วิธีคอยจับค ู่ที่ต รงกันใ ห้
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-46
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
4.16 การดูหนังฟังเพลงทางอินเทอร์เน็ต เป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดบนอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์หรือเพลงต่างๆ มาเก็บไว้ที่พีซีของตัวเองไว้สำ�หรับชมหรือฟังภายหลัง ก็ได้โดยไม่ต ้องเสียค ่าใช้จ่าย ยกเว้นบางเว็บไซต์ที่คิดเงินเป็นค่าสมาชิกรายปีก็มี เช่น www.napster.com และ www.rhapsody.com หรือบางเว็บไซต์ก็จะคิดเงินเป็นรายเพลงก็มี เช่น Apple iTunes (www. apple.com/itunes/) และ www.amazon.com โดยคิดราคาดาวน์โหลดเพลงละประมาณ 30 บาท ส่วน www.spiralfrog.com เปิดให้ดาวน์โหลดเพลงฟรี แต่ผู้ใช้จะต้องร่วมมือในการให้ข้อมูลทางการตลาด และต้องทนดูโฆษณาไปด้วย เป็นต้น วิทยุกระจายเสียงก็มีการออกทางอินเทอร์เน็ตด้วย เช่น www.audible.com ให้บริการแก่ สมาชิกในการดาวน์โหลดสมุดเสียง (audio book) ซึ่งสามารถนำ�ไปฟังบนพีซี หรืออุปกรณ์ฟังเพลงต่างๆ ภายหลังได้ โทรทั ศ น์ แ ละวิ ดี โ อบ นอิ น เทอร์ เ น็ ต ก็ เ ริ่ ม มี ผู้ นิ ย มม ากขึ้ น สำ � หรั บ ร ายการโ ทรทั ศ น์ จ ะต้ อ งใ ช้ โพรโทคอลไอพีทีวี (IPTV - Internet Protocol Television) ในการรับส่งด้วยไอพีทีวีมีรายการมากมาย เช่น การปรุงอาหารมังสวิรัติ การออกกำ�ลังกายแบบโยคะ การแข่งขันกีฬาต่างๆ และข่าวทั่วไป เป็นต้น เว็บไซต์บางแห่งคิดค่าบริการดาวน์โหลดรายการโทรทัศน์ดังๆ ในราคาประมาณ 60 บาทด้วย อุปกรณ์ ดูหนังฟังเพลงอย่าง iPod หรือเครื่องโทรศัพท์มือถือก็สามารถใช้ชมรายการโทรทัศน์ที่ดาวน์โหลดได้ ตัวอย่างเว็บไซต์ เช่น www.joost.com ให้บริการดูโทรทัศน์ฟรีมากถึง 400 ช่อง รวม 20,000 รายการ และ www.hulu.com ให้บริการรายการดังโทรทัศน์และเคเบิลท ีวีด้วย ปัจจุบันมีอุปกรณ์นวัตกรรมใหม่ที่สามารถใช้ชมโทรทัศน์และทำ�การบันทึกได้พร้อมกันได้ทุกที่ ทุกเวลา จากบริษัท Sling Media (www.slingmedia.com) เรียกว่า สลิงบ็อกซ์ (Slingbox) ในราคา 7,500 บาท 4.17 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และหนังสือเสียง (e-Book and audio book) กำ�ลังได้รับความนิยม มากขึ้น เช่น คินเดิล (Kindle) จาก www.amazon.com เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออีบุ๊กแบบพกพา ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย เพื่อดาวน์โหลดเนื้อหาต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร บล็อก และสื่อดิจิทัลอ ื่นๆ ได้ เป็นอุปกรณ์ท ี่มีข นาดกะทัดรัด และบรรจุหนังสือได้มากถึง 200 เล่ม หนังสือเสียงก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากมีผู้คนนิยมใช้อุปกรณ์ดูหนังฟังเพลง อย่างเช่น ไอพอด (iPod) กันมากขึ้นนั่นเอง เสียงในหนังสือมาจากนักพากย์ หรือนักแสดงที่อัดเสียงเอาไว้ ซึ่งอาจมีทั้งฉบับเต็มและฉบับย่อ หนังสือเสียงมีบริการจำ�หน่ายเป็นเรื่องๆ หรือให้สมัครเป็นสมาชิกแล้ว จะได้รับหนังสือเสียงเป็นรายเดือนก็มี หนังสือเสียงนอกจากฟังผ่านพีซีและไอพอดแล้ว ยังฟังผ่านคินเดิล ได้ด้วย 4.18 สำ�นักงานบนเว็บ กลายเป็นสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับนักธุรกิจหลายท่านที่จะต้องเดินทางบ่อยและ ต้องทำ�งานนอกสถานที่ หรือทำ�งานจากที่บ้านเป็นประจำ� สำ�นักงานบนเว็บเป็นเว็บไซต์ที่บรรจุแฟ้มข้อมูล ตารางนัดหมาย และหมายเลขโทรศัพท์หรืออีเมล ท่านสามารถใช้เครื่องพีซีหรือเครื่องสมาร์ตโฟน เพื่อ เข้าดูข ้อมูลต่างผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ท ุกที่ทุกเวลา
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-47
ธ ส
เว็บไซต์หลายแห่งให้บริการเก็บข้อมูลบนเว็บด้วย เช่น www.microsoft.com และ www. google.com ต่างก็ให้บริการเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ พร้อมทั้งระบบตารางนัดหมายและการติดต่อ เว็บไซต์บางแห่งให้บริการเฉพาะงานซับซ้อนบางอย่างด้วย เช่น www.37signal.com ให้บริการการ บริหารโครงการ การบริหารการติดต่อ ปฏิทินทำ�งาน และการสนทนากลุ่ม ไมโครซอฟต์แชร์พ้อยต์ (Microsoft SharePoint) เพิ่มบริการด้านความร่วมมือทางธุรกิจและคอมพิวเตอร์สังคม เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นในโครงการได้ด้วย 4.19 บริการทางเว็บอ ื่นๆ อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมหาศาล รวมทั้งข้อมูลวิกฤตต่างๆ เช่น ข้อมูลภัยพิบัติ และการก่อการร้าย เป็นต้น ในกรณีที่มีผู้ป่วยฉุกเฉินก็อาจส่งข้อมูลเพื่อขอความเห็น หรือค วามช่วยเหลือท างอินเทอร์เน็ตไ ด้ หรือใ นกรณีท ี่ต้องการจัดการกับห นี้สินบัตรเครดิต หรือบ ัญชีเงินก ู้ ก็สามารถปรึกษากับเว็บไซต์ เช่น Quicken Loan, E-Loan และ Lending Tree ได้ อินเทอร์เน็ตยังช่วย แปลเอกสารต่างๆ ได้ด้วย เช่น Babel Fish Translation (www.altavista.com) และ Free Translation (www.freetranslation.com) สามารถแปลข้อความทีละย่อหน้าจากภาษาหนึ่งไปเป็นภาษาอื่นได้เว็บไซต์ บางแห่งสามารถปรับเปลี่ยนเหน้าเว็บเป็นภาษาต่างได้ด้วย นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตยังสามารถให้บริการ การศึกษาทางไกลด้วย และเริ่มได้รับความนิยมสูงขึ้น มหาวิทยาลัยหลายแห่งอนุญาตให้นักศึกษาเรียน ผ่านทางอินเทอร์เน็ตโ ดยไม่ต ้องไปเข้าชั้นเรียนได้ สถาบันเอ็มไอที (MIT - Massachusetts Institute of Technology) ให้บ ริการเรียนฟรีออนไลน์ถึง 1,800 วิชา อุปกรณ์ก ล้องเว็บแคมอาจใช้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่น ในทางธุรกิจเริ่มมีการใช้วิธีสอบสัมภาษณ์ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส มัครจะต้องติดตั้งอ ุปกรณ์กล้องเว็บแคมด้วย ในสถานพยาบาล กล้องเว็บแคม ช่วยในการเฝ้าดูเด็กอ่อนหรือผู้ป ่วยได้ บางกรณีอาจใช้กล้องเว็บแ คมดูแลบ้านที่อยู่ห่างไกลได้ 4.20 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ได้วิวัฒนาการไปมาก จนมีขีดความ สามารถใกล้เคียงกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พีซีทั่วไป เป็นคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ไร้สาย แต่ที่เหนือกว่าคือ มีขนาดเล็ก ใช้พกพาติดตัวได้สะดวก ทำ�งานด้วยระบบสื่อสารไร้สาย ทำ�ให้สามารถนำ�เคลื่อนที่ไปได้เกือบ ทุกที่ที่มีเครือข่ายสื่อสารเข้าถึง จึงมีประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกมิติหนึ่ง กิจกรรมบางอย่างที่ทำ�ไม่ได้ในอดีตก็ทำ� ได้แล้ว เช่น พนักงานขายที่ต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา สามารถตรวจสอบดูข้อมูล หรือส่งรายงานต่างๆ ได้ ช่างซ่อมบำ�รุงที่อยู่ในสนามก็สามารถดึงข้อมูลรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมได้ ในทำ�นองเดียวกัน ทนายความ นักศึกษา และผู้รักษากฎหมาย ต่างก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ไร้สายในการปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อุปกรณ์ดังกล่าว เช่น อุปกรณ์นำ�ร่อง หรือจีพีเอส (GPS) พีดีเอ (PDA) และ สมาร์ตโฟน ซึ่งมีอยู่หลากหลาย สมาร์ตโฟนบางรุ่นเป็นรุ่นเอนกประสงค์ ซึ่งจะรวมทั้งคอมพิวเตอร์ ขนาดเล็ก โทรศัพท์เคลื่อนที่ พีดีเอ จีพ ีเอส และเข็มทิศไว้ในเครื่องเดียวกัน ในอดีต อุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะต้องอยู่ก ับที่ แต่ด้วยเทคโนโลยีด้านต่างๆ ได้มีการพัฒนาก้าวหน้า ไปมาก เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ท ี่มีขนาดเล็กลง ระบบแลนก็พัฒนาเป็นแบบไร้สาย และระบบเครือข่าย สื่อสารไร้สายก็พัฒนาให้มีความเร็วสูง ทำ�ให้สามารถสร้างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ไร้สายขึ้น เรียกว่า คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ (mobile computing) ซึ่งใ ช้เทคโนโลยีต่างๆ ดังต ารางแสดงในตารางที่ 4.3
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-48
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
ตารางที่ 4.3 เทคโนโลยีต่างๆ ทีใ่ ช้สำ�หรับคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่
ธ ส
เทคโนโลยี
บลูทูธ (bluetooth) เอสเอ็มเอส (SMS - Short Messaging Service) อีเอ็มเอส (EMS - Enhanced Messaging Service) จีพีเอส (GPS - Global Positioning System) เอ็มอ็มเอส (MMS - Multimedia Messaging Service) พีดีเอ (PDA - Personal Digital Assistant) สมาร์ตโฟน
ม
ธ ส
วายแมกซ์ (WiMax)
ม
แวพ (WAP - Wireless Application Protocol) แลนไร้สาย (WLAN - Wireless Local Area Network)
ม
ใช้ในการสื่อสารระยะสั้นระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร ใช้สื่อสารข้อความสั้นไม่เกิน 160 ตัวอักษรบนมือถือ เช่นเดียวกับ SMS แต่เพิ่มภาพและเสียงดนตรีได้
ธ ส
ม
การใช้งาน
ระบบนำ�ร่องดาวเทียมใช้บอกพิกัดบนพื้นโลก ใช้สื่อสารข้อความในอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ รุ่นใหม่ๆ ที่สื่อสารข้อมูลมัลติมีเดียได้ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเท่าฝ่ามือ อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ เป็นทั้งโทรศัพท์มือถือ และมีคอมพิวเตอร์ ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและ ต่อจีพีเอสได้ ระบบโครงข่ายสื่อสารไร้สายความเร็วสูงในเมือง ใช้กับอุปกรณ์สื่อสารอยู่กับที่ เป็นเบราเซอร์ใช้ต่ออินเทอร์เน็ตสำ�หรับโทรศัพท์มือถือ เป็นระบบแลนไร้สาย ใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ต่างๆ และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
ธ ส
ม
ธ ส
ม
จีพีเอสนอกจากจะนำ�มาใช้อุปกรณ์นำ�ร่องบอกตำ�แหน่งทั่วไปแล้ว ยังมีบทบาทด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย เช่น หากลูกค้าได้รับเอสเอ็มเอสว่าขณะนี้มีการส่งเสริมการขายสินค้าหรือร้านอาหารเป็น พิเศษ ลูกค้าก็สามารถใช้จีพีเอสนำ�ทางไปยังร้านดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น หรือจะค้นหาร้านค้า จุดรับส่งสินค้าก็ทำ�ได้สะดวกยิ่งขึ้น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ (mobile Commerce - m-Commerce) ระบบสื่อสารเริ่มมี ผลกระทบต่อวิถีการดำ�รงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำ�มาใช้ทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนิยมเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ เป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ดำ�เนินการได้ใน สภาพไร้สาย โดยใช้คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่เป็นอ ุปกรณ์ ทำ�ให้การทำ�ธุรกรรมต่างๆ สะดวกยิ่งขึ้น และยังเป็น การดึงดูดให้ผู้ใช้งานหน้าใหม่ๆ สนใจเข้ามาร่วมวงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น กิจกรรมด้านต่างๆ ที่นิยมใช้ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ คือ - การเงินเคลื่อนที่ ธนาคารเคลื่อนที่ (บีทูซี บีทูบี) - การโฆษณาเคลื่อนที่ (บีทูซี) - การบริหารสินค้าคงคลังเคลื่อนที่ (บีทูซี บีทูบี) - การบริหารงานบริการเชิงร ุก (บีทูซี บีทูบี)
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-49
ธ ส
- การกำ�หนดที่ตั้งผ ลิตภัณฑ์แ ละการจับจ่าย (บีทูซี บีท ูบี) - การจัดระบบงานใหม่เป็นไร้สาย (บีทูซี บีทูบี) - การประมูลเคลื่อนที่ (บีทูซี) - การบริการบันเทิงเคลื่อนที่ (บีทูซี) - สำ�นักงานเคลื่อนที่ (บีทูซี) - การศึกษาทางไกลเคลื่อนที่ (บีทูซี) - ศูนย์ข ้อมูลไร้สาย (บีทูซี บีทูบี) - ฟังด นตรีเคลื่อนที่ และฟังดนตรีตามต้องการเคลื่อนที่ (บีทูซี) จะเห็นได้ว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ดังกล่าวมีธุรกรรมเหมือนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปกติที่ใช้คอมพิวเตอร์อยู่กับที่ แต่การดำ�เนินการในสภาพไร้สายได้ทำ�ให้มีความคล่องตัวสูงและรวดเร็ว ผู้ปฏิบัติง านมีความพึงพ อใจ เป็นการเพิ่มป ระสิทธิภาพในการทำ�งานที่ได้ผล
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 4.1.3 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 4.1.3 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 4 ตอนที่ 4.1 เรื่องที่ 4.1.3
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-50
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ตอนที่ 4.2
ธ ส
ม
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
โปรดอ่านแผนการสอนประจำ�ตอนที่ 4.2 แล้วจ ึงศึกษาเนื้อหาสาระ พร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง
ม
หัวเรื่อง
แนวคิด
ธ ส
เรื่องที่ 4.2.1 ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องที่ 4.2.2 ภาษาโปรแกรมเว็บ เรื่องที่ 4.2.3 การรักษาความมั่นคงของข้อมูลและองค์กร
ธ ส
ม
ธ ส
1. องค์ประกอบสำ�คัญในโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์ ซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์ ซอฟต์แวร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบสื่อสาร 2. ภาษาเอชทีเอ็มแอล เป็นภาษามาตรฐานที่ใช้ในการเขียนเว็บไซต์ โดยใช้เทคโนโลยี ไฮเปอร์ลิงก์ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อเอกสารทุกชิ้นที่บรรจุตัวอ้างอิงไฮเปอร์ลิงก์อยู่ จึงทำ�ให้ ติดตามและสืบค้นเอกสารได้อย่างต่อเนื่องไปทั่วโลก 3. ร ะบบรั ก ษาค วามมั่ น คง นอกจากจ ะช่ ว ยเ รื่ อ งก ารป้ อ งกั น ก ารโ จมตี ห รื อ บุ ก รุ ก ท าง เครือข่ายจากบุคคลภายนอกแล้ว ยังสามารถป้องกันการฉ้อโกงภายในองค์กรได้ด้วย
ม
วัตถุประสงค์
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
เมื่อศึกษาตอนที่ 4.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดแวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์ ระบบไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ ซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ 2. อธิบายไฮเปอร์ลิงก์ ไฮเปอร์เท็กซ์ และภาษาต่างๆ ในการสร้างเว็บไซต์ไ ด้ 3. อธิบายหลักของการบริหารความมั่นคง จุดอ่อนระบบสารสนเทศและภัยคุกคาม ความ มั่ น คงด้ า นเ ครื อ ข่ า ยสื่ อ สาร การค วบคุ ม ภ ายใน และก ารป ฏิ บั ติ ต ามก ฎหมาย การ วางแผนการกู้คืนสภาพและแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ การบริหารความเสี่ยงและ การตรวจสอบ และอาชญากรรมและการฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์ได้
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-51
ธ ส
เรื่องที่ 4.2.1 ฮาร์ดแวร์แ ละซอฟต์แวร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
การที่จะนำ�ระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานนั้น จะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำ�งาน เสียใหม่ กระบวนการที่เคยทำ�ด้วยหลายขั้นตอนนั้น อาจเหลือเพียงขั้นตอนเดียวก็ได้ นอกจากนี้ จะต้อง เตรียมงบประมาณลงทุนที่ค่อนข้างสูงทางด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย ซึ่งจะต้องมีการคัดเลือก องค์ประกอบของเทคโนโลยีอย่างรอบคอบ และมีการบูรณาการ เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณธุรกรรม อันมหาศาลที่จะมีกับลูกค้า คู่ค้า และผู้จัดหาจำ�นวนมากทั่วโลก ความไม่สมบูรณ์ของระบบอาจนำ�ไปสู่ การบริการที่ไร้สมรรถภาพ เช่น ระบบทำ�งานช้า การบริการที่ไม่พอเพียง ลูกค้าจะเปลี่ยนไปใช้บริการที่อื่นๆ จนทำ�ให้เสียลูกค้าไปในที่สุด
ม
ธ ส
ธ ส
ม
1. โครงสร้างเทคโนโลยีข องระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
องค์ประกอบที่สำ�คัญในโครงสร้างเทคโนโลยีของระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์เว็บ เซิร์ฟเวอร์ ซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์ ซอฟต์แวร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ และระบบสื่อสาร ดังแสดงในภาพที่ 4.9
ม
ธ ส
ม
ธ ส
เครือข่าย อินเทอร์เน็ต และ การสื่อสารอื่นๆ
ม
ธ ส
ระบบสื่อสาร
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซ
ซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์ ระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์
ธ ส
ฮาร์ดแวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์
ม
ม
ภาพที่ 4.9 องค์ป ระกอบที่สำ�คัญในโครงสร้างเทคโนโลยีข องระบบธุรกิจอ ิเล็กทรอนิกส์
4-52
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
2. ฮาร์ดแวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์
ม
ธ ส
เซิร์ฟเวอร์ (server) คือค อมพิวเตอร์ท ี่ม ีผ ู้ใ ช้ห ลายคนที่ใ ช้ง านร่วมกันเพื่อท ำ�งานหรือห น้าที่อ ย่างใด อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เซิร์ฟเวอร์เครือข่ายจะทำ�หน้าที่เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล เซิร์ฟเวอร์อินเทอร์เน็ต ก็ทำ�หน้าที่เกี่ยวกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยทั่วไปเซิร์ฟเวอร์จะประกอบด้วยหน่วยความจำ� ขนาดใหญ่ และหน่วยเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ พร้อมทั้งมีสมรรถนะและประสิทธิภาพในการสื่อสารสูงด้วย คือมีความรวดเร็วส ูง เช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) จะทำ�หน้าที่ควบคุมการสื่อสารและปริมาณการใช้ อินเทอร์เน็ต (internet traffic) เซิร์ฟเวอร์สร้างแคชอินเทอร์เน็ต (internet caching server) ทำ�หน้าที่ เก็บข้อมูลเว็บไซต์ที่ใช้บ่อยๆ เซิร์ฟเวอร์องค์กร (enterprise server) ทำ�หน้าที่เก็บโปรแกรมประยุกต์ ต่างๆ ที่จะต้องใช้ในองค์กร การควบคุมการเข้าถึงและใช้โปรแกรมของพนักงานทั้งองค์กร ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (file server) ทำ�หน้าที่จัดเก็บและควบคุมโปรแกรมและแฟ้มข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ธุรกรรม (transaction server) ทำ�หน้าที่ประมวลผลธุรกรรมของธุรกิจ เป็นต้น ระบบเซิร์ฟเวอร์ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์จาก หลากหลายผู้ใช้ (multiuser computer) ซึ่งรวมถึงคอมพิวเตอร์ข นาดใหญ่มากและระดับเมนเฟรมจนถึง ระดับเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป ในทางปฏิบัติ เซิร์ฟเวอร์ของกิจการที่ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์จำ�นวนมาก จะถูก รวบรวมเซิร์ฟเวอร์มาติดตั้งไว้ในห้องเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมอุปกรณ์ การทำ�งานของบุคลากร และความมั่นคงของข้อมูล ลักษณะของการจัดรูปแบบนี้เรียกว่า ฟาร์มเซิร์ฟเวอร์ (Server Farm) ตัวอย่างกรณีเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิ้ล (Google) จะเรียกว่า พาร์กเซิร์ฟเวอร์ (Server Park) เนื่องจาก กูเกิ้ลมีเซิร์ฟเวอร์จำ�นวนมาก จากรายงานของบริษัทวิจัย การ์ตเนอร์ (Gartner) ได้คาดคะเนว่าที่ผ่านมา กูเกิ้ลมีการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์กว่า 450,000 เครื่อง โดยกระจายอยู่ตามศูนย์คอมพิวเตอร์ 5 แห่งในสหรัฐ อเมริกา ในยุโรป 2 แห่งอยู่ที่เนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยม และอีก 1 แห่งอยู่ที่ออสเตรเลีย แต่ละแห่งจะ มีเซิร์ฟเวอร์กว่าหมื่นเครื่อง กูเกิ้ลเลือกใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการลีนุกส์ (Linux) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ เปิดฟรีที่ไม่ต้องเสียค ่าใช้จ่ายใดๆ ฮาร์ดแวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์รวมทั้งซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม เป็นหัวใจสำ�คัญในโครงสร้างเทคโนโลยี ของระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ กำ�ลังการประมวลผลและความจุของหน่วยเก็บข้อมูลของเซิร์ฟเวอร์ขึ้นอยู่ กับสองปัจจัย คือ ซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์ และปริมาณของธุรกรรมอีคอมเมิร์ซที่จะต้องประมวลผล ถึงแม้ว่าบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอาจกำ�หนดซอฟต์แวร์ที่จะต้องใช้ แต่ก็เป็นเพียงการคาดคะเน ปริมาณการใช้ที่อ าจเกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งมักจะผิดจากความต้องการที่แท้จ ริงเสมอ ดังนั้น การออกแบบระบบ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์จึงต้องเน้นให้สามารถปรับขนาดได้ (scalability) พร้อมที่จะปรับเพิ่มขนาดได้ทันที เมื่อมีความจำ�เป็น ปัญหาอีกหนึ่งประเด็นที่จะต้องพิจารณาคือ จะติดตั้งโฮสต์ของตัวเองหรือไปเช่าใช้โฮสต์ของ ผู้ให้บริการเว็บอื่น กิจการหลายแห่งพบว่าการเช่าใช้โฮสต์ของผู้ให้บริการเว็บอื่นเป็นแนวทางที่ดีที่สุดของ การเริ่มต้นในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผู้ให้บริการเว็บมีสถานที่และอุปกรณ์ พร้อมอยู่แล้ว และยังใ ห้บ ริการฝึกอ บรมพนักงานถึงวิธีปฏิบัติ การแก้ปัญหาเบื้องต้น และการบริหารจัดการ เว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย อย่างไรก็ตาม กิจการหลายแห่งก็เลือกที่จะดำ�เนินการจัดหาระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-53
ธ ส
ของตนเอง แต่ก็ต้องมีบ ุคลากรที่ชำ�นาญทางด้านระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์อยู่พร้อมแล้วด้วย ไม่ว่าจะเลือก ติดตั้งด้วยวิธีใด ที่สำ�คัญคือ จะต้องมีระบบสำ�รองที่เพียงพอเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำ�เนินการต่อไปได้ใน กรณีที่เว็บเซิร์ฟเวอร์เกิดขัดข้องขึ้น ระบบเซิร์ฟเวอร์ทำ�ให้สามารถปรับขนาดได้ (scalability) คือระบบเซิร์ฟเวอร์ที่สามารถเพิ่มกำ�ลัง ในการประมวลผลได้ เพื่อรองรับกับการที่มีปริมาณการใช้สูงขึ้น มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้น มีธุรกรรมมากขึ้น และมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นในเวลาใดเวลาหนึ่ง การเพิ่มเซิร์ฟเวอร์ที่มีกำ�ลังประมวลผลสูงขึ้นเรียกว่า การเพิ่มขนาด (scaling up) ส่วนการเพิ่มเซิร์ฟเวอร์ที่มีกำ�ลังประมวลผลเท่ากันหรือต่ำ�กว่าเรียกว่า การขยายขนาด (scaling out) ทั้งนี้ต ่างก็เป็นการจัดการเพิ่มกำ�ลังในการประมวลผลข้อมูลโดยรวมนั่นเอง บางครั้งเซิร์ฟเวอร์หนึ่งที่มีกำ�ลังประมวลผลสูงอาจแบ่งออกเป็นเซิร์ฟเวอร์เสมือนหลายเซิร์ฟเวอร์ ได้ (virtual server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เซิร์ฟเวอร์ตรรกะ (logical server) ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ตรรกะ เหล่านี้สามารถทำ�งานได้เสมือนหนึ่งว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แยกกันอย่างอิสระ ในทางปฏิบัติเว็บ เซิร์ฟเวอร์เครื่องหนึ่งมักจะถูกแบ่งออกเป็นสองเซิร์ฟเวอร์ เซิร์ฟเวอร์เสมือนที่ 1 จะทำ�หน้าที่เป็นโฮสต์จริง (host live) ของเว็บไซต์ และเซิร์ฟเวอร์เสมือนที่ 2 จะทำ�หน้าที่เป็นโฮสต์สำ�เนา (host copy) ของเว็บไซต์ จริง โดยเซิร์ฟเวอร์เสมือนที่ 2 จะถูกใช้สำ�หรับทดสอบซอฟต์แวร์ที่ปรับปรุงใหม่ก่อนที่จะนำ�ไปใช้งานจริง กับเซิร์ฟเวอร์เสมือนที่ 1 ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเข้าไปยังไฟล์เซิร์ฟเวอร์ที่ทำ�หน้าที่เป็นโฮสต์จริงเพื่อดาวน์โหลด หรืออัพ โหลดข้อมูลได้ บางกรณีการดาวน์โหลดหรืออัพโหลดข้อมูลจะต้องเป็นสมาชิกของไฟล์เซิร์ฟเวอร์ และเป็น ผู้ได้รับอนุญาตก่อนจึงจะดำ�เนินการได้ ซึ่งไฟล์เซิร์ฟเวอร์จะควบคุมโดยตรวจสอบรหัสผ่าน หลังจากที่ ผู้ใช้ได้ดาวน์โหลดแฟ้มที่ต้องการมาเก็บไว้บนเครื่องพีซีของตนแล้ว ก็สามารถที่จะทำ�การเปิดดู วิเคราะห์ และปรับปรุงแก้ไข หรือน ำ�ไปใช้งานอื่นๆ ที่ต้องการได้ แต่ต้องระวังในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่จะสร้างในรูปแผงวงจรหลักที่ประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง หน่วย ความจำ�หลัก หน่วยเก็บข้อมูล และหน่วยเชื่อมประสานเครือข่าย รวมเป็นคอมพิวเตอร์หนึ่งแผงวงจร เซิร์ฟเวอร์เบลด (blade server) คือเซิร์ฟเวอร์ที่บรรจุคอมพิวเตอร์ที่เป็นแผงวงจรหลายๆ แผงรวมกัน ประมาณ 10 แผงอยู่ใ นกล่องเดียวกัน โดยใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าและพัดลมระบายอากาศร่วมกัน เมื่อนำ�เซิร์ฟเวอร์เบลดหลายกล่องมาติดตั้งรวมกันบนชั้นวางเครื่อง ก็จะเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีกำ�ลังประมวลผลสูงมาก เทียบเท่าเครื่องเมนเฟรมและฟาร์มเซิร์ฟเวอร์ แต่ร าคาถูกกว่า และกินพื้นที่ติดตั้งน้อยกว่ากันมาก
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
3. ระบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ระบบไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ (client/server system) หรือระบบลูกข่าย/แม่ข่าย หรือระบบรับ/ ให้บริการคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้ทำ�งานในลักษณะที่มีผู้ใช้หลายคนใช้งานร่วมกัน เพื่อทำ�หน้าที่เฉพาะอย่าง เช่น ทำ�หน้าที่การจัดการฐานข้อมูล การพิมพ์ การสื่อสาร และการใช้งานโปรแกรม เป็นต้น เครื่องที่ทำ�หน้าที่อย่างนี้เรียกว่า “เซิร์ฟเวอร์” หรือโฮสต์ คอมพิวเตอร์ทุกขนาดสามารถใช้ทำ�หน้าที่ เป็นเซิร์ฟเวอร์ได้ โดยจะต้องบรรจุโปรแกรมประยุกต์ แฟ้มข้อมูลต่างๆ และซอฟต์แวร์เชื่อมต่อเครือข่าย
ม
4-54
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
สำ�หรับสื่อสารกับลูกข่ายได้ เช่น เซิร์ฟเวอร์ระบบงานประยุกต์ (application server) จะบรรจุโปรแกรม ประยุกต์พร้อมทั้งแฟ้มข้อมูลสำ�หรับงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสินค้าคงคลัง และฐานข้อมูลสินค้า คงคลัง เพื่อที่จะให้ลูกข่ายเชื่อมต่อเข้ามาทำ�งานได้ คอมพิวเตอร์ใดๆ ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเดียวกันกับเซิร์ฟเวอร์ และสามารถเข้าถึงข้อมูลใน เซิร์ฟเวอร์ได้เรียกคอมพิวเตอร์ที่ท ำ�หน้าที่ดังกล่าวว่า ลูกข่าย หรือไคลเอนต์ (client) ในเครือข่ายหนึ่งอาจ มีเซิร์ฟเวอร์หลายตัวและไคลเอนต์หลายตัวเชื่อมต่ออยู่ ซึ่งไคลเอนต์แต่ละตัวสามารถเข้าถึงทุกเซิร์ฟเวอร์ ได้ ดังแสดงในภาพที่ 4.10
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ภาพที่ 4.10 การเชื่อมต่อไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ในเครือข่าย
ม
ธ ส
ม
ธ ส
เมื่อไคลเอนต์หนึ่งส่งสัญญาณต้องการดึงแฟ้มข้อมูลหนึ่งเข้าไปในเครือข่าย เครือข่ายก็จะทำ� หน้าที่ตรวจสอบดูว่าข้อมูลดังกล่าวอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ใด เมื่อพบเซิร์ฟเวอร์เป้าหมายแล้ว เครือข่ายก็จะแปลง สัญญาณดังกล่าวให้เป็นอยู่ในรูปแบบข้อความที่เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลนั้นจะเข้าใจ เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล ก็จะทำ�การดึงแฟ้มข้อมูลเฉพาะที่ต้องการและทำ�การแปลงรูปแ บบ แล้วจึงจะนำ�ส่งข้อมูลนั้นไปให้ไคลเอนต์ ต้นทางต่อไป
ม
ธ ส
ธ ส
4. ซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์
ม
ซอฟต์แวร์ระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์นอกจากจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเว็บเป็นหลัก อยู่แล้ว ในแต่ละเว็บไซต์จะต้องมีซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำ�หน้าที่บริการพื้นฐานต่างๆ เช่น ความ มั่นคงข้อมูลและการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล การค้นคืนและส่งหน้าเว็บ การตามรอยเว็บไซต์ การพัฒนา เว็บไซต์ และการสร้างหน้าเว็บ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ส ำ�เร็จรูปที่น ิยมใช้กันมากในขณะนี้ ได้แก่ อะปาเช่เอชทีที พีเซิร์ฟเวอร์ (Apache HTTP Server) และไอไอเอส (IIS - Internet Information Services)
ม
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-55
ธ ส
4.1 ความมั่นคงข้อมูล และการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล (security and identification) เป็นเรื่อง ที่สำ�คัญยิ่งของเว็บเซิร์ฟเวอร์ในระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อที่จะพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลของพนักงานที่จะเข้า มาปฏิบัติงานผ่านทางอินเทอร์เน็ต ระบบควบคุมการเข้าถึงจะปล่อยให้ผ่านหรือระงับการผ่านโดยอิงฐาน ข้อมูลร ายชื่อผ ู้ใช้ หรือย ูอ าร์แอล เว็บเซิร์ฟเวอร์จะมีก ระบวนการเข้ารหัส (encryption) เพื่อให้การส่งข้อมูล ส่วนบุคคลออกไปยังระบบอินเทอร์เน็ตภายนอกได้อย่างปลอดภัย 4.2 การค้นคืนและส่งหน้าเว็บ (retrieving and sending web pages) วัตถุประสงค์หลักของเว็บ เซิร์ฟเวอร์คือ การดำ�เนินการและตอบสนองต่อคำ�สั่งของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาด้วยเอชทีทีพี วิธีตอบสนอง ลูกค้าก ็ค ือ เว็บเซิร์ฟเวอร์จะค้นหาหน้าเว็บที่ต ้องการ สร้างป้ายหัวเรื่อง (header) แล้วผนวกเข้ากับเอกสาร เอชทีเอ็มแอล แต่ถ้าหน้าเว็บมีการปรับแก้ไขอยู่ ก็จะใช้โปรแกรมอื่นมาช่วยค้นคืนด้วย จากนั้นก็จะปรับ รูปแบบ แล้วจ ึงดำ�เนินการส่งหน้าเว็บนั้นพ ร้อมกับโ ปรแกรมจุดหมาย (object program) อื่นๆ ไปยังลูกค้า 4.3 การตามรอยเว็บไซต์ (web site tracking) เว็บเซิร์ฟเวอร์จะคอยเก็บข้อมูลต่างๆ ของลูกค้า ที่เข้ามายังเว็บไซต์ด้วย เช่น ไอพีแอดเดรส (IP address) ของลูกค้า และลูกค้าใช้คีย์เวิร์ด หรือคำ�หลัก (keyword) อะไรในการเข้ามายังเว็บไซต์นี้ ระยะเวลาที่อยู่กับเว็บไซต์นี้ วันที่และเวลาของการเข้ามาแต่ละ ครั้ง และเข้าดูหน้าเว็บอะไรบ้าง ข้อมูลเหล่านี้จะบันทึกอยู่ในล็อกไฟล์ (log file) เพื่อนำ�ไปวิเคราะห์และ ใช้ประโยชน์ท างการตลาดต่อไป 4.4 การพัฒนาเว็บไซต์ (web site development) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ ได้แก่ ซอฟต์แวร์แก้ไขโค้ดเอชทีเอ็มแอล เช่น ไมโครซอฟต์เอ็กซ์เพรสชั่นเว็บ (microsoft expression web) อะโดบีดรีมวีฟเวอร์ (Adobe Dreamweaver) เน็ตสตูดิโออีซีเว็บกราฟิก (NetStudio Easy Web Graphics) และซอฟต์ควอดฮอตมีลโพร (SoftQuad HoTMeal Pro) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังม ีซอฟต์แวร์ สำ�เร็จรูปพร้อมด้วยตัวอย่างการเขียนคำ�สั่ง และคู่มืออธิบายวิธีเขียนคำ�สั่งสำ�หรับภาษต่างๆ เช่น จาวา หรือวิชวลเบสิก และวิธีท ำ�การอัพโหลดหน้าเว็บที่พัฒนาแล้วบนพีซีไปยังเว็บไซต์ เป็นต้น 4.5 การสร้างหน้าเว็บ (web page construction) ซอฟต์แวร์สร้างหน้าเว็บจะใช้โปรแกรมเอชที เอ็มแอล เอดิเตอร์ ในสร้างหน้าเว็บ ไม่ว ่าจะเป็นหน้าเว็บแบบคงที่ หรือสถิต (static web page) หรือแบบ พลวัต หรือไดนามิก (dynamic web page) หน้าเว็บสถิต คือหน้าเว็บที่บรรจุข้อมูลข่าวสารเหมือนเดิม ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง เช่น ข้อมูลประวัติของกิจการ และภาพถ่ายของสำ�นักงานใหญ่ ส่วนหน้าเว็บพลวัต จะบรรจุข้อมูลและข่าวสารที่แปรเปลี่ยนไปตามความต้องการของผู้ที่เข้ามาดูหน้าเว็บ เช่น ถ้าผู้ที่เข้ามา ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าชนิดหนึ่งโดยพิมพ์หมายเลขรหัสสินค้าลงไป เว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะค้นหาข้อมูล สินค้าดังกล่าวในฐานข้อมูล แล้วก็นำ�เสนอเป็นหน้าเว็บพลวัต ซึ่งตอนนี้ได้เปลี่ยนจากหน้าเว็บเดิมมาเป็น หน้าเว็บที่ลูกค้าต้องการแล้ว แต่ถ้าเวลาผ่านไปค่อนวัน มีลูกค้าอื่นมาดูหน้าเว็บในทำ�นองเดียวกันและเป็น สินค้าตัวเดียวกัน อาจจะเห็นข้อมูลที่ต่างกันได้ตามสถานการณ์ในขณะนั้น เช่น จำ�นวนหรือราคามีการ เปลี่ยนแปลง เป็นต้น เซิร์ฟเวอร์ที่จัดการเนื้อหาพลวัตนี้จะต้องมีความสามารถสืบค้นจากฐานข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว การเชื่อมต่อฐานข้อมูลในลักษณะเปิดทำ�ให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถสืบค้นข้อมูลจากระบบ จัดการฐานข้อมูลที่แตกต่างกันได้ เช่น ฐานข้อมูลจากเอสคิวแอลเซิร์ฟเวอร์ (SQL Server) ออราเคิล และ อินฟอร์มิกซ์ (Informix) เป็นต้น
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-56
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
5. ซอฟต์แวร์อ ีคอมเมิร์ซ
ม
ธ ส
เมื่อได้ตัดสินใจเลือกสถานที่วางเซิร์ฟเวอร์โฮสต์ได้แล้ว รวมทั้งได้ทำ�การติดตั้งซอฟต์แวร์ปฏิบัติ การและซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ เริ่มทำ�การพิจารณาการติดตั้งซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซ ที่สามารถรองรับหน้าที่หลักห้าประการ คือ การจัดการแคตาล็อก การจัดรูปแบบผลิตภัณฑ์ รถเข็นซื้อ สินค้า การประมวลผลธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ และการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการใช้เว็บ ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่จะเลือกใช้นั้นจะต้องเจาะจงด้วยว่าต้องการทำ�ธุรกรรมแบบบีทูบี หรือ บีทูซี เช่น ซอฟต์แวร์บ ีทูบีจะไม่มีก ารคำ�นวณภาษีขาย แต่ถ้ามีการซื้อเพื่อขายต่อ ซอฟต์แวร์นั้นจะต้องรวม ระบบส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคู่ค้าด้วย เช่น การส่งใบสั่งซื้อ ใบขนสินค้า และใบแจ้งหนี้ เป็นต้น สำ�หรับซอฟต์แวร์บีทูซี จะต้องสามารถคำ�นวณภาษีขายที่ซับซ้อนตามกฎหมายและระเบียบกระทรวงที่เป็น ปัจจุบันได้ และไม่จำ�เป็นต้องมีระบบการเจรจาต่อรองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย 5.1 การจัดการแคตาล็อก (catalog management) กิจการที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลายจะต้องมี ความพร้อมในการนำ�เสนอรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ได้ทันทีที่ลูกค้าเรียกดูในเชิงโต้ตอบ โดยนำ�ส่งเนื้อหา ในลักษณะที่ลูกค้าต้องการไปยังหน้าจอมอนิเตอร์ของลูกค้า ซอฟต์แวร์การจัดการแคตาล็อกมีหน้าที่ นำ�ข้อมูลจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ มารวมกันให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน กล่าวคือ เป็นแคตาล็อกที่มีมุมมอง ลักษณะเดียวกัน มีส่วนผสมของข้อมูลครบถ้วน และมีการบูรณาการ นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์รวมของ ข้อมูลที่เข้าถึงง่าย ค้นคืนง่าย และปรับปรุงแก้ไขง่ายที่เกี่ยวกับราคา และจำ�นวนสินค้าคงเหลือ ข้อมูล แคตาล็อกจะมีขนาดที่ใหญ่มาก จึงต้องเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ฐานข้อมูลแยกต่างหาก โดยที่เซิร์ฟเวอร์ อีคอมเมิร์ซส ามารถเข้าถึงไ ด้ร วดเร็วด้วย 5.2 การจัดรูปแ บบผลิตภัณฑ์ (product configuration) เพื่อช่วยลูกค้าที่มักจะมีความสับสน และ ต้องการขอความช่วยเหลือเมื่อสินค้าที่จะซื้อมีรายละเอียดมากและมีทางเลือกมาก ซอฟต์แวร์การจัด รูปแบบผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องมือที่การพัฒนากันมาตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2525 เพื่อช่วยให้พนักงานขายสามารถ หาสินค้าที่จับคู่กับความต้องการของลูกค้าได้ ปัจจุบันนี้ลูกค้าสามารถทำ�การออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต เข้ า ม าใ ช้ เ ครื่ อ งมื อ จั ด รู ป แ บบผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ เ ว็ บ เ ซิ ร์ ฟ เวอร์ ไ ด้ ด้ ว ยต นเอง โดยแ ทบจ ะไ ม่ ต้ อ งข อค วาม ช่วยเหลือจากพนักงานขายอีก เช่น ลูกค้าของบริษัท เดลล์ (Dell) สามารถเข้าไปใช้เครื่องมือจัดรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ท เี่ว็บเซิร์ฟเวอร์ข องเดลล์เพื่อจ ัดร ูปแ บบตัวเลือกของคอมพิวเตอร์ท ตี่ ้องการจะสั่งซ ื้อไ ด้ ซอฟต์แวร์ การจัดรูปแบบผลิตภัณฑ์นี้ยังสามารถนำ�ไปใช้ในธุรกิจบริการอื่นๆ ด้วย เช่น ช่วยลูกค้าในการจัดรูปแบบ ของเงินกู้ หรือรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัยที่เหมาะสมกับลูกค้า เป็นต้น 5.3 รถเข็นซื้อสินค้า (shopping card facility) ปัจจุบันนี้เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซนิยมใช้รถเข็นซื้อ สินค้า เพื่อให้ลูกค้าใส่สินค้าที่จะเลือกซื้อ ลูกค้าสามารถตรวจสอบดูรายละเอียดของสินค้า ราคา เงื่อนไข และการจัดส่ง จนเป็นที่พอใจก่อน เมื่อตัดสินใจเลือกก็เพียงแต่คลิกที่ปุ่มเพิ่ม (add) สินค้าที่เลือกไว้ก็จะ ไปปรากฏอยู่ในรถเข็นซื้อสินค้าโดยอัตโนมัติ พร้อมกับแสดงราคารวม ลูกค้าสามารถทบทวนและตรวจดู สินค้าในรถเข็น หรือจะคัดสินค้าบางตัวออกก็ได้ เมื่อพร้อมแล้วก็คลิกที่ปุ่มเช็กเอาต์ (checkout) ก็จะมี หน้าต่างใบสั่งซื้อสินค้าปรากฏขึ้น เพื่อให้ลูกค้าพิมพ์ข้อมูล เช่น ชื่อผู้รับ สถานที่จัดส่งสินค้า และข้อมูล
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-57
ธ ส
บัตรเครดิตเพื่อชำ�ระเงิน เป็นต้น เมื่อพิมพ์เรียบร้อยแล้ว ก็คลิกที่ปุ่มยืนยัน (confirm) การสั่งซื้อก็เสร็จ สมบูรณ์ 5.4 บริการทางเว็บ (web services) คือซ อฟต์แวร์โมดูลที่สนับสนุนกระบวนการธุรกิจจำ�เพาะ เพื่อ ให้ลูกค้าสามารถโต้ตอบผ่านเครือข่ายสื่อสารต่างๆ ได้ บริการทางเว็บจะรวบรวมทั้งซอฟต์แวร์และบริการ จากบริษัทต่างๆ มาบูรณาการให้กลายเป็นช่องทางเดียวกันในการติดต่อ เช่น บางกิจการอาจใช้บริการ ทางเว็บของผู้จัดหาในการจัดรูปแบบและเงื่อนไขการชำ�ระเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ บริการทางเว็บยังมีการ พัฒนาให้แสดงยอดเงินค้างชำ�ระในทันทีที่ลูกค้าเลื่อนเมาส์ผ่านไปตรงตำ�แหน่งเลขที่ใบสั่งซื้อ และลูกค้า สามารถคลิกเพื่อสั่งจ ่ายเงินได้ด้วย บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์พยายามผสมผสานซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่างๆ ทางเว็บ เพื่อตอบสนองต่อ ความต้องการของลูกค้า มีทั้งที่เป็นบริการฟรีที่มีโฆษณาสนับสนุน หรือที่เป็นบริการแบบเสียค่าสมาชิก ตัวอย่างเช่น เอสเอพี มีบริการทางเว็บ ที่ประกอบด้วยกว่า 500 บริการสำ�หรับธุรกิจด้านต่างๆ เช่น การเงิน ทรัพยากรบุคคล การขนส่ง การผลิต การจัดซื้อ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ดันแอนด์แบรดสทรีต (Dun & Bradstreet) เป็นผู้ให้บริการด้านการยืนยันที่อยู่ ที่เรียกว่า โกลบอลแอกเซส (GlobalAccess) สามารถตรวจสอบที่อยู่ของลูกค้าได้อย่างละเอียดสมบูรณ์ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำ�คัญอย่างหนึ่งสำ�หรับเว็บไซต์ www.oanda.com ผู้ให้บริการด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นปัจจุบันที่สุด บริษัท ยูพีเอส (UPS) ให้บริการ ติดตามการขนส่งสินค้าเพื่อพิจารณาค่าใช้จ่าย ตำ�แหน่งปัจจุบันของสินค้า และที่อยู่ของผู้รับ เป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพของการทำ�ให้เสร็จตามที่สั่งซื้อ และทำ�ให้ผู้ขนส่งสินค้าสามารถมองเห็นกระบวนการขนส่ง ได้อย่างชัดเจนด้วย
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 4.2.1 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 4.2.1 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 4 ตอนที่ 4.2 เรื่องที่ 4.2.1
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
4-58
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
เรื่องที่ 4.2.2 ภาษาโปรแกรมเว็บ
ธ ส
ม
ดังได้กล่าวมาแล้วว่าเทคโนโลยีไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink technology) สามารถเชื่อมต่อหรือ ลิงก์เอกสารทุกชิ้นที่บรรจุตัวอ้างอิงไฮเปอร์ลิงก์อยู่ จึงทำ�ให้ติดตามและสืบค้นเอกสารได้อย่างต่อเนื่อง ระบบที่นำ�ไฮเปอร์ลิงก์มาใช้ เช่น ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext system) ที่ใช้ในภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hypertext Markup Language - HTML) ซึ่งเป็นภาษามาตรฐานที่ใช้ในการเขียนเว็บไซต์
ม
1. ภาษาเอชทีเอ็มแอล
ธ ส
ม
ธ ส
ในภาษาเอชทีเอ็มแอลจะมีการวางป้ายหรือแท็กเอชทีเอ็มแอล (HTML tags) หรือวางสมอ ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink anchor) สำ�หรับเป็นตัวอ้างอิง (reference) เอาไว้ที่หน้าตัวข้อความหรือ รูปภาพ เปรียบเสมือนกับการใช้ปากกาเน้นสีต่างๆ ไปเน้นบนข้อความธรรมดาให้เป็นหน้าเว็บ เช่น สีแดง ใช้เน้นส่วนที่เป็นหัวเรื่อง สีเหลืองใช้เน้นเพื่อให้เป็นตัวหนา เป็นต้น เพื่อใช้สำ�หรับปรับหัวเรื่อง รายการ หรือเนื้อหา เช่น วางป้าย <h1> หรือสมอไฮเปอร์ลิงก์ไว้หน้าข้อความหนึ่ง และป้าย </h1> ไว้หลังข ้อความ จะทำ�ให้ข้อความนั้นกลายเป็นหัวเรื่องไป เป็นต้น ภาษาเอชทีเอ็มแอลยังมีป้ายสำ�หรับดึงโปรแกรมวัตถุ รูปแบบต่างๆ ที่เก็บในรูปของแฟ้ม เช่น แฟ้มรูปภาพ แฟ้มเสียง และแฟ้มภาพเคลื่อนไหว เพื่อนำ�ไปไว้บน หน้าเว็บได้ด้วย อาจจะกล่าวโดยย่อไ ด้ว่า หน้าเว็บประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ข้อความ (text) ป้าย เอชทีเอ็มแอล (HTML tags) และการอ้างอิงถ ึงแ ฟ้ม (references to files) โดยข้อความ หมายถึงข่าวสาร ป้ายหมายถึงรหัสสำ�หรับปรับรูปแบบของข้อความ และการอ้างอิงถึงแฟ้มหมายถึง การแทรกภาพและสื่อ ต่างๆ ในตำ�แหน่งที่จะกำ�หนดไว้บนหน้าเว็บ เช่น หากบันทึกว่า <h1 align=“center”>มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช</h1> จะปรากฏผล ดังนี้ มหาวิทยาลัยส ุโขทัยธรรมาธิราช โดย เอชทีเอ็มแอล จะวางให้ข้อความอยู่ตรงกลาง ระดับที่ 1 ด้วยอักษรตัวหนา เป็นต้น (h1 หมายถึง ให้ข้อความอยู่ร ะดับที่ 1 เป็นอักษรตัวหนา และ center หมายถึงอยู่กึ่งกลาง) นอกจากนี้ ยังมีภาษาใหม่ๆ ที่ใช้ไฮเปอร์ลิงก์และได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น ภาษาเอ็กซ์เอ็ม แอล (XML - eXtensible Markup Language) ภาษาเอ็กซ์เอชทีเอ็มแอล (XHTML - eXtensible Hypertext Markup Language) ภาษาซีเอสเอส (CSS - Cascading Style Sheets) ภาษาดีเอชที เอ็มแอล (DHTML - Dynamic HTML) และภาษาดับเบิลยูเอ็มแอล (WML - Wireless Markup Language) ซึ่งเป็นภาษาที่ทำ�ให้แสดงหน้าเว็บบนจอภาพขนาดเล็ก เช่น สมาร์ตโฟน และพีดีเอได้
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-59
ธ ส
ภาษาเอ็กซ์เอ็มแอล (XML) เป็นภาษามาร์กอับสำ�หรับเอกสารเว็บที่ประกอบด้วยข้อมูลเชิงโครงสร้าง เช่น ข้อความ และรูปภาพ แต่ไม่มีการใช้ป้าย เช่น <chapter>Hardware <topic>Input Device <topic>Processing and Storage Device <topic>Output Devices ภาษาซีเอสเอส (CSS) เป็นแฟ้ม (file) หรือเป็นส่วนหนึ่งในแฟ้มเอชทีเอ็มแอลที่กำ�หนดรูปแบบ ลักษณะของเนื้อหาที่จะให้ปรากฏบนหน้าเว็บ การใช้ซีเอสเอสทำ�ให้สะดวก เพราะเพียงแต่กำ�หนดราย ละเอียดด้านเทคนิคเพียงครั้งเดียว แทนที่จะวางป้ายต่างๆ แบบเอชทีเอ็มแอล เช่น จากตัวอย่างภาษา เอ็กซ์เอ็มแ อล ข้างต้น อาจใช้ซีเอสเอสกำ�หนดรูปแบบ ดังนี้ Chapter: (font-size: 18; color: blue; font-weight: bold; display: block; font-family: Arial; margin-top: 10pt; margin-left: 5pt) topic: (font-size: 12; color: red; font-style: italic; display: block; font-family: Arial; margin-left: 12pt) การพัฒนาเว็บไซต์รุ่นใหม่ๆ นิยมใช้ซีเอสเอสในการกำ�หนดรูปแบบนำ�เสนอ ใช้เอ็กซ์เอ็มแอลใน การกำ�หนดเนื้อหา และใช้เอ็กซ์เอชทีเอ็มแอลในการรวมเนื้อหาและรูปแบบนำ�เสนอ ดังแสดงในภาพที่ 4.11
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-60
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
แฟ้ม CCS - แบบอักษร - สี - การจัดวาง
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
แฟ้ม XML - เนื้อหา
แฟ้ม X HTML
ธ ส
= CSS + XML
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ภาพที่ 4.11 การสร้างเว็บไซต์ด ้วยเอ็กซ์เอ็มแอล ซีเอสเอส และเอ็กซ์เอชทีเอ็มแอล
ธ ส
2. ภาษาที่ใช้สำ�หรับเขียนโปรแกรมเว็บ
ม
ภาษาที่ใช้สำ�หรับเขียนโปรแกรมเว็บมีอยู่หลายภาษา ที่สำ�คัญและนิยมมาก เช่น ภาษาจาวา (Java) ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented - OO) ทำ�หน้าที่จัดการให้โปรแกรมเล็กๆ หรือ ที่เรียกว่า แอพเพล็ต (applet) สามารถฝังตัวอยู่ในเอกสารเอชทีเอ็มแอลเพื่อให้ดาวน์โหลดได้ บริษัท ซันไมโครซิสเต็ม เป็นผู้พัฒนาภาษาจาวา โดยใช้ภาษาโปรแกรมซีพลัสพลัส (C++) เป็นพื้นฐาน เมื่อผู้ใช้ งานเข้าไปยังเว็บไซต์หนึ่ง แล้วคลิกที่หน้าเอกสารเอชทีเอ็มแอลในตำ�แหน่งที่มีแอพเพล็ตวางอยู่ ก็จะ สามารถดาวน์โหลดข้อมูลนั้นๆ ไปยังเครื่องของผู้ใช้ได้ ภาษาจาวาเป็นภาษาที่สามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์แพลตฟอร์มต่างๆ ได้ทุกแพลตฟอร์ม นอกจากนี้ ภาษาจาวายังช่วยให้หน้าเว็บต ่างๆ มีชีวิตช ีวาขึ้น เช่น การวางข้อความที่มีแสงกะพริบ ภาพขยับตัวหรือเคลื่อนไหวได้ และสามารถปรับแก้ให้เป็นปัจจุบันได้ ทันทีด้วย
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-61
ธ ส
เว็บไซต์บางแห่งเปิดให้บริการเขียนโปรแกรมซอฟต์แวร์บนเว็บ แล้วนำ�ส่งโปรแกรมที่เขียนเสร็จ แล้วไปยังคอมพิวเตอร์ของลูกค้าโดยตรงได้ นอกจากภาษาจาวาแล้ว กิจการหลายแห่งก็ใช้ภาษาโปรแกรม อื่นๆ ในการพัฒนาเว็บไซต์ของตนด้วย เช่น จาวาสคริปต์ (JavaScript) วีบีสคริปต์ (VBScript) และ แอ็กทีฟเอ็กซ์ (ActiveX) ใช้โดยเฉพาะกับอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์โพลเรอร์ เป็นภาษาโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ใช้ นำ�เข้าข้อมูลต่างๆ ได้ นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมที่กำ�ลังได้รับความนิยม เช่น เอแจ็กซ์ (AJAX - Asynchronous JavaScript and XML) ที่ใช้สำ�หรับพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่มีความซับซ้อนบนอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า อาร์ไอเอ (RIA - Rich Internet Application) โปรแกรมที่เขียนจากภาษาเอแจ็กซ์สามารถ ทำ�งานได้ดีทั้งด้านฝั่งลูกข่าย (client side) และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (server side) และการดาวน์โหลดหรือ อัพโหลดก็มีประสิทธิภาพดีด้วย ภาษาพีเอชพี (Hypertext Preprocessor) เป็นภาษาที่เขียนโปรแกรมให้ฝังตัวในรหัสของ เอชทีเอ็มแอลได้โดยตรง สามารถทำ�งานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ แล้วส่งผลลัพธ์ไปยังคอมพิวเตอร์ลูกข่ายได้ ภาษาพีเอชพีเป็นภาษาโปรแกรมที่เปิดรหัสต้นฉบับ หรือโอเพ่นซอร์ส (open source) และยังสามารถ ทำ�งานกับระบบปฏิบัติการประเภทต่างๆ ได้ เช่น ไมโครซอฟต์วินโดวส์ แม็คอินทอชโอเอสเอ็กซ์ (OS X) และฮิวเลตต์แพ็กการ์ดยูนิกซ์ Hewlett-Packard UniX - HP-UX) เป็นต้น และยังทำ�งานร่วมกับระบบ ฐานข้อมูลต ่างๆ ได้ด้วย เช่น ดีบีท ู (DB2) ออราเคิล (Oracle) อินฟอร์มิกซ์ (Informix) และมายเอสคิวแอล (MySQL) เป็นต้น การที่ภาษาพีเอชพีสามารถทำ�งานกับระบบปฏิบัติการและระบบฐานข้อมูลประเภทต่างๆ ได้ จึงเป็นที่นิยมอย่างสูงในบรรดานักพัฒนาเว็บไซต์ทั้งหลาย โปรแกรมอะโดบีแฟลช (Adobe Flash) และไมโครซอฟต์ซิลเวอร์ไลต์ (Microsoft Silver light) เป็นภาษาที่ช่วยในการพัฒนาภาพเคลื่อนไหวและสื่อประเภทโต้ตอบได้ ภาษาโปรแกรมดังกล่าวเป็น โปรแกรมเสริมแบบพลั๊กอิน (plug-in) สำ�หรับเบราเซอร์ โดยผู้ใช้งานจะต้องติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวใน เบราเซอร์ที่คอมพิวเตอร์ฝั่งลูกข่ายของตนก่อน ปัจจุบันเบราเซอร์จำ�นวนไม่น้อยที่ได้ทำ�การรวมโปรแกรม แฟลชไว้ใ นตัวแ ล้วด ้วย แต่ก ารดาวน์โหลดภาพเคลื่อนไหวดังก ล่าวอาจจะต้องใช้เวลานานกว่าก ารดาวน์โหลด ที่เป็นม าตรฐานเอชทีเอ็มแอล นอกจากนี้ ยังม ีภาษาที่ใ ช้เขียนภาพสามมิติ (3D) เช่น วีอาร์เอ็มแอล (VRML - Virtual Reality Modeling Language) ซึ่งสามารถนำ�มาใช้กับเวิลด์ไวด์เว็บได้ด้วย และเป็นมาตรฐานไอเอสโอ (ISO) ต่อมาได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมไปอีกมากมาย ในที่สุดวีอาร์เอ็มแอลก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นเอ็กซ์ทรีดี (X3D) และได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานไอเอสโอเช่นเดียวกัน และวีอาร์เอ็มแอลก็ถูกยกเลิกไป
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
3. การพัฒนาเนื้อหาเว็บ
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
การออกแบบหน้าตาของเว็บไซต์เป็นงานที่จะต้องทำ�ในขีดจำ�กัดด้านเทคนิคของเครื่องมือพัฒนา ต่างๆ เครื่องมือสำ�หรับใช้ในการพัฒนาและบริหารจัดการเว็บไซต์ที่นิยมมาก ได้แก่ ดรีฟวีฟเวอร์ เอ็กซ์ เพรสชั่นเว็บ และเอ็นวียู (Nvu) เครื่องมือการพัฒนาเว็บต่างๆ จะเอื้อให้ผู้พัฒนาใช้งานในลักษณะของการ ประมวลคำ� และยอมให้ปรับแก้โ ค้ดของเอชทีเอ็มแอลได้โดยตรงด้วย
ม
4-62
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
เมื่อได้ทำ�การสร้างหน้าเว็บแล้ว ขั้นต่อไปคือ การพัฒนาเนื้อหาเว็บ (web content) โดยการวาง ข้อความหรือข่าวสารบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ในการแพร่ข่าวสารบนเว็บนั้น นิยมใช้เว็บไซต์ของผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี (ISP – Internet Service Provider) ที่เปิดเว็บไซต์ให้ฟรีโดยไม่คิดค่าบริการ และเว็บโฮสต์ต ิ้ง ซึ่งเป็นธุรกิจที่เปิดบริการให้ใช้พื้นที่หรือทรัพยากรบนเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ของกิจการเพื่อ เปิดเว็บไซต์ โดยคิดค่าบริการประมาณ 500 ถึง 5,000 บาทต่อเดือน เป็นต้น ขึ้นกับบริการและเงื่อนไขที่ ต่างกัน เช่น การนำ�ชื่อโดเมนขึ้นจดทะเบียน การบริการซอฟต์แวร์ออกแบบเว็บไซต์ การทำ�รายงาน และ การติดตามตรวจสอบ รวมถึงขนาดของเนื้อที่บนฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น เป็นวิธีที่เหมาะสำ�หรับกิจการที่มีเงิน ลงทุนน้อยหรือไม่มีทักษะและความรู้ในการสร้างของตนขึ้นมาเองโดยตรง สำ�หรับเว็บไซต์ไอเอสพีที่เปิด เว็บไซต์ให้ฟรีมักจะเปิดฟรีให้กับลูกค้าที่ใช้บริการอื่นของไอเอสพีอยู่แล้ว ส่วนเว็บไซต์ที่ให้ใช้พื้นที่หรือ ทรัพยากรบนเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์โดยไม่คิดบริการนั้นมักจะมีการสอดแทรกโฆษณาต่างๆ ของตนตาม เงื่อนไขที่จะตกลงกันด้วย นักพัฒนาเว็บไซต์บางรายพยายามสร้างโปรแกรมพัฒนาเว็บไซต์โดยประยุกต์หลายเว็บไซต์มา รวมกัน กลายเป็นบริการเว็บไซต์ใหม่ เรียกว่า แมชอัพ (mashup) แมชอัพเป็นชื่อเรียกของกระบวนการ นำ�เพลงประเภทฮิบฮอบ (Hip-Hop) หลายๆ เพลงมาขยำ�รวมกันและผสมกันเป็นเพลงเดียว แต่ในทาง เว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การนำ�เว็บไซต์ที่เสนอข้อมูลอาชญากรรมไปแมชอัพกับเว็บไซต์เกี่ยวกับแผนที่ กลาย เป็นเว็บไซต์ที่มีข้อมูลอาชญากรรมแสดงพร้อมกับแผนที่ของตัวเมือง เป็นต้น กูเกิ้ล (Google) และยาฮู (Yahoo) ต่างก็มีเครื่องมือที่จะช่วยให้นักพัฒนาเว็บไซต์เพื่อทำ�การแมชอัพ ทางกูเกิ้ลจะเรียกว่า แมชอัพ เอดิเตอร์ ( mashup editor) ดูร ายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ editor.googlemashups.com (ซึ่งปิดตัวไ ปแล้ว) ส่วนของยาฮูจะเรียกว่า ไพพ์ (pipes) ดูร ายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ pipes.yahoo.com เป็นต้น กิจการใหญ่ๆ บางแห่งใ ช้บริการระบบจัดการเนื้อหา (Content Management System - CMS) ซึ่งจะต้องเสียค่าบริการ 500,000 ถึง 15,000,000 บาทต่อปี ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของเว็บไซต์ ผู้ให้บริการ ระบบจัดการเนื้อหาชั้นนำ� ได้แก่ บรอดวิชั่น (BroadVision) อีบีที (EBT) ไฟล์เน็ต (FileNet) และวิกเน็ต (Vignette) ระบบจัดการเนื้อหาเหล่านี้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีการปรับปรุงและพัฒนาให้ทันสมัย อยู่เสมอ สำ�หรับบริการระบบจัดการเนื้อหาที่ง่ายและสะดวก เช่น ดอตเน็ต (.Net) ของบริษัทไ มโครซอฟต์ เป็นระบบจัดการเนื้อหาที่สามารถใช้งานร่วมกับภาษาโปรแกรมต่างๆ ได้ และยังประกอบด้วยรหัสโปรแกรม (programming code) จำ�นวนมากมาย เพื่อช่วยในการสร้างเอ็กซ์เอ็มแอล และโปรแกรมประยุกต์ทาง เว็บ นอกจากนี้ ยังมีระบบจัดการเนื้อหาอื่นๆ ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ จาวาเซิร์ฟเวอร์เพจ (Sun Java Server Page) เอเอสพี (Microsoft ASP) และโคลด์ฟิวชั่น (Adobe Cold Fusion)
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4. การบริการทางเว็บ
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
การบริการทางเว็บ หรือเว็บเซอร์วิส (web services) ประกอบด้วย มาตรฐานและเครื่องมือ สำ�หรับใช้ในการปรับปรุงการทำ�งานของเว็บไซต์ และจัดการระบบการสื่อสารระหว่างเว็บไซต์ต่างๆ ให้มี
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-63
ธ ส
ความคล่องตัวสูงขึ้น และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา บริษัทที่ทำ�ธุรกิจทางอินเทอร์เน็ตอย่างอะเมซอน อีเบย์ และกูเกิ้ลต่างก็ใช้บริการทางเว็บด้วย เช่น อะเมซอนได้พัฒนาเว็บเซอร์วิสของอะเมซอน (Amazon Web Service - AWS) ขึ้น เพื่อจัดการกับข้อมูลมหาศาลที่เป็นแคตาล็อกออนไลน์ให้รับและสอดคล้องกับ เว็บไซต์ หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่นๆ ส่วนบริษัทมิตซูบิชิมอเตอร์ในอเมริกาเหนือใช้บริการทางเว็บในการ เชื่อมต่อต ัวแทนจำ�หน่ายรถยนต์กว่า 700 แห่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต เครื่องมือสำ�คัญของการบริการทางเว็บก็คือ ภาษาโปรแกรมเอ็กซ์เอ็มแอล ซึ่งจะคล้ายกับภาษา เอชทีเอ็มแอล ที่ใช้เป็นมาตรฐานในการปรับเนื้อหาเว็บให้กลายเป็นหน้าเว็บ แต่เอ็กซ์เอ็มแอลจะทำ�หน้าที่ ส่งผ ่านข้อมูลร ะหว่างโปรแกรมประยุกต์ข องบริการทางเว็บท ีอ่ ยูภ่ ายในหน้าเว็บ ภาษาโปรแกรมเอ็กซ์เอ็มแอล เป็นภาษาที่ใช้งานง่ายและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากภาษาโปรแกรมเอ็กซ์เอ็มแอลแล้ว ยังมีเครื่องมือที่สำ�คัญอีก 3 องค์ป ระกอบ ได้แก่ 4.1 โซพ (SOAP - Simple Object Access Protocol) เป็นข้อกำ�หนดคุณสมบัติของรูปแบบของ ข้อความในเอ็กซ์เอ็มแอล ซึ่งโซพจะช่วยให้คู่ค้าและลูกค้าสามารถสื่อสารถึงกันได้ โดยวางแนวทางปฏิบัติ ให้ง่ายต่อการส่งข้อมูลและสารสนเทศระหว่างกันผ ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 4.2 ดับเบิลยูเอสดีแอล (WSDL - Web Services Description Language) เป็นภาษาโปรแกรม ที่ทำ�ให้โปรแกรมประยุกต์บริการเว็บสามารถบรรจุรายละเอียดได้มากพอ สำ�หรับผู้ใช้งานนำ�ไปสร้าง โปรแกรมประยุกต์ให้คุยก ันได้ หรือกล่าวอีกนัยห นึ่งก็คือ เป็นภาษาโปรแกรมที่จัดการให้ส่วนประกอบของ ซอฟต์แวร์แต่ละซอฟต์แวร์ส ามารถเชื่อมต่อและทำ�งานประสานกันได้โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ต 4.3 ยูดีดีไอ (UDDI - Universal Discovery Description and Integration) เป็นเครื่องมือที่ใช้ สำ�หรับการลงทะเบียนโปรแกรมประยุกต์บริการเว็บต่างๆ ที่อยู่ในสารบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้งาน สามรถสืบค้นได้ง ่ายและรวดเร็วใ นการทำ�รายการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 4.2.2 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 4.2.2 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 4 ตอนที่ 4.2 เรื่องที่ 4.2.2
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
4-64
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
เรื่องที่ 4.2.3 การรักษาความมั่นคงของข้อมูลและองค์กร
ธ ส
ม
ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2545 การดูแลและรักษาความมั่นคงของข้อมูลจะทำ�แบบตั้งรับ กล่าวคือ เมื่อมี ปัญหาเกิดขึ้นครั้งหนึ่งก็จะทำ�การแก้ไขกัน เช่น เมื่อพบว่ามีไวรัสคอมพิวเตอร์เข้ามาในระบบ ก็จะดำ�เนิน การแก้ไขล้างส่วนที่มีปัญหา แทนที่จะหามาตรการมาป้องกัน เพราะคิดว่าจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย แต่ไม่ได้ คิดว่านั่นเป็นการลงทุนเพื่อป้องกันการหยุดชะงักของธุรกิจ และเป็นประโยชน์ต่อการรับผิดชอบของ ผู้บริหาร มีผู้วิจัยพบว่า โดยรวมแล้วการแก้ไขปัญหาเหล่านี้เสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าการลงทุนติดตั้งระบบ รักษาความมั่นคงข้อมูลข องไอทีเสียอีก ระบบรักษาความมั่นคงข้อมูล นอกจากจะช่วยเรื่องการป้องกันก าร โจมตีห รือบุกรุกทางเครือข่ายจากบุคคลภายนอกแล้ว ยังสามารถป้องกันการฉ้อโกงภายในองค์กรได้ด้วย ภัยคุกคามต่อความมั่นคงข้อมูลมีหลายรูปแบบและมีความยากง่ายหลายระดับ ตั้งแต่ระดับที่ใช้ เทคโนโลยีชั้นสูงบุกรุกเข้ามาทางเครือข่ายและเจาะฐานข้อมูลเพื่อดูดความลับไป จนถึงระดับง่ายๆ เช่น การขโมยแผ่นดิสก์ อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ และเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เป็นต้น ซึ่งวิธีง่ายๆ เหล่านี้ มักจะเกิดจากพนักงานภายในเพราะจะรู้ลู่ทางต่างๆ เป็นอย่างดี และจะมีข่าวในเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยๆ อีกทั้งข้อมูลต่างๆ ก็อยู่กระจัดกระจายไปทั่วองค์กร และบ้างก็ไปอยู่นอกองค์กรจากการที่จะต้องสื่อสาร ออกไป ดังน ั้น การควบคุมการผ่านเข้าออกห้องต่างๆ และตัวอ าคาร จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ การที่ไอทีมีความก้าวหน้ามากขึ้นอย่างรวดเร็ว เวลาที่ภัยมาถึงก็จะสั้นลง เช่น ไวรัสสายลับ หรือ สปายแวร์ (Spyware) ตัวใหม่สามารถใช้เวลาแพร่กระจายลดลงจากเดิมเป็นเดือนลงมาเป็นวัน เวลาที่ภัย มาถึง (time-to-exploitation) คือ เวลาที่นับตั้งแต่มีการค้นพบจุดอ่อน (vulnerability) จนถึงเวลาที่ เหตุการณ์ปรากฏ มีการค้นพบจุดอ่อนในซอฟต์แวร์ต่างๆ อยู่เรื่อยๆ เช่น ในซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ ระบบ เครือข่ายสื่อสารทั้งมีสายและไร้สาย และโปรแกรมประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็กซ์พี ทีค่ ้นพ บจุดอ ่อนมากมาย จึงต ้องเขียนโปรแกรมต่างๆ (service pack) มาแก้ไข จนต้องพัฒนาไปเป็นว ินโ ดวส์ วิสต้า และวินโ ดวส์เซเว่น จุดอ่อนในซอฟต์แวร์ต ่างๆ คือช่องโหว่ที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกทางไอที และทำ�ให้ ธุรกิจได้รับความเสียหาย ทั้งการทำ�งานที่ต ้องหยุดชะงักและการเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ป้องกันค่อนข้างยากยิ่ง อุตสาหกรรมหลายกลุ่มได้พยายามหาทางป้องกันการถูกบุกรุกดังกล่าว เช่น ในปี พ.ศ.2550 กลุ่มธุรกิจบัตรเครดิต ได้แก่ บริษัทวีซ่า มาสเตอร์การ์ด อเมริกันเอ็กซ์เพรส และดิสคัฟเวอร์ ได้จับกลุ่มกัน ลงทุนส ร้างระบบป้องกันขึ้น เรียกว่า มาตรฐานระบบพีซีไอดีเอสเอส (PCIDSS - Payment Card Industry Data Security Standard) เพื่อป ้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกค้า ความน่าเชื่อถือ และภาพพจน์ ของธุรกิจ โดยกำ�หนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตั้งแต่บริษัทตัวแทนและร้านค่าที่รับบัตร จะต้องติดตั้ง ระบบพีซีไอดีเอสเอสในการรับส่งข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้า ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องถูกปรับและเรียก ค่าเสียหายต่อไป
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
1. การบริหารความมั่นคงระบบสารสนเทศ
4-65
ธ ส
วัตถุประสงค์หลักของการบริหารความมั่นคง คือการพิทักษ์รักษาอุปกรณ์ทั้งหมดของระบบ สารสนเทศ ที่สำ�คัญได้แก่ ข้อมูลซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเครือข่ายสื่อสาร การที่จะดำ�เนินการตาม วัตถุประสงค์ดังกล่าวให้ไ ด้ดีนั้น จะต้องมีความเข้าใจกระบวนการและจุดมุ่งหมายของธุรกิจเสียก่อน ซึ่งจะ เป็นหลักหรือรากฐานในการกำ�หนดกลยุทธ์การรักษาความมั่นคง การวางกลยุทธ์ความมั่นคงและการควบคุมนั้น จะต้องวิเคราะห์ว่าอะไรบ้างที่จำ�เป็น จะต้อง ป้องกันและวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ หมายความว่า ระบบคอมพิวเตอร์ไม่ควรลงทุนมากเกินไป และน้อยเกินไป วัตถุประสงค์ข องการวางกลยุทธ์ค วามมั่นคงที่สำ�คัญ ได้แก่ 1.1 การป้องกันและการขัดขวาง (prevention and deterrence) การวางแผนการควบคุมที่ดี ทำ�ให้ความผิดพลาดที่จะเกิดลดลง และขัดขวางการบุกรุกได้ นอกจากนั้น ยังป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่ได้รับ อนุญาตเข้าถึงได้ นี่ค ือหัวใจที่ส ำ�คัญ 1.2 การตรวจจับ (detection) หากสามารถตรวจจับได้เร็ว การรับมือก็จะง่ายขึ้น และความ เสียหายก็จะน้อยกว่า การตรวจจับส่วนมากต้องอาศัยซอฟต์แวร์ช่วย 1.3 การจำ�กัดอาณาเขต (containment) วัตถุประสงค์ก็คือ ควบคุมให้ความเสียหายที่จะเกิด เกิด น้อยที่สุด หรือบางครั้งก็เรียกว่า การควบคุมความเสียหาย (damage control) วิธีที่นิยมกันก็คือ การใช้ ระบบทนเสีย (fault-tolerant system) คือระบบที่ยังทำ�งานได้เมื่อมีอุปกรณ์บางส่วนชำ�รุด แต่อาจทำ�งาน ช้าลง มิฉ ะนั้นก ็จะต้องมีความพร้อมที่จะทำ�การกู้ร ะบบให้คืนสู่ปกติอย่างรวดเร็ว 1.4 การกู้ระบบคืนสู่สภาพเดิม (recovery) กำ�หนดวิธีการที่จะกู้ระบบให้คืนสู่สภาพเดิมอย่าง รวดเร็วเมื่อมีค วามเสียหายเกิดขึ้น การเปลี่ยนส่วนที่ชำ�รุดจะรวดเร็วก ว่าการนำ�ไปซ่อมแซม 1.5 การแก้ไข (correction) การแก้ไขที่ตรงสาเหตุข องส่วนที่ชำ�รุดเสียหายจะทำ�ให้สามารถป้องกัน ปัญหาไม่ให้เกิดซ ้ำ�ๆ ได้ 1.6 การรับรู้และการปฏิบัติตามกฎ (awareness and compliance) พนักงานทุกคนทุกระดับทั้ง องค์กรจะต้องผ่านการอบรมให้ตระหนักเรื่องความมั่นคงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น และจะต้องถือ ปฏิบัติโ ดยเคร่งครัด การวางกลยุทธ์ความมั่นคงนั้นจะต้องมีการควบคุมป้องกันต่างๆ ซึ่งอาจแบ่งเป็น การควบคุม ทั่วไป และการควบคุมโปรแกรมประยุกต์ ดังแ สดงในภาพที่ 4.12
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-66
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
การควบคุมป้องกัน
ธ ส
การควบคุมทั่วไป
ม
กายภาพ การเข้าถึง
โปรแกรมประยุกต์
ตรวจชีวมิติ
ธ ส
ควบคุมเว็บ
ความมั่นคง การสื่อสาร การบริหาร
ธ ส
อื่นๆ
ม
ม
รับรอง
ม
การนำ�เข้า
การประมวลผล การนำ�ออก
ตรวจชีวมิติ
ธ ส
เข้ารหัส
ตรวจสายไฟ ไฟร์วอลล์
ธ ส ป้องกันไวรัส
ภาพที่ 4.12 กลยุทธ์ก ารความคุมป ้องกัน
ม
ม
การควบคุมทั่วไป (general control) เป็นการควบคุมเพื่อป้องกันระบบสารสนเทศโดยรวม เช่น การป้องกันอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ และการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่สำ�คัญได้แก่ การควบคุมกายภาพ การควบคุมการเข้าถึง การควบคุมด้วยการบริหาร 1) การควบคุมกายภาพ (physical control) หมายถึ ง ก ารป้ อ งกั น ท รั พ ยากรต่ า งๆ เช่ น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทั้งฮ าร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่ายสื่อสาร หนังสือคู่มือ อาคารสถานที่ และสิ่งอำ�นวย ความสะดวกต่างๆ ให้พ้นจากภัยอ ันตรายต่างๆ เช่น ภัยธรรมชาติ อัคคีภัย และภัยจากมนุษย์ เป็นต้น 2) การควบคุมการเข้าถึง (access control) หมายถึงการบริหารบุคลากรที่กำ�หนดว่าผู้ใด จะได้รับอนุญาตหรือไม่อนุญาต ให้ใช้ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์อะไร การติดตั้งระบบควบคุมการเข้าถึง ต่างๆ เช่น บัตรผ่านเข้าออกประตู และไฟร์วอลล์ เป็นการจำ�กัดการเข้าถึงเครือข่ายสื่อสาร ฐานข้อมูล แฟ้ ม ข้ อ มู ล เป็ น ต้ น เป็ น การป้ อ งกั น ที่ สำ � คั ญ อ ย่ า งห นึ่ ง ต่ อ ผู้ ที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ อ นุ ญ าตทั้ ง คนใ นแ ละค นนอก การควบคุมการเข้าถ ึงท ำ�หน้าที่ 2 ประการ คือ การพิสูจน์ตัวบุคคล (authentication) ที่เรียกกันว่า ตรวจ เลขประจำ�ตวั ผูใ้ ช้ (User Identification - user ID) และการอนุญาตหรือให้สทิ ธิต์ ามทกี่ �ำ หนด (authorization)
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-67
ธ ส
การพิสูจน์ตัวบุคคล โดยใช้อุปกรณ์ม ีอยู่หลายวิธี เช่น ตรวจบัตรสมาร์ตการ์ด หรือโทเค็น (token) ตรวจ รหัสผ่าน และตรวจลายเซ็น หรือลายนิ้วมือ หรือชีวมิติอื่นๆ เป็นต้น 3) การควบคุมด้วยการบริหาร (administrative control) การควบคุมที่ได้กล่าวมาข้างต้น เป็นการควบคุมทางเทคนิคที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย แต่การควบคุมด้วยการบริหาร หมายถึงควบคุมตาม ข้อกำ�หนดด้านคุณสมบัติต่างๆ เช่น ความชำ�นาญ ผ่านเกณฑ์อบรม (ใช้กับฝ่ายเทคนิค) ประวัติความ ประพฤติ การวางหลักประกัน (ใช้ก ับฝ่ายการเงิน) เป็นต้น การควบคุมโ ปรแกรมประยุกต์ (application control) โปรแกรมประยุกต์ส ่วนใหญ่ไ ม่ไ ด้ถ ูกอ อกแบบ ให้รองรับการบุกรุกโจมตีได้ ดังนั้น เพื่อให้โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ สามารถรอดพ้นจากการถูกบุกรุกหรือ โจมตี จึงได้มีการนำ�เทคโนโลยีตัวแทน หรือเอเยนต์ (agent technology) มาทดแทนวิธีการประมวลผล ข้อมูล เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ทำ�งานโดยอัตโนมัติในลักษณะของซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ เรียกว่า ตัวแทน อัจฉริยะ (intelligent agent) โดยสามารถจัดการปรับต ัวในการรับมือกับการบุกรุกได้ระดับหนึ่ง
ธ ส
ม
ม
2. จุดอ่อนระบบสารสนเทศและภัยคุกคาม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ความผิดพลาดในการบริหารความมั่นคงข้อมูลประการหนึ่งก็คือ การมองข้ามหรือไม่ให้ความ สำ�คัญในเรื่องของจุดอ่อนระบบสารสนเทศ (vulnerability) และภัยคุกคาม (threat) พนักงานส่วนใหญ่ ที่ใช้พีซีในการทำ�งานมักจะใช้ในเรื่องหย่อนใจด้วย และบางครั้งก็จะใช้ทั้งทำ�งานและเล่นไปพร้อมกัน หรือ ช่วงนอกเวลางานอาจใช้พีซีท่องอินเทอร์เน็ตตามความเคยชิน ซึ่งเป็นจุดอ่อนและมีความเสี่ยง แม้ว่าจะ ละเมิดต่อการยินยอมรับนโยบายก็ตาม ภัยประเภทนี้อาจจำ�แนกเป็นภัยที่เกิดโดยไม่ตั้งใจ และภัยที่เกิด โดยตั้งใจ 2.1 ภัยที่เกิดโดยไม่ตั้งใจ แบ่งออกเป็น 3 จำ�พวกคือ ภัยจากความผิดพลาดของมนุษย์ ภัยจาก สิ่งแวดล้อม และภัยจากระบบคอมพิวเตอร์ชำ�รุด กล่าวคือ - ภัยจากความผิดพลาดของมนุษย์ (human errors) เป็นภัยที่มีบทบาทมาก ความผิดพลาด อาจเกิดจากการออกแบบฮาร์ดแวร์ หรือระบบสารสนเทศ หรือเกิดจากการเขียนโปรแกรม การบันทึก ข้อมูล การทดสอบ คู่มือป ฏิบัติผิด การไม่เปลี่ยนรหัสผ่านตามกำ�หนด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ประการหนึ่ง - ภัยจากสิ่งแวดล้อม (environmental hazards) เช่น แผ่นดินไหว พายุ น้ำ�ท่วม ไฟฟ้าดับ ไฟไหม้ ควันมาก การระเบิด น้ำ�รั่ว เครื่องปรับอากาศชำ�รุด เครื่องระบายความร้อนชำ�รุด เป็นต้น ภัย จำ�พวกนี้อาจรุนแรง และทำ�ให้เกิดความเสียหายมากก็ได้ - ภัยจากระบบคอมพิวเตอร์ชำ�รุด (computer system failures) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีอายุ การใช้งาน และอาจชำ�รุดตามเวลา บางรุ่นบางยี่ห้ออาจผลิตไม่ได้มาตรฐาน หรือพนักงานขาดประสบการณ์ และการบำ�รุงรักษาไม่เพียงพอ ก็จะชำ�รุดเร็วขึ้น 2.2 ภัยที่เกิดโดยตั้งใจ เช่น การโจรกรรมข้อมูล การแก้ไขข้อมูลโดยมิชอบ การขโมยโปรแกรม การกระทำ�โดยพลการ เช่น การบันทึกข้อมูล การประมวลผล การถ่ายโอนโปรแกรมและข้อมูล การ นัดหยุดงาน การก่อจราจล การก่อวินาศกรรม การปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าระบบ เป็นต้น รวมทั้งการ
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-68
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
บุกรุกจากทางอินเทอร์เน็ต เรียกว่า อาชญากรรมไซเบอร์ (cybercrime) เช่น พวกแฮกเกอร์ (hacker) และแครกเกอร์ (cracker) เป็นต้น แฮกเกอร์ คือพวกที่สามารถแอบเจาะเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์ได้ ส่วนแครกเกอร์ คือแฮกเกอร์ที่เข้าไปเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือฝังไวรัสคอมพิวเตอร์ไว้เพื่อทำ�ให้เกิด ความเสียหาย นับเป็นภัยที่อันตรายอย่างยิ่งต่อองค์กร แฮกเกอร์และแครกเกอร์ยังมีกลวิธีต่างๆ ในการ ล้วงข้อมูลและความลับ เช่น การชักจูงบุคลากรภายในให้มาร่วมมือกัน อาจจะด้วยการชักชวน หว่านล้อม หรือว่าจ้าง วิธีนี้เรียกว่า วิศวกรรมสังคม (social engineering) และส่วนมากจะไม่ติดต่อแบบพบหน้า กัน แต่จ ะใช้โทรศัพท์ ข้อความสั้น หรืออ ีเมล การบุกโจมตีระบบคอมพิวเตอร์มีหลายรูปแบบ ที่พบกันมากมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ การแก้ไขข้อมูล และการโจมตีโปรแกรม กล่าวคือ - การแก้ไขข้อมูล (data tempering) คือการแอบเข้าไปใส่ข้อมูลปลอมที่สร้างขึ้น หรือแก้ไข หรือเปลี่ยนข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ภัยจากการแก้ไขข้อมูลนี้เป็นภัยที่สร้างความเสียหายมาก และ ค่อนข้างจะค้นพ บยากเพราะแนบเนียน ส่วนมากมักจะเป็นคนภายในจะมีส่วนร่วม - การโจมตีโปรแกรม (programming attacks) คือการเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงโปรแกรม หรือฝังโปรแกรมแปลกปลอมในเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น โดยใช้เทคนิคการเขียนโปรแกรมชั้นสูง และจะ ต้องมีความรู้และความชำ�นาญในระบบคอมพิวเตอร์น ั้นๆ ด้วย ที่พบกันบ่อยๆ เช่น ไวรัสชนิดต่างๆ เวิร์ม (worm) และม้าโทรจัน (trojan horse) เป็นต้น ซึ่งนิยมเรียกรวมๆ กันว่า มัลแวร์ (malware) หรือพวก ตัวร้าย เป็นโ ปรแกรมที่ส ามารถแฝงตัวเกาะไปกับโปรแกรมอื่นๆ ไวรัส เป็นพวกตัวร้ายที่สามารถทำ�งานด้วยตัวเองตามกำ�หนดเวลาที่ตั้งไว้ เช่น วันสำ�คัญ เป็นต้น แล้วจะทำ�ให้โปรแกรมในคอมพิวเตอร์เสียหาย ทำ�งานผิดพลาด เวิร์ม คือพวกตัวร้ายที่ทำ�ให้คอมพิวเตอร์ทำ�งานเชื่องช้าลง และสามารถแพร่กระจายในเครือข่าย สื่อสารเข้าอีเมล หรืออุปกรณ์ไร้ส ายต่างๆ ได้ ม้าโทรจัน คือพวกตัวร้ายที่เป็นประเภทบุคคลภายใน (backdoor) ที่เปรียบว่าสามารถแอบเข้า ทางประตูหลังบ้านได้ โดยไวรัสโทรจันจะเข้ามาแอบฝังตัวในคอมพิวเตอร์ ทำ�ให้แฮกเกอร์สามารถสวมรอย ปลอมตัวแสดงตนเป็นเจ้าของบัญชี แล้วทำ�การส่งรายการต่างๆ ผ่านเครือข่ายออกไปได้ ม้าโทรจันเป็น ชื่อม้าในประวัติศาสตร์ ที่กองทัพกรีกพยายามบุกเข้าตีเมืองทรอยนานสิบกว่าปีไม่สำ�เร็จ จึงทำ�ทียอมแพ้ มอบของกำ�นัลเป็นม้าโทรจันให้ เป็นม้าที่ทำ�ด้วยไม้ขนาดใหญ่โตมาก แต่ภายในแอบซ่อนทหารไว้ เมื่อ มอบแล้วก็ถอยทัพกลับ ทหารทรอยจึงเข็นม้าเข้าเมือง ตกค่ำ�ทหารกรีกที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ก็ออกมา และ สามารถยึดเมืองได้สำ�เร็จ ไวรัสที่แอบซ่อนอยู่ในคอมพิวเตอร์จึงเปรียบดังม้าโทรจันนั่นเอง โทรจันรุ่นใหม่ คือ แรต (RAT - Remote Administration Trojan) สามารถควบคุมการทำ�งานของคอมพิวเตอร์จาก ที่อ ื่นไ ด้ พวกตัวร้ายอีกพวกหนึ่งคือ การโจมตีให้หยุดทำ�งาน หรือดีโอเอส (DoS - Denial of Service) ทำ�การโจมตีคอมพิวเตอร์ด้วยการส่งข้อมูลขยะผ่านเว็บเข้าไปซ้ำ�ๆ จนเกินกำ�ลังของคอมพิวเตอร์ที่จะรับได้ และหยุดท ำ�งานไป และยังส ามารถฝังต ัวไว้ให้คอมพิวเตอร์เป็นบ็อตด้วย
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-69
ธ ส
บ็อต (bot) คือค อมพิวเตอร์ท ตี่ ิดไ วรัสซ อฟต์แวร์ห ุ่นย นต์โ ดยไม่รตู้ ัว กลายเป็นผ ดี ิบซ อมบี (Zomby) ซึ่งจะถูกควบคุมผ่านระบบอินเทอร์เน็ต รวมเป็นเครือข่ายบ็อต เรียกว่า บ็อตเน็ต (botnet) หรือเครือข่าย ซอมบี โดยผู้ควบคุมทำ�หน้าที่เป็นนายใหญ่ (botmaster หรือ bot header) จะคอยออกคำ�สั่งโจมตี เช่น การโจมตีด้วยสทอร์มเวิร์ม (storm worm) เช่น การส่งอีเมลสแปม (Spam e-mail) ไปทั่วโลก นอกจากนี้ ยังพ บการโจมตีด้วยตัวร้ายอื่น เช่น - สปายแวร์ (spyware) เป็นซอมบีที่สามารถแอบดูหรือโจรกรรมข้อมูลทางการเงิน - แอดแวร์ (adware) เป็นซอมบีที่สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมโฆษณา หรือเปลี่ยนเว็บไซต์ ไปเป็นเว็บไซต์อ ื่น - สแปม (spam) เป็นอีเมลขยะที่ส่งมาจากซอมบี หากไม่รู้ตัวอ าจกลายเป็นซอมบีไปด้วย - ฟิชชิ่ง (phishing) เป็นซอมบีที่สามารถเข้าไปฝังตัวในเซิร์ฟเวอร์ที่ไม่มีการป้องกันที่ดี แล้วจะส่งอีเมลหลอกว่าเป็นผู้ดูแลเว็บ และขอข้อมูลต่างๆ ผู้ไม่รู้เรื่องอาจเสียรู้แล้วบอกข้อมูลส่วนตัว ให้ก็มี - ดีโอเอสแอ็ตแท็ก (DoS attack) เป็นซอมบีที่สามารถโจมตีด้วยข้อมูลจำ�นวนมากจน คอมพิวเตอร์ต้องหยุดทำ�งาน การป้องกันการบุกโจมตี เนื่องจากมัลแวร์และบ็อตเน็ตใช้วิธีโจมตีหลายรูปแบบ การป้องกันจึง ต้องหาเครื่องมือหลายอย่างเพื่อดักจับและกำ�จัดหรือจำ�กัดการทำ�งาน เครื่องมือป้องกันที่นิยมจัดได้เป็น 3 ประเภท คือ 1) เทคโนโลยีต่อต้านมัลแวร์ (anti-malware technology) คือเครื่องมือที่เป็นซอฟต์แวร์ คอยดักจับรหัสแปลกปลอมร้าย (malicious code) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้เผลอไปดาวน์โหลด และยัง สามารถตรวจจับพวกตัวร้ายต่างๆ ที่สิงในคอมพิวเตอร์ได้ เช่น ไวรัสชนิดต่างๆ เวิร์ม และโทรจัน เป็นต้น แต่ก็ไม่สามารถป้องกันไวรัสตัวใหม่ที่ปล่อยวันแรก (Zero-day exploits) เพราะยังไม่รู้จักลักษณะและ การทำ�งานของมัน 2) ระบบตรวจจับการบุกรุก (Intrusion Detection System - IDS) คือระบบตรวจจับความ ผิดปกติของการไหลของข้อมูล เช่น เมื่อถูกโจมตีด้วยดีโอเอส ระบบตรวจจับการบุกรุกก็จะแจ้งให้ผู้ดูแล ทราบ เพื่อที่จะเข้ากระบวนการรับมือ เช่น ทำ�การเปลี่ยนหมายเลขไอพี (IP address) และแยกเซิร์ฟเวอร์ ที่ถูกโ จมตีออก และดำ�เนินการแก้ไข 3. ระบบป้องกันการบุกรุก (Intrusion Prevention System - IPS) คือระบบที่สามรถตรวจจับ และวิเคราะห์ล ักษณะการโจมตีด้วยดีโอเอส และเมื่อตรวจพบการโจมตี ระบบก็สามารถตัดสินใจทำ�การปิด หมายเลขไอพีได้โดยอัตโนมัติด้วย
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
3. ความมั่นคงด้านเครือข่ายสื่อสาร
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ระบบสารสนเทศจะต้องมีการติดตั้งเครื่องมือควบคุมการเข้าถึงเครือข่าย หรือเอ็นเอซี (NAC Network Access Control) เครื่องมือเอ็นเอซีจะต่างจากเทคโนโลยีการป้องกันแบบเดิมๆ ที่มุ่งป้องกัน
4-70
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
เฉพาะแต่การเข้าถึงแฟ้มข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์เพียงป้องกันส่วนที่เป็นข้อมูลท่านั้น แต่ไม่อาจป้องกันการ บุกรุกตั้งแต่ต้นได้ แต่เทคโนโลยีเอ็นเอซีสามารถป้องกันเครือข่ายสื่อสารข้อมูลจากอาชญากรรมได้ ระบบ รักษาความมั่นคงเครือข่ายมีมาตรการในการทำ�งานอยู่ 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นที่ 1 การป้องกันพื้นที่ (perimeter security) เป็นการป้องกันความมั่นคงของเครือข่าย เช่น มีการสแกนและป้องกันไวรัส และมัลแวร์ ติดตั้งระบบไฟร์วอลล์ป้องกันการบุกรุก มีการป้องกันดีโอเอส เป็นต้น ชั้นที่ 2 การพิสูจน์ตัวบุคคล (authentication) เช่น เป็นการป้องกันการเข้าถึงทางอินเทอร์เน็ต มีการตรวจเลขประจำ�ตัวผู้ใช้ (User ID) เพื่อพิสูจน์ตัวจริงของบุคคลที่กำ�ลังจะมาใช้งานด้วยวิธีต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว บางกรณีที่เข้มงวดมาก ก็จะเพิ่มการตรวจสอบหลายอย่าง เช่น ตรวจเลขประจำ�ตัวผู้ใช้ และตรวจสอบชีวม ิติด้วย ชั้นที่ 3 การให้อนุญาต (authorization) เป็นการตรวจสอบสถานะของผู้ปฏิบัติงานตามอำ�นาจ ที่กำ�หนดไว้ในระเบียบขององค์กร ผลิตภัณฑ์รักษาความมั่นคงเครือข่ายที่สามารถทำ�งานทั้ง 3 ชั้น มีจำ�หน่ายมากมายในท้องตลาด เช่น เว็บช ิลด์ (WebShield) ของแม็กอาฟี (McAfee) เป็นต้น การรักษาความมั่นคงเครือข่ายไร้สาย มีความยุ่งยากมากกว่าการรักษาความมั่นคงเครือข่าย ประเภทมสี าย เนื่องจากเครือข ่ายอาจเข้าถ ึงท างอากาศได้โ ดยการดักเชื่อมต่อตามจุดบ ริการไร้ส าย (Wireless Access Point - WAP หรือ AP) ต่างๆ เพื่อบุกรุกไปยังคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ แต่จุดบริการบางจุดก็เป็น ของเหล่าม ิจฉาชีพท ี่ค อยหลอกลวงให้บ ุคคลทั่วไปเข้าม าเชื่อมเครือข ่ายอินเทอร์เน็ตแ ล้วค อยดักข โมยข้อมูล ดังน ั้น ข้อมูลที่ม ีความสำ�คัญม ากจะต้องมีการเข้ารหัส (encrypt) เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมและนำ�ไปใช้
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม ม
ธ ส
ภาพที่ 4.13 จุดต รวจสอบความมั่นคงไอที
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-71
ธ ส
4. การควบคุมภายใน และการปฏิบัตติ ามกฎหมาย
การตรวจสอบภายใน ดังได้กล่าวมาแล้วว่าการตรวจสอบภายในสามารถป้องกันการฉ้อโกงต่างๆ ได้ จึงต้องจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายในที่มีอิสระในการทำ�การขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 5 ประการ คือ - ความน่าเชื่อถือข องรายงานทางการเงิน - ประสิทธิภาพในการดำ�เนินงาน - การปฏิบัติตามกฎหมาย - การปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบ - การพิทักษ์ส ินทรัพย์ การตรวจสอบภายในที่ดีจะต้องดำ�เนินการให้สอดคล้องกับซ็อกซ์ (SOX - Sarbanes–Oxley, Sarbox) ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการฉ้อโกงของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะทำ�ให้มีการทำ�รายงานทาง ธุรกิจที่ดี และทำ�ให้เปิดเผยการละเมิดมาตรฐานการทำ�บัญชีแก็พ (GAAP - Generally Accepted Accounting Principles) ด้วย ทำ�ให้สามารถค้นหาต้นเหตุของการฉ้อโกงได้ ระบบสารสนเทศและ ซอฟต์แวร์จะช่วยให้การค้นหาทำ�ได้อย่างรวดเร็ว
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
5. การวางแผนการกู้คืนสภาพและแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ม
ม
ธ ส
ม
ภัยต่างๆ มักจะเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ การเตรียมพร้อม ซึ่งปัจจัย ที่สำ�คัญประการหนึ่งก็คือ แผนความต่อเนื่องของธุรกิจ บางครั้งก็เรียกว่า แผนการกู้คืนสภาพ (Disaster Recovery Plan - DRP) ซึ่งเป็นแผนที่กำ�หนดกระบวนการต่างๆ เพื่อที่จะทำ�ให้ธุรกิจสามารถดำ�เนินการ ต่อไปได้เมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติเกิดขึ้น ระบบสารสนเทศอาจได้รับความเสียหายหรือถูกทำ�ลายโดย สิ้นเชิง จึงต้องมีการวางมาตรการป้องกันภัยพิบัติและแผนการกู้คืนสภาพที่เหมาะสม ซึ่งบริษัทประกันภัย อาจปฏิเสธการรับประกันภัยได้หากกิจการนั้นไม่ไ ด้มีการวางแผนป้องกันภัยและแผนการกู้คืนสภาพที่ดี แผนการกู้คืนสภาพ เป็นแผนกำ�หนดลำ�ดับการปฏิบัติเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจและนำ�ไปสู่ แผนการป้องกันภัยพ ิบัติแ ละการกู้คืนส ภาพ โดยมีแนวคิดที่สำ�คัญๆ ดังนี้ - วัตถุประสงค์ข องการวางแผนความตอ่ เนือ่ งทางธรุ กิจค อื เพือ่ ท �ำ ให้ธ รุ กิจส ามารถด�ำ เนินการ ต่อไปได้หลังจากที่เหตุฉุกเฉินหรือภัยพ ิบัติเกิดขึ้น โดยยังสามารถให้บริการที่จำ�เป็นทางธุรกิจได้ - แผนการกคู้ นื ส ภาพ จะตอ้ งเป็นส ว่ นหนึง่ ข องการปอ้ งกันส นิ ทรัพย์ และเป็นค วามรบั ผ ดิ ชอบ ของทุกหน่วยงานในองค์กรที่จ ะต้องป้องกันส ินทรัพย์ของตน - การวางแผนควรเริ่มตั้งแต่การกู้คืนสภาพจากการสูญเสียทั้งหมด - แผนการกู้คืนสภาพจะต้องรับกับสภาพปัจจุบัน โดยวิเคราะห์เชิงคำ�ถาม “ถ้า-อะไร” (What-If Analysis) - โปรแกรมประยุกต์สำ�คัญจะต้องถูกกำ�หนดอยู่ในแผน
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
4-72
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
- จะต้องเขียนแผนขึ้นให้ชัดเจน มีการเก็บรักษาให้ดี และแจกจ่ายแก่หัวหน้างานทุกหน่วย รวมทั้งบนอินเทอร์เน็ตด้วย เพื่อส ามารถใช้ดูป ระกอบได้ในยามฉุกเฉิน - กำ�หนดการทบทวนแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจเป็นร ะยะ การวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจเป็นงานที่ต้องใช้เวลาพอสมควร ดังนั้น ควรมีซอฟต์แวร์ที่ เกี่ยวกับการวางแผนนี้ จะช่วยให้การวางแผนทำ�ได้อย่างรวดเร็วขึ้น
ธ ส
ม
6. การบริหารความเสี่ยงและการตรวจสอบ
ธ ส
ม
การบริหารจัดการการควบคุมในองค์กรนับเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อนอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในองค์กรขนาดใหญ่ หรือองค์กรที่มีสาขามากมาย การบริหารการควบคุมในองค์กรที่สำ�คัญมี 3 ประการ คือ การตรวจสอบระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ความเสี่ยง และการรักษาความมั่นคงระบบ สารสนเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดมั่นใจว่าระบบสารสนเทศจะสามารถทำ�งานได้อย่างสมบูรณ์ การที่จะติดตั้ง ระบบควบคุมสารสนเทศให้ดีและมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องสามารถตอบคำ�ถามเหล่านี้ได้ เช่น ระบบ ควบคุมที่ติดตั้งครบถ้วนตามแผนหรือไม่ ระบบควบคุมนี้ทำ�งานได้ผลที่หรือไม่ ระบบควบคุมนี้จะเสียง่าย หรือไม่ เคยมีการละเมิดกฎความมั่นคงข้อใดบ้าง และมีมาตรการในการป้องกันอย่างไร ซึ่งจะเป็นคำ�ถาม ที่ผู้บริหารและผู้ตรวจสอบควรตั้งเป็นข้อสังเกต การตรวจสอบระบบสารสนเทศ เป็นงานที่สำ�คัญส่วนหนึ่งของระบบการควบคุม และถือเป็นการ ช่วยการควบคุมและป้องกันโดยรวมอีกชั้นหนึ่ง อีกทั้งยังช่วยทำ�ให้อาชญากรรมและการทุจริตภายในเกิด ยากขึ้น ผู้ตรวจสอบจะต้องพยายามตอบคำ�ถามดังต่อไปนี้ - ระบบควบคุมมีก ารควบคุมที่พอเพียงหรือไม่ และมีจุดใดที่ยังขาดการควบคุมบ้าง - มีก ารควบคุมใดบ้างที่ไม่จำ�เป็น - ระบบควบคุมได้ติดตั้งอ ย่างถูกต้องหรือไม่ - ระบบควบคุมทำ�งานได้จริงห รือไม่ และจะมีวิธีการตรวจสอบการทำ�งานได้อย่างไร - มีก ารแบ่งห น้าที่ และความรับผิดช อบของพนักงานชัดเจนหรือไม่ - มีก ระบวนการที่จะตรวจสอบว่า การปฏิบัติงานถูกต้องตามระเบียบการควบคุมหรือไม่ - มีกระบวนการที่จะตรวจสอบว่าการรายงาน และวิธีการแก้ไขเมื่อมีการละเมิดเกิดขึ้น หรือไม่ การตรวจสอบทางเว็บไซต์ เป็นมาตรการที่ดีทางหนึ่งที่จะป้องกันความเสี่ยงต่อการกระทำ�ผิด กฎหมาย และเป็นเรื่องที่สำ�คัญมากในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่บนเว็บไซต์ ซึ่งเนื้อหาต่างๆ ที่ปรากฏอาจละเมิดต่อสิทธิส่วนบุคคลของสาธารณชน และกฎหมายลิขสิทธิ์ได้ จึงต้องให้ ความสำ�คัญและเพิ่มค วามระมัดระวังให้มากขึ้นด้วย การป้องกันความเสี่ยงนั้น ถ้าจะทำ�การป้องกันให้ครบทุกๆ เรื่อง ก็จะเป็นการลงทุนที่แพงมาก ดังนั้น การใช้โปรแกรมระบบรักษาความมั่นคงสารสนเทศจะช่วยประเมินความเสี่ยงและวิเคราะห์ความ เหมาะสมได้ว่าเรื่องใดบ้างที่จะต้องมีการควบคุม เรื่องใดบ้างที่ควบคุมบ างส่วน และเรื่องใดบ้างที่ไม่จำ�เป็น ต้องมีใช้การควบคุมด้วยระบบ
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ม
4-73
ธ ส
ประเด็นจริยธรรม เป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอในการจัดทำ�ระบบรักษาความมั่นคง เช่น จะมี การต่อต้านการถูกเฝ้าติดตามการปฏิบัติงานของแต่ละคน ซึ่งบางครั้งก็อาจขัดต่อกฎหมายอาญาที่คุ้มครอง สิทธิ ในข้อมูลส่วนบุคคล และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น รวมทั้งการตรวจสอบเลขบัตรประจำ�ตัว และการตรวจสอบชีวมิติ ก็เป็นประเด็นในบางประเทศ แต่การที่องค์กรจะต้องพิทักษ์ปกป้องสินทรัพย์ และความเสียหายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการถูกบุกรุกและโจรกรรม ก็เป็นหน้าที่อันพึงปฏิบัติตามหลัก กฎหมาย หลักกฎหมายที่สำ�คัญ 2 ข้อ ได้แก่ หลักความรับผิดชอบนายจ้างต่อลูกจ้าง (respondent superior) และหลักหน้าที่แห่งการระมัดระวัง (duty of care) หลักความรับผิดชอบนายจ้างต่อลูกจ้าง คือ นายจ้างจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำ�ใดๆ ของลูกจ้างที่อยู่ในขอบเขตแห่งการจ้างนั้น ยิ่งในยุคของ อินเทอร์เน็ตและไร้สายนี้ ลูกจ้างอาจต้องทำ�งานกระจายกันนอกที่ทำ�การของบริษัท ก็ยิ่งทำ�ให้การควบคุม ทำ�ได้ยากขึ้นไปอีก ดังนั้น โดยหลักหน้าที่แห่งการระมัดระวัง นายจ้างและผู้บริหารจึงมีหน้าที่ต้องระมัดระวัง ป้องกันไม่ให้มีความเสียหายเกิดขึ้นต่อธุรกิจของกิจการ และผู้บริหารจะต้องรับผิดตามกฎหมายด้วย หาก ละเลยไม่ทำ�หน้าที่ด ูแลเอาใจใส่ และไม่ร ะมัดระวังป้องกันอย่างพอเพียง จนเกิดความเสียหายขึ้นต่อกิจการ ของตน
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
7. อาชญากรรมและการฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์
ม
ธ ส
ม
อาชญากรรมอาจจำ�แนกเป็น อาชญากรรมรุนแรง และอาชญากรรมไม่รุนแรง การฉ้อโกง (fraud) ไม่ถือเป็นอาชญากรรมรุนแรง เพราะไม่ได้ใช้มีดหรือปืน แต่ใช้กลลวงหลอกล่อให้เข้าใจไขว้เขว สถิติ อาชญากรรมชี้ให้เห็นว่า อาชญากรรมรุนแรงกำ�ลังล ดลง แต่อาชญากรรมไม่รุนแรงกำ�ลังพุ่งสูงขึ้น อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นท ุกวัน เช่น Webroot Software Research วิจัยพบว่า โทรจัน ตัวใหม่ที่มุ่งเจาะธนาคารชื่อ Trojan-Phisher-Rebery ได้ทำ�การขโมยเลขหมายรหัสประจำ�ตัวถึงหลาย แสนเลขหมาย จาก 125 ประเทศ เป็นเพราะมีลูกค้าจำ�นวนมากถูกม้าโทรจันติดอยู่โดยไม่รู้ตัว แล้วทำ�การ เชื่อมต่อเข้าธนาคาร หรือทำ�รายการซื้อขายผ่านอีคอมเมิร์ซ ดังนั้น การไม่ติดตั้งเครื่องป้องกัน และไม่ ปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงข้อมูล (Acceptable Use Policy - AUP) อาจทำ�ให้สูญเสียลูกค้าจำ�นวน มากได้ การฉ้อโกงของลูกจ้าง (occupational fraud) หมายถึงลูกจ้างที่ม ีโอกาสเข้าถึงข้อมูลในการทำ�งาน และใช้ข้อมูลหรือทรัพยากรของนายจ้างในทางที่มิชอบ ซึ่งในกรณีนี้ การตรวจสอบภายในที่ดีจะสามารถ ตรวจพบและป้องกันการฉ้อโกงนี้ได้ ซึ่งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำ�คัญที่ช่วยให้การ ตรวจสอบสามารถดำ�เนินการได้อย่างรวดเร็ว เช่น ระบบวิเคราะห์อัจฉริยะ เป็นต้น การโจรกรรมสวมรอยบุคคล (identity theft) คือการโจรกรรมข้อมูลที่เป็นเอกลักษณ์ของบุคคล เช่น รายละเอียดหมายเลขบัตรประจำ�ตัว บัตรเครดิต บัญชีธนาคาร รหัสต่างๆ เป็นต้น แล้วนำ�ไปใช้ชำ�ระ เงินซื้อสินค้าหรือบริการทางอินเทอร์เน็ตโดยสวมรอยแอบอ้างเป็นบุคคลนั้น เป็นเรื่องที่มีข่าวเกิดขึ้นบ่อย ในสมัยก่อนข้อมูลมักจะได้จากการขโมยกระเป๋าสตางค์ หรือขโมยโน้ตบุ๊ก หรือสมาร์ตโฟน แต่สมัยนี้
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
4-74
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
สามารถล้วงเอาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ยาก ร้านค้าบางรายที่ถูกโกงก็ไม่กล้าเปิดเผยเพราะกลัว จะเสียลูกค้าและเสียชื่อเสียง
ธ ส
ม
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 4.2.3 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 4.2.3 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 4 ตอนที่ 4.2 เรื่องที่ 4.2.3
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
ธ ส
ม ม
ธ ส
ธ ส
โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
บรรณานุกรม
ธ ส
ม
4-75
ธ ส
ม
Efraim, Turban, Linda, Volonino. (2010). Information Technology for Management. 7th ed. John Wiley & Son (Asia) Pte. Ltd. Laudon, Kenneth C. and Traver, Carol Guercio. (2008). E-Commerce: Business, Technology, Society. 4th ed. The United States of America: Pearson Prentice-Hall. Napier, Albert H. et al. (2001). Creating a Winning: E-Business. Canada: Course Technology. Ralph M. Stair and George, W. Reynolds. (2010). Information Systems. 9th ed. Course Technology. Cengage Learning, Schneider, Gary. (2007). Electronic Commerce. 7th annual ed. Canada: Course Technology. http://en.wikipedia.org/wiki/Google_platform http://www.zmogo.com/web/web-40trip-down-the-rabbit-hole-or-brave-new-world/
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4-76
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส