Unit 07

Page 1


เอกสารอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส ข องมหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าชฉบั บ นี้ ได รั บ การสงวนลิ ข สิ ท ธิ์ แ ละคุ ม ครองภายใต ก ฎหมายลิ ข สิ ท ธิ์ รวมทั้ ง สนธิ สั ญ ญาว า ด ว ยทรั พ ย สิ น ทางป ญ ญา


หน่วย​ที่

7

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

ธ ส

ชื่อ วุฒ ิ ตำ�แหน่ง หน่วย​ที่​เขียน

7-1

ธ ส

อาจารย์​สมควร วานิช​สัมพันธ์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

อาจารย์​สมควร วานิช​สัมพันธ์ บธ.บ. (บริหารธุรกิจ) จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย พบ.ม. (บริหารธุรกิจ) สถาบัน​บัณฑิต​พัฒนบริหารศาสตร์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คริสตอลซอฟท์ จำ�กัด (มหาชน) หน่วยที่ 7

ธ ส


7-2

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

หน่วย​ที่ 7

ธ ส

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

เค้าโครง​เนื้อหา

แนวคิด

ตอน​ที่ 7.1 ความ​เป็น​มา​ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร 7.1.1 ความ​หมาย​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร 7.1.2 แนวคิด​ของ​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ 7.1.3 ประโยชน์​และ​ความ​สำ�คัญ​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ตอน​ที่ 7.2 องค์ป​ ระกอบ​ทั่วไป​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร 7.2.1 โครงสร้าง​พื้น​ฐาน​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร 7.2.2 เทคโนโลยี​ใน​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร 7.2.3 การ​ทำ�งาน​ของ​ระบบ​งาน​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร 7.2.4 พัฒนาการ​ต่อข​ ยาย​ระบบ​จาก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ตอน​ที่ 7.3 บท​วิเคราะห์​เกี่ยว​กับ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร 7.3.1 ปัจจัย​สู่​ความ​สำ�เร็จใ​ น​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ 7.3.2 ข้อ​ควร​คำ�นึง​ใน​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ 7.3.3 ต้นทุน​และ​ผล​ตอบแทน​การ​ลงทุน​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร 7.3.4 ปัจจัย​ที่ก​ ระทบ​ต่อ​การ​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

1. เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ถูก​นำ�​มา​ใช้​ใน​การ​บริหาร​งาน​องค์กร​โดย​มี​วัตถุประสงค์​ที่​จะ​ตอบ​ สนอง​งาน​องค์กร​เป็น​หลัก หลัง​จาก​นั้น​มา พัฒนาการ​ของ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​เป็น​ไป​ อย่าง​ก้าว​กระโดด ถูกป​ ระยุกต์อ​ ย่าง​กว้าง​ขวาง และ​ส่งผ​ ลก​ระ​ทบ​อย่าง​มาก​ต่อว​ ิถีช​ ีวิตแ​ ละ​ วิธกี​ าร​ดำ�เนินง​ าน​ของ​ทุกอ​ งค์กร การ​ทีจ่​ ะ​นำ�​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​มา​ประยุกต์ใ​ ช้ ย่อม​ต้อง​ ทำ�ความ​เข้าใจ​ให้​เพียง​พอที่​จะ​จำ�แนก​และ​จัดการ​องค์​ประกอบ โครงสร้าง กระบวนการ​ที่​ จะ​นำ�​มา​ใช้ จึง​จะ​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ​อย่าง​แท้จริง แต่​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​เป็น​ศาสตร์​ที่​ หลาก​หลาย ซับ​ซ้อน เข้าใจ​ให้​ถ่องแท้ไ​ ด้​ยาก และ​เป็น​ศาสตร์​แห่งก​ าร​ประยุกต์ พัฒนาการ​ ของ​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​เกิดจ​ าก​การ​คิดค้น ต่อย​อด และ​การ​แข่งขันอ​ ย่าง​รุนแรง มักเ​กิด​ จาก​การ​ลอง​ผิดล​ อง​ถูกผ​ สม​ผสาน​กับก​ าร​แข่งขันท​ างการ​ค้า การ​ทีจ่​ ะ​ประยุกต์แ​ ละ​นำ�​ระบบ​

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

7-3

ธ ส

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร หรือ​อี​อาร์​พี มา​ใช้​ให้​มี​ประสิทธิภาพ จึง​ควร​ศึกษา​ความ​ เป็น​มา​และ​พัฒนาการ​ของ​แนวคิด ซึ่ง​จะ​ช่วย​ให้​สามารถ​เข้าใจ​ขอบเขต​ของ​ระบบ บทบาท และ​หน้าที่​ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ได้​ถ่องแท้​ยิ่ง​ขึ้น 2. เนื่องจาก​ซอฟต์แวร์​เป็น​สิ่ง​ที่​จับ​ต้อง​ไม่​ได้ การ​ทำ�ความ​เข้าใจ​ซอฟต์แวร์​จึง​ต้อง​เข้าใจ​ กระบวนการ​ทำ�งาน​ของ​ซอฟต์แวร์แ​ ล้ว​ให้​เกิด​ภาพ​กระบวนการ​เหล่า​นั้น​ขึ้น​มา​ใน​ใจ ดัง​นั้น เพื่อท​ ำ�ความ​เข้าใจ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร การ​ได้เ​ห็น ได้ส​ ัมผัสก​ าร​ทำ�งาน​ของ​ ระบบ​จึง​เป็น​ส่วน​ที่​ขาด​ไม่​ได้ ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​ระบบ​ขนาด​ใหญ่​ที่​ รวบรวม​กระบวนการ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ของ​ทั้ง​องค์กร​ให้​เป็น​หนึ่ง​เดียวกัน และ​มี​เทคโนโลยี​ที่​ ซับ​ซ้อน​ซ่อน​อยู่​เบื้อง​หลัง​การ​ทำ�งาน​ร่วม​กัน​ของ​แต่ละ​โมดูล ทำ�ให้​โปรแกรม​ระบบ​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แตก​ตา่ ง​จาก​โปรแกรม​อืน่ ท​ เี​่ ขียน​ขึน้ ม​ า​ใช้ภ​ ายใน​องค์กร​แบบ​แยก​ ส่วน ซึ่ง​ผู้ท​ ี่ท​ ำ�​หน้าที่ต​ ัดสิน​ใจ​ใน​การนำ�​ซอฟต์แวร์​มา​ใช้​ใน​การ​บริหาร​งาน​องค์กร​ควร​ทราบ เพือ่ ใ​ ช้ใ​ น​การ​วาง​ยทุ ธศาสตร์ใ​ ห้เ​หมาะ​สม​กบั ว​ ตั ถุประสงค์ข​ อง​องค์กร​อย่าง​แท้จริง นอกจาก​ การ​ได้เ​ห็นภ​ าพ​การ​ไหล​ของ​กระบวนการ​ทำ�งาน​ใน​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แล้ว การ​ได้เ​ห็นก​ าร​ท�ำ งาน​รว่ ม​กบั อ​ งค์ป​ ระกอบ​อืน่ ท​ อี​่ ยูน​่ อก​เหนือข​ อบเขต​ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร ซึ่งเ​ป็นส​ ่วน​ประกอบ​ใน​โครงสร้าง​ธุรกรรม​อิเล็กทรอนิกส์ ย่อม​จะ​ช่วย​ให้​ ผูบ้​ ริหาร​และ​ผทู้​ เี่​กี่ยวข้อง​กับก​ าร​ตัดสินใ​ จ​เลือก​ใช้ร​ ะบบ สามารถ​เลือก​ทาง​เลือก​ทเี่​หมาะ​สม​ กับ​องค์กร บน​ความ​ทับ​ซ้อน​ของ​ข้อ​เสนอ​ของ​ผู้​ให้​บริการ​ได้​อย่าง​มี​หลัก​เกณฑ์ 3. นอกจาก​ความ​เข้าใจ​แนวคิด​ของ​การนำ�​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​ดัง​กล่าว​ แล้ว การ​กำ�หนด​ยุทธศาสตร์​ของ​การนำ�​มา​ใช้​ให้​สอดคล้อง​กับ​วัตถุประสงค์​ของ​องค์กร​ที่​ ชัดเจน กระบวนการ​คดั เ​ลือก​ซอฟต์แวร์อ​ ย่าง​เป็นร​ ะบบ การ​ศกึ ษา​ขอ้ พ​ งึ ร​ ะวังท​ รี​่ วบรวม​จาก​ ความ​สำ�เร็จแ​ ละ​ความ​ล้มเ​หลว​ของ​องค์กร​ต่างๆ และ​การ​ได้ร​ ับคำ�​แนะนำ�​จาก​ผู้ร​ ู้ถ​ ึงท​ ิศทาง​ เทคโนโลยี​ที่​เกี่ยวข้อง จะ​ช่วย​ให้​สามารถ​กำ�หนด​ขอบเขต​และ​แผน​ระยะ​ต่างๆ ใน​การนำ�​ มา​ใช้​อย่าง​มีก​ ลยุทธ์​และ​ลด​ความ​เสี่ยง​ที่จ​ ะ​ประสบ​ความ​ล้ม​เหลว​ลง​ได้ ทั้งนี้ ปัจจัยส​ ำ�คัญ​ ที่สุดท​ ี่จ​ ะ​สร้าง​ความ​สำ�เร็จใ​ ห้เ​กิดข​ ึ้นต​ ่อโ​ ครงการ​นำ�​ระบบ​ใดๆ มา​ใช้ คือ “คน” บ่อย​ครั้งท​ ี​่ ผู้บ​ ริหาร​มัก​จะ​กำ�หนด​เป้า​หมาย​ใน​ขั้น​แรก​เพียง​แค่​การ​ติด​ตั้ง​ให้​สามารถ​ใช้​งาน​ได้ แต่​เมื่อ​ การ​ติด​ตั้ง​ดำ�เนิน​ไป​ระยะ​หนึ่ง ผู้​บริหาร​มัก​จะ​เปลี่ยน​เป้า​หมาย​ไป​สู่​การ​สร้าง​ผล​ตอบแทน​ การ​ลงทุน โดย​ต้องการ​สร้าง​ประโยชน์จ​ าก​ระบบ​ให้ม​ าก​ที่สุด ด้วย​งบ​ประมาณ​เดิม และ​ให้​

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-4

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

เพิ่ม​เข้า​ใน​แผน​ของ​โครงการ​เดิม ซึ่ง​ดู​ผิว​เผิน​แล้ว​ก็​น่า​จะ​เป็น​ประโยชน์​ส่วน​เพิ่ม​โดย​ไม่มี​ ต้นทุน​เพิ่ม เนื่องจาก​เป็นการ​มอง​ที่​ตัว​เงิน​มากกว่า​ต้นทุน​แฝง​อื่นๆ ที่​มอง​เห็น​ได้​ยาก ซึ่ง​ ล้วน​มีผ​ ล​ต่อท​ ัศนคติท​ ี่ไ​ ม่ด​ ีต​ ่อก​ ารนำ�​นวัตกรรม​ใหม่ๆ มา​ใช้ใ​ น​องค์กร​ใน​อนาคต ผู้บ​ ริหาร​ จึง​ควร​มี​ความ​ชัดเจน​ต่อ​วัตถุประสงค์​ของ​การนำ�​มา​ใช้ สามารถ​กำ�หนด​เป้า​หมาย​ที่​ชัดเจน และ​เอื้อม​ถึงใ​ ห้​แก่ค​ ณะ​ทำ�งาน

วัตถุประสงค์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

เมื่อศ​ ึกษา​ตอน​ที่ 7 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. อธิบาย​แนวคิด ความ​หมาย ประโยชน์ และ​ความ​สำ�คัญ​ของ​นำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​มา​ใช้​ใน​การ​ดำ�เนิน​กระบวนการ​ทาง​ธุรกิจ​ได้ 2. อธิบาย​บทบาท​และ​หน้าที่​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​สถาปัตยกรรม​ธุรกิจ​ อิเล็กทรอนิกส์ องค์ป​ ระกอบ​หลักข​ อง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ความ​สามารถ​หลักข​ อง​ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร และ​การ​ทำ�งาน​ร่วม​กับร​ ะบบ​อื่นท​ ี่ต​ ่อข​ ยาย​จาก​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​ได้ 3. อธิบาย​ปัจจัยส​ ู่​ความ​สำ�เร็จ ประเด็น​ปัญหา​ที่​ส่ง​ผล​ต่อ​ความ​สำ�เร็จแ​ ละ​ความ​ล้ม​เหลว การ​ ประยุกต์​การ​บริหาร​โครงการ​ติด​ตั้ง​ระบบ​ให้​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ การ​วิเคราะห์​ต้นทุน​และ​ ผล​ตอบแทน​การ​ลงทุน​ของ​การนำ�​ระบบ​มา​ใช้ และ​อธิบาย​ปัจจัย​ที่​กระทบ​ต่อ​การ​พัฒนา​ ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


บทนำ�

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-5

ธ ส

สังคม​โลก​ได้​ก้าว​เข้า​สู่​ยุค​ที่​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ได้​เข้า​มา​มี​อิทธิพล​อย่าง​เต็ม​ตัว​ทั้ง​ทาง​ด้าน​สังคม​ และ​เศรษฐกิจ​อย่าง​กว้าง​ขวาง และ​สอด​แทรก​ใน​การ​ใช้​ชีวิต​ประจำ�​วัน​ของ​คน​เกือบ​ทั้ง​โลก ทั้ง​ทาง​ตรง​และ​ ทาง​อ้อม โดย​เฉพาะ​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจย​ ุค​ปัจจุบัน​ได้​มี​การนำ�​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​มา​ใช้​ใน​ทุกๆ ด้าน จน​อาจ​ กล่าว​ได้ว​ ่า องค์กร​ธุรกิจจ​ ะ​ไม่ส​ ามารถ​ดำ�เนินไ​ ป​ได้ หาก​ไม่มกี​ ารนำ�​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​มา​ใช้ใ​ น​กระบวนการ​ ดำ�เนิน​ธุรกิจ (business process) โดย​เฉพาะ​องค์กร​ที่​ก้าว​เข้าส​ ู่​การ​เป็น​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) นั้น เทคโนโลยี​สารสนเทศ​จะ​เป็น​องค์ป​ ระกอบ​ที่จ​ ำ�เป็น​ของ​องค์กร​ที่​ขาด​ไม่​ได้ ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร (Enterprise Resource Planning - ERP) จะ​เป็น​แกน​กลาง​ ของ​สถาปัตยกรรม​ของ​ธุรกิจอ​ ิเ​ล็กท​ รอ​นิกส์ โดย​ทำ�​หน้าที่เ​ป็นร​ ะบบ​ส่วน​กลาง ควบคุมก​ าร​ปฏิบัติก​ าร​ทาง​ด้าน​ การ​เงิน การ​บัญชี การ​บริหาร​งาน​ทรัพยากร​บุคคล การก​ระ​จาย​สินค้า การ​ผลิต การ​จัด​ซื้อ​และ​การ​จัด​ส่ง โดย​ มีล​ ูกค้าแ​ ละ​พนักงาน​เป็นศ​ ูนย์กลาง และ​ยังท​ ำ�​หน้าที่เ​ป็นแ​ กน​กลาง​ใน​การ​ต่อเ​ชื่อม​ระบบ​งา​นอื่นๆ ทั้งหมด​ของ​ องค์กร​ให้เ​ป็น​หนึ่งเ​ดียว ได้แก่ ระบบ​จัดการ​โซ่อ​ ุปทาน (Supply Chain Management) การ​บริหาร​ลูกค้า​ สัมพันธ์ (Customer Relationship Management) การ​จัดการ​ความ​รู้ (Knowledge Management) และ​ การ​บริหาร​คูค่​ ้าส​ ัมพันธ์ (Partner Relationship Management) ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จึงเ​ป็น​ ระบบ​ทชี่​ ่วย​ให้ผ​ ูบ้​ ริหาร​ระดับส​ ูงแ​ ละ​ผปู้​ ฏิบัตงิ​ าน​สามารถ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจใ​ ห้เ​ป็นไ​ ป​ตาม​เป้าห​ มาย​ของ​องค์กร​อย่าง​ มี​ประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทัน​สถานการณ์ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เป็น​ระบบ​โปรแกรม​คอมพิวเตอร์​ที่​มี​รากฐาน​มา​จาก​ภาค​ปฏิบัติ เป็น​ นวัตกรรม​ที่​บูรณ​า​การ​องค์​ความ​รู้​จาก​ความ​สำ�เร็จ​จาก​การ​ปฏิบัติ​ของ​องค์กร (business practice) ต่างๆ ผสม​ผสาน​กับ​ทฤษฎี​ทาง​วิชาการ (academic theory) ทาง​ด้าน​การ​บริหาร บน​สิ่ง​แวดล้อม​ทาง​ธุรกิจ​ที่​เป็น​ สากล กฎ​ระเบียบ​ของ​ภาค​รัฐ และ​กระแส​การ​พัฒนา​อย่าง​รวดเร็วข​ อง​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ ระบบ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​ได้ร​ ับผ​ ลก​ระ​ทบ​อย่าง​ต่อเ​นื่องจาก​การ​เปลี่ยนแปลง​ของ​โลก​การ​ค้าเ​สรีแ​ ละ​การ​เปลี่ยนแปลง​ ของ​เทคโนโลยี ผู้พ​ ัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จึงอ​ ยู่​บน​โลก​แห่ง​การ​แข่งขัน​ที่​รุนแรง เพื่อ​ตอบ​ สนอง​ความ​ต้องการ​ของ​ผู้​ใช้ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จึง​เป็น​ระบบ​ที่​ไม่​หยุด​นิ่ง ขอบเขต​ของ​ระบบ (sytem boundary) การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จึง​ไม่​ชัดเจน ทำ�ให้​ความ​เข้าใจ​บทบาท​และ​ประโยชน์​ของ​ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร สับสน คลุมเครือ และ​จำ�กัด​อยู่​ใน​วง​แคบ ใน​ยุค​ที่​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​กำ�ลัง​ ขยาย​ตวั การ​ท�ำ ความ​เข้าใจ​องค์ป​ ระกอบ​ของ​ระบบ ขอบเขต​การ​ท�ำ งาน จะ​ชว่ ย​ให้เ​ข้าใจ​บทบาท​ของ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​ใน​สถาปัตยกรรม​ของ​ธุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์ ช่วย​ให้​ผู้​บริหาร​องค์กร​สามารถ​วาง​ยุทธศาสตร์​ ใน​การนำ�​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​มา​ใช้​ใน​องค์กร​เป็น​ไป​อย่าง​คุ้ม​ค่า​และ​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-6

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

เนื่องจาก​การ​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​นั้น​อยู่​บน​พื้น​ฐาน​ของ​ภาค​ปฏิบัติ ดัง​นั้น ทิศทาง​การ​พัฒนา​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จึง​ขึ้น​กับ​ทิศทาง​ของ​สิ่ง​แวดล้อม​ของ​ธุรกิจ​เป็น​หลัก ทั้ง​ ด้าน​เศรษฐกิจ สังคม กฎ​ระเบียบ และ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ใหม่ การ​วาง​ยุทธศาสตร์​ทั้ง​ระยะ​สั้น​และ​ระยะ​ ยาว​ใน​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​จึง​ขึ้น​กับ​ทิศทาง​ที่​องค์กร​กำ�ลัง​ก้าว​ไป​ใน​สิ่ง​แวดล้อม​ของ​ ธุรกิจน​ ั้นๆ รวม​ทั้งก​ าร​ประเมินผ​ ล​ตอบแทน​การ​ลงทุนข​ อง​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ ก็ข​ ึ้นก​ ับ​ ยุทธศาสตร์​ที่​ชัดเจน​ของ​ผู้บ​ ริหาร​มากกว่า​ผล​ประกอบ​การ​ใน​ระยะ​สั้น​ของ​องค์กร องค์​ประกอบ​ของ​การนำ�​ระบบ​คอมพิวเตอร์​มา​ใช้​นั้น​มิใช่​มี​แต่​เพียง​ฮาร์ดแวร์​และ​ซอฟต์แวร์​เท่านั้น แต่ย​ ังม​ อี​ งค์ป​ ระกอบ​ที่ส​ ำ�คัญท​ ี่สุดค​ ือ บุคลากรใน​องค์กร ​ซึ่งถ​ ือว่าเ​ป็นก​ ุญแจ​ที่ม​ ผี​ ล​สูงสุดต​ ่อค​ วาม​สำ�เร็จห​ รือ​ ความ​ล้ม​เหลว​ของ​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ และ​บุคคล​ที่​สำ�คัญ​ที่สุด​ใน​การ​วาง​ยุทธศาสตร์​ ของ​โครงการ​ที่​จะ​นำ�​ระบบ​ที่​จะ​ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​ทั้ง​องค์กร​ทุก​ส่วน​ย่อม​หนี​ไม่​พ้น​ผู้​บริหาร​สูงสุด​ของ​องค์กร​ เท่านั้น ภาวะ​ผู้นำ�​ของ​ผู้​บริหาร ความ​เข้าใจ​ความ​ต้องการ​ของ​พนักงาน และ​การ​ทำ�งาน​เป็น​ทีม จะ​ช่วย​ให้​ แผนการ​นำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ป​ ระสบ​ความ​สำ�เร็จโ​ ดย​ง่าย ดังป​ รากฏ​อยูโ่​ ดย​ทั่วไป​ว่าโ​ ครงการ​ ติดต​ ั้งร​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ทีม่​ ผี​ ูบ้​ ริหาร​สูงสุดเ​ข้าร​ ่วม​นั้น จะ​มอี​ ัตรา​ความ​สำ�เร็จส​ ูงก​ ว่าโ​ ครงการ​ ที่​ปราศจาก​การ​เข้า​ร่วม​ของ​ผู้บ​ ริหาร​สูงสุดอ​ ย่าง​มาก การ​เป็นผ​ ู้นำ�​การ​เปลี่ยนแปลง​ระบบ​นั้น ผู้​บริหาร​จึง​เป็น​ บุคคล​ที่​สำ�คัญ​ที่สุด​ที่​จะ​เป็น​ตัว​บ่ง​ชี้​ความ​สำ�เร็จ​ของ​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ตอน​ที่ 7.1

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

ความ​เป็นม​ า​ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

7-7

ธ ส

โปรด​อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ�​ตอน​ที่ 7.1 แล้วจ​ ึง​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ พร้อม​ปฏิบัติ​กิจกรรม​ใน​แต่ละ​เรื่อง

หัว​เรื่อง

แนวคิด

ธ ส

เรื่อง​ที่ 7.1.1 ความ​หมาย​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เรื่อง​ที่ 7.1.2 แนวคิด​ของ​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ เรื่อง​ที่ 7.1.3 ประโยชน์​และ​ความ​สำ�คัญ​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

ธ ส

1. การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เกิดข​ ึ้นจ​ าก​การ​รวบรวม​ประสบการณ์ ความ​สำ�เร็จจ​ าก​ภาค​ ปฏิบตั บ​ิ น​รากฐาน​ของ​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ ทำ�ให้ซ​ อฟต์แวร์ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ มี​ความ​หลาก​หลาย​และ​มี​ขอบเขต​ที่​สับสน การ​ทำ�ความ​เข้าใจ​ความ​หมาย​ของ​ระบบ การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร จะ​ช่วย​ให้ท​ ราบ​ถึงห​ ลักก​ าร​ทีเ่​ป็นข​ อบเขต​ของ​ระบบ และ​จำ�แนก​ ซอฟต์แวร์ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​ตลาด​ที่​หลาก​หลาย​ได้ 2. ใน​ยคุ ท​ กี​่ าร​แข่งขันต​ ่� ำ ธุรกิจข​ บั เ​คลือ่ น​ดว้ ย​ปจั จัยก​ าร​ผลิตท​ ไี​่ ด้จ​ าก​การ​เพาะ​ปลูก การ​ท�ำ งาน​ แบบ​ต่าง​คน​ต่าง​ทำ�​เหมือน​ไซโล​เก็บ​พืช​ผล​ทางการ​เกษตร​ย่อม​สามารถ​ดำ�เนิน​ไป​ได้ แต่​ใน​ ยุค​ที่​โลก​เล็ก​ลง การ​แข่งขัน​สูงม​ าก ธุรกิจ​ต้อง​ขับ​เคลื่อน​ด้วย​ประสิทธิภาพ​สูง การ​ทำ�งาน​ แบบ​ต่าง​คน​ต่าง​ทำ�​ย่อม​ไม่ส​ ามารถ​ทำ�ได้​อย่าง​มี​ประสิทธิภาพ ซึ่ง​เป็น​แรง​ผลัก​ดัน​ให้ร​ ะบบ​ สารสนเทศ​ที่น​ ำ�​มา​ใช้ใ​ น​กระบวนการ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจย​ ุคใ​ หม่จ​ ะ​ต้อง​แบ่งป​ ันข​ ้อมูล และ​ทำ�งาน​ ร่วม​กันต​ ลอด​การ​ไหล​ของ​งาน​ใน​องค์กร และ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ก็เ​ป็นผ​ ลผลิต​ ที่ส​ ำ�คัญ​ยิ่งข​ อง​ปรากฏการณ์​นี้ 3. กระแส​ความ​นิยม​การนำ�​นวัตกรรม​ทาง​ด้าน​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​มี​เพิ่ม​มาก​ขึ้น แต่​ วัตถุประสงค์​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​มัก​จะ​ขาด​ความ​ชัดเจน และ​มอง​ ว่าการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​ยาค​รอบ​จักรวาล​ของ​ระบบ​งาน​ที่​ใช้​ใน​การ​บริหาร​ งาน​องค์กร สามารถ​ทดแทน​โปรแกรม​ที่​จ้าง​เขียน​ได้​ทั้งหมด ทำ�ให้​เกิด​อุปสรรค​ใน​การ​ จัดหา​และ​การ​ติด​ตั้ง​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ให้​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ การ​เข้าใจ​ ประโยชน์ท​ จี​่ ะ​ได้ร​ บั จ​ ะ​ชว่ ย​ก�ำ หนด​เป้าประสงค์ข​ อง​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ ใช้ได้อ​ ย่าง​สม​เหตุ​สม​ผล

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-8

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

วัตถุประสงค์

ธ ส

เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 7.1 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. อธิบาย​ความ​หมาย​ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ได้ 2. อธิบาย​แนวคิด​ของ​นำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​ใน​การ​ดำ�เนิน​กระบวนการ​ทาง​ ธุรกิจไ​ ด้ 3. อธิบาย​ประโยชน์​และ​ความ​สำ�คัญ​ของ​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​ใน​การ​ ดำ�เนิน​ธุรกิจไ​ ด้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-9

ธ ส

เรื่อง​ที่ 7.1.1 ความ​หมาย​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

1. ความ​หมาย​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

เนือ่ งจาก​โปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็นร​ ะบบ​งาน​ทม​ี่ พ​ี ฒ ั นาการ​อย่าง​ตอ่ เ​นือ่ ง​ไม่ห​ ยุดนิง่ ​ และ​มกี​ าร​แข่งขันข​ อง​ผู้พ​ ัฒนา​อย่าง​มาก จึงท​ ำ�ให้โ​ ปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แต่ละ​ค่าย​และ​แต่ละ​ รุ่น​มีแ​ นว​คิดใ​ หม่ๆ นำ�​เสนอ​ให้แ​ ก่​ผู้ใ​ ช้​ตลอด​เวลา ทำ�ให้​คำ�​จำ�กัดค​ วาม​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จาก​ แหล่ง​ต่างๆ มัก​จะ​มี​ความ​แตก​ต่าง​กัน ขึ้น​กับ​ประสบการณ์​และ​มุม​มอง​ที่​ใช้​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​ ขอบเขต​วัตถุประสงค์​ใด ใน​ส่วน​ของ​การ​ทำ�​ธุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) นั้น การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​ย่อม​มี​บทบาท​ที่​สำ�คัญ​ตาม​ที่​ได้​กล่าว​ไว้​แล้ว​ใน​หน่วย​ที่ 1 ซึ่ง​เป็นการ​มอง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​จาก​ภาพ​กว้าง และ​ทำ�ให้​เห็น​ขอบเขต​ระบบ​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​สถาปัตยกรรม​ธุรกิจ​ อิเล็กทรอนิกส์​ได้​อย่าง​ชัดเจน ซึ่ง​จะ​ได้​ขยาย​ความ​ต่อ​ไป สำ�หรับ​ใน​เรื่อง​นี้​จะ​ได้​กล่าว​ถึง​ความ​หมาย​ของ​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ดังนี้ 1.1 ความ​หมาย​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จาก​เว็บไซต์ www.whatiserp.net โดย​ขยาย​ความ​ จาก​คำ�​เต็ม​ของ Enterprise Resource Planning (ERP) ดังนี้ Enterprise หมาย​ถึง ขอบเขต​ของ​กระบวนการ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจ แม้ว่าโ​ ดย​ทั่วไป​คำ�​ว่า “Enterprise” จะ​ หมาย​ถึง องค์กร​ขนาด​ใหญ่ แต่ใ​ น​ที่น​ ี้ม​ ิได้ห​ มาย​ถึงต​ ัวอ​ งค์กร​โดย​เน้นท​ ี่ข​ นาด เนื่องจาก​ปัจจุบันน​ ี้ก​ าร​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​ได้ถ​ ูกน​ ำ�​มา​ใช้ใ​ น​องค์กร​ทุกร​ ะดับ และ​กระบวนการ​ดำ�เนิน​ธุรกิจใ​ น​ปัจจุบันไ​ ด้ข​ ยาย​ขอบเขต​ ออก​ไป​นอก​องค์กร​ทาง​นิตินัย​แล้ว Resource Planning หมาย​ถงึ ความ​สามารถ​ของ​ระบบ​ใน​การนำ�​มา​ใช้ใ​ น​การ​วางแผน​การ​ใช้ท​ รัพยากร โดย​ครอบคลุมท​ รัพยากร​ทีใ่​ ช้ใ​ น​ทุกก​ ระบวนการ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจ เช่น สินค้า อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร พนักงาน คูค่​ ้า เป็นต้น โดย​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​นีม้​ า​ใช้ใ​ น​การ​กำ�หนด​แผน​งาน​จาก​ฐาน​ข้อมูลท​ ีเ่​กี่ยวข้อง​ กับ​ทรัพยากร​ทั้ง​หลาย​เหล่า​นั้น เพื่อก​ าร​ใช้​ประโยชน์​อย่าง​บังเกิด​ผล​และ​มี​ประสิทธิภาพ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร จึงเ​ป็น​ระบบ​ที่​มี​ลักษณะ ดังนี้ • เป็น​ระบบ​งาน​ทาง​ด้าน​คอมพิวเตอร์​ที่​ครอบคลุม​ทั่ว​ทั้ง​องค์กร ใช้​ใน​การ​จัดการ​ทรัพยากร​ และ​สารสนเทศ​ทั้งหมด​ของ​องค์กร สำ�หรับ​ทุกๆ หน้าที่​ใน​องค์กร โดย​เป็นการ​ทำ�งาน​ที่​แบ่ง​ปัน​ข้อมูล​ร่วม​กัน • เป็ น ​โ ครงสร้ า ง​พื้ น ​ฐ าน​ท าง​ด้ า น​ซ อฟต์ แ วร์ ​ข อง​อ งค์ ก ร​แ บบ​บู ร ณาการ เพื่ อ ​ส นั บ สนุ น​ กระบวนการ​ใน​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจท​ ั้งหมด​ของ​องค์กร • เป็นร​ ะบบ​ทีก่​ ล่าว​ถึงก​ าร​มอง​องค์กร​และ​ส่วน​ต่างๆ ภายใน​องค์กร​แบบ​องค์ร​ วม​มากกว่าเ​ป็น​ แบบ​แยก​ส่วน​กัน

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-10

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

1.2 ความ​หมาย​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จาก​เว็บไซต์ Wikipedia 1 การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร คือ ระบบ​งาน​ทาง​ด้าน​คอมพิวเตอร์​ที่​ใช้​ใน​การ​บริหาร​ทรัพยากร​ทั้ง​ทรัพยากร​ภายใน​และ​ภายนอก​ องค์กร ซึ่ง​หมาย​รวม​ทั้งส​ ินทรัพย์​ที่จ​ ับ​ต้อง​ได้ เงิน​ทุน วัตถุดิบ และ​ทรัพยากร​บุคคล การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​จะ​จัดการ​การ​ไหล​ของ​ข้อมูลร​ ะหว่าง​ส่วน​งาน​ต่างๆ ภายใน​ขอบเขต​ของ​องค์กร​ทั้งหมด และ​จัดการ​การ​ สื่อสาร​กับผ​ ู้ม​ ีส​ ่วน​ได้ส​ ่วน​เสีย (stakeholder) ภายนอก​องค์กร การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​ทำ�งาน​อยู่บ​ น​ ศูนย์ร​ วม​ฐาน​ข้อมูลข​ อง​องค์กร และ​ทำ�ให้ส​ ามารถ​ใช้ป​ ระโยชน์จ​ าก​การ​ประมวล​ผล​ทีเ่​ป็นฐ​ านราก​ร่วม​กันต​ ลอด​ ทัง้ อ​ งค์กร หรือก​ ล่าว​อย่าง​สรุปไ​ ด้ว​ า่ ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​รวม​ปฏิบตั ก​ิ าร​ทาง​ธรุ กรรม​ทัง้ หมด​ ของ​องค์กร​ให้​เข้า​อยู่​ใน​รูป​แบบ​เดียวกัน (uniform) และ​ทั่ว​ถึง​ทั้ง​องค์กร 1.3 ความ​หมาย​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​มิติ​ต่างๆ 1) การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​มิติ​ของ​ผู้​บริหาร โดย​พิจารณา​จาก​คำ�​ว่า Enterprise Resource Planning Enterprise บ่ง​บอก​ถึงก​ าร​เป็น​ระบบ​ที่​ครอบคลุม​ทั้ง​องค์กร (enterprise-wide) ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ โปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​มีข​ นาด​ใหญ่ห​ รือเ​ล็ก จะ​พัฒนา​มา​จาก​ผู้​พัฒนา​ราย​เดียว​หรือห​ ลาย​ ราย​มา​รวม​กัน​ก็ตาม หาก​ระบบ​นั้น​ครอบคลุม​กระบวนการ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ทั้งหมด​ของ​องค์กร หรือ​ครอบคลุม​ หน้าทีห่​ ลักข​ อง​แต่ละ​ส่วน​งาน​ทเี่​ป็นส​ ่วน​งาน​หลักข​ อง​องค์กร​และ​คคู่​ ้า ก็ถ​ ือว่าเ​ป็นร​ ะบบ​ทคี่​ รอบคลุมท​ ั้งอ​ งค์กร (enterprise-wide) Resource หมาย​ถึง ทรัพยากร​ทั้งหมด​ของ​องค์กร หรือ​อย่าง​น้อย​ก็​เป็น​ทรัพยากร​ที่​เป็น​ตัวข​ ับ​ เคลื่อน​ธุรกิจข​ อง​องค์กร หาก​มอง​ใน​มุมข​ อง​การ​บัญชีก​ ค็​ ือ สินทรัพย์ข​ อง​องค์กร ทั้งท​ ีเ่​ป็นส​ ินทรัพย์ห​ มุนเวียน สินทรัพย์​ถาวร ทั้งท​ ี่​จับ​ต้อง​ได้ และ​จับ​ต้อง​ไม่ไ​ ด้ ดังนี้ • สินทรัพย์ห​ มุนเวียน เช่น เงินสด เงินใ​ น​บญ ั ชีธ​ นาคาร สินค้า วัตถุดบิ ลูกห​ นี้ เงินล​ งทุน ​ใน​หนุ้ • สินทรัพย์ถ​ าวร เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร • สินทรัพย์ท​ ี่จ​ ับ​ต้อง​ไม่ไ​ ด้ เช่น สิทธิ​บัตร ค่า​นิยม นอกจาก​น้ี ใน​ทางการ​บริหาร ก็​จะ​รวม​ไป​ถงึ ​บคุ ลากร ฐาน​ขอ้ มูล ผล​งาน​วจิ ยั ชือ่ ​เสียง ตราสินค้า และ​สูตร​การ​ผลิต Planning หมาย​ถึง การ​วางแผน​และ​กำ�หนด​ตาราง​การ​ทำ�งาน​ล่วง​หน้า​ของ​องค์กร​ได้ เช่น แผนการ​ผลิต แผนการ​จัด​ซื้อ และ​การ​กำ�หนด​ปฏิทิน​กิจกรรม​ต่างๆ ซึ่ง​ได้​มา​จาก​การ​ประมวล​ผล​ข้อมูล​จาก​ ฐาน​ข้อมูลใ​ น​อดีต เช่น ข้อมูลป​ ระวัติการ​ยอด​ขาย ประวัติการ​จัด​ซื้อ​สินค้าแ​ ละ​วัตถุดิบ ข้อมูลก​ าร​สั่ง​ซื้อ หรือ​ จาก​ฐาน​ขอ้ มูลก​ าร​พยากรณ์ เช่น ข้อมูลจ​ าก​การ​ประมาณ​การ​ยอด​ขาย​ของ​คคู​่ า้ ห​ รือฝ​ า่ ย​การ​ตลาด หรือจ​ าก​ฐาน​ ข้อมูล​รายการ​สินค้า​ค้าง​ส่ง ซึ่งข​ ้อมูล​เหล่า​นี้​จะ​ช่วย​ใน​การ​วางแผน​ตาราง​การ​ทำ�งาน​ล่วง​หน้า​ของ​องค์กร​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

1

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ปกติ​ข้อมูล​จาก​เว็บไซต์ Wikipedia อาจ​จะ​ไม่​สามารถ​ใช้​อ้างอิง​ทาง​วิชาการ​ได้ เนื่องจาก​เป็นการ​นำ�​เข้า​โดย​อิสระ​จาก​ใคร​ ก็ตาม​ที่​เป็น​สมาชิก​ใน​เครือ​ข่าย​สังคม​ออนไลน์ แต่​กรณี​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ซึ่ง​เป็น​ผลผลิต​จาก​ภาค​ปฏิบัติ​และ​มี​พัฒนาการ​ จาก​หลาก​หลาย​มิติ ข้อมูลใ​ น​เว็บไซต์ Wikipedia กลับ​เป็นแ​ หล่งร​ วบรวม​ข้อมูล​ที่​มี​ชีวิต​และ​สะท้อน​มุม​มอง​ที่​ค่อน​ข้าง​เป็น​ที่​ยอมรับ​ใน ​วง​กว้าง


ลักษณะ ดังนี้

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-11

2) การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​มิติ​ทาง​ด้าน​เทคโนโลยี​สารสนเทศ มี​ความ​หมาย​และ​

ธ ส

ธ ส

• การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เป็น​ระบบ​งาน​ประยุกต์​ซึ่ง​เป็น​ระบบ​ที่​ครอบคลุม​ทั้ง​ องค์กร (enterprise-wide) และ​สามารถ​เรียก​ใช้​ข้าม​หน่วย​งาน​ได้ มิใช่​เก็บแ​ ยก​ส่วน​กระจัดกระจาย​ที่​เรียก​ ว่า เป็น​แบบ​ไซโล (silo) หรือ​แบบ​หมู่​เกาะ​สารสนเทศ (information island) • จัด​ว่า​เป็น​ฐาน​ข้อมูล​ที่​ใหญ่​และ​ครอบคลุม​ที่สุด​ใน​องค์กร แม้ว่า​องค์กร​อาจ​จะ​มี​ฐาน​ ข้อมูลอ​ ื่น​ใด ก็ม​ ัก​จะ​นำ�​ข้อมูล​มา​เก็บรวมไว้​ที่ร​ ะบบการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร หรือ​มิ​ฉะนั้น​ก็​ทำ�การ​เชื่อม​ โยง​มา​ที่​ฐาน​ข้อมูล​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร โดย​เก็บ​ข้อมูล​ที่​บูรณ​า​การ​ทั้ง​ระบบ ข้อมูล​แต่ละ​ส่วน​จะ​มี​ ความ​สัมพันธ์ก​ ันเ​ป็น​ระบบ​ระเบียบ • เห็น​ข้อมูล​ที่​เป็น​หนึ่ง​เดียว (single view of data) ทั้ง​องค์กร มิใช่​ระบบ​ที่​ข้อมูล​ ขัดแ​ ย้ง​กันเอง ไม่​ว่าจ​ ะ​มอง​จาก​มิติ​ใด​จะ​ให้​ข้อมูล​ที่​สมนัย​กัน​เสมอ • อยูใ​่ น​รปู แ​ บบ​เดียวกัน (uniform) ทำ�ให้ส​ ามารถ​สบื ค้นแ​ ละ​ด�ำ เนินก​ ระบวนการ​ทางการ​ จัดการ​ฐาน​ข้อมูล​ได้​ด้วย​เครื่อง​มือ (tools) ตัว​เดียวกัน ซึ่ง​มัก​จะ​ใช้​ภาษา​เอส​คิว​แอล (SQL - Structural Query Langauge) เป็น​หลัก​ใน​การ​จัดการ​ฐาน​ข้อมูล • รองรับ​การ​พยากรณ์ (forecast) ด้วย​ข้อมูล​ใน​อดีต (historical data) ขนาด​ใหญ่ เพื่อ​ตอบ​สนอง​การ​วางแผน​งาน​จาก​ฐาน​ข้อมูล​ที่​รวบรวม​ไว้​อย่าง​ดี​และ​เพียง​พอ • ฐาน​ข้อมูลเ​ป็นแ​ บบ​รวม​ศูนย์เ​ชิงต​ รรกะ (logically centralized) ไม่​ว่าใ​ น​เชิงก​ ายภาพ (physical) จะ​เป็น​ฐาน​ข้อมูล​แบบ​กระจาย (distributed database) หรือ​ไม่​ก็ตาม 3) การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​มติ ข​ิ อง​ผพ​ู้ ฒ ั นา​ระบบ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มักจ​ ะ​ ครอบคลุมท​ ุก​ระบบ​ที่ต​ ้อง​ใช้​ใน​การ​บริหารธุรกิจ​อย่าง​ไร้​ข้อ​จำ�​กัด​ใดๆ ครอบคลุม​ไป​ถึง​ระบบ​ต่างๆ เช่น การ​ จัดการ​โซ่อ​ ุปทาน (SCM) การ​บริหาร​ลูกค้าส​ ัมพันธ์ (CRM) การ​บริหาร​สินทรัพย์ (asset management) การ​ บริหาร​โครงการ (project management) การ​บริหาร​คลัง​สินค้า (warehouse management) ทรัพยากร​ มนุษย์ (human resource) โล​จิส​ ติ​กส์ (logistics) หรือ​คลัง​ข้อมูล (data warehouse) เป็นต้น เท่ากับว​ ่า​ ซอฟต์แวร์​ทุก​ชนิด​ที่​ต้อง​ใช้​ใน​ทาง​ธุรกิจ​จะ​มี​ใน​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ซึ่ง​เป็น​นิยาม​ที่​ไม่​เกิด​ ประโยชน์ เนื่องจาก​ทำ�ให้​นิยาม​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​นิยาม​เดียวกัน​กับ​ซอฟต์แวร์​เพื่อ​การ​ บริหารธุรกิจ (business management software) ซึ่ง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ควร​จะ​เป็น​เพียง​ส่วน​ หนึ่ง​ของ​ซอฟต์แวร์​เพื่อ​การ​บริหารธุรกิจ​เท่านั้น โดย​ทาง​เทคนิค​แล้ว​ซอฟต์แวร์​ที่​ใช้​ใน​กระบวนการ​ดำ�เนิน​ ธุรกิจ​อาจ​จะ​แบ่ง​ออก​เป็น 2 กลุ่มใ​ หญ่ๆ คือ • ข้อมูล​เป็น​ศนู ย์กลาง (data centric) คือ เน้น​การ​เก็บ​ขอ้ มูล​อย่าง​เป็น​ระเบียบ น่า​เชือ่ ถือ ​ ใน​ทุกๆ มิติ ซึ่ง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​และ​โปรแกรม​บัญชี​ทั่วไป​ก็​จัด​อยู่​ใน​กลุ่ม​นี้ • กระแส​การ​ไหล​เป็น​ศูนย์กลาง (flow centric) คือ เน้น​กระบวนการ​ไหล​ของ​งาน (work flow) หรือ​เรียก​อีกอ​ ย่าง​ว่า กระบวนการ​ทาง​ธุรกิจ (Business Process-BP) ซึ่ง​จะ​เน้น​การ​ผลัก​การ​ ไหล​ของ​งาน​ให้​รวดเร็ว และ​การ​ติดตาม​ผล​งาน​ของ​กลุ่ม​งาน​ต่างๆ โปรแกรม​เหล่าน​ ี้ ได้แก่ การ​บริหาร​ลูกค้า​ สัมพันธ์ (CRM) การ​จัดการ​โซ่​อุปทาน (SCM) และ​พวก​โปรแกรม​กระแส​งาน​ทั้ง​หลาย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-12

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ใน​การ​วาง​ยุทธศาสตร์ การนำ�​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​จึง​ควร​แยก​องค์​ประ​กอบ​ ใหญ่ๆ ใน​สถาปัตยกรรม​เพื่อไ​ ม่​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​สับสน

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 7.1.1 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 7.1.1 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 7 ตอน​ที่ 7.1 เรื่อง​ที่ 7.1.1

ธ ส

เรื่อง​ที่ 7.1.2 แนวคิดข​ อง​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้

ธ ส

แนวคิดก​ ารนำ�​ระบบ​คอมพิวเตอร์ม​ า​ใช้เ​พือ่ ก​ าร​ด�ำ เนินธ​ รุ กิจน​ ัน้ เ​กิดข​ ึน้ ม​ า​นาน​แล้ว ยุคแ​ รก​ของ​การนำ�​ ซอฟต์แวร์ม​ า​ใช้ใ​ น​การ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจน​ ั้น เริ่มจ​ าก​การ​เขียน​โปรแกรม​เฉพาะ​กิจเ​พื่อใ​ ช้เ​ฉพาะ​ใน​องค์ก​ ร​นั้นๆ ไม่ม​ี มาตรฐาน​รว่ ม​ใน​การ​ออกแบบ​และ​พฒ ั นา ต่อม​ า​จงึ เ​กิดโ​ ปรแกรม​ส�ำ เร็จรูปข​ ึน้ จ​ าก​การ​รวบรวม​ประสบการณ์จ​ าก​ หลาย​องค์กร​ใน​ส่วน​ที่​เป็น​มาตรฐาน​ที่ส​ ามารถ​ใช้​ร่วม​กัน​ได้ แต่​ก็​ยัง​เป็นร​ ะบบ​ขนาด​เล็ก เช่น โปรแกรม​ระบบ​ เงิน​เดือน โปรแกรม​บัญชี เป็นต้น จน​มา​ถึงย​ ุค​ที่พ​ ัฒนาการ​ของ​โปรแกรม​สำ�เร็จรูปเ​ริ่ม​มี​ความ​ซับ​ซ้อน​และ​มี​ ขนาด​ใหญ่​ขึ้น ครอบคลุม​ส่วน​งาน​ใน​องค์กร​กว้าง​ขวาง​ขึ้น ขณะ​เดียวกัน​ก็​มี​ความ​สำ�คัญ​มาก​ขึ้น​เช่น​กัน โดย​ แต่ละ​โปรแกรม​ยังต​ ่าง​คน​ต่าง​ทำ�​และ​มีห​ ลาย​ส่วน​ที่ซ​ ้ำ�​ซ้อน​กัน ไม่ส​ ามารถ​เชื่อม​โยง​กันไ​ ด้ เช่น โปรแกรม​บัญชี​ ของ​ผู้​พัฒนา​ราย​หนึ่ง ก็จ​ ะ​ไม่เ​ชื่อม​โยง​กับโ​ ปรแกรม​บริหาร​คลังส​ ินค้า​ของ​อีกร​ าย​หนึ่ง เป็นต้น ดัง​นั้น ถึง​แม้ว่า​ โปรแกรม​จะ​ครอบคลุมง​ าน​มาก​ขึน้ แต่ข​ อ้ มูลก​ ย​็ งั แ​ ยก​กระจัดกระจาย​ตา่ ง​คน​ตา่ ง​เก็บ เหมือน​เกาะ​ใน​มหาสมุทร (information island) หน่วย​งาน​ต่างๆ ก็​ทำ�งาน​ใน​ส่วน​งาน​ของ​ตนเอง​เหมือน​ไซโล (silo) ไม่​ประสาน​กัน ต่อ​มา​เมือ่ ​เข้า​ส​ยู่ คุ ​ของ​ระบบ​เครือ​ขา่ ย​ม​รี าคา​ถกู ​ลง และ​ใช้​กนั ​อย่าง​แพร่​หลาย ที​เ่ รียก​วา่ ระบบ​เครือข่าย ​ ท้อง​ถิ่น หรือ​ระบบ​แลน (LAN - Local Area Network) และ​เมื่อ​หน่วย​ความ​จำ�​และ​อุปกรณ์​จัดเ​ก็บ​ข้อมูล​ มี​การ​พัฒนา​ไป​อย่าง​มาก และ​การ​เกิด​ขึ้น​ของ​ฐาน​ข้อมูล​เชิง​สัมพันธ์ (relational database) จึง​เกิด​แนวคิด​ การ​สร้าง​แพลตฟอร์ม (platform) ใน​การ​พัฒนา​โปรแกรม​ร่วม​กัน ทำ�ให้เ​ทคโนโลยีก​ าร​พัฒนา​ระบบ​ซอฟต์แวร์​ เปิดก​ ว้าง​ขึ้น ซอฟต์แวร์ท​ ีพ่​ ัฒนา​จาก​หลาย​แหล่ง สามารถ​ทำ�งาน​ร่วม​กันไ​ ด้ง​ ่าย​ขึ้น สนับสนุนใ​ ห้เ​กิดก​ าร​พัฒนา​ ระบบ​ซอฟต์แวร์​ทาง​ด้าน​ธุรกิจท​ ี่​เป็น​แบบ​บูรณ​า​การ​ขนาด​ใหญ่ โดย​รวบรวม​ระบบ​ย่อย​ต่างๆ ให้​เข้า​มา​อยู่​บน​ แพลตฟอร์มเ​ดียวกันจ​ น​ครอบคลุม​ระบบ​ทั้งหมด​ของ​องค์กร แนวคิดท​ กี​่ ลาย​เป็นจ​ ดุ ก​ �ำ เนิดข​ อง​แนวคิดก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​เวลา​ตอ่ ม​ า​คอื การ​รวบรวม​ กระบวนการ​ทำ�งาน​จาก​ส่วน​ต่างๆ ของ​องค์กร​เข้า​มา​เป็น​หนึ่ง​เดียว เพื่อ​ตอบ​สนอง​การ​วางแผน​ความ​ต้องการ​ วัตถุดิบ (Material Requirements Planning - MRP) ซึ่ง​ถือ​เป็น​แนวคิด​ที่​ล้ำ�​หน้าไ​ ป​มาก​สำ�หรับ​ยุค​ที่​ระบบ​ คอมพิวเตอร์​ยัง​มี​ความ​สามารถ​ใน​การ​ประมวล​ผล​ต่ำ�​และ​ระบบ​เครือ​ข่าย​ยัง​มี​ราคา​แพง เนื่องจาก​ระบบ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-13

ธ ส

ข​ นาด​ใหญ่ท​ ซี​่ บั ซ​ อ้ น​มาก และ​ท�ำ ให้ซ​ อฟต์แวร์ส​ �ำ หรับก​ าร​บริหาร​งาน​ธรุ กิจเ​ข้าม​ า​มบ​ี ทบาท​ส�ำ คัญม​ าก​ยิง่ ข​ ึน้ หลัง​ จาก​นั้น​จึงเ​กิด​แนวคิด​ที่จ​ ะ​รวบรวม​ระบบ​อื่นๆ ที่ใ​ ช้​โปรแกรม​สำ�เร็จรูป​ที่​เคย​แยก​กัน​เก็บ​ข้อมูล​ให้เ​ข้า​มา​อยู่​ใน​ กระแส​การ​ไหล​ของ​งาน​ขนาด​ใหญ่ร​ ่วม​กัน และ​กลาย​มา​เป็นร​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​ที่สุด แม้ว่าผ​ ู้พ​ ัฒนาการ​วางแผน​ความ​ต้องการ​วัตถุดิบ (MRP) จะ​เป็น​ผู้นำ�​แนวคิดใ​ น​การ​รวบรวม​ระบบ​ จน​มา​เป็นการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​ที่สุด แต่​ซอฟต์แวร์​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ส่วน​มาก​ใน​ ปัจจุบัน​กลับ​มิได้​ต่อย​อด​มา​จาก​การ​วางแผน​ความ​ต้องการ​วัตถุดิบ แต่​มัก​จะ​ต่อย​อด​มา​จาก​ระบบ​บัญชี​การ​ เงิน​เป็น​ส่วน​มาก เช่น เอส​เอ​พี (SAP) ออราเคิล (Oracle) เจ​ดี เอ็ด​เวิดส์ (J.D. Edwards) และ​แม้​กระทั่ง​ ซอฟต์แวร์​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ของ​ไทย​ชื่อ โฟร์​มา (Forma) ฟอร์มูล่า (FORMULA) ก็​มี​รากฐาน​ มา​จาก​ระบบ​บัญชี​และ​การ​เงิน และ​มี​บทบาท​หลัก​ใน​การ​เป็น​ระบบ​งาน​ส่วน​หลัง (back office systems) ให้​ กับร​ ะบบ​อื่นๆ ซึ่งส​ ามารถ​ทำ�​หน้าที่เ​ป็นฐ​ าน​ข้อมูลก​ ลาง​ที่ม​ ีแ​ บบแผน​เดียวกัน​มากกว่า​ฐาน​ข้อมูลข​ อง​ฝ่าย​ผลิต ซึ่ง​มัก​จะ​เฉพาะ​เจาะจง​อุตสาหกรรม​ใด​อุตสาหกรรม​หนึ่ง ทำ�ให้ร​ ะบบ​งาน​ส่วน​หลัง​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​กลาย​มา​เป็นผ​ สู้​ ืบทอด​แนวคิดท​ ปี่​ ระสบ​ความ​สำ�เร็จใ​ น​วง​กว้าง​มากกว่าร​ ะบบ​การ​วางแผน​ความ​ต้องการ​ วัตถุดิบ​เพียง​อย่าง​เดียว จาก​จุด​เริ่ม​ต้น​ที่มา​จาก​ระบบ​การ​วางแผน​ความ​ต้องการ​วัตถุดิบ​แล้ว โดย​มุ่ง​เน้น​ไป​ที่​การ​ผลิต​สินค้า​ อย่าง​มี​ประสิทธิภาพ โดย​การนำ�​ระบบ​ฐาน​ข้อมูล​ขนาด​ใหญ่​และ​เชื่อม​โยง​กัน​มา​ใช้​ให้​เกิด​ประโยชน์​เป็น​หลัก ต่อม​ า​จึงข​ ยาย​ขอบเขต​เข้าม​ า​ถึงฝ​ ่าย​จัดซ​ ื้อแ​ ละ​การ​พยากรณ์ข​ อง​ฝ่าย​ขาย​มาก​ขึ้น นำ�​มา​สูเ่​อกสาร​ทีเ่​ป็นท​ างการ​ และ​ต้อง​ปฏิบัติ​ตาม​กฎ​ระเบียบ​ของ​ภาค​รัฐ​อย่าง​ถูก​ต้อง​และ​รัดกุม ทำ�ให้​เกิด​การ​รวม​กัน​ของ​ระบบ​งาน​ผลิต​ กับ​ระบบ​บัญชี​และ​ระบบ​การ​จัดการ​ของ​ฝ่าย​สำ�นักงาน​เข้า​มา ซึ่ง​เกิน​ขอบเขต​ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ความ​ ต้องการ​วัตถุดิบ​เดิม จึง​เป็น​ที่มา​ของ​แนวคิด​ที่​จะ​มี​ระบบ​งาน​ซึ่ง​ครอบคลุม​ทั้ง​องค์กร โดย​แรก​เริ่ม​ได้​ถูก​นำ�​ เสนอ​ใน​องค์กร​ขนาด​ใหญ่ (enterprise) และ​ได้​กลาย​มา​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​คำ�​ว่า “การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร” นั่นเอง รูป​แบบ​การ​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​แนวคิด​ของ​การนำ�​เอา​เทคโนโลยี​ระดับ​ สูงท​ าง​ด้าน​ซอฟต์แวร์ม​ า​ช่วย​การ​ปฏิบัติง​ าน​ของ​บุคลากร​ของ​องค์กร สำ�หรับก​ ระบวนการ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจท​ ี่ห​ ลาก​ หลาย โดย​การ​รวบรวม​องค์​ความ​รู้ท​ ี่ป​ ระสบ​ความ​สำ�เร็จ​จาก​องค์กร​ต่างๆ ใน​ภาค​ปฏิบัติ (best practice) ก่อ​ ให้เ​กิด​รูป​แบบ​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจท​ ี่ม​ ี​มาตรฐาน​สูง และ​มี​ระบบ​ครอบคลุม​ทุกส​ ่วน​งาน​ของ​องค์กร และ​รวบรวม​ ข้อมูล​จาก​ส่วน​ต่างๆ และ​ระบบ​อื่นๆ ของ​องค์กร​ให้​เป็น​หนึ่ง​เดียว สามารถ​ใช้​ข้อมูล​เพื่อ​การ​วางแผน​งาน​ของ​ องค์กร​ได้​อย่าง​มี​ประสิทธิภาพ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ถูก​วาง​บทบาท​ให้​เป็น​เครื่อง​มือ​สำ�คัญ​ใน​กา​รบู​รณา​การ​ข้อมูล​ทางการ​ เงิน และ​การ​จัดการ​ทรัพยากร​ต่างๆ เพื่อใ​ ห้ผ​ ูบ้​ ริหาร​ระดับส​ ูงส​ ามารถ​ทราบ​ถึงผ​ ล​การ​ดำ�เนินง​ าน​ของ​ทั้งอ​ งค์กร​ ที่​ถูก​ต้อง เข้าใจ​ง่าย อยู่​บน​มาตรฐาน​เดียวกัน สามารถ​ตัดสิน​ใจ​ได้​อย่าง​มี​ประสิทธิภาพ​และ​ทัน​สถานการณ์​ อย่าง​มร​ี ะบบ จาก​แต่เ​ดิมท​ ผี​่ บู​้ ริหาร​ตอ้ ง​ตดั สินใ​ จ​จาก​ประสบการณ์ส​ ว่ น​บคุ คล​และ​ความ​รูส้ กึ มา​เป็นการ​ตดั สิน​ อย่าง​มี​วิชาการ​บน​พื้น​ฐาน​ข้อมูล​มาก​ขึ้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-14

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ถูก​ใช้​เพื่อ​พัฒนา​องค์กร โดย​การ​ยก​ระดับ​ความ​รับ​ผิด​ชอบ​บุคลากร​ จาก​พนักงาน​ธรรมดา (employee) มา​เป็น​นัก​ธุรกิจ (businessperson) เนื่องจาก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​สามารถ​รวบรวม​ข้อมูล​จาก​ทุก​ฝ่าย​ให้​เป็น​หนึ่ง​เดียว และ​ช่วย​ให้​ข้อมูล​ใน​การ​วางแผน​กำ�ลัง​การ​ผลิต​ และ​การ​ใช้​ทรัพยากร​ทั้งหมด​ของ​องค์กร จาก​เดิม​ที่​แต่ละ​ฝ่าย​ทำ�งาน​แยก​กัน​โดย​ไม่​รับ​รู้​การ​ทำ�งาน​ของ​ฝ่าย​ อื่น​มา​เป็นการ​รับ​ผิด​ชอบ​ร่วม​กัน เช่น การ​ออก​บิล​ขาย​ของ​ฝ่าย​ขาย จาก​เดิม​ที่​ฝ่าย​ขาย​จะ​ออก​บิล​ขาย​ได้​โดย​ ไม่ต​ ้อง​รับร​ ูว้​ ่าม​ สี​ ินค้าพ​ ร้อม​ขาย​หรือไ​ ม่ หรือไ​ ม่ท​ ราบ​ว่าล​ ูกค้าร​ าย​นั้นม​ ีห​ นีเ้​กินว​ งเงินห​ รือย​ ัง มา​เป็นการ​ทำ�งาน​ ประสาน​กันโ​ ดย​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​สืบค้นข​ ้อมูลจ​ าก​ฝ่าย​อื่น เช่น ข้อมูลจ​ าก​ฝ่าย​คลังส​ ินค้า​ พบ​วา่ ส​ นิ ค้าม​ ไ​ี ม่พ​ อ​ขาย ระบบ​กอ​็ าจ​จะ​ไม่อ​ นุญาต​ให้อ​ อก​บลิ ไ​ ด้ จึงเ​ป็นการ​เปลีย่ น​วธิ ก​ี าร​ท�​ำ ธรุ กิจไ​ ป​โดย​ปริยาย และ​เปลี่ยน​จาก​พนักงาน​ธรรมดา​ให้​กลาย​มา​เป็น​นัก​ธุรกิจ​มาก​ขึ้น เนื่องจาก​มอง​เห็น​ภาพ​รวม​ของ​ทั้ง​ระบบ​ มากกว่า​จะ​สนใจ​เฉพาะ​ส่วน​ของ​ตน​เท่านั้น เหตุผล​ที่​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ถูก​นำ�​มา​ใช้​อย่าง​แพร่​หลาย มี​ดังนี้ 1. การ​พฒ ั นา​โปรแกรม​ทส​ี่ ามารถ​รองรับก​ ระบวนการ​ด�ำ เนินธ​ รุ กิจท​ งั้ ร​ ะบบ​ขนึ้ ม​ า​ใช้เ​อง ต้อง​ใช้เวลา​ นาน​มาก ก่อน​ที่​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​ถูก​นำ�​มา​ใช้​อย่าง​แพร่​หลาย​นั้น องค์กร​มัก​จะ​ทำ�การ​จ้าง ​นัก​พัฒนา​โปรแกรม​มา​ทำ�การ​วิเคราะห์​และ​ออกแบบ​ระบบ​งาน​ให้​เข้า​กับ​องค์กร​โดย​เฉพาะ โดย​มอง​ว่า​เสื้อ​สั่ง​ ตัดย​ ่อม​พอดีก​ ว่าเ​สื้อจ​ าก​โรงงาน ดังน​ ั้น ใน​ระยะ​แรก​องค์กร​ต่างๆ จึงไ​ ม่น​ ิยม​ใช้ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เนื่องจาก​มิได้​เขียน​มา​เพื่อ​องค์กร​ของ​ตนเอง​โดย​เฉพาะ แต่​เมื่อ​ผู้​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ ใน​ตลาด​ได้​รวบรวม​ประสบการณ์ท​ ี่​ได้​ทำ�ให้​กับ​หลาก​หลาย​องค์กร​มา​เป็น​เวลา​ยาวนาน และ​เก็บ​สะสม​ความ​ สามารถ​ของ​แนว​ปฏิบัติท​ ี่​ดี (best practice) เข้าไ​ ว้ใ​ น​ระบบ​จำ�นวน​มาก และ​ใน​ยุคท​ ี่​การ​แข่งขันร​ ุนแรง สภาพ​ แวดล้อม​มี​การ​เปลี่ยนแปลง​ตลอด​เวลา องค์กร​จึง​ไม่​อาจ​ที่​จะ​รอ​การ​พัฒนา​ใหม่​และ​ยัง​ไม่​สามารถ​แน่ใจ​ได้​ว่า​ จะ​ใช้​งาน​ได้ ผู้​บริหาร​ส่วน​มาก​จึงเ​ลือก​ที่​จะ​ซื้อ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​แทน​การ​เขียน​ขึ้น​มา​เอง 2. ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​พัฒนา​โปรแกรม​ขึ้น​มา​เอง​สูง​มาก การ​พัฒนา​ระบบ​ที่​ซับ​ซ้อน มี​ขอบเขต​ของ​ ระบบ (system boundary) กว้าง​ครอบคลุม​ทั้ง​องค์กร และ​มี​ราย​ละเอียด​มาก ต้อง​ใช้​เวลา​และ​ค่า​ใช้​จ่าย​สูง​ มาก ขณะ​ทกี​่ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็นการ​พฒ ั นา​ระบบ​ชดุ เ​ดียว​แต่จ​ �ำ หน่าย​ให้ก​ บั ห​ ลาย​องค์กร เป็นการ​ เฉลี่ย​ค่า​ใช้​จ่าย​กัน จึงม​ ี​ราคา​ที่ป​ ระหยัด​กว่า​การ​พัฒนา​เอง​อย่าง​มาก อาจ​กล่าว​เปรียบ​เทียบ​ได้​ว่า การ​พัฒนา​ เพียง​แค่โ​ ปรแกรม​บัญชีข​ ึ้นม​ า​ใหม่ใ​ ห้ม​ ีค​ วาม​สามารถ​เพียง​เท่ากับ​โปรแกรม​บัญชีท​ ี่ใ​ ช้ก​ ันอ​ ย่าง​แพร่ห​ ลาย และ​ ขาย​ใน​ราคา​เพียง​แค่ห​ ลักห​ มื่น ก็ต​ ้อง​ใช้ค​ ่าใ​ ช้จ​ ่าย​ใน​การ​พัฒนา​มากกว่า 1 ล้าน​บาท หาก​เทียบ​กับก​ าร​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​แล้ว​คง​มีค​ ่า​ใช้​จ่าย​สูง​ยิ่งก​ ว่า​นั้น​มาก​นัก 3. ค่าบ​ �ำ รุงร​ กั ษา​สงู ไม่ค​ มุ้ ค​ า่ ก​ าร​ดแู ล​โปรแกรม​ทพ​ี่ ฒ ั นา​และ​ใช้เ​พียง​องค์กร​เดียว คน​ส่วน​มาก​เข้าใจ​ ว่าเ​มื่อเ​ขียน​โปรแกรม​เสร็จแ​ ล้วก​ ็ไ​ ม่มีอ​ ะไร​ต้อง​ทำ� และ​ไม่มคี​ ่าใ​ ช้จ​ ่าย​ อื่นๆ ตาม​มา แต่ใ​ น​ความ​เป็นจ​ ริงแ​ ล้ว ยัง​ มี​ค่า​ใช้จ​ ่าย​ใน​การ​บำ�รุง​รักษา ได้แก่ 1) การ​บำ�รุง​รักษา​แบบ​แก้ไข​ให้​ถูก​ต้อง (corrective maintenance) คือ การ​แก้​ข้อ​บกพร่อง (bug) ต่างๆ 2) การ​บำ�รุง​รักษา​แบบ​ปรับ​แต่ง (adaptive maintenance) คือ ​การ​ปรับ​แต่ง​โปรแกรม​ตาม​ การ​ร้องขอ เพื่อใ​ ห้ใ​ ช้ง​ าน​ได้ต​ าม​สภาพ​แวดล้อม​ที่เ​ปลี่ยน​ไป เช่น ระบบ​ปฏิบัติก​ าร​ใหม่ แพลตฟอร์มใ​ หม่ หรือ​ ฐาน​ข้อมูล​ใหม่

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-15

3) การ​บำ�รุง​รักษา​แบบ​สมบูรณ์ (perfective maintenance) คือ การ​ปรับ​แต่ง​ให้​สมบูรณ์​ยิ่ง​ขึ้น เช่น ความ​สะดวก ความ​สวยงาม​ และ​ความเร็ว​ใน​การ​ทำ�งาน 4) การ​บำ�รุง​รักษา​แบบ​ขยาย​ต่อย​อด (enhancements) คือ การ​ขยาย​ระบบ​ออก​ไป​จาก​ขอบเขต​ เดิม ซึ่งด​ เู​หมือน​จะ​ไม่ใช่ก​ าร​บำ�รุงร​ ักษา​โดยตรง แต่ม​ ักจ​ ะ​รวม​เข้าไ​ ว้ด​ ้วย​กัน เนื่องจาก​เป็นค​ ่าใ​ ช้จ​ ่าย​ทีเ่​กิดภ​ าย​ หลัง และ​เป็นการ​ต่อย​อด​จาก​ระบบ​เก่า ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​บำ�รุง​รักษา​เป็น​ค่า​ใช้​จ่าย​ที่​สูง ใน​การ​เก็บข​ ้อมูล​จาก 487 องค์กร พบ​ว่า ค่าใ​ ช้​จ่าย​ใน​ การ​บำ�รุง​รักษา (49%) มี​มูลค่า​สูง​กว่า​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​พัฒนา​แรก​เริ่ม (43%) (ภาพ​ที่ 7.1)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.1 กราฟ​แสดง​ร้อย​ละ​ของ​ต้นทุน​ใน​การ​พัฒนา​ซอฟต์แวร์​ขึ้น​ใช้​เอง

ที่มา: Boehm B. “Software Engineering Economics.” Prentice Hall (1981) [2]

ธ ส

จะ​เห็น​ได้​ว่า​หลัง​จาก​พัฒนา​โปรแกรม​จน​สำ�เร็จ​แล้ว องค์กร​ยัง​มี​ภาระ​ที่​จะ​ต้อง​รักษา​บุคลากร​ด้าน​ การ​พัฒนา​ไป​ตลอด ซึ่ง​เป็นการ​ยาก​มาก​และ​มี​ต้นทุน​สูง​มาก หาก​รักษา​ไว้​ไม่​ได้​ก็​จะ​มี​ผล​ร้าย​ต่อ​ระบบ และ​ ยิ่ง​เพิ่ม​ต้นทุนก​ าร​บำ�รุงร​ ักษา​อย่าง​มาก เนื่องจาก​คน​ใหม่​ไม่​สามารถ​ปรับ​แก้​ได้​ดี​เท่าค​ น​เดิม ด้วย​เหตุน​ ี้ ทำ�ให้​ ผู้บ​ ริหาร​องค์กร​ทั้งใ​ หญ่แ​ ละ​เล็กเ​ลือก​ที่จ​ ะ​ซื้อซ​ อฟต์แวร์ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​สำ�เร็จรูปม​ า​ใช้ม​ ากกว่า​ ที่​จะ​พัฒนา​เอง ยกเว้น​เมื่อ​หา​ซอฟต์แวร์​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​ใกล้​เคียง​กัน​ไม่​ได้​จึง​เลือก​ที่​จะ​ พัฒนาเอง ทีก่​ ล่าว​ใน​ทีน่​ ี้ กล่าว​เฉพาะ​ค่าบ​ ำ�รุงร​ ักษา​ตัวโ​ ปรแกรม​เท่านั้น ยังไ​ ม่ร​ วม​ถึงฮาร์ดแวร์แ​ ละ​บริการ​อื่นๆ ซึ่ง​จะ​ได้ก​ ล่าว​ใน​หัวข้ออ​ ื่น​ต่อ​ไป

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 7.1.2 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 7.1.2 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 7 ตอน​ที่ 7.1 เรื่อง​ที่ 7.1.2


7-16

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

เรื่อง​ที่ 7.1.3 ประโยชน์​และ​ความ​สำ�คัญ​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร

ธ ส

1. ประโยชน์​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ถูกน​ ำ�​มา​ใช้​เพื่อ​ประโยชน์​ใน​ด้าน​ต่างๆ โดย​เหตุผล​ที่​ผู้​บริหาร​เลือก​ใช้​ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร มักจ​ ะ​เป็น​ประโยชน์ในเรื่อง ดังต่อไปนี้ 1.1 กา​รบู​รณา​การ​ข้อมูล​ทางการ​เงิน​ของ​องค์กร เพื่อ​ให้​ผู้​บริหาร​เข้าใจ​ภาพ​รวม​ของ​ฐานะ​ทางการ​ เงินแ​ ละ​ผล​การ​ดำ�เนินง​ าน​ของ​องค์กร ช่วย​ให้การ​ตัดสินใ​ จ​ของ​ผูบ้​ ริหาร​เป็นไ​ ป​ด้วย​ความ​รวดเร็วบ​ น​ฐาน​ข้อมูล​ กลาง​ชุดเ​ดียวกัน​ทุก​ฝ่าย 1.2 กา​รบูร​ ณา​การ​ฐาน​ขอ้ มูลเ​พือ่ ใ​ ช้ใ​ น​การ​ปฏิบตั ง​ิ าน​ทงั้ อ​ งค์กร โดย​ผใู​้ ช้ร​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​ทุก​ฝ่าย​จะ​สามารถ​แบ่ง​ปัน​ข้อมูล​กัน​ได้ และ​เป็น​ข้อมูล​ที่​ทัน​สมัย จึง​ช่วย​ให้​สามารถ​ทำ�งาน​ได้​อย่าง​มี​ ประสิทธิภาพ เช่น กรณีก​ าร​รับคำ�​สั่งซ​ ื้อจ​ าก​ลูกค้า จะ​ต้อง​มี​การ​เก็บฐ​ าน​ข้อมูล​ลูกค้า​พร้อม​ที่​อยู่​ใน​การ​จัด​ส่ง เมื่อ​ผ่าน​กระบวนการ​ออก​ใบรับ​คำ�​สั่ง​ซื้อ​แล้ว ฝ่าย​คลัง​สินค้า​ก็​ต้องการ​ใช้​ข้อมูล​การ​สั่ง​ซื้อ​ใน​การเต​รี​ยม​การ​ ส่งข​ อง ฝ่าย​จัดส​ ่งก​ ็ต​ ้องการ​ข้อมูลท​ ี่อ​ ยู่ข​ อง​ลูกค้าใ​ น​การ​จัดส​ ่ง และ​ฝ่าย​บัญชีล​ ูกห​ นี้ต​ ้อง​ใช้ฐ​ าน​ข้อมูลล​ ูกค้าใ​ น​ การ​ดำ�เนิน​การ​เก็บ​เงิน​เช่น​กัน ซึ่งก​ าร​แบ่ง​ปัน​ฐาน​ข้อมูล​ลูกค้า​ก็​จะ​ทำ�ให้​เกิด​ประสิทธิภาพ ลด​ความ​ผิด​พลาด และ​ตรวจ​สอบ​ได้ 1.3 การ​เพิม่ ค​ วาม​รวดเร็วใ​ น​การ​ผลิต โดย​เฉพาะ​กิจการ​โรงงาน​ต้องการ​ผลิตส​ ินค้าใ​ ห้ต​ รง​ตาม​ความ​ ต้องการ​ของ​ลูกค้าใ​ ห้ท​ ันเ​วลา​ใน​ต้นทุนท​ ี่แ​ ข่งขันไ​ ด้ จาก​ประสิทธิภาพ​การ​ผลิต การ​ลด​การ​สูญเ​สีย และ​การ​จัด​ ซื้อท​ ีม่​ ปี​ ระสิทธิภาพ การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้จ​ ะ​ทำ�ให้เ​กิดก​ าร​ทำ�งาน​ทีเ่​ป็นม​ าตรฐาน​เดียวกัน จะ​ช่วย​ให้การ​วางแผน​การ​ผลิตเ​ป็นไ​ ป​ได้​อย่าง​รวดเร็ว และ​สามารถ​ทำ�ให้​กระบวนการ​การ​ผลิต​สามารถ​ส่ง​ต่อ​ กันไ​ ด้อ​ ย่าง​ไหล​ลื่น เป็นการ​เพิ่มผ​ ลิตผล เพิ่มป​ ระสิทธิภาพ ลด​ค่าโ​ สหุ้ย ลด​ความ​สูญเ​สีย (waste) และ​ส่งม​ อบ​ สินค้า​ได้ท​ ันต​ าม​กำ�หนด 1.4 การ​ลด​ปริมาณ​สินค้า​คงคลัง จาก​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​ใน​การ​วางแผน​การ​ ผลิต จะ​ช่วย​ให้การ​วางแผน​การ​จัดซ​ ื้อว​ ัตถุดิบแ​ ละ​แผนการ​ใช้เ​ครื่องจักร​สอดคล้อง​ประสาน​กัน ทำ�ให้ส​ ามารถ​ ลด​รักษา​ปริมาณ​สินค้าค​ งคลัง (safety stock) ลง​ได้​อย่าง​มาก ทั้ง​สินค้า​สำ�เร็จรูป วัตถุดิบ และ​งาน​ระหว่าง​ ทำ� แต่ย​ ังส​ ามารถ​ส่งม​ อบ​สินค้าไ​ ด้ต​ าม​กำ�หนด​มาก​ขึ้น การ​ลด​ปริมาณ​สินค้าค​ งคลังท​ ำ�ให้ล​ ด​ต้นทุนท​ างการ​เงิน​ และ​ลด​ต้นทุนจ​ าก​การ​สูญเ​สียใ​ น​ระบบ​ทั้งหมด เช่น ต้นทุนท​ าง​ด้าน​การ​เงินข​ อง​การ​รักษา​ปริมาณ​สินค้าค​ งคลัง​ ใน​ระดับส​ ูง ลด​การ​สูญ​เสีย​จาก​สินค้า​หมด​อายุ หรือ​ล้า​สมัย หรือ​การ​เช่า​คลัง​สินค้า รวม​ทั้ง​ลด​โอกาส​จาก​การ​ โจรกรรม​อีกด​ ้วย ซึ่งต​ ้นทุน​เหล่า​นี้ ไม่​เพียง​เป็นต้น​ทุน​ที่​สูง​เท่านั้น แต่​ถือ​เป็น​ปัจจัย​สำ�คัญ​ที่ก​ ระทบ​ต่อ​ความ​ สามารถ​ใน​การ​แข่งขันข​ อง​กิจการ​ต่างๆ จำ�นวน​ไม่​น้อย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-17

1.5 การ​บริหาร​ผล​ตอบแทน​พนักงาน การ​วัดผล​ประกอบ​การ​และ​การ​จัดสรร​ผล​ประโยชน์ข​ อง​ศูนย์​ รับ​ผิด​ชอบ (responsibility center) หรือ​หน่วย​ธุรกิจ​อย่าง​เป็นร​ ะบบ จะ​ช่วย​ขจัด​ปัญหา​การ​สื่อสาร​ระหว่าง​ องค์กร​กับ​พนักงาน​ลง​ได้

ธ ส

2. ความ​สำ�คัญ​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

จาก​สถาปัตยกรรม​ของ​ธุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์ (ภาพ​ที่ 7.2) จะ​เห็นว​ ่าการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​นั้น​ เป็น​แกน​กลาง​ของ​สถาปัตยกรรม การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มี​บทบาท​ใน​การ​รวบรวม​ข้อมูล​หลัก​ทั้งหมด โดย​เฉพาะ​ข้อมูลท​ างการ​เงิน และ​ระบบ​งาน​ส่วน​หลัง​ก็​เป็น​ศูนย์กลาง​ใน​การ​เชื่อม​โยง​ข้อมูล​ของ​ระบบ​อื่นๆ ที​่ เกี่ยวข้อง​เข้า​ด้วย​กัน ทำ�ให้ข​ ้อมูลส​ ามารถ​ไหล​เวียน​ไป​ทั่ว​ทั้ง​ระบบ ผู้​บริหาร​สามารถ​มอง​เห็น​ข้อมูลใ​ น​ภาพ​ที่​ ตรง​กัน​ทั้ง​องค์กร เชื่อม​โยง​ผู้ม​ ี​ส่วน​ได้​ส่วน​เสีย​ทั้งหมด ทั้ง​ลูกค้า คู่​ค้า ผู้​จำ�หน่าย และ​พนักงาน เข้า​ด้วยกัน สามารถ​สืบค้น​ข้อมูล​เพื่อ​การ​ตัดสิน​ใจ​ได้​อย่าง​น่า​เชื่อ​ถือจาก​คลัง​ข้อมูล​โดย​ใช้​ตัว​สร้าง​รายงาน (report generator) หรือ​โปรแกรม​ธุรกิจ​อัจฉริยะ (Business Intelligence-BI) หรือ​เครื่อง​มือ​ออก​ราย​งา​นอื่นๆ ได้อ​ ย่าง​รวดเร็ว ถูก​ต้อง และ​ทัน​เวลา

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.2 สถาปัตยกรรม​ของ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ม ม

ธ ส


7-18

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ถึง​แม้ว่า​ใน​ระยะ​หลัง​ได้​มี​การนำ�​ซอฟต์แวร์​ที่​เน้น​กระบวนการ​ทาง​ธุรกิจ​มา​ใช้​อย่าง​แพร่​หลาย​มาก​ ขึ้น เช่น การ​บริหาร​ลูกค้า​สัมพันธ์ และ​การ​จัดการ​โซ่อ​ ุปทาน ซึ่งม​ ีส​ ่วน​งาน​ที่อ​ งค์กร​ให้ค​ วาม​สำ�คัญ​มาก​และ​ทับ​ ซ้อน​กับ​ระบบ​งาน​บาง​ส่วน​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร แต่​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ก็​ยัง​คง​บทบาท​ ที่​สำ�คัญ​ใน​การ​เป็น​แกน​กลาง​ของ​สถาปัตยกรรม​ของ​ทั้ง​องค์กร​เช่น​เดิม (ภาพ​ที่ 7.2) หาก​ขาด​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​การ​เชื่อม​โยง​ข้อมูล​ของ​แต่ละ​ระบบ​จะ​ต้อง​ทำ�​โดย​จับ​คู่​กันเอง ซึ่ง​จะ​ทำ�ให้​ซับ​ซ้อน​มาก​ขึ้น​ ตาม​ภาพ​ที่ 7.3

ธ ส

ธ ส

ธ ส

E-Business Architecture

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.3 การ​เชื่อม​ต่อ​ระบบ​ต่างๆ กรณี​ไม่มี​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​แกน​กลาง

ธ ส

จาก​การ​สำ�รวจ​ของ​วารสาร​ซี​ไอ​โอ (CIO magazine) ใน​ปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) พบ​ว่า ร้อย​ละ 85 ของ​ผู้​บริหาร​จาก 400 องค์กร​ที่​ได้​ใช้​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แล้ว เห็น​ด้วย​ถึง​เห็น​ด้วย​อย่าง​ยิ่ง​ ว่าการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ได้ก​ ลาย​เป็นป​ ัจจัยส​ ำ�คัญแ​ ละ​เป็นแ​ กน​กลาง​ของ​การ​ดำ�เนินก​ าร​ธุรกิจไ​ ป​แล้ว และ​จะ​ไม่​สามารถ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ได้​โดย​ไม่​ใช้​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ขณะ​ที่​กลุ่ม​ที่​เหลือ​ร้อย​ละ 15 บาง​ คน​มอง​ว่าการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กลาย​เป็นร​ ะบบ​คร่ำ�​ครึแ​ ห่งย​ ุค ซึ่งใ​ น​จำ�นวน​นี้ มีร​ ้อย​ละ 80 ที่ก​ ล่าว​ว่า​ บริษัทไ​ ม่ไ​ ด้ล​ งทุนเ​พิ่มใ​ น​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แล้ว แต่จ​ ะ​ยังใ​ ช้ต​ ่อไ​ ป​ซึ่งส​ ะท้อน​ความ​มีป​ ระสิทธิภาพ​ ของ​ระบบ [3]

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-19

ธ ส

ใน​ยุค​ที่​การ​แข่งขัน​รุนแรง​และ​เป็น​โลก​ไร้​พรมแดน สินค้า​ต่างๆ มี​วงจร​ชีวิต​ที่​สั้น​ลง ไม่​เว้น​แม้แต่​ ซอฟต์แวร์​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร องค์กร​ที่​ได้​ใช้​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กำ�ลัง​จะ​ก้าว​ข้าม​ไป​ยัง​ ความ​ต้องการ​ระบบ​ใหม่ๆ ที่จ​ ะ​เข้าม​ ีท​ ดแทน​ระบบ​เดิมๆ ทำ�ให้ว​ งจร​ชีวิตผ​ ลิตภัณฑ์ (product life cycle) ของ​ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​สั้น​ลง ซอฟต์แวร์​อาจ​ล้า​สมัย​ได้​ภายใน​ระยะ​เวลา​อัน​สั้น เพื่อ​ให้​ตอบ​สนอง​กับ​ แบบ​จำ�ลอง​ทาง​ธุรกิจ (business model) ใหม่ๆ ที่​เกิด​ขึ้น​ทั่ว​โลก แต่​องค์กร​เหล่า​นั้น​ก็​ไม่​อาจ​ทิ้ง​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​ได้ เนื่องจาก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ยัง​คง​เป็น​ส่วน​สำ�คัญ​ที่​จะ​เพิ่ม​ประสิทธิภาพ​ของ​ องค์กร​และ​ช่วย​ให้การ​ปรับ​ตัว​ของ​องค์กร​เป็น​ไป​อย่าง​มั่นคง แต่​การ​ปรับ​แก้​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กลับ​เป็น​เรื่อง​ยุ่ง​ยาก​มาก​และ​ต้นทุน​สูง องค์กร​ต่างๆ จึง​พยายาม​หา​วิธี​ที่​ทำ�ให้​การ​ปรับ​เปลี่ยน​ระบบ​ให้​ทัน​กับ​แบบ​จำ�ลอง​ทาง​ธุรกิจ​ใหม่​โดย​ง่าย และ​ควบ​คุม​ งบ​ประมาณ​ได้ หนึ่งใ​ น​นั้น​คือ แนวคิดท​ ี่​จะ​ใช้​การ​จ้าง​หน่วย​งาน​ภายนอก หรือ​เอาต์ซอร์ส (outsource) ระบบ​ งาน​ทาง​ด้าน​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ไป​ไว้​ใน​มือ​ผู้​ชำ�นาญ​การ​พิเศษ​ภายนอก​องค์กร​จึง​มี​มาก​ขึ้น เพื่อ​ความ​ คล่อง​ตัว​ใน​การ​ปรับ​เปลี่ยน​เทคโนโลยีใ​ ห้​ทันก​ ับ​การ​เปลี่ยนแปลง​ของ​แบบ​จำ�ลอง​ทาง​ธุรกิจจ​ าก​เดิมซ​ ึ่ง​ทำ�การ​ เอาต์ซอร์ส​เฉพาะ​ฮาร์ดแวร์​มา​เป็นการ​เอาต์ซอร์ส​ระบบ​ทั้ง​ระบบ ทำ�ให้​เกิด​การ​ทำ�การ​เอาต์ซอร์ส​กระบวนการ​ ทาง​ธุรกิจ (Business Process Outsourcing - BPO) ทั้งหมด​นี้​ก็​เพื่อ​เพิ่ม​ความเร็วแ​ ละ​ความ​ต่อ​เนื่อง​ใน ​การ​ตอบ​สนอง​การ​แข่งขัน​ที่ร​ ุนแรง​ใน​งบ​ประมาณ​ที่​ควบคุม​ได้ ใน​ทาง​เทคนิคน​ ั้น องค์กร​สามารถ​ทำ�การ​เอาต์ซอร์สก​ ระบวนการ​ทาง​ธุรกิจ​ได้​กับ​ระบบ​งาน​แทบ​ทุก​ ประเภท รวม​ทั้ง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ด้วย โดย​นำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ให้​บริการ​ใน​แบบ​ ของ​ซอฟต์แวร์บ​ ริการ หรือแ​ ซส Software-as-a-Service (SaaS) รูปแ​ บบ​นีไ้​ ด้เ​ป็นท​ าง​เลือก​ใน​ด้าน​การ​ลงทุน​ ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​แบบ​ใหม่ และ​เพิ่มค​ วาม​ยืดหยุ่นใ​ น​การ​ปรับต​ าม​เทคโนโลยีใ​ หม่ๆ อย่าง​ ต่อเ​นื่อง ทำ�ให้ซ​ อฟต์แวร์ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ต่างๆ เริ่มน​ ำ�​เสนอ​รูปแ​ บบ​แซ​สห​รือต​ าม​ความ​ต้องการ (on-demand) มาก​ขึ้น ทำ�ให้ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​สิ่ง​ที่​เข้า​ถึง​ได้​ง่าย​ขึ้น​ด้วย​งบ​ประมาณ​ที่​ต่ำ�​ลง ซึ่ง​จะ​ช่วย​ให้การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ยัง​คง​ความ​สำ�คัญ​ต่อไ​ ป

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 7.1.3 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 7.1.3 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 7 ตอน​ที่ 7.1 เรื่อง​ที่ 7.1.3

ธ ส

ธ ส


7-20

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ตอน​ที่ 7.2

ธ ส

องค์​ประกอบ​ทั่วไป​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

โปรด​อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ�​ตอน​ที่ 7.2 แล้วจ​ ึง​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ พร้อม​ปฏิบัติ​กิจกรรม​ใน​แต่ละ​เรื่อง

หัว​เรื่อง

แนวคิด

ธ ส

เรื่อง​ที่ 7.2.1 โครงสร้าง​พื้น​ฐาน​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เรื่อง​ที่ 7.2.2 เทคโนโลยี​ใน​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เรื่อง​ที่ 7.2.3 การ​ทำ�งาน​ของ​ระบบ​งาน​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เรื่อง​ที่ 7.2.4 พัฒนาการ​ต่อ​ขยาย​ระบบ​จาก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

ธ ส

1. ใน​การ​ปฏิบัติ​งาน​ประจำ�​วัน​นั้น ผู้​ใช้​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​มิได้​สัมผัส​ โครงสร้าง​ระดับ​ลึก​ของ​ระบบ แต่​จะ​สัมผัส​ใน​ส่วน​ของ​หน้า​จอ ความ​แตก​ต่าง​ที่แท้​จริง​ ระหว่าง​โปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กับ​โปรแกรม​ทั่วไป​คือ การ​มี​โครงสร้าง​ที่​ ได้ร​ ับก​ าร​ออกแบบ​มา​อย่าง​ดีแ​ ละ​มีค​ วาม​เสถียร ซึ่งม​ ีค​ วาม​สำ�คัญอ​ ย่าง​มาก เปรียบ​เสมือน​ โครงสร้าง​ของ​อาคาร​ต่างๆ โครงสร้าง​ทีม่​ ขี​ นาด​ใหญ่แ​ ละ​ได้ร​ ับก​ าร​ออกแบบ​มา​อย่าง​ดจี​ ึงจ​ ะ​ สามารถ​สร้าง​อาคาร​ใหญ่ไ​ ด้ โครงสร้าง​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร คือ การ​ออกแบบ​ ฐาน​ข้อมูลท​ ีส่​ อด​รับก​ ับโ​ ครงสร้าง​องค์กร ซึ่งจ​ ะ​ช่วย​ให้ร​ องรับก​ าร​ทำ�งาน​ของ​หน่วย​งาน​ตาม​ ความ​รับ​ผิด​ชอบ​ใน​องค์กร​ได้​ทุก​มิติ สื่อสาร​ผ่าน​ระบบ​ขนาด​ใหญ่ และ​สามารถ​เป็น​แกน​ กลาง​ของ​ฐาน​ข้อ​มูลอ​ ื่นๆ ของ​ทั้งอ​ งค์กร 2. การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ถือเ​ป็น​ฐานราก​ของ​ระบบ​งาน​ใน​องค์กร เป็น​ศูนย์กลาง​ของ​ ระบบ จึง​เป็น​ที่​รวม​ของ​ข้อมูล​ที่​ผู้​บริหาร​จะ​ใช้​ใน​การ​สั่ง​การ และ​การ​วางแผน​เชิงกล​ยุทธ์ แต่​โปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ไม่​สามารถ​รองรับ​ความ​ต้องการ​ที่​มากมาย​ ขนาด​นั้นไ​ ด้ จึงท​ ำ�ให้ม​ ีก​ ารนำ�​นวัตกรรม​ทาง​ด้าน​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​ที่​หลาก​หลาย​มา​ใช้​ ใน​การ​สืบค้นแ​ ละ​การ​จัดการ​การ​ไหล​ของ​ข้อมูลใ​ น​ระบบ ทั้งโ​ ปรแกรม​ธุรกิจอ​ ัจฉริยะ​ทีเ่​ป็น​ เครื่องมือส​ ำ�คัญใ​ น​กา​รสืน​ค้น​ข้อมูล หรือ​โปรแกรม​ประ​เภท​บูรณ​า​การ​ระบบ​งาน​ประยุกต์​ ของ​องค์​กร ซึ่ง​ใช้​ใน​การ​เชื่อม​ต่อ​ระบบ​ต่างๆ เข้า​ด้วย​กัน การ​ทำ�ความ​รู้จัก​และ​ประยุกต์​ ใช้จ​ ะ​ช่วย​ให้เ​กิด​ความ​คุ้มค​ ่าใ​ น​การ​ลงทุน​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ซึ่งใ​ น​ยุคห​ ลัง​ ก็ได้​ผนวก​นวัตกรรม​เหล่า​นี้​บาง​อย่าง​เข้า​มา​อยู่​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ผู้​ใช้​จึง​ สามารถ​เลือก​ใช้ได้​ใน​ทันที

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-21

ธ ส

3. การ​ทำ�ความ​เข้าใจ​โปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ซึ่งม​ ขี​ นาด​ใหญ่น​ ั้นเ​ป็นเ​รื่อง​ทีใ่​ ช้​ เวลา​มาก นอกจาก​นี้ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แต่ละ​ตัว​ก็​มี​ความ​หลาก​หลาย​ใน​การ​ กำ�หนด​ขอบเขต​ของ​ระบบ​งาน​ต่างๆ ทำ�ให้เ​ป็นการ​ยาก​ที่​จะ​อธิบาย​ให้​เห็นภ​ าพ​ทั่วไป การ​ ได้​เห็น​การ​ไหล​ของ​งาน​ของ​แต่ละ​ระบบ​งาน​ย่อย​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร จะ​ช่วย​ ให้​เห็น​ภาพ​ของ​ขอบเขต​ของ​ระบบ​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ทั้งหมด​ที่​ชัดเจน​กว่า​ คำ�​อธิบาย​เชิง​บรรยาย 4. แม้วา่ ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​เป็นร​ ะบบ​ขนาด​ใหญ่ รองรับป​ ฏิบตั ก​ิ าร​ของ​ส�ำ นักงาน​ เกือบ​ทั้งหมด แต่ก​ ระแส​การ​พัฒนา​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​ทรี่​ วดเร็วน​ ำ�​ไป​สนู่​ วัตกรรม​ใหม่ๆ ทาง​ด้าน​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ที่น​ ำ�​มา​ใช้​ใน​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ที่​มี​เปลี่ยนแปลง​สูง เพื่อ​ตอบ​ สนอง​การ​ดำ�เนิน​งาน​ให้​มี​ประสิทธิภาพ​และ​ประสิทธิผล​สูง​ยิ่ง​ขึ้น ทำ�ให้​เกิด​ระบบ​อื่นๆ ที่​มี​ ตอบ​สนอง​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ท่ามกลาง​การ​แข่งขัน​ที่​รุนแรง ทั้ง​ระบบ​จัดการ​ห่วง​โซ่​อุปทาน ระบบ​บริหาร​ลูกค้า​สัมพันธ์ แม้ว่า​ระบบ​งาน​ย่อย​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ได้​ตอบ​ สนอง​ความ​ตอ้ งการ​ใช้ง​ าน​ไป​ได้บ​ า้ ง​แล้ว แต่ก​ ย​็ งั ไ​ ม่เ​พียง​พอ ทำ�ให้อ​ งค์กร​มกั จ​ ะ​ตดิ ต​ ัง้ ร​ ะบบ​ อื่นๆ ที่​ทำ�​หน้าที่​โดย​เฉพาะ​แล้ว​ทำ�การ​เชื่อม​โยง​ข้อมูล​มายัง​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​อีก​ครั้ง ระบบ​เหล่า​นี้​บาง​ครั้ง​มัก​จะ​ถูก​มอง​เป็น​ระบบ​ที่​ต่อ​ขยาย​จาก​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร ซึ่งผ​ ู้พ​ ัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร นอกจาก​จะ​ต้องเต​รีย​ ม​ ช่อง​ทางใน​การ​เชื่อม​ต่อ​ระบบ​แล้ว ยัง​ต้อง​กำ�หนด​บทบาท​และ​ขอบเขต​ใหม่ข​ อง​ระบบ​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เพื่อท​ ำ�​หน้าที่​เป็น​แกน​กลาง​ของ​ระบบ​ได้​อย่าง​มี​ประสิทธิภาพ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-22

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

วัตถุประสงค์

ธ ส

เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 7.2 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. อธิบาย​โครงสร้าง​พื้นฐ​ าน​ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร และ​ความ​สอดคล้อง​กับ​ รูป​แบบ​องค์กร​ที่จ​ ะ​ประยุกต์​ใช้​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ให้​ประสบ​ผล​สำ�เร็จ​ได้ 2. อธิบาย​เทคโนโลยี​ที่​รองรับ​การ​ทำ�งาน​ที่​ซับ​ซ้อน​ของ​ระบบ ซึ่ง​อยู่​เบื้อง​หลัง​การ​ทำ�งาน​ของ​ ระบบ​ต่างๆ ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​และ​การ​ประยุกต์ใ​ ช้ใ​ น​การ​คัดเ​ลือก​ต่อไ​ ป​ได้ 3. อธิบาย​ขอบเขต​ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร และ​สามารถ​อธิบาย​การ​ทำ�งาน​ ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​โดย​ทั่วไป​ได้ 4. อธิบาย​จุดเ​ชื่อม​ต่อข​ อง​ระบบ​งาน​ระหว่าง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กับร​ ะบบ​อื่นๆ และ​ การ​ไหล​ของ​ข้อมูล​ระหว่าง​ระบบ​ได้ 5. อธิบาย​รูป​แบบ​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​พัฒนา​มา​เป็น​ระบบ​ที่​รองรับ​การ​ทำ�​ ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ใ​ น​ระดับ​ต่างๆ และ​เลือก​รูป​แบบ​ที่​เหมาะ​สม​ต่อ​องค์กร​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-23

ธ ส

เรื่อง​ที่ 7.2.1 โครงสร้าง​พื้นฐ​ าน​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

การ​ทำ�ความ​เข้าใจ​ขอบเขต​ของ​ระบบ​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร จาก​นิยาม​นั้น​เป็น​เรื่อง​ยาก ดังนั้น การ​ได้​เห็น​ตัวอย่าง​การ​ทำ�งาน​ของ​ระบบ​จะ​ช่วย​ให้​จับ​คู่​การ​ทำ�งาน​ของ​ระบบ​กับ​กระบวนการ​ดำ�เนิน​ ธุรกิจข​ อง​จริงไ​ ด้ง​ ่าย​ขึ้น ใน​เรื่อง​นีจ้​ ะ​นำ�​โปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​หนึ่ง2 ​ขึ้นม​ า​เป็นต​ ัวอย่าง ซึ่งน​ ่า​ จะ​ช่วย​ให้เ​ห็นภ​ าพ​รวม​ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​โดย​ทั่วไป​ได้เ​ป็นอ​ ย่าง​ดี แต่น​ ักศึกษา​พึงศ​ ึกษา​ เพิ่มเ​ติมจ​ าก​โปร​แก​รม​อื่นๆ ด้วย เนื่องจาก​ซอฟต์แวร์ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ของ​แต่ละ​ตัวจ​ ะ​มขี​ อบเขต​ และ​ชื่อเ​รียก​ระบบ​ย่อย​ที่แ​ ตก​ต่าง​กัน และ​มักจ​ ะ​มี​จุด​เด่น​ต่าง​กัน ซึ่ง​จะ​ได้​กล่าว​ต่อ​ไป ใน​ที่​นี้​แต่ละ​ระบบ​งาน หรือโ​ มดูล (module) อาจ​จะ​ไม่ต​ รง​กับช​ ื่อท​ ี่ป​ รากฏ​ใน​โปรแกรม​จริง เนื่องจาก​ผูเ้​ขียน​ต้องการ​ใช้เ​ป็นช​ ื่อก​ ลางๆ เพื่อ​ให้น​ ักศึกษา​เข้าใจ​หลัก​การ​ทำ�งาน​ทั่วไป​มากกว่า​การ​อิง​อยู่​กับ​ชื่อ​ที่​เฉพาะ​เจาะจง

ธ ส

ธ ส

1. ระบบ​งาน​ย่อย​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ส่วน​มาก​ประกอบ​ด้วย​โมดูล​ที่​ตอบ​สนอง​การ​ทำ�งาน​ของ​แต่ละ​หน่วย​ งาน​ทาง​ธุรกิจ (business unit) ของ​องค์กร​ทาง​ด้าน​ธุรกิจ ซึ่ง​เป็นส​ ่วน​ที่​เรียก​ว่า งาน​ส่วน​หลัง (back office) ทั้ง​ส่วน​ที่​เป็น​ธุรกิจ​ซื้อ​มา​ขาย​ไป ธุรกิจ​บริการ หรือ​อุตสาหกรรม​ก็ตาม และ​มัก​จะ​มี​โม​ดูล​อื่นๆ เสริม​เข้า​มา​ เพื่อ​รองรับ​การ​ใช้​งาน​ของ​องค์กร เช่น ระบบ​พี​โอเอส (POS) ระบบ​บริหาร​ทรัพยากร​มนุษย์ (HRM) ระบบ​ การ​วางแผน​วัตถุดิบ (MRP) ระบบ​ควบคุม​งบ​ประมาณ (BOQ) ธุรกิจ​อัจฉริยะ (BI) เว็บท​ ่าห​ รือ​เว็บพ​ อร์ทัล (web portal) หรือโ​ มดูลท​ ีข่​ ยาย​ขอบเขต​ไป​นอก​สำ�นักงาน เช่น การ​บริหาร​ลูกค้าส​ ัมพันธ์ การ​จัดการ​โซ่อ​ ุปทาน เป็นต้น ตลอด​จน​แอพ​พลิ​เคชั่​นบ​นมือ​ถือ (mobile application)

ธ ส

ม 2

ธ ส

ธ ส

ธ ส

โปรแกรม​ที่​ชื่อ​โฟร์​มา​อี​อาร์​พี (Forma ERP) ซึ่ง​เป็น​ของ​บริษัท ค​ริ​ส​ตอล​ซอฟท์ จำ�กัด (มหาชน)


7-24

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.4 ตัวอย่าง​ระบบ​ย่อย​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส ธ ส

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​ระบบ​งาน​ขนาด​ใหญ่ ใช้​เทคโนโลยี​ขั้น​สูง ดัง​นั้น การนำ�​ระบบ​อื่น​ มา​เชื่อม​โยง​กับ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ย่อม​สามารถ​ทำ�ได้​เสมอ และ​ข้อมูล​ทั้งหมด​จะ​สามารถ​รวม​กัน​ บน​มาตรฐาน​เดียวกันไ​ ด้ ช่วย​ผู้บ​ ริหาร​จะ​สามารถ​ควบคุม​การ​ทำ�งาน​และ​เรียก​ดู​รายงาน​ได้​ตลอด​เวลา

ธ ส

2. โมดูล​ต่างๆ ใน​ระบบ​งาน​ส่วน​หลัง​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

จาก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​ยก​มา​เป็น​ตัวอย่าง​นั้น โมดูล​ต่างๆ ที่​อาจ​พบ​ได้​ใน​ระบบ​งาน​ ส่วน​หลัง (back office) เช่น ระบบ​จัด​ซื้อ (PO) ระบบ​งาน​ขาย (SO) ระบบ​ควบคุมส​ ินค้า​คงคลัง (IC) ระบบ​ สินทรัพย์​และ​การ​คำ�นวณ​ค่า​เสื่อม (FA) ระบบ​บัญชี​ทั่วไป (GL) ระบบ​บัญชี​เจ้า​หนี้ (AP) ระบบ​บัญชี​ลูก​หนี้ (AR) ระบบ​ควบคุมเ​ช็ค (CQ) ระบบ​สารสนเทศ​เพื่อ​การ​จัดการ (MIS) ระบบ​ควบคุม​การ​ผลิต (MRP) ระบบ​ ภาษี (TAX) ระบบ​บริหาร​คลัง​สินค้า (WMS) ระบบ​วางแผน​การ​ปฏิบัติ​งาน​เพื่อ​การ​จัด​จำ�หน่าย (S&OP) และ​ ระบบ​บัญชี​การ​เงิน (FI)

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-25

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.5 ตัวอย่าง​โมดูล​ต่างๆ ใน​ระบบ​งาน​ส่วน​หลัง​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

3. หน่วย​งาน​ตาม​ความ​รับ​ผิด​ชอบ​ใน​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​ระบบ​ที่​ใช้​ใน​ระดับ​ที่​ครอบคลุม​ทั้ง​องค์กร (enterprise-wide) สามารถ​รองรับ​โครงสร้าง​องค์กร​ทั้ง​องค์กร​ได้ เป็น​ระบบ​ที่​เป็น​ศูนย์กลาง​ของ​ทุก​ระบบ​งาน​และ​ทุก​ส่วน​งาน หรือ​โมดูล (modules) ต่างๆ ใน​ระบบ​งาน​ส่วน​หลัง (back office) จึง​สะท้อน​โครงสร้าง​องค์กร เพื่อ​รองรับ​ การ​ดำ�เนิน​การ​และ​ใช้​ใน​การ​ประเมิน​ผล​งาน​ตาม​ความ​รับ​ผิด​ชอบ (performance base) ตาม​สาย​บังคับ​ บัญชา ระบบ​งาน​ส่วน​หลังข​ อง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​สามารถ​กำ�หนด​หน่วย​งาน​ตาม​ความ​รับผ​ ิดช​ อบ (responsibility center) หรือ​หน่วย​ธุรกิจ (business unit) ให้​เหมาะ​สม​กับ​กิจการ​ต่างๆ ได้ การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​บาง​ระบบ​สามารถ​รองรับอ​ งค์กร​ทีเ่​ป็นใ​ น​รูปข​ อง​กลุ่มบ​ ริษัท รองรับก​ าร​บริหาร​งาน​แบบ​หลาย​ มิติ (multi-dimensional) ได้ ช่วย​ให้การ​ประเมินผ​ ล​งาน​เป็นไ​ ป​ได้อ​ ย่าง​ละเอียด ช่วย​ให้การ​จัดสรร​ทรัพยากร และ​การ​จัดสรร​ต้นทุนเป็นไ​ ป​อย่าง​ละเอียด​และ​ตรง​ตาม​ความ​รับผ​ ิดช​ อบ และ​ช่วย​ให้ป​ ระเมินไ​ ป​ถึงล​ ูกค้าห​ รือ​ คู่ค​ ้าไ​ ด้ สามารถ​เปรียบ​เทียบ​ต้นทุนแ​ ละ​ผล​กำ�ไร​แยก​ตาม​ราย​สินค้าไ​ ด้เ​ป็นอ​ ย่าง​ดี ช่วย​ให้ผ​ ู้บ​ ริหาร​นำ�​ไป​ใช้ใ​ น​ การ​วาง​กลยุทธ์​ของ​องค์กร​ทั้งใ​ น​ระยะ​สั้นไ​ ป​จนถึงร​ ะยะ​ยาว​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-26

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.6 ตัวอย่าง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​รองรับ​องค์กร​ที่​อยู่​ใน​รูป​ของ​กลุ่ม​บริษัท

ธ ส

4. การ​ปรับ​แก้​และ​การ​เชื่อม​ต่อ​กับ​ระบบ​อื่นๆ

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​ระบบ​ที่​เป็น​แบบ​มี​ข้อมูล​เป็น​ศูนย์กลาง (data centric) (ศึกษา ​เพิ่ม​เติมใ​ น​เรื่อง​ที่ 7.3.2 ข้อ​ควร​คำ�นึง​ใน​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้) ดัง​นั้น การ​ทำ�​โปรแกรม​ ส่วน​เพิ่มเ​ติมจ​ ึงท​ ำ�ได้ง​ ่าย​กว่าร​ ะบบ​ที่เ​ป็นแ​ บบ​มีก​ ระแส​การ​ไหล​เป็นศ​ ูนย์กลาง (flow centric) เนื่องจาก​ระบบ​ อื่นๆ ที่​ต้องการ​เชื่อม​ต่อ​สามารถ​ทำ�ได้​โดย​การ​เชื่อม​ต่อ​กับ​ฐาน​ข้อมูล​กลาง​อย่าง​ถูก​ต้อง​ตาม​ข้อ​กำ�หนด​ใน​ พจนานุกรม​ข้อมูล (data dictionary) ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เท่านั้น จึงส​ ามารถ​พัฒนา​ระบบ​ย่อย อื่นๆ ด้วย​ภาษา​คอมพิวเตอร์​ที่​แตก​ต่าง​กันไ​ ด้ และ​สามารถ​เชื่อม​ต่อ​ได้​เกือบ​สมบูรณ์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.7 ลักษณะ​การ​ปรับแ​ ก้​โดย​เชื่อม​ต่อ​ไป​ยังฐ​ าน​ข้อมูล​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร


5. ระบบ​รักษา​ความ​ปลอดภัย

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-27

ธ ส

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​โปรแกรม​ใน​ระ​ดับ​แอพ​พลิ​เคชั่น หรือ​ระบบ​งาน​ประยุกต์ ดัง​นั้น การ​เข้าถ​ ึงฐ​ าน​ข้อมูลข​ อง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จึงท​ ำ�ได้ 3 ระดับ ซึ่งผ​ ู้ใ​ ช้พ​ ึงศ​ ึกษา​เพื่อท​ ราบ​วิธีก​ าร​และ​ มาตรการ​ป้องกัน​การ​เจาะ​ระบบ​โดย​แฮกเกอร์​และ​สามารถ​กำ�หนดสิทธิ​ใน​การ​เข้า​ถึง​ข้อมูล​อย่าง​รัดกุม การ​ กำ�หนดสิทธิ​ใน​การ​เข้า​ถึงร​ ะบบ 3 ระดับ​คือ 5.1 การ​กำ�หนดสิทธิ​ระดับ​ระบบ​งาน​ประยุกต์ (application system) คือ​กำ�หนดสิทธิ​ใน​ระดับ​สูง (high level) การ​กำ�หนดสิทธิ​นี้​จะ​ภาย​ใต้​การ​จัดการ​ของ​โปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร โดย​ผู้​ใช้​ สามารถ​ก�ำ หนดสิทธิจ​ าก​ระบบ​ผใู​้ ช้ (user) และ​การ​รกั ษา​ความ​ปลอดภัย (security) ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​ได้​โดยตรง ผ่าน​เมนู​การ​ใช้​งาน​ตาม​คมู่ อื ​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร แต่​การ​ก�ำ หนดสิทธิ​ใน​ระดับนี้ ย่อม​ไม่​สามารถ​กำ�หนดสิทธิ​การ​เข้า​ถึง​ข้อมูล​ที่​เกิน​สิทธิที่​กำ�หนด​ไว้​ใน​ระดับ​ที่​ลึก​กว่า คือ การ​กำ�หนดสิทธิ​ ระดับ​ระบบ​จัดการ​ฐาน​ข้อมูล (Database Management System - DBMS) และ​ระดับ​ระบบ​ปฏิบัติ​การ (Operating System - OS) 5.2 การ​กำ�หนดสิทธิ​ระดับ​ระบบ​จัดการ​ฐาน​ข้อมูล (Database Management System - DBMS) คือ​กำ�หนดสิทธิโ​ ดย​อาศัย​ความ​สามารถ​ของ​ระบบ​จัดการ​ฐาน​ข้อมูล ดัง​นั้น ความ​สามารถ​นี้​จะ​มาก​หรือ​น้อย​ จะ​ขึ้น​กับ​ระบบ​จัดการ​ฐาน​ข้อมูล​ตัว​ที่​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใช้​ใน​การ​เก็บ​ข้อมูล ถ้า​ฐาน​ข้อมูล​ตัว​นั้น​ มี​ความ​สามารถ​ใน​การ​กำ�หนดสิทธิ​อย่าง​ละเอียด ระบบ​การ​จัดการ​ฐาน​ข้อมูล​ก็​จะ​ซับ​ซ้อน​ตาม​ไป​ด้วย ซึ่ง​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​บาง​ตัว​จะ​สามารถ​เรียก​ใช้​ข้อมูล​จาก​ระบบ​จัดการ​ฐาน​ข้อมูล​เกือบ​ทุก​ตัว ผู้​ใช้​ก็​จะ​ สามารถ​เลือก​ตาม​ความ​พึงพ​ อใจ​ได้ แต่ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​บาง​ตัวก​ ใ็​ ช้ร​ ะบบ​จัดการ​ฐาน​ข้อมูลเ​พียง​ ตัวเ​ดียว ซึ่งผ​ ูใ้​ ช้ก​ จ็​ ะ​ไม่มีท​ าง​เลือก​ใน​ส่วน​ของ​การ​กำ�หนดสิทธิใ​ น​ระดับร​ ะบบ​จัดการ​ฐาน​ข้อมูลน​ ี้ จะ​ต้อง​อาศัย​ ผู้​มี​ความ​รู้​ทาง​ด้าน​เทคโนโลยี องค์กร​โดย​ทั่วไป​จึง​มัก​ใช้​การ​กำ�หนดสิทธิ​เพียง​แค่​ระดับ​ระบบ​งาน​ประยุกต์ หาก​มี​การ​กำ�หนดสิทธิ​ใน​ระดับ​นี้ก​ ็​จะ​เป็นการ​ใส่​กุญแจ​สอง​ชั้น​ให้​กับ​ฐาน​ข้อมูล แต่​ย่อม​ต้อง​แลก​ด้วย​การ​ลด​ ความ​สะดวก​สบาย​บาง​อย่าง เช่น มีข​ ั้น​ตอน​การ​ล็อก​ออ​นที่​ซับ​ซ้อน​ขึ้น 5.3 การ​กำ�หนดสิทธิร​ ะดับร​ ะบบ​ปฏิบัติ​การ (Operating System - OS) คือ​การ​อาศัย​ระบบ​ผู้​ใช้​ของ​ ระบบ​ปฏิบัติก​ าร เนื่องจาก​มอง​ว่า​เวลา​เปิด​เครื่อง​นั้น​ผู้​ใช้​ก็​ต้อง​ล็อก​ออ​นอ​ยู่​แล้ว จึงช​ ่วย​อำ�นวย​ความ​สะดวก​ ใน​การ​เข้าส​ ูร่​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ได้โ​ ดย​ไม่ต​ ้อง​ทำ�การ​ล็อก​ออน​เข้าร​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​อีกค​ รั้ง​หนึ่ง เรียก​ว่า การ​ลงชื่อ​เข้า​ระบบ​เพียง​ครั้ง (single sign on) แต่​การ​อาศัย​ระบบ​ผู้​ใช้​ของ​ระบบ​ ปฏิบัติ​การ​มี​จุด​ที่​ต้อง​ระวัง​คือ บาง​ครั้ง​ผู้​ใช้​เปิด​เครื่อง​เพื่อ​ทำ�งาน​อื่น​ไม่​ได้​ต้องการ​เข้า​สู่​ระบบ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร แต่​เมื่อ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ยินยอม​ให้​เข้า​ได้​ทันที​โดย​ไม่​ต้อง​ใส่​รหัส​ผ่าน (password) อีก​ครั้ง จึง​มีค​ วาม​เสี่ยง​กรณีท​ ี่ผ​ ู้​ใช้​อาจ​เผอเรอ​ทิ้ง​เครื่อง​ไว้​ที่​โต๊ะ​ทำ�งาน แล้ว​มี​ผู้​อื่น​ผ่าน​มา​พบ​ก็​ เข้าไป​สู่ร​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ได้​ทันที​เช่น​กัน ดัง​นั้น ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​มี​ความ​ยืดหยุ่น​สูง​จะ​รองรับ​แนวทาง​การ​กำ�หนดสิทธิ​ ได้​ทั้ง 3 ระดับ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-28

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

6. การ​กำ�หนดสิทธิ​ใน​ระดับ​ระบบ​งาน​ประยุกต์​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

เนื่องจาก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​ระบบ​ที่ม​ ีผ​ ู้ใ​ ช้ม​ า​จาก​ทุกส​ ่วน​งาน ดังน​ ั้น การ​กำ�หนดสิทธิ​ ใน​การ​เข้า​ถึง​ระบบ​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จึง​ต้อง​รองรับ​โครงสร้าง​องค์กร​ขนาด​ใหญ่​ได้ การ​ กำ�หนดสิทธิใ​ ห้แ​ ก่ผ​ ใู้​ ช้โ​ ดย​ล้อม​ า​จาก​โครงสร้าง​องค์กร ทำ�ให้ผ​ ใู้​ ช้เ​ข้าใจ​ได้ง​ ่าย​และ​สามารถ​ควบคุมร​ ะบบ​ได้ง​ ่าย​ โดย​ดู​จาก​ตำ�แหน่งง​ าน​ภายใน​องค์กร​เป็น​แม่​แบบ​ได้ ซึ่ง​เรียก​ว่า​เป็นการ​แบ่ง​ตาม​ตำ�แหน่ง​หน้าที่ (role base) ซึ่ง​เหมาะ​สม​กว่า​การ​กำ�หนด​หน้าที่​ตาม​บุคคล (user logon) กล่าว​คือ แต่ละ​ตำ�แหน่ง​สามารถ​มี​การ​ล็อก​ออน​ตาม​หน้าที่​ของ​ผู้​ใช้ได้​หลาย​ครั้ง โดย​ผู้​ใช้​แต่ละ​คน​อยู่​ใน​ ตำ�แหน่ง​เดียวกัน​จะ​มี​สิทธิเหมือน​กัน​โดย​ปริยาย เป็นการ​ออกแบบ​ให้​สอดคล้อง​กับ​รูป​แบบ​การ​บริหาร​งาน​ที​่ เป็น​ระบบ​ระเบียบ มิใช่​การ​มอบ​หมาย​โดย​การ​เจาะจง​บุคคล​ที​ละ​คน ผูใ้​ ช้แ​ ต่ละ​คน​สามารถ​อยูไ่​ ด้ห​ ลาย​ตำ�แหน่ง ซึ่งจ​ ะ​ทำ�ให้ผ​ ูใ้​ ช้ค​ น​นั้นไ​ ด้ร​ ับส​ ิทธิโดย​รวม​ของ​ทุกต​ ำ�แหน่ง​ ที่​ได้​รับ​โดย​อัตโนมัติ เช่น ผู้​ใช้​ที่​ทำ�​ตำ�แหน่ง​ฝ่าย​ผลิต​และ​ฝ่าย​จัด​ซื้อ​พร้อม​กัน ก็​จะ​สามารถ​เข้า​เมนู​ของ​ฝ่าย​ ผลิต​และ​ฝ่าย​จัด​ซื้อ​ได้ต​ าม​ที่ร​ ะบบ​ได้ใ​ ห้​สิทธิไ​ ว้​ใน​แต่ละ​ตำ�แหน่ง รองรับก​ าร​โยก​ย้าย​ภายใน​องค์กร กล่าว​คือ หาก​ผู้​ใช้​ย้าย​ตำ�แหน่งจ​ าก​ฝ่าย​จัด​ซื้อ​ไป​อยู่​ฝ่าย​โรงงาน ก็เ​พียง​แค่ร​ ะบุต​ ำ�แหน่ง​ใหม่ใ​ ห้ผ​ ู้ใ​ ช้ร​ าย​นั้น สิทธิต่างๆ ของ​ระบบ​สามารถ​ทำ�ได้ง​ ่าย โดย​สิทธิของ​ผู้ใ​ ช้จ​ ะ​เปลี่ยน​ ไป​ตาม​ตำ�แหน่ง​หน้าที่โ​ ดย​อัตโนมัติ การ​กำ�หนดสิทธิ​ตาม​ตำ�แหน่งห​ น้าที่ส​ ามารถ​กำ�หนด​ให้ม​ ีต​ ำ�แหน่งร​ ะดับ​หัวหน้า​ได้​เป็น​ลำ�ดับ​ขั้น โดย​ หัวหน้าส​ ามารถ​เพิ่มผ​ ูใ้​ ช้เ​อง​ได้ และ​สามารถ​กำ�หนดสิทธิไ​ ด้เ​อง แต่ต​ ้อง​ไม่เ​กินก​ รอบ​อำ�นาจ​ของ​ตนเอง ป้อง​การ​ การ​มอบ​สิทธิเกิน​อำ�นาจ​หน้าที่​ที่ไ​ ด้​รับ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.8 การ​ถ่าย​อำ�นาจ​โดย​สอด​รับ​กับ​โครงสร้าง​องค์กร

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7. การ​กำ�หนดสิทธิ​เบื้อง​ต้น​ใน​ระดับ​เมนูข​ อง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

7-29

ธ ส

หัวข้อใ​ น​การ​กำ�หนดสิทธิก​ าร​เข้า​ถึง​ข้อมูลใ​ น​แต่ละ​เมนูข​ อง​แต่ละ​หน้าที่ (ภาพ​ที่ 7.9) ประกอบ​ด้วย สิทธิ​พื้นฐ​ าน เช่น การ​กำ�หนด​ความ​สามารถ​ใน​การ​มอง​เห็น​เมนู การ​เข้า​เมนู การ​แก้ไข​รหัส​ผ่าน การ​เพิ่ม​ข้อมูล ลบข้อมูล แก้ไข​ข้อมูล การ​ยกเลิก​เอกสาร การ​พิมพ์​เอกสาร​ออก​จาก​ระบบ การ​มอง​เห็น​ข้อมูล​ผ่าน​จอภาพ การ​ส่ง​ออก​ข้อมูล และ​อำ�นาจ​การ​เพิ่มผ​ ู้ใ​ ช้​เอง​ได้ เป็นต้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.9 ตัวอย่าง​การ​กำ�หนดสิทธิก​ าร​เข้า​ถึง​ระบบ​ของ​แต่ละ​ตำ�แหน่ง​งาน

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 7.2.1 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 7.2.1 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 7 ตอน​ที่ 7.2 เรื่อง​ที่ 7.2.1

ธ ส

ธ ส


7-30

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

เรื่อง​ที่ 7.2.2 เทคโนโลยี​ใน​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

1. การ​ออกแบบ​ฐาน​ข้อมูล​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ใน​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ใ​ น​องค์กร จะ​ต้อง​พิจารณา​ว่าอ​ งค์กร​มีร​ ูปแ​ บบ​ธุรกรรม​ ซับ​ซ้อน​เพียง​ใด เนื่องจาก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แต่ละ​ตัว​จะ​มี​ความ​ยืดหยุ่น​ต่าง​กัน รูป​แบบ​ที่​เรียบ​ ง่าย​ที่สุด​นั้น เอกสาร​ต่างๆ จะ​สัมพันธ์ก​ ัน​แบบ​หนึ่ง​ต่อ​หนึ่ง (one-to-one) เช่น การ​ออก​ใบ​ส่ง​ของ​เต็ม​จำ�นวน​ ตาม​ใบสั่งซ​ ื้อท​ ี่ล​ ูกค้าส​ ั่งซ​ ื้อไ​ ว้แ​ ล้ว หรือก​ าร​ออก​ใบ​เสร็จร​ ับช​ ำ�ระ​ค่าส​ ินค้าโ​ ดย​ต้อง​ชำ�ระ​เต็มจ​ ำ�นวน ส่วน​กรณีท​ ี​่ ลูกค้า​ทยอย​จ่าย​ชำ�ระ​ก็จ​ ะ​เป็น​รูปแ​ บบ​ที่ซ​ ับซ​ ้อน​ขึ้น ซึ่งร​ ูปแ​ บบ​อาจ​จะ​ซับซ​ ้อน​ถึงร​ ะดับ​หลาย​ต่อห​ ลาย (manyto-many) (ภาพ​ที่ 7.10)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.10 รูป​แบบ​ความ​สัมพันธ์​ของ​เอกสาร​ใน​ระบบ​ที่​มี​ความ​หลาก​หลาย

เนื่องจาก​รูปแ​ บบ​การ​ดำ�เนินธ​ ุรกรรม​ของ​คน​ไทย​มักจ​ ะ​อิงอ​ ยูบ่​ น​วัฒนธรรม​การ​ค้าแ​ บบ​เอเชีย (Asian style) ซึ่ง​ผู้​ขาย​มัก​จะ​ยืดหยุ่น​ให้​แก่​ลูกค้า​อย่าง​มาก โดย​รับ​ภาระ​ความ​ยุ่ง​ยาก​เอา​ไว้​เอง เนื่องจาก​ให้​ความ​ สำ�คัญก​ ับค​ วาม​รู้สึกข​ อง​ลูกค้าม​ ากกว่าก​ าร​ทำ�งาน​ให้ม​ ขี​ ั้นม​ ตี​ อน​อย่าง​เป็นร​ ะบบ​หรือม​ กี​ รอบ​งาน (framework) จะ​เห็นไ​ ด้​จาก​สถานการณ์ต​ ่างๆ เหล่า​นี้ เช่น


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-31

ธ ส

• การ​สั่งซ​ ื้อส​ ินค้า​จำ�นวน​มาก และ​จ่าย​เงินสด​โดย​ขอ​ราคา​พิเศษ​กว่า​ราคา​พิเศษ​ที่​เคย​ให้ • การ​ยกเลิก​ใบสั่งซ​ ื้อก​ ลาง​คัน ทั้งๆ ที่​มี​การ​ทยอย​ส่ง​สินค้า​ไป​แล้ว • การ​กำ�หนด​เงื่อนไข​การ​วาง​บิล​ก่อน​ที่จ​ ะ​ชำ�ระ​เงิน​ที่​หลาก​หลาย • การ​ทยอย​ชำ�ระ​หนี้ • การ​รับ​เช็ค​ค้ำ�​ประกัน​หนี้​ก่อน​การ​ส่ง​ของ​เพื่อ​ป้องกัน​หนี้​สูญ • การ​รวม​บิล​จ่าย​ชำ�ระ​ด้วย​เช็ค​ใบ​เดียว หาก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​ใช้​อยู่​สามารถ​รองรับ​ได้ ก็​จะ​ช่วย​ให้การ​บันทึก​รายการ​เป็น​ไป​ อย่าง​สะดวก มิฉ​ ะนั้น​ก็ต​ ้องหา​ทาง​ประยุกต์​ให้ท​ ำ�งาน​เท่า​ที่​จะ​ทำ�ได้ นอกจาก​ความ​ซับ​ซ้อน​แล้ว การ​ทำ�งาน​แบบ​ลัด​ขั้น​ตอน​ก็​เกิด​ขึ้น​เป็น​ประจำ� เช่น กระบวนการ​สั่ง​ซื้อ​ สินค้า​นั้น บาง​ครั้ง​ก็​เริ่ม​ตั้งแต่ใ​ บ​ขอ​ซื้อ (Purchase Requisition - PR) บาง​ครั้ง​ก็​เริ่ม​ที่​การ​ออก​ใบสั่ง​ซื้อ​เลย (Purchase Order - PO) หรือ​บาง​ครั้ง​ก็ไ​ ป​ซื้อเ​ลย แล้ว​ก็ได้​เอกสาร​ใบ​กำ�กับภ​ าษี (invoice) มา​เลย โดย​ไม่​ ผ่าน​ขั้น​ตอน​ต่างๆ (ภาพ​ที่ 7.11) การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​เป็น​แบบ​ยืดหยุ่น (flexible ERP) นั้น จะ​ สามารถ​รองรับ​ทั้ง​การ​ทำ�งาน​แบบ​ตาม​กรอบ​ระเบียบ และ​รองรับ​การ​แทรก​รายการ​กลาง​คัน แต่​ยัง​คง​ความ​ สามารถ​ใน​การ​ตรวจ​สอบ​รายการ​ทุก​รายการ​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.11 ความ​ยืดหยุ่นใ​ น​การ​กำ�หนด​จุด​เริ่ม​ต้น​ของ​การ​ไหล​ของ​เอกสาร​ใน​ระบบ

ธ ส


7-32

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

2. เทคโนโลยี​การ​เชื่อม​ต่อ​ที่​ใช้​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

การ​เชื่อม​โยง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กับ​ระบบ​อื่น ทำ�ได้​หลาย​วิธี​ดังต​ ่อ​ไป​นี้ 2.1 เชื่อม​โยง​ด้วย​ไฟล์​ข้อความ หรือ​เท็กซ์​ไฟล์ (text file) คือ การนำ�​เข้า (import) และ​ส่ง​ออก (export) ข้อมูล​ด้วย​การ​ส่งไ​ ฟล์​ใน​รูป​แบบ​พื้นฐ​ าน​ซึ่ง​ใช้​กัน​มา​ยาวนาน 2.2 เชื่อม​โยง​ด้วย​ไฟล์​ที่​รับ​รู้​ชนิด​ของ​ข้อมูล (data type) เช่น เอ็กซ์​เซล (xls) ดี​บี​เอฟ (dbf) เป็นต้น 2.3 เชื่อม​โยง​ผ่าน​เอ​พไี​ อ หรือส​ ่วน​ต่อป​ ระสาน​การ​โปร​แก​รม​แอพ​พลิเ​คชั่น (Application Programming Interface - API) ซึ่งเ​ป็น​ฟังก์ชัน​ที่ผ​ ู้พ​ ัฒนาการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กรเตรียม​ไว้​ให้​เรียก​ใช้ 2.4 เชื่อม​โยง​ผ่าน​ตาราง​ที่​แบ่ง​ปัน​กัน​ได้ (shared table) เป็นการ​เชื่อม​โยง​ด้วย​การ​ตกลง​ที่​จะ​ใช้​ ตาราง​ใน​ฐาน​ขอ้ มูลบ​ างตา​ราง และ​สง่ ข​ อ้ มูลท​ ที​่ นั ส​ มัยไ​ ป​ยงั ต​ าราง​นัน้ ซึง่ ก​ รณีน​ ี้ ทัง้ ผ​ สู​้ ง่ แ​ ละ​ผูร้ บั จ​ ะ​ตอ้ ง​สามารถ​ เขียน​โปรแกรม​ที่​ทำ�งาน​บน​ระบบ​จัดการ​ฐาน​ข้อมูล (DBMS) ตัว​เดียวกัน​ได้ 2.5 เชื่อม​โยง​ผ่าน​เว็บเซอร์วิส (web service) ซึ่งค​ ล้าย​กับเ​อ​พไี​ อ แต่เ​ป็นม​ าตรฐาน​เปิด และ​สามารถ​ เชื่อม​โยง​ผ่าน​ระบบ​อินเทอร์เน็ต​ได้​อย่าง​สะดวก​และ​ปลอดภัย​กว่า 2.6 เชื่อม​โยง​ผ่าน​กา​รบู​รณา​การ​แอพ​พลิ​เคชั่​นข​อง​องค์กร หรือ​อี​เอ​ไอ (Enterprise Application Integration - EAI) ซึ่งเ​ป็น​เครื่อง​มือร​ ะดับ​สูง ใช้​งาน​ง่าย และ​ไม่​ต้อง​อาศัย​โปรแกรมเมอร์​ใน​การ​ดำ�เนิน​การ สามารถ​ทำ�การ​เชื่อม​โยง​แบบ​สอง​ทาง (two-way) แบบ​ไร้​รอย​ต่อ และ​สามารถ​เชื่อม​โยง​ระบบ​ที่​ซับ​ซ้อน​ได้​ อย่าง​ดี​ผ่าน​ระบบ​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต ตัวอย่าง​รูป​แบบ​การ​เชื่อม​โยง​ระบบ​ตาม​วิธี​การ​ของ​เอส​เอ​พี​อาร์​ทรี (SAP R/3) ดัง​ภาพ​ที่ 7.12

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.12 รูป​แบบ​การ​เชื่อม​ต่อ​ระบบ​ตาม​วิธี​การ​ของ​เอส​เอ​พี​อาร์​ทรี

ที่มา: SAP R/3 ABAP/4 Trainning Manual ค้น​คืน​จาก​เว็บไซต์ http://www.learnsap.com/pdf/abap_sample.pdf


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-33

ธ ส

หรือ​ตัวอย่าง​รูป​แบบ​การ​เชื่อม​โยง​แบบ​บูรณ​า​การ​แอพ​พลิ​เคชั่​นข​อง​องค์กร หรือ​อี​เอ​ไอ (Enterprise Application Integration - EAI) ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ของ​ซอฟต์แวร์​โฟร์​มา​อี​อาร์​พี (Forma ERP) ซึ่ง​สามารถ​เชื่อม​โยง​ระบบ​ขนาด​ใหญ่ใ​ ห้​ถึงกัน​ได้​โดย​ไม่​ต้อง​เขียน​โปรแกรม ดัง​ภาพ​ที่ 7.13

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.13 รูป​แบบ​การ​เชื่อม​ต่อ​ผ่าน​เครื่อง​มือ​กา​รบูร​ ณา​การ​แอพ​พลิ​เคชั่​นข​อง​องค์กร

ธ ส

3. เทคโนโลยี​ของ​การ​สืบค้น​และ​ออก​รายงาน​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

การ​ออก​รายงาน​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​สามารถ​ท�ำ ได้ห​ ลาย​แบบ ได้แก่ รายงาน​แบบ​บวิ ต์อนิ (built-in report) คือร​ ายงาน​ทีเ่​ขียน​มา​แล้วแ​ บบ​ตายตัว หรือต​ ัวส​ ร้าง​รายงาน (report generator) คือร​ ายงาน​ ที่ผ​ ู้ใ​ ช้ส​ ามารถ​สร้าง​ขึ้นเ​อง​ได้จ​ าก​เครื่อง​มือท​ ี่ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ให้ม​ า หรือธ​ ุรกิจอ​ ัจฉริยะ หรือบ​ ีไ​ อ (Business Intelligence - BI) ซึ่ง​ช่วย​ให้​สามารถ​ออก​รายงาน​ที่​ซับ​ซ้อน​ได้​อย่าง​ง่ายดาย และ​เป็น​ฐาน​ให้​กับ​ การ​ออก​รายงาน​วิ​เคราะห์​อื่นๆ รวม​ไป​ถึง​การ​ทำ�​แดช​บอร์ด (dash board) ด้วย รายงาน​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ปกติน​ ั้นจ​ ะ​เป็นร​ ายงาน​เชิงร​ ายการ​ธุรกรรม (transactional reporting) คือ​รายงาน​ปกติ​เพื่อ​การ​เก็บ​เป็น​ประวัติ​ราย​วัน เพื่อ​การ​ตรวจ​สอบ เพื่อ​เป็น​ข้อมูล​ให้​แก่​ผู้​ใช้​ไป​ ประมวล​ผล​ต่อด​ ้วย​โปรแกรม​อื่น หรือท​ ำ�​ด้วย​มือต​ ่อไ​ ป หรือร​ ายงาน​สรุปต​ าม​แบบ​ที่ท​ ำ�​ไว้แ​ ล้ว ส่วน​มาก​จะ​เป็น​ รายการ​ย่อย หรือ​อาจ​เป็น​รูป​ของ​ตาราง​ก็ได้ แต่​มัก​จะ​ไม่มี​กราฟ และ​ไม่​สามารถ​ปรับ​เปลี่ยน​รูป​แบบ​รายงาน​ ได้​เอง และ​ไม่ส​ ามารถ​โต้ตอบ​กับ​ผู้ใ​ ช้ได้ เพราะ​เป็นร​ ายงาน​คงที่ (static report)

ธ ส

ธ ส


7-34

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธุรกิจอ​ ัจฉริยะ​จะ​มคี​ วาม​สามารถ​มากกว่า โดย​เริ่มต​ ั้งแต่ร​ ายงาน​วิเคราะห์ท​ สี่​ วยงาม ทั้งแ​ บบสอบถาม (query) และ​เฉพาะ​กิจ (ad hoc) ซึ่งป​ ระกอบ​ด้วย ตาราง​ข้อมูล ข้อความ หรือ​กราฟ มี​ความ​สามารถ​ใน​การ​ โต้ตอบ​กับ​ผู้​ใช้ได้ เช่น เปลี่ยน​ขอบเขต​ของ​ข้อมูล เปลี่ยน​กราฟ เปลี่ยน​สี เปลี่ยน​ข้อความ​ต่างๆ ได้​แบบ​ทันที ไม่ต​ ้อง​เรียก​โปรแกรมเมอร์​มา​ทำ�ให้ การ​วิเคราะห์​ใน​ขั้น​นี้​เป็นการ​วิเคราะห์​โดย​การ​คำ�นวณ​ด้วย​ข้อมูล​ปฏิบัติ​ การ​เท่านั้น ใน​ขั้นท​ ีส่​ ูงข​ ึ้นม​ า​จะ​เป็นการ​วิเคราะห์โ​ ดย​การ​เปรียบ​เทียบ​กับม​ าตรฐาน​ทีก่​ ำ�หนด ทั้งม​ าตรฐาน​ภายใน​ หรือม​ าตรฐาน​ภายนอก​องค์กร และ​น�​ำ ผล​การ​วเิ คราะห์ไ​ ป​สกู​่ าร​บริหาร​จดั การ​โดย​องิ ต​ วั ช​ วี​้ ดั (Key Performace Management) ธุรกิจ​อัจฉริยะ​เป็น​เครื่อง​มือ​ที่​มี​ราคา​สูง​ถึง​สูง​มาก แต่​ปัจจุบัน​กลาย​เป็น​ส่วน​ประกอบ​ใหม่​ของ​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เนื่องจาก​ถูก​นำ�​มา​ผนวก (bundle) ไว้​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เกือบ​ ทุกตัว ซึ่ง​เป็น​เครื่อง​มือ​สำ�คัญ​ที่​ช่วย​ให้​ผู้​ใช้​สามารถ​ออก​รายงาน​สำ�หรับ​ผู้​บริหาร​ทุก​ระดับ นอก​เหนือ​จาก​ รายงาน​มาตรฐาน​เพื่อก​ าร​ควบคุมแ​ ละ​ตรวจ​สอบ​ทั่วไป โดย​ผู้ใ​ ช้ส​ ามารถ​ออก​รายงาน​ที่ส​ วยงาม ประกอบ​ด้วย​ ตาราง​และ​กราฟ​ได้ด​ ้วย​ตนเอง ไม่​ต้อง​อาศัยโ​ ปรแกรมเมอร์​เขียน​โปรแกรม​ให้ แต่​ธุรกิจ​อัจฉริยะ​ที่​แถม​มา​ใน การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ก็​จะ​เป็น​ธุรกิจ​อัจฉริยะ​ขั้น​พื้น​ฐาน และ​อาจ​ต้อง​จ่าย​เพิ่ม หาก​ต้องการ​ ความ​สามารถ​ระดับ​สูง​ของ​ธุรกิจอ​ ัจฉริยะ (ภาพ​ที่ 7.14)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.14 ลำ�ดับ​ขั้น​การ​เปลี่ยน​ข้อมูล​ให้​มี​ความ​หมาย​ใน​ทางการ​บริหาร​ด้วย​บี​ไอ


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-35

ธ ส

วิธี​การ​ทำ�งาน​ของ​ธุรกิจอ​ ัจฉริยะ​คือ การ​ทำ�การ​คัด​แยก ถ่าย​โอน และ​โหลด หรือ​อี​ทีแ​ อล (Extract, Transform, Load - ETL) จาก​ฐาน​ขอ้ มูลข​ อง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​เก็บไ​ ว้ใ​ น​รปู แ​ บบ​ของ​คลังข​ อ้ มูล หรือ​ดาต้า​แวร์​เฮ้าส์ (data warehouse) ก่อน​ที่จ​ ะ​นำ�​เครื่อง​มือ​ต่างๆ มา​ดึง​ไป​ทำ�​รายงาน​ต่อ​ไป (ภาพ​ที่ 7.15)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.15 ขั้น​ตอน​การเต​รี​ยม​ข้อมูลเ​พื่อ​เข้า​สู่​ธุรกิจ​อัจฉริยะ

ธ ส

ผู้​ใช้​สามารถ​เลือก​ใช้​ธุรกิจอ​ ัจฉริยะ​ได้ 2 ลักษณะ (ภาพ​ที่ 7.16) คือ 3.1 ธุรกิจ​อัจฉริยะ​แบบ​อิง​ข้อมูล​ใน​อดีต (Historical BI) ซึ่ง​เน้น​การ​ของ​รายงาน​จาก​ปริมาณ​ข้อมูล​ ขนาด​ใหญ่ โดย​การ​ทำ�​อที​ แี​ อล​แบบ​ตั้งเ​วลา​การ​ประมวล​ผล​เป็นง​ วด หรือแ​ บทช์ (batch) ใน​ช่วง​ทเี่​ซิร์ฟเวอร์ข​ อง​ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ว่าง อาจ​จะ​เป็นร​ าย​วันห​ รือร​ าย​สัปดาห์ หรือท​ ำ�งาน​ใน​เวลา​กลาง​คืนก​ ็ได้ เพื่อช​ ่วย​ ให้ไ​ ม่เ​กิดผ​ ลก​ระ​ทบ​กบั ก​ าร​ท�ำ งาน​ของ​ผใู​้ ช้ แต่ร​ ายงาน​ทไี​่ ด้จ​ ะ​ไม่เ​ป็นแ​ บบ​ทนั ทีท​ นั ใ​ ด​หรือเ​รีย​ ล​ไทม์ (real time) 3.2 ธุรกิจ​อัจฉริยะ​แบบ​อิง​ข้อมูล​การ​ปฏิบัติ​งาน (Operational BI) จะ​คล้าย​แบบ​แรก แต่​จะ​ผสม​ ผสาน​การ​ทำ�​อี​ที​แอล​แบบ​ที​ละ​น้อย​กับ​การ​ออกแบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ให้​รองรับ​การ​เรียก​ใช้​ ข้อมูล​จาก​ธุรกิจอ​ ัจฉริยะ​โดยตรง เพื่อใ​ ห้​ข้อมูล​ที่​ได้​เป็นป​ ัจจุบัน (updated) เข้า​ใกล้​เรี​ยล​ไทม์ แต่​ต้อง​ไม่​ส่ง​ ผลก​ระทบ​ต่อป​ ระสิทธิภาพ​ของ​เซิร์ฟเวอร์ข​ อง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร (ERP server) นอกจาก​นี้ ธุรกิจ​ อัจฉริยะ​แบบ​อิง​ข้อมูล​การ​ปฏิบัติ​งาน​ยัง​สามารถ​เชื่อม​โยง​กระบวนการ​วิเคราะห์​แบบ​อัตโนมัติ​กับ​ระบบ​แจ้ง​ เตือน (alert system) และ​แดช​บอร์ด​แบบ​เรี​ยล​ไทม์ (real time dashboard) ได้ ช่วย​ให้​ระบบ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​กลาย​เป็น​ระบบ​ที่​ชาญ​ฉลาด และ​ช่วย​ให้การ​บริหาร​งาน​ของ​องค์กร​มี​ความ​สะดวก​มาก​ขึ้น สามารถ​เตือน​สถานการณ์​ที่​ผู้​ใช้ได้​ตั้ง​ค่า​ตรวจ​สอบ​เอา​ไว้​ได้​อย่าง​อัตโนมัติ เช่น ยอด​ขาย​ที่​ต่ำ�​กว่า​เป้า​หมาย ค่า​ใช้จ​ ่าย​ผิด​ปกติ หรือต​ ัว​เลข​อื่นๆ ที่​ตาม​ตัว​ชี้ว​ ัด​ที่​ได้​กำ�หนด​ไว้

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-36

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.16 แหล่ง​ข้อมูล​ของ​การ​ทำ�​ธุรกิจ​อัจฉริยะ​แบบ​อิง​ข้อมูล​ใน​อดีตแ​ ละ​อิง​ข้อมูล​การ​ปฏิบัตงิ​ าน

4. คลา​วด์​คอม​พิวต​ ิ้ง

ธ ส

รูป​แบบ​การ​ประมวล​ผล​แบบ​คลา​วด์ หรือ​คลา​วด์​คอม​พิว​ติ้ง (cloud computing) ได้​ถูก​นำ�​มา​ใช้​ ใน​โปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ระดับ​โลก​หลาย​ตัว ยก​ตัวอย่าง​การ​ทำ�​บัญชี​ออนไลน์​ผ่าน​คลา​วด์​ คอม​พิว​ติ้ง (ภาพ​ที่ 7.17) ซึ่งช​ ่วย​ให้​ระบบ​งาน​ส่วน​หน้า​แบบ​เคลื่อนที่ (mobile) สามารถ​ทำ�งาน​ระบบ​ใหญ่ๆ โดย​ใช้​อุปกรณ์​ขนาด​เล็ก​ได้​อย่าง​คล่อง​ตัว และ​สามารถ​ฝาก​การ​ประมวล​ผล​ขนาด​ใหญ่​ไว้​บน​เซิร์ฟเวอร์​ของ​ คลา​วด์ (cloud server) ได้​อย่าง​สะดวก พร้อม​กับ​การ​เชื่อม​ต่อ​ระหว่าง​สำ�นักงาน​ใหญ่​และ​สำ�นักงาน​บัญชี​ซึ่ง​ อยูท่​ แี่​ ห่งไ​ หน​ก็ได้ด​ ้วย​การ​เชื่อม​ต่อผ​ ่าน​เอ​ดเี​อส​แอล (ADSL) ราคา​ประหยัด หรือผ​ ่าน​เครือข​ ่าย​สาธารณะ​อย่าง 3 จี (3G) ได้​โดย​ทันที โดย​สามารถ​เชื่อม​ต่อ​ระบบ​ที่​หลาก​หลาย​ที่สุด ไม่​ว่า​จะ​เป็น​แอพ​พลิ​เคชั่น​แบบ​ตั้ง​โต๊ะ (desktop application) เว็บ​แอพ​พลิ​เคชั่น (web application) และ​ระบบ​คอมพิวเตอร์​ที่​ใช้​สถาปัตยกรรม​ แบบ​ดั้งเดิม (legacy) ทุก​ประเภท นอกจาก​นี้ ยัง​สามารถ​เชื่อม​ระบบ​กับ​ผู้​ให้​บริการ​ระดับ​โลก​ทุก​ราย​ที่​เปิด​ ช่อง​ทางการ​ประมวล​ผล​ร่วม​กัน​ได้​ด้วย เช่น การ​เชื่อม​ระบบ​สั่ง​ซื้อ​หนังสือ​กับ​เว็บ​ไซต์​อะ​เม​ซอน (amazon) หรือ​เชื่อม​กับ​ระบบ​อีเมล เป็นต้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.17 ตัวอย่าง​การ​นำ�ค​ ลา​วด์​คอม​พิว​ติ้ง​มา​ประยุกต์ก​ ับ​ระบบ​บัญชี

5. การ​ปรับ​ข้อมูล​ให้ท​ ัน​สมัย​โดย​อัตโนมัติ

ธ ส

7-37

หลัก​การ​ออกแบบ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​เน้น​การ​เชื่อม​โยง​ของ​กระบวนการ​ดำ�เนิน​ ธุรกิจ​ตลอด​ทั่ว​ทั้ง​องค์กร ดัง​นั้น ระบบ​งาน​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​มี​ลักษณะ​ของ​การ​ประมวล​ผล​ ภายใน​ที่​เป็นอ​ ัตโนมัติ ผ่าน​การ​กำ�หนด​ค่า (configuration) ให้ก​ ับต​ ัวแปร เพื่อค​ วาม​ยืดหยุ่นส​ ำ�หรับอ​ งค์กร​ที่​ หลาก​หลาย ดังน​ ั้น การ​ไหล​ของ​เอกสาร​และ​ข้อมูลใ​ น​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จึงม​ ีค​ วาม​หลาก​หลาย​และ​ ซับ​ซ้อน​มาก จน​ไม่​อาจ​ที่​จะ​เขียน​ออก​มา​ได้​ทุก​แบบ แต่​กระแส​การ​ไหล​หลักๆ ก็​จะ​คล้าย​กัน ใน​ที่น​ ี้จ​ ะ​แสดง​การ​ทำ�งาน​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​โดย​จะ​นำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร บาง​ตัว​มา​เป็น​ตัวอย่าง การ​ทำ�งาน​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​เป็น​ไป​ใน​รูป​แบบ​ที่​เชื่อม​โยง​กัน​ ทุกส่วน (integrated system) เพื่อใ​ ห้ฐ​ าน​ข้อมูลข​ อง​ทุกฝ​ ่าย​มีก​ าร​ปรับปรุงใ​ ห้ท​ ันส​ มัยโ​ ดย​อัตโนมัติ (update automatic) และ​พร้อม​ที่จ​ ะ​ถูกเ​รียก​ไป​ใช้ใ​ น​การ​ดำ�เนินธ​ ุรกรรม​ต่อไ​ ด้ท​ ันที (ภาพ​ที่ 7.18) เช่น เมื่อท​ ำ�การ​ออก​ ใบ​กำ�กับภ​ าษี ระบบ​ก็จ​ ะ​ทำ�การ​ลง​บัญชีไ​ ป​ที่ร​ ะบบ​งาน​ย่อย​บัญชีแ​ ยก​ประเภท (General Ledger - GL) ทำ�การ​ ตั้ง​หนี้​ลูก​หนี้​ราย​ตัว​ที่​ระบบ​งาน​ย่อย​บัญชี​ลูก​หนี้ (Account Receivable - A/R) ทำ�การ​ตัด​สต๊อก​สินค้า​ที่​ ระบบ​งาน​ย่อย​ควบคุม​สินค้า​คงคลัง (Inventory Control - IC) รวม​ทั้ง​สามารถ​ออก​รายงาน​ภาษีไ​ ด้​ทันที​โดย​ อัตโนมัติ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​บาง​ตัวก​ ส็​ ามารถ​ทำ�การ​เชื่อม​โยง​แบ​บออน​ไลน์เ​รีย​ ล​ไทม์ (online real time) บาง​ตัว​ก็​ต้อง​ทำ�งาน​ใน​ลักษณะ​ประมวล​ผล​เป็น​งวดๆ หรือ​แบบ​แบทช์ (batch processing)

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-38

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.18 กลไก​การ​ประมวล​ผล​เพื่อ​ปรับปรุงข​ ้อมูล​ให้​ทัน​สมัย​อัตโนมัติ

6. การ​ประมวล​ผล​แบบ​ลูกโซ่​หลาย​ชั้น

การ​ลง​บัญชี​ใน​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​สามารถ​ทำ�ได้​ทั้ง​แบบ​แมน​นวล (manual) หรือ​ แบบ​อัตโนมัติ (automatic) กรณีท​ ีล่​ ง​บัญชีแ​ บบ​อัตโนมัตจิ​ ะ​ต้อง​ทำ�การ​กำ�หนด​รูปแ​ บบ​การ​บันทึกบ​ ัญชีใ​ ห้เ​ป็น​ ไป​ตาม​นโยบาย​บัญชี​ของ​บริษัท จะ​ต้อง​แยก​ตาม​ความ​รับผ​ ิด​ชอบ (responsibility center) ซึ่ง​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​สามารถ​ก�ำ หนด​รปู แ​ บบ​การ​ลง​บญ ั ชีไ​ ด้ห​ ลาย​ระดับ เช่น ระดับน​ โยบาย​กลาง ระดับเ​ล่มเ​อกสาร ระดับ​กลุ่ม​ลูก​หนี้​หรือ​กลุ่มส​ ินค้า ไป​ถึง​ระดับ​ราย​ตัว​ลูก​หนี้​หรือ​ราย​สินค้า ระบบ​จึง​จะ​สามารถ​ทำ�การ​ลง​บัญชี​ อัตโนมัติ​เป็นท​ อดๆ หรือ​ลูกโซ่ห​ ลาย​ชั้น (cascading) ได้​อย่าง​ครบ​ถ้วน​สมบูรณ์ (ภาพ​ที่ 7.19)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.19 การ​ประมวล​ผล​แบบ​ลูกโซ่​หลาย​ชั้น​เพื่อ​ทำ�การ​ลง​บัญชีอ​ ัตโนมัติ

ธ ส

7. การ​แก้​ข้อ​ผิดพ​ ลาด​ด้วย​ตัว​เอง​โดย​อัตโนมัติ

7-39

การ​รองรับ​ฐาน​ข้อมูล​ขนาด​ใหญ่​ถือ​เป็น​รากฐาน​สำ�คัญ​ของ​ระบบ​การ​คำ�นวณ​ต้นทุน​สินค้า​ที่​ถูก​ต้อง​ และ​แม่นยำ� เนื่องจาก​ใน​การ​คำ�นวณ​ต้นทุน​สินค้า​จะ​ต้อง​คำ�นวณ​ย้อน​กลับ​ไป​ใน​อดีต ทั้ง​การ​คำ�นวณ​แบบ​เข้า​ ก่อน​ออก​ก่อน (First-In-First-Out - FIFO) หรือ​แบบ​ค่า​เฉลี่ย​เคลื่อนที่​ถ่วง​น้ำ�​หนัก (weighted-movingaverage) ก็ตาม แต่​ใน​การ​คำ�นวณ​อาจ​จะ​เกิด​การ​ปัดเศษ หรือ​เกิดก​ าร​คำ�นวณ​ผิด​พลาด​จาก​ระบบ หรือ​จาก​ ความ​ผิดพ​ ลาด​ของ​ผใู้​ ช้ ซึ่งจ​ ะ​ทำ�ให้เ​กิดป​ รากฏการณ์ต​ ้นทุนผ​ ิดพ​ ลาด​สะสม​ได้ ปรากฏการณ์น​ กี้​ ลับม​ า​ขยาย​ผล​ ร้าย​แรง​กับก​ าร​คำ�นวณ​ต้นทุนเ​มื่อม​ ีร​ ายการ​จำ�นวน​มาก หาก​ผิดพ​ ลาด​เพียง​ร้อย​ละ 0.1 ด้วย​ฐาน​การ​คำ�นวณ​ที่ 1 ล้าน ก็​คือ​การ​คำ�นวณ​ต้นทุน​ผิดพ​ ลาด​ถึง 1,000 บาท ซึ่ง​จะ​สร้าง​ปัญหา​ให้​ฝ่าย​ตรวจ​สอบ​อย่าง​มาก ใน​การ​ ไล่ต​ าม​หา​ที่มา​ของ​ตัวเลข​ที่ผ​ ิดพ​ ลาด​นี้ ระบบ​คำ�นวณ​ต้นทุนท​ ี่ด​ ีจ​ ึงม​ ีส​ ่วน​สำ�คัญอ​ ย่าง​มาก​ต่อก​ าร​วาง​ระบบ​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ให้ท​ ำ�การ​แก้ไข​ข้อผ​ ิดพ​ ลาด​ด้วย​ตัวเ​อง​แบบ​อัตโนมัติ (automatic self-correction) (ภาพที่ 7.20) ที่อ​ าจ​เกิด​ขึ้น​ภายใน​ระบบที่​น่า​เชื่อ​ถือ ตรวจ​สอบ​ง่าย และ​เบาแรง​ผู้​ใช้​งาน​อย่าง​มาก

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-40

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.20 กระบวนการ​แก้​ข้อ​ผิด​พลาด​จาก​การ​คำ�นวณ​ด้วย​ตัว​เอง

ธ ส

8. การ​ออก​รายงาน​ย้อน​หลัง​และ​รายงาน​สมมติร​ ายการ

ธ ส

การ​เก็บ​ข้อมูล​ใน​อดีต​เป็น​หนึ่ง​ใน​หน้าที่​สำ�คัญ​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ใน​ฐานะ​ผู้​จัด​เก็บ​ ฐาน​ข้อมูล​กลาง และ​เป็น​แหล่ง​วิเคราะห์​ข้อมูล​ของ​องค์กร​ที่​น่า​เชื่อ​ถือ ผู้​บริหาร​ต้อง​กำ�หนด​นโยบาย​การ​จัด​ เก็บ​ข้อมูล​ว่า​จะ​จัด​เก็บ​กี่ป​ ี และ​จัด​เก็บ​ข้อมูล​ไหน​บ้าง หรือ​จะ​จัด​เก็บ​ทั้งหมด​และ​ไม่​จำ�กัด​ปี ข้อมูล​ของ​ระบบ​ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร สามารถ​แบ่ง​ออก​เป็น 2 มิ​ติ​ใหญ่ๆ คือ ข้อมูล​ทาง​บัญชี (accounting) และ​ ข้อมูล​ด้าน​ปฏิบัติ​การ (operation) บาง​บริษัท​กำ�หนด​ให้​จัด​เก็บ​ข้อมูล​ด้าน​ปฏิบัติ​การ​ไว้​ไม่​จำ�กัด แต่​จัด​เก็บ​ ข้อมูล​ทาง​บัญชี​เพียง​แค่ 1-2 ปีเ​ท่านั้น การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​บาง​ตัว​จะ​เก็บ​ข้อมูล​ได้​ไม่​จำ�กัด​ทั้ง​ข้อมูล​ ด้าน​ปฏิบัติก​ าร​และ​ข้อมูล​ทาง​บัญชี อย่างไร​ก็ตาม การ​เก็บ​ข้อมูล​มาก​เพียง​ใด​ก็ตาม​จะ​ไม่มี​ประโยชน์​หาก​ไม่​สามารถ​นำ�​มา​ใช้ได้ ดังนั้น การนำ�​มา​ออก​รายงาน​จึง​ต้อง​สามารถ​ออก​รายงาน​ที่​เรียก​ว่า รายงาน​ย้อน​หลัง (backdate report) ได้ (ภาพที่ 7.21) คือ​การ​ออก​รายงาน​ที่​ย้อน​หลัง​ทั้ง​ระบบ เสมือน​ย้อน​เวลา​กลับ​ไป​สู่​วัน​นั้น​จริงๆ โดย​จะ​ต้อง​ สามารถ​เห็นร​ ายการ​ใน​อดีตพ​ ร้อม​ด้วย​ค่าส​ ถิตแิ​ ละ​สถานะ​ของ​แต่ละ​หน่วย เช่น ยอด​ยก​มา​ของ​สินค้า ณ วันนั้น ยอด​คง​ค้าง​ลูก​หนี้ ยอด​คง​ค้าง​เจ้า​หนี้ ณ วันน​ ั้น ยอด​ยก​มา​ของ​แต่ละ​บัญชี เป็นต้น นอกจาก​รายงาน​ยอ้ น​หลังซ​ ึง่ ย​ อ้ น​อดีตแ​ ล้ว ยังม​ ร​ี ายงาน​ทเี​่ กิดจ​ าก​การ​สมมติร​ ายการ (simulate) หรือ​ ประมาณ​การ (estimate) ซึ่งก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​บาง​ตัวส​ ามารถ​ออก​รายงาน​ลักษณะ​นี้​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-41

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.21 การ​ออก​รายงาน​ย้อน​หลัง​ของ​งวด​การ​เงิน​อดีต​ทั้ง​ข้อมูล​ด้าน​ปฏิบัตกิ​ าร​และ​ทาง​บัญชี

9. การ​ประมวล​ผล​ย้อน​หลัง

ธ ส

ใน​การ​ใช้ง​ าน​ระบบ​มักเ​กิดข​ ้อผ​ ิดพ​ ลาด ซึ่งอ​ าจ​ส่งผ​ ลก​ระ​ทบ​เป็นล​ ูกโซ่ใ​ น​ระบบ​ได้ ยก​ตัวอย่าง กรณีท​ ี​่ เกิดก​ าร​บันทึกเ​อกสาร​ซื้อข​ าย​ผิดพ​ ลาด​สลับว​ ันก​ ัน ซึ่งจ​ ะ​ส่งผ​ ลก​ระ​ทบ​ยอด​สินค้าค​ ง​เหลือผ​ ิดพ​ ลาด และ​ทำ�ให้​ ตัวเลข​ผิดพ​ ลาด​เป็นล​ ูกโซ่ไ​ ป​ยังก​ าร​คำ�นวณ​ต้นทุน และ​งบ​การ​เงินอ​ ื่นๆ ทั้งหมด การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร จะ​มกี​ ระบวนการ​ใน​การ​ปรับปรุงฐ​ าน​ข้อมูลย​ ้อน​หลัง (backdate processing) ทั้งแ​ บบ​ทีท่​ ำ�​โดย​แมน​นวล​หรือ​ อัตโนมัตไิ​ ด้ และ​สามารถ​ทำ�งาน​ขั้นต​ อน​ต่อไ​ ป​อย่าง​สมบูรณ์ เพื่อใ​ ห้ฐ​ าน​ข้อมูลก​ ลาง​ถูกต​ ้อง​และ​เป็นท​ นี่​ ่าเ​ชื่อถ​ ือ​ ของ​องค์กร ใน​ภาพ​ที่ 7.22 แสดง​ตัวอย่าง​กรณีท​ เี่​ริ่มใ​ ช้ร​ ะบบ​ครั้งแ​ รก ซึ่งย​ ังไ​ ม่ไ​ ด้ม​ กี​ าร​บันทึกย​ อด​ยก​มา​และ​ยัง​ ไม่​ได้​ตัวเลข​การ​ตรวจ​นับ​จาก​ฝ่าย​คลัง​สินค้า แต่​ระบบ​ก็​จะ​สามารถ​ดำ�เนิน​ธุรกรรม​ได้ โดย​การ​บันทึก​รายการ​ ที่​พร้อม​ก่อน​เข้าไป​ก่อน รายการ​ที่มา​ทีหลัง​ก็​สามารถ​ทยอย​บันทึก​ตาม​ไป​ภาย​หลัง​ได้ เมื่อท​ ำ�การ​บันทึก​ข้อมูล​ เข้า​ระบบ​ได้​มาก​ที่สุด​เท่าใด ข้อมูลก​ ็​จะ​ปรับ​เข้า​สู่​ยอด​ที่​ถูก​ต้อง​โดย​อัตโนมัติ ทั้ง​จำ�นวน​และ​มูลค่า​ช่วย​ให้การ​ เริ่ม​ต้นร​ ะบบ​ทำ�ได้อ​ ย่าง​ง่ายดาย ไม่ต​ ้อง​ปิด​คลัง​สินค้า​เพื่อ​นับ​สต๊อก​ทุก​ตัวใ​ ห้​เสร็จ​ภายใน​คืน​วัน​สิ้น​ปี

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-42

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.22 การ​คำ�นวณ​ย้อน​กลับ​ไป​หาย​อด​ยก​มา​จาก​ข้อมูล​ที่​บันทึก​เข้า

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 7.2.2 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 7.2.2 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 7 ตอน​ที่ 7.2 เรื่อง​ที่ 7.2.2

ธ ส

เรื่อง​ที่ 7.2.3 การ​ทำ�งาน​ของ​ระบบ​งาน​ใน​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

1. โมดูล​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

ธ ส

โมดูลต​ ่างๆ ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แต่ละ​ราย​อาจ​ไม่เ​ท่าก​ ันแ​ ละ​มขี​ อบเขต​ของ​ระบบ​ต่าง​กัน ใน​ที่​นี้​ยก​ตัว​อย่าง​จาก​โฟร์ม​ า​อีอ​ าร์​พี (Forma ERP) และ​ยก​มา​บาง​ส่วน​เฉพาะ​โมดูล​ที่​ใช้​บ่อย​และ​สัมพันธ์​กับ​ การ​ทำ�​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ โดย​ไล่​ลำ�ดับ​จาก​กระบวนการ​ตาม​การ​ไหล​ของ​งาน ราย​ละเอียด​ของ​แต่ละ​โมดูล มี​ดังนี้


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-43

ธ ส

• ระบบ​จัด​ซื้อ • ระบบ​บริหาร​งาน​ขาย​และ​การ​จัดการ​คำ�​สั่ง​ซื้อ • ระบบ​ควบคุม​สินค้า​คงคลัง • ระบบ​บัญชีเ​จ้า​หนี้ • ระบบ​บัญชีล​ ูก​หนี้ • ระบบ​ควบคุม​เช็ค • ระบบ​สินทรัพย์แ​ ละ​การ​คำ�นวณ​ค่า​เสื่อม • ระบบ​บัญชีท​ ั่วไป​และ​รายงาน​ทางการ​เงิน • ระบบ​งบ​ประมาณ • ระบบ​การ​วางแผน​วัตถุดิบ • ระบบ​บริหาร​ทรัพยากร​มนุษย์ • ระบบ​วางแผน​การ​ปฏิบัติ​งาน​เพื่อก​ าร​จัด​จำ�หน่าย • ระบบ​บริหาร​ร้าน​สา​ขา​แบบ​เรี​ยล​ไทม์/พี​โอเอส​ออนไลน์ 1.1 ระบบ​จดั ซ​ อื้ กระบวนการ​จัดซ​ ื้อจ​ ะ​เริ่มจ​ าก​การ​ทีฝ่​ ่าย​ต่างๆ ทำ�​ใบ​ขอ​ซื้อไ​ ว้ใ​ น​ระบบ เมื่อถ​ ึงก​ ำ�หนด​ รอบ​ของ​การ​จัดซ​ ื้อห​ รือร​ ะบบ​เตือน​ระดับส​ ินค้าค​ งคลังถ​ ึงจ​ ุดส​ ั่งซ​ ื้อ ฝ่าย​จัดซ​ ื้อก​ จ็​ ะ​ทำ�การ​เรียก​ใบ​ขอ​ซื้อท​ ั้งหมด​ ขึ้น​มา​เพื่อ​ทำ�การ​รวบรวม​ความ​ต้องการ​ซื้อ​และ​เลือก​ตัวแทน​ขาย​หรือ​ซัพพลาย​เอ​อร์​ที่​มี​ใน​ระบบ เมื่อ​ได้​รับ​ สินค้า​และ​ได้​รับ​ใบ​แจ้ง​หนี้​จาก​ซัพพลาย​เอ​อร์​แล้ว ก็​นำ�​มา​บันทึก​ลง​ใน​ระบบ โปรแกรม​ก็​จะ​ทำ�การ​ปรับปรุง​ ระดับ​สินค้า​คงคลัง ออก​ภาษี​ซื้อ ตั้งห​ นี้ และ​ลง​บัญชี​อัตโนมัติ (ภาพ​ที่ 7.23)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.23 ระบบ​จัดซ​ ื้อ

ธ ส

ธ ส


7-44

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

1.2 ระบบ​บริหาร​งาน​ขาย​และ​การ​จัดการ​คำ�​สั่ง​ซื้อ ระบบ​งาน​ขาย​สามารถ​เริ่ม​ตั้งแต่​การ​ทำ�​ใบ​เสนอ​ ราคา​เพื่อเ​สนอ​แก่ล​ ูกค้า เมื่อล​ ูกค้าส​ ั่งซ​ ื้อม​ า​กท็​ ำ�การ​บันทึกใ​ บสั่งข​ าย เพื่อใ​ ห้ฝ​ ่าย​ขาย​หรือฝ​ ่าย​บัญชีอ​ อก​เอกสาร​ การ​ขาย​และ​ใบ​ส่ง​ของ​แนบ​ไป​กับ​สินค้า​ที่​ส่งใ​ ห้​ลูกค้า ระบบ​จะ​ทำ�การ​เชื่อม​โยง​อัตโนมัติ​ไป​ยัง​ฐาน​ข้อมูล​ต่างๆ เพื่อ​ปรับปรุง​ยอด​สินค้า​คงคลังใ​ ห้​ลด​ลง​อัน​เนื่องจาก​การ​ขาย ออก​รายงาน​ภาษี​ขาย ตั้ง​หนี้​ลูก​หนี้​ราย​ตัว และ​ ทำ�การ​ลง​บัญชีอ​ ัตโนมัติ (ภาพ​ที่ 7.24)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.24 ระบบ​บริหาร​งาน​ขาย​และ​การ​จัดการ​คำ�​สั่ง​ซื้อ

ธ ส ธ ส

1.3 ระบบ​ควบคุม​สินค้า​คงคลัง ฐาน​ข้อมูล​หลัก​ของ​ระบบ​สินค้า​คงคลัง​คือ ปริมาณ​สินค้า​ใน​คลัง​ ต่างๆ ซึ่ง​จะ​ได้​รับ​การ​ปรับปรุง​โดย​อัตโนมัติ​จาก​ระบบ​อื่นๆ ได้แก่ ระบบ​จัด​ซื้อ ระบบ​งาน​ขาย และ​ระบบ​ผลิต เป็นต้น เมื่อท​ ำ�การ​ตรวจ​นับส​ ินค้าก​ จ็​ ะ​ทำ�การ​ปรับย​ อด​สินค้าต​ าม​จำ�นวน​ทตี่​ รวจ​นับไ​ ด้ ใน​การ​บริหาร​คลังส​ ินค้า​ จะ​มเี​อกสาร​ควบคุมต​ ่างๆ เช่น ใบ​ยืมส​ ินค้า และ​ใบ​คืนส​ ินค้า เป็นต้น เพื่อใ​ ห้ป​ ริมาณ​สินค้าค​ ลังใ​ น​ระบบ​ถูกต้อง​ ตลอด​เวลา เพื่อ​ให้​ระบบ​อื่นๆ ที่​ต้องการ​ข้อมูล​นี้ใ​ น​การ​ทำ�งาน​ต่อ​ไป​ได้​อย่าง​ถูก​ต้อง (ภาพ​ที่ 7.25)

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.25 ระบบ​ควบคุมส​ ินค้า​คงคลัง

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-45

ธ ส

ธ ส

1.4 ระบบ​บัญชี​เจ้า​หนี้ เมื่อ​เจ้า​หนี้​ทำ�การ​วาง​บิล​เพื่อ​นัด​รับ​ชำ�ระ​เงิน​แล้ว เมื่อ​ใกล้​ครบ​กำ�หนด​ชำ�ระ​ เงิน ระบบ​กจ็​ ะ​ทำ�การ​เตือน​ล่วง​หน้า ฝ่าย​บัญชีก​ จ็​ ะ​ดรู​ ายการ​ทีต่​ ้อง​ทำ�​เช็คจ​ ่าย​รอ​ไว้ เมื่อเ​จ้าห​ นีน้​ ำ�​ใบ​เสร็จร​ ับเ​งิน​ มา​พร้อม​กับข​ อรับเ​ช็คก​ ็ท​ ำ�การ​บันทึกร​ ายการ​นั้นจ​ ับค​ ู่ก​ ับเ​ช็คจ​ ่าย​ที่ไ​ ด้บ​ ันทึกไ​ ว้ล​ ่วง​หน้าแ​ ล้ว ระบบ​ก็จ​ ะ​ทำ�การ ​ตัดห​ นี้ ปรับปรุง​รายการ​ใน​ทะเบียน​เช็ค​จ่าย ออก​ภาษี​ซื้อ และ​ลง​บัญชี​อัตโนมัติ (ภาพ​ที่ 7.26)

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.26 ระบบ​บัญชี​เจ้าห​ นี้

ธ ส


7-46

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

1.5 ระบบ​บญ ั ชีล​ กู ห​ นี้ เมื่อใ​ กล้ค​ รบ​กำ�หนด​เก็บเ​งินล​ ูกห​ นี้ ระบบ​จะ​ทำ�การ​เตือน​ฝ่าย​บัญชีล​ ูกห​ นี้เ​พื่อ​ ออก​ใบ​วาง​บิล​นัด​ชำ�ระ​เงิน จาก​นั้น​ก็​ทำ�การอ​อก​ใบ​เสร็จ​รับ​เงิน​เพื่อ​นำ�​ไป​ขอรับ​ชำ�ระ​เงิน​จาก​ลูก​หนี้ เมื่อ​ได้​รับ​ เงินแ​ ล้ว​ก็​นำ�​มา​ปรับปรุงร​ ายการ​รับ​ชำ�ระ​ใน​ใบ​เสร็จ​จับค​ ู่​กับ​เช็ค​ที่​ได้​รับ ระบบ​ก็​จะ​ทำ�การ​ตัด​ยอด​ลูก​หนี้ ออก​ รายงาน​ภาษี และ​ลง​บัญชีอ​ ัตโนมัติ (ภาพ​ที่ 7.27)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.27 ระบบ​บัญชี​ลูกห​ นี้

ธ ส

ธ ส

1.6 ระบบ​ควบคุมเ​ช็ค แม้ว่าก​ าร​บันทึกก​ าร​รับช​ ำ�ระ​เงินท​ ั้งท​ ีเ่​ป็นเ​งินสด​หรือเ​ช็คม​ ักจ​ ะ​ทำ�ได้จ​ าก​ระบบ​ งาน​ขาย แต่ร​ ะบบ​เช็คถ​ ือเ​ป็นร​ ะบบ​หนึ่งท​ ี่เ​ป็นศ​ ูนย์กลาง​ข้อมูลท​ างการ​เงินข​ อง​องค์กร เนื่องจาก​ใน​ระบบ​เช็คน​ ี​้ ยังร​ องรับก​ าร​ออก​เช็คจ​ ่าย​จาก​ฝ่าย​ต่างๆ ทั้งท​ เี่​ป็นการ​ออก​เช็คพ​ ร้อม​เอกสาร​สั่งซ​ ื้อห​ รือใ​ บ​เสร็จจ​ ่าย รวม​ทั้งก​ าร​ ตีเ​ช็คล​ ่วง​หน้าโ​ ดยทีย่​ ังไ​ ม่ส​ ะดวก​ใน​การ​บันทึกเ​อกสาร​ใน​ระบบ เมื่อเ​อกสาร​พร้อม​แล้วจ​ ึงท​ ำ�การ​บันทึกเ​อกสาร​ ตาม​หลัง ซึง่ ก​ รณีเ​ช่นน​ จี​้ ะ​ตอ้ ง​ท�ำ การ​จบั ค​ เู​่ อกสาร​เหล่าน​ ัน้ ก​ บั เ​ช็คท​ จี​่ า่ ย​ออก​ไป​กอ่ น​หน้าน​ ัน้ เพือ่ ก​ าร​ควบคุมก​ าร​ จ่าย​เงินอ​ ย่าง​ครบ​ถ้วน​ทุกร​ ะบบ​ที่เ​กี่ยวข้อง​กับเ​ช็ค เมื่อม​ กี​ าร​บันทึกเ​ช็คห​ รือก​ าร​จับค​ ูเ่​ช็คก​ จ็​ ะ​ทำ�การ​เก็บข​ ้อมูล​ เช็ค​ไว้​ใน​ฐาน​ข้อมูล ทำ�การ​ปรับปรุง​ยอด​เงิน​ใน​บัญชี​ธนาคาร และ​ทำ�การ​ลง​บัญชี​ให้​อัตโนมัติ (ภาพ​ที่ 7.28)

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.28 ระบบ​ควบคุมเ​ช็ค

7-47

ธ ส

ธ ส

1.7 ระบบ​สินทรัพย์​และ​การ​คำ�นวณ​ค่า​เสื่อม เมื่อ​มี​การ​บันทึก​ฐาน​ข้อมูล​สินทรัพย์​ต่างๆ พร้อม​ทั้ง​ ราย​ละเอียด​การ​คำ�นวณ​ค่าเ​สื่อม​ของ​สินทรัพย์แ​ ต่ละ​รายการ​แล้ว ระบบ​กจ็​ ะ​สามารถ​คำ�นวณ​ค่าเ​สื่อม​ให้เ​อง​ทุก​ รายการ​ภายใน​เวลา​อัน​รวดเร็ว และ​ทำ�การ​ลง​บัญชี​ให้​อัตโนมัติ ระบบ​การ​คำ�นวณ​ค่า​เสื่อม​ด้วย​คอมพิวเตอร์​ ถือว่า​เป็น​ระบบ​ที่​สร้าง​ความ​สะดวก​สบาย​ให้​ผู้​ใช้​อย่าง​มาก จาก​งาน​ที่​น่า​เบื่อ​และ​ใช้​เวลา​นาน​เป็น​วัน มา​เป็น​ งาน​ที่เ​ครื่อง​ทำ�ให้​ได้​ทั้งหมด​และ​เสร็จ​ภายใน​ไม่​กี่น​ าที (ภาพ​ที่ 7.29)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.29 ระบบ​สินทรัพย์แ​ ละ​การ​คำ�นวณ​ค่าเ​สื่อม

ธ ส


7-48

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

1.8 ระบบ​บัญชี​ทั่วไป​และ​รายงาน​ทางการ​เงิน ระบบ​บัญชี​ทั่วไป (General Ledger-GL) จะ​เป็น​ ศูนย์กลาง​ของ​การ​ประมวล​ผล​ข้อมูล​การ​ประกอบ​การ​ของ​องค์กร​ทั้งหมด โดย​ผ่าน​กระบวนการ​ลง​บัญชี​ อัตโนมัติจ​ าก​ระบบ​อื่นๆ ที่เ​กี่ยวข้อง เช่น ระบบ​จัดซ​ ื้อ ระบบ​ขาย ระบบ​สินค้าค​ งคลัง ระบบ​ลูกห​ นี้ ระบบ​เจ้าห​ นี้ ระบบ​สินทรัพย์ ระบบ​การ​ผลิต เป็นต้น ซึ่งก​ าร​ลง​บัญชี​อัตโนมัติ​จะ​ทำ�​โดย​ผ่าน​การ​ตรวจ​รายการ​กับ​นโยบาย​ บัญชี​ที่​ฝ่าย​บัญชี​ได้​กำ�หนด​เอา​ไว้​แล้ว​ล่วง​หน้า ซึ่ง​การ​ลง​บัญชี​อัตโนมัติ​จะ​ได้​รับ​ใบ​สำ�คัญ​จ่าย (voucher) แบบ​อัตโนมัติ​ขึ้น​ใน​ระบบ โดย​ผู้ใ​ ช้​ไม่ต​ ้อง​ทำ�​การ​ใดๆ หลัง​จาก​นั้น​ระบบ​จะ​สามารถ​ออก​รายงาน​ภาษี​ได้​ทันที ดูร​ ายงาน​ทางการ​เงินไ​ ด้ท​ ันที ทั้งง​ บ​กำ�ไร​ขาดทุน งบ​แสดง​สถานะ​ทางการ​เงิน งบ​กระแส​เงินสด รายงาน​สัดส่วน​ ทางการ​เงิน​ทุก​ตัว หลัง​จาก​ผ่าน​กระบวนการ​ทั้งหมด​แล้ว จะ​สามารถ​ออก​รายงาน​เพื่อ​การ​บริหาร​ได้​ทุก​มิติ ผู้​บริหาร ผู้​ถือ​หุ้น และ​ผู้ท​ ี่ต​ ้องการ​ใช้​รายงาน​ทางการ​เงิน​ทุก​ฝ่าย สามารถ​ดู​ผล​ประกอบ​การ​ของ​องค์กร​ที่​เป็น​ มาตรฐาน​เป็นท​ ี่ย​ อมรับ​โดย​สาธารณะ​ได้ (ภาพ​ที่ 7.30)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.30 ระบบ​บัญชี​ทั่วไป​และ​รายงาน​ทางการ​เงิน

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

1.9 ระบบ​งบ​ประมาณ ใช้ใ​ น​การ​ควบคุมง​ บ​ประมาณ​ของ​แต่ละ​หน่วย​งาน​ให้ม​ ปี​ ระสิทธิภาพ​และ​เป็น​ ไป​ตาม​วัตถุประสงค์ (ภาพ​ที่ 7.31) โดย​สามารถ​ควบคุม​ได้​ใน 2 รูป​แบบ ได้แก่


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-49

1) ระบบ​งบ​ประมาณ​แบบ​คุม​ยอด​บัญชี โดย​การ​กำ�หนด​ตัวเลข​งบ​ประมาณ​กำ�กับ​ไว้​ใน​แต่ละ​ บัญชีใ​ น​แต่ละ​เดือน เมือ่ เ​กิดร​ ายการ​ใด​ทกี​่ ระทบ​ยอด​ใน​บญ ั ชีน​ ัน้ ท​ ัง้ เ​พิม่ แ​ ละ​ลด หาก​รายการ​ใด​เกินง​ บ​ประมาณ​ ที่​ตั้งไ​ ว้ก​ ็จ​ ะ​ไม่ส​ ามารถ​บันทึกร​ าย​กา​รนั้นๆ ได้ เช่น ตั้งง​ บ​ประมาณ​คุม​บัญชีว​ ัสดุส​ ิ้นเ​ปลือง​ของ​แผนก​ทำ�ความ​ สะอาด​ของ​เดือน​พฤษภาคม​ไว้​ที่ 5,000 บาท หาก​มี​การ​ซื้อ​วัสดุ​สิ้น​เปลือง​เกิน​ตัวเลข​ที่​ตั้ง​ไว้ ระบบ​ก็​จะ​ไม่​ อนุญาต​ให้​ออก​ใบรับ​แจ้งห​ นี้​ที่​เกิน​นั้น 2) ระบบ​งบ​ประมาณ​แบบ​ควบคุม​กระบวนการ​จัด​ซื้อ ซึ่ง​จะ​สามารถ​กำ�หนด​งบ​ประมาณ​รวม และ​ควบคุม​ทุก​ขั้น​ตอน​ของ​กระบวนการ​จัด​ซื้อ เช่น การ​ขอ​งบ​ประมาณ การ​กัน​งบ​ประมาณ การ​อนุมัติ และ​ การ​เบิกจ​ ่าย​งบ เป็นต้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.31 ระบบ​งบ​ประมาณ

1.10 ระบบ​การ​วางแผน​วัตถุดิบ ระบบ​จะ​ทำ�การ​ประมวล​ผล​ช่วย​ใน​การ​วางแผน​การ​สั่ง​ซื้อ​วัตถุดิบ (MRP) และ​แผนการ​ใช้​กำ�ลังก​ าร​ผลิต (CRP) ให้​โดย​อัตโนมัติ (ภาพ​ที่ 7.32) ซึ่ง​ใน​การ​ประมวล​ผล​นี้ ระบบ​ จะ​อาศัยข​ ้อ​มูล​หลักๆ มา​จาก 3 ทาง คือ 1) ความ​ต้องการ (requirements) ซึ่ง​จะ​มี​จุด​เริ่ม​ต้น​จาก​การ​พยากรณ์​ยอด​ขาย (sales forecast) 2) ปริมาณ​สินค้า​ที่​มี​อยู่ (inventory on hand) ซึ่ง​มา​จาก​การ​ประมวล​ผล​จาก​ระบบ​การ​ ควบคุม​สินค้าค​ งคลัง (Inventory Control - IC) 3) โครงสร้าง​ผลิตภัณฑ์ (product structure) คน​ส่วน​มาก​มักจ​ ะ​เรียก​ว่า ใบ​รายการ​วัตถุดิบ (Bill Of Materials - BOM) หรือ​สูตร​การ​ผลิต

ธ ส


7-50

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ข้อมูล​ทั้ง 3 ส่วน​นี้​จะ​เป็น​ส่วน​นำ�​เข้า (input) ของ​การ​ประมวล​ผล และ​ได้​ผลลัพธ์ (output) เป็น​แผน​วัตถุดิบ (material plan) และ​แผน​กำ�ลัง (capacity plan) หลัง​จาก​นั้น ฝ่าย​จัด​ซื้อ​จะ​นำ�​ตัวเลข​ ความ​ต้องการ​นี้​ไป​ทำ�​แผนการ​สั่ง​ซื้อต​ ่อไ​ ป เมื่อ​ซัพพลาย​เอ​อร์​ส่ง​วัตถุดิบ​มา​ให้​ตาม​ตาราง​เวลา​ที่​ตกลง​ไว้ ฝ่าย​ ผลิต​ก็​จะ​นำ�​ใบเบิก​ที่​ระบบ​เตรียม​ไว้​ให้แ​ บบ​อัตโนมัติ​ตาม​เวลา​ที่​ตั้ง​ไว้​ตาม​แผนการ​ผลิต และ​ดำ�เนิน​การ​ผลิต​ ตาม​แผน​นั้น เมื่อไ​ ด้ส​ ินค้าส​ ำ�เร็จรูป (finished goods) แล้ว ฝ่าย​คลังส​ ินค้าก​ จ็​ ะ​ทำ�การ​รับส​ ินค้าส​ ำ�เร็จเ​ข้าค​ ลัง รอ​ฝ่าย​ขาย​หรือ​ฝ่าย​จัด​ส่ง ดำ�เนิน​กระบวนการ​ส่งส​ ินค้า​ให้​แก่​ลูกค้า​ต่อ​ไป

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.32 ระบบ​การ​วางแผน​วัตถุดิบ

1.11 ระบบ​บริหาร​ทรัพยากร​มนุษย์ เป็น​โปรแกรม​ที่​มี​รากฐาน​มา​จาก​ทั้ง​ภาค​ทฤษฎี (academic theory) และ​ภาค​ปฏิบัติ (business practice) ใน​ระบบ​บริหาร​ทรัพยากร​มนุษย์​มี​โมดูล​จำ�นวน​มาก แต่​ที่​ เชื่อม​ต่อ​กับ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มี​เพียง​ไม่​กี่​จุด (ภาพ​ที่ 7.33) เช่น 1) ระบบ​เงิน​เดือน (payroll) แต่​ก็​พบ​ว่า​โปรแกรม​ระบบ​บริหาร​ทรัพยากร​มนุษย์​ส่วน​ใหญ่​ ปล่อย​ให้​ระบบ​เงิน​เดือน​มา​อยู่​ที่​ฝั่ง​บัญชี เนื่องจาก​เกี่ยวข้อง​กับ​เรื่อง​การ​เงิน​และ​ภาษี ซึ่ง​ฝ่าย​บัญชี​มี​ความ​ เข้าใจ​และ​ชำ�นาญ​กว่า​ฝ่า​ยอื่นๆ ใน​องค์กร นอกจาก​นี้ ระบบ​เงิน​เดือน​มัก​สัมพันธ์​กับ​ฝ่าย​ขาย​อยู่​มาก โดย​ เฉพาะ​กิจการ​ทีม่​ กี​ าร​ให้ค​ ่าค​ อมมิชชั่นแ​ ก่พ​ นักงาน หรือก​ รณีท​ ีเ่​ป็นผ​ ูป้​ ระกอบ​การ​ผลิต มีก​ าร​ใช้ร​ ะบบ​การ​ผลิต ระบบ​วางแผน​ความ​ต้องการ​วัตถุดิบอ​ าจ​จะ​มีร​ าย​ได้อ​ ื่นๆ ที่ส​ ัมพันธ์ก​ ับช​ ิ้นง​ าน ซึ่งก​ รณีเ​ช่นน​ ี้ การ​ประมวล​ผล​ ส่วน​มาก​จึง​อยู่​ฝั่ง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-51

ธ ส

2) ระบบ​จัดการ​การ​เดิน​ทาง (travel management) องค์กร​ซึ่ง​เน้น​การ​พัฒนา​บุคลากร​มาก มีพ​ นักงาน​มาก และ​มีก​ าร​สัมมนา​ดูง​ าน​เป็นป​ ระจำ� จะ​คุ้มค​ ่าที่จ​ ะ​ตั้งห​ น่วย​ธุรกิจน​ ี้ข​ ึ้นม​ า โมดูลน​ ี้ก​ ็เ​ชื่อม​ต่อก​ ับ​ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร 3) กรณีท​ ีอ่​ งค์กร​มลี​ ักษณะ​การ​บริหาร​โดย​อิงผ​ ล​งาน (performance-based management) อาจ​จะ​มี​การ​เชื่อม​โยง​กับ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ใน​ลักษณะ​ของ​การนำ�​ผล​งาน​จาก​ระบบ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใส่​ไว้​ใน​ระบบ​บริหาร​ทรัพยากร​มนุษย์​เพื่อ​เป็นข​ ้อมูล​สำ�หรับก​ าร​ปรับ​ตำ�แหน่ง 4) โม​ดูลอ​ ื่นๆ ใน​ระบบ​บริหาร​ทรัพยากร​มนุษย์อ​ าจ​ก่อใ​ ห้เ​กิดค​ ่าใ​ ช้จ​ ่าย​สำ�หรับก​ าร​บริหาร​งาน​ บุคคล ก็​อาจ​จะ​ส่ง​ข้อมูล​เหล่า​นั้นม​ ายัง​ระบบ​บัญชีข​ อง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ได้ โมดูล​ใน​ระบบ​บริหาร​ทรัพยากร​มนุษย์​อาจ​จะ​ประกอบ​ด้วย - การ​วางแผน​กำ�ลังค​ น (workforce planning) - การ​ว่าจ​ ้าง (recruitment) - การ​จัดการ​ทักษะ (skills management) - การ​ฝึกอ​ บรม​และ​พัฒนา (training and development) - การ​บริหาร​บุคลากร (personnel administration) - การ​ชดเชย​ค่า​จ้าง​หรือ​เงินเ​ดือน (compensation in wage or salary) - การ​จัดการ​เวลา (time management) - การ​จัดการ​การ​เดิน​ทาง (travel management) - ค่าจ​ ้าง (payroll) - แรงงานสัมพันธ์ (labor relation)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.33 ระบบ​บริหาร​ทรัพยากร​มนุษย์

ธ ส

ธ ส


7-52

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

1.12 ระบบ​วางแผน​การ​ปฏิบัตงิ​ าน​เพื่อก​ าร​จัดจ​ ำ�หน่าย เป็นร​ ะบบ​ที่ท​ ำ�​หน้าที่ว​ างแผน​การ​ดำ�เนินก​ าร​ ผลิต​และ​จัดหา​เพื่อใ​ ห้​ทัน​ต่อ​การ​วางแผน​การ​ตลาด​ที่​ผนวก​ทั้ง​อุปสงค์ หรือ​ดีมานด์ (demand) และ​อุปทาน หรือ​ซัพพลาย (supply) เข้า​ด้วย​กัน เรียก​ว่า การ​วางแผน​กา​รบู​รณา​การ​อุปสงค์​และ​อุปทาน (Integrated Supply-Demand Planning) เพื่อร​ ักษา​โอกาส​ทางการ​ขาย​โดย​ไม่​ต้อง​มี​สินค้า​คงคลัง หรือ​ถ้า​มี​ก็​ให้​มี​สินค้า​ คงคลัง​น้อย​ที่สุด (ภาพ​ที่ 7.34)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.34 ระบบ​วางแผน​การ​ปฏิบัติ​งาน​เพื่อ​การ​จัด​จำ�หน่าย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หาก​เปรียบ​เทียบ​การ​ใช้​หลัก​การ ปริมาณ​สินค้า​คงคลัง​ที่​ปลอดภัย (safety stock) และ​จุด ส​ ั่ง​ซื้อ​ซ้ำ� (reorder point) ปกติ จะ​มีก​ าร​แกว่ง​ตัวข​ อง​ระดับ​ปริมาณ​สินค้า​คงคลัง​มาก แต่​เมื่อ​ใช้​กระบวนการ​ ของ​ระบบ​วางแผน​การ​ปฏิบัติ​งาน​เพื่อ​การ​จัด​จำ�หน่าย​เข้า​มา​ช่วย ทำ�ให้​ช่วย​ลด​ระดับ​ปริมาณ​สินค้า​คงคลัง​ที่​ ปลอดภัยล​ ง​ได้อ​ ย่าง​มาก ลด​ระดับจ​ ดุ ส​ งั่ ซ​ อื้ ซ​ � ้ำ และ​ปริมาณ​การ​สง่ ม​ อบ​สนิ ค้า (replenishment quantity - Q) ลง​ได้ ทำ�ให้​ปริมาณ​สินค้า​คงคลัง​ใน​แต่ละ​ช่วง​เวลา​ลด​ลง​และ​มี​การ​แกว่ง​ตัว​น้อย​กว่า (ภาพ​ที่ 7.35)

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

ธ ส

7-53

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.35 ระบบ​วางแผน​การ​ปฏิบัติ​งาน​กับ​การ​จัด​จำ�หน่าย​เพื่อด​ ูแล​ปริมาณ​สินค้า​คงคลัง

1.13 ระบบ​บริหาร​ร้าน​สา​ขา​แบบ​เรี​ยล​ไทม์/พี​โอเอส​ออนไลน์ ด้วย​รูป​แบบ​การ​ทำ�งาน​แบบ​คลา​วด์​ คอม​พิว​ติ้ง จึง​ช่วย​ให้​ฐาน​ข้อมูล​ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​อยู่​ต่าง​สถาน​ที่​และ​ระยะ​ไกล​กัน สามารถ​เชื่อม​ต่อก​ ันไ​ ด้ โดย​แต่ละ​ที่ใ​ ช้ร​ ะบบ​คนละ​แบบ เช่น ที่ส​ ำ�นักงาน​ใหญ่ใ​ ช้ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร แต่ท​ ีส่​ าขา​ใช้โ​ ปรแกรม​บัญชีก​ ับร​ ะบบ​พโี​ อเอส (POS) ก็ส​ ามารถ​เชื่อม​ต่อก​ ันไ​ ด้แ​ บบ​เรีย​ ล​ไทม์ โดย​อาศัยค​ ลา​วด์​ เซิร์ฟเวอร์ใ​ น​การ​ประมวล​ผล ซึ่งป​ กติม​ ักจ​ ะ​เชื่อม​ระบบ​งาน​ขาย ระบบ​ควบคุมค​ ลังส​ ินค้า และ​ระบบ​สมาชิกเ​ข้า​ ด้วย​กัน (ภาพ​ที่ 7.36)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.36 ระบบ​บริหาร​ร้าน​สา​ขา​แบบ​เรี​ยล​ไทม์

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 7.2.3 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 7.2.3 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 7 ตอน​ที่ 7.2 เรื่อง​ที่ 7.2.3


7-54

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

เรื่อง​ที่ 7.2.4 พัฒนาการ​ต่อ​ขยาย​ระบบ​จาก​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

ธ ส

เดิมทีผ​ ูพ้​ ัฒนาการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ต่าง​พยายาม​อย่าง​หนักท​ ีจ่​ ะ​ทำ�​ระบบ​อื่นๆ ทุกป​ ระเภท​มา​ ตอบ​สนอง​ผูใ้​ ช้โ​ ดย​ไม่ต​ ้อง​จัดหา​ระบบ​อื่นๆ ของ​ผูพ้​ ัฒนา​ราย​อื่น ส่วน​หนึ่งอ​ าจ​เป็นเ​หตุผล​ทางการ​ค้าท​ ีจ่​ ะ​รักษา​ ลูกค้า​ไว้​ให้​มาก​ที่สุด แต่​อีก​เหตุผล​หนึ่งค​ ือ ข้อจ​ ำ�กัด​ทาง​ด้าน​เทคนิค เนื่องจาก​ขาด​มาตรฐาน​ใน​การ​เชื่อมต่อ​ จึงไ​ ม่มเี​ทคโนโลยีก​ าร​เชื่อม​ต่อท​ ีไ่​ ด้ร​ ับค​ วาม​ยอมรับใ​ น​วง​กว้าง จึงท​ ำ�ให้ผ​ ูพ้​ ัฒนาการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ต้อง​สร้าง​มาตรฐาน​ของ​ตนเอง อย่าง​กรณี​ของ​เอส​เอ​พี​อาบั​ป (SAP ABAP) มิ​ฉะนั้น​ก็​ต้อง​ใช้​การ​เชื่อม​ต่อ​โดย ไฟล์ ซึ่ง​ต้อง​ทำ�งาน​แบบ​แบทช์​เท่านั้น ซึ่ง​กระบวนการ​เหล่า​นี้​ใช้​ต้นทุน​สูง​ทั้ง​การ​พัฒนา​และ​การ​บำ�รุง​รักษา ดัง​นั้น โปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ต่างๆ จึง​มัก​ไม่​ค่อย​เต็มใจ​ที่​จะ​เชื่อม​ต่อ แต่​เอา​งบ​ประมาณ​ สำ�หรับ​พัฒนาการ​เชื่อม​ต่อ​ไป​ใช้​ใน​การ​พัฒนา​ระบบ​อื่นๆ ที่ล​ ูกค้า​ต้องการ เพราะ​มอง​เห็น​ว่า​ใช้​งบ​ลง​ทุ​นพอๆ กัน แต่​ระบบ​เหล่า​นั้น​มัก​จะ​เป็น​ระบบ​ที่​เน้น​การ​ไหล​ของ​งาน (flow centric) ให้การ​ทำ�งาน​ระหว่าง​หน่วย​งาน​ เป็น​ไป​ได้​อย่าง​รวดเร็ว​ยิ่ง​ขึ้น แต่​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ออกแบบ​มา​เน้น​การ​เป็น​แกน​กลาง​ของ​ระบบ​ ฐาน​ข้อมูล​องค์กร และ​จัดการ​ไหล​ด้วย​การ​กำ�หนด​ค่า​ใน​ฐาน​ข้อมูล​เป็น​หลัก (data centric) การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​จึง​สามารถ​ทำ�งาน​ได้​ใน​ระดับ​หนึ่ง​เท่านั้น ดัง​นั้น เมื่อ​เทคโนโลยี​ที่​ใช้​ใน​การ​เชื่อม​ต่อ​ผ่าน​ มาตรฐาน​ต่างๆ โดย​เฉพาะ​เว็บ 2.0 ได้​รับ​การ​ยอมรับ​อย่าง​แพร่​หลาย ทำ�ให้​ผู้​พัฒนาการ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​ต่าง​ยอมรับ​การ​เชื่อม​ต่อ​มาก​ขึ้น เมื่อ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ยอมรับ​ใน​การ​เชื่อม​ต่อ​มาก​ขึ้น การ​ต่อ​ขยาย​ระบบ​ก็​เป็น​ไป​ได้​ โดย​รวดเร็ว ระบบ​ต่างๆ สามารถ​ทำ�งาน​ประสาน​กับ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ได้​อย่าง​แนบ​สนิท​มาก​ขึ้น (seemless) ด้วย​ความ​พร้อม​ของ​เทคโนโลยี จึงช​ ่วย​ให้การ​เชื่อม​ต่อเ​ป็นไ​ ป​ได้ท​ ั้งแ​ บบ​แบทช์แ​ ละ​แบบ​ออนไลน์ ทั้งท​ ีเ่​ป็นการ​พัฒนา​โปรแกรม​เชื่อม​ต่อเ​ป็นพ​ หุภาคี และ​โปรแกรม​เชื่อม​ต่ออ​ ย่าง​หลาก​หลาย เช่น กา​รบูร​ ณา​การ​ แอพ​พลิ​เคชั่น​ ข​อง​องค์การ (Enterprise Application Integration - EAI) ดังท​ ี่​ได้​กล่าว​ไป​แล้ว​ก่อน​หน้า​นี้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

1. การ​ต่อ​ขยาย​ด้วย​ระบบ​บริหาร​ลูกค้า​สัมพันธ์

ธ ส

ธ ส

ระบบ​บริหาร​ลูกค้า​สัมพันธ์ หรือซ​ ี​อาร์เ​อ็ม (Customer Relationship Management - CRM) นี้ เป็น​ระบบ​งาน​ที่​เน้น​การ​ไหล​ของ​งาน​เช่น​กัน (flow centric) ข้อมูล​ของ​ระบบ​บริหาร​ลูกค้า​สัมพันธ์​จะ​ถูก​ผลัก​ ให้​ไหล​ผ่าน​ไป​ยัง​ฝ่าย​ต่างๆ ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​บริการ​ลูกค้า การ​ขาย​สินค้า​และ​บริการ​ต่างๆ เช่น เมื่อ​ลูกค้า​ ซื้อ​สินค้า​จาก​ฝ่าย​ขาย ระบบ​จะแจ้ง​ไป​ยัง​ฝ่าย​บริการ​ให้​ดำ�เนิน​การ​เข้า​บริการ​หลัง​การ​ขาย หลัง​จาก​นั้น​ข้อมูล​ จะ​ไหล​ไป​ยังฝ​ ่าย​ติดตาม​และ​ประเมินผ​ ล ทำ�การ​ติดตาม​สอบถาม​ลูกค้าถ​ ึงค​ วาม​พึงพ​ อใจ​ใน​สินค้าแ​ ละ​บริการ เป็นต้น ซึ่ง​กระบวนการ​ต่างๆ เหล่า​นี้​จะ​ไหล​ไป​อย่าง​ต่อ​เนื่อง และ​มี​เพียง​บาง​ขั้น​ตอน​ที่​ต้อง​เชื่อม​โยง​กับ​การ​

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-55

ธ ส

วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เช่น เมื่อ​มี​การ​ขาย​สินค้า​จะ​ส่ง​ข้อมูล​การ​ขาย​ไป​ยัง​ระบบ​งาน​ขาย​เพื่อ​ออก​ใบ​กำ�กับ​ ภาษี หรือ​บาง​ครั้งร​ ะบบ​บริหาร​ลูกค้า​สัมพันธ์​ก็​ทำ�การ​ออก​ใบ​กำ�กับ​ภาษี​เอง แล้วจ​ ึง​ส่ง​เฉพาะ​ข้อมูล​ไป​เก็บ​ไว้​ ที่​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร หลังจ​ าก​นั้นร​ ะบบ​บัญชี​ลูก​หนี้​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ก็​จะ​ดำ�เนิน​ ตาม​ขั้น​ตอน​การ​เก็บ​เงิน​และ​ลง​บัญชี​ต่อไ​ ป เมื่อ​ดำ�เนิน​การ​เก็บ​เงิน​แล้ว​ก็​จะ​ส่ง​ข้อมูล​ไป​ยัง​ระบบ​บริหาร​ลูกค้า​ สัมพันธ์​เพื่อ​เข้า​สู่​ทะเบียน​ลูกค้า​เก่า​และ​ทำ�การ​ติดตาม​การ​ให้​บริการ​ตาม​ข้อ​ตกลง (ถ้า​มี) และ​นำ�​ข้อมูล​ลูกค้า​ มา​ทำ�การ​วิเคราะห์​เพื่อว​ างแผน​การ​ตลาด​เพื่อ​ให้​เกิด​การ​ซื้อ​ซ้ำ� (ภาพ​ที่ 7.37)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.37 จุด​เชื่อม​ต่อ​ระหว่าง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​และ​การ​บริหาร​ลูกค้า​สัมพันธ์

2. การ​ต่อ​ขยาย​ด้วย​ระบบ​การ​จัดการ​โซ่อ​ ุปทาน

ธ ส

ระบบ​การ​จัดการ​โซ่อ​ ุปทาน หรือเ​อส​ซีเ​อ็ม (Supply Chain Management - SCM) เป็นโ​ ปรแกรม​ที​่ ออกแบบ​มา​ทเี​่ น้นก​ าร​จดั การ​การ​ปฏิบตั ก​ิ าร (operation management) มากกว่าง​ าน​ดา้ น​บญ ั ชี (accounting) ซึ่งไ​ ด้ร​ ับก​ ารนำ�​มา​ใช้ใ​ น​การ​จัดการ​โซ่อ​ ุปทาน​ของ​ธุรกิจค​ ้าป​ ลีกอ​ ย่าง​แพร่ห​ ลาย และ​สามารถ​รองรับก​ าร​จัดการ​ ตั้งแต่อ​ ุตสาหกรรม​ต้นน้ำ�​จนถึงป​ ลาย​น้ำ� โดย​เน้นก​ าร​วางแผน​การ​จัดหา​และ​การ​จัดส​ ่งท​ ี่ม​ ีป​ ระสิทธิภาพ​สูงสุด ส่วน​ที่​สัมพันธ์​กับ​งาน​บัญชี​จะ​เกิด​เมื่อ​ดึงก​ ระบวนการ​จัดหา และ​ต่อ​เนื่อง​ไป​ถึง​งาน​บัญชี​เจ้า​หนี้ งบ​ต้นทุน​การ​ ผลิต และ​งบ​การ​เงินต​ ่างๆ (ภาพ​ที่ 7.38)

ธ ส

ธ ส


7-56

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.38 จุด​เชื่อม​ต่อ​ระหว่าง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​และ​การ​จัดการ​โซ่​อุปทาน

ธ ส

การ​จัดการ​โซ่​อุปทาน​จะ​ทำ�งาน​เชื่อม​กับ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร และ​ระบบ​บริหาร​คลัง​สินค้า (Warehouse Management System - WMS) เพื่อ​ให้การ​ขนส่ง​มี​ประสิทธิภาพ เมื่อ​ทำ�การ​สั่ง​ซื้อ​สินค้า​จาก​ ซัพพลาย​เออร์ แล้วซ​ พั พลาย​เอ​อร์จ​ ะ​ท�ำ การ​จดั ส​ ง่ ไ​ ป​ทคี​่ ลังส​ นิ ค้าเ​ลย แทนทีจ​่ ะ​สง่ ม​ า​ทสี​่ �ำ นักงาน​กอ่ น กรณีเ​ช่นนี้ ระบบ​จัดซ​ ื้อจ​ ะ​สามารถ​ระบุร​ าย​ละเอียด​การ​จัดส​ ่งพ​ ร้อม​ทั้งส​ ถาน​ทีร่​ ับข​ อง​จาก​ซัพพลาย​เอ​อร์ใ​ ห้เ​ป็นส​ ถาน​ทีต่​ ั้ง​ คลัง​สินค้า​ได้ และ​จะ​ทำ�การ​ส่ง​ใบรับ​สินค้า (goods receive note) ไป​ยัง​คลัง​สินค้า เพื่อ​รอ​รับ​สินค้า​ที่​จะ​มา​ ส่ง​โดย​ซัพพลาย​เอ​อร์​ได้ ช่วย​ให้​สะดวก​รวดเร็ว ประหยัด​ค่า​ขนส่ง และ​ยัง​คง​สามารถ​ควบคุม​และ​ตรวจ​สอบ​ ได้​อย่าง​รวดเร็ว (ภาพ​ที่ 7.39)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-57

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.39 การ​ไหล​ของ​ข้อมูล​ระหว่าง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​และ​การ​จัดการ​โซ่​อุปทาน

ธ ส

3. การ​ต่อ​ขยาย​ด้วย​ระบบ​การ​จัด​ซื้อ​จัดจ​ ้าง​อิเล็กทรอนิกส์/การ​ประมูล​อิเล็กทรอนิกส์

ระบบ​การ​จัด​ซื้อจ​ ัด​จ้าง​อิเล็กทรอนิกส์ (e-Procurement) ถือ​เป็นร​ ะบบ​ที่​ต่อ​ขยาย​จาก​ระบบ​จัด​ซื้อ​ มาตรฐาน​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ระบบ​การ​จัด​ซื้อ​จัด​จ้าง​อิเล็กทรอนิกส์​มัก​จะ​วาง​ไว้​บน​เครือ​ข่าย​ อินเทอร์เน็ต​เพื่อ​ให้​ผู้​จำ�หน่าย​ที่​เป็น​สมาชิก​สามารถ​เข้า​มา​รับ​ข้อมูล​ความ​ต้องการ​สินค้า​หรือ​ใบสั่ง​ซื้อ โดย​ อาจ​จะ​เป็นการ​ส่ง​ไฟล์​อี​ดี​ไอ​หรือไ​ ฟล์ส​ ำ�หรับ​การ​แลก​เปลี่ยน​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ (EDI file) ไป​ทาง​อีเมล​ของ​ ซัพพลาย​เออร์ จาก​นั้น​ซัพพลาย​เอ​อร์​ก็​ดำ�เนิน​การเต​รี​ยม​การ​ส่ง​สินค้า​และ​ส่ง​ใบ​แจ้ง​ราย​ละเอียด​การ​จัด​ส่ง​ ล่วง​หน้า (Advance Shipping Note - ASN) มา​ให้​ผู้​ซื้อ​เพื่อ​การ​ยืนยัน ตรวจ​สอบ ดำ�เนิน​การ​ภายใน และ​ ดำ�เนิน​กระบวนการ​การ​จัด​ซื้อ​และ​รับ​สินค้า​ตาม​ปกติ (ภาพ​ที่ 7.40) ระบบ​การ​จัด​ซื้อ​จัด​จ้าง​อิเล็กทรอนิกส์​ มัก​จะ​วาง​บน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต ส่วน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มัก​จะ​ติด​ตั้ง​ใน​สำ�นักงาน​ที่​ดำ�เนิน​การ (local) ดังน​ ั้น จึง​ต้อง​มี​ขั้น​ตอน​การ​เชื่อม​ข้อมูล​ของ​ทั้ง 2 ระบบ​เข้า​ด้วย​กัน กรณี​ที่​มี​ขั้น​ตอน​การ​ประมูล​อาจ​จะ​เพิ่ม​ระบบ​การ​ประมูล​อิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ใน​ขั้น​ตอน​ การ​สื่อสาร​ไป​ยัง​ซัพพลาย​เอ​อร์ใ​ ห้​เข้า​มา​ประมูล​ก่อน ใน​ขั้น​ตอน​ที่ 2 เมื่อ​ซัพพลาย​เอ​อร์​ใด​ชนะ​ประมูล จึง​จะ​ ดำ�เนิน​การ​ใน​ขั้น​ตอน​ที่ 3 ภาย​หลัง

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-58

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.40 การ​ไหล​ของ​งาน​ใน​ระบบ​การ​จัดซ​ ื้อ​จัด​จ้าง​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ระบบ​การ​จัด​ซื้อ​จัด​จ้าง​อิเล็กทรอนิกส์​ที่​ใช้​ใน​ธุรกิจ​ค้า​ปลีก​ยุค​ใหม่​จะ​ประกอบ​ด้วย​รูป​แบบ​ของ​ ตัวแทน​ขาย​จัดการ​คลังส​ ินค้า (Vendor Managed Inventory - VMI) โดย​จะ​ให้ฝ​ ั่งซ​ ัพพลาย​เอ​อร์ท​ ี่ม​ ีก​ าร​ทำ�​ ข้อต​ กลง สามารถ​ล็อก​ออน​เข้าม​ า​เซิร์ฟเวอร์เ​พื่อต​ รวจ​สอบ​ปริมาณ​สินค้าค​ งคลัง และ​เมื่อร​ ะดับป​ ริมาณ​สินค้า​ คงคลังถ​ ึงจ​ ุดท​ ีฝ่​ ั่งซ​ ัพพลาย​เอ​อร์ค​ ิดว​ ่าค​ วร​จะ​ดำ�เนินก​ าร​ส่งส​ ินค้าเ​พื่อเ​ติมเ​ต็มต​ าม​ข้อต​ กลง​ฝั่งซ​ ัพพลาย​เอ​อร์ก​ ​็ จะ​ดำ�เนินก​ าร​ส่งส​ ินค้า ซึ่งก​ ระบวนการ​เช่นน​ ีถ้​ ือว่า ​ฝั่งซ​ ัพพลาย​เอ​อร์จ​ ะ​ต้อง​เป็นผ​ ูต้​ รวจ​สอบ​แทน​ผูซ้​ ื้อ จึงถ​ ือว่า​​ ฝั่ง​ซัพพลาย​เอ​อร์​เป็น​ผู้บ​ ริหาร​คลังส​ ินค้า​ให้​กับ​ผู้ซ​ ื้อ​นั่นเอง (ภาพ​ที่ 7.41)

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-59

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.41 การ​ไหล​ของ​งาน​ใน​ระบบ​การ​จัดซ​ ื้อ​จัด​จ้าง​อิเล็กทรอนิกส์ท​ ี่​มี​ระบบ​การ​ประมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์​ด้วย

ธ ส

4. การ​ต่อ​ขยาย​ด้วย​ระบบ​บริหาร​คลัง​สินค้า

ระบบ​บริหาร​คลัง​สินค้า (Warehouse Management System - WMS) จะ​ช่วย​ให้​ผู้​บริหาร​ทราบ​ ถึง​ปริมาณ​สินค้า​คงคลังร​ วม และ​ลง​ลึกไ​ ป​ถึงแ​ ต่ละ​คลัง​ย่อย การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​เก็บ​ข้อมูล​การ​ ซื้อ​ขาย​และ​ปริมาณ​สินค้า​คงคลัง​ย้อน​หลัง​เพื่อ​การ​วางแผน​การ​จัด​ซื้อ​อย่าง​มี​ประสิทธิภาพ​ได้​ใน​อนาคต ซึ่ง​ จะ​ช่วย​ลด​ต้นทุน​การ​ถือ​ครอง​สินค้า​และ​ลด​ความ​เสี่ยง​ของ​ธุรกิจ​ได้​อย่าง​มาก โดย​เฉพาะ​ใน​ยุค​ที่​ค่า​ใช้​จ่าย​ ด้าน​พลังงาน การขนส่ง และ​ค่า​ครอง​ชี​พอื่นๆ สูง​ขึ้น​อย่าง​ต่อ​เนื่อง ผู้​บริหาร​จะ​สามารถ​กำ�หนด​ยุทธศาสตร์​ การ​จัด​ซื้อ​และ​การ​ผลิต​ได้​อย่าง​ดี จาก​ข้อมูล​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ระบบบริหาร​คลัง​สินค้า​ที่​ทำ�​ ขึ้น​มา​เฉพาะ สามารถ​รองรับ​ระบบ​งาน​ของ​ศูนย์​กระจาย​สินค้า (distribution center) เนื่องจาก​คลัง​สินค้า​ ขนาด​ใหญ่ม​ ักจ​ ะ​มที​ ีต่​ ั้งน​ อก​เมือง ขณะ​ทีฝ่​ ่าย​สำ�นักงาน​มักจ​ ะ​อยูใ่​ น​สถาน​ทีซ่​ ึ่งสะดวก​ใน​การ​ติดต่อธ​ ุรกรรม​กับ​ คู่ค้า​มากกว่า ระบบ​บริหาร​คลังส​ ินค้า​จะ​รองรับ​การทำ�งาน​แบบ​ออนไลน์​และ​สามารถ​เชื่อม​ต่อ​กับ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​แบบ​ออนไลน์ด​ ว้ ย กระบวนการ​ท�ำ งาน​ใน​ทกุ ข​ ัน้ ต​ อน​จะ​สามารถ​ประสาน​กบั ร​ ะบบ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​ได้​ตลอด​เวลา ช่วย​ให้การ​จดั การ​คลัง​สนิ ค้า​ใน​ตา่ ง​พน้ื ที​ท่ �ำ ได้​โดย​งา่ ย เช่น เมือ่ ฝัง่ ​ซพั พลาย​เอ​อร์​ จัด​ส่ง​สินค้า​ไป​ยัง​คลัง​สินค้า​แล้ว ระบบ​บริหาร​คลัง​สินค้า​ก็​จะ​ส่ง​ข้อมูล​การ​รับ​สินค้า (goods receive note) มายังส​ ำ�นักงาน​ใหญ่ เพื่อเ​ปรียบ​เทียบ​กับใ​ บสั่งซ​ ื้อก​ ่อน​หน้าน​ ี้ และ​สามารถ​รับใ​ บ​แจ้งห​ นี้จ​ าก​ฝั่งซ​ ัพพลาย​เอ​อร์​ อย่าง​รัดกุม เพื่อป้องกัน​ความ​ผิดพ​ ลาด​จาก​การ​รับส​ ินค้าผ​ ิดห​ รือก​ าร​แจ้งห​ นี้เ​กินไ​ ด้ ซึ่งท​ ั้งหมด​สามารถ​ทำ�งาน​ แบบ​ออนไลน์จ​ าก​ระยะ​ไกล​ได้ท​ ั่ว​โลก (ภาพ​ที่ 7.42)

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-60

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.42 การ​ไหล​ของ​เอกสาร​ระหว่าง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กับ​บริหาร​คลัง​สินค้า

5. การ​ทำ�​ระบบ​ประสาน​การ​ทำ�งาน​ออนไลน์ร​ ะหว่าง​อุปสงค์​และ​อุปทาน

ธ ส

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​สามารถ​ต่อ​ขยาย​ระบบ​เชื่อม​ต่อ​กับ​ระบบ​งาน​ส่วน​หน้า เช่น ระบบ​ พีโ​ อเอส (POS) ระบบ​งาน​ขาย​หน้าร​ ้าน เป็นต้น ซึ่งใ​ ห้ข​ ้อมูลฝ​ ั่งอ​ ุปทาน​ส่งต​ ่อไ​ ป​ยังร​ ะบบ​วางแผน​การ​ปฏิบัติงาน​ เพื่อ​การ​จัด​จำ�หน่าย (S&OP) เพื่อ​การ​วางแผน​การ​ผลิต​หรือ​จัด​ซื้อ​แบบ​อัตโนมัติ​ไป​ยัง​ซัพพลาย​เอ​อร์​ได้ การ​ต่อเ​ชื่อม​ระบบ​งาน​ส่วน​หน้าแ​ บบ​ออนไลน์จ​ ะ​ช่วย​ให้การ​ทำ�งาน​ของ​ระบบ​วางแผน​การ​ปฏิบัตงิ​ าน​เพื่อก​ าร​จัด​ จำ�หน่ายเกิดป​ ระโยชน์​สูงสุด ใน​ทาง​กลับ​กัน ระบบ​วางแผน​การ​ปฏิบัติง​ าน​เพื่อ​การ​จัด​จำ�หน่าย ก็​ทำ�ให้​ข้อมูล​ การ​ขาย​เป็น​ประโยชน์​ใน​การ​วางแผน​มาก​ยิ่ง​ขึ้น ช่วย​ให้​บริษัท​สามารถ​ลด​ระดับ​สินค้า​คงคลัง​ได้​โดย​ไม่​เสีย​ โอกาส​ทางการ​ขาย​และ​ให้บ​ ริการ​ลูกค้า​ได้อ​ ย่าง​ต่อเ​นื่อง​ด้วย​ต้นทุน​ที่ต​ ่ำ�​กว่า เรียก​ว่า การ​ทำ�​ระบบ​ประสาน​การ​ ทำ�งาน​ออนไลน์​ระหว่าง​อุปสงค์แ​ ละ​อุปทาน (online demand-supply reconciliation) ซึ่ง​ผู้​ใช้​งาน​ระบบ​ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​สะดวก​สบาย​และ​สามารถ​เพิ่ม​ประสิทธิภาพ​การ​ทำ�งาน​ได้ เนื่องจาก​การ​ไหล​ ของ​ข้อมูล​เป็นไ​ ป​อย่าง​อัตโนมัติ ซึ่งร​ ะบบ​งาน​นี้​ถูก​นำ�​มา​ใช้​ใน​กิจ​การ​แฟ​รน​ไชส์ (franchise) ขนาด​ใหญ่​หลาย​ แห่ง (ภาพ​ที่ 7.43)

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.43 การ​ไหล​ของ​เอกสาร​จาก​ระบบ​หน้า​ร้าน​จนถึง​ซัพพลาย​เออร์

ธ ส

7-61

6. ยก​ระดับ​ไป​สู่​ชุด​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​กับก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

โปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​อาจ​จะ​ทำ�งาน​แบบ​เว็บ​แอพ​พลิ​เคชั่​นทั้ง​ระบบ หรือ​นำ�​บาง​ ระบบ​ขึ้นส​ ู่เ​ครือข​ ่าย​อินเทอร์เน็ต เช่น ระบบ​รับคำ�​สั่งซ​ ื้อ ระบบ​ซื้อส​ ินค้าอ​ ิเล็กทรอนิกส์ (e-Shopping) เป็นต้น กรณี​ที่​นำ�​บาง​ระบบ​ขึ้น​สู่​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​นั้น ผู้​ใช้​จะ​ไม่​ต้อง​เรียน​รู้​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใหม่ เนื่องจาก​มี​เพียง​บาง​ระบบ​ที่​ใหม่ แต่​ระบบ​อื่นๆ จะ​ใช้​แบบ​เดิม ตัวอย่าง​การนำ�​ระบบ​รับคำ�​สั่ง​ซื้อ​ขึ้น​สู่​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต และ​ทำ�การ​เชื่อม​ต่อ​กับ​โปรแกรม​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เมื่อ​ลูกค้า​เข้า​สู่​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​และ​ทำ�​รายการ​ซื้อ ระบบ​จะ​เก็บ​ข้อมูล​บน​ เซิร์ฟเวอร์​ที่​อยู่​บน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต และ​เมื่อ​ระบบ​ทำ�การ​เชื่อม​ต่อ​กับ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​ ทำ�การ​ส่ง​ข้อมูล​เข้า​สู่​ระบบ​รับคำ�​สั่ง​ซื้อ​พื้น​ฐาน​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​ผู้​ใช้​เคย​ใช้​มา​อยู่​ก่อน​แล้ว แนวทาง​การ​ตดิ ต​ ัง้ ร​ ะบบ​เช่นน​ ชี​้ ว่ ย​ให้อ​ งค์กร​ทลี​่ งทุนก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​แล้ว สามารถ​ด�ำ เนินธ​ รุ กิจ​ อิเล็กทรอนิกส์ไ​ ด้ท​ นั ที โดย​ไม่ต​ อ้ ง​ปรับเ​ปลีย่ น​ระบบ​ทัง้ ร​ ะบบ และ​ผใู​้ ช้จ​ ะ​ได้ร​ บั ผ​ ลก​ระ​ทบ​นอ้ ย เนือ่ งจาก​ไม่ต​ อ้ ง​ เรียน​รู้ร​ ะบบ​ใหม่ แต่ก​ าร​เชื่อม​ต่อร​ ะบบ​จะ​ต้อง​ได้ร​ ับก​ าร​ทดสอบ​การ​ทำ�งาน​แบบ​ประสาน​เวลา (synchronize) เป็น​อย่าง​ดี​ก่อน​เริ่มใ​ ช้​ระบบ (ภาพ​ที่ 7.44)

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-62

ธ ส

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.44 การ​ไหล​ของ​เอกสาร​จาก​ระบบ​หน้า​ร้าน​ผ่าน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ตไ​ ป​ยัง​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​ใน​สำ�นักงาน​ใหญ่

บริษัท​อาจ​จะ​นำ�​ระบบ​บริหาร​งาน​ทั้งหมด​ขึ้น​ไป​ไว้​บน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​ได้ โดย​ประกอบ​ด้วย สำ�นักงาน​ไซเบอร์ (cyber office) ซึง่ จ​ ะ​เก็บร​ ะบบ​ขอ้ มูล การ​จดั เ​ก็บเ​อกสาร หนังสือส​ ัง่ ก​ าร​ทัง้ หมด​ของ​พนักงาน​ ทุก​คน​ตาม​โครงสร้าง​การ​บริหาร มี​ร้าน​ค้า​ไซเบอร์ (cyber shop) เป็น​หน้า​ร้าน​บน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต สามารถ​ทำ�​เป็นเ​ว็บท​ ่าข​ นาด​ใหญ่เ​พื่อเ​ป็นศ​ ูนย์กลาง​ของ​หน้าร​ ้าน​ทุกส​ าขา มีร​ ะบบ​จัดการ​ความ​รู้ (Knowledge Management - KM) ชุมชน​นักป​ ฏิบัติ หรือซ​ ีโ​ อ​พี (Community of Practice - CoP) บล็อก (blog) กระดาน​ สนทนา​หรือ​เว็บบ​ อร์ด (webboard) เป็นศ​ ูนย์​รวม​ฐาน​ความ​รู้​ของ​องค์กร​ทั้งหมด รวบรวม​ระบบ​งบ​ประมาณ ระบบ​สารสนเทศ​เพื่อ​การ​จัดการ หรือ​เอ็ม​ไอ​เอส (Management Information System - MIS) ทั้งหมด และ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เพื่อ​สื่อสาร​กัน​ผ่าน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​ได้​อย่าง​รอบ​ด้าน สามารถ ​เชื่อม​โยง​ระบบ​กับ​ผู้ม​ ี​ส่วน​ได้​ส่วน​เสีย​ทั้ง 4 ด้าน คือ - ลูกค้า (customer) - ซัพพลาย​เออร์ (supplier) - คู่​ค้า (partner) - พนักงาน (employee) ชุดธ​ ุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์ (e-Business suit) มีศ​ ูนย์ก​ าร​ควบคุม (control center) ส่วน​กลาง สามารถ​ เฝ้าร​ ะวังต​ ิดตาม (monitor) และ​สั่ง​การ (command) ได้​ตลอด​เวลา ไม่​จำ�กัดส​ ถาน​ที่ ผ่าน​ระบบ​เครือข​ ่าย​ ทั่วโ​ ลก​ได้ มีร​ ะบบ​ประชุมท​ าง​ไกล​ผ่าน​เครือข​ ่าย​อินเทอร์เน็ตร​ าคา​ประหยัดไ​ ด้ท​ ั่วโ​ ลก​พร้อม​กัน กล่าว​โดย​สรุป​ คือ นำ�​ทุกส​ ิ่งท​ ุกอ​ ย่าง​ขึ้นไ​ ป​ไว้บ​ น​เครือข​ ่าย​อินเทอร์เน็ตท​ ั้งหมด (ภาพ​ที่ 7.45) กรณีท​ ี่น​ ำ�​ระบบ​งาน​ทั้งหมด​ขึ้นส​ ู​่ เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ตม​ ี​ข้อ​ควร​คำ�นึงซ​ ึ่ง​จะ​ได้​กล่าว​ใน​ตอน​ต่อ​ไป

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-63

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.45 การ​ไหล​ของ​เอกสาร​จาก​ระบบ​หน้า​ร้าน​และ​ระบบ​งาน​ส่วน​หลัง​ไป​ยังเ​ซิร์ฟเวอร์​บน​เครือข​ ่าย​ อินเทอร์เน็ต​ที่​รองรับก​ าร​ทำ�งาน​แบบ​อิเล็กทรอนิกส์​เต็ม​รูป

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 7.2.4 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 7.2.4 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 7 ตอน​ที่ 7.2 เรื่อง​ที่ 7.2.4

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส


7-64

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ตอน​ที่ 7.3

ธ ส

บท​วิเคราะห์เ​กี่ยว​กับ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

โปรด​อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ�​ตอน​ที่ 7.3 แล้วจ​ ึง​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ พร้อม​ปฏิบัติ​กิจกรรม​ใน​แต่ละ​เรื่อง

หัว​เรื่อง

แนวคิด

ธ ส

เรื่อง​ที่ 7.3.1 ปัจจัยส​ ู่​ความ​สำ�เร็จ​ใน​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ เรื่อง​ที่ 7.3.2 ข้อค​ วร​คำ�นึง​ใน​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ เรื่อง​ที่ 7.3.3 ต้นทุนแ​ ละ​ผล​ตอบแทน​การ​ลงทุน​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เรื่อง​ที่ 7.3.4 ปัจจัยท​ ี่​กระทบ​ต่อ​การ​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

ธ ส

1. ผู้​บริหาร​โครงการ​ติด​ตั้ง​ระบบ​จะ​ต้อง​สามารถ​กำ�หนด​ขอบเขต​ความ​ต้องการ​ของ​ทุก​ฝ่าย​ และ​แปล​ความ​ต้องการ​เหล่า​นั้นใ​ ห้​ออก​มา​ใน​รูป​แบบ​ที่​เป็น​วิทยาศาสตร์​มากกว่า​เป็น​เพียง​ บท​บรรยาย​จาก​ผทู​้ เี​่ กีย่ วข้อง​เท่านัน้ และ​ตอ้ ง​มข​ี ัน้ ต​ อน​กระบวนการ​ทชี​่ ดั เจน​ตัง้ แต่ก​ อ่ น​การ​ จัดซ​ ื้อ หลังก​ าร​จัดซ​ ื้อ ระหว่าง​การ​ติดต​ ั้ง และ​การเต​รยี​ ม​พร้อม​ก่อน​การ​ใช้ง​ าน​จริง ผูบ้​ ริหาร​ โครงการ​จะ​เป็นผ​ ตู้​ ัดสินใ​ จ​แนวทาง และ​กลยุทธ์ใ​ น​การ​ติดต​ ั้งร​ ะบบ ซึ่งต​ ้อง​อาศัยท​ ั้งศ​ าสตร์​ และ​ศิลปะ​ใน​การ​บริหาร​โครงการ​อย่าง​มาก เพื่อ​ให้​ได้​รับ​ความ​ร่วม​มือ​อย่าง​มุ่ง​มั่น​ของ​ทุก​ ฝ่าย รวม​ทั้งผ​ ูข้​ าย​ผูใ้​ ห้บ​ ริการ​ด้วย ซึ่งเ​ครื่อง​มือท​ ีใ่​ ช้ค​ ือก​ าร​สื่อสาร​ทีผ่​ สม​ผสาน​ทั้งท​ าง​วาจา​ และ​ทาง​ด้าน​เอกสาร ทั้งเ​อกสาร​บันทึกก​ าร​ดำ�เนิน​งาน​ตาม​ขั้น​ตอน เอกสาร​ข้อ​ตกลง และ​ สัญญา​ทั้งหมด จึงจ​ ะ​สามารถ​ดำ�เนิน​โครงการ​ไป​สู่​ความ​สำ�เร็จ​ได้​ตาม​เป้าประสงค์ 2. การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เป็น​ระบบ​ที่​สัมพันธ์​กับ​การ​ทำ�งาน​ของ​ทุก​หน่วย​งาน​ครอบ​ คลุมท​ ั้ง​ องค์กร การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ง​ าน​ใน​องค์กร​จึงเ​ป็นป​ ัจจัยท​ ี่ส​ ่ง​ ผลก​ระ​ทบ​ที่​รุนแรง​และ​ทั่ว​ถึง​ทั้ง​องค์กร จึง​มัก​ปรากฏ​ให้​เห็น​ภาพ​การ​วิพากษ์​จาก​องค์กร​ ต่างๆ ใน​เชิง​ลบ​ถึง​ปัญหา อุปสรรค และ​ความ​ล้ม​เหลว​ใน​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​มา​ใช้​มากกว่า​กล่าว​ถึง​ความ​สำ�เร็จ ใน​ความ​เป็น​จริง​แล้ว​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​เป็น​เพียง​ซอฟต์แวร์ ซึ่งเ​ป็น​เพียง 1 ใน 3 ของ​องค์​ประกอบ​ของ​ระบบ​คอมพิวเตอร์ แต่​องค์​ประกอบ​ที่​สำ�คัญ​คือ บุคลากร ที่​สำ�คัญที่สุด​คือ ผู้​บริหาร​ระดับ​สูง ซึ่ง​ส่ง​ผล​ต่อ​ โครงการ​ติดต​ ั้งร​ ะบบ ด้วย​การ​ชี้นำ�​ทิศทาง การ​ส่งผ​ ่าน​อำ�นาจ​การ​ตัดสินใ​ จ และ​การ​ประเมิน​ ผล​โครงการ ดังน​ ัน้ ความ​เข้าใจ​ของ​ผบู​้ ริหาร​ระดับส​ งู เ​กีย่ ว​กบั ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร จึงม​ ค​ี วาม​ส�ำ คัญใ​ น​ระ​ดบั ต​ น้ ๆ ก่อน​การ​ตดั สินใ​ จ​ทจี​่ ะ​น�​ำ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

ธ ส

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-65

ธ ส

3. การ​คำ�นวณ​ผล​ตอบแทน​การ​ลงทุน​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​เรื่อง​ยาก ขณะ​ ที่​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ถือ​เป็น​โครงการ​ที่​ใช้​งบ​ประมาณ​มาก​เช่น​กัน นอกจาก​ นี้ โครงการ​ติด​ตั้ง​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มัก​จะ​มี​งบ​ที่​บาน​ปลาย​เสมอ สร้าง​ ความ​ลำ�บาก​ให้​แก่​คณะ​ทำ�งาน​ใน​การ​ดำ�เนิน​โครงการ​ให้​เป็น​ไป​ตาม​เป้าประสงค์ และ​ การ​ใช้​ระบบ​งาน​ใดๆ ก็ตาม ต้นทุน​ที่​ใช้​มิได้​จบ​ลง​เมื่อ​ทำ�การ​ติด​ตั้ง​สำ�เร็จ แต่​ยัง​มี​ต้นทุน​ ต่อเ​นื่อง​ไป​ตลอด​อายุ​การ​ใช้​งาน การ​ศึกษา​ถึง​ต้นทุน​ใน​มิติ​ต่างๆ จะ​ช่วย​ให้การ​วาง​กรอบ​ งบ​ประมาณ​เป็น​ไป​ได้​ตาม​ความ​เป็น​จริง ซึ่ง​จะ​ช่วย​ให้​ผู้​บริหาร​ระดับ​สูง​สามารถ​ตัดสิน​ ใจ​ได้​อย่าง​เหมาะ​สม และ​ช่วย​ให้​ผู้​บริหาร​โครงการ​เกิด​ความ​คล่อง​ตัว มิ​ฉะนั้น​เมื่อ​เกิด​ อุปสรรค​ใน​การ​ดำ�เนิน​โครงการ​และ​นำ�​มา​ซึ่ง​การ​เพิ่ม​งบ​ประมาณ ผู้​บริหาร​ระดับ​สูง​อาจ​ ขาด​ความ​เชื่อ​มั่น​ใน​คณะ​ทำ�งาน​ว่า​สามารถ​ดำ�เนิน​โครงการ​ไป​ได้​จน​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ​ ใน​งบ​ประมาณ​ที่​เหมาะ​สม อาจ​ส่ง​ผล​ร้าย​แรง​ถึง​ขั้น​โครงการ​ล้ม​เหลว​เพียง​เพราะ​การ​ขาด​ สภาพ​คล่อง​ใน​การ​ดำ�เนิน​การ 4. ไม่มี​ระบบ​งาน​สารสนเทศ​ใด​ที่​จะ​ไม่​ได้​ผลก​ระ​ทบ​จาก​พัฒนาการ​ที่​รวดเร็วข​ อง​เทคโนโลยี​ สารสนเทศ รวม​ทั้ง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ด้วย​เช่น​กัน เนื่องจาก​การ​ตัดสิน​ใจ​นำ�​ ระบบ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​ใน​องค์กร เป็นการ​ตัดสิน​ใจ​โครงการ​ที่​มี​ผล​ต่อ​ องค์กร​ใน​ระยะ​ยาว ดัง​นั้น โปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​ติดต​ ั้ง ณ วัน​นี้ อาจ​ จะ​ไม่เ​หมาะ​สมใน​อกี ห​ ลาย​ปถ​ี ดั ไ​ ป แต่ก​ าร​เปลีย่ นแปลง​ไป​ใช้ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ ตัว​ใหม่​ย่อม​นำ�​มา​ซึ่งต​ ้นทุน​ครั้ง​สำ�คัญ​และ​สร้าง​ความ​ลำ�บาก​แก่​ผู้​ใช้​อย่าง​มาก ดัง​นั้น การ​ ศึกษา​ทิศทาง​ของ​เทคโนโลยี​ใหม่ๆ ที่​อาจ​ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ ใน​อนาคต​จะ​ช่วย​ให้​ผู้​บริหาร​สามารถ​วางแผน​การ​ปรับปรุงแ​ ละ​งบ​ประมาณ​ไว้​ล่วง​หน้า​ได้​ ดี​ขึ้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-66

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

วัตถุประสงค์

ธ ส

เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 7.3 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. อธิบาย​ปัจจัย​สำ�หรับ​องค์กร​ใน​การ​ที่​จะ​ใช้​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ให้​เกิด​ประโยชน์​ และ​คุ้มค​ ่า​ต่อ​การ​ลงทุน​ได้ 2. อธิบาย​เหตุผล​และ​ความ​จำ�เป็นใ​ น​การ​ตัดสินใ​ จ​ทีจ่​ ะ​เลือก​ใช้ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ ใน​แต่ละ​องค์กร​ได้ 3. อธิบาย​วธิ แ​ี ละ​การ​จดั หา คัดเ​ลือก การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ให้เ​หมาะ​สม​กบั ก​ าร​ท�ำ งาน​ ของ​องค์กร​ตา่ งๆ รวม​ทัง้ ก​ าร​แนะนำ� และ​หา​แนวทาง​รว่ ม​กบั ห​ น่วย​งาน​ตา่ งๆ ใน​องค์กร เพือ่ ​ การ​ดำ�เนิน​การ​ให้การ​ติดต​ ั้งแ​ ละ​ใช้ร​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ได้ผ​ ล​สัมฤทธิ์​ตาม​ วัตถุประสงค์ข​ อง​การ​ลงทุน​ได้ 4. อธิบาย​ให้​เข้าใจ​ได้ถึง​หลัก​การ​คำ�นวณ​ผล​ตอบแทน​การ​ใช้​ระบบการ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร ทั้งเ​ชิง​นามธรรม​และ​รูป​ธรรม​ได้ 5. อธิบาย​ถึง​ปัจจัย​ทาง​ด้าน​เทคโนโลยี​และ​ด้าน​สังคม​ซึ่ง​อาจ​กระทบ​ต่อ​รูป​แบบ​การ​ดำ�เนิน​ ธุรกิจข​ อง​องค์กร​ทตี่​ ัดสินใ​ จ​ทจี่​ ะ​ประยุกต์ใ​ ช้ร​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​อนาคต เพื่อใ​ ห้​สามารถ​ประยุกต์​ใช้ได้อ​ ย่าง​คุ้ม​ค่าก​ าร​ลงทุนไ​ ด้ 6. อธิบาย​ข้อดีข​ ้อเ​สียแ​ ละ​ประโยชน์ข​ อง​รูปแ​ บบ​ใหม่ข​ อง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​รูป​ ของ​ซอฟต์แวร์​บริการ​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

เรื่อง​ที่ 7.3.1 ปัจจัย​สู่​ความ​สำ�เร็จ​ใน​การนำ�​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้

ธ ส

7-67

ธ ส

การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​ให้​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ​ได้​นั้น​มี​ปัจจัย​ที่​เกี่ยวข้อง​หลาย​ ประการ มี​ราย​ละเอียด​ดัง​ต่อ​ไป​นี้

1. ผู้​บริหาร​สูงสุดต​ ้อง​ให้​ความ​สำ�คัญ

ธ ส

หาก​ผูบ้​ ริหาร​สูงสุดถ​ ือว่าก​ ารนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้เ​ป็นการ​ปรับปรุงอ​ งค์กร​ครั้งใ​ หญ่ จะ​มี​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​ทั้ง​องค์กร และ​มา​เป็น​ประธาน​ใน​คณะ​ทำ�งาน (steering committee) ของ​โครงการ​ติด​ตั้ง​ ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร จะ​ทำ�ให้เ​กิดป​ ระโยชน์ส​ ูงสุดใ​ น​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ และ​ทำ�ให้​การ​ติดต​ ั้งร​ ะบบ​เป็น​ไป​ด้วย​ความ​รวดเร็ว​และ​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ​ได้​อย่าง​ง่ายดาย

ธ ส

2. การ​กำ�หนด​วัตถุประสงค์ใ​ น​การนำ�​มา​ใช้อ​ ย่าง​ชัดเจน

ธ ส

ดังท​ ี่​กล่าว​ไว้​แล้ว​ว่า การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มิใช่​ระบบ​ครอบ​จักรวาล และ​ประโยชน์ข​ อง​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ก็​มี​ความ​แตก​ต่าง​จาก​ระบบ​งาน​อื่น ดัง​นั้น ผู้​บริหาร​จะ​ต้อง​กำ�หนด​วัตถุประสงค์​ใน​ การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ง​ าน​ทคี​่ อ่ น​ขา้ ง​ชดั เจน หาก​ไม่มก​ี �ำ หนด​วตั ถุประสงค์ใ​ ห้เ​ป็นก​รอบ​การ​ ทำ�งาน คณะ​ทำ�งาน​ย่อม​ประสบ​ความ​ยาก​ลำ�บาก​ใน​การ​ติด​ตั้ง​ระบบ ยิ่ง​วัตถุประสงค์​กว้าง ไม่​ชัดเจน โอกาส​ ที่จ​ ะ​เกิดก​ ารก​ระ​ทบ​กระทั่งก​ ันใ​ น​องค์กร​ย่อม​มีม​ าก และ​เพิ่มโ​ อกาส​ที่ง​ บ​ดำ�เนินก​ าร​จะ​บาน​ปลาย หรือม​ ิฉ​ ะนั้น​ โครงการ​ก็​อาจ​ประสบ​ความ​ล้ม​เหลว​ได้ กรณีท​ ี่ผ​ ู้บ​ ริหาร​ต้องการ​นำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ใ​ น​หลาย​วัตถุประสงค์ ก็อ​ าจ​ทำ�ได้โ​ ดย​ การ​ก�ำ หนด​แผนการ​ตดิ ต​ ัง้ เ​ป็นห​ ลาย​ระยะ และ​จะ​ตอ้ ง​พยายาม​ไม่ใ​ ห้แ​ ต่ละ​ระยะ​มก​ี าร​เหลือ่ ม​เวลา​กนั เนือ่ งจาก​ หาก​การ​ติด​ตั้ง​ใน​ระยะ​ถัด​ไป​นั้นม​ ีส​ ่วน​ที่ก​ ระทบ​กับร​ ะบบ​งาน​ที่​ได้​ติด​ตั้ง​ใน​ระยะ​ก่อน​หน้า​ด้วย ย่อม​เสี่ยง​ที่​จะ​ เกิด​ผลก​ระ​ทบ​ทาง​ด้าน​เทคนิค หรือ​มี​ข้อบ​ กพร่อง​ต่อ​เนื่อง​กัน​เป็นล​ ูกโซ่ หรือ​ล้ม​ต่อ​เนื่อง​กัน​เป็น​โดมิโน​ได้

ธ ส

ธ ส

3. การ​มี​คณะ​ทำ�งาน​ที่​ดี​และ​ทำ�งาน​ร่วม​กัน​ได้

ธ ส

ธ ส

ปัจจัยส​ �ำ คัญท​ มี​่ ผ​ี ล​ตอ่ ค​ วาม​ส�ำ เร็จข​ อง​โครงการ​ตดิ ต​ ัง้ ร​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​คอื ทีมง​ าน หาก​ได้ท​ ีมง​ าน​ที่ด​ ี ทำ�งาน​เข้าขา และ​สามารถ​อุทิศเ​วลา​ได้ โอกาส​ที่ร​ ะบบ​จะ​เป็นไ​ ป​ตาม​วัตถุประสงค์ และ​เสร็จ​ ใน​เวลา​ที่​กำ�หนด ย่อม​เป็น​ไป​ได้​มาก เป็น​ธรรมดา​ที่​คน​เก่ง​มัก​จะ​มี​ภาระ​หน้าที่​ประจำ�​ที่​สำ�คัญ และ​มัก​จะ​ไม่มี​ เวลา​มาก​พอที่​จะ​เข้า​ร่วม​โครงการ​ต่างๆ แต่​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร นั้น​เป็น​ระบบ​ที่​สำ�คัญ​ของ​องค์กร เพราะ​เป็น​ระบบ​ที่​เป็น​ฐานราก​และ​โครงสร้าง​หลัก​ของ​องค์กร ประสบการณ์​ของ​ผู้​ที่​มี​ความ​สามารถ​ที่​เข้า​มา​


7-68

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ร่วม​โครงการ​ย่อม​ทำ�ให้ร​ ะบบ​ได้ร​ ับก​ าร​ถ่ายทอด​และ​เป็นท​ ีร่​ วบรวม​ประสบการณ์​ของ​บุคคล​เหล่าน​ ั้นใ​ ห้เ​ก็บไ​ ว้​ ใน​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ถือ​เป็นการ​แปล​ความ​รู้​ที่​มี​อยู่​ใน​ตัว​บุคคล (tacit knowledge) ของ​ พนักงาน​ทุก​ระดับ​ให้​มา​เป็น​ความ​รู้​ที่ป​ รากฏ​ชัด (explicit knowledge) ใน​ทาง​หนึ่ง ผู้​บริหาร​ระดับ​สูง​จึง​ต้อง​ ให้​ความ​สำ�คัญ​ต่อ​โครงการ ใน​ทาง​วิชาการ​ได้​ระบุ​ไว้​ว่าห​ าก​จะ​ให้​โครงการ​ติด​ตั้ง​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ ประธาน​ โครงการ​จะ​ต้อง​เป็น​ผู้​บริหาร​ระดับ​สูงสุด หรือ​อย่าง​น้อย​จะ​ต้อง​มี​ผู้​บริหาร​คน​หนึ่ง​ที่​ดูแล​ทุก​ฝ่าย​ที่​เข้า​มา​ เกี่ยวข้อง​การ​ติดต​ ั้ง​ระบบ​นี้ หาก​ผู้​มี​อำ�นาจ​สูงสุดเ​ป็น​ใน​รูปค​ ณะ​กรรมการ​แล้ว ส่วน​มาก​จะ​ประสบ​ปัญหา​ใน​ ระหว่าง​ดำ�เนินโ​ ครงการ​ได้

ธ ส

ธ ส

4. การ​คัด​เลือก​ซอฟต์แวร์ท​ ี่​ใกล้​เคียง​กับ​ธุรกิจ​ของ​กิจการ​ที่สุด

เนื่องจาก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​โปรแกรม​ที่​ทำ�​สำ�เร็จรูป​มา​แล้ว แม้ว่า​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​จะ​รองรับ​การ​ปรับ​แก้ แต่​ก็​ไม่​ควร​แก้ไข​มาก​นัก เพราะ​นอกจาก​ต้นทุน​สูง​มาก​แล้ว ยัง​ไม่​ สามารถ​แก้ไข​ได้​จน​เป็น​ที่​พอใจ ดัง​นั้น หาก​ได้การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​ตรง​กับ​ธุรกิจ​มาก​เท่า​ไหร่ ก็​จะ​ทำ�ให้​ต้นทุน​การ​ติด​ตั้ง​ลด​ลง​มาก​และ​การนำ�​มา​ใช้​ใน​ระยะ​ยาว มี​ต้นทุน​การ​ดำ�เนิน​การ​ต่ำ� นอกจาก​นี้ แนว​โน้มข​ อง​การ​พัฒนาการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​เป็นไ​ ป​ใน​ลักษณะ​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ เฉพาะ​อุตสาหกรรม (industry-specific) เช่น การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​สำ�หรับ​การ​ค้า​ปลีก​เพื่อ​ใช้​กับ​ ธุรกิจ​ค้า​ปลีก​ราย​ใหญ่โ​ ดย​เฉพาะ หรือ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​สำ�หรับ​กลุ่ม​ก่อสร้าง สำ�หรับ​กิจการ​รับ​ เหมา​ก่อสร้าง หรือก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​สำ�หรับอ​ สังหาริมทรัพย์ส​ ำ�หรับก​ ลุ่มผ​ ู้ใ​ ห้เ​ช่าอ​ สังหาริมทรัพย์ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​สำ�หรับ​อุตสาหกรรม​อาหาร เป็นต้น ซึ่ง​สร้าง​ความ​พึง​พอใจ​ให้​แก่​ผู้​ใช้ องค์กร​ก็​ สามารถ​ได้​ผล​ตอบแทน​การ​ลงทุน​ได้​อย่าง​รวดเร็ว​และ​ชัดเจน ง่าย​ต่อ​การ​คัด​เลือก และ​การ​ติด​ตั้ง​เพื่อ​ใช้​งาน​ ระบบ ลด​ค่าใ​ ช้จ​ ่าย​ใน​การ​อบรม​ระยะ​ยาว นอกจาก​นี้ ยังเ​ป็นการ​รวบรวม​รูปแ​ บบ​ทีป่​ ระสบ​ความ​สำ�เร็จม​ า​ไว้ใ​ น​ ระบบ​ตาม​แนวทาง​ของ​แนว​ปฏิบัตทิ​ เี่​ป็นเ​ลิศข​ อง​การ​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ต่างๆ ทีผ่​ ่านมา และ​ตอบ​สนอง​การ​ทำ�การ​รื้อ​ปรับ​กระบวนการ​ธุรกิจ โดย​นำ�​เอาการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​เป็นต้น​แบบ​ ได้​เป็น​อย่าง​ดี การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แบบ​เน้น​อุตสาหกรรม​จึง​เริ่ม​เป็น​ที่​ต้องการ​ของ​องค์กร​ต่างๆ อย่าง​ชัดเจน อาจ​กล่าว​ได้​ว่า​ทิศทาง​หลัก​ของ​การ​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ใน​อนาคต​อัน​ ใกล้นี้ การ​วาง​ยุทธศาสตร์​ที่​เหมาะ​สม​จึง​เป็นการ​คัด​เลือก​ซอฟต์แวร์​ที่​เฉพาะ​ทาง​หรือ​อย่าง​น้อย​ให้​ใกล้​เคียง​ กับ​ธุรกิจ​ของ​องค์กร​ให้ม​ าก​ที่สุด

ธ ส

ธ ส

ธ ส

5. มุม​มอง​ที่​มี​ต่อ​เทคโนโลยี

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ใน​การนำ�​ระบบ​สารสนเทศ​ใช้​ใน​องค์กร​นั้น ผู้​ใช้​อาจ​มี​มุม​มอง​ต่อ​เทคโนโลยีท​ ี่​แตก​ต่าง​กัน บาง​ท่าน​ เชื่อ​ว่า​เทคโนโลยี​ที่​ใหม่​ล่าสุด​ย่อม​จะ​ดี​ที่สุด บาง​ท่าน​ก็​เชื่อ​มั่น​ใน​กระบวนการ​ดั้งเดิม​ที่​นำ�​ความ​สำ�เร็จ​มา​ให้​ องค์กร​มา​ใน​อดีต แนวคิด​ต่างๆ เหล่า​นี้​มีผ​ ล​ต่อค​ วาม​สำ�เร็จ​ของ​การนำ�​เทคโนโลยี​มา​ใช้ สามารถ​แบ่งอ​ อก​ได้​ เป็น 3 แบบ คือ


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-69

5.1 แบบ​เน้น​เทคโนโลยี (technology approach) คือ​การ​ให้​ความ​เชื่อ​มั่น​กับ​เทคโนโลยี​มากกว่า​ ตัวผู้​ใช้ เป็นการ​เอา​เทคโนโลยี​เป็น​ศูนย์กลาง มัก​ให้​ความ​สนใจ​ว่า​จะ​ใช้​เทคโนโลยี​ใหม่ๆ ใน​การ​พัฒนา​สนใจ​ ตัว​เทคโนโลยีท​ ี่ใ​ ช้ เช่น ใช้​เครื่อง​รุ่นใ​ หม่​ล่าสุด ใช้ภ​ าษา​คอมพิวเตอร์​ภาษา​ทัน​สมัย ใช้​ระบบ​จัดการ​ฐาน​ข้อมูล​ ตัว​ใหญ่ ใช้​สินค้า​ที่ม​ ีชื่อ​เสียง​โด่งด​ ัง โดย​เชื่อ​ว่า​เมื่อ​เลือก​ใช้​เทคโนโลยี​ที่​ดี​ที่สุด​ก็​ย่อม​ได้​สิ่ง​ที่​ดี​ที่สุด​แก่​องค์กร ซึ่ง​เป็น​แนวคิด​ที่​ได้​ผล​ใน​ยุค​ต้น​ที่​เริ่ม​มี​การนำ�​ระบบ​คอมพิวเตอร์ม​ า​ใช้​งาน เนื่องจาก​ใน​ยุค​ต้น​นั้น​การ​เข้า​ถึง​ เทคโนโลยี​ยัง​เป็นเ​รื่อง​ยาก ดังน​ ั้น หาก​องค์กร​ที่​ได้​ครอบ​ครอง​เทคโนโลยี​ที่​ผู้​อื่น​ยัง​ไม่​สามารถ​เข้าถ​ ึง​ได้​ย่อม​ สามารถ​สร้าง​ความ​แตก​ต่าง​ได้​ใน​ทันที แต่​ใน​ยุค​ที่​การ​เข้า​ถึง​เทคโนโลยี​มิใช่​จุด​ที่​สร้าง​ความ​แตก​ต่าง​ได้​อย่าง​ ยั่งยืน แนวคิดน​ ี้​จึงไ​ ม่เ​หมาะ​สม​แล้ว​ใน​การ​ใช้​เลือก​ซอฟต์แวร์​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร 5.2 แบบ​เน้นพ​ ฤติกรรม (behavioral approach) คือก​ าร​ให้ค​ วาม​สนใจ​ผูใ้​ ช้เ​ป็นห​ ลัก โดย​ทำ�​ทุกอ​ ย่าง​ ตาม​ที่ผ​ ูใ้​ ช้ข​ อ​มา โดย​ไม่ใ​ ห้ค​ วาม​สำ�คัญด​ ้าน​เทคโนโลยี แนวคิดน​ ีเ้​ชื่อว​ ่าผ​ ูใ้​ ช้ร​ ะบบ​ย่อม​ต้อง​รูค้​ วาม​ต้องการ​ของ​ ตนเอง ผู้​ใช้​มี​ประสบการณ์​สูง การ​ทำ�​ทุก​อย่าง​ตาม​คำ�ขอ​ของ​ผู้​ใช้​ย่อม​จะ​ได้​ระบบ​ที่​ทำ�งาน​ได้​ดี​ที่สุด แต่​ใน​ ความ​เป็น​จริง​นั้น ผู้ใ​ ช้​มักจ​ ะ​ไม่รู้ค​ วาม​ต้องการ​ที่แท้​จริง มัก​จะ​ไม่​เห็น​ภาพ​รวม​ของ​องค์กร ไม่​ค่อย​สนใจ​ความ​ เชื่อมโยง​ของ​แต่ละ​ระบบ​งาน และ​ไม่​รอบรู้​เรื่อง​เทคโนโลยี จึง​ไม่​ทราบ​ว่าเทคโนโลยี​บาง​อย่าง​อาจ​จะ​ช่วย​ให้​ เกิด​วิธีก​ าร​ที่​แตก​ต่าง​ไป​จาก​เดิม​อย่างไร นอกจาก​ประเด็นท​ าง​ด้าน​เทคโนโลยีแ​ ล้ว แนวคิดน​ ี้​ยัง​ไม่​เหมาะ​ต่อ​ การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ง​ าน เนื่องจาก​แนวคิด​ของ​การ​พัฒนาการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ เป็นการ​รวบรวม​ระบบ​จาก​แนว​ปฏิบัติ​ที่​เป็น​เลิศ และ​เมื่อ​นำ�​เข้า​มา​ใช้​ใน​องค์กร ก็​มัก​มี​วัตถุประสงค์​ของ​การ​ เปลี่ยน​กระบวนการ​ดำ�เนิน​ธุรกิจร​ ่วม​อยู่ด​ ้วย ไม่​ฉะนั้น​ก็​แทบ​จะ​ไม่มี​ประโยชน์​ใน​การนำ�​มา​ใช้ 5.3 แบบ​เน้น​สงั คม​และ​เทคโนโลยี (socio-technological approach) คือ​การ​ผสม​ผสาน​การ​ให้​ความ​ สำ�คัญร​ ะหว่าง​เทคโนโลยีแ​ ละ​คน​ไป​พร้อมๆ กัน เป็นการ​มอง​แบบ​องค์ร​ วม มีก​ าร​ท�​ำ รายการ​การ​เลือก​ซอฟต์แวร์ (software selection checklist) โดย​ให้​น้ำ�​หนัก​ทั้ง​ด้าน​เทคโนโลยี​และ​ระบบ​งาน รวม​ทั้ง​ความ​พร้อม​ของ​ บุคลากร​ใน​การ​รองรับเ​ทคโนโลยีน​ ั้นด​ ้วย โดย​ผูบ้​ ริหาร​สูงสุดจ​ ะ​ต้อง​เป็นผ​ ูต้​ รวจ​อนุมัตริ​ ายการ​เหล่าน​ ี้ โดย​เพิ่ม​ ใน​ส่วน​ทีม่​ ุ่งก​ ่อใ​ ห้เ​กิดก​ าร​เปลี่ยนแปลง​ใน​องค์กร และ​การ​รองรับอ​ นาคต​ใน​ระยะ​สั้น ระยะ​กลาง และ​ระยะ​ยาว โดย​ให้​น้ำ�​หนัก​ของ​แต่ละ​ข้อ​แตก​ต่าง​กัน

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

6. ขั้น​ตอน​การ​ดำ�เนินก​ าร​คัด​เลือก​อย่าง​เป็นร​ ะบบ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ขั้นต​ อน​ใน​การ​คัดเ​ลือก​อย่าง​เป็นร​ ะบบ​ดเู​หมือน​จะ​ทำ�ให้ข​ ั้นต​ อน​การ​สั่งซ​ ื้อย​ ุ่งย​ าก​และ​ใช้เ​วลา แต่เ​มื่อ​ เทียบ​กับ​การ​เสีย​เงิน​และ​เสีย​เวลา​กับ​โครงการ​ติด​ตั้ง​ที่​ล่าช้า​หรือ​ล้ม​เหลว​แล้ว ขั้น​ตอน​เหล่า​นี้​จะ​เป็นก​ระ​บวน​ การก​ลั่น​กรอง​และ​ลด​ความ​เสี่ยง​ต่อ​การ​ล้ม​เหลว​ลง​ได้​มาก ขั้น​ตอน​เหล่า​นี้​ประกอบ​ด้วย 6.1 การ​ขอ​ข้อเ​สนอ​ต่างๆ จาก​ผู้ข​ าย เช่น ราคา ค่าใ​ ช้จ​ ่าย การ​รับป​ ระกันผ​ ล หรืออ​ าจ​จะ​ขอ​ร่าง​สัญญา​ มา​ด้วย​ใน​ทเี​ดียว เนื่องจาก​สัญญา​จะ​เป็นการ​สะท้อน​ประเด็นท​ ีพ่​ ึงพ​ ิจารณา​แต่เ​นิ่นๆ และ​บ่งบ​ อก​ถึงแ​ นวคิดใ​ น​ การ​ทำ�การ​ค้า​ของ​ผู้เ​สนอ​ขาย​ด้วย 6.2 การ​ขอ​เข้า​ชม​บริษัท​ของ​ตัวแทน​ขาย​หรือ​บริษัท​ของ​ลูกค้า​เก่า หาก​มี​ธุรกิจ​ที่​ใกล้​เคียง​กัน​ก็​จะ​ เป็นการ​ดี แต่​ลูกค้า​ที่​มี​ธุรกิจ​ที่​ใกล้​เคียง​กัน​มัก​จะ​ไม่​ยินดี​ให้​เข้าไป​เยี่ยม​ชม จึง​อาจ​จะ​ต้อง​เข้า​ชม​ธุรกิจ​ที่​มี​ กระบวนการ​คล้าย​กัน​แทน ซึ่งอ​ าจ​จะ​ได้​รับ​ความ​ร่วม​มือ​มากกว่า

ธ ส


7-70

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

6.3 การ​ขอ​ดู​การ​สาธิต​และ​การนำ�​เสนอ โดย​อาจ​จะ​ให้​ทดลอง​ทำ�ให้ด​ ู​ด้วย​ข้อมูล​จริง​เข้า​ระบบ ซึ่ง​จะ​ มี​โอกาส​เข้าใจ​ถึง​ทำ�งาน​ได้​จริง​มาก​ขึ้น และ​ทราบ​ว่า​จะ​นำ�​มา​ใช้​กับ​งาน​ที่​ต้องการ​ได้​หรือ​ไม่ 6.4 การ​ประเมิน​กลยุทธ์แ​ ละ​พิจารณา​แนวทาง​ของ​ตัวแทน​ขาย​สำ�หรับ​การ​ติด​ตั้ง​เพื่อ​นำ�​ไป​ใช้​งาน 6.5 การ​รวบรวม​และ​พิจารณา​ภาพ​รวม​ของ​ต้นทุน​ทั้งหมด (Total Cost of Ownership - TCO) ของ​ผู้​เสนอ​แต่ละ​ราย โดย​เฉพาะ​หัวข้อ​ที่​เหมือน​ว่า​จะ​แถม​ฟรี แต่​ต้อง​เข้าใจ​ว่า “ของ​ฟรี​ไม่มี​ใน​โลก” 6.6 การ​พิจารณา​ว่า​ตัวแทน​ขาย​ราย​ใด​ให้​ข้อ​เสนอ​ที่ใ​ กล้​เคียง​หรือ​ดี​ที่สุด 6.7 การ​จัด​ทำ�​รายงาน​เพื่อ​ตรวจ​สอบ​กระบวนการ​คัด​เลือก​สำ�หรับ​นำ�​เสนอ​ผู้​บริหาร 6.8 การ​ได้ร​ ับ​อนุมัติ​จาก​ผู้บ​ ริหาร 6.9 การ​แจ้งผ​ ล​การ​คัด​เลือก​แก่​ตัวแทน​ขาย 6.10 การ​ตรวจ​สอบ​ความ​ถูกต​ ้อง​ทั้งหมด 6.11 การ​ทบทวน​สัญญา รวม​ทั้งต​ ่อ​รอง​ใน​ราย​ละเอียด บ่อย​ครัง้ ท​ กี​่ าร​คดั เ​ลือก​ซอฟต์แวร์ข​ อง​ผบู​้ ริหาร​โครงการ​ใน​ไทย​มกั จ​ ะ​เน้นไ​ ป​ทเี​่ ทคนิคก​ าร​ตอ่ ร​ อง​ราคา แต่​ที่​จริง​แล้ว​การ​ได้​ระบบ​งาน​ที่​เหมาะ​สม​กับ​องค์กร​มี​ความ​สำ�คัญ​กว่า​ระบบ​ที่​ลงทุน​ต่ำ� เพราะ​หาก​ได้​ระบบ​ที​่ ไม่​เหมาะ​สม​แล้ว องค์กร​จะ​ต้อง​ทน​ใช้​ระบบ​ที่​สร้าง​ภาระ​ใน​ระยะ​ยาว ซึ่ง​นั่น​ก็​เป็นต้น​ทุน​ที่​แฝง​อยู่​ตลอด​ระยะ​ เวลา​ของ​การ​ปฏิบัตงิ​ าน ดังน​ ั้น ขั้นต​ อน​ทั้งหมด​ควร​จะ​เน้นไ​ ป​ทีก่​ าร​สรรหา​ระบบ​ทีต่​ ้องการ​นำ�​มา​ใช้ม​ ากกว่าก​ าร​ พยายาม​ต่อ​รอง​ราคา จน​ทำ�ให้​เกิด​ความ​ติดขัด​ใน​ขั้น​ตอน​การ​ติด​ตั้ง​เพื่อ​นำ�​ไป​ใช้​งาน​ที่​จำ�กัด​โดย​งบ​ประมาณ ทั้งๆ ที่​การ​ลงทุน​ส่วน​มาก​มักจ​ ะ​ไม่เ​กิน​ร้อย​ละ 1 ถึง 1.5 ของ​รายรับ​ของ​ธุรกิจ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

7. หลัก​เกณฑ์​ทดี่​ ี​ใน​การ​คัด​เลือก

ธ ส

การ​ดู​จาก​ความ​สำ�เร็จ​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัว​นั้น​ใน​ธุรกิจ​ที่​ใกล้​เคียง​กับ​องค์กร​ของ​ ตนเอง ถือว่า​แนวทาง​ใน​การ​คัด​เลือก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่ไ​ ด้​ผลอ​ย่าง​มาก นอก​เหนือ​จาก​นี้ ก็ควร​ พิจารณา​ถึงป​ ระสบการณ์ข​ อง​ผูใ้​ ห้บ​ ริการ​ติดต​ ั้ง และ​การ​สนับสนุนอ​ ย่าง​ใกล้ช​ ิดข​ อง​ผูพ้​ ัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​ต่อ​ตัวแทน ซึ่ง​จะ​เป็นการ​เพิ่ม​หลัก​ประกัน​ความ​สำ�เร็จ​ให้​แก่​การ​จัด​ซื้อ​ระบบ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร อย่างไร​ก็ตาม การ​แปล​วัตถุประสงค์​ออก​มา​เป็น​รายการ​คัด​เลือก ถือ​เป็นก​ระ​บวน​การ​ที่​ ค่อน​ข้าง​เป็น​รูป​ธรรม ที่​สามารถ​นำ�​มา​ใช้​ใน​การ​คัด​เลือก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​เหมาะ​สม​กับ​องค์กร รวม​ทั้ง​ลด​โอกาส​ความ​ล้ม​เหลว​ใน​โครงการ​ติด​ตั้ง​ระบบ​ลง​ได้ โดย​สามารถ​แบ่ง​รายการ​คัด​เลือก​ออก​ได้ 6 หมวด คือ 7.1 หน้าทีง​่ าน (product functionality) เป็นข​ ั้นแ​ รก​ของ​การ​คัดเ​ลือก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร วิธี​การ​ง่ายๆ คือ นำ�​เอา​ความ​สามารถ​สำ�คัญ (features) ที่​มี​อยู่​แล้ว​ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ ที่​จะ​คัด​เลือก​มา​พิจารณา​ว่า​สามารถ​ตอบ​โจทย์​ของ​การนำ�​มา​ใช้​หรือ​ไม่ และ​พิจารณา​ข้อ​เสนอ​การ​บริการ​ต่างๆ การ​สนับสนุน​ความ​มั่นคง​ของ​ผู้​พัฒนา​ระบบ ทิศทาง​ของ​การ​พัฒนา รวม​ทั้ง​ความ​ร่วม​มือ​ใน​การ​เข้า​สู่​ กระบวนการ​คัดเ​ลือก​ซอฟต์แวร์ข​ อง​ผู้ใ​ ห้​บริการ

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-71

7.2 เทคโนโลยี (product technology) พิจารณา​ถึงเ​ทคโนโลยีท​ ี่ใ​ ช้ใ​ น​การ​พัฒนา และ​สภาพ​แวดล้อม​ ที่​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัว​นั้น​สามารถ​ทำ�งาน​ได้ เช่น ทำ�งาน​ได้​บน​ระบบ​ปฏิบัติ​การ​อะไร​ บ้าง เซิร์ฟเวอร์​ที่​ใช้​เป็น​แบบ​ไหน ใช้​กับ​ระบบ​จัดการ​ฐาน​ข้อมูล​ตัว​ไหน​บ้าง ใช้​ฮาร์ดแวร์​แบบ​ใด​ได้​บ้าง ใช้​ แพลตฟอร์ม​ของ​ค่าย​ไหน การ​ดูแล​ระบบ​ต้อง​ใช้บ​ ุคลากร​ด้าน​ใด​บ้าง การ​รองรับ​เครื่อง​มือก​ าร​สร้าง​รายงาน​ทั้ง​ หลาย การ​สามารถ​ท�ำ งาน​รว่ ม​กบั ร​ ะบบ​อนื่ บ​ น​มาตรฐาน​กลาง​หรือเ​ป็นเ​ทคโนโลยีท​ เ​ี่ ปิดก​ ว้าง (open technology) หาก​องค์กร​มร​ี ะบบ​เดิมอ​ ยูแ​่ ล้วแ​ ละ​ยงั ท​ �ำ งาน​ได้ด​ ี การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ทซี​่ ือ้ ม​ า​ใหม่ก​ ค​็ วร​ทจี​่ ะ​ตอ่ เ​ชือ่ ม​ ได้ด​ ้วย ซึ่ง​จะ​ช่วย​ให้​ตี​กรอบ​ซอฟต์แวร์ท​ ี่เ​ข้า​ข่าย​ที่ต​ ้อง​พิจารณา​ให้​แคบ​ลง 7.3 บริการ​และ​การ​ให้​ความ​ช่วย​เหลือ (service and support) เป็นการ​พิจารณา​ศักยภาพ​ใน​การนำ�​ ระบบ​มา​ใช้​งาน​และ​การ​สนับสนุน ซึ่ง​วิธี​การ​ที่​ดี​วิธี​การ​หนึ่ง​คือ การ​สอบถาม​ความ​พึง​พอใจ​ของ​ผู้​ใช้​ที่​ผ่าน​มา การ​บริการ​ต่างๆ เหล่า​นี้ ได้แก่ การ​ให้​คำ�​ปรึกษา การ​บูรณ​าก​ าร​ระบบ (system integration) ขอบเขต​พื้นที่​ ที่​ครอบคลุม​ใน​การ​ให้​บริการ ภาษา​ที่​ใช้​ใน​การ​ให้​ความ​ช่วย​เหลือ​ของ​เจ้า​หน้าที่​ที่​ให้​บริการ​ตอบ​คำ�ถาม​ทาง​ โทรศัพท์ ช่วง​เวลา​ที่​รับ​ความ​ช่วย​เหลือ และ​ช่อง​ทาง​ที่​ให้​ความ​ช่วย​เหลือ​ได้ เช่น โทรศัพท์ อีเมล กระดาน​ สนทนา บล็อก ฟ​อรั่ม หรือ​สนทนา​ออนไลน์ เป็นต้น 7.4 ความ​อยู่​รอด​ของ​บริษัท​หรือ​ตัวแทน​ขาย (corporate viability or vendor viability) เป็น การ​ประเมิน​ความ​อยู่​รอด​หรือ​ความ​มั่นคง​ของ​กิจการ​ของ​ผู้​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ทาง​ ด้าน​การ​เงิน และ​ความ​แข็งแกร่ง​ทาง​ด้าน​การ​จัดการ หาก​กิจการ​มี​ความ​ตึงเครียด​ทาง​ด้าน​การ​เงิน หรือ​ไม่มี​ เสถียรภาพ ก็​ย่อม​ส่งผ​ ล​ต่อ​ความ​สำ�เร็จข​ อง​โครงการ การ​พิจารณา​จะ​ต้อง​มอง​ทั้ง​เชิงป​ ริมาณ​และ​เชิงค​ ุณภาพ เชิง​ปริมาณ ได้แก่ ตัวเลข​ผล​กำ�ไร ยอด​ขาย ความ​แปรปรวน​ของ​ยอด​ขาย จำ�นวน​ทีม​งาน เชิงค​ ุณภาพ ได้แก่ ทีม่ า​ของ​ราย​ได้ ประสบการณ์ข​ อง​ทมี ง​ าน ความ​มุง่ ม​ ัน่ ท​ จี​่ ะ​ด�ำ เนินโ​ ครงการ โครงสร้าง​องค์กร​ทยี​่ ดื หยุน่ แนวคิด​ ของ​การ​บริหาร​องค์กร​ให้​ยั่งยืน เป็นต้น ผู้ใ​ ห้​บริการ​ที่​มี​ราย​ได้​จาก​โครง​การ​ใหญ่ๆ เป็น​หลัก​มัก​จะ​มี​ความ​ไม่​ แน่นอน​ของ​ราย​ได้ และ​ถ้า​มี​คน​ไม่​มาก​พอ​ก็​มัก​จะ​เกิด​ช่วง​ขาด​กำ�ลัง​คน ทำ�ให้​การ​จัดการ​ทำ�ได้​ยาก การ​จัด​ โครงสร้าง​องค์กร​แบบ​รวม​ศูนย์ ไม่มี​การ​มอบ​หมาย​งาน​ที่​ดี และ​การ​วัดผล​งาน​ไม่​ชัดเจน จะ​ทำ�ให้​ทีม​งาน​ไร้​ ประสิทธิภาพ และ​มกี​ าร​ลา​ออก​กลาง​คันไ​ ด้ เป็นป​ ัญหา​ทีเ่​กิดบ​ ่อยๆ ใน​ช่วง​การ​ดำ�เนินโ​ ครงการ แต่เ​ป็นป​ ระเด็น​ ที่​ผู้​ซื้อ​มัก​จะ​มอง​ข้าม​ไป การ​ประเมิน​ผู้​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ควร​จะ​มุ่ง​ไป​ที่​เสถียรภาพ ประวัติท​ ี่ย​ าวนาน จำ�นวน​ลูกค้าท​ ี่ห​ ลาก​หลาย ส่วน​การ​ประเมินต​ ัวแทน ควร​ดูท​ ี่จ​ ำ�นวน​โครงการ​ใน​มือต​ ัวแทน​ กับจ​ �ำ นวน​บคุ ลากร​ใน​ทมี หาก​มจ​ี �ำ นวน​บคุ ลากร​นอ้ ย ก็ต​ อ้ ง​ดว​ู า่ ต​ วั แทน​ราย​นัน้ ไ​ ด้ร​ บั ก​ าร​สนับสนุนจ​ าก​ผพู​้ ฒ ั นา​ ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มาก​เพียง​ใด มีท​ ีมง​ าน​หนุนห​ ลังจ​ าก​เจ้าของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ มาก​น้อย​แค่ไ​ หน ซึ่งผ​ ู้ซ​ ื้อค​ วร​จะ​เชิญบ​ ริษัทผ​ ู้พ​ ัฒนา​ระบบ​มา​ยืนยันห​ รือพ​ บปะ​แลก​เปลี่ยน​แนวทาง​การ​ทำ�งาน​ ร่วม​กัน แผน​สำ�รอง​หาก​เกิด​ปัญหา และ​ความ​จำ�เป็น​ที่​จะ​ต้อง​ให้​ผู้​พัฒนา​ระบบ​เข้า​มา​เสริม

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-72

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

7.5 กลยุทธ์ข​ อง​องค์กร (corporate strategy) การ​เปิดต​ ลาด​เสรี การ​คมนาคม​ที่​รวดเร็ว และ​ความ​ ก้าวหน้า​ทาง​เทคโนโลยี​แบบ​ก้าว​กระโดด นำ�​มา​ซึ่ง​การ​แข่งขัน​ที่​รุนแรง ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ที่​ เปลี่ยนแปลง​สูง ทำ�ให้​ซอฟต์แวร์​การ​จัดการ​ธุรกิจ​อย่าง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ย่อม​ต้อง​ปรับ​ตัวอย่าง​ รวดเร็ว​ตาม​ไป​ด้วย และ​ผู้พ​ ัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​ต้อง​กำ�หนด​แผนการ​พัฒนา​ล่วง​หน้า เพื่อร​ องรับร​ ูปแ​ บบ​การ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจใ​ หม่ๆ ดังน​ ั้น วิสัยท​ ัศน์ข​ อง​ผู้ใ​ ห้บ​ ริการ​และ​ทิศทาง​การ​พัฒนา​ใน​ระยะ​ยาว อย่าง​มแี​ ผนการ​พัฒนา​และ​กำ�หนดการ​ออก​สูต่​ ลาด​ใน​ช่วง 3 ถึง 5 ปี ถือเ​ป็นป​ ระเด็นห​ นึ่งท​ ีค่​ วร​พิจารณา​ใน​การ​ คัด​เลือก นอกจาก​การ​แข่งขัน​ที่​รุนแรง​แล้ว ธุรกิจ​ยัง​ต้อง​เผชิญ​กัน​ข้อ​กำ�หนด​ของ​ภาค​รัฐ​ของ​แต่ละ​ประเทศ คือ การ​ทำ�​ตาม​มาตรฐาน (compliance) ทั้งด​ ้าน​สุขอ​ นามัย ด้าน​สิทธิม​ นุษย​ชน และ​กฎ​ระเบียบ​อื่นๆ ของ​ภาค​ รัฐ ทั้ง​ท้อง​ถิ่น​และ​ระหว่าง​ประเทศ ซึ่งแ​ ตก​ต่าง​กัน​ไป​ตาม​แต่ละ​อุตสาหกรรม และ​ความ​แตก​ต่าง​นี้​ก็​ทวีค​ วาม​ สำ�คัญ​และ​สามารถ​สร้าง​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​กิจการ​ได้​อย่าง​มาก ทิศทาง​การ​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​จึง​มี​แนว​โน้ม​ที่​จะ​เน้น​อุตสาหกรรม (industry-specific) เช่น การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​สำ�หรับ​ อุตสาหกรรม​อาหาร สุขภาพ โล​จิ​สติ​กส์ ยาน​ยนต์ การ​ก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่ง​จะ​ต้อง​ลง​ลึก​ไป​ถึง​ระดับ​ธุรกิจ​ย่อย​ ใน​อุตสาหกรรม​ต่างๆ ด้วย นอกจาก​การ​มุ่ง​เน้น​รองรับ​การ​ทำ�งาน​ใน​แนว​ตั้ง (vertical focused) ข้าง​ต้น​แล้ว การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​ยัง​จะ​ต้อง​คง​สามารถ​รองรับก​ าร​ทำ�งาน​ใน​แนว​นอน (horizontal) เช่น การ​รองรับพ​ าณิชย์​ อิเล็กทรอนิกส์ องค์กร​เสมือน (virtual organization) การ​ชำ�ระ​เงิน​อิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เงิน​ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) สื่อส​ ังคม (social media) เป็นต้น รวม​ทั้งร​ ะบบ​รายงาน​ทางการ​เงินต​ าม​มาตรฐาน​ การ​บัญชีท​ ี่ย​ อมรับ เช่น จีเ​อ​เอ​พี (GAAP - Generally Accepted Accounting Principles) และไอ​เอฟ​อาร์​ เอส (IFRS - International Financial Report Standard) 7.6 ความ​มุ่ง​มั่น​ของ​ผู้​ให้​บริการ​และ​ผู้​ใช้​จะ​ทำ�ความ​สำ�เร็จ​ให้​แก่​โครงการ ไม่​ว่า​จะ​ทุ่ม​งบ​ประมาณ​ มาก​เพียง​ใด มีบ​ ุคลากร​ระดับห​ ัวก​ ะ​ทเิ​ต็มห​ ้อง แต่ถ​ ้าไ​ ม่มคี​ วาม​มุ่งม​ ั่นท​ ีจ่​ ะ​ทำ�ความ​สำ�เร็จใ​ ห้เ​กิดข​ ึ้นก​ จ็​ ะ​ประสบ​ ความ​ยาก​ลำ�บาก ต้นทุนส​ ูง บาน​ปลาย และ​ล้มเ​หลว​ได้ใ​ น​ที่สุด อัตรา​ความ​สำ�เร็จ (success rate) ของ​โครงการ ​ใน​อดีตท​ ี่​ผ่าน​มา​จะ​เป็น​ตัว​ชี้ว​ ัด​ความ​มุ่งม​ ั่นข​ อง​ผู้ข​ าย​ได้​เป็น​อย่าง​ดี

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

8. การ​ติดต่อ​กับ​เจ้าของ​ลิขสิทธิ์​ก่อน​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ใน​ยุค​ที่​กฎหมาย​ลิขสิทธิ์​มี​โทษ​รุนแรง หาก​ซอฟต์แวร์​ที่​ผู้​ให้​บริการ​นำ�​เสนอ​มี​การ​ได้​มา​อย่าง​ไม่​ถูก​ ต้อง ผู้​ซื้อ​จะ​กลับ​เป็น​ผู้ต​ ้องหา​ไป​ด้วย​ตาม​กฎหมาย ควร​ให้​ผู้​ให้​บริการ​ยืนยัน​ว่า​เป็น​เจ้าของ​ลิขสิทธิ์ หรือ​ได้​ มา​อย่าง​ถูก​ต้อง หรือ​เป็น​ตัวแทน​ที่ไ​ ด้​รับ​อนุญาต​จาก​เจ้าของ​ลิขสิทธิ์ เป็น​เรื่อง​สำ�คัญ​อย่าง​ยิ่ง และ​ใน​ขั้น​ตอน​ ก่อน​การ​ตัดสิน​ใจ​ก็​ควร​ได้​มี​การ​สอบถาม​ไป​ยัง​เจ้าของ​ลิขสิทธิ์​เพื่อ​ความ​แน่ใจ ผู้​ซื้อ​จะ​ต้อง​ให้​ผู้​ให้​บริการ​ทำ�​ หนังสือย​ นื ยันว​ า่ ซ​ อฟต์แวร์ท​ สี​่ ง่ ม​ อบ​ประกอบ​ดว้ ย​ตวั ม​ าตรฐาน​จาก​ผผู​้ ลิตห​ ลักเ​ท่านัน้ หรือม​ ส​ี ว่ น​อืน่ ๆ เพิม่ เติม​ หรือ​ไม่ หาก​ประกอบ​ตัว​ซอฟต์แวร์​มา​จาก​หลาย​ที่ จะ​ต้อง​ระบุ​แยก​ส่วน​ที่​เป็น​ลิขสิทธิ์​ของ​เจ้าของ​ลิขสิทธิ์​ ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​หลัก​และ​ลิขสิทธิ์​ส่วน​ที่​ทำ�​เพิ่ม​เติม ทั้ง​ส่วน​ที่​ทำ�​เพิ่ม​เติม​มา​ก่อน​หน้า​

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-73

ธ ส

แล้ว หรือ​ส่วน​ที่​ทำ�​เพิ่ม​เติม​เพื่อ​ผู้​ซื้อ​อย่าง​ชัดเจน เนื่องจาก​ปัจจุบัน​มี​โปรแกรม​ที่​เป็น​แชร์​แวร์ (shareware) มากมาย​บน​เครือข​ ่าย​อินเทอร์เน็ต ซึ่งโ​ ปรแกรม​เหล่าน​ ีส้​ ามารถ​ถูกต​ รวจ​สอบ​ได้ผ​ ่าน​เครือข​ ่าย​และ​อาจ​ถูกเ​รียก​ เก็บ​ค่า​ลิขสิทธิ์​ภาย​หลัง​ได้ และ​บ่อย​ครั้ง​ที่​ผู้​ให้​บริการ​ที่​ไม่​ใส่ใจ​การ​ละเมิด​ลิขสิทธิ์ แต่​ผลก​ระ​ทบ​จะเกิด​กับ ​การ​ดำ�เนิน​กิจการ​ของ​ผู้​ใช้​ระบบ​ภาย​หลัง ผู้​ซื้อ​จะ​ต้อง​ให้​ผู้​ขาย​ลง​นาม​ใน​สัญญา​รับ​ผิด​ชอบ​กรณี​ที่​ภาย​หลัง​ พบ​ว่า​ซอฟต์แวร์​ที่น​ ำ�​มา​เสนอ​ขาย​ได้​มา​อย่าง​ไม่ถ​ ูก​ต้อง เพื่อ​เป็นการ​ป้องกัน​ตัว​จาก​การ​ตก​เป็น​ผู้​ต้องหา​กรณี​ ที่​ตรวจ​พบ​สินค้า​ละเมิด​ลิขสิทธิ์ใ​ น​ระบบ

ธ ส

ธ ส

9. ประสิทธิภาพ​การ​ทำ�งาน​ของ​ระบบ

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​ระบบ​แกน​กลาง​ซึ่ง​มัก​จะ​เป็น​ที่​รวม​ของ​รายการ​ธุรกรรม​ปริมาณ​ มาก การ​ออกแบบ​ฐาน​ข้อมูลเ​ป็นอ​ ย่าง​ดถี​ ือเ​ป็นส​ ่วน​สำ�คัญท​ ีจ่​ ะ​ทำ�ให้ร​ ะบบ​สามารถ​ทำ�งาน​ได้อ​ ย่าง​ต่อเ​นื่อง​และ​ มี​ประสิทธิภาพ (system performance) รองรับป​ ริมาณ​ข้อมูล​ขนาด​ใหญ่​ได้ สามารถ​ทำ�งาน​ได้​โดย​ความเร็ว​ ไม่​ลด​ลง​จน​กระทั่งย​ อมรับ​ไม่ไ​ ด้ บาง​องค์กร​มี​ปริมาณ​ข้อมูล​มาก​ถึงร​ ะดับ​ล้าน​รายการ ตาม​ปกติ​ผู้​ใช้​จะ​ทน​รอ​ การ​ตอบ​สนอง​ของ​ระบบ​ได้​ประมาณ 3 วินาที หาก​เกิน​กว่า​นั้น​จะ​ส่ง​ผล​ต่อ​อารมณ์​ใน​การ​ทำ�งาน ดัง​นั้น ระบบ​ ที่​ดี​จะ​ต้อง​ออกแบบ​ให้​สามารถ​ปรับ​ความเร็ว​ได้ (performance tuning) จน​อยู่​ใน​ระดับ​ที่​ยอมรับ​ได้ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​ออกแบบ​ดี​สามารถ​รักษา​ความเร็ว​ใน​การ​บันทึก​ใน​ระดับ​ปริมาณ​ ข้อมูล​มาก​ได้ แม้ว่า​จะ​อยู่บ​ น​สภาพ​แวดล้อม​ของ​ฮาร์ดแวร์​ที่แ​ ตก​ต่าง​กัน (ภาพ​ที่ 7.46)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.46 ตัวอย่าง​ของ​การ​ใช้​เวลา​ใน​การ​บันทึกข​ ้อมูล​ของ​โปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร


7-74

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

จาก​ภาพ​ที่ 7.46 จะ​เห็น​ว่า​เวลา​ที่​ใช้​ใน​การ​บันทึก​ใบ​กำ�กับ​ภาษี พร้อม​ตัด​สต๊อก และ​ตั้ง​หนี้​อัตโนมัติ ที่​ระดับ​ปริมาณ​ข้อมูล​ต่างๆ ของ​โฟร์​มา​อี​อาร์​พี/ฟอร์มูล่า​อี​อาร์​พี ข้อมูล​นี้​เป็น​สถิติ​จาก​การ​สำ�รวจ​ใน​สภาพ​ แวดล้อม​การ​ทำ�งาน​จริง​ของ​ลูกค้า​หลาย​ราย ด้วย​สภาพ​แวดล้อม​ที่​หลาก​หลาย แต่​ยัง​คง​ใช้​พีซี​เป็น​เซิร์ฟเวอร์ (PC server) ทุก​ราย จาก​ข้อมูล​สำ�รวจ​ราย​ที่ม​ ี​ข้อมูล​สูงสุด​ที่ 1.7 ล้าน​รายการ ใช้​เวลา​บันทึก 5 วินาที และ​มี​ค่า​ เฉลี่ย​ที่ 5.099 วินาที นั่น​คือ ปัจจัยท​ ี่​มีผ​ ลก​ระ​ทบ​ต่อ​ความเร็ว​คือ การ​ใช้​พีซี​เป็น​เซิร์ฟเวอร์​ที่​เป็น​ยี่ห้อ​ท้องถิ่น (local brand) ที่​ไม่ใช่เ​ครื่อง​ระดับ​เซิร์ฟเวอร์ (server grade) การ​ใช้​วาย​ฟาย (WiFi) ความเร็วต​ ่ำ� และ​การ​ เปิด​ให้​ผู้​ใช้​เล่น​อินเทอร์เน็ต​ใน​วง​เครือ​ข่าย​แลน (LAN) เดียวกัน หาก​กิจการ​มี​รายการ​ธุรกรรม​มาก​ควร​ให้​ความ​สำ�คัญ​ใน​เรื่อง​นี้​เป็น​พิเศษ และ​อาจ​ร้องขอ​ให้​ผู้​ขาย ทำ�การ​ทดสอบ​ด้วย​ข้อมูล​สมมติ​ปริมาณ​มาก เพื่อ​เป็น​ข้อมูล​ใน​การ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​ระบบ​มา​ใช้ (ภาพ​ที่ 7.47)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.47 ระยะ​เวลา​ที่​ใช้​ใน​การ​บันทึก​ข้อมูล​เปรียบ​เทียบ​ระหว่าง​โปรแกรม​ที่​ออกแบบ​มา​เพื่อ​รองรับ ​ปริมาณ​ข้อมูล​มาก​กับโ​ ปรแกรม​ที่​ไม่​ให้​ความ​สำ�คัญ​กับ​ความเร็วใ​ น​การ​บันทึก​ข้อมูล

จาก​ภาพ​ที่ 7.47 จะ​เห็น​ว่า​แสดง​ให้​เห็น​ความ​แตก​ต่าง​ระหว่าง​ระยะ​เวลา​ที่​ใช้​ใน​การ​บันทึก​ข้อมูล​ของ​ โปรแกรม​สอง​แบบ โปรแกรม​ที่​ไม่​ได้​ออกแบบ​มา​เพื่อ​ใช้​กับ​ข้อมูล​ปริมาณ​มาก จะ​ทำ�งาน​ช้า​ลง​ด้วย​อัตรา​เร่ง ขณะ​ที่​โปรแกรม​ที่​ออกแบบ​มา​ดี (well designed) จะ​เกิด​การ​กิน​เวลา​แบบ​อัตรา​เร่ง

ธ ส


10. กลยุทธ์​ใน​การ​ติดต​ ั้ง​ระบบ

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-75

ธ ส

รูปแ​ บบ​การ​กำ�หนด​แผนการ​นำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้จ​ ะ​ส่งผ​ ล​ต่อค​ วาม​ยาก​ง่าย​ของ​การ​ ติด​ตั้ง​ระบบ ซึ่ง​อาจ​แบ่ง​คร่าวๆ ได้ 4 แบบ คือ 10.1 การ​ติดต​ ั้งใ​ น​คราว​เดียว (the big bang) เป็นการ​ที่ผ​ ู้บ​ ริหาร​องค์กร​ตกลง​ใจ​ที่จ​ ะ​นำ�​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​มา​แทน​ระบบ​เก่า​ทั้ง​ระบบ​ใน​คราว​เดียว ส่วน​มาก​ก็​จะ​เป็น​องค์กร​ขนาด​ค่อน​ข้าง​ใหญ่ เป็น​ ทดแทน​ระบบ​เก่าท​ ี่แ​ ยก​กันท​ ำ�​ใน​แต่ละ​ส่วน​งาน และ​ต้องการ​ใช้ร​ ะบบ​ที่ม​ ีอ​ ยู่ใ​ น​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ ตัว​เดียวกัน เพื่อ​ให้​ระบบ​งาน​เป็น​รูป​แบบ​เดียวกัน และ​ทำ�ให้​ข้อมูล​ที่​อยู่​กระจัดกระจาย​มา​รวม​อยู่​ใน​ฐาน​ เดียวกันท​ ั้งหมด แนวทาง​เช่น​นี้เ​ป็น​แนวทาง​ที่​ยาก​และ​ท้าทาย​ความ​สามารถ​อย่าง​ยิ่ง เพราะ​เป็นการ​ยาก​ที่​จะ​ ขับ​เคลื่อน​และ​เปลี่ยนแปลง​องค์กร​ที่​ประกอบ​ด้วย​คน​จำ�นวน​มาก​ให้​ไป​ใน​ทาง​เดียว​กัน​พร้อมๆ กัน​ทั้ง​ระบบ และ​เป็นการ​ยาก​ทีจ่​ ะ​มซี​ อฟต์แวร์ต​ ัวไ​ หน​หรือร​ ะบบ​ใด​ทีจ่​ ะ​เป็นท​ ีย่​ อมรับข​ อง​ทุกค​ นใน​องค์กร โดย​เฉพาะ​ระบบ​ ทีย่​ ังไ​ ม่ไ​ ด้การ​พิสูจน์ว​ ่าจ​ ะ​เหมาะ​สม​กับอ​ งค์กร​อย่าง​แท้จริง เพราะ​แต่ละ​หน่วย​งาน​กเ็​คย​มรี​ ะบบ​ทีเ่​ข้าก​ ันไ​ ด้ก​ ับ​ กระบวนการ​ดำ�เนินง​ าน​ของ​ตนเอง​มา​แล้ว และ​ซอฟต์แวร์ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ต่างๆ ก็ม​ ักจ​ ะ​ไม่ค​ ่อย​ ปรับ​แก้​ระบบ​ให้​เข้าก​ ับ​ผู้​ใช้ได้​มาก​นัก ยิ่ง​ทำ�ให้เ​กิด​การ​ต่อ​ต้าน​ได้​มาก แต่​แนวทาง​อาจ​เป็น​แนวทาง​ที่​จำ�เป็น​ สำ�หรับ​องค์กร​ที่ต​ ้องการ​เปลี่ยนแปลง​ไป​สู่​สิ่งใ​ หม่ โดย​อาศัย​ปฏิกิริยา​ลูกโซ่​ของ​การ​ติด​ตั้ง​ใน​คราว​เดียว โดย​ มุ่ง​เน้น​ที่ค​ น​มากกว่าร​ ะบบ เป็นการ​ล้าง​กรอบ​ความ​คิด​เดิม​ไป​สู่​การ​ค้นหา​สิ่ง​ใหม่ๆ 10.2 กล​ยุทธ์​แบบ​แฟ​รน​ไชส์ (franchising strategy) วิธี​การ​นี้​เหมาะ​สำ�หรับ​องค์กร​ขนาด​ใหญ่​ที่​ มี​หน่วย​ธุรกิจ​ย่อย​ที่​แตก​ต่าง​กัน และ​ต้องการ​การ​เปลี่ยนแปลง​อย่าง​ค่อย​เป็น​ค่อย​ไป โดย​การ​ลง​ระบบ​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​แต่ละ​หน่วย​ธุรกิจ​แยก​จาก​กัน ซึ่ง​อาจ​จะ​ใช้​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​ รูป​แบบ​เดียวกัน แต่​ติด​ตั้ง​แยก​ชุด​กัน เก็บ​ข้อมูล​แยก​จาก​กัน หรือ​จะ​เป็น​แบบ​ที่​ใช้​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​คนละ​รูป​แบบ​กัน​ไป​เลย​ก็ได้ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ของ​แต่ละ​หน่วย​จะ​มี​ส่วน​ที่​ต้อง​ใช้​ฐาน​ ข้อมูล​ร่วม​กัน​บาง​ส่วน​เท่านั้น เช่น ใช้​ฐาน​ข้อมูล​ลูกค้า​ร่วม​กัน​เท่านั้น หรือ​ใช้​ฐาน​ข้อมูล​จัด​ซื้อ​ร่วม​กัน​เท่านั้น หรือ​ใช้​ข้อมูล​สินค้า​คงคลัง​ร่วม​กัน​เท่านั้น ทำ�ให้​สามารถ​ติด​ตั้ง​ระบบ​ที่​แตก​ต่าง​กัน​แต่​เชื่อม​โยง​ข้อมูล​เข้าหา​ กันเ​ท่า​ที่จ​ ำ�เป็น ถ้า​มอง​เผินๆ แล้ว การ​เป็น​องค์กร​ใน​เครือ​เดียวกัน​ก็​น่า​จะ​ใช้​ฐาน​ข้อมูล​ร่วม​กัน​ใน​ทุกๆ ส่วน​ จึง​จะ​สามารถ​ทำ�งาน​ได้​อย่าง​ครบ​วงจร แต่​ใน​ความ​เป็น​จริง​แล้ว ข้อมูล​ที่​สำ�คัญ​และ​มี​ผล​ต่อ​การ​ปฏิบัติ​การ​ จริงๆ มักจ​ ะ​มไี​ ม่ม​ าก​นัก แม้ว่าจ​ ะ​มขี​ ้อมูลบ​ าง​ส่วน​ทีซ่​ ้ำ�​ซ้อน​กัน แต่พ​ บ​ว่าการ​บันทึกแ​ ยก​กันก​ ลับใ​ ห้ค​ วาม​คล่อง​ ตัว และ​ยัง​คง​สา​มา​รถ​บูรณ​า​การ​ระบบ​ได้​เช่น​กัน เนื่องจาก​กระบวนการ​รวม​เป็น​หนึ่ง (consolidate) สามารถ​ ทำ�ได้​หลาย​วิธี​การ บาง​องค์กร​มี​เป็น​องค์กร​ขนาด​ใหญ่ และ​เน้น​ความ​อ่อน​ตัว​ใน​การ​บริหาร​งาน​สูง จึง​มัก​จะ​ เปิด​กว้าง​ใน​การ​ลง​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เฉพาะ​ส่วน​แยก​ธุรกิจ แต่​ให้​สามารถ​เชื่อม​โยง​ข้อมูล​ ทาง​ด้าน​การ​เงิน เพื่อ​สามารถ​ติดตาม​ผล​งาน​ดำ�เนิน​งาน​แบบ​ออนไลน์​เพียง​อย่าง​เดียว​เท่านั้น บาง​องค์กร​ที่​ มี​หน่วย​งาน​ย่อย​ขนาด​เล็ก​ที่​ห่าง​ไกล​กัน ก็​อาจ​จะ​เชื่อม​โยง​เฉพาะ​กระบวนการ​จัด​ซื้อ​เท่านั้น แต่​กระจาย​การ​ ติดตั้งร​ ะบบ​คลังส​ ินค้า​แบบ​แยก​อิสระ กลยุทธ์​นี้​มี​ข้อ​เสีย​คือ การ​ติด​ตั้ง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ให้​ครบ​ ทุกร​ ะบบ​จะ​ใช้เ​วลา​นาน​กว่าว​ ธิ อ​ี ืน่ แต่ม​ กั ป​ ระสบ​ความ​ส�ำ เร็จ และ​ลด​การก​ระ​ทบ​ของ​ความ​ลม้ เ​หลว​ของ​โครงการ​ ติด​ตั้ง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จาก​ส่วน​อื่นๆ ของ​องค์กร​ที่​จะ​มี​ต่อ​หน่วย​งา​นอื่นๆ นอกจาก​นี้ ยัง​เป็น การ​ลด​ความ​เสี่ยง​ที่จ​ ะ​จัดซ​ ื้อร​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ราคา​แพง​ทีเ​ดียว​ทั้งร​ ะบบ เนื่องจาก​สามารถ​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-76

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ดู​ผล​การ​ใช้​งาน​จาก​หน่วย​งาน​นำ�ร่อง (pilot site) แนวทาง​นี้ ยัง​อาจ​หมาย​ถึง​การ​ติด​ตั้ง​ระบบ​แบบบาง​ส่วน (partial migration) คือก​ าร​ทยอย​นำ�​ระบบ​ขึ้นท​ ลี​ ะ​ระบบ​งาน เมื่อร​ ะบบ​ไหน​เสร็จจ​ ึงค​ ่อย​ยกเลิกข​ อง​เก่า ระบบ​ ไหน​ยัง​ไม่​พร้อม​ก็​ทำ�​แบบ​เดิม​ไป​ก่อน กรณี​ที่​ย้าย​ระบบ​คลัง​สินค้า​แบบบาง​ส่วน​ก็​จะ​ทยอย​นับ​สินค้า​ใน​คลัง​ เฉพาะ​ตัว​ที่​พร้อม​ย้าย​ไป​สู่ร​ ะบบ​ใหม่ แล้วท​ ยอย​ไล่​นับส​ ินค้า​ที​ละ​ตัว ไม่​จำ�เป็นต​ ้อง​ปิด​สต๊อก​ทั้งหมด​และ​นับ​ ทุกร​ าย​กา​รพ​ร้อ​ มๆ กัน ซึ่งใ​ น​ความ​เป็นจ​ ริงแ​ ล้วท​ ำ�ได้ย​ าก​มาก วิธีก​ าร​แบบบาง​ส่วน​นี้จ​ ะ​กระทบ​การ​ทำ�งาน​ของ​ ผู้​ใช้น​ ้อย​ที่สุด แต่​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัว​นั้น​จะ​ต้อง​รองรับ​การ​ติด​ตั้ง​แบบบาง​ส่วน​จึง​จะ​ทำ�ได้ 10.3 ส​แล​มดังก์ (slam dunk) เป็นการ​บังคับ​ให้​ใช้​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ทั้ง​องค์กร โดย​เอา​ความ​สามารถ​ของ​ซอฟต์แวร์​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​เลือก​ใช้​เป็น​ตัว​ตั้ง โดย​ไม่​ต้อง​สนใจ​ กระบวนการ​ทำ�งาน​เดิม หาก​กระบวนการ​ทำ�งาน​ส่วน​ไหน​ไม่มี​ใน​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​เลือก​ ใช้​ก็​ให้​ยกเลิก​ไป หรือท​ ำ�​ด้วย​คน​แต่​อยู่น​ อก​ระบบ​ซอฟต์แวร์​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร หาก​กระบวนการ​ ใด​ที่ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัวน​ ั้นบ​ ังคับว​ ่า “ต้อง​ทำ�” ก็ใ​ ห้ท​ ำ�​ตาม​นั้น เรียก​ว่า ค่อน​ข้าง​เผด็จการ เพราะ​ เท่ากับเ​ป็นการ​รื้อ​ปรับ​ระบบ​โดย​ปริยาย​โดย​นำ�​เอาการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็นแ​ ม่​แบบ วิธี​การ​นี้​มัก​จะ​ เกิด​กับ​องค์กร​ที่​ให้​ความ​สำ�คัญ​เฉพาะ​บาง​ส่วน​ของ​ระบบ เช่น อาจ​จะ​ให้​ความ​สำ�คัญ​เฉพาะ​ระบบ​บัญชี​การ​ เงิน หรือ​ให้ค​ วาม​สำ�คัญก​ ับ​การ​ผลิต​เพียง​อย่าง​เดียว เป็นต้น ซึ่ง​ทำ�ให้​มิได้​ทำ�การ​สอบถาม​ความ​ต้องการ​ของ​ ส่วน​งาน​ต่างๆ ดัง​นั้น จึงพ​ บ​ว่า​มีห​ น่วย​งาน​จำ�นวน​ไม่​มาก​ที่​ได้​รับ​ผล​ตอบแทน​ของ​การ​ลงทุน (ROI) ของ​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตาม​แนวทาง​การนำ�​มา​ใช้​ด้วย​วิธี​การ​นี้​ไม่​สูง​นัก แต่​วิธี​การ​นี้​ก็​มิได้​มี​ข้อ​เสีย​ไป​เสีย​ ทั้งหมด เนื่องจาก​วิธี​นี้จ​ ะ​ได้​ผล​ดี​กับ​กิจการ​ที่​ใกล้เ​คียง​กัน​กับ​กิจการ​อื่น​ที่​เคย​ใช้​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​ตัว​นั้น​มา​ก่อน หรือ​กรณี​ที่​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัว​นั้น​ได้​ออกแบบ​มา​เฉพาะ​อุตสาหกรรม​ที่​ กิจการ​นั้น​ทำ�​อยู่ กรณี​เช่น​นี้​จะ​ทำ�ให้​วิธี​การ​นี้​เป็น​วิธี​การ​ที่​ใช้​ระยะ​เวลา​และ​งบ​ประมาณ​การ​ติด​ตั้ง​ระบบ​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​ต่ำ�​ที่สุด ดังน​ ั้น หาก​จะ​ใช้ว​ ิธกี​ าร​นีจ้​ ะ​ต้อง​ศึกษา​ประวัตขิ​ อง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​ตัว​นั้น รวม​ทั้ง​ดู​จาก​ความ​สำ�เร็จ​ใน​อดีต (success story) ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัว​นั้น แล้วน​ ำ�​มา​ประเมิน​ความ​เป็น​ไป​ได้ที่​จะ​ยก​เอา​รูป​แบบ​เช่น​นั้น​ทั้ง​ระบบ​มา​ใช้​กับ​องค์กร 10.4 ตาม​ความ​ตอ้ งการ​ทล​ี ะ​นอ้ ย (the on-demand nibble) เป็นการ​จัดซ​ ื้อแ​ ละ​ติดต​ ั้งร​ ะบบ​แบบ​ตาม​ ความ​ต้องการ (on-demand) กล่าว​คือ อาจ​จะ​เริ่ม​ซื้อ​เฉพาะ​ระบบ​รับคำ�​สั่ง​ซื้อ (order processing system) แล้ว​ก็​ใช้​ไป​ก่อน ซึ่งใ​ น​ครั้งแ​ รก​ที่​นำ�​ระบบ​มา​ใช้​นั้น ผู้​ซื้อ​จะ​ต้อง​ซื้อ​โมดูล​กลาง​ซึ่ง​เป็น​ตัว​จัดการ​ระบบ​ทั้งหมด (system module) ด้วย ซึ่ง​จะ​ทำ�ให้​เมื่อ​ทำ�การ​จัด​ซื้อ​ระบบ​อื่น​เพิ่ม​ก็​เพียง​นำ�​ส่วน​ที่​เพิ่ม​มา​ติด​ตั้ง​บน​โมดูล​ กลาง​เท่านั้น ทำ�ให้​การ​ติด​ตั้ง​เพิ่ม มี​ความ​ยุ่ง​ยาก​น้อย​ลง เนื่องจาก​ไม่​ต้อง​เริ่ม​กระบวนการ​ใหม่​ตั้งแต่​แรก การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​บาง​ตัว​ก็​ใช้​เทคนิคก​ าร​ติด​ตั้ง​โปรแกรม​ไว้​ทั้ง​ระบบ​ที่​ลูกค้า แต่​ทำ�การ​ปิด​ระบบ​ ใน​ส่วน​ที่​ลูกค้า​มิได้​ใช้​ใน​เวลา​นั้น เมื่อ​มี​ความ​ต้องการ​ที่​จะ​ใช้​ระบบ​ใด​เพิ่ม​จึง​ค่อย​เปิด​ส่วน​นั้น​ให้​เห็น กรณี​นี้​ จะ​ไม่มีข​ ั้น​ตอน​การ​ลง​โปร​แก​รม​ใดๆ อีก​เลย ถือว่า​เป็นว​ ิธี​ที่​สะดวก​ด้วย​กัน​ทั้ง 2 ฝ่าย แต่​ใน​ยุค​หลัง​มา​นี้ เมื่อ​ กล่าว​ถึงซ​ อฟต์แวร์ต​ าม​ความ​ต้องการ​อาจ​จะ​รวม​ไป​ถึงก​ าร​สั่งซ​ ื้ออ​ ย่าง​ง่าย​ผ่าน​ระบบ​เครือข​ ่าย​อินเทอร์เน็ตห​ รือ​ การ​ซื้อ​สินค้า​ออนไลน์​ด้วย หรือ​อาจ​จะ​รวม​ไป​ถึง​การ​เช่าใ​ ช้​ด้วย โดย​ไม่มี​การ​ติด​ตั้ง​ระบบ​ใดๆ ไว้​ที่​สำ�นักงาน​ ของ​องค์กร รวม​ทั้ง​ข้อมูล​ด้วย หาก​จะ​ใช้​เมื่อ​ใด​ก็​จ่าย​ซื้อ​ระบบ และ​เมื่อ​เลิก​ใช้​ก็​หยุด​จ่าย​ค่า​ใช้​ระบบ ระบบ​ ส่วน​นั้น​ก็​จะ​หยุดท​ ำ�งาน

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-77

ธ ส

ข้อดี​ของ​แนวทาง​นี้​ คือ - ติดต​ ั้งร​ ะบบ​โปรแกรม​ได้เ​ร็วม​ าก หรือไ​ ม่ต​ ้อง​ติดต​ ั้งเ​ลย เพราะ​โปรแกรม​นั้นอ​ าจ​จะ​ติดต​ ั้งไ​ ว้​ ที่​เซิร์ฟเวอร์​ของ​ผู้ข​ าย และ​ผู้ซ​ ื้อใ​ ช้​งาน​ผ่าน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต - เมื่อ​มี​การ​ปรับปรุง​ระบบ​ใหม่ๆ ก็​จะ​ได้​เวอร์ชั่น​ใหม่​อย่าง​รวดเร็ว เนื่องจาก​เมื่อ​ผู้​ขาย​ปรับ​ เวอร์ชั่น​ที่​เซิร์ฟเวอร์​ของ​ผู้​ขาย​แล้ว เมื่อ​ผู้​ซื้อ​ล็อกอิน​เข้า​สู่​ระบบ ก็​จะ​ได้​เห็น​ระบบ​ใหม่​นั้น​ทันที โดย​ไม่​ต้อง​ รอก​ระ​บวน​การ​จัด​ซื้อร​ ะบบ​เวอร์ชั่น​ใหม่ - ต้นทุนแ​ รก​เริม่ ต​ ่� ำ เนือ่ งจาก​ไม่ไ​ ด้ม​ ก​ี าร​สัง่ ซ​ ือ้ ร​ ะบบ​มา​ตดิ ต​ ัง้ ท​ สี​่ �ำ นักงาน​ของ​องค์กร จึงไ​ ม่ต​ อ้ ง​ ซื้อ​ระบบ​ใน​ปริมาณ​มาก แต่​เป็นการ​จ่าย​แบบ​ต่อจ​ ำ�นวน​ผู้​ใช้ (per user) และ​ราย​เดือน (per month) แทน แต่​องค์กร​ต่างๆ ก็​ยัง​ไม่​กล้า​ลงทุน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ด้วย​แนวทาง​นี้ เนื่อง​ด้วย​องค์กร​ เกือบ​ทั้งส​ ิ้นเ​ห็นว​ ่าข​ ้อมูลข​ อง​องค์กร​เป็นส​ ินทรัพย์ท​ สี่​ ำ�คัญอ​ ย่าง​ยิ่ง และ​ถือเ​ป็นค​ วาม​ลับท​ างการ​ค้า จึงส​ บายใจ​ ที่​จะ​เก็บ​ข้อมูล​เอง​มากกว่า​เอา​ข้อมูล​ไป​ฝาก​ไว้​ที่​ผู้​ให้​บริการ​ภายนอก​องค์กร หรือ​แม้ว่า​จะ​เช่า​ใช้​ด้วย​เงื่อนไข​ ที่​ให้​ตั้ง​เซิร์ฟเวอร์ไ​ ว้​ที่​สำ�นักงาน​ก็ตาม แต่​เนื่อง​ด้วย​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ถือ​เป็น​โครงสร้าง​พื้น​ฐาน (infrastructure) ของ​องค์กร​ส่วน​มาก การนำ�​มา​ใช้​หรือ​เลิก​ใช้​ย่อม​ไม่​สามารถ​ทำ�ได้​โดย​ง่าย การ​ที่​จะ​ใช้​แล้ว​ หยุด​ใช้​กลับ​ไป​กลับ​มา​แบบ​ราย​เดือน​ย่อม​เป็น​ไป​ได้​ยาก วิธี​การ​นี้​จึง​ยัง​ไม่​แพร่​หลาย​มาก แต่​เริ่ม​เป็น​ที่​สนใจ​ ของ​องค์กร​ต่างๆ มาก​ขึ้น เนื่องจาก​ความ​ข้อดีเ​รื่อง​ความ​ยืดหยุ่นใ​ น​การ​ลงทุนท​ ีผ่​ ่าน​มา​พบ​ว่าอ​ งค์กร​ขนาด​เล็ก​ และ​ขนาด​กลาง​เป็น​ผู้​ใช้​กลุ่ม​แรกๆ ที่​เริ่ม​ใช้​วิธี​การ​นี้ และ​พบ​ว่า​องค์กร​ขนาด​ใหญ่​บาง​แห่ง​ได้​เริ่ม​นำ�​วิธี​การ​นี้​ มา​ใช้ก​ ับ​ระบบ​งาน​ย่อยๆ ที่ไ​ ม่มี​ความ​สำ�คัญ​มาก​นัก

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

11. การ​ทำ�​สัญญา​ที่​ครอบคลุมแ​ ละ​เป็น​ธรรม

ธ ส

นอกจาก​กระบวนการ​ทั้งหมด​ที่​กล่าว​มา​แล้ว สิ่ง​ที่ส​ ำ�คัญ​อย่าง​ยิ่ง​คือ การ​มี​สัญญา​ที่​ชัดเจน​และ​เป็น​ ธรรม​แก่​ทุก​ฝ่าย ซึ่งเ​ป็น​จุด​ที่ผ​ ู้ซ​ ื้อม​ ัก​จะ​ละเลย และ​กลาย​เป็น​สาเหตุข​ อง​ความ​ล้ม​เหลว​ได้ ผู้​ซื้อ​ส่วน​มาก​ไม่รู้​ ว่าการ​จัด​ซื้อ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​นั้น​จำ�เป็น​จะ​ต้อง​ทำ�​สัญญา บาง​ท่าน​มี​มุม​มอง​ว่า การ​ทำ�​สัญญา​ เป็นการ​แสดง​ความ​ไม่ไ​ ว้ใจ หรือเ​ห็นว​ ่าผ​ ูใ้​ ห้บ​ ริการ​ให้ค​ ำ�มั่นส​ ัญญา​อย่าง​ดี หรือม​ ที​ ีป่​ รึกษา​แนะนำ�​มา​จึงเ​กรงใจ ไม่ก​ ล้าพ​ ูดถ​ ึงก​ าร​ทำ�​สัญญา อันท​ ีจ่​ ริงแ​ ล้วส​ ัญญา​ถือเ​ป็นเ​ครื่อง​มือส​ ื่อสาร​ระหว่าง​ฝ่าย​ต่างๆ เพื่อร​ วบรวม​เนื้อหา​ ทั้งหมด​จาก​การ​ประชุม​หลาย​วาระ​เข้า​ด้วย​กัน เป็นการ​สร้าง​ความ​เข้าใจ​ที่​ตรง​กัน​ทั้ง 2 ฝ่าย หาก​เกิด​ข้อ​สงสัย​ หลัง​จาก​ระยะ​เวลา​หนึ่ง ก็​สามารถ​ย้อน​กลับ​มาท​บท​วน​ข้อ​เสนอ​ได้​อย่าง​ดี​เยี่ยม ถึง​แม้ว่า​เอกสาร​สัญญา​ก็​ สามารถ​นำ�​มา​ใช้​อ้างอิง​ใน​กรณี​พิพาท​ได้ แต่​หาก​ผู้​ซื้อ​และ​ผู้​ให้​บริการ​มี​ความ​จริงใจ​ด้วย​กัน​ทุก​ฝ่าย​แล้ว​ก็​ไม่​ ควร​กังวล​ต่อ​สัญญา​ที่​มี​ต่อ​กัน เนื่องจาก​สัญญา​สามารถ​ใช้​เป็น​เครื่อง​มือ​ใน​การ​สื่อสาร​แสดง​ถึง​ข้อ​ตกลง​ที่​มี​ ร่วม​กัน และ​จะ​ต้อง​นำ�​ความ​ต้องการ​ของ​ผูซ้​ ื้อแ​ ละ​ข้อเ​สนอ​ทีผ่​ ูใ้​ ห้บ​ ริการ​ได้เ​สนอ​มา​ทั้งหมด​มาระ​บไุ​ ว้ใ​ น​สัญญา เพื่อใ​ ห้ส​ ามารถ​รูไ้​ ด้ว​ ่าผ​ ูซ้​ ื้อแ​ ละ​ผูข้​ าย​จะ​ได้อ​ ะไร​และ​ต้อง​รับผ​ ิดช​ อบ​อะไร​อย่าง​เป็นธ​ รรม มีค​ ำ�​กล่าว​ว่า สัญญา​ที​่ ไม่​เป็น​ธรรม จะ​เป็นส​ ัญญ​ที่​ถูกฉ​ ีก สัญญา​ที่​ดี​ควร​จะ​ครอบคลุม และ​เป็นธ​ รรม​กับ​ทั้ง 2 ฝ่าย มิ​ฉะนั้น สุดท้าย​ แล้ว​ก็​มิ​อาจ​ดำ�เนิน​การ​ตาม​สัญญา​ให้​ลุล่วง​ได้ รูป​แบบ​การ​ทำ�​สัญญา​อาจ​จะ​ประกอบ​ด้วย​เอกสาร 3 ชุด คือ

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-78

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

11.1 สัญญา​หลัก เป็นการ​ระบุเ​งื่อนไข​ทั่วไป​ของ​โครงการ และ​กรอบ​ข้อต​ กลง​ส่วน​ทีส่​ ำ�คัญแ​ ละ​มักจ​ ะ​ ใช้​กัน​ทั่วไป 11.2 ใบ​เสนอ​ราคา​ซอฟต์แวร์ห​ ลัก เพื่อแ​ จกแจง​โมดูล​ย่อย​ทั้งหมด​ที่​เป็น​มาตรฐาน​ของ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร ซึ่งไ​ ม่น​ ับ​รวม​การ​ปรับ​แก้​ระบบ 11.3 ราย​ละเอียด​ส่วน​ที่​ต้อง​ปรับ​แก้ แสดง​ราย​ละเอียด​ความ​ต้องการ​ของ​ผู้​ซื้อ​และ​สิ่ง​ที่​ผู้​ให้​บริการ​ เสนอ​รายการ​ปรับ​แก้ร​ ะบบ (modify/customize) ปัญหา​ที่​สำ�คัญ​ของ​การ​ทำ�​สัญญา​ที่​ไม่เหมาะ​สม​คือ ผู้​ซื้อ​มัก​จะ​ไม่มี​ความ​รู้​พอที่​จะ​กำ�หนด​เนื้อหา​ใน​ สัญญา ซึ่ง​อาจ​จะ​ต้อง​มี​ที่​ปรึกษา​ที่​มี​ประสบการณ์ก​ าร​ลง​ระบบ​ที่​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ​ใน​โครงการ​ที่​คล้ายคลึง​ กัน​มา​ช่วย​ใน​การ​ร่าง​สัญญา บาง​ครั้งก​ าร​ทำ�​สัญญา​จึง​กลาย​เป็น​เรื่อง​ยุ่ง​ยากจน​ไม่​เกิด​การ​จัด​ซื้อ​ระบบ​เลย​ก็​มี หรือบ​ าง​ครัง้ ต​ อ้ ง​ลงทุนเ​พิม่ ใ​ น​การ​จา้ ง​ทปี​่ รึกษา​ใน​การ​รา่ ง​สญ ั ญา​และ​อาจ​จะ​ตอ้ ง​ใช้เ​วลา​มาก​หลาย​เดือน รวมถึง​ การ​เสีย​โอกาส​ทางการ​ค้า​ไป​ได้ ดังน​ ั้น จึงค​ วร​พิจารณา​ความ​คุ้ม​ค่า​ใน​การ​ทำ�​สัญญา​เช่น​กัน

ธ ส

ธ ส

ธ ส

12. เทคนิค​การ​กำ�หนด​เวลา​ใน​แผนการ​ติด​ตั้ง

ธ ส

ธ ส

การ​ทำ�​สัญญา​โครงการ​ติด​ตั้ง​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ทั่วไป มัก​จะ​กำ�หนด​ระยะ​เวลา​ สัมพันธ์ก​ บั เ​งือ่ นไข เช่น “15 วันน​ บั จ​ าก​วนั ท​ ตี​่ ดิ ต​ ัง้ ร​ ะบบ....” เป็นต้น การ​ก�ำ หนด​เช่นน​ ที​้ �ำ ให้ก​ าร​บริหาร​โครงการ​ ทำ�ได้​ยาก เนื่องจาก ณ วันท​ ี่​ทำ�​สัญญา​นั้น​แต่ละ​คน​จะ​ไม่​ทราบ​ว่าจ​ ะ​จัดสรร​ตาราง​งาน​ของ​ตนเอง​อย่างไร โดย​ เฉพาะ​ผู้​บริหาร​และ​ฝ่าย​การ​เงิน​ซึ่ง​มัก​จะ​ไม่​ได้​เข้า​มา​ติดตาม​ผล​การ​ปฏิบัติ​งาน เนื่องจาก​ยัง​ไม่รู้​กำ�หนดการ​ สำ�คัญ​ที่แ​ น่นอน ดังน​ ั้น เทคนิค​การ​ทำ�​สัญญา​ที่ด​ ีค​ ือ นอกจาก​กำ�หนด​เงื่อนไข​ไว้แ​ ล้ว ควร​แปล​ความ​ออก​มา​ใน​ รูปแ​ บบ​ของ​วันท​ ี่ เพื่อแ​ ต่ละ​ฝ่าย​จะ​ได้ส​ ามารถ​กำ�หนด​ใน​ปฏิทินง​ าน​ของ​ตนเอง​ได้ ถึงแ​ ม้ว่าเ​มื่อเ​วลา​ปฏิบัติง​ าน​ จะ​มีป​ ฏิทิน​งาน​ย่อยๆ ออก​มา​ตลอด​เวลา แต่​การ​กำ�หนด​ไว้​ใน​สัญญา​จะ​ทำ�ให้​เกิด​ความ​ชัดเจน​ใน​กำ�หนดการ​ ที่​สำ�คัญ​และ​มี​ผล​ต่อ​การ​ตรวจ​รับ​ระบบ ซึ่ง​หาก​มี​การ​ปรับ​แก้​ปฏิทิน​งาน​ก็​สามารถ​ทำ�​บันทึก​แนบ​ได้ แต่​หาก​ ไม่​กำ�หนด​ไว้​ใน​สัญญา และ​ผู้​ปฏิบัติ​งาน​ลืม​ทำ�​บันทึก​ตาราง​งาน​ที่​ชัดเจน เมื่อ​เกิด​ปัญหา​ขึ้น​ก็​จะ​ไม่มี​หลัก​ที่​ ใช้​ใน​การ​ตัดสิน นอกจาก​นี้ ใน​การ​ปฏิบัติ​งาน​ทุก​ครั้ง​จะ​ต้อง​มี​การ​ทำ�​แบบ​ฟอร์ม​การ​บริการ​ขึ้น​มา​ทุก​ครั้ง ใช้​ เป็นการ​เก็บ​บันทึก​ราย​ละเอียด​ความ​คืบ​หน้า​โครงการ​ไป​ใน​ตัว และ​ใช้​ใน​การ​ทบทวน​ย้อน​หลังแ​ ละ​ส่ง​ต่อ​งาน​ ให้​แก่​ฝ่าย​ต่างๆ ที่​อาจ​จะ​ต้อง​รับ​ช่วง​ต่อ​จาก​ขั้น​ตอน​ก่อน​หน้า และ​ป้องกัน​ปัญหา​การ​ทำ�งาน​ซ้ำ�​ซ้อน​ซ้ำ�ซาก อัน​นำ�​มา​ซึ่ง​ต้นทุนเ​งิน​และ​ต้นทุน​เวลา​อย่าง​มาก

ธ ส

13. แผน​ฟื้นส​ ภาพ

ธ ส

ธ ส

การ​ทำ�​แผน​ฟื้น​สภาพ (disaster recovery plan) ใน​ที่น​ ี้​จึงข​ อ​กล่าว​เฉพาะ​หลัก​การ​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เท่านั้น เนื่องจาก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​ระบบ​หลัก​ใน​การ​ดำ�เนิน​ ธุรกิจ ไม่​สามารถ​หยุด​ได้ องค์กร​ที่จ​ ะ​จัดซ​ ื้อ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​ต้อง​ศึกษา​เงื่อนไข​ของ​ผู้​ขาย​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ให้​ชัดเจน​ว่า​ใน​กรณี​ที่​เกิด​ปัญหา​กับ​ระบบ​คอมพิวเตอร์​ของ​องค์กร จะ​ทำ�​อย่างไร ถึงจ​ ะ​กรู​้ ะบบ​ได้อ​ ย่าง​รวดเร็ว หรือจ​ ะ​มแ​ี นวทาง​การ​ใช้ร​ ะบบ​ส�ำ รอง​อย่างไร โดย​ปกติแ​ ล้ว การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​ทัว่ ไป​จะ​ไม่อ​ นุญาต​ให้ล​ ง​โปรแกรม​ไว้ 2 ที่ เมือ่ ร​ ะบบ​หลักม​ ป​ี ญ ั หา​กจ​็ ะ​ไม่มโ​ี ปรแกรม​อกี ช​ ดุ ใ​ น​การ​ท�ำ งาน​ แบบ​ทัน​ควัน ดังน​ ั้น จึงค​ วร​ทำ�​ข้อต​ กลง​ไว้​แต่​แรก​ถึง​การ​ติด​ตั้ง​ระบบ​สำ�รอง

ธ ส


ธ ส

14. ความ​สามารถ​ขยาย​ระบบ​ได้​ใน​อนาคต

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-79

ธ ส

การ​เลือก​ซอ้ื ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​ตอ้ ง​ค�ำ นึงถ​ งึ ค​ วาม​สามารถ​ใน​การ​ขยาย​ระบบ (scalability) เพื่อ​ให้ส​ อดคล้อง​กับ​แนวทาง​ใน​อนาคต (road map) ของ​องค์กร ทั้ง​ด้าน​ขยาย​ขนาด (up size) กับล​ ด​ขนาด (down size) หรือ​ผสม​กัน​ทั้ง 2 แบบ​ใน​เวลา​เดียวกัน เนื่องจาก​องค์กร​ยุค​หลัง​นั้น​ต้องการ​ความ​ยืดหยุ่น​สูง ดัง​นั้น เมื่อ​องค์กร​มี​การ​ขยาย​ตัว อาจ​จะ​มิได้​เน้น​ไป​ที่​การ​ประหยัด​จาก​การ​ขยาย​ขนาด (economy of scale) เหมือน​ใน​อดีต​เสมอ​ไป แต่​การ​จะ​เป็นการ​ประหยัด​จาก​การ​ขยาย​ขอบเขต (economy of scope) หรือ​การ​ ประหยัด​จาก​การ​เพิ่มค​ วามเร็ว (economy of speed) ซึ่ง​รูปแ​ บบ​หลัง​นี้ อาจ​จะ​เกิด​การ​แตก​บริษัท​ลูก ทำ�ให้​ ขนาด​ของ​แต่ละ​บริษัทเ​ล็ก​ลง ทำ�งาน​คล่อง​ตัว​มาก​ขึ้น แต่​ต้อง​สอดคล้อง​กับ​วิสัย​ทัศน์​ของ​บริษัท​แม่ หรือ​ของ​ กลุ่มบ​ ริษัท แนวคิดผ​ ลิตภัณฑ์เ​ดียว​สำ�หรับผ​ ู้​บริโภค​ทุกค​ น (one size fits all) ไม่​สามารถ​ใช้ได้ใ​ น​การ​วาง​ กลยุทธ์​การ​ติด​ตั้ง​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร การ​ที่​จะ​นำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​ใช้​อยู่​ใน​ กลุ่ม​บริษัท​ที่​มี​ขนาด​ใหญ่​มา​ใช้​ใน​หน่วย​ธุรกิจ​ขนาด​เล็กย่อม​จะ​เทอะทะ​ทำ�งาน​ช้า และ​ไม่​สามารถ​ตอบ​สนอง​ กลยุทธ์ การ​ประหยัดจ​ าก​การ​เพิ่มค​ วามเร็วไ​ ด้ ดังน​ ั้น การ​เลือก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่ด​ ีค​ วร​สามารถ​ ขยาย​ขนาด​และ​ลด​ขนาด​ได้ หรือเ​ชื่อม​โยง​หน่วย​ธุรกิจใ​ น​องค์กร​ที่ม​ ีข​ นาด​ที่แ​ ตก​ต่าง​กันใ​ ห้เ​ป็นห​ นึ่งเ​ดียว โดย​ สามารถ​ทำ�​กา​รบู​รณา​การ​ข้อมูล (data integration) ของ​องค์กร​ทุกข​นาด​เข้า​มา​เป็น​ภาพ​ใหญ่​ภาพ​เดียวกัน สามารถ​ส่ง​ต่อ​ข้อมูล​จาก​ระบบ​เล็ก​ไป​ระบบ​ใหญ่​และ​จาก​ระบบ​ใหญ่​ไป​สู่​ระบบ​เล็กไ​ ด้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

15. การ​เชื่อม​ต่อ​กับ​ระบบ​อื่น​อย่าง​เป็นร​ ะบบ

ธ ส

ธ ส

ใน​ยุคข​ อง​พาณิชย์อ​ ิเล็กทรอนิกส์ม​ โี​ อกาส​ทีก่​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​ต้อง​เชื่อม​กับร​ ะบบ​อื่นๆ มาก​ขึน้ รวม​ทัง้ ก​ าร​เชื่อม​ตอ่ ก​ บั ร​ ะบบ​อืน่ ๆ ภายนอก​องค์กร เช่น ธนาคาร​อเิ ล็กทรอนิกส์ (e-banking) การ​ชำ�ระ​ เงินอ​ เิ ล็กทรอนิกส์ (e-payment) การ​ตลาด​อเิ ล็กทรอนิกส์ (e-market place) การ​จดั การ​โซ่อ​ ปุ ทาน การ​บริหาร​ ลูกค้า​สัมพันธ์ เป็นต้น ทั้ง​แบบ​ที่​ทำ�​ธุรกิจ​ทางการ​ค้า​ระหว่าง​หน่วย​ธุรกิจ​กับ​ลูกค้า​ที่​เป็น​ผู้​บริโภค ก็​เรียก​ว่า บี​ทู​ซี (B2C - Business-to-Consumer) หรือ​กรณี​ที่​เป็นการ​ติดต่อ​ระหว่าง​หน่วย​ธุรกิจ​กับห​ น่วย​ธุรกิจ​ก็​เป็น​ แบบ​บี​ทูบี (B2B - Business-to-Business) นอกจาก​ผู้​ใช้​งาน​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์​มัก​จะ​มา​จาก​ภายนอก​ องค์กร​แล้ว ระบบ​นี้​ยัง​ต้อง​ทำ�งาน​แบบ​ไม่มี​วัน​หยุด​ตลอด​วัน​ตลอด​คืน ซึ่ง​การ​ทำ�ให้​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​ทำ�งาน​ใน​ลักษณะ​ดัง​กล่าว ย่อม​เป็น​ไป​ด้วย​ความ​ยุ่ง​ยาก ซับ​ซ้อน ล่าช้า ต้นทุน​สูง ผู้​บริหาร​จึง​ต้อง​มี​ ที่​ปรึกษา​ที่​เชี่ยวชาญ​ใน​การ​ทำ�การ​เชื่อม​ต่อ​ระบบ นอกจาก​ความ​ยุ่ง​ยาก​ใน​การ​เชื่อม​ต่อ​แล้ว ปัญหา​การ​รักษา​ ความ​ปลอดภัยข​ อง​ระบบ​ก็​เป็นเ​รื่อง​ที่​คุกคาม​ระบบ​อยู่​ตลอด ซึ่ง​ช่อง​การ​เชื่อม​ต่อ​ก็​อาจ​เป็นช​ ่อง​ใน​การ​โจมตี​ ของ​แฮกเกอร์ด​ ้วย ทำ�ให้เ​กิดเ​ครื่อง​มือ​ชนิด​หนึ่ง​ขึ้น​มา​คือ กา​รบู​รณา​การ​แอพ​พลิ​เคชั่น​ อง​ค์​กร (Enterprise Application Integration - EAI) ซึ่งช​ ่วย​เชื่อม​โยง​ข้อมูล​จาก​รูป​แบบ​ของ​ระบบ​หนึ่ง​ไป​ยัง​อีก​ระบบ​หนึ่ง เพื่อ​ ลด​ความ​ซับ​ซ้อน​และ​เพิ่ม​ความ​ปลอดภัย​ใน​การ​เข้า​ถึง​ข้อมูล​ใน​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-80

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

16. ภาระ​ของ​ทีม​งาน​ติด​ตั้ง​ระบบ

ธ ส

องค์กร​ส่วน​มาก​มัก​จะ​คิด​ว่า​โครงการ​ติด​ตั้ง​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​จบ​ลง​เมื่อระบบ​ สามารถ​ทำ�งาน​ได้ แต่​ที่​จริง​แล้ว หลัง​จาก​ที่​ระบบ​ทำ�งาน​ได้​แล้ว สิ่ง​ที่​ตาม​มา​คือ การ​สร้าง​ผล​ตอบแทน​จาก​ ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เช่น การ​ปรับปรุงร​ ะบบ​งาน​ให้ร​ าบ​รนื่ การ​ออกแบบ​รายงาน​ตา่ งๆ ทีส่ ามารถ ​ เรียก​ข้อมูล​ที่​ผู้​บริหาร​ทุก​ระดับ​ต้องการ​ใช้​เพื่อ​การ​วางแผน หรือ​วาง​กลยุทธ์ ซึ่ง​อาจ​เป็น​ไป​เช่น​นี้​ตลอด 1 ปี หรือ​มากกว่า ดัง​นั้น หาก​มิได้​จัดสรร​งบ​ประมาณ​เพื่อ​การ​ดำ�เนิน​งาน ก็​จะ​ทำ�ให้​เกิด​ข้อ​จำ�กัด​ใน​การ​สร้าง ​ผล​ตอบแทน​จาก​ระบบ​ไป​อย่าง​น่า​เสียดาย

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 7.3.1 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 7.3.1 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 7 ตอน​ที่ 7.3 เรื่อง​ที่ 7.3.1

ธ ส

ธ ส

เรือ่ ง​ที่ 7.3.2 ข้อค​ วร​ค�ำ นึงใ​ น​การนำ�ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้

ธ ส

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​ระบบ​งาน​ที่​ใช้​งาน​ทั่ว​ทั้ง​องค์กร เมื่อ​จะ​นำ�​มา​ใช้​ย่อม​เกิด​แรง เ​สียด​ทาน​ทีอ่​ าจ​มา​จาก​รอบ​ทิศทาง หาก​ผูบ้​ ริหาร​ได้ศ​ ึกษา​ข้อค​ วร​คำ�นึงซ​ ึ่งส​ รุปม​ า​จาก​ประสบการณ์ค​ วาม​สำ�เร็จ และ​ความ​ล้ม​เหลว​ของ​โครงการ​ติด​ตั้ง​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​แล้ว ย่อม​ช่วย​ให้​สามารถ​วาง​ กลยุทธ์ไ​ ด้อ​ ย่าง​รอบ​ด้าน และ​เพิ่มโ​ อกาส​ของ​ความ​สำ�เร็จใ​ น​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ง​ าน​ได้

ธ ส

1. โครงการ​ติด​ตั้ง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มี​อัตรา​ความ​สำ�เร็จ​ต่ำ�

ธ ส

แม้ว่าจ​ ะ​ไม่มีต​ ัวเลข​เป็นท​ างการ แต่เ​ป็นท​ ี่ไ​ ด้ยินก​ ันโ​ ดย​ทั่วไป​ว่าการ​นำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ มา​ใช้ใ​ น​องค์กร​มักจ​ ะ​พบ​ปัญหา​อุปสรรค​มาก และ​การ​ประเมินผ​ ล​ตาม​วัตถุประสงค์ข​ อง​โครงการ​มักจ​ ะ​สับสน บาง​ครั้งผ​ ล​การ​ประเมินก​ ็ด​ ีเ​ยี่ยม​ใน​ช่วง​เริ่มต​ ้น แต่ต​ ่อม​ า​โครงการ​กลับล​ ้มเ​หลว ซึ่งอ​ าจ​เป็นเ​พราะ​สาเหตุต​ ่างๆ ดัง​ต่อ​ไป​นี้ 1.1 โครงการ​ไม่ไ​ ด้ร​ บั ก​ าร​สนับสนุนอ​ ย่าง​เต็มท​ จ​ี่ าก​ผบ​ู้ ริหาร​ระดับส​ งู สุดข​ อง​องค์กร โครงการ​ติดต​ ั้ง​ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็นโ​ ครงการ​ที่เ​กี่ยว​พันก​ ับท​ ุกห​ น่วย​งาน ซึ่งห​ น่วย​งาน​ต่างๆ เหล่าน​ ั้นเป็นห​ น่วย​ งาน​ระดับเ​ดียวกัน หาก​ผู้บ​ ริหาร​สูงสุดไ​ ม่​ให้​ความ​สำ�คัญ ไม่​ได้​เป็น​ประธาน​คณะ​ทำ�งาน ย่อม​ทำ�ให้​หน่วย​งาน​ ต่างๆ ไม่​ให้ค​ วาม​สำ�คัญ ไม่​จัดสรร​ทรัพยากร​ให้​กับ​โครงการ เมื่อ​มี​ข้อ​ขัด​แย้ง​ก็​ไม่​สามารถ​ยุติ​เอง​ได้ และ​เมื่อ​ จะ​ต้อง​มี​การ​ปรับ​กระบวนการ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ก็​จะ​ไม่​สามารถ​ตัดสิน​ใจ​ได้ ซึ่ง​จะ​เป็น​ปัญหา​ที่​จะ​เกิด​ใน​โครงการ​ ติด​ตั้ง​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ทุก​โครงการ ดัง​นั้น การ​ไม่​ได้​รับ​การ​สนับสนุน​อย่าง​จาก​ผู้​บริหาร​ สูงสุด​จึงเ​ป็น​สาเหตุ​ใหญ่ข​ อง​ความ​ล้ม​เหลว

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-81

1.2 การ​คัด​เลือก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​ไม่​เหมาะ​สม​กับ​องค์กร เนื่องจาก​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​แต่ละ​ตัว​นั้น​มี​จุด​เด่น​ต่าง​กัน และ​ไม่​ปรากฏ​ว่า​มี​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กรระบบ​ใด​ที่​มี​ ความ​เชี่ยวชาญ​ครอบคลุม​กระบวนการ​ธุรกิจ​ทุก​ประเภท ดัง​นั้น การ​เลือก​ซื้อ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ โดย​การ​ดู​แบบ​ผิว​เผิน โดย​เข้าใจ​ว่าการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​ยาค​รอบ​จักรวาล จึง​เป็น​สาเหตุ​หลัก​ สาเหตุ​หนึ่ง​ของ​ความ​ล้ม​เหลว 1.3 ผู้​บริหาร​มิได้​กำ�หนด​วัตถุประสงค์​ของ​โครงการ​อย่าง​ชัดเจน การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ สามารถ​ใช้​เพื่อห​ ลาย​วัตถุประสงค์ เช่น เพื่อ​แก้​ปัญหา​คลัง​สินค้า​ที่​ล้น​สต๊อก เพื่อ​ลด​ความ​ซ้ำ�​ซ้อน​ของ​เอกสาร เพื่อ​เพิ่ม​ประสิทธิภาพ​การ​ผลิต เพื่อ​การ​จัด​ซื้อ​ที่​มี​ประสิทธิภาพ เพื่อ​บริหาร​ลูก​หนี้ เพื่อ​การ​ทำ�งาน​ที่​รวดเร็ว ​ทัน​สมัย เป็นต้น ซึ่ง​ผู้​บริหาร​จะ​ต้อง​กำ�หนด​วัตถุประสงค์​อย่าง​ชัดเจน​ให้​แก่​คณะ​ทำ�งาน​โครงการ มิ​ฉะนั้น คณะ​ทำ�งาน​จะ​ไม่ส​ ามารถ​จัดล​ ำ�ดับค​ วาม​สำ�คัญไ​ ด้ว​ ่าส​ ิ่งใ​ ด​ควร​ทำ�​ก่อน​หลัง สิ่งใ​ ด​ไม่ค​ วร​ใช้เ​วลา​และ​ทรัพยากร​ ไป​ใน​ระหว่าง​การ​ติดต​ ั้งร​ ะบบ อนึ่ง หาก​กำ�หนด​วัตถุประสงค์อ​ ย่าง​กว้าง​หรือเ​ลื่อนลอย โอกาส​ทีโ่​ ครงการ​จะ​ล้ม​ เหลว​กย็​ ิ่งม​ าก​ขึ้น โดย​ทั่วไป ผู้บ​ ริหาร​จะ​ต้อง​กำ�หนด​นโยบาย​ว่า ผูบ้​ ริหาร​จะ​ให้ค​ วาม​สำ�คัญก​ ับเ​รื่อง​ใด​มากกว่า​ กัน​ระหว่าง​งบ​ประมาณ​ใน​โครงการ ระยะ​เวลา​กำ�หนด​เสร็จ​ของ​โครงการ ความ​สมบูรณ์​แบบ​ของ​โครงการ มิ​ฉะนั้น​โครงการ​จะ​เดิน​ไป​ได้​ด้วย​ความ​ยาก​ลำ�บาก นำ�​มา​ซึ่ง​การ​เสีย​โอกาส​และ​ประสิทธิภาพ​ของ​คณะ​ทำ�งาน 1.4 คณะ​ทำ�งาน​ไม่​ยึด​เอา​ขอบเขต​ของ​ระบบ​และ​แผนการ​ดำ�เนิน​งาน​อย่าง​เคร่งครัด เนื่องจาก​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เกี่ยวข้อง​กับ​ทุก​ฝ่าย ซึ่งแ​ ต่ละ​ฝ่าย​มี​ภารกิจ​หน้าที่​ประจำ�​วัน​อยู่​เต็ม​มือ และ​ยัง​ต้อง​ จัดสรร​เวลา​มา​ร่วม​งาน​ใน​โครงการ​ด้วย หาก​คณะ​ทำ�งาน​ไม่ถ​ ือเ​อา​แผนการ​ดำ�เนินง​ าน​อย่าง​เคร่งครัด จะ​ทำ�ให้​ ปฏิทินก​ าร​ทำ�งาน​แปรปรวน​อย่าง​หนักใ​ น​วง​กว้าง นำ�​มา​ซึ่งค​ วาม​เหนื่อย​ล้าข​ อง​ทุกฝ​ ่าย ใน​ที่สุดก​ จ็​ ะ​ไม่ไ​ ด้ร​ ับก​ าร​ สนับสนุน ไม่เ​ชื่อม​ ั่นใ​ น​แผน​งาน​ของ​โครงการ จะ​ยิ่งท​ ำ�ให้โ​ ครงการ​ยืดเ​ยื้ออ​ อก​ไป ใน​ยุคท​ ีก่​ าร​แข่งขันส​ ูง สภาพ​ แวดล้อม​ทาง​ธุรกิจ​เปลี่ยนแปลง​เร็ว องค์กร​ย่อม​ต้อง​ปรับ​เปลี่ยน​กระบวนการ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​อย่าง​ต่อ​เนื่อง ยิ่ง​ ทำ�ให้ค​ วาม​ล่าช้าข​ อง​โครงการ​ส่งผ​ ลก​ระ​ทบ​ต่อค​ วาม​สมบูรณ์ข​ อง​โครงการ​ทีว่​ าง​กรอบ​ไว้แ​ ต่แ​ รก ยิ่งเ​พิ่มโ​ อกาส​ ที่​โครงการ​จะ​ล้มเ​หลว​ได้ รวม​ทั้งค​ ่า​ใช้​จ่าย​ที่บ​ าน​ปลาย​ใน​อัตรา​เร่ง กล่าว​คือ โครงการ​ที่​ควร​จะ​เสร็จ​ภายใน 3 เดือน หาก​ยืดเ​วลา​ออก​ไป​เป็น 6 เดือน ก็​จะ​มี​ค่า​ใช้​จ่าย​สูง​กว่า​เดิม​มากกว่า 100 เปอร์เซนต์ และ​หาก​โครงการ​ มีร​ ะยะ​เวลา​เกิน 1 รอบ​ปีงบประมาณ จะ​ยิ่งไ​ ด้ร​ ับผ​ ลก​ระ​ทบ​จาก​แผนการ​ดำ�เนินง​ าน​ของ​ปีถ​ ัดไ​ ป​มาก​ยิ่งข​ ึ้น ซึ่ง​ ผู้​บริหาร​จะ​ต้อง​กำ�หนด​งบ​ประมาณ​สำ�รอง​ใน​สัดส่วน​ที่​มาก​เป็น​ทวีคูณ และ​โครงการ​ที่​มีอายุ​มากกว่า 2 รอบ​ ปีงบประมาณ อาจ​เป็นโ​ ครงการ​ที่ไ​ ม่มีโ​ อกาส​ประสบ​ความ​สำ�เร็จไ​ ป​ตลอด​กาล​จน​ต้อง​พิจารณา​ตั้งง​ บ​ประมาณ​ โครงการ​ทั้งหมด​เสีย​ใหม่ 1.5 ความ​ไม่ค​ นุ้ ก​ บั ก​ าร​ท�ำ งาน​ทซ​ี่ บั ซ​ อ้ น​ใน​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เนื่องจาก “คน” คือ​ กุญแจ​หลักข​ อง​ความ​ส�ำ เร็จข​ อง​โครงการ และ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็นร​ ะบบ​ทซี​่ บั ซ​ อ้ น เข้าใจ​ยาก ผูใ​้ ช้​ ย่อม​ไม่ค​ ่อย​คุ้นเ​คย​กับร​ ะบบ​เช่นน​ ี้ม​ า​ก่อน ทำ�ให้เ​กิดค​ วาม​ยาก​ลำ�บาก​ใน​การ​เรียน​รู้ ยิ่งก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​มีข​ นาด​ใหญ่ม​ าก​เท่า​ไหร่ ความ​ซับ​ซ้อน​ก็​มาก​ขึ้น​เท่านั้น โอกาส​ที่​จะ​ล้ม​เหลว​ก็​มาก​ขึ้น​เป็น​เงา​ตาม​ตัว

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-82

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

1.6 การ​ต่อ​ต้าน​การ​เปลี่ยนแปลง​ของ​ผู้​ใช้ ซึ่ง​เป็น​เรื่อง​ปกติ​ที่​พบ​เสมอ​เมื่อ​องค์กร​ต้องการ​เปลี่ยนแปลง​ใน​เรื่อง​ใดๆ ก็ตาม โดย​เฉพาะ​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​เพื่อ​ปรับ​เปลี่ยน​กระบวนการ​ ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ทั้ง​ระบบ ยิ่งส​ ร้าง​ความ​อึดอัด​ให้​แก่ผ​ ู้ใ​ ช้​มาก​ขึ้น 1.7 การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​ระบบ​ที่​เกี่ยว​พัน​กับ​ทุก​ฝ่าย​และ​อยู่​ตรง​กลาง​ระหว่าง​ความ ข​ ดั แ​ ย้งข​ อง​ฝา่ ย​ตา่ งๆ เป็นการ​ยาก​ทจี​่ ะ​ให้ร​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตอบ​สนอง​ความ​ตอ้ งการ​ของ​ฝา่ ย​ ใด​ฝ่าย​หนึ่งม​ ากกว่า ขณะ​ทีล่​ ด​ความ​สำ�คัญข​ อง​ฝ่าย​ อื่นๆ ทีเ่​กี่ยวข้อง และ​เป็นการ​ยาก​ทีจ่​ ะ​ให้ท​ ุกฝ​ ่าย​เกิดค​ วาม​ พอ​ใจ​พร้อมๆ กัน เนื่องจาก​โดย​ธรรมชาติแ​ ล้ว ฝ่าย​ต่างๆ ใน​องค์กร​จะ​มกี​ าร​ถ่วง​ดุลก​ ัน ตัวอย่าง​เช่น ธรรมชาติ​ ของ​ฝา่ ย​ขาย​คอื การ​รกุ ไ​ ป​ขา้ ง​หน้า และ​องค์กร​สว่ น​มาก​มกั จ​ ะ​ทุม่ ท​ รัพยากร​กบั ฝ​ า่ ย​ขาย​เพือ่ ใ​ ห้ไ​ ด้ม​ า​ซึง่ ย​ อด​ขาย​ ทีม​่ าก​และ​เร็ว แต่ฝ​ า่ ย​บญ ั ชีม​ กั จ​ ะ​เป็นฝ​ า่ ย​ตรวจ​สอบ​การ​ใช้ท​ รัพยากร​และ​มข​ี ัน้ ต​ อน​กระบวนการ​ทรี​่ ดั กุม ไม่อ​ าจ​ ปล่อย​ให้​เร็ว​ได้​ดั่ง​ใจ​ของ​ฝ่าย​ขาย ฝ่าย​ขาย​อาจ​เปรียบ​ได้​กับ​คัน​เร่ง แต่​ฝ่าย​บัญชี​เปรียบ​ได้​กับค​ ัน​เบรก ซึ่ง​ทำ�​ หน้าที่ต​ รง​ข้าม​กัน หาก​องค์กร​ใด​มแี​ ต่ค​ ันเ​ร่ง หรือม​ แี​ ต่ค​ ันเ​บรก ก็ม​ อิ​ าจ​ขับเ​คลื่อน​ไป​สูเ้​ป้าห​ มาย​ได้อ​ ย่าง​ยั่งยืน เมื่อ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ถูก​นำ�​มา​ใช้​ใน​ระหว่าง​หน่วย​งาน​ที่​ขัด​แย้ง​กัน​โดย​ธรรมชาติ จึง​เป็น​ความ​ ยาก​ทจี​่ ะ​ท�ำ ให้ท​ กุ ฝ​ า่ ย​พอใจ ซึง่ ผ​ บู​้ ริหาร​ระดับส​ งู แ​ ละ​ผบู​้ ริหาร​โครงการ​ตดิ ต​ ัง้ ร​ ะบบ​จะ​ตอ้ ง​เข้าใจ​ประเด็นน​ ี้ และ​ กำ�หนด​กรอบ​ความ​ต้องการ​และ​ระดับ​ความ​พึง​พอใจ​ที่​จะ​ได้​รับ​จาก​การ​ติด​ตั้ง​ระบบ การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร มิฉ​ ะนัน้ จ​ ะ​สบั สน​กบั ข​ อ้ ย​ ดั แ​ ย้งท​ ถี​่ กู ห​ ยิบยก​ขึน้ ม​ า​ใน​ระหว่าง​การ​ตดิ ต​ ัง้ ซึง่ จ​ ะ​ท�ำ ให้โ​ ครงการ​ลม้ เ​หลว​ได้ 1.8 คณะ​ทำ�งาน​ไม่มี​ประสบการณ์ใ​ น​ธุรกิจ​นั้น​มา​ก่อน คณะ​ทำ�งาน​ใน​ที่​นี้​หมาย​ถึง ผู้​ให้​บริการ ผู้ใช้ รวม​ทั้ง​ที่​ปรึกษา​ด้วย หาก​คณะ​ทำ�งาน​ไม่​เคย​ผ่าน​การ​ติด​ตั้ง​ระบบ​ใน​ลักษณะ​ที่​เหมือน​หรือ​คล้าย​กับ​ธุรกิจ​ นั้นม​ า​ก่อน ก็​จะ​ไม่​สามารถ​วาง​กรอบ​การ​ติด​ตั้งร​ ะบบ​ได้​อย่าง​รอบคอบ เมื่อ​เจอ​ปัญหา​ที่​ไม่​คาด​คิด​อาจ​จะ​แก้​ ปัญหา​อย่าง​ไม่ถ​ ูกต​ ้อง และ​กว่าจ​ ะ​ทราบ​ว่าเ​ดินผ​ ิดท​ าง ก็ใ​ ช้เ​วลา​และ​แรงงาน​ไป​มาก​แล้ว และ​ด้วย​ข้อจ​ ำ�กัดด​ ้าน​ งบ​ประมาณ​จึงม​ ักจ​ ะ​พยายาม​เดินต​ ่อไ​ ป​ทาง​เดิม ทำ�ให้ป​ ัญหา​ยังไ​ ม่ถ​ ูกห​ ยิบยก​ขึ้นม​ า​แก้ไข​อย่าง​ถึงแ​ ก่น แล้วน​ ำ�​ ไป​สู่​ความ​ล้ม​เหลว​ของ​โครงการ หรือ​นำ�​ไป​สู่ก​ าร​ใช้​งาน​ไม่​ได้​เต็มป​ ระสิทธิภาพ​ตาม​วัตถุประสงค์​ที่​ตั้ง​ไว้ 1.9 งบ​ประมาณ​ที่​ไม่​เหมาะ​สม ผู้​บริหาร​หรือ​ฝ่าย​จัด​ซื้อ​มัก​จะ​ไม่​สามารถ​ประเมิน​ผล​ตอบแทน​ของ​ การ​ลงทุน (Return of Investment-ROI) ใน​โครงการการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กรทำ�ให้​ไม่ส​ ามารถ​กำ�หนด​ งบ​ลงทุนท​ ี่เ​หมาะ​สม​ของ​โครงการ​ได้ จึงม​ ักจ​ ะ​พยายาม​ใช้ก​ าร​ต่อร​ อง​ราคา​ให้ต​ ่ำ�​ที่สุด ซึ่งว​ ิธีก​ าร​ตัดสินใ​ จ​สั่งซ​ ื้อ​ ระบบ​โดย​ดท​ู ผี​่ เู​้ สนอ​ราคา​ทใี​่ ห้ร​ าคา​ต่�​ำ ทีส่ ดุ โดย​ไม่ใ​ ห้ค​ วาม​ส�ำ คัญก​ บั ป​ ระสบการณ์ค​ วาม​ส�ำ เร็จข​ อง​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร ราย​นั้น​มัก​จะ​ทำ�ให้​ไม่​ได้​ระบบการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​เหมาะ​สม​ไป​โดย​ปริยาย ซึ่ง​เป็น​ผล​ต่อ​เนื่อง​สู่​ความ​ล้ม​เหลว และ​แม้ว่า​จะ​ได้​จัด​ซื้อ​ระบบการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​เหมาะ​สม แต่​การ​ที่​ให้​งบ​ประมาณ​ที่​ไม่​เพียง​พอ ทำ�ให้​ทีม​งาน​ทำ�งาน​ด้วย​ความ​เหนื่อย​ยาก จึง​เกิด​ความ​ท้อถอย ก็​เป็น​ สาเหตุ​หนึ่งข​ อง​ความ​ล้ม​เหลว​เช่น​กัน 1.10 ผู้​ขาย​มุ่ง​ปิด​การ​ขาย​จน​ไม่​สนใจ​เนื้อ​งาน​ของ​องค์กร ผู้​ขาย​เหล่า​นี้​มัก​จะ​พยายาม​ตอบ​รับ​ทุก​ เงื่อนไข​ที่​ผู้​ซื้อ​ต่อ​รอง​เพื่อ​ให้​ได้​งาน โดย​หวัง​ที่​จะ​ไป​ขอ​เพิ่ม​งบ​ใน​ภาย​หลัง เมื่อ​ถึง​ขั้น​ตอน​การ​ติด​ตั้ง จึง​มัก​ เกิดป​ ัญหา และ​เมื่อไ​ ม่ส​ ามารถ​ขอ​เพิ่มง​ บ​ได้ ก็จ​ ำ�​ใจ​ทิ้งง​ าน​ไป แต่ก​ ็ม​ ีผ​ ู้ข​ าย​บาง​ราย​ที่ต​ ั้งใจ​จะ​ไม่ท​ ำ�​กระบวนการ​ ติดต​ ั้งร​ ะบบ​ให้ส​ ำ�เร็จแ​ ต่ต​ ้น ทำ�การ​เสนอ​ราคา​ใน​ส่วน​บริการ​ติดต​ ั้งร​ ะบบ​ด้วย​มูลค่าต​ ่ำ� เมื่อเ​กิดป​ ัญหา​ก็ป​ ล่อย​ ให้ผ​ ู้​ซื้อ​ต้อง​ไป​สรรหา​ผู้ใ​ ห้​บริการ​ราย​อื่นม​ า​เสนอ​บริการ​ติด​ตั้ง​ระบบ​แทน​ตนเอง​ต่อ​ไป

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-83

1.11 การ​แก้ไข​ระบบ​มาก​เกิน​ไป เนื่องจาก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​ระบบ​ที่​ซับ​ซ้อน หาก​ ได้​รับ​การ​ออกแบบ​มา​ใน​ทิศทาง​ใด​แล้ว การ​จะ​แก้ไข​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ให้​แตก​ต่าง​จาก​เดิม ย่อม​ เป็นการ​ยาก หาก​พยายาม​แก้ไข​มาก​จน​เกิน​ไป ระบบ​ก็​จะ​ไม่​เสถียร​ทำ�ให้​ไม่​สามารถ​ใช้​งาน​ได้

ธ ส

2. การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กับ​การ​รื้อ​ปรับ​กระบวนการ​ธุรกิจ

ธ ส

โปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ส่วน​มาก​พยายาม​รวบรวม​ความ​สามารถ​ของ​โปรแกรม​ที่​มี​ แนว​ปฏิบัติ​ที่​เป็น​เลิศ (the best practice) และ​พัฒนา​ซอฟต์แวร์​ใน​ลักษณะ​ที่​เชื่อ​ว่า​จะ​เป็น​ระบบ​ระเบียบ​ที​่ ใช้เ​ป็นม​ าตรฐาน​กลาง​ได้ ขณะ​ที่ผ​ ู้บ​ ริหาร​องค์กร​ส่วน​มาก​กเ็​ชื่อว​ ่าโ​ ปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ทีไ่​ ด้​ ผ่าน​การ​ใช้ง​ าน​และ​พสิ จู น์แ​ ล้วจ​ าก​หลาก​หลาย​องค์กร จะ​สามารถ​เป็นม​ าตรฐาน​ทสี​่ ามารถ​น�​ำ มา​ใช้เ​ป็นเครือ่ งมือ​ สำ�คัญใ​ น​การ​ยก​ระดับม​ าตรฐาน​ของ​องค์กร​ให้เ​ทียบ​ได้ก​ บั ก​ จิ ก​ าร​ใหญ่ๆ จึงม​ กั ต​ อ้ งการ​น�​ำ การ​วางแผน ทรัพยากร​ องค์กร​มา​เป็น​เครื่อง​มือ​หนึ่ง​ใน​การ​ปรับ​เปลี่ยน​กระบวนการ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ (business process) ซึ่ง​เท่ากับ​ เป็นการ​รื้อ​ปรับ​กระบวนการ​ธุรกิจ หรือบ​ ี​พี​อาร์ (Business Process Reengineering - BPR) โดย​ปริยาย​ นั่นเอง การ​ใช้​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จึง​มัก​จะ​สร้าง​ความ​กดดัน​ที่​พนักงาน​ทุก​ฝ่าย​ต้อง​อดทน​อย่าง​ มาก​ต่อก​ าร​ทำ�ความ​เข้าใจ​และ​การ​สื่อสาร​ระหว่าง​กันต​ าม​กระบวนการ​ใหม่ ดังน​ ั้น ผู้บ​ ริหาร​องค์กร​ควร​เตรียม​ ความ​พร้อม​ของ​พนักงาน​ใน​การ​ลง​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​ไม่​แตก​ต่าง​จาก​การ​ทำ�การ​รื้อ​ปรับ​ กระบวนการ​ธุรกิจ โดย​เฉพาะ​ความ​พร้อมใจ​ใน​การ​ให้​ความ​ร่วม​มือ​ใน​การนำ�​มา​ใช้ จึง​จะ​ลด​โอกาส​ความ​ล้ม​ เหลว​ใน​โครงการ​ติด​ตั้งร​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

3. การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กับ​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​ผล​ประกอบ​การ​ระยะ​สั้น

ธ ส

คน​ส่วน​มาก​ไม่ช​ อบ​การ​เปลี่ยนแปลง​เพราะ​การ​เปลี่ยนแปลง​ไม่ใช่​เรื่อง​รื่นรมย์ ดัง​นั้น เมื่อ​นำ�​ระบบ​ ใหม่​เข้า​มา​ใช้​งาน​ย่อม​พบ​กับ​อุปสรรค รวม​ทั้ง​ความ​ไม่​คุ้น​เคย ซึ่ง​จะ​ทำ�ให้​ประสิทธิภาพ​ของ​พนักงาน​ตกลง​ใน​ ช่วง​ต้น ยิ่งถ​ ้าโ​ ครงการ​ติดต​ ั้งก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ล่าช้าไ​ ป​นาน​เท่าไ​ หร่ ระยะ​เวลา​ของ​ประสิทธิภาพ​ที​่ ลด​ลง​กจ​็ ะ​ยดื ย​ าว​ตาม​ไป​ดว้ ย บริษทั ท​ ปี​่ รึกษา​ดล​ี อย​ต์ (Deloitte Consultant) ได้เ​คย​สอบถาม​บริษทั ร​ ะดับโ​ ลก​ จาก Fortune 500 จำ�นวน 64 กิจการ ปรากฏ​ว่า 1 ใน 4 ยอมรับ​ว่าได้​รับ​ผลก​ระ​ทบ​จาก​การ​ตกต่ำ�​ลง​ของ​ผล​ งานการ​ดำ�เนิน​ธุรกิจห​ ลัง​จาก​เริ่มใ​ ช้​จริง และ​ไม่​ต้อง​สงสัยเ​ลย​ว่า​อาจ​จะ​มีก​ ิจการ​มากกว่า​นี้ท​ ี่ไ​ ด้​ประสบ​ผล​เช่น​ เดียวกัน จาก​การ​สำ�รวจ​พบ​ว่าเ​หตุผล​หนึ่งท​ ี่​คล้ายๆ กัน​ที่​ทำ�ให้​ผล​งาน​ตกต่ำ�​คือ งาน​ต่างๆ ดู​ผิดแผก​ไป​จาก​ที่​ เคย​ทำ�​กันม​ า ความ​ไม่ค​ ุ้นเ​คย​ทำ�ให้พ​ นักงาน​ไม่ส​ ามารถ​ขับเ​คลื่อน​ธุรกิจไ​ ด้เ​ต็มท​ ี่ และ​ทำ�ให้ธ​ ุรกิจส​ ะดุดไ​ ด้ อันท​ ี​่ จริงแ​ ล้ว หาก​การ​น�ำ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กรมาใช้แ​ ล้วไ​ ม่ก​ อ่ ใ​ ห้เ​กิดก​ าร​ปรับเ​ปลีย่ น​วธิ ก​ี าร​ด�ำ เนินธ​ รุ กิจย​ ก​ ระดับม​ าตรฐาน​การ​ทำ�งาน ก็แ​ ทบ​หา​ประโยชน์อ​ ะไร​ไม่ไ​ ด้จ​ ากการ​ใช้ระบบการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เพราะ​ นั่น​คือ เหตุผล​สำ�คัญ​ข้อ​หนึ่งท​ ี่​ผู้บ​ ริหาร​ตัดสิน​นำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​เป็น​หนึ่ง​ใน​เครื่อง​มือ​ใน​ การ​พัฒนา​องค์กร จึงต​ ้อง​ประเมิน​ว่า​สามารถ​ยอมรับ​ผลก​ระ​ทบ​ได้​ใน​ระดับ​ใด

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-84

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

4. การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็นเ​พียง​ระบบ​ประมวล​ผล​รายการ​ธุรกรรม

ธ ส

ระบบ​ประมวล​ผล​รายการ​ธุรกรรม หรือ​ที​พี​เอส (Transaction Processing System - TPS) คือ​ ระบบ​ซอฟต์แวร์​ที่​ใช้​ใน​กระบวนการ​บันทึก​และ​ประมวล​ผล​รายการ​ทาง​ธุรกิจ ซึ่ง​พนักงาน​ใน​ระดับ​ปฏิบัติ​ การ​เป็น​ผู้​ใช้​งาน และ​ผู้​บริหาร​ระดับ​กลาง​จะ​นำ�​ข้อมูล​ไป​ใช้​ใน​การ​ควบคุม วางแผน และ​ตรวจ​สอบ ระบบ​ ประมวลผล​รายการ​ธุรกรรม​ไม่ถ​ ือเ​ป็นร​ ะบบ​ที่ช​ ่วย​ใน​การ​วาง​กลยุทธ์โ​ ดยตรง แต่ค​ น​ส่วน​มาก​มักเ​ข้าใจ​ว่าการ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​คือ​ทั้งหมด​ของ​ระบบ​ซอฟต์แวร์​สำ�หรับ​การ​บริหารธุรกิจ และ​เข้าใจ​ว่า​เมื่อ​ซื้อ​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้แ​ ล้วจ​ ะ​สามารถ​เรียก​หา​สารสนเทศ​ทั้งหมด​ได้จ​ าก​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​ได้ ซึ่ง​ไม่​เป็น​ความ​จริง เพราะ​ถึงแ​ ม้ว่า​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร จะ​เป็น​ศูนย์กลาง​ข้อมูล​ของ​ทั่ว​ ทั้ง​องค์กร แต่​ข้อมูล (data) ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ยัง​ต้อง​ผ่าน​กระบวน​เพิ่ม​เติม​ด้วย​โปรแกรม​ อื่น เพื่อ​แปลง​ข้อมูล​ให้​กลาย​เป็น​สารสนเทศ (information) ที่​มี​ความ​หมาย​มาก​ขึ้น นอกจาก​นี้ ใน​การ​วาง​ กลยุทธ์​ยัง​ต้อง​อาศัย​ข้อมูล​อื่น​จาก​ภายนอก​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ทั้ง​ที่​เป็น​ตัวเลข​และ​ไม่​เป็น​ ตัวเลข ทั้ง​ข้อมูล​ภายใน​องค์กร​และ​นอก​องค์กร ข้อมูล​เหล่า​นี้​อาจ​อยู่​ใน​ระบบ​จัดการ​โซ่​อุปทาน การ​บริหาร​ ลูกค้า​สัมพันธ์ การ​บริหาร​คลัง​สินค้า ส่วน​โปรแกรม​ที่​จะ​ช่วย​แปลง​ข้อมูล​มา​เป็น​สารสนเทศ​และ​สนับสนุน​ การ​ตัด​สินใจ ได้แก่ ธุรกิจ​อัจฉริยะ (Business Intelligence - BI) การ​จัดการ​ประสิทธิภาพ​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ หรือ​บี​พี​เอ็ม (Business Performance Management - BPM) บาลานซ์ส​ กอร์​การ์ด หรือ​บี​เอส​ซี (Balance Score Card - BSC) เป็นต้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

5. ไม่มี​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัวใ​ ด​ที่​จะ​ตอบ​สนอง​ความ​ต้องการ​ใน​ทุก​ธุรกิจ​ได้

แม้ว่าแ​ นวคิดใ​ น​การ​พัฒนา​ซอฟต์แวร์ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​เป็นการ​รวบรวม​แนว​ปฏิบัตทิ​ ี​่ ดี​เลิศ​มา​ใช้​ใน​การ​พัฒนา​เพื่อใ​ ห้ไ​ ด้​ระบบ​ที่​มี​มาตรฐาน สามารถ​ใช้ได้​กับ​องค์กร​ที่​หลาก​หลาย แต่​ใน​ความ​เป็น​ จริง​นั้น เป็นการ​ยาก​ที่​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แต่ละ​ตัว​จะ​สามารถ​รวบรวม​ความ​สามารถ​ที่​ดี​ที่สุด​เอา​ ไว้​ใน​ตัว​เดียวกัน เพราะ​มี​ปัจจัย​หลาย​อย่าง​ที่​กระทบ​ต่อ​กระบวนการ​พัฒนา​ซอฟต์แวร์ ได้แก่ องค์กร​ต้นแบบ​ ของ​การ​พัฒนา ประสบการณ์​ของ​นัก​วิเคราะห์​ธุรกิจ ความ​สามารถ​ของ​นัก​วิเคราะห์ร​ ะบบ ความ​สามารถ​ของ​ ทีมพ​ ัฒนา​โปรแกรม โดย​เฉพาะ​นโยบาย​ของ​บริษัทผ​ ู้พ​ ัฒนา การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัวน​ ั้น ดังน​ ั้น จึงไ​ ม่​ ปรากฏ​ว่าม​ ีก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัวไ​ หน​ที่เ​ป็นการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​อุดมคติท​ ี่ส​ ามารถ​นำ�​ ไป​ใช้ได้ก​ ับอ​ งค์กร​ทุกร​ ูปแ​ บบ ตาม​แนวคิดข​ อง​ผลิตภัณฑ์เ​ดียว​เหมาะ​กับผ​ ู้ใ​ ช้ท​ ุกร​ าย (one size fits all) จึงไ​ ม่​ สามารถ​ใช้ได้ก​ ับ​การ​เลือก​ใช้​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ได้ ดัง​นั้น การ​จัดซ​ ื้อ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​มา​ใช้​นั้น ผู้​บริหาร​พึง​พิจารณา​ให้​รอบ​ด้าน โดย​ดู​ผล​ความ​สำ�เร็จ​ใน​อดีต​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​แต่ละ​ตัว ประกอบ​กับ​การ​ศึกษา​ข้อมูล​จาก​ผู้​ขาย

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

6. ขนาด​ของ​องค์กร​ใน​มุม​มอง​ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

7-85

ธ ส

คน​สว่ น​มาก​มกั จ​ ะ​ใช้ย​ อด​ขาย​หรือจ​ �ำ นวน​พนักงาน​เป็นต​ วั ช​ วี​้ ดั ข​ นาด​ของ​องค์กร และ​เข้าใจ​วา่ อ​ งค์กร​ท​ี่ มีย​ อด​ขาย​สูงม​ ักจ​ ะ​ต้อง​ใช้ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ขนาด​ใหญ่ท​ ีซ่​ ับซ​ ้อน แต่ป​ ัจจัยท​ มี่​ ผี​ ล​ต่อค​ วาม​ซับซ​ ้อน​ ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มิใช่​ยอด​ขาย แต่​ขึ้น​กับล​ ักษณะ​ของ​ธุรกิจ กระบวนการ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ (business process) จำ�นวน​ผู้ใ​ ช้ท​ ี่เ​กี่ยวข้อง​กับร​ ะบบ ใน​ความ​เป็น​จริง​แล้ว จะ​พบ​ว่าการ​บริหาร​กิจการ​ขนาด​ กลาง​มักจ​ ะ​ซับซ​ ้อน​หรือย​ ุ่งเหยิงก​ ว่าอ​ งค์กร​ขนาด​ใหญ่ เนื่องจาก​องค์กร​ขนาด​กลาง​มักจ​ ะ​เน้นค​ วาม​ยืดหยุ่นใ​ น​ การ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจ และ​ต้อง​ปรับต​ ัวเ​คลื่อนทีไ่​ ป​ตลอด​เวลา ทำ�ให้อ​ งค์กร​ขนาด​กลาง​ต้องการ​ความ​ยืดหยุ่นส​ ูง ส่ง​ ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​ความ​ซับ​ซ้อน​ของ​ระบบ​โดย​ปริยาย องค์กร​ขนาด​ใหญ่ห​ ลาย​แห่งม​ ี​โครงสร้าง​ที่​เป็น​หน่วย​ธุรกิจ​ย่อยๆ ประกอบ​กัน หน่วย​ธุรกิจ​เหล่านั้น อาจ​จะ​มี​ขนาด​เล็ก​พอๆ กับ​ธุรกิจข​ นาด​กลาง​และ​ขนาด​ย่อม หรือ​เอส​เอ็​มอี (SME - Small and Medium Enterprises) ทั่วไป และ​บริหาร​งาน​ด้วย​ผู้​บริหาร​ของ​ตนเอง โดย​บริษัท​แม่​อาจ​จะ​ทำ�​หน้าที่​เพียง​การ​กำ�กับ​ เท่านั้น ดังน​ ั้น หน่วย​ธุรกิจเ​หล่าน​ ี้ม​ ักจ​ ะ​ไม่ใช่ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ขนาด​ใหญ่เ​หมือน​บริษัทแ​ ม่ แต่จ​ ะ​ จัดหา​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่ม​ ขี​ นาด​เล็กล​ ง เพื่อค​ วาม​ประหยัด ความ​ยืดหยุ่น และ​เหมาะ​กับล​ ักษณะ​ ธุรกิจข​ อง​ตนเอง บ่อย​ครัง้ ท​ จี​่ ะ​ใช้ซ​ อฟต์แวร์เ​ฉพาะ​ธรุ กิจใ​ น​การ​ด�ำ เนินง​ าน แล้วท​ �ำ การ​สง่ ข​ อ้ มูลท​ าง​ดา้ น​การ​เงิน งบ​ประมาณ และ​ผล​การ​ดำ�เนิน​งาน​ไป​ให้​บริษัท​แม่​เท่านั้น กรณี​เช่น​นี้ ทำ�ให้​ภาพ​รวม​ของ​ระบบ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​ของ​องค์กร​ขนาด​ใหญ่ม​ ลี​ ักษณะ​ผสม คือเ​ป็นอ​ งค์กร​ทีม่​ ที​ ั้งร​ ะบบ​ขนาด​ใหญ่แ​ ละ​ระบบ​ขนาด​ ย่อม​ลง​มา และ​ระบบ​ขนาด​ย่อม​ที่​ใช้​ใน​หน่วย​ธุรกิจ​ย่อย​กลับ​เป็น​ระบบ​ที่​ซับ​ซ้อน​กว่า​ระบบ​ของ​ส่วน​กลาง ซึ่ง​ จะ​มีร​ ะบบ​บัญชี​การ​เงิน บัญชีบ​ ริหาร และ​งบ​ประมาณ​เป็น​หลัก​เท่านั้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

7. การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แต่ละ​ตัว​แบ่ง​โมดูล​ต่าง​กัน​และ​ตั้ง​ชื่อ​ต่าง​กัน

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็นโ​ ปรแกรม​ทีม่​ ิได้ม​ จี​ ุดเ​ริ่มต​ ้นจ​ าก​งาน​วิชาการ (academic theory) แต่​เป็นร​ ะบบ​ที่​เกิด​จาก​ภาค​ปฏิบัติ (business practice) จึงม​ ิได้​มี​การ​กำ�หนด​มาตรฐาน​กลาง​เพื่อ​การ​อ้างอิง ดัง​นั้น ผู้​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จึง​อาศัย​ข้อมูล​จาก​ความ​ต้องการ​ของ​ผู้​ใช้​ใน​ภาค​ธุรกิจ​ มา​เป็น​โจทย์ ผู้​พัฒนา​ต่าง​ค่าย​จึง​อาจ​จะ​ออกแบบ​ระบบ​ที่​แตก​ต่าง​กัน และ​มัก​จะ​พยายาม​สร้าง​จุด​เด่น​ให้​ แตก​ตา่ ง​กนั ส่งผ​ ล​ตอ่ ก​ าร​ตัง้ ช​ ือ่ โ​ มดูลท​ หี​่ ลาก​หลาย ตัวอย่าง​ตอ่ ไ​ ป​นี้ เป็นช​ ือ่ โ​ มดูลข​ อง​เอส​เอ​พี ออราเคิล คริสตัล​ ฟอร์มูล่า/คริสตัล​โฟร์ม​ า และ​เจ​ดี​เอ็ดเ​วิดส์ ซึ่ง​เทียบ​เคียง​กับ​หน้าที่ใ​ น​องค์กร​ได้ ดังนี้

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-86

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ตาราง​ที่ 7.1 การ​เปรียบ​เทียบ​ชื่อ​โมดูล​ของ​ซอฟต์แวร์ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จาก​หลาย​ผู้​ผลิต

ธ ส

Function Sales

SAP

Sales & Distribution

Oracle

Crystal FORMULA

Marketing, Sales Sale Order

ธ ส

ธ ส

JD Edwards

Order Management

Production

Materials Management

Procurement

MRP/MCM

Production Planning

Production Planning

Manufacturing

Production Planning

Preventive Maintenance

Plant Maintenance

Human Resource Management

Human Resources

Financial Accounting

Financial Accounting

Financials

GL

Asset Management

Asset Management

Asset Management

Asset

Projects Management

Project System

Projects

Projects Management

Project Management

CM/BOQ

Subcontract Real Estate

ธ ส

ธ ส

Construction Management

-

Service

Human Resources

Contracts

Manufacturing Management

ธ ส

-

HRM

ธ ส

Inventory Procurement

-

Workforce Management

Financial Management

Enterprise Asset Management

ธ ส

ชื่อ​เรียก​ที่​แตก​ต่าง​กัน​และ​ขอบเขต​ที่​ไม่​เท่า​กัน​ของ​โมดูล​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แต่ละ​ ตัว​ทำ�ให้​ผู้​ใช้ส​ ับสน และ​ทำ�การ​เทียบ​เคียง​กัน​ได้​ยาก นอกจาก​ชื่อ​โมดูล​ที่​แตก​ต่าง​กัน​แล้ว ชื่อ​ฟิลด์​ต่างๆ ใน​ โปรแกรม​กอ็​ าจ​จะ​มน​ี ยิ าม​เฉพาะ​ของ​แต่ละ​ราย ซึง่ เ​ป็นอ​ ปุ สรรค​ตอ่ ก​ าร​จดั ซ​ ือ้ แ​ ละ​การ​ตดิ ต​ ัง้ เ​พือ่ ใ​ ช้ง​ าน (implement) อย่าง​มาก อาจ​กล่าว​ได้ว​ ่า ณ ปัจจุบัน ไม่มี​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัวใ​ ด​เหมือน​กันม​ าก​พอที่ผ​ ู้ใ​ ช้ส​ ามารถ​ ศึกษา​จาก​ตัวห​ นึ่งแ​ ล้วไป​ใช้ง​ าน​กับอ​ ีกต​ ัวห​ นึ่งไ​ ด้ท​ ันทีโ​ ดย​ไม่ต​ ้อง​รับก​ าร​อบรม​ใหม่ ดังน​ ั้น อาจ​กล่าว​ได้เ​ช่นก​ ัน​ ว่าไ​ ม่ส​ ามารถ​แยกแยะ​ความ​แตก​ต่าง​ระหว่าง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ของ​ไทย​กับก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-87

ธ ส

องค์กร​ของ​ต่าง​ประเทศ​ได้อ​ ย่าง​ชัดเจน อันท​ ี่จ​ ริงแ​ ล้ว ตลาด​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็นต​ ลาด​แบบ​ ระดับ​โลก (global) กล่าว​คือ เวที​การ​แข่งขัน​อยู่บ​ น​เวที​โลก​เหมือน​กัน​ทุก​ตัว การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ ของ​ไทย​กม็​ ิได้เ​ป็นต​ ัวแทน​ของ​การ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจข​ อง​ประเทศไทย​แต่อ​ ย่าง​ใด แต่ต​ ้อง​รองรับร​ ูปแ​ บบ​การ​ดำ�เนิน​ ธุรกิจข​ อง​ลกู ค้า อาจ​กล่าว​ได้ว​ า่ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แต่ละ​ตวั ม​ จ​ี ดุ แ​ ตก​ตา่ ง​กนั ท​ กี​่ าร​รองรับส​ ไตล์ การ​ บริหาร​งาน​ของ​ลูกค้าก​ ลุ่ม​หลัก​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัว​นั้น เช่น การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ สำ�หรับธ​ ุรกิจค​ ้าป​ ลีก หรือก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​สำ�หรับอ​ ุตสาหกรรม​อาหาร เป็นต้น ใน​กรณีท​ ีเ่​ป็นการ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​ไม่​เจาะจง​ประเภท​ธุรกิจ ก็​อาจ​จะ​แยก​สไตล์​การ​ทำ�งาน​ได้​เป็น 2 กลุ่ม คือ 7.1 สไลต์​ตะวัน​ตก (Western style) ซึ่ง​มี​อเมริกา​เป็นก​ลุ่ม​ใหญ่ รอง​ลง​มา​คือ กลุ่ม​สหภาพ​ยุโรป (Europe Union) 7.2 สไลต์​เอเชีย (Asain style) ซึ่งม​ ี​จีน​เริ่ม​ขึ้น​มา​เป็น​แกน​แทน​ญี่ปุ่น และ​มี​กลุ่ม​อาเซียน (ASEAN) เป็นก​ลุ่มแ​ รก​เริ่ม​โดย​มี​ไทย​เป็น​แนว​หน้า

ธ ส

ธ ส

ธ ส

8. การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กับ​การ​จัดการ​กระบวนการ​ทาง​ธุรกิจ

ธ ส

ขณะ​ที่​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ให้ค​ วาม​สำ�คัญ​กับ​การ​ทำ�งาน​ที่​รองรับ​ตาม​หน้าที่ (functional) และ​เป็นแ​ กน​กลาง​ของ​ฐาน​ข้อมูล​หลัก​ของ​แต่ละ​ระบบ แต่​โปรแกรม​กระแส​การ​ไหล​ของ​งาน (work flow) จะ​ เข้าม​ า​จำ�กัดก​ าร​ไหล​ของ​งาน​ใน​กระบวนการ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจ (business process) แต่ก​ าร​ติดต​ ั้งโ​ ปรแกรม​กระแส​ การ​ไหล​ของ​งาน​ร่วม​กับก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กย็​ ังเ​ป็นเ​รื่อง​ยุ่งย​ าก​และ​ไม่พ​ ร้อม​ใช้ใ​ น​ทันที โดย​องค์กร​ จะ​ตอ้ ง​มฝ​ี า่ ย​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​เข้าม​ า​ดแู ล เนือ่ งจาก​ตวั โ​ ปรแกรม​กระแส​การ​ไหล​ของ​งาน​พืน้ ฐ​ าน​ยงั เ​ป็นการ​ จัดการ​ระบบ​บน​ฐาน​ข้อมูล (data) มากกว่า​ฐาน​สารสนเทศ (information) ดัง​นั้น จึง​เกิดม​ ี​โปรแกรม​รูป​แบบ​ ของ​การ​จัดการ​กระบวนการ​ทาง​ธุรกิจ หรือบ​ ี​พี​เอ็ม (Business Process Management - BPM) การ​จัดการ​กระบวนการ​ทาง​ธุรกิจข​ ึ้นม​ า​ทำ�​หน้าที่ใ​ น​การ​ออกแบบ​และ​จัดการ​การ​ไหล​ของ​สารสนเทศ​ ภายใน​องค์กร​ตาม​กระบวนการ​ดำ�เนิน​ธุรกิจท​ ี่เ​ข้าใจ​ง่าย​กว่า โดย​มี​ระบบ​กระแส​การ​ไหล​ของ​งาน​เป็น​ฐาน แต่​ ไม่​ต้อง​อาศัย​ความ​รู้ท​ าง​ด้าน​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​มาก​เหมือน​เช่น​ที่เ​คย​เป็น หาก​เปรียบ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็นเ​หมือน​มอื แมลง​เต่าท​ อง​คอื ข​ อ้ มูล ฝ่ามือเ​ป็นแ​ กน​ กลาง​ศนู ย์ร​ วม​ขอ้ มูล และ​นิว้ ม​ อื เ​ป็นโ​ มดูลท​ รี​่ องรับง​ าน​ของ​ฝา่ ย​ตา่ งๆ เส้นด​ า้ ย​คอื โ​ ปรแกรม​กระแส​การ​ไหล​ของ​ งาน การ​เชือ่ ม​ถงึ กันใ​ น​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​สือ่ สาร​โดย​ผา่ น​มายังฝ​ า่ มือก​ อ่ น เมือ่ เ​ต่าท​ อง​จะ​เดินจ​ าก​ นิ้วโ​ ป้งไ​ ป​ยังน​ ิ้วช​ ี้จ​ ะ​ต้อง​เดินล​ ง​มา​ที่ฝ​ ่ามือก​ ่อน แล้วจ​ ึงย​ ้อน​กลับข​ ึ้นไ​ ป​ที่น​ ิ้วช​ ี้ หาก​มีเ​ชือก​ผูกเ​ชื่อม​ปลาย​นิ้วโ​ ป้ง​ กับป​ ลาย​นิ้วช​ ี้เ​ข้าด​ ้วย​กัน เต่าท​ อง​กส็​ ามารถ​เดินล​ ัดไ​ ป​ได้โ​ ดย​ง่าย​กว่าเ​ดินล​ ง​มา​ทีฝ่​ ่ามือก​ ่อน นั่นคือ กระแส​การ​ ไหล​ของ​งาน​จะ​สร้าง​เส้น​ทาง​เชื่อม​โยง​ฝ่าย​ต่างๆ ขึ้น​มา ทำ�ให้ข​ ้อมูล​ไหล​ได้​อย่าง​รวดเร็ว​กว่า (ภาพ​ที่ 7.48)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-88

ธ ส

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.48 การ​เปรียบ​เทียบ​การ​ทำ�งาน​และ​การ​ไหล​ของ​ข้อมูล​ระหว่าง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ​และ​โปรแกรม​ที่​ออกแบบ​โดย​เน้นก​ ระแส​การ​ไหล​ของ​งาน

หาก​เปรียบ​เทียบ​กับ​การ​เขียน​โปรแกรม​จริง​นั้น หาก​โปรแกรม​ทุก​ตัว​ที่​นำ�​มา​ใช้​จะ​ต้อง​เก็บ​ข้อมูล​ ทัง้ หมด​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กอ่ น แล้วจ​ งึ ไ​ ป​ประมวล​ตอ่ ใ​ น​ขัน้ ถ​ ดั ไ​ ป ก็เ​หมือน​กบั ก​ าร​ทเี​่ ต่าท​ อง​ตอ้ ง​ เดินล​ ง​มา​ที่ฝ​ ่ามือก​ ่อน ดังน​ ั้น โปรแกรม​ที่เ​น้นก​ าร​จัดการ​กระแส​งาน​จะ​มีก​ าร​เก็บข​ ้อมูลส​ ่วน​ที่ไ​ ม่จ​ ำ�เป็นต​ ้อง​มา​ รวม​กัน​ที่​เดียว​ทั้งหมด ก็​จะ​ช่วย​ให้​ระบบ​ทำ�งาน​ได้​คล่อง​ตัว​กว่า และ​มี​ต้นทุน​การ​ดำ�เนิน​การ​น้อย​กว่า ใน​รูปแ​ บบ​หนึ่งค​ ือ ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ทอี่​ อกแบบ​มา​เฉพาะ​อุตสาหกรรม (industryspecitic) เป็นการ​ออกแบบ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​ให้​ความ​สำ�คัญ​เฉพาะ​บาง​อุตสาหกรรม เพื่อ​ให้​กระแส​การ​ทำ�งาน​ของ​ระบบ​มี​ความ​รวดเร็ว​โดย​ไม่​ต้อง​ผ่าน​ขั้น​ตอน​การ​กำ�หนด​ค่า (configuration) ทีย่​ ุ่งยาก​มาก​เช่นท​ ีเ่​กิดข​ ึ้นก​ ับก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ทั่วไป อย่างไร​ก็ตาม การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ แบบ​เฉพาะ​อุตสาหกรรม (industry-specific) ก็​ยัง​ใช้​แนวคิด​ของ​แนว​ปฏิบัติ​ที่​เป็น​เลิศ​เช่น​กัน เพียง​แต่​ เป็น​แนว​ปฏิบัติ​ที่​เป็น​เลิศ​ของ​แต่ละ​อุตสาหกรรม​โดย​ไม่​เอา​แนว​ปฏิบัติ​ของ​อุตสาหกรรม​อื่น​มา​ปะปน​เท่านั้น ทิศทาง​การ​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ร่วม​กับ​ระบบ​จัดการ​กระบวนการ​ทาง​ธุรกิจ และ​การ​ พัฒนาการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​เป็น​แบบ​เฉพาะ​อุตสาหกรรม ถือ​เป็น​ทิศทาง​สำ�คัญ​ของ​วงการ​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


9. ประเด็น​ระหว่าง​ประเทศ

ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-89

ธ ส

ประเด็น​ระหว่าง​ประเทศ (international issue) มี​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ซึ่ง​ ประเด็น​ต่างๆ มี​ดังนี้ 9.1 วัฒนธรรม​และ​ภาษา​ที่​แตก​ต่าง​กัน (different language and cultures) โดย​ปกติ​แล้ว เพียง​ ประเด็น​ด้าน​ภาษา​ก็​เป็น​กำ�แพง​สำ�คัญ​ของ​การ​ใช้​ซอฟต์แวร์​ที่​กำ�เนิด​จาก​ต่าง​ถิ่น​อย่าง​มาก สำ�หรับ​ระบบ​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ซึ่ง​จะ​ต้อง​นำ�​มา​ใช้​กับ​องค์กร​ซึ่ง​เป็น​สังคม​ที่​มี​วัฒนธรรม​องค์กร​ของ​ตนเอง​และ​อยู่​ ใน​สภาพ​แวดล้อม​ธรรมเนียม​การ​ค้า​ท้อง​ถิ่น ยิ่ง​เป็น​กำ�แพง​สำ�คัญ​ต่อ​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ ของ​ตะวัน​ตก​มา​ใช้​ใน​องค์กร​ตะวัน​ออก ใน​ช่วง​ต้น​ของ​การก​ระ​จาย​ตัว​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ จาก​ตะวัน​ตก​นั้น ได้​มี​ความ​พยายาม​ที่​จะ​เปลี่ยน​องค์กร​ให้​ใช้​ธรรมเนียม​การ​ค้า​ที่​แทรก​อยู่​ใน​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร ทำ�ให้​องค์กร​ที่​นำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตะวัน​ตก​มา​ใช้​นั้น ต้อง​เปลี่ยน​เงื่อนไข​ การ​ค้า​กับ​คู่ค​ ้า​และ​ลูกค้า เช่น การ​ซื้อ​ขาย​ที่​ต้องการ​เอกสาร​ชัดเจน​และ​มี​ขั้น​ตอน​ที่​เปลี่ยน​ไป แต่​ยัง​มิ​ทัน​ที่​จะ​ เห็น​ผล​การ​เปลี่ยนแปลง ความ​สำ�คัญ​ของ​ประเทศ​เกิด​ใหม่ใ​ น​แถบ​เอเชียอ​ ย่าง​จีนก​ ็ส​ ูงข​ ึ้นจ​ าก​การ​ขยาย​ตัวท​ าง​ เศรษฐกิจอ​ ย่าง​ก้าว​กระ​โดด​พร้อมๆ กับก​ าร​แพร่ก​ ระจาย​วัฒนธรรม​การ​ค้าแ​ บบ​เอเชีย (Asian style) ได้ท​ ำ�ให้​ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตะวันต​ ก​ทั้งห​ ลาย​ต่าง​วางแผน​ใน​การ​แก้ไข​กระบวนการ​ทำ�งาน​ของ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​ของ​ตน​ให้ส​ อดคล้อง​กับว​ ัฒนธรรม​การ​ค้าแ​ บบ​เอเชีย เพื่อท​ ีจ่​ ะ​เจาะ​เข้าต​ ลาด​ผูใ้​ ช้ก​ าร​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​ใน​จีน รวม​ทั้ง​ใน​ภูมิภาค​อา​เซีย​น​ด้วย 9.2 ความ​ไม่ส​ อดคล้อง​กนั ข​ อง​โครงสร้าง​พน้ื ฐ​ าน​ดา้ น​ระบบ​สารสนเทศ (disparities in infrastructure) ประเทศ​ต่างๆ มีก​ าร​วาง​โครงสร้าง​พื้นฐ​ าน​ไม่เ​ท่าก​ ัน ซึ่งจ​ ะ​กระทบ​ต่อร​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่จ​ ะ​ นำ�​มา​ใช้ ซึ่ง​โครงสร้าง​พื้น​ฐาน​เหล่า​นี้​จะ​มี​ผล​ต่อ​รูป​แบบ​ของ​นวัตกรรม​ทุก​ประเภท​ของ​วงการ ตัวอย่าง​ง่ายๆ เช่น การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​ทำ�งาน​ได้​เฉพาะ​บน​เว็บ ย่อม​จะ​ประสบ​ปัญหา​การ​ใช้​งาน​ใน​พื้นที่​ที่​การ​ เข้า​ถึง​อินเทอร์เน็ต​ยัง​ไม่​ทั่ว​ถึง หรือ​กรณี​ที่​โปรแกรม​บน​มือ​ถือ​ที่​ทำ�งาน​ผ่าน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​ยัง​ไม่​แพร่​ หลาย เนื่องจาก​โครง​ข่าย 3 จี ยังไ​ ม่​สามารถ​ให้​ดำ�เนิน​การ​ได้​ใน​ไทย เป็นต้น 9.3 ความ​หลาก​หลาย​ของ​กฎหมาย​และ​กฎ​ขอ้ บ​ งั คับ (varying law and customs rules) การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​ซอฟต์แวร์​การ​จัดการ​ธุรกิจ ซึ่ง​จะ​ต้อง​เกี่ยว​พัน​กับ​กฎ​ระเบียบ​ของ​ทาง​ภาค​รัฐ​ค่อน​ ข้าง​มาก เช่น ระเบียบ​ภาษี​สรรพากร ภาษี​ศุลกากร กฎหมาย​แรงงาน และ​กฎหมาย​แพ่ง ทำ�ให้​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​ของ​ต่าง​ประเทศ​ประสบ​ปัญหา​อย่าง​มาก​ใน​การ​ทำ�ให้ถ​ ูกต​ ้อง​ตาม​กฎ​ระเบียบ ยาก​ใน​การ​ปรับ​ แก้​ติดตาม​กฎ​ระเบียบ​อย่าง​ทันท​ ่วงที และ​การ​ปรับ​แก้​มัก​จะ​เป็นการ​ปรับ​แก้​โดย​ตัวแทน​ใน​ท้อง​ถิ่น เนื่องจาก​ ผู้​พัฒนา​เจ้าของ​ลิขสิทธิ์​มัก​จะ​ไม่​ทำ�ให้​เนื่องจาก​มอง​ว่าย​อด​ขาย​ใน​ประเทศไทย​ถือ​เป็น​สัดส่วน​น้อย​มาก​เมื่อ​ เทียบ​กับอ​ เมริกา​และ​ยุโรป เมื่อม​ ีก​ าร​แก้ไข​กันเอง ผู้พ​ ัฒนา​เจ้าของ​ลิขสิทธิ์ก​ ็จ​ ะ​ไม่ร​ ับผ​ ิดช​ อบ​ความ​เสียห​ าย​อัน​ เกิด​จาก​การ​ปรับแ​ ก้​ของ​ตัวแทน และ​ไม่​รับ​บำ�รุง​รักษา​ส่วน​ที่ต​ ัวแทน​ทำ�​ขึ้น​มา​เอง เมื่อ​มี​การ​อัพเกรด​เพื่อ​ปรับ​ เป็น​โปรแกรม​รุ่น​ใหม่ ก็​จะ​ไม่ร​ ับ​ประกัน​ว่า​จะ​สามารถ​ทำ�งาน​ร่วม​กัน​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-90

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

9.4 สกุล​เงินท​ ม​ี่ เ​ี ป็นจ​ �ำ นวน​มาก (multiple currencies) กรณีท​ ี่ก​ ิจการ​ดำ�เนิน​การ​ค้าร​ ะหว่าง​ประเทศ​ หรือ​เป็นก​ ิจการ​ของ​ธุรกิจข​ ้าม​ชาติ ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​ต้อง​รองรับ​หลาย​สกุล​เงิน โดย​การ​ รองรับ​หลาย​สกุล​เงิน​นั้นส​ ามารถ​แยก​ออก​ได้ 2 ส่วน คือ 1) การ​รองรับ​รายการ​ธุรกรรม​หลาย​สกุล​เงิน เช่น ใบ​กำ�กับ​ภาษี​ที่​ระบุ​สกุล​เงิน​ต่าง​ประเทศ​ได้ 2) รองรับห​ ลาย​สกุลเ​งินใ​ น​สว่ น​ของ​บญ ั ชีท​ ว่ั ไป และ​สามารถ​แสดง​งบ​การ​เงินไ​ ด้ใ​ น​หลาย​สกุลเ​งิน ทั้ง 2 ส่วน​นี้​อาจ​จะ​จัด​ซื้อแ​ ยก​ส่วน​กัน​ได้​เนื่องจาก​ระหว่าง 2 ส่วน​นี้​ทำ�งาน​คนละ​มิติ​และ​คนละ​ระดับ​ การ​บริหาร ยก​ตัวอย่าง​เช่น กิจการ​สาขา​ของ​ธุรกิจ​ข้าม​ชาติ อาจ​จะ​ใช้​ระบบ​งาน​ขาย​แบบ​ท้อง​ถิ่น หรือ​ขาย​ใน​ ประเทศ (domestic) เท่านั้น ซึ่งใ​ ช้​แค่​สกุลเ​งิน​บาท​ล้วนๆ แต่​ส่ง​งบ​ไป​ยัง​สำ�นักงาน​ใหญ่​ด้วย​สกุล​เงิน​ดอลลาร์​ สหรัฐ หรือก​ ิจการ​ที่ส​ ่งอ​ อก​อาจ​จะ​ใช้ร​ ะบบ​งาน​ขาย​ที่ร​ องรับห​ ลาย​สกุลเ​งิน ​แต่เมื่อล​ ง​บัญชีก​ ็แ​ ปลง​เป็นเ​งินบ​ าท​ สกุล​เดียว เป็นต้น

ธ ส

ธ ส

10. เว็บ​และ​อินเทอร์เน็ต​มิใช่​สิ่ง​เดียวกัน

ธ ส

ธ ส

ผู้​ใช้​ทั่วไป​ที่​มี​ความ​รู้​ทาง​ด้าน​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ไม่​มาก มัก​จะ​เข้าใจ​ว่า​เมื่อ​พูด​ถึง​การ​ทำ�งาน​บน​ เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​ก็​เข้าใจ​ว่า​คือ​การ​ทำ�งาน​บน​เว็บ​ด้วย และ​มัก​จะ​ได้ยิน​ข่าว​เกี่ยว​กับ​อาชญากรรม​บน ​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​ให้​เข้าใจ​ว่า​โปรแกรม​ที่​ทำ�งาน​บน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​จะ​ไม่​ปลอดภัย ที่​จริง​แล้ว​ผู้​ใช้​ สามารถ​ทำ�งาน​บน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​ได้​โดย​ไม่​ได้​ใช้​แอพ​พลิ​เคชั่​นที่​ทำ�งาน​บน​เว็บ (web-base application) ก็ได้ อาจ​จะ​เรียก​ได้​ว่าผ​ ู้ใ​ ช้​เกือบ​ทุก​คน​ได้​ใช้​งาน​บน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​แทบ​ทุกค​ รั้ง​ที่​เปิด​เครื่อง เช่น การ​อัพเดท​ระบบ​ปฏิบัติ​การ​วินโดวส์​ก็​ทำ�งาน​อัตโนมัติ​ผ่าน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​โดย​ไม่​ได้​เปิด​เว็บ​เบ​รา​เซอร์ นอกจากนี้ โปรแกรม​ประเภท​ปอ้ งกันไ​ วรัสค​ อมพิวเตอร์ (anti-virus) ก็ท​ �ำ งาน​ใน​รปู แ​ บบ​นเี​้ ช่นก​ นั ยังม​ โ​ี ปรแกรม​ อีก​มาก​ที่​ทำ�งาน​ผ่าน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​โดยที่ผ​ ู้​ใช้​ไม่รู้ เช่น โปรแกรม​บน​สมา​ร์ต​โฟน ดัง​เช่น โปรแกรม​บน​ ไอ​โฟน (i-Phone) และ​แอน​ดรอยด์ (Android) เกือบ​ทั้งหมด ก็ท​ ำ�งาน​บน​เครือข​ ่าย​อินเทอร์เน็ตโ​ ดย​ไม่เ​ปิดเ​ว็บ เ​บ​รา​เซอร์ รวม​ทงั้ ส​ กา​ยพ์ (Skype) เอ็มเ​อส​เอ็น (MSN) กูเกิล้ เ​อิรธ์ (Google Earth) ก็ไ​ ม่ใช่เ​ว็บแ​ อพ​พลิเ​คชัน่ เ​ช่นก​ นั ความ​เข้าใจ​ที่​ถูก​ต้อง​ใน​เรื่อง​นี้​จะ​มี​ผล​ต่อ​การ​กำ�หนด​ทิศทาง​การ​ใช้​งาน​ระบบ​โปรแกรม​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร เนื่องจาก​ผู้บ​ ริหาร​อาจ​เข้าใจ​ผิด​ว่าถ​ ้า​จะ​สร้าง​ระบบ​งาน​ที่​ทำ�งาน​บน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​ก็​ จะ​ต้อง​ใช้​เว็บ​เบ​รา​เซอร์​และ​เสี่ยง​ต่อ​การ​โดน​แฮก (Hack) จึง​ไม่​กล้า​ใช้ และ​เมื่อ​จำ�เป็น​ต้อง​ใช้ ก็​เข้าใจ​ไป​ว่า​ ต้อง​ใช้​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​เป็น​เว็บ​แอพ​พลิ​เคชั่น​เสมอ จึง​วาง​ยุทธศาสตร์​ผิด​พลาด ใน​ปัจจุบัน​ นี้ สามารถ​ทำ�งาน​บน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​ได้โ​ ดย​ไม่​จำ�เป็นต​ ้อง​ใช้​เว็บแ​ อพ​พลิ​เคชั่น สามารถ​เชื่อม​สาขา​และ​ สำ�นักงาน​ต่าง​จังหวัด​ด้วย​เอ​ดีเ​อส​แอล​ราคา​ต่ำ�​อย่าง​ปลอดภัย กิจการ​ขนาด​เล็ก​สามารถ​วาง​ระบบ​การ​ควบคุม​ สาขา​ได้​เช่นเ​ดียว​กับ​องค์กร​ขนาด​ใหญ่​อย่าง​ปลอดภัย​ด้วย​งบ​ลงทุน​ที่​ต่ำ�​กว่า​อย่าง​มาก

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 7.3.2 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 7.3.2 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 7 ตอน​ที่ 7.3 เรื่อง​ที่ 7.3.2

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-91

ธ ส

เรื่อง​ที่ 7.3.3 ต้นทุน​และ​ผล​ตอบแทน​การ​ลงทุนข​ อง​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

ใน​ปี ค.ศ. 2002 หรือ พ.ศ. 2545 บริษัท เม​ต้า​กรุ๊ป (Meta Group) ได้​ทำ�การ​ศึกษา​ต้นทุน​รวม​ของ​ การ​จัดหา​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ ประกอบ​ตัว ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การ​ให้​บริการ​แบบ​มือ​อาชีพ (professional services) และ​ค่าใ​ ช้จ​ ่าย​ส่วน​ของ​พนักงาน​ของ​องค์กร ใน​การ​ศึกษา​ได้ร​ วม​ต้นทุนใ​ น​การ​เริ่มต้น​ ระบบ​และ​ต้นทุนท​ ี่​เกิด​ขึ้น​ต่อ​เนื่อง​อีก 2 ปี ซึ่งจ​ ะ​ครอบคลุม​ไป​ถึงค​ ่า​บำ�รุงร​ ักษา ค่า​อัพเกรด และ​ค่า​ปรับ​แต่ง​ ระบบ ของ 63 บริษัท​ใน​ต่าง​ประเทศ ประกอบ​ไป​ด้วย​กิจการ​ทั้ง​ขนาด​เล็ก กลาง และ​ใหญ่ พบ​ค่า​เฉลี่ย​การ​ ลงทุนอ​ ยู่​ที่ 15 ล้าน​ดอลลาร์​สหรัฐ หรือป​ ระมาณ 495 ล้าน​บาท (ที่​อัตรา​แลก​เปลี่ยน 33 บาท​ต่อ 1 ดอลลาร์​ สหรัฐ) โดย​เงิน​ลงทุน​ต่ำ�​สุดอ​ ยู่​ที่ 400,000 ดอลลาร์​สหรัฐ หรือ​ราว 13 ล้าน​บาท ซึ่ง​เป็น​ตัวเลข​ที่​สูง​มาก โดย​ ไม่​แบ่ง​แยก​ว่า​จะ​เป็น​กิจการ​ประเภท​ใด และ​ใน​ปี ค.ศ. 2007 บริษัท อะเบ​อดีน กรุ๊ป (Aberdeen Group) ได้​ สำ�รวจ​ข้อมูลจ​ าก 1,680 โรงงาน ทั้ง​ขนาด​เล็กแ​ ละ​ขนาด​ใหญ่ พบ​ว่า​งบ​ลงทุนใ​ น​เรื่อง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​จะ​แปรผัน​ตาม​ขนาด​ของ​องค์กร หมายความ​ว่า เมื่อ​บริษัทม​ ี​ขนาด​ใหญ่ จำ�นวน​ผู้​ใช้​มาก ค่า​ซอฟต์แวร์​ และ​ค่า​บริการ​จะ​สูงข​ ึ้น​เป็น​เงา​ตาม​ตัว ตัวอย่าง​เช่น กิจการ​ที่​มี​ยอด​ขาย 50 ล้าน​ดอลลาร์​สหรัฐ คาด​ว่า​จะ​ต้อง​ ใช้ง​ บ​ปร​มาณ 384,295 ดอลลาร์ หรือ​คิด​เป็น​เงิน​ไม่​ต่ำ�​กว่า​ร้อย​ละ 0.8 ของ​ยอด​ขาย ส่วน​กิจการ​ขนาด​กลาง​ ที่​มีย​ อด​ขาย​ระหว่าง 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ​ถึง 100 ล้าน​ดอลลาร์​สหรัฐ จะ​ต้อง​ลงทุน​เฉลี่ย​ไม่​ต่ำ�​กว่า 1 ล้าน​ ดอลลาร์​สหรัฐ หรือป​ ระมาณ​ร้อย​ละ 0.2 ถึง 1 ของ​ยอด​ขาย และ​กิจการ​ขนาด​ใหญ่​ที่​มี​ยอด​ขาย​ระหว่าง 500 ล้าน​ดอล​ลาร์​สหรัฐ ถึง 1,000 ล้าน​ดอลลาร์​สหรัฐ จะ​ต้อง​ลงทุน​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ไม่​ต่ำ�​กว่า 3 ล้าน​ดอลลาร์​สหรัฐ หรือไ​ ม่​ต่ำ�​กว่าร​ ้อย​ละ 0.6 แม้ว่า​นิยาม​ขนาด​กิจการ​ของ​ต่าง​ประเทศ​อาจ​จะ​แตก​ต่าง​จาก​ไทย แต่​ตัวเลข​เหล่า​นี้​ย่อม​จะ​สะท้อน​ ภาพ​การ​ลงทุน​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ได้ บาง​คน​กล่าว​ว่า​เป็น​ตัวเลข​ที่​สูง​มาก แต่​บาง​คน​ก็​มอง​ว่า​ หาก​เทียบ​กับ​สัดส่วน​ของ​ยอด​ขาย​แล้ว ถือว่า​การ​ลงทุน​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็นการ​ลงทุน​ที่​ คุ้ม​ค่า เพราะ​งบ​ลงทุน​ไม่​เกิน​ร้อย​ละ 1 ของ​ยอด​ขาย หาก​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​นั้น​ใช้​งาน​ง่าย ค่าใ​ ช้จ​ ่าย​ส่วน​มาก​จะ​อยูใ่​ น​ช่วง​ปแี​ รก หาก​ประสบ​ผล​สำ�เร็จใ​ น​การ​ติดต​ ั้งแ​ ละ​นำ�​มา​ใช้ง​ าน​กถ็​ ือว่าเ​ป็นการ​ลงทุน​ ที่​คุ้ม​ค่า ดัง​นั้น ประเด็น​สำ�คัญ​จึงน​ ่า​จะ​อยู่ท​ ี่​ความ​สำ�เร็จ​ของ​การนำ�​มา​ใช้​มากกว่า​งบ​ลงทุน

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

1. ต้นทุน​แฝง​ที่​เกิด​หลัง​จาก​การ​ติด​ตั้ง

ธ ส

ธ ส

การ​ติดต​ ั้งก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​อาจ​จะ​ใช้​เวลา​ตั้งแต่ 3 เดือน​จนถึง 2-3 ปี ขึ้น​กับ​ขอบเขต​ ของ​ระบบ​งาน กรณี​ที่​กิจการ​ที่​มี​ความ​ซับ​ซ้อน​หรือ​การ​กำ�หนด​แผน​ให้​นำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ ติด​ตั้ง​ใช้​ใน​คราว​เดียว​ทั่ว​ทั้ง​องค์กร​อาจ​จะ​ต้อง​ใช้​เวลา​ตั้งแต่ 6 เดือน​ขึ้น​ไป อย่างไร​ก็ตาม ไม่​ว่า​ระยะ​เวลา​


7-92

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ดัง​กล่าว​จะ​เป็น​ระยะ​เวลา​ที่เ​ป็นไ​ ป​ตาม​แผน​หรือ​ไม่ ยิ่ง​ใช้​ระยะ​เวลา​ยาวนาน​มาก​ขึ้น​เท่าใด โอกาส​ที่จ​ ะ​เกิด​การ​ เปลี่ยนแปลง​กระบวนการ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจใ​ น​ระหว่าง​การ​ติดต​ ั้งร​ ะบบ​ย่อม​มมี​ าก​ขึ้น โดย​เฉพาะ​ใน​ยุคท​ ีก่​ าร​แข่งขัน​ รุนแรง องค์กร​ต่างๆ ไม่​อาจ​หยุด​นิ่ง​ได้​นาน​นัก การ​ปรับ​เปลี่ยน​กระบวนการ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ย่อม​เกิด​ขึ้น​อย่าง ต่อเ​นื่อง ระยะ​เวลา​ทเี่​พิ่มข​ ึ้นจ​ ะ​เพิ่มโ​ อกาส​ทโี่​ ครงการ​ติดต​ ั้งร​ ะบบ​จะ​ล้มเ​หลว​มาก​ขึ้นเ​ช่นก​ ัน รวม​ทั้งอ​ งค์กร​กจ็​ ะ​ มี​ต้นทุน​แฝง​มาก​ขึ้น​เรื่อยๆ เช่น ต้นทุน​ค่า​เสีย​โอกาส ต้นทุน​การ​อบรม​ซ้ำ�ซาก การ​โอน​ย้าย​ฐาน​ข้อ​มูล​หลายๆ ครั้ง ข้อมูล​ที่​ไม่ทันส​ มัย การนำ�​ไป​ตัดสิน​ใจ​ที่​ผิด​พลาด เป็นต้น

ธ ส

ธ ส

2. ต้นทุน​ของ​การ​บำ�รุงร​ ักษา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

การ​บำ�รุงร​ ักษา (maintenance) เป็นส​ ่วน​ที่ต​ ้นทุนส​ ูงด​ ังท​ ี่ก​ ล่าว​ไว้ข​ ้าง​ต้น ซึ่งน​ ั่นเ​ป็นม​ ุมม​ อง​ของ​การ​ บำ�รุงร​ ักษา​ตัวซ​ อฟต์แวร์ห​ ลังจ​ าก​การ​พัฒนา​เท่านั้น แต่ใ​ น​หัวข้อน​ ีเ้​ป็นการ​มอง​ใน​ภาพ​รวม​จาก​มุมม​ อง​ของ​ผูใ้​ ช้ ซึ่ง​การ​บำ�รุง​รักษา​ใน​มุม​มอง​ของ​ผู้​ใช้​จะ​ต้อง​รวม​เอาการ​บำ�รุง​รักษา​ฮาร์ดแวร์ ระบบ​เครือ​ข่าย การ​บริการ​แก้​ ปัญหา​ให้​ผู้​ใช้ การ​อบรม​เพิ่ม​เติม และ​ค่า​ใช้​จ่าย​เกี่ยว​กับ​การ​บริการ​ผู้​เชี่ยว​ชาญ​อื่นๆ ด้วย ซึ่ง​ค่า​บำ�รุงร​ ักษา​ใน​ มุม​มอง​ของ​ผู้​ใช้​จะ​เป็นการ​เฉลี่ย​ค่า​ใช้​จ่าย​กับ​ลูกค้า​รา​ยอื่นๆ ของ​ผู้​ให้​บริการ ทำ�ให้​ช่วย​ลด​ค่า​บำ�รุงร​ ักษา​โดย​ รวม​ของ​ผูใ้​ ช้แ​ ต่ละ​องค์กร​ลง​ได้ แต่ก​ ระนั้นก​ ็ตาม องค์กร​ใน​ไทย​มักจ​ ะ​ไม่ค​ ่อย​ยินดีจ​ ่าย​ค่าบ​ ำ�รุงร​ ักษา​ระบบ ทั้ง​ การ​บ�ำ รุงร​ กั ษา​ซอฟต์แวร์แ​ ละ​ฮาร์ดแวร์ด​ ว้ ย ทำ�ให้ย​ นื บ​ น​ความ​เสีย่ ง​กบั ก​ าร​ลม้ เ​หลว​ของ​ระบบ​งาน แต่ใ​ น​การนำ�​ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้น​ ั้น การ​บำ�รุง​รักษา​มีค​ วาม​สำ�คัญย​ ิ่งก​ ว่า​ตัวซ​ อฟต์แวร์​เอง โดย​เฉพาะ​กรณี​ ที่​มอง​การ​ใช้​งาน​ใน​ระยะ​ยาว เนื่องจาก​เป็นการ​คุ้มครอง​เงิน​ลงทุน​ที่ไ​ ด้​ลง​ไป​แล้ว ช่วย​ให้ร​ ะบบ​ทำ�งาน​ได้​อย่าง​ ราบ​รื่น และ​สามารถ​ปรับเ​ปลี่ยน​ให้เ​ข้าก​ ับเ​ทคโนโลยีใ​ หม่ไ​ ด้อ​ ย่าง​ต่อเ​นื่อง ดังน​ ั้น ใน​โครงการ​จัดซ​ ื้อร​ ะบบ​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​นัน้ ผูบ​้ ริหาร​จงึ ค​ วร​จดั สรร​งบ​ประมาณ​เพือ่ ก​ าร​บ�ำ รุงร​ กั ษา​ไว้ต​ ัง้ แต่แ​ รก โดย​ทัว่ ไป​นัน้ การ​บ�ำ รุงร​ กั ษา​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​ประกอบ​ดว้ ย​การ​บริการ การ​ให้ค​ วาม​ชว่ ย​เหลือห​ รือเ​ฮลพ์เ​ดสก์ (help desk support) การ​อัพเกรด​ซอฟต์แวร์ และ​การ​บริการ​อื่นๆ โดย​ทั่วไป​ค่า​ใช้​จ่าย​การ​บำ�รุงร​ ักษา​ระบบ เฉพาะ​ส่วน​ของ​ซอฟต์แวร์จ​ ะ​ประมาณ​ร้อย​ละ 10-15 ต่อป​ ี​ของ​เงิน​ลงทุน​เริ่ม​แรก และ​ค่า​บำ�รุงร​ ักษา​ฮาร์ดแวร์​ จะ​ประมาณ​ร้อย​ละ 33 ต่อ​ปี​ของ​เงิน​ลงทุน​เริ่ม​แรก และ​ถือ​เป็น​งบ​ประมาณ​ประจำ�​ปี​ของ​องค์กร​ด้วย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

3. ต้นทุน​ของ​การ​ปฏิบัตกิ​ าร​เป็นต้น​ทุนท​ ี่​ถูก​ลืม

ธ ส

ธ ส

ผู้​บริหาร​จำ�นวน​ไม่​น้อย​ที่​เข้าใจ​ว่า​เมื่อ​นำ�​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​แล้วจะ​สามารถ​ ลด​จำ�นวน​คน​ลง​ได้ แต่​ใน​ความ​เป็น​จริง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ไม่​สามารถ​ทดแทน​คน​ได้ หาก​ไม่มี​ การ​ปรับ​เปลี่ยน​กระบวนการ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ ภาพ​การ​ลด​คน​จาก​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​งาน​ จึง​ไม่ค​ ่อย​ปรากฏ​นัก แต่​ใน​ทาง​กลับ​กัน หาก​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​แล้วก​ลับ​เพิ่ม​ขั้น​ตอน​ การ​ทำ�งาน​ก็​จะ​ส่ง​ผล​ให้​ต้อง​เพิ่ม​พนักงาน​ใน​ระบบ​มาก​ขึ้น ดัง​เช่น​ที่​เคย​เกิด​กับ​กิจการ​ขนม​ขบเคี้ยว​แห่ง​หนึ่ง​ ใน​ไทย ซึ่ง​ลงทุน​ติด​ตั้งร​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ขนาด​ใหญ่​จน​สำ�เร็จ หลังจ​ าก​ที่​ใช้​งาน​ไป​ซัก​ระยะ​ หนึ่ง พบ​ว่าการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัว​นั้น​มี​ขั้น​ตอน​การ​ปฏิบัติ​งาน​ที่​ซับ​ซ้อน​กว่าท​ ี่​เคย​ดำ�เนิน​การ​มา​ใน​

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-93

ธ ส

อดีต ต้อง​ใช้​คน​และ​เวลา​ใน​การ​ปฏิบัติ​การ​มาก รวม​ทั้ง​ค่า​ดูแล​ระบบ​ก็​สูง​มาก เมื่อ​นำ�​เอา​ต้นทุน​การ​ทำ�งาน​ ด้วย​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ขนาด​ใหญ่ม​ า​เฉลี่ยก​ ับจ​ ำ�นวน​ซอง​ของ​ขนม​ทีข่​ าย​ได้แ​ ต่ละ​เดือน​พบ​ว่า​ ต้นทุนท​ ี่​เพิ่มข​ ึ้น (marginal cost) จาก​การ​ปฏิบัติ​งาน​บน​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัว​นั้น​มากกว่า​ กำ�ไร​ต่อ​ซอง กล่าว​คือ จะ​ขาด​ทุ​นทุกๆ ซอง​ที่​ผลิต​ได้​นั่นเอง จึง​ได้​ยกเลิกร​ ะบบ​ขนาด​ใหญ่ แล้ว​จัดหา​ระบบ​ ที่​เล็ก​กว่า​มา​ใช้​แทน หรือ​กรณี​กิจการ​ปิโตรเคมี​ราย​ใหญ่​แห่ง​หนึ่ง​ทำ�การ​จัด​ซื้อ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​โดย​มุ่ง​หวัง​ที่​จะ​ลด​พนักงาน​ส่วน​หลัง (back office) ลง​ครึ่ง​หนึ่ง และ​เพิ่ม​ความเร็ว​ใน​การ​ทำ�งาน แต่​ ผลก​ลับ​ตรง​ข้าม ทำ�ให้​ต้อง​เพิ่ม​พนักงาน​อีก​เท่า​ตัว ขณะ​ที่​ยัง​เกิด​ความ​ล่าช้า​ใน​การ​ทำ�งาน​มากกว่า​เดิม ด้วย​ ต้นทุน​ส่วน​เพิ่ม​มากกว่าเ​ดิม นอกจาก​นี้ ต้นทุน​ของ​การ​อบรม​ใน​ระยะ​ยาว​มัก​จะ​ไม่​สามารถ​กำ�หนด​ได้​ล่วง​หน้า ซึ่ง​จะ​เกิด​ขึ้น​เมื่อ​ พนักงาน​เก่า​ลา​ออก ระบบ​ที่​ใช้​งาน​ยาก​จะ​มี​ต้นทุน​การ​เรียน​รู้​สูง​กว่า​ระบบ​ที่​ไม่​ซับ​ซ้อน บาง​ระบบ​ง่าย​มาก​จน ผ​ ู้ใ​ ช้ส​ อน​กันเอง​ได้ แต่บ​ าง​ระบบ​กย็​ าก​มาก​จน​ต้อง​ทำ�การ​ติดต​ ั้งเ​พื่อใ​ ช้ง​ าน​ใหม่ (re-implement) ทีเ​ดียว เพียง​ เพื่ออ​ บรม​พนักงาน​ใหม่ ต้นทุนต​ ่างๆ เหล่าน​ ี้ม​ ักจ​ ะ​ไม่อ​ ยู่ใ​ น​งบ​ลงทุนข​ อง​โครงการ​ตอน​แรก​เริ่ม ถือเ​ป็นต้นท​ ุน​ ที่​ถูก​ลืม​ของ​โครงการ​ติด​ตั้งร​ ะบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ส่วน​มาก

ธ ส

ธ ส

4. ผล​ตอบแทน​ของ​การ​ลงทุน

ธ ส

ธ ส

การ​ประเมินผ​ ล​ตอบแทน​ของ​การ​ลงทุน (Return on Investment - ROI) ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​ก่อน​การ​ตัดสิน​ใจ​ซื้อ​เป็น​เรื่อง​ยาก​มาก เนื่องจาก​เป็น​งาน​ยาก​ที่​จะ​บอก​ได้​ว่าการ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​จะ​ทำ�ให้​ยอด​ขาย​เพิ่ม​เท่า​ไหร่ จะ​ทำ�ให้​ลด​ต้นทุน​เท่า​ไหร่ จะ​เพิ่ม​ประสิทธิภาพ​เท่า​ไหร่ จะ​เพิ่ม​ผลิต​ ภาพ​เท่าไ​ หร่ จะ​ลด​การ​สูญ​เสีย​ได้​เท่า​ไหร่ และ​จะ​เห็น​ผล​เหล่า​นั้น​เมื่อ​ใด นอกจาก​นี้ เพียง​แค่​ซื้อ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้​ยังไ​ ม่​ส่งผ​ ล​มาก​นัก หาก​ไม่มี​การ​ปรับปรุง​กระบวนการ​ทำ�งาน​อย่าง​ต่อ​เนื่อง ผูบ​้ ริหาร​โครงการ​หรือผ​ บู​้ ริหาร​ระดับส​ งู ค​ วร​จะ​มุง่ ต​ วั ช​ วี​้ ดั โ​ ดย​ดจ​ู าก​การ​ปรับก​ ระบวนการ​ด�ำ เนินธ​ รุ กิจ (business process) และ​เป็นต​ ัวช​ ีว้​ ัดท​ ีช่​ ัดเจน หาก​ผูบ้​ ริหาร​คาด​หวังผ​ ล​ตอบแทน​แบบ​ไร้ข​ อบเขต คณะ​ทำ�งาน​ ย่อม​จะ​ไม่​มั่นใจ​ถึง​โอกาส​ที่​จะ​สำ�เร็จ​ได้​ตาม​เป้า​หมาย จะ​ทำ�ให้​ความ​ทุ่มเท​ของ​คณะ​ทำ�งาน​ลด​ลง โครงการ ​ติด​ตั้ง​ระบบ​ก็​จะ​ส่อแวว​ความ​ล้ม​เหลว​ตั้งแต่​ก่อน​เริ่ม​โครงการ แต่ผ​ ล​ตอบแทน​ที่เ​ห็นไ​ ด้ช​ ัดค​ ือ การ​เปลี่ยนแปลง​กระบวนการ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจใ​ ห้เ​ป็นร​ ะบบ และ​ช่วย​ให้​ ผูบ้​ ริหาร​สามารถ​เรียก​ดรู​ ายงาน​เพื่อก​ าร​ตัดสินใ​ จ​ใน​ด้าน​การ​บริหาร เพราะ​นั่นค​ ือแ​ นวคิดแ​ รก​เริ่มท​ ี่แท้จ​ ริงข​ อง​ ผูบ​้ ริหาร อาจ​กล่าว​ได้ว​ า่ หาก​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ม​ ไิ ด้ท​ �ำ ให้เ​กิดก​ าร​ปรับปรุงก​ ระบวนการ​ ดำ�เนิน​ธุรกิจ หรือ​ยก​ระดับ​การ​ทำ�งาน​ของ​พนักงาน ก็​ไม่มี​ประโยชน์​อัน​ใด​ใน​การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​มา​ใช้ ซึ่งก​ าร​วัดผล​ตอบแทน​การ​ลงทุน​ใน​มิติ​นี้ ผู้​บริหาร​ย่อม​สามารถ​สัมผัส​ได้​ด้วย​ตนเอง

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-94

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

5. ต้นทุน​ของ​การ​อบรม​ที่​ไม่​สิ้น​สุด

ธ ส

การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็น​ระบบ​ที่​ซับ​ซ้อน การ​ทำ�ความ​เข้าใจ​จึง​เป็น​เรื่อง​ที่​ยาก​สำ�หรับ​ผู้​ใช้ สำ�หรับโ​ ปรแกรม​ทั่วไป​ความ​ยาก​ง่าย​จะ​อยู่ท​ ี่ห​ น้าตา​หรือส​ ่วน​ต่อป​ ระสาน​ของ​โปรแกรม (interface) เป็นห​ ลัก แต่ส​ ำ�หรับก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ซึ่งม​ ีก​ ระแส​การ​ไหล​ของ​งาน​ซ่อน​อยู่ภ​ ายใน​จำ�นวน​มาก นอกจาก​ต้อง​ เข้าใจ​กระแส​งาน​ใน​ส่วน​ของ​ตนเอง​แล้ว ยังต​ ้อง​ทำ�ความ​เข้าใจ​กระแส​งาน​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​ฝ่า​ยอื่นๆ ด้วย ทำ�ให้​ เป็น​ส่วน​ที่​เข้าใจ​ยาก​ที่สุดข​ อง​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ใน​กระบวนการ​จดั ซ​ ือ้ ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​นัน้ ผูข​้ าย​มกั จ​ ะ​เสนอ​บริการ​ทมี​่ ุง่ ก​ าร​อบรม​เฉพาะ​ ใน​ส่วน​ที่​ทำ�ให้​ผู้​ใช้​รู้​ว่า​โปรแกรม​ทำ�งาน​อย่างไร​เท่านั้น มิได้​ครอบคลุม​ไป​ถึง​การ​เปลี่ยน​กระบวนการ​ดำ�เนิน​ ธุรกิจ ผู้ใ​ ช้จ​ ึงม​ ักจ​ ะ​รู้แ​ ต่ว​ ่าห​ น้าจ​ อ​นี้ม​ ีข​ ้อมูลอ​ ะไร​บ้าง ให้บ​ ันทึกค​ ่าอ​ ะไร​ลง​ไป แต่ไ​ ม่เ​จาะ​ลึกล​ ง​ไป​ถึงก​ ระแส​งาน​ อย่าง​ละเอียด แต่ก​ ารนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ใ​ ห้ไ​ ด้ป​ ระโยชน์ส​ ูง จะ​ต้อง​ปรับก​ ระบวนการ​ทำ�งาน​ ใหม่ แต่เ​มื่อผ​ ู้ใ​ ช้ย​ ังไ​ ม่เ​ข้าใจ​กระแส​งาน​ได้อ​ ย่าง​ดีพ​ อ จึงม​ ักจ​ ะ​พยายาม​ทำ�งาน​แบบ​เดิมๆ ลง​ไป​ใน​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร ซึ่ง​ทำ�ให้​เกิด​ความ​ยาก​ลำ�บาก​ใน​การ​ทำ�งาน​ใน​ระบบ จน​เมื่อ​ใด​ที่​ผู้​ใช้​เริ่ม​เข้าใจ​กระแส​งาน​ มาตรฐาน​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แล้ว​เห็น​ประโยชน์ จึง​จะ​เริ่ม​ปรับ​กระบวนการ​ทำ�งาน​เสีย​ใหม่ ซึ่ง​ ตอน​นั้นผ​ ูข้​ าย​อาจ​จะ​จบ​โครงการ​ติดต​ ั้งร​ ะบบ​ไป​แล้ว สุดท้าย​คนใน​องค์กร​อาจ​จะ​ต้อง​จัดอ​ บรม​เพิ่มเ​ติมก​ ันเอง นอกจาก​ผู้​บริหาร​จะ​เข้าใจ​ใน​ประเด็น​นี้ และ​ยินดีท​ ี่​จะ​จัด​โครงการ​อบรม​รอบ​สอง ซึ่ง​ถือว่า​เป็นต้น​ทุน​ที่​ไม่​ได้​ ประมาณ​การ​เอา​ไว้แ​ ต่แ​ รก ประเด็นน​ มี้​ คี​ วาม​แตก​ต่าง​จาก​การ​ทผี่​ ูบ้​ ริหาร​บาง​แห่งด​ ำ�เนินก​ าร​จัดซ​ ื้อโ​ ดย​มสี​ ัญญา​ บริการ​อบรม​เพิ่ม​เติม​ได้​เรื่อยๆ แบบ​ปลาย​เปิด และ​คิด​ค่า​ใช้​จ่าย​เพิ่ม​เติม​เป็นร​ าย​วัน (man-day) เนื่องจาก​ การ​อบ​รม​ซ้ำ�ๆ แบบ​เดิม โดย​ผู้ใ​ ช้​ยัง​ไม่​ปรับ​กระบวนการ​ทำ�งาน​เสีย​ใหม่ ก็​ยัง​ไม่​สามารถ​ใช้​ประโยชน์​จาก​การ​ ติดตัง้ ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​อย่าง​แท้จริง และ​การ​เซ็นส​ ญ ั ญา​แบบ​ปลาย​เปิดท​ �ำ ให้ผ​ ขู​้ าย​ทไี​่ ม่ร​ บั ผ​ ดิ ช​ อบ เอา​เป็นช​ ่อง​ทางใน​การ​หา​ประโยชน์​จาก​ผู้ซ​ ื้อ เนื่องจาก​ถือว่า​ผู้​ขาย​ไม่​ต้อง​ประกันผ​ ล​งาน​ไป​โดย​ปริยาย ผู้​ขาย​ บาง​ราย​จึง​ใช้​วิธี​นี้​ใน​การ​หา​ราย​ได้​เป็น​หลัก ทำ�ให้​บาง​โครงการ​นั้น ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​อบรม​เพิ่ม​เติม​นั้น​มากกว่า​ งบ​ประมาณ​ตั้ง​ต้น​มากกว่า​เท่า​ตัว ทำ�ให้ง​ บ​ประมาณ​บาน​ปลาย​อย่าง​ควบคุม​ไม่​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

6. การ​เชื่อม​โยง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กับ​ระบบ​อื่น​ทำ�ให้​ต้นทุน​บาน​ปลาย

การ​เชื่อม​กับ​ระบบ​อื่น​จะ​ทำ�ให้​เกิด​ต้นทุน​แฝง​อื่นๆ ที่​ไม่​คาด​คิด คือ การ​ทดสอบ การ​อบรม​นอก​ หลักสูตร​มาตรฐาน และ​การ​บำ�รุง​รักษา​ระบบ​ที่​เฉพาะ​เจาะจง แม้​ซอฟต์แวร์​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ จะ​สามารถ​เชื่อม​โยง​กับ​ระบบ​อื่นๆ ได้​ทั้งหมด แต่​ถ้า​เป็นการ​เชื่อม​โยง​ที่​ต้อง​เขียน​ขึ้น​มา​ใหม่​ก็​จะ​มี​ต้นทุนก​ าร​ ทดสอบ​ความ​ถูก​ต้อง​ต่อ​ไป​อีก​ระยะ​หนึ่ง การ​ทดสอบ​ให้​ครบ​ทุก​สถานการณ์​เป็น​เรื่อง​ที่​ใช้​เวลา​นาน และ​บาง​ โครงการ​ก็​รอ​ไม่ไ​ ด้ จึงต​ ้อง​ใช้​งาน​ไป​ทดสอบ​ไป กรณี​ที่​เจอ​ปัญหา​ตอน​ที่​ระบบ​นำ�​มา​ใช้​จริง​แล้ว นอกจาก​จะ​มี​ ต้นทุนก​ าร​แก้ไข​โปรแกรม​แล้ว ยัง​อาจ​จะ​ต้อง​มี​ต้นทุน​ใน​การ​แก้ไข​ข้อมูล​ที่​ผิด​พลาด​สะสม​มา​ยาวนาน​ด้วย กรณี​ที่​ผู้​พัฒนา​ซอฟต์แวร์​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัว​นั้น​เข้า​มา​ร่วม​ใน​การ​ทำ�​โปรแกรม ​เชื่อม​โยง​ก็​จะ​ลด​ความ​เสี่ยง​และ​เวลา​ใน​การ​ทดสอบ​ระบบ ลักษณะ​การ​เชื่อม​โยง​ที่​เกิด​ขึ้น​อาจ​มี​ลักษณะ​ ดังนี้

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-95

ธ ส

- เชื่อม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กับ​โปรแกรม​ที่​คนใน​องค์กร​เขียน​ขึ้น​มา​เอง - เชื่อม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กับ​ระบบ​อื่น​ซึ่ง​ได้​พัฒนา​ส่วน​การ​เชื่อม​ต่อ​มา​ก่อน​แล้ว - เชื่อม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กับ​ระบบ​อื่น​ที่​จัด​ซื้อ​มา​โดย​ยัง​ไม่​เคย​ทำ�การ​เชื่อม​ต่อ​ ระบบ​กัน​มา​ก่อน - เชื่อม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัว​หนึ่ง​กับ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​อีก​ตัว​หนึ่ง หาก​ระบบ​นั้น​เคย​เชื่อม​ต่อ​กัน​มา​ก่อน​แล้ว​ย่อม​เป็น​เรื่อง​ง่าย​มาก รอง​ลง​มา​คือ การ​เชื่อม การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กับโ​ ปรแกรม​ที่เ​ขียน​ขึ้นม​ า​เอง ซึ่งจ​ ะ​ยาก​หรือง​ ่าย​ขึ้นก​ ับว​ ่าโ​ ปรแกรมเมอร์เ​ดิมย​ ังอ​ ยู​่ หรือ​ไม่ และ​โปรแกรมเมอร์​นั้นม​ ีค​ วาม​เชี่ยวชาญ​มา​น้อย​เพียง​ใด ส่วน​การ​เชื่อม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ กับ​โปรแกรม​ตัว​อื่นๆ ที่​ยังไ​ ม่​เคย​เชื่อม​ต่อ​กันม​ า​ก่อน ต้อง​พิจารณา​ว่า​โปรแกรม​เหล่าน​ ั้น มี​รูป​แบบ​มาตรฐาน​ ใน​การ​เชื่อม​ต่อห​ รือไ​ ม่ ถ้าม​ ีอ​ ยู่แ​ ล้วก​ ็ส​ ามารถ​ทำ�ได้เ​ลย โดย​เขียน​โปรแกรม​แปลง​รูปแ​ บบ​ให้ม​ า​ตรง​กัน ซึ่งก​ ็ไ​ ม่​ สามารถ​หลีกเ​ลี่ยง​การ​ที่ต​ ้อง​ทดสอบ​ระบบ​อย่าง​มาก​ได้ ดังน​ ั้น ถ้าเ​ป็นไ​ ป​ได้ ทาง​เลือก​ที่ด​ ีท​ ี่สุดค​ ือ การ​เชื่อมต่อ​ ด้วย​ระบบ​ทีเ่​คย​เชื่อม​ต่อก​ ันม​ า​ก่อน​แล้ว ซึ่งใ​ น​การ​เชื่อม​โยง​ระบบ​จะ​มตี​ ้นทุนแ​ ฝง​อีกค​ ือ ต้นทุนท​ ีเ่​กิดจ​ าก​ความ​ ผิด​พลาด​ของ​ข้อมูล ใน​ขั้น​ตอน​นำ�​ระบบ​ไป​ใช้ คือ ถ้า​ระหว่าง​การ​ใช้​งาน​มี​การ​ส่ง​ข้อมูล​ที่​ผิด​พลาด​เข้า​สู่​ระบบ​ การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร จะ​สร้าง​ความ​เสียห​ าย​ต่อ​ฐาน​ข้อมูล ซึ่ง​จะ​เสียเ​วลา​และ​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​แก้ไข​ ปรับปรุงข​ ้อมูล รวม​ทั้งอ​ าจ​จะ​ต้อง​จ้าง​ผูเ้​ชี่ยวชาญ​เข้าม​ า​แก้ไข​ฐาน​ข้อมูลใ​ น​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​อย่าง​ เร่ง​ด่วน ซึ่งเ​ป็นค​ ่า​ใช้​จ่าย​ที่​ไม่อ​ าจ​คาด​หมาย​ล่วง​หน้า​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

7. การ​แก้ไข​ส่วน​สำ�คัญ​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ทำ�ให้​เกิด​ปัญหา​ตาม​มา​มากมาย

การ​แก้ไข​ซอฟต์แวร์ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​โดย​เฉพาะ​การ​แก้ไข​ทีก่​ ระทบ​แกน​กลาง​ของ​ระบบ​ เป็นเ​รื่อง​ของ​การ​เล่นก​ ับไ​ ฟ เนื่องจาก​ซอฟต์แวร์ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็นร​ ะบบ​ทซี่​ ับซ​ ้อน​และ​ผ่าน​การ​ พัฒนา​มา​นาน เหมือน​ภูเขาน้ำ�แข็ง ส่วน​ที่ล​ อย​อยู่เ​หนือ​น้ำ�​เป็นเ​พียง​ส่วน​น้อย​ของ​ระบบ​ที่ส​ ัมผัสไ​ ด้ ผู้ใ​ ห้บ​ ริการ​ บาง​ราย​พยายาม​เข้าไป​แก้ไข​ระบบ​ด้วย​ตนเอง​เพื่อ​เอาใจ​ลูกค้า แต่​ปัญหา​จะ​เกิด​เมื่อ​มี​การ​อัพเกรด​ระบบ​การ​ วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เนื่องจาก​ส่วน​ที่​ได้​มี​การ​เข้าไป​แก้ไข​เอง​จะ​ถูก​โปรแกรม​ตัว​ใหม่​เข้าไป​แทนที่ หาก​ ไม่​เตรียม​การ​ล่วง​หน้า ระบบ​ที่​ได้​แก้ไข​เอา​ไว้จ​ ะ​หาย​ไป ดัง​นั้น ก่อน​ที่​จะ​อัพเกรด​จะ​ต้อง​ตรวจ​สอบ​และ​แก้ไข​ ให้ต​ รง​กับท​ ี่เ​คย​เข้าไป​แก้ใ​ น​เวอร์ชั่นก​ ่อน​อีกค​ รั้ง และ​เป็นท​ ี่มา​ของ​ค่าใ​ ช้จ​ ่าย​อีกค​ รั้ง บาง​ครั้งเ​กือบ​จะ​ต้อง​เขียน​ กันใ​ หม่​หมด กรณี​ที่​แก้ไข​โดย​ไม่​ผ่าน​การ​รับรอง​จาก​เจ้าของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร จะ​มี​ต้นทุน​แฝง​ที่​ สำ�คัญ​อีก​ส่วน​หนึ่ง​คือ เจ้าของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​ไม่​สามารถ​สนับสนุน​ให้​ได้ ทำ�ให้​ต้อง​ตั้ง​ทีม ช​ ว่ ย​เหลือข​ ึน้ ม​ า​ดแู ล​ตวั เ​อง​ซึง่ จ​ ะ​มต​ี น้ ทุนม​ หาศาล กรณีท​ กี​่ าร​แก้ไข​นัน้ ไ​ ด้ร​ บั ก​ าร​รบั รอง​จาก​เจ้าของ การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร เมื่อม​ ีก​ าร​อัพเกรด​ก็จ​ ะ​ลด​ผลก​ระ​ทบ​และ​โปรแกรม​ส่วน​ที่ไ​ ด้แ​ ก้ไข​ไป​แล้ว จะ​สามารถ​ใช้ง​ าน​ ได้​ต่อ​ไป

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-96

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

8. การ​แปลง​และ​ย้าย​ข้อมูล​จาก​ระบบ​เก่า​มา​สู่​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็นต้น​ทุน​ที่​ถูก​ ละเลย

ธ ส

ธ ส

กรณี​ที่​องค์กร​เคย​ใช้​ระบบ​โปรแกรม​อื่นม​ า​ก่อน​การ​ติด​ตั้ง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร เมื่อ​จะ​เริ่ม​ ใช้​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ผู้​ใช้​มัก​จะ​ต้องการ​ย้าย​ข้อมูล​ใน​ระบบ​เก่า​มา​ที่​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​ตัว​ที่​ได้​มา​ใหม่ มักจ​ ะ​ประสบ​ปัญหา​ข้อมูลเ​สีย​จาก​ระบบ​เก่า หรือ​มี​ข้อมูล​เก่า​จำ�นวน​มาก​ที่​ไม่​ได้​ใช้​งาน​ มา​นาน เมื่อ​มี​ข้อมูล​เสีย​หาย​ปะปน​กับ​ข้อมูล​เก่า​จำ�นวน​มาก​จึง​เป็นการ​ยาก​ใน​การ​ตรวจ​สอบ รวม​ทั้ง​ต้อง​ใช้​ เวลา​ที่​นาน​มาก​ใน​การ​แก้ไข​ให้​ถูก​ต้อง แต่​ผู้​บริหาร​มัก​จะ​ไม่​ได้​เตรียม​งบ​ใน​การ​ดำ�เนิน​การ​ส่วน​นี้ และ​ต้อง​ ทำ�การ​ขยาย​งบ​ใน​ที่สุด

ธ ส

9. งบ​ประมาณ​จัดซ​ ื้อ​ระบบ​วิเคราะห์ข​ ้อมูล​เพื่อ​ต่อย​อด​จาก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร

เนื่องจาก​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​เป็นแ​ หล่งร​ วม​ข้อมูลเ​กือบ​ทั้งหมด​ของ​องค์กร ซึ่งส​ ามารถ​นำ�​ มา​ใช้ส​ นับสนุน​การ​ตัดสิน​ใจ​ได้อ​ ย่าง​มาก ซึ่งจ​ ะ​ต้อง​มี​รายงาน​วิเคราะห์จ​ ำ�นวน​มาก​ใน​มิติ​ต่างๆ แต่​ผู้​ใช้​มัก​จะ​ ยัง​ไม่​สามารถ​รู้​ได้​ว่า​รายงาน​ไหน​บ้าง​ที่​จะ​มา​ใช้​ช่วย​การ​ตัดสิน​ใจ เมื่อ​ระบบ​ได้​เริ่ม​ใช้​ไป​ซัก​ระยะ​จึง​มัก​จะ​เกิด​ การ​ร้องขอ​รายงาน​วิเคราะห์​เพิ่ม​ขึ้น​จาก​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ นำ�​มา​ซึ่ง​ค่า​ใช้​จ่าย​เพิ่ม​เติม​จาก​ งบ​ประมาณ​เดิมท​ ี่​ขอ​อนุมัติ​ไว้ ดัง​นั้น ผู้บ​ ริหาร​โครงการ​ควร​จัดสรร​งบ​สำ�รอง​เพิ่ม​เติม​ไว้​จำ�นวน​หนึ่ง หรือ​ทำ�​ ข้อ​ตกลง​ไว้​ล่วง​หน้า​กับ​ผู้ใ​ ห้​บริการ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

10. การ​มี​ที่​ปรึกษา​ไม่​สามารถ​ประกัน​ได้​ว่าจ​ ะ​สามารถ​ควบคุมง​ บ​ประมาณ​ได้

การนำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มา​ใช้ม​ ักจ​ ะ​ต้อง​จัดจ​ ้าง​ทีป่​ รึกษา ซึ่งใ​ น​การ​จ้าง​ทีป่​ รึกษา​โครงการ​ ติดต​ ั้งก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​นั้น ควร​มั่นใจ​ว่าทีป่​ รึกษา​ทีจ่​ ้าง​มา​นั้นจ​ ะ​ช่วย​ให้โ​ ครงการ​ดำ�เนินไ​ ป​ได้ต​ าม​ แผน​และ​อยู่​ใน​งบ​ประมาณ​ที่​ตั้ง​ไว้ เพราะ​บ่อย​ครั้ง​ที่​ขอบเขต​ของ​การ​จ้าง​ที่​ปรึกษา​มิได้​ระบุ​หน้าที่​นี้​ไว้​ใน​ข้อ​ ตกลง หาก​ทีป่​ รึกษา​เอน​เอียง​ไป​ทาง​ผูใ้​ ห้บ​ ริการ ย่อม​ทำ�ให้ไ​ ม่ส​ ามารถ​ควบคุมง​ บ​ประมาณ​โครงการ​ได้ บาง​ครั้ง​ งบ​ประมาณ​จะ​บาน​ปลาย​มากกว่าเ​ท่าต​ ัวจ​ าก​งบ​เริ่มแ​ รก ดังน​ ั้น หาก​คณะ​ทำ�งาน​โครงการ​ติดต​ ั้งร​ ะบบ​ประกอบ​ ด้วย​ที่​ปรึกษา ผู้​บริหาร​จึง​ควร​กำ�หนด​ขอบเขต​งบ​ประมาณ​ที่​ชัดเจน​ให้​แก่​ที่​ปรึกษา และ​การ​ให้​คำ�มั่น​จาก​ที่​ ปรึกษา​จะ​เป็น​ส่วน​สำ�คัญต​ ่อ​การ​ทำ�ความ​สำ�เร็จข​ อง​โครงการ​ภาย​ใต้​งบ​ประมาณ​ที่​กำ�หนด

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 7.3.3 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 7.3.3 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 7 ตอน​ที่ 7.3 เรื่อง​ที่ 7.3.3


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-97

ธ ส

เรื่อง​ที่ 7.3.4 ปัจจัย​ที่​กระทบ​ต่อ​การ​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร

ธ ส

ปัจจัย​ที่​กระทบ​ต่อ​การ​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​มี​หลาย​ประการ ดังนี้

ธ ส

1. สถาปัตยกรรม​ที่​เน้นบ​ ริการ​และ​ซอฟต์แวร์บ​ ริการ

สถาปัตยกรรม​ที่​เน้น​บริการ หรือ​เอส​โอ​เอ (Service-Oriented Architecture - SOA) คือ​ สถาปัตยกรรม​ทาง​ด้าน​การ​พัฒนา​ระบบ​คอมพิวเตอร์​ที่​ออกแบบ​มา​เพื่อ​ช่วย​ให้การ​พัฒนา​ระบบ​และ​การ ​เชื่อม​ต่อ​ได้​อย่าง​ยืดหยุ่น เป็นการ​เชื่อม​ต่อ​แบบ​หลวมๆ โดย​การ​ใช้​เทคโนโลยี​การ​สื่อสาร​ใน​แบบ​บริการ​หรือ​ เซอร์วิส (services) เพื่อใ​ ห้โ​ ปรแกรม​จาก​ต่าง​แหล่งส​ ามารถ​ทำ�งาน​ร่วม​กันไ​ ด้ท​ ันทีโ​ ดย​ไม่ต​ ้อง​ผ่าน​กระบวนการ​ คอม​ไพล์ (compile) เหมือน​สมัย​ก่อน ทำ�ให้​การ​พัฒนา​เป็น​ไป​ได้​อย่าง​อิสระ​แต่​ยัง​คง​ความ​สามารถ​ให้การ​ ทำ�งาน​ร่วม​กัน​ได้ ซอฟต์แวร์​บริการ หรือ​แซส (Software-as-a-service - Saas) เป็น​รูปแ​ บบ​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจท​ ี่ป​ ฏิวัต​ิ แนวคิด​ใน​การ​ส่ง​มอบ​ซอฟต์แวร์ จาก​เดิม​ที่​เป็นการ​ขาย​ลิขสิทธิ์ (license) ใน​การ​ใช้​งาน แล้ว​ตาม​ด้วย​การ​ บริการ​ต่างๆ เช่น การ​ติด​ตั้ง การ​ให้การ​ช่วย​เหลือ (support) และ​การ​อัพเกรด เป็นต้น มา​เป็นการ​ขาย​บริการ​ ที่​มี​ซอฟต์แวร์​เป็น​ส่วน​ประกอบ​หนึ่ง​ของ​การ​บริการ ซึ่ง​จะ​รวม​เอา​ซอฟต์แวร์ การ​อัพเกรด และ​การ​บริการ​ อื่นๆ เข้าไ​ ว้​ใน​ข้อ​เสนอ​การ​บริการ​นั้น ผู้​ซื้อ​จึง​ไม่มีก​ าร​ซื้อ​ซอฟต์แวร์​ไป​เป็นส​ ินทรัพย์ แต่​จ่าย​ออก​ใน​รูป​แบบ​ ของ​ค่า​ใช้​จ่าย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

2. คลา​วด์​คอม​พิวต​ ิ้ง​กับ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ยุคห​ น้า

ธ ส

คลา​วด์​คอม​พิว​ติ้ง (cloud computing) เป็นการ​ประยุกต์​หลัก​การ​ของ​เอส​โอ​เอ โดย​มี​แนวคิด​ที่​จะ​ นำ�​เอา​ระบบ​ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ​ทรัพยากร​ทั้งหมด ไป​ไว้​อยู่​บน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต จนกว่า​จะ​มี​ผู้​ใช้​ เรียก​ใช้ (ภาพ​ที่ 7.49) มีผ​ ู้น​ ิย​ าม​คลา​วด์ค​ อม​พิวต​ ิ้งท​ ี่แ​ ตก​ต่าง​กันไ​ ป ตาม​มุมม​ อง​จาก​หลาก​หลาย​อาชีพ แต่โ​ ดย​ รวม​แล้วค​ ลา​วด์ค​ อม​พิวต​ ิ้งจ​ ะ​เป็นการ​รวม​ทรัพยากร​ต่างๆ ให้เ​ป็นโ​ ครงสร้าง​พื้นฐ​ าน และ​อยูบ่​ น​เครือข​ ่าย ไม่ว​ ่า​ จะ​เป็นอ​ ินเทอร์เน็ต​หรือ​อินทราเน็ต​ก็ตาม เพื่อใ​ ห้​ผู้​ใช้​สามารถ​เรียก​ใช้ได้​ทุก​ที่​ทุก​เวลา นิยาม​นี้​จะ​ดู​คล้าย​กริด​ คอม​พิวต​ ิ้ง (grid computing) แต่แ​ ตก​ต่าง​กันต​ รง​ที่ก​ ริดค​ อม​พิวต​ ิ้งจ​ ะ​เน้นไ​ ป​ที่ก​ าร​รวม​ทรัพยากร แต่ไ​ ม่เ​น้น​ การ​จัดการ​ด้าน​การก​ระ​จาย​ทรัพยากร จึงไ​ ม่​เป็น​ลักษณะ​ของ​ธุรกิจ​ได้

ธ ส


7-98

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.49 ความ​สามารถ​ใน​การ​รองรับ​การ​ให้​บริการ​ที่​หลาก​หลาย​ของ​คลา​วด์ค​ อม​พิว​ติ้ง

ธ ส

คลา​วด์​คอม​พิว​ติ้งส​ ามารถ​แบ่งไ​ ด้ 3 ระดับ คือ โครงสร้าง​พื้น​ฐาน แพลตฟอร์ม และ​แอพ​พลิ​เคชั่น (ภาพ​ที่ 7.50) เมื่อ​นำ�​แนวคิด​แซ​สมา​ผนวก​กับ​รูป​แบบ​ของ​คลา​วด์ค​ อม​พิว​ติ้ง โดย​การ​ทำ�ให้​โครงสร้าง​พื้น​ฐาน แพลตฟอร์ม และ​แอพ​พลิ​เคชั่น กลาย​เป็น​เซอร์วิส และ​เรียก​ว่า โครงสร้าง​พื้น​ฐาน​บริการ (Infrastructureas-a-Services - IaaS) แพลตฟอร์มบ​ ริการ (Platform-as-a-Services - PaaS) และ​แอพ​พลิเ​คชั่นซ​ อฟต์แวร์​ บริการ (Application-Software-as-a-Services (SaaS) โดย​ผู้​ใช้​สามารถ​ที่​จะ​เข้า​ถึง​บริการ​ต่างๆ ใน​ระดับ​ ต่างๆ ตาม​สิทธิที่​ได้​รับ​จาก​ระบบ

ธ ส

­

ธ ส

ม ม

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.50 การ​ให้​บริการ​ใน​หลาย​ระดับ

ธ ส

ที่มา: García, Jorge. A Tour of the Clouds. Retrieved June 22, 2010 from the World Wide Web: http://www.technology evaluation.com/research/articles/a-tour-of-the-clouds-21076/


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-99

ธ ส

นัก​เทคโนโลยี​คอมพิวเตอร์​ส่วน​ใหญ่​เชื่อ​ว่า​ต่อ​ไป​แกน​กลาง​ของ​ระบบ​คอมพิวเตอร์​ทั้งหมด​จะ​อยู่​ บน​คลา​วด์ ใน​กรณีข​ อง​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ก็ม​ ีแ​ นว​โน้มท​ ี่ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​อยู่ใ​ น​รูป​ ของ​แพลตฟอร์มบ​ ริการ (PaaS) โดย​เป็น​โครง​ข่าย​หลัก (back bone) และ​โครงสร้าง​หลัก​ของ​องค์กร​ใน​การ​ ดำ�เนินธ​ รุ กรรม โดย​ท�ำ งาน​รว่ ม​กบั แ​ อพ​พลิเ​คชัน่ ส​ ว่ น​อืน่ ๆ ทีเ​่ ป็นแ​ บบ​เฉพาะ​อตุ สาหกรรม (industry-specific) ตั้งแต่​อยู่​บน​คลา​วด์ ผู้ใ​ ช้​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​จะ​สามารถ​เรียก​ใช้​เสิร์ช​เอน​จิน (search engine) ได้ สามารถ​เอา​ระบบ​สั่ง​ซื้อ​สินค้าข​ อง​เว็บไ​ ซต์อ​ ะ​เม​ซอน (amazon) มา​ฝัง​ไว้​ใน​โปรแกรม​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​ได้ นำ�​เอา​จี​เมล (gmail) มา​ประกอบ​ใน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ได้ โดย​การ​เชื่อม​โยง​กัน​ระดับ​ เซิร์ฟเวอร์​บน​อินเทอร์เน็ต โดย​ผู้​ใช้​ไม่​ต้อง​ติด​ตั้ง​ระบบ​ใดๆ ที่​สำ�นักงาน แต่​อาจ​จะ​ต้อง​ติด​ตั้ง​โปรแกรม​ฝั่ง​ ลูก​ข่าย (client) ที่ทำ�การ​สื่อสาร​กับ​ผู้ใ​ ห้​บริการ (service provider) หรือ​อาจ​จะ​ทำ�งาน​ผ่าน​เว็บ​เบ​รา​เซอร์​ทั้ง​ ระบบ​เลย​ก็ได้ (ภาพ​ที่ 7.51)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.51 ผู้​ให้​บริการ​คลา​วด์​คอม​พิว​ติ้ง​เชิงพ​ าณิชย์

ที่มา: เว็บไซต์ http://en.wikipedia.org/wiki/Cloud_computing

3. การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​รูป​แบบ​แซส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ถึง​แม้ว่า​จำ�นวน​การ​ใช้​งานการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​รูป​แบบ​แซส​จะ​ยัง​ถือว่า​น้อย​มาก แต่​ก็​ ถือว่า​มี​อัตรา​การ​เจริญ​เติบโต​ที่​ดี ส่วน​มาก​จะ​ใช้​เฉพาะ​บาง​ระบบ เช่น การ​บริหาร​ทรัพยากร​มนุษย์ เป็นต้น แต่​ก็​เริ่ม​ที่​จะ​มี​การนำ�​เสนอ​เอาการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่​เป็น​โอเพ่นซอร์ส (open source) ทั้ง​ระบบ​มา​ ทำ�การ​ขาย​ใน​รูป​แบบ​แซส​เช่น​กัน กลุ่ม​ผู้พ​ ัฒนา​แซส​เฉพาะ​ส่วน​นี้​มัก​จะ​เสนอ​ระบบ​ฝาก​ข้อมูล​ไว้​ที่​ผู้​ให้​บริการ​ อินเทอร์เน็ต หรือ​ไอ​เอส​พี (Internet Service Provider - ISP) หรือ​ผู้​ให้​บริการ​โฮ​สติ้​ง (hosting) และ​เสนอ​ การ​ติดต​ ั้ง​แบบ​ตาม​ความ​ต้องการ (on-demand) คือ​จ่าย​เงิน​เฉพาะ​โมดูล​ที่​ใช้​งาน​เท่านั้น


7-100

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

อุปสรรค​สำ�คัญค​ ือ เรื่อง​ความ​ลับ​ทางการ​ค้า และ​ความ​ไม่​สบายใจ​ของ​ฝ่าย​เทคโนโลยี​สารสนเทศที่​ ระบบ​ไป​ฝาก​ไว้ก​ ับบ​ ุคคล​ภายนอก ซึ่งผ​ จู้​ ัดการ​ฝ่าย​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​มอง​ว่าห​ าก​เกิดป​ ัญหา​กจ็​ ะ​ไม่สามารถ​ เข้าไป​จัดการ​ได้​เต็ม​ที่ ส่วน​ผู้​บริหาร​และ​เจ้าของ​กิจการ​ก็​กังวล​ถึง​การ​รั่ว​ไหล​ของ​ข้อมูล​ทางการ​เงิน​และ ​การ​ค้า จาก​การ​สำ�รวจ​ใน​ปี ค.ศ. 2007 หรือ พ.ศ. 2550 โดย CIO Magazine พบ​ว่า​มี​ผู้​จัดการ​ฝ่าย​เทคโนโลยี​ สารสนเทศ​ร้อย​ละ 54 ที่​ตอบ​ว่า​คงจะ​ใช้​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​รูป​แบบ​ที่​เป็น​อยู่​คือ ติด​ตั้ง​ ระบบ​ไว้​ที่ส​ ำ�นักงาน​ของ​องค์กร​มากกว่า​จะ​ใช้​แนวทาง​อื่น เช่น โอเพ่นซอร์ส แซส หรือ​แบบ​แอพ​พลิ​เคชั่นใ​ น​ องค์กร (in-house application) มี​เพียง​ร้อย​ละ 9 ที่​ตอบ​ว่า จะ​ใช้​โอเพ่นซอร์ส แซส หรือ​เขียน​เอง และ​มี​ ร้อย​ละ 35 ที่​ตอบ​ว่า​อาจ​จะ​ทดลอง​ใช้​อะไร​ที่แ​ ตก​ต่าง​จาก​เดิม แต่​ก็​ยัง​ไม่​เคย​ได้​ทด​ลอง​จริงๆ จาก​การ​สำ�รวจ​ พบ​ว่าผ​ ู้​ใช้ท​ ี่​เป็นร​ ุ่นบ​ ุกเบิกใ​ น​การ​ใช้แ​ ซส​คือ กิจการ​ขนาด​กลาง​และ​ขนาด​เล็ก ส่วน​กิจการ​ขนาด​ใหญ่ส​ ่วน​มาก​ ได้​ลงทุน​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กรแบบ​ซื้อ​ลิขสิทธิ์ (license) ไป​แล้ว จะ​มี​การ​ใช้​งาน​แบบ​แซ​สอ​ยู่​ บ้าง​ใน​ระบบ​งาน​ย่อย​บาง​ส่วน ต้นทุนก​ าร​เป็น​เจ้าของ หรือท​ ี​ซี​โอ (Total Cost of Ownership - TCO) มัก​จะ​เป็น​ประเด็นห​ ลักที่​ ถูก​หยิบยก​ขึ้น​มาใน​การนำ�​เส​นอ​แซส จาก​การ​สำ�รวจ​ของ​บริษัท ​อา​เบอร์​ดี​นก​รุ๊ป (Aberdeen Group) ใน​ปี ค.ศ. 2009 พบ​ว่า 3 อันดับ​แรก​ใน​การ​เลือก​ซื้อ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร หรือ​จะ​เช่า​ใช้​แบบ​แซส คือ ความ​สามารถ ความ​ง่าย​ใน​การ​ใช้​งาน และ​ต้นทุน​การ​เป็น​เจ้าของ แต่​ปรากฏ​ว่า​ต้นทุน​การ​เป็น​เจ้าของ​ที่​แตก​ ต่าง​กันน​ ั้นไ​ ม่ไ​ ด้เ​กิดจ​ าก​ส่วน​ของ​ซอฟต์แวร์แ​ ละ​บริการ แต่เ​กิดจ​ าก​ฮาร์ดแวร์แ​ ละ​เงินเ​ดือน​ของ​ฝ่าย​เทคโนโลยี​ สารสนเทศ​มากกว่า โดย​ใน​รายงาน​ระบุว​ า่ ผ​ ใู​้ ห้บ​ ริการ​แซ​สมักจ​ ะ​ลด​คา่ ใ​ ช้จ​ า่ ย​โดย​การ​จ�ำ กัดก​ าร​ปรับแ​ ก้ร​ ะบบ และ​พยายาม​ ลด​ต้นทุนข​ อง​ระบบ​คอมพิวเตอร์ท​ ีต่​ น​รับภ​ าระ​แทน​ผูใ้​ ช้ ซึ่งผ​ ูใ้​ ช้ค​ วร​พิจารณา​ข้อต​ กลง​ระดับก​ าร​ให้บ​ ริการ หรือ​ เอส​แอล​เอ (Service Level Agreement - SLA) และ​การ​กำ�หนด​ค่า (configuration) ของ​ระบบ​ทั้งร​ ะบบ เพื่อ​ ให้​ระบบ​มี​ความ​ปลอดภัย เสถียร และ​มี​ประสิทธิภาพ​การ​ดำ�เนิน​งาน (performance) ใน​ระดับ​ที่​ยอมรับ​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

ตาราง​ที่ 7.2 ลำ�ดับ​ความ​สำ�คัญท​ ี่​ผู้​ใช้​สนใจ​ต่อ​ระบบ​ที่​เป็น​แซส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

7-101

ธ ส

ธ ส

ที่มา: Aberdeen Group. “SaaS ERP: Trends and Observations.” Retrieved from the World Wide Web: http://www.plex. com/download/AberdeenSaaSERPTrendsandObservations.pdf

4. การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตาม​ความ​ต้องการ

ธ ส

ตาม​ความ​ต้องการ หรือ​ออนดีมานด์ (on-demand) หมาย​ถึง การ​ที่​ผู้​ใช้​สามารถ​เลือก​จ่าย​เฉพาะ​ ส่วน​ที่​ต้องการ​ใช้​ใน​เวลา​ที่​ต้องการ​ใช้ แทนที่​จะ​ต้อง​จ่าย​ซื้อ​ทั้ง​ระบบ​เพียง​เพื่อ​จะ​ใช้​เฉพาะ​บาง​ส่วน​ของ​ระบบ​ และ​บาง​เวลา​เท่านั้น และ​เมื่อเ​ลิก​ใช้​ก็​สามารถ​หยุด​จ่าย​ได้ จึง​มี​ลักษณะ​เป็นการ​เช่า​ใช้​นั่นเอง 1) ใน​มิติ​ของ​รูป​แบบ​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ แซส​จะ​คล้าย​กับ​ซอฟต์แวร์​ตาม​ความ​ต้องการ (software on-demand) เนื่องจาก​ทั้ง 2 รูป​แบบ​นั้น บริษัท​จะ​ไม่​ถือ​ซอฟต์แวร์​นั้น​เป็น​สินทรัพย์ ผู้​ซื้อ​จะ​ไม่มี​รายการ​ ซื้อ​ซอฟต์แวร์​ปรากฏ​อยู่​ใน​รายการ​บัญชี จึง​ไม่มี​การ​ตัด​ค่า​เสื่อม แต่​ถือ​เป็น​ค่า​ใช้​จ่าย​​โดย​ลง​บัญชี​เป็น​ค่า​เช่า​ แทน กรณี​ของ​แซส​จะ​ต่าง​ออก​ไป​ตรง​ที่​เป็นการ​นำ�​เอา​บริการ​ขึ้น​มา​นำ�​หน้า​การ​เช่า​ใช้ จึง​เรียก​ว่า​เป็น​เซอร์วิส หรือบ​ ริการ (service) แทน​คำ�​ว่า ซอฟต์แวร์ ดัง​นั้น การ​ลง​บัญชีก​ ็จ​ ะ​เป็น​ค่า​บริการ​อบรม หรือค​ ่า​บริการ​ติด​ตั้ง 2) ใน​มิตขิ​ อง​เทคโนโลยี แซ​สมีพ​ ื้นฐ​ าน​มา​จาก​การ​ทีซ่​ อฟต์แวร์ถ​ ูกพ​ ัฒนา​ขึ้นใ​ น​รูปแ​ บบ​สถาปัตยกรรม​ ที่​เน้นบ​ ริการ​ซึ่ง​อยู่บ​ น​มาตรฐาน​หลาย​ตัว ได้แก่ เอ็กซ์​เอ็ม​แอล (XML - eXtensible Markup Language) เอช​ทที​ ี​พี (HTTP - HyperText Transfer Protocol) ยู​ดี​ดี​ไอ (UDDI - Universal Description, Discovery and Integration) และ​โซพ (SOAP - Simple Object Access Protocol) ผ่าน​รูป​แบบ​ที่​หลาย​หลาก ถ้า​จะ​ถาม​ว่า​แล้ว​โปรแกรม​ประเภท​นี้​แตก​ต่าง​จาก​โปรแกรม​ทั่วไป​อย่างไร ก็​เป็นการ​ยาก​ที่​จะ​อธิบาย​ให้​คน​ ที่​ไม่​ได้​อยู่​สาย​นัก​พัฒนา​ระบบ​คอมพิวเตอร์​เข้าใจ แต่​มี​ตัวอย่าง​หนึ่ง​ที่​พอ​จะ​แสดง​ให้​เห็น​การ​ทำ�​ซอฟต์แวร์​ ให้​เป็น​บริการ เช่น โปร​แก​รม​ใน​แท็บ​ชื่อ Services ของ Task Manager ของ​ระบบ​ปฏิบัติ​การ​วินโดวส์ จะ​มี​โปรแกรม​ที่​ทำ�งาน​ซ่อน​อยู่เ​ป็น​จำ�นวน​มาก ซึ่งใ​ น​ทาง​เทคนิค โปรแกรมเมอร์​จะ​เรียก​โปรแกรม​ประเภท​นี้​

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-102

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ว่า เซอร์วิส (services) แทนที่​จะ​เรียก​ว่า แอพ​พลิ​เคชั่น (applications) เพราะ​ใน​ทาง​เทคนิค​แล้ว​โปรแกรม​ เหล่า​นี้​ไม่​ได้ป​ รากฏ​เป็น​ไฟล์​ประมวล​ผล (execution file) แต่​เป็น​ส่วน​ย่อย​ของ​โปรแกรม​ใหญ่​ตัว​ใด​ตัวห​ นึ่ง​ ที่​เปิด​ออก​มา​ให้โ​ ปรแกรม​อื่นเ​รียก​ใช้ได้ร​ ูป​แบบ​ของ​ฟังก์ชัน (function) และ​บ่อย​ครั้ง​ที่​โปรแกรม​เหล่า​นี้​พูด​ คุย​สื่อสาร​กับ​เซิร์ฟเวอร์​ต่างๆ ที่​อยู่ใ​ น​โลก​อินเทอร์เน็ต​และ​ทำ�งาน​แบบ​อัตโนมัติ​โดยที่​ไม่​ต้อง​รอ​ผู้​ใช้​สั่ง​ให้​ทำ� เช่น โปรแกรม​อัพเดท​ของ​โปรแกรม​ป้องกัน​ไวรัส โปรแกรม​วินโดวส์​อัพเดท (Windows update) เป็นต้น ซึ่ง​ กรณีท​ ี่เ​ป็นเ​ซอร์วิสท​ าง​ด้าน​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ก็จ​ ะ​ตอบ​สนอง​การ​สั่งง​ าน​ของ​โปรแกรม​ที่เ​กี่ยวข้อง​ กับ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร ทั้ง​ที่​อยู่​ใน​อินทราเน็ต​หรือ​อินเทอร์เน็ต โปรแกรม​ที่​ทำ�งาน​ใน​ลักษณะ​เช่น​ นี้​จึง​สนับสนุน​การ​ทำ�งาน​ตาม​การ​ร้องขอ​แบบ​ตาม​ความ​ต้องการ (on-demand) ได้​เป็น​อย่าง​ดี โดย​จะ​ทำ�งาน​ ประสาน​กับ​เซอร์วิสท​ ี่​อยู่ท​ ี่​เซิร์ฟเวอร์ร​ ะยะ​ไกล​ของ​ผู้​ให้​บริการ​แบบ​ตาม​ความ​ต้องการ​ได้ และ​ช่วย​ดำ�เนิน​การ​ ทาง​ด้าน​ธุรกรรม​ให้​แก่​ผู้ใ​ ห้บ​ ริการ​แบบ​ราย​เดือน​ได้โ​ ดย​สะดวก

ธ ส

ธ ส

ธ ส

5. การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แบบ​โอเพ่นซอร์ส

ซอฟต์แวร์แ​ บบ​โอเพ่นซอร์ส (open source) ก็ค​ ือซ​ อฟต์แวร์ท​ ี่เ​ปิดเ​ผย​โค้ดต​ ้นฉบับ (source code) ให้แ​ ก่ท​ ีน่​ ำ�​ไป​ผูใ้​ ช้ เพื่อป​ ระโยชน์ห​ ลาย​ประการ ประโยชน์ป​ ระการ​หนึ่งค​ ือ ผูใ้​ ช้ส​ ามารถ​นำ�​ไป​พัฒนา​ต่อย​อด​เอง​ ได้ แต่ห​ ้าม​ทำ�การ​ขาย​ซอฟต์แวร์ต​ ัวน​ ั้น ทั้งต​ ัวต​ ้นฉบับแ​ ละ​ส่วน​ทีไ่​ ป​พัฒนา​ต่อย​อด แต่อ​ นุญาต​ให้ค​ ิดค​ ่าบ​ ริการ​ อื่นๆ ได้​แทน เช่น ค่า​ติด​ตั้ง ค่า​อบรม เป็นต้น ทำ�ให้​เกิด​บริการ​ต่างๆ ตาม​มา รวม​ทั้ง​บริการ​ปรับแ​ ก้​ระบบ สรุป​ คร่าวๆ คือ ไม่ค​ ิด​เงิน​ค่า​ซอฟต์แวร์ แต่ท​ ี่​เหลือ​นอกจาก​นั้น​สามารถ​คิด​เงินได้ เนื่องจาก​ซอฟต์แวร์​โอเพ่นซอร์ส​มี​หลาก​หลาย​ระดับ การ​กำ�หนด​ยุทธศาสตร์​ใน​การ​เลือก​ใช้​จึง​ แตกต่าง​กัน​มาก แต่​อย่างไร​ก็ตาม ประเด็น​หลักๆ ที่​มัก​ใช้​กัน​คือ ต้นทุน​การ​เป็น​เจ้าของ การ​บริการ​หลังก​ าร​ ขาย ความ​รับผ​ ิดช​ อบ​ของ​ผู้พ​ ัฒนา การ​ทำ�งาน​ร่วม​กับโ​ ปรแกรม​อื่นท​ ี่เ​ป็นร​ ูปแ​ บบ​จำ�หน่าย การ​พัฒนา​บุคลากร การ​บำ�รุง​รักษา​ระบบ และ​การ​พัฒนา​ต่อย​อด หาก​จะ​จัด​กลุ่ม​ใหญ่ๆ แล้ว โอเพ่นซอร์ส​ก็​แบ่ง​ได้​เป็นก​ลุ่ม​เครื่อง​มือ (tools) กลุ่ม​แอพ​พลิ​เคชั่น (application) กลุ่มส​ ำ�นักงาน​อัตโนมัติ (office automation) โดย​การนำ�​โอเพ่นซอร์ส​มา​ใช้​จะ​ได้​ประโยชน์​ ต่าง​กัน​ไป​ใน​แต่ละ​กลุ่ม เช่น การนำ�​ลีนุกซ์ (Linux) ซึ่ง​เป็น​เครื่อง​มือ​มา​ใช้​ก็​ไม่​ต้องการ​การ​ช่วย​เหลือ​มาก​ นัก แต่​ต้อง​มี​ฝ่าย​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​มา​ช่วย​ใน​การ​สอน​และ​สนับสนุน​กันเอง​ภายใน​องค์กร หรือ​การนำ�​ สำ�นักงาน​อัตโนมัติ​มา​ใช้​ก็​ต้อง​คำ�นึง​ถึง​ไฟล์​ที่​จะ​ต้อง​รับ​จาก​ผู้​อื่น​ที่​ยังใช้​ไมโครซอฟต์​เวิร์ด (MS Word) อยู่ ส่วน​กลุ่ม​ที่​เป็นการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ต้อง​คำ�นึง​ถึง​การ​ปรับ​แต่ง การ​สนับสนุน​ช่วย​เหลือ และ​การ​ อัพเกรด เป็นต้น การนำ�​มา​ใช้​ต้อง​ศึกษา​ว่า​โอเพ่นซอร์ส​ตัว​นั้น​ใช้​ข้อ​ตกลง​แบบ​ใด โดย​ดู​จาก​ข้อ​ตกลง​เกี่ยว​กับ​ผู้​ใช้ (user agreement) หาก​เป็น​ข้อ​ตกลง​ที่ใ​ ห้​ส่ง​โปรแกรม​ส่วน​ที่​พัฒนา​ต่อย​อด​นั้น​ต้อง​โอเพ่นซอร์ส​ด้วย ก็​ต้อง​ เอา​ส่วน​ทีแ่​ ก้ไข​ใหม่บริจาค​ให้แ​ ก่ช​ ุมชน​โอเพ่นซอร์ส ซึ่งป​ ระเด็นน​ ีไ้​ ด้ม​ ผี​ ูท้​ ีไ่​ ม่ป​ ฏิบัตติ​ าม​และ​เป็นค​ วาม​ไม่พ​ อใจ​ ของ​ชุมชน​โอเพ่นซอร์สต​ ่อ​ผู้ท​ ี่​เข้า​มา​เอา​ประโยชน์​จาก​ผล​งาน​ของ​ชุมชน แต่​ไม่​แบ่ง​ปันค​ ืนให้​กับ​ชุมชน ใน​ช่วง​ หลัง​นี้​มี​โอเพ่นซอร์ส​หลาย​ตัว​ได้​เปลี่ยน​ข้อ​ตกลง​จาก​การ​เปิด​เผย (open source) ทั้งหมด​ไป​อยู่​ใน​รูป​ของ​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-103

ธ ส

โอ​เพ่น​คอร์ (open core) และ​การ​ใช้​ลิขสิทธิ์ค​ ู่ (dual licensing) กล่าว​คือ มี​การ​แบ่ง​แยก​ระหว่าง​ส่วน​ที่​เปิด​ เผย​ต้นฉบับ (open source) กับ​ส่วน​ต่อ​ขยาย (add-on) ที่​ไม่​เปิด​เผย หรือ​ส่วน​เคลือบ​หุ้ม (wrapper) ที่​ ถือ​เป็น​ระบบ​ปิด (proprietary) และ​นำ�​ไป​จำ�หน่าย​ใน​รูป​แบบ​ของ​ซอฟต์แวร์​ลิขสิทธิ์ โดย​อาจ​เกิด​จาก​การ ก​ระ​ทำ�​ของ​เจ้าของ​ต้นฉบับ​ทำ�​เอง​โดย​แยก​ส่วน​ที่เ​ปิด​เผย​ให้​ใช้​ฟรี กับส​ ่วน​ที่​ปิดแ​ ละ​คิด​ค่า​ซอฟต์แวร์​ใน​การ​ที่​ จะ​นำ�​ไป​ใช้ หรือ​อาจ​เกิด​จาก​การ​ทำ�​ข้อ​ตกลง​แบบ​มี​ทาง​เลือก​ให้​แก่​ผู้​ที่​ไป​พัฒนา​ต่อ​สามารถ​ปกปิด​ส่วน​ขยาย​ ได้ (ภาพ​ที่ 7.52)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 7.52 องค์​ประกอบ​ใน​รูป​แบบ​โอเพ่นซอร์สท​ ั้ง​ส่วน​ที่​เป็นร​ ะบบ​ปิด​กับร​ ะบบ​เปิด

ที่มา: Daffara, Carlo. “The relationship between Open Core, dual licensing and contributions.” Retrieved from the World Wide Web: http://carlodaffara.conecta.it/?p=460

ประเด็น​โอ​เพ่นค​ อร์ (open core) และ​การ​ใช้​ลิขสิทธิ์​คู่ (dual licensing) นี้​ถูก​หยิบยก​ขึ้น​มา​กล่าว​ ถึงกัน​บน​ชุมชน ถึง​ความ​เคลือบ​แคลง​สงสัยแ​ ละ​ความ​กังวล​ใจ​ต่อ​จุด​มุ่ง​หมาย​ที่แท้​จริงว​ ่า​เป็นการ​ต้องการ​หา​ ราย​ได้ใ​ น​ลักษณะ “แจก​ฟรีเ​ฉพาะ​ส่วน​พื้นฐ​ าน แต่ค​ ิดเ​งินเ​มื่อต​ ้องการ​ระบบ​ทีส่​ มบูรณ์ก​ ว่า” (freemium) หรือ​ เป็นอ​ ุดมการณ์ท​ ี่ต​ ้องการ​เสียส​ ละ​ของ​นักพ​ ัฒนา​ต้นฉบับ อย่าง​กรณีข​ อง ชูก​ าร์ซ​ ีอ​ าร์เ​อ็มซ​ ิกส​ ์ (SugarCRM 6) หรือ​โอเพ่น​เอ็กซ์​เชน​จ์ (Open-Xchange) พบ​ปัญหา​ใน​โปรแกรม​ส่วน​ที่​เป็น​โอเพ่นซอร์ส ซึ่ง​มี​เวอร์ชั่น​ที่​ไม่มี​ ปัญหา​แต่เ​ป็นการ​จ�ำ หน่าย เมือ่ ท​ �​ำ ใน​รปู แ​ บบ​โอ​เพ่นค​ อร์แ​ ล้วน​ ัน้ ก็จ​ ะ​แบ่งส​ ว่ น​ของ​โค้ดต​ น้ ฉบับอ​ อก​มา​ได้ 2 ส่วน คือ ส่วน​พื้นฐ​ าน​ทีไ่​ ม่ค​ ิดเ​งิน และ​ส่วน​ทีม่​ กี​ าร​หา​ราย​ได้ ซึ่งร​ ูปแ​ บบ​การ​หา​ราย​ได้อ​ าจ​จะ​เหมือน​การ​ซื้อซ​ อฟต์แวร์​ ลิขสิทธิ์​ทั่วไป หรือ​อยู่ใ​ น​รูป​แบบ​ของ​การ​จ่าย​ค่า​สมาชิก​ให้​แก่​เจ้าของ​ลิขสิทธิ์ หรือ​อื่นๆ หลาก​หลาย​วิธี​การ รูป​แบบ​โอ​เพ่นค​ อร์ (open core) และ​การ​ใช้​ลิขสิทธิ์​คู่ (dual licensing) ถือ​ได้​ว่าเ​ป็นการ​ขัด​ขวาง​ กระบวนการ​สร้าง​ความ​ร่วม​มือ​เสีย​สละ​ใน​ชุมชน​โอเพ่นซอร์ส เนื่องจาก​การ​ที่​จะ​ได้​รับ​อนุญาต​ใน​การนำ�​ไป​ใช้​ จะ​ต้อง​ได้ร​ ับก​ าร​ยินยอม​จาก​เจ้าของ​โค้ดต​ ้นฉบับเ​สียก​ ่อน ซึ่งไ​ ม่แ​ ตก​ต่าง​จาก​บริษัทท​ ี่ท​ ำ�​ธุรกิจแ​ บบ​ถือล​ ิขสิทธิ​์ ทั่วไป​นั่นเอง เพราะ​เป็นการ​ง่าย​ที่​เจ้าของ​โค้ด​ต้นฉบับ​จะ​ทำ�​เงิน​จาก​ส่วน​ที่​ปกปิด​รหัส​นี้ ทำ�ให้​​การ​ได้​รับ​การ​ แบ่ง​ปันจ​ าก​ผู้​อื่นก​ ็​ลด​ลง​ไป​โดย​ปริยาย

ธ ส

ธ ส

ธ ส


7-104

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

นอกจาก​นี้ มี​การ​พบ​ว่า​โค้ด​ต้นฉบับ​ของ​โปรแกรม​บาง​ตัว​ที่​ได้​มา​จาก​ชุมชน​มี​การ​แทรก​โปรแกรม​ แฮกเกอร์​ประ​เภท​ฟิช​ชิ่ง (phishing) เข้า​มา​ด้วย โดย​ไม่​ทราบ​ว่า​เกิด​จาก​ผู้​ใด​นำ�​เข้าไป และ​เมื่อ​ใด ประเด็น​ เหล่า​นี้​มี​ผล​ต่อ​ความ​เชื่อ​มั่น​ต่อ​ทิศทาง​ของ​โอเพ่นซอร์ส​ว่า​จะ​ยัง​คง​สามารถ​รักษา​ชุมชน​เอา​ไว้​ได้​นาน​หรือ​ไม่ ชุมชน​ใน​อนาคต​จะ​อยู่ใ​ น​รูป​แบบ​ใด และ​จะ​แตก​ต่าง​จาก​ซอฟต์แวร์​ลิขสิทธิ์​ทั่วไป​แค่​ไหน ใน​การนำ�​โอเพ่นซอร์สม​ า​ใช้น​ ั้น ผู้พ​ ัฒนา​จะ​ไม่ร​ ับผ​ ิดช​ อบ​ปัญหา​ใดๆ อันเ​กิดจ​ าก​การนำ�​มา​ใช้ รวม​ทั้ง​ ไม่​รับ​ผิด​ชอบ​ใน​การ​บำ�รุง​รักษา​โปรแกรม ผู้​ใช้​หรือ​ผู้​ให้​บริการ​ต่อ​เนื่อง​ต้อง​รับ​ผิด​ชอบ​เอง แต่​การ​บำ�รุง​รักษา​ เป็นต้นท​ ุน​ที่​สูง โดย​เฉพาะ​ผู้​ใช้​ที่​ไม่ใช่​นัก​พัฒนา​ระบบ​โดย​อาชีพ ใน​กรณี​ของ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที​่ เป็นแ​ บบ​โอเพ่นซอร์ส​จึงม​ ักจ​ ะ​เสนอ​ให้ใ​ ช้ร​ ูปแ​ บบ​ของ​แซส โดย​ผู้ข​ าย​จะ​ให้เ​ช่าร​ ะบบ​แทน​การ​ซื้อ และ​โอน​ภาระ​ การ​ดูแล​ระบบ​มา​ให้​ผู้ข​ าย​แทน เพื่อล​ ด​ภาระ​ของ​ผู้ใ​ ช้​และ​ถือ​เป็นการ​รับ​ผิด​ชอบ​การ​แก้​ปัญหา​แทน​ทีม​พัฒนา​ ต้นฉบับ ดังน​ ั้น การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ทีเ่​ป็นโ​ อเพ่นซอร์สจ​ ึงก​ ลาย​เป็นผ​ ูผ้​ ลักด​ ันก​ าร​ใช้ง​ านการ​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​แบบ​แซ​ส​ไป​โดย​ปริยาย แซ​สนั้นเ​ป็นเ​พียง​รูปแ​ บบ​การ​ดำ�เนินธ​ ุรกิจ ดังน​ ั้น การ​ติดต​ ั้งร​ ะบบ​โอเพ่นซอร์สก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​จึง​ไม่​จำ�กัด​ว่าการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ตัว​นั้น​จะ​เป็น​แอพ​พลิ​เคชั่​นที่​ทำ�งาน​บน​เว็บ​หรือ​ไม่ และ​ อัน​ที่​จริง​แล้ว​การ​เสนอ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​รูป​แบบ​แซ​สก็​มิได้​จำ�กัด​อยู่​เฉพาะ​กลุ่ม​โอเพ่นซอร์ส​ ด้วย​เช่นก​ ัน แต่​การ​ที่เ​สนอ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​รูป​แบบ​ของ​แซ​สมัก​จะ​เสนอ​มา​ใน​เทคโนโลยี​เว็บ เนือ่ งจาก​เป็นว​ ธิ ที​ ผี​่ พู​้ ฒ ั นา​จะ​สะดวก​ใน​การ​ดแู ล​ระบบ​แทน​ผใู้​ ช้ ซึง่ จ​ ะ​ชว่ ย​ให้ผ​ ใู้​ ช้ไ​ ม่ต​ อ้ ง​ลงทุนเ​ซิร์ฟเวอร์ ความ​ ปลอดภัย และ​ไม่​ต้อง​มี​ฝ่าย​เทคโนโลยี​สารสนเทศ จาก​การ​สำ�รวจ​พบ​ว่าต​ ้นทุนจ​ าก​การ​ใช้ก​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แบบ​แซส​ที่เ​ป็นโ​ อเพ่นซอร์ส ใน​ ส่วน​ของ​ซอฟต์แวร์​และ​ค่า​บริการ​ของ​ทั้ง 2 รูป​แบบ​นั้น​ไม่​แตก​ต่าง​กัน แต่​ต่าง​กัน​เฉพาะ​ส่วน​ของ​การ​ลงทุน​ ทาง​ด้าน​เซิร์ฟเวอร์​และ​ฮาร์ดแวร์​เท่านั้น ดัง​นั้น เมื่อ​มอง​ให้​ลึก​แล้ว กรณี​ที่​องค์กร​นำ�​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร​แบบ​โอเพ่นซอร์ส​มา​ใช้​นั้น​จะ​มี​ความ​แตก​ต่าง​จาก​การ​ซื้อ​ลิขสิทธิ์​เพียง​จุด​เดียว​คือ มี​โค้ด​ต้นฉบับ​อยู่​ ใน​มือ และ​ถ้า​ระบบ​นั้น​เป็น​แบบ​เช่า​ใช้ หรือ​แซส จึงจ​ ะ​สามารถ​ลด​ต้นทุน​การ​เป็น​เจ้าของ​ได้ เนื่องจาก​ไม่​ต้อง​ ลงทุน​ระบบ​เซิร์ฟเวอร์​เท่านั้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

6. ผลก​ระ​ทบ​ของ​วัฒนธรรม​ที่​มี​ต่อ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ทั่ว​โลก

ธ ส

ธ ส

เนื่องจาก​องค์กร​ประกอบ​ด้วย บุคลากร​เป็น​กลไก​ขับ​เคลื่อนที่​สำ�คัญ​ที่สุด ดัง​นั้น วัฒนธรรม​จึง​มี​ ผลก​ระ​ทบ​อย่าง​มาก​ต่อ​วิธี​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ ซึ่งว​ ัฒนธรรม​การ​ค้า​ของ​ตะวัน​ออก​จะ​ยืด​หยุ่น​อะ​ลุ่ม​อะล่วย และ​ ใช้ค​ วาม​เชื่อ​ใจ (trust) มาก แต่​ของ​ตะวัน​ตก​จะ​ยึดถือ​ระบบ (framework) มากกว่า ตัวอย่าง​เช่น การ​ขอรับ​ สินค้าไ​ ป​ก่อน​แล้วค​ ่อย​ทำ�​เอกสาร​ตาม​หลัง ซึ่งร​ ะบบ​ของ​ตะวันต​ ก​จะ​ไม่ย​ อมรับ หรือก​ าร​ออก​ใบ​ส่งข​ อง​ชั่วคราว การ​วาง​บิล​ก่อน​การ​เก็บ​เงิน การ​ขอ​เปลี่ยน​สินค้า การ​เบิกค​ ่า​ใช้​จ่าย​ที่ไ​ ม่มี​ใบ​เสร็จ การ​เบิก​เงิน​ล่วง​หน้า การ​รับ​ เช็ค​ก่อน​เป็น​ประกัน​โดยที่​ยัง​ไม่มี​เอกสาร​การ​ซื้อ​ขาย การ​จ่าย​เช็ค​โดยที่​ยัง​ไม่มี​เอกสาร​การ​ซื้อ เป็นต้น หรือ​ ความ​แตก​ต่าง​ใน​หลักก​ าร​ของ​การ​ผลิต ซึ่งห​ ลักก​ าร​ของ​การ​วางแผน​วัตถุดิบก​ าร​ผลิต หรือเ​อ็ม​ อาร์พ​ ี (Material Requirements Planning - MRP) เป็น​แนวคิด​แบบ​ตะวัน​ตก ขณะ​ที่​ญี่ปุ่น​มี​แนวคิด​ที่​แตก​ต่าง​กัน​คือ

ธ ส


ธ ส

การวางแผนทรัพยากรองค์กร

7-105

ธ ส

แบบ​ทันเ​วลา (Just in time - JIT) ซึ่งเ​ป็น​แนวคิด​แบบ​ดึง (pull) ซึ่ง​ภาย​หลัง​ได้​รับ​การ​ยก​ระดับ​มา​เป็นการ​ ผลิตแ​ บบ​ลีน (lean manufacturing) สิ่งเ​หล่าน​ ีต้​ ่าง​มผี​ ล​ต่อก​ าร​ออกแบบ​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากรองค์กร​ ทั้งส​ ิ้น ดังน​ ั้น การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ที่เ​กิดใ​ น​วัฒนธรรม​ที่แ​ ตก​ต่าง​กันจ​ ึงม​ ักจ​ ะ​เน้นก​ ระบวนการทำ�งาน​ ทีแ่​ ตก​ต่าง​กัน ใน​ยุคท​ ีก่​ าร​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​กำ�เนิดข​ ึ้นแ​ รกๆ นั้น มีค​ วาม​เชื่อว​ ่าซ​ อฟต์แวร์ก​ าร​วางแผน​ ทรัพยากร​องค์กร​จะ​เป็น​ซอฟต์แวร์​ครอบ​จักรวาล​ของ​องค์กร และ​องค์กร​ทั่ว​โลก​จะ​ใช้ได้​เห​มือ​นๆ กัน แต่​ แนวคิด​ยุค​ใหม่​นั้น​ให้​ความ​สำ�คัญ​กับ​วัฒนธรรม​องค์กร​ที่​แตก​ต่าง​มาก​ขึ้น รวม​ทั้ง​ธรรมเนียม​การ​ค้า และ ​ข้อ​กำ�หนด​ของ​ทางการ​ที่​แตก​ต่าง​กัน​ใน​แต่ละ​อุตสาหกรรม เนื่องจาก​ปัจจัย​เหล่า​นี้​มี​ผล​ต่อ​กระบวนการ​ ดำ�เนิน​ธุรกิจ​อย่าง​มาก ใน​ระยะ​หลัง ประเทศ​ใน​แถบ​อาเซียน​โดย​เฉพาะ​จีนแ​ ละ​อินเดีย​มีค​ วาม​สำ�คัญต​ ่อร​ ะบบ​ เศรษฐกิจ​โลก​มาก​ขึ้น ทำ�ให้​กิจการ​ทั้ง​หลาย​ทั่ว​โลก​ต่าง​มุ่ง​หน้า​มา​ที่​เอเชีย​มาก​ขึ้น กิจการ​ต่างๆ ใน​แถบ​นี้​มี​ อิทธิพล​ต่อ​เศรษฐกิจ​โลก​มาก​ขึ้น โดย​เฉพาะ​กิจการ​ของ​ชาว​จีน ทั้ง​ชาว​จีน​แผ่น​ดิน​ใหญ่ ชาว​จีน​ไต้หวัน และ​ ชาว​จีนใ​ น​แถบ​อาเซียน รวม​ทั้งใ​ น​ไทย​ด้วย อาจ​กล่าว​ได้ว​ ่า วัฒนธรรม​การ​ค้าใ​ น​แถบ​นสี้​ ่วน​ใหญ่ก​ ค็​ ือว​ ัฒนธรรม​ การ​ค้า​แบบ​จีน​นั่นเอง ขณะ​ที่​ตลาด​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​ประเทศ​แถบ​ตะวัน​ตก​ถดถอย แต่​ตลาด​ แถบ​เอเชีย​กำ�ลัง​ขยาย​ตัว​แบบ​ก้าว​กระโดด ทำ�ให้​ผู้​ผลิต​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ระดับ​โลก​ต่าง​มุ่ง​หน้า​ เพื่อ​ที่​จะ​ครอง​ตลาด​การ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​ใน​แถบ​นี้ จึง​พยายาม​พัฒนา​ระบบ​การ​วางแผน​ทรัพยากร​ องค์กร ให้เ​ข้าก​ ันไ​ ด้ก​ ับว​ ัฒนธรรม​ตะวัน​ออก​มาก​ขึ้น ซึ่งเ​รียก​ว่า เป็นการ​วางแผน​ทรัพยากร​องค์กร​แบบ​เอเชีย​ มาก​ขึ้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 7.3.4 แล้ว โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 7.3.4 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 7 ตอน​ที่ 7.3 เรื่อง​ที่ 7.3.4

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส


7-106

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

บรรณานุกรม

ธ ส

ธ ส

Aberdeen Group. “SaaS ERP: Trends and Observations.” Retrieved from the World Wide Web: http:// www.plex.com/download/AberdeenSaaSERPTrendsandObservations.pdf Boehm B. (1981). “Software Engineering Economics.” Prentice Hall. Daffara, Carlo. “The relationship between Open Core, dual licensing and contributions.” Retrieved from the World Wide Web: http://carlodaffara.conecta.it/?p=460 Martin J. and McClure G. (1983). “Software Maintenance: The Problem and its Solutions.” Prentice Hall. Stair, Ralph and Reynolds, George. (2008). Principles of Information Systems. 8th ed. Canada: Thomson Course Technology. เว็บไซต์ http://en.wikipedia.org/wiki/SQL เว็บไซต์ http://whatiserp.net/ เว็บไซต์ http://www.cio.com/article/40323/ERP_Definition_and_Solutions เว็บไซต์ http://www.wisegeek.com/what-is-enterprise-resource-planning.htm เว็บไซต์ http://www.sysoptima.com/erp/erp_modules.php เว็บไซต์ http://www.technologyevaluation.com/research/articles/the-path-to-erp-for-small-businessespart-3-selection-of-erp-software-21237/ เว็บไซต์ http://www.technologyevaluation.com/research/articles/enterprise-resource-planning-forservices-has-software-as-a-service-become-service-oriented-architecture-for-small-tomedium-businesses-19937/ เว็บไซต์ http://www.technologyevaluation.com/research/articles/from-manufacturing-to-distributionthe-evolution-of-erp-in-our-new-global-economy-19560/ เว็บไซต์ García, Jorge. “A Tour of the Clouds.” Retrieved June 22, 2010 from the World Wide Web: http://www.technologyevaluation.com/research/articles/a-tour-of-the-clouds-21076/

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.