Unit 08

Page 1


เอกสารอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส ข องมหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าชฉบั บ นี้ ได รั บ การสงวนลิ ข สิ ท ธิ์ แ ละคุ ม ครองภายใต ก ฎหมายลิ ข สิ ท ธิ์ รวมทั้ ง สนธิ สั ญ ญาว า ด ว ยทรั พ ย สิ น ทางป ญ ญา


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

หน่วย​ที่

8

ธ ส

8-1

ธ ส

กฎหมาย​และ​จริยธรรม​เกี่ยว​กับธุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์ ​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ชื่อ วุฒ ิ ตำ�แหน่ง หน่วยที่เขียน

อาจารย์​กำ�​พล ศร​ธนะ​รัตน์ วศ.บ. (วิศวกรรม​คอมพิวเตอร์) สถาบัน​เทคโนโลยี​พระจอมเกล้าลาดกระบัง บธ.บ. (บริหาร​ทั่วไป) มหาวิทยาลัย​รามคำ�แหง พบ.ม. (คอมพิวเตอร์) สถาบันบ​ ัณฑิต​พัฒนบริหารศาสตร์ บธ.บ. (การ​จัดการ) สถาบัน​บัณฑิต​ธุรกิจ​ศศิ​นทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อ​ ำ�นวย​การ​ฝ่าย​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร สำ�นักงาน​คณะ​กรรมการ​กำ�กับ​หลัก​ทรัพย์​และ​ตลาดหลักทรัพย์ หน่วย​ที่ 8 ตอน​ที่ 8.1 และ 8.2

ชื่อ วุฒ ิ ตำ�แหน่ง หน่วยที่เขียน

อาจารย์พิภัช ดวง​คำ�​สวัสดิ์ ค.บ. (คณิตศาสตร์) มหาวิทยาลัยร​ าชภัฏ​ยะลา M.S. (Economics), University of Brussels, Belgium M.S. (Information Technology), University of Brussels, Belgium อาจารย์​ประจำ� คณะ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ มหาวิทยาลัย​ศรีปทุม ผู้อ​ ำ�นวย​การ​พัฒนา​บุคลากร​ไอ​ซี​ที สถาบัน​วิทยาการ​สารสนเทศ มหาวิทยาลัย​ศรีปทุม หน่วย​ที่ 8 ตอน​ที่ 8.3

ธ ส

ธ ส

อาจารย์​กำ�​พล ศร​ธนะ​รัตน์ อาจารย์​พิภัช ดวง​คำ�​สวัสดิ์

ธ ส

ธ ส


8-2

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

หน่วย​ที่ 8

ธ ส

ธ ส

กฎหมาย​และ​จริยธรรม​เกี่ยว​กับ​ธุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์

เค้าโครง​เนื้อหา

ธ ส

ธ ส

แนวคิด

ธ ส

ตอน​ที่ 8.1 กฎหมาย​หลัก​เกี่ยว​กับ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ 8.1.1 กฎหมาย​และ​พระ​ราช​บัญญัติ​ที่เ​กี่ยวข้อง​กับธ​ ุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ 8.1.2 พระ​ราช​บัญญัติว​ ่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 8.1.3 พระ​ราช​บัญญัติว​ ่าด​ ้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับ​ที่ 2) พ.ศ. 2551 ตอน​ที่ 8.2 กฎหมาย​ลำ�ดับ​รอง​เกี่ยว​กับ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ 8.2.1 พ ระ​ราช​กฤษฎี​กา​กำ�หนด​หลักเ​กณฑ์แ​ ละ​วิธี​การ​ใน​การ​ทำ�ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์​ ภาค​รัฐ พ.ศ. 2549 8.2.2 พระ​ราช​กฤษฎีก​ าว่าด​ ว้ ย​การ​ควบคุมด​ แู ล​ธรุ กิจบ​ ริการ​ช�ำ ระ​เงินท​ าง​อเิ ล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 8.2.3 พระ​ราช​กฤษฎีก​ าว่าด​ ว้ ย​วธิ ก​ี าร​แบบ​ปลอดภัยใ​ น​การ​ท�​ำ ธรุ กรรม​ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553 8.2.4 พระ​ราช​กฤษฎี​กาว่า​ด้วย​การ​ควบคุม​ดูแล​ธุรกิจ​บริการ​ให้​บริการ​ออก​ใบรับ​รอง​ เพื่อส​ นับสนุน​ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ... (ร่าง) 8.2.5 พระ​ราช​บัญญัติว​ ่า​ด้วย​การก​ระ​ทำ�ความ​ผิด​เกี่ยว​กับ​คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ตอน​ที่ 8.3 จริยธรรม​เกี่ยว​กับ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ 8.3.1 ความ​รู้เ​บื้อง​ต้น​เกี่ยว​กับ​จริยธรรม​ทั่วไป 8.3.2 จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ 8.3.3 จริยธรรม​เกี่ยว​กับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

1. ความ​เจริญท​ าง​ดา้ น​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​ท�ำ ให้ก​ าร​ขบั เ​คลือ่ น​ภารกิจห​ ลักข​ อง​องค์กร​ตา่ งๆ ต้อง​พึ่งพา​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ จึงม​ ีค​ วาม​จำ�เป็นต​ ้อง​มีก​ าร​จัดร​ ะเบียบ​การ​ใช้ง​ าน เพื่อใ​ ห้​ ใช้​งาน​ได้​อย่าง​มั่นคง​ปลอดภัย 2. ใน​การ​จัด​ระเบียบ​การ​ใช้​งาน​ทาง​ด้าน​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​นั้น จำ�เป็น​ต้อง​มี​การ​ตรา​ กฎหมาย​หลัก​และ​กฎหมาย​ลำ�ดับ​รอง เพื่อ​ให้​มี​การ​ปฏิบัติ​ได้​อย่าง​ถูก​ต้อง และ​สามารถ​ สร้าง​ความ​เชื่อ​มั่น​ต่อ​ผู้รับบ​ ริการ รวม​ถึง​ผู้​บริโภค​ด้วย

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

8-3

ธ ส

3. เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร​ได้​เข้าม​ า​มี​บทบาท​กับท​ ุก​คน​ โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่งกับ​ บุคคล​ที่​ประกอบ​วิชาชีพ​เกี่ยว​กับ​ธุรกิจ​หรือ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​ซึ่ง​ต้อง​อาศัย​เทคโนโลยี​ สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร ซึ่งมีท​ ั้ง​ประโยชน์​มากมาย​และ​ใน​ขณะ​เดียวกัน​ก็​มี​ภัย​ร้าย​แรง​ เช่น​กัน ดังน​ ั้น ผู้ท​ ี่​ประกอบ​วิชาชีพ​​เกี่ยว​กับ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​จึง​จำ�เป็น​ต้อง​มี​คุณธรรม​ และ​จริยธรรม​กำ�กับ​ไป​ด้วย ทั้งนี้​เพื่อ​ให้​เกิด​ประโยชน์​ต่อ​มนุษยชาติ​อย่าง​แท้จริง

วัตถุประสงค์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

เมื่อศ​ ึกษา​หน่วย​ที่ 8 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. อธิบาย​เหตุผล​และ​ความ​จ�ำ เป็นข​ อง​การ​ตรา​กฎหมาย​หลักเ​กีย่ ว​กบั ธ​ รุ กิจท​ าง​อเิ ล็กทรอนิกส์​ และ​สาระ​สำ�คัญข​ อง​กฎหมาย​ได้ 2. อธิบาย​กฎหมาย​ลำ�ดับ​รอง​เกี่ยว​กับ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​และ​สาระ​สำ�คัญ​ของ​กฎหมาย​ได้ 3. อธิบาย​ความ​รู้​เบื้อง​ต้น​เกี่ยว​กับ​จริยธรรม​ทั่วไป สาระ​สำ�คัญ​ทาง​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ ​และ​ จริยธรรม​เกี่ยว​กับธุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์​ได้

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส


8-4

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ตอน​ที่ 8.1

ธ ส

กฎหมาย​หลัก​เกี่ยว​กับ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

โปรด​อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ�​ตอน​ที่ 8.1 แล้วจ​ ึง​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ พร้อม​ปฏิบัติ​กิจกรรม​ใน​แต่ละ​เรื่อง

หัว​เรื่อง

แนวคิด

ธ ส

เรื่อง​ที่ 8.1.1 กฎหมาย​และ​พระ​ราช​บัญญัติ​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง​ที่ 8.1.2 พระ​ราช​บัญญัติว​ ่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เรื่อง​ที่ 8.1.3 พระ​ราช​บัญญัติว​ ่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับ​ที่ 2) พ.ศ. 2551

ธ ส

ธ ส

1. กฎหมาย​หลัก​ทาง​ด้าน​เทคโนโลยี​สารสนเทศ ใน​ปัจจุบัน​มี​ด้วย​หลาย​ฉบับ อาทิ พระ​ราช​ บั ญ ญั ติ ​ข้ อ มู ล ​ข่ า วสาร​ข อง​ท าง​ร าชการ พระ​ร าช​บั ญ ญั ติ ​ลิ ข สิ ท ธิ์ พระ​ร าช​บั ญ ญั ติ ​ว่ า​ ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​การก​ระ​ทำ�ความ​ผิด​เกี่ยว​กับ​ คอมพิ ว เตอร์ แต่ ​สำ � หรั บ ​ใ น​เ รื่ อ งนี้ ​จ ะ​เ น้ น ​ที่ ​พ ระ​ร าช​บั ญ ญั ติ ​ว่ า ​ด้ ว ย​ธุ ร กรรม​ท าง​ อิเล็กทรอนิกส์ เพราะ​เกี่ยวข้อง​โดยตรง​กับ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ 2. พระ​ราช​บัญญัติว​ ่าธ​ ุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ มีด​ ้วย​กัน 2 ฉบับ คือ ฉบับ พ.ศ. 2544 และ​ ฉบับ​ที่ 2 หรือ​ฉบับ​แก้ไข พ.ศ. 2551 เป็น​กฎหมาย​ที่​มี​ความ​สำ�คัญ​และ​จำ�เป็น​ต่อ​การ​ทำ�​ ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจ​ ะ​ต้อง​ศึกษา​สาระ​สำ�คัญ​และ​ทำ�ความ​เข้าใจ

วัตถุประสงค์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 8.1 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. อ ธิ บ าย​ค วาม​เ ป็ น ​ม า​ใ น​ก าร​อ อก​ก ฎหมาย​แ ละ​พ ระ​ร าช​บั ญ ญั ติ ​ที่ ​เ กี่ ย วข้ อ ง​กั บ ​ธุ ร กิ จ​ อิเล็กทรอนิกส์​ได้ 2. อธิบาย​ขั้น​ตอน​การ​ออก​กฎหมาย​และ​พระ​ราช​บัญญัติ​เกี่ยว​กับ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์​ได้ 3. อธิบาย​พระ​ราช​บัญญัตวิ​ ่าด​ ้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และ ฉบับแ​ ก้ไข หรือ​ ฉบับ​ที่ 2 พ.ศ. 2551 รวม​ถึง ความ​จำ�เป็นใ​ น​การ​ตรา​พระ​ราช​บัญญัติ และ​สาระ​สำ�คัญ​ของ​ กฎหมาย​พอ​สังเขป​ได้

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-5

ธ ส

เรื่อง​ที่ 8.1.1 กฎหมาย​และ​พระ​ราช​บัญญัติ​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​ธุรกิจ ​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

1. ความ​เป็น​มา

ธ ส

ช่วง​หลาย​ปี​ที่​ผ่าน​มา กระแส​ความ​ตื่น​ตัว​ใน​เรื่อง​การ​ปฏิบัติ​ตาม​กฎหมาย​และ​กฎ​ระเบียบ​ต่างๆ (regulatory compliance) เกิด​ขึ้น​อย่าง​แพร่ห​ ลาย ทั้ง​เกิด​จาก​ความ​กดดัน​ภายใน และ​กระแส​ความ​กดดัน​ จาก​องค์กร​ต่าง​ประเทศ ที่​กำ�หนด​ให้​องค์กร​ต่างๆ ที่​มี​การ​ประยุกต์​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​ การ​ขับ​เคลื่อน​ภารกิจ​องค์กร ต้อง​มี​การ​จัด​ระเบียบ​การ​ใช้​งาน​และ​การ​ให้​บริการ​ที่​มั่นคง​ปลอดภัย เพื่อ​สร้าง​ ความ​เชื่อ​มั่น​ใน​การ​ประยุกต์​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​ใช้​งาน​สารสนเทศ​ทั้ง​ภายใน​และ​ภายนอก​องค์กร การ​บัญญัติก​ ฎหมาย​เพื่อ​ใช้​บังคับถ​ ือเ​ป็น​ความ​จำ�เป็นข​ ั้น​พื้น​ฐาน​ของ​การ​ดำ�รง​ชีวิตท​ ี่​มี​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ เป็น​ส่วน​ประกอบ​ใน​ชีวิตป​ ระจำ�​วัน สำ�หรับป​ ระเทศไทย มีก​ ฎหมาย​ที่เ​กี่ยวข้อง​กับส​ ารสนเทศ​และ​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​ที่ม​ ีผ​ ล​ใช้บ​ ังคับ​ แล้ว​ด้วย​กัน​หลาย​ฉบับ อาทิ - พระ​ราช​บัญญัติข​ ้อมูลข​ ่าวสาร​ของ​ราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อใ​ ห้ป​ ระชาชน​ใน​ระบอบ​ประชาธิปไตย​ม​ี สิทธิร​ ับร​ ู้ข​ ้อมูลข​ ่าวสาร​ของ​ราชการ โดย​กำ�หนด​ข้อย​ กเว้น​เฉพาะ​กรณีท​ ี่ห​ าก​เปิดเ​ผย​แล้วจ​ ะ​เกิดค​ วาม​เสียห​ าย​ ต่อ​ประเทศ​ชาติ​หรือต​ ่อ​ส่วน​รวม การ​ได้​รับ​รู้​ข้อมูล​ข่าวสาร​เกี่ยว​กับ​การ​ดำ�เนิน​งาน​ต่างๆ ของ​รัฐ​เป็น​สิ่ง​จำ�เป็น เพื่อใ​ ห้ป​ ระชาชน​ได้แ​ สดง​ความ​คิดเ​ห็นแ​ ละ​ใช้ส​ ิทธิท​ างการ​เมือง​ได้อ​ ย่าง​ถูกต​ ้อง​กับค​ วาม​เป็นจ​ ริง อันเ​ป็นห​ ลัก​ การ​พืน้ ฐ​ าน​ของ​การ​ปกครอง​ใน​ระบอบ​ประชาธิปไตย รวม​ถงึ การ​รสู​้ ทิ ธิห​ น้าทีข​่ อง​ตน​และ​รกั ษา​สทิ ธิส​ ว่ น​บคุ คล​ ใน​ส่วน​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​ข่าวสาร​ของ​ราชการ - กฎหมาย​เกี่ยว​กับ​ทรัพย์สิน​ทาง​ปัญญา ซึ่ง​ประกอบ​ด้วย กฎหมาย​ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และ​สิทธิ​บัตร ประเทศไทย​มี​การ​ตรา​พระ​ราช​บัญญัติ​ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 เพื่อ​คุ้มครอง​งาน​สร้างสรรค์​ใน​ รูป​วรรณกรรม โสต​ทัศน​วัสดุ งาน​แพร่​ภาพ เช่น ภาพยนตร์ และ​งาน​แพร่​เสียง เช่น งาน​เพลง สำ�หรับ​งาน​ ด้าน​การ​เขียน​โปรแกรม​คอมพิวเตอร์​จัด​เป็น​ประเภท​หนึ่ง​ของ​วรรณกรรม รวม​ถึง งาน​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​ บันทึก​ข้อมูล​ใน​ฐาน​ข้อมูล​คอมพิวเตอร์ ก็​จัด​เป็น​ทรัพย์สิน​ทาง​ปัญญา​ประเภท​วรรณกรรม​ด้วย​เช่น​เดียวกัน ใน​การ​แก้ไข​พระ​ราช​บัญญัติก​ ็ได้น​ ำ�​ประเด็น​นี้​บัญญัติ​ไว้​ใน​พระ​ราช​บัญญัติ​ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ด้วย สำ�หรับ​ เครื่องหมายการค้า​ต้อง​มี​การ​ขอ​จด​ทะเบียน ตาม​เงื่อนไข​ที่​กำ�หนด​ใน​พระ​ราช​บัญญัติ​เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 กล่าว​คือ เป็น​เครื่องหมายการค้า​ที่ม​ ี​ลักษณะ​บ่ง​เฉพาะ ไม่มี​ลักษณะ​ต้อง​ห้าม​ตาม​กฎหมาย และ​ เป็นเ​ครื่องหมายการค้า​ที่ไ​ ม่ซ​ ้ำ�​หรือค​ ล้าย​กับเ​ครื่องหมายการค้า​อื่นท​ ี่ไ​ ด้จ​ ด​ทะเบียน​ไป​แล้ว ส่วน​สิทธิบ​ ัตร​หรือ​ สิทธิ​พิเศษ​ใน​การ​แสวงหา​ประโยชน์จ​ าก​การ​ผลิต​และ​จำ�หน่าย​ผลิตภัณฑ์​ที่​ได้​รับ​สิทธิ​บัตร​นั้น ประเทศไทย​มี​ การ​คุ้มครอง​สิทธิ​บัตร​เป็น​ครั้งแ​ รก โดย​การ​ตรา​พระ​ราช​บัญญัติ​สิทธิ​บัตร พ.ศ. 2522 ซึ่ง​ต่อ​มา​มี​การ​แก้ไข​ใน

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-6

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

พ.ศ. 2535 และ ​พ.ศ. 2542 การ​คุ้มครอง​ตาม​กฎหมาย รวม​ถึง เทคโนโลยี​การ​ประดิษฐ์ และ​การ​ออกแบบ​ ทาง​อุตสาหกรรม - กฎหมาย​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ โดย​ความ​ตั้งใจ​เดิมจ​ ะ​มกี​ ฎหมาย​ออก​มา​ใช้บ​ ังคับท​ ั้งหมด 6 ฉบับ (ประกอบ​ด้วย กฎหมาย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมาย​ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมาย​การก​ระ​ทำ� ความ​ผิดเ​กี่ยว​กับ​คอมพิวเตอร์ กฎหมาย​การ​โอน​เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมาย​คุ้มครอง​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล และ​กฎหมาย​ลำ�ดับร​ อง​ของ​รัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๘ ว่าด​ ้วย​การ​เข้าถ​ ึงโ​ ครงสร้าง​พื้นฐ​ าน​สารสนเทศ​อย่าง​ทั่วถ​ ึง​ และ​เท่า​เทียม) ตาม​มติ​คณะ​รัฐมนตรี​เมื่อ​ปี พ.ศ. 2539 ที่​ให้​ความ​เห็น​ชอบ​ต่อ​นโยบาย​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ หรือ​ไอที 2000 ที่​เสนอ​โดย​กระทรวง​วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี​และ​สิ่ง​แวดล้อม ตาม​มติ​ดัง​กล่าว​ได้​มอบ​หมาย​ ให้​คณะ​กรรมการ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​แห่ง​ชาติ เป็น​ศูนย์กลาง​ใน​การ​ดำ�เนิน​การ​และ​ประสาน​งาน​ระหว่าง​ หน่วย​งาน​ต่างๆ - ที่​กำ�ลัง​ดำ�เนิน​การ​จัด​ทำ�​กฎหมาย​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​กฎ​หมา​ยอื่นๆ ที่​เกี่ยวข้อง โดย​มี​ ศูนย์​เทคโนโลยีอ​ ิเล็กทรอนิกส์แ​ ละ​คอมพิวเตอร์แ​ ห่ง​ชาติ หรือ​เนค​เทค (NECTEC) สังกัด​สำ�นักงาน​พัฒนา​ วิทยาศาสตร์​และ​เทคโนโลยี​แห่งช​ าติ ทำ�​หน้าที่​เป็น​เลขานุการ​ของ​คณะ​กรรมการ จนถึงป​ ัจจุบันไ​ ด้ม​ กี​ าร​ประกาศ​ใช้ก​ ฎหมาย​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​แล้ว ประกอบ​ด้วย พระ​ราช​บัญญัต​ิ ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ที่ไ​ ด้​ผนวก​กฎหมาย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​และ​กฎหมาย​ ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์​เข้า​ไว้​ด้วย​กัน​เป็น​ฉบับ​เดียว มี​ผล​บังคับ​ใช้​เมื่อ​วัน​ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2545 และ ​พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​การก​ระ​ทำ�​ความผิด​เกี่ยว​กับ​คอมพิวเตอร์​ พ.ศ. 2550 มี​ผล​บังคับ​ใช้​เมื่อ​วัน​ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 กฎหมาย​เกี่ยว​กับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ มุ่ง​เน้น​ที่​การ​ส่ง​เสริม​ให้​มี​การ​ ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​แทน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ตาม​ช่อง​ทาง​ปกติ ซึ่ง​ต้อง​สร้าง​ความ​เชื่อ​มั่น​ใน​การ​ทำ�​ ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง​ต่อ​ภาค​รัฐ​และ​ภาค​เอกชน​ด้วย​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ด้วย​วิธี​การ​ แบบ​ปลอดภัย จึง​จะ​มี​ส่วน​ช่วย​ใน​การ​ป้องกัน​การ​ฉกฉวย​ประโยชน์​ใน​ทาง​ที่​ผิด ช่วย​ป้องกัน​ผู้​รู้​เอา​เปรียบ​ คน​ที่​ไม่รู้ และ​ป้องกัน​คน​ที่​รู้​กฎหมาย​อาศัย​ช่อง​โหว่​ของ​กฎหมาย​เพื่อ​ก่อ​ประโยชน์​ใส่​ตัว ใน​ยุค​ที่​สังคม​ถึง​ ยุค​เสื่อม​ทาง​ด้าน​จริยธรรม การ​ใช้​กลไก​ของ​กฎหมาย​จึง​เป็นส​ ิ่ง​ที่ห​ ลีก​เลี่ยง​ไม่​ได้​และ​ต้อง​เร่ง​ดำ�เนิน​การ และ​ เป็น​สิ่ง​ที่​ท้าทาย​สำ�หรับ​องค์กร​ที่​มีหน้า​ที่​กำ�กับ​ดูแล​และ​บังคับ​ใช้​กฎหมาย การ​สร้าง​สมดุล​ระหว่าง​การ​รักษา​ ประโยชน์ข​ อง​องค์กร​กับ​การ​คุ้มครอง​ผู้​บริโภค เป็นส​ ิ่ง​ที่​ต้อง​อาศัย​วิสัย​ทัศน์​และ​ความ​เข้าใจ​ทุก​ศาสตร์​แบบ ​ผสม​ผสาน​ของ​องค์กร​กำ�กับ​ดูแล​ไม่น​ ้อย​ที​เดียว อย่างไร​ก็ตาม กฎหมาย​ยัง​ไม่ใช่​ทางออก​สุดท้าย เพราะ​การ​ บังคับ​ใช้​จน​กระทั่ง​นำ�​ไป​สู่​การ​ลงโทษ​ตาม​ฐาน​ความ​ผิด จำ�เป็น​ต้อง​ใช้​เวลา​และ​ให้​ความ​เป็น​ธรรม​ต่อ​ทุก​ฝ่าย​ ที่​เกี่ยวข้อง ความ​จำ�เป็น​ต่อ​การ​กำ�หนด​และ​เสริม​สร้าง​จริยธรรม​เกี่ยว​กับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ จึง​เป็น​สิ่ง​ที่​ต้อง​มี​การ​ดำ�เนิน​การ​ควบคู่ก​ ัน​ไป

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-7

ธ ส

2. ขั้น​ตอน​การ​ออก​กฎหมาย และ​พระ​ราช​บัญญัติ​เกี่ยว​กับธ​ ุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์

ขัน้ ต​ อน​การ​ออก​กฎหมาย​และ​พระ​ราช​บญ ั ญัติ (พ.ร.บ.) เกีย่ ว​กบั ก​ าร​ท�​ำ ธรุ กรรม​ทาง​อเิ ล็กทรอนิกส์ ใช้​ ขั้นต​ อน​เดียวกันก​ ับก​ าร​ออก​กฎหมาย​โดย​ทั่วไป ตาม​ทีป่​ รากฏ​ว่าก​ ฎหมาย​ด้าน​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ ทีบ่​ ัญญัต​ิ ขึ้น​ใช้​งาน​ใน​ปัจจุบัน​มี​ทั้งท​ ี่​จัด​ทำ�​เป็น​พระ​ราช​บัญญัติ พระ​ราช​กฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) และ​ประกาศ​ของ​กระทรวง​ เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ ซึ่ง​กฎหมาย​แต่ละ​รูป​แบบ​มี​ขั้น​ตอน​ที่​แตก​ต่าง​กัน (ความ​รู้​เบื้อง​ต้น​เกี่ยว​กับ​กฎหมาย​ ไทย เว็บไซต์ http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Law1/Law-Thai.htm) ดังนี้ 2.1 การ​จัด​ทำ�​พระ​ราช​บัญญัติ พระ​ร าช​บั ญ ญั ติ เป็ น ​ก ฎหมาย​ที่ ​มี ​ค วาม​สำ � คั ญ ​ร อง​ล ง​ม า​จ าก​ รัฐธรรมนูญ เป็นก​ ฎหมาย​ทอี​่ อก​โดย​ฝา่ ย​นติ บิ ญ ั ญัติ ซึง่ พ​ ระ​มหา​กษัตริยท​์ รง​ตรา​ขึน้ ต​ าม​ค�​ำ แนะนำ�​และ​ยนิ ยอม​ ของ​รัฐสภา มีข​ ั้น​ตอน​และ​วิธี​การ​ดังนี้ 2.1.1 การ​เสนอ​ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติ ผู้​ที่​มี​สิทธิ​เสนอ​ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติ ได้แก่ คณะ​รัฐมนตรี หรือ​สมาชิก​สภา​ผู้​แทน​ราษฎร​ซึ่ง​พรรคการเมือง​ที่​สังกัด​มี​มติ​ให้​เสนอ​ได้ และ​มี​สมาชิก​สภา​ผู้​แทน​ราษฎร​ ซึ่ง​สังกัด​พรรคการเมือง​เดียวกัน​ลงชื่อ​รับรอง​ไม่​น้อย​กว่า 20 คน หรือ​ผู้​มี​สิทธิ​เลือก​ตั้ง​จำ�นวน​ไม่​น้อย​กว่า 50,000 คน เสนอ​ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติ​ได้​เฉพาะ​เรื่อง​ที่​เกี่ยว​กับ​สิทธิ​เสรีภาพ หรือ​แนว​นโยบาย​แห่ง​รัฐ ร่าง​ พระ​ราช​บัญญัติ​ที่​สมาชิก​สภา​ผู้แ​ ทน​ราษฎร​เป็น​ผู้เ​สนอ ถ้า​เป็น​เรื่อง​เกี่ยว​กับ​การ​เงิน​ต้อง​ให้​นายก​รัฐมนตรี​ลง​ นาม​รับรอง​ด้วย 2.1.2 การ​พจิ ารณา​รา่ ง​พระ​ราช​บญ ั ญัติ ผู้พ​ ิจารณา​ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติ ได้แก่ รัฐสภา โดย​ต้อง​ ผ่าน​การ​พิจารณา​ให้​ความ​เห็น​ชอบ​จาก​สภา​ผู้แ​ ทน​ราษฎร​ก่อน แล้ว​จึง​เสนอ​ให้​วุฒิสภา​พิจารณา 1) การ​พจิ ารณา​รา่ ง​พระ​ราช​บญ ั ญัตข​ิ อง​สภา​ผแ​ู้ ทน​ราษฎร จะ​พิจารณา​โดย​แบ่งอ​ อก​เป็น 3 วาระ คือ วาระ​ที่ 1 รับ​หลัก​การ ที่​ประชุม​สภา​ผู้​แทน​ราษฎร​จะ​พิจารณา​เฉพาะ​หลัก​การ​ของ​ ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า เกี่ยวข้อง​กับ​เรื่อง​ใด​บ้าง มี​ความ​เหมาะ​สม จำ�เป็น​หรือ​ไม่ โดย​ไม่​พิจารณา​ราย​ละ​เอียด​ อื่นๆ แล้วล​ ง​มติว​ ่า​จะ​รับ​หลัก​การ​หรือ​ไม่ ถ้า​ไม่​รับ​หลักก​ าร​ก็​ตก​ไป ถ้า​รับ​หลักก​ าร​ก็​จะ​ตั้ง​คณะ​กรรมาธิการ​ขึ้น​ พิจารณา​ราย​ละเอียด สมาชิก​สภา​ผู้​แทน​ราษฎร​ทุก​คน​มี​สิทธิ​เสนอ​ขอ​แปร​ญัตติ เพื่อ​ขอ เปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่ม​เติม ต่อ​ประธาน​คณะ​กรรมาธิการ วาระ​ที่ 2 แปร​ญัตติ ทีป่​ ระชุม​สภา​ผู้​แทน​ราษฎร​จะ​พิจารณา​เรียง​ลำ�ดับ​มาตรา ที่​มี​ การ​ขอ​แปร​ญัตติ และ​ลง​มติ​เฉพาะ​มาตรา​นั้นว​ ่าจ​ ะ​เปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่ม​เติม​ตาม​ที่​สมาชิก​สภา​ผแู้​ ทน​ราษฎร​ เสนอ หรือค​ ง​ไว้​ตาม​เดิม วาระ​ที่ 3 ลง​มติ​ให้​ความ​เห็น​ชอบ ที่​ประชุม​สภา​ผู้​แทน​ราษฎร จะ​ลง​มติ​ว่า​เห็น​ชอบ​ หรือ​ไม่เ​ห็น​ชอบ จะ​เปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่ม​เติมใ​ ดๆ อีก​ไม่​ได้ ถ้า​ไม่​เห็น​ชอบ​กต็​ ก​ไป ถ้า​เห็น​ชอบ​ด้วย​ก็​ส่งใ​ ห้​ วุฒิสภา​พิจารณา​ต่อ​ไป 2) การ​พิจารณา​ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติ​ของ​วุฒิสภา วุฒิสภา​จะ​พิจารณา​ให้​ความ​เห็น​ชอบ​ ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติท​ ี่​เสนอ​มา โดย​แบ่ง​ออก​เป็น 3 วาระ เช่น​เดียว​กับ​สภา​ผู้​แทน​ราษฎร และ​จะ​ต้อง​พิจารณา​ ให้​เสร็จ​ภายใน 60 วัน ถ้า​เป็น​ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติเ​กี่ยว​กับ​การ​เงิน ต้อง​พิจารณา​ให้​เสร็จภายใน 30 วัน ถ้า​ไม่​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-8

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

เสร็จ​ที่​ประชุม​อาจ​ลง​มติ​ให้​ขยาย​เวลา​ออก​ไป​ได้​อีก 30 วัน ถ้า​ไม่​เสร็จ​ภายใน​กำ�หนด​เวลา​ดัง​กล่าว ให้​ถือว่า​ วุฒิสภา​ให้​ความ​เห็น​ชอบ​กับ​ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติน​ ั้น ถ้าว​ ฒ ุ สิ ภา​มม​ี ติไ​ ม่เ​ห็นช​ อบ ให้ย​ บั ยัง้ ร​ า่ ง​พระ​ราช​บญ ั ญัตน​ิ ัน้ ไ​ ว้ก​ อ่ น​และ​สง่ ค​ นื ส​ ภา​ผแู​้ ทน​ราษฎร สภา​ผู้​แทน​ราษฎร​จะ​ยก​ขึ้น​พิจารณา​ใหม่​ได้​ต่อ​เมื่อ​พ้น 180 วัน ถ้า​เป็น​ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติ​เกี่ยว​กับ​การ​เงิน สามารถ​ยก​ขึ้น​พิจารณา​ใหม่ไ​ ด้​ทันที ถ้า​สภา​ผู้​แทน​ราษฎร​ลง​มติ​ยืนยันร​ ่าง​พระ​ราช​บัญญัติ​เดิม ด้วย​คะแนน​ เสียง​มากกว่า​กึ่ง​หนึ่งใ​ ห้​ถือว่าร​ ่าง​พระ​ราช​บัญญัติน​ ั้น​ได้​รับ​ความ​เห็นช​ อบ​จาก​รัฐสภา 2.1.3 การ​ตรา​ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติ ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติ​ที่​ได้​รับ​ความ​เห็น​ชอบ​จาก​รัฐสภา​ แล้ว ให้​นายก​รัฐมนตรี​นำ�​ขึ้น​ทูล​เกล้า​เพื่อ​ทรง​ลง​พระ​ปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน โดย​นายก​รัฐมนตรี​เป็น​ ผู้ล​ ง​นาม​รับส​ นอง​พระบรม​ราชโองการ​ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติท​ ี่พ​ ระ​มหา​กษัตริย์ไ​ ม่ท​ รง​เห็นช​ อบ​และ​พระราชทาน​ คืน​มา หรือ​เมื่อ​พ้น 90 วัน​แล้ว มิได้​พระราชทาน​คืนม​ า รัฐสภา​จะ​ต้อง​ปรึกษา​ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติ​นั้น​ใหม่ ถ้า​ รัฐสภา​ลง​มติ​ยืน​ยัน​ตาม​เดิม​ด้วย​คะแนน​เสียง​ไม่​น้อย​กว่า 2 ใน 3 ของ​จำ�นวน​สมาชิก​เท่า​ที่​มี​อยู่​ของ​ทั้ง​สอง​ สภา ให้​นายก​รัฐมนตรี​นำ�​ร่าง​พระ​ราช​บัญญัติ​นั้น​ขึ้น​ทูลเกล้าฯ อีก​ครั้ง​หนึ่ง เมื่อ​พระ​มหา​กษัตริย์​มิได้​ทรง​ ลง​พระ​ปรมาภิไธย​พระราชทาน​คืน​มา​ภายใน 30 วัน ให้​นายก​รัฐมนตรี​นำ�​พระ​ราช​บัญญัติ​นั้น​ประกาศ​ใน​ ราช​กิจ​จา​นุเบกษา ใช้​บังคับเ​ป็น​กฎหมาย​เสมือน​หนึ่ง​ว่า​พระ​มหา​กษัตริย์​ได้​ทรง​ลง​พระ​ปรมาภิไธย​แล้ว 2.1.4 การ​ประกาศ​ใช้พ​ ระ​ราช​บญ ั ญัติ พระ​ราช​บญ ั ญัตท​ิ พี​่ ระ​มหา​กษัตริยท​์ รง​ลง​พระ​ปรมาภิไธย เมื่อ​นำ�​ไป​ประกาศ​ใน​ราช​กิจ​จา​นุเบกษา แล้ว​ให้​ใช้​บังคับ​เป็น​กฎหมาย​ได้ 2.2 การ​จัด​ทำ�​พระ​ราช​กฤษฎีกา พระ​ราช​กฤษฎีกา เป็น​กฎหมาย​ที่​ออก​โดย​ฝ่าย​บริหาร ที่​พระ​มหา-​ กษัตริย์​ทรง​ตรา​ขึ้น​ตาม​คำ�​แนะนำ�​ของ​คณะ​รัฐมนตรี พระ​ราช​กฤษฎีกา​เป็น​กฎหมาย​ที่​มี​ศักดิ์​รอง​ลง​มา​จาก​ พระ​ราช​บัญญัติ การ​ออก​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ต้อง​อาศัย​กฎหมาย​อื่น​ที่​มี​ศักดิ์​สูง​กว่า​ซึ่ง​เป็น​กฎหมาย​แม่บท​ให้​ อำ�นาจ​ให้​ออก​ได้ เช่น การ​จัด​ให้​มี​การ​เลือก​ตั้ง​ทั่วไป รัฐธรรมนูญ​บัญญัติ​ให้​ตรา​เป็น​พระ​ราช​กฤษฎีกา หรือ​ พระ​ราช​บัญญัตริ​ ะเบียบ​บริหาร​ราชการ​แผ่นดิน พ.ศ. 2534 บัญญัตใิ​ ห้การ​แบ่งส​ ่วน​ราชการ​ใน​สำ�นักเ​ลขานุการ​ รัฐมนตรี กรม หรือส​ ่วน​รายการ​ที่เ​รียก​ชื่ออ​ ย่าง​อื่น​และ​มี​ฐานะ​เป็นก​รม ให้​ตรา​เป็น​พระ​ราช​กฤษฎีกา เป็นต้น ดัง​นั้นก​ าร​ออก​พระ​ราช​กฤษฎีกา​จะ​ขัด​ต่อ​กฎหมาย​แม่บท​ไม่​ได้ 2.2.1 การ​เสนอ​รา่ ง​พระ​ราชกฤษฎีกา ผูเ้​สนอ​ร่าง​พระ​ราช​กฤษฎีกา ได้แก่ รัฐมนตรี​ผูเ้​กี่ยวข้อง​ กับเ​รือ่ ง​นัน้ เป็นเ​รือ่ ง​เกีย่ วข้อง​กบั ก​ ระทรวง​ใด รัฐมนตรีว​ า่ การ​กระทรวง​นัน้ ก​ เ​็ ป็นผ​ เู​้ สนอ เช่น พระ​ราช​กฤษฎีกา​ ค่าเ​ช่าบ​ ้าน​ข้าราชการ พ.ศ. 2527 เป็น​เรื่อง​ที่เ​กี่ยวข้อง​กับก​ ระทรวง​การ​คลัง รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​การ​คลัง​ ก็​เป็น​ผู้​เสนอ เป็นต้น 2.2.2 การ​พจิ ารณา​รา่ ง​พระ​ราช​กฤษฎีกา ผูพ้​ ิจารณา​ร่าง​พระ​ราช​กฤษฎีกา ได้แก่ คณะ​รัฐมนตรี โดย​พิจารณา​ว่า​พระ​ราช​กฤษฎีกา​นั้น มี​กฎหมาย​ฉบับ​ใด​ให้​อำ�นาจ​ออก​ได้​หรือ​ไม่ มี​ข้อความ​ใด​ขัด​แย้ง​กับ​ หลัก​เกณฑ์ท​ ี่ก​ ำ�หนด​ไว้ใ​ น​กฎหมาย​แม่บท​หรือ​ไม่ 2.2.3 การ​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา ผู้ ​ต รา​พ ระ​ร าช​ก ฤษฎี ก า ได้ แ ก่ พระ​ม หา​ก ษั ต ริ ย์ เมื่ อ​ คณะ​รัฐมนตรี​พิจารณา​ร่าง​พระ​ราช​กฤษฎีกา​แล้ว เห็น​ว่า​เหมาะ​สม​และ​ใช้ได้​ก็​จะ​นำ�​พระ​ราช​กฤษฎีกา​นั้น​ขึ้น​ ทูลเกล้าฯ ​เพื่อ​ทรง​ลง​พระ​ปรมาภิไธย โดย​มี​รัฐมนตรี​ผู้​เกี่ยวข้อง​เป็น​ผู้รับ​สนอง​พระบรม​ราชโองการ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-9

ธ ส

2.2.4 การ​ประกาศ​ใช้​พระ​ราช​กฤษฎีกา พระ​ราช​กฤษฎีกา​ที่​พระ​มหา​กษัตริย์​ทรง​ลง​พระ-​ ปรมาภิไธย เมื่อ​ประกาศ​ใน​ราช​กิจ​จา​นุเบกษา​แล้ว​จึง​จะ​มี​ผล​ใช้​บังคับ​เป็น​กฎหมาย​ได้ 2.3 การ​จดั ท​ �​ำ กฎ​กระทรวง กฎ​กระทรวง เป็นก​ ฎหมาย​ทอี​่ อก​โดย​ฝา่ ย​บริหาร ซึง่ ร​ ฐั มนตรีผ​ ูร้ กั ษาการ​ ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ ได้อ​ อก​เพื่อด​ ำ�เนินก​ าร​ให้เ​ป็นไ​ ป​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัตทิ​ ีก่​ ฎหมาย​แม่บท​ให้อ​ ำ�นาจ​ไว้ ดังน​ ั้น กฎ​กระทรวง​จะ​ต้อง​ไม่​ขัด​ต่อ​กฎหมาย​แม่บท 2.3.1 การ​เสนอ​กฎ​กระทรวง ผูเ​้ สนอ​กฎ​กระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรีผ​ เู​้ กีย่ วข้อง​กบั เ​รือ่ ง​นัน้ กล่าว​ คือ เป็นเ​รื่อง​ของ​กระทรวง​ใด รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​นั้น​ก็​เป็นผ​ ู้​เสนอ 2.3.2 การ​พจิ ารณา​กฎ​กระทรวง ผูพ​้ จิ ารณา​กฎ​กระทรวง ได้แก่ คณะ​รฐั มนตรี โดย​จะ​พจิ ารณา​ กลั่นก​ รอง​ว่า​มีข​ ้อความ​ใด​ขัด​แย้งก​ ับ​กฎหมาย​แม่บท​หรือ​ขัด​ต่อ​นโยบาย​ของ​รัฐบาล​หรือ​ไม่ 2.3.3 การ​ตรา​กฎ​กระทรวง ผู้​ตรา​กฎ​กระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระ​ทร​วง​นั้นๆ เป็น​ผู้​ ลง​นาม​ประกาศ​ใช้ 2.3.4 การ​ประกาศ​ใช้​กฎ​กระทรวง กฎ​กระทรวง​ที่​รัฐมนตรี​ลง​นาม​แล้ว เมื่อ​นำ�​ไป​ประกาศ​ใน​ ราช​กิจจ​ า​นุเบกษา​แล้วจ​ ึงจ​ ะ​มีผ​ ล​ใช้บ​ ังคับเ​ป็นก​ ฎหมาย นอกจาก​นี้ ยังม​ ีป​ ระกาศ​กระทรวง ซึ่งร​ ัฐมนตรีว​ ่าการ​ กระทรวง​มอ​ี �ำ นาจ​ออก​ได้โ​ ดย​อาศัยก​ ฎหมาย​แม่บท​เช่นเ​ดียว​กบั ก​ ฎ​กระทรวง แต่ไ​ ม่ต​ อ้ ง​เสนอ​ให้ค​ ณะ​รฐั มนตรี​ พิจารณา โดย​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​ผู้รับผ​ ิดช​ อบ​เป็น​ผู้​ลง​นาม แล้ว​ประกาศ​ใน​ราช​กิจ​จานุเบกษา​ใช้​บังคับ​ เป็นก​ ฎหมาย​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 8.1.1 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 8.1.1 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 8 ตอนที่ 8.1 เรื่องที่ 8.1.1

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส


8-10

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

เรื่อง​ที่ 8.1.2 พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

ธ ส

ประเทศไทย​มีก​ ฎหมาย​หลักด​ ้าน​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​ที่เ​กี่ยว​กับก​ าร​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ ที่ม​ ีผ​ ล​ใช้บ​ ังคับแ​ ล้ว คือ พระ​ราช​บัญญัติว​ ่าด​ ้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ที่ก​ ำ�หนด​ขอบเขต​การ​ใช้บ​ ังคับก​ ับ “ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์” หรือ​ที่​นิยม​เรียก​ว่า “พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์” ซึ่ง​ครอบคลุม​ทั้ง​กิจกรรม​ใน​ทาง​ แพ่ง​และ​พาณิชย์ รวม​ถึงก​ าร​ดำ�เนิน​งาน​ของ​รัฐท​ ี่​ใช้​วิธี​การ​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ใน​การ​ให้​บริการ​ประชาชน และ​ อาจ​มีล​ ักษณะ​เฉพาะ​ที่ต​ ่าง​ไป​จาก​ระบบ​กระดาษ พระ​ราช​บัญญัติฉ​ บับน​ ี้จ​ ึงต​ รา​ขึ้นม​ า​เพื่อใ​ ช้เ​สริมห​ รือป​ ระกอบ​ กับก​ ฎหมาย​ทกุ ฉ​ บับท​ ใี​่ ช้บ​ งั คับอ​ ยูใ​่ น​ปจั จุบนั เ​พือ่ ใ​ ห้ร​ องรับน​ ติ ส​ิ มั พันธ์ท​ เี​่ กิดข​ ึน้ ใ​ น​รปู ข​ อง​ขอ้ มูลอ​ เิ ล็กทรอนิกส์ หรือก​ ล่าว​ให้เ​ข้าใจ​โดย​งา่ ย​คอื เพือ่ ใ​ ห้ก​ ฎหมาย​รองรับว​ า่ การ​ท�​ำ ธรุ กรรม​ทเี​่ กิดข​ ึน้ ใ​ น​รปู ข​ อง​ขอ้ มูลอ​ เิ ล็กทรอนิกส์​ มี​ผล​ผูกพัน​ตาม​กฎหมาย​เช่น​เดียว​กับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ใน​ระบบ​กระดาษ​นั่นเอง พระ​ราช​บัญญัติว​ ่าด​ ้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มี​ผล​บังคับ​ใช้​ตั้งแต่​วัน​ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2545 และ​หน่วย​งาน​ที่​ทำ�​หน้าที่​ใน​การ​กำ�กับ​ดูแล พระ​ราช​บัญญัติ​ฉบับ​นี้ คือ​สำ�นักงาน​คณะ​กรรมการ​ ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ กระทรวง​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร การ​ตรา​พระ​ราช​บัญญัติ​ฉบับ​นี้​ ขึ้น​มา​เพื่อ​ใช้​ประกอบ​กับ​กฎหมาย​ที่​ใช้​บังคับ​อยู่​ใน​ปัจจุบัน​ทุก​ฉบับ​ใน​กรณี​ที่​ธุรกรรม​หรือ​กิจกรรม​ที่​กระทำ�​ ภาย​ใต้ก​ ฎหมาย​ทีใ่​ ช้บ​ ังคับอ​ ยูใ่​ น​ปัจจุบันใ​ น​ระบบ​กระดาษ​เปลี่ยน​ไป​กระทำ�​ด้วย​วิธกี​ าร​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ การ​ ตรา​พระ​ราช​บัญญัติ​จึงต​ ้อง​ยึด​หลัก​การ​พื้นฐ​ าน​ที่ส​ ำ�คัญ 2 ประการ คือ หลัก​ความ​เท่าเ​ทียม​กัน (functional equivalent approach) ของ​การ​ใช้บ​ ังคับก​ ับธ​ ุรกรรม​ที่อ​ ยู่ใ​ น​รูปข​ อง​กระดาษ​กับร​ ูปข​ อง​ข้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์ กับ​หลัก​ความ​เป็นก​ลาง​ทาง​เทคโนโลยี​และ​ความ​เป็นก​ลาง​ของ​สื่อ (technology neutrality and media neutrality) เพื่อ​ให้​กฎหมาย​เปิด​กว้าง​เพื่อ​รองรับ​การ​ติดต่อ​สื่อสาร​ด้วย​วิธี​การ​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ใน​หลาก​ หลาย​รูปแ​ บบ ทั้งท​ ี่ม​ ีใ​ ช้ง​ าน​ใน​ปัจจุบันแ​ ละ​ที่จ​ ะ​มีพ​ ัฒนา​ขึ้นใ​ น​อนาคต วิธีก​ าร​ที่ส​ ามารถ​ดำ�เนินก​ าร​ภาย​ใต้ห​ ลัก​ ความ​เป็นก​ลาง​ได้ คือ การ​ออก​กฎหมาย​ลำ�ดับ​รอง​ให้​มี​ราย​ละเอียด​การ​ดำ�เนิน​การ​เพื่อ​ให้​รองรับ​การ​ปฏิบัติ​ ตาม​กฎหมาย​อย่าง​สัมฤทธิผล

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

1. ความ​จำ�เป็น​ใน​การ​ตรา​พระ​ราช​บัญญัติ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

“โดยที่​การ​ทำ�​ธุรกรรม​มี​แนว​โน้ม​ที่​จะ​ปรับ​เปลี่ยน​วิธี​การ​ใน​การ​ติดต่อ​สื่อสาร​ที่​อาศัย​การ​พัฒนาการ​ เทคโนโลยี​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง​มี​ความ​สะดวก รวดเร็ว​และ​มี​ประสิทธิภาพ แต่​เนื่องจาก​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ดัง​กล่าว​มี​ความ​แตก​ต่าง​จาก​วิธี​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ซึ่ง​มี​กฎหมาย​รองรับ​อยู่​ใน​ปัจจุบัน​เป็น​ อย่าง​มาก อัน​ส่ง​ผล​ให้​ต้อง​มี​การ​รองรับ​สถานะ​ทาง​กฎหมาย​ของ​ข้อมูล​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ให้​เสมอ​กับ​การ​ทำ�​ เป็น​หนังสือ หรือ​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ การ​รับรอง​วิธี​การ​ส่ง​และ​รับ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ การ​ใช้​ลายมือ​ชื่อ


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-11

ธ ส

​อิเล็กทรอนิกส์​ตลอด​จน​การ​รับรอง​พยาน​หลัก​ฐาน​ที่​เป็น​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อ​เป็นการ​ส่ง​เสริม​การ​ทำ�​ ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ให้​น่า​เชื่อ​ถือ และ​มี​ผล​ใน​ทาง​กฎหมาย​เช่น​เดียว​กับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​โดย​วิธี​การ​ ทั่วไป​ที่​เคย​ปฏิบัติ​อยู่​เดิม ควร​กำ�หนด​ให้​มี​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ทำ�​หน้าที่​วาง​นโยบาย​ กำ�หนด​หลัก​เกณฑ์​เพื่อ​ส่ง​เสริม​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ติดตาม​ดูแล​การ​ประกอบ​ธุรกิจ​เกี่ยว​กับ​ ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ รวม​ทั้งม​ ีหน้าท​ ีใ่​ น​การ​ส่งเ​สริมพ​ ัฒนาการ​ทาง​เทคโนโลยีเ​พื่อต​ ิดตาม​ความ​ก้าวหน้า​ ของ​เทคโนโลยี ซึ่ง​มีก​ าร​เปลี่ยนแปลง​และ​พัฒนา​ศักยภาพ​ตลอด​เวลา​ให้ม​ ีม​ าตรฐาน​น่า​เชื่อ​ถือ ตลอด​จน​เสนอ​ แนะแนว​ทางการ​แก้ไข​ปัญหา​และ​อุปสรรค​ทีเ่​กี่ยวข้อง​อันจ​ ะ​เป็นการ​ส่งเ​สริมก​ าร​ใช้ธ​ ุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ ทั้งภ​ ายใน​ประเทศ​และ​ระหว่าง​ประเทศ ด้วย​การ​มีก​ ฎหมาย​รองรับใ​ น​ลักษณะ​ที่เ​ป็นเ​อกรูป และ​สอดคล้อง​กับ​ มาตรฐาน​ที่น​ านา​ประเทศ​ยอมรับ จึงจ​ ำ�เป็นต​ ้อง​ตรา​พระ​ราช​บัญญัติว​ ่าด​ ้วย​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ขึ้นม​ า​ใช้​งาน”1

ธ ส

2. หลัก​การ​ทั่วไป

ธ ส

ธ ส

ธ ส

พระ​ราช​บัญญัติว​ ่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มี​กฎหมาย​แม่​แบบ​ที่​ใช้​ประกอบ​การ​ ยก​ร่าง 2 ฉบับด​ ้วย​กัน คือ กฎหมาย​แม่​แบบ​ว่า​ด้วย​การ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ (Model Law on Electronic Commerce 1996) และ​กฎหมาย​แม่​แบบ​ว่า​ด้วย​ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ (Model Law on Electronic Signatures 2001) ของ​คณะ​กรรมาธิการ​กฎหมาย​การ​ค้าร​ ะหว่าง​ประเทศ​แห่งส​ หประชาชาติ หรือท​ ีน่​ ิยม​เรียก​ โดย​ย่อ​ว่า อัน​ไซ​ทรัล (United Nations Commission on International Trade Law – UNCITRAL) ซึ่ง​ เป็น​กฎหมาย​ที่​หลายๆ ประเทศ​ยอมรับ​และ​นำ�​มา​เป็นต้น​แบบ​ใน​การ​ยก​ร่าง​กฎหมาย​ว่า​ด้วย​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง​รวม​ถึง​ประเทศไทย​ด้วย ทั้งนี้​การ​ยก​ร่าง​กฎหมาย​มี​การ​ประยุกต์​หลัก​การ​พื้น​ฐาน​ที่​ สำ�คัญ คือ หลักค​ วาม​เท่า​เทียม (Functional Equivalent Approach) หมาย​ถึง ความ​เท่า​เทียม​ระหว่าง​การ​ใช้​ เอกสาร​ที่​อยู่​ใน​รูป​ของ​กระดาษ และ​การ​ใช้​ข้อมูล​คอมพิวเตอร์​หรือ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ จะ​ต้อง​ให้​ผล​ทาง​ กฎหมาย​เท่าเ​ทียม​กัน หลักค​ วาม​เป็นก​ลาง​ทาง​เทคโนโลยีแ​ ละ​ความ​เป็นก​ลาง​ของ​สื่อ (Technology Neutrality and Media Neutrality) หมาย​ถึง การ​รองรับข​ อง​กฎหมาย​ใน​ช่อง​ทางการ​สื่อสาร​ด้วย​วิธกี​ าร​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ท​ ุกร​ ูปแ​ บบ​ และ​ทกุ ช​ อ่ ง​ทาง รวม​ถงึ ก​ าร​ใช้ร​ ะบบ​อตั โนมัตเ​ิ พือ่ ก​ ระทำ�​การ​แทน และ​วาง​หลักก​ าร​ให้ร​ องรับเ​ทคโนโลยีป​ จั จุบนั ​ และ​ที่​จะ​พัฒนา​ขึ้น​ใน​อนาคต นอกจาก​หลัก​การ​พื้น​ฐาน​ที่​สำ�คัญ​ทั้ง 2 หลัก​ข้าง​ต้น​แล้ว ยัง​มี​หลัก​การ​ที่​สำ�คัญ​อีก​ประการ​หนึ่ง​ ใน​กฎหมาย​ฉบับ​นี้​คือ การ​กำ�หนด​บทบัญญัติ​โดย​คำ�นึง​ถึง​หลัก​ความ​ศักดิ์สิทธิ์​ใน​การ​แสดง​เจตนา​หรือ​ เสรีภาพ​ใน​การ​แสดง​เจตนา (Principle of Party Autonomy) ตาม​ที่​บัญญัติ​ไว้​ใน​มาตรา ๕ ซึ่ง​ได้​กำ�หนด

ธ ส

1

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หมายเหตุ ท้าย​พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 รวม​กฎหมาย​เกี่ยว​กับ​ธุรกรรม​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์​และ​กฎหมาย​ที่​เกี่ยวข้อง สำ�นักงาน​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ สำ�นักงาน​ปลัด​กระทรวง​เทคโนโลยี​ สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร พ.ศ. 2553


8-12

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ใ​ ห้​บทบัญญัตขิ​ อง​หมวด ๑ มาตรา ๑๓ – มาตรา ๒๔ และ​หมวด ๒ มาตรา ๒๖ – มาตรา ๓๑ ที่​บัญญัติ​ไว้​ให้​ ตกลง​เป็น​อย่าง​อื่น​ได้ ซึ่ง​ส่วน​ใหญ่​จะ​เกี่ยวข้อง​กับ​วิธี​การ​ติดต่อ​สื่อสาร เช่น การ​กำ�หนด​วิธี​การ​ส่ง​หรือ​การ​รับ​ ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ส่วน​บทบัญญัตอิ​ ื่น​ที่​ไม่​ได้​กำ�หนด​ให้​ตกลง​เปลี่ยนแปลง​เป็น​อย่าง​อื่น​ได้ ถือ​เป็น​ บทบัญญัติ​ที่​จะ​ช่วย​เสริม​สร้าง​ความ​เชื่อ​มั่น​การ​บังคับ​ใช้​กฎหมาย และ​เพิ่ม​ความ​ถูก​ต้อง​แน่นอน​ใน​การ​ทำ�​ ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ แม้​จะ​ใช้​ช่อง​ทางการ​ติดต่อ​สื่อสาร​ที่​ทัน​สมัยก​ ็ตาม

ธ ส

3. โครงสร้าง​พระ​ราช​บัญญัติ

ธ ส

พระ​ราช​บัญญัติฉ​ บับ​นี้​แบ่ง​ออก​เป็น 6 หมวด​หลัก ประกอบ​ด้วย หมวด ๑ ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา ๗ – มาตรา ๒๕) กล่าว​ถึง​บทบัญญัติ​เกี่ยว​กับ​หลัก​ เกณฑ์​ต่างๆ ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ หมวด ๒ ลายมือช​ ื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา ๒๖ – มาตรา ๓๑) กล่าว​ถึง​บทบัญญัติ​เกี่ยว​กับล​ ายมือ​ ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ท​ ี่​เชื่อ​ถือไ​ ด้ และ​หน้าที่​ของ​บุคคล​ต่างๆ ที่​เกี่ยวข้อง​กับก​ าร​ลง​ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ หมวด ๓ ธุรกิจ​บริการ​เกี่ยว​กับ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา ๓๒ – มาตรา ๓๔) กล่าว​ถึง​ บทบัญญัติ​เกี่ยว​กับ​การ​กำ�หนด​หลัก​เกณฑ์ก​ าร​กำ�กับธ​ ุรกิจ​บริการ​เกี่ยว​กับธ​ ุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ หมวด ๔ ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ภ​ าค​รัฐ (มาตรา ๓๕) กล่าว​ถึงบ​ ทบัญญัตเิ​กี่ยว​กับก​ าร​ทำ�​ธุรกรรม​ ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​กับ​หน่วย​งาน​ภาค​รัฐ​หรือ​โดย​หน่วย​งาน​ภาค​รัฐ หมวด ๕ คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา ๓๖ – มาตรา ๔๓) กล่าว​ถึง​บทบัญญัติ​ เกี่ยว​กับ​การ​จัด​ตั้ง​และ​บทบาท​ของ​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ หมวด ๖ บท​กำ�หนด​โทษ (มาตรา ๔๔ – มาตรา ๔๖) กล่าว​ถึงบ​ ทบัญญัติ​เกี่ยว​กับบ​ ท​ลงโทษ​ต่อ​ธุรกิจ​ บริการ​เกี่ยว​กับ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

4. สาระ​สำ�คัญพ​ อ​สังเขป

ธ ส

ธ ส

ธ ส

พระ​ราช​บัญญัติฉ​ บับน​ ี้ก​ ำ�หนด​ขอบเขต​ไว้ใ​ ห้ใ​ ช้ได้เ​ป็นการ​ทั่วไป กล่าว​คือ ให้ใ​ ช้บ​ ังคับแ​ ก่ธ​ ุรกรรม​ใน​ ทาง​แพ่งแ​ ละ​พาณิชย์ท​ ดี​่ �ำ เนินก​ าร​โดย​ใช้ข​ อ้ มูลอ​ เิ ล็กทรอนิกส์ เว้นแ​ ต่ธ​ รุ กรรม​ทมี​่ พ​ี ระ​ราช​กฤษฎีกา​ก�ำ หนด​มใ​ิ ห้​ นำ�​พระ​ราช​บญ ั ญัตน​ิ ที​้ ัง้ หมด​หรือแ​ ต่บ​ าง​สว่ น​มา​ใช้บ​ งั คับ ด้วย​เหตุผล​ทวี​่ า่ ล​ กั ษณะ​ของ​ธรุ กรรม​บาง​ประเภท​โดย​ สภาพ​ไม่อ​ าจ​ทำ�​ด้วย​วิธกี​ าร​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต​ ่อม​ า​มกี​ าร​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีก​ ากำ�หนด​ประเภท​ธุรกรรม​ใน​ ทาง​แพ่งแ​ ละ​พาณิชย์ท​ ี่ย​ กเว้นม​ ิใ​ ห้น​ ำ�​กฎหมาย​ว่าด​ ้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ม​ า​ใช้บ​ ังคับ พ.ศ. 2549 ออก​ มา​มผ​ี ล​ใช้บ​ งั คับต​ ัง้ แต่ว​ นั ท​ ี่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดย​ก�ำ หนด​มใ​ิ ห้น​ �​ำ บทบัญญัตต​ิ าม​กฎหมาย​วา่ ด​ ว้ ย​ธรุ กรรม​ ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ใ​ ช้บ​ ังคับก​ ับธ​ ุรกรรม​เกี่ยว​กับค​ รอบครัวแ​ ละ​ธุรกรรม​เกี่ยว​กับม​ รดก นอกจาก​นีข้​ อบเขต​การ​ ใช้​บังคับ​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติว​ ่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ยังร​ วม​ถึงก​ าร​ดำ�เนิน​งาน​ของ​ภาค​รัฐ​ด้วย ด้วย​เหตุท​ ีม่​ หี​ ลาย​หน่วย​งาน​ใน​ขณะ​ทีป่​ ระกาศ​ใช้ก​ ฎหมาย อาทิ คณะ​กรรมการ​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​ แห่ง​ชาติ กระทรวง​ยุติธรรม กระทรวง​พาณิชย์ กระทรวง​การ​คลัง ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย กระทรวง​การ​ ต่าง​ประเทศ กระทรวง​คมนาคม กระทรวง​วิทยาศาสตร์​ เทคโนโลยีแ​ ละ​สิ่งแ​ วดล้อม (ขณะ​นั้นย​ ังไ​ ม่มกี​ ระทรวง​

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-13

ธ ส

เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร) ต่าง​ก็​มี​บทบาท​สำ�คัญ​ใน​การนำ�​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​มา​ประยุกต์​เพื่อ​ ให้​บริการ​ประชาชน และ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ด้าน​อื่นๆ ทั้ง​เพื่อ​การ​สื่อสาร​และ​การ​ค้าขาย ทั้ง​ภายใน​ และ​ต่าง​ประเทศ เมื่อ​มีค​ วาม​เกี่ยวข้อง​กับ​หลาย​หน่วย​งาน และ​กฎหมาย​มี​สภาพ​เป็น​กฎหมาย​กลาง​ที่​ต้อง​ใช้​ บังคับก​ ับ​ทุก​หน่วย​งาน พระ​ราช​บัญญัติฉ​ บับ​นี้​จึงไ​ ด้​กำ�หนด​ให้​นายก​รัฐมนตรี​เป็น​ผู้​รักษา​การ สาระ​สำ�คัญ​ของ​พระ​ราช​บัญญัติฉ​ บับ​นี้ ที่จ​ ะ​กล่าว​ถึง​พอ​สังเขป ประกอบ​ด้วย 4.1 บทบัญญัตเิ​กี่ยว​กับ​หลัก​เกณฑ์ต​ ่างๆ ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ หมวด ๑ ประกอบ​ด้วย มาตรา ๗ – มาตรา ๒๕ มี​สาระ​สำ�คัญ​พอ​สรุป​ได้​ดังนี้ – การ​รับรอง​สถานะ​ทาง​กฎหมาย​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​ให้​เสมอ​ด้วย​กระดาษ เพื่อ​ไม่​ให้​ ปฏิเสธ​ความ​มี​ผล​ผูกพัน​และ​การ​บังคับ​ใช้​กฎหมาย (มาตรา ๗) ถือ​เป็น​มาตรา​สำ�คัญ​ที่​แสดง​ถึง​เจตนารมณ์​ หลัก​ของ​กฎหมาย​ฉบับ​นี้ การ​รับรอง​ผล​หรือ​สถานะ​ทาง​กฎหมาย​ใน​ที่​นี้ หมาย​ถึง การ​มิ​ให้​มี​การ​ปฏิเสธ​ผล​ ผูกพัน​ทาง​กฎหมาย​เท่านั้น ไม่​ได้​รวม​ถึง​การ​รับรอง​ความ​ถูก​ต้อง​สมบูรณ์​ของ​ข้อความ​ที่​อยู่​ใน​รูป​ของ​ข้อมูล​ อิเล็กทรอนิกส์​แต่​อย่าง​ใด – ใน​กรณีท​ กี​่ ฎหมาย​ก�ำ หนด​ให้การ​ใด​ตอ้ ง​ท�​ำ เป็นห​ นังสือ มีห​ ลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือห​ รือม​ เ​ี อกสาร​ มา​แสดง เช่น การ​ระบุใ​ ห้ม​ หี​ ลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือต​ าม​ประมวล​กฎหมาย​แพ่งแ​ ละ​พาณิชย์ ก็ส​ ามารถ​ทำ�​ใน​รูปข​ อง​ ข้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์ไ​ ด้ แต่จ​ ะ​ต้อง​ทำ�​ภาย​ใต้เ​งื่อนไข​ของ​มาตรา ๘ จึงจ​ ะ​มีผ​ ล​บังคับใ​ ช้ต​ าม​กฎหมาย​ฉบับน​ ี้ไ​ ด้ กล่าว​คอื เมือ่ ไ​ ด้ม​ ก​ี าร​จดั ท​ �​ำ หนังสือ ออก​หลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือ หรือเ​อกสาร​ให้อ​ ยูใ​่ น​รปู ข​ อง​ขอ้ มูลอ​ เิ ล็กทรอนิกส์ ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์น​ ั้น​จะ​ต้อง​สามารถ​เข้า​ถึง​และ​นำ�​กลับ​มา​ใช้ได้​โดย​ความ​หมาย​ไม่​เปลี่ยนแปลง – การ​รับรอง​การ​ใช้​ลายมือ​ชื่อ​ใน​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​ให้​มี​ผล​เช่น​เดียว​กับ​ที่​กำ�หนด​ไว้​ใน​ ระบบ​กระดาษ เพื่อ​ยืนยัน​ตัว​บุคคล​และ​กำ�หนด​ความ​ผูกพัน​ของ​บุคคล​ที่​ลง​ลายมือ​ชื่อ​นั้น โดยที่​วิธี​การ​ทาง​ เทคโนโลยีท​ ีใ่​ ช้ใ​ น​การ​ลง​ลายมือช​ ื่อม​ ไี​ ด้ห​ ลาก​หลาย​วิธที​ ีแ่​ ตก​ต่าง​กันไ​ ป​ตาม​ความ​ประสงค์ข​ อง​คูก่​ รณี กฎหมาย​ ตาม​มาตรา ๙ จึง​บัญญัติ​ไว้​แบบ​เปิด​กว้าง​เพื่อ​ให้​รองรับ​ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์​ได้​ทุก​รูป​แบบ หาก​เป็น​ไป​ ตาม​เงื่อนไข 2 ประการ​คือ ​ ัวเ​จ้าของ​ลายมือช​ ื่อ และ​สามารถ​แสดง​ได้ว​ ่าเ​จ้าของ​ลายมือช​ ื่อ​ • ใช้ว​ ิธกี​ าร​ทีส่​ ามารถ​ระบุต รับรอง​ข้อความ​ใน​ข้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์​นั้นว​ ่า​เป็น​ของ​ตน ั ว​ ตั ถุประสงค์ข​ อง​การ​สร้าง​ • วิธก​ี าร​ลง​ลายมือช​ ือ่ เ​ป็นว​ ธิ ก​ี าร​ทเี​่ ชือ่ ถ​ อื ไ​ ด้โ​ ดย​เหมาะ​สม​กบ หรือ​ส่ง​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ โดย​คำ�นึง​ถึงพ​ ฤติการณ์​แวดล้อม​หรือ​ข้อ​ตกลง​ของ​คู่​กรณี เป็นท​ ี่ส​ ังเกต​ว่าบ​ ทบัญญัติไ​ ม่ไ​ ด้ก​ ำ�หนด​ถึงเ​ทคโนโลยีท​ ี่ส​ ามารถ​นำ�​มา​ใช้ใ​ น​การ​ลง​ลายมือช​ ื่อว​ ่า​ หมาย​ถึง​เทคโนโลยีใ​ ด​บ้าง เพียง​แต่​ระบุ​เป็น​หลัก​การ​อย่า​งก​ว้างๆ ว่า​เป็น​วิธี​การ​ที่​เชื่อ​ถือ​ได้ ที่​ต้อง​อาศัย​การ​ พิจารณา​พฤติการณ์​แวดล้อม​ประกอบ​ความ​น่า​เชื่อ​ถือ เช่น ประสิทธิภาพ​หรือ​ความ​ซับ​ซ้อน​ของ​เครื่อง​มือ​ที่​ ใช้ ลักษณะ​ของ​กิจกรรม​ทางการ​ค้า ความ​สม่ำ�เสมอ​หรือ​ความถี่​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ของ​คู่​กรณี ประเภท​และ​ ขนาด​ของ​ธุรกรรม จารีต​ประเพณี​ทางการ​ค้า ประโยชน์​ใน​เชิง​เศรษฐกิจ ความ​คุ้ม​ค่า​เมื่อ​เทียบ​กับ​ต้นทุน​ที่​ เกิด​ขึ้น ความ​เป็น​ไป​ได้​ใน​การ​ยอมรับ​หรือ​ไม่​ยอมรับ​วิธี​การ​ใน​การ​ระบุต​ ัว​บุคคล ณ ขณะ​ที่​มี​การ​ตกลง​ให้​ใช้​ วิธีก​ าร​นั้น รวม​ทั้งป​ ัจจัยอ​ ื่นท​ ี่เ​กี่ยวข้อง ตัวอย่าง​การ​ประยุกต์ก​ าร​ลง​ลายมือช​ ื่อ เช่น การ​กำ�หนด​ให้ใ​ ช้ช​ ื่อบ​ ัญชี​ และ​รหัส​ผ่าน การ​ลง​ลายมือ​ชื่อด​ ิจิทัล

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-14

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

– การ​จัด​เก็บ​เอกสาร​ต้นฉบับ​ให้​อยู่​ใน​รูป​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ ตาม​มาตรา ๑๐ จะ​ต้อง​ ดำ�เนินก​ าร​ตาม​เงือ่ นไข​ทกี​่ �ำ หนด​ใน​กฎหมาย​ฉบับน​ ี้ คือ ได้ม​ ก​ี าร​ใช้ว​ ธิ ก​ี าร​ทเี​่ ชือ่ ถ​ อื ไ​ ด้ใ​ น​การ​รกั ษา​ความ​ถกู ต​ อ้ ง ​ของ​ข้อความ ตั้งแต่​การ​สร้าง​ข้อความ​เสร็จ​สมบูรณ์ และ​สามารถ​แสดง​ข้อความ​นั้น​ได้​ใน​ภาย​หลัง ทั้งนี้​การ​ พิจารณา​ความ​ถูก​ต้อง​ของ​ข้อความ หมาย​ถึง การ​พิจารณา​ถึง​ความ​ครบ​ถ้วน​และ​ไม่มี​การ​เปลี่ยน​แป​ลง​ใดๆ ของ​ข้อความ เว้นแ​ ต่ก​ าร​รับรอง​หรือบ​ ันทึกเ​พิ่มเ​ติม หรือก​ าร​เปลี่ยน​แป​ลง​ใดๆ ทีอ่​ าจ​จะ​เกิดข​ ึ้นไ​ ด้ต​ าม​ปกติใ​ น​ การ​ติดต่อส​ ื่อสาร เช่น การ​เพิ่ม​เติม​ข้อมูล​ส่วน​ต้น (header) หรือ​ส่วน​ท้าย (footer) ของ​ต้นฉบับ​ซึ่ง​อยู่​ใน​รูป​ ของ​ข้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์ ทีไ่​ ม่ส​ ่งผ​ ลก​ระ​ทบ​ต่อค​ วาม​สมบูรณ์ข​ อง​ต้นฉบับท​ ีอ่​ ยูใ่​ น​รูปข​ อง​ข้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์​ แต่อ​ ย่าง​ใด ส่วน​วิธกี​ าร​ทเี่​ชื่อถ​ ือไ​ ด้ใ​ ห้พ​ ิเคราะห์จ​ าก​พฤติการณ์ท​ ั้งป​ วง รวม​ทั้งว​ ัตถุประสงค์ข​ อง​การ​สร้าง​ข้อมูล​ อิเล็กทรอนิกส์​นั้น​ด้วย – การ​รับ​ฟัง​พยาน​หลัก​ฐาน​และ​ชั่ง​น้ำ�​หนัก​พยาน​หลัก​ฐาน ตาม​มาตรา ๑๑ กำ�หนด​ห้าม​มิ​ให้​ ปฏิเสธ​การ​รบั ฟ​ งั ข​ อ้ มูลอ​ เิ ล็กทรอนิกส์เ​ป็นพ​ ยาน​หลักฐ​ าน​ใน​กระบวนการ​พจิ ารณา​ตาม​กฎหมาย​เพียง​เพราะ​เหตุ​ ที่​ข้อมูล​นั้น​อยู่​ใน​รูป​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ และ​กำ�หนด​หลัก​เกณฑ์​เกี่ยว​กับ​การ​ชั่ง​น้ำ�​หนัก​พยาน​หลัก​ฐาน ​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ ว่า​ให้​พิเคราะห์​ถึง​ความ​น่า​เชื่อ​ถือ​ของ​ลักษณะ​หรือ​วิธี​การ​ที่​ใช้​สร้าง เก็บ​รักษา​หรือ​ สื่อสาร​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะ​หรือ​วิธี​การ​ที่ใ​ ช้​ใน​การ​ระบุ​ตัวผู้​ส่ง รวม​ทั้ง​พฤติการณ์ท​ ี่​เกี่ยวข้อง​ทั้งป​ วง – การ​เก็บ​รักษา​เอกสาร​หรือ​ข้อความ ตาม​มาตรา ๑๒ กฎหมาย​กำ�หนด​ให้​สามารถ​เก็บ​รักษา​ เอกสาร​หรือข​ อ้ ความ​ใน​รปู ข​ อง​ขอ้ มูลอ​ เิ ล็กทรอนิกส์ไ​ ด้ หาก​ขอ้ มูลอ​ เิ ล็กทรอนิกส์น​ ัน้ ส​ ามารถ​เข้าถ​ งึ แ​ ละ​น�​ำ กลับ​ มา​ใช้ได้โ​ ดย​ความ​หมาย​ไม่เ​ปลี่ยนแปลง รวม​ถึงไ​ ด้เ​ก็บร​ ักษา​ข้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์น​ ั้นใ​ ห้อ​ ยูใ่​ น​รูปแ​ บบ​ทเี่​ป็นอ​ ยู​่ ใน​ขณะ​ที่​สร้าง ส่ง หรือไ​ ด้​รับ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​นั้น หรือ​อยู่​ใน​รูป​แบบ​ที่​สามารถ​แสดง​ข้อความ​ที่​สร้าง ส่ง หรือ​ได้​รับ​ให้​ปรากฏ​อย่าง​ถูก​ต้อง​ได้ และ​ได้​เก็บ​รักษา​ข้อความ​ส่วน​ที่​ระบุ​ถึง​แหล่ง​กำ�เนิด ต้นทาง และ​ปลาย​ ทาง​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ ตลอด​จน​วันแ​ ละ​เวลา​ที่​ส่ง​หรือไ​ ด้​รับ​ข้อความ​ดัง​กล่าว รวม​ถึง​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​ ทีร่​ ับผ​ ิดช​ อบ​ใน​การ​เก็บร​ ักษา​เอกสาร​หรือข​ ้อความ​ใด อาจ​กำ�หนด​หลักเ​กณฑ์ร​ าย​ละเอียด​เพิ่มเ​ติมเ​กี่ยว​กับก​ าร​ เก็บ​รักษา​เอกสาร​หรือ​ข้อความ​นั้น​ได้​เท่า​ที่​ไม่​ขัด​กับ​บทบัญญัติ​ใน​มาตรา​นี้ ตัวอย่าง​ข้อ​กำ�หนด​ตาม​กฎหมาย​ อื่น เช่น ประมวล​รัษฎากร​กำ�หนด​ให้​สถาน​ประกอบ​การ​จัด​เก็บ​เอกสาร​เกี่ยว​กับ​ใบ​กำ�กับ​ภาษี​และ​เอกสาร​ที่​ เกี่ยวข้อง​ไว้​เป็น​เวลา​ไม่​น้อย​กว่า 5 ปี หาก​ไม่​ต้องการ​จัด​เก็บ​ใน​รูป​ของ​กระดาษ ก็​สามารถ​จัด​เก็บ​ใน​รูป​ของ​ ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​ได้​โดย​มี​กฎหมาย​นี้​รองรับ – สัญญา​และ​เจตนา​ใน​รูป​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ ตาม​มาตรา ๑๓ และ​มาตรา ๑๔ กำ�หนด​ ให้การ​แสดง​เจตนา​และ​การ​ทำ�​สัญญา สามารถ​กระทำ�​ได้​ด้วย​วิธี​การ​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ แต่​ก็​ยัง​เปิด​ช่อง​ให้​คู่​ สัญญา​สามารถ​ตกลง​เป็น​อย่าง​อื่น​ได้ เช่น เพื่อ​เสริม​สร้าง​ความ​มั่นใจ​คู่​สัญญา​ยัง​ตกลง​ทำ�​สัญญา​ใน​รูป​ของ​ กระดาษ หาก​รายการ​นั้น​มี​มูลค่า​สูง และ​การก​ระ​ทำ�​ด้วย​วิธี​การ​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ยัง​รวม​ถึง​การ​ทำ�งาน​แบบ​ อัตโนมัติ​ด้วย – บท​สันนิษฐาน​เจ้าของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​ตาม มาตรา ๑๕ – มาตรา ๑๘ ดังนี้ • มาตรา ๑๕ บัญญัติ​ไว้ว​ ่าข​ ้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์ เป็น​ของ​ผู้ส​ ่งข​ ้อมูล หาก​ผู้ส​ ่งข​ ้อมูลไ​ ด้​ ส่ง​ข้อมูลน​ ั้น หรือ​ส่ง​โดย​ผู้ม​ ี​อำ�นาจ​กระทำ�​แทน แม้​จะ​ส่ง​ด้วย​ระบบ​อัตโนมัติ​ก็ตาม

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

• มาตรา

8-15

ธ ส

๑๖ บัญญัติ​ไว้​ว่า​เมื่อ​ผู้รับ​และ​ผู้​ส่ง​ข้อมูล​ได้​มี​การ​ตกลง​วิธี​การ​รับ​ส่ง​กัน​ แล้ว เมื่อ​เกิด​การ​รับ​ส่ง​ขึ้น ผู้รับ​ก็ได้​ดำ�เนินก​ าร​ตรวจ​สอบ​ตาม​วิธี​การ​ที่​ตกลง​กัน​แล้ว ให้​สันนิษฐาน​ว่า​ข้อมูล​ อิเล็กทรอนิกส์​นั้น​เป็น​ของ​ผู้ส​ ่ง​ข้อมูล แม้​จะ​ดำ�เนิน​การ​โดย​ผู้​มี​อำ�นาจ​กระทำ�​การ​แทน​ผู้​ส่ง​ข้อมูล เว้น​แต่​ผู้รับ​ ข้อมูล​จะ​ได้​รับ​แจ้ง​จาก​ผู้​ส่ง​ข้อมูล​ว่า​ข้อมูล​นั้น​มิใช่​ของ​ตน และ​ผู้รับ​ข้อมูล​มี​เวลา​พอ​สมควร​ที่​จะ​ตรวจ​สอบ​ ข้อ​เท็จ​จริง​ตาม​ที่​ได้​รับ​แจ้ง รวม​ถึง​ผู้รับ​ข้อมูล​เอง​ก็​มีหน้า​ที่​ต้อง​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​ตาม​สมควร หรือ​ต้อง ​ดำ�เนินก​ าร​ตาม​ขั้น​ตอน​ที่​ตกลง​กัน​เพื่อพ​ ิสูจน์​ตัวบ​ ุคคล​ของ​ผู้​ส่ง​ด้วย​เช่น​กัน • มาตรา ๑๗ บัญญัติ​ไว้​ว่า​ผู้รับ​ข้อมูล​มี​สิทธิ​ถือว่า​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​ที่​ได้​รับ​นั้น​ ถูกต​ ้อง​ตาม​เจตนา​ของ​ผูส้​ ่งข​ ้อมูลแ​ ละ​สามารถ​ดำ�เนินก​ าร​ไป​ตาม​ข้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์น​ ั้นไ​ ด้ เว้นแ​ ต่ผ​ ู้รับข​ ้อมูล​ ได้​รู้​ว่า​ข้อมูล​ที่​ได้​รับ​มี​ข้อ​ผิด​พลาด​อัน​เกิด​จาก​การ​ส่ง หาก​ผู้รับ​ข้อมูล​ได้​ใช้​ความ​ระมัดระวังต​ าม​สมควร​หรือ​ ดำ�เนินก​ าร​ตาม​วิธี​ที่​ตกลง​กัน​ไว้ก​ ่อน​แล้ว • มาตรา ๑๘ บัญญัติ​ไว้​ให้​ครอบคลุม​กรณี​ที่​มี​ข้อ​ผิด​พลาด​จาก​การ​ส่ง โดย​กำ�หนด​ ให้​ผู้รับ​ข้อมูล​ชอบ​ที่​จะ​ถือว่า​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​ที่​ได้​รับ​แต่ละ​ชุด​เป็น​ข้อมูล​ที่​แยก​จาก​กัน​และ​สามารถ​ ดำ�เนิน​การ​ไป​ตาม​ข้อมูล​แต่ละ​ชุด​นั้น​ได้ เว้น​แต่​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​ชุด​นั้น​จะ​ซ้ำ�​กับ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​อีก​ ชุด​หนึ่ง และ​ผู้รับ​ข้อมูล​ได้​รู้​ว่า​เป็น​ข้อมูล​ซ้ำ�​หาก​ได้​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​ตาม​สมควร​หรือ​ดำ�เนิน​การ​ตาม​วิธี​ที่​ ตกลง​กัน​ไว้​ก่อน​แล้ว – การ​ตอบ​แจ้ง​การ​รับ ตาม​มาตรา ๑๙ – มาตรา ๒๑ เป็น​บทบัญญัติ​ที่​มี​ความ​เชื่อม​โยง​กัน โดย​กำ�หนด​ให้​ใช้​กับ​กรณี​ที่​ผู้​ส่ง​ได้​ร้องขอ​หรือ​ตกลง​กับ​ผู้รับ​ให้​มี​การ​ตอบ​แจ้ง​การ​รับ​เพื่อ​แสดง​ว่า​ผู้รับ​ได้​รับ​ ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​นั้น​แล้ว โดย​อาจ​กำ�หนด​เงื่อนไข​หรือ​ระยะ​เวลา​ที่​กำ�หนด​ให้​มี​การ​ตอบ​แจ้ง​การ​รับ​ว่า​ได้​ มี​การ​รับ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​ไว้​ด้วย และ​หาก​ไม่มี​การ​ดำ�เนิน​การ​ใดๆ ตาม​เงื่อนไข​ที่​ตกลง​กัน​ไว้​หรือ​ไม่​ตอบ​ แจ้งก​ าร​รับใ​ น​ระยะ​เวลา​ทีก่​ ำ�หนด ก็ใ​ ห้ถ​ ือว่าไ​ ม่ไ​ ด้ม​ กี​ าร​ส่งข​ ้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์น​ ั้นเ​ลย แต่ถ​ ึงแ​ ม้ว่าม​ กี​ าร​ตอบ​ แจ้ง​การ​รับ​ว่า​ได้​รับ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​นั้น​แล้ว ยัง​ไม่​ได้​เป็นการ​รับรอง​ว่า​เนื้อหา​ของ​ข้อมูล​ที่​ได้​รับ​ถูก​ต้อง​ ตรง​กัน​กับ​เนื้อหา​ที่​ผู้ส​ ่งส​ ่งใ​ ห้​แต่​อย่าง​ใด – เวลา​และ​สถาน​ที่ส​ ่งแ​ ละ​รับข​ ้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์ ตาม​ทีบ่​ ัญญัตใิ​ น​มาตรา ๒๒ – มาตรา ๒๔ เพื่อร​ องรับค​ วาม​ก้าวหน้าแ​ ละ​รวดเร็วข​ อง​การ​ติดต่อส​ ื่อสาร​ผ่าน​เครือข​ ่าย​อินเทอร์เน็ต เพราะ​มีค​ วาม​แตก​ต่าง​ จาก​การ​ติดต่อ​สื่อสาร​ผ่าน​ช่อง​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​อื่น เช่น การ​ติดต่อ​ทาง​โทรเลข โทรสาร ข้อความ​สั้น ที่​สามารถ​ระบุ​ตัว​บุคคล​และ​สถาน​ที่​ต้นทาง​ใน​การ​ส่ง​ได้ การ​กำ�หนด​เกี่ยว​กับ​เวลา​ที่​มี​การ​ส่ง​และ​รับ​ข้อมูล​ อิเล็กทรอนิกส์ โดย​ให้​ถือว่า​มี​การ​ส่ง​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​แล้ว​หาก​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​นั้น​ได้​เข้า​สู่​ระบบ​ ข้อมูล​ที่​อยู่​นอก​เหนือ​การ​ควบคุม​ของ​ผู้​ส่ง​ข้อมูล และ​ให้​ถือว่า​มี​การ​รับ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​แล้ว​เมื่อ​ข้อมูล​ อิเล็กทรอนิกส์น​ ั้นไ​ ด้เ​ข้าส​ ู่ร​ ะบบ​ข้อมูลข​ อง​ผู้รับข​ ้อมูล แต่ห​ าก​ข้อมูลถ​ ูกส​ ่งไ​ ป​ยังร​ ะบบ​ของ​ผู้อ​ ื่นท​ ี่ไ​ ม่ใช่ร​ ะบบ​ที​่ ผู้รับก​ ำ�หนด​ไว้ ให้ถ​ ือว่าก​ าร​รับข​ ้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์​มีผ​ ล​นับแ​ ต่เ​วลา​ที่ไ​ ด้เ​รียก​ข้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์​จาก​ระบบ​ ข้อมูล​นั้น ส่วน​สถาน​ที่​ที่​มี​การ​ส่ง​หรือ​รับ​หาก​ไม่​ได้​มี​การ​ตกลง​กัน​เป็น​อย่าง​อื่น ให้​ถือว่า​สถาน​ที่ทำ�การ​ของ​ ผู้​ส่ง​ข้อมูล​หรือ​ผู้รับ​ข้อมูลเ​ป็น​สถาน​ที่ท​ ี่​มี​การ​ส่งข​ ้อมูล​หรือ​รับ​ข้อมูล ใน​กรณี​ที่​มี​ที่ทำ�การ​หลาย​แห่ง​ให้​ถือ​เอา​ ที่ทำ�การ​ทีเ่​กี่ยวข้อง​มาก​ที่สุดก​ ับก​ าร​ทำ�ธุรกรรม​นั้น และ​หาก​ไม่ส​ ามารถ​กำ�หนด​สถาน​ที่ทำ�การ​ทีเ่​กี่ยวข้อง​ที่สุด​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-16

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ได้ ให้ใ​ ช้ท​ ี่ท�ำ การ​ของ​สำ�นักงาน​ใหญ่เ​ป็นท​ สี่​ ่งห​ รือร​ ับ และ​ใน​กรณีท​ ไี่​ ม่มที​ ี่ท�ำ การ​ให้ถ​ ือถ​ ิ่นท​ อี่​ ยูป​่ กติเ​ป็นส​ ถาน​ท​ี่ รับ​หรือส​ ่ง​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ – วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัย ตาม​มาตรา ๒๕ บัญญัติ​ขึ้น​เพื่อ​ให้​กฎหมาย​มี​ความ​ยืดหยุ่น​ใน​การ​ ปรับ​ใช้​ให้​รองรับ​ความ​ก้าวหน้า​ทาง​เทคโนโลยี กฎหมาย​จึง​มิได้​กำ�หนด​ใน​ราย​ละเอียด​ว่า​วิธี​การ​อย่างไร​จึง​ จะ​เป็น​วิธี​การ​ที่​เชื่อ​ถือ​ได้ และ​ปล่อย​ให้​ผู้​ใช้​เทคโนโลยี​พิจารณา​กันเอง​ว่า​อย่างไร​จึง​จะ​เป็น​วิธี​การ​ที่​เชื่อ​ถือ​ได้ การ​บัญญัติม​ าตรา ๒๕ โดย​กำ�หนด​ให้ม​ ีก​ าร​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​เพื่อก​ ำ�หนด​ว่าว​ ิธีก​ าร​ใด​บ้าง​ที่เ​ชื่อถ​ ือไ​ ด้ต​ าม​ กฎหมาย เพราะ​วิธี​การ​ที่​เชื่อ​ถือ​ได้​อาจ​มี​หลาย​รูป​แบบ​แตก​ต่าง​กัน​ไป​ตาม​เทคโนโลยี​ที่​นำ�​มา​ใช้ ซึ่ง​ต่อ​มา​ได้​มี​ การ​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ว่า​ด้วย​วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัย​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553 มี​ผล​ บังคับใ​ ช้​เมื่อ​พ้น​กำ�หนด 180 วัน นับ​จาก​วัน​ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553 4.2 ลายมือช​ ื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ หมวด ๒ ประกอบ​ด้วย​มาตรา ๒๖ – มาตรา ๓๑ มี​สาระ​สำ�คัญ​พอ​สรุป​ได้​ดังนี้ ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ต​ ามพ​ระ​ราช​บัญญัติ​ฉบับ​นี้​เป็น​คำ�​ที่​มี​ความ​หมายก​ว้าง ทั้งนี้​เพื่อ​ให้​รองรับ​ ลายมือช​ ื่ออ​ ิเล็กทรอนิกส์ท​ ีส่​ ร้าง​ขึ้นด​ ้วย​วิธกี​ าร​ต่างๆ ทั้งท​ ีส่​ ร้าง​ขึ้นม​ า​แบบ​ง่ายๆ หรือด​ ้วย​วิธที​ ีซ่​ ับซ​ ้อน เช่น การ​ ใช้​รหัส​ลับ​ด้วย​ตัวเลข​หรือ​ตัว​อักษร​เพียง​ไม่​กี่​ตัว​ต่อ​ท้าย​ข้อความ​ใน​จดหมาย​อิเล็กทรอนิกส์​ที่​เขียน​ขึ้น​เพื่อ​ แสดง​ตน​ว่าเ​ป็นผ​ ู้ส​ ่งข​ ้อความ​จริง หรืออ​ าจ​จะ​ใช้ล​ ายมือช​ ื่อด​ ิจิทัล ซึ่งเ​ป็นว​ ิธีก​ าร​ลง​ลายมือช​ ื่อท​ ี่ซ​ ับซ​ ้อน​มาก​ขึ้น ทั้งนี้​เพื่อ​ให้​เป็น​ไป​ตาม​หลัก​ความ​เป็นก​ลาง​ทาง​เทคโนโลยี ที่​ต้อง​สอดคล้อง​กับ​พัฒนาการ​ที่​เปลี่ยนแปลง​ไป​ ใน​แต่ละ​ยุค​สมัย ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ท​ ี่​เชื่อ​ถือไ​ ด้ ตาม​ที่​บัญญัติ​ไว้​ใน​มาตรา ๒๖ จะ​ต้อง​มี​ลักษณะ​ดังนี้ – ข้อมูล​สำ�หรับ​ใช้​สร้าง​ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ เชื่อม​โยง​ไป​ยัง​เจ้าของ​ลายมือ​ชื่อ​โดย​ไม่​ เชื่อม​โยง​ไป​ยัง​บุคคล​อื่น – ใน​ขณะ​สร้าง​ลายมือ​ชื่ออ​ ิเล็กทรอนิกส์​นั้น ข้อมูล​สำ�หรับ​สร้าง​ลายมือ​ชื่อ​ต้อง​อยู่ภ​ าย​ใต้ก​ าร​ ควบคุมข​ อง​เจ้าของ​ลายมือช​ ื่อ โดย​ไม่มี​การ​ควบคุม​ของ​บุคคล​อื่น – การ​เปลี่ยน​แป​ลง​ใดๆ ที่​เกิด​แก่​ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ นับ​แต่​เวลา​ที่​ได้​สร้าง​ขึ้น​สามารถ​ จะ​ตรวจ​พบ​ได้ – ใน​กรณี​ที่​กฎหมาย​กำ�หนด​ให้การ​ลง​ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์​นั้น​เป็น​ไป​เพื่อ​รับรอง​ความ​ ครบ​ถ้วน​ถูกต​ ้อง​และ​ไม่มีก​ าร​เปลี่ยนแปลง​ของ​ข้อความ การ​เปลี่ยนแปลง​ใด​แก่ข​ ้อความ​นั้นส​ ามารถ​ตรวจ​พบ​ ได้​นับ​แต่​เวลา​ที่​ลง​ลายมือ​ชื่ออ​ ิเล็กทรอนิกส์ แนวทาง​ปฏิบัติ​ของ​เจ้าของ​ลายมือ​ชื่อ ตาม​มาตรา ๒๗ กฎหมาย​ใช้​หลัก​การ​พื้น​ฐาน​ว่า เจ้าของ ล​ ายมือช​ ื่อต​ ้อง​ใช้ค​ วาม​ระมัดระวังต​ าม​สมควร​เพื่อม​ ใิ​ ห้ม​ กี​ าร​ใช้ข​ ้อมูลส​ ำ�หรับใ​ ช้ส​ ร้าง​ลายมือช​ ื่ออ​ ิเล็กทรอนิกส์​ โดย​ไม่​ได้​รับ​อนุญาต และ​ใน​กรณี​ที่​รู้​หรือ​ควร​จะ​ได้​รู้​ว่า​ข้อมูล​นั้น​ได้​ถูก​ล่วง​รู้ เจ้าของ​ลายมือ​ชื่อ​จะ​ต้อง​แจ้ง​ ให้​บุคคล​ที่​เกี่ยวข้อง​หรือ​ผู้​ให้​บริการ​ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์​ทราบ​โดย​ไม่​ชักช้า และ​ผู้​สร้าง​ลายมือ​ชื่อ​ต้อง​ กระทำ�​การ​ด้วย​ความ​ระมัดระวัง​เพื่อ​ให้​ข้อความ​ที่ป​ รากฏ​ใน​ใบรับ​รอง​นั้น​ถูก​ต้อง​ครบ​ถ้วน​ตลอด​เวลา

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-17

ธ ส

ส่วน​แนวทาง​ปฏิบัติ​ของ​ผู้​ให้​บริการ​ออก​ใบรับ​รอง ตาม​มาตรา ๒๘ กฎหมาย​ใช้​หลัก​การ​พื้น​ฐาน​ เกี่ยว​กับก​ าร​ให้บ​ ริการ​ใน​การ​รับรอง​ตัวบ​ ุคคล​ตาม​ที่ร​ ะบุใ​ น​แนว​ปฏิบัติห​ รือซ​ ีพ​ ีเ​อส (Certification Practices Statement – CPS) ที่​เผย​แพร่​ให้​ผู้​ใช้​บริการ​รับ​ทราบ​การ​ดำ�เนิน​การ​โดย​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​ตาม​สมควร เกี่ยว​กับ​การ​รับรอง​ความ​ถูก​ต้อง​และ​ครบ​ถ้วน​ของ​ข้อมูล​ที่​แสดง​ใน​ใบรับ​รอง​ตั้งแต่​ขั้น​ตอน​การ​ขอ​ใช้​บริการ​ จนถึง​การ​หมด​อายุ​ของ​ใบรับ​รอง รวม​ถึง​การ​จัด​ให้​มี​วิธี​การ​เข้า​ถึง​เพื่อ​ให้​คู่​กรณี​ที่​เกี่ยวข้อง​ตรวจ​สอบ​ข้อมูล​ ต่างๆ ใน​ใบรับร​ อง และ​มาตรา ๒๙ การ​บัญญัติ​ความ​น่า​เชื่อ​ถือ​ได้​ของ​ระบบ วิธี​การ และ​บุคลากร ให้​คำ�นึง​ ถึง​ปัจจัย​ทาง​ด้าน​สถานภาพ​ทางการ​เงิน บุคลากร และ​สินทรัพย์​ที่​มี​อยู่ คุณภาพ​ของ​ระบบ​คอมพิวเตอร์​ทั้ง​ ด้าน​ฮาร์ดแวร์แ​ ละ​ซอฟต์แวร์ วิธีก​ าร​ออก​ใบรับร​ อง การ​ขอ​ใบรับร​ อง​และ​การ​เก็บร​ ักษา​ข้อมูลก​ าร​ให้บ​ ริการ​นั้น การ​จัด​ให้​มี​ข้อมูล​ข่าวสาร​เกี่ยว​กับ​เจ้าของ​ลายมือ​ชื่อ​ที่​ระบุ​ใน​ใบรับ​รอง​และ​คู่​กรณี​ที่​เกี่ยวข้อง รวม​ถึง​ความ​ สม่ำ�เสมอ​ของ​การ​ตรวจ​สอบ​โดย​ผู้ต​ รวจ​สอบ​อิสระ ส่วน​คูก่​ รณีท​ เี่​กี่ยวข้อง มีหน้าท​ ตี่​ ้อง​ปฏิบัตติ​ าม​มาตรา ๓๐ กล่าว​คือ คูก่​ รณีท​ เี่​กี่ยวข้อง​จะ​ต้อง​ใช้ค​ วาม​ ระมัดระวัง​ตาม​สมควร​ใน​การ​ตรวจ​สอบ​ความ​น่า​เชื่อ​ถือ​ของ​ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์​นั้น กรณี​ที่​ลายมือ​ชื่อ​ อิเล็กทรอนิกส์​มี​ใบรับ​รอง​ก็​จะ​ต้อง​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​ใน​การ​ตรวจ​สอบ​ถึง​ความ​สมบูรณ์ การ​พัก​ใช้ หรือ​การ​ เพิก​ถอน​ใบรับ​รอง​นั้น รวม​ทั้งต​ รวจ​สอบ​ข้อจ​ ำ�​กัด​ใดๆ ที่​เกี่ยว​กับ​ใบรับ​รอง​นั้น​ด้วย การ​รับรอง​ใบรับ​รอง​และ​ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์​ที่​สร้าง​ขึ้น​ใน​ต่าง​ประเทศ ตาม​มาตรา ๓๑ มี​ผล​ บังคับ​ใช้​ตาม​กฎหมาย​เช่น​เดียวกัน​กับ​ใบรับ​รอง​ที่​สร้าง​ขึ้น​ใน​ประเทศไทย ประเด็น​ที่​ใช้​ใน​การ​พิจารณา​คือ ความ​น่าเ​ชื่อถ​ ือข​ อง​ระบบ​ที่ส​ ร้าง​ใบรับร​ อง แม้ว่าแ​ ต่ละ​ประเทศ​จะ​มีข​ ้อก​ ำ�หนด​ที่แ​ ตก​ต่าง​กันไ​ ป กอปร​กับผ​ ู้ใ​ ห้​ บริการ​ออก​ใบรับ​รอง​ราย​เดียวกัน​อาจ​ออก​ใบรับ​รอง​ที่​มี​ความ​น่า​เชื่อ​ถือ​แตก​ต่าง​กัน​ได้ ตาม​วัตถุประสงค์​ใน​ การ​ใช้​งาน ใบรับ​รอง​ทุก​ใบ​จึง​ไม่​ได้​ให้​ผล​ใน​ทาง​กฎหมาย​ที่​เหมือน​กัน จึง​จำ�เป็น​ต้อง​คำ�นึง​ถึง​มาตรฐาน​และ​ ปัจจัย​อื่นๆ ที่เ​กี่ยวข้อง​ประกอบ​ด้วย 4.3 ธุรกิจ​บริการ​เกี่ยว​กับ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ หมวด ๓ ประกอบ​ด้วย มาตรา ๓๒ – มาตรา ๓๔ มี​สาระ​สำ�คัญ​พอ​สรุป​ได้​ดังนี้ เพื่อใ​ ห้ก​ ฎหมาย​มคี​ วาม​ยืดหยุ่นใ​ น​การ​ปรับใ​ ช้ง​ าน​เพื่อร​ องรับภ​ าค​ธุรกิจม​ าก​ขึ้น ใน​การ​ให้บ​ ริการ​เกี่ยว​ กับธ​ ุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ใน​รูปแ​ บบ​ต่างๆ ทีห่​ าก​ขาด​การ​กำ�กับด​ ูแล​ทีเ่​หมาะ​สม​อาจ​ส่งผ​ ล​เสียต​ ่อส​ ่วน​รวม หรือ​มี​ความ​เสี่ยง​บาง​ประการ​หาก​ปล่อย​ให้​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​อย่าง​เสรี บทบัญญัติ​ที่​กำ�หนด​ขึ้น​จึง​วาง​กรอบ​ใน​การ​ กำ�กับ​ดูแล​แบ​บก​ว้างๆ รวม​ถึงก​ าร​กำ�หนด​ให้​มี​การ​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ขึ้น​มาร​อง​รับ​ใน​ภาย​หลัง ด้วย​เหตุ​ประเภท​ของ​ธุรกิจ​บริการ​ที่​ต้อง​มี​การ​กำ�กับ​ดูแล ยัง​ไม่​สามารถ​กำ�หนด​ให้​ชัดเจน​ตั้งแต่​ใน​ ช่วง​ต้น​ได้ ว่า​มี​ธุรกิจ​บริการ​ใด​บ้าง​ที่​ต้อง​มี​การ​กำ�กับ​ดูแล และ​จะ​กำ�กับ​ดูแล​ด้วย​วิธี​การ​อย่างไร และ​หาก​ใน​ อนาคต​มี​ธุรกิจ​บริการ​ใหม่ๆ ตาม​การ​เปลี่ยนแปลง​ของ​เทคโนโลยี​ที่​อาจ​เกิด​ขึ้น​ใน​อนาคต กฎหมาย​ฉบับ​นี้​ก็​ ยัง​สามารถ​ปรับ​ใช้ได้ มาตรา ๓๒ จึงบ​ ัญญัติใ​ ห้​มีก​ าร​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​เพื่อ​กำ�หนด​หลัก​เกณฑ์​การ​กำ�กับ​ ดูแล​เกี่ยว​กับ​ธุรกิจ​บริการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์น​ ั้นๆ โดย​บัญญัติ​ว่า “บุคคล​ย่อม​มี​สิทธิ​ประกอบ​ธุรกิจ​ บริการ​เกี่ยว​กับธ​ ุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ แต่ใ​ น​กรณีท​ จี่​ ำ�เป็นเ​พื่อร​ ักษา​ความ​มั่นคง​ปลอดภัยท​ างการ​เงินแ​ ละ​ ทาง​พาณิชย์ หรือเ​พือ่ ป​ ระโยชน์ใ​ น​การ​เสริมส​ ร้าง​ความ​นา่ เ​ชือ่ ถ​ อื แ​ ละ​ยอมรับใ​ น​ระบบ​ขอ้ มูลอ​ เิ ล็กทรอนิกส์ หรือ​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-18

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

เพื่อป​ ้องกันค​ วาม​เสีย​หาย​ต่อ​สาธารณชน ให้​มี​การ​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​กำ�หนด​ให้การ​ประกอบ​ธุรกิจ​บริการ​ เกี่ยว​กับ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​เป็น​กิจการ​ที่​ต้อง​แจ้ง​ให้​ทราบ ต้อง​ขึ้น​ทะเบียน หรือ​ต้อง​ได้​รับ​อนุญาต​ ก่อน​ก็ได้” หลัก​เกณฑ์​ที่​ใช้​ใน​การ​พิจารณา​ว่า​ธุรกิจ​บริการ​เกี่ยว​กับ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ใด​บ้าง ที่​ต้อง​มี​ การ​กำ�กับ​ดูแล ให้​พิจารณา​วัตถุประสงค์ 3 กรณี ดังนี้ – เพื่อร​ ักษา​ความ​มั่นคง​ทางการ​เงิน​หรือ​การ​พาณิชย์ – เพื่อป​ ระโยชน์​ใน​การ​สร้าง​เสริม​ความ​น่า​เชื่อ​ถือ​และ​ยอมรับ​ใน​ระบบ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ – เพื่อป​ ้องกัน​ความ​เสีย​หาย​ต่อ​สาธารณชน หาก​ผล​การ​พิจารณา​พบ​ว่าธ​ ุรกิจบ​ ริการ​นั้นๆ ส่งผ​ ลก​ระ​ทบ​ต่อว​ ัตถุประสงค์ข​ ้อห​ นึ่งข​ ้อใ​ ด ธุรกิจน​ ั้นก​ ​็ อาจ​จำ�เป็น​ที่​จะ​ต้อง​ได้​รับ​การ​พิจารณา​จาก​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ว่า​สมควร​ให้​มี​การ​ตรา​ พระ​ราช​กฤษฎีกา​ขึ้นม​ า​กำ�กับ​ดูแล​หรือ​ไม่ และ​ก่อน​เสนอ​ให้​มี​การ​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ออก​มา​บังคับ​ใช้ ต้อง​ จัด​ให้​มี​การ​รับ​ฟัง​ความ​คิด​เห็น​ของ​ประชาชน​ตาม​ความ​เหมาะ​สม เพื่อ​นำ�​มา​ประกอบ​การ​พิจารณา​ก่อน​ที่​จะ​มี​ การ​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ต่อ​ไป หลักเ​กณฑ์แ​ ละ​วธิ ก​ี าร​ก�ำ กับด​ แู ล กฎหมาย​ให้พ​ จิ ารณา​ถงึ ค​ วาม​เหมาะ​สมใน​การ​ปอ้ งกันค​ วาม​เสียห​ าย​ ตาม​ระดับค​ วาม​รุนแรง​ของ​ผลก​ระ​ทบ​ที่อ​ าจ​เกิดข​ ึ้นจ​ าก​การ​ประกอบ​ธุรกิจน​ ั้น กฎหมาย​จึงก​ ำ�หนด​รูปแ​ บบ​การ​ กำ�กับ​ดูแล​ไว้​สาม​รูป​แบบ คือ ต้อง​แจ้งใ​ ห้​ทราบ ต้อง​ขึ้น​ทะเบียน หรือต​ ้อง​ได้​รับ​ใบ​อนุญาต ส่วน​ราย​ละเอียด​ใน​แต่ละ​รูป​แบบ​ของ​การ​กำ�กับด​ ูแล​การ​ประกอบ​ธุรกิจบ​ ริการ​เกี่ยว​กับธ​ ุรกรรม​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์ กำ�หนด​ไว้ใ​ น​มาตรา ๓๓ เกี่ยว​กับ​ราย​ละเอียด​ใน​การ​กำ�กับ​ดูแล​ของ​ธุรกิจ​บริการ​ที่​ต้อง​แจ้ง​ให้​ ทราบ​หรือต​ ้อง​ขึ้นท​ ะเบียน และ​ที่ก​ ำ�หนด​ไว้ใ​ น​มาตรา ๓๔ เกี่ยว​กับร​ าย​ละเอียด​ใน​กรณีข​ อง​ธุรกิจบ​ ริการ​ที่ต​ ้อง​ ได้ร​ ับใ​ บ​อนุญาต โดยที่ร​ าย​ละเอียด​ใน​การ​กำ�กับด​ ูแล​ตาม​มาตรา ๓๓ และ​มาตรา ๓๔ จะ​มีห​ ลักเ​กณฑ์ป​ ระกาศ​ กำ�หนด​ใน​พระ​ราช​กฤษฎีกา และ​ประกาศ​ที่​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ประกาศ​กำ�หนด​โดย​ อาศัย​อำ�นาจ​ตาม​มาตรา ๓๒ นั่นเอง 4.4 ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ภ​ าค​รัฐ หมวด ๔ ประกอบ​ด้วย มาตรา ๓๕ มีส​ าระ​สำ�คัญ​พอ​สรุป​ได้​ดังนี้ บทบัญญัติ​หลัก​เกณฑ์เ​กี่ยว​กับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ภาค​รัฐ มี​หลักก​ าร​ดังนี้ “คำ�ขอ การ​อนุญาต การ​จด​ทะเบียน คำ�​สั่ง​ทาง​ปกครอง การ​ชำ�ระ​เงิน การ​ประกาศ หรือ​ การ​ดำ�เนินก​ าร​ใดๆ ตาม​กฎหมาย​กับ​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ ถ้า​ได้​กระทำ�​ใน​รูปแ​ บบ​ของ​ข้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์ต​ าม​ หลัก​เกณฑ์​และ​วิธีก​ าร​ที่ก​ ำ�หนด​โดย​พระ​ราช​กฤษฎีกา ให้​นำ�​พระ​ราช​บัญญัติ​นี้​มา​ใช้​บังคับ และ​ให้​ถือว่า​มี​ผล​ โดย​ชอบ​ด้วย​กฎหมาย​เช่น​เดียว​กับ​การ​ดำ�เนิน​การ​ตาม​หลัก​เกณฑ์​และ​วิธี​การ​ที่​กฎหมาย​ใน​เรื่อง​นั้น​กำ�หนด ทั้งนี้ ใน​พระ​ราช​กฤษฎีกา​อาจ​กำ�หนด​ให้​บุคคล​ที่​เกี่ยวข้อง​ต้อง​กระทำ�​หรือ​งด​เว้น​การก​ระ​ทำ�​ใดๆ หรือ​ให้​ หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​ออก​ระเบียบ​เพื่อ​กำ�หนด​ราย​ละเอียด​ใน​บาง​กรณี​ด้วย​ก็ได้ ใน​การ​ออก​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ตาม​วรรค​หนึ่ง พระ​ราช​กฤษฎีกา​ดังก​ ล่าว​อาจ​กำ�หนด​ให้ป​ ระกอบ​ ธุรกิจบ​ ริการ​เกี่ยว​กับธ​ ุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ต​ ้อง​แจ้งใ​ ห้ท​ ราบ ต้อง​ขึ้นท​ ะเบียน หรือต​ ้อง​ได้ร​ ับใ​ บ​อนุญาต

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-19

ธ ส

แล้วแ​ ต่ก​ รณี ก่อน​ประกอบ​กิจการ​ก็ได้ ใน​กรณีน​ ี้ใ​ ห้น​ ำ�​บทบัญญัตใิ​ น​หมวด ๓ และ​บท​กำ�หนด​โทษ​ทีเ่​กี่ยวข้อง​ มา​ใช้​บังคับโ​ ดย​อนุโลม” ต่อม​ า​มกี​ าร​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​กำ�หนด​หล​ ักเ​กณฑ์แ​ ละ​วิธกี​ าร​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ ภาค​รัฐ พ.ศ. 2549 4.5 คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ หมวด ๕ ประกอบ​ด้วย มาตรา ๓๖ – มาตรา ๔๓ มีส​ าระ​สำ�คัญ​พอ​สรุป​ได้​ดังนี้ คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบ​ด้วย​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​เทคโนโลยี​ สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร2 เป็น​ประธาน​กรรมการ ปลัด​กระทรวง​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร เป็น​ รอง​ประธาน​กรรมการ และ​กรรมการ​ซึ่งค​ ณะ​รัฐมนตรี​แต่ง​ตั้ง​จาก​ผู้ทรง​คุณวุฒิ ที่​ได้​รับ​การ​สรรหา​อีก​จำ�นวน​ สิบ​สอง​คน โดย​ใน​จำ�นวน​นี้​เป็น​ผู้ทรง​คุณวุฒิใ​ น​ด้าน​ต่อ​ไป​นี้​ด้าน​ละ​สอง​คน 1) การ​เงิน 2) การ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ 3) นิติศาสตร์ 4) วิทยาการ​คอมพิวเตอร์ 5) วิทยาศาสตร์ห​ รือ​วิศวกรรมศาสตร์ 6) สังคมศาสตร์ ทั้ ง นี้ ผู้ ท รง​คุ ณ วุ ฒิ ​ค น​ห นึ่ ง ​ข อง​แ ต่ ล ะ​ด้ า น​ต้ อ ง​ม า​จ าก​ภ าค​เ อกชน และ​ใ ห้ ​หั ว หน้ า ​สำ � นั ก งาน​ คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ เป็น​กรรมการ​และ​เลขานุการ วาระ​การ​ดำ�รง​ตำ�แหน่ง​คราว​ละ 3 ปี สามารถ​ดำ�รง​ตำ�แหน่ง​ติดต่อ​กัน​ได้​แต่​ไม่​เกิน 2 วาระ​ติดต่อ​กัน และ​กำ�หนด​ให้​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ มีอ​ ำ�นาจ​หน้าที่​ดัง​ต่อ​ไป​นี้ 1) เสนอ​แนะ​ต่อ​คณะ​รัฐมนตรี​เพื่อ​วาง​นโยบาย​การ​ส่ง​เสริม​และ​พัฒนา​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ตลอด​จนการ​แก้ไข​ปัญหา​และ​อุปสรรค​ที่​เกี่ยวข้อง 2) ติดตาม​ดูแล​การ​ประกอบ​ธุรกิจบ​ ริการ​เกี่ยว​กับ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ 3) เสนอ​แนะ​หรือ​ให้​คำ�​ปรึกษา​ต่อ​รัฐมนตรี​เพื่อ​การ​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ​นี้ 4) ออก​ระเบียบ​หรือ​ประกาศ​เกี่ยว​กับ​ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อ​ให้​เป็น​ไป​ตามพ​ระ​ราช-​ บัญญัติ​นี้ หรือต​ ามพ​ระ​ราช​กฤษฎีกา​ที่​ออก​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ​นี้ 5) ปฏิบัติก​ าร​อื่นใ​ ด​เพื่อใ​ ห้​เป็น​ไป​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ​นี้ หรือ​กฎหมาย​อื่น ใน​การ​ปฏิบัติ​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ​นี้​ให้​คณะ​กรรมการ​เป็น​เจ้า​พนักงาน​ตาม​ประมวล​กฎหมาย​อาญา คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ส​ อง​ชุด​แรก​หมด​วาระ​ไป​เมื่อ​เดือน​ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปัจจุบัน​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

2 พระ​ราช​กฤษฎีกา​แก้ไข​บทบัญญัติใ​ ห้ส​ อดคล้อง​กับก ​ าร​โอน​อำ�นาจ​หน้าที่ข​ อง​ส่วน​งาน​ราชการ​ให้เ​ป็นไ​ ป​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัต​ิ

ปรับปรุง​กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา ๑๐๒ ใน​พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ให้​แก้ไข​ คำ�​ว่า “รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี​และ​สิ่ง​แวดล้อม” เป็น “รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​ การ​สื่อสาร”


8-20

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

เป็นการ​ปฏิบัติ​งาน​ของ​คณะ​กรรมการ​ชุด​ที่ 3 (พ.ศ. 2553 – พ.ศ. 2555) ผล​งาน​และ​ภารกิจห​ ลัก​ที่​ผ่าน​มา​ที่​เห็น​ เด่น​ชัด​คือ​การ​สร้าง​ความ​รู้​ความ​เข้าใจ​ใน​วง​กว้าง เนื่องจาก​เป็น​กฎหมาย​ใหม่ ผู้​ที่​เกี่ยวข้อง​แม้ว่า​จะ​กระจาย​ใน​ วง​กว้าง​แต่​การ​รับ​รู้​ยัง​ค่อน​ข้าง​จำ�กัด ทำ�ให้​ขาด​ความ​เชื่อ​มั่น​ใน​การ​ยอมรับ​และ​ทำ�​ธุรกรรม​ผ่าน​เครือ​ข่าย​ อินเทอร์เน็ต เพราะ​หาก​ผบ​ู้ ริโภค​ยงั ไ​ ม่ส​ ามารถ​ใช้ก​ ลไก​ของ​กฎหมาย​เพือ่ ค​ มุ้ ครอง​อย่าง​เต็มท​ ก​ี่ ม​็ กั จ​ ะ​เสียเ​ปรียบ​ ต่อผ​ ป​ู้ ระกอบ​การ จึงเ​ป็นส​ าเหตุส​ �ำ คัญท​ ย​ี่ งั ไ​ ม่ส​ ามารถ​เปลีย่ นแปลง​พฤติกรรม​การ​ของ​ผบ​ู้ ริโภค​ให้ม​ า​ท�​ำ ธรุ กรรม​ แบบ​ครบ​วงจร​ผ่าน​เครือ​ข่าย​อินเทอร์เน็ต​ได้ และ​การ​สร้าง​ความ​รู้​ความ​เข้าใจ​ยัง​ไม่ใช่​หลัก​ประกัน​ที่​จะ​ส่ง​เสริม​ หรือส​ ร้าง​ความ​เชือ่ ม​ นั่ ไ​ ด้ ซึง่ เ​หล่าค​ ณะ​กรรมการ​ผทู้ รง​คณ ุ วุฒก​ิ ต​็ ระหนักเ​ป็นอ​ ย่าง​ดี ภารกิจห​ ลักท​ ส​ี่ �ำ คัญใ​ น​ชว่ ง​ ทีผ​่ า่ น​มา​ของ​การ​ด�ำ รง​ต�ำ แหน่ง จึงต​ อ้ ง​เร่งส​ ร้าง​กฎหมาย​ล�ำ ดับร​ อง​หรือพ​ ระ​ราช​กฤษฎีกา​ขนึ้ ม​ า​เพือ่ ใ​ ห้ก​ ลไก​ของ​ กฎหมาย​สามารถ​บังคับ​ใช้ได้อ​ ย่าง​เต็มท​ ี่​และ​เป็นร​ ูป​ธรรม โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่งก​ าร​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​หรือ​กฎหมาย​ลำ�ดับ​รอง ภาย​ใต้​มาตรา ๒๕ มาตรา ๓๒ และ​มาตรา ๓๕3 พระ​ราช​กฤษฎีกา​ทั้ง 3 มาตรา ภาย​ใต้​พระ​ราช​บัญญัติ​ว่าด​ ้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ใน​ ปัจจุบัน​พระ​ราช​กฤษฎีกา​หรือ​กฎหมาย​ลำ�ดับ​รอง ที่​ตรา​ออก​มา​เป็น​กฎหมาย​ที่​มี​ผล​บังคับ​ใช้​แล้ว ประกอบ​ ด้วย – พระ​ราช​กฤษฎีกา​กำ�หนด​หลัก​เกณฑ์​และ​วิธี​การ​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ ภาค​รัฐ พ.ศ. 2549 – พระ​ราช​กฤษฎีกา​ว่า​ด้วย​การ​ควบคุม​ดูแล​ธุรกิจ​บริการ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

3 มาตรา ๒๕ ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ใ​ ด​ที่ไ​ ด้ก ​ ระทำ�​ตาม​วิธกี​ าร​แบบ​ปลอดภัยท​ ี่ก​ ำ�หนด​ใน​พระ​ราช​กฤษฎีกา ให้ส​ ันนิษฐาน​

ว่า​เป็น​วิธีก​ าร​ที่เ​ชื่อถ​ ือ​ได้ มาตรา ๓๒ บุคคล​ย่อม​มีส​ ิทธิ​ประกอบ​ธุรกิจ​บริการ​เกี่ยว​กับ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ แต่​ใน​กรณี​ที่​จำ�เป็น​เพื่อ​รักษา​ความ​ มัน่ คง​ทางการ​เงินแ​ ละ​การ​พาณิชย์ หรือเ​พือ่ ป​ ระโยชน์ใ​ น​การ​เสริมส​ ร้าง​ความ​เชือ่ ถ​ อื แ​ ละ​ยอมรับใ​ น​ระบบ​ลายมือช​ ือ่ อ​ เิ ล็กทรอนิกส์ หรือเ​พือ่ ​ ป้องกันค​ วาม​เสียห​ าย​ตอ่ ส​ าธารณชน​ให้ม​ ก​ี าร​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ก�ำ หนด​ให้การ​ประกอบ​ธรุ กิจบ​ ริการ​เกีย่ ว​กบั ธ​ รุ กรรม​ทาง​อเิ ล็กทรอนิกส์​ ใด​เป็น​กิจการ​ที่ต​ ้อง​แจ้ง​ให้​ทราบ ต้อง​ขึ้น​ทะเบียน หรือ​ต้อง​ได้​รับ​ใบ​อนุญาต​ก่อน​ก็ได้ ใน​การ​กำ�หนด​ให้ก​ รณีใ​ ด​ต้อง​แจ้งใ​ ห้ท​ ราบ ต้อง​ขึ้นท​ ะเบียน หรือต​ ้อง​ได้ร​ ับใ​ บ​อนุญาต​ตาม​วรรค​หนึ่ง ให้ก​ ำ�หนด​โดย​พิจารณา​ จาก​ความ​เหมาะ​สมใน​การ​ป้องกัน​ความ​เสีย​หาย​ตาม​ระดับ​ความ​รุนแรง​ของ​ผลก​ระ​ทบ​ที่​อาจ​เกิด​ขึ้น​จาก​การ​ประกอบ​ธุรกิจ​นั้น ใน​การ​นี้ จะ​กำ�หนด​ให้​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​แห่ง​หนึ่ง​แห่ง​ใด​เป็น​ผู้รับ​ผิด​ชอบ​ใน​การ​ควบคุม​ดูแล​ใน​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ดัง​กล่าว​ ก็ได้ ก่อน​เสนอ​ให้ต​ รา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ตาม​วรรค​หนึ่ง ต้อง​จัดใ​ ห้ม​ ีก​ าร​รับฟ​ ังค​ วาม​คิดเ​ห็นข​ อง​ประชาชน​ตาม​ความ​เหมาะ​สม และ​ นำ�​ข้อมูล​ที่ไ​ ด้​รับม​ า​ประกอบ​การ​พิจารณา มาตรา ๓๕ คำ�ขอ การ​อนุญาต การ​จด​ทะเบียน คำ�​สั่ง​ทาง​ปกครอง การ​ชำ�ระ​เงิน การ​ประกาศ หรือ​การ​ดำ�เนิน​การ​ใดๆ ตาม​ กฎหมาย​กับห​ น่วย​งาน​ของ​รัฐห​ รือโ​ ดย​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ ถ้าไ​ ด้ก​ ระทำ�​ใน​รูปข​ อง​ข้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์ต​ าม​หลักเ​กณฑ์แ​ ละ​วิธีก​ าร​ที่ก​ ำ�หนด​ โดย​พระ​ราช​กฤษฎีกา ให้​นำ�​พระ​ราช​บัญญัติ​นี้​มา​ใช้​บังคับ​และ​ให้​ถือว่า​มี​ผล​โดย​ชอบ​ด้วย​กฎหมาย​เช่น​เดียว​กับ​การ​ดำ�เนิน​การ​ตาม ​หลัก​เกณฑ์​และ​วิธี​การ​ที่​กฎหมาย​ใน​เรื่อง​นั้น​กำ�หนด ทั้งนี้ ใน​พระ​ราช​กฤษฎีกา​อาจ​กำ�หนด​ให้​บุคคล​ที่​เกี่ยวข้อง​ต้อง​กระทำ�​หรือ​งด​เว้น​ กระทำ�​การ​ใดๆ หรือใ​ ห้​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​ออก​ระเบียบ​เพื่อก​ ำ�หนด​ราย​ละเอียด​ใน​บาง​กรณี​ด้วย​ก็ได้ ใน​การ​ออก​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ตาม​วรรค​หนึ่ง พระ​ราช​กฤษฎีกา​ดังก​ ล่าว​อาจ​กำ�หนด​ให้ผ​ ูป้​ ระกอบ​ธุรกิจบ​ ริการ​เกี่ยว​กับธ​ ุรกรรม​ ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ต​ ้อง​แจ้งใ​ ห้​ทราบ ต้อง​ขึ้น​ทะเบียน หรือ​ต้อง​ได้​รับ​ใบ​อนุญาต แล้วแ​ ต่​กรณี ก่อน​ประกอบ​กิจการ​ก็ได้ ใน​กรณี​นี้ ให้​นำ�​ บทบัญญัติใ​ น​หมวด ๓ และ​บท​กำ�หนด​โทษ​ที่​เกี่ยวข้อง​มา​ใช้​บังคับ​โดย​อนุโลม

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-21

ธ ส

– พระ​ราช​กฤษฎีกา​ว่า​ด้วย​วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัย​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553

ธ ส

นอกจาก​นี้​ยัง​มี​การ​ออก​ประกาศ​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ภาย​ใต้​พระ​ราช​บัญญัติ​ ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ออก​มา 2 ฉบับ ประกอบ​ด้วย – ประกาศ​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวทาง​การ​จัด​ทำ�​แนว​นโยบาย (Certificate Policy) และ​แนว​ปฏิบัติ (Certification Practice Statement) ของ​ผู้ใ​ ห้บ​ ริการ​ออก​ใบรับร​ อง​ อิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority) พ.ศ. 2552 – ประกาศ​คณะ​กรรมการ​ธรุ กรรม​ทาง​อเิ ล็กทรอนิกส์​ เรือ่ ง หลักเ​กณฑ์แ​ ละ​วธิ ก​ี าร​ใน​การ​จดั ท​ �​ำ หรือ​แปลง​เอกสาร​และ​ข้อความ​ให้​อยู่ใ​ น​รูป​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553 4.6 บท​กำ�หนด​โทษ หมวด ๖ ประกอบ​ด้วย มาตรา ๔๔ – มาตรา ๔๖ มี​สาระ​สำ�คัญ​พอ​สรุปไ​ ด้​ดังนี้ เนื่องจาก​กฎหมาย​ได้​มี​การ​กำ�หนด​หน้าที่​ของ​บุคคล​หลาย​ฝ่าย​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​พระ​ราช​บัญญัติ​ฉบับ​ นี้ โดย​เฉพาะ​ผู้​ประกอบ​ธุรกิจ​บริการ​เกี่ยว​กับธ​ ุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​บาง​ประเภท ที่​มีหน้า​ที่​ต้อง​แจ้ง​เพื่อ​ ทราบ ต้อง​ขึ้น​ทะเบียน หรือ​ต้อง​ขอ​อนุญาต หาก​ฝ่าฝืนห​ รือ​ไม่​ปฏิบัติ​ตาม​ที่​กฎหมาย​กำ�หนด จัก​ต้อง​ได้​รับ​ทั้ง​ โทษจำ�​คุกแ​ ละ​โทษ​ปรับ รวม​ถึงก​ าร​กำ�หนด​โทษ​ของ​นิติบุคคล ผู้จ​ ัดการ หรือผ​ ู้แ​ ทน​นิติบุคคล เว้นแ​ ต่พ​ ิสูจน์ไ​ ด้​ ว่าต​ น​มิได้ร​ ู้เ​ห็นห​ รือม​ ีส​ ่วน​ร่วม​ใน​การก​ระ​ทำ�ความ​ผิดน​ ั้น เป็นท​ ี่น​ ่าส​ ังเกต​ว่า กฎหมาย​ฉบับน​ ี้เ​ป็นก​ ฎหมาย​เชิง​ ส่ง​เสริม​ให้ม​ ี​การ​ปฏิบัติต​ าม จึงไ​ ด้ก​ ำ�หนด​บท​ลงโทษ​เฉพาะ​กรณี​ที่​กฎหมาย​กำ�หนด​ให้ผ​ ู้​ประกอบ​ธุรกิจบ​ ริการ​ เกีย่ ว​กบั ธ​ รุ กรรม​ทาง​อเิ ล็กทรอนิกส์ใ​ ห้ต​ อ้ ง​แจ้งเ​พือ่ ท​ ราบ หรือข​ ึน้ ท​ ะเบียน​ตอ่ พ​ นักงาน​เจ้าห​ น้าทีต​่ าม​ทกี​่ ฎหมาย​ กำ�หนด หรือต​ ้อง​ขอรับ​ใบ​อนุญาต แต่​ฝ่า​ฝืน​ไม่ป​ ฏิบัติ​ตาม จะ​มี​ทั้ง​โทษจำ� โทษ​ปรับ หรือ​ทั้ง​จำ�​ทั้ง​ปรับ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 8.1.2 แล้ว​โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 8.1.2 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 8 ตอน​ที่ 8.1 เรื่อง​ที่ 8.1.2

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-22

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

เรื่อง​ที่ 8.1.3 พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับ​ที่ 2) พ.ศ. 2551

ธ ส

พระ​ราช​บัญญัติว​ ่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ฉบับ​แก้ไข พ.ศ. 2551 มี​ผล​บังคับ​ใช้​ตั้งแต่​วัน​ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

1. ความ​จำ�เป็น​ใน​การ​ตรา​พระ​ราช​บัญญัติ

ธ ส

เหตุผล​ใน​การ​ประกาศ​ใช้พ​ ระ​ราช​บญ ั ญัตว​ิ า่ ด​ ว้ ย​ธรุ กรรม​ทาง​อเิ ล็กทรอนิกส์ (ฉบับท​ ี่ 2 หรือฉ​ บับแ​ ก้ไข) พ.ศ. 2551 สืบ​เนื่องจาก​ปัจจุบัน​พระ​ราช​บัญญัติว​ ่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่ง​เป็น​ฉบับท​ ี่​ บังคับใ​ ช้ใ​ น​ปัจจุบัน ยังไ​ ม่มบี​ ทบัญญัตริ​ องรับใ​ น​เรื่อง​ตรา​ประทับอ​ ิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเ​ป็นส​ ิ่งท​ ีส่​ ามารถ​ระบุถ​ ึงต​ ัว ผูท้​ ำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ไ​ ด้เ​ช่นเ​ดียว​กับล​ ายมือช​ ื่ออ​ ิเล็กทรอนิกส์ ทำ�ให้เ​ป็นอ​ ุปสรรค​ต่อก​ าร​ทำ�​ธุรกรรม​ ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ท​ ีต่​ ้อง​มกี​ าร​ประทับต​ รา​ใน​หนังสือเ​ป็นส​ ำ�คัญ รวม​ทั้งย​ ังไ​ ม่มบี​ ทบัญญัตทิ​ ีก่​ ำ�หนด​ให้ส​ ามารถ​ นำ�​เอกสาร​ซึ่ง​เป็น​สิ่ง​พิมพ์​ออก​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​มา​ใช้​แทน​ต้นฉบับ​หรือ​ใช้​เป็น​พยาน​หลัก​ฐาน​ใน​ศาล​ ได้ และ​โดยที่​ได้​มี​การ​ปรับปรุง​โครงสร้าง​ระบบ​ราชการ​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ​ปรับปรุง​กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และ​กำ�หนด​ให้​กระทรวง​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร​เป็น​หน่วย​งาน​ที่​มี​อำ�นาจ​หน้าที่​ เกีย่ ว​กบั ก​ าร​วางแผน ส่งเ​สริม พัฒนา และ​ด�ำ เนินก​ จิ การ​เกีย่ ว​กบั เ​ทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​และ​การ​สือ่ สาร ​ประกอบ​ กับ​ปัจจุบัน​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ไ​ ด้​มี​การ​ใช้​อย่าง​แพร่​หลาย จำ�เป็น​ที่​จะ​ต้อง​มี​หน่วย​งาน​ธุรการ​เพื่อ​ทำ�​ หน้าที่​กำ�กับ​ดูแล เพื่อ​ให้​เป็น​ไป​ตาม​กฎหมาย​ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​และ​เป็น​ฝ่าย​เลขานุการ​ของ ​ค ณะ​ก รรมการ​ธุ ร กรรม​ท าง​อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ โดย​ส มควร​จั ด ​ตั้ ง ​สำ � นั ก งาน​ค ณะ​ก รรมการ​ธุ ร กรรม​ท าง​ อิเล็กทรอนิกส์ สังกัด​กระทรวง​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร​ขึ้น​ทำ�​หน้าที่​แทน​ศูนย์​เทคโนโลยี​ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ​แ ละ​ค อมพิ ว เตอร์ ​แ ห่ ง ​ช าติ อั น ​จ ะ​เ ป็ น การ​ส่ ง ​เ สริ ม ​ค วาม​เ ชื่ อ ​มั่ น ​ใ น​ก าร​ทำ �​ธุ ร กรรม​ท าง​ อิเล็กทรอนิกส์แ​ ละ​เสริมส​ ร้างศักยภาพ​การ​แข่งขันใ​ น​เวทีก​ าร​คา้ ร​ ะหว่าง​ประเทศ สมควร​แก้ไข​เพิม่ เ​ติมก​ ฎหมาย​ ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​เพื่อใ​ ห้ส​ อดคล้อง​หลัก​การ​ดัง​กล่าว จึงจ​ ำ�เป็นต​ ้อง​ตรา​พระ​ราช​บัญญัติ​นี้

ธ ส

ธ ส

2. สาระ​สำ�คัญพ​ อ​สังเขป

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

2.1 เพิ่ม​เติม​บทบัญญัติ​ให้​รองรับ​การ​ติด​อากร​แสตมป์ ตาม​มาตรา ๘ วรรค ๒ ภาย​ใต้​หมวด ๑ ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ว่า​ หาก​ได้ม​ ี​การ​ชำ�ระ​เงิน​แทน​หรือ​ดำ�เนิน​การ​อื่น​ใด​ด้วย​วิธี​การ​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ ตาม​หลัก​เกณฑ์​และ​วิธี​การ​ที่​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​ซึ่ง​เกี่ยวข้อง​ประกาศ​กำ�หนด​ให้​ถือว่า​หนังสือ หลัก​ฐาน​เป็น​ หนังสือ หรือ​เอกสาร ซึ่ง​มี​ลักษณะ​เป็น​ตราสาร​นั้น​ได้​มี​การ​ปิด​อากร​แสตมป์​และ​ขีด​ฆ่า​ตาม​กฎหมาย​นั้น​แล้ว ใน​การ​นี้ก​ าร​กำ�หนด​หลักเ​กณฑ์แ​ ละ​วิธีก​ าร​ของ​หน่วย​งาน​ของ​รัฐด​ ังก​ ล่าว คณะ​กรรมการ​จะ​กำ�หนด​กรอบ​และ​ แนวทาง​เพื่อ​เป็น​มาตรฐาน​ทั่วไป​ไว้ด​ ้วย​ก็ได้


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-23

ธ ส

2.2 บทบัญญัตถ​ิ งึ ว​ ธิ ก​ี าร​ทเี​่ ชือ่ ถ​ อื ไ​ ด้ ของ​การ​ลง​ลายมือช​ ือ่ อ​ เิ ล็กทรอนิกส์ ตาม​มาตรา ๙ วรรค ๒ และ​ วรรค ๓ ภาย​ใต้​หมวด ๑ ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ บัญญัติ​ว่า วิธี​การ​ที่​เชื่อ​ถือ​ได้​ของ​การ​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ อิเล็กทรอนิกส์ ที่​เหมาะ​สม​กับ​วัตถุประสงค์​ของ​การ​สร้าง​หรือ​ส่ง​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ โดย​คำ�นึง​พฤติการณ์​ แวดล้อม​หรือ​ข้อ​ตกลง​ของ​คู่ก​ รณี วิธีก​ าร​ที่​เชื่อถ​ ือ​ได้ที่​เพิ่ม​ขึ้น​มา บัญญัติ​ไว้​ดังนี้ “วิธีก​ าร​ที่​เชื่อถ​ ือ​ได้ ให้​คำ�นึงถ​ ึง 1) ความ​มั่นคง​และ​รัดกุม​ของ​การ​ใช้​วิธี​การ​หรือ​อุปกรณ์​ใน​การ​ระบุ​ตัว​บุคคล สภาพ​พร้อม​ใช้​ งาน​ของ​ทาง​เลือก​ใน​การ​ระบุต​ ัวบ​ ุคคล กฎ​เกณฑ์เ​กี่ยว​กับล​ ายมือช​ ื่อท​ ีก่​ ำ�หนด​ไว้ใ​ น​กฎหมาย​ระดับค​ วาม​มั่นคง​ ปลอดภัย​ของ​การ​ใช้ล​ ายมือช​ ื่ออ​ ิเล็กทรอนิกส์ การ​ปฏิบัติต​ าม​กระบวนการ​ใน​การ​ระบุต​ ัวบ​ ุคคล​ผูเ้​ป็นส​ ื่อก​ ลาง ระดับข​ อง​การ​ยอมรับ​หรือ​ไม่ย​ อมรับ วิธี​การ​ที่ใ​ ช้​ใน​การ​ระบุ​ตัว​บุคคล​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม วิธี​การ​ระบุต​ ัว​บุคคล ณ ช่วง​เวลา​ที่​มี​การ​ทำ�​ธุรกรรม​และ​ติดต่อส​ ื่อสาร 2) ลักษณะ ประเภท หรือ​ขนาด​ของ​ธุรกรรม​ที่​ทำ�​ จำ�นวน​ครั้ง​หรือ​ความ​สม่ำ�เสมอ​ใน​การ​ทำ�​ ธุรกรรม ประเพณีท​ างการ​ค้า​หรือท​ าง​ปฏิบัติ ความ​สำ�คัญ ​มูลค่า​ของ​ธุรกรรม​ที่​ทำ� หรือ 3) ความ​รัดกุม​ของ​ระบบ​การ​ติดต่อ​สื่อสาร ให้น​ �​ำ ความ​ใน​วรรค​หนึง่ (การ​ลง​ลายมือช​ ือ่ อ​ เิ ล็กทรอนิกส์ ให้ถ​ อื ว่าม​ ก​ี าร​ลง​ลายมือช​ ือ่ แ​ ล้ว หาก​ ใช้ว​ ธิ ก​ี าร​ทสี​่ ามารถ​ระบุต​ วั เ​จ้าของ​ลายมือช​ ือ่ แ​ ละ​สามารถ​แสดง​ได้ว​ า่ เ​จ้าของ​ลายมือช​ ือ่ ร​ บั รอง​ขอ้ ความ​ใน​ขอ้ มูล​ อิเล็กทรอนิกส์น​ ั้นว​ ่าเ​ป็นข​ อง​ตน และ​วิธกี​ าร​ดังก​ ล่าว​เป็นว​ ิธกี​ าร​ทีเ่​ชื่อถ​ ือไ​ ด้โ​ ดย​เหมาะ​สม​กับว​ ัตถุประสงค์ข​ อง​ การ​สร้าง​หรือ​ส่ง​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​ที่​ได้​คำ�นึง​ถึง​พฤติการณ์​แวดล้อม​หรือ​ข้อ​ตกลง​ของ​คู่​กรณี​แล้ว) มา​ใช้​ บังคับ​กับ​การ​ประทับ​ตรา​ของ​นิติบุคคล​ด้วย​วิธี​การ​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ด้วย​โดย​อนุโลม” 2.3 บทบัญญัติ​ใน​การ​รับรอง​สิ่งพ​ ิมพ์​ออก ตาม​มาตรา ๑๐ วรรค ๔ ภาย​ใต้​หมวด ๑ ธุรกรรม​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์ บัญญัติ​เพิ่ม​เติม​ว่า “ใน​กรณี​ที่​มี​การ​ทำ�​สิ่ง​พิมพ์​ออก​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ต​ าม​วรรค​หนึ่ง (กล่าว​ถงึ ก​ าร​เก็บร​ กั ษา​ขอ้ ความ​ใน​สภาพ​ทเี​่ ป็นม​ า​แต่เ​ดิมอ​ ย่าง​เอกสาร​ตน้ ฉบับ หาก​ได้ท​ �​ำ ดว้ ย​วธิ ก​ี าร​ทเี​่ ชือ่ ถ​ อื ไ​ ด้​ และ​รักษา​ความ​คง​สภาพ​ของ​ข้อมูลไ​ ด้ท​ ั้งร​ ะหว่าง​การ​สร้าง​และ​หลังก​ าร​สร้าง​เพื่อใ​ ห้น​ ำ�​มา​ใช้ง​ าน​ได้ใ​ น​ภาย​หลัง ก็ถ​ ือว่า​มีก​ าร​เก็บ​รักษา​เอกสาร​ต้นฉบับต​ าม​กฎหมาย​แล้ว) สำ�หรับ​ใช้​อ้างอิง​ข้อความ​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ หาก​สิ่งพ​ ิมพ์อ​ อก​นั้นม​ ขี​ ้อความ​​ถูกต​ ้อง​ครบ​ถ้วน​ตรง​กับข​ ้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์แ​ ละ​มกี​ าร​รับรอง​สิ่งพ​ ิมพ์อ​ อก​โดย​ หน่วย​งาน​ที่​มีอำ�นาจ​ตาม​ที่​คณะ​กรรมการ​ประกาศ​กำ�หนด​แล้ว ให้​ถือว่าส​ ิ่ง​พิมพ์อ​ อก​ดังก​ ล่าว​ใช้แ​ ทน​ต้นฉบับ​ ได้” 2.4 บทบัญญัติ​ห้าม​มิ​ให้​ปฏิเสธ​การ​รับ​ฟัง​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​เป็น​พยาน​หลัก​ฐาน​ใน​กระบวนการ​ พิจารณา​ตาม​กฎหมาย​ทั้งค​ ดี​แพ่ง คดี​อาญา หรือ​คดี​อื่น​ใด​เพียง​เพราะ​เหตุ​เป็น​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ ส่วน​การ​ ชั่งน​ ้ำ�​หนักพ​ ยาน​หลักฐ​ าน​ว่าเ​ป็นข​ ้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์ท​ ีเ่​ชื่อถ​ ือไ​ ด้ ให้พ​ ิเคราะห์ค​ วาม​น่าเ​ชื่อถ​ ือข​ อง​กระบวนการ​ สร้าง เก็บ​รักษา หรือ​สื่อสาร ลักษณะ​หรือ​วิธี​การ​เก็บ​รักษา ความ​ครบ​ถ้วน การ​ไม่มี​การ​เปลี่ยนแปลง​ของ​ ข้อความ ลักษณะ วิธี​การ​ที่​ใช้​ใน​การ​ระบุ​หรือ​แสดง​ตัวผู้​ส่ง​ข้อมูล รวม​ทั้ง​พฤติการณ์​ที่​เกี่ยว​ข้อ​งอื่นๆ รวม​ ถึง​การ​ห้าม​ปฏิเสธ​สิ่ง​พิมพ์​ออก​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​ด้วย (มาตรา ๑๑ ภาย​ใต้​หมวด ๑ ธุรกรรม​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-24

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

2.5 บทบัญญัตว​ิ า่ ด​ ว้ ย​การ​จดั ท​ �​ำ หรือแ​ ปลง​เอกสาร​หรือข​ อ้ ความ ให้อ​ ยูใ​่ น​รปู ข​ อง​ขอ้ มูลอ​ เิ ล็กทรอนิกส์​ ใน​ภาย​หลัง ตาม​มาตรา ๑๒/๑ โดย​ให้น​ ำ�​บทบัญญัติ​มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และ​มาตรา ๑๒ มา​ใช้​บังคับ​กับ​ เอกสาร​หรือข​ อ้ ความ​ทไี​่ ด้ม​ ก​ี าร​จดั ท​ �​ำ หรือแ​ ปลง​ให้อ​ ยูใ​่ น​รปู ข​ อง​ขอ้ มูลอ​ เิ ล็กทรอนิกส์ใ​ น​ภาย​หลังด​ ว้ ย​วธิ ก​ี าร​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์ และ​การ​เก็บ​รักษา​เอกสาร​และ​ข้อความ​ดัง​กล่าว​ด้วย​โดย​อนุโลม การ​จัด​ทำ�​หรือ​แปลง​เอกสาร​ และ​ข้อความ​ให้อ​ ยู่​ใน​รูป​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ต​ าม​วรรค​หนึ่งใ​ ห้​เป็น​ไป​ตาม​หลัก​เกณฑ์แ​ ละ​วิธี​การ​ที่​คณะ​ กรรมการ​กำ�หนด4 2.6 การ​แก้ไข​บทบัญญัติ​ให้​สอดคล้อง​กับ​การ​โอน​อำ�นาจ​หน้าที่​ของ​ส่วน​งาน ตาม​มาตรา ๓๖ จึง​ มี​การ​ปรับ​โครงสร้าง​ของ​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ โดย​การ​เปลี่ยน​ชื่อ​คณะ​กรรมการ​จาก​ รัฐมนตรีว​ ่าการ​กระทรวง​วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ​สิ่งแ​ วดล้อม มา​เป็นร​ ัฐมนตรีว​ ่าการ​กระทรวง​เทคโนโลยี​ สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร และ​กำ�หนด​ให้​มี​การ​จัด​ตั้ง​สำ�นักงาน​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ เป็น​ส่วน​ราชการ​ใน​สำ�นักงาน​ปลัด​กระทรวง กระทรวง​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร ทำ�​หน้าที่​เป็น​ หน่วย​งาน​ธุรการ​ของ​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ตาม​มาตรา ๔๓

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 8.1.3 แล้ว โ​ ปรด​ปฏิบัติ​กิจกรรม 8.1.3 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 8 ตอน​ที่ 8.1 เรื่อง​ที่ 8.1.3

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส

4 ประกาศ​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง​หลักเ​กณฑ์แ​ ละ​วิธีก ​ าร​ใน​การ​จัดท​ ำ�​หรือแ​ ปลง​เอกสาร​และ​ข้อความ​

ให้​อยู่ใ​ น​รูปข​ อง​ข้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

ตอน​ที่ 8.2

ธ ส

กฎหมาย​ลำ�ดับ​รอง​เกี่ยว​กับ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์

8-25

ธ ส

โปรด​อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ�​ตอน​ที่ 8.2 แล้วจ​ ึง​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ พร้อม​ปฏิบัติ​กิจกรรม​ใน​แต่ละ​เรื่อง

หัว​เรื่อง

ธ ส

แนวคิด

ธ ส

เรื่อง​ที่ 8.2.1 พ ระ​ร าช​ก ฤษฎี ​ก า​กำ � หนด​ห ลั ก ​เ กณฑ์ ​แ ละ​วิ ธี ​ก าร​ใ น​ก าร​ทำ �​ธุ ร กรรม​ท าง​ อิเล็กทรอนิกส์​ภาค​รัฐ พ.ศ. 2549 เรื่อง​ที่ 8.2.2 พ ระ​ร าช​ก ฤษฎี ​ก าว่ า ​ด้ ว ย​ก าร​ค วบคุ ม ​ดู แ ล​ธุ ร กิ จ ​บ ริ ก าร​ชำ � ระ​เ งิ น ​ท าง​ อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 เรื่อง​ที่ 8.2.3 พ ระ​ร าช​ก ฤษฎี ​ก าว่ า ​ด้ ว ย​วิ ธี ​ก าร​แ บบ​ป ลอดภั ย ​ใ น​ก าร​ทำ �​ธุ ร กรรม​ท าง​ อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553 เรื่อง​ที่ 8.2.4 พระ​ราช​กฤษฎี​กาว่า​ด้วย​การ​ควบคุม​ดูแล​ธุรกิจ​บริการ​ให้​บริการ​ออก​ใบรับ​รอง​ เพื่อส​ นับสนุน​ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ... (ร่าง) เรื่อง​ที่ 8.2.5 พระ​ราช​บัญญัติว​ ่า​ด้วย​การก​ระ​ทำ�ความ​ผิด​เกี่ยว​กับค​ อมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

ธ ส

ธ ส

1. กฎหมาย​ลำ�ดับร​ อง​เกี่ยว​กับธ​ ุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์ ประกอบ​ไป​ด้วย​พระ​ราช​กฤษฎีกาที่อ​ อก​ มา​มี​ผล​บังคับ​ใช้​แล้ว จำ�นวน 3 ฉบับ ได้แก่ พระ​ราช​กฤษฎี​กา​กำ�หนด​หลัก​เกณฑ์และ​ วิธีก​ าร​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ภาค​รัฐ พ.ศ. 2549 พระ​ราช​กฤษฎีก​ าว่า​ด้วย​ การ​ควบคุมด​ แู ล​ธรุ กิจบ​ ริการ​ช�ำ ระ​เงินท​ าง​อเิ ล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 และ​พระ​ราช​กฤษฎีก​ า ว่า​ด้วย​วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัย​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553 ที่​ออก​มา​ บังคับใ​ ช้ต​ าม​ที่ก​ ำ�หนด​ไว้ใ​ น​พระ​ราช​บัญญัตวิ​ ่าด​ ้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ภาย​ใต้ม​ าตรา ๓๕ มาตรา ๓๒ และ​มาตรา ๒๓ ตาม​ลำ�ดับ 2. กฎหมาย​ลำ�ดับ​รอง​เกี่ยว​กับ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์ ที่​กำ�ลัง​จะ​มี​การ​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ใน​ ลำ�ดับถ​ ัดไ​ ป คือ พระ​ราช​กฤษฎีก​ าว่าด​ ้วย​การ​ควบคุมด​ ูแล​ธุรกิจบ​ ริการ​ให้บ​ ริการ​ออก​ใบรับ​ รอง​เพื่อส​ นับสนุน​ลายมือ​ชื่ออ​ ิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ... (ร่าง) สถานะ​ปัจจุบันย​ ังอ​ ยู่ใ​ น​ระหว่าง​ การ​พิจารณา​ของ​หน่วย​งาน​ที่​เกี่ยวข้อง 3. กฎหมาย​หลักอ​ ีกฉ​ บับท​ แี่​ ม้ไ​ ม่ไ​ ด้เ​กี่ยวข้อง​โดยตรง​กับธ​ ุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์ แต่ม​ ผี​ ล​ต่อก​ าร​ จัดร​ ะเบียบ​ของ​องค์กร​ทีใ่​ ห้บ​ ริการ​ธุรกิจอ​ ิเล็กทรอนิกส์ จึงไ​ ด้น​ ำ�​ราย​ละเอียด​มา​กล่าว​ถึงใ​ น​ ที่​นี้​ด้วย​พอ​สังเขป คือ พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​การก​ระ​ทำ�ความ​ผิด​เกี่ยว​กับค​ อมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-26

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

วัตถุประสงค์

ธ ส

เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 8.2 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. อธิบาย​ข้อ​กำ�หนด​ของ​พระ​ราช​กฤษฎี​กากำ�หนด​หลัก​เกณฑ์​และ​วิธี​การ​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ภาค​รัฐ พ.ศ. 2549 และ​แนวทาง​การ​ปฏิบัติ​ให้​ถูก​ต้อง​ตาม​ข้อ​กำ�หนด​ ของ​กฎหมาย​ได้ 2. อธิบาย​ข้อ​กำ�หนด​ของพระ​ราช​กฤษฎี​กาว่า​ด้วย​การ​ควบคุม​ดูแล​ธุรกิจ​บริการ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 และ​แนวทาง​การ​ปฏิบัติ​ให้​ถูก​ต้อง​ตาม​ข้อ​กำ�หนด​ของ​กฎหมาย​ได้ 3. อธิบาย​ข้อก​ ำ�หนด​ของ​พระ​ราช​กฤษฎีก​ าว่าด​ ้วย​วิธกี​ าร​แบบ​ปลอดภัยใ​ น​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553 และ​แนวทาง​การ​ปฏิบัติ​ให้​ถูก​ต้อง​ตาม​ข้อ​กำ�หนด​ของ​กฎหมาย​ได้ 4. อธิบาย​ขอ้ ก​ �ำ หนด​ของ​พระ​ราช​กฤษฎีก​ าว่าด​ ว้ ย​การ​ควบคุมด​ แู ล​ธรุ กิจบ​ ริการ​ให้บ​ ริการ​ออก​ ใบรับร​ อง​เพื่อส​ นับสนุนล​ ายมือช​ ื่ออ​ ิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ... (ร่าง) และ​แนวทาง​การ​ปฏิบัตใิ​ ห้​ ถูก​ต้อง​ตาม​ข้อก​ ำ�หนด​ของ​กฎหมาย​ได้ 5. อธิบาย​ข้อ​กำ�หนด​ของ​พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​การก​ระ​ทำ�ความ​ผิด​เกี่ยว​กับ​คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ​แนวทาง​การ​ปฏิบัติ​ให้​ถูก​ต้อง​ตาม​ข้อ​กำ�หนด​ของ​กฎหมาย​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-27

ธ ส

เรื่อง​ที่ 8.2.1 พระ​ราช​กฤษฎีก​ ากำ�หนด​หลัก​เกณฑ์แ​ ละ​วิธี​การ ​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ ภาค​รัฐ พ.ศ. 2549

ธ ส

ธ ส

ปัจจุบัน​มี​ประกาศ​ของ​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ภาย​ใต้​พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​ ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 จำ�นวน 2 ฉบับ ประกอบ​ด้วย – ประกาศ​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวทาง​การ​จัด​ทำ�​แนว​นโยบาย (Certificate Policy) และ​แนว​ปฏิบัติ (Certification Practice Statement) ของ​ผู้​ให้​บริการ​ออก​ใบรับ​รอง​ อิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority) พ.ศ. 2552 – ประกาศ​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลักเ​กณฑ์แ​ ละ​วิธกี​ าร​ใน​การ​จัดท​ ำ�​หรือ​ แปลง​เอกสาร​และ​ข้อความ​ให้​อยู่ใ​ น​รูป​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553 และ​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ภาย​ใต้พ​ ระ​ราช​บัญญัติ​ว่าด​ ้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 จำ�นวน 4 ฉบับ ประกอบ​ด้วย – พระ​ราช​กฤษฎีกา​กำ�หนด​ประเภท​ธุรกรรม​ใน​ทาง​แพ่ง​และ​พาณิชย์ ที่​ยกเว้น​มิ​ให้​นำ�​กฎหมาย​ว่า​ ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​มา​ใช้​บังคับ พ.ศ. 2549 – พระ​ราช​กฤษฎีกา​กำ�หนด​หลักเ​กณฑ์แ​ ละ​วิธกี​ าร​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ภ​ าค​รัฐ พ.ศ. 2549 – พระ​ราช​กฤษฎีกา​ว่า​ด้วย​การ​ควบคุม​ดูแล​ธุรกิจ​บริการ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 – พระ​ราช​กฤษฎีกา​ว่าด​ ้วย​วิธีก​ าร​แบบ​ปลอดภัย​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553 กฎหมาย​ลำ�ดับ​รอง หรือพ​ ระ​ราช​กฤษฎีกา ภาย​ใต้​มาตรา ๓๕5 แห่งพ​ ระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ชื่อว​ ่าพ​ ระ​ราช​กฤษฎีกา​กำ�หนด​หลักเ​กณฑ์แ​ ละ​วิธกี​ าร​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ ภาค​รัฐ พ.ศ. 2549 มีผ​ ล​บังคับใ​ ช้ต​ ั้งแต่ว​ ันท​ ี่ 10 มกราคม พ.ศ. 2550 สาระ​สำ�คัญท​ ีเ่​กี่ยวข้อง​กับง​ าน​ไอทีส​ ำ�หรับ​ กฎหมาย​ฉบับ​นี้​มี​ด้วย​กัน 3 มาตรา มาตรา​แรก คือ​มาตรา ๓ กำ�หนด​ให้​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​ต้อง​จัด​ให้​มี​ระบบ​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

5 มาตรา ๓๕ คำ�ขอ การ​อนุญาต การ​จด​ทะเบียน คำ�​สั่ง​ทาง​ปกครอง การ​ชำ�ระ​เงิน การ​ประกาศ หรือ​การ​ดำ�เนิน​การ​ใดๆ ตาม​

ธ ส

กฎหมาย​กับห​ น่วย​งาน​ของ​รัฐห​ รือโ​ ดย​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ ถ้าไ​ ด้ก​ ระทำ�​ใน​รูปข​ อง​ข้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์ต​ าม​หลักเ​กณฑ์แ​ ละ​วิธีก​ าร​ที่ก​ ำ�หนด​ โดย​พระ​ราช​กฤษฎีกา ให้​นำ�​พระ​ราช​บัญญัติ​นี้​มา​ใช้​บังคับ​และ​ให้​ถือว่า​มี​ผล​โดย​ชอบ​ด้วย​กฎหมาย เช่น​เดียว​กับ​การ​ดำ�เนิน​การ​ตาม ​หลัก​เกณฑ์​และ​วิธี​การ​ที่​กฎหมาย​ใน​เรื่อง​นั้น​กำ�หนด ทั้งนี้ ใน​พระ​ราช​กฤษฎีกา​อาจ​กำ�หนด​ให้​บุคคล​ที่​เกี่ยวข้อง​ต้อง​กระทำ�​หรือ​งด​เว้น​ กระทำ�​การ​ใดๆ หรือใ​ ห้​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​ออก​ระเบียบ​เพื่อก​ ำ�หนด​ราย​ละเอียด​ใน​บาง​กรณี​ด้วย​ก็ได้ ใน​การ​ออก​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ตาม​วรรค​หนึ่ง พระ​ราช​กฤษฎีกา​ดังก​ ล่าว​อาจ​กำ�หนด​ให้ผ​ ูป้​ ระกอบ​ธุรกิจบ​ ริการ​เกี่ยว​กับธ​ ุรกรรม​ ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ต​ ้อง​แจ้งใ​ ห้​ทราบ ต้อง​ขึ้น​ทะเบียน หรือ​ต้อง​ได้​รับ​ใบ​อนุญาต แล้วแ​ ต่​กรณี ก่อน​ประกอบ​กิจการ​ก็ได้ ใน​กรณี​นี้ ให้​นำ�​ บทบัญญัติใ​ น​หมวด ๓ และ​บท​กำ�หนด​โทษ​ที่​เกี่ยวข้อง​มา​ใช้​บังคับ​โดย​อนุโลม


8-28

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

เอกสาร​ที่​ทำ�​ใน​รูป​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​ใน​รูป​แบบ​ที่​เหมาะ​สม​และ​สามารถ​แสดง​หรือ​อ้างอิง​ใน​ภาย​หลัง​ ได้โ​ ดย​ยังค​ ง​ความ​ครบ​ถ้วน​ของ​ข้อความ มีก​ าร​กำ�หนด​ระยะ​เวลา​เริ่มต​ ้นแ​ ละ​สิ้นส​ ุดใ​ น​การ​ยื่น และ​กำ�หนด​วัน​ แล้วเ​สร็จ (แล้วแ​ ต่ก​ รณี) กำ�หนด​วิธีก​ าร​ที่ส​ ามารถ​ระบุต​ ัวเ​จ้าของ​ลายมือช​ ื่อ ประเภท ลักษณะ​หรือร​ ูปแ​ บบ​ของ​ ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ และ​สามารถ​แสดง​ได้​ว่า​เจ้าของ​ลายมือ​ชื่อ​รับรอง​ข้อความ​ใน​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ รวม​ถึง​การ​กำ�หนด​วิธี​การ​แจ้ง​การ​ตอบ​รับ​ด้วย​วิธี​การ​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ หรือ​ด้วย​วิธี​การ​อื่น​ใด เพื่อ​เป็น​ หลัก​ฐาน​ว่า​ได้​มี​การ​ดำ�เนิน​การ​ด้วย​วิธีท​ าง​อิเล็กทรอนิกส์​ไป​ยัง​อีก​ฝ่าย​หนึ่ง​แล้ว จึง​เป็น​หน้าที่​ของ​ผู้​บริหาร​ด้าน​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ที่​ต้อง​ประสาน​กับ​ฝ่าย​งาน​ที่​เกี่ยวข้อง ใน​การ​ จัด​เตรียม​โครงสร้าง​พื้น​ฐาน​ด้าน​ไอที​ให้​สามารถ​รองรับ​การ​ปฏิบัติ​ตาม​ข้อ​กำ�หนด​ที่​กฎหมาย​กำ�หนด​ไว้ การ​ ปรับ​เปลี่ยน​กระบวนการ​ทำ�งาน จัด​ทำ�​ข้อ​ตกลง ฝึก​อบรม รวม​ถึง การ​จัด​ทำ�​คู่มือ​การ​ปฏิบัติ​งาน เพื่อ​ให้​ ผู้เ​กี่ยวข้อง​สามารถ​ปฏิบัติง​ าน​ได้อ​ ย่าง​ถูกต​ ้อง​ภาย​ใต้ส​ ภาพ​แวดล้อม​การ​ทำ�งาน​แบบ​ใหม่ แต่ละ​องค์กร​จำ�เป็น​ ต้อง​พจิ ารณา​ความ​เหมาะ​สมใน​การนำ�​เทคโนโลยีม​ า​ประยุกต์ใ​ ช้ง​ าน​เพือ่ ต​ อบ​โจทย์เ​รือ่ ง​การ​ปฏิบตั ต​ิ าม​กฎหมาย เพราะ​ความ​เป็น​เอกลักษณ์​ของ​แต่ละ​หน่วย​งาน​ที่​เกิด​มา​ด้วย​ภารกิจ​องค์กร​ที่​ต่าง​กัน รวม​ถึง ความ​สามารถ​ ของ​ผู้​บริหาร​และ​วิสัยท​ ัศน์​ที่​ต่าง​กัน ใน​ส่วน​ของ​มาตรา ๓ หาก​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​มี​การ​ให้​บริการ​อิเล็กทรอนิกส์​และ​ปฏิบัติ​ตาม​มาตรา ๑๒ แห่ง พ.ร.บ.ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 25446 อยู่​แล้ว การ​ปฏิบัติ​ตาม​ข้อ​นี้​อาจ​ไม่​ยุ่ง​ยากจน​เกิน​ ไป เพราะ​ตาม​มาตรา ๑๒ ว่า​ด้วย​หลัก​การ​เก็บ​เอกสาร​อิเล็กทรอนิกส์​ที่​กฎหมาย​ยอมรับ กล่าว​คือ เมื่อ​จัด​เก็บ​ เอกสาร​ดังก​ ล่าว​แล้ว สามารถ​เข้า​ถึงแ​ ละ​นำ�​กลับ​มา​ใช้ได้​โดย​ความ​หมาย​ไม่​เปลี่ยนแปลง การ​เก็บร​ ักษา​อยู่​ใน​ รูป​แบบ​ที่​สามารถ​แสดง​ข้อความ​ที่​สร้าง ส่ง หรือ​ได้​รับ​ให้​ปรากฏ​ได้​อย่าง​ถูก​ต้อง​ได้ และ​เก็บ​รักษา​ข้อความ​ ส่วน​ที่​ระบุ​ถึง​แหล่ง​กำ�เนิด ต้นทาง และ​ปลาย​ทาง​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ ตลอด​จน​วัน​และ​เวลา​ที่​ส่ง​หรือ​ ได้ร​ ับ​ข้อความ​ดัง​กล่าว แม้ว่า​ข้อ​กำ�หนด​ของ​กฎหมาย​จะ​มี​ความ​ต่าง​ใน​ราย​ละเอียด​ของ​กิจกรรม แต่​แนวทาง​ ด้าน​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​หรือ​ไอที (IT) สามารถ​ประยุกต์​ใช้ได้​ใน​ทำ�นอง​เดียวกัน และ​จาก​มาตรา ๓ กำ�หนด​ ให้ส​ ามารถ​แสดง​ได้​ว่า​เจ้าของ​ลายมือช​ ื่อ​รับรอง​ข้อความ​ใน​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ รวม​ถึง​ให้​หน่วย​งาน​ภาค​รัฐ​ กำ�หนด​วิธี​การ​แจ้ง​การ​ตอบ​รับ​ด้วย​วิธี​การ​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ หรือ​ด้วย​วิธี​การ​อื่น​ใด เพื่อ​เป็น​หลัก​ฐาน​ว่า​ได้​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

6 มาตรา

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

๑๒ ภาย​ใต้​บังคับ​บทบัญญัติ​มาตรา ๑๐ ใน​กรณี​ที่​กฎหมาย​กำ�หนด​ให้​เก็บ​รักษา​เอกสาร​หรือ​ข้อความ​ใด ถ้า​ได้​ เก็บ​รักษา​ใน​รูปข​ ้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​ตาม​หลัก​เกณฑ์​ดังต​ ่อ​ไป​นี้ ให้​ถือว่า​ได้​มี​การ​เก็บ​รักษา​เอกสาร​หรือข​ ้อความ​ตาม​ที่​กฎหมาย​ต้องการ​ แล้ว 1. ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​นั้น​สามารถ​เข้า​ถึง​และ​นำ�​กลับ​มา​ใช้ได้​โดย​ความ​หมาย​ไม่​เปลี่ยนแปลง 2. ได้เ​ก็บร​ ักษา​ข้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์น​ ั้นใ​ ห้อ​ ยู่ใ​ น​รูปแ​ บบ​ที่​เป็นอ​ ยู่ใ​ น​ขณะ​ที่​สร้าง ส่ง หรือไ​ ด้ร​ ับข​ ้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์น​ ั้น หรือ​ อยู่ใ​ น​รูปแ​ บบ​ที่​สามารถ​แสดง​ข้อความ​ที่​สร้าง ส่ง หรือ​ได้ร​ ับ​ให้​ปรากฏ​อย่าง​ถูก​ต้อง​ได้ และ 3. ได้​เก็บ​รักษา​ข้อความ​ส่วน​ที่​ระบุ​ถึงแ​ หล่งก​ ำ�เนิด ต้นทาง และ​ปลาย​ทาง​ของ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ ตลอด​จน​วัน​และ​เวลา​ที่​ ส่ง​หรือไ​ ด้​รับข​ ้อความ​ดังก​ ล่าว ถ้า​มี ความ​ใน​วรรค​หนึ่ง มิใ​ ห้​ใช้​บังคับก​ ับ​ข้อความ​ที่​ใช้​เพียง​เพื่อ​วัตถุประสงค์​ใน​การ​ส่ง​หรือ​รับข​ ้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​ที่ร​ ับ​ผิดช​ อบ​ใน​การ​เก็บร​ ักษา​เอกสาร​หรือ​ข้อความ​ใด อาจ​กำ�หนด​หลักเ​กณฑ์ ราย​ละเอียด​เพิ่มเ​ติม​เกี่ยว​กับ​ การ​เก็บ​รักษา​เอกสาร​หรือ​ข้อความ​นั้น​ได้ เท่า​ที่​ไม่​ขัดห​ รือ​แย้ง​กับ​บทบัญญัติ​ใน​มาตรา​นี้

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-29

ธ ส

มี​การ​ดำ�เนิน​การ​ด้วย​วิธี​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ไป​ยัง​อีกแนวทาง​หนึ่ง​ที่​หน่วย​งาน​ภาค​รัฐ​สามารถ​ดำ�เนิน​การ​ได้​ ดัง​แสดง​ใน​ภาพ​ที่ 8.1

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 8.1 ระบบ​งาน​ประยุกต์​ที่​สำ�นัก​คณะ​กรรมการ​กำ�กับห​ ลัก​ทรัพย์​และ​ตลาดหลักทรัพย์ กำ�หนด​ให้​บริษัทห​ ลัก​ทรัพย์​ต่างๆ ใช้​บริการ​ออนไลน์ผ​ ่าน​เว็บไซต์ส​ ำ�นักงาน

ธ ส

ธ ส

จาก​ภาพ​ที่ 8.1 เป็น​ตัวอย่าง​ระบบ​งาน​ประยุกต์​ที่​สำ�นัก​คณะ​กรรมการ​กำ�กับ​หลัก​ทรัพย์​และ​ ตลาดหลักทรัพย์ กำ�หนด​ให้​บริษัท​หลัก​ทรัพย์​และ​บริษัท​หลัก​ทรัพย์​จัดการ​กองทุน​รวม ใช้​บริการ​ออนไลน์ (online services) ผ่าน​เว็บไซต์​สำ�นักงาน แทน​การ​ส่ง​ข้อมูล​ด้วย​เอกสาร และ​ใช้​เอกสาร​อิเล็กทรอนิกส์​ เป็นต้นฉบับ​เพื่อ​ให้​มี​ผล​บังคับ​ใช้​ตาม​องค์​ประกอบ​ของ​กฎหมาย จาก​ภาพ​ที่ 8.1 ผู้​จัด​เตรียม​ข้อมูล​จะ​เป็น ​เจ้า​หน้าที่​ของ​บริษัท​ที่​ทำ�​หน้าที่​ใน​การ​จัด​เตรียม​เอกสาร​อิเล็กทรอนิกส์ ด้วย​รูป​แบบ​ที่​เป็น​มาตรฐาน​ทั่วไป เช่น เอกสาร​ประมวล​ผล​คำ� (word document) เอกสาร​ตาราง​คำ�นวณ (spreadsheet) หรือ​เรียก​ใช้​งาน​เว็บ​ แอพ​พลิ​เคชันที่​สำ�นักงาน​จัด​เตรียม​บน​เว็บไซต์ หรือ​สร้าง​แฟ้ม​ข้อความ (text file) ผ่าน​ระบบ​งาน​ของ​บริษัท​ เอง ตาม​รูปแ​ บบ​โครงสร้าง​ข้อมูล​ที่ส​ ำ�นักงาน​กำ�หนด จาก​นั้นเ​จ้าห​ น้าที่ป​ ฏิบัติก​ าร​ที่ม​ ีล​ ายมือช​ ื่ออ​ ิเล็กทรอนิกส์​ ทีส่​ ำ�นักงาน​เป็นผ​ ูอ้​ อก​ใบรับร​ อง​ลายมือช​ ื่ออ​ ิเล็กทรอนิกส์ใ​ ห้ จะ​ทำ�​หน้าทีใ่​ น​การ​ลง​ลายมือช​ ื่อ ทั้งนีเ้​พื่อย​ ืนยันว​ ่า เอกสาร​อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเ​อกสาร​ทีบ่​ ริษัทห​ รือเ​จ้าห​ น้าทีท่​ ีไ่​ ด้ร​ ับม​ อบ​หมาย​ส่งม​ า​จริง โดย​ใช้เ​ทคโนโลยีก​ าร​เข้า​ รหัสแ​ บบ​พเี ค​ไอ (PKI) นี้ ทำ�ให้ร​ บั รอง​ได้ว​ า่ ต​ ลอด​เส้นท​ างการ​รบั ส​ ง่ ข​ อ้ มูลจ​ ะ​ไม่ถ​ กู เ​ปลีย่ นแปลง​โดย​ผไู​้ ม่ป​ ระสงค์​ ดี และ​สามารถ​ปอ้ งกันก​ าร​ปฏิเสธ​วา่ ไ​ ม่ไ​ ด้ส​ ง่ ม​ า​จริงไ​ ด้ เมือ่ ส​ ำ�นักงาน​ได้ร​ บั ข​ อ้ มูลจ​ ะ​ท�ำ การ​ตรวจ​สอบ​ลายมือช​ ือ่ ​ว่า​ยัง​สามารถ​ใช้​งาน​ได้​หรือ​ไม่ พร้อม​ทั้ง​ตรวจ​สอบ​สิทธิ์ใน​การ​ส่ง​ข้อมูล​ประเภท​ดัง​กล่าว เพราะ​แต่ละ​บริษัท​ อาจ​จะ​มีห​ ลาย​ลายมือช​ ื่อ แต่ละ​ลายมือช​ ื่อม​ ีส​ ิทธิ์ใน​การ​ส่งข​ ้อมูลแ​ ตก​ต่าง​กันต​ าม​หน้าที่ง​ าน​ที่ไ​ ด้ร​ ับม​ อบ​หมาย หาก​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ผ่าน สำ�นักงาน​แจ้ง​ตอบ​รับ​กลับ​ใน​ช่อง​ทาง​เดียวกัน และ​เพื่อ​ให้การ​ปฏิบัติ​ตาม​มาตรา ๑๒ ครบ​องค์​ประกอบ​ของ​การ​เก็บ​รักษา​เอกสาร​ต้นฉบับ สำ�นักงาน​ยัง​เพิ่ม​ขั้น​ตอน​การ​ห่อ​เอกสาร​ไว้​เป็น​ ก้อน​เดียวกัน (encapsulate) เพื่อ​เก็บ​ไว้​ใช้​อ้างอิง​ใน​อนาคต​ตาม​ข้อ​กำ�หนด​ของ​กฎหมาย และ​เพื่อ​ป้องกัน​ ข้อโ​ ต้แ​ ย้งว​ ่าเ​อกสาร​ทีจ่​ ัดเ​ก็บเ​พื่ออ​ ้างอิงอ​ าจ​มกี​ าร​ลักลอบ​ทำ�​ซ้ำ� จึงไ​ ด้เ​ปิดช​ ่อง​ทาง​ให้บ​ ริษัทด​ าวน์โหลด​เอกสาร​ ที่​มี​การ​ห่อ​เพื่อ​ให้​บริษัท​สามารถ​จัด​เก็บ​ไว้​อ้างอิงเ​พื่อ​สอบ​ยัน​ได้​อีก​แหล่ง​หนึ่ง

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-30

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

จะ​เห็น​ได้​ว่า​ใน​กระบวนการ​บริหาร​จัดการ​งาน​ไอที​ใน​องค์กร ด้วย​มาตรา ๓ แห่ง พ.ร.ฎ. หรือ มาตรา ๑๒ แห่ง พ.ร.บ. ดังก​ ล่าว จะ​มตี​ ้นทุนจ​ ำ�เป็นส​ ่วน​เพิ่มใ​ น​การเต​รยี​ ม​การ​ให้ก​ ับอ​ งค์กร​และ​ผใู้​ ช้ง​ าน​ไม่น​ ้อย​ทเี​ดียว จาก​ภาพ​ดัง​กล่าว กระบวนการ​ใน​ส่วน​ของ​ระบบ​งาน​ส่วน​หลัง (back office system) ยัง​ไม่​จบ​เพียง​เท่า​นี้ งาน​ที่​ต้อง​มี​การเต​รี​ยม​การ​อัน​เป็น​ผล​พวง​จาก​การ​เปลี่ยนแปลง​ของ​เทคโนโลยี ทำ�ให้​ต้อง​มี​กระบวนการ​จัด​ เก็บ​เอกสาร​อิเล็กทรอนิกส์​ให้​ครบ​ตาม​อายุ​เอกสาร​ที่​เป็นก​ระ​ดาษ และ​สิ่ง​ที่​ตาม​มา​หาก​จะ​ให้การ​เปิด​เอกสาร​ ต้นฉบับ​สามารถ​อ้างอิง​หรือน​ ำ�​กลับม​ า​ใช้ได้โ​ ดย​ความ​หมาย​ไม่เ​ปลี่ยนแปลง แสดง​ว่าช​ ุดข​ อง​ฮาร์ดแวร์ และ​ชุด​ ของ​ซอฟต์แวร์ ก็จ​ ะ​ต้อง​มกี​ าร​จัดเ​ตรียม​เพื่อใ​ ห้ม​ ั่นใจ​ว่าไ​ ม่ว​ ่าเ​วลา​จะ​ผ่าน​ไป​เท่าไร​ก็ตาม ก็ม​ รี​ ะบบ​คอมพิวเตอร์​ และ​ซอฟต์แวร์ท​ พี่​ ร้อม​จะ​เปิดอ​ ่าน​เอกสาร​เพื่อก​ าร​พิสูจน์ท​ ราบ​ต่อไ​ ป เช่น หาก​อ้างอิงก​ ฎหมาย​หลักค​ ือป​ ระมวล​ กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์ หาก​อายุ​ความ​ของ​กฎหมาย​อยู่​ที่ 10 ปี แสดง​ว่าการ​เตรียม​ระบบ​ให้​พร้อม​ใช้​งาน​ รวม​ถึง​อายุ​ของ​สื่อ​ที่​ใช้​ใน​การ​จัด​เก็บ​เอกสาร​ต้นฉบับ​ก็​ต้อง​มีอายุ​ที่​ไม่​ต่ำ�​กว่า 10 ปีเ​ช่น​เดียวกัน ผลก​ระ​ทบ​ทอี​่ าจ​เกิดข​ ึน้ ท​ เี​่ ห็นไ​ ด้ช​ ดั เจน คือต​ น้ ทุนจ​ �ำ เป็นส​ ว่ น​เพิม่ ใ​ น​การ​ด�ำ เนินก​ าร​ใน​สว่ น​ของ​การ​จดั ​ เก็บ​และ​จัด​เตรียม ที่​เกิด​กับ​หน่วย​งาน​ของ​รัฐซ​ ึ่งถ​ ึงอ​ ย่างไร​ก็​ต้อง​ลงทุน เพราะ​ถือ​เป็น​ความ​จำ�เป็นข​ ั้น​พื้น​ฐาน​ ที่​ต้อง​ให้​บริการ​กับ​ประชาชน​ผู้​ใช้​บริการ แต่​สิ่ง​ที่​น่า​เป็น​ห่วง​คือ ผลก​ระ​ทบ​อัน​เกิด​จาก​หน่วย​งาน​ไม่​สามารถ​ ปฏิบัติไ​ ด้ต​ าม​เจตนารมณ์ข​ อง​กฎหมาย ผลก​ระ​ทบ​ย่อม​เกิดก​ ับป​ ระชาชน​ทีใ่​ ช้บ​ ริการ จาก​การ​ทีบ่​ ทบัญญัติข​ อง​ กฎหมาย​ไม่มีบ​ ท​กำ�หนด​โทษ​ภาย​ใต้ก​ ฎหมาย​ไอทีใ​ น​กรณีท​ ีห่​ น่วย​งาน​ของ​รัฐไ​ ม่ส​ ามารถ​ปฏิบัตติ​ าม​ข้อก​ ำ�หนด​ ทีเ่​กี่ยวข้อง​กับค​ วาม​มั่นคง​ปลอดภัยท​ รี่​ ะบุใ​ น​กฎหมาย หรือจ​ งใจ​ละเลย​ไม่ป​ ฏิบัตไิ​ ด้ แต่อ​ ย่าง​น้อย​การ​ที่ มาตรา ๔ ให้น​ ายก​รัฐมนตรีร​ ักษา​การ​ตามพ​ระ​ราช​กฤษฎีกา​นี้ ดังน​ ั้นห​ าก​หน่วย​งาน​ไม่ส​ ามารถ​สนอง​นโยบาย​ได้ นายก-​ รัฐมนตรีเ​ป็นซ​ ึ่งเ​ป็นผ​ ูบ้​ ังคับใ​ ช้ พ.ร.ฎ. ฉบับน​ ี้ ก็ย​ ังส​ ามารถ​ใช้แ​ นวทาง​การ​ลงโทษ​เชิงบ​ ริหาร​ทดแทน​ได้ ซึ่งก​ ค็​ ง​ ช่วย​ให้ป​ ระชาชน​เบาใจ​มาก​ขึ้นว​ ่าห​ น่วย​งาน​ของ​รัฐจ​ ะ​ดูแล​การ​ให้บ​ ริการ​อิเล็กทรอนิกส์ภ​ าค​รัฐเ​ป็นอ​ ย่าง​ดี และ​ ถือ​เป็นป​ ัจจัย​สำ�คัญ​ลำ�​ดับ​ต้นๆ ที่​จะ​ช่วย​กระตุ้น​ให้​เกิด​การ​ยอมรับ​และ​ใช้​งาน​กัน​อย่าง​แพร่​หลาย​มาก​ขึ้น สำ�หรับ​มาตรา​ถัดไ​ ป และ​ถือว่า​เป็น​มาตรา​ที่​เป็น​หัวใจ​สำ�คัญ​ของ พ.ร.ฎ. ฉบับ​นี้​ที​เดียว คือ​มาตรา ๕ ที่​ระบุ​ว่า “มาตรา ๕ หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​ต้อง​จัด​ทำ�​นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบัติ​ใน​การ​รักษา​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ ด้าน​สารสนเทศ เพื่อ​ให้การ​ดำ�เนิน​การ​ใดๆ ด้วย​วิธี​การ​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​กับ​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​มี​ความ​มั่นคง​ ปลอดภัย​และ​เชื่อ​ถือ​ได้ โดย​แนว​นโยบาย​ด้าน​สารสนเทศ และ​แนว​ปฏิบัติ​ที่​จัด​ทำ�​ขึ้น อย่าง​น้อย​ต้อง​ประกอบ​ ด้วย (1) การ​เข้า​ถึง​หรือ​ควบคุม​การ​ใช้​งาน​สารสนเทศ (2) การ​จัด​ให้​มี​ระบบ​สารสนเทศ​และ​ระบบ​สำ�รอง​ของ​สารสนเทศ​ซึ่ง​อยู่​ใน​สภาพ​พร้อม​ใช้​งาน และ​จัด​ทำ�​แผน​เตรียม​พร้อม​กรณี​ฉุกเฉิน​ใน​กรณี​ที่​ไม่​สามารถ​ดำ�เนิน​การ​ด้วย​วิธี​การ​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใ​ ห้​ สามารถ​ใช้​งาน​สารสนเทศ​ได้​ตาม​ปกติ​อย่าง​ต่อ​เนื่อง (3) การ​ตรวจ​สอบ​และ​ประเมินค​ วาม​เสี่ยง​ด้าน​สารสนเทศ​อย่าง​สม่ำ�เสมอ” จาก​ข้อก​ ำ�หนด​ดังก​ ล่าว​หน่วย​งาน​ของ​รัฐท​ ี่ใ​ ห้บ​ ริการ​ประชาชน​ภาย​ใต้น​ โยบาย​รัฐบาล​อิเล็กทรอนิกส์ จะ​ต้อง​จัด​ทำ�​นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบัติ​ใน​การ​รักษา​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ด้าน​สารสนเทศ ให้​ครอบคลุม​ใน 3 เรื่อง​ดัง​กล่าว​เป็น​อย่าง​น้อย ซึ่ง​เป็น​ข้อ​กำ�หนด​ที่​สอดคล้อง​กับ​แนวทาง​ปฏิบัติ​ที่​เป็น​เลิศ​ทาง​ด้าน​การ​รักษา​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-31

ธ ส

ความ​มั่นคง​ปลอดภัยด​ ้าน​สารสนเทศ ที่​รู้จักก​ ัน​ดี​ใน​ชื่อ​ไอ​เอส​โอ/ไอ​อี​ซี 27001 (ISO/IEC 27001, Information Security Management Systems – ISMS) และ​ไอ​เอส​โอ/ไอ​อี​ซี 27002 (ISO/IEC 27002, Code of Practice for Information Security Management) และ​เพื่อใ​ ห้ง​ ่าย​ต่อก​ ารนำ�​มา​ประยุกต์ใ​ ช้ เรา​สามารถ​ใช้​ แนวทาง​ตาม มาตรา ๙ ให้ค​ ณะ​กรรมการ หรือ หน่วย​งาน​ทีค่​ ณะ​กรรมการ​มอบ​หมาย​จัดท​ ำ�​แนว​ปฏิบัตเิ​กี่ยว​กับ​ วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัย​ที่​กำ�หนด​ไว้​ตาม​ความ​ใน​มาตรา ๘ ที่​ออก​มา​คู่​กับ พ.ร.ฎ. ฉบับ​นี้7 มา​ปรับ​ใช้​หรือ​จะ​ นำ�​แนวทาง​ตาม​มาตรฐาน​การ​รักษา​ความ​ปลอดภัย ใน​การ​ประกอบ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ (เวอร์ชัน 2) ประ​จำ�​ปี พ.ศ. 2549 ที่จ​ ัด​พิมพ์เ​พื่อเ​ผย​แพร่โ​ ดย คณะ​กรรมการ​ด้าน​ความ​มั่นคง ใน​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ มา​ปรับ​ใช้ได้​ตาม​ความ​เหมาะ​สม เพราะ​มี​ความ​สอดคล้อง​กัน แนวทาง​ใน​การ​ปฏิบัติ​ตาม​มาตรา ๕ พอ​สรุป​โดย​สังเขป ได้​ดังนี้ 1) การ​เข้า​ถึง​หรือ​ควบคุม​การ​ใช้​งาน​สารสนเทศ (access control) การ​เข้า​ถึง​ระบบ​สารสนเทศ มี​ ความ​หมาย​ครอบคลุม​เรื่อง​ต่อไ​ ป​นี้ ​ วบคุมก​ าร​เข้าถ​ ึงส​ ารสนเทศ​ทีส่​ อดคล้อง​กับค​ วาม​ต้องการ​ • การ​กำ�หนด​นโยบาย​องค์กร​เพื่อค ของ​ธุรกิจ เพราะ​แต่ละ​ธุรกิจ แต่ละ​องค์กร มีค​ วาม​จำ�เป็นใ​ น​การ​เข้าถ​ ึงข​ อง​พนักงาน​แต่ละ​ระดับท​ ีแ่​ ตก​ต่าง​กัน​ ตาม​ภารกิจ​ของ​หน่วย​งาน ิ ธิข​์ อง​ผใู​้ ช้ง​ าน​แต่ละ​ระดับ เริม่ ต​ ัง้ แต่ก​ าร​ลง​ทะเบียน​พนักงาน​หรือผ​ มู​้ ส​ี ทิ ธิเ​์ ข้า​ • การ​ก�ำ หนด​สท ใช้ง​ าน​ระบบ การ​บริหาร​จัดการ​สิทธิ์ การ​บริหาร​จัดการ​รหัสผ​ ่าน​หรือส​ ิ่งท​ ีใ่​ ช้แ​ สดง​ตน​และ​พิสูจน์ต​ ัวต​ น​เพื่อเ​ข้า​ ใช้​งาน​ระบบ รวม​ถึงก​ าร​สอบ​ทาน​สิทธิ์​เป็น​ระ​ยะๆ เพื่อ​ให้​มั่นใจ​ว่าเ​ป็น​ผู้​ที่​ได้​รับ​สิทธิ์​จริง • การ​กำ�หนด​หน้าที่​ของ​ผู้​ใช้​งาน เช่น การ​ดูแล​ข้อมูล​แสดง​ตน​และ​พิสูจน์​ตัว​ตน การ​ดูแล​ อุปกรณ์​ที่​ใช้​ใน​การ​เข้า​ถึง การ​ไม่​เผย​แพร่ห​ รือ​อนุญาต​ให้​ผู้​อื่น​ใช้​งาน​ร่วม เป็นต้น ​ า่ น​เครือข​ า่ ย (network access control) กรณีท​ ใี​่ ช้ง​ าน​ผา่ น​เครือข​ า่ ย • การ​ควบคุมก​ าร​เข้าถ​ งึ ผ ซึ่ง​ต้อง​มี​การ​ออกแบบ​เครือ​ข่าย​ให้​มี​ความ​ปลอดภัย​เพียง​พอ มี​การ​ป้องกัน​การ​เข้า​ถึง​จาก​ผู้​ไม่​หวัง​ดี และ ​การ​บริหาร​เครือข​ ่าย​เพื่อใ​ ห้​เกิด​ความ​ปลอดภัย​สูงสุด ​ าร​เข้าถ​ งึ ร​ ะบบ​ปฏิบตั ก​ิ าร (operating system access control) เพือ่ ​ปอ้ งกัน​ • การ​ควบคุมก การ​ใช้ง​ าน​เครื่อง​คอมพิวเตอร์โ​ ดย​ไม่ไ​ ด้ร​ ับอ​ นุญาต การ​จำ�กัดร​ ะยะ​เวลา​การ​ใช้ง​ าน การ​พิสูจน์ต​ ัวต​ น​ก่อน​เริ่ม​ ใช้​งาน การ​กำ�หนด​นโยบาย​รหัส​ผ่าน​ให้​ยาก​ต่อ​การ​คาด​เดา การ​จำ�กัด​เวลา​ใช้​งาน​เมื่อ​ขาด​การ​ติดต่อ​กับร​ ะบบ การ​ควบคุม​การ​ใช้​งาน​โปรแกรม​ระบบ​บาง​ประเภท เช่น โปรแกรม​ช่วย​งาน (system utilities) การ​ติด​ตั้ง​ ระบบ​ช่วย​เตือน​ภัย รวม​ถึง​การ​สอบ​ทาน​การ​ทำ�งาน​ของ​ระบบ ​ าร​เข้าถ​ ึงโ​ ปรแกรม​ระบบ​งาน​ที่พ​ ัฒนา​ขึ้น และ​สารสนเทศ (application and • การ​ควบคุมก information access control) กำ�หนด​สิทธิ์​การ​ใช้​งาน​เฉพาะ​เท่า​ที่​จำ�เป็น​แยก​ตาม​ประเภท​ผู้​ใช้​งาน รวม​ถึง​ การ​แยก​ระบบ​สารสนเทศ​ที่​มี​ความ​สำ�คัญ​สูง​ออก​จาก​ระบบ​ที่​ใช้​งาน​ทั่วไป

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ด้าน​สารสนเทศ​ของ​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ พ.ศ. 2553

ธ ส

7 ประกาศ​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ธ ส

เรื่อง แนว​นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบัติ ใน​การ​รักษา​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​


8-32

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

• การ​ควบคุมอ​ ุปกรณ์ส​ ื่อสาร​ประเภท​พก​พา​และ​การ​ปฏิบัตงิ​ าน​จาก​ภายนอก​องค์กร (mobile

computing and teleworking) เพื่อ​ควบคุม​การ​ใช้​งาน​อุปกรณ์​คอมพิวเตอร์​ประเภท​เคลื่อนที่​ได้​รวม​ทั้ง​ การ​ปฏิบัติ​งาน​นอก​สำ�นักงาน​ให้​เป็น​ไป​อย่าง​ปลอดภัย เช่น การ​กำ�หนด​ให้​มี​การ​ป้อน​รหัส​ผ่าน​ก่อน​เข้า​ใช้​งาน​ ทุก​ครั้ง มี​การ​เข้า​รหัส​ข้อมูล​สำ�คัญ​ที่อ​ ยู่​ใน​อุปกรณ์​แบบ​พก​พา เป็นต้น 2) การ​จัด​ให้​มี​ระบบ​สารสนเทศ​และ​ระบบ​สำ�รอง​ของ​สารสนเทศ ซึ่ง​จะ​ต้อง​อยู่​ใน​สภาพ​พร้อม​ใช้​ งาน และ​จัด​ทำ�​แผน​เตรียม​พร้อม​กรณี​ฉุกเฉิน​ใน​กรณี​ที่​ไม่​สามารถ​ดำ�เนิน​การ​ด้วย​วิธี​การ​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อ​ให้ส​ ามารถ​ใช้​งาน​สารสนเทศ​ได้ต​ าม​ปกติ​อย่าง​ต่อ​เนื่อง อย่าง​น้อย​ต้อง​มี​การ​ดำ�เนิน​การ​ดัง​ต่อ​ไป​นี้ • การ​จัด​ให้​มี​การ​สำ�รอง​และ​ทดสอบ​ข้อมูล​ที่​สำ�รอง​เก็บ​ไว้​อย่าง​สม่ำ�เสมอ​และ​ให้​เป็น​ไป​ตาม​ นโยบาย​การ​ส�ำ รอง​ขอ้ มูลข​ อง​องค์กร การ​สำ�รอง​ข้อมูล เช่น การ​สำ�รอง​ข้อมูล ณ ทุกส​ ิ้นว​ ัน พร้อม​จัดท​ ำ�​บันทึก​ ราย​ละเอียด​การ​สำ�รอง​ข้อมูล (เช่น เวลา​เริ่ม​ต้น​และ​สิ้น​สุด ชื่อ​ผู้​สำ�รอง ชนิด​ของ​ข้อมูล​ที่​บันทึก เป็นต้น) การ​ ตรวจ​สอบ​ความ​ถกู ต​ อ้ ง​ของ​การ​ส�ำ รอง​ขอ้ มูล การ​รายงาน​ความ​ผดิ พ​ ลาด​และ​วธิ ก​ี าร​แก้ไข​ตาม​ล�ำ ดับช​ ัน้ การนำ�​ ข้อมูลท​ ีส่​ ำ�รอง​นำ�​ไป​จัดเ​ก็บภ​ ายนอก​สำ�นักงาน การ​กำ�หนด​ระยะ​เวลา​ทีใ่​ ช้ใ​ น​การ​กูค้​ ืน การ​เข้าร​ หัสข​ ้อมูลส​ ำ�คัญ การ​ซ้อม​การ​คืนส​ ภาพ​ข้อมูล (data recovery testing) เป็นต้น • การ​จัด​ทำ�​แผน​เตรี​ยม​พร้อม​กรณี​ฉุกเฉิน ใน​กรณี​ที่​ไม่​สามารถ​ดำ�เนิน​การ​ด้วย​วิธี​การ​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อ​ให้​สามารถ​ใช้​งาน​สารสนเทศ​ได้​ตาม​ปกติ​อย่าง​ต่อ​เนื่อง สอดคล้อง​กับ​หัวข้อ​การ​บริหาร​ ความ​ตอ่ เ​นือ่ ง​ใน​การ​ด�ำ เนินง​ าน​ของ​องค์กร (business continuity management) ซึง่ ​ตอ้ ง​อาศัย การ​บริหาร​ ความ​เสีย่ ง​แบบ​ครบ​วงจร เริม่ จ​ าก​การ​ประเมินค​ วาม​เสีย่ ง​โดย​ระบุเ​หตุการณ์ท​ อี​่ าจ​ท�ำ ให้ธ​ รุ กิจห​ ยุดช​ ะงัก โอกาส​ ที่จ​ ะ​เกิด ผลก​ระ​ทบ​ที่อ​ าจ​เป็นไ​ ป​ได้ รวม​ถึงผ​ ล​ที่อ​ าจ​เกิดข​ ึ้นต​ ่อค​ วาม​มั่นคง​ปลอดภัยก​ ับร​ ะบบ​สารสนเทศ​ของ​ องค์กร การ​กำ�หนด​จุด​ควบคุมเ​พื่อล​ ด​ความ​เสี่ยง รวม​ถึง การ​กำ�หนด​แผน​สร้าง​ความ​ต่อ​เนื่อง​ให้​กับธ​ ุรกิจใ​ ห้​ สามารถ​ดำ�เนิน​ต่อ​ได้​ใน​ระดับ​และ​ช่วง​เวลา​ที่​กำ�หนด​ไว้ หาก​มี​เหตุการณ์​ที่​ทำ�ให้​ธุรกิจ​สะดุด​หยุด​ลง​จริง การ​ ทดสอบ​และ​ปรับปรุงแ​ ผน​สร้าง​ความ​ต่อ​เนื่อง​ให้​กับ​ธุรกิจ​อย่าง​สม่ำ�เสมอ 3) การ​ตรวจ​สอบ​และ​ประเมิน​ความ​เสี่ยง​ด้าน​สารสนเทศ​อย่าง​สม่ำ�เสมอ เป็น​หัวข้อ​ย่อย​ที่​กำ�หนด​ อยู่​ภาย​ใต้​หัวข้อ​การ​ปฏิบัติ​ตาม​ข้อ​กำ�หนด (compliance) ใน​มาตรฐาน​ไอ​เอส​โอ/ไอ​อี​ซี 27001 (ISO/IEC 27001) วัตถุประสงค์​ของ​การ​ตรวจ​สอบ​และ​ประเมิน​ความ​เสี่ยง​ด้าน​สารสนเทศ​อย่าง​สม่ำ�เสมอ เพื่อ​ให้​ได้​ ระบบ​ที่​มี​ประสิทธิภาพ​สูงสุด ลด​การ​แทรกแซง​หรือ​ลด​การ​หยุด​ชะงัก​ต่อ​กระบวนการ​ทาง​ธุรกิจ​ให้​ได้​มาก​ ที่สุด แนวทาง​การ​ตรวจ​สอบ​ที่เ​ป็น​เลิศ​นิยม​ใช้​ผู้​ตรวจ​สอบ​ภายนอก (IT external auditor) ที่​มี​ความ​รู้​ความ​ เข้าใจ​การ​ตรวจ​สอบ​แนว​ใหม่เ​ป็นอ​ ย่าง​ดี ผู้ต​ รวจ​สอบ​ระบบ​สารสนเทศ​ใน​ปัจจุบันจ​ ะ​ต้อง​มีค​ วาม​รู้ค​ วาม​เข้าใจ​ แนวทาง​การ​ควบคุม​ภายใน มาตรฐาน​การ​ควบคุม​ภายใน แนวทาง​การ​บริหาร​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ใน​องค์กร นอก​เหนือจ​ าก​ความ​เข้าใจ​ใน​ภารกิจห​ ลักข​ อง​องค์กร อย่างไร​ก็ตาม​การ​ตรวจ​สอบ​และ​ประเมินค​ วาม​เสี่ยง​ด้าน​ สารสนเทศ​ของ​องค์กร​โดย​ผู้ต​ รวจ​สอบ​ภายใน (IT internal auditor) ก็​เป็นส​ ิ่ง​จำ�เป็นแ​ ละ​ต้อง​มี​การเต​รี​ยม​ ความ​พร้อม​ให้​ผู้​ตรวจ​สอบ​มี​ความ​รู้​ความ​สามารถ​ใน​การ​ตรวจ​สอบ เพื่อ​ให้​สามารถ​ตรวจ​สอบ​นโยบาย​ต่างๆ ของ​องค์กร การ​ใช้​เครื่อง​มือ​ช่วย​ใน​การ​ตรวจ​สอบ​และ​ประเมิน รวม​ถึง​การ​ตรวจ​สอบ​การ​ปฏิบัติ​ตาม​นโยบาย​ ว่า​ได้​มี​การ​ปฏิบัติ​กัน​อย่าง​ทั่ว​ถึง​และ​เคร่งครัด​หรือ​ไม่ การ​ตรวจ​สอบ​และ​ประเมิน​ความ​เสี่ยง​โดย​ผู้​ตรวจ​สอบ​ ดังก​ ล่าว ถือเ​ป็น​หัวใจ​สำ�คัญ​ของ​การ​ปฏิบัติ​ตาม​ข้อ​กำ�หนด​ของ​องค์กร

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-33

ธ ส

จะ​เห็น​ได้​ว่าการ​เตรียม​การ​ใน​ส่วน​ของ​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ด้าน​สารสนเทศ​ของ​หน่วย​งาน​ไอที​เพื่อ​ ให้​องค์กร​สามารถ​ปฏิบัติ​ตาม​ข้อ​กำ�หนด​ตาม​มาตรา ๕ แห่ง​พระ​ราช​กฤษฎี​กากำ�หนด​หลัก​เกณฑ์​และ​วิธี​การ​ ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ภ​ าค​รัฐ พ.ศ. 2549 อาจ​ไม่ใช่​เรื่อง​ที่​ยากจน​เกิน​ไป​นัก​สำ�หรับ​หน่วย​งาน ​ภาค​รัฐ​ที่​จะ​ต้อง​มี​การ​ปฏิบัติ​ตามข้อ​กฎหมาย​ดัง​กล่าว แม้​จะ​ต้อง​ใช้​เวลา​ใน​การเต​รี​ยม​การ​มาก​พอ​สมควร​ ก็ตาม มาตรา​ที่​เป็น​หัวใจ​สำ�คัญ​อีก​มาตรา คือ​การ​คุ้มครอง​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล​ตาม​มาตรา ๖ “มาตรา ๖ ใน​ กรณีท​ ี่​มี​การ​รวบรวม จัด​เก็บ ใช้ หรือเ​ผย​แพร่ข​ ้อมูล หรือข​ ้อ​เท็จ​จริง​ที่​ทำ�ให้​สามารถ​ระบุ​ตัว​บุคคล​ธรรมดา ไม่​ ว่าโ​ ดยตรง​หรือโ​ ดย​ออ้ ม ให้ห​ น่วย​งาน​ของ​รฐั จ​ ดั ท​ �​ำ แนว​นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบตั ก​ิ าร​คมุ้ ครอง​ขอ้ มูลส​ ว่ น​บคุ คล​ ด้วย” และ การ​ระบุ​ว่า​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ มีหน้า​ที่​ตาม​มาตรา ๗8 คือ​ให้​ความ​เห็น​ชอบ​ แนว​นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบัติ​ทาง​ด้าน​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย (ตาม​มาตรา ๕) และ​แนว​นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบัติ​ การ​คุ้มครอง​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล (มาตรา ๖) จึงจ​ ะ​มี​ผล​บังคับ​ใช้ได้ ทั้งนี้​ยัง​บัญญัติ​ให้​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​มีหน้า​ที่ต​ าม​มาตรา ๘9 กล่าว​คือ มี​การ​จัด​ทำ�​แนว​นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบัติ ไว้​เป็นต​ ัวอย่าง​ เบื้อง​ต้นส​ ำ�หรับก​ าร​ดำ�เนินก​ าร​ของ​หน่วย​งาน​ของ​รัฐใ​ น​การ​ปฏิบัติต​ ามพ​ระ​ราช​กฤษฎีกา​นี้ และ​หาก​หน่วย​งาน​ ของ​รฐั แ​ ห่งใ​ ด​มก​ี าร​ปฏิบตั ง​ิ าน​ตาม​กฎหมาย​ทแี​่ ตก​ตา่ ง​เป็นการ​เฉพาะ​แล้ว หน่วย​งาน​ของ​รฐั แ​ ห่งน​ ัน้ อ​ าจ​เพิม่ เ​ติม ​ราย​ละเอียด​การ​ปฏิบัติ​งาน​ตาม​กฎหมาย​ที่​แตก​ต่าง​นั้น​ได้​โดย​ออก​เป็น​เป็น​ระเบียบ ทั้งนี้ โดย​ให้​คำ�นึง​ถึง​ ความ​ถูกต​ ้อง​ครบ​ถ้วน ความ​เชื่อ​ถือ สภาพ​ความ​พร้อม​ใช้ง​ าน และ​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ของ​ระบบ​และ​ข้อมูล​ อิเล็กทรอนิกส์ การ​จัด​ทำ�​นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบัติใ​ น​การ​คุ้มครอง​ข้อมูลส​ ่วน​บุคคล​ของ​หน่วย​งาน​ภาค​รัฐ เป็นง​ าน​ที่​ คาบ​เกี่ยว​ทั้ง​ฝ่าย​เทคโนโลยี​สารสนเทศ ฝ่าย​กฎหมาย และ​ฝ่าย​ประชาสัมพันธ์ (ผ่าน​เว็บไซต์) ที่​ต้อง​ร่วม​มือ ก​ นั โ​ ดย​ใกล้ช​ ดิ และ​เป็นป​ ระเด็นค​ วาม​ออ่ น​ไหว​ใน​การ​เก็บร​ วบรวม​ขอ้ มูลส​ ว่ น​บคุ คล​ของ​ประชาชน เพือ่ ใ​ ช้ง​ าน​ทัง้ ​ เพื่อป​ ระโยชน์ข​ อง​หน่วย​งาน​ที่ใ​ ห้บ​ ริการ​และ​ประชาชน​ที่เ​ข้าม​ า​ใช้บ​ ริการ หาก​เก็บข​ ้อมูลส​ ่วน​บุคคล​น้อย​เกินไ​ ป​ คุณภาพ​ใน​การ​ให้​บริการ​อาจ​มี​ได้​ไม่​มาก​เท่า​ที่​ควร หาก​เก็บ​มาก​เกิน​ไป​ประชาชน​อาจ​คลางแคลง​และ​ ระ​แวด​ระวังก​ าร​ใช้ง​ าน​จน​เกินค​ วร อย่างไร​ก็ตาม​แนวทาง​การ​จัดเ​ก็บ การ​บริหาร​ความ​มั่นคง​ปลอดภัยใ​ น​ข้อมูล​ ทีจ่​ ัดเ​ก็บ และ​นโยบาย​การนำ�​ไป​ใช้ง​ าน​ของ​หน่วย​งาน​จึงเ​ป็นส​ ิ่งจ​ ำ�เป็นท​ ีต่​ ้อง​แจ้งเ​งื่อนไข​ให้ป​ ระชาชน​ทราบ​ก่อน​ การ​ตัดสิน​ใจ​ใช้​บริการ​อิเล็กทรอนิกส์​ของ​ภาค​รัฐ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

8 มาตรา ๗ แนว​นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบัติ​ตาม​มาตรา ๕ และ​มาตรา ๖ ให้​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​จัด​ทำ�​เป็น​ประกาศ และ​ต้อง​ได้​รับ​

ธ ส

ความ​เห็นช​ อบจากคณะ​กรรมการ​หรือ​หน่วย​งาน​ที่​คณะ​กรรมการ​มอบ​หมาย จึง​มี​ผล​บังคับ​ใช้ได้ หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​ต้อง​ปฏิบัติ​ตาม​แนว​ นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบัติ​ที่​ได้แ​ สดง​ไว้ และ​จัดใ​ ห้​มี​การ​ตรวจ​สอบ​การ​ปฏิบัติ​ตาม​นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบัติ​ที่​กำ�หนด​ไว้​อย่าง​สม่ำ�เสมอ 9 มาตรา ๘ ให้​คณะ​กรรมการ​หรือ​หน่วย​งาน​ที่​คณะ​กรรมการ​มอบ​หมาย​จัด​ทำ�​แนว​นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบัติ​หรือ​การ​อื่น​อัน​ เกี่ยว​กับ​การ​ดำ�เนิน​การ​ตามพ​ระ​ราช​กฤษฎีกา​นี้ ไว้​เป็น​ตัวอย่าง​เบื้อง​ต้น​สำ�หรับ​การ​ดำ�เนิน​การ​ของ​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​ใน​การ​ปฏิบัติ​ตาม พ​ระ​ราช​กฤษฎีกา​นี้ และ​หาก​หน่วย​งาน​ของ​รัฐแ​ ห่งใ​ ด​มกี​ าร​ปฏิบัตงิ​ าน​ตาม​กฎหมาย​ทแี่​ ตก​ต่าง​เป็นการ​เฉพาะ​แล้ว หน่วย​งาน​ของ​รัฐแ​ ห่งน​ ั้น​ อาจ​เพิ่ม​เติม​ราย​ละเอียด​การ​ปฏิบัติ​งาน​ตาม​กฎหมาย​ที่​แตก​ต่าง​นั้น​ได้​โดย​ออก​เป็น​ระเบียบ ทั้งนี้ โดย​ให้​คำ�นึง​ถึง​ความ​ถูก​ต้อง​ครบ​ถ้วน ความ​เชื่อถ​ ือ สภาพ​ความ​พร้อม​ใช้​งาน และ​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ของ​ระบบ​และ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์


8-34

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ตัวอย่าง​แนว​นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบัตใิ​ น​การ​คุ้มครอง​ข้อมูลส​ ่วน​บุคคล​ของ​หน่วย​งาน​ภาค​รัฐ มีเ​นื้อหา​ โดย​สรุป ดังนี้ 1) การ​จัด​ทำ�​นโยบาย​การ​คุ้มครอง​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล (privacy policy) นโยบาย​การ​คุ้มครอง​ข้อมูล​ ส่วน​บุคคล​จะ​ต้อง​ระบุ วัน​ที่ใ​ น​การ​จัด​ทำ� วันท​ ี่ใ​ น​การ​ปรับปรุง การ​ประกาศ​ใช้​ของ​หน่วย​งาน ขอบเขต​การ​ใช้​ บังคับ​กับ​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล การ​แจ้ง​ให้​ทราบ​การ​เปลี่ยนแปลง การ​ขอ​ความ​ยินยอม​จาก​ผู้​ใช้​งาน​หาก​มี​การ​ เปลี่ยนแปลง​ไป​จาก​ที่​เคย​ตกลง การ​ใช้​งาน​ข้อมูล​และ​การ​ส่ง​ข้อมูล​ต่อ​ให้​กับ​หน่วย​งาน​อื่น​เพื่อ​ใช้​งาน​ร่วม​กัน การ​ขอ​ปรับปรุงข​ ้อมูล​โดย​ผู้ใ​ ช้​งาน และ​การ​รักษา​ความ​ปลอดภัย​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล 2) การ​เก็บ​รวบรวม​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล มี​การ​ระบุ​ว่า​ข้อมูล​ใด​บ้าง​ที่​มี​การ​เก็บ​รวบรวม วิธี​การ​จัด​เก็บ​ ข้อมูล การนำ�​ข้อมูล​ที่จ​ ัด​เก็บ​ไป​ใช้​งาน วิธีก​ าร​​ติดต่อ​จาก​หน่วย​งาน การ​ใช้​ข้อมูล​ร่วม​กับ​บุคคล​ภายนอก​หรือ​ หน่วย​งาน​อื่น การ​จัด​เก็บ​ข้อมูล​เพิ่ม​เติม​เมื่อ​ใช้​บริการ เช่น การ​จัด​เก็บ​ข้อมูล​โดย​ใช้​คุ้​กกี้ (cookies) การ​ เชื่อม​โยง​ข้อมูลส​ ่วน​บุคคล​กับข​ ้อมูลท​ ี่จ​ ัดเ​ก็บเ​พิ่ม ประโยชน์ข​ อง​การ​จัดเ​ก็บข​ ้อมูลเ​พิ่มเ​ติม การ​ปฏิเสธ​การ​เก็บ​ ข้อมูลเ​พิม่ เ​ติมก​ บั ผ​ ลก​ระ​ทบ​ทเี​่ กิดจ​ าก​การ​ปฏิเสธ การ​จดั เ​ก็บข​ อ้ มูลท​ แี​่ สดง​ถงึ ก​ าร​เข้าใ​ ช้ง​ าน เช่น หมายเลข​ไอ​พี (IP address) ที่​สามารถ​เชื่อม​โยง​ถึง​ข้อมูล​ที่​สามารถ​ระบุ​ตัว​บุคคล​ได้ ข้อมูล​ที่​จัด​เก็บ​ต้อง​ระบุ​ให้​ชัดเจน​ว่า​ เป็น​ข้อมูล​ที่บ​ ังคับ​เก็บ​หรือ​ข้อมูล​ทาง​เลือก และ​หาก​ระบุ​ว่า​เป็น​ข้อมูล​ทาง​เลือก ให้​ระบุ​ถึง​ผล​ของ​การ​ให้​หรือ​ ไม่​ให้ข​ ้อมูล​ดังก​ ล่าว​เอา​ไว้ด​ ้วย 3) การ​ใช้​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล ระบุ​การ​ใช้​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล​ตาม​ความ​จำ�เป็น ระบุ​การ​ไม่​กระทำ�​กับ​ ข้อมูล​ให้​ชัดเจน เช่น ไม่​จำ�หน่าย​หรือ​เผย​แพร่​โดย​ไม่​ได้​รับ​อนุญาต ใน​กรณี​ที่​จำ�เป็น​ต้อง​ให้​ผู้​อื่น​ล่วง​รู้​ข้อมูล​ เพื่อ​ดำ�เนินก​ าร​ตาม​ภารกิจ​องค์กร เช่น การ​จัด​ส่งพ​ ัสดุไปรษณีย์ การ​วิเคราะห์​เชิง​สถิติ จะ​ต้อง​มี​ข้อ​กำ�หนด​ใน​ เรื่อง​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ​และ​ความ​ปลอดภัย​ของ​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล และ​กำ�หนด​ข้อ​ห้าม​มิ​ให้​มี​การนำ�​ข้อมูล​ ส่วน​บุคคล​ดัง​กล่าว​ไป​ใช้​นอก​เหนือ​จาก​ที่​กำ�หนด​ให้​ดำ�เนิน​การ​แทน 4) สิทธิใ์​ น​การ​ควบคุมข​ อ้ มูลส​ ว่ น​บคุ คล​ของ​ผใ​ู้ ช้บ​ ริการ เพื่อป​ ระโยชน์ใ​ น​การ​รักษา​ความ​เป็นส​ ่วน​ตัว​ ของ​ผู้ใ​ ช้บ​ ริการๆ มีส​ ิทธิ​์เลือก​ที่จ​ ะ​ให้ม​ ีก​ าร​ใช้ข​ ้อมูลท​ ั้งหมด ข้อมูลบ​ าง​ส่วน ใช้เ​ฉพาะ​ภายใน​หน่วย​งาน หรือใ​ ช้​ งาน​ร่วม​กับ​บุ​คคลอื่​น​หรือ​หน่วย​งาน​อื่น มี​สิทธิ์​เลือก​ที่​จะ​รับ​หรือ​ไม่​รับ​ข้อมูล​หรือ​สื่อ​ทางการ​ตลาด​ใดๆ หรือ​ หาก​มี​การ​รับ​ข้อมูล​อยู่​แล้ว​สามารถ​เลือก​ที่จ​ ะ​ยกเลิก​ได้ 5) การ​รักษา​ความ​ปลอดภัย​สำ�หรับ​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล หน่วย​งาน​ต้อง​จัด​ให้​มี​วิธี​การ​รักษา​ความ​ ปลอดภัย​ที่เ​หมาะ​สม​ให้​แก่​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล​ที่​เก็บ​รวบรวม การ​ป้องกัน​การ​สูญหาย การ​ป้องกัน​การนำ�​ไป​ใช้​ งาน​ใน​ทาง​ที่ผ​ ิด การ​ป้องกันก​ าร​แก้ไข​เปลี่ยนแปลง​ข้อมูล​โดย​ไม่มี​สิทธิ์ การ​จำ�กัด​การ​เข้าถ​ ึง​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล การ​ตรวจ​สอบ​หรือป​ ระเมินค​ วาม​ปลอดภัยข​ อง​ระบบ​ทีม่​ กี​ าร​จัดเ​ก็บข​ ้อมูลเ​ป็นร​ ะ​ยะๆ การ​บริหาร​จัดการ​ข้อมูล​ ที่​มีค​ วาม​สำ�คัญ​และ​เป็น​ข้อมูล​เฉพาะ​ที่​ไม่​พึงเ​ปิด​เผย เช่น การ​เข้า​รหัส​ข้อมูล เป็นต้น 6) การ​ปรับปรุง​นโยบาย​ความ​เป็น​ส่วน​ตัว หน่วย​งาน​อาจ​ทำ�การ​ปรับปรุง​หรือ​แก้ไข​นโยบาย​ความ​ เป็น​ส่วน​ตัว​โดย​ไม่​ได้​แจ้ง​ให้​ผู้​ใช้​บริการ​ทราบ​ล่วง​หน้า ทั้งนี้ เพื่อ​ความ​เหมาะ​สม​และ​มี​ประสิทธิภาพ​ใน​การ​ ให้​บริการ ดัง​นั้น หน่วย​งาน​จึง​ต้อง​ให้​คำ�​แนะนำ�​ให้​ผู้​ใช้​บริการ​อ่าน​นโยบาย​ความ​เป็น​ส่วน​ตัว​ทุก​ครั้ง​ที่​เข้า​มา​ ใช้​บริการ​จาก​หน่วย​งาน

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-35

ธ ส

7) การ​ปฏิบตั ต​ิ าม​นโยบาย​ความ​เป็นส​ ว่ น​ตวั แ​ ละ​การ​ตดิ ต่อก​ บั ห​ น่วย​งาน หน่วย​งาน​จะ​ต้อง​กำ�หนด​ ช่อง​ทางใน​การ​ตดิ ต่อใ​ ห้ช​ ดั เจน ใน​กรณีท​ ผี​่ ใู​้ ช้บ​ ริการ​มข​ี อ้ ส​ งสัย ข้อเ​สนอ​แนะ หรือข​ อ้ ต​ ช​ิ ม​ใดๆ เกีย่ ว​กบั น​ โยบาย​ ความ​เป็น​ส่วน​ตัว หรือก​ าร​ปฏิบัติ​ตาม​นโยบาย​ความ​เป็น​ส่วน​ตัว ตัวอย่าง​แนว​นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบตั ใ​ิ น​การ​คุม้ ครอง​ขอ้ มูลส​ ว่ น​บคุ คล​ของ​หน่วย​งาน​ภาค​รฐั ดังก​ ล่าว​ เป็นเ​พียง​ขอ้ ก​ �ำ หนด​เบือ้ ง​ตน้ ท​ แี​่ สดง​ไว้เ​ป็นต​ วั อย่าง หน่วย​งาน​จ�ำ เป็นต​ อ้ ง​มก​ี าร​ปรับใ​ ห้เ​หมาะ​สม​กบั ล​ กั ษณะ​การ​ ให้บ​ ริการ เพือ่ ใ​ ห้ส​ ือ่ สาร​ได้ช​ ดั เจน​และ​เข้าใจ​ได้โ​ ดย​งา่ ย ทัง้ ก​ บั ผ​ ปู​้ ฏิบตั ง​ิ าน​ภายใน​องค์กร​เอง และ​ประชาชน​ทีม่ า​ ขอ​ใช้​บริการ โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​การ​ขอ​ใช้​บริการ​ผ่าน​รัฐบาล​อิเล็กทรอนิกส์​หรือ​เว็บไซต์​ของ​แต่ละ​หน่วย​งาน ก็​คง​เป็น​บท​พิสูจน์​อีก​บท​หนึ่ง​ถึง​ความ​จริงใจ และ​ใส่ใจ​ใน​การ​ให้​บริการ​ประชาชน แค่​ลอง​เปรียบ​เทียบ​แนว​ นโยบาย​และ​แนว​ปฏิบัติ​ของ​แต่ละ​หน่วย​งาน​ก็​อาจ​จะ​บ่ง​บอก​ถึง​ความ​โปร่งใส เป็น​ธรรม สามารถ​ตรวจ​สอบ​ ได้​ของ​แต่ละ​หน่วย​งาน​ว่า​เป็น​ไป​ตาม​หลัก​ธร​รมาภิ​บาล​ที่​ดี​หรือ​ไม่ ทั้ง​ยัง​เป็น​อีก​ช่อง​ทาง​หนึ่ง​ของ​หน่วย​งาน​ ภาค​รัฐ​ใน​การ​ส่ง​เสริม​การ​ดำ�เนิน​ภารกิจ​องค์กร​อย่าง​มี​จริยธรรม ตาม​นโยบาย​ของ​รัฐบาล​ที่​เคย​ประกาศ​ให้​ เป็น​วาระ​แห่ง​ชาติม​ า​แล้ว

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 8.2.1 แล้ว โ​ ปรด​ปฏิบัติ​กิจกรรม 8.2.1 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 8 ตอน​ที่ 8.2 เรื่อง​ที่ 8.2.1

ธ ส

เรื่อง​ที่ 8.2.2 พระ​ราช​กฤษฎีก​ าว่า​ด้วย​การ​ควบคุมด​ ูแลธุรกิจ​บริการ​ ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551

ธ ส

ธ ส

พระ​ราช​กฤษฎีกา​ว่า​ด้วย​การ​กำ�กับ​ดูแลธุรกิจ​บริการ​การ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง​เป็น​ธุรกิจ​ บริการ​ที่​ต้อง​มีก​ าร​กำ�กับ​ดูแล ตาม​มาตรา ๓๒ แห่ง​พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ก่อน​อื่นต​ ้อง​มา​ดูก​ ันก​ ่อน​ว่าธ​ ุรกิจล​ ักษณะ​ใด​บ้าง​ที่ต​ ้อง​ปฏิบัติต​ าม​กฎหมาย​ฉบับน​ ี้ ตาม​มาตรา ๓ ใน ​พระ​ราช​กฤษฎีกา​นี้ ให้​นิยาม “การ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ หมายความ​ว่า การ​โอน​สิทธิ​การ​ถือค​ รอง​เงิน​ หรือ​การ​โอน​สิทธิ​การ​ถอน​เงิน หรือ​หัก​เงิน​จาก​บัญชี​เงิน​ฝาก​ของ​ผู้​ใช้​บริการ​ที่​เปิด​ไว้​กับ​ผู้​ให้​บริการ​ด้วย​วิธี​ ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ทั้งหมด​หรือ​บาง​ส่วน” จะ​เห็น​ได้​ว่า ตาม​เจตนารมณ์​ของ​กฎหมาย ต้องการ​ใช้​บังคับการ​ ทำ�​ธุรกรรม​การ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ตลอด​เส้น​ทาง (end-to-end transaction) ทั้งนี้​ขึ้น​อยู่​กับ​ว่า​ ผู้​ให้​บริการ​ให้บ​ ริการ​อิเล็กทรอนิกส์แ​ บบ​ครบ​วงจร หรือ​ให้​บริการ​อิเล็กทรอนิกส์​แต่​เพียง​บาง​ส่วน​ของ​การ​ทำ�​ ธุรกรรม หาก​ดู​จาก​นิยาม​ที่​อยู่​ภาย​ใต้​มาตรา​เดียวกัน จะ​เกิด​ความ​ชัดเจน​ขึ้น แต่​ผล​บังคับ​ใช้​ของกฎหมาย

ธ ส


8-36

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

จำ�เป็นต​ อ้ ง​พจิ ารณา​ให้ค​ รอบคลุมก​ าร​ท�​ำ ธรุ กรรม​ทเี​่ กิดผ​ ล​โดย​สมบูรณ์ข​ อง​ผใู​้ ช้บ​ ริการ (end-to-end transaction) หรือก​ ล่าว​อกี น​ ยั ห​ นึง่ ว​ า่ ใ​ น​การ​ท�​ำ ธรุ กรรม​ของ​ผบู​้ ริโภค อาจ​เกีย่ วข้อง​กบั ผ​ ใู​้ ห้บ​ ริการ​หลาย​ราย​พร้อมๆ กัน ผู้​ให้​บริการ​ตาม​กฎหมาย มี​การ​จัด​ออก​เป็น 3 ประเภท คือ ธุรกิจ​บริการ​ที่​ต้อง​แจ้ง​ให้​ทราบ​ก่อน​ให้​บริการ (บัญชี ก) ธุรกิจ​บริการ​ที่ต​ ้อง​ขึ้น​ทะเบียน​ก่อน​ให้บ​ ริการ (บัญชี ข) และ​ธุรกิจ​บริการ​ที่​ต้อง​ขอ​อนุญาต​ก่อน​ให้​ บริการ (บัญชี ค) ตัวอย่าง​ของ​ธุรกิจบ​ ริการ​ใน​แต่ละ​ประเภท ดูไ​ ด้จ​ าก​บญ ั ชีท​ ้าย พ.ร.ฎ. ว่าด​ ว้ ย​การ​ควบคุมธ​ ุรกิจบ​ ริการ​ การ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 เช่น • บั ญ ชี ก (ธุ ร กิ จ ​บ ริ ก าร​ที่ ​ต้ อ ง​แ จ้ ง ​ใ ห้ ​ท ราบ​ก่ อ น​ใ ห้ ​บ ริ ก าร) หมาย​ถึ ง ​ ธุ ร กิ จ ​ที่ ​ใ ห้ ​บ ริ ก าร​เ งิ น​ อิเล็กทรอนิกส์​ที่​ใช้​ซื้อ​สินค้าห​ รือ​รับ​บริการ​เฉพาะ​อย่าง​ตาม​รายการ​ที่​กำ�หนด​ไว้​ล่วง​หน้า​จาก​ผู้​ให้​บริการ​เพียง​ ราย​เดียว ยกเว้น​การ​ให้​บริการ​เงิน​อิเล็กทรอนิกส์​ที่​ใช้​จำ�กัด​เพื่อ​อำ�นวย​ความ​สะดวก​แก่​ผู้​บริโภค​โดย​มิได้​ แสวงหา​กำ�ไร​จาก​การ​ออก​บัตร ตาม​ที่​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย (ธปท.) ประกาศ​กำ�หนด​โดย​ความ​เห็น​ชอบ​ ของ​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ​ ริการ​ที่​ต้อง​ขอ​ขึ้น​ทะเบียน​ก่อน​ให้​บริการ) หมาย​ถึง การ​ให้​บริการ​เครือ​ข่าย​บัตร​ • บัญชี ข (ธุรกิจบ เครดิต การ​ให้บ​ ริการ​เครือข​ ่าย​อีด​ ีซ​ ี การ​ให้บ​ ริการ​สว​ ิตช​ ิ่งใ​ น​การ​ชำ�ระ​เงินร​ ะบบ​หนึ่งร​ ะบบ​ใด การ​ให้บ​ ริการ​เงิน​ อิเล็กทรอนิกส์​ที่​ใช้​ซื้อ​สินค้า และ​หรือ​รับ​บริการ​เฉพาะ​อย่าง​ตาม​รายการ​ที่​กำ�หนด​ไว้​ล่วง​หน้า จาก​ผู้​ให้​บริการ​ หลาย​ราย ณ สถาน​ที่​ที่​อยู่ภ​ าย​ใต้​ระบบ​การ​จัด​จำ�หน่าย​และ​การ​ให้​บริการ​เดียวกัน ​ ัญชี การ​ • บัญชี ค (ธุรกิจ​บริการ​ที่​ต้อง​ได้​รับ​อนุญาต​ก่อน​ให้​บริการ) หมาย​ถึง การ​ให้​บริการ​หักบ ให้​บริการ​การ​ชำ�ระ​ดุล การ​ให้​บริการ​การ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ผ่าน​อุปกรณ์​อย่าง​หนึ่ง​อย่าง​ใด​ผ่าน​ทาง​ เครือ​ข่าย การ​ให้​บริการ​ส​วิต​ชิ่ง​ใน​การ​ชำ�ระ​เงิน​หลาย​ระบบ การ​ให้​บริการ​ชำ�ระ​เงิน​แทน การ​ให้​บริการ​เงิน​ อิเล็กทรอนิกส์​ที่​ใช้​ซื้อ​สินค้า และ​หรือ​รับ​บริการ​เฉพาะ​อย่าง​ตาม​รายการ​ที่​กำ�หนด​ไว้​ล่วง​หน้า จาก​ผู้​ให้​บริการ​ หลาย​ราย​โดย​ไม่​จำ�กัด​สถาน​ที่แ​ ละ​ไม่​อยู่ภ​ าย​ใต้ร​ ะบบ​การ​จัด​จำ�หน่าย​และ​การ​ให้​บริการ​เดียวกัน หาก​พิจารณา​ราย​ละเอียด​มาตรา ตาม​หมวด ๒ การ​ควบคุม​ดูแล​การ​ประกอบ​ธุรกิจ​บริการ​การ​ชำ�ระ​ เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ก็จ​ ะ​มีค​ วาม​เข้ม​งวด​ลด​หลั่นก​ ัน​ไป ตาม​ความ​เสี่ยง​และ​ผลก​ระ​ทบ​ของ​กิจการ​ของ​ผู้​ให้​ บริการ ตาม​มาตรา ๑๖ ให้ค​ ณะ​กรรมการ​ธรุ กรรม​ทาง​อเิ ล็กทรอนิกส์ม​ อ​ี �ำ นาจ​ประกาศ​ก�ำ หนด​หลักเ​กณฑ์ วิธก​ี าร​ และ​เงื่อนไข​การ​ให้​บริการ​ชำ�ระ​เงินท​ าง​อิเล็กทรอนิกส์ต​ าม​ความ​จำ�เป็นแ​ ละ​เหมาะ​สม​กับป​ ระเภท​ธุรกิจบ​ ริการ​ การ​ชำ�ระ​เงินท​ าง​อิเล็กทรอนิกส์แ​ ต่ละ​บัญชีไ​ ด้ โดย​กำ�หนด​ไว้​ใน​เบื้อง​ต้น​ให้​ธุรกิจ​บริการ​ทั้ง 3 บัญชี คำ�นึง​ถึง​ เรื่อง​ดัง​ต่อ​ไป​นี้ • การ​เก็บ​รักษา​และ​การ​เปิด​เผย​ข้อมูลส​ ่วน​บุคคล​ของ​ผู้​ใช้​บริการ • การ​ต รวจ​ส อบ​แ ละ​รั ก ษา​ค วาม​มั่ น คง​ป ลอดภั ย ​ข อง​ร ะบบ​ก าร​ใ ห้ ​บ ริ ก าร​ที่ ​น่ า ​เ ชื่ อ ​ถื อ ​อ ย่ า ง​ สม่ำ�เสมอ ​ าม​แผน นโยบาย มาตรการ ​และ​ระบบ​ต่างๆ ที่ผ​ ู้ใ​ ห้บ​ ริการ​ทั้ง 3 บัญชีต​ ้อง​ปฏิบัติต​ าม​ • การ​ปฏิบัติต เอกสาร​ประกอบ​การ​ยื่นแ​ จ้งเ​พื่อท​ ราบ ขึ้น​ทะเบียน ขอ​อนุญาต​แล้ว​แต่​กรณี • การ​กำ�หนด​ค่า​ธรรมเนียม​ใน​การ​ให้​บริการ​อย่าง​ชัดเจน

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-37

ธ ส

การ​รบั คำ�​รอ้ ง​เมือ่ ม​ ก​ี าร​รอ้ ง​เรียน หรือม​ ข​ี อ้ โ​ ต้แ​ ย้งจ​ าก​ผใู​้ ช้บ​ ริการ และ​การ​ด�ำ เนินก​ าร​รวม​ทัง้ ก​ รอบ​ เวลา​เพื่อ​หา​ข้อ​ยุติ ​ าร​ตอ่ ธนาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย​ใน​ฐานะ​หน่วย​งาน​ก�ำ กับด​ แู ล​ • การ​สง่ ง​ บ​การ​เงินแ​ ละ​ผล​การ​ด�ำ เนินก ตาม​กฎหมาย • การ​กำ�หนด​เรื่อ​งอื่นๆ ตาม​ความ​เหมาะ​สมใน​การ​ควบคุม​ดูแล​การ​ประกอบ​ธุรกิจ​การ​ให้​บริการ​ แต่ละ​ประเภท นอกจาก​นี้ ตาม​มาตรา ๑๗ ยังร​ ะบุ​เพิ่ม​เติม​ให้​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​กำ�หนด​มาตรการ​กำ�กับ​ดูแล​ เพิ่มเ​ติมเ​พื่อใ​ ห้เ​กิดค​ วาม​เรียบร้อย​ใน​เรื่อง​การ​ออก​หลักฐ​ าน​การ​ชำ�ระ​เงิน การ​เก็บร​ ักษา​เงินท​ ี่ต​ ้อง​ส่งม​ อบ การ​ กำ�หนด​ผล​สิ้นส​ ุดข​ อง​การ​โอน​เงินซ​ ึ่งผ​ ู้รับส​ ามารถ​ใช้เ​งินไ​ ด้ท​ ันทีโ​ ดย​ปราศจาก​เงื่อนไข การ​ดำ�เนินก​ าร​เพื่อร​​ ักษา​ สถานภาพ​ทางการ​เงิน​ของ​ผู้​ให้​บริการ รวม​ถึง​การ​จัด​ให้​มี​ผู้​ตรวจ​สอบ​อิสระ​ทาง​ด้าน​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ที่​ เป็น​ไป​ตาม​ราย​ชื่อ​ที่​คณะ​กรรมการ​ประกาศ​กำ�หนด แต่​หาก​เป็น​ธุรกิจบ​ ริการ​ที่​ต้อง​ขอ​ขึ้น​ทะเบียน หรือ​ต้อง​ได้​รับ​อนุญาต จะ​ต้อง​ปฏิบัติ​เพิ่ม​เติม​ใน​เรื่อง​ ต่อ​ไป​นี้ (มาตรา ๑๘) - ใน​กรณีท​ ี่​เกิด​ปัญหา หรือค​ วาม​บกพร่อง​ใน​การ​ให้​บริการ​การ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ให้​แจ้ง​ ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​ทราบ​โดย​เร็ว มี​การ​จัด​ทำ�​ข้อมูล​และ​ราย​ละเอียด​เกี่ยว​กับ​การ​ให้​บริการ​ตามพ​ระ-​ ราช​กฤษฎีกา​นี้​ไว้​ให้​พร้อม​ที่​พนักงาน​เจ้า​หน้าที่​จะ​เข้า​ตรวจ​สอบ​ได้ รวม​ทั้ง​อำ�นวย​ความ​สะดวก​แก่​พนักงาน ​เจ้า​หน้าที่​ใน​การ​เข้า​ตรวจ​สอบ​การ​ปฏิบัติ​ตามพ​ระ​ราช​กฤษฎีกา​นี้ และ​หาก​มี​การ​เปลี่ยนแปลง​กรรมการ​หรือ ​ผู้​ซึ่ง​มี​อำ�นาจ​จัดการ​ของ​นิติบุคคล ให้​แจ้งใ​ ห้​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​ทราบ - กรณี​ที่​ต้อง​แจ้ง​ให้​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​ทราบ ยัง​รวม​ถึง กรณี​จะ​เลิก​การ​ให้​บริการ​ต้อง​ แจ้ง​ให้​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​ทราบ​ล่วง​หน้า​ไม่​น้อย​กว่า 60 วัน และ​ส่ง​คืน​ใบรับ​แจ้ง ​ใบ​ขึ้น​ทะเบียน หรือ ​ใบ​อนุญาต​ภายใน 15 วัน นับ​แต่​วันเ​ลิก​การ​ให้​บริการ ส่วน​สาระ​สำ�คัญข​ อง​ร่าง​กฎหมาย​ใน​ส่วน​อื่นๆ ใน หมวด ๓ การ​ห้าม​ประกอบ​ธุรกิจ การ​พัก​ใช้ และ​ เพิกถ​ อน​ใบ​อนุญาต ให้ม​ กี​ าร​ดำ�เนินก​ าร​ตาม​ประกาศ​ของ​ธนาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย ประกาศ​ของ​คณะ​กรรมการ​ ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ รวม​ถึง พระ​ราช​กฤษฎีกา​ฉบับ​นี้ หาก​ผู้​ให้​บริการ​ใน​แต่ละ​บัญชี​ไม่​ปฏิบัติ​ตาม คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ส​ ามารถ​ใช้อ​ ำ�นาจ​ตาม​กฎหมาย​เพื่อห​ ้าม​ประกอบ​ธุรกิจ สั่งพ​ ักใ​ ช้ใบ​ อนุญาต จน​กระทั่งเ​พิกถ​ อน​ใบ​อนุญาต​ได้ และ​สาระ​สำ�คัญใ​ น​บทเฉพาะกาล บัญญัติใ​ ห้ผ​ ู้​ให้บ​ ริการ​ที่ป​ ระกอบ​ ธุรกิจ​บริการ​การ​ชำ�ระ​เงิน​อยู่​แล้ว​ใน​วัน​ที่​พระ​ราช​กฤษฎีกา​มี​ผล​บังคับ​ใช้ ก็​ให้​สามารถ​ดำ�เนิน​การ​ต่อ​ไป​ได้​อีก 120 วัน หลังจ​ าก​นั้น​ให้​ดำ�เนิน​การ​แจ้งใ​ ห้​ทราบ ขอ​ขึ้น​ทะเบียน หรือ​ขอรับ​ใบ​อนุญาต แล้ว​แต่​กรณี นับ​ตั้งแต่​ที่​มี​การ​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ออก​มา​บังคับ​ใช้ คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ และ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​ใน​ฐานะ​ที่​เป็น​หน่วย​งาน​กำ�กับ​ดูแล​ตาม​กฎหมาย​ฉบับ​นี้ ได้​มี​การ​ออก​ประกาศ​ เพิ่มเ​ติม​ประกอบ​ด้วย – ประกาศ​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลัก​เกณฑ์ วิธี​การ และ​เงื่อนไข ใน​การ​ ประกอบ​ธุรกิจ​บริการ​การ​ชำ�ระ​เงินท​ าง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2552

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-38

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

– ประกาศ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย ที่ สรข. 1/2552 เรื่อง การ​ให้​บริการ​เงิน​อิเล็กทรอนิกส์ ตาม​ บัญชี ก ที่ไ​ ม่​ต้อง​แจ้งใ​ ห้​ทราบ​ก่อน​ให้บ​ ริการ – ประกาศ​ธนาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย ที่ สรข. 2/2552 เรื่อง หลัก​เกณฑ์ วิธี​การ และ​เงื่อนไข ว่าด​ ้วย​ การ​ควบคุมด​ ูแล​ธุรกิจ​บริการ​การ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ – ประกาศ​ธนาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย ที่ สรข. 3/2552 เรื่อง นโยบาย​และ​มาตรการ​การ​รักษา​ความ​ มั่นคง​ปลอดภัยท​ าง​ระบบ​สารสนเทศ​ใน​การ​ประกอบ​ธุรกิจ​ของ​ผู้​ให้​บริการ​การ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ – ประกาศ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย ที่ สรข. 4/2552 เรื่อง การ​แต่ง​ตั้ง​พนักงาน​เจ้า​หน้าที่ ตาม พ​ระ​ราช​กฤษฎีกา​ว่า​ด้วย​การ​ควบคุม​ธุรกิจบ​ ริการ​การ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 ประกาศ​เพิ่ม​เติม​ดัง​กล่าว​ข้าง​ต้น ออก​มา​เพื่อ​ความ​ชัดเจน​ใน​การ​ปฏิบัติ​ตาม​กฎหมาย รวม​ถึง​การ​ ให้​ระยะ​เวลา​ใน​การเต​รี​ยม​ตัว​ของ​แต่ละ​ธุรกิจ​หาก​กฎหมาย​มี​ผล​ใช้​บังคับ​โดย​สมบูรณ์ โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ การ​ปฏิบัติ​งาน​ด้าน​ไอที​ของ​ผู้ใ​ ห้​บริการ​แต่ละ​ราย ที่​อย่าง​น้อย​ต้อง​มี​การ​จัด​ทำ�​นโยบาย​การ​รักษา​ความ​มั่นคง​ ปลอดภัย การ​เก็บ​รักษา​ข้อมูลข​ อง​ผู้ใ​ ช้​บริการ การ​บริหาร​ความ​เสี่ยง การ​บริหาร​ความ​ต่อ​เนื่อง​ของ​ธุรกิจ รวม​ ถึง​การ​จัด​ให้​มี​การ​ตรวจ​สอบ​ระบบ​สารสนเทศ เพราะ​เป็น​ข้อ​กำ�หนด​เบื้อง​ต้น​สำ�หรับ​ธุรกิจ​บริการ​ที่​ต้อง​แจ้ง​ ให้​ทราบ และ​หาก​เป็น​ธุรกิจบ​ ริการ​ที่ต​ ้อง​ขึ้น​ทะเบียน และ​ขอ​อนุญาต ความ​เข้ม​ข้น​ใน​การ​ดำ�เนิน​การ​ตาม​ข้อ​ กำ�หนด​ดัง​กล่าว​จะ​ต้อง​สอดคล้อง​เหมาะ​สม​กับ​ระดับ​ความ​เสี่ยง​ใน​การ​ดำ�เนิน​งาน​ใน​แต่ละ​กิจกรรม​ข้าง​ต้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 8.2.2 แล้ว โ​ ปรด​ปฏิบัติ​กิจกรรม 8.2.2 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 8 ตอน​ที่ 8.2 เรื่อง​ที่ 8.2.2

ธ ส

เรื่อง​ที่ 8.2.3 พระ​ราช​กฤษฎีก​ าว่าด​ ว้ ย​วธิ ก​ี าร​แบบ​ปลอดภัยใ​ น​การ​ท�ำ ​ ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553

ธ ส

ธ ส

พระ​ราช​กฤษฎีกา​ว่าด​ ้วย​วิธีก​ าร​แบบ​ปลอดภัยใ​ น​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553 มีผ​ ล​ บังคับใ​ ช้​เมื่อ​พ้น​กำ�หนด 180 วัน นับ​แต่​วันท​ ี่ป​ ระกาศ​ใน​ราช​กิจ​จา​นุเบกษา เมื่อ​วัน​ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่ง​ตรง​กับ​วัน​ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554 เหตุผล​ใน​การ​ประกาศ​ใช้พ​ ระ​ราช​กฤษฎีกา​ฉบับน​ ี้ คือ เนื่องจาก​ใน​ปัจจุบันเ​ทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​และ​ การ​สื่อสาร ได้​เข้า​มา​มี​บทบาท​สำ�คัญ​ต่อ​การ​ดำ�เนิน​การ​ของ​ทั้ง​ภาค​รัฐ​และ​เอกชน โดย​มี​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์​กัน​อย่าง​แพร่​หลาย จึง​สมควร​ส่ง​เสริม​ให้​มี​การ​บริหาร​จัดการ​และ​รักษา​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ ของ​ทรัพย์สิน​สารสนเทศ​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อ​ให้​มี​การ​ยอมรับ​และ​เชื่อ​มั่น​ใน​ข้อมูล​

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-39

ธ ส

อิเล็กทรอนิกส์​มาก​ยิ่ง​ขึ้น ประกอบ​กับ​มาตรา ๒๕ แห่ง​พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 บัญญัตใิ​ ห้ธ​ ุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ใ​ ด​ทีไ่​ ด้ก​ ระทำ�​ตาม​วิธกี​ าร​แบบ​ปลอดภัยท​ ีก่​ ำ�หนด​ใน​พระ​ราช​ กฤษฎีกา​แล้ว ให้ส​ ันนิษฐาน​ว่า​เป็น​วิธี​การ​ที่เ​ชื่อ​ถือไ​ ด้ จึง​จำ�เป็นต​ ้อง​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​นี้ การ​ออก​พระ​ราช​ กฤษฎีกา​ฉบับ​นี้ จึง​มี​ผล​บังคับ​ใช้​ใน​วง​กว้าง​กว่า​กฎหมาย​ลำ�ดับ​รอง​ทุก​ฉบับท​ ี่​กล่าว​ถึง​มา​แล้ว กล่าว​คือ​มี​ผล​ บังคับใ​ ช้ก​ ับท​ ุกห​ น่วย​งาน​ทีม่​ กี​ าร​ให้บ​ ริการ​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว​ ่าจ​ ะ​เป็นห​ น่วย​งาน​ของ​รัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วย​ งาน​อิสระ รวม​ไป​ถึง​หน่วย​งาน​เอกชน​ที่​ให้​บริการ​สาธารณะ กฎหมาย​ฉบับ​นี้​จึง​ครอบคลุม​ถึง​การ​ให้​บริการ​ ภาย​ใต้โ​ ครงการ​รัฐบาล​อิเล็กทรอนิกส์ (e-government) และ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) หาก​พิจารณา​จาก​คำ�​นิยาม​ที่ม​ ี​การ​ระบุ​ไว้​ใน มาตรา ๓ ดังนี้ มาตรา ๓ ใน​พระ​ราช​กฤษฎีกา​นี้ “วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัย” หมายความ​ว่า วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัย​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทางอิเล็กทรอนิกส์ “ทรัพย์สิน​สารสนเทศ” หมายความ​ว่า (๑) ระบบ​เครือ​ข่าย​คอมพิวเตอร์ ระบบ​คอมพิวเตอร์ ระบบ​งาน​คอมพิวเตอร์ และ​ระบบ​ สารสนเทศ (๒) ตัว​เครื่อง​คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์​คอมพิวเตอร์ เครื่อง​บันทึก​ข้อมูล และ​อุปกรณ์อ​ ื่น​ใด (๓) ข้อมูลส​ ารสนเทศ ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ และ​ข้อมูลค​ อมพิวเตอร์ “ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ของ​ระบบ​สารสนเทศ” (information security) หมายความ​ว่า การ​ ป้องกัน​ทรัพย์สิน​สารสนเทศ​จาก​การ​เข้า​ถึง ใช้ เปิด​เผย ขัด​ขวาง เปลี่ยนแปลง​แก้ไข ทำ�ให้​สูญหาย ทำ�ให้​ เสีย​หาย ถูก​ทำ�ลาย หรือ​ล่วง​รู้โ​ ดย​มิ​ชอบ “ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ด้าน​บริหาร​จัดการ” (administrative security) หมายความ​ว่า การก​ระ​ทำ�​ใน​ระดับ​บริหาร​โดย​การ​จัด​ให้​มีน​โย​บาย มาตรการ หลัก​เกณฑ์ หรือ​กระบวน​การ​ใดๆ เพื่อ​นำ�​มา​ ใช้ใ​ น​กระบวนการ​คัดเ​ลือก การ​พัฒนา การนำ�​ไป​ใช้ หรือก​ าร​บำ�รุงร​ ักษา​ทรัพย์สินส​ ารสนเทศ​ให้ม​ ีค​ วาม​มั่นคง​ ปลอดภัย “ความ​มัน่ คง​ปลอดภัยด​ า้ น​กายภาพ” (physical security) หมายความ​วา่ การ​จดั ใ​ ห้ม​ นี โ​ ย​บาย มาตรการ หลัก​เกณฑ์ หรือ​กระบวน​การ​ใดๆ เพื่อ​นำ�​มา​ใช้​ใน​การ​ป้องกัน​ทรัพย์สิน​สารสนเทศ สิ่ง​ปลูก​สร้าง หรือ​ทรัพย์สิน​อื่น​ใด​จาก​การ​คุกคาม​ของ​บุคคล ภัย​ธรรมชาติ อุบัติภัย หรือ​ภัย​ทาง​กายภาพ​อื่น “การ​รักษา​ความ​ลับ” (confidentiality) หมายความ​ว่า การ​รักษา​หรือ​สงวน​ไว้​เพื่อ​ป้องกัน​ ระบบ​เครือข​ ่าย​คอมพิวเตอร์ ระบบ​คอมพิวเตอร์ ระบบ​งาน​คอมพิวเตอร์ ระบบ​สารสนเทศ ข้อมูลส​ ารสนเทศ ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ หรือ​ข้อมูลค​ อมพิวเตอร์​จาก​การ​เข้าถ​ ึง ใช้ หรือเ​ปิด​เผย​โดย​บุคคล​ซึ่ง​ไม่​ได้​รับ​อนุญาต “การ​รักษา​ความ​ครบ​ถ้วน” (integrity) หมายความ​ว่า การ​ดำ�เนินก​ าร​เพื่อใ​ ห้ข​ ้อมูลส​ ารสนเทศ​ ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ หรือ​ข้อมูลค​ อมพิวเตอร์​อยู่​ใน​สภาพ​สมบูรณ์ ขณะ​ที่​มี​การ​ใช้​งาน ประมวล​ผล โอน​หรือ​ เก็บร​ ักษา เพื่อม​ ิใ​ ห้ม​ ีก​ าร​เปลี่ยนแปลง​แก้ไข ทำ�ให้ส​ ูญหาย ทำ�ให้เ​สียห​ าย หรือถ​ ูกท​ ำ�ลาย​โดย​ไม่ไ​ ด้ร​ ับอ​ นุญาต​ หรือ​โดย​มิ​ชอบ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-40

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

“การ​รกั ษา​สภาพ​พร้อม​ใช้ง​ าน” (availability) หมายความ​วา่ การ​จดั ท​ �ำ ให้ท​ รัพย์สนิ ส​ ารสนเทศ​ สามารถ​ทำ�งาน เข้าถ​ ึง หรือ​ใช้ง​ าน​ได้​ใน​เวลา​ที่​ต้องการ “โครงสร้าง​พื้น​ฐาน​สำ�คัญ​ของ​ประเทศ” (critical infrastructure) หมายความ​ว่า บรรดา​ หน่วย​งาน หรืออ​ งค์กร หรือส​ ่วน​งาน​หนึ่งส​ ่วน​งาน​ใด​ของ​หน่วย​งาน​หรืออ​ งค์กร ซึ่งธ​ ุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ ของ​หน่วย​งาน​หรือ​องค์กร หรือ​ส่วน​งาน​ของ​หน่วย​งาน​หรือ​องค์กร​นั้น มี​ผล​เกี่ยว​เนื่อง​สำ�คัญ​ต่อ​ความ​มั่นคง​ หรือค​ วาม​สงบ​เรียบร้อย​ของ​ประเทศ หรือ​ต่อส​ าธารณชน จาก​นิยาม​ดัง​กล่าว จะ​ช่วย​ยืนยัน​แนวคิด​ใน​การ​กำ�หนด​หลัก​เกณฑ์​และ​วิธี​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์ด​ ้วย​วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัยท​ ี่​เชื่อถ​ ือ​ได้ ที่​ต้อง​อาศัยห​ ลักก​ าร​พื้น​ฐาน​ทาง​เทคโนโลยีท​ ี่​สำ�คัญ​คือ การ​รักษา​ความ​ลับ (Confidentiality) ความ​ครบ​ถ้วน​และ​ไม่​เปลี่ยนแปลง (Integrity) การ​ระบุ​และ​ยืนยัน​ ตัว​บุคคล (Authentication) และ​การ​ไม่​อาจ​ปฏิเสธ​ความ​มี​ผล​ผูกพัน (Non-Repudiation) ซึ่ง​ต้อง​อาศัย​ เทคโนโลยี​ที่​เชื่อ​ถือ​ได้​และ​ครอบคลุม​คุณสมบัติ​ทั้ง 4 ประการ​นี้ ตัวอย่าง​เทคโนโลยี​ที่​เข้า​ข่าย เช่น เทคโนโลยี​ พีเค​ไอ (PKI – Public Key Infrastructure) หรือเทคโนโลยี​กุญแจ​สาธารณะ ​หรือ​เทคโนโลยี​เอส​เอส​แอล (SSL – Secure Socket Layer) ที่ม​ ี​ให้​บริการ​บน​เว็บไซต์​ที่​ขึ้น​ต้น​ด้วย https:// แทนที่​จะ​ขึ้น​ต้น​ด้วย http:// เป็นต้น หาก​วิเคราะห์ล​ ง​ไป​ถึง​ภาค​ปฏิบัติ การ​ทำ�​ธุรกรรม​ใน​หน่วย​ธุรกิจ​ทั้ง​ภาค​รัฐ​และ​เอกชน อาจ​ไม่​จำ�เป็น​ ต้อง​มี​คุณสมบัติ​ครบ​ทั้ง 4 ประการ บาง​ธุรกรรม​อาจ​ไม่​จำ�เป็นต​ ้อง​รักษา​ความ​ลับ เช่น​ การ​ทำ�​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน ประเด็นเ​รื่อง​การ​รักษา​ความ​ลับอ​ าจ​ไม่ใช่เ​รื่อง​ทีค่​ ูส่​ ัญญา​ให้ค​ วาม​สำ�คัญ หรือถ​ ึงจ​ ะ​ให้ค​ วาม​สำ�คัญแ​ ต่ห​ าก​ผูอ้​ ื่น​ ล่วง​รู้​ก็​ยัง​ต้องการ​ให้​สัญญา​มี​ผล​บังคับ​ใช้ การ​รักษา​ความ​ลับจ​ ึง​ไม่มี​ผล​ต่อ​ความ​น่าเ​ชื่อ​ถือ แม้​ทำ�​สัญญา​แล้ว​ ความ​ลับจ​ ะ​ถูกเ​ปิดเ​ผย​ก็ตาม ใน​การ​พิจารณา​ว่าว​ ิธีก​ าร​แบบ​ปลอดภัยน​ ่าเ​ชื่อถ​ ือห​ รือไ​ ม่ ต้อง​พิจารณา​ประเภท​ ของ​ธุรกรรม​และ​ปัจจัยแ​ วดล้อม​อื่น​ประกอบ​ด้วย เช่น – ประเภท​ของ​การ​ให้บ​ ริการ​ของ​หน่วย​งาน​ภาค​รัฐ เอกชน ร้าน​ค้า หรือห​ น่วย​บริการ​ทีเ่​ป็นโ​ ครงสร้าง​ พื้น​ฐาน​สำ�คัญ​ของ​ประเทศ เช่น บริการ​ที่​ไม่เ​กี่ยวข้อง​กับ​การ​ชำ�ระ​เงิน​กับ​บริการ​ที่​เกี่ยวข้อง​กับก​ าร​ชำ�ระ​เงิน มี​ ความ​ต้องการ​ระดับ​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ที่​ต่าง​กัน – ชั้นค​ วาม​ลับ​ของ​การ​ทำ�​ธุรกรรม – มูลค่าเ​ชิง​พาณิชย์ข​ อง​การ​ทำ�​ธุรกรรม – ปัจจัยเ​สี่ย​งอื่นๆ เช่น โอกาส​ใน​การ​ถูก​ปลอม​แปลง สวม​สิทธิ์ การ​หลอก​ลวง​ให้​เข้าใจ​ว่า​เป็น​ผู้​ให้​ บริการ เป็นต้น สาระ​ของ​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ฉบับ​นี้ ต้อง​เร่ง​ดำ�เนิน​การ​ให้​เกิด​ความ​เข้าใจ​โดย​เร็ว เพราะ​วิธี​การ​แบบ​ ปลอดภัยท​ ี่​อ้าง​ถึง​ตาม​มาตรา ๒๕ แห่ง​พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 นี้ ทั้ง​ หน่วย​งาน​ภาค​รัฐ​และ​เอกชน ต่าง​ก็​มีหน้า​ที่​ผลัก​ดัน​และ​เร่ง​ให้​บริการ​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ด้วย​หวัง​ว่า​จะ​ได้​รับ​ การ​ตอบ​รับ​ที่​ดี แต่​ประเด็น​ความ​เชื่อ​มั่น​ของ​ผู้​บริโภค​หรือ​ผู้​ใช้​บริการ ยัง​เป็น​ปัจจัย​สำ�คัญ​ที่​ทำ�ให้​ความ​แพร่​ หลาย​นี้​ยัง​ไม่​ได้​รับ​ความ​วางใจ​เสียที​เดียว หาก​ทุก​ฝ่าย​ที่​เกี่ยวข้อง​เกิด​ความ​รู้​ความ​เข้าใจ ก็​จะ​ช่วย​กระตุ้น​ ให้​อีก​หลาย​หน่วย​งาน​กล้า​ตัดสิน​ใจ​คลอด​บริการ​ต่างๆ ออก​ตาม​มา​อีก​มากมาย เพื่อ​เป็น​ทาง​เลือก​และ​เพิ่ม​ คุณภาพ​ใน​การ​ดำ�รง​ชีวิต​ประจำ�​วัน​ของ​ประชาชน​ไทย​ได้​อีก​ทาง​หนึ่ง

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-41

ธ ส

การ​ทำ�​ธุรกรรม​ใน​หน่วย​ธุรกิจท​ ั้งภ​ าค​รัฐแ​ ละ​เอกชน​ใน​ปัจจุบันม​ ี​ความ​หลาก​หลาย และ​มี​การ​พัฒนา​ รูปแ​ บบ​บริการ​ใหม่ๆ ตลอด​เวลา ใน​การ​พจิ ารณา​วา่ การ​ท�​ำ ธรุ กรรม​ทาง​อเิ ล็กทรอนิกส์ เป็นว​ ธิ ก​ี าร​แบบ​ปลอดภัย​ ที่​น่า​เชื่อถ​ ือห​ รือ​ไม่ ต้อง​พิจารณา​ประเภท​ของ​ธุรกรรม​และ​ปัจจัย​แวดล้อม​อื่น​ประกอบ​ด้วย เพื่อ​ให้การ​ปฏิบัต​ิ เกิดค​ วาม​ชัดเจน​ยิ่งข​ ึ้นก​ ับผ​ ูใ้​ ห้บ​ ริการ และ​เสริมส​ ร้าง​ความ​เชื่อม​ ั่นใ​ ห้ก​ ับป​ ระชาชน​และ​ผูบ้​ ริโภค​ใน​การ​เลือก​ใช้​ บริการ จึง​ต้อง​มี​การ​ระบุ​ให้​ชัดเจน​ขึ้น ตาม​มาตรา ๔ – มาตรา ๗ ดังนี้ มาตรา ๔ วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัยม​ ี​สาม​ระดับ ดัง​ต่อไ​ ป​นี้ (๑) ระดับ​เคร่งครัด (๒) ระดับ​กลาง (๓) ระดับ​พื้นฐ​ าน มาตรา ๕ วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัยต​ าม​มาตรา ๔ ให้​ใช้​สำ�หรับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังต​ ่อ​ ไป​นี้ (๑) ธุรกรรม​ทาง​อเิ ล็กทรอนิกส์​ซงึ่ ม​ ผ​ี ลก​ระ​ทบ​ตอ่ ค​ วาม​มนั่ คง​หรือค​ วาม​สงบ​เรียบร้อย ของ​ประเทศ หรือ​ต่อ​สาธารณชน (๒) ธรุ กรรม​ทาง​อเิ ล็กทรอนิกส์​ของ​หน่วย​งาน​หรืออ​ งค์กร หรือ​สว่ น​งาน​ของ​หน่วย​งาน หรือ​องค์กร​ ที่​ถือ​เป็น​โครงสร้าง​พื้น​ฐาน​สำ�คัญข​ อง​ประเทศ มาตรา ๖ ให้ค​ ณะ​กรรมการ​ประกาศ​ก�ำ หนด​ประเภท​ของ​ธรุ กรรม​ทาง​อเิ ล็กทรอนิกส์ หรือห​ ลักเ​กณฑ์​ การ​ประเมิน​ระดับผ​ ลก​ระ​ทบ​ของ​ธรุ กรรม​ทาง​อเิ ล็กทรอนิกส์​ตาม​มาตรา ๕ (๑) ซึง่ ​ตอ้ ง​กระทำ�​ตาม​วธิ ก​ี าร​แบบ​ ปลอดภัย​ใน​ระดับ​เคร่งครัด ระดับก​ ลาง หรือร​ ะดับ​พื้น​ฐาน แล้วแ​ ต่​กรณี​ทั้งนี้ โดย​ให้​คำ�นึง​ถึงร​ ะดับ​ความ​เสี่ยง​ ต่อ​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ของ​ระบบ​สารสนเทศ ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​มูลค่า​และ​ความ​เสีย​หาย​ที่​ผู้​ใช้​บริการ​อาจ​ได้​รับ รวม​ทั้ง​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​เศรษฐกิจ​และ​สังคม​ของ​ประเทศ​ให้​คณะ​กรรมการ​ประกาศ​กำ�หนด​ราย​ชื่อ​หรือ​ประเภท​ ของ​หน่วย​งาน​หรือ​องค์กร หรือ​ส่วน​งาน​ของ​หน่วย​งาน​หรือ​องค์กร​ที่​ถือ​เป็น​โครงสร้าง​พื้น​ฐาน​สำ�คัญ​ของ​ ประเทศ​ตาม​มาตรา ๕ (๒) ซึ่ง​ต้อง​กระทำ�​ตาม​วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัยใ​ น​ระดับ​เคร่งครัด ระดับ​กลาง หรือ​ระดับ​ พื้น​ฐาน แล้วแ​ ต่​กรณี มาตรา ๗ วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัย​ตาม​มาตรา ๔ ใน​แต่ละ​ระดับ ให้​มี​มาตรฐาน​การ​รักษา​ความ​มั่นคง​ ปลอดภัยข​ อง​ระบบ​สารสนเทศ​ตาม​หลักเ​กณฑ์ท​ ค​ี่ ณะ​กรรมการ​ประกาศ​ก�ำ หนด​โดย​มาตรฐาน​ดงั ก​ ล่าว​ส�ำ หรับ​ วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัย​ใน​แต่ละ​ระดับ​นั้น อาจ​มี​การ​กำ�หนด​หลัก​เกณฑ์​ที่​แตก​ต่าง​กัน​ตาม​ความ​จำ�เป็น แต่​อย่าง​ น้อย​ต้อง​มี​การ​กำ�หนด​เกี่ยว​กับ​หลัก​เกณฑ์ ดัง​ต่อ​ไป​นี้ (๑) การ​สร้าง​ความ​มั่นคง​ปลอดภัยด​ ้าน​บริหาร​จัดการ (๒) การ​จดั โ​ ครงสร้าง​ดา้ น​ความ​มนั่ คง​ปลอดภัยข​ อง​ระบบ​สารสนเทศ ใน​สว่ น​การ​บริหาร​จดั การ​ดา้ น​ ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ของ​ระบบ​สารสนเทศ ทั้ง​ภายใน​และ​ภายนอก​หน่วย​งาน​หรือ​องค์กร (๓) การ​บริหาร​จัดการ​ทรัพย์สินส​ ารสนเทศ (๔) การ​สร้าง​ความ​มั่นคง​ปลอดภัยข​ อง​ระบบ​สารสนเทศ​ด้าน​บุคลากร (๕) การ​สร้าง​ความ​มั่นคง​ปลอดภัยด​ ้าน​กายภาพ​และ​สภาพ​แวดล้อม

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-42

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

(๖) การ​บริหาร​จัดการ​ด้าน​การ​สื่อสาร​และ​การ​ดำ�เนิน​งาน​ของ​ระบบ​เครือ​ข่าย​คอมพิวเตอร์​ ระบบ​ คอมพิวเตอร์ ระบบ​งาน​คอมพิวเตอร์ และ​ระบบ​สารสนเทศ (๗) การ​ควบคุม​การ​เข้า​ถึง​ระบบ​เครือ​ข่าย​คอมพิวเตอร์ ระบบ​คอมพิวเตอร์ ระบบ​งาน​คอมพิวเตอร์ ระบบ​สารสนเทศ ข้อมูล​สารสนเทศ ข้อมูลอ​ ิเล็กทรอนิกส์ และ​ข้อมูลค​ อมพิวเตอร์ (๘) การ​จัดหา​หรือ​จัด​ให้​มี การ​พัฒนา และ​การ​บำ�รุง​รักษา​ระบบ​เครือ​ข่าย​คอมพิวเตอร์ ระบบ​ คอมพิวเตอร์ ระบบ​งาน​คอมพิวเตอร์ และ​ระบบ​สารสนเทศ (๙) การ​บริหาร​จัดการ​สถานการณ์​ด้าน​ความ​มั่นคง​ปลอดภัยท​ ี่​ไม่​พึง​ประสงค์ หรือไ​ ม่​อาจ​คาด​คิด (๑๐) การ​บริหาร​จัดการ​ด้าน​การ​บริการ​หรือ​การ​ดำ�เนิน​งาน​ของ​หน่วย​งาน​หรือ​องค์กร ​เพื่อ​ให้​มี​ ความ​ต่อ​เนื่อง (๑๑) การ​ตรวจ​สอบ​และ​การ​ประเมินผ​ ล​การ​ปฏิบัตติ​ าม​นโยบาย มาตรการ หลักเ​กณฑ์ หรือก​ ระบวน​ การ​ใดๆ รวม​ทั้ง​ข้อ​กำ�หนด​ด้าน​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ของ​ระบบ​สารสนเทศ หาก​ท่าน​ผู้​อ่าน​เป็น​ผู้​หนึ่ง​ที่​ติดตาม​หรือ​คลุกคลี กับ​แนวทาง​การ​รักษา​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ด้าน​ สารสนเทศ ก็จ​ ะ​พบ​ว่าการ​เขียน​มาตรา ๗ ดังก​ ล่าว ได้ป​ ระยุกต์ใ​ ช้แ​ นวทาง​ปฏิบัติท​ ีเ่​ป็นเ​ลิศท​ าง​ด้าน​การ​จัดการ​ ความ​มั่นคง​ปลอดภัยด​ ้าน​สารสนเทศ หรือไ​ อ​เอส​โอ/ไอ​อี​ซี 27001 (ISO/IEC 27001, Information Security Management Systems - ISMS) และ​ไอ​เอส​โอ/ไอ​อี​ซี 27002 (ISO/IEC 27002, Code of Practice for Information Security Management) และ​สอดคล้อง​กับ​แนวทาง​ตาม​มาตรฐาน​การ​รักษา​ความ​ปลอดภัย ใน​การ​ประกอบ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ (เวอร์ชัน 2) ประจำ�​ปี 2549 ที่​จัด​พิมพ์​เพื่อ​เผย​แพร่​โดย คณะ​ อนุกรรมการ​ด้าน​ความ​มั่นคง ภาย​ใต้​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ หาก​เปรียบ​เทียบ​ราย​ละเอียด​ความ​ต้องการ​ด้าน​การ​รักษา​ความ​มั่นคง​ปลอดภัยก​ ับ พระ​ราช​กฤษฎีกา ภาย​ใต้ม​ าตรา ๓๒ และ มาตรา ๓๕ แห่งพ​ ระ​ราช​บญ ั ญัตว​ิ า่ ด​ ว้ ย​ธรุ กรรม​ทาง​อเิ ล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ประกอบ​ ด้วย​พระ​ราช​กฤษฎีกา​กำ�หนด​หลัก​เกณฑ์​และ​วิธีก​ าร​ใน​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ภาค​รัฐ พ.ศ. 2549 และ​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ว่า​ด้วย​การ​ควบคุม​ดูแล​ธุรกิจ​บริการ​การ​ชำ�ระ​เงิน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 และ ​ร่ า ง​พ ระ​ร าช​ก ฤษฎี ก า​ว่ า ​ด้ ว ย​ห ลั ก​เ กณฑ์ ​แ ละ​วิ ธี ​ก าร​ป ระกอบ​ธุ ร กิ จ ​ใ ห้ ​บ ริ ก าร​อ อก​ใ บรั บ ​ร อง​ล ายมื อ​ชื่ อ​ อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ... ซึ่ง​เป็น​ธุรกิจ​บริการ​เกี่ยว​กับ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ที่​ต้อง​มี​การ​กำ�กับ​ดูแล​ตาม​ มาตรา ๓๒ แห่งพ​ ระ​ราช​บัญญัติว​ ่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 จะ​พบ​ได้​ว่าบ​ ทบัญญัติ​ตาม​ มาตรา ๗ ของ​กฎหมาย​ฉบับ​นี้ค​ รอบคลุม​ข้อ​กำ�หนด​ทุก​เรื่อง​ตาม​มาตรฐาน​หรือ​ตาม​แนวทาง​ปฏิบัติ​ที่​เป็น​เลิศ​ ทาง​ด้าน​การ​รักษา​ความ​มั่นคง​ปลอดภัยด​ ้าน​สารสนเทศ ที่​รู้จัก​กัน​ดี​ใน​ชื่อ​ไอ​เอส​โอ/ไอ​อี​ซี 27001 (ISO/IEC 27001) นั่นเอง หรือ​อาจ​กล่าว​ได้อ​ ีก​นัย​หนึ่ง​ว่าข​ ้อ​กำ�หนด​ของ​กฎหมาย​ฉบับ​นี้ เป็นการ​กำ�หนด​แบบ​เข้ม​ที่สุด หาก​เทียบ​กับ​กฎหมาย​ลำ�ดับ​รอง​ฉบับ​อื่นๆ และ​เพื่อ​สื่อสาร​ให้​เกิด​ความ​ชัดเจน​ขึ้น การ​จัด​ทำ�​แนว​ปฏิบัติ (guideline) จึง​เป็น​สิ่ง​ที่​จำ�เป็น​ที่​ให้​ อำ�นาจ​หน่วย​งาน​ที่​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​มอบ​หมาย สามารถ​ออก​แนว​ปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​ วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัย ตาม​มาตรา ๘

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-43

ธ ส

“มาตรา ๘ เพื่อป​ ระโยชน์​ใน​การ​เป็นแ​ นวทาง​สำ�หรับ​การ​จัด​ทำ�​นโยบาย​หรือ​แนว​ปฏิบัติ​ใน​การ​รักษา​ ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ของ​ระบบ​สารสนเทศ​ของ​หน่วย​งาน​หรือ​องค์กร คณะ​กรรมการ​อาจ​ระบุ​หรือ​แสดง​ ตัวอย่าง​มาตรฐาน​ทาง​เทคโนโลยี​ซึ่ง​เป็น​ที่​ยอมรับ​เป็นการ​ทั่วไป​ว่า​เป็น​มาตรฐาน​ทาง​เทคโนโลยี​ที่​เชื่อ​ถือ​ได้​ไว้​ ใน​ประกาศ​ตาม​มาตรา ๗ ด้วย​ก็ได้” เหตุผล​ของ​การ​เพิ่มต​ าม​มาตรา ๘ ก็​เพื่อ​ให้​สามารถ​รองรับ​การ​เปลี่ยนแปลง​ทาง​เทคโนโลยี​ส่วน​หนึ่ง กับ​อีก​ส่วน​หนึ่ง​คือ​การ​เลือก​ใช้​แนวทาง​ใน​การ​บริหาร​จัดการ​และ​เทคโนโลยี อาจ​ทำ�ได้​ใน​หลาย​วิธี หลาย​ทาง​ เลือก การ​คง​ไว้​ซึ่ง​หลัก​แห่ง​ความ​เป็นก​ลาง​ทาง​เทคโนโลยี จึง​เป็น​สิ่ง​ที่​ไม่​สามารถ​หลีก​เลี่ยง​ได้ และ​เหตุผล​ สำ�คัญค​ ือ เพื่อช​ ่วย​ใน​การ​ตีความ​และ​วินิจฉัยใ​ ห้ม​ ีม​ าตรฐาน​ที่ใ​ กล้เ​คียง​กันเ​พื่อค​ วาม​ชัดเจน​ใน​การ​ปฏิบัติแ​ ละ​ ลด​ข้อ​โต้​แย้ง​หาก​มี​ความ​เห็น​ที่​แตก​ต่าง ซึ่งจ​ ะ​มีส​ ่วน​กระตุ้น​ให้​เกิด​ความ​เชื่อ​มั่น​ได้​มาก​ยิ่ง​ขึ้น สำ�หรับ​หน่วย​งาน​ที่​เข้า​ข่าย​ต้อง​ปฏิบัติ​ตาม​ร่าง​กฎหมาย​ฉบับ​นี้ ได้แก่ หน่วย​งาน​โครงสร้าง​พื้น​ฐาน​ สำ�คัญข​ อง​ประเทศ​ทปี​่ จั จุบนั ม​ ก​ี าร​ให้บ​ ริการ​พาณิชย์อ​ เิ ล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) และ​รฐั บาล​อเิ ล็กทรอนิกส์ (e-Government) อยูบ​่ า้ ง​แล้ว โดยทีภ​่ ารกิจห​ ลักข​ อง​หน่วย​งาน​เหล่าน​ เี​้ ป็น ภารกิจท​ เี​่ กีย่ วข้อง​กบั ช​ วี ติ ทรัพย์สนิ เศรษฐกิจ และ​ความ​มั่นคง​ของ​ชาติ ดัง​นั้น การ​บริหาร​จัดการ​หน่วย​งาน​และ​การ​ดำ�เนิน​นโยบาย​ต่างๆ ของ​ หน่วย​งาน​เหล่าน​ ีจ้​ ะ​ส่งผ​ ลก​ระ​ทบ​โดยตรง​ต่อศ​ ักยภาพ​ของ​ประเทศ ทั้งใ​ น​แง่เ​ศรษฐกิจ สังคม ความ​มั่นคง และ​ ต่าง​ประเทศ ดังน​ ั้น หาก​เกิด​ความ​เสีย​หาย​ขึ้น​กับ​หน่วย​งาน​ดัง​กล่าว​จะ​ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​โดยตรง​ต่อ​ประเทศ การ​พิจารณา​ระดับ​ความ​สำ�คัญ กฎหมาย​บัญญัติ​ทั้ง​ประเภท​ของ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ และ​หน่วย​งาน​ที่​ให้​บริการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ใน​ส่วน​ของ​ประเภท​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ให้​ พิจารณา​ถึง​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​ความ​มั่นคง​หรือ​ความ​สงบ​เรียบร้อย​ของ​ประเทศ หรือ​ต่อ​สาธารณชน ที่​คณะ​ กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​จะ​ต้อง​ประกาศ​กำ�หนด​ประเภท​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​หรือป​ ระกาศ​ หลัก​เกณฑ์​การ​ประเมิน​ระดับ​ผลก​ระ​ทบ​ของ​ประเภท​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ก็ได้ เพื่อ​ให้​หน่วย​งาน​ที่​ให้​ บริการ​ธุรกรรม​ประ​เภท​นั้นๆ ทราบ​ว่า​จะ​ต้อง​กระทำ�​ตาม​วิธี​แบบ​ปลอดภัย​ใน​ระดับ​เคร่งครัด ระดับ​กลาง หรือ​ ระดับ​พื้น​ฐาน แล้ว​แต่​กรณี โดย​ให้​คำ�นึง​ถึง​ระดับ​ความ​เสี่ยง​ต่อ​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ของ​ระบบ​สารสนเทศ ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​มูลค่า​และ​ความ​เสีย​หาย​ที่​ผู้​ใช้​บริการ​อาจ​ได้​รับ รวม​ทั้ง​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​เศรษฐกิจ​และ​สังคม​ ของ​ประเทศ การ​พิจารณา​ระดับ​ความ​สำ�คัญ​ใน​ระดับ​ของ​ของ​หน่วย​งาน​หรือ​องค์กร​ที่​ให้​บริการ​ธุรกรรม​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์ คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​จะ​ต้อง​ประกาศ​กำ�หนด​ราย​ชื่อ​หรือ​ประเภท​ของ​ หน่วย​งาน​หรือ​องค์กร หรือ​ส่วน​งาน​ของ​หน่วย​งาน​หรือ​องค์กร​ที่​ถือ​เป็นโ​ ครงสร้าง​พื้น​ฐาน​สำ�คัญ​ของ​ประเทศ ซึ่ง​ต้อง​กระทำ�​ตาม​วิธีก​ าร​แบบ​ปลอดภัย​ใน​ระดับ​เคร่งครัด ระดับ​กลาง หรือ​ระดับ​พื้น​ฐาน​แล้ว​แต่​กรณี เพื่อใ​ ห้เ​กิดค​ วาม​ชัดเจน ใน​การ​ปรับใ​ ช้ม​ าตรา ๔ – มาตรา ๖ คณะ​อนุกรรมการ​ด้าน​ความ​มั่นคง ภาย​ใต้​ คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ได้​กำ�หนด​ราย​ละเอียด​เพิ่ม​เติม ใน​เรื่อง​สำ�คัญๆ ดังนี้ • นิยาม​หน่วย​งาน​โครงสร้าง​พื้น​ฐาน​สำ�คัญ​ของ​ประเทศไทย หมาย​ถึง​หน่วย​งาน​ที่​มี​ความ​สำ�คัญ​ และ​มี​ความ​จำ�เป็น​ต่อ​โครงสร้าง​พื้น​ฐาน​ของ​ประเทศ ภาร​กิจ​หลัก​เกี่ยวข้อง​กับ​ระบบ​เศรษฐกิจ ความ​มั่นคง ชีวิต​และ​ทรัพย์สิน การ​บริหาร​จัดการ​และ​การ​ดำ�เนิน​นโยบาย​ของ​องค์กร ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​โดยตรง​ต่อ​ประเทศ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-44

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ทั้ง​ด้าน เศรษฐกิจ สังคม ความ​มั่นคง และ​ต่าง​ประเทศ หาก​เกิด​ความ​เสีย​หาย​กับ​หน่วย​งาน จะ​ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​ โดยตรง​ต่อ​ความ​เสีย​หาย​ของ​ประเทศ • กำ�หนด​กลุ่ม​หน่วย​งาน​โครงสร้าง​พื้นฐ​ าน​สำ�คัญ​ของ​ประเทศ ออก​เป็น 8 กลุ่ม ดังนี้ (1) กลุ่มไ​ ฟฟ้า พลังงาน และ​ทรัพยากรธรรมชาติ (2) กลุ่มเ​กษตรกรรม อาหาร น้ำ� และ​ยา (3) กลุ่มก​ าร​เงิน การ​คลัง การ​ธนาคาร การ​ประกัน​ภัย และ​หลัก​ทรัพย์ (4) กลุ่มส​ ื่อสาร โทรคมนาคม ขนส่ง และ​สื่อสาร​มวลชน (5) กลุ่มข​ ้อมูลส​ ารสนเทศ และ​ระบบ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ (6) กลุ่มค​ วาม​มั่นคง​ของ​ประเทศ (7) กลุ่มค​ วาม​สงบ​สุข​ของ​สังคม (8) กลุ่มอ​ งค์กร​ภาค​รัฐ และ​หน่วย​งาน​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​รัฐบาล • การ​จัด​ระดับ​ความ​เสี่ยง​และ​จัด​ระดับ​ของ​หน่วย​งาน​โครงสร้าง​พื้น​ฐาน​สำ�คัญ​ของ​ประเทศ เป็น 3 ระดับ คือ​ระดับ​ที่​ต้อง​จัด​ให้​มี​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ตาม​วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัย​โดย​เคร่งครัด ระดับ​กลาง และ​ระดับ​ขั้น​พื้น​ฐาน​โดย​พิจารณา​ผลก​ระ​ทบ 4 ด้าน​ประกอบ​กัน ดังนี้ (1) ด้าน​จำ�นวน​ผู้ใ​ ช้​งาน​ที่ไ​ ด้​รับ​ผลก​ระ​ทบ (2) ด้าน​ความ​ปลอดภัย​ใน​ชีวิต​และ​สุขภาพ​ของ​ผู้​ใช้​งาน (3) ด้าน​มูลค่าค​ วาม​เสีย​หาย​ของ​ผู้​ใช้​บริการ (4) ด้าน​ผลก​ระ​ทบ​ทาง​ด้าน​ความ​มั่นคง​และ​ความ​สงบ​เรียบร้อย​ของ​ประเทศ หลัง​จาก​ที่​มี​ประกาศ​กำ�หนด​ตาม​มาตรา ๖ คือ การ​ประกาศ​ประเภท​ของ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ หรือห​ ลักเ​กณฑ์ก​ าร​ประเมินร​ ะดับผ​ ลก​ระ​ทบ​ของ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ และ​ประกาศ​กำ�หนด​ราย​ชื่อห​ รือ​ ประเภท​ของ​หน่วย​งาน​หรือ​องค์กร หรือ​ส่วน​งาน​ของ​หน่วย​งาน​หรือ​องค์กร​ที่​ถือ​เป็น​โครงสร้าง​พื้น​ฐาน​สำ�คัญ​ ของ​ประเทศ และ​การ​ประกาศ​กำ�หนด​ตาม​มาตรา ๗ ว่า​วิธี​การ​แบบ​ปลอดภัยใ​ น​ระดับเ​คร่งครัด ระดับก​ ลาง และ​ระดับ​พื้น​ฐาน ใน​แต่ละ​ระดับ​จะ​มี​มาตรฐาน​การ​รักษา​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ของ​ระบบ​สารสนเทศ​อย่างไร​ บ้าง ก็​จะ​ช่วย​ทำ�ให้เ​กิด​ความ​ชัดเจน​ต่อ​หน่วย​งาน​ต่างๆ ที่มีหน้า​ที่​ต้อง​ปฏิบัติ​ตาม จะ​สามารถ​ปฏิบัติ​ได้​อย่าง​ สัมฤ​ทธิ​ผล​ตาม​เจตนารมณ์​ของ​กฎหมาย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 8.2.3 แล้ว โ​ ปรด​ปฏิบัติ​กิจกรรม 8.2.3 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 8 ตอน​ที่ 8.2 เรื่อง​ที่ 8.2.3


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-45

ธ ส

เรื่อง​ที่ 8.2.4 พระ​ราช​กฤษฎีก​ าว่า​ด้วย​การ​ควบคุมด​ ูแล​ธุรกิจ​บริการ ​ให้​บริการ​ออก​ใบรับ​รอง​เพื่อ​สนับสนุน ​ลายมือช​ ื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …(ร่าง)

ธ ส

ธ ส

กฎหมาย​ลำ�ดับร​ อง​ทีจ่​ ะ​คาด​ว่าม​ ผี​ ล​บังคับใ​ ช้เ​ป็นล​ ำ�ดับถ​ ัดไ​ ป คือพ​ ระ​ราช​กฤษฎีกา​ว่าด​ ้วย​หลักเ​กณฑ์​ และ​วธิ ก​ี าร​ประกอบ​ธรุ กิจใ​ ห้บ​ ริการ​ออก​ใบรับร​ อง​ลายมือช​ ือ่ อ​ เิ ล็กทรอนิกส์ ทีต​่ อ่ ม​ า​ใน​ภาย​หลังม​ ก​ี าร​เปลีย่ น​ชือ่ ​ เป็น พระ​ราช​กฤษฎีกา​ว่า​ด้วย​การ​ควบคุม​ดูแล​ธุรกิจ​บริการ​ให้​บริการ​ออก​ใบรับ​รอง​เพื่อ​สนับสนุน​ลายมือ​ชื่อ อ​ ิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ... ถือเ​ป็นอ​ ีกห​ นึ่งธ​ ุรกิจบ​ ริการ​ทีต่​ ้อง​มกี​ าร​กำ�กับด​ ูแล​ตาม​มาตรา ๓๒ แห่งพ​ ระ​ราชบัญญัต​ิ ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เนือ่ งจาก​รา่ ง​กฎหมาย​ยงั อ​ ยูใ​่ น​ระหว่าง​การ​พจิ ารณา​ของ​หน่วย​งาน​ทเี​่ กีย่ วข้อง เนือ้ หา​ใน​รา่ ง​แต่ละ​ฉบับ​ ยังม​ ีก​ าร​เปลี่ยนแปลง​ทั้งเ​นื้อหา​และ​รูปแ​ บบ​การนำ�​เสนอ ในเรื่องนี้ ผู้เ​ขียน​จึงข​ อ​ไม่อ​ ้าง​มาตรา เพราะ​เกรง​ว่าจ​ ะ​ ทำ�ให้​นักศึกษา​เกิด​ความ​สับสน แต่​จะ​วิเคราะห์​ใน​มุม​มอง​ของ​เนื้อหา​และ​เจตนารมณ์​ของ​กฎหมาย​เป็น​หลัก พระ​ราช​กฤษฎีกา​ว่า​ด้วย​การ​ควบคุม​ดูแล​ธุรกิจ​บริการ​ให้​บริการ​ออก​ใบรับ​รอง​เพื่อ​สนับสนุน​ ลายมือ​ชื่อ​อิเล็กทรอนิกส์ กำ�หนด​ให้​นายก​รัฐมนตรี​เป็น​ผู้​รักษา​การ​ตาม พ.ร.ฎ. นี้ และ​ให้​สำ�นักงาน ​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ ทำ�​หน้าที่​รับ​ผิด​ชอบ​ควบคุม​ดูแล​ให้​เป็น​ไป​ตาม พ.ร.ฎ. ฉบับน​ ี้ การ​จัด​แบ่ง​ประเภท​ธุรกิจบ​ ริการ​ที่ต​ ้อง​มี​การ​กำ�กับ​ดูแล ตาม​ที่​ระบุ​ใน​กฎหมาย​หลัก คือ​มาตรา ๓๒ แห่ง​พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 บัญญัติ​ให้​มี​การ​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ เพื่อ​กำ�หนด​หลัก​เกณฑ์​การ​กำ�กับ​ดูแล​เกี่ยว​กับ​ธุรกิจ​บริการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์น​ ั้นๆ โดย​บัญญัติ​ว่า “บุคคล​ยอ่ ม​มส​ี ทิ ธิป​ ระกอบ​ธรุ กิจบ​ ริการ​เกีย่ ว​กบั ธ​ รุ กรรม​ทาง​อเิ ล็กทรอนิกส์ แต่ใ​ น​กรณีท​ จ​ี่ �ำ เป็นเ​พือ่ ร​ กั ษา​ความ​ มั่นคง​ปลอดภัย​ทางการ​เงิน​และ​ทาง​พาณิชย์ หรือ​เพื่อ​ประโยชน์​ใน​การ​เสริม​สร้าง​ความ​น่า​เชื่อ​ถือ​และ​ยอมรับ​ ใน​ระบบ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์ หรือ​เพื่อ​ป้องกัน​ความ​เสีย​หาย​ต่อ​สาธารณชน ให้​มี​การ​ตรา​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ กำ�หนด​ให้การ​ประกอบ​ธุรกิจ​บริการ​เกี่ยว​กับ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​เป็น​กิจการ​ที่​ต้อง​แจ้ง​ให้​ทราบ ต้อง​ ขึ้นท​ ะเบียน หรือ​ต้อง​ได้​รับ​อนุญาต​ก่อน​ก็ได้” กล่าว​คือ​การ​กำ�กับ​ดูแล​ตาม​เจ​ตนา​รมณ์​ของ​กฎหมาย​หลัก ให้​ มี​การ​จัด​แบ่ง​เป็น 3 ระดับ คือ ระดับ​ต้อง​แจ้งใ​ ห้​ทราบ ต้อง​ขึ้น​ทะเบียน หรือ​ต้อง​ได้​รับอ​ นุญาต หรือ​อาจ​เรียก​ เป็นบ​ ัญชี ก บัญชี ข และ​บัญชี ค ตาม​ลำ�ดับ ​ ี่​ต้อง​แจ้งใ​ ห้​ทราบ คือ​การ​ออก​ใบรับ​รอง​ให้​กับ​บุคคล​หรือ​หน่วย​งาน​ใช้​เป็นการ​ภายใน • ระดับท • ระดับ​ที่​ต้อง​ขึ้น​ทะเบียน คือ​การ​ออก​ใบรับ​รอง​เพื่อ​ใช้​งาน​ระหว่าง​นิติบุคคล​หรือ​ระหว่าง​องค์กร​ ที่​มี​ลักษณะ​เป็นบ​ ริษัท​แม่​กับ​บริษัทใ​ น​เครือ บริษัท​ร่วม บริษัทย​ ่อย หรือ​กับ​องค์กร​ใน​รูป​แบบ​อื่น​ใน​ลักษณะ​ สมาชิก หรือห​ น่วย​งาน​ใน​กำ�กับด​ ูแล รวม​ถึง การ​บริการ​ออก​ใบรับร​ อง​ของ​หน่วย​งาน​ของ​รัฐใ​ น​กิจการ​ที่ด​ ำ�เนิน​ การ​โดย​ทาง​ราชการ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-46

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์ •

ธ ส

ระดับท​ ี่​ต้อง​ได้​รับ​อนุญาต คือก​ าร​ออก​ใบรับ​รอง​ที่​นอก​เหนือ​จาก 2 ระดับข​ ้าง​ต้น อย่างไร​ก็ตาม​ใน​ชั้น​ของ​การ​พิจารณา​ร่าง​กฎหมาย อาจ​มี​การ​เปลี่ยนแปลง​การ​จัด​แบ่งใ​ ห้​ต่าง​ไป​จาก​ นี้ หาก​ได้​พิจารณา​แล้ว​ว่า​ใน​แต่ละ​ระดับ​ควร​จะ​กำ�หนด​แนวทาง​การ​กำ�กับ​ดูแล​หรือ​ควบคุม​ดูแล​อย่างไร​จึง​ จะ​เหมาะ​สม แนวทาง​ใน​การ​กำ�กับห​ รือค​ วบคุมด​ ูแล​ธุรกิจบ​ ริการ​ให้บ​ ริการ​ออก​ใบรับร​ อง​เพื่อส​ นับสนุนล​ ายมือช​ ื่อ​ อิเล็กทรอนิกส์ จะ​ต้อง​มีก​ าร​จัด​ทำ�​แนว​นโยบาย (Certificate Policy – CP) และ​แนว​ปฏิบัติ (Certification Practice Statement – CPS) นโยบาย​และ​มาตรการ​รักษา​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ของ​ระบบ​สารสนเทศ (information security) และ​นโยบาย​คุ้มครอง​ข้อมูล​ส่วน​บุคคล​ของ​ผู้​ใช้​บริการ ซึ่ง​อย่าง​น้อย​ต้อง​มี​การ​ศึกษา​ ความ​เป็นไ​ ป​ได้แ​ ละ​ประเมินค​ วาม​เสี่ยง​ใน​การ​ให้บ​ ริการ มีก​ ารเต​รยี​ ม​การ​เกี่ยว​กับแ​ ผน​สำ�รอง​ฉุกเฉินห​ รือร​ ะบบ​ ให้​บริการ​สำ�รอง​เพื่อ​ให้ส​ ามารถ​ให้บ​ ริการ​หรือด​ ำ�เนิน​การ​ได้​อย่าง​ต่อ​เนื่อง มี​ระบบ​การ​ควบคุม​ภายใน​ที่​ดี รวม​ ถึงก​ าร​จัดใ​ ห้ม​ ีบ​ ุคลากร​ทาง​ด้าน​ไอที ที่ม​ ีค​ วาม​เชี่ยวชาญ​แต่ละ​ด้าน​ที่จ​ ำ�เป็นต​ ่อก​ าร​ดำ�เนินธ​ ุรกิจ ต้อง​ได้ร​ ับก​ าร​ ตรวจ​สอบ​และ​ประเมิน​ระบบ​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​ใน​การ​ให้​บริการ​จาก​คณะ​กร​รม​การฯ ​ก่อน​การ​ให้​บริการ ต้อง​จัด​ให้​มี​การ​ตรวจ​สอบ​ระบบ​การ​ให้​บริการ​โดย​ผู้​ตรวจ​สอบ​อิสระ​ด้าน​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​อย่าง​น้อย​ปี​ ละ​ครั้ง และ​เป็น​ผู้​ตรวจ​สอบ​อิสระ​ที่​ขึ้น​ทะเบียน​ไว้​ตาม​ที่​คณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ประกาศ​ กำ�หนด ส่วน​ราย​ละเอียด​อื่น​ที่​ไม่​ได้​กล่าว​ถึง​โดย​เฉพาะ​แนวทาง​การ​ควบคุม​ธุรกิจ​ทั้ง​การ​อนุญาต การ​พัก​ใช้​ และ​เพิก​ถอน​ใบ​อนุญาต การ​ปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​การ​เลิก​การ​ประกอบ​ธุรกิจ​การ​ให้​บริการ​ออก​ใบรับ​รอง รวม​ถึง​ การ​ใช้ใบ​รับรอง​ลายมือ​ชื่อ​ใน​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ภาค​รัฐ จำ�เป็น​ต้อง​รอ​ให้การ​พิจารณา​ผ่าน​กฎหมาย​ เป็น​ที่​ยุติ​ก่อน การ​ประยุกต์ก​ ฎหมาย​เกี่ยว​กับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมาย​เกี่ยว​กับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ แม้จ​ ะ​มี​ผล​บังคับ​ใช้​มา​ตั้งแต่ว​ ัน​ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2545 แล้ว​ก็ตาม ยัง​นับเ​ป็น​เรื่อง​ใหม่​ ของ​สังคม​ไทย​ทั้งฝ​ ั่งผ​ ู้​ใช้ง​ าน​และ​ผู้​ให้บ​ ริการ ทำ�ให้ก​ าร​ใช้ง​ าน​ยังไ​ ม่แ​ พร่​หลาย​มาก​นัก เพราะ​ขาด​ความ​รู้​ความ​ เข้าใจ​การ​ปฏิบัติ​ตาม​ข้อ​กำ�หนด​ของ​กฎหมาย​ให้​สอดคล้อง​ตาม​เจตนารมณ์​ของ​การ​ออก​กฎหมาย ทำ�ให้​ผู้​ใช้​ บริการ​ขาด​ความ​มั่นใจ​ใน​การ​ใช้บ​ ริการ รวม​ถึงก​ รณีท​ ี่ม​ ีก​ าร​ฉ้อโกง​จาก​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ก​ ็ม​ ัก​ จะ​ไม่​ได้​รับ​ความ​ช่วย​เหลือ​เยียวยา​ตาม​ที่​ควร​จะ​เป็น ทั้ง​การ​บรรเทา​ความ​เสีย​หาย​และ​การ​ป้องกัน​ใน​อนาคต ทำ�ให้​สังคม​สูญ​เสีย​โอกาส​ใน​การ​ขับ​เคลื่อน​ด้วย​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ไม่​น้อย​ที​เดียว​เมื่อ​เทียบ​กับ​ประเทศ​ เพื่อน​บ้าน ตัวอย่าง​การ​ประยุกต์ก​ ฎหมาย​เกี่ยว​กับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์10 1) กระทรวง​พาณิชย์ ได้​มี​จัด​ตั้ง​กอง​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ ภาย​ใต้​กรม​พัฒนา​ธุรกิจ​การ​ค้า เพื่อ ส​ ่งเ​สริมแ​ ละ​พัฒนา​ผูป้​ ระกอบ​การ เป็นศ​ ูนย์พ​ าณิชย์อ​ ิเล็กทรอนิกส์ สร้าง​ความ​เชื่อม​ ั่นใ​ น​การ​ประกอบ​การ และ สนับสนุน​สิ่ง​อำ�นวย​ความ​สะดวก​ต่างๆ ใน​การ​พาณิชย์อ​ ิเล็กทรอนิกส์ และ​ได้​ดำ�เนิน​งาน​ใน​ทาง​ปฏิบัติ เช่น การ​ รับ​ขึ้น​ทะเบียน​ผู้​ประกอบ​การ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ งาน​สร้าง​ความ​เชื่อ​มั่น​ให้​แก่​ผู้​ประกอบ​การ​โดย​การ​ทำ�

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

10 ความ​เชื่อม ​ ั่นใ​ น​การ​ชำ�ระ​เงิน “ใน​ระบบ​ดิจิทัล” หน้า 11-13 จัดพ​ ิมพ์แ​ ละ​เผย​แพร่โ​ ดย​กระทรวง​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​และ​

การ​สื่อสาร กุมภาพันธ์ 2553


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-47

ธ ส

โ​ ครงการ​ทรัสต์ม​ าร์ก​ (Trust Mark) และ​มก​ี าร​ออก​ใบรับร​ อง (certificate) เพือ่ ย​ นื ยันต​ วั บ​ คุ คล โดย​กอง​พาณิชย์​ อิเล็กทรอนิกส์​จะ​ทำ�​หน้าที่​เป็น​หน่วย​งาน​รับ​ลง​ทะเบียน (registration authority) ใน​การ​รับรอง​ดัง​กล่าว ดู​ ราย​ละเอียด​เพิม่ เ​ติมท​ ี่ http://www.dbd.go.th/thai/e-commerce/intro_main.html ส่วน​กรม​สง่ เ​สริมก​ าร​ ส่งอ​ อก ได้จ​ ดั ท​ �​ำ โครงการ​พาณิชย์อ​ เิ ล็กทรอนิกส์ เพือ่ อ​ �ำ นวย​ความ​สะดวก​ใน​การ​ตดิ ต่อผ​ ผ​ู้ ลิตแ​ ละ​ผส​ู้ ง่ อ​ อก​ของ​ ไทย โดย​มอบ​หมาย​ให้​เอกชน 5 ราย ร่วม​ดำ�เนินง​ าน ดูร​ าย​ละเอียด​เพิ่ม​เติม​ที่ http://www.depthai.go.th 2) กระทรวง​การ​คลัง หน่วย​งาน​ภาย​ใต้​กระทรวง​การ​คลัง เริ่ม​จาก​กรม​สรรพากร​เปิด​ให้​บริการ​ใน​ การ​ยื่นแ​ บบ​และ​ชำ�ระ​ภาษีผ​ ่าน​เว็บไซต์ข​ อง​กรม​สรรพากร และ​ตัดเ​งินโ​ ดยตรง​จาก​บัญชีข​ อง​ธนาคาร​ที่เ​ข้าร​ ่วม​ โครงการ นอกจาก​นี้ป​ ระชาชน​ยังส​ ามารถ​ชำ�ระ​ภาษี​ผ่าน​ช่อง​ทาง​อื่นข​ อง​ธนาคาร เช่น ธนาคาร​ทาง​อินเทอร์เน็ต โครงการ​ดัง​กล่าว​สามารถ​อำ�นวย​ความ​สะดวก​ให้​กับ​ภาค​ประชาชน​และ​ทำ�ให้​รัฐ​ได้​รับ​เงิน​ชำ�ระ​ค่า​ภาษี​เร็ว​ขึ้น ดู​ราย​ละเอียด​เพิ่ม​เติม​ที่ http://www.rd.go.th กรม​ศุลกากร​ได้​ให้​บริการ​ใน​การ​แลก​เปลี่ยน​ข้อมูล​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์ กรม​บัญชี​กลาง​จัด​ทำ�​เว็บไซต์​ศูนย์​ข้อมูล​เกี่ยว​กับ​การ​จัด​ซื้อ​จัด​จ้าง​และ​พัสดุ​ภาค​รัฐ (eProcurement) รวม​ทั้งก​ าร​ประมูล​ภาค​รัฐ (e-Auction) โดย​ได้ท​ ำ�การ​คัดเ​ลือก​เอกชน​ที่ใ​ ห้บ​ ริการ​ตลาด​กลาง​ อิเล็กทรอนิกส์ จำ�นวน 9 ราย ดู​ราย​ละเอียด​เพิ่มเ​ติม​ที่ http://www.gprocurement.or.th 3) กระทรวง​มหาดไทย ให้บ​ ริการ​งาน​ทะเบียน​ราษฎร์ท​ าง​อิเล็กทรอนิกส์ และ​โครงการ​อินเทอร์เน็ต​ ตำ�บล​เพื่อ​พัฒนา​ความ​สามารถ​ของ​องค์กร​ปกครอง​ส่วน​ท้อง​ถิ่น​ใน​การ​บริหาร​จัดการ​และ​การ​วางแผน​การ​ ทำ�งาน​และ​ให้บ​ ริการ​กับป​ ระชาชน อีกท​ ั้งย​ ังเ​ป็นแ​ หล่งข​ ้อมูลใ​ น​การ​ติดต่อซ​ ื้อข​ าย​สินค้า ผลิตภัณฑ์ และ​แนะนำ�​ แหล่ง​ท่อง​เที่ยว ดู​ราย​ละเอียด​เพิ่ม​เติม​ได้ที่ http://www.mahadthai.com

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 8.2.4 แล้ว​โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 8.2.4 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 8 ตอน​ที่ 8.2 เรื่อง​ที่ 8.2.4

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-48

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

เรื่อง​ที่ 8.2.5 พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​การก​ระ​ทำ�ความ​ผิด ​เกี่ยว​กับ​คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

ธ ส

ธ ส

พระ​ราช​บัญญัติว​ ่า​ด้วย​การก​ระ​ทำ�ความ​ผิด​เกี่ยว​กับค​ อมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็น​กฎหมาย​หลัก​อีก​ ฉบับ​หนึ่ง​ที่​มี​ความ​เกี่ยวข้อง​กับ​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ ที่​ทำ�​หน้าที่​ใน​การ​จัด​ระเบียบ​การ​ใช้​งาน​ทั้ง​ของ​ผู้​ให้​ บริการ ผูใ​้ ช้ง​ าน และ​พนักงาน​เจ้าห​ น้าทีท​่ ไี​่ ด้ร​ บั ก​ าร​แต่งต​ ัง้ ต​ าม​กฎหมาย มีผ​ ล​ใช้บ​ งั คับต​ ัง้ แต่ว​ นั ท​ ี่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ผลก​ระ​ทบ​ของ​กฎหมาย​ฉบับน​ ี้เ​กิดใ​ น​วง​กว้าง​กว่าก​ ฎหมาย​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ฉบับอ​ ื่นๆ ที่ผ​ ่าน​ มา เพราะ​เป็นก​ ฎหมาย​ใน​เชิง​ป้อง​ปราม ที่​ฐาน​ความ​ผิด​ตาม​กฎหมาย​เกิด​ขึ้น​ได้​แม้​ความ​เสีย​หาย​จะ​ยัง​ไม่​เกิด​ ขึ้น​ก็ตาม ผู้​ที่​ได้​รับ​ผลก​ระ​ทบ​จาก​การ​บังคับใ​ ช้​กฎหมาย​ฉบับ​นี้ ประกอบ​ด้วย • ประชาชน​ที่ ​มี ​ก าร​ใ ช้ ​ง าน​อิ น เทอร์ เ น็ ต รวม​ไ ป​ถึ ง ​ก าร​ใ ช้ ​โ ทรศั พ ท์ ​มื อ ​ถื อ ​ที่ ​ส ามารถ​เ ชื่ อ ม​ต่ อ​ อินเทอร์เน็ตไ​ ด้ • ผู้​ให้​บริการ ซึ่ง​มี​หลาก​หลาย​ประเภท​ที่​ต่าง​ก็​มีหน้า​ที่​ต้อง​จัด​เก็บ​ข้อมูล​จราจร​คอมพิวเตอร์ ให้​ เพียง​พอ​ต่อ​การ​ติดตาม​ร่อง​รอย​หา​ผู้​กระทำ�​ผิด หาก​มี​การ​ใช้​บริการ​ที่​ก่อ​ให้​เกิดค​ วาม​เดือด​ร้อน หรือ​เกิด​ภัย​ ต่อ​ชีวิต​และ​ทรัพย์สิน​ของ​ผู้อ​ ื่น ​ ู้ใ​ ช้​งาน​ที่​มีเ​จตนา​ไม่ด​ ี ไม่​ว่าจ​ ะ​เป็น​แฮกเกอร์​หรือ​อาชญากร • กลุ่มผ ​ ี่​ได้​รับ​การ​แต่ง​ตั้งใ​ ห้​ทำ�​หน้าที่​ตาม​กฎหมาย • พนักงาน​เจ้า​หน้าที่ท ผู้​ที่​ได้ร​ ับ​ผลก​ระ​ทบ​ทุก​กลุ่ม​ต่าง​มีหน้า​ที่ต​ ้อง​ปฏิบัติ​ตาม​กฎหมาย (regulatory compliance) ดังนี้ 1) ประชาชน กลุม่ แ​ รก​ คอื ป​ ระชาชน​ทมี​่ ค​ี วาม​สามารถ​ใน​การ​เข้าถ​ งึ ร​ ะบบ​อนิ เทอร์เน็ต โอกาส​ทจี​่ ะ​กอ่ ​ ให้เ​กิดก​ าร​ละเมิดห​ รือท​ ำ�​ผิดก​ ฎหมาย คือก​ าร​ส่งต​ ่อข​ ้อมูลท​ ีไ่​ ม่เ​หมาะ​สม เช่น การ​ส่งห​ รือส​ ่งต​ ่ออ​ ีเมล (forward e-mail) ซึ่งข​ ้อความ​ใน​อีเมล​อาจ​เป็นข​ ้อความ​เท็จท​ ีพ่​ าดพิงถ​ ึงค​ น​อื่นแ​ ละ​ทำ�ให้ผ​ ูอ้​ ื่นอ​ าจ​เกิดค​ วาม​เสียห​ าย หรือ​ อาจ​เป็น​ภาพ​ตัด​ต่อ ล้อ​เลียน หรือ​ลามก​อนาจาร การ​ส่ง​ต่อ​อีเมลแม้​จะ​ส่ง​กัน​ใน​วง​จำ�กัด ก็ถ​ ือว่า​อยู่ใ​ น​ข่าย​เป็น​ ผู้​กระทำ�​ผิด​ตาม​กฎหมาย​ฉบับ​นี้ รวม​ไป​ถึง​องค์กร​ที่​ยินยอม​ให้​กับ​มี​การ​ส่ง​อีเมล​ผ่าน​ระบบ​ของ​องค์กร หาก​ เพิกเ​ฉย​หรือป​ ล่อย​ให้ม​ ีก​ าร​ส่งต​ ่อข​ ้อมูลท​ ี่เ​ข้าข​ ่าย​ความ​ผิด ก็ถ​ ูกน​ ับร​ วม​เป็นผ​ ู้ท​ ี่ม​ ีส​ ่วน​ร่วม​ใน​การก​ระ​ทำ�ความ​ ผิด​ด้วย 2) ผู้​ให้​บริการ ใน​ส่วน​ของ​การ​จัด​ประเภท​ผู้​ให้​บริการ มี​การ​อภิปราย​กัน​อยู่​หลาย​ครั้ง​ระหว่าง​ร่าง​ ประกาศ ว่า​ควร​จะ​จัด​กลุ่ม​ผู้บ​ ริการ​เป็น​กี่ก​ ลุ่ม กี่​ประเภท​ดี เพราะ​จาก​การ​เข้าใ​ ช้​บริการ​หนึ่งๆ ของ​ลูกค้า​หรือ​ ประชาชน มัก​จะ​เกี่ยวข้อง​กับ​ผู้​ให้​บริการ​หลาย​ประเภท​ไป​พร้อมๆ กัน ตัวอย่าง​เช่น หาก​ประชาชน​มี​การ​ใช้​ บริการ​ธนาคาร​อิเล็กทรอนิกส์​ธนาคาร​ใด​ธนาคาร​หนึ่ง นอก​เหนือ​จาก​ธนาคาร​เจ้าของ​บัญชี ยัง​ต้อง​เกี่ยวข้อง​ กับผ​ ูใ้​ ห้บ​ ริการ​โทรคมนาคม เพราะ​เป็นเ​จ้าของ​ช่อง​ทางใน​การ​สื่อสาร ต้อง​เกี่ยวข้อง​กับผ​ ูใ้​ ห้บ​ ริการ​อินเทอร์เน็ต​ หรือ​ไอ​เอส​พี (ISP – Internet Service Provider) เพราะ​เป็น​ตัวกลาง​ที่ท​ ำ�ให้​ประชาชน​สามารถ​ใช้​บริการ​ผ่าน​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-49

ธ ส

อินเทอร์เน็ตจ​ าก​ทุก​ที่ ทุก​เวลา​ได้ ผู้ใ​ ห้​บริการ​ทั้ง 2 ราย​ที่​กล่าว​ถึง​นี้ ก็​มีหน้า​ที่​ต้อง​จัด​เก็บ​ข้อมูล​จราจร​เพื่อ​ให้​ เป็น​ไป​ตาม​บทบัญญัติใ​ น​มาตรา ๒๖ และ ๒๗11 ได้ และ​จัด​เก็บ​เป็น​ระยะ​เวลา​ไม่​น้อย​กว่า 90 วัน และ​ต้อง เต​รี​ยม​พร้อม​ที่จ​ ะ​ขยาย​การ​จัด​เก็บ​ไป​เป็น 1 ปี หาก​ศาล​สั่ง​ให้​ขยาย​เวลา​ใน​การ​จัด​เก็บ 3) กลุ่ม​แฮกเกอร์​และ​อาชญากร ดัง​ที่​ทราบ​กัน​ดี​ว่าการ​กระทำ�​ผิด​ที่​เกิด​จาก​บุคคล​เหล่า​นี้ กฎหมาย​ เดิม​ยัง​มี​ช่อง​โหว่​ที่​ไม่​สามารถ​นำ�​ผู้​กระทำ�​ผิด​มา​ลงโทษ​ได้ ตราบ​ใด​ที่​การก​ระ​ทำ�ความ​ผิด​ยัง​ไม่​ส่ง​ผล​ให้​ เกิด​ความ​เสีย​หาย จึง​ไม่​เข้า​องค์​ประกอบ​ความ​ผิด​ที่​จะ​บังคับ​ใช้​ตาม​กฎหมาย​เดิม​ได้ ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ประมวล​ กฎหมาย​แพ่งแ​ ละ​พาณิชย์ ประมวล​กฎหมาย​วธิ พ​ี จิ ารณา​ความ​อาญา หรือก​ ฎหมาย​เฉพาะ เช่น พระ​ราช​บญ ั ญัต​ิ หลักท​ รัพย์แ​ ละ​ตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น การ​ออก พ.ร.บ. ฉบับน​ ขี้​ ึ้นม​ า​จึงก​ ่อใ​ ห้เ​กิดผ​ ลก​ระ​ทบ​ต่อบ​ ุคคล​กลุ่มน​ ี​้ มาก​ทเี​ดียว เพราะ​กฎหมาย​ฉบับน​ ี้ม​ ลี​ ักษณะ​ของ​การ​ป้อง​ปราม กล่าว​คือ หาก​มกี​ ารก​ระ​ทำ�ความ​ผิดแ​ ม้ผ​ ล​ของ​ การก​ระ​ทำ�​ผิด​จะ​ยังไ​ ม่​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​เสีย​หาย​ใดๆ ก็ตาม ถือว่า​ผู้​กระทำ�​ผิด​มีหน้า​ที่​ต้อง​รับ​ผิด​ตาม​กฎหมาย​ แล้ว ส่วน​บท​ลงโทษ​ทั้งโ​ ทษจำ�​และ​โทษ​ปรับ จะ​มาก​หรือ​น้อย​ลด​หลั่น​กัน​ไป​ตาม​องค์​ประกอบ​ความ​ผิด ใน​ขณะ​เดียวกัน กลุ่ม​ที่​อาจ​จะ​มี​โอกาส​เข้า​ข่าย​กระทำ�​ความ​ผิด​ตาม​กฎหมาย​ฉบับ​นี้​ได้ คือ​ผู้​ให้​ บริการ​ตรวจ​ประเมิน​หา​ช่อง​โหว่​ของ​ระบบ (ethical hacker) หรือ​แฮกเกอร์​ฝ่าย​ดี ที่​องค์กร​ผู้​ให้​บริการ​ ว่า​จ้าง​มา​ทดสอบ​และ​ประเมิน​ว่า​ระบบ​ของ​องค์กร​ของ​ตนเอง มี​ความ​มั่นคง​ปลอดภัย​มาก​น้อย​อย่างไร มี ​ช่ อ ง​โ หว่ ​ต รง​จุ ด ​ไ หน​เ พื่ อ ​กำ � หนด​แ นวทาง​ก าร​ป้ อ งกั น เพื่ อ ​ใ ห้ ​เ กิ ด ​ค วาม​มั่ น ใจ​ต่ อ ​ก าร​ใ ช้ ​บ ริ ก าร​ข อง​ ประชาชน​ต่อ​ไป การ​ทำ�​สัญญา​ระหว่าง​กัน​จึง​ต้อง​มี​ความ​รัดกุมเ​พื่อ​ไม่​ให้อ​ ยู่​ใน​ข่าย​กระทำ�​ความ​ผิด​เสีย​เอง

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

11 มาตรา ๒๖ ผูใ้​ ห้บ ​ ริการ​ต้อง​เก็บร​ ักษา​ข้อมูลจ​ ราจร​ทาง​คอมพิวเตอร์ไ​ ว้ไ​ ม่น​ ้อย​กว่าเก้าส​ ิบว​ ันน​ ับแ​ ต่ว​ ันท​ ีข่​ ้อมูลน​ ั้นเ​ข้าส​ ูร่​ ะบบ​

คอมพิวเตอร์ แต่​ใน​กรณี​จำ�เป็น​พนักงาน​เจ้า​หน้าที่​จะ​สั่ง ให้​ผู้​ให้​บริการ​ผู้​ใด​เก็บ​รักษา​ข้อมูล​จราจร​ทาง​คอมพิวเตอร์​ไว้​เกิน​เก้า​สิบ​วัน​แต่​ ไม่​เกินห​ นึ่ง​ปี​เป็นก​ รณี​พิเศษ​เฉพาะ​ราย​และ​เฉพาะ​คราว​ก็ได้ ผู้​ให้​บริการ​จะ​ต้อง​เก็บ​รักษา​ข้อมูล​ของ​ผู้​ใช้​บริการ​เท่า​ที่​จำ�เป็น​เพื่อ​ให้​สามารถ​ระบุ​ตัวผู้​ใช้​บริการ​นับ​ตั้งแต่​เริ่ม​ใช้​บริการ​และ​ ต้อง​เก็บร​ ักษา​ไว้เ​ป็น​เวลา​ไม่​น้อย​กว่า​เก้า​สิบ​วันน​ ับ​ตั้งแต่ก​ าร​ใช้​บริการ​สิ้น​สุด​ลง ความ​ใน​วรรค​หนึ่ง​จะ​ใช้​กับ​ผู้​ให้​บริการ​ประเภท​ใด อย่างไร และ​เมื่อ​ใด ให้​เป็น​ไป​ตาม​ที่​รัฐมนตรี​ประกาศ​ใน​ราช​กิจ​จา​นุเบกษา ผู้​ให้บ​ ริการ​ผู้​ใด​ไม่ป​ ฏิบัติ​ตาม​มาตรา​นี้ ต้อง​ระวาง​โทษ​ปรับ​ไม่​เกิน​ห้า​แสน​บาท มาตรา ๒๗ ผู้​ใด​ไม่ป​ ฏิบัติ​ตาม​คำ�​สั่งข​ อง​ศาล​หรือ​พนักงาน​เจ้า​หน้าที่​ที่​สั่ง​ตาม​มาตรา ๑๘ หรือ​มาตรา ๒๐ หรือ​ไม่​ปฏิบัติ​ตาม​ คำ�​สั่ง​ของ​ศาล​ตาม​มาตรา ๒๑ ต้อง​ระวาง​โทษ​ปรับ ไม่เ​กิน​สอง​แสน​บาท และ​ปรับ​เป็น​ราย​วัน​อีก​ไม่​เกิน​วัน​ละ​ห้า​พัน​บาท​จนกว่า​จะ​ปฏิบัติ​ ให้​ถูกต​ ้อง

ธ ส


8-50

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

มาตรา​ที่​ครอบคลุมก​ ารจัด​ระเบียบ​ของ​กลุ่มน​ ี้​คือ​ตั้งแต่ มาตรา ๕ ถึง มาตรา ๑๗12 กลุ่มม​ าตรา​นี้​รวม​ไป​ถึง​ผู้​ให้​ บริการ​ทมี่​ ี​ส่วน​รเู้​ห็น​ใน​การก​ระ​ทำ�​ความผิดด​ ังก​ ล่าว ก็ต​ ้อง​ได้ร​ ับ​โทษ​ตาม​มาตรา ๑๕ เช่นเ​ดียวกัน 4) พนักงาน​เจ้า​หน้าที่ กฎหมาย​ฉบับ​นี้ มี​การ​กำ�หนด​กรอบ​การ​ปฏิบัติ​งาน​ของ​พนักงาน​เจ้า​หน้าที่​ ที่​ค่อน​ข้าง​เข้มง​ วด13 เพื่อค​ าน​การ​ใช้​อำ�นาจ​ที่​ไม่เ​หมาะ​สม​และ​โดย​ประมาท กอปร​กับ​คุณสมบัติ​ของ​พนักงาน เ​จ้าห​ น้าทีท​่ ตี​่ อ้ ง​มค​ี วาม​รูห้ ลายๆ ศาสตร์พ​ ร้อมๆ กัน จึงจ​ ะ​สามารถ​ปฏิบตั ง​ิ าน​ได้อ​ ย่าง​มป​ี ระสิทธิภาพ ทัง้ ศ​ าสตร์​ ด้าน​การ​สบื สวน​สอบสวน ศาสตร์ด​ า้ น​การ​ตรวจ​พสิ จู น์ห​ ลักฐ​ าน​ทาง​คอมพิวเตอร์ และ​โดย​เฉพาะ​ยิง่ ค​ วาม​รดู​้ า้ น​ ความ​มั่นคง​ปลอดภัยข​ อง​ระบบ​สารสนเทศ ทีม่​ คี​ วาม​ละเอียด​อ่อน​และเ​ปลีย​่ น​แปลง​เร็ว หาก​พนักงาน​เจ้าห​ น้าที​่ มีก​ าร​ดำ�เนินก​ าร​ใดๆ โดย​ไม่ร​ อบคอบ อาจ​ทำ�ลาย​ร่อง​รอย​หรือพ​ ยาน​หลักฐ​ าน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์เ​สียเ​อง และ​ การ​ดำ�เนิน​การ​ต้อง​สอดคล้อง​กับ​วิธี​ปฏิบัติ​ที่​ดี​เพื่อ​ให้​พยาน​หลัก​ฐาน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ที่​เก็บ​รวบรวม​ได้ ณ จุด​ที่​เกิดเ​หตุ มี​ความ​น่า​เชื่อ​ถือเ​พียง​พอ​ต่อ​การ​อ้างอิง​ใน​ชั้น​ศาล ลอง​นึกถึง​ภาพ​การ​เก็บ​ชิ้น​ส่วน​ศพ​เพื่อ​ตรวจ​ ดีเอ็นเอ (DNA) สมัย​คลื่น​ยักษ์​สึนา​มิ หรือ​คดี​ฆาตกร​รม​สำ�คัญๆ ประเด็น​เรื่อง​คุณภาพ​และ​วิธี​การ​จัด​เก็บ​ หลัก​ฐาน ณ ที่เ​กิด​เหตุ มี​ส่วน​สำ�คัญท​ ี่​จะ​ส่ง​ผล​ทำ�ให้​การ​บังคับใ​ ช้​กฎหมาย​สัมฤทธิผล​มาก​ทีเ​ดียว

ธ ส

ธ ส

12

ธ ส

มาตรา ๕ การ​เข้า​ถึง​ระบบ​คอมพิวเตอร์โ​ ดย​มิ​ชอบ มาตรา ๖ การ​ล่วง​รู้ม​ าตรการ​ป้องกัน​การ​เข้า​ถึง​โดย​มิ​ชอบ มาตรา ๗ การ​เข้า​ถึง​ข้อมูลค​ อมพิวเตอร์โ​ ดย​มิ​ชอบ มาตรา ๘ การ​ดัก​ข้อมูลค​ อมพิวเตอร์โ​ ดย​มิช​ อบ มาตรา ๙ การ​รบกวน​ข้อมูลค​ อมพิวเตอร์โ​ ดย​มิ​ชอบ มาตรา ๑๐ การ​รบกวน​ระบบ​คอมพิวเตอร์โ​ ดย​มิ​ชอบ มาตรา ๑๑ การ​ส่ง​สแปม​เมล มาตรา ๑๒ การก​ระ​ทำ�ความ​ผิดก​ ่อ​ให้​เกิด​ความ​เสีย​หาย​หรือ​กระทบ​ต่อ​ความ​มั่นคง มาตรา ๑๓ การ​จำ�หน่าย​หรือ​เผย​แพร่ช​ ุด​คำ�​สั่งเ​พื่อใ​ ช้​กระทำ�​ความ​ผิด มาตรา ๑๔ การ​ปลอม​แปลง​ข้อมูลค​ อมพิวเตอร์​หรือ​เผย​แพร่​เนื้อหา​ที่​ไม่​เหมาะ​สม มาตรา ๑๕ ความ​รับ​ผิดข​ อง​ผู้​ให้​บริการ มาตรา ๑๖ การ​เผย​แพร่​ภาพ​จาก​การ​ตัดต​ ่อ/ดัดแปลง​ให้​ผู้​อื่น​ถูก​ดู​หมิ่น​หรืออ​ ับอาย มาตรา ๑๗ การก​ระทำ�​ความ​ผิด​นอก​ราช​อาณาจักร ซึ่ง​ต้อง​รับ​โทษ​ใน​ราช​อาณาจักร

ธ ส

13

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

มาตรา ๑๘ อำ�นาจ​ของ​พนักงาน​เจ้า​หน้าที่ มาตรา ๑๙ ข้อ​จำ�กัด​การ​ใช้​อำ�นาจ​ของ​พนักงาน​เจ้า​หน้าที่ มาตรา ๒๐ การ​ใช้​อำ�นาจ​ใน​การ​บล็อก​เว็บไซต์​ที่​มี​เนื้อหาก​ระ​ทบ​ความ​มั่นคง​หรือข​ ัด​ต่อ​ความ​สงบ​เรียบร้อย มาตรา ๒๑ การ​เผย​แพร่/จำ�หน่าย​ชุดค​ ำ�​สั่งไ​ ม่​พึงป​ ระสงค์ มาตรา ๒๒ ห้าม​พนักงาน​เจ้า​หน้าที่เ​ผย​แพร่ข​ ้อมูล​ที่​ได้​มา​ตาม​มาตรา ๑๘ มาตรา ๒๓ พนักงาน​เจ้า​หน้าที่​ประมาท​เป็น​เหตุ​ให้​ผู้​อื่น​ล่วง​รู้ มาตรา ๒๔ ความ​รับ​ผิดข​ อง​ผู้​ล่วง​รู้​ข้อมูลท​ ี่​พนักงาน​เจ้า​หน้าที่​ได้​มา​ตาม​มาตรา ๑๘ มาตรา ๒๕ ห้าม​มิใ​ ห้​รับ​ฟัง​พยาน​หลักฐาน​ที่ไ​ ด้​มา​โดย​มิ​ชอบ มาตรา ๒๘ การ​แต่งต​ ั้ง​พนักงาน​เจ้า​หน้าที่ มาตรา ๒๙ การ​รับคำ�​ร้อง​ทุกข์​กล่าว​โทษ จับ ควบคุม ค้น และ​กำ�หนด​ระเบียบ/แนวทาง​วิธี​ปฏิบัติ มาตรา ๓๐ การ​ปฏิบัติ​ของ​พนักงาน​เจ้า​หน้าที่

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-51

ธ ส

การ​ทำ�งาน​ของ​พนักงาน​เจ้า​หน้าที่ใ​ น​การ​จัดเ​ก็บ​ข้อมูล​การ​จราจร​เพื่อ​ทำ�การ​วิเคราะห์​หา​ร่อง​รอย​ของ​ การก​ระ​ทำ�​ผิด ต้อง​ใช้​ทั้ง​ความ​รู้​ความ​สามารถ​และ​ความ​ร่วม​มือ​จาก​ผู้​ประกอบ​การ​เพื่อ​ประโยชน์​ใน​การ​จัด​ เก็บ​ข้อมูล​จราจร ผู้​ประกอบ​การ​ต้อง​มี​การ​จัด​ระเบียบ​การ​ตั้ง​เวลา​เครื่อง​แม่​ข่าย​ที่​ทำ�​หน้าที่​ใน​การ​ให้​บริการ พนักงาน​เจ้าห​ น้าทีต่​ ้อง​มเี​ครื่อง​มือท​ ีท่​ ันส​ มัยเ​พียง​พอ​ต่อก​ าร​วิเคราะห์ป​ ริมาณ​ข้อมูลจ​ ำ�นวน​มาก​ทีไ่​ ด้จ​ าก​ข้อมูล​ จราจร​ของ​ผู้​ประกอบ​การ​แต่ละ​ราย​เพื่อ​หา​รายการ​เชื่อม​โยง​กัน​ที่​อาจ​นำ�​ไป​สู่​เส้น​ทาง​ของ​การก​ระ​ทำ�​ผิด​ที่​น่า​ เชื่อ​ถือ และ​สามารถ​ใช้​อ้างอิงใ​ น​ชั้น​ศาล​ได้ รวม​ไป​ถึงค​ นร้าย​อาจ​มา​ได้​จาก​ทั่ว​โลก หาก​การก​ระ​ทำ�​ผิด​เกิด​ขึ้น ​จาก​การ​ก่อการ​ใน​ต่าง​ประเทศ ก็​จะ​ยิ่ง​มี​ปัญหา​เรื่อง​การ​บังคับ​ใช้​กฎหมาย​เพราะ​มี​ความ​ยาก​ต่อ​การ​พิสูจน์​ ทราบ​ว่าใ​ คร​เป็นผ​ ูก้​ ระทำ�​ผิด และ​หาก​ทราบ​ตัวผูก้​ ระทำ�​ผิด ยังต​ ้อง​อาศัยค​ วาม​ร่วม​มือใ​ น​การ​ส่งผ​ ู้ร้าย​ข้าม​แดน​ ซึ่ง​อาจ​ไม่​เข้า​ข่าย​องค์​ประกอบ​ความ​ผิด​ตาม​กฎหมาย​ใน​ประเทศ​ของ​เขา​ก็​เป็น​ได้ สำ�หรับ​ประเทศ​ที่​มี​ สนธิ​สัญญา​กับ​ประเทศไทย ดัง​แสดง​ใน​ตาราง​ที่ 8.1

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ตาราง​ที่ 8.1 ประเทศ​ที่​มี​สนธิ​สัญญา​ส่ง​ผู้ร้าย​ข้าม​แดน​กับ​ประเทศไทย​และ​วัน​ที่​มี​ผล​ใช้​บังคับ

ธ ส ประเทศ

1. อังกฤษ

2. เบลเยี่ยม

วันที่มีผลใช้บังคับ

19 สิงหาคม ร.ศ. 130 (ค.ศ. 1912) 10 เมษายน พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936)

ธ ส

3. อินโดนีเซีย

18 มิถุนายน พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980)

4. ฟิลิปปินส์

7 ธันวาคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)

5. สหรัฐอเมริกา

17 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)

6. จีน

7. กัมพูชา

ธ ส

8. บังกลาเทศ 9. ลาว

10. เกาหลีใต้

7 มีนาคม พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)

ธ ส

31 มีนาคม พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001)

15 มีนาคม พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001)

1 มีนาคม พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001)

นอกจาก​นี้​ยัง​มี​กฎหมาย​ด้าน​เทคโนโลยี​สาร​สน​เท​ศอื่นๆ และ​กฎหมาย​ที่​เกี่ยว​เนื่อง เช่น กฎหมาย​ เกี่ยว​กับข​ ้อมูลข​ ่าวสาร​ของ​ราชการ กฎหมาย​คุ้มครอง​ข้อมูลส​ ่วน​บุคคล กฎหมาย​การ​พัฒนา​โครงสร้าง​พื้นฐ​ าน​ สารสนเทศ กฎหมาย​เกี่ยว​กับ​ทรัพย์สิน​ทาง​ปัญญา พระ​ราช​บัญญัติ​การ​บัญชี และ​กฎหมาย​ต่าง​ประเทศ​ที่​ สำ�คัญ เช่น พระ​ราช​บัญญัติซ​ าร์​บาน​ส์อ​ อก​ซ์เล่ย์ (SOX – Sarbanes Oxley Act 2002) ซึ่ง​เป็น​กฎหมาย​ที่​ สำ�นักงาน​คณะ​กรรมการ​ก�ำ กับห​ ลักท​ รัพย์แ​ ละ​ตลาดหลักทรัพย์แ​ ห่งส​ หรัฐอเมริกา บัญญัตม​ิ า​ใช้บ​ งั คับก​ บั บ​ ริษทั ​ จด​ทะเบียน​ใน​ตลาดหลักทรัพย์ข​ อง​สหรัฐอเมริกา ที่​มุ่ง​เน้น​เรื่อง​การ​เปิด​เผย​ข้อมูล การ​ควบคุม​ภายใน และ​

ธ ส


8-52

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

การ​เก็บ​ข้อมูล​อิเล็กทรอนิกส์​เป็น​หลัก​ฐาน​เพื่อ​ใช้​ใน​การ​ตรวจ​สอบ เป็นต้น ซึ่ง​นักศึกษา​ควร​จะ​ค้นคว้า​และ​ ศึกษา​เพิ่ม​เติมจ​ าก​แหล่งค​ วาม​รู้​ทาง​ด้าน​กฎหมาย​ต่างๆ

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 8.2.5 แล้ว โ​ ปรด​ปฏิบัติ​กิจกรรม 8.2.5 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 8 ตอน​ที่ 8.2 เรื่อง​ที่ 8.2.5

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

ตอน​ที่ 8.3

ธ ส

จริยธรรม​เกี่ยว​กับ​ธุรกิจ​อิเล็กทรอนิกส์

8-53

ธ ส

โปรด​อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ�​ตอน​ที่ 8.3 แล้วจ​ ึง​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ พร้อม​ปฏิบัติ​กิจกรรม​ใน​แต่ละ​เรื่อง

หัว​เรื่อง

แนวคิด

ธ ส

เรื่อง​ที่ 8.3.1 ความ​รู้​เบื้อง​ต้น​เกี่ยว​กับ​จริยธรรม​ทั่วไป เรื่อง​ที่ 8.3.2 จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ เรื่อง​ที่ 8.3.3 จริยธรรม​เกี่ยว​กับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ธ ส

1. โลก​เจริญข​ ึ้นม​ าก​ทาง​วัตถุ ยิ่งว​ ิทยาการ​เทคโนโลยีเ​จริญก​ ้าวหน้าเ​พียง​ใด ถ้าม​ นุษย์น​ ำ�​มา​ใช้​ ให้เ​กิดป​ ระโยชน์ใ​ น​ทาง​สร้างสรรค์ย​ อ่ ม​ถอื ว่าม​ นุษย์ม​ ค​ี วาม​ชาญ​ฉลาด จึงส​ ามารถ​ท�ำ ให้เ​กิด​ ความ​เจริญท​ าง​ด้าน​วัตถุแ​ ละ​สามารถ​ส่งเ​สริมค​ วาม​เจริญท​ าง​ด้าน​จิตใจ​ได้ ใน​ทาง​กลับก​ ัน ถ้าส​ ังคม​ไม่ส​ นใจ​คำ�​ว่า ความ​ดี หรือศ​ ีลธ​ รรม ผู้แ​ ข็งแ​ รง​กว่าก​ ็ย​ ืนห​ ยัดอ​ ยู่ไ​ ด้ ผู้อ​ ่อนแอ​กว่า​ ก็ถ​ ูกร​ ุกราน ทั้งผ​ ู้ช​ นะ​และ​ผู้แ​ พ้ก​ ็จ​ ะ​ผูกเวร​อาฆาต​พยาบาท​กัน สังคม​ก็ไ​ ม่มีค​ วาม​สุข ความ​ รู้​คู่​คุณธรรม​จึง​จะ​สามารถ​กำ�กับ​ให้​โลก​มี​ความ​เจริญ​ทาง​วัตถุ​ควบคู่​ไป​กับ​จิตใจ​ได้​อย่าง​ แท้จริง คุณธรรม​คือ​สิ่งท​ ี่​มีอ​ ยู่ใ​ น​จิตใจ​ของ​มนุษย์ ถ้า​สามารถ​นำ�​มา​ใช้ได้​จะ​แสดง​ความ​มี​ จริยธรรม​ออก​มา การ​ศึกษา​หลัก​แห่ง​คุณธรรม​และ​จริยธรรม จึง​เป็น​สิ่ง​จำ�เป็นส​ ำ�หรับ​ทุก​ คน เพื่อเ​กิด​การ​ประพฤติ​ปฏิบัติ​ที่ด​ ี​ทั้ง​ต่อ​ตนเอง​และ​การ​อยู่​ร่วม​กัน​ใน​สังคม​ต่อ​ไป 2. จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ หมาย​ถึง ศิลปะ​ใน​การ​ประยุกต์​ใช้​หลัก​จริยธรรม เพื่อ​เป็น​แนวทาง​ ใน​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ และ​ตรวจ​สอบ แก้​ปัญหา​ทาง​ศีล​ธรรม​ที่​ซับ​ซ้อน การ​แก้​ปัญหา​ทาง​ จริยธรรม​สำ�หรับ​ปัญหา​ทาง​ธุรกิจอ​ าจ​จะ​มี​ทาง​เลือก​ที่​ถูก​ต้อง​มากกว่า​หนึ่ง​ทาง​เลือก และ​ ใน​บาง​ครั้งก​ ็​ดู​เหมือน​ไม่มี​ทาง​เลือก​ที่​ถูก​ต้อง​เลย ดัง​นั้น การ​หาเหตุผ​ ล​ทาง​จริยธรรม​และ​ ตรรกวิทยา จึงเ​ป็นส​ ิ่งจ​ ำ�เป็นท​ ีต่​ ้อง​ใช้ เพื่อจ​ ะ​ทำ�ความ​เข้าใจ​และ​คิดห​ า​วิธกี​ าร​แก้ป​ ัญหา​ทาง​ จริยธรรม​ใน​ธุรกิจ 3. จริยธรรม​เกีย่ ว​กบั ก​ าร​ท�​ำ ธรุ กรรม​ทาง​อเิ ล็กทรอนิกส์ห​ รือท​ าง​ดา้ น​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​เข้า​ มา​มี​บทบาท​กับ​ทุก​คน โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​บุคคล​ที่​ประกอบ​วิชาชีพ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ ซึ่ง​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​นี้​มี​คุณ​อนันต์​และ​ใน​ขณะ​เดียวกัน​ก็​มี​โทษ​มหันต์ ดัง​นั้น ผู้​ที่​ ประกอบ​วิชาชีพ​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ จึง​จำ�เป็น​ต้อง​มี​คุณธรรม​และ​ จริยธรรม​กำ�กับไ​ ป​ด้วย ทั้งนี้เ​พื่อ​ให้​เกิด​ประโยชน์​ต่อ​มนุษยชาติ​อย่าง​แท้จริง

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-54

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ธ ส

วัตถุประสงค์

ธ ส

เมื่อ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 8.3 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. บอก​ความ​หมาย​ของ​คุณธรรม​และ​จริยธรรม​ได้ 2. อธิบาย​กรอบ​แห่ง​คุณธรรม​และ​จริยธรรม​ได้ 3. อธิบาย​หลัก​ธรรม​ของ​การ​ประกอบ​อาชีพ​ให้​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ​ได้ 4. บอก​ความ​หมาย​ของ​คุณธรรม​และ​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ​ได้ 5. อธิบาย​แนวคิดห​ ลัก​เกณฑ์​การ​ตัดสิน​ใจ​โดย​ใช้​เหตุผล​เชิงจ​ ริยธรรม​และ​ยก​ตัวอย่าง​ได้ 6. อธิบาย​จริยธรรม​เกี่ยว​กับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​ได้ 7. วิเคราะห์ก​ รณีศ​ ึกษา​เกี่ยว​กับค​ ุณธรรม​และ​จริยธรรม​ใน​การ​ประกอบ​วิชาชีพท​ าง​ธุรกิจ การ​ ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​หรือ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

เรื่อง​ที่ 8.3.1 ความ​รู้​เบื้อง​ต้น​เกี่ยว​กับ​จริยธรรม​ทั่วไป

ธ ส

8-55

คุณธรรม​เป็น​เรื่อง​สำ�คัญต​ ่อ​การ​ประกอบ​วิชาชีพ เพราะ​การ​ที่โ​ ลก​มี​ความ​เจริญท​ าง​วัตถุ​ยัง​ไม่ใช่​เป็น​ สิ่งท​ ีน่​ ่าย​ ินดี เมื่อพ​ ัฒนา​แต่ว​ ัตถุโ​ ดย​ทอด​ทิ้งก​ าร​พัฒนา​ด้าน​จิตใจ จะ​ส่งผ​ ล​ให้ผ​ ูม้​ คี​ วาม​รูส้​ ูงฉ​ วย​โอกาส​นำ�​ความ​ รู้​เอา​เปรียบ​ผู้​ด้อย​กว่า ทั้ง​โดย​เจตนา​หรือไ​ ม่​เจตนา จน​เกิด​ปัญหา​สังคม​ที่​น่า​เศร้า​สลด การ​ประกอบ​วิชาชีพซ​ ึ่ง​ มีท​ ั้ง ผู้ผ​ ลิต ผู้จ​ ำ�หน่าย และ​ผู้บ​ ริโภค อาจ​ก่อผ​ ล​ได้ม​ ากมาย​ทั้งค​ ุณแ​ ละ​โทษ แล้วอ​ ะไร​ที่บ​ ่งบ​ อก​ว่าเ​ป็นค​ ุณห​ รือ​ โทษ และ​ทำ�​อย่างไร​จึงจ​ ะ​เป็นค​ ุณโ​ ดย​ฝ่าย​เดียว ดังน​ ั้นจ​ ึงม​ คี​ วาม​จำ�เป็นท​ ีต่​ ้อง​ทำ�ความ​เข้าใจ​เรื่อง​ของ​คุณธรรม​ และ​จริยธรรม​เป็น​อย่าง​ยิ่ง

1. ความ​หมาย​ของ​คุณธรรม​และ​จริยธรรม

ธ ส

ธ ส

ธ ส

1.1 ความ​หมาย​ของ​คุณธรรม ก่อน​ที่จ​ ะ​รู้จักค​ วาม​หมาย​ของ​คำ�​ว่า “คุณธรรม” (moral principles) ให้​ทำ�ความ​เข้าใจ​ถึงค​ ำ�​แปล​เสีย​ก่อน เพื่อจ​ ะ​ได้เ​ข้าใจ​ความ​หมาย​ได้​อย่าง​ลึก​ซึ้ง คำ�​ว่า “คุณ” แปล​ว่า ความ​ดี​งาม หรือ​คุณ​ประโยชน์​ที่​มี​ประจำ�​อยู่​ใน​สิ่ง​นั้นๆ คำ�​ว่า “ธรรม” แปล​ว่า ความ​ถูก​ต้อง ความ​ดี ความ​จริง​ตาม​ธรรมชาติ คำ�​ว่า “คุณธรรม” จึงห​ มาย​ถึง ความ​ดี​งาม​ที่​มี​อยู่​ใน​จิตใจ​ของ​มนุษย์ คุณธรรม (moral) จึง​หมาย​ถึง สิ่งท​ ี่แ​ สดง​ถึง​สภาพ​ความ​ดี​งาม​ของ​บุคคล เป็น​ธรรม​แห่ง​การ​เกื้อกูล​ แก่ก​ ัน​และ​กัน เป็น​สิ่งท​ ี่​เกิด​มา​จาก​จิตสำ�นึก ได้แก่ – นิสัยช​ อบ​ช่วย​เหลือ​ผู้อ​ ื่น โดย​เฉพาะ​ผู้​ที่​ด้อย​โอกาส​กว่าต​ น – นิ สั ย ​ใ น​ก าร​ใ ห้ ​อ ภั ย ​ผู้ ​อื่ น โดย​อ าศั ย ​เ หตุ ผ ล​แ ห่ ง ​ค วาม​เ ป็ น ​จ ริ ง ​ต าม​ธ รรมชาติ และ ​สิ่ง​แวดล้อม – เป็นผ​ ู้โ​ อบ​อ้อม​อารี ยินดี​ที่จ​ ะ​ให้​โดย​น้ำ�ใจ​มากกว่าท​ ี่​จะ​เป็นการ​ให้​ตาม​หน้าที่ – มีล​ ักษณะ​ใจเย็น มี​อารมณ์​เยือก​เย็น​ไม่​วู่วาม – มีค​ วาม​เคารพ​และ​ยอมรับ​คำ�​สั่ง​สอน โดย​ไม่​กระด้าง​กระเดื่อง ลักษณะ​ของ​คุณธรรม มี​ดังนี้ – คุณสมบัตทิ​ ีด่​ ี หรือค​ ุณสมบัตทิ​ ีเ่​ป็นธ​ รรม​ของ​บุคคล อันเ​กิดจ​ าก​การ​สั่งส​ อน​ของ​บิดา​มารดา ครู อาจารย์ หรือ​เกิด​จาก​ขนบธรรมเนียมประเพณี​ที่​ถ่ายทอด​กัน​มา – สภาพ​คุณง​ าม​ความ​ดี – เป็น​นามธรรม (abstract) มอง​ไม่​เห็น​ด้วย​สายตา เช่น ความ​โอบ​อ้อม​อารี ความ​ใจเย็น ความ​สุภาพ​อ่อนน้อม – เป็นค​ ุณธรรม​ที่​สร้าง​ความ​รู้สึกผ​ ิด​ชอบ​ชั่ว​ดี​ทาง​ศีล​ธรรม มี​คุณ​งาม​ความ​ดี​ภายใน​จิตใจ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-56

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ผู้​ที่​มี​คุณธรรม​ส่วน​มาก​สามารถ​ควบคุม​ตัว​ไม่​ให้​กระทำ�​สิ่ง​ที่​เป็น​พิษ​เป็น​ภัย​แก่​ตัวเ​อง​และ​ผู้​อื่น เมื่อ​ รู้ว​ ่าเ​ป็นค​ วาม​ไม่ด​ ีก​ ็ส​ ามารถ​ระงับไ​ ด้ใ​ น​เวลา​เดียวกัน ก็จ​ ะ​ใช้ค​ วาม​รู้ค​ วาม​สามารถ​ที่ป​ ระ​คับป​ ระคอง​กาย วาจา ใจ ให้​ทำ�​ดี​ถึงที่​สุด​ให้​ได้เ​พื่อ​ประโยชน์​ของ​ตัว​เอง​และ​ผู้​อื่น ก็​จะ​ได้​ผล​เป็น​ความ​ดี คุณธรรม​จึง​เปรียบ​เสมือน​ ฐาน​บ้าน ถ้า​ฐาน​บ้าน​ดี​ก็ส​ ามารถ​ต่อเ​ติม​บ้าน​ได้​สูง​อย่าง​มั่นคง แข็ง​แรง​ฉันใด ถ้า​คุณธรรม​ดี​จะ​เป็น​พื้น​ฐาน​ให้​ แสดงออก​ดี มีพ​ ฤติกรรม​ดี ลงมือก​ ระทำ�​ความ​ดีฉัน​นั้น คำ�​ว่า “ความ​ดี” คือ ผล​ของ​การ​ทำ�​ดี ซึ่งท​ ำ�ให้​คุณภาพ​ชีวิต​ดี​ขึ้น มี​ลักษณะ สบาย สงบ สะอาด สว่าง ยังผ​ ล​ต่อเ​นื่อง​เป็นสุขแ​ ละ​เป็นป​ ระโยชน์ เป็นแ​ รง​ผลักด​ ันใ​ ห้ก​ ระทำ�​สิ่งท​ ีเ่​จริญย​ ิ่งข​ ึ้น ความ​ดนี​ ั้นท​ ำ�ให้เ​กิดค​ วาม​ สบายใจ​ทั้งต​ ่อต​ นเอง​และ​ผอู้​ ื่น อีกท​ ั้งผ​ รู้​ ตู้​ ่าง​สรรเสริญ การ​ทำ�ความ​ดจี​ ึงเ​ป็นการ​ทำ�​ประโยชน์ท​ ั้งใ​ น​ปัจจุบันแ​ ละ​ ใน​อนาคต คน​ดี​จะ​นำ�​ความ​รู้​ความ​สามารถ​ไป​ใช้​ใน​ทาง​ที่​เป็น​ประโยชน์ เช่น คิดค้น​ผลิต​หน่วย​บันทึก​ความ​จำ�​ ที่​มีข​ นาด​เล็ก​ลง มี​ความ​จุ​สูง​ขึ้น มีป​ ระสิทธิภาพ​การ​บันทึก​ข้อมูล​ถูก​ต้อง​แม่นยำ�​ขึ้น แต่​ราคา​ถูก​ลง เป็นต้น ความ​รู้​อาจ​ตาม​ทัน​กัน​ได้ ยิ่ง​นาน​วัน ผู้​ที่​มีอายุ​มาก อาจ​ลืม​ราย​ละเอียด​ของ​ความ​รู้​ใน​ด้าน​วิชาการ ยิ่งเ​ป็น​ความ​รู้ท​ าง​เทคโนโลยีด​ ้วย​แล้ว เด็ก​รุ่น​ใหม่ๆ จะ​มี​ความ​รู้​กัน​มาก ความ​รู้​ด้าน​วิชาการ​เหล่าน​ ี้​สามารถ​ ติดตาม​ได้ แต่​คุณธรรม​ใน​จิตใจ​ที่​สั่งสม​อยู่​ใน​ใจ​นั้น ยิ่ง​นาน​วัน​หาก​สั่งสม​ความ​ดี​เอา​ไว้​มาก เมื่อ​เวลา​ผ่าน​ไป​ นาน​เท่าไร ก็​จะ​เป็น​ผู้ใหญ่ท​ ี่​ยิ่งน​ ่า​เคารพ​บูชา น่าย​อม​รับ แก่​ผู้​ใต้​บังคับ​บัญชา​มาก​เท่านั้น ผู้​ที่​จะ​เป็น​ผู้​บังคับ​ บัญชา​ที่​ดีไ​ ด้​จึง​อยู่ท​ ี่​คุณธรรม​นั้น​เอง คุณธรรม​จึง​เป็น​สิ่ง​สำ�คัญ​อย่าง​นี้ 1.2 ความ​หมาย​ของ​จริยธรรม จริยธรรม (ethics) หมาย​ถึง สิ่ง​ที่​เป็น​ข้อ​ปฏิบัติ​อย่าง​เป็นก​ ิจวัตร ที่​ แสดง​ว่า​บุคคล​นั้นๆ เป็น​ผู้ทรง​คุณธรรม เช่น – รักษา​วินัย กฎ​ระเบียบ กติกา – ดำ�รง​ตน​เป็น​สุภาพ​ชน – รักษา​ความ​สงบ​เรียบร้อย – มีส​ ัมมา​คารวะ – รักษา​ชื่อ​เสียง ไม่​ประพฤติ​ชั่ว จริยธรรม​เป็นห​ นึ่งใ​ น​วิชา​หลักข​ อง​วิชา​ปรัชญา ซึ่งศ​ ึกษา​เกี่ยว​กับค​ วาม​ดีง​ าม​ทาง​สังคม​มนุษย์จ​ ำ�แนก​ แยกแยะ​ว่า​สิ่ง​ไหน​ถูก​และ​สิ่งไ​ หน​ผิด หาก​จะ​อธิบาย​อย่าง​ง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมาย​ถึง การ​แยก​สิ่ง​ถูก​จาก​ ผิด ดี​จาก​เลว ความ​หมาย​ตาม​พจนานุกรม​ใน​ภาษา​ไทย จริยธรรม หมาย​ถึง ธรรม​ที่​เป็น​ข้อ​ประพฤติ ศีล​ธรรม​อัน​ ดี ตาม​ธรรมเนียม​ยุโรป อาจ​เรียก​จริยธรรม​ว่า หลัก​จริยธรรม (moral philosophy) จริยธรรม เป็นค​ ำ�​นาม แปล​ว่า ธรรม​ที่​เป็นข​ ้อ​ประพฤติ​ปฏิบัติ ศีล​ธรรม กฎ​ศีล​ธรรม “จริยธรรม” มา​จาก​คำ� 2 คำ�​คือ จริย และ ธรรม ซึ่ง​แปล​ตาม​ศัพท์ คือ จริย​ะ แปล​ว่า ความ​ประพฤติ กิริยา​ที่​ควร​ประพฤติ คำ�​ว่า ธรรม แปล​ว่า คุณค​ วาม​ดี คำ�​สั่ง​สอน​ใน​ศาสนา หลัก​ปฏิบัติ​ใน​ทาง​ศาสนา ความ​ จริง ความ​ยุติธรรม ความ​ถูก​ต้อง กฎ​เกณฑ์ เมื่อ​เอา​คำ� จริย​ะ มา​ต่อ​กับ​คำ�​ว่า ธรรม เป็น จริยธรรม แปล​ความ​ หมาย​ว่า กฎ​เกณฑ์​แห่ง​ความ​ประพฤติ หรือ​หลัก​ความ​จริง​ที่เ​ป็น​แนวทาง​แห่ง​ความ​ประพฤติ​ปฏิบัติ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-57

ธ ส

คำ�​ว่า ธรรม ท่าน​ธร​รม​โกศ​า​จาร​ย์ หลวง​พ่อ​พุทธ​ทาส อิน​ทปัญโญ กล่าว​ว่า คือ 1) ธรรมชาติ 2) กฎ​ ของ​ธรรมชาติ 3) หน้าที่​ตาม​กฎ​ของ​ธรรมชาติ และ 4) การ​ได้​รับ​ผล​ตาม​กฎ​ของ​ธรรมชาติ และ​พระ​รา​ชวร​มุนี (ประยุทธ์ ป​ยุต​โต) ได้​อธิบาย​ไว้​ดัง​ปรากฏ​ใน​พจนานุกรม​พุทธ​ศาสตร์ ฉบับ​ประมวล​ศัพท์ เพิ่ม​ศัพท์​และ​ ปรับปรุง พ.ศ. 2427 มหา​จุฬาลงกรณ์​ราช​วิทยาลัย หน้า 105 ว่า ธรรม คือ “สภาพ​ที่​ทรง​ไว้ ธรรมดา ธรรมชาติ สภาว​ธรรม สัจธรรม ความ​จริง เหตุ ต้น​เหตุ สิ่ง ปรากฏการณ์ เป็นต้น” ธรรม หรือ สัจธรรม เป็น​แม่บท เป็น​ ฐาน​ของ​ทุก​อย่าง​ต่อ​จาก​สัจธรรม ก็​คือส​ ิ่งท​ ี่​เรียก​ว่า จริยธรรม อัน​ได้แก่ หลัก​เกณฑ์​เกี่ยว​กับ​ความ​ดี​งาม ซึ่ง​ เป็นค​ วาม​จริงท​ มี​่ นุษย์จ​ ะ​ตอ้ ง​ปฏิบตั ิ เพือ่ ใ​ ห้เ​กิดผ​ ล​ส�ำ เร็จต​ าม​ความ​เป็นจ​ ริงข​ อง​ธรรมชาติ ความ​จริงข​ อง​มนุษย์​ ต้อง​สอดคล้อง​กับ​ความ​จริง​ของ​ธรรมชาติ จึง​จะ​เกิด​ผล​สำ�เร็จ​ได้​ด้วย​ดี ลักษณะ​ของ​จริยธรรม มีด​ ังนี้ – สิ่งด​ ีท​ ี่​ยอมรับ​โดย​คน​ทั่วไป ให้​เป็น​แบบ​ของ​การ​คิด และ​การ​ปฏิบัติ จน​เป็น​พฤติกรรม​ที่​ดี​ ของ​บุคคล – ธรรม​ที่​เป็น​ข้อ​ปฏิบัติ (จริย แปล​ว่า ความ​ประพฤติ หรือ​กิริยา​ที่​ควร​ประพฤติ) – จริยธรรม เป็นร​ ูปธ​ รรม (concrete) ทีค่​ ่อน​ข้าง​ชัดเจน เช่น การ​แต่งก​ าย การ​มีสัมมา​คารวะ การ​ทำ�ตัว​เป็น​สุภาพ​ชน ความ​สำ�คัญข​ อง​จริยธรรม มี​ดังนี้ – ทำ�ให้บ​ ุคคล​รู้แ​ ละ​เข้าใจ​ใน​หน้าที่​ของ​ตน รู้จัก​ทำ�​และ​รับ​ผิด​ชอบ​ใน​หน้าที่ – ทำ�ให้ร​ ู้​และ​เข้าใจ​เรื่อง​อุดมคติ​อัน​สูงสุด​ของ​ชีวิต – ทำ�ให้ร​ ู้แ​ ละ​เข้าใจ​เรื่อง​คุณค่า​และ​พัฒนา​จิตใจ ยก​ระดับจ​ ิตใจ​ให้​สูง​ขึ้น – ทำ�ให้ร​ ู้​และ​สามารถ​นำ�​มา​ปฏิบัติ​ให้​สอดคล้อง​กับ​กฎ​เกณฑ์​ใน​สังคม – ทำ�ให้ร​ ู้จักก​ าร​หาเหตุ​ผล​และ​วิพากษ์​ว่า​สิ่ง​ใด​ดี สิ่ง​ใด​ไม่​ดี ประโยชน์​ของ​จริยธรรม มี​ดังนี้ – เป็นค​ ู่มือ​ชีวิต​ที่​มี​ค่า​ยิ่ง เป็น​หลัก​พึ่ง​พิง​ทาง​ใจ – เป็นเ​ครื่อง​มือ​ก่อใ​ ห้​เกิด​มนุษยธรรม ทำ�ให้​มี​จิตใจ​ดี​ชอบ​ช่วย​เหลือ – เป็นห​ ลัก​ยึดเ​หนี่ยว​ใน​การ​ประพฤติ​ปฏิบัติต​ น​เป็นค​ น​ดี – เป็นบ​ ่อเ​กิดข​ อง​ประเพณีแ​ ละ​วัฒนธรรม​ทีด่​ งี​ าม ก่อใ​ ห้เ​กิดค​ วาม​สงบ​สุข และ​เป็นแ​ บบ​อย่าง​ ที่​ดี​แก่​ชน​รุ่น​หลัง – เป็นบ​ ่อ​เกิด​ของ​ความ​สามัคคี​ใน​สังคม – ทำ�ให้ส​ ังคม​มี​ความ​เจริญ​รุ่งเรือง​อย่าง​ยั่งยืน

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

2. กรอบ​แห่ง​คุณธรรม​และ​จริยธรรม

ธ ส

ธ ส

มนุษย์​ทุก​คน​เมื่อ​อยู่ค​ น​เดียว​หรือ​เมื่ออ​ ยู่​ร่วม​กัน​ใน​สังคม จะ​มี​ทั้ง​สิทธิ​และ​ความ​รับ​ผิด​ชอบ สิทธิ (right) คือ ข้อ​อ้าง​ใน​การ​ครอบ​ครอง​สิ่ง​ต่างๆ และ​การก​ระ​ทำ� เช่น สิทธิ​ใน​ชีวิต ทรัพย์สิน ครอบครัว ความ​รู้ เป็นต้น และ สิทธิต​ าม​กฎหมาย เช่น สิทธิใ​ น​การ​เลือก​ตั้ง สิทธิใ​ น​ความ​เป็นไ​ ทย สิทธิใ​ น​การ​ เป็น​เจ้าของ​โปรแกรม​ที่​เขียน​ขึ้น​มา เป็นต้น สิทธิ​ย่อม​รวม​ถึง​เสรีภาพ​คือ​ความ​เป็น​อิสระ​ใน​ทาง​ที่​ถูก​ต้อง​ด้วย


8-58

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ความ​รบั ผ​ ดิ ช​ อบ (obligation) คือ ความ​รบั ผ​ ดิ ช​ อบ​ตาม​หน้าทีท​่ เี​่ รา​พงึ ท​ � ำ ตัวอย่าง​เช่น ความ​รบั ผ​ ดิ ช​ อบ ใน​ฐานะ​ผูผ้​ ลิตเ​ทคโนโลยีส​ ารสนเทศ คือ ผลิตจ​ อภาพ​ทีไ่​ ม่ท​ ำ�ลาย​สุขภาพ​ตา​ของ​ผูใ้​ ช้ ความ​รับผ​ ิดช​ อบ​ใน​ฐานะ​ ผูจ​้ �ำ หน่าย​ คอื สอน​การ​ใช้จ​ อภาพ​ทถี​่ กู ว​ ธิ แ​ี ก่ผ​ ใู​้ ช้ ความ​รบั ผ​ ดิ ช​ อบ​ใน​ฐานะ​ผบู​้ ริโภค คือ เรียน​รกู​้ าร​ใช้จ​ อภาพ​ให้​ ถูกว​ ิธแี​ ละ​ปฏิบัติต​ าม ความ​รับผ​ ิดช​ อบ​ใน​ฐานะ​รัฐมนตรีค​ วบคุมเ​ทคโนโลยีส​ ารสนเทศ ​คือ ควบคุมใ​ ห้เ​กิดก​ าร​ ผลิต​และ​การ​จำ�หน่าย​ที่​มีค​ ุณธรรม ดังน​ ั้น การ​ใช้​สิทธิ​และ​ทำ�​หน้าที่​รับ​ผิด​ชอบ​ควร​อยู่​ใน​กรอบ​แห่ง​คุณธรรม​ จริยธรรม​ที่​ยุติธรรม​และ​การ​ใช้ให้เ​ป็น​ประโยชน์ ไม่มี​โทษ 2.1 กรอบ​แห่ง​คุณธรรม​ มนุษย์​มี​ใจ​เป็น​หัวหน้า เป็น​ผู้​บงการ​การก​ระ​ทำ� หาก​คุณธรรม​สั่งสม​อยู่​ ใน​ใจ​ใคร เขา​ก็​จะ​เป็น​ผู้​มี​คุณธรรม​แล้ว​จะ​กระทำ�​แต่​สิ่ง​ที่​ดี​และ​สั่งสม​ความ​ดี​ยิ่ง​ขึ้น​ไป​อีก เขา​จะ​สามารถ​ ตระหนักไ​ ด้ว​ ่าการ​ทำ�ความ​ดีน​ ั้นเ​ป็นก​ ำ�ไร​ของ​ชีวิต เพราะ​ความ​ดีเ​ท่านั้นเ​ป็นส​ ิ่งท​ ี่เ​พิ่มค​ ุณค่าใ​ ห้แ​ ก่ช​ ีวิต ทำ�​ชีวิต​ ให้​มี​ความ​สุข​ความ​สมบูรณ์​ยิ่งข​ ึ้น และ​ยังท​ ำ�ให้​คุณธรรม​ใน​ใจสูง​ขึ้น​ไป​อีก การ​ทำ�ให้​มี​คุณธรรม​นั้น​จะ​ต้อง​นำ�​ ความ​ดี​มา​ใส่​ตัว​และ​นำ�​ความชั่ว​ออก​ไป หัวใจ​ของ​การ​ทำ�ให้​มี​คุณธรรม​เกิด​ขึ้น​ใน​ใจ​มี 3 ประการ คือ การ​ละ​ชั่ว ทำ�​ดี และ​ทำ�ใจ​ให้​ผ่องใส มีร​ าย​ละเอียด​ดังนี้ 2.1.1 การ​ละ​ชั่ว “ก่อน​ที่​จะ​แต่ง​ตัว​ให้​สวยงาม เรา​จำ�​ต้อง​อาบ​น้ำ�​ชำ�ระ​ล้าง​สิ่ง​สกปรก​ออก​ ก่อนฉันใด การ​จะ​ปรับปรุง​ใจ​ให้​สะอาด​บริสุทธิ์ มี​คุณธรรม​สูง​ขึ้น เรา​ก็​จำ�​ต้อง​ละ​ชั่ว​ก่อน​ฉัน​นั้น” ความ​ชั่ว คือ ผล​ของ​การ​ทำ�​ชั่ว เป็น​สิ่ง​ที่​ทำ�ให้​คุณภาพ​ใจเสีย​ไป มี​ลักษณะ​ไม่​สบาย เดือด​ร้อน เศร้า​หมอง มี​ผล​ต่อ​ เนื่อง​เป็น​ทุกข์​และ​เป็น​โทษ ก่อ​ให้​เกิด​ความ​เสื่อม​สลาย การ​ทำ�ความ​ชั่ว​ทำ�ให้​ชีวิต​ขาดทุน การ​ละ​ชั่ว​ด้วย​กาย วาจา ใจ นั้นม​ ีว​ ัตถุประสงค์​เพื่อไ​ ม่ใ​ ห้​มี​การ​เบียดเบียน​นั้น​เอง โดย​เริ่ม​จาก​ไม่​เบียดเบียน​ตัว​เอง แล้ว​จึงจ​ ะ​ไม่​ เบียดเบียน​ผู้อ​ ื่นไ​ ด้ การ​ละ​ชั่วน​ ั้นเ​ป็นการ​ละ​กรรม​ชั่ว ละ​ความ​บกพร่อง​ใน​การ​ประพฤติป​ ฏิบัติ เช่น พบ​ว่าการ​ ลักข​ โมย​ซอฟต์แวร์ผ​ ู้อ​ ื่นใ​ ช้น​ ั้นไ​ ม่ด​ ี เป็นการ​ทำ�ให้ผ​ ู้อ​ ื่นเ​สียห​ าย ก็ส​ ามารถ​ตัดใจ​ได้ เรียก​ว่าล​ ะ​ชั่ว อย่าง​นีถ้​ ือว่า​ มีค​ ุณธรรม 2.1.2 การ​ท�​ำ ดี ความ​ดีอ​ ย่าง​ง่ายๆ คือ การ​ให้ เพราะ “ผู้​ให้ย​ ่อม​เป็นท​ ี่รัก และ​ผู้ใ​ ห้ย​ ่อม​ได้ร​ ับ” มีน​ ิทาน​โบราณ​ว่า เศรษฐีค​ น​หนึ่งป​ รารถนา​จะ​หา​ลูกส​ ะใภ้ ก็ป​ ระกาศ​รับส​ มัคร​แข่งขัน ใคร​ตอบ​ปัญหา​ได้เ​ป็นท​ ี​่ พอใจ​กจ็​ ะ​รับเ​ป็นล​ ูกส​ ะใภ้ คำ�ถาม​มวี​ ่า “มีป​ ลา​อยูต่​ ัวห​ นึ่ง ทำ�​อย่างไร​จึงก​ ินไ​ ม่รูจ้​ ักห​ มด” สาวๆ เข้าต​ อบ​แข่งขัน​ กัน​มากมาย บ้าง​ก็​ตอบ​ว่า​ให้​นำ�​ไป​ทำ�​ปลา​แห้ง ปลา​เค็ม ปลาร้า แต่​ก็​ยัง​ไม่​เป็น​ที่​พอใจ​ของ​เศรษฐี​ ใน​ที่สุด​มี​ หญิงส​ าว​คน​หนึ่งต​ อบ​ว่า “การ​ทีจ่​ ะ​ทำ�​ปลา​ตัวเ​ดียว​ให้ก​ ินไ​ ด้น​ าน​ไม่รูจ้​ ักห​ มด​นั้นว​ ิธดี​ ที​ ี่สุดค​ ือ นำ�​มา​ทำ�​แกง​แล้ว​ ตัก​แจก​เพื่อน​บ้าน​ใกล้​เรือน​เคียง โดย​วิธี​นี้ เมื่อ​เพื่อน​บ้าน​ได้​รับ​แจก​แล้ว พอ​เขา​มี​อะไร เขา​ก็​จะ​นำ�​มา​แจก​ให้​ เรา​บ้าง​เช่นก​ ัน เรา​ก็ท​ ำ�​เช่นเ​ดิมอ​ ีก” ปรากฏ​ว่า เศรษฐีพ​ อใจ​ใน​คำ�​ตอบ​นี้ม​ าก นี้เ​ป็นต​ ัวอย่าง และ​ขณะ​เดียวกัน​ ก็​ยัง​สนับสนุนค​ ำ�​กล่าว​ว่า “ผู้ใ​ ห้​ย่อม​ผูกม​ ิตร​ไว้​ได้” การ​ให้น​ ัน้ เ​ริม่ ต​ ัง้ แต่ใ​ ห้ร​ อย​ยิม้ คำ�​พดู ท​ ไี​่ พเราะ ความ​ปรารถนา​ดี การ​ชว่ ย​เหลือเ​กือ้ กูล เอือ้ เฟือ้ ​ เผื่อ​แผ่ ให้​โอกาส ให้​กำ�ลังใ​ จ​ใน​การ​ทำ�ความ​ดี ให้​อภัย แล้ว​เรา​จะ​รู้​ว่า ความ​ดี​นั้น​ทำ�ได้​ไม่​ยาก​เลย อยู่​ที่ไหน​ ก็ตาม​หาก​ต้องการ​ความ​สุข​ต้อง​เริ่ม​ต้น​ด้วย​การ​ให้ หมู่​ชน​ใด​ที่​มี​ผู้​ให้​มาก หมู่​ชน​นั้น​ก็​จะ​มี​ความ​สุข​มาก หมู่​ ชน​ใด​มีแ​ ต่​ผู้ค​ ิด​ที่จ​ ะ​รับ หมู่ช​ น​นั้นก​ ็อ​ ัตคัดข​ ัดสน​เกิด​ความ​วุ่นวาย ทำ�ความ​ดีด​ ้วย​กาย​วาจา​ใจ​แล้ว​จะ​อยู่​อย่าง​ เป็นสุข เช่น พบเห็น​เพื่อน​ร่วม​งาน​มี​ปัญหา​ใน​การ​เขียน​โปรแกรม​ก็​เข้าไป​ช่วย​เหลือ​แม้​เพื่อน​จะ​ไม่​ได้​ร้องขอ ทั้งนี้​ต้อง​ไม่เ​สีย​การ​งาน​ของ​เรา​ด้วย อย่าง​นี้จ​ ึง​ถือว่าม​ ี​คุณธรรม

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-59

ธ ส

2.1.3 การ​ท�ำ ใจ​ให้ร​ า่ เริงผ​ อ่ งใส คือ การ​ละ​จาก​ความ​คิดไ​ ม่ด​ ที​ ั้งห​ ลาย โดย​การ​ตั้งส​ ติแ​ ละ​รักษา​ สติ​ให้​ต่อเ​นื่อง จะ​มี​อาการ​โล่งโ​ ปร่ง​สบายใจ เมื่อ​นำ�​ไป​ใช้​ใน​การ​งาน​จะ​เหมือน​กระจก​ที่​ใส​สามารถ​ส่อง​ให้​เห็น​ ภาพ​ต่างๆ ชัด​เท่านั้น และ​เมื่อ​ลงมือ​ประพฤติ​ปฏิบัติ​ก็​จะ​ยัง​ผล​ให้​สำ�เร็จ​ได้​โดย​ง่าย​อย่าง​รวดเร็ว​และ​ไม่​ผิด​ พลาด หรือ​ผิด​พลาด​น้อย​ที่สุด เช่น ผู้​ที่​ทำ�งาน​อย่าง​ไม่​หงุดหงิด ลักษณะ​นี้​เป็นการ​รักษา​ใจ​ให้​ผ่องใส​ไว้​ได้ อย่าง​นี้​ถือว่า​มีค​ ุณธรรม การ​ทำ�ให้​ใจ​ร่าเริงผ​ ่องใส กระทำ�​ได้​โดย​การ​ฝึก​สติ​ให้​มี​สมาธิ หรือ​เรียก​ว่า ฝึก​สมาธิ​ นั่นเอง 2.2 กรอบ​แห่งจ​ ริยธรรม ใจ​เป็น​ผู้บ​ งการ​การก​ระ​ทำ� ประกอบ​เหตุอ​ ย่างไร​ได้​ผลอ​ย่าง​นั้น ทำ�ความ​ดี​ ได้ผ​ ล​เป็นค​ วาม​สุข ทำ�ความ​ชั่วไ​ ด้ผ​ ล​เป็นค​ วาม​ทุกข์ เสมือน​การ​ปลูกถ​ ั่วย​ ่อม​ได้ผ​ ล​เป็นถ​ ั่ว ปลูกม​ ะม่วง​ย่อม​ได้​ ผล​เป็นม​ ะม่วง ดังน​ ั้น จริยธรรม​จึงเ​ป็นการ​เอา​ธรรมะ​มา​พิจารณา เรา​ควร​ทำ�​สิ่งใ​ ด ควร​เว้นส​ ิ่งใ​ ด ควร​พิจารณา​ เรื่อง​ที่​ทำ�ให้ด​ ำ�เนิน​ชีวิต​ตรง​กับ​จุด​มุ่งห​ มาย​ของ​ชีวิต พิจารณา​ว่า​วัน​คืน​ผ่าน​ไป​เรา​ได้​ทำ�​อะไร​ไป​แล้ว​บ้าง สิ่ง​ที​่ ทำ�​เป็นส​ ิ่ง​ที่​มี​ประโยชน์​หรือ​ไม่ กระทำ�​ไป​แล้ว​ชอบ​ด้วย​สิทธิ​และ​ความ​รับ​ผิด​ชอบ​หรือ​ไม่ จึง​ควร​ศึกษา​ถึง​การ​ ทำ�ให้​มี​จริยธรรม​ซึ่งม​ ี​กรอบ​สำ�คัญ 2 ประการ คือ 2.2.1 การ​สร้าง​จริยธรรม​ใน​จิตใจ คุณธรรม​เปรียบ​เสมือน​ข้อมูล​นำ�​เข้า (input) จริยธรรม​ จะ​เปรียบ​เสมือน​ข้อมูล​ผลลัพธ์ (output) ข้อมูล​นำ�​เข้า​เป็น​อย่างไร ข้อมูล​ผลลัพธ์​ก็​เป็น​อย่าง​นั้น หรือ​เรียก​ ว่า “garbage in garbage out” เมื่อ​มี​คุณธรรม​อย่างไร ก็​แสดง​จริยธรรม​ออก​มา​อย่าง​นั้น ดัง​นั้น ถ้า​มี​ คุณธรรม​ใน​ตัว​ก็​สามารถ​ควบคุม​ตัว​เอง​ได้ โดย​ไม่​ต้อง​อาศัย​สิ่ง​อื่น​ควบคุม ทำ�ให้​เกิด​จริยธรรม​ซึ่ง​เป็น​สิ่ง​ที่​ ทำ�ให้​มนุษย์​มี​ความ​ประพฤติ​ดี​ตาม​ธรรมชาติ เรียก​ว่า​มี​ความ​เป็น​ปกติ เป็นไ​ ป​อย่าง​ถาวร​ด้วย ตัวอย่าง การ​ ที่​ใคร​รู้​รัก​ความ​สะอาด ดัง​นั้นเ​มื่อ​เขา​ไป​อยู่​ที่ใ​ ด​ก็​จะ​ไม่​ทำ�ให้​ที่​นั้น​สกปรก โดย​ไม่​ต้อง​มี​การ​แขวน​ป้าย “โปรด​ รักษา​ความ​สะอาด​ด้วย” 2.2.2 การ​สร้าง​กฎ​เกณฑ์ค​ วบคุม ถ้าม​ นุษย์ข​ าด​คุณธรรม ต้อง​อาศัยด​ ้าน​จริยธรรม คือ การ​วาง​ กฎ​ระเบียบ​ทาง​สังคม ได้แก่ กฎหมาย จารีตป​ ระเพณี และ​ขนบธรรมเนียม อันเ​ป็นว​ ินัยท​ าง​โลก​เพื่อเ​ป็นก​รอบ​ ควบคุมค​ วาม​ประพฤติใ​ น​การ​อยูร​่ ว่ ม​กนั เ​ป็นส​ งั คม​ให้ส​ งบ​สนั ติสขุ มักจ​ ะ​ตอ้ ง​มบ​ี ท​ลงโทษ​หรือก​ าร​ให้ร​ างวัลเ​ป็น​ เครื่อง​ล่อใ​ จ ถ้าก​ ฎ​เกณฑ์ท​ ี่เ​ป็นข​ ้อป​ ้องกันม​ ีม​ าก แสดง​ว่าม​ นุษย์อ​ ยู่ร​ ่วม​กันม​ าก มีก​ ิจกรรม​ร่วม​กันม​ าก แต่ถ​ ้า​ กฎ​เกณฑ์ท​ ี่เ​ป็นบ​ ท​ลงโทษ​มีม​ าก​เท่าใด​แสดง​ว่าม​ นุษย์ม​ ีค​ ุณธรรม​น้อย​เท่านั้น จริยธรรม​นี้เ​รียก​ว่า “จริยธรรม​ ด้วย​กฎ​เกณฑ์” จริยธรรม​ประเภท​นี้​สามารถ​ควบคุม​ความ​ประพฤติ​ได้ หรือ​ช่วย​ให้​มนุษย์​มี​คุณธรรม​สูง​ขึ้น​ เมื่อ​ได้​ทำ�​บ่อยๆ แต่​ก็ได้​ผล​ไม่​มาก​นัก​ใน​ด้าน​จิตใจ 2.2.3 ลักษณะ​การ​มี​คุณธรรม​และ​จริยธรรม เมื่อ​คน​มา​รวม​กัน​มี​การ​ประกอบ​การ​งาน​ร่วม​กัน มี​ความ​เกี่ยวข้อง​กัน เรียก​ว่า​มี​สังคม คุณธรรม​และ​จริยธรรม​จะ​ก่อ​ให้​เกิด​สังคม​ที่​ดี​งาม ดัง​คำ�​กล่าว​ว่า “ล้าน​ คน ล้าน​ดวงใจ สว่างไสว​ด้วย​แสง​ธรรม ความ​รูค้​ ูค่​ ุณธรรม นำ�​ชาติไ​ ทย​ให้เ​จริญ” ตรง​กันข​ ้าม บุคคล​ทีม่​ คี​ วาม​ รู้​ความ​สามารถ​แต่​หาก​ขาด​คุณธรรม อัน​เป็น​เครื่อง​เหนี่ยว​รั้ง​และ​กลั่น​กรอง​ใจ มิ​ให้​เอน​เอียง​ไป​ใน​ทาง​เสื่อม​ แล้ว ความ​รู้​ความ​สามารถ​ที่​มีก​ ็​ไร้​ประโยชน์ มี​แต่​จะ​สร้าง​ความ​เสีย​หาย​กับ​ตัวเ​อง​และ​สังคม การ​มี​คุณธรรม​และ​จริยธรรม​เป็น​สิ่ง​จำ�เป็น แต่​อาจ​เกิด​ความ​สับสน​ว่า​อะไร​คือ​การ​มี​คุณธรรม​และ​ จริยธรรม ดังน​ ั้น เพื่อใ​ ห้เ​ข้าใจ​ลักษณะ​ของ​การ​มคี​ ุณธรรม​และ​จริยธรรม จะ​ได้ส​ ามารถ​ประพฤติเ​หตุแ​ ห่งก​ าร​ม​ี คุณธรรม​และ​จริยธรรม​ได้​ถูกต​ ้อง​มี​ผล​ดี​งาม และ​หลีก​ห่าง​จาก​การนำ�​ไป​สู่​ความ​ขาด​คุณธรรม​และ​จริยธรรม​นั้น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-60

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

3. องค์ป​ ระกอบ​สำ�คัญ​ของ​การ​ประกอบ​วิชาชีพ

มนุษย์​ทุก​คน​มี “งาน​เพื่อ​ชีวิต” ของ​ตน ที่​ไม่​อาจ​หลีก​เลี่ยง​ได้ 2 ประการ คือ งาน​ทาง​โลก ที่​มี​เป้า​หมาย เพื่อ​ทำ�​มา​หา​เลี้ยง​ชีพ​ให้​มี​ปัจจัย​สี่​มา​หล่อ​เลี้ยง​ร่างกาย ได้แก่ อาหาร เครื่อง​นุ่ง​ห่ม ที่​อยู่อ​ าศัย และ​ยา​รักษา​โรค เพื่อ​อยู่ใ​ น​โลก​ได้​อย่าง​ผาสุก​รื่นรมย์ สะดวก​สบาย​สามารถ​ยืน​หยัด​ อยู่​ใน​โลก​ได้​โดย​ไม่​เป็น​ภาระ​แก่​ผู้ใ​ ด ใน​การ​ประกอบ​การ​งาน​ทาง​โลก​แต่ละ​สาขา​วิชาชีพ เรียก​ว่า “การ​ประกอบ​วิชาชีพ” มี​เป้าห​ มาย​เพื่อ​ ให้ไ​ ด้ท​ รัพย์ห​ รือใ​ ช้เ​ป็นส​ ิ่งม​ ีค​ ่าส​ ามารถ​แลก​เปลี่ยน​เอา​สิ่งอ​ ื่นท​ ี่ต​ ้องการ​ให้แ​ ก่เ​จ้าของ​ทรัพย์ไ​ ด้ และ​สามารถ​นำ�​ ความ​ปลาบปลื้ม​ใจมา​ให้​แก่​เจ้าของ​ได้ ทำ�ให้​รู้สึกอ​ บอุ่น​มั่นคง​และ​ปลอดภัย​เมื่อ​มี​ทรัพย์ ดังน​ ั้น เมื่อ​ได้​ทรัพย์​ มา​แล้วก​ จ็​ ะ​ต้อง​รู้จักว​ ิธใี​ ช้ท​ รัพย์ จึงจ​ ะ​นำ�​ประโยชน์ใ​ ห้ค​ รบ​ถ้วน​ตาม​คุณสมบัตทิ​ ี่แท้จ​ ริงข​ อง​ทรัพย์ มีห​ ลักธ​ รรม​ ที่​ควร​รู้​ใน​การ​ปฏิบัติเ​กี่ยว​กับ​ทรัพย์สิน 3 ประการ คือ 1) การ​แสวงหา​ทรัพย์สนิ ต้อง​เป็นไ​ ป​ดว้ ย​ความ​ชอบ​ธรรม สัตย์ซ​ ือ่ สุจริต เหมาะ​สม​กบั เ​พศ​และ​ วัย​ของ​ตน ไม่​เบียดเบียน ไม่ข​ ่มเหง ไม่​รังแก​ใคร ไม่​ผิด​ศีล ไม่​ผิด​ธรรม ไม่​ผิด​กฎหมาย และ​ไม่​ผิด​ประเพณี ซึ่ง​จะ​ขยาย​ความ​ใน​หัวข้อ หลัก​ธรรม​ใน​การ​ประกอบ​วิชาชีพ​ต่อ​ไป 2) การ​ใช้ท​ รัพย์สนิ ต้อง​ไม่ต​ ระหนี่ ไม่ฟ​ ุม่ เฟือย ให้ร​ ูจ้ กั ใ​ ช้ท​ รัพย์เ​ลีย้ ง​ตน​และ​บคุ คล​ทเี​่ กีย่ วข้อง​ ให้​เป็นสุข รู้จัก​ให้​ทาน แบ่งป​ ัน เอื้อเฟื้อ เผื่อแ​ ผ่ ใช้​ทรัพย์​ทำ�​สิ่ง​ที่​ดี​งาม​แก่​สังคม 3) ทั ศ นคติ ​เ กี่ ย ว​กั บ ​ท รั พ ย์ สิ น ต้ อ ง​ไ ม่ ​ถื อ ว่ า ​สำ � คั ญ ​สู ง สุ ด ​ใ น​ชี วิ ต แต่ ​เ ป็ น ​เ พี ย ง​อุ ป กรณ์​ การ​ดำ�เนินช​ ีวิต​เพื่อใ​ ห้​ชีวิต​สุข​สบาย เมื่อ​ชีวิต​มี​อยู่​ก็​จะ​มี​โอกาส​สร้าง​คุณธรรม​ใน​ตัว​ให้​สมบูรณ์​ยิ่งข​ ึ้น ซึ่ง​จะ​มี​ ราย​ละเอียด​ใน​หัวข้อ​การ​ปลูก​ฝังค​ ุณธรรม​เพื่อค​ วาม​เจริญ ดัง​นั้น การ​ประกอบ​วิชาชีพ ด้วย​มี​คุณธรรม​ย่อม​จะ​นำ�​ประโยชน์​สูง​เมื่อ​ได้​ทรัพย์​มา​เลี้ยง​ชีวิต หาก​ แต่​ปราศจาก​คุณธรรม ทรัพย์​ที่​ได้ม​ า​อาจ​นำ�​ภัยพ​ ิบัติ​ตาม​มา​ด้วย งาน​ทาง​ธรรม ที่​มี​เป้า​หมาย​เพื่อ​ยก​ระดับ​จิตใจ​ของ​ตน​ให้​สูง​ขึ้น มี​ปัญญา​ดำ�เนิน​ชีวิต​ด้วย​ความ​สุข​ อย่าง​แท้จริงแ​ ละ​มั่นคง​ถาวร มีค​ ุณธรรม​และ​จริยธรรม​เพิ่มข​ ึ้น ทำ�ให้ต​ ัวเ​อง​ดี สังคม​ดี งาน​ทาง​ธรรม​นีเ้​อง​ทำ�ให้​ การ​ประกอบ​การ​งาน​ทาง​โลก​บรรลุ​เป้า​หมาย​ของ​การ​เลี้ยง​ชีพ ทั้ง​ยังม​ ี​ความ​สุข​กาย​สบายใจ​อีก​ด้วย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

4. หลัก​ธรรม​ของ​การ​ประกอบ​วิชาชีพใ​ ห้​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ

ธ ส

ธ ส

คุณธรรม​ทีท่​ ำ�ให้ป​ ระสบ​ความ​สำ�เร็จใ​ น​การ​ประกอบ​วิชาชีพ อาจ​เรียก​ว่า คุณธรรม​ทีเ่​ตรียม​ตน​ให้เ​ป็น​ คน​ดี เพราะ​เมื่อเ​ป็นค​ น​ดี ก็จ​ ะ​เป็นผ​ ู้ท​ ี่ม​ ีค​ วาม​เข้าใจ คือ พูด ทำ� ได้อ​ ย่าง​ถูกต​ ้อง​โดย​มีห​ ลักธ​ รรม​เป็นเ​ครื่อง​มือ​ เหนี่ยว​จิตใจ และ​แน่นอน​ว่าเ​ขา​จะ​สามารถ​ผลิต จำ�หน่าย หรือ​บริโภค​เทคโนโลยี​ได้​อย่าง​สร้างสรรค์ 4.1 หลัก​ธรรม​สำ�หรับ​การ​เป็น​คน​ดี หลัก​ธรรม​สำ�หรับ​การ​เป็น​คน​ดี มี​อยู่ 3 ประการ คือ ป้องกัน​ ความ​เสื่อม​มา​สู่​ตน นำ�​ความ​ดี​มา​สู่​ตน และ​นำ�​ตน​ไป​สู่​ความ​เจริญ 4.1.1 การ​ป้องกัน​ความ​เสื่อม​มา​สู่​ตน การ​ป้องกัน​ความ​เสื่อม เป็น​หลัก​ธรรม​แห่ง​การ​ไม่​นำ�​ ความ​เสื่อม​ทาง​คุณธรรม​มา​สู่ต​ ัว​เอง ทั้ง​เสื่อม​จาก​ความ​เห็น​และ​การก​ระ​ทำ� โดย​ต้อง​ไม่​ใกล้​ชิด​กับ​ผู้​ที่​มี​ความ​ คิด คำ�​พูดแ​ ละ​การก​ระ​ทำ�​ทีช่​ ั่ว เพราะ​จะ​ทำ�ให้ม​ วี​ ินิจฉัยเ​สีย ไม่อ​ าจ​แยกแยะ​ได้ว​ ่าอ​ ย่าง​ไหน​ดี อย่าง​ไหน​ชั่ว ผล​

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-61

ธ ส

ของ​ความ​ชั่ว​จะ​เบียดเบียน​คุณธรรม​ตัว​เอง​ให้​ลด​ลง​ทุกที ขณะ​เดียวกัน​ก็​จะ​เบียดเบียน​ผู้​อื่น​และ​เบียดเบียน​ สังคม​ให้ป​ ระสบ​กับค​ วาม​เดือด​ร้อน​ได้ ซึ่งจ​ ะ​ไป​กระตุ้นใ​ ห้เ​กิดค​ วาม​โกรธ​แค้น อาฆาต พยาบาท ปอง​ร้าย ทำ�ให้​ ทำ�ลาย​ล้าง​กัน หรือ​อาจ​เกิดค​ วาม​เห็นผ​ ิด​ทำ�ให้ป​ ระกอบ​วิชาชีพ​ไป​ใน​ทาง​แห่ง​ความ​เสื่อม​ซึ่ง​อาจ​ทำ�ลาย​ล้าง​กัน​ ได้​โดย​ไม่รู้​ตัว ผู้​ปรารถนา​ความ​สุข​ที่ม​ ั่นคง จึงต​ ้อง​ห่าง​ไกล​จาก​เรื่อง​เสื่อม​ทุก​ชนิด 1) ความ​เสื่อม​ที่มา​จาก​การ​คิด​ชั่ว คิด​ใน​เรื่อง​ที่​เป็นโ​ ทษ ไม่​เป็น​ประโยชน์ เช่น คิด​จะ​ใช้​ โปรแกรม​โดย​ไม่​ชำ�ระ​ค่า​ลิขสิทธิ์​เพราะ​เป็น​ความ​ภาค​ภูมิใจ​อย่าง​หนึ่ง​หรือ​สามารถ​ทำ�ให้​ประหยัด​เงินได้ จึง​ นำ�​ให้​ทำ�​ชั่ว​คือ ลัก​ขโมย​หรือ​ดัดแปลง แต่​ผู้​ที่​คิดค้น​ต้อง​สูญ​เสีย​ทั้ง​เวลา สติ​ปัญญา และ​ทรัพย์สิน ใน​เรื่อง​ ของ​ทรัพย์สิน​เขา​ก็​ต้องการ​ราย​ได้​จาก​ภูมิปัญญา​เพื่อ​มา​ดำ�รง​ชีวิต แต่​กลับ​ต้อง​ได้​รับ​ความ​เดือด​ร้อน ถ้า​เขา​ มี​คุณธรรม​ไม่​เพียง​พอ เขา​ก็​อาจ​ป้องกัน​โดย​การ​ทำ�​โปรแกรม​ไวรัส​คอมพิวเตอร์​เข้า​ทำ�ลาย​ผู้​ที่​ลัก​ขโมย​สิทธิ​ การ​ใช้​งาน ถ้า​เขา​เขียน​โปรแกรม​ไม่​รอบคอบ​ก็​อาจ​ทำ�ลาย​ผู้​ที่​ใช้​งาน​ถูก​ต้องตา​มสิ​ทธิ​ได้ เพราะ​ผู้​ที่​ใช้​งาน ​เหล่า​นั้นไ​ ม่​ได้ป​ ้องกัน​ด้วย​โปรแกรม​ป้องกัน​ไวรัส​คอมพิวเตอร์ จึง​เป็นการ​กระทบ​กระเทือน​กัน​ไป​หมด หรือ​ การ​ใช้​เครื่อง​คอมพิวเตอร์เ​พียง​เพื่อ​เป็น​เฟอร์นิเจอร์​ประดับ​ห้อง​ทำ�ให้​สูญ​เสีย​ทรัพย์​โดย​ไม่​จำ�เป็น ก่อ​ให้​เกิด​ นิสัย​ไม่รู้​จักพ​ อ มอง​ประโยชน์​ไม่เ​ป็น​ ทัศนคติ​ก็เ​สีย ทำ�ให้​เป็น​คน​ทั้ง​อยาก​ได้​และ​หลง​ผิด​อีก​ด้วย 2) ความ​เสือ่ ม​ทมี่ า​จาก​การ​พดู ช​ วั่ เช่น การ​จำ�หน่าย​หรือน​ ำ�​เสนอ​รูปภาพ​ลามก​เพื่อท​ ำ�ลาย​ ชื่อเ​สียง การ​โฆษณาชวนเชื่อ​เกิน​ความ​เป็น​จริง การ​พูด​ชัก​จูง​ให้​สร้าง​โปรแกรม​ไวรัส​คอมพิวเตอร์​อย่าง​ง่ายๆ เพื่อป​ ้องกัน​ระบบ​ข้อมูล​ของ​ตัวเ​อง เท่ากับ​ส่ง​เสริม​ให้​ขาด​คุณธรรม เป็นต้น 3) ความ​เสื่อม​ที่มา​จาก​การ​ทำ�​ชั่ว ได้แก่ ไม่​ยอมรับ​รู้​ระเบียบ​วินัย ไม่​ตรง​เวลา ไม่​รักษา​ ความ​สะอาด ทำ�​ใน​สิ่งท​ ี่​ไม่ใช่​ธุระ ส่วน​หน้าที่​การ​งาน​ของ​ตน​ไม่​พยายาม​จัดการ​ให้​เรียบร้อย แต่​ชอบ​ก้าวก่าย​ หน้าที่​การ​งาน​ของ​ผู้​อื่น เช่น นำ�​เครื่อง​คอมพิวเตอร์​ของ​ตน​ที่​ทำ�​หน้าที่​พัฒนา​ระบบ​งาน ไป​ใช้​ใน​การ​พิมพ์​ เอกสาร ดัดแปลง​โปรแกรม​ที่​มี​ลิขสิทธิ์แ​ ล้ว​นำ�​ออก​จำ�หน่าย​ใน​ราคา​ถูก การ​ใช้​เครื่อง​คอมพิวเตอร์จ​ ะ​ต้อง​ไม่​ รับ​ประทาน​อาหาร​และ​น้ำ�​ใน​บริเวณ​เครื่อง​เพ​ราะ​จะ​ทำ�ให้​เครื่อง​เสีย​หาย​ได้ ก็​ไม่​ยอมรับ​กติกา ผล​ก็​คือ​เครื่อง​ เสื่อม​เร็ว​กว่าก​ ำ�หนด และ​บาง​ครั้ง​ก็​หา​สาเหตุ​ไม่​พบ การ​ใช้​เครื่อง​คอมพิวเตอร์​เล่น​เกม​ใน​เวลา​งาน และ​การ​ ใช้​คอมพิวเตอร์ใ​ น​การ​ตัด​ต่อภ​ าพ​เปลือย​ลามก เป็นต้น 4.1.2 การนำ�​ความ​ดม​ี า​สต​ู่ น การนำ�​ความ​ดีม​ า​สู่ต​ น เป็นห​ ลักธ​ รรม​แห่งก​ าร​รับค​ วาม​ดี คือ การ​ น้อมนำ�​คุณธรรม​มา​สู่ต​ น ได้แก่ การ​ใกล้ช​ ิดก​ ับผ​ ู้ท​ ี่ม​ ีค​ วาม​คิดถ​ ูก พูดถ​ ูก และ​กระทำ�​ถูกจ​ ะ​ทำ�ให้เ​ป็นผ​ ู้ม​ ีค​ วาม​ เห็นถ​ ูก มีว​ ินิจฉัย​ดี ย่อม​มีท​ ัศนคติ​ที่​ถูก​ต้อง สามารถ​ป้องกัน​ไม่​ให้​เกี่ยวข้อง​กับ​เทคโนโลยี​ที่เ​สื่อม และ​ไม่​นำ�​ เทคโนโลยี​ไป​ใน​ทาง​เสื่อม​ได้ สามารถ​เกี่ยวข้อง​กับ​เทคโนโลยี​ที่​เจริญ และ​นำ�​เทคโนโลยี​ไป​ใช้ใน​ทาง​เจริญ ความ​ดีท​ ี่มา​จาก​การ​คิด​ดี​เป็น​ปกติ ได้แก่ คิด​เอื้อเฟื้อ คิด​แบ่ง​ปัน คิด​ให้​อภัย ไม่​ผูก​พยาบาท คิด​เห็นถ​ ูก​ต้อง​ตาม​ความ​จริง เช่น การ​คิด​ใน​การ​ผลิต​ชิ้น​ส่วน​ที่​เล็ก​ลง มี​ความ​ทนทาน​สูง มี​การ​ต่อ​เชื่อม​กัน​ ได้ง​ ่าย​ทำ�ให้​เกิดอ​ งค์กร​ที่​ร่วม​มือ​กัน​ก่อใ​ ห้​เกิด​ความ​เจริญ​ทาง​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​มาก​ขึ้น เป็นต้น 4.1.3 การนำ�​ไป​สู่​ความ​เจริญ การนำ�​ไป​สู่​ความ​เจริญ เป็น​หลัก​ธรรม​เพื่อ​ประ​คับ​ประคอง​คุณ​ ความ​ดี​ใน​ตัว​ให้​เจริญ​งอกงาม​ยิ่ง​ขึ้น​นำ�​ความ​เจริญ​มา​สู่​ตน​และ​สามารถ​ทำ�ให้​สังคม​เจริญ​ด้วย​การ​ยกย่อง สิ่ง​ที่ด​ ี​ที่ถ​ ูก​ต้อง เพื่อใ​ ห้เ​ป็น​แบบ​อย่าง​ที่​ดี​ใน​สังคม อัน​ทำ�ให้​สังคม​เจริญ​ขึ้น ​ใน​การ​ยกย่อง​ต้อง​ยกย่อง​เพราะ​ ประโยชน์ท​ ี่แท้​จริง​โดย​พิจารณา​ว่าเ​ป็น​คุณจ​ ึง​ยกย่อง ไม่​ยกย่อง​โดย​เหตุน​ ับ​ถือ​ต่อๆ กัน​มา เช่น

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-62

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

1) การ​ยกย่อง​เทคโนโลยี​ใน​ฐานะ​ที่​สามารถ​ช่วย​สร้าง​งาน สร้าง​คน เช่น การ​ใช้​เครื่อง​ คอมพิวเตอร์เ​พื่อ​จัด​ทำ�​สติ๊กเกอร์ ก็​ใช้​ให้​ตรง​ตาม​วัตถุประสงค์​ที่​เลือก​ซื้อ ใช้​ให้​คุ้ม​ค่า​สม​กับ​ราคา​ที่​ลงทุน​ไป ใน​เวลา​ที่​เหมาะ​สม ไม่ใช่​นำ�​มา​เล่น​เกมจน​เสีย​เวลา​พัก​ผ่อน หรือ​เล่น​พนัน​จน​ต้อง​สูญ​ทรัพย์ เป็นต้น 2) การ​ไม่ย​ กย่อง​เทคโนโลยีใ​ ห้เ​กินค​ ณ ุ ค่าข​ อง​คน เห็นใ​ คร​ไม่มเ​ี ครือ่ ง​คอมพิวเตอร์ใ​ ช้ หรือ​ ไม่​ใช้​อินเทอร์เน็ต ไม่มีอ​ ีเมล ก็​ต้อง​ไม่ถ​ ือว่า​เป็น​ผู้ไ​ ม่ทัน​สมัย เพราะ​การ​ใช้​เครื่อง​คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต หรือ​อีเมล นั้น​ต้อง​ขึ้น​อยู่​กับ​ความ​จำ�เป็น และ​ความ​ทัน​สมัย​นั้น​เกิด​มา​จาก​คุณธรรม​ที่​มี​ความ​คิด​และ​การ ก​ระ​ทำ�​ที่ถ​ ูก​ต้อง 3) การ​ไม่ย​ กย่อง​สงิ่ ท​ น​ี่ �​ำ ไป​สค​ู่ วาม​เสือ่ ม เช่น ภาพ​โป๊เ​ปลือย​ทัง้ ห​ ลาย ทำ�ให้เ​กิดค​ วาม​เห็น​ ผิดใ​ น​หมูส่​ ังคม หรือ​การ​เผลอ​ยกย่อง​ภาพ​ตัดต​ ่อท​ ี่บ​ ิดเบือน​และ​มผี​ ูเ้​สียห​ าย นอกจาก​จะ​ทำ�ให้ว​ ินิจฉัยเ​ริ่มเ​สีย​ แล้ว​ยัง​อาจ​ทำ�ให้​มีผ​ ู้​เดือด​ร้อน​เสีย​หาย​ได้ 4.2 หลัก​ธรรม​ของ​ผปู้​ ระกอบ​วิชาชีพ ผู้ป​ ระกอบ​วิชาชีพ​ที่​ใครๆ ต้องการ​นั้น​มี​คุณสมบัติ​ดังนี้ – ฉลาด​รู้​และ​ฉลาด​คิด คือ ต้อง​เป็น​คน​ใฝ่​ความ​รู้ และ​คิด​เป็น ทำ�ให้​ไม่​เป็น​คน​โง่ – ฉลาด​ทำ� คือ ฝึกต​ ัวเ​อง​ให้ม​ ีศ​ ิลปะ ทำ�ได้ ทำ�​เป็น สามารถ​นำ�​ความ​รู้ม​ า​ใช้ง​ าน​ได้จ​ ริง ไม่เ​ป็น​ คน​ชนิด​ความ​รู้​ท่วม​หัว​เอา​ตัว​ไม่​รอด มี​แต่​ความ​รู้​แต่​พอ​ให้​ทำ�​อะไร​ก็​ทำ�​ไม่​ได้​สัก​อย่าง – ฉลาด​ใช้ คือ ฝึกต​ ัวเ​อง​ให้ม​ ี​วินัย เคารพ​ต่อก​ ฎ​ระเบียบ​ของ​หมู่ค​ ณะ รู้จักค​ วบคุมต​ นเอง​ให้​ นำ�​ความ​รู้​ความ​สามารถ​ไป​ใช้​ใน​ทาง​ที่ถ​ ูก​ต้อง ไม่​เป็น​คน​เจ้า​อารมณ์ เอาแต่​ใจ​ตัว​เอง ผู้​ผลิต​ที่ม​ ี​ความ​ฉลาด​รู้ ฉลาด​ทำ� และ​ฉลาด​ใช้ ย่อม​ผลิต​เทคโนโลยี​ที่​มี​คุณ​และ​ระมัดระวัง​ไม่​ผลิต​ เทคโนโลยีท​ ี่อ​ าจ​เป็นโ​ ทษ​ได้ ใน​ลำ�ดับถ​ ัดม​ า​ผู้จ​ ำ�หน่าย​ที่ม​ ีค​ วาม​ฉลาด​รู้ ฉลาด​ทำ� และ​ฉลาด​ใช้ ก็จ​ ะ​มีค​ ุณธรรม​ ใน​การ​เลือก​และ​นำ�​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​ทีเ่​ป็นป​ ระโยชน์ม​ า​จำ�หน่าย​ต่อผ​ ูบ้​ ริโภค​และ​สังคม ผูบ้​ ริโภค​ทีม่​ คี​ วาม​ ฉลาด​รู้ ฉลาด​ทำ� และ​ฉลาด​ใช้ ย่อม​จะ​เป็น​ผู้​ประกอบ​การ​ที่​สามารถ​นำ�​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​มาส​ร้าง​สรรค์​ สังคม​อย่าง​แท้จริง สำ�หรับ​หลัก​ธรรม​ของ​ผู้ป​ ระกอบ​วิชาชีพ มี 3 ประการ คือ – การ​มี​ความ​รู้ เพื่อ​เตรียม​ตน​ให้​มี​ความ​รู้​จริง เรียก​ว่า ผู้​ฉลาด​รู้​และ​ฉลาด​คิด – การ​มี​ความ​สามารถ เพื่อ​เตรียม​ตน​ให้​มี​ความ​สามารถ​นำ�​ความ​รู้​ออก​สู่​การ​ปฏิบัติ เรียก​ว่า ผู้​ฉลาด​ทำ� – การ​มี​วินัย เพื่อ​เตรียม​ตน​ให้​เป็น​ผู้​ที่​สามารถ​ควบคุม​ไป​ใน​ทาง​ที่​ดี​ได้ เรียก​ว่า ผู้​ฉลาด​ใช้ 4.2.1 การ​มี​ความ​รู้ ผู้ฉ​ ลาด​รู้ คือ ผู้​ใฝ่​หาความ​รู้ ไม่​ให้​เป็น​คน​โง่ ผู้​ที่​มี​ความ​รอบรู้​จะ​ต้อง​รู้​ให้​ รอบ จึง​จะ​เรียก​ว่าร​ ู้​จริง ความ​รอบรู้ ประกอบ​ด้วย​ความ​รู้​ที่​ครบ​ถ้วน​สมบูรณ์ 4 ประการ ดังนี้ 1) รู้​ลึก หมาย​ถึง ความ​สามารถ​ใน​เชิง​ทฤษฎี รู้​เรื่อง​ราว​สาว​ไป​หาเหตุ​ใน​อดีต​ได้​ลึก​ซึ้ง​ ถึง​ความ​เป็นม​ า เช่น สาย​โทรศัพท์ โปรแกรม หรือ​ขนาด​ของ​หน่วย​ความ​จำ�​ไม่​เพียง​พอ เป็นต้น 2) รู้ร​ อบ หมาย​ถึง ช่าง​สังเกต รู้​สิ่ง​ต่างๆ รอบ​ตัว สภาพ​ภูมิประเทศ ดิน​ฟ้า​อากาศ ผู้คน​ ใน​ชุมชน ความ​เป็นไ​ ป​ของ​เหตุการณ์ต​ ่างๆ รอบ​ตัว สิ่งท​ ีค่​ วร​รู้ สิ่งท​ ีต่​ ้อง​รู้ เช่น เป็นน​ ักเ​ทคนิคเ​ครือข​ ่าย​ไม่ใช่จ​ ะ​ รู้​แต่​เพียง​เทคนิคด​ ้าน​เครือ​ข่าย แต่​ต้อง​เรียน​รู้เ​รื่อง​ของ​การ​ประยุกต์ และ​ฐาน​ข้อมูล จะ​ได้​สามารถ​ออกแบบ​ หรือต​ ิด​ตั้ง​ระบบ​เครือข​ ่าย​ได้​เหมาะ​สม​กับ​การ​ใช้ง​ าน

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-63

ธ ส

3) รู้​กว้าง หมาย​ถึง สิ่ง​รอบ​ตัว​แต่ละ​อย่าง​ที่​รู้​ก็​รู้​อย่าง​ละเอียด รู้​ถึง​ความ​เกี่ยว​พัน​ของ​ สิ่งน​ ั้นก​ ับส​ ิ่งอ​ ื่นๆ ด้วย คล้าย​รรู้​ อบ​แต่เ​ก็บร​ าย​ละเอียด​มาก​ขึ้น เช่น นักเ​ทคนิคเ​ครือข​ ่าย​นอกจาก​จะ​ศึกษา​เรื่อง​ ของ​การ​ประยุกต์​และ​ฐาน​ข้อมูล​แล้วย​ ัง​ต้อง​รู้​ว่าฐ​ าน​ข้อมูล​สำ�คัญ​และ​มี​ผล​ต่อ​การ​ประยุกต์อ​ ย่างไร 4) รู้ไ​ กล หมาย​ถึง มอง​การณ์​ไกล รู้​ถึง​ผล​ที่จ​ ะ​ตาม​มา​ใน​อนาคต เช่น เห็น​การ​ใช้​ข้อมูล​ ไม่​จัด​เป็น​ระเบียบ ก็​รู้​ว่า​ต่อ​ไป​ฮาร์ดดิสก์​จะ​เต็ม อาจ​ประสบ​ปัญหา​ติด​ไวรัส​คอมพิวเตอร์ นัก​คอมพิวเตอร์ ต้อง​รู้​แนว​โน้ม​ของ​เทคโนโลยี​ด้าน​ต่างๆ 4.2.2 การ​มี​ความ​สามารถ ความ​สามารถ คือ การ​ทำ�งาน​อย่าง​มี​ศิลปะ หรือ​ฉลาด​ทำ� คือ มี​ ความ​สามารถ​ที่​จะ​ลงมือ​กระทำ�​ตาม​ความ​รู้ เรียก​ว่าท​ ำ�​เป็น​นั่นเอง ผู้​ฉลาด​รู้ เรียน​รู้​ใน​หลัก​วิชา รู้​ว่า​อะไร​เป็น​อะไร ทำ�​อย่างไร แต่​ยัง​ไม่​แน่ใจ​ว่า​จะ​เป็น​ผู้​ฉลาด​ทำ� ศิลปะ​นั้น​เป็น​ความ​สามารถ​ใน​ทาง​ปฏิบัติ คือ​สามารถ​นำ�​ความ​รู้​นั้น​มา​ใช้​ให้​เกิด​ผล​ได้ เป็น​ความ​สามารถ​ใน​ เชิง​ปฏิบัติ ที่​ทำ�ให้​ดีท​ ี่สุด ตัวอย่าง​เช่น การ​อาบ​น้ำ�​ก็​ต้องหา​วิธี​ใช้​สบู่​น้อย​ที่สุด แต่​อาบ​ได้​สะอาด​ที่สุด การ​ใช้​ คอมพิวเตอร์ ก็​ต้อง​ดู​ว่าเ​รา​มี​ศักยภาพ​อย่างไร มี​งาน​อย่างไร แล้ว​จัด​งาน​ให้​ตรง​กับ​คุณภาพ​ของ​เครื่อง ไม่ใช่​ เอา​เครือ่ ง​ระดับก​ ราฟิกอ​ ย่าง​แมคอินทอช​มา​พมิ พ์ง​ าน​บนั ทึกก​ าร​ประชุม อย่าง​นเี​้ รียก​วา่ “ขีช​่ า้ ง​จบั ต​ ัก๊ แตน” คือ ลงทุน​มาก​แต่​ได้​ผล​น้อย เพราะ​ไม่​ฉลาด​ทำ� เป็นต้น คำ�​โบราณ​ที่​ว่า “รู้มาก​จะ​ยากนาน” หมาย​ถึง​มี​แต่​ความ​รู้​ ทาง​ทฤษฎี แต่​ขาด​ความ​รู้ท​ าง​ปฏิบัติ จึงไ​ ม่​สามารถ​นำ�​ความ​รู้​ไป​ทำ�​ประโยชน์​อะไร​ได้​เลย ความ​สามารถ​ประกอบ​ด้วย​องค์ 4 ประการ คือ 1) เต็มใจ​ทำ� การ​ทจี่​ ะ​เต็มใจ​ทำ�​ต้อง​มเี​ป้าห​ มาย​ทีด่​ ี ตัวอย่าง​คน 3 คน​เขียน​โปรแกรม คน​ ทีห่​ นึ่งเ​ขียน​ให้เ​สร็จเ​พื่อไ​ ม่ใ​ ห้ถ​ ูกน​ าย​ว่า คน​ทีส่​ อง​เขียน​เพื่อใ​ ห้ง​ าน​เสร็จ คน​ทีส่​ าม​เขียน​ไป​กน็​ ึกคิดถ​ ึงป​ ระโยชน์​ เมื่อ​โปรแกรม​สำ�เร็จ​และ​นำ�​ออก​ใช้​งาน จะ​ต้อง​ใช้​งาน​ได้​นานๆ และ​ถ้า​ต้อง​มี​การ​แก้ไข​ภาย​หลัง​จะ​ต้อง​ทำ�ได้​ อย่าง​ง่ายๆ ทำ�​โดย​ใคร​ก็ได้ จึง​เต็มใจ​ทำ� ดัง​นั้น​คน​ที่​สาม​ย่อม​มี​ผล​งาน​ดี​ที่สุด จะ​เห็น​ว่า​ผู้​ที่​มี​ความ​เข้าใจ​ถูก​ และ​ดี ก็จ​ ะ​นำ�​ไป​สูค่​ วาม​คิดท​ ีถ่​ ูกแ​ ละ​ดี ถือเ​ป็นผ​ ูท้​ ีม่​ ที​ ัศนคติท​ ีด่​ ใี​ น​งาน​ซึ่งท​ ำ�ให้ม​ กี​ ารก​ระ​ทำ�​ทีถ่​ ูกแ​ ละ​ดใี​ น​ที่สุด ฝึก​ช่าง​สังเกต รู้จัก​หา​จุด​เด่น​ของ​สิ่งร​ อบ​ตัวค​ ือ​จับ​ถูก​นั่นเอง 2) ตั้งใจ​ทำ� การ​ตั้งใจ​ทำ�งาน​ทุก​อย่าง​ที่มา​ถึง​ตน​ให้​ดี​ที่สุด ต้อง​ไม่​ดูถูก​งาน และ​ไม่​เกี่ยง​ งาน เมื่อ​เริ่ม​ต้น​งาน​อย่าง​เต็มใจ​แล้ว ก็​จะ​ตั้งใจ​ทำ�งาน​ให้​ได้​ดี อย่าง​นัก​เขียน​โปรแกรม​คน​ที่​สาม​ใน​ตัวอย่าง​ ข้าง​ต้น เขา​จะ​ตั้งใจ​เขียน โดย​กำ�หนด​โมดูล​ใน​โปรแกรม​ให้​เป็น​อิสระ​กัน มี​การ​ตั้ง​ชื่อ​ตัวแปร​ต่างๆ ให้​เป็น​ มาตรฐาน แทนที่​จะ​ตั้งช​ ื่อ​เป็น A B และ C ก็​ตั้งใ​ ห้​มี​ความ​หมาย เป็นห​ มวด​หมู่ 3) เพียร​ทำ� เป็นการ​ตั้งใจ​ทำ�งาน​ทุก​อย่าง​ด้วย​ความ​ประณีต ละเอียด​ละ​ออ จนกว่า​งาน​ จะ​สำ�เร็จ​ลุล่วง​ไม่ย​ ่อท้อ​ต่ออ​ ุปสรรค​ที่เ​กิด​ขึ้น ตัวอย่าง​เช่น ใน​ระหว่าง​การ​ทำ�งาน​อาจ​มี​ปัญหา​เกิดข​ ึ้น​จาก​การ​ ที่​ไฟฟ้า​ดับก​ ะทันหันไ​ ม่​อาจ​บันทึก​โปรแกรม​ไว้​ได้​ทัน ทำ�ให้​โปรแกรม​เสียห​ าย ก็​ไม่​ตก​อก​ตกใจ หรือ​หดหู่ใ​ จ หรือ​กล่าว​โทษ​ใคร​แต่​ตั้งห​ น้า​ตั้งต​ า​ทำ�​ใหม่​และ​แก้ไข​ข้อ​บกพร่อง​ที่​ได้​ทำ�​ไป​แล้วใ​ ห้​ดี​ขึ้น ทำ�ให้​ได้​โปรแกรม​ที่​ดี​ กว่า​เดิม ตัว​เอง​ก็​ยัง​ได้ค​ ุณธรรม​คือ​ความ​อดทน 4) หมัน่ ป​ รับปรุงแ​ ก้ไข​จน​ส�ำ เร็จ ตัง้ ใจ​ปรับปรุงง​ าน​ให้ด​ ข​ี ึน้ เ​สมอ ไม่ท​ �​ำ อะไร​อย่าง​สะเพร่า​ แบบ​ขอ​ไป​ที หมั่น​ใกล้ช​ ิด​กับ​คน​มี​ศิลปะ​อย่าง​แท้จริง​ใน​สาย​งาน​นั้นๆ เพื่อ​ฝึกฝน​ตน​ให้​มี​ศิลปะ​ใน​งาน​มาก​ยิ่ง​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-64

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ขึน้ ผูท​้ หี​่ มัน่ ป​ รับปรุงแ​ ก้ไข​จะ​ตอ้ ง​เป็นผ​ ชู​้ า่ ง​สงั เกต​ทัง้ ค​ วาม​ส�ำ เร็จแ​ ละ​ขอ้ บ​ กพร่อง ทำ�ให้เ​ป็นผ​ มู​้ ส​ี ติสมั ปชัญญะ การ​หมั่น​ฝึก​สมาธิ​อยู่เ​สมอ จิตใจ​จะ​สงบ​ผ่องใส เกิด​ปัญญา​ที่​จะ​ฝึกฝน​และ​ปรับปรุงต​ นเอง 4.2.3 การ​มี​วินัย วินัย หมาย​ถึง ระเบียบ กฎ​เกณฑ์​ข้อ​บังคับ​สำ�หรับ​ควบคุม​ความ​ประพฤติ​ ทาง​กาย​ของ​คนใน​สังคม​ให้​เรียบร้อย​ดี​งาม เป็น​แบบแผน​อัน​หนึ่ง​อัน​เดียวกัน จะ​ได้​อยู่​ร่วม​กัน​ด้วย​ความ​สุข​ สบาย ไม่ก​ ระทบ​กระเทือน​ซึ่งก​ ัน​และ​กัน ให้​ห่าง​ไกล​จาก​ความ​ชั่ว​ทั้ง​หลาย​อัน​จะ​นำ�​มา​ซึ่ง​ความ​ทุกข์​แก่​ตนเอง​ และ​ผู้​อื่น วินัย​จึง​เป็น​สิ่งท​ ี่​ใช้​ควบคุม คน​ให้​ใช้​ความ​รู้​และ​สามารถ​ไป​ใน​ทาง​ที่​ถูก​ที่ค​ วร ทำ�ให้​เป็น “คน​ฉลาด​ ใช้” ใน​ฐานะ​ผผู​้ ลิตเ​ทคโนโลยี การ​มว​ี นิ ยั จ​ ะ​ท�ำ ให้เ​ป็นผ​ ผู​้ ลิตช​ ัน้ ด​ แ​ี ละ​เป็นท​ ไี​่ ว้ว​ างใจ​แก่ผ​ บู​้ ริโภค ใน​ ฐานะ​ผู้​จำ�หน่าย​เทคโนโลยี การ​มี​วินัย​จะ​ทำ�ให้​เป็น​ผู้​จำ�หน่าย​ชั้น​ดี​เป็นท​ ี่​ไว้​วางใจ​แก่​ผู้​บริโภค เช่น การ​มี​วินัย​ ใน​การ​ให้​บริการ​หลังก​ าร​ขาย มี​ความ​จริงใจ​ใน​การ​ให้​บริการ ใน​ฐานะ​ผู้​บริโภค​เทคโนโลยี การ​มี​วินัย​จะ​ทำ�ให้​ เป็นผ​ ู้บ​ ริโภค​ชั้นด​ ีค​ ือไ​ ม่น​ ำ�​ปัญหา​มากมาย​ไป​สู่ผ​ ู้ผ​ ลิต เช่น เมื่อซ​ ื้อล​ ิขสิทธิเ์​พียง​ชุดเ​ดียว​ก็ไ​ ม่น​ ำ�​ไป​ดัดแปลง​ไป​ เป็นห​ ลาย​ชุด ทำ�ให้เ​ป็นท​ ไี่​ ว้ว​ างใจ​ของ​ผผู้​ ลิต ผูผ้​ ลิตอ​ าจ​บริจาค​ซอฟต์แวร์ช​ ุดจ​ ริงส​ ำ�หรับก​ าร​ศึกษา​วิจัยค​ ้นคว้า​ โดย​ไม่​คิด​ค่า​ใช้จ​ ่าย​ใดๆ ใน​ระหว่าง​ที่ผ​ ู้บ​ ริโภค​ยังม​ ิได้​ตัดสิน​ใจ​เลือก​ใช้​งาน​จริง ทำ�ให้​ผู้​บริโภค​ได้​ศึกษา​อย่าง​ พอ​เพียง​ก่อน​ตัดสิน​ใจ ผู้​มี​ความ​รู้​ความ​สามารถ แต่​ไม่มี​วินัย อาจ​นำ�​ความ​รู้​ความ​สามารถ​ไป​ใช้​ทาง​ที่​ผิด เช่น การ​ สร้าง​ธุรกิจ​พนัน​บน​อินเทอร์เน็ต ได้แก่ พนัน​บอล พนัน​สลาก ซึ่ง​มี​การ​เกี่ยวข้อง​กับ​บุคคล​หลาย​สาขา เช่น การ​โอน​เงิน​เข้า​บัญชีธ​ นาคาร การ​ชำ�ระ​เงิน​ผ่าน​บัตร​เครดิต ทำ�ให้​มี​ความ​เสีย​หาย​ใน​หลาย​สาขา​วิชาชีพ เพราะ​ มอง​ไม่​ออก​ถึง​ความ​มี​คุณธรรม​ที่​จะ​เป็น​ประโยชน์​ให้​สังคม​และ​ความ​เสื่อม​คุณธรรม​ที่​สามารถ​ทำ�ลาย​สังคม​ ได้ นอกจาก​นี้ย​ ัง​เป็น​แหล่งฟ​ อก​เงิน​อย่าง​ง่ายดาย​ของ​เหล่า​มิจฉาชีพ​ด้วย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 8.3.1 แล้ว โ​ ปรด​ปฏิบัติ​กิจกรรม 8.3.1 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 8 ตอน​ที่ 8.3 เรื่อง​ที่ 8.3.1

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

เรื่อง​ที่ 8.3.2 จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ

ธ ส

8-65

ปัญหา​จริยธรรม​ทีซ่​ ับซ​ ้อน​ใน​ทาง​ธุรกิจม​ ักจ​ ะ​มคี​ วาม​ลำ�บาก​ใน​การ​ตัดสินใ​ จ​เพราะ​เกี่ยวข้อง​กับค​ วาม​ ขัดแ​ ย้ง​และ​การ​แข่งขันเ​รื่อง​ผล​ประโยชน์ห​ ลัก​การ​พื้น​ฐาน​ทาง​จริยธรรม​และ​กฎ​เกณฑ์ต​ ่างๆ เพื่อ​ใช้​ประกอบ​ การ​ตัดสินใ​ จ เมื่อต​ ้อง​เผชิญ​กับ​สถานการณ์ท​ ี่​ซับ​ซ้อน​ใน​ทาง​ธุรกิจ กระบวนการ หลัก​การ​ของ​การ​ใช้​เหตุผล​ ทาง​จริยธรรม​และ​กฎ​เกณฑ์ใ​ น​การ​ตัดสิน​ใจ

ธ ส

1. ความ​หมาย​ของ​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ

ธ ส

จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ (business ethics) หมาย​ถึง ศิลปะ​ใน​การ​ประยุกต์​ใช้​หลัก​จริยธรรม เพื่อ​เป็น​ แนวทาง​ใน​การ​ด�ำ เนินธ​ รุ กิจ และ​ตรวจ​สอบ แก้ป​ ญ ั หา​ทาง​ศลี ธ​ รรม​ทซี​่ บั ซ​ อ้ น การ​แก้ป​ ญ ั หา​ทาง​จริยธรรม​ส�ำ หรับ​ ปัญหา​ทาง​ธุรกิจ​อาจ​จะ​มี​ทาง​เลือก​ที่​ถูกต​ ้อง​มากกว่า​หนึ่ง​ทาง​เลือก และ​ใน​บาง​ครั้ง​ก็​ดู​เหมือน​ไม่มี​ทาง​เลือก​ที่​ ถูกต​ ้อง​เลย ดังน​ ั้น การ​หาเหตุผ​ ล​ทาง​จริยธรรม​และ​ตรรกวิทยา จึงเ​ป็นส​ ิ่งจ​ ำ�เป็นท​ ีต่​ ้อง​ใช้ เพื่อจ​ ะ​ทำ�ความ​เข้าใจ​ และ​คิดห​ า​วิธี​การ​แก้​ปัญหา​ทาง​จริยธรรม​ใน​ธุรกิจ แม้ว่าจ​ ะ​ไม่มีก​ าร​ให้ค​ ำ�​จำ�กัดค​ วาม​ที่ด​ ีท​ ี่สุดข​ อง​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจก​ ็ตาม แต่ก​ ็ย​ ังม​ ีก​ าร​ตัดสินใ​ จ​ร่วม​ กัน​ว่า จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจเ​ป็น​ขอบข่าย​สาขา​หนึ่ง​ที่​ต้องการ​หาเหตุผ​ ล​และ​การ​วิจัย​ชี้ขาด ที่​ตั้ง​อยู่​บน​หลัก​การ​ และ​ความ​เชื่อ เพื่อ​จะ​ทำ�ให้​ผล​ประโยชน์​ส่วน​ตัว​ใน​ทาง​เศรษฐกิจ​กับ​การ​เรียก​ร้อง​ทาง​สังคม​สมดุล​กัน ได้​มี​ ผู้​ให้​ความ​หมาย​ของ​คำ�​ว่า​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจไ​ ว้​ดังนี้ นาสช์ (Nash) ได้ใ​ ห้ค​ วาม​หมาย​ของ​จริยธรรม​ทาง​ธรุ กิจว​ า่ เป็นการ​ศกึ ษา​ถงึ บ​ รรทัดฐาน​ทาง​จริยธรรม​ ส่วน​บคุ คล ทีไ​่ ด้น​ �​ำ ไป​ประยุกต์ใ​ ช้ก​ บั ก​ จิ กรรม​และ​เป้าห​ มาย​ของ​องค์กร​ธรุ กิจ ทัง้ นีไ​้ ม่ใช่ม​ าตรฐาน​ทาง​จริยธรรม​ ที่​แยก​ออก​ไป แต่​เป็นการ​ศึกษา​เกี่ยว​กับ​บุคคล​ที่​มี​จริยธรรม​และ​แสดง​ตน​เป็นต​ ัวแทน​ของ​ระบบ​ใน​ทาง​ธุรกิจ​ จะ​ก่อ​ให้​เกิด​ปัญหา​อัน​เป็น​เอกลักษณ์​ได้​อย่างไร นาสช์ กล่าว​ว่า จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ​เกี่ยวข้อง​กับ​ขอบข่าย​ พื้น​ฐาน​สาม​ประการ​ของ​การ​ตัดสิน​ใจ​ใน​การ​บริหาร​การ​จัดการ​คือ – ทาง​เลือก​เกี่ยว​กับ​กฎหมาย เรา​จะ​ปฏิบัติ​ตาม​ข้อ​กฎหมาย​กำ�หนด หรือ​จะ​หา​ทาง​หลีก​เลี่ยง – ทาง​เลือก​เกี่ยว​กับ​ประเด็น​ปัญหา​ทาง​สังคม และ​เศรษฐกิจ​ที่​อยู่​นอก​เหนือ​อำ�นาจ​กฎหมาย – ทาง​เลือก​เกี่ยว​กับ​การ​จัด​ลำ�ดับ​ความ​สำ�คัญ​ของ​ผล​ประโยชน์​ส่วน​ตน​กับ​ผล​ประโยชน์​ของ​ บริษัท เกียรติศักดิ์ จี​ระ​เธียร​นาค (จิตรา​พร ลี​ละ​วัฒน์ และ​คณะ) ให้​ความ​หมาย​ของ จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ ไว้​ดังนี้ “จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ” คือ ความ​ตั้งใจ​ของ​แต่ละ​ฝ่าย​ที่​เกี่ยวข้อง​ใน​การ​ทำ�​ธุรกิจ​ควร​ปฏิบัติ​ต่อ​กัน​ อย่าง​มี​เหตุผล​และ​ไว้ว​ างใจ​ซึ่ง​กันแ​ ละ​กัน แม้ว่า​วัตถุประสงค์​ของ​การ​ทำ�​ธุรกิจ​ก็​เพื่อ​การ​สร้าง​ความ​มั่ง​คั่ง แต่​ ผู้​เป็นเ​จ้าของ​หรือ​ตัวแทน​เจ้าของ​ต้อง​รักษา​มาตรฐาน​การ​ปฏิบัติท​ ี่​ดี​ต่อ​ลูกจ้าง ลูกค้า คู่​ค้า หรือ​เจ้า​หนี้ แม้ว่า​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-66

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

จะ​ไม่มี​กฎ​เกณฑ์​ที่​ตายตัว​แต่​ความ​พยายาม​อัน​ต่อ​เนื่อง​ใน​การ​ปฏิบัติ​ต่อ​กัน​ด้วย​ความ​ซื่อสัตย์ และ​ไว้​วางใจ​ ใน​ทุก​กรณี​เป็น​สิ่ง​ที่ค​ วร​ยึดถือ นอกจาก​นี้​ยัง​มี​ผู้​กล่าว​ถึง​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ​ใน​ด้าน​อื่นๆ อีก เช่น จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ​เป็นการ​ พิจารณา​และ​กำ�หนด​กรอบ​ของ​ความ​หมาย​จาก​มุม​มอง​ใน​การ​ละเว้น​จาก​การ​เบียดเบียน​ตาม​แนวทาง​ของ​ ศีล​ห้า​ใน​ทาง​พุทธ​ศาสนา​และ​เป็นการ​ชี้​ให้​ผู้​ประกอบ​การ​ตระหนัก​ถึง​ความ​สำ�คัญ​ของ​การ​ไม่​เบียดเบียน​กัน เพื่อ​ป้องกันไ​ ม่​ให้เ​กิด​ปัญหา​ตาม​มา จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ หมาย​ถึง มาตรฐาน​การ​ผลิต​สินค้า​และ​หรือ​การ​ให้​บริการ​เพื่อ​ผล​ตอบแทน​ตาม​ คุณค่า​ของ​การ​ลงทุน โดย​เป็น​ธรรม​ต่อ​ทุก​ฝ่าย ทั้ง​เจ้าของ​กิจการ ผู้​บริหาร ผู้​ร่วม​งาน ผู้​บริโภค ผู้รับ​บริการ รัฐบาล และ​สังคม ซึ่ง​มี​ความ​สัมพันธ์​เชิง​เศรษฐกิจ​ร่วม​กัน (stakeholders) จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ​มิได้​หมาย​ เฉพาะ​ความ​ชอบ​ธรรม​ของ​ตัวธ​ ุรกิจเ​ท่านั้น แต่ห​ มาย​รวม​ถึงก​ ลไก​ใน​การ​จัดการ​กับอ​ งค์ป​ ระ​กอ​บอื่นๆ เช่น คน ทุน ทรัพยากร เทคโนโลยี สังคม เป็นต้น ทั้งนี้เ​พื่อ​ประสิทธิภาพ​สูงสุด​ของ​ธุรกิจ​เอง การ​ที่​จะ​ให้​นัก​ธุรกิจ​ทำ�​ธุรกิจ​ที่​ดี​มี​ศีล​ธรรม​นั้น หมาย​ถึง การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจ​ที่​มี​ผล​ตอบ​แทน​พร้อมๆ กับ​ให้​ประโยชน์​ต่อ​สังคม​ด้วย ซึ่ง​ก็​หมาย​ถึง​การ​รับ และ​รู้จัก​ให้​คืน​สู่​สังคม ดัง​นั้น​จำ�เป็น​อย่าง​ยิ่ง​ที่​จะ​ต้อง​ มอง​ให้เ​ห็นภ​ าพ​โดย​รวม​ว่าห​ าก​จะ​กระทำ�​สิ่งใ​ ด​ไป​ก็แ​ ล้วแ​ ต่ย​ ่อม​จะ​มีผ​ ล​เกี่ยวข้อง​ตาม​มา​อยู่เ​สมอ และ​ใน​ที่สุด ผ​ ล​นั้นก​ จ็​ ะ​ส่งม​ า​ถึงต​ ัวผู้ก​ ระทำ�​อย่าง​หลีกเ​ลี่ยง​ไม่ไ​ ด้ เสมือน​เอา​หินขว้างไป​ที่ก​ ลาง​บ่อ สุดท้าย​ระ​ลอก​คลื่นก​ ็จ​ ะ​ กลับ​มาก​ระ​ทบ​ที่​ฝั่งอ​ ยู่ดี ด้วย​เหตุ​นี้​หาก​นักธ​ ุรกิจม​ ี​จิตสำ�นึกถ​ ึงค​ วาม​รับ​ผิด​ชอบ​และ​ผลก​ระ​ทบ​ที่​จะ​ตาม​มา ก็​ จะ​ทำ�ให้​คิด​อย่าง​รอบคอบ​ก่อน​ที่​จะ​กระทำ�​สิ่ง​ใดๆ และ​สำ�คัญ​ที่สุด​ก็​คือ​ความ​รู้สึก​ผิด​ชอบ​ชั่ว​ดี ที่​ได้​รับ​การ​ ปลูกฝ​ ังไ​ ว้ใ​ น​วัยเ​ยาว์ด​ ้วย ซึ่งห​ มายความ​ว่าค​ รอบครัว​เป็นป​ ัจจัยส​ ำ�คัญอ​ ย่าง​ยิ่งท​ ี่จ​ ะ​ปลูกฝ​ ังเ​มล็ดพ​ ันธุ์ค​ วาม​ด​ี ให้​กับ​นัก​ธุรกิจ​ที่​จะ​มี​จริยธรรม​อันด​ ี​งาม​ใน​อนาคต​นั่นเอง จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ เป็น​ศิลปะ​ของ​การ​ประยุกต์​ใช้​หลัก​จริยธรรม มา​เป็น​แนวทาง​ใน​การ​ประกอบ​ ธุรกิจ ให้เ​ป็นธ​ ุรกิจท​ ี่ด​ ี เป็นท​ ี่ย​ อมรับข​ อง​สังคม เพื่อป​ ระโยชน์ต​ ่อค​ วาม​เจริญอ​ ย่าง​ยั่งยืนข​ อง​ธุรกิจ พฤติกรรม​ ที่​ถูก​ยึดถือ​ใน​ธุรกิจ ประกอบ​ด้วย – การ​ยึด​หลัก​ของ​ความ​ถูก​ต้อง​และ​ความ​เป็น​ธรรม (fairness) – การ​ยึด​หลัก​ของ​ความ​ยุติธรรม (justice) – การ​ยึด​หลัก​ของ​ความ​รับ​ผิด​ชอบ (responsibility) และ​ความ​เท่า​เทียม​กัน (equity) ซึ่ง​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​ตัดสิน​ใจ​ทาง​ด้าน​การ​จุด​การ​พื้น​ฐาน 3 ประการ ได้แก่ – การ​ยึดถือ​ข้อ​กฎหมาย (law) เป็นก​รอบ​ใน​การ​ปฏิบัติ – คำ�นึงถ​ ึงผ​ ลก​ระ​ทบ​ต่อ​ระบบ​เศรษฐกิจ (economic) – ความ​ใส่ใจ​ของ​ผู้​บริหาร​ต่อ​ความ​เจริญ​เติบโต​อย่าง​ยั่งยืน​ของ​องค์การ (self interest) ให้​มี​ มาตรฐาน​ใน​การ​ประกอบ​ธุรกิจ การ​ผลิต​สินค้า​และ​บริการ การ​ให้​ผล​ตอบแทน​ตาม​ที่​ควร​จะ​เป็น​แก่​ผู้​ลงทุน และ​มีค​ วาม​เป็น​ธรรม​ต่อ​ผู้ม​ ีส​ ่วน​ได้ส​ ่วน​เสีย เช่น พนักงาน ผู้​ถือ​หุ้น ผู้​บริโภค คู่​แข่งขัน สังคม และ​ชุมชน

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

2. ความ​สำ�คัญ​ของ​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ

8-67

ธ ส

จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจม​ ี​ความ​สำ�คัญ​หลาย​ประการ ดังนี้ 1) ธุรกิจท​ ีป่​ ฏิบัติต​ าม​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจจ​ ะ​ได้ร​ ับค​ วาม​เจริญอ​ ย่าง​มั่นคง​และ​ยั่งยืน ส่วน​ธุรกิจท​ ีม่​ ุ่ง​ แต่​แสวงหา​กำ�ไร​และ​ผล​ประโยชน์ โดย​ไม่​ปฏิบัติ​ตาม​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ ใน​ระยะ​ยาว​จะ​ต้อง​ประสบ​ปัญหา​ และ​ความ​หายนะ 2) ธุรกิจท​ ีป่​ ฏิบัตติ​ าม​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ จะ​ได้ร​ ับค​ วาม​ไว้ว​ างใจ​จาก​ผูม้​ สี​ ่วน​ได้ส​ ่วนเสียเ​ป็นธ​ ุรกิจท​ ี​่ ทำ�​ประโยชน์ต​ ่อส​ ังคม​และ​ประเทศ​ชาติ ตรง​กันข​ ้าม​กับธ​ ุรกิจท​ ไี่​ ม่ป​ ฏิบัตติ​ าม​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ มุ่งแ​ ต่แ​ สวง​หา​ ประโยชน์แ​ ละ​กำ�ไร​อย่าง​เดียว ไม่มคี​ วาม​ซื่อสัตย์ส​ ุจริตต​ ่อผ​ ูม้​ สี​ ่วน​ได้ส​ ่วนเสียจ​ ะ​ไม่ไ​ ด้ร​ ับค​ วาม​เลื่อมใส​ศรัทธา​ และ​สร้าง​ความ​เสียห​ าย​ทาง​เศรษฐกิจแ​ ก่​สังคม​และ​ประเทศ​ชาติ 3) หาก​นัก​ธุรกิจ​ส่วน​ใหญ่​ดำ�เนิน​ธุรกิจ โดย​ปฏิบัติ​ตาม​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ จะ​ช่วย​ให้​ธุรกิจ​และ​ เศรษฐกิจ​มี​ความ​เจริญ​ก้าวหน้า 4) การ​ปฏิบัติต​ าม​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ จะ​ช่วย​ทำ�ให้เ​กิดก​ าร​แข่งขันท​ ี่เ​ป็นธ​ รรม ไม่เ​กิดก​ าร​เอา​รัดเ​อา​ เปรียบ​กัน ไม่เ​กิด​การ​รวม​ตัว​กัน​สร้าง​อำ�นาจ​ผูกขาด และ​ไม่​เป็น​ธรรม​ต่อส​ ังคม 5) โลก​ใน​ปัจจุบันม​ กี​ าร​แข่งขันก​ ันอ​ ย่าง​รุนแรง การ​ปฏิบัตติ​ าม​จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจจ​ ะ​ช่วย​เสริมส​ ร้าง​ สมรรถนะ​การ​แข่งขัน​ทั้งใ​ น​ประเทศ​และ​ต่าง​ประเทศ

ธ ส

ธ ส

3. คุณค่า​แห่งจ​ ริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

คุณค่า​แห่ง​จริยธรรม​นั้น​เป็น​สิ่ง​ที่​ประมาณ​ค่า​มิได้​ใน​ขณะ​ที่​ความ​พร้อม​ด้าน​บุคลากร ทรัพยากร วิทยาการ และ​อื่นๆ ใน​องค์​ประกอบ​แห่งค​ วาม​สำ�เร็จ จริยธรรม​ก็​คือ หนทาง​ความ​สำ�เร็จ​นั่นเอง หาก​ธุรกิจ​ใด​ปราศจาก​ซึ่ง​จริยธรรม ผู้​ประกอบ​การ​จะ​พบ​ว่า​กิจการ​ของ​ตน​เต็ม​ไป​ด้วย​ปัญหา​และ​มี​ แนว​โน้ม​ที่​จะ​หายนะ​ใน​ที่สุด ตัวอย่าง​เช่น พ่อค้า​ที่พ​ ูด​เท็จ หลอก​ลวง โกง ใคร​ที่​ทราบ​ความ​จริง​นี้​ย่อม​ปฏิเสธ​ ที่​จะ​คบ​กับ​เขา หาก​ธุรกิจใ​ ด​กอปร​ด้วย​จริยธรรม​ย่อม​เป็นท​ ี่ย​ อมรับเ​ชื่อถ​ ือไ​ ด้ร​ ับโ​ อกาส ได้เ​ปรียบ​ใน​เชิงธ​ ุรกิจแ​ ละ​ม​ี แนว​โน้ม​ที่​จะ​รุ่งโรจน์ ตัวอย่าง​เช่น พ่อค้า​ที่​มี​มนุษยสัมพันธ์​ดี ซื่อตรง และ​เป็น​ธรรม ใครๆ ก็​อยาก​จะ​คบค้า​ ด้วย เขา​ย่อม​ได้​รับ​โอกาส​ทางการ​ค้า​มากมาย ดัง​นั้น จริยธรรม​คือ​หนทาง​แห่ง​ความ​สำ�เร็จ​ที่​จำ�เป็น​ต่อ​การ​ ประกอบ​ธุรกิจ หาก​จะ​ประเมิน​ประโยชน์​ของ​จริยธรรม​ต่อ​ธุรกิจ​แล้ว​อาจ​จำ�แนก​ได้​ดังนี้ 1) จริยธรรม​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​เชื่อ​ถือ (credit) โดย​ธรรมชาติ​ความ​เชื่อ​ถือ​นั้น​เกิด​จาก​ความ​ซื่อสัตย์ ดังน​ ั้น คน​ที่ม​ ีจ​ ริยธรรม​ดีก​ อปร​ด้วย​ความ​ซื่อสัตย์เ​สมอ ย่อม​ได้ร​ ับค​ วาม​เชื่อถ​ ือแ​ ละ​ความ​เชื่อถ​ ือเป็นท​ ี่มา​ของ​ เครดิต​ทางการ​ค้า​ซึ่งเ​ป็น​ปัจจัย​ที่ไ​ ด้​เปรียบ​ใน​เชิงก​ าร​แข่งขัน​ทั้ง​ใน​ด้าน​การ​ลงทุน​และ​ตลาด 2) จริยธรรม​กอ่ ใ​ ห้เ​กิดก​ าร​ทุม่ เท (devotion) ของ​คน​ท�ำ งาน​อนั น​ �​ำ มา​ซึง่ ป​ ระสิทธิภาพ​อนั ท​ รง​คณ ุ ภาพ (qualitative efficiency) ต่อก​ าร​ผลิตท​ ี่เ​ต็มก​ ำ�ลัง (full capacity) หาก​บริษัท​กอปร​ด้วย​จริยธรรม ปฏิบัติ​ต่อ​ พนักงาน​ทุก​คน​อย่าง​มี​มนุษยธรรม และ​พัฒนาการ​ต่อ​เนื่อง ย่อม​เป็น​ที่รัก ที่​ผูกพัน​ของ​พนักงาน พนักงาน​ ย่อม​ทุ่มเท​ความ​สามารถ​ต่อ​การ​ผลิต หรือ​การ​บริการ​อย่าง​เต็ม​กำ�ลัง​ความ​สามารถ​อัน​นำ�​มา​ซึ่ง​การ​ผลิต​หรือ​ การ​บริการ​ที่​ดี

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-68

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

3) จริยธรรม​ก่อใ​ ห้​เกิด​ภาพ​ลักษณ์ท​ ี่​ดี (good image) ซึ่ง​ภาพ​ลักษณ์​ที่​ดี​มี​ผล​ต่อ​ตำ�แหน่ง​ทางการ​ ค้า​ของ​บริษัท (positioning) และ​ต่อ​ความ​ภักดี​ที่ผ​ ู้​บริโภค​มี​ต่อ​สินค้า​และ​บริการ​ของ​บริษัท (brand loyalty) ซึ่ง​ตำ�แหน่ง​ทางการ​ค้า​มี​ผล​โดยตรง​ต่อ​การ​กำ�หนด​ราคา (pricing) และ​ความ​ภักดี​ต่อ​สินค้า​และ​บริการ​มี​ผล​ โดยตรง​ต่อย​อด​ขาย (sale volume) ซึ่ง​ราคา​ขาย​และ​ยอด​ขาย​มี​ผล​โดยตรง​ต่อ​กำ�ไร ดัง​นั้น​อาจ​กล่าว​ได้​ว่า จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ​คือ​ที่มา​แห่งค​ วาม​ร่ำ�รวย 4) จริยธรรม​ก่อ​ให้​เกิด​การ​ลด​หย่อน​ทาง​กฎหมาย บริษัทท​ ี่​มี​ประวัติท​ าง​จริยธรรม เมื่อ​พลาด​พลั้ง​ ไป​มี​คดี​ความ​กับ​บุคคล​อื่น​ก็​ดี หรือ​กับ​รัฐ​ก็​ดี ย่อม​ได้​รับ​ข้อ​ลด​หย่อน​ใน​บท​ลงโทษ​ตาม​โทษ​ที่​บัญญัติ​ไว้​ตาม​ กฎหมาย​ของ​แต่ละ​สังคม 5) จริยธรรม​ก่อ​ให้​เกิด​การ​ทำ�งาน​อย่าง​มี​ความ​สุข เมื่อ​ทุก​ฝ่าย​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​บริษัท​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ผู้​ ถือ​หุ้น ผู้​ร่วม​งาน​ใน​บริษัทค​ ู่​ค้า ลูกค้า และ​สังคม ต่าง​มี​จริยธรรม​อัน​ดี​ต่อ​กัน​ย่อม​เป็นการ​สร้าง​ความ​สัมพันธ์​ อัน​ดี​และ​อบอุ่น​ขึ้น ทุก​ฝ่าย​จะ​ปฏิบัติ​หน้าที่​ด้วย​ความ​สบายใจ​และ​ไม่มี​ปัญหา​ขัด​แย้ง​กัน​เกิด​ขึ้น หรือ​หาก​มี​ บ้าง​โดย​อุบัติเหตุ​ก็จ​ ะ​แก้ไข​ได้โ​ ดย​ง่าย การ​ทำ�งาน​อย่าง​มี​จริยธรรม​ต่อ​ตนเอง และ​ต่อ​กัน​และ​กัน จึง​เป็น​ชีวิต​ การ​ทำ�งาน​ที่​เป็นสุขป​ ราศจาก​ความ​เครียด​ใดๆ นอกจาก​ความเครียด​อัน​เกิด​จาก​การ​แบก​ความ​เสี่ยง​ใน​อัตรา​ สูง​ของ​ธุรกิจ​บาง​ประเภท​เอง​และ​แม้จ​ ะ​มี​ความเครียด​จาก​ภาวะ​เสี่ยง​บ้าง จริยธรรม​ใน​การ​ปฏิบัติ​งาน​ก็​จะ​ช่วย​ ผ่อน​คลาย​และ​ลด​ความเครียด​ไป​ได้​มาก​ที​เดียว

ธ ส

ธ ส

ธ ส

4. แนวคิดห​ ลัก​เกณฑ์​การ​ตัดสินใ​ จ​โดย​ใช้​เหตุผล​เชิง​จริยธรรม

ธ ส

ธ ส

ขั้น​ตอน​แรก​ใน​การ​ชี้​ให้​เห็น​ถึง​สภาพ​ปัญหา​ทาง​จริยธรรม​ที่​ยาก​จะ​ตัดสิน​ใจ คือ การ​ระบุป​ ัญหา​และ​ ประเด็นเ​งื่อนไข​ที่​เกี่ยวข้อง เพราะ​เป็น​ขั้น​ตอน​ที่​จำ�เป็น​ใน​การ​วิเคราะห์​ผู้​มี​ส่วน​ได้​ส่วน​เสีย​ทาง​ธุรกิจ อีก​ทั้ง​ ปัญหา​และ​เงื่อนไข​ต่างๆ ขึ้น​อยู่​ที่​ว่า​กลุ่ม​ผู้​มี​ส่วน​ได้​ส่วน​เสีย​เหล่า​นั้น​คือ​ใคร และ​มี​ผล​ประโยชน์​ใด​เกี่ยว​พัน​ อยู่ มี​หลายแนว​คิด​ที่​เกี่ยวข้อง​ดังนี้ 4.1 แนว​คิด​ของ​ล​อร่าแนช (Laura Nash, 1981: 78-90) เสนอ​คำ�ถาม 12 คำ�ถาม เพื่อ​ถาม​ตนเอง​ ใน​ช่วง​ระหว่าง​การ​ดำ�เนิน​การ​ตัดสิน​ใจ เพื่อท​ ำ�ให้​มอง​ปัญหา​ทาง​จริยธรรม​ได้​ชัดเจน​ขึ้น – ระบุป​ ัญหา​ถูกต​ ้อง​หรือ​ยัง – มอง​ปัญหา​อย่างไร ถ้า​เรา​เป็น​ฝ่าย​ตรง​ข้าม – สถานการณ์ท​ ี่​เกิด​ใน​ชั้น​แรก​เป็น​อย่างไร – สิ่งท​ ี่​กำ�ลังท​ ำ�​อยู่ ทำ�​อะไร เพื่อใ​ คร – มีค​ วาม​มุ่ง​หมาย​หรือ​มี​เจตนา​อะไร​ใน​การ​ตัดสิน​ใจ​ครั้ง​นี้ – ความ​มุ่ง​หมาย​ที่จ​ ะ​ทำ� เมื่อ​เปรียบ​เทียบ​กับ​ผล​ที่​จะ​เกิดข​ ึ้น​แล้ว​มี​ความ​แตก​ต่าง​กัน​อย่างไร – การ​ตัดสิน​ใจ​และ​การก​ระ​ทำ�​นี้ จะ​ก่อ​ให้​เกิด​ผล​เสีย​ต่อ​ใคร​บ้าง – สามารถ​อภิปราย​ปัญหา​กับ​กลุ่ม​บุคคล​ต่างๆ ที่​ได้​รับ​ผลก​ระ​ทบ​ก่อน​ตัดสิน​ใจ – ท่าน​เชื่อม​ ั่น​ว่าการ​ตัดสิน​ใจ​ของ​ท่าน​จะ​ถูก​ต้อง​ใน​ระยะ​ยาว​เหมือน​ระยะ​สั้น​หรือ​ไม่ – สามารถ​เปิด​เผย​การ​ตัดสิน​ใจ​การก​ระ​ทำ�​ต่อ​หัวหน้า ผู้​บริหาร ครอบครัว และ​สังคม​หรือ​ไม่

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-69

ธ ส

– มี​เครื่องหมาย หรือ​ปัญหา​อะไร​ชี้​บอก​การก​ระ​ทำ� ถ้า​การก​ระ​ทำ�​นั้น​โดย​ความ​เข้าใจ ที่​ถูก​ ต้อง และ​ถ้า​มี​ความ​เข้าใจ​ที่​ผิดพ​ ลาด​มี​นัยอ​ ะไร​บอก – ภาย​ใต้​เงื่อนไข​อะไร​ที่​จะ​ยอม​ให้​มี​ข้อ​ยกเว้น​เกิดข​ ึ้น คำ�ถาม 12 คำ�ถาม​ข้าง​ต้น สามารถ​ช่วย​การ​อภิปราย​อย่าง​ชัดเจน​และ​การ​แสดง​ความ​รับ​ผิด​ชอบ​ที่​ จำ�เป็น​เพื่อแ​ ก้​ปัญหา​ทาง​จริยธรรม แนช (Nash) เน้น​ว่าการ​ร่วม​กัน​ตอบ​คำ�ถาม​และ​อภิปราย​คำ�ถาม จะ​ทำ�ให้​ การ​อภิปราย​เป็น​ไป​อย่าง​ดี​ยิ่ง​ขึ้น สามารถ​สร้าง​ความ​กลม​เกลียว​และ​เกิด​ฉันทานุมัติ​ใน​ประเด็น​ที่​กำ�ลัง​หา​ คำ�​ตอบ นอกจาก​นี้ค​ ำ�​ตอบ​ที่​ได้จ​ าก​การ​อภิปราย​ยัง​เป็น​แหล่งข​ ้อมูล​เพื่อ​เป็น​ทาง​เลือก​ใน​การ​ตัดสิน​ใจ 4.2 หลัก​สัม​พัทธ​นิยม (ethical relativism) แนว​ความ​คิด​สัม​พัทธ​นิยม​เชื่อ​ว่า​ไม่มี​มาตรฐาน​หรือ ก​ ฎ​เกณฑ์ท​ เี​่ ป็นส​ ากล​ทจี​่ ะ​ใช้เ​ป็นแ​ นวทาง หรือป​ ระเมินค​ วาม​มศ​ี ลี ธ​ รรม จริยธรรม​ของ​การก​ระ​ท�​ำ สิง่ ท​ ถี​่ กู ส​ �ำ หรับ​ บุคคล​หนึ่ง​อาจ​ผิด​สำ�หรับ​อีก​บุคคล​หนึ่ง แนว​ความ​คิด​นี้ กล่าว​ว่า​คน​จะ​กำ�หนด​มาตรฐาน​ทาง​ศีล​ธรรม​ของ​ ตนเอง​เพื่อต​ ัดสินก​ ารก​ระ​ทำ�​ของ​ตน สิ่งท​ ตี่​ ัดสินพ​ ฤติกรรม คือ ผล​ประโยชน์ส​ ่วน​ตน​และ​ค่าน​ ิยม แนว​ความ​คิด​ สัม​พัทธ​นิยม​นี้​ยัง​ขยาย​ไป​ใน​เรื่อง​วัฒน​ธรรม (cultural relativism) กล่าว​คือ “เมื่อ​อยู่​ใน​กรุงโ​ รม ก็​ทำ�​อย่าง​ คน​โรมัน​ทำ�” (Weiss, 1998: 71) ดัง​นั้น สิ่ง​ที่​ถูก​ต้อง​ทาง​ศีล​ธรรม​สำ�หรับ​สังคม​หรือ​วัฒนธรรม​หนึ่ง​อาจ​ เป็น​สิ่ง​ที่​ผิด​สำ�หรับ​อีก​สังคม หรือ​วัฒนธรรม มาตรฐาน​ทาง​ศีล​ธรรม​จึง​แปร​เปลี่ยน​ไป​ตาม​ประเพณี ระบบ ค​ วาม​เชื่อ และ​ค่าน​ ิยม​ใน​แง่ข​ อง​ผู้ป​ ระกอบ​ธุรกิจน​ ั้น การก​ระ​ทำ�​ธุรกิจใ​ น​ประเทศ​หนึ่งม​ ีข​ ้อผ​ ูกพันท​ ี่จ​ ำ�เป็นต​ ้อง​ ปฏิบตั ต​ิ าม​กฎหมาย และ​หลักศ​ ลี ธ​ รรม​ของ​ประเทศ​นัน้ ข้อดีข​ อง​แนว​คดิ ส​ มั พ​ ทั ธ​นยิ ม คือ เป็นแ​ นวคิดท​ ยี​่ อมรับ​ ถึง​ความ​แตก​ต่าง​ของ​บุคคล ค่า​นิยม​ทาง​สังคม ประเพณี และ​มาตรฐาน​ทาง​ศีล​ธรรม อย่างไร​ก็ตาม แนว​ความ​คิด​สัม​พัทธ​นิยม​อาจ​นำ�​ไป​สู่​ปัญหา​ได้ กล่าว​คือ ประการ​แรก​แนว​ความ​คิด​ นี้​ชี้​ถึง​ความเฉื่อย​ชา เฉยเมย​ต่อ​การ​เปลี่ยนแปลง​และ​ละเลย​การ​ปรับปรุง​พัฒนา​ตน​ทาง​ศีล​ธรรม (Steiner and Steiner, 1988) แต่ละ​บุคคล​จะ​ตัดสิน​ความ​ดี ความ​ชั่ว เฉพาะ​จาก​ความ​เชื่อ​ส่วน​บุคคล​โดย​ไม่​พิจารณา​ หลัก​การ​ทาง​จริย​ธร​รม​อื่นๆ จึง​มัก​ใช้​ความ​คิด​ของ​ตน​เป็น​หลัก​และ​ปฏิเสธ​การ​พัฒนา​มาตรฐาน​ทาง​ศีล​ธรรม ประการ​ทีส่​ อง แนว​ความ​คิดส​ ัมพ​ ัทธ​นิยม​นีต้​ รง​ข้าม​กับป​ ระสบการณ์ใ​ น​ชีวิตป​ ระจำ�​วัน กล่าว​คือ การ​ใช้เ​หตุผล​ ทาง​ศีล​ธรรม​พัฒนา​มา​จาก​การ​สนทนา การ​ติดต่อ​สัมพันธ์​และ​โต้​เถียง​อภิปราย​กับ​บุคคล​อื่น นอกจาก​นี้​สิ่ง​ที่​ บุคคล​หนึ่ง​มี​ความ​เชื่อ​หรือ​รับ​รู้​ว่า​เป็น​ข้อ​เท็จ​จริง​ใน​สถานการณ์ห​ นึ่ง​อาจ​ไม่​ถูก​ต้อง​แม่นยำ�​เสมอ​ไป ประการ​ ที่​สาม นัก​สัม​พัทธ​นิยม​สามารถ​กลาย​เป็น​นัก​สัม​บูรณ์​นิยม (absolutists) กล่าว​คือ บุคคล​ซึ่ง​กล่าว​อ้าง​ว่า​ มาตรฐาน​ทาง​ศีล​ธรรม​ของ​ตน​ถูก​ต้อง โดย​ไม่​คำ�นึง​ว่า​มาตรฐาน​ทาง​ศีล​ธรรม​ของ​ผู้​อื่น​เป็น​อย่างไร ถูก​หรือ​ ผิด จึง​เป็นการ​ปิด​ตนเอง จะ​ยอมรับ​เพียง​ความ​เชื่อ​ของ​ตน​เท่านั้น​ว่า​เป็น​จริง ดัง​นั้น​ถ้า​ความ​เชื่อ​ของ​บุคคล​ หนึ่ง​ขัด​แย้ง​กับ​ความ​เชื่อ​ของ​อีก​บุคคล​หนึ่ง ความ​เชื่อ​ใด​เป็น​สิ่ง​ที่​ถูก​ต้อง ใคร​เป็น​ผู้​ตัดสิน​และ​ตัดสิน​อยู่​บน​ พื้น​ฐาน​ความ​คิด​ใด เมื่อ​พิจารณา​หลัก​การ​ของ​สัม​พัทธ​นิยม​ใน​การ​วิเคราะห์ผ​ ู้​มี​ส่วน​ได้​ส่วน​เสีย​ทาง​ธุรกิจ ควร​ตั้ง​คำ�ถาม​ ดัง​ต่อ​ไป​นี้ เพื่อ​ประกอบ​การ​วิเคราะห์ – กลุ่ม​บุคคล​ผู้​มี​ส่วน​ได้​ส่วน​เสีย​ทาง​ธุรกิจ​แต่ละ​กลุ่ม​ใช้​หลัก​ความ​เชื่อ​ทาง​ศีล​ธรรม​อะไร​ใน​ การ​ตัดสินใ​ จ

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-70

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

– อะไร​คือ​ความ​เชื่อ​หรือห​ ลัก​ศีล​ธรรม​ของ​บริษัทเ​รา​ที่​ใช้​ยึดถือ​เป็นห​ ลัก​ใน​การ​ตัดสิน​ใจ – หลักจ​ ริยธรรม​เหล่า​นั้น​ที่​ใช้​เป็น​หลัก​ใน​การ​ตัดสิน​ใจ จะ​เกิดค​ วาม​ขัด​แย้ง​กันเอง​เมื่อ​ใด – จะ​หลีก​เลี่ยง​ความ​เชื่อ​หรือ​หลัก​การ​ที่​ศีล​ธรรม​มี​ความ​ขัด​แย้ง​กัน​ได้​อย่างไร เพื่อ​ให้​เกิด​ ผลลัพธ์​ที่​น่า​พึง​ปรารถนา 4.3 แนว​ความ​คิด​ประโยชน์​นิยม (utilitarianism) แนว​ความ​คิด​ประโยชน์​นิยม​เชื่อ​ว่า​ผล​ของ​การ ก​ระ​ทำ�​ของ​เรา​จะ​กำ�หนด​ความ​ถูก​ผิด โดย​เน้น​ว่าการ​กระทำ�​พฤติกรรม​ที่​ดี​งาม​เหมาะ​สม​มาก​ที่สุด คือ การ ก​ระ​ทำ�​หรือพ​ ฤติกรรม​ที่​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​ดี​งาม​ที่​ยิ่ง​ใหญ่​ที่สุด​ต่อ​คน​จำ�นวน​มาก​ที่สุด หรือ​ก่อ​ให้​เกิด​ผล​รวม​ที่​ ให้ป​ ระโยชน์​สูงสุด ดัง​นั้นก​ ารก​ระ​ทำ�​หรือพ​ ฤติ​กร​รม​หนึ่งๆ จะ​ได้​รับ​การ​พิจารณา​ว่า​ถูก​ต้อง​ทาง​จริยธรรม ถ้า​ การก​ระ​ทำ�​หรือพ​ ฤติก​ ร​รม​นั้นๆ นำ�​ไป​สู่ผ​ ล​แห่งค​ วาม​ดีง​ าม​ที่ม​ าก​ขึ้น ใน​ทาง​ตรง​ข้าม​การก​ระ​ทำ�​หรือพ​ ฤติก​ ร​รม​ หนึ่งๆ จะ​ถือว่า​ผิด​จริยธรรม​ถ้า​สิ่ง​นั้นก​ ่อใ​ ห้​เกิด​ความ​ดี​งาม​ลด​ลง จาก​หลัก​การ​ที่​อธิบาย​ข้าง​ต้น นัก​วิชาการ​ประโยชน์​นิยม​แบ่ง​คุณค่า​ออก​เป็น 2 ประเภท​คือ คุณค่า​ โดย​ตัว​ของ​มัน​เอง (intrinsic value) เมื่อ​พิจารณา​คุณค่า​ประเภท​แรก​นี้ “ความ​ดี​ต้อง​มี​คุณค่า​ใน​ตัว​เอง” อีก​ ประการ​หนึ่ง คือ คุณค่า​ใน​ฐานะ​ที่​จะ​นำ�​ไป​สู่ส​ ิ่ง​ที่ด​ ี​งาม (instrumental value) คุณค่า​ประเภท​หลังน​ ี้ สิ่ง​ต่างๆ พฤติกรรม​หรือก​ ารก​ระ​ทำ�ได้​มีค​ ุณค่า​ใน​ตัวเ​อง แต่จ​ ะ​มีค​ ุณค่าต​ ่อเ​มื่อส​ ิ่งเ​หล่า​นั้นส​ ามารถ​ก่อใ​ ห้เ​กิดผ​ ล​ที่ด​ ีง​ าม นักท​ ฤษฎีป​ ระโยชน์น​ ิยม​จะ​สนใจ​คุณค่าป​ ระเภท​หลัง คือ จะ​ประเมินอ​ รรถประโยชน์ข​ อง​พฤติกรรม การก​ระ​ทำ�​ และ​นโยบาย​ต่างๆ ว่า​ถูก​ต้อง ดี​งาม เพียง​ใด โดย​พิจารณา​ว่า​สิ่ง​ต่างๆ เหล่า​นี้​สามารถ​ก่อ​ให้​เกิด​ผล​ดี​และ​มี​ ประโยชน์ (Desjardins and McCall, 1996) ลอง​พิจารณา​ตัวอย่าง​ที่​เป็น​พฤติกรรม​ใน​ชีวิต​ประจำ�​วัน​ของ​มนุษย์​เรา คือ “การ​พูด​ความ​จริง” ประโยชน์​นิยม​จะ​ประเมิน​ว่าการ​พูด​ความ​จริง​เป็น​สิ่ง​ที่​ดี​งาม​ต่อ​เมื่อ​มัน​ให้​ผล​ดี​ต่างๆ เช่น ทำ�ให้​เกิด​ความ ​เชื่อ​ถือ​ซึ่ง​กัน​และ​กัน ทำ�ให้​เกิด​ความ​เข้าใจ​เพราะ​เป็น​ข้อมูล​ที่​ถูก​ต้อง​เป็น​จริง นั่น​คือ​การ​พูด​ความ​จริง​ไม่ใช่​ สิ่ง​ที่​ดี​ใน​ตัว​เอง แต่​เป็น​เครื่อง​มือ​หรือ​วิธี​การนำ�​ไป​สู่​ผล​ที่​ดี ดัง​นั้น​ตาม​ความ​เชื่อ​ของ​นัก​คิด​ประโยชน์​นิยม ไม่มี​การก​ระ​ทำ�​หรือ​พฤติกรรม​ใด​ที่​ดี​ใน​ตัว​เอง​ทุก​เวลา ทุก​สถานการณ์ ความ​ถูก​ผิด​ขึ้น​กับ​การก​ระ​ทำ�​หรือ​ พฤติกรรม​นั้น​ก่อใ​ ห้​เกิด​ผลอ​ย่าง​ไร 4.4 ทฤษฎีสิทธิ (Moral Rights Approach) แนว​ความ​คิด​ที่​กล่าว​ถึง​สิทธิ​ตาม​หลัก​ศีล​ธรรม​ที่​ดี​งาม กล่าว​ว่าม​ นุษย์ม​ สี​ ิทธิข​ ั้นพ​ ื้นฐ​ าน และ​มีอ​ ิสรภาพ ซึ่งผ​ ูใ้​ ด​ไม่ส​ ามารถ​ล่วง​ละเมิดไ​ ด้ ดังน​ ั้นก​ าร​ตัดสินใ​ จ นโยบาย แนวทาง​ปฏิบัติท​ ี่​ถูกต​ ้อง​ทาง​จริยธรรม จะ​ต้อง​รักษา​สิทธิ​ของ​บุคคล​ต่างๆ ประกอบ​ด้วย (Daft, 2000: 138) 1) สิทธิท​ ี่​จะ​ยินยอม​ให้​ปฏิบัติ (the right of free consent) กล่าว​ถึง​สิทธิ​ของ​บุคคล​แต่ละ​ บุคคล​ที่จ​ ะ​ได้ร​ ับ​การ​ปฏิบัติ​จาก​ผู้ใ​ ด​ก็ตาม เมื่อ​บุคคล​เหล่า​นี้​เห็น​ชอบ​และ​ยินยอม​ที่​จะ​ให้​บุคคล​อื่น​มาก​ระ​ทำ�​ หรือ​ปฏิบัติต​ ่อต​ น 2) สิทธิส​ ่วน​บุคคล (the right to privacy) กล่าว​ว่าบ​ ุคคล​สามารถ​จะ​ทำ�​สิ่ง​ใด​ก็ได้​ตาม​ที่​ตน​ ต้องการ​ใน​เรื่อง​ที่​ไม่​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​ทำ�งาน และ​มี​สิทธิ​ใน​ข้อมูล​เรื่อง​ราว​ที่​เป็น​เรื่อง​ส่วน​ตัว​ของ​ตน​ที่​ใคร​จะ​ นำ�​ไป​เปิด​เผย​โดย​ไม่ไ​ ด้​รับ​อนุญาต​ไม่​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-71

ธ ส

3) สิทธิเ​กี่ยว​กับ​อิสรภาพ​ใน​ความ​คิด และ​วิจารณญาณ​ของ​ตน (the right of freedom of conscience) กล่าว​ว่า บุคคล​แต่ละ​คน​อาจ​ละเว้นไ​ ม่ป​ ฏิบัติต​ าม​คำ�​สั่งห​ รือก​ ฎ​ระเบียบ​ใดๆ ก็ได้ ถ้าค​ ำ�​สั่งห​ รือ​ กฎ​ระเบียบ​เหล่า​นี้​ละเมิด​บรรทัดฐาน​ที่​ดีง​ าม​ของ​สังคม 4) สิทธิต​ ่อเ​สรีภาพ​ใน​การ​พูด (the right of free speech) กล่าว​ว่าบ​ ุคคล​สามารถ​พูดว​ ิจารณ์​ แสดง​ความ​คิด​เห็น​ใดๆ ก็ได้​ถ้าก​ าร​พูด​เหล่า​นั้น​เป็น​ไป​ตาม​ข้อ​เท็จ​จริง 5) สิทธิต​ าม​กฎหมาย (the right to due process) กล่าว​ว่า บุคคล​แต่ละ​คน​มี​สิทธิ​ที่​จะ​ได้​ รับ​รู้​ได้ยิน​ได้​ฟัง​เรื่อง​ราว​ที่เ​กี่ยวข้อง​กับ​ตน 6) สิทธิ​ใน​ชีวิต​และ​ความ​ปลอดภัย (the right to life and safety) กล่าว​ว่า​บุคคล​แต่ละ​ บุคคล​มี​สิทธิ​ที่​จะ​ดำ�รง​ชีวิต โดย​ปราศจาก​อันตราย​ที่​จะ​มี​ต่อ​ร่างกาย​และ​จิตใจ หลัก​การ​สิทธิ​มี​ประโยชน์​ใน​การ​วิเคราะห์​ผู้​มี​ส่วน​ได้​ส่วน​เสีย​ทาง​ธุรกิจ ใน​กรณี​ที่​เกิด​ความ​ขัด​แย้ง​ ระหว่าง​สิทธิ​ของ​บุคคล​ตาม​ศีล​ธรรม​และ​ตาม​กฎหมาย หรือใ​ น​กรณี​ที่​สิทธิ​ของ​บุคคล​หรือ​กลุ่ม​ถูก​ละเมิด​โดย​ โดย​นโยบาย การ​ตัดสิน​ใจ​หรือ​การ​ดำ�เนิน​การ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง แนวทาง​การ​วิเคราะห์ค​ วร​พิจารณา​ประเด็น​ ต่อ​ไป​นี้ (Velasquaz, 1988) 1) ระบุถ​ ึง​บุคคล​ที่​อาจ​ถูกล​ ะเมิด​สิทธิ​โดย​นโยบาย หรือ​การ​ดำ�เนิน​การ​อัน​ใด​อัน​หนึ่ง 2) กำ�หนด​สิทธิ​ของ​บุคคล​เหล่า​นี้​ตาม​พื้น​ฐาน​ทาง​กฎหมาย​และ​ศีล​ธรรม และ​พิจารณา​ว่าการ​ ตัดสินใ​ จ​ละเมิด​สิทธิเ​หล่า​นี้​หรือ​ไม่ 3) กำ�หนด​ขอบเขต​และ​วง​จำ�กัด​ของ​การ​ดำ�เนิน​การ​ที่ถ​ ูก​ต้อง​ตาม​หลัก​ศีล​ธรรม​มี​เพียง​ใด 4.5 ทฤษฎีค​ วาม​ยตุ ธิ รรม (justice theory) หลักค​ วาม​ยุติธรรม​เน้นท​ คี่​ วาม​เสมอ​ภาค​ความ​เป็นธ​ รรม เป็น​หลัก​ศีล​ธรรม​ที่​ตัดสิน​ว่า​อะไร​ถูก​อะไร​ผิด โดย​พิจารณา​การก​ระ​จาย​โอกาส​ที่​ดี​งาม​และ​ความ​ยาก​ลำ�บาก​ อย่าง​เท่า​เทียม​และ​เสมอ​ภาค​แก่​คน​ทั้งหมด ทฤษฎี​ความ​ยุติธรรม​ที่​มัก​นำ�​มา​ประยุกต์​ใช้​ใน​จริยธรรม​ธุรกิจ แบ่ง​เป็น 3 แนว​ความ​คิด ได้แก่ 1) ความ​ยุติธรรม​ใน​แง่​การ​จัดสรร (distributive justice) เป็นห​ ลัก​การ​เชิงป​ ทัส​ถาน (Normotive Principles) ที่​กล่าว​ถึง การ​จัดสรร​หรือแ​ จก​จ่าย​สิ่งต​ ่าง​กัน (เช่น ราย​ได้ ความ​มั่นคง โอกาส เป็นต้น) อย่าง​เท่าเ​ทียม เสมอ​ภาค​และ​ยตุ ธิ รรม หลักก​ าร​ของความ​ยตุ ธิ รรม​ใน​แง่ก​ าร​จดั สรร กำ�หนด​วา่ บ​ คุ คล​ทมี​่ ค​ี วาม​ คล้ายคลึงก​ ัน กล่าว​คือ พนักงาน​ผู้ชาย​และ​ผู้ห​ ญิงท​ ี่ป​ ฏิบัติง​ าน​ใน​ตำ�แหน่งเ​ดียวกัน ไม่ค​ วร​จะ​ได้ร​ ับเ​งินเ​ดือน​ ต่าง​กัน แต่​ถ้า​บุคคล​เหล่า​นั้น​มีค​ วาม​แตก​ต่าง​กัน​ใน​เรื่อง​หรือ​ประเด็น​สำ�คัญ เช่น ทักษะ​และ​ความ​เชี่ยวชาญ​ ใน​การ​ปฏิบัติง​ าน​แตก​ต่าง​กัน มี​ความ​รับผิด​ชอบ​แตก​ต่าง​กัน จึง​อาจ​ได้​รับ​การ​ปฏิบัติ​อย่าง​แตก​ต่าง​กัน (เช่น เงิน​เดือน​ต่าง​กัน) 2) ความ​ยุติธรรม​ใน​แง่​วิธี​ปฏิบัติ (procedural justice) กำ�หนด​ว่า​กฎ​ระเบียบ​ต่างๆ ต้อง​มี​ ความ​ชัดเจน รวม​ถึงก​ าร​บังคับ​ใช้​กฎ​เกณฑ์เ​หล่า​นั้น​ต้อง​สม่ำ�เสมอ​และ​ทั่ว​ถึง​เป็นธ​ รรม​แก่​ทุก​ฝ่าย​ที่​เกี่ยวข้อง (Daft, 2000) หลักค​ วาม​ยตุ ธิ รรม​นเี​้ น้นถ​ งึ ว​ ธิ ป​ี ฏิบตั แ​ิ ละ​ขัน้ ต​ อน​ตา่ งๆ ทีเ​่ กีย่ วข้อง​กบั น​ โยบาย​และ​การ​ตดั สินใ​ จ ว่า​มี​ความ​เป็น​ธรรม​เพียง​ใด งาน​วิจัย​จำ�นวน​มาก​พบ​ว่า เมื่อ​พนักงาน​ของ​องค์กร​รับ​รู้​ถึง​ความ​ยุติธรรม​ใน​แง่​ วิธี​ปฏิบัติ (procedural justice) นี้​จะ​ก่อใ​ ห้​เกิด​ผล​ดี​ต่อ​องค์กร​มากมาย ได้แก่

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


8-72

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

– ทำ�ให้พ​ นักงาน​ของ​องค์กร​มค​ี วาม​ผกู พันต​ อ่ อ​ งค์กร (organizational commitment) มาก​ขึ้น ส่ง​ผล​ให้พ​ นักงาน​ตั้งใจ​ที่​อยู่ก​ ับ​องค์กร​ต่อ​ไป – ทำ�ให้พ​ นักงาน​มพี​ ฤติกรรม​การ​ปฏิบัตง​ิ าน​อย่าง​เต็มค​ วาม​สามารถ​เกินภ​ าระ​หน้าทีข่​ อง​ ตน (organizational citizenship behavior) – ทำ�ให้พ​ นักงาน​เกิดค​ วาม​เชื่อถ​ ือไ​ ว้ว​ างใจ​หัวหน้าง​ าน​ของ​ตน​ยิ่งข​ ึ้น (trust in supervisor) มี​ความ​พึง​พอใจ​ต่อ​การ​ตัดสิน​ใจ​ต่างๆ ของ​องค์กร เช่น ​การ​ประเมิน​ผล​การ​ปฏิบัติ​งาน – ทำ�ให้​พนักงาน​มี​ความ​พยายาม​ใน​การ​ปฏิบัติ​งาน​มาก​ขึ้น ส่ง​ผลก​ระ​ทบ ทำ�ให้​การ​ ดำ�เนิน​งาน​ของ​องค์กร​ดี​ขึ้น (organizational performance) 3) ความ​ยุติธรรม​ใน​แง่​การ​ชดเชย (compensatory justice) เป็น​แนว​ความ​คิด​ที่​กล่าว​ถึง​ การ​ชดเชย​หรือ​ชดใช้​ให้​แก่​บุคคล​ที่​ต้อง​เสีย​ประโยชน์​บาง​สิ่ง​บาง​อย่าง​ไป เช่น ใน​กรณี​ที่​องค์กร​จะ​ปรับ​ลด​ ขนาดองค์กร (downsizing) โดย​การ​ปลด​พนักงาน​บาง​ส่วน​ออก​ไป ซึ่ง​พนักงาน​เหล่า​นี้​มิได้​มี​ความ​ผิด หรือ​ มิได้ป​ ฏิบัติง​ าน​บกพร่อง​แต่​อย่าง​ใด องค์กร​จึงต​ ้อง​จ่าย​ค่า​ชดเชย​ให้​แก่​กลุ่ม​บุคคล​เหล่าน​ ี้ การ​ใช้​หลัก​การ​ความ​ยุติธรรม​ใน​การ​วิเคราะห์​ผู้​มี​ส่วน​ได้​ส่วน​เสีย​ทาง​ธุรกิจ มี​ดังนี้ 1) การ​จัดสรร​ผล​ประโยชน์ ต้นทุน ความ​พึง​พอใจ ความ​ไม่​พึง​พอใจ รางวัล การ​ลงโทษ​เป็น​ ไป​อย่าง​เท่า​เทียม​กัน​ใน​กลุ่ม​ผู้ม​ ี​ส่วน​ได้​ส่วน​เสีย​ทาง​ธุรกิจ​หรือ​ไม่ 2) วิธี​การ ขั้น​ตอน​ใน​การ​จัดสรร​สิ่ง​ต่างๆ ข้าง​ต้น​มี​ความ​ชัดเจน​และ​ยุติธรรม​เพียง​ใด 3) มี​การ​จัดสรร​ผล​ประโยชน์​ต่างๆ เพื่อ​ชดเชย​แก่​กลุ่ม​บุคคล​ที่​ได้​รับ​ความ​เสีย​หรือ​ไม่ และ​ ดำ�เนินก​ าร​อย่าง​เท่า​เทียม ยุติธรรม​เพียง​ใด แนว​ความ​คิด​ดั้งเดิม​กล่าว​ว่า​ความ​รับ​ผิด​ชอบ​ของ​เจ้าของ​บริษัท​และ​ผู้​จัดการ​บริษัท​จะ​มี​ต่อ​ผล​ ประโยชน์​ของ​ผู้​ถือ​หุ้น (stockholder interests) เท่านั้น แต่​แนว​ความ​คิด​ใหม่​กล่าว​ว่า​ธุรกิจ​นอกจาก​จะ​ต้อง​ รับ​ผิด​ชอบ​ต่อ​ผู้​ถือ​หุ้น​ทาง​ด้าน​เศรษฐกิจ​การ​เงิน​แล้ว ยัง​ต้อง​รับ​ผิด​ชอบ​ทาง​ด้าน​สังคม​ต่อ​กลุ่ม​ผู้​มี​ส่วน​ได้​ ส่วน​เสีย​ทาง​ธุรกิจ​กลุ่ม​ต่างๆ ด้วย ทั้งนี้เ​นื่องจาก​การ​เปลี่ยนแปลง​ทาง​ลักษณะ​ประชากร และ​การ​ศึกษา​ของ​ พนักงาน​ใน​องค์กร​ต่างๆ มีม​ าก​ขึ้น ประกอบ​กับก​ าร​เข้าส​ ูย่​ ุคข​ อง​การ​ตระหนักใ​ น​ความ​สำ�คัญข​ อง​สิทธิพ​ นักงาน​ และ​กลุ่ม​ผู้​มี​ส่วน​ได้​ส่วน​เสีย​ทาง​ธุรกิจม​ าก​ขึ้น ทำ�ให้​ธุรกิจ​ต่างๆ ต้อง​แสดง​ความ​รับ​ผิด​ชอบ​ต่อ​พนักงาน​ของ​ ตน​และ​สังคม​ส่วน​รวม​มาก​ขึ้น คาร์ร​ อลล์ (Carroll) เสนอ​แนว​ความ​คิดค​ วาม​รับผ​ ิดช​ อบ​ต่อส​ ังคม​ของ​บริษัทใ​ น​ลักษณะ​ของ​แผนภูม​ิ พีระมิดแ​ สดง​ความ​รบั ผ​ ดิ ช​ อบ​ของ​บริษทั (The Pyramid of Corporate Social Responsibility) แบ่งอ​ อก​เป็น 4 ระดับ ประกอบ​ด้วย (1) ความ​รับ​ผิด​ชอบ​ทาง​เศรษฐกิจ (economic responsibility) (2) ความ​รับ​ผิด​ชอบ​ ทาง​กฎหมาย (legal responsibility) (3) ความ​รับ​ผิด​ชอบ​ทาง​จริยธรรม (ethical responsibility) และ (4) ความ​รับ​ผิด​ชอบ​ด้วย​ความ​บริสุทธิ์ใ​ จ​ไม่​หวัง​ผล​ตอบแทน (philanthropic responsibility)

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ภาพ​ที่ 8.2 แผน​ภู​มิพีระ​มิด​แสดง​ความ​รับ​ผิด​ชอบ​ของ​บริษัท

8-73

ธ ส

ธ ส

ที่มา: Carroll, Archie B. (1991). The Pyramid of Corporate Social Responsibility: Toward the Moral Management of Organizational Stakeholders, Business Horizons (July-August 1991), 42.

ธ ส

ความ​รับผ​ ิดช​ อบ​ทาง​เศรษฐกิจถ​ ือเ​ป็นค​ วาม​รับผ​ ิดช​ อบ​พื้นฐ​ าน​และ​เป็นเ​ป้าห​ มาย​หลักข​ อง​ธุรกิจท​ ุกๆ ธุรกิจท​ จี่​ ะ​ต้อง​ดำ�เนินก​ าร​เพื่อใ​ ห้เ​กิดผ​ ล​กำ�ไร ความ​รับผ​ ิดช​ อบ​ทาง​กฎหมาย​เป็นค​ วาม​รับผ​ ิดช​ อบ​ประการ​ทสี่​ อง​ ที่​ธุรกิจ​ต้อง​ปฏิบัติ​ตาม​กฎหมาย​บ้าน​เมือง และ​ข้อ​กำ�หนด​ของ​สังค​มนั้นๆ

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 8.3.2 แล้ว​โปรด​ปฏิบัตกิ​ ิจกรรม 8.3.2 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 8 ตอน​ที่ 8.3 เรื่อง​ที่ 8.3.2

ธ ส


8-74

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

เรื่องที่ 8.3.3 จริยธรรม​เกี่ยว​กับ​การ​ทำ�​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์

ธ ส

1. ประเด็นก​ าร​ใช้​จริยธรรม​ทาง​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ

ประเด็น​การ​ใช้จ​ ริย​ธรรม​ทาง​เทคโนโลยี​สารสนเทศ มี​ประเด็น​ที่​น่า​สนใจ​ดังนี้ 1.1 ผลก​ระ​ทบ​จาก​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ และ​ทฤษฎี​เรื่อง​จริยธรรม ใน​ปัจจุบัน​ยัง​มี​ข้อ​ถก​เถียง​กัน​ เกี่ยว​กับผ​ ลก​ระ​ทบ​ที่เ​กิดจ​ าก​การ​ใช้เ​ทคโนโลยี​สารสนเทศ ใน​เรื่อง​ทีเ่​กี่ยว​กับ ค่าน​ ิยม จุดยืน และ​สิทธิท​ ีบ่​ ุคคล​ พึง​มี​พึง​ได้ ตัวอย่าง​เช่น ข้อ​ถก​เถียง​ใน​เรื่อง​ผลก​ระ​ทบ​จาก​ความ​แตก​ต่าง​ใน​เรื่อง​ชนชั้น​ทาง​สังคม​ต่อ​สิทธิ​ใน​ การ​เข้า​ถึง​ข้อมูล เช่น โอกาส​ใน​การ​เข้า​ถึงอ​ ินเทอร์เน็ต​ของ​นักเรียน​ใน​ชนบท หรือ​ใน​กรณี​ข้อ​ถก​เถียง​ใน​เรื่อง​ การ​ใช้​ซอฟต์แวร์ล​ ะเมิด​ลิขสิทธิ์ต่อเ​รื่อง​ทรัพย์สิน​ทาง​ปัญญา เป็นต้น ข้อ​ถก​เถียง​ใน​เรื่อง​ของ​จริยธรรม​และ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ เป็น​ข้อ​โต้​เถียง​เพื่อ​ที่​จะ​หา​สม​ดุล ระหว่าง​จุดยืน ค่า​นิยม และ​สิทธิ ซึ่งส​ มดุล​เหล่า​นี้ย​ ่อม​แตก​ต่าง​ไป​ตาม​สภาพ​ของ​แต่ละ​สังคม ตัวอย่าง​เช่น จะ​ ใช้​แนวทาง​ใด​เพื่อ​ปกป้อง​เยาวชน​เมื่อ​พวก​เขา​เข้า​สู่ส​ ังคม​อินเทอร์เน็ต แนวทาง​ที่​กำ�หนด​ขึ้น​นี้​มี​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​ สิทธิเ​สรีภาพ​ส่วน​บุคคล​อย่างไร หรืออ​ าจ​จะ​เป็นข​ ้อถ​ ก​เถียง​ใน​ลักษณะ​ของ​แนว​นโยบาย​ใน​การ​คุ้มครอง​ผูผ้​ ลิต​ สินค้าดิจิทัลท​ ี่​มีผ​ ล​ต่อ​สังคม โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่งก​ ำ�ลัง​การ​ซื้อ​และ​การ​ใช้​สินค้า​ไอที เป็นต้น 1.2 เทคโนโลยี​สารสนเทศ​กับ​จริยธรรม​และ​การเมือง จาก​มุม​มอง​ที่​ว่า​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​ สังคม​ตา่ ง​กส​็ ง่ ผ​ ลก​ระ​ทบ​ซึง่ ก​ นั แ​ ละ​กนั ได้ส​ ะท้อน​ให้เ​ห็นถ​ งึ ค​ วาม​ส�ำ คัญข​ อง​จริยธรรม​ทเี​่ กีย่ วข้อง​กบั เ​ทคโนโลยี​ สารสนเทศ มี​ผู้​วิเคราะห์​ว่า​เทคโนโลยี​สาร​สนเทศ​ถูก​สร้าง​ขึ้น​โดย​สังคม จึง​ถูก​แฝง​ประเด็น​ทางการ​เมือง​และ​ เศรษฐกิจอ​ ย่าง​แยบยล เช่น การ​เกิดซ​ อฟต์แวร์โ​ อเพ่นซอร์ส เพื่อ​คาน​อำ�นาจ​กับซ​ อฟต์แวร์​ที่ม​ ีล​ ิขสิทธิ์ เป็นต้น การ​สร้าง​จริยธรรม​ด้าน​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ใน​แต่ละ​สังคม​จะ​ต้อง​ให้​ความ​สำ�คัญ​ใน​เรื่อง​เหล่า​นี้​ด้วย ผูผ้​ ลิตเ​ทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​ควร​จะ​คำ�นึงถ​ ึงผ​ ลก​ระ​ทบ​ทาง​ด้าน​จริยธรรม​และ​การเมืองด้วย ตัวอย่าง​ เช่น เครื่อง​เอทีเอ็ม ที่อ​ อกแบบ​มา​เพื่อใ​ ห้​ใช้ได้ก​ ับ​คน​ปกติ​ได้ แต่​ไม่​สามารถ​ใช้​งาน​ได้​กับ​คน​ตาบอด หรือ​คน​ พิการ​ที่​อยู่บ​ น​รถ​เข็น หรือ​คน​ที่​มี​ปัญหา​ใน​การ​จำ� ผล​จาก​การ​ออกแบบ​ตู้​เอทีเอ็มอ​ ย่าง​ทุกว​ ัน​นี้ ทำ�ให้​คน​บาง​ กลุ่ม​ไม่​สามารถ​เข้า​ถึง​เทคโนโลยี​ได้ กรณี​นี้​จะ​เป็นการ​จำ�กัด​สิทธิ​ที่​บุคคล​พึง​มี​พึง​ได้ และ​จะ​เป็น​ปัญหา​ทาง​ ด้าน​จริยธรรม ที่​อาจ​ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​ทาง​ด้าน​การเมือง​หรือ​ไม่ เป็น​กรณี​ศึกษา​ที่​พึง​พิจารณา 1.3 เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​กบั จ​ ริยธรรม​และ​ความ​เป็นม​ นุษย์ นอกจาก​กรณีข​ อง​เรือ่ ง​ทศั นคติ อารมณ์​ ความ​รู้สึก ที่​มี​ต่อ​อุปกรณ์​หรือ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​จริยธรรม​และ​การเมือง ดัง​ที่​กล่าว​มา​ แล้ว ความ​เกี่ยวข้อง​กับ​จริยธรรม​และ​ความ​เป็น​มนุษย์ ก็​มี​ส่วน​สำ�คัญ​อย่าง​มาก​โดย​เฉพาะ​ใน​กรณี​ของ​การ​ เปลี่ยนแปลง​สภาพ​สังคม​ใน​เรื่อง​ของโลก​เสมือน​จริง (virtual) สภาวะ​ของ​โลก​เสมือน​จริง​ใน​คือ​สถานะ​ของ​ การ​โต้ตอบ​กัน​ผ่าน​สื่ออ​ ิเล็กทรอนิกส์ ระหว่าง​มนุษย์​กับ​มนุษย์ หรือ​ระหว่าง​มนุษย์​กับ​เครื่องจักร โลก​ไซเบอร์ (cyberspace) เป็น​ตัวอย่าง​ของ​การ​โต้ตอบ​กัน​ใน​โลก​เสมือน​จริง โดย​เมื่อ​เทคโนโลยี​ อินเทอร์เน็ต​เจริญ​มาก​ขึ้น มี​การ​พัฒนา​ระบบ​ต่างๆ ที่​ช่วย​อำ�นวย​ความ​สะดวก​ใน​การ​ใช้​ชีวิต​ประจำ�​วัน​ของ​

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-75

ธ ส

มนุษย์ ใน​ขณะ​เดียวกันก​ ็จ​ ะ​ส่งผ​ ลก​ระ​ทบ​กับ​การ​ดำ�เนิน​ชีวิต​ของ​มนุษย์​มาก​ขึ้น​เรื่อยๆ โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ได้​ มี​การ​รวม​กลุ่ม​หรือ​มี​การ​สร้าง​สังคม​รูป​แบบ​เสมือน​จริง ใน​กลุ่ม​ของ​ผู้​สนใจ​หรือ​มี​แรง​ปรารถนา (passion) ใน​สิ่ง​เดียวกัน​มาก​ขึ้น ตัวอย่าง​เช่น ชุมชน​ผู้​ใช้​อินเทอร์เน็ต (cyber community) การ​ศึกษา​แบบ​เสมือน​จริง (virtual education) การ​มีม​ ิตรภาพ​แบบ​เสมือน​จริง (virtual friendships) องค์กร​แบบ​เสมือน​จริง (virtual organizations) และ​อื่นๆ ผู้คน​ที่​อยู่​ใน​สังคม​แบบ​เสมือน​จริง​นี้ จะ​มี​การ​ติดต่อ​สื่อสาร​โต้ตอบ​กัน​แบบ​เสมือน​จริง ก่อ​ให้​เกิด​ สังคม​รูป​แบบ​ใหม่​ใน​โลก​ไซเบอร์ ซึ่ง​พบ​ว่า​ใน​สังคม​รูป​แบบ​ใหม่​นี้​ยัง​มี​การ​แบ่ง​กลุ่ม และ​อาจ​มี​การ​แบ่ง​เป็น ก​ลุ่มย​ ่อยๆ ลง​ไป มีก​ าร​ติดต่อส​ ื่อสาร​กัน หาก​ใน​กลุ่มใ​ ด​มผี​ ูส้​ นใจ​ใน​เรื่อง​เดียวกันอ​ ย่าง​ต่อเ​นื่อง​จำ�นวน​มาก​พอ การ​ติดต่อส​ ื่อสาร​กันใ​ น​ช่วง​ระยะ​เวลา​หนึ่งก​ ็จ​ ะ​ก่อใ​ ห้เ​กิดเ​ป็นช​ ุมชน (community) ขึ้นม​ า โดย​ชุมชน​ที่เ​กิดข​ ึ้น​ นี้​อาจ​จะ​อยู่​ใน​รูป​แบบ​ของ​ชุมชน​แบบ​เสมือน​จริง (virtual communities) ต่อ​ไป​หรือ​อาจ​จะ​แปลง​เป็น​ชุม​ชน​ จริงๆ (real communities) ขึ้นม​ า​ก็ได้ หรืออ​ าจ​ก่อใ​ ห้​เกิด​ชุมชน​จำ�ลอง (pseudo communities) ใน​โลก​เสมือน​จริง การ​โต้ตอบ​สื่อสาร​ผ่าน​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ สามารถ​ที่​จะ​สร้าง​หรือ​กำ�หนด​ตัว​ตน​ ขึ้น​มา​ใน​โลก​เสมือน​ได้​อย่าง​ไร้​พรมแดน ผู้คน​สามารถ​สร้าง​ตัว​ตน​ใน​โลก​เสมือน​ได้​ไม่​จำ�กัด โดย​สร้าง​หรือ​ แสดง​ให้​ผู้​อื่น​จินตนาการ​หรือ​คิด​ให้​ตัว​ตน​ใหม่​นี้​เป็น​อย่างไร​ก็ได้​ตาม​ที่​กำ�หนด โดย​ตัว​ตน​ที่แท้​จริง​อาจ​ถูก​ ซ่อน​เร้น​ไว้ ดัง​ตัวอย่าง​เช่น คน​ไม่ส​ วย​อาจ​ถูก​ทำ�ให้​เข้าใจ​ว่า​เป็น​คน​สวย คน​อ้วน​อาจ​ถูก​ทำ�ให้​เข้าใจ​ว่า​เป็น​คน​ หุ่น​ดี อย่างไร​ก็ตาม​ภาย​ใต้โ​ ลก​เสมือน​นี้​สามารถ​ทำ�ให้​เป็น​ส่วน​หนึ่ง โดย​แบ่งแ​ ยก​ออก​จาก​สังคม​จริง​ที่​ยึด​ติด​ อยู่​กับ​ประเพณี​และ​ความ​คิด​ที่​ถ่ายทอด​ต่อกัน​มา การ​เข้า​มา​อยู่​ใน​โลก​เสมือน​นี้​ทำ�ให้​มี​โอกาส​ได้​แสดง​ตัว​ตน หรือ​แสดง​ความ​คิด​เห็น โดย​ปราศจาก​การ​ต่อ​ต้าน หรือ​ความ​ลำ�เอียง​ใน​จิตใจ สรุป​ว่า​ประเด็น​การ​พิจารณา​การ​ใช้​จริยธรรม​เพื่อ​แก้​ปัญหา​สังคม​ ที่เกิด​จาก​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ เป็นเ​รื่อง​ของ​การ​หา​สมดุลใ​ น​การ​ใช้จ​ ริยธรรม​เพื่อกำ�หนด​นโยบาย​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ อีกท​ ั้งย​ ังต​ ้อง​เฉลย​ข้อ​ กังขา​ใน​วัตถุประสงค์​ซ่อน​เร้น​ที่มา​กับ​เทคโนโลยี และ​ท้าย​สุด​จะ​ต้อง​คำ�นึง​ถึง​ความ​เป็น​มนุษย์ อารมณ์ ความ​ รู้สึก​นึกคิด ที่เ​กิด​ขึ้น​จริง​และ​สามารถ​ถูก​กำ�หนด​ขึ้น​ได้​ใน​สังคม​ยุค​สารสนเทศ​นี้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

2. ประเด็นท​ าง​จริยธรรม​ทาง​ด้าน​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์

การ​ทเี​่ ทคโนโลยีก​ า้ วหน้าไ​ ป​อย่าง​รวดเร็ว ทำ�ให้ก​ ฎหมาย​ออก​ตาม​ไม่ทนั อีกท​ ัง้ พ​ าณิชย์อ​ เิ ล็กทรอนิกส์​ ก็​ทำ�ให้​วิถี​การ​ดำ�เนิน​ธุรกิจเ​ปลี่ยน​ไป ธุรกรรม​ต่างๆ ก็​มี​ความ​เสี่ยง​สูง​ขึ้น โดย​เฉพาะ​ที่​จะ​เกิด​กับส​ ่วน​บุคคล ใน​ขณะ​ที่​ประโยชน์​ก็​มี​มาก ประเด็น​ทาง​จริยธรรม ประเด็น​ทาง​จริยธรรม​กับ​การ​ดำ�เนิน​งาน​ทาง​ด้าน​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์​จะ​ มีล​ ักษณะ​เหมือน​กัน​กับ​ประเด็น​ทาง​จริยธรรม​กับ​การ​ดำ�เนิน​งาน​ด้าน​เทคโนโลยี​สารสนเทศ ประเด็น​ที่​สำ�คัญ​ ได้แก่ 1) ความ​ลับ​ส่วน​บุคคล ระบบ​ชำ�ระ​เงิน​ด้วย​อิเล็กทรอนิกส์​ส่วน​ใหญ่ จะ​เก็บ​ข้อมูล​ของ​ลูกค้า​ไว้ ดัง​นั้นจ​ ึง​ต้อง​มี​การ​รักษา​ข้อมูล​เหล่า​นั้น​ไว้​ให้​เป็น​ความ​ลับ​ด้วย บาง​บริษัทม​ ี​การ​ลง​ซอฟต์แวร์​เฝ้า​ติดตาม​และ​ สังเกต​ดู​การ​ใช้​อินเทอร์เน็ต และ​อีเมล​ของ​พนักงาน เพื่อ​ตรวจ​สอบ​การ​ปฏิบัติ​งาน​ว่า​ใช้​เวลา​ของ​บริษัท​เพื่อ​

ธ ส


8-76

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

ใน​เรื่อง​ส่วน​ตัวอย่าง​ไร หรือ​มี​การก​ลั่น​แกล้ง​พนักงาน​ด้วย​กันเอง​หรือ​ไม่ ซึ่ง​บาง​กรณี​ก็​เป็น​สิทธิ์​ของ​บริษัท​ พึง​กระทำ�​ได้ 2) การ​เฝ้า​ติดตาม​ทาง​เว็บ แฟ้ม​บันทึก​รายการ​หรือ​ล็อก​ไฟล์ (log files) ที่​บรรจุ​ข้อมูล​ของ​ผู้​ที่​ เข้า​มา​ที่​เว็บไซต์ เป็น​แหล่ง​ข้อมูล​ที่​สามารถ​นำ�​ไป​วิเคราะห์​พฤติกรรม​ของ​ผู้​ที่​เข้า​มา​เยี่ยม​ชม​ได้ โดย​ปกติ​ใน​ การ​ใช้​คอมพิวเตอร์​เชื่อม​ต่อ​อินเทอร์เน็ต​นั้น ผู้​ใช้​จะ​ต้อง​คลิก​ที่​เบราเซอร์​ก่อน เพื่อ​สื่อสาร​กับ​เว็บไซต์​ต่างๆ คอมพิวเตอร์​กับ​เซิร์ฟเวอร์​ของ​เว็บไซต์​จะ​สื่อสาร​ด้วย​ข้อมูล​ที่​เรียก​ว่า คุกกี้ (cookie) หรือ​คุกกี้​เว็บ (web cookie) ซึ่ง​เป็น​ข้อมูลล​ ำ�ดับ​การ​เรียก​ดู​เว็บ และ​จะ​ถูก​เก็บ​ไว้​ที่​เว็บเ​ซิร์ฟเวอร์​และ​คอมพิวเตอร์​ของ​ผู้​ใช้​ระยะ​ หนึ่ง แล้ว​จะ​ถูก​ลบ​ไป​โดย​อัตโนมัติ แต่​ก็​มี​การ​ใช้ซ​ อฟต์แวร์​เฝ้า​ติดตาม​ทาง​เว็บ (web tracking software) ใน​การ​แอบ​ดักบ​ ันทึกข​ ้อมูลด​ ังก​ ล่าว เพื่อใ​ ช้ใ​ น​การ​วิจัย​พฤติกรรม​ผู้บ​ ริโภค ซึ่งเ​ป็นการ​ละเมิด​สิทธิ์​ส่วน​บุคคล นอกจาก​นี้​ยัง​มี​การ​ทำ�​คุกกี้​เทียม​แฝง​ตัว​เข้า​มา ซึ่ง​เป็น​ไวรัส​ประเภท​ที่​เรียก​ว่า ไวรัส​สายลับ (spyware) ที่​ คอย​ส่งข​ ้อมูลค​ ุกกี้อ​ อก​ไป​ยังเ​ว็บไซต์อ​ ื่น และ​ไวรัสโ​ ฆษณา (ad-ware) ที่เ​ป็นโ​ ฆษณา​โผล่ข​ ึ้นม​ าระ​หว่าง​ใช้ง​ าน​ คอมพิวเตอร์อ​ ยู่ ไวรัส​ต่างๆ เหล่า​นี้​สามารถ​กำ�จัดด​ ้วย​การ​ติดต​ ั้ง​โปรแกรม​กำ�จัดไ​ วรัส​ต่างๆ แต่ก​ ็​ต้อง​คอย​ซื้อ​ โปรแกรม​กำ�จัด​ไวรัส​ตัวใ​ หม่ๆ มา​ติด​ตั้งเ​ป็น​ระ​ยะๆ เนื่องจาก​มี​การ​พัฒนา​ไวรัส​ตัว​ใหม่ๆ ออก​มา​เส​มอๆ 3) การ​วา่ ง​งาน พาณิชย์อ​ ิเล็กทรอนิกส์ท​ ำ�ให้ใ​ ช้ก​ าร​แรงงาน​ลด​ลง จึงเ​ป็นป​ ระเด็นห​ นึ่งท​ ีจ่​ ะ​ต้อง​คำ�นึง​ ถึงใ​ น​การ​บริหาร​บุคลากร เช่น การ​ฝึกอ​ บรม​เพื่อท​ ำ�งาน​ใน​หน้าทีใ่​ หม่ เป็นต้น แต่ก​ ย็​ ังค​ ง​มผี​ ูว้​ ่าง​งาน​เป็นจ​ ำ�นวน​ มาก ดังน​ ั้น จึง​มี​การ​ใช้​คนกลาง (intermediation) ขึ้น​ใน​การ​ช่วย​หา​งาน ซึ่งแ​ บ่ง​ออก​เป็น 2 ลักษณะ​คือ (1) หา​ข้อมูล​พร้อม​กับ​จับ​คู่ง​ าน​ให้ ซึ่ง​มี​เว็บไซต์แ​ ละ​พอร์ทัล​หลาย​แห่งบ​ ริการ​ให้​โดย​ไม่​คิด​ค่า​ ใช้จ​ ่าย ใน​บาง​กรณีท​ ีก่​ ิจการ​ดำ�เนินก​ าร​เปิดร​ ับส​ มัคร​งาน​เอง​โดย​ไม่ต​ ้อง​ผ่าน​คนกลาง เรียก​ว่า การ​ตัดค​ นกลาง (disintermediation) หรือ​การ​ขาย​บัตร​โดยสาร​ที่​ลูกค้า​ทำ�การ​ซื้อ​เอง​ทาง​อินเทอร์เน็ต​ก็​เป็นการ​ตัด​คนกลาง​ เช่น​กัน (2) หา​ข้อมูล ช่วย​แนะนำ� และ​เจรจา​จัดการ​ให้ โดย​อาศัย​ทักษะ​ที่เ​คย​ทำ�​มา โดย​คิด​ค่า​ใช้​จ่าย​ บ้าง มัก​จะ​เรียก​ว่า การ​ผ่าน​คนกลาง​ใหม่ (reintermediation) หาก​จะ​เทียบ​กับ​สาย​การ​บิน​ก็​คือ การ​จัด​ ท่อง​เที่ยว​เป็นก​ลุ่ม​นั่นเอง ประเด็น​ทาง​กฎหมาย ประเด็น​ทาง​กฎหมาย​มี​มากมาย เนื่องจาก​ผู้​ซื้อ​และ​ผู้​ขาย​ไม่รู้​จัก​กัน​และ​ไม่​ เห็น​หน้า​กัน หรือ​อยู่ก​ ัน​คนละ​ประเทศ ทำ�ให้​มี​โอกาส​เกิด​การ​ฉ้อโกง​ผ่าน​ทาง​อินเทอร์เน็ต​ได้ ซึ่ง​มัก​จะ​พบเห็น​ กันใ​ น​ช่วง​ที่​เริ่ม​ใช้พ​ าณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์​กันใ​ หม่ๆ เช่น มีเ​ว็บไซต์​ที่​ทำ�​ทีเ​ป็นธ​ นาคาร แล้วห​ ลอก​ให้ล​ งทุน เพื่อ​ หวังป​ ั่นห​ ุ้น แล้วก​ ็ห​ ายตัวไ​ ป เป็นต้น การ​หลอก​ลวง​รูปแ​ บบ​ต่างๆ ก็ม​ ีเ​พิ่มข​ ึ้นเ​รื่อยๆ การ​ใช้อ​ ินเทอร์เน็ตจ​ ึงต​ ้อง​ ระ​มัดระวัง​เป็นพ​ ิเศษ ตัวอย่าง​วิธีป​ ้องกัน​การ​ฉ้อโกง​ด้าน​พาณิชย์​อิเล็กทรอนิกส์ เช่น 1) การ​ป้องกันด​ ้าน​ผู้​ซื้อ – เลือก​เข้า​แต่​เว็บไซต์​ที่​รู้จักก​ ัน​ดีน​ ่า​เชื่อ​ถือ และ​เข้าโ​ ดยตรง ไม่​ผ่าน​การ​ลิงก์ (link) ใดๆ ใช้​ ชื่อ​เต็ม​ของ​บริษัท เช่น www.walmartstores.com และ www.amazon.com เป็นต้น – การ​เข้า​เว็บ​แปลกๆ หรือ​ไม่​ค่อย​แน่ใจ ควร​ตรวจ​สอบ​ทาง​โทรศัพท์ และ​ซัก​ถาม​ให้​แน่ใจ หรือ​ตรวจ​สอบ​ข้อ​เท็จ​จริง​กับ​สมาคม​การ​ค้า​ด้วย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-77

ธ ส

– สังเกต​กระบวนการ​สั่งซ​ ื้อแ​ ละ​การ​ชำ�ระ​เงิน ว่าม​ ี​ความ​มั่นคง​หรือ​ไม่ – สังเกต​และ​อ่านเงื่อนไข​ต่างๆ เช่น หลัก​การ​คืน​เงิน นโยบาย​การ​รักษา​ความ​ลับ – เปรียบ​เทียบ​ราคา​กับ​ร้าน​ค้า​ปกติ ต้อง​นึก​เสมอ​ว่า​ของ​ถูก​เกิน​ไป​มัก​จะ​เป็น​ของ​ปลอม (too good to be true) – สอบถาม​ความ​น่า​เชื่อ​ถือจ​ าก​เพื่อน​หรือ​คน​อื่นๆ ที่​เคย​ใช้​บริการ – ศึกษา​สิทธิ์ใ​ น​การ​เรียก​ร้อง​ของ​ลูกค้า จาก​หน่วย​คุ้มครอง​ผู้​บริโภค​ท้อง​ถิ่น – ตรวจ​สอบ​กับ​เว็บไซต์ www.acfe.com และ www.isaca.org ซึ่ง​เป็น​หน่วย​งาน​ที่​ดูแล​ เรื่อง​ความ​มั่นคง 2) การ​ป้องกัน​ด้าน​ผู้​ขาย ผู้​ขาย​เอง​ก็​ต้อง​ระวัง​จาก​การ​ถูก​ฉ้อโกง​และ​หลอก​ลวง​ได้ ลูกค้า​อาจ​ใช้​ บัตร​เครดิตป​ ลอม อาจ​ปฏิเสธ​ไม่​ยอม​ชำ�ระ​เงิน​โดย​อ้าง​ว่า ไม่​ได้​รับ​ของ​บ้าง นอกจาก​นี้​ยัง​ต้อง​ป้องกัน​การ​ถูก​ แอบ​อ้าง​ชื่อ หรือ​ลอก​เลียน​แบบ​อย่าง​โฆษณา คำ�ขวัญ เครื่องหมายการค้า และ​การ​ดาวน์โหลด​ที่​ผิด​ กฎหมาย

ธ ส

ธ ส

ธ ส

3. พฤติกรรม​ที่​ผิด​จริยธรรม​และ​ผิดก​ ฎหมาย

ธ ส

เป็น​ความ​รับ​ผิด​ชอบ​ของ​บุคลากร​ความ​มั่นคง​สารสนเทศ​ที่​จะ​ต้อง​ทราบ​ความ​แตก​ต่าง​ของ​การ ก​ระ​ทำ�​ที่​ผิด​จริยธรรม​และ​ผิดก​ ฎหมาย โดย​การ​ใช้​นโยบาย การ​ศึกษา​และ​การ​ฝึก​อบรม และ​เทคโนโลยี​เป็น​ ตัว​ควบคุม หรือ​ตัวป​ ้องกันส​ ารสนเทศ​และ​ระบบ วิชาชีพ​ด้าน​ความ​มั่นคง​หลาย​อย่าง​ต้อง​เข้าใจ​เครื่อง​มือ​ทาง​ เทคโนโลยี​ของ​การ​ป้องกัน แต่ห​ ลาย​คน​ก็​เห็น​คุณค่า​ของ​นโยบาย​น้อย​เกิน​ไป ประเภท​ของ​พฤติกรรม​ผิดจ​ ริยธรรม​ที่​องค์กร​และ​สังคม​ควร​จะ​กำ�จัด 3 ประการ ดังนี้ 1) ความ​ไม่รู้ (ignorance) การ​ไม่รู้​กฎหมาย​เป็น​สิ่ง​ที่​ไม่มี​ข้อ​แก้ตัว แต่​ความ​ไม่รู้​นโยบาย​และ​ กระบวนการ​เป็น​สิ่งท​ ี่พ​ อ​แก้ตัว​ได้ การ​กำ�จัด​ความ​ไม่​สนใจ​นี้​สามารถ​ใช้​การ​ศึกษา องค์กร​ต้อง​ออกแบบ และ​ ใช้​นโยบาย​ของ​องค์กร​และ​กฎหมาย​ที่​เกี่ยวข้อง โดย​พนักงาน​ต้อง​เห็นด​ ้วย​ที่​จะ​ปฏิบัติ​ตาม 2) อุบัติเหตุ (accident) บุคลากร​ที่​ได้​รับ​อนุญาต​และ​มี​สิทธิ์​ใน​การ​จัดการ​สารสนเทศ​ใน​องค์กร​มี​ โอกาส​สูงสุด​ใน​การ​ก่อ​ให้​เกิด​อันตราย หรือ​ความ​เสีย​หาย​โดย​อุบัติเหตุ การ​ควบคุม​ที่​ระมัดระวัง​สามารถ​ช่วย​ ป้องกันก​ าร​แก้ไข​ข้อมูลแ​ ละ​ระบบ​โดย​บังเอิญไ​ ด้ 3) ความ​ตั้งใจ (intend) ความ​ตั้งใจ​ใน​อาชญากรรม หรือ​ผิด​จริยธรรม​หมาย​ถึงร​ ะดับ​ของ​จิตใจ​ของ​ บุคคล​ทีจ่​ ะ​ก่อเ​หตุท​ ีไ่​ ม่ด​ ี การ​ป้องกันท​ าง​กฎหมาย​สามารถ​ป้องกันก​ ารก​ระ​ทำ�​ทีท่​ ำ�​โดย​ความ​ไม่รู้ โดย​อุบัติเหตุ หรือ​ด้วย​ความ​ตั้งใจ จะ​ทำ�ได้​ดี​ที่สุด​โดย​ใช้​กฎหมาย​ใน​การ​ดำ�เนิน​คดี ประกอบ​กับก​ าร​ควบคุม​ทาง​เทคนิค

ธ ส

ธ ส

ธ ส

4. แนวทาง​จะ​ช่วย​ลด​ปัญหา​สังคม​ที่​เกิด​จาก​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ

ธ ส

ทุก​วัน​นี้​มนุษย์​ได้​แปลง​ปรากฏการณ์​ธรรมชาติ​ที่​เป็น​ปัญหา​ของ​ตน ให้​มา​อยู่​ใน​รูป​แบบ​ที่​เป็น​ ปัจจัย​นำ�​เข้า​ของ​ระบบ​คอมพิวเตอร์​แล้วเ​ป็น​ส่วน​ใหญ่ ซึ่ง​ข้อมูล​ปัจจัย​นำ�​เข้า​ใน​ลักษณะ​ต่างๆ เหล่าน​ ั้น​จะ​ถูก​ ประมวล​ผล​ให้​เป็น​สารสนเทศ​ที่​มนุษย์น​ ำ�​ไป​สร้าง​เป็น​ความ​รู้​เพื่อ​ใช้​ประโยชน์​ต่อ​ไป


8-78

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

ธ ส

อย่างไร​ก็ตาม​ใน​สังคม​ทุกส​ ังคม​ต่าง​ก็ม​ ีค​ น​ดีแ​ ละ​คน​ชั่วป​ ะปน​กัน เมื่อเ​ทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​และ​การ​ สื่อสาร เป็นป​ ระโยชน์ไ​ ด้ม​ าก​เพียง​ใด ก็ส​ ามารถ​ถูกก​ ำ�หนด​หรือส​ ร้าง​ให้เ​ป็นโ​ ทษ​ได้ม​ าก​เพียง​นั้น การ​ป้องกันภ​ ัย​ และ​การ​แก้ป​ ญ ั หา​สงั คม​ทเี​่ กิดข​ ึน้ จ​ าก​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ จึงเ​ป็นเ​รือ่ ง​ทจี​่ ะ​ตอ้ ง​ได้ร​ บั ค​ วาม​รว่ ม​มอื จ​ าก​สมาชิก​ ใน​สังคม​อย่าง​จริงจัง ดังน​ ั้นจ​ ึงม​ กี​ าร​เสนอ​แนวทาง​บาง​ประการ​ทีน่​ ่าจ​ ะ​ช่วย​ลด​ปัญหา​สังคม​ทีเ่​กิดจ​ าก​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​ ลง​ได้บ​ ้าง 1) ใช้​แนวทาง​สร้าง​จริยธรรม (ethics) ใน​ตัวผู้​ใช้​เทคโนโลยี​สารสนเทศ แนวทาง​นี้​มี​หลัก​อยู่​ว่า​ผู้​ใช้​ เทคโนโลยี​สารสนเทศ ต้อง​ระมัดระวัง​ไม่​สร้าง​ความ​เดือด​ร้อน​เสีย​หาย​ต่อ​ผู้​อื่น และ​ใน​ขณะ​เดียวกัน​ยัง​ควร​ ที่​ทำ�​กิจกรรม​ที่​เสริม​สร้าง​คุณ​งาม​ความ​ดี และ​เป็น​ประโยชน์​อยู่​เสมอ ตลอด​จน​พึง​ทำ�การ​ศึกษา​หาความ​รู้​ว่า​ กิจกรรม​ประเภท​ใด​เป็น​สิ่งด​ ี​มี​ประโยชน์​ต่อเพื่อน​มนุษย์ และ​กิจกรรม​ประเภท​ใด​สร้าง​ความ​เดือด​ร้อน​ให้​กับ​ ผู้​อื่น 2) สร้าง​ความ​เข้มแ​ ข็งใ​ ห้ก​ บั ต​ นเอง ผู้ใ​ ช้เ​ทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​พึงร​ ำ�ลึกอ​ ยูเ่​สมอ​ว่า ใน​สังคม​ทุกว​ ันน​ ี​้ ยังม​ ค​ี น​ไม่ด​ ป​ี ะปน​อยูม​่ าก​พอ​สมควร เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​เป็นเ​พียง​เครือ่ ง​มอื ท​ จี​่ ะ​อ�ำ นวย​ความ​สะดวก​เท่านัน้ หาก​มีผ​ ู้ใ​ ช้​เทคโนโลยี​เหล่า​นี้ใ​ น​ทาง​ที่ไ​ ม่ด​ ี เทคโนโลยี​ก็ส​ ่ง​เสริม​สนับสนุน​กิจกรรม​ที่ไ​ ม่​ดี ไม่​เป็น​ที่พ​ ึง​ปรารถนา​ ให้​รุนแรง​ขึ้น​ได้ การ​สร้าง​ความ​เข้ม​แข็ง​ให้​กับ​ตนเอง ไม่​ลุ่ม​หลง​ต่อ​กิจกรรม​หนึ่ง​กิจกรรม​ใด​จน​มาก​เกิน​ไป ตลอด​จน​การ​มี​สติ​คิด​ไตร่ตรอง​ให้​รอบคอบ ถือว่า​เป็น​ข้อ​ปฏิบัติ​ที่​จำ�เป็นใ​ น​ยุค​ของ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ 3) ใช้​แนวทาง​การ​ควบคุม​สังคม​โดย​ใช้​วัฒนธรรม​ที่​ดี แนวทาง​นี้​มี​หลัก​อยู่​ว่า​วัฒนธรรม​ที่​ดี​นั้น​ สามารถ​ควบคุม​และ​แก้​ปัญหา​สังคม​ได้ การ​ดำ�รง​อยู่​และ​ส่ง​เสริม​วัฒนธรรม​ที่​ดี​ไว้​เป็น​สิ่ง​จำ�เป็น​ใน​ยุค​ สารสนเทศ ตัวอย่าง​เช่น การ​ให้​เกียรติ​ซึ่ง​กัน​และ​กัน ยกย่อง​ใน​ผล​งาน​ของ​ผู้​อื่น เป็น​วัฒนธรรม​ที่​ดี​และ​พึง​ ปฏิบัตใิ​ น​ยุคส​ ารสนเทศ ทีผ่​ ูใ้​ ช้ข​ ้อมูลส​ ารสนเทศ​ของ​ผูอ้​ ื่นพ​ ึงใ​ ห้เ​กียรติเ​จ้าของ​ผล​งาน ด้วย​การ​อ้างอิงถ​ ึง (citation) เมื่อน​ ำ�​ผล​งาน​ของ​ผู้อ​ ื่น​มา​ใช้​ประโยชน์ 4) การ​สร้าง​ความ​เข้ม​แข็ง​ให้ก​ ับ​สังคม​ชุมชน ผู้รับ​ผิด​ชอบ​ใน​การ​จัดการ​ด้าน​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​ และ​สมาชิก​ของ​สังคม พึงต​ ระหนัก​ถึงภ​ ัยอ​ ันตราย​ที่มา​พร้อม​กับเ​ทคโนโลยีส​ ารสนเทศ และ​หา​ทาง​ป้องกันภ​ ัย​ อันตราย​เหล่าน​ ั้น ตัวอย่าง​เช่น การ​ติดต​ ั้งร​ ะบบ​เพื่อก​ ลั่นก​ รอง​ข้อมูลท​ ี่ไ​ ม่เ​หมาะ​สม​กับเ​ด็กแ​ ละ​เยาวชน การ​ให้​ ความ​รู้​เรื่อง​ภัย​อันตราย​จาก​อินเทอร์เน็ต​ต่อ​สังคม การ​เผย​แพร่​ข้อมูล​ข่าวสาร​ภัย​อันตราย​ที่มา​กับ​เทคโนโลยี​ สารสนเทศ ตลอด​จน​การ​ค้นคว้าว​ ิจัยเ​พื่อห​ าความ​รู้ท​ ี่เ​กี่ยวข้อง​เพิ่มเ​ติม ทั้งนี้เ​พื่อใ​ ห้ส​ ังคม​มีค​ วาม​เข้มแ​ ข็งแ​ ละ​ สามารถ​ดำ�รง​อยู่​กับ​เทคโนโลยี​ได้อ​ ย่าง​ยั่งยืน 5) ใช้​แนวทาง​การ​เข้าส​ ู่​มาตรฐาน​การ​บริหาร​จัดการ​การ​ให้บ​ ริการ​เทคโนโลยี​สารสนเทศ ใน​ปัจจุบัน​ องค์กร​ต่างๆ ได้​กำ�หนด​มาตรฐาน​ที่เ​กี่ยวข้อง​กับ​การ​ให้​บริการเทคโนโลยี​สารสนเทศ​ขึ้น​มา​ใช้ ถึง แม้ว่า​เจตนา​ เดิมข​ อง​มาตรฐาน​เหล่าน​ จี้​ ะ​อำ�นวย​ประโยชน์ใ​ ห้ก​ ระบวนการ​ด้าน​การบริหาร​งาน มาตรฐาน​ต่างๆ เหล่าน​ ไี้​ ด้ผ​ ่าน​ การ​พิจารณา​ไตร่ตรอง​อย่าง​รอบคอบจาก​กรรมการ​ผู้ทรง​คุณวุฒิ ส่ง​ผล​ให้​แนวทาง​การ​เข้า​สู่​มาตรฐาน​หลาย​ ประการ​สามารถ​ช่วย​ลด​ภัย​อันตราย​จากเทคโนโลยี​สารสนเทศ​ได้

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-79

ธ ส

6) ใช้​แนวทาง​การ​บังคับ​ใช้​ด้วย​กฎ ระเบียบ และ​กฎหมาย ปัญหา​สังคม​ที่​เกิด​จาก​เทคโนโลยี​ สารสนเทศ​อาจ​จะ​รุนแรง และ​ไม่​สามารถ​แก้​ปัญหา​ด้วย​วิธี​การ​อื่น การ​กำ�หนด​ให้​ปฏิบัติ​ตาม​ข้อ​กำ�หนด​ทาง​ กฎหมาย และ​บท​ลงโทษ​ของ​การ​ละเมิด​เป็น​สิ่ง​จำ�เป็น ผู้​บริหาร​ระบบ​สารสนเทศ​จะ​ต้อง​ระบุ​ข้อ​กำ�หนด​ทาง​ ด้าน​กฎ ระเบียบ ข้อ​บังคับ​บท​ลงโทษ หรือ​สัญญา ที่​จะ​ต้อง​ปฏิบัติ​ตาม เพื่อ​ป้องกัน​ปัญหา​สังคม​ที่​จะ​มา​กับ​ เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ ตัวอย่าง​เช่น การ​ปฏิบัตติ​ าม​ข้อก​ ำ�หนด​ทาง​ลิขสิทธิ์ (copyright) ใน​การ​ใช้ง​ าน​ทรัพย์สิน​ ทาง​ปัญญา การ​ป้องกัน​ข้อมูล​ส่วน​ตัวข​ อง​พนักงาน เป็นต้น จะ​สังเกต​ได้​ว่า​แนวทาง​ใน​การ​แก้ป​ ัญหา​ดัง​กล่าว​ข้าง​ต้น จะ​เริ่ม​จาก​การ​แก้​ปัญหา​ที่​ตัว​ปัจเจกบุคคล จาก​นั้น​จะ​พิจารณา​แก้​ปัญหา​ด้วย​วิธี​การ​ใน​การ​สร้าง​วัฒนธรรม​ที่​ดี​ใน​สังคม ก่อน​ที่​จะ​ใช้​วิธี​การ​บังคับ​ด้วย​ กฎหมาย ซึ่งจ​ ะ​ใช้ก​ ับป​ ัญหา​ที่ร​ ุนแรง อย่างไร​ก็ตาม​วิธีก​ าร​แก้ป​ ัญหา​ด้วย​การ​บังคับใ​ ช้ก​ ฎหมาย​นั้นจ​ ะ​ไม่ย​ ั่งยืน ผิด​กับแ​ นวทาง​ใน​การ​สร้าง​จริยธรรม​ใน​หมู่​ผู้ใ​ ช้​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​โดยตรง

ธ ส

ธ ส

ธ ส

หลัง​จาก​ศึกษา​เนื้อหา​สาระ​เรื่อง​ที่ 8.3.3 แล้ว โ​ ปรด​ปฏิบัติ​กิจกรรม 8.3.3 ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 8 ตอน​ที่ 8.3 เรื่อง​ที่ 8.3.3

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ม ม

ธ ส


8-80

ธ ส

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

บรรณานุกรม

ธ ส

ธ ส

ความ​เชื่อม​ ั่นใ​ น​การ​ชำ�ระ​เงิน (2553) “ใน​ระบบ​ดิจิทัล” จัดพ​ ิมพ์แ​ ละ​เผย​แพร่โ​ ดย​กระทรวง​เทคโนโลยีส​ ารสนเทศ​และ​ การ​สื่อสาร กุมภาพันธ์ จิตรา​พร ลี​ละ​วัฒน์​และ​คณะ (2553) ใน เอกสาร​ประกอบ​การ​สอน​วิชา จริยธรรม​ทาง​ธุรกิจ หลักสูตร​บริหารธุรกิจ​ บัณฑิต มหาวิทยาลัย​ศรีปทุม จุฑา​รตั น์ เริงห​ ทัยธ​ รรม (2543) “หน่วย​ที่ 13 คุณธรรม​และ​จริยธรรม​ใน​การ​ประกอบ​วชิ าชีพเ​ทคโนโลยีส​ ารสนเทศ” ใน เอกสาร​การ​สอน​ชุด​วิชาประสบการณ์​วิชาชีพ เทคโนโลยี​สารสนเทศธุรกิจ มหาวิทยาลัย​สุ​โข​ทัยธร​รมาธิ​ราช ชัยวัฒน์ วงศ์​วัฒน​ศานต์ ทวี​ศักดิ์ กอ​อนันต​กูล สุ​ราง​คณา แก้ว​จำ�นง คำ�​อธิบาย​พระ​ราช​บัญญัติ​ว่า​ด้วย​ธุรกรรม​ทาง​ อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ศูนย์​เทคโนโลยีอ​ ิเล็กทรอนิกส์​และ​คอมพิวเตอร์​แห่งช​ าติ ไพบูลย์ อมร​ภิญโญ​เกียรติ (2555) พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 บริษัท โปร​วิชั่น จำ�กัด พิภัช ดวง​คำ�​ส​วัส​ดิ์ (2553) ใน เอกสาร​ประกอบ​การ​สอน​วิชา กฎหมาย​และ​จริยธรรม​ต่างๆ ทาง​ด้าน​เทคโนโลยี​ สารสนเทศ ภาค​วิชา​เทคโนโลยี​สารสนเทศ​และ​การ​สื่อสาร คณะ​เทคโนโลยี​สาร​สนเ​ทศ มหาวิทยาลัย​ ศรีปทุม ว​รา​ภร​ ณ์ วนา​พิทักษ์ “หน่วย​ที่ 15 กฎหมาย​และ​จริยธรรม​สารสนเทศ” ใน เอกสาร​การ​สอน​ชุดว​ ิชา​สารสนเทศ​ศาสตร์​ เบื้อง​ต้น ฉบับ​ปรับปรุงค​ รั้ง​ที่ 2 หน้า 15-30 ถึง 15-31 สำ�นักงานคณะ​กรรมการ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์ (2553) รวม​กฎหมาย​เกี่ยว​กับ​ธุรกรรม​ทาง​อิเล็กทรอนิกส์​และ​ กฎหมาย​ที่​เกี่ยวข้อง สำ�นักงาน​ปลัด​กระทรวง​เทคโนโลยี​สารสนเทศและ​การ​สื่อสาร สุ​พล พรหม​มา​พันธุ์ (2552) ระบบ​สารสนเทศ​เพื่อ​การ​จัดการ​ธุรกิจ โรง​พิมพ์ม​ หาวิทยาลัยศ​ รีปทุม อิทธิพล ว​รา​นศ​ุ ภุ า​ ก​ ลุ (2553) ใน เอกสาร​ประกอบ​การ​สอน​วชิ า กฎหมาย​และ​จริยธรรม​ทาง​สือ่ สาร​มวลชน มหาวิทยาลัย​ ศรีปทุม Carroll, Archie B. (1991). The Pyramid of Corporate Social Responsibility: Toward the Moral​ Management of Organizational Stakeholders. Business Horizons (July–August 1991), 42. Desjardins, J. R. and McCall, J. J. (1996). Contemporary Issues in Business Ethics. 3rd ed. New York: Waduorth Pubishing company. Krolick, Stanley. (1987). Ethical decision – making style : Survey and interpretive notes. Beverly, MA: Addision – Wesley Training Systems. Kroenke, David and Hatch, Richard. (1989). Management Information Systems. 3rd ed. McGrawHill. Laudon, Kenneth C. and Laudon, P. (1996). Management Information System. 5th ed. Prentice Hall. Nash, Laura. (1981). Ethics without the sermon. Harvard Business Review (November/December): 88. O’Brien, James A. (2009). Management Information Systems. 9th ed. McGraw-Hill.

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส


ธ ส

กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

8-81

ธ ส

Steiner, George A., and Steiner, John F. (1988, 1991). Business, government, and society: A managerial perpective. 5th, 6th eds. New York: Random House. Turban, Efraim and Volonino, Linda. (2010). Information Technology for Management. 7th ed. John Wiley & Son (Asia) Pte. Ltd. Velasquez, Manuel G. (1998, 1992). Business Ethics: Concepts and cases. 2nd, 3rd eds. Englewood Cliffs: Prentice Hall. Weiss, J. W. (1998). Business Ethics: A stakeholder and Issues Management approach. 2nd ed. New York: The Dryden Press.

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส

ธ ส

ม ม

ธ ส



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.