เอกสารอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส ข องมหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าชฉบั บ นี้ ได รั บ การสงวนลิ ข สิ ท ธิ์ แ ละคุ ม ครองภายใต ก ฎหมายลิ ข สิ ท ธิ์ รวมทั้ ง สนธิ สั ญ ญาว า ด ว ยทรั พ ย สิ น ทางป ญ ญา
หน่วยที่
13
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ชื่อ วุฒ ิ ตำ�แหน่ง หน่วยที่เขียน
ธ ส ธ ส
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
อาจารย์ธนนุช ตรีท ิพยบุตร
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
อาจารย์ธนนุช ตรีท ิพยบุตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (คณิตศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รัฐศ าสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยธ รรมศาสตร์ M.Sc. (Computer and Information Science), Syracuse University เลขาธิการสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2549-2552 รองปลัดก ระทรวงเทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2545-2549 ผู้ต รวจราชการสำ�นักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2544-2545 ผู้ช ่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2540-2544 หน่วยที่ 13
ม
ธ ส
13-1
13-2
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
หน่วยที่ 13
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ม
เค้าโครงเนื้อหา
แนวคิด
ม
ตอนที่ 13.1 ความหมายและความสำ�คัญของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 13.1.1 ความหมายของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 13.1.2 นโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมิติของรัฐบาลไทย ตอนที่ 13.2 พัฒนาการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 13.2.1 การเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย 13.2.2 พัฒนาการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตอนที่ 13.3 กรณีตัวอย่างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไทยในปัจจุบัน 13.3.1 รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริการสำ�คัญของภาครัฐ 13.3.2 การเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐเพื่อรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 13.3.3 โครงสร้างพื้นฐานที่สำ�คัญต่อการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ตอนที่ 13.4 รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไทยก้าวสู่เวทีโลก 13.4.1 การจัดอันดับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเทียบกับน านาประเทศ 13.4.2 ดัชนีแ ละปัจจัยในการขับเคลื่อนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 13.4.3 กรณีต ัวอย่างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ 13.4.4 ก้าวต่อไปของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไทย
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
1. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นกลไกสำ�คัญเพื่อการบริหารประเทศอย่างธรรมาภิบาลโดยยึด ประชาชนเป็นศูนย์กลางเพื่อการบริหารด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการสนับสนุน ทั้งนี้เพื่อก ารมีส่วนร่วม และความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้ 2. การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ทั้ง กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการปฏิบัติงานเพื่อแปลงงานที่เคยทำ�ด้วยมือ เป็นดำ�เนินการผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต้องได้รับการสนับสนุน ทั้งในด้านคน และเงินงบประมาณที่เพียงพออย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 3. ประเทศไทยได้ให้ความสำ�คัญต่อการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างจริงจังเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544 ทั้งในด้านการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมโยงข้อมูล ตลอดจน โครงสร้างพื้นฐ านที่ส ำ�คัญด้านสารสนเทศ
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ม
13-3
ธ ส
ม
4. ถึงแ ม้การบริการอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยจะมีอย่างหลากหลาย โดยที่หลายระบบ ต่างก็ได้รับรางวัลจากองค์กรระหว่างประเทศ และบางระบบก็ได้มีการพัฒนาล้ำ�หน้า ไปกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วก็ตาม แต่ประเทศไทยก็ยังมิได้ถูกจัดอันดับไว้ในอันดับ ต้นๆ ของเวทีโลก ทั้งนี้เพราะยังมีจุดอ่อนในตัวชี้วัดหลายประการที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม ให้ตรงประเด็นตามเกณฑ์ขององค์กรที่เป็นผู้จัดอันดับนั้น นอกจากนี้ การทำ�ให้เกิด รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้ ผู้นำ�ประเทศต้องมีวิสัยทัศน์ ทัศนคติที่รุดหน้าทันเทคโนโลยี ทันโลกาภิวัตน์ และจะต้องผลักดันอย่างจริงจัง ผู้นำ�ประเทศสามารถทำ�ให้การพัฒนา รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปอย่างก้าวกระโดดได้ แต่ในทางตรงกันข้ามผู้นำ�ประเทศก็มี ผลให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ทรุดตัวลงอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน
ธ ส
วัตถุประสงค์
ธ ส
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
เมื่อศ ึกษาหน่วยที่ 13 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบาย ความเป็นมา ความหมาย ความสำ�คัญ และองค์ประกอบของการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมได้ 2. อธิบาย พัฒนาการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย ตลอดจนความก้าวหน้า ไม่ ว่าจะเป็นในด้านการบริการอิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำ�คัญต่อการพัฒนา พร้อมทั้งสามารถยกตัวอย่างให้เห็นภาพ พอสังเขปได้ 3. วิเคราะห์ เปรียบเทียบ สถานภาพการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย เทียบกับต่างประเทศ และสามารถค้นคว้าหาตัวอย่างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมเพื่อ เปรียบเทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว เพื่อสร้างความเข้าใจเพิ่มเติมในประเด็นการแข่งขัน ในเวทีโลกได้ 4. อธิบายแผนทิศทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ท ีก่ ระทรวงเทคโนโลยีส ารสนเทศและ การสื่อสารเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก เพื่อการพัฒนาระบบการบริการอิเล็กทรอนิกส์ ภาครัฐข องประเทศไทยแบบก้าวกระโดด และปัจจัยแ ห่งค วามสำ�เร็จใ นการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์พอสังเขปได้
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
13-4
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ตอนที่ 13.1
ธ ส
ม
ความหมายและความสำ�คัญของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
โปรดอ่านแผนการสอนประจำ�ตอนที่ 13.1 แล้วจ ึงศึกษาเนื้อหาสาระ พร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง
ม
หัวเรื่อง
แนวคิด
ธ ส
เรื่องที่ 13.1.1 ความหมายของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องที่ 13.1.2 นโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมิติของรัฐบาลไทย
ม
ธ ส
1. องค์กรระดับโลก และระดับนานาชาติได้ให้ความสำ�คัญ และความหมายของรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ไว้ ซึ่งในแต่ละความหมายจะมีคำ�สำ�คัญหรือประโยคสำ�คัญที่เหมือนกัน อยู่ ด้ ว ยก ารใ ช้ เ ทคโนโลยี ส ารสนเทศแ ละก ารสื่ อ สารเ พื่ อ ก ารบ ริ ห ารป ระเทศแ บบ ธรรมาภิบาลเพื่อประชาชนเป็นหลัก แต่จะมีส่วนขยายที่แตกต่างกันในรายละเอียดไป บ้างเท่านั้น 2. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้ปรากฏอยู่ในนโยบายรัฐบาลตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ไม่ ว่ า จ ะเป็ น น โยบายที่ แ ถลงต่ อ รั ฐ สภา หรื อ ที่ ป รากฏไ ว้ ใ นเ อกสารก รอบน โยบาย เทคโนโลยีสารสนเทศ แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนทิศทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และแม้กระทั่งในการประชุมคณะรัฐมนตรี ตลอดจนในคำ�ปราศรัยเนื่องใน โอกาสต่างๆ ของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ถือเป็นวาระสำ�คัญของประเทศ
ธ ส
ม
ธ ส
วัตถุประสงค์
ธ ส
ม
ม
ธ ส
เมื่อศึกษาตอนที่ 13.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายความหมายและความส�ำ คัญข องรฐั บาลอเิ ล็กทรอนิกส์ใ นทศั นะขององค์กรทสี่ �ำ คัญ ในระดับโลก และระดับภูมิภาคได้ 2. อธิบายความเป็นมาและความสำ�คัญของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมิติของรัฐบาลไทย ตั้งแต่ย ุคบุกเบิกจนถึงย ุคปัจจุบันได้
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
เรื่องที่ 13.1.1 ความหมายของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
13-5
ม
พัฒนาการอินเทอร์เน็ตเข้ามามีอิทธิพลที่สำ�คัญในระดับเวทีโลก ปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจนตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 ที่สหรัฐอเมริกาโดยประธานาธิบดีคลินตัน และรองประธานาธิบดีอัลกอร์ของสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มโครงการสร้างทางด่วนสารสนเทศ (information superhighway) ทำ�ให้มีการพัฒนาเว็บไซต์และ อินเทอร์เน็ตก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เป็นช่องทางที่สำ�คัญในการปฏิสัมพันธ์และทำ�ธุรกิจทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ า่ นทางเว็บไซต์ห รือส ือ่ อ เิ ล็กทรอนิกส์อ ืน่ ๆ ต่อม ากระแสของพาณิชย์อ เิ ล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) และธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ได้ขยายเข้ามาในกิจการภาครัฐจนกลายเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ซึ่งประเทศไทยก็ตกอยู่ในกระแสนั้นด้วย เป็นจุดกำ�เนิดของ e-Thailand ที่มีรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือสำ�คัญครั้งแรกของประเทศไทยเมื่อต้นปี พ.ศ. 2544 ประกอบกับขณะนั้น แนวคิดการปฏิรูประบบราชการได้ตกผลึก และมีผลในทางปฏิบัติในปลายปี พ.ศ. 2545 จึงทำ�ให้ภาครัฐ ตื่นตัวอย่างมากต่อการบริหารราชการตามแนวทางใหม่ ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นเครื่องมือใ นการทำ�งาน โดยเฉพาะในโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานต่างๆ แนวคิดเรื่องรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้แผ่กระจายไปทั่วโลกสนองนโยบายธรรมาภิบาลของรัฐ ด้วย ยุทธศาสตร์ก ารใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นต ัวขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำ�ลังพัฒนาก็ตามต่างพากันให้ค วามสำ�คัญในเรื่องนี้ จนทำ�ให้หัวข้อ “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” กลายเป็นประเด็นสำ�คัญที่องค์กรระดับโลกและระดับนานาชาติหลายองค์กรต่างจับตามองให้ความหมาย และให้ค วามสำ�คัญ
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
1. ความหมายจากสหประชาชาติ
ธ ส
ม
ธ ส
สหประชาชาติ (United Nations - UN) หรือองค์การสหประชาชาติ (United Nations Organization - UNO) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดร่วมมือกันของกฎหมาย ระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิทธิม นุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติถูกก่อตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงในปี พ.ศ. 2488 เพื่อแทนที่สันนิบาตชาติในการยับยั้งสงครามระหว่างประเทศ และเพื่อเป็นเวทีสำ�หรับการเจรจา เพื่อยุติข้อพิพาท ปัจจุบันสหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 192 ประเทศ ครอบคลุมรัฐอธิปไตยเกือบทุกรัฐ บนโลก และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งใ นสมาชิกของสหประชาชาติ สหประชาชาติ ได้ให้ความสำ�คัญของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่าเป็น “ความผูกมัดตลอดไปของ รัฐบาลในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและภาครัฐ โดยยกระดับการสร้างความคุ้มค่า และ การสร้างประสิทธิภาพในเรื่องการให้บริการข้อมูลข ่าวสารและองค์ความรู้”
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
13-6
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
2. ความหมายจากธนาคารโลก
ม
ธ ส
ธนาคารโลก (World Bank) เป็นอ งค์กรระหว่างประเทศมุ่งเน้นเพื่อช ่วยเหลือประชาชนและประเทศ ที่ยากจน โดยใช้ทุนทรัพย์ ทรัพยากรบุคคล รวมถึงความรู้และประสบการณ์ของธนาคารเพื่อช่วยเหลือ ประเทศกำ � ลั ง พั ฒ นา ในก ารล ดค วามย ากจน การส่ ง เ สริ ม ใ ห้ เ กิ ด ค วามเ ติ บ โตท างเ ศรษฐกิ จ และย ก มาตรฐานการครองชีพข องประชากรให้สูงข ึ้น ธนาคารโลกได้ก ่อตั้งข ึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2487 ในฐานะเป็นธ นาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและ พัฒนา ปัจจุบันมีสมาชิก 187 ประเทศ และประเทศไทยก็เป็นห นึ่งในประเทศสมาชิก ธนาคารโลกไ ด้ ใ ห้ รั ฐ บาลอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ หมายถึ ง “การที่ ห น่ ว ยง านข องรั ฐ ใ ช้ ป ระโยชน์ จ าก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายการสื่อสารแบบแวน (WAN - Wide Area Network) อินเทอร์เน็ต และระบบการทำ�งานจากระยะไกล (mobile computing) เป็นต้น เพื่อ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการติดต่อประสานสัมพันธ์กับประชาชน ธุรกิจเอกชน และระหว่างหน่วยงานของรัฐ ด้วยกัน” หรืออีกนัยหนึ่งว่าเป็น “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology - ICT) ในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ความสัมฤทธิผล ความโปร่งใส และ ความน่าเชื่อถือของรัฐบาล”
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
3. ความหมายจากองค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ธ ส
ม
ธ ส
ม
องค์ ก รค วามร่ ว มมื อ แ ละพั ฒ นาท างเ ศรษฐกิ จ ห รื อ โ ออี ซี ดี (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1961 (พ.ศ. 2504) โดยมีบทบาท สำ�คัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศสมาชิก ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพ การบริหารจัดการ ส่งเสริมการค้าเสรี และให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาทั้งในประเทศอุตสาหกรรม และประเทศกำ�ลังพัฒนา ปัจจุบันองค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจประกอบไปด้วยสมาชิก ทั้งสิ้น 31 ประเทศและยังร ่วมมือและมีข ้อตกลงต่างๆ กับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกว่า 70 ประเทศ ประเทศไทยเองก็มีความสนใจอยากจะเข้าเป็นสมาชิกอยู่ด้วย จึงถือเป็นเรื่องสำ�คัญที่ประเทศไทย จะต้องติดตามความเคลื่อนไหว และร่วมกิจกรรมขององค์กรนี้ เพื่อจะทราบข้อมูลว่าประเทศไทยมีการ พัฒนาเข้าใกล้มาตรฐานขององค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจหรือไม่ อย่างไร องค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ได้ให้ความหมายของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่า “เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือเพื่อ ช่วยให้บรรลุ เป้าหมายในการเป็นรัฐบาลที่ดีขึ้น และเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสมัย ใหม่ ของภาครัฐเพื่อให้การดำ�เนินการต่างๆ เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะการสร้างศักยภาพการ เชื่อมโยงเครือข่ายด้วยอินเทอร์เน็ตหรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือการ ดำ�เนินการของภาครัฐ”
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
4. ความหมายจากสหภาพยุโรป
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-7
ธ ส
สหภาพยุโรป (European Union - EU) พัฒนามาจากการก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า แห่งยุโรป (European Coal and Steel Community - ECSC) เมื่อปี ค.ศ. 1952 และมีการลงนามใน สนธิสัญญากรุงโรม (Treaties of Rome) ในปี ค.ศ. 1957 ซึ่งถือเป็นจุดกำ�เนิดของการก่อตั้งประชาคม เศรษฐกิจยุโรป ต่อมาได้มีการลงนามในสนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพยุโรป (Treaty of the European Union) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สนธิสัญญามาสทริชต์ (Maastricht Treaty) เรียกชื่อใหม่ว่า สหภาพยุโรป เมื่อปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 27 ประเทศ ในภาพรวมสหภาพยุโรปเป็นกลุ่ม ประเทศที่มีบทบาทสำ�คัญยิ่งในการสร้างกระแสและทิศทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ระดับโลก สหภาพยุโรปได้ให้ความหมายของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ว่า “เป็นการใช้เครื่องมือและระบบ ทางเทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อสารในการให้บริการของภาครัฐที่ดียิ่งขึ้นแก่ประชาชน และผู้ประกอบ ธุรกิจภาคเอกชน ทั้งนี้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเป็นเครื่องมือหรือระบบเท่านั้น แต่ยัง หมายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการ และขั้นตอนการดำ�เนินงานของหน่วยงานภาครัฐในทาง ที่จะช่วยให้การบริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการมีระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ดีจะช่วยการติดต่อ ประสานงานระหว่างรัฐบาลกับประชาชน หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ที่ให้มีความสะดวก ง่ายดาย รวดเร็ว และมีค ่าใช้จ่ายน้อยลง”
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
5. ความหมายจากศูนย์วิจัยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แ ห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น
ศูนย์วิจัยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ (APEC e-government Research Center at Waseda University) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2004 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือ ในการมองหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และเสนอแนะในการปรับปรุงการ ดำ�เนินงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นไปที่ความท้าทายเกี่ยวกับหน่วยงานภาครัฐของ ประเทศ แต่ร วมถึงหน่วยงานราชการท้องถิ่นอ ีกด ้วย ศูนย์วิจัยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งม หาวิทยาลัยวาเซดะได้ใ ห้ค วามหมายของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ว่า หมายถึง “รัฐบาลที่สามารถให้บริการภาครัฐที่ดียิ่งขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหลักใ นการให้บริการต่างๆ”
ม
ธ ส
ม
6. ความหมายจากวิกิพีเดีย
ธ ส
ม
ธ ส
นอกจากนี้ยังมีการให้ความหมายของคำ�ว่ารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในที่ต่างๆ แบบไม่เป็นทาง การอีกหลายแห่ง เช่น ในวิกิพีเดีย (Wikipedia) ซึ่งเป็นสารานุกรมเปิดที่ให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าไป ให้ข้อมูลแบบไม่เป็นทางการอย่างหลากหลาย เพื่อเป็นข้อมูลหรือองค์ความรู้เบื้องต้นนั้น ได้มีคนให้ ความหมายของคำ�ว่ารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่าเป็น “การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างภาครัฐกับประชาชนหรือ จีทูซี (G2C) ภาครัฐกับภาคธุรกิจ การพาณิชย์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือจีทูบี (G2B) และระหว่าง
ม
13-8
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
ภาครัฐกับหน่วยงานภาครัฐกันเองหรือจีทูจี (G2G) โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสมัย ใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารจัดการและการดำ�เนินงานภาครัฐในทุกระดับ ปรับปรุง การบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้นโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือสำ�คัญในการเข้าถึงบริการ ของรัฐ และประการสำ�คัญจะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน”
ธ ส
ม
ธ ส
ม
7. ความหมายจากทิศทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ป ระเทศไทย พ.ศ. 2548 - 2550
แผนทิศทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย (e-Government Roadmap) พ.ศ. 2548-2550 ได้ให้ความหมายของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์โ ดยสรุปไว้ว่าเป็น “กระบวนการปฏิรูประบบบริหาร บริการและ กระบวนการทำ�งานของรัฐให้ม ีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาเป็นเครื่องสนับสนุน มีเป้าหมายเพื่อนำ�บริการของรัฐไปสู่ประชาชนอย่างสะดวก รวดเร็ว และเพิ่มความ โปร่งใสต่อประชาชนด้วยมิติของการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะรัฐต่อประชาชน (G2C) รัฐต่อ เอกชน (G2B) รัฐต ่อรัฐ (G2G) และรัฐต ่อข้าราชการและพนักงานของรัฐหรือจีทูอี (G2E)” หรือพูดอีกนัยหนึ่งได้ว่ารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการ ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำ�เนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการ บริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น ทั้งนี้สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่สำ�คัญในการเข้าถึง บริการของรัฐ และประการสำ�คัญจะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
Delivery Channels
ธ ส
Other Systems
ม
Presentation Services
ธ ส
E-Government Gateway
ธ ส
ม
ที่มา: www.mict-egov.net
ม
Infrastructure Services
ม
Other Systems Central Services
ธ ส
Hosted Service Platform
ภาพที่ 13.1 ภาพรวมของสถาปัตยกรรมรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
13-9
ม
ผลพลอยได้สำ�คัญที่จะได้รับคือ ธรรมาภิบาลและความโปร่งใสที่มีมากขึ้นในกระบวนการทำ�งาน ของระบบราชการ อันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูล และประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ตลอดเวลา จึงคาดว่าจะนำ�ไปสู่การลดคอร์รัปชันได้ใ นที่สุด
ธ ส
ม
ม
ธ ส
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 13.1.1 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 13.1.1 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 13 ตอนที่ 13.1 เรื่องที่ 13.1.1
ม
ธ ส
ม
13-10
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
เรื่องที่ 13.1.2 นโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมิติของรัฐบาลไทย
ธ ส
1. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จ ากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ม
ม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 อนุมัติกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะที่ 1 พ.ศ. 2534-2543 หรือไอที 2000 (IT2000) ของประเทศไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยนโยบายไอที 2000 ได้กำ�หนดกรอบกลยุทธ์ภายใต้พันธกิจ ดังนี้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติที่เสมอภาค การลงทุนในการศึกษาด้านสารสนเทศ ที่ดีของพลเมืองและบุคลากร การพัฒนาสารสนเทศและปรับปรุงบทบาทภาครัฐเพื่อบริการที่ดีขึ้น และการ สร้างรากฐานอุตสาหกรรมสารสนเทศที่แ ข็งแกร่ง กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังกล่าวมิได้กล่าวถึงคำ�ว่ารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง แต่ได้มีการกำ�หนดทิศทางยุทธวิธีให้ใช้สมรรถนะของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มรูปแบบในหน่วยงาน ของรัฐทุกแห่งเพื่ออำ�นวยความสะดวกในด้านงานบริการแก่ประชาชน และสร้างรากฐานที่ดีเพื่อพัฒนา อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในทุกสาขาโดยกำ�หนดให้มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง เต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบริการภาครัฐ โดยเฉพาะการดำ�เนินโครงการระบบสารสนเทศภาครัฐครอบคลุม ทั่วประเทศ แต่จากการประเมินผลจากหลายองค์กรพบว่ากรอบนโยบายดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนหรือ ตอบสนองดังที่ได้ตั้งเป้าไว้เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบายภาครัฐ ด้านการลงทุน หรือด้านการให้ บริการ
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
2. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จ ากนายกรัฐมนตรีใ นยุคบุกเบิก
2.1 แนวคิดในการปฏิรูปร ะบบราชการเพื่อการเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 พันตำ�รวจโท ทักษิณ ชินว ัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไว้ ดังนี้ “อยากเห็นรัฐบาลนี้เรียกว่า e-Government เป็นรัฐบาลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ ระบบอินเทอร์เน็ตใ ห้มากที่สุดเพื่อก ารบริการประชาชนได้รวดเร็ว คล่องตัว และสะดวกขึ้น ” “ปรับโครงสร้างระบบราชการ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริการประชาชนและการ แก้ปัญหาของชาติ ข้าราชการต้องพัฒนาตัวเองเพราะสังคมข้างหน้าต ้องเป็นส ังคมแห่งค วามรู้” “ข้าราชการทุกระดับต้องปรับตัว เพื่อรองรับการเข้าส ู่ e-Government” “ให้หน่วยงานดำ�เนินการตามความเหมาะสม เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูง (ระดับ 9-11) ของ หน่วยงานทุกคนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูล และรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล (e-mail) ในการสื่อสาร หรือติดตามการดำ�เนินงานด้านต่างๆ ของหน่วยงานในกำ�กับได้อย่างรวดเร็วและ มีป ระสิทธิภาพเพื่อเป็นการผลักดันใ ห้เกิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้รวดเร็วข ึ้นตามนโยบายของรัฐบาล”
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
ธ ส
ภาพที่ 13.2 ห้องประชุมคณะรัฐมนตรีไฮเทคเริ่มใช้ปฏิบัตงิ านต้นปี พ.ศ. 2544
ที่มา: สำ�นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ม
13-11
ม
นอกจากนี้คณะรัฐมนตรียังได้มีมติเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ว่า “รัฐมนตรีทุกคนควรให้ ความสนใจกับเทคโนโลยีส ารสนเทศเป็นพิเศษ เพื่อการพัฒนาไปสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) โดยจะต้องมีความรู้และความพร้อมที่จ ะรองรับเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ” อีกทั้งยังได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2548 ข้อ 6 ความว่า “รัฐบาลจะพัฒนาระบบราชการอย่างต่อเนื่องต่อไปด้วยการปรับโครงสร้างราชการ และนำ�เทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในการวางแผนและตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงระบบบริการประชาชนให้เป็น เชิงรุกมากขึ้น ดำ�เนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในวงราชการโดยการวางระบบการตรวจสอบ ลงโทษผู้ทุจริตอย่างเด็ดขาด เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้างตลอดจนการจ่ายเงิน แผ่นดินให้เกิดความโปร่งใส และมีป ระสิทธิภาพ” และนี่ถือเป็นการจุดปะทุครั้งใหญ่ และเป็นยาเร่งขนานหนักต่อการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยในสมัยนั้น 2.2 เป้าหมายแห่งความสำ�เร็จของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2545 รัฐบาลได้ให้ความสำ�คัญ ต่อการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก โดยได้กำ�หนดให้เป็นนโยบายเร่งด่วน ทั้งนี้การสร้างรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เป็นเรื่องที่ท้าทายของรัฐบาลทั่วโลก หากทำ�สำ�เร็จจะเป็นการสร้างมิติ ใหม่ของหน่วยงานของรัฐในลักษณะ ที่เดียว ทันใจ ทั่วไทย ทุกเวลา ซึ่งก็คือการให้ประชาชนได้พบกับ บริการของภาครัฐด้วยการเสียเวลาน้อยที่สุด ใช้เวลากับการบริการน้อยที่สุด สิ้นเปลืองน้อยที่สุด ให้สังคม มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างใกล้ชิด เอกชนสามารถค้าขายกับรัฐคล่องขึ้น ค่าใช้จ่ายในการประกอบการลดลง และยังเพิ่มความโปร่งใสในการทำ�งานของภาครัฐมากขึ้น
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
13-12
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
การก้าวไปสู่การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จะต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานที่จำ�เป็นหลายประการ อาทิ การบริการอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก มีข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้งานได้ มีคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารราคาประหยัดท ี่สามารถซื้อหาได้ และประการสำ�คัญก็คือ การปฏิรูปวิธีการทำ�งานของ ภาครัฐให้สามารถเอื้ออำ�นวยต่อการบริการประชาชนในมิติใหม่ ซึ่งประชาชนจะต้องให้ความสนใจกับ พัฒนาการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ทำ�หน้าที่เป็นกระจกเงาสะท้อนให้รัฐบาลได้รับรู้ ในสิ่งที่ต้องการบนพื้นฐานการพัฒนาที่ย ั่งยืน และนำ�ไปสู่สังคมที่เป็นสุขร่วมกัน พ.ศ. 2547 รัฐบาลได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานราชการเร่งพัฒนาองค์กร ระบบการทำ�งานและ การให้บริการด้วยระบบเทคโนโลยีที่มีความรวดเร็วและก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน โดย ในเบื้องต้นทุกหน่วยงานจะต้องมีเว็บไซต์เพื่อเป็นช่องทางในการบริการข้อมูล มีบริการเว็บบอร์ด เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้บริการและประชาชน รวมถึงจัดให้มีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล (e-mail) ที่สามารถติดต่อพูดคุยกับผู้บ ริหารขององค์กรได้ทุกระดับ ระดับของการทำ�งาน กำ�หนดให้ต้องมีการเชื่อมโยงและการประสานงานระหว่างหน่วยงานผ่านทาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีระบบส่งผ่านข้อมูลที่ส ามารถนำ�ไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องของผู้บริหาร โดยเฉพาะ อย่างยิ่งหน่วยงานระดับกรมที่มีการกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศต้องมีระบบอินทราเน็ตที่เชื่อมโยง ข้อมูลภายใน ระดับกระทรวงจะต้องมีระบบเชื่อมโยงศูนย์ปฏิบัติการของทุกกระทรวง และเชื่อมโยงกับศูนย์ ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี เพื่อให้มีระบบข้อมูลที่ได้มาตรฐาน รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อประกอบการ ตัดสินใจของรัฐบาล การให้บริการของภาครัฐต่อภาครัฐด้วยกัน (Government to Government - G2G) มีลักษณะเป็นเครือข ่ายภายในระบบราชการ (government intranet) ที่มีระบบความมั่นคงปลอดภัย เพื่อ ให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ภาครัฐยังได้กำ�หนดนโยบายในการติดตั้งคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่สำ�นักงาน องค์การบริหารส่วนตำ�บล (อบต.) หรือที่ศูนย์บริการสารสนเทศชุมชน (telecenter) อีกประมาณ 7,000 แห่งภายใน 3-4 ปี ซึ่งประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการในสถานที่เหล่านี้ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นใน อนาคต และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ�ของโทรศัพท์มือถือที่ได้มีการพัฒนาศักยภาพกันอย่างหลากหลาย ผูใ้ ช้โ ทรศัพท์ม ือถ ือจ ะสามารถเข้าถ ึงข ้อมูลข ่าวสารทีต่ ้องการได้อ ย่างง่ายดายพร้อมฟังก์ชั่นใ นการรับ-ส่งอ ีเมล ภาพ ข้อความสั้น ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ตลอดเวลา จึงนับว่าช่องทางในการเข้าสู่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตถูกเปิดกว้างในหลายรูปแบบ อัน เป็นการอำ�นวยความสะดวกต่อประชาชนผู้รับบริการได้อย่างดียิ่ง รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นนโยบาย สำ�คัญเพื่อนำ�ไปสู่อ ีกระดับหนึ่งข องการให้บริการของภาครัฐที่ส อดรับกับโลกยุคปัจจุบันและอนาคต
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-13
ธ ส
3. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จ ากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ
จากแนวคิดของนายกรัฐมนตรีประกอบกับนโยบายและวิสัยทัศน์ข้างต้นของรัฐบาล กระทรวง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดทำ�กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2544-2553 หรือไอที 2010 (IT2010) ของประเทศไทยเสนอคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2545 “อนุมัติกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย ตามที่เสนอ และให้เร่งผลักดันกิจกรรมด้านโทรคมนาคมเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึงและ เท่าเทียมกัน พร้อมที่จะส่งเสริมโครงการอินเทอร์เน็ตตำ�บล โครงการอินเทอร์เน็ตโรงเรียน โดยให้จัดตั้ง งบประมาณสนับสนุน คิดค่าบริการในราคาต้นทุนเพื่อใ ห้อัตราค่าบริการมีราคาถูก นอกจากนั้นให้พิจารณา คิดอ ัตราค่าบริการเชื่อมโยงระบบโทรคมนาคมระหว่างประเทศในอัตราที่ถ ูกลงด้วย” กรอบนโยบายเทคโนโลยีส ารสนเทศ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย ได้กำ�หนดเป้าหมายและ ยุทธศาสตร์ไว้ 5 ด้าน อันได้แก่ ยุทธศาสตร์ในภาครัฐ (e-Government) ภาคอุตสาหกรรม (e-Industry) ภาคการพาณิชย์ (e-Commerce) ภาคการศึกษา (e-Education) และในภาคสังคม (e-Society) สำ�หรับยุทธศาสตร์ในภาครัฐในกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2544-2553 ของ ประเทศไทยนั้นมีก ารกำ�หนดให้ 3.1 ส่งเสริมการนำ�เทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการบริการภาครัฐ (front office) ตามลักษณะงานของหน่วยงานต่างๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชนทั้งในการได้รับบริการและข้อมูล ข่าวสารจากภาครัฐอย่างสะดวก รวดเร็ว 3.2 มุ่งพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐ (back office) โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อย่างครบวงจรมาดำ�เนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการภาครัฐ ทั้งส่วน กลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย ระบบงานสารบรรณ ระบบงานพัสดุ ระบบงาน บุคลากร ระบบงานการเงินการคลังและการบัญชี และระบบงานงบประมาณ การพัฒนานโยบายและแผนเทคโนโลยีสารสนเทศเทียบกับดัชนีความพร้อมของเครือข่าย (Networked Readiness Index) ของประเทศไทย ดังแสดงในภาพที่ 13.3
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
13-14
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ภาพที่ 13.3 พัฒนาการของนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ป ระเทศไทย
ที่มา: http://www.ntc.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=5702&Itemid=109 http://www.etda.or.th/main/contents/display/91
ม
4. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จ ากแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 1
ธ ส
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2545 เห็นชอบแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545–2549 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เสนอ และให้จัดทำ�แผนปฏิบัติของทุกส่วนราชการและหน่วยงานรวมไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ สอดคล้องตรงตามแผนแม่บทฯ ทั้งนี้ให้บูรณาการความสอดคล้องในทางปฏิบัติของมาตรฐานข้อมูล และ มาตรฐานกลางระบบการอ่านของสมาร์ตการ์ดให้สามารถใช้บัตรเดียวเก็บข้อมูลร่วมกันได้หลายหน่วยงาน และให้สำ�นักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักดำ�เนินงานเพื่อลดความซ้ำ�ซ้อนในการเก็บข้อมูลสำ�รวจ ที่ลงไปถึงท้องถิ่น ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีความเห็นเพิ่มเติมว่าร่างแผนแม่บทดังกล่าวควรให้ความสำ�คัญต่อการจัด การศึกษาซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรงตามที่ปรากฏในยุทธศาสตร์ โดยให้ระบุไว้ ในพันธกิจอย่างชัดเจน รวมถึงการบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารควรมีกฎหมาย เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้น้อยที่สุดเพื่อให้มีความคล่องตัวและเป็นการเปิดกว้างทางเทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยี ด้านนี้มีก ารพัฒนาเปลี่ยนแปลงที่ร วดเร็ว
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-15
ธ ส
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545–2549 ดังกล่าว ได้กำ�หนดเป้าหมายการนำ�เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที (ICT) มาใช้ประโยชน์ในการ บริหารและการให้บริการของภาครัฐไว้หลายประการ เช่น การบริหารให้หน่วยงานของรัฐมีระบบบริหาร ที่ใช้เทคโนโลยีส ารสนเทศอย่างครบวงจร ให้ทุกกระทรวงสามารถเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้ทั่วประเทศ ให้หน่วยงานภายในกระทรวงสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและบริการฐานข้อมูลภายในและ ระหว่างกรมผ่านอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั่วประเทศ ให้ภาครัฐสามารถจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีการ จัดทำ�ระบบ ระเบียบ และวิธีกำ�กับการใช้เทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความมั่นคงของชาติ ให้ มีซอฟต์แวร์ระบบบริหารขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ระบบสารบรรณ ระบบบริหารงานบุคคล ระบบงบประมาณ การเงิน การบัญชี และการพัสดุที่ใช้กับหน่วยงานภาครัฐ ส่วนในการบริการนั้นกำ�หนดให้หน่วยงานของ ภาครัฐสามารถให้บริการพื้นฐานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับการชำ�ระค่าธรรมเนียมของรัฐในระดับ จังหวัดทุกจังหวัด และให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกระทรวงเพื่อบริการประชาชนอย่างครบวงจร (e-citizen) ทั้งนี้ให้ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันในการพัฒนาระบบข้อมูลประชากร เพื่อให้ประชาชนทั่วไป มีบัตรประจำ�ตัวอัจฉริยะ (smart ID card) สำ�หรับใช้ในการติดต่อกับภาคราชการและรับบริการจากหน่วย งานของรัฐ อีกทั้งเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารราชการ ในการนี้จะต้องดำ�เนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด และสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศ นอกจากนี้ ยั ง กำ � หนดใ ห้ รั ฐ จั ด ใ ห้ มี ร ะบบข้ อ มู ล ภู มิ ส ารสนเทศ (Geographic Information System - GIS) ที่ทันสมัย สามารถแลกเปลี่ยนภูมิสารสนเทศร่วมกันทั้งเครือข่ายเพื่อการใช้งานอย่าง บูรณาการในหน่วยงานของรัฐ และให้พัฒนาระบบโครงข่ายประสาทดิจิทัล โดยการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ สารสนเทศระดับชาติ (National Operation Center) ศูนย์ปฏิบัติการสารสนเทศระดับกระทรวง (Ministerial Operation Center) รวมทั้งการพัฒนาศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารสารสนเทศและบริการภาครัฐ (e-Government portal) เพื่อใ ห้ป ระชาชนสามารถเข้าถึงบ ริการของภาครัฐได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โครงการหลักในระยะยาวที่กำ�หนดให้เร่งดำ�เนินการมีหลายโครงการ เช่น โครงการพัฒนาบัตร ประจำ�ตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย (multi-application smart ID card) โครงการพัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Procurement) โครงการพัฒนาและจัดทำ� มาตรฐานซอฟต์แวร์กลางเพื่อการบริหารของภาครัฐหรือระบบสำ�นักงานส่วนหลัง (back office) โครงการ จัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Government Data Exchange - GDX) โครงการจัดทำ�โครงสร้าง พื้นฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ (National Spatial Data Infrastructure) และโครงการจัดตั้งสถาบันรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เป็นต้น
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
5. แผนทิศทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เห็นชอบแผนทิศทางการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ (e-Government roadmap) พ.ศ. 2548-2550 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ
13-16
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
การสื่อสารเสนอ โดยในแผนทิศทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวระบุปัญหาในขณะนั้นว่า ภาครัฐมีมาตรฐานที่แตกต่างกันทั้งในด้านข้อมูล ด้านการเชื่อมโยงเครือข่าย และยังไม่มีความพร้อมใน โครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยอื่นๆ ที่สำ�คัญ ทำ�ให้ระบบที่มีอยู่ไม่สามารถบูรณาการเชื่อมโยงให้เกิดบริการ แก่ประชาชนและภาคธุรกิจได้ตามเป้าประสงค์ที่กำ�หนด แผนทิศทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ได้กำ�หนดแผนการดำ�เนินการไว้ 4 หัวข้อคือ 5.1 การบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) กำ�หนดให้ดำ�เนินการโดยการพัฒนาเว็บท่าของรัฐบาล (government portal) เป็นศูนย์กลางของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในการให้บริการประชาชนและภาคธุรกิจ ในลักษณะรัฐต่อประชาชน (G2C) รัฐต่อเอกชน (G2B) รัฐต่อรัฐ (G2G) และรัฐต่อข้าราชการและพนักงาน ของรัฐ (G2E) 5.2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน infrastructure) ให้พัฒนาใน 3 ด้านคือ ด้านเครือข่ายสื่อสาร (network) ด้านข้อมูลสารสนเทศ (information) และด้านความมั่นคงปลอดภัย (security) 5.3 การออกกฎข้อบังคับ (regulation) ให้ ผ ลั ก ดั น ก ารป ระกาศใ ช้ ก ฎหมายธุ ร กรรมอิ เ ล็ ก ทรอนิกส์ กฎหมายความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายการกระทำ�ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐ าน ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน 5.4 การจัดตั้งส ำ�นักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government Agency - E-GA) ภายใต้กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
6. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จ ากแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 2
ม
ธ ส
ม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เห็นชอบแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2552–2556 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เสนอ และได้ก ำ�หนดมาตรการเรื่องรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไว้ ดังนี้ 6.1 สร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการผลักดันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในการบริหารและบริการของภาครัฐ รวมถึงการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐแบบ บูรณาการ โดยการออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของรัฐ (government ICT architecture) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลเพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถเชื่อมโยงและแลก เปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างมีเอกภาพและประสิทธิภาพ รวมทั้งมาตรฐานข้อมูล (data standard) มาตรฐาน การเชื่อมโยงข้อมูล (interoperability standard) มาตรฐานด้านกฎหมาย (legal standard) มาตรฐาน ด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security standard) มาตรฐานการเข้าถึง ข้อมูล (web accessibility standard) และ มาตรฐานด้านอื่นๆ ที่จำ�เป็นต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารภาครัฐในอนาคตเพื่อให้ระบบทั้งหมดทำ�งานร่วมกันได้ภายใต้ความหลากหลายของระบบ ที่มีใช้อยู่ในแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้ใ ห้สร้างความรู้ความเข้าใจการใช้มาตรฐานเปิด (open standard) ในการ พัฒนาหรือจ ัดท ำ�ระบบเทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อสารของภาครัฐเพื่อส ามารถรองรับก ารทำ�งานร่วมกัน ระหว่างระบบ และมีค วามยืดหยุ่นใ นการขยายระบบในอนาคตโดยไม่ต ้องยึดต ิดก ับเทคโนโลยีใ ดเทคโนโลยี
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-17
ธ ส
หนึ่ง รวมทั้งเร่งดำ�เนินการจัดตั้งกรมสำ�รวจและจัดทำ�แผนที่พลเรือนเพื่อเป็นหน่วยงานกลางของประเทศ ในการบริหารจัดการ กำ�กับ ดูแล และรับผิดชอบด้านโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ (National Spatial Data Infrastructure - NSDI) พัฒนาซอฟต์แวร์ภูมิสารสนเทศโดยใช้มาตรฐานเปิด (open GIS software) รวมทั้งส ร้างกลไกให้เกิดการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศร่วมกัน โดยให้สามารถเริ่มดำ�เนินงานได้ใน ปี พ.ศ. 2552 6.2 ให้ทุกกระทรวงดำ�เนินการเพื่อพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐแบบบูรณาการ โดยให้ทุก หน่วยงานปรับปรุงระบบข้อมูล และระบบบริหารจัดการให้สามารถเชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล ภูมิสารสนเทศ (NSDI) และเครือข่ายสารสนเทศรัฐบาล (Government Information Network - GIN) ทั้งภายในและระหว่างหน่วยงานภายใต้กรอบมาตรฐานการทำ�งานร่วมกัน (Thailand e-Government Interoperability Framework - TH e-GIF) และให้ทุกหน่วยงานใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นช่องทางหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ แผ่นดิน โดยเฉพาะการพัฒนานโยบายหรือบริการสาธารณะ การออกกฎหมาย และการติดตามตรวจสอบ 6.3 สร้างความเข้มแข็งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแก่หน่วยงานของรัฐทั้งในส่วน กลางและส่วนภูมิภาคโดยสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer - CIO) ระดับกระทรวง กรม และจังหวัด รวมทั้งบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สารขององค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ ใ นทกุ ร ะดับ และผลักด นั ก ารด�ำ เนินง านดา้ นเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของส่วนกลาง และสร้างกลไกให้มีการทำ�งานร่วมกับ ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง (CIO) ของจังหวัด
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
7. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จ ากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2554–2563
ม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554 เห็นชอบกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร พ.ศ. 2554–2563 หรือไอที 2020 (IT2020) ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีส ารสนเทศและการ สื่อสารเสนอ มีเนื้อหาสาระสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คือการมุ่งสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ฉลาดรอบรู้ (intelligence) มีการเชื่อมโยงกัน (integration) และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามี บทบาทร่วมในการกำ�หนดนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้อง หรือกำ�หนดรูปแบบบริการของรัฐเพื่อให้ทุกคน ได้ร่วมรับประโยชน์จ ากบริการอย่างเท่าเทียมกัน (inclusion) ภายใต้ระบบบริหารที่มีธรรมาภิบาล (good governance) โดยมีเป้าหมาย ดังนี้ 1) ประชาชนสามารถดำ�รงชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีสัมมาอาชีพภายใต้ระบบการบริหารประเทศที่มี ธรรมาภิบ าลด้วยกลไกการอำ�นวยความสะดวกจากการบริการของรัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 2) ภาคธุรกิจไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ด้วยกลไกการอำ�นวยความสะดวกจากบริการของ รัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
13-18
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
3) บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐมีความมั่นคงปลอดภัยและน่าเชื่อถือ โดยมีระบบการบริหาร และการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงานตามแนวทางมาตรฐาน สากล
ธ ส
8. นโยบายบรอดแบนด์แ ห่งชาติ
ม
ม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เห็นชอบนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ โดยนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติเป็นกรอบ นโยบายสำ�หรับการส่งเสริมให้มีบริการบรอดแบนด์เป็นสาธารณูปโภคเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง และทำ�ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งบริการสาธารณะ ต่างๆ และมีเป้าหมายเพื่อทำ�ให้คุณภาพชีวิตและสภาพทางเศรษฐกิจของประชาชนไทยดีขึ้นทั่วทุกแห่ง ในประเทศ ครอบคลุมประชากรไม่ต่ำ�กว่าร้อยละ 80 ภายในปีพ.ศ. 2558 และร้อยละ 95 ภายในปีพ.ศ. 2563 ภายใต้มาตรฐานและราคาที่เป็นธรรมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ประชาชนจะสามารถได้รับบริการบรอดแบนด์ด้านการศึกษาปีพ.ศ. 2558 ในระดับตำ�บลและปี พ.ศ. 2563 ทั่วประเทศ ด้านสาธารณสุขป ีพ.ศ. 2558 ในระดับตำ�บล ด้านการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ปีพ.ศ. 2558 ในระดับองค์การปกครองท้องถิ่น ด้านการเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติและภัยธรรมชาติให้ ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ภาคธุรกิจจะสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์เพื่อการแข่งขันของประเทศ ให้อยู่ ในกลุ่มต ิดอ ันดับ 25 เปอร์เซนต์ (TOP 25%) ของการจัดอันดับก ารแข่งขันร ะดับโ ลก (World Competitiveness Ranking) เกิดการขยายตัวของธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ และมูลค่าของอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ต่อจีดีพี (GDP) เป็นร้อยละ 10 ภายในปีพ.ศ. 2558 ทั้งนี้นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติมีแนวทางดำ�เนิน การด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการบรอดแบนด์ การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์ การประกันความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่ายบรอดแบนด์และความปลอดภัยของสังคมโดยรวม และการ บริหารจัดการขับเคลื่อนนโยบายและการประสานการกำ�กับด ูแล จากนโยบายและแผนทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว อาจสรุปได้ว่าภาครัฐมีนโยบายและแผนต่อการ พัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์มาโดยตลอด แต่จะถูกกำ�หนดให้เป็นวาระสำ�คัญมากหรือน้อยในระดับที่ แตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายและทัศนคติของผู้นำ� รัฐบาล ซึ่งมีบทบาทต่อความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดหรือความถดถอยอย่างต่อเนื่องได้ ดังที่จะได้กล่าว ในรายละเอียดต่อไป
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 13.1.2 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 13.1.2 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 13 ตอนที่ 13.1 เรื่องที่ 13.1.2
ม
ธ ส
ตอนที่ 13.2
ธ ส
ธ ส
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ม
พัฒนาการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย
13-19
ธ ส
ม
โปรดอ่านแผนการสอนประจำ�ตอนที่ 13.2 แล้วจ ึงศึกษาเนื้อหาสาระ พร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง
ม
หัวเรื่อง
แนวคิด
ธ ส
เรื่องที่ 13.2.1 การเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย เรื่องที่ 13.2.2 พัฒนาการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ม
ธ ส
1. ประเทศไทยได้นำ�คอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการประมวลผลข้อมูลเป็นครั้งแรกที่สำ�นักงาน สถิติแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2506 ซึ่งถือเป็นรากฐานของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย และเมื่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง ประกอบกับความจำ�เป็น ที่ต้องพัฒนาการทำ�งาน หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานจึงมีระบบคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นของตนเองกันอย่างกว้างขวาง 2. เมื่อมีการจุดปะทุรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นในประเทศไทย งานแรกที่ทุกหน่วยงานต้อง เร่งดำ�เนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วได้แก่ การมีเว็บไซต์เพื่อให้บริการประชาชน โดย เริ่มจากการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร การมีปฏิสัมพันธ์ และมีการแลกเปลี่ยน สามารถ ตรวจสอบข้อมูล และตอบโต้ได้ ซึ่งในเวลาต่อมาหลายหน่วยงานก็สามารถพัฒนาต่อ ยอดจนถึงขั้นการบูรณาการ และขั้นเรียนรู้พฤติกรรม จากการที่เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมีค วามก้าวหน้าอ ย่างรวดเร็วม าก ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และภาค ประชาชนจึงมีและใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อรองรับการประยุกต์ใช้งานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ในอนาคต
ธ ส
ม
ม
ธ ส
วัตถุประสงค์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
เมื่อศึกษาตอนที่ 13.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบาย พัฒนาการการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของภาครัฐ ในฐานะ เป็นผู้พ ัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมได้ 2. อธิบาย พัฒนาการการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภาคครัวเรือน ในฐานะเป็นผู้ใ ช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐได้
ม
13-20
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
เรื่องที่ 13.2.1 การเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ใ นประเทศไทย
ธ ส
ม
จากปีพ.ศ. 2506 ที่ไ ด้มีก ารนำ�คอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ และใช้ในการเรียนการสอนที่จุฬาลงกรณ์ม หาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกนั้น จากนั้นการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ ก็เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จนมีการใช้งานรอบด้าน หลากหลายสาขาและในทุกระดับ ต่อมาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้ขยายวงกว้างไปสู่เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ถูกพัฒนาก้าวหน้าไปรวดเร็วมากอย่างไม่หยุดยั้ง การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ ทุกประเทศจึงไม่อาจหนีพ้นจากเทคโนโลยีดังกล่าว และอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ก็เป็นผลพวงหนึ่งที่พัฒนามาจากการเจริญเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผนวกกับ ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองด้วยธรรมาภิบาลโดยการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางนั่นเอง
ม
ธ ส
ธ ส
ม
1. การนำ�คอมพิวเตอร์เครื่องแรกมาใช้ในประเทศไทย
ธ ส
ม
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2506 ให้สำ�นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ แห่งชาติดำ�เนินการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม 1401 (IBM 1401) โดยวิธีการผ่อนชำ�ระเงินและ ให้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายในปีต่อไปตามที่สำ�นักงบประมาณเสนอ และเมื่อมีการก่อตั้งสำ�นักงานสถิติ แห่งชาติด ้วยการแยกตัวออกมาจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแ ห่งช าติในปีเดียวกัน สำ�นักงานสถิติแห่งช าติ จึงได้ทำ�การผูกพันงบประมาณค่าเช่าซื้อเครื่องจักรคอมพิวเตอร์โดยวิธีผ่อนส่งในมูลค่า 8 ล้านบาท (ภาพที่ 13.4) นับเป็นระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลเครื่องแรกของประเทศไทย และเป็นรากฐาน ของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยในเวลาต่อมา “เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2506 เครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม 1401 ได้มาถึงท่าเรือคลองเตย หลังจากที่ได้รับข่าวการมาถึงของเครื่อง สำ�นักงานสถิติแห่งชาติก็ได้รีบทำ�การเดินสายเคเบิล ชนิด 330 โวลต์ 3 เฟส 4 สาย (wire) เพื่อรอการติดตั้งเครื่องทันที งานเดินสายเคเบิลค ่อนข้างจะขลุกขลักในระยะแรก เพราะอุปกรณ์ไ ฟฟ้าช นิดแ รงดันส ูงห าซื้อย ากในประเทศไทย อย่างไรก็ด ีเจ้าห น้าที่ก ็ได้แ ก้ไขจะจัดหาอุปกรณ์ มาเดินสายเคเบิลได้แล้วเสร็จทัน ต่อมาก็ได้บรรทุกเครื่องและอุปกรณ์มาที่สำ�นักงานสถิติแห่งชาติเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2506 และให้เจ้าหน้าที่ของไอบีเอ็มลงมือเปิดหีบในวันเดียวกันนั้นทันที ครั้นรุ่งขึ้นวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2506 เจ้าหน้าที่ไอบีเอ็มก็ลงมือติดเครื่องและทดลองการทำ�งานของเครื่อง และส่งมอบ ให้หน่วยคอมพิวเตอร์ใช้เครื่องได้ตั้งแต่ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 เป็นต้นมา” ทั้งนี้ เพื่อใช้ในงาน สำ�มะโนเกษตร 2506 เป็นหลัก
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ม
ธ ส
ม
ภาพที่ 13.4 เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทย
ที่มา: รายงานประจำ�ปี พ.ศ. 2506 สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
13-21
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ภาพที่ 13.5 การลงนามเซ็นสัญญาซื้อขายเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทย โดยศาสตราจารย์บ ัณฑิต กันตะบุตร เลขาธิการสถิติแห่งชาติ กับผ ู้แทนบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำ�กัด พ.ศ. 2506
ที่มา: รายงานประจำ�ปี พ.ศ. 2506 สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ
ม
ม
สำ�นักงานสถิตแิ ห่งช าติจ ึงก ลายเป็นศ ูนย์กลางแห่งก ารเรียนรู้ และเป็นห น่วยบริการงานคอมพิวเตอร์ ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ เช่น สำ�นักงานข้าราชการพลเรือน สำ�นักงานสภาพัฒนาการ เศรษฐกิจ สำ�นักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท สำ�นักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์ประยุกต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียน เตรียมทหาร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด กรมป่าไม้ กรมการขนส่งทางบก
ม
ธ ส
13-22
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
กรมไปรษณีย์โทรเลข การท่าเรือแห่งประเทศไทย องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ กรมเจ้าท่า กรมสรรพากร การพลังงานแห่งชาติ กรมชลประทาน กรมวิเทศสหการ การไฟฟ้านครหลวง กรมทางหลวงแผ่นดิน กรม การปกครอง กรมพัฒนาชุมชน กรมตำ�รวจ กรมที่ดิน ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กองการศึกษา ประชาบาล สำ�นักงานวางแผนการศึกษา วิทยาลัยการศึกษาประสานมิตร เป็นต้น และให้บริการแก่องค์กร ระหว่างประเทศ เช่น จัสแม็ก (JUSMAG) คณะกรรมการแม่น้ำ�โขง (Maekong Committee) หน่วยงาน สันติภาพ (Peace Corps) องค์การยูซอม (USOM)1 เทรดเซ็นเตอร์ (Trade Center, USA) แอร์อเมริกา (Air America Co.) เอสโซ่ (ESSO) ไอบีเอ็ม (IBM) ตลอดจนภาคเอกชน บริษัท ห้างร้าน เช่น เมืองไทย ประกันชีวิต (Muang Thai Insurance) บริษัทเงินทุนสินอุตสาหกรรมจำ�กัด (มหาชน) (Siam Industrial Credit PCL) รวมไปถึงธ นาคาร เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น ตั้งแต่ในยุคนั้น
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 13.2.1 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 13.2.1 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 13 ตอนที่ 13.2 เรื่องที่ 13.2.1
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
1องค์การบริหารวิเทศกิจของสหรัฐอเมริกาหรือยูซอม (USOM – US Operations Mission) ปัจจุบันคือ องค์การเพื่อการ
พัฒนาระหว่างประเทศแห่งชาติสหรัฐอเมริกาหรือยูเอสเอด (USAID)
ธ ส
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ม
ธ ส
เรื่องที่ 13.2.2 พัฒนาการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
ธ ส
ม
13-23
ม
1. การสำ�รวจการมีการใช้คอมพิวเตอร์ภาครัฐ พ.ศ. 2514 โดยสำ�นักงานสถิติแห่งชาติ
ธ ส
หลังจากที่ประเทศไทยได้เปิดศักราชแห่งการใช้คอมพิวเตอร์ไปเมื่อปี พ.ศ. 2506 การมีการใช้ คอมพิวเตอร์ก็ได้ขยายวงกว้างไปในหน่วยงานภาครัฐ จนกระทั่งสำ�นักงานสถิติแห่งชาติได้ทำ�การสำ�รวจ การมีการใช้ค อมพิวเตอร์ภาครัฐเป็นครั้งแ รกเมื่อ พ.ศ. 2514 จากหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด 221 แห่ง และ มีหน่วยงานตอบกลับมา 178 แห่ง ทั้งนี้เพื่อสนองนโยบายคณะกรรมการคอมพิวเตอร์ของรัฐซึ่งสำ�นักงาน สถิติแห่งชาติเป็นฝ ่ายเลขานุการอยู่ใ นขณะนั้น สรุปผลได้ดังนี้
ม
ธ ส
ตารางที่ 13.1 ผลการสำ�รวจการมีการใช้คอมพิวเตอร์ภาครัฐ
ม
สถานภาพ การมีการใช้ คอมพิวเตอร์
เป็นหน่วยงานที่มี คอมพิวเตอร์ใช้เอง
สถานภาพ ของหน่วยงาน
ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ อื่น ๆ
ธ ส
ม รวม
ธ ส
ม
จำ�นวนหน่วยงานที่มี/ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แยกตามหน่วยงานภาครัฐ
7 4 1 12
เป็นหน่วยงานที่ยัง ไม่มีคอมพิวเตอร์ แต่เคยใช้หรือกำ�ลัง ใช้คอมพิวเตอร์ ของหน่วยงานอื่น
เป็นหน่วยงาน ที่ยังไม่เคยใช้ คอมพิวเตอร์
28 3 2
101 31 1
33
133
ธ ส
ม
ที่มา: สำ�นักงานสถิติแห่งช าติ
ธ ส
รวม
ม
ธ ส 136 38 4
178
หน่วยงาน 12 หน่วยงานที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานเองแล้วในขณะที่สำ�รวจ คือ สำ�นักงาน สถิติแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย กรมการเงินทหารอากาศ ศูนย์กรรม วิ ธี ข้ อ มู ล กระทรวงก ลาโหม กรมบั ญ ชี ก ลาง กระทรวงก ารค ลั ง องค์ ก ารโ ทรศั พ ท์ แ ห่ ง ป ระเทศไทย บริษัทการบินไทย จำ�กัด กรมตำ�รวจ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรม
ม
13-24
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
ชลประทาน โดยใช้ง านเพื่อก ารประมวลผลข้อมูลจากสำ�มะโนและสำ�รวจ การเรียนการสอน งานงบประมาณ และบัญชี รายได้-รายจ่าย เงินเดือน ออกใบเสร็จ งานทะเบียน สร้างแฟ้มข้อมูลกำ�ลังพล ออกแบบและ คำ�นวณด้านวิศวกรรม เป็นส่วนใหญ่ ปัญหาสำ�คัญๆ ที่เป็นอุปสรรคในขณะนั้นก็มีลักษณะคล้ายๆ กับปัญหาในปัจจุบัน เช่น ขาด ผู้เชี่ยวชาญ หายาก เจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ได้รับฝึกอบรมไม่เพียงพอ ติดต่อประสานงานและการให้ความ ร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ยังไม่ดีเท่าที่ควร อัตราเงินเดือนข้าราชการต่ำ� ขาดความเข้าใจ งบประมาณ เครื่องคอมพิวเตอร์ท ีม่ อี ยูน่ ั้นมีขนาดและความสามารถไม่เหมาะสมกับจ ำ�นวนและประเภทของงานทีก่ ำ�ลังใช้ ข้อมูลยังไม่ตรงเวลาและไม่เรียบร้อย กฎหมายหรืองานที่ต้องบังคับโดยระเบียบที่กำ�หนดไว้เดิมเป็นเหตุให้ การเตรียมเอกสารและข้อมูลเพื่อถ ่ายทอดเข้าเครื่องไม่สะดวกรวดเร็ว
ธ ส
ม
ธ ส
ม
2. ผลการสำ�รวจการมีการใช้คอมพิวเตอร์ของภาครัฐ
ม
ธ ส
สำ � นั ก งานส ถิ ติ แ ห่ ง ช าติ ได้ ทำ � การสำ � รวจก ารมี ก ารใ ช้ ค อมพิ ว เตอร์ ภ าครั ฐ พ.ศ. 2528 จาก หน่วยงานภาครัฐเป็นครั้งที่ส อง ซึ่งม ีหน่วยงานตอบกลับมา 200 แห่งจากทั้งหมด 206 แห่ง สรุปผลได้ดังนี้
ธ ส
ม
ตารางที่ 13.2 ผลการสำ�รวจการมีการใช้คอมพิวเตอร์ภาครัฐ พ.ศ. 2528
ม
จำ�นวนหน่วยงานที่มี/ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แยกตามหน่วยงานภาครัฐ
สถานภาพ การมีการใช้ คอมพิวเตอร์ สถานภาพ ของหน่วยงาน
ธ ส
79(58.09%)
รัฐวิสาหกิจ
24(37.50%)
ราชการและรัฐวิสาหกิจ
103(51.50%)
ม
ไม่มี แต่ใช้จาก หน่วยงานอื่นๆ
ไม่มี และไม่เคยใช้
25(18.38%)
32(23.53%)
11(17.19%)
29(45.31%)
36(18.00%)
61(30.50%)
ม
ส่วนราชการ
ที่มา: สำ�นักงานสถิติแห่งช าติ
ธ ส
มี
ธ ส
รวม
ม
ธ ส 136 64
200
จากจำ�นวนคอมพิวเตอร์ที่สำ�รวจได้ทั้งหมด 498 ระบบนี้ จะเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเสียส่วน ใหญ่คือ ถึงร้อยละ 92.57 และเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เพียงร้อยละ 4.02 เท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็น คอมพิวเตอร์ขนาดกลางจำ�นวนร้อยละ 3.41 และมีข้อสังเกตว่ากระทรวงที่มีจำ�นวนหน่วยงานที่มีระบบ คอมพิวเตอร์ใช้งานมากที่สุด ได้แก่ ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ลำ�ดับรองลงมาคือ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงที่มีอัตราส่วนของจำ�นวนหน่วยงานภายในกระทรวงที่มีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งานสูงสุดก็ได้แก่
ม
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-25
ธ ส
ทบวงมหาวิทยาลัยเช่นกัน ส่วนปัญหาก็ยังเป็นเช่นเดิม รวมถึงปัญหาด้านบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์ ด้วย
ธ ส
3. ผลการสำ�รวจเว็บไซต์ภ าครัฐ พ.ศ. 2547
ม
จากนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ประกาศไว้อย่างชัดเจนเมื่อปี พ.ศ. 2545 และกำ�หนดให้ ทุกหน่วยงานภาครัฐต้องมีเว็บไซต์ข องตนเองเพื่อบริการข้อมูลข่าวสารและบริการอิเล็กทรอนิกส์อ ย่างน้อย หนึ่งบริการแก่ประชาชนภายในหนึ่งปีนับจากวันสั่งการนั้น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติจึงได้ทำ�การสำ�รวจเว็บไซต์ภาครัฐ ครั้งที่ 1 เพื่อวัดระดับความพร้อมในการพัฒนาการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ระบบกึ่งอัตโนมัติในการ สำ�รวจ ปรากฏผลสำ�รวจที่สำ�คัญดังนี้ 3.1 ประเภทบริการข้อมูลข่าวสาร (information) ปรากฏว่ามีบริการข้อมูลข่าวสารทั้งหมดหรือ ร้อยละ 100 โดยจัดอยู่ในขั้นสูงร้อยละ 87 และอยู่ในขั้นพื้นฐานร้อยละ 13 3.2 ประเภทปฏิสัมพันธ์ (interaction) ปรากฏว่ามีปฏิสัมพันธ์ได้ร้อยละ 77 โดยจัดอยู่ในขั้นสูง ร้อยละ 60 และอยู่ใ นขั้นกลางร้อยละ 17 3.3 ประเภทดำ�เนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยสมบูรณ์ในตัวเอง (interchanged transaction) ปรากฏว่า สามารถดำ�เนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ร้อยละ 55 โดยจัดอยู่ในขั้นสูงร้อยละ 6 จัดอยู่ในขั้นกลางร้อยละ 5 และจัดอยู่ใ นขั้นพื้นฐานร้อยละ 44 3.4 ประเภทบูรณาการงานบริการระหว่างหน่วยงาน (integration) ปรากฏว่าไม่พบหน่วยงาน ที่ผ ่านเกณฑ์ก ารสำ�รวจที่ต ั้งไ ว้ 3.5 ประเภทความสามารถเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ที่มาใช้บริการเป็นรายบุคคล (intelligence) ปรากฏว่าผ่านเกณฑ์ขั้นพื้นฐานเพียงร้อยละ 7 สำ�หรับผลการประเมินปัจจัยสำ�คัญเพื่อการพัฒนาเว็บไซต์นั้นพบว่า หน่วยงานให้ความสำ�คัญ ต่อความทันสมัยของข้อมูลมากที่สุดหรือคิดเป็นร้อยละ 91 ส่วนปัจจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยนั้น หน่วยงานให้ความสำ�คัญน ้อยที่สุดหรือคิดเป็นร้อยละ 12 เท่านั้น แสดงว่าในขณะนั้นเว็บไซต์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเพียงแค่การสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ แต่ยัง พบว่ามีสิ่งที่ต้องการให้รัฐดำ�เนินการมีอีกหลายเรื่องโดยเฉพาะในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการบูรณาการ (integration) และการสร้างความสามารถในการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ที่มาใช้บริการเป็นรายบุคคล (intelligence) เพื่อใ ห้สามารถถึงจุดหมายของการบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริงต่อไป
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
4. ผลการสำ�รวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2552
ธ ส
ม
ม
ธ ส
บริการอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นองค์ประกอบสำ�คัญของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารจึงร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้า (NIDA) ทำ�การสำ�รวจ สถานภาพของการบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐภาพรวมในปัจจุบัน เพื่อศึกษา และประเมินความก้าวหน้า ในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ข องประเทศไทย ได้ผลสรุป ดังนี้
ม
13-26
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
4.1 หน่วยงานส่วนใหญ่มีความก้าวหน้าในการพัฒนามาตามลำ�ดับ โดยเฉพาะในเรื่องการบูรณาการภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวในเรื่องการพัฒนาเพื่อการ บูรณาการ แต่การบริการก็ยังเป็นการบริการข้อมูลข่าวสาร (information) แต่มีการปรับปรุงใ ห้ทันสมัยอยู่ เสมอเป็นห ลัก 4.2 ระดับความก้าวหน้าที่รองลงมาคือ ด้านการปฏิสัมพันธ์ (interaction) ที่ให้บริการในเรื่อง ของเว็บบอร์ด (webboard) เสิร์ชเอนจิน (search engine) การตอบข้อซักถาม และการไขข้อข้องใจของ ผู้ใช้บ ริการเป็นหลัก 4.3 ระดับการดำ�เนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยสมบูรณ์ในตัวเอง (interchanged transaction) เริ่มมีการตื่นตัวในการให้บริการทางเว็บไซต์แบบบูรณาการภายในหน่วยงาน มีการโต้ตอบ ออนไลน์ในธุรกรรมที่ให้บริการ โดยเฉพาะในเรื่องการตรวจสอบยืนยันตัวบุคคล การลงทะเบียนเข้าใช้งาน การแจ้งเตือน เช่น กรณีรหัสผิด การดำ�เนินการที่เกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย และเริ่มมีสัญญาณ ในการเริ่มใช้งานระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (digital signature) เริ่มมีธุรกรรมการชำ�ระเงินผ่าน บัญชีธนาคาร และพบว่าจ ำ�นวนหน่วยงานที่มีบ ริการเชิงธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ภายในหน่วยงานอย่างน้อย 1 ธุรกรรมมีจำ�นวนมากกว่าร้อยละ 20 แล้ว 4.4 ระดับการบูรณาการ (integration) ผลการสำ�รวจด้านการความสามารถในการบูรณาการ งานบริการระหว่างหน่วยงาน พบว่ามีแอพพลิเคชั่นที่เรียกใช้บริการจากแอพพลิเคชั่นของหน่วยงานอื่นๆ จำ�นวน 51 หน่วยงาน หรือคิดเป็นร้อยละ 34 มีการเรียกใช้บริการจากหน่วยงานอื่นๆ อย่างน้อย 1 รายการ จำ�นวน 52 หน่วยงานหรือคิดเป็นร้อยละ 35 และที่สำ�คัญมีหน่วยงานร่วมกันพัฒนาระบบให้มีหน้าต่าง เดียว (single window) สำ�หรับบริการประชาชนด้วยคลิกเดียวเพื่อรับบริการจากหลายหน่วยงานจำ�นวน 18 หน่วยงานหรือค ิดเป็นร้อยละ 12 ผลการสำ�รวจในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การบูรณาการบริการอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเซอร์วิส (e-Services integration) มีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่หลายหน่วยงานก็ยังต้องการการสนับสนุนในเรื่องโครงสร้าง พื้นฐานและมาตรฐานกลางเพื่อการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แบบบูรณาการข้ามหน่วยงาน ซึ่งจะทำ�ให้ การให้บริการเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิม 4.5 ระดับความสามารถเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ที่มาใช้บริการเป็นรายบุคคล (intelligence) ผลการสำ�รวจความสามารถในการเรียนรู้พฤติกรรมของประชาชนที่มาใช้บริการ พบว่ามีบริการส่งข้อมูล ให้ประชาชนเป็นรายบุคคลจำ�นวน 35 หน่วยงานหรือคิดเป็นร้อยละ 24 เรียนรู้พฤติกรรมของประชาชน จำ�นวน 18 หน่วยงานหรือคิดเป็นร้อยละ 12 และประชาชนสามารถเลือกรูปแบบข้อมูลที่ต้องการจำ�นวน 26 หน่วยงานหรือคิดเป็นร้อยละ 18
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ม
ธ ส
ม
ม
ภาพที่ 13.6 การบริการอิเล็กทรอนิกส์ร ะดับการบูรณาการ
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ภาพที่ 13.7 การบริการอิเล็กทรอนิกส์ร ะดับรายบุคคล
ม
ธ ส
ม
ที่มา: ผลการสำ�รวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2552 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ธ ส
13-27
ม
ธ ส
ที่มา: ผลการสำ�รวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2552 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
13-28
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
5. การมีการใช้เทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ประการสำ�คัญที่จะทำ�ให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์บรรลุตามวัตถุประสงค์ ได้นั้น จะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากทั้งภาครัฐและภาคประชาชน สำ�นักงานสถิติ แห่งชาติจึงได้ทำ�การสำ�รวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนจากหัวหน้า ครัวเรือนและสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไปเป็นประจำ�ทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน เพื่อ ให้ทราบสถานภาพ พฤติกรรม และความสามารถในการรองรับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ภาครัฐหยิบยื่นให้ สรุปผลที่สำ�คัญได้ดังนี้ 5.1 การใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ ในช่วงปี พ.ศ. 2547–2553 พบว่ามี สัดส่วนผู้ใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.4 (จำ�นวน 12.5 ล้านคน) เป็นร้อยละ 30.9 (จำ�นวน 19.1 ล้านคน) และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.9 (จำ�นวน 7.0 ล้านคน) เป็นร้อยละ 22.4 (จำ�นวน 13.8 ล้านคน) และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28.2 (จำ�นวน 16.6 ล้านคน) เป็นร้อยละ 61.8 (จำ�นวน 38.2 ล้านคน) โดยครัวเรือนมีเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17.1 เป็นร้อยละ 22.8 และมีการเชื่อมต่ออ ินเทอร์เน็ตด้วยสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.2 เป็นร้อยละ 11.4
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
ภาพที่ 13.8 ร้อยละของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปที่ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ พ.ศ. 2547 – 2553
ธ ส
ม ม
ธ ส
ที่มา: ผลการสำ�รวจการมีก ารใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2553 สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-29
ธ ส
แม้ว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประชาชนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีช่องว่างในการใช้ระหว่างผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล กล่าวคือในช่วงปี พ.ศ. 25472553 ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 33.2 เป็นร้อยละ 43.4 ส่วนผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.6 เป็นร้อยละ 25.2 ในขณะที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ที่อยู่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.4 เป็นร้อยละ 35.1 ส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อยู่นอก เขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.2 เป็นร้อยละ 16.5 ทั้งนี้มีสัดส่วนของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือนอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นมากกว่าในเขตเทศบาล กล่าวคือ ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่อยู่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41.9 เป็นร้อยละ 72.2 ส่วนผู้ใช้ โทรศัพท์มือถือที่อยู่นอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.5 เป็นร้อยละ 57.0 5.2 การมีการใช้อินเทอร์เน็ตแยกตามกลุ่มอายุ เมื่อพิจารณาการใช้อินเทอร์เน็ตในกลุ่มอายุต่างๆ พบว่าในปี พ.ศ. 2553 กลุ่มอายุ 15-24 ปี มีสัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตสูงสุดคือร้อยละ 50.0 รองลงมา คือกลุ่มอายุ 6-14 ปีร้อยละ 35.9 กลุ่มอายุ 25-34 ปีร้อยละ 24.6 กลุ่มอายุ 35-49 ปีร้อยละ 13.6 และ ต่ำ�สุดในกลุ่มอ ายุ 50 ปีขึ้นไปร้อยละ 4.2
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
ภาพที่ 13.9 ร้อยละของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป ทีใ่ ช้อินเทอร์เน็ต จำ�แนกตามกลุ่มอายุ พ.ศ. 2547 – 2553
ที่มา: ผลการสำ�รวจการมีก ารใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2553 สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ
ม
13-30
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
สำ�หรับสถานที่ใช้อินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2553 พบว่า ส่วนใหญ่ใช้ในสถานศึกษาร้อยละ 45.3 รองลงมาคือบ้านร้อยละ 35.5 และที่ทำ�งานร้อยละ 29.0 ส่วนกิจกรรมที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นการใช้ในการค้นหา ข้อมูลทั่วไปร้อยละ 82.2 รองลงมาคือรับ–ส่งอีเมลร้อยละ 26.5 และเล่นเกม ดาวน์โหลดเกมร้อยละ 25.6 สำ�หรับความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ตพบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้ค่อนข้างบ่อย (1-4 วันใ น 1 สัปดาห์) ร้อยละ 58.4 รองลงมาใช้เป็นประจำ� (5-7 วันใน 1 สัปดาห์) ร้อยละ 26.3 สำ�หรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของครัวเรือนในปี พ.ศ. 2553 พบว่า มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ด้วยประเภทบรอดแบนด์ (fixed broadband) มากที่สุดคือร้อยละ 57.4 รองลงมาเป็นประเภทแถบแคบ (narrowband) โมเด็มแบบแอนาล็อก/ไอเอสดีเอ็น (analog/ISDN modem) ร้อยละ 23.6 และแบบ ไร้สายเคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ 2 จี หรือ 2.5 จี เช่น จีเอสเอ็ม (GSM) ซีดีเอ็มเอ (CDMA) จีพีอาร์เอส (GPRS) ร้อยละ 9.5 ส่วนประเภทบรอดแบนด์แบบไร้สายเคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ 3 จี เช่น ดับเบิลยู ซีดีเอ็มเอ (WCDMA) อีวี-ดีโ อ (EV-DO) มีเพียงร้อยละ 3.0
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 13.2.2 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 13.2.2 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 13 ตอนที่ 13.2 เรื่องที่ 13.2.2
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ตอนที่ 13.3
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
กรณีตัวอย่างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไทยในปัจจุบัน
13-31
ธ ส
ม
โปรดอ่านแผนการสอนประจำ�ตอนที่ 13.3 แล้วจ ึงศึกษาเนื้อหาสาระ พร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง
ม
หัวเรื่อง
แนวคิด
ธ ส
เรื่องที่ 13.3.1 รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริการสำ�คัญของภาครัฐ เรื่องที่ 13.3.2 การเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐเพื่อรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องที่ 13.3.3 โครงสร้างพื้นฐ านที่สำ�คัญต่อการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
ธ ส
1. บริการอิเล็กทรอนิกส์เป็นกลไกสำ�คัญหนึ่งของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและรับรู้การปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ สามารถตรวจสอบ และมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ ประชาชนสามารถใช้บริการ อิเล็กทรอนิกส์จากภาครัฐเพื่อความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสนับสนุน 2. สิ่งที่น่าภูมิใจของบริการอิเล็กทรอนิกส์ไทยหลายบริการก็เพราะมีความทันสมัยกว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ หลายบริการก็เป็นที่ยอมรับในสากล และบ้างก็ได้ รับรางวัลจากองค์กรระดับโลกและระดับนานาชาติ การเชื่อมโยงข้อมูลและบริการ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐภ ายใต้ก รอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แ ห่งช าติ มีความสำ�คัญต ่อการพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ ได้อย่างบูรณาการ 3. การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ต้องคำ�นึงถึงโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำ�คัญ ทั้งใน ด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม ความมั่นคงปลอดภัยของระบบ และกฎหมาย ตลอดจน บุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงทั้งใน ภาครัฐและในภาคประชาชนประกอบกัน
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
13-32
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ธ ส
วัตถุประสงค์
ม
ม
ธ ส
ม
เมื่อศึกษาตอนที่ 13.3 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบาย พร้อมยกตัวอย่างบริการอิเล็กทรอนิกส์ และประโยชน์ในแต่ละบริการได้ 2. อธิบาย ความสำ�คัญข องการใช้ม าตรฐานกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ แห่งชาติ พร้อมยกตัวอย่างการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐพอสังเขปได้ 3. อธิบาย โครงสร้างพื้นฐานที่สำ�คัญและจำ�เป็นต่อการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
ธ ส
ม ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
เรื่องที่ 13.3.1 รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริการสำ�คัญ ของภาครัฐ
ธ ส
ม
13-33
ธ ส
ม
พ.ศ. 2545 รัฐบาลได้ดำ�เนินการปฏิรูประบบราชการไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนแนว ทางการดำ�เนินงานของภาครัฐให้มีความโปร่งใสในการตัดสินใจ รวมทั้งมีวิธีทำ�งานที่รวดเร็วและคล่องตัว เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม ตลอดจนตอบสนองการบริหารประเทศที่ยึดประชาชน เป็นศูนย์กลางโดยมุ่งเน้นกระจายอำ�นาจจากส่วนกลางไปสู่ระดับล่างและท้องถิ่น ในภาพรวมของการ บริหารประเทศรัฐบาลได้มีนโยบายพัฒนาการบริหารงานให้ก้าวสู่แนวทางของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นกลไกสำ�คัญในการพัฒนากลยุทธ์ และเป็นองค์ประกอบที่สำ�คัญในการปฏิรูป ระบบราชการไทย รวมถึงเป็นกลไกในการพัฒนาระบบงานอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ในอนาคต หากเปรียบเทียบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) แล้ว การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อาจเป็นบริการทางสื่ออ ิเล็กทรอนิกส์แบบบีทูซี (B2C) และบีทูบี (B2B) เป็นหลัก ในขณะที่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นแบบจีทูจี (G2G) จีทูบี (G2B) และจีทูซี (G2C) ภายใต้ระบบเครือข่าย ราชการ (government intranet) ที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูง เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ในขณะที่บริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-service) เป็นการให้บริการโดยมีภาคธุรกิจ กับภาคประชาชนเป็นผู้รับบริการด้วยการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ ประชาชนสามารถรับบริการและ ชำ�ระเงินค่าบริการได้ ธุรกิจส ามารถดำ�เนินการค้าขายกับห น่วยงานของรัฐด้วยการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตเป็น สื่อการให้บริการ สามารถจัดกลุ่มการปฏิบัติของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น ภาครัฐกับป ระชาชน (Government to Citizen - G2C) ภาครัฐกับภาคธุรกิจเอกชน (Government to Business - G2B) ภาครัฐกับภาครัฐ (Government to Government - G2G) และภาครัฐกับข้าราชการและพนักงานของรัฐ (Government to Employee - G2E) ซึ่งส ามารถอธิบายความหมายของแต่ละกลุ่มตามการปฏิบัติได้ ดังนี้ 1) รัฐกับประชาชนหรือจีทูซี (G2C) เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการ ดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำ�เนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชำ�ระภาษี การ จดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทน ประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียง และการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดำ�เนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น โดยที่การดำ�เนินการต่างๆ นั้นจะต้องเป็นการทำ�งานแบบออนไลน์ (online) และเรียลไทม์ (real time) มีการรับรองและการโต้ตอบที่ม ีปฏิสัมพันธ์ 2) รัฐกับเอกชนหรือจีทูบี (G2B) เป็นการให้บริการแก่ภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำ�นวยความ สะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันด้วยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูล
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
13-34
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
ที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ การประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกและนำ�เข้า การชำ�ระภาษี และการช่วยเหลือผู้ป ระกอบการขนาดกลางและเล็ก 3) รัฐกับรัฐหรือจีทูจี (G2G) เป็นรูปแบบการทำ�งานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ จากการติดต่อสื่อสารระหว่างกันด้วยกระดาษและการลงลายมือชื่อในระบบเอกสารราชการอย่างเดิม เป็น การรั บ ส่ ง เ อกสารอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ โ ดยใ ช้ ร ะบบเ ครื อ ข่ า ยส ารสนเทศแ ละล ายมื อ ชื่ อ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ เ ป็ น เครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการดำ�เนินการ (economy of speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้ บริการระหว่างหน่วยงานภาครัฐโดยการเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทำ�งานร่วม (collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน (government data exchange) ทั้งนี้รวมไปถึงการ เชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่างๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงานสำ�นักงานส่วนหลัง (back office) ต่างๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการ บริหารการเงินก ารคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ 4) รั ฐ กั บ ข้ า ราชการแ ละพ นั ก งานข องรั ฐ ห รื อ จี ทู อี (G2E) เป็ น การใ ห้ บ ริ ก ารที่ จำ � เป็ น ข อง ข้าราชการและพนักงานของรัฐกับหน่วยงานภาครัฐโดยการสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำ�เป็น ในการปฏิบัติงานและการดำ�รงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมายและข้อบังคับในการ ปฏิบัติราชการ และระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น เราอาจมองรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้เป็น 3 มิติ ได้แก่ มิติการให้บริการ มิติการเชื่อมโยงข้อมูล และบริการภาครัฐ และมิติโครงสร้างพื้นฐานที่สำ�คัญต่อการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ดังจะได้อธิบาย ในรายละเอียดและหยิบยกเป็นกรณีตัวอย่างต่อไป
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
กรณีตัวอย่างที่ 1 ระบบการบริการค้นหามติค ณะรัฐมนตรีของสำ�นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ธ ส
สำ�นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เป็นองค์กรหลักที่สำ�คัญยิ่งในการสนับสนุนรัฐบาลเพื่อการ บริหารราชการแผ่นดินภายใต้การบริหารงานด้วยการมีมติร่วมกันของคณะรัฐมนตรี ซึ่งมติคณะรัฐมนตรี จะมีผลบังคับใช้กับหน่วยงานภาครัฐ ข้าราชการและพนักงานของรัฐต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าดัวยการ เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี สำ�นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่เป็นแกนกลางในการนำ�เรื่องของส่วนราชการทั้งหมดเข้าที่ ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยจะต้องรวบรวมความคิดเห็นจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ครบ ทำ�การประมวล และผนวกความคิดเห็นของสำ�นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเอง นำ�เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ตลอดจนส่ง ผลการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีหรือที่เรียกกันว่า “มติคณะรัฐมนตรี” ให้หน่วยงานของรัฐนำ�ไปปฏิบัติ หรือแก้ไขปัญหาต่างๆ แล้วร ายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบ
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
ธ ส
ภาพที่ 13.10 คณะรัฐมนตรีหารือป ระธานวุฒิสภา (นายมีช ัย ฤชุพันธุ์) เรื่องร่าง พรบ.บริหารสินทรัพย์ไทย (TAMC) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ผ่านทางวดิ ีโอคอนเฟอเรนซ์ (VDO Conference) ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี
ธ ส
ม
13-35
ม
มติคณะรัฐมนตรีในแต่ละคราวประชุมจะถูกจัดเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบและติดตามผล ในแต่ละปีจะมีมติคณะรัฐมนตรีเป็นจำ�นวนมาก ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเหล่านั้นจะมีผลบังคับใช้ไปจนกว่า จะมีการยกเลิกหรือแก้ไข และหากมีการยกเลิกหรือแก้ไขก็ต้องดำ�เนินการในลักษณะเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ สำ�นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้พัฒนาระบบจัดเก็บและค้นหามติคณะรัฐมนตรีแบบอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น เพื่อใช้เป็นการภายใน สำ�นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ต้องเก็บรักษาไว้ มากมาย รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 และยังมีเรื่องที่นำ�เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทุกสัปดาห์ การเก็บ เอกสารย้อนหลังทำ�โดยวิธีการสแกน (scan) เป็นภาพเสมือน และใช้ดัชนีรายการข้อมูล เช่น รายการวัน ที่มีมติ เลขที่หนังสือส่งออก ชื่อเรื่อง หรือคำ�สำ�คัญในชื่อเรื่อง หรือในส่วนคัดย่อของเรื่อง ตลอดจนใช้ คำ�เหมือนเป็นตัวค้น ระบบจัดเก็บและค้นหามติคณะรัฐมนตรีแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการยกย่องให้ เป็นต้นแบบของการปฏิบัติงานระบบประมวลผลเอกสาร (Document Processing System - DPS) ด้วย เทคโนโลยีเสิร์ชเอนจิน (search engine) แก่หน่วยงานภาครัฐ ทำ�ให้สำ�นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ ชื่อว่าเป็นหน่วยงานชั้นนำ�ที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงสุดด้วยการนำ�เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นสมัยที่น ายอนันต์ อนันตกูล เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2544 รัฐบาลประกาศนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อความโปร่งใสของการ บริหารราชการแผ่นดิน สำ�นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงสามารถสนองนโยบาย และสามารถเปิดบริการให้ ประชาชนเข้ามาสืบค้นหามติคณะรัฐมนตรีด้วยตนเองผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ทันที
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
13-36
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ภาพที่ 13.11 หน้าจ อระบบการค้นหามติคณะรัฐมนตรี
ม
ที่มา: www.cabinet.thaigov.go.th สำ�นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ภาพที่ 13.12 ผลจากการค้นหามติคณะรัฐมนตรีเป็นรายเรื่อง
ที่มา: www.cabinet.thaigov.go.th สำ�นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ม
13-37
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
13-38
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
อนึ่ง ด้วยเหตุที่สำ�นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต้องบริหารจัดการนำ�เรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ท ันภายในระยะเวลาที่กำ�หนด ซึ่งม ีกระบวนการและขั้นตอนหลายขั้นตอน โดยเฉพาะการสอบถามความ เห็นจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องซึ่งมีจำ�นวนมากบ้าง น้อยบ้าง แล้วแต่ความยุ่งยาก ซับซ้อน และความ เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ การติดตามเรื่องจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่จะตอบให้ได้ว่าขณะนี้แต่ละเรื่องอยู่ใน ขั้นตอนใด เมื่อนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี หรือหน่วยงานเจ้าของเรื่องถามถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะต้องตอบได้ และนี่คือความจำ�เป็นที่ทำ�ให้เกิดระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการติดตามความเคลื่อนไหวของ เรื่องที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี จนกลายเป็นต้นแบบของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย และ นำ�ไปสู่การเชื่อมโยงระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐในยุคข องรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
กรณีตัวอย่างที่ 2 ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแ บบอิเล็กทรอนิกส์ของ กรมบัญชีกลาง
ม
ธ ส
2.1 ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ จากนโยบายของรัฐบาล พ.ศ. 2544 “ในการบริหารงานด้านการเงินการคลังของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นโดย มุ่งเน้นที่เป้าหมายและผลลัพธ์ของการดำ�เนินงาน รวมถึงให้สามารถเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะเพื่อความ โปร่งใส รัฐบาลจึงได้ปฏิรูประบบการบริหารและการปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารทรัพยากรของชาติ สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ประเทศ” จากนโยบายดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เห็นชอบให้มี การออกแบบระบบการบริหารการเงินการคลังแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือจีเอฟเอ็มไอเอส (Government Fiscal Management Information System - GFMIS) โดยจัดสร้างเป็นระบบระดับชาติ (National System) เพื่อเป็นลิขสิทธิ์ของรัฐบาล ให้ทุกส่วนราชการทั่วประเทศใช้ โดยได้นำ�ระบบการบริหารการเงิน การคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์มาปฏิบัติงานแบบออนไลน์โต้ตอบแบบเรียลไทม์ (online interactive real time) และบันทึกข้อมูลแบบบันทึกครั้งเดียว (single entry) ด้วยการจัดการและดำ�เนินงานอย่าง อัตโนมัติต ั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ทั้งนี้ได้เริ่มเบิกจ่ายตรงให้แก่หน่วยงานและแก่คู่ค้าของภาครัฐ ด้วยระบบการบริหารการเงินการคลังแ บบอิเล็กทรอนิกส์เพียงระบบเดียวตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 และใช้ปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐประกอบด้วย ระบบงานรายรับ รายจ่าย การกู้เงิน เงินคงคลัง บัญชีการเงินแบบเกณฑ์ค งค้าง บัญชีสินทรัพย์ถาวร บัญชีต้นทุน บัญชีบริหารของประเทศทั้งระบบ ซึ่งเป็น ระบบใหญ่มาก เกี่ยวข้องกับส่วนราชการทุกภาคส่วนหรือจีทูจี (G2G) และยังเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจหรือ จีทูบี (G2B) และภาคประชาชนหรือจีทูซี (G2C) ที่ติดต่อกับรัฐด้านการเงินทั้งหมด นอกจากนี้ยังครอบ คลุมระบบการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐโดยรวม ตั้งแต่การจัดทำ�การอนุมัติ การเบิกจ่าย การปรับปรุง และการ ติดตามการใช้งบประมาณของหน่วยงานราชการของทุกกระทรวง กรม โดยผู้บริหารประเทศสามารถวัด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการใช้งบประมาณของประเทศได้เป็นอย่างดี และที่สำ�คัญที่สุดระบบงาน
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-39
ธ ส
นี้มีการสร้างฐานข้อมูลกลางด้านการเงินการคลังภาครัฐเพื่อให้ผู้บริหารในแต่ละระดับสามารถนำ�ข้อมูลมา บริหารด้านการเงินการคลังของหน่วยงานตนเองได้ด้วย และถ้าจะกล่าวอย่างวิชาการเทคโนโลยีส ารสนเทศ แล้ว ระบบบริหารการเงินการคลังภ าครัฐก็คือระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรหรืออีอาร์พี (Enterprise Resource Planning - ERP) นั่นเอง แต่เป็นระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรที่ใหญ่มาก ครอบคลุม การวางแผนทรัพยากรองค์กรภาครัฐทั่วประเทศ อนึ่ง ทันทีที่มีการประกาศใช้ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ (GFMIS) นายกรัฐมนตรีก็ได้ ใช้ระบบดังกล่าวเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารการเงินการคลังของประเทศทันที โดยกำ�หนดให้สำ�นัก เลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำ�รายงานการใช้งบประมาณแผ่นดินที่ได้จากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ (GFMIS) เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นประจำ�ทุกเดือน เพื่อเป็นการเร่งรัดให้ส่วนราชการดำ�เนินการ บริหารการเงินการคลังในแต่ละระดับให้เป็นไปตามแผนการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดินเป็นประโยชน์ อย่างยิ่ง 2.2 บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากการที่ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ (GFMIS) เป็นระบบที่ใหญ่มากครอบคลุมการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ จึงเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน หลายหน่วยอย่างบูรณาการ ดังนี้ 1) สำ�นักงบประมาณ จะวางแผน ควบคุม และจัดสรรงบประมาณของประเทศผ่านระบบ ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ (GFMIS) เพื่อการเบิกจ่าย ตลอดจนติดตามและประเมินผลการ ปฏิบัติต ามแผนงานโครงการต่างๆ ที่หน่วยงานกำ�หนดตามเป้าห มาย ภารกิจ และพันธกิจ 2) กรมบัญชีกลาง เป็นสมุห์บัญชีทำ�หน้าที่บริหารและปฏิบัติการเพื่อควบคุมการบัญชีการ เงินและการคลังของประเทศ ดูแลการรายงานทางบัญชีการเงิน ตรวจสอบการเบิกจ่ายและกระทบยอดทั้ง ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคกับแผนการเบิกจ่ายรายเดือน/รายปี 3) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมพิจารณาการเตรียมระบบงานให้ สอดคล้องกับสำ�นักงานส่วนหลัง (back office) ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนจัดหาระบบเครือข่าย การสื่อสารโทรคมนาคมให้ทุกหน่วยงานของรัฐ 4) สำ�นักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ใช้ระบบบริหารการเงินก ารคลังภาครัฐ (GFMIS) ตรวจ สอบการปฏิบัติงานและการเงินของหน่วยงานของรัฐ ตรวจสอบการรับจ่ายเงินตามงบประมาณประจำ�ปี และงบแสดงฐานะการเงินแผ่นดิน และตรวจสอบเชิงปฏิบัติการเทียบเป้าหมายที่กำ�หนด 5) ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำ�หน้าที่ดูแลการกระทบยอดเงินตามบัญชีรับจ่ายประจำ�วัน และฐานะการคลัง ตลอดจนประสานการโอนเงินต่างระบบผ่านบาทเน็ต (Bahtnet) 6) ธนาคารกรุงไทย เป็นตัวแทนการรับจ่ายเงินของรัฐทั้งระบบ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็น แคชเชียร์ (cashier) ให้กับระบบ เป็นผ ู้รวบรวมเม็ดเงินด ้านการจ่ายเงิน รับเงินเข้าคลังโ ดยผ่านหน่วยงาน ด้านการเงินของรัฐ นอกจากการรับผิดชอบในฐานะผู้พัฒนาและดูแลบำ�รุงรักษาระบบบริหารการเงินการ คลังภาครัฐ (GFMIS)
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
13-40
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ที่มา: GFMIS Powerpoint Presentation วันท ี่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 สหัส ตรีทิพยบุตร ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด
ธ ส
ธ ส
ม
ภาพที่ 13.13 หน่วยงานราชการทั่วประเทศสามารถขอให้กรมบัญชีกลางชำ�ระหนี้ ให้เจ้าหนี้ได้ทั่วป ระเทศโดยผ่านระบบธนาคารกรุงไทย จำ�กัด
2.3 ประโยชน์ที่ได้ร ับจากระบบบริหารการเงินการคลังภ าครัฐ (GFMIS) 1) ด้านหน่วยงานผู้ป ฏิบัติทั่วประเทศ ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ (GFMIS) ทำ�ให้ ลดการซ้ำ�ซ้อนในการบันทึกข้อมูล ตัดขั้นตอนทางเดินของเอกสาร และลดขั้นตอนและเอกสารในการ ปฏิบัติง าน 2) ด้านการบริหารงบประมาณขององค์กร ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ (GFMIS) สามารถจัดสรรงบประมาณของประเทศได้สะดวก และสามารถจ่ายงบประมาณของทุกหน่วยงานและทุก รายการด้วยระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ (GFMIS) หน่วยงานที่ใช้งบประมาณและผู้จัดสรรงบ ประมาณสามารถดูรายการงบประมาณได้โดยตรงพร้อมกัน ทำ�ให้การบริหารงบประมาณมีประสิทธิภาพ รวดเร็วแ ละถูกต้อง หน่วยงานที่ใช้งบประมาณสามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว และไม่จำ�เป็น ต้องรักษาเม็ดเงินในบัญชีของตนเองเพราะสามารถเบิกจ่ายได้ตรงกับกรมบัญชีกลาง และกรมบัญชีกลาง สามารถสั่งจ่ายผ่านธนาคารกรุงไทยให้หน่วยงานหรือคู่ค้า (เจ้าหนี้) ของหน่วยงานได้โดยตรงผ่านธนาคาร กรุงไทยด้วยเครือข่ายแบบออนไลน์ 3) ด้านบริหารการเงินของประเทศ ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ (GFMIS) สามารถ ให้ห น่วยงานบริหารประเทศทั้งหมด คือ สำ�นักน ายกรัฐมนตรี สำ�นักงานพัฒนาเศรษฐกิจแ ละสังคมแห่งช าติ สำ�นักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง สำ�นักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงาน
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-41
ธ ส
บริหารของทุกกระทรวงและทุกกรมสามารถดูข้อมูลหรือการบริหารของหน่วยงานตนเองและของประเทศ สามารถตรวจสอบดูแลการใช้งบประมาณว่าถูกต้องตรงเป้าหมาย ใช้งบประมาณในช่วงเวลาอันควร และใช้ งบประมาณตรงตามโครงการที่กำ�หนดและได้ผลตามที่กำ�หนดหรือไม่ ระบบสามารถออกรายงานแยกแยะ เปรียบเทียบ ตลอดจนกำ�หนดแผนและคาดการณ์การใช้จ่ายต่างๆ ได้ อีกทั้งยังสามารถใช้บริหารต้นทุนของการใช้จ่ายจากงบประมาณ ทำ�ให้ผู้ใช้งบประมาณต้อง ระมัดระวังการใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้เปรียบเทียบว่างบประมาณ เดียวกันซื้อทรัพย์สินเหมือนกัน ทำ�ไมราคาจึงต่างกันได้อีกด้วย 2.4 ความภูมิใจในระบบบริหารการเงินก ารคลังภ าครัฐ (GFMIS) 1) ประเทศไทยถือเป็นป ระเทศต้นๆ ของโลกที่น ำ�ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ (GFMIS) มาใช้กับหน่วยภาครัฐท ั่วประเทศสำ�เร็จอย่างจริงจัง 2) แม้โ ครงการระบบบริหารการเงินก ารคลังภาครัฐ (GFMIS) จะเป็นระบบใหญ่ที่เกี่ยวข้อง กับระบบการเงินการคลังของประเทศทั้งระบบ และเกี่ยวข้องกับข้าราชการทั้งประเทศ แต่โครงการนี้เป็น โครงการตัวอย่างที่ต้องชมเชย เพราะใช้เวลาในการพัฒนาตั้งแต่ต้นจนสามารถใช้งานได้เพียง 18 เดือน คือ มิถุนายน พ.ศ. 2546 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2547 เท่านั้น นับเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงชิ้นหนึ่งของรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ไทย
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ภาพที่ 13.14 ประชาชนสามารถตรวจสอบการใช้จ่ายเงินภ าครัฐได้จากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ
ที่มา: www.gfmis.go.th
13-42
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
กรณีตัวอย่างที่ 3 ระบบศูนย์กลางข้อมูลและสารสนเทศด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ของกรมบัญชีก ลาง
ธ ส
เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กรมบัญชีกลางจึงได้พัฒนาระบบศูนย์กลางข้อมูลและ สารสนเทศด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐหรือระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (g-Procurement) เพื่อสร้าง ความโปร่งใส ลดปัญหาทุจริต เพิ่มค วามคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และหน่วยงานภาครัฐสามารถจัดซื้อจัดจ ้าง พัสดุได้ในราคายุติธรรมขึ้น เปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ระบบศูนย์กลางข้อมูลและสารสนเทศด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐจะทำ�ให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีความถูกต้อง รวดเร็ว ครบถ้วน และทั่วถึงได้โดยผ่านทางเว็บไซต์ www.gprocurement.go.th สามารถติดตาม ตรวจสอบกระบวนการ จัดซื้อจัดจ้างได้ทุกขั้นตอน เป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ขายและผู้รับจ้างเข้าถึงข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างได้ อย่างเท่าเทียมกัน ประชาชนทั่วไปหรือผู้มีส่วนได้เสียสามารถเข้ามาตรวจสอบข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้อย่างโปร่งใส อันจะเป็นกลไกในการป้องกันการทุจริต คอร์รัปชั่นได้อย่างมี ประสิทธิภาพด้วย ระบบจะเผยแพร่ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้าง เช่น ประกาศแผนการจัดซื้อจัดจ้าง เอกสารประกวดราคา ประกาศประกวดราคา ประกาศร่างข้อตกลง (TOR) ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง (เชิญชวน) ประกาศรายชื่อผู้ขอ รับ/ซื้อเอกสาร ประกาศรายชื่อผู้ยื่นเสนอราคา ประกาศชื่อผู้มีสิทธิยื่นข้อเสนอ และประกาศผู้ชนะการ เสนอราคา เป็นต้น เพื่อให้ผู้ค้าสามารถค้นหาและเข้าร่วมการแข่งขันได้ ตลอดจนนำ�ข้อมูลราคากลางงาน ก่อสร้างและบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานจากระบบเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำ�หรับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ผู้ค้า และผู้สนใจทั่วไปสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีความสมบูรณ์ ทันสมัย และ มีประสิทธิภาพที่บันทึกโดยตรงจากหน่วยจัดซื้อภาครัฐ การค้นหาประกาศจัดซื้อจัดจ้างในเว็บไซต์ http://www.gprocurement.go.th ระบบจะแสดง ผลจากการค้นหาจาก “ระบบศูนย์กลางข้อมูลและสารสนเทศด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐหรือระบบการ จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ” ว่ามีส่วนราชการใดบ้างที่กำ�ลังประกาศประกวดราคาโครงการที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาระบบอยู่บ้างในขณะนี้ ภายใต้วงเงินงบประมาณที่สูงตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ภาพที่ 13.15 ตัวอย่างการค้นหาประกาศจัดซื้อจัดจ ้าง
ที่มา: www.gprocurement.go.th
ม
ธ ส
13-43
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 13.3.1 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 13.3.1 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 13 ตอนที่ 13.3 เรื่องที่ 13.3.1
ธ ส
ม
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ม
13-44
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
เรื่องที่ 13.3.2 การเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐเพื่อรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
1. กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ของกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร
ม
ธ ส
1.1 กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (Thailand e-Government Interoperability Framework - TH e-GIF) ถูก พัฒนาขึ้น เพื่อส่งเสริมนโยบายการเชื่อมโยงข้อมูลและการปฏิบัติการร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือกระบวน การทำ�งานระหว่างระบบสารสนเทศภาครัฐที่มีความแตกต่างกันได้อย่างอัตโนมัติ นำ�ไปสู่การบูรณาการ แลกเปลี่ยนข้อมูลและการให้บริการร่วมแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวกัน ซึ่งต่างจากเดิมที่ต้องเข้าสู่แต่ละ ระบบงานหรือเว็บแอพพลิเคชั่นใ นแต่ละหน่วยงานเตรียมไว้ โดยให้บริการด้วยมาตรฐานที่แตกต่างกันและ ไม่มีการเชื่อมโยงเพื่อการแลกเปลี่ยนหรือบูรณาการใดๆ กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ แห่งชาติ (TH e-GIF) ประกอบด้วย กรอบและแนวทางตามมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยง (interconnection) การแลกเปลี่ยนข้อมูล (data exchange) การจัดเก็บและนำ�เสนอข้อมูล (storage and presentation) ด้วยความมั่นคงปลอดภัย (security) และใช้มาตรฐานเปิด (open standard) ทั้งนี้ ได้เริ่มเผยแพร่แ ละใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ. 2549 นับเป็นกลไกสำ�คัญในการสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติการร่วมระหว่างหน่วยงานและ ขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายการบริการประชาชน และการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ และเกิดผ ลในการลดต้นทุน และเพิ่มผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-45
ธ ส
ม
ธ ส
ภาพที่ 13.16 การพัฒนาระบบไอซีทีภายในหน่วยงานเป็นระบบการบริการร่วมเพื่อให้บ ริการประชาชน
ม
ที่มา: กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แ ห่งช าติ เวอร์ชั่น 1.1 เสนอกระทรวงเทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อสาร โดย ดร.ชุมพล บุญม ี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ม
1.2 เป้าหมายของกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ กรอบแนวทางการ เชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (TH e-GIF) สามารถใช้เป็นแนวทางในการเชื่อมโยงเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานที่มีระบบสารสนเทศที่แตกต่างกันได้อย่างอัตโนมัติ (cross platforms interconnection) มีการใช้ “มาตรฐานเปิด” ที่ยอมรับในระดับสากล (open & international standards) โดยไม่ถูกผูกขาดกับผลิตภัณฑ์ใดๆ มีกติการ่วม (common rules) ในการตั้งชื่อรายการข้อมูล (data elements) ที่นำ�ไปสู่การกำ�หนดชื่อรายการข้อมูลที่เป็นมาตรฐานของประเทศ (national standardized data set) โดยอิงกับชื่อรายการข้อมูล มาตรฐาน และหลักการในการกำ�หนดชื่อรายการข้อมูล และความหมายของรายการข้อมูลตามมาตรฐานของศูนย์อำ�นวยความสะดวกด้านการค้าและธุรกรรม อิเล็กทรอนิกส์แห่งสหประชาชาติหรือเอ็นดีอาร์ (UN/CEFACT XML Naming and Design Rules – NDR) ตลอดจนมีการกำ�หนดมาตรฐานทางเทคนิคเพื่อการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบซึ่ง สามารถเลือกได้หลากหลาย เช่น เว็บเซอร์วิส (web services) เอ็กซ์เอ็มแอล (eXtensible Markup Language - XML) และอีบ ีเอ็กซ์เอ็มแอล (ebXML as ISO/TS 15000) เอฟทีพี (FTP) หรือเอสเอ็มทีพ ี (SMTP) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำ�ไปใช้ในการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และระบบ ให้บริการร่วมแบบเบ็ดเสร็จต่อไป กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (TH e-GIF) เกิดขึ้นภายใต้ “โครงการ ศูนย์ข้อมูลกลางแปลงทรัพย์สินเป็นทุน” ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ให้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำ�การจัดตั้งขึ้นโดยมีว ัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
13-46
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
ของหน่วยงานในโครงการ 11 หน่วยงาน ได้แก่ สำ�นักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม กรมที่ดิน กรม ส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมธนารักษ์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช การเคหะแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมทรัพย์สินทางปัญญา และกรม โรงงานอุตสาหกรรม นับเป็นระบบแรกของประเทศและเป็นต้นแบบที่ใช้กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์แห่งช าติ (TH e-GIF) ในการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายหน่วยงาน 1.3 หลักเกณฑ์ใ นการพัฒนาระบบเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยกรอบแนวทางการเชื่อมโยง รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เพื่อให้การบูรณาการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการให้บริการร่วมแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวมีผลยั่งยืน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงได้กำ�หนดประเด็นหรือเกณฑ์ใน การวัดผลสัมฤทธิ์ไว้หลายประเด็น เช่น ผลสัมฤทธิ์ของระบบจะต้องมีจำ�นวนรายการข้อมูลที่บันทึกและ จำ�นวนขั้นตอนในกระบวนการทางธุรกรรมลดลงทั้งในองค์กรและระหว่างองค์กร สามารถแบ่งปันข้อมูล ให้ระบบอื่นนำ�ไปใช้ได้และสามารถรับข้อมูลจากระบบอื่นมาใช้งานต่อได้ มีการใช้ข้อมูลร่วมกันหลายระบบ เพื่อให้ได้ผลสำ�เร็จของงานที่มุ่งเน้นไปที่การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ มีการลดหรือยกเลิกการใช้กระดาษ ในการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กรและระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการ สามารถทำ�งานได้เสมือนเป็นระบบ เดียวกันและมีระบบตรวจสอบการใช้งานร่วมกัน สามารถลดค่าใช้จ่าย บริการได้รวดเร็วและรองรับ ปริมาณผู้ใช้บริการได้มากขึ้น ทำ�ให้ต้นทุนการดำ�เนินการธุรกรรมลดลง เป็นต้น
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
กรณีตัวอย่างที่ 1 การเชื่อมโยงระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐของ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ธ ส
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารเป็นหน่วยงานกลางในการพัฒนาระบบสำ�นักงานส่วนหลัง (back office) ของภาครัฐจำ�นวน 11 ระบบ และหนึ่งใ นจำ�นวนนั้นได้แก่ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากระบบสารบรรณหรือระบบการติดตามเรื่องหรือหนังสือหรือเอกสารมีความสำ�คัญมาก ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐจึงมีระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ไว้ใช้ภายในแต่ละหน่วยงานเป็นที่เรียบร้อย แล้วเป็นส่วนใหญ่ ระบบเหล่านั้นจะทำ�หน้าที่ลงรายการรับ-ส่งเรื่องหรือหนังสือที่หน่วยงานได้รับ-ส่ง และ เคลื่อนไปภายในหน่วยงานในแต่ละขณะตามที่เอกสารไปปรากฏ ซึ่งระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์จะ สามารถตรวจสอบได้ว่า เรื่องเข้ามาเมื่อใด ใครเป็นคนรับ ผ่านใครไปแล้วบ้าง นานเท่าใด ใกล้ถึงกำ�หนด ต้องดำ�เนินการให้เสร็จแล้วหรือยัง หรือได้ตอบหนังสือกลับไปแล้ว โดยใคร เมื่อไร เลขหนังสือออก และ เวลาใด
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-47
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ภาพที่ 13.17 แผนผังแ สดงการเชื่อมโยงข้อมูลห รือบริการภาครัฐแบบบูรณาการ
ม
ที่มา: TH e-GIF Powerpoint Presentation ดร.ชุมพล บุญมี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำ�เสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในโครงการสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ร ะหว่างหน่วยงานภาครัฐ
ธ ส
ธ ส
ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ภายในของหน่วยงานที่กล่าวมา มีหลากหลายรูปแบบ หลากหลาย มาตรฐาน ครั้นเมื่อต้องการขยายระบบให้สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของเอกสารข้ามออกไปนอก หน่วยงานด้วยจะมีความยุ่งยากมาก จำ�เป็นต้องสร้างมาตรฐานในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบโดย ใช้กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (TH e-GIF) มาเป็นกรอบในการกำ�หนด มาตรฐานเทคนิค ตลอดจนมาตรฐานของรายการข้อมูลที่ต้องการส่งต่อ เช่น รายการเลขที่หนังสือส่งออก วันที่ส่งออก ชั้นค วามลับ ความเร่งด ่วน ชื่อผู้ส ่ง ชื่อหน่วยงาน เป็นต้น
ม
ม
ธ ส
ม
13-48
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ภาพที่ 13.18 XML Schema ทีใ่ ช้ในโครงการระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ร ะหว่างหน่วยงานภาครัฐ
ที่มา: TH e-GIF Powerpoint Presentation ดร.ชุมพล บุญมี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำ�เสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในโครงการสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ร ะหว่างหน่วยงานภาครัฐ
ม
ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐเป็นตัวอย่างระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ แบบจีทูจี (G2G) ส่งข้อมูลข้ามหน่วยงาน โดยในช่วงแรกของโครงการได้ทำ�การทดลองระหว่างหน่วยงาน ภายในกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำ�นักงานปลัดสำ�นักนายกรัฐมนตรีในฐานะ ผู้ดูแลระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ ปัจจุบันได้มีหน่วยงานเข้าร่วมโครงการแล้ว 41 หน่วยงาน และกำ�ลัง ขยายผลการเชื่อมโยงระบบไปจนกว่าจะครบทุกกระทรวง อนึ่งโครงการเชื่อมโยงระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ได้รับรางวัล eASIA Awards ประจำ�ปี ค.ศ.2009 ในประเภทระบบอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ (Electronic Business Public Sector) ด้วย
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-49
ธ ส
กรณีตัวอย่างที่ 2 ศูนย์ส ารสนเทศแห่งช าติเพื่อการบริหารสารสนเทศสถิติของประเทศของ สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ
ธ ส
ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจำ�เป็นต้องใช้ข้อมูลสถิติที่ถูกต้อง ครบถ้วน และ ทันสมัยประกอบในการกำ�หนดนโยบาย วางแผน และตัดสินใจ แต่เมื่อข้อมูลอยู่กระจายตามหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานต่างเก็บข้อมูลตามความต้องการของหน่วยงานเป็นหลักในรูปแบบหลากหลาย แตกต่าง กันนั้น ทำ�ให้ย ากต่อการบริหารงาน จากพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 กำ�หนดให้สำ�นักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานกลางในการ ประสานการจัดทำ�และบริหารข้อมูลสถิติของประเทศ ตลอดจนประสานกับหน่วยงานในการสร้างเครือข่าย สถิติเพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูลสถิติที่สำ�คัญของประเทศอย่างบูรณาการ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ให้สำ�นักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานดำ�เนินการโครงการศูนย์สารสนเทศแห่งชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อทำ�หน้าที่ในการบริหารข้อมูลของชาติโดยเป็นแหล่งรวบรวมและบูรณาการข้อมูลเพื่อ กลั่นกรองและสนับสนุนข้อมูลให้แก่ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรีในการวินิจฉัยสั่งการบริหารราชการ แผ่นดิน ตลอดจนในการประสานงานด้านข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายใต้มาตรฐาน เดียวกัน ดังน ั้น เพื่อใ ห้เกิดป ระสิทธิภาพสูงสุดแ ละลดความซ้ำ�ซ้อนในการดำ�เนินง าน สำ�นักงานสถิติแ ห่งช าติ จึงไ ด้ท ำ�แผนแม่บทสถิตแิ ละแนวทางในการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลภ าครัฐเพื่อใ ห้ส ามารถใช้ป ระโยชน์ จากข้อมูลแ ละสารสนเทศสถิติที่ห น่วยงานผลิตร่วมกันขึ้น
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ภาพที่ 13.19 แผนผังแ สดงโครงข่ายการเชื่อมโยงและบูรณาการสารสนเทศ สถิติภาครัฐเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์ส ารสนเทศแห่งช าติ
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศแห่งช าติ สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ
ธ ส
13-50
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
ในการเชื่อมโยงเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สำ�นักงานสถิติแห่งชาติได้ ติตตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (server) ณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประจำ�กระทรวง ทั้ง 20 กระทรวง พร้อมระบบเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบสแทตเอ็กซ์เชนจ์ (statXchange) ด้วยเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส (web services) เพื่อช่วยให้หน่วยงานสามารถสร้างระบบเว็บเซอร์วิสในการ แลกเปลี่ยนข้อมูลไ ด้อย่างรวดเร็วภายใต้มาตรฐานสแทตเอ็กซ์เอ็มแอล (statXML) และแนวทางของกรอบ แนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (TH e-GIF) ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐระดับ กระทรวงและกรมได้น ำ�ข้อมูลเข้าสู่ร ะบบเพื่อการแลกเปลี่ยน และเริ่มให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ศูนย์สารสนเทศแห่งชาติ เป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แบบจีทูจี (G2G) และจีทูซี (G2C) ผู้ใช้อัน ได้แก่หน่วยงานภาครัฐและประชาชนสามารถค้นหารายการข้อมูลได้จาก www.nso.go.th หรือ www. nic.go.th ซึ่งเชื่อมโยงไปยังข้อมูลต ามรายการที่อ ยู่ในฐานข้อมูลของแต่ละหน่วยงานโดยอัตโนมัติ จากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ทำ�ให้เกิดจุดเริ่มต้นของการบูรณาการและเชื่อมโยง ข้อมูลภาครัฐ หน่วยงานภาครัฐสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลสถิติหรือสารสนเทศที่หน่วยงานต่างๆ เป็น ผ ูผ้ ลิตร ่วมกันไ ด้ เกิดก ารบูร ณาการข้อมูลต ัวช ีว้ ัดแ ละข้อมูลส ถิตทิ ีเ่กี่ยวข้องเพื่อใ ช้ใ นการวิเคราะห์ผ ลกระทบ ในการดำ�เนินนโยบายต่างๆ เนื่องจากข้อมูลมีความทันสมัยเป็นเอกภาพจากแหล่งผลิตโดยตรง ผู้ใช้ข้อมูล สามารถค้นหาและเรียกใช้ข้อมูลสถิติภาครัฐผ่านอินเทอร์เน็ตจากแหล่งเดียวได้ตลอดเวลา ลดปัญหาและ งบประมาณในการเก็บข้อมูลซ้ำ�ซ้อน และลดภาระในการจัดเก็บข้อมูลแก่ผู้ใช้งานแต่ละครั้ง
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ภาพที่ 13.20 หน้าจ อแสดงผลการค้นหาข้อมูลอัตราการว่างงานรายเดือนย้อนหลัง 3 ปี
ที่มา: www.nic.go.th
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-51
ธ ส
กรณีตัวอย่างที่ 3 ศูนย์ส ารสนเทศแห่งช าติกับการบริการภูมิสารสนเทศสถิติของสำ�นักงาน สถิติแห่งช าติ
ธ ส
ระบบเอ็นเอสโอ-จีไ อเอส (NSO-GIS - National Statistical Office-Geographic Information System) หมายถึง ระบบสารสนเทศสถิติบนพื้นที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่า “ภูมิสารสนเทศ สถิต”ิ ก็ได้ เป็นน วัตกรรมใหม่เพือ่ ก ารบริการของส�ำ นักงานสถิตแิ ห่งช าติ เปิดใ ห้บ ริการตัง้ แต่ว นั ท ี่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นม า ผู้ใช้สามารถนำ�ภูมิสารสนเทศสถิติหลากหลายรายการบนพื้นที่เดียวกันมาเปรียบเทียบกันเพื่อ การวิเคราะห์แบบเจาะลึกได้ จากตัวอย่างข้างล่างจะเห็นการแสดงความเข้มของสีแตกต่างกันบนพื้นที่ของ แต่ละจังหวัด เป็นการนำ�เสนอเรื่องความหนาแน่นของประชากรประเทศไทยซึ่งผู้ใช้สามารถกำ�หนดเงื่อนไข หรือหลักเกณฑ์ในการแบ่งก ลุ่มโดยผู้ใ ช้เองได้
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ภาพที่ 13.21 แผนทีแ่ สดงสถานที่ท่องเที่ยวและเส้นทางคมนาคมเพื่อนำ�ไปทับซ้อน บนภูมิสารสนเทศความหนาแน่นของประชากร
ธ ส
ธ ส
ที่มา: การสัมมนาเปิดตัว NSO - GIS Powerpoint Presentation วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ
ม
ผู้ใช้ยังสามารถนำ�ภูมิสารสนเทศที่สำ�นักงานสถิติแห่งชาติเตรียมไว้ไปทับซ้อนกับภูมิสารสนเทศ ของหน่วยงานอื่น ตัวอย่างเช่น เมื่อกระทรวงคมนาคมต้องการตัดถนนซึ่งมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่น ของประชากรไทยในแต่ละพื้นที่ กระทรวงคมนาคมก็สามารถนำ�ร่างแผนที่การสร้างเส้นทางคมนาคมมาทับ ซ้อนลงไปบนภูมิสารสนเทศความหนาแน่นของประชากรที่สำ�นักงานสถิติแห่งชาติประกอบการวิเคราะห์ได้ หรือในกรณีกระทรวงการท่องเที่ยวต้องการให้กระทรวงคมนาคมตัดถนนไปยังพื้นที่ที่จะจัดให้เป็นอันซีน ไทยแลนด์ (Unseen Thailand) ตามที่กำ�ลังส่งเสริมให้ไปท่องเที่ยวกันอยู่นั้น ก็สามารถทำ�การทับซ้อน 3 ชั้น เพื่อต อบโจทย์ของกระทรวงการท่องเที่ยวได้
ม
ม
ธ ส
13-52
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ภาพที่ 13.22 ผลจากการทับซ ้อนสถานที่ท่องเที่ยวเส้นทางคมนาคมและความหนาแน่นข องประชากร
ธ ส
ที่มา: รายงานผลการสัมมนาเปิดตัว NSO – GIS
ม
Powerpoint Presentation วันท ี่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สำ�นักงานสถิติแห่งช าติ
ม
ม
ธ ส
ที่มา: www.nic.go.th
ธ ส
ม
ม
ภาพที่ 13.23 หน้าจ อการเข้าถ ึง NSO – GIS ผ่านทาง www. nic.go.th
ธ ส
ธ ส
สำ�หรับกระทรวงสาธารณสุข อาจต้องการทราบว่าควรมีโรงพยาบาลอยู่ที่ใดจึงจะเหมาะสมกับ สถานภาพของประเทศ กระทรวงสาธารณสุขอาจพิจารณาจากพื้นที่ที่ประชากรหนาแน่น และเส้นทาง คมนาคมและข้อมูลอ ื่นๆ เพื่อประกอบการวิเคราะห์ในลักษณะเดียวกัน
ม
ธ ส
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ม
13-53
ธ ส
สำ�นักงานสถิติแห่งชาติใช้มาตรฐานของโอจีซี (Open Geospatial Consortium - OGC) ใน เรื่องของบริการข้อมูลภาพแผนที่บนเว็บ (Web Map Service2 - WMS) และบริการข้อมูลเว็กเตอร์บน เว็บ (Web Feature Service3) ตามกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (TH e-GIF) ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นระบบเอ็นเอสโอ-จีไอเอส (NSO-GIS) ได้จาก 2 ช่องทางคือ เว็บไซต์ของสำ�นักงาน สถิติแห่งชาติที่ www.nso.go.th หรือเว็บไซต์ของศูนย์สารสนเทศแห่งชาติที่ www.nic.go.th นับเป็น ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จ ากการเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐอีกบริการหนึ่ง
ธ ส
ม
ธ ส
ม
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 13.3.2 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 13.3.2 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 13 ตอนที่ 13.3 เรื่องที่ 13.3.2
ธ ส
ม
ธ ส
เรื่องที่ 13.3.3 โครงสร้างพื้นฐานที่สำ�คัญต่อการพัฒนา รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ม
ธ ส
ม
โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์มีหลายส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ในด้านเครือข่ายสื่อสารและโทรคมนาคม ด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ด้านกฎหมาย และด้านบุคลากร แต่ที่จะนำ�มากล่าวในที่นี้จะเป็นเพียงตัวอย่างสำ�คัญบางส่วนเพื่อประกอบให้เห็นภาพ โดยรวมเท่านั้น
ธ ส
ม
1. โครงข่ายสื่อสารข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐ
ม
ธ ส
เพื่อให้การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร จึงได้สร้างความพร้อมด้านโครงข่ายที่สามารถประสาน เชื่อมโยงข้อมูลและสารสนเทศ ระหว่างหน่วยงานด้วยเครือข่ายความเร็วสูง ที่มีป ระสิทธิภาพ มีความปลอดภัย สามารถใช้งานกับสื่อหลาก หลายรูปแบบ (multimedia)
ม
ธ ส
2 Web Map Service (WMS) คือ ส่วนที่ใ ห้บ ริการข้อมูลใ นส่วนของข้อมูลภ าพในระบบเว็บเซอร์วิสแ บบเปิด (Open Web
ม
Service - OWS) อันไ ด้แก่ ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ 3 Web Feature Service (WFS) คือ ส่วนที่ให้บริการข้อมูลที่เป็นเว็กเตอร์ (vector) ในระบบเว็บเซอร์วิสแบบเปิด (Open Web Service - OWS)
13-54
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
โครงข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐหรือจิน (Government Information Network - GIN) จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานทั้งระบบในภาพรวม เป็นการลงทุน ที่คุ้มค่า ไม่ซ้ำ�ซ้อน หรือเกิดผลในทางปฏิบัติ ทั้งนี้เป็นการรองรับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงาน ภาครัฐและการให้บริการแก่ประชาชนได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพและความ รวดเร็วในการทำ�งานระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยการพัฒนาเครือข่ายระดับกระทรวงและ หน่วยงานระดับกรมทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเป็นเครือข่ายสื่อสารภายในที่เชื่อมโยงหน่วยงาน ของภาครัฐเข้าด้วยกัน ทำ�ให้ทุกส่วนราชการสามารถสื่อสารส่งผ่านข้อมูลและบริการอิเล็กทรอนิกส์ระหว่าง กันได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังเป็นเครือข่ายสารสนเทศกลางภาครัฐที่สร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการ ของรัฐอย่างเท่าเทียมกันเพื่อให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรต่างๆ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร ภาครัฐ การให้บริการด้านการศึกษา การสาธารณสุข และโลจิสติกส์ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน อินเทอร์เน็ตเกตเวย์ (internet gateway) ของภาครัฐโดยการจัดสรรแบนด์วิธ (bandwidth) ให้เหมาะสม กับการใช้งานผ่านระบบอินทราเน็ต (intranet) และอินเทอร์เน็ต (internet) ของภาครัฐ ทำ�ให้ประหยัด งบประมาณค่าอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ (internet gateway) และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศเพื่อพัฒนาประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ภาพที่ 13.24 แผนผังแ สดงการต่อเชื่อมโครงข่าย GIN กับส ่วนราชการ และแสดง Network Design – Access Network
ที่มา: Powerpoint Presentation หัวข้อ “ศักยภาพด้านสื่อสารโทรคมนาคมของกลุ่ม consortium กับโครงข่าย Government Information Network” โดย กลุ่ม Consortium บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท. โทรคมนาคม
ปัจจุบันได้มีการเริ่มใช้เครือข่ายโครงข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐ แล้วในหลายระบบที่สำ�คัญ เช่น ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information System - GFMIS) เพื่อการเบิกจ่ายและนำ�ส่งงบประมาณ ระบบ
ม
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-55
ธ ส
การประชุมทางไกลผ่านจอภาพหรือวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (video conference) ระหว่างราชการส่วนกลาง กับราชการส่วนภูมิภาค ระบบการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารโทรศัพท์ทางไกลหรือวีโอไอพี (Voice Over Internet Protocol - VoIP) และระบบสายด่วนเพื่อให้บริการแก่ประชาชนในการแจ้งเหตุ ในพืน้ ที่ และระบบจะเชือ่ มตอ่ ก ารแจ้งเหตุร ะหว่างส�ำ นักงานปอ้ งกันแ ละบรรเทาสาธารณภัยจ งั หวัดท ัว่ ป ระเทศ กับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งเป็นช่องทางสายด่วนผู้ว่าราชการจังหวัด รวมถึงจังหวัด ชายแดนภาคใต้ใช้เพื่อเชื่อมโยงไปยังศ ูนย์อำ�นวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เพื่อการบริการระบบเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ เช่น ระบบสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ระบบศูนย์สารสนเทศแห่งชาติ ระบบเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล สถิติร ะหว่างสำ�นักงานสถิติแห่งชาติและสำ�นักงานสถิติจังหวัดทั่วป ระเทศ ระบบเชื่อมโยงข้อมูลในกระบวน การยุติธรรมของศูนย์แ ลกเปลี่ยนข้อมูลก ระบวนการยุติธรรมกับส ำ�นักงานตำ�รวจแห่งช าติ กรมการปกครอง สำ�นักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ระบบเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการนำ�เข้าและส่งออก (e-Logistics) ระหว่างหน่วยงานด้วยเครือข่ายสารสนเทศกลางภาครัฐกับกรมศุลกากร กรมสรรพสามิต กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมประมง สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมปศุสัตว์ ระบบเชื่อมโยงข้อมูลงานด้านประกันสังคมระหว่างสำ�นักงานประกันสังคมและสำ�นักงานประกันสังคม จังหวัดทั่วประเทศ และระบบเชื่อมโยงข้อมูลร้องทุกข์สำ�นักงานปลัดสำ�นักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงาน ระดับกรมและสำ�นักงานจังหวัดต่างๆ ตลอดจนให้บริการระบบงานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ระบบข้อมูลข่าวสารสู่ส าธารณะด้วยเว็บไซต์ของจังหวัด เป็นต้น
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
2. ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แ ห่งชาติ : ศูนย์กลางในการสร้างความเชื่อมั่นใน การใช้งานร่วมกันร ะหว่างผู้ให้บริการต่างรายกัน ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร และสำ�นักบริการเทคโนโลยีส ารสนเทศภาครัฐ
ม
ธ ส
ปัจจุบันการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายสาธารณะ เช่น การให้บริการทางอินเทอร์เน็ต ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการติดต่อซื้อขายหรือให้บริการโดยการทำ� ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Transactions) หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ทั้งใน ภาคเอกชนและในภาครัฐ เช่น การตกลงทำ�ธุรกรรมระหว่างบริษัทแม่และบริษัทในเครือ การซื้อขายหลัก ทรัพย์ทางออนไลน์ การชำ�ระภาษีแบบออนไลน์ และระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) เป็นต้น ล้วนจำ�เป็นต้องมีมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและการยืนยันตัวบุคคล ที่ทำ�ธุรกรรมดังกล่าวทั้งส ิ้น ทั้งนี้ เพื่อใ ห้ธ ุรกรรมที่ทำ�นั้นมีความน่าเชื่อถือ ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะหรือพีเคไอ (Public Key Infrastructure - PKI) จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ในการรักษาความลับของข้อมูลและยืนยัน ตัวบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางปฏิบัติผู้ให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานกุญแจ สาธารณะดังกล่าวหรือที่มักเรียกกันว่า “ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์” หรือซีเอ (Certification Authority - CA) จะทำ�หน้าที่ออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งบรรจุกุญแจสาธารณะ (public key)
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
13-56
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
สำ�หรับใ ช้ใ นการตรวจสอบหรือพ ิสูจน์ต ัวบ ุคคลผู้ถ ือใ บรับร องอิเล็กทรอนิกส์ บุคคลดังก ล่าวจะยืนยันต ัวต น ด้วยการนำ�กุญแจส่วนตัว (private key) ที่สร้างขึ้นคู่กันกับกุญแจสาธารณะซึ่งบรรจุไว้ในใบรับรอง อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไปใช้สร้างลายมือชื่อดิจิทัล (digital signature) อันเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่เชื่อถือได้ (reliable electronic signature) ชนิดหนึ่ง อีกทั้งยังสามารถนำ�เอากุญแจสาธารณะดังกล่าว นั้นไปใช้ในการเข้ารหัสลับเพื่อรักษาความลับของธุรกรรมที่ทำ�ขึ้น โดยเจาะจงให้แต่เพียงบุคคลที่ถือกุญแจ ส่วนตัวอันเป็นกุญแจที่ต้องใช้คู่กับกุญแจสาธารณะข้างที่มีการนำ�ไปประยุกต์ใช้เพื่อรักษาความลับนั้น สามารถอ่านข้อมูลที่เข้ารหัสลับนั้นได้เท่านั้น ดังนั้นใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกโดยผู้ให้บริการออก ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (CA) จึงมีความสำ�คัญอย่างยิ่งในการประยุกต์ใช้ทั้งในขั้นตอนของการตรวจ สอบหรือพิสูจน์ตัวบุคคลและในขั้นตอนของการนำ�ไปใช้เข้ารหัสลับเพื่อรักษาความลับของธุรกรรมที่ทำ� ทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายตามรายละเอียดที่ปรากฏในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (information security) แล้วน ั้น อย่างไรก็ตาม ในการใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ท ี่ออกโดยผู้ให้บ ริการออกใบรับร องอิเล็กทรอนิกส์ (CA) นั้น บางครั้งผู้ใช้งานอาจประสบกับปัญหาในการทำ�งานร่วมกันระหว่างระบบสำ�หรับใบรับรองที่ออก โดยผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (CA) ต่างรายกัน ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนาระบบการมอบ ความไว้วางใจ (trust model) ระหว่างผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (CA) ขึ้นด้วยการรับรอง ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (CA) แต่ละรายเป็นลำ�ดับชั้น (hierarchy) โดยมีผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (CA) รายหนึ่งอยู่ในลำ�ดับชั้นสูงสุดที่นิยม เรียกกันว ่า ผูใ้ ห้บ ริการออกใบรับร องอิเล็กทรอนิกส์ห ลัก (Root CA) ทำ�หน้าทีร่ ับรองใบรับร องอิเล็กทรอนิกส์ ของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (CA) รายอื่นๆ และหากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์หลัก (Root CA) นั้นเป็นของระดับประเทศ จะเรียกว่า ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ หลักของชาติหรือเอ็นอาร์ซีเอ (National Root CA - NRCA) ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์หลักของชาติ (NRCA) เป็นศูนย์กลางในการสร้างความ เชื่อมั่นในการใช้ระบบการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ และการใช้งานร่วมกัน (interoperability) ระหว่าง ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ต่างรายกัน โดยเป็นผู้ออก ต่ออายุ และเพิกถอนใบรับรอง อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (CA) ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการแลก เปลี่ยนใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ให้บริการในต่างประเทศให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีข้อ
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ขัดข้อง เพิ่มค วามเชื่อมั่นใ นการทำ�ธุรกรรมออนไลน์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ภาพที่ 13.25 ตัวอย่างระบบการมอบความไว้ว างใจ (trust model) ของประเทศไทย
ที่มา: http://www.nrca.go.th/about_nrca.html
ธ ส
13-57
ม
ปัจจุบันไ ด้ด ำ�เนินก ารเชื่อมโยงระบบการออกใบรับร องอิเล็กทรอนิกส์ข องผูใ้ ห้บ ริการภายในประเทศ เช่น บมจ.ทีโอที บมจ.กสท. โทรคมนาคม และบจ.ไทยดิจิทัลไอดี เป็นต้น เสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ใน ระหว่างทดสอบการเชื่อมโยงใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ (CA-CA interoperability) โดย ทดสอบร่วมกับประเทศสิงคโปร์ สาธารณรัฐไต้หวัน และเขตปกครองพิเศษฮ่องกงภายใต้กรอบการค้า เสรีระหว่างประเทศ (FTA) ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์หลักของชาติ (NRCA) เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสำ�คัญต ่อการทำ�ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพราะเป็นกลไกในการเชื่อมโยง ระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการใช้งานในประเทศ และต่างประเทศ ให้สามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้ บริการได้ แม้ว่าจะใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ให้บริการต่างรายกัน ผู้ทำ�ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือนักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในการยืนยันตัวบุคคลและระบบ และลดความยุ่งยากซับซ้อนในการทำ� ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ ส่งผลทำ�ให้อัตราการทำ�ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในและ ระหว่างประเทศเพิ่มส ูงมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์หลักของชาติ (NRCA) ยังเป็นโครงสร้าง พื้นฐานสำ�คัญในการลดกระดาษ อันจะทำ�ให้ประเทศไทยก้าวสู่ระบบไร้กระดาษ (paperless) ได้ในอนาคต ส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านการสร้างและเพิ่มความเชื่อมั่นในการทำ�ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจโ ดยรวม
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
13-58
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ที่ประชุม TELSOM4 ครั้งที่ 10 และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้าน โทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 9 (9th TELMIN5) ยังได้เห็นชอบให้ประเทศไทยจัดการ ประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำ�งานระหว่างผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (CA) ในภูมิภาค อาเซียน เป็นการขยายความร่วมมือด้านการใช้งานระหว่างผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (CA) ไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าห มายที่วางไว้ต่อไปอีกด้วย
ธ ส
ม
ธ ส
3. ผู้บริหารเทคโนโลยีส ารสนเทศระดับส ูง
ม
ประเทศไทยได้ใ ห้ค วามสำ�คัญ และตระหนักถ ึงค วามจำ�เป็นข องการมผี ูบ้ ริหารเทคโนโลยีส ารสนเทศ ระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ให้แต่งตั้งผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer - CIO) ประจำ� กระทรวง ทบวง กรม โดยมีร องป ลั ดก ระทรวงห นึ่ งค น และร องอ ธิ บ ดี ห นึ่ งค นเ ป็ นผู้บ ริ ห าร โดยใ ห้ สำ�นักงาน ก.พ. เป็นผู้ก ำ�หนดรายละเอียดคุณสมบัติและอำ�นาจหน้าที่ให้ส่วนราชการถือปฏิบัติต่อไป กับใ ห้ กระทรวง ทบวง และหน่วยงานอิสระจัดทำ�แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเป็นระบบโดยจัดทำ�แผน 3 ปี และปรับทุกปีตามความเหมาะสมแล้วเสนอแผนควบคู่ไปกับการของบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในงบประมาณรายจ่าย เริ่มตั้งแต่ป ี พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 วันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2543 วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2545 และวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เป็นการย้ำ�ความสำ�คัญต่อผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง ทั้งในเรื่องการพัฒนา จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการสำ�หรับผู้บริหารเทคโนโลยี สารสนเทศระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ต่อการประสานงานระหว่างผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับสูงในอนาคต เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลภาครัฐทั้งหมดซึ่งจะมีผลการบริหารและ บริการแก่ป ระชาชนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อก ้าวสู่การปกครองที่ดี รวมทั้งก ารสร้างวิสัยท ัศน์ด ้านเทคโนโลยี สารสนเทศสำ�หรับผู้บริหารระดับสูง และได้มอบหมายให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับกระทรวงทุก กระทรวงไปบูรณาการแผนปฏิบัติการระดับกระทรวง อีกทั้งยังให้กระทรวงพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานหรือ ทีมงานภายในสำ�นักงานปลัดกระทรวงที่จะทำ�หน้าที่รับผิดชอบงานในส่วนที่เป็นภารกิจของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงข องกระทรวง และให้ทุกกระทรวงจัดให้มีหน่วยงานหรือบุคลากรที่จะรับผิดชอบ สนับสนุนภารกิจของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงขึ้นในสำ�นักงานปลัดกระทรวงโดยให้มีลักษณะ ถาวรด้วย
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
4 TELSOM ย่อมาจาก the Association of South East Asian Nations (ASEAN) Telecommunications Senior
ม
Officials Meeting 5 TELMIN ย่อมาจาก the Association of South East Asian Nations (ASEAN) Telecommunications and IT Ministers
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ภาพที่ 13.26 หน้าจ อแสดงการเข้าถึงเว็บผบู้ ริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง
ที่มา: www.cio.mict.go.th
ธ ส
13-59
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเองก็ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นเจ้าภาพ ในการดำ�เนินการสร้างเครือข่ายและเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับ สูงหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2547 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงได้จัดทำ� โครงการสร้างเครือข่ายและเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงหน่วยงาน ภาครัฐ หรือโครงการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงเข้มแข็งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง เครือข่ายความสัมพันธ์ของผู้บ ริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐให้แน่นแฟ้นอย่างยั่งยืน มีพลังใน การขับเคลื่อนแผนงานโครงการตามนโยบายรัฐบาลและตามภารกิจไ ด้อ ย่างมีป ระสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการสนับสนุน และเพื่อให้การบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เป็นไปในลักษณะบูรณาการ ลดขั้นตอนและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปใน ทิศทางเดียวกันอย่างมีเอกภาพ โดยมีกิจกรรมร่วม มีการจัดประชุมเสวนาระหว่างผู้บริหารเทคโนโลยี สารสนเทศระดับสูงเป็นประจำ�ซึ่งจะนำ�ไปสู่การพัฒนาความสามารถของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับสูงอย่างก้าวกระโดด ตลอดจนมีเว็บไซต์กลางรวบรวมองค์ความรู้ที่สำ�คัญและประมวลกิจกรรมของ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมปัญหาของผู้บริหารเทคโนโลยี สารสนเทศระดับสูงหน่วยงานต่างๆ เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และพิจารณาแนวทางแก้ไข ปัญหาร่วมกัน ตลอดจนจัดทำ�วารสารผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงเข้มแข็ง คู่มือปฏิบัติงานของ
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
13-60
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง และจัดทำ�เอกสารแนวทางเพื่อการจัดตั้งสภาผู้บริหารเทคโนโลยี สารสนเทศระดับส ูง ซึ่งท ั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ท ำ�ให้ประเทศไทยได้รับการประเมินด้านผู้บริหารเทคโนโลยี สารสนเทศร ะดั บ สู ง จากก ารจั ด อั น ดั บ รั ฐ บาลอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ข องศู น ย์ วิ จั ย รั ฐ บาลอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ห่ ง มหาวิทยาลัยวาเซดะให้อยู่ใ นลำ�ดับที่ 3 ของปีสำ�รวจ พ.ศ. 2548 ซึ่งเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) อย่างไรก็ตาม จากการสำ�รวจความก้าวหน้าในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศเมื่อปี พ.ศ. 2552 พบว่า จากพื้นฐานความรู้ด้านไอซีทีของผู้บริหาร เทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง ที่มีความแตกต่างกันทำ�ให้การปรับฐานความรู้ที่จำ�เป็นตามหน้าที่และ บทบาทผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง ในมาตรฐานเดียวกันทำ�ได้ยาก ประกอบกับความพร้อม ด้านไอซีทีของแต่ละหน่วยงานก็มีไม่เท่ากัน จึงเป็นอุปสรรคในการพัฒนาผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับสูง ให้มีขีดความสามารถพร้อมในการบริหารจัดการและดูแลระบบไอซีทีของหน่วยงานให้มีคุณภาพ เท่าเทียมหรือใกล้เคียงกัน รวมทั้งนโยบายเรื่องการกำ�หนดเส้นทางความเจริญก้าวหน้าของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง และผู้ที่มีศักยภาพในตำ�แหน่งผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง ก็ยังไม่มี หน่วยงานใดดูแลรับผิดชอบอย่างชัดเจน จึงทำ�ให้ตำ�แหน่งผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง หลาย หน่วยงานไม่ได้รับความสนใจและเป็นอุปสรรคในความต่อเนื่องในการพัฒนาด้านไอซีทีด ้วย ขณะเดียวกัน บริษัท ไอบีเอ็ม (IBM) ได้เชิญชวนให้องค์กรต่างๆ ส่งเสริมบทบาทผู้บริหาร นวัตกรรมระดับสูง (Chief Innovation Officer) ในองค์กรของตน โดยการแปลงผู้บริหารเทคโนโลยี สารสนเทศระดับสูง ให้เป็นผู้บริหารนวัตกรรมระดับสูง เพราะปัจจุบันสารสนเทศกลายเป็นเส้นเลือดที่ ทำ�ให้เกิดการสร้างนวัตกรรม ดังนั้น ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงจำ�ต้องเดินไปสู่การพัฒนา ในเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้น ทำ�ให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง จะต้องทำ�หน้าที่เป็นผู้บริหาร นวัตกรรมระดับสูง โดยปัจจัยที่เร่งเร้าในเรื่องนี้อีกประการหนึ่งก็คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันเป็น ปัญหาที่ม ีความซับซ้อน เช่น การเกิดภัยพิบัติ ภาวะโลกร้อน เป็นต้น ต่างล้วนต้องการการแก้ไขด้วยความ ร่วมมือหลายฝ่ายหรือในเชิงบูรณาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยีใน ด้านไอซีที เข้ามาเป็นเครื่องมือทั้งในเรื่องการป้องกันและการแก้ไขเยียวยา ดังนั้น ผู้บริหารเทคโนโลยี สารสนเทศระดับสูงในยุคใหม่ ต้องพัฒนาแนวความคิดแบบนอกกรอบ กล่าวคือ จะต้องพัฒนาไปสู่การ ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบูรณาการแผนงานและการดำ�เนินงาน ให้เกิดประโยชน์ไม่เพียง ต่อหน่วยงานของตนเท่านั้น แต่จะต้องมีผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอีกด้วย
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ม
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 13.3.3 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 13.3.3 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 13 ตอนที่ 13.3 เรื่องที่ 13.3.3
ม
ธ ส
ธ ส
ตอนที่ 13.4
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไทยก้าวสู่เวทีโ ลก
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-61
ธ ส
ม
โปรดอ่านแผนการสอนประจำ�ตอนที่ 13.4 แล้วจ ึงศึกษาเนื้อหาสาระ พร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง
ม
หัวเรื่อง
แนวคิด
ธ ส
เรื่องที่ 13.4.1 การจัดอันดับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเทียบกับนานาประเทศ เรื่องที่ 13.4.2 ดัชนีและปัจจัยใ นการขับเคลื่อนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องที่ 13.4.3 กรณีตัวอย่างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ เรื่องที่ 13.4.4 ก้าวต่อไปของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไทย
ธ ส
ม
ธ ส
1. การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นภารกิจสำ�คัญของทุกประเทศ หลายประเทศได้ มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และบางประเทศได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับการให้ความสำ�คัญข องผู้นำ�ประเทศซึ่งประจักษ์ชัดด้วยกรณีตัวอย่างประเทศไทย 2. องค์กรระดับโลกและระดับภูมิภาคหลายองค์กรได้ให้ความสำ�คัญต่อการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ก ันอย่างมาก โดยต่างก็ได้ทำ�การสำ�รวจความพร้อมและวัดความก้าวหน้า ในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนจัดอันดับเปรียบเทียบกันทั้งในระดับโลก และระดับภูมิภาคไว้อย่างต่อเนื่อง 3. ประเทศที่พัฒนาแล้วส ่วนใหญ่จ ะมีก ารพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไ ปอย่างก้าวหน้า ไม่ ว่าจะเป็นประเทศในทวีปอเมริกา หรือยุโรป และแม้กระทั่งในทวีปเอเชียเองก็ตาม การ ออกแบบบางระบบอาจเป็นต ัวอย่างให้แ ก่ป ระเทศไทย แต่บ างระบบก็อ าจใช้ป ระเทศไทย เป็นต้นแบบให้แ ก่ต่างประเทศได้เช่นกัน 4. เพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การบริการประชาชนได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ ทัดเทียมกับ ประเทศที่ก้าวหน้าในเวทีสากลได้นั้น ประเทศไทยจำ�เป็นต้องวางแผนแบบก้าวกระโดด ด้วยการแปลงสภาพ c-Government เป็น m-Government เป็น u-Government และเป็น t-Government จนมีการเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐผ่านช่องทาง ที่ห ลากหลาย และเป็นการบริการตลอดเวลาแบบ 24x7 โดยการต่อยอดการบริการผ่าน ช่องทางโทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก มัลติมีเดีย และพีดีเอ ด้วยการผสม ผสานไอซีทีทุกรูปแบบ การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ถึงแม้จะมีนโยบาย แผนงาน โครงการ ทิศทาง และแนวทางผลักดันที่ชัดเจนแล้วก็ตาม แต่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จะ
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
13-62
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ประสบความสำ�เร็จได้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำ�คัญหลายประการ อันได้แก่ ความพร้อม ของผู้นำ�ประเทศ ความพร้อมในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐ และความพร้อมของประชาชนและสิ่งแวดล้อม เป็นส ำ�คัญ
วัตถุประสงค์
ธ ส
ม
เมื่อศึกษาตอนที่ 13.4 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายพัฒนาการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศต่างๆ ที่ได้จากการสำ�รวจและ จัดอันดับ โดยองค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรที่มีชื่อเสียงในการทำ�วิจัยไ ด้ 2. อธิบายเกณฑ์แ ละตัวช ีว้ ัดท ีใ่ ช้ป ระกอบในการประเมินเพื่อจ ัดอ ันดับร ัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ได้ 3. อธิบายพร้อมยกตัวอย่างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของบางประเทศได้ 4. อธิบายแนวทางการดำ�เนินงานต่อไปของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไทยได้ 5. อธิบายองค์ป ระกอบหรือป ัจจัยที่ทำ�ให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์บรรลุผลสำ�เร็จได้
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-63
ธ ส
เรื่องที่ 13.4.1 การจัดอันดับร ัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ข องประเทศไทย เทียบกับนานาประเทศ
ธ ส
ม
ม
องค์การสหประชาชาติและศูนย์วิจัยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศ ญี่ปุ่น เป็นสององค์กรตัวอย่างที่ทำ�การสำ�รวจ ประเมิน และจัดอันดับความก้าวหน้าของการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ไว้เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบของนานาประเทศ ทั้งนี้มีการประเมินความก้าวหน้าของ การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเกณฑ์และตัวชี้วัดที่หลากหลายซึ่งแต่ละองค์กรจะเป็นผู้กำ�หนด การ จัดอันดับเป็นท ี่ยอมรับและใช้อ้างอิงก ันทั่วโ ลก มีรายละเอียด ดังนี้
ธ ส
ม
ธ ส
1. การจัดอันดับร ัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของโลก โดยองค์การสหประชาชาติ
ธ ส
ผลการสำ�รวจการจัดอันดับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของโลก (World e-Government Ranking) ปี ค.ศ. 2010 ขององค์การสหประชาชาติ ปรากฏว่าประเทศเกาหลีใต้ได้รับการจัดอันดับไว้ในลำ�ดับที่ 1 นับเป็นครั้งแรกที่ได้อยู่ในอันดับนี้หลังจากที่ถูกจัดอันดับไว้ที่ 6 และ 15 ในปี ค.ศ.2008 และ ค.ศ.2001 ตามลำ�ดับ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับการจัดอันดับไว้ในอันดับที่ 2 ขึ้นมาจากอันดับที่ 4 ในปีค.ศ.2008 หลังจากที่ถูกจัดอันดับไว้ที่ 1 มาโดยตลอดตั้งแต่ปี ค.ศ.2001 ประเทศแคนาดาได้รับการจัดอันดับไว้ใน ลำ�ดับที่ 3 โดยขึ้นมาจากอันดับที่ 7 สหราชอาณาจักรอยู่ในอันดับที่ 4 ตามต่อด้วยประเทศเนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย สเปน และฝรั่งเศส ตามลำ�ดับ โดยที่ประเทศสิงคโปร์ถูกจัดอันดับไว้ที่ 11 นับเป็นป ระเทศในอันดับที่ 2 ของภูมิภาคเอเชีย สำ�หรับประเทศไทยผลการประเมินปรากฏว่า ประเทศไทยสามารถก้าวกระโดดจากอันดับที่ 103 ในปี พ.ศ. 2544 ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 56 ในปี พ.ศ.2546 และขยับขึ้นเป็นอันดับที่ 50 ในปี พ.ศ. 2547 และ ยังขึ้นมาเป็นอันดับที่ 46 ในปี พ.ศ. 2548 อีก แต่กลับต้องตกลงไปเป็นอันดับที่ 64 และเป็นอันดับที่ 76 ในปี พ.ศ. 2551 และในปี พ.ศ. 2553 ตามลำ�ดับ
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
13-64
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
ตารางที่ 13.3 การจัดอันดับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของโลก
ธ ส
ประเทศ เกาหลีใต้ อเมริกา แคนาดา
2010 / 2553 2008 / 2551 Rank Score Rank Score 1 0.8785 6 0.8317 2 0.8510 4 0.8644 3 0.8448 7 0.8172
ม
สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ เดนมาร์ก
ออสเตรเลีย สเปน ฝรั่งเศส สิงคโปร์ สวีเดน บาห์เรน นิวซีแลนด์ เยอรมนี
4 5 6 7
0.8147 0.8097 0.8020 0.7872
10 5 3 2
0.7872 0.8631 0.8921 0.9134
4 12 10 2
8 9 10 11 12 13 14 15
0.7863 0.7516 0.7510 0.7476 0.7474 0.7363 0.7311 0.7309
8 20 9 23 1 42 18 22
0.8108 0.7228 0.8038 0.7009 0.9157 0.5723 0.7392 0.7136
6 39 23 7 3 53 13 11
16 17 18
0.7225 0.7152 0.7136
24 0.6779 11 0.7703 12 0.7626
0.6967 0.6965 0.4653
15 0.7488 13 0.7600 64 0.5031 192
ธ ส
ม
เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น
สวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ 19 เอสโทรเนีย 20 * ไทย 76 จำ�นวนประเทศ 192
ธ ส
ม
ปีสำ�รวจ ค.ศ./พ.ศ. 2005 / 2548 2004 / 2547 2003 / 2546 2001 / 2544 Rank Score Rank Score Rank Score Rank Score 5 0.8727 5 0.8575 13 0.7440 15 2.30 1 0.9062 1 0.9132 1 0.9270 1 3.11 8 0.8425 7 0.8369 6 0.8060 6 2.52
ธ ส 0.8777 0.8021 0.8228 0.9058
3 11 10 2
0.8852 0.8026 0.8178 0.9047
5 11 7 4
0.8679 0.5847 0.6925 0.8503 0.8983 0.5282 0.7987 0.805
6 34 24 8 4 46 13 12
0.8377 0.5844 0.6687 0.834 0.8741 0.5323 0.7811 0.7873
3 29 19 12 2 46 14 9
18 14 17
0.7381 0.7801 0.7548
16 18 15
9 19 46 191
0.8231 0.7347 0.5518
9 20 50 191
ม
7 8 5 9
2.52 2.51 2.55 2.47
0.8310 0.6020 0.6900 0.7460 0.8400 0.5100 0.7180 0.7620
2 16 14 4 11 33 3 10
2.60 2.30 2.33 2.58 2.45 2.04 2.59 2.46
0.7525 0.7260 0.7538
23 0.6700 18 0.6930 8 0.7640
12 27 37
2.39 2.12 1.96
0.8239 0.7029 0.5096
10 0.7610 16 0.6970 56 0.4460 191
13 32 103 190
2.33 2.05 0.94
ธ ส
ม
ม 0.8140 0.7460 0.7780 0.8200
ธ ส
ม
ม
ประเทศที่ไม่ได้อยู่ใน 20 อันดับแรกในปีสำ�รวจ 2010 แต่เคยติดอันดับในปีสำ�รวจ (ค.ศ./พ.ศ.) ก่อนหน้านั้น 2008/2551
ประเทศ
Rank
ลักแซมเบิร์ก
14
ออสเตรเลีย
16
อิสราเอล
17
ไอร์แลนด์
19
2005/2548
Score
ประเทศ
Rank
ธ ส
2004/2547 Score
ประเทศ
Rank
2003/2546
Score
ประเทศ
Rank
ธ ส
2001/2544
Score
ประเทศ
Rank
Score
17
2.2
0.7512 ไอซ์แลนด์
15
0.7794 ไอซ์แลนด์
14
0.7699 ไอซ์แลนด์
15
0.7020 อิสราเอล
0.7428 ออสเตรีย
16
0.7602 ออสเตรีย
17
0.7487 ไอร์แลนด์
17
0.6970 บราซิล
18
2.2
0.7393 ไอร์แลนด์
20
0.7251 ไอร์แลนด์
19
0.7058 อิตาลี
20
0.6850 อิตาลี
19
2.2
20
2.2
0.7296
ม
ลักแซมเบิร์ก
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
เกาหลีใต้ อเมริกา สิงคโปร์ สเปน บาห์เร น * ไทย
ธ ส
ม
ภาพที่ 13.27 การเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงปี พ.ศ. 2544-2553 จัดท ำ�โดยสหประชาชาติ
ม
ธ ส
13-65
2. การจัดอันดับข องรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ใ นกลุ่มประเทศเอเปกโดยศูนย์วิจัยรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์แห่งม หาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น
ศูนย์วิจัยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำ�การสำ�รวจเพื่อนำ� เสนอผลการจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มประเทศเอเปก (APEC) ของปีที่ผ่านมา ปรากฏผล 10 อันดับแรกของแต่ละปีเป็นดังนี้
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
13-66
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
ตารางที่ 13.4 การจัดอ ันดับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ในกลุ่มประเทศเอเปกโดย ศูนย์วิจัยร ัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งมหาวิทยาลัยว าเซดะ
เกาหลีใต้
ธ ส 4
87.50
7
76.50
5
ฟินแลนด์
5
86.90
12
72.90
9
ประเทศ
2011 / 2554
ม สิงคโปร์
อเมริกา
สวีเดน
2010 / 2553
ปี ค.ศ./พ.ศ. ที่เผยแพร่
2009 / 2552
2008 / 2551
1
92.14
1
83.20
1
2
92.13
2
83.00
2
3
88.32
9
83.00
3
ธ ส
ธ ส
ม
92.89
2
67.80
2
3
0.981
89.31
1
68.30
1
1
1.000
86.94
9
56.60
10
55.70
5
0.947
82.30
4
63.20
4
61.44
11
0.880
76.02
8
58.60
7
59.72
4
0.952
82.30
5
62.20
4
61.44
7
0.938
80.00
3
66.80
3
ม
0.985
6
86.90
6
76.80
5
7
85.13
4
79.70
7
8
84.10
14
72.20
9
83.55
22
64.20
15
71.26
17
สหราชอาณาจักร
10
82.40
2
83.00
4
85.45
9
เดนมาร์ก
10
82.40
13
72.50
23
67.67
25
63.20
ม
แคนาดา
ม
เบลเยี่ยม
* ไทย
2005 / 2548
Rank Score Rank Score Rank Score Rank Score Rank Score Rank Score
ญี่ปุ่น เอสโทรเนีย
ม
2007 / 2550
จำ�นวนประเทศ
50
40
50.00
ธ ส
21
34
64.51
20
44.90
34
20
17
66.60
67.18
ธ ส
62.59
2
45.95
56.85
10
49.96
32
14
0.792
23
ธ ส
หมายเหตุ หมายถึง ไม่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน 10 ลำ�ดับแรกของปีนั้น
ธ ส
0.923
จากการเผยแพร่ปี พ.ศ. 2554 ของศูนย์วิจัยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ ปรากฏว่าประเทศสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับไว้เป็นลำ�ดับที่ 1 เป็นสมัยที่ 3 สลับกับประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้เคยถูกจัดอันดับไว้เป็นลำ�ดับที่ 1 มาแล้วถึง 3 สมัยก่อนหน้านี้ ในขณะที่ประเทศสวีเดนได้รับการจัด อันดับไว้ในลำ�ดับที่ 3 ประเทศเกาหลีใต้ซึ่งเป็นประเทศในลำ�ดับที่ 2 ของเอเชียได้รับการจัดอันดับไว้ใน ลำ�ดับที่ 4 ตามต่อด้วยประเทศฟินแลนด์ ญี่ปุ่น แคนาดา เอสโทรเนีย เบลเยี่ยม และสหราชอาณาจักร ตามลำ�ดับ ส่วนประเทศไทยได้รับการจัดอันดับไว้เป็นลำ�ดับที่ 23 จากทั้งหมด 50 ประเทศ หลังจากที่ได้ เคยถูกจัดไ ว้อันดับที่ 14 จาก 23 ประเทศเมื่อป ี พ.ศ. 2548
ม
ม
ธ ส
ม
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 13.4.1 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 13.4.1 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 13 ตอนที่ 13.4 เรื่องที่ 13.4.1
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
เรื่องที่ 13.4.2 ดัชนีแ ละปัจจัยในการขับเคลื่อนรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์
ธ ส
ม
13-67
ธ ส
ม
ตามที่ได้กล่าวแล้วว่าสหประชาชาติ และศูนย์วิจัยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ ต่างก็ให้ความสำ�คัญต่อก ารพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และได้นำ�เสนอผลการสำ�รวจความพร้อมและความ ก้าวหน้าในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนจัดอันดับเปรียบเทียบในระดับโลกและในระดับ ภูมิภาคดังที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่ 13.4.1 ส่วนในเรื่องนี้จะเป็นการกล่าวถึงดัชนีตัวชี้วัดที่แต่ละองค์กร ใช้ในการประเมินและจัดอันดับ ซึ่งดัชนีตัวชี้วัดดังกล่าวอาจถือเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยก็ได้
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
1. ดัชนีที่ใช้ในการประเมินร ัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ขององค์การสหประชาชาติ ปี ค.ศ. 2010
ม
องค์การสหประชาชาติ (UNO) ได้เริ่มสำ�รวจความพร้อมด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) โดยมีว ัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถของประเทศสมาชิกทั้งหมด 192 ประเทศ ในการเปลี่ยนแปลงภาครัฐด้วยการนำ�เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาใช้เพื่อให้บริการผ่าน สื่อออนไลน์แก่ประชาชน และเพื่อเป็นเครื่องมือในการวัดผลเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการให้บริการ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) ของภาครัฐ ดัชนีตัวชี้วัด (The United Nations e-Government Development Index) หรือเกณฑ์การวัด และประเมินผลมี 3 มิติคือ มิติการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางออนไลน์ (Online Service Index) คิดเป็นร้อยละ 34 มิติโทรคมนาคม (Telecommunication Index) คิดเป็นร้อยละ 33 และมิติความ สามารถของทรัพยากรมนุษย์ภายในประเทศ (Human Capital Index) คิดเป็นร้อยละ 33 ทั้งนี้การ คำ�นวณในแต่ละมิติจะนำ�คะแนนประเมินของประเทศที่ได้สูงสุดและต่ำ�สุดมาประกอบในการคำ�นวณด้วย โดยดัชนีที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ 1.1 ดัชนีตัวชี้วัดก ารให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางออนไลน์ ประเมินข้อมูลจาก 2 แหล่ง คือ 1.1.1 จากแบบสอบถาม ครอบคลุมถึงการมีและไม่มีของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนา รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผนการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ กฎหมายและกฎระเบียบ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) เว็บไซต์กลางของรัฐบาล และ เว็บไซต์ของ 5 หน่วยงานที่จะกล่าวต่อไปในข้อ 1.1.2 นอกจากนั้น ยังมีคำ�ถามเกี่ยวกับข้อมูลในประเด็น ของจำ�นวนแบบฟอร์มและการให้บ ริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่มีอยู่อีกด้วย 1.1.2 จากการสำ�รวจ เว็บไซต์ของหน่วยงานหลัก 5 หน่วย ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวง
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
13-68
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
การคลังของประเทศสมาชิก รวมถึง เว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์เหล่านี้ โดยการทดสอบการ เข้าถึงเนื้อหาในเว็บไซต์ การออกแบบที่ทันสมัย การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง การจัดทำ�เว็บไซต์ตาม มาตรฐาน และมีการใช้เครื่องมือ อาร์เอสเอส (RSS) วิดีโอ (video) เครื่องมือเครือข่ายสังคม (social network tools) การเข้าใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ (mobile access) ตลอดจนการมีแบบฟอร์มออนไลน์ (online form) และบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การชำ�ระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และการทำ�การเข้า สู่ระบบครั้งเดียว (single sign on) การบริหารตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic identification management) และการพิสูจน์ตัวตน (authentication) การมีบริการร้านค้าจุดเดียว (one stop shop) และที่สำ�คัญการมีปฏิสัมพันธ์ติดต่อกับประชาชน โดยประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลส่วนตัวเอง และ ติดตามธุรกรรมที่ทำ�กับภาครัฐได้ ทั้งนี้ร วมไปถึง เว็บท่าของประเทศ (national portal) ด้วย 1.2 ดัชนีตัวชี้วัดทางด้านโทรคมนาคม ซึ่งวัดจากการแพร่กระจายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ภายในประเทศ ซึ่งป ระกอบด้วย ตัวชี้ว ัดย ่อย 5 ตัว ได้แก่ จำ�นวนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลต่อประชากร 100 คน จำ�นวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากร 100 คน จำ�นวนโทรศัพท์พื้นฐานต่อประชากร 100 คน จำ�นวน ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อประชากร 100 คน และจำ�นวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (fixed broadband) ต่อป ระชากร 100 คน 1.3 ดัชนีตัวชี้วัดทางด้านความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ภายในประเทศ ประกอบด้วย ตัวช ี้วัด ย่อย 2 ตัว คือ ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ และอัตราส่วนของประชากรที่ศึกษาในระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา โดยใช้ข้อมูลจากยูเนสโก (UNESCO) ในระยะหลังองค์การสหประชาชาติได้ขยายมิติให้ครอบคลุมถึงการมีส่วนร่วม (e-Participation Index) ของประชาชนในการบริหารบ้านเมืองด้วย ซึ่งเน้นที่คุณภาพของหน่วยงานภาครัฐในการเตรียม ข้อมูลที่จำ�เป็นต่างๆ ให้กับประชาชนผ่านการใช้งานทางอินเทอร์เน็ต เพื่อดูว่าประเทศต่างๆ ใช้เครื่องมือ ผ่านทางออนไลน์อย่างไรในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับประชาชน แต่ในปีที่ผ่านมายังไม่ได้รวม คะแนนในส่วนนี้ในการจัดลำ�ดับ
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
2. ดัชนีที่ใช้ในการประเมินร ัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ข องศูนย์วิจัยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่ง มหาวิทยาลัยวาเซดะ ปี ค.ศ. 2011
ม
ศูนย์วิจัยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะพิจารณาดัชนีตัวชี้วัดในการจัดอันดับจาก 7 มิติ คือ มิติความพร้อมด้านเครือข่าย มิติความสามารถในการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม มิติรูปแบบ การใช้งาน มิติเว็บท่าของประเทศ มิติผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ มิติการสนับสนุน รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และมิติการมีส่วนร่วมของประชาชน มีรายละเอียดดังนี้ 2.1 ความพร้อมด้านเครือข่าย ระบบเครือข่ายถือเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และในแต่ละประเทศได้มีการพัฒนาศักยภาพระบบเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง จำ�นวนผู้ใช้งาน อินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์จึงเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่จะแสดงให้เห็นถึงการใช้งานและบริการต่างๆ ผ่านระบบ เครือข่ายได้ รวมถึงการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการเข้าถึงการบริการได้โดยไม่
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-69
ธ ส
ต้องคำ�นึงถึงสถานที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตอีกต่อไป สำ�หรับตัวชี้วัดนี้ประเทศที่มาเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ ประเทศสวีเดน ลำ�ดับที่สองมีสองประเทศ ได้แก่ ประเทศนอร์เวย์ และประเทศเนเธอร์แลนด์ สำ�หรับใน ภูมิภาคเอเชีย ประเทศเกาหลีใต้ มีการดำ�เนินงานที่คืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพราะมีการวางกลยุทธ์ และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่ดี ส่วนประเทศสิงคโปร์ถึงแม้ว่ารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์จะอยู่ในอันดับ 1 แต่สำ�หรับตัวช ี้ว ัดน ี้ประเทศสิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 8 2.2 ความสามารถในการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม ตัวชี้วัดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนา กระบวนการใช้งานและวัดระดับความสำ�เร็จในการบูรณาการงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของแต่ละประเทศ กระบวนการสร้างมาตรฐานการให้บริการที่จะนำ�ไปสู่ความสำ�เร็จได้นั้นขึ้นอยู่ กับการดำ�เนินงานของแต่ละประเทศ ประเทศที่ได้เป็นอันดับที่หนึ่งมีสองประเทศ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศเยอรมนี ตามมาด้วยประเทศสิงคโปร์แ ละประเทศเอสโทรเนีย 2.3 รูปแบบการใช้งาน เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือ การที่ประชาชน สามารถเข้าถึงการบริการภาครัฐได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ตัวชี้วัดหลักที่จะชี้ให้เห็นถึงการบริการ อิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ได้แก่ ระบบทำ�คำ�เสนออิเล็กทรอนิกส์ (e-Tender) ระบบยื่นภาษีออนไลน์ (e-Tax) ระบบลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด ้วยเครื่องลงคะแนน (e-Voting) ระบบชำ�ระเงินอ ิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ระบบสวัสดิการสังคม และระบบทะเบียนราษฎร์ ผลการจัดอันดับในตัวชี้วัดนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกามาเป็นอันดับหนึ่ง อันดับที่สองและสามเป็น ของประเทศสิงคโปร์และประเทศออสเตรเลีย ส่วนประเทศเกาหลีใต้และประเทศญี่ปุ่นมาเป็นอันดับ ที่สี่และห้า 2.4 เว็บท่าของประเทศ เว็บท่าของประเทศ ถือเป็นช่องทางพื้นฐานที่ผู้ใช้งานจะสามารถเข้าถึง บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ การจัดอันดับจะพิจารณาจาก แผนผังของเว็บ (site map) เครื่องมือใน การค้นหา (search engine) เครื่องมือช่วยเหลือการใช้งาน (help function) ช่องทางการติดต่อที่สามารถ ใช้งานได้จ ริง อีเมล การให้บริการผ่านเครือข่ายสังคมหรือการให้บริการชุมชนออนไลน์ โพลล์ออนไลน์ ความถูกต้องซึ่งถือว่าเป็นจุดสำ�คัญ การบริการหลายภาษา รวมถึง การแสดงผลในรูปแบบ มัลติมีเดีย โดยมีความคิดสร้างสรรค์และใช้เทคนิคในการพัฒนาที่เหมาะสม รวมถึงการให้บริการที่ ปลอดภัยด ้วย 2.5 ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ ผู้ บ ริ ห ารเ ทคโนโลยี ส ารสนเทศร ะดั บ สู ง ภาครัฐ (Government CIO) เป็นผู้ที่มีหน้าที่บูรณาการยุทธศาสตร์การจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อให้การกำ�หนดยุทธศาสตร์ การปฏิรูปองค์กร และการปฏิรูปการบริหารจัดการเกิดความ สมดุลขึ้นได้ ศูนย์ประเมินผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง โดยพิจารณาจากจำ�นวนของผู้บริหาร เทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง ขอบเขตงาน องค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง และการพัฒนาหลักสูตรอบรมหรือจำ�นวนหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่สอนให้กับผู้บริหาร เทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
13-70
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
ผลของการประเมินปรากฏว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ผลการประเมินอยู่ในอันดับที่หนึ่ง ตามมา ด้วยประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ แคนาดา และญี่ปุ่น ตามลำ�ดับ สำ�หรับในหัวข้อนี้ประเทศไทยอยู่ในอันดับ ที่ 6 โดยเคยอยู่ในอันดับที่ 3 มาแล้วเมื่อปีเผยแพร่ ค.ศ. 2006 (ปีสำ�รวจ พ.ศ. 2548) ซึ่งถือเป็นจุดเด่น ของประเทศ 2.6 การสนับสนุนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ขอบเขตของการสนับสนุนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์หมาย รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริมการปฏิบัติงาน เช่น ข้อกำ�หนด กฎระเบียบ กฎหมาย หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ระบบการงบประมาณ และการจัดตั้งค ณะกรรมการประเมิน สำ�หรับตัวชี้วัดนี้ใช้ผลการประเมิน รวมจากระดับของการพัฒนาในแต่ละหัวข้อและสถานะปัจจุบันในการสนับสนุนให้เกิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ผลของการประเมินปรากฏว่า ประเทศสิงคโปร์อยู่อันดับหนึ่ง ตามด้วยประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา และโปรตุเกส ตามลำ�ดับ 2.7 การมีส่วนร่วมของประชาชน ตั ว ชี้วั ด นี้มีขึ้ น เ พื่ อใ ห้ ภ าครั ฐ คำ�นึ ง ถึ ง ช่ อ งท างที่ ป ระชาชน สามารถเข้าร้องเรียนหรือแสดงความต้องการไปยังรัฐบาลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ไ ด้ อีกทั้งยังแสดงให้ เห็นร ะดับที่ป ระชาชนใช้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อีกด ้วย ผลของการประเมินปรากฏว่า ประเทศออสเตรเลีย ประเทศเอสโทรเนีย และประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่ในอันดับที่หนึ่งร่วมกันสำ�หรับตัวชี้วัดนี้ ในขณะที่ประเทศเดนมาร์ก และประเทศเยอรมนีอยู่ในอันดับ ที่ส ี่ ตามด้วยสหราชอาณาจักร
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 13.4.2 แล้ว โ ปรดปฏิบัติกิจกรรม 13.4.2 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 13 ตอนที่ 13.4 เรื่องที่ 13.4.2
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-71
ธ ส
เรื่องที่ 13.4.3 กรณีต ัวอย่างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ
ธ ส
ม
รัฐบาลของประเทศต่างๆ พากันเร่งพัฒนากระบวนการบริหารงานและบริการของรัฐให้มีประสิทธิภาพและทันสมัยมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเข้าสู่ยุครัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นกระบอกเสียงในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ และเป็นสื่อให้บริการของรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์สู่ประชาชน ผู้นำ�หลายประเทศหันไปให้ความสำ�คัญ และพิจารณานำ�เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไป ใช้สนับสนุนงานด้านบริหารและบริการประชาชน เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีเว็บไซต์รัฐบาลอเมริกันและ เว็บไซต์ให้บริการต่างๆ ของรัฐ (www.usa.gov) นอกจากนี้ ประธานาธิบดีโอบาม่าได้นำ�เทคโนโลยีอื่นๆ ไปประยุกต์ใช้ในรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีตัวอย่างเช่น การนำ�เครือข่ายสังคม (social network) ไปใช้ในการเข้าถึงประชาชนเพื่อลดช่องว่างในการติดต่อสื่อสาร และการใช้โทรศัพท์อัจฉริยะ (smart phone) ในหน้าที่การงานและติดต่อสื่อสารกับประชาชน ซึ่งนอกจากจะทำ�ให้สามารถทำ�ให้เข้าถึงประชาชน วัยทำ�งานจนถึงผู้สูงวัยแล้ว ก็ยังได้ใกล้ชิดกับประชาชนคนวัยรุ่นด้วยเพราะเป็นวัยที่ชอบเทคโนโลยี โดย ทำ�ให้ประธานาธิบดีโอบาม่าได้ทราบถึงความต้องการ พฤติกรรม และทัศนคติของวัยรุ่นที่มีต่อรัฐบาลและ ประเทศชาติ จากการที่ป ระธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาติดต่อส ื่อสารกับประชาชนด้วยเทคโนโลยีต่างๆ และมีบริการ ของรัฐทางอินเทอร์เน็ต ทำ�ให้ภาครัฐมีข้อมูลมากพอที่จะนำ�ไปใช้ต่อยอดในการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งนี้ขอหยิบยกการพัฒนาและการส่งเสริมรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจ เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างไว้ดังนี้
ม
ธ ส
ม
กรณีตัวอย่างที่ 1 สหภาพยุโรป
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
เมื่อพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ในการประชุมว่าด้วยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งยุโรป กลุ่มประเทศ ใ นสหภาพยุโรปได้ร ่วมลงนามเพื่อผ ลักด ันโ ครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีจ ุดป ระสงค์เพื่อล ดอุปสรรค ด้านดิจิทัลในแง่ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศสมาชิกในยุโรป และปรับปรุงกระบวนการทำ�งาน ให้รวดเร็วขึ้นโดยลดขั้นตอนการบริหารจัดการและให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะช่วยให้การดำ�เนิน ธุรกรรมต่างๆ ระหว่างประเทศของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชนชนผ่านอินเทอร์เน็ตมีความสะดวก รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2551 มีโครงการเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาการบริหารจัดการภาครัฐในยุโรป ซึ่ง เป็นโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศที่ประสบความสำ�เร็จในยุโรป โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศสมาชิกของ สหภาพยุโรป นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังได้จัดให้มีระบบสารสนเทศทางการตลาดภายใน เพื่อใช้เป็น เครื่องมืออ ิเล็กทรอนิกส์ใ นการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการบริหารจัดการระหว่างประเทศสมาชิก จะเห็นได้ว่า
ม
ม
ธ ส
ม
13-72
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
โครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในสหภาพยุโรปนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทลายกำ�แพงและช่วยกระชับความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นสะพานเชื่อมโยงทางการค้าระหว่าง ประเทศซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างประเทศในสหภาพยุโรปได้แบบไร้พรมแดน ทั้งนี้ตัวอย่างรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ใ นสหภาพยุโรปก็น่าจะเป็นประโยชน์สำ�หรับผู้นำ�ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนให้ได้เห็น ประโยชน์ แล้วนำ�ไปเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้และพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ต่อไปเพื่อประโยชน์ ในด้านการค้าระหว่างประเทศได้ไม่น้อย
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ภาพที่ 13.28 หน้าจ อแสดงผลการเข้าถึง www.usa.gov
ม
กรณีตัวอย่างที่ 2 ประเทศสหรัฐอเมริกา
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ�ด้านการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้จัดตั้งเว็บไซต์ www. usa.gov เป็นเว็บไซต์กลางหรือเว็บท่าที่เชื่อมโยงการบริการภาครัฐมากกว่า 100 บริการ มีการแบ่งห มวดหมู่ ออกเป็นภาคประชาชน ภาคธุรกิจ องค์กรที่ไม่หวังผลกำ�ไร บุคลากรภาครัฐ และชาวต่างชาติ อีกทั้งยัง แบ่งย่อยลงไปตามหมวดหมู่ของผู้ใช้บริการให้สามารถค้นหาข้อมูลและการบริการได้ละเอียดมากยิ่ง ขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อมูลทั่วไปที่บริการออนไลน์ให้แก่ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะดำ�เนินธุรกิจการงาน การ ศึกษา และท่องเที่ยวในประเทศสหรัฐอเมริกากว่า 88 ภาษา ประชาชนสามารถติดต่อสื่อสารหรือขอความ
ม
ธ ส
ธ ส
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ม
13-73
ธ ส
ช่วยเหลือจากภาครัฐได้แบบเรียลไทม์ผ่านทางการช่วยเหลือออนไลน์หรือไลฟ์เฮลพ์ (live help) การ สนทนาผ่านเว็บหรือเว็บแชต (web chat) หรือสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social media) เช่น ยูทิวบ์ (YouTube) ทวิตเตอร์ (twitter) เฟซบุ๊ก (facebook) และบล็อก (blog) ซึ่งนักเขียนบล็อก (blogger) สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลให้กับภาครัฐ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็นระหว่างกันได้
ธ ส
ม
กรณีตัวอย่างที่ 3 ประเทศแคนาดา
ธ ส
ม
รัฐบาลแคนาดา มีความโดดเด่นในการให้บริการภาครัฐผ่านระบบออนไลน์ด้วยเว็บไซต์กลางที่ ทำ�ให้สามารถเข้าถึงการบริการภาครัฐได้อย่างรวดเร็ว ที่แสดงอยู่บนหน้าจอ “บริการที่ได้รับความนิยม” (Popular Services)
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ที่มา: www.canada.gc.ca
ม
ธ ส
ม
ภาพที่ 13.29 หน้าจ อแสดงผลการเข้าถึง Popular Services
ธ ส
ธ ส
ม ม
ธ ส
www.canada.gc.ca เว็บไซต์ก ลางของแคนาดาได้เชือ่ มโยงการบริการภาคประชาชน ผูป้ ระกอบการ และชาวต่างชาติ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติของบัญชีผู้ใช้จากภาครัฐ (My Government Account) ที่ ใช้เป็นจุดเดียวของการเข้าถึงของประชาชนโดยการจัดการตั้งค่าส่วนบุคคลเพื่อเชื่อมโยงไปยังข้อมูลและ การบริการของรัฐบาลแคนาดา การให้บริการแบบไร้สาย (wireless portal) ถูกพัฒนาขึ้นให้ประชาชน สามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งประชาชนสามารถศึกษาวิธีการใช้งานผ่านอุปกรณ์สื่อสาร เคลื่อนที่ได้จ ากเว็บท่านี้
ม
13-74
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
กรณีตัวอย่างที่ 4 สหราชอาณาจักร
ม
ธ ส
รัฐบาลสหราชอาณาจักรก็ม ีแ ผนเปิดต ัวบ ริการร้องทุกข์ผ ่านอินเทอร์เน็ต (e-Petition) ให้ป ระชาชน สามารถเข้าไปร้องทุกข์แบบเรียลไทม์ได้ ทั้งนี้ เป็นโครงการที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงการสื่อสารและ การปกครองส่วนท้องถิ่น (Department of Communication and Local Government) โดยรัฐบาล สหราชอาณาจักรได้ออกกฎหมายบังคับให้มีเว็บไซต์รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนซึ่งมีผลบังคับใช้ใน เดือนเมษายน พ.ศ. 2553 นอกจากนี้ ยังม ีแนวโน้มว่าอาจจะมีก ารให้บริการเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านทางโทรศัพท์มือถือและเว็บ เครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊ก และทวิตเทอร์ด้วย ซึ่งทำ�ให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น ทั้งนี้เมื่อต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 รัฐบาลสหราชอาณาจักรประกาศว่าในปี พ.ศ. 2557 บริการของ หน่วยงานรัฐเกือบทั้งหมดจะให้บริการประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ โดยหน่วยงานภาครัฐได้รับคำ�สั่งให้ จัดทำ�แผนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการและการให้บริการประชาชน ซึ่งรัฐบาลก็ได้รวบรวมแผนกลยุทธ์ ดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างแผนกลยุทธ์ที่จะผลักดันให้สหราชอาณาจักรไปสู่ประเทศแห่งรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งประกาศใช้ในปลายปี พ.ศ. 2553
ธ ส
ม
ธ ส
กรณีตัวอย่างที่ 5 ประเทศอิรัก
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลอิรักได้ประกาศใช้เว็บไซต์ยูทิวบ ์เป็นกระบอกเสียงให้กับ รัฐบาลสำ�หรับนำ�เสนอผลงานต่างๆ สู่สายตาประชาชนและคนทั่วโลกได้รับทราบว่า หลังจากโค่นล้มอำ�นาจ อดีตผู้นำ�เผด็จการแล้วอิรักประสบความสำ�เร็จในด้านต่างๆ อาทิ ความมั่นคง เศรษฐกิจ การเมือง และ การสร้างระบบประชาธิปไตย จะเห็นได้ว่าเป็นความชาญฉลาดของรัฐบาลอิรักที่ได้หยิบยกเอาเครือข่าย แบ่งปันวิดีโอยอดนิยมจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกอย่างยูทิวบ์ไปเป็นสื่อและกระบอกเสียง ซึ่งช่วยให้เข้า ถึงผู้คนได้เป็นจำ�นวนมากในรูปแบบวิดีโอที่มีทั้งภาพและเสียง ทั้งนี้ยังสามารถส่งสื่อวิดีโอนี้ไปถึงผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลก นับเป็นอีกตัวอย่างที่รัฐบาลไทยไม่ควรมองข้ามเว็บมหาชนอย่างยูทิวบ์ที่จะนำ�ไป ปรับใช้ใ นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐส ู่ภาคประชาชน นอกจากกรณีตัวอย่างข้างต้น สำ�หรับในภาคพื้นเอเชียการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดย เฉพาะในเรื่องของบริการอิเล็กทรอนิกส์บางประเทศก็มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน เช่น ประเทศ สิงคโปร์มีบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐให้บริการแล้วไม่ต่ำ�กว่า 1 พันบริการ และประเทศเกาหลีใต้ที่มี โครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตดีมากให้บ ริการอิเล็กทรอนิกส์แล้วกว่า 500 บริการ ส่ ว นป ระเทศไทยก็ มี ก ารพั ฒ นารั ฐ บาลอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ม าแ ล้ ว อ ย่ า งต่ อ เ นื่ อ ง มี ก ารใ ห้ บ ริ ก าร อิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงานได้ทันทีที่ต้องการ 7 วัน 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด บางเรื่อง อาจถือเป็นตัวอย่างของโลกก็ว่าได้ เช่น การบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) การยื่นแบบชำ�ระภาษีออนไลน์ (e-Revenue) การใช้บัตรประจำ�ตัวประชาชนเอนกประสงค์ (smart card) และห นั ง สื อ เดิ น ทางอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (e-Passport) เป็ น ต้ น ทั้ ง นี้ รั ฐ บาลยั ง ไ ด้ จั ด ตั้ ง ศู น ย์ ก ลางบ ริ ก าร ภาครัฐออนไลน์หรือ www.egov.go.th เพื่อบริการประชาชนแบบรวมศูนย์ข้อมูลให้สามารถเข้าถึงข้อมูล
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-75
ธ ส
หน่วยงานราชการทั้งหมดได้ในเว็บไซต์เดียว ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นศูนย์ราชการไทยไซเบอร์ที่ให้บริการได้ อย่างครอบคลุมแ ละครบวงจรได้
ธ ส
ม
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 13.4.3 แล้วโ ปรดปฏิบัติกิจกรรม 13.4.3 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 13 ตอนที่ 13.4 เรื่องที่ 13.4.3
ม
ธ ส
เรื่องที่ 13.4.4 ก้าวต่อไปของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไทย
ม
ธ ส
บริษัทการ์ตเนอร์ (Gartner) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกได้ทำ�นายแนวโน้มของเทคโนโลยี 10 ลำ�ดับที่จะเข้ามามีบทบาทต่อหลักการและแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) สำ�หรับป ี พ.ศ. 2552 (Gartner’s Top 10 Strategic Technologies for 2009) ไว้ ได้แก่ Virtualization, Cloud Computing, Computing Fabrics, Web Oriented Architecture, Enterprise Mashups, Specialized systems/appliances, Social Software and Social Networking, Unified Communications, Business Intelligence และ Green IT ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ จะผลักดันการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ก้าวไปสู่การเป็นรัฐบาล ที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานหรือ c-Government (Connected Government) จากนั้นจึงขยาย ช่องทางบริการไปสู่ m-Government (Mobile Government) และ u-Government (Ubiquitous Government) และ t-Government (Transformed Government) ในที่สุด และเทคโนโลยีดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและระยะกลางอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลที่แปลงสภาพโดยสมบูรณ์ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติกำ�หนดไว้ว่า จุดหมาย ปลายทางของรัฐบาลทั่วโลกก็คือการแปลงสภาพไปสู่ยุคสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงกันทั้งหมดในภาครัฐ ปฏิกิริยาตัวเร่งที่จะทำ�ให้ก้าวไปได้แก่ หลักการพัฒนาโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centric Development) หลักการพัฒนาเว็บท่าภาครัฐ (e-Government Web Portal) เพื่อเป็นประตูสู่ข้อมูล ข่าวสารและบริการของภาครัฐทั้งหมด และหลักการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชน (Public-PrivatePartnership - 3P หรือ PPP) ซึ่งทั้งหมดจะนำ�ไปสู่การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่ตามที่ธนาคาร โลกได้ทำ�การวิจัยไว้
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
13-76
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
1. แนวทางในการผลักดันรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ป ระเทศไทย
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในฐานะหน่วยงานหลักได้กำ�หนดแนวทางในการ ผลักดันรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไว้หลายด้าน เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศภาครัฐ ด้านการพัฒนา กำ�ลังคนด้านไอซีที ด้านการพัฒนาตามมาตรฐานและเป็นส ากล ด้านบทบาทของรัฐในเรื่องไอซีที ด้านเกณฑ์ การสำ�รวจขององค์การสหประชาชาติและองค์กรอื่นๆ และด้านการยกระดับการพัฒนา ดังจะได้กล่าวถึง พอเป็นส ังเขปดังนี้ 1.1 โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศภาครัฐ โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศหลักของภาครัฐ ที่เป็น สิ่งจ ำ�เป็นในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ป ระกอบด้วย 1.1.1 โครงข่ายติดต่อสื่อสารความเร็วในระดับบรอดแบนด์ (broadband) ปัจจุบันได้มีการ ให้บริการโครงข่ายสื่อสารในเขตเมืองใหญ่ไปมากแล้ว จึงควรขยายบริการให้ทั่วถึงทั้งประเทศจนถึงระดับ ตำ�บลและหมู่บ้าน โดยมุ่งเป้าหมายให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสารและบริการธุรกรรมของ ภาครัฐด้วย ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ให้ความเห็นชอบในนโยบาย บรอดแบรนด์แห่งชาติตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือใน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำ�คัญด้านโทรคมนาคมของประเทศให้มีความก้าวหน้าและทันสมัย รองรับ และครอบคลุมความต้องการของทุกภาคส่วนได้อย่างทั่วถึง โดยมีเป้าหมายให้ครอบคลุมประชากรไม่ต่ำ� กว่าร้อยละ 80 ภายในปี พ.ศ. 2558 และไม่ต่ำ�กว่าร้อยละ 95 ภายในปี พ.ศ. 2563 และให้มีบริการ บ รอดแบรนด์ค วามเร็วส งู ผ า่ นเคเบิลใ ยแก้วน �ำ แสงในเมืองทเี่ ป็นศ นู ย์กลางทางเศรษฐกิจข องภมู ภิ าค ความเร็ว ไม่ต่ำ�กว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ภายในปี พ.ศ. 2563 ตลอดจนให้คณะกรรมการเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติบูรณาการและทำ�กรอบแผนการดำ�เนินงาน กำ�หนดตัวชี้วัด และวิธี ประเมินผลที่จ ำ�เป็นสำ�หรับการติดตามความสำ�เร็จของนโยบาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและ เสริมส ร้างรายได้ให้แ ก่ประชาชนและผู้ป ระกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วย 1.1.2 ช่องทางติดต่อข้อมูลข่าวสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐที่มีความ มั่นคงปลอดภัย (secured government intranet) จะช่วยให้การบูรณาการด้านข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย และช่วยให้การบริหารราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเป็นการ สนับสนุนบริการอิเล็กทรอนิกส์สำ�หรับประชาชน ธุรกิจ และภาคส่วนต่างๆ สัมฤทธิผลในเชิงบูรณาการ ระหว่างหน่วยงานได้อย่างสมบูรณ์ 1.1.3 ช่องทางชำ�ระเงินที่มีความมั่นคงปลอดภัย (secured payment gateway) จะช่วย ให้ประชาชนและผู้ใช้บริการทุกภาคส่วนมีความมั่นใจในการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการ ชำ�ระเงิน ซึ่งจะช่วยยกระดับความต้องการการให้บริการช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ในการทำ�ธุรกรรมกับภาค รัฐมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำ�ให้หน่วยงานภาครัฐสามารถดำ�เนินงานการให้บริการตามแนวทางรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ไ ด้อ ย่างสมบูรณ์แบบ 1.2 การพัฒนากำ�ลังคนด้านไอซีที การพัฒนากำ�ลังคนด้านไอซีทีในทุกภาคส่วนทั้งในเรื่อง การ สร้างให้ประชาชนรู้แ ละใช้ไ อทีให้เป็น การเพิ่มข ีดค วามสามารถให้ก ับผู้บ ริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-77
ธ ส
การส่งเสริมการสร้างกำ�ลังคนในภาคพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรม ด้านเทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อสาร การกำ�หนดความก้าวหน้าในอาชีพเทคโนโลยีส ารสนเทศและการ สื่อสารสำ�หรับบุคลากรภาครัฐ การจัดตั้งสภาผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง และการวิจัยพัฒนา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ล้วนมีความสำ�คัญเป็นอย่างยิ่ง 1.3 การพัฒ นาตามแนวทางและแนวปฏิบัติที่มีม าตรฐานแ ละเป็น สากล การพั ฒ นารั ฐ บาล อิเล็กทรอนิกส์โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาหน้าจอเพื่อการติดต่อเพียงที่เดียว (single window) ทางอินเทอร์เน็ตเพื่ออำ�นวยความสะดวกในการติดต่อราชการหลายหน่วย การพัฒนาเคาน์เตอร์ เพื่อการติดต่อประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Citizen Contact Counter) การพัฒนาเว็บท ่าเพื่อเป็นศ ูนย์รวม บริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) หรือพ อร์ทัลสำ�หรับป ระชาชนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Citizen portal) การ พัฒนากรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (TH e-GIF) ให้เป็นแนวทางและมาตรฐาน กลางทั้งในด้านข้อมูล การสื่อสารข้อมูล และวิธีการเพื่อส่งเสริมการดำ�เนินการในเชิงบูรณาการ การสร้าง ความมั่นใจในระบบความมั่นคงปลอดภัยที่ร วมถึงการพัฒนาระบบผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ หลักของชาติหรือเอ็นอาร์ซีเอ (National Root CA – NRCA) และกฎหมายด้านไอซีที ตลอดจนการ บูรณาการระบบบริหารจัดการสำ�นักงานส่วนหลัง (back office) ข้างต้น ต้องดำ�เนินการตามแนวทางและ แนวปฏิบัติท ี่เป็นมาตรฐานและเป็นสากล 1.4 บทบาทของรัฐในเรื่องไอซีที รัฐบาลจะต้องตระหนักว่า บทบาทของรัฐในเรื่องไอซีทีนั้นมี หลากหลายหน้าที่ทั้งในฐานะของผู้ใช้เทคโนโลยี ในฐานะผู้ให้บริการ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุน และ ประการสำ�คัญสุดท้ายก็คือ ในฐานะผู้กำ�หนดมาตรฐานและแนวทางในการดำ�เนินงานนั้น รัฐบาลจะต้องให้ ความสำ�คัญเท่าเทียมและขนานกันไปเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาคน และที่ส ำ�คัญก็ค ือ การพัฒนาในเชิงบูรณาก ารที่จะทำ�ให้เกิดความสัมฤทธิผล 1.5 การให้ความสำ�คัญกับเกณฑ์การสำ�รวจขององค์การสหประชาชาติและองค์กรอื่นๆ ในการยก ระดับร ัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ป ระเทศไทยในเวทีโ ลก องค์การสหประชาชาติแ ละศูนย์วิจัยร ัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะเป็นเวทีที่มีการอ้างอิงกันมากตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งสององค์กรนี้ต่าง ก็ได้ใช้ดัชนีในการชี้วัดเหมือนและต่างกันบ้างตามที่กล่าวมาแล้ว และหากต้องการปรับปรุงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้อ ยู่ในอันดับท ี่ดีข ึ้นก็ต้องพิจารณาจากตัวชี้วัดเหล่านั้นเป็นสำ�คัญ 1.6 การเน้นก ารพฒ ั นาในเรือ่ งทจี่ ะน�ำ ไปสกู่ ารยกระดับก ารพฒ ั นา การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ จะเน้นการพัฒนาในเรื่อง ประตูเข้าสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (web portal) อย่างเป็นเอกภาพ การประกาศ ใช้เลขประจำ�ตัวประชาชน 13 หลักในการเข้าสู่บริการของทุกหน่วยงาน การพัฒนาช่องทางชำ�ระเงินที่มี ความมั่นคงปลอดภัยเพื่อให้ผู้เข้ามาใช้บริการมีความมั่นใจและประหยัดงบประมาณ การใช้อินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์ใ นราคาถูกลงอย่างทั่วถึงท ั้งป ระเทศ การส่งเสริมคอมพิวเตอร์ราคาถูกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และการเป็นเจ้าภาพกลางในการให้มีการใช้พีเคไอ (Public Key Infrastructure - PKI) ตลอดจนการ บูรณาการใบรับร องอิเล็กทรอนิกส์ข องผู้ประกอบการทุกราย ให้มีความสมบูรณ์ที่จะนำ�ไปสู่การยกระดับขึ้น ตามมาตรฐานสากล
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
13-78
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
2. ทิศทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แ บบก้าวกระโดด
แนวทางในการผลักดันข้างต้น หากมีการดำ�เนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง จะทำ�ให้ประเทศไทย สามารถบูรณาการไปสู่สิ่งที่เรียกว่า การเชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยตะเข็บ (Connected Government) และ ขณะเดียวกันช ่วงปี พ.ศ. 2553-2557 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็ได้กำ�หนดทิศทางการ พัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แ บบก้าวกระโดดซึ่งป ระกอบด้วยหลายโครงการ และหนึ่งใ นนั้นไ ด้แก่ โครงการ ขับเคลื่อนจาก e-Government ไปสู่ m-Government ไปสู่ u-Government และไปสู่ t-Government ซึ่งจะได้ยกขึ้นเป็นต ัวอย่างพอสังเขปดังนี้
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม ม
ธ ส
ภาพที่ 13.30 ทิศทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แ บบก้าวกระโดด
ที่มา: รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการสำ�รวจสถานภาพปัจจุบันของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย เพื่อกำ�หนดแนวทาง ผลักดันเสนอกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยศูนย์บริการวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552
ม
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-79
ธ ส
เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวไปสู่บริการอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์แบบ หลากหลายช่องทาง แบบ ที่เดียว ทันใด ทั่วไป ทุกเวลา ตามมาตรฐานสากล รวมทั้งยกระดับให้สูงขึ้นแบบก้าวกระโดดในการ จัดอันดับของนานาชาติพร้อมทั้งแปลงสภาพเป็น t-Government ตามนิยามขององค์การสหประชาชาติ ได้ในที่สุด จึงกำ�หนดเป้าหมายภาพรวมในการพัฒนาไว้ ดังนี้ ระยะที่ 1 กำ�หนดเป้าหมายเป็น c-Government ที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ในการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์อย่างหลากหลายผ่านทางอินเทอร์เน็ต ระยะที่ 2-3 เป็น m-Government ที่มีการเชื่อมโยงบริการกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐผ่านช่อง ทางโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่อื่นๆ ระยะที่ 4 เป็น u-Government ที่มีการเชื่อมโยงบริการกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ผ่านช่องทาง ที่หลากหลาย ณ ที่ใ ดก็ได้ และเป็นบริการตลอดเวลาแบบ 24x7 ระยะที่ 5 เป็น t-Government หรือรัฐบาลที่ผ่านการแปลงสภาพตามนิยามขององค์การสหประชาชาติที่เป็นรัฐบาลที่ใกล้ชิดกับประชาชนทุกภาคส่วนที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ผ่านช่องทางที่หลากหลายในการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ ณ ที่ใดก็ได้ และเป็นบ ริการตลอดเวลาแบบ 24x7 โครงการขับเคลื่อนจาก c-Government ไปสู่ m-Government ไปสู่ u-Government และ ไปสู่ t-Government จะเป็นโครงการที่ต่อยอดให้สามารถบริการผ่านช่องทางโทรศัพท์มือถือ เครื่อง คอมพิวเตอร์โ น้ตบุ๊ก มัลติมีเดีย และพีดีเอ (Personal Digital Assistant - PDA) รวมถึงการที่ประชาชน สามารถขอรับข้อมูลและบริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการผสมผสานไอซีทีทุกรูปแบบที่ทำ�ให้สามารถ บริการประชาชนได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ ทัดเทียมกับประเทศที่ก้าวหน้าใ นเวทีสากลได้ต่อไป
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
3. ปัจจัยแห่งค วามสำ�เร็จของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ม
ม
ธ ส
ม
การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ถึงแม้จะมีนโยบาย แผนงาน โครงการ ทิศทาง และแนวทาง ผลักดันที่ชัดเจนแล้วก็ตาม แต่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จะประสบความสำ�เร็จได้ยังขึ้นอยู่กับความพร้อม หลายประการ เช่น ความพร้อมของผู้นำ�ประเทศ ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศ ความ พร้อมของหน่วยงานภาครัฐ และความพร้อมของประชาชนและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 3.1 ความพร้อมของผู้นำ�ประเทศ ความพร้อมของผู้นำ�ประเทศถือเป็นเรื่องสำ�คัญที่สุดก็ว่าได้ เพราะเรื่องของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นการทำ�งานที่จะต้องใช้การตัดสินใจของผู้บริหารประเทศใน ลักษณะของจากบนลงล่าง (top down) ในระดับสูง เนื่องจากต้องอาศัยการตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลง เป็นอ ันมากทั้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการปฏิบัติงานเพื่อแปลงงานจำ�นวนมากที่เคยทำ�ด้วยมือ เป็นร ะบบคอมพิวเตอร์ห รืออิเล็กทรอนิกส์และผ่านระบบอินเทอร์เน็ต นอกจากนั้นยังต้องการการสนับสนุน ทั้งด้านคน เงิน งบประมาณในจำ�นวนที่เพียงพอและต่อเนื่องเป็นร ะยะเวลานาน ดังน ั้นการทำ�ให้เกิดรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ จะต้องได้รับการผลักด ันจากผู้นำ�ประเทศอย่างเข้มแข็งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปี พ.ศ. 2544 จากการที่ประเทศไทยมีผู้นำ�รัฐบาลที่มีศักยภาพและมีความมุ่งมั่นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สูงสุดในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ปรากฏ
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
13-80
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
ผลการประเมินและจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทยประสานเสียงสอดคล้องกัน ทุกองค์กรออกมาว่า ประเทศไทยก้าวสู่อันดับสูงขึ้นรวดเร็วอย่างก้าวกระโดด แต่ก็ต้องตกอันดับลงมา ทันทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำ� นอกจากผู้นำ�จะต้องมุ่งมั่นแล้ว ผู้นำ�ยังต้องให้ความสำ�คัญต่อการพัฒนาสิ่งที่เกี่ยวเนื่องในทุก องค์กร ดังนี้ 1) พัฒนาความมุ่งมั่นของผู้บริหารในระดับองค์กร เช่น ผู้บริหารอาวุโสสูงสุด (CEO) จะ ต้องสนใจและมุ่งม ั่นใ นการพัฒนาเทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อสาร และต้องทุ่มเททรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาอย่างเต็มที่ 2) พัฒนาโครงสร้างการบริหารและกฎหมายควบคุมต า่ งๆ โดยจะตอ้ งมกี ารปรับปรุงโ ครงสร้าง ตลอดจนปรับกระบวนการให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) พัฒนาการบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพ มีการวางแผน การจัดการทางการเงินที่ดี มีกลยุทธ์ และมีผลตอบแทนที่สามารถชี้ว ัดไ ด้ 3.2 ความพร้อมในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน การทำ�ให้เกิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่จ ำ�เป็นต่อก ารเข้าถึงก ารให้บ ริการ โดยสามารถแยกออกเป็นค วามพร้อมของเรื่องต่างๆ ดังนี้ 3.2.1 โครงข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมที่พร้อมใช้เพื่อการสื่อสาร และสามารถเข้าถึงได้ ทุกที่ ทั่วถึง และเท่าเทียม ในกรณีนี้รัฐต้องเร่งพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมรวมถึงปัจจัยอื่นที่ทำ�ให้กระแส สารสนเทศ (flow of information) สามารถส่งไ ปถึงประชาชนอย่างทั่วถึง ในราคาที่เป็นธรรม 3.2.2 ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ (hardware and software) ต้องมีอย่างพอเพียงเพื่อให้ทั้ง ภาครัฐและประชาชนสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการให้และรับบริการของภาครัฐ ประชาชนสามารถเข้า ถึงบริการต่างๆ ที่รัฐจัดทำ�ให้ โดยใช้ฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและภูมิประเทศ เช่น ตู้บริการ สาธารณะ (kiosk) และศูนย์ชุมชนทางไกล (tele center) ที่เป็นเครื่องมือที่รัฐจัดหาและส่งไปยังพื้นที่ ต่างๆ ได้ 3.2.3 ทรัพยากรมนุษย์ (human resources) ข้าราชการและประชาชนจะต้องมีการพัฒนา ทักษะ การเรียนรู้ที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงาน การให้และการรับบริการเพื่อให้เกิดผล แบบพลวัต (dynamic) อันเกิดจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป 3.2.4 เนือ้ หาและสือ่ (content and media) จะตอ้ งมกี ารพฒ ั นาเนือ้ หาทเี่ หมาะสมกบั ท้องถิน่ (local content) ซึ่งต้องมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับเทคโนโลยี ทั้งนี้จะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำ�นวนมากเพื่อปรับแ ต่งเนื้อหาให้ตรงตามสภาพแวดล้อมและโครงสร้างของประเทศไทย 3.3 ความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐ นอกจากภาครัฐมีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารเป็นเจ้าภาพในการประสานงาน (collaboration) และบูรณาการ (integration) เพื่อให้เกิดรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์โดยเร็วแล้ว นอกจากนั้นยังต้องจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้นในระดับ กระทรวงทุกกระทรวงเพื่อให้เป็นศูนย์กลางสั่งการและศูนย์รวมข้อมูลข่าวสาร ส่งและแลกเปลี่ยนระหว่าง กระทรวง ตลอดจนใช้ในการตัดสินใจและสั่งการของแต่ละกระทรวงอีกด้วย
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-81
ธ ส
หน่วยงานภาครัฐในส่วนต่างๆ จะต้องมีความพร้อม แต่หากได้รับการผลักดันจากผู้นำ�ประเทศ และผู้บริหารในระดับสูง ก็จะทำ�ให้การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์มีความเป็นไปได้สูงที่จะประสบความ สำ�เร็จ 3.4 ความพร้อมของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ความสำ�เร็จของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง จะต้องมีเป้าหมายคือ ทำ�เพื่อประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ดังนั้น “ความสำ�เร็จของการออกแบบ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คือการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง” และเนื่องจากประชาชนในประเทศไทยมีความ แตกต่างกันมาก ทั้งในด้านของโอกาส และพื้นฐานการศึกษา ความหลากหลายดังกล่าวจึงทำ�ให้การบริการ ที่เหมือนกัน ไม่อ าจกระจายสู่ป ระชาชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันได้ เช่น กลุ่มผู้มีความรู้ระดับส ูง มีเครื่อง คอมพิวเตอร์ของตนเอง และสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยตรงเป็นกลุ่มที่สามารถใช้บริการต่างๆ ที่ภาครัฐมีในโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มนี้อาจไม่ต้องฝึกอบรมเพิ่มเติมแต่อย่างใด ส่วนกลุ่มผู้มี ความรู้ปานกลางอาจจะมีเครื่องมือเป็นของตนเอง หรือ สามารถเข้าถึงร้านอินเทอร์เน็ตหรือสถานที่บริการ ของรัฐได้ กลุ่มนี้สามารถใช้การฝึกอบรมของสถาบันการศึกษาต่างๆ ในโครงการอินเทอร์เน็ตโรงเรียน โครงการ One Tablet per Child หรือใช้ตู้บริการอินเทอร์เน็ตหรือบริการอิเล็กทรอนิกส์สาธารณะ และ ใช้การบริการ ณ ที่ทำ�การไปรษณีย์ไทยได้โดยตรง แต่สำ�หรับกลุ่มผู้มีความรู้น้อยและด้อยโอกาสตกอยู่ ในฐานะที่ไม่สามารถหาความรู้และใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ที่รัฐบาลจัดทำ�ให้ได้ อาจใช้ โครงการ Tele Center หรือโครงการ 1 วัด 1 ศูนย์เรียนรู้ หรือโครงการไอซีทีชุมชน และอินเทอร์เน็ตตำ�บล ตลอดจน ตู้ (kiosk) และที่ทำ�การไปรษณีย์ เป็นเครื่องมือในการลดช่องว่างทางดิจิทัลของประชาชนในกลุ่มนี้
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 13.4.4 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 13.4.4 ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 13 ตอนที่ 13.4 เรื่องที่ 13.4.4
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
13-82
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
บรรณานุกรม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (2545) แผนทิศทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรุงเทพมหานคร กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เวอร์ชั่น 1.1 กรุงเทพมหานคร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2552) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของ ประเทศไทย พ.ศ. 2552 – 2556 กรุงเทพมหานคร (2554) (ร่าง) กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะ พ.ศ. 2554 – 2563 ของประเทศไทย (IT2020) [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.ict2020.in.th/ การชำ�ระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร [ออนไลน์] เข้าถึงได้จ าก http://rdserver.rd.go.th การบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://sgis.nso.go.th/sgis/GeoStatistic. asp การให้บริการชำ�ระภาษีรถยนต์ผ ่านอินเทอร์เน็ต [ออนไลน์] เข้าถ ึงได้จาก http://www.dlt.go.th [ออนไลน์] เข้าถึงไ ด้จาก https://www.dlte-serv.in.th/dltWeb/ คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ [ออนไลน์] เข้าถ ึงได้จ าก http://www.etcommission.go.th คณะกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (2514) รายงานผลการสำ�รวจปริมาณและความต้องการใน การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2514 กรุงเทพมหานคร สำ�นักงานสถิติ แห่งชาติ เครือข่าย CIO เข้มแ ข็ง [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://cio.mict.go.th เคาน์เตอร์บริการประชาชน [ออนไลน์] เข้าถึงไ ด้จาก http://www.opdc.go.th/oldweb/thai/gcs.pdf โครงการพฒ ั นาเครือข า่ ยสอื่ สารขอ้ มูลเชือ่ มโยงหน่วยงานภาครฐั (GIN) [ออนไลน์] เข้าถ งึ ไ ด้จ าก http://203.113.25.35/ gin/objective.htm ชุมพล บุญมี (2553) “เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่องการพัฒนาระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารใน ภาครฐั และการพฒ ั นาระบบการบริหารจดั การองค์กรภาครฐั ” กรุงเทพมหานครสถาบันวิจยั แ ละให้ค �ำ ปรึกษา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลาดกลางบริการจัดประมูล [ออนไลน์] เข้าถึงไ ด้จาก http://www.catcommerce.com ธนาคารโลก [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.worldbank.org ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แ ห่งชาติ [ออนไลน์] เข้าถ ึงได้จ าก http://www.nrca.go.th มติคณะรัฐมนตรี [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.cabinet.thaigov.go.th ระบบการทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์แ ห่งช าติ [ออนไลน์] เข้าถ ึงได้จ าก www.khonthai.com ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ [ออนไลน์] เข้าถึงไ ด้จาก http://www.gprocurement.go.th ระบบบริหารการเงินการคลังภ าครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ [ออนไลน์] เข้าถ ึงได้จ าก http://www.gfmis.go.th
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
13-83
ธ ส
ระบบภูมิสารสนเทศสถิติ [ออนไลน์] เข้าถึงไ ด้จาก http://sgis.nso.go.th/sgis/GeoStatistic.asp ระบบเว็บไซต์เพื่อการร้องทุกข์ [ออนไลน์] เข้าถึงไ ด้จาก http://www.1111.go.th รายงานฉบับส มบูรณ์โ ครงการสำ�รวจสถานภาพปัจจุบันข องการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ป ระเทศไทย เพื่อก ำ�หนด แนวทางผลักด นั เสนอกระทรวงเทคโนโลยีส ารสนเทศและการสือ่ สารโดยศนู ย์บ ริการวชิ าการสถาบันบ ณ ั ฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ 16 มีนาคม 2552 เว็บไซต์รับฟังความคิดเห็นด้านกฎหมายไทย [ออนไลน์] เข้าถึงได้จ าก www.LawAmendment.go.th ศักยภาพด้านสื่อสารโทรคมนาคมของกลุ่ม consortium กับโครงข่าย Government Information Network. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://203.113.25.35/gin/seminardata_a/tot.pdf ศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อก ารเข้าถึงบริการอิเล็กทรอนิกส์ภ าครัฐ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จ าก http://www.egov.go.th ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน [ออนไลน์] เข้าถึงได้จ าก http://www.gcc.go.th ศูนย์เทคโนโลยีอ ิเล็กทรอนิกส์แ ละคอมพิวเตอร์แห่งช าติ กระทรวงวิทยาศาสตร์แ ละเทคโนโลยี (2547) รายงานการ วิจัย ผลการสำ�รวจเว็บไซต์ภาครัฐ ครั้งที่ 1: ระดับกรม กรุงเทพมหานคร พิมพ์ง าม บทสรุปห นึง่ ท ศวงรรษการส�ำ รวจกลุม่ ผ ใู้ ช้อ นิ เทอร์เน็ตใ นประเทศไทย (2542-2553) กรุงเทพมหานคร ศูนย์ เทคโนโลยีอ ิเล็กทรอนิกส์แ ละคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. ศูนย์วิจัยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www. waseda.jp/eng/news10/110114_egov.html ศูนย์สารสนเทศแห่งชาติ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://services.nic.go.th/gsic/index.php สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554 สหภาพยุโรป [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.mfa.go.th/web/52.php สำ�นักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีส ารสนเทศแห่งช าติ (2539) ไอที 2000 : นโยบายเทคโนโลยีส ารสนเทศ แห่งชาติ (พิมพ์ครั้งท ี่ 2) กรุงเทพมหานคร อมรินทร์พ ริ้นต ิ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง (2544) รายงานการประเมินผลนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ IT 2000 [ออนไลน์] เข้าถึงได้จ าก http:// www.nectec.or.th/pld/documents_pris/IT2000%20Report.pdf (2545) กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะ พ.ศ. 2544 – 2553 ของประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิก (2545) แผนแม่บทเทคโนโลยีส ารสนเทศและการสอื่ สารของประเทศไทย พ.ศ. 2545 – 2549 กรุงเทพมหานคร จิรรัชการพิมพ์ สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ (2506) รายงานประจำ�ปี 2506 กรุงเทพมหานคร สำ�นักงานสถิติแห่งช าติ (2528) รายงานภาคสมบูรณ์ของการสำ�รวจ การมี/การใช้คอมพิวเตอร์ในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2528 กรุงเทพมหานคร สำ�นักงานสถิติแห่งช าติ สำ�นักงานสถิติแห่งช าติ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก www.nso.go.th สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จ าก http://www.nhso.go.th หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ [ออนไลน์] เข้าถึงไ ด้จาก http://www.consular.go.th หลายประเทศพากันเร่งรัดพ ัฒนา “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์”. [ออนไลน์] เข้าถ ึงไ ด้จ าก http://www.tele comjournal. net/index.php?option=com_content&task=view&id=2852&Itemid=39 สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
13-84
ธ ส
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์
ม
ธ ส
องค์กรความร่วมมือแ ละพัฒนาทางเศรษฐกิจ [ออนไลน์] เข้าถ ึงได้จ าก http://www.oecd.org/\ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.mfa.go.th/web/2137.php?id=3988 [ออนไลน์] เข้าถึงไ ด้จาก http://www.mfa.go.th/web/2026.php องค์การสหประชาชาติ [ออนไลน์] เข้าถึงไ ด้จาก http://www2.unpan.org/egovkb [ออนไลน์] เข้าถึงไ ด้จาก http://www.un.or.th e-Government Canada. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก www.canada.gc.ca e-Government Europa. [ออนไลน์] เข้าถึงไ ด้จาก www.usa.gov e-Government USA. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก www.usa.gov Gartner Identifies the Top 10 Strategic Technologies for 2009. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จ าก http://www. gartner.com/it/page.jsp?id=777212 Government Information Network: GIN [ออนไลน์] เข้าถึงได้จ าก http://www.mict-egov.net สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554 Road Map e-Government [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.mict-egov.net/content/blogcategory/32/49 The 2005 Waseda University e-Government Ranking released. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จ าก http://unpan1. un.org/intradoc/groups/public/documents/APCITY/UNPAN021484.pdf สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554 The 2007 Waseda University e-Government Ranking released. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จ าก http://www. ictliteracy.info/rf.pdf/Waseda_University_3nd_rankings_en_2007%5B2%5D.pdf สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554 The 2008 Waseda University e-Government Ranking released. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จ าก http://www. kikou.waseda.ac.jp/sougou/uploadfile/news/news_lab/each_news/20080212denshiseifu_en. pdf The 2009 Waseda University e-Government Ranking released. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จ าก http://www. gits.waseda.ac.jp/GITS/news/download/e-Government_Ranking2009_en.pdf The 2010 Waseda University e-Government Ranking released. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จ าก http://www. sip.gob.mx/documentos/World_e-Gov_Ranking10_en.pdf The 2011 Waseda University e-Government Ranking released. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จ าก http://www. cicc.or.jp/english/news/e-GovRanking2011e.PDF UN E-Government Surveys [ออนไลน์] เข้าถ งึ ไ ด้จ าก http://www.unpan.org/egovkb/globalreports/08report. htm สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2554 Wikipedia. [ออนไลน์] เข้าถึงไ ด้จาก http://th.wikipedia.org
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส
ม
ธ ส
ม
ม
ธ ส