สุวรรณภิงคารฉบับเดือนมิถุนายน -กรกฎาคม 2558

Page 1

สุ

วรรณภิงคาร

ย ะ ม นุษ ศ า ส

ศว

มห

าวิท

ต ร์

คณ

จดหมายข่ า วเพื ่ อ การประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร

ยาลัยนเร

ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 มิถุนายน - กรกฎาคม 2558 ISSN : 1906-9014 (สงวนลิขสิทธิ์)


บทบรรณาธิการ

ที่ปรึกษา

คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และกิจการพิเศษ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา

บรรณาธิการ

อ. ว่าที่ร้อยตรีโสภณ ลาวรรณ์

กองบรรณาธิการ

รศ. นท. ดร.วัฒนชัย หมั่นยิ่ง รศ. ดร.พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์ ผศ.จุไรรัตน์ โสภา ดร.อรทัย ชินอัครพงศ์ ดร.ซอทอง บรรจงสวัสดิ์ ดร.จิตติมา นาคีเภท ดร.จุฑามาศ บุญชู อ.ดวงพร ทองน้อย อ.ภูมินทร์ ภูมิรัตน์

ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ

เลขานุการ สุรีย์พร

นลินรัตนกุล ชุมแสง

งานประชาสัมพันธ์ :

เตรียมพร้อมรับการเปิดภาคการศึกษา จดหมายข่าวเพื่อการ ประชาสัมพันธ์ “สุวรรณภิงคาร” ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 จึงมีเนื้อหาสาระและ บรรยากาศที่อบอุ่นพร้อมรับนิสิตใหม่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร ที่จะเข้าศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 นี้ ความรักและความผูกพัน ฉันพี่น้อง นิสิต คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ทุกคน เราอยู่กันแบบครอบครัว ให้ความสำคัญในทุกส่วน คณะกรรมการ สโมสรนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ เป็นองค์กรหนึ่งที่ขับเคลื่อนและบริหารงาน โดยนิสิตที่ผ่านการเลือกตั้งจากนิสิตทุกชั้นปี เปิดบ้านมนุษยศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนแรกของเล่ม จึงเป็นการเปิดตัวคณะทำงานของนิสิต นโยบาย การทำงาน และแนวทางในการบริหารโครงการ กิจกรรม ส่วนคอลัมน์ เรียนรู้ภาษานานาสาระ ได้รับเกียรติจาก ดร.อรทัย ชินอัครพงษ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุไรรัตน์ โสภา เป็นผู้มอบความรู้เกี่ยวกับด้าน ภาษาศาสตร์ และภาษาจี น ส่ วนถั ด ไปเป็ นการนำเสนอโครงการ ปรับพื้นฐานทางด้านดนตรี โดยอาจารย์ภูมินทร์ ภูมิรัตน์ และโครงการ ปรับพื้นฐานด้านนาฏศิลป์ โดย ดร.จิตติมา นาคีเภท ดังนั้นในเล่มนี้ จึงมีบรรยากาศคึกคักคึกคลื้น อยู่กับการงานเตรียมความพร้อมรับ นิสิตใหม่เข้าสู่รั้วดอกแก้วมนุษยศาสตร์ ท้ายที่สุดนี้ บรรณาธิการยินดีต้องรับนิสิตใหม่ทุกท่าน เข้าสู่รั้ว ดอกแก้วมนุษยศาสตร์ และฝากไปยังผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ในโรงเรียน ทุกสถาบัน ท่านมั่นใจได้ว่าบุตรหลาน ลูกศิษย์ของท่านทุกคน จะมี ความสุขกับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ร่ม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และเช่นเคย หากในเล่มมีข้อ เสนอแนะใดๆ สามารถประสานงานมาได้ที่ 0-5596-2055

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th

วิสัยทัศน์ :

คณะมนุษยศาสตร์พร้อมอยู่ร่วมในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก ด้วยการสร้างความ สมบูรณ์และความหลากหลายขององค์ความรู้ทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตให้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และทักษะทางปัญญาด้านมนุษยศาสตร์ 2. สร้างองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์บนพื้นฐานของพหุวัฒนธรรมและสหวิชาการ 3. บริการวิชาการเพื่อพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ 5. แสวงหาพันธมิตรและเครือข่ายทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ในภูมภิ าคท้องถิน่ ภาคเหนือตอนล่าง ภายใน ประเทศ ภูมิภาคอาเซียน และนานาประเทศ ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ในด้านการวิจัยให้มีคุณภาพมาตรฐาน โดยเน้นการวิจัยทั้งในระดับท้องถิ่น ภาคเหนือตอนล่าง ระดับประเทศ ระดับอาเซียน และระดับนานาชาติ

อ. ว่าที่ร้อยตรีโสภณ ลาวรรณ์ บรรณาธิการ 2. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ในด้านการผลิตบัณฑิตที่ถึงพร้อมด้วยคุณภาพและศักยภาพตาม มาตรฐานสากล เพื่อพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และประชาคมโลก 3. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้มีระบบในการสนับสนุนเกื้อกูลและเป็นผู้นำในการบริการชุมชน ทั้งในและต่างประเทศ 4. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้มีระบบในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้ประชากรในพื้นที่ มีความสุขอย่างยั่งยืนในวิถีการดำรงชีพ และเพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างชาติ โดยเฉพาะชาติสมาชิกอาเซียน 5. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้มีระบบสานสัมพันธ์อันดีกับศิษย์เก่า เพื่อร่วมกันสร้างชื่อเสียง อำนวยประโยชน์แก่ชุมชนส่งเสริมแนะแนวทางวิชาการและอาชีพแก่นิสิตปัจจุบัน 6. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้มีระบบการบริหาร และการจัดการที่เอื้ออำนวยต่อสวัสดิการแก่ บุคลากรและนิสิตของคณะมนุษยศาสตร์ โดยยึดหลักปัญญาธรรม คารวธรรม และสามัคคีธรรม 7. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานตามเกณฑ์การประกันคุณภาพ การศึกษา และได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษา


เรื่องเด่น

จากใจพี่เพื่อน้อง...

สโมสรนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2558 แนะนำตัวทีมสโมสรนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ ตำแหน่ง หน้าที่ ของแต่ละคน นายจาตุพัฒน์ แสงสว่าง ประธานสโมสรนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ นางสาวศรัทธนิตย์ เหมือนศิริ รองประธานสโมสรนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ นายภานุพงศ์ อุดมกิจภิญโญ รองประธานสโมสรนิสิตฯ ฝ่ายบริหาร นางสาวอรัญญิกา สอนพิมพ์ รองประธานสโมสรนิสิตฯ ฝ่ายวิชาการ นางสาวกาญกนก มั่นเมือง รองประธานสโมสรนิสิตฯ ฝ่ายกิจกรรม นายวารินทร์ สุขศิริกุล รองประธานสโมสรนิสิตฯ ฝ่ายพิธีการ นางสาวณิชชากร เกียรติทนง คณะกรรมการและเลขานุการ ประธานวิชาเอกทุกสาขาวิชา คณะกรรมการ

แนวทาง นโยบายการทำงานของสโมสรนิสิต แนวทางและนโยบายในการทำงานของสโมสรนิ ส ิ ต คณะมนุษยศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2558 นี้ พวกเราร่วมกัน เตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน โดยจะยึดแนวทางการดำเนิน งานเดิ ม ของสโมสรนิ ส ิ ต คณะมนุ ษ ยศาสตร์ จ ากรุ ่ น ที ่ ผ ่ า นมา นั่นคือการเอาใจใส่รุ่นน้องทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเสริม ประสบการณ์ตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้ามาใช้ชีวิตในคณะมนุษยศาสตร์ อีกทั้งยังสร้างเสริมให้รุ่นน้องมีความประทับใจ และความ ภาคภูมิใจที่ได้เข้ามาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร แห่งนี้ อย่างเต็มภาคภูมิ พวกเราเริ่มเตรียมความพร้อมเรื่องการจัด ตารางกิ จกรรมต่ า งๆ ของคณะฯ เพื ่ อ ให้ สอดคล้ อ งกับ วัตถุประสงค์ของแต่ละโครงการให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้ตรงกับ เวลาและตารางเรียนของน้องๆ เพื่อให้น้องๆ ได้แบ่งเวลาในการ ร่วมกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม โดยให้น้องเข้าร่วมกิจกรรม ด้วยความสมัครใจ และพร้อมที่จะทำให้น้องๆ รักและรู้จักกัน และกันในคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรครับ ปีการศึกษา 2558 มีโครงการอะไรบ้าง และมีแนวคิด อย่างไรในการสร้างสรรค์กิจกรรม/โครงการต่างๆ เพื่อให้ น้องใหม่ได้รับประโยชน์มากที่สุด

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2558

3


เรื่องเด่น

สำหรับโครงการคร่าวๆ ในปีการศึกษานี้คือ ค่ายกล้า ดอกแก้ว ปฐมนิเทศนิสิตใหม ปรับสภาพและประชุมเชียร์ ถวายราชสักการะ ไหว้ครูคณะ ประกวดดาวเดือน และดาวเทียม คณะมนุษยศาสตร์ แนวคิดในการจัดกิจกรรมหรือโครงการ ต่างๆ ที่ทางสโมสรนิสิตฯได้จัดขึ้นนั้น เน้นการปลูกฝังให้นิสิต มีความรักในความเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร เรียนรู้และ เข้าใจในความเป็นมาของคณะมนุษยศาสตร์ รวมถึงการรู้จักกฎ และระเบียบต่างๆ ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ในการจัดกิจกรรม ของพวกเรานั้นจะไม่เน้นการบังคับใดๆ ทั้งสิ้น เพราะเราจะสร้าง

4

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2558

กิจกรรมที่มีความสนุกสนาน ทั้งการใช้ความคิดต่างๆ และการ เรียนรู้ประสบการณ์การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยครับ มี ว ิ ธ ี ก ารจั ด สรรเวลาอย่ า งไร ให้ ก ิ จ กรรมกับการเรีย น สามารถทำควบคู่กันไปได้ ทีมสโมสรนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ จะมีการประชุมเพื่อ วางแผนตารางกิจกรรม ให้สามารถดำเนินไปอย่างสอดคล้อง กับการเรียน โดยจะเลือกจัดกิจกรรมที่ตรงกับเวลาเรียนให้น้อย ที่สุด หรือถ้าไม่มีได้พวกเราก็จะเลือกในประเด็นที่สอง เพราะว่า นอกจากเราจะมีความสามารถในด้านกิจกรรม แล้วเรายังต้องมี ความรู้ในการเรียนด้วย เพราะทั้งสองส่วนนี้ คือสิ่งที่จำเป็นที่จะ ต้องสอดคล้องกันไปตามบริบท และระเบียบแบบแผนที่ถูกวาง มาอยู่แล้ว ทางพวกเราจึงเลือกที่จะจัดกิจกรรมที่มีการกระทบ กับเวลาเรียนให้น้อยที่สุด เพราะน้องๆ ทุกคนที่เข้ามา เปรียบ เสมือนสมาชิกในครอบครัวของเราคนหนึ่งที่เพิ่มเข้ามา ถ้าหาก เราเห็นคนในครอบครัวเรามีผลการเรียนไม่ดี หลายๆ คน ก็อาจ จะไม่ชอบ ดังนั้นพวกเราจึงต้องมีการวางแผนล่วงหน้า และก็ เลือกข้อสรุปที่ดีที่สุดเพื่อน้องๆ ในครอบครัวรั้วมนุษยศาสตร์ ของพวกเราครับ


เรียนรู้ภาษา/นานาสาระ

เคล็ดลับการจำอักษรจีน ผศ.จุไรรัตน์ โสภา

ปั จ จุ บ ั น ภาษาจี น นั บ วั น ยิ ่ ง มี ค นใช้ ก ั น มากขึ ้ น ในอินเตอร์เน็ต สังคมออนไลน์ หรือสื่อต่างๆ และเนื่องจาก เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่คาดการณ์ว่าอีกห้าปี ข้ า งหน้ า ประเทศจี น จะก้ า วขึ ้ น มาเป็ น อั น ดั บ หนึ ่ ง ในด้ า น เศรษฐกิจ คนจึงเห็นความสำคัญของภาษาจีน จึงศึกษาภาษาจีน กันมากขึ้น หลายคนที่ศึกษาภาษาจีนอาจจะรู้สึกว่าอักษรจีน จำยาก ท่านลองจำอักษรจีนด้วยวิธีนี้ ท่านอาจจะรู้สึกว่าอักษร จีนน่าสนใจและไม่ได้จำยากอย่างที่คิด อักษรจีนที่มีลักษณะการเขียนแบบ เขียนจากทางซ้าย ก่อน แล้วจึงเขียนทางขวา เช่น คำว่า 明 มีวิธีการจำคือ 日+月→明 มีอักษร 日 rì แปลว่า “ดวงอาทิตย์” อยู่ด้าน หน้า ส่องแสงให้อักษร 月 yuè แปลว่า “พระจันทร์” ที่อยู่ ด้านหลัง ทำให้มีแสงสว่างเกิดเป็นศัพท์คำว่า 明, míng (หมิง) แปลว่า “สว่าง, แจ่มแจ้ง” ศัพท์คำนี้ใช้บ่อยร่วมกับคำว่า 白 bái →明 白 míngbai (หมิงป่าย) แปลว่า “เข้าใจ”

อักษรจีนที่มีลักษณะการเขียนแบบ เขียนด้านบนก่อน แล้วจึงเขียนด้านล่าง เช่น คำว่า 美 ก็จำว่า 羊+大→美 มีอักษร 羊yáng แปลว่า “แพะ” อยู่ด้านบน มีอักษร 大dà อยู่ด้านล่าง ซึ่งแปลว่า ตัวใหญ่, อ้วน แพะตัวที่อ้วนจึงจะนับ ได้ว่าสวยงาม เกิดเป็นศัพท์คำว่า 美 měi (เหม่ย) แปลว่า สวย, งาม, น่าดู ศัพท์คำนี้ใช้บ่อยร่วมกับคำว่า lì →美 měilì (เหม่ยลี่) แปลว่า “สวยงาม” อั ก ษรจี น ที ่ ม ี ล ั ก ษณะการเขี ย นเหมื อ นนำอั ก ษร ตัวเดียวกันนำมาเขียนเรียงกันหรือซ้อนกัน มีวิธีการจำคืออักษร 人 rén แปลว่า “คน” เมื่อนำ 人มาเขียนอยู่ด้วยกันสามตัว เหมือนนำคนสามคนมาอยู่ร่วมกัน กลายเป็นศัพท์คำว่า zhòng (จ้ง) แปลว่า “คนจำนวนมาก”

“คำต้องห้าม”

ดร.อรทัย ชินอัครพงศ์

นานาสาระฉบับนี้ ขอเสนอคำว่า “คำต้องห้าม” หรือ Taboo words ซึ่งมาจากภาษา Tongan ว่า tabu หมายถึง ข้อห้าม ต่างๆ ทางสังคม อันมีผลต่อพฤติกรรมของบุคคลในสังคม เพราะเชื่อว่าหากละเมิดข้อห้ามแล้วจะทำให้โชคร้ายหรือเกิด ความอัปมงคลต่อตนและครอบครัว คำต้องห้ามจะเกี่ยวกับเรื่อง ต่างๆ เช่น อวัยวะในร่างกาย อวัยวะเพศ กิจกรรมทางเพศ เชื้อชาติ โรคภัยไข้เจ็บ และความตาย เป็นต้น ตัวอย่างคำต้องห้ามที่ ศ.ดร.ปราณี กุลละวนิชย์ ศึกษาไว้ เกี่ยวข้องกับคำว่า “ตาย” ซึ่งเป็นคำที่คนไทยมัก หลีกเลี่ยง เพื่อให้รู้สึกสูญเสียและกระทบกระเทือนใจน้อยลง โดยจะใช้คำเลี่ยงหรือคำรื่นหู (euphemism) แทน เช่น เสีย สิ้นบุญ หมดเวร หมดกรรม สิ้นลม ไปสวรรค์ ฯลฯ และคำ ต้องห้ามเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมและความเชื่อของ คนไทยอีกด้วย เช่น มีความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด หรือ ความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ เป็นต้น

นอกจากคำที่เกี่ยวกับความตายแล้ว คำว่า “เหี้ย” ซึ่ง หมายถึงสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่เดิม คนไทยโบราณ เชื่อว่าเป็นสัตว์อัปมงคล เพราะชอบแอบขโมยของกินตามบ้าน จึงทำให้คำนี้เป็นคำต้องห้าม (ในสมัยก่อน) เมื่อยุคสมัย เปลี่ยนไป การใช้ภาษาจึงเปลี่ยนแปลงไปด้วย ปัจจุบันวัยรุ่น มักใช้เป็นคำสร้อย เช่น “วันนี้กูเบื่อชิบหาย ไม่รู้จะทำเหี้ยอะไร” ยิ่งไปกว่านั้นยังนำมาใช้เป็นคำเรียกขานในบทสนทนา เช่น ก : เฮ้ย ไอ้เหี้ยแม่งทำไมมาช้านักวะ” ข: เออ มอไซต์กู มันสตาร์ทไม่ติดหว่ะ ไอ้เหี้ย (ขออภัยในความไม่สุภาพ ข้อความเก็บจากการใช้จริง ของวัยรุ่นยุคปัจจุบัน) ภาษาในปัจจุบันช่างมีการเปลี่ยนแปลง ไปมากมายจริงๆ เห็นด้วยไหมคะท่านผู้อ่าน

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2558

5


โครงการปรับพื้นฐานด้าน

¹Ò¯ÈÔÅ»Šä·Â

เปิดบ้านมนุษยศาสตร์

ดร.จิตติมา นาคีเภท

โครงการปรับพื้นฐานด้านนาฏศิลป์ไทย ประจำปี การศึกษา 2558 สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดขึ้นตั้งแต่ วันที่ 18 พฤษภาคม – 18 กรกฎาคม 2558 (เว้นวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ) ณ ห้อง IT 721 (Ballet Room) ชั้น 7 อาคาร ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (CITCOMS) และอาคารกิจกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อม ด้านทักษะนาฏศิลป์ไทยก่อนเข้าศึกษาตามหลักสูตร และเพื่อ ปรับท่ารำให้ได้มาตรฐานรวมถึงสามารถปฏิบัติท่ารำในรูปแบบ เดียวกันตามฉบับของมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งภาควิชาฯ ได้เห็น ความสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้นิสิตเป็นผู้รอบรู้ใน ด้านการบริหารการจัดการ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์พร้อม และเป็นสมาชิกที่ดีต่อสังคมต่อไป จึงได้จัดโครงการนี้ต่อเนื่อง มาเป็นระยะเวลา 14 ปีตั้งแต่เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย

โครงการปรับพื้นฐานทางด้านดนตรี อ.ภูมินทร์ ภูมิรัตน์

การปรับพื้นฐานทางด้านดนตรีนั้น เป็นอีกหนึ่งเรื่อง ที่สำคัญอันดับต้นๆ ของการเรียนดนตรี ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน ทฤษฎีดนตรีตะวันตกและทฤษฎีดนตรีไทย อีกทั้งทางด้านการ ปฏิบัติเครื่องดนตรีตะวันตกและเครื่องดนตรีไทย แต่เนื่องจาก นิสิตที่เข้ามาศึกษาต่อทางด้านดนตรีในแต่ละปีการศึกษานั้น มีความรู้พื้นฐานทางดนตรีน้อย และบางคนเริ่มเรียนดนตรีช้า เกินไป จึงทำให้มีความรู้พื้นฐานที่แตกต่างและไม่เท่ากัน ซึ่ง บางคนมีความรู้พื้นฐานมาบ้างแล้ว แต่ในขณะที่หลายๆ คนนั้น มีความรู้เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งส่งผลให้เมื่อเปิดภาค การศึกษา นิสิตบางคนเรียนไม่ทันเนื้อหาที่อาจารย์ผู้สอน ได้สอนในรายวิชาทฤษฎีดนตรี และรายวิชาดนตรีปฏิบัติ

6

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2558

การจัดโครงการปรับพื้นฐานทางด้านดนตรี จึงเป็น การปรับพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านดนตรีให้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 1 ก่อนเปิดเรียนภาคต้นปีการศึกษาในทุกๆ ปี เพื่อ ส่งผลให้นิสิตมีความรู้พื้นฐานด้านทฤษฎีดนตรีตะวันตก และ ทฤษฎีดนตรีไทย และการปฏิบัติในเครื่องดนตรีตะวันตก และ เครื่องดนตรีไทยที่ถูกต้อง และเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ทำให้นิสิตมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจในเรื่องการเรียน และทำให้ ก ระบวนการการเรี ย นการสอนทางด้ า นดนตรี น ั ้ น สัมฤทธิ์ผลต่อไป


ข่าวกิจกรรม

วันที่ 18-19 มิถุนายน 2558 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูพงษ์ พงษ์เจริญ รองอธิการบดีฝา่ ยวิจยั มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมวิชาการระดับ ชาติ เรื่อง "วิถีทางแห่งความสุขของชุมชน" จัดโดย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ปาฐกถานำในหัวข้อ วิถีแห่ง ความสุขชุมชน พร้อมกันนี้ยังมีวิทยากรผู้มีชื่อเสียงร่วมบรรยาย ให้ความรู้อีกหลายท่าน อาทิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสิษฐ์ กอบกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภัค มหาวรากุล อาจารย์ดลยา เทียนทอง, อาจารย์รัชนีกร รัชตกรตระกูล อาจารย์สุภีร์ ทุมทอง, ศาสตราจารย์ ดร.บุษบา กนกศิลปธรรม และพระมหาวิเชียร ชินว์โส เป็นต้น ณ ห้องวังพิกุล โรงแรม อัมรินทร์ลากูน จ.พิษณุโลก

วันที่ 29 กรกฎาคม 2558 รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา พัดเกตุ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วยคณะ ผู้บริหารและบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์ เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่ม สั ก การะแด่ อ งค์ ส มเด็ จ พระนเรศวรมหาราช เนื ่ อ งในวั น คล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยนเรศวร ครบรอบ 25 ปี ณ ลาน พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัย นเรศวร ในโอกาสนีค้ ณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ได้มอบของทีร่ ะลึก แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิติมา วิทยาวงศรุจิ อาจารย์ประจำ ภาควิชาภาษาไทย ในวาระเกษียณอายุราชการ

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2558

7


วารสารมนุมหาวิษทยศาสตร์ ยาลัยนเรศวร

ย ะ ม นุษ ศ า ส

ร ศว

มห

าวิท

ต ร์

คณ

วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ผ่านการรับรอง คุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสาร (TCI) จากการประเมินคุณภาพวารสาร รอบที่ 3 ในปี พ.ศ.2558 ให้อยู่ในกลุ่ม 1 : วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพ ของ TCI (มีระยะเวลาการรับรองคุณภาพวารสารเป็นระยะเวลา 5 ปี คือ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2558 – 31 ธันวาคม พ.ศ.2562) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป จึงขอแสดงความยินดีมา ณ ที่นี้

ยาลัยนเร

สุวรรณภิงคาร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ชำระค่ า ฝากส่ ง เป็ น รายเดื อ น ใบอนุ ญ าตเลขที ่ 85/2521 พิ ษ ณุ โ ลก

ท่ า นที ่ ส นใจจดหมายข่ า วนี ้ กรุ ณ าส่ ง ชื ่ อ ที ่ อ ยู ่ ข องท่ า นมายั ง งานประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร อ.เมื อ ง จ.พิ ษ ณุ โ ลก 65000 โทรศั พ ท์ 0-5596-2035 โทรสาร 0-5596-2000 ไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยใดๆ ทั ้ ง สิ ้ น

สุวรรณภิงคาร

หรื อ “กลศ” หมายถึ ง หม้ อ ดิ น สำหรั บ ใส่ น ้ ำ ดิ น และน้ ำ เป็ น แม่ บ ทของสิ ่ ง ทั ้ ง ปวง อั น เปรี ย บได้ ก ั บ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ที ่ เ ป็ น รากฐานแห่ ง ศาสตร์ ท ั ้ ง ปวง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.