สุวรรณภิงคาร ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

Page 1

สุ

วรรณภิงคาร

ย ะ ม นุษ ศ า ส

ร ศว

มห

าวิท

ต ร์

คณ

จดหมายข่ า วเพื ่ อ การประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร

ยาลัยนเร

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2557 ISSN : 1906-9014 (สงวนลิขสิทธิ์)


บทบรรณาธิการ

ที่ปรึกษา

คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และกิจการพิเศษ รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต

บรรณาธิการ

อ. ว่าที่ร้อยตรีโสภณ

ลาวรรณ์

กองบรรณาธิการ

รศ. นท. ดร.วัฒนชัย หมั่นยิ่ง รศ. ดร.พัชรินทร์ อนันตศิริวัฒน์ ผศ.จุไรรัตน์ โสภา ดร.อรทัย ชินอัครพงศ์ ดร.ซอทอง บรรจงสวัสดิ์ ดร.จิตติมา นาคีเภท ดร.จุฑามาศ บุญชู อ.ดวงพร ทองน้อย

ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ

เลขานุการ สุรีย์พร

นลินรัตนกุล ชุมแสง

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ “สุวรรณภิงคาร” ฉบับนี้ เป็นฉบับปฐมฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 คำว่า “สุวรรณภิงคาร” ซึ่งเป็นชื่อจดหมายข่าวนี้ มาจาก สัญลักษณ์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ของเรา คือสุวรรณภิงคาร หรือ กลศ ซึ่งทำจากดินและใช้น้ำเป็นตัวขึ้นรูป ดินและน้ำเป็นปฐมบทแห่งสรรพสิ่ง ทั้งมวล เปรียบดังคณะมนุษยศาสตร์ที่เป็นปฐมบทแห่งศาสตร์ทั้งปวง จดหมายข่าวสุวรรณภิงคาร มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ของคณะมนุษยศาสตร์ นำเสนอผลงานของของนิสิต ศิษย์เก่า ความรู้ เรื่องภาษา ดนตรี นาฏศิลป์ วัฒนธรรมต่างๆ ผ่านจดหมายข่าวนี้ เนื้อหา ในจดหมายข่าวประกอบไปด้วยบทบรรณาธิการ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของ คณะมนุษยศาสตร์ คอลัมน์เรื่องเด่นประจำคณะซึ่งฉบับนี้ เกี่ยวกับ ดาวเดือนมหาวิทยาลัยนเรศวร คอลัมน์เรียนรู้ภาษา...นานาสาระ เป็นคอลัมน์ ที่ให้ความรู้ด้านวิชาการ ภาษา ศิลปวัฒนธรรม คอลัมน์เปิดบ้าน มนุษยศาสตร์ เป็นคอลัมน์เกี่ยวกับโครงการ กิจกรรมเด่นๆ และส่วน สุดท้ายของเล่ม จะเป็นการประชาสัมพันธ์ข่าวที่น่าสนใจ ของคณะ มนุษยศาสตร์ และแนะนำหนังสือ ในนามกองบรรณาธิการ หากคณาจารย์ นิสิต และศิษย์เก่า คณะมนุษยศาสตร์มีความประสงค์จะเสนอข่าวสารเพื่อประโยชน์ และ การประชาสั ม พั น ธ์ ค ณะมนุ ษ ยศาสตร์ สามารถประสานงานได้ ท ี ่ กองบรรณาธิการ หมายเลขโทรศัพท์ภายใน 2035

งานประชาสัมพันธ์ :

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th

วิสัยทัศน์ :

คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และ นาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่ อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ

อ. ว่าที่ร้อยตรีโสภณ ลาวรรณ์ บรรณาธิการ

ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และสอดคล้องกับ ความต้องการของสังคมและประเทศ 2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร


จากดาวคณะ

สู่ดาวมหาวิทยาลัย ใครๆ ก็มี ถ้าฝึกฝนและอดทน ที่ว่านได้เป็นดาวของคณะได้ อาจเป็นเพราะว่านมีความมั่นใจ และความพร้อมในการแสดงค่ะ ส่วนรางวัลที่ว่านได้ตอนประกวดดาวมหาวิทยาลัย คือรางวัล Best friend ค่ะ เป็นรางวัลที่เพื่อนๆ ในดาวเดือนโหวตให้ว่า เป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นได้ง่าย ขี้เล่น คุยเก่ง และอีกรางวัลที่ได้รับมา คือรางวัลดาวมหาวิทยาลัย 2014 ค่ะ ซึ่งว่านคิดว่าที่ว่านผ่านมาได้รอบสุดท้ายนี้ เพราะว่าว่าน มีความกล้าแสดงออก และมีบุคลิกภาพที่ดี มีความสามารถ หลายด้าน จึงทำ ให้ผ่านเข้ามาถึงรอบ สุดท้ายค่ะ

เรื่องเด่น

สโมสรนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ ได้จัดโครงการประกวด ดาว-เดือน และดาวเทียมคณะมนุษยศาสตร์ เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการคัดเลือกนิสิตหญิงและนิสิตชายที่มีคุณสมบัติตาม เกณฑ์ที่กำหนดเข้าประกวดดาว-เดือนของคณะ และส่งเข้า ประกวดในระดับมหาวิทยาลัย โดยผู้ได้รับการคัดเลือกต้อง ปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนในการประชาสัมพันธ์คณะฯ อาทิ การ ออกงานโครงการต่างๆ ของคณะฯ และมหาวิทยาลัย ถ่ายภาพ ลงวารสาร เป็นตัวแทนนิสิตแต่งกายถูกระเบียบ เป็นต้น ในปีนี้ ดาว-เดือนคณะมนุษยศาสตร์ ได้คว้ารางวัลดาวมหาวิทยาลัย และรองอันดับสองเดือนมหาวิทยาลัย มาครอบครองได้สำเร็จ สุวรรณภิงคารจึงได้ขอสัมภาษณ์น้องๆ ถึงความรู้สึกในการ ได้รับตำแหน่งในครั้งนี้ แนะนำตัวเอง สวัสดีค่ะ ดิฉัน น.ส. วันทนีย์ นาครินทร์ ชื่อเล่น ใบว่าน นิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ทำไมถึงเลือกเรียนคณะมนุษยศาสตร์ และเป้าหมาย ในอนาคตอยากประกอบอาชีพอะไร ที่เลือกเรียนคณะมนุษยศาสตร์เพราะว่า โดยส่วนตัว เป็นคนชอบภาษาอยู่แล้วค่ะ ตอนเรียนมัธยมก็เรียนสายศิลป์ ฝรั่งเศสมาก่อนด้วย ว่านเลยอยากต่อพื้นฐานให้แน่นขึ้น แล้ว ทีส่ ำคัญเราใช้ภาษาไทยในการติดต่อสือ่ สารภาษาเดียวไม่ได้แล้ว อย่างน้อยว่านคิดว่า เราควรจะเรียนรู้ภาษาที่สามไว้บ้าง เพราะ ในอนาคตเรื่องภาษาจะเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพค่ะ ส่วนเป้าหมายในอนาคตของว่าน ว่านอยากเป็นครูสอนภาษา ฝรั่งเศสค่ะ ก่ อ นจะได้ ร ั บ คั ด เลื อ กเป็ น ดาวมหาวิ ท ยาลั ย ต้องผ่านการคัดเลือกจากระดับคณะมาก่อน จากการ ประกวดต่างๆ ได้รับรางวัลอะไรมาบ้าง ความพิเศษ อะไรในตัวเรา ที่ทำให้ผ่านสายตากรรมการ มาจน ประสบความสำเร็จในรอบสุดท้าย ก่ อ นการเข้ า ร่ ว มประกวดดาวมหาวิ ท ยาลั ย นั ้ น ผ่านการถูกเสนอชื่อในระดับสาขาวิชา เพื่อประกวดระดับ คณะ และเป็ น ตั ว แทนคณะ เข้าไปประกวดในระดับ มหาวิ ท ยาลั ย ซึ ่ ง ต้ อ งฝึ ก และปรับ เปลี่ยนบุคลิกภาพ เยอะมาก ในระดับคณะ ว่านโชว์ความสามารถพิเศษ รำธงฝรั่งเศส จริงๆ แล้วความสามารถนี้ ว่านคิดว่า

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม - พฤศจิกายน 2557

3


เรื่องเด่น

เคล็ดลับการเรียนควบคู่กิจกรรม เคล็ดลับการเรียนของว่าน ต้องแบ่งเวลาให้เป็นค่ะ เวลาไหนควรทำอะไร ถ้าเวลาเรียนเราก็ควรตั้งใจเรียน ยิ่งถ้า อาจารย์กำลังสอนอยู่ยิ่งต้องฟังที่ท่านพูดให้มากๆ เพราะนั่น อาจจะเป็นข้อสอบ แล้วที่สำคัญต้องหมั่นทบทวนบทเรียนอย่าง สม่ำเสมอค่ะ แต่ถ้ามีกิจกรรมที่ต้องทำเราก็ทำให้เต็มที่ เพราะ กิจกรรมสอนให้เราทำงานเป็นค่ะ ทัศนคติ/ข้อคิด ในการปรับตัวจากนักเรียนมัธยม ก้าวสู่การใช้ชีวิตนิสิตในรั้วมหาวิทยาลัย ตั้งแต่มัธยม ว่านมีคติประใจที่ว่า "ถ้าครอบครอง จะได้ ของเป็นบางอย่าง ถ้าปล่อยวางจะได้ทุกอย่างมาครอบครอง"

4

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม - พฤศจิกายน 2557

จนตอนนี้ว่านอยู่มหาลัยแล้ว ว่านก็ยังยึดคตินี้เหมือนเดิม เพราะ ถ้าเราปล่อยวางเรื่องบางเรื่องได้ เราก็จะไม่เครียด ไม่เสีย สุขภาพจิต แล้วว่านคิดเสมอว่า สักวันต้องเป็นวันของเราค่ะ แนะนำตัวเอง สวัสดีครับ ผมชื่อ ณัฏฐิเมศฐ์ นุ่นหมิ่น ชื่อเล่น ปอนด์ นิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ทำไมถึงเลือกเรียนคณะมนุษยศาสตร์ และเป้าหมาย ในอนาคตอยากประกอบอาชีพอะไร สำหรับผมคิดว่าคณะมนุษยศาสตร์เป็นคณะที่มีความ โดดเด่นทางด้านภาษา และมีคณาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ ทางด้านภาษาเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะสามารถทำให้ผมเก่ง ในด้านภาษามากขึ้น เพราะเป้าหมายทางด้านอาชีพ ผมอยาก เป็นสจ๊วตครับ ที่สำคัญคณะมนุษยศาสตร์อยู่กันเป็นครอบครัว แบบพี่แบบน้องที่อบอุ่นมากครับ ก่ อ นจะได้ ร ั บ คั ด เลื อ กเป็ น เดื อ นมหาวิ ท ยาลั ย ต้ อ งผ่ า นการคั ด เลื อ กจากระดั บ คณะมาก่ อน จากการ ประกวดต่างๆ ได้รับรางวัลอะไรมาบ้าง ความพิเศษอะไร ในตัวเราที่ทำให้ผ่านสายตากรรมการมาจนประสบความ สำเร็จในรอบสุดท้าย เริ่มแรกเพื่อนๆ ได้คัดเลือกกันในสาขาวิชา และผม ได้เป็นตัวแทนของสาขาวิชา ในการประกวดระดับคณะ ผมได้นำ ความสามารถรำมวยไทยโบราณ ซึ่งผมมีพื้นฐาน มาบ้างแล้ว แต่ก็ต้องฝึกฝนเพิ่มเติมอีก และได้ผ่านการคัดเลือก ให้เป็น เดื อ นคณะ ผมคิ ด ว่ า รางวั ล ที ่ ไ ด้ มานั ้ นเป็ นเพราะผมกล้า แสดงออกและมีความสามารถโดดเด่น ต่อมาในการเข้าประกวด ระดับมหาวิทยาลัย ผมได้แสดงความสามารถด้านการแสดงเรื่อง “แผลเก่า” คู่กับดาวคณะ (ใบว่าน) ครับ นั่นถือเป็นอีกหนึ่ง ความท้าทายของผม ในวันแสดงจริงผมตื่นเต้นมากครับ แต่จาก การทุ่มเทฝึกซ้อม ก็ทำให้ผมประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัล รองเดือนมหาวิทยาลัยอันดับ 2 และรางวัล Popular Vote ฝ่ายชายครับ เคล็ดลับการเรียนควบคู่กิจกรรม ผมคิดว่าเราต้องแบ่งเวลาให้เป็น ในเวลาเรียนต้อง ตั้งใจเรียน ถ้ามีเวลาว่างอันดับแรกที่ต้องเลือกทำ คือทบทวน บทเรียนก่อน เพื่อที่จะได้จัดสรรเวลาที่เหลือไปทำกิจกรรมอื่น ของคณะที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ เพราะนั่นก็คืออีกหนึ่ง หน้าที่ของเราครับ ทัศนคติ/ข้อคิด ในการปรับตัว จากนักเรียนมัธยม ก้าวสู่การใช้ชีวิตนิสิตในรั้วมหาวิทยาลัย ผมคิดว่าการปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่สำคัญมาก เมื่อเราโตขึ้นควรช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากขึ้น อย่างคำที่ว่า “ตนเป็นที่พ่ึงแห่งตน” ช่วยเหลือตัวเองก่อนในทุกๆ เรื่อง หาก ทำไม่ได้จริงๆ แล้วก็จะปรึกษาเพื่อนๆ พี่ๆ หรือาจารย์ ครับ


เรียนรู้ภาษา/นานาสาระ

ศัพท์ฝรั่งเศสในภาษาไทย ดร. ซอทอง บรรจงสวัสดิ์

ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสที่ดำเนินมากว่า 300 ปี ปรากฏร่องรอยเป็นคำภาษาฝรั่งเศสที่เราใช้ในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัว เมื่อแรกที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ส่งราชทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามในพ.ศ. 2228 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวสยามเรียกคนตะวันตกโดยทั่วไปว่า “ฝรั่ง” ที่มาจากคำว่า ฟร็องเซ (français) หมายถึงฝรั่งเศส เล่ากันว่า ครานั้นสมเด็จพระนารายณ์ทรงให้ทดลองทำ “แป็ง” (pain) อาหารหลักของคนฝรั่งเศสขึ้น ทุกวันนี้เราเรียกอาหารชนิดนั้นว่า “ขนมปัง” ศัพท์อาหารการกินยังมีอีกหลายคำ เช่น “ครัวซองต์” (croissant) “บุฟเฟต์” (buffet) คนฝรั่งเศส เรียกร้านกาแฟว่า café (กาเฟ) แต่คนไทยใช้คำว่า “คาเฟ่” เพื่อสื่อถึงสถานบันเทิงยามราตรีที่มีการแสดงตลก จนเกิดคำว่า “ตลกคาเฟ่” หลายคนเรียกคนขับรถว่า “โชเฟอร์” (chauffeur) ถ้าสิ่งใดหรูหราก็เรียกว่า “เดอลุกซ์” (de luxe) แต่บางคนออกเสียง เป็นดีลักซ์ ศัพท์โรงแรมที่พบบ่อยและมักออกเสียงผิดกันคือห้องพักประเภทหนึ่งที่กว้างขวางหรูหรากว่าห้องพักทั่วไป ต้องออกเสียง ว่าห้อง “สวีท” (suite) ตามการออกเสียงแบบฝรั่งเศส อย่าเผลอไปอ่านว่าห้องสูทเชียว เดี๋ยวพนักงานโรงแรมจะไม่เข้าใจ หากชมการแข่งขันกีฬาเรามักได้ยินคำว่า “กรังด์ปรีซ์” อยู่ในชื่อรายการ คำนี้มาจากคำว่า กร็อง พรี (grand prix) แปลตรงตัวว่ารางวัลใหญ่ ส่วนการแสดงระบำปลายเท้าเรียกว่า “บัลเลต์” (ballet) นอกจากนี้เราเรียกบัตรที่ใช้แลกสินค้า หรือใช้ เป็นส่วนลดว่า “คูปอง” มาจากคำว่า กูปง (coupon) ในขณะที่พื้นไม้ “ปาร์เกต์” (parquet) ก็เป็นคำทับศัพท์ที่ใช้กันอย่าง แพร่หลาย ขอปิดท้ายเหมือนฉากจบในหนังด้วยคำว่า FIN (แฟ็ง) แปลว่า ตอนจบ หรือ สิ้นสุด...เอวังด้วยประการฉะนี้

ร้าน

Paul

อ. ศรีสุดา พุ่มชม

เมื่อเอ่ยคำว่า "ฝรั่งเศส" นอกจากสถาปัตยกรรม แฟชั่น ศิลปะ สินค้าแบรนด์เนมจำพวกกระเป๋า น้ำหอม เครื่องสำอางค์ สิ่งหนึ่งที่ผู้คนทั่วโลกนึกถึงก็คงเป็นอาหารฝรั่งเศสซึ่งขึ้นชื่อ ในเรื่องของรสชาติ ความละเมียดละไมของกระบวนการผลิต ภาษาที่ใช้ในแวดวงอาหาร และภัตตาคารสากลก็เป็นภาษา ฝรั่งเศส นอกจากนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ.2014 มื้ออาหารฝรั่งเศสได้รับการยกย่องจาก UNESCO หรือองค์การ สหประชาชาติเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ให้เป็น หนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ อาหารฝรั่งเศสจึงเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ที่ประเทศฝรั่งเศสภูมิใจนำเสนอให้ชาวไทยรู้จัก ไม่ว่าจะเป็น ร้านขนมมาการง Ladurée ร้านอาหาร Maxim's ร้านอาหาร Fauchon น้องใหม่ที่มาเปิดสาขาในเมืองไทยอีกเจ้าหนึ่ง คือ ร้านขนมปัง Paul ร้านที่มีเอกลักษณ์การตกแด่ง หน้าร้าน เน้นสีดำ ตัวอักษรสีขาว เขียนว่า Paul Maison de qualité depuis 1889 หรือ ปอล ร้านแห่งคุณภาพ ตั้งแต่ปี 1889 Paul เป็นร้านขนมปังที่มีสินค้าหลากหลาย ขนมปัง ท่อนยาวที่เรียกว่า บาแก็ต ขนมอบ ขนมปังต่างๆ แซนด์วิช

ตลอดจนอาหารจานเด่ น ต่างๆ ร้านมีพื้นที่สำหรับ ให้ น ั ่ ง รั บ ประทานในร้ า น และส่วนที่เรียกว่า take away ยามเที ่ ย ง เรามั ก จะพบภาพ คุ้นตาหน้าร้าน Paul เสมอ คือลูกค้า ที่ต่อแถวยาวรอรับบริการ ไม่ว่าร้านนี้จะตั้งอยู่ที่ใดก็ตาม กลางห้างสรรพสินค้า กลางเมืองต่างๆ สถานีรถไฟ สนามบิน ตามประวัติ ร้าน Paul ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1889 หรือเมื่อ 125 ปีที่แล้ว ใกล้เมือง Lille ทางเหนือของฝรั่งเศส โดย Charlemagne Mayot ซึ่งต่อมาทายาทของเขาสืบสานกิจการ กันมาจนปัจจุบันเข้าสู่รุ่นที่ 5 แล้ว ผลิตภัณฑ์เด่นของเขาคือ ขนมปัง ร้านได้พัฒนาผลิตภัณฑ์มาโดยตลอด โดยเน้นคุณภาพ ไม่ ว ่ า จะเป็ น เทคนิ ค การทำขนมปั ง หรื อ แป้ ง สาลี ท ี ่ น ำมาทำ ภายใต้แนวคิดที่ว่า "ขนมปังที่ดี คือ แป้งและเวลา" ปัจจุบันนี้ ร้าน Paul เปิดสาขาทั่วโลก มีปรัชญาว่า ไม่ได้ขายเพียงอาหาร ฝรั่งเศสเท่านั้นแต่ปรารถนาให้ลูกค้าทั่วโลกได้ชิมสิ่งที่เขาเรียก ว่า “French art de vivre” หรือศิลปะการใช้ชีวิตแบบฝรั่งเศส จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม - พฤศจิกายน 2557

5


เปิดบ้านมนุษยศาสตร์

โครงการ

"สนับสนุนการเตรียมความพร้อมด้านวิชาชีพ" เป็นที่ทราบกันดีว่า นิสิตทุกคนก่อนจะสำเร็จการศึกษา ในรั้วมหาวิทยาลัย ต้องผ่านการฝึกงานในสาขาวิชาที่ได้ ศึกษามา เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะในด้านการทำงาน และเตรียม พร้อมก้าวเข้าสู่โลกแห่งการทำงานที่แท้จริง ในสถานประกอบ การต่ า งๆ ซึ ่ งงานบริการการศึกษา คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นอกจากจะดูแลเรื่องของหลักสูตร ด้านวิชาการแล้ว ก็ได้เตรียมความพร้อมสู่โลกวิชาชีพของนิสิต ควบคู่ไปด้วย โดยจัดโครงการ "สนับสนุนการเตรียมความพร้อม ด้านวิชาชีพ" ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้มีความรู้ความ สามารถเฉพาะทางเป็นประจำทุกปี โดยมุ่งหวังให้นิสิต นำ ความรู้ไปบูรณาการร่วมกับการปฏิบัติงานจริง และในปี การศึกษา 2557 ได้จัดการอบรมให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 4 ในหัวข้อ ดังต่อไปนี้ - “จิตวิทยาและกลวิธีการสอน” วิทยากรโดย ดร.อังคณา อ่อนธานี อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ - “การเขียนแผนการสอนและการวัดผลประเมินผล” วิทยากรโดย รศ.ดร.วารีรัตน์ แก้วอุไร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์

6

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม - พฤศจิกายน 2557

- “มารยาทในการสื่อสาร” วิทยากรโดย ผศ.ดร. ประภาษ เพ็งพุ่ม อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ - “การแต่ ง กายและการแต่ ง หน้ า การพัฒนา บุคลิกภาพ และจริยธรรม ในการทำงาน” วิทยากรโดย ดร.จิตติมา นาคีเภท อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ - “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานสำนักงาน และการ ปฏิบัติงานสำนักงาน” วิทยากรโดย คุณยุพา สุวรรณมณี นักวิชาการศึกษา กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร - “การใช้โปรแกรมสำนักงานอัตโนมัติขั้นพื้นฐาน” วิทยากรโดย คุณตระกูลศิลป์ ตั้งรัตนประเสริฐ นักวิชาการ คอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หวังว่านิสิต จะได้นำความรู้จากการเข้าอบรมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด เพื่อจะได้รับโอกาสที่ดีในการฝึกงานกับองค์กร และ สถานประกอบการที่เลือกไว้ ตลอดจนมีโอกาสได้รับการตอบรับ เข้าทำงานหลังจากการฝึกงานเสร็จสิ้นทุกคนนะคะ


ข่าวกิจกรรม

วันที่ 12 ตุลาคม 2557 สาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับคัดเลือก ให้เป็น 1 ใน 5 ศูนย์สอบวัดระดับภาษาเกาหลี (TOPIK) ครั้งที่ 36 (ประกอบด้ ว ย โรงเรี ย นนานาชาติ บ างกอก กรุ ง เทพฯ, มหาวิ ท ยาลั ย สงขลา วิ ท ยาเขตปั ต ตานี , มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม จ.มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก) ซึ่งเป็นการ สอบวัดระดับภาษาเกาหลี โดยจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมี ผู้สนใจเข้าร่วมสอบเป็นจำนวนมาก ทั้งศิษย์เก่าและปัจจุบัน ในสาขาวิชาภาษาเกาหลี นิสิตวิชาโทภาษาเกาหลี นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย รวมทั้งบุคคล ทั่วไป ที่อาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ณ อาคารคณะ มนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

วันที่ 28 ตุลาคม 2557 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ให้เกียรติ กล่าวรายงานการจัดโครงการการเผยแพร่รำเดี่ยว โดยนิสิต ชั้นปีที่ 4 จัดโดยสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของการประเมินองค์ความรู้ ตามหลักสูตรสาขาวิชา นาฏศิลป์ไทย เพื่อให้นิสิตได้แสดงความสามารถทักษะในการ ปฏิบัติท่ารำของนิสิตเป็นรายบุคคล โดยได้เชิญคณะกรรมการ ประเมินผลงาน จำนวน 5 ท่าน ดังนี้ อ.สุรัตน์ เอี่ยมสะอาด, อ.นงลักษณ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา, อ. ตวงฤดี ถาพรพาสี, ผศ.ฐิติมา วิทยาวงศรุจิ และ รศ.นุชนาฏ ดีเจริญ ร่วมตัดสิน การสอบรำเดี่ยวมาตรฐานทางด้านนาฏศิลป์ไทย ทั้งนี้ได้รับ เกียรติจาก ดร.สุชาติ เมืองแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร กล่ า วเปิ ด โครงการ ณ โรงละคร เฉลิ ม พระเกี ย รติ 72 พรรษา สมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชินีนาถ

วันที่ 31 ตุลาคม 2557 ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วย ดร.สุชาติ เมืองแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และรองศาสตราจารย์ ดร.รสริน ว่องวิไลรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ให้เกียรติ ร่วมงานทำบุญคณะมนุษยศาสตร์ ประจำปี 2557 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดี คณะมนุษยศาสตร์ พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมให้การต้อนรับ ทั้งนี้ คณะผู ้ บ ริ ห าร คณาจารย์ บุ ค ลากรสายสนั บ สนุ น นิ ส ิ ต และศิษย์เก่า ได้ร่วมถวายภัตตาหารเพลพร้อมปัจจัยไทยทาน แด่พระภิกษุสงฆ์ อันจะเป็นสิริมงคลแก่ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน ณ ลานอเนกประสงค์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม - พฤศจิกายน 2557

7


หลั ก สู ต ร ระดั บ ปริ ญ ญาตรี

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดสอน 10 สาขาวิชา ได้แก่

ย ะ ม นุษ ศ า ส

ร ศว

มห

าวิท

ต ร์

คณ

- สาขาวิชาภาษาไทย - สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส - สาขาวิชาภาษาจีน - สาขาวิชาภาษาพม่า - สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย

ยาลัยนเร

- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ - สาขาวิชาภาษาเกาหลี - สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น - สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย - สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ตะวันตก

สุวรรณภิงคาร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ชำระค่ า ฝากส่ ง เป็ น รายเดื อ น ใบอนุ ญ าตเลขที ่ 85/2521 พิ ษ ณุ โ ลก

ท่ า นที ่ ส นใจจดหมายข่ า วนี ้ กรุ ณ าส่ ง ชื ่ อ ที ่ อ ยู ่ ข องท่ า นมายั ง งานประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร อ.เมื อ ง จ.พิ ษ ณุ โ ลก 65000 โทรศั พ ท์ 0-5596-2035 โทรสาร 0-5596-2000 ไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยใดๆ ทั ้ ง สิ ้ น

สุวรรณภิงคาร

หรื อ “กลศ” หมายถึ ง หม้ อ ดิ น สำหรั บ ใส่ น ้ ำ ดิ น และน้ ำ เป็ น แม่ บ ทของสิ ่ ง ทั ้ ง ปวง อั น เปรี ย บได้ ก ั บ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ที ่ เ ป็ น รากฐานแห่ ง ศาสตร์ ท ั ้ ง ปวง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.