จดหมายข่าวสุวรรณภิงคาร ฉบับ ธ.ค.53-ม.ค.54

Page 1

สุ

วรรณภิงคาร

ย ะ ม นุษ ศ า ส

ศว

มห

าวิท

ต ร์

คณ

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ยาลัยนเร

ปีที่ 7 ฉบับที่ 14 ธันวาคม 2553-มกราคม 2554

นานาทรรศนะ หน้า 3

บทสัมภาษณ์ ศ.ดร. ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ “แนวทางการพัฒนาหัวข้อวิจัยสายมนุษยศาสตร์”

นานาสาระทางวิชาการ หน้า 6

การใช้คลิปจาก You Tube ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

เก็บมาฝาก หน้า 7

ไปปลูกต้นไม้แห่งมิตรภาพ “ไทย-เวียดนาม”

กระดานศิษย์เก่า หน้า 9

น้ำใจ “มนุษย์” ...น้ำใจจากจิตสาธารณะ

ISSN : 1906-9014 (สงวนลิขสิทธิ์)


ที่ปรึกษา

คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รองคณบดีฝ่ายวิจัย

บรรณาธิการ ดร.อรอุษา

สุวรรณประเทศ

กองบรรณาธิการ ดร.ชมนาด อ.สถิตาภรณ์ อ.วราภรณ์ อ.สถิตย์ อ.ศิระวัสฐ์

ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ

เลขานุการ สุรีย์พร

บทบรรณาธิการ

อินทจามรรักษ์ ศรีหิรัญ เชิดชู ลีลาถาวรชัย กาวิละนันท์

นลินรัตนกุล ชุมแสง

งานประชาสัมพันธ์ :

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th ข้อมูลผู้เขียน 1. ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาศาสตร์ ภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: katechommanad@gmail.com 2. ดร.ฐิติรัตน์ สุวรรณสม อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: thitirats@nu.ac.th 3. ผศ.ประภาษ เพ็งพุ่ม รองหัวหน้าภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา (หัวหน้าสาขาวิชาภาษาไทย) ภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: bpengpoom@hotmail.com 4. อ.ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาภาษาไทย โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ประธานชมรมศิษย์เก่าสุวรรณภิงคาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: van.kavi@hotmail.com 5. สุรีย์พร ชุมแสง นักประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: sureepornpr@yahoo.com

สุวรรณภิงคารฉบับนี้ปรับโฉมต้อนรับศักราชใหม่ปีกระต่ายทอง 2554 โดย กองบรรณาธิ ก ารได้ น ำผลการวิ จ ั ย สำรวจความพึ ง พอใจของผู ้ อ ่ า นในรอบปี ท ี ่ ผ ่ า นมา มาปรับปรุงรูปโฉมของสุวรรณภิงคารให้มีความชัดเจน และทันสมัยมากยิ่งขึ้น ในจำนวนหน้าอันจำกัด เราได้จัดให้มีคอลัมน์ประจำที่หลากหลาย แต่ยังคงไว้ ซึ่งสาระอันเข้มข้น ได้แก่ นานาทรรศนะ หลากความคิดเห็นหลายมุมมองจากการสัมภาษณ์บุคคล ที่จะช่วยขยายโลกทัศน์ของท่านให้กว้างขวางกว้างไกลออกไป ฉบับนี้ ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2545 ให้ ส ั ม ภาษณ์ เ กี ่ ย วกั บ แนวทางการพั ฒ นาหั ว ข้ อ วิ จ ั ย สายมนุ ษ ยศาสตร์ ซ ึ ่ ง ก็ น ่ า จะเป็ น ประโยชน์โดยตรงแก่พวกเราชาวมนุษยศาสตร์ทุกคน นานาสาระทางวิชาการ หลากความรู้หลายกระบวนการเกี่ยวกับวิชาการ และ การเรียนการสอนจากทุกสาขาวิชาเพื่อความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษยศาสตร์ ฉบับนี้ นำเสนอการใช้คลิปจาก YouTube ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ นับเป็นวิธีการ ที่น่าสนใจในการนำเทคโนโลยีฟรีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนที่ครูอาจารย์ผู้สอน ทุกคนก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ เก็บมาฝาก หลากประสบการณ์ที่สรรมาถ่ายทอดเล่าสู่กันฟัง ฉบับนี้ เดินทาง ไกลไปปลูกต้นไม้แห่งมิตรภาพ ไทย-เวียดนาม ความประทับใจจากการเดินทางไปศึกษา ดูงานที่มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย แม้ไม่ได้ ไปเอง อ่านแล้วก็เหมือนได้ไป ร่วมประทับใจได้เหมือนกัน กระดานศิษย์เก่า ช่องทางสื่อสารระหว่างศิษย์เก่ากับศิษย์ปัจจุบัน และเวที ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของศิษย์เก่า เพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของศิษย์เก่าในการ พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์และมหาวิทยาลัยนเรศวร ฉบับนี้เล่าถึงกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ที่กลุ่มศิษย์เก่าชาวดอกแก้วได้กระทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่องมายาวนาน จนเข้าสู่ปีที่ 14 เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความภาคภูมิใจของคณะมนุษยศาสตร์ ที่สามารถ พัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้มีจิตสาธารณะ เป็นแบบอย่างที่ดีงามในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้แก่สังคม ข่าวกิจกรรม ข่าวดังและกิจกรรมเด่นในรอบเดือนของคณาจารย์ นิสิต และ บุคลากรคณะมนุษยศาสตร์ ที่จะช่วยให้ทุกท่านมองเห็นภาพคณะมนุษยศาสตร์ ชัดเจน ยิ่งขึ้น กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สุวรรณภิงคารโฉมใหม่นี้ จะเป็นที่พึงพอใจ ของผู้อ่านทุกท่าน อีกทั้งยังสามารถทำหน้าที่เป็นสื่อกลางทางความคิดระหว่าง คณะมนุษยศาสตร์กับสาธารณชน อันจะเป็นจุดเริ่มที่ดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน และกัน ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ บรรณาธิการ onusas@nu.ac.th


นานาทรรศนะ

“แนวทางการพัฒนาหัวข้อวิจัยสายมนุษยศาสตร์” เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา สาขาวิชา ภาษาศาสตร์ ภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ มาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การเก็บข้อมูลภาคสนามกับงานวิจัย ด้านภาษาและคติชนวิทยา” ภายใต้โครงการเสวนาวิชาการเพื่อ เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาหัวข้อวิจัยนิสิตระดับปริญญาเอก ในการนี้ได้รับการตอบรับจากผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายอย่างดี มาก และนับเป็นโอกาสดีที่คณะมนุษยศาสตร์ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ อีกครั้งในการให้ สัมภาษณ์ถึงแนวทางการพัฒนาหัวข้อวิจัยสายมนุษยศาสตร์ ดังนี้ค่ะ ในฐานะนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาปรัชญา (มนุษยศาสตร์) ประจำปี 2545 ของสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) อาจารย์ มีความเห็นอย่างไรกับการทำวิจัยของนักวิชาการในสาย มนุษยศาสตร์คะ ตอบอย่างนี้ดีไหมคะ ความเห็นในเรื่องนี้มิใช่ความเห็น ของดิฉันโดยเฉพาะ แต่เป็นความคิดเห็นของท่านทั้งหลายที่มี หน้ า ที ่ ส นั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นากิ จ การวิ จ ั ย ในสาย มนุษยศาสตร์ ทั้งในระดับชาติและมหาวิทยาลัย ที่ดิฉันเคย ได้ ร ั บ รู ้ ร ั บ ทราบและในเวลาเดี ย วกั น ก็ เ ห็ น ด้ ว ยนั ่ น คื อ ถ้ า

เปรี ย บเที ย บกั บ การทำวิ จ ั ย ในสายวิ ท ยาศาสตร์ แ ละแม้ แ ต่ สายสังคมศาสตร์ พูดกันอย่างตรงไปตรงมานะคะ เรายังล้าหลัง กว่าเขาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ แต่พวกเราไม่ค่อยยอมรับ ความจริง และมักให้เหตุผลว่าเราเป็นครูที่ดีมาก ทุ่มเทเวลา ให้กับการสอนและการตรวจการบ้านจนไม่มีเวลาทำวิจัย ซึ่งเป็น เรื่องส่วนตัว และระเบียบวิธีวิจัยในสายมนุษยศาสตร์ก็มีความ หลากหลาย ไม่มีระเบียบวิธีการแน่นอนเหมือนในสาย วิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่ค่อยมีหัวข้อวิจัยให้ทำ นอกจากนี้ยังต้องใช้เวลามากในการทำวิจัยแต่ละเรื่อง ต้องทำ ด้วยตนเองทั้งหมด ไม่สามารถให้ผู้ช่วยวิจัยช่วยได้ เป็นต้น ดิฉันคิดว่าก็มีส่วนจริงนะคะ แต่เพียง 30% เท่านั้นที่ขึ้นอยู่กับ ธรรมชาติของศาสตร์ อีก 70% น่าจะขึ้นอยู่กับธรรมชาติของคน ในศาสตร์มากกว่า ปกติพวกเราชอบฝัน จินตนาการ ทำตาม ความปรารถนาแห่งใจตน และไม่ค่อยชอบคิดและหรือทำอะไร ที่เป็นระบบ เรามักรู้สึกว่ามันน่าเบื่อและไม่สร้างสรรค์ฯลฯ เมื ่ อ อาจารย์ ผ ู ้ ใ หญ่ ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น ตั ว อย่ า งให้ ก ั บ อาจารย์ ร ุ ่ น น้ อ ง และนิสิตบัณฑิตศึกษา การส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนางาน วิ จ ั ย ในสายมนุ ษ ยศาสตร์ ข องผู ้ ท ี ่ ต ้ อ งมี ห น้ า ที ่ ร ั บ ผิ ด ชอบ จึงเป็นเรื่องยากมาก ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ถ้าเรา ไม่ช่วยกันแก้ไขสถานการณ์ด้วยตัวเราเอง คนนอกศาสตร์ก็คง ช่วยอะไรเราไม่ได้มากนัก

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2553-มกราคม 2554

3

ดร. ชมนาด อินทจามรรักษ์

บทสัมภาษณ์ ศ.ดร. ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ


นานาทรรศนะ

1

ดร. ชมนาด อินทจามรรักษ์

อยากขอให้อาจารย์ช่วยชี้แนะแนวทางการพัฒนาหัวข้อวิจัย สายมนุษยศาสตร์ค่ะ ปกติอาจารย์ที่ทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง เวลาสอนหนังสือ ก็มักจะแนะนำหัวข้อวิจัยอยู่เนืองๆ ถ้านิสิตนักศึกษาตั้งใจฟัง และนำไปคิดต่อก็คงหาหัวข้อวิจัยได้ไม่ยาก การเข้าร่วมประชุม และสัมมนาวิชาการบ่อยๆ ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการวิจัย การอ่านหนังสือและวารสาร ระดับนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถติดตามความ ก้าวหน้าของงานวิจัยในศาสตร์และนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอด โดยทำวิจัยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ได้ เวลาทบทวนวรรณกรรม ต้องคิดว่า เราทำเพื่อให้ทราบสถานภาพของงานวิจัยในแขนง ที่เราสนใจ อันจะเป็นแรงบันดาลใจให้เราคิดใหม่ทำใหม่ ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่คนอื่นทำมาแล้ว มิใช่ทบทวนวรรณกรรม เพื ่ อ ลอกเลี ย นหั ว ข้ อ และขั ้ น ตอนการดำเนิ น งานของคนอื ่ น นอกจากไม่สร้างสรรค์แล้วยังผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณ อีกด้วย การได้พบปะสังสรรค์พูดคุยกับผู้รู้ผู้รักการวิจัยก็จะช่วย ให้เกิดแรงบันดาลใจและได้หัวข้อวิจัย นอกจากความรู้จาก เอกสาร ความรู้จากบุคคล บางครั้งหัวข้อวิจัยก็เกิดจากการได้ ออกไปสัมผัสกับโลกภายนอก แทนที่จะอ่านเอกสารในห้องสมุด หรื อ ค้ น หาทางอิ น เตอร์ เ น็ ต ในห้ อ งทำงานอย่ า งเดี ย ว สิ่งที่พบเห็นในต่างประเทศและตามป่าเขา ก็ช่วยให้ได้หัวข้อวิจัย สามารถที่จะค่อยๆ พัฒนา จนเป็นข้อเสนอโครงการวิจัยที่น่า สนใจน่าให้การสนับสนุนได้เช่นกัน นอกจากริเริ่มโครงการวิจัยที่น่าสนใจแล้ว การที่จะผลิตงาน วิจัยที่มีคุณภาพควรทำอย่างไรคะ ถ้ า จะผลิ ต ผลงานวิ จ ั ย ที ่ แ น่ ใ จได้ ว ่ า มี ค ุ ณ ภาพก็ ต ้ อ ง ขอทุนวิจัย ถ้าได้รับทุนจากแหล่งทุนภายนอก ซึ่งเป็นแหล่งทุน ระดับชาติก็ยิ่งดี เพราะมีการควบคุมคุณภาพตั้งแต่การพิจารณา ข้อเสนอโครงการวิจัย การประเมินและติดตามการดำเนินงาน เป็นระยะๆ การจัดเวทีให้มีการรายงานความก้าวหน้า และ

4

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2553-มกราคม 2554

2

รายงานผลงานวิจัยเมื่อเสร็จสมบูรณ์ มีการสนับสนุนให้ตีพิมพ์ ตลอดจนการจัดสรรรางวัลนานาประเภท สิ่งที่กล่าวมานี้เป็น การควบคุมคุณภาพงานวิจัยอยู่แล้ว ถ้าเราได้รับทุนวิจัย เช่น จากสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฯลฯ ที่นักวิชาการในสายมนุษยศาสตร์สามารถสมัคร ขอรับทุนได้ ขอให้มีความกล้าที่จะเข้าร่วมกระบวนการเท่านั้น การทำวิจัยอย่างโดดเดี่ยวตามลำพัง มักจะไม่เสร็จหรือเสร็จช้า ส่วนเรื่องคุณภาพก็ไม่มีการตรวจสอบเป็นระยะๆ ไม่มีผู้ช่วยดู และแสดงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุง โอกาสจะหลงทางจึงมี มากกว่า อาจารย์มีข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ เช่น อาจารย์ที่เพิ่งเริ่มสอนหนังสือและนิสิตนักศึกษา ที่จะ ต้องทำวิจัยเป็นวิทยานิพนธ์อย่างไรบ้างคะ แม้ ว ่ า การวิ จ ั ย จะเป็ น หน้ า ที ่ ข องอาจารย์ แ ละนิ ส ิ ต นักศึกษา ในระดับบัณฑิตศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา แต่ก็ควร พยายามทำให้ตัวเองรู้สึกว่าเป็นสิ่งน่าสนใจและพอใจที่จะทำด้วย

1. พานิสิตปริญญาโทและปริญญาเอกในความดูแลไปทัศนศึกษาที่แหล่งภาษา และวัฒนธรรมมอญบ้านม่วง ตำบลนครชุมน์ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 2. เก็บข้อมูลภาษากะเหรี่ยงโป (โผล่ว หรือกะโพล่ง) ที่หน้าศูนย์อพยพ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 3. ส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยในอดีต ถึงสิงหาคม 2551

3


ดร. ชมนาด อินทจามรรักษ์

นานาทรรศนะ

พยายามทำให้ตัวเองรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจและพอใจที่จะทำด้วย ยิ่งถ้ารักและผูกพันก็จะยิ่งดี เพราะจะทำให้สนุกและกัดไม่ปล่อย การ ได้ทำสิ่งที่รักที่ชอบจะทำให้มีความสุข ควรคิดว่าใบปริญญาบัตร ตำแหน่งทางวิชาการ และรางวัลที่ได้รับเป็นเพียงของแถมจากงาน ที่เราทำด้วยใจรัก เมื่อมีทัศนคติที่ดีต่องานวิจัยแล้ว สิ่งที่ควรทำ อีกอย่างหนึ่ง คือการเข้าร่วมทำโครงการย่อยในโครงการใหญ่ หรือชุดโครงการก่อน ในลักษณะผู้ร่วมวิจัยหรือผู้ช่วยวิจัย เพราะมีหัวหน้าโครงการ หรือไม่ก็ผู้ประสานงานช่วยดูแลชี้แนะ มีโอกาสได้เห็นตัวอย่างการทำวิจัยและการบริหารจัดการงาน วิจัยแบบมืออาชีพทำให้เกิดกำลังใจ และได้เพิ่มพูน ประสบการณ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยในอนาคต ต่อไป เมื่ออยู่ในบรรยากาศและกระแสธารของการวิจัย ที่เป็นธรรมชาติแล้ว การหาหัวข้อวิจัยก็ไม่ใช่เรื่องยากอีก ต่อไป มันจะมาเองพร้อมกับปัจจัยเกื้อหนุนด้านต่างๆ ค่ะ

4 6

5

4. ลุยน้ำไปสำรวจข้อมูลที่บ้านตีนดอย บ้านกระเหรี่ยงสะกอ (ปกากะญอ) ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก กับผู้ช่วยวิจัย (นิสิตผู้รับทุน คปก.) 5. ส่วนหนึ่งของรางวัลที่ได้รับจากการเป็น “ครู” และ “นักวิจัย” ผู้ทุ่มเททั้งใจและกาย 6. แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 7. งานบรรยายและนิทรรศการเกี่ยวกับผลงานวิจัย 35 ปี ที่เพื่อนอาจารย์ และลูกศิษย์จัดให้เมื่อเดือนสิงหาคม 2551 ผู้สนับสนุนทุนวิจัย ศ.นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช อดีตผอ. สกว. (ซ้าย) และ ศ.ดร.วิชัย บุญแสง อดีตผอ.ฝ่ายวิชาการ สกว.(ขวา) มาร่วมงานด้วย

7

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2553-มกราคม 2554

5


นานาสาระทางวิชาการ

การใช้คลิปจาก

ในการเรียนสอนภาษาอังกฤษ

ดร.ฐิติรัตน์ สุวรรณสม

สวัสดีค่ะ เปิดภาคเรียนที่สองมาแล้วอาจารย์ หลายท่านคงวุ่นวายกับการสอนพอสมควร โดยเฉพาะท่านที่ สอนวิชาที่มีนิสิตกลุ่มใหญ่ๆ เช่น ภาษาอังกฤษพัฒนา ห้องที่ ดิฉันสอนคราวนี้ก็ห้องใหญ่ทั้งนั้นซึ่งมีนิสิตจำนวน 80-90 คน กันเลยทีเดียว การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในห้องใหญ่ ขนาดนี้โดยเฉพาะการฝึกภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นหลายท่าน คงทราบดีว่าเป็นไปได้ยากเนื่องจากความไม่สะดวกในการให้ นิสิตออกมาทำกิจกรรมและเวลาอันมีจำกัด ดิฉันเองก็เริ่ม สอนไปตามเนื้อหาของรายวิชา จนมาถึงบทที่ 6 ของวิชานี้ คือการสอนการใช้คำคุณศัพท์เปรียบเทียบ (comparative and superlative adjectives) ดิฉันก็บรรยายไปตามหลักการ เปลี่ยนคำคุณศัพท์ ก็ว่ากันไปเหมือนที่เรียนมาสมัยประถมมัธยม เสร็จแล้วก็สั่งให้ทำแบบฝึกหัดเติมคำ พอเงยหน้ามา นิสิตก็ง่วงเหงาหาวเรอไปตามๆ กัน บ้างก็หลับกันเห็นๆ ดิฉันเองก็รู้สึกสงสารนิสิตที่ต้องเรียนเรื่องเดิมๆ อย่างเดิม ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ยิ่งมาเจอกับผู้สอนคือดิฉันที่เน้นการบรรยาย ซึ่งอาจจะมีลักษณะน่าเบื่อ(มาก)ไปบ้าง พอให้ทำแบบฝึกหัด หรือแต่งประโยคมาก็มักจะผิดเรื่องเดิมๆ ดิฉันก็คิดว่าการให้ ทำแต่แบบฝึกหัดเติมคำ หรือแต่งประโยคคงจะไม่ได้การเสียแล้ว น่าจะหาสื่อการสอนที่ตื่นเต้นแปลกใหม่ แสดงให้เห็นภาษาที่ ใช้จริงในชีวิตประจำวันด้วย ก็เลยลองค้นหาคลิปวิดีโอเกี่ยวกับ เรื่อง comparative and superlative adjectives ใน YouTube ดู แล้วก็เจอคลิปนี้ที่เขาไปถามคนเดินถนนในนิวยอร์คเกี่ยวกับ เมืองต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ถามว่าเมืองไหนใหญ่กว่ากัน และ ถามด้วยว่าภาษาอะไรที่ไพเราะที่สุดในโลก ซึ่งเป็นการถาม ที่ผู้ถามและผู้ตอบต้องใช้ comparative and superlative adjectives ในการสนทนาตอบโต้กันไป นอกจากนั้นยังไปเจอ คลิปสอนการเปรียบเทียบสิ่งของ และการเปลี่ยนตัวสะกด เมื่อเปลี่ยนคำคุณศัพท์เป็น comparative and superlative degree พอเจอคลิปพวกนี้แล้วก็เก็บ URL ไว้ พอไปห้องเรียน ก็เปิดให้นิสิตดูในห้องเรียน ต้องขอขอบคุณที่มหาวิทยาลัย ติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตที่อาคารเรียนรวม QS ด้วย เพราะทำให้ การเปิดคลิปสะดวกรวดเร็วมากจากการสังเกตพฤติกรรมของ นิสิตหลังจากการดูคลิปพบว่านิสิตมีความสนอกสนใจในการชม คลิปวิดีโออย่างมาก ทั้งห้องแปดสิบกว่าคนเงียบกันหมด และ ตั้งใจฟังครูยู (YouTube) เป็นอย่างดี เมื่อเปิดให้ฟังหลายๆ รอบ แล้ ว ถามคำถามเพื ่ อ ทดสอบความเข้ า ใจนิ ส ิ ต ก็ ต อบได้ เ ป็ น อย่างดี ดิฉันเองก็อดแปลกใจไม่ได้ในความมหัศจรรย์ของสื่อ ที่สามารถทำให้นิสิตสนใจเรียนได้ ซึ่งเรื่องนี้ในความคิดส่วนตัว ของดิฉัน การเรียนภาษาอังกฤษจะให้ได้ผลนั้น จะต้องมี 6

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2553-มกราคม 2554

You Tube

สถานการณ์ให้นิสิตเห็นจริงๆ ว่าภาษาที่เรียนนั้นจะใช้ใน สถานการณ์ไหน ใช้อย่างไร ไม่อย่างนั้นแล้วนิสิตก็จะนึกภาพ ไม่ออกว่าประโยคอย่างนี้หรือสำนวนอย่างนี้จะเอาไปใช้เมื่อไหร่ ดิฉันคิดว่าการเรียนแบบได้เห็นตัวอย่างที่เหมือนเหตุการณ์จริง ไม่ใช่แค่ตัวหนังสือหรือหน้ากระดาษจะทำให้นิสิตจดจำและทำ ความเข้าใจได้รวดเร็วและเอาไปใช้ได้อีกด้วย นอกจากนั้น การใช้คลิปการสอนภาษาอังกฤษ ก็ทำให้ เกิดความคิดที่จะทำกิจกรรมต่อยอด บังเอิญว่าเนื้อเรื่องของ บทนี้เป็นการเปรียบเทียบลักษณะของบุคคลในครอบครัวหรือ เพื่อนฝูง กิจกรรมจะทำได้ก็คือการให้นิสิตไปอัดคลิปวิดีโอ เป็นกลุ่ม อธิบายลักษณะของบุคคลในครอบครัว หรือในกลุ่ม เพื่อน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของหลายๆ คนยกตัวอย่าง เช่น ขอให้สมาชิกในบ้านมายืนเรียงกันแล้วชี้ไปที่คุณพ่อ และพูดว่า My father is the tallest person in the family พอมาถึง คุณน้องชายคนเล็กก็บอกว่า My youngest brother is the most stubborn person in the family. หรือหากจะบรรยาย เปรียบเทียบลักษณะในกลุ่มเพื่อนก็สามารถทำได้ เช่น Mickey is the most generous person in our group. He often lends me some money. แล้วนำมาเปิดให้ดูกันในชั้นเรียนเป็นการ ทบทวนไปในตัว หรือใครจะเอาไปอัพโหลดขึ้นใน Facebook หรือ YouTube แบ่งให้เพื่อนๆ กลุ่มอื่นดูก็ยังได้ เป็นการใช้ ทั้งไวยากรณ์และคำศัพท์ประจำบทเรียนไปด้วย ที่เล่ามานี้ เป็นประสบการณ์ในการนำเทคโนโลยีฟรีมาใช้ในการเรียนการ สอนนิสิตมีความสนใจเรียนไม่รู้สึกเบื่อ เพราะได้เจอเรื่องราว การใช้ภาษาในสถานการณ์จริงนอกห้องเรียน นิสิตเองก็ได้รู้ว่า YouTube นั้นก็ไม่ได้มีไว้เพื่อการบันเทิงอย่างเดียว ใช้ในการ เรียนภาษาได้อย่างดีเยี่ยมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ขอให้มี อินเทอร์เน็ต จะเรียนที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ตามสะดวก แถมอาจารย์ ผู้สอนห้องใหญ่อย่างดิฉันก็เบาแรงไปได้เยอะ เพราะได้ครูยู ต่างชาติหลากหลายสำเนียงมาช่วยสอนให้ฟรี โดยไม่คิดค่าแรง เลยสักบาทนี่แหละค่ะ คุ้มจริงๆ สงสัยต้องเชิญมาเป็น วิทยากร บ่อยๆ ซะแล้ว


ไปปลูกต้นไม้แห่งมิตรภาพ

เก็บมาฝาก

“ไทย-เวียดนาม”

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2553-มกราคม 2554

ผศ.ประภาษ เพ็งพุ่ม

ผมไปเวียดนามมาครับ...ไปเป็นครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรกไม่ถึง 5 ปี การไปในครั้งนี้ เป็นการไปราชการ ซึ่งจุดใหญ่ใจความก็เพื่อไปศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ณ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ที่สามารถผลิตบัณฑิตด้าน ภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งๆ ที่เรียนวิชาภาษาไทยกันแค่ 18 หน่วยกิตเท่านั้นเอง ผลิตผลของมหาวิทยาลัย ดังกล่าวที่โดดเด่นมองเห็นเป็นรูปธรรมก็คือ นักศึกษาที่จบจากสถาบันดังกล่าว มาเป็นอาจารย์สอนภาษาเวียดนาม ที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรถึง 2 ท่าน และสามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี พูดจาภาษาไทยได้ “เนียน” ชนิดที่หูคนไทยแทบจะแยกไม่ออกทีเดียวว่าเป็นชาวต่างประเทศ สถาบันเขาสอนได้ดีขนาดที่ว่าอาจารย์ท่านหนึ่งจบ ปริญญาโทสาขาวิชาภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยนเรศวรไปแล้ว และกำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านคติชนวิทยา ส่วนอีกท่านหนึ่งก็กำลังเรียนปริญญาโทภาษาไทยอยู่ ความรู้ความสามารถของทั้ง 2 ท่านนี่เองที่ทำให้คณะอาจารย์ที่มี หน้าที่สอนเกี่ยวกับภาษาจะต้องไปดูการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่า เขาสอนกันอย่างไรเด็กเขาถึงมีคุณภาพ เพียงนี้ คณะเดินทางของเราไปกันทั้งหมด 18 ชีวิตครับ นำโดยท่านรักษาการรองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผศ.ดร.อารีรักษ์ มีแจ้ง และอาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ นิสิตปริญญาโทภาษาไทย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ของมหาวิทยาลัย มีกำหนดการเดินทางศึกษาดูงานตั้งแต่วันที่ 7 – 11 ธันวาคม 2553 โดยสายการบินเวียดนามแอร์ไลน์ (ซึ่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินน่าจะฝึกยิ้มอีกซักนิด การนั่งเครื่องบินชั่วโมงกว่าๆ ก็จะน่าอภิรมย์กว่านี้ไม่น้อยทีเดียว) การไปครั้งนี้ ไม่ใช่แต่ว่าจะไปดูงานและดูงานเท่านั้นนะครับ ถ้าเป็นอย่างนั้นมันคงจะแห้งแล้งและจืดชืดน่าดู เราจึงจัดโปรแกรมศึกษาดูงานด้านศิลปะวัฒนธรรมขึ้นมาด้วย โดยไปเยี่ยมชมเมืองซาปา จังหวัดลาวไก ซึ่งอยู่ทาง ตอนเหนือของเวียดนาม ในฤดูหนาว (หนาวได้จับใจ) และเป็นเมืองที่พักตากอากาศของทั้งชาวฝรั่งเศสในช่วงที่เป็น อาณานิคม และของชาวเวียดนามเอง ผู้คนที่นี่ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าว ปลูกพืชไร่ และที่น่าสนใจคือการเลี้ยงควายและเลี้ยงหมูปล่อยให้หากินไปตามไหล่เขา ซึ่งควายและหมูเขาก็เลี้ยงดูตัวเองกันได้ เป็นอย่างดี ในฤดูทำนานั้น สิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวต้องหลงใหลก็คือทัศนียภาพของการทำนาขั้นบันได ที่มีบิ้งนาลดหลั่น เป็นชั้นเป็นเชิง เขียวชอุ่มทั่วไปทั้งภูเขา ลูกต่อลูก นับเป็นภาพที่ติดตราตรึงใจอย่างไม่รู้ลืมเลือน แต่ที่ประทับใจมากที่สุด ก็เห็นจะหนีไม่พ้น “การช็อปปิ้ง” สินค้าพื้นเมือง ที่ส่วนใหญ่จะเป็นศิลปหัตกรรมของชาวเขานั่นเอง ใครที่บอกว่า ของดีราคาถูกไม่มีในโลก ก็ต้องลองมาดูที่เวียดนามครับ มีแน่ๆ ใครมีเทคนิคการต่อรองราคาขั้นเทพแบบไหน อย่างไร งัดออกมาใช้ให้หมดเลยครับ แล้วจะได้ของถูกใจ และราคาถูก (ถ้าไม่ทะเลาะกับแม่ค้าไปซะก่อน) แต่มีสิ่งที่ทำให้ผม

7


เก็บมาฝาก ผศ.ประภาษ เพ็งพุ่ม

ต้องรู้สึกฉงนฉงายอยู่มากก็คือ ผ้าปักฝีมือชาวเขาที่ขายๆ กันอยู่ที่นั่น มันช่างละม้ายคล้ายคลึงกับที่มีขายทาง ภาคเหนือของเราซะเหลือเกิน ผมจึงตั้งสมมติฐานไว้ 3 ประเด็น ตามประสานักวิชาการ คือเขาเป็นชาวเขาเผ่าเดียว กันกับที่เมืองไทย ศิลปะหัตถกรรมก็ต้องเหมือนกัน เป็นธรรมดา รึว่า 2 เขามาลอกเลียนแบบของเราเพราะเห็น ว่าสวย รึว่าประเด็นที่ 3 คือ เราไปซื้อของเขามาขาย เพราะ ราคามันถูกมาก แล้วมาขายแพงๆ ที่บ้านเราในราคาสูงกว่า สองถึงสามเท่า(ซึ่งในกลุ่มชาวคณะที่ร่วมเดินทางไปก็ทำ แบบนี้ ฮา..) ท่านผู้อ่านก็ลองใช้วิจารณญาณช่วยผมคิด หน่อยครับ คณะของเราได้มาศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัย สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ฮานอย ในวันที่ 10 ธันวาคม 2553 หลังจากกลับจาก ซาปาแล้ว โดยท่าน Pro.Dr. Nguyen Van Khanh ; Rector มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย แห่งชาติฮานอย เป็นผู้กล่าวต้อนรับ แนะนำคณะ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แก่คณะศึกษาดูงาน และ มอบของที่ระลึก โดยมี ผศ.ดร.อารีรักษ์ มีแจ้ง รักษาการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ เป็นตัวแทน กล่าวแสดงความรู้สึก มอบของที่ระลึกแลกเปลี่ยน และยัง ใช้โอกาสอันดีนี้ประชาสัมพันธ์หลักสูตรต่างๆ ในคณะ มนุษยศาสตร์ เพื่อเชิญชวนนักศึกษาจากเวียดนาม มาเรียน ที่ประเทศไทยด้วย บรรยากาศในที่ประชุมนั้นชื่นมื่นมาก ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายเวียดนาม โดยเฉพาะนักศึกษาชาว เวียดนามนั้น ดูจะตื่นเต้นและกระตือรือร้นที่ได้พบกับ อาจารย์ชาวไทย นอกจากนั้น ในที่ประชุมได้เปิดโอกาส

8

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2553-มกราคม 2554

ให้นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทยได้มีโอกาสพูดคุย ซักถาม ปัญหาต่างๆ ในการเรียนการสอน ซึ่งนักศึกษาซึ่งกำลัง เรี ย นชั ้ นปี สามและปี สี ่ ก็ สามารถใช้ ภ าษาไทยโต้ต อบได้ อย่างดีที่เดียว และอาจารย์ผู้ใหญ่อีกท่านหนึ่งที่ร่วม เดินทางไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ คือท่าน รศ.ดร.สนม ครุฑเมือง ได้เสนอแนะให้นักศึกษาพัฒนาภาษาไทย โดยหา โอกาสไปฝึกประสบการณ์การใช้ภาษาไทยกับคนไทยตาม แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีคนไทยไปท่องเที่ยว หรือร่วมมือ กั บ บริ ษ ั ท ท่ อ งเที ่ ย วที ่ บ ริ ก ารให้ ก ั บ คนไทยรั บ นั ก ศึ ก ษา เวียดนามไปฝึกงาน เพื่อให้มีโอกาสฝึกภาษาไทยได้โดยตรง หลั ง จากนั ้ น พวกเราทั ้ ง ไทยทั ้ ง เวี ย ดนามที ่ ใ ช้ ภ าษาไทย สื่อสาร ก็ลงมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกร่วมกัน ในบรรยากาศที่ อบอวลไปด้วยรอยยิ้มและมิตรภาพ การไปเยี่ยมเยียนของเราในครั้งนี้ได้สร้างความ ตื่นตาตื่นใจให้กับนักศึกษาชาวเวียดนามที่เรียนภาษาไทย ได้เป็นอย่างดี และพวกเขาต่างก็มีเจตนาที่จะหาโอกาส มาเรียนรู้และรับประสบการณ์ตรงที่ประเทศไทยมากขึ้น และย้ ำ ความมั ่ น ใจแก่ น ั ก ศึ ก ษาวิ ช าเอกภาษาไทยชาว เวียดนามว่าภาษาไทยก็เป็นภาษาต่างประเทศที่น่าสนใจ ศึกษาอีกภาษาหนึ่ง ไม่แพ้ภาษาอื่นใดในโลกเช่นกัน และ คนรุ ่ น ใหม่ ช าวเวี ย ดนามเหล่ า นั ้ น ก็ ค ื อ เมล็ ด พั น ธุ ์ แ ห่ ง มิตรภาพและความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามที่ได้หว่านผ่านทางการ เรียนภาษาไทย หากเราเพาะเลี้ยงและบำรุงรักษา เป็นอย่างดี เมล็ดพันธุ์เหล่านี้ก็คงจะงอกงามเติบโตเป็น ต้นไม้แห่งมิตรภาพ “ไทย-เวียดนาม” ได้อย่างยั่งยืน


จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2553-มกราคม 2554

9

กระดานศิษย์เก่า

จำปี 2554 เป็นอีกวลีหนึ่งที่เด็กหลายต่อหลายคน “รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ” คำขวัญวันเด็กประ ใจดี อนมกราคม เพื่อขึ้นเวทีตอบคำถามรับรางวัลจากผู้ใหญ่ เดื ของ 2 ่ ี ท ์ เสาร ิ ชาต ง แห่ ก เด็ น วั ง นถึ อ ใจก่ น ้ ึ ข ห้ งจำใ อ ต้องขยันท่ อาจเป็นเพราะว่าสังคมกำลังถามหาว่า “ใครมีจิต น ั บ จุ จ ปั ะแส นกร ใ ่ ยู เอกอ พระ น เป็ ง ำลั ก ่ ี คำท ก อี น เป็ “จิตสาธารณะ” วคิดเรื่องนี้ได้รับการปลูกฝังมาอย่างต่อเนื่อง ะแน เพรา ก นั อะไร ย สมั น ำทั ค ช่ ใ ไม่ บ ั วกล า กล่ ง ั คำด า ทว่ สาธารณะ กันบ้าง???” เป็นต้น ้สึกในทำนองเดียวกัน เช่น จิตอาสา จิตสำนึกเพื่อสังคม ทุกยุคทุกสมัย โดยผ่านคำที่ให้ความหมายและสื่อความรู คงปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องเริ่มต้นที่ผู้ใหญ่ทำตน ก่อนที่การปลูกฝังให้เด็กไทยยุคใหม่จะมีจิตสาธารณะก็ ทั้งนี้ รค์สิ่งที่ ก่าคณะมนุษยศาสตร์จากทุกสารทิศรวมตัวกันสร้างสร เ ย์ ษ ิ ศ ห้ ทำใ ง ่ ลซึ ผ ุ เหต ก อี น เป็ อาจ น ่ นั และ ี ด ่ งที า อย่ ให้เป็นแบบ พง จังหวัดอุทัยธานี ดีงาม เป็นตัวอย่างเพื่อน้องๆ เด็กๆ ในโรงเรียนบ้านวัง คดีไทย มน. รุ่น 1 ผู้ริเริ่มกิจกรรมดีๆ เช่นนี้ วรรณ และ าษา เอกภ 30 ส รหั า ก่ เ ย์ ษ ศิ ว ้ นแก า ป่ งษ์ พี่ต้อ วราพ หนังสือพิมพ์ในเครือบางกอกโพสต์ พี่ต้อ ดย์ เ ทู ์ พสต โ พ์ ม พิ อ สื ง หนั ของ ง ่ ึ นหน ว ส่ น ป็ เ คลี ก คลุ อ ้ ต ่ พี ตั้งแต่สมัยเป็นนิสิต ปัจจุบัน ยๆ คน ี่ๆ นิสิตเก่าทำกันอยู่จนทุกวันนี้ก็เข้าสู่ปีที่ 14 แล้ว หลา วกพ พ ่ มที กรร จ “กิ .... า ่ ว ้ มนี กรร จ งกิ ปขอ ไ ่ าที ม ่ ที ง ถึ า ล่ เ ได้ นึ่ง คยทำกันมาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ พี่จำได้ว่าตั้งแต่พี่เข้าปีห เราเ บ ั าคร ม ่ ี ท มี น มั ก เด็ น มวั กรร จ กิ น งเป็ อ ต้ ง มถึ ทำไ า ว่ อาจสงสัย ่ ้งนี้รูปแบบก็ไม่ต่างกันมากก็คือเราจะเลือกโรงเรียนที่อยู ทั ว ล้ แ ่ ยู มาอ น ำกั เขาท ๆ ่ พี น ่ ุ ร ่ ที ก เด็ น ยวั า กค่ เราก็มีกิจกรรมออ เรียนให้เล็กๆ น้อยๆ โดยระดมทุนจากการ มโรง มแซ อ ซ่ ง ถึ รวม ญ ขวั ของ แจก การ ทนา น มสั กรร จ กิ นอกเมือง เพื่อไปจัด ไปกันทั้งคณะ (ตอนนั้นคณะเรามีกันแค่ งๆ อ น้ ๆ ่ พี ชวน ญ ชิ เ ก็ ว แล้ ลก โ ณุ ษ ิ ในพ งๆ า ต่ า นค้ า ร้ ออกหาสปอนเซอร์ จากกิจการ พอเรียนจบมา อาทิตย์ก็ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่พวกเราประทับใจ น วั บ กลั น คื ง ่ ึ งหน า ค้ ์ เสาร น ั ไปว ) ง ้ ั ม ด้ คนไ 200 วรจะมี ารได้เป็นหลักแหล่งกันแล้ว น้องๆ ก็มาชวนกันว่า เราค หาก างาน พอห ่ ยู อ มี ง ั ย ก็ ก เด็ น มวั กรร จ กิ บ ใจกั บ ะทั ความปร ั้ง ถือเป็นการทำประโยชน์ให้กับสังคม ในฐานะที่เรา ะคร ล ยปี อ งน้ า อย่ น ำกั ท ได้ งๆ อ น้ ๆ ่ ี พ ห้ ใ ่ งที า อย่ ก กิจกรรมอะไรสั กับอีกทางหนึ่งเราจะได้ถือโอกาสนี้ได้พบปะกัน ม นรว ว ส่ อ ่ พื เ ์ โยชน ประ ง ถึ ด ิ ค ห้ เราใ ของ ย ั ยาล ท วิ มหา ถูกปลูกฝังจากคณะจาก ่เกี่ยว งานนี้จะมีแต่ความเป็นพี่เป็นน้องเท่านั้น นไม กงา ใครต ง อ น้ ก ลู น เป็ นาย า เจ้ น เป็ ำงาน ท ่ ี ท ่ ยู ตามประสาพี่ๆ น้องๆ ใครอ ก็คงยัง ทำไปทำมาก็กว่า 10 ปีแล้วที่รูปแบบกิจกรรมหลักๆ ง ้ ครั ก อี อ นต่ าสา นำม ก ถู ง ึ มาจ น ำกั คยท เ ่ ที ก เด็ น มวั กรร กิจ ุกาญจน์ งๆ และครอบครัว” เช่นเดียวกับพี่กอล์ฟ กอบชัย ธนส อ น้ ๆ ่ พี บ ั ก ้ ไปให า เข้ การ ทนา น มสั กรร จ กิ ม ่ พิ เ แต่ ม ิ เหมือนเด . (มหาชน) ศิษย์เก่าเอกภาษาอังกฤษ รหัส 27 มศว ด ั จำก อบี โ ยู คาร ธนา น ทุ รลง นกา งแผ ยวา า ฝ่ ส โ วุ ผู้อำนวยการอา นี้เช่นกัน พี่กอล์ฟได้เล่าถึงที่มาที่ไปของกิจกรรม ง ้ ครั มใน กรร จ มกิ ว ่ ร ด้ ไ ่ ที า ก่ เ ย์ ษ ิ ในศ ง ่ หนึ น ป็ เ ก็ ) น ้ ั พิษณุโลก (ชื่อในขณะน กๆ ในชนบท นี้ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ นี้ว่า “พวกเราตระหนักถึงความสำคัญของเด็กๆ ในวัน และทำ ดาศิษย์เก่า และเปิดรับบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อไปแจก ่ซึงไม่ค่อยได้รับโอกาสเท่าเด็กในเมือง เราจึงรวบรวมบรร ้มีความสุขกับการเป็นผู้ให้แล้ว เรายังถือโอกาสนี้พบปะ จะได จาก นอก ง ่ ึ บทซ นชน ใ ่ ยู อ ่ นที ย งเรี ในโร ๆ ก เด็ บ ั ก ้ กิจกรรมให ตัว” สังสรรค์กับบรรดาพี่ๆ เพื่อนๆน้องๆ ชาวดอกแก้วไปใน

อ.ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์

น้ำใจ “มนุษย์” ...น้ำใจจากจิตสาธารณะ


กระดานศิษย์เก่า อ.ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์

ด้วยเหตุนี้ นอกจากกิจกรรมวันเด็กในแต่ละปี จะเป็นกิจกรรมเพื่อช่วยสังคมแล้ว ยังทำให้บรรดาศิษย์เก่า ทุกหนทุกแห่ง รวมทั้งศิษย์ปัจจุบันน้องใหม่ได้มารวมตัวกัน ได้อย่างสนิทใจ เกิดการประสานไมตรี และเชื่อมสายสัมพันธ์ ได้อย่างต่อเนื่อง ดังเช่นที่พี่กอล์ฟได้ให้ความเห็นไว้ว่า “ภูมิใจ ดีใจ เหมือนเจอเพื่อน เจอน้องร่วมสถาบันกันมา แม้จะไม่รู้จัก ในสมัยเรียน แต่ก็เพราะกิจกรรมนี้ก็เลยได้มีโอกาสรู้จักกัน ได้มอบความสุขให้เด็กๆ ได้เจอเพื่อนเจอน้อง ได้เที่ยว ได้หัวเราะ เฮฮา จะหากิจกรรมแบบนี้ที่ไหนได้อีก?” อี ก ทั ้ ง พี ่ ต ้ อ ได้ ม องการทำงานของเด็ ก มนุ ษ ย์ ทั้งเก่า และปัจจุบันที่ได้มาพลีกายพลีใจเพื่อสังคมในครั้งนี้ได้ อย่างลึกซึ้งกินใจเพิ่มเติมว่า “พี่ถือว่ามหาวิทยาลัยของเรา คณะ ของเรา สร้างให้เราเป็น “มนุษย์” ที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว เป็นที่ตั้ง อย่างน้อยๆ หากมีโอกาสเราจะช่วยสร้างประโยชน์ ให้เกิดขึ้นกับส่วนรวม ให้เกิดขึ้นกับสังคมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อย่าง กรณีของกิจกรรมวันเด็กที่พี่ทำกันอยู่ก็ถือเป็นตัวอย่างหนึ่ง แม้มันจะไม่ยิ่งใหญ่ถ้าเทียบกับกิจกรรมอื่นๆ ที่เขาทำกัน แต่พี่ว่า มันก็มีประโยชน์ต่อสังคมนะ ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เมื่อ ถึงเวลาจัดกิจกรรมแต่ละครั้งจะได้รับความร่วมมือจากพี่น้องเรา เป็นอย่างดี ใครไปไม่ได้ก็ช่วยหาของหาเงินมาสมทบทุน

10 จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2553-มกราคม 2554

ไปจัดงาน ใครที่ไม่ติดขัดอะไรก็ไปช่วยกันแจกของ จัดกิจกรรม เพื่อเด็กๆ บางปีไปกัน 10-20 คน บางปีก็ไปกันถึง 70-80 คน ก็ถือว่าเป็นภาพที่น่าประทับที่พวกเรายังคงทำกิจกรรมเพื่อ สังคมอย่างต่อเนื่อง” ส่วน พี่นุช อังคณา อัชชวัฒนา ศิษย์เก่า เอกภาษาอังกฤษ รหัส 31 ยังเสริมด้วยว่า “แม้กิจกรรม มันจะเหนื่อย แต่เราก็จะหายเหนื่อยทุกครั้งเมื่อเห็นพี่ๆ น้องๆ มารวมกัน อีกทั้งงานนี้ยังจะช่วยสอนให้ลูกๆ รู้จักการแบ่งปัน เมื่อโตขึ้นเค้าก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่รู้จักให้” ดังนั้น กิจกรรมวันเด็กที่ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์ จัดขึ้นในทุกปีจึงไม่ได้สลักสำคัญเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เท่านั้น หากยังหมายรวมถึงการสร้างเครือข่ายของรุ่นพี่รุ่นน้อง การพบปะสังสรรค์ระหว่างครอบครัว และการหยิบยื่นความเป็น “มนุษย์” ให้ “เพื่อนมนุษย์” เพื่อการหล่อหลอมให้สังคมเข้าใจ ความแตกต่างระหว่างกันให้มากขึ้น และท้ายนี้ อาจกล่าวได้อย่างสนิทใจว่าแม้เวลา หมุนผ่านไปนานเท่าใด เห็นได้ชัดว่า “มนุษย์” ที่มีอยู่ใน ความเป็น “เด็กมนุษย์” ไม่มีวันจะเลือนหายแม้แต่น้อย หากแต่มันจะเพิ่มจิตวิญญาณแห่งความเป็น “มนุษย์” อย่าง ต่อเนื่องด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลเดียว .. เพราะ “เราเป็น ‘มนุษย์’ ที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว”


วันที่ 14 ธันวาคม 2553 หน่วยทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ จัดโครงการศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เย็นศิระเพราะ พระบริบาล" เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยมีโรงเรียนต่างๆ ในเขตภาคเหนือเข้าร่วมแสดงศิลปวัฒนธรรม ทางด้านดนตรีและนาฏศิลป์ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ ณ โรงละครอาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สโมสรนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม 2553 รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต จัดโครงการกีฬา "ดอกแก้วเกมส์ ครั้งที่ 5" โดยได้รับเกียรติจาก การแข่งขันกีฬาสากล รศ.นุชนาฏ ดีเจริญ เป็นประธานในการเปิดโครงการ ซึ่งจัดกิจกรรม แก่ สีเหลือง ประกอบด้วย และกีฬาพื้นบ้าน ในปี พ.ศ. 2553 นี้ สีที่คว้ารางวัลชนะเลิศ ได้ หลี สาขาวิชาภาษาพม่า สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาภาษาเกา

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2554 ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.กาญจนา เงารังษี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รักษาราชการแทนตำแหน่งคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ให้เกียรติ เป็ น ประธานการประชุ ม คณะกรรมการเครื อ ข่ า ยวิ ช าการ-วิ จ ั ย สายมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละ สังคมศาสตร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย ได้ชี้แจงรายละเอียด และหารือร่วมกับคณะกรรมการเกี่ยวกับการจัดประชุมเครือข่าย วิชาการ-วิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 5 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ณ ห้องประชุม ศูนย์วิทยบริการกรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2553-มกราคม 2554 11

ข่าวกิจกรรม

วันที่ 3 ธันวาคม 2553 ดร.เสาวภาคย์ กัลยาณมิตร รองคณบดีฝ่ายบริหาร และคณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ ร่วมให้การต้อนรับคณะผู้บริหารและบุคลากรจาก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย รองศาสตราจารย์พูนพงษ์ งามเกษม คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ซึ่งได้พาบุคลากรสายสนับสนุนเข้าศึกษาดูงานพันธกิจ ของหน่วยงาน ในสังกัดสำนักงานเลขานุการคณะมนุษยศาสตร์ มหาว ิทยาลัยนเรศวร ณ ห้องประชุม HU 1307 อาคารคณะมนุษยศาสตร์

สุรีย์พร ชุมแสง

วันที่ 23 – 24 พฤศจิกายน 2553 สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชา ศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ โครงการเสวนาดนตรีวิชาการ (ครั้งที่ 1) ในหัวข้อ “เรียนรู้ สร้างสรรค์ เพื่อปลูกฝังดนตรีสำหรับเด็ก” ซึ่งประกอบด้วยการบรรยาย ประกอบ การสาธิต (Workshop) เรื่อง การสอนดนตรีสำหรับเด็ก แบบโคดาย-คาร์ลออร์ฟ (Kodaly Approach - Orff Schuwerk) ตลอดจนหลักการนำวิธีการทั้งสองไปประยุกต์ใช้ ในการเรียน การสอนดนตรีไทย โดยวิทยากร งามตา นันทขว้าง อาจารย์ประจำฝ่ายวิทยาการ โครงการฯ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีคณาจารย์ด้านการสอนดนตรี เข้าร่วมอบรมในโครงการนี้เป็นจำนวนมาก


สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวทิ ยาล ัยนเรศวร

ขอเชิญเข้าร่วมการประกวดดนตรีไทยระดับมัธยมศึกษา ภาคเหนือ ครั้งที่ 3 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุม ารี ประเภทวง: วงเครื่องสายผสมปี่พาทย์ "เพลงระบำนพรัต น์" ประเภทเดี่ยว: ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ จะเข ้ ซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย ขลุ่ยเพียงออ ขิม ขับร้อง รอบคัดเลือก ส่งวีดิทัศน์การบรรเลง ภายในวันที่ 30 มิ ถุนายน 2554 รอบชิงชนะเลิศ บรรเลงต่อหน้าคณะกรรมการวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2554 สนใจดาวน์โหลดใบสมัครทา

งเว็บไซต์ http://www.human.nu.ac.th/thmusic หรือสอบ ถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย หมายเลขโทรศัพท์ 0-5 596-1624 , 0-5596-2035 และ 089-4611310

วิสัยทัศน์ :

ย ะ ม นุษ ศ า ส

ร ศว

มห

าวิท

ต ร์

คณ

คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ

ยาลัยนเร

ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และ สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศ 2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร

สุวรรณภิงคาร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ชำระค่ า ฝากส่ ง เป็ น รายเดื อ น ใบอนุ ญ าตเลขที ่ 85/2521 พิ ษ ณุ โ ลก

ท่ า นที ่ ส นใจจดหมายข่ า วนี ้ กรุ ณ าส่ ง ชื ่ อ ที ่ อ ยู ่ ข องท่ า นมายั ง งานประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร อ.เมื อ ง จ.พิ ษ ณุ โ ลก 65000 โทรศั พ ท์ 0-5596-2035 โทรสาร 0-5596-2000 ไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยใดๆ ทั ้ ง สิ ้ น

สุวรรณภิงคาร

หรื อ “กลศ” หมายถึ ง หม้ อ ดิ น สำหรั บ ใส่ น ้ ำ ดิ น และน้ ำ เป็ น แม่ บ ทของสิ ่ ง ทั ้ ง ปวง อั น เปรี ย บได้ ก ั บ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ที ่ เ ป็ น รากฐานแห่ ง ศาสตร์ ท ั ้ ง ปวง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.