Suwan12

Page 1

สุ

วรรณภิงคาร

ย ะ ม นุษ ศ า ส

ศว

มห

าวิท

ต ร์

คณ

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ยาลัยนเร

ปีที่ 8 ฉบับที่ 25 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2555

ISSN : 1906-9014 (สงวนลิขสิทธิ์)

สังเคราะห์ งานวิจัย#1 เมืองสรวง: ถิ่นฐานบ้านเมืองพระลออยู่ที่ไหน? หน้า ปริทัศน์เพลงกล่อมเด็กญี่ปุ่น หน้า

3

6

วัฒนธรรมดนตรีที่เริ่มเลือนหาย...ลมสุดทาย มังคละ หน้า สืบทอดนาฏศิป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติ หรือผู้เชี่ยวชาญ หน้า ความมั่นคงที่เริ่มสั่นคลอน : ค่านิยมในอดีตและปัจจุบันของคนญี่ปุ่น” หน้า

10

7 8


ที่ปรึกษา

คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต

บรรณาธิการ ดร.อรอุษา

สุวรรณประเทศ

กองบรรณาธิการ

ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์ อ.วราภรณ์ เชิดชู อ.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย อ.วทัญญ ฟักทอง ว่าที่ร้อยตรีมาโนชญ์ สองแกะ

ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ

เลขานุการ สุรีย์พร

บทบรรณาธิการ

นลินรัตนกุล ชุมแสง

งานประชาสัมพันธ์ :

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th

ข้อมูลผู้เขียน 1. รศ. ดร. สนม ครุฑเมือง อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: sanomk@nu.ac.th 2. ดร.โสภา มะสึนาริ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: kanhaso20@hotmail.com 3. ผศ.ดร.คมกริช การินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาดนตรีวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ e-mail: khomkrichk@nu.ac.th 4. สุรีย์พร ชุมแสง นักประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: sureepornpr@yahoo.com

การวิจัยมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์ความรู้ นำไปสู่การ พัฒนาประเทศในด้านต่างๆ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีนโยบายมุ่งไปสู่ การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย คณะมนุษยศาสตร์จึงมีนโยบายสนับสนุน ให้คณาจารย์ได้ผลิตผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมให้ตระหนัก ถึงความสำคัญของการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณชน กองบรรณาธิการเห็นว่า “สุวรรณภิงคาร” เป็นเวทีหนึ่ง ที่สามารถช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยที่ได้ดำเนินการมา อย่างต่อเนื่องของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ จึงได้กำหนดให้มี สุวรรณภิงคารฉบับพิเศษ เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2555 และฉบับพิเศษ เดือนธันวาคม 2555 - มกราคม 2556 ขึ้น โดยจัดทำเป็นฉบับสังเคราะห์ งานวิจัย เพื่อนำเสนอบทสังเคราะห์งานวิจัยของคณาจารย์ภาควิชาต่างๆ ในคณะมนุษยศาสตร์ นอกจากจะเป็ น การเผยแพร่ แ ละประชาสั ม พั น ธ์ ง านวิ จ ั ย ของ คณาจารย์แล้ว กองบรรณาธิการยังหวังว่าสาระสำคัญจากงานวิจัย ทั้งใน ด้านเนื้อหาตลอดจนด้านระเบียบวิธีวิจัย จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนา วิชาการและสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนางานวิจัยต่อไปได้

ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ บรรณาธิการ Onusas@nu.ac.th


สังเคราะห์งานวิจัย

: ถิ่นฐานบ้านเมืองพระลออยู่ที่ไหน? เพราะมีการใช้ถ้อยคำ สำนวนคล้ายกับวรรณคดีเรื่องอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน ตลอดจนประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีความ เกี่ยวพันกับเรื่องราวของลิลิตพระลอ ซึ่งในโคลงบทหนึ่งกล่าวว่า “สองมาเรียบดอกไม้ ถวายธูปเทียนทองไหว้ พระบาทสร้อยสรรเพชญ์ หนึ่งราฯ” ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปศรีสรรเพชญ์ ในปี พ.ศ.2042 เรื่องสมัยผู้แต่งลิลิตพระลอ ม.ร.ว. สุมนชาติ สวัสดิกุล เชื่อว่า แต่งในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เป็นมหากษัตริย์ ที่สำคัญพระองค์หนึ่งในสมัยอยุธยาตอนต้น ครองราชสมบัติ ระหว่างปี พ.ศ. 2034 - 2072 ชลลดา เรืองรักษ์ลิขิต (2553. หน้า 7) ก็มีความคิดเห็นไปในแนวเดียวกัน ดังกล่าวว่า “ผู้เขียน เห็นพ้องกับคำสันนิษฐานของ ม.ร.ว. สุมนชาติ สวัสดิกุล เพราะ คำว่า “สรรเพชญ์” เป็นสร้อยพระนามของพระพุทธรูปองค์นี้ อย่างชัดเจน” สรุปได้ว่า สมัยที่แต่งลิลิตพระลอ ควรแต่งก่อน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้แต่งอาจเป็นสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ 2 หรือพระราชโอรส ซึ่งหมายถึง สมเด็จ พระบรมราชาหน่อพุทธางกูร สำหรับ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 มีพระราชมารดาเป็นชาวเมืองเหนือ ประสูติที่เมืองพิษณุโลก โดยครองเมืองพิษณุโลก เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นมหาอุปราช การที ่ พ ระองค์ เ กี ่ ย วพั น กั บ ชาวเมื อ งเหนื อ เช่ น นี ้ จ ึ ง ทรงรั บ รู ้ เกี่ยวกับเรื่องนิทานประจำถิ่นเรื่อง พระลอ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น อาจพระราชนิพนธ์ลิลิตพระลอตามเนื้อเรื่องเดิมก็ได้

รศ. ดร. สนม ครุฑเมือง

จากคำขวัญประจำจังหวัดแพร่ที่กล่าวว่า “หม้อห้อม ไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม” ในข้อความ “ถิ่นรักพระลอ” สะท้อนถึง แผ่นดินถิ่นรักอันอมตะของตัวละครในวรรณคดีเรื่อง ลิลิตพระลอ ซึ่งได้แก่ พระลอ พระเพื่อน และพระแพง ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่สำคัญเรื่องหนึ่งของไทย มีเรื่องราวแห่งความรัก ให้ความรู้สึกทั้งความรัก ความหลง ความกตัญญ ความ เศร้าโศก ความกล้าหาญ และความเสียสละ จบเรื่องด้วย ความตาย คือ โศกนาฏกรรม เรื่องลิลิตพระลอ แฝงด้วย วัฒนธรรมด้านภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยในอดีต การใช้ ถ้อยคำไพเราะเพราะพริ้ง กะทัดรัด ฉันทลักษณ์เคร่งครัด เป็นต้นแบบและแบบอย่างของลิลิตที่ยอดเยี่ยม กลวิธีการเสนอ เนื้อหาได้อย่างกระชับ ชัดเจน สอดแทรกด้วยสุภาษิตสอนใจ แฝงไว้ด้วยปรัชญาและข้อคิดตลอดเรื่องราว ลิลิตพระลอนับว่า เป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยม จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ให้เป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิต ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้แต่งและสมัยผู้แต่งลิลิตพระลอ มีนักวิชาการด้านวรรณคดีได้ให้แนวคิดที่หลากหลาย ไว้ดังนี้ แนวทางที่ 1 เชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรง พระราชนิพนธ์อาจเป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หรือสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช แนวทางที่ 2 เชื่อว่าพระราชโอรสซึ่งเป็นรัชทายาท ทรงพระนิพนธ์ เพราะมีโคลงสี่สุภาพบาทหนึ่งว่า “จบเสร็จ เยาวราชเจ้า บรรจง” โดยอาจหมายถึง พระราชโอรส ในสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ หรือพระราชโอรสในสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช แนวทางที่ 3 เชื่อว่ากวีในราชสำนักคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้แต่งถวายพระมหากษัตริย์ สำหรับสมัยที่แต่งเรื่องลิลิตพระลอ กวีไม่ระบุว่าแต่งใน สมัยใด แต่พอสันนิษฐานได้ว่าแต่งใน ช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น

ถิ่นฐานบ้านเมืองพระลออยู่ที่ไหน ? เมืองของพระลอ คือ เมืองสรวง หรือแมนสรวง จาก เรื่องราวในลิลิตพระลอ ผู้ครองเมืองสรวงได้แก่ ท้าวแมนสรวง มีมเหสี คือ พระนางบุญเหลือ ซึ่งเป็นพระราชบิดา และ พระราชมารดาของพระลอ ดังนั้น เมืองของพระลอก็คือ

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม - พฤศจิกายน 2555

3


รศ. ดร. สนม ครุฑเมือง

สังเคราะห์งานวิจัย

เมืองสรวง นั่นเอง ดังคำประพันธ์ประเภทร่ายตอนหนึ่ง กล่าวถึง สถานที่ตั้งของเมืองสรวงว่า กล่าวถึงขุนผู้ห้าว นามท่านแมนสรวง เป็นพระยา หลวงผ่านแผ้ว เจ้าเมืองสรวงมีศักดิ์ ธ มีอัครเทพีพิลาส ชื่อ นางนาฏบุญเหลือล้วนเครือท้าวพระยา สาวโสภาพระสนม ถ้วนทุกกรมกำนัล มนตรีคัลคับคั่ง ช้างม้ามั่งมหิมา โยธาเดียรดาษหล้า หมู่ทกล้าทหาร เฝ้าภูบาลนองเนือง เมืองออกมากมียศ ท้าวธมีเอารสราชโปดก ชื่อพระลอดิล กร่มฟ้า ทิศตะวันตกหล้าแหล่งไหล้สีมา ท่านนาฯ ส่วนเมืองสรองมีผู้ครองเมือง คือ ท้าวพิมพิสาครราช ต่อมาพระราชโอรส ได้แก่ ท้าวพิไชยพิษณุกรได้ปกครองแทน มีพระมเหสี ชื่อพระนางดาราวดี มีพระธิดา 2 พระองค์ คือ พระเพื่อนและพระแพง พระธิดามีความงามเป็นเลิศ ดังคำ ประพันธ์ตอนหนึ่งว่า มีพระยาหนึ่งใหญ่ ธไซร้ทรงนามกร พิมพิสาครราช พระบาทเจ้าเมืองสรอง สมบัติหลวง สองราชา มีมหิมาเสมอกัน ทิศตะวันออกไท้ท้าว อะคร้าวครอบครองยศ ท้าวธมีเอารส ราชฦๅไกร ชื่อท้าวพิไชยพิษณุกร ครั้งลูกภูธรใหญ่ไซร้ ธก็ให้ไป กล่าวไปถาม นางนามท้าวนามพระยา ชื่อเจ้าดาราวดี นางมีศรีโสภา เป็นนางพระยาแก่ลูกไท้ ลูกท้าว ธได้เมียรัก ลำนักเนตรเสนหา อยู่นานมามีบุตร สุดสวาทกษัตริย์สององค์ ทรงโฉมจันทรงามเงื่อน ชื่อท้าวเพื่อนท้าวแพง จักแถลงโฉม เลิศล้วน งามถี่พิศงามถ้วนแห่งต้องติดใจ บารนี ฯ นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า เมืองสรวงของพระลอ อยู่ที่จังหวัดแพร่ เพราะโบราณสถาน โบราณวัตถุมีความ เกี่ยวข้องกับพระลอหลายอย่าง เช่น วัดพระธาตุพระลอ แม่น้ำ กาหลง ถ้ำปู่เจ้าสมิงพราย และร่องรอยเมืองโบราณ แต่ถ้า พิจารณาระยะเวลาในการเดินทางของพระลอ ทรงช้างจาก เมืองสรวง มาเมืองสรอง ใช้ระยะเวลาอันยาวนาน เพราะทั้ง 2 เมือง มีเมืองขึ้นรายรอบหลายเมืองจึงต้องอยู่ห่างไกลกันมาก ฉะนั้นเมืองสรวงที่เข้าใจกันว่าอยู่ที่ตัวเมืองแพร่ในปัจจุบันคง ไม่ถูกต้อง เพราะระยะทางห่างไกลกันประมาณ 49 กิโลเมตร พระลอเดินทางไปเมืองสรอง หรืออำเภอสองในปัจจุบันเพียง ไม่นานก็ถึงแล้ว นักวิชาการหลายท่านให้ความคิดเห็นว่า เมืองสรวง น่าจะอยู่บริเวณเขตอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง สมเด็จกรม พระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเห็นว่า เรื่องท้าวฮุ่งหรือท้าวเจืองใน พงศาวดารโยนก ปรากฏข้อความ “แถนลอ” ในเรื่องดังกล่าว ครองเมืองกาหลงได้ช่วยฟ้าฮ่วนรบกับท้าวฮุ่ง ความเห็นดังกล่าว

4

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม - พฤศจิกายน 2555

นี้ ม.ร.ว. สุมนชาติ สวัสดิกุล (2488. หน้า 60-69) สรุปว่า วรรณคดีเรื่องท้าวฮุ่งมีความสัมพันธ์กับเรื่องพระลอ และเมือง อื่นๆ ด้วย โดยเมืองสรวงคล้ายกับเรื่องลิลิตพระลอ ตำบลที่ตั้ง ของเมืองสรวงควรเป็นเมืองกาหลง ซึ่งในปัจจุบันอยู่บริเวณ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับ พระวรเวทย์พิสิฐ (2513. หน้า ก-จ) สรุปว่า ถิ ่ น ฐานของพระลอเท่ า ที ่ ส อบสวนได้ ค วามว่ า อยู ่ ใ น จังหวัดแพร่และลำปาง เมืองสรองเป็นเมืองของพระเพื่อน พระแพง ทุกวันนี้ยังเป็นเมืองที่มีชื่ออยู่ ทางบริเวณลุ่มน้ำยม อยู่ตอนเหนือของจังหวัดแพร่ และเมืองสรวงอันเป็นเมืองของ พระลอนั้น คงจะเป็นเมืองกาหลงซึ่งอยู่ในเขตอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ส่วนนักวิชาการ เช่น ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์, เจือ สตะเวทิน, รัญจวน อินทรกำแหง และ อุดม รุ่งเรืองศรี สันนิษฐานว่า เมืองสรวงน่าจะอยู่ที่ อำเภอแม่สรวย จังหวัด เชียงราย เพราะมีโบราณทางประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่ นอก จากนี้ยังมีบางท่านเชื่อว่า “แม่สรวย” กับ “แมนสรวง” อาจมี การเพี้ยนเสียงหรือออกเสียงคล้ายๆ กัน ความเป็นไปได้ในปัจจุบันเชื่อว่าเมืองสรวง คือ เวียง กาหลง อยู่ที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เพราะมี หลักฐานทางโบราณสถานที่ยืนยันได้อย่างชัดเจน นับตั้งแต่ แนวคูดินกำแพงเมืองเก่า และเตาเวียงกาหลง ซึ่งเป็นกุญแจ สำคั ญ ทำให้ ท ราบเรื ่ อ งราวทางประวั ต ิ ศ าสตร์ อ ั น ยาวนาน เมืองโบราณ เวียงกาหลง อยู่บริเวณเนินเขาทางฝั่งขวาของ แม่น้ำลาว ชาวบ้านเรียกว่า “ห้วยกาหลง” อยู่ห่างจาก หมู่บ้านส้าน ประมาณ 400 เมตร ตั้งอยู่บนเนินเทือกเขา ผีปันน้ำ เป็นเทือกเขากั้นเขตแดนของอำเภอวังเหนือ จังหวัด ลำปาง ทรงพันธ์ วรรณมาศ (ม.ป.ป. หน้า 32) กล่าวว่า “บริเวณเมืองโบราณเวียงกาหลงมีแนวคันดิน คูเมืองเดิมยัง หลงเหลืออยู่บางส่วน น่าจะสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 19– 20” ส่วนหลักฐานจากพงศาวดารของพระบริหารเทพธานี และหนังสือประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย ซึ่ง พงค์ กูลนรา (2554. หน้า 116 ) ได้สรุปว่า “เวียงกาหลงซึ่งมีความเกี่ยวพัน กับแคว้นยวนเชียง ประมาณ พ.ศ.590 แว่นแคว้นยวนเชียง ขยายบ้านเมืองไปทางทิศตะวันตก คือ เวียงกาหลง (เวียง ป่าเป้า) เวียงฮ่อ ดงเวียง เมืองวัง (วังเหนือ) และแจ้ห่ม” การที่นักวิชาการเชื่อว่า เมืองกาหลง คือ เมืองสรวงน่าจะอยู่


เอกสารอ้างอิง เจตนา นาควัชระ. (2524). ทางไปสู่วัฒนธรรมแห่ง การวิจารณ์. กรุงเทพฯ: ดวงกมล. ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2553). อ่านลิลิตพระลอฉบับ วิเคราะห์และถอดความ. กรุงเทพฯ:ธนาเพรส.

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม - พฤศจิกายน 2555

สังเคราะห์งานวิจัย

ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์. (2497). ประชุมวรรณคดีไทย ภาค 2 พระลอลิลิต. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. ทรงพันธ์ วรรณมาศ. (ม.ป.ป.). เมืองโบราณ เวียงกาหลง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (อัดสำเนา). พงค์ กูลนรา. (2554). การจัดความรู้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นด้านเซรามิค เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในชุมชน โบราณเวียงกาหลง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร. (อัดสำเนา). วรเวทย์พิสิฐ. พระ. (2513). คู่มือลิลิตพระลอ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว. สนม ครุฑเมือง. (2527). ความรู้พื้นฐานทาง วรรณคดีไทย. พิษณุโลก: สองแควการพิมพ์. สิทธา พินิจภูวดล และคณะ. (2515) วิเคราะห์ วรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว. สุชาดา เจียพงษ์. (2550). คำบุรุษสรรพนามในลิลิตพระลอ : การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์สังคม. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 29 (ฉบับพิเศษ), หน้า 73-91. สุมนชาติ สวัสดิกุล. (2488). สอบสวนเรื่องการแต่งพระลอ. วารสารสมาคมค้นคว้าวิชาแห่งประเทศไทย. 11 (มิถุนายน – ธันวาคม), หน้า 60-69.

รศ. ดร. สนม ครุฑเมือง

บริเวณอำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง หรือ อำเภอแม่สรวย กับอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย คงไม่ ผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อนจากการสันนิษฐานมากนัก เพราะ อาณาเขตดินแดนสมัยก่อนเป็นแว่นแคว้น เช่น แคว้นยวนเชียง หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ แคว้นขุนยาง มีอาณาเขตกว้างใหญ่ และมี เมืองหลายเมืองอยู่ใน เขตการปกครองของแคว้นยวนเชียง ในปัจจุบัน ก็คือ จังหวัดลำปาง เชียงราย และพะเยา ทั้งนี้ ถ้าวิเคราะห์เฉพาะที่ตั้งเมืองสรวง หรือ แมนสรวง ที่นักวิชาการทั้งหลายสันนิษฐานว่า คือ เมืองกาหลง หรือ เวียงกาหลง เป็นถิ่นฐานบ้านเมืองของพระลอ เป็นตัวละครเอก ในวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ จึงสรุปได้ว่า เมืองสรวง หรือ เมืองกาหลง หรือ เวียงกาหลง เป็นเมืองเดียวกัน อยู่ที่ตำบลหัวฝาย อำเภอ เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย หมู่บ้านเวียงกาหลง เป็น 1 ใน 15 หมู่บ้าน ขึ้นอยู่กับตำบลหัวฝาย ที่ตั้งของหมู่บ้านอยู่ในเขต โบราณเวียงกาหลง ต่อมาประชาชนเรียกร้องขอเปลี่ยนชื่อจาก “ตำบลหัวฝาย” เป็น “ตำบลเวียงกาหลง” เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2533

5


สังเคราะห์งานวิจัย

น ่ ุ ป ่ ี ญ ก ็ เด ม อ ่ ล ก ง ล พ เ ์ น ศ ั ท ิ ปร Lullabies

An Analysis and Critique of Japanese

ดร.โสภา มะสึนาริ

เกี่ยวกับเพลงกล่อมเด็กญี่ปุ่น มีเอกสารที่บันทึก เรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ที่สามารถอ้างอิงได้ คือหนังสือที่ รวบรวมเพลงกล่อมเด็ก ฉบับเปียนโน ของ Obara (2009) ซึ่งได้บรรยายไว้ว่าในหนังสือ "บันทึกประวัติเจ้าชายโชโทะคุ เล่ม 1" (Shoutokutaishiden) เมื่อปี ค.ศ.574 ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อเจ้าชายโชโทะคุ ประสูติ มีแม่นมเลี้ยงดู 5 คน มีคนหนึ่ง ได้ใช้เพลงกล่อมเด็กขับกล่อม โดยเป็นเนื้อเพลงเกี่ยวกับ "ช่วยคุ้มครองเจ้าชายโชโทะคุ" (Taishi wo morimairase) กล่าวกันว่า เจ้าชายโชโทะคุ ชอบร้องไห้ตอนกลางคืน ดังนั้น เพื่อให้เจ้าชายหายงอแงในช่วงกลางคืน เหล่าแม่นมจึงร้อง เพลงนี้ขึ้นมาเพื่อขับกล่อมให้เจ้าชายได้หลับสบาย และหลัง จากนั้น เพลงกล่อมเด็กจึงกลายเป็นเพลงที่ใช้ขับร้องให้เด็ก ได้ ผ ่ อ นคลายและหลั บ สนิ ท ตั ้ ง แต่ น ั ้ น เป็ น ต้ น มานอกจากนี ้ Obara ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า คำขึ้นต้นเพลงกล่อมเด็ก ในสมัยคามาคุระ กับปัจจุบัน แม้จะมีคำที่ใช้แตกต่างกัน ออกไปตามแต่ละท้องถิ่นแต่ก็ยังคงรูปแบบลักษณะนี้อยู่ ในงานวิ จ ั ย นี ้ ไ ด้ ร วบรวมเพลงกล่ อ มเด็ ก ในแถบ เกาะชิโกะกุ เกาะคิวชู ที่เป็นที่รู้จักกันดีในท้องถิ่นนั้นๆ ได้ จำนวนทั้งสิ้น 39 เพลง โดยแบ่งเป็นเพลงที่ปรากฏทั่วทุกภาค ของญี่ปุ่น จำนวน 1 เพลง เกาะชิโกะกุ จำนวน 11 เพลง และเกาะคิวชู จำนวน 27 เพลง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมเพลงกล่อมเด็กญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักดีในท้องถิ่นนั้นๆ และวิเคราะห์เพลงกล่อมเด็กญี่ปุ่นในฐานะที่เป็นวรรณกรรม ท้องถิ่น ด้านรูปแบบ เนื้อหา คุณลักษณะและจุดประสงค์ของ เพลงกล่อมเด็ก รวมทั้งคุณค่าของเพลงกล่อมเด็กญี่ปุ่น จากการวิเคราะห์เพลงกล่อมเด็กญี่ปุ่นจำนวน 39 เพลงดังกล่าว สามารถสรุปผลได้ว่า จุดประสงค์หลักเพื่อ ขับกล่อมให้เด็กนอนไม่กวนและหลับสนิท แม่ หรือผู้ดูแลจะได้ ไปทำกิจกรรมอื่นๆ โดยรูปแบบของการขับกล่อมอาจเป็นได้ ทั้งการปลอบ การขู่ให้กลัว การให้สินบนหรือรางวัล การขอ สิ่งศักสิทธิ์หรือเทพที่มีอำนาจ และการบันทึกเรื่องราวรูปแบบ ของการร้องเพลงกล่อมเด็กญี่ปุ่น ไม่มีระบบของการสัมผัสคำ มีคำสร้อยตอน ขึ้นเพลง และ/หรือลงท้ายเพลง บางครั้ง อาจปรากฏต้นเพลงและท้ายแต่ละวรรค หรืออาจปรากฏอยู่

6

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม - พฤศจิกายน 2555

บริเวณท้ายของแต่ละวรรคได้ ส่วนของเนื้อหากล่าวถึงความรัก ความเอื้ออาทรที่แม่มีต่อลูก การขู่ การให้ความเพลิดเพลิน เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏในท้องถิ่น นั้นๆ ให้แง่คิดและแนวปฏิบัติ สภาพชีวิต และการประกอบ อาชีพ รวมทั้งสะท้อนค่านิยมและวัฒนธรรม เพลงกล่อมเด็กญี่ปุ่น เป็นเพลงที่มีคุณค่าและหน้าที่ แฝงอยู่ อาทิ การสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว สร้างความ เพลิดเพลิน หน้าที่ในการสื่อสาร เสริมพัฒนาการเด็ก ปลูกฝัง ความคิด กระบวนการขัดเกลาในสังคม และการดำรงอยู่ คุณลักษณะ จุดประสงค์ ตลอดจนคุณค่าของเพลง กล่อมเด็ก ไม่ว่าชาติใดภาษาใดมักจะไม่ค่อยแตกต่างกันมาก เท่าใดนัก แต่ในเรื่องของรูปแบบและเนื้อหาจะค่อนข้าง แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริบทของสังคมนั้นๆ เพลงกล่อมเด็กญี่ปุ่นหลายเพลง สะท้อนให้เห็น สภาพชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพชีวิตของเด็ก (ดังภาพ) ที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง และนอกจากนี้ได้สะท้อน ให้เห็นอาชีพของคนในสังคมนั้นๆ และในเนื้อหาเพลง กล่อมเด็กญี่ปุ่น ส่วนใหญ่มักจะสอดแทรกวิถีปฏิบัติของสังคม ค่านิยมในยุคสมัยนั้นๆ ตลอดจนความเชื่อของสังคมญี่ปุ่น เอาไว้ด้วย ในท้ายสุดนี้ ผู้เขียนหวังว่าผลการวิจัยนี้สามารถ นำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อเผยแพร่ สำหรับผู้ที่สนใจ จะศึกษาเพลงกล่อมเด็กของญี่ปุ่น หรือเพื่อเปรียบเทียบกับ เพลงกล่อมเด็กในภูมิภาคอื่นๆ กลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ต่อไปได้


สังเคราะห์บทความวิจัย “วัฒนธรรมดนตรีที่เริ่มเลือนหาย

เครื่องดนตรี นั้น พบว่ามีช่างทำเครื่องดนตรีดังกล่าวน้อยมาก จากผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า วงดนตรีมังคละ นั้นมีเล่นจำกัดในวงเฉพาะ บทเพลงที่บรรเลงก็เหลือน้อยลง ยิ่งปัจจุบัน มีปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบ และมีวัฒนธรรม ของชาติอื่นๆ ได้หลั่งไหลเข้ามาทำให้วัฒนธรรมดนตรีมังคละ ได้รับความสนใจน้อยลง จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี หน่วยงานต่างๆ เข้ามาสนับสนุน เช่นหน่วยงานทางการศึกษา และหน่วยงานทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะการสร้างเครื่องดนตรี มังคละที่น่าเป็นห่วงเพราะมีผู้มีความสามารถ และสืบทอด น้อยลง ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการสนับสนุน และ เผยแพร่ดนตรีมังคละ อย่างจริงจัง โดยศึกษาและถ่ายทอด ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติในเชิงรุกและลุ่มลึก โดยให้เยาวชน ได้เรียนรู้ และสืบสานเพื่อให้สามารถได้ดำรงอยู่เป็นวัฒนธรรม พื้นบ้านอันทรงคุณค่า ของภาคเหนือตอนล่างและของชาติ สืบไป

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม - พฤศจิกายน 2555

ผศ.ดร.คมกริช การินทร์

บทความนี ้ จ ั ด ทำขึ ้ น จากรายงานการวิ จ ั ย เรื ่ อ ง “มังคละ : ดนตรีพื้นบ้านในเขตภาคเหนือตอนล่าง” โดยผู้วิจัย ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปี งบประมาณ 2553 วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือเพื่อศึกษา (1) รวบรวมข้อมูลของวงดนตรีมังคละ (2) วิเคราะห์ ดนตรีมังคละ ในด้านต่างๆ (3) ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ดนตรีมังคละ และ (4) การสร้างเครื่องดนตรีมังคละ เหตุผล ที่ผู้วิจัยเลือกศึกษาเรื่องดังกล่าว เพราะมังคละ คือวงดนตรี พื้นบ้านที่ปรากฏในเขตภาคเหนือตอนล่าง เป็นวงดนตรีที่ ประกอบไปด้วยเครื่องตีและเครื่องเป่า เอกลักษณ์ของวงมังคละ คือ กลองใบเล็ก ที่มีเสียงดัง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “โกร๊ก” แต่ได้มีผู้รู้ ได้เรียกชื่อ ว่า “กลองมังคละ” โดยวัฒนธรรม นี้เรียกได้อีกอย่างว่า วงปี่กลอง ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจายในไทย รับใช้สังคมของแต่ละท้องถิ่น ตามความต้องการของคนที่ใช้ บ้างก็เลือนหายไป บ้างก็ยังมีการเล่นอยู่ แต่ไม่ได้รับความนิยม รอวันจะดับสูญไป วงมังคละ นั้นก็อยู่ในข่ายของการรอวัน เลือนหายเช่นกัน และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพผสมกับเชิงมานุษยดนตรีวิทยา โดยเน้นเก็บข้อมูล ในเขตภาคเหนือตอนล่าง จากการศึ ก ษาวิ จ ั ย พบว่ า ดนตรี ม ั ง คละในเขต ภาคเหนือตอนล่างมีความคล้ายคลึงกับมังคละเภรีของอินเดีย และศรีลังกา โดยมีเครื่องดนตรีหลักคล้ายกัน รวมทั้งการ ประสมวง และการใช้งาน บทเพลงที่มีทั้งหมดประมาณ 32 เพลง แต่นิยมใช้เพียงไม่กี่เพลง เครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ กลอง มังคละ (โกร๊ก) กลองยืน กลองหลอน ปี่ชวา โหม่ง 3 ใบ และ เครื่องประกอบจังหวะ วงมังคละจะพบใน 3 จังหวัด ในเขต ภาคเหนือตอนล่าง คือ พิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ นิยม ใช้ในงานเทศกาลรื่นเริง ขบวนแห่ หรืองานมงคลต่างๆ ในปัจจุบัน ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลให้วงดนตรีมังคละ ได้รับความนิยมน้อยลงคือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และปัจจัย ทางด้านความเชื่อและค่านิยม ของคนในสังคมไทย และในการ สร้างเครื่องดนตรีมังคละนั้น จากเดิมเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เข้าไปช่วยในขั้นตอนการสร้างต่างๆ และในการสร้าง

สังเคราะห์งานวิจัย

...ลมสุดทาย มังคละ”

7


สังเคราะห์งานวิจัย หน่วยทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

บทความนี้จัดทำขึ้นจากการดำเนินโครงการสืบทอด นาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ โดยได้รับ งบประมาณการดำเนิ น โครงการจากงบประมาณแผ่ น ดิ น ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน (งบประมาณ พ.ศ. 2556) รวมการดำเนินงาน แล้วทั้งสิ้นจำนวน 7 ครั้ง และยังได้รับงบประมาณ ในการ ดำเนินโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 วัตถุประสงค์ ของการดำเนินโครงการคือ (1) เพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ และการ สืบทอดนาฏศิลป์ จากศิลปินแห่งชาติหรือ ผู้เชี่ยวชาญ (2) เพื่อบันทึกท่ารำไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ใน รูปแบบของหนังสือและวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา (3) เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ และนิสิตนาฏศิลป์ไทย ได้พัฒนาทักษะทางด้านวิชาชีพ อีกทั้งยังเป็นการบูรณาการ การจัดโครงการเข้ากับการเรียนการสอนของนิสิตมหาวิทยาลัย นเรศวร ตลอดจนเผยแพร่สู่สถาบันการศึกษาหรือผู้ที่สนใจ การดำเนิ น งานได้ ท ำการถ่ า ยทอดท่ า รำและองค์ ความรู ้ จ ากผู ้ ท ี ่ เ ป็น ศิลปิน แห่งชาติแ ละผู้เ ชี่ยวชาญที ่ เ ป็ นที ่ ยอมรับว่ามีความรู้ความสามารถทางนาฏศิลป์ไทย อย่าง ดีเยี่ยม ได้แก่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารำ คือ ดร.นพรัตน์ หวังในธรรม ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ทำการถ่ายทอดท่ารำเดี่ยวตัวนางจำนวน 5 ชุด รำคู่ 1 ชุด ระบำ 1 ชุด และผลงานสร้างสรรค์ของวิทยากรจำนวน 2 ชุด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารำ คือ อาจารย์พัชรา บัวทอง หัวหน้ากลุ่มจัดการแสดง สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ทำการถ่ายทอดท่ารำละครพันทางเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา และได้ทำการแสดงในโครงการ นเรศวร สังคีตครั้งที่ 17 วิพิธทัศนาลีลานาฏกรรม เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2551

8

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม - พฤศจิกายน 2555

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารำ คือ อาจารย์ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปินระดับอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม) และอาจารย์วันทนีย์ ม่วงบุญ ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้านโขนละคร สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวง วัฒนธรรม (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนักวิชาการละครและดนตรี ทรงคุณวุฒิ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวง วัฒนธรรม) ทำการถ่ายทอดท่ารำตัวพระจำนวน 2 ชุด และ ท่ารำตัวนางจำนวน 2 ชุด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารำ คือ อาจารย์เวณิกา บุนนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และอาจารย์ตวงฤดี ถาพรพาสี นาฏศิลปินระดับอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ทำการ ถ่ายทอดท่ารำเพลงพื้นฐานจำนวน 4 ชุด เพลงหน้าพาทย์ จำนวน 8 ชุด ระบำมาตรฐานจำนวน 4 ชุด และรำเดี่ยวจำนวน 4 ชุด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารำ คือผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2548 คณบดีคณะศิลปะนาฏดุริยางค์ สถาบัน บัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม และอาจารย์รัจนา พวงประยงค์ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2554 ถ่ายทอด ท่ารำละครพันทางเรื่องพระลอ และได้นำออกแสดงในโครงการ นเรศวรสังคีตครั้งที่ 20 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารำ คืออาจารย์ไพฑูรย์ เข้มแข็ง ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวง วัฒนธรรม และอาจารย์บุนนาค ทรรทรานนท์ ข้าราชการ บำนาญ สำนักการสังคีต กระทรวงวัฒนธรรม ถ่ายทอดท่ารำ ตัวพระจำนวน 4 ชุด ท่ารำตัวนางจำนวน 4 ชุด และท่ารำ ละครตัดตอนเป็นชุดเป็นตอน 2 ชุด


สังเคราะห์งานวิจัย

สนใจทั่วไปที่มีพื้นฐานทางนาฏศิลป์ ซึ่งเป็นการบูรณาการ การเรียนรู้รายวิชาทักษะนาฏศิลป์ไทย และได้ทำการบันทึก ท่ารำในรูปแบบหนังสือและวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา เพื่อใช้ สำหรับเป็นสื่อการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยสืบค้นได้จากหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร และห้องอ่าน หนังสือคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อีกทั้งได้นำ วีดิทัศน์บางส่วนเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ www.youtube.com เพื่อประโยชน์ในการศึกษาข้อมูลทางนาฏศิลป์ไทยในวงกว้าง ยิ่งขึ้น

หน่วยทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 วิทยากรผู้ถ่ายทอดท่ารำ คืออาจารย์วันทนีย์ ม่วงบุญ นักวิชาการละครและดนตรี ทรงคุณวุฒิ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และอาจารย์แพรวดาว พรหมรักษา นาฏศิลปินระดับอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ถ่ายทอด ท่ารำละครใน เรื่องอิเหนา ตอน ไหว้พระ (แต่งกายแบบชวา) นำออกแสดงในโครงการนเรศวรสังคีต ครั้งที่ 22 ผู ้ ท ี ่ ร ั บ การถ่ า ยทอดท่ า รำคื อ คณาจารย์ ส าขาวิ ช า นาฏศิลป์ไทย นิสิตสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ศิษย์เก่า และผู้ที่

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม - พฤศจิกายน 2555

9


ดร.บารนี บุญทรง

สังเคราะห์งานวิจัย

สังเคราะห์บทความวิจัย “ความมั่นคงที่เริ่มสั่นคลอน? :

ค่านิยมในอดีตและปัจจุบันของคนญี่ปุ่น”

บทความนี้เป็นบทความที่จัดทำจากรายงานการวิจัย เรื่อง “ค่านิยมของญี่ปุ่นที่สะท้อนจากสุภาษิตกับคนญี่ปุ่น ในสังคมปัจจุบัน” ซึ่งผู้วิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีงบประมาณ 2553 วัตถุประสงค์ ของการวิจัยคือต้องการศึกษาค่านิยมดั้งเดิมที่สะท้อนจาก สุภาษิตญี่ปุ่น แล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลเกี่ยวกับ คนญี่ปุ่นในปัจจุบันว่าคนญี่ปุ่นยังคงค่านิยมตามที่ปรากฏใน สุภาษิตหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เหตุผลที่ผู้วิจัยเลือกศึกษา ค่านิยมดั้งเดิมของญี่ปุ่นจากสุภาษิตเนื่องจากเป็นที่ยอมรับกัน โดยสากลว่าสุภาษิตเป็นคำคมที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คน อีกรุ่นหนึ่ง เนื้อหาของสุภาษิตเป็นการสรุปรวมข้อเท็จจริง คำแนะนำ คำตักเตือนต่างๆ ในสถานการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ซ้ำแล้วซ้ำเล่า สุภาษิตจึงมีบทบาทถ่ายทอดภูมิปัญญา และ ค่านิยมของแต่ละวัฒนธรรม อย่างไรก็ดี ค่านิยมเป็นสิ่งที่ เปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ของแต่ละยุคสมัย ผู้วิจัยจึงนำ ข่าวที่ปรากฏในเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์และสื่อสารมวลชน 3 แหล่งของญี่ปุ่น ประกอบด้วย Yomiuri Mainichi และ NHK มาใช้ในการศึกษาค่านิยมในปัจจุบันของคนญี่ปุ่น โดยเก็บ รวบรวมข่าวจากเว็บไซต์ดังกล่าวตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 – เดือนเมษายน พ.ศ.2554 รวมทั้งสิ้น 515 ข่าว ส่วน สุภาษิตที่นำมาศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 1,137 บท จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ค่านิยมดั้งเดิมจากสุภาษิต ญี่ปุ่นที่พบมากที่สุด 4 อันดับแรกคือ 1. ค่านิยมเกี่ยวกับความ รอบคอบ (116 สุภาษิต) 2.ค่านิยมเกี่ยวกับความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอน (78 สุภาษิต) 3. ค่านิยมเกี่ยวกับการลงมือ ทำสิ่งที่ตั้งใจด้วยความมุ่งมั่น (51 สุภาษิต) และ 4. ค่านิยม เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับสิ่งเล็กๆ กับคนหรือสิ่งที่ ดูเหมือนไม่สำคัญ (35 สุภาษิต) สุภาษิตอื่นๆ นอกจากนี้

10

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม - พฤศจิกายน 2555

แยกย่อยออกเป็นค่านิยมด้านต่างๆ อีกหลายค่านิยม ส่วนการ ศึกษาค่านิยมของคนญี่ปุ่นในปัจจุบันจากข่าวนั้นพบว่าค่านิยม ที่พบมากที่สุด 4 อันดับแรกคือ 1. ข่าวที่สะท้อนค่านิยม เกี่ยวกับความรอบคอบ (33 ข่าว) 2. ข่าวที่สะท้อนค่านิยม เกี่ยวกับความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอน (10 ข่าว) 3. ข่าว ที่สะท้อนค่านิยมเกี่ยวกับการลงมือทำสิ่งที่ตั้งใจด้วยความ มุ่งมั่น (28 ข่าว) และ 4. ข่าวที่สะท้อนค่านิยม เกี่ยวกับ การให้ความสำคัญกับสิ่งเล็กๆ คนหรือสิ่งของที่ดูเหมือน ไม่สำคัญ (40 ข่าว) เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับค่านิยมที่สะท้อนจากข่าว ของคนญี่ปุ่นในปัจจุบันพบว่าค่านิยมดั้งเดิมจากสุภาษิตญี่ปุ่น ที่ปรากฏมากที่สุด 4 อันดับแรกยังคงสะท้อนให้เห็นจากข่าว ที่ปรากฎในปัจจุบัน ค่านิยมเกี่ยวกับความรอบคอบ ค่านิยม เกี่ยวกับความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอน และค่านิยมเกี่ยวกับ การให้ความสำคัญกับสิ่งเล็กๆ กับคนหรือสิ่งที่ดูเหมือนไร้ค่า ยังคงปรากฏอยู่ในสังคมญี่ปุ่นอย่างเหนียวแน่น แต่ค่านิยมที่ ดูจะมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือค่านิยมเกี่ยวกับ การลงมือทำสิ่งที่ตั้งใจด้วยความมุ่งมั่น ซึ่งหมายรวมถึงมีความ อดทนความพยายาม ซึ่งส่วนนี้อาจชี้เป็นนัยถึงความ เปลี่ยนแปลงของค่านิยมของคนญี่ปุ่นในอนาคต จึงควรมีการ สังเกตต่อไปว่าข่าวที่สะท้อนค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้จะมี จำนวนมากขึ้นในอนาคตหรือไม่ หากมีจำนวนมากขึ้น ก็จะ ชี้ให้เห็นว่าค่านิยมหลักบางอย่างที่มีมาแต่ดั้งเดิมของคนญี่ปุ่น มิได้ฝังรากมั่นคงในความคิดความเชื่อของคนญี่ปุ่นในปัจจุบัน อีกต่อไปแต่มีการเปลี่ยนแปลงจริง อีกทั้งควรศึกษาบริบท ทางวั ฒ นธรรมและบริ บ ททางสั ง คมประกอบเพื ่ อ สามารถ อธิบายถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน


วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ นายสมศักดิ์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร และ เลิศรัตนพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสรรพวิทยาคม ดตาก นายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้า จังหวั สร้าง ได้ร่วมลงนามความร่วมมือของทั้งสามองค์กรร่วมกัน เพื่อ ดตาก ขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเยาวชน ในเขตจังหวั รม ทั้งนี้ คณะมนุษยศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิรัช นิยมธร ยการ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ (รักษาการผู้อำนว ม่า ศูนย์พม่าศึกษา) จะจัดทำยกร่างหลักสูตรรายวิชาภาษาพ สนุน เพื่อการสื่อสารระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 และสนับ ลากร การจัดอบรมทักษะการสอน ทักษะภาษาให้กับครูและบุค รวมทั้งบุคลากรของหอการค้า ของโรงเรียนสรรพวิทยาคม นา จังหวัดตากด้วย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจ ริหาร วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมคณะผู้บ ยา 3 คณะมนุษยศาสตร์ร่วมในพิธีดังกล่าว ณ ห้องสุพรรณกัล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม - พฤศจิกายน 2555

11

ข่าวกิจกรรม

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมให้การต้อนรับ Mrs. Kristy Anne Kenny เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำ ประเทศไทย ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร ในโอกาสมาเยือนมหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนี้ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้นิสิตมหาวิทยาลัย นเรศวรได้สอบถามประเด็นต่างๆเกี่ยวกับการทำงานในฐานะ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยอีกด้วย

สุรีย์พร ชุมแสง

วันที่ 5 ตุลาคม 2555 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ และคณาจารย์ประจำสาขาวิชา ภาษาฝรั่งเศส ร่วมให้การต้อนรับคณะผู้ศึกษาดูงานจาก Universitas Pendidikan Indonesia ประเทศอินโดนีเซีย ที่เดินทางมาเยี่ยมชมคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อหารือการสานต่อความร่วมมือทางวิชาการ ณ ห้องประชุม HU 1307 คณะมนุษยศาสตร์


วารสารมนุษมหาวิยศาสตร์ ทยาลัยนเรศวร เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ ของอาจารย์ และนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ ตลอดจน บุคคลทั่วไป สนใจติดต่อกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ โทร. 0-5596-2006

วิสัยทัศน์ :

ย ะ ม นุษ ศ า ส

ร ศว

มห

าวิท

ต ร์

คณ

คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ

ยาลัยนเร

ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และ สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศ 2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร

สุวรรณภิงคาร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ชำระค่ า ฝากส่ ง เป็ น รายเดื อ น ใบอนุ ญ าตเลขที ่ 85/2521 พิ ษ ณุ โ ลก

ท่ า นที ่ ส นใจจดหมายข่ า วนี ้ กรุ ณ าส่ ง ชื ่ อ ที ่ อ ยู ่ ข องท่ า นมายั ง งานประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร อ.เมื อ ง จ.พิ ษ ณุ โ ลก 65000 โทรศั พ ท์ 0-5596-2035 โทรสาร 0-5596-2000 ไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยใดๆ ทั ้ ง สิ ้ น

สุวรรณภิงคาร

หรื อ “กลศ” หมายถึ ง หม้ อ ดิ น สำหรั บ ใส่ น ้ ำ ดิ น และน้ ำ เป็ น แม่ บ ทของสิ ่ ง ทั ้ ง ปวง อั น เปรี ย บได้ ก ั บ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ที ่ เ ป็ น รากฐานแห่ ง ศาสตร์ ท ั ้ ง ปวง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.