สุ
วรรณภิงคาร
ย ะ ม นุษ ศ า ส
ศว
มห
าวิท
ร
ต ร์
คณ
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ยาลัยนเร
ปีที่ 7 ฉบับที่ 16 เมษายน-พฤษภาคม 2554
ISSN : 1906-9014 (สงวนลิขสิทธิ์)
นานาทรรศนะ หน้า 3
บทสัมภาษณ์ ศ.(พิเศษ) ดร. กาญจนา เงารังษี “คณะมนุษยศาสตร์กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน”
นานาสาระทางวิชาการ หน้า 6
ความทุกข์ของแรงงานต่างด้าวในสาธารณรัฐเกาหลี : ภาพสะท้อนจากวรรณกรรมเยาวชน
เก็บมาฝาก หน้า 8
MORE THAN THE PEARL OF THE ORIENT SEAS
“ยิ่งกว่าไข่มุกแห่งทะเลตะวันออก”
กระดานศิษย์เก่า หน้า 10 จดหมายจากศิษย์เก่าแดนไกล
ภาพโดย สนธิชัย สุวรรณปักษิน
ที่ปรึกษา
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รองคณบดีฝ่ายวิจัย
บรรณาธิการ ดร.อรอุษา
บทบรรณาธิการ
สุวรรณประเทศ
กองบรรณาธิการ ดร.ชมนาด อ.สถิตาภรณ์ อ.วราภรณ์ อ.สถิตย์ อ.ศิระวัสฐ์
ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ
เลขานุการ สุรีย์พร
อินทจามรรักษ์ ศรีหิรัญ เชิดชู ลีลาถาวรชัย กาวิละนันท์
นลินรัตนกุล ชุมแสง
งานประชาสัมพันธ์ :
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th ข้อมูลผู้เขียน 1. ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ รองหัวหน้าภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: onusas@nu.ac.th 2. อ.ศิวัสว์ สุรกิจบวร อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: siwat_surakitbovorn@hotmail.com 3. Helmer B. Montejo อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: simplyhelmer@yahoo.com 4. อ.พิชญาภา สิริเดชกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: pitchayapa@yahoo.com 5. อ.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: satit_lil@yahoo.com 6. อ.ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาภาษาไทย โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ประธานชมรมศิษย์เก่าสุวรรณภิงคาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: van.kavi@hotmail.com
ช่วงนี้ไปไหนมาไหนใครก็พูดถึงแต่ “ประชาคมอาเซียน” ซ้ำบางครั้ง ยังได้ยินว่า “อาเซียนบวกสาม” และ “อาเซียนบวกหก” เข้าไปอีก สุวรรณภิงคารเลยขอทำตัวทันสมัย หยิบเอาประเด็นเกี่ยวกับอาเซียนทั้งหลาย มาเป็นแนวคิดหลัก (theme) ในการนำเสนอ ข่าวสารในฉบับนี้ เริ่มต้นด้วยการสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรักษาการคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในประเด็น “คณะมนุษยศาสตร์กับการก้าวสู่ประชาคม อาเซียน” ประชาคมอาเซียน คืออะไร อาเซียนบวกสาม และอาเซียน บวกหกคืออะไร ทำไมคณะมนุษยศาสตร์จึงต้อง ตื่นตัวกับการก้าวเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน และชาวมนุษยศาสตร์ควรเตรียมความพร้อม สำหรับ การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ.2015 (พ.ศ.2558) อย่างไร หาคำตอบ ได้ในคอลัมน์ “นานาทรรศนะ” ต่อเนื่องด้วย “นานาสาระทางวิชาการ” ฉบับนี้ส่งตรงมาจาก ประเทศสาธารณรัฐ เกาหลี โดย อาจารย์ศิวัสว์ สุรกิจบวร อาจารย์ประจำ สาขาวิชาภาษาเกาหลี คณะมนุษยศาสตร์ ซึ่งกำลังศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาแรงงานต่างด้าว ในสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งเป็นประเทศคู่เจรจาในกรอบอาเซียน 3 ประเทศ ที่สะท้อนผ่านวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง “การเล่น เป่ายิ้งฉุบของบลูเซีย” สำหรับ “เก็บมาฝาก” ฉบับนี้พิเศษกว่าที่เคย นำเสนอเป็น 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย แนะนำให้รู้จักประเทศฟิลิปปินส์ เป็น ภาษาอังกฤษ โดย อาจารย์ชาวฟิลิปปินส์ Helmer B. Montejo และแปล เป็นภาษาไทย โดย อาจารย์พิชญาภา สิริเดชกุล และอาจารย์สถิต ลีลาถาวรชัย ชาวต่างประเทศก็อ่านได้ ชาวไทยอ่านก็จะยิ่งดี ปิดท้ายด้วย “กระดานศิษย์เก่า” มีเสียงสะท้อนจากศิษย์เก่าแดนไกล ที่ไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ประเทศจีนฝากความมาถึงคณะมนุษยศาสตร์ และ ถ่ายทอดเกร็ดความรู้ จากประสบการณ์การใช้ชีวิตต่างแดนให้รุ่นน้องที่ กำลังคิดจะเดินทางตามรอย รุ่นพี่ไปศึกษาต่อ ณ แดนมังกร หวังว่าเนื้อหาที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ของสุวรรณภิงคารจะเป็นประโยชน์ และเป็นที่ พึงพอใจของท่านผู้อ่านทุกท่านนะคะ
ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ บรรณาธิการ Onusas@nu.ac.th
ประชาคมอาเซียน” ฝ่ายวิชาการ และรักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อมองภาพอนาคตร่วมกัน พร้อมกับจะได้เตรียมการรับมือให้ทันต่อสถานการณ์ของโลก ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ
“ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community) เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อ เพิ ่ ม อำนาจต่ อ รองและขี ด ความสามารถการแข่ ง ขั น ทุ ก ด้ า น ของอาเซียน ในเวทีระหว่างประเทศ อาเซียน ประกอบด้วย ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และเขมร ปัจจุบัน มักได้ยินคำว่า “อาเซียนบวกสาม” และ “อาเซียนบวกหก” ซึ่งเป็นการนับรวมประเทศคู่เจรจาในกรอบ อาเซียน 3 ประเทศ (จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) และ 6 ประเทศ (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ตามลำดับ ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 ประชาคม ย่อย ซึ่งเปรียบเสมือนเสาหลักทั้งสามที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ 1.) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 2.) ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน และ 3.) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียน ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2546 จากการที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนาม ในปฏิญญาว่าด้วยความ ร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” เพื่อเห็นชอบ ให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลง เร่งจัดตั้งให้แล้วเสร็จในปี 2558 การก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 หรือในอีก 4 ปีข้างหน้า จะส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ไม่เฉพาะแต่ภาคธุรกิจและการเมืองเท่านั้น กองบรรณาธิการ สุวรรณภิงคารเห็นความสำคัญของประเด็นดังกล่าว โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วจะส่งผลกระทบต่อ องค์กรการศึกษาอย่างไร และคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวรจะยืนอยู่ตรงไหนในประชาคมอาเซียน จึงได้สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี รองอธิการบดี
ทำไมคณะมนุ ษ ยศาสตร์ จ ึ ง ต้ อ งตื ่ น ตั ว กั บ การก้ า วเข้ า สู ่ ประชาคมอาเซียน เหตุผลที่คณะมนุษยศาสตร์ ต้องตื่นตัวกับการ ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ก็คือ คณะมนุษยศาสตร์เป็น คณะหลักในการสร้างองค์ความรู้จากการทำการวิจัย และ ถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นโดยการสอน และการเผยแพร่งานวิจัย ที ่ เ ป็ นองค์ ค วามรู ้ สำหรั บการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ของมนุษย์ โดยตรง ซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตจะหมายถึงการรู้จักการอยู่ ร่วมกับผู้อื่นโดยผ่านทางภาษา การสร้างสมานฉันท์ในกลุ่มชน ที่ต่างชาติพันธุ์ ต่างผิว ต่างรูปสังคม โดยผ่านทางการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ปรัชญา ศาสนา และความเชื่อ องค์ ค วามรู ้ เ หล่ า นี ้ จ ะได้ จ ากคณะมนุ ษ ยศาสตร์ เ ท่ า นั ้ น เมื ่ อ ประเทศจะก้ า วเข้ า สู ่ ก ารร่ ว มเป็ น ประเทศอาเซี ย นในปี พ.ศ.2558 คืออีก 4 ปี ข้างหน้า คณะมนุษยศาสตร์ซึ่งจะต้อง รับผิดชอบถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านภาษา โดยเฉพาะภาษา อังกฤษซึ่งเป็นภาษากลางของอาเซียน และภาษาที่ใช้สื่อสาร ในประเทศอาเซียน ตลอดจนองค์ความรู้ในด้านวัฒนธรรม ปรัชญา ศาสนา ของอาเซียน ก็ถือเป็นพันธกิจหลักของคณะ มนุษยศาสตร์ ที่จะต้องผลิตบัณฑิตและสะสมองค์ความรู้ เพื่อ หยิบยื่นให้กับบัณฑิตเพื่อให้มีทักษะทางด้านภาษา มีความเข้าใจ ในวัฒนธรรมที่หลากหลายแตกต่าง ทั้งอาจารย์และนิสิต ทุกระดับชั้น จึงต้องตื่นตัวและเตรียมตัวให้พร้อมมากกว่า คณะอื่นๆ
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน-พฤษภาคม 2554
นานาทรรศนะ
“คณะมนุษยศาสตรกับการกาวสู
3
นานาทรรศนะ ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ ในทรรศนะของท่าน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร ควรจะต้องเตรียมตัวเตรียมพร้อมอย่างไร และ ในส่วนใดบ้าง สำหรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ท่านมอง เห็นภาพคณะมนุษยศาสตร์ ในประชาคมอาเซียนเป็น อย่างไร การเตรียมความพร้อมของคณะมนุษยศาสตร์ ที่สำคัญ ก็คือช่วยกันพัฒนาความรู้ในด้านภาษา ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาที่พูดในกลุ่มประเทศอาเซียน จะเป็นอาเซียน +3 หรือ อาเซียน +6 ก็ล้วนเป็นความจำเป็นทั้งสิ้น หากคณะ มนุษยศาสตร์ ช่วยกันทั้งนิสิตและอาจารย์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ จะช่วยให้มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงในกลุ่มสถาบัน การศึกษาของอาเซียน เพราะมีบุคลากรทุกประเภท มีความ รู้รอบ มีความแคล่วคล่องในการใช้ภาษาได้อย่างดีเยี่ยมพร้อม ที่จะยื่นมือไปช่วยเหลือ สร้างความเข้าใจ และช่วยสร้าง สมานฉันท์ให้เกิดขึ้น เมื่อวันที่เสรีทางการศึกษาได้ย่างกราย เข้ามาในรั้วของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป ภาพของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรในสายตา ของประชาคมอาเซียนก็คือ เป็นองค์กรที่เพียบพร้อมไปด้วย
4
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน-พฤษภาคม 2554
องค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐานชีวิตทุกๆด้าน เป็นสถานศึกษาที่น่า เข้ามาสัมผัส และมีส่วนร่วมในการศึกษาหาความรู้ด้วย มากที่สุด อีกไม่นานจะมีการสรรหาคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ในฐานะ รักษาการคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และรองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ ท่านอยากฝากข้อคิด/นโยบายอะไรถึงคณบดี คนต่อไป รวมถึงบุคลากรและนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ เพื่อการพัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้ก้าวหน้าก้าวไกลต่อไป สิ่งที่อยากให้คณะมนุษยศาสตร์ได้นำไปสานคิดต่อ เพื่อคณะจะได้มีการพัฒนาวิชาการได้อย่างเต็มรูปแบบ คือ อยากเห็นคณะผลิตข้อมูลข่าวสารในรูปสื่อประเภทต่างๆ ที่เป็น ต้นแบบความคิด ความรู้ของคณะเอง อยากเห็นนิสิตของคณะ มีความรู้รอบ มารยาทงดงาม เป็นแบบฉบับของคนรุ่นใหม่ อยากเห็ น คณาจารย์ ข องคณะมี ค วามตื ่ น ตั ว ทางวิ ช าการอยู ่ ตลอดเวลา มุ่งมั่น ศรัทธาในการปฏิบัติพันธกิจทั้ง 4 ด้าน ของการเป็นสถาบันอุดมศึกษาอย่างแท้จริง ทุ่มเทให้กับ การสร้ า งและการถ่ า ยทอดความรู ้ ใ ห้ ล ู ก ศิ ษ ย์ อ ย่ า งไม่ ร ู ้
นานาทรรศนะ ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ เหน็ดเหนื่อย ด้วยความเมตตา อยากเห็นเจ้าหน้าที่ทุกคน ของคณะพร้ อ มใจกั น ทำงานบนพื ้ น ฐานของความสามั ค คี ประสานงานเพื่อช่วยขับเคลื่อนให้คณะและมหาวิทยาลัยก้าวสู่ การเป็นองค์กรแห่งคุณภาพอย่างแท้จริง คณะมนุษยศาสตร์เป็นฐานแห่งความรู้ เปรียบเหมือน เสาเข็มของการก่อสร้างอาคาร ความมั่นคง แข็งแรง และความ สวยงามของอาคารอาจจะแลดูโดดเด่น แต่ถ้าปราศจากเสาเข็ม ที่เป็นหลักอยู่ใต้พื้น อาคารก็คงจะคงรูปอยู่ ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น มหาวิทยาลัยดูจะเด่นเป็นสง่า และมีชื่อเสียง แต่ก็ขึ้นอยู่กับ ความแข็งแกร่งทางวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์ ที่จะทำให้ มหาวิทยาลัยรุ่งเรืองก้าวหน้า การทำงานของทุกคน ทุกฝ่ายในคณะมนุษยศาสตร์ จึงไม่ควรท้อใจกับการปิดทองหลังพระ แต่มุ่งสร้างพัฒนาคณะ ให้สมบูรณ์แบบด้วยภาควิชา สาขา หลักสูตร ที่หลากหลาย และเป็นองค์รวมแห่งความรู้ ที่เกิดจากการประสานงาน ของบุคลากรและนิสิตของคณะทุกคน
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน-พฤษภาคม 2554
5
นานาสาระทางวิชาการ
ความทุกขของแรงงานตางดาวในสาธารณรัฐเกาหลี :
ÀÒ¾Êзé͹¨Ò¡ÇÃó¡ÃÃÁàÂÒǪ¹
อ.ศิวัสว์ สุรกิจบวร
สาธารณรัฐเกาหลีหรือประเทศเกาหลีใต้ที่เรารู้จักกันดี เป็นอีกหนึ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียของเราที่มีแรงงานต่างด้าว เข้าไปทำงานกันมากมาย แรงงานไทยของเราเองก็นิยม ไปทำงานที่ประเทศนี้เช่นกัน แม้ว่าช่วงเวลาที่ผ่านมาทางรัฐบาล เกาหลีได้ตั้งเงื่อนไขหลายๆอย่าง ทำให้เกณฑ์การสมัครเพื่อได้ รับการคัดเลือกไปทำงานมีความเข้มงวดมากขึ้น ทั้งเรื่องการ สอบวัดระดับความรู้ทางภาษาเกาหลี และการกำหนดให้ แรงงานที ่ ก ำลั ง จะเดิ น ทางไปทำงานต้ อ งได้ ร ั บ การอบรม ทางด้านภาษาและวัฒนธรรม แต่ถึงกระนั้นประเทศเกาหลีใต้ ก็ยังคงเป็นจุดหมายที่แรงงานจากประเทศต่างๆ ใฝ่ฝันอยาก จะไปเพื ่ อ หารายได้ ส ่ ง กลั บ มาจุ น เจื อ ครอบครั ว ของตนเอง แม้จะรู้อยู่แก่ใจว่าการเดินทางครั้งนี้ไม่ได้มีพรมแดง หรือกลีบ กุหลาบโรยไว้อย่างแน่นอน แรงงานต่างด้าวมักจะประสบพบเจออุปสรรคต่างๆ ขณะทำงาน ทั้งเรื่องภาษาและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอุปสรรค ในการสื่อสาร การที่พูดฟังไม่ค่อยได้ก็จะมีโอกาสโดนเอารัด เอาเปรียบมากขึ้น แม้คนที่สามารถพูดฟังได้ดีแล้ว หากไม่มีคน เกาหลีคอยช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ บางครั้งก็อาจจะถูกเอารัด เอาเปรียบได้อย่างง่ายๆ เช่นกัน ปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าว ในเกาหลีหลีนั้น ทางรัฐบาลเกาหลีเองก็ตระหนักอยู่แก่ใจว่า เกิดขึ้นจากหลากหลายสาเหตุ อาทิเช่น ปัญหาที่เกิดจาก แรงงานต่างด้าวเข้าประเทศมาอย่างผิดกฎหมาย การถูก ทารุณกรรมและเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างเกาหลี หรือ ประเด็นที่สำคัญที่สุดก็คือ การที่สังคมเกาหลียังคงมองแรงงาน เหล่านี้เป็นชนชั้นที่ต่ำต้อย ขาดการศึกษา และเป็นตัวการ ที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นในประเทศของตน ซึ่งส่งผลทำให้คนเกาหลี หลายๆ คนชอบดูถูก รังแก และไม่ให้เกียรติต่อชนชั้นแรงงาน เหล่านี้เท่าที่ควร แรงงานต่างด้าวที่เข้าไปอาศัยอยู่ในประเทศเกาหลี บางครั้งอาจจะมีครอบครัวติดตามไปด้วย ซึ่งเด็กๆ เหล่านี้ อยู่ในวัยที่ยังบริสุทธิ์ ต้องการเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากสภาพแวดล้อม ที่ดี แต่ในเมื่อต้องใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นในประเทศที่ไม่ใช่ มาตุภูมิของตน ความเป็นอยู่ที่เคยแย่อยู่แล้วในบ้านเกิด เมืองนอน ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อต้องอาศัยอยู่ที่เกาหลี ทั้งเรื่องภาษา สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่ต่างกัน โดยเฉพาะ แรงงานต่างด้าวที่เข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย พวกเขา 6
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน-พฤษภาคม 2554
เหล่านั้นต้องใช้ชีวิตอย่างหลบๆ ซ่อนๆ ไม่รู้ว่าวันนี้หรือวันพรุ่งนี้ จะถูกจับกุมโดยตำรวจ เด็กที่โตมาในครอบครัวแบบนี้ นอกจาก ต้ อ งรั บ ความทุ ก ข์ ท รมานที ่ เ กิ ด ขึ ้ น จากการถู ก กลั ่ น แกล้ ง ใน โรงเรียนแล้ว ยังต้องกลับบ้านมาเผชิญความพรั่นพรึงในความ ไม่แน่นอนของชีวิต ซึ่งไม่รู้ว่าพ่อแม่ของตนจะถูกจับกุม ดำเนินคดีเมื่อไหร่ ปัญหาหลากหลายเหล่านี้ถูกสะท้อนผ่าน วรรณกรรมเด็กเล่มหนึ่ง ซึ่งทางองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เกาหลี ได้เป็นโต้โผในการจัดทำหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมา โดย วัตถุประสงค์ของการเขียนหนังสือเรื่องนี้ นอกจากจะสะท้อน ปั ญ หาความทุ ก ข์ ย ากของแรงงานต่ า งด้ า วในเกาหลี แ ล้ ว สิ่งสำคัญที่สุดที่องค์กรนี้พยายามจะชี้ประเด็นให้ผู้อ่านเห็นก็คือ การสร้างความเข้าใจให้เยาวชนรุ่นใหม่ของเกาหลีมีความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกมากขึ้น โดยวรรณกรรมเด็ก เล่มนี้ ถูกถ่ายทอดโดยการใช้การ์ตูนเล่าเรื่องราวคร่าวๆ ของ เนื้อหา แล้วก็ตามด้วยการเล่าเรื่องแบบง่ายๆ ที่ทำให้ผู้ใหญ่ อย่างเราๆ เองต้องฉุกคิดว่า เรื่องแบบนี้ยังคงมีอยู่มากมายใน สังคมที่เรากำลังอาศัยอยู่จริงๆ หนังสือเล่มนี้ใช้ชื่อเรื่องว่า “การเล่นเป่ายิ้งฉุบของ บลูเซีย” ในหนึ่งเล่ม รวบรวมเรื่องสั้นเอาไว้ห้าเรื่องด้วยกัน โดย ตัวละครที่โลดแล่นอยู่ในเนื้อเรื่องนั้น เป็นแรงงานต่างด้าว ที่มา จากประเทศต่างๆ เช่น เวียดนาม มองโกล บังคลาเทศ และอินโดนีเซีย โดยตัวละครจากห้าเรื่องนี้ ต่างก็ประสบความ ทุกข์ยากในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่คิดว่าตนเจริญแล้วอย่าง เกาหลีใต้ ในเรื่องสั้นที่ชื่อ “พันดูบี” ซึ่งเป็นภาษาบังคลาเทศ แปลว่า “เพื่อน” นั้น สะท้อนชีวิตของลูกสาวแรงงานต่างด้าว ที่มาจากบังคลาเทศ ว่าถูกเพื่อนในโรงเรียนบางคนเหยียดหยาม อย่างไร ประเด็นที่สำคัญในเรื่องนี้ก็คือ ทัศนคติเหมารวมของคน เกาหลี ที่ส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น ว่าด้วยเรื่องคนที่นับถือศาสนา อิสลาม ต้องเป็นผู้ก่อการร้ายเสมอไป เด็กสาวตัวเอกของเรื่อง ต้ อ งพบกั บ ความสะเทื อ นใจเมื ่ อ ถู ก เพื ่ อ นในโรงเรี ย นตั ้ ง ข้ อ รังเกียจเรื่องเชื้อชาติและศาสนา ส่วนเรื่องสั้นที่ชื่อ “วันที่แสนพิเศษ” เป็นเรื่องราว ของเด็กชายที่มาจากมองโกเลีย ติดตามครอบครัวมาอาศัย อยู่ในเกาหลี ผู้เขียนผูกเรื่องราวโดยการสร้างตัวละครชาว เกาหลี อย่างเจ้าของโรงงานและลูกสาว ให้เป็นมนุษย์จำพวก
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน-พฤษภาคม 2554
นานาสาระทางวิชาการ อ.ศิวัสว์ สุรกิจบวร
มือถือสากปากถือศีล คือ ต่อหน้าคนอื่นๆ ก็ทำตัวเป็นคนดี แต่พอลับหลังก็เผยธาตุแท้ออกมาให้เห็น ลุงของตัวเอกในเรื่อง ก็ถูกนายจ้างชาวเกาหลีคนนี้โกงค่าจ้างและยืมเงินจนไม่สามารถ ใช้หนี้สินที่ก่อไว้ในมองโกเลียได้ ส่วนเด็กชายนั้นก็ถูกลูกสาว ของนายจ้างกลั่นแกล้งด้วยวิธีเอา ความดีเข้าตัวเอาความชั่ว ให้คนอื่นเสมอๆ จนเด็กชายเกิดความรู้สึกสับสนว่าแท้จริง แล้วคนเกาหลีเป็นคนอย่างไรกันแน่ ในเรื ่ อ งสั ้ น ทั ้ ง ห้ า สะท้ อ นปั ญ หาที ่ แ รงงานต่ า งด้ า ว ต้องพบเจอทุกวัน เช่น การถูกเอารัดเอาเปรียบ การถูกทำร้าย ร่างกาย และการถูกปฏิบัติราวกับไม่ใช่มนุษย์ เป็นต้น ยังผล ไปถึงลูกหลานของพวกเขาเหล่านั้น ที่ถูกรังแกโดยเพื่อนที่ โรงเรียน แม้ในบางเรื่องอาจจะจบด้วยความเข้าใจกันระหว่าง สองฝ่าย แต่ส่วนใหญ่แล้วเนื้อเรื่องมักจะจบด้วยความเศร้า ซึ่ง กลวิธีการเล่าเรื่องในลักษณะนี้สะท้อนให้ผู้อ่านเห็นว่า ปัญหา เรื่องความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติและศาสนา หากใช้ความรัก และความเข้าใจ ก็สามารถแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่ใน หลายๆ กรณีเอง เพียงแค่ความรักความเข้าใจก็ไม่สามารถแก้ ปัญหาได้เสมอไป ตราบใดที่คนในสังคมยังถ่ายทอดความเชื่อ แบบผิดๆ จากรุ่นสู่รุ่น เราอาจจะมองได้ว่าทัศนคติเหมารวม ที ่ ค นเกาหลี ย ั ง คงยึ ด ถื อ เป็ น เครื ่ อ งมื อ ในการใช้ ส ร้ า งความ แตกแยกนั้น เป็นชนวนเหตุหลักๆ ที่ทำให้ปัญหาเรื่องสิทธิ มนุษยชน ในประเทศที่เจริญทางด้านวัตถุอย่างรวดเร็วอย่าง เกาหลีใต้ เป็นปัญหาที่ไม่สามารถหาทางออกได้ในเร็ววัน และ อาจจะเรื้อรังต่อไปในอนาคต
7
เก็บมาฝาก
THE PEARL OF THE ORIENT SEAS Helmer B. Montejo
Helmer B. Montejo
How far do you know about the Philippines? You can’t grasp the whole country by just hearing some news. You need to go there and experience a beautiful island nation. As you immerse yourself with all its values and characteristics, you will come to love the country more and more. The best thing about the Philippines is its people. “Pinoys” are without doubt the country’s true jewel more than the vast natural resources foreigners rave about like volcanoes, waterfalls, hot springs, exotic beaches, lakes and mountains, surf and dive spots, and elusive wildlife. Dubbed as the friendliest in Southeast Asia, Filipinos will approach you and want to know more about you. We are naturally curious and love to meet and chat like there is no tomorrow. We are the most optimistic and charming people based on published studies and our hospitality is rated highly in the world. We love life and enjoy it through colorful fiestas at any given opportunity. We do this despite the obvious poverty and disparity between the rich and the poor. We are always happy and our laughter is very infectious. You can see a thousand smiles everyday and Filipinos show genuine emotion in welcoming visitors. We are always proud of our country and ready to show its best. The Filipino people are an interesting blend with Asian, Chinese, Spanish, and American roots. The beauty of Filipinas is legendary and everyone goes gaga over beauty pageants—who is going to represent the country in the Miss Universe, Miss World, Miss Earth, Miss International, and the list continues. The entertainment capabilities of Filipino singers are renowned not just in Asia but the whole 8
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน-พฤษภาคม 2554
world. Proof? 80% of the Live Bands all around Asia are Filipino bands. And who doesn’t know Lea Salonga? She is best known for her musical role Kim in Miss Saigon, for which she won the Olivier, Tony, Drama Desk, Outer Critics and Theatre World Awards. She was the first Asian to play Éponine as well as the first Asian to play Fantine in the musical Les Misérables on Broadway and was the singing voice of Princess Jasmine from Aladdin (1992) and Fa Mulan from Mulan (1998) and Mulan II (2004). Charice is another Filipina singer who rose to popularity through YouTube. Dubbed by Oprah Winfrey as the Most Talented Girl in the World, she is the first solo Asian artist in history to land in the Top 10 of the Billboard 200 album chart. Crossing over to television acting, she has appeared on the TV series Glee where she plays a guest star named Sunshine Corazon. Truly, the Philippines is not just a tropical island paradise for nomads to live comfortably. It is more than the Pearl of the Orient Seas. It’s its people, the Pinoys, that make the country more interesting. Just imagine the world without us! Give the Philippines a try and visit. Experience a daily dose of excitement with the friendliest Filipinos. Mabuhay!
ย ิยิ่ง่ง กว่ า กว่า
เก็บมาฝาก
ไขมุกแหงทะเลตะวันออก
แปลจาก ’MORE THAN THE PEARL OF THE ORIENT SEAS’ ทุ ก คนก็ ค ลั ่ ง ไคล้ ก ารประกวดความงามเป็ น อย่ า งมาก พวกเราจะเฝ้าจับตามองว่าใครจะได้เป็นตัวแทนไปประกวด นางงามจักรวาล นางงามโลก นางงามปฐพี นางงาม นานาชาติ และอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน ส่วนด้านความบันเทิง ประเทศฟิลิปปินส์ก็ไม่เป็น สองรองใคร นักร้องฟิลิปปินส์เป็นที่รู้จักไม่เฉพาะแต่ใน เอเชีย แต่ยังโด่งดังไปทั่วทุกมุมโลกอีกด้วย ส่วนข้อพิสูจน์ เหรอครับ ก็ 80 เปอร์เซ็นต์ของวงดนตรีในเอเชีย ล้วนแต่ เป็นวงจากประเทศฟิลิปปินส์ทั้งนั้น และใครบ้างจะไม่รู้จัก ลี ซาลองกา ผู้มีชื่อเสียงจากบท คิม ในละครเวทีเรื่อง Miss Saigon ที่ส่งให้เธอได้รับรางวัลมากมายไม่ว่าจะเป็นรางวัล โอลิเวียร์ โทนี่ ดราม่าเดสก์ เอาเตอร์คริทิคส์ และ เธียเธอร์เวิรล์ด เธอเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับบท เอปอนีน และ ฟองทีน ในละครเพลงเรื่อง Les Misrables ของบรอดเวย์ และยังเป็นผู้พากย์บทร้องของเจ้าหญิง แจสมีนในภาพยนตร์เรื่อง Aladdin (1992) รวมถึงตัวละคร ฟา มู่หลัน ในภาพยนตร์ Mulan ทั้งภาคหนึ่ง (1998) และภาคสอง (2004) ชาริซ คือนักร้องสาวเลือดฟิลิปิน่าอีกคนหนึ่ง ที่โด่งดัง มาจากเว็บไซต์ยูทูบ (www.youtube.com) เธอถึงกับได้รับขนานนามจาก โอปร่า วินฟรีย์ ให้เป็น เด็กหญิงผู้มีความสามารถมากที่สุดในโลก นอกจากนี้เธอ ก็ยังเป็นนักร้องเดี่ยวจากเอเชียคนแรกในประวัติศาสตร์ ที่สามารถติดอันดับหนั่งในสิบ การจัดอันดับ 200 อัลบัม ยอดนิยมของบิลบอร์ด ด้านงานโทรทัศน์ นักร้องสาวผู้นี้ ยังได้ปรากฏตัวในซีรี่ย์ชุด Glee ในฐานะดารารับเชิญกับบท ซันไชน์ กอราซอน ดังที่กล่าวมานั้น ประเทศฟิลิปปินส์ จึงมิได้เป็นแค่ เกาะสวรรค์เขตร้อนอันมอบแหล่งพักพิงอันสุขสบายแก่ นักท่องเที่ยวพเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นดินแดนที่เป็น “ยิ่งกว่าไข่มุกแห่งทะเลตะวันออก” และชาว “ปินอย” ก็คือ ผู้ที่ทำให้ประเทศแห่งนี้น่าหลงใหลยิ่งขึ้น ลองนึกภาพโลกนี้ ที่ไม่มีชาวฟิลิปปินส์สิครับ ลองหาโอกาสไปเยือนฟิลิปปินส์ สักครั้ง ไปสัมผัสประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นในทุกๆ วัน กับ ไมตรีจิตของผู้คนชาวฟิลิปปินส์ดูนะครับ มาบูไฮ! (สวัสดี) จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน-พฤษภาคม 2554
อ.พิชญาภา สิริเดชกุล และ อ.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย แปล
คุณรู้จักประเทศฟิลิปปินส์ขนาดไหนครับ ลำพัง ที่เขาเล่ากันคงไม่ทำให้คุณเห็นภาพของดินแดนแห่งนี้ได้ ทั้งหมดหรอก คุณต้องเดินทางไปสัมผัสหมู่เกาะอันงดงาม แห่งนี้ด้วยตัวเอง และเมื่อคุณได้ลองฝังตัวไปกับวิถี ธรรมเนียมของที่นี่ คุณจะต้องตกหลุมรักประเทศแห่งนี้ มากขึ้นอย่างแน่นอน ทรัพยากรล้ำค่าที่สุดของประเทศฟิลิปปินส์ก็คือ ผู้คนที่นี่นั่นเอง ชาว “ปินอย” คืออัญมณีเม็ดงามของชาติ ที่มีค่ายิ่งกว่าทรัพยากรอันมากมายของประเทศไม่ว่าจะเป็น ภูเขาไฟ น้ำตก น้ำพุร้อน ชายหาด ทะเลสาบและภูเขา อั น แปลกตาซึ ่ ง เป็ น ที ่ ก ล่ า วขวั ญ กั น ในหมู ่ ช าวต่ า งชาติ รวมไปถึงแหล่งโต้คลื่น ดำน้ำ และธรรมชาติในป่า อันยาก จะเข้าถึง ว่ากันว่าชาวฟิลิปปินส์เป็นชนชาติที่เป็นมิตรที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวฟิลิปปินส์จะเป็นฝ่ายเข้าหา คุณก่อนและจะสนใจใคร่รู้เรื่องราวต่างๆ ของคุณ โดย ธรรมชาติแล้วพวกเราเป็นชนชาติที่อยากรู้อยากเห็น และ ชอบพบปะพูดคุยกับผู้คนอย่างกับว่าจะไม่มีพรุ่งนี้ให้ได้คุย กันอีก ผลการศึกษาพบว่าพวกเราเป็นชนชาติที่มองโลก ในแง่ดีและน่ารักมากที่สุดชนชาติหนึ่ง และน้ำใจไมตรี ของเราก็ยังถูกจัดให้อยู่แถวหน้าของโลกอีกด้วย เราเป็น ชนชาติที่มีความสุขกับชีวิตและสามารถรื่นเริงไปกับสีสัน ในงานฉลองไม่ว่าจะเป็นในโอกาสใดๆ เราสามารถคง ลักษณะเหล่านี้ไว้ได้แม้จะมีชีวิตท่ามกลางความขัดสนและ ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน เราเป็ น ชนชาติ ท ี ่ ม ี ค วามสุ ข ได้ ต ลอดเวลา เสียงหัวเราะของพวกเราเป็นเหมือนเชื้อระบาดที่ทำให้ผู้คน แวดล้อมอดหัวเราะตามไม่ได้ คุณจะได้เจอแต่รอยยิ้ม นับพันในทุกๆ วัน เพราะชาวฟิลิปปินส์จะต้อนรับแขกผู้มา เยือนด้วยความรู้สึกที่จริงใจเปิดเผย เราภูมิใจกับประเทศ ของเราและพร้อมที่จะนำเสนอสิ่งดีๆที่เรามีให้แก่ผู้มาเยือน ตลอดเวลา ชาวฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ เ ป็ น ชนชาติ ท ี ่ ผ สมผสานระหว่ า ง ความเป็นเอเชีย จีน สเปน และสหรัฐอเมริกา ความงาม ของสาว “ฟิลิปิน่า” นั้นเป็นที่เลื่องลือและชาวฟิลิปปินส์
9
จดหมาย กระดานศิษย์เก่า
จากศิษยเกาแดนไกล
อ.ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์
ตอนน ี ้ ไ ม่ ว ่ า จะเป็ น หน่ ว ยงาน ใดเปิ ด รั บ สมั ค ร เจ้าหน้าที่ใหม่ พนักงานใหม่ ก็เห็นคนแห่ไปสมัครงาน กันเป็นร้อยๆคน ในขณะที่ตำแหน่งงานนั้นเปิดรับสมัครแค่ ตำแหน่งเดียว สุดท้ายคนที่พลาดโอกาสก็ต้องเร่งหางาน ใหม่กันต่อไป.. นี่แหละ ชีวิตวัยทำงาน ผมเห็นเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ หลายคน หากไม่ ก็เดินหน้าเร่งฝีเท้าข้ามน้ำ หางานทำในประเทศไทย ข้ามทะเลไปผจญหางานทำหรือไม่ก็เรียนต่อในต่างประเทศ กัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อเมริกา ผมจึงเขียน e-mail ไปถึงพี่น้องมนุษยศาสตร์ ที่อยู่ทั่วโลกให้ช่วยกันเขียนจดหมายบรรยายความรู้สึกหรือ เสียงสะท้อนที่อยากฝากมาถึงคณะมนุษยศาสตร์ ล่าสุดผมได้รับ e-mail จากรุ่นพี่คนหนึ่ง พี่ต้น ณัฐวร วงศ์จิตราทร ศิษย์เก่าภาษาจีน รหัส 45 ปัจจุบันพี่ต้น ทำงานเป็นอาจารย์ภาษาจีนที่มหาวิทยาลัย พะเยา และเรียนต่อในระดับปริญญาโทที่ประเทศจีน พี่ต้น ได้เขียน e-mail มาถึงคณะมนุษยศาสตร์ว่า “คณะ มนุษยศาสตร์ของเรา สอนคนให้เป็นคนเก่งและเป็นคน ขยันมาก แล้วก็มีรุ่นพี่หลายคนไปทำงานกันที่เมืองนอก แต่ก่อนที่น้องๆ จะเดินทางไป พี่อยากให้ทางคณะได้จัด อบรมให้ความรู้กับศิษย์เก่าที่จะไปต่างประเทศกันก่อน เพราะจำได้ว่าสมัยที่เรียนมีแนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ แต่ตอนนั้นคนไปฟังเยอะมากเลยได้อะไรไม่มากเท่าไหร่” พี่ต้นมีเรื่องเล่าเป็นเกร็ด ส่วนประเด็นอื่นๆ ความรู้ให้กับน้องๆ ว่า “สำหรับพี่แล้ว พี่อยู่ประเทศจีน มาปีกว่าๆ อยากฝากถึงน้องๆ ที่กำลังจะเดินทางมา ประเทศจีนว่า ความจริงเรื่องที่อยากให้ทราบเลยก็คือข้อมูล ทั่วๆ ไป เช่น ภูมิอากาศในแต่ละช่วงเวลา การเตรียมเครื่อง การเลือกซื้อเครื่องแต่งกาย แต่งกายในแต่ละฤดูกาล ในแต่ละฤดูกาลว่าควรเลือกซื้อแบบไหน อะไรที่ไม่จำเป็น ต้องซื้อ และควรซื้อจากแหล่งใด ในราคาประมาณเท่าไหร่ เนื่องจากในเมืองจีนมีร้านค้ามากมายที่ขายสินค้าราคาแพง
10
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน-พฤษภาคม 2554
กว่าที่ควรจะเป็นถึงสามสี่เท่าด้วยกัน และคนไทยส่วนมาก จึงเสียเงินไปเป็นจำนวนมาก ก็คิดว่านั่นเป็นราคาปกติ กว่าจะรู้ตัวก็โดนหลอกไปเสียแล้ว หรือไม่ก็ข้อมูลทางด้าน พลเมือง เช่น ด้านสุขอนามัย ในเมืองจีนห้องน้ำสกปรกมาก เรื่องแบบนี้ก็ควรจะให้ข้อมูลเพื่อให้ทำใจก่อนไปจริง และ จะได้เตรียมการรับมือที่ถูกต้อง หรือในร้านอาหารเมืองจีน ที่อนุญาตให้ลูกค้าสูบบุหรี่ในร้านได้ หรือในบางร้านที่ใช้ พลาสติกรองจานข้าว (เพื่อจะได้ไม่ต้องล้างมาก) การบรรจุ อาหารโดยใช้ถุงพลาสติกธรรมดา การรู้ข้อมูลพวกนี้ทำให้ เราเตรียมอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง แล้ ว ที ่ ส ำคั ญ คื อ ข้ อ มู ล ทางด ้ า นวั ฒ นธรร ม โดยเฉพาะวัฒนธรรมการกิน เช่นในประเทศจีน ตามร้าน อาหารจะขายเนื้อ ซึ่งไม่ระบุชัดว่าเป็นเนื้ออะไร คนไทยพุทธ แต่ไม่รู้ว่าที่ร้านนั้นขายเป็น โดยส่วนมากไม่ทานเนื้อวัว เนื้อวัว จึงทานเข้าไปโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ยังควรบอกว่า อะไรที่เราควรเตรียมไปจากประเทศไทย เช่น เครื่องปรุงรส ต่างๆ สิ่งใดที่ประเทศนั้นๆ มีขาย สิ่งใดที่ไม่มีขาย และเรา ต้องนำไปเอง ส่ ว นข้ อ มู ล ด้ า นการ เดิ น ทางแล ะการท ่ อ งเที ่ ย ว การเดินทางก็สำคัญ พี่จะบอกเลยว่าในปักกิ่งมีรถไฟฟ้า ที่แสนสบาย ทุกคนจึงควรมีบัตรโดยสารที่สามารถหาซื้อ ได้ตามสถานีรถไฟฟ้า แต่ในซูโจว ไม่มีรถไฟฟ้า จำเป็นมาก การเดินทางระหว่างเมือง ที่ต้องซื้อจักรยานมาใช้เอง ก็สำคัญ เพราะแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน เช่น รถไฟ ในเมื อ งจี น สบาย และส ะอาด กว่ า รถไฟใ นเมื อ งไทยม าก ทำให้คนที่มาอยู่มีทางเลือกมากขึ้น” อย่างไรก็ตาม ฉบับต่อๆ ไป ทีมงานศิษย์เก่าจะนำเรื่อง เล่าจากพี่ๆ ศิษย์เก่าต่างแดนมาฝากทุกท่านอีกครั้ง และขอ ให้ศิษย์เก่าที่กำลังหางานทำกันอยู่หรือกำลังจะเริ่มเรียนต่อ ปริญญาโท เข้มแข็งและสู้ชีวิตกันอย่างเต็มที่ ทีมงาน ศิษย์เก่า ทุกคนเป็นกำลังใจให้ครับ
โครงการค่ายนักวิจัย
วันที่ 3 เมษายน 2554 ศาสตราจารย์พิเศษ เกียรติ ดร.กาญจนา เงารังษี คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ให้ คณะมนุษยศาสตร์ เป็นประธานเปิดโครงการค่ายนักวิจัย ีมา มหาวิทยาลัยนเรศวร ณ อิมภู ฮิลล์ รีสอร์ท จังหวัดนครราชส ความรู้ จัดโดยหน่วยวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ เพื่อเป็นการเพิ่ม ให้แก่ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาการเขียนโครงการวิจัย สตร ์ คณา จาร ย์ แ ละบ ุ ค ลาก รสา ยสน ั บ สนุ น ในค ณะม นุ ษ ยศา จารย์ เพื่อที่จะส่งผลให้คณะมนุษยศาสตร์ มีผลงานวิจัยจากคณา รติจาก และบุคลากรสายสนับสนุนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ได้รับเกีย วิเทศรศ.ดร.สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและ ้ เรื่อง สัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิทยากรให้ความรู ศวร “กา รเสน อขอ ทุ น งบป ระม าณว ิ จ ั ย ของ มหา วิ ท ยาล ั ย นเร และแนวทางการพิจารณาให้ได้รับทุน” อีกด้วย
วันที่ 28 มีนาคม 2554 รองศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์ พร้อมคณาจารย์ภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา ร่วมให้การต้อนรับคณะผู้บริหาร จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ลที ่ เ ข้ า ศึ ก ษาดู ง านด้ า นการจั ด การเรี ย น การสอน และแนวทางการพัฒนาหลักสูตรของภาควิชาภาษา และคติชนวิทยา ณ ห้องประชุม HU 1307 อาคารคณะ มนุษยศาสตร์
โครงการรดน้ำขอพรผู้บริหาร และอาจารย์อาวุโส
วันที่ 7 เมษายน 2554 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังสี คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมคณะ ผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ ร่วมต้อนรับ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.กระแส ชนะวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ให้เกียรติเข้าร่วม โครงการรดน้ำขอพรผู้บริหาร และอาจารย์อาวุโส คณะมนุษยศาสตร์ จัดโดยคณะกรรมการสโมสรนิสิตบัณฑิตศึกษา นิสิต ปริญญาโทครูประจำการ ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ คณะ มนุษยศาสตร์
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน-พฤษภาคม 2554
11
ข่าวกิจกรรม
วันที่ 28 มีนาคม 2554 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ จัดโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการภาษาญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น เทคนิคการเรียน การสอนภาษาญี่ปุ่นแก่คณาจารย์ผู้สอนภาษาญี่ปุ่น ในเขต ภาคเหนือตอนล่าง และให้สอดคล้องกับสถานะเศรษฐกิจ ในปัจจุบันของประเทศไทย ณ ห้อง QS 3111 อาคาร เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัย นเรศวร
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าศึกษาดูงาน
สุรีย์พร ชุมแสง
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการภาษาญี่ปุ่น
ขอเชิญรวมงาน ”ÇѹÀÒÉÒÈÔÅ»ìÁ¹ØÉÂÈÒʵÃì”
16-18 สิงหาคม 2554 ณ คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร พบกับ นิทรรศการหลักสูตรและศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ, การสาธิตทำอาหารจีน ญี่ปุน เกาหลี เวียดนาม และพมา การแตงกายชุดประจำชาติเกาหลีและญี่ปุน , Bingo Language and Culture Games, การอบรมเชิงปฏิบัติการนาฏศิลปรวมสมัย, การแสดงละครจากวรรณคดีเรื่องขุนชางขุนแผน, การประกวดรองเพลงไทยลูกทุง, การประกวดบรรเลงกีตารอูคูเลเล, การประกวสุนทรพจนภาษาอังกฤษ, การแขงขันละครสั้นภาษาฝรั่งเศส สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่งานบริการการศึกษา คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร หมายเลขโทรศัพท 0-5596-2067 และ 0-5596-2052
วิสัยทัศน์ :
ย ะ ม นุษ ศ า ส
ร ศว
มห
าวิท
ต ร์
คณ
คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
ยาลัยนเร
ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และ สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศ 2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร
สุวรรณภิงคาร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชำระค่ า ฝากส่ ง เป็ น รายเดื อ น ใบอนุ ญ าตเลขที ่ 85/2521 พิ ษ ณุ โ ลก
ท่ า นที ่ ส นใจจดหมายข่ า วนี ้ กรุ ณ าส่ ง ชื ่ อ ที ่ อ ยู ่ ข องท่ า นมายั ง งานประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร อ.เมื อ ง จ.พิ ษ ณุ โ ลก 65000 โทรศั พ ท์ 0-5596-2035 โทรสาร 0-5596-2000 ไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยใดๆ ทั ้ ง สิ ้ น
สุวรรณภิงคาร
หรื อ “กลศ” หมายถึ ง หม้ อ ดิ น สำหรั บ ใส่ น ้ ำ ดิ น และน้ ำ เป็ น แม่ บ ทของสิ ่ ง ทั ้ ง ปวง อั น เปรี ย บได้ ก ั บ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ที ่ เ ป็ น รากฐานแห่ ง ศาสตร์ ท ั ้ ง ปวง