สุ
วรรณภิงคาร
ย ะ ม นุษ ศ า ส
ศว
มห
าวิท
ร
ต ร์
คณ
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ยาลัยนเร
นานาทรรศนะ หน้า 3
สัมภาษณ์คณบดีคณะมนุษยศาสตร์คนใหม่ “วิสัยทัศน์และนโยบายการบริหาร และพัฒนาคณะมนุษยศาสตร์”
นานาสาระทางวิชาการ หน้า 6 แนะนำหนังสือ Grammars in Contact : A Cross-Linguistic Typology
เก็บมาฝาก หน้า 8
สิ่งที่ชาวญี่ปุ่นลืมไปแล้ว : ความรู้สึกนิยมนับถือปนกับยำเกรงธรรมชาติ
กระดานศิษย์เก่า หน้า 10 อีกหนึ่ง...ในความภูมิใจ
ปีที่ 7 ฉบับที่ 17 มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 ISSN : 1906-9014 (สงวนลิขสิทธิ์)
ที่ปรึกษา
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รองคณบดีฝ่ายวิจัย
บรรณาธิการ ดร.อรอุษา
สุวรรณประเทศ
กองบรรณาธิการ ดร.ชมนาด อ.สถิตาภรณ์ อ.วราภรณ์ อ.สถิตย์ อ.ศิระวัสฐ์
ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ
เลขานุการ สุรีย์พร
บทบรรณาธิการ
อินทจามรรักษ์ ศรีหิรัญ เชิดชู ลีลาถาวรชัย กาวิละนันท์
นลินรัตนกุล ชุมแสง
งานประชาสัมพันธ์ :
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th ข้อมูลผู้เขียน 1. อ.สถิตาภรณ์ ศรีหิรัญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ e-mail: cookies_min@hotmail.com 2. ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาศาสตร์ ภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: katechommanad@gmail.com 3. Asst.Prof.Taiitsu Oba อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: obataiitsu@hotmail.com 4. อ.ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาภาษาไทย โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ประธานชมรมศิษย์เก่าสุวรรณภิงคาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: van.kavi@hotmail.com 5. สุรีย์พร ชุมแสง นักประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: sureepornpr@yahoo.com
หลังจากที่สุวรรณภิงคารฉบับที่แล้ว (เมษายน-พฤษภาคม 2554) กองบรรณาธิการได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยนเรศวร และรักษาการคณบดี คณะมนุษยศาสตร์ในขณะนั้น ก่อนที่ท่านจะอำลาตำแหน่งรักษาการคณบดีไป ซึ่งท่านก็ได้ฝากข้อคิดถึงชาวมนุษยศาสตร์ทั้งบุคลากรและนิสิตเอาไว้หลาย ประการ ต่อเนื่องถึงฉบับนี้ เมื่อคณะมนุษยศาสตร์ได้คณบดีคนใหม่ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ กองบรรณาธิการจึงไม่รอช้า ที่จะสัมภาษณ์ท่านถึงวิสัยทัศน์และนโยบายในการบริหารงานของท่านคณบดี คนใหม่ ซึ่งคิดว่าท่านผู้อ่านคงจะอยากทราบด้วยเช่นกัน สำหรับครูอาจารย์ นักวิชาการ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ที่สนใจ ศึกษาด้านภาษาศาสตร์โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของภาษา อันเนื่องมาจากการสัมผัสภาษา ต้องไม่พลาดคอลัมน์นานาสาระทางวิชาการ ของเราในฉบับนี้ ที่ ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์ แนะนำหนังสือต่างประเทศ ที่นำเสนอทฤษฎีและรวมบทความที่น่าสนใจ สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ทั้ง ในการเรียนการสอนและการวิจัยภาษา ส่ ว นคอลั ม น์ เ ก็ บ มาฝากฉบั บ นี ้ ย ั ง คงเก็ บ มาฝากโดยอาจารย์ ช าว ต่างประเทศ คือ Asst.Prof.Taiitsu Oba อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ เราเคยอ่านข่าวสึนามิกันมา พอสมควร คราวนี้ลองมาอ่านความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวจาก งานเขียนของชาวญี่ปุ่นโดยตรงบ้าง ถึงแม้ว่าเก็บมาฝากฉบับนี้เราจะไม่ได้ลง เป็นสองภาษาเหมือนฉบับที่แล้ว แต่ต้องขอบอกท่านผู้อ่านว่าภาษาไทย ในคอลัมน์นี้เป็นผลงานการเขียนของ Asst.Prof.Taiitsu Oba เองทั้งหมด ซึ่งภาษาไทยของอาจารย์นั้นไม่เพียงแค่ใช้ได้ แต่ต้องนับว่าใช้ได้ดีเลยทีเดียว ปิดท้ายสุวรรณภิงคารฉบับนี้ ด้วยอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของ คณะมนุษยศาสตร์ ในคอลัมน์กระดานศิษย์เก่า นทีธร นาคพรหม ศิษย์เก่า อีกคนที่มีเรื่องราวน่าสนใจชวนติดตาม และ...รอพบกับสุวรรณภิงคารฉบับหน้า ปิดท้ายปีงบประมาณ ด้วยฉบับแห่ง “การวิจัย” พลาดไม่ได้เลยนะคะ
ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ บรรณาธิการ Onusas@nu.ac.th
ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ 12/2554 สภามหาวิ ท ยาลั ย นเรศวรได้ พ ิ จ ารณาและมี ม ติ แ ต่ ง ตั ้ ง ให้ รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2554 กองบรรณาธิ ก ารสุ ว รรณภิ ง คารจึ ง ขอแสดงความยิ น ดี แ ด่ รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ มา ณ ที่นี้ และ ถือโอกาสนี้สัมภาษณ์ท่านคณบดีคนใหม่ในประเด็นเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์และนโยบายในการบริหารและพัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ ซ ึ ่ ง เป็ น ประเด็ น ที ่ ช าวมนุ ษ ยศาสตร์ ท ุ ก คนคงอยาก จะทราบด้วยเช่นกัน อยากทราบถึงนโยบายการบริหารและพัฒนาคณะของท่าน คณบดีโดยภาพรวม ดำเนินตามวิสัยทัศน์ที่เสนอต่อสภามหาวิทยาลัย คือ “พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนก่อนปี พ.ศ. 2558 ด้วยการ แสวงหาความร่วมมือในการสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการด้าน มนุษยศาสตร์ในภูมิภาคท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง ภายใน ประเทศภูมิภาคอาเซียน และนานาประเทศ” วิสัยทัศน์ดังกล่าวมาข้างต้น ได้นำมาเป็นแนวทาง และ ทิศทางนโยบายในการบริหารและการพัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ ตลอดระยะเวลาที ่ ด ำรงตำแหน่ ง คณบดี ค ณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อมุ่งขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ชั ้ น แนวหน้าในระดับ ภูมิภาค และเข้า สู ่ ประชาคมอาเซียนในปีพุทธศักราช 2558 ได้อย่างภาคภูมิ รายละเอียดของนโยบายทั้ง 6 ด้าน มีดังนี้ คือ 1. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ในด้านการวิจัยให้มีคุณภาพ มาตรฐาน โดยเน้ น การวิจ ัยทั้งในระดับ ท้องถิ่น ภาคเหนื อ ตอนล่าง ระดับประเทศ ระดับอาเซียน และระดับนานาชาติ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพด้ า นนี ้ นอกจากเป็ น พั น ธกิ จ ด้านการวิจัยแล้ว ยังสอดรับกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย 2. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ในด้านการผลิตบัณฑิต ที่ถึง พร้อมด้วยคุณภาพและศักยภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อพร้อม เข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
นานาทรรศนะ
วิสัยทัศนและนโยบายการบริหาร และพัฒนาคณะมนุษยศาสตร 3. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้มีระบบในการสนับสนุน เกื้อกูลและเป็นผู้นำในการบริการชุมชน ทั้งในและต่างประเทศ 4. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้มีระบบในการทำนุบำรุง ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้ประชากรในพื้นที่มีความสุขอย่าง ยั่งยืนในวิถีการดำรงชีพ และเพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปะ วัฒนธรรมระหว่างชาติ โดยเฉพาะชาติสมาชิกอาเซียน 5. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้มีระบบสานสัมพันธ์อันดี กับศิษย์เก่า เพื่อร่วมกันสร้างชื่อเสียง อำนวยประโยชน์แก่ชุมชน ส่งเสริมแนะแนวทางวิชาการและอาชีพ แก่นิสิตปัจจุบัน 6. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้มีระบบการบริหาร และ การจัดการที่เอื้ออำนวยต่อสวัสดิการแก่บุคลากรและนิสิตของ คณะมนุษยศาสตร์ โดยยึดหลัก ปัญญาธรรม คารวธรรม และ สามัคคีธรรม ทิศทางนโยบายในการบริหารและการพัฒนาคณะ สอดรั บ กั บ พั น ธกิ จ หลั ก ของมหาวิ ท ยาลั ย โดยข้ อ หนึ ่ ง นั ้ น นอกจากเป็นพันธกิจด้านการวิจัยแล้ว ยังสอดรับกับวิสัยทัศน์ ของมหาวิ ท ยาลั ย รวมทั ้ ง ข้ อ ห้ า การสานสั ม พั น ธ์ อ ั น ดี ก ั บ ศิษย์เก่า ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนคณะ มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะ ศิ ษ ย์ ป ั จ จุ บ ั น ให้ เ ข้ ม แข็ ง ในทุ ก ๆ ด้ า นยิ ่ ง ขึ ้ น ส่ ว นข้ อ สอง เป็นพันธกิจหลักเรื่องการสอน ข้อสี่ตรงกับพันธกิจหลักด้าน การบริ ก ารวิ ช าการแก่ ช ุ ม ชน และข้ อ ห้ า เป็ น พั น ธกิ จ หลั ก ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิสัยทัศน์และแนวนโยบายดังกล่าวมาข้างต้น ทำให้ เห็นทิศทางในการพัฒนาคณะว่า ในโลกปัจจุบันเราไม่สามารถ อยู่ตามลำพังได้ เราต้องมีเครือข่าย พันธมิตร เราต้องรู้ตัวตน ของเรา และรู้ตัวตนของเพื่อนร่วมโลก ร่วมภูมิภาค เพื่ออยู่ อย่างไร้พรมแดนได้อย่างเข้าใจและเป็นสุข ฉะนั้น คณะผู้บริหาร บุคลากรและนิสิต ต้องเข้าใจตรงกัน และมองไปในทิศทาง เดียวกัน คณะต้องเพิ่มพูนศักยภาพนิสิต บุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุน ขณะเดียวกันบุคลากรและนิสิต ต้องกระตือรือร้น มุ่งพัฒนาตนเอง ก้าวทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของ สังคมและโลก เช่น หากรู้ว่าภาษาอังกฤษยังคงเป็นภาษาที่เป็น
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน-กรกฎาคม 2554
อ.สถิตาภรณ์ ศรีหิรัญ, สุรีย์พร ชุมแสง
สัมภาษณคณบดี คณะมนุษยศาสตร คนใหม :
3
นานาทรรศนะ
สื่อกลางของโลกและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คณะก็ต้อง สนับสนุนให้บุคลากรและนิสิตพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ ส่วนบุคลากรและนิสิตก็ต้องพัฒนาศักยภาพด้านนั้นของตนด้วย ในทรรศนะของท่าน อะไรคือสิ่งที่ต้องดำเนินการเป็นอย่าง แรก เพื่อพัฒนาคุณภาพคณะ
อ.สถิตาภรณ์ ศรีหิรัญ, สุรีย์พร ชุมแสง
ขออนุโลมว่าสิ่งแรก ที่จะทำของแต่ละแนวทาง จะชัดเจนกว่า ในที่นี้ขอลำดับจากระบบการบริหารและจัดการก่อน 1. ให้ขวัญกำลังใจแด่ผู้อาวุโส เช่น เตรียมจัดโครงการ จัดบรรยายทางวิชาการ เพื่อมุทิตาจิต แด่ ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร เนื่องในโอกาสได้รับเชิดชูเกียรติเป็น ปูชนียบุคคล ด้านภาษาไทย รองศาสตราจารย์ ดร. ครรชิต ทะกอง ในโอกาสเกษี ย ณและต่ อ อายุ ร าชการ กั บ รองศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ สยะนานนท์ ได้รับต่อ สัญญาจ้างเป็นผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นอาจารย์ ซึ่ง อยู่ในระหว่างรอการอนุมัติจากมหาวิทยาลัย มอบของขวัญแก่นิสิต ที่ต้องการป้ายบอกทางของคณะ ซึ่งฝ่ายอาคารสถานที่ดำเนินการอยู่ ในส่วนคณบดีได้ให้แนวทาง ในการทำป้ายที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของคณะ เช่น สัญลักษณ์ ด้านสีพื้นหลังและตัวอักษร 2. มอบนโยบายการปรับบทบาทหน้าที่การบริหาร ในระดับภาควิชา ให้มีลักษณะเป็นภาควิชาตาม พรบ. มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2533 เช่น นโยบายการบริหาร ว่ารองหัวหน้าภาควิชา ควรดูแลตามพันธกิจ หลัก 4 ด้าน 3. บรรจุแผนการจัดตั้งภาควิชาใหม่ ที่ยังดำเนินการ ไม่แล้วเสร็จ เข้าแผนฯ 11 เพื่อให้บริหารจัดการหลักสูตร การเรียนการสอนให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังทำให้คณะมนุษยศาสตร์มีความสมบูรณ์ทางวิชาการ ด้านมนุษยศาสตร์ยิ่งขึ้น 4. เกลี่ยกระจายภาระงานของบุคลากรสายสนับสนุน ให้เหมาะสมกับความสามารถ และให้ชัดเจนตามบทบาทหน้าที่ ซึ่งปรากฏในลักษณะใบงาน อีกทั้งเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อ รับการประเมินสมรรถนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกจ้างชั่วคราว ที่มหาวิทยาลัยให้เปลี่ยนเป็นพนักงานเงินรายได้
4
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน-กรกฎาคม 2554
ด้านการวิจัย พัฒนาความเข้มแข็งที่ยั่งยืนด้านการวิจัย โดยมอบหมาย รองคณบดีฝ่ายวิจัย ได้กำหนดผู้รับผิดชอบหลักด้านวิจัยของ แต่ละภาควิชา เพื่อก้าวทันทิศทางการพัฒนาประเทศและการ เข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้านการผลิตบัณฑิต 1. ดำเนินการจัดทำร่างหลักสูตรตามกรอบ TQF ที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้ทันกำหนดการที่มหาวิทยาลัย กำหนด ประชาสั ม พั น ธ์ ผ ู ้ ส นใจเลื อ กเรี ย นภาษาอาเซี ย นที ่ เปิดสอนในคณะ ให้แก่คณะอื่นๆ ได้เลือกเรียนเป็นภาษาที่สาม 2. พัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนให้มีคุณภาพ ระดับสากลเพื่อพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้วยการสนับสนุน การพั ฒ นาสมรรถนะด้ า นการใช้ ภ าษาอั ง กฤษของผู ้ เ รี ย น ทั้งการเรียนการสอน และการอบรม ด้านบริการวิชาการ พัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริการวิชาการแก่ชุมชน โดยจัดทำรายละเอียดข้อมูลความเชี่ยวชาญและความโดดเด่น ของบุคลากรและคณะ ทั้งด้านวิชาการและบริการวิชาการชุมชน ทั้งฐานข้อมูลบุคลากรและรายละเอียดในการให้บริการวิชาการ รวมทั้งทำสื่อประชาสัมพันธ์ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การสร้างเอกลักษณ์และปลูกฝังความรัก ความผูกพัน และความภาคภูมิใจ “ความเป็นมนุษยศาสตร์ และมหาวิทยาลัย นเรศวร” ของนิสิตและบุคลากรตามค่านิยมองค์กร กำหนด อัตลักษณ์เพื่อให้บุคลากรและนิสิตประชาพิจารณ์ ดังนี้ คือ อัตลักษณ์องค์กร “คิด พูด ทำ อย่างสร้างสรรค์” อัตลักษณ์นิสิต/บัณฑิต “คุณธรรมนำทักษะชีวิต ทักษะทางภาษา ทักษะทางปัญญา ทักษะทางวิชาการ และ ทักษะทางวิชาชีพ” ด้านสานสัมพันธ์อันดีกับศิษย์เก่า จัดกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ศิษย์เก่ากับศิษย์ปัจจุบัน เช่น จัดกิจกรรมดอกแก้วคืนถิ่น สุดท้าย อยากให้ท่านฝากข้อคิดถึงคณาจารย์ และนิสิตคณะมนุษยศาสตร์
เจ้าหน้าที่
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน-กรกฎาคม 2554
อ.สถิตาภรณ์ ศรีหิรัญ, สุรีย์พร ชุมแสง
นานาทรรศนะ
อยากให้ทุกคนใช้ศักยภาพ และความหลากหลาย ทางศาสตร์ของมนุษย์ และความคิดอุดมการณ์ของทุกคน มาหลอมรวมให้ได้ความเป็นหนึ่ง มุ่งพัฒนาตนเพื่อพร้อมเข้าสู่ ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก ตามบทบาทหน้าที่ของตน กล่าวคือ บุคลากรสายวิชาการ พึงยึดจริยธรรมตามพันธกิจ 4 ด้าน คือ สอน วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรม ส่วนสายสนับสนุนควรยึดจริยธรรมให้บริการ แก่ทุกคน ทั้งในและนอกองค์กร ด้วยการมอบความชื่นฉ่ำของ 3 น้ำ คือ น้ำใจ น้ำคำ และน้ำมือ แก่ผู้รับบริการ นิสิตนั้น ต้องมีจริยธรรม งามพร้อมด้วยความรอบรู้คู่จรรยามารยาท ส่วน คณะผู้บริหารจะมุ่งมั่นดำเนินการสานวิสัยทัศน์ให้เป็นจริง โดย อาศัยศักยภาพและพลังอันแกร่งกล้าของชนชาวมนุษยศาสตร์ ทั ้ ง หมดนี ้ ค ื อ วิ ส ั ย ทั ศ น์ แ ละแนวนโยบายของท่ า น คณบดีคนใหม่ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาคณะให้เป็นองค์กรที่มีความ เป็นเลิศด้านมนุษยศาสตร์ พร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน และประชาคมโลกต่อไป โดยอาศัยพลังแห่งความร่วมแรงร่วมใจ ของพวกเราชาวมนุษยศาสตร์ทุกคน
5
นานาสาระทางวิชาการ
แนะนำหนังสือ Grammars in Contact : A Cross-Linguistic Typology Edited by Alexandra Y. and R.M.W. Dixon, New York: Oxford University Press (2006)
ชมนาด อินทจามรรักษ์
ความหลากหลายของภาษานำไปสู ่ ป รากฏการณ์ ที่เรียกว่า “การสัมผัสภาษา (language contact)” อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2545: 92)* กล่าวว่า การสัมผัสภาษา เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติในสังคมพหุภาษา ที่ประกอบด้วยผู้รู้หลายภาษา และคนเหล่านี้พูดหลายภาษา สลับหรือปนกัน ภาษาของคนเหล่านี้จึงมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน การสัมผัสภาษาทำให้ภาษาเกิดการแปรและเปลี่ยนแปลงได้ โดยภาษาสองภาษาที่สัมผัสกันในตัวผู้รู้สองภาษาจะมีอิทธิพล ซึ่งกันและกัน และภาษาทั้งสองจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปจาก เดิมเพราะได้รับอิทธิพลจากอีกภาษาหนึ่ง กลไกทางภาษาที ่ เ กิ ด ขึ ้ น ในสถานการณ์ ก ารสั ม ผั ส ภาษาจะเป็นอะไรได้บ้างนั้นขึ้นกับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ปัจจัยทางภาษา (linguistic factors) เช่น ลักษณะทางเสียง หรือโครงสร้างทางไวยากรณ์ของภาษาที่สองซึ่งเอื้อต่อการมี อิทธิพลต่อภาษาแม่ และปัจจัยทางสังคม (social factors) ได้แก่ ระยะเวลาที่มีการสัมผัสภาษา อันจะส่งผลต่อระดับความเข้มข้น ของการสัมผัสของภาษา ลักษณะโครงสร้างของสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ทัศนคติของผู้พูดที่มีต่อภาษา ความมี ศักดิ์ศรี (prestige) เป็นต้น หนั ง สื อ เล่ ม นี ้ น ำเสนอทฤษฎี ก ารเปลี ่ ย นแปลงของ ภาษาอันเนื่องมาจากการสัมผัสภาษา (contact-induced change) เนื้อหาของหนังสือแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ส่วนแรกกล่าวถึงสาเหตุที่หลายภาษามีความคล้าย คลึงกัน เช่น ความเป็นสากลลักษณ์ (universal) การเป็นภาษา ที่พูดในบริเวณเดียวกัน การสัมผัสภาษา และการยืม นอกจากนี้ ยังอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อภาษาเกิดการสัมผัสกัน โดยอธิบายจากมุมมองต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของภาษา ในระดับต่างๆ เช่น เสียง คำ ความหมาย และวากยสัมพันธ์ มีการนำเสนอกลวิธีที่ภาษาปรับหรือเปลี่ยนรูปแบบ (forms and patterns) ของสิ่งที่ยืมมาให้เข้ากับภาษาของตน เช่น การเทียบแบบ (analogy) การยืมแบบแปล (loan translation) เป็นต้น ส่วนถัดไป เป็นการกล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อการ
เปลี่ยนแปลงของภาษา เมื่อเกิดการสัมผัสภาษา เช่น การยืม ในระดับเข้มข้น การมีโครงสร้างทางภาษาคล้ายคลึงกัน ความถี่ ในการปรากฏ และการเติมเต็มระบบที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังได้อธิบายปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อการสัมผัส ภาษา เช่น ระดับความรู้ความสามารถในการใช้ภาษา ทัศนคติ ต่อภาษา ความสมดุลหรือความไม่เท่าเทียมกันของภาษา เป็นต้น ส่วนที่สองเป็นการรวบรวมบทความจำนวน 12 เรื่อง จาก 15 เรื่องที่นำเสนอในการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับ นานาชาติเรื่อง “Grammars in contact” จัดขึ้นโดย Research Center for Linguistic Typology, La Trobe University ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 13-18 มิถุนายน 2548 ในแต่ละบทความนำเสนอปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดการ สัมผัสภาษา โดยมีกรณีศึกษาจากภาษาต่างๆ หลายตระกูล ภาษาจากหลายทวีป รายชื่อบทความที่ปรากฏในหนังสือมีดังนี้ 1. Grammatical diffusion in Australia: free and bound pronouns โดย R.M. W. Dixon 2. How long do linguistic areas last?: western Nilotic grammars in contact โดย Anne Storch 3. Grammars in contact in the Volta Basin (West Africa): on contactinduced grammatical change in Likpe โดย Felix K. Ameka 4. Basque in contact with Romance languages โดย Gerd Jendraschek 5. Language contact and convergence in East Timor: the case of Tetun Dili โดย John Hajek 6. Language contact and convergence in Pennsylvania German โดย Kate Burridge 7. Balkanizing the Nalkan sprachbund: a closer look at grammatical permeability and feature distribution โดย Victor *อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2545. ภาษาในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน-กรกฎาคม 2554
นานาสาระทางวิชาการ ชมนาด อินทจามรรักษ์
(Denes & Pinson 1993)
A. Friedman 8. Cantonese grammar in areal perspective โดย Stephen Matthews 9. Semantics and pragmatics of grammatical relations in the Vaups linguistic area โดย Alexandra Y. Aikhenvald 10. The Vaups melting pot: Tucanoan influence on Hup โดย Patience Epps 11. The Quechua impact in Amuesha, an Arawak language of the Peruvian Amazon โดย Willem F.H. Adelaar 12. Feeling the need: the borrowing of Cariban functional categories into Mawayana (Arawak) โดย Eithne B. Carlin จะเห็นได้ว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอทฤษฎีการสัมผัส ภาษาไว้ อ ย่ า งครอบคลุ ม อี ก ทั ้ ง รวบรวมตั ว อย่ า งของ ปรากฏการณ์ของการสัมผัสภาษาที่เกิดขึ้นกับภาษาในตระกูล ภาษาต่างๆที่หลากหลาย มีทั้งการสัมผัสภาษาต่างตระกูล การสัมผัสภาษาภายในตระกูลเดียวกัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลง ทางภาษาในระดับต่างๆ กัน ซึ่งเกิดขึ้นในสถานการณ์การสัมผัส ภาษาที่แตกต่างกันด้วย จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังศึกษา การเปลี่ยนแปลงภาษาอันเนื่องมาจากสัมผัสภาษา
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน-กรกฎาคม 2554
7
สิ่งที่ชาวญี่ปุ่นลืมไปแล้ว:
Asst.Prof.Taiitsu Oba
เก็บมาฝาก
¤ÇÒÁÃÙŒÊÖ¡¹ÔÂÁ¹Ñº¶×Í»¹¡ÑºÂÓà¡Ã§¸ÃÃÁªÒµÔ
ภาพจาก www.webologist.co.uk
“แผ่นดินไหว” เป็นปรากฏการณ์ที่คนไทยส่วนใหญ่ คงไม่สามารถรู้สึกว่ากำลังเผชิญอยู่จริงๆ สำหรับผมที่เป็น คนไทยเชื้อสายญี่ปุ่น ตอนอายุ 11 ปี ได้ประสบแผ่นดินไหว เป็นครั้งแรกในชีวิต ตอนนั้นผมยังจำได้ว่าแผ่นดินที่ตนเอง ยืนอยู่นั้นน่าจะอยู่นิ่งๆ เพื่อผู้คนจะเดินและเคลื่อนที่ได้ ผมเกือบ จะล้มลงบนพื้นเพราะพื้นสั่น ที่ในประเทศไทยผู้คนคงไม่ค่อยมี โอกาสที ่ ไ ด้ ป ระสบเผชิ ญ กั บ แผ่ น ดิ น ที ่ ก ำลั ง สั ่ น อยู ่ แต่ ใ น ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอาจมีเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลด เกิดขึ้นในประเทศเพราะแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 มีแผ่นดินไหวที่ทำให้ เกิดการสั่นสะเทือนมโหฬารโดยมีความแรงถึง 9 ริกเตอร์ เข้าถล่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เป็นพื้นที่สงบและสวยงาม ของประเทศญี่ปุ่น ในประวัติศาสตร์ ชาวญี่ปุ่นได้รับการกระทบ กระเทือนมากมายเหลือคณานับจากความเสียหายจากแผ่นดิน ไหวและสึนามิที่จะตามมากับแผ่นดินไหว ในปี คศ.869 มีการ บันทึกครั้งแรกเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ที ่ ช ายหาดทางด้ า นตะวั น ออกของภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของญี่ปุ่น เรียกว่า “ชายหาดซันริกุ” ในประวัติศาสตร์ชายหาด ซันริกุได้รับความเสียหายหลายๆครั้ง จากสึนามิ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในสมัยเมจิตอนปี ค.ศ.1896 ชายหาดซันริกุถูกถล่ม 8
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน-กรกฎาคม 2554
โดยแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น แต่ความเสียครั้งนี้ นั้นมีความร้ายแรงกว่า นอกจากนี้เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เสียหาย และทำให้กัมมันตรังสี รั่วไหลจากเตาปฏิกรณ์ปรมาณูด้วย ทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้อง เผชิญกับโชคชะตาร้ายแรงอย่างนี้ ผมคิ ด ว่ า เหตุ ก ารณ์ ท ี ่ เ กิ ด ขึ ้ น ในครั ้ ง นี ้ เ ป็ น “สวรรค์ลงทัณฑ์” มันอาจเป็นการตัดสินโทษจากธรรมชาติ แก่ชาวญี่ปุ่นที่ลืมอะไรบางอย่างซึ่งไม่น่าจะลืมได้ ชาวญี่ปุ่น แต่ดั้งเดิมมีการอยู่รวมกับธรรมชาติ หรือมีความรู้สึกนิยม นับถือปนกับยำเกรงธรรมชาติ พวกเขาจริงๆ แล้วรู้ดีถึงความ หวาดกลั ว ต่ อ ธรรมชาติ จ ากประสบการณ์ ท ี ่ ไ ด้ ร ั บ นั บ ไม่ ถ ้ ว น นอกจากแผ่นดินไหวและสึนามิ พวกเขารู้จักความหวาดกลัว ต่อไต้ฝุ่น ภูเขาถล่ม ลาวาที่เกิดจากการระเบิดปะทุของภูเขาไฟ เป็นต้น เพราะฉะนั้นชาวญี่ปุ่นได้วางแผนเพื่อป้องกันความ เสียหายจากภัยธรรมชาติและทำตามแผนมาอย่างเคร่งครัด ที่นอกฝั่งทะเลของท่าเรือและเมืองที่ตั้งอยู่บนชายหาดซันริกุ มีทำนบกั้นคลื่นอยู่ พวกเขาได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงาน นิวเคลียร์ที่ชายหาดนี้ด้วย “ความมั่นใจ”
ภาพจาก www.celebritychatta.com
เก็บมาฝาก Asst.Prof.Taiitsu Oba
.com
ภาพจาก www.myedmondsnews
แต่ดูเหมือนว่า “ความมั่นใจ” นั้น ไม่ได้เข้มงวด หมายความว่าพวกเขาคิดแง่ดีเกินไป กล่าวกันว่าโครงสร้างของ โรงไฟฟ้านั้นสามารถรับความแรงของแผ่นดินไหวจนถึง 7.9 ริกเตอร์ได้ นั่นคือพวกเข้าได้วินิจฉัยว่าที่ชายหาดซันริกุ คงไม่ได้ รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่มีความแรงมากกว่า 7.9 ริกเตอร์ จุดนี้ก็เป็นสิ่งที่พวกเขาดูหมิ่น ผมคิ ด ว่ า แผ่ น ดิ น ไหวและสึ น ามิ ท ี ่ เ กิ ด ขึ ้ น ครั ้ ง นี ้ อาจเป็นการสั่งสอนลงโทษของธรรมชาติก็ได้ ธรรมชาติคงไม่ ยอมแพ้มนุษย์ที่ท้าทายธรรมชาติ สิ่งที่พวกเราชาวญี่ปุ่นลืม ไม่ได้ก็คือ “ธรรมชาติน่ากลัว” และทำให้ความรู้สึกยำเกรง ต่อธรรมชาติกลับมา และความร่วมใจร่วมมือเพื่อสร้างเมือง ที่ถูกถล่มขึ้นมาใหม่
ภาพจาก www.martintaylor.com
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน-กรกฎาคม 2554
9
กระดานศิษย์เก่า
Íա˹Öè§...㹤ÇÒÁÀÙÁÔã¨
อ.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย, อ.ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์
เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสอ่านบทสัมภาษณ์ รุ่นน้องคนหนึ่ง คือ นทีธร นาคพรหม หรือ เต๋า เมื่อครั้ง ยังเป็นนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 4 บทสัมภาษณ์นี้ สัมภาษณ์ไว้โดย อ.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย กองบรรณาธิการ สุวรรณภิงคารของเรานี่เอง วันนี้แม้นทีธรจะเติบโตเป็น ดอกแก้วที่ผลิบาน เปลี่ยนสถานภาพจากนิสิตเป็นบัณฑิต ไปแล้ว แต่ผมเห็นว่าเรื่องราวของนทีธรมีความน่าสนใจ และน ่ า จะเป็ น แรงบั น ดาลใจ ให้ แ ก่ ศ ิ ษ ย์ ป ั จ จุ บ ั น ในคณ ะ มนุษยศาสตร์ได้ จึงขอนำมาถ่ายทอดเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับ นทีธร เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีเยี่ยม ในขณะที่ เรียนอยู่ปี 3 เทอม 1 เขาได้เกรดเฉลี่ย 4.00 และยังได้เกรด A ถึง 10 วิชา ด้วย ในปีการศึกษานั้น มหาวิทยาลัยจึงมอบ ทุนการศึกษา 5,000 บาท แก่เขาเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ จากนั้น ในปี 4 เทอม 2 นทีธรยังเข้าฝึกงานกับ หนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวัน ซึ่งระหว่างที่ฝึกงานอยู่นั้น เต๋าแสดงฝีมือจนเป็นที่ประจักษ์และได้รับความไว้วางใจ จากอ งค์ ก รให้ ป ฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ส ำคั ญ ดั ง ที ่ เ ขาเล่ า ไว้ ใ นบท สัมภาษณ์ว่า “...ผมได้ไปทำข่าวกอล์ฟ Royal Trophy เป็นการแข่งขันกอล์ฟ ชิงถ้วยพระราชทานในหลวง นานาชาติรายการใหญ่ที่จัดขึ้นทุกปี เป็นการรวมทีมกอล์ฟ ดารายุโรปและเอเชีย มีนักกอล์ฟดังๆมาเยอะ ก็ได้รับความ ไว้ ว างใจใ ห้ ไ ปทำใ นฐาน ะนั ก ข่ า วตั ว แทนข องสย ามกี ฬ า ต้องรับผิดชอบทุกอย่าง ได้ไปทำงานในห้อง media center กับนักข่าวต่างชาติ ถือเป็นสื่อตัวแทนสยามกีฬาคนหนึ่งเลย นอกจ ากนี ้ ย ั ง ได้ อ อกรา ยการท ี ว ี ใ นฐาน ะพิ ธ ี ก รรายก าร Tennis Inside ของช่องสยามกีฬาทีวี ตอนนั้นออกอากาศ ประมาณบ่ายสาม” การฝ ึ ก งานท ี ่ ม ี ป ระสิ ท ธิ ภ าพแล ะได้ ร ั บ ความ ไว้วางใจจากสถานประกอบการในครั้งนี้ ต้องมาจากการ เก็บเกี่ยวองค์ความรู้ระหว่างที่เรียนอย่างเต็มที่ นทีธร ได้ให้ แนวคิดในการเรียนไว้ด้วยว่า “...จริงๆแล้วผมเป็นนิสิตที่ ค่อนข้างเป็นตัวของ ไม่ค่อยประพฤติตัวตามแบบแผน ตัวเองสูง แต่ส่วนตัวคิดว่าบุคลิกที่เป็นตัวของตัวเอง พวกนี้ ทำให้ผมประสบความสำเร็จในการเรียน คนอื่นเขาจะไป เที่ยวกันเราไม่ไป เราก็อ่านหนังสืออยู่ห้อง ส่วนในชั่วโมง เรียนผมจะชอบคิดตาม เวลาเรียนผมจองหลังห้องทุกครั้ง นะ ผมคิดว่าเด็กหลังห้องก็สามารถมีผลการเรียนที่ดีได้ 10
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน-กรกฎาคม 2554
ถ้าเรารู้จักโฟกัส คิดตามที่อาจารย์สอน ส่วนนอกห้องเรียน ผมคิดว่าผมใช้ชีวิตเคร่งครัดกับการเรียนมากเกินไปด้วยซ้ำ เราก็ต้องกลับมาอ่านหนังสืออยู่ดีเพราะเราต้องรู้หน้าที่ของ ตัวเอง นอกจากนี้ผมยังใช้เวลาว่างกับเรื่องที่เราสนใจ และ เอื้อต่อการเรียน เช่น อ่านข่าวภาษาอังกฤษ ข่าวกีฬา แล้วก็ เพลง ถ้าเราอยากเรียนรู้มันต้องเริ่มจากเรื่องที่เราชอบก่อน และมันจะสะสมไปเรื่อยๆ...” ความสำเร็จของนทีธร ในวันนี้ แม้เป็นเพียง ก้าวแรก แต่เขาก็ภูมิใจว่าส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมให้มีวันนี้ได้ เป็นเพราะคณาจารย์หลายๆ ท่าน ที่พร่ำสอน ชี้แนะ และให้ อิสระทางความคิด “...บุคลิกของผมก็ไม่ใช่เด็กเรียน เรียบร้อยอะไรอยู่แล้วครับ แต่อาจารย์ทุกคนไม่มีใคร ตีกรอบผมเลย ทุกคนให้อิสระกับการเรียน ทำให้ผมรู้สึก กล้าแสดงออก อาจารย์หลายๆคน ผมเห็นแล้วมีความรู้สึก อยากเป็นอย่างนั้น อยากเก่งเหมือนอาจารย์" และเขา ยังกล่าวต่ออีกว่า "ตอนที่ซึ้งที่สุดของผมคือวันไหว้ครู เพราะว่า มันเป็นกิจกรรมที่ผมอยากเข้าร่วมมากที่สุด ผมให้ ความสำคัญกับครูบาอาจารย์ครับ ผมอยากจะไปไหว้เขา ปีละสักครั้งในงานวันครู...” และท้ายสุด นทีธร ได้ฝากข้อคิดและแนวทางดีๆ “...ทุกคนเป็นวัยรุ่นอยู่ ถึงรุ่นน้องมนุษยศาสตร์ด้วยว่า คงอยากทำอะไรสนุกๆ แต่สุดท้ายแล้วเราต้องรู้หน้าที่ว่า เราต้องทำตัวเองให้ดีด้วยการศึกษา เราเถลไถลได้ แต่ สุดท้ายเราต้องรู้หน้าที่ของตัวเอง ไม่มีใครเก่งตั้งแต่เกิด ต้องขวนขวาย” และที่ขาดไม่ได้เลย เขายังมีคำพูดดีๆ ไปยัง อาจารย์ด้วยว่า “...สำหรับคณาจารย์ ผมอยากขอบคุณ อาจารย์ทุกคนที่สอนให้ความรู้ผม ทุกคำสอนของอาจารย์ คือผมอยากเป็นคนที่มี คือมันหลอมรวมมาเป็นตัวผม คุณภาพ ทำชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย ผมอยากขอบคุณ อาจารย์ทุกคนจริงๆ ทุกคนเป็นผู้มีพระคุณสำหรับผม ในชีวิตเลยล่ะครับ ถ้าผมไม่ได้อาจารย์ที่ดี ผมคงทำได้ไม่ดี ขนาดนี้ครับ...” นี่แหละครับ... อีกหนึ่งศิษย์เก่า ที่ไม่ลืมรากเหง้า ตนเอง ไม่ลืมว่าตัวมาจากที่ใด และมีดีอะไร แต่ถึงอย่างนั้น แม้รากจะดีแค่ไหน หากเราไม่ศรัทธาตัวเอง และเดินตาม ทางที่มุ่งมั่นแล้ว ความสำเร็จก็คงไม่มีคำว่าสำเร็จอย่าง แท้จริง ใช่ไหมล่ะครับ
วันที่ 11 พฤษภาคม 2554 นิสิตสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล ภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ เข้าร่วมการประกวดมหกรรมการประกวดดนตรี สร้างคุณค่า ชีวิต ครั้งที่ 3 รอบภาคเหนือตอนล่าง ณ จังหวัดนครสวรรค์ โดยได้รับรางวัลชนะเลิศและรางวัลขวัญใจมหาชน และจะ เดิ น ทางไปร่ ว มแข่ ง ขั น ชิ ง ชนะเลิ ศ ระดั บ ภาคเหนื อ ในเดื อ น ตุลาคม ณ จังหวัดเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์จึงขอแสดง ความยินดีมา ณ ที่นี้
หน่วยบริการวิชาการ เคลื่อนที่ (Mobile Unit)
วันที่ 28 – 29 พฤษภาคม 2554 อาจารย์จุฑามาศ บุญชูและ Ms.KIM HYANG MI ผู้มีความรู้ความสามารถ พิเศษสาขาวิชาภาษาเกาหลี ร่วมออกหน่วยบริการวิชาการ เคลื่อนที่ (Mobile Unit) ครั้งที่ 3 / 2554 ร่วมกับมหาวิทยาลัย นเรศวร ณ โรงเรียนชุมชนผาเลือดวิทยาคาร ต.ผาเลือด อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ โดยได้ร่วมจัดกิจกรรมหลายรูปแบบ ที่สื่อถึงศิลปวัฒนธรรม และภาษาเกาหลี พร้อมทั้งสอดแทรก องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม และภาษาเกาหลี ให้แก่นักเรียน และผู้ที่สนใจ ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และ ประชาชนในชุมชนนั้นได้เรียนรู้ สัมผัสและทดลองปฏิบัติจริง
โครงการ Cultural Exchange Program 2011จารย์
วันที่ 21 มิถุนายน 2554 รองศาสตรา ให้เกียรติ ดร.ไพศาล มุณีสว่าง รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร าวต่างชาติ เป็นประธานกล่าวต้อนรับคณะผู้แทนวัฒนธรรมช 1 จัดโดย ในโครงการ Cultural Exchange Program 201 ห้องประชุม สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย คณะมนุษยศาสตร์ ณ HU 1307 อาคารคณะมนุษยศาสตร์
โครงการบริการวิชาการอบรมความรู้ภาษาศาสตร์ แก่ครูสอนภาษาในเขตภาคเหนือ วันที่ 1-2 กรกฎาคม 2554 รองศาสตราจารย์ ดร. สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ จัดโครงการบริการวิชาการอบรมความรู้ ภาษาศาสตร์แก่ครูสอนภาษาในเขตภาคเหนือ ณ โรงเรียน พิณพลราษฎร์ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โดยได้รับเกียรติ จาก ดร.ดิษยา ศุภราชโยธิน และคณาจารย์จากภาควิชาภาษา และคติชนวิทยา และภาควิชาภาษาตะวันตก เป็นวิทยากร ให้ ค วามรู ้ แ ก่ อ าจารย์ ผ ู ้ ส อนภาษาต่ า งๆจากโรงเรี ย นในเขต อำเภอวังทอง จ.พิษณุโลกจำนวน 30 ท่าน จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน-กรกฎาคม 2554
11
ข่าวกิจกรรม
สร้างคุณค่าชีวิต
สุรีย์พร ชุมแสง
มหกรรมการประกวดดนตรี ครั้งที่ 3
หลั ก สู ต ร ระดั บ ปริ ญ ญาตรี
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
เปิดสอน 10 สาขาวิชา ได้แก่ - สาขาวิชาภาษาไทย - สาขาวิชาภาษาจีน - สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ - สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น - สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล
- สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส - สาขาวิชาภาษาพม่า
ระดับปริญญาตรี สายภาษา มีสิทธิเลือกวิชาเลือกเฉพาะสาขา(หรือวิชาโท) เป็นภาษาที่สอง ได้แก่ - ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ - ภาษาฝรั่งเศส - ภาษาจีน - ภาษาญี่ปุ่น - ภาษาพม่า - ภาษาเขมร - ภาษาอินโดนีเชีย
วิสัยทัศน์ :
ย ะ ม นุษ ศ า ส
ร ศว
มห
าวิท
ต ร์
คณ
คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
ยาลัยนเร
- สาขาวิชาภาษาเกาหลี - สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย
- ภาษาเกาหลี - ภาษาเวียดนาม
ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และ สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศ 2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร
สุวรรณภิงคาร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชำระค่ า ฝากส่ ง เป็ น รายเดื อ น ใบอนุ ญ าตเลขที ่ 85/2521 พิ ษ ณุ โ ลก
ท่ า นที ่ ส นใจจดหมายข่ า วนี ้ กรุ ณ าส่ ง ชื ่ อ ที ่ อ ยู ่ ข องท่ า นมายั ง งานประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร อ.เมื อ ง จ.พิ ษ ณุ โ ลก 65000 โทรศั พ ท์ 0-5596-2035 โทรสาร 0-5596-2000 ไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยใดๆ ทั ้ ง สิ ้ น
สุวรรณภิงคาร
หรื อ “กลศ” หมายถึ ง หม้ อ ดิ น สำหรั บ ใส่ น ้ ำ ดิ น และน้ ำ เป็ น แม่ บ ทของสิ ่ ง ทั ้ ง ปวง อั น เปรี ย บได้ ก ั บ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ที ่ เ ป็ น รากฐานแห่ ง ศาสตร์ ท ั ้ ง ปวง