จดหมายข่าวสุวรรณภิงคาร ฉบับ ส.ค..-ก.ย. 54

Page 1

สุ

วรรณภิงคาร

ย ะ ม นุษ ศ า ส

ร ศว

มห

าวิท

ต ร์

คณ

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ยาลัยนเร

นานาทรรศนะ หน้า 3

ข้อคิดจากนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร : คณะมนุษยศาสตร์กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

นานาสาระทางวิชาการ หน้า 6 วิจัยในโลกแห่งความเป็นจริง @ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

เก็บมาฝาก หน้า 8

เก็บตก...จากงานสัมมนาเครือข่ายฯ

กระดานศิษย์เก่า หน้า 10 ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์ กับงานวิจัยวรรณกรรมเชิงนิเวศ

ปีที่ 7 ฉบับที่ 18 สิงหาคม-กันยายน 2554

ISSN : 1906-9014 (สงวนลิขสิทธิ์)


ที่ปรึกษา

คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รองคณบดีฝ่ายวิจัย

บรรณาธิการ ดร.อรอุษา

สุวรรณประเทศ

กองบรรณาธิการ ดร.ชมนาด อ.วราภรณ์ อ.สถิตย์ อ.ศิระวัสฐ์

ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ

เลขานุการ สุรีย์พร

บทบรรณาธิการ

อินทจามรรักษ์ เชิดชู ลีลาถาวรชัย กาวิละนันท์

นลินรัตนกุล ชุมแสง

งานประชาสัมพันธ์ :

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th

ข้อมูลผู้เขียน 1. ผศ.วิรัช นิยมธรรม รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: mscp@nu.ac.th 2. อ.อัจฉรา อึ้งตระกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: atcharaa@nu.ac.th 3. นางสาวมยุรี แคนตะ นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาภาษาศาสตร์ ภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 4. อ.ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาภาษาไทย โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ประธานชมรมศิษย์เก่าสุวรรณภิงคาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: van.kavi@hotmail.com 5. สุรีย์พร ชุมแสง นักประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: sureepornpr@yahoo.com

ในรอบไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 2554 เป็นช่วงที่ คณะมนุษยศาสตร์จัดกิจกรรมสำคัญหลายกิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย กล่าวคือ เราได้เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน สัมมนาเครือข่ายวิชาการวิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2554 ภายใต้หัวข้อ “มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ไทย : ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา ก้าวหน้าสู่ประชาคม อาเซียน” กองบรรณาธิการจึงตั้งธงสุวรรณภิงคารฉบับนี้ให้เป็นฉบับ แห่งการวิจัย โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.วิรัช นิยมธรรม รองคณบดีฝ่ายวิจัย ให้แง่คิดเกี่ยวกับการวิจัยในโลกแห่งความเป็นจริง ในคอลัมน์ “นานา สาระทางวิชาการ” เพื่อชวนคิดให้ปรับทิศทางสู่ประเด็นและพื้นที่วิจัย ใหม่ๆ ภายใต้มโนทัศน์ “มนุษยวิเทศคดี” พร้อมด้วย “เก็บมาฝาก” เก็ บ ตกจากงานสั ม มนาเครื อ ข่ า ยวิ ช าการวิ จ ั ย สายมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละ สังคมศาสตร์ ครั้งที่ 5 โดยนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาภาษาศาสตร์ และพลาดไม่ได้กับ “กระดานศิษย์เก่า” แนะนำงานวิจัยเด่นที่นำเสนอ แนวคิดทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับการวิจารณ์วรรณกรรมเชิงนิเวศ ของศิษย์เก่า ที่เราภาคภูมิใจ ผศ.ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ กวีซีไรท์ ที่เราคุ้นเคยกันในนาม “ไพฑูรย์ ธัญญา” ที่สำคัญ “นานาทรรศนะ” ฉบับนี้ กองบรรณาธิการ ได้สรุป ข้อคิดจากนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร.กระแส ชนะวงศ์ จากการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “คณะมนุษยศาสตร์ กับการก้าวสู่ประชาคมอาเชียน” ในเวทีนายกสภาฯ พบประชาคม คณะมนุษยศาสตร์ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา เป็นแนวคิด การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในอีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจและไม่ซ้ำใคร ท้ายนี้ กองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ติดตาม จดหมายข่าวสุวรรณภิงคารมาโดยตลอด และขอแจ้งให้ทราบว่าขณะนี้ ท่านสามารถติดตามจดหมายข่าวสุวรรณภิงคารออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ คณะมนุษยศาสตร์ www.human.nu.ac.th ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่สะดวกรวดเร็ว สอดคล้องกับวิถีชีวิตในยุคไอทีปัจจุบัน

ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ บรรณาธิการ Onusas@nu.ac.th


ขอคิดจากนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร :

การที่ได้เห็นความเจริญก้าวหน้าของอาเซียน เราเห็น นโยบายของประเทศไทยที่กำลังแสดงถึงความสนใจต่ออาเซียน ก็อยากจะมีส่วนร่วม อย่างน้อยที่สุดอาเซียนก็มีลักษณะเด่นๆ แล้วแต่ว่าใครมองมุมไหน สำหรับนักธุรกิจก็จะมองทางด้าน การค้าขาย เรื่องทางสังคมก็จะมองที่ความหลากหลายด้าน ศาสนา เช่น ศาสนาศริสต์ ในประเทศฟิลิปปินส์ ศาสนาอิสลาม ที่ใหญ่มากในอาเซียน ในภาคใต้ของไทย มาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย หากใครสนใจในเรื ่ อ งประชากรศาสตร์ แ ละการ พัฒนา ก็จะมองเห็นจุดที่น่าสนใจ เพราะประชากรกว่า 500 ล้านคนใน 10 ประเทศของอาเซียน มีความหลากหลาย ไม่เพียงแต่ประเพณีและวัฒนธรรม มีทั้งเรื่องฐานะที่แตกต่าง กัน บางประเทศยากจนมากๆ จนกระทั่งติดระดับโลกก็มี บางประเทศก็ร่ำรวยมากๆ จนกระทั่งอาจจะเทียบเท่ากับ ประเทศที่เจริญแล้ว กลางๆ แบบประเทศไทยก็มี ซึ่งความ แตกต่างเหล่านี้มองในด้านของการศึกษา คนที่อยากทำการ ค้นคว้าวิจัยให้ลึกกว่านั้นก็จะเป็นโอกาสดีมาก เพราะการ เดินทางไปมาหาสู่กันก็สะดวก ในเมื่อทุกอย่างเปิดทางให้เรา ขนาดนี้แล้ว เราจะทำอะไรได้บ้าง

สุรีย์พร ชุมแสง

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 คณะมนุษยศาสตร์ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร.กระแส ชนะวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร บรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “คณะมนุษยศาสตร์กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” ณ ห้อง HU 1103 อาคารคณะมนุษยศาสตร์ ในวันนั้นมีผู้สนใจ เข้ารับฟังการบรรยายจำนวนมากทั้งผู้บริหารคณะ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ในเวลาเพียงชั่วโมงเศษ หากข้อคิด ที่ท่านนายกสภาฯ ได้มอบให้แก่พวกเราชาวมนุษยศาสตร์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไม่ซ้ำใคร และสมควรแก่การนำไปปฏิบัติ กองบรรณาธิการสุวรรณภิงคารจึงเห็นสมควรนำ “ทรรศนะ” ของท่านนายกสภาฯ มาถ่ายทอดให้ทุกท่านได้รับทราบอีกครั้ง ณ ที่นี้ เพื่อว่าผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังท่านนายกสภาฯ บรรยาย จะได้ ไม่พลาดโอกาสที่จะได้รับรู้ข้อคิดดีๆ จากคุณหมอแมกไซไซ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่ า งประเทศ และรั ฐ มนตรี ว ่ า การทบวง มหาวิทยาลัย ท่านนี้ “ท่านคณบดี ท่านรองคณบดี คณาจารย์ และนิสิต ที่รักทุกท่านครับ และท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ ความจริงแล้ว ก็อยากมาฟัง อยากมาเยี่ยมดูว่างานของพวกเราก้าวไปถึงไหน แล้ว ผมจะมีส่วนสนับสนุน ชื่นชม ยินดี วันนี้ผมจะมาพูด มากกว่าที่จะมาสอน ผมเชื่อว่าหัวข้อที่จะมาพูด เป็นหัวข้อที่ ทุกท่านเข้าใจดีอยู่แล้ว อันที่หนึ่ง การที่นำเอาประเด็นเรื่องอาเซียนมาคุยกัน ที่คณะมนุษยศาสตร์นั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม เหมาะสมกับ สถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลง เพราะคณะมนุษยศาสตร์ เป็นคณะที่สำคัญ เป็นคณะที่ต้องนอกจากเตรียมตัวให้ตัวเอง ที่จะเป็นผู้รับผิดชอบ ยังต้องเตรียมตัวให้กับนิสิตที่ศึกษาอยู่ ภายในคณะ รวมถึงประชาชนที่อยู่ภายนอกด้วย อีกทั้งผมยังเคยเป็นประธานกรรมาธิการต่างประเทศ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ และผู้อำนวยการสาธารณสุข อาเซียน ที่มหาวิทยาลัยมหิดลถึง 8 ปี ซึ่งเป็นความร่วมมือ ระหว่างไทย กับ ญี่ปุ่น

นานาทรรศนะ

คณะมนุษยศาสตรกับการกาวสูประชาคมอาเซียน

เราจะให้อะไรกับประเทศในกลุ่มอาเซียนนี้บ้าง เราจะได้อะไรจากกลุ่มประเทศอาเซียนนี้บ้าง ในแง่มุมความแตกต่างของสังคมอาเซียนเราคงต้อง มาทบทวนดูว่า เราคือใครในอาเซียน และตระหนักว่า 1 ใน 3 คือ พันเอกถนัด คอร์มัน ซึ่งเป็นคนไทย ได้มีส่วนร่วม ในการก่อตั้งอาเซียน หากเราศึกษาประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ควรจะ ต้องพิจารณาถึง ภาษา เทคโนโลยี รายได้ของประชากร หากเราศึกษาและสั่งสมเอง จะได้ข้อมูลที่เป็นของเราเอง (Originality) จะทำให้เอกสารนี้เป็นประโยชน์ต่อคณะตนเอง และคณะอื่นๆ ตลอดจนนิสิต และประชาชน ….

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2554

3


สุรีย์พร ชุมแสง

นานาทรรศนะ

สิ่งสำคัญที่น่าจะมีประโยชน์ก็คือ หากเราเป็นสมาชิก ในอาเซียนที่ดีควรทำอย่างไร? ปัจจัยหลักในการอยู่ร่วมกันในอาเซียน 10 ประการ 1. ควรรู้จักสิทธิ หน้าที่ของตน อย่างน้อยที่สุด เรา ควรทำให้อาเซียนเป็นหนึ่งเดียวกัน 2. การบริหารงานจัดการสมัยใหม่ให้โปร่งใส เปิดเผย (Openness) และเชื่อถือได้ 3. ทั น สมั ย ต่ อ ข้ อ มู ล ข่ า วสาร เพราะข้ อ มู ล มี ก าร เปลี ่ ย นแปลงอยู ่ ต ลอดเวลา ข้ อ มู ล ข่ า วสารคื อ อำนาจ (Information is power) 4. หาโอกาสในการเสวนา พูดคุยกัน 5. มีการปรับปรุงตนเองอยู่ตลอดเวลา 6. เปิดเผยโอกาส ปฏิญาณ วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ให้ ทุกคนรับรู้ 7. ทำให้เป็นหนึ่งเดียวกัน (Centralized) โดยทุกคน ยอมรับกันได้ 8. มีความสามารถในการสื่อสาร (Communication) เพราะการสื่อสารเป็นการเคารพผู้อื่นด้วย 9. การปฏิบัติด้วยตนเอง จัดการด้วยตัวเองได้ (Selfmanaging) 10. มีการแบ่งปัน (Distributed) การอยู่ร่วมกัน ควร พยายามร่วมแบ่งปัน ทั้งในเรื่องของข่าวสาร เทคโนโลยี เป็นต้น เราจะนำการเปลี่ยนแปลงจากผู้อื่นได้ เราน่าจะทราบ กฎของผู้นำที่ดี กฎของผู้นำที่ดีที่ผู้นำพึงจะมีถ้าเราจะเป็นอาเซียน มีดังต่อไปนี้ 1. ต้องเคารพผู้อื่นด้วยความจริงใจ การที่จะให้เคารพ ผู้อื่นได้ดี นักศึกษา ครูอาจารย์ต้องฝึกในเรื่องเกี่ยวกับการ ได้สัมผัสกับคนหลากหลาย เช่น การได้ไปเข้าค่ายพัฒนาชนบท พบเจอคนที่อ่านหนังสือออกบ้างไม่ออกบ้าง ยากจนมีกินบ้าง ไม่มีกินบ้าง แต่เค้าพูดเค้าคิดอย่างความเป็นมนุษย์ ซึ่งอาจ ไม่ตรงกับเราทีเดียว แต่เราจะฝึกความอดทนใดที่จะฟังในสิ่งที่ เค้าคิดพูดไม่ตรงกับเราได้จนจบ นั่นคือความหมายที่เรารู้จัก เคารพคนอื่น หลังจากนั้นแม้เราจะมาอยู่กับคนที่เท่าเทียมกัน มีการศึกษาดี เราก็จะฟังเค้าได้ง่ายขึ้น เพราะเค้าก็เชื่อมั่น ในสิ่งที่ได้ร่ำเรียนมาเหมือนกัน นี่คือความหมายของการ เคารพผู้อื่นด้วยความจริงใจ 2. ทำตนเองให้เกิดความเชื่อมั่น ศรัทธา (Trust) คนเป็นผู้นำต้องมาทำงานแต่เช้า เราต้องเป็นตัวอย่างให้ได้

4

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2554

ผมเชื ่ อ ว่ า การมาทำงานแต่ เ ช้ า จะทำให้ บ ้ า นเมื อ งเราเจริ ญ เมื่อผมพูดแบบนี้ผมก็ทำให้ได้เช่นกัน ผู้นำมีความหมายว่า “work the talk” จงเดินไปตามที่พูด แม้แต่เรื่องเล็กน้อย ที่สัญญากับใครไว้ เราก็ควรฝึกนิสิตของเราทำให้ได้อย่างที่พูด เพราะนั ่ น คื อ การสร้ า งความน่ า เชื ่ อ ถื อ ให้ ต นเองเป็ น ผู ้ ท ี ่ เชื่อถือได้ 3. สนับสนุนการเรียนรู้ด้วยรักใคร่ไมตรี สังเกตได้จาก ในที่ประชุมไม่ว่าจะเป็นนิสิต นักศึกษา หรือครูอาจารย์ ผู้นำจะต้องเตรียมตัวไว้เสมอว่าจะต้องมีหัวแหลมสักคนถาม ขึ้นมา จะต้องคิดอะไรที่ไม่เหมือนเรา ซึ่งเราจะต้องยอมรับ เราต้องยินดีที่จะรับฟัง เพราะนั่นคือความแตกต่างที่จะทำให้ เกิดความก้าวหน้า (The different makes progress) คณะมนุษยศาสตร์จึงควรจะกระตุ้นให้นิสิตได้พูดแสดงความ คิดเห็นอยู่ตลอดเวลา จะเป็นผลดีในการพัฒนาการศึกษาต่อไป 4. มีการยกย่อง ชื่นชม ให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแสดงความคิดเห็นของแต่ละคน ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับ ทฤษฎี หรือกฎเกณฑ์ที่เราได้สอนมา แต่เราก็ควรจะยินดี ที่ได้รับฟัง มีแต่ความรัก ความชื่นชม และให้กำลังใจ 5. มีสปิริต (Spirit) แห่งความเป็นผู้นำ สิ่งที่สำคัญ ที่สุดของการเป็นผู้นำ ต้องรู้จักการให้อภัยต่อความผิดพลาด ล้มเหลว คนจีนสอนกันไว้นานมาแล้วว่าควรให้อภัยแก่ความ ล้มเหลวของคนที่อยู่ในองค์กร เพราะ “ความล้มเหลวคือมารดา แห่งความสำเร็จ” มีคนเคยศึกษาทำวิจัยว่า 400 ปีที่แล้ว คนจีนแบ่ง ภาวะผู้นำไว้อย่างไรบ้าง เขาได้บันทึกไว้ว่า... ผู้นำที่ดีเยี่ยม ผู้นำที่ดีเลิศ คือผู้นำที่เมื่อทำอะไร สำเร็จแล้ว เค้าหายตัวไป เพื่อให้คนที่อยู่ได้หน้าได้ตา และพูด ได้ว่าที่งานสำเร็จเพราะพวกเราช่วยกันทำ แต่เมื่องานเกิด ความผิดพลาดหรือผิดปกติ หรือเกิดความเสียหายเกิดขึ้น ผู้นำ จะปรากฏตัวอีกครั้งหนึ่งเพื่อรับผิดชอบแทนลูกน้องทั้งหมด “ผู้นำพร้อมจะรับผิดชอบ” ดังนั้น เราต้องฝึกคนไทยยุคใหม่ ให้พร้อมจะมีภาวะผู้นำที่จะยอมรับคนอื่นได้ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ไ ด้ เ อาหั ว ข้ อ นี ้ ม าพู ด ถู ก เวลา ตรงประเด็น แสดงว่าคณะมนุษยศาสตร์พร้อมที่จะก้าวไป ข้างหน้าพร้อมกับอาเซียน แต่ภารกิจของคณะมนุษยศาสตร์ ก็คือ การแสวงหาความรู้ความเข้าใจว่าควรจะทำอะไรก่อนหลัง และผมขอเป็ น กำลั ง ใจให้ ค ณะมนุ ษ ยศาสตร์ ไ ด้ ท บทวน ในหลักสูตร และวิธีการเรียนการสอนที่จะทำให้บัณฑิตของเรา ออกมาสู่โลกภายนอกด้วยภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์


นานาทรรศนะ สุรีย์พร ชุมแสง มีคนวิจารณ์ว่า ประเทศไทยมีการปฏิรูปการศึกษามาหลายครั้ง แต่ทำได้เพียงบันไดขั้นที่สองเท่านั้น คือการผลิตคนไปทำงาน ให้เป็นอาชีพ น้อยคนที่จะหลุดออกมาเป็นได้ทั้งผู้มีความรู้ ความสามารถและเป็นผู้นำ ซึ่งคนที่เห็นว่าจบการศึกษาไปแล้ว และมีภาวการณ์เป็นผู้นำเด่นชัด เขามักจะมีการทำกิจกรรม นอกหลักสูตร และเป็นคนที่มีโอกาสได้สัมผัสกับคนหลากหลาย อยู่เสมอ เพราะฉะนั้น กฎ 5 ข้อที่ได้รวบรวมมานี้เป็นกฎทั่วไป ที่จะนำไปสู่การพัฒนาให้นิสิตเป็นคนที่มีภาวะผู้นำ ผู้ที่สามารถ คิด พูด ทำ เหมาะสมกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม จนกระทั่ง ทุกคนไว้วางใจ เชื่อถือ และปฏิบัติตาม ผมคิดว่าลูกศิษย์ ของเราก็จะยึดครูอาจารย์เป็นต้นแบบ เพราะตัวอย่างที่ดี มีค่า มากกว่าคำสอน สรุปลักษณะของผู้นำที่ดีจะมีทฤษฎีบันได 3 ขั้น 1. ต้ อ งทำให้ เ กิดวิส ัยที่จ ะชื่น ชมยกย่องให้เ กีย รติ ให้ความสำคัญแก่คนอื่นเสมอ เพิ่มค่าและความหมายให้แก่

คนอื ่ น และจงทำให้ เ ป็ นนิ สั ย เมื ่ อ ในองค์ ก รแข็ งแรง มหาวิทยาลัยของเราก็จะแข็งแรง สังคมและประเทศไทยก็จะ แข็งแรงไปด้วย 2. ต้ อ งรู ้ จ ั ก เพิ ่ ม ค่ า และความหมายให้ ก ั บ งานที ่ ตัวเองทำ 3. ต้ อ งรู ้ จ ั ก เพิ ่ ม ค่ า และความหมายให้ ก ั บ ตั ว เอง ก็เหมือนกับการตะไบเลื่อย พวกเราทุกคนเป็นเหมือนกับเลื่อย ทุกคนมีความดีเป็นต้นทุนอยู่แล้ว ก็เหมือนกับการที่ท่าน ได้เข้ามาประชุมในวันนี้ก็เหมือนกับการที่ทุกท่านได้รับการ ตะไบเลื่อยที่คมอยู่แล้วก็จะคมยิ่งขึ้น

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2554

5


นานาสาระทางวิชาการ

ัยในโลกแห่ งความเน วิจวิัยจในโลกแห่ งความเป็

ษยศาสตร ษยศาสตร มหาวิมหาวิ ทยาลัทย @ @คณะมนุคณะมนุ

ผศ.วิรัช นิยมธรรม

ก่อนที่จะกล่าวถึงมโนทัศน์ "มนุษยวิเทศคดี" ซึ่งต้อง อาศัยนักวิจัยสายภาษาและศิลป์นั้น คงต้องขอกล่าวถึง สถานภาพปัจจุบันของการวิจัยในสายมนุษยศาตร์ โดยอาศัย ฐานข้อมูลวิจัยของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มาเป็นตัวอย่าง ทั้งนี้เพื่อชวนคิดและนำไปสู่การถกเถียง เพื่อ ปรับทิศทางสู่ประเด็น (issue) และพื้นที่ (area) วิจัยใหม่ๆ ที่สามารถใช้ศักยภาพขององค์กรและนักวิจัยในการทำวิจัย อย่างเต็มที่ มีเป้าหมายชัดเจน และสอดรับกับความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีจำนวน อาจารย์ที่พร้อมต่อการวิจัยจำนวน 142 คน ในจำนวนนี้มี ตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ 22 คน รองศาสตราจารย์ 16 คน และศาสตราจารย์พิเศษ 1 คน ซึ่งบ่งชี้ศักยภาพพึงมีต่อการวิจัยในระดับลึก ทั้งในด้านกระบวน การวิจัยและองค์ความรู้สั่งสมของนักวิจัยเอง ส่วนที่ผ่านมา ผลงานวิจัยของคณาจารย์มักเป็นการนำเสนอ "ชุดความรู้" แบบไทยคดี และปัญหาคนไทยในการเรียนภาษาต่างประเทศ ที่ได้จากการวิเคราะห์หรือตีความข้อมูลภาษา วรรณกรรม คติชน และศิลปกรรม เป็นอาทิ โดยอาศัยการสำรวจเอกสาร ความทรงจำ และกลุ่มตัวอย่างจากชุมชนหรือนิสิตเป็นหลัก ผลผลิตจะเป็นองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์ การ ต่อยอดความรู้ และการพัฒนาการเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม หน่วยวิจัยของคณะมนุษยศาสตร์กลับมีไม่ชัดเจน ด้วยยังแทรก อยู่ในงานนโยบายและแผนเท่านั้น อีกทั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ เพียงคนเดียว ส่วนในด้านกลไกที่เอื้อต่อการวิจัยนั้น มีการ พัฒนานักวิจัย การพิจารณาสนับสนุนทุนวิจัย การติดตามงาน และการตีพิมพ์เผยแพร่ตามมาตรฐานวิชาการ กระนั้นยังขาด การบูรณาการเพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางของการวิจัย

6

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2554

ร่วมกันอย่างจริงจังในรูปแบบกลุ่มนักวิจัยที่มีทักษะทางภาษา และศิลป์อันหลากหลาย กลไกและหน่วยวิจัยเท่าที่เป็นอยู่ จึงสะท้อนวิสัยทัศน์ต่อการวิจัย ว่ายังเป็นแค่ภารกิจตามรูปแบบ และยังไม่ก้าวถึงการวิจัยเชิงรุก หากย้อนดูบทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์นับแต่ปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมาพบว่าผลงานวิจัยของคณะมนุษยศาสตร์ ส่วนใหญ่จะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารมนุษยศาสตร์ของ คณะ ซึ่งมักเป็นการเผยแพร่แบบให้เปล่า แต่ถ้าถามว่างานวิจัย ที่ได้รับการตีพิมพ์เหล่านั้นมีผลลัพธ์สนองสังคมหรือส่งผล กระทบต่อวงวิชาการเพียงใดนั้น ยังถือว่าเป็นโจทย์ใหญ่ เพราะ ไม่เคยมีการสังเคราะห์ภาพรวมของงานวิจัยมาก่อน จึงไม่อาจ บอกได้ว่างานวิจัยของคณะนั้นก้าวไกลในระดับไหน และใน ทิศทางใด แต่โดยตามความน่าจะเป็น ผลกระทบจากการวิจัย เชิงมนุษยศาสตร์ที่ตอบสนองสังคมและต่อยอดวิชาการนั้น ควรเป็นการปลุกสังคมให้ตื่นตัว หรือฉุกคิดในปรากฏการณ์ ที่ส่งผลต่อมนุษย์ในทางจิตภาพ (mentality) บุคลิกภาพ (personality) และความคิดสร้างสรรค์ (creativity) โดยนักวิจัย ต้องคอยเฝ้าสังเกตการอุบัติใหม่ การอุบัติซ้ำ หรือภาวะวิกฤต โดยมองทะลุผ่านตัวบททางภาษา วาทกรรม นาฏกรรม และ กิจกรรมของมนุษย์ ฉะนั้นนักวิจัยในสายมนุษยศาสตร์จึงต้อง ไวต่อปรากฏการณ์ดังกล่าว และมีศักยภาพในการตีความหรือ ทำนายเพื่อสร้างแรงกระเพื่อมทางความคิด ส่งผลกระทบ ในวงวิชาการ เครือข่ายสังคม พื้นที่สื่อ และสาธารณชน เหตุเพราะในปัจจุบันประเทศไทยมีโครงสร้างประชากรซับซ้อน และเป็นสังคมพหุลักษณ์มากขึ้นกว่าแต่ก่อน จนมิอาจดำรง ความเป็นสังคมเอกลักษณ์ได้อีกต่อไป เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ในระดับโลกและภูมิภาค และการที่ประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อเตรียม


นานาสาระทางวิชาการ

นจริ ริง ง

ยนเรศวร ศวร

โดยอาจเริ่มศึกษาเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ด้านภาษาและ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมของประเทศในประชาคมอาเซี ย น+3 ผ่านตัวบท (texts/practices) หรือ สหบท (intertexuality) ในด้านภาษา วรรณกรรม คติชน ศิลปกรรม ข่าวสาร สารคดี ตำราเรียน ความเรียง บทความ ฯลฯ เพื่อทำความเข้าใจ วิถีชีวิตอันหลากหลายของคนไทยและของผู้คนร่วมภูมิภาค ทั้งที่เป็นประเด็นร่วมสมัย (synchronic) และที่เป็นประเด็น ข้ามสมัย (diachronic) ส่วนนิยามตามเกริ่นจะพัฒนาให้ชัดเจน ไปในทางใดได้ อ ี ก บ้ า งนั ้ น ก็ ต ้ อ งขึ ้ น อยู ่ ก ั บ นั ก วิ จ ั ย สาย มนุษยศาสตร์ ต้องร่วมถกเถียงเพื่อปรับใช้วิธีวิทยาที่เหมาะสม และกำหนดทิ ศ ทางการวิ จ ั ย เพื ่ อ ให้ ไ ด้ ผ ลผลิ ต และผลลั พ ธ์ ที่จักเป็นประโยชน์ต่อสังคมและวงวิชาการในสายมนุษยศาสตร์ ต่อไป ในทางปฏิ บ ั ต ิ เ บื ้ อ งแรกเพื ่ อ ให้ บ รรลุ แ นวคิ ด ของ การวิจัยมนุษยวิเทศคดี หน่วยวิจัยฯ ของคณะมนุษยศาสตร์ จะทำงานในรู ป แบบคณะกรรมการวิ จ ั ย และกลุ ่ ม นั ก วิ จ ั ย (clusters) อันประกอบด้วยผู้แทนจากภาควิชา และคณาจารย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุน และพัฒนาโจทย์วิจัยใหม่ๆ ทาง มนุษยศาสตร์ และสังเคราะห์งานวิจัยเชิงมนุษยศาสตร์ให้เป็น ชุดความรู้มนุษยวิเทศคดีสู่สังคม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการ เตรียมความพร้อมให้สังคมไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่าง เข้มแข็ง ด้วยกิจกรรมการวิจัย การเสวนา การสัมมนา การสร้างเครือข่าย การสร้างนวัตกรรม และการบริการ วิชาการแก่สังคมอย่างต่อเนื่อง การวิจัยเชิงมนุษยวิเทศคดี จึง เป็นยุทธศาสตร์ของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ท้าทายนักวิจัยสายภาษาและศิลป์ ในการช่วยกันสร้างสรรค์ งานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ร่วมสมัยและนวัตกรรมที่สอดรับ กับโลกแห่งความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2554

ผศ.วิรัช นิยมธรรม

ความพร้อมของคนไทยในประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ. 2015 นั้น ชุดความรู้เชิงไทยคดีแบบเดิมจึงไม่เพียงพอกับความ จำเป็นสมัยใหม่ หากควรต้องสร้างชุดความรู้จากพื้นที่รอยต่อ ข้ามพรมแดน หรือต่างแดน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของประเทศภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรี ในระดับภูมิภาคและการแข่งขันในระดับโลก ดังนั้นการวิจัย เชิงวิเทศคดีจึงเป็นประเด็นและพื้นที่ใหม่ต่อการสร้างชุดความ รู้ใหม่ให้แก่สังคมไทย และจำเป็นต้องอาศัยนักวิจัยที่มีทักษะ ภาษาของประเทศร่วมภูมิภาค อาทิ ภาษาของประเทศใน อาเซียน ตลอดจนภาษาจีน เกาหลี และญี่ปุ่น รวมถึงภาษา อังกฤษอันเป็นภาษากลางของภูมิภาค ซึ่งบุคลากรของ คณะมนุษยศาสตร์ต่างมีคุณสมบัติพร้อมอย่างน้อยก็ในด้าน ทักษะภาษา นอกจากนี้ภายใต้โครงสร้างการบริหารใหม่ ของคณะมนุษยศาสตร์ ซึ่งต้องการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ ภาควิชาและมีการพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกันในระดับภาควิชานั้น จึงถือเป็นโอกาสแก่นักวิจัยที่จะสามารถพัฒนากรอบการวิจัย อย่างมีทิศทางและสอดรับกับความเป็นจริง โดยเฉพาะใน ประเด็นเฉพาะหน้าที่ท้าทายการวิจัยเชิงมนุษยศาสตร์ คือ การสร้ างความพร้ อ มของคนไทยเพื่อเข้าสู่ป ระชาคมสังคม วัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ด้วยการริเริ่มมโนทัศน์ (concept) การวิจัย "มนุษยวิเทศคดี" เนื่องจากมโนทัศน์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่อาจดูใหม่ ดังนั้น ในเบื้องต้น หน่วยวิจัยฯ คณะมุษยศาสตร์จึงขอเกริ่นนิยาม แนวคิด “มนุษยวิเทศคดี” ว่าหมายถึง "ชุดความรู้" แบบ วิเทศคดี ในประเด็นพหุวัฒนธรรม อาจจำแนกเป็นวิเทศคดี ภายในคือคนไทยพหุลักษณ์ โดยศึกษาพหุลักษณ์ข้ามแดนที่ เข้ามาสู่การรับรู้หรือมีอิทธิพลในสังคมไทย และวิเทศคดี ภายนอกคื อ พหุ ล ั ก ษณ์ ใ นประเทศใกล้ เ คี ย งหรื อ ในภู ม ิ ภ าค

7


เก็บตก เก็บมาฝาก

¨Ò¡§Ò¹ÊÑÁÁ¹Òà¤Ã×Í¢‹ÒÂÏ

อ.อัจฉรา อึ้งตระกูล, มยุรี แคนตะ

หากท่านผู้อ่านได้ติดตามจดหมายข่าว สุวรรณภิงคารฉบับที่ผ่านมา คงจะพอทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียนมาบ้างแล้ว หรือไม่ก็อาจจะได้รับฟังจาก ข่าวสารมาบ้างไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ดีคงยังมีผู้คนจำนวน อีกไม่น้อยที่ยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับอาเซียน หรือ ประชาคมอาเซียนมากนัก ซึ่งก็เช่นเดียวกับผู้เขียนที่ทราบ เพี ย งว่ า อาเซี ย นประกอบด้ ว ยประเทศอะไรบ้ า งเท่ า นั ้ น จากการที ่ ผ ู ้ เ ขี ย นได้ ม ี โ อกาสเข้ า ร่ ว มงานสั ม มนาเครื อ ข่ า ย วิชาการวิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 5 ซึ่ง จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2554 ซึ่งปีนี้ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ข องเราได้ ร ั บ เกี ย รติ เ ป็ น เจ้ า ภาพในการ จัดงาน ทำให้ผู้เขียนได้รับความรู้ รวมถึงข้อมูลที่น่าสนใจและ เป็นประโยชน์ในประเด็นเกี่ยวกับอาเซียน กล่าวคือ ทำให้ ทราบถึ ง ความเป็ น มาของการรวมกลุ ่ ม ประชาคมอาเซี ย น ประโยชน์ ท ี ่ จ ะได้ ร ั บ จากการรวมเป็ น ประชาคมอาเซี ย น ซึ ่ ง นอกเหนื อ จากความร่ ว มมื อ กั น ทางเศรษฐกิ จ เพื ่ อ ประโยชน์ร่วมกันแล้ว ยังทำให้ทราบว่าการรวมกันเป็น ประชาคมอาเซียน ส่งผลต่อการจัดการศึกษาของสถาบัน การศึกษาในประเทศไทยอย่างไร นอกจากนี้ก็ยังทำให้ ผู ้ เ ขี ย นตระหนั ก ถึ ง การเตรี ย มตั ว ที ่ จ ะเป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของ ประชาคมอาเซียนอีกด้วย วัตถุประสงค์ของงานสัมมนาฯ มีขึ้นเพื่อเป็นเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิชาการทางมนุษยศาสตร์และ สั ง คมศาสตร์ ต ลอดจนระดมความคิ ด เห็ น ในการวางแผน พัฒนาวิชาการ และวิจัยในสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยหัวข้อของงานครั้งนี้ใช้ชื่อว่า “มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ไทยฯ : ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาก้าวหน้าสู่ ประชาคมอาเซียน” ในปีนี้มีผู้ให้ความสนใจเสนอบทความ เข้าร่วมในงานเป็นจำนวนมาก ทั้งแบบนำเสนอด้วยวาจา (oral presentation) ที่มีถึง 71 ผลงาน และแบบนำเสนอ ในรูปแบบโปสเตอร์ (poster presentation) จำนวน 2 ผลงาน

8

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2554

ในช่วงเช้าของงานวันแรก มีพิธีเปิดโดยอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร และปาฐกถาพิเศษ โดยอธิบดีกรม อาเซียน จากนั้นเป็นการนำเสนองานวิจัยชุดโครงการเพลง กล่อมเด็กไทย ชาติพันธุ์และนานาชาติ โดยทีมนักวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเพลงกล่อมเด็ก ในชุดงานวิจัยนี้ประกอบไปด้วย เพลงกล่อมเด็กของชาวไทย ได้แก่ เพลงกล่อมเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ลาวหล่มสัก ในจังหวัด เพชรบูรณ์ เพลงกล่อมเด็กของจังหวัดนครสวรรค์ เพลง กล่อมเด็กของประเทศเวียดนาม พม่า ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และ อังกฤษ งานวิจัยชิ้นนี้แม้จะยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ แต่ จากการนำเสนอก็ ท ำให้ เ ห็ น มโนทั ศ น์ ข องคนในชาติ ต ่ า งๆ ที่สะท้อนผ่านบทเพลงที่ใช้ร้องเพื่อกล่อมลูกหลาน ซึ่งล้วน มีความน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเพลงกล่อมเด็กของเวียดนาม ซึ่งมีเนื้อหาที่เป็นการบรรยายถึงความสวยงามของประเทศ ในขณะที่เพลงกล่อมเด็กของญี่ปุ่นกลับเป็นการเล่าถึงเรื่อง ราววิถีชีวิตที่แร้นแค้นของชาวญี่ปุ่นในอดีต เป็นต้น ซึ่งข้อมูล ที ่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น นอกจากจะมี ค ุ ณ ค่ า ในฐานะที ่ เ ป็ น คลั ง ข้อมูลทางคติชนวิทยาแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นความแตกต่าง ทางความคิดของคนในแต่ละชาติอีกด้วย ถัดไปเป็นการ นำเสนอชุดโครงการวิจัยเรื่อง "การเตรียมความพร้อมของ สถาบันการศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน" โดย ดร.วิษณุ วงศ์ศิลป์ศิริกุล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต บรรยากาศในงาน เต็ มไปด้ วยนั ก วิ ชาการสายมนุ ษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ และผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานจำนวนมาก ในช่วงบ่ายของงานวันแรกเป็นการนำเสนองานวิจัย กลุ่มย่อย ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม โดยแยกตามหัวข้อ และกลุ่มเรื่องที่ได้กำหนด ได้แก่ 1) ภาษา วรรณกรรม และ วาทกรรมศึกษา 2) ปรัชญาและศาสนา 3) สังคมศาสตร์ 4) ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ คติชนและมานุษยวิทยา วัฒนธรรม 5) การศึกษา 6) บริหารธุรกิจ อุตสาหกรรม บริการและนิเทศศาสตร์ ผู้เข้าร่วมงานสามารถเลือกเข้าฟัง หัวข้อที่ตนเองมีความสนใจได้อย่างอิสระ แต่หากหัวข้อที่


เก็บมาฝาก อ.อัจฉรา อึ้งตระกูล, มยุรี แคนตะ

สนใจนำเสนอในช่วงเวลาเดียวกันก็ต้องตัดใจเลือกฟังหัวข้อที่ สนใจที่สุดซึ่งก็ตัดสินใจได้ลำบากทีเดียว บรรยากาศในการ นำเสนอกลุ ่ ม ย่ อ ยนั ้ น ก็ เ ป็ น ลั ก ษณะแบบเป็ น กั น เอง นอกจากนี้ยังมีช่วงเวลาที่เปิดโอกาสให้ผู้ฟังสามารถซักถาม ข้อสงสัย รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำเสนอผลงาน ได้ อ ย่ างเต็ ม ที ่ ซึ ่ ง ในครั้งนี้ผู้เ ขียนก็ได้มีโอกาสนำเสนอ งานวิจัยของตัวเองในรูปแบบนำเสนอด้วยวาจาด้วย สำหรับ ผู้เขียนนั้นรู้สึกขอบพระคุณผู้ฟังที่กรุณาซักถามข้อสงสัยใน งานวิจัยของผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง เพราะประเด็นคำถามล้วน เป็นคำชี้แนะให้ผู้เขียนเห็นถึงข้อบกพร่องของงาน ซึ่งผู้เขียน จะได้นำไปปรับปรุงและพัฒนางานของผู้เขียนต่อไป ส่วนงานในวันที่สอง ซึ่งตรงกับพิธีเปิดงานนเรศวร วิจัย ครั้งที่ 7 “ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 มุ่งมั่นวิจัย พัฒนา ชาติไทยให้ยั่งยืน” งานสัมมนาฯ ของเราได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ของงานครั้งนี้ด้วย เป็นการอภิปราย เรื่อง “มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ไทย : ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา ก้าวหน้าสู่ ประชาคมอาเซียน” โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.เจตนา นาควัชระ รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์

สามโกเศศ เป็ น ผู ้ ร ่ ว มอภิ ป ราย และมี ศ าสตราจารย์ ดร.กาญจนา เงารังษี เป็นผู้ดำเนินรายการ ต่อจากนั้น เป็ น การแสดงปั จ ฉิ ม กถา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณศิลป์ พีรพันธุ์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2553 ถือเป็นการปิดการสัมมนาอย่างสมเกียรติ และสมบูรณ์แบบ จากการที ่ ไ ด้ เ ข้ า ร่ ว มงานและมี โ อกาสนำเสนอ ผลงานวิจัยในงานสัมมนาฯ ครั้งนี้ ผู้เขียนได้รับประสบการณ์ และความรู ้ อ ั น หลากหลายจากการนำเสนองานวิ จ ั ย ในมิ ต ิ ต่างๆ ทั้งภาษา สังคม วัฒนธรรม รวมถึงการศึกษา ซึ ่ ง เป็ น การเปิ ด โลกทั ศ น์ ด ้ า นงานวิ ช าการและงานวิ จ ั ย นอกจากนี ้ ย ั ง ได้ ม ี โ อกาสแลกเปลี ่ ย นความรู ้ ร ะหว่ า ง นั ก วิ ช าการทางมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ จ ากที ่ อ ื ่ น ๆ อีกด้วย ท้ายสุดนี้ ผู้เขียนขอขอบพระคุณอาจารย์สาขาวิชา ภาษาศาสตร์ทุกท่าน ที่ได้อบรมสั่งสอนและแนะนำสิ่งต่างๆ อันเป็นประโยชน์ อีกทั้งขอขอบคุณคณะมนุษยศาสตร์ ที่ เปิดโอกาสให้ผู้เขียนได้เป็นส่วนหนึ่งในงานสัมมนาฯ ครั้งนี้ ทั้งในฐานะเจ้าภาพและผู้นำเสนอผลงานวิจัย...

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2554

9


ทราบมาว่ากองบรรณาธิการอยากให้จดหมายข่าว สุ ว รรณภิ ง คารฉบ ั บ นี ้ เ ป็ น เรื ่ อ งราวเก ี ่ ย วกั บ งานวิ จ ั ย ในกระดานศิษย์เก่าฉบับนี้จึงขอทันกระแส เพราะฉะนั้น ตามกองบรรณาธิการด้วยเรื่องราวงานวิจัยเกี่ยวกับศิษย์เก่า ให้ท่านผู้อ่านที่เป็นทั้งศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า หรืออาจจะ มหาวิทยาลัยนเรศวร ไม่ได้เป็นศิษย์คณะมนุษยศาสตร์ ได้อ่านกันอย่างถ้วนหน้า เชื ่ อ ว่ า ศิ ษ ย์ เ ก่ า ของเราม ี จ ำนวนไม ่ น ้ อ ยที ่ อ ยู ่ ใ น แวดวงง านวิ ช าการแล ะได้ เ ร่ ง ฝี ม ื อ วาดลวด ลายทำง านวิ จ ั ย กันอย่างขมักเขม้น มีงานวิจัยเรื่องหนึ่งที่ผมถือว่าทรงคุณค่า ในแวดว งวรรณก รรมซึ ่ ง เป็ น ผลงานร ะดั บ ดุ ษ ฎี บ ั ณ ฑิ ต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ของเรา งานวิจัย เรื ่ อ งนี ้ ม ี ช ื ่ อ ว่ า วรรณกร รมวิ จ ารณ์ เ ชิ ง นิ เ วศ : วาทกรร ม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในวรรณกรมไทย เป็น ผลงานของ ผศ. ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชา ภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม บางทีท่านผู้อ่านที่อยู่ในแวดวงนักอ่านคงจะคุ้น ในชื่อ “ไพฑูรย์ ธัญญา” มากกว่า เพราะท่านได้รับรางวัล ซีไรต์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ในปีพ.ศ.2530 เจ้าของผลงาน รวมเรื่องสั้นชุดก่อกองทราย ในงานวิจัยระดับปริญญาเอกของ ผศ. ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ นั้น อาจารย์ได้นำเสนอทฤษฎีในการวิจารณ์ วรรณกรรมซึ่ง ถือเป็นแนวคิดใหม่ของการวิจารณ์วรรณกรรม ไทย ด้ ว ยจุ ด มุ ่ ง หมายเพ ื ่ อ ศึ ก ษากระบ วนทั ศ น์ เ กี ่ ย วกั บ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏในวรรณคดีไทย ว่า ประกอบด้วยกระบวนทัศน์ที่สำคัญอย่างไรบ้าง กระบวนทัศน์ ดั ง กล่ า วได้ ก ่ อ ให้ เ กิ ด วาทกรร มเกี ่ ย วกั บ ธรรมชา ติ แ ละ สิ่งแวดล้อม ที่สำคัญอันส่งผลต่อการให้ความหมายการพูดถึง เขียนถึง หรือการนำเสนอธรรมชาติ ในวรรณคดีไทยอย่างไร มนุ ษ ย์ ก ั บ ธรรมชา ติ และแสด งความส ั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง ในลักษณะใด โดยข้อมูลที่อาจารย์ได้นำมาวิเคราะห์นั้น เป็นวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยก่อน วรรณคดียุคสุโขทัยจนมาถึง สมัยรัชกาลที่ 5 โดยไม่จำกัดประเภท แต่จะคัดเลือก โดยพิ จ ารณาว่ า มี เ นื ้ อ หาสารท ี ่ ส อดคล้ อ งกั บ ประเด็ น หลั ก

ในการศึกษาทั้งคัมภีร์ทาง ศาสนา ตำนาน พงศาวดาร ท้องถิ่น วรรณคดีราชสำนัก ทั้งนี้ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา ล้วนเป็นการศึกษาแนวสหวิทยาการที่ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ทั้งทางทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ ทฤษฎีสตรีนิยม เชิงนิเวศ ทฤษฎีองค์ความรู้เชิงนิเวศแบบดั้งเดิม แนวคิด การวิเคราะห์วาทกรรม และทฤษฎีในกลุ่มหลังสมัยใหม่ อีกจำนวนหนึ่ง ผลการวิเคราะห์งานวิจัยเรื่องนี้ทำให้เห็น กระบวนทัศน์อันสำคัญที่เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวรรณคดีไทย ทั้งกระบวนทัศน์จิตสำนึกเชิงนิเวศแนว ดั้งเดิม กระบวนทัศน์จิตสำนึกเชิงนิเวศแนวพุทธปรัชญา และกระบวนทัศน์จิตนิเวศแนวชนชั้น ซึ่งล้วนแสดงให้เห็นถึง ระบบความคิดพื้นฐานของจิตสำนึกเชิงนิเวศระหว่างมนุษย์ กับธรรมชาติ หากผู้อ่านท่านใดอยากทราบรายละเอียดหรือสนใจ นำไปอ้างอิงในงานวิจัยของตน ทราบมาว่างานวิจัยเรื่องนี้ กำลังจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ให้สำหรับทุกท่านได้ศึกษา และจะได้นำไปใช้ในการวิจารณ์วรรณกรรมต่อไป ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน หรือผู้สนใจ ลองติดตามหาซื้อมาอ่านเพิ่ม ความรู้ มุมมอง และทัศนะกันได้ ผมไม่ได้เป็นนายหน้า มาขายหนังสือ แต่เห็นว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นหนังสือที่มี คุณค่าเป็นอย่างยิ่งสำหรับวงการวิจารณ์วรรณกรรม อีกทั้ง ยั ง เป็ น ผลงานข องศิ ษ ย์ เ ก่ า คณะมน ุ ษ ยศาสตร ์ ข องเราด้ ว ย ดังนั้น อย่าให้งานวิจัยที่มีคุณค่าเป็นงานวิจัยขึ้นหิ้งทั้งๆ ที่มันไม่สมควรจะขึ้นหิ้งกันเลยครับ และที่สำคัญ ผมคิดว่าในวาระที่บ้านเมืองของเรา ไม่ว่าจะระดับประเทศ กระทรวง กรม กอง ต่างมีสุภาพสตรี ขึ้นเป็นใหญ่เป็นโตกันมากมาย ก็ลองนำแนวคิดทฤษฎีของ อาจารย์มาวิเคราะห์ดูกันเล่นๆ เถอะว่า ธรรมชาติของ สตรีเพศ มีพลวัตต่อสังคมอย่างไร เพราะสตรีเพศบางคน อาจจะมีธรรมชาติแสดงพลวัตขับเคลื่อนให้องค์กรเดินหน้า เป็นที่ยอมรับด้วยบุคลิกที่อ่อนนุ่มและเข้มแข็ง และสตรีเพศ บางคนก ็ อ าจจะแส ดงพลวั ต พาองค์ ก รเดิ น ถอยหลั ง หรื อ ย่ ำ อยู่กับที่ด้วยเหตุจากความไม่น่าเชื่อถือ การได้มาซึ่งอำนาจ ที่น่าสงสัย(ก็เป็นได้) น่าสนใจดีนะครับ

อ.ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์

กระดานศิษย์เก่า

“ไพฑูรย์ ธัญญา”

ศิษยเกาคณะมนุษยศาสตร กับงานวิจัยวรรณกรรมเชิงนิเวศ

10

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2554


วันที่ 18-19 สิงหาคม 2554 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมโครงการประชุมวิชาการ ปอมท. ประจำปี 2554 เรื่อง "การเตรียมพร้อมของอุดมศึกษาไทย กับการปรับตัวสู่การเป็น ประชาคมอาเซียน" ณ ห้องประชุมกองทัพเรือ กรุงเทพฯ การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเวทีในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และระดมความคิดเห็นร่วมกันในหมู่ผู้บริหาร และบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา ในด้านนโยบายแนวทางการดำเนินงาน และการพัฒนา การอุดมศึกษาไทย

ชญาปกรณ์ วันที่ 25 สิงหาคม 2554 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิ การ Western Music คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครง าชินีนาถ มหาวิทยาลัย Student’s Project ณ โรงละครเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมร วิ ช าศิ ล ปกร รมศ าสต ร์ นเรศ วร จั ด โดยน ิ ส ิ ต สาขา วิ ช าดุ ร ิ ย างคศ าสต ร์ ส ากล ภาค เรียนโรงเรียนพิษณุโลก คณะมนุษยศาสตร์ ภายในงานมีการขับร้องเพลงฉ่อยจากนัก ริยางคศาสตร์สากล และ พิทยาคม การแสดงดนตรีสากลวงใหญ่โดยนิสิตสาขาวิชาดุ อีกด้วย ได้รับเกียรติจากนักร้องนำวง Super Glue มาสร้างสีสันภายในงาน

วันพุธที่ 7 กันยายน 2554 รศ.ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดี คณะมนุษยศาสตร์ พร้อมคณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ ร่วมทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้งเพื่อนำไปช่วยเหลือชาวบ้านผู้ประสบอุทกภัย ณ อำเภอบางระกำ จ.พิษณุโลก โดยมีเจ้าอธิการทวีป ทีปธมโม เจ้าคณะตำบลบางระกำ เป็นประธานคณะสงฆ์รับบิณฑบาต พร้อมกันนี้ได้ประพรมน้ำพระพุทธมนต์จากหลวงปู่แขก ปภาโส เจ้าอาวาสวัด สุนทรประดิษฐ์ ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ให้กับคณาจารย์และนิสิต ที่มาร่วมทำบุญตักบาตร ณ บริเวณหน้าอาคารขวัญเมือง มหาวิทยาลัยนเรศวร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2554

11

ข่าวกิจกรรม

วันที่ 18 สิงหาคม 2554 ผศ. ดร.จันทิมา ซิมป์สัน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยคณาจารย์สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ร่วมต้อนรั บคณะผู้ศึกษา ดูงาน จากหน่วยความร่วมมือทางวิชาการฝรั่งเศส-อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง ที่เข้าเยี่ยมชมการบริหารงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนเจรจา สร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ณ ห้องประชุ ม HU 1307 คณะมนุษยศาสตร์

สุรีย์พร ชุมแสง

วันที่ 6 สิงหาคม 2554 ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประกวดนาฏศิลป์ไทยระดับประถม ศึกษาและมัธยมศึกษา ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประจำปี 2554 จัดโดยสาขาวิชานาฏศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ ร่วมกับเทศบาลนคร พิษณุโลก ณ โรงละคร อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัย นเรศวร โดยมีผลการประกวดดังต่อไปนี้ ระดับประถมศึกษา รางวัลชนะเลิศ โรงเรียน ไทยรัฐวิทยา 12 (บ้านเอก) จ.เชียงใหม่ ระดับมัธยมศึกษา รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนพะเยา พิทยาคม จ.พะเยา จึงขอแสดงความยินดีมา ณที่นี้


หลั ก สู ต ร

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

หลักสูตรระดับปริญญาโท

ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จากหน่วยงาน เปิดสอน 6 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา

สาขาวิชาภาษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

หรือใช้ในการปฏิบัติงานเป็นประจำ

โดยได้รับการรับรอง

สาขาวิชาคติชนวิทยา สาขาวิชาวิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์

หลักสูตรระดับปริญญาเอก

ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือใช้ในการปฏิบัติงาน เป็นประจำ โดยได้รับการรับรองจากหน่วยงาน เปิดสอน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาคติชนวิทยา

สาขาวิชาภาษาไทย

วิสัยทัศน์ :

ย ะ ม นุษ ศ า ส

ร ศว

มห

าวิท

ต ร์

คณ

คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ

ยาลัยนเร

สาขาวิชาภาษาศาสตร์

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และ สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศ 2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร

สุวรรณภิงคาร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ชำระค่ า ฝากส่ ง เป็ น รายเดื อ น ใบอนุ ญ าตเลขที ่ 85/2521 พิ ษ ณุ โ ลก

ท่ า นที ่ ส นใจจดหมายข่ า วนี ้ กรุ ณ าส่ ง ชื ่ อ ที ่ อ ยู ่ ข องท่ า นมายั ง งานประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร อ.เมื อ ง จ.พิ ษ ณุ โ ลก 65000 โทรศั พ ท์ 0-5596-2035 โทรสาร 0-5596-2000 ไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยใดๆ ทั ้ ง สิ ้ น

สุวรรณภิงคาร

หรื อ “กลศ” หมายถึ ง หม้ อ ดิ น สำหรั บ ใส่ น ้ ำ ดิ น และน้ ำ เป็ น แม่ บ ทของสิ ่ ง ทั ้ ง ปวง อั น เปรี ย บได้ ก ั บ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ที ่ เ ป็ น รากฐานแห่ ง ศาสตร์ ท ั ้ ง ปวง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.