สุ
วรรณภิงคาร
ย ะ ม นุษ ศ า ส
ร ศว
มห
าวิท
ต ร์
คณ
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ยาลัยนเร
นานาทรรศนะ หน้า 3
การเดินทางในโลกหนังสือ
นานาสาระทางวิชาการ หน้า 6 เชื่อมั้ย? จิงป๊ะ?
เก็บมาฝาก หน้า 8
เมื่อ ‘กินตับ’ กลายเป็นวลีที่ต้องระวัง
วิจัยชวนคิด หน้า 9
ชวนวิจัยเพื่อส่งเสริมการเรียนนานาภาษา ในอาเซียนและการส่งออกภาษาไทย
กระดานศิษย์เก่า หน้า 10 ศิษย์เก่านักเขียน
ปีที่ 7 ฉบับที่ 19 ตุลาคม-พฤศจิกายน 2554
ISSN : 1906-9014 (สงวนลิขสิทธิ์)
ที่ปรึกษา
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต
บรรณาธิการ ดร.อรอุษา
สุวรรณประเทศ
กองบรรณาธิการ
ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์ อ.วราภรณ์ เชิดชู อ.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย อ.วทัญญ ู ฟักทอง ว่าที่ร้อยตรีมาโนชญ์ สองแกะ
ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ
เลขานุการ สุรีย์พร
นลินรัตนกุล ชุมแสง
งานประชาสัมพันธ์ :
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th ข้อมูลผู้เขียน 1. ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2. รศ.วนิดา บำรุงไทย อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: wanidab@nu.ac.th 3. อ.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: satit_lil@yahoo.com 4. อ.วรารัชต์ มหามนตรี อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: kunjaejai@yahoo.com 5. ผศ.วิรัช นิยมธรรม รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: mscp@nu.ac.th 6. ว่าที่ร้อยตรีมาโนชญ์ สองแกะ ประธานชมรมศิษย์เก่าสุวรรณภิงคาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: ling_node@hotmail.com 7. สุรีย์พร ชุมแสง นักประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: sureepornpr@yahoo.com
บทบรรณาธิการ สุวรรณภิงคารฉบับนี้ ขอร่วมแสดงความยินดี แด่ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร อาจารย์ ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ ประจำภาควิชาภาษาและ คติชนวิทยา ที่ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติจากกระทรวง วัฒนธรรม ให้เป็น “ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย” ประจำปี พ.ศ. 2554 นั บ เป็ น รางวั ล เกี ย รติ ย ศแห่ ง ความภาคภู ม ิ ใ จทั ้ ง ต่ อ พวกเราชาว คณะมนุษยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร โอกาสนี้ ในคอลัมน์นานาทรรศนะ กองบรรณาธิการจึงได้ ตัดตอนคำบรรยายของ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร เรื่อง “การเดินทางในโลกหนังสือ” ที่ท่านได้บรรยายในวันแสดงมุทิตาจิตต่อ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554 มาเผยแพร่ให้ท่านผู้อ่านที่อาจจะไม่มีโอกาสได้เข้าฟัง การบรรยายในวันนั้นได้รับทราบด้วย อันจะเป็นการเชื่อมโลกของผู้อ่าน เข้ากับประสบการณ์อันไพศาลในโลกหนังสือของผู้บรรยาย และที่สำคัญ ท่านผู้อ่านจะได้เห็นลีลาในการนำเสนอสารสาระที่แสดงให้เห็นถึงความ เป็นพหูสูตของผู้ได้รับยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทยซึ่งมิได้ แตกฉานเชี่ยวชาญเฉพาะแต่ภาษาไทยเท่านั้นอีกด้วย ต่อเนื่องจากเรื่องของภาษาและหนังสือ คอลัมน์อื่นๆ ของ สุวรรณภิงคารฉบับนี้ จึงว่าด้วยเรื่องภาษาและหนังสือทั้งหมด เริ่มจาก นานาสาระทางวิชาการ เป็นการตั้งข้อสังเกตเรื่องการออกเสียงภาษาไทย ในปัจจุบัน แถมด้วย เกร็ดภาษาอังกฤษ นำเสนอเรื่องการออกเสียงคำ ภาษาอังกฤษที่เคยออกเสียงตามรูปอักษร แต่ปัจจุบันเสียงเหล่านั้นหาย ไปแล้ว เหลือแต่ร่องรอยจากการสะกดคำเท่านั้น เก็บมาฝาก กล่าวถึง วลีที่มีการนำมาใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น แต่กลับกลายเป็นว่าผู้พูด จะต้องระมัดระวังในการใช้ให้มากขึ้นกว่าเดิม และกระดานศิษย์เก่า เป็นเรื่องราวของศิษย์เก่านักเขียน นอกจากนี้ ท่านผู้อ่านที่เป็นแฟนประจำของสุวรรณภิงคารคงจะ เห็นความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในสุวรรณภิงคารฉบับต้อนรับปี งบประมาณใหม่นี้ นั่นก็คือ เราได้เปิดตัวคอลัมน์ใหม่ อีกหนึ่งคอลัมน์ ได้แก่ วิจัยชวนคิด ที่มุ่งนำเสนอแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ด้านมนุษยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวกับแนวทางการ พัฒนางานวิจัยเพื่อเติมเต็มให้สุวรรณภิงคารได้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ในการนำเสนอภาพของคณะมนุษยศาสตร์ได้ครบทุกพันธกิจ ทั้งการ เรียนการสอน การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการวิจัย คอลัมน์นี้ ชวนคิดโดยรองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศ สัมพันธ์ ผศ.วิรัช นิยมธรรม ฉบับนี้เริ่มต้นชวนวิจัยเพื่อส่งเสริม การเรียนนานาภาษาในอาเซียนและการส่งออกภาษาไทย คิดเหมือน หรือมองต่างอย่างไร ขอเชิญเขียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ เพื่อสร้าง บรรยากาศทางวิชาการ ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ บรรณาธิการ Onusas@nu.ac.th
“¡ÒÃà´Ô¹·Ò§...ã¹âš˹ѧÊ×Í”
เมื่อไม่มีใครพิมพ์ให้ เราก็ต้องจัดการพิมพ์เอง มันต้องวางจำหน่ายด้วย มิเช่นนั้นหนังสือก็จะไม่แพร่หลาย ออกไป แม้ร้านที่เราฝากให้เขาจัดจำหน่ายจะไม่ผลักดันให้เรา อย่างที่เราต้องการ ก็ต้องผ่อนปรน เพียงได้แค่ไหน ก็ยินดี แค่นั้น คนไหนเราแจกได้เราก็แจก ลูกศิษย์อยู่ตรงไหนเราก็ ถือโอกาสคุยสู่กันฟัง แต่ที่ลงตัวที่สุด คือ ตัวเรานี่แหละที่ได้ กำไรชีวิตมากที่สุด เราได้ธรรมะ เราได้พินิจสาร และเราได้ ส่ ง ต่ อ ความ คิ ด ของปร าชญ์ ไ ว้ ใ นโลกแ ห่ ง บรรณ สารใน ยุ ค ของเรา
ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ
ก่ อ นอื ่ น ต้ อ งขอขอ บคุ ณ งานเก ี ย รติ ย ศ ที ่ ค ณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดให้ในวันนี้ การเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย เป็นสิ่งที่อยู่ เหนือความคิดคำนึง เมื่อวันได้รับมอบเข็มและเกียรติบัตร ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ท่านคณบดีได้ส่งดอกไม้ไปแสดงความยินดีโดยให้ ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ ไปเป็นตัวแทน และท่านยังจัดงานมุทิตาให้ ในวันนี้อีก จึงต้องถือโอกาสขอบคุณด้วยความซาบซึ้งใจจริงๆ และตราบใดที่ยังมีผู้ต้องการ ก็จะทำหน้าที่สอน บรรยาย และ เขียนหนังสือดังที่กำลังทำอยู่ ดู จ ากคำป ระกาศ เกี ย รติ ค ุ ณ ในหน ั ง สื อ ที ่ ก ระทรว ง วัฒนธรรมแจก มีกล่าวถึงข้าพเจ้าว่าได้ทำงานบุกเบิกด้าน คติชนวิทยาและมีงานแปลต่างๆ วันนี้จึงขออนุญาตมาเล่าสู่ กันฟัง ถึงประสบการณ์และแง่คิดบางประการในชีวิต และ ในงานที่ผ่านมา ทำนองการเดินทางในโลกหนังสือ ทำไมข้าพเจ้าจึงแปล? พูดแบบกำปั้นทุบดิน ข้าพเจ้าแปลเพราะข้าพเจ้ารัก ที่จะแปล มันเป็นความรักที่บีบคั้นจริงๆ อ่านอะไรที่น่าสนใจ แล้วอยากให้คนอื่นร่วมรู้ด้วย อยากให้โลกเปิดสำหรับเขาด้วย เพราะเราตระหนักอยู่เองว่า โลกเปิดให้แก่เรา เพราะการที่ เราอ่าน และเราคิดว่าถ้าเขาไม่ได้อ่านในภาษาอังกฤษ เราก็จะ แปลให้เขาอ่านในภาษาของเรา นั่นแล พอประทับใจเล่มไหน ก็แปล คิดแต่ว่า ต้องแปล - ต้องแปล ในการแปล ข้าพเจ้าได้เห็นบารมีของ ครูบาอาจารย์ที่ปกเกล้าคุ้มเกศให้ความสำเร็จ และข้าพเจ้า เข้าใจว่าเหตุใดกวีไม่ว่าจะของไทยหรือของต่างประเทศจึงต้อง มีปณามพจน์ เพื่อทูลขอพลังแรงบันดาลใจและความสามารถ จากเบื้องบน ในขณะเดียวกัน ข้าพเจ้าก็เข้าใจความหมาย ของวิริยะ อุตสาหะ และขันติ ตอนนี้ด้วย
นานาทรรศนะ
ตัดตอนจากคำบรรยายของ ศ.(พิเศษ) ดร.กิ่งแกว อัตถากร เนื่องในวันแสดงมุทิตาจิต แดปูชนียบุคคลดานภาษาไทย ๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๔ ณ หองประชุม ๑๑๐๓ คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร
ฝรั่งมีวัฒนธรรมหนังสือที่แข็งแรงมายาวนาน ข้าพเจ้าเห็นตรงนี้ และที่ข้าพเจ้าได้ไปศึกษาที่ สหรัฐอเมริกา ข้าพเจ้าก็พลอยได้รับการหล่อหลอมจาก วัฒนธรรมหนังสือและวัฒนธรรมการอ่านของเขา ที่มหาวิทยาลัยอินเดียนา ที่บลูมมิงตัน ที่ข้าพเจ้า ได้ไปฝังตัวเล่าเรียนสรรพวิชานั้น ข้าพเจ้าจำเป็นต้องอ่านเขียน หนังสือมากจริงๆ วิธีเรียนของชาวอเมริกันนั้นบังคับ และเร่งรัดเราตลอดเวลา วัฒนธรรมของฝรั่งเป็นวัฒนธรรมหนังสือ ฝรั่งเป็น อย่างนี้กันมานานมาก เท่าที่ดูจากประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปที่ วัฒนธรรมกรีก ก็ต้องถอยหลังไปไม่ต่ำกว่าสองพันห้าร้อยปี เมืองไทยปัจจุบัน ถึงจะดูว่ามีหนังสือพิมพ์เผยแพร่มากหลาย มีการแจกหนังสือเป็นของชำร่วยกันมาก ก็เป็นสิ่งที่มีขึ้น ประมาณหนึ่งร้อยปีนี้เอง การอ่านงานประเภทวาทกรรมที่ จะช่วยให้เกิดการคิดใคร่ครวญไต่สวนนั้นยังอยู่ในวงจำกัด ครั ้ น เมื ่ อ วิ ท ยุ โ ทรทั ศ น์ แ ละอิ น เทอร์ เ น็ ต เข้ า มาอย ู ่ ใ นชี ว ิ ต ประจำวันของเรามากขึ้นและมากขึ้น วัฒนธรรมการอ่าน หนังสือเล่มที่เสนอพุทธิปัญญา จึงยังอยู่ในวงแคบ
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม-พฤศจิกายน 2554
3
นานาทรรศนะ ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ
มีสัญลักษณ์อยู่อย่างหนึ่งที่มหาวิทยาลัยอินเดียนาที่ข้าพเจ้า ประทับใจ คือ ที่ห้องสมุด (เก่า) เขามีการแกะสลักหินไว้ เหนือประตูทางเข้าว่า A good book is the precious life-blood of a master spirit. แปลว่า หนังสือดี คือ เลือดและชีวิต อันทรงคุณค่า ของจิตวิญญาณที่สูงส่ง คำขวัญนี้มาจาก “Areopagitica” ของ John Milton John Milton คือ กวี, นักเขียน (ค.ศ.๑๖๐๘-๗๔) เท่ากับร่วมสมัยกับสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมและสมเด็จพระเจ้า ปราสาททอง “Areopagitica” คือ วาทกรรมขนาดยาวเพื่อ “the liberty of unlicensed printing” แปลว่า “เสรีภาพของการ ตีพิมพ์โดยไม่ต้องมีการควบคุมออกใบอนุญาต” เป็นวาทกรรม ที่เสนอต่อสภาผู้แทนของอังกฤษ และตีพิมพ์เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ค.ศ.๑๖๔๔ (พ.ศ.๒๑๘๗ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้า ปราสาททอง) ทีนี้ ข้าพเจ้าจะขอยกปริบทของคำขวัญดังกล่าว โดย ขอยกมาเพิ่มเติมประโยคที่นำ และประโยคที่ตามเท่านั้น เพื่อให้เห็นเหตุผลและเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของมิลตัน ดังนี้ …Many a man lives a burden to the earth; but a good book is the precious of a master spirit, embalmed and treasured up on purpose to a life beyond life. มีผู้คนจำนวนมากที่ใช้ชีวิตอยู่แบบหนักแผ่นดิน ; แต่ หนังสือดีย่อมเป็นเลือดและชีวิต อันทรงคุณค่าของจิตวิญญาณ ที่สูงส่ง, ซึ่งได้รับการชโลมเจิมจุณณ์สำหรับถนอมรักษาไว้
4
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม-พฤศจิกายน 2554
ด้วยความรักและสำนึกในคุณูปการ ด้วยความมุ่งมั่นสำหรับ ชีวิตอันไกลโพ้นเลยพ้นจากชีวิต (Milton, p.๒๐๗) ทัศนะของมิลตันตรงนี้ คือ ถ้าคนเราไม่เพิ่มพูน ความรู้ให้แจ้งแก่ใจ โดยเฉพาะจากการอ่านหนังสือ ชีวิตของเรา ย่อมไร้คุณค่า อยู่บนโลกก็หนักแผ่นดิน หนั ง สื อ ที ่ ถ ่ า ยทอดความรู ้ แ ละกระแสของท่ า นผู ้ ร ู ้ มีคุณค่ามหาศาล อำนวยคุณประโยชน์มิใช่แต่เฉพาะในชาตินี้ แต่หากในชาติหรือชีวิตที่ตามมาอีกด้วย พูดถึงการเรียนภาษา ในวัฒนธรรมของหนังสือ การเรียนภาษาเป็นสิ่ง จำเป็น เรียนเพื่อให้รู้ เรียนเพื่อให้รัก การเรียนภาษาสำหรับเรา ไม่ใช่เพียงเพื่อ ให้อ่านออก เขียนได้ ไม่ใช่เพียงพูดให้ถูกไวยากรณ์ สิ่งสำคัญของภาษา คือ ความคิด และนอกเหนือจากความคิด ก็คือ กระแสพลัง ข้าพเจ้าถูกใจมากกับโจเซฟ แคมพ์เบลล์ ที่พูดถึง “the swing of the language” สำหรับคำ “swing” ตรงนี้ - ยากที่จะหาคำคำเดียว มาแปลให้ตรง จะใช้คำ “แกว่งไกว” ไม่ได้แน่ เพราะมันจะมี นัยสื่อถึงความไม่แน่นอน จะแปลว่ากระไรก็ตามที มันจะต้อง สื่อถึงความเคลื่อนไหวทั้งทางอารมณ์และความคิด และกำลังใจ ถ้าเราอ่านอะไร และสัมผัสพลังอันลึกซึ้งของภาษาได้ เราจะ รักภาษา ปัญหาในการเรียนภาษา ปัญหาคือคุณก้าวไม่พ้นไวยากรณ์ ไม่พ้นสำนวนสั้นๆ เล็กๆ น้อยๆ ทางเทคนิค คุณไม่ได้สัมผัสความยิ่งใหญ่ของ สุนทรียะ ที่มากับความดีและสัจจธรรมความจริง
นานาทรรศนะ เพราะฉะนั้น เรื่องเดียวกัน เขียนหรือพูดในภาษา อังกฤษ จะได้อารมณ์อย่างหนึ่ง ถ้าเขียนหรือพูดในภาษาอื่น ก็จะได้อารมณ์แตกต่างกันไป แคมพ์เบลล์ยกตัวอย่างหนังสือของเขาเอง เขาอ่าน Myths to Live By ที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน เขาเล่าว่า “Suddenly my writing was saying what I had really meant to say, and I hadn’t realized it.” “ทันใดนั้น งานเขียนของผมพูดสิ่งที่ผมตั้งใจจะพูด และผมไม่เคยตระหนักตรงนี้มาก่อนเลย” และเขากล่าวต่อไปอีกว่า “ผมอ่านกลับมาที่ภาษาอังกฤษ และผมก็อ่านกลับไป ที่ภาษาเยอรมัน ความเชื่อมโยงและความนัยของถ้อยคำเป็นสิ่ง ที่ทำให้ผมตื่นเต้น” “การค้ นพบภาษาเยอรมั นเป็ นเหตุ ก ารณ์ ท ี ่ สำคัญ จริงๆ ในชีวิตของผม ความยิ่งใหญ่ไพเราะของภาษาเป็นสิ่งที่ จับใจผมยิ่งนัก ผมหลงรัก” (Joseph Campbell, The Hero’s Journey, pp.๓๔-๓๕) แล้วจะแก้ปัญหากันอย่างไร? เมื่อเข้าสู่มหาวิทยาลัย คุณควรจะกระโจนเข้าหา หนังสือของนักคิดนักเขียนระดับใหญ่ คุณจะสัมผัสความคิด ที่คุณไม่เคยคิด สัมผัสมุมมองที่คุณไม่เคยมอง ได้สัมผัสลีลา ที่พาคุณหวั่นไหว ได้รู้สึกว่าหัวใจของคุณมันเต้นแรงขึ้น หรือ สงบลง เมื่อคุณสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่คุณค้นพบในโลกใหม่นี้… ติดตามอ่านเอกสารประกอบการบรรยาย “การ เดิ น ทางในโลกหนั ง สื อ ” ฉบั บ สมบู ร ณ์ ได้ ท ี ่ เ ว็ บ ไซต์ คณะมนุษยศาสตร์ www.human.nu.ac.th/
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม-พฤศจิกายน 2554
ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ
แคมพ์ เ บลล์ ก ล่ า วถึ ง การเรี ย นภาษาต่ า งประเทศ ในประเทศของเขาเอง ซึ่งก็มีความคล้ายคลึงกับในประเทศ ของเราเหมือนกัน เขากล่าวว่า คุณใช้เวลามากมายในการเรียนภาษา-ภาษาฝรั่งเศส และสเปน... ภาษาซึ่งคุณไม่เคยได้ยินได้พูด และครูผู้สอนก็พูด ไม่ได้! คุณเรียน je suis, tu es, il est, elle est, แต่ไม่มีอะไรเกี่ยวกับกระแสพลังของภาษานั้น - nothing of the swing of the language. การเรียน คือ การซึมซับ “When you’re in the place, saturated, and it’s in the melody of your life, the languages came through.” “เมื่อคุณอยู่ในแหล่ง [ของภาษา] ซึมซับ และมัน เข้ามาอยู่ในทำนองดนตรีชีวิตของคุณ ภาษาก็เข้าถึงคุณ” ถ้าคุณไม่ได้ตรงนี้ ภาษาอาจเป็นยาหม้อใหญ่สำหรับ คุณ เหมือนดังที่แคมพ์เบลล์เล่าถึงความเบื่อหน่ายของเขาว่า “เมื่อผมจบโรงเรียนมัธยม ผมหวังไว้ว่าผมจะไม่ต้อง เรียนภาษาต่างประเทศอีก แต่เมื่อผมก้าวเข้าไปสู่โลกด้วย ความลึกซึ้งยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น ผมหลงใหลมัน เป็นความ เคลิ บ เคลิ ้ ม ภาษาทุ ก ภาษาบรรจุป ระสบการณ์มากมาย มหาศาลที่เป็นเรื่องเฉพาะตัว” เขาไปเรียนภาษาเยอรมันที่ประเทศเยอรมันเพียง ๑ ปี เขาสามารถเข้าถึงภาษาและสัมผัสความพิเศษของมัน เขาเล่าว่า ภาษาเยอรมันเป็นภาษากวี (poetic language) ภาษาเยอรมันเป็นภาษาลึกลับ ที่เข้าถึงความจริง เกี่ยวกับจิตวิญญาณ (mystical language) ในความเห็นของเขา ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาสำหรับ ใช้งาน (practical language)
5
นานาสาระทางวิชาการ
? ย ้ ั ม อ ่ ื เช
จิงป๊ะ?
รศ.วนิดา บำรุงไทย
ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่มีความแม่นยำค่อนข้าง มากในการออกเสียงตามรูปเขียน เพราะมีรูปสระถึง 24 รูป (ไม่นับสระเกิน) ใช้ออกเสียง 24 เสียง ถ้าเทียบกับภาษา อังกฤษซึ่งมีเสียงสระ 21 เสียง แต่มีรูปสระเพียง 5 รูป และมี รูปสระประสมอีกไม่กี่รูป นั่นหมายถึงว่าสระรูปหนึ่งต้องใช้แทน เสียงมากกว่า 1 เสียง ความโกลาหลสำหรับเด็กไทยเรียน ภาษาอังกฤษก็ต้องเกิดขึ้นแน่นอน (เอาไว้แก้ตัว ถ้าใครตำหนิ ว่าภาษาอังกฤษของเราอ่อนแอ!!) แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีอะไร ในโลกที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ได้เต็มร้อย โดยเฉพาะเรื่องของ ภาษา ที่มีการเลื่อนเปื้อนเลื่อนไหล ทั้งเปลี่ยนเสียง เปลี่ยน ความหมายเป็นธรรมดา จึงมีคำภาษาไทยกลุ่มหนึ่งที่ออกเสียง ไม่ตรงตามตัวเขียน เอาไว้ให้ฝรั่งปวดหัวเล่น แต่คนไทยน่ะ ชิล..ชิล ดังเช่น คำที่รูปเขียนเป็นเสียงสั้นแต่ออกเสียงเป็น เสียงยาว เป็นการเปลี่ยนเสียงชนิดที่เจ้าของภาษาก็ไม่ทันได้ สังเกต เพราะความเคยชิน เช่น น้ำ ออกเสียงเป็น น้าม ได้ ออกเสียงเป็น ด้าย เจ้า ออกเสียงเป็น จ้าว เท้า ออกเสียงเป็น ท้าว เก้า ออกเสียงเป็น ก้าว เช้า ออกเสียงเป็น ช้าว เปล่า ออกเสียงเป็น ปล่าว ไม้ ออกเสียงเป็น ม้าย คำเหล่านี้ส่วนใหญ่ ภาษาถิ่นใต้ยังรักษาเสียงเดิม ไว้ได้ คือออกเสียงตามรูปเขียนเป็นเสียงสั้น โดยคนภาคกลาง คิดว่าชาวใต้ออกเสียงเพี้ยน ที่แท้ตัวเองนั่นแหละออกเสียงผิด กิ๊ว..กิ๊ว.. แต่อย่างไรก็ตาม คำ “ใช่” ที่เขียนและออกเสียงสั้น ตรงกันในภาษาภาคกลาง ชาวใต้กลับลากเสียงยาว เป็น “ฉาย..ย.ย” 6
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม-พฤศจิกายน 2554
นอกจากนี้ ยังมีคำที่เขียนเสียงยาว แต่ออกเสียงสั้น ดังเช่นคำยอดฮิตของสังคมพินอบพิเทาแบบไทยๆ “ท่าน” ที่ ออกเสียงเป็น “ทั่น” กันโดยถ้วนทั่ว คำที่มีรูปสระสั้นแต่ออกเสียงยาว เปล่า- ปล่าว และ ไม้-ม้าย นั้น เป็นที่มาของการสะกดคำในหนังสือการ์ตูน ที่มัก สะกดเลียนเสียงพูดจาก “เปล่า” เป็น “ปล่าว” และถ้า เหมือนจริงกว่านั้น ก็ต้องเป็น “ป่าว” เพราะคนไทยเกือบทั้ง ประเทศไม่ออกเสียงควบกล้ำ ภาษาวัยรุ่นแอ๊บแบ๊ววัยใส คิกขุ อะโนเนะ (ใกล้เคียง “ปัญญาอ่อน” แบบเฉียดฉิว) ส่วนใหญ่ ก็ต้องเป็น “ป๊ะ” หรือ “จิงป๊ะ” (ให้พูดอมลิ้น หรือเหมือน อมหมากฝรั่งหลายก้อนในกระพุ้งแก้ม และพ่นลมออกทางจมูก จึงจะได้อรรถรส) “จริง” ที่เขียน “จิง” นี้ ราชบัณฑิตไม่ตำหนิ เพราะไม่ว่าจะเป็นผู้รู้ ผู้ไม่รู้ ก็ต้องออกสียง “จิง” กันทั่วหน้า หลักภาษาไทยเรียกว่าเป็นคำประเภท ควบกล้ำไม่แท้ ส่วนคำ “ไหม” ในประโยคคำถาม ไม่ได้เปลี่ยนเสียง สั้น-ยาว แต่เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงตรีในภาษาพูด จึงมักเขียนเป็น “มั้ย” ความจริงนั้น เขียน “ไม้” ก็ได้ เสียงตรีแล้ว แต่ด้วยเหตุที่เราออกเสียงคำนี้เป็นเสียงยาว ไปแล้ว ถ้าเขียน “กินไม้?” ก็จะลากเสียงยาวเป็น “กินม้าย” พร้อมเข้าใจว่าเป็นประเด็นเรื่องคอรัปชั่น หรือมอดแทะไม้ ภาษาการ์ตูนเลยต้องเขียนเป็น “มั้ย” เพื่อบังคับให้ได้เสียงสั้น พร้อมเสียงวรรณยุกต์ตรีตามต้องการ รวมทั้ง “ใช่มั้ย” ซึ่ง ตอนนี้แผลงเป็น “ชิมิ” แต่คำหลังนี้ผู้เขียนบทความ คงไม่กล้า ใช้ เพราะดูไม่รับกับใบหน้า (ที่ควรจะดัดจริตเล็กน้อย) โปรดสังเกต! “มั้ย” แค่รูปวรรณยุกต์โท ก็ได้เสียง ตรีแล้ว ไม่ต้องใช้รูปตรีให้ผิดหลักภาษาไทยได้มั้ย? คำที่เปลี่ยนเสียงสั้นเป็นเสียงยาวนี้ มีบางคำเช่น “ข้าว” ที่น่าจะสันนิษฐานได้ว่าแต่เดิมคงเป็นเสียงสั้น “เข้า” ดังมีร่องรอยในเอกสารโบราณ ต้นตำรับก็คือ หลักศิลาจารึก หลักที่หนึ่ง “..เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า...” “สิบเก้าเข้า”
นานาสาระทางวิชาการ
คือนับอายุสิบเก้าปี โดยใช้ฤดูกาลปลูกข้าวเป็นหลัก เนื่องจาก สมัยก่อนคนไทยทำนาปีละครั้ง ทำนองเดียวกับที่สมัยนี้ ใช้สำนวนว่า “หล่อนอยู่ในวัย 18 ฝน” (ให้ความรู้สึกผลิบาน สดชื่น จึงไม่เหมาะที่จะใช้กับวัยที่เกินอารมณ์นี้ให้เป็นที่ระคาย ความรู้สึกชาวบ้าน) ภาษาถิ่นอีสานก็ยังคงออกเสียงสั้น ดังเช่น “กิ ๋ น เข่ า บ๊ อ ?” อั น มิ ไ ด้ เ จตนาจะ “ขึ ้ น เข่ า ลงศอก” แต่ประการใด เมื่อออกเสียงอย่างนี้นานเข้า เสียงพูดที่ลากยาว ในภาษาถิ่นภาคกลางก็ทำให้ตัวเขียนเปลี่ยนเป็น “ข้าว” ไปด้วย คำต้องสงสัยอีกคำหนึ่งคือ “(งี่)เง่า” น่าจะเป็นคำที่ เคยออกเสียงยาวอีกคำหนึ่ง ดังปรากฏร่องรอยในภาษาถิ่น
เหนือ ที่ออกเสียงยาว เช่น “จ้าดง่าว” แปลว่าพันธุ์หรือ ชาติพันธุ์โง่ มักใช้เป็นคำผรุสวาท ห้ามเผลอใช้กับลูกศิษย์ ที่เคารพ ไม่งั้นอาจโดนประเมินเยินยับ ชนิดหมอเมินไม่รับเย็บ ส่ ว นการลากเสี ย งยาวในคำที ่ ป กติ อ อกเสี ย งสั ้ น ในเพลงสมัยใหม่ แถมออกเสียงพยัญชนะเพี้ยนเสียอีกด้วย เช่น “หัวใจ” เป็น “หัวชาย..ย” นั้น เป็นความจงใจ ไม่เป็นไปโดย ธรรมชาติดังประเด็นที่กำลังกล่าวถึงนี้ และถ้าถามว่าทำไมต้องปรุงแต่งให้ผิดเพี้ยนเช่นนั้น ก็ต้องไปถามนักร้องและผู้ควบคุมการผลิต ที่มักเรียกเก๋ว่า “โปรดิวเซอร์” เอาเอง ครูภาษาไทยไม่ควรต้องรับผิดชอบ !! จิงป๊ะ ?
รศ.วนิดา บำรุงไทย
É Ä ¡ Ñ § à¡Ã´ç ÀÒÉÒÍ
ถาวรชัย า ี ล ล ์ ย ิ ต อ.สถ
อ่าน knowen ออกเสียง “คฺโน-เวิน” ปัจจุบัน “โนว” (know) อ่าน gnawen ออกเสียง “กฺนาว-เวิน” ปัจจุบัน “นอ” (gnaw) / / คำใดลงท้ายด้วย “e” สมัยชอเซอร์ออกเสียง สะกดเท่านั้น ปัจจุบันหายสาบสูญเช่นกัน ทิ้งร่องรอยในตัว เสียง cause ออกเสียง “คาว-เซอะ” ปัจจุบันออก “คอส” เสียง name อ่านว่า “นา-เมอะ” ปัจจุบันออก “เนม” e
ตวรรษที่ ในสมัยชอเซอร์ (Geoffrey Chaucer คริสตศ นไปตามรูปอักษร 14) วิธีการออกเสียงคำอังกฤษเหล่านี้เคยเป็ ั ง กฤ ษป ั จ จุ บ ั น แม ้ เ สี ย งดั ง กล ่ า วจะ หา ยไป แล ้ ว ในภ าษ าอ แต่วิธีการสะกดยังรักษาร่องรอยเอาไว้ บันเหลือ “wh” พ่นเสียง /h/ ในสมัยชอเซอร์ ปัจจุ เพียงเสียง /w/ ง “เวน” whan ออกเสียง “ฮฺวาน” ปัจจุบันออกเสีย (when) ง “วอท” what ออกเสียง “ฮฺวอท” ปัจจุบันเหลือเพีย ักษร “l” ยังคงอยู่ เสียง /l/ ใน “al” ปัจจุบันหายสาบสูญ แต่อ ปัจจุบัน halve ออกเสียง “ฮาล-เฟอ” (ม้วนลิ้นที่ l) ์ ออกเสียงคล้ายๆ เหลือเพียง “ฮาฟ” (half) “gh” ของชอเซอร ยในตัวสะกด /ch/ ปัจจุบันหายสาบสูญ เหลือเพียงร่องรอ ” bright อ่านว่า “บริชฺทฺ” ปัจจุบันอ่าน “ไบรทฺ ง “ไนทฺ” knyght อ่านว่า “คฺนิชฺทฺ” ปัจจุบันอออกเสีย สมัยโบราณสะกด (knight) ทว่า “ghost” ที่ออกเสียง “โกสทฺ” งเป็น “ก”ดังเดิม goost (“oo” ออกเสียง “โอ”) “gh” จึงยั “kn” และ “gn” เสียงควบกล้ำ /kn/ /gn/ คงอยู่ครบถ้วนใน ียง /n/ ของชอเซอร์ ภาษาอังกฤษปัจจุบันเหลือเพียงเส
er/
http://www.courses.fas.harvard.edu/~chauc pronunciation/ http://www.fordham.edu/halsall/source/ CT-prolog-para.html
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม-พฤศจิกายน 2554
7
เมื่อ
“¡Ô¹µÑº”
เก็บมาฝาก
กลายเป็น วลีที่ต้องระวัง
อ.วรารัชต์ มหามนตรี
ภาษาวั ย รุ ่ น ในยุ ค ปั จ จุ บ ั น มี ก ารเปลี ่ ย นแปลงและ แพร่ ห ลายไปอย่ า งรวดเร็ ว จนรุ ่ น ผู ้ ใ หญ่ ต ามแทบไม่ ท ั น วลีที่เคยใช้เป็นปกติสามัญกลับต้องระมัดระวังเมื่อใช้ในบาง บริบท ด้วยเหตุที่วลีดังกล่าวถูกนำไปใช้ในความหมายที่กว้าง ขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะเป็นความหมายที่มีนัยยะทางเพศ วลีที่จะกล่าวถึงนี้เกี่ยวข้องกับคำว่า “ตับ” ซึ่งเป็น เครื่องในของสัตว์ เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารบริโภคนับว่ามี ประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน การ “กินตับ” ในสังคม ไทยจึงแพร่หลายเห็นได้จากอาหารหลากชนิดที่นำตับมาเป็น วัตถุดิบในการปรุง ความหมายของ “กินตับ” ตามความ เข้าใจของคนทั่วไปจึงอยู่ในบริบทเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกิน แต่เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้รู้จักเพลง “กินตับ” เพราะนิสิตกลุ่มหนึ่งเรียกร้องให้เปิดจากเว็บไซต์ในช่วงพัก ระหว่างคาบเรียน เนื้อหาของเพลงนั้นจำไม่ค่อยได้ เพราะ ผู้เขียนมัวแต่ดูมิวสิควิดีโอของเพลงนี้ซึ่งมีนักแสดงตลก 2 คน เป็นตัวชูโรงนั่นคือ เท่ง เถิดเทิง และโหน่ง ชะชะช่า ชายทั้ง สองคนแสดงความรักฉันชู้สาวตลอดหลายฉากที่ปรากฏ ดูแล้ว ก็สนุกสนานระคนตกใจกับความกล้าแสดงแบบผิดธรรมชาตินี้ ต่อมาวันหนึ่งได้เห็นวลี “กินตับ” ในข่าวซุบซิบดารา เนื้อหา กล่าวถึงดาราสาวผู้หนึ่งว่าประสงค์จะมีบุตร ซึ่งผู้เขียนคอลัมน์ ได้จบข่าวด้วยคำแนะนำว่า “...หากอยากมีลูกคงต้องร้องเพลง กินตับๆๆๆๆ” (คำซ้ำนี้เป็นคำร้องในเพลงกินตับ) ทำให้ได้ ข้อมูลใหม่ว่ามีผู้ใช้ “กินตับ” สื่อถึงการมีเพศสัมพันธ์ ต่อมา ไม่นานได้ยินวลีนี้อีกครั้งจากข่าวบันเทิงทางช่อง 3 กล่าวถึง พระเอกหนุ่ม “มาริโอ้ เมาเร่อ” สอนเพื่อนนักแสดงในกองถ่าย ละครเพลิงทระนงให้เต้นท่า “กินตับ” ซึ่งหน้าตาท่าทางของ หนุ่มมาริโอ้แสดงให้เห็นชัดว่า มีความหมายสื่อไปในทางเพศ
8
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม-พฤศจิกายน 2554
ปรากฏการณ์ทางภาษาที่เกิดขึ้นเป็นเหตุให้ผู้เขียน ต้องย้อนกลับไปหาข้อมูล “เพลงกินตับ” อีกครั้ง ได้ความว่า เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง “เท่งโหน่งจีวรบิน” ฉายเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ 2554 เนื้อหาของเพลงกล่าวถึงหนุ่มคนหนึ่ง ที่ชวนสาวไปเที่ยวและจะพาไปกินอาหารหลายชนิดซึ่งปรุงจาก ตับ พูดถึงประโยชน์ของตับต่อสุขภาพ ทำให้เขาชอบตับมาก และต้องกินตับก่อนนอนทุกครั้ง โดยเนื้อเพลงเน้นท่อนที่ร้อง คำว่า “ตับๆๆๆๆ” อยู่เป็นระยะ การใช้ “กินตับ” ใน ความหมายใหม่นี้เป็นการเล่นคำเพื่อเชื่อมโยงระหว่าง “ตับ” ซึ่งเป็นอาหาร กับกิจกรรมทางเพศ บางคนใช้อย่างชัดเจนว่า “กินตับ งับเด็ก” ซึ่งน่าจะมาจากเนื้อร้องท่อนที่ว่า “ตัวพี่ชอบ กินตับเด็ก เฮ้ย! พี่ชอบให้เด็กกินตับ เฮ้ย!...” จากที่มาของความหมายโดยนัยและการนำมาใช้เป็น คำสแลง แสดงให้เห็นว่าสื่อไม่เพียงมีอิทธิพลอย่างมากต่อการ ใช้ ภ าษาของวั ย รุ ่ น แต่ ย ั ง มี ผ ลต่ อ การเปลี ่ ย นแปลงทาง วัฒนธรรมด้วย กล่าวคือ การพูดเกี่ยวกับเรื่องเพศแต่เดิมนั้น จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มเพศชายในวงสนทนาที่เป็นส่วนตัว แต่ใน ปัจจุบันสามารถพูดและแสดงออกผ่านสื่อโทรทัศน์กันอย่าง สนุกสนานทั้งชายและหญิง โดยไม่ถือเป็นเรื่องที่น่าอับอาย ยิ่งผู้พูดเป็นดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงด้วยแล้ว พฤติกรรมการ เลี ย นแบบย่ อ มตามมา ผู ้ เ ขี ย นจึ ง เห็ น ว่ า หากจะช่ ว ยให้ วัฒนธรรมไทยที่ดีงามเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมช้าลง ก็ควร ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นแล้วคำ บางคำที ่ เ คยพู ด กั น ทั ่ ว ไปอาจต้ อ งระมั ด ระวั ง เพิ ่ ม มากขึ ้ น หรือไม่ควรพูดเลยโดยเฉพาะกับวัยรุ่น เพราะอาจกลายเป็น ตัวตลกในวงสนทนาโดยไม่ได้ตั้งใจเพียงแค่เราพูดตามความ หมายในบริบทเดิมว่า “กินตับกันไหม”.
ปัจจุบันภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลางในประชาคม อาเซียน แต่ภาษาประจำชาติของ 10 ประเทศก็มีความสำคัญ ไม่น้อย โดยเฉพาะภาษาไทย ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร ภาษาพม่า ภาษาลาว ภาษาตากาล็อก(ฟิลิปปินส์) และภาษา มลายู(มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์) นอกจากนี้ ในประชาคมอาเซี ย นยั ง มี ภ าษาท้ อ งถิ ่ น อี ก มากมายที ่ แ ทบ ไม่ค่อยได้รับรู้กันในวงกว้าง ซึ่งสะท้อนความหลากหลายทาง ภาษาและมี ล ั ก ษณะพหุ ลั ก ษณ์ ท างวั ฒนธรรมอย่ า งเด่ น ชั ด หากย้อนไปราวร้อยปีที่ผ่านมา ได้มีการศึกษาวิจัยภาษา ท้องถิ่นอย่างลึกซึ้งมากบ้างน้อยบ้าง นำร่องโดยหมอสอน ศาสนา แล้วจึงตามด้วยนักภาษาศาสตร์ชาติตะวันตก และ นักภาษาศาสตร์ท้องถิ่น อาจนับเริ่มตั้งแต่สมัยอาณานิคม จนถึงสมัยสงครามเย็น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันซึ่งเป็นสมัย หลังสงครามเย็นและยุคเศรษฐกิจกลไกตลาดแบบไร้พรมแดน การสื ่ อ สารผ่ า นสื ่ อ ออฟไลน์ แ ละออนไลน์ ไ ด้ ส ่ ง ผลให้ ม ี ก าร ไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารเป็นไปโดยง่ายดายและมากมาย มหาศาล ดังนั้นภาษาประจำชาติซึ่งส่งข่าวสารและความรู้ ของแต่ละประเทศนั้น จึงมีนัยสำคัญต่อความได้เปรียบ เสียเปรียบ ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น และ ภูมิภาค อีกทั้งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าภาษาอังกฤษซึ่งเป็น เพียงภาษาทางการของอาเซียน ในช่วงกว่าสามทศวรรษผ่านมา วงวิชาการภาษา ศาสตร์ไทยมิค่อยสนใจภาษาประจำชาติในอาเซียน แต่กลับ ให้ความสนใจศึกษาเฉพาะภาษาท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ใน เขตประเทศไทยเป็นสำคัญ ซึ่งก็เล่นไปตามค่านิยมและคุณค่า ทางวิชาการ เช่น สมัยสงครามเย็น อีกทั้งมิได้ให้ความสำคัญ ต่อการศึกษาวิจัยภาษาในภูมิภาคอาเซียนแบบข้ามพรมแดน กันมากนัก ทั้งนี้ก็คงด้วยอุปสรรคทางการเมือง เหตุจาก สงครามอินโดจีน และค่านิยมไทยที่ชอบตามโลกตะวันตก นักภาษาศาสตร์เพิ่งหันมาตื่นตัวสนใจภาษาในประเทศเพื่อน บ้านใกล้ชิดขึ้นบ้างก็ในสมัยที่รัฐบาลพลเอกชาติชายประกาศ นโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นตลาดการค้าในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา กระนั้นก็ยังมักให้ความสนใจเฉพาะมุมมอง ทางภาษาศาสตร์แนวโครงสร้าง คือยังวิจัยวนเวียนอยู่กับเรื่อง เสียง คำ ไวยากรณ์ และความหมาย ก็แค่ต่อยอดตอกย้ำทาง วิชาการมากกว่าการนำไปสู่อรรถประโยชน์ในวงกว้าง อีกทั้ง มิได้นำสาระความรู้มาส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้สนใจภาษาของ ประเทศเพื่อนบ้านอย่างจริงจัง กล่าวคือ นักภาษาศาสตร์ของ ไทยมิ ค ่ อ ยให้ ค วามสำคั ญ ต่ อ การเรี ย นรู ้ ภ าษาประจำชาติ ในอาเซียนเพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร ให้สอดรับกับยุคสมัย ดังพบว่าในสถาบันอุดมศึกษาของไทยนั้น มีจำนวนอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญภาษาในอาเซียนอยู่ไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม-พฤศจิกายน 2554
วิจัยชวนคิด
วิจัยเพื่อสงเสริมการเรียนนานาภาษา ในอาเซียนและการสงออกภาษาไทย
เนื่องจากทิศทางการวิจัยในอนาคตจำเป็นต้องเข้าถึงข้ อ มู ล ในระดับท้องถิ่นโดยผ่านภาษาดังกล่าวมากขึ้น และตลาด แรงงานมีแนวโน้มที่ต้องแข่งขันกันโดยมีปัจจัยทางภาษาเข้ามา มีส่วนอย่างมาก ดังนั้น การเรียนรู้ภาษาประจำชาติของ ประชาคมอาเซียนจึงเป็นความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนการวิจัยภาษาก็ควรต้องหันมาเน้นการพัฒนาการเรียน การสอนภาษาในอาเซียนเพื่อการสื่อสาร พร้อมกับกระตุ้นให้ คนไทยรุ่นใหม่ได้มีทักษะภาษาประจำชาติของประเทศเพื่อน บ้านในระดับที่พร้อมจะก้าวสู่ตลาดงานในประชาคมอาเซียน อย่างมีศักยภาพ หากไม่ น ั บ ภาษาอั ง กฤษซึ ่ ง เป็ น ภาษากลางของ อาเซียน นับว่าภาษามลายู ภาษาเวียดนาม และภาษาไทย ต่ า งมาแรงและมี แ นวโน้ ม จะเป็ น ภาษาสำคั ญ ในอาเซี ย น ในส่วนภาษาไทยนั้นน่าจะเป็นที่นิยมในประเทศพม่า ประเทศ ลาว และประเทศกัมพูชา เหตุเพราะมีการไหลเข้ามาอย่าง ต่อเนื่องของแรงงานต่างด้าวจากสามประเทศในภาคอุตสาหกรรมไทย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสมดุล จึงควรส่งเสริม ให้เยาวชนไทยเรียนภาษาดังกล่าว ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้น พื้นฐานขึ้นมา มิเช่นนั้นในอนาคต คนไทยอาจเสียเปรียบ ในตลาดแรงงานมีฝีมือ ส่วนหลักสูตรภาษาของประเทศ เพื่อนบ้านสำหรับคนไทยนั้น ไม่ควรเน้นแค่เพียงทักษะภาษา (skill) เพื่อการสื่อสารพื้นๆ หากต้องให้ความสำคัญต่อเนื้อหา (content) ทางด้านสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural perspec tive) เหตุเพราะต่างใกล้ชิดกันทางภูมิศาสตร์ อันผสมผสาน ความหลากหลายทางวัฒนธรรมแบบอาเซียน และที่น่ากังวล คื อ ความรู ้ ด ้ า นสั ง คมวั ฒ นธรรมของชนชาติ เ พื ่ อ นบ้ า นใน สั ง คมไทยยั ง ด้ อ ยกว่ า ในสั ง คมของประเทศเพื ่ อ นบ้ า นที ่ ร ั บ สื่อไทย และซึมแทรกเข้ามาทำงานในประเทศไทยเต็มไปหมด อี ก ทั ้ ง ส่ ว นมากยั ง ไม่ ร ู ้ จ ั ก ตำแหน่ ง แห่ ง หนของตั ว ตน ในอาเซียนอย่างชัดเจน เพราะไม่สามารถเชื่ิอมโยงเข้ากับ ประเทศเพื่อนบ้านได้เป็นอย่างดี เหตุหลักเป็นเพราะไทยดำรง อยู่อย่างแปลกแยกจากประเทศเพื่อนบ้าน และความรู้สั่งสมใน สังคมไทยนั้นก็ละเลยเรื่องประเทศเพื่อนบ้านจนแทบข้ามไป ไม่พ้นตะเข็บชายแดนของประเทศ การขยายความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในประชาคม อาเซียนเพื่อส่งเสริมและส่งออกการเรียนการสอนภาษาไทย เป็นความจำเป็น และยังต้องสร้างความร่วมมือทางวิชาการ มนุษยศาสตร์สายภาษาในรูปแบบเครือข่ายและพันธมิตรทาง วิชาการ เพื่อพัฒนาการเรียนภาษาประจำชาติของประเทศ ต่างๆ ในประชาคมอาเซียนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และ สนับสนุน ให้เยาวชนไทยเรียนภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน กันมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาวิจัยภาษาไทยเพื่ออาเซียนและ ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อคนไทยจึงเป็นวาระจำเป็น เร่งด่วน ที่ท้าทายการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของนักวิชาการ สายภาษาไทยและภาษาศาสตร์ของไทย เพื่อส่งออกภาษาไทย และสร้างความพร้อมของคนไทยให้รู้ภาษาเพื่อนบ้าน เพื่อก้าว สู่ประชาคมอาเซียนด้วยความเชื่อมั่น
ผศ.วิรัช นิยมธรรม
ชวน
9
กระดานศิษย์เก่า ว่าที่ร้อยตรีมาโนชญ์ สองแกะ
Ò ‹ ¡ à Â É Ô È . . . ¹ Â Õ ¢ à ¡ Ñ ¹ อาชีพนักเขียน เป็นอาชีพหนึ่งที่ให้ทั้งความรู้ สาระ และความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ทั้งเป็นอาชีพที่สร้างชื่อเสียงและ รายได้ บางคนก็มีรายได้จากอาชีพนี้อย่างมหาศาล เชื่อกันว่า การเป็นนักเขียนต้องมี “พรสวรรค์” แต่คนที่มีพรสวรรค์ถ้าไม่มี ความมุ่งมั่น ศึกษาพัฒนาแล้วก็จะเขียนให้ดีได้ยาก ในขณะที่คน ที่มีใจรัก มีความเพียรก็สามารถสร้าง “พรแสวง” ได้เช่นกัน วรัญญา แก้วแจ้ง ศิษย์เก่ารหัส 45 สาขาวิชา ภาษาพม่า คณะมนุษยศาสตร์ ปัจจุบันปฏิบัติงานอยู่ที่ศูนย์ พม่าศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นอีก คนหนึ่งที่ได้ใช้พรแสวงในการเขียนหนังสือจนมีนิยาย 2 เล่ม ที่ได้รับการตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ เล่มแรก ชื่อเรื่องว่า “แผนรักพลิกล็อก – Tricky Love Project” ออกวางจำหน่ายเมื่อปี 2549 เล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ 3 ครั้ง ภายใต้นามปากกา “ แสนซน” ส่วนอีกเล่มหนึ่งชื่อเรื่องว่า “อลวนรักฉบับอ้ำอึ้ง – So Deep Inside” ตีพิมพ์เมื่อปี 2551 โดยใช้นามปากกาว่า “ณ จันทร์” วันนี้มีโอกาสดีได้พบปะประสานงานกับเธอที่ศูนย์ พม่าศึกษา จึงได้ขอให้เธอเล่าให้เราฟังถึงเรื่องการใช้ชีวิตเป็น นักเขียนพร้อมกับการทำงานในสายการศึกษาไปด้วย เพื่อเป็น การแบ่งปันประสบการณ์แก่นิสิตที่ชอบอ่านชอบเขียน และเป็น แนวทางให้แก่ผู้สนใจจะเดินตามเส้นทางของรุ่นพี่คนนี้ต่อไป แล้วเราก็ได้แนวคิดดีๆ จากเธอ ดังนี้ “ขอออกตัวก่อนว่า เป็นคนที่ปฏิเสธการอ่านตั้งแต่ นิตยสารจนถึงหนังสือเรียน แต่จะเทเวลาหลังเลิกเรียนให้กับ หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น อ่านจนรู้สึกอยากมีหนังสือการ์ตูนเป็นของ ตัวเอง แต่มันมีข้อจำกัดที่ว่าเราวาดรูปไม่เป็น จึงไม่กล้าฝัน ไปไกลมาก จนกระทั่งเริ่มเรียนในระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นช่วง อิ่มตัวจากหนังสือการ์ตูน แล้วประจวบกับมีโอกาสได้รู้จักกับ รุ่นพี่คนหนึ่งที่ชอบอ่านนิยาย เขาไม่ได้ชวนให้อ่าน แต่ด้วย ความที่เราเคยเสพหนังสือการ์ตูนทุกวัน เมื่อไม่ได้อ่านตาม มาตรฐานเดิมจึงต้องหาอย่างอื่นมาทดแทน ตอนนั้นฉันจึงหยิบ หนั ง สื อ รวมเรื ่ อ งสั ้ น เกี ่ ย วกั บ ความรั ก ที ่ ร ุ ่ น พี ่ ค นนั ้ น ลื ม ไว้ มาเปิดอ่าน เมื่ออ่านจบเราก็ค้นพบว่า สิ่งที่ตัวเองเคยปฏิเสธ มาโดยตลอดนั้น คือเครื่องมือที่จะพาให้ตัวละครซึ่งเราเก็บไว้ ในสมองมาตั้งแต่สมัยมัธยมได้ออกมาโลดแล่นบนแผ่นกระดาษ ได้สมใจสักที” 10
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม-พฤศจิกายน 2554
“วิธีการเขียนหนังสือของฉันจึงเหมือนการเล่าเรื่อง ให้เพื่อนฟังว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร บรรยายบรรยากาศ นิสัยและอารมณ์ของตัวละคร ส่วนเนื้อหานั้นฉันเลียนแบบ มาจากเรื่องราวของผู้คนรอบข้าง ซึ่งเป็นวัตถุดิบใกล้ตัวที่ฉันจะ หยิบมาเขียนได้ง่ายและเป็นธรรมชาติมากที่สุด ฉันเริ่มเผยแพร่ งานเขียนของตัวเองจากการเข้าไปในเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ แจ่มใส และเขียนเรื่องสั้นความยาวราวๆ 2 – 3 หน้ากระดาษ เมื่อมีคนเข้ามาอ่าน ให้ความสนใจ ให้คะแนน เราก็เริ่มมี กำลังใจ เมื่อมีคนให้คำติชมก็มีโอกาสได้พัฒนาตัวเองจาก กระดานสนทนานั้น จนกระทั่งสำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ติดต่อ มาว่า เขาสนใจนิยายที่เราลงไว้ นั่นจึงเป็นที่มาของนิยาย เรื่องแรกที่ได้รับการตีพิมพ์ จนมีเรื่องที่สองตามมาในปี 51 และ มาถึงปัจจุบันได้มาทำงานที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ก็ยังไม่ทิ้ง งานเขียน หมั่นเขียน เก็บเล็กผสมน้อยไว้อีกไม่นานคาดว่าจะมี เล่มที่ 3 ตามมาค่ะ” “ถามว่าอยากเป็นนักเขียนต้องทำอย่างไร ฉันขอตอบ แบบกำปั้นทุบดินว่า ถ้าอยากเป็นนักเขียนคุณก็ต้องเขียนและ เรียนรู้ที่จะเขียนด้วยตัวคุณเอง มันไม่สำคัญที่ว่าเราจะไปถึง ฝั่งฝันไหม แต่มันสำคัญที่ว่าเมื่อเริ่มต้นฝันแล้ว เราก็อย่าลืมที่จะ ก้าวออกไปด้วย อย่าไปเกรงปัญหา อุปสรรค หรือคู่แข่ง” “อยากฝากถึงผู้ที่อยากจะเริ่มเขียน คุณต้องมีความ เพียรและความอดทนให้มาก แม้บางครั้งคุณอาจรู้สึกว่าข้อมูล ตามรายทางช่างทุรกันดารเสียจริง กว่าจะได้รับการยอมรับ จนบรรณาธิการมางอนง้อ คุณอาจต้องเขียนทิ้งเขียนขว้าง หรือ ถูกปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่าก็ควรถือเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ควรเก็บ มาเป็นเหตุให้ท้อใจ เพราะขนาดซูเปอร์แมนยังต้องมีช่วงเวลา ที่หัดบินเลย แล้วนับประสาอะไรกับคนธรรมดาอย่างเรา ที่จะ เก่งได้โดยไม่ผ่านการเรียนรู้ล่ะ จริงไหม?”
วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2554 นายธนบัตร ใจอินทร์ นิสิตสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในโครงการประกวด หนังสือดีเด่น รางวัล ‘เซเว่นบุ๊คอวอร์ด’ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2554 ประเภทรางวัล นักเขียนรุ่นเยาว์ หมวดกวีนิพนธ์ จากหนังสือรวมบทกวีนิพนธ์ เรื่อง ‘หุบมนุษย์’ โดย ได้รับมอบรางวัลจากคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
มีพยุง นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทย นางสาวสุเพ็ญศิริ งเคราะห์แห่งประเทศไทย คณะมนุษยศาสตร์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นเยาวชนดีเด่นสภาสังคมส ะบรมราชูปถัมป์ โดยได้ ประจำปี 2554 จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพร เอกหญิง คุณหญิงอัสนีย์ เข้ารับโล่เกียรติบัตร เข็มเกียรติคุณ และทุนการศึกษา จากพัน ะบรมราชูปถัมป์ ณ ห้อง เสาวภาพ ประธานสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพร ประชุม ชั้น 3 ตึกนวมหาราช สภาสังคมสงเคราะห์ฯ กรุงเทพฯ
วันที่ 23 กันยายน 2554 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมคณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ ร่วมให้การต้อนรับคณะ ผู้บริหารจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ให้เกียรติเข้าศึกษาดูงานรูปแบบ และวิธีการประเมินคณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ บรรยายสรุปโดย คุณพิชญานนท์ กรึมสูงเนิน หัวหน้าสำนักงานเลขานุการคณะมนุษยศาสตร์ ณ ห้องประชุม HU 1307 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ตุลาคม-พฤศจิกายน 2554
11
สุรีย์พร ชุมแสง
วันที่ 4 สิงหาคม 2554 นายเศกสิทธิ์ อิ่มผึ้ง และนางสาวสาริศา เขี้ยวงา นิสิตสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 4 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศในการแข่ งขันทักษะด้าน ภาษาไทยระดับอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือ ณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี ในรายการ “คนเก่งภาษาไทย” ซึ่งเป็นโครงการรู้รักภาษาไทย จัดโดยราชบัณฑิตยสถา น ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ข่าวกิจกรรม
วันที่ 23 มิถุนายน 2554 นางสาวธัญธิดา พิทักษ์สืบสกุล นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาเกาหลี ได้รับรางวัลชมเชยจากการเข้าร่วมประกวดสุนทรพจน์ภาษาเกาหลี ในหัวข้อ โลกาภิวัตน์แห่งสันติภาพ จัดโดยศูนย์เกาหลีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
วารสารมนุษมหาวิยศาสตร์ ทยาลัยนเรศวร เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ ของอาจารย์ และนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ ตลอดจน บุคคลทั่วไป สนใจติดต่อขอรับได้ที่กองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ โทร. 0-5596-2006
วิสัยทัศน์ :
ย ะ ม นุษ ศ า ส
ร ศว
มห
าวิท
ต ร์
คณ
คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
ยาลัยนเร
ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และ สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศ 2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร
สุวรรณภิงคาร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชำระค่ า ฝากส่ ง เป็ น รายเดื อ น ใบอนุ ญ าตเลขที ่ 85/2521 พิ ษ ณุ โ ลก
ท่ า นที ่ ส นใจจดหมายข่ า วนี ้ กรุ ณ าส่ ง ชื ่ อ ที ่ อ ยู ่ ข องท่ า นมายั ง งานประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร อ.เมื อ ง จ.พิ ษ ณุ โ ลก 65000 โทรศั พ ท์ 0-5596-2035 โทรสาร 0-5596-2000 ไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยใดๆ ทั ้ ง สิ ้ น
สุวรรณภิงคาร
หรื อ “กลศ” หมายถึ ง หม้ อ ดิ น สำหรั บ ใส่ น ้ ำ ดิ น และน้ ำ เป็ น แม่ บ ทของสิ ่ ง ทั ้ ง ปวง อั น เปรี ย บได้ ก ั บ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ที ่ เ ป็ น รากฐานแห่ ง ศาสตร์ ท ั ้ ง ปวง