จดหมายข่าวสุวรรณภิงคาร ฉบับ ธ.ค.54-ม.ค.55

Page 1

สุ

วรรณภิงคาร

ย ะ ม นุษ ศ า ส

ศว

มห

าวิท

ต ร์

คณ

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ยาลัยนเร

ปีที่ 7 ฉบับที่ 20 ธันวาคม 2554 - มกราคม 2555

นานาทรรศนะ หน้า 3

ดนตรี : สุนทรียภาพแห่งโลกและ ชีวิตของ ผศ.นรอรรถ จันทร์กล่ำ

นานาสาระทางวิชาการ หน้า 6 ดนตรีศึกษา: การสอนดนตรี แบบออร์ฟ ชูลแวร์ค (Orff Schulwerk)

เก็บมาฝาก หน้า 8

โหยหาคนดี : ความหมายผ่านบทเพลงอินโดนีเซีย

วิจัยชวนคิด หน้า 9

โจทย์วิจัย "จ้ำบ๊ะคันหู" ดนตรีปีศาจเปลือยจินตนาการโสกโดกของชายไทย?

กระดานศิษย์เก่า หน้า 10 กอล์ฟ โซคูล อีกหนึ่งความภาคภูมิใจ

ISSN : 1906-9014 (สงวนลิขสิทธิ์)


ที่ปรึกษา

คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต

บรรณาธิการ ดร.อรอุษา

สุวรรณประเทศ

กองบรรณาธิการ

ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์ อ.วราภรณ์ เชิดชู อ.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย อ.วทัญญ ู ฟักทอง ว่าที่ร้อยตรีมาโนชญ์ สองแกะ

ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ

เลขานุการ สุรีย์พร

นลินรัตนกุล ชุมแสง

งานประชาสัมพันธ์ :

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th ข้อมูลผู้เขียน 1. ณมน พงศกรปภัส วิทยากรปฏิบัติการ สำนักราชเลขาธิการ e-mail: lalitasana@hotmail.com 2. ปวิวัณณ์ คำเจริญ นักจัดการงานทั่วไป ชำนาญการ สำนักราชเลขาธิการ e-mail: pawiwan@hotmail.com 3. อ.จีรรัตน์ เอี่ยมเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: jib2212@hotmail.com 4. ผศ.ศิริพร มณีชูเกตุ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: Siripornm259@yahoo.com 5. ผศ.วิรัช นิยมธรรม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: mscp@nu.ac.th 6. ว่าที่ร้อยตรีมาโนชญ์ สองแกะ ประธานชมรมศิษย์เก่าสุวรรณภิงคาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: ling_node@hotmail.com 6. สุรีย์พร ชุมแสง นักประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: sureepornpr@yahoo.com

บทบรรณาธิการ ปีเก่าผ่านไป ปีใหม่เข้ามา เผลอแป๊บเดียว เวลาก็ผ่านไป อีกปีหนึ่งแล้ว และกองบรรณาธิการสุวรรณภิงคารชุดนี้ก็ปฏิบัติหน้าที่ มาได้ครบหนึ่งปีพอดี ในนามของกองบรรณาธิการ ขอขอบคุณผู้อ่าน ทุกท่านที่ติดตามจดหมายข่าวสุวรรณภิงคารของเรามาโดยตลอด ทุกๆ คำแนะนำของท่าน เราได้นำมาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาปรับปรุง จดหมายข่าวของเราให้มีรูปแบบที่ทันสมัยและมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้อ่านทุกกลุ่ม สำหรับฉบับเปิดศักราชใหม่นี้ สุวรรณภิงคาร นำเสนอเรื่องราว เกี่ยวกับเพลงและดนตรี อันเป็นอีกแขนงหนึ่งของมนุษยศาสตร์ และเรา โชคดีมากที่ได้รับเกียรติจาก ผศ.นรอรรถ จันทร์กล่ำ ผู้ทรงคุณวุฒิด้าน ดนตรีที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ระดับแนวหน้าของประเทศ มาพูดคุย กับเราในคอลัมน์นานาทรรศนะ โดยชี้ให้เห็นว่า เราสามารถพัฒนา ตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ผ่านดนตรีได้อย่างไร ต่อเนื่องด้วย การนำเสนอแนวทางการเรียนการสอนดนตรีแบบ “ออร์ฟ ชูลแวร์ค” โดย อ.จีรรัตน์ เอี่ยมเจริญ ซึ่งได้รับทุนจาก มหาวิทยาลัยนเรศวร ไปอบรมดนตรีที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือน สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา ออร์ฟ ชูลแวร์ค คืออะไร มีความสำคัญ อย่างไรต่อดนตรีศึกษา ติดตามได้ในนานาสาระทางวิชาการ ส่วน เก็บมาฝาก ฉบับนี้นำเสนอเพลงเพื่อชีวิตอินโดนีเซีย โดย ผศ.ศิริพร มณีชูเกตุ อาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอินโดนีเซีย เป็นอีกมุมหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่และพลังของเพลงและดนตรีที่มีต่อสังคม สำหรับ วิจัยชวนคิด ฉบับนี้มาแนวทันสมัยเกาะติดกระแส “คันหู” คลิปอื้อฉาวที่คนโหลดดูกันทั่วบ้านทั่วเมือง ทำไมค่านิยมดนตรี แนวนี้จึงดาษดื่นได้ง่ายในสังคมไทย และทำไมดนตรีจึงอำพรางความ โสกโดกหยาบโลนให้เห็นเป็นความบันเทิง ผศ.วิรัช นิยมธรรม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ขอชวนให้ทุกท่านคิด ปิดท้ายด้วย กระดานศิษย์เก่า พบกับ ทัตเทพ ประสงค์ หรือ กอล์ฟ วงโซคูล ศิษย์เก่าสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากลที่เราภาคภูมิใจ อีกหนึ่งตัวอย่างของผู้ที่มีความฝันและสามารถเดินตามความฝันได้อย่าง ที่ตั้งใจไว้ กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลากหลายมิติแห่งเพลง และดนตรีในคอลัมน์ต่างๆ ของสุวรรณภิงคารฉบับนี้ คงจะช่วยให้ท่าน อิ่มเอมและเติมเต็มภาพของ “มนุษยศาสตร์” ในมโนทัศน์ของท่าน ให้กระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ บรรณาธิการ Onusas@nu.ac.th


นานาทรรศนะ

ดนตรี : สุนทรียภาพแหงโลกและชีวิต

ของ ผศ.นรอรรถ จันทร์กล่ำ

กระทบจิตใจได้มากมายมหาศาล เช่นแต่ละอารมณ์ (mood) ของเพลง เพลงเศร้า ฟังเมื่อไหร่ก็จะร้องไห้ เพลงสนุก ฟังเมื่อไหร่ก็อยากจะไปเต้น เพลงธรรมะ ฟังแล้วรู้สึกสงบขึ้น รู้สึกอยากจะทำดี รู้สึกมีสมาธิมากขึ้น มันก็กระทบจิตใจ ในแง่มุมแต่ละอย่าง ด้วยความที่มนุษย์เราเป็นสิ่งที่เปราะบาง จะแข็งแกร่งแค่ไหนก็ตาม ก็มีความเปราะบางอยู่ ดังนั้นสิ่งใด ก็ตามที่กระทบเรา แล้วทำให้เราเกิดการตอบสนองบางอย่าง ก็ถือว่ามีผลต่อเรา แล้วมันจะแปรเป็นแรงบันดาลใจให้ทำอะไร ก็ได้ จากการได้รับผลกระทบนั้น” นอกจากนี้ ดนตรียังเป็นภาษาสากล ซึ่งเชื่อมโยงให้คน ที่อยู่ต่างวัฒนธรรมสามารถสื่อสาร สร้างความเข้าใจและร่วมมือ กันได้ง่ายขึ้นด้วย “ผมมองดนตรีในแง่ที่เป็นภาษา อย่างในญี่ปุ่นมี วิธีการเรียนไวโอลินที่เรียกว่า Suzuki Method ซึ่งคิดค้นโดยชาว ญี่ปุ่นชื่อ ชินอิจิ ซูซูกิ (Shinichi Suzuki) เขาเป็นคนที่พูด ชัดเจนว่าดนตรีคือภาษาหนึ่ง แล้วเขาก็ขยายไอเดียนี้มาเป็น วิธีการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม คือเขาคิดว่าทำไมเด็กถึงพูด ภาษาแม่ได้โดยที่ไม่ต้องเรียนไวยากรณ์ (grammar) ไม่ต้อง เรียน ก ข ค ง หรือสระ แต่พูดได้ด้วยการได้ยิน ได้ยินจากใคร ได้ยินจากแม่ เขาเรียก Mother Tongue Method เขาคิดว่า ถ้าเราเอาไวโอลินมาเป็นภาษาหนึ่ง เด็กจะเป็นอย่างไร และ ทำการทดลองด้วยการให้แม่มาเรียนไวโอลินก่อน ลูกยังคลานๆ อยู่เลย แต่ว่าเขาก็เห็นแม่พูด 2 ภาษา คือภาษาญี่ปุ่นกับไวโอลิน คือภาษาดนตรีนั่นเอง พอเขาโตขึ้นมาสัก 3 ขวบกว่าๆ เริ่ม หยิบจับอะไรได้ อวัยวะเริ่มใช้งานได้ดีขึ้น ก็เริ่มมีไวโอลินตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง สีไป ก็พบว่าเด็กจะเป็นเร็วมาก เนื่องจากว่าได้เห็น ได้ยินมาตั้งแต่แรกเกิด เขารู้สึกว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ เพราะเป็นภาษาที่เขาได้ยินอยู่แล้ว นอกจากนี้เรามักจะได้ยิน

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2554 - มกราคม 2555

ณมน พงศกรปภัส, ปวิวัณณ์ คำเจริญ

สุ ว รรณภิ ง คารฉบั บ นี ้ น ำเสนอเรื ่ อ งเกี ่ ย วกั บ ดนตรี เป็นหลัก บรรณาธิการ คือ ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ จึงได้ มอบหมายให้เราทั้งคู่ไปพูดคุยกับ ผศ.นรอรรถ จันทร์กล่ำ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรี ซึ่งทำงานเกี่ยวกับดนตรีครอบคลุม แทบทุ ก ด้ า น ทั ้ ง เป็ น ผู ้ ช ่วยศาสตราจารย์ป ระจำภาควิช า ดุริยางคศิลป์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ตะวันตก คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้อำนวยการภาควิชา ดนตรีคลาสสิก และหัวหน้าภาควิชาไวโอลิน ของสถาบันดนตรี เคพีเอ็น เป็นผู้อำนวยเพลงประจำให้แก่วงซิมโฟนีออร์เคสตรา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Symphony Orchestra) วงเครื ่ อ งสายแห่ ง จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย (CU String Orchestra) และเป็นผู้อำนวยเพลงรับเชิญให้แก่วงดุริยางค์ ซิมโฟนีกรุงเทพ (Bangkok Symphony Orchestra, BSO) นอกจากนี้ยังมีผลงานบันทึกเสียงที่ประสบความสำเร็จหลายชุด ผลงานล่าสุดที่ได้รับความชื่นชมในวงกว้างคือ อัลบัม ‘บีเอสโอ บรรเลงสุ น ทราภรณ์ ’ ซึ ่ ง ผศ.นรอรรถรับ หน้าที่เ ป็น ทั ้ ง ผู้อำนวยการผลิต ผู้อำนวยเพลง ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน และ ผู้ขับร้อง ผศ.นรอรรถเริ่มต้นการสนทนาโดยพูดถึงอิทธิพลของ ดนตรีที่มีต่อมนุษย์ ในแง่ที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึก “ถ้าเรามีโอกาสไปอ่านตำราดนตรีศึกษา มันก็จะเริ่ม จากดึกดำบรรพ์ เขาก็จะพูดคล้ายๆ กันว่า เริ่มจากการเคาะ การร้องอะไรก่อน เพื่อปลอบขวัญตัวเองเมื่อต้องเผชิญกับความ ไม่แน่นอนของธรรมชาติ แล้วก็กลายเป็นพิธีกรรมไป แต่ผม คิดว่าจริงๆ แล้ว อะไรก็ตามที่มากระทบจิตใจคน มันเป็นสิ่งที่ มีอิทธิพลทุกอย่าง และเสียงก็เป็นหนึ่งในนั้น รวมถึงศิลปะ ทุกอย่างด้วย ผมว่าศิลปะที่ดีต้องกระทบจิตใจคนได้ ดนตรี ก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นดนตรีที่ฟังรู้เรื่องหรือฟังไม่รู้เรื่อง มันก็

3


ณมน พงศกรปภัส, ปวิวัณณ์ คำเจริญ

นานาทรรศนะ

คำพูดเสมอว่า ดนตรีเป็นภาษาสากล เราก็เข้าใจกันดีอยู่ว่า เมื่อมีการร่วมมือกันสักอย่าง ดนตรีก็เป็นเครื่องมือแรกๆ ที่นำ มาใช้ เพราะมันช่วยสื่อได้ในวงกว้าง” โดยเหตุที่ดนตรีเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันได้โดยไม่ถูก จำกัดด้วยถ้อยคำ และมีพลังกระทบใจซึ่งสามารถแปรเปลี่ยน เป็นแรงบันดาลใจให้กระทำสิ่งต่างๆ ดนตรีจึงมีความสำคัญต่อ มนุษย์มาก แต่สำหรับ ผศ.นรอรรถ พลังกระทบใจของดนตรี ได้ส่งผลต่อชีวิตเขากว้างไกลไปกว่านั้น คือทำให้เขารู้จักตัวเอง มากขึ้นด้วย “ผมเป็นคนรักดนตรี ขาดมันไม่ได้ รู้สึกว่าตัวเอง ‘รู้สึก’ กับดนตรีมาก เหมือนกับมีเซนส์ (sense) เกี่ยวกับดนตรี มากกว่าปกติ และมันก็ทำให้ผมเข้าใจตัวเองมากขึ้น รู้จักตัวเอง มากขึ้น ว่าตัวเองเป็นคนที่อ่อนไหวต่ออะไรง่ายมาก ไม่ใช่แค่ ดนตรี หนังหรือศิลปะอะไรก็ตามที่กระทบใจ ถูกใจ ก็จะรู้สึก ล้ น ออกมา แล้ว การที่เ ป็น แบบนี้ก็ช ่ว ยในด้านการทำงาน เยอะมาก มันเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องมี ผมคิดว่านักดนตรีที่ดี หรือว่าคนที่ทำงานศิลปะทั้งหลาย มันต้องล้น ถ้าเราดูประวัติ ศิลปินหลายๆ ท่าน จะเห็นว่าเขามีความสุขกับการทำงานมาก บางคนมีช่วงชีวิตสั้นมาก แต่ผลิตผลงานเยอะแยะไปหมด เพราะ เขาต้องระบายมันออกมา ไม่อย่างนั้นมันจะล้นจนเขาทนไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าล้นด้วยความเยอะ ความซ้ำซาก แต่ล้น ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ล้นด้วยจิตวิญญาณ (spirit) ล้นด้วย ความอยากที่จะทำ ล้นด้วยความหลงใหล (passion) อันนี้ต้องมี ผมจะมีเยอะมาก บางทีความเป็นเหตุเป็นผล (logic) อาจจะ ค่อยๆ ตามมา แต่ผมคิดว่าศิลปะจะนำด้วยความเป็นเหตุ เป็นผลไม่ได้ มันจะแข็งโป๊กเลย ถ้านำด้วยความหลงใหล งานจะ ดี จะไม่รู้สึกว่าฝืนทำ” การที่ ผศ.นรอรรถ เข้าใจตนเองชัดเจนว่าเป็นคนรัก ดนตรี และมีพื้นฐานจิตใจที่พร้อมสำหรับการเข้าถึงดนตรีอย่าง ลึกซึ้ง ทำให้เขาเลือกที่จะเดินบนเส้นทางสายดนตรีมาโดยตลอด และสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่ามากมาย ทั้งสร้างเสียงดนตรี จากการเป็นนักไวโอลินและวาทยกร (conductor) สร้างผลงาน เพลงจากการเป็นผู้อำนวยการผลิต (producer) และนัก เรียบเรียงเสียงประสาน (arranger) ตลอดจนสร้างกลุม่ ผูฟ้ งั ใหม่ๆ เพื่อสืบสานและเผยแพร่งานดนตรีไปในวงกว้าง โดยเฉพาะ อัลบัมบีเอสโอบรรเลงสุนทราภรณ์นั้น ได้ขยายฐานผู้ฟังทั้งของ เพลงคลาสสิ ก และเพลงสุ น ทราภรณ์ อ อกไปอย่ า งกว้ า งขวาง นับได้ว่าเป็นคุณูปการอย่างยิ่งต่อวงการดนตรีของไทย นอกจากบทบาทในการเป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์งาน ศิลปะแล้ว ผศ.นรอรรถยังมีอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญก็คือการ เป็นครูผู้สร้างคนดนตรีรุ่นใหม่ ที่จะสืบทอดศาสตร์และศิลป์

4

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2554 - มกราคม 2555

ทางดนตรีต่อไป ซึ่งในเรื่องนี้ เขาได้แสดงทรรศนะไว้ว่า “การเป็นครูดนตรี คุณสมบัติแรกคือต้องมีพื้นฐาน ทางดนตรีหรือเบสิก (basic) ที่ดี ทั้งเทคนิคต่างๆ ท่าทางการ จับเครื่องดนตรี ถ้าเป็นเครื่องเป่าต้องรู้วิธีการใช้ลมที่ถูกต้อง เครื่องสายต้องรู้วิธีการจับ การวางนิ้วให้ถูกต้อง ถ้าสอนร้อง ต้องรู้วิธีการเปล่งเสียงที่ถูกต้อง รู้จักประโยคเพลง (phrase) เข้าใจความหมายของเพลง สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานมากๆ ที่ต้องรู้ จากนั้นก็เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งขึ้นมา เช่นรู้ว่าลูกศิษย์ แต่ละคนมีอะไร ขาดอะไร แล้วปรับวิธีการสอนให้เหมาะสำหรับ เด็กมากที่สุด คือให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่ตัวครูเป็นศูนย์กลาง ขั้นต่อไปก็จะเป็นเรื่องของปรัชญา เช่น เรียนดนตรีทำไม เรียน เพื่อตัวเอง หรือว่าเพื่อคนอื่น เรียนเพื่อยังชีพ หรือเป็นแบบ ‘ศิลปะเพื่อศิลปะ’ (Art for Art’s Sake) ก็ต้องให้เขารู้ว่าเรียน ดนตรีไปเพื่ออะไร แน่นอนว่าระหว่างเรียนจะต้องมีเรื่องของวินัย ก็คือต้อง ฝึกซ้อมเป็นเวลา และเรื่องของจิตใจที่ดี เพราะว่าการเรียนดนตรี การเล่นดนตรี เป็นเรื่องของการแบ่งปัน เราเล่นดนตรีเพื่อให้ คนอื่นฟัง ไม่ใช่ให้ตัวเองฟัง ก็ต้องมีการแชร์ (share) พอสอนเพลงแต่ละเพลง อย่างอาจารย์ผม ผศ.พ.อ. (พิเศษ) ชูชาติ พิทักษากร ศิลปินแห่งชาติ จะพูดเสมอว่า เพลงแต่ละเพลงจะมีชีวิตของมัน อย่างเพลงเศร้า มันเศร้าได้ มากมายตั้งกี่แบบ มันมีหลายระดับของความเศร้า เพราะฉะนั้น ต้องตีความให้ออกว่าเศร้าแค่ไหนยังไง เพลงสนุก สนุกอย่างไร มันค่อนข้างจะต้องลึกซึ้งในการตีความ นั่นหมายความว่าเรา ต้องเข้าใจชีวิตหลายรูปแบบ เข้าใจวัฒนธรรมที่ต่างกับเรา และ เข้าถึงจิตวิญญาณของคนประพันธ์ให้ได้ เข้าถึงจิตวิญญาณของ เรื่องราวในเพลงให้ได้ วิธีการสอนก็มีหลายวิธี ซึ่งสมัยนี้ง่ายกว่าสมัยก่อนมาก เพราะว่ามีสื่อเยอะ สมมุติว่าผมสอนเรื่องของเพลงมินูเอ็ต (Minuet) เพลงเต้นรำ ก่อนที่คุณจะเล่นเพลงมินูเอ็ตได้ดี คุณต้องรู้ว่าเขาเต้นยังไง ผมเปิดยูทูบ (YouTube) ให้ดูเลยว่า เต้นแบบนี้ เด็กเห็นท่าเต้นก็จะรู้ว่าต้องเล่นให้มีหนักเบาตรงไหน อย่างไร เมื่อครูได้ถ่ายทอดแบบนี้ เด็กจะรู้เองว่า โอ้โห! ต้องรู้ ขนาดนี้เลยเหรอ คนเป็นครู ผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องเก่งมาก หรือต้อง เป็นพหูสูต แต่ต้องเป็นคนใฝ่รู้ และต้องใฝ่รู้แบบไม่โดนบังคับ ด้วย คือใฝ่รู้แบบที่อยากจะรู้เอง เพื่อให้มีความรู้ในหลายๆ เรื่อง หลายๆ ระดับ แล้วก็จะสามารถเป็นครูสอนดนตรีที่มีคุณภาพ ได้” นอกจากการปฏิสัมพันธ์กับดนตรีจะทำให้ ผศ.นรอรรถ สามารถรู้จักตนเอง จนกระทั่งประสบความสำเร็จในชีวิต และ


จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2554 - มกราคม 2555

นานาทรรศนะ

เราจึงมีกำลังใจมากขึ้นว่า หากค้นหาตัวตนได้พบว่า ศิลปะแขนงใดสัมผัสใจเรามากที่สุด แล้วโอบรับมันไว้ให้เป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตเราอย่างแท้จริง เราก็จะสามารถพัฒนาตนเอง ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ที่พร้อมจะแปรอารมณ์ความรู้สึกอัน อ่อนไหว เป็นพลังสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่โลก และมีชีวิตที่ โอบล้อมด้วยความสุข อันสามารถเผื่อแผ่ให้แก่เพื่อนมนุษย์ได้ ไม่มีที่สิ้นสุด

ณมน พงศกรปภัส, ปวิวัณณ์ คำเจริญ

การงานทุกอย่างที่ทำแล้ว ในทรรศนะของเขา ดนตรียังมีคุณค่า ในฐานะที่เป็นเครื่องช่วยให้ผ่านพ้นความทุกข์อันมีอยู่มากมาย ในชีวิตมนุษย์ด้วย “ผมคิดว่า ชีวิตเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะลำบากในทุกแง่ คือทุกคนก็มีความทุกข์ สิ่งที่จะทำให้ทุกข์หายด้วยเวลาอัน รวดเร็วที่สุดก็คือบทเพลง แม้กระทั่งบทเพลงเศร้า ซึ่งบางที เราอาจจะรู้สึกว่าเมื่อฟังแล้วจะทุกข์มากขึ้น แต่ผมไม่เชื่อ มีเพลง บางเพลงที่หลายคนมีความหลัง โดนใจเหลือเกิน แต่ตอนที่ฟัง เพลงแบบนี้ เรามีความรู้สึกเป็นสุขเล็กๆ อยู่ เหมือนกับว่าเรา ได้บำบัดด้วยเพลงที่เศร้า ที่เรามีความหลังอยู่ นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมคนถึงชอบฟังเพลงเศร้าๆ เพราะเขาฟังแล้วมีความสุข ดังนั้น โลกคงขาดดนตรีไม่ได้ เพราะคนเราต้องการดนตรี เพื่อจรรโลงชีวิตให้สดใสในแวดล้อมของความทุกข์” เราจบการสนทนากับ ผศ.นรอรรถ ด้วย ความอิ่มเอมใจ เพราะได้ทราบซึ้งถึงคุณค่าของ ดนตรี ที่มีต่อคนคนหนึ่ง ซึ่งหล่อหลอมตัวตนเข้ากับดนตรี จนสามารถสร้างสรรค์ชีวิตและผลงานที่ทรงคุณค่า ทำให้เราเข้าใจชัดถึงอิทธิพลของศิลปะที่กล่อมเกลา จิตใจมนุษย์ให้ประณีตละเอียดอ่อน สามารถสัมผัส ได้ ถ ึ ง ความงดงามและความสุ ข แม้ ใ นท่ า มกลาง ความทุกข์แสนสาหัส

5


แบบออร์ฟ ชูล

อ.จีรรัตน์ เอี่ยมเจริญ

นานาสาระทางวิชาการ

ี ร ต น ด น อ ) ส k ร r า e ก : w l า ษ u ก ึ h c ศ ี ร S ต f f น ด แวร์ค (Or

เมื่อวันที่ 1-12 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ข้าพเจ้าได้มี โอกาสได้ไปเข้าร่วมอบรมในหัวข้อ “Orff San Francisco Workshop 2011” ณ โรงเรียนแซนแฟรนซิสโก เมืองแซนแฟรน ซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับทุนจาก มหาวิทยาลัยนเรศวร การไปอบรมครั้งนี้เป็นขั้นต้น (Level 1) จากทั้งหมดมีถึง Level 3 เป็นการอบรมระยะสั้น ปีละหนึ่งครั้ง ทุกปี โดยมีทีมครูผู้สอนซึ่งมากความรู้ และประสบการณ์ นำโดย Doug Goodkin, Sofia Lopez-Ibor และคณะ กลับมาแล้วจึงอยากจะแบ่งปันความรู้สึกที่ได้จากการ อบรมให้แก่ครูผู้สอนดนตรี และผู้สนใจ เพื่อประโยชน์ในการ พัฒนาการเรียนการสอนด้านดนตรีให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป “ออร์ฟ ชูลแวร์ค” คืออะไร คาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff:d.1982) เป็นนักประพันธ์ เพลง และเพื่อนของเขา Gunil Keetman เป็นผู้ที่พัฒนาคู่มือ การสอนที่เรียกว่า ออร์ฟ ชูลแวร์ค นี้ขึ้นมาเป็นตัวอย่างให้กับ ครูทั่วโลก ออร์ฟ ชูลแวร์ค (Orff Schulwerk) คือแนวทางหนึ่ง ในการเรียนการสอนดนตรี โดยมีพื้นฐานจากสิ่งที่เด็กชอบทำ เช่น การร้องเพลง การท่องบทกลอนประกอบการเล่น การ ตบมือ การเต้น และการเคาะตามจังหวะ ซึ่งเป็นสัญชาตญาณ หรือความมีชีวิตชีวาที่มีอยู่ในตัวเด็กๆ อยู่แล้ว โดยจะนำสิ่ง เหล่านี้มาสู่การเรียนรู้ และเข้าใจดนตรี เริ่มจากการฟัง และ เข้าใจดนตรีก่อน แล้วจึงอ่านโน้ตดนตรี และเขียนโน้ตในเวลา ต่อมา ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับการเรียนรู้ภาษานั่นเอง ออร์ฟ ชูลแวร์ค ออกแบบการเรียนการสอนไว้สำหรับ 6

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2554 - มกราคม 2555

เด็กทุกคน มิใช่คนใดคนหนึ่ง หรือผู้ที่มีสิทธิพิเศษ มีพรสวรรค์ เท่านั้น และเป็นที่ที่เด็กทุกคนจะมีส่วนร่วม และรู้จักความ สามารถของตนเอง โดยไม่ทำให้เกิดการแข่งขัน เพราะการ ได้รับรางวัล หรือคำชม จะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจดนตรี และเล่น ดนตรีร่วมกับผู้อื่นได้ดี เมื่อเด็กๆ ได้สร้างสรรค์ดนตรีหรือ ประพันธ์ดนตรีขึ้น พวกเขาจะต้องการอ่านและเขียนโน้ต ในเวลาต่อมา ออร์ฟ ชูลแวร์ค ใช้บทกลอน โคลง เกมต่างๆ เพลง สั้นๆ และการเต้นมาเป็นสื่อการสอนขั้นพื้นฐาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะนำมาจากในแต่ละถิ่นฐาน แต่ละประเพณีของประเทศนั้นๆ จะใช้การพูด การร้อง เป็นหลัก และใช้การดีดนิ้ว ตบมือ ตบตัก การย่ำเท้า หรือการใช้กลอง กระดิ่ง หรือ การเคาะไม้ เป็นแนว ประกอบ สิ่งที่เป็นจุดเด่นของออร์ฟ คือ มีเครื่องดนตรีออร์ฟ (Orff Instruments) ประกอบไปด้วย ระนาดไม้ (wooden xylophones) ระนาดเหล็ก (metal xylophones, glockenspiels) ซึ่งมีเสียงที่ไพเราะ เล่นง่าย เหมาะกับเด็กๆ คือ ลูกระนาดสามารถถอดออกได้ ช่วยในการฟังเสียงที่แตกต่าง กัน คล้ายวงออร์เคสตร้าขนาดเล็ก ทำให้เป็นผู้ฟังที่ดีในอนาคต ทำไมออร์ฟ ชูลแวร์ค จึงมีความสำคัญต่อดนตรีศึกษา งานวิจัยในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่าเด็กนั้นจำเป็นที่จะต้อง มีความสมดุลกัน ระหว่างความคิด และอารมณ์ การกระตุ้น ให้เกิดความพัฒนาด้านร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ เป็นสิ่ง ที่กิจกรรมการเรียนการสอนของออร์ฟ ชูลแวร์ค ได้ส่งเสริม ให้เกิดขึ้นผ่านดนตรี


ออร์ฟ ชูลแวร์ค กับมหาวิทยาลัยนเรศวร - การเรียนการสอน ในรายวิชาการสอนดนตรี (western music pedagogy) เปิดเป็นวิชาเลือกในหลักสูตร ปริญญาตรี ให้กับนิสิตเอกดุริยางคศาสตร์สากล ชั้นปีที่ 4 จุดมุ่งหมายเพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอน ดนตรี จิตวิทยาการสอน และการสอนดนตรีในแบบต่างๆ ซึ่ง ออร์ฟ ชูลแวร์ค เป็นหนึ่งในนั้นด้วย ข้าพเจ้าได้นำตัวอย่าง แนวทาง ขั้นตอนการใช้เครื่องดนตรีออร์ฟ การหาเพลง พื้นบ้าน การประพันธ์เพลง เพื่อให้นิสิตได้นำไปสอนต่อไปได้

นานาสาระทางวิชาการ

“ออร์ฟ ชูลแวร์ค” ในประเทศไทย ความเป็นมาของสมาคมไทยออร์ฟชูลแวร์ค (Thai Orff Schulwerk Association) การเรียนการสอนดนตรีตามแนวของออร์ฟเป็นที่รู้จัก ในบ้านเราเมื่อ 36 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2518) โดยท่านอาจารย์ หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา เป็นผู้นำเข้ามาใช้กับเด็กๆ อบรมคุณครู และเผยแพร่ทางโทรทัศน์ สมาคมไทยออร์ฟ ชูลแวร์ค จัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2551 ปัจจุบันอาจารย์กรองทอง บุญประคอง (ครูก้า) เป็นอุปนายกสมาคมไทยออร์ฟชูลแวร์ค (Thai Orff Schulwerk Association) และเป็นผู้อำนวยการ โรงเรียนจิตตเมตต์ (ปฐมวัย) ครูก้าเคยเข้าร่วมการอบรมการ สอนดนตรีตามแนวของออร์ฟ ชูลแวร์ค (Orff Schulwerk) ของ หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา โดยมีอดีตผู้อำนวยการ สถาบันออร์ฟ แห่งประเทศออสเตรียมาเป็นผู้อบรม จากนั้น ไปศึกษาด้านดนตรีออร์ฟที่ The Orff Institute of the University Mozarteum ประเทศออสเตรีย ตามคำแนะนำของหม่อม ดุษฎี และ Orff Certification Program (Level III) ที่ Mills College สหรัฐอเมริกา มีประสบการณ์ทำงานด้านการนำ ดนตรีออร์ฟมาใช้ในการจัดการเรียนรู้กว่า 10 ปี ปัจจุบัน ทางสมาคมมีการจัดการอบรม ให้กับสถาบันการศึกษาต่างๆ และผู้ที่สนใจ

- โครงการดนตรีบำบัด ของสถานอารยธรรมศึกษา โขงสาละวิน ซึ่งมี ผศ.แก้วกร เมืองแก้ว เป็นหัวหน้าโครงการ โดยมีกิจกรรมดนตรีสำหรับเด็กเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ กิจกรรมนี้จัดขึ้นให้กับเด็กที่มีอายุ 3-9 ปี ซึ่งข้าพเจ้าร่วมเป็น วิทยากรในการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยนำแนวทางการสอน ดนตรีของออร์ฟ ชูลแวิร์ค และเครื่องดนตรีออร์ฟ มาใช้ การสอนดนตรีแนวออร์ฟ ชูลแวิร์ค สิ่งที่ผู้สอนจะต้อง นำไปคิด และนำไปปรับใช้คือ การเตรียมการสอนจากสิ่งที่ เด็กรู้ เด็กเข้าใจอยู่แล้ว นำมาพัฒนาทีละนิด จนเกิดความรู้ใหม่ กับเด็ก โดยไม่กระโดดข้ามขั้นตอน มีการสังเกตเด็กในชั้น ตลอดเวลา มีการฝึกฝน ปรับปรุงการสอนอยู่เสมอ เพราะเด็ก แต่ละกลุ่มไม่ได้ใช้วิธีการเดียวกันเสมอไป ครูต้องเรียนรู้ใน ตัวเด็ก ว่าใครมีความถนัดในสิ่งใด ไม่ถนัดในสิ่งใด และสิ่ง สำคัญที่สุด คือ เพลงที่ใช้ในการสอน ควรจะนำมาปรับให้ สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่มีอยู่ ภาษาของเนื้อเพลง การละเล่นที่เด็กคุ้นเคย แล้วจึงค่อยๆ นำให้เด็กเปิดโลกของ ดนตรีให้กว้างขึ้นทีละนิด ด้วยเพลงจากทั่วโลก การละเล่น เกม ต่างๆ และการเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างกันทั่วโลก นอกจาก นั้นเด็กไทยจะเกิดความรัก เข้าใจความเป็นไทยมากขึ้น เข้าใจ ตนเอง เข้าใจผู้อื่น โดยผ่านสิ่งที่เรียกว่าดนตรี สิ่งที่สนุก สิ่งที่ เด็กๆ รัก ด้วยการฝึกฝน ความขยัน อดทน ตามความสามารถ ของพวกเขา และข้าพเจ้าจะเป็นส่วนหนึ่งในการนำความรู้ต่างๆ ไปเผยแพร่ ต ่ อ ไป เพื ่ อ ให้ ก ารศึ ก ษาดนตรี พ ั ฒ นาขึ ้ น ใน ประเทศไทยของเรา

อ.จีรรัตน์ เอี่ยมเจริญ

ออร์ฟ ชูลแวร์ค เป็นแนวทางการเรียนการสอน มิใช่ทฤษฎี เป็นการรวมเข้าด้วยกันให้เป็นหนึ่งเดียว โดยมี การพูด การร้อง การเคลื่อนไหว และการเล่นเครื่องดนตรี นอกจากนั้นยังมีการคิดด้นสด (improvisation) การประพันธ์ โดยใช้ความรู้ และประสบการณ์ต่างๆของผู้เรียน

อ้างอิง Carl Orff and Gunild Keetman(1958) Music for Children I Pentatonic. Germany: Schott& Co.Ltd. Doug Goodkin(2002) Play, Sing, Dance & Introduction to Orff Schulwerk. Miami: Schott Music Corporation. Sofia Lopez-Ibor(2011) Blue is the sea: Music Dance & Visual Arts. San Francisco, California :Pentatonic Press. แผ่นพับความรู้ :The American Orff-Schulwerk Association. จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2554 - มกราคม 2555

7


โหยหาคนดี: เก็บมาฝาก

ความหมาย ผ่านบทเพลง อินโดนีเซีย

ผศ.ศิริพร มณีชูเกตุ

การโหยหาคนดีของตนหรือกลุ่มตนมีปรากฏให้เห็น อยู่ในทุกสมัยและทุกสังคม สำหรับสังคมไทยล่าสุดมีการสร้าง ภาพยนตร์ เรื่อง “ขุนรองปลัดชู วีรชนคนถูกลืม” ซึ่งถือเป็น การโหยหาคนดีที่คนไทยน้อยคนนักจะรู้จัก เมื่อลองเหลียวมองเพื่อนบ้านอย่างประเทศอินโดนีเซีย เราในฐานะคนไทยโดยเฉพาะผู ้ ท ี ่ ส นใจประวั ต ิ ศ าสตร์ แ ละ การเมืองคงจะรู้จักผู้นำยุคประกาศอิสรภาพของอินโดนีเซีย ที่ชื่อ ซูการ์โนอยู่บ้าง แต่เมื่อกล่าวถึงโมฮัมหมัด ฮัตตา ผู้ซึ่ง ประกาศอิสรภาพอินโดนีเซียเคียงคู่กับซูการ์โนเช่นกันอาจจะ ไม่มีใครรู้จักเอาเลย ทั้งที่ในเวลาต่อมาฮัตตาได้เป็นรอง ประธานาธิบดี เคียงคู่กับประธานาธิบดีซูการ์โนและเป็น บุคคลที่ชาวอินโดนีเซียขานชื่อติดปากว่า บุงฮัตตา (Bung Hatta) ตลอดจนเป็นที่รู้จักระดับนานาชาติในนาม “บิดาแห่ง สหกรณ์อินโดนีเซีย” อีกด้วย คุณความดีอันยิ่งใหญ่ต่อแผ่นดินและชีวิตที่เรียบง่าย ของบุงฮัตตา ทำให้ผู้เขียนคิดถึงเพลงเพลงหนึ่งที่นักร้องแนว เพื่อชีวิตชาวอินโดนีเซีย Iwan Fals ได้แสดงอาการโหยหาคนดี ดั่งบุงฮัตตา ผ่านบทเพลงที่เขาแต่งขึ้น ชื่อเพลง Bung Hatta Bung Hatta (บุงฮัตตา) Iwan Fals (อีวัน ฟาล์ส) Tuhan terlalu cepat semua พระเจ้าท่านช่างเร็วไปเสียทุกอย่าง Kau panggil satu-satunya yang tersisa ท่านได้เรียกหาหนึ่งเดียวที่เรามีอยู่ Proklamator tercinta... นั่นคือผู้ประกาศอิสรภาพอันเป็นที่รักยิ่ง Jujur lugu dan bijaksana ที่จริงใจ..เรียบง่าย..และชาญฉลาด Mengerti apa yang terlintas dalam jiwa เข้าใจในจิตวิญญาณของ 8

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2554 - มกราคม 2555

Rakyat Indonesia... หมู่ชนชาวอินโดนีเซีย Hujan air mata dari pelosok negeri น้ำตาดั่งสายฝนต่างรินหลั่งจากทั่วผืนแผ่นดิน Saat melepas engkau pergi... ณ ห้วงเวลาที่รู้ว่าคุณได้จากพวกเราไป Berjuta kepala tertunduk haru มวลประชานับล้านขอน้อมคารวะด้วยความถวิลหาอาดูร Terlintas nama seorang sahabat ความทรงจำต่อคุณผู้เป็นสหาย Yang tak lepas dari namamu... ที่ยังคงอยู่ในใจเราเสมอมาคือ Terbayang baktimu, terbayang jasamu ภาพแห่งความภักดีต่อชาติ… ภาพแห่งความอุทิศ.. Terbayang jelas... jiwa sederhanamu ภาพแห่งชีวิตที่เรียบง่าย… Bernisan bangga, berkafan doa สิ่งที่เหลือไว้ให้เราภาคภูมิใจและคารวะไว้คือสุสานของคุณ Dari kami yang merindukan orang จาก..พวกเราที่น้อมรำลึกถึง.. Sepertimu คุณ… การโหยหาคนดีของอีวัน ฟาล์ส ที่ผ่านบทเพลง ก็คง ไม่ต่างจากผู้สร้างภาพยนตร์ “ขุนรองปลัดชู วีรชนคนถูกลืม” ที่ “อย่างน้อย” ก็แสดงให้เห็นถึงการสำนึกอย่างหนึ่งต่อผู้มี บุญคุณต่อแผ่นดิน... นั่งฟังเพลง Bung Hatta แล้วมองไปนอกหน้าต่าง เห็นฟ้าครึ้มกับสายฝนพรำที่ค่อยๆ รินไหลผ่านหลังคา ช่างเป็น บรรยากาศที่ดูเศร้าสร้อยเสียเหลือเกิน โดยเฉพาะในห้วง เวลานี้ที่เกิดอาการอยากจะโหยหาคนดีขึ้นมาบ้าง…


ดนตรีปศาจเปลือยจินตนาการโสกโดกของชายไทย?

ดนตรีเป็นนวัตกรรมที่ไม่หยุดนิ่งที่สะท้อนความมี จินตนาการและความมีสุนทรียภาพของมนุษย์ในฐานะผู้สร้าง และผู้เสพ กระนั้น มนุษย์ทุกคนก็ใช่ว่าจะสามารถสร้างสรรค์ งานดนตรี ดุจเกิดเป็นคนก็พร้อมจะพูดภาษาหรือพร้อมจะเดิน ในฐานะผู้สร้าง ผู้พอมีอัจฉริยภาพจะสามารถดึงเสน่ห์ของเสียง หลากแหล่งกำเนิดมาบูรณาการเพื่อรังสรรค์ดนตรี ส่วนใน ฐานะผู้เสพดนตรีไม่เพียงแค่ให้ความเพลิดเพลินเท่านั้น แต่ ยังใช้แฝงเป็นมนต์ขลังในพิธีกรรม หรือใช้เป็นมนต์สะกด ในการบำบัดความทุกข์ทางกายและใจ ดนตรี ย ่ อ มถื อ เป็ น สมบั ต ิ ท างอารยธรรมของ มนุษยชาติ ดังพบว่าในแต่ละท้องถิ่น อัตลักษณ์ทางดนตรีจะ ซ่อนตัวอยู่ภายในชุมชนโดยมิได้ปรากฏให้ เ ห็ น ตลอดเวลา แต่จะปรากฏขึ้นตามแต่โอกาสเท่านั้น สำหรับคนนอกนั้น ดนตรีที่เล่นในพิธีกรรมย่อมลึกลับและยากจะเข้าใจ โดยเฉพาะ รูปแบบพิธีและเรื่องเล่าที่ขับร้องใส่ทำนองเสนาะเคล้าจังหวะ การเข้าถึงสาระของตัวบทในเรื่องเล่านั้นไม่ง่าย เพราะตัวบท อาศัยสัญญะซับซ้อนทางภาษาที่คอยบดบังให้รับรู้กันเฉพาะ กลุ่มชน กล่าวคือ ถ้าเป็น "คนนอก" ไม่รู้ภาษาของ "คนใน" ก็ไม่อาจเข้าถึงใจความของตัวบท และย่อมเข้าไม่ถึงจิตใจอย่าง คนใน อย่างไรก็ตาม ทำนอง จังหวะ และ น้ำเสียงของการ เล่าเรื่องต่างมีแบบแผนเฉพาะทางสุนทรีย์ ที่คนนอกพร้อมจะ เข้าถึง จนอาจบังเกิดอารมณ์ผสมผสานที่คนอื่นก็อาจเข้า ไม่ถึง ทั้งนี้เพราะดนตรีสามารถสร้างจินตนาการไร้ขอบเขต และทุกคนก็คือผู้สร้างสรรค์ดนตรีจากการฟัง อย่างน้อยก็ สามารถคลอตามเสียงดนตรี หรืออาจถึงขนาดต้องมนต์ โดยลักษณ์ ดนตรีถือเป็นศิลปะไร้รูปทรง (nonrepresentational art) สัมผัสเบลอๆ ผ่านโสตประสาท จึงมีพลัง เหนือศิลปะมีรูปทรงเชิงประจักษ์ที่จำกัดความคิดด้วยกรอบ เนื้อหา เช่น รูปภาพ รูปปั้น และวรรณกรรม หากมองเชิง สัมพัทธนิยม (relativism) แม้ดนตรีจะปลุกจินตนาการ ได้อย่างเสรีก็ตาม หากยังจำกัดด้วยกรอบคิดทางอารมณ์ตาม ภูมิหลังของผู้ฟัง คนคนหนึ่งจึงซึมซับศิลปะดนตรีแตกต่าง กันไป อาจเปรียบให้เข้าใจง่ายกับการเรียนภาษาใหม่ น้ำเสียง เดิมในภาษาตนจะคอยควบคุมมิให้พูดได้อย่างเจ้าของภาษา จึงมักมีสำเนียงของภาษาแม่แทรกปนเสมอ จนกลายเป็น มุกตลกล้อเลียนคนต่างชาติที่พูดไม่ชัด ในทำนองเดียวกัน ในการฟังดนตรี อารมณ์ที่ซ่อนไว้ย่อมผสมผสานกับความ แปลกใหม่ แล้วหลุดมาในเวลาพลั้งเผลอ จ้ำบ๊ะคันหูอาจคือ ตัวอย่างความพลั้งเผลอที่เผยอัตลักษณ์ไทยๆ เนื่องมนต์ดนตรี "คันหู" เป็นคลิปอื้อฉาวที่คนโหลดดูกันทั่วเมือง แถม ยังทำให้เด็กสาวลูกหลานลิเกโด่งดังจนงานเข้าไม่ขาด อีกท่า เต้นยั่วสยิวยังแพร่ระบาดตามเทศกาลงานเลี้ยง ดนตรีระดับ

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2554 - มกราคม 2555

วิจัยชวนคิด

"จ้ำบ๊ะคันหู"

SME จึงมักต้องพกพาสาวคันหูหุ่นดีไปแสดงเอาใจเจ้าภาพ ด้วยเป็นเพลงโปรดของมหาชนคนขี้เหล้าเมานารี เพลงคันหู กับสาวยั่ว จึงเป็นภาพตัวแทนความโสกโดก (อ้างคำจาก ธรรมโฆษณ์ของพุทธทาสภิกขุ, 2505) ของชายไทยที่ลดค่า แก่ดนตรีให้เป็นเพียงศิลปะแฝง (latent) ดุจมนต์ขลังในพิธี ฟ้อนผี หรือ มายากลแขกเป่าปี่เรียกงู จึงน่าสนใจ ใยค่านิยม โสกโดก จึงหลุดออกมาด้วยมนตราแห่งดนตรี หากตัดดนตรีทิ้งไปก่อน เนื้อเพลงคันหูนั้นถูกสร้าง ด้วยวาทศิลป์นัยยะแฝง (connotation) เพื่อมิให้คิดเป็นอื่น นอกจาก "หู" ที่ไม่ใช่หู เสน่ห์ของเพลงจึงอยู่ที่ความคลุมเคลือ ของคำเลี่ยงหลบจากนัยยะตรง (denotation) ที่คนในฟังย่อม รู้แก่ใจ โดยไม่ต้องอาศัยท่าทาง แต่นักสร้างเสริมกลับใช้ดนตรี ฉายจินตนาการ คัน "หู" จนเกือบชัดราวจะเกาจริง เพื่อ สนองขายสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ดนตรีจึงดุจผ้าคลุมบางๆ ที่ อำพรางความคลุมเคลือ ของสินค้าชิ้นนี้ไว้ให้ยวนใจ ดนตรีลีลาร้องของเพลง คันหู นั้นมีจังหวะบังคับให้ เร่ า ร้ อ นและเนิ บ นาบตามกรอบคิ ด ของชายไทยต่ อ ผู ้ ห ญิ ง ท่าเต้นของสาวคันหูก็คือภาพหลุดจากความนึกคิดหยาบโลน ฝังราก เพียงอาศัยเสียงดนตรีซึ่งไร้รูปทรงปลุกจินตนาการ ดิบๆ เพื่อผลักอารมณ์ซ่อนเร้นให้ออกมาโลดแล่น กับจังหวะ บังคับแบบเหน่อๆ ลอกเลียนความบันเทิงร่วมสมัยที่พบอยู่ ทั่วไป ศิลปะโสกโดกอย่างจ้ำบ๊ะคันหูจึงแพร่กระจายไปถึงพื้นที่ สาธารณะไม่จำเพาะในสังคมชายบันเทิง อันที่จริงจ้ำบ๊ะคันหูนั้นละม้าย "ความแปลกใหม่" ที่ ทำให้คนในทำตัวราวเป็นคนนอกไปชั่วขณะ เหตุไม่ค่อยพบเจอ แบบโจ๋งครึ่มหวือหวาในพื้นที่สาธารณะมาก่อน แต่สื่อ เช่น ยูทูป ได้เรียกร้องความอยากรู้ใคร่เห็นของคนจำนวนมากอย่าง ได้ผล ประดุจไขช่องให้ผู้ชมมีโอกาส "ถ้ำมอง" ความใคร่ของ หญิงสาว โดยมีดนตรีอำพรางความเขินอายในอาการถ้ำมอง ของตน แล้วจ้ำบ๊ะคันหูก็กลายเป็นสินค้าบันเทิงแบบหนึ่งที่ใคร ก็เข้าถึงได้ในพื้นที่เปิดของสังคมตามโอกาส เช่น ในงานเลี้ยง งานวัด งาน อบต. หาได้เป็นอัตลักษณ์ของไนท์คลับบาร์เบียร์ เท่านั้น แล้วคนไทยก็พร้อมเปิดใจให้กับจินตนาการโสกโดก ดังกล่าว หากจะเปรี ย บ จ้ ำ บ๊ ะคั นหู ดู ๆ ไปก็ อ อกจะคล้า ย "เพลงกล่อมเด็ก" ที่เสียงคุ้นๆ ของแม่จะสื่อไปถึงลูกได้ ซึมซับแล้วหลับใหล จึงน่าจัดจ้ำบ๊ะคันหูเป็น "เพลงกล่อม ชายซุกซน" ให้เคลิ้มลืมความไม่สมหญิงที่จำเจ เย็นชา หรือ ไร้ตัวตน เพราะ จ้ำบ๊ะคันหู สัมพัทธ์กับค่านิยมของชายไทย ที่กรอบกั้นจินตนาการโสกโดก ถูกพังทะลายด้วยมนต์เสน่ห์ แห่งดนตรี ภาพตัวแทนผู้หญิงในฝันจึงโผล่ออกมาด้วยเสียง ดนตรีปีศาจ ดั่งคำของพุทธทาสในยุคนายพลผ้าขาวม้าแดง คำถามคือ ทำไมค่านิยมในดนตรีโสกโดกจึงดาษดื่นได้ง่ายใน สังคมไทย และทำไมดนตรีจึงอำพรางความโสกโดกหยาบโลน ให้เห็นเป็นความบันเทิง หรือจะจัดให้จ้ำบ๊ะคันหูเป็นพิธีกรรม รูปแบบหนึ่ง ที่ดนตรีแค่ทำหน้าที่แฝงให้ดูขลังไม่เคอะเขิน หรือว่ามันคือ ดนตรีบำบัดสำหรับชายซุกซน น่าวิจัยไหมครับ

ผศ.วิรัช นิยมธรรม

โจทย์วิจัย

9


กระดานศิษย์เก่า

กอลฟ์ อีกโซคู ล หนึ่งความภาคภูมิใจ

ว่าที่ร้อยตรีมาโนชญ์ สองแกะ

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน พบกันฉบับนี้ก็เข้าสู่ปีใหม่ กันแล้วนะครับซึ่งก็หวังว่าปีนี้ทุกท่านคงจะเต็มไปด้วยความสุข สมหวังเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ (55555) สมกับเสียงตัวเลข ของปี คอลัมน์กระดานศิษย์เก่าฉบับนี้จะนำทุกท่านไปพบกับ ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งที่ทำงานในแวดวงดนตรีและ เป็นนักร้องที่ทุกคนรู้จักนาม “วงโซคูล” และผมก็เชื่อว่าหลาย ท่านคงจะคุ้นหน้าคุ้นตาศิษย์เก่าผู้นี้อยู่บ้าง เรามาทำความรู้จัก กับเค้ากันเลยดีกว่าครับ แนะนำตัว ชื่อ-สกุล รหัสนิสิต สาขาตอนที่เรียน และภูมิหลังเป็นคนจังหวัดอะไรครับ “ผมชื่อ ทัตเทพ ประสงค์ รหัสนิสิต 48260208 สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล เป็นคนจังหวัดสุโขทัยครับ” ที่ไปที่มาของการเข้าร่วมวงโซคูลครับ “ผมเข้าร่วมวงประมาณปี พ.ศ.2551 ซึ่งผมเองก็เป็น เพื่อนกับคุณโจ๊ก นักร้องนำวงโซคูลอยู่ก่อนแล้ว และสนิทกัน ด้วย พอถึงอัลบั้มชุดที่ 5 ของโซคูล คุณโจ๊กอยากจะทำให้วง มีสีสันและก็มีนักร้องนำมากขึ้น จึงได้ชวนผมเข้าร่วมวงด้วย ครับ” แรงบันดาลใจ/สิ่งที่หล่อหลอมให้คุณกอล์ฟเป็น นักดนตรีครับ “คงเป็นตอนเรียนมัธยม ผมได้อยู่วง S.T. Band เป็น วงประจำโรงเรียน วันหนึ่งผมได้ไปร้องในโรงหนังในจังหวัด มีเด็กนักเรียนต่างโรงเรียนมาดูกันเยอะมาก บรรยากาศ คล้ายๆ คอนเสิร์ตใหญ่ เสียงกรี๊ดดังมากจนผมขนลุก วันนั้น ทำให้ผมตั้งเป้าหมายในชีวิตไว้เลยว่าผมจะเป็นนักร้อง นี่แหละ คือสิ่งที่ผมรัก” สิ่งที่ประทับใจขณะเรียนที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ครับ “มหาวิทยาลัยนเรศวร มีเรื่องราวที่สำคัญสำหรับชีวิต ผมมากมายที่นั่น ผมเป็นคนเรียนไม่เก่ง แต่ก็มีอาจารย์โอ๊ต (อ.ภูมินทร์ ภูมิรัตน์) ที่เคี่ยวเข็ญผมทำให้ผมจบมาได้ เพื่อนๆ ที่รัก ที่ตอนนี้หลายคนยังคงคิดถึงและติดต่อกันอยู่ รุ่นพี่ และรุ่นน้องที่ยังคงให้ความอบอุ่นกันเสมอ ทุกๆ คนคือความ ประทับใจ และทำให้ผมคิดถึง มน. แห่งนี้เสมอ อยากที่จะย้อน เวลาไปเรียนใหม่อีกครั้งครับ” ฝากข้อคิดและแนวทางการปฏิบัติตน จนก้าวสู่ ความสำเร็จ อย่างเช่นคุณกอล์ฟ รวมทั้งอาจจะฝากผลงาน ด้วยก็ได้ครับ “ค้นหาตัวเองให้เจอ เชื่อมั่น และเคารพในสิ่งที่ตัวเอง ทำอยู่ ทำอะไรก็ได้ที่ถูกต้อง ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน สำหรับผม 10

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2554 - มกราคม 2555

ผมยังไม่ได้ก้าวสู่ความสำเร็จแต่อย่างใด ความสำเร็จมีมา ท้าทายเราได้เรื่อยๆ ตอนนี้ผมแค่ได้ทำในสิ่งที่ผมรัก และมี ความสุขอยู่กับมันครับ สำหรับผลงานวงโซคูล ต้นปีนี้จะมี อัลบั้มรวมฮิตเพลงของโซคูลออกมา แล้วเข้ามาติดตามข่าวสาร ของวงโซคูลได้ที่ www.facebook.com/socoolband หรือ ติดตามผมได้โดยการ กดไลค์ที่ golf so cool ครับ ขอบคุณครับ เป็นอย่างไรบ้างครับ นอกจากน้ำเสียงและหน้าตา แล้ว เค้ายังมีความฝันและเป็นตัวอย่างของคนที่เดินตามฝัน ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ ความเป็นคณะมนุษยศาสตร์ของเรา น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง เรามีศิษย์เก่าคนเก่งที่อยู่ในแวดวง ต่างๆ มากมาย รวมทั้งในวงการบันเทิงด้วย ซึ่งก็ไม่เพียง แต่เท่านี้ ฉบับต่อๆ ไป ถ้ามีโอกาส ผมจะพาไปรู้จักกับศิษย์เก่า คนเก่งของเราในวงการอื่นๆ อีกนะครับ ส่วนฉบับบนี้ก็ต้องขอ กล่าวคำว่า “สวัสดี ปีใหม่” ครับ


วันที่ 9 ธันวาคม 2554 รองศาสตราจารย์ ดร. กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ร่วมให้การ ต้อนรับ Mr.Hiroshi Tomita เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทยและคณะ ในการเดินทางมา จัดงานแนะแนวการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น ณ ห้องประชุม HU 1103 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

วันที่ 28 ธันวาคม 2554 รองศาสตรา จารย์ ดร. กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษ ยศาสตร์ พร้อมคณะ ผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ ร่วมให้การต ้อนรับข้าราชการ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม ในก ารเข้าเยี่ยมชมการ ดำเนินงานศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเร ศวร เพื่อเป็นการ ประสานการปฏิบัติด้านเครือข่ายทางการศ ึกษา แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและข้อมูล ตลอดจนองค์ความ รู้ด้านวิชาการต่างๆ เพื่อจะได้นำประโยชน์ไปปฏิบัติงานในสำน ักนโยบายและแผน กลาโหมให้ดียิ่งขึ้น ณ ห้องประชุม HU 1307 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2554 - มกราคม 2555

11

ข่าวกิจกรรม

วันที่ 8 ธันวาคม 2554 รองศาสตราจารย์ ดร. กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ ร่วมให้การต้อนรับบุคลากร จากมหาวิทยาลัยเนเกอรี่ ยอร์คยาโกต้า ประเทศอินโดนีเซีย ที่เข้าเยี่ยมชมคณะมนุษยศาสตร์ เพื่อหารือการสร้างความ ร่วมมือทางวิชาการกับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ณ ห้องประชุม HU 1307 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร

สุรีย์พร ชุมแสง

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิรัช นิยมธรรม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและ วิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ ร่วมให้การ ต้ อ นรั บ คณะผู ้ บ ริ ห ารคณะมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม ที ่ เ ดิ น ทางมาเข้ า พบคณบดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อร่วมหารือแนวทาง การพั ฒ นาความร่ ว มมื อ การจั ด การศึ ก ษาด้ า นภาษาและ วั ฒ นธรรมอาเซี ย น เพื ่ อ เตรี ย มความพร้ อ มการเข้ า ร่ ว ม ประชาคมอาเซียนในปี 2015 ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


วารสารมนุษมหาวิยศาสตร์ ทยาลัยนเรศวร เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ ของอาจารย์ และนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ ตลอดจน บุคคลทั่วไป สนใจติดต่อกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ โทร. 0-5596-2006

วิสัยทัศน์ :

ย ะ ม นุษ ศ า ส

ร ศว

มห

าวิท

ต ร์

คณ

คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ

ยาลัยนเร

ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และ สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศ 2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร

สุวรรณภิงคาร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ชำระค่ า ฝากส่ ง เป็ น รายเดื อ น ใบอนุ ญ าตเลขที ่ 85/2521 พิ ษ ณุ โ ลก

ท่ า นที ่ ส นใจจดหมายข่ า วนี ้ กรุ ณ าส่ ง ชื ่ อ ที ่ อ ยู ่ ข องท่ า นมายั ง งานประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร อ.เมื อ ง จ.พิ ษ ณุ โ ลก 65000 โทรศั พ ท์ 0-5596-2035 โทรสาร 0-5596-2000 ไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยใดๆ ทั ้ ง สิ ้ น

สุวรรณภิงคาร

หรื อ “กลศ” หมายถึ ง หม้ อ ดิ น สำหรั บ ใส่ น ้ ำ ดิ น และน้ ำ เป็ น แม่ บ ทของสิ ่ ง ทั ้ ง ปวง อั น เปรี ย บได้ ก ั บ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ที ่ เ ป็ น รากฐานแห่ ง ศาสตร์ ท ั ้ ง ปวง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.