เจ้าพ่อ ประวัติศาสตร์ จอมขมังเวทย์

Page 1


เจาพอ ประวัติศาสตร จอมขมังเวทย รวมบทความเพื่อเปนเกียรติในโอกาสครบรอบ 60 ป ฉลอง สุนทราวาณิชย


เจาพอ ประวัติศาสตร จอมขมังเวทย

รวมบทความเพื่อเปนเกียรติในโอกาสครบรอบ 60 ป ฉลอง สุนทราวาณิชย

ธนาพล ลิ่มอภิชาต และ สุวิมล รุงเจริญ บรรณาธิการ ISBN 978-974-315-894-0

พิมพครั้งแรก มีนาคม 2558

ในเครือบริษัทสำ�นักพิมพสยามปริทัศน จำ�กัด 113 ถนนเฟองนคร แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท 0-2225-9536 ถึง 9 โทรสาร 0-2222-5188 เจาของ: บริษัทสำ�นักพิมพสยามปริทัศน จำ�กัด ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์: สุลักษณ ศิวรักษ คณะกรรมการบริหาร: สัจจา รัตนโฉมศรี, อนันต วิริยะพินิจ, วินัย ชาติอนันต, ทิชากร ชาติอนันต, อาสา นาถไตรภพ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ: ชานน จงประสพมงคล บรรณาธิการประจำ�ฉบับ: อนรรฆ พิทักษธานิน แบบปก: วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์ รูปเลม: ฟาเดียวกัน, นริศรา สายสงวนสัตย บรรณาธิการตนฉบับ: ฟาเดียวกัน ประชาสัมพันธ: มนตรี คงเนียม • ขอมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแหงชาติ ธนาพล ลิ่มอภิชาต และ สุวิมล รุงเจริญ. (บรรณาธิการ) เจาพอ ประวัติศาสตร จอมขมังเวทย.-- กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน, 2558. 416 หนา.-- (ศยามปญญา). 1. ไทย--ประวัติศาสตร. I. ชื่อเรื่อง. 959.3 ISBN 978-974-315-894-0

จัดจำ�หนาย: สายสงศึกษิต บริษัทเคล็ดไทย จำ�กัด โทรศัพท 0-2225-9536 ถึง 9 โทรสาร 0-2222-5188 www.kledthai.com ราคา 295 บาท




สารบัญ

คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

7

บทนำ�เกียรติยศ นิธิ เอียวศรีวงศ

9

แกะรอยประวัติศาสตรนิพนธของฉลอง สุนทราวาณิชย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

15

นักเลง (เพลง) รอนแรมขมังเวทย์? นิติ ภวัครพันธุ์

41

เรื่องของยุคนธร (ค.ศ. 1860–1934) ชีวิตลี้ภัยและการเผชิญหน้ากับระบอบอาณานิคม ธิบดี บัวคำ�ศรี

59

กุ ลอบ ลอก แต่งแบบไพร่ๆ

119

ความผิดของ ก.ศ.ร. กุหลาบที่ตัดสินโดยนักประวัติศาสตร์อำ�มาตย์

ธงชัย วินิจจะกูล

ศาสน์และศาสตร์เพื่อรักษ์สงบ เคร็ก เจ. เรย์โนลด์ส เขียน อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู แปล

165

ก่อนจะถึงพระเครื่อง: ปรัมปราคติใน ขุนช้างขุนแผน คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร เขียน อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู แปล

183


สารบัญ

ปัตตานีในรูปหล่อหลวงพ่อทวด แพทริค โจรี เขียน จีรพล เกตุจุมพล พากษ์ไทย

205

ภาพหลอกหลอน ณ ชายแดนใต้ของไทย

243

การเขียนประวัติศาสตร์ปาตานีและโลกอิสลาม

เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน ปาฐกถา อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู แปล

ประวัติศาสตร์การบัญญัติศัพท์:

255

มิติหนึ่งของการเมืองวัฒนธรรมก่อนและหลังการปฏิวัติ 2475

สายชล สัตยานุรักษ์

ข้อเสนอในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น:

293

ประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือ

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

นักเลงควายเมืองชลบุรี สุมาลี พันธุ์ยุรา

331

วีรบุรุษไพร่แดงในชวา ทวีศักดิ์ เผือกสม

353

“เวลาของข้าพเจ้าจะต้องมา...”:

383

Gustav (Alma) Mahler กับดนตรีของโลก

ธเนศ วงศ์ยานนาวา

ประวัติผู้เขียนและผู้แปล

408


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ ตลอดชวงเวลากวาครึ่งศตวรรษที่ผานมา การอธิบายและงานศึกษาทาง ประวัติศาสตรในสังคมวิชาการไทย ไดขยับขยายจากประเด็นประวัติศาสตรการเมือง มาสูประวัติศาสตรเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และภูมิปญญา อันกอใหเกิดมุมมอง ตอ “อดีต” ที่ทั้งแตกตางและหลากหลายมากขึ้นกวาในอดีต ในทางเดียวกัน “พลังทางประวัติศาสตร” หรือ “พลังการเปลี่ยนแปลง” ทาง ประวัติศาสตร ในคำ�อธิบายของงานศึกษาทางประวัติศาสตรยุคหลังก็ไดเคลื่อนยาย จากเอกบุรุษมาสูเหตุปจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และภูมิปญญา มากยิ่งขึ้น เจาพอ ประวัติศาสตร จอมขมังเวทย มิไดเปนเพียงหนังสือรวมบทความ เนือ่ งในวาระครบรอบ 60 ป ของ รศ.ฉลอง สุนทราวาณิชย “ครูทางประวัตศิ าสตร” แตเพียงอยางเดียวเทานั้น หากแตบทความทางประวัติศาสตรแตละชิ้นที่ถูกเขียนขึ้น โดยนักวิชาการชั้นนำ�ในหนังสือเลมนี้ ยังสะทอนใหเห็นภาพอันหลากหลายของ คำ�อธิบายทางประวัติศาสตร ที่มีทั้งความลุมลึกภายใตความซับซอนของเรื่องราวอัน นาติดตาม อันเปรียบเสมือนตัวแทนของแนวทางการศึกษาทางประวัติศาสตรในชวง ครึ่งศตวรรษที่ผานมา นอกจากนี้ หวงชีวติ 60 ปของ รศ.ฉลอง สุนทราวาณิชย ตัง้ แตเปนนักเรียน ทางประวัติศาสตรจนถึงครูทางประวัติศาสตร ก็ดูจะมีลักษณะ “เดิน” ไปดวยกันกับ การคนควาและคำ�อธิบาย “อดีต” ทีเ่ ปดโลกและพรมแดนความรูท างประวัตศิ าสตรที่ เปดกวางหลายมุมขึ้น และทานก็ไดแสดงบทบาททั้งในฐานะผูแสดง ผูกำ�กับบท ผูชี้แนะ และผูติดตามกระแสธารทางประวัติศาสตรดังกลาว หนังสือเลมนี้ จึงเปรียบดั่ง “ทางเดิน” ทางประวัติศาสตรของทั้ง รศ.ฉลอง สุนทราวาณิชย และวงการศึกษาประวัติศาสตรไทยในชวงกวาครึ่งศตวรรษที่ผานมา ทางสำ�นักพิมพขอขอบพระคุณ ผศ.สุวมิ ล รุง เจริญ และ ดร.ธนาพล ลิม่ อภิชาติ แหง ภาควิชาประวัติศาสตร คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเปนอยางสูง ที่ ชวยเหลือและสนับสนุนการจัดพิมพหนังสือเลมนี้มาโดยตลอด อยา่ งไรก็ดี ควรกลา่ วดว้ ยวา่ บทความจำ�นวนหนึง่ ในหนังสือเล่มนีไ้ ด้ถกู เขียน ขึ้นมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางความรู้และข้อมูลทาง วิชาการอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา สำ�นักพิมพศยาม 7



บทนำ�เกียรติยศ ฉลองฉลอง

อาจารยฉลอง สุนทราวาณิชย เปนนักวิชาการที่มีมิตรและศิษยมากที่สุด ไม เฉพาะแตคนในแวดวงวิชาการสังคมศาสตร-มนุษยศาสตรเทานั้น แตรวมถึงคนนอก วงการอีกมาก ใครทีร่ จู ักอาจารยฉลองแลว ก็อยากคบหาสมาคมตอไปเรือ่ ยๆ เพราะ ความสนใจของอาจารยฉลองนั้นกวางขวาง จึงพูดคุยกับใครไดทุกเรื่อง ความมีมิตร และศิษยมากของอาจารยฉลองนี้ไมใชสิ่งนาอัศจรรยแตอยางใด ใครที่รูจักอาจารย ฉลองเปนสวนตัวก็จะเขาใจไดดี วาเฉพาะในแวดวงวิชาการ ดูจากหนังสือเลมนี้ก็จะเห็นวา มิตรและศิษยของ ทานมีหลากหลายแคไหนในเชิง “ศาสตร” และหลากหลายแคไหนในเชิงประเด็นที่ แตละทานสนใจ ทัง้ ๆ ทีแ่ ตละคนทีเ่ สนอเรือ่ งมารวมในหนังสือนี้ พยายามทีจ่ ะหยิบยก ประเด็นทีเ่ กีย่ วของกับอาจารยฉลองในทางใดทางหนึง่ ทุกคนก็ตาม ฉะนัน้ จึงเปนพยาน อยางดีถึงความสนใจอันหลากหลายของอาจารยฉลองเองดวย ความหลากหลายดังกลาวนี้ ทำ�ใหหาจุดโฟกัสทางวิชาการของอาจารยฉลอง ไมเจอ นี่อาจเปนจุดออนทางวิชาการไดเทาๆ กับเปนจุดแข็งของครู แมเปนจุดออนที่ทำ�ใหอาจารยฉลองไมไดผลิตผลงานวิชาการที่ขยายจาก จุดเล็กๆ หนึ่ง ไปสูอะไรที่กวางขึ้นและลึกขึ้นจนกลายเปน “สำ�นัก” วิชาการขึ้นมา แตเมื่อพิจารณางานของอาจารยฉลองแตละชิ้น ก็จะพบวาลวนมีคุณภาพระดับสูง ทั้งสิ้น เปดมุมมองใหมที่อาจนำ�ไปสูการศึกษาวิจัยในเรื่องนั้นหรือที่เกี่ยวเนื่องไปได อีกไกล อยางไรก็ตาม ผมกำ�ลังสงสัยวา นี่เปนแนวโนมของนักวิชาการรุนใหมทาง 9


สังคมศาสตร โดยเฉพาะประวัตศิ าสตรกระมัง เพราะสังเกตจากนักวิชาการตางประเทศ ในสาขานี้อีกหลายคน ก็มีแนวโนมการทำ�งานวิชาการแบบนี้ หลายครั้ง เรื่องที่สอง ของเขาเปนคนละเรื่องกับเรื่องแรกไปเลย แมวาอาจใชสนามศึกษาอันเดียวกันก็ตาม บางทียุคสมัยของนักวิชาการที่ทุมเททั้งชีวิตเพื่อศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เชน อุษาคเนยจากเอกสารจีน กัมพูชาหรือพมาหรือชวาในจารึก อิสลามในอุษาคเนย ฯลฯ กำ�ลังสิ้นสุดลงแลว เหตุที่เปนเชนนี้จากการประมาณอยางไมรอบรูของผมคงมีอยู สองอยาง อยางแรก คือ ความเปลีย่ นแปลงทางนิเวศนของโลกวิชาการ เชน จำ�นวนของ นักวิชาการสังคมศาสตรมีเพิ่มขึ้นอยางมาก จนแมแตในสนามศึกษาที่เคยซุกอยูหาง ไกล อาทิ ปาปวนิวกินี หรือภาษาถิ่นของตระกูลมง-เยา วัฒนธรรมของอาณาจักรที่ ลมสลายไปหมดแลวในเอเชียกลาง ฯลฯ ลวนคลาคล่�ำ ไปดวยนักวิชาการและนักศึกษา ปริญญาเอก แมแตจะพิมพบทความทางวิชาการสักเรื่องก็ตองแขงขันกันอยางหนัก ฉะนั้นหากไดรับเชิญหรือชวนใหรวมเขียนบทความลงวารสารหรือหนังสือวิชาการ ทีบ่ รรณกรกำ�หนดประเด็นมาแลวก็ตอ งรับและตองขยายหรือพลิกประเด็นความสนใจ ของตนใหลงล็อคของบรรณกรใหได อยางทีส่ อง ก็คอื สำ�นึกทางวิชาการโดยทัว่ ไปในปจจุบนั มองเห็นความเชือ่ มโยง ของ “ศาสตร” ตางๆ มากเสียจน บางทีการเกาะอยูก บั “ศาสตร” ใดเดีย่ วๆ เปนไป ไมไดอกี แลว อาจไมจ�ำ เปนถึงตองกระโดดขาม “ศาสตร” ของตัว แตตอ งเสนองานวิจยั ทีม่ นี ยั สำ�คัญแก “ศาสตร” อืน่ ๆ ดวย ผมสงสัยวาความพยายามเชือ่ มโยง “ศาสตร” เชนนี้เกิดกับนักประวัติศาสตรมากกวานัก “ศาสตร” อื่นๆ ในสังคมศาสตรดวยกัน สวนหนึง่ ก็เพราะเราคงเริม่ จำ�นนแลววา “ศาสตร” ของเราดูจะมีความหมายตอปจจุบนั ไมมาก หรืออยางนอยก็ไมชดั เหมือนสังคมศาสตรแขนงอืน่ ๆ การเชือ่ มโยงกันและกัน ของ “ศาสตร” แขนงตางๆ จึงเปนสำ�นึกทีแ่ หลมคมแกนกั ประวัตศิ าสตรมากกวาใคร เขาอื่น ฉะนั้นที่ผมเรียกวาเปนจุดออนทางวิชาการของอาจารยฉลองก็อาจไมใช แต เปนจุดแข็งทางวิชาการของนิเวศนวิชาการที่เปลี่ยนไปแลวก็ไดกระมัง แตทผี่ มแนใจอยางยิง่ ก็คอื ความสนใจทางวิชาการอันหลากหลายของอาจารย ฉลองนั้นเปนจุดแข็งของครูแน โดยเฉพาะครูมหาวิทยาลัย ผมคิดวาคำ�ตอบที่ไมตรง คำ � ถามของนักศึกษานั้น มีศักยภาพที่จ ะพั ฒ นาไปในทิ ศ ทางอื่ นที่ อ าจารย ฉ ลอง ไมไดถาม และอาจพัฒนาไปสูความรูอยางใดอยางหนึ่งซึ่งคนอื่นยังไมรูได ผมอยาก เดาวา นักเรียนเกรดซีหรือเอฟซึง่ ขาด “วินยั ในการคิด” ในสมุดคำ�ตอบ คงไดรบั เชิญ จากอาจารยฉลองใหมาสนทนากันภายหลัง อาจจะมากกวานักเรียนเกรดบีก็ได และ 10


ทำ�ใหนักศึกษาเหลานั้นคนพบตัวเอง อันเปนเปาหมายที่ขาดไมไดในการศึกษา (ไมใชการคนพบครู) ผมไมทราบวาศิษยของอาจารยฉลองซึ่งมีจำ�นวนมากนั้น งอกงามมาจากนักเรียนเกรดซีและเอฟสักเทาไร แตคิดวานาจะมากกวาครูไทย สวนใหญ จึงเปนอยางที่อาจารยสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ กลาวไวในหนังสือเลมนี้ ผลงาน วิชาการของอาจารยฉลองจำ�นวนมากนัน้ ศิษยเปนคนเขียนขึน้ แนนอน ยอมแตกตาง จากที่อาจารยอาจเขียนเอง เพราะถึงเปนศิษยอาจารยฉลอง เขาก็ยังไมถูกครูอยาง อาจารยฉลองครอบงำ�ใหสูญเสียตัวตนของเขาไป แตแรงกระตุนใหเขาสนใจเรื่อง เหลานัน้ หรือมองเรือ่ งเดียวกันนีจ้ ากมุมมองทีไ่ มเคยมีใครมองมากอน มาจากอาจารย ฉลอง รวมทัง้ คงถูกอาจารยฉลองกลอมเกลาใหมมุ มองของเขาแหลมคมขึน้ โดยไมถกู มุมมองของอาจารยฉลองเขาไปแทนที่ เทาที่ผมเขาใจ ความสามารถทางวิชาการอยางนี้ของครูมหาวิทยาลัยไมมีผล ตอบแทนอะไรในระบบรางวัลและเกียรติยศที่มหาวิทยาลัยจัดไวให ทุกวันนี้เราจึง มีศาสตราจารยในแขนงวิชาตางๆ จำ�นวนเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็ว โดยเราไมอาจแนใจ ไดเลยวาคนเหลานั้นผลิต “ศิษย” สักเทาไร และอยางไร ถามหาวิทยาลัยมีแต ศาสตราจารย แตไมมีครูเหลืออยูอีก ก็นาเศราแกเด็กไทยเปนอยางยิ่ง อยางไรก็ตาม ทามกลางความหลากหลายของบทความในหนังสือ ผมคิดวา มีเอกภาพอยางหนึ่งซึ่งผูรวบรวมอาจไมไดตั้งใจ แตเปนเอกภาพที่บอกอะไรเกี่ยวกับ อาจารยฉลองไดมาก นัน่ ก็คอื ประมาณ 85% ของบทความในหนังสือเลมนี้ เปนเรือ่ ง ของคนนอกกระแสหลักของประวัตศิ าสตร เชน หมอเวทมนตรในสังคมมุสลิม, คาถา อาคมในสังคมพุทธที่รัฐเขามาควบคุมในนามของการปฏิรูปแลว, ซูฟในสังคมสุหนี่, นักวิชาการที่ถูกเหยียดและลงโทษจากนักวิชาการกระแสหลัก, นักชาตินิยมที่ถูกลืม ไปแลว, การมองกรณีปตตานีจากมุมที่เปนสากลกวาทองถิ่นหรือภายในประเทศ, นักเลง ฯลฯ ทั้งหมดนี้อาจเปนความสนใจของผูเขียนแตละทานก็ได แตผูเขียนเหลานี้มา ประชุมกันเพื่อแสดงความเปนมิตรและศิษยของอาจารยฉลอง จึงดูเหมือนจะสะทอน ทัศนะตอการศึกษาประวัติศาสตรของอาจารยฉลองไปดวย ในขณะเดียวกันก็ดูจะ สอดคลองกับงานประวัติศาสตรของอาจารยฉลองเอง ผมพอจะสรุปไดหรือไมวา ใน ทัศนะของอาจารยฉลอง พลังที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร คือ พลังของบุคคล หรือ ปรากฏการณทางสังคม (และความสัมพันธของสิ่งเหลานั้น) ที่ประวัติศาสตรกระแสหลักมักมองขามไป เพราะประวัติศาสตรกระแสหลักมักจะใหความสำ�คัญแกรัฐและ มหาบุรุษเทานั้น อาจารยฉลองจะเห็นวาสิ่งที่ถูกมองขามเหลานี้มีพลังขับเคลื่อน 11


ประวัตศิ าสตรมากกวารัฐ, ศาสนาทีเ่ ปนทางการ, มหาบุรษุ และ “โครงสรางสวนบน” อืน่ ๆ หรือไม ผมตอบไมได แตจากทีร่ จู กั ทานเปนสวนตัวมานาน ก็อยากเดาวาทาน คงไมปฏิเสธอะไรเด็ดขาด เทากับไมรับอะไรเด็ดขาด เพราะทานเปนคนที่มีดุลยภาพ ทางความคิดสูง (กวาตัวผมเอง) มาก สิ่งที่ผมกังขาเกี่ยวกับอาจารยฉลองตลอดมา (และแมไดอานเรื่อง “ไรสาระ” ของทานแลวก็ยังกังขาอยู) ก็คือ คนอยางอาจารยฉลองนั้นเกิดมีขึ้นในประเทศไทย ไดอยางไร เรียนหนังสือจบมัธยมในประเทศไทย กอนจะมีการศึกษาทางเลือกอื่นใดใน ประเทศนี้ ซ้ำ�ยังจบปริญญาตรีและโทในมหาวิทยาลัยซึ่งเปาหมายและบรรยากาศ ไมมุงจะผลิตคนที่ imaginative และ original อาจารยฉลองไปเอาความคิดริเริ่ม สรางสรรค และจินตนาการถึงความสัมพันธที่ไมเคยมีใครมองเห็นมากอนเหลานี้ มาจากไหน จะวาออสเตรเลียปนอาจารยฉลองออกมาอยางนี้ ก็ไมนาจะใช เพราะทาน ก็เปนอยางนี้มาอยางนอยก็ตั้งแตเมื่อเขียนวิทยานิพนธปริญญาโทในประเทศไทยแลว อาจารยฉลองเปนคนรุน กอน 14 ตุลา อันเปนชวงที่ “ความเปนไทย” ตามนิยามของ ชนชัน้ ปกครองถูกทาทายทีส่ ดุ จึงไมนา จะเปนอิทธิพลของบรรยากาศการวิพากษอยาง สุดขัว้ ในชวงนัน้ ทีส่ รางอาจารยฉลองขึน้ ผมไมมคี วามรูเ ลยวา บรรยากาศในครอบครัว ที่อาจารยฉลองเติบโตมาเปนอยางไร แตก็ยอมรับวา นี่อาจเปนปจจัยหนึ่งที่ทำ�ให อาจารยฉลองเปนอาจารยฉลองอยางที่พวกเรารูจัก อยางไรก็ตาม ปจจัยที่ผมรูและคิดวามีสวนสำ�คัญไมนอยก็คือนิสัยชอบอาน หนังสือ เขาใจวาอาจารยฉลองคนเปนนักอานมาตั้งแตกอนผมจะรูจักอาจารยฉลอง เปนสวนตัวแลว เพราะเมือ่ รูจ กั แลวสืบมาจนทุกวันนี้ ไมวา จะเอยถึงหนังสือเรือ่ งอะไร อาจารยฉลองก็มักจะไดอานแลวทุกที บางเลมถึงไมไดอานละเอียดก็ไดอานคราวๆ เพือ่ จับประเด็นได กอนหนาทีเ่ ราจะสามารถโหลดหนังสือจากเน็ตมาอานไดงา ยๆ ดัง ในทุกวันนี้ อาจารยฉลองเขาถึงหนังสือวิชาการ โดยเฉพาะที่ “ทันสมัย” หนอย ไดอยางไร ผมก็ไมทราบเหมือนกัน หองสมุดของทีท่ �ำ งานอาจารยฉลองอาจดีขนึ้ แลว ก็ได ถายังเหมือนเดิม อาจารยฉลองคงเสียเงินไปกับการซื้อหนังสือแยะมากทีเดียว ในฐานะครูซึ่งเปนความสำ�เร็จสูงสุดของอาจารยฉลอง ทานคงยั่วยุใหนักเรียน ของทานอานหนังสือไดมากกวานักเรียนทัว่ ไป ทานทำ�ไดอยางไรผมก็ไมทราบ เพราะ โดยประสบการณสวนตัวแลว ผมไมเคยประสบความสำ�เร็จในดานนี้เลย และคงเปน เพราะอานหนังสือมากนี้เอง ที่ทำ�ใหทั้งอาจารยฉลองและศิษยไมรับความเห็นทาง วิชาการของใครไปอยางงายๆ เพราะไดอานเจอมาแลววาความเห็นนั้นๆ มีผูติติงไว 12


อยางไรบาง หนักเขาก็กลายเปนทักษะทีจ่ ะใชมมุ มองทีแ่ ตกตางเพือ่ พิจารณาความเห็น ที่มีผูเสนอขึ้น รวมทั้งสามารถวิเคราะหเห็นจุดออนจุดแข็งของมุมมองแตละชนิด สามารถเสนอมุมมองใหมของตนเองที่อุดชองโหวตางๆ ไดดีกวาเดิม เรียนมหาวิทยาลัยมาทั้งหมดก็เพื่อไดความสามารถแคนี้แหละ และจะไดมา ก็จากการอานมาก แลกเปลี่ยนมาก และคิดมาก อยางอาจารยฉลองนี่เอง นิธิ เอียวศรีวงศ พฤศจิกายน 2557

13


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.